You are on page 1of 23

ข้อมูลการใช้เกลือเพื่อละลายหิมะในแคนาดา

๑. ข้อมูลทั่วไป แคนาดาถือเป็นประเทศที่มีการใช้เกลือต่อหัว (Per capita) มากที่สุดในโลก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้อย่าง


แพร่หลายในการปรับปรุงสภาพถนนช่วงฤดูหนาว ทั้งนี้ แคนาดาสามารถผลิตเกลือได้มากเป็นอันดับ ๔ ของโลก รองจาก
สหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี โดยแคนาดาสามารถผลิตเกลือได้มากกว่า ๑๓ เมตริกตัน (Mt.) ต่อปี และมีศักยภาพผลิต
เกลือเพื่อใช้ภายในประเทศได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม แคนาดานิยมค้าขายเกลือเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะค้าขายเกลือ
กับสหรัฐฯ และมีอัตราการส่งออกเกลือมากกว่าการนำเข้า1
๒. มูลค่าการนำเข้า – ส่งออกเกลือละลายหิมะในแคนาดา แคนาดาเป็นผู้ผลิตเกลือรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก
รองจากสหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี แคนาดาผลิตเกลือมากกว่า 13 ตันต่อปี ทั้งนี้แม้ว่าแคนาดาจะสามารถ
ผลิตเกลือได้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานในประเทศ แต่ก็มีการนำเข้าเกลือจากต่างประเทศเช่นกันโดยเฉพาะ
จากสหรัฐฯ เนื่องจากทั้งสองประเทศมีเขตชายแดนติดต่อกัน การค้าเกลือระหว่างกันเพื่อใช้งานในบางพื้นที่ จึงมี
ราคาถูกกว่าการขนส่งจากแหล่งผลิตภายในประเทศ เนื่องจากเกลือมีราคาถูกกว่าค่าขนส่ง เห็นได้ชัดจากมูลค่าการ
นำเข้า – ส่งออกเกลือของแคนาดาร้อยละ 90 จะเป็นการค้ากับสหรัฐฯ เป็นหลัก2
ปี 2564 แคนาดาได้นำเข้าเกลือละลายหิมะคิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 192 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าเกลือละลายหิมะ
สามารถแบ่ ง ออกเป็ น 3 รายการ คื อ โซเดี ย มคลอไรด์ (Sodium Chloride) แคลเซี ย มคลอไรด์ (Calcium
Chloride) แมกนีเซียมคลอไรด์ (Magnesium chloride) โดยนำเข้าจากสหรัฐฯ มูลค่า 111 ล้านเหรียญสหรัฐ
คิดเป็นร้อยละ 58 รายละเอียดแบ่งได้ดังนี้
1. แคนาดานำเข้าเกลือ 3 คิดเป็นมูลค่า 147.37 ล้านเหรียญสหรัฐจากทั่วโลก โดยเป็นการนำเข้าจาก
สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 78.69 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 54)
2. แคนาดานำเข้าแคลเซียมคลอไรด์ (พิกัด 2828.20) คิดเป็นมูลค่า 37.76 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการ
นำเข้าจากสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 29.54 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 78)
3. แคนาดานำเข้าแมกนีเซียมคลอไรด์ (พิกัด 2827.31) คิดเป็นมูลค่า 7.34 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการ
นำเข้าจากสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 3.14 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 43) (ภาพที่ 1)

1 https://www.thecanadianencyclopedia.ca/en/article/salt
2 https://www.thecanadianencyclopedia.ca/en/article/salt
3 HS 250100 - Salt (Including Table Salt and Denatured Salt) and Pure Sodium Chloride; Sea Water
ห น้ า ที่ | ๒

ภาพที่ 1 สัดส่วนการนำเข้าเกลือละลายหิมะของแคนาดาจากทั่วโลกปี 2564

ที่มา : ic.gc.ca
ในแง่การส่งออก แคนาดา ส่งออกเกลือละลายหิมะคิดเป็นเป็นมูลค่า 238 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการส่งออกสู่
สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 232 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 97 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รายละเอียดแบ่ง
ได้ดังนี้
1. แคนาดาส่งออกเกลือ คิดเป็นมูลค่า 233 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกสู่สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 227 ล้าน
เหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 97)
2. แคนาดาส่งออกแคลเซียมคลอไรด์ คิดเป็นมูลค่า 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการส่งออกสู่สหรัฐฯ
คิดเป็นมูลค่า 4.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 99)
3. แคนาดาส่งออกแมกนีเซีย มคลอไรด์ คิดเป็นมูลค่า 318,843 เหรียญสหรัฐ โดยเป็นการนำเข้าจาก
สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 305,652 เหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 96) (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 สัดส่วนการส่งออกเกลือละลายหิมะของแคนาดา

ที่มา : ic.gc.ca

ที่มา : ic.gc.ca
ห น้ า ที่ | ๓

๓. การใช้เกลือเพื่อละลายหิมะ แคนาดาใช้เกลือเพื่อละลายน้ำแข็งบนท้องถนนโดยเฉลี่ยประมาณ ๕ ล้านตันต่อปี 4


เนื่องจากไอออนส์ (Ions) ในเกลือสามารถลดจุดเยือกแข็งในน้ำได้ และช่วยลดการก่อตัวของน้ำแข็ง โดยนิยมใช้เกลือ
หลายประเภทในการช่วยละลายน้ำแข็ง ดังนี้5
๓.๑ เฮไลต์ (Halite) หรือ เกลือสินเธาว์ (Rock salt) หรือโซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride) ได้มาจาก
การทำเหมืองใต้พื้นดิน และนิยมใช้ในการละลายหิมะหรือน้ำแข็งมากที่สุด ทั้งนี้ ควรใช้เฮไลต์ในปริมาณที่มีความเข้มข้น
ต่ ำ เพื ่ อป้ องกั นการเกิ ดอั นตรายต่ อพั นธุ ์ ไม้ และสิ ่ งแวดล้ อม ใช้ ได้ ในอุ ณหภู ม ิ ต ่ ำ ไม่ เกิ น ๕ องศาฟาเรนไฮต์
(-๑๕ องศาเซลเซียส) และจะใช้ได้ดีในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิระหว่าง ๐ - ๑๐ องศาเซลเซียส6
๓.๒ โพแทสเซียมคลอไรด์ (Potassium Chloride) ได้มาจากการทำเหมืองและใช้สำหรับละลายเกลือบนถนน
ทั้งนี้ โดยทั่วไป โพแทสเซียมคลอไรด์จะนิยมใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืช ดังนั้น เมื่อมีการใช้เกลือประเภทโพแทสเซียมคลอไรด์
บนท้องถนน จะส่งผลให้พืชเติบโตอย่างรวดเร็ว และจะดึงดูดสัตว์ต่าง ๆ ให้มากินหญ้า ผลคือ จะเป็นตัวก่ออันตรายให้กับ
การจราจร
๓.๓ แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride หรือ CaCl2) เป็นสารละลายน้ำแข็งหลัก ที่ใช้กับเคหะสถานเชิง
พาณิชย์และที่พักอาศัย เกลือประเภทแคลเซียมคลอไรด์ จะใช้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกับพื้นที่ที่มีอุณหภูมิ -๒๕ องศาฟาเรนไฮต์
(-๓๑.๖ องศาเซลเซียส) และมีการทำปฏิกริยาที่เร็วกว่าเกลือทั่วไป ทั้งนี้ แคลเซียมคลอไรด์สามารถทำให้ผิวหนัง
ระคายเคืองหากสัมผัสด้วยมือที่เปียกชื้น และเป็นอันตรายต่อหญ้าและพืช แต่เหมาะสำหรับคนที่มีเวลาน้อยที่จะละลาย
น้ำแข็ง
๓.๔ แมกนีเซียมคลอไรด์ (Magnesium Chloride หรือ MgCl2) ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการใช้ลายน้ำแข็ง
ที่เกิดกับเคหะสถานเชิงพาณิชย์และที่พักอาศัย เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยกับสัตว์เลี้ยงและสิ่งแวดล้อม
จึงเหมาะสำหรับกลุ่มคนที่ทำสวนและมีเวลาน้อยในการกำจัดน้ำแข็ง
๓.๕ แคลเซียม แมกนีเซียม อะซิเตท (Calcium Magnesium Acetate หรือ CMA) เหมาะสำหรับการใช้
งานบริเวณลานจอดรถและสนามบิน เกลือประเภทดังกล่าวมีการกัดกร่อนต่ำกว่าเกลือคลอไรด์ประเภทอื่น ๆ และ
ทำปฏิกริยาได้ดีที่อุณหภูมิ ๒๐ องศาฟาเรนไฮต์ (-๖.๖ องศาเซลเซียส) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสร้างความเสียหายต่อ
คอนกรีต หรือยางมะตอย (แอสฟัลต์/Asphalt) น้อย
๓.๖ น้ำเกลือ (Liquid Salt Brine) เกิดจากการนำน้ำมาผสมกับเกลือสินเธาว์ร้อยละ ๒๓ หรือ เกลือสินเธาว์
๒๓๓ กรัมต่อน้ำ ๑ ลิตร และนำมาใช้ในฐานะมาตรการป้องกันเพื่อป้องกันหิมะหรือน้ำแข็งจับตัวกับทางเดิน โดยน้ำเกลือ
จะใช้ก่อนการบำบัดถนน (Pre-treat roads) และใช้เป็นตัวผสมสารทำให้เปียก (Pre-wetting agent) ก่อนพ่นใส่ถนน
เพื่อให้การ ขับขี่ปลอดภัย สำหรับโทรอนโต มีการกำหนดให้ใช้เกลือในอัตรา ๗๐/๙๐/๑๔๐/๑๘๐ กิโลกรัมต่อเลน
กิโลเมตร7

4 https://www.canada.ca/en/environment-climate-change/services/pollutants/road-salts/code-practice-environmental-
management.html
5 https://canadasalt.ca/what-salt-to-be-used-to-remove-ice-snow/
6 https://www.toronto.ca/legdocs/mmis/2020/ie/bgrd/backgroundfile-158592.pdf
7 https://www.toronto.ca/legdocs/mmis/2020/ie/bgrd/backgroundfile-158592.pdf
ห น้ า ที่ | ๔

ตัวอย่างตารางการใช้เกลือสินเธาว์ในการลดการเกิดน้ำแข็งระหว่าง ปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๕ ของโทรอนโต

๔. นโยบายการลดใช้เกลือบนท้องถนนของแคนาดา แคนาดาพิจารณาลดปริมาณการใช้เกลือบนท้องถนน ตั้งแต่ปี


พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยหน่วยงานสิ่งแวดล้อมแคนาดาได้ทำการประเมินผลกระทบการใช้สารโพแทสเซียมคลอไรด์ แคลเซียม
คลอไรด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ โซเดียมคลอไรด์ และน้ำเกลือ (Brines) เพื่อลดการเกิดน้ำแข็ง พบว่าการใช้เกลือบนถนน
ในจำนวนมากจะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศของน้ำจืด ดิน พันธุ์พืช และสัตว์ป่า จึงได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อหาวิธีลดการ
ใช้เกลือประเภทต่าง ๆ ในการกำจัดน้ำแข็งและหิมะ8 ในแต่ละพื้นที่มีการปรับใช้นโยบายลดการใช้เกลือ เช่น
โทรอนโตบริหารจัดการใช้เกลือสำหรับถนนลดลงร้อยละ ๒๕9 หรือในเขต Prince George, British Columbia ซึ่งมี
อากาศหนาวเย็นมากเกินกว่าที่เกลือจะสามารถสร้างปฏิกริยาทางเคมีได้ จึงมีการใช้หินผสมทรายแทนการใช้เกลือ
และเก็บเกลือไว้ใช้สำหรับพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเกิดการลื่นและล้ม เช่น ขั้นบันได10

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.


เดือนเมษายน ๒๕๖๕

8
https://www.canada.ca/en/environment-climate-change/services/pollutants/road-salts/code-practice-environmental-management.html
9
https://www.cbc.ca/news/science/lakes-road-salt-chloride-study-1.4064476
10 https://www.cbc.ca/news/canada/british-columbia/road-salt-sidewalk-at-how-much-to-use-1.5019166
ฝายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ ณ นครลอสแอนเจลิส
Website: www.thaagrila.org
Email: oaala@thaimoac.org

ขอมูลการใชเกลือเพื่อละลายหิมะในสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกา ใชเกลือเพื่อละลายหิมะหรือลดจุดเยือกแข็งบนถนนในชวงฤดูหนาวในมลรัฐที่มีอากาศหนาว
เย็น ไดแก ในเขตภาคตะวันตกตอนกลาง (มิดเวสต) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา โดยปจจุบัน
สหรัฐฯ ใชเกลือละลายหิมะปละกวา 24 ลานตัน ซึ่งสามารถนําไปโรยบนถนนที่มีความยาวประมาณ 8,333 ไมล
ตัวอยางเชน เฉพาะในมลรัฐแมสซาชูเซตส ใชเกลือปละเกือบ 5 แสนตัน ประเภทของเกลือที่ใชเปนเกลือธรรมขาติ
ชนิดเดียวกันกับเกลือที่ใชบริโภคทั่วไป แตเปนเกลือยังไมผานการบวนการทางอุตสาหกรรมที่เรียกวา Rock Salt โดย
สหรัฐฯ สามารถผลิตเกลือไดเองแตก็มีการนําเขาทุกป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. การผลิตในประเทศ
ผลผลิต สหรัฐฯ เปนผูผลิตเกลือรายใหญอันดับที่สองของโลกรองจากประเทศจีน โดยในป 2564 สหรัฐฯ
ประมาณการผลผลิตเกลือไวที่ 40 ลานตัน คิดเปนรอยละ 14 ของผลผลิตโลกซึ่งมีประมาณ 290 ลานตัน โดย
ผลผลิตของสหรัฐฯ ในป 2564 นอยกวาป 2563 ซึ่งผลิตได 41 ลานตัน
แหลงผลิต ที่สําคัญไดแก มลรัฐแคนซัส ลุยเซียนา มิชิแกน นิวยอรก โอไฮโอ เทกซัส และยูทาห ใน
ป 2564 ผลผลิตรวมจากทั้ง 7 มลรัฐ มีประมาณรอยละ 95 ของผลผลิตเกลือทั้งหมดในสหรัฐฯ
ประเภทเกลือ ที่มีจําหนายและใชในสหรัฐฯ แบงออกเปน 4 ชนิด คือ Rock Salt รอยละ 44, Salt in Brine
รอยละ 40, Vacuum Pan Salt รอยละ 10 และ Solar Salt รอยละ 6
ทั้ ง นี้ Rock salt และ salt in brine ส วนใหญ ผลิ ตในมลรั ฐแคนซั ส ลุ ยเซี ยนามิ ชิ แ กน นิ วยอร ก โอไฮโอ
และเท็กซัส สําหรับทะเลสาบน้ําเค็ม (Saline Lakes) และโรงงานผลิตเกลือพลังงานแสงอาทิตยอยูในมลรัฐแอริโซนา
แคลิฟอรเนีย เนวาดา นิวเม็กซิโก โอคลาโฮมา และยูทาห
มูลคาการตลาด ในป 2564 มูลคาการตลาดรวมของเกลือทีจ่ ําหนายหรือใชในสหรัฐฯ ประเมินวามีประมาณ
2,500 ลานเหรียญสหรัฐ โดยมีบริษัท 26 บริษัทที่ดําเนินธุรกิจโรงงานผลิตเกลือซึ่งมีทั้งหมด 63 โรงงาน ตั้งอยูใน
16 มลรั ฐ ผู ผ ลิ ต รายสํ า คั ญ คื อ Cargill, Morton Salt, FMC, Great Lake Salt, United Salt, North American
Salt และ US Salt เปนตน
2. ราคา
2.1 ราคาสงออก (FOB) ของสหรัฐฯ
เหรียญสหรัฐ/ตัน
ชนิด ป 2559 ป 2560 ป 2562 ป 2563 ป 2564
Vacuum and open pan salt 208.04 214.12 215.00 215.00 220.00
Solar salt 115.88 120.56 125.00 120.00 120.00
Rock salt 60.41 60.78 59.00 57.00 56.00
Salt in brine 9.49 8.30 9.00 9.00 9.00
ที่มา: U.S. Geological Survey, Mineral Commodity Summaries, January 2022
-2-
2.2 ราคานําเขา
เหรียญสหรัฐ/ตัน
ชนิด ป 2559 ป 2560 ป 2562 ป 2563 ป 2564 ป 2565
(ม.ค.-ก.พ.)
เกลือรวม 34.76 35.23 33.59 24.16 28.27 32.97
ที่มา: กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA)

3. การใชในประเทศ
สหรัฐฯ มีความตองการใชเกลือภายในประเทศประมาณปละ 54 ลานเมตริกตัน (ผลผลิตในประเทศ +
นําเขา - การสงออก) การใชเกลือในสหรัฐฯ มีหลายรูปแบบ คือ
3.1 ใชในการละลายหิมะในฤดูหนาว รอยละ 42 ของเกลือที่ใชทั้งหมดในสหรัฐฯ
3.2 ใชในอุตสาหกรรมเคมี รอยละ 39 ของเกลือที่จําหนาย (รอยละ 90 เปนเกลือ salt in brine)
3.3 ใชในกิจกรรมอื่นๆ ไดแก จัดจําหนาย รอยละ 9, การแปรรูปอาหาร รอยละ 4, การเกษตร รอย
ละ 2 อุตสาหกรรมทั่วไป รอยละ 1, การบําบัดน้ําเสีย รอยละ 1, และการใชงานอื่นรวมกับการสงออก รอยละ 2
4. ความตองการนําเขา
ปริ ม าณ ในป 2564 สหรั ฐ ฯ นํ า เข า เกลื อ เพื่ อ วั ต ถุ ป ระสงค ทั่ ว ไป (General import) ภายใต พิ กั ด
ศุลกากร (Harmonized Code) 2501.00.0000 คิดเปนปริมาณ 24.69 ลานตัน โดยยกเวนภาษีนําเขาจาก
ประเทศที่มีความสัมพันธทางการคาที่เปนปกติกับสหรัฐฯ (Normal Trade Relations)
แนวโนม การนําเขาเกลือของสหรัฐฯ ในชวง 9 ปที่ผานมา มีแนวโนมเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยรอยละ 6.15
(ภาพที่ 1)

ภาพที่ 1 แนวโน ม การนํา เข า เกลื อ ของสหรั ฐ ฯ ป 2556-2564


30

25

20
ปริมาณ: ล้านต ัน

15

10

-
2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564
ปี

ที่มา: กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA)


-3-
แหลงนําเขา ที่สําคัญ ไดแก เม็กซิโก รอยละ 38 แคนาดา รอยละ 23 ชิลี รอยละ 21 อียิปต รอยละ 5
ปากีสถานรอยละ 5 และอื่นๆ รอยละ 8 (ภาพที่ 2) โดยมีการนําเขาจากประเทศไทยนอยมากเปนอันดับที่ 31 ใน
ปริมาณ 2,480 ตัน
ภาพที่ 2 แหล ง นํา เข า เกลื อ ที่ สํา คั ญ ของสหรั ฐ ฯ ป
Pakistan
others 2564
8%
5% Mexico
Egypt 38%
5%

Chile Canada
21% 23%

ที่มา: กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA)


5. ผลกระทบตอสิ่งแวดลอมของการใชเกลือเพื่อละลายหิมะ
เนื่ อ งจากผลกระทบต อ สภาพแวดล อ มของสาร sodium, chlorine, lead, iron, aluminum และ
phosphorus ที่มีอยูในเกลือเขาสูระบบสิ่งแวดลอม ไดแก แหลงน้ํา ในดิน ซึ่งสงผลกระทบตอสุขภาพมนุษยและพืช
นอกจากนี้ เกลือสามารถเรงปฏิกิริยาเคมีใหเกิดการกัดกรอน (สนิม) สวนประกอบของยานพาหนะที่เปนโลหะ ทําให
บางมลรัฐ เชน New Hampshire ไดกําหนดนโยบาย/กฎระเบียบเพื่อลดการใช Rock salt ในการละลายหิมะ เชน
การพัฒนาอุปกรณเพื่อใหเกลือแพรกระจายโดยใชระบบปด " closed loop systems" การจํากัดความเร็วของรถ
การบังคับใชโซและลอหิมะ (snow tires) เปนตน ซึ่งมาตรการดังกลาวทําใหสามารถลดปริมาณการใชเกลือไปไดถึง
รอยละ 20
6. คาดการณความตองการใชเกลือเพื่อละลายหิมะของสหรัฐฯ
สําหรับฤดูหนาวป 2564-65 องคการบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแหงชาติ (National Oceanic and
Atmospheric Administration: NOAA) ของสหรั ฐ ฯ ได พยากรณ ว าจะเกิ ดสภาพอากาศ La Niña เป น ป ที่ ส อง
ติดตอกัน และคาดการณวาจะมีฝนตกมากกวาปกติในชวงฤดูหนาวในเขตมิดเวสต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสวนใน
และเขตตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ พื้นที่เหลานีค้ าดวาจะมีอุณหภูมิที่อบอุนกวาคาเฉลี่ย ยกเวนทางตะวันตกเฉียง
เหนือซึ่งคาดวาจะไดรับปริมาณน้ําฝนมากกวาคาเฉลี่ย ในขณะที่เขตภาคใตของสหรัฐอเมริกาคาดวาจะมีรูปแบบ
อากาศที่อบอุนและแหงกวาคาเฉลี่ย การคาดการณสภาพอากาศดังกลาวสามารถบงบอกไดวาความตองการ Rock
salt เพื่อใชในการละลายหิมะบนถนนอาจลดลงในเขตมิดเวสตและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ
-4-
7. ขอสังเกตของฝายเกษตรฯ
ผลกระทบจากภาวการณเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ไดกอใหเกิดภาวะอากาศหนาว
ผิดปกติในสหรัฐฯ บอยครั้ง ประกอบกับปจจุบันยังไมมีสารที่ใชทดแทนเกลือไดอยางสมบูรณหรือคุมคาทางเศรษฐกิจ
จึงคาดวาความตองการเกลือเพื่อละลายหิมะยังคงมีอยางตอเนื่องและเพิ่มขึ้น โดยสังเกตไดจากแนวโนมการนําเขา
เกลือที่เพิ่มขึ้นทุกป

ที่มา:
1. USDA: https://apps.fas.usda.gov/gats/
2. U.S. Geological Survey, Mineral Commodity Summaries, January 2022
https://www.usgs.gov/centers/national-minerals-information-center/salt-statistics-and-
information
3. EPA: https://www.epa.gov/snep/winter-coming-and-it-tons-salt-our-roads

ฝายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ ณ นครลอสแอนเจลิส


เมษายน 2565
สำนักงานทีป่ รึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว
Office of Agricultural Affairs, Royal Thai Embassy, Tokyo
https://www.opsmoac.go.th/tokyo

ข้อมูลการใช้เกลือเพือ่ ละลายหิมะในประเทศญี่ปนุ่

1. ชนิดของเกลือเพือ่ ละลายหิมะทีใ่ ช้ในประเทศญีป่ นุ่


สารละลายหิมะและสารป้องกันการแข็งตัวของหิมะที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
สารฯ ที่มีส่วนผสมของเกลือ (คลอไรด์) และสารฯ ที่ไม่มีส่วนผสมของเกลือ โดยสารฯ ที่มีส่วนผสมของเกลือ
ที่ใช้อยู่ในประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ชนิดหลัก ดังนี้

ตารางที่ 1 ชนิดของเกลือเพื่อละลายหิมะที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น
ชนิด จุดเยือกแข็ง ปริมาณทีใ่ ช้ ลักษณะการใช้งาน
(องศาเซลเซียส) (กรัมต่อ ตร.ม.)
โซเดียมคลอไรด์ -20 20 – 40 ใช้เป็นสารป้องกันการแข็งตัวของหิมะเป็นหลัก
(NaCl) ออกฤทธิ์ได้นานและในพื้นที่กว้าง
แมกนีเซียมคลอไรด์ -30 50
(MgCl2)
แคลเซียมคลอไรด์ -50 20 ใช้เป็นสารละลายหิมะเป็นหลัก ออกฤทธิ์ได้เร็ว
(CaCl2) ใช้ในพื้นที่อากาศหนาวจัด

2. ปริมาณความต้องการ
ประเทศญี่ปุ่นจัดให้เกลือเป็นสินค้าสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับการดำรงชีวิตของประชาชน จึงได้กำหนดให้
กระทรวงการคลังญี่ ป ุ่น มีห น้า ที่ ส ำรวจ จัดทำ และเผยแพร่บัญชีอุป สงค์ อุปทานเกลื อ เป็นประจำทุ ก ปี
เพื่อการจัดหาเกลือที่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนและเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม
เกลือในประเทศ
จากบัญชีอุปสงค์อุปทานเกลือพบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปีงบประมาณ 2559 - 2563 ญี่ปุ่นมีความต้องการ
ใช้เกลือในอุตสาหกรรมละลายน้ำแข็ง/หิมะ เฉลี่ย 695,000 ตันต่อปี โดยมีอัตราเติบโตลดลงร้อยละ 5.22 ต่อปี
ความต้องการใช้เกลือสำหรับอุตสาหกรรมละลายน้ำแข็ง/หิมะ คิดเป็นร้อยละ 39.65 ของความต้องการใช้ใน
อุตสาหกรรม และคิดเป็นร้อยละ 8.70 ของความต้องการใช้ทั้งหมด (อุปสงค์) รายละเอียดดังตารางที่ 2
ในภาพรวมแล้ว ประเทศญี่ปุ่นผลิตเกลือในประเทศเฉลี่ยปีละ 912,000 ตัน ขณะที่ นำเข้าจากต่างประเทศ
7,048,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 11.46 และร้อยละ 88.54 ของอุปทานทั้งหมด ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่แล้ว
นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย และเม็กซิโก เป็นหลัก (ปี 2562)

1 7 เมษายน 2565
สำนักงานทีป่ รึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว
Office of Agricultural Affairs, Royal Thai Embassy, Tokyo
https://www.opsmoac.go.th/tokyo

ตารางที่ 2 บัญชีอุปสงค์อุปทานเกลือของประเทศญี่ปุ่น
หน่วย : พันตัน
รายการ ปี งปม. ปี งปม. ปี งปม. ปี งปม. ปี งปม. ค่าเฉลีย่ อัตราเติบโต
2559 2560 2561 2562 2563 5 ปี ต่อปี (%)
สต็อกต้นปี 1,526 1,322 1,105 1,313 1,372 1,328 -2.17
อุปทาน 7,717 8,160 8,225 7,997 7,702 7,960 -0.24
- ผลิตในประเทศ 928 926 929 903 874 912 -1.44
- นำเข้า 6,789 7,234 7,296 7,094 6,829 7,048 -0.08
อุปสงค์ 7,891 8,394 7,976 7,815 7,845 7,984 -0.83
- ใช้ในชีวิตประจำวัน 164 154 147 135 127 145 -6.23
- อุตสาหกรรมโซดา 5,936 6,168 6,130 6,155 6,039 6,086 0.32
- อุตสาหกรรม 1,790 2,073 1,700 1,524 1,678 1,753 -4.27
-- อุตสาหกรรมอาหาร 783 784 745 690 663 733 -4.50
-- อุตสาหกรรมทั่วไป 171 171 175 165 158 168 -1.92
-- ละลายน้ำแข็ง/หิมะ 673 966 618 515 705 695 -5.22
-- ปศุสัตว์ 85 83 79 82 74 81 -2.85
-- การแพทย์ 56 57 74 65 68 64 5.33
-- อื่นๆ 23 10 10 9 9 12 -17.98
สต็อกปลายปี 1,322 1,105 1,313 1,372 1,241 1,271 0.90
ปรับความคลาดเคลือ่ น 31 -17 40 123 -11 - -
หมายเหตุ
1. ปีงบประมาณญี่ปุ่นเริ่มนับจากเดือนเมษายนถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป
2. อุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ ของหมักดอง เต้าเจี้ยว โชยุ สินค้าประมง เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป ฯลฯ
3. ปรับความคลาดเคลื่อน = สต็อกต้นปี + อุปทาน – อุปสงค์ - สต็อกปลายปี

3. ตัวอย่างผลิตภัณฑ์และราคาจำหน่าย
จากการสืบค้นเว็บไซต์ Rakuten ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับซื้อขายออนไลน์ในประเทศญี่ปุ่น พบมีการวาง
จำหน่ายสารละลายหิมะและสารป้องกันการแข็งตัวของหิมะที่ทำจากเกลือ ทั้ง 3 ชนิด ทั้งที่ผลิตในประเทศและ
นำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีรายละเอียดของตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ดังนี้

2 7 เมษายน 2565
สำนักงานทีป่ รึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว
Office of Agricultural Affairs, Royal Thai Embassy, Tokyo
https://www.opsmoac.go.th/tokyo

ตารางที่ 3 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เกลือทีใ่ ช้สำหรับละลาย/ป้องกันการแข็งตัวของหิมะ


ชือ่ ผลิตภัณฑ์ แหล่งผลิต/นำเข้า ราคาจำหน่าย รูปภาพ
สารละลายหิมะ จีน 2,860 เยน / 20 กก.
Boiler Salt (Nacl)
บริษัท Japan Salt

Boiler Salt (Nacl) ภายในประเทศ 3,704 เยน / 25 กก.


บริษัท Naruto Salt

Bojin Kun (MgCl2) ภายในประเทศ 4,290 เยน / 20 กก.


บริษัท Nio Kosan

Magurando (MgCl2) ภายในประเทศ 4,420 เยน / 25 กก.


บริษัท Ako Kasei

แคลเซียมคลอไรด์ชนิด ภายในประเทศ 4,180 เยน / 25 กก.


เม็ด (CaCl2)
บริษัท Tokuyama

สารป้องกันการแข็งตัว จีน 3,190 เยน / 25 กก.


ของหิมะ แคลเซียมคลอ
ไรด์ (CaCl2)
บริษัท E Life

4. ปัญหาในการใช้เกลือเพือ่ ละลายหิมะ
การใช้เกลือเพื่อละลายหิมะเป็นสาเหตุของการกัดกร่อนของโลหะ ทำให้วัตถุที่ทำจากโลหะ เช่น รถยนต์
เป็นสนิมได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การใช้เกลือยังส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้และดอกไม้ที่ปลูกไว้ริม
ถนนที่มีการใช้สารละลายหิมะและสารป้องกันการแข็งตัวของหิมะอีกด้วย

3 7 เมษายน 2565
สำนักงานทีป่ รึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว
Office of Agricultural Affairs, Royal Thai Embassy, Tokyo
https://www.opsmoac.go.th/tokyo

เพื่อเป็นการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว ปัจจุบัน นอกจากเกลือละลายหิมะแล้ว ยังมีการใช้ส ารฯ


ที่ไม่มีส่วนผสมของเกลือ (คลอไรด์) เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวด้วยเช่น กรดอะซิติก แคลเซียมแมกนีเซียม
อะซิเตท (CMA) โซเดียมฟอร์เมท ยูเรีย ฯลฯ

5. แหล่งข้อมูล
6.1 “ผลการสำรวจประสิ ท ธิ ภ าพของสารป้ อ งกั น การแข็ ง ตั ว ของหิ ม ะ”, Mr. Takashi HASEGAWA,
กระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น, http://www.hrr.mlit.go.jp/library/happyoukai/
h27/E/E18.pdf
6.2 “บัญชีอุปสงค์อุปทานเกลือ”, กระทรวงการคลังญี่ปุ่น, https://www.mof.go.jp/policy/tab_salt/
reference/salt_result/index.htm
6.3 “สารละลายหิมะ ส่วนประกอบ ประสิทธิภาพ และวิธีใช้”, บริษัท Zurich, https://www.zurich.co.jp/
car/useful/guide/cc-whatis-snow-melt/
6.4 “กฎระเบียบเกี่ยวกับเกลือ ญี่ปุ่น”, สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว,
5 ตุลาคม 2563

*********************************************

4 7 เมษายน 2565
สำนักงำนที่ปรึกษำกำรเกษตรต่ำงประเทศ ประจำกรุงโตเกียว

กฎระเบียบเกี่ยวกับเกลือ ญี่ปุ่น

การผลิต การค้า นาเข้าเกลือในประเทศญี่ปุ่น อยู่ในการกากับดูแลของกระทรวงการคลัง ภายใต้พระราชบัญญัติ


ธุรกิจเกลือ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา
พระราชบัญญัติธุรกิจเกลือ
- กาหนดให้ “เกลือ” หมายถึง ของแข็งที่มโี ซเดียมคลอไรด์เป็นส่วนประกอบตั้งแต่ร้อยละ ๔๐ ยกเว้น
Nitratine, Kainite, Silvinit และแร่ธาตุอื่นๆ ที่กาหนดตามประกาศกระทรวงการคลัง
และ “เกลือชนิดพิเศษ” หมายถึง เกลือ ๗ รายการต่อไปนี้
๑. เกลือที่เป็นยา หรือ เครื่องสาอางตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติควบคุมยาและเครื่องมือการแพทย์
๒. Sodium Chloride Reagent
๓. เกลือที่ใช้เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ (culture medium) หรือที่ใช้เพื่องานวิจัย ศึกษา
๔. เกลือที่ใช้เร่งปฏิกริยาในกระบวนการชุบทองแดง
๕. ก้อนเกลือที่มีส่วนประกอบของสังกะสี เหล็กหรือโลหะอื่น
๖. สิ่งที่มีโซเดียมคลอไรด์ไม่เกินร้อยละ ๖๐ และแยกจากสารประกอบอื่นได้ยาก
๗. เกลือสาหรับการทดลองจาหน่ายในสถานที่เฉพาะที่กาหนดและมีปริมาณไม่เกิน ๑๐๐ ตันต่อปี
- ให้กระทรวงการคลังประมาณการเกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทานของเกลือในประเทศญี่ปุ่นทุกปีงบประมาณ โดย
แยกประเภทการใช้งาน ได้แก่ การบริโภคในครัวเรือน การใช้ของหน่วยธุรกิจ การใช้ในอุตสาหกรรมโซดา
(Soda Industry) และเผยแพร่ข้อมูลให้ทราบโดยทั่วกัน
- ผู้ผลิตเกลือ หมายถึง ผู้ทาการผลิต แปรรูป แปรสภาพ เพิ่มมูลค่าการใช้เกลือ
ผู้นาเข้า หมายถึง ผู้นาเข้าเกลือจากต่างประเทศ เพื่อจาหน่าย หรือใช้งานเอง
พ่อค้าส่ง หมายถึง ผู้ซื้อเกลือจากผู้ผลิต และจาหน่ายต่อให้หน่วยธุรกิจหรือผู้บริโภค โดยไม่เปลี่ยนสภาพเกลือ
- ผู้ผลิต ผู้นาเข้า พ่อค้าส่ง จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยการขึ้นทะเบียนเพื่อ
ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเกลือในประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตและผู้นาเข้าจะต้องจัดทาบันทึกการดาเนินการต่างๆตาม
ข้อกาหนดกระทรวงการคลัง และจะต้องให้ความร่วมมือในการรวบรวมข้อมูลสาหรับการประมาณการอุปสงค์
และอุปทานทุกปีงบประมาณ
ศูนย์อุตสาหกรรมเกลือ The Salt Industry Center
พระราชบัญญัติธุรกิจเกลือ กาหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมเกลือ (The Salt Industry Center) ซึ่งมี
บทบาทหน้าที่ดังนี้
๑. จัดหา (supply) เกลือเพื่อใช้ในการดารงชีวิต เป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตกับพ่อค้าส่ง
๒. สารองเกลือ
๓. จัดหา (supply) เกลือในยามฉุกเฉิน (ขาดแคลน)
๔. อบรม ให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมเกลือ
๕. รวบรวม และ เผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการผลิต จาหน่าย นาเข้าเกลือ

ถนอมศรี / ๕ ตุลาคม ๒๕๖๓


สำนักงำนที่ปรึกษำกำรเกษตรต่ำงประเทศ ประจำกรุงโตเกียว

๖. สารวจวิจัยเกี่ยวกับการผลิต จาหน่าย นาเข้าเกลือ


๗. ตรวจสอบคุณภาพเกลือ
ความปลอดภัยด้านอาหารของเกลือญี่ปุ่น
พระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น (Food Sanitation Law) มิได้กาหนดมาตรฐานสาหรับเกลือเป็นการ
เฉพาะ สารปรุงแต่งอาหาร (food additives) ส่วนใหญ่ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเกลือญี่ปุ่น ได้แก่
Ammonium ferric citrate, Magnesium Sulfate, Calcium Chloride, Silicon Dioxide
สภาการค้าเกลือ Salt Fair Trade Council
ก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๕๑ จากการรวมตัวของพ่อค้าเกลือจานวน ๑๒ บริษัท ปัจจุบัน (กันยายน ๒๕๖๓) มีสมาชิก
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเกลือทั่วประเทศ จานวน ๑๖๔ บริษัท กิจกรรมหลักของสภาการค้าเกลือ ได้แก่
๑. กาหนดกฎเกณฑ์ที่สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สาหรับการกากับฉลากเกลือที่ใช้เป็นอาหารสาหรับ
ผู้บริโภค เกลือที่ผลิตโดยบริษัทสมาชิกที่ผ่านการตรวจสอบ สามารถแสดงเครื่องหมายของสภาฯ เพื่อเป็น
การสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพเกลือที่เป็นอาหาร แก่ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค
๒. สารวจคุณภาพเกลือที่จาหน่ายทั่วไปว่าสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุในฉลากที่กากับหรือไม่ รายงาน
หน่วยงานภาครัฐกรณีสารวจพบสินค้าเกลือที่ผิดกฎหมาย
๓. ให้ข้อมูล ให้คาปรึกษาเกี่ยวกับการกากับฉลากเกลือที่เป็นอาหาร
๔. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการดาเนินการตามกฎเกณฑ์ในการกากับฉลากเกลือของสภา
๕. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวบรวมข้อมูลจากผู้ซื้อ/ผู้บริโภค
๖. ตรวจยืนยัน ป้องกันการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ในการกากับฉลากเกลือที่เป็นอาหาร
๗. ประสานงานร่วมมือกับกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุขฯ กระทรวงเกษตรฯ ทบวงผู้บริโภค
หน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นต่างๆ เพื่อการบริหารงานของสภาอย่างราบรื่น แสดงข้อคิดเห็นในฐานะตัวแทน
ผู้ประกอบการเกลือที่เป็นอาหาร
- กฎเกณฑ์ในการกากับฉลากเกลือดังกล่าว ใช้เฉพาะกับเกลือที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆที่จาหน่ายแก่
ผู้บริโภคทั่วไป ยกเว้นเกลือที่ไม่มีการบรรจุหีบห่อ เกลือที่มีอาหารอื่นผสม เช่น เกลือรสชา พริกเกลือฯ
- นอกเหนือจากการกากับฉลากในสินค้าเกลือแล้ว สภาฯยังกาหนดให้กฎเกณฑ์ดังกล่าวคลอบคลุมรายละเอียด
ที่ใช้ในการโฆษณา การจาหน่ายเกลือนั้นผ่านสื่อต่างๆด้วย
- ฉลากกากับต้องระบุรายละเอียดวัตถุดิบที่ใช้ กรรมวิธีผลิต ชื่อประเทศที่นาเข้า คุณค่าทางโภชนาการอย่าง
น้อย ๕ รายการ (แคลอรี่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต salt equivalent) ห้ามใช้คาที่มีความไม่แน่นอน เช่น
“เกลือธรรมชาติ” หรือ “อุดมด้วยแร่ธาตุ” หรือ “ดีต่อสุขภาพ” หรือ “เสริมความงาม” เป็นต้น
ข้อมูลเกี่ยวกับเกลือญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นผลิตเกลือได้ประมาณ ๑ ล้านตัน/ปี คิดเป็นอัตราการพึ่งตนเอง (Self Sufficiency) เพียง ๑๑% เท่านั้น
จาเป็นต้องพึ่งการนาเข้าจากต่างประเทศประมาณ ๘ ล้านตัน/ปี ส่วนใหญ่เป็นการนาเข้าจากออสเตรเลีย เม็กซิโก

ถนอมศรี / ๕ ตุลาคม ๒๕๖๓


สำนักงำนที่ปรึกษำกำรเกษตรต่ำงประเทศ ประจำกรุงโตเกียว

เกลือที่ผลิตในญี่ปุ่นเป็นเกลือสมุทรที่ผลิตภายในอาคารโรงงาน ด้วยการต้มให้น้าเกลือระเหย ภายหลังการแยก


ไอออนบวกและไอออนลบโดยใช้กระแสไฟฟ้าผ่านฟิลม์กรอง (ญี่ปุ่นเป็นต้นคิด) หรือ ต้มน้าเกลือที่ละลายจากเกลือ
สมุทรที่นาเข้าจากต่างประเทศ
สถิติด้านอุปสงค์และอุปทานเกลือในประเทศญี่ปุ่น ระหว่างปี ๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ (ปีงบประมาณญี่ปุ่น)
หน่วย : พันตัน
รายการ ๒๕๕๘ ๒๕๕๙ ๒๕๖๐ ๒๕๖๑ ๒๕๖๒
A. อุปสงค์ (ปริมาณบริโภค) ๗,๗๓๓ ๗,๘๙๑ ๘,๓๙๔ ๗,๙๗๖ ๗,๘๑๕
การบริโภคในครัวเรือน ๑๖๖ ๑๖๔ ๑๕๔ ๑๔๗ ๑๓๕
การใช้ของหน่วยธุรกิจ ๑,๗๒๗ ๑,๗๙๐ ๒,๐๗๓ ๑,๗๐๐ ๑,๕๒๔
การใช้ใน Soda Industry ๕,๘๔๐ ๕,๙๓๖ ๖,๑๖๘ ๖,๑๓๐ ๖,๑๕๕
B. สต๊อคคงเหลือต้นปี ๑,๔๘๘ ๑,๕๒๖ ๑,๓๒๒ ๑,๑๐๕ ๑,๓๑๓
C. อุปทาน ๗,๗๘๓ ๗,๗๑๗ ๘,๑๖๐ ๘,๒๒๕ ๗,๙๙๗
ผลิตในประเทศ ๙๓๘ ๙๒๘ ๙๒๖ ๙๒๙ ๙๐๓
นาเข้า ๖,๘๔๕ ๖,๗๘๙ ๗,๒๓๔ ๗,๒๙๖ ๗,๐๙๔
D. สต๊อคคงเหลือปลายปี ๑,๕๒๖ ๑,๓๒๒ ๑,๑๐๕ ๑,๓๑๓ ๑,๓๗๒
E. Error (B+C-A-D) ๑๒ ๓๑ -๑๗ ๔๐ ๑๒๓
ที่มา กระทรวงการคลัง
หมายเหตุ ปีงบประมาณญี่ปุ่น เริ่มต้นวันที่ ๑ เมษายน สิ้นสุดวันที่ ๓๑ มีนาคม ของปีต่อไป
การบริโภคในครัวเรือน คือเกลือทีข่ ายปลีกเพื่อใช้ในครัวเรือนและในร้านอาหารทั่วไป
การใช้ของหน่วยธุรกิจ คือเกลือที่ใช้ในการแปรรูปอาหาร การประมง ปศุสัตว์ การแพทย์ ละลายหิมะ ฯลฯ
อุตสาหกรรมโซดา คือ อุตสาหกรรมผลิตโซดาไฟ โซดาแอช ฯลฯ
ปริมาณนาเข้า เป็นปริมาณเกลือนาเข้าที่รวมกับปริมาณเกลือทีผ่ ลิตจากเกลือที่นาเข้าด้วย

ปริมาณบริโภคเกลือในญี่ปุ่นกว่าร้อยละ ๗๐ เป็นการใช้ในอุตสาหกรรมโซดา

ถนอมศรี / ๕ ตุลาคม ๒๕๖๓


สำนักงำนที่ปรึกษำกำรเกษตรต่ำงประเทศ ประจำกรุงปักกิ่ง
ฝ่ำยเกษตร ประจำสถำนกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้
ฝ่ำยเกษตร ประจำสถำนกงสุลใหญ่ ณ นครกว่ำงโจว
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลกำรใช้เกลือละลำยหิมะในจีน
สำรละลำยหิมะ
 หลักวิทยาศาสตร์การทางานของสารละลายหิมะคือลดจุดเยือกแข็งเพื่อเร่งการละลายของหิมะ
สารที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ
1. สารละลายหิมะประเภทเกลือ ซึ่งสารละลายหิมะประเภทนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2
ประเภท ได้แก่
1.1)สารละลายหิมะประเภทอินทรีย์ ซึ่งสารประเภทนี้จะมี 𝐶𝐻3 𝐶𝑂𝑂𝐾 เป็นส่วนประกอบ
สาคัญ และมีต้นทุนที่ค้อนข้างสูง โดยต้นทุนอยู่ที่ประมาณตันละ50,000-100,000 บาท โดยทั่วไปแล้วจะใช้กับ
สถานที่สาคัญ อาทิเช่น สนามบิน เป็นต้น และ 1.2)สารละลายหิมะประเภทที่ไม่ใช่อินทรีย์ ซึ่งสารประเภทนี้จะมี
เกลือคลอรีน อาทิเช่น 𝑁𝑎𝐶𝑙 𝐶𝑎𝐶𝑙2 เป็นส่วนประกอบสาคัญ โดยต้นทุนอยู่ที่ประมาณตันละ5,000-8,000
บาท ในปัจจุบันการกาจัดหิมะบนท้องถนนของประเทศจีน ให้สารละลายหิมะประเภทที่ไม่ใช่อินทรีย์เป็นหลัก แต่
ทว่าการเกลือคลอรีนดังกล่าวได้สร้างปัญหาการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ดินมีสภาพเป็นด่าง กัดกร่อนทาลายพื้นผิว
และกัดเซาะโครงสร้างเหล็กของสะพาน
2. สารละลายหิมะประเภทเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สารละลายหิมะประเภทนี้ไม่มีส่วนประกอบของ
โซเดียมคลอไรด์และมีค่าPHที่เป็นกลาง มีส่วนประกอบสารโลหะที่ค่อนข้างต่า ละลายหิมะได้เวลานาน อุณหภูมิ
สิ่งแวดล้อมการทางานต่า (-40 องศา) มีราคาที่สมเหตุสมผลอยู่ที่ ตันละ15,000-20,000บาท อัตราการกัดเซาะ
ทาลายโครงสร้างพื้นฐานของถนนลดลงต่ากว่า ร้อยละ5
 ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของสารละลายหิมะในจีน
ประเภท กำรกัด กำรกัด ผลกระทบ ผลกระทบ จุด ควำมเร็ว อุณภูมที่ ระยะเวลำ
สำรละลำย เซำะ ต่อดิน ต่อนำใต้ดิน เยือก ในกำร เหมำะสม (ก่อนที่
เซำะซี
โลหะ% แข็งที่ ละลำย กับกำร หิมะจะ
เมน% ต่ำ หิมะ ทำงำน ตก)วัน
ที่สุด/
องศำ
sodium 100 100 ทาให้ดิน ส่งผล -21 100 -1 ถึง - 1
chloride กัด แข็งไม่ ให้sodium 10
กร่อน ร่อนซุย สูงขึ้น
รุนแรง ผลกระทบต่อ
มนุษย์
ค่อนข้างสูง
calcium 50-70 25 ทาให้ดิน
ส่งผลให้ -50 150 -1 ถึง - 1-2
chloride กัด แข็ง calcium 30
กร่อน เล็กน้อย
สูงขึ้น
รุนแรง ผลกระทบต่อ
มนุษย์
ค่อนข้างต่า
Magnesium 40-60 5 ผลกระทบ ส่งผลให้ -33 150 -1 ถึง - 2-3
chloride กัด เบา Magnesium 20
กร่อน สูงขึ้น ไม่
เล็กน้อย ส่งผลกระทบ
ต่อมนุษย์
สารละลาย 5-20 1 ปรับความ ส่งผลให้ -60 200 -1 ถึง - 4-7
หิมะประเภท ไม่มีการ ด่างของ Magnesium 40
เป็นมิตรกับ ทาลาย ดินให้ดีขึ้น สูงขึ้น ไม่
สิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบ
ต่อมนุษย์

ในช่วงปี 2557 ที่ผ่านมา ประเทศจีนได้วิจันค้นคว้าสารละลายหิมะประเภทเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากพืช


ที่ไม่ใช่สีเขียว(Plant base non green) โดยมีลาต้นของข้าวโพด (Corn straw)เป็นวัตถุดิบหลัก โดยหลักการ
กระบวนการทางเทคโนโลยีชวี เคมี ซึ่งประกอบด้วย Polybasic organic acid salt และpolyhydric alcoholเป็น
หลัก ในปัจจุบันได้ใช้กับถนนในเมืองต่างๆ อาทิเช่น ปักกิ่ง ฮาร์บิน และจี้หลิน เป็นต้น และมีต้นทุนที่สูง
 เทคนิคการกาจัดหิมะบนท้องถนนของจีนในรูปแบบใหม่
1) เทคนิคการหลอมละลายหิมะโดยการเพิ่มความยืดหนุ่ยพื้นผิวถนน
2) เทคนิคการหลอมละลายหิมะและน้าแข็งโดยการใช้พลังงานความร้อน
3) เทคนิคการยับยั้งการจับตัวเป็นน้าแข็งโดยใช้สารเคมี
4) เทคนิคการเพิ่มความป้องกันการลื่นของล้อรถยนต์
5) เทคนิคการเพิ่มชั้นผิวถนนเพื่อป้องกันการจับตัวของน้าแข็ง
 สารละลายหิมะเป็นสารเคมีที่สามารถลดอุณหภูมิการหลอมละลายของน้าแข็งและหิมะ วัตถุดิบ
ที่ใช้ในการละลายหิมะทั่วไปหาได้ง่ายและราคาถูก ส่วนผสมส่วนใหญ่เป็นโพแทสเซียมอะซิเตทและเกลือคลอไรด์
สารละลายหิมะสามารถละลายบนท้องถนนโดยการลดอุณหภูมิล ะลายของน้าแข็งและหิ มะซึ่งสะดวกสาหรับ
การขุดลอกถนนและผลของการแพร่กระจายนั้นชัดเจน แต่เป็นอันตราย การวิจัยพบว่า สารตกค้างของสารละลายหิมะ
สามารถกัดกร่อนผิวถนนและยางรถยนต์ ทางตอนเหนือของจีนยังคงใช้ไถทรายละลายหิมะเป็นหลักในฤดูหนาว
และใช้สารละลายหิมะเป็นตัวเสริมเพื่อขจัดหิมะและน้าแข็งบนท้องถนนเพื่อให้การจราจรราบรื่น โพแทสเซียม
อะซิเตท มีการใช้ในสนามบิน หรือ สนามกอล์ฟ ในขณะที่เกลือคลอไรด์ใช้ตามท้องถนนทั่วไป นอกจากนี้ มีการใช้
เกลือในรูปแบบน้าด้วยเช่นกัน
ทั้ ง นี้ มี ก ารใช้ ส ารต่ า งกั น เมื่ อ อุ ณ หภู มิ ต่ า งกั น ไป ได้ แ ก่ -10 องศา ใช้ sodium chloride
-20 องศา ใช้ calcium chloride และ -30 องศา ใช้สารประเภท acetic acid (CH3COOH)
อย่ า งไรก็ ต าม พบว่ า มี บ ริ ษั ท ผลิ ต และจ าหน่ า ยเกลื อ ละลายหิ ม ะ ( Snow melting salt
Manufacturers & Suppliers) ในหลายพื้นที่ของจีน ส่ ว นใหญ่อยู่ในมณฑลซานตง (ชิงเต่า จี้ห นาน เว่ยฟาง)
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณการผลิตเกลือทะเลมากที่สุดของจีน เจียงซู เหอเป่ย เซี่ยงไฮ้ หนูหนาน (ฉางซา) หูเป่ย
เทียนจิน ซานสี เจ้อเจียง เป็นต้น และส่วนใหญ่ส่งออกไปต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น
ตะวันออกกลาง เป็นต้น
ตัวอย่ำงผลิตภัณฑ์

Calcium Chloride: Road freezing agent (snow melting agent) ใช้ ใ นฤดู ห นาวอุ ณ หภู มิ
ประมาณ -5 ถึง -30 องศา ใช้บริเวณลานจอดรถ สนามบิน เป็นต้น
Sodium Chloride: Eco- friendly de-icing salt is made
of high quality sodium chloride ใช้บนถนน สนาม ลานจอดรถ สนามบิน
ทางด่ว น สามารถปกป้ อ งพื้น ผิ ว ถนน โลหะ ลดการกัดเซาะ ซึ่งมีผ ลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

**************************************
ข้อมูลรายละเอียดเกลือละลายหิมะในสหพันธรัฐรัสเซีย
ข้อมูลทั่วไป
- รัส เซีย เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ ส่งผลให้ระดับอุณหภูมิในแต่ละพื้นที่นั้น มีความแตกต่างกันมาก
ซึ่งประเทศรัสเซียมีเขตภูมิอากาศที่มีความหลากหลายตามสภาพภูมิประเทศ โดยอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของ
รัสเซียฝั่งยุโรปจะต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้ประเทศรัสเซียมีฤดูหนาวที่ยาวนานและมีอากาศหนาวจัด
พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศจึงถูกปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็ง ตลอดทั้งปี
- จากสถิ ต ิ ก ารใช้ เ กลื อ ละลายหิ ม ะในกรุ ง มอสโก พบว่ า มี ก ารใช้ เ กลื อ ละลายหิ ม ะคิ ด เป็ น มู ล ค่ า
88.7 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี และมีแนวโน้มความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากปัญหาภาวะโลกร้อน โดย
เกลือละลายหิมะที่นำมาใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนประกอบของ Sodium Chloride
แหล่งเกลือโซเดียมคลอไรด์ของรัสเซีย
- ประเทศรัสเซียเป็นประเทศที่มีแหล่งแร่ธาตุและหินจำนวนมาก (รวมทั้งโซเดียมคลอไรด์ที่นำมาใช้ทำเกลือ
ละลายหิมะ) โดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ เช่น
o ทะเลสาบ Baskunchak ในภูมิภาค Astrakhan กำลังการผลิต 1.8 ล้านตัน/ปี
o พื้นที่ Iletsk ภูมิภาค Orenburg กำลังการผลิต 275,000 ตัน/ปี
o พืน้ ที่ Novomoskovsk ภูมิภาค Tula กำลังการผลิต 200,000 ตัน/ปี
o พื้นที่ Siberian ภูมิภาค Irkutsk กำลังการผลิต 100,000 ตันต่อปี
o พื้นที่ Verkhnekamskoye เขต Perm กำลังการผลิต 1.8 ล้านตัน/ปี
o สาธารณรัฐบัชคอร์โตสถาน กำลังการผลิต 2.2 ล้านตัน/ปี
o พื้นที่ Tyretsky ในภูมิภาคอีร์คุตสค์ กำลังการผลิต 500,000 ตัน/ปี
การนำเข้าเกลือโซเดียมคลอไรด์ของรัสเซีย

แม้ว่ารัสเซียจะมีการผลิตเกลือในประเทศได้จำนวนมาก แต่ก็มี ปริมาณการบริโภคสูงเช่นกัน โดยรัสเซียมีแนวโน้ม


ความต้องการเกลือโซเดียมคลอไรด์ เพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของการบริโภคโซเดียมคลอไรด์ที่
+3.8%/ปี
ทั้งนี้ รัสเฃียเดิมมีการนำเข้าเกลือโซเดียมคลอไรด์ จากประเทศยูเครนเป็น หลัก (33% -70% ของการนําเข้า)
อย่างไรก็ตาม ในปี 2016 เกลือโซเดียมคลอไรด์ถูกรวมอยู่ในรายการสินค้าคว่ำาบาตรการห้ามนําเข้าจากยูเครน
ทำให้หยุดการนำเข้า จากยูเครนตั้ง แต่ปี 2017 และเปลี่ย นไปนำเข้ามาจากเบลารุส (จาก 26 ถึง 70%) และ
คาซัคสถาน (จาก 5 ถึง 18%) แทนโดยข้อมูล ณ วันที่ 6 เมษายน 2022 พบว่าในปี 2021 รัสเซียมีการนำเข้า
โซเดียมคลอไรด์นําเข้าจากเบลารุสในปริมาณ 32,982.23 ตัน และจากคาซัคสถาน ปริมาณ 771.99 ตัน และล่าสุด
ในเดือนมกราคม 2022 มีการนำเข้าจากเบลารุส ปริมาณ 4,633.35 ตัน

*************************
ฝ่ายเกษตร ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก
6 เมษายน 2565
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
Office of Agricultural Affairs, Royal Thai Embassy, Brussels
www. agrithai.be

ข้อมูลเกลือในสหภาพยุโรป
• การผลิตเกลือในสหภาพยุโรป แยกเป็น 3 ประเภท
1. การเก็บเกี่ยวเกลื อโดยการระเหยด้วยแสงอาทิตย์ ซึ่งได้แก่ เกลือพลั งงานแสงอาทิตย์ (solar salt)
คิดเป็น 10% ของเกลือที่ผลิตได้ในสหภาพยุโรป โดยมีประเทศผู้ผลิตหลัก คือ ฝรั่งเศส กรีซ อิตาลี และสเปน
2. การสกัดเกลือจากเหมือง ซึ่งได้แก่ เกลือสินเธาว์คิดเป็น 30% ของเกลือที่ผลิต ได้ในสหภาพยุโรป
โดยมีประเทศผู้ผลิตหลัก คือ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร
3. การละลายเกลือใต้ดินแล้วสูบน้ำเกลือขึ้นสู่ผิวน้ำ ได้แก่ เกลือ solution mined salt คิดเป็น 60%
ของเกลือที่ผลิต ได้ในสหภาพยุโรป โดยมีประเทศผู้ผลิตหลัก คือ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร
โปแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์
• การบริโภค/ใช้เกลือในสหภาพยุโรป แยกเป็น 3 ประเภท
1. เพื่อการบริโภค สหภาพยุโรปกำหนดปริมาณการบริโภคเกลือให้ผู้บริโภคอยู่ที่ปริมาณ 4 – 5 กรัม ต่อวัน
โดยมีเพียง 7% ของการผลิตเกลือทั้งหมดในสหภาพยุโรปเท่านั้นทีใ่ ช้เป็นเกลือสำหรับอาหาร (food grade salt)
2. เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม สหภาพยุโรปใช้ เกลือส่วนใหญ่ เป็นส่วนประกอบสำคัญในอุตสาหกรรมเคมี
โดยใช้เกลือสำหรับการสังเคราะห์ทางเคมี ในผลิตภัณฑ์เคมีมากกว่า 50% นอกจากนี้ยังใช้ในการผลิตสินค้า
จำเป็นอื่นๆ อาทิ แก้ว กระดาษ ยาง และสิ่งทอ ตลอดจนใช้ในเกลือในระบบลดน้ำกระด้าง รวมถึงเกลือยังเป็น
วัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับการผลิตคลอรีน และโซดาไฟ ที่ดำเนินการผ่านอิเล็กโทรไลซิสของน้ำเกลือ
3. เพื่อใช้โรยบนถนนหิมะ (de-icing of roads) ใช้ในการละลายน้ำแข็งบนถนนในฤดูหนาว การใช้เกลือ
เป็นสารขจัดน้ำแข็งมีข้อดีหลายประการ คือ สะดวก และง่ายต่อการจัดเก็บ มีราคาไม่แพง และมีผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมต่ำเมื่อใช้โรยอย่างเหมาะสม ทำให้เกลือเป็นสารขจัดน้ำแข็งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในยุโรป
และทั่วโลก น้ำเค็มที่เกิดจากการใช้เกลือบนถนนที่มีหิมะและน้ำแข็ง จะมีอุณหภูมิจุดเยือกแข็งต่ำกว่าน้ำแข็ง
หรือหิมะ เกลือละลายน้ำแข็งได้ที่อุณหภูมิต่ำถึง -15°C
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
Office of Agricultural Affairs, Royal Thai Embassy, Brussels
www. agrithai.be

• สถิติการนำเข้าเกลือของสหภาพยุโรป
พิกัดศุลกากร 250100 เกลือ (รวมถึงเกลือป่นสำหรับรับประทานและเกลือแปลงสภาพ) รวมทั้งน้ำทะเล
1. สถิติการนำเข้าเกลือของสหภาพยุโรป (EU27)

ในช่วงระหว่างปี 2562 - 2564 สหภาพยุโรป (EU27) นำเข้าเกลือปีละมากกว่า 10 ล้านตัน แต่ปริมาณ


การนำเข้าลดลงในปี 2563 เพราะผลกระทบจาก COVID-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวและระบบการขนส่ง
ล่าช้าเป็นเวลาหลายเดือน โดยเฉพาะการนำเข้าจากนอกกลุ่ม EU ที่ได้รับผลกระทบมาก
แหล่งนำเข้าเกลือที่สำคัญส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศสมาชิก EU ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี
ออสเตรีย โรมาเนีย และสเปน ส่วนการนำเข้าจากประเทศที่ สามคิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 3 ของปริมาณการ
นำเข้าเกลือในแต่ละปี โดยแหล่งนำเข้าสำคัญของ EU ได้แก่ ตูนิเซีย เบลารุส ยูเครน อียิปต์ สหราชอาณาจักร
2. ประเทศสมาชิกที่นำเข้าเกลือจากประเทศที่สามมาก
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
Office of Agricultural Affairs, Royal Thai Embassy, Brussels
www. agrithai.be

โปแลนด์นำเข้าเกลือจากประเทศที่สามมากที่สุดหรือมากกว่า 6 แสนตันต่อปี แต่การนำเข้าในปี 2563


ลดลงถึงร้อยละ 77 และกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในปีถัดมา ส่วนประเทศสมาชิก EU ที่นำเข้ามากรองลงมา คือ
อิตาลี ลิทัวเนีย เบลเยียม ฮังการี และบัลแกเรีย ตามลำดับ
3. ประเภทของเกลือที่ EU นำเข้าจากประเทศที่สาม

สหภาพยุโ รปนำเข้าเกลือจากประเทศที่ส ามมากหรื อคิดเป็นสัดส่ว นเกื อบ 2 ใน 3 ของปริ ม าณ


การนำเข้าเกลือทั้งหมด แต่ปริมาณการนำเข้ามีแนวโน้มลดลงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ส่วนใหญ่นำเข้าเกลือ
ภายใต้พิกัด 25010099 เกลือและโซเดียมคลอไรด์บริสุทธิ์ (ไม่รวมเกลือแกง เกลือสำหรับเปลี่ยนรูปทางเคมี
เกลือแปลงสภาพและเกลือสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ)
• การนำเข้าเกลือจากประเทศไทย
สหภาพยุโรปมีปริมาณการนำเข้าเกลือ เพื่อการบริโภคจากไทยลดลงจาก 28,208 กิโลกรัมในปี 2562
เหลือเพียง 84 กิโลกรัมในปี 2564 และมูลค่าการนำเข้าลดลงจาก 24,442 ยูโรในปี 2562 เหลือเพียง 858 ยูโร
ในปี 2564 ส่วนใหญ่นำเข้าเกลือสำหรับรับประทานเป็นหลัก การนำเข้าเกลือจากไทยลดลงอย่างรุนแรงในช่วง 3
ปีที่ผ่านมา โดยประเทศสมาชิก EU ที่นำเข้าเกลือจากไทยมากที่สุด คือ ฝรั่งเศส (25,100 กก. ในปี 2562)
รองลงมาคือ เยอรมนี (2,000 กก.) เบลเยี่ยม (500 กก.) บัลแกเรีย (500 กก.) ตามลำดับ

แหล่งข้อมูล : https://eusalt.com/ และ EUROSTAT

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป
6 เมษายน 2565

You might also like