You are on page 1of 31

มเ
ดจ

พระ
เจ

้พน

างเ
ธอเ
จา

ฟ้
าก

ัยา
ณว
ิฒ
ัน
ากร
มหล
วงน
ราธ

ิาส
รา
ชนค
รน
ิท
ร์
เรื่องเล่าพระไตรปิฎก

เนื่องในงานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ ากัลยาณิวฒ ั นา


กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (6 พฤษภาคม 2566)
การเฉลิมฉลองในพระเกียรติคุณ สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ ากัลยาณิวฒ
ั นา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็ นบุคคลสาคัญของโลกในปี พ.ศ. 2566
เนื่องในโอกาสครบรอบ 21 ปี สถาบันภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์
และ เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี การสถาปนาคณะมนุ ษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เรื่องเล่าพระไตรปิ ฎก

จัดพิ มพ์โดย
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์

พิ มพ์ครัง้ แรก เดือนกรกฎาคม 2564


จานวน 300 เล่ม

ลิ ขสิ ทธิ์ เป็ นของ


คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์
50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ

เรือ่ งเล่าพระไตรปิ ฎก.-- กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2564.


238 หน้า.
1. พระไตรปิ ฎก. I. ชือ่ เรือ่ ง.
294.318
ISBN 978-616-278-632-7
ที่ ปรึกษากองบรรณาธิ การ :
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตมิ า อินทรัมพรรย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ภรู วิ จั น์ เดชอุม่ รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การพัฒนา
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์วชั ราภรณ์ อาจหาญ ผูอ้ านวยการสถาบันภาษาศาสตร์
และวัฒนธรรมศึกษาราชนครินทร์

บรรณาธิ การ :
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.บารมี อริยะเลิศเมตตา รองหัวหน้าภาควิชาปรัชญาและศาสนา
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รองบรรณาธิ การ :
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.วิไลพร สุจริตธรรมกุล เลขานุการภาควิชาปรัชญาและศาสนา
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กองบรรณาธิ การ-ผู้ทรงคุณวุฒิ :
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ประเวศ อินทองปาน
2. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ชาติเมธี หงษา
3. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.สรณีย์ สายศร
4. ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ชชั วาลย์ ชิงชัย
5. อาจารย์ ดร.เมธี พิทกั ษ์ธรี ะธรรม
6. อาจารย์ ดร.บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ ์
7. อาจารย์ ดร.สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล
8. อาจารย์ ดร.สุชาดา ทองมาลัย
ผู้ช่วยบรรณาธิ การ :
1. สุภาภรณ์ ไชยภัฏ
2. ศรีวรรณ บุญประเสริฐ
3. ศักดิธชั ฉมามหัทธนา

พิ สจู น์ อกั ษร :
1. อาจารย์ ดร.สุรยี ร์ ตั น์ บารุงสุข
2. สุภาภรณ์ ไชยภัฏ

ศิ ลปกรรม :
1. ศักดิธชั ฉมามหัทธนา
2. ทัณฑิมา วราคา
3. สมัย สุวรรณทอง

ภาพปก :
พระไตรปิ ฎกปาฬิ มหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500 อักษรโรมัน พ.ศ. 2548
40 เล่ม ชุดปฐมฤกษ์สาหรับราชอาณาจักรไทย ประดิษฐาน ณ ศาลรัฐธรรมนูญ
เมือ่ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548

แยกสีและพิ มพ์ที่ :
สายธุรกิจโรงพิมพ์ บริษทั อมรินทร์พริน้ ติง้ แอนด์พบั ลิชชิง่ จากัด (มหาชน)
376 ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี) เขตตลิง่ ชัน กรุงเทพฯ 10700
โทร. 0-2422-9000, 0-2882-1010 โทรสาร 0-2433-2742
www.amarin.com
(ณ)

บทบรรณาธิการ

หนังสือเรือ่ งเล่าพระไตรปิ ฎก ได้จดั ทาขึน้ เนื่องในวาระพิเศษเพือ่ เทิดทูนสมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ


เจ้าฟ้ ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ผเู้ ป็ นมหาพุทธมามกะ พระองค์ทรงมีคุณูปการต่อ
พระพุทธศาสนาเป็ นอันมาก

บทความทีป่ รากฏในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมบทความทีเ่ กีย่ วเนื่องกับเรื่องเล่าพระไตรปิ ฎก


โดยบทความแรกได้พูดถึงถิ่นกาเนิดภาษาบาลี ซึ่งในสมัยพุทธกาลพระพุทธองค์ได้ตรัสสอนเหล่า
สาวกด้วยภาษาอะไรนัน้ มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความเห็นและได้แสดงหลักฐานต่าง ๆ เพื่อให้
ผูส้ นใจได้ศกึ ษาค้นคว้า บทความนี้ได้ทาการวิจยั และได้เสนอมุมมองทางวิชาการทีเ่ ป็ นประโยชน์เป็ น
อย่างมาก

บทความต่อมาได้กล่าวถึงการสืบทอดคาสอนจากมุขปาฐะสู่การบันทึกเป็ นลายลักษณ์อกั ษร
เป็ นครัง้ แรกในรูปแบบของใบลาน และมีการปริวรรตเป็ นภาษาท้องถิน่ นัน้ ๆ โดยมีอกั ษรขอมทีใ่ ช้เป็ น
ภาษาในการบันทึกคาสอนพระไตรปิ ฎกในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มปี ระเทศไทยและ
ประเทศกัมพูชา เป็ นต้น

เรื่องเล่าทีส่ าคัญเกีย่ วกับประเทศไทยคือการกล่าวถึงพระไตรปิ ฎกฉบับพิมพ์ในประเทศไทย


จากรัชกาลที่ 1 ถึง ปั จจุบนั ในบทความนี้ได้อธิบายให้ผอู้ ่านทราบถึงประวัตกิ ารพิมพ์พระไตรปิ ฎ กที่
เกิดขึน้ ในประเทศไทยตามวโรกาสต่าง ๆ เป็ นการเล่าเรื่องทีช่ วนติดตามเหมือนกับเราได้ยอ้ นอดีตได้
เห็นความมุมานะอุตสาหะของพระมหากษัตริยไ์ ทยทุกพระองค์ทท่ี รงเห็นความสาคัญในการเผยแพร่
คาสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสู่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีโอกาสได้ศกึ ษา
พร้อมกับน้อมนาคาสอนมาประพฤติปฏิบตั จิ นสยามประเทศได้ชอ่ื ว่าดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา

ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี ทาให้การตีพมิ พ์พระไตรปิ ฎกไม่ได้ถูกจากัดเฉพาะในรูปแบบ


ใบลานหรือหนังสือเท่านัน้ บทความนี้กล่าวถึงพระไตรปิ ฎกฉบับใบลานสู่ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ทาให้เรา
ทราบว่าเมื่อความเจริญเกิดขึ้น งานทางด้านพระพุทธศาสนาก็สามารถนาความเจริญเหล่า นัน้ มา
พัฒนาให้เกิดความสร้างสรรค์สามารถอยูร่ ว่ มกันได้อย่างลงตัว

เมือ่ พระพุทธศาสนาได้รบั การเผยแพร่ไปสูด่ นิ แดนต่าง ๆ เพือ่ ให้ประชาชนท้องถิน่ ได้มโี อกาส


ศึกษาสร้างความเข้าใจต่อคาสอนพระไตรปิ ฎกจึงได้รบั การปริวรรตและบั นทึกเป็ นอักษรภาษาถิน่
(ด)

เช่น อักษรขอม มอญ สิงหล พม่า ลาว ไทย โรมัน เทวนาครี เป็ นต้น นอกจากนี้พระไตรปิ ฎกบาลียงั
ได้รบั การแปลเป็ นภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาไทย พม่า ศรีล ังกา กัมพูชา ลาว อังกฤษ จีน เป็ นต้น
บทความนี้ยงั ได้ถ่ายทอดให้เห็นความสาคัญของพระไตรปิ ฎกอักษรโรมัน ทีแ่ สดงให้เห็นถึงความสนใจ
ในการศึกษาพระไตรปิ ฎกทีข่ ยายเป็ นวงกว้างไม่กาจัดอยูเ่ ฉพาะในทวีปเอเชียเท่านัน้

ยิง่ ไปกว่านัน้ ในหนังสือเล่มนี้ยงั ได้รวบรวมบทความที่เกี่ ยวกับพระไตรปิ ฎกภาษาจีนและ


พระไตรปิ ฎกภาษาทิเบต ซึง่ เป็ น 2 ใน 3 ของพระไตรปิ ฎกสาคัญทางพระพุทธศาสนาทีย่ งั คงสืบทอด
มาถึงปั จจุบนั เพือ่ ทาให้การเล่าเรือ่ งพระไตรปิ ฎกในองค์รวมสมบูรณ์ยงิ่ ขึน้

ค าสอนอัน ล้ า ค่ า ที่ป รากฏในพระไตรปิ ฎกมีท ัง้ ค าสอนที่เ ป็ นปรัช ญามีเ หตุ ม ีผ ล ท าให้
พุทธศาสนิกชนสามารถพิจารณาจนเกิดคาตอบด้วยตัวเอง มิได้สอนเพียงให้เชื่อเท่านัน้ บทความที่
กล่าวถึงพุทธปรัชญาที่ปรากฏในพระไตรปิ ฎกและบทความเรื่องชาดก : ขุมทรัพย์ในพระไตรปิ ฎก
สามารถพิสูจ น์ ใ ห้ผู้อ่า นได้ร บั รู้ถึง คาสอนขององค์ศาสดาที่เ ปรีย บเหมือนเปิ ด ของที่คว่ า ให้ห งาย
เปิ ดแสงสว่างในทีม่ ดื จนเราเกิดปั ญญาและสามารถนามาประยุกต์ใช้ในชีวติ ของเราได้

ปั จจุบนั ได้มอี งค์กรที่ทางานเพื่อการเผยแผ่คาสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี


มากมาย ปรากฏอยู่ในหลายทีห่ ลายแห่งทัวทุ ่ กมุมโลก ทัง้ ทีเ่ ป็ นองค์กรภาครัฐทีใ่ ห้การสนับสนุ นและ
องค์กรของเอกชนทีเ่ ล็งเห็นความสาคัญของพระไตรปิ ฎก ได้รว่ มกันสร้างผลงานทีย่ งิ่ ใหญ่เป็ นรูปธรรม
อันเป็ นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา องค์กรเหล่านี้ทางานอะไรกันบ้างและตัง้ อยู่ทไ่ี หน ผูอ้ า่ นสามารถ
ศึกษาและติดตามได้ในหนังสือฉบับนี้

บทความต่าง ๆ ทีป่ รากฏในหนังสือเล่มนี้กองบรรณาธิการหวังอย่างยิง่ ว่าจะเป็ นประโยชน์


และมีคุ ณู ป ระการต่ อ ผู้ท่ีไ ด้ อ่ า นไม่ ม ากก็น้ อ ยและขอเป็ นส่ ว นหนึ่ ง ในการเผยแพร่ ค าสอนของ
พระพุทธศาสนาให้อยูค่ กู่ บั สังคมไทยตราบนานเท่านาน

(ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.บารมี อริยะเลิศเมตตา)


บรรณาธิการ
(ต)

สารบัญ

ถิ่ นกาเนิ ดภาษาบาลี ............................................................................................................ 1


พระครูปลัดสุวฒั นโพธิคุณ

การสืบทอดพระไตรปิ ฎกใบลานอักษรขอมในประเทศไทยและกัมพูชา ......................... 19


สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล

ความรู้เรื่องพระไตรปิ ฎก .................................................................................................. 43
สุเชาวน์ พลอยชุม

พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับอิ เล็กทรอนิ กส์............................................................................... 55


สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล

พระไตรปิ ฎกบาลีอกั ษรโรมัน............................................................................................ 76


บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ ์

พระไตรปิ ฎกภาษาจีน ....................................................................................................... 91


วิไลพร สุจริตธรรมกุล

พระไตรปิ ฎกทิ เบต .......................................................................................................... 124


Kawasaki Shinjō (ผูเ้ ขียน)
เมธี พิทกั ษ์ธรี ะธรรม (ผูแ้ ปลและเรียบเรียง)

พุทธปรัชญาในพระไตรปิ ฎก ........................................................................................... 140


ประเวศ อินทองปาน
(ถ)

ชาดก : ขุมทรัพย์ในพระไตรปิ ฎก ...................................................................................163


บารมี อริยะเลิศเมตตา

องค์กรที่ทางานพระไตรปิ ฎกบาลีทวโลก
ั่ .......................................................................178
พัชรีพร ศุภพิพฒ
ั น์

ภาคผนวก
ภาพนิ ทรรศการ
สัมมนาวิชาการและนิทรรศการ “พระไตรปิฎกบาลีสสู่ ากล” 55

พระไตรปิฎกบาลีฉบับอิเล็กทรอนิกส์

สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล1

1. บทนา
ภาษาบาลี เป็ นภาษาในกลุ่มภาษาปรากฤตที่นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์จดั ให้อยู่ในกลุ่ม
ภาษาอินโดอารยันยุคกลาง (Middle Indo-Aryan) ซึ่งเป็ นกลุ่มภาษาอินเดียโบราณทีน่ ิยมใช้กนั มาก
ทางตอนเหนื อของอินเดีย เนื่ องจากภาษาบาลีเป็ นภาษาที่ไม่ม ีชุดตัวอักษรเป็ นของตัวเอง ดังนัน้
เราจึงพบเห็นคัมภีร์ภาษาบาลีซ่งึ รวมถึงคัมภีร์พระไตรปิ ฎกบาลี ได้ร บั การสืบทอดรักษามาจนถึง
ปั จจุ บ ันด้วยชุดอักษรที่แตกต่างกันไปตามความนิ ยมในท้องถิ่นนัน้ เช่น ประเทศเมียนมานิ ยมใช้
อักษรพม่า ประเทศศรีลงั กานิยมใช้อกั ษรสิงหล ประเทศไทยนิยมใช้อกั ษรไทยหรืออักษรขอม เป็ นต้น
สาหรับคัมภีรพ์ ระไตรปิ ฎกบาลีฉบับใบลานทีต่ กทอดมาถึงในปั จจุบนั นัน้ อาจแบ่งกลุ่มตามตัวอักษรทีใ่ ช้
จารกันมาแต่โบราณหรือทีเ่ รียกว่าสายจารีตได้เป็ น 4 สายหลัก คือ สายอักษรสิงหล สายอักษรพม่าและ
มอญ สายอักษรขอม และสายอักษรธรรม (แบ่ งเป็ น 2 สาย คือ ธรรมล้า นนา และธรรมอีส าน)
พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับใบลานทีพ่ บในประเทศไทยนิยมใช้ชดุ อักษรขอมและอักษรธรรมไม่ใช้อกั ษรไทย

ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีการตีพมิ พ์มคี วามเจริญก้าวหน้ามากขึน้ ประกอบกับทัง้ พัฒนาการด้าน


ภาษาศาสตร์และอักษรศาสตร์ในโลกตะวันตก การสืบทอดเนื้อหาพระไตรปิ ฎกบาลีจงึ ถูกถ่ายโอนจาก
ใบลานสูก่ ระดาษหนังสือกลายเป็ นพระไตรปิ ฎกฉบับพิมพ์ในรูปแบบหนังสือ ด้วยเหตุน้ี ในปั จจุบนั จึงมี
พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับพิมพ์ท่สี าคัญอยู่หลายฉบับ เช่น พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับสมาคมบาลีปกรณ์
(Pali Text Society) ประเทศอังกฤษ หรือทีน่ ิยมเรียกว่าฉบับ PTS (อักษรโรมัน) พระไตรปิ ฎกบาลี
ฉบับ สยามรัฐ (อัก ษรไทย) พระไตรปิ ฎกบาลีฉ บับ ฉั ฏ ฐสัง คีติ (อัก ษรพม่ า ) พระไตรปิ ฎกบาลี
ฉบับ พุทธชยัน ตี (อักษรสิงหล) เป็ น ต้น จะสังเกตเห็น ได้ว่ า เมื่อเข้า สู่ยุ คสมัย ที่เ ป็ น พระไตรปิ ฎ ก
ฉบับพิมพ์แล้ว พระไตรปิ ฎกบาลีได้รบั การถ่ายทอดบันทึกไว้ดว้ ยอักษรอืน่ ๆ เพิม่ เติมมากยิง่ ขึน้ ไปอีก
เช่ น อัก ษรโรมัน อัก ษรไทย เป็ นต้น อย่ า งไรก็ต าม ในด้า นเนื้ อความนั น้ ต้น ฉบับ ในการจัด ทา
พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับพิมพ์เหล่านี้กค็ อื คัมภีรพ์ ระไตรปิ ฎกใบลานในสายจารีตทีไ่ ด้รบั การสืบทอดต่อ
กันมานันเอง

1 หัวหน้าศูนย์ศกึ ษาคัมภีรโ์ บราณ โครงการพระไตรปิ ฎกวิชาการ ศูนย์พทุ ธศาสตร์ศกึ ษา DCI


56 เรื่องเล่าพระไตรปิฎก

เมือ่ เข้าสูย่ คุ ดิจทิ ลั จึงได้มกี ารพิมพ์ขอ้ มูลพระไตรปิ ฎกฉบับพิมพ์เข้าสูร่ ะบบคอมพิวเตอร์ และ


จัด สร้า งฐานข้อมูล พระไตรปิ ฎ กฉบับ อิเ ล็ กทรอนิ กส์ข้นึ ปั จ จุ บ ัน จึงมีฐานข้อมูล พระไตรปิ ฎ กบาลี
ทีผ่ สู้ นใจศึกษาสามารถเลือกใช้อา้ งอิงได้หลายฉบับหลายเวอร์ชนั โดยฐานข้อมูลดังกล่าวทัง้ หมดล้วน
จัดทาขึน้ มาจากพระไตรปิ ฎกฉบับพิมพ์ทงั ้ สิน้ (สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล, 2558, น. 290-292)

2. ต้นฉบับของพระไตรปิ ฎกบาลีฉบับอิ เล็กทรอนิ กส์


2.1 พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับใบลาน

คัม ภีร์พ ระไตรปิ ฎ กบาลีฉบับ ใบลาน มีการจารึกสืบ ทอดกัน มาเป็ น 4 สายจารีตใหญ่ คือ
สายอัก ษรสิง หลในศรีล ัง กา สายอัก ษรพม่ า ในเมีย นมา สายอัก ษรขอมในไทยและกัม พูช า และ
สายอักษรธรรมในตอนเหนือและอีสานของไทยรวมถึงลาวซึง่ เป็ นดินแดนล้านนาและล้านช้างในอดีต
ซึง่ คัมภีรใ์ บลานในแต่ละสายจารีตต่างก็มลี กั ษณะเฉพาะทีแ่ ตกต่างกันไปตามลักษณะของใบลานและ
ธรรมเนียมความนิยมในแต่ละท้องถิน่

โดยทัว่ ไป คัม ภีร์ใ บลานจะถู ก เก็บ รวมเป็ นมัด มีไ ม้ป ระกับ ประกบส่ว นบนและส่ว นล่ า ง
เพื่อเพิม่ ความแข็งแรง อาจมีการห่อเก็บด้วยผ้าเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษา สาหรับส่วนที่บอก
รายละเอียดเกีย่ วกับคัมภีรใ์ บลานนัน้ ๆ เช่น เป็ นคัมภีรใ์ ด ใครเป็ นผูส้ ร้าง สร้างทีใ่ ด เมื่อปี ใด เป็ นต้น
หรือที่เรียกว่า บันทึกผู้จาร (Colophon) อาจเขียนไว้ในใบลานหน้ าแรกหรือหน้าสุดท้ายหรือเขียน
ในวัสดุทแ่ี ยกต่างหาก

ผ้าห่อ

ใบลาน ไม้ประกับ

บันทึกผูจ้ าร
(Colophon)
ภาพที ่ 1. ส่วนประกอบคัมภีรใ์ บลาน (โครงการพระไตรปิ ฎกวิชาการ)
สัมมนาวิชาการและนิทรรศการ “พระไตรปิฎกบาลีสสู่ ากล” 57

คัมภีร์ใบลานที่จารเสร็จแล้ว จะไม่ใช้ตวั เลขเรียงลาดับหน้ าเหมือนหนังสือทัวไป


่ แต่จะใช้
ตัวอักษรแทน เรียกว่า “อักษรบอกอังกา” ซึ่งเป็ นเครื่องหมายแทนเลขหน้าในใบลานทีจ่ ารไว้บริเวณ
กึง่ กลางริมซ้ายของลานด้านหน้าหรือด้านหลัง กล่าวคือ อักษรบอกอังกาเป็ นอักษรทีใ่ ช้บอกเลขหน้า
ของคัมภีรใ์ บลาน

ลักษณะทางกายภาพของคัมภีร์ใบลานในแต่ ละสายจารีตมีความแตกต่ างกันตามวัสดุ ท่ใี ช้


ความนิ ยมและธรรมเนี ยมปฏิบ ัติ โดยหากเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพของคัมภีร์พระไตรปิ ฎก
ใบลานของแต่ ละสายจารีตพบว่ า คัมภีร์ใบลานสายอักษรสิงหลมีขนาดใหญ่ท่สี ุด ส่วนคัมภีร์ใบลาน
สายอักษรพม่ามีความสูงใกล้เคียงกับสายสิงหลแต่ส นั ้ กว่ า โดยคัมภีร์ใบลานของทัง้ สองสายอักษรมี
จานวนบรรทัดในแต่ละหน้าใบลานประมาณ 8-10 บรรทัด และไม่มกี ารแยกเป็ นผูกย่อยภายในหนึ่งมัดใหญ่

ในขณะที่คมั ภีร์ใ บลานอักษรขอมและคัม ภีร์ใบลานอักษรธรรมมีข นาดใกล้เ คีย งกัน ซึ่งมี


ความสูงน้ อยกว่า คัม ภีร์ใ บลานของสายสิงหลและพม่า แต่ม ีรูปร่างค่อนข้า งยาว โดยคัม ภีร์ใบลาน
อัก ษรขอมมี จ านวนบรรทัด ในแต่ ล ะหน้ า ใบลาน 5 บรรทัด และคัม ภี ร์ ใ บลานอัก ษรธรรมมี
จานวนบรรทัดในแต่ละหน้าใบลานประมาณ 4-6 บรรทัด และมีการแยกเป็ นผูกย่อย ๆ ผูกละประมาณ
24 ใบลาน หรือประมาณ 48 หน้าใบลานในหนึ่งมัดใหญ่

ภาพที ่ 2. คัมภีรใ์ บลานอักษรสิงหลมีขนาดใหญ่สายอักษรอืน่ (โครงการพระไตรปิ ฎกวิชาการ)

ภาพที ่ 3. คัมภีรใ์ บลานอักษรพม่าค่อนข้างสูงแต่สนั ้ (โครงการพระไตรปิ ฎกวิชาการ)


58 เรื่องเล่าพระไตรปิฎก

ภาพที ่ 4. คัมภีรใ์ บลานอักษรขอม (โครงการพระไตรปิ ฎกวิชาการ)

ภาพที ่ 5. คัมภีรใ์ บลานอักษรธรรม (โครงการพระไตรปิ ฎกวิชาการ)

ตารางที่ 1
การเปรียบเทียบทางกายภาพของคัมภีรใ์ บลานใน 4 สายอักษร
สิ งหล พม่า ขอม ธรรม
6-6.5 6-6.5 5 5
ความสูง
เซนติเมตร เซนติเมตร เซนติเมตร เซนติเมตร
60-70 50 50-60 55-60
ความยาว
เซนติเมตร เซนติเมตร เซนติเมตร เซนติเมตร
จานวนบรรทัด 8-10 8-10 5 4-6
ผูกย่อยในมัดใหญ่ – – มีผกู ย่อย มีผกู ย่อย
จานวนอักษร / บรรทัด 80-120 80-120 70-90 48-50

คัม ภี ร์ ใ บลานที่พ บในปั จ จุ บ ัน ส่ ว นใหญ่ ถู ก เก็ บ รัก ษาไว้ ท่ี ห อสมุ ด แห่ ง ชาติ ห้ อ งสมุ ด
มหาวิทยาลัย พิพธิ ภัณฑ์ และวัดเก่าแก่ต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ และบางส่วนนักวิชาการชาวตะวันตก
ก็ม าค้น พบและน ากลับ ไปสู่ป ระเทศของตน โดยเก็บ รัก ษาไว้ใ นพิพ ิธ ภัณ ฑ์ หรือ หอสมุ ด ต่ าง ๆ
โดยพระไตรปิ ฎกฉบับพิมพ์ในแต่ละสายจารีตในปั จจุบนั ล้วนมีต้นฉบับเป็ นคัมภีร์พระไตรปิ ฎกบาลี
ฉบับใบลานในสายอักษรของตนนันเอง ่
สัมมนาวิชาการและนิทรรศการ “พระไตรปิฎกบาลีสสู่ ากล” 59

2.2 พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับพิ มพ์

พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับพิมพ์ทแ่ี พร่หลายอยู่ในปั จจุบนั มีอยู่มากมายหลายฉบับ ซึง่ พอจะแบ่ง


ออกได้เป็ น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ พระไตรปิ ฎกฉบับจารีต และพระไตรปิ ฎกฉบับวิชาการ

พระไตรปิ ฎกฉบับจารีต คือ พระไตรปิ ฎกที่จดั ทาขึ้นโดยยึดเอาเนื้อความตามคัมภีร์ใบลาน


สายจารีตของตนเป็ นสาคัญ เช่น ฉบับสยามรัฐถือเอาใบลานสายอักษรขอมเป็ นสาคัญ ฉบับพุทธชยันตี
ถือเอาใบลานสายอักษรสิงหลเป็ นสาคัญ ฉบับฉัฏฐสังคีตถิ อื เอาใบลานสายอักษรพม่าเป็ นสาคัญ เป็ นต้น

พระไตรปิ ฎกฉบับ วิช าการ คือ พระไตรปิ ฎกที่จ ัด ท าขึ้น โดยให้ค วามส าคัญ กับ ใบลาน
ทุ ก สายจารีต ตามน้ า หนั ก ของหลัก ฐานปฐมภู ม ิ พยายามเทีย บเคีย งและวิ เ คราะห์ เ นื้ อ ความ
แต่ละสายจารีต เลือกเอาศัพท์ท่มี ีหลักฐานสนับสนุ นว่าเก่าแก่ถูกต้องที่สุดตามหลักวิชาการมาใช้
พร้อมทัง้ จัดทาเชิงอรรถบอกให้ทราบว่า เนื้ อหาศัพ ท์ใ นแต่ละสายจารีตเป็ น อย่า งไร พระไตรปิ ฎ ก
ในกลุ่ ม นี้ ท่ีนิ ย มใช้อ้า งอิง กัน อย่ า งแพร่ ห ลายในหมู่ นั ก วิช าการชาวต่ า งประเทศในปั จ จุ บ ัน คือ
ฉบับสมาคมบาลีปกรณ์แห่งประเทศอังกฤษ (Pāli Text Society)

อย่า งไรก็ตาม พระไตรปิ ฎ กบาลีท่ไี ด้ร บั ความนิ ย มและเป็ นที่รู้จ ักแพร่หลายมีอยู่ด้วยกัน


4 ฉบับหลัก ดังนี้

2.2.1 พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับสยามรัฐ (ฉบับไทย)

พระไตรปิ ฎ กบาลีฉบับ สยามรัฐ หรือพระไตรปิ ฎ กฉบับ พระบาทสมเด็จ พระจุ ล จอมเกล้า


เจ้า อยู่ห ัว (ต่ อ ไปจะเรีย กว่ า พระไตรปิ ฎ กฉบับ รัช กาลที่ 5) ที่จ ัด พิม พ์ข้นึ เมื่อ ปี พ.ศ. 2436 เพื่อ
เฉลิมฉลองการครองสิรริ าชสมบัตคิ รบ 25 ปี ของพระองค์ ถือเป็ นการจัดพิมพ์พระไตรปิ ฎกบาลีทงั ้ ชุด
เป็ น ครัง้ แรกของโลก ซึ่งประกอบด้วยคัม ภีร์จ านวน 39 เล่ ม มีเ พีย งคัม ภีร์บ างเล่ม เท่า นัน้ ที่ไม่ได้
จัดพิมพ์ในคราวนัน้ การจัดพิมพ์พระไตรปิ ฎกฉบับรัชกาลที่ 5 ได้สร้างนวัตกรรมหลายประการใน
การสืบทอดพระไตรปิ ฎกบาลีของไทย เช่น เปลี่ยนวิธีการในการสืบทอดจากการจารลงในใบลาน
มาเป็ นการพิมพ์ลงบนหนังสือกระดาษ เปลี่ยนชุดอักษรภาษาบาลีทใ่ี ช้บนั ทึกจากอักษรขอมมาเป็ น
อักษรไทยเป็ นครัง้ แรก เป็ นต้น

สาหรับประเด็นเรื่องต้นฉบับและแนวทางการตรวจชาระของพระไตรปิ ฎกฉบับรัชกาลที่ 5
สันนิษฐานว่าต้นฉบับหลักน่าจะเป็ นพระไตรปิ ฎกใบลานฉบับทองใหญ่และฉบับทองน้อยทีส่ ร้างขึน้ ใน
สมัยรัชกาลที่ 1 และ 3 หรือฉบับอืน่ ทีส่ บื ทอดต่อกันมา โดยคณะผูต้ รวจชาระพระไตรปิ ฎกฉบับรัชกาล
60 เรื่องเล่าพระไตรปิฎก

ที่ 5 ประกอบด้วยพระสงฆ์เถรานุ เถระผูเ้ ชีย่ วชาญพระไตรปิ ฎกและพระสงฆ์เปรียญประโยคสูงและ


จบเปรียญ 3 ประโยคจานวน 110 รูป นอกจากต้นฉบับหลัก ทีเ่ ป็ นพระไตรปิ ฎกใบลานฉบับทองใหญ่
และฉบับทองน้อยแล้ว คณะตรวจชาระยังได้ใช้พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับสิงหล (สี.) พม่า (พ. หรือ ม.)
มอญ (รา. ซึ่ ง มาจากค าว่ า รามัญ ) ยุ โ รป (ยุ . คือ ฉบับ สมาคมบาลี ป กรณ์ ของอัง กฤษ) และ
คัมภีร์อรรถกถา (อ.) มาประกอบในการตรวจชาระด้วย ซึ่งสังเกตได้จากอักษรย่อที่ป รากฏอยู่ใ น
เชิงอรรถพระไตรปิ ฎกฉบับรัชกาลที่ 5 สิง่ ทีน่ ่ าสนใจทีส่ ุดคือ แนวทางในการตรวจชาระพระไตรปิ ฎก
ฉบับรัชกาลที่ 5 เป็ นการตรวจชาระเพื่อสืบทอดต้นฉบับเป็ นสาคัญ กล่าวคือผู้ตรวจชาระจะรักษา
ข้อความของต้นฉบับหลักไว้แล้วแสดงศัพท์ทพ่ี บในพระไตรปิ ฎกฉบับอื่น ๆ ไว้ในเชิงอรรถ แม้เมื่อ
ผูต้ รวจชาระมีความเห็นต่างจากต้นฉบับ แต่กจ็ ะยังคงข้อความตามต้นฉบับเอาไว้แล้วแสดงความเห็น
ของตนไว้ในเชิงอรรถ ต่อมาพระไตรปิ ฎกฉบับรัชกาลที่ 5 ได้กลายเป็ นต้นฉบับหลักของการสังคายนา
ในรัช สมัย พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้า เจ้า อยู่ห ัว รัช กาลที่ 7 โดยได้ต รวจช าระและจัด พิม พ์เ ป็ น
พระไตรปิ ฎกครบทัง้ ชุด 45 เล่มเป็ นพระไตรปิ ฎกบาลีฉบับสยามรัฐในปี พ.ศ. 2468-2471 โดยปรับ
ข้อความบางแห่งในตัวเนื้อความพระไตรปิ ฎกและเพิม่ ศัพท์คาต่างในเชิงอรรถให้มากขึน้ พระไตรปิ ฎก
บาลีฉ บับ สยามรัฐ นี้ เ องที่ไ ด้ร ับ การพิม พ์ซ้ า และได้ร บั การอ้า งอิง อย่ า งแพร่ ห ลายตลอดมาจนถึง
ในปั จจุบนั โดยได้รบั การยอมรับว่าเป็ นพระไตรปิ ฎกบาลีฉบับทีบ่ ริสุทธิ ์และสมบูรณ์ทส่ี บื ทอดมาจาก
คัมภีรใ์ บลานในประเทศไทย (บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ ์, 2562, น. 127-133)

2.2.2 พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับฉัฏฐสังคีติ (ฉบับพม่า)

เมื่อพม่าได้รบั เอกราชจากประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 ได้ไม่นาน รัฐบาลพม่าก็ได้จดั ทา


โครงการเพื่อตรวจชาระพระไตรปิ ฎกบาลีครัง้ สาคัญในประวัตศิ าสตร์พระพุทธศาสนา ณ กรุงย่างกุง้
เมื่อ ปี พ.ศ. 2497-2499 เพื่อ เป็ นการเฉลิม ฉลองในวาระพระพุ ท ธศาสนาครบรอบกึ่ง พุ ท ธกาล
ประเทศเมียนมาเรียกการตรวจชาระครัง้ นี้้ ว่าเป็ น “การสังคายนาครัง้ ที่ 6” ซึ่งเป็ นทีม่ าของชื่อเรียก
พระไตรปิ ฎกฉบับนี้นนเองั่

ในการสังคายนาครัง้ นัน้ รัฐบาลพม่าได้อาราธนาพระเถรานุ เถระชาวเมียนมาผู้เชี่ยวชาญ


พระไตรปิ ฎกจานวน 1,129 รูป ทาสังคายนาเป็ นเวลาหลายปี นอกจากนี้ ยังได้เชิญคณะสงฆ์จาก
ประเทศศรีลงั กา ไทย กัมพูชา และลาวให้มสี ่วนร่วมในการตรวจสอบความถูกต้องของพระไตรปิ ฎก
ฉบับฉัฏฐสังคีตอิ กี ด้วย โดยในระหว่างปี พ.ศ. 2496-2499 ได้มกี ารจัดพิมพ์พระไตรปิ ฎกตามเนื้อหา
ในพระไตรปิ ฎกฉบับสังคายนาครัง้ ที่ 5 หรือที่เรียกว่าพระไตรปิ ฎกฉบับหินอ่อนสมัยพระเจ้ามินดง
เพื่อใช้เป็ นต้นฉบับหลักในการตัง้ ต้นพิจารณาในการสังคายนา จากนัน้ จึงได้จดั พิมพ์พระไตรปิ ฎก
สัมมนาวิชาการและนิทรรศการ “พระไตรปิฎกบาลีสสู่ ากล” 61

ที่ผ่ า นการสัง คายนาครัง้ นี้ อ อกเผยแพร่ใ นปี พ.ศ. 2500-2506 จ านวน 40 เล่ ม ซึ่ง ได้ผ นวกเอา
คัมภีร์เนตติปกรณ์ เปฏโกปเทส และมิลนิ ทปั ญหาไว้ในหมวดขุททกนิกายแห่งพระสุตตันตปิ ฎกด้วย
นอกจากต้น ฉบับ หลักที่เ ป็ น พระไตรปิ ฎ กฉบับ สังคายครัง้ ที่ 5 สมัย พระเจ้า มิน ดงแล้ว คาน าของ
พระไตรปิ ฎกบาลีฉ บับ ฉั ฏ ฐสัง คีติย ัง ได้ ร ะบุ ถึง หลัก ฐานที่ใ ช้ป ระกอบในการตรวจช าระไว้ด ัง นี้
พระไตรปิ ฎกสิงหล (sī.) พระไตรปิ ฎกสิงหลบางเล่ม (ka-sī.) พระไตรปิ ฎกสยาม (syā.) พระไตรปิ ฎก
กัมพูชา (kaṃ.) พระไตรปิ ฎกฉบับสมาคมบาลีปกรณ์ (i.) พระไตรปิ ฎกพม่าบางเล่ม (ka-ma.) และ
อรรถกถา (ṭṭha.) โดยตัง้ แต่มกี ารจัดพิมพ์พระไตรปิ ฎกฉบับฉัฏฐสังคีตเิ ป็ นต้นมา พระไตรปิ ฎกฉบับนี้ก็
ได้รบั การยอมรับและถูกใช้อา้ งอิงอย่างกว้างขวางทัวโลก ่ โดยได้จดั ทาเป็ นซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน
ทีส่ ามารถสืบค้นเป็ นอักษรโรมันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว (บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ ์, 2562, น. 133-136)

2.2.3 พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับพุทธชยันตี (ฉบับสิงหล)

นอกจากประเทศเมีย นมาแล้ ว ประเทศศรีล ัง กาก็ เ ป็ นอี ก ประเทศหนึ่ ง ที่ต รวจช าระ


พระไตรปิ ฎกบาลีเพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่ในวาระเฉลิมฉลองกึง่ พุทธกาล ตามทีไ่ ด้กล่าวไปแล้วข้างต้น
ว่าในการทาสังคายนาครัง้ ที่ 6 รัฐบาลพม่าได้เชิญคณะสงฆ์จากประเทศศรีลงั กา ไทย กัมพูชา และลาว
ให้มสี ่วนร่วมในการตรวจสอบความถูกต้องของพระไตรปิ ฎกบาลีฉบับฉัฏฐสังคีติ ในบรรดาประเทศ
ทัง้ หลายเหล่านี้ ศรีลงั กาเป็ นประเทศทีม่ คี วามกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมตรวจสอบร่างต้น ฉบับ
มากทีส่ ุด โดยศรีลงั กาได้ตงั ้ คณะตรวจชาระทีป่ ระกอบด้วยพระเถรานุ เถระ ผูเ้ ชีย่ วชาญพระไตรปิ ฎก
จานวน 185 รูปเพื่อทาหน้าทีต่ รวจแก้ร่างต้นฉบับของฉบับฉัฏฐสังคีตโิ ดยสอบเทียบกับพระไตรปิ ฎก
สายสิงหลแล้วสรุปแก้ไขตามมติของคณะตรวจชาระชุดนี้ก่อนทีจ่ ะส่งต้นฉบับทีแ่ ก้ไขแล้วกลับไปยัง
ประเทศเมียนมา ต่อมารัฐบาลศรีลงั กาได้จดั สังคายนาของตนต่างหากเมื่อปี พ.ศ. 2500 เพียงปี เดียว
หลังจากทีส่ งั คายนาครัง้ ที่ 6 ในเมียนมาเสร็จสิน้ ลง

ศรีลงั กาทยอยจัดพิมพ์พระไตรปิ ฎกบาลีพร้อมกับคาแปลภาษาสิงหลออกมาจานวน 52 เล่ม


ในปี พ.ศ. 2500-2532 เรียกว่าพระไตรปิ ฎกฉบับพุทธชยันตี โดยหน้าเลขคูจ่ ะเป็ นเนื้อความภาษาบาลี
และหน้าเลขคีจ่ ะเป็ นคาแปลภาษาสิงหล จึงทาให้พระไตรปิ ฎกฉบับนี้มขี นาดรูปเล่มและมีจานวนเล่ม
มากกว่าฉบับอื่น เมื่อตรวจสอบคานาของพระไตรปิ ฎกฉบับพุทธชยันตีก็พบว่า โดยภาพรวมแล้ว
ต้นฉบับทีใ่ ช้ประกอบการตรวจชาระมีดงั นี้ พระไตรปิ ฎกฉบับใบลานสิงหล (sī.) พระไตรปิ ฎกฉบับ
พิมพ์อกั ษรสิงหล (sī.mu.) พระไตรปิ ฎกสยาม (syā.) พระไตรปิ ฎกพม่าฉบับฉัฏฐสังคีติ (ma.cha.sa.)
และพระไตรปิ ฎกฉบับสมาคมบาลีปกรณ์ (PTS.) แม้พระไตรปิ ฎกฉบับพุทธชยันตีจะจัดทาในเวลา
ทีไ่ ล่เลีย่ กับพระไตรปิ ฎกฉบับฉัฏฐสังคีตแิ ละจัดพิมพ์ออกมาทันทีหลังการสังคายนาครัง้ ที่ 6 ของพม่า
62 เรื่องเล่าพระไตรปิฎก

แต่พระไตรปิ ฎกฉบับนี้ค่อนข้างได้รบั การอ้างอิงในวงจากัดเฉพาะประเทศศรีลงั กาและนักวิชาการ


ทีอ่ า่ นอักษรสิงหลได้เท่านัน้ (บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ ์, 2562, น. 137-138)

2.2.4 พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับสมาคมบาลีปกรณ์ (ฉบับยุโรป)

โดยภาพรวมแล้ว พระไตรปิ ฎกสายเอเชียได้ใช้แนวทางตรวจชาระแบบสืบทอดเป็ น หลัก


อีกทัง้ งานการตรวจชาระก็เป็ นงานในระดับประเทศที่ได้รบั การอุปถัมภ์จากกษัตริย์หรือจากรัฐบาล
โดยตรง ทาให้สามารถทางานตรวจชาระพระไตรปิ ฎกทัง้ ชุดได้ในคราวเดียวโดยคณะผู้ตรวจชาระ
จ านวนมาก จึง เป็ นเหตุ ใ ห้พ ระไตรปิ ฎ กฉบับ ไทย พม่ า และสิง หลสามารถรัก ษาเนื้ อ ความตาม
สายจารีต ของตนได้ เ ป็ นอย่ า งดีม าจนกระทัง่ ปั จ จุ บ ัน แต่ ป ระวัติค วามเป็ นมาและสถานการณ์
ของพระไตรปิ ฎกบาลีฉบับยุโรปค่อนข้างต่างออกไป

การจัดทาพระไตรปิ ฎกฉบับยุโรปได้เริม่ ต้นอย่างจริงจังเมื่อมี การก่อตัง้ สมาคมบาลีปกรณ์


( Pali Text Society, PTS) ใ น ป ร ะ เ ท ศ อั ง ก ฤ ษ โ ด ย T. W. Rhys Davids ใ น ปี พ . ศ . 2 4 2 4
สมาคมบาลีป กรณ์ ต้องใช้เ วลาในการจัด พิม พ์พ ระไตรปิ ฎ กของตนออกมาจนครบชุด ซึ่งใช้เ วลา
มากกว่า 100 ปี เนื่องจากสมาคมบาลีปกรณ์ ไม่ได้ตงั ้ คณะตรวจชาระขนาดใหญ่อย่างประเทศไทย
พม่า หรือศรีลงั กา จึงไม่ได้ดาเนินการตรวจชาระพระไตรปิ ฎกทัง้ ชุดในคราวเดียว แต่ทยอยมอบหมาย
ให้นักวิชาการแต่ละคนแยกกันไปตรวจชาระคัมภีรเ์ ป็ นเล่ม ๆ ไป ทาให้ระดับคุณภาพการตรวจชาระ
ของคัม ภีร์แ ต่ ล ะเล่ ม ในพระไตรปิ ฎ กฉบับ ยุ โ รปนี้ ไ ม่ ส ม่ า เสมอกัน อย่ า งไรก็ต าม พระไตรปิ ฎ ก
ฉบับยุโรปยังมีจุดแข็งทีส่ าคัญอยู่ประการหนึ่งทีท่ าให้พระไตรปิ ฎกฉบับนี้เป็ นฉบับมาตรฐานทีไ่ ด้รบั
การอ้างอิงอย่างกว้างขวางในวงการวิชาการทัวโลก ่ นัน่ คือแนวทางการ “ตรวจชาระเชิงวิเคราะห์”
ที่ไม่ยดึ ตามเนื้อความของสายจารีตใดจารีตหนึ่งเป็ นการเฉพาะ อย่างไรก็ตามคัมภีร์พระไตรปิ ฎก
เล่มสาคัญ ๆ ของฉบับยุโรปได้จดั ทานานแล้วตัง้ แต่ในยุคทีก่ ารเดินทางข้ามประเทศยังไม่สะดวกสบาย
ทาให้มขี อ้ จากัดในการจัดหาคัมภีรใ์ บลานทีจ่ ะนามาใช้เป็ นต้นฉบับ คัมภีร์หลายเล่มในพระไตรปิ ฎก
ฉบับยุโรปใช้ต้นฉบับประกอบการตรวจชาระเพีย งแค่ 3-6 ฉบับเท่านัน้ ซึ่งน้ อยมากเมื่อเทีย บกับ
คัม ภีร์ไบเบิล ที่อาจใช้ต้น ฉบับ ประกอบการตรวจช าระเชิงวิเ คราะห์ม ากกว่ า 200 ฉบับ โดยสรุป
อาจกล่าวได้ว่า พระไตรปิ ฎกฉบับยุโรปมีแนวทางการตรวจชาระทีด่ ี แต่ยงั มีขอ้ จากัดในการดาเนินการ
หลายด้าน ทาให้การตรวจชาระคัมภีร์ชุดใหญ่อย่างพระไตรปิ ฎกบาลียงั ขาดความสมบูรณ์ อยู่มาก
(บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ ์, 2562, น. 139-141)

ส าหรับ พระไตรปิ ฎ กฉบับ อื่น ๆ นอกจากนี้ ท่ีม ีก ารจัด ท าขึ้น ใหม่ ใ นปั จ จุ บ ัน ล้ว นอาศัย
พระไตรปิ ฎกฉบับ พิม พ์ 4 ฉบับ นี้ ม าเปรีย บเทีย บกัน บ้ า ง อาศัย การแปลงตัว อัก ษรพม่ า ของ
สัมมนาวิชาการและนิทรรศการ “พระไตรปิฎกบาลีสสู่ ากล” 63

ฉบับ ฉัฏ ฐสังคีติข องพม่า มาเป็ น อักษรในภาษาอื่นและจัด พิม พ์ข้นึ บ้า ง และถึงแม้ว่ า พระไตรปิ ฎก
ฉบับพิมพ์จะมีตน้ ฉบับทีแ่ ตกต่างกันออกไปบ้าง แต่ภาพรวมการแบ่งส่วนและเนื้ อหามีความใกล้เคียง
กัน โดยจะแตกต่างกันในเรื่องของจานวนเล่มและการผนวกเนื้ อหาบางส่วนเล็กน้ อย ซึ่งอาจสรุป
การแบ่งเนื้อหาพระไตรปิ ฎกและจานวนเล่มของพระไตรปิ ฎกทัง้ 4 ฉบับหลักได้ดงั นี้

ตารางที่ 2
สรุปการแบ่งเนื้อหาพระไตรปิ ฎกและจานวนเล่มของพระไตรปิ ฎกทัง้ 4 ฉบับหลัก
PTS สยามรัฐ ฉัฏฐสังคีติ พุทธชยันตี
พระวินยั ปิ ฎก 5 8 5 6
ทีฆนิกาย 3 3 3 3
มัชฌิมนิกาย 3 3 3 3
สังยุตตนิกาย 5 5 3 5
อังคุตรนิกาย 5 5 3 6
ขุทกนิกาย 18 9 11 17
พระอภิธรรมปิ ฎก 9 12 12 12
รวม 48 เล่ม 45 เล่ม 40 เล่ม 52 เล่ม

3. พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับอิ เล็กทรอนิ กส์และแนวทางการใช้งาน


เมื่อยุ คสมัย เปลี่ย นไปเทคโนโลยีก้า วหน้ า มีความเจริญ ก้า วหน้ า มากขึ้น จึงมีการจัด ท า
พระไตรปิ ฎ กบาลีฉบับ อิเ ล็กทรอนิ กส์ข้นึ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน โดยเปลี่ย นรูป แบบจาก
การตีพมิ พ์ลงในกระดาษมาเป็ นรูปแบบไฟล์ดจิ ทิ ลั หรือฐานข้อมูลทีใ่ ช้งานผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน
ซึ่งไม่เพียงแค่จดั ทาเป็ นไฟล์อเิ ล็กทรอนิ กส์หรือไฟล์ pdf ที่เป็ นรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิ กส์แ ทน
ฉบับพิมพ์เท่านัน้ แต่ในบางฉบับยังมีฟังก์ชนั ช่วยในการศึกษา ค้นหา และเปรียบเทียบกับฉบับอื่น ๆ
รวมถึงฉบับแปลอีกด้วย

ต่อไปจะแนะนาตัวอย่างพระไตรปิ ฎกบาลีฉบับอิเล็กทรอนิกส์ทน่ี ่ าสนใจ และได้รบั ความนิยม


ในปั จจุบนั ทัง้ ในส่วนของพระไตรปิ ฎกฉบับอิเล็กทรอนิกส์ทใ่ี ช้ฐานข้อมูลของพระไตรปิ ฎกฉบับพิมพ์
ภาษาบาลีแ ละภาษาไทยของประเทศไทย ตลอดจนพระไตรปิ ฎ กบาลีฉ บับ อิเ ล็ก ทรอนิ ก ส์ ท่ีใ ช้
64 เรื่องเล่าพระไตรปิฎก

ฐานข้อมูลของพระไตรปิ ฎ กฉบับพิมพ์ข องประเทศต่า ง ๆ รวมถึงแนวโน้ มของพระไตรปิ ฎ กบาลี


ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต

3.1 พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับอิ เล็กทรอนิ กส์ฉบับไทย

ในยุคเริม่ ต้นมีโครงงานในความดูแลของสานักคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งใช้ขอ้ มูล


จากพระไตรปิ ฎกฉบับสยามรัฐ เริม่ โครงงานเมื่อ พ.ศ. 2530 เสร็จออกเผยแพร่เป็ น BUDSIR I เมื่อ
พ.ศ. 2531 แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากโปรแกรม BUDSIR I เป็ นพระไตรปิ ฎกบาลีตวั อักษรไทยทาให้
ยังไม่แพร่หลายในระดับนานาประเทศ จึงมีการพัฒนาโครงการต่อเป็ นโปรแกรม BUDSIR II ซึ่ง
สามารถแปลงเนื้อหาเป็ นตัวอักษรโรมัน นอกจากนี้ยงั มีการพัฒนาความสามารถในการค้นคา ตลอดจน
มีการขยายขอบเขตไปถึงเนื้อหาในอรรถกถาอีกด้วย โดยมีการเชื่อมต่อระหว่างข้อมูลในพระไตรปิ ฎก
และอรรถกถาไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน และมีการแปลงข้อมูลทัง้ หมดเป็ นอักษรโรมัน และมีการเก็บ
บันทึกในรูปแบบ CD-ROM โดยแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2537 และถูกนามาใช้ในรูปแบบ CD-ROM และ
โปรแกรมนับแต่นนั ้ เป็ นต้นมา (https://www.mahidol.ac.th/budsir/budsir-main.html)

แต่อย่างไรก็ตาม ปั จจุบนั ผู้สนใจสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ ตได้ง่าย รูปแบบการศึกษาค้นคว้า


ของผู้คนจึงเปลี่ยนแปลงไปใช้เว็บไซต์และแอปพลิเคชันมากขึ้น ตลอดจนมีหน่ วยงานต่าง ๆ จัดทา
พระไตรปิ ฎกฉบับอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบทีห่ ลากหลาย และมีฟังก์ชนั การใช้งานทีส่ ะดวกสบายขึน้ ทาให้
พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับอิเล็กทรอนิกส์เป็ นทีน่ ิยมในหมู่นิสติ นักศึกษา นักวิชาการ ตลอดจนบุคคลทีส่ นใจ
มากขึน้ ในทีน่ ้ีจะขอแนะนาตัวอย่างพระไตรปิ ฎกบาลีฉบับอิเล็กทรอนิกส์ฉบับไทยทีน่ ่าสนใจ ดังนี้

3.1.1 เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน E-tipitaka (https://etipitaka.com/)

E-Tipitaka คือ โปรแกรมสาหรับค้นหาและเทียบเคียงพุทธวจนจากพระไตรปิ ฎก โดยเน้น


เรื่องความรวดเร็วและถูกต้องเป็ นสาคัญ อีกทัง้ โปรแกรม E-Tipitaka สามารถใช้งานได้บนหลาย
ระบบปฏิ บ ั ติ ก าร อาทิ เ ช่ น Windows, Linux, Mac OS, Android และ iOS โปรแกรมทัง้ หมด
ถูกพัฒนาโดยคุณสุธี สุดประเสริฐ ซึง่ สามารถใช้งาน แก้ไข และแจกจ่ายโปรแกรมนี้ได้ฟรี มีฟังก์ชนั
การค้นหาได้รวดเร็ว สามารถบันทึกข้อความช่วยจา บันทึกประวัตกิ ารค้นหา และสามารถเทียบเคียง
พระไตรปิ ฎกฉบับไทยฉบับต่าง ๆ ได้ในหน้าเดียวกัน (สุธี สุดประเสริฐ, ม.ป.ป)

E-Tipitaka เน้นพระไตรปิ ฎกฉบับหลักของไทย


โดยใช้ฐานข้อมูลจากพระไตรปิ ฎกภาษาบาลี
ฉบับ สยามรัฐ พระไตรปิ ฎ กภาษาไทยฉบับ หลวง พระไตรปิ ฎ กภาษาไทยฉบับ มหามกุ ฏ ฯ และ
สัมมนาวิชาการและนิทรรศการ “พระไตรปิฎกบาลีสสู่ ากล” 65

พระไตรปิ ฎกภาษาไทยฉบับ มหาจุ ฬ าฯ ซึ่ ง สามารถใช้ ไ ด้ ท ัง้ ในรู ป แบบออนไลน์ แ ละรู ป แบบ
แอปพลิเ คชัน จึง สะดวกและใช้ง านได้ ง่า ย โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ง ความสามารถในการเทีย บเคีย ง
พระไตรปิ ฎกไทยฉบั บ ต่ า ง ๆ ในหน้ า เดี ย วกัน ถื อ เป็ นจุ ด เด่ น ส าคัญ ของพระไตรปิ ฎกบาลี
ฉบับอิเล็กทรอนิกส์น้ี

ภาพที ่ 6. ตัวอย่างการเทียบเคียงพระไตรปิ ฎกฉบับหลวงและฉบับสยามรัฐใน E-Tipitaka


(https://etipitaka.com)

แต่ อย่า งไรก็ตาม ถึงแม้ว่ า E-Tipitaka จะแสดงตาแหน่ งของเนื้ อหาไว้ท่สี ่ว นบนแต่ไ ม่ ม ี


หน้าแสดงภาพรวมหรือหน้าสารบัญย่อยในพระไตรปิ ฎกแต่ละเล่ม จึงยากต่อการหาตาแหน่ งอ้างอิง
ในกรณีเล่มพระไตรปิ ฎกทีม่ หี ลายนิบาตหรือหลายบทย่อยอยู่ภายในเล่มเดียวกัน ทาให้จาเป็ นต้อง
ไปค้น หาเพิ่ม เติม เองหากต้อ งการใส่ ต าแหน่ ง การอ้า งอิง อย่ า งละเอีย ด อีก ทัง้ ยัง ไม่ ม ีฐ านข้อ มูล
ในชัน้ อรรถกถาครบทุกฉบับอย่างเต็มรูปแบบ จึงยังมีขอ้ จากัดในการใช้งานที่ต้องการอ้างอิงไปถึง
ชัน้ อรรถกถา
66 เรื่องเล่าพระไตรปิฎก

ภาพที ่ 6. ตัวอย่างการแสดงตาแหน่งเนื้อหาเล่มพระไตรปิ ฎกมีหลายนิบาตหรือส่วนย่อยใน


E-Tipitaka (https://etipitaka.com)

3.1.2 เว็บไซต์ 84000 (https://84000.org/)

เป็ นเว็บไซต์ท่รี วบรวมพระไตรปิ ฎกฉบับหลักของไทย โดยมีทงั ้ ที่แสดงในรูปแบบสารบัญ


หัวข้อย่อยที่สามารถคลิกเลือกหัวข้อที่สนใจแล้วเชื่อมต่อเข้าไปอ่านเนื้อหาของพระไตรปิ ฎกฉบับ
ต่าง ๆ ได้ ทาให้การหาตาแหน่งอ้างอิงในกรณีเล่มพระไตรปิ ฎกทีม่ หี ลายนิบาตหรือส่วนย่อยอยูภ่ ายใน
เล่มเดียวกันทาได้สะดวกมากขึน้ อีกทัง้ ยังมีฟังก์ชนั ค้นหาตาแหน่ งของเนื้อหาในระดับเล่ม/ข้อ/หน้ า/
บรรทัด ค้นพระไตรปิ ฎกจากข้อความ ชื่อพระสูตร ตลอดจนสามารถสืบค้นได้ถงึ คัมภีร์ชนั ้ อรรถกถา
โดยใช้ฐ านข้อ มูล จากพระไตรปิ ฎ กภาษาบาลีฉ บับ สยามรัฐ พระไตรปิ ฎ กภาษาไทยฉบับ หลวง
พระไตรปิ ฎกภาษาไทยฉบับมหามกุฏฯ และพระไตรปิ ฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาฯ รวมทัง้ อรรถกถา
ภาษาบาลีอกั ษรไทยและฉบับแปลไทยอธิบายเนื้อความในพระไตรปิ ฎก นอกจากนี้ยงั มีพระไตรปิ ฎก
และอรรถกถาภาษาบาลีอ ัก ษรโรมัน ใส่ ไ ว้ใ ห้ส ามารถเทีย บเคีย งกับ ฉบับ อัก ษรไทย ตลอดจน
มีฐานข้อมูลพจนานุ กรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ และฉบับประมวลธรรมสาหรับค้นหาคาศัพท์
ได้อกี ด้วย
สัมมนาวิชาการและนิทรรศการ “พระไตรปิฎกบาลีสสู่ ากล” 67

ภาพที ่ 7. ตัวอย่างการแสดงในรูปแบบสารบัญหัวข้อย่อยทีส่ ามารถไปอ่านเนื้อหาของพระไตรปิ ฎก


แต่ละฉบับในเว็บไซต์ 84000 (https://84000.org/tipitaka/pitaka1/)

ภาพที ่ 8. ตัวอย่างฟั งก์ชนั ค้นหาในเว็บไซต์ 84000 (https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/)


68 เรื่องเล่าพระไตรปิฎก

แต่ อ ย่ า งไรก็ต าม ในส่ ว นของการค้น หาเทีย บเคีย งพระไตรปิ ฎ กฉบับ ไทยฉบับ ต่ า ง ๆ


ยังต้องใช้การเปิ ดหน้าต่างแยกเพือ่ ทาการเทียบเคียงกัน ซึง่ ยังไม่สะดวกเท่ากับฟั งก์ชนั การเทียบเคียง
ใน E-Tipitaka

นอกจากตัวอย่างพระไตรปิ ฎกฉบับอิเล็กทรอนิกส์ทไ่ี ด้ยกขึน้ มาในข้างต้นแล้ว ยังมีพระไตรปิ ฎก


บาลีฉบับอิเล็กทรอนิ กส์ฉบับไทยที่จ ัด ท าโดยหน่ วยงานต่ า ง ๆ อีกหลายฉบับ เช่ น พระไตรปิ ฎ ก
ฉบับ ประชาชน ( http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/) ที่ส ามารถเข้า ไปอ่ า นข้อ มู ล โดยสรุ ป
ของพระไตรปิ ฎกแต่ ล ะเล่ ม ได้ , เว็ บ ไซต์ The Path of Purity ( https://www.thepathofpurity.com)
ทีส่ ามารถเข้าไปดาวน์ โหลดพระไตรปิ ฎกฉบับไทยที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ pdf, เว็บไซต์ TRIPITAKA91
( http://www.tripitaka91.com/index.php) พระไตรปิ ฎกและอรรถกถาแปล มมร. 91 เล่ ม เป็ นต้น
เพือ่ สะดวกต่อการเข้าไปทดลองใช้งาน ผูเ้ ขียนจึงจัดทาเป็ น QR code สรุปเป็ นตารางดังต่อไปนี้

ตารางที่ 3
สรุปตัวอย่างพระไตรปิ ฎกฉบับอิเล็กทรอนิกส์ของไทย
เว็บไซต์ QR code เว็บไซต์ QR code
https://etipitaka.com/search/ http://84000.org/
(ค้นหาเทียบเคียง (ค้นหาเทียบเคียง
พระไตรปิ ฎกฉบับต่าง ๆ) พระไตรปิ ฎกฉบับต่าง ๆ)
http://www.tripitaka91.com http://www.larnbuddhism.c
/index.php om/tripitaka/
(พระไตรปิ ฎกและอรรถกถา (พระไตรปิ ฎกฉบับประชาชน)
แปล มมร. 91 เล่ม)
https://tripitaka- https://www.thepathofpurit
online.blogspot.com/2016/ y.com/home
09/tpd-main.html (ดาวน์โหลดพระไตรปิ ฎก
(พระไตรปิ ฎกแปลภาษาไทย ฉบับต่าง ๆ ไฟล์ pdf)
มจร. 45 เล่ม)
สัมมนาวิชาการและนิทรรศการ “พระไตรปิฎกบาลีสสู่ ากล” 69

3.2 พระไตรปิ ฎกบาลีฉบับอิ เล็กทรอนิ กส์ฉบับอื่น ๆ

นอกจากพระไตรปิ ฎ กบาลีฉบับ อิเ ล็กทรอนิ กส์ฉบับ ไทยที่ใ ช้ฐานข้อมูล จากพระไตรปิ ฎก


ฉบับพิมพ์ของไทยเป็ นหลักแล้ว ยังมีพระไตรปิ ฎกฉบับอิเล็กทรอนิกส์ฉบับอื่น ๆ ทีใ่ ช้ฐานข้อมูลจาก
พระไตรปิ ฎกฉบับพิมพ์ของประเทศอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ในทีน่ ้ีจะขอแนะนาตัวอย่างพระไตรปิ ฎกบาลี
ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ทใ่ี ช้ฐานข้อมูลจากฉบับพิมพ์ของสายอักษรอืน่ ๆ ทีน่ ่าสนใจ ดังนี้

3.2.1 CSCD (Chattha Sangayana CD-ROM) (https://tipitaka.org/)

รัฐ บาลอิ น เดี ย ได้ น าเนื้ อ หาจากพระไตรปิ ฎกฉบั บ ฉั ฏ ฐสัง คี ติ ข องพม่ า มาแปลงเป็ น
ตัวอักษรเทวนาครี และจะนาไปจัดพิมพ์ โดยมอบหมายให้นาลันทามหาวิหารแห่งสถาบันนาลันทา
รับ ผิด ชอบดู แ ล แต่ ก็ม ีค วามคืบ หน้ า เป็ นไปอย่ า งเชื่อ งช้า ๆ ต่ อ มาสถาบัน วิจ ัย วิปั ส สนา ( VRI-
The Vipassana Research Institute) ได้น าพระไตรปิ ฎ กบาลีฉบับ ฉัฏ ฐสังคีติข องพม่า มาจัด ท าเป็ น
ฐานข้อมูลในแผ่น CD-ROM และสามารถแปลงตัวอักษรเป็ นเทวนาครี โรมัน ไทย ลาว กัมพูชา สิงหล
มองโกเลีย และอักษรอืน่ ๆ อีกเป็ นจานวนมาก และได้นาฐานข้อมูลนี้มาจัดพิมพ์เป็ นพระไตรปิ ฎกบาลี
อักษรเทวนาครีดว้ ย ในปั จจุบนั มีทงั ้ รูปแบบเว็บไซต์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซง่ึ สามารถดาวน์โหลด
ได้จากเว็บไซด์

เนื่ องจากสามารถแปลงเป็ น ตัว อักษรได้หลากหลาย ใช้ฐานข้อมูล มีเ นื้ อหาครอบคลุ ม ทัง้


พระไตรปิ ฎ กไปถึงอรรถกถาและฏีกา มีฟั งก์ช นั การค้นหาสามารถใช้งานได้ง่า ยและสะดวก และ
สามารถเลือกขอบเขตการค้นหาได้ในระดับต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ เช่น เลือกเฉพาะพระวินัย พระสูตร
พระอภิธรรม หรือในระดับชัน้ พระไตรปิ ฎก ชัน้ อรรถกถา ชัน้ ฎีกา ฯลฯ จึงได้รบั ความนิยมในวงกว้าง
70 เรื่องเล่าพระไตรปิฎก

ภาพที ่ 9. ตัวอย่างฟั งก์ชนั ค้นหาในโปรแกรม Chattha Sangayana Tipitaka 4.0


ดาวน์โหลดได้จาก https://tipitaka.org/3.2.2 Digital Pali Reader
(https://www.digitalpalireader.online/_dprhtml/index.html)

เป็ นเว็บ ไซต์ ท่ีน าเนื้ อ หาจากพระไตรปิ ฎ กฉบับ ฉั ฏ ฐสัง คีติข องพม่า
Digital Pali Reader
อักษรโรมัน โดยมีเนื้อหาครอบคลุมทัง้ ชัน้ พระไตรปิ ฎก อรรถกถา และฎีกา โดยมีฟังก์ชนั การค้นหา
ในขอบเขตที่หลากหลายใช้ได้ง่ายและสะดวก ทัง้ ค้นหาแบบรวมและแบบแยกส่วน แบบแยกเล่ม
แบบแยกนิกาย ฯลฯ
สัมมนาวิชาการและนิทรรศการ “พระไตรปิฎกบาลีสสู่ ากล” 71

ภาพที ่ 10. ตัวอย่างฟั งก์ชนั ค้นหาใน Digital Pali Reader (https://www.digitalpalireader.online/)

นอกจากนี้ยงั มีฐานข้อมูลจากพจนานุ กรมภาษาบาลีต่าง ๆ อีกหลายฉบับ เช่น A Practical


Grammar of the Pāli, Pāli-English Dictionary (PED), Concise Pāli-English Dictionary (CPED)
เป็ นต้น ซึง่ อานวยความสะดวกให้ผใู้ ช้สามารถอ่านและแปลความหมายได้โดยเลือกดูคาแปลของศัพท์
แต่ละตัวได้อกี ด้วย

ภาพที ่ 11. ตัวอย่างฟั งก์ชนั ดูคาแปลของคาศัพท์ใน Digital Pali Reader


(https://www.digitalpalireader.online/)
72 เรื่องเล่าพระไตรปิฎก

นอกจากตัวอย่างพระไตรปิ ฎกฉบับอิเล็กทรอนิกส์ทไ่ี ด้ยกขึน้ มาในข้างต้นแล้ว ยังมีพระไตรปิ ฎก


บาลีฉบับอิเล็กทรอนิกส์ทจ่ี ดั ทาโดยหน่วยงานต่าง ๆ อีกหลายฉบับ เช่น GRETIL – Göttingen Register
of Electronic Texts in Indian Languages ( http://gretil. sub. uni- goettingen. de/gretil. html#Pali)
ทีส่ ามารถเข้าไปดาวน์โหลดไฟล์ pdf ของพระไตรปิ ฎกบาลีฉบับ PTS สมาคมบาลีปกรณ์ (ซึง่ แปลงเป็ น
ไฟล์อเิ ล็กทรอนิกส์โดยมูลนิธธิ รรมกาย) และไฟล์ pdf ของฉบับพุทธชยันตีของศรีลงั กา, Sarala Sinhala
Tripitaka ( https://apps. apple. com/tr/app/sarala- sinhala- tripitaka/id1 434955 2 93 ) แอปพลิ เ คชั น
พระไตรปิ ฎกพุทธชยันตีอกั ษรสิงหลและคาแปลภาษาสิงหล เป็ นต้น

พระไตรปิ ฎ กบาลีฉบับ อิเ ล็กทรอนิ กส์ส่ว นใหญ่ใ นปั จ จุ บ ัน เป็ น การน าข้อมูล จากหนั ง สือ
มาแปลงเป็ นฐานข้อมูลให้สะดวกในการใช้ ซึง่ เป็ นประโยชน์อย่างมาก สาหรับแนวโน้มอีกอย่างหนึ่ง
ในการพัฒนาพระไตรปิ ฎกบาลีฉบับอิเล็กทรอนิกส์ต่อไปในอนาคต คือการผสานข้อมูลพระไตรปิ ฎก
จากคัมภีร์ใบลานซึ่งเป็ นหลักฐานชัน้ ปฐมภูมขิ องทุกสายจารีตที่มอี ยู่ให้สามารถนามาศึกษาค้น คว้า
ให้เป็ นพระไตรปิ ฎกฉบับวิชาการทีส่ มบูรณ์แบบ (Critical edition)

4. แนวโน้ มของพระไตรปิ ฎกบาลีฉบับอิ เล็กทรอนิ กส์ในอนาคต


เนื่องด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทาให้ปัจจุบนั เราสามารถบันทึกภาพ
คัม ภีร์ ใ บลานเป็ นไฟล์ ภ าพดิจิท ัล และสามารถจัด การฐานข้อ มูล ขนาดใหญ่ ไ ด้ เพื่อ ตอบโจทย์
ความต้องการของนักวิช าการและผู้ส นใจศึกษามากยิ่งขึ้น พระไตรปิ ฎ กบาลีฉบับอิเ ล็กทรอนิกส์
ในอนาคตจึงควรมีลกั ษณะดังนี้

ใช้หลักฐานชัน้ ปฐมภูม ิ (Primary source) คือ คัมภีร์ใบลานซึ่งในทางวิชาการมีคุณค่ามาก


พระไตรปิ ฎกฉบับพิมพ์ต่าง ๆ ทีจ่ ดั ทาขึน้ ใหม่ระยะ 50 ปี มานี้ ไม่มฉี บับใดทีจ่ ดั ทาขึน้ จากคัมภีรใ์ บลาน
โดยตรง อาศัยเพียงการเทียบเคียงจากพระไตรปิ ฎกฉบับหนังสือของประเทศต่าง ๆ และปรับแก้
เล็กน้อยเท่านัน้ ดังนัน้ การใช้คมั ภีรใ์ บลานให้ครบทัง้ 4 สายจารีตหลักมาศึกษาเทียบเคียงกันในจานวน
ทีม่ ากพอจะทาให้เห็นเอกลักษณ์ของแต่ละสายจารีตได้อย่างชัดเจนและถูกต้องตามหลักวิชาการ

ใช้เทคโนโลยีให้เป็ นประโยชน์ โดยถ่ายภาพคัมภีร์ใบลานให้เป็ นไฟล์ภาพดิจทิ ลั และสร้าง


ฐานข้อ มู ล เนื้ อ ความของคัม ภีร์ ใ บลานแต่ ล ะฉบับ แล้ ว น าเนื้ อ ความของคัม ภีร์ ใ บลานทุ ก ฉบับ
มาเปรีย บเทีย บกัน ด้ ว ยโปรแกรมคอมพิว เตอร์ ซึ่ง จะช่ ว ยให้นั ก วิช าการศึก ษาวิเ คราะห์ ศ ัพ ท์
ทีพ่ ระไตรปิ ฎกแต่ละสายจารีตใช้ต่างกัน และยังช่วยให้ผอู้ ่านพระไตรปิ ฎกสามารถเข้าถึงภาพถ่าย
สัมมนาวิชาการและนิทรรศการ “พระไตรปิฎกบาลีสสู่ ากล” 73

ใบลานได้เองโดยตรง หากสนใจเนื้อหาตอนใดเป็ นพิเศษก็สามารถเรียกภาพถ่ายใบลานของเนื้อหา


ตอนนัน้ ขึน้ มาดูได้ทนั ที ทาให้สามารถตรวจสอบหรือสอบทานด้วยตนเองได้

นอกจากนี้ ยังควรจัดทาโดยคณะนักวิชาการบาลีสายจารีตและนักวิชาการบาลีสมัยใหม่จาก
ตะวันตก มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันอย่ างกว้างขวาง เพื่อให้ได้ขอ้ สรุปในศัพท์
แต่ละคาทีถ่ ูกต้องรัดกุมมากกว่าการตัดสินใจของนักวิชาการเพียงคนเดียว รวมทัง้ มีการบันทึกเหตุผล
ในการวินิจฉัยไว้อย่างละเอียด เพื่อให้ผอู้ ่านสามารถทราบทีม่ าของการวินิจฉัยได้ และเมื่อเผยแพร่
ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ทุกคนจะสามารถเข้ามาตรวจสอบ วิเคราะห์ให้ความเห็นแลกเปลี่ยนความรู้
ได้ โดยมีช่องหน้าต่างให้ผอู้ ่านทุกคนสามารถพิมพ์ความเห็นของตนลงไปให้ผอู้ ่านอื่นร่วมอภิปรายได้
ถือเป็ นการรวมองค์ความรูจ้ ากนักวิชาการทัวโลก
่ นับเป็ นคลังปั ญญาแห่งพระไตรปิ ฎก

ในปั จ จุ บ ัน โครงการพระไตรปิ ฎ กวิช าการ ตัง้ เป้ า หมายจัด ทาพระไตรปิ ฎ กฉบับ วิช าการ
ทีม่ ลี กั ษณะดังกล่าวข้างต้นครบถ้วน โดยมีจุดมุง่ หมายเพือ่ ให้ผใู้ ช้สามารถนาเนื้อหาทีป่ รากฏในคัมภีร์
ใบลานในทุกสายจารีตไปศึกษาวิเคราะห์ ตลอดจนเข้าถึงภาพถ่ายใบลานได้อย่างสะดวก รวดเร็วและ
ถูกต้องแม่นยา มีรูปแบบการแสดงผลบนหน้าจอแบ่งออกเป็ น 2 ส่วนหลัก คือ หน้าจอจะแสดงผล
ในรูป แบบเหมือนในหนังสือ แต่ม ีความสามารถเลือกเข้า ไปดูรูป ใบลานของสายจารีตต่า ง ๆ ได้
โดยการเลือกไปที่ช่อื ย่อของใบลานนัน้ ๆ ที่ปรากฏในเชิงอรรถ และหน้ าจอจะแสดงผลในรูปแบบ
ทีท่ าการเทียบเคียงคาคาเดียวกันทีป่ รากฏในใบลานของแต่ละใบลานในแต่ละสายจารีต และสามารถ
เลือกเข้าไปดูรปู ภาพใบลานของสายจารีตต่าง ๆ ได้ โดยการเลือกไปยังศัพท์ทป่ี รากฏในใบลานนัน้ ๆ
ซึ่งนอกจากการแสดงผลในรูปแบบปกติแล้ว ยังมีการแสดงผลในรายละเอียด ซึ่งแสดงรายละเอียด
การวิเคราะห์และผลสรุปของการเปรียบเทียบคาที่ปรากฏว่าแตกต่างในใบลานในแต่ละสายจารีต
โดยสามารถเข้าไปดูรปู ภาพใบลานของสายจารีตต่าง ๆ ได้ โดยการเลือกไปทีช่ ่อื ย่อของใบลานนัน้ ๆ
ทีป่ รากฏในตารางรายละเอียดได้อกี ด้วย

แต่ อย่า งไรก็ตาม การจัด ทาฐานข้อมูล ของไฟล์ภ าพดิจิ ทลั ของคัม ภีร์ใ บลาน ไฟล์ข ้อมูล
ของคัมภีรใ์ บลานแต่ละฉบับ การนาข้อมูลของคัมภีรใ์ บลานทุกฉบับมาเปรียบเทียบกันด้วยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ และการศึกษาวิเคราะห์ศพั ท์ทพ่ี ระไตรปิ ฎกแต่ละสายจารีตใช้ต่างกันโดยนักวิชาการ
แต่ละสายจารีต เป็ นงานสาคัญทีต่ อ้ งอาศัยความร่ว มมือร่วมใจของทุกฝ่ ายทีเ่ กีย่ วข้อง โดยมีเป้ าหมาย
ร่ว มกัน ที่จ ะจัด สร้า งพระไตรปิ ฎ กฉบับ อิเ ล็กทรอนิ กส์ท่มี ีข ้อมูล ครบถ้ว น สมบูร ณ์ แ บบ ใช้งานได้
อย่า งสะดวก อัน จะเป็ น ประโยชน์ แ ก่ผู้ท่สี นใจทัวไป
่ และรักษาคาสอนของพระสัม มาสัม พุทธเจ้า
ทีป่ รากฏในพระไตรปิ ฎกแก่คนรุน่ ใหม่ในอนาคตสืบไป
74 เรื่องเล่าพระไตรปิฎก

5. สรุป
พระไตรปิ ฎกเป็ นคัมภีร์หลักที่รวบรวมเนื้ อหาคาสอนของพระพุทธศาสนาที่สาคัญ และมี
การสืบทอดทรงจาต่อกันมาตัง้ แต่อดีต กล่าวคือ ในยุคพุทธกาลที่ยงั ไม่นิยมการจดจารบันทึกก็ใช้
การท่องจาทัง้ หมดแบบมุขปาฐะ เมื่อเกิดภาวะสงครามที่อาจทาให้พระภิกษุผู้ทรงจาพระไตรปิ ฎก
สูญสิ้นไป ก็ปรับเปลีย่ นเป็ นการจดจารจารึกลงบนใบลาน บรรจงจารทีละตัวอักษรลงบนใบลานด้วย
ความอุตสาหะซึง่ กว่าจะได้คมั ภีรพ์ ระไตรปิ ฎกใบลานจนครบชุดก็ใช้เวลาและกาลังคนเป็ นจานวนมาก
ต่ อ มาเมื่ อ เทคโนโลยี ก ารพิ ม พ์ เ จริ ญ ก้ า วหน้ า สามารถจั ด พิ ม พ์ ไ ด้ ถู ก ต้ อ งแม่ น ย ามากขึ้ น
ในครัง้ ละจ านวนมาก จึง ได้จ ัด ท าพระไตรปิ ฎ กฉบับ พิม พ์ข้นึ ท าให้บุ ค คลทัว่ ไปสามารถเข้า ถึง
พระไตรปิ ฎกได้ ง่ า ยและเป็ นที่แ พร่ ห ลาย จวบจนในยุ ค ปั จ จุ บ ัน ที่เ ทคโนโลยีค อมพิว เตอร์แ ละ
อิน เตอร์เ น็ ต พัฒ นาก้า วไกล ได้ม ีการจัด ทาพระไตรปิ ฎ กฉบับ อิเล็กทรอนิกส์เ พื่อให้ตอบสนองต่อ
รู ป แบบการใช้ ง านของคนรุ่ น ใหม่ แ ละท าให้ พ ระไตรปิ ฎกสามารถเผยแผ่ ข ยายออกไปได้
อย่างกว้างขวางมากขึน้

คาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึง่ บรรจุอยู่ในพระไตรปิ ฎก ได้ถูกสืบทอดด้วยวิธกี ารและ


เทคโนโลยีทน่ี ิยมและดีทส่ี ุดในยุคนัน้ ๆ ด้วยความทุ่มเทของพุทธบริษทั 4 ในแต่ละยุคมาอย่างตลอด
ต่ อ เนื่ อ ง จึง ท าให้ส ามารถส่ ง ต่ อ เนื้ อ หาในพระไตรปิ ฎ กมาอย่ า งถู ก ต้อ งครบถ้ว นแม้ผ่ า นไปกว่ า
2,500 ปี แล้ ว ก็ ต าม และเมื่อ เทคโนโลยีเ จริญ ก้ า วหน้ า มากยิ่ง ขึ้น เราคงได้ เ ห็ น พระไตรปิ ฎ ก
ในรูปแบบใหม่ทด่ี ยี งิ่ ๆ ขึน้ ไปในอนาคต

รายการอ้างอิ ง
บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ ์. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบพระไตรปิ ฎกบาลีฉบับใบลานเพือ่ วินิจฉัยคา
ต่างในพระไตรปิ ฎก : กรณีศกึ ษาจากสุภสูตรแห่งคัมภีรท์ ฆี นิกาย. วารสารธรรมธารา, 5(1),
118-158.
สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล. (2558). แนวทางการสร้างฐานข้อมูลพระไตรปิ ฎกบาลีจากคัมภีรใ์ บลานการ
อ่านและป้ อนเนื้อความคัมภีรใ์ บลาน ทีฆนิกาย มหาวรรค. วารสารธรรมธารา, 1(1), 287-316.
สุธี สุดประเสริฐ. (ม.ป.ป.) E-tipitaka. สืบค้นเมือ่ 20 เมษายน 2564 จาก https://etipitaka.com/.
84000. (2545). 84000. สืบค้นเมือ่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://84000.org/.
สัมมนาวิชาการและนิทรรศการ “พระไตรปิฎกบาลีสสู่ ากล” 75

พระไตรปิ ฎกฉบับประชาชน. (2547). พระไตรปิ ฎกฉบับประชาชน. สืบค้นเมือ่ 28 เมษายน 2563 จาก


http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/.
Mahidol University. (2002). BUDSIR (BUDdhist Scriptures Information Retrieval). สืบค้นเมือ ่
7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.mahidol.ac.th/budsir/budsir-main.html.
The Path of Purity. (ม.ป.ป.). พระไตรปิ ฎก อรรถกถา. สืบค้นเมือ ่ 10 พฤษภาคม 2564 จาก
https://www.thepathofpurity.com.
Tripitaka91.com. (2558) ศึกษาพระไตรปิ ฎก จากหัวข้อธรรม. สืบค้นเมือ ่ 10 มกราคม 2564 จาก
http://www.tripitaka91.com/index.php.
Vipassana Research Institute. (n.d.). CST4 Desktop Software. Retrieved April 29, 2020, from
https://tipitaka.org/.
Digital Pali Reader. (2020). Search. Retrieved May 20, 2020 from
https://www.digitalpalireader.online/_dprhtml/index.html.
GRETIL – Göttingen Register of Electronic Texts in Indian Languages. (2020). E-texts in
Pali. Retrieved February 7, 2019 from http://gretil.sub.uni-goettingen.de/gretil.html#Pali.
Path Nirvana Foundation. (n.d.). Sarala Sinhala Tripitaka. Retrieved May 15, 2019 from
https://apps.apple.com/tr/app/sarala-sinhala-tripitaka/id1434955293.

You might also like