You are on page 1of 10

วาล์ว (VALVE) เป็ นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของของไหล เช่น

น้ำ สารเคมี แก๊ส อากาศ โดยวาล์วจะทำหน้าที่คือ เปิ ด-ปิ ดทางเดินของ


ของไหล ควบคุมอัตราการไหลของของไหล สามารถปรับให้ของไหลไหลใน
ระดับที่ต้องการเปลี่ยนทิศทางการไหลได้โดยง่าย ป้ องกันการไหลย้อนกลับ
และป้ องกันไม่ให้ของไหลไหลมาผสมกัน การควบคุมการทำงานของวาล์วมี
หลายชนิด เช่น วาล์วที่ควบคุมได้เองโดยอัตโนมัติ และวาล์วที่ควบคุมได้โดย
ใช้มือปรับ

วาล์วมี 4 ชนิดใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี ้

1. วาล์ว ตัดตอน หรือ Isolating valves


- เป็ นวาล์วประเภทที่ใช้สำหรับ การเปิ ดสุด หรือ ปิ ดสุด
- เหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อตัดของไหลที่กำลังไหลอยู่ภายในท่อ
ออกจากระบบ
- ตัวอย่างเช่น Gate Valve, Butterfly Valve, Ball Valve
2. วาล์ว ควบคุม หรือ Control valves
- เป็ นวาล์วประเภทที่ใช้สำหรับ การเปิ ดสุด การเปิ ดบางส่วน หรือ
การปิ ดสุด
- เหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อปรับหรือควบคุมการไหลของของไหล
ภายในท่อ
- วาล์วชนิดนีอ
้ อกแบบเพื่อให้สามารถควบคุมได้ทัง้ ความเร็ว ความ
ดัน ปริมาณ หรืออุณหภูมิของของไหล ตามที่ผู้ควบคุมต้องการ
3. วาล์ว กันกลับ หรือ Check valves
- เป็ นวาล์วประเภทที่ใช้สำหรับ การเปิ ดสุด หรือ ปิ ดสุด
- เหมาะสำหรับการใช้งานเพื่อควบคุมทิศทางการไหล โดยจะมีลิน

วาล์วที่จะป้ องกันไม่ให้ของไหลไหลย้อนกลับได้
4. วาล์ว ควบคุมความดันสูงสุด หรือ Maximum pressure control
valves วาว์ลชนิดนีส
้ ามารถแบ่งออกได้เป็ น 2 ชนิด
1. Relief valves (รีลฟ
ิ วาล์ว) เป็ นวาล์วนิรภัยประเภทที่ใช้งานทัง้ กับ
ก๊าซและของเหลว โดยจะรักษาควบคุมความดันให้ได้ตามที่ตัง้ เอา
ไว้ เช่น รีลีฟวาล์วของอุปกรณ์ ไฮดรอลิกปั ้ ม (Hydraulic
Pumping System)
2. Safety valves (เซฟตี ้ วาล์ว) เป็ นวาล์วนิรภัยที่ใช้กับ ก๊าซหรือไอ
น้ำเท่านัน
้ จะเริ่มเปิ ดเมื่อถึงความดันที่ตัง้ ไว้ และจะเปิ ดเต็มที่เมื่อ
ความดันสูงกว่าที่ตัง้ ไว้ 3% จากนัน
้ เมื่อความดันลดลงมาต่ำกว่า 3
% จึงจะปิ ด

1. Gate Valve

เกทวาล์ว (Gate valve) หรือ วาล์วประตูน้ำ เป็ นวาล์วที่ใช้กันแพร่


หลายอย่างมากทัง้ ตามโรงงานอุตสาหกรรม และตามบ้านเรือน โดยปกติ
แล้วท่อน้ำที่ต่อแยกออกมาจากท่อหลัก ก่อนเข้ามิเตอร์จะต้องมีวาล์วปิ ด-
เปิ ดอยู่ตัวหนึ่ง ซึ่งวาล์วตัวนีค
้ ือ Gate Valve

บางที่จะติดตัง้ เกทวาล์ว (Gate valve) ไว้ทางด้านขาออกจากมิเตอร์


ด้วย แต่บางที่จะติดตัง้ Check Valve (วาล์วกันการไหลย้อนกลับ) ไว้ทาง
ด้านทางออกของมิเตอร์แทน เหตุที่ต้องมีการติดตัง้ เกทวาล์ว (Gate valve)
ไว้ก่อนเข้ามิเตอร์เพื่อที่จะได้ถอดมิเตอร์ออกได้ ไม่ว่าจะเป็ นการถอดเพื่อ
เปลี่ยน หรือ ซ่อม

โครงสร้างของเกทวาล์ว (Gate valve) นัน


้ จะมีส่วนที่เป็ นแผ่นจาน
(Disk) ที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อเล็กน้อย เลื่อนขึน
้ -
ลงในทิศทางที่ตัง้ ฉากกับทิศทางการไหล เมื่อวาล์วอยู่ในตำแหน่งปิ ด แรงดัน
ของของไหลทางด้าน Upstream จะดันตัว Disk ให้ไปยันกับตัว Body ของ
วาล์วที่อยู่ทางด้าน Downstream เป็ นการปิ ดผนึกไม่ให้ของไหลไหลผ่านไป
ได้

ข้อดีของ เกทวาล์ว (Gate valve) คือมีความกว้าง (วัดในทิศทางการ


ไหล) ไม่มาก ทำให้ใช้พ้ืนที่ในการติดตัง้ น้อย ค่าความดันลด (Pressure
Drop) คร่อมวาล์วต่ำมากเมื่อวาล์วเปิ ดเต็มที่ เหมาะสำหรับงานประเภทปิ ด-
เปิ ด แต่วาล์วชนิดนีจ
้ ะไม่เหมาะสำหรับใช้ในการควบคุมการไหลเพราะความ
สัมพันธ์ระหว่างระยะที่วาล์วเปิ ดกับอัตราการไหลนัน
้ ไม่
3. Globe valve

โกลบวาล์ว (Globe Valve) เป็ นวาล์วที่ออกแบบมาเพื่อใช้ควบคุมอัตรา


การไหลของของไหล ตัวอย่างการใช้งานวาล์วประเภทนีไ้ ด้แก่ก๊อกน้ำที่ใช้กัน
อยู่ในบ้านหรือในห้องน้ำทั่วไปที่เป็ นแบบหัวหมุนได้หลายรอบ

โกลบวาล์ว (Globe Valve) เป็ นวาล์วที่มีการระบุทิศทางการไหล โดย


ด้านข้างของตัววาล์วจะมีลูกศรระบุว่าต้องให้ของไหลไหลเข้าทางด้านไหน
และออกทางด้านไหน

จากโครงสร้างของวาล์ว จะเห็นได้ว่าของเหลวที่ไหลผ่านตัววาล์วจะมีการ
หักเลีย
้ วหลายครัง้ แม้ว่าวาล์วจะเปิ ดเต็มที่ก็ตาม ทำให้ความดันลดคร่อมตัว
โกลบวาล์ว (Globe Valve) สูงกว่าของ เกทวาล์ว (Gate Valve)

การปิ ด-เปิ ดวาล์วจะอาศัยการปิ ด-เปิ ดแผ่น Disk ที่วางตัวอยู่ในแนวเดียวกัน


กับทิศทางการไหล (ทิศทางการไหลในที่นีค
้ ือจากซ้ายไปขวา) กับช่องเปิ ดที่
อยู่ในแนวเดียวกันกับทิศทางการไหลเช่นเดียวกัน โดยเมื่อของไหลไหลเข้า
มาในตัววาล์วนัน
้ ของไหลจะถูกบังคับให้ไหลลงล่างและหักเลีย
้ วขึน
้ ข้างบน
ไหลผ่านช่องว่างที่อยู่ระหว่างช่องเปิ ดกับแผ่น Disk การปรับขนาดของช่อง
ว่างทำได้โดยการเลื่อนแผ่น Disk ขึน
้ -ลง ซึ่งเมื่อแผ่น Disk เลื่อนสูงขึน
้ ช่อง
ว่างก็จะเปิ ดมากขึน
้ ของไหลก็จะไหลผ่านได้เร็วขึน

ข้อเสียของ โกลบวาล์ว (Globe Valve) นอกเหนือไปจากการมีความ


ดันลดที่สูงแล้ว ก็คือขนาดและน้ำหนักของวาล์วที่มีค่ามากกว่าของ เกทวา
ล์ว (Gate Valve) ยิ่งขนาดของวาล์วใหญ่ขึน
้ ก็จะมีขนาดและน้ำหนักที่มาก
ขึน
้ ตามไปด้วย ด้วยเหตุนีใ้ นกรณีของท่อขนาดใหญ่ที่ความดันด้าน
Upstream และ Downstream ต่างกันมาก การใช้ โกลบวาล์ว (Globe
Valve) ขนาดใหญ่จะทำให้มีความดันลดในท่อสูงและต้องมีฐานรองรับตัว
วาล์วที่แข็งแรงกว่าการใช้ เกทวาล์ว (Gate Valve) หรือกรณีของของไหลที่
ร้อน (เช่นท่อไอน้ำ) ที่ด้าน Downstream ของท่อยังเย็นอยู่ซึ่งในช่วงแรก
ต้องค่อย ๆ อุ่นท่อด้าน Downstream ให้ร้อนขึน
้ อย่างช้า ๆ เพื่อป้ องกัน
การเกิด Thermal Shock หรือ Water Hammer (ในกรณีท่อไอน้ำ) ซึง่
ทำได้โดยการค่อย ๆ เปิ ดวาล์วที่ละน้อย ๆ จนท่อเริ่มร้อนขึน
้ และเปิ ดเพิ่ม
ขึน
้ ทีละนิดไปเรื่อย ๆ ซึ่งการควบคุมการไหลขนาดน้อย ๆ นี ้ โกลบวาล์ว
(Globe Valve) ตัวใหญ่จะทำได้ไม่ดี
4. Ball Valve

บอลวาล์ว (Ball Valve) เป็ นวาล์วที่ได้รับความนิยมในปั จจุบัน ทัง้ ตาม


โรงงานอุตสาหกรรมและตามอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ที่ใช้ก๊อกน้ำแบบที่เป็ น
ก้านหมุนเพียง 90 องศาก็สามารถเปิ ดวาล์วได้เต็มที่หรือปิ ดวาล์วได้สนิท

ส่วนที่ทำหน้าที่ปิด-เปิ ดของบอลวาล์ว (Ball Valve) คือตัวลูกบอลที่มีรู


เจาะทะลุอยู่ตรงกลาง โดยการหมุนให้รูเจาะทะลุอยู่ในแนวท่อก็จะเป็ นการ
เปิ ดวาล์วเต็มที่ และการหมุนให้รูเจาะทะลุอยู่ในแนวตัง้ ฉากกับท่อก็จะ
เป็ นการปิ ดวาล์ว การปรับอัตราการไหลทำได้โดยการบิดให้ลูกบอลทำมุม
ระหว่างตำแหน่งเปิ ดเต็มที่และตำแหน่งปิ ด

เมื่อเทียบกับ เกทวาล์ว (Gate Valve) ที่ใช้กับท่อขนาดเดียวกันแล้วบอล


วาล์ว (Ball Valve) จะมีขนาดใหญ่กว่าและหนักกว่า เนื่องจากการใช้
ลูกบอลแทนแผ่นจาน (Disc) ในการปิ ด-เปิ ดวาล์ว และยังต้องใช้พ้ืนที่โดย
รอบที่กว้างกว่าในการเปิ ดปิ ดวาล์ว เช่น หากบอลวาล์ว (Ball Valve)
สำหรับท่อขนาด 6 นิว้ จะใช้ก้านหมุนที่มีรัศมีประมาณ 1 เมตร
ในการปิ ด-เปิ ดวาล์ววาล์วขนาดใหญ่บางตัวจึงแก้ปัญหาด้วยการใช้ระบบ
ขับเคลื่อนด้วยเฟื องทดในการบิดลูกบอลให้หมุนไปมา ซึ่งทำให้ประหยัด
พื้นที่แต่ก็ไปลดความเร็วในการปิ ด-เปิ ดลง บอลวาล์ว (Ball Valve) ที่ใช้กัน
ในโรงงานนัน
้ ตัวก้านหมุนจะไม่ยึดติดกับแกนหมุน แต่จะถอดออกได้ เวลาใช้
ก็จะสวมครอบลงไปเหมือนกับการใช้ประแจขันนอต การที่ทำให้ถอดก้าน
หมุนวาล์วออกได้ก็เพื่อไม่ให้ก้านหมุนยื่นออกมาเกะกะหรือทำให้วาล์วหมุน
เนื่องจากคนเดินชนโดยไม่ตัง้ ใจได้ การดูว่าวาล์วอยู่ในตำแหน่งเปิ ดหรือปิ ด
จึงต้องดูจากร่องบากที่อยู่บนแกนหมุนลูกบอล

บอลวาล์ว (Ball Valve) ก็มีข้อดีตรงที่สามารถปิ ดสนิทหรือเปิ ดเต็มที่


ได้อย่างรวดเร็ว รับความดันได้สูง ใช้งานได้ดีกับของไหลที่มีของแข็ง
ปะปนอยู่ ในกรณีของบอลวาล์ว (Ball Valve) ที่ใช้กับของไหลที่อันตราย
หรือที่ในระบบที่มีความดันสูงนัน
้ ตัวท่อเจาะทะลุที่ให้ของไหลไหลผ่านจะ
มีรูระบายความดันซึ่งเป็ นรูเจาะทะลุเล็ก ๆ อยู่ในแนวตัง้ ฉากกับช่องทาง
ให้ของไหลไหลผ่าน ในการปิ ดวาล์วนัน
้ จะต้องติดตัง้ วาล์วให้รูระบาย
ความดันนัน
้ หันออกไปทางด้าน Downstream เพื่อเป็ นการระบายความ
ดันหรือสารเคมีต่าง ๆ ที่ตกค้างอยู่ในช่องทางการไหลออกไป
5. Butterfly Valve

บัตเตอร์ฟลายวาล์ว (Butterfly Valve) หรือ วาล์วปี ผีเสื้อ ทำหน้าที่ได้


เช่นเดียวกันกับบอลวาล์ว (Ball Valve) โดยโครงสร้างของ บัตเตอร์ฟลาย
วาล์ว (Butterfly Valve) นัน
้ จะใช้แผ่นจาน (Disc) หมุนไปมา โดยจะ
เป็ นการเปิ ดเต็มที่ถ้าทำมุม 90 องศากับทิศทางการไหล และถ้าหมุนแผ่น
จาน (Disc) ตัง้ ฉากกับทิศทางการไหลก็จะเป็ นการปิ ดวาล์ว

การที่ใช้แผ่นจานแทนการใช้ลูกบอลในการปิ ดกัน
้ การไหล จึงทำให้บัต
เตอร์ฟลายวาล์ว (Butterfly Valve) มีขนาดเล็กกว่า แคบกว่า และเบากว่า
บอลวาล์ว (Ball Valve) แต่โครงสร้างที่เป็ นแผ่นจานดังกล่าวทำให้ไม่
สามารถรับแรงดันและอุณหภูมิที่สูงได้ ดังนัน
้ เราจึงมักเห็นการใช้ บัตเตอร์
ฟลายวาล์ว (Butterfly Valve) ในท่อขนาดใหญ่กับสารที่ไม่มีอันตรายใด ๆ
เช่นท่อน้ำหล่อเย็น ท่ออากาศของระบบทำความเย็น
6. Check Valve

เช็ควาล์ว (Check Valve) เรียกอีกชื่อนึงว่า วาล์วกันกลับ (Non-Return


Valve) คืออุปกรณ์ในระบบน้ำ ทำหน้าที่ควบคุมให้น้ำไหลไปในทิศทางเดียว
ป้ องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับเมื่อปั๊ มน้ำหยุดทำงาน ใช้ติดตัง้ คูก
่ ับปั๊ มน้ำ เพื่อ
ป้ องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับเข้าตัวปั๊ มเมื่อไม่มีการเปิ ดใช้น้ำ หากน้ำไหล
ย้อนกลับเข้าปั๊ มจะได้ให้ระบบรวน นำไปสู่อายุการใช้งานที่ไม่เหมาะสม

- สวิงเช็ควาล์ว (Swing Check Valve) เป็ นวาล์วชนิดปิ ดกัน


้ น้ำ ให้
น้ำไหลได้ในทางเดียว ติดตัง้ ได้ในเฉพาะแนวนอน การทำงานของ
วาล์วชนิดนี ้ จะเป็ นไปโดยอัตโนมัติ คือน้ำจะไหลผ่านวาล์วได้ไปใน
ทิศทางที่น้ำไหลเข้ามา แต่ถ้ามีแรงดันของน้ำไหลย้อนกลับ ลิน
้ ที่อยู่
ภายในจะปิ ดกัน
้ ทันทีครับ เช็ควาล์วที่มีคุณภาพจะต้องผลิตจากทอง
เหลืองที่มีคุณภาพ เพื่อป้ องกันการเกิดสนิม จะมีอายุการใช้งานได้
ยาวนาน

You might also like