You are on page 1of 185

กรณีศึกษาการจัดการขยะของประเทศบราซิล

เมืองเซา เปาโล (Sao Paulo) เมืองริโอ เดอ จาเนโร (Rio-De Janeiro)


และ องคกร CEMPRE

ผศ. อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ หัวหนาโครงการวิจัยฯ ไดรับเชิญจากสภาอุตสาหกรรม


แหงประเทศไทยใหรวมเดินทางในคณะศึกษาดูงานการจัดการของเสีย ณ เมืองเซา เปาโล และเมืองริโอ
เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ระหวางวันที่ 13-20 กันยายน 2547 จึงเปนโอกาสที่จะนําขอมูลที่ไดรับ
จากการดูงานมาผนวกไวในรายงานฉบับนี้ ดังนี้
การจัดการของเสียแบบบูรณาการ (Integrated Waste Management: IWM) หมายความวา
การเชื่อมโยงระบบการจัดการของเสียที่รวมการจัดการที่มาของของเสีย การเก็บขน การบําบัดและการ
กําจัด ที่มีวัตถุประสงคใหไดมาซึ่งประโยชนดานสิ่งแวดลอมและใหไดรับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง
สุดตลอดจนเปนที่ยอมรับของสังคม ซึ่งจะนําไปสูการสรางระบบการจัดการของเสียที่สามารถนําไปใช
ไดอยางเปนรูปธรรมในแตละพื้นที่1
ประเทศบราซิลมีประชากร 170 ลานคน มีเนื้อที่ 8,514,215 ตารางกิโลเมตร มีเขตเทศบาล
5,504 เขต และมีปริมาณขยะถึง 140,000 ตันตอวัน รอยละ 55 ของขยะทั้งหมดนั้นจะนําไปฝงกลบ
จํานวนรอยละ 52 ของขยะทั้งหมดเปนสารอินทรีย
การจัดการขยะชุมชนของประเทศบราซิลดําเนินการโดยเทศบาลเปนผูรับผิดชอบในการเก็บขน
และกําจัดเปนหลัก
เมืองเซา เปาโล ประชากร : 10,400,000 คน (ขอมูลป พ.ศ. 2543) จํานวนถนน 40,000 สาย
ระยะทาง 16,000 กม. ปริมาณขยะชุมชน 10,000 ตันตอวัน รอยละ 95 ของขยะจะนําไปฝงกลบ (ขอมูล
ป พ.ศ. 2546)
เทศบาลเมืองเซา เปาโล มีนายกเทศมนตรีเปนผูบริหารงาน มีเจาหนาที่รวม 20 คน จัดการดู
แลใน 31 เขต ระยะเวลาการดํารงตําแหนง 4 ป อาจไดรับเลือกใหดํารงตําแหนงไดอีกหนึ่งสมัย การ
ทํางานอยูภายใตการกํากับดูแลของสภาเทศบาลซึ่งมีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งรวม 55 คน ระยะ
เวลาการดํารงตําแหนง 4 ป เชนเดียวกันและสามารถไดรับเลือกเขามาใหมไดโดยไมจํากัด มีงบ
ประมาณในการบริหารปละ 3,600 ลานเหรียญสหรัฐ งบประมาณดานการรักษาความสะอาดปละ 181
เหรียญสหรัฐ
การจัดการขยะของเทศบาลเมืองเซา เปาโล ยึดหลัก 3 R คือ Reduce การลดขยะที่เกิดขึ้นตาม
บานและโรงงานไปสูการไมมีขยะ การยืดอายุการใชงานผลิตภัณฑ Reunify ปรับเปลี่ยนวัสดุนํากลับมา
ใชประโยชนใหม และใหของที่ยังใชประโยชนไดกับผูอื่น เชน เสื้อผา เฟอรนเิ จอร ของเลน เปนตน
Recycle รีไซเคิลของที่ใชแลวใหเปนผลิตภัณฑใหม

1
Forbes R McDougall, Peter R White, Marina and Peter Hindle, Integrated Solid Waste Management : a Life Cycle
Inventory, Second edition, Procter & Gamble Technical Centres Limited, Blackwell Science Ltd, a Blackwell Publishing
Company, 2001

-1-
มีองคกรตาง ๆ รวมมือกับเทศบาลหลายองคกร เชน องคกรการคา (Trading Union) องคกรที่
อยูอาศัย (Housing Union) องคกรพัฒนาเอกชน (NGO) Cempre (Recycling of Enterprise
Association) สมาคมการกอสราง (Manager of Building Association) เปนตน
แนวทางการดําเนินการของเทศบาลเมืองเซา เปาโล ประกอบดวย
1. เพื่อสรางงานและรายได กระตุนใหเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับผูใชแรงงาน
2. เพื่อกระตุนการประกอบการขนาดเล็กใหเขาถึงแหลงเงินทุน
3. เพื่อกระตุนและสนับสนุนใหเพิ่มผลผลิตและใชระบบสหกรณ
4. เพื่อกําหนดโครงการโดยเครื่องมือสาธารณะเพื่อผลตอบแทนทางสังคม
5. เพื่อกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเทศบาลตามนโยบายบริหาร การสรางรายไดและ
บมเพาะกิจกรรมของทองถิ่นเพื่อเพิ่มคุณคาของพื้นที่ชายขอบของเมืองและเพิ่มพลังแกสังคมโดยรวม
6. เพื่อทําใหผูใชแรงงานมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสําหรับโอกาสในการหางานทําสําหรับผูมี ราย
ไดนอย
เครื่องมือทางกฎหมายที่เทศบาลใช คือ Decree 42.290 of 08/16/2002 stablishing :
Copartner Ambiental Cooperative Program of scavengeres to recycling materials. และ
Agreement among the Public Power and the Cooperatives
การเก็บขนขยะชุมชนมีการกําหนดคาธรรมเนียม โดยแบงออกเปน 5 กลุม ดังนี้
กลุมพิเศษ วันละไมเกิน 10 ลิตร เดือนละ 2.30 เหรียญสหรัฐ
กลุมที่ 1 วันละ >10 - 20 ลิตร เดือนละ 4.58 เหรียญสหรัฐ
กลุมที่ 2 วันละ >20 - 30 ลิตร เดือนละ 6.88 เหรียญสหรัฐ
กลุมที่ 3 วันละ >30 - 60 ลิตร เดือนละ 13.77 เหรียญสหรัฐ
กลุมที่ 4 วันละ > 60 ลิตร เดือนละ 22.95 เหรียญสหรัฐ
สําหรับขยะจากภาคธุรกิจมีการกําหนดคาธรรมเนียมเก็บขนไวเปน 4 กลุม ดังนี้
กลุมที่ 1 วันละไมเกิน 30 ลิตร เดือนละ 6.88 เหรียญสหรัฐ
กลุมที่ 2 วันละ >30 - 60 ลิตร เดือนละ 13.77 เหรียญสหรัฐ
กลุมที่ 3 วันละ >60 - 100 ลิตร เดือนละ 22.95 เหรียญสหรัฐ
กลุมที่ 4 วันละ >100 - 200 ลิตร เดือนละ 45.91 เหรียญสหรัฐ
อัตรากําลังที่ปฏิบัติงาน ประกอบดวย
1. พนักงานขับรถ 1,336 คน
2. พนักงานเก็บขน (3 หรือ 4 คนตอรถ 1 คัน) 2,325 คน
3. พนักงานกวาดถนน 4,842 คน
4. พนักงานขับรถขนาดใหญ 151 คน
5. พนักงานเสริม 2,189 คน
6. พนักงานอื่น ๆ 12 คน
7. ผูตรวจสอบภาคเอกชน 135 คน
-2-
การเก็บรวบรวมขยะรีไซเคิลมีการรณรงคและจัดเก็บใน 45 เขตจากจํานวนเขตทั้งหมด 96 เขต
โดยเริ่มในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 โดยวิธีการวางถังขยะขนาดใหญตามจุดที่เหมาะสม และการเก็บ
รวบรวมจากบานโดยตรง (Door to door recycling collection) สัปดาหละครั้ง

เทศบาลเมืองเซา เปาโล ยังมีหนาที่ตองเก็บขนบํบา ัดและกําจัดขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาลและ


สถานพยาบาล ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แบงออกเปน 6 กลุม
กลุมพิเศษ วันละไมเกิน 20 กก. เดือนละ 15 เหรียญสหรัฐ
กลุมที่ 1 วันละ >20 - <50 กก. เดือนละ 486 เหรียญสหรัฐ
กลุมที่ 2 วันละ 50 - <160 กก. เดือนละ 1,556 เหรียญสหรัฐ
กลุมที่ 3 วันละ 160 - <300 กก. เดือนละ 2,918 เหรียญสหรัฐ
กลุมที่ 4 วันละ 300 - <650 กก. เดือนละ 6,322 เหรียญสหรัฐ
กลุมที่ 5 วันละ >650 กก. เดือนละ 7,781 เหรียญสหรัฐ

ตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ ที่ 05/93 283/01 จัดแบงขยะโรงพยาบาลและสถาน


พยาบาล ออกเปน 4 กลุม และกําหนดเฉพาะขยะในกลุม D เทานั้นที่อาจมอบใหบุคคลภายนอกรับจัด
การ นอกนั้นเทศบาลจะตองดําเนินการเอง คือ
กลุม A - ขยะอินทรีย (Biological Agents)
กลุม B - ขยะสารเคมี (Physic-Chemical Features)
กลุม C - ขยะรังสี (Radioactives Waste)
กลุม D - ขยะทั่วไป (Ordinary Waste)

มีโรงพยาบาลและสถานพยาบาล จํานวน 300 แหง ที่แตละวันมีปริมาณขยะมากกวา 200 กก.


ตองเก็บรวบรวมขนสงโดยรถบรรทุกขนาด 8 ตัน ที่เหลือเปนรานขายยา คลินิก และรานทําฟน
ประมาณ 10,000 แหง ที่มีปริมาณขยะนอยกวา 200 กก. ขนสงโดยรถบรรทุกขนาดเล็ก
การบําบัดและกําจัดขยะ ไดแบงการบําบัดและกําจัดขยะออกเปน 4 กลุม คือ
กลุม A - ETD (Electric Thermic Deativation) จํานวน 95 ตันตอวัน โดยสถานบําบัดเอกชน
กลุม B - Incineration จํานวน 5 ตันตอวัน โดยสถานบําบัดเอกชน
กลุม C - รวมอยูในกลุม A (หลังการบําบัดรังสีแลว)
กลุม D - รวบรวมโดยภาคเอกชน (ในกรณีที่มีปริมาณมากกวา 200 ลิตรตอวัน)

การคัดแยกขยะเพื่อนํากลับมาใชประโยชน มีโรงงานคัดแยกขยะ (Recovery Facilities) ดําเนิน


การโดยสหกรณของผูเก็บขยะ จํานวน 10 แหง คัดแยกขยะประมาณ 49 ตันตอวัน ใชคนประมาณ 350
คน และกําลังจะมีโรงงานเชนนี้เพิ่มขึ้นถึง 17 แหงภายในสิ้นป พ.ศ. 2547 นี้ ไดตั้งเปาหมาย
วาจะมีโรงงานคัดแยกกระจายอยูประมาณ 31 แหง

-3-
องคประกอบของขยะที่เก็บขนมี ดังนี้
ขยะอินทรีย (Organic waste) 57.54%
กระดาษ (Paper, cardboard) 11.08%
พลาสติก LDPE 12.27%
พลาสติก HDPE 3.53%
แกว (Glasses) 1.79%
โลหะ (Metals) 1.51%
วัสดุเคลือบ (Tetra Pak) 1.32%
พลาสติก PET 0.69%
อลูมิเนียม (Alluminium) 0.67%

CEMPRE (The Brazilian Business Commitment for Recycling)


CEMPRE เปนองคกรเอกชนที่ไมแสวงกําไร ตั้งขึ้นเมื่อป 1992 (พ.ศ. 2535) โดยการสนับสนุน
จากบริษัทเอกชน เปนองคกรที่ทําหนาที่หลักในการ
- สนับสนุนการจัดการขยะชุมชนแบบบูรณาการของเทศบาล
- พัฒนาระดับการรีไซเคิลในประเทศบราซิล
- ขยายองคความรูดานสิ่งแวดลอมในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการขยะชุมชน

องคกรที่เขารวมสนับสนุน CEMPRE ประกอบดวย ภาคธุรกิจ 20 องคกร คือ


Alcan Alcoa AmBev
Suzano Bahai Sul Coca-Cola Cia Siderúrgica Nacional
DaimlerChrysler Grupo Pâo de Açúcar Kraft Foods Brasil
Natura Klabin Nestlé
Paraibuna Embalagens Pepsico do Brasil Procter & Gamble
Souza Cruz Tetra Pak Tomra Latasa
Unilever Brasil Vega

-4-
กองทุนของ CEMPRE
- ป 2535 ประกอบไปดวย 8 บริษัท ใหทุน 50,000 ดอลลารสหรัฐ ตอบริษัท ตอป
- ป 2540 ประกอบไปดวย 12 บริษัท ใหทุน 33,000 ดอลลารสหรัฐ ตอบริษัท ตอป
- ป 2547 ประกอบไปดวย 20 บริษัท ใหทุน 16,000 ดอลลารสหรัฐ ตอบริษัท ตอป
รวมทุนป 2547 จํานวน 350,000 ดอลลารสหรัฐ

องคกรนี้จะทําหนาที่เปนองคกรกลางระหวางกลุมและองคกรอื่นเพื่อชวยเหลือและสนับสนุนใน
การจัดการขยะชุมชนโดยรวมดําเนินการกับภาครัฐ ภาคเอกชน และองคกรพัฒนาเอกชน (NGO’s)
ดําเนินการจัดสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และกิจกรรมอื่นๆ รวมทั้งใหขอมูลเพื่อการอางอิงเกี่ยว
กับการจัดการดานขยะ และมีแผนงานในอีก 3 ปขางหนา ที่จะพัฒนาเพื่อเปนองคกรระดับชาติ ในการ
ใหขอมูลและตัวเลขโดยการตีพิมพรายละเอียด จัดใหมีการวิจัย สัมมนา การประชุมเชิงวิชาการ และอื่น
ๆ และในระยะเวลา 10 ปในการพัฒนาเปนองคกรระดับนานาชาติ
การดําเนินการที่ผานมามีอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะการที่ผูปฏิบัติงานไมมีพื้นฐานความรู
ดานเทคนิคที่เพียงพอ ขาดขอมูลดานขยะ และการดําเนินการของภาครัฐและองคกรที่เกี่ยวของไมมี
ความตอเนื่อง
โครงการที่สําคัญ คือ
1. การตีพิมพขอมูลเผยแพรตอประชาชน และ CICLOSOFT
2. การใหบริการดานขอมูลและประชาสัมพันธอยางตอเนื่อง ทางโทรศัพทและอีเมล
3. Kit-Cooperatives
4. การจัดสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการ
5. Bioconsciencia – FBB
6. ใหขอมูลโดยใชทีวีเปนสื่อ
7. บริจาค Balers และอุปกรณปองกันตาง ๆ

บุคลากร/เจาหนาที่
ทั้งหมดจํานวน 4 คน ประกอบไปดวย
- กรรมการผูจัดการ
- เจาหนาที่บริหาร
- พนักงานตอนรับ
- ใหบริการทั่วไป
- ผูรับชวง - บรรณารักษ นักหนังสือพิมพ พนักงานฝกงาน และเจาหนาที่ใหคําปรึกษา

-5-
อนาคตขององคกร จะพัฒนาระบบการจัดการขยะในประเทศกําลังพัฒนา โดยเริ่มจากพื้นฐาน
ของความรวมมือระหวางชุมชน บริษัทเอกชน และประชาชน โดยมีหลักการที่วาการชวยเหลือในการจัด
การขยะนั้นจะตองขึ้นอยูกับสภาพแวดลอมของชุมชนกับการดําเนินการอยางเหมาะสมในดานเทคนิค
เศรษฐศาสตร และสังคมนั้นๆ

การจัดการขยะของเทศบาล Niterói เมืองริโอ เดอ จาเนโร

รูปแบบการจัดการขยะของเทศบาล Niterói เมืองริโอ เดอ จาเนโร นอกจากการจัดการขยะตาม


หนาที่ปกติแลว ยังไดรวมมือกับองคกรภาคเอกชนเพื่อทําโครงการแยกขยะ เชน โคคาโคลา สนับสนุน
ถุงแจกใหกับประชาชนเพื่อแยกขยะรีไซเคิลออกจากขยะทั่วไป มีการใหบริการจัดเก็บขยะที่แยกแลว 2
แบบ คือ ระบบนํามาทิ้งในถังที่จัดไวใหกระจายอยูทั่วไป (Voluntary System) ประชาชนนําขยะไปทิ้ง
ณ จุดที่ตั้งถัง และระบบเก็บถึงบาน (Door-to-Door System) ซึ่งสวนใหญใชกับอาคารสูง โดยพนักงาน
จะนํารถที่ออกแบบไวสําหรับเก็บขนขยะแตละชนิดแยกจากกันออกใหบริการจัดเก็บถึงบาน
เทศบาลสนั บ สนุ น ให ค นคุ ย ขยะออกจากแหล ง ฝ ง กลบขยะมาทํางานในโรงงานแยกขยะ
ซึ่งคอยๆ ทําความเขาใจจนกระทั่งมาทํางานดวยความสมัครใจ
คนคุยขยะบางสวนรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ (Cooperatives of Scavengers : Riocoop)
สามารถดําเนินกิจการไดเปนผลสําเร็จ ผูที่เขามาทํางานมีรายไดที่ดีพอสมควร และบริษัทเอกชนก็ให
การสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ เชน รถบรรทุก เปนตน
ผลการศึกษาดูงานในครั้งนี้ สรุปไดวา ประเทศบราซิลเปนประเทศหนึ่งที่มีความสนใจในการจัด
การขยะ เพื่อความสะอาดเรียบรอยของบานเมือง ขณะเดียวกันก็ไดนําทรัพยากรกลับมาใชใหม เปน
ประโยชนตอสิ่งแวดลอมและไดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ที่สําคัญ คือการยกระดับคุณภาพชีวิตของคน
บางกลุมจากการเปนคนคุยขยะ หรือคนวางงาน มาเปนพนักงานคัดแยกขยะของสหกรณ เปนตน ทําให
การจัดการขยะมีผลพลอยไดในแงของการสรางงาน สรางรายได และลดปญหาสังคม เปนการจัดการ
ของเสียแบบบูรณาการ (Integrated Waste Management : IWM) แบบหนึ่งที่สอดคลองกับสภาพ
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
จุดเดนประการหนึ่ง คือ ความรวมมือของกลุมตาง ๆ ในสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ
ประชาชนทั่วไป เห็นไดจากการที่เทศบาลจัดพื้นที่ใหกับสหกรณของคนคุยขยะเพื่อคัดแยกขยะในแตละ
พื้นที่กระจายอยูหลายจุด ทําใหสามารถลดการขนสงขยะในพื้นที่นั้นลงได การสนับสนุนเครื่องมือ
อุปกรณจากภาคเอกชน ความเขาใจของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการคัดแยกขยะและรวมมือ
ในการคัดแยกขยะตามประเภทและนําไปทิ้งหรือใหเก็บขนที่บาน เปนตน

-6-
องคกรเอกชนที่ไมแสวงกําไร เชน CEMPRE ที่ตั้งขึ้นโดยไดรับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชน
หลายบริษัท เปนอีกสวนหนึ่งที่ทําใหการจัดการขยะชุมชนของเทศบาลหลายแหงถูกกระตุนโดยองคกร
อิสระ ทําใหมีความคลองตัวในการริเริ่มและสนับสนุนการจัดการขยะชุมชนแบบบูรณาการ และยังใหขอ
มูลที่เปนประโยชนในการจัดการขยะตลอดเวลา
การใชเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน เชน เครื่องอัดขยะขวดพลาสติก ทําใหสามารถขนสงขยะพลาสติก
ไดในปริมาณที่มากกวา และสามารถใชแรงงานคนรวมดวย ทํานองเดียวกันกับการทําแผนกระเบื้อง
มุงหลังคาจากเศษถุงพลาสติก ซึ่งใชเทคโนโลยีพื้นฐานใหความรอนแลวอัดเปนแผนลอนโดยใชแรงคน
ถึงแมความสวยงามทนทานจะไมดีเทากับกระเบื้องซีเมนต แตก็ราคาถูกและใชไดดีสําหรับบานคนจน
เปนตน เทคโนโลยีเหลานี้สามารถคิดคนและประดิษฐขึ้นจากความเชี่ยวชาญภายในประเทศโดยไมตอง
นําเขาจากตางประเทศ

-7-
ที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
๙๒ ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท
กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐

ตุลาคม ๒๕๔๗

เรื่อง แผนยุทธศาสตรในการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ

เรียน

สิ่งที่สงมาดวย แผนยุทธศาสตรในการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ

(๑) เรื่องเดิม
๑.๑ ความเปนมา
ในป พ.ศ. 2544 ปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศมีประมาณ 14.1 ลานตัน ในจํานวนนี้เปน
ของเสียบรรจุภัณฑ รอยละ 24 หรือประมาณ 3.4 ลานตัน ประกอบดวย แกว กระดาษ โลหะ พลาสติก
อลูมิเนียม เปนตน หากบรรจุภัณฑดังกลาวถูกนําไปกําจัดรวมกับขยะมูลฝอยอื่นๆ โดยวิธีฝงกลบจะสูญเสีย
ดานเศรษฐกิจและการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติ และเมื่อประเมินคาใชจายในการจัดการของเสีย
บรรจุภัณ ฑ โดยพิจารณาจากค า เก็ บรวบรวมขนสงและกําจัดขยะมูลฝอยแบบฝงกลบอยางถูก หลัก
สุขาภิบาล ประมาณตันละ 1,000 บาท จะตองใชเงินถึง 3,400 ลานบาทตอป ซึ่งเปนภาระขององคกรปก
ครองสวนทองถิ่นที่ตองรับผิดชอบคาใชจายในการกําจัดของเสียบรรจุภัณฑดังกลาว นอกจากนี้ บรรจุ
ภัณฑบางประเภทที่เปนพิษตอสิ่งแวดลอม เชน บรรจุภัณฑยาฆาแมลง สารเคมี สารทําความสะอาด เมื่อ
ถูกนําไปฝงกลบรวมกับขยะมูลฝอยอื่น ๆ ทําใหมีความเสี่ยงตอการรั่วไหลของสารพิษ ซึ่งอาจสง ผล
กระทบตอคุณภาพสิ่งแวดลอมและสุขภาพอนามัยของประชาชน
ปญหาของการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑนอกจากจะเปนปญหาของการเก็บขน
และกําจัดที่ไมมีประสิทธิภาพเทาที่ควรแลว การนํากลับมาใชหรือรีไซเคิลยังมีปญหาปนเปอนและสกปรก
จนไมสามารถนํากลับมาใชใหมไดหรือมีคุณภาพต่ําเพราะถูกทิ้งรวมกัน ขาดกฎระเบียบในการ คัดแยก กล
ไกในการเรียกคืนซากผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑ ตลอดจนระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและ ครบ
วงจรตั้งแตการรวบรวม คัดแยก เก็บขน ขนสงและกําจัด รวมทั้งการนําขยะมูลฝอยมาใชประโยชนใหม

-8-
๑.๒ มติคณะรัฐมนตรี
ไมมีขอมูล
๑.๓ ผลการดําเนินการที่ผานมา
ไมมีขอมูล
๑.๔ ความจําเปนที่ตองเสนอเรื่องเขาสูการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
เพื่ อ พิ จ ารณาให ค วามเห็ น ชอบแผนยุ ท ธศาสตร ใ นการจั ด การบรรจุ ภั ณ ฑ แ ละของเสี ย
บรรจุภัณฑ สําหรับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมใชเปนแนวทางตอไป

(๒) สาระสําคัญของแผนยุทธศาสตรในการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ

๒.๑ ประเด็นสําคัญของปญหาที่เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
ประเทศไทยมี ก ฎหมายหลายฉบั บ ที่ กําหนดขึ้ น เพื่ อ จั ด การของเสี ย แต ไ ม มี ก ฎหมาย
บรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑโดยเฉพาะเชนเดียวกับของตางประเทศ คงบัญญัติเปนกฎหมายรายฉบับ
เพื่อใชบังคับในแตละเรื่อง เชน พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม พ.ศ. 2535 พระราช
บัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอยของ
บานเมือง พ.ศ. 2535 เปนตน และไมมีกฎหมายกําหนดใหแยกของเสียบรรจุภัณฑออกจากของเสียจากบาน
เรือนและชุมชน
แผนยุทธศาสตรที่เสนอเปนมาตรการและแผนงานที่สงเสริม สนับสนุน เสริมสรางความรวม
มือระหวางฝายตางๆ โดยใหความรูความเขาใจผูประกอบการและประชาชน ผานสื่อ การอบรม การจัด
ประกวด การจูงใจดวยการใหทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ กระบวนการผลิต การสง
เสริมใหผูประกอบการรับคืนบรรจุภัณฑ การใชซ้ําสงเสริมผลิตภัณฑชนิดเติม สงเสริมการมัดจํา- คืนเงิน
และการจัดตั้งศูนยรับคืนบรรจุภัณฑ การกําหนดมาตรการลดการใชบรรจุภัณฑที่ไมจําเปน การสง
เสริมการใชบรรจุภัณฑขนสงที่ลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอม สงเสริมการใหความรูที่ถูกตองในการใชบรรจุ
ภัณฑกับผูบริโภค กําหนดใหมีการแยกขยะ กําหนดใหภาครัฐตองเปนผูนําทั้งในเรื่องของการจัดซื้อจัดจาง
การรักษาสิ่งแวดลอมและการคัดแยกขยะ กําหนดคาธรรมเนียมที่แตกตางกันระหวางขยะที่ คัดแยกกับขยะ
ที่ไมไดคัดแยก กําหนดคาบริการเก็บขนที่สะทอนคาใชจายที่เปนจริง กําหนดวันเก็บขนขยะ สงเสริมให
ประชาชนมีสวนรวมในการจัดการขยะและรับรองสิทธิและหนาที่ของประชาชนในการจัดการขยะอยาง
เปนรูปธรรม

-9-
แผนยุ ท ธศาสตร สําหรั บ การจั ด การบรรจุ ภั ณ ฑ แ ละของเสี ย บรรจุ ภั ณ ฑ แบ ง ออกเป น
ยุทธศาสตรที่ใชกับผูเกี่ยวของ 4 กลุม คือ (1) ผูออกแบบ ผูผลิต ผูนําเขา ผูบรรจุ (2) ผูขนสง ผูจัดจําหนาย
(3) ผูใช ผูบริโภค (4) ผูเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัด ที่ครอบคลุมการออกแบบ การผลิต การคัดแยกเก็บ
รวบรวม ขนสง การใชประโยชน และการกําจัดของเสียบรรจุภัณฑ ดังตอไปนี้

1. ผูออกแบบ ผูผลิต ผูนําเขา ผูบรรจุ


ยุทธศาสตรที่ 1 การออกแบบผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
ยุทธศาสตรที่ 2 การผลิตบรรจุภัณฑที่ใชเทคโนโลยีสะอาด
ยุทธศาสตรที่ 3 การนําเขาและบรรจุผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
2. ผูขนสง ผูจัดจําหนาย
ยุทธศาสตรที่ 1 การรับคืนบรรจุภัณฑเมื่อสงมอบสินคา
ยุทธศาสตรที่ 2 การใชซ้ําบรรจุภัณฑที่ยังมีประโยชน
ยุทธศาสตรที่ 3 การสงเสริมใหใชบรรจุภัณฑที่ชวยลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอม
3. ผูใช ผูบริโภค
ยุทธศาสตรที่ 1 การสงเสริมการใชผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
ยุทธศาสตรที่ 2 การสงเสริมใหผูใช ผูบริโภค แยกขยะ
ยุทธศาสตรที่ 3 การกําหนดนโยบายใหหนวยงานของรัฐ จัดซื้อ จัดจาง ผลิตสินคาที่เปนมิตร
กับสิ่งแวดลอมและใหมีการคัดแยกขยะอยางเปนระบบ
4. ผูเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัด
ยุทธศาสตรที่ 1 การคัดแยกขยะที่มีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตรที่ 2 การจัดตั้งเครือขายรวบรวมขยะบรรจุภัณฑ
ยุทธศาสตรที่ 3 การกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่ไมสามารถใชประโยชนอยางอื่นไดอยางถูกตองตาม
หลักสุขอนามัย
ยุทธศาสตรที่ 4 การสงเสริมการมีสวนรวมของประชาชน

แผนยุทธศาสตรสามารถนํามากําหนดเปนมาตรการและแผนงาน ตลอดจนผูรับผิดชอบ ระยะเวลา


การดําเนินการตามแผน ทําใหไดมาตรการรวม 28 มาตรการ 50 แผนงาน
มาตรการและแผนงานที่กําหนดมีระยะเวลาดําเนินการแตกตางกันไป ตั้งแต 1-5 ป โดยประมาณ
จากกิจกรรมที่จะดําเนินการในแผนงาน มาตรการระยะสั้นอาจดําเนินการไดทันที แตบางมาตรการตอง
เตรียมการดานงบประมาณ กําลังคน กฎระเบียบตาง ๆ หรือมีการศึกษา และมีระยะเวลาทดลองปฏิบัติและ
ติดตามผลไประยะหนึ่ง เปนมาตรการระยะปานกลางหรือระยะยาว

- 10 -
๒.๒ วัตถุประสงคของแนวทางการดําเนินการที่เสนอ
การดําเนินงานตามแผนดังกลาวจะทําใหลดปญหาการเพิ่มขึ้นของขยะมูลฝอยชุมชนที่ตอง
เก็บขนและนําไปกําจัด และยังเปนการใชทรัพยากรอยางคุมคา

๒.๓ ความเรงดวนของเรื่อง
ภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547

๒.๔ ขอเท็จจริง ขอมูล รายละเอียดอื่น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณา


กรมควบคุมมลพิษ ไดมอบหมายใหศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทําการ
ศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ ศึกษาและกําหนดยุทธศาสตรดานการจัดการบรรจุ
ภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ ตั้งแตกระบวนการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ จนถึงการเก็บรวบรวม ขน
สง การนํากลับมาใชประโยชน การบําบัดและกําจัด เพื่อใหการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
เปนไปอยางมีระบบ ครบวงจร และมีประสิทธิภาพ
คณะผูศึกษาไดจัดใหมีการประชุมสัมมนาเพื่อนําเสนอผลของการศึกษาและรับฟงความคิด
เห็นจากผูมีสวนเกี่ยวของ และไดนําขอคิดเห็นดังกลาวมาปรับปรุงรายงานการศึกษาใหสมบูรณ เมื่อ
วันที่ 2 กันยายน 2547 ณ หองตนฟา ชั้น 24 โรงแรม แกรนดทาวเวอร อินน กรุงเทพมหานคร

(ง) ความเห็นของสวนราชการที่เกี่ยวของ
ไมมีขอมูล
(จ) สรุปขอเสนอจากทุกสวนราชการ
ตองรอความเห็นเพื่อนํามาสรุป
ขอเสนอใหคณะรัฐมนตรีลงมติ
(๑) ขอความเห็นชอบตอแผนยุทธศาสตรสําหรับการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
ตามที่เสนอ
(๒) ขออนุมัติหลักการเพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมจะไดนําแผนดังกลาว
เสนอตอกระทรวงที่เกี่ยวของจัดทํารายละเอียดโครงการและงบประมาณในสวนที่รับผิดชอบเพื่อดําเนิน
การตามแผนฯ ตอไป
(๓) วิเคราะหผลกระทบของมติคณะรัฐมนตรี
(ก) ผลกระทบตอนโยบายของรัฐบาล
เปนไปตามคําแถลงนโยบายของรั ฐบาลต อรัฐ สภา ในวั น จั นทรที่ ๒๖ กุมภาพันธ
พ.ศ.๒๕๔๔ ไมมีขอเสียและผลกระทบ

- 11 -
(ข) ผลกระทบตอความรับผิดชอบรวมกันของคณะรัฐมนตรีตอรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ
เปนไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
ไมมีขอเสียและผลกระทบ

(ค) ผลกระทบตอเศรษฐกิจในภาพรวม
จะทําใหลดปญหาการเพิ่มขึ้นของขยะมูลฝอยชุมชนที่ตองเก็บขนและนําไปกําจัด และยัง
เปนการใชทรัพยากรอยางคุมคา จึงเปนการลดภาระคาใชจายจากงบประมาณของทองถิ่นและลดภาระของ
รัฐในการจัดการสิ่งแวดลอม
ไมมีขอเสียและผลกระทบ

(ง) ผลกระทบตอการเงินและงบประมาณ
จะมีการขอใชเงินงบประมาณตามแผนยุทธศาสตรที่ไดรับอนุมัติ
ไมมีขอเสียและผลกระทบ

(จ) ผลกระทบทางสังคม
สวนราชการและประชาชนมีทางเลือกในการชวยลดขยะมูลฝอยชุมชนที่ตองเก็บขนและ
นําไปกําจัดโดยคัดแยกขยะดวยความสมัครใจเพราะใชมาตรการจูงใจทางเศรษฐศาสตรดวยการลดคาเก็บ
ขนใหกับผูที่แยกขยะ จะทําใหสภาพแวดลอมดีขึ้น เปนผลดีตอสังคม
ไมมีขอเสียและผลกระทบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดใหความเห็นชอบในการนําเสนอคณะรัฐมนตรีดวย จักขอบคุณยิ่ง

ขอแสดงความนับถือ

(นายสุวิทย คุณกิตติ)
รัฐมนตรีวาการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

- 12 -
สารบัญ

หนา
บทที่ 1 บทนํา
1.1 หลักการและเหตุผล 1-1
1.2 วัตถุประสงค 1-3
1.3 เปาหมาย 1-3
1.4 ระยะเวลาดําเนินงาน 1-3
1.5 ขอบเขตการดําเนินงาน 1-4
1.6 ผลที่คาดวาจะไดรับ 1-7

บทที่ 2 สภาพปญหาและการจัดการขยะบรรจุภัณฑ
2.1 นิยามเกีย่ วกับบรรจุภัณฑและการจัดการขยะบรรจุภัณฑ 2-2
2.2 สถานการณทั่วไปเกี่ยวกับบรรจุภัณฑในประเทศไทย 2-4
2.3 ประเภท/องคประกอบ ปริมาณการผลิต การนําเขา-สงออก การบริโภค
บรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ 2-10
2.4 การบริหารจัดการของเสียบรรจุภัณฑ (คัดแยก / รียูส / รีไซเคิล / กําจัด) 2-16
2.5 สรุปสภาพปญหาและการจัดการขยะบรรจุภัณฑ 2-48

บทที่ 3 เครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตรและกฎหมายในการจัดการ
บรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
3.1 เครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสต
3-1
3.2 เครื่องมือและมาตรการทางกฎหมาย 3-6
3.3 วิเคราะหเปรียบเทียบกฎหมายของไทยและตางประเทศ 3-15
บทที่ 4 กรอบแนวความคิ ด และวิ ธี ก ารในการจั ด การของเสี ย บรรจุ ภั ณ ฑ

4.1 กรอบแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร 4-1


4.2 กรอบแนวความคิดดานการจัดการและกฎหมาย 4-4

บทที่ 5 แผนยุทธศาสตรในการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
5.1 แผนยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ 5-3
5.2 มาตรการและแผนงาน 5-21
5.3 แนวทางการดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร 5-37

- 13 -
5.4 ขอเสนอแนะการปรับปรุงกฎหมายและแนวความคิดในการยกรางกฎหมาย 5-37

สารบัญตาราง

หนา

ตารางที่

1-1 ความสัมพันธระหวางกิจกรรมกับระยะเวลาในการศึกษาและการสงรายงาน 1-5


2-1 ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นและปริมาณการคัดแยกเพื่อนํากลับไปใชประโยชนใหม
ระหวางป พ.ศ. 2539-2543 2-2
2-2 ปริมาณและมูลคาการใชวัสดุสําหรับผลิตบรรจุภัณฑแตละประเภทของประเทศไทย
ระหวางป พ.ศ. 2541-2543 2-15
2-3 สถิติการนําเขาบรรจุภัณฑของไทย ระหวางป พ.ศ. 2543-2545 2-16
2-4 สถิติการสงออกบรรจุภัณฑของไทย ระหวางป พ.ศ. 2543-2545 2-16
2-5 สรุปจํานวนผูกระทําผิดเกี่ยวกับการทิ้งขยะไมเปนที่ ป พ.ศ. 2545-2546 2-33
2-6 องคกรรับแปรสภาพของเสียของ Eco-Emballages SA 2-38
3-1 กฎหมายวาดวยบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรป 3-9
4-1 วัฎจักรของบรรจุภัณฑและบทบาทหนาที่ 4-4
4-2 แนวคิดที่เกี่ยวของในขั้นตอนการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ 4-5
4-3 วิธีการจัดการและมาตรการสนับสนุน 4-7
4-4 บทบาทของผูใช ผูบริโภค 4-9
4-5 การรวบรวม ขนสง และกําจัดขยะบรรจุภัณฑ 4-13
4-6 แนวคิด วิธีการ และมาตรการที่จะนํามาใช 4-18
4-7 แนวคิด วิธีการ และมาตรการที่จะนํามาใช 4-20
4-8 แนวคิด วิธีการ และมาตรการที่จะนํามาใช 4-21
4-9 แนวคิด วิธีการ และมาตรการที่จะนํามาใช 4-23
5-1 การออกแบบผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม 5-7
5-2 การผลิตบรรจุภัณฑที่ใชเทคโนโลยีสะอาด 5-9
5-3 การนําเขาและการบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม 5-10
5-4 การรับคืนบรรจุภัณฑเมื่อสงมอบสินคา 5-11
5-5 การใชซบ้ํา รรจุภัณฑที่ยังมีประโยชน 5-12
5-6 การสงเสริมใหใชบรรจุภัณฑที่ชวยลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอม 5-13
5-7 การสงเสริมการใชผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม 5-15
5-8 สงเสริมใหผูใช ผูบริโภค แยกขยะ 5-15

- 14 -
5-9 กําหนดนโยบายใหหนวยงานของรัฐ จัดซื้อ จัดจาง ผลิตสินคาที่เปนมิตร
กับสิ่งแวดลอม และใหมีการคัดแยกขยะอยางเปนระบบ 5-17
สารบัญตาราง (ตอ)

หนา

5-10 การคัดแยกที่มีประสิทธิภาพ 5-19


5-11 จัดตั้งเครือขายรวบรวมขยะบรรจุภัณฑ 5-20
5-12 การกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่ไมสามารถใชประโยชนอยางอื่นไดอยางถูกตอง
ตามหลักสุขอนามัย 5-20
5-13 สงเสริมการมีสวนรวมของประชาชน 5-21
5-14 ผูออกแบบ ผูผลิต ผูนําเขา ผูบรรจุ 5-22
5-15 ผูขนสง ผูจัดจําหนาย 5-25
5-16 ผูใช ผูบริโภค 5-27
5-17 ผูเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัด 5-30

สารบัญภาพ

หนา

ภาพที่

1-1 ขั้นตอนการดําเนินโครงการ 1-6


2-1 Industry Code for Recycling Plastic 2-43
5-1 มาตรการและแผนในยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ 5-33
5-2 มาตรการและแผนในยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ 5-34
5-3 มาตรการและแผนในยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ 5-35
5-4 มาตรการและแผนในยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ 5-36

- 15 -
บทที่ 1
บทนํา

1.1 หลักการและเหตุผล

ในป พ.ศ. 2544 ปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศมีประมาณ 14.1 ลานตัน ในจํานวนนี้เปน


ของเสียบรรจุภัณฑ รอยละ 24 หรือประมาณ 3.4 ลานตัน ประกอบดวย แกว กระดาษ โลหะ พลาสติก
อลูมิเนียม เปนตน ซึ่งหากบรรจุภัณฑดังกลาวถูกนําไปกําจัดรวมกับขยะมูลฝอยอื่นๆ โดยวิธีฝงกลบ
จะ สูญเสียดานเศรษฐกิจและสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติ โดยเมื่อประเมินคาใชจา ยในการจัดการของ
เสียบรรจุภัณฑ โดยพิจารณาจากคาเก็บรวบรวมขนสงและกําจัดขยะมูลฝอยแบบฝงกลบอยางถูกหลัก
สุขาภิบาล ประมาณตันละ 1,000 บาท จะตองใชเงินงบประมาณ 3,400 ลานบาทตอป ซึ่งเปนภาระของ
องคกรปกครองสวนทองถิ่นที่ตองรับผิดชอบคาใชจายในการกําจัดของเสียบรรจุภัณฑดังกลาว นอก
จากนี้ บรรจุภัณฑบางประเภทที่เปนพิษตอสิ่งแวดลอม เชน บรรจุภัณฑ ยาฆาแมลง สารเคมี สารทํา
ความสะอาด เมื่อถูกนําไปฝงกลบรวมกับขยะมูลฝอยอื่นๆ ทําใหมีความเสี่ยงตอการรั่วไหลของสารพิษ
ซึ่งอาจสงผลกระทบตอคุณภาพสิ่งแวดลอมและสุขภาพอนามัยของประชาชน
มาตรการสิ่งแวดลอมที่เกี่ยวกับการคา ที่กลุมประเทศที่พัฒนาแลวนํามาบังคับใช โดยถือ
วาสิ่งแวดลอมเปนตนทุนอยางหนึ่งที่ผูประกอบการจะตองใหความสําคัญและรับผิดชอบและไดกําหนด
ใหผูที่มีสวนรวมในการกอใหเกิดปญหามลพิษจะตองเปนผูรับผิดชอบในการบําบัด กําจัดหรือเปนผูฟน
ฟูสภาพมลพิษนั้น (Polluter Pays Principle) เชน สหภาพยุโรปซึ่งประกอบไปดวยประเทศตางๆ ใน
ทวีป ยุโรปที่สําคั ญหลายประเทศ ใหความสําคัญกับสิ่งแวดลอมเปนอยางมากเนื่องจากพื้นที่และ
ทรัพยากรของยุโรปมีจํากัดขณะที่ประชากรเพิ่มขึ้น การบริโภคก็เพิ่มขึ้นและมีความหลากหลายทําให
ขยะของเสียที่เกิดจากการบริโภคมีปริมาณสูงขึ้นตามไป หากไมมีการจัดการอยางเปนระบบก็จะทําให
เกิดปญหาสิ่งแวดลอม ดังนั้น สหภาพยุโรปจึงออกคําสั่งและมาตรการหลายประการที่เกี่ยวของกับการ
จัดการขยะของเสียประเภทตาง ๆ ใหประเทศสมาชิกนําไปออกกฎหมายบังคับใชในประเทศของตนเอง
เปนแบบเดียวกัน

1-1 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

สําหรับการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรป มีการออกคําสั่งวา
ดวยบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ (Directive 94/62/EC of 15 December 1994 on packaging
and packaging waste) กําหนดใหผูผลิตและผูนําเขาสินคาตองเรียกคืนบรรจุภัณฑของตนหลังจากการ
บริโภคของประชาชน เพื่อนํากลับมาใชซ้ําและแปรรูปใหมใหมากที่สุด ประเทศสมาชิกของสหภาพ ยุ
โรปตางก็นําไปปฏิบัติโดยการปรับปรุงหรือออกกฎหมายภายในของตนเพื่อใหสอดคลองกับคําสั่งดัง
กลาว ซึ่งใชบังคับกับสินคาที่ผลิตในสหภาพยุโรปและสินคาที่นําเขาจากนอกสหภาพยุโรปดวย
ในประเทศญี่ปุน การจัดการของเสียมีกฎหมายหลายฉบับ เริ่มจากแนวคิดพื้นฐานดานการ
รักษาสิ่งแวดลอม ที่จะทําใหมนุษยไดรับประโยชนจากสิ่งแวดลอมอยางยั่งยืน เนนนโยบายการนําของ
เสียกลับมาใชใหมหรือการรีไซเคิล โครงสรางทางกฎหมายเพื่อสงเสริมการสรางสังคมรีไซเคิลของ
ประเทศญี่ปุน ประกอบดวย กฎหมายพื้นฐานวาดวยสิ่งแวดลอมและโครงสรางพื้นฐานเพื่อสงเสริม
การสรางสังคมรีไซเคิล กฎหมายการจัดการของเสียและสงเสริมการใชทรัพยากรอยางมีประสิทธิภาพ
และกฎหมายวาดวยการรีไซเคิลหีบหอและบรรจุภัณฑ
ประเทศไทยไมมีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑโดยตรง
แตมีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะ 2 ลักษณะ คือ กฎหมายการรักษาความสะอาด หามทิ้งขยะในที่
หามและอนุรักษสิ่งแวดลอม ไดแก พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอย
ของบานเมือง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสงเสริมและ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 และกฎหมายที่กําหนดหนาที่ของผูรับผิดชอบในการ
กําจัดขยะมูลฝอย ซึ่งจะใหอํานาจกับองคกรปกครองสวนทองถิ่น คือ เทศบาล กรุงเทพมหานคร
เมืองพัทยา หรือองคการบริหารสวนตําบล ในการเก็บ ขน กําจัดขยะมูลฝอยในเขตที่ตนมีอํานาจหนาที่
เทานั้น ไมมีการกําหนดหนาที่ของผูผลิต ผูนําเขาใหตองรับผิดชอบบรรจุภัณฑของตน
การจัดทําระบบการเรียกคืนบรรจุภัณฑหรือจายคาธรรมเนียมจัดการของเสียบรรจุภัณฑ
ของตางประเทศ ซึ่งไมขัดกับกติกาการคาระหวางประเทศของ WTO ทําใหสินคาสงออกของไทยไปยัง
ประเทศเหลานั้นเสียเปรียบดานการแขงขันการตลาดจากราคาที่แพงขึ้น แตในทางกลับกัน สินคานํา
เขา เชน จากกลุมประชาคมยุโรป ไมตอ งเสียคาธรรมเนียม เนื่องจากประเทศไทยไมมีมาตรการจัดการของ
เสียบรรจุภัณฑ ที่ชัดเจนใหผูผลิตหรือผูนําเขาตองรับผิดชอบบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑที่นํา
เขามาในประเทศ
การดําเนินการดานการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑที่ผานมา มีการแตงตั้ง
คณะอนุกรรมการจัดการของเสียบรรจุภัณฑและวัสดุเหลือใช เพื่อกําหนดนโยบายและมาตรการลด
ปริมาณของเสียบรรจุภัณฑ การศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบของการใชภาษีสิ่งแวดลอมในการ
จัดการปญหา สิ่งแวดลอมในประเทศไทย การพัฒนาระบบการจัดการขยะบรรจุภัณฑและวัสดุเหลือใช
เพื่อใหมีผลตอบแทนและมีความเปนไปไดในเชิงธุรกิจและการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการลดของเสีย
และการใชประโยชนจากของเสีย เพื่อหาวัสดุบรรจุภัณฑที่เหมาะสมสําหรับสินคาที่สงออกไปยังกลุม
ประชาคมยุโรปและลดคาธรรมเนียมกําจัดบรรจุภัณฑ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการแขงขันกับประเทศ

1-2 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

คูคา แตผลการดําเนินงานที่ผานมายังไมมีการกําหนดมาตรการและแนวทางที่เปนรูปธรรม เพื่อใชเปน


แนวปฏิบัติแกหนวยงานตางๆ ที่เกี่ยวของ
ปญหาของการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ นอกจากจะเปนปญหาของการ
เก็บขนและกําจัดที่ไมมีประสิทธิภาพเทาที่ควรแลว การนํากลับมาใชยังมีปญหาปนเปอนและสกปรกจน
ไมสามารถนํากลับมาใชใหมไดหรือมีคุณภาพต่ําเพราะถูกทิ้งรวมกัน ขาดกฎระเบียบในการคัดแยก กล
ไกในการเรียกคืนซากผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑ ตลอดจนระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและครบ
วงจรตั้งแตการรวบรวม คัดแยก เก็บขน ขนสงและกําจัด รวมทั้งการนําขยะมูลฝอยมาใชประโยชนใหม
จากเหตุผลดังกลาวขางตน กรมควบคุมมลพิษ จึงมอบหมายใหศูนยบริการวิชาการ
แหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทําการศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑศึกษาและ
กําหนดยุทธศาสตรดานการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ ตั้งแตกระบวนการออกแบบ
การผลิตบรรจุภัณฑ จนถึงการเก็บรวบรวม ขนสง การนํากลับมาใชประโยชน การบําบัดและกําจัด เพื่อ
ใหการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑเปนไปอยางมีระบบ ครบวงจร และมีประสิทธิภาพ

1.2 วัตถุประสงค

1.2.1 เพื่อศึกษารูปแบบ แนวทาง วิธีการในการจัดการบรรจุภัณฑ และของเสีย


บรรจุภัณฑที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1.2.2 เพื่อกําหนดแผนยุทธศาสตรเชิงบูรณาการดานการจัดการบรรจุภัณฑและของเสีย
บรรจุภัณฑสําหรับใหหนวยงานที่เกี่ยวของนําไปปฏิบัติ
1.2.3 เพื่ อเสนอแนะกฎหมายที่ เหมาะสมสําหรับการจั ดการบรรจุ ภัณฑและของเสีย
บรรจุภัณฑ

1.3 เปาหมาย

เพื่อใหมีแผนยุทธศาสตรเชิงบูรณาการดานการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
ที่มีประสิทธิภาพตั้งแตขั้นตอนการออกแบบ การผลิต การบริโภค การบําบัดและกําจัด เพื่อใหหนวย
งานที่เกี่ยวของกับการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑนําไปปฏิบัติ และมีรางกฎหมายการจัด
การบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ

1.4 ระยะเวลาดําเนินงาน

การศึกษาจะใชเวลา 240 วัน (ดังแสดงในตารางที่ 1-1)

1-3 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

1.5 ขอบเขตการดําเนินงาน

1.5.1 ศึกษารวบรวมสภาพปญหาการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ ตั้งแต


กระบวนการออกแบบ การผลิต การคัดแยก เก็บรวบรวม ขนสง การใชประโยชน และการกําจัดของ
เสียบรรจุภัณฑ รวมทั้งรูปแบบ วิธีการ และแนวทางการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑทั้งใน
และ ตางประเทศ
1.5.2 กําหนดกรอบแนวคิดและวิธีการในการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
ใหครอบคลุมสภาพปญหาดานการจัดการ ตามขอ 1.5.1 พรอมทั้งวิเคราะหผลกระทบที่เกี่ยวของและ
กําหนดมาตรการ/แนวทางการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑอยางครบวงจร ภายใตกรอบ
แนวคิด ดังกลาว รวมทั้งจัดลําดับความสําคัญของมาตรการที่ตองดําเนินการทั้งในระยะสั้นและระยะ
ยาว
1.5.3 จัดทํารางแผนยุทธศาสตรดานการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ โดย
แผนดังกลาวอยางนอยจะตองประกอบดวยมาตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ ตั้งแต
ขั้นตอนการออกแบบ การผลิต การคัดแยก เก็บรวบรวม ขนสง การใชประโยชน และการกําจัดของเสีย
บรรจุภัณฑ แนวทางปฏิบัติสําหรับใหหนวยงานที่เกี่ยวของนําไปดําเนินการได กรอบระยะเวลาและงบ
ประมาณที่เกี่ยวของ
1.5.4 เสนอแนะกฎหมายและยกร า งกฎหมายสํ า หรั บ จะนํ า ไปใช ใ นการจั ด การ
บรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑที่สอดคลองกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และนโยบายการคาของ
ประเทศ
1.5.5 จัดประชุมสัมมนารางแผนยุทธศาสตรและรางกฎหมายที่จะนําไปใชในการจัดการ
บรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ เพื่อระดมความคิดเห็นและขอเสนอแนะจากหนวยงานที่เกี่ยวของ
กับการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ ทั้งภาครัฐ เอกชน ผูประกอบการ นักวิชาการ และผู
ทรงคุณวุฒิ จํานวนประมาณ 100 คน
1.5.6 ยกร า งเอกสารการจั ด การบรรจุ ภั ณ ฑ แ ละของเสี ย บรรจุ ภั ณ ฑ เพื่ อ นําเสนอ
ตอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ตามรูปแบบและขอกําหนดการเสนอเรื่องตอคณะรัฐมนตรีของทางราชการ
จากขอบเขตการดําเนินงานขางตน ทําใหทราบถึงขั้นตอนการดําเนินโครงการ ดังภาพที่
1-1

1-4 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 1-1 ความสัมพันธระหวางกิจกรรมกับระยะเวลาในการศึกษาและการสงรายงาน

กิจกรรม เดือน
1 2 3 4 5 6 7 8
ศึกษารวบรวมสภาพปญหาการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
กําหนดกรอบแนวคิดและวิธีการในการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุ
ภัณฑ
จั ด ทําร า งแผนยุ ท ธศาสตรดานการจัดการบรรจุภัณ ฑแ ละของเสี ย บรรจุ
ภัณฑ
เสนอแนะกฎหมายและยกรางกฎหมายการจัดการบรรจุภัณฑและของเสีย
บรรจุภัณฑ
จัดประชุมสัมมนารางแผนยุทธศาสตรและรางกฎหมาย
ยกรางเอกสารการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ เพื่อนําเสนอ
ตอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
จัดทํารายงานฉบับสมบูรณ
กําหนดการสงรายงาน
การสงรายงานการศึกษาเบื้องตน *
การสงรายงานฉบับกลาง *
การสงรางรายงานฉบับสมบูรณ *
จัดสัมมนารางรายงานฉบับสมบูรณ *
การสงรายงานฉบับสมบูรณ *

1-5 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

เก็บรวบรวม ขนสง ศึกษารวบรวมรูปแบบ วิธีการ และแนว


ทางการจัดการบรรจุภัณฑและของเสีย
การใชประโยชน
บรรจุภัณฑทั้งในและตางประเทศ
การกําจัด

การสัมภาษณหรือ
กําหนดกรอบแนวคิดและวิธีการจัดการ
Focus Group หรือ บรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
แบบสอบถาม
จัดทํารางแผนยุทธศาสตรดานการจัด
การบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
แนวทางและมาตรการ
ระยะสั้นและระยะยาว ยกรางกฎหมายการจัดการบรรจุภัณฑ
และของเสียบรรจุภัณฑ

จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นและ จัดประชุมกลุมยอยผูออกแบบ ผูผลิต


ขอเสนอแนะจากหนวยงานที่เกี่ยว ผูเก็บรวบรวม คัดแยก ขนสง และ
ของ ทั้งภาครัฐ เอกชน ผูประกอบการ ผูกําจัดของเสียบรรจุภัณฑ
นักวิชาการ และผูทรงคุณวุฒิ
ยกรางเอกสารเพื่อนําเสนอคณะรัฐมนตรี

รายงานฉบับสมบูรณ

ภาพที่ 1-1 ขั้นตอนการดําเนินโครงการ

1-6 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

1.6 ผลที่คาดวาจะไดรับ

1.6.1 รูปแบบ แนวทาง และวิธีการในการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ


ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1.6.2 แผนยุทธศาสตรเชิงบูรณาการดานการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
ที่มีประสิทธิภาพเพื่อใหหนวยงานที่เกี่ยวของนําไปปฏิบัติ
1.6.3 รางกฎหมายที่จะใชในการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ

1-7 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
บทที่ 2
สภาพปญหาและการจัดการขยะบรรจุภัณฑ

ในชี วิ ต ประจํ าวั น ของมนุ ษ ย เ รา มี วั ส ดุ เ หลื อ ใช ห รื อ สิ่ ง ของที่ ห มดประโยชน ใ ช ส อย


หมดคุณภาพหรือชํารุดแตกหักมากมายและมีแนวโนมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑซึ่งมักใช
แลวทิ้งทันทีหรือมีอายุการใชงานสั้น จึงกอใหเกิดปญหาดานการจัดการอยางมาก นอกจากนี้กรณี
บรรจุภัณฑปนเปอนเศษอาหาร ซึ่งมักบูดเนา สงกลิ่นเหม็น และเปนแหลงแพรเชื้อโรคตางๆ หรือ
บรรจุภัณฑปนเปอนสารเคมี เชน บรรจุภัณฑน้ํายาลางหองน้ํา ยาฆาแมลง ยาปราบศัตรูพืช
ขยะบรรจุภัณฑเหลานี้ หากทิ้งหรือฝงดิน สารพิษเหลานั้นจะตกคางอยูในดิน เมื่อซึมลงสูน้ําใตดิน จะทํา
ใหใชน้ําดื่มกินไมได และอาจสะสมอยูในพืชบางชนิด ซึ่งเมื่อเรารับประทานเขาไปก็จะไดรับสารพิษดวย
จากขอมูลปริมาณของเสียในประเทศ รวบรวมและประมวลโดยกรมควบคุมมลพิษ พบวา
ในป พ.ศ. 2545 ของเสียจากขยะมูลฝอยชุมชน รวมทั้งของเสียหรือวัสดุเหลือใชทางการเกษตรและใน
ภาคอุตสาหกรรม มีปริมาณรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 104.5 ลานตัน ในจํานวนนี้มีของเสียบรรจุภัณฑและ
วัสดุเหลือใชที่มีศักยภาพนํากลับมาใชประโยชนไดประมาณรอยละ 40 แตมีการนํากลับมาใชประโยชน
ไดเพียงประมาณรอยละ 24 (เพิ่มขึ้นจากป พ.ศ. 2543 ซึ่งมีการนํากลับมาใชประโยชนไดเพียงประมาณ
รอยละ 14.4) ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยยังไมมีมาตรการสงเสริมหรือกฎหมายใชบังคับผูที่เกี่ยวของทํา
การคัดแยกขยะอยางเปนระบบ เพื่อนําบรรจุภัณฑและ/หรือวัสดุเหลือใชกลับมาใชประโยชนอยางจริงจัง
อยางไรก็ตามจากขอมูลปริมาณขยะที่มีการคัดแยกเพื่อนํากลับมาใชประโยชน ระหวาง
ป พ.ศ. 2539-2543 ดังแสดงในตารางที่ 2-1 จะพบวาสถานการณการนําวัสดุเหลือใชจากขยะมาใช
ประโยชนใหมมีแนวโนมเพิ่มขึ้นทุกป สืบเนื่องจากหนวยงานที่เกี่ยวของไดใหความสําคัญในการปองกัน
และแกไขมลพิษจากของเสีย โดยเนนการลดและใชประโยชนของเสีย ณ แหลงกําเนิด การแลกเปลี่ยน
ของเสียระหวางผูประกอบการในภาคอุตสาหกรรม การนําของเสียมาใชประโยชนในรูปของพลังงาน
ทดแทน ตลอดจนการวิ จั ย และพั ฒ นาแนวทางและรู ป แบบการนําของเสี ยมาใชประโยชนอยางมี
ประสิทธิภาพ เปนตน
สําหรับขยะบรรจุภัณฑและวัสดุเหลือใชที่มีการคัดแยกเพื่อนํากลับไปใช ประโยชนนั้น
ยังคงเปนการคัดแยกเพื่อหารายไดจากวัสดุที่มีมูลคา แตไมไดดําเนินการคัดแยกเพื่อวัตถุประสงคการ
ลดปริมาณขยะและใชทรัพยากรอยางคุมคา กระบวนการคัดแยกขยะเพื่อนําวัสดุกลับไปใชประโยชน
จึงไมไดดําเนินการอยางเปนระบบและครบวงจร จึงขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2-1 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 2-1 ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นและปริมาณการคัดแยกเพื่อนํากลับไปใชประโยชนใหม


ระหวางป พ.ศ. 2539-2543
ปริมาณขยะ ป (พ.ศ.)
2539 2540 2541 2542 2543
ขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด 13.14 13.54 13.59 13.83 13.90
ขยะที่คัดแยกไปใชประโยชน 1.4 1.5 1.6 1.8 2.0
สัดสวนการคัดแยก 10.7 11.1 11.8 13.0 14.4

สืบเนื่องจากการลดปริมาณขยะมูลฝอยดวยการลดปริมาณการบริโภคบรรจุภัณฑ รวมทั้งการ
แยกทิ้งขยะบรรจุภัณฑเพื่อนํากลับไปใชประโยชนใหมอยางเปนระบบ เปนแนวทางหนึ่งของการแก
ปญหาการจัดการขยะที่ตนเหตุ ซึ่งทุกคนสามารถทําได หากมีความเขาใจอยางถูกตอง มีความตั้งใจจริง
และลงมือปฏิบัติจนเปนนิสัย รายงานบทนี้จึงเปนการกลาวนําความรูทั่วไปเกี่ยวกับบรรจุภัณฑและการ
จัดการโดยสังเขป เพื่อใหทุกฝายเขาใจตรงกันในประเด็นตางๆ ที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑและการจัดการ
ของเสียบรรจุภัณฑ หรือบรรจุภัณฑที่หมดประโยชนใชสอยแลว โดยเริ่มตนจากความหมายหรือนิยาม
ศัพทที่เกี่ยวของกับประเภทและการใชประโยชนบรรจุภัณฑ สถานภาพการออกแบบ การผลิต และการ
บริหารจัดการของเสียบรรจุภัณฑในประเทศไทย ตลอดจนตัวอยางการบริหารจัดการของเสียบรรจุ
ภัณฑในตางประเทศ แนวทางการลดปริมาณขยะดวยกลยุทธ 4R’s: Reduce, Reuse, Recycle, และ
Research รวมทั้งแนวทางการรีไซเคิลวัสดุแตละประเภทและผลกระทบจากการรีไซเคิล

2.1 นิยามเกี่ยวกับบรรจุภัณฑและการจัดการขยะบรรจุภัณฑ

บรรจุภัณ ฑ (Packaging) เป นทั้งศาสตร และศิล ปที่ใช ในการบรรจุสินคาในการจัด


จําหนายเพื่อสนองความตองการของผูซื้อและหรือผูบริโภคดวยตนทุนที่เหมาะสม
คําวา ‘บรรจุภัณฑ’ ตามบัญญัติในคําสั่งสหภาพยุโรปวาดวยบรรจุภัณฑและมูลฝอย
บรรจุภัณฑ (European Parliament and Council Directive 94/62/EC of 20 December 1994 on
Packaging Waste - PPWD) หมายถึง ผลิตภัณฑที่ทํามาจากวัสดุใด ๆ เพื่อใชบรรจุ ปกปอง นําสง
จัดการ และนําเสนอสินคาที่เปนวัตถุดิบไปจนถึงสินคาสําเร็จรูปจากผูผลิตไปถึงมือผูใช หรือผูบริโภค
วัสดุที่ไมสามารถนํากลับมาได หากใชเพื่อวัตถุประสงคเดียวกันก็ถือเปนบรรจุภัณฑ
การบรรจุภัณฑ หรือ การหีบหอ (Packaging) หมายถึง ระบบในการเตรียมสินคาเพื่อ
การขนสง จัดจําหนาย การเก็บรักษา และการตลาด โดยมีคาใชจายที่เหมาะสมสอดคลองกับความ
ตองการของสินคานั้นๆ หนาที่โดยทั่วไปของบรรจุภัณฑ คือ

2-2 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(1) ภาชนะบรรจุรองรับ (Contain) ผลิตภัณฑ ใหอยูรวมกันเปนกลุมกอนหรือตามรูปรางของ


บรรจุภัณฑนั้นๆ
(2) ปองกัน (Protect) ผลิตภัณฑ มิใหเกิดความเสียหายอันเกิดขึ้นจากสภาพแวดลอม รวมทั้ง
รักษาคุณภาพของผลิตภัณฑเกี่ยวกับชนิดและคุณภาพ นับตั้งแตผลิตจนถึงมือผูบริโภค
(3) แจงขอมูล (Inform) รายละเอียดของผลิตภัณฑ ที่เกี่ยวกับชนิดและคุณภาพ ตลอดจนแหลง
ที่มาหรือจุดหมายปลายทาง
(4) อํานวยความสะดวกในการในการใชงาน (Convenience) อาทิ การลําเลียงขนสง การเก็บ
รักษา การปดและเปด เปนตน
(5) ชักจูงในการซื้อ (Motivate) ชวยดึงดูดความสนใจทําหนาที่ขายและโฆษณาสินคาควบคูกันไป
(6) สรางมูลคาเพิ่ม (Value added) ใหแกผลิตภัณฑ สรางความเชื่อถือใหแกผูบริโภค
บรรจุภัณฑเพื่อการจําหนาย (Sale Packaging หรือ Primary Packaging) หมายถึง
บรรจุภัณฑที่ใชหีบหอสินคา รวมถึงบริการหีบหอโดยผูคาปลีก เชน ถุงพลาสติกหรือถุงกระดาษที่ผูคา
ปลีกใชบรรจุหรือหอสินคาใหกับผูบริโภค ตลอดจนบรรจุภัณฑที่จะกลายเปนขยะมูลฝอย เมื่อไปถึง
ผูบริโภค ไดแก ถวยกระดาษ ถุง ขวด ถุงกระสอบ ถาด แผนกระดาษแข็ง เปนตน ก็จะถูกจัดใหเปน
“Sale Packaging” ดวย ทั้งนี้เพื่อลดปญหาในการตีความเพื่อปฏิบัติในการแยกแยะบรรจุภัณฑ
บรรจุภัณฑเพื่อการขนสง (Transport Packaging) หมายถึง วัสดุหรือองคประกอบที่ใช
สําหรับปองกันไมใหสินคาเสียหายในระหวางการขนสงจากโรงงานหรือเพื่อความปลอดภัย ไดแก
ถังแคร ตูสินคา กระสอบ กระบะ กลองกระดาษแข็ง กลองโฟม ฟลมหดรัดรูป เปนตน
บรรจุภัณฑเพื่อการบริโภค (Consumer Packaging) หมายถึง วัสดุที่ใชบรรจุผลิตภัณฑ
เพื่อการขนสงและการโฆษณา เพื่อจําหนาย และกลายเปนขยะมูลฝอยตามบานเรือนทั่วไป บรรจุภัณฑ
ที่ใชบรรจุสินคาหนวยเดียวหรือหนวยยอย โดยการหอหรือปดผนึกเพื่อการขายโดยตรงสามารถนําไป
วางจําหนายในรานไดทันที เชน ถุงพลาสติก กระปองโลหะ ขวดแกว และกลองกระดาษแข็ง เปนตน
หนาที่สําคัญ คือ เปนบรรจุภัณฑเพื่อการขายปลีก จะคุมครองสินคาและอํานวยความสะดวกในการ
บริโภค รวมถึงทําหนาที่เปนผูขายดวย
บรรจุภัณฑสําหรับพาณิชยกรรม (Commercial Packaging) หมายถึง บรรจุภัณฑที่ผู
บริโภคจะตองรับผิดชอบในการใชซ้ําหรือกําจัดบรรจุภัณฑของตนเมื่อใชแลว มีลักษณะเปน บรรจุ
ภัณฑที่อํานวยความสะดวกในการเคลื่อนยาย สื่อสารโฆษณาสินคา มีการออกแบบสวยงามดึงดูดใจ
เชน ถุงกระดาษ ถุงพลาสติก ซึ่งคุณภาพของวัสดุบรรจุภัณฑจะเปนไปตามชนิดและมูลคาสินคา ไดแก
ถุงกระดาษสําหรับใสเครื่องสําอาง ถุงพลาสติกจากรานคา เปนตน

2-3 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

บรรจุภัณฑสําหรับอุตสาหกรรม (Industrial Packaging) หมายถึง บรรจุภัณฑที่ใชใน


การขนสงหรือขนถายสินคาในทางอุตสาหกรรม จากแหลงผลิตถึงโรงงานแปรรูปหรือแหลงบรรจุ จะใช
ในการอุตสาหกรรมขนาดใหญ จํานวนมาก สามารถนําไปใชซ้ําหรือใชในวัตถุประสงคอื่น ยกเวน
บรรจุภัณฑของสารเคมีหรือสารอันตราย ตัวอยางไดแก บรรจุภัณฑที่ใชในการขนสงระหวางโรงงาน
แหลงผลิตกับโรงงานแปรรูป ลังไม ถังกระดาษหรือพลาสติก ถุงผาขนาดใหญ เมื่อใชแลวผูใชจะตอง
กําจัดเองหรือเสียคาใชจายในการกําจัด
รียูซ (Reuse) หรือ ใชซ้ํา หมายถึง กระบวนการนําเอาวัสดุ/ผลิตภัณฑ ที่ใชแลวกลับมา
ใชใหมไดเลย โดยไมผานการแปรสภาพ ตัวอยางที่เห็นชัด ไดแก ขวดแกวบรรจุน้ําอัดลม ขวดแกว
บรรจุน้ําปลา เปนตน
รีไซเคิล (Recycle) หรือ แปรใชใหม หมายถึง กระบวนการนําเอาวัสดุ/ผลิตภัณฑ ที่ใช
แลวกลับมาใชใหมโดยผานขบวนการผลิตใหม แปรสภาพทางเคมี และฟสิกส เชน กระดาษรีไซเคิล
พลาสติกรีไซเคิล
การยอยสลายทางชีวภาพ (Biodegradation) หมายถึง การยอยสลายของสสารดวย
สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก (Microorganism) เชน แบคทีเรีย ใหเปนอนุภาคเล็กๆ ที่ไมเปนอันตราย
ตอสิ่งแวดลอม รวมทั้งไมแตกตัวทางเคมีดวยแบคทีเรีย และ/หรือ ปจจัยทางสิ่งแวดลอมธรรมชาติ
เปนสารตกคางในสิ่งแวดลอม
วัสดุบางชนิด โดยเฉพาะพลาสติก ซึ่งไมสามารถยอยสลายทางชีวภาพ อาจถูกเรงใหยอย
สลายไดดวยปฏิกิริยาทางแสง (Photodegradation) หรือปฏิกิริยาทางเคมี (Chemical Degradation)
แตยังไมเปนที่นิยมนัก เนื่องจากพลาสติกที่ถูกทําใหยอยสลายไดเหลานี้ มักมีความแข็งแรงเชิงกล
ต่ํากวาและตนทุนการผลิตสูงกวา เมื่อเทียบกับพลาสติกทั่วไป

2.2 สถานการณทั่วไปเกี่ยวกับบรรจุภัณฑในประเทศไทย

2.2.1 การสรรหา การออกแบบ และการผลิตบรรจุภัณฑ


สื บเนื่องจากภาวะการแขงขันทางการคาที่ทวีความรุนแรงและซับซอนมากขึ้น
เรื่อยๆ ประกอบกับพฤติกรรมการบริโภคสินคาของคนไทยที่มีปจจัยเกี่ยวของหลายประการ โดยเฉพาะ
ระดับรายไดและรสนิยมของผูบริโภค การผลิตที่มีตนทุนต่ําเพียงอยางเดียวจึงไมใชกลยุทธที่เหมาะสม
อีกตอไป ผูผลิตสินคารวมทั้งผูสงออกจะตองเรงปรับปรุงการดําเนินธุรกิจ ทั้งรูปแบบและคุณภาพผลิต
ภัณฑ ตลอดจนการสรรหาบรรจุภัณฑทางเลือกที่เหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากบรรจุภัณฑที่เหมาะสม จะ
ชวยลดการสูญเสีย ลดคาใชจาย สรางความแตกตางของสินคา และสรางมูลคาเพิ่มใหแกสินคา สามารถ
ตอบสนองความตองการของลูกคาทุกระดับทั้งในและตางประเทศ สงผลใหสามารถขยายตลาดไดอยาง
กวางไกล สามารถแขงขันในตลาดโลกไดอยางยั่งยืน บรรจุภัณฑจึงกลายเปนปจจัยสําคัญปจจัยหนึ่งใน
การเพิ่มความสามารถในการแขงขันทางการคา

2-4 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

อยางไรก็ตามผูประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมของไทยสวนใหญอยูในกลุม SMEs
ซึ่งมีขอจํากัดดานความรูและความเขาใจในการพัฒนาสินคาและบรรจุภัณฑ กรมสงเสริมอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม จึงไดจัดตั้งหนวยงาน ‘Packaging Division’ ขึ้นภายใต ‘Bureau of Supporting
Industries Development (BSID)’1 เพื่อทําหนาที่สงเสริม สนับสนุน ใหคําแนะนําและชวยเหลือ
ผูประกอบการ ในการพัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ ทั้งดานการผลิตและการออกแบบ
สภาพปจจุบัน การออกแบบและการผลิตบรรจุภัณฑในประเทศไทยสวนใหญเปนการผลิต
ตามคําสั่งของลูกคา ซึ่งยังคงเนนที่ปจจัยเหลานี้เปนหลัก
‰ การออกแบบและผลิตใหเหมาะสมกับสินคาที่จะบรรจุ

‰ การออกแบบและผลิตใหตอบสนองความตองการของลูกคาหรือผูจัดจําหนาย

‰ การออกแบบตามขอกําหนดของประเทศผูนําเขา

การผลิตบรรจุภัณฑจึงยังไมไดเริ่มพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑที่เปนมิตรตอสิ่งแวดลอม
(Design for Environment หรือ Eco-Design) อยางจริงจัง กลาวคือ
‰ ยังไมไดคํานึงถึงการใชซ้ําหรือการนํากลับไปใชใหม (ตองออกแบบใหสามารถนําไปใช

ใหมไดสะดวกหรือนําไปใชประโยชนอื่นไดอีก รวมทั้งการออกแบบใหสามารถถอด
ประกอบชิ้นสวนไดงายเพื่อนําบางชิ้นสวนกลับไปใชใหม เปนตน)
‰ ยังไมไดคํานึงถึงการรีไซเคิลหรือการแปรใชใหม (ตองออกแบบใหใชเนื้อวัสดุนอยที่สุด

มีสัดสวนของวัสดุรีไซเคิลไดมากที่สุด ประกอบดวยวัสดุนอยชนิดที่สุด และสามารถถอด


ประกอบชิ้นสวนไดงาย ทั้งนี้เพื่อใหงายตอการนําไปแยกรีไซเคิล)
‰ ยังไมไดคํานึงถึงการกําจัดหรือทําลายหลังหมดสภาพใชงาน (ตองออกแบบให สามารถ

กําจัดหรือทําลายไดงาย และไมสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอม หรือเลือกใชวัสดุที่ยอยสลาย


ตามธรรมชาติได เปนตน)
‰ ยังไมไดคํานึงถึงการใชบรรจุภัณฑฟุมเฟอย (ตองออกแบบใหมีขนาดและจํานวนชั้นที่

เหมาะสม ไมฟุมเฟอยเกินความจําเปน) ตัวอยางการใชบรรจุภัณฑฟุมเฟอย ไดแก


บรรจุภัณฑสําหรับสินคาจําพวก อุปกรณคอมพิวเตอร โทรศัพทเคลื่อนที่ ซิมการด และ
บัตรเครดิต เปนตน สินคาเหลานี้สวนใหญมีขนาดเล็ก แตมักบอบบาง ผูผลิตจึงออกแบบ
บรรจุภัณฑใหมีการปกปองสินคาดวยการใชบรรจุภัณฑหลายชั้น รวมทั้งการใชโฟมชวย
กันกระแทก ทําใหบรรจุภัณฑมีขนาดใหญมากเมื่อเทียบกับขนาดของสินคา เปนการ
สิ้นเปลืองพื้นที่ในการขนสง และเปนปญหาในการจัดการ เปนตน)

1
เดิมคือ ‘Packaging Section’ ตั้งขึ้นเมื่อป พ.ศ. 2511 ภายใต Industrial Service Institute (ISI) แตไดโอนยายมาอยูที่กรมสงเสริม
อุตสาหกรรม (DIP) ตั้งแตป พ.ศ. 2539

2-5 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ดวยขอจํากัดดานการสรรหาและออกแบบบรรจุภัณฑดังกลาว จึงสงผลใหเกิดปญหาดาน
การจัดการบรรจุ ภัณฑ ใ ช แลว หรื อของเสียบรรจุภัณฑ ซึ่งสวนใหญยอยสลายตามธรรมชาติไมได
จึงกลายเปนภาระในกองขยะทุกวันนี้

แนวทางแกไข การนําแนวคิดการออกแบบเพื่อสิ่งแวดลอม (Design for Environment)


หรือ Eco-Design มาประยุกตใชกับการออกแบบบรรจุภัณฑ อาจทําไดโดยการออกแบบบรรจุภัณฑที่
ใชวัสดุชนิดเดียว (Single Component) หรือใชวัสดุนอยชนิดที่สุด (Minimum Components) เลือก
วัสดุที่สามารถแปรใชใหมหรือรีไซเคิลได ออกแบบใหมีสัดสวนของวัสดุที่รีไซเคิลไดมากที่สุด
และที่สําคัญจะตองออกแบบใหสามารถถอดชิ้นสวนไดงาย เพื่อจะไดแยกสวนที่รีไซเคิลได นํากลับ
เขาสูกระบวนการรีไซเคิลดวยตนทุนที่ต่ําสุด และเหลือสวนที่ตองทิ้งเปนภาระในกองขยะนอยที่สุด
การนําแนวคิด Eco-Design มาใชในการพัฒนาบรรจุภัณฑนั้น นอกจากจะชวยลดปญหา
การจัดการของเสียบรรจุภัณฑแลว ยังเปนการเตรียมพรอมสําหรับนโยบาย IPP (Integrated Product
Policy) ซึ่งสหภาพยุโรปพยายามนํามาใชในการกําหนดมาตรฐานสินคา กลาวคือ สินคาที่ผลิตขึ้นจะ
ตองสงผลกระทบตลอดวงจรชีวิตนอยที่สุด นับตั้งแตขั้นตอนการทําเหมืองหรือขุดเจาะน้ํามันปโตรเลียม
เพื่อผลิตวัตถุดิบ การนําวัตถุดิบไปผลิตสินคา การขนสงสินคาไปจัดจําหนาย สูการใชงานโดยผานผู
บริโภค จนกระทั่งสินคานั้นหมดอายุการใชงาน และถูกกําจัดหรือทําลายในที่สุด ดังนั้นในการผลิตสินคา
จะตองทําการประเมินผลกระทบตลอดวงจรชีวิต หรือทํา LCA (Life Cycle Assessment) หากผาน
การประเมินก็จะไดรับฉลากสิ่งแวดลอม (Eco-Label)
หลายรัฐในสหภาพยุโรปเริ่มนํามาตรการ Eco-Label มาเปนปจจัยหนึ่งในการกําหนด
มาตรฐานสินคา โดยอาจนํา Price Mechanism มาเปนมาตรการจูงใจ เชน สินคาที่มี Eco-Label อาจ
ไดรับการจัดเก็บภาษีมูลคาเพิ่มในอัตราที่ต่ํากวา เปนตน ประเทศไทยซึ่งเปนผูสงออกสินคาสูสหภาพ ยุ
โรปอาจไดรับผลกระทบดังกลาว ประเทศไทยจึงควรเตรียมพรอมสําหรับมาตรการตาง ๆ เหลานี้ดวย
หากพิจารณาปญหาการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งสวนใหญมาจากบรรจุภัณฑสําหรับสินคาที่
บริโภคภายในประเทศ (รวมสินคานําเขา) จะพบวา
‰ บรรจุ ภัณฑใชแลวที่ผลิตจากวัสดุที่จัดการงายหรือรีไซเคิลไดงาย กลาวคือ ผลิต

จากวัสดุชนิดเดียว (Single Component) เชน แกว โลหะกระดาษ และพลาสติกจําพวก


เทอรโมพลาส (PE, PP, PET, etc.) จะมีมูลคาในตัวเพียงพอที่จะถูกเก็บหรือรับซื้อกลับ
เขาสูกระบวนการรีไซเคิล จึงไมพบเปนปญหาในกองขยะ
‰ บรรจุภัณฑซึ่งผลิตจากวัสดุที่จัดการยากหรือขั้นตอนรีไซเคิลซับซอน (สวนใหญเปน
บรรจุภัณฑประเภทลามิเนต หรือ Multi-layer เชน กลองนม กลองน้ําผลไม ซองขนม
ขบเคี้ยว) รวมทั้งบรรจุภัณฑปนเปอนตาง ๆ มักถูกทิ้งเปนภาระในกองขยะ เนื่องจาก
ไมคุมคาเชิงรีไซเคิล

2-6 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ฉะนั้นการกําหนดมาตรการจัดการบรรจุภัณฑใชแลว จะตองแยกพิจารณาเปนรายกลุมผลิต
ภัณฑ ซึ่งอาจจําแนกบรรจุภัณฑตามชนิดวัสดุที่ใชผลิตได 5 กลุม ดังนี้
‰ บรรจุภัณฑแกว เปนบรรจุภัณฑที่นิยมใชบรรจุสินคาโดยตรง มีหลากหลายรูปแบบและ

หลากหลายขนาด ที่นิยมใชกันมากที่สุด คือ ขวดแกว สําหรับเครื่องดื่ม เครื่องปรุงอาหาร


เครื่องสําอาง และยารักษาโรค
ศักยภาพการนํากลับมาใชประโยชนใหม
แกวเปนบรรจุภัณฑที่มีศักยภาพในการนํากลับมาใชประโยชนใหม ทั้งในดานมูลคา คุณ
ลักษณะ และความคุมคา รวมถึงเทคโนโลยีในการรีไซเคิล ใชซ้ํา (Reuse) ได และแปรใชใหม (Recycle)
ได โดยไมจํากัดจํานวนครั้ง (คุณสมบัติไมเปลี่ยนแปลง) แตมีขอจํากัดดานน้ําหนัก (สิ้นเปลืองพลังงาน
ในการขนสง) และสมบัติเชิงกล (แตกงาย) ทําใหความนิยมใชมีแนวโนมลดลง
กระบวนการนําบรรจุภัณฑแกวกลับมาใชใหม จําแนกเปน 3 ประเภท ดังนี้
1) การใชซ้ํา (Reuse) โดยผูบริโภค เชน ขวดน้ําปลา เมื่อใชหมดแลว นํากลับไปใชบรรจุ
อาหารหรือผลิตภัณฑพื้นบาน เปนตน
2) การใชซ้ํา (Reuse) โดยผูผลิต เชน อุตสาหกรรมเบียรหรือน้ําอัดลม มีระบบการเรียกคืน
บรรจุภัณฑเพื่อใชในการบรรจุสินคาใหม (โดยใชระบบมัดจํา)
3) การรีไซเคิล (Recycle) บรรจุภัณฑแกวทุกประเภท (รวมทั้งเศษแกวและบรรจุภัณฑที่แตก
ชํารุด) สามารถนํากลับมารีไซเคิลได ซึ่งนอกจากจะลดคาใชจายดานวัตถุดิบแลว ยังลดคา
ใชจายดานพลังงานไดมาก ทั้งนี้เนื่องจากการหลอมแกว ใชพลังงานต่ํากวาหลอมวัตถุดิบ
มาก หากใชเศษแกวเปนวัตถุดิบรวมในกระบวนการผลิต 10% จะประหยัดพลังงานได
1.5-4.0%2
จากขอมูลการใชประโยชนของเสียในภาคอุตสาหกรรม (ประมวลโดยกรมควบคุมมลพิษ) พบวา
ในป พ.ศ. 2545 ทั่วประเทศมีการนําของเสียประเภทกระดาษกลับมาใชประโยชนใหม (รีไซเคิล)
ประมาณ 1.0 ลานตัน คิดเปนรอยละ 32 ของปริมาณของเสียประเภทกระดาษทั่วประเทศ ซึ่งมีแนวโนม
การใชประโยชนของเสียในระดับเดียวกับป พ.ศ. 2544

บรรจุภัณฑพลาสติกและโฟม พลาสติกและโฟมเปนบรรจุภัณฑที่มีบทบาทสําคัญอยางยิ่ง
‰

ในทุกกลุมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุมอุตสาหกรรมอาหาร โดยลักษณะบรรจุภัณฑที่มีการใชแพร


หลายมี 2 รูปแบบใหญๆ ไดแก พลาสติกชนิดออน สามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรงได เชน ถุงพลาสติก
กระสอบ พลาสติกสาน และฟลมพลาสติก เปนตน และพลาสติกชนิดแข็ง ไมสามารถเปลี่ยนแปลงรูป
ทรง เชน ขวดพลาสติกบรรจุอาหาร เครื่องสําอาง กลองโฟม และถาดโฟม เปนตน

2
กรมควบคุมมลพิษ 2543 รายงานฉบับสมบูรณ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการลดของเสียและการใชประโยชนของเสีย

2-7 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ศักยภาพการนํากลับมาใชประโยชนใหม
บรรจุภัณฑพลาสติกบางชนิดใชซ้ําได และหลายชนิดแปรใชใหม (Recycle) ได แตจํากัด
จํานวนครั้ง เนื่องจากสายโซพอลิเมอรมักสั้นลง ทําใหสมบัติเชิงกลดอยลง
นอกจากนี้ยังมีขอจํากัดดานความหลากหลายของชนิดพลาสติก หากรีไซเคิลรวมโดยไม
คัดแยกชนิด มูลคาจะต่ําลงมาก ขณะที่บรรจุภัณฑโฟม จะมีขอจํากัดดานปริมาตรเมื่อเทียบกับน้ําหนัก
วัสดุที่รีไซเคิลได จึงยังไมนิยมนํากลับไปรีไซเคิล
จากขอมูลการใชประโยชนของเสียในภาคอุตสาหกรรม (กรมควบคุมมลพิษ, 2545) พบวา
ในป พ.ศ. 2545 ทั่วประเทศมีการนําของเสียพลาสติกกลับมาแปรใชใหม (Recycle) ประมาณ
0.7 ลานตัน คิดเปนรอยละ 25 ของปริมาณของเสียประเภทพลาสติกทั่วประเทศ ซึ่งมีแนวโนมการใช
ประโยชนของเสียเพิ่มขึ้นจากป พ.ศ. 2544 ประมาณรอยละ 3

‰ บรรจุภัณฑหลายองคประกอบหรือลามิเนตหลายชั้น (Multi-layer) เปนบรรจุภัณฑที่มี


ความซับซอน แตมีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ จึงมีแนวโนมปริมาณการใชเพิ่มขึ้นอยาง
รวดเร็ว ขณะที่ไมนิยมใชซ้ํา (Reuse) แมสามารถแปรใชใหม (Recycle) ได ก็คอนขางยุงยาก
จึงถูกทิ้งเปนภาระในกองขยะ

ขอสังเกต:
หากพิจารณาในเชิงปริมาณแลวจะพบวาบรรจุภัณฑอาหาร จะมีสัดสวนการใชงานคอนขางสูง
ขณะที่อายุการใชงานสั้น (สวนใหญเปนขยะทันทีเมื่อถึงมือผูบริโภค) จึงมีสัดสวนที่ถูกทิ้งในกองขยะสูง
มาก ฉะนั้นจึงควรเรงกําหนดมาตรการจัดการบรรจุภัณฑอาหารเปนอันดับแรก

2-8 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ปจจุบันความเจริญกาวหนาทางอุตสาหกรรมอาหารมีเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง การพัฒนาและสรรหา
บรรจุภัณฑที่เหมาะสมจึงเปนปจจัยสําคัญปจจัยหนึ่งในกระบวนการแปรรูปและถนอมอาหาร การนํา
วัสดุที่มีคุณสมบัติในการปองกันการซึมผานและทนความรอนไดดี มาใชในการผลิตบรรจุภัณฑอาหาร
(นิยมเรียก Retort Packaging) จัดเปนกุญแจสําคัญในการถนอมอาหารและยืดอายุสินคาอาหารใหยาว
นานขึ้น ขวดแกวและกระปองโลหะซึ่งทนความรอนในกระบวนถนอมอาหารไดดีและสามารถ รี
ไซเคิลหรือใชหมุนเวียนวัสดุได จึงเปนที่ตองการในตลาดเพิ่มขึ้น
อยางไรก็ตามดวยขอจํากัดของบรรจุภัณฑแกว ซึ่งมีน้ําหนักมาก (สิ้นเปลืองพลังงานในการขน
สง) และแตกงาย ขณะที่บรรจุภัณฑโลหะมีขอจํากัดทั้งดานน้ําหนัก บุบงาย มีรอยเชื่อมตอ และตนทุน
สูง เนื่องจากตองนําเขาวัตถุดิบ บรรจุภัณฑพลาสติกชนิดซองที่สามารถทนความรอนไดดีและมี
น้ําหนักเบา ซึ่งนิยมเรียก ‘ซอง Retort’ จึงเริ่มเขามามีบทบาทในเชิงธุรกิจของบรรจุภัณฑสําหรับ
อาหารสําเร็จรูปพรอมรับประทานหรืออาหารพรอมปรุง ทั้งนี้เนื่องจากมีขอไดเปรียบหลายประการ อาทิ
ยืดอายุอาหารไดนานขึ้นโดยไมตองแชเย็น อีกทั้งประหยัดคาขนสงและเก็บรักษา ขณะเดียวกัน
บรรจุภัณฑชนิดนี้กําลังจะสรางปญหาดานการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ เนื่องจากเปนบรรจุภัณฑ
ลามิเนตหลายชั้น (Multi-layer) ประกอบดวยวัสดุหลายประเภทในชิ้นเดียวกัน เปนปญหาในการนํา
กลับสูกระบวนการรีไซเคิล จึงถูกทิ้งเปนภาระในกองขยะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ดวยปญหาการจัดการยากของซองลามิเนตดังกลาว ทําใหมีการพัฒนาบรรจุภัณฑทดแทนที่มี
ความหลากหลายและมีทางเลือกมากขึ้น เชน การพัฒนากระปองโลหะที่มีรูปแบบแปลกใหม และมี
ความหนาของโลหะลดลง การพัฒนาบรรจุภัณฑแกวชนิดวันเวย ซึ่งมีน้ําหนักเบา ทนแรงกระแทกดี
ตกไมแตก การพัฒนาถาดและกลองกระดาษที่เขาเตาอบได การพัฒนากลองกระดาษที่มีถุงภายใน
(Bag-in-Bog) รวมทั้งการพัฒนากลองลามิเนต การพัฒนาเทคโนโลยีการเปลาฟลมสองชั้น ตลอดจน
เทคโนโลยีการบรรจุอาหารดวยระบบขึ้นรูปบรรจุและปดผนึก (Thermoform-Fill-and-Seal) ซึ่งกําลัง
เปนที่นิยมในตลาดที่วางขายสินคาสะดวกซื้อ รานบริการตนเอง และรานอาหารดวน เปนตน
อย า งไรก็ ต ามในยุ ค ที่ มี ก ารแข ง ขั น ทางตลาดสู ง ประกอบกั บ กระแสตื่ นตัวด านการอนุรักษ
สิ่งแวดลอม การพัฒนาเทคโนโลยีและการผลิตสินคาใหม ไดหันมามุงเนนการลดที่แหลง (Reduce at
Source) มากขึ้ น การพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ แ ละ/หรื อ บรรจุ ภั ณ ฑ ที่ เ ป น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล อ ม
(Environmental Friendly) รวมถึงการวางแผนการผลิตอยางเปนระบบ ผูผลิตหรือผูบรรจุสินคาจะ
ตองรวมมือกับลูกคา ตั้งแตขั้นวางแผนไปจนถึงการเลือกวัสดุและการออกแบบบรรจุภัณฑที่เหมาะสม
ใชวัสดุชนิดเดียวหรือนอยชนิดที่สุด และถาเปนไปไดเลือกใชวัสดุที่รีไซเคิลได หรือมีสัดสวนที่รีไซเคิลได
มากที่สุด และที่สําคัญจะตองออกแบบใหสามารถแยกชิ้นสวนเพื่อนําบางชิ้นสวนกลับไปใชหมุนเวียน
หรือเขาสูกระบวนการรีไซเคิลไดงาย ตลอดจนการพัฒนาบรรจุภัณฑทดแทนที่สามารถใชหมุนเวียน
หรือรียูสได ทั้งนี้เพื่อลดตนทุนดานสิ่งแวดลอม เพิ่มความสามารถในการแขงขัน และตอบสนองความ
ตองการของลูกคาใหมากที่สุด

2-9 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

2.3 ประเภท/องคประกอบ ปริมาณการผลิต การนําเขา-สงออก การบริโภคบรรจุภัณฑ และ


ของเสียบรรจุภัณฑ3

บรรจุภัณฑที่ใชในประเทศไทยผลิตจากวัสดุหลัก 4 ประเภท คือ แกว โลหะ กระดาษ และ


พลาสติก มีผลิตจากไมและปอบาง แตนอยมากเมื่อเทียบกับวัสดุ 4 ประเภทหลักดังกลาว อุตสาหกรรม
บรรจุภัณฑในประเทศไทยจึงจําแนกเปน 4 กลุม คือ บรรจุภัณฑกระดาษ (ประมาณรอยละ 40)
บรรจุภัณฑพลาสติก (ประมาณรอยละ 25) บรรจุภัณฑโลหะ (ประมาณรอยละ 20) และบรรจุภัณฑแกว
(ประมาณรอยละ 15) ตามลําดับ
บรรจุภัณฑกระดาษและกระดาษแข็ง (Paper and Board Packaging)
กระดาษและกระดาษแข็งจัดเปนสาขาใหญสุดในบรรดาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ ทั้งนี้เนื่อง
จากมีราคาถูก เมื่อเทียบกับความแข็งแรง ความสามารถในการพิมพประชาสัมพันธ ภาพลักษณ ที่ดีใน
เชิงเปนมิตรกับสิ่งแวดลอม เนื่องจากผลิตจากเยื่อไมซึ่งสามารถปลูกทดแทนไดและยอยสลายตามธรรม
ชาติได (Produced from Renewable Resources and Biodegradable)
ขณะเดียวกัน กระดาษจะมีขอเสียดานเสียรูปทรงหรือขาดยุยเมื่อเปยกน้ํา จึงตองเคลือบ
หรือลามิเนตดวยพลาสติกหรืออะลูมิเนียมฟอยล สงผลใหกลายเปนบรรจุภัณฑที่มีคุณภาพดีแตจัดการ
ยาก (แยกสวนรีไซเคิลยาก)
บรรจุภัณฑกระดาษที่ผลิตในประเทศไทย มี 2 กลุมหลัก คือ กลองและถุง กรณีกลองอาจ
จําแนกเปน 2 กลุมยอย คือ กลองลูกฟูก (Corrugated Box) และกลองกระดาษพับไดทั่วไป
(Cardboard or Folding Box) โดยเฉพาะกลองประเภท Die-cut Box ซึ่งพิมพตกแตงภายนอกอยาง
สวยงาม กําลังเปนที่นิยมใชในรานคายอยมากขึ้นเรื่อยๆ สวนถุงก็จะมีทั้งถุงชั้นเดียว (Single-Layer)
และถุงหลายชั้นหรือถุงลามิเนต (Multi-Layer) มีทั้งชนิดดานและเคลือบเงา
สําหรับกลองกระดาษลูกฟูก สวนใหญใชเปนบรรจุภัณฑสําหรับหีบหอเพื่อการขนสง โดย
เฉพาะอยางยิ่งสําหรับสินคาสงออก ใชในอุตสาหกรรมอาหารประมาณรอยละ 50 อีกประมาณรอยละ
38 ใชสําหรับบรรจุสินคาอุปโภคบริโภคทั่วไป อุตสาหกรรมกลองกระดาษลูกฟูกเปนอุตสาหกรรมที่มี
ผูผลิตหรือแปรรูปมากที่สุด เมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑกระดาษประเภทอื่น มีอัตราการเติบโตประมาณ
รอยละ 15-18 ตอป มีผูผลิตชาวตางประเทศสนใจเขามาตั้งโรงงานผลิตบรรจุภัณฑกระดาษคุณภาพสูง
เปนจํานวนมาก เนื่องจากไดรับการยกเวนภาษีนําเขาเครื่องจักรและภาษีรายไดนานถึง 5 ป ตาม
นโยบายสงเสริมการลงทุน นอกจากนี้ยังอาจลดภาษีนําเขาวัตถุดิบบางตัว สงผลใหแนวโนมการผลิต
กลองกระดาษลูกฟูกสูงขึ้น

3
ขอมูลจากสมาคมบรรจุภัณฑไทย

2-10 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตัวอยางบริษัทหลักที่เปนลูกคาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑกระดาษ 4 คือ
บริษัท ชนิดของธุรกิจ
บริษัท เนสทเล (ไทย) จํากัด ผลิตภัณฑอาหาร
บริษัท เอส แอนดพี ชินดิเคท จํากัด (มหาชน ผลิตภัณฑขนมอบ
บริษัท ยูนิลีเวอร ไทย โฮลดิงล จํากัด ผลิตภัณฑสําหรับอุปโภค - บริโภค
บริษัท อําพลฟูด โพรเซสซิ่ง จํากัด ผักและผลไมเผือกแชแข็ง
บริษัท ดัชมิลค จํากัด ผลิตภัณฑ ยูเอชที

ปจจุบันประเทศไทยมีผูประกอบการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑกระดาษรวมประมาณ 300 ราย


ในจํานวนนี้ประมาณรอยละ 70 จัดอยูในกลุม อุตสาหกรรมขนาดยอม (SMEs) เปนผูผลิตกลองลูกฟูก
ประมาณ 160 ราย ผลิตกลองกระดาษทั่วไปประมาณ 120 ราย
สวนลูกคารายใหญที่ใชถุงมัลติเลเยอร เชน อุตสาหกรรมซีเมนต และผูผลิตนมผงทารก มักทํา
การผลิตบรรจุภัณฑกระดาษในโรงงานตนเอง (In-house Production) นอกจากนี้ยังมีผูผลิตบรรจุภัณฑ
กระดาษจากเยื่อกระดาษรีไซเคิลอีก 4 ราย คือ
Broadway Pulp Packaging (Bangkok) Co., Ltd.
J.S. Industrial Business Co., Ltd.
Sarnti Green Pack Co., Ltd.
Wing Fung Adhesive Manufacturing (Thailand) Co. Ltd.

ในการผลิตกระดาษโดยทั่วไปจะผสมเยื่อใยสั้น (Short Fiber Pulp) ประมาณรอยละ 67-70


เยื่อใยยาว (Long Fiber Pulp) ประมาณรอยละ 10 และแคลเซียมคารบอเนตประมาณรอยละ 18-20
สําหรับเยื่อใยสั้นและแคลเซียมคารบอเนตสามารถผลิตจากวัตถุดิบในประเทศ ขณะที่เยื่อใยยาวยังตอง
นําเขาจากตางประเทศ
สําหรับแนวโนมการตลาด (Market Trend) สมาคมบรรจุภัณฑไทยไดคาดการวา บรรจุภัณฑ
กระดาษยังคงมีความตองการตอไป เนื่องจากมีขอไดเปรียบเรื่องการรีไซเคิลไดและยอยสลายได กลอง
กระดาษลูกฟูกและกลองกระดาษแข็งมีแนวโนมความตองการลดลงเนื่องจากวัตถุดิบนําเขามีราคาสูงขึ้น
ทําใหลูกคาบางรายหันไปใชบรรจุภัณฑพลาสติกแทน อยางไรก็ตาม กลองกระดาษเพื่อการขนสงยังคง
มีความตองการเหมือนเดิม ขณะที่ความตองการในกลุมเครื่องใชไฟฟาและอิเล็กทรอนิกสมีแนวโนม
เพิ่มขึ้น

4
กรมสงเสริมการสงออก กระทรวงพาณิชย

2-11 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

บรรจุภัณฑโลหะ (Metal Packaging)


ปจจุบันประเทศไทยมีผูผลิตบรรจุภัณฑโลหะประมาณ 89 ราย บรรจุภัณฑที่ผลิตไดแก กระปอง
โลหะ (Metal Can) หลอดบีบ (Collapsible Tube) กระปองสเปรย (Aerosol) อะลูมิเนียมฟอยล
(Aluminium Foil) จุกและฝาปด (Closures and Caps) สําหรับบรรจุภัณฑอื่น
ลูกคาหลักสําหรับบรรจุภัณฑโลหะ คือ อุตสาหกรรมอาหาร (อาหารทะเล ผัก และผลไม)
ประมาณรอยละ 40 เครื่องดื่ม ประมาณรอยละ 15 และนมขน ประมาณรอยละ 5 ตัวอยางรายชื่อลูกคา
หลัก คือ
บริษัท ประเภทของธุรกิจ
รอยัล แคน อินดรัสทรี จํากัด อาหารกระปอง
พัทยา ฟูด อินดรัสทรี จํากัด อาหารกระปอง
บริษัท มาลี อินเตอรไพรส จํากัด ผลไมและน้ําผลไมกระปอง
บริษัท เดอะ ไทย ไดรี่ อินดรัสทรี จํากัด นมขน
บริษัท คอลเกต – ปาลมโอลีฟ (ประเทศไทย) จํากัด ผลิตภัณฑสําหรับอุปโภคและบริโภค

บรรจุภัณฑโลหะที่ผลิตใชในประเทศไทยมีหลายรูปแบบ ดังนี้
หลอดบีบ (Collapsible Tube) นิยมผลิตจากโลหะอะลูมิเนียม สวนใหญบรรจุผลิตภัณฑที่เปน
ครีมหรือกึ่งของแข็ง เชน หลอดยาสีฟนบางชนิด กาว ยา และเครื่องสําอางบางชนิด แตปจจุบันหลาย
ผลิตภัณฑหันไปใชหลอดลานิเนตและหลอดพลาสติกแทน ทําใหมีแนวโนมการผลิตลดลง
ถังโลหะ (Drum) นิยมผลิตจากเหล็กรีดเย็นหรือเหล็กกัลวาไนซ ใชบรรจุสารเคมี ผลิตภัณฑ
อุตสาหกรรมที่เปนของเหลว เชน สีทาบาน ผลิตภัณฑปโตรเลียม หมึก กาว เปนตน
อะลูมิเนียมฟอยล (Aluminium Foil) เปนโลหะผสมที่มีสมบัติออนตัวเมื่อไดรับความรอน
สามารถรีดใหมีความบางเพียง 0.04 มิลลิเมตร (ยิ่งบางยิ่งแพง) ใชบรรจุอาหารและยา หรือใชรวมกับ
วัสดุชนิดอื่น เชน ประกบหรือลามิเนตดวยพลาสติก เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการปองกันไอน้ําและอากาศ
เพื่อยืดอายุของอาหารที่บรรจุ
กระปองอะลูมิเนียม (Aluminium Can) และกระปองเคลือบดีบุก (Tinplate) เปนบรรจุภัณฑ
ที่ไดรับความนิยมและใชแพรหลายมากที่สุด มีสัดสวนการผลิตสูงถึง 75-80% ของบรรจุภัณฑโลหะทั้ง
หมด และมีแนวโนมขยายตัวตามการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
วัตถุดิบที่ใชผลิตกระปองเคลือบดีบุก (Tinplate) สวนใหญนําเขาจากญี่ปุน สวนวัตถุดิบ
อะลูมิเนียมสวนใหญนําเขาจากญี่ปุน แคนาดา เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา สําหรับผูผลิตกระปองเคลือบ
ดีบุก ปจจุบันมีเพียง 2 ราย คือ Siam Tinplate Co., Ltd. และ Thai Tinplate Manufacturing Co., Ltd.

2-12 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

สําหรับแนวโนมการตลาด (Market Trend) สมาคมบรรจุภัณฑไทยไดคาดการณวา บรรจุภัณฑที่


ผลิตจากเหล็กกลาโดยรวมมีแนวโนมปริมาณการใชลดลง แตอาจเพิ่มขึ้นเฉพาะในกลุมอาหารทะเล และ
อาหารสําเร็จรูป ขณะที่กระปองอะลูมิเนียมจะมีแนวโนมความตองการสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุม
เครื่องดื่ม น้ําอัดลม และเบียร

บรรจุภัณฑแกว (Glass Packaging)


ปจจุบันประเทศไทยมีผูผลิตบรรจุภัณฑแกวประมาณ 23 ราย บรรจุภัณฑที่ผลิตสวนใหญไดแก
ขวด (Bottle) ประมาณ 90% และขวดปากกวางหรือโถ (Jar) ประมาณ 10% โรงงานผลิตขวดแกวมัก
เปนโรงงานขนาดใหญและมีกําลังการผลิตสูง ใชเงินลงทุนมาก (จึงไมพบผูผลิตขวดแกวในกลุม SMEs)
ผูผลิตขวดแกวรายใหญของไทย ไดแก
บริษัทอุตสาหกรรมเครื่องแกวไทย จํากัด
บริษัทบางกอกกลาส จํากัด
บริษัทสยามกลาส จํากัด
บริษัทยูเนียนกลาส จํากัด
องคการแกวบางนา

ลูกคาหลักของบรรจุภัณฑแกว (โดยเฉพาะขวดแกว) ไดแก เครื่องดื่มแอลกอฮอล เครื่องดื่ม


ชูกําลัง เครื่องปรุง (น้ําปลา ซีอิ๊ว เตาเจี้ยว) ยา เครื่องสําอาง และน้ําผลไมบางประเภท ขณะที่เครื่องดื่ม
ชนิดอื่น รวมทั้งเครื่องปรุง หันไปใชบรรจุภัณฑพลาสติก PET กันมากขึ้น
ปจจุบันสัดสวนการใชขวดแกวในอุตสาหกรรม เครื่องดื่มแอลกอฮอลประมาณ 30% เครื่องดื่ม
ชูกําลังประมาณ 27% อาหารและยาประมาณ 11% น้ําอัดลมประมาณ 10% เครื่องดื่มเกลือแรและ
น้ําผลไมประมาณ 9% และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ประมาณ 13%
ตัวอยางรายชื่อลูกคาหลักไดแก
บริษัท ประเภทของธุรกิจ
รอยัล ฟูด อินดรัสตรี จํากัด เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส
ไฮ-คิว ฟูด โปรดัก Spices & Seasoning
Boonrawd Brewery Co., Ltd. Beer, Soda
Osotspa Co., Ltd. Energy Drink, Beer, Wine
Bangkok Fine Wine Co., Ltd. Wine

2-13 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

สําหรับวัตถุดิบที่ใชผลิตแกว สวนใหญเปนทรัพยากรแร ซึ่งเปนผลิตภัณฑภายในประเทศเกือบทั้ง


หมดและเปนทรัพยากรที่ใชแลวหมด (Non-Renewable Resources) ขณะที่ตัวแกวเองเปนวัสดุที่
สามารถหลอมใชใหมไดโดยไมจํากัดจํานวนครั้ง (Renewable Material) ประกอบกับแกวมีจุด
หลอมเหลวต่ํากวาวัตถุดิบมาก การผลิตจากวัสดุรีไซเคิลจึงเปนการอนุรักษทรัพยากรแรและอนุรักษ
พลังงานในเวลาเดียวกัน
สําหรับแนวโนมการตลาด (Market Trend) เนื่องจากปริมาณความตองการบรรจุภัณฑแกว
โดยเฉพาะขวดแกว จะแปรตามการเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องดื่มมี
แนวโนมหันไปใชขวด PET แทน สมาคมบรรจุภัณฑไทยจึงคาดการวาการเติบโตของบรรจุภัณฑแกว
นาจะลดลง ซึ่งขณะนี้ผูผลิตขวดแกวบางรายก็เริ่มผลิตขวด PET ควบคูไปดวยแลว

บรรจุภัณฑพลาสติก (Plastic Packaging)


พลาสติกเปนวัสดุอเนกประสงค สามารถเขากันได และ/หรือ เสริมวัสดุอื่น ใหมีสมบัติเดนตาม
ความตองการ ประกอบกับมีน้ําหนักเบา มีหลากหลายชนิดใหเลือกใช มีทั้งชนิดออน (Flexible
Packaging) และชนิดแข็ง (Rigid Packaging) สงผลใหบรรจุภัณฑพลาสติกเขามามีบทบาทเพิ่มขึ้น
เรื่อยๆ ทั้งในอุตสาหกรรมอาหารและไมใชอาหาร
ตัวอยางรายชื่อลูกคาหลักไดแก
บริษัท ประเภทธุรกิจ
บริษัท ยูนิลิเวอร ไทยโฮลดดิ้ง จํากัด ผลิตภัณฑอุปโภคและบริโภค
Wanthai Foods Industry Co., Ltd. Ready-cooked Dish & Dissert
Siam Preserved Foods Co., Ltd. Dried Foods
บริษัท ซี พี อินเตอรฟูด (ประเทศไทย) จํากัด Sausages, etc.
Siam Grains Co., Ltd. Rice

อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑพลาสติกมีการขยายตัวเร็วมาก ปจจุบันมีผูผลิตกวา 1,200 ราย


ประมาณ 70% เปนผูผลิตรายยอย กําลังการผลิตนอยกวา 500 ตันตอป ประมาณ 50% เปนผูผลิตถุง
และซอง (Bags & Envelopes) วัตถุดิบหลักคือเม็ดพลาสติกเทอรโมพลาส ซึ่งไดแก HDPE, LDPE,
PP, PVC, PS และ PET สําหรับแนวโนมการตลาด (Market Trend) พบวาปริมาณการบริโภค
บรรจุภัณฑพลาสติกขยายตัวสูงมาก
สมาคมบรรจุภัณฑไทยไดคาดการวา บรรจุภัณฑพลาสติกนาจะมีแนวโนมขยายตัวตอไป แมจะมี
ภาพลบดานสิ่งแวดลอม แตถาบริหารจัดการดีพอ บรรจุภัณฑพลาสติกเกือบทั้งหมดสามารถนํากลับไป
รีไซเคิลได
จากเอกสารประกอบการสัมมนา “Asia Packaging Federation” ครั้งที่ 47 (วันที่ 8-10
พฤศจิกายน 2544) โดยกรมสงเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จะพบวาปริมาณและมูลคา
การใชวัสดุเพื่อผลิตบรรจุภัณฑแตละชนิดมีแนวโนมเพิ่มขึ้นทุกชนิด โดยเฉพาะพลาสติก จัดเปนวัสดุที่
ใชผลิตบรรจุภัณฑมากที่สุด คิดเปนสัดสวน 43.9% (ป 2541), 31.2% (ป 2542), และ 32.9% (ป 2543)
ตามลําดับ ดังแสดงในตารางที่ 2-2

2-14 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

อยางไรก็ตามหากพิจารณาสถิติการนําเขา-สงออกบรรจุภัณฑดังแสดงในตารางที่ 2-3 และ


ตารางที่ 2-4 แลว จะพบวาประเทศไทยนําเขาบรรจุภัณฑกระดาษ คิดเปนสัดสวนสูงสุด (ในเชิง
ปริมาณ) โดยคิดเปนสัดสวน 39.1% ของปริมาณนําเขาบรรจุภัณฑทั้งหมด แตถาพิจาณาเชิงมูลคาแลว
ประเทศไทยนําเขาบรรจุภัณฑพลาสติกเปนสัดสวนสูงสุด (52.1%) ขณะที่สงออกบรรจุภัณฑพลาสติก
คิ ด เป น สั ด ส ว นสู ง สุ ด (ทั้ ง เชิ ง ปริ ม าณและมู ล ค า ) และมี แ นวโน ม เพิ่ ม ขึ้ น อย า งเนื่ อ งระหว า ง
ป พ.ศ. 2543–2545 ซึ่งเปนการยืนยันวาบรรจุภัณฑพลาสติกไดรับความนิยมสูงและมีแนวโนมสูงขึ้น
เรื่ อยๆ ทั้ งนี้เ นื่องจากขอได เ ปรี ยบหลายประการของพลาสติก แมจะเปนวัสดุที่ยอยสลายไมได
แตสามารถแปรใชใหมหรือรีไซเคิลไดหากจัดการอยางเหมาะสมปญหาขยะบรรจุภัณฑพลาสติกนาจะ
ลดลง

ตารางที่ 2-2 ปริมาณและมูลคาการใชวัสดุสําหรับผลิตบรรจุภัณฑแตละประเภท


ของประเทศไทยระหวางป พ.ศ. 2541 – 2543

ประเภท 2541 2542 2543


บรรจุภัณฑ ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา
(ตัน) (ลาน (ตัน) (ลาน (ตัน) (ลานบาท)
บาท) บาท)
กระดาษ 207,300 18,636 815,000 21,045 921,000 23,816
แกว - 7,012 - 8,081 - 9,123
พลาสติก 467,500 20,322 550,000 23,900 643,500 27,972
เหล็ก 351,000 13,162 347,400 13,027 340,000 12,750
อะลูมิเนียม 38,250 6,093 45,000 8,550 53,000 11,660
รวม 1,064,050 65,225 1,757,400 74,603 1,957,500 85,321
ที่มา: กรมสงเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ขอมูลจากสมาคมบรรจุภัณฑไทยพบวา ประเทศผูนําเขาหลัก ไดแก สหภาพยุโรป เปนอันดับ


หนึ่ง รองลงมา ไดแก ญี่ปุน สหรัฐอเมริกา จีน และประเทศอื่น ๆ ในเอเซีย

2-15 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 2-3 สถิติการนําเขาบรรจุภัณฑของไทยระหวางป พ.ศ. 2543 – 2545

ประเภท น้ําหนัก มูลคา


บรรจุภัณฑ (ตัน) (ลานบาท)
2543 2544 2545 2543 2544 2545
แกว 7,145 6,801 7,628 380 352 397
โลหะ 16,321 5,430 5,731 1,053 929 978
กระดาษ 16,114 16,020 16,642 1,240 1,503 1,382
พลาสติก 8,035 9,874 12,587 2,119 2,809 3,000
ที่มา : กรมเจรจาการคาระหวางประเทศ กระทรวงพาณิชย

ตารางที่ 2-4 สถิติการสงออกบรรจุภัณฑของไทยระหวางป พ.ศ. 2543 – 2545

ประเภท น้ําหนัก มูลคา


บรรจุภัณฑ (ตัน) (ลานบาท)
2543 2544 2545 2543 2544 2545
แกว 53,800 25,568 37,088 661 4,227 475
โลหะ 16,871 12,622 13,806 2,832 1,621 2,124
กระดาษ 14,571 16,716 23,906 2,104 2,648 2,976
พลาสติก 177,681 196,115 225,994 9,848 11,121 12,085
ที่มา : กรมเจรจาการคาระหวางประเทศ กระทรวงพาณิชย

2.4 การบริหารจัดการของเสียบรรจุภัณฑ (คัดแยก/รียูส/รีไซเคิล/กําจัด)


ป จ จุ บั น ขยะเป น ป ญ หาสํ า คั ญ ทั้ ง ในระดั บ ท อ งถิ่ น และในระดั บ ประเทศ ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจาก
พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยในยุคปจจุบัน ไดกอใหเกิดขยะเพิ่มขึ้นอยางมาก โดยเฉพาะขยะ
บรรจุภัณฑ หากไมมีการจัดการอยางถูกตองและเหมาะสมแลว อาจกอใหเกิดผลกระทบรายแรงตอ
ระบบนิเวศและคุณภาพชีวิตของมนุษยในที่สุด หากพิจารณาปญหาการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งสวนใหญ
มาจากบรรจุภัณฑสําหรับสินคาที่บริโภคภายในประเทศ (รวมสินคานําเขา) จะพบวา
‰ บรรจุภัณฑใชแลวที่ผลิตจากวัสดุที่จัดการงายหรือรีไซเคิลไดงาย กลาวคือ ผลิตจากวัสดุ

ชนิดเดียว (Single Component) เชน แกว โลหะกระดาษ และพลาสติกจําพวกเทอรโมพลาส


(PE, PP, PET, etc.) จะมีมูลคาในตัวเพียงพอที่จะถูกเก็บหรือรับซื้อกลับเขาสูกระบวนการ
รีไซเคิล จึงไมพบเปนปญหาในกองขยะ

2-16 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

‰ บรรจุภัณฑซึ่งผลิตจากวัสดุที่จัดการยากหรือขั้นตอนรีไซเคิลซับซอน (สวนใหญเปน
บรรจุภัณฑประเภทลามิเนต หรือ Multi-layer เชน กลองนม กลองน้ําผลไม ซองขนม
ขบเคี้ยว) รวมทั้งบรรจุภัณฑปนเปอนตางๆ มักถูกทิ้งเปนภาระในกองขยะ เนื่องจากไม
คุมคาเชิงรีไซเคิล

หากทําการสํารวจของเสียบรรจุภัณฑในกองขยะทั่วไป จะพบวาสวนใหญเปนของเสียประเภท
บรรจุภัณฑอาหาร โดยสามารถแยกพิจารณาไดดังนี้
ƒ ถุงพลาสติกชนิดซอง (นิยมเรียก ‘ถุงรอน’) สวนใหญเปนถุงใสแกงที่ใชบรรจุอาหารนํากลับ
(Take Home) ในรานอาหารทั่วไป มี 2 ประเภท คือ ชนิดโปรงใส ผลิตจากโพลิโพไพลีน หรือ
PP และชนิดโปรงแสง ผลิตจากโพลิเอทธิลีนความหนาแนนสูง หรือ HDPE
ปญหาที่พบ ถุงที่ถูกทิ้งในกองขยะ สวนใหญมีเศษอาหารปนเปอน จึงมีขอจํากัดในการนํา
กลับไปหลอมใชใหม แม PP และ HDPE จะเปนเทอรโมพลาสติกซึ่งหลอมขึ้นรูป
ใหมได
แนวทางแกปญหา
- ทดแทนดวยบรรจุภัณฑที่ใชหมุนเวียนไดหรือรียูส (Reuse) ได เชน กลองพลาสติก PP ชนิดมี
ฝาปดแนน ซึ่งสามารถทําความสะอาดแลวใชซ้ําไดไมจํากัดจํานวนครั้ง
- ทดแทนดวยบรรจุภัณฑที่ยอยสลายทางชีวภาพได (Biodegradable)
- สรางระบบการแยกทิ้ง รวบรวม แลวนําไปกําจัดดวยวิธีเผาผลิตพลังงาน (Waste-to-Energy)
อยางครบวงจร

ƒ ถุงหิ้ว (T-shirt Bag) สวนใหญเปนถุงที่ผลิตจากโพลิเอทธิลีน มีทั้งชนิดเนื้อบางใส ผลิตจาก


โพลิเอทธิลีนความหนาแนนสูง หรือ HDPE และชนิดหนาทึบ ผลิตจากโพลิเอทธิลีน
ความหนาแนนต่ํา หรือ LDPE
ปญหาที่พบ ประชาชนสวนใหญไดพยายามใชซ้ําแลว ฉะนั้นถุงที่ถูกทิ้งในกองขยะ สวนใหญ
จึงสกปรก เกา ฉีกขาด และมักถูกทิ้งพรอมขยะมูลฝอย กลองโฟม และเศษ
อาหาร (เนื่องจากประชาชนยังไมมีทางเลือกที่เหมาะสมในการทิ้งเศษอาหาร)
จึงมีขอจํากัดในการนํากลับไปหลอมใชใหม แม HDPE และ LDPE จะเปน
เทอรโมพลาสติกซึ่งหลอมขึ้นรูปใหมได

2-17 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

แนวทางแกปญหา
- จัดใหมีถังหมักประจําหมูบาน อาคารรวม รานคา และรานอาหารทั่วไป
- สรางระบบหรือมาตรการเพิ่มมูลคาใหกับถุงที่ใชแลว (แตยังไมสกปรก) โดยอาจลดราคาใหเมื่อ
นํากลับไปใชซ้ํา หรือรวบรวมแลวนําไปขายคืนกลับสูระบบรีไซเคิล
- หากเปนถุงที่ปนเปอน ใหแยกทิ้ง (อาจทิ้งรวมกับถุงอาหาร) เพื่อนําไปเผาผลิตพลังงาน

ƒ ถุงลามิเนต (Laminated Bag หรือ Multi-layer Bag) สวนใหญเปนถุงที่ผลิตจากวัสดุหลาย


ชนิดซอนกัน แตละชนิดหรือแตละชั้นจะมีสมบัติเดนแตกตางกันไป นินมใชบรรจุสินคา
อุปโภคบริโภค เชน น้ํายาลางจาน น้ํายาปรับผานุม รวมทั้งขนมขบเคี้ยว
ปญหาที่พบ เนื่องจากถุงเหลานี้ประกอบดวยวัสดุหลากหลายชนิด จัดการยาก จึงถูกทิ้งในกอง
ขยะมากที่สุด
แนวทางแกปญหา
- สรางระบบรับซื้อคืนหรือแลกซื้อคืนซองผลิตภัณฑของตนที่ใชแลว กลับไปจัดการโดยบริษัท
ผูผลิต พรอมบังคับใชมาตรการผูกอมลพิษเปนผูรับผิดชอบ

ƒ หลอดบีบลามิเนต (Laminated Collapsible Tube) เปนหลอดที่ผลิตจากวัสดุหลายชนิด


ซอนกัน แตละชนิดหรือแตละชั้นจะมีสมบัติเดนแตกตางกันไป นินมใชบรรจุสินคาอุปโภค
บริโภค เชน ยาสีฟน โฟมลางหนา แชมพู ครีมนวดผม ฯลฯ
ปญหาที่พบ หลอดเหลานี้เดิมผลิตดวยโลหะอะลูมิเนียม แตปจจุบันนิยมใชวัสดุลามิเนตซึ่ง
ประกอบดวยวัสดุหลากหลายชนิด จัดการยาก จึงถูกทิ้งในกองขยะมาก
แนวทางแกปญหา
- สรางระบบรับซื้อคืนหรือแลกซื้อคืนซองผลิตภัณฑของตนที่ใชแลว กลับไปจัดการโดยบริษัทผู
ผลิต พรอมบังคับใชมาตรการผูกอมลพิษเปนผูรับผิดชอบ
- หลอดยาสีฟนสวนใหญ มักมีปากแคบ และฝาครอบเล็ก ตั้งเรียงไมได จึงตองบรรจุในกลอง
กระดาษอีกชั้นหนึ่ง เปนการใชบรรจุภัณฑฟุมเฟอย ฉะนั้นควรออกแบบฝาหลอดใหกวางขึ้น
เพื่อใหสามารถตั้งเรียงไดโดยตรง เหมือนหลอดโฟมลางหนา

ƒ กลองลามิเนต (Laminated Box) เปนกลองที่ผลิตจากวัสดุหลายชนิดซอนกัน แตละชนิด


หรือแตละชั้นจะมีสมบัติเดนแตกตางกันไป นิยมใชบรรจุนมสด น้ําผลไม
ปญหาที่พบ กลองเหลานี้ประกอบดวยวัสดุหลากหลายชนิด จัดการยาก จึงถูกทิ้งในกองขยะ
มาก

2-18 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

แนวทางแกปญหา
- สรางระบบจูงใจใหเลือกซื้อนมหรือน้ําผลไมที่บรรจุในถุงภาชนะพลาสติกที่สามารถใชซ้ํา (บรรจุ
น้ําดื่ม) หรือรีไซเคิลงาย
- สรางระบบแยกทิ้งอยางเปนระบบ

ƒ กลองโฟม/ถาดโฟม เปนกลองและถาดแบนที่ผลิตจากโฟมโพลิสไตรีนชนิด PSP Foam


สวนใหญใชบรรจุอาหาร
ปญหาที่พบ เนื่องจากสวนใหญบรรจุอาหาร เมื่อใชเสร็จแลวจะถูกทิ้งในกองขยะทันที
แนวทางแกปญหา
- สรางระบบการแยกทิ้ง (ควรบีบใหแตกเปนชิ้นเล็ก เพื่อลดปริมาตรในการขนสง) รวบรวม แลว
นําไปกําจัดดวยวิธีเผาผลิตพลังงาน (Waste-to-Energy) อยางครบวงจร หรือทําความสะอาด
เศษอาหารกอนทิ้งเพื่อใหสามารถสงกลับกระบวนการรีไซเคิล
- ทดแทนดวยบรรจุภัณฑที่เหมาะสม
สําหรับบรรจุภัณฑประเภทขวด ไมวาจะเปนขวดแกวหรือขวดพลาสติก จะไมพบหลงเหลือใน
กองขยะ เนื่องจากขวดใชแลวเหลานี้มีมูลคา จึงมีระบบรับซื้อของเกาเพื่อรวบรวมนํากลับสูกระบวนการ
รีไซเคิล อยางไรก็ตามขวดที่ใชตามครัวเรือนสวนใหญมักถูกทิ้งในถังขยะ
ปญหาที่พบ พบการคุยหาขวดใชแลว สงผลใหเศษขยะตกเกลื่อนกลาด สรางมลภาวะและอาจ
เปนอันตรายตอสุขภาพชุมชน
แนวทางแกปญหา
- จัดใหมีการกําหนดรหัสระบุชนิดพลาสติก (Code for Plastic Recycle) ประจําผลิตภัณฑทุกชิ้น
(รวมฝาดวย) เพื่อสะดวกในการคัดแยกนํากลับสูกระบวนการรีไซเคิล
- จัดใหมีถังขยะสําหรับแยกทิ้งประจําหมูบาน ระบุชัดเจนวาเปน “แกว” “โลหะ” “กระดาษ”
“พลาสติก” “ขยะสด” “ขยะมีพิษ” แทน “ขยะเปยก” “ขยะแหง” “ขยะมีพิษ” “ขยะรีไซเคิล” ทั้งนี้
เนื่องจากประชาชนสวนใหญยังสับสน กรณีพ้นื ที่จํากัดตองการใหทิ้งขยะรีไซเคิลไดรวมกัน อาจ
กําหนดใหมีเครื่องหมาย “รีไซเคิล” กํากับที่ผลิตภัณฑทุกชิ้น
- กรณีขวดเล็กขวดนอย ที่บรรจุสบูเหลว แชมพู ครีมนวดผม และโลชัน บริการลูกคาประจําหอง
พักในโรงแรม ควรสรางระบบจูงใจหรือรณรงคใหหันมาใชระบบเติมแทน
- กรณีขวดนมหรือน้ําผลไมที่หุมปากขวดดวยอะลูมิเนียมฟอยล ไดสรางปญหาในการนําขวดไป
เขาสูกระบวนการรีไซเคิล ควรมีระบบจูงใจใหใชระบบซีลดวยพลาสติกชนิดเดียวกับขวด คลาย
กับที่ใชในขวดน้ํามันพืชทั่วไป

2-19 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

การบริหารจัดการของเสียบรรจุภัณฑดังกลาว จะตองเริ่มจากการรณรงคใหประชาชนตระหนักถึง
ปญหาที่แทจริง ใหความรูและความเขาใจที่ถูกตอง สรางระบบหรือมาตรการจูงใจใหมีการแยกทิ้งขยะ
อยางเปนระบบ รณรงคใหประชาชนเลือกใชบรรจุภัณฑที่สามารถใชหมุนเวียน (ใชซ้ํา) ได หรือรีไซเคิล
ได ตลอดจนสงเสริมการใชสินคาที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล

2.4.1 การคัดแยกขยะมูลฝอยและของเสียบรรจุภัณฑ
ปจจุบันในประเทศไทยยังไมมีรูปแบบการจัดการที่เปนระบบและมีประสิทธิภาพ กลาวคือ เปน
การดําเนินการโดยอิสระ ไมมีการควบคุม ขาดการใหความรูและรณรงคอยางตอเนื่อง ประชาชน
สวนใหญยังขาดจิตสํานึก และ/หรือ ความเขาใจ จึงไมมีการคัดแยกหรือแยกทิ้งขยะที่แหลงกําเนิด
(โดยผูบริโภค) ระบบการรวบรวมและจัดเก็บขยะ ไมเอื้ออํานวยตอการแยกทิ้งขยะ ขาดประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล (ตนทุนการจัดเก็บสูงเนื่องจากไมมีศูนยจัดการขยะในเมือง ตองขนสงเปนระยะทางไกล
ประกอบกับไมมีการเครื่องบีบอัดเพื่อลดปริมาตรขยะ ทําใหตองเพิ่มจํานวนเที่ยวการจัดเก็บขยะ ขณะที่
งบประมาณจํากัดไมสามารถเพิ่มเที่ยวเก็บขยะได จึงเกิดปญหาขยะตกคาง) นอกจากนี้ยังไมมีกฎหมาย
กําหนดใหแยกทิ้งขยะตามประเภท รวมทั้งไมมีกฎหมายกําหนดหนาที่รับผิดชอบอยางชัดเจน ตลอดจน
ไมมีระบบจูงใจ จึงมีการคัดแยกเฉพาะขยะที่มีมูลคาและสามารถนําไปขายไดราคา นั่นคือคัดแยกเฉพาะ
ขยะที่คุมคาเชิงรีไซเคิล ไมไดคัดแยกเพื่อวัตถุประสงคลดปริมาณขยะหรือลดปญหาสิ่งแวดลอม จึง
ปลอยใหขยะอื่นๆ ที่ไมมีมูลคาถูกทิ้งกลาดเกลื่อนทั่วไป สรางปญหาดานสิ่งแวดลอมและสุขภาพชุมชน
ในที่สุด
สืบเนื่องจากประเทศไทยยังไมมีกฎหมายกําหนดใหแยกทิ้งตามประเภท ขยะมูลฝอยที่เกิด
ขึ้นตามบานเรือน อาคาร ตลาด สถานที่ประกอบการคา และที่สาธารณะ จึงถูกทิ้งรวมกันในถุงหรือถัง
เดียวกันโดยไมมีการแยกประเภท แตเนื่องจากขยะบางสวนมีมูลคา สามารถคัดแยกนํามาขายเพื่อนํา
กลับเขาสูกระบวนการรีไซเคิล จึงมีภาคเอกชนดําเนินการคัดแยกขยะมูลฝอยและของเสียบรรจุภัณฑ
กันมาเปนเวลานานแลว โดยกลุมคนหลายกลุม เริ่มตั้งแต
‰ ผูบริโภค คัดแยกขยะที่มีคาเก็บไวขายเอง (นิยมขายใหกับ ‘ซาเลง’)

‰ คนคุยขยะเดินเทา ที่อาศัยรายไดจากการคัดขยะมีคาจากกองขยะออกขาย (นิยมขายใหกับ

‘ซาเลง’ หรือรานรับซื้อของเกา)
‰ รถสามลอรับซื้อของเกา (ที่เรียกวา ‘ซาเลง’) เรรับซื้อขยะมีคาตามบาน (หรือรับซื้อจากคนคุย

ขยะ) เพื่อขายใหรานรับซื้อของเกา
‰ รานรับซื้อของเกา รวบรวมนําไปขายใหโรงงานแปรสภาพนํากลับมาใชใหม (นิยมเรียกกัน

‘โรงงานรีไซเคิล’)
‰ พนั ก งานเก็ บ ขนของเทศบาล จะทํ า การคั ด แยกขยะมี ค า ออกไว อี ก ส ว นหนึ่ ง เพื่ อ นํ า ไป

จําหนายเปนรายไดพิเศษ กอนนําขยะมูลฝอยไปยังสถานที่กําจัด
‰ คนคุ ยขยะเดิ น เท า จะทําการคัดแยกขยะมีคาที่ยังหลงเหลืออยูเปนกลุมสุดทายกอนที่ขยะ

มูลฝอยจะถูกกําจัด

2-20 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

อยางไรก็ตามการคัดแยกขยะมูลฝอยโดยกลุมคนดังกลาว เปนระบบที่ยังไมมีกฎหมาย
รองรั บ เป น การทํา เพื่ อ วั ต ถุ ป ระสงค ห รื อ ประโยชน ท างเศรษฐกิ จ โดยมิ ไ ด ส นใจผลกระทบ
สิ่งแวดลอมมากนัก แตก็ไดทําใหปริมาณขยะมูลฝอยที่ภาครัฐตองจัดการลดลง คนจํานวนมากมีอาชีพ
และมีรายได 5
ปจจุบันไดมีการรณรงคตามสื่อตาง ๆ โดยหนวยงานของรัฐและองคกรพัฒนาเอกชน ให
ประชาชนแยกทิ้งขยะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและลดปริมาณขยะที่ตองกําจัด โดยใหมีการ
ใชซ้ํา/รี ไ ซเคิ ลให มากขึ้ น (แตการรณรงคยังไมจริงจังและขาดความตอเนื่อง) รวมทั้งบางเขตใน
กรุงเทพมหานครไดขอความรวมมือจากประชาชนผูอยูอาศัยบริเวณริมถนน ใหแยกทิ้งขยะเปน 3 ถุง
ประกอบดวย ถุงสีขาว เปนถุงขยะยังใชได (ขยะรีไซเคิล) ถุงสีดํา เปนถุงขยะเศษอาหาร และถุงสีสม
เปนถุงขยะพิษ (เชน หลอดไฟ กระปองสเปรย แบตเตอรี่ ถานไฟฉาย เปนตน) เพื่อรอการจัดเก็บ
ระหวางเวลา 18.00-03.00 น. ของวันรุงขึ้น ทั้งนี้การทิ้งขยะมูลฝอยในที่สาธารณะนอกเหนือเวลาที่
กําหนด ถือเปนความผิดตามกฎหมาย ตองระวางโทษปรับไมเกิน 2,000 บาท
จากรายงานของสํานักรักษาความสะอาด กรุงเทพมหานคร ป พ.ศ. 2540 ประชาชนจะทําการ
คัดแยก ขวด กระดาษ พลาสติก กระปองอะลูมิเนียม สายไฟฟา มาใชซ้ําบางสวน ที่เหลือจะขายใหกับ
ซาเลง ประมาณวันละ 2,400 ตันทั่วประเทศ (เปนของกรุงเทพมหานครประมาณ 1,100 ตัน) สวนขยะที่
ผานการคัดแยกเพื่อนําไปขายใหกับรานรับซื้อของเกา จะมีประมาณวันละ 900 ตันทั่วประเทศ
(เปนของกรุงเทพมหานครประมาณ 400 ตัน)
สําหรับรานรับซื้อของเการับซื้อขยะมีคาจากซาเลงและแหลงอื่น แลวขายตอไปยังโรงงาน
รีไซเคิล หรือโรงงานอุตสาหกรรมตามชนิดของวัสดุ เชน โรงงานแกว โรงงานกระดาษ และโรงงาน
พลาสติก ประมาณวันละ 4,000 ตันทั่วประเทศ สวนโรงงานอุตสาหกรรมมักนําของเสียหรือวัสดุเหลือใช
บางสวนขายใหแกโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งนําของเสียนั้นไปเปนวัตถุดิบในการผลิตประมาณวันละ
5,700 ตันทั่วประเทศ
อยางไรก็ตาม เนื่องจากปจจุบันประเทศไทยยังไมมีกฎหมายและมาตรการจัดการอยางเปน
ระบบ รวมทั้งไมมีกฎหมายกําหนดหนาที่อยางชัดเจน การจัดการและคัดแยกขยะมูลฝอย ตลอดจน
โครงการรณรงคตางๆ ก็ทําเฉพาะบางแหง ยังขาดความจริงจังและตอเนื่อง ขาดความเปนระบบและไม
ครบวงจร จึงยังไมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเทาที่ควร

5
รายงานการศึกษาแนวทางในการลดมลพิษโดยการพัฒนาของเสียหรือวัสดุเหลือใชนํากลับมาใชใหม กรมควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2541
หนา 2-39 พบวารานรับซื้อของเกาจะรวมกันอยูในบริเวณกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จํานวน 1,145 แหง คิดเปนรอยละ 51.3
ของจํานวนรานรับซื้อของเกาทั่วประเทศ จํานวน 2,231 แหง
2-21 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

สําหรับขยะที่นํากลับไปใชประโยชนไมไดและยอยสลายไมได จําเปนตองกําจัดนั้น อาจกําจัด


ดวยการฝงกลบ (Landfill) ซึ่งปจจุบันประสบปญหาพื้นที่สําหรับฝงกลบหายากขึ้นเรื่อยๆ สวนการเผา
กําจัด (Incineration) หรือใชเปนเชื้อเพลิงผลิตพลังงาน (Waste-to-Energy) นั้น หากเผาดวยเตาเผา
ที่เหมาะสม จะเปนวิธีกําจัดขยะที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงมาก แตวิธีนี้มีตนทุนสูง ประกอบกับ
ประชาชนสวนใหญยังไมมั่นใจในเทคโนโลยี มักเกิดการตอตานจากชุมชน จึงยังไมเปนที่แพรหลายใน
ประเทศไทย จําเปนตองรณรงคสรางความเขาใจกับประชาชนอยางจริงจังและตอเนื่อง ทั้งนี้ทายที่สุด
เราอาจจําเปนตองเลือกการเผากําจัดหรือเผาผลิตพลังงาน เปนทางเลือกสําหรับการจัดการขยะบรรจุ
ภัณฑพลาสติกที่ปนเปอน ยุงยากแกการรีไซเคิล ตัวอยางเชน ถุงพลาสติกบรรจุอาหารและ ถุงลามิเนต
เปนตน

2.4.2 การรณรงคและมาตรการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑใชแลวในประเทศไทย
โดยทั่วไปองคกรปกครองสวนทองถิ่นมีหนาที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการขยะมูลฝอย รวม
ถึงของเสียบรรจุภัณฑ จะทําหนาที่ในการจัดเก็บ ขนทิ้ง และกําจัดโดยการฝงกลบหรือเผาในที่สุด ซึ่งใน
ขอเท็จจริงกอนที่จะนําไปกองหรือทิ้งไวจะมีการคัดแยก (อยางไมเปนทางการ) ไดแก กระดาษ แกว
และพลาสติก เปนตน และเมื่อนําไปกองหรือทิ้งเพื่อรอการฝงกลบ จะมีกลุมบุคคลจํานวนหนึ่งมาคุยเขี่ย
ขยะและคัดแยก คัดเลือกสิ่งที่สามารถนําไปขายได ทําใหเกิดอาชีพและรายไดอีกวิธีหนึ่ง
ปจจุบัน กระแสการตื่นตัวดานสิ่งแวดลอม ไดมีการรณรงคใหนําของใชแลวมาใชซ้ํา หรือนํามา
แปรใชใหมทําใหเกิดมุมมองในเชิงธุรกิจมากขึ้น เริ่มมีการมองเห็นคุณคาในการนําของเสียที่คัดแยกแลว
ไปใชประโยชนอื่น เชน การนําลังไมหรือกลองกระดาษแข็ง (บรรจุภัณฑเพื่อการขนสง) ซึ่งนําเขาจาก
ตางประเทศมาทําชั้นวางของ หรือทําลังใหมที่มีขนาดตามตองการ หรือการนํากลองกระดาษแข็งไป
บรรจุเสื้อผาจํานวนมากสงขายในตางจังหวัด เปนตน
ในสวนของภาครัฐเริ่มมีสงเสริมและรณรงคใหมีการคัดแยกขยะ แยกกระดาษ ขวดแกว และ
กระปองอะลูมิเนียม สงเสริมใหมีการใชหมุนเวียน (Reuse) หรือแปรใชใหม (Recycle) โดยรวมมือกับ
ภาคเอกชน หรือรวมมือกับองคกรตางๆ จัดใหมีโครงการและกิจกรรมรณรงคเกี่ยวกับบรรจุภัณฑใชแลว
ดังตัวอยางตอไปนี้

(1) โครงการ “รณรงคแยกขยะในโรงเรียนกับตาวิเศษ”


สมาคมสรางสรรคไทย รวมกับหางสรรพสินคาโรบินสัน ไดริเริ่มโครงการนํารอง “รณรงคแยก
ขยะในโรงเรียนกับตาวิเศษ” ตั้งแตป พ.ศ. 2535 ในโรงเรียน 19 แหงในเขตจตุจักร บางเขน หวยขวาง
และหวยขวาง สาขาดินแดง โดยเปนการรวมมือกันระหวางบริษัทไทยน้ําทิพย จํากัด บริษัทหางสรรพ
สินคาโรบินสัน จํากัด วิทยาลัยครูจันทรเกษม กระทรวงศึกษาธิการ และกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุ
ประสงคเพื่อ

2-22 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(1) สงเสริมการลดปริมาณขยะในชีวิตประจําวัน
(2) เปนการรณรงคใหนักเรียนมีความรูความเขาใจในปญหาขยะที่เกิดขึ้นในปจจุบันซึ่งสงผล
กระทบและใหมีความรูความเขาใจในวิธีการแกไข
(3) เปนการปลูกฝงใหนักเรียนมีสวนรวมในการแกไขปญหา โดย
- การประหยัด – นําวัสดุที่ใชแลวกลับมาใชอีก เชน กระดาษ พลาสติก ขวดแกว
กระปอง
- การแยกขยะ – เนนใหเห็นคุณคาของขยะที่แยกได โดยสามารถขายเปนเงินหรือ
นําไปใชประโยชนอื่นๆได
(4) สงเสริมระบบซาเลงที่มีความสําคัญตอการแยกขยะและลดปริมาณขยะ
(5) เพื่ อให ค วามรู และส งเสริมการนําขยะที่แยกไดไปหมุนเวียนในกระบวนการผลิตของ
โรงงานแทนการใชทรัพยากรใหม
(6) เพื่อสรรหากิจกรรมตัวอยางซึ่งสามารถนําไปเผยแพรแกโรงเรียนและหนวยงานอื่นเพื่อ
เปนแนวทางปฏิบัติตอไป
(7) เปนการประชาสัมพันธเผยแพรแนวคิดและวิธีการแยกขยะที่มีประสิทธิผลแกประชาชน
โดยทั่วไป

ระยะเวลาในการดําเนินงาน คือ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 – เดือนมีนาคม พ.ศ. 2536 โดย


ผลสรุปประโยชนจากการดําเนินโครงการ คือ
(1) ทางตรง ไดแก ครูและนักเรียนจาก 19 โรงเรียนที่สมัครเขารวมโครงการ กลุมซาเลงตา
วิเศษและประชาชนผูมารวมงานจากการจัดสัมมนาและนิทรรศการ ประมาณ 50,000 คน
เชน การสัมมนาและการแนะนําโครงการ การจัดนิทรรศการแสดงผลงานโรงเรียนแยกขยะ
(2) ทางออม คนในครอบครัว ผูใกลชิด เพื่อนรวมงานของผูที่ไดรับประโยชนทางตรง รวมถึงผู
ที่ไดรับทราบขาวสารจากสื่อมวลชนที่รวมกันเผยแพรตั้งแตเริ่มตนโครงการจนจบ ทั้งทาง
วิทยุ โทรทัศน หนังสือพิมพรวมถึงสิ่งตีพิมพ ประมาณ 5,000,000 คน

จากการดําเนินโครงการดังกลาวสงผลใหโรงเรียนสะอาดเรียบรอยขึ้น เศษกระดาษที่เคยเกลื่อน
กลาดภายในโรงเรียนลดลง กอปรทั้งโรงเรียนมีรายไดจากการแยกขยะ รวมไปถึง”ซาเลง” ซึ่งเปนผูรับ
ซื้อขยะมีรายไดเพิ่มขึ้น ทําใหเกิดความภาคภูมิใจในการที่มีสวนชวยพัฒนาสิ่งแวดลอมของบานเมือง
ปจจุบันยังมีโรงเรียนจัดกิจกรรมรณรงคแยกขยะในโรงเรียนอยางตอเนื่อง โดยใชสื่อประชาสัมพันธรวม
กับการประกวดใหรางวัล โรงเรียนที่ไดรับรางวัลจะมีโรงเรียนและหนวยงานอื่นๆ ตลอดจนสื่อมวลชนไป
ศึกษาเปนตัวอยางในการปฏิบัติอยางสม่ําเสมอ

2-23 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(2) โครงการ “โรงเรียน กทม. รักษรีไซเคิลกับตาวิเศษ”


สมาคมสรางสรรคไทย รวมกับ หางสรรพสินคาโรบินสัน สํานักรักษาความสะอาด และสํานัก
การศึกษา กรุงเทพมหานคร เชิญชวนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จํานวน 429 แหง จัดทําโครง
การ “โรงเรียน กทม.รักษรีไซเคิลกับตาวิเศษ” โดยมีวัตถุประสงคสําคัญเพื่อสงเสริมระบบรีไซเคิล โดย
แยกขยะที่ใชแลวเพื่อนํากลับไปสูการผลิต และการหมุนเวียนกลับมาใชใหม สงเสริมใหโรงเรียนมีโครง
การรีไซเคิล ทุกเขตของกรุงเทพมหานคร เปนตัวอยางในชุมชน โดยมีกิจกรรมจัดระบบแยกขยะ และ
รณรงคใหนักเรียนมีความรู ความเขาใจเรื่องการแยกขยะ สรางจิตสํานึกและกระตุนใหนักเรียนเขาใจ
ปญหาของขยะและสิ่งแวดลอม ฝกฝนนิสัยใหรวมกันแกไขดวยการปฏิบัติในชีวิตประจําวัน และเพื่อลด
ปริมาณขยะ อนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม
ระยะเวลาของการดําเนินโครงการ ตั้งแตเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 – เดือนมิถุนายน
พ.ศ. 2540 ผลการดําเนินงานจากการรณรงคและประชาสัมพันธ อีกทั้งมีการจัดสัมมนาโดยสํานักการ
ศึกษาสงจดหมายเชิญชวนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครเพื่อใหเขารวมโครงการ เปนดังนี้
จากการจัดสัมมนาเพื่อชี้แจงโครงการ "โรงเรียน กทม. รักษรีไซเคิลกับตาวิเศษ" เมื่อวันที่ 15
สิงหาคม 2539 มีโรงเรียนที่เขารวมสัมมนาทั้งหมด 295 โรงเรียน จากการสงจดหมายเชิญชวนโรงเรียน
ทั้งหมด 429 โรงเรียน
(1) มีโรงเรียนสนใจเขารวมคัดเลือก จํานวน 25 โรงเรียน 17 เขต
(2) มีโรงเรียนที่ไมเขารวมคัดเลือกแตจัดกิจกรรมและวางระบบแยกขยะในโรงเรียน จํานวน 66
โรงเรียน 32 เขต
(3) มีการออกตรวจเยี่ยมและดําเนินการตัดสินโรงเรียนที่เขารวมในโครงการฯ พรอมกับจัดพิธี
มอบรางวัลแกโรงเรียนที่ชนะเลิศและโรงเรียนที่ไดรับรางวัลชมเชย

จากผลการดําเนินงานดังกลาวจะเห็นไดโครงการนี้ไมไดรับผลผลตอบรับเทาที่ควร สาเหตุของ
ปญหาที่วิเคราะหไดมี ดังนี้
(1) โรงเรียนในสังกัดของกรุงเทพมหานครที่ไมใหความสนใจและความรวมมือเทาที่ควรในการ
เขารวมการดําเนินโครงการ
(2) โรงเรียนบางแหงอยูไกลเกินไป ทําใหไมสามารถเขารวมกิจกรรมไดโดยปญหาที่เกิดจาก
โรงเรียนเองรวมถึงปญหาที่เกิดจากกลุมผูดําเนินโครงการ
(3) หลังผลการตัดสินแลวมิไดมีการตรวจสอบระบบรีไซเคิลของโรงเรียนอีก ทําใหไมสามารถ
ทราบไดวาปจจุบันนี้โรงเรียนดังกลาวที่เขารวมยังดําเนินการตามโครงการอีกหรือไม

2-24 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(3) โครงการ “รวมพลังหาร 2 กับตาวิเศษ รณรงคแยกแกวในโรงเรียน”


วิกฤตพลังงานในปจจุบันนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากนิสัยการบริโภคสินคาที่
ฟุมเฟอยและไมเห็นคุณคา ทําใหสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติโดยใชเหตุ ไมวาจะเปน
สินคาที่ทําจากกระดาษ โลหะ พลาสติก อลูมิเนียมหรือแกว ซึ่งทรัพยากรเหลานี้สามารถนํากลับมาใช
ใหมได ไมวาจะเปนการนํากลับมาใชซ้ํา (reuse) หรือการนําเขากระบวนแปรรูปเพื่อนํากลับมาใชใหม
(recycle) โดยเฉพาะแกว กลับกลายเปนวัสดุที่ไมไดรับความสนใจทั้งที่สามารถนํากลับมาใชใหมโดยมี
ขั้นตอนที่ไมยุงยากและมีคุณสมบัติดีเหมือนเดิม
จากปญหาดังกลาว สํานักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแหงชาติจึงไดมอบหมายให
สมาคมสรางสรรคไทย จัดทําโครงการ “กิจกรรมรณรงคใหเกิดกระบวนการแปรรูปแกว เพื่อนํากลับมา
ใชใหม” (โครงการรีไซเคิลแกว) โดยเริ่มจากโรงเรียน ภายใตชื่อโครงการ”รวมพลังหาร 2 กับตาวิเศษ
รณรงคแยกแกวในโรงเรียน” ปลุกจิตสํานึกใหครูและนักเรียนแยกแกวหลังการบริโภค เพื่อประหยัด
พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ ลดปริมาณขยะ และอนุรักษสิ่งแวดลอม โดยสมาคมสรางสรรคไทยได
ประสานงานกับอุตสาหกรรมผูผลิตแกวและธุรกิจรับซื้อ-ขายของเกา พรอมทําสื่อการเรียนการสอนและ
สื่อรณรงค โดยคาดวาการรณรงคในโรงเรียนที่รวมกิจกรรมเปนอยางดีไมต่ํากวา 100 แหง จะสามารถ
รวมขยะแกวไดไมต่ํากวา 1 กิโลกรัม/เดือน/คน วัตถุประสงคโดยรวมมีดังนี้
(1) เพื่อสงเสริมการประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ
(2) เพื่อสงเสริมใหประชาชนเห็นความสําคัญและบทบาทของโรงเรียนในการปลูกฝงใหเยาวชน
มีความตระหนัก เห็นความสําคัญในการมีสวนรวมรณรงคและรับผิดชอบตอสิ่งแวดลอมและ
สังคม
(3) เพื่อสงเสริมระบบและสรางกระบวนการแยกแกวงในโรงเรียนใหมีประสิทธิภาพและครบ
วงจร
(4) เพื่อรณรงคใหนักเรียน มีความตระหนักและเห็นความสําคัญในการมีสวนรวมรณรงค
รับผิดชอบตอสิ่งแวดลอมและสังคม โดยรวมกันแกไขดวยการปฏิบัติในชีวิตประจําวัน
(5) เพื่อสรางสํานึกในการลดปริมาณขยะในชุมชนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนให
แยกทิ้งแกวหลังการบริโภค

ระยะเวลาในการดําเนินโครงการ ตั้งแตเดือนมิถุนายน-ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยสถานที่ในการ


ดําเนินโครงการ ไดแก โรงเรียนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนั้น กลุมเปาหมายหลักจึงไดแก
นั ก เรี ย นและโรงเรี ย นในเขตกรุ ง เทพมหานครและปริ ม ณฑล กลุ ม ผู รั บ ซื้ อ -ขายของเก า และกลุ ม
อุตสาหกรรมผูผลิตแกว สวนกลุมเปาหมายรองจึงไดแก ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล และสื่อมวลชน

2-25 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

หลังจากการดําเนินโครงการแลวผลประโยชนที่ไดรับเปน ดังนี้
(1) สามารถลดการใชพลังงานทรัพยากรธรรมชาติและปญหาสิ่งแวดลอมได
(2) ไดโรงเรียนตนแบบในการวางระบบแยกขวดแกวหลังการบริโภค เพื่อประหยัดพลังงาน
ทรัพยากรธรรมชาติและอนุรักษสิ่งแวดลอมโดยนําขวดที่ใชแลวไปใชซ้ําและขวดที่แตกหรือ
เศษแกวก็นํากลับเขากระบวนการแปรรูปเพื่อนํากลับมาใชใหม
(3) ปริมาณขยะแกวในชุมชนลดลง
(4) นักเรียนทั้งหลายเกิดจิตสํานึก เขาใจปญหาของขยะและสิ่งแวดลอม ไดรับการฝกฝนนิสัย
ใหรวมกันแกไขและสามารถนําไปใชในชีวิตประจําวันได

(4) บางกอกกลาสกับโครงการรีไซเคิล
บริษัทบางกอกกลาส จํากัด ไดตระหนักถึงภาระรับผิดชอบตอสภาวะแวดลอมโดยทั่วไปและได
เล็งเห็นถึงความสําคัญของเยาวชนของชาติที่ควรไดรับการปลูกฝงและสรางจิตสํานึกที่ดีในเรื่องการ
รักษาสภาพแวดลอม ในป พ.ศ. 2536 จึงไดริเริ่มโครงการรณรงคหมุนเวียนการใชเศษแกว โดยแสวง
หาความรวมมือจากคุณครู นักเรียน ผูปกครอง ใหนําเศษแกวหรือขวดแกวที่เหลือใชจากครัวเรือน แยก
ออกมาจากขยะ รวบรวมคนละเล็กคนละนอย นํามาทิ้งในถังเก็บขวดแกวที่โรงเรียน เศษแกวที่เด็กเก็บ
มาทิ้งนั้น บริษัทจะตอบแทนเปนเงินใหโรงเรียน โดยจัดตั้งเปนกองทุนใชสนับสนุนกิจกรรมตางๆ อัน
เปนประโยชนแกโรงเรียนและนักเรียนตอไป อีกทั้งยังเอื้อประโยชนสูงสุดในการชวยรักษาสิ่งแวดลอม
ลดปริมาณขยะ ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานในการผลิตดวย

(5) โครงการแยกกลองนมยูเอชทีเพื่อสิ่งแวดลอมกับตาวิเศษ
เนื่องจากบรรจุภัณฑประเภทยูเอชทีเปนที่นิยมแพรหลายในอุตสาหกรรมอาหารเหลวและเครื่อง
ดื่ม จึงไดมีการนําบรรจุภัณฑชนิดนี้มาใช แตภายหลังการบริโภค บรรจุภัณฑประเภทนี้จะกลายเปน
ขยะ จากขอมูลของบริษัท เต็ดตรา แพ็ค (ไทย) จํากัด ผูนําเขาและผูผลิตเครื่องจักรที่ใชในการผลิตการ
บรรจุภัณฑ รวมถึงบรรจุภัณฑยูเอชที พบวาในป พ.ศ. 2543 มีขยะบรรจุภัณฑประเภทกลองนมยูเอชที
ถึง 2,000 ลานกลองโดยประมาณ จากขอมูลดังกลาวเห็นไดในแตละปวาเราตองกําจัดบรรจุภัณฑ
ประเภทนี้เปนจํานวนมาก บริษัท เต็ดตรา แพ็ค (ไทย) จํากัด ไดตระหนักและเล็งเห็นถึงปญหาสําคัญ
ดังกลาว จึงไดคนควาและนําเทคโนโลยีรีไซเคิลมาใชกับกลองยูเอชทีที่ใชแลวและไดคิดคนวากลองยู
เอชทีที่ไดผานกระบวนการอบสามารถผลิตเปนแผนกระดานหรือไมอัดสําเร็จรูปหรือที่เรียกวากรีนบอรด
ซึ่งเปนผลิตภัณฑที่สามารถนํามาใชทดแทนการใชไมและซีเมนตที่ใชในการตกแตงบานไดเปนอยางดี
โดยวิธีการนี้ นอกจากเปนการชวยการลดปริมาณขยะ สงเสริมกระบวนการรีไซเคิล สามารถสรางราย
ไดใหผูรับซื้อของเกา เพิ่มคุณคาใหกับกลองยูเอชทีที่ใชยังเปนการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติไดอีก
ดวย

2-26 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

โครงการนี้เริ่มขึ้นที่โรงเรียนภายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และอําเภอลําลูกกา


จังหวัดปทุมธานี สํานักงานการศึกษาเอกชน สํานักงานการศึกษากรุงเทพมหานครและเทศบาล
โดยเปนการรณรงคใหชวยกันรวบรวมกลองยูเอชทีที่ใชแลวเขาสูกระบวนการรีไซเคิล มีระยะเวลาการ
ดําเนินการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – 28 กุมภาพันธ พ.ศ. 2544

วัตถุประสงค
(1) เพื่อรณรงคลดปริมาณขยะโดยการแยกกลองยูเอชทีที่ใชแลว
(2) เพื่อสรางวงจรในการจัดเก็บกลองยูเอชทีที่ใชแลวเพื่อเขาสูกระบวนการรีไซเคิลผลิตเปน
แผนกรีนบอรดและสงเสริมรายไดใหผูรับซื้อของเกา พรอมทั้งการดําเนินงานของบริษัท
กรุงเทพธนาคม จํากัด
(3) เพื่อลดการใชทรัพยากรธรรมชาติและสนับสนุนการเพิ่มคุณคาของบรรจุภัณฑที่ใชแลว
(4) เพื่อประชาสัมพันธใหทราบถึงประโยชนของกลองยูเอชทีที่ใชแลว

ผลที่คาดวาจะไดรับ
(1) การลดปริมาณขยะบรรจุภัณฑกลองยูเอชทีที่ใชแลว ลดภาระการจัดเก็บ การกําจัดแบบฝง
กลบและการเผา
(2) การสร า งเสริ ม ความตระหนั ก ถึ ง คุ ณ ประโยชน จ ากการนํากล อ งยู เ อชที ที่ ใ ช แ ล ว เข า สู
กระบวนการรีไซเคิล
(3) วงจรและตลาดในการรับซื้อกลองยูเอชทีที่ใชแลวเพื่อนําเขาสูกระบวนการรีไซเคิลผลิต
กรีนบอรดไดอยางตอเนื่อง
(4) การประหยัดทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะอยางยิ่งไมและซีเมนต จากการนํากรีนบอรด
ไปใช

หลังจากการดําเนินโครงการตั้งแต 1 ตุลาคม 2543 – 28 กุมภาพันธ 2544 ถึงแมจะมีโรงเรียน


ที่เขารวมใหความสนใจเปนจํานวนมาก แตก็ยังพบปญหาและอุปสรรคในการดําเนินการ ดังนี้
(1) ระยะเวลาในการดําเนินโครงการไมเหมาะสม เนื่องจากเปนชวงเวลาที่หลายโรงเรียน
กําลังทําการสอบไลในภาคเรียนที่ 1 และใกลปดเทอม คุณครูในหลายโรงเรียนจึงไมมี
เวลาในการมารวมสัมมนาและสมัครเขารวมโครงการ อีกทั้งเปนโครงการที่มีระยะเวลา
สั้นเกินไปทําใหบางโรงเรียนไมสามารถดําเนินโครงการไดอยางเต็มที่
(2) เนื่องจากเดิมโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีการบริโภคนมกลองยูเอชที แตภาย
หลังจากการเริ่มดําเนินโครงการ นโยบายการบริโภคเปลี่ยนไปเปนการบริโภคนมถุง
พาสเจอรไรซแทน ดังนั้น ปริมาณกลองนมที่รวบรวมไดจึงมีปริมาณนอยกวาที่คาดการณ
ไว
(3) บางโรงเรียนรวบรวมกลองนมยูเอชทีแตมิไดทําการลางในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งทําใหเกิด
กลิ่นไมพึงประสงคแกผูรวบรวมได
2-27 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(4) ราคาที่รับซื้อกลองนมอยูที่ 3 บาท ตอหนึ่งกิโลกรัม และโดยที่กลองนมยูเอชทีมีลักษณะ


เบา การรวบรวมใหไดหนึ่งกิโลกรัมตองใชระยะเวลานาน โดยหนึ่งกิโลกรัมจะอยูที่
80 – 100 กลองนม ดังนั้นราคาจําตองมีผลตอการสรางแรงจูงใจใหมากกวานี้
(5) ประเทศไทยไมมีระบบการจัดเก็บกลองนมยูเอชทีอยางจริงจังและการรีไซเคิลกลองนมนี้
ก็เปนโครงการใหมทําใหผูรับซื้อของเกาไมไดใหความตื่นตัวเทาใดนัก
(6) เกิดความลาชาในโรงงานผลิตกรีนบอรด ทําใหเกิดความลาชาในการดําเนินโครงการ
ตอไปดวย

สมาคมสรางสรรคไทยมีแผนการดําเนินงานการขยายโครงการเขาสูโรงเรียนอื่น ๆ ที่ยังมิไดเขา
รวมโครงการ โดยผานโรงเรียนเดิมที่เขารวมโครงการอยูแลว ไปถึงโรงเรียนที่อยูใกลกับโรงเรียนที่เขา
รวมโครงการ โรงเรียนที่เคยรวมงานกับสมาคมแตยังมิไดเขารวมโครงการนี้ ซึ่งในปจจุบัน ยังมีบริษัทที่
เขารวมในการรับซื้อกลองนมนี้อยางตอเนื่อง

(6) โครงการฉลากเขียว

“ฉลากเขียว” คือ ฉลากที่ใชกับผลิตภัณฑที่มีผลกระทบตอสิ่งแวดลอมนอยกวา


เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑที่ทําหนาที่อยางเดียวกัน โดยที่คุณภาพยังอยูใน
ระดับมาตรฐานที่กําหนด

คณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดลอมไทย (Thailand Business Council for Sustainable


Development, TBCSD) ไดริเริ่มโครงการฉลากเขียว เมื่อป พ.ศ. 2536 และไดรับความเห็นชอบและ
ความรวมมือจาก กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม และองคกร
เอกชนอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ ใหมีการนํามาปฏิบัติอยางเปนรูปธรรม จึงนับวาเปนโครงการที่เกิดจากความ
รวมมือระหวางภาครัฐ ภาคเอกชน และองคกรกลาง โดยมีสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม
และสถาบันสิ่งแวดลอมไทยทําหนาที่เปนฝายเลขานุการ

2-28 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

หลักการในการคัดเลือกผลิตภัณฑฉลากเขียว
(1) เปนผลิตภัณฑที่ใชเพื่อการอุปโภคและบริโภคทั่วไปในชีวิตประจําวัน
(2) คํานึงถึงผลกระทบของผลิตภัณฑที่มีตอสิ่งแวดลอมและคุณประโยชนทางสิ่งแวดลอมที่ได
รับเมื่อผลิตภัณฑนั้นนําออกจําหนายในทองตลาด
(3) มีวิธีการตรวจสอบที่ไมยุงยากและเสียคาใชจายสูง ในการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ
ทางสิ่งแวดลอมตามที่กําหนดในขอกําหนด
(4) เปนผลิตภัณฑที่ผูผลิตมีทางเลือกอื่นในการผลิตที่จะทําใหเกิดผลกระทบตอสิ่งแวดลอม
นอยกวา

ผลิตภัณฑฉลากเขียว ไดแก กระดาษฉลากเขียว ผลิตภัณฑสําเร็จรูปทําจากพลาสติกที่ใชแลว


หลอดฟลูออเรสเซนตประหยัดพลังงาน ตูเย็นฉลากเขียว สีอิมัลชันสูตรลดสารพิษ เครื่องสุขภัณฑ
ประหยัดน้ํา เครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงานไฟฟา ถายไฟฉายสูตรไมผสมสารปรอท สารซักฟอก
สเปรยที่ไมมีสารซีเอฟซี มอเตอรประหยัดไฟฟา กอกน้ําและอุปกรณประหยัดน้ํา ผลิตภัณฑที่ทําจากผา
วัสดุกอสรางที่ใชทดแทนไม เครื่องคอมพิวเตอร เครื่องซักผา ฉนวนกันความรอนและบริการซักอบรีด
ขอสังเกต: หากสามารถขยายโครงการฉลากเขียว ใหครอบคลุมบรรจุภัณฑทุกชนิด จะชวยลด
ปญหาการจัดการของเสียบรรจุภัณฑในประเทศไดมาก
ในสวนงานของภาครัฐเองก็เริ่มมีการทํากิจกรรม โครงการรณรงคเพื่อปลูกฝงสรางจิตสํานึก
ดานสิ่งแวดลอมและการประหยัด รวมทั้งสรางระเบียบวินัยในสังคม เชน ในสวนของกรุงเทพมหานครมี
โครงการที่เกี่ยวกับการรณรงคการลดปริมาณ การกําจัดขยะมูลฝอย ดังนี้

(7) โครงการลดปริมาณขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร
เนื่ อ งจากสถิ ติ ก ารเก็ บ ขนขยะมู ล ฝอยในป พ.ศ. 2541 ในเขตพื้ น ที่ ก รุ ง เทพมหานคร
อยูที่ 8,000 – 8,500 ตัน/วัน และมีอัตราการเพิ่มขึ้นถึงรอยละ 8 ซึ่งทําใหเห็นถึงแนวโนมของปญหา
มูลฝอยในอนาคตจะมีลักษณะที่คลายคลึงกับปญหาในอดีตและปจจุบัน ทําใหกรุงเทพมหานครตองจัด
หามาตรการและกลยุทธในการปองกันและแกไขเกี่ยวกับปญหาของขยะมูลฝอยดังกลาว
โดยหลักการของโครงการนี้มุงหวังใหประชาชนมีสวนรวมในการแกไขซึ่งถือวาผูที่กอปญหาตองมี
สวนในการแกไขดวย โดยการกําหนดแนวทางมาตรการ ดังตอไปนี้
1. การควบคุมอัตราการผลิตมูลฝอยโดยรณรงคสงเสริมใหประชาชนใหความรวมมือในการลด
ปริมาณขยะมูลฝอยกอนนําทิ้งรวมถึงการนําขยะมูลฝอยที่สามารถหมุนเวียนนํากลับมาใชใหม
ได โดยจัดใหมีการประชาสัมพันธดวยสื่อทุกรูปแบบ
2. ใหความรูแกประชาชนในทุกกลุมเปาหมาย โดยการแกไขปญหาผลกระทบและพิษภัยของ
มูลฝอยอันตรายจากชุมชนที่มีตอสุขภาพ อนามัยของประชาชนและสิ่งแวดลอมเพื่อใหมีการ
คัดแยกมูลฝอยอันตรายออกจากมูลฝอยทั่วไป

2-29 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

3. สนับสนุนใหเอกชนเขามามีบทบาทในการดําเนินงานในสวนของการนําเดินงานในสวนของ
การนํามูลฝอยหมุนเวียนเขาสูระบบรีไซเคิล และการรวมรณรงคการประชาสัมพันธโครงการ
รีไซเคิล
จากแนวทางทั้ง 3 ขอดังกลาวเปนการกระทําใหเกิด
1. การลดการเกิดมูลฝอย โดย
- การเลือกใชหรือซื้อสินคาที่ใชวัสดุบรรจุภัณฑที่นอยที่สุด รวมทั้งการซื้อสินคาปริมาณ
มากในแตละครั้ง มากกวาการซื้อสินคาจํานวนนอยเพื่อใหไดสินคาในปริมาณที่เทากัน
- ไมสนับสนุนและซื้อสินคาประเภทที่ใชครั้งเดียวแลวทิ้ง
- รูจักดัดแปลงและใชวัสดุอุปกรณอยางประหยัดคุมคาและมีประสิทธิภาพ
2. การนํากลับไปผลิตใหม จากการสํารวจขอมูลวัสดุรีไซเคิลที่มีการรับซื้อโดยซาเลงและรานรับ
ซื้อของเกา พบวาวัสดุที่ซาเลงและรานรับซื้อของเกาไมรับซื้อ ไดแก วัสดุประเภทเศษ
กระดาษชําระ กระดาษเคลือบมัน กลองนม โฟม พลาสติกกรองแข็ง ถุงกรอบแกรบ กระจก
หลอดไฟ ดังนั้น ทางกรุงเทพมหานครจึงตองจัดใหมีการคัดแยกมูลฝอยกอนทิ้งเพื่อการจัด
การกับมูลฝอยดังขอสาม
3. การคัดแยกมูลฝอย เพื่อใหสอดคลองกับการจัดเก็บ การกําจัด รวมไปถึงการนํากลับไป
ผลิตใหม โดย
- การประชาสัมพันธใหความรูความเขาใจ
- การเตรียมภาชนะรองรับมูลฝอย
- การทิ้งมูลฝอย การรวบรวมมูลฝอย โดยแจงใหเจาหนาที่ในสังกัดใหมีการทิ้งมูลฝอย
และจัดเจาหนาที่ดูแล ควบคุมใหมีการทิ้งที่ถูกตอง
- การเก็บขนมูลฝอย โดยประสานเขตพื้นที่ในการเขาเก็บขนมูลฝอยและประสานงาน
กับซาเลงและรานรับซื้อของเกา
- การกําจัดมูลฝอยโดยสํานักงานเขตผูใหบริการเก็บขน

ความสําเร็ จ ของโครงการส ง เสริ ม การลดและการแยกขยะมู ล ฝอยอย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพของ


กรุงเทพมหานครสามารถประเมินผลได ดังนี้
1. จากการสํารวจปริมาณการเก็บขนและนํามาทําลายของขยะมูลฝอยพบวามีปริมาณที่ลดลง
เนื่องมาจากการประชาสัมพันธและการใหความรูในดานตางๆ
2. การประเมินองคประกอบของมูลฝอยเชิงคุณภาพ พบวาสวนที่หมุนเวียนนํากลับมาใชใหมไม
ลดลง
3. ประชาชนทุกกลุมเปาหมายใหความรวมมือ

2-30 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(8) โครงการสงเสริมการลดและการแยกขยะมูลฝอยอยางมีประสิทธิภาพใน 14 กลุมเปา


หมายของกรุงเทพมหานคร
เปนโครงการลดปริมาณมูลฝอยที่ตองนําไปกําจัดใหนอยลงโดยใหสํานักงานเขตทั้ง 50 เขต
ดําเนินโครงการ โดยในระยะแรกไดดําเนินโครงการรีไซเคิลในพื้นที่เปาหมาย คือ โรงเรียน ชุมชน
หมูบานจัดสรร หนวยงานราชการ หางสรรพสินคาและศาสนสถาน โดยใหแตละสํานักงานเขตเปนผู
เลือกพื้นที่ ในการดําเนิ นการเอง และสํานักรักษาความสะอาดไดจัดอบรมเจาหน าที่ผูบ ริ หารและ
เจาหนาที่ระดับปฏิบัติของสํานักงานเขตตลอดจนใหมีการสนับสนุนเรื่องรถเก็บขนภาชนะรองรับมูลฝอย
และสื่อประชาสัมพันธตางๆ ตอมาสํานักรักษาความสะอาดไดกําหนดเปาหมายขึ้นเพื่อดําเนินโครงการ
สงเสริมการลดและแยกขยะมูลฝอยอยางมีประสิทธิภาพใน 14 กลุมเปาหมาย ประกอบดวย โรงเรียนใน
สังกัดกรุงเทพมหานคร โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา โรงเรียนเอกชน วิทยาลัยและสถาบันการศึกษา
ในระดับอุดมศึกษา หางสรรพสินคา ธนาคาร โรงแรม มินิมารท ตลาด สถานพยาบาล วัดและ
ศาสนสถาน ชุมชนหมูบานจัดสรร และอาคารสูงตั้งแต 8 ชั้นขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงคดังนี้ คือ
1. เพื่อเสริมสรางทัศนคติและความรวมมือจากประชาชนในการแยกขยะมูลฝอยหมุนเวียน
2. เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ตองนําไปกําจัดและลดปญหามลภาวะสิ่งแวดลอม
3. เพื่อลดการใชทรัพยากรและการกอมลพิษของมูลฝอยใหนอยที่สุด

หลักการที่ใชในการรณรงคคือ หลัก 4R ซึ่งประกอบดวย


1. (ใชนอย) คือ การลดการใชสิ่งของ รูจักใชอยางประหยัดและใชเทาที่จําเปน
2. (ใชซ้ํา) คือ การนําสิ่งของที่ไมใชแลวมาแปรสภาพเพื่อใหเกิดประโยชนคุมคาสูงสุด
3. (ใชซ้ํา) คือ การรูจักซอมแซมสิ่งของตาง ๆ ใหอยูในสภาพดีใชงานไดนานไมเปนมูลฝอย
กอนเวลาอันควร
4. (รีไซเคิล) คือการนํามูลฝอยมาผานกระบวนการแปรรูปเพื่อนํามาเปนวัตถุดิบในการผลิตครั้ง
ตอไป เปนการลดและประหยัดคาใชจายในการเก็บขนและกําจัด

จากหลักการดังกลาวกรุงเทพมหานครไดรณรงคใหประชาชนคัดแยกมูลฝอยออกเปน 3 ประเภท
คือ
1. เศษอาหาร เชน พืช ผัก ผลไม ใหรวบรวมใสถุงหรือภาชนะอื่น เพื่อรอการจัดเก็บตอไปหรือนํา
ไปหมักเปนขยะหอมเพื่อนํากลับมาใชใหมในรูปของปุยชีวภาพ
2. มูลฝอยที่ยังใชได เชน ขวดแกวใส/สี กระดาษหนังสือพิมพ นิตยสาร แผนพับ สมุด หนังสือ
กลองกระดาษแข็ง กระปองน้ําอัดลม เศษโลหะตางๆ เปนตน โดยการใหแยกทิ้งหรือแยกไว
ขายใหรานรับซื้อของเกา
3. มูลฝอยอันตราย เชน หลอดไฟฟากลม/ยาว ถานไฟฉาย แบตเตอรี่ กระปองสเปรย เปนตนให
แยกใสถุงไวตางหากและทิ้งตามวันเวลาที่กรุงเทพมหานครนัดเก็บ

2-31 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

จากสถิติรายงานของสํานักงานเขตพบวา ปจจุบัน สนร. สามารถดําเนินงานโครงการลดและ


แยกขยะไดผลเปนที่นาพอใจเพราะจํานวนมูลฝอยที่ยังใชไดที่คัดแยกไดจาก 14 กลุมเปาหมายมีจํานวน
เพิ่มขึ้นในทุกๆ ป แสดงใหเห็นถึงความรวมมือและความใสใจในการแยกประเภทของขยะกอนนําไปทิ้ง
ซึ่งนับเปนความสําเร็จอีกขั้นในการสงเสริมระบบการคัดแยกมูลฝอย ณ แหลงกําเนิด เพื่อใหประชาชน
ซึ่งเปนผูผลิตมูลฝอยไดมีสวนรวมรับผิดชอบตอสังคมอยางแทจริง

(9) โครงการ “ชุมชนรวมใจรักสะอาด เพื่อสิ่งแวดลอมที่ดีของกรุงเทพมหานคร”


สํานักรักษาความสะอาด รวมกับสํานักงานเขต 50 เขต กรุงเทพมหานคร จัดทําโครงการ
“ชุมชนรวมใจรักสะอาดเพื่อสิ่งแวดลอมที่ดีของกรุงเทพมหานคร” เริ่มตั้งแตป พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุ
ประสงคสําคัญเพื่อใหมีการลดและแยกมูลฝอยในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
ในการดําเนินโครงการนํารองนี้ สํานักงานเขตจะเลือกชุมชนที่อยูติดกับแมน้ําลําคลองหรือ
ชุ ม ชนที่ ร ถขนขยะไม ส ามารถเข า ไปเก็ บ ได สํานั ก งานเขตทุ ก เขตๆ ละ 3 ชุ ม ชน ร ว มกั บ
ประชาอาสาสมัครขนขยะออกมา ณ จุดและเวลาที่กําหนด ทําใหชุมชนมีสวนรวมรับผิดชอบตอทองถิ่น
มีการดําเนินโครงการขยายผลอยางตอเนื่องเพื่อสามารถครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด
ในรอบป พ.ศ. 2543 มีชุมชนในเขตตางๆ ของกรุงเทพมหานครเขารวมโครงการ จํานวน 264
แหง เปนชุมชนที่ดําเนินการตอเนื่องจากป พ.ศ. 2542 สูงถึง 130 แหง
จากการประเมินโครงการในป พ.ศ. 2543 พบวา มีจํานวนชุมชนที่ดําเนินการตอป พ.ศ. 2542
หลายชุมชน แสดงใหเห็นวาโครงการนี้เปนที่ยอมรับจากชุมชนวามีประโยชน สามารถชวยลดปญหา
ขยะตกคางไดและยังพบอีกวา ชุมชนสวนใหญใหความรวมมือในการรักษาสิ่งแวดลอม เชน มีการเริ่ม
ทําขยะหอมในเขตพญาไทและเขตบางกะป จัดกิจกรรมของเหลือใชภายในชุมชนที่เขตบึงกุม จัดกิจ
กรรมคลองสวยน้ําใสที่เขตดอนเมือง และมีการแยกขยะกอนทิ้งในหลายๆเขต เปนตน อยางไรก็ตามยัง
มีปญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในเขตตางๆเชนกัน อาทิ ประชาชนตองการจํานวนถังขยะที่เพิ่มขึ้น ขาด
อาสาสมัครจากชุมชนที่จะชักลากขยะมาไวที่จุดกองขยะของชุมชน มีปญหาขยะตกคาง และไมมีพื้นที่ที่
เหมาะสมตอการสรางจุดพักขยะ

(10) โครงการรณรงค จับ-ปรับ ประชาชนผูทิ้งขยะในที่สาธารณะ


โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากกรุงเทพมหานครเล็งเห็นความสําคัญของการรักษาความสะอาดและ
ความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมือง อันเปนหนาที่รับผิดชอบอยูแลว ซึ่งจุดประสงคของโครงการ
เก็บและกวาดอาคารที่สาธารณะ เชน ทางเทา ผิวจราจร ตลอดจนแมน้ําลําคลองและทางระบายน้ํา ซึ่ง
ต อ งใช ค นจํ านวนมาก แต ก็ ยั ง ไม ส ะอาดเพราะมี ป ระชาชนทิ้ ง ขยะไม เ ป น ที่ แ ละก อ ให เ กิ ด ป ญ หา
บานปลายในที่สุด จึงไดจัดใหมี “โครงการรณรงค จับ-ปรับประชาชนผูทิ้งขยะในที่สาธารณะ”

2-32 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

วิธีการจับ-ปรับ เปนหนาที่ของสํานักงานเขตแตละเขตที่จะตองจัดสงเจาหนาที่ไปปฏิบัติงานใน
ขอบขายที่รับผิดชอบ โดยตองมีการกําหนดจุดและตั้งเต็นทหรือซุมจับ และปรับประชาชนที่ทิ้งขยะในที่
สาธารณะ นอกจากนี้ยังจัดใหมีการจับ–ปรับ ผูที่ทิ้งขยะจากรถสวนตัวลงบนถนน ซึ่งจะมีชุดจักรยาน
ยนตสายตรวจคอยวิ่งตรวจตราและติดตามจับกุมผูกระทําผิดตามถนนสายหลัก แตที่เรามักจะเห็นจน
คุนตา คือ การตั้งเต็นทเปรียบเทียบปรับบริเวณชุมชนตางๆ อาทิ ศูนยการคา หรือสถานที่สําคัญซึ่งมีผู
คนสัญจรไปมาจํานวนมาก
รายงานผลการจับกุมและดําเนินคดีผูกระทําผิดตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและ
ความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมือง พ.ศ. 2535 ในป พ.ศ. 2545 และ พ.ศ. 2546 สามารถสรุป
จํานวนผูกระทําผิดเกี่ยวกับการทิ้งขยะไมเปนที่ได (ตารางที่ 2-5) ดังนี้

ตารางที่ 2-5 สรุปจํานวนผูกระทําผิดเกี่ยวกับการทิ้งขยะไมเปนที่ พ.ศ. 2545-2546

ลําดับ ฐานความผิดตามพระราชบัญญัติรักษาความ จํานวนผู จํานวนผู


สะอาด ฯ พ.ศ. 2535 กระทําผิด กระทําผิด
พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2546
1. ปรุ ง อาหารหรื อใช รถยนตหรือลอเลื่อนเปนที่ปรุ ง 148,043 177,432
อาหารเพื่อจําหนายสินคาซึ่งบรรทุกบนลอเลื่อนบน
ถนนที่สาธารณะนอกบริเวณประกาศผอนผัน
2. ทิ้ ง สิ่ ง ปฏิ กู ล หรื อ มู ล ฝอยลงบนที่ ส าธารณะหรื อ 28,864 32,206
ปลอยปละละเลยใหที่ดินของตนมีสิ่งปฏิกูลหรือมูล
ฝอยที่อาจเห็นไดจากที่สาธารณะ
3. โฆษณาดวยการปด ทิ้ง หรือโปรยแผนกระดาษ 272 451
หรือใบปลิวในที่สาธารณะโดยไมไดรับอนุญาต
4. บวนหรือถมน้ําลาย หรือเททิ้งสิ่งใดๆ ลงบนถนน 1,377 135
นอกเหนือจากภาชนะที่จัดไวให
5. เท หรือทิ้งสิ่งปฏิกูล มูลฝอย น้ําโสโครกหรือสิ่งอื่น 274 128
ใดลงบนถนนหรือทางน้ํา
6. เทหรือทิ้ง เศษวัสดุกอสรางลงในทางน้ําหรือกองไว 33 33
หรือทําดวยประการใด ๆ ใหวัตถุดังกลาวไหลหรือ
ตกลงในทางระบายน้ํา
7. ทิ้ง วาง หรือ กองซากรถยนตบนถนนรวมถึงการตั้ง 101 102
กองวัสดุใด ๆ ลงบนถนน
ที่มา : กรุงเทพมหานคร (2546)

2-33 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

จากรายงานผลการจับกุมผูกระทําความผิดขางตน บงบอกถึงการไมเพียงพอในการรณรงค
ประชาสัมพันธใหประชาชนมีจิตสํานึกในการทิ้งขยะใหถูกที่และรวมถึงการแยกทิ้งตามประเภทของขยะ
เห็นไดจากถึงการเพิ่มขึ้นของจํานวนผูกระทําความผิดในแตละป แมวาสํานักเทศกิจจะดําเนินการจับ
และปรับอยางตอเนื่องก็ตาม ปจจุบันนี้โครงการนี้ยังดําเนินการอยูอยางตอเนื่อง

(11) โครงการปลูกฝงนิสัยการรักษาความสะอาดใหกับเด็ก
เป น โครงการที่ ข ยายผลสื บ เนื่ อ งมาจากโครงการรณรงค จั บ -ปรั บ ประชาชนผู ทิ้ ง ขยะในที่
สาธารณะ โดยขยายผลไปตามโรงเรียนตางๆทั้งในระดับเล็กและระดับโต เพื่อปลูกฝงนิสัยการรักษา
ความสะอาดและความเป น ระเบี ย บเรี ย บร อ ยให กั บ เด็ ก ๆ โดยเริ่ ม จากโรงเรี ย นในสั ง กั ด ของ
กรุงเทพมหานคร ที่จะมีการทําโปสเตอรในชวงแรกติดไวตามโรงเรียน เพื่อใหเด็กสนใจและปฏิบัติตาม
โดยเฉพาะยังสามารถนําไปบอกตอยังพอแมที่บานไดดวย ปรากฏวามีโรงเรียนเอกชนบางแหงใหความ
สําคัญกับโครงการนี้ดวย โดยจะปรับเด็กที่ทิ้งขยะไมเลือกที่คนละ 1 บาท
ขณะนี้ผลการรณรงคดังกลาวไดขยายผลใหเห็นเปนรูปธรรมแลว โดยสํานักเทศกิจไดประสาน
กับสํานักการศึกษา ผลักดันโครงการอบรมอาสาสมัครยุวเทศกิจ โดยมีกลุมเปาหมายเปนนักเรียนใน
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จํานวน 430 โรงเรียน เพื่อปลูกฝงพฤติกรรมจัดความเปนระเบียบ
เรียบรอยของบานเมืองใหอยูในความสํานึกของเยาวชนผูจะเติบโตเปนผูใหญตอไปในอนาคต โดยใน
ชวงแรกไดอบรมครูเพื่อปฏิบัติหนาที่เปนวิทยากร ใหมีความรูความเขาใจที่จะอบรมยุวเทศกิจตอไป

(12) ธนาคารขยะรีไซเคิล
ธนาคารขยะรีไซเคิล คือ รูปแบบหนึ่งในการดําเนินงานเพื่อสงเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอย
โดยเริ่มตนที่เยาวชนและชุมชนเปนหลัก และใชโรงเรียนเปนสถานที่ดําเนินการ เพื่อใหเยาวชนและ
ชุมชนเกิดความเขาใจในการคัดแยกขยะมูลฝอย
หลักการของธนาคารขยะ คือ ใหนักเรียนสมัครเปนสมาชิกของธนาคารขยะ และนําขยะรีไซเคิล
มาฝากที่ธนาคาร โดยมีเจาหนาที่ธนาคาร ทําการคัดแยก ชั่งน้ําหนัก คํานวณเปนจํานวนเงิน และ
บันทึกลงสมุดคูฝาก โดยใชราคาที่ทางโรงเรียนประสานกับรานรับซื้อของเกาเปนเกณฑในการกําหนด
ราคา รายไดของกิจกรรมมาจากผลตางของราคาที่คณะทํางานของโรงเรียนกําหนดกับราคาที่สามารถ
ขายใหกับรานรับซื้อของเกา ซึ่งตองมีการหักคาใชจายอื่นๆ เชน การใชจายในการประชาสัมพันธ
ติดตอประสานงาน ซึ่งรายไดสามารถใชเปนทุนหมุนเวียนและจัดตั้งเปนกองทุนเพื่อใชในการศึกษา

2-34 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(13) โครงการ “การแยกขยะและการนํากลับมาใชใหม”


ดวยเทศบาลเมืองพนัสนิคม อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มีปญหาการจัดการขยะมูลฝอย
เทศบาลจึงเริ่มทําโครงการ “การแยกขยะและการนํากลับมาใชใหม” ตั้งแตป พ.ศ. 2538 โดยการ
ประชาสัมพันธใหความรูความเขาใจแกเด็กนักเรียน เยาวชน ประชาชน และไดใหความรวมมือในการ
คัดแยกขยะมูลฝอยที่สามารถหมุนเวียนหรือนํากลับมาใชใหมได เชน กระดาษ ขวด พลาสติก โลหะ
เปนตน เก็บรวบรวมไวขายใหซาเลงผูรับซื้อของเกาของแตละชุมชนเปนประจําทุกเดือน
สถิติการรับซื้อของเกาในระยะเวลาที่ผานมาแสดงใหเห็นวา การแยกขยะและการเก็บวัสดุที่ใช
แลวที่ขายได เปนวิธีหนึ่งที่จะชวยลดปริมาณขยะมูลฝอยที่จะตองนําไปกําจัด สามารถแกไขปญหาขยะ
มูลฝอยไดและประชาชนทุกคนทุกครัวเรือนสามารถที่จะมีสวนรวมในการแกปญหาและเปนการรักษา
สภาพแวดลอมของทองถิ่นของตนเอง
จากผลการดําเนินงานของโครงการตางๆดังกลาวขางตนชี้ใหเห็นวาโครงการสวนใหญจะอยูแค
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล นั่นหมายถึงโรงเรียนและประชาชนตามพื้นที่ตางจังหวัดไมไดเขา
รวมโครงการ การรณรงครักษาสิ่งแวดลอม การปลูกจิตสํานึกใหกับเยาวชนและประชาชนโดยทั่วไปไม
สามารถเขาถึงตามพื้นที่ตางจังหวัด สาเหตุคาดวาเนื่องมาจาก
1. งบประมาณสนับสนุนมีไมเพียงพอที่จะขยายไปยังโรงเรียนตามตางจังหวัด
2. หากใหโรงเรียนตามพื้นที่ตางจังหวัดเขารวมโครงการจะทําใหเกิดปญหาดานการตรวจเขา
เยี่ยมโรงเรียนเพราะงบประมาณอาจมีไมเพียงพอ
3. กลุมภาคเอกชนไมใหความสนใจในโรงเรียนตามตางจังหวัด

กลาวโดยสรุป การรณรงคประชาสัมพันธการทํากิจกรรมตาง ๆ ตามตัวอยางขางตน เปนการ


สรางพื้นฐานที่ดีในการสรางระเบียบวินัยในสังคม เริ่มตั้งแตสถาบันครอบครัว โรงเรียน สถานศึกษา
และที่ทํางาน บริษัท รานคา โรงงานตาง ๆ ในที่สุด ทุกคนรูสึกถึงการมีสวนรวมในสังคมและรวมรับผิด
ชอบตอสังคม รัฐจึงมีบทบาทที่สําคัญที่จะตองเผยแพรความรู สรางความเขาใจใหทุกคนทุกฝายรวมมือ
รวมใจกันรับผิดชอบตอสังคมตอไป

2.4.3 ตัวอยางการจัดการบรรจุภัณฑใชแลวในสหภาพยุโรป
ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปมีการดําเนินการเพื่อจัดการบรรจุภัณฑใชแลวอยางเปนระบบ
และเปนรูปธรรมมาตั้งแตป พ.ศ. 2534 โดยเยอรมนีเปนประเทศแรกในสหภาพยุโรปที่ดําเนินการในรูป
แบบธุรกิจ จากนั้นประเทศอื่นๆ ก็ไดมีการออกกฎหมายและจัดตั้งองคกรดําเนินการดานการจัดการขยะ
บรรจุภัณฑ เพื่อทําหนาที่รวบรวมบรรจุภัณฑใชแลวและวัสดุเหลือใช กลับไปทําการใชซ้ําหรือ รี
ไซเคิลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ องคกรเหลานี้จัดตั้งขึ้นโดยภาคเอกชนที่มีสวนเกี่ยวของกับบรรจุภัณฑรวมตัวกัน
จัดตั้งขึ้น หรือรัฐบาลและเอกชนรวมมือกัน หรือเปนกรณีที่รัฐบาลสงเสริมเอกชนใหดําเนินการ (อาจมี
มากกวา 1 องคกร)

2-35 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตัวอยางการดําเนินการดังกลาวในตางประเทศ6 มีดังนี้

สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี
ได มีการกําหนดมาตรการในการจัดการตามหลั กการผูก อให เ กิดมลพิษตองเปนผูรับผิดชอบ
(Polluter Pay Principle: PPP) โดยกําหนดใหผูผลิต ผูนําเขา และผูจัดจําหนาย ตองเรียกคืน
บรรจุภัณฑ 3 กลุม ไดแก บรรจุภัณฑเพื่อการขนสง บรรจุภัณฑชั้นนอก และบรรจุภัณฑชั้นใน
หนวยงานรับผิดชอบ ไดแก DSD (Duales System Deutschland) ซึ่งเปนบริษัทเอกชน เกิด
จากการรวมตัวของผูผลิตและผูนําเขาสินคาและบรรจุภัณฑ
ลักษณะดําเนินการ DSD จะเก็บคาธรรมเนียมจากผูผลิตสินคาและบรรจุภัณฑโดยพิจารณาตาม
น้ําหนักและประเภทของบรรจุภัณฑ โดยหลักการจัดเก็บคาธรรมเนียมบรรจุภัณฑของ DSD มีดังนี้
- บรรจุภัณฑจะจัดเก็บตามน้ําหนัก
- บรรจุภัณฑที่มีวัสดุใดอยูถึง 95% ใหถือเปน 100%
- บรรจุภัณฑที่มีพลาสติกรวมอยูมากกวา 50% ใหถือวาเปนพลาสติก 100%
- สวนที่ยื่นออกมาจะเก็บเพิ่มตามปริมาตร
- บรรจุภัณฑที่มีรูปรางไมแนนอนจะเก็บตามปริมาณผิวพื้นเมื่อยืดเรียบ
ระบบการคัดแยก จัดเก็บ และรวบรวม ใชระบบมีทางเลือกใหผูประกอบการ ที่เรียกวา Dual
System ดวยการประทับเครื่องหมายจุดเขียว (Green Dot) บนบรรจุภัณฑของบริษัทสมาชิก เพื่อแสดง
วาตองนําบรรจุภัณฑนั้นไปรีไซเคิล บรรจุภัณฑที่กําหนดใหมีการรีไซเคิล แบงออกเปน 6 กลุม ไดแก
แกว กระปองโลหะ พลาสติก กระดาษ อะลูมิเนียม และบรรจุภัณฑเคลือบ พรอมกับกําหนดให
ประชาชนทําการคัดแยกขยะบรรจุภัณฑเปน 3 กลุม ไดแก กระดาษและกระดาษแข็ง แกว และ
บรรจุภัณฑน้ําหนักเบา เชน อะลูมิเนียม พลาสติกและโฟม เปนตน
ผูผลิตที่ตองการประทับเครื่องหมายจุดเขียวบนบรรจุภัณฑสินคา ตองดําเนินการ 2 ประการ คือ
- ตองใหบริษัทที่ทําการรีไซเคิลบรรจุภัณฑรับรองวาบรรจุภัณฑดังกลาวจะถูกนําไปรีไซเคิล
- ตองทําสัญญากับ DSD เพื่อรับเงื่อนไขการใชเครื่องหมายจุดเขียว
หนวยงานที่ดําเนินการเก็บรวบรวมขยะ ไดแก DSD และสงไปรีไซเคิลยังหนวยงานของ DSD
เชนกัน
นอกจากนี้ยังมีบริษัทรับจัดการของเสียบรรจุภัณฑหลายแหงที่ดําเนินการรวบรวมบรรจุภัณฑเพื่อ
การขนสงจากโรงงานอุตสาหกรรมและรานคา เชน RESY, Interseroh, Repasak ผูประกอบการ
อุตสาหกรรมและผูคาปลีกสามารถเลือกใชบริการจาก RESY หรือบริษัทอื่นได

6
กรมควบคุมมลพิษ 2545 โครงการพัฒนาระบบการจัดการขยะบรรจุภัณฑและวัสดุเหลือใชในเชิงธุรกิจ
2-36 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

เบลเยียม
การจัดการเกิดจากขอตกลงระหวางภูมิภาค โดยกําหนดใหผูผลิตหรือผูนําเขาสินคา ตองเปนผูรับ
ผิดชอบตามขอตกลงของ EU กลาวคือ ตองนํากลับมาเพื่อรีไซเคิล (Recycle) รอยละ 50 และนํากลับ
มาเพื่อคืนสภาพ (Recovery) รอยละ 80
นอกจากนี้ตามกฎหมายยังกําหนดใหผูผลิตสินคาขออนุญาตหรือแจงขอมูลสินคาที่วางขายใน
ตลาด พรอมทั้งขอมูลที่เกี่ยวของกับบรรจุภัณฑ เชน คุณสมบัติ องคประกอบ และวงจรชีวิต เปนตน
หนวยงานรับผิดชอบ ไดแก FOST Plus ซึ่งเปนองคกรเอกชนที่ไมแสวงหาผลกําไร สังกัด
VAL-I-PAC รับผิดชอบขยะบรรจุภัณฑและวัสดุเหลือใชจากแหลงกําเนิดประเภทบานเรือน
ลักษณะดําเนินการ จัดเก็บคาธรรมเนียมจากผูประกอบการที่จําหนายสินคาสําหรับครัวเรือน โดย
พิจารณาตามน้ําหนักและประเภทของวัสดุบรรจุภัณฑ
ระบบการคัดแยก จัดเก็บ และรวบรวม ใชระบบ Dual System เชนเดียวกับเยอรมนี
แตกําหนดใหประชาชนทําการคัดแยกขยะบรรจุภัณฑเปน 3 กลุม ไดแก กระดาษและกระดาษแข็ง
แกว และ PMD Fraction (ขวด PET และ HDPE โลหะและกลองกระดาษบรรจุเครื่องดื่ม)
หนวยงานที่ดําเนินการเก็บรวบรวมขยะ หนวยงานทองถิ่นซึ่งไดรับงบประมาณจาก FOST Plus

ฝรั่งเศส
กําหนดใหผูผลิตสินคาที่ไมใชครัวเรือน ผูประกอบการอุตสาหกรรม และผูนําเขาสินคา ตองเรียก
คืนบรรจุภัณฑ
หนวยงานรับผิดชอบ ไดแก Eco-Emballages SA ซึ่งเปนองคกรเอกชนที่ไมแสวงหาผลกําไร
จัดตั้งโดยกลุมโรงงานผูผลิตบรรจุภัณฑรวมกับกลุมผูใชผลิตภัณฑบรรจุภัณฑและองคกรที่เกี่ยวของกับ
การจัดการมูลฝอย ไดรับการสนับสนุนจากรัฐบาลใหเปนผูดําเนินการรวบรวมและกําจัดมูลฝอยโดยการ
นําไปใชซ้ําหรือรีไซเคิล
ลักษณะดําเนินการ จัดเก็บคาธรรมเนียมจากผูผลิตและผูนําเขาบรรจุภัณฑ โดยพิจารณาตาม
ปริมาตรและน้ําหนักของวัสดุที่เปนบรรจุภัณฑ หากเปนของแข็งคาธรรมเนียมจะกําหนดโดยปริมาตร
หากเปนวัสดุที่ยืดหยุนหรือมีรูปรางตามสินคา การประเมินอาจเลือกตามปริมาตรหรือน้ําหนักก็ได และ
ตองคํานึงถึงชนิดของวัสดุดวย
ระบบการคัดแยก จัดเก็บ และรวบรวม ใชระบบ Dual System เชนเดียวกับเยอรมนี แตกําหนด
ใหประชาชนทําการคัดแยกขยะบรรจุภัณฑเปน 5 กลุม ไดแก แกว โลหะ พลาสติก กลองเครื่องดื่ม
กระดาษ และกระดาษแข็ง

2-37 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

หน ว ยงานที่ ดํ า เนิ น การเก็ บ รวบรวมขยะ หน ว ยงานท อ งถิ่ น ซึ่ ง ได รั บ งบประมาณจาก
Eco-Emballages SA
นอกจาก Eco-Emballages SA แลว ยังมีองคกรรับแปรสภาพของเสียอื่นๆ ที่มีบทบาททางดาน
การแปรสภาพของบรรจุภัณฑใชแลว ดังสรุปในตารางที่ 2-6

ตารางที่ 2-6 องคกรรับแปรสภาพของเสียของ Eco-Emballages SA


องคกร/หนวยงาน หนาที่รับผิดชอบ
ADELPHE เปนองคกรฟนสภาพบรรจุภัณฑเปนประโยชน เปนตัวแทนของผูผลิตไวน
และสุราในการจัดเก็บขวดแกวในระยะแรก ตอมาไดรับอนุญาตใหดําเนิน
การกับวัสดุทุกอยาง
CYCLAMED เปนองคกรฟนสภาพประโยชนของบรรจุภัณฑเภสัชกรรมและผลิตภัณฑยา
ที่ทิ้งแลวโดยจัดถุงเขียวไวใส
GFA โรงงานฟนสภาพกระดาษ 12 โรงรวมกันตั้ง GFA ในการทําการฟนสภาพ
( G r o u i p e m e n t บรรจุภัณฑและผลิตภัณฑกระดาษใชแลวมาทํากระดาษคุณภาพต่ําตั้งเปา
F r a n c a i s กระดาษ 840,000 ตันตอป
d’Approvisionement)
REVIPAC โรงงานกระดาษรวมกันจัดตั้ง Revipac เพื่อฟนสภาพกระดาษและกระดาษ
กลอง ตั้งเปา 150,000 ตันในป พ.ศ.2544
ECO-PSE กลุมผูผลิต EPS รวมกันตั้งขึ้นเพื่อนํา EPS ใชแลวมาแปรใชใหม
ECOFUT โรงงานผลิตถัง HDPE รวมกันตั้ง Ecofut เมื่อป พ.ศ. 2535 เพื่อทําการแปร
ใชใหมซึ่งบรรจุภัณฑที่ทําจาก HDPE และ PP มีขนาด 10-1200 ลิตร
RECYFILM กลุมโรงงานฟลมพลาสติกรวมกันตั้ง Recyfilm มี 44 แหงทั่วประเทศ เพื่อ
ทําการแปรใชใหมซึ่งบรรจุภัณฑจากฟลม PE ยืดและหด ถุงและกระสอบ
PE และ PP
ECO-BOIS เปนสมาคมที่ตั้งขึ้นเมื่อป พ.ศ. 2536 ฟนประโยชนบรรจุภัณฑกระบะไม
ECO-VIANDE อุตสาหกรรมเนื้อ รวมกันตั้ง เพื่อนําบรรจุภัณฑซึ่งใชกับเนื้อและการแปรรูป
เนื้อมาฟนสภาพเปนประโยชน
PERFUVERE สมาคมพัฒนาวิทยาศาสตรและแปรใชใหมซึ่งทางอุตสาหกรรมแกวรวมกัน
จัดตั้งขึ้นเมื่อป พ.ศ. 2536 สําหรับผลิตภัณฑแกวจากโรงพยาบาล

2-38 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

อังกฤษ
กําหนดใหธุรกิจทุกประเภทที่ใชบรรจุภัณฑมากกวา 50 ตันตอป และยอดจําหนายไมต่ํากวา 5
ลานปอนด ตองขึ้นทะเบียนตอหนวยงานรับผิดชอบภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 และ
ดําเนินการใหเปนไปตามเปาหมายการเรียกคืนในป พ.ศ. 2541
หนวยงานรับผิดชอบ ไดแก VALPAK ซึ่งเปนองคกรเอกชนที่ไมแสวงหาผลกําไร รับผิดชอบ
ในการเรียกคืนและกําจัดขยะบรรจุภัณฑแทนบริษัทเอกชนผูมีหนาที่เรียกคืนและกําจัดขยะบรรจุภัณฑ
จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทเอกชนที่เกี่ยวของในขั้นตอนตางๆของลูกโซบรรจุภัณฑ โดยการสนับสนุนของ
Department of the Environment (DOE) มีสวนแบงการตลาดประมาณรอยละ 86 ของจํานวนผูที่
เกี่ยวของบรรจุภัณฑ (Packaging Chain)
ลักษณะดําเนินการ จัดเก็บคาธรรมเนียมจากผูประกอบการที่จําหนายสินคาสําหรับครัวเรือน โดย
พิจารณาตามน้ําหนักและประเภทของวัสดุบรรจุภัณฑ
ระบบการคัดแยก จัดเก็บ และรวบรวม ใชระบบ Dual System เชนเดียวกับเยอรมนี แตกําหนด
ใหประชาชนทําการคัดแยกขยะบรรจุภัณฑเปน 3 กลุม ไดแก กระดาษและกระดาษแข็ง แกว และ PMD
Fraction (ขวด PET และ HDPE โลหะและกลองกระดาษบรรจุเครื่องดื่ม)
หนวยงานที่ดําเนินการเก็บรวบรวมขยะ หนวยงานทองถิ่นซึ่งไดรับงบประมาณจาก FOST Plus
นอกจาก VALPAK แลว ปจจุบันมีบริษัทจัดการของเสียบรรจุภัณฑอื่นๆที่ใหบริการจัดการของ
เสียบรรจุภัณฑประมาณ 20 ราย ทุกรายสามารถออกตราสาร (Packaging Reprocessing Note) ไดเอง
ตามมูลคาของเสียบรรจุภัณฑที่ตนไดทําการฟนสภาพใหเปนประโยชน เชน ผูผลิตที่ใชภาชนะบรรจุ
หีบหอพลาสติก 6 ตัน จะตองติดตอซื้อตราสาร PRN จากบริษัทจัดการของเสียจํานวน 6 ตัน เปนตน
กฎหมายกําหนดใหบริษัทเรียกคืนบรรจุภัณฑประเภทตางๆ เชน อะลูมิเนียม แกว กระดาษ
ไมอัด พลาสติก และโลหะ ใหได 38% ในป พ.ศ. 2541 และเพิ่มเปน 43% ในป พ.ศ.2543 และเปน
52% ในป พ.ศ. 2544 โดยมีเปาหมายในการรีไซเคิลวัสดุแตละประเภทแตกตางกันไป
ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2543 ธุรกิจทุกประเภทที่มียอดจําหนายระหวาง 1-5 ลานปอนด ตอง
รับผิดชอบคาใชจายการเรียกคืนและกําจัดมูลฝอยบรรจุภัณฑของตนตามสัดสวน คือ
- ผูผลิตและผูจัดหาวัตถุดิบผลิตบรรจุภัณฑ จาย 6%
- ผูผลิตบรรจุภัณฑและผูแปรรูปวัตถุดิบ จาย 11%
- ผูผลิตสินคาและผูบรรจุสินคาขาย จาย 36%
- ผูใชคนสุดทายหรือผูบริโภค จาย 47%
- ผูนําเขา จาย 100%
หมายเหตุ: มีขอยกเวนสําหรับผูสงออกไมตองจายคาธรรมเนียม

2-39 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ปญหาอุปสรรคและขอจํากัด

(1) การบังคับใชกฎหมายในประเทศใหสอดคลองกับกฎหมายของสหภาพยุโรป
การบัญญัติกฎหมายหรือแกไขเพิ่มเติมกฎหมายของแตละประเทศ เพื่อใหสอดคลองกับกฎหมาย
ของสหภาพยุ โรปนั้ น การดําเนิ นงานดานกฎหมายมีความเปนไปไดและดําเนินการไปแลวหลาย
ประเทศ แตยังมีขอขัดแยงและเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวของอีกมากที่คงอยู ซึ่งนับวาเปนอุปสรรคและขอจํากัด
สําคัญ ที่ทําใหหลายประเทศไมสามารถดําเนินการใหบรรลุตามเปาหมายที่สหภาพยุโรปกําหนด
กลาวคือ การกําหนดใหประเทศสมาชิกแตละประเทศทบทวนแกไขกฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑใน
แตละประเทศใหสอดคลองกับกฎหมายของสหภาพยุโรปใหแลวเสร็จในป พ.ศ. 2543 เชน การกําหนด
นโยบายการสงเสริมระบบการใชซ้ําบรรจุภัณฑสําหรับผลิตภัณฑเครื่องดื่ม ทําใหมีผลกระทบตอการ
เคลื่อนไหวอยางอิสระของบรรจุภัณฑชนิดนี้ในตลาดของสหภาพยุโรป
(2) การบริหารจัดการมูลฝอยบรรจุภัณฑและบรรจุภัณฑที่ใชแลวโดยภาคเอกชน
ตามหลักการผูกอมลพิษเปนผูจาย รัฐจะโอนภาระหนาที่รับผิดชอบใหเอกชนที่เกี่ยวของรับ
ผิดชอบ กลาวคือ ใหเอกชนนํากลับคืนหรือนํากลับไปใชซ้ํา/แปรใชใหม ตามเปาหมายที่กําหนด โดยมี
อิสระที่จะเลือกดําเนินการเองหรือมอบใหบุคคลที่สามดําเนินการแทน การมอบอํานาจใหเอกชนมีหนาที่
รับผิดชอบจะทําใหรัฐลดภาระการกําจัดขยะบรรจุภัณฑ แตในหลายประเทศก็ตองเผชิญกับปญหาการ
แยงชิงกันระหวางเอกชนที่เกี่ยวของกับระบบการจัดเก็บ การแปรใชใหม หรือใชซ้ําบรรจุภัณฑที่ใชแลว
ดังนั้นรัฐจําเปนจะตองเขามาเกี่ยวของในการสรางความชัดเจน กําหนดเปาหมายอยางเหมาะสม
เดนชัด และใหมีการบริหารการจัดการที่โปรงใส โดยออกกฎขอบังคับและใชมาตรการจูงใจ รวมทั้ง
กํากับดูแลและติดตามผลการบังคับใชกฎหมายอยางตอเนื่องนับวาขั้นตอนการปฏิบัติที่สําคัญเปนหัวใจ
ในการดําเนินการใหประสบผลสําเร็จบรรลุเปาหมาย

2.4.4 ตัวอยางจัดการของเสียบรรจุภัณฑในแคนาดา
เพื่อเปนการลดปริมาณของเสียบรรจุภัณฑ (Packaging Wastes) ในขยะชุมชน/ขยะบานเรือน
ประเทศแคนาดาไดทําการสงเสริมโปรแกรมการลดขยะจากผูบริโภค (the post consumer wastes)
ดวยโปรแกรมที่เรียกกันวา “The Green Shopper Program” ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย The Environmentally
Sound Packaging (ESP) Coalition of Canada (1987-2003)
โปรแกรม The Green Shopper นี้จะนําเสนอขอมูลและกิจกรรมซึ่งสงเสริมการมีสวนรวมของ
ผูบริโภค (To promote active involvement of consumers) ในการชวยกันลดปริมาณขยะของแข็ง
(Solid Waste) ที่มาจากบรรจุภัณฑ
หนึ่งในมาตรการของ “The Green Shopper Program” คือ “The 3R’s Packaging Hierarchy”
โดยมีเปาหมายเพื่อลดบรรจุภัณฑที่ไมจําเปน (To reduce unnecessary packaging) ดวยการใช
บรรจุภัณฑรวมหอใหญแลวแบงใช ตัวอยางเชน Economy Pack, Family Pack เปนตน

2-40 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

REDUCE: The First R ⇒ Minimal Packaging


เปนมาตรการที่สําคัญสุดของ 3R’s กลาวคือ ลดตั้งแตขั้นตอนการผลิต โดยพยายามออกแบบ
บรรจุภัณฑใหมีจํานวนชั้นนอยที่สุด ใชวัสดุนอยชนิดที่สุด และที่สําคัญมีพิษและสงผลกระทบตอสิ่งแวด
ลอมนอยที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปมาตรการ The First R นี้ทําไดโดย
- Using less packaging ซึ่งอาจรวมถึง การใชซ้ํา (Reuse) และใชบรรจุภัณฑที่ผลิตจากวัสดุ
รีไซเคิล (Recycle)
- Minimize the number of materials used โดยออกแบบบรรจุภณ ั ฑใหมีองคประกอบของ
วัสดุนอยชนิดที่สุด เพื่อใหงายตอการนํากลับไปแปรรูปใชใหม (Easy to Recycle)
- Minimize the weight and volume of materials used โดยออกแบบบรรจุภัณฑใหมี
ลักษณะโปรง เพื่อลดเนื้อวัสดุที่ใชผลิตบรรจุภัณฑ เปนการลดปริมาณขยะบรรจุภัณฑ
- Employing bulk delivery system ดวยการใชบรรจุภัณฑรวมหอใหญแลวแบงใช ตัวอยาง
เชน Economy Pack, Family Pack เปนตน
- Product concentration โดยพยายามบรรจุผลิตภัณฑในบรรจุภัณฑใหแนนที่สุดเทาที่จะทํา
ได หรือออกแบบผลิตภัณฑความเขมขนสูง เชน ผงซักฟอกชนิดเขมขน ทั้งนี้เพื่อลดขนาด
บรรจุภัณฑ
- Using fewer toxic chemicals in the product and its packaging ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบ
ตอสิ่งแวดลอม
- Utilize modes of shipping requiring less packaging, and use repairable pallets by
manufacturers เลือกใชวิธีการขนสงสินคาที่มีการใชบรรจุภัณฑ (เพื่อปกปองสินคา) นอย
ที่สุด และใชพาเล็ทชนิดซอมได

REUSE: The Second R ⇒ Reusable Packaging


เปนมาตรการที่มีความสําคัญเปนอันดับสองรองจากการลดปริมาณการใช (Reducing Using)
โดยพยายามออกแบบบรรจุภัณฑใหสามารถใชซ้ําได (Reusable) ชนิดเติมได (Refillable) ชนิดแลกคืน
ได (Returnable) และมีอายุใชงานไดยาวนาน (Durable) ซึ่งโดยทั่วไปมาตรการ The Second R นี้ทํา
ไดโดย
- Reusing/Refilling โดยการเลือกซื้อสินคาชนิดเติม (Refilled Products)
- Refilling by the consumer through dispensing system at retail outlet โดยจัดใหมี
ระบบการ นําภาชนะไปบรรจุสินคาที่รานคาดวยตนเอง
- Reusing containers เปนการใชภาชนะบรรจุซ้ํา แตกรณีนี้จะตองมีมาตรฐานควบคุมดาน
สุขอนามัยที่ดีพอ
- Refilling via a second package โดยเลือกซื้อสินคาที่บรรจุในภาชนะขนาดใหญ แลวนํามา
แบงใช ตามขนาดความตองการ
2-41 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

- Reusing in the home โดยการออกแบบบรรจุภัณฑใหสามารถนําไปใชประโยชนอื่นแทนได


เชน ออกแบบขวดแยมเปนแกวน้ํา เมื่อแยมหมดก็สามารถนํามาใชเปนแกวน้ําตอได เปนตน

RECYCLE: The Third R ⇒ Recycle Packaging


เปนมาตรการที่มีความสําคัญเปนอันดับสามรองจากการใชซ้ํา (Reuse) โดยออกแบบบรรจุภัณฑ
ใหสามารถรีไซเคิลได หรือประกอบดวยชิ้นสวนรีไซเคิลไดมากชิ้นสวนที่สุด โดยรูปแบบของการรีไซเคิล
อาจจําแนกได 3 ประเภท ดังนี้
- Recycling over and over back into its original packaging type อาจเรียก ‘Primary
Recycling’ หรือ ‘Closed Loop Recycling’ เปนการรีไซเคิลวัสดุเพื่อนํากลับไปผลิต
บรรจุภัณฑชนิดเดิม
- Recycling back into another recyclable, useful package / marketable product อาจ
เรียก ‘Secondary Recycling’ เปนการรีไซเคิลวัสดุเพื่อนํากลับไปผลิตผลิตภัณฑชนิดอื่น แต
ยังคงเปนผลิตภัณฑที่รีไซเคิลได
- Recycling back into another non-recyclable product อาจเรียก ‘Tertiary Recycling’
เปนการรีไซเคิลวัสดุเพื่อนํากลับไปผลิตผลิตภัณฑชนิดอื่น ที่ใชงานถาวร ไมนิยมนําไป
รีไซเคิล เชน นําไปผลิตเปนพรมปูพื้น/พรมสังเคราะห เกาอี้สนาม ของตั้งโชว เปนตน

นอกจากการรณรงคมาตรการ 3R’s ดังกลาวแลว “The Green Shopper Program” ยังมีการ


รณรงคใหประชาชนรูจัก Industry Code for Recycling Plastic สําหรับพลาสติก 7 ชนิด ดวยหมายเลข
1 – 7 ภายในวงลอมของลูกศรรีไซเคิล ซึ่งไดแก PET, HDPE, PVC, LDPE, PP, PS, และ Others
ตามลําดับ ดังภาพที่ 2-1

2-42 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

สําหรับพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต
(Polyethylene Terephthalate)
สําหรับพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนความหนาแนนสูง
(High Density Polyethylene)
สําหรับพลาสติกชนิดโพลิไวนิลคลอไรด
(Polyvinyl Chloride)
สําหรับพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนความหนาแนนต่ํา
(Low Density Polyethylene)
สําหรับพลาสติกชนิดโพลิโพรพิลีน
(Polypropylene)
สําหรับพลาสติกชนิดโพลิสไตรีน
(Polystyrene)
สําหรับพลาสติกอื่น ๆ
* หมายถึง อาจระบุชนิดของพลาสติกที่ใชทํา
ภาพที่ 2-1 Industry Code for Recycling Plastic

2.4.5 ตัวอยางจัดการของเสียบรรจุภัณฑในเอเซีย7
ป จ จุ บั น หลายประเทศในเอเซี ย เริ่ ม ให ค วามสํ า คั ญ กั บ หลั ก การ Extended Producer
Responsibility (ERP) ซึ่งเริ่มใชเปนครั้งแรกในสวีเดนเมื่อป พ.ศ.2522 โดยในป พ.ศ.2522 สวีเดนออก
กฎหมายบังคับใหมีการรีไซเคิลกระปองอะลูมิเนียม หลังจากนั้นหลายประเทศก็เริ่มนํานโยบายหรือ
หลักการดังกลาวมาเริ่มใชในประเทศตน ตัวอยางเชน

ประเทศญี่ปุน
ประเทศญี่ปุนซึ่งมีประชากรกวา 126 ลานคน มีของเสียชุมชนปละ 50 ลานตัน ขณะที่มีพื้นที่
สําหรับฝงกลบจํากัด ประกอบกับเปนประเทศที่มีการบริโภคแรโลหะมากขณะที่ไมมีวัตถุดิบ ญี่ปุนจึง
จําเปนตองมีมาตรการใชทรัพยากรอยางคุมคาที่สุด จึงไดนําหลักการ ERP มาใชในการจัดการของเสีย
จากบรรจุภัณฑ (Containers and Packaging) และของใชในครัวเรือน โดยในขั้นตนใชมาตรการ
สมัครใจ โดยประชาชนจะนําบรรจุภัณฑที่รีไซเคิลไดไปขายใหกับ Recyclers ดวยราคาที่เหมาะสม
(Resonable Fee) แตชวงตนทศวรรษ 1990s ปรากฏวาราคารับซื้อคืนของเสียบรรจุภัณฑเริ่มลดต่ําลง
บางครั้งตองจายเงินให Recyclers รับไปรีไซเคิล ประชาชนจึงเรียกรองใหรัฐเขามาชวยจัดการ รัฐบาล
ญี่ปุนจึงเริ่มนํา Madatory ERP Policy มาใชอยางจริงจัง โดยมีการประกาศใช ‘Law for the Promotion
of Sorted Collection and Recycling of Containers and Packaging’ ตั้งแต พ.ศ. 2538 แตเริ่มมีผล

7
Kelly Lease; Asian Countries Jump on The ERP Bandwagon, Facts to Act on Release # 41, January 25, 2002.
2-43 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

บังคับใชในป พ.ศ. 2540 โดยมุงหวังใหราคารับซื้อคืนของเสียบรรจุภัณฑกลับสูงขึ้น สงผลใหปริมาณรับ


ซื้อคืนบรรจุภัณฑสูงขึ้น 27% จาก 1.25 ลานตันในป พ.ศ. 2540 เปน 1.59 ลานตันในป พ.ศ. 2543
ตอมาในป พ.ศ. 2540-2541 The Industrial Structure Council of the Ministry of International
Trade and Industry (MITI), The Living Environment Council of the Ministry of Health and
Welfare (MHW), และ The Living Environment Agency ไดรวมกันราง The Specified Household
Appliances Recycling (SHAR) Law โดยมีผูแทนจากผูผลิต (Manufactures) ผูคาปลีก (Retailers) ตัว
แทนซื้อขายขยะ (Waste Dealers) องคกรบริหารทองถิ่น (Local Governments) และกลุมผูบริโภค เขา
มามีสวนรวมในกระบวนการรางกฎหมายดังกลาว โดยที่ SHAR Law ไดผานสภาเมื่อเดือนพฤษภาคม
พ.ศ. 2541 และมีผลบังคับใชในป พ.ศ. 2544

ประเทศเกาหลี
ประเทศเกาหลีซึ่งเคยใชบรรจุภัณฑแบบเติม ไดหันมาใชบรรจุภัณฑใชแลวทิ้งตั้งแตป พ.ศ. 2532
เปนตนมา สงผลใหปริมาณขยะตอประชากรสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแลวอื่นๆ ขณะที่เกาหลี
เปนประเทศที่มีพื้นที่จํากัด จึงเริ่มประกาศใช ‘The Act Relating to the Promotion of Resource
Saving and Reutilization’ ตั้งแต 8 ตุลาคม พ.ศ. 2535 และมีการแกไขเพิ่มเติมเมื่อใชเพื่อพัฒนา
Sustainable Waste Management System ดวยการใชหลายมาตรการ เชน Deposit-Refund System,
Non-Refundable Product Fees, Restrictions on the Distribution of Disposable Goods, Design
Requirements for Packaging, และ Eco-labeling เปนตน แตปรากฏวาระบบ Deposit-Refund ใชไม
ไดผลเนื่องจากราคาคามัดจําต่ํากวาราคารีไซเคิล รัฐบาลเกาหลีจึงมีแผนจะปรับราคาคามัดจํา เร็ว ๆ นี้

ประเทศไตหวัน
ไตหวันไดนําหลักการ ERP มาใชกับการจัดการทั้งบรรจุภัณฑ แบตเตอรี่ ยานยนต และ end-of-
life consumer electronics โดยนําหลายมาตรการมาใช เชน Deposit-Refund System, Mandatory
Product Take-Backs และ Compulsory Environmental Labeling ปรากฏวาประสบความสําเร็จกับ
มาตรการ Deposit-Refund System เปนอยางมาก สามารถรับซื้อคืนขวด PET ไดสูงถึง 80% ภายใน
3 ป

2.4.6 แนวทางการรีไซเคิลวัสดุ
การรีไซเคิลวัสดุหรือการนําวัสดุเกาซึ่งใชประโยชนไมไดแลว กลับมาผลิตเปนผลิตภัณฑใชใหม
(Material Recycling) ไดรับการยอมรับมากขึ้นในปจจุบัน เนื่องจากชวยแกไขปญหามลพิษใน
สิ่งแวดลอมไดเปนอยางดี ทําใหปริมาณขยะและสิ่งที่ยอยสลายยากลดลงไปมาก และไดวัตถุดิบที่มีราคา
ต่ํากวาวัตถุดิบใหม (Virgin Materials)

2-44 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

คําวา ‘Material Recycling’ ยังไมมีศัพทบัญญัติในภาษาไทยอยางเปนทางการ เคยเห็นที่ใชกันก็


มี “การใชวัสดุหมุนเวียน” “การใชซ้ําวัสดุ” เปนตน ในที่นี้ขอทับศัพทวา “การรีไซเคิล” เพราะเห็นวาใช
กันจนติดปากในการพูดทั่วไปแลว

ƒ แนวทางการรีไซเคิลวัสดุประเภทตางๆ
การรีไซเคิลกระดาษ
ปญหาใหญของขยะประเภทหนึ่ง คือ ผลิตภัณฑกระดาษที่ผลิตออกมาเปนจํานวนมากและใน
จํานวนที่ผลิตออกมาอยางมหาศาลนี้ มีเพียงประมาณ 32% (,2544) ที่ไดมีการนําไป รีไซเคิลหรือทํา
ผลิตภัณฑใหมอีกครั้ง จํานวนที่เหลือจึงกลายเปนขยะอยูในแหลงทิ้งขยะ
ในปหนึ่ง ๆ ผลิตภัณฑกระดาษจํานวนนับลานๆ ในรูปของใบปลิวโฆษณาทางไปรษณีย คูปอง
ใบขอบริจาค แคตตาล็อกตาง ๆ และหนาโฆษณาในหนาหนังสือพิมพ จะมีเพียงประมาณนับพันแผน
เทานั้นที่ไดผานการอาน ที่เหลือนอกจากนั้นไดกลายเปนขยะในถังขยะโดยไมผานการอานเลย จึงเปน
การใชทรัพยากรที่สิ้นเปลืองที่สุด
กระดาษทุกชนิดที่เราใชทุกวันนี้ สวนใหญผลิตจากเนื้อเยื่อของตนไม และมีกระดาษหลายชนิด
ที่เมื่อใชแลวสามารถนํามาผลิตใชไดอีก เชน กระดาษหนังสือพิมพ กระดาษบันทึก กระดาษสําเนา
กระดาษคอมพิวเตอร บัตรรายการ และซองจดหมายสีขาว สําหรับกระดาษที่ไมสามารถนํากลับมาผลิต
ใหม เชน กระดาษที่ติดกาวหรืออาบมันเนื่องจากความรอนจะทําใหสารเคลือบกระดาษละลายแลวไป
อุดตันเครื่องจักรทําใหเกิดความเสียหายได
การรีไซเคิลกระดาษ เริ่มตนดวยกระบวนการใชน้ําและสารเคมีกําจัดหมึกที่ปนเปอนออกไปทําให
กระดาษเหลานั้นกลายเปนเนื้อเยื่อ จากนั้นจึงทําความสะอาดเนื้อเยื่อ เพื่อนําเขาสู กระบวนการผลิต
เสนใยที่สามารถนําไปผลิตเปนกระดาษตอไป
กระดาษที่ใชแลวเมื่อนํามาผลิตขึ้นใหมมีกระบวนการที่คอนขางซับซอน โดยเฉพาะจะตองกําจัด
สีที่ปนเปอนออกใหหมด เพราะการเจือปนแมเพียงเล็กนอยก็อาจทําใหกระดาษที่ผลิตใหม ใชประโยชน
ไมได ไฟเบอรในเนื้อกระดาษจะลดนอยลงทุกขั้นตอนของกระบวนการรีไซเคิล กระดาษที่ผลิตขึ้นใหมจึง
มีคุณภาพดอยลง จึงมีเพียงรอยละ 3% ของกระดาษหนังสือพิมพเทานั้นที่สามารถนําไปผลิตเปน
สิ่งพิมพไดใหม กระดาษรีไซเคิลสวนใหญจึงเหมาะสําหรับทําเปนกลองบรรจุสินคาทําเปนฝาเพดานหรือ
ฉนวนกันความรอน
การรีไซเคิลพลาสติก
ปจจุบันพลาสติกไดกลายเปนผลิตภัณฑสําคัญอยางหนึ่ง ที่เขามามีบทบาทในชีวิตประจําวัน และ
มีแนวโนมที่จะเพิ่มมากขึ้น และนํามาแทนทรัพยากรธรรมชาติไดหลายอยาง เชน ไม เหล็ก เนื่องจาก
พลาสติกมีราคาถูก มีน้ําหนักเบา และมีขอบขายการใชงานไดกวาง ประกอบกับเราสามารถผลิต
พลาสติกใหมีคุณสมบัติตางๆตามที่ตองการได โดยการเลือกใชวัตถุดิบ ปฏิกิริยาเคมี กระบวนการผลิต
และกระบวนการขึ้นรูปทรงตางๆ ไดอยางมากมาย นอกจากนี้ยังสามารถปรุงแตงคุณสมบัติไดงาย ดวย
การเติมสารเติมแตง (Additives) เชน สารเสริมสภาพพลาสติก (Plasticizer) สารปรับปรุงคุณภาพ

2-45 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(Modifier) สารเสริม (Filler) สารคงสภาพ (Stabilizer) สารยับยั้งปฏิกิริยา (Inhibitor) สารหลอลื่น


(Lubricant) และผงสี (Pigment) เปนตน ขณะเดียวกันพลาสติกมีสมบัติพิเศษ คือ ไมสลายตัว คงอยูใน
สภาพแวดลอมเปนเวลายาวนาน จึงเปนภาระในการจัดการขยะอยางมากในปจจุบัน
พลาสติกโดยทั่วไปแบงออกเปน 2 กลุมใหญ ๆ คือ
เทอรโมพลาสติก (Thermoplastics) เปนพลาสติกที่ออนตัวเมื่อถูกความรอน และแข็งตัวเมื่อเย็น
ลง พลาสติกประเภทนี้สามารถนํามาหลอมและขึ้นรูปใหมได กลาวคือ ‘รีไซเคิลได’ จึงนิยมใชผลิต
บรรจุภัณฑ ตัวอยางของพลาสติกประเภทนี้ ไดแก โพลีเอทธิลีน (PE) โพลีโพรพิลีน (PP) โพลีสไตรลีน
(PS) โพลีไวนิลคลอไรด (PVC) โพลีเอสเตอร (PET) เปนตน
เทอรโมเซตติ้ง (Thermosetting) เปนพลาสติกที่เกิดปฏิกิริยาเคมีเมื่อนําไปขึ้นรูป พลาสติก
ประเภทนี้ไมสามารถนําไปหลอมเพื่อนํามาใชใหม กลาวคือ ‘รีไซเคิลไมได’ ตัวอยางของพลาสติก
ประเภทนี้ ไดแก โพลียูเรเทน (PUR) อีพอกซี่ (Epoxy) ฟโนลิค (Phenolic) เมลามีน (Melamine)
เปนตน

4) ลดการทําลายทรัพยากรธรรมชาติ
การนําวัสดุเหลือใชและบรรจุภัณฑนํากลับมารียูสและรีไซเคิล ไมวาจะเปนวัสดุประเภทกระดาษ
แกว เหล็ก อลูมิเนียม พลาสติก ไม เชื้อเพลิง และโลหะตางๆ ก็ตามจะชวยลดการทําลาย
ทรัพยากรธรรมชาติลงไดมาก กลาวคือ
- ลดการตัดไมเพื่อนํามาทํากระดาษ ไดแก ไมสน ยูคาลิปตัส ไผ และไมเนื้อออนชนิดอื่นๆ ทั้ง
เปนการลดการตัดไมในประเทศและยังชวยลดการตัดไมในตางประเทศอีกดวย
- ลดการตัดไมเพื่อนํามาทําเชื้อเพลิง เนื่องจากมีการนําเอาวัสดุเกษตรมาปรับปรุงและดัดแปลง
ใหเปนเชื้อเพลิงแข็งและเชื้อเพลิงเขียว ถายิ่งมีการพัฒนาใหแพรหลายจะชวยลดการตัดไม
ทําลายปา โดยเฉพาะอยางยิ่งไมขนาดเล็กลงไปไดมาก
- ลดการดูดทรายธรรมชาติขึ้นมาใช เนื่องจากทรายที่นํามาทําแกวเปนทรายที่มีขนาดของเมล็ด
เล็ก มีสีขาว ซึ่งเมื่ออยูในธรรมชาติจะมีความสวยงาม
- นอกจากจะทําให ความงดงามตามธรรมชาติลดลงแลว ยังจะชวยใหทรัพยากรสําคัญของ
ประเทศถูกใชใหหมดไปในเวลาอันรวดเร็วอีกดวย
- กรณีที่ขวดน้ําอัดลมในประเทศใชรียูสถึง 40 ครั้งตอหนึ่งขวด เปนตัวอยางที่ดีในการลดปญหา
การทําลายทรัพยากรธรรมชาติ
- ลดการขุดแรธาตุตางๆ ไดแก เหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง และโลหะอื่นๆ ตลอดจนกระทั่ง
ปริมาณน้ํามันตามธรรมชาติเพราะถานําเศษวัสดุมาหลอมใชใหมก็จะชวยลด ปริมาณแรธาตุ
ใหมที่ขุดขึ้นมาใชเพิ่มในแตละปอีกดวย

2-46 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

5) การลดตนทุนในกระบวนการผลิตสินคารีไซเคิล
สินคารีไซเคิลสวนใหญตนทุนวัตถุดิบจะต่ํากวาสินคาที่ผลิตจากวัสดุใหม ทั้งนี้เนื่องจากมีการซื้อ
วัสดุเกาในราคาที่คอนขางต่ํา เนื่องจากเปนเศษวัสดุและผูผลิตมักจะเปนผูกําหนดราคาเองได นอกจาก
นั้นในกระบวนการผลิตที่ตองใชเชื้อเพลิงในการหลอม ไดแก การหลอมแกว เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง
โลหะอื่นๆ และพลาสติก วัสดุเหลือใชเหลานี้จะมีอุณหภูมิจุดหลอมเหลวต่ํากวาวัสดุใหม จากการสอบ
ถามผูผลิตพบวาการ ใชวัสดุเกาจะชวยลดคาเชื้อเพลิงในการหลอมไดประมาณรอยละ 15 ของ มูลคา
เชื้อเพลิงที่ใชหลอมวัสดุใหม
นอกจากนี้ ในการผลิ ต โดยใชเศษวัสดุผูผลิ ตสินคารี ไ ซเคิลยั งสามารถควบคุมตนทุนการผลิต
ไดดีกวาการผลิตโดยใชวัสดุใหม เพราะวัสดุใหมตองสั่งซื้อจากตางประเทศเปนสวนใหญ
อย า งไรก็ ต ามการใช เ ศษวั ส ดุ ที่ เ ก็ บ รวบรวมในประเทศหรื อ เศษวั ส ดุ นําเข า จากต า งประเทศ
ซึ่งสามารถควบคุมราคาได ทําใหผูผลิตสามารถกําหนดกําไรและรายรับของโรงงานไดคอนขางแนนอน
รวมทั้งมีความสามารถในการวางแผนการจําหนายโดยกําหนดราคาขายไวลวงหนาไดอีกดวย

6) ลดปริมาณขยะและปญหาการหาที่ดินฝงกลบขยะ
การนําวัสดุเหลือใชและบรรจุภัณฑกลับมารียูสและรีไซเคิล จะทําใหขยะสวนที่เหลือ (สวนใหญ
เปนขยะเปยก) มีปริมาณนอยลง ทําใหปริมาณขยะที่นําไปฝงกลบมีปริมาณนอยลง ชวยลดปญหาการ
จัดหาที่ดินฝงกลบขยะ ซึ่งนับวันจะหาสถานที่ไดยากมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ขยะเปยกที่มีการปนเปอน
จากเศษวัสดุอื่นๆนอย ยังสามารถนําไปทําเปนปุยหมักไดอีกดวย
จากการประมาณการลดคาใชจายจากที่ดินฝงกลบในจังหวัดตางๆจํานวน 76 จังหวัด ซึ่งจังหวัด
หนึ่งตองใชที่ดินเฉลี่ยจังหวัดละประมาณ 200 ไรในการฝงกลบระยะเวลา 10 ป ถาราคาที่ดินโดยเฉลี่ย
ไรละ 3 หมื่นบาท คิดเปนราคาที่ดินเฉลี่ยจังหวัดละ 6 ลานบาท คาใชจายในการปรับปรุงที่ดิน การขุด
การปองกันการไหลซึมของน้ําเฉลี่ยแหงละ 4 ลานบาท และใน กทม. ตองทําที่ฝงกลบถึง 5 แหงรวมทั้ง
สิ้น 80 แหง แตละแหงตองเสียคาใชจายในการซื้อและพัฒนาที่ดิน 10 ลานบาท ตองมีเจาหนาที่ในการ
ควบคุมดูแลและจัดการแหงละ 10 คน คาใชจายเฉลี่ย 2 ลานบาทตอป ดังนั้นรัฐบาลจะตองสูญเสียเงิน
ถึง 960 ลานบาท และยังถูกตอตานจากราษฎรในการนําขยะไปฝงกลบอีกดวย

7) ลดปญหาสิ่งแวดลอม
ปญหาขยะเปนปญหาที่สําคัญอยางยิ่งสําหรับชุมชนเมือง เนื่องจากเปนสิ่งที่ทําใหเกิดปญหา
สิ่งแวดลอมหลายดานติดตามมา ไดแก ปญหาการสงกลิ่นเหม็นรบกวน ปญหาการทําใหเกิดปญหา
น้ําเสีย ปญหาดานความสกปรกและความไมนาดู เปนตน เมื่อมีแผนกการนําวัสดุเหลือใช และ
บรรจุภัณฑตาง ๆ มาใชใหมากขึ้น จะชวยใหปริมาณขยะลดนอยลง ขณะเดียวกันก็เปนการลดปญหา
สิ่งแวดลอมลงไปดวย

2-47 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

2.5 สรุปสภาพปญหาและการจัดการขยะบรรจุภัณฑ

ประเทศไทยยังไมมีรูปแบบการจัดการขยะบรรจุภัณฑที่เปนระบบและมีประสิทธิภาพ ขาดการให
ความรูและรณรงคอยางตอเนื่อง ประชาชนสวนใหญยังขาดจิตสํานึก และ/หรือ ความเขาใจ ระบบการ
รวบรวมและจัดเก็บขยะไมเอื้ออํานวยตอการแยกทิ้งขยะ ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยังไมมี
องคกรรับผิดชอบดําเนินการเชิงธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งนี้เนื่องจากยังไมมีกฎหมายกําหนดใหแยกทิ้ง
ขยะตามประเภท รวมทั้งไมมีกฎหมายกําหนดหนาที่รับผิดชอบอยางชัดเจน ตลอดจนไมมีระบบจูงใจ
จึงมีการคัดแยกเฉพาะขยะที่มีมูลคาและสามารถนําไปขายไดราคา ไมไดคัดแยกเพื่อวัตถุประสงคลด
ปริมาณขยะหรือลดปญหาสิ่งแวดลอม และดําเนินการโดยไมมีกฎหมายควบคุม จึงปลอยใหขยะอื่นๆ ที่
ไมมีมูลคาถูกทิ้งกลาดเกลื่อนทั่วไป สรางปญหาดานสิ่งแวดลอมและสุขภาพชุมชนในที่สุด
นอกจากนี้การเลือกใช การออกแบบ และการผลิตบรรจุภัณฑ สวนใหญคนํา ึงถึงความตองการ
ของลู ก ค า เป น หลั ก ยั ง ไม ไ ด นําแนวคิ ด การนํากลั บ มาใช ป ระโยชน ใ หม ตลอดจนหลั ก การของ
Eco Design หรือ Design for Environment มาพิจารณารวมอยางเหมาะสม
ปญหาขยะบรรจุภัณฑมิไดเกิดจากผูบริโภคผลิตภัณฑนั้นเพียงฝายเดียว แตยงั รวมไปถึงทุกฝาย
ตั้งแต ผูผลิตบรรจุภัณฑรวมไปถึงผูผลิตสินคาที่ใสบรรจุภัณฑดวย อาจแยกขั้นตอนตาง ๆ ออกเปน

ก) การออกแบบ
ปจจุบันการออกแบบบรรจุภัณฑยังมิไดมีการคํานึงถึงการนํากลับมาใชใหม การแปรใชใหมหรือ
การกําจัดบรรจุภัณฑที่ใชแลวเทาที่ควร โดยปญหาหลักคือ ผูออกแบบบรรจุภัณฑนั้นยังคงตองคํานึงถึง
ความตองการของผูบริโภคหรือผูวาจางที่เปนผูผลิตสินคาที่ใสในบรรจุภัณฑเปนหลัก โดยมีการคํานึงถึง
1. ความสวยงาม การออกแบบบรรจุภัณฑในกรณีที่สินคาเพื่อใชประดับหรือตกแตง
2. ในกรณีเปนสินคาเปนเครื่องเฟอรนิเจอร การออกแบบบรรจุภัณฑตองคํานึงถึงการใชวัสดุเพื่อ
ปองกันการกระแทก เชน ถุง HDPE แผนกระดาษคราฟท แผน EPEหรือ EPE Bubble หรือ
ฟลม เปนตน ในกรณีที่สินคานั้นตองทําการสงออก ตองมีการใชบรรจุภัณฑเสริม เชน กลอง
กระดาษลูกฟูก กระบะไม
3. บางครั้งสินคามีชนิดเหมือนกันแตตองออกแบบเพื่อใหใชวัสดุตางกันเพื่อใหไดรับความนิยม
มากขึ้นอันสงผลตอยอดจําหนายของสินคา
4. สินคาประเภทอาหารแปรรูปและอาหารกระปองจะใชบรรจุภัณฑที่เนนการรักษาคุณภาพและ
ความสะดวกในการเปดบริโภค การทนแรงอัดแกสที่อาจเกิดขึ้น เนื้อวัสดุบรรจุภัณฑในบางชนิด
ไมเปนที่ยอมรับในประเทศผูบริโภคโดยการใชวัสดุในการผลิตที่ยากตอการกําจัด เชนในกรณี
ของการใชฟลมหดรัดรูป PO กลองกระดาษการดขาวเคลือบไขหรือฟลมPP หรือโดยที่แผนปด
ดานบนอาจเปน Aluminium Foil หรือ PE

2-48 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

อีกทั้งในการออกแบบบรรจุภัณฑแตละครั้งตองคํานึงถึงกฎหมายและมาตรฐานไทยที่เกี่ยวของ
กับบรรจุภัณฑ เชน พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2496 ประกาศกระทรวงพาณิชย ฉบับที่ 13
พ.ศ. 2539 กําหนดใหสินคาบางประเภทตองบรรจุตามปริมาณที่กําหนดใหเปนมาตรฐาน เพื่อใหผู
บริโภคสามารถเปรียบซื้อไดงาย เชน เครื่องดื่ม อาหารปรุงแตง ตัวอยางเชน น้ําสมสายชู ใหมีปริมาณ
บรรจุเปน 100, 200, 300, 530, 700, 750 มล. หรือ ซีซี ถาบรรจุต่ํากวา 100 มล. หรือสูงกวา 750 มล.
สามารถบรรจุไดโดยไมบังคับ จะเห็นไดวากฎหมายดังกลาวไมมีการกําหนดปริมาณขั้นต่ําที่แนนอนอัน
เปนสาเหตุของการสิ้นเปลืองบรรจุภัณฑอีกประการหนึ่ง

ข) การผลิต
การผลิตบรรจุภัณฑเปนขั้นตอนที่สืบเนื่องมาจากการออกแบบ โดยเฉพาะโลกในปจจุบันที่เปน
โลกของระบบการคาเสรีจึงทําใหการแขงขันทางการคาสูง สงผลใหผูผลิตจําตองมีการพัฒนารูปแบบ
การผลิตและการนําเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยมาใชมากขึ้นเพื่อใหสอดคลองตอความตองการของ
ผูบริโภค โดยที่การผลิตสมัยใหมนั้นจําเปนตองใชวัตถุดิบและเทคโนโลยีบางตัวที่ตองนําเขาจากตาง
ประเทศ เชน อุปกรณ เครื่องจักร และสารเคมีตางๆ ซึ่งสิ่งของเหลานี้หากไมมีความรูการจัดการที่มี
ประสิทธิภาพอยางเพียงพอ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑที่บรรจุสารเคมีที่ใชในกระบวนการผลิตสินคาทั้ง
หลาย ซึ่งกลายเปนขยะบรรจุภัณฑอันตรายหากมิไดมีการจัดการที่เหมาะสมถูกตองแลว ยอมเปน
อันตรายตอชีวิตมนุษยและสิ่งแวดลอม จากรายงานขอมูลการนําเขาสารเคมีเพื่อนํามาใชเปนวัตถุดิบใน
กระบวนการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมที่กรมศุลกากรไดจัดเก็บ ปรากฏวา ในแตละป
ประเทศไทยมีการนําเขาสารเคมีจากตางประเทศเปนจํานวนมากและมีแนวโนมสูงขึ้นเรื่อย ๆ
อีกประเด็นหนึ่งที่นาสนใจ คือ ในกรณีที่ผูประกอบการผลิตบรรจุภัณฑรายใดผลิตบรรจุภัณฑ
โดยคํานึงถึงการนํากลับมาใชใหมหรือการแปรใชใหมเปนหลัก จะทําใหตนทุนในการผลิตบรรจุภัณฑนั้น
สูงขึ้น เนื่องจากตองใชเทคโนโลยีที่สูงขึ้นตามไปดวย สงผลใหผูประกอบการไมมีแรงจูงใจในการผลิต
บรรจุภัณฑที่รักษาสภาพแวดลอม ประกอบกับประชาชนบางกลุมไมนิยมซื้อสินคาหรือผลิตภัณฑที่มา
จากการรีไซเคิลเพราะไมมีความมั่นใจในคุณภาพและความสะอาด ปญหาสวนใหญที่พบในกรณีของ
ผูผลิตและหรือผูประกอบการ สรุปไดดังนี้
1. ปจจุบั นยังไมมีกฎหมายรองรับ ให ผู ผลิ ต หรือผูจําหนายสินคาตองรับผิดชอบในการนําขยะ
บรรจุภัณฑของตนไปใชซ้ําหรือแปรใชใหม
2. ปจจุบันไมมีกฎหมายควบคุมการใชพลาสติก โฟม หรือวัสดุที่ยากตอการกําจัดในการผลิต
บรรจุภัณฑ
3. ผูนําสินคาเขาพยายามผลักภาระคาธรรมเนียมการจัดการบรรจุภัณฑที่ใชแลวแกผูสงออก
เพราะถือเปนภาระของผูสงออกที่ไมสามารถนําบรรจุภัณฑที่ใชแลวกลับไปประเทศของตนได
4. ผูสงออกของไทยเขาใจในเรื่องการเก็บคาธรรมเนียมจัดการบรรจุภัณฑใชแลวนอยมากเพราะ
ถือวาไมใชหนาที่ที่ตองจายโดยตรง จึงไมใหความสําคัญมากนัก

2-49 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

5. อัตราคาธรรมเนียมการจัดการบรรจุภัณฑใชแลวของแตละประเทศมีความแตกตางกัน ยอมมี
ผลตอการคิดตนทุนการสงออกและราคาขาย
ค) การคัดแยก
สาเหตุสวนใหญที่ทําใหไมมีการคัดแยกขยะบรรจุภัณฑหรือวัสดุเหลือใชกอนทิ้ง เนื่องมาจาก
ประชาชนไมทราบถึงความสําคัญของการคัดแยกขยะบรรจุภัณฑรวมไปถึงผลกระทบจากการทิ้งขยะ
ทั่วไปรวมกับขยะอันตราย เชน หลอดไฟฟลูออเรสเซนต กระปองสารเคมีตางๆ ที่ใชหมดแลว ขยะเหลา
นี้ไมสามารถทิ้งปะปนรวมกับขยะอื่นๆ เนื่องจากเปนขยะอันตราย มีผลกระทบตอมนุษยทั้งทางตรงและ
ทางออม กอปรกับหนวยงานจัดเก็บของทองถิ่นยังไมมีความเขาใจในวิธีการคัดแยกขยะเหลานี้ใหเปน
ขยะอันตรายที่ไมสามารถทิ้งรวมกันได หรือแมแตจัดการกอนรวบรวมไวขาย (พนักงานเก็บขยะจะมี
รายไดเสริมมาจากการคัดแยกขยะเพื่อนําไปขายตอใหบุคคลผูรับซื้อเปนรายไดเสริมอีกทางหนึ่ง) เชน
ขวดพลาสติกบรรจุนมสด น้ําอัดลม น้ํายาทําความสะอาดหรือกระปองบรรจุอาหาร เปนตน บรรจุ
ภัณฑเหลานี้ยังคงมีของเหลวที่คางอยูขางใน ทําใหเกิดความสกปรก เกิดกลิ่นเนาเสีย ทําใหคุณภาพ
ของบรรจุภัณฑที่ไมใชแลวลดลง สงผลทําใหเกิดเศษขยะตกหลนบริเวณถังขยะในกรณีมีการคุยขยะโดย
คนคุยขยะ ทําใหเกิดความสกปรก การแพรกระจายของเชื้อโรค รวมถึงปญหาดานกลิ่นและทัศนียภาพ
ของชุมชน ซึ่งเราสามารถกําหนดระเบียบและวิธีการในการจัดการคัดแยกขยะ บรรจุภัณฑและวัสดุ
เหลือใชเพื่อใหเปนแนวปฏิบัติ เชน การคัดแยกขยะบรรจุภัณฑเพื่อจําหนายตอแกผูที่ตองการ
จากการวิเคราะหในการใหประชาชนรวมมือกันคัดแยกขยะบรรจุภัณฑและวัสดุเหลือใชกอนทิ้ง
และสนับสนุนใหมีการนําขยะบรรจุภัณฑที่ไดคัดแยกนั้นไปจํานายตอใหกับผูประกอยอาชีพรับซื้อของ
เกา ผลที่คาดวาจะไดรับ คือ
ขอดี
1. ประชาชนหรือผูบริโภคไดรับความรูที่ถูกตองในการคัดแยกขยะและการเพิ่มมูลคาจากขยะ
มูลฝอย
2. กอใหเกิดการปรับเปลี่ยนการทิ้งขยะที่ถูกตอง มีการคัดแยกกอนทิ้งทําใหลดการปนเปอนของ
ขยะรีไซเคิล
3. การจัดการเก็บขยะของหนวยราชการมีความสะดวกขึ้น
4. ผูประกอบอาชีพเก็บและรับซื้อของเกาไดรับประโยชนจากการรับซื้อขยะบรรจุภัณฑที่ประชาชน
รวมกันคัดแยก โดยที่เปนการลดตนทุนในการรับซื้อเนื่องจากสามารถเขาพบกลุมเปาหมายได
โดยตรงและไดปริมาณขยะบรรจุภัณฑที่มากกวาการตระเวนซื้อดวยตนเอง
5. ทําใหเกิดระบบการคาของเกาแบบใหมขึ้นเนื่องจากการคัดแยกจากชุมชนไปเปนกลุมธุรกิจ
6. ลดคาใชจายในการกําจัดขยะ

2-50 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ผลกระทบทางลบ
1. ประชาชนไดรับความเดือดรอนเหตุรําคาญดานกลิ่น เนื่องจากการจัดตั้งถังขยะแยกประเภทใน
ชุมชน
2. กลุมซาเลงและคนคุยขยะอาจขาดรายไดเนื่องจากการที่ชุมชนที่เขารวมโครงการคัดแยกขยะ
3. พนักงานเก็บขยะ ไดรับผลกระทบ เนื่องจากพนักงานเหลานี้จะมีรายไดเสริมอันเนื่องมาจาก
การขายขยะที่ตนเองคัดแยกไดในแตละวันโดยจะนําไปขายแลวแบงอัตราสวนที่เทาๆ กัน
(หากมีการเพิ่มคาจางในการเก็บขยะของพนักงานเทศบาลโดยที่ไมตองไดหารายไดเสริมจาก
การคัดแยกขยะ แตจะประหยัดคาน้ํามันและแรงงาน)

ค) การเก็บรวบรวม ขนสง ปญหาปจจุบันที่เกิดขึ้นในการเก็บรวบรวมและขนสง คือ


1. การเก็บขยะใน กทม. ยังเปนการเก็บแบบใหบริการถึงบานกลาวคือ พนักงานเก็บขยะจะ
เขาไปทําการเก็บขยะจากบานแตละบานและนําไปยังรถขนสงขยะเพื่อทําการกําจัดตอไป
และหากบานใดอยูในตรอกซอกซอยที่แคบ พนักงานเก็บขยะก็ตองใชรถเข็นเขาไปเก็บขยะ
อีกทีหนึ่งกอนที่จะถายเทสูรถขนสงขยะ ซึ่งเปนการเสียเวลา แรงงานและงบประมาณ และ
หากแหลงสถานที่กําจัดขยะอยูหางไกลออกไป ก็จะทําใหประสิทธิภาพในการเก็บขยะต่ําลง
2. ปญหาที่เกิดจากภาชนะที่ใสขยะซึ่งสวนใหญแลวจะเปนเขง ทําใหมีน้ําเสียที่ไหลออกมาจาก
เขง เกิดความสกปรกและสงกลิ่นเหม็น เชนเดียวกับ น้ําเสียที่รั่วไหลออกจากรถขนสงอัน
เนื่องมาจากการอัดขยะในรถบรรทุก สงผลใหถนนสกปรกและสงกลิ่นเหม็น
3. ปญหาที่เกิดจากการพฤติกรรมการทิ้งขยะของชุมชน เชน ไมทิ้งลงถัง หรือไมแยกขยะที่
เปนอันตราย เชน การทิ้งเศษแกวรวมไปกับขยะประเภทอื่น
4. ปญหาที่เกิดจากการไมสามารถจัดสรรงบประมาณใหสอดคลองกับคาใชจายในการเก็บรวบ
รวมและขนสง

2-51 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

หากแกไขปญหาโดยการใหเอกชนเขามาจัดการตั้งแตการเก็บไปจนถึงการทําลายนั้น จากการ
วิเคราะหไดผลที่คาดวาจะไดรับคือ
ขอดี
1. เปนการลดภาระของเทศบาลในการจัดงบประมาณ กําลังคนและเครื่องมือในการเก็บ
และกําจัดขยะ ทําใหสามารถนําทรัพยากรเหลานี้ไปใชในดานอื่น ๆ ที่มีความจําเปน
2. ราคาตอหนวยในการกําจัดขยะสามารถลดลงได
3. สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการเก็บขนและปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นได
4. ทําใหลดตนทุนเนื่องจากเอกชนจะเปนผูนําเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยมาใชเพื่อลด
ตนทุนไดดีกวา

ผลกระทบ
1. ประชาชนตองเปนผูรับคาเก็บขนและกําจัดขยะโดยไมมีการอุดหนุนจากภาครัฐหรือหากไดรับ
การอุดหนุนก็คงเปนสวนนอย
2. ความเรียบรอยของการจัดขนขึ้นอยูกับการกํากับดูแลของภาครัฐ
3. อาจมีขอครหาเกี่ยวกับการประมูลที่ไมโปรงใส

จ) การกําจัด
ในปจจุบันการกําจัดขยะบรรจุภัณฑหรือขยะโดยทั่วไป ไดแก การเผา การหมักปุย และการฝง
กลบ ซึ่งยังคงมีปญหาในดานงบประมาณที่จะใชในการกําจัดบรรจุภัณฑที่ไมใชแลวดังกลาว
1. การฝงกลบดูเหมือนจะเปนวิธีที่เสียคาใชจายต่ําสุด จากการใชเทคโนโลยีที่ไมสูงมากนักและ
สามารถดําเนินงานโดยงายโดยบุคลากรทั่วไป แตทั้งนี้ตองคํานึงถึงราคาที่ดินกับที่ตั้งของสถาน
ที่กําจัดขยะ กรณีที่ชุมชนในพื้นที่ใกลเคียงตอตานเพราะเกิดปญหาดานกลิ่น
2. การเผาขยะในเตาอบตองนําเขาเทคโนโลยีจากตางประเทศที่มีราคาแพงมากและยังตองคํานึง
ถึงคาใชจายอื่น ๆ อีก เชน คาเชื้อเพลิง คาดําเนินการในการดําเนินใหเปนไปตามระบบ คาดู
แลซอมแซม อีกทั้งขยะที่เผาเรียบรอยแลวกลายเปนขี้เถาก็ตองทําการฝงกลบเชนกัน
3. การหมักปุยนั้น จําเปนตองมีการคัดแยกขยะ มีพื้นที่รองรับและตองมีตลาดสําหรับปุยที่ผลิตได

การกําจัดบรรจุภัณฑประเภทพลาสติกเปนปญหาอยางมาก เนื่องจากประสิทธิภาพในการ
คัดแยกต่ําความสกปรกของบรรจุภัณฑเหลานั้น โดยเฉพาะขยะบรรจุภัณฑจําพวกพลาสติกที่มีแหลงที่
มาจากตลาด เนื่องจาก บรรจุภัณฑมีรูปรางไมสมบูรณ รวมทั้งมีราคาซื้อขายต่ําทําใหไมมีผูสนใจที่จะ
เก็บไปขายหรือรับซื้อตอ อีกทั้งพลาสติกยังยอยสลายไดยากเมื่อทําการฝงกลบ นอกจากนี้ยังขัดขวาง
การเกลี่ยและบดขยะเมื่อใชเครื่องมือในการคลุกและบดอัดขยะ

2-52 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

การหาสถานที่ในการกําจัดรวมถึงพื้นที่ในสถานที่กําจัดขยะไมเพียงพอ ขาดแคลนเครื่องจักร
กลและยานพาหนะ ขาดแคลนบุ ค ลากร และป ญ หาที่ เ กิ ด จากการปนเป อ นของขยะติ ด เชื้ อ
(จากสถานพยาบาล)
แนวทางในการจัดการขยะบรรจุภัณฑอีกประการหนึ่งอาจทําไดโดยการกําหนดใหผูผลิตสินคา
หรือเจาของสินคามีมาตรการการเรียกคืนบรรจุภัณฑเพื่อเปนการนํากลับมาใชซ้ําหรือการแปรใชใหมซึ่ง
อาจเปนทางเลือกใด ดังตอไปนี้
1. การเรียกคืนบรรจุภัณฑเพื่อเปนการสะสมแตมเพื่อรับของรางวัลพิเศษ
2. การใหสวนลดเมื่อนําบรรจุภัณฑมาซื้อสินคาครั้งตอไป
3. นําบรรจุภัณฑกลับมาโดยมีแรงจูงใจตอผูบริโภคโดยการสงชิงโชคเพื่อของรางวัล
4. การสะสมบรรจุภัณฑใหครบตามจํานวนที่กําหนดเพื่อการแลกฟรีในผลิตภัณฑใหม

ขอดี
1. ผูผลิตสามารถวางแนวทางซึ่งมีผลตอแรงจูงใจของผูบริโภคโดยสอดคลองกับสภาวะทางการ
ตลาดและทางการเงินของบริษัทผูผลิตซึ่งทําใหยอดขายของผูผลิตเพิ่มขึ้น
2. ผูผลิตตระหนักในความรับผิดชอบของตนและเห็นคุณคาของการนําบรรจุภัณฑกลับมาใชซ้ํา
หรือผลิตใหมได
3. ผูบริโภคตระหนักและเห็นความสําคัญของบรรจุภัณฑที่ใชแลว ไมวาแรงจูงใจนั้นจะมาจากผล
ประโยชนที่จะไดรับจากการเก็บหรือคัดแยกบรรจุภัณฑที่ใชแลวจากผูผลิตสินคาหรือมาจากตน
เองก็ตาม
4. เปนการสรางภาพพจนในการรักษาสิ่งแวดลอมแกผูผลิต และอาจทําใหผูบริโภคเห็นความ
สําคัญของการรักษาสิ่งแวดลอม ซึ่งทําใหผูบริโภคที่ตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดลอมหันมาซื้อ
สิ้นคาของผูผลิตที่ใสใจดานสิ่งแวดลอมมากขึ้น
5. เกิดการประสานงานระหวางผูผลิตและองคกรหนวยงานตางๆ ซึ่งเปนการทําใหเกิดการขยาย
ตัวของตลาดและธุรกิจในดานรับซื้อขยะรีไซเคิล
6. เปนการลดภาระใหกับหนวยงานของรัฐอีกทางหนึ่ง

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
1. ผูผลิตตองทํางานเพิ่มมากขึ้น อันเปนผลที่สืบเนื่องมาจากการประชาสัมพันธในผลิตภัณฑของ
ตนเอง โดยหากเปนการเรียกคืนซึ่งการสงชิ้นสวนเพื่อชิงรางวัลนั้นผูผลิตตองทําการคัดแยกชิ้น
สวนที่เปนกระดาษและพลาสติกออกจากกันเพื่อนําสวนที่เปนพลาสติกมารีไซเคิล เปนการเพิ่ม
งานแกผูผลิตโดยปริยาย
2. ผู ผ ลิ ต บางรายไม มี เ จ า หน า ที่ ใ นการดําเนิ น การนําบรรจุ ภั ณ ฑ ท่ี ใ ช แ ล ว มารี ไ ซเคิ ล ดั ง นั้ น
บรรจุภัณฑดังกลาวจึงถูกกําจัดแทนการรีไซเคิล

2-53 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

3. คาใชจายของผูประกอบการอุตสาหกรรมสูงขึ้น ผลสืบเนื่องมาจากการโฆษณาประชาสัมพันธ
ในการคืนบรรจุภัณฑ อีกทั้งคาใชจายในการจัดเก็บรวบรวม คาใชจายที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุง
กระบวนการผลิตและบรรจุผลิตภัณฑลงในบรรจุภัณฑที่มาจากการใชซ้ําหรือการรีไซเคิล นอก
จากนี้ผูผลิตยังตองหาพนักงานในการดําเนินการในสวนนี้มากขึ้นดวย ซึ่งเปนการเพิ่มคาใชจาย
ใหแกผูผลิต
4. รายไดของพนักงานเก็บขยะ คนคุยขยะ ซาเลง รวมถึงรานรับซื้อของเกาลดลงหากมีการเรียก
คืนบรรจุภัณฑโดยผูผลิต

2-54 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
บทที่ 3
เครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตรและกฎหมาย
ในการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ

3.1 เครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตร

เครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตรเปนแนวทางหนึ่งที่ชวยสงเสริมผลักดันใหการจัดการ
ของเสียมีประสิทธิภาพมากขึ้น อยางไรก็ตาม ในการนํามาปรับใชควรพิจารณาถึงความเหมาะสมและ
ความเปนไปไดเพื่อใหการจัดการของเสียบรรจุภัณฑของประเทศเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุด
และกอผลกระทบตอผูเกี่ยวของนอยที่สุด ซึ่งผลสําเร็จที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นจําเปนตอง
อาศัยปจจัยหลายประการมาประกอบกัน ไมวาจะเปนปจจัยดานการมีสวนรวมของผูผลิตและผูบริโภค
การสนับสนุนดานภาษีและการเงินจากภาครัฐ การจูงใจและบทลงโทษทางกฎหมาย ระบบและเครื่องมือ
ทางวิทยาศาสตรเทคโนโลยีในการบริหารจัดการของเสีย เปนตน

แนวคิดของเครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตรหรือมาตรการระบบตลาด มีลักษณะเปน
กลไกที่จูงใจใหแหลงกําเนิดมลพิษทุกประเภทไมวาจะเปนผูประกอบกิจการ โรงงาน ชุมชน หรือสถาน
ประกอบการใดๆ ที่อยูในกระบวนการผลิต และการบริโภคใหมีการลงทุน หรือมีพฤติกรรมเปนไปในทิศ
ทางที่สอดคลองกับการอนุรักษสิ่งแวดลอม โดยอาศัยกลไกตลาดโดยใชราคาเปนเครื่องมือในการจัดการ
ของเสียที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็ใชเปนตัวสงเสริมธุรกิจ ในแงภาพพจนทางการคา ทั้งตอตัวองคกรผู
ผลิตและตัวผลิตภัณฑสินคา สําหรับแนวทางเศรษฐศาสตรที่นิยมนํามาใชในการจัดการของเสียมีดังนี้

1. การจัดเก็บภาษี หรือคาธรรมเนียม (Taxes/Charges/Fees)


1.1 การเก็บคาธรรมเนียมมลพิษ (Effluent Charge/Emission Charge)
เปนการเก็บคาธรรมเนียมจากกิจการ/โรงงานที่ปลอยของเสียหรือมลพิษออกสูสภาพ
แวดลอม ซึ่งการใชระบบคาธรรมเนียมลักษณะนี้ควรมีความผันแปรไปตามจํานวนและประเภทของเสีย
เนื่องจากระบบการจัดเก็บคาธรรมเนียมของเสียชุมชนในปจจุบันมิไดแยกระหวางของเสียจํานวนมาก
กับชนิดของของเสีย กลาวคือเปนการเก็บในลักษณะเทากันโดยตลอด (Flat Rate) ระบบดังกลาวนี้จึงมิ
ไดสรางความเปนธรรมและไมเอื้อใหเกิดแรงจูงใจในการลดปริมาณการผลิตของเสีย (minimize) และ
คัดแยกประเภทของเสีย (Separation)

3-1 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ดังนั้ น การปรั บ เปลี่ ยนรู ปแบบและวิธีการจัดเก็บ คาธรรมเนี ยมโดยพิจารณาถึงจํานวนและ


ประเภทของเสียที่กอขึ้นนาจะเปนระบบที่มีประสิทธิภาพมากกวาที่เปนอยูในปจจุบัน
1.2 การเก็บคาบําบัดมลพิษ (User Charge/User Fee)
เปนการเก็บคาธรรมเนียมจากการใหบริการแกกิจการ/โรงงานที่นําของเสียหรือมลพิษ
มาบําบัดหรือกําจัดโดยผานสงผานไปยังโรงกําจัดของเสียรวม ซึ่งลักษณะการจัดเก็บคาธรรมเนียมใน
ลักษณะนี้อาจจัดเก็บในอัตราคงที่ หรือพิจารณาจากปริมาณของเสียหรือมลพิษ
1.3 การเก็บภาษีผลิตภัณฑ (Product Charge)
เปนการเก็บภาษีจากตัวสินคาหรือผลิตภัณฑโดยตรง ซึ่งตามสภาพความเปนจริง
การเก็บภาษีดังกลาวนี้ควรพิจารณาถึงประเภทและปริมาณของของเสียหรือมลพิษที่เกิดขึ้นตั้งแตในขั้น
การผลิต หรือขั้นที่มีการบริโภคเกิดขึ้นแลวกอใหเกิดของเสียที่มีผลกระทบตอสิ่งแวดลอม แตดวยขอ
จํากัดที่มีความยุงยากในการประเมินผลกระทบในขั้นตอนดังกลาว จึงจําเปนตองพิจารณาเก็บรวม
คากําจัดในราคาสินคาแทน ซึ่งอาจคิดรวมไปกับระบบภาษีที่มีอยูเดิม และการจัดเก็บในลักษณะนี้จะทํา
ใหตนทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
1.4 การเก็บคาธรรมเนียมบริหารดําเนินงาน (Administration)
เปนการเก็บคาธรรมเนียมเพื่อใชเปนคาใชจายในการบริหาร ดําเนินงาน เชน คา
ใบอนุญาต คาขึ้นทะเบียน
1.5 การกําหนดความตางของอัตราภาษี (Tax Differentiation)
เปนการเก็บภาษีสินคาในอัตราที่แตกตางกัน โดยพิจารณาจากระดับของมลพิษที่
ปลอยออกสูสภาพแวดลอม ความยากงายในการบําบัด/กําจัด หรือความสามารถในการนําไปใช
ประโยชนของผลิตภัณฑชนิดนั้น ๆ ทั้งนี้ เพื่อเปนการสะทอนใหเห็นผานระดับราคาวาสินคาใดเปนมิตร
หรือเปนภัยตอสิ่งแวดลอม
2. การสนับสนุนทางการเงิน (Subsidy)
2.1 การสนับสนุนแบบใหเปลา (Grant)
การใหเงินอุดหนุนแบบใหเปลามีจุดมุงหมายเพื่อจูงใจใหกิจการ/โรงงานปรับเปลี่ยน
กระบวนการผลิตใหมาเปนมิตรกับสิ่งแวดลอมมากขึ้น หรือกอผลกระทบตอสิ่งแวดลอมใหนอยลง ซึ่ง
ลักษณะการสนับสนุนในลักษณะนี้อาจใหเมื่อสามารถลดปริมาณของเสียหรือมลพิษลดลงไดตามเกณฑ
ที่กําหนด หรือการอุดหนุนเพื่อกระตุนใหผูบริโภคใชสินคาที่ลดมลพิษมากขึ้นในราคาถูกลงเปนพิเศษ
2.2 การใหเงินกูดอกเบี้ยต่ํา (Soft Loan)
การสนับสนุนแกกิจการ/โรงงานผูผลิตทางดานอัตราดอกเบี้ยที่ต่ํากวาอัตราเงินกูใน
ตลาด ซึ่งสวนใหญเปนการสงเสริมในแงการลงทุนดานเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตที่ไมกอ
ผลกระทบตอสิ่งแวดลอม รวมถึงการตรวจวัดและปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดของเสียและมลพิษ
มากขึ้น

3-2 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

2.3 การลดหยอนภาษี (Tax Allowances)


เปนการลดหยอนภาษีใหแกกิจการ/โรงงาน หรือการคืนภาษีแกผูผลิต ในกรณีที่การ
ผลิตไมกอของเสียหรือมลพิษที่เปนอันตรายตอสิ่งแวดลอม ซึ่งลักษณะดังกลาวนี้จะสงผลใหรายไดของ
ผูประกอบการเพิ่มขึ้น ในบางกรณีอาจพิจารณารวมไปถึงการยกเวนภาษีเปนการชั่วคราวเพื่อเปนการ
สนับสนุนในชวงเริ่มดําเนินมาตรการ
3. ระบบมัดจํา-คืนเงิน (Deposit Refund System)
การใชระบบมัดจําและคืนเงิน (Deposit Refund System) กับสินคาบางชนิด โดยเฉพาะ
อยางยิ่งของเสียที่เกี่ยวของกับการบริโภคของครัวเรือนในชุมชน การปฏิบัติตามแนวความคิดนี้จําเปน
ตองไดรับความรวมมือจากหลายผาย โดยเฉพาะอยางยิ่งหนวยงานที่เกี่ยวของกับการผลิตและจัด
จําหนายของผลิตภัณฑซึ่งถือเปนหนวยสําคัญที่ตองรับผิดชอบเกี่ยวกับกระบวนการจัดเก็บ การรับวาง
มัดจํา รวมไปจนถึงการบริการรับสงคืนเพื่อใหสามารถนํากลับมาใชใหมทั้งในลักษณะของการ Reuse
และ Recycle อีกตอหนึ่ง
3.1 ระบบที่ดําเนินการกับกิจการ หรือโรงงาน
เปนระบบมัดจําและคืนเงินที่มุงใหกิจการดําเนินการรับของเสียบรรจุภัณฑคืนเองโดยตรง
ทั้งจากรานคาตัวแทนจําหนาย รานคาสง-ปลีก และผูบริโภค เพื่อรับผิดชอบในการสงตอนําไปกําจัด
ตอไป
3.2 ระบบที่ดําเนินการกับผลิตภัณฑ
เปนระบบมัดจําและคืนเงินที่มุงใหเกิดความรวมมือจากทุกฝายที่สามารถใชประโยชนจาก
ของเสียบรรจุภัณฑได สามารถเขามามีสวนรวมนําซากบรรจุภัณฑไปใชประโยชนในหลายลักษณะและ
หลากวัตถุประสงค ไมวาจะเปนกิจการ/โรงงานผูผลิต กิจการ/โรงงานเพื่อการแปรสภาพนํากลับมาใช
ใหม รานคาและรถเรรับซื้อของเกา โรงเรียน ชุมชนทองถิ่น ครัวเรือนผูบริโภค ทั้งนี้ เพื่อเปนการลด
ปริมาณการใชท รัพยากร สงเสริ มและสนั บ สนุ นให มีการใชประโยชนของวัสดุเหลือใชใหเต็มตาม
ศักยภาพ และลดปริมาณของเสียบรรจุภัณฑใหลดนอยลง
4. การสรางตลาดซื้อขายใบอนุญาตปลอยมลพิษ(Tradable Pollution Permits)
เปนการสรางตลาดโดยการอาศัยการขอออกใบอนุญาตจากรัฐ ใหแกกิจการ/โรงงานที่
ตองการปลอยของเสียหรือมลพิษออกสูสภาพแวดลอมภายใตเกณฑมาตรฐานที่กําหนดไดจากการ
ตรวจวัด ซึ่งในระยะยาวหากโรงงานดังกลาวมีการขยายกําลังการผลิตใดๆ เกิดขึ้นก็จะตองควบคุมให
ปริมาณของเสียหรือมลพิษอยูในเกณฑที่ไดรับอนุญาต จากสภาพดังกลาวจะชวยใหเจาของกิจการ
ตระหนักและมุงควบคุมของเสียหรือมลพิษใหอยูในเกณฑที่เหมาะสมได ประกอบกับใบอนุญาตปลอย
มลพิษดังกลาวยังสามารถกอรายไดจากการขายสิทธิ์การปลอยมลพิษของโรงงานตนเองแกโรงงานอื่น
ได ซึ่งนั่นหมายความวาโรงงานที่ขายสิทธิ์ไดตองมีระดับมลพิษต่ําและมีสิทธิ์เหลือมากพอที่จะขายสิทธิ์
ไดบางสวน ขณะเดียวกันโรงงานผูซื้อสิทธิ์ก็ตองคอยควบคุมและเฝาระวังมิใหของเสียหรือมลพิษที่
ปลอยมีคาสูงเกินกวาสิทธิ์ที่ไดรับ

3-3 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

5. การนําระบบและเครื่องทุนแรงมาใชในการเก็บขนและกําจัดของเสีย
การนําเทคโนโลยีสมัยใหมมาใชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเก็บขนและกําจัดของเสีย
หนวยงานผูรับผิดชอบในระดับทองถิ่นควรตองลงทุนในการจัดหาเครื่องทุนแรงอยางเพียงพอและมี
คุณภาพเพื่อเปาหมายทางประสิทธิภาพของระบบ เชน การลงทุนเกี่ยวกับประเภทของรถเก็บขนและวิธี
การกําจัด ทั้งนี้จะตองผานการพิจารณาความเปนไปไดในการลงทุนของรูปแบบและเครื่องมือแตละ
ประเภทดวย
6. การลงทุนจัดหาแหลงฝงกลบลวงหนา
จากสภาพปญหาดานปริมาณของเสียที่มีจํานวนเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณการบริโภค ขนาด
ของประชากรและชุมชน การจัดหาและสรางแหลงฝงกลบที่เหมาะสมจึงจําเปนตองเตรียมการลวงหนา
เพื่อความประหยัดและเอื้อใหการกําจัดทําลายของเสียดําเนินไปอยางสะดวกราบรื่น การพิจารณาความ
คุมทุนเกี่ยวกับที่ดินที่จะนํามาใชฝงกลบของเสีย ทั้งในระยะปจจุบันและเชื่อมโยงถึงอนาคตจึงเปนสิ่งที่
ควรคํานึงถึง
7. การลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับการ Recycle และระบบการ Recycle ของเสีย
การลงทุน Recycle ของเสีย เพื่อนํากลับมาใชประโยชนจําเปนตองพิจารณาถึงปจจัย
ตางๆ ควบคูกันไป เชน ขนาดของการลงทุน ตนทุนการผลิต ตลาดของสินคา recycle รวมถึงความเปน
ไปไดทางเทคโนโลยี เปนตน
การศึกษาวิเคราะหความเหมาะสมของเครื่องมือและกลไกทางเศรษฐศาสตรที่จะนํามาแก
ไขปญหาการจัดการของเสียบรรจุภัณฑนั้น มาตรการตาง ๆ จะตองมีความเปนไปไดในทางปฏิบัติ ทั้ง
ทางดานการจูงใจและการบังคับใชตามกฎหมาย มาตรการบางอยางสามารถดําเนินการไดทันทีโดยภาค
รัฐ เชน ในเรื่องความเหมาะสมทางดานเศรษฐศาสตรของระบบเก็บขน ระบบกําจัดของเสีย และแหลง
ฝงกลบเมื่อรัฐมีความพรอม แตมาตรการบางอยางจําเปนที่จะตองสงเสริมใหเกิดการมีสวนรวมของผูได
รับผลกระทบ (Stake Holder) การระดมความคิดเห็นจากผูประกอบการผลิต ผูประกอบการนําเขาและ
จัดจําหนาย มาตรการบางอยางอาจสงผลกระทบตอสังคม เนื่องจากประชาชนอาจจะตองรับภาระคา
ใชจายที่เพิ่มขึ้นบาง ฉะนั้น การใชมาตรการทางเศรษฐศาสตรเพื่อใหมีความสอดคลองกับการยกราง
กฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ จึงจําเปนที่จะตองสรางความเขาใจที่ถูกตอง เพื่อใหผูประกอบ
การและประชาชนมีทัศนคติที่ดีตอโครงการและยอมรับโครงการนี้ ตลอดจนการเขามามีสวนรวมจนทํา
ใหกฎหมายของเสียบรรจุภัณฑสามารถใชบังคับไดในที่สุด
ตัวอยางของเครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตรที่สําคัญซึ่งไดรับการยอมรับทั่วโลก
และจะกลายเปนมาตรฐานการปฏิบัติทางการคาโดยสมัครใจ คือ ฉลากเพื่อสิ่งแวดลอม ซึ่งสําหรับ
ประเทศไทย คือ ฉลากเขียว มีความเปนมาและวัตถุประสงค ดังนี้

3-4 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ฉลากเพื่อสิ่งแวดลอมเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ในป พ.ศ. 2540 ภายใตสัญลักษณ


เทพธิดาสีฟา หรือ Blue Angle ตอมาไดมีการกอตั้งฉลากเพื่อสิ่งแวดลอมในสหภาพยุโรป ออสเตรีย
บราซิล แคนาดา จีน โครเอเชีย ฝรั่งเศส อิสราเอล ญี่ปุน เนเธอรแลนด นิวซีแลนด นอรเว เกาหลี สเปน
สวีเดน ไตหวัน ไทย สหรัฐอเมริกา และซิมบับเว ซึ่งรวมกันเรียกวา GEN (Global Eco-Labelling
Network) กอตั้งขึ้นในป พ.ศ. 2537 มีวัตถุประสงคที่จะอุปถัมภ รวมมือ ใหขอมูล แลกเปลี่ยน ปรับตัว
และสงเสริมใหโครงการฉลากเพื่อสิ่งแวดลอมแพรกระจายออกไปทั่วโลก ลักษณะสําคัญของโครงการ
คือ เปนโครงการอาสาสมัครที่จัดตั้งโดยองคกรอิสระ โดยไดรับการสนับสนุนจากรัฐเปนสวนใหญ โครง
การจะทําการมอบสัญลักษณใหแกผลิตภัณฑโดยพิจารณาจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร ความเปนไป
ไดที่ผลิตภัณฑจะกอใหเกิดผลกระทบสิ่งแวดลอม ตลอดจนชวงชีวิตของผลิตภัณฑตั้งแตเกิดจนตาย
ผลิตภัณฑแตละกลุมไดมีการพัฒนาขอกําหนดหรือกําลังอยูระหวางการพัฒนาขอกําหนด โดย
ฉลากเพื่อสิ่งแวดลอมหลายโครงการ เชน แบตเตอรี่ วัสดุกอสราง อุปกรณทําความสะอาด อุปกรณ
ปรับปรุงดิน ผาออม ยานยนตใชกาซหรือไฟฟาเปนพลังงาน เครื่องใชในครัวเรือน อุปกรณแสงสวาง
น้ํามันหลอลื่น อุปกรณเครื่องใชในสํานักงาน บรรจุภัณฑ สีและวานิช ผลิตภัณฑกระดาษ การบริการ
อุปกรณพลังแสงอาทิตย สเปรย แชมพู สิ่งทอ เสื้อผา ผลิตภัณฑประหยัดน้ํา เปนตน
สําหรับสิ่งทอและเสื้อผา ไดมีการพัฒนาหลักเกณฑหรือกําลังพัฒนาโดยสหภาพยุโรป ออส
เตรีย โครเอเธีย ญี่ปุน นิวซีแลนด เกาหลี สวีเดน ไตหวัน และประเทศไทย
หลักเกณฑของฉลากเพื่อสิ่งแวดลอมใชหลักการวิเคราะหวงจรชีวิตผลิตภัณฑ (Life Cycle
Analysis, LCA) ซึ่งรวมเอา non-end-product-related Process and Production Methods (PPMs)
บางประเทศ โดยเฉพาะประเทศกําลังพัฒนาเห็นวา PPMs ไมควรอนุญาตภายใตขอตกลง TBT
(Technical Barriers to Trade) ของ WTO เพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติระหวางสินคาที่ไมอยูในขาย
PPMs
ฉลากเพื่อสิ่งแวดลอมขึ้นอยูกับความสมัครใจ แตก็กลายเปนความตองการของตลาดหรือ
ธรรมเนียมทางการคา ผลิตภัณฑที่ไมมีฉลากเพื่อสิ่งแวดลอมพบวาไมสามารถแขงขันกับสินคาที่มีฉลาก
เพื่อสิ่งแวดลอม หรือผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม เหตุผลก็คือผูบริโภคและผูจัดจําหนาย โดย
เฉพาะในประเทศอุตสาหกรรมที่มีรายไดสูง มีความตองการสินคาคุณภาพ ใหการยอมรับกับฉลากผลิต
ภัณฑ ถึงแมวา จะมีราคาสูงกวาเล็กนอย เชน อาหารเด็ก เสื้อผาเด็กที่ทํามาจากวัสดุธรรมชาติ จึงไม
ไดหมายความเพียงความเปนมิตรกับสิ่งแวดลอมของผลิตภัณฑ แตมีความหมายถึงสุขอนามัยและ
ความปลอดภัย ฉลากเพื่อสิ่งแวดลอมจึงเปนการเพิ่มมูลคาของผลิตภัณฑซึ่งผูบริโภคยินดีที่จะจายเพิ่ม

3-5 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ความนิยมในผลิตภัณฑฉลากเพื่อสิ่งแวดลอมยังสงผลถึงโรงงานผูผลิตใหตองปรับปรุงการออก
แบบผลิตภัณฑ บรรจุภัณฑ และกระบวนการผลิต เพื่อใหเปนที่ยอมรับในแงสิ่งแวดลอม เชน การลดผล
กระทบตอสิ่งแวดลอมในการใชทรัพยากร ลดผลกระทบตอคุณภาพอากาศ น้ํา ดิน และลดขยะของเสีย
ฉลากเพื่อสิ่งแวดลอมจึงเปนเครื่องมือการคาที่มีผลตอทั้งผูบริโภค และผูผลิต
ผูผลิตและผูสงออกจากประเทศกําลังพัฒนา ตางก็ไดรับผลกระทบจากฉลากเพื่อสิ่งแวดลอม
และแนวปฏิบัติทางการคาที่เกี่ยวของและจะตองเตรียมการแกไขปญหาจากผลของอุปสรรคทางการคา
และหาช อ งทางอั น เป น โอกาสที่ จ ะทํากําไรจากการที่ ผู บ ริ โ ภคและตลาดตื่ นตั ว กั บ สิ่ ง แวดล อ มและ
ผลิตภัณฑอันเปนที่ยอมรับ โดยเฉพาะผลิตภัณฑประเภทเสนใยและกระดาษ อาหาร ดอกไม ไมเนื้อ
แข็ง เปนตน
นอกจากนั้น ประเทศเดนมารก ใชเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร คือ ภาษี มาใชในการจูงใจใหลด
ขยะและแยกขยะกอนทิ้ง โดยเก็บภาษีการฝงกลบขยะ เนื่องจากประเทศเดนมารกตองการพลังงาน
ความรอน ดังนั้น การเผาขยะจึงเปนวิธีหนึ่งที่ถือวาเปนการรีไซเคิลขยะและเสียภาษีถูกกวาการฝงกลบ
และกําหนด green taxes สําหรับบรรจุภัณฑและถุงพลาสติก กระจายอํานาจใหกับทองถิ่นในการจัด
การขยะดวยวิธีการของตนเอง และกําหนดอัตราคาธรรมเนียมตามคาใชจายที่เกิดขึ้นจริง ใหภาคธุรกิจ
เขามาประมูลรับจัดการขยะ เชน ในเมืองโคเปนเฮเกน มีบริษัท R98 รับบริการจัดการขยะครบวงจร
รวมทั้งการเผาขยะเพื่อนําพลังงานความรอนมาใช เปนตน
3.2 เครื่องมือและมาตรการทางกฎหมาย

เครื่องมือและมาตรการทางกฎหมายในการจัดการบรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑสวนใหญจะ
คิดริเริ่มมาจากตางประเทศ เนื่องจาก การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนวิทยาศาสตรและ
เทคโนโลยีของตางประเทศ โดยเฉพาะภาคพื้นยุโรป ญี่ปุน และสหรัฐอเมริกา มีความกาวหนา
มีประสบการณ รวมทั้งเปนผูนําในการริเริ่มจัดระเบียบที่ประเทศตางๆ จะตองปฏิบัติเมื่อทําการติดตอ
คาขายดวย บรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑก็เปนสิ่งที่ประเทศตางๆ ที่กลาวมาแลว ใหความสําคัญและ
กําหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อการจัดการมิใหกอใหเกิดผลกระทบตอสิ่งแวดลอม และสุขภาพ
อนามั ย ของคน สั ต ว แ ละพื ช สําหรั บ ประเทศไทยไม มี ก ฎหมายการจั ด การบรรจุ ภั ณ ฑ แ ละขยะ
บรรจุภัณฑโดยเฉพาะ แตมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวของและใชในการจัดการขยะบรรจุภัณฑรวมกับ
ขยะมูลฝอยชุมชน ไดแก พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสงเสริมและ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 เปนตน

3-6 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

3.2.1 กฎหมายวาดวยบรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรป

กฎหมายวาดวยบรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรป หรือ Directive 94/62/EC of


15 December 1994 on packaging and packaging waste เปนเรื่องที่เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงการเกิด
ขยะบรรจุภัณฑ การใชซ้ํา การรีไซเคิลและนํามาใชใหม มีหลักการที่สําคัญสรุปได ดังนี้
1. กฎหมายใชบังคับครอบคลุมบรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑในสหภาพยุโรปทั้งหมด ไมวาจะ
ใชในอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม สํานักงาน รานคา การบริการ บานเรือน รวมทั้งวัสดุใชแลว
2. ประเทศสมาชิกอาจจะลดขยะบรรจุ ภัณฑ โดยกําหนดเป นมาตรการระดับชาติ ซึ่งอาจ
สนับสนุนใหมีการใชซ้ําบรรจุภัณฑ
3.ประเทศสมาชิกจะตองกําหนดระบบการเรียกคืนและหรือการเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑใชแลว
ใหเปนไปตามเปาหมายตอไปนี้
3.1 ภายใน 5 ป นับแตวันที่กฎหมายนี้ใชบังคับ สมาชิกแตละประเทศจะตองมี
กฎหมายเรียกคืนบรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑใหไดอยางต่ํารอยละ 50 อยางสูงรอยละ 65 โดย
น้ําหนักของบรรจุภัณฑ
3.2 จะตองรีไซเคิลบรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑที่เรียกคืนมาอยางต่ํารอยละ 25
อยางสูงรอยละ 45 โดยน้ําหนักของบรรจุภัณฑ และบรรจุภัณฑแตละประเภทควรมีองคประกอบที่
สามารถนํามารีไซเคิลไดไมต่ํากวารอยละ 15 โดยน้ําหนัก
3.3 ภายใน 10 ป นับแตวันที่กฎหมายนี้ใชบังคับ สมาชิกแตละประเทศจะตอง
มีกฎหมายกําหนดใหสัดสวนของการเรียกคืนและการรีไซเคิลบรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑเปนไป
ตามที่คณะมนตรียุโรป (The Council) กําหนดเพิ่มขึ้นจากเปาหมายเดิม
4. ไอรแลนด กรีซ และโปรตุเกส อยูในขายยกเวนชั่วคราวเนื่องจากสถานะของประเทศยังไม
อํานวย เชน สภาพที่มีเกาะจํานวนมาก หรือเปนพื้นที่ชนบทและภูเขาและมีการใชบรรจุภัณฑนอย
จึงกําหนดให
4.1 เขารวมตามกฎหมายนี้ภายในระยะเวลาไมเกินกวา 5 ป นับแตวันที่กฎหมายนี้ใช
บั ง คั บ และกําหนดเป า หมายในการเรี ย กคื น บรรจุ ภั ณ ฑ แ ละขยะบรรจุ ภั ณ ฑ ต่ํากว า เกณฑ ป กติ ไ ด
แตอยางนอยตองไมต่ํากวารอยละ 25
4.2 เลื่อนการดําเนินการตามเปาหมายที่กฎหมายนี้กําหนด ในการเรียกคืนบรรจุภัณฑ
และขยะบรรจุภัณฑ ซึ่งจะตองไมเกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548
5. ภายใน 2 ป นับแตวันที่กฎหมายนี้ใชบังคับ คณะมนตรียุโรปจะวางขอกําหนดเกี่ยวกับระบบ
เครื่องหมายบนบรรจุภัณฑที่จะระบุถึงวัสดุที่ใช (The Identification System for the Material Used)
ใหเปนไปตามภาคผนวก 1 ของคําสั่งนี้ และจะใหมีผลบังคับใชภายใน 12 เดือนนับแตวันบังคับใช
ขอกําหนดดังกลาว

3-7 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

6. ประเทศสมาชิกจะตองแจงใหทราบถึงมาตรการที่จะออกบังคับใช ตามกรอบที่กําหนดโดย
กฎหมายนี้กอนที่จะนําไปใชบังคับ ยกเวนมาตรการทางภาษี
7. ประเทศสมาชิกจะตองดูแลมิใหปริมาณโลหะหนักของตะกั่ว แคดเมี่ยม ปรอท และเฮซาวา
ไลนโครเมี่ยม ในบรรจุภัณฑหรือสวนประกอบของบรรจุภัณฑเกินกวาที่กําหนด ดังตอไปนี้
7.1 600 ppm โดยน้ําหนัก ภายใน 2 ป นับแตวันที่ประเทศสมาชิกออกกฎหมาย
บรรจุภัณฑและขยะบรรจุภณ ั ฑ (ซึ่งตองดําเนินการกอนวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ.1996)
7.2 250 ppm โดยน้ําหนัก ภายใน 3 ป นับแตวันที่ประเทศสมาชิกออกกฎหมาย
บรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑ
7.3 100 ppm โดยน้ําหนัก ภายใน 5 ป นับแตวันที่ประเทศสมาชิกออกกฎหมาย
บรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑ
8. ประเทศสมาชิกจะตองจัดทําฐานขอมูลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑ ใหเปนไปใน
แนวทางเดียวกันเพื่อใหสามารถติดตามการดําเนินงานใหเปนไปตามวัตถุประสงคของกฎหมายนี้ และ
ใชเปนขอมูลการจัดการขยะของสหภาพยุโรป
9. ประเทศสมาชิกจะตองรายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมายนี้ตอคณะกรรมาธิการยุโรป อยาง
สม่ําเสมอ
10. ประเทศสมาชิกจะตองมั่นใจวาผูใชบรรจุภัณฑจะใหขอมูลที่จําเปนเกี่ยวกับการจัดการ
บรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑ
11. ระบบเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑที่จะระบุถึงวัสดุที่ใช และฐานขอมูลจะมีการปรับปรุงใหทัน
ตอความกาวหนาทางวิทยาศาสตรและเทคนิค
12. มีการผอนผันการใชบังคับกับบรรจุภัณฑที่ใชกับสินคาที่ผลิตมากอนวันที่กฎหมายนี้ใช
บังคับ โดยภายใน 5 ป ประเทศสมาชิกสามารถวางตลาดสินคาที่ผลิตมากอนวันที่กฎหมายนี้ใชบังคับ
และเปนไปตามกฎหมายภายในของแตละประเทศได
ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปจะนํากฎหมายฉบับนี้ไปปรับใชในประเทศของตนโดยออกเปน
กฎหมายในประเทศ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1996 ปจจุบันมีกฎหมายออกใชแลวทุกประเทศ
ยกเวนกรีซ บางประเทศมีประเพณีปฏิบัติในการจัดการขยะ การนํามาใชใหมจึงอาจเปนการทําความ
ตกลงโดยสมัครใจ เชน ในประเทศเดนมารก และเนเธอรแลนด มีหลายประเทศ เชน เบลเยี่ยม
เดนมารก ฝรั่งเศส โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ไดปรับใชกฎหมายบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรป
โดยการออกขอกําหนดการนํามาใชใหมและสิ่งแวดลอม ตั้งแตการออกแบบ และการผลิตบรรจุภัณฑ
เปน “เงื่อนไขสําคัญ” (Essential Requirement) ในกฎหมายหลายฉบับ (ตารางที่ 3-1) ดังนี้

3-8 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 3-1 กฎหมายวาดวยบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรป


ประเทศ กฎหมาย
Austria • กฤษฎีกาวาดวยบรรจุภัณฑ (Packaging Ordinance) ป พ.ศ. 2535 แกไขเพิ่ม
เติม 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 กฤษฎีกาเปาหมาย (Federal Law Gazette No.
646/1992 แกไขเพิ่มเติมโดย 649/1996
Belgium • กฎหมายภาษีนิเวศน (The Ecotax-Act 16 กรกฎาคม 1993) มีจุดประสงคในการ
ปรับโครงสรางของรัฐ
• กฤษฎีกาขอตกลงความรวมมือระหวางรัฐเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ เมื่อ 30 พฤษภาคม
พ.ศ. 2539 ใชบังคับเมื่อ 5 มีนาคม พ.ศ. 2540
• กฎหมายเงื่อนไขสําคัญ (Essential Requirement) เมื่อ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2541
• พระราชกฤษฎีกามาตรฐานของบรรจุภัณฑ เมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ. 2542
Denmark • กฎหมายภาษีบรรจุภัณฑและถุงกระดาษและพลาสติก (Law No. 726 วันที่ 7
ตุลาคม พ.ศ. 2541 แกไขเพิ่มเติมโดย Law No. 912 เมื่อ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2541
และ Law No. 380 เมื่อ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2542)
• ขอบัญญัติบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ (Statutory Order No. 298 เมื่อ 30
เมษายน พ.ศ. 2540, DEPA)
• ขอบัญญัติบรรจุภัณฑเบียรและเครื่องดื่ม (Statutory Order No. 124 เมื่อ 27
กุมภาพันธ พ.ศ. 2532 แกไขเพิ่มเติมโดย Statutory Order No. 540 ในป พ.ศ.
2534 และ Statutory Order No. 583 ในป พ.ศ. 2539 และ Statutory Order No.
300 เมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2540, DEPA)
• ขอบัญญัตเิ กี่ยวกับเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑรีไซเคิล (Statutory Order No. 600
เมื่อ 18 กันยายน พ.ศ. 2530, DEPA)
Finland • มติของสภาแหงรัฐเกี่ยวกับบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ (Decision of
Council of State on Packaging and Packaging Waste No. 962/1997)
• กฎหมายภาษีแอลกอฮอล (Law on Alcohol Excise No. 1471 เมื่อ 29 ธันวาคม
พ.ศ. 2537)
• กฎหมายภาษีเครื่องดื่ม (Law on Soft drink Excise No. 1474 เมื่อ 29 ธันวาคม
พ.ศ. 2537)

3-9 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 3-1 (ตอ)


France • กฤษฎีกากําหนดการเก็บรวบรวมขยะบรรจุภัณฑจากบานเรือนและการนํากลับมา
ใช (Lalonde Decree No. 92-377 เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2535 ใชบังคับในเดือน
มกราคม พ.ศ. 2536)
• กฤษฎีกากําหนดการจัดการขยะบรรจุภัณฑที่เกิดจากแหลงอื่นที่ไมใชบานเรือน
(Decree No. 94-609 เมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2537)
• กฤษฎี ก ากําหนดการทิ้ ง ขยะจากบ า นเรื อ นให เ ป น ไปตามโควต า ในกฎหมาย
สหภาพยุโรป (Decree No. 96-1008 เมื่อ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2537)
• กฤษฎีกากําหนดการออกแบบและการผลิตบรรจุภัณฑใหเปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
(Decree No. 98-638 เมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2541)
Germany • ระเบี ยบหลีก เลี่ ยงการเกิดของเสียบรรจุ ภัณฑ (The Ordinance of the
Avoidance of Packaging Waste 1991 แกไขเพิ่มเติม 28สิงหาคม พ.ศ. 2541)
Greece • รางกฎหมาย “มาตรการและกฎเกณฑทางเลือกในการจัดการบรรจุภัณฑและขยะ
อื่ น พื้ น ฐานขององค ก รระดั บ ชาติ ในการเลื อกจั ดการบรรจุ ภัณฑ และขยะอื่น
(NOAMPOW)”
Ireland • ระเบียบการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ พ.ศ. 2540
• ระเบียบการจัดการของเสียพลาสติกจากฟารม พ.ศ. 2540
• ระเบียบการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ แกไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541
Italy • กฤษฎีกาวาดวยการจัดการขยะ ขยะอันตราย และขยะบรรจุภัณฑ (Ronchi
Decree เมื่อ 5 กุมภาพันธ 1997 แกไขเพิ่มเติมเมื่อ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
Luxembourg • ระเบียบวาดวยการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ (Grand Ducal Regulation เมื่อ 31
ตุลาคม พ.ศ. 2541)
Portugal • กฤษฎีกา (Decree-Law No. 366-A/97 เมื่อ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2540 แกไขเพิ่ม
เติมโดย Decree-Law No. 162/2000 เมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2540)
• ระเบียบ (Ordinance No. 29-B/98 เมื่อ มกราคม พ.ศ. 2541)
• กฤษฎีกาวาดวยเงื่อนไขพิเศษ (Essential Requirement) และปริมาณสารโลหะ
หนัก (Decree-Law No. 407/98 เมื่อ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2541)
Spain • กฎหมายวาดวยบรรจุภัณฑ (Packaging Law 11/1997 เมื่อ 24 เมษายน พ.ศ.
2540)
• พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree 782/98 เมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2541)
• กฎหมาย (10/1998 เมื่อ 21 เมษายน พ.ศ. 2541)
• คําสั่ง (50/1998 เมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2541)

3-10 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 3-1 (ตอ)


Sweden • กฤษฎีกาวาดวยความรับผิดชอบของผูผลิตตอบรรจุภัณฑ (Decree 1997-185 on
producer responsibility for packaging)
Netherlands • กฤษฎีกาวาดวยบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ (Packaging and Packaging
Waste Decree เมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2540)
• สัญญาเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ II (Packaging Covenant เมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ.
2540)
UK • ระเบียบวาดวยพันธะความรับผิดชอบของผูผลิตเกี่ยวกับขยะบรรจุภัณฑ พ.ศ.
2540
• ระเบียบวาดวยบรรจุภัณฑ พ.ศ. 2541
• ระเบียบวาดวยเงื่อนไขสําคัญ (Essential Requirement) ของบรรจุภัณฑ พ.ศ.
2541
• ระเบียบวาดวยพันธะความรับผิดชอบของผูผลิตเกี่ยวกับขยะบรรจุภัณฑ (สําหรับ
เกาะเหนือ) พ.ศ.2542
ที่มา : European Commission DGXI.E.3, European Packaging Waste Management Systems, Final
Report, Dec. 2000. By Argus, in association with ACR and Carl Bro a/s.

กฎหมายบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรป วางเงื่อนไขสําคัญ (Essential Requirement) ไวใน


ภาคผนวก II เพื่อใหบรรจุภัณฑที่จะเขาสูตลาดของสหภาพยุโรปตองปฏิบัติ สรุปไดวา
- บรรจุภัณฑจะตองผลิตขึ้นโดยมีขนาด น้ําหนักที่เหมาะสม เพียงพอตอความปลอดภัย
สุขอนามัย เหมาะสมกับผลิตภัณฑ และเปนที่ยอมรับของผูบริโภค
- บรรจุภัณฑจะตองออกแบบ ผลิต และจําหนายใหสามารถใชซ้ํา หรือนํามาใชใหม รวมทั้ง
การรีไซเคิล ใหมีผลกระทบตอสิ่งแวดลอมนอยที่สุดเมื่อกลายเปนขยะหรือเศษซากที่ถูกนํา
ไปทิ้ง
- บรรจุภัณฑจะตองผลิตโดยกอใหเกิดมลพิษหรือวัตถุอันตรายจากตัววัสดุหรือสวนประกอบ
ของวัสดุนอยที่สุด เมื่อถูกเผาหรือฝงกลบ จะไมกอใหเกิดการแพรกระจาย เถา หรือฝุน
- บรรจุภัณฑจะตองนํามาใชใหมไดโดยการรีไซเคิล การเผาเปนพลังงาน หรือการหมักทําปุย
กฎหมายบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรป กําหนดปริมาณสารโลหะหนักในบรรจุภัณฑไวใน ขอ
11 ประเทศสมาชิกจะตองจํากัดปริมาณสารโลหะหนักประเภทตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และเฮซาวา
แลนท โครเมียม ในบรรจุภัณฑไมเกิน 100 ppm. โดยน้ําหนักในป 2001 (ปริมาณสารโลหะหนักไมใช
บั ง คั บ กั บ บรรจุ ภั ณ ฑ ที่ ทําด ว ยแก ว คริ ส ตั ล ที่ มี ส ว นผสมของตะกั่ ว ตามที่ กําหนดใน Directive
69/493/EEC)

3-11 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

คณะกรรมาธิการยุโรป (CEN) ไดกําหนดใหออกมาตรฐานสําหรับเงื่อนไขสําคัญ เพื่อทําใหการ


ปฏิบัติตามกฎหมายเปนไปในทิศทางเดียวกัน ในป พ.ศ. 2543 CEN ไดจัดพิมพมาตรฐาน 6 แบบ
ไดแก
EN 13427 การใชมาตรฐานสหภาพยุโรป
EN 13428 การหลีกเลี่ยงขยะโดยลดที่จุดกําเนิด
EN 13429 การใชซ้ํา
EN 13430 การรีไซเคิลวัสดุ
EN 13431 การนําไปใชเปนพลังงาน
EN 13432 การนําไปใชตามกระบวนการธรรมชาติ

มาตรฐานที่กําหนดโดย CEN ขางตนอาจนําไปออกเปนกฎหมายเพื่อใหเปนไปในแนวทางเดียว


กัน แตปจจุบันยังไมสอดคลองกันทีเดียว เพราะประเทศตาง ๆ ก็มีการออกกฎหมายของตนเองตาง ๆ
กันไปเพื่อใหเปนไปตามเงื่อนไข สรุปไดดังนี้
ออสเตรีย
กฤษฎีกาบรรจุภัณฑของออสเตรีย ไมมีขั้นตอนการตรวจสอบและไมมีตัวชี้วัดการปฏิบัติตาม
เงื่อนไขสําคัญ แตกลาววา “โดยมาตรฐานเปนที่ยอมรับ บรรจุภัณฑจะตองเปนไปตามเงื่อนไขสําคัญ”
มาตรฐานตาง ๆ จะประกาศราชกิจจานุเบกษา ซึ่งปจจุบันมีการอนุมัติและประกาศใชแลว
บรรจุ ภั ณ ฑ ใ นตลาดของออสเตรี ย กํ า ลั ง เป น ไปตามเงื่ อ นไขสํ า คั ญ ดั ง กล า ว รั ฐ บาล
ออสเตรียตระหนักดีวารางมาตรฐานของสหภาพยุโรปไมเพียงพอที่จะทดสอบใหบรรจุภัณฑที่ขาด
คุณสมบัติหายไปจากตลาด
เบลเยี่ยม
มาตรฐานผลิตภัณฑไดรับการดูแลโดยรัฐบาล ดังนั้นเงื่อนไขพิเศษและสารโลหะหนักที่กําหนด
ในกฎหมายบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรปจะตองมีมาตรการของรัฐบังคับ (ตางกับเปาหมายการนํามาใช
ใหมและรีไซเคิลที่ดูแลรับผิดชอบระดับภูมิภาค)
กฎหมาย “มาตรฐานผลิตภัณฑเพื่อสงเสริมการผลิตและการบริโภคและปกปองสิ่งแวดลอมและ
สุขอนามัย” ไดรับอนุมัติเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และประกาศใชเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ พ.ศ.
2542
กฎหมายกําหนดใหลดผลกระทบของผลิตภัณฑตอสิ่งแวดลอม (คําจํากัดความรวมถึงบรรจุ
ภัณฑ) และสงเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน มีการกําหนด “ความรับผิดชอบของผูผลิต” โดย
ผลิตภัณฑที่ออกแบบ ผลิต ใช และกําจัด ไมสงผลกระทบตออนามัย และไมทําใหเพิ่มประมาณขยะ
อันตรายหรือมลพิษในรูปอื่น
ในสวนที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ
- นําเอาเงื่อนไขพิเศษที่กําหนดในกฎหมายบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรป มากําหนดให
อํ า นาจรั ฐ ในการออกกฤษฎี ก ามาตรฐานเพิ่ ม เติ ม ได ต ามที่ ก ฎหมายบรรจุ ภั ณ ฑ ข อง
สหภาพยุโรปกําหนด

3-12 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

- หามใชบรรจุภัณฑที่ไมสามารถใชซ้ําหรือนํามาใชใหม
- บังคับบรรจุภัณฑตามที่อยูในเงื่อนไขพิเศษหรือมากกวา เชน บรรจุภัณฑที่ไมสามารถใชซ้ํา
ไดจะตองมีสัดสวนของน้ําหนักตอผลิตภัณฑไมเพิ่มขึ้นเมื่อใชบังคับกฎหมาย อยางไรก็ตาม
มีขอยกเวนสําหรับการใชบรรจุภัณฑเพื่ออนามัย ความปลอดภัย หรือการยืดอายุของผลิต
ภัณฑ เมื่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณบรรจุภัณฑไดชดเชยโดยลดบรรจุภัณฑอื่นในระบบ หรือ
เพิ่มสวนของบรรจุภัณฑใชซ้ํา หรือนําไปรีไซเคิลไดเพิ่มขึ้น หรือนําไปสูการรีไซเคิลไดมาก
กวา
กฎหมายมาตรฐานผลิตภัณฑไมไดกําหนดใหผูผลิตตองทําตามเงื่อนไขพิเศษ แตก็มีแผนใน
การลดปริมาณบรรจุภัณฑ ซึ่งก็จะนําไปสูเงื่อนไขดังกลาว
กฎหมายยังไดนํายอหนา 3(d) ของภาคผนวก II เงื่อนไขพิเศษ มาใชโดยกําหนดใหบรรจุภัณฑ
ที่ยอยสลายไดตามธรรมชาติ สามารถใชกระบวนการทางชีวะ เคมี ความรอน หรือการยอยสลายตาม
ธรรมชาติ ใหกลายเปนคารบอนไดออกไซด ปุย หรือขยะ
เดนมารก
ขอบัญญัติบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ (Statutory Order No. 298 เมื่อ 30 เมษายน
พ.ศ. 2540) นําเอาหลักการในกฎหมายบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรป มากําหนดใหบรรจุภัณฑในตลาด
เปนไปตามเงื่อนไขพิเศษ กําหนดใหมีขอมูลบนบรรจุภัณฑและมีปริมาณสารโลหะหนักไมเกินกวาที่
กําหนด
ผูผลิตหรือผูนําเขาจะตองยื่นเอกสารแสดงวาบรรจุภัณฑของตนเปนไปตามเงื่อนไขพิเศษที่
กําหนดไว เอกสารดังกลาวตองเก็บรักษาไว 5 ป หนวยงานอนุรักษสิ่งแวดลอมแหงชาติอาจสั่งใหบริษัท
ใดหยุดการจําหนายบรรจุภัณฑหากมีขอสงสัยวาจะไมเปนไปตามเงื่อนไขพิเศษหรือมีปริมาณสารโลหะ
หนักเกินกวาที่กําหนด การหามดังกลาวจะมีผลไปจนกวาจะมีการพิสูจนหลักฐานอยางเปนทางการ
เดนมารกมีมุมมองวาไมมีบรรจุภัณฑใดสามารถดําเนินการใหเปนไปตามเงื่อนไขพิเศษได
จนกวาจะมีการกําหนดมาตรฐานใหเปนแนวเดียวกัน
ฝรั่งเศส
กฤษฎีกาการออกแบบและการผลิตบรรจุภัณฑใหเปนมิตรกับสิ่งแวดลอม (Decree No. 98-638
เมื่อ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2541) นําเอาเงื่อนไขพิเศษและการกําหนดปริมาณสารโลหะหนักในกฎหมาย
บรรจุภัณฑของสหภาพยุโรปไปใช โดยกําหนดใหบรรจุภัณฑที่จําหนายในตลาดฝรั่งเศสจะตองเปนไป
ตามเงื่อนไขพิเศษภายในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2541 สวนตารางเวลาสําหรับสารโลหะหนักใหเปนไป
ตามที่กฎหมายบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรปกําหนด
เยอรมัน
ไดมีการนําเงื่อนไขพิเศษแบบยอสวนและปริมาณสารโลหะหนักไปกําหนดเปนกฎหมายใหม
รวมถึงการกําหนดหมายเลขของวัสดุและคํายอลงบนบรรจุภัณฑ บรรจุภัณฑที่สามารถใชซ้ํา จะไดรับ
ยกเวนปริมาณสารโลหะหนัก ยังไมมีการกําหนดใหดําเนินการตามมาตรฐาน CEN

3-13 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ไอรแลนด
ระเบียบการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ มีการแกไขเพิ่มเติมในป พ.ศ. 2541 (S.I. No. 382)
ไดรับอนุมัติเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2541 มีการแกไขขอความใหเปนไปตามเงื่อนไขพิเศษ และใช
บังคับเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2541 กฎหมายหามมิใหผูผลิต ผูนําเขา และผูจัดจําหนาย จําหนาย
บรรจุภัณฑหรือผลิตภัณฑบรรจุภัณฑแกผูใดในไอรแลนด นอกเสียจากวาบรรจุภัณฑนั้นจะเปนไปตาม
เงื่อนไขพิเศษ
สวนปริมาณสารโลหะหนักไดมีการกําหนดไวกอนหนานั้น ในระเบียบการจัดการของเสีย
บรรจุภัณฑ ป พ.ศ. 2540
อิตาลี
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2541 กําหนดใหบรรจุภัณฑเปนไปตามมาตรฐาน CEN และตาม
เงื่อนไขพิเศษ จึงจะจําหนายในตลาดได ภาคผนวกของกฤษฎีกาเปนไปตามภาคผนวก II ของกฎหมาย
บรรจุภัณฑของสหภาพยุโรปและเงื่อนไขพิเศษ
กฤษฎีกาไมไดกําหนดหนาที่ของผูผลิต แตสวนหนึ่งของ CONAI มีกําหนดการของการใช
มาตรการเพื่อใหเปนไปตามเงื่อนไขพิเศษ ไดแก การหลีกเลี่ยงมูลฝอยบรรจุภัณฑ การเพิ่มสัดสวนการ
รีไซเคิล การใชซ้ํา การปรับปรุงบรรจุภัณฑใหเหมาะกับการใชหมุนเวียนในสภาพปกติ และกําหนด
เปาหมายของการนํามาใชใหมและรีไซเคิล
เนเธอรแลนด
ออกระเบียบการจํากัดปริมาณสารโลหะหนักในบรรจุภัณฑและมูลฝอยบรรจุภัณฑ และเงื่อนไข
พิเศษ บรรจุภัณฑที่ไมเปนไปตามระเบียบก็ไมสามารถจําหนายได
โปตุเกส
มีการออกกฤษฎีกาวาดวยเงื่อนไขพิเศษ (Essential Requirement) และปริมาณสารโลหะหนัก
(Decree-Law No. 407/98 เมื่อ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2541) โดยไมมีรายละเอียดการดําเนินการ และมี
ขอยกเวนสําหรับปริมาณสารโลหะหนัก
สเปน
นําเอาเงื่อนไขพิเศษและการกําหนดปริมาณสารโลหะหนักในกฎหมายบรรจุภัณฑของสหภาพยุ
โรปไปใช บรรจุภัณฑที่วางตลาดตั้งแต วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2539 จะตองเปนไปตามเงื่อนไขพิเศษ
บรรจุภัณฑระหวางวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2540 ที่ไมเปนไปตาม
เงื่อนไขพิเศษ สามารถวางตลาดไดถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สวีเดน
กฎหมายนําเอาเงื่อนไขพิเศษไปใช มีกลุมการคาและอุตสาหกรรมคอยใหการดูแล แนะนํา ภาย
ใตการกํากับของหนวยงานภาครัฐ
สหราชอาณาจักร
นําเอากฎหมายบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรปไปใช โดยออกระเบียบวาดวยบรรจุภัณฑในป
พ.ศ. 2541 (S.I. 1998/1165) ไดรับอนุมัติเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 และใชบังคับเมื่อวันที่ 1
มกราคม พ.ศ. 2522 ทั่วทั้งสหราชอาณาจักร และใชบังคับกับผูที่เกี่ยวของทุกฝายในลูกโซบรรจุภัณฑ

3-14 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ในระเบียบไดนําเอาเงื่อนไขพิเศษและการกําหนดปริมาณสารโลหะหนักในกฎหมายบรรจุภัณฑ
ของสหภาพยุโรปไปใช และกําหนดความผิดหากไมปฏิบัติตาม สําหรับสารโลหะหนักใหเปนไปตามที่
กฎหมายบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรปกําหนด
เจาของยี่หอหรือผูนําเขาสินคาตองรับผิดชอบใหบรรจุภัณฑเปนไปตามขอกําหนด การปรับปรุง
สภาพเพื่อใชซ้ําก็มีความรับผิดชอบแบบเดียวกัน สวนบรรจุภัณฑที่ใชซ้ําอยูแลวในระบบไมอยูในขาย
บังคับของระเบียบ
ในขอ 6 ของกฎหมายบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรป กําหนดใหประเทศสมาชิกดําเนินการให
เปนไปตามเปาหมายที่กําหนดในป พ.ศ. 2544 คือ
- ตองทําการนํามาใชใหมใหได 50-65% โดยน้ําหนักของมูลฝอยบรรจุภัณฑ
- ตองทําการรีไซเคิลใหได 25-45% โดยน้ําหนักของบรรจุภัณฑและมูลฝอยแตละประเภทจะ
ตองทําการรีไซเคิลอยางนอยไมต่ํากวา 15% โดยน้ําหนัก

3.2.2 กฎหมายการจัดการบรรจุภัณฑของประเทศอื่น ๆ
นอกจากการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรปแลว ประเทศญี่ปุนมี
กฎหมายหลายระดับที่จะจัดการกับสิ่งแวดลอมและทรัพยากร โดยเริ่มจากกฎหมายหลักเกี่ยวกับ
โครงสรางพื้นฐานเพื่อสงเสริมการสรางสังคมรีไซเคิล (The Basic Law for Establishing the
Recycling-Based Society (Basic frame Law), April 2001) จากนั้นจึงมีกฎหมายการจัดการของเสีย
(Waste Management Law, April 2001) และกฎหมายสงเสริมการใชทรัพยากรอยางมีประสิทธิภาพ
(Law for Promotion of Effective Utilization of Resource, April 2001) และสําหรับกฎหมายเฉพาะ
มีกฎหมายเกี่ยวกับการรีไซเคิลหีบหอและบรรจุภัณฑ บังคับใชบางสวนในเดือนเมษายน 2540 และ
บังคับใชโดยสมบูรณในเดือนเมษายน 2543 (Containers and Packaging Recycling Law, April
2000) มีบทบัญญัติวาดวยการใหผูบริโภคแยกประเภทกอนทิ้ง การเก็บรวบรวมขยะบรรจุภัณฑโดย
เทศบาล การนําไปรีไซเคิลโดยผูประกอบการที่ใชและผลิตบรรจุภัณฑ

3.3 วิเคราะหเปรียบเทียบกฎหมายของไทยและตางประเทศ

การวิเคราะหเปรียบเทียบกฎหมายของไทยและตางประเทศ มีวัตถุประสงคเพื่อเปรียบเทียบ
แนวทางในกฎหมายการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑของตางประเทศและของประเทศไทย
ใหเห็นความแตกตางอันเกิดจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของแตละประเทศ ที่มาและ
สาเหตุของปญหาการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ เพื่อที่จะหาวิธีการแกไขที่เหมาะสม
ตอไป

3-15 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

เมื่อเปรียบเทียบระบบกฎหมายการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑของตางประเทศ
กับกฎหมายของประเทศไทย พบวา กฎหมายของตางประเทศมีความเปนระบบและครบวงจรมากกวา
เนื่องจาก กฎหมายของตางประเทศ มีกรอบแนวคิดที่คํานึงถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดลอม รวมทั้งผลกระทบตอสุขอนามัยของมนุษย สัตว และพืช แลวจึงออกกฎหมายใหสอดคลอง
กับแนวคิดหรือปรัชญาดังกลาว เชน
กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการของเสียของสหภาพยุโรปที่เปนรูปธรรมถูกบรรจุไวในกฎหมาย
ยุโรปเดียว ป พ.ศ. 2530 (Single Europe Act 1987 Article 130 R S and T) มีวัตถุประสงคเพื่อลด
ปริมาณของเสียและลดผลกระทบตอสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดลอม
นโยบายในการจัดการของเสียของสหภาพยุโรปจะกําหนดไวในแผนปฏิบัติการสิ่งแวดลอม
(Environment Action Program) และกลยุทธการจัดการของเสีย (Waste Management Strategy) ซึ่ง
ผานความเห็นชอบของกรรมาธิการเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 และไดมีการแกไขเพิ่มเติมใน
ป พ.ศ. 2539 (มติที่ 97/1 76/01) นโยบายเหลานี้ใกลเคียงกับนโยบายที่ใชกันในหลายประเทศที่การจัด
การของเสียกาวหนา เชน ประเทศเดนมารก เนเธอรแลนด และเยอรมัน เปนตน
กลยุทธการจัดการของเสียของสหภาพยุโรป สรุปไดดังนี้
(1) หลีกเลี่ยงการกอใหเกิดของเสีย โดยการใชเทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology) ผลิตผล
ผลิตที่สะอาดโดยการกอตั้งฉลากเพื่อสิ่งแวดลอม (eco-labeling) หรือการใหความรู
(2) สงเสริมการใชซ้ําและการแปรรูปนํากลับมาใชใหม โดยการแยกทิ้งของเสีย การนําไปแปร
รูปนํากลับมาใชใหม หรือนําไปใชเปนพลังงาน
(3) พั ฒนาการกําจั ดของเสียอยางปลอดภัยโดยลดการนําของเสียไปกําจัด เรงรัดการใช
ประโยชนจากของเสียใหมากขึ้น ถือวาการนําของเสียไปกําจัดนั้นเปนมาตรการสุดทาย
(4) การเคลื่อนยายของเสียจะตองจัดระบบและควบคุมในระหวางประเทศสมาชิกดวยกัน และ
กับประเทศนอกกลุมสหภาพ
นอกจากนั้นยังไดมีทางเลือกในการปฏิบัติในการจัดการของเสียโดยใชหลักการพื้นฐานหลาย
ประการ ดังนี้
“Proximity Principle” หลักการนี้มีจุดประสงคใหกําจัดของเสีย ณ จุดที่ใกลกับจุดกําเนิดของ
เสียมากที่สุดเพื่อลดการขนสง หลักการนี้ถูกบรรจุใน EEC Treaty (Article 130 R2)1 ใชปฏิบัติกับการ
กําจัดของเสียเทานั้น
“Self Sufficiency Principle” ประเทศสมาชิกจะตองใชมาตรการที่เหมาะสมในการจัดตั้ง
ระบบเครือขายกําจัดของเสียเชื่อมโยงชุมชนตาง ๆ เขาดวยกัน เพื่อใหมีขีดความสามารถในการกําจัด
ของเสียดวยตนเอง
“Producer Responsibility” เพื่อสนับสนุนใหผูผลิตลดการผลิตของเสียและเพิ่มการใชซ้ําหรือ
การแปรรูปนํากลับมาใชใหม การผลักดันมาตรการตาง ๆ เชน การควบคุมกระบวนการผลิต การจัด
เก็บภาษีผลิตภัณฑที่ไมสามารถนํามาแปรรูปใชใหมได การพัฒนาระบบการประเมินดานสิ่งแวดลอม

1
"environmental damage should as a priority be rectified at source"
3-16 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(eco-audit) หรือการติดฉลากเพื่อสิ่งแวดลอม (eco-labeling) จะชวยทําใหผูผลิตคํานึงถึงคุณภาพ


สิ่งแวดลอมมากขึ้น
“Polluter Pays Principle” มีจุดมุงหมายใหผูผลิตรับผิดชอบในผลผลิตของตนในตอนที่เปน
ของเสีย และกําหนดใหรวมคาใชจายในการกําจัดของเสียไวในมูลคาของสินคา กฎหมายของบาง
ประเทศยังกําหนดใหผูผลิตมีหนาที่ตองออกแบบและทําใหบรรจุภัณฑของตนนํากลับไปแปรรูปใชใหม
ได เปนตน
หลักการดังกลาวขางตนอาจนํามาใชแบบผสมผสานซึ่งมีระบุอยูในแผนปฏิบัติการสิ่งแวดลอม
นอกเหนื อจากการใชกฎหมายก็อาจใชมาตรการทางการตลาด การวิ จัยและพัฒนาตลอดจนการ
สนับสนุนทางการเงิน เพื่อใหการจัดการสิ่งแวดลอมเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ
ในประเทศญี่ปุน โครงสรางทางกฎหมายเพื่อสงเสริมการสรางสังคมรีไซเคิล แบงเปน 3 สวน
คือ
สวนที่ 1 ประกอบดวย กฎหมายพื้นฐานวาดวยสิ่งแวดลอม (Basic Law on the Environment,
August 1994) และกฎหมายโครงสรางพื้นฐานเพื่อสงเสริมการสรางสังคมรีไซเคิล (The Basic Law for
Establishing the Recycling-Based Society (Basic frame Law), April 2001)
สวนที่ 2 การกําหนดโครงสรางทั่วไป ประกอบดวย กฎหมายการจัดการของเสีย (Waste
Management Law, April 2001) และกฎหมายสงเสริมการใชทรัพยากรอยางมีประสิทธิภาพ (Law for
Promotion of Effective Utilization of Resource, April 2001)
สวนที่ 3 กฎหมายเฉพาะสําหรับผลิตภัณฑ ประกอบดวย กฎหมายการรีไซเคิลหีบหอและ
บรรจุภัณฑ (Containers and Packaging Recycling Law, April 2000) กฎหมายการรีไซเคิลเครื่องใช
ไฟฟาในบาน (Home Appliance Recycling Law, April 2001) กฎหมายการรีไซเคิลสินคาอาหาร
(Food Recycling Law, May 2001) กฎหมายการรีไซเคิลวัสดุกอสราง (Construction Materials
Recycling Law, May 2002) กฎหมายการรีไซเคิลยานยนต (Law on Recycling of End-of-Life
Vehicles, July 2002) และกฎหมายการจัดซื้อสีเขียว (Green Purchasing Law, April 2001) เปนตน

3-17 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ซึ่งจะเห็นไดวากฎหมายทั้งสามสวนนี้สนับสนุนการจัดการของเสีย และการรักษาสิ่งแวดลอม
อยางเปนระบบ
สําหรับกฎหมายของไทย มีกฎหมายหลายฉบับที่กําหนดขึ้นเพื่อจัดการของเสีย แตมิไดเปน
ระบบครบวงจรเชนเดียวกับของตางประเทศ คงบัญญัติเปนกฎหมายรายฉบับเพื่อใชบังคับในแตละเรื่อง
เชน พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม พ.ศ. 2535 เปนกฎหมายวาดวยการวาง
กรอบนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดลอม การกําหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดลอม การวางแผนการจัดการ
คุณภาพสิ่งแวดลอม การประกาศเขตอนุรักษและพื้นที่คุมครองสิ่งแวดลอม การกําหนดใหโครงการ
ขนาดใหญจะตองจัดทํารายงานการวิเคราะหผลกระทบสิ่งแวดลอม หรือ EIA แทบไมมีสวนเกี่ยวของกับ
การจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ เพราะกฎหมายกําหนดใน มาตรา 78 ใหการเก็บรวบ
รวม การขนสง และการจัดการดวยประการใดเพื่อบําบัดและขจัดขยะมูลฝอยและของเสียอื่นที่อยูใน
สภาพเปนของแข็ง ใหเปนไปตามกฎหมายวาดวยการนั้น ซึ่งไดแก พระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมือง พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติสภาตําบลและองคการบริหารสวนตําบล พ.ศ.
2537 เปนตน
เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กฎหมายกําหนดหนาที่และวิธีการ
ดําเนินการเก็บ ขน หรือกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในทองถิ่น กระจายอํานาจใหกับองคกรปกครองสวน
ทองถิ่นในการจัดการขยะและสุขอนามัยในทองถิ่นของตน แตยังมีปญหาของการบังคับใชหลายประการ
ไดแก ปญหาดานความรูความเขาใจของผูที่นํากฎหมายไปปฏิบัติ โดยเฉพาะในระดับทองถิ่น การ
ตีความกฎหมาย การที่มีหลายหนวยงานมีสวนในการดูแลแกไขปญหาเดียวกัน เนื่องจากกรอบอํานาจ
ตามกฎหมาย หรือเกิดจากนโยบายของหนวยงานที่สังกัด เชน การจัดการขยะตามกรอบอํานาจหนาที่
ขององคกรปกครองสวนทองถิ่นในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีกรณีตัวอยาง ปญหา
การตีความขัดแยงกับกฎหมายโรงงาน และกฎหมายการนิคมอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย ที่ทําให
องคกรปกครองสวนทองถิ่นตองขัดแยงกับนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือและโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
เกี่ยวกับการเก็บขนขยะที่ไมอยูในขายขยะอันตราย เปนตน
ประเด็นการมีสวนรวมของประชาชน กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะที่มีอยูยังไมไดมีบท
บัญญัติเอื้ออํานวยใหประชาชนหรือชุมชนมีสวนรวมในกระบวนการจัดการในทุกขั้นตอนเพียงกําหนด
หนาที่ของประชาชนมิใหทิ้งขยะในที่หาม หรือใหทิ้งขยะในสถานที่ที่กําหนดให และชําระคาเก็บขนตาม
อัตราที่กําหนดซึ่งต่ํากวารายจายเปนจริง แตในทางปฏิบัติก็ยังมีการหลบเลี่ยงไมจายเงินดังกลาว ความ
สําเร็จของการจัดการขยะในบางทองที่กลับเกิดขึ้นโดยทองถิ่นหรือภาคเอกชนที่สรางจิตสํานึกเพื่อ
สิ่งแวดลอมรวมกันและแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ

3-18 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

กฎหมายมิไดแยกของเสียบรรจุภัณฑออกจากของเสียจากบานเรือนและชุมชน ดังนั้น ของเสีย


บรรจุภัณฑและของเสียจากบานเรือน อาคาร ตลาด สถานที่ประกอบการคา และที่สาธารณะ จึงถูกรวม
อยูในประเภทเดียวกัน แตหากเปนของเสียหรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมจะมีกฎหมายใหแยกจัด
การโดยเฉพาะตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
ผูรับผิดชอบในการเก็บขนและกําจัดมูลฝอยระดับปฏิบัติในปจจุบัน คือ ราชการสวนทองถิ่น
ไดแก องคการบริหารสวนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองคการบริหารสวนตําบล
ซึ่งกฎหมายกําหนดใหมีหนาที่ในการเก็บขนและกําจัดขยะมูลฝอยในเขตอํานาจและยังอาจออกขอ
กําหนดทองถิ่นในรูปของขอบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ ขอบังคับสุขาภิบาล ขอบังคับตําบล ขอบัญญัติ
กรุงเทพมหานคร หรือขอบังคับเมืองพัทยา เกี่ยวกับรูปแบบของการเก็บ ขน และกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือ
มูลฝอยได ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 20 (3)
ราชการสวนทองถิ่นอาจมีทางเลือกอื่นนอกจากการดําเนินการเองอยู 2 ทาง คือ
(1) ดําเนินการตามมาตรา 18 วรรคสอง โดยอาจมอบใหบุคคล บริษัท หรือองคกรนิติบุคคลใด
ก็ได เปนผูดําเนินการกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยแทน หรือจะจางใหเอกชนรายใดเขามาดําเนินการแทน
ก็ได แตทั้งนี้จะตองอยูภายใตการควบคุมดูแลของราชการสวนทองถิ่น
(2) ดําเนินการตามมาตรา 18 วรรคสองเชนกัน โดยเปดใหเอกชนเขามารับอนุญาตดําเนินการ
เก็บ ขน หรือกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยทําเปนธุรกิจหรือโดยไดรับประโยชนตอบแทนดวยการคิด
คาบริการจากผูใชบริการ (มาตรา 19) โดยราชการสวนทองถิ่นจะเปนผูกําหนดหลักเกณฑ วิธีการ และ
เงื่อนไขตลอดจนอัตราคาบริการที่ผูรับอนุญาตจะสามารถเรียกเก็บได
ราชการสวนทองถิ่นที่ทําหนาที่เก็บขนและกําจัดมูลฝอยดําเนินการโดยใชเงินที่ไดมาจากการ
จัดเก็บคาบริการ ภาษี และเงินอุดหนุนที่รัฐจัดสรรให ในปจจุบันคาบริการจัดเก็บไดเฉพาะคาเก็บขน
มูลฝอย ตามกฎกระทรวงวาดวยอัตราคาธรรมเนียมการใหบริการเก็บขนและกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
และอัตราคาธรรมเนียมอื่น ๆ พ.ศ. 2545 ซึ่งกําหนดอัตราคาธรรมเนียมการใหบริการของราชการสวน
ทองถิ่นในการเก็บและขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ตามมาตรา 20 (4) ราชการสวนทองถิ่นจึงออก
ขอกําหนดทองถิ่นจัดเก็บคาบริการไดไมเกินบัญชีดังกลาว
สวนคากําจัดมูลฝอยในกฎหมายไมไดกลาวถึง จึงตองเปนหนาที่ของราชการสวนทองถิ่น
ดําเนินการโดยงบประมาณของตนเอง ทําใหเปนภาระกับงบประมาณของทองถิ่น เมื่อการเก็บขนขาด
ประสิทธิภาพก็ทําใหมีมูลฝอยตกคาง
ประเทศไทยมีนโยบายจัดการขยะชุมชนซึ่งบรรจุอยูในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหง
ชาติ นโยบายและแผนการสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม พ.ศ. 2540-2559 และแผนจัดการ
มลพิษ พ.ศ. 2539-2549 เปนตน ซึ่งแตละแผนมีจุดมุงหมายอยางเดียวกัน ที่จะลดปริมาณขยะและสราง
ระบบการจัดการที่ดี สวนใหญจะเกี่ยวกับการวางแผนจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลใหมีปริมาณลดลงกับหา
ทางนํามาใชประโยชนใหมากขึ้น ตั้งเปาหมายในการลดปริมาณขยะขยะอยางเปนรูปธรรม สงเสริมและ
สนับสนุนใหภาคเอกชนรวมลงทุน กอสราง บริหารและดําเนินระบบจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล มีแนว
นโยบายที่จะใหผูกอมลพิษเปนผูจาย เรงรัดใหทองถิ่นเก็บขนและกําจัดขยะมิใหเหลือตกคาง จัดหา

3-19 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

งบประมาณและยานพาหนะตลอดจนเครื่องมืออุปกรณมาใชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บขน และจัด
หาที่ฝงกลบขยะ
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไดใหความสําคัญกับการปรับปรุงการจัดการใหเกิดสมดุลระหวางการใช
ประโยชนกับการอนุรักษฟนฟู สงเสริมการนําทรัพยากรไปใชประโยชนในระดับที่ยั่งยืนเพื่อชวยแก
ปญหาเศรษฐกิจของประเทศ สนับสนุนใหเกิดการพัฒนาที่พึ่งตนเองได ยกระดับคุณภาพชีวิตของคน
ไทยและสรางภูมิคุมกันใหกับชุมชนและประเทศ รวมทั้งเปนรากฐานที่แข็งแกรงของการพัฒนาประเทศ
โดยเนนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมที่อาศัยกระบวนการมีสวนรวมของทุก
ภาคสวนในสังคม มุงเนนประสิทธิภาพ การกํากับควบคุมที่มีประสิทธิผล มีความโปรงใส สุจริต ตลอด
จนมีการศึกษาวิจัยที่สามารถนําไปใชประโยชนไดอยางแทจริง มีเปาหมายการเพิ่มขีดความสามารถใน
การรวบรวม กําจัด และลดกากของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรมและจากชุมชนใหเพิ่มขึ้นไมต่ํากวารอย
ละ 50 ของปริมาณของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ใหมีการกําจัดขยะมูลฝอยอยางถูกหลักวิธีและ
ปลอดภัยไมนอยกวารอยละ 50 ของจังหวัดทั้งหมด และมีการใชประโยชนมูลฝอยไมต่ํากวารอยละ 30
ของปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้น
แนวทางการดําเนินการจะพัฒนาและใชเครื่องมือทางเศรษฐศาสตรที่เหมาะสมเพื่อจูงใจใหมี
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการผลิตที่เปนมิตรตอสิ่งแวดลอมและใหมีการจายคาการใช
ประโยชนทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อนําไปลงทุนฟนฟูและบําบัดสิ่งแวดลอม รวมทั้งสงเสริมใหภาค
เอกชนลงทุนหรือรวมลงทุนกับภาครัฐ เพื่อแกปญหาสิ่งแวดลอมในเมืองและชุมชนโดยใชมาตรการจูงใจ
ดานภาษี
การลดปริมาณขยะและของเสียและการนําของเสียกลับมาใชประโยชนใหม จะใชมาตรการทาง
เศรษฐศาสตร รวมทั้งมาตรการผูกอมลพิษเปนผูจ า ย และใหมรี ะบบเรียกคืนซากของเสียอันตราย ซาก
บรรจุภณ ั ฑ วัสดุเหลือใช ตลอดจนสงเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่รองรับการนําของเสียกลับมาใชใหม
สนับสนุนใหจังหวัดมีศูนยรวมกําจัดขยะมูลฝอยที่มีระบบครบวงจร โดยลงทุนและดําเนินงานรวมกับ
ภาคเอกชน หรือโดยภาคเอกชน รวมทั้งจัดใหมีระบบจัดการขยะติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพพัฒนา
เทคโนโลยีเพื่ออนุรักษสิ่งแวดลอมและควบคุมมลพิษควบคูกับการสงเสริมกระบวนการผลิตที่สะอาด
ลดการใชวัสดุและสงเสริมการแปรรูปของเสียเพื่อกลับมาใชใหม โดยใหมีการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี
เพื่อแกไขปญหาสิ่งแวดลอม กระตุนใหภาคเอกชนเขารวมพัฒนาเทคโนโลยีดานสิ่งแวดลอมอยางจริงจัง
และกวางขวางยิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนดานการเงินแกสถานประกอบการเพื่อปรับสูกระบวนการผลิตที่
สะอาด
อยางไรก็ตาม เมื่อพิจารณากฎหมายสนับสนุนการดําเนินการตามแผน พบวา ยังขาดกลไกทาง
กฎหมาย อันเปนปจจัยที่จะทําใหสามารถดําเนินการตามแผนได ประเด็นที่สําคัญในสวนที่เกี่ยวกับ
บรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ คือ

3-20 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

การพัฒนาและใชเครื่องมือทางเศรษฐศาสตรที่เหมาะสม
(1) การใชหลักการผูกอมลพิษเปนผูจ า ย
(2) การจัดระบบเรียกคืนซากบรรจุภณ ั ฑ วัสดุเหลือใช
(3) การลดการใชวัสดุและสงเสริมการแปรรูปของเสียเพื่อกลับมาใชใหม
หากจะพิจารณาสภาพปญหาดานกฎหมายของบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑตามวงจร
ชีวิตของบรรจุภัณฑแลว จะเห็นไดวายังขาดมาตรการและกลไกที่จะดูแลใหมีการผลิตและบริโภคที่เปน
มิตรตอสิ่งแวดลอมและการใชทรัพยากรที่ยั่งยืน ดังตอไปนี้
(1) การออกแบบและการผลิต ในขั้นตอนของการออกแบบผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑ จาก
การศึ ก ษาพบว า ไม มี ก ฎหมายหรื อ มาตรการใดที่ กําหนดให ผู อ อกแบบหรื อ ผู ผ ลิ ต ต อ งคํานึ ง ถึ ง
ผลกระทบตอสิ่งแวดลอมและการใชทรัพยากรที่ยั่งยืน จึงขึ้นอยูกับความตองการของตลาด หรือขอ
กําหนดของผูสั่งซื้อเปนสําคัญ ซึ่งตางกับประเทศพัฒนาแลว
สหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศที่พัฒนาแลวใชมาตรการและกฎหมายหลายประการ เชน
"ฉลากเพื่อสิ่งแวดลอม" เปนเครื่องมือในการแยกสินคาใหผูผลิตที่มีความรับผิดชอบเขามาในตลาด
ขณะที่ผูผลิตที่ไมคํานึงถึงสิ่งแวดลอมก็จะถูกกันออกจากตลาดไป หรือการใชกฎหมายกําหนดใหผลิต
ภัณฑที่ขายในตลาดจะตองมีสัดสวนที่สามารถใชซ้ําหรือรีไซเคิลไดเปนปริมาณเทาใด เปนตน นอกจาก
นั้น การกําหนดใหผูผลิตตองรับภาระในการเรียกคืนบรรจุภัณฑของตนและถาไมเรียกคืนเองตองจายให
กับองคกรจัดการขยะบรรจุภัณฑตามชนิด ปริมาณ และน้ําหนักของบรรจุภัณฑของตน และจะตองจาย
มากขึ้นหากเปนบรรจุภัณฑที่กําจัดยาก เชน พลาสติก เปนตน ทําใหผูผลิตตองเลือกออกแบบใหใช
บรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมและนอยที่สุดเทาที่สามารถทําได
กฎหมายของไทยที่อาจนํามาใชดูแลในขั้นตอนนี้ เปนเพียงการกําหนดมาตรฐานของสินคา
ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งมีกรอบอํานาจในการกําหนด
มาตรฐานสําหรับผลิตภัณฑอุตสาหกรรมเพื่อประโยชนในการสงเสริมอุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัย
หรือเพื่อปองกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแกประชาชน หรือแกกิจการอุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจของ
ประเทศ เปนเครื่องมือในการควบคุมผลิตภัณฑอุตสาหกรรมใหเปนไปตามมาตรฐานและอนุญาตใหนํา
เขาผลิตภัณฑที่เปนไปตามมาตรฐาน ดังนั้น จึงใชไดเฉพาะในการกําหนดสินคาที่ไดมาตรฐานเทานั้นที่
จะอนุญาตใหนําเขาหรือจําหนายในประเทศ
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 8 (4) ใหอํานาจรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงกําหนด
หลักเกณฑที่ตองปฏิบัติ กรรมวิธีการผลิต และการจัดใหมีอุปกรณหรือเครื่องมืออื่นใด เพื่อปองกันหรือ
ระงับหรือบรรเทาอันตรายความเสียหายหรือความเดือดรอนที่อาจเกิดแกบุคคลหรือทรัพยสินที่อยูใน
โรงงานหรือที่อยูใกลเคียงกับโรงงาน ซึ่งอาจกําหนดใหโรงงานปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการขยะในโรงงาน
การรีไซเคิลวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและการหามไมใหใชสารอันตรายบางชนิดในกระบวนการ
ผลิต แตไมมีอํานาจกําหนดวัสดุหรือแบบของบรรจุภัณฑ

3-21 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(2) การคัดแยก เปนขั้นตอนที่บรรจุภัณฑถูกแยกออกจากตัวสินคาและถูกทิ้งใหเปนขยะ


กฎหมายของไทยไมไดกําหนดหนาที่ของผูผลิต ผูนําเขา ผูจัดจําหนายในการเรียกคืน หรือผูบริโภคใน
การคัดแยกขยะบรรจุภัณฑ เพื่อการนําไปใชซ้ําหรือรีไซเคิลตามชนิด หรือประเภทของบรรจุภัณฑ มี
เฉพาะกฎหมายใหอํานาจองคกรปกครองสวนทองถิ่นในการออกขอบัญญัติของทองถิ่นใหทิ้งขยะในที่ที่
กําหนดเทานั้น
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมือง พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 บัญญัติใหผูที่อยูอาศัยในอาคารบานเรือน รานอาหาร
ตลาดสด เปนตน เก็บรวบรวมขยะเพื่อรอการขนถายจากหนวยงานที่รับผิดชอบโดยจะตองทําใหอยูใน
สภาพที่สะอาด ปราศจากสิ่งสกปรกหรือสิ่งของรุงรัง เพื่อการรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบ
เรียบรอย ตามมาตรา 6 แหงพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอยของบาน
เมือง พ.ศ. 2535 2
เจาของหรือผูครอบครองอาคารฯ จะตองเททิ้งขยะในที่รองรับซึ่งจัดหาหรือจัดใหมีขึ้นดวยตนเอง
หรือหนวยงานอื่นที่เกี่ยวของไดจัดหาหรือจัดใหมีขึ้นอยางมิดชิดเปนระเบียบเรียบรอยและมีสภาพที่
ประชาชนไมอาจมองเห็นไดจากที่สาธารณะ ปราศจากกลิ่นอันเปนเหตุรําคาญ ดังความในมาตรา 20
และ 25 แหงพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และมาตรา 26, 29-34 และ 40 แหง
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมือง พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ใหอํานาจเจาพนักงานทองถิ่นในการระงับเหตุ
รําคาญที่เกิดขี้นจากการปลอยปละละเลยใหขยะสะสมหรือหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นหรือละอองเปน
พิษหรือนาจะเปนที่เพาะพันธุพาหะนําโรคหรือกอใหเกิดความเสื่อมหรืออาจเปนอันตรายตอสุขภาพที่ผู
เปนเจาของอาคารไดกอใหเกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ โดยออกคําสั่งเปนหนังสือให
ผูเปนเจาของอาคารหรือผูเกี่ยวของกับการกอหรืออาจกอใหเกิดเหตุรําคาญ ระงับหรือปองกันเหตุ
รําคาญภายในเวลาอันสมควรและหากผูนั้นยังคงฝาฝนอาจตองรับโทษทางอาญาตามความในมาตรา 74
เจาพนักงานทองถิ่นมีอํานาจแตงตั้งขาราชการหรือพนักงานสวนทองถิ่นเพื่อใหปฏิบัติหนาที่
ตามความในมาตรา 44 แหงพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในเขตอํานาจของราชการ
สวนทองถิ่น ผูที่ไดรับแตงตั้งนี้จะใชอํานาจกระทําการอยางใดอยางหนึ่งภายในขอบเขตตามความใน
มาตรา 44 แหงพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เทานั้น เชน การใชอํานาจออกหนังสือเรียก
บุคคลใดๆ มาใหถอยคําหรือแจงขอเท็จจริงหรือทําคําชี้แจงเปนหนังสือหรือใหสงเอกสารหลักฐานใดๆ
เขาไปในอาคารหรือสถานทีใดๆ ในเวลาระหวางพระอาทิตยขึ้นและพระอาทิตยตกหรือในเวลาทําการ
เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมใหเปนไปตามขอกําหนดทองถิ่น เปนตน
หากผูที่ไดรับแตงตั้งพบวาผูเปนเจาของอาคารหรือผูที่เกี่ยวของไดปลอยใหขยะของตนสะสม
หรือหมักหมมในที่หรือทางสาธารณะจนกอใหเกิดหรืออาจเกิดเหตุรําคาญขึ้นแลว ผูไดรับแตงตั้งไม
สามารถใชอํานาจออกคําสั่งเปนหนังสือเพื่อใหผูเปนเจาของอาคารบานเรือนหรือผูที่เกี่ยวของกับการกอ
หรืออาจกอใหเกิดเหตุรําคาญระงับหรือปองกันเหตุรําคาญตามความในมาตรา 27 แตจะตองรายงาน

2
พระราชบัญญัติฉบับนี้ใหมีผลบังคับใชในเขตเทศบาล สุขาภิบาล กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาเมื่อพนกําหนด 30 วันนับแตวัน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา(28 กุมภาพันธ 2535) เปนตนไป
3-22 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

หรือแจงใหเจาพนักงานทองถิ่นทราบเพื่อใหเจาพนักงานทองถิ่นใชอํานาจดําเนินการตามกฎหมายดัง
กลาวขางตนตอไป
อยางไรก็ตาม ขยะที่ตองเก็บขนในแตละวันมีปริมาณมากและเพิ่มขึ้นทุกป พนักงานผูทําการ
เก็บขนยังใชเวลาในขั้นตอนการเก็บขนทําการแยกขยะไปดวย และการคัดแยกยังมีการคัดแยกขยะในที่
สาธารณะ ถังขยะหนาบาน และกองขยะโดยคนคุยขยะ และซาเลง ซึ่งทําใหเกิดความสกปรกรกรุงรังใน
บานเมือง ผลของการไมคัดแยกขยะยังทําใหเกิดการปนเปอนของวัสดุที่อาจนํามารีไซเคิลได ทําใหตอง
เสียคาใชจายในการทําความสะอาดหรือคุณภาพของวัสดุรีไซเคิลลดลงอีกดวย
สําหรับพลาสติกรีไซเคิล ประเทศไทยไดมีการกําหนดสัญลักษณสําหรับพลาสติกแปรใชใหม
(Symbols for Recycling Plastics) มอก. 1310-2538 โดยคณะกรรมการวิชาการคณะที่ 814 โดยอาศัย
แนวทางของ ISO 1043-1:1987 และมาตรฐานของสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกของอเมริกา (The
Society of the Plastics Industry, Inc.) เปนแนวทาง มาตรฐานนี้ใชครอบคลุมเฉพาะผลิตภัณฑ
พลาสติกแปรใชใหมที่ใชเพื่อการบรรจุภัณฑ (Packaging) และไดกําหนดนิยามของผลิตภัณฑพลาสติก
แปรใชใหมที่ใชเพื่อการบรรจุภัณฑใหหมายถึงผลิตภัณฑพลาสติกที่ทําดวยพลาสติกแปรใชใหมลักษณะ
แข็งหรือกึ่งแข็ง (rigid or semi-rigid) มีรูปรางเปนภาชนะ เชน ขวด กลอง ถัง ถวย ถาด หรือเปน
พลาสติกแผนบาง (flexible) เขน ถุง ฟลม สําหรับบรรจุหรือหุมหอผลิตภัณฑตาง ๆ และไดกําหนด
สัญลักษณไว ดังภาพที่ 3-1

สําหรับพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต
[Poly(ethylene terephthalate)]
สําหรับพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนความหนาแนนสูง
(high density polyethylene)
สําหรับพลาสติกชนิดโพลิไวนิลคลอไรด
[poly(vinyl chloride)]
สําหรับพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนความหนาแนนต่ํา
(low density polyethylene)
สําหรับพลาสติกชนิดโพลิโพรพิลีน
(polypropylene)
สําหรับพลาสติกชนิดโพลิสไตรีน
(polystyrene)
สําหรับพลาสติกอื่น ๆ
หมายเหตุ * หมายถึง อาจระบุชนิดของพลาสติกที่ใชทํา
ภาพที่ 3-1
ที่มา : สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม, สัญลักษณสําหรับพลาสติกแปรใชใหม มอก. 1310-2538

3-23 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

อยางไรก็ตาม สัญลักษณขางตนมิไดเกี่ยวของกับการแสดงถึงภาระผูกพันที่ผูผลิตจะตองนํา
บรรจุภัณฑที่ประทับตราดังกลาวกลับมารีไซเคิลแตอยางใด ดังนั้นสัญลักษณสําหรับพลาสติกแปรใช
ใหมในกรณีนี้จึงใชเพื่อวัตถุประสงคในการแยกขยะเทานั้น
หลายหนวยงานทั้งภาครัฐและเอกชน พยายามรณรงคแยกขยะดวยวิธีการตางๆ เพื่อลด
ปริมาณขยะที่ตนทางและสามารถที่จะนําขยะมีคาไปใชซ้ําหรือแปรรูปนํากลับมาใชใหม มีการใหความรู
เพื่อมิใหใชวัสดุที่ยอยสลายไดยาก เชน โฟม หรือมิใหทิ้งวัตถุอันตราย เชน ถานไฟฉาย ลงในถังขยะ
ปกติ เปนตน เปนการสรางจิตสํานึกใหกับประชาชนที่ตองใชเวลาปลูกฝง อยางไรก็ดี ยังไมมีกฎหมาย
หรือระบบการจัดการที่ใหประชาชนเขามีสวนรวมกับภาครัฐในการจัดการขยะชุมชนมากไปกวาการให
ความรวมมือในการจัดการขยะดังกลาวขางตน เชน กรุงเทพมหานคร ตั้งถังขยะตางสีในที่สาธารณะเพื่อ
ใหประชาชนแยกทิ้งขยะเปยกกับขยะแหง โครงการรณรงคแยกขยะที่ดําเนินการโดยองคกรพัฒนาเอก
ชน โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล เปนตน แตก็ไมมีหลักประกันของความสําเร็จและความยั่งยืน
ระบบมัดจําบรรจุภัณฑบางอยางที่เปนอยูในปจจุบัน เชน ขวดเครื่องดื่ม หรือขวดน้ําบางขนาด
เกิดจากผูผลิตและผูจําหนายกําหนดขึ้นเพื่อการตลาดของสินคาของตนเองโดยมิไดมีกฎหมายรองรับ
หากแตเกิดจากการตกลงระหวางผูผลิต ผูคาสง ผูคาปลีก และลูกคา โดยมีสิ่งจูงใจที่จะไดรับเงินมัดจํา
คืนเต็มจํานวนหากนําเอาขวดแกวหรือขวดพลาสติกมาคืน ซึ่งผูผลิตก็จะนําไปทําความสะอาดและบรรจุ
สินคาใหม ซึ่งทําใหลดปริมาณขยะและใชวัสดุอยางคุมคา
สําหรับประเทศที่พัฒนาแลวไดใชมาตรการและกฎหมายในการคัดแยกขยะ ซึ่งเริ่มตั้งแตการ
สรางระบบในการเรียกคืนบรรจุภัณฑ และกําหนดหนาที่ใหผูผลิต ผูนําเขา ผูจัดจําหนาย และผูบริโภค
ปฏิบัติ เชน แยกบรรจุภัณฑเปน 3 ประเภท ไดแก บรรจุภัณฑชั้นใน บรรจุภัณฑชั้นนอก และ
บรรจุภัณฑขนสง ซึ่งผูเกี่ยวของจะตองมีหนาที่จัดการกับบรรจุภัณฑแตละประเภท
วิธีการหนึ่งที่หลายประเทศดําเนินการเพื่อการลดขยะ คือ การออกกฎหมายในระดับชาติหรือ
ในระดับรัฐกําหนดใหมีการเรียกเก็บมัดจําบรรจุภัณฑสินคาโดยคิดรวมไปกับคาสินคาและเมื่อนําเอา
บรรจุภัณฑใชแลวมาคืนก็จะไดรับเงินมัดจําคืน (Deposit and Refunds) ซึ่งก็จะมีการรวบรวมนําไปใช
ซ้ําโดยผูผลิตหรือนําไปรีไซเคิล จึงเปนมาตรการทางเศรษฐศาสตรประการหนึ่งที่ทําใหผูบริโภคสวน
ใหญจะไมทิ้งบรรจุภัณฑใหเปนขยะที่ตองเก็บขนนําไปกําจัดหรือตองมีการแยกจากกองขยะอีกครั้งหนึ่ง
การมัดจําสวนใหญจะกําหนดกับผลิตภัณฑเบียร ไวน เครื่องดื่ม ที่เปนบรรจุภัณฑขวดแกว กระปอง
โลหะ อลูมิเนียม พลาสติก ในประเทศเยอรมันระบบมัดจํายังรวมไปถึงบรรจุภัณฑผงซักฟอกและสีทา
บานดวย ประเทศในกลุม OECD3 อีกหลายประเทศก็ไดใชระบบมัดจํานี้กับบรรจุภัณฑขวดพลาสติก
และขวดแกว ทําใหผูบริโภคมีชองทางในการคัดแยกและคืนบรรจุภัณฑกลับไปยังผูผลิต

3
The Organisation for Economic Co-Operation and Development
3-24 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

การกําหนดเปาหมายของการเรียกคืนและการรีไซเคิล ก็เปนเครื่องมือสําคัญที่ทําใหผูผลิตหรือ
องคกรจัดการขยะบรรจุภัณฑตองเรงรัด เชน สหภาพยุโรปกําหนดในกฎหมายใหประเทศสมาชิกตองมี
ระบบการเรียกคืนและหรือการเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑใชแลวใหเปนไปตามเปาหมายตอไปนี้
(1) ภายใน 5 ป นับแตวันที่กฎหมายใชบังคับ สมาชิกแตละประเทศจะตองออกกฎหมาย
เรียกคืนบรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑใหไดอยางต่ํารอยละ 50 อยางสูงรอยละ 65 โดยน้ําหนักของ
บรรจุภัณฑ
(2) จะตองรีไซเคิลบรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑที่เรียกคืนมาอยางต่ํารอยละ 25 อยางสูง
รอยละ 45 โดยน้ําหนักและบรรจุภัณฑแตละประเภทควรมีองคประกอบที่สามารถนํามารีไซเคิลไดไมต่ํา
กวารอยละ 15 โดยน้ําหนัก
(3) ภายใน 10 ป นับแตวันที่กฎหมายใชบังคับ สมาชิกแตละประเทศจะตองมีกฎหมาย
กําหนดใหสัดสวนของการเรียกคืนและการรีไซเคิลบรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑเปนไปตามที่คณะ
มนตรียุโรป (The Council) กําหนดเพิ่มขึ้นจากเปาหมายเดิม
มาตรการที่กําหนดใหมีควบคูกับการกําหนดเปาหมาย คือ การกําหนดระบบเครื่องหมายบน
บรรจุภัณฑที่จะระบุถึงวัสดุที่ใช (The Identification System for the Material Used) การกําหนด
ปริมาณโลหะหนักของตะกั่ว แคดเมี่ยม ปรอท และเฮซาวาไลนโครเมี่ยม ในบรรจุภัณฑหรือสวน
ประกอบของบรรจุภัณฑไมเกินกวา 600 ppm โดยน้ําหนัก ภายใน 2 ป และลดลงมาเปน ไมเกิน 250
ppm โดยน้ําหนัก ภายใน 3 ป และไมเกิน 100 ppm โดยน้ําหนัก ภายใน 5 ป กฎหมายยังกําหนดให
ประเทศสมาชิกจัดทําฐานขอมูลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑ ใหเปนไปในแนวทางเดียวกัน
เพื่อใหสามารถติดตามตรวจสอบการดําเนินงานใหเปนไปตามวัตถุประสงคของกฎหมายได
นอกจากนั้น ในแงของการปฏิบัติในแตละประเทศ ยังมีวิธีการที่จะทําใหผูบริโภคแยกขยะ
บรรจุภัณฑกลับมาใหมากที่สุด เชน การเก็บขยะตามประเภทในวันที่กําหนด การใชถุงหรือถังตางสี
การติดตั้งเครื่องอัตโนมัติในการรับคืนบรรจุภัณฑ เปนตน
ประเทศเดนมารก ใชเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร คือ ภาษี มาใชในการจูงใจใหลดขยะและ
แยกขยะกอนทิ้ง โดยเก็บภาษีการฝงกลบขยะสูงกวาการเผาขยะเพื่อนําพลังงานความรอนมาใช

3-25 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

องคกรพัฒนาเอกชน ในประเทศเดนมารก เชน KMEK มีสวนสงเสริมใหการคัดแยกและจัด


การขยะโดยชุมชนมีสวนรวม เพราะชุมชนสามารถใชที่วางหลังบานทําการคัดแยกขยะไดมากประเภท
กวาการคัดแยกขยะโดยทั่วไป เรียกวา Nørrebro-model ซึ่งนําไปขยายผลในพื้นที่อื่นไดดวย

(3) เก็บรวบรวม ขนสง ในขั้นตอนของการเก็บรวมรวมและขนสง กฎหมายของไทยกําหนดให


เปนเรื่องขององคกรปกครองสวนทองถิ่นมีหนาที่ดําเนินการ หรือองคกรปกครองสวนทองถิ่นอาจมอบ
ใหบุคคล บริษัท หรือองคกรนิติบุคคลเปนผูดําเนินการกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยแทน หรือวาจางให
เอกชนรายใดเขามาดําเนินการแทนก็ได แตจะตองอยูภายใตการควบคุมดูแล หรือเปดใหเอกชนเขามา
รับอนุญาตดําเนินการเก็บ ขน หรือกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยทําเปนธุรกิจหรือโดยไดรับประโยชน
ตอบแทนดวยการคิดคาบริการจากผูใชบริการ
อยางไรก็ตาม องคกรปกครองสวนทองถิ่นสวนใหญนิยมดําเนินการเอง เพราะมีปจจัยดาน
การบริหาร งบประมาณ และอัตรากําลัง ทําใหตองรักษางานนี้ไวในระบบราชการ มีบางพื้นที่ที่หนวย
งานภาครัฐมีขีดจํากัดไมอาจรับภาระหนาที่เชนวานี้ไดแตเพียงฝายเดียว จึงอาจมอบหมายใหเอกชน
เปนผูดําเนินการเก็บขนภายใตการควบคุม
กฎหมายไดกําหนดใหการเก็บขนจะตองดําเนินไปอยางถูกสุขลักษณะ เชน หนวยงานที่เกี่ยว
ของจะต องดูแลใหรถยนตที่ใชในการเก็บขนอยูในสภาพที่ปองกันมิใหขยะตกหลน รั่วไหล ปลิว
ฟุงกระจายลงถนน รวมทั้งการปองกันไมใหน้ํามันรั่วไหล ตามความในมาตรา 13 แหงพระราชบัญญัติ
รักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมือง พ.ศ. 2535 สวนหลักเกณฑ วิธีการ
และเงื่อนไขอื่น ๆ ในการเก็บขนกฎหมายไดมุงเนนกระจายอํานาจใหองคกรปกครองสวนทองถิ่น
กําหนดไดตามความเหมาะสมโดยอาจตราเปนขอกําหนดทองถิ่นขึ้นใชบังคับแกกิจการประเภทนี้ได
ดังความในมาตรา 20 แหงพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
งบประมาณที่ใชจายในการเก็บขนขยะเปนเงินรายไดขององคกรปกครองสวนทองถิ่นซึ่งไดมา
จากการจัดเก็บคาบริการ ภาษี และเงินอุดหนุน ขยะที่เก็บไดจะถูกสงไปยังสถานที่กําจัดซึ่งระหวางทาง
พนักงานเก็บขนก็จะทําการแยกขยะมีคาออกเพื่อขายเปนรายไดพิเศษ คาบริการในปจจุบันจัดเก็บ
เฉพาะคาเก็บขนตามกฎกระทรวง สวนคากําจัดไมไดกลาวถึง องคกรปกครองสวนทองถิ่นจึงออกขอ
กําหนดจัดเก็บเฉพาะคาบริการไดไมเกินบัญชีดังกลาว ปญหาจึงเปนเรื่องของการกําหนดคาเก็บขนขยะ
มูลฝอยในกฎกระทรวงไวในอัตราคอนขางต่ํา ไมสะทอนคาใชจายที่เกิดขึ้นจริงทั้งในสวนของพนักงาน
และเครื่องมือ ตลอดจนยานพาหนะที่ใชในการเก็บรวบรวมและขนสงขยะ
การไมมีกฎหมายกําหนดใหแยกขยะที่ตนทางหรือแหลงกําเนิด ทําใหตองเก็บรวบรวมขยะใน
ปริมาณสูงกวาที่ควรจะเปนและขยะหรือวัสดุที่อาจนํากลับมาใชซ้ําหรือรีไซเคิลก็ถูกปนเปอน เปนความ
สูญเสียที่ไมนอ ยและยังไมไดรับการแกไข

3-26 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ในตางประเทศ การเก็บรวบรวมและขนสงขยะบรรจุภัณฑจะเปนระบบตอเนื่องจากการแยก
ขยะที่ถูกกําหนดโดยกลไกความรับผิดชอบของแตละขั้นตอนในวงจรบรรจุภัณฑ ผูผลิตหรือผูนําเขา
สินคาตองเรียกคืนบรรจุภัณฑของตนนําไปกําจัด หรือถาไมตองการดําเนินการเองก็อาจมอบหมายให
องคกรจัดการขยะบรรจุภัณฑรับไปดําเนินการโดยชําระคาธรรมเนียม (Green Dot) ทําใหลดจํานวน
ขยะที่จะทิ้งนําไปเผาหรือฝงกลบ
ในประเทศเบลเยี่ยมมีกฎหมายภาษีนิเวศ (Eco-Tax Law 1993) ประกาศใชเมื่อวันที่ 16
กรกฎาคม พ.ศ. 2536 มีสาระสําคัญ กําหนดใหภาชนะเครื่องดื่มใชบรรจุภัณฑชนิดที่สามารถใชซ้ําหรือ
รีไซเคิลได กระดาษและกระดาษกลองใชกับสินคาประเภทไมใชอาหารและยา ใหมีสัดสวนเยื่อกระดาษ
ที่ผานการรีไซเคิลแลวไมนอยกวา 60% โดยน้ําหนัก และบรรจุภัณฑสําหรับอุตสาหกรรม เชน หมึกที่
บรรจุมากกวา 2.5 ลิตร กาวที่บรรจุมากกวา 10 ลิตร สารละลายที่บรรจุมากกวา 10 ลิตร จึงจะเสีย
ภาษี มีขอยกเวนภาษีบรรจุภัณฑ ถาอัตราการนํากลับเปนไปตามเปาที่กําหนดและไดจัดระบบมัดจําใน
อัตราที่กําหนด ผลของกฎหมายขางตนทําใหผูผลิตสินคา ผูรับจางบรรจุ และผูนําเขา ตองหาทางนํา
บรรจุภัณฑใชแลวไปกําจัดหรือมอบความรับผิดชอบใหแกองคกรบริการจัดการบรรจุภัณฑใชแลวเปนผู
จัดการแทน เนื่องจากบริษัทสวนใหญไมสามารถนําบรรจุภัณฑของตนกลับคืนจากผูซื้อผูใชแตละราย
บุคคลไดดวยตนเอง
ระบบการรวบรวมขยะที่หลายประเทศใชมีลักษณะใกลเคียงกัน คือ การใหประชาชนมีหนาที่
คัดแยกขยะจากครัวเรือนออกตามประเภท เชน ขยะเปยก กระดาษ แกว พลาสติก กระปองโลหะ
อลูมิเนียม เปนตน แลวมีบริการจัดเก็บตามทางเดินหนาบาน (Kerbside) รวมกับระบบที่มีการจัดตั้งจุด
ทิ้งขยะรวมในที่สาธารณะ (Drop-off) หรือศูนยกําจัดขยะ (Recycling Center) เพื่อประชาชนจะไดนํา
ขยะบางประเภทไปทิ้งดวยตนเอง และเทศบาลหรือผูมีหนาที่รับผิดชอบจะมารวบรวมไปกําจัดหรือ
รีไซเคิล

(4) การใชประโยชน บรรจุภัณฑใชแลวอาจถูกนํามาคัดแยกตามชนิด ประเภทของวัสดุ สวน


หนึ่งนํามาใชซ้ําและอีกสวนหนึ่งจะถูกนําไปรีไซเคิล ประเทศไทยไมมีกฎหมายกําหนดใหผูผลิต ผูนํา
เขา ผูจัดจําหนายตองมีหนาที่จัดการกับบรรจุภัณฑของตน เพื่อใชซ้ําหรือรีไซเคิลตามที่กลาวมาแลว จึง
เปนเรื่องของผูที่เกี่ยวของในธุรกิจการตลาดของขยะมีคาตาง ๆ ที่จะจัดการคัดแยกนําไปใชประโยชน
โดยพอคารับซื้อของเกาจะรับซื้อขยะที่เก็บรวบรวมจากคนคุยขยะหรือพอคาเรที่เรียกวา "ซาเลง" ซึ่งมี
กระดาษ พลาสติก แกว โลหะ เปนตน สงขายโรงงานนํามาแปรใชใหม
ปญหาสําคัญของการนําขยะบรรจุภัณฑมาใชประโยชน คือ การไมแยกขยะของผูทิ้ง ขยะที่
สามารถนํามาแปรใชใหมจึงปนเปอนกับขยะเปยกหรือขยะอื่นทําใหสัดสวนของขยะที่แยกมาใชไดคอน
ขางต่ําและตองฝงกลบไป จึงมีการรณรงคใหประชาชนทั่วไปสนใจในการแยกขยะออกเปนประเภทเพื่อ
ใหงายตอการเก็บขนและรีไซเคิล แตก็ยังไมมีกฎหมายดูแลโดยตรง

3-27 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ผลิตภัณฑรีไซเคิลใชเอกลักษณการรีไซเคิลเปนกลยุทธในแงรักษาสิ่งแวดลอม แตมีกลุม
ผูบริโภคคอนขางจํากัด การตัดสินใจของผูบริโภคจะขึ้นอยูกับยี่หอ ราคา ประโยชนใชสอย คุณสมบัติ
และความคงทนมากกวาจะเปนวัสดุรีไซเคิลหรือไม ในแงของผูผลิตจะคํานึงถึงราคาวัตถุดิบบริสุทธิ์และ
คุณสมบัติที่ใกลเคียงกับวัตถุดิบบริสุทธิ์เปนสําคัญเพื่อใหสามารถผลิตผลิตภัณฑที่มีคุณสมบัติเปนที่
พอใจของผูบริโภคและในราคาที่แขงขันได4 นอกจากนั้น ผลิตภัณฑที่ใชวัสดุรีไซเคิล ผูผลิตยังไมนิยม
แสดงสัดสวนของวัสดุรีไซเคิลบนผลิตภัณฑทําใหไมทราบวาสัดสวนเปนเทาใด และยังไมมีกฎหมายใช
บังคับ
การนําบรรจุภัณฑมาใชซ้ําก็เปนอีกมาตรการหนึ่งที่สามารถลดขยะได ในประเทศอังกฤษไมมี
กฎหมายกํ า หนดระบบมั ด จํ า โดยตรง แต กํ า หนดเป น นโยบายในกฎหมายสิ่ ง แวดล อ ม
(The Environment Protection Act 1990) ใหลดการใชบรรจุภัณฑและหลีกเลี่ยงการใชบรรจุภัณฑที่ใช
เพียงครั้งเดียว จึงมีภาคเอกชนหลายแหงที่หมุนเวียนบรรจุภัณฑกลับมาใชใหม เชน ขวดนม ขวดน้ํา
เลมอเนตที่สงตามบาน และมีความพยายามที่จะใหจํานวนครั้งที่ใชซ้ําเพิ่มขึ้น ภาคเอกชนบางแหง เชน
หาง Marks and Spencer (M&S) ซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ใชซ้ําบรรจุภัณฑขนสงถึง 90% ใชซ้ําที่แขวน
เสื้อผาที่ลูกคาไมนําไปดวยทําใหประหยัดที่แขวนถึง 20 ลานอันตอป หรือคิดเปนพลาสติกถึง 1,200
ตัน
สําหรับกฎหมาย The Recycle Content Law 1989 ของประเทศสหรัฐอเมริกาสนับสนุน
สินคาที่ทํามาจากวัสดุรีไซเคิล โดยกําหนดใหหนวยงานทองถิ่นตองซื้อสินคาที่ผลิตมาจากวัสดุรีไซเคิล
หรือมีสวนผสมของวัสดุรีไซเคิล โดยกําหนดสัดสวนของวัสดุรีไซเคิลในสินคา
นโยบายในการรีไซเคิลที่ประกาศโดยประธานาธิบดีบิล คลินตัน ยังรณรงคใหประชาชนใช
กระดาษรีไซเคิลตั้งแตเดือนตุลาคม ป พ.ศ. 2536 และแนะนําใหหนวยงานของรัฐและกองทัพสหรัฐ
อเมริกา ใชกระดาษที่ทํามาจากกระดาษรีไซเคิลรอยละ 20 ของกระดาษที่ใชทั้งหมดตั้งแตป พ.ศ. 2538
ซึ่งมีความชัดเจนที่สนับสนุนใหหนวยงานของรัฐตลอดจนกองทัพใชสินคาที่มีสวนผสมของวัสดุรีไซเคิล
จึงเปนแรงจูงใจที่ดีตอผูประกอบการโรงงานในการใชวัสดุรีไซเคิล เปนตน

(5) การกําจัด เปนขั้นตอนสุดทายที่ของเสียบรรจุภัณฑจะถูกนําไปกําจัดที่กองขยะรอการ


ฝงกลบหรือเผาในเตาเผา วิธีการกําจัดมูลฝอยที่ใชในปจจุบันมี 3 วิธี คือ
(ก) การฝงกลบอยางถูกสุขลักษณะ (Sanitary Landfill)
(ข) การเผา (Incineration)
(ค) การหมักทําปุย (Composting)

4
รายงานฉบับสมบูรณ แผนการศึกษาแนวทางในการลดมลพิษโดยการพัฒนาของเสียหรือวัสดุเหลือใชนํากลับมาใชใหม โครงการปอง
กันและแกไขปญหามลพิษจากสารพิษและกากของเสีย มีนาคม 2541 กรมควบคุมมลพิษ หนา 3-8 ถึง 3-12
3-28 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

องคกรปกครองสวนทองถิ่นมีหนาที่รับผิดชอบการเก็บขนและกําจัดขยะ ตามที่บัญญัติในพระ
ราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 3 มาตรา 18 ใหการกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขต
ราชการสวนทองถิ่นใดใหเปนอํานาจหนาที่ของราชการสวนทองถิ่นนั้น แตกฎหมายมิไดกําหนดวิธีการ
ในการกําจัดวาตองใชกระบวนการอยางไร จึงเปนดุลพินิจของทองถิ่นที่จะเลือกใชวิธีการกําจัดที่เหมาะ
สม จึงมีความ ลักลั่นและอาจไมสอดคลองกับสภาพทางกายภาพของขยะของเสียของไทย เชน เตาเผา
กําจัดขยะ ตองใชเทคโนโลยีและการบริหารที่มีตนทุนสูง เปนตน
มาตรา 20 แหงพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ใหอํานาจเจาพนักงานทองถิ่นใน
การกําหนดหลักเกณฑ วิธีการ และเงื่อนไข ในการกําจัดทําลายขยะ เทศบาลอาจอาศัยอํานาจตาม
ความในมาตรา 18 และ 20 ของกฎหมายดังกลาวมอบหมายใหภาคเอกชนเปนผูดําเนินการแทนภายใต
การควบคุมดูแลก็ได ปจจุบันหลายจังหวัดไดรับงบประมาณเพื่อจัดสรางศูนยกําจัดขยะ ซึ่งจะเปนที่รอง
รับขยะเพื่อนําไปฝงกลบแบบถูกสุขลักษณะ (Sanitary Landfill) แตบางพื้นที่ตองประสบกับปญหาและ
อุปสรรค เชน การจัดหาที่ดิน การตอตานจากประชาชนในบริเวณพื้นที่โดยรอบ เปนตน
นโยบายของรัฐตองการใหมีการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลระดับจังหวัด ใหสอดคลองกับแผน
จัดการคุณภาพสิ่งแวดลอมอยางเปนระบบครบวงจร ตั้งแตการเก็บขน การขนสง และการกําจัด จัดตั้ง
ศูนยกําจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลสวนกลางที่สามารถใชรวมกันไดระหวางชุมชนหลายแหงที่อยูในพื้นที่
ใกลเคียงกัน สนับสนุนใหเอกชนดําเนินธุรกิจการบริการดานการเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัดมูลฝอย
และสิ่งปฏิกูล ทั้งในรูปของการวาจาง การรวมลงทุน หรือการใหสัมปทาน รับจางควบคุมระบบกําจัดมูล
ฝอยและสิ่งปฏิกูล กําหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากสถานที่กําจัดมูลฝอย เชน มาตรฐานน้ําทิ้ง การ
ระบายอากาศเสียจากปลองเตาเผามูลฝอย และเมรุ เปนตน นอกจากนั้น ยังกําหนดใหสถานที่กําจัดมูล
ฝอยและสิ่งปฏิกูลเปนแหลงกําเนิดมลพิษที่จะตองถูกควบคุมการะบายของเสียใหเปนไปตามมาตรฐาน
ที่กําหนด
พระราชบัญญัติสงเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสงเสริมการลง
ทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 เปนเครื่องมือหนึ่งในการสงเสริมใหมีการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวของกับการ
ปองกัน และรักษาสิ่งแวดลอม ในปจจุบันมีนโยบายสงเสริมการลงทุนในการจัดการของเสียและรีไซเคิล
ของเสีย ดังนี้
(1) ประกาศคณะกรรมการสงเสริมการลงทุน ที่ 2/2543 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2543 กําหนดให
กิจการนิคมอุตสาหกรรมเพื่ออนุรักษสิ่งแวดลอม กิจการบริการบําบัดน้ําเสีย กําจัดหรือขนถายขยะกาก
อุตสาหกรรมหรือสารเคมีที่เปนพิษ ถือวาเปนกิจการที่ใหความสําคัญเปนพิเศษ
(2) ประกาศคณะกรรมการสงเสริมการลงทุนที่ ส.1/2545 เรื่อง การใหการสงเสริมกิจการการนํา
วัสดุที่ไมตองการใชแลวนํากลับมาใชใหม ลงวันที่ 14 มกราคม 2545 ถือวาเปนกิจการที่ใหความสําคัญ
เปนพิเศษ แตยังจํากัดที่การจัดการวัสดุที่ไมตองการใชแลวในการคัดแยก เรียกคืน นํากลับมาใชซ้ํา
(Reuse) แปรรูปเพื่อใชใหม (Recycling) และสกัดของมีคาเพื่อนํามาใชใหม (recovery) ที่เกิดขึ้นภายใน
ประเทศเทานั้น

3-29 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
บทที่ 4
กรอบแนวคิดและวิธีการในการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

การวิเคราะหกรอบแนวคิดและวิธีการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ มีวัตถุประสงค
เพื่อนําไปสูการจัดทํารางแผนยุทธศาสตรดานการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ รวมทั้ง
เสนอแนะการปรั บ ปรุ ง กฎหมายที่ มี ใ นป จ จุ บั น หรื อ เสนอร า งกฎหมายที่ เ หมาะสมตั้ ง แต ขั้ น ตอน
การออกแบบ การผลิต การคัดแยก เก็บรวบรวม ขนสง การใชประโยชน และการกําจัด กรอบแนวคิด
ดังกลาวประกอบดวย กรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร กรอบแนวคิดดานการจัดการและกฎหมาย
โดยนําขอมูลและองคความรูที่ไดรับจากการคนควา การประชุมหารือกับผูที่เกี่ยวของ และขอเสนอแนะ
จากฝายตางๆ ทําใหไดผล ดังนี้

4.1 กรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร

จากการพิ จ ารณาวงจรชี วิ ต ของบรรจุ ภั ณ ฑ ส ามารถแบ ง ออกได เ ป น 5 ขั้ น ตอนหลั ก


โดยแนวทางในการนํามาตรการทางเศรษฐศาสตรไปปรับใชใหเกิดผลในทางปฏิบัติในแตละระยะมีขั้น
ตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : การออกแบบ
เปาหมายหลักของการออกแบบผลิตภัณฑ คือ การบรรจุหีบหอเพื่อรักษาและคงสภาพของสิน
คาไวใหอยูในสภาพเดิมอยางปลอดภัยและยาวนานที่สุด มีรูปลักษณที่สวยงาม โดดเดน เปนที่นิยม
จูงใจใหขายสินคาไดดวยตัวมันเอง วัตถุดิบในการผลิตมีเพียงพอ และสามารถหาไดและมีคุณภาพได
มาตรฐานเหมาะสมกับสภาพการใชงาน
ทั้งนี้ แนวทางการปรับปรุงประการหนึ่งในขั้นการออกแบบเพื่อใหสอดคลองกับแนวทางในการ
จัดการของเสียบรรจุภัณฑ สามารถนําหลักวิศวกรรม (Value Engineering) หรือการวิเคราะหคุณคา
(Value Analysis) มาปรับใช โดยมุงเนนการลดปริมาณชิ้นสวนหรือวัสดุที่กอใหเกิดความสิ้นเปลืองของ
บรรจุภัณฑลง การหาวัสดุทดแทนที่งายตอการกําจัดหรือแปรรูปใชประโยชน การออกแบบใหสะดวกตอ
การนํากลับมาใชใหม และการเก็บขนและกําจัด ตลอดจนการลดขั้นตอนการผลิตในบางขั้นตอนลง
ซึ่งแนวทางดังกลาวนอกจากจะเอื้อตอการจัดการของเสียบรรจุภัณฑแลว ยังมีสวนชวยลดตนทุนการ
ผลิตใหต่ําลงดวย

4-1 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ขั้นตอนที่ 2 : การผลิต
หัวใจสําคัญของการผลิต คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตใหไดอยางตอเนื่อง โดยมีตนทุนที่
คงที่หรือต่ําลง ซึ่งปจจัยอันจะนําไปสูผลดังกลาวตองมีกระบวนการผลิตที่ดี นับตั้งแตการปอนเขา
วัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต การควบคุมคุณภาพ เทคโนโลยีการผลิต บุคลากรที่มีความรู ทักษะและความ
ชํานาญ ทั้งนี้ แนวทางในการปรับปรุงประการหนึ่งเพื่อใหสอดคลองตามแนวทางการจัดการของเสีย
บรรจุภัณฑ คือ การนําหลักการปองกันมลพิษและการผลิตที่สะอาด(Pollution Prevention and Clean
Technology) ซึ่งเปนการพัฒนาคุณภาพการผลิต ชวยลดตนสําหรับทุนการผลิต และบรรเทาปญหา
มลพิษตอสิ่งแวดลอมมาใช
มาตรการทางเศรษฐศาสตรที่มีสวนชวยสนับสนุนในขั้นตอนนี้ ประกอบดวย การสนับสนุนทาง
การเงิน (Subsidy) การสรางตลาดซื้อขายใบอนุญาตปลอยมลพิษ (Tradable Pollution Permits) และ
การจัดเก็บภาษี/คาธรรมเนียม (Tax/Changes/Fees) ซึ่งการสนับสนุนทางการเงินสามารถกระทําไดทั้ง
ในลักษณะของการใหเปลา (Grant) การใหเงินกูยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ํา (Soft Loan) และการลดหยอน
ภาษี (Tax Allowance) เพื่อนําไปสูการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี กระบวนการผลิต ตลอดจนการวิจัย
และพัฒนาบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
สวนการจัดเก็บภาษี/คาธรรมเนียมสวนใหญจะใชกับผูผลิต ผูนําเขา-สงออก ผูบริโภค สําหรับ
การสรางตลาดซื้อขายใบอนุญาตปลอยมลพิษมีจุดมุงหมายใหเกิดการควบคุมมลพิษและของเสียใหอยู
ในวงจํากัด รวมทั้งควบคุมของเสียใหมีสัดสวนคงที่และลดนอยลงภายใตเกณฑมาตรฐานที่กําหนด
ขั้นตอนที่ 3 : การคัดแยก
การคัดแยกของดีออกจากของเสีย เปนแนวทางที่ประเทศพัฒนาแลวสวนใหญตางประสบ
ผลสําเร็จและไดรับการตอบสนองในทางปฏิบัติเปนอยางดี โดยชวยเพิ่มมูลคาของวัสดุเหลือใชและ
สามารถนํากลั บ มาใช ป ระโยชน เ ต็ ม ตามศั ก ยภาพมากยิ่ ง ขึ้ น ลดความสิ้ น เปลื อ งของทรั พ ยากร
ขจัดปญหาการปนเปอน ตลอดจนเอื้ออํานวยใหการเก็บขนและกําจัดเปนไปดวยความสะดวก รวดเร็ว
มาตรการทางเศรษฐศาสตรที่นํามาชวยสนับสนุนในขั้นตอนนี้ ไดแก ระบบมัดจําและคืนเงิน
(Deposit-Refund System) ซึ่งแบงออกไดเปน 2 ลักษณะ คือ ระบบที่ดําเนินการกับกิจการหรือโรงงาน
และระบบที่ดําเนินการกับผลิตภัณฑ
สําหรับระบบที่ดําเนินการกับกิจการหรือโรงงานเปนการมุงหมายใหผูประกอบการรับคืนซาก
บรรจุภัณฑกลับไปกําจัดหรือใชประโยชนตอไป สวนระบบที่ดําเนินการกับผลิตภัณฑเปนการมุงหมาย
ใหมีการคัดแยกเพื่อนําซากบรรจุภัณฑกลับมาใชประโยชนใหม ทั้งตอตัวประชาชนผูบริโภค หนวยงาน
ที่มีหนาที่รับผิดชอบในการจัดการขยะมูลฝอย และโรงงานอื่น ๆ ที่สามารถนําซากบรรจุภัณฑมาแปร
สภาพใชประโยชนไดตอไป

4-2 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

นอกจากนี้ยังมีแนวทางอื่น ๆ ที่ชวยเสริมในขั้นตอนนี้ได เชน โครงการธนาคารขยะ ในชุมชน


และโรงเรียน การสนับสนุนผูประกอบอาชีพรับซื้อของเกา ทั้งในรูปแบบรานคาและรถเร การจัดตั้งศูนย
และเครือขายแลกเปลี่ยนวัสดุเหลือใช เปนตน ซึ่งแนวทางดังกลาวจะชวยลดปริมาณการใชทรัพยากร
และลดปริมาณขยะลงไดอยางมาก
ขั้นตอนที่ 4 : การเก็บขน
การเก็บขนที่มีประสิทธิภาพจําเปนตองอาศัยปจจัยหลายประการประกอบกัน ทั้งทางดาน
ภาชนะรองรับที่มีปริมาณเพียงพอ สะดวก ทั่วถึง มีบริการรถเก็บขนคลอบคลุมทุกเสนทาง มีการ
กําหนดวันเวลาที่แนนอน ตรงเวลา มีการบริการที่ดี และประชาชนใหความรวมมือ ในการทิ้งของเสียลง
ในภาชนะหรือจุดที่กําหนดนัดหมายไว การเก็บขนที่เปนระบบจะชวยประหยัดเวลา และคาใชจายใหอยู
ในระดับที่เหมาะสมยิ่งขึ้น เชน คาจางพนักงานเก็บขนขยะ คาน้ํามันเชื้อเพลิง เปนตน
สําหรับมาตรการทางเศรษฐศาสตรที่สนับสนุนใหนํามาใชในขั้นตอนนี้ ไดแก การประยุกตใช
หลักผูกอมลพิษเปนผูจาย (Pollution Pays Principle) ซึ่งผูใดกอใหเกิดของเสียบรรจุภัณฑ ผูนั้นตอง
รับผิดชอบคาใชจายตามชนิด ขนาดและปริมาณที่ตนกอขึ้น การพัฒนาและปรับปรุงระบบเก็บขนของ
เสียบรรจุภณ ั ฑ ทั้งทางดานเสนทางการเก็บขนโดยนําระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร (Geographical
Information System) มาชวยในการปรับปรุงที่เหมาะสม การติดตั้งกลองดํา (Black Box) ในรถเก็บขน
ขยะเพื่อบันทึกขอมูลการเดินทางเก็บขนขยะไปยังแหลงกําจัด การลงทุนพัฒนารถเก็บขนแบบแยก
ประเภทเพื่อใหสอดรับกับการคัดแยกประเภทขยะ การประชาสัมพันธงานบริการเก็บขนขยะอยางทั่วถึง
ซึ่งแมวาผลการลงทุนสวนใหญจะใชเวลาคืนทุนนาน ในกรณีที่คิดเปนอัตราผลตอบแทนทางการเงิน แต
หากพิจารณาผลประโยชนในเชิงเศรษฐศาสตรและสวัสดิการสังคมโดยรวมจะพบวา เปนประโยชนอยาง
มากตอคุณภาพชีวิตของประชาชนในทองถิ่น และชวยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บขนขยะมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่ 5 : การนํากลับมาใชประโยชนและการกําจัด
ภายหลังการเก็บรวบรวมขยะและขนสงมายังแหลงพักขยะ ขยะดังกลาวจะสามารถจําแนกออก
ไดเปน 2 ประเภท คือ ขยะหรือวัสดุเหลือใชที่ยังสามารถนํากลับมาใชประโยชนใหมไดและขยะที่ไมคุม
ค า ต อ การนํ า กลั บ มาใช ป ระโยชน ใ หม แ ละจํา เป น ต อ งได รั บ การกํา จั ด ทํ า ลาย ซึ่ ง การกํา จั ด ที่ มี
ประสิทธิภาพนั้นตองเปนไปตามหลักสุขาภิบาล (Sanitary) และกอผลกระทบตอสิ่งแวดลอมใหนอยที่สุด
มีการควบคุมตรวจสอบอยางสม่ําเสมอ เพราะอาจมีผลกระทบตอระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทางธรรมชาติ
การกอใหเกิดสภาพที่ไมนาดู ทําลายทัศนียภาพหรือทัศนอุจาด (Bad Visual) สุขภาพอนามัยของ
ประชาชนทองถิ่นใกลเคียง ตลอดจนเปนแหลงเพาะพันธุเชื้อโรคตาง ๆ

4-3 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

สําหรับมาตรการทางเศรษฐศาสตรที่สนับสนุนในขั้นตอนนี้ ไดแก การลงทุนจัดหาแหลงฝงกลบ


ขยะลวงหนาและลงทุนในระบบรีไซเคิล ซึ่งทางดานการจัดหาแหลงฝงกลบขยะลวงหนาเพื่อเตรียมการ
รองรับขยะที่เพิ่มขึ้นและบรรเทาปญหาอันเนื่องมาจากพื้นที่กําจัดขยะ เชน ปญหาความขัดแยงจาก
ครัวเรือนและชุมชนทองถิ่น สวนการลงทุนในระบบรีไซเคิล เพื่อเปนการสนับสนุนใหเกิดการนําวัสดุ
เหลือใชกลับมาใชประโยชนไดอยางเต็มศักยภาพ ลดความสิ้นเปลื้องของทรัพยากร ชวยยืดอายุการใช
งานของแหลงฝงกลบขยะ ตลอดจนชะลอการขึ้นคาธรรมเนียมดานการจัดการขยะ ทั้งสองกรณีจําเปน
ตองพิจารณาถึงความคุมทุนและความเหมาะสมและความเปนไปไดในทางปฏิบัติ
นอกเหนือจากมาตรการทางเศรษฐศาสตรที่ไดนําเสนอขางตนแลว ยังมีมาตรการทางสังคมที่
ควรดําเนินการควบคูกันไป ไดแก การใหความรู การปลูกสรางจิตสํานึกและมีทัศนคติที่ดีตอการมีสวน
ร ว มในการจั ด การขยะ การปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมให ส อดคล อ งกั บ แนวทางการจั ด การของเสี ย
บรรจุภัณฑอยางยั่งยืน ไมวาจะเปนในลักษณะของการจัดสัมมนา ฝกอบรม การประชาสัมพันธเผยแพร
ผานสื่อมวลชนแขนงตาง ๆ

4.2 กรอบแนวคิดดานการจัดการและกฎหมาย

หากพิจารณาผูที่เกี่ยวของในวงจรบรรจุภัณฑ อาจแบงไดเปน 4 กลุม ตามวัฏจักรของ


บรรจุภัณฑ และบทบาทหนาที่ ดังตอไปนี้

ตารางที่ 4-1 วัฏจักรของบรรจุภัณฑและบทบาทหนาที่

ผูเกี่ยวของ บทบาทหนาที่
ผูออกแบบ ผูผลิต ผูนําเขา ผูบรรจุ ออกแบบ ลงทุน ผลิต และบรรจุผลิตภัณฑ
ผูขนสง ผูจัดจําหนาย กระจายผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑไปสูมือผูบริโภค
ผูใช ผูบริโภค ใชผลิตภัณฑ ทิ้งผลิตภัณฑใชแลวและบรรจุภัณฑ
ผูเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัด รวบรวมผลิตภัณฑใชแลวและบรรจุภัณฑนําไปกําจัด

1. ผูออกแบบ ผูผลิต ผูนําเขา ผูบรรจุ คนกลุมนี้ อาจเปนคนเดียวกัน หรือคนหลายคนที่เกี่ยว


ของในขั้นตอนนี้ ทําการออกแบบ ผลิตบรรจุภัณฑ และบรรจุผลิตภัณฑ หรือนําเขาสินคาจาก
ตางประเทศ
การออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑนั้น สวนใหญจะเนนรูปราง ขนาด ตามคุณสมบัติของผลิต
ภัณฑเปนสําคัญ โดยจะเนนดานความสวยงาม การดึงดูดใจใหสนใจสินคาและสามารถสื่อสารกับ
ผูบริโภค การเลือกใชวัสดุบรรจุภัณฑจะเลือกจากวัสดุที่สามารถหาไดและมีราคาถูก

4-4 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

แนวคิดที่เปนหลักในการผลิตบรรจุภัณฑ ซึ่งเปนมิตรกับสิ่งแวดลอม และเปนไปตามขอกําหนด


สวนใหญของตางประเทศที่เปนที่ยอมรับในการจัดการบรรจุภัณฑ ประกอบดวย
1. หลีกเลี่ยงการใชบรรจุภัณฑ ใชเทาที่จําเปน
2. ลดขนาด และความหนา มีความแข็งแรงเพียงพอและไมเปลี่ยนรูปทรง
3. เลือกใชวัสดุชนิดที่มีคุณภาพและการผลิตที่มีความสม่ําเสมอในทุกครั้งที่มีการผลิต
4. เลือกใชวัสดุบรรจุภัณฑที่เปนวัสดุที่รีไซเคิลหรือใชซ้ําได
5. การออกแบบภายในบรรจุภัณฑ ใหคงไวเฉพาะสวนที่จําเปน หรือพยายามใหลดวัสดุ
บางอยางลงโดยคุณสมบัติการปกปองและความแข็งแรงไมเปลี่ยนแปลง
6. ควรใชวัสดุชนิดเดียว เพราะงายตอการรีไซเคิลหรือใชซ้ํา
7. เลือกใชเทคโนโลยีที่มีขบวนการผลิตที่ประหยัด

ดังนั้น แนวคิดที่เกี่ยวของในขั้นตอนการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑควรประกอบดวย

ตารางที่ 4-2 แนวคิดที่เกี่ยวของในขั้นตอนการออกแบบปละผลิตบรรจุภัณฑ


หลักการ กิจกรรม กฎหมาย/ระเบียบ
1. ใชวัสดุนอยที่สุด ออกแบบและผลิ ต บรรจุ ภั ณ ฑ ไ ม เ กิ น ไมมี
ความจําเปนในการ ปกปองสินคา
2. ใชวัสดุที่เหมาะสม ออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑโดยเลือก ไมมี
ใช วั ส ดุ ใ ห เหมาะกับการปกป องสิ นค า
และเปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
3. ใชวัสดุใหคุมคา ออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑโดยคํานึง ไมมี
ถึงการใชซ้ําหรือสามารถนําไปรีไซเคิล
ไดงายหรือใชวัสดุรีไซเคิลในการผลิต

การที่จะใหผูออกแบบ ผูผลิต ผูนําเขา ผูบรรจุ ทําตามหลักการขางตน ในปจจุบันยังไมมี


กฎหมายมาบังคับใช สิ่งที่เปนตัวกําหนดทิศทางในการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑในปจจุบัน คือ
(1) การวางแผนของผูผลิตในการลดตนทุนใหไดมากที่สุด จึงอาจตั้งสมมติฐานวา ผูผลิตนั้น
พยายามหาเทคโนโลยีและวัสดุที่นํามาผลิตบรรจุภัณฑที่เหมาะสมเพื่อการแขงขันในตลาด
อยูแลว
(2) การกําหนดโดยผูซื้อ โดยเฉพาะผูซื้อในตางประเทศที่เปนตลาดสําคัญ ตลาดจะเปนตัว
กําหนดการใชบรรจุภัณฑ ดังนั้น ถึงแมวาผูผลิตตองการลดตนทุนอยางไรก็ตามก็จะตอง
ทําตามคําสั่งซื้อ จึงไมอาจออกแบบหรือเลือกวัสดุเองได แตลําหรับตลาดในประเทศอาจมี
การออกกฎหมายหรือกําหนดมาตรการบังคับได
การที่จะกระตุนเตือนผูผลิต ผูนําเขาใหคํานึงถึงการลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมที่เกิดจากขยะ
บรรจุภัณฑ อาจใชมาตรการ ดังตอไปนี้

4-5 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(1) การกําหนดใหติดเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑเพื่อประโยชนในการเก็บรวบรวม คัดแยกนํา


ไปรีไซเคิล
(2) การสงเสริม สนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
สามารถใชซ้ําหรือนําไปรีไซเคิลไดงายหรือใชวัสดุรีไซเคิลในการผลิต โดยใชการจูงใจดวย
วิธีการตาง ๆ เชน ประกวด แขงขัน ใหรางวัลบุคคลทั่วไป สถาบันการศึกษา หรือกลุมผู
ประกอบการแตละผลิตภัณฑ การสงเสริมใหมีฉลากรับรองสินคาที่ใชบรรจุภัณฑเปนมิตร
กับสิ่งแวดลอม หรือสงเสริมใหผูประกอบการลงทุนวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ โดยสามารถ
นําเงินลงทุนนั้นไปหักลดหยอนภาษีเงินได เปนตน
(3) การสงเสริมการใชบรรจุภัณฑรีไซเคิลหรือใชซ้ําบรรจุภัณฑ โดยการใหความรู ใหขอมูล
หรือมีโครงการสงเสริมสําหรับบรรจุภัณฑบางประเภท โดยทางราชการเปนฝายริเริ่ม หรือ
ทางราชการรวมมือกับผูผลิตภาคเอกชนจัดตั้งระบบการเรียกคืนบรรจุภัณฑจากผูบริโภค
โดยตรงหรือใชระบบมัดจําสําหรับบรรจุภัณฑบางประเภท

2. ผูขนสง ผูจัดจําหนาย มีหนาที่ในการกระจายผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑไปสูมือผูบริโภค


แนวคิดในการจัดการบรรจุภัณฑในขั้นตอนนี้ มีทั้งบรรจุภัณฑขนสงและบรรจุภัณฑที่หอหุมสินคา
ผูขนสงและผูจัดจําหนายสามารถมีสวนชวยในการลดการใชบรรจุภัณฑ หรือเรียกคืนบรรจุภัณฑบาง
สวนได โดยการรับคืนและใชซ้ําบรรจุภัณฑขนสง สําหรับบรรจุภัณฑชั้นนอกที่เปนถุง กลอง และบรรจุ
ภั ณ ฑ ชั้ น ในที่ ห อ หุ ม สิ น ค า อาจใช วิ ธี ก ารจั ด การและมาตรการสนั บ สนุ น หลายประการ ดั ง นี้
(ตารางที่ 4-3)

4-6 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 4-3 วิธีการจัดการและมาตรการสนับสนุน

หลักการ กิจกรรม กฎหมาย/ระเบียบ


1. ใชซ้ํา บรรจุภัณฑหลายชนิดมีคุณสมบัติสามารถใชซ้ํา ไมมี
ได จึงควรวางระบบการนํากลับมาใชซ้ําแทนที่จะ
ใชแลวทิ้งหรือควรมีระบบเติม (Refill) เพื่อยืดอายุ
การใชงาน
2. มีระบบรับคืน บรรจุภัณฑประเภทใดก็ตาม ผูบริโภคควรมีสิทธิ ไมมี
ในการคืน บรรจุภัณฑที่ไมตองการใหกับผูขนสง
หรือผูจัดจําหนาย ซึ่งจะตองมีการแจงใหทราบวิธี
การและขั้นตอนหรือบริการอยางชัดเจน
3. มีระบบมัดจํา ผูจัดจําหนายมีสวนสําคัญที่จะเรียกคืนบรรจุภัณฑ ไมมี
โดยการใช ร ะบบมั ด จํากั บ สิ น ค า ที่ ค วรเรี ย กคื น
บรรจุภัณฑมาใชซ้ําหรือรีไซเคิล โดยเฉพาะสินคา
ประเภทเครื่องดื่ม หากสามารถทําได
4. ใชเทาที่จําเปน บรรจุภัณฑควรใชใหนอยที่สุดจึงควรมีมาตรการ ไมมี
ในการลดการใชบรรจุภัณฑที่ไมจําเปนลง เชน ไม
แจกถุงพลาสติกใหกับลูกคาอยางฟุมเฟอย หรือ
ไมหอหุมสินคาหลายชั้นเกินความจําเปน
5. ใชบรรจุภัณฑที่ การเลือกใชบรรจุภัณฑที่เหมาะสมเปนการชวยให ไมมี
เหมาะสม ลดการเกิดผลกระทบตอสิ่งแวดลอม ผูขนสงหรือ
ผูจัดจําหนายควรเลือกใชบรรจุภัณฑใหเหมาะสม
กับสินคา เชน สินคาบางอยางควรใชถุงกระดาษ
แทนถุงพลาสติก หรือโฟมเปนตน

4-7 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตามหลักการขางตน เห็นไดวาถาดําเนินการตามหลักการและวิธีการขางตน จะชวยลดปริมาณ


ขยะบรรจุภัณฑลง และสามารถเรียกคืนบรรจุภัณฑกลับไปใชซ้ําหรือรีไซเคิลไดเปนจํานวนมาก โดยที่
บรรจุภัณฑนั้นจะไมปนเปอนจนเสียหาย เพราะเปนการรวบรวมในขั้นตอนของการขนสงและการ
จําหนายใหกับผูบริโภคโดยตรง
อยางไรก็ตามกลไกในทางกฎหมายยังไมมีสนับสนุนแนวคิดนี้ จึงจําเปนตองหาทางใชกฎหมาย
ที่มีอยูหรือออกกฎหมาย มาตรการตางๆ ที่จะทําใหเกิดการปฏิบัติได เชน
(1) การสงเสริมใหใชซ้ําบรรจุภัณฑที่มีคุณสมบัติสามารถใชซ้ําได โดยการใหขอมูลผูบริโภคใน
แงของประโยชนตอเศรษฐกิจและสิ่งแวดลอม ความมั่นใจในการบริโภคผลิตภัณฑในบรรจุภัณฑใชซ้ํา
โดยอาจกําหนดมาตรฐานของบรรจุภัณฑที่สามารถนํามาใชซ้ําใหผูผลิตในประเทศและผูนําเขาใชเปน
บรรทัดฐานในการปฏิบัติ และการลดหยอนภาษีหรือคาธรรมเนียมสําหรับบรรจุภัณฑที่นํากลับมาใชซ้ํา
หรือมีระบบเติม (Refill)
(2) การสงเสริมใหผูขนสงหรือผูจัดจําหนายจัดใหมีระบบรับคืนบรรจุภัณฑที่ผูบริโภคไมตองการ
โดยอาจคืนเมื่อสงสินคาถึงมือผูบริโภคแลวหรือรับคืน ณ จุดขาย เปนตน ซึ่งตองมีการแจงใหทราบวิธี
การและขั้นตอนหรือบริการดังกลาว เปนการสรางภาพลักษณที่ดีตอสินคาและผูผลิต จึงอาจไมจําเปน
ตองออกกฎหมายหรือมาตรการบังคับ แตจะใชการจัดทําโครงการตัวอยางกับสินคาบางตัวที่สมัครใจ
โดยทางราชการเปนแกนนํา และดําเนินการตอเนื่องจนเปนวิธีการปกติของการขายสินคาที่รับผิดชอบ
ตอสังคมและสิ่งแวดลอม
(3) การสงเสริมใหมีระบบมัดจํา ผูจดั จําหนายมีสวนสําคัญที่จะเรียกคืนบรรจุภัณฑ โดยการใช
ระบบมัดจํากับสินคาที่ควรเรียกคืนบรรจุภัณฑมาใชซ้ําหรือรีไซเคิล โดยเฉพาะสินคาประเภทเครื่องดื่ม
โดยอาจจูงใจใหผูผลิต ผูนําเขาหรือผูจัดจําหนายที่ใชระบบมัดจําในการเรียกคืนบรรจุภัณฑสินคาของ
ตนจะไดรับผอนผันหรือยกเวนภาษีสรรพสามิต เปนตน
(4) การลดการใชบรรจุภัณฑใหนอยที่สุด จําเปนตองมีมาตรการในการลดการใชบรรจุภัณฑที่
ไมจําเปนลง เชน ไมแจกถุงพลาสติกใหกับลูกคาอยางฟุมเฟอย หรือไมหอหุมสินคาหลายชั้นเกินความ
จําเปน เปนตน วิธีการที่จะกระตุนเตือนผูขนสงหรือผูจัดจําหนายใหตระหนักในเรื่องนี้จะตองใช
มาตรการหลายอยางประกอบกัน เชน การทําความเขาใจและขอความรวมมือจากกลุมผูประกอบการ
เพื่อลดการแขงขันและไมชิงความไดเปรียบเสียเปรียบระหวางกัน การรณรงคดานผูบริโภคใหตระหนัก
ถึงโทษของการใชบรรจุภัณฑที่เกินความจําเปน การสงเสริมการวิจัย การพัฒนาบรรจุภัณฑที่ใช
ทดแทนได การกําหนดมาตรฐานของการใชบรรจุภัณฑก็เปนวิธีหนึ่งที่จะใชบังคับกฎหมาย หรือ
มาตรการทางภาษีที่กลาวมาแลว
(5) การเลือกใชบรรจุภัณฑที่เหมาะสมเปนการชวยใหลดการเกิดผลกระทบตอสิ่งแวดลอม
ผูขนสงหรือผูจัดจําหนายควรเลือกใชบรรจุภัณฑใหเหมาะสมกับสินคา เชน หากเลือกไดควรใชวัสดุ
ธรรมชาติที่ยอยสลายไดงาย เชน ไม ฟาง ถุงกระดาษ แทนที่จะใชฟลม ถุงพลาสติก หรือโฟม เปนตน
การที่จะผลักดันใหเกิดแนวความคิดเชนวานี้จะตองใชหลายมาตรการประกอบกันเชนเดียวกับการลด
การใชบรรจุภัณฑ ที่สําคัญ คือ การทําใหเกิดความแตกตางดานตนทุนของสินคาจะทําใหผูผลิต ผูนํา

4-8 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

เขา ผูขนสง และผูจัดจําหนายตองหาทางลดตนทุน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นจําเปนตองมีวัสดุทดแทนใหใน


ปริมาณที่เพียงพอและราคาที่เหมาะสม

3. ผูใช ผูบริโภค เปนผูที่ใชผลิตภัณฑ และทิ้งบรรจุภัณฑและผลิตภัณฑเมื่อหมดอายุการใช


งานหรือความจําเปนในการใชสอย แนวคิดในการจัดการบรรจุภัณฑในขั้นตอนนี้ เปนเรื่องของการหา
ทางใหผูใช ผูบริโภค ตระหนักถึงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมหากไมรวมมือในการจัดการขยะ บรรจุ
ภัณฑ โดยผูใช ผูบริโภคเปนผูที่มีบทบาทสําคัญในการกําหนดทิศทางการจัดการบรรจุภัณฑและขยะ
บรรจุภัณฑของผูผลิต ผูนําเขา ผูขนสง และผูจัดจําหนายเปนอยางยิ่ง
ประเด็นสําคัญในบทบาทของผูใช ผูบริโภค มีดังตารางที่ 4-4

ตารางที่ 4-4 บทบาทของผูใช ผูบริโภค


หลักการ กิจกรรม กฎหมาย/ระเบียบ
1. เลือกใชแตผลิตภัณฑที่ ผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่ง - คุมครองผูบริโภค
เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม แวดลอมนั้นหมายถึงผลิตภัณฑที่ - มาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม
ไมทําใหมีผลกระทบสิ่งแวดลอม
ในกระบวนการผลิต วัสดุที่ใช
และผลผลิตที่ได บรรจุภัณฑที่ใช
ตลอดจนการกําจัด ผูใช ผูบริโภค
ควรตองพิจารณาเปนอันดับแรก
2. เลือกใชบรรจุภัณฑที่ หากผูใช ผูบริโภคมีทางเลือก ไมมี
ยอยสลายไดงายหรือใช ระหวางการใชบรรจุภัณฑหรือไม
นอยที่สุด ใช ระหวางบรรจุภัณฑที่ยอย
สลายไดงายหรือบรรจุภัณฑที่
ยอยสลายไดยาก ควรตอง
พิจารณาทางเลือกที่ไมใชหรือใช
นอยที่สุด กับเลือกบรรจุภัณฑที่
ยอยสลายไดงาย

4-9 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 4-4 (ตอ)


หลักการ กิจกรรม กฎหมาย/ระเบียบ
3. เลือกการใชซ้ํา หากผูใช ผูบริโภคมีทางเลือก ไมมี
บรรจุภัณฑหรือผลิต ระหวางการใชซ้ําบรรจุภัณฑ
ภัณฑชนิดเติมได หรือผลิตภัณฑชนิดเติมไดหรือ
บรรจุภัณฑใหม ควรตอง
พิจารณาทางเลือกที่ใชซ้ําบรรจุ
ภัณฑและใชผลิตภัณฑชนิดเติม
ได
4. แยกขยะบรรจุภัณฑตาม ผูใช ผูบริโภคจะปฏิบัติจนเปน - การสาธารณสุข (ขอบัญญัติ
ประเภท นิสัยในการแยกขยะบรรจุภัณฑ ทองถิ่น)
ตามชนิด ประเภทของวัสดุเทา
ที่จะทําไดเพื่อลดขยะที่ตองนํา
ไปกําจัดใหนอยที่สุด ถามี
บริการรับคืนบรรจุภัณฑที่จุด
ขายก็จะแยกบรรจุภัณฑคืนเพื่อ
ลดภาระการแยกขยะ
5. รัฐเปนผูนําโดยกําหนด การที่จะใหประชาชนเห็นดวย - มติคณะรัฐมนตรี
นโยบายและทําใหเปน กับแนวทางการจัดการขยะ - ระเบียบวาดวยการพัสดุ
ตัวอยาง บรรจุภัณฑขางตนจะตองมีจุด - ระเบี ย บภายในของหน ว ยงาน
เริ่มตนจากภาครัฐโดยการทําให ของรัฐ
เปนตัวอยางตั้งแตการจัดซื้อ
การใช และการคัดแยกขยะใน
หนวยงานของรัฐรวมถึงผูรับ
จางหนวยงานของรัฐ

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 20 (3) ใหอํานาจราชการสวนทองถิ่นในการ


ออกขอกําหนดทองถิ่นในเรื่องวิธีการเก็บ ขนขยะมูลฝอย ซึ่งนาจะหมายความรวมถึงการกําหนดให
ประชาชนคัดแยกขยะตามประเภท ชนิด เพื่อการนําไปกําจัดหรือรีไซเคิลตอไป เมื่อศึกษาอํานาจของ
เทศบาล องคการบริหารสวนตําบล และกรุงเทพมหานคร เห็นวากฎหมายเปดใหทองถิ่นเหลานี้ใช
อํานาจในการออกขอกําหนดของทองถิ่นที่เปน เทศบัญญัติ หรือขอบังคับตําบล กําหนดใหประชาชน
คัดแยกขยะในเขตอํานาจของทองถิ่นนั้นได การกําหนดคาบริการเก็บขนก็เปนเครื่องมือที่กฎหมายให
อํานาจไว ซึ่ งสามารถที่ จะทําใหเ กิดความแตกตางระหวางคา บริ การเก็บขนขยะที่ยังมิไดคัดแยก
กับคาบริการที่ถูกกวาหากมีการคัดแยกเรียบรอย แตอํานาจดังกลาวใชบังคับเฉพาะในทองถิ่นเทานั้น
และโทษของการไมปฏิบัติตามขอบัญญัติดังกลาวไมมากนัก

4-10 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

อยางไรก็ตาม การออกกฎหมายแตเพียงอยางเดียวไมสามารถกอใหเกิดผลในทางปฏิบัติได
หลักการขางตนจึงเปนสวนที่จะทําใหผูใช ผูบริโภคใหความรวมมือในการจัดการขยะบรรจุภัณฑตั้งแต
การเลือกใชผลิตภัณฑจนถึงการแยกขยะบรรจุภัณฑ จึงมีแนวคิดและมาตรการที่จะดําเนินการ ดังนี้
(1) การทําใหผูใช ผูบริโภคเลือกใชแตผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม หรือพิจารณาเปน
อันดับแรกในการเลือกซื้อสินคาหรือผลิตภัณฑนั้น จะตองใหความรูกับผูใช ผูบริโภควาผลิตภัณฑที่เปน
มิตรกับสิ่งแวดลอมนั้นหมายถึงผลิตภัณฑประเภทใด มีขอมูลหรือขอสังเกตผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑ
อยางไรบาง กฎหมายคุมครองผูบริโภคอาจเขามามีสวนดูแลในเรื่องของฉลากและการโฆษณา และ
กฎหมายมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมดูแลในเรื่องของมาตรฐานผลิตภัณฑทั่วไปที่ควรมี แตไม
สามารถคัดเลือกใหสินคาที่วางจําหนายในตลาดตองเปนผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
(2) การทําใหผูใช ผูบริโภคเลือกใชบรรจุภัณฑที่ยอยสลายไดงายหรือใชนอยที่สุด เปนกุญแจ
ของความสําเร็จในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ เพราะถาผูใช ผูบริโภคมีทางเลือกระหวางการใช
บรรจุภัณฑหรือไมใช ระหวางบรรจุภัณฑที่ยอยสลายไดงายหรือบรรจุภัณฑที่ยอยสลายไดยากและเลือก
ไมใชหรือใชนอยที่สุด กับเลือกบรรจุภัณฑที่ยอยสลายไดงาย ปริมาณขยะบรรจุภัณฑในสิ่งแวดลอมจะ
ลดลงหลายเทาตัว ไมเปนปญหาตอสิ่งแวดลอม
แตผูใช ผูบริโภคตามธรรมชาติจะไมเปนเชนนั้น เพราะทุกคนจะคํานึงถึงความสะดวก ความ
สบายและความจําเปนของตน จึงมีเหตุผลสวนตัวในการใชบรรจุภัณฑและใชบรรจุภัณฑที่ยอยสลายได
ยาก จึงตองมีมาตรการ การจัดการ กฎหมาย และความรวมมือจากหลายฝาย ทั้งผูประกอบการ รัฐ และ
ผูใช ผูบริโภค
ดานผูประกอบการตามที่ไดกลาวมาแลววาจะตองใชมาตรการหลายอยางประกอบกัน โดยรัฐ
ทําความเขาใจและขอความรวมมือจากกลุมผูประกอบการเพื่อลดการแขงขัน เลือกบรรจุภัณฑที่ยอย
สลายไดงาย ถือเปนนโยบายระดับชาติ
รัฐทําหนาที่กําหนดนโยบาย สงเสริมการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑที่ใชทดแทนได การกําหนด
มาตรฐานของการใชบรรจุภัณฑ และมาตรการทางภาษีเทาที่จําเปน
ส ว นผู บ ริ โ ภคให ค วามร ว มมื อ ไม ใ ช บ รรจุ ภัณฑเ กินความจําเปน หรือถา เปนไปไดปฏิ เสธ
บรรจุภัณฑที่ไมเปนมิตรกับสิ่งแวดลอมหรือเกินความจําเปน และเตรียมบรรจุภัณฑของตนเองไปจาก
บาน มีความตระหนักถึงโทษของการใชบรรจุภัณฑที่เกินความจําเปน
(3) การทําใหผูใช ผูบริโภคเลือกการใชซ้ําบรรจุภัณฑหรือผลิตภัณฑชนิดเติมได มีลักษณะการ
ดําเนินการเหมือนกับขอ (2)

4-11 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(4) การทําใหผูใช ผูบริโภคแยกขยะบรรจุภัณฑตามประเภท โดยปฏิบัติจนเปนนิสัยในการแยก


ขยะบรรจุภัณฑตามชนิด ประเภทของวัสดุเทาที่จะทําได เพื่อลดขยะที่ตองนําไปกําจัดใหนอยที่สุด เปน
ปจจัยที่สําคัญประการหนึ่งในการแกปญหาขยะบรรจุภัณฑ ซึ่งตองประกอบดวยความรวมมือหลายฝาย
คือ ผูผลิต ผูนําเขา ผูจัดจําหนาย ผูใช ผูบริโภค ผูเก็บรวบรวม ขนสง ดังนี้
ผูผลิต ผูนําเขา ผูจัดจําหนาย จะตองใหขอมูลองคประกอบของผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑเพื่อ
การแยกขยะเทาที่จะทําได เพื่อใหผูใช ผูบริโภคสามารถแยกขยะไดอยางถูกตอง หรือจัดใหมีบริการรับ
คืนบรรจุภัณฑที่จุดขายเพื่อลดภาระการแยกขยะ
ผูใช ผูบริโภคตองจัดใหมีภาชนะแยกประเภทวัสดุและทําการแยกทิ้งวัสดุ บรรจุภัณฑใหเหลือ
ขยะที่จะตองทิ้งไปฝงกลบนอยที่สุด หรืออาจจัดใหมีการนําขยะเปยกไปหมักทําปุยดวย
ผูเก็บรวบรวม ขนสงจะตองเตรียมการสําหรับการรับขยะที่คัดแยกจากบานเรือน ใหผูที่แยก
ขยะมั่นใจวาไมมีการเทรวมกองขยะทุกประเภทเขาดวยกัน โดยอาจมีรถรับขยะรีไซเคิลโดยเฉพาะที่จัด
เก็บแยกจากการเก็บรวบรวมขยะทั่วไป ซึ่งตองขึ้นกับทองถิ่นที่ตองใหความสําคัญในการคัดแยกขยะ
อยางจริงจัง และออกเปนขอบัญญัติทองถิ่นใชบังคับ
ในระยะยาว ทางเลือกในการใชกฎหมายเพื่อการแยกขยะอาจตองมีกฎหมายเฉพาะเนื่องจาก
บทบัญญัติในกฎหมายปจจุบันใหอํานาจองคกรปกครองสวนทองถิ่นในการออกกฎหมายไดในทองที่ที่
รับผิดชอบ ทําใหเกิดความลักลั่นในการใชกฎหมายแตละทองที่และโทษสําหรับผูที่ไมปฏิบัติตามคอน
ขางเบาเพราะเพียงเปนการตักเตือนผูที่ฝาฝนมิใชเปนคดีอาชญากรรม
(5) การที่จะใหประชาชนเห็นดวยกับแนวทางการจัดการขยะบรรจุภัณฑขางตนจะตองมีจุดเริ่ม
ตนจากภาครัฐซึ่งจะตองเปนผูนํากําหนดนโยบายและทําใหเปนตัวอยาง ตั้งแตการจัดซื้อพัสดุ การใช
และการคั ดแยกขยะในหน วยงานของรั ฐ รวมถึงผูรับ จางหน วยงานของรัฐ โดยมีมติคณะรัฐมนตรี
สนับสนุนแนวทางการจัดการขยะบรรจุภัณฑ และใหสวนราชการหรือหนวยงานของรัฐรวมถึงผูรับจาง
หนวยงานของรัฐถือปฏิบัติอยางเครงครัดและออกระบียบภายในใหชัดเจน และอาจใหมีการรายงานผล
เปนระยะ เมื่อประชาชนเห็นผลดีก็จะทําตาม
นอกจากนั้นควรปรับปรุงระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุใหสวนราชการพิจารณา
คัดเลือกและจัดซื้อผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม ลดการใชบรรจุภัณฑ หรือใชบรรจุภัณฑที่ยอย
สลายไดงาย สามารถใชซ้ําหรือเติม หรือมีสวนประกอบจากวัสดุรีไซเคิลเปนอันดับแรก เปนตน

4. ผูเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัด มีหนาที่ในการรวบรวมผลิตภัณฑใชแลวและบรรจุภัณฑ


นําไปกําจัด ตามกฎหมายเปนอํานาจหนาที่ขององคกรปกครองสวนทองถิ่น แตองคกรปกครอง
สวนทองถิ่นอาจมอบใหบุคคล บริษัท หรือองคกรนิติบุคคลเปนผูดําเนินการกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
แทนหรือวาจางใหเอกชนเขามาดําเนินการแทนภายใตการควบคุมดูแลก็ได หรือเปดใหเอกชนเขามารับ
อนุญาตดําเนินการเก็บ ขน หรือกําจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยทําเปนธุรกิจหรือโดยไดรับประโยชน
ตอบแทนดวยการคิดคาบริการจากผูใชบริการ

4-12 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ประเด็นสําคัญของการรวบรวม ขนสง และกําจัดขยะบรรจุภัณฑ ประกอบดวย ดังตารางที่ 4-5

ตารางที่ 4-5 การรวบรวม ขนสง และกําจัดขยะบรรจุภัณฑ


หลักการ กิจกรรม กฎหมาย/ระเบียบ
1.แยกเก็บขยะบรรจุภัณฑ ขยะบรรจุภัณฑจะตองจัดระบบเก็บ - ขอบัญญัติทองถิ่น
ออกจากขยะทั่วไปและขยะ ขนออกจากขยะทั่วไปโดยอาจจัดรถ - พระราชบัญญัติการสาธารณ
อันตราย ขนสงที่ออกแบบมาเฉพาะหรือจัด สุข พ.ศ. 2535 มาตรา 20 (3)
วันเก็บขนเฉพาะหรือวาจางใหเอก
ชนเขามาดําเนินการหรืออนุญาตให
เอกชนดําเนินการเก็บ ขน
2. พนักงานเก็บ ขน มีความรู พนักงานเก็บขนขยะหรือขยะบรรจุ - ขอบัญญัติทองถิ่น
มีเครื่องมือและมีรายไดเพียง ภัณฑมีความรูเกี่ยวกับการแยก - ระเบียบปฏิบัติภายใน
พอ ประเภทวัสดุ วิธีการรวบรวมและ - การจัดสรรงบประมาณที่
การปองกันตนเอง มีเครื่องมือ เพียงพอ
เครื่องปองกันที่เพียงพอ มีรายได
และสวนแบงที่เหมาะสมเพียงพอไม
ตองคัดแยกขยะกลางทางเพื่อหา
รายไดเพิ่ม
3. สงเสริมใหผูประกอบการ ผูประกอบการภาคเอกชนและ - กฎหมายสงเสริมการลงทุน
ภาคเอกชนตั้งองคกรจัดการ บุคลากรนอกระบบรวมตัวกันจัดตั้ง
ขยะบรรจุภัณฑ องคกรจัดการขยะบรรจุภัณฑเพื่อ
ลดภาระของภาครัฐและเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการจัดการขยะ
บรรจุภัณฑอยางเปนระบบ

4-13 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 4-5 (ตอ)


4. ใชวิธีการกําจัดที่เหมาะสม การกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่เหลือ - กฎหมายสงเสริมและรักษา
จากการคัดแยกไมสามารถนํามาใช คุณภาพสิ่งแวดลอม
ประโยชนอยางอื่นแลวจะตองเลือก
ใชเทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถพึ่ง
ตนเองไดและไมกอใหเกิดอันตราย
ตอมนุษย สัตว พืช และสิ่งแวดลอม
5. จัดเก็บคาบริการไดเพียง การจัดเก็บขยะบรรจุภัณฑหาก - พระราชบัญญัติการสาธารณ
พอกับคาใชจาย กําหนดใหเก็บขนแยกออกจากขยะ สุข พ.ศ. 2535 มาตรา 20 (3)
ทั่วไป มีรถขนสงที่ออกแบบมา - เงื่อนไขการอนุญาต
เฉพาะหรือวาจางใหเอกชนเขามา
ดําเนินการหรืออนุญาตใหเอกชน
ดําเนินการเก็บ ขน หลักการจัดเก็บ
คาบริการจะตองเพียงพอกับคาใช
จาย
6. ประชาชนมีสวนรวม รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย - รัฐธรรมนูญแหงราชอาณา
บัญญัติใหประชาชนมีสิทธิมีสวน จักรไทย พุทธศักราช 2540
รวมกับรัฐและชุมชนในการคุมครอง มาตรา 56
สงเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวด
ลอมเพื่อใหดํารงชีพอยูไดอยางปกติ
และตอเนื่องในสิ่งแวดลอมที่จะไม
กอใหเกิดอันตรายตอสุขภาพ
อนามัย สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิต
ของตน

4-14 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

การเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัดขยะบรรจุภัณฑ ในปจจุบันรวมกับการจัดการขยะทั่วไปทําให


ดอยประสิทธิภาพ มูลคาของขยะบรรจุภัณฑไมสามารถนํามาใชเพื่อการจัดการขยะทั้งระบบ แตกลับตก
อยูในวงจรการจัดการของธุรกิจคาของเกา ซาเลง คนคุยขยะ และพนักงานเก็บขนขยะของราชการ ซึ่งมี
บางกลุมเทานั้นที่ไดรับผลประโยชนเต็มที่ ขณะที่ประชาชนตองจายคาเก็บขนทางตรงที่มีท้ังในระบบ
และนอกระบบ และการใชเงินภาษีที่จัดเก็บไดอุดหนุนราชการสวนทองถิ่นใหจัดการขยะมูลฝอย จึงควร
ตองพิจารณาระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งควรมีแนวคิดและมาตรการ ดังนี้
(1) การจัดการที่มีประสิทธิภาพจะตองจัดระบบเก็บขนขยะบรรจุภัณฑออกจากขยะทั่วไปโดย
อาจจัดรถขนสงที่ออกแบบมาเฉพาะหรือจัดวันเก็บขนเฉพาะ หรือวาจางใหเอกชนเขามาดําเนินการ
หรืออนุญาตใหเอกชนดําเนินการเก็บ ขน ซึ่งราชการสวนทองถิ่นอาจออกเปนขอบัญญัติทองถิ่น
โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 20 (3) ไดอยูแลว
(2) ปญหาที่ราชการสวนทองถิ่นไมดําเนินการจัดเก็บขยะบรรจุภัณฑแยกออกจากขยะทั่วไป
สวนใหญเกิดจากความไมพรอมดานเครื่องมือ ยานพาหนะ องคความรู และการจัดการตอเนื่องในวงจร
ขยะบรรจุภัณฑจนถึงการตลาด ซึ่งภาคเอกชนมีความรอบรูมากกวา มีเครือขายการจัดการจนถึงการ
ตลาดครบถวนจนถึงโรงงานรีไซเคิลหรือการสงออก
ดังนั้น หากจะใหราชการสวนทองถิ่นดําเนินการเอง เพราะมีความไดเปรียบดานกฎระเบียบ
จะต อ งให ค วามรู กั บ ผู บ ริ ห ารท อ งถิ่ นทั้งระบบครบวงจรการจัดการบรรจุ ภัณฑ และขยะบรรจุภัณฑ
การทดลองปฏิบัติในบางพื้นที่ การอบรมพนักงานเก็บขนขยะหรือขยะบรรจุภัณฑมีความรูเกี่ยวกับการ
แยกประเภทวัสดุ วิธีการรวบรวมและการปองกันตนเอง มีเครื่องมือ เครื่องปองกันที่เพียงพอ และจะ
ตองจัดระบบการเก็บขนใหม ใหพนักงานมีรายไดและสวนแบงที่เหมาะสมเพียงพอไมตองคัดแยกขยะ
กลางทางเพื่อหารายไดเพิ่ม จําเปนจะตองทําความเขาใจและตกลงกับพนักงานใหเรียบรอยกอนเริ่ม
ปฏิบัติและประเด็นนี้เปนประเด็นสําคัญที่จะชี้ความสําเร็จของงานตลอดจนการปฏิบัติในระยะยาว
ขอบัญญัติดังกลาวอาจมีผลกระทบกับคนคุยขยะ เนื่องจากหากมีการคัดแยกขยะเต็มรูปแบบ
ขยะบรรจุภัณฑสวนใหญจะถูกประชาชนเก็บรวบรวม ขยะอีกสวนหนึ่งจะถูกลําเลียงไปยังกองขยะ
โดยไมมีการคัดแยกกลางทาง จะมีการคัดแยกที่กองขยะเพื่อนําผลประโยชนสวนนี้เปนรายไดของ
ราชการสวนทองถิ่นและจัดสวัสดิการใหกับพนักงาน เมื่อเปนดังนี้ก็จะตองกันบุคคลภายนอกมิไหเขาไป
คุยเขี่ยหาประโยชนจากกองขยะอีก ทําใหคนคุยขยะซึ่งเคยมีรายไดจากกองขยะเดือดรอน นอกจาก
จะหาทางทําใหมีหลักเกณฑที่เหมาะสมในการทําใหคนคุยขยะที่มีอยูในปจจุบันเปนสวนหนึ่งของระบบ
การเก็บขนและคัดแยกขยะใหมดวย

4-15 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(3) หากราชการสวนทองถิ่นไมประสงคจะดําเนินการเอง อาจสงเสริมใหผูประกอบการภาค


เอกชนตั้งองคกรจัดการขยะบรรจุภัณฑ โดยราชการสวนทองถิ่นกําหนดใหผูประกอบการภาคเอกชน
และบุคลากรนอกระบบรวมตัวกันจัดตั้งองคกรจัดการขยะบรรจุภัณฑ รับอนุญาตดําเนินการเก็บ ขนและ
กําจัดขยะบรรจุภัณฑ เพื่อลดภาระของภาครัฐและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะบรรจุภัณฑอยาง
เปนระบบ และราชการสวนทองถิ่นยังอาจตั้งเงื่อนไขและเปาหมายของการจัดเก็บ รวมทั้งรายไดที่จะจัด
แบงใหกับภาครัฐในการอนุญาตไดอีกดวย โดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
2535
(4) หลักการของการกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่เหลือจากการคัดแยกไมสามารถนํามาใชประโยชน
อยางอื่นแลว จะตองเลือกใชเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเภทของบรรจุภัณฑ ไมวาจะเปนการฝงกลบ
เผา หรือหมักทําปุย ราชการสวนทองถิ่นจะตองเปนผูคัดเลือกและกําหนดวิธีการกําจัดที่สามารถพึ่ง
ตนเองไดและไมกอใหเกิดอันตรายตอมนุษย สัตว พืช และสิ่งแวดลอม โดยการมีสวนรวมของประชาชน
ตั้งแตตน หากอนุญาตใหเอกชนดําเนินการเก็บ ขนและกําจัดขยะบรรจุภัณฑ ก็จะตองกําหนดเงื่อนไข
ในการกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่เหลือจากการคัดแยกไมสามารถนํามาใชประโยชนอยางอื่นดวย ซึ่งจะเปน
ขอดีของระบบมากกวาในปจจุบันที่เอกชนหลายรายดําเนินธุรกิจรวบรวม คัดแยกแตขยะมีคาแลวทิ้ง
สวนที่ไมใชในกองขยะหรือปลอยมลพิษออกสูสิ่งแวดลอม
(5) หลักการจัดเก็บคาบริการจัดเก็บขยะบรรจุภัณฑ หากกําหนดใหเก็บขนแยกออกจากขยะ
ทั่วไป มีรถขนสงที่ออกแบบมาเฉพาะ หรือวาจางใหเอกชนเขามาดําเนินการหรืออนุญาตใหเอกชน
ดําเนินการเก็บ ขน จะตองกําหนดเงื่อนไขการบริการประการหนึ่ง คือ คาบริการเก็บขน และกําจัด จะ
ตองเพียงพอกับคาใชจายเมื่อนํารายไดจากการขายวัสดุที่คัดแยกไดมาคํานวณ จึงเปนไปไดที่ราชการ
สวนทองถิ่นจะมีรายไดจากสวนแบงรายไดจากการขายวัสดุ หรือถาจะตองจายก็ไมมาก ขณะที่
ประชาชนอาจไมเสียคาเก็บขนขยะหรือเสียเพียงเล็กนอย เมื่อคัดแยกขยะบรรจุภัณฑใหกับผูจัดเก็บ
ขณะที่ผูที่ไมแยกขยะจะตองเสียคาบริการเต็มจํานวน
การดําเนินการตามแนวคิดนี้ จะตองปรับปรุงกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 20(4)
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กําหนดคาบริการเก็บขนและกําจัดมูลฝอยที่เปนจริง และนํา
พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 88 มาใชในการจัด
เก็บคาธรรมเนียมในสวนนี้ โดยมีเงื่อนไขวา ในเขตทองที่ใดที่จัดใหมีการกอสรางและดําเนินการระบบ
กําจัดของเสียรวมของทางราชการโดยเงินงบประมาณแผนดินหรือเงินรายไดของราชการสวนทองถิ่น
และเงิ น กองทุ น สิ่ ง แวดล อ มแล ว อาจให ค ณะกรรมการสิ่ ง แวดล อ มแห ง ชาติ โ ดยคํ า แนะนํ า ของ
คณะกรรมการควบคุมมลพิษ พิจารณากําหนดอัตราคาบริการที่จะประกาศใชในพื้นที่ได

4-16 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(5) การมีสวนรวมของประชาชน รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติ


ใหประชาชนมีสิทธิมีสวนรวมกับรัฐและชุมชนในการคุมครอง สงเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม
เพื่อใหดํารงชีพอยูไดอยางปกติและตอเนื่องในสิ่งแวดลอมที่จะไมกอใหเกิดอันตรายตอสุขภาพอนามัย
สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของตน
การมีสวนรวมของประชาชนในการจัดการขยะเปนกลไกที่มีความสําคัญในการลดปริมาณขยะ
ลงและการกําจัดขยะบางประเภทที่ไมสามารถนํากลับมาใชประโยชนไดอีก แตที่ผานมารัฐยังมิไดเปด
โอกาสใหประชาชนไดเขามีสวนรวมในการดําเนินการอยางเปนรูปธรรมเทาใดนัก นอกจากการรณรงค
เปนครั้ งคราวไม ต อเนื่อง กฎหมายเกี่ ย วกับการจัดการขยะเปนเพียงการกําหนดภาระหนาที่ของ
ประชาชนใหเท ทิ้ง ขยะ ลงในภาชนะที่จัดไวใหและจะตองปกปดใหมิดชิดถูกสุขลักษณะเทานั้นมิได
กําหนดภาระหนาที่ในการแยกขยะหรือการนําเอาขยะบางประเภทกลับมาใชประโยชนใหม หรือมี
มาตรการจูงใจใหประชาชนไดมีสวนรวมในกิจกรรมลดปริมาณขยะหรือละเวนการใชผลิตภัณฑที่ยอย
สลายหรือทําลายไดยากเมื่อถูกทิ้งหรือไมสามารถใชประโยชนไดอีก
ดังนั้น จึงควรมีแนวคิดในการปรับปรุงกฎหมายที่มีอยูหรือออกกฎหมายใหมเพื่อรองรับสิทธิ
และหนาที่ของประชาชนเกี่ยวกับการจัดการขยะอยางเปนรูปธรรม เปนการจูงใจใหประชาชนไดเห็น
ความสําคัญของการจัดการขยะและใหความรวมมือเพราะมีสวนรวมมาตั้งแตตน เพื่อลดความขัดแยงที่
อาจเกิดขึ้นจากการปฏิเสธโครงการของภาครัฐ เชน สถานที่ฝงกลบขยะ การกอสรางเตาเผาขยะ
เปนตน และสอดคลองกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยที่กลาวมาแลวขางตน
โดยสรุปแลว แนวคิด เคาโครงวิธีการ และมาตรการในการจัดการบรรจุภัณฑและของเสีย
บรรจุภัณฑดานเศรษฐศาสตร การจัดการ และกฎหมายที่ไดวิเคราะหและนําเสนอมาขางตน ตั้งแตขั้น
ตอนการออกแบบ การผลิต การคัดแยก เก็บรวบรวม ขนสง การใชประโยชน และการกําจัด โดยมี
บุคคลที่เกี่ยวของ 4 กลุม ประกอบดวย (1) ผูออกแบบ ผูผลิต ผูนําเขา ผูบรรจุ (2) ผูขนสง ผูจัด
จําหนาย (3) ผูใช ผูบริโภค (4) ผูเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัด เปนการกําหนดแนวทางที่นําไปสูการ
จัดทํารางแผนยุทธศาสตรดานการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ รวมทั้งการเสนอแนะการ
ปรับปรุงกฎหมายที่มีในปจจุบัน หรือเสนอรางกฎหมายที่เหมาะสม
แนวคิดในหลักการที่สําคัญ คือ
(1) การออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ ใชวัสดุนอยที่สุด ใชวัสดุที่เหมาะสม และใชวัสดุใหคุมคา
(2) การขนสง จัดจําหนาย ใหมีการใชซ้ํา มีระบบรับคืน มีระบบมัดจํา ใชเทาที่จําเปน ใช
บรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
(3) การใช การบริโภค ใหเลือกใชแตผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม เลือกใชบรรจุภัณฑที่
ยอยสลายไดงายหรือใชนอยที่สุด เลือกการใชซ้ําบรรจุภัณฑหรือผลิตภัณฑชนิดเติมได
แยกขยะบรรจุภัณฑตามประเภท รัฐเปนผูนําโดยกําหนดนโยบายและทําใหเปนตัวอยาง

4-17 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(4) การรวบรวม ขนสง และกําจัด ใหแยกเก็บขยะบรรจุภัณฑออกจากขยะทั่วไปและขยะ


อันตราย พนักงานเก็บ ขน มีความรู มีเครื่องมือและมีรายไดเพียงพอ สงเสริมใหผูประกอบ
การภาคเอกชนตั้งองคกรจัดการขยะบรรจุภัณฑ ใชวิธีการกําจัดที่เหมาะสม จัดเก็บคา
บริการไดเพียงพอกับคาใชจาย ประชาชนมีสวนรวม
สําหรับแนวคิด วิธีการ และมาตรการที่จะนํามาใช เพื่อใหเปนรูปธรรมในการปฏิบัติ จะนําเอา
กฎหมายที่มีอยูในปจจุบันมาเปนเครื่องมือในการแกไขหรือหากไมมีก็จะชี้ปญหาและเสนอแนวทางใน
การแกไขและมาตรการพอสังเขปเพื่อจะไดรับฟงความคิดเห็นและวิเคราะห ประกอบดวย (ดังตารางที่
4-6 ถึง ตารางที่ 4-9)

ตารางที่ 4-6 แนวคิด วิธีการ และมาตรการที่จะนํามาใช


มาตรการ/กฎหมาย การจัดการ
กําหนดมาตรฐานของบรรจุภัณฑที่ผลิตใน การกําหนดใหติดเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑเพื่อการ
ประเทศและที่นําเขามาจากตางประเทศใหมี เก็บรวบรวม คัดแยกนําไปรีไซเคิล
องคประกอบของวัสดุที่สามารถใชซ้ําหรือนํา
ไปรีไซเคิล
การสงเสริมสนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑและ
บรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม สามารถใชซ้ํา
หรือนําไปรีไซเคิลไดงายหรือใชวัสดุรีไซเคิลในการ
ผลิต โดยใชการประกวด แขงขันใหรางวัลบุคคลทั่ว
ไป สถาบันการศึกษาหรือกลุมผูประกอบการแตละ
ผลิตภัณฑ
การสงเสริมการใหฉลากรับรองสินคาที่ใชบรรจุภัณฑ
ที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
การสงเสริมใหผูประกอบการลงทุนวิจัยและ
พัฒนาบรรจุภัณฑโดยสามารถนําเงินลงทุน
นั้นไปหักภาษีเงินไดในอัตราสูง
การสงเสริมการออกแบบและผลิตบรรจุ
ภัณฑที่สามารถใชซ้ําหรือรีไซเคิลไดงาย
โดยกําหนดมาตรการจูงใจตามกฎหมายวา
ดวยการสงเสริมการลงทุน

4-18 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 4-7 แนวคิด วิธีการ และมาตรการที่จะนํามาใช


มาตรการ/กฎหมาย การจัดการ
การลดหยอนภาษีหรือคาธรรมเนียมสําหรับ การสงเสริมใหใชซ้ําบรรจุภัณฑที่มีคุณสมบัติสามารถ
บรรจุภัณฑที่นํากลับมาใชซ้ําหรือมีระบบเติม ใชซ้ําไดโดยการใหขอมูลผูบริโภคในแงของประโยชน
(Refill) ตอเศรษฐกิจและสิ่งแวดลอม ความมั่นใจในการ
บริโภคผลิตภัณฑในบรรจุภัณฑใชซ้ํา
การกําหนดมาตรฐานของบรรจุภัณฑที่
สามารถนํามาใชซ้ําใหผูผลิตในประเทศและผู
นําเขาใชเปนบรรทัดฐานในการปฏิบัติ
การกําหนดมาตรการจูงใจใหผูจัดจําหนาย การสงเสริมใหผูขนสงหรือผูจัดจําหนายจัดใหมีระบบ
เรียกคืนบรรจุภัณฑ โดยการใชระบบมัดจํากับ รับคืนบรรจุภัณฑที่ผูบริโภคไมตองการ โดยอาจคืน
สินคาโดยเฉพาะสินคาประเภทเครื่องดื่ม เมื่อสงสินคาถึงมือผูบริโภคแลวหรือรับคืน ณ จุดขาย
ผูผลิต ผูนําเขาที่ใชระบบมัดจําในการเรียกคืน เปนตน ซึ่งตองมีการแจงใหทราบวิธีการและขั้นตอน
บรรจุภัณฑจะไดรับผอนผันหรือยกเวนภาษี หรือบริการดังกลาว เปนการสรางภาพลักษณที่ดีตอ
เปนตน สินคาและผูผลิต จึงอาจไมจําเปนตองออกกฎหมาย
หรือมาตรการบังคับ แตจะใชการจัดทําโครงการตัว
อยางกับสินคาบางตัวที่สมัครใจโดยทางราชการเปน
แกนนํา และดําเนินการตอเนื่องจนเปนวิธีการปกติ
ของการขายสินคาที่รับผิดชอบตอสังคมและ
สิ่งแวดลอม

4-19 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 4-7 (ตอ)


มาตรการ/กฎหมาย การจัดการ
การลดการใชบรรจุภัณฑใหนอยที่สุดจําเปนตองมี
มาตรการในการลดการใชบรรจุภัณฑที่ไมจําเปนลง
เชน ไมแจกถุงพลาสติกใหกับลูกคาอยางฟุมเฟอย
หรือไมหอหุมสินคาหลายชั้นเกินความจําเปน
เปนตน วิธีการที่จะกระตุนเตือนผูขนสงหรือผูจัด
จําหนายใหตระหนักในเรื่องนี้จะตองใชมาตรการ
หลายอยางประกอบกัน เชน การทําความเขาใจและ
ขอความรวมมือจากกลุมผูประกอบการเพื่อลดการ
แขงขันและไมชิงความไดเปรียบเสียเปรียบระหวาง
กัน การรณรงคดานผูบริโภคใหตระหนักถึงโทษของ
การใชบรรจุภัณฑที่เกินความจําเปน การสงเสริมการ
วิจัย การพัฒนาบรรจุภัณฑที่ใชทดแทนได
การเลือกใชบรรจุภัณฑที่เหมาะสมเปนการ
ชวยใหลดการเกิดผลกระทบตอสิ่งแวดลอม
ผูขนสงหรือผูจัดจําหนายควรเลือกใชบรรจุ
ภัณฑใหเหมาะสมกับสินคา เชน หากเลือกได
ควรใชวัสดุธรรมชาติที่ยอยสลายไดงาย เชน
ไม ฟาง ถุงกระดาษ แทนที่จะใชฟลม ถุง
พลาสติก หรือโฟม เปนตน การที่จะผลักดัน
ใหเกิดแนวความคิดเชนวานี้จะตองใชหลาย
มาตรการประกอบกันเชนเดียวกับการลดการ
ใชบรรจุภัณฑ ที่สําคัญ คือ การทําใหเกิด
ความแตกตางดานตนทุนของสินคาจะทําใหผู
ผลิต ผูนําเขา ผูขนสง และผูจัดจําหนายตอง
หาทางลดตนทุน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นจําเปนตอง
มีวัสดุทดแทนใหในปริมาณที่เพียงพอและ
ราคาที่เหมาะสม

4-20 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 4-8 แนวคิด วิธีการ และมาตรการที่จะนํามาใช


มาตรการ/กฎหมาย การจัดการ
กฎหมายคุมครองผูบริโภคอาจเขามามีสวนดู การทําใหผูใช ผูบริโภคเลือกใชแตผลิตภัณฑที่เปน
แลในเรื่องของฉลากและการโฆษณา และ มิตรกับสิ่งแวดลอมหรือพิจารณาเปนอันดับแรกใน
กฎหมายมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมดู การเลือกซื้อสินคาหรือผลิตภัณฑนั้น จะตองใหความ
แลในเรื่องของมาตรฐานผลิตภัณฑทั่วไปที่ รูกับผูใช ผูบริโภควาผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวด
ควรมี แตไมสามารถคัดเลือกใหสินคาที่วาง ลอมนั้นหมายถึงผลิตภัณฑประเภทใด มีขอมูลหรือ
จําหนายในตลาดตองเปนผลิตภัณฑที่เปน ขอสังเกตผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑอยางไรบาง
มิตรกับสิ่งแวดลอม
ดานผูประกอบการตามที่ไดกลาวมาแลววาจะ การทําใหผูใช ผูบริโภคเลือกใชบรรจุภัณฑที่ยอย
ตองใชมาตรการหลายอยางประกอบกัน โดย สลายไดงายหรือใชนอ ยที่สุดเปนกุญแจของความ
รัฐทําความเขาใจและขอความรวมมือจากกลุม สําเร็จในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ เพราะถาผูใช ผู
ผูประกอบการเพื่อลดการแขงขัน เลือกบรรจุ บริโภคมีทางเลือกระหวางการใชบรรจุภัณฑหรือไม
ภัณฑที่ยอยสลายไดงาย ถือเปนนโยบาย ใช ระหวางบรรจุภัณฑที่ยอยสลายไดงายหรือบรรจุ
ระดับชาติรัฐทําหนาที่กําหนดนโยบายสงเสริม ภัณฑที่ยอยสลายไดยาก และเลือกไมใชหรือใชนอย
การวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑที่ใชทดแทนได ที่สุด กับเลือกบรรจุภัณฑที่ยอยสลายไดงาย ปริมาณ
การกําหนดมาตรฐานของการใชบรรจุภัณฑ ขยะบรรจุภัณฑในสิ่งแวดลอมจะลดลงหลายเทาตัว
และมาตรการทางภาษีเทาที่จําเปน ไมเปนปญหาตอสิ่งแวดลอมการทําใหผูใชผูบริโภค
เลือกการใชซ้ําบรรจุภัณฑหรือผลิตภัณฑชนิดเติมได
มีลักษณะการดําเนินการเชนเดียวกัน
ในระยะยาว ทางเลือกในการใชกฎหมายเพื่อ ผูบริโภคใหความรวมมือไมใชบรรจุภัณฑเกินความ
การแยกขยะอาจตองมีกฎหมายเฉพาะ เนื่อง จําเปนหรือถาเปนไปไดปฏิเสธบรรจุภัณฑที่ไมเปน
จากบทบัญญัติในกฎหมายปจจุบันใหอํานาจ มิตรกับสิ่งแวดลอมหรือเกินความจําเปนและเตรียม
องคกรปกครองสวนทองถิ่นในการออก บรรจุภัณฑของตนเองไปจากบาน มีความตระหนัก
กฎหมายไดในทองที่ที่รับผิดชอบ ทําใหเกิด ถึงโทษของการใชบรรจุภัณฑที่เกินความจําเปน
ความลักลั่นในการใชกฎหมายแตละทองที่และ
โทษสําหรับผูที่ไมปฏิบัติตามคอนขางเบา
เพราะเพียงเปนการตักเตือนผูที่ฝาฝนมิใชเปน
คดีอาชญากรรม

4-21 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 4-8 (ตอ)


มาตรการ/กฎหมาย การจัดการ
การที่จะใหประชาชนเห็นดวยกับแนวทาง การทําใหผูใช ผูบริโภคแยกขยะบรรจุภัณฑตาม
การจัดการขยะบรรจุภัณฑขางตนจะตองมีจุด ประเภท โดยปฏิบัติจนเปนนิสยั ในการแยกขยะบรรจุ
เริ่มตนจากภาครัฐซึ่งจะตองเปนผูนํากําหนด ภัณฑตามชนิด ประเภทของวัสดุเทาที่จะทําได เพื่อ
นโยบายและทําใหเปนตัวอยาง ตั้งแตการจัด ลดขยะที่ตองนําไปกําจัดใหนอยที่สุด เปนปจจัยที่
ซื้อพัสดุ การใช และการคัดแยกขยะในหนวย สําคัญประการหนึ่งในการแกปญหาขยะบรรจุภัณฑ
งานของรัฐรวมถึงผูรับจางหนวยงานของรัฐ ซึ่งตองประกอบดวยความรวมมือหลายฝาย คือ
โดยมีมติคณะรัฐมนตรีสนับสนุนแนวทางการ ผูผลิต ผูนําเขา ผูจัดจําหนาย ผูใช ผูบริโภค ผูเก็บ
จัดการขยะบรรจุภัณฑ และใหสวนราชการ รวบรวม ขนสง ดังนี้
หรือหนวยงานของรัฐรวมถึงผูรับจางหนวย 1) ผูผลิต ผูนําเขา ผูจัดจําหนาย จะตองใหขอมูลองค
งานของรัฐถือปฏิบัติอยางเครงครัดและออก ประกอบของผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑเพื่อการแยก
ระเบียบภายในใหชัดเจน และอาจใหมีการ ขยะเทาที่จะทําได เพื่อใหผูใช ผูบริโภคสามารถแยก
รายงานผลเปนระยะ เมื่อประชาชนเห็นผลดี ขยะไดอยางถูกตอง หรือจัดใหมีบริการรับคืนบรรจุ
ก็จะทําตาม ภัณฑที่จุดขายเพื่อลดภาระการแยกขยะ ผูใช
นอกจากนั้นควรปรับปรุงระเบียบ ผูบริโภคตองจัดใหมีภาชนะแยกประเภทวัสดุและทํา
สํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุใหสวน การแยกทิ้งวัสดุ บรรจุภัณฑใหเหลือขยะที่จะตองทิ้ง
ราชการพิจารณาคัดเลือกและจัดซื้อผลิต ไปฝงกลบนอยที่สุด หรืออาจจัดใหมีการนําขยะเปยก
ภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม ลดการใช ไปหมักทําปุยดวย
บรรจุภัณฑ หรือใชบรรจุภัณฑที่ยอยสลายได 2) ผูเก็บรวบรวม ขนสง จะตองเตรียมการสําหรับ
งาย สามารถใชซ้ําหรือเติมหรือมีสวน การรับขยะที่คัดแยกจากบานเรือน ใหผูที่แยกขยะมั่น
ประกอบจากวัสดุรีไซเคิลเปนอันดับแรก ใจวาไมมีการเทรวมกองขยะทุกประเภทเขาดวยกัน
เปนตน โดยอาจมีรถรับขยะรีไซเคิลโดยเฉพาะที่จัดเก็บแยก
จากการเก็บรวบรวมขยะทั่วไป ซึ่งตองขึ้นกับทองถิ่น
ที่ตองใหความสําคัญในการคัดแยกขยะอยางจริงจัง
และออกเปนขอบัญญัติทองถิ่นใชบังคับ

4-22 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 4-9 แนวคิด วิธีการ และมาตรการที่จะนํามาใช


มาตรการ/กฎหมาย การจัดการ
จัดระบบเก็บขนขยะบรรจุภัณฑออกจากขยะ หากจะใหราชการสวนทองถิ่นดําเนินการเอง เพราะมี
ทั่วไปโดยอาจจัดรถขนสงที่ออกแบบมา ความไดเปรียบดานกฎระเบียบ จะตองใหความรูกับผู
เฉพาะหรือจัดวันเก็บขนเฉพาะ หรือวาจาง บริหารทองถิ่นทั้งระบบครบวงจรการจัดการบรรจุ
ใหเอกชนเขามาดําเนินการหรืออนุญาตให ภัณฑและขยะบรรจุภัณฑ การทดลองปฏิบัติในบาง
เอกชนดําเนินการเก็บ ขน ซึ่งราชการสวน พื้นที่ การอบรมพนักงานเก็บขนขยะหรือขยะบรรจุ
ทองถิ่นอาจออกเปนขอบัญญัติทองถิ่นโดย ภัณฑมีความรูเกี่ยวกับการแยกประเภทวัสดุ วิธีการ
อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติการ รวบรวมและการปองกันตนเอง มีเครื่องมือ เครื่อง
สาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 20 (3) ปองกันที่เพียงพอ และจะตองจัดระบบการเก็บขน
ใหม ใหพนักงานมีรายไดและสวนแบงที่เหมาะสม
เพียงพอไมตองคัดแยกขยะกลางทางเพื่อหารายได
เพิ่ม จําเปนจะตองทําความเขาใจและตกลงกับ
พนักงานใหเรียบรอยกอนเริ่มปฏิบัติและประเด็นนี้
เปนประเด็นสําคัญที่จะชี้ความสําเร็จของงานตลอด
จนการปฏิบัติในระยะยาว และตองดูแลคนคุยขยะที่มี
อยูในปจจุบันใหเปนสวนหนึ่งของระบบการเก็บขน
และคัดแยกขยะใหมดวย
หากราชการสวนทองถิ่นไมประสงคจะ การกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่เหลือจากการคัดแยกไม
ดําเนินการเอง อาจสงเสริมใหผูประกอบการ สามารถนํามาใชประโยชนอยางอื่นแลว จะตองเลือก
ภาคเอกชนตั้งองคกรจัดการขยะบรรจุภัณฑ ใชเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเภทของบรรจุภัณฑ
โดยราชการสวนทองถิ่นกําหนดใหผูประกอบ ไมวาจะเปนการฝงกลบ เผา หรือหมักทําปุย ราชการ
การภาคเอกชนและบุคลากรนอกระบบรวม สวนทองถิ่นจะตองเปนผูคัดเลือกและกําหนดวิธีการ
ตัวกันจัดตั้งองคกรจัดการขยะบรรจุภัณฑรับ กําจัดที่สามารถพึ่งตนเองไดและไมกอใหเกิด
อนุญาตดําเนินการเก็บขนและกําจัดขยะ อันตรายตอมนุษย สัตว พืช และสิ่งแวดลอม โดยการ
บรรจุภัณฑ เพื่อลดภาระของภาครัฐและเพิ่ม มีสว นรวมของประชาชนตั้งแตตน หากอนุญาตให
ประสิทธิภาพในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ เอกชนดําเนินการเก็บขนและกําจัดขยะบรรจุภัณฑก็
อยางเปนระบบ และราชการสวนทองถิ่นยัง จะตองกําหนดเงื่อนไขในการกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่
อาจตั้งเงื่อนไขและเปาหมายของการจัดเก็บ เหลือจากการคัดแยกไมสามารถนํามาใชประโยชน
รวมทั้งรายไดที่จะจัดแบงใหกับภาครัฐในการ อยางอื่นดวย ซึ่งจะเปนขอดีของระบบมากกวาใน
อนุญาตไดอีกดวย โดยอาศัยอํานาจตาม ปจจุบันที่เอกชนหลายรายดําเนินธุรกิจรวบรวม
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 คัดแยกแตขยะมีคาแลวทิ้งสวนที่ไมใชในกองขยะหรือ
ปลอยมลพิษออกสูสิ่งแวดลอม

4-23 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 4-9 (ตอ)

มาตรการ/กฎหมาย การจัดการ
การดําเนินการตามแนวคิดนี้ อาจตองปรับ หลักการจัดเก็บคาบริการจัดเก็บขยะบรรจุภัณฑ หาก
ปรุงกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 20 กําหนดใหเก็บขนแยกออกจากขยะทั่วไป มีรถขนสง
(4) พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ที่ออกแบบมาเฉพาะ หรือวาจางใหเอกชนเขามา
2535 กําหนดคาบริการเก็บขนและกําจัดมูล ดําเนินการหรืออนุญาตใหเอกชนดําเนินการเก็บ ขน
ฝอยที่เปนจริง และนําพระราชบัญญัติสง จะตองกําหนดเงื่อนไขการบริการประการหนึ่ง คือ
เสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ คาบริการเก็บขน และกําจัด จะตองเพียงพอกับคาใช
พ.ศ. 2535 มาตรา 88 มาใชในการจัดเก็บคา จ า ยเมื่ อ นํารายได จ ากการขายวั ส ดุ ที่คั ดแยกไดมา
ธรรมเนียมในสวนนี้ได โดยมีเงื่อนไขวา ใน คํานวณ จึงเปนไปไดที่ราชการสวนทองถิ่นจะมีราย
เขตทองที่ใดที่จัดใหมีการกอสรางและดําเนิน ไดจากสวนแบงรายไดจากการขายวัสดุ หรือถาจะ
การระบบกําจัดของเสียรวมของทางราชการ ตองจายก็ไมมาก ขณะที่ประชาชนอาจไมเสียคาเก็บ
โดยเงินงบประมาณแผนดินหรือเงินรายได ขนขยะหรือเสียเพียงเล็กนอย เมื่อคัดแยกขยะบรรจุ
ของราชการสวนทองถิ่นและเงินกองทุนสิ่ง ภัณฑใหกับผูจัดเก็บ ขณะที่ผูที่ไมแยกขยะจะตองเสีย
แวดลอมแลวอาจใหคณะกรรมการสิ่งแวด คาบริการเต็มจํานวน
ลอมแหงชาติโดยคําแนะนําของคณะ
กรรมการควบคุมมลพิษ พิจารณากําหนด
อัตราคาบริการที่จะประกาศใชในพื้นที่ได

4-24 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 4-9 (ตอ)

รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 บัญญัติใหประชาชนมี
สิทธิมีสวนรวมกับรัฐและชุมชนในการคุม
ครอง สงเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม
เพื่อใหดํารงชีพอยูไดอยางปกติและตอเนื่อง
ในสิ่งแวดลอมที่จะไมกอใหเกิดอันตรายตอ
สุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิต
ของตน จึงควรมีแนวคิดในการปรับปรุง
กฎหมายที่มีอยูหรือออกกฎหมายใหมเพื่อ
รองรับสิทธิและหนาที่ของประชาชนเกี่ยวกับ
การจัดการขยะอยางเปนรูปธรรม เปนการจูง
ใจใหประชาชนไดเห็นความสําคัญของการ
จัดการขยะและใหความรวมมือเพราะมีสวน
รวมมาตั้งแตตน เพื่อลดความขัดแยงที่อาจ
เกิดขึ้นจากการปฏิเสธโครงการของภาครัฐ
เชน สถานที่ฝงกลบขยะ การกอสรางเตาเผา
ขยะ เปนตน และสอดคลองกับบทบัญญัติใน
รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยที่กลาวมา
แลวขางตน

4-25 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

4-27
บทที่ 5
แผนยุทธศาสตรในการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
แนวคิดในการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑเทาที่ไดทบทวนมาในบทกอนหนานี้
แสดงใหเห็นวา ภาระในการจัดการฯ อาจจะแบงไดเปน 3 แนวทาง คือ
1. การจัดการโดยรัฐ หมายถึง ภาครัฐซึ่งหมายรวมถึงองคกรของรัฐในสวนกลาง สวนภูมิภาค
และองคกรปกครองสวนทองถิ่นมีหนาที่เปนฝายรับภาระในการบริหารจัดการ ออกคาใช
จายในการเก็บขน และกําจัดของเสียบรรจุภัณฑแตเพียงฝายเดียว การจัดเก็บคาธรรม
เนียมหรือคาใชจายในการเก็บขนและคากําจัด จะเก็บจากผูที่ทิ้งขยะโดยตรง
2. การจัดการโดยเอกชน หมายถึง ผูประกอบการภาคเอกชนที่มีสวนเกี่ยวของกับสินคาและ
บรรจุภัณฑมีหนาที่เปนฝายรับภาระในการเรียกเก็บและกําจัดของเสียบรรจุภัณฑแตเพียง
ฝ า ยเดี ย ว หรื อ อาจมอบภาระและเสี ย ค า ใช จ า ยในการเรี ย กเก็ บ และกํ าจั ด ของเสี ย
บรรจุภัณฑใหกับองคกรจัดการของเสียบรรจุภัณฑ รัฐจะมีหนาที่เปนผูกําหนดเปาหมาย
ของการเก็บขน การรีไซเคิล และการกําจัด และกํากับใหเปนไปตามเปาหมาย
3. การจัดการโดยรัฐและเอกชน หมายถึง ภาครัฐและภาคเอกชนรวมกันในการเก็บขน และ
กําจัดของเสียบรรจุภัณฑ โดยรวมกันรับภาระคาใชจายหรือลงทุนในระบบจัดการรวมกัน
หรือแบงภาระหนาที่ระหวางกัน

จากการวิเคราะหพบวาการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑของตางประเทศโดย
เฉพาะประเทศในสหภาพยุโรปเปนระบบการจัดการของเอกชนเปนสวนใหญ โดยกฎหมาย บรรจุ
ภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑของสหภาพยุโรป กําหนดใหผูประกอบการรับภาระการเรียกคืนบรรจุ
ภัณฑของตนนําไปใชซ้ํา รีไซเคิล หรือกําจัด หากไมประสงคจะดําเนินการเองก็ตองมอบหมายใหองค
กรที่รับจัดการขยะบรรจุภัณฑนําไปดําเนินการโดยจายคาธรรมเนียมตามชนิดและปริมาณของวัสดุ รัฐมี
หนาที่กําหนดหลักเกณฑและเปาหมายในการใชซ้ําหรือรีไซเคิล เปนตน ขณะที่ระบบการจัดการของ
ประเทศสหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ เชน ประเทศเม็กซิโก บราซิล อินเดีย ใชระบบ Integrated
Waste Management (IWM) เปนการจัดการแบบองครวมที่ทุกฝายตองเขามามีสวนรับผิดชอบตั้งแต
ขั้นตอนการผลิตจนถึงการกําจัด

5-1 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

สวนการจัดการของเสียบรรจุภัณฑของไทยเปนการจัดการจากภาครัฐ โดยกฎหมายกําหนดให
ราชการสวนทองถิ่นทําหนาที่เก็บขนและกําจัดขยะมูลฝอยชุมชน ขยะบรรจุภัณฑถูกจัดวาเปนขยะชุม
ชนดวยจึงไมมีการคัดแยกจัดการตางหาก จึงทําใหขยะชุมชนที่ตองเก็บขนและกําจัดมีปริมาณสูง มี
การคัดแยกที่กลางทางและปลายทาง ทําใหไมสามารถจัดการขยะบรรจุภัณฑใหมีการใชซ้ํา รีไซเคิล ที่
มีประสิทธิภาพเทาที่ควร
อยางไรก็ตาม ประเทศไทยมีจุดเดนของการจัดการขยะที่แตกตางจากหลายประเทศที่กลาวมา
แลว เพราะมีกระบวนการแยกมูลฝอยนําไปใชประโยชนแบบดั้งเดิมอยูแลว เชน คนคุยขยะ ซาเลง
รานรับซื้อของเกา และโรงงานรีไซเคิล เปนตน ดังนั้น การกําหนดยุทธศาสตรในการจัดการบรรจุภัณฑ
และของเสียบรรจุภัณฑจึงไมอาจนํารูปแบบการจัดการของประเทศใดประเทศหนึ่งมาใชได เพราะเหตุที่
มีความแตกตางกันในแนวคิด ประสบการณ ประเพณีวัฒนธรรม และกฎหมาย
การจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑของไทยจึงควรวางยุทธศาสตร มาตรการ และ
แผนงานที่สามารถแกไขปญหาในการจัดการของเสียบรรจุภัณฑของประเทศไดตรงกับปญหา รางแผน
ยุทธศาสตรดานการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑที่นําเสนอตอไปนี้ ไดมาจากผลการ
วิเคราะหปญหาและแนวทางในการแกไขปญหา ประกอบดวยมาตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสีย
บรรจุภัณฑ ตั้งแตขั้นตอนการออกแบบ การผลิต การคัดแยก เก็บรวบรวม ขนสง การใชประโยชน และ
การกําจัดของเสียบรรจุภัณฑ รวมทั้งแผนงานสําหรับใหหนวยงานที่เกี่ยวของนําไปดําเนินการและ
กรอบระยะเวลาโดยประมาณ
ร า งแผนยุ ท ธศาสตรที่ เสนอนี้ สว นใหญ จ ะเปนมาตรการและแผนงานที่ ส งเสริ ม สนับ สนุน
เสริมสรางความรวมมือระหวางฝายตางๆ โดยการใหความรู ความเขาใจ ผูประกอบการและประชาชน
ผานทางสื่อ การอบรม การจัดประกวด การจูงใจดวยการใหทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาการออกแบบ
ผลิตภัณฑ กระบวนการผลิต การสงเสริมใหผูประกอบการรับคืนบรรจุภัณฑ การใชซ้ํา สงเสริมผลิต
ภัณฑชนิดเติม สงเสริมการมัดจํา-คืนเงิน และการจัดตั้งศูนยรับคืนบรรจุภัณฑ การกําหนดมาตรการลด
การใชบรรจุภัณฑที่ไมจําเปน การสงเสริมการใชบรรจุภัณฑขนสงที่ลดผลกระทบ ตอสิ่งแวดลอม
สงเสริมการใหความรูที่ถูกตองในการใชบรรจุภัณฑกับผูบริโภค กําหนดใหมีการแยกขยะ กําหนดให
ภาครัฐตองเปนผูนําทั้งในเรื่องของการจัดซื้อจัดจาง การรักษาสิ่งแวดลอม และการ คัดแยกขยะ
กําหนดคาธรรมเนียมที่แตกตางกันระหวางขยะที่คัดแยกกับขยะที่ไมไดคัดแยก กําหนดคาบริการเก็บ
ขนที่สะทอนคาใชจายที่เปนจริง กําหนดวันเก็บขนขยะ สงเสริมใหประชาชนมีสวนรวมในการจัดการ
ขยะและรับรองสิทธิและหนาที่ของประชาชนในการจัดการขยะอยางเปนรูปธรรม

5-2 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

จากการประชุมปรึกษาหารือกับหลายฝาย ทําใหพบวา แนวคิดที่จะใชบังคับมาตรการทางภาษี


กับบรรจุภัณฑจัดการยาก เชน บรรจุภัณฑที่ทํามาจากพลาสติกและโฟม เปนตน ยังไมควรนํามาใชใน
ขณะนี้ เนื่องจากสภาพความเปนจริงของสังคมไทยยังตองพึ่งพาถุงพลาสติกและกลองโฟมในชีวิต
ประจําวัน และไมอาจหาวัสดุทดแทนที่มีคุณสมบัติและราคาใกลเคียงกันได และหากบังคับใชก็ไมแนวา
จะสามารถลดปริมาณการใชลงไดหรือไม แตผลกระทบจะตกแกประชาชนซึ่งจะไดรับความเดือดรอน จะ
เกิดการตอตานทั้งฝายผูผลิต ผูประกอบการ และผูบริโภค แทนที่จะไดรับความรวมมือ ในการดําเนิน
ยุทธศาสตรจึงควรเลือกที่จะใชมาตรการอื่น เชน การใหความรูกับผูประกอบการ ผูบริโภค และผูให
บริการเก็บขนขยะบรรจุภัณฑในการจัดการ การสงเสริมใหผูประกอบการรวมตัวกันโดยสมัครใจเพื่อจัด
ระบบการรวบรวมบรรจุภัณฑใชแลวนํากับมาใชซ้ําหรือรีไซเคิล การขอความรวมมือหางสรรพสินคาและ
รานสะดวกซื้อใหใชถุงพลาสติกเทาที่จําเปน การกําหนดใหมีการคัดแยกขยะจาก ตนทาง ไมใหขยะ
เหลานี้ถูกปลอยออกสูสิ่งแวดลอมก็นาจะเปนการแกปญหาที่ไดผลและไดรับความรวมมือมากกวา

5.1 แผนยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ

1. หลักการและเหตุผล

บรรจุภัณฑ เปนปจจัยที่สําคัญในการหอหุมสินคา ลดการสูญเสีย ลดคาใชจาย สรางความ


แตกตางของสินคา สรางมูลคาเพิ่มใหแกสินคา และเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันทางการคา
สามารถตอบสนองความตองการของลูกคาทุกระดับสงผลใหสามารถขยายตลาดและแขงขันในตลาดได
การผลิตและการใชบรรจุภัณฑในประเทศไทยเปนไปโดยเสรีตามความตองการของตลาด นอกจากเปน
บรรจุภัณฑที่ตองสัมผัสอาหารที่ตองเลือกใชวัสดุที่เหมาะสม ทําใหปริมาณการใชเพิ่มขึ้นทุกปตาม
จํานวนประชากรและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศสงผลใหปริมาณของเสียบรรจุภัณฑเพิ่ม
ขึ้นตามไป
ในป พ.ศ. 2544 ปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศมีประมาณ 14.1 ลานตัน ในจํานวนนี้เปน
ของเสียบรรจุภัณฑ รอยละ 24 หรือประมาณ 3.4 ลานตัน ประกอบดวย แกว กระดาษ โลหะ พลาสติก
อลูมิเนียม เปนตน หากบรรจุภัณฑดังกลาวถูกนําไปกําจัดรวมกับขยะมูลฝอยอื่น ๆ โดยวิธีฝงกลบจะ
สูญเสียดานเศรษฐกิจและการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติ และเมื่อประเมินคาใชจายในการจัดการของ
เสียบรรจุภัณฑ โดยพิจารณาจากคาเก็บรวบรวมขนสงและกําจัดขยะมูลฝอยแบบฝงกลบอยางถูกหลัก
สุขาภิบาล ประมาณตันละ 1,000 บาท จะตองใชเงินถึง 3,400 ลานบาทตอป ซึ่งเปนภาระขององคกร
ปกครองสวนทองถิ่นที่ตองรับผิดชอบคาใชจายในการกําจัดของเสียบรรจุภัณฑดังกลาว นอกจากนี้
บรรจุภัณฑบางประเภทที่เปนพิษตอสิ่งแวดลอม เชน บรรจุภัณฑยาฆาแมลง สารเคมี สารทําความ
สะอาด เมื่อถูกนําไปฝงกลบรวมกับขยะมูลฝอยอื่น ๆ ทําใหมีความเสี่ยงตอการรั่วไหลของสารพิษ
ซึ่งอาจสงผลกระทบตอคุณภาพสิ่งแวดลอมและสุขภาพอนามัยของประชาชน

5-3 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ปญหาของการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑนอกจากจะเปนปญหาของการ
เก็บขนและกําจัดที่ไมมีประสิทธิภาพเทาที่ควรแลว การนํากลับมาใชหรือรีไซเคิลยังมีปญหาปนเปอน
และสกปรกจนไมสามารถนํากลับมาใชใหมไดหรือมีคุณภาพต่ําเพราะถูกทิ้งรวมกัน ขาดกฎระเบียบใน
การคัดแยก กลไกในการเรียกคืนซากผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑ ตลอดจนระบบบริหารจัดการที่มีประ
สิทธิภาพและครบวงจรตั้งแตการรวบรวม คัดแยก เก็บขน ขนสงและกําจัด รวมทั้งการนําขยะ มูล
ฝอยมาใชประโยชนใหม
ประเทศไทยไมมีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑโดยตรง
แตมีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะ 2 ลักษณะ คือ กฎหมายการรักษาความสะอาด หามทิ้งขยะในที่
หามและอนุรักษสิ่งแวดลอม ไดแก พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอย
ของบานเมือง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสงเสริมและ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 และกฎหมายที่กําหนดหนาที่ของผูรับผิดชอบในการ
กําจัดขยะมูลฝอย ซึ่งจะใหอํานาจกับองคกรปกครองสวนทองถิ่น คือ เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพั
ทยา หรือองคการบริหารสวนตําบล ในการเก็บ ขน กําจัดขยะมูลฝอยในเขตที่ตนมีอํานาจหนาที่ ไมได
เปดโอกาสใหประชาชนเขาไปมีสวนรวมในกระบวนการและขั้นตอนตาง ๆ ในการจัดการขยะอันจะเสริม
สรางความรวมมือและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น จึงจําเปนตองกําหนดแผนยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
ตั้งแตกระบวนการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ จนถึงการเก็บรวบรวม ขนสง การนํากลับมาใช
ประโยชน การบําบัดและกําจัด เพื่อใหการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑของประเทศเปนไป
อยางมีระบบ ครบวงจร และมีประสิทธิภาพ

2. วัตถุประสงค
2.1 เพื่ อ ให บ รรจุ ภั ณ ฑ แ ละของเสี ย บรรจุ ภั ณ ฑ ได รั บ การจั ด การอย า งเป น ระบบ
ครบวงจร มีประสิทธิภาพตั้งแตขั้นตอนการออกแบบ การผลิต การบริโภค การบําบัดและกําจัด
2.2 เพื่อใหการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑเปนการจัดการอยางบูรณาการ
โดยความรวมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

3. เปาหมาย
มีแนวทางการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑที่มีประสิทธิภาพตั้งแตขั้นตอนการ
ออกแบบ การผลิต การบริโภค การบําบัดและกําจัด เพื่อใหหนวยงานที่เกี่ยวของนําไปปฏิบัติ เพื่อลด
ขยะบรรจุภัณฑที่ตองเก็บขนและกําจัดในระบบลงได

5-4 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

4. คํานิยาม
ในแผนยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑไดกลาวถึงลักษณะของ
บรรจุภัณฑบางอยางไว เพื่อสรางความเขาใจที่ตรงกันในแผนฯ จึงไดนําคําดังกลาวมาอธิบายเพิ่มเติม
ดังนี้
บรรจุภัณฑที่จัดการงายหรือรีไซเคิลไดงาย คือ บรรจุภัณฑที่ผลิตจากวัสดุชนิดเดียว
(Single Component) เชน แกว โลหะกระดาษ และพลาสติกจําพวกเทอรโมพลาส (PE, PP, PET, etc.)
จะมีมูลคาในตัวเพียงพอที่จะถูกเก็บหรือรับซื้อกลับเขาสูกระบวนการรีไซเคิล จึงไมพบเปนปญหาในกอง
ขยะ
บรรจุภัณฑที่จัดการยากหรือขั้นตอนรีไซเคิลซับซอน คือ บรรจุภัณฑประเภทลามิเนต หรือ
Multi-layer เชน กลองนม กลองน้ําผลไม ซองขนมขบเคี้ยว รวมทั้งบรรจุภัณฑปนเปอนตางๆ มักถูกทิ้ง
เปนภาระในกองขยะ เนื่องจากไมคุมคาเชิงรีไซเคิล
การยอยสลายทางชีวภาพ (Biodegradation) หมายถึง การยอยสลายของสสารดวยสิ่งมี
ชีวิตขนาดเล็ก (Microorganism) เชน แบคทีเรีย ใหเปนอนุภาคเล็กๆ ที่ไมเปนอันตราย ตอ สิ่ง
แวดลอม รวมทั้งไมแตกตัวทางเคมีดวยแบคทีเรียและ/หรือปจจัยทางสิ่งแวดลอมธรรมชาติ เปนสาร
ตกคางในสิ่งแวดลอม
วัสดุบางชนิดโดยเฉพาะพลาสติกซึ่งไมสามารถยอยสลายทางชีวภาพ อาจถูกเรงใหยอยสลาย
ไดดวยปฏิกิริยาทางแสง (Photodegradation) หรือปฏิกิริยาทางเคมี (Chemical Degradation) แตยัง
ไมเปนที่นิยมนัก เนื่องจากพลาสติกที่ถูกทําใหยอยสลายไดเหลานี้ มักมีความแข็งแรงเชิงกลต่ํากวาและ
ตนทุนการผลิตสูงกวา เมื่อเทียบกับพลาสติกทั่วไป
บรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม หมายถึง บรรจุภัณฑที่กระบวนการออกแบบ ผลิต
บริโภค การบําบัดและกําจัด ดําเนินการโดยใชทรัพยากรและพลังงานที่จํากัด ไมปลอยมลพิษสูสิ่งแวด
ลอม และสามารถจัดการไดงายหรือรีไซเคิลไดงาย
สินคาประเภทเติม (Refill) หมายถึง สินคาที่มีระบบการใหผูบริโภคนําภาชนะไปบรรจุสินคาที่
รานคาดวยตนเอง หรือสินคาที่บรรจุในภาชนะขนาดใหญแลวมาแบงใชตามขนาดความตองการ

5. แนวทางการจัดการ
แผนยุท ธศาสตร สําหรับการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ แบงออกเปน
ยุทธศาสตรที่ใชกับผูเกี่ยวของ 4 กลุม คือ (1) ผูออกแบบ ผูผลิต ผูนําเขา ผูบรรจุ (2) ผูขนสง ผูจัด
จําหนาย (3) ผูใช ผูบริโภค (4) ผูเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัด ที่ครอบคลุมการออกแบบ การผลิต
การคัดแยก เก็บรวบรวม ขนสง การใชประโยชน และการกําจัดของเสียบรรจุภัณฑ ดังตอไปนี้

5-5 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

1. ผูออกแบบ ผูผลิต ผูนําเขา ผูบรรจุ


ยุทธศาสตรที่ 1 การออกแบบผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
ยุทธศาสตรที่ 2 การผลิตบรรจุภัณฑที่ใชเทคโนโลยีสะอาด
ยุทธศาสตรที่ 3 การนําเขาและบรรจุผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม

2. ผูขนสง ผูจัดจําหนาย
ยุทธศาสตรที่ 1 การรับคืนบรรจุภัณฑเมื่อสงมอบสินคา
ยุทธศาสตรที่ 2 การใชซ้ําบรรจุภัณฑที่ยังมีประโยชน
ยุทธศาสตรที่ 3 การสงเสริมใหใชบรรจุภัณฑที่ชวยลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอม

3. ผูใช ผูบริโภค
ยุทธศาสตรที่ 1 การสงเสริมการใชผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
ยุทธศาสตรที่ 2 การสงเสริมใหผูใช ผูบริโภคแยกขยะ
ยุทธศาสตรที่ 3 การกําหนดนโยบายใหหนวยงานของรัฐจัดซื้อจัดจาง ผลิตสินคาที่เปน
มิตรกับสิ่งแวดลอมและใหมีการคัดแยกขยะอยางเปนระบบ

4. ผูเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัด


ยุทธศาสตรที่ 1 การคัดแยกขยะที่มีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตรที่ 2 การจัดตั้งเครือขายรวบรวมขยะบรรจุภัณฑ
ยุทธศาสตรที่ 3 การกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่ไมสามารถใชประโยชนอยางอื่นไดอยางถูก
ตองตามหลักสุขอนามัย
ยุทธศาสตรที่ 4 การสงเสริมการมีสวนรวมของประชาชน

1. ผูออกแบบ ผูผลิต ผูนําเขา ผูบรรจุ ปญหาของการออกแบบและการผลิต การนําเขาและ


การบรรจุ เกิดจากการออกแบบและการผลิตสินคาสวนใหญเนนบรรจุภัณฑที่สวยงามดึงดูดใจใหผูซื้อ
ตัดสินใจซื้อ รวมถึงการเลือกใชวัสดุบรรจุภัณฑที่สามารถหาไดงายและมีราคาถูก น้ําหนักเบา มีความ
คงทนแข็งแรง หรือสามารถรองรับแรงกระแทกได เพื่อปองกันสินคาเสียหายในระหวางการขนสงจนถึง
ผูบริโภค ไมไดคํานึงถึงของเสียบรรจุภัณฑที่จะเกิดขึ้นหลังการใชสินคาแลว และไมไดคิดถึงการนําวัสดุ
ใชแลวมาใชซ้ําหรือรีไซเคิล หรือเปนวัสดุที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมหรือไม ดังนั้นยุทธศาสตรและมาตร
การที่เหมาะสม คือ

5-6 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ยุทธศาสตรที่ 1 การออกแบบผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
วั ต ถุ ป ระสงค ส ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให มี ก ารออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ ที่ เ ป น
มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล อ มซึ่ ง เป น ขั้ น ตอนแรกที่ สํ า คั ญ ที่ สุ ด ในการกํ า จั ด และ
การรวบรวมผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑเมื่อหมดอายุการใชงาน
ตารางที่ 5-1 การออกแบบผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
1 ผลิตภัณฑและ 1.1 สงเสริมและสนับสนุนให 1.1.1 ใหสถาบันการศึกษาที่มีการเรียน
. บรรจุภัณฑออก มีการออกแบบผลิต การสอนดานการออกแบบผลิต
แบบโดยไมคํานึง ภัณฑและบรรจุภัณฑที่ ภัณฑ บรรจุเรื่องการออกแบบสิน
ถึงการรวบรวม เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม คาที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมลงใน
เพื่อนําไปคัดแยก หลักสูตรของสถาบัน
และการรีไซเคิล
1.1.2 จัดอบรมใหความรูแกผูออกแบบ
และผูผลิต ทั้งผูผลิตขนาดใหญ
ขนาดกลางและขนาดยอม ตลอด
จนกลุมวิสาหกิจชุมชน ใหมีความรู
ความเขาใจถึงปญหาและแนวทาง
การแกปญหาเรื่องการจัดการของ
เสียบรรจุภัณฑ
1.2 จัดประกวดการออก 1.2.1 จัดประกวดผลิตภัณฑและบรรจุ
แบบผลิตภัณฑและ ภัณฑที่สามารถนําไปใชซ้ําหรือรี
บรรจุภัณฑที่เปนมิตร ไซเคิลไดงายโดยอาจแบงผู
กับสิ่งแวดลอม ประกวดเปนกลุม คือ
1. บุคคลทั่วไป
2. นักเรียน นักศึกษา
3. ผูประกอบการ และแบงยอยไป
ตามชนิดของผลิตภัณฑ เชน กลุม
เครื่องดื่ม กลุมอาหาร เปนตน

5-7 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 5-1 (ตอ)


ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
1.3 สงเสริมการออกแบบ 1.3.1 จัดอบรมใหความรูแกผูออกแบบให
บรรจุภัณฑที่ใช สามารถออกแบบบรรจุภัณฑไดใช
ประโยชนไดหลาย ประโยชนไดหลายประการ และมี
ประการและมีอายุการใช อายุการใชงานนาน เพื่อใหบรรจุ
งานนาน ภัณฑเหลานั้นไมกลายเปนของเสีย
เมื่อสินคาที่บรรจุอยูภายในถูกใช
หมดลงหรือผลิตภัณฑแบบเติม
(Refill)
1.4 ขอความรวมมือผูผลิต ประชาสัมพันธผานทางสื่อ ตาง ๆ
ในการใหขอมูลองค และขอความรวมมือไปยังสภาหอ
ประกอบของผลิตภัณฑ การคาสภาอุตสาหกรรม สถาบัน
และบรรจุภัณฑ อื่นๆ ที่เกี่ยวของ รวมทั้งองคกรผู
บริโภค ขอความรวมมือผูผลิตให
จัดทําขอมูลองคประกอบของผลิต
ภัณฑและบรรจุภัณฑเพื่อการแยก
ขยะเทาที่จะทําได เพื่อใหผูบริโภค
สามารถแยกขยะไดอยางถูกตอง
2 ขาดการวิจัยเพื่อ 2.1 สนับสนุนการทําวิจัย 2.1.1 ใหทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อใหได
. ใหไดบรรจุภัณฑ เพื่อหาวัสดุบรรจุภัณฑ วัสดุบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่ง
ที่เปนมิตรกับสิ่ง ใหม ๆ ที่เปนมิตรกับสิ่ง แวดลอมที่สามารถนํามาใชในการ
แวดลอมทั้งในขั้น แวดลอม และสามารถ ผลิตเปนวัสดุสําหรับหีบหอสินคา
ตอนการผลิต นํามาผลิตเปนวัสดุ และวัสดุกันกระแทกเพื่อลดการใช
บรรจุภัณฑและ สําหรับหีบหอสินคาได โฟมและพลาสติก รวมทั้งหลัก
เมื่อจะกําจัดบรรจุ เกณฑในการนําคาใชจายในการทํา
ภัณฑหลังการใช วิจัยมาขอลดหยอนภาษีตางๆ
งานเสร็จสิ้น

5-8 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ยุทธศาสตรที่ 2 การผลิตบรรจุภัณฑที่ใชเทคโนโลยีสะอาด
วัตถุประสงค เพื่อสนับสนุนใหผูประกอบการตระหนักถึงวิธีการผลิตบรรจุภัณฑที่ใชเทคโนโลยี
สะอาด (Clean Technology) ซึ่งสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมนอยกวาการผลิต
แบบดั้งเดิม

ตารางที่ 5-2 การผลิตบรรจุภัณฑที่ใชเทคโนโลยีสะอาด


ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
1 ผูประกอบการ สงเสริมใหมีการนําเทคโนโลยี 1 ใหความรูและสนับสนุนเรื่อง
. บางรายไมมีความ สะอาดมาใชในการผลิตวัสดุ . เทคโนโลยีสะอาดแกผูประกอบ
รูความเขาใจเรื่อง บรรจุภัณฑและบรรจุภัณฑ การ โดยเฉพาะผูประกอบการราย
เทคโนโลยีสะอาด ยอยดวยการจัดทําเปนคูมือองค
ความรูหรือแนวทางการทํา
เทคโนโลยีสะอาด
2 ใหสินเชื่อระยะยาวดอกเบี้ยต่ํา
. ผานทางสถาบันการเงินเพื่อปรับ
ปรุงเครื่องจักรหรือกระบวนการ
ผลิตเดิมเปนเทคโนโลยีสะอาด
3 สงเสริมใหมีการรวมตัวจัดตั้งเครือ
. ขายผูประกอบการที่ใชเทคโนโลยี
สะอาด โดยใหรัฐทําหนาที่ริเริ่ม
และเปนตัวกลางโดยผาน
เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อ
ตางๆ

5-9 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ยุทธศาสตรที่ 3 การนําเขาและการบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
วัตถุประสงค เพื่อสงเสริมใหมีการนําเขาและการบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมซึ่งจะ
ชวยลดปญหาการกําจัดขยะบรรจุภัณฑ
ตารางที่ 5-3 การนําเขาและการบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
1.ผูบรรจุผลิตภัณฑ สงเสริมใหผูบรรจุเลือกใชบรรจุ 1. ใหความรูเรื่องผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับ
ขาดขอมูลดานผลิต ภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวด สิ่งแวดลอมแกผูบรรจุ เพื่อใหเกิดความ
ภัณฑ บรรจุภัณฑที่ ลอม ตระหนักถึงปญหาการกําจัดขยะบรรจุ
เปนมิตรกับสิ่งแวด ภัณฑ
ลอม 2. จัดทําคูมือและเว็บไซดเรื่องบรรจุภัณฑ
ที่ชนะการประกวดการออกแบบบรรจุ
ภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม เพื่อ
เปนทางเลือกใหผูบรรจุไดเลือกใชตาม
ความเหมาะสม
3. สงเสริมใหมีการรวมตัวเปนเครือขายผู
บรรจุผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวด
ลอม
2. ผูนําเขาผลิตภัณฑ สงเสริมการสรางเครือขายผูนํา สงเสริมใหผูนําเขาผลิตภัณฑจากตาง
จากตางประเทศไมมี เขาผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่ง ประเทศจัดตั้งเปนเครือขายหรือชมรม เพื่อ
ความรูเรื่องผลิตภัณฑ แวดลอม เปนแหลงแลกเปลี่ยนความรูและเปนสื่อ
ที่เปนมิตรกับสิ่งแวด กลางในการเผยแพรขาวสารที่จําเปนแก
ลอมตลอดจนไมทราบ สมาชิกเครือขาย
วาวัสดุบรรจุภัณฑ
วัสดุหีบหอ และวัสดุ
กันกระแทกที่ผูผลิต
สินคาใสมากับผลิต
ภัณฑนั้นสรางปญหา
ตอสิ่งแวดลอมใน
ประเทศ และสิ้น
เปลืองงบประมาณ
ของประเทศไทยใน
การกําจัด

5-10 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 5-3 (ตอ)


ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
สรางความตระหนักเรื่อง 1. ใหความรูเรื่องบรรจุภัณฑที่เปนมิตรแก
ปญหาการกําจัดขยะบรรจุ สิ่งแวดลอมใหกับผูนําเขาสินคา
ภัณฑแกผูนําเขา 2. ใหความรูเรื่องการกําจัดขยะบรรจุภัณฑ
ของประเทศตาง ๆ และของประเทศไทยให
กับผูนําเขา เพื่อใหผูนําเขาไดทราบถึง
มาตรการการกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่ตาง
ประเทศใชวาเขมงวดกวามาตรการกําจัด
ขยะของประเทศไทย
3. สนับสนุนใหผูนําเขาสินคารวมตัวกันยื่น
ขอเสนอแกผูสงสินคาจากตางประเทศใหใช
วัสดุหีบหอและวัสดุกันกระแทกที่เปนมิตร
กับสิ่งแวดลอม เพื่อลดปญหาการกําจัด

2. ผูขนสง ผูจัดจําหนาย ยังไมมีระบบการมัดจําบรรจุภัณฑและขาดการสงเสริมใหเขามามี


สวนในการจัดการของเสียบรรจุภัณฑอยางเปนรูปธรรม ยุทธศาสตรที่เหมาะสม มีดังนี้

ยุทธศาสตรที่ 1 การรับคืนบรรจุภัณฑเมื่อสงมอบสินคา
วัตถุประสงค เพื่อสนับสนุนใหผูขนสงหรือผูจัดจําหนายมีระบบการรับคืนบรรจุภัณฑที่
บริโภคไมตองการ เพื่อนํากลับมาใชซ้ําหรือการรวบรวมสําหรับคัดแยกตอไป
ตารางที่ 5-4 การรับคืนบรรจุภัณฑเมื่อสงมอบสินคา
ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
เมื่อผูบริโภคไดรับการสง สงเสริมใหผูขนสงหรือผูจัด 1. สงเสริมใหผูขนสงหรือผูจัด
มอบสินคาแลวมักทิ้งบรรจุ จําหนายมีระบบการรับคืน จําหนายจัดใหมีระบบการรับคืน
ภัณฑที่ใชในการขนสง บรรจุภัณฑบางประเภทเมื่อ บรรจุภัณฑที่ผูบริโภคไมตองการ
หรือการหอหุมสินคาทําให ไดสงมอบสินคาแลว ซึ่งอาจรับคืนเมื่อสงสินคาถึงมือผู
เกิดของเสียบรรจุภัณฑ บริโภคแลว หรือรับคืน ณ จุดขาย
จํานวนมาก ทั้ง ๆ ที่บรรจุ
ภัณฑดังกลาวสามารถนํา
กลับมาใชใหมได

5-11 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 5-4 (ตอ)


ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
2 สงเสริมใหผูขนสงหรือผูจัด
จําหนายจัดทําโครงการรับคืน
บรรจุภัณฑสินคาบางชนิดตาม
ความสมัครใจ

ยุทธศาสตรที่ 2 การใชซ้ําบรรจุภัณฑที่ยังมีประโยชน
วัตถุประสงค เพื่อใหเกิดการใชซ้ําบรรจุภัณฑที่ยังสามารถใชซ้ําได และสรางความมั่นใจใหผู
บริโภคในการใชซ้ําบรรจุภัณฑ
ตารางที่ 5-5 การใชซ้ําบรรจุภัณฑที่ยังมีประโยชน
ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
บรรจุภัณฑที่ยังสามารถใช 1. สงเสริมใหมีการใชซ้ําบรรจุ 1.1 สงเสริมใหภาคเอกชนจัดตั้งศูนยรับ
ซ้ําไดถูกทิ้งใหเปนของเสีย ภัณฑที่ยังสามารถใชซ้ําได คืนบรรจุภัณฑที่สามารถนํากลับมาใช
ซ้ําได โดยรัฐใหการสนับสนุน
1.2 สนับสนุนทางการเงินโครงการรับ
คืนและปรับสภาพบรรจุภัณฑที่นํากลับ
มาเพื่อใชซ้ําจากกองทุนสิ่งแวดลอมหรือ
สถาบันการเงินของรัฐ
1.3 ถายทอดความรูแกผูจัดจําหนาย
และผูขนสงใหมีความรูความเขาใจ แนว
ทางการนําบรรจุภัณฑกลับมาใชซ้ํา
2. สงเสริมใหมีการผลิตสินคา สงเสริมใหผูผลิตทําการผลิตสินคา
ประเภทเติม (Refill) ประเภทเติม (Refill) มากขึ้นใหเปนทาง
เลือกกับผูบริโภคโดยรัฐลดหยอนภาษี
สรรพสามิตใหกับสินคาประเภทเติมที่ใช
บรรจุภัณฑที่ผลิตจากวัสดุชนิดเดียวที่
จัดการไดงาย
3. สงเสริมใหมีระบบมัดจํา 3.1 สงเสริมใหภาคเอกชนรวมตัวกัน
บรรจุภัณฑประเภทเครื่องดื่ม สรางระบบการมัดจําและการเรียกคืน
บรรจุขวด บรรจุภัณฑที่ไมใชแลวโดยสมัครใจ โดย
เฉพาะบรรจุภัณฑประเภทเครื่องดื่ม
บรรจุขวด ดวยการลดหยอนภาษีสรรพ
สามิตในอัตราที่เหมาะสม

5-12 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 5-5 (ตอ)


ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
3.2 สงเสริมใหภาคเอกชนรวมตัวกันจัด
ตั้งศูนยรับคืนหรือรวบรวมบรรจุภัณฑ
ตามศูนยการคา/ปมน้ํามันหรือแหลงชุม
ชน
4. กําหนดมาตรการใหลดการ มาตรการในการลดการใชบรรจุภัณฑที่
ใชบรรจุภัณฑลงใหมากที่สุด ไมจําเปน เชน ขอความรวมมือจากศูนย
การคาและรานสะดวกซื้อไมใหแจกถุง
พลาสติกใหกับลูกคาอยางฟุมเฟอยหรือ
ไมหอหุมสินคาหลายชั้นเกินความจํา
เปน รณรงคดานผูบริโภคใหตระหนักถึง
โทษของการใชบรรจุภัณฑที่เกินความ
จําเปน

ยุทธศาสตรที่ 3 การสงเสริมใหใชบรรจุภัณฑที่ชวยลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอม
วัตถุประสงค เพื่อใหผูจําหนาย ผูขนสงไดใชบรรจุภัณฑที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติใหมากที่สุด

ตารางที่ 5-6 การสงเสริมใหใชบรรจุภัณฑที่ชวยลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอม


ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
ในการขนสงสินคามักใช 1. สงเสริมใหผลิตและใชบรรจุ 1.1 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในการ
ผลิตภัณฑประเภทฟลม ภัณฑในการขนสงที่ชวยลด ปรับเปลี่ยนวิธีการหุมหอและกระจาย
พลาสติก โฟม ซึ่งเปน ผลกระทบตอสิ่งแวดลอม สินคาที่ใชเทคโนโลยีเขาชวยโดยการ
ภาระในการกําจัด อุดหนุนเงินทุนในการวิจัยพัฒนาและใช
มาตรการสงเสริมการลงทุนเพื่อใหมีการ
ผลิตวัสดุและเครื่องมืออุปกรณที่ใชใน
การขนสงในระดับอุตสาหกรรมที่เพียง
พอ
1.2 จัดอบรมใหความรูใหขอมูลที่ทัน
สมัยกับผูประกอบการ รวมทั้งการให
กูยืมจากเงินกองทุนสิ่งแวดลอมหรือ
สถาบันการเงินของรัฐเพื่อปรับเปลี่ยน
เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณการขน
สงที่เหมาะสม

5-13 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

3. ผูใช ผูบริโภค บุคคลกลุมนี้นับไดวามีความสําคัญที่สุดที่จะตัดสินใจวาจะทิ้งบรรจุภัณฑให


เปนขยะ หรือจะยืดอายุบรรจุภัณฑโดยการนําไปใชซ้ําหรือรีไซเคิล ที่ผานมาบุคคลกลุมนี้ไดรับการ
รณรงคและใหความรูในเรื่องการจัดการของเสียบรรจุภัณฑมากที่สุด เชน การแยกขยะกอนทิ้ง และสวน
ใหญก็ใหการตอบสนองนโยบายตางดวยดี แตทวาปญหาที่เกิดขึ้นคือขยะที่แยกนั้นยังถูกเก็บรวบรวม
รวมกับขยะอื่นๆ ทําใหผูใช ผูบริโภคสวนหนึ่งไมเห็นความสําคัญของการแยกขยะตั้งแตตนทาง
นอกจากนั้นคานิยมสวนตัวของผูใช ผูบริโภคเองก็มีสวนทําใหเกิดปญหาในการจัดการของเสีย
บรรจุภัณฑ เนื่องจากผูบริโภคสวนใหญนิยมซื้อสินคาที่อยูในบรรจุภัณฑที่สวยงาม ไมคอยคํานึงถึงการ
จัดการบรรจุภัณฑเมื่อใชสินคาหมดลง นิยมการหอหุมสินคาหลายชั้น เพื่อใหมั่นใจวาสินคาจะไมแตก
หักเสียหายกอนถึงบานเรือน และมีความสะดวกในขณะถือ
ประกอบกับผูบริโภคยังไมคอยคํานึงถึงการเลือกซื้อสินคาประเภทเติม (refill) เพราะความเคย
ชินเดิมๆ ที่มักจะทิ้งบรรจุภัณฑเมื่อใชสินคาหมด มีผูบริโภคสวนนอยที่จะเก็บบรรจุภัณฑเดิมไวแลวซื้อ
สินคามาเติมลงใหม ทําใหการรณรงคใหใชสินคาประเภทเติม (refill) ไมคอยประสบความสําเร็จ
สิ่งที่นาสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือการรณรงคเรื่องการจัดการของเสียตาง ๆ แกกลุมนี้นั้น สวน
ใหญเปนการรณรงคเมื่อปลายทาง นั่นคือ หลังจากที่ใชสินคาหมดแลว ซึ่งเปนเรื่องของการจัดการกับ
ขยะมากกวาที่จะรณรงคที่ตนทาง คือ ตั้งแตการเลือกซื้อสินคาที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม การเลือกซื้อสิน
คาที่ใชบรรจุภัณฑจากธรรมชาติ ฯลฯ ซึ่งหากมีการรณรงคที่ครบวงจรตั้งแตการเลือกซื้อสินคาไปจนถึง
การเลิกใชสินคา ก็จะชวยใหการใชผลิตภัณฑหรือบรรจุภัณฑไดยาวนานขึ้น และการคัดแยกขยะที่ยังมี
ประโยชนมาใชซ้ําหรือรีไซเคิล ก็จะชวยลดปญหาการจัดการของเสียบรรจุภัณฑลงไดมาก
ประการสุดทายเมื่อมาพิจารณาถึงภาคราชการที่เปนผูบริโภคกลุมใหญ พบวายังไมมีนโยบายที่
ชัดเจนในการจัดซื้อจัดจางผลิตสินคาที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม เพราะการจัดซื้อจัดจางสวนใหญจะ
พิจารณาจากราคาสินคาเปนเกณฑ หากภาครัฐใหความสําคัญกับผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑที่เปนมิตร
กับสิ่งแวดลอม ตลอดจนสงเสริมใหมีการใชซ้ําหรือรีไซเคิลหรือบรรจุภัณฑตาง ๆ ก็จะชวยใหการจัดการ
ของเสียบรรจุภัณฑประสบความสําเร็จมากขึ้น
ยุทธศาสตรที่เหมาะสมกับกลุมผูใช ผูบริโภค มีดังนี้
ยุทธศาสตรที่ 1 การสงเสริมการใชผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
วัตถุประสงค เพื่อสงเสริมใหผูใช ผูบริโภค ไดเลือกใชและพิจารณาเบื้องตนในการเลือกซื้อสินคา
และมีขอมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินคาที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม

5-14 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 5-7 การสงเสริมการใชผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม


ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
ผูบริโภคนิยมซื้อผลิตภัณฑ 1. สงเสริมการใหความรูที่ถูก รัฐจะตองเพิ่มการรณรงคเผยแพร
ที่สวยงามมากกวาผลิต ตองในการใชผลิตภัณฑและ ประชาสัมพันธเพื่อใหความรูกับผู
ภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวด บรรจุภัณฑกับผูบริโภค บริโภคในการใชผลิตภัณฑและ
ลอม บรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวด
ลอมทางสื่อตาง ๆ อยางแพร
หลายและสม่ําเสมอรวมทั้งการ
รณรงคและสรางพันธมิตรกับผู
ประกอบการ องคกรพัฒนาเอก
ชน สถาบันตางๆ และองคกรผู
บริโภคทุกระดับเพื่อความรวมมือ
และใหตระหนักถึงผลเสียของการ
ใชที่เกินความจําเปน
2. สงเสริมเครือขายคุมครองผู สงเสริมใหมีการจัดตั้งเครือขายผู
บริโภคเพื่อการเลือกซื้อผลิต บริโภคที่ดูแลสิ่งแวดลอมโดยเนน
ภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวด การใหความรูอยางครบวงจรตั้ง
ลอม แตการเลือกซื้อผลิตภัณฑและ
บรรจุภัณฑ การใชงาน การคัด
แยก การใชซ้ํา และการรีไซเคิล

ยุทธศาสตรที่ 2 สงเสริมใหผูใช ผูบริโภค แยกขยะ


วัตถุประสงค เพื่อใหผูใช ผูบริโภค มีการแยกขยะตามประเภทของวัสดุ บรรจุภัณฑ หรือตาม
ประเภทของขยะเพื่อประโยชนในการนําไปใชซ้ํา การรีไซเคิล
ตารางที่ 5-8 สงเสริมใหผูใช ผูบริโภค แยกขยะ
ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
ผูใช ผูบริโภคจํานวนมากยัง 1. กําหนดใหมีการแยกขยะ 1.1 กําหนดใหผูมีหนาที่เก็บรวบ
ไมสนใจถึงการคัดแยกขยะ ตามประเภทของวัสดุบรรจุ รวมหรือกําจัดขยะตองมีถังรอง
ตามประเภทวัสดุบรรจุ ภัณฑหรือตามประเภทของ รับขยะตามประเภทวัสดุแตละ
ภัณฑหรือตามประเภทของ ขยะ ชนิดหรือตามประเภทของขยะ
ขยะ

5-15 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 5-8 (ตอ)


ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
1.2 กําหนดทุกครัวเรือนและ
สถานประกอบการทั้งภาครัฐและ
เอกชนมีถังขยะแยกตามประเภท
วัสดุหรือตามประเภทของขยะ
1.3 กําหนดใหการเก็บรวบรวม
ขยะจากแหลงกําเนิดจะตองแยก
ประเภทของขยะไมปะปนกัน
2. สงเสริมรณรงคและให 2.1 จัดทําสื่อประเภทตางๆ เชน
ความรูเพื่อใหเกิดจิตสํานึกใน สิ่งพิมพ โทรทัศน อินเตอรเน็ต
การแยกขยะบรรจุภัณฑอยาง ใหผูบริโภคเห็นความจําเปนใน
ถูกตอง การแยกขยะ
2.2 เพิ่มคาธรรมเนียมในการเก็บ
ขนขยะจากครัวเรือน ชุมชน และ
สถานประกอบการทั้งภาครัฐและ
เอกชนที่ไมแยกขยะ
2.3 การใหรางวัลประกาศเกียรติ
คุณผานสื่อตาง ๆ แกครัวเรือน
ชุมชน สถานประกอบการทั้ง
ภาครัฐและเอกชนที่แยกขยะ
อยางตอเนื่อง
ยุทธศาสตรที่ 3 กําหนดนโยบายใหหนวยงานของรัฐ จัดซื้อ จัดจาง ผลิตสินคาที่เปน
มิตรกับสิ่งแวดลอม และใหมีการคัดแยกขยะอยางเปนระบบ
วัตถุประสงค เพื่อสนับสนุนใหหนวยงานของรัฐ มีมาตรการที่ชัดเจนในการจัดซื้อหรือจัดจาง
ผลิตสินคาโดยคํานึงถึงสิ่งแวดลอม ตลอดจนสงเสริมใหมีการใชซ้ําหรือรีไซเคิล
สินคาและบรรจุภัณฑอยางเปนรูปธรรม และใหมีการคัดแยกขยะอยางเปน
ระบบเพื่อเปนตัวอยางกับเอกชนและประชาชนทั่วไป

5-16 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 5-9 กําหนดนโยบายใหหนวยงานของรัฐ จัดซื้อ จัดจาง ผลิตสินคาที่เปน มิตรกับ


สิ่งแวดลอม และใหมีการคัดแยกขยะอยางเปนระบบ
ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
1 หนวยงานของรัฐยังไม 1.1 กําหนดเปนนโยบายให 1.1.1 กําหนดเปนระเบียบสํานัก
. มีนโยบายดานการจัด หนวยงานของรัฐมีการ นายกรัฐมนตรีวาดวยการ
ซื้อจัดจางผลิตสินคา จัดซื้อ จัดจางสินคาที่ใช พัสดุใหหนวยงานของรัฐ
โดยคํานึงถึงสิ่งแวด ผลิตบรรจุภัณฑเปน จัดซื้อจัดจางสินคาและ
ลอม มิตรกับสิ่งแวดลอม บริการโดยคํานึงถึงเรื่องสิ่ง
แวดลอม เชน การ
พิจารณาจากบริษัทที่ได
มาตรฐาน ISO 14000
เปนตน
1.1.2 กําหนดใหมีการรายงาน
ตอหนวยงานตนสังกัดเปน
ประจําถึงมาตรการในการ
ดําเนินงานจัดซื้อจัดจางสิน
คาและบริการที่เปนมิตร
กับสิ่งแวดลอม
1.2 กําหนดใหมีการจัดทํา ดําเนินการคัดเลือกหนวยงานของ
โครงการสวนราชการ รัฐเพื่อทําโครงการนํารองรักษา
รักษาสิ่งแวดลอมตัว สิ่งแวดลอมโดยใหแรงจูงใจพิเศษ
อยาง แกหนวยงานตัวอยางที่เขารวม
โครงการ
2 หนวยงานของรัฐยังไม กําหนดนโยบายใหหนวยงาน 2.1 เสนอคณะรัฐมนตรีใหมีมติ
. มีการคัดแยกขยะ ของรัฐมีการคัดแยกขยะอยาง กําหนดใหหนวยงานของ
อยางเปนระบบ มีประสิทธิภาพตลอดจนสง รัฐตองปฏิบัติตามมาตร
เสริมการนําบรรจุภัณฑมาใช การการจัดการขยะบรรจุ
ซ้ําการคัดแยกขยะตาม ภัณฑอยางเครงครัด เชน
ประเภทวัสดุหรือตามประเภท การใชซ้ํา การคัดแยกขยะ
ของขยะแตละชนิดอยางเปน ตามประเภทวัสดุหรือตาม
รูปธรรม ประเภทของขยะแตละ
ชนิด

5-17 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 5-9 (ตอ)


2.2 เสนอกําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติ
ใหหนวยงานของรัฐมีการใชซ้ํา
การคัดแยกขยะตามประเภท
วัสดุหรือตามประเภทของขยะ
แตละชนิดและมีระบบติดตาม
ตรวจสอบที่รัดกุม สามารถ
ประเมินผลได และใหแรงจูงใจ
พิเศษสําหรับหนวยงานที่มีการ
ปฏิบัติที่ไดผล

4. ผูเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัด เปนกลุมที่จะดูแลเรื่องการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ


แบงเปน 3 กลุม คือ 1) ซาเลง 2) องคกรของรัฐ 3) ภาคเอกชน

1) ซาเลง
เปนกลุมที่ทําหนาที่เก็บรวบรวมและคัดแยกขยะใชแลวเพื่อนําไปจําหนายตอ กลุมนี้จะ
ทํางานอยางมีประสิทธิภาพมาก เพราะเปนรายไดหลักในการดํารงชีพ จึงมีผลตอการกําจัดขยะ การนํา
ไปใชซ้ํา และการรีไซเคิลมากที่สุด ปจจุบันกลุมนี้เติบโตขึ้นอยางมากเพราะปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น
และมีการรับซื้อขยะบรรจุภัณฑที่เปนระบบแยกตามประเภทวัสดุบรรจุภัณฑอยางละเอียด เพราะราคา
วัสดุแตละประเภทแตกตางกัน นอกจากนั้น การรับซื้อวัสดุบรรจุภัณฑและสินคาที่เลิกใชแลว (หรือที่
เรียกสั้นๆ วารับซื้อของเกา) ยังไดรับการยอมรับวาเปนอาชีพสุจริต มีสวนดูแลสิ่งแวดลอม และสามารถ
สรางรายไดใหกับครอบครัวและประเทศ
2) องคกรของรัฐ
หมายถึง องคกรปกครองทองถิ่นที่มีหนาที่กําจัดขยะและสิ่งปฏิกูลตาง ๆ ตามที่
กฎหมายกําหนด โดยอาจดําเนินการเองหรือมอบหมายใหเอกชนดําเนินการแทนก็ได
3) ภาคเอกชน
หมายถึง ผูที่ไดรับมอบหมายจากองคกรของรัฐ ในการเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัด
ขยะและบรรจุภัณฑตาง ๆ โดยไดรับคาตอบแทนตามที่ตกลงกันไว และไดรับคาตอบแทนจากการ
จําหนายวัสดุที่สามารถนํามาใชซ้ําหรือรีไซเคิลไดอีกสวนหนึ่ง

5-18 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

จากกลุมผูเกี่ยวของในการกําจัดของเสียบรรจุภัณฑทั้ง 3 กลุมที่กลาวมาแลว ปญหา


หลักของทั้ง 3 กลุม ก็คือ การขาดอุปกรณหรือเครื่องมือในการทํางาน และขาดอุปกรณในการปองกัน
ตนเองใหปลอดภัยจากการทํางานหรือมีอุปกรณที่ไมไดมาตรฐานตลอดจนขาดความรูและวิธีการในการ
จัดการขยะหรือบรรจุภัณฑอันตราย ดังเชนที่เกิดกรณีซาเลงนําเอาวัตถุที่มีสารกัมมันตรังสีไปจําหนาย
จนเปนเหตุใหตนเองตองกลายเปนผูพิการ ยุทธศาสตรที่เหมาะสมมีดังนี้

ยุทธศาสตรที่ 1 การคัดแยกขยะที่มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค เพื่อสงเสริมใหมีการคัดแยกขยะดีที่สามารถนํามาใชซ้ําหรือรีไซเคิลได ออกจาก
ขยะที่ตองนําไปฝงกลบ
ตารางที่ 5-10 การคัดแยกขยะที่มีประสิทธิภาพ
ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
การคัดแยกขยะในปจจุบัน กําหนดใหคัดแยกขยะบรรจุ 1. กําหนดใหมีการเก็บคาธรรมเนียม
ยังมีขยะที่ยังใชประโยชน ภัณฑอยางครบวงจรตั้งแตตน การเก็บขนขยะที่ไมไดทําการคัดแยกสูง
ไดปะปนไปกับขยะที่ตอง ทางจนถึงปลายทาง กวาขยะที่คัดแยกและกําหนดใหมีการ
นําไปฝงกลบหรือกําจัด ตรวจสอบที่รัดกุมและชัดเจน
2. กําหนดคาบริการเก็บขนและกําจัด
มูลฝอยที่สะทอนคาใชจายที่เปนจริง
3. กําหนดใหสวนราชการหรือบริษัท
กําจัดขยะดําเนินการคัดแยกขยะและ
รวบรวมขยะบรรจุภัณฑออกจากขยะทั่ว
ไปกอนนําไปกําจัด
4. กําหนดวันเก็บขนขยะแตละประเภท
เพื่อใหการคัดแยกขยะมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น

ยุทธศาสตรที่ 2 จัดตั้งเครือขายรวบรวมขยะบรรจุภัณฑ
วัตถุประสงค เพื่อสงเสริมใหมีศูนยรวบรวมขยะบรรจุภัณฑตามจังหวัดตาง ๆ และมี การ
ประสานงานกันระหวางศูนยในลักษณะเครือขายเพื่อรวมมือในการรีไซเคิล
หรือใชประโยชนอยางมีประสิทธิภาพ

5-19 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 5-11 จัดตั้งเครือขายรวบรวมขยะบรรจุภัณฑ


ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
ไมมีเครือขายของผูมี สงเสริมใหมีการรวมตัวจัดตั้ง 1. สงเสริมใหภาคเอกชนรวมตัวกันจัด
หนาที่เก็บรวบรวมขนสง เปนศูนยรวบรวมขยะ ตั้งศูนยรับคืนหรือรวบรวมบรรจุภัณฑ
และกําจัดขยะบรรจุภัณฑ บรรจุภัณฑในแตละจังหวัด มาตรฐานโดยศูนยในแตละจังหวัดมี
ทําใหขาดประสิทธิภาพ การประสานงานกันในลักษณะเครือ
ขาย
2. สงเสริมการลงทุนใหกับศูนยหรือ
เครือขายที่ทําหนาที่รวบรวมและคัด
แยกขยะบรรจุภัณฑ

ยุทธศาสตรที่ 3 การกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่ไมสามารถใชประโยชนอยางอื่นไดอยางถูกตองตาม
หลักสุขอนามัย
วัตถุประสงค เพื่อใหขยะบรรจุภัณฑที่ไมสามารถใชประโยชนไดแลวไดรับการกําจัด การอยาง
เหมาะสม ถูกตองตามหลักสุขอนามัยและไมเกิดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมในระยะ
ยาว
ตารางที่ 5-12 การกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่ไมสามารถใชประโยชนอยางอื่นไดอยางถูก ตองตาม
หลักสุขอนามัย
ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
ขยะบรรจุภัณฑไม จัดใหมีระบบกําจัดขยะบรรจุ จัดตั้งศูนยกําจัดขยะที่ไมสามารถใช
สามารถใชประโยชนได ภัณฑที่ไมสามารถใชประโยชน ประโยชนไดแลว (เผาหรือฝงกลบ)
แลวถูกนําไปกําจัดอยาง อยางอื่นไดแตละประเภทอยาง อยางถูกตองตามหลักสุขอนามัย
ไมเหมาะสมสงผลกระทบ เหมาะสม
ตอสภาพแวดลอมและถูก
ตอตานจากชุมชนรอบขาง

ยุทธศาสตรที่ 4 สงเสริมการมีสวนรวมของประชาชน
วัตถุประสงค เพื่อใหประชาชนไดมีสวนรวมในการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ และ
การออกกฎหมายรองรับสิทธิและหนาที่ของประชาชนเกี่ยวกับการจัด
การขยะอยางเปนรูปธรรม

5-20 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ตารางที่ 5-13 สงเสริมการมีสวนรวมของประชาชน


ปญหา มาตรการ วิธีปฏิบัติ
ยังไมมีกฎหมายกําหนด 1. สงเสริมใหประชาชนไดมี 1.1 ปรับปรุงหลักเกณฑ วิธีการปฏิบัติ
ใหประชาชนมีสวนรวมใน สวนรวมในการจัดการขยะ หรือกฎหมายใหมีตัวแทนของประชา
การจัดการขยะอยางเปน ชนหรือชุมชนเขามีสวนรวมในการจัด
รูปธรรม การขยะ รวมถึงการจัดหาสถานที่ใน
การฝงกลบหรือเผาขยะประเภทที่ไม
สามารถใชประโยชนไดแลวตั้งแตเริ่ม
โครงการ
1.2 สงเสริมภาคประชาชนและนักวิชา
การใหเขามีสวนในการคิดริเริ่มหรือแก
ไขปญหาการจัดการขยะ
2. สงเสริมใหมีการรับรองสิทธิ ใหประชาชนมีสิทธิและมีสวนรวมใน
และหนาที่ของประชาชนในการ การแสดงความคิดเห็นรวมกับภาครัฐ
จัดการขยะอยางเปนรูปธรรม ในการจัดการขยะชุมชนเพื่อจูงใจให
ประชาชนเห็นความสําคัญของการจัด
การขยะ

5.2 มาตรการและแผนงาน
แผนยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ สามารถนํามากําหนดเปนมาตรการ
และแผนงาน ตลอดจนผูรับผิดชอบ ระยะเวลาการดําเนินการตามแผน และงบประมาณที่คาดวาจะตอง
ใช ทําใหไดมาตรการรวม 28 มาตรการ 50 แผนงาน
มาตรการและแผนงานที่กําหนดมีระยะเวลาดําเนินการแตกตางกันไปตั้งแต 1-5 ป โดยประมาณ
จากกิจกรรมที่จะดําเนินการในแผนงาน มาตรการระยะสั้นอาจดําเนินการไดทันที (ใชเครื่องหมาย [1]
ในตารางชองระยะเวลา) แตบางมาตรการตองเตรียมการดานงบประมาณ กําลังคน กฎระเบียบตาง ๆ
หรือมีการศึกษา และมีระยะเวลาทดลองปฏิบัติและติดตามผลไประยะหนึ่ง เปนมาตรการระยะปานกลาง
(ใชเครื่องหมาย [2] ในตารางชองระยะเวลา) หรือระยะยาว (ใชเครื่องหมาย [3] ในตารางชองระยะเวลา)
มีรายละเอียด ดังตอไปนี้

5-21 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

1. ผูออกแบบ ผูผลิต ผูนําเขา ผูบรรจุ ประกอบดวย 3 ยุทธศาสตร 9 มาตรการ และ 12 แผนงาน


ตารางที่ 5-14 ผูออกแบบ ผูผลิต ผูนําเขา ผูบรรจุ
ยุทธศาสตรที่ 1 การออกแบบผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
สงเสริมและ การจัดการเรียนการสอนด าน กระทรวงศึกษาธิการ 1 – 5
สนับสนุนใหมีการ การออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ แ ละ [2]
ออกแบบผลิต บรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับ
ภัณฑและบรรจุ สิ่งแวดลอม
ภัณฑที่เปนมิตร
กับสิ่งแวดลอม
การอบรมใหความรูแกผูออก กระทรวงอุตสาหกรรม 1
แบบและผูผลิตทั้งผูผลิตขนาด กระทรวงมหาดไทย [1]
ใหญขนาดกลางและขนาดยอม
ตลอดจนกลุมวิสาหกิจชุมชน
จัดประกวดการ การจัดประกวดผลิตภัณฑและ กระทรวงอุตสาหกรรม 1
ออกแบบผลิต- บรรจุภัณฑที่สามารถนําไปใช กระทรวงมหาดไทย [1]
ภัณฑและบรรจุ- ซ้ําหรือรีไซเคิลไดงาย
ภัณฑที่เปนมิตร
กับสิ่งแวดลอม
อยางตอเนื่อง
สงเสริมการออก จัดอบรมใหความรูแกผูออก กระทรวงอุตสาหกรรม 1
แบบบรรจุภัณฑที่ แบบในการออกแบบบรรจุ [1]
ใชประโยชนได ภัณฑที่ใชประโยชนไดหลาย
หลายประการและ ประการและมีอายุการใชงาน
มีอายุการใชงาน นาน
นาน

5-22 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ขอความรวมมือผู ทําการประชาสัมพันธผานทาง กระทรวงอุตสาหกรรม 1


ผลิตในการใหขอ สื่อตาง ๆ และมีหนังสือขอ กระทรวงพาณิชย [1]
มูลองคประกอบ ความรวมมือไปยังสภาหอการ สํานักงานคณะ
ของผลิตภัณฑและ คา สภาอุตสาหกรรม และ กรรมการคุมครองผู
บรรจุภัณฑ สถาบันอื่น ๆ ที่เกี่ยวของรวม บริโภค
สัญลักษณ ทั้งองคกรผูบริโภคขอความ
รวมมือผูผลิตใหขอมูลองค
ประกอบของผลิตภัณฑและ
บรรจุภัณฑ
สนับสนุนการทํา ใหทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อให กระทรวงวิทยาศาสตร 1–5
วิจัยเพื่อหาวัสดุ ไดวัสดุบรรจุภัณฑที่เปนมิตร สํานักงานคณะ [2]
บรรจุภัณฑใหม ๆ กับสิ่งแวดลอมที่สามารถนํามา กรรมการวิจัยแหงชาติ
ที่เปนมิตรกับสิ่ง ใชในการผลิตเปนวัสดุสําหรับ สํานักงานกองทุน
แวดลอม และ หีบหอสินคาและวัสดุกัน สนับสนุนการวิจัย
สามารถนํามาผลิต กระแทกเพื่อลดการใชโฟมและ กระทรวงการคลัง
เปนวัสดุสําหรับ พลาสติก และพิจารณาปรับ
หีบหอสินคาได ปรุงขั้นตอนรวมทั้งหลักเกณฑ
ในการนําคาใชจายในการทํา
วิจัยมาขอลดหยอนภาษีตาง ๆ
ยุทธศาสตรที่ 2 การผลิตบรรจุภัณฑโดยใชเทคโนโลยีสะอาด
มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
สงเสริมใหมีการ ใหความรูและสนับสนุนเรื่อง กระทรวงอุตสาหกรรม 3
นําเทคโนโลยี เทคโนโลยีสะอาดแกผูประกอบ [1]
สะอาดมาใชใน การโดยเฉพาะผูประกอบการ
การผลิตวัสดุบรรจุ รายยอยดวยการจัดทําเปนคู
ภัณฑและบรรจุ มือองคความรูหรือแนวทางการ
ภัณฑ ทําเทคโนโลยีสะอาด

5-23 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ใหสินเชื่อระยะยาวดอกเบี้ยต่ํา กระทรวงอุตสาหกรรม 5
ผานทางสถาบันการเงินเพื่อ กระทรวงการคลัง [2]
ปรับปรุงเครื่องจักรหรือ
กระบวนการผลิตเดิมเปน
เทคโนโลยีสะอาด
สงเสริมใหมีการรวมตัวจัดตั้ง กระทรวงอุตสาหกรรม 1
เครือขายผูประกอบการผลิตที่ [2]
ใชเทคโนโลยีสะอาด โดยใหรัฐ
เปนผูริเริ่มและเปนตัวกลางโดย
ผานเทคโนโลยีสารสนเทศและ
สื่อตาง ๆ
ยุทธศาสตรที่ 3 สงเสริมใหมีการนําเขาและการบรรจุที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
สงเสริมใหผูบรรจุ เชื่อมโยงขอมูลเรื่องบรรจุภัณฑ กระทรวงอุตสาหกรรม 1
เลือกใชบรรจุ ที่ชนะการประกวดการออก [1]
ภัณฑที่เปนมิตร แบบบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับ
กับสิ่งแวดลอม สิ่งแวดลอม ใหผูบรรจุไดทราบ
เพื่อเปนทางเลือกในการผลิต
สงเสริมการสราง จัดตั้งชมรมผูนําเขาผลิตภัณฑ กระทรวงอุตสาหกรรม 1
เครือขายผูนําเขา ที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม [2]
ผลิตภัณฑที่เปน
มิตรกับสิ่งแวด
ลอม
สรางความ ใหความรูแกผูนําเขาเรื่องวิธี กระทรวงอุตสาหกรรม 1-2
ตระหนักเรื่อง การกําจัดขยะบรรจุภัณฑ เพื่อ กระทรวงพาณิชย [1]
ปญหาการกําจัด ใหผูนําเขาแจงใหผูผลิตทราบ
ขยะบรรจุภัณฑแก ถึงมาตรการตาง ๆ ของ
ผูนําเขา ประเทศไทยเพื่อใหผูผลิตใน
ตางประเทศใชวัสดุหีบหอและ
กันกระแทกที่เปนมิตรกับ
สิ่งแวดลอม

5-24 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

2. ผูขนสง ผูจัดจําหนาย ประกอบดวย 3 ยุทธศาสตร 6 มาตรการ และ 11 แผนงาน


ตารางที่ 5-15 ผูขนสง ผูจัดจําหนาย
ยุทธศาสตรที่ 1 การรับคืนบรรจุภัณฑเมื่อสงมอบสินคา
มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
สงเสริมใหผูขนสง ส ง เสริ ม ให ผู ข นส ง หรื อ ผู จั ด กระทรวงพาณิชย 1
หรื อ ผู จั ด จําหน าย จํ า หน า ยจั ด ระบบการรั บ คื น [1]
มี ร ะบบการรั บ คื น บรรจุภัณฑเมื่อสงสินคาถึงมือผู
บ ร ร จุ ภั ณฑ บ าง บริโภคแลวหรือรับคืน ณ จุด
ประเภทเมื่อไดสง ขาย
มอบสินคาแลว
ส ง เสริ ม ให ผู ข นส ง หรื อ ผู จั ด กระทรวงพาณิชย 1
จําหนายจัดทําโครงการรับคืน [1]
บรรจุภัณฑสินคาบางชนิดตาม
ความสมัครใจ
ยุทธศาสตรที่ 2 การใชซ้ําบรรจุภัณฑที่ยังมีประโยชน
มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
สงเสริมใหมีการใช สงเสริมใหภาคเอกชนจัด กระทรวงอุตสาหกรรม 1
ซ้ําบรรจุภัณฑที่ยัง ตั้งศูนยรับคืนบรรจุภัณฑที่ กระทรวง [2]
สามารถใชซ้ําได สามารถนํากลับมาใชซ้ําได ทรัพยากรธรรมชาติและ
โดยรัฐใหการสนับสนุน สิ่งแวดลอม
สนับสนุนทางการเงินโครง กระทรวง 3
การรับคืนและปรับสภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและ [1]
บรรจุภัณฑที่นํากลับมา สิ่งแวดลอม
เพื่อใชซ้ําจากกองทุน สิ่ง กระทรวงการคลัง
แวดลอมหรือสถาบันการ
เงินของรัฐ

ถายทอดความรูแกผูจัด กระทรวง 1
จําหนายและผูขนสงใหมี ทรัพยากรธรรมชาติและ [1]
ความรูและความเขาใจ สิ่งแวดลอม
แนวทางการนําบรรจุภัณฑ
กลับมาใชซ้ํา

สงเสริมใหมีการใช สงเสริมใหผูผลิตทําการ กระทรวงการคลัง 1


5-25 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

สินคาประเภทเติม ผลิตสินคาประเภทเติม กระทรวงพาณิชย [2]


(Refill) (Refill) มากขึ้นใหเปนทาง
เลือกกับผูบริโภค
สงเสริมใหมีระบบ สงเสริมใหภาคเอกชนรวม กระทรวง 3
มัดจําบรรจุภัณฑ ตัวกันสรางระบบการมัดจํา ทรัพยากรธรรมชาติและ [2]
ประเภทเครื่องดื่ม และการเรียกคืนบรรจุ สิ่งแวดลอม
บรรจุขวด ภัณฑที่ไมใชแลวโดย กระทรวงพาณิชย
เฉพาะบรรจุภัณฑประเภท กระทรวงการคลัง
เครื่องดื่มบรรจุขวด
สงเสริมใหภาคเอกชนรวม กระทรวง 3
ตัวกันจัดตั้งศูนยรับคืนหรือ ทรัพยากรธรรมชาติและ [2]
รวบรวมบรรจุภัณฑตาม สิ่งแวดลอม
ศูนยการคา/ปมน้ํามันหรือ
แหลงชุมชน
กําหนดมาตรการ มาตรการในการลดการใช กระทรวงพาณิชย 1
ใหลดการใชบรรจุ บรรจุภัณฑที่ไมจําเปน [1]
ภัณฑใหมากที่สุด
การรณรงคดานผูบริโภค กระทรวง 1
ใหตระหนักถึงโทษของการ ทรัพยากรธรรมชาติและ [1]
ใชบรรจุภัณฑ สิ่งแวดลอม
ยุทธศาสตรที่ 3 การสงเสริมใหใชบรรจุภัณฑที่ชวยลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอม
มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
สงเสริมใหใชบรรจุ สนับสนุนการวิจัยและ กระทรวง 5
ภัณฑในการขนสง พัฒนาในการปรับเปลี่ยน ทรัพยากรธรรมชาติและ [3]
ที่ชวยลดผล วิธีการหุมหอและกระจาย สิ่งแวดลอม
กระทบตอสิ่งแวด สินคาที่ใชเทคโนโลยีเขา
ลอม ชวยโดยการอุดหนุนเงิน
ทุนในการวิจัยพัฒนาและ
ใชมาตรการสงเสริมการลง
ทุนเพื่อใหมีเครื่องมือ
อุปกรณที่ใชในการขนสง

5-26 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

การจัดอบรมใหความรูให กระทรวงวิทยาศาสตร 5
ขอมูลที่ทันสมัยกับผู สํานักงานคณะกรรมการ [1]
ประกอบการ รวมทั้งการ วิจัยแหงชาติ
ใหกูยืมจากเงินกองทุนสิ่ง สํานักงานกองทุน
แวดลอมหรือสถาบันการ สนับสนุนการวิจัย
เงินของรัฐเพื่อปรับเปลี่ยน
เครื่องมือเครื่องจักรและ
อุปกรณการขนสงที่เหมาะ
สม

3. ผูใช ผูบริโภค ประกอบดวย 3 ยุทธศาสตร 7 มาตรการ และ 13 แผนงาน


ตารางที่ 5-16 ผูใช ผูบริโภค
ยุทธศาสตรที่ 1 การสงเสริมการใชผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
สงเสริมการให รณรงคเผยแพรประชา สํานักงานคณะกรรมการ 5
ความรูที่ถูกตองใน สัมพันธเพื่อใหความรูกับผู คุมครองผูบริโภค [1]
การใชผลิตภัณฑ บริโภคในการใชผลิตภัณฑ
และบรรจุภัณฑกับ และบรรจุภัณฑที่เปนมิตร
ผูบริโภค กับสิ่งแวดลอมและสราง
พันธมิตรกับผูประกอบการ
องคกรพัฒนาเอกชน
สถาบันตาง ๆ และองคกร
ผูบริโภคทุกระดับเพื่อ
ความรวมมือและให
ตระหนักถึงผลเสียของการ
ใชที่เกินความจําเปน
สงเสริมเครือขาย สงเสริมใหมีการจัดตั้งเครือ กระทรวงพาณิชย 5
คุมครองผูบริโภค ขายผูบริโภคที่ดูแลสิ่งแวด สํานักงานคณะกรรมการ [2]
เพื่อการเลือกซื้อ ลอมโดยเนนการใหความรู คุมครองผูบริโภค
ผลิตภัณฑที่เปน อยางครบวงจร
มิตรกับสิ่งแวด
ลอม

5-27 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ยุทธศาสตรที่ 2 สงเสริมใหผูใช ผูบริโภค แยกขยะ


มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
กําหนดใหมีการ กําหนดใหผูมีหนาที่เก็บ องคกรปกครองสวนทอง 5
แยกประเภทขยะ รวบรวมหรือกําจัดขยะตอง ถิ่น [2]
ตามประเภทของ มีถังรองรับขยะตาม กระทรวงสาธารณสุข
วัสดุ บรรจุภัณฑ ประเภทวัสดุแตละชนิด
หรือตามประเภทของขยะ
กําหนดใหทุกครัวเรือน องคกรปกครองสวนทอง 5
และสถานประกอบการทั้ง ถิ่น [2]
ภาครัฐและเอกชน มีถัง กระทรวงสาธารณสุข
ขยะแยกตามประเภทวัสดุ
แตละชนิดหรือตาม
ประเภทของขยะ
กําหนดใหการเก็บรวบรวม องคกรปกครองสวนทอง 5
ขยะจากแหลงกําเนิดจะ ถิ่น [3]
ตองแยกประเภทของขยะ กระทรวงสาธารณสุข
ไมปะปนกัน
สงเสริมรณรงค ใหความรูอยางตอเนื่องแก องคกรปกครองสวนทอง 2
และใหความรูเพื่อ ผูบริโภค ใหเห็นถึงความ ถิ่น [1]
ใหเกิดจิตสํานึกใน จําเปนในการแยกขยะ กระทรวงสาธารณสุข
การแยกขยะบรรจุ
ภัณฑอยางถูกตอง
เพิ่มคาธรรมเนียมการเก็บ องคกรปกครองสวนทอง 2
ขยะจากครัวเรือน ชุมชน ถิ่น [2]
และสถานประกอบการทั้ง กระทรวงสาธารณสุข
ภาครัฐและเอกชนที่ไม
แยกประเภทขยะ
การใหรางวัลและประกาศ องคกรปกครองสวน 1
เกียรติคุณผานสื่อตาง ๆ ทองถิ่น [1]
แกครัวเรือน ชุมชน และ กระทรวงสาธารณสุข
สถานประกอบการทั้งภาค กระทรวง
รัฐและเอกชนที่แยก ทรัพยากรธรรมชาติและ
ประเภทขยะอยางตอเนื่อง สิ่งแวดลอม

5-28 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ยุทธศาสตรที่ 3 กําหนดนโยบายใหหนวยงานของรัฐ จัดซื้อ จัดจาง ผลิตสินคาที่เปน


มิตรกับสิ่งแวดลอมและใหมีการคัดแยกขยะอยางเปนระบบ
มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
กําหนดเปน กําหนดระเบียบสํานัก สํานักเลขาธิการคณะรัฐ 1
นโยบายใหหนวย นายกรัฐมนตรีวาดวยการ มนตรี [2]
งานของรัฐมีการ พัสดุใหหนวยงานของรัฐ
จัดซื้อจัดจางสินคา จัดซื้อจัดจางสินคาและ
ที่ใชบรรจุภัณฑที่ บริการโดยคํานึงถึงเรื่องสิ่ง
เปนมิตรกับสิ่งแวด แวดลอม
ลอม
กําหนดใหมีการรายงาน สํานักเลขาธิการคณะรัฐ 3
ตอหนวยงานตนสังกัดเปน มนตรี [1]
ประจําถึงมาตรการในการ
ดําเนินงานจัดซื้อจัดจางสิน
คาและบริการที่เปนมิตร
กับสิ่งแวดลอม
กําหนดใหมีการ คัดเลือกหนวยงานของรัฐ สํานักเลขาธิการคณะรัฐ 3
จัดทําโครงการ เพื่อทําโครงการนํารอง มนตรี [1]
สวนราชการตัว รักษาสิ่งแวดลอมโดยให กระทรวง
อยาง แรงจูงใจพิเศษแกหนวย ทรัพยากรธรรมชาติและ
งานตัวอยางที่เขารวมโครง สิ่งแวดลอม
การ
กําหนดนโยบาย เสนอคณะรัฐมนตรีใหมีมติ สํานักเลขาธิการคณะรัฐ 3
ใหหนวยงานของ กําหนดใหหนวยงานของ มนตรี [1]
รัฐมีการคัดแยก รัฐตองปฏิบัติตามมาตร กระทรวง
ขยะอยางมีประ การการจัดการขยะอยาง ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิทธิภาพตลอดจน เครงครัด สิ่งแวดลอม
สงเสริมการนํา
บรรจุภัณฑมาใช
ซ้ําอยางเปน
รูปธรรม

5-29 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

เสนอกําหนดระเบียบวิธี สํานักเลขาธิการคณะรัฐ 3
ปฏิบัติใหหนวยงานของรัฐ มนตรี [1]
มีการใชซ้ําคัดแยกขยะ กระทรวง
ตามประเภทวัสดุหรือตาม ทรัพยากรธรรมชาติและ
ประเภทของขยะแตละ สิ่งแวดลอม
ชนิดและมีระบบติดตาม
ตรวจสอบที่รัดกุมสามารถ
ประเมินผลไดและใหแรง
จูงใจพิเศษสําหรับหนวย
งานที่มีการปฏิบัติที่ไดผล
4. ผูเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัด ประกอบดวย 4 ยุทธศาสตร 5 มาตรการ และ 10 แผนงาน
ตารางที่ 5-17 ผูเก็บรวบรวม ขนสง และกําจัด
ยุทธศาสตรที่ 1 การคัดแยกขยะที่มีประสิทธิภาพ
มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
กําหนดใหคัดแยก กําหนดใหมีการเก็บคา กระทรวงสาธารณสุข 3
ขยะบรรจุภัณฑ ธรรมเนียมการเก็บขนขยะ องคกรปกครองสวนทอง [2]
อยางครบวงจรตั้ง ที่ไมไดทําการคัดแยกสูง ถิ่น
แตตนทางจนถึง กวาขยะที่คัดแยกและ
ปลายทาง กําหนดใหมีการตรวจสอบ
ที่รัดกุมและชัดเจน
กําหนดคาบริการเก็บขน กระทรวงสาธารณสุข 3
และกําจัดมูลฝอยที่สะทอน [2]
คาใชจายที่เปนจริง
กําหนดใหสวนราชการ กระทรวงสาธารณสุข 3
หรือบริษัทกําจัดขยะ องคกรปกครองสวนทอง [2]
ดําเนินการคัดแยกขยะและ ถิ่น
รวบรวมขยะบรรจุภัณฑ
ออกจากขยะทั่วไปกอนนํา
ไปกําจัด

5-30 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

กําหนดวันเก็บขนขยะแต องคกรปกครองสวนทอง 3
ละประเภทเพื่อใหการคัด ถิ่น [2]
แยกขยะมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น
ยุทธศาสตรที่ 2 จัดตั้งเครือขายรวบรวมขยะบรรจุภัณฑ
มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
สงเสริมใหมีการ สงเสริมใหภาคเอกชนรวม กระทรวงมหาดไทย 3
รวมตัวจัดตั้งเปน ตัวกันจัดตั้งศูนยรับคืนหรือ กระทรวงพาณิชย [3]
ศูนยรวบรวมขยะ รวบรวมบรรจุภัณฑมาตร กระทรวง
บรรจุภัณฑในแต ฐานโดยศูนยในแตละ ทรัพยากรธรรมชาติและ
ละจังหวัด จังหวัดมีการประสานงาน สิ่งแวดลอม
กันในลักษณะเครือขาย องคกรปกครองสวนทอง
ถิ่น
สงเสริมการลงทุนใหกับ กระทรวงอุตสาหกรรม 5
ศูนยหรือเครือขายที่ทํา องคกรปกครองสวนทอง [2]
หนาที่รวบรวมและคัดแยก ถิ่น
ขยะบรรจุภัณฑ
ยุทธศาสตรที่ 3 การกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่ไมสามารถใชประโยชนอยางอื่นไดอยางถูกตอง
ตามหลักสุขอนามัย
มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
จัดใหมีระบบการ จัดตั้งศูนยกําจัดขยะที่ไม กระทรวง 1–3
จัดการกําจัดขยะ สามารถใชประโยชนได ทรัพยากรธรรมชาติและ [2]
บรรจุภัณฑที่ไม แลว (เผาหรือฝงกลบ) สิ่งแวดลอม
สามารถใช อยางถูกตองตามหลักสุข องคกรปกครองสวนทอง
ประโยชนอยางอื่น อนามัย ถิ่น
ไดแตละประเภท
อยางเหมาะสม

5-31 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ยุทธศาสตรที่ 4 สงเสริมการมีสวนรวมของประชาชน
มาตรการ แผนงาน ผูรับผิดชอบ ระยะเวลา (ป)
สงเสริมใหประชา ปรับปรุงหลักเกณฑวิธีการ กระทรวงสาธารณสุข 1 –3
ชนไดมีสวนรวมใน ปฏิบัติหรือกฎหมายใหมี กระทรวง [2]
การจัดการขยะ ตัวแทนของประชาชนหรือ ทรัพยากรธรรมชาติและ
ชุมชนเขามีสวนรวมในการ สิ่งแวดลอม
จัดการขยะรวมถึงการจัด องคกรปกครองสวนทอง
หาสถานที่ในการฝงกลบ ถิ่น
หรือเผาขยะที่ไมสามารถ
ใชประโยชนไดแลวตั้งแต
เริ่มโครงการ
สงเสริมภาคประชาชนและ กระทรวงสาธารณสุข 1
นักวิชาการใหเขามีสวนใน กระทรวง [2]
การคิดริเริ่มหรือแกไข ทรัพยากรธรรมชาติและ
ปญหาการจัดการขยะ สิ่งแวดลอม
องคกรปกครองสวนทอง
ถิ่น
สงเสริมใหมีการ ใหประชาชนมีสิทธิและมี กระทรวงสาธารณสุข 1–3
รับรองสิทธิและ สวนรวมในการแสดงความ กระทรวง [1]
หนาที่ของประชา คิดเห็นรวมกับภาครัฐใน ทรัพยากรธรรมชาติและ
ชนในการจัดการ การจัดการขยะชุมชนเพื่อ สิ่งแวดลอม
ขยะอยางเปน จูงใจใหประชาชนเห็น องคกรปกครองสวนทอง
รูปธรรม ความสําคัญของการจัด ถิ่น
การขยะ

จากมาตรการและแผนในยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ สามารถนํา
มาแสดงในลักษณะของโครงสรางดังภาพที่ 5-1 ถึง 5-4

5-32 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ส ง เสริ มและสนั บสนุนใหมีการออกแบบผลิตภัณฑ การจัดการเรียนการสอนดานการออกแบบผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม


และบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับ
สิ่งแวดลอม การอบรมใหความรูแกผูออกแบบและผูผลิตทั้งผูผลิตขนาดใหญ ขนาดกลางและขนาดยอม ตลอดจนกลุมวิสาหกิจชุมชน

จัดประกวดการออกแบบผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑที่
การออกแบบผลิตภัณฑ เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมอยางตอเนื่อง การจัดประกวดผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑที่สามารถนําไปใชซ้ําหรือรีไซเคิลไดงาย
และบรรจุภัณฑที่เปนมิตร
กับสิ่งแวดลอม สงเสริมการออกแบบบรรจุภัณฑที่ใชประโยชนได จัดอบรมใหความรูแกผูออกแบบในการออกแบบบรรจุภัณฑที่ใชประโยชนไดหลายประการและมีอายุการใชงานนาน
หลายประการและมีอายุการใชงานนาน

ทําการประชาสัมพันธผานทางสื่อตาง ๆ และมีหนังสือขอความรวมมือไปยังสภาหอการคา สภาอุตสาหกรรม และสถาบัน


ขอความรวมมือผูผลิตในการใหขอมูลองคประกอบ อื่นๆ ที่เกี่ยวของ รวมทั้งองคกรผูบริโภคขอความรวมมือผูผลิตใหขอมูลองคประกอบของผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑ
ของผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑและควรระบุประเภท
ของวัตถุดิบและสัญลักษณ
ใหทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อใหไดวัสดุบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมที่สามารถนํามาใชในการผลิตเปนวัสดุสําหรับ
ผูออกแบบ ผูผลิต หีบหอสินคาและวัสดุกันกระแทกเพื่อลดการใชโฟมและพลาสติก และพิจารณาขั้นตอนรวมทั้งหลักเกณฑในการนําคาใช
ผูนําเขา ผูบรรจุ สนับสนุนการทําวิจัยเพื่อหาวัสดุบรรจุภัณฑใหม ๆ จายในการทําวิจัยมาขอลดหยอนภาษีตางๆ
ที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม และสามารถนํามาผลิตเปน
วัสดุสําหรับหีบหอสินคาได ใหความรูและสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยีสะอาดแกผูประกอบการโดยเฉพาะผูประกอบการรายยอยดวยการจัดทําเปนคูมือ
องคความรูหรือแนวทางการทําเทคโนโลยีสะอาด

ใหสินเชื่อระยะยาวดอกเบี้ยต่ําผานทางสถาบันการเงินเพื่อปรับปรุงเครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตเดิมเปนเทคโนโลยี
การผลิตบรรจุภัณฑทใี่ ช สงเสริมใหมีการนําเทคโนโลยีที่สะอาดมาใชในการ สะอาด
เทคโนโลยีสะอาด ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑและบรรจุภัณฑ
สงเสริมใหมีการรวมตัวจัดตั้งเครือขายผูประกอบการที่ใชเทคโนโลยีสะอาดโดยใหรัฐเปนผูริเริ่มและเปนตัวกลางโดยผาน
เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อตางๆ
สงเสริมใหบรรจุและเลือกใชบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับ
สิ่งแวดลอม
เชื่อมโยงขอมูลเรื่องบรรจุภัณฑที่ชนะการประกวดการออกแบบบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมใหผูบรรจุไดทราบ
สงเสริมใหมีการนําเขาและการบรรจุที่เปนมิตร เพื่อเปนทางเลือกในการผลิต
สงเสริมการสรางเครือขายผูนําเขาผลิตภัณฑที่เปน
กับสิ่งแวดลอม มิตรกับสิ่งแวดลอม
จัดตั้งชมรมผูนําเขาผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
สรางความตระหนักเรื่องปญหาการกําจัดขยะบรรจุ
ภัณฑแกผูนําเขา
ใหความรูแกผูนําเขาเรื่องวิธีการกําจัด ขยะบรรจุภัณฑเพื่อใหผูนําเขาแจงใหผูผลิตทราบถึงมาตรการตางๆ ของประเทศ
ไทยเพื่อใหผูผลิตในตางประเทศใชวัสดุหีบหอและกันกระแทกที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม

ภาพที่ 5-1 มาตรการและแผนในยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ

5-33 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

สงเสริมใหผูขนสงหรือผูจัดจําหนายจัดระบบการรับคืนบรรจุภัณฑเมื่อสงสินคาถึงมือผูบริโภคแลวหรือรับคืน ณ จุดขาย
การรับคืนบรรจุภัณฑเมื่อ สงเสริมใหผูขนสงหรือผูจัดจําหนายมีระบบการรับ
สงมอบสินคา คืนบรรจุภัณฑบางประเภทเมื่อไดสงมอบสินคาบาง
ประเภคแลว สงเสริมใหผูขนสงหรือผูจัดจําหนายจัดทําโครงการรับคืนบรรจุภัณฑสินคาบางชนิดตามความสมัครใจ

สงเสริมใหภาคเอกชนจัดตั้งศูนยรับคืนบรรจุภัณฑที่สามารถนํากลับมาใชซ้ําไดโดยรัฐใหการสนับสนุน
สงเสริมใหมีการใชซ้ําบรรจุภัณฑที่ยังสามารถใชซ้ํา
ได
ถายทอดความรูแกผูจัดจําหนายและผูขนสงใหมีความรูและความเขาใจแนวทางการนําบรรจุภัณฑกลับมาใชซ้ํา

สนับสนุนทางการเงินโครงการรับคืนและปรับสภาพบรรจุภัณฑที่นํากลับมา
ผูขนสง การใชซ้ําบรรจุภัณฑที่ยังมีประโยชน
ผูจัดจําหนาย สงเสริมใหมีการใชสินคาประเภทเติม (Refill) สงเสริมใหผูผลิตทําการผลิตสินคาประเภทเติม (Refill) มากขึ้นใหเปนทางเลือกกับผูบริโภค

สงเสริมใหภาคเอกชนรวมตัวกันสรางระบบการมัดจําและการเรียกคืนบรรจุภัณฑที่ไมใชแลวโดยเฉพาะบรรจุภัณฑประเภท
สงเสริมใหมีระบบมัดจําบรรจุภัณฑประเภทเครื่อง เครื่องดื่มบรรจขวด
ดื่มบรรจุขวด
สงเสริมใหภาคเอกชนรวมตัวกันจัดตั้งศูนยรับคืนหรือรวบรวมบรรจุภัณฑตามศูนยการคา/ปมน้ํามันหรือแหลงชุมชน

มาตรการในการลดการใชบรรจุภัณฑที่ไมจําเปน
กําหนดมาตรการใหลดการใชบรรจุภัณฑลงใหมาก
ที่สุด
รณรงคดานผูบริโภคใหตระหนักถึงโทษการใชบรรจุภัณฑเกินความจําเปน

สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในการการปรับเปลี่ยนวิธีการหุมหอและกระจายสินคาที่ใชเทคโนโลยีเขาชวยโดยการอุดหนุน
เงินทุนในการวิจัยพัฒนาและมาตรการสงเสริมการลงทุนเพื่อใหมีเครื่องมืออุปกรณที่ใชในการขนสง
การส ง เสริ ม ให ใ ช บ รรจุ ภั ณ ฑ ที่ ช ว ยลดผล สงเสริมใหใชบรรจุภัณฑในการขนสงที่ชวยลดผล
กระทบตอสิ่งแวดลอม กระทบตอสิ่งแวดลอม
การจัดอบรมความรูใหขอมูลที่ทันสมัยกับผูประกอบการ รวมทั้งใหกูยืมเงินกองทุนสิ่งแวดลอมหรือสถาบันการเงินของรัฐเพื่อ
ปรับเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณการขนสงที่เหมาะสม

ภาพที่ 5-2 มาตรการและแผนในยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ

5-34 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

รณรงคเผยแพรประชาสัมพันธเพื่อใหความรูกับผูบริโภคในการใชผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมและสรางพันธมิตรกับผูประกอบการองคกร
สงเสริมการใหความรูที่ถูกตองในการใชผลิตภัณฑ พัฒนาเอกชนและองคกรผูบริโภคทุกระดับเพื่อความรวมมือและใหตระหนักถึงผลเสียของการใชที่เกินความจําเปน
และบรรจุภัณฑกับผูบริโภค
การสงเสริมการใชผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับ
สิ่งแวดลอม สงเสริมใหมีการจัดตั้งเครือขายผูบริโภคที่ดูแลสิ่งแวดลอมโดยเนนการใหความรูอยางครบวงจร
ส ง เ ส ริ ม เ ค รื อ ข า ย คุ ม ค ร อ ง ผู บ ริ โ ภ ค เ พื่ อ
การเลือกซื้อผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม
กําหนดใหผูมีหนาที่เก็บรวบรวมหรือกําจัดขยะตองมีถังรองรับขยะตามประเภทวัสดุแตละชนิดหรือตามประเภทของขยะ

กําหนดใหมีการแยกประเภทขยะตามประเภทของ กําหนดใหทุกครับเรือนและสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนมีถังขยะแยกตามประเภทวัสดุแตละชนิดหรือตามประเภทของขยะ
วัสดุ บรรจุภัณฑ
กําหนดใหการเก็บรวบรวมขยะจากแหลงกําเนิดจะตองแยกประเภทของขยะไมปะปนกัน

ผูใช ผูบริโภค สงเสริมใหผูใช ผูบริโภค แยกขยะ


ใหความรูอยางตอเนื่องแกผูบริโภค ใหเห็นถึงความจําเปนในการแยกขยะ

สงเสริมรณรงคและใหความรูเพื่อใหเกิดจิตสํานึกใน
การแยกขยะบรรจุภัณฑอยางถูกตอง เพิ่มคาธรรมเนียมการเก็บขยะจากครัวเรือน ชุมชนและสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนที่ไมแยกขยะ

การใหรางวัลและประกาศเกียรติคุณผานสื่อตางๆ แกครัวเรือน ชุมชนและสถานประกอบการทั้งภาครัฐ และเอกชนที่แยกประเภทขยะอยางตอเนื่อง

กําหนดระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุใหหนวยงานของรัฐจัดซื้อจัดจางสินคาและบริการโดยคํานึงถึงเรื่องสิ่งแวดลอม
กําหนดเปนนโยบายใหหนวยงานของรัฐมีการจัดซื้อ
จั ด จ า งสิ น ค า ที่ ใ ช บ รรจุ ภั ณ ฑ ที่ เ ป น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวด
ลอม กําหนดใหมีการรายงานตอหนวยงานตนสังกัดเปนประจําถึงมาตรการในการดําเนินงานจัดซื้อจัดจางสินคาและบริการที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม

กําหนดนโยบายใหหนวยงานของรัฐ จัดซื้อ
จัดจาง ผลิตสินคาที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม กําหนดใหมีการจัดทําโครงการสวนราชการตัวอยาง คัดเลือกหนวยงานของรัฐเพื่อทําโครงการนํารองรักษาสิ่งแวดลอมโดยใหแรงจูงใจพิเศษแกหนวยงานตัวอยางที่เขารวมโครงการ
และใหมีการคัดแยกขยะอยางเปนระบบ

เสนอคณะรัฐมนตรีใหมีมติกําหนดใหหนวยงานของรัฐตองปฏิบัติตามมาตรการการจัดการขยะอยางเครงครัด

กําหนดนโยบายใหหนวยงานของรัฐมีการคัดแยก
ขยะอยางมีประสิทธิภาพตลอดจนสงเสริมการนํา เสนอกําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติใหหนวยงานของรัฐมีการใชซ้ําคัดแยกขยะตามประเภทวัสดุหรือตามประเภทของขยะแตละชนิดและมีระบบติดตามตรวจสอบที่รัดกุม
บรรจุภัณฑมาใชซ้ําอยางเปนรูปธรรม สามารถประเมินผลไดและใหแรงจูงใจพิเศษสําหรับหนวยงานที่มีการปฏิบัติที่ไดผล

ภาพที่ 5-3 มาตรการและแผนในยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ

5-35 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

กําหนดใหมีการเก็บคาธรรมเนียมการเก็บขนขยะที่ไมไดทําการคัดแยกสูงกวาขยะที่คัดแยกและกําหนดใหมีการตรวจสอบการคัดแยกที่รัดกุมและ
ชัดเจน

การคัดแยกขยะที่มี กําหนดใหคัดแยกขยะบรรจุภัณฑอยางครบวงจรตั้ง กําหนดคาบริการเก็บขนและกําจัดมูลฝอยที่สะทอนคาใชจายที่เปนจริง


ประสิทธิภาพ แตตนทางจนถึงปลายทาง
กําหนดใหสวนราชการหรือบริษัทกําจัดขยะดําเนินการคัดแยกขยะและรวบรวมขยะบรรจุภัณฑออกจากขยะทั่วไปกอนนําไปกําจัด

กําหนดวันเก็บขนขยะแตละประเภทเพื่อใหการคัดแยกขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สงเสริมใหภาคเอกชนรวมตัวกันจัดตั้งศูนยรับคืนหรือรวบรวมบรรจุภัณฑมาตรฐานโดยศูนยในแตละจังหวัดมีการประสานงานกันในลักษณะ
สงเสริมใหมีการรวมตัวจัดตั้งเปนศูนยรวบรวมขยะ เครือขาย
จัดตั้งเครือขายรวบรวมขยะ
บรรจุภัณฑ บรรจุภัณฑในแตละจังหวัด
สงเสริมการลงทุนใหกับศูนยหรือเครือขายที่ทําหนาที่รวบรวมและคัดแยกขยะบรรจุภัณฑ

ผูเก็บรวบรวมขนสง
และกําจัด จัดใหมีระบบกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่ไมสามารถใช
การกําจัดขยะบรรจุภัณฑที่ไมสามารถใช ประโยชนอยางอื่นไดแตละประเภทอยางเหมาะสม จัดตั้งศูนยกําจัดขยะที่ไมสามารถใชประโยชนไดแลว (เผาหรือฝงกลบ) อยางถูกตองตามหลักสุขอนามัย
ประโยชนอยางอื่นไดอยางถูกตองตาม
หลักสุขอนามัย

ปรับปรุงหลักเกณฑวิธีการปฏิบัติหรือกฎหมายใหมีตัวแทนของประชาชนหรือชุมชนเขามีสวนรวมในการจัดการขยะรวมถึงการจัดหาสถานที่ในการ
ฝงกลบหรือเผาขยะที่ไมสามารถใชประโยชนไดแลวตั้งแตเริ่มโครงการ
สงเสริมใหประชาชนไดมีสวนรวมในการจัดการขยะ

สงเสริมภาคประชาชนและนักวิชาการใหเขามีสวนในการคิดริเริ่มหรือแกไขปญหาการจัดการขยะ
สงเสริมการมีสวนรวม
ของประชาชน

สงเสริมใหมีการรับรองสิทธิและหนาที่ของประชาชน
ใหประชาชนมีสิทธิและมีสวนรวมในการแสดงความคิดเห็นรวมกับภาครัฐในการจัดการขยะชุมชนเพื่อจูงใจใหประชาชนเห็นความสําคัญของการจัด
ในการจัดการขยะอยางเปนรูปธรรม
การขยะ

ภาพที่ 5-4 มาตรการและแผนในยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ

5-36 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

5.3. แนวทางการดําเนินการตามแผนยุทธศาสตร

ในการดําเนินการตามแผนยุทธศาสตรการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑนั้น จําเปน
จะตองมีเจาภาพผูรับผิดชอบคอยติดตามและประสานงานกับทุกหนวยงาน ทุกระดับ รวมทั้งภาคเอกชน
และประชาชนทั่วไป เพื่อแกไขปญหาอุปสรรคและผลักดันใหแผนงานที่กําหนดบรรลุเปาหมายที่ตั้งไว
ดั ง นั้ น จึ ง ควรจะต อ งมี ก ลุ ม บุ ค คลในรู ป คณะทํางานที่ ป ระกอบด ว ยเจ า หน า ที่ ภ าครั ฐ ที่ เ กี่ ย วข อ ง
ภาคเอกชนที่เกี่ยวของ และตัวแทนของภาคประชาสังคมที่สนใจเขามาทํางานรวมกัน และควรมีอํานาจ
หน า ที่ ต ามกฎหมาย ซึ่ ง ควรเป น คณะอนุ ก รรมการภายใต ค ณะกรรมการสิ่ ง แวดล อ มแห ง ชาติ
ตามพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535

5.4 ขอเสนอแนะการปรับปรุงกฎหมายและแนวคิดในการยกรางกฎหมาย

สําหรับกฎหมายเพื่อสนับสนุนการจัดการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑนั้น จากการศึกษา
พบวา กฎหมายที่มีอยูในปจจุบัน ซึ่งไดแก พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติ
สงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติสงเสริมการลงทุน พ.ศ.
2520 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เปนตน สามารถสนับสนุนใหแผนยุทธศาสตรการจัด
การบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑที่เสนอนี้ดําเนินไปไดระดับหนึ่ง การปรับปรุงกฎหมายและการ
ยกรางกฎหมายระดับพระราชบัญญัติอาจไมใชทางเลือกที่เหมาะสม หากจะดําเนินการตามแผนใหได
โดยรวดเร็ว ขอเสนอจากการศึกษาจึงเสนอใหใชกฎหมายที่มีอยูเปนหลัก และออกเปนกฎกระทรวง
ระเบียบ ประกาศ คําสั่ง หรือขอกําหนดของทองถิ่นแทน
การใชกฎหมายดานภาษี ไมวาจะเปนการเก็บภาษีวัตถุดิบบรรจุภัณฑ ภาษีบรรจุภัณฑ อาจไม
เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปจจุบัน เพราะภาระภาษีจะทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสราง
การผลิตและขีดความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมบางสาขา จึงควรตองพิจารณาอยาง
รอบคอบและมั่นใจวาการใชมาตรการทางภาษีจะกอใหเกิดการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตและจูงใจ
ใหปรับปรุงคุณภาพ ไมใชการลงโทษหรือการมุงหารายไดของภาครัฐ

5 - 37 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

5.4.1 ขอเสนอแนะการปรับปรุงกฎหมาย
ขอเสนอแนะการปรับปรุงกฎหมายสําหรับจะนําไปใชสนับสนุนแผนยุทธศาสตรในการจัดการ
บรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ ประกอบดวย การแกไขปรับปรุงกฎหมาย การออกกฎกระทรวง
ระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่ง ดังตอไปนี้
(1) การปรับปรุงกฎหมายเพื่อกําหนดใหมีการเก็บคาธรรมเนียมการเก็บขนขยะที่ไมไดทําการ
คั ด แยกสู ง กว า ขยะที่ คั ด แยก (กฎกระทรวงออกตามความใน พระราชบั ญ ญั ติ ก ารสาธารณสุ ข
พ.ศ. 2535)
แนวคิดนี้เปนการบังคับทางออมใหบานเรือนทําการคัดแยกขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่ทิ้งและทํา
ใหขยะรีไซเคิลไมปนเปอนกับขยะทั่วไปจึงสามารถนําไปใชประโยชนไดมากขึ้น
ในปจจุบันคาบริการจัดเก็บไดเฉพาะคาเก็บขนมูลฝอย ตามกฎกระทรวงวาดวยอัตราคาธรรม
เนียมการใหบริการเก็บขนและกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยและอัตราคาธรรมเนียมอื่น ๆ พ.ศ. 2545 ซึ่ง
กําหนดอัตราคาธรรมเนียมการใหบริการของราชการสวนทองถิ่นในการเก็บและขนสิ่งปฏิกูลหรือมูล
ฝอย ตามมาตรา 20 (4) ราชการสวนทองถิ่นจึงออกขอกําหนดทองถิ่นจัดเก็บคาบริการไดไมเกินบัญชี
ดังกลาว ดังนั้น แนวทางของการปรับปรุงกฎหมาย คือ การปรับปรุงกฎกระทรวงกําหนดคาบริการเก็บ
ขนมูลฝอย ใหมีความแตกตางกันระหวางขยะที่ไมไดทําการคัดแยกใหสูงกวาขยะที่คัดแยกแลว โดยเริ่ม
ในสวนของผูประกอบการ โรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม สถานที่ราชการ อาคารชุด สวนภาคประชาชน
จะเปนการขอความรวมมือ ใหความรูและสรางจิตสํานึกในการคัดแยกมูลฝอย (ดูรางกฎ
กระทรวง)

(2) การปรับปรุงกฎหมายเพื่อกําหนดคาบริการเก็บขนและกําจัดมูลฝอยที่สะทอนคาใชจายที่
เปนจริง (กฎกระทรวงออกตามความใน พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535)
แนวคิดนี้เปนการนําเอาหลักการผูกอใหเกิดมลพิษเปนผูจาย (PPP) มาใช โดยแตละทองถิ่น
ควรมีอํานาจกําหนดคาบริการเก็บขนรวมทั้งคากําจัดมูลฝอยที่เกิดขึ้นจริงในทองถิ่น ซึ่งอาจมากหรือ
นอย ขึ้นอยูกับการทิ้งขยะของบานเรือนและชุมชนในทองถิ่นนั้น จึงเปนการกระตุนใหเกิดความ
ตระหนักและรับผิดชอบรวมกันที่จะลดปริมาณขยะที่จะทิ้งเทากับเปนการลดรายจายของตนเอง
แนวทางของการปรับปรุงกฎหมาย คือ การปรับปรุงกฎกระทรวงวาดวยอัตราคาธรรมเนียมการ
ใหบริการเก็บขนและกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยและอัตราคาธรรมเนียมอื่น ๆ พ.ศ. 2545 ใหทองถิ่นที่มี
ความพรอมสามารถกําหนดอัตราคาธรรมเนียมที่เหมาะสมกับการใหบริการ

5 - 38 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

หากกําหนดใหเก็บขนขยะบรรจุภัณฑแยกออกจากขยะทั่วไป มีรถขนสงที่ออกแบบมาเฉพาะ
หรือวาจางใหเอกชนเขามาดําเนินการหรืออนุญาตใหเอกชนดําเนินการเก็บ ขน จะตองกําหนดเงื่อนไข
การบริการประการหนึ่ง คือ คาบริการเก็บขนและกําจัด จะตองเพียงพอกับคาใชจายเมื่อนํารายไดจาก
การขายวัสดุที่คัดแยกไดมาคํานวณ จึงเปนไปไดที่ราชการสวนทองถิ่นจะมีรายไดจากสวนแบงรายได
จากการขายวัสดุ หรือถาจะตองจายก็ไมมาก ขณะที่ประชาชนอาจไมเสียคาเก็บขนขยะหรือเสียเพียง
เล็กนอย เมื่อคัดแยกขยะบรรจุภัณฑใหกับผูจัดเก็บ ขณะที่ผูที่ไมแยกขยะจะตองเสียคาบริการเต็ม
จํานวน
การดําเนิ นการตามแนวคิ ดนี้จะตองปรับปรุ งกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 20(4)
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ใหทองถิ่นที่มีความพรอมกําหนดคาบริการเก็บขนและ
กําจัดมูลฝอย หรือนําพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา
88 มาใชในการจัดเก็บคาธรรมเนียม โดยมีเงื่อนไขวา ในเขตทองที่ใดที่จัดใหมีการกอสรางและดําเนิน
การระบบกําจัดของเสียรวมของทางราชการโดยเงินงบประมาณแผนดินหรือเงินรายไดของราชการ
สวนทองถิ่นและเงินกองทุนสิ่งแวดลอมแลวอาจใหคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติโดยคําแนะนําของ
คณะกรรมการควบคุ ม มลพิ ษ พิ จ ารณากํ า หนดอั ต ราค า บริ ก ารที่ จ ะประกาศใช ใ นพื้ น ที่ ไ ด
(ดูรางกฎกระทรวง)
(3) การปรับปรุงกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิและหนาที่ของประชาชนเกี่ยวกับการจัดการขยะเพื่อ
จูงใจใหประชาชนเห็นความสําคัญของการจัดการขยะ (พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และ
พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535)
แนวคิดของการใหประชาชนมีสวนรวมในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดลอม บัญญัติอยูในรัฐ
ธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเชื่อวาหากเปดโอกาสใหประชาชนมีสวนรวม
แลวจะทําใหลดหรือขจัดปญหาหลายประการที่เกิดความขัดแยงระหวางรัฐกับประชาชนในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม กฎหมายสวนใหญออกใชกอนรัฐธรรมนูญ 2540 และยังมิไดแกไข
ปรับปรุงใหเปนไปตามหลักการดังกลาว
แนวทางของการปรั บ ปรุ ง กฎหมายจึ ง ควรพิ จ ารณาวิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ต ามพระราชบั ญ ญั ติ ก าร
สาธารณสุข พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535
ใหการจัดการมูลฝอยทั้งระบบจะตองมีตัวแทนของประชาชนที่เปนที่ยอมรับเขาไปมีสวนรวมในการวาง
แผน ตัดสินใจ และรวมปฏิบัติในทุกขั้นตอนเทาที่จะสามารถทําได ทั้งในระดับชาติและทองถิ่น การมี
สวนรวมอาจดําเนินการในรูปของการรวมเปนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทํางาน การรับฟง
ความคิดเห็น หรือการมอบหมายใหทําหนาที่ใด ๆ ที่เปนสวนของแผนงาน โครงการ เปนการจูงใจให
ประชาชนไดเห็นความสําคัญของการจัดการขยะและใหความรวมมือเพราะมีสวนรวมมาตั้งแตตน เพื่อ
ลดความขัดแยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิเสธโครงการของภาครัฐ เชน สถานที่ฝงกลบขยะ การกอสราง
เตาเผาขยะ เปนตน และสอดคลองกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยที่กลาวมาแลว
ขางตน

5 - 39 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

คณะอนุกรรมการบรรจุภัณฑ ควรประกอบดวย นักวิชาการ ภาคเอกชน และองคกรพัฒนาเอก


ชนที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ การจั ด การขยะมู ล ฝอย องค ก รพั ฒ นาเอกชนเพื่ อ พั ฒ นาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล อ ม
และองคการอิสระเพื่อสิ่งแวดลอม
ใหคณะอนุกรรมการมีอํานาจหนาที่ดังตอไปนี้
(1) เสนอแนะโครงการในการจัดการขยะบรรจุภัณฑตอคณะกรรมการสาธารณสุข เพื่อ
พิจารณาและกําหนดเปนแนวทางในการปฏิบัติในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ
(2) มีสวนรวมในการวางแผน การปฏิบัติงาน การแสดงความคิดเห็นตามโครงการขยะบรรจุ
ภัณฑที่ดําเนินการอยู ตามกฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุข
(3) จัดใหมีการติดตาม ประเมินผล แลกเปลี่ยนขอมูลระหวางภาครัฐและภาคเอกชนในการ
จัดการขยะบรรจุภัณฑ โดยการเปดตูแสดงความคิดเห็นเพื่อประชาชนขึ้น และนําความคิดเห็นจาก
ประชาชนนั้นขึ้นมาพิจารณาในการทําโครงการเกี่ยวกับการจัดการขยะบรรจุภัณฑ
(4) ดําเนินการใด ๆ ตามที่คณะกรรมการสาธารณสุขมอบหมาย

ในทํานองเดียวกันพระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535


มาตรา 18 ใหอํานาจคณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหงชาติ แตงตั้งคณะกรรมการผูชํานาญการหรือ
คณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอยางหนึ่งอยางใดตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดลอมแหง
ชาติ จ ะมอบหมายก็ ไ ด ดั ง นั้ น จึ ง อาจใช ช อ งทางของกฎหมายนี้ ใ นการแต ง ตั้ ง คณะอนุ ก รรมการ
บรรจุภัณฑและขยะบรรจุภัณฑขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะ
สัดสวนของคณะอนุกรรมการควรประกอบดวยภาคราชการ ภาคธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวของและตัว
แทนภาคประชาชน เชนเดียวกับอนุกรรมการตามกฎหมายการสาธารณสุขที่เสนอ

(4) การกําหนดใหผูมีหนาที่เก็บรวบรวมหรือกําจัดขยะตองมีถังรองรับขยะตามประเภทวัสดุแต
ละชนิดหรือตามประเภทของขยะ (พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และขอบัญญัติทองถิ่น)
แนวคิดนี้มีวัตถุประสงคเพื่อใหผูมีหนาที่เก็บรวบรวมหรือกําจัดขยะตองมีภาชนะรองรับขยะตาม
ประเภทวัสดุแตละชนิดหรือตามประเภทของขยะ ใชบังคับทั้งกับราชการสวนทองถิ่นและเอกชนผูรับ
มอบหมายหรือรับอนุญาตดวย
แนวทางของการปรั บ ปรุ ง กฎหมายจึ ง ควรปรั บ ปรุ ง กฎกระทรวงออกตามความใน
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 วาดวยการเก็บขนขยะ กําหนดใหราชการสวนทองถิ่นใดจัด
ใหมีภาชนะตามประเภทวัสดุแตละชนิดหรือตามประเภทของขยะ หรือกําหนดใหผูรับมอบหมายหรือรับ
อนุญาตปฏิบัติ

5 - 40 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(5) การกําหนดใหสถานประกอบการ สถาบันการศึกษา องคกรเอกชน หนวยงานของรัฐ หมู


บานจัดสรร อาคารชุด โรงแรม หางสรรพสินคามีถังขยะแยกตามประเภทวัสดุแตละชนิดหรือตาม
ประเภทของขยะ (พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.
2522 และขอบัญญัติทองถิ่น)
เปนแนวคิดเดียวกับขอ 4

(6) การกําหนดใหการเก็บรวบรวมขยะจากแหลงกําเนิดจะตองแยกประเภทของขยะไมปะปน
กัน (พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และขอบัญญัติทองถิ่น)
เปนแนวคิดเดียวกับขอ 4

(7) การกําหนดวันเก็บขนขยะแตละประเภทเพื่อใหการคัดแยกขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
(ขอบัญญัติทองถิ่น)
แนวคิดนี้มีวัตถุประสงคใหราชการสวนทองถิ่นจัดระบบการเก็บขนขยะใหมีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น โดยเก็บขนขยะแตละประเภทตามวันที่กําหนด ทําใหประชาชนตองทิ้งขยะอยางมีหลักเกณฑมาก
ขึ้น โดยตองแยกขยะและทิ้งขยะที่แยกแตละประเภทตามวันที่กําหนด วิธีการนี้มีทั้งขอดีและขอเสีย ซึ่ง
การจะนําไปปฏิบัติตองคํานึงถึงความพรอมของการจัดเก็บและประชาชนดวย แตถาไดปฏิบัติจนเปน
ความเคยชินแลวก็จะสรางวินัยในการทิ้งขยะและเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บขนขยะไดมาก
แนวทางที่ใชควรเปนนโยบายและคําแนะนําใหราชการสวนทองถิ่นนําไปพิจารณาจัดทําเปนขอ
บัญญัติของทองถิ่น ในทองถิ่นที่มีความพรอม

(8) การกําหนดใหหนวยงานของรัฐจัดซื้อจัดจางสินคาและบริการโดยคํานึงถึงเรื่องสิ่งแวดลอม
(ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ)
แนวคิดนี้มีวัตถุประสงคเพื่อใหหนวยงานของรัฐ ซึ่งเปนผูจัดซื้อรายใหญของประเทศ เปนผูนํา
การปฏิบัติเพื่อใหเปนตัวอยางและนําการเปลี่ยนแปลงในการจัดซื้อจัดจางสินคาและบริการโดยคํานึงถึง
เรื่องสิ่งแวดลอมดวย เชน พิจารณาคัดเลือกและจัดซื้อผลิตภัณฑที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม ลดการใช
บรรจุภัณฑ หรือใชบรรจุภัณฑที่ยอยสลายไดงาย สามารถใชซ้ําหรือเติมหรือมีสวนประกอบจากวัสดุรี
ไซเคิลเปนอันดับแรก เปนตน
การจัดซื้อจัดจางสินคาและบริการในปจจุบัน หนวยงานของรัฐตองปฏิบัติตามระเบียบสํานัก
นายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ พ.ศ. 2535 หรือตามกฎหมายวาดวยระเบียบบริหารราชการสวนทองถิ่น
ซึ่งมีหลักเกณฑเกี่ยวกับมาตรฐานและคุณภาพ แตอาจไมไดคํานึงถึงผลกระทบสิ่งแวดลอม ดังนั้น เพื่อ
ใหคุณภาพสิ่งแวดลอมไดรับการดูแลอีกทางหนึ่ง จึงควรปรับปรุงระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีดังกลาว
ใหมีองคประกอบของสิ่งแวดลอมในการพิจารณาดวย เชน กําหนดใหสินคาบางชนิดตองไดรับฉลาก
เขียว หรือมาตรฐาน ISO 14000 เปนตน

5 - 41 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

(9) การกําหนดใหมีการรายงานตอหนวยงานตนสังกัดเปนประจําถึงมาตรการในการดําเนินงาน
จัดซื้อจัดจางสินคาและบริการที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม (ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีวาดวยการพัสดุ
หรือมติคณะรัฐมนตรี)
เปนแนวคิดเดียวกับขอ 8 เพื่อใหมีการติดตามและประเมินผลมาตรการนี้อยางจริงจัง

(10) การกําหนดใหหนวยงานของรัฐมีการใชซ้ําและแยกขยะและมีระบบติดตามตรวจสอบที่รัด
กุมสามารถประเมินผลไดและใหแรงจูงใจพิเศษสําหรับหนวยงานที่มีการปฏิบัติที่ไดผล (มติ
คณะรัฐมนตรี)
การที่จะใหประชาชนเห็นดวยกับแนวทางการจัดการขยะบรรจุภัณฑจะตองริเริ่มจากภาครัฐซึ่ง
จะตองเปนผูนํากําหนดนโยบายและทําใหเปนตัวอยาง ตั้งแตการจัดซื้อพัสดุ การใช และการคัดแยก
ขยะในหนวยงานของรัฐ รวมถึงผูรับจางหนวยงานของรัฐ โดยมีมติคณะรัฐมนตรีสนับสนุนแนวทางการ
จัดการขยะบรรจุภัณฑ และใหสวนราชการหรือหนวยงานของรัฐรวมถึงผูรับจางหนวยงานของรัฐถือ
ปฏิ บั ติ อ ย า งเคร ง ครั ด และออกระเบี ย บภายในให ชั ด เจน และอาจให มี ก ารรายงานผลเป น ระยะ
เมื่อประชาชนเห็นผลดีก็จะทําตาม
จึงควรเสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีใหหนวยงานของรัฐ รวมถึงผูรับจางหนวย
งานของรัฐทําการคัดแยกขยะ เพื่อใหเปนตัวอยางแกประชาชนทั่วไป

(11) การสงเสริมศูนยหรือเครือขายที่ทําหนาที่รวบรวมและคัดแยกขยะบรรจุภัณฑ (พระราช


บัญญัติสงเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520)
แนวคิดนี้มีวัตถุประสงคเพื่อจูงใจใหภาคเอกชนรวบรวมและคัดแยกขยะบรรจุภัณฑโดยความ
สมัครใจ ในรูปของการจัดการเปนศูนยรวบรวมและคัดแยกที่มีเครือขายทั่วประเทศ ซึ่งทําใหเกิดการ
สงตอแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เปนการใชทรัพยากรที่คุมคา
พระราชบัญญัติสงเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสงเสริมการลง
ทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 เปนเครื่องมือหนึ่งในการสงเสริมใหมีการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวของกับการ
ปองกัน และรักษาสิ่งแวดลอม ในปจจุบันมีนโยบายสงเสริมการลงทุนในการจัดการของเสียและ รี
ไซเคิล ดังนี้
(1) กิจการนิคมอุตสาหกรรมเพื่ออนุรักษสิ่งแวดลอม กิจการบริการบําบัดน้ําเสีย กําจัดหรือขน
ถายขยะ กากอุตสาหกรรมหรือสารเคมีที่เปนพิษ ถือวาเปนกิจการที่ใหความสําคัญเปนพิเศษ ตาม
ประกาศคณะกรรมการสงเสริมการลงทุน ที่ 2 / 2543 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2543
(2) ประกาศคณะกรรมการสงเสริมการลงทุนที่ ส.1/2545 เรื่อง การใหการสงเสริมกิจการการนํา
วัสดุที่ไมตองการใชแลวนํากลับมาใชใหม ลงวันที่ 14 มกราคม 2545 ถือวาเปนกิจการที่ใหความสําคัญ
เปนพิเศษ แตยังจํากัดที่การจัดการวัสดุที่ไมตองการใชแลวในการคัดแยก เรียกคืน นํากลับมาใชซ้ํา
(Reuse) แปรรูปเพื่อใชใหม (Recycling) และสกัดของมีคาเพื่อนํามาใชใหม (recovery) ที่เกิดขึ้นภายใน
ประเทศเทานั้น และไมรวมถึงขั้นตอนการนําไปผลิตเปนสินคา

5 - 42 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

การสงเสริมใหมีการลงทุนในกิจการคัดแยก เรียกคืน นํากลับมาใชซ้ํา (Reuse) แปรรูปเพื่อใช


ใหม (Recycling) และสกัดของมีคาเพื่อนํามาใชใหม (recovery) จึงอาจหมายรวมถึงการจัดตั้งศูนยรวบ
รวมและคัดแยกดวยที่จะไดรับการสงเสริมการลงทุน

(12) การกําหนดให มี ข อ มู ล องค ป ระกอบบนผลิ ต ภั ณ ฑ แ ละบรรจุ ภั ณ ฑ เ พื่ อ การแยกขยะ


(พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม พ.ศ. 2511)
แนวคิดนี้มีวัตถุประสงคเพื่อสนับสนุนใหการคัดแยกขยะสามารถทําไดมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยปกติขอมูลองคประกอบบนผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑไมมีกําหนดในกฎหมายใหผูประกอบการจะ
ตองปฏิบัติ การประทับเครื่องหมาย เชน สัญลักษณบนพลาสติกชนิดตาง ๆ เปนไปตามความสมัครใจ
และการคํานึงถึงประโยชนของผูประกอบการเอง จึงควรพิจารณาปรับปรุงแนวทางในการกําหนดใหผู
ผลิตวัสดุหรือบรรจุภัณฑแสดงขอมูลองคประกอบบนผลิตภัณฑและบรรจุภัณฑ โดยคณะกรรมการ
มาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม อาจกําหนดตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511

นอกจากนั้น ควรศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวกับสิ่งจูงใจรวมทั้งขอกําหนดมาตรฐานตาง ๆ ดังนี้


(1) การศึกษาเพื่อลดหยอนภาษี คาธรรมเนียมใหกับสินคาประเภทเติม (refill)
แนวคิดนี้มีวัตถุประสงคเพื่อสงเสริมและจูงใจใหผูประกอบการผลิตและจําหนายสินคาประเภท
เติม (refill) มากขึ้น ลดการใชบรรจุภัณฑเพียงครั้งเดียวแลวทิ้ง จึงควรศึกษาความเปนไปไดและกําหนด
ชนิด ประเภทของสินคาที่ควรไดรับการสงเสริม
(2) การศึกษาเพื่อนําระบบ มัดจํา-คืนเงิน มาใชกับสินคาบางชนิด
แนวคิดนี้มีวัตถุประสงคเพื่อใชเครื่องมือทางเศรษฐศาสตรที่ใชไดผลดีในหลายประเทศ คือ
ระบบ มัดจํา-คืนเงิน มาใชกับสินคาบางชนิดที่เหมาะสม เพื่อใหผูบริโภคนําบรรจุภัณฑกลับมาคืน
จึงควรศึกษาความเปนไปไดและกําหนดชนิด ประเภทของสินคาที่ใชมาตรการนี้
(3) การศึกษาเพื่อกําหนดมาตรฐานของการใชบรรจุภัณฑ
แนวคิดนี้มีวัตถุประสงคเพื่อใหการใชบรรจุภัณฑเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึงการ
ใชงานตามวัตถุประสงค สิ้นเปลืองวัสดุนอยที่สุด และเหมาะสมกับการหุมหอปกปองสินคา รวมทั้งสงผล
กระทบตอสิ่งแวดลอมนอยที่สุด จึงควรใหมีการศึกษาดังกลาว

5 - 43 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

5.4.2 แนวคิดในการยกรางกฎหมาย

(1) แนวทางการยกรางกฎกระทรวง
จากแนวคิดการปรับปรุงกฎหมายเพื่อกําหนดใหมีการเก็บคาธรรมเนียมการเก็บขนขยะที่ไมได
ทําการคัดแยกสูงกวาขยะที่คัดแยก ในขอ (1) และการปรับปรุงกฎหมายเพื่อกําหนดคาบริการเก็บขน
และกําจัดมูลฝอยที่สะทอนคาใชจายที่เปนจริง ในขอ (2) จึงทําใหแนวทางการแกไขกฎหมายที่เสนอ
เปนการยกรางกฎกระทรวงที่จะมีผลตอการจัดการมูลฝอยบรรจุภัณฑดวย ทั้งในแงของการแยกออก
จากขยะทั่วไป และการไดรับคาใชจายในการเก็บขน และกําจัดที่สะทอนความเปนจริง
เนื่องจากขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขไดเสนอรางพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. เพื่อแกไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งมีบางประเด็นที่แกไขเพิ่ม
เติม มาตรา 18 และมาตรา 20 เกี่ยวกับ
1. แกไขเพิ่มเติมมาตรา 18 ใหอํานาจราชการสวนทองถิ่นอาจทํางานรวมกับหนวยงานของรัฐ
หรือราชการสวนทองถิ่นอื่นดําเนินการเรื่องการกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยได
2. แกไขเพิ่มเติมมาตรา 20 ใหอํานาจราชการสวนทองถิ่นออกขอกําหนดทองถิ่นกําหนดอัตรา
คาธรรมเนียมเรื่องการกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย

ปจจุบันรางกฎหมายดังกลาวอยูระหวางการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งไดแตงตั้ง
คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา เรื่อง การกําหนดอัตราคาธรรมเนียมในการเก็บขนและกําจัดมูล
ฝอยขององคกรปกครองสวนทองถิ่น และไดจัดใหมีการรับฟงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกลาว ใน
วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม 2547 ณ โรงแรมเจาพระยาปารค มีขอเสนอใหกําหนดอัตราคาธรรมเนียมตาม
น้ําหนักของมูลฝอย โดยใชหนวยนับเปน บาท/กิโลกรัม เพื่อใหองคกรปกครองสวนทองถิ่นสามารถ
ประเมินคาธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บจากแตละครัวเรือนไดงาย และในการกําหนดอัตราคาธรรมเนียมนั้น
ใหนําคาใชจายจริงขององคกรปกครองสวนทองถิ่นที่ใชในการเก็บขนและกําจัดที่ไดจากการศึกษาใน
ครั้งนี้มากําหนด โดยอัตราคาธรรมเนียมจะเปน ดังนี1้

1
คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา เรื่อง การกําหนดอัตราคาธรรมเนียมในการเก็บขนและกําจัดมูลฝอยขององคกรปก
ครองสวนทองถิ่น เสนอในการสัมมนา เรื่อง รับฟงความคิดเห็น ในวันอังคารที่ 6 กรกฎาคม 2547 ณ โรงแรมเจาพระยาปารค
5 - 44 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

อัตราคาธรรมเนียมในการจัดการมูลฝอยทั่วไป
1. คาธรรมเนียมในการเก็บขนมูลฝอยทั่วไป 0.20 – 1.40 บาท/กิโลกรัม
2. คาธรรมเนียมในการกําจัดมูลฝอยทั่วไป
2.1 ระบบฝงกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล 0.15 – 0.70 บาท/กิโลกรัม
2.2 ระบบเตาเผา 0.50 – 1.30 บาท/กิโลกรัม
3. คาธรรมเนียมในการเก็บขนและกําจัดมูลฝอยทั่วไป
3.1 ระบบฝงกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล 0.35 – 2.10 บาท/กิโลกรัม
3.2 ระบบเตาเผา 0.70 – 2.70 บาท/กิโลกรัม

อัตราคาธรรมเนียมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
1. คาธรรมเนียมในการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อ 1.70 – 2.80 บาท/กิโลกรัม
2. คาธรรมเนียมในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ 3.30 – 4.00 บาท/กิโลกรัม
3. คาธรรมเนียมในการเก็บขนและกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ 5.00 – 6.80 บาท/กิโลกรัม

ดังนั้น เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของกระทรวงสาธารณสุขและเพื่อใหเกิดประโยชนตอการ
จัดการของเสียบรรจุภัณฑ จึงไดเสนอแนวคิดของรางกฎกระทรวง วาดวยการกําหนดอัตราคาธรรม
เนียมในการเก็บขนและกําจัดมูลฝอยขององคกรปกครองสวนทองถิ่น พ.ศ. …. ออกตามความในพระ
ราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ดังตอไปนี้

5 - 45 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

บันทึกหลักการและเหตุผล
ประกอบรางกฎกระทรวงวาดวยอัตราคาธรรมเนียมการใหบริการ
เก็บ ขน และกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และอัตราคาธรรมเนียมอื่น ๆ
พ.ศ. ….

หลักการ

ยกเลิกกฎกระทรวง วาดวยอัตราคาธรรมเนียมในการใหบริการเก็บ ขน และกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือ


มูลฝอย และอัตราคาธรรมเนียมอื่น ๆ พ.ศ. 2545 แลวกําหนดขึ้นใหมเพื่อใหสอดคลองกับหลักการใน
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับ
ที่ ..) พ.ศ. ….

เหตุผล

โดยที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการสา


ธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ใหอํานาจราชการสวนทองถิ่นอาจทํางานรวมกับหนวยงานของรัฐหรือ
ราชการสวนทองถิ่นอื่นดําเนินการเรื่องการกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยได และใหอํานาจราชการสวน
ทองถิ่นออกขอกําหนดทองถิ่นกําหนดอัตราคาธรรมเนียมเรื่องการกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย รวมทั้ง
แนวทางสนับสนุนการคัดแยกมูลฝอยกอนทิ้ง การจัดใหมีระบบกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ถูกสุข
ลักษณะ จึงตองออกกฎกระทรวงฉบับนี้

5 - 46 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ราง
กฎกระทรวง
วาดวยอัตราคาธรรมเนียมการใหบริการ
เก็บ ขน และกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และอัตราคาธรรมเนียมอื่น ๆ
พ.ศ. ….
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 63 แหงพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
2535 ซึ่งแกไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. อันเปนพระราชบัญญัติ
ที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับ
มาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 48 มาตรา 49 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย
บัญญัติใหกระทําไดโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมาย รัฐมนตรีวาการกระทรวงสาธารณสุข
โดยคําแนะนําของคณะกรรมการสาธารณสุขออกกฎกระทรวงไว ดังตอไปนี้

ขอ 1 ใหยกเลิกกฎกระทรวง วาดวยอัตราคาธรรมเนียมการใหบริการเก็บ ขน และกําจัดสิ่ง


ปฏิกูลหรือมูลฝอย และอัตราคาธรรมเนียมอื่น ๆ พ.ศ. 2545

ขอ 2 อัตราคาธรรมเนียมที่ราชการสวนทองถิ่นมีอํานาจตามมาตรา 20(4) และมาตรา 63


ออกขอกําหนดของทองถิ่นกําหนด ใหกําหนดไดไมต่ํากวาและไมเกินอัตราคาธรรมเนียมตามที่กําหนด
ไวในบัญชีอัตราคาธรรมเนียมทายกฎกระทรวงนี้

ขอ 3 อัตราคาธรรมเนียมที่ราชการสวนทองถิ่นมีอํานาจออกขอกําหนดของทองถิ่นกําหนดได
ไมต่ํากวาและไมเกินอัตราคาธรรมเนียม ตามขอ 2 มีดังตอไปนี้
(1) อัตราคาธรรมเนียมการใหบริการของราชการสวนทองถิ่นในการเก็บ ขน และกําจัดสิ่งปฏิกูล
หรือมูลฝอย ตามมาตรา 20 (4)
(2) อัตราคาธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตตามมาตรา 19 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 38
และมาตรา 41 วรรคสอง
(3) อัตราคาธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรองการแจง ตามมาตรา 48

ขอ 4 ในกรณีที่ราชการสวนทองถิ่นใดจัดใหมีบริการเก็บขนมูลฝอยทั่วไปโดยกําหนดใหผูทิ้งคัด
แยกวัสดุที่สามารถใชซ้ําหรือนํามาแปรสภาพใชประโยชนได เชน แกว กระดาษ พลาสติก โลหะ ไม
เปนตน ออกจากมูลฝอยทั่วไปกอนทิ้ง อาจกําหนดคาธรรมเนียมในการเก็บขนมูลฝอยทั่วไปสําหรับผูที่
คัดแยกต่ํากวาอัตราขั้นต่ําที่กําหนดในขอ 2 ก็ได โดยคํานึงถึงคาใชจายในการเก็บขนที่ลดลง ผลในการ
จูงใจใหมีการคัดแยกขยะเพิ่มขึ้น และภาระคาใชจายที่ราชการสวนทองถิ่นยังคงตองรับผิดชอบ

5 - 47 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ขอ 5 ราชการสวนทองถิ่นจะตองจัดใหมีระบบการกําจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะหรือเขารวมกับ
หนวยงานของรัฐหรือราชการทองถิ่นอื่น เพื่อจัดใหมีระบบการกําจัดมูลฝอย ไดแก การฝงกลบหรือเตา
เผาที่ถูกสุขลักษณะ หรือวิธีการอื่นที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด จึงจะจัดเก็บคากําจัดมูลฝอยได

ใหไว ณ วันที่ .. เดือน .. พ.ศ. ….


ลงนาม ………….
รัฐมนตรีวาการกระทรวงสาธารณสุข

บัญชีอัตราคาธรรมเนียม

1. อัตราคาธรรมเนียมในการจัดการมูลฝอยทั่วไป
1.1 คาธรรมเนียมในการเก็บขนมูลฝอยทั่วไป 0.20 – 1.40 บาท/กิโลกรัม
1.2 คาธรรมเนียมในการกําจัดมูลฝอยทั่วไป
1.2.1 ระบบฝงกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล 0.15 – 0.70 บาท/กิโลกรัม
1.2.2 ระบบเตาเผา 0.50 – 1.30 บาท/กิโลกรัม
1.3. คาธรรมเนียมในการเก็บขนและกําจัดมูลฝอยทั่วไป
1.3.1 ระบบฝงกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาล 0.35 – 2.10 บาท/กิโลกรัม
1.3.2 ระบบเตาเผา 0.70 – 2.70 บาท/กิโลกรัม

2. อัตราคาธรรมเนียมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
2.1 คาธรรมเนียมในการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อ 1.70 – 2.80 บาท/กิโลกรัม
2.2 คาธรรมเนียมในการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ 3.30 – 4.00 บาท/กิโลกรัม
2.3 คาธรรมเนียมในการเก็บขนและกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ 5.00 – 6.80 บาท/กิโลกรัม

3. อัตราคาธรรมเนียมในการออกใบอนุญาต
(1) ใบอนุญาตดําเนินกิจการตามมาตรา 19 โดยทําเปนธุรกิจหรือไดรับประโยชนตอบแทนดวย
การคิดคาบริการ
(ก) รับทําการเก็บและขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไป ฉบับละ 5,000 บาท
(ข) รับทําการกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไป ฉบับละ 5,000 บาท
(ค) รับทําการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อ ฉบับละ 10,000 บาท
(ง) รับทําการกําจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อ ฉบับละ 10,000 บาท
(2) ใบอนุญาตดําเนินกิจการที่เปนอันตรายตอสุขภาพ
ตามประเภทที่มีขอกําหนดของทองถิ่นกําหนดใหเปนกิจการที่ตองมีการควบคุมภายในทอง
ถิ่นมาตรา 32 (1)

5 - 48 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

ในลักษณะที่เปนการคามาตรา 33 ฉบับละ 10,000 บาท


(3) ใบอนุญาตจัดตั้งตลาดตามมาตรา 34 ฉบับละ 2,000 บาท
(4) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จําหนายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
ในอาคารหรือพื้นที่ใด ซึ่งมีพื้นที่เกินสองรอยตารางเมตร
และมิใชเปนการขายของในตลาดตามมาตรา 38 ฉบับละ 3,000 บาท
(5) ใบอนุญาตจําหนายสินคาในที่หรือทางสาธารณะ
ตามมาตรา 41 วรรคสอง
(ก) จําหนายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินคา
ในที่หนึ่งที่ใดโดยปกติ ฉบับละ 500 บาท
(ข) จําหนายโดยลักษณะการเรขาย ฉบับละ 50 บาท
3. อัตราคาธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรองการแจง
การจัดตั้งสถานที่จําหนายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
ในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไมเกินสองรอยตารางเมตร
และมิใชเปนการขายของในตลาดตามมาตรา 48 ฉบับละ 1,000 บาท

(2) การเสนอออกกฎหมายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ
ทางเลือกอีกทางหนึ่งที่อาจแกไขไดตรงประเด็นกวาการใชกฎหมายที่มีอยูหลายฉบับ คือ การ
เสนอออกกฎหมายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑโดยเฉพาะ ซึ่งจะทําใหไดแนวทางที่ชัดเจนตามความตองการใน
การแกไขปญหาบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
แตการออกกฎหมายใหมจะมีความยากลําบากในการตระเตรียมรางกฎหมายที่มีความสมบูรณ
ไมขัดแยงกับกฎหมายหรือองคกรที่มีอยู มีความครบถวนในทุกประเด็น มีความเห็นพองตองกันจากทุก
กระทรวงที่เกี่ยวของ คณะรัฐมนตรี สภาผูแทนราษฎรและวุฒิสภาเห็นชอบ ใหผานออกมาเปนกฎหมาย
ซึ่งจะใชเวลาคอนขางมาก การออกกฎหมายจึงอาจตองดําเนินการหลังจากทดลองใชมาตรการระยะสั้น
ที่เสนอไประยะหนึ่ง แลวมีการประเมินผลและออกกฎหมายตามประเด็นของปญหาที่เกิดขึ้น
แนวคิดในการยกรางกฎหมาย เทาที่ประมวลจากปจจัยที่เกี่ยวของทางเศรษฐกิจ สังคม การ
เมือง และแบบแผนของกฎหมายที่เปนอยูในปจจุบัน กฎหมายบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ ควร
ประกอบดวยประเด็นที่สําคัญ ดังตอไปนี้
1. หลักการและเหตุผลความจําเปนที่ตองมีกฎหมายบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
2. คําจํากัดความของบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
3. หลักทั่วไปของการผลิต การกระจาย การใช การบรรจุ และการนํากลับ
4. องคประกอบที่เปนขอกําหนดพิเศษและขอหามตาง ๆ ที่ใชในบรรจุภัณฑบางประเภท เชน
บรรจุภัณฑบรรจุอาหาร เครื่องดื่ม เปนตน
5. คณะกรรมการบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ ระดับชาติและระดับทองถิ่น
6. องคกรรองรับการทํางานของคณะกรรมการ

5 - 49 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ การศึกษายกรางกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ

7. แนวทางในการสงเสริมใหภาคเอกชนรวมตัวกันเพื่อสรางความเขมแข็ง และจัดตั้งเปนองค
กรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะดานเพื่อจัดการดูแลบรรจุภัณฑและของเสียบรรจุภัณฑ
8. หลั ก การจั ด การบรรจุ ภั ณ ฑ เ พื่ อ ให บ รรจุ ภั ณ ฑ แ ละของเสี ย บรรจุ ภั ณ ฑ ไ ด ถู ก นําไปใช
ประโยชนอยางเต็มที่และนํามากําจัดไดมากที่สุดเมื่อสิ้นสุดอายุการใชงาน
9. บทกําหนดโทษ

5 - 50 ศูนยบริการวิชาการแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
บรรณานุกรม

กฎหมาย
รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
พระราชบัญญัติขอมูลขาวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ พ.ศ. 2539
พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจใหแกองคกรปกครองสวนทองถิ่น พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเปนระเบียบเรียบรอยของบานเมือง พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ พ.ศ. 2535
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
พระราชบัญญัติสภาตําบลและองคการบริหารสวนตําบล พ.ศ. 2537

หนังสือ
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร เทคโนโลยีและสิ่งแวดลอม, แนวทางในการลดมลพิษโดยการ
พัฒนาของเสียหรือวัสดุเหลือใชนํากลับมาใชใหม โครงการปองกันและแกไขปญหามลพิษ
จากสารพิษและกากของเสีย, มีนาคม 2541
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร เทคโนโลยีและสิ่งแวดลอม, โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
การลดของเสียและการใชประโยชนจากของเสีย, โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี
แหงประเทศไทย, 2543
ศูนยกฎหมายและการพัฒนาสิ่งแวดลอม คณะนิติศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, การจัดการขยะชุมชน
อยางมีประสิทธิภาพ : รูปแบบและมาตรการทางสังคม เศรษฐศาสตร การจัดการ และ
กฎหมาย เพื่อแกไขปญหาขยะชุมชน, สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. 2542
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี, แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
สํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ, “แผนการจัดการขยะมูลฝอยแหงชาติ”
เอกสารเย็บเลม 2546
อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ, “กฎเกณฑและขอบังคับเรื่องบรรจุภัณฑตามมาตรฐานยุโรป (EU Packaging
Regulations)” เอกสารประกอบการบรรยายในการอบรม “การทําธุรกิจกับสหภาพยุโรป” โดย
European Business Information Centre, มกราคม 2542
Albert Mumma, Environmental Law : Meeting UK and EC Requirements, Mcgraw-Hill
International (UK) Limited, 1995.
Commission of the European Communities, Directorate-General XI, Environment, Nuclear
Safety and Civil Protection, European Community Environment Legislation
Volume 6 Waste, Luxembourg : Office for Official Publications of the European
Communities, 1992.
Commission Decision 97/129/EC of 28 January 1997 establishing the identification system
for packaging materials pursuant to European Paliament and Council Directive
94/62/EC on packaging and packaging waste.
Commission Decision 97/138/EC of 3 February 1997 establishing the formats relating to
the database system pursuant to European Paliament and Council Directive 94/62/EC
on packaging and packaging waste.
Council Regulation 880/92/EEC of 23.03.1992 on a Community Eco-Label Award Scheme.
Council Regulation 1836/93/EEC of 29.06.1993 Allowing Voluntary Participation by
Companies in the Industrial Sector in a Community Eco-Management and Audit
Scheme.
Daniel C. Esty, Greening The GATT : Trade, Environment, and the Future, Institute for
International Economics, Washington, DC, July 1994.
Damien Geradin, Trade and the Environment : A comparative study of EC and US law,
Cambridge University Press 1997.
David Hughes, Environmental Law, Third Edition, Butterworths, London 1996.
David Pocklington, The Law of Waste Management, Shaw & Sons Limited, October 1997.
David Wallace, Environmental Policy and Industrial Innovation : Strategies in Furope, the
US and Japan, The Royal Institute of International Affairs, Energy and
Environmental Programme, Earthscan Publications Ltd, London 1995.
Denise Perchard, Effects of Environmental Packaging Legislation, Pira review of
Packaging, Pira International, United Kingdom 1995.
Department of the Environment and the Welsh Office, Making Waste Work : A strategy for
sustainable waste management in England and Wales, London, December 1995.
Eathipol Srisawaluck, The Legal Framework for Solid Waste Management in the Countries
of the European Union and Implications for Thailand, Centre for European Studies,
Chulalongkorn University (CUESP), August 1997.
EPA, Germany, Garbage, and the Green Dot : Challenging the Throwaway Society,
September 1994.
European Parliament and Council Directive 94/62/EC of 20 December 1994 on Packaging
and Packaging Waste.
Forbes R McDougall, Peter R White, Marina and Peter Hindle, Integrated Solid Waste
Management : a Life Cycle Inventory, Second edition, Procter & Gamble Technical
Centres Limited, Blackwell Science Ltd, a Blackwell Publishing Company, 2001.
Frank Kreith, Handbook of Solid Waste Management, McGraw-Hill, Inc. 1994.
Jonathan Hewett, European Environmental Alamanac, Institute for European Environmental
Policy, Earthscan Publications Ltd, London 1995.
K.A. Gourlay, World of Waste : Dilemmas of Industrial Development, Zed Books, London
1992.
Ken Peattie, Green Marketting, The M&E Hand Book Series, Pitman Publishing, London
1992.
Lamont C. Hempel, Environmental Governance : The Global Challenge, Island Press,
Washington, DC 1996.
Nikki&David Goldback, Choose to Reuse : An Encyclopedia of Services, Businesses, Tools
& Charitable Programs that Facilitate Reuse, Ceres Press, Woodstock, New York
1995.
OECD, Environmental Policy : How to Apply Economic Instruments, Paris 1991.
OECD, Managing the Environment : The Role of the Economic Instrument, Paris 1994.
Proposal for a European Parliament and Council Directive on Marking of Packaging and on
the establishment of a conformity assessment procedure for Packaging, 96/0123
(COD), presented by the commission, Brussels 1996.
Richard Waite, Household Waste Recycling, Earthscan Publications Ltd, London 1995.
Robert Gale, Stephan barg, Alexander Gillies, Green Budget Reform : An International
Casebook of Leading Practices, Earthscan Publications Ltd, London 1995.
Rosalind Malcolm, A Guide Book to Environmental Law, Sweet and Maxwell, London
1994.
Status report on the use of environmental labels worldwide, September 1993.
The Ordinance on the Avoidance of Packaging Waste, dated June 12, 1991 Germany.
The Property and Housing Department, Wycombe District Council, Recycling Review,
October 1994.
U.S. Congress, Office of Technology Assessment, Green Product by Design : Choice for a
Cleaner Environment, OTA-E-541, Washington, DC, October 1992.
UNEP, Industry and Environment, Promoting Waste Recycling Part I, Volume 17 No. 2,
April-June 1994.
UNEP, Industry and Environment, Cleaner Production, Volume 17 No. 4, October-
December 1994.
William Rathje & Cullen Murphy, Rubbish ! : The Archaeology of Garbage, HarperCollins
Publishers, New York 1992.
William Wilson, Making Environmental Laws Work : Law and Policy in the UK and USA,
Oxford 1999.

You might also like