You are on page 1of 7

ลักษณะมิติการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ

What will happen ? เกิดอะไรขึ้น : ราคาน้ำมันสูงขึ้นเนื่องจาก


ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผล
ให้ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมสู่
สังคมคาร์บอนต์

What makes it happen ? ปั จจัยที่ทำให้เกิดขึ้น :


ประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศถึง ๙๐% โดยมีที่มา
จากแหล่งต่างๆที่สำคัญ คือ
- แหล่งตะวันออกกลาง (สหรัฐอาหรับเอมเรตส์ ,
ซาอุดิอาระเบีย , กาตาร์ , คูเวต , และ
บางประเทศในตะวันออกกลาง ๔๘ %
- แหล่งตะวันออกไกล (มาเลเซีย , เวียดนาม , อินโดนีเซีย)
๑๒%
- อื่นๆ (สหรัฐอเมริกา , รัสเซีย , แองโกลา) ๓๐%
- ผลิตในประเทศ ๑๐ %
ส่วนก๊าซธรรมชาติประเทศไทยมีการนำเข้าจากต่างประเทศคิดเป็ น
เปอร์เซ็นต์ ดังนี้
- โอมาน ๓%
- สหรัฐอเมริกา ๔%
- ไนจีเรีย ๗%
- มาเลเซีย ๘%
- ออสเตรเลีย ๑๘%
- กาตาร์ ๒๑%
- เมียนมาร์ ๒๙%
- อื่นๆ ๘%
ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศผู้
ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ส่งผลให้ราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้น ทำให้
ประเทศไทยต้องมีการปรับตัว เพื่อป้ องกันปั ญหาภาวะเงินเฟ้ อที่อาจจะ
เกิดขึ้น เพราะประเทศไทยมีการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานสูงกลายเป็ น
ความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
What are the consequences of the changes ? ผลของการ
เปลี่ยนแปลง :
ความพยายามของประเทศไทยลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและ
ก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศ เข้าสู่การเติบโตแบบคาร์บอนต่ำ

ความพยายามลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจาก
ต่างประเทศของประเทศไทย การออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง

การลดอัตราอากรและยกเว้น
อากรศุลกากรสำหรับรถยนต์
ไฟฟ้ าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่
นำเข้ามาทั้งคัน
แนวทางการพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
 พลังงานทางเลือกในสังคม
การประหยัดพลังงานเป็ นพื้นฐานแรกของการลดการปล่อยคาร์บอน และ
การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงาน
ลม พลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพ มาทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่ง
เป็ นตัวการใหญ่ของการปล่อยคาร์บอนสร้างปั ญหาภาวะโลกร้อน
 การรักษาป่ าไม้
ป่ าไม้คือทรัพยากรที่สำคัญในการช่วยดูดชับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ
และกักเก็บไว้ และยังทำหน้าที่เป็ นแหล่งอนุรักษ์น้ำ แหล่งอนุรักษ์ดิน
แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งช่วยให้เรารับมือกับความ
เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้อย่างดีในอนาคต
 พื้นที่สีเขียว
การเพิ่มพื้นที่สีเขียวมีส่วนทำให้ต้นไม้ที่ดูดชับคาร์บอนเพิ่มขึ้น ช่วยลด
อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของพื้นที่โดยรอบจากการคายน้ำของต้นไม้ สร้างร่มเงา
บังแดดให้แก่อาคาร ช่วยให้การใช้พลังงานของระบบปรับอากาศใน
อาคารลดลง ยังไม่นับคุณค่าทางจิตใจที่มนุษย์ต้องการสัมผัสธรรมชาติ
เป็ นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและพื้นที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเมือง
 Reduce Reuse Recycle
การสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอาศัยหลักการดูแลสิ่งแวดล้อม 3 ประการที่
เข้าใจง่ายและเรียงตามความสำคัญ คือ
1. Reduce ลดการผลิตและการใช้สิ่งของ ลดการใช้พลังงานที่มากเกิน
ความจำเป็ น
2. Reuse นำสิ่งของต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำให้มากที่สุดแทนการใช้
ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
3. Recycle นำวัสดุสิ่งของที่อาจใช้ซ้ำไม่ได้แล้วกลับมาแปรรูปให้กลับ
มาใช้ได้ใหม่
รถยนต์ไฟฟ้ า หรือ EV (Electric Vehicle) มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์
การใช้งาน ประสิทธิภาพของยานยนต์ และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
แล้ว ยังช่วยสร้างการเดินทางสีเขียวที่เป็ นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิด
มลพิษ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย
ภาครัฐเองก็ส่งเสริมเต็มที่ ด้วยนโยบาย ๓๐@๓๐ แนวทางการ
ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้ า (EV) ของประเทศ ด้วยการตั้งเป้ าผลิตรถ ZEV
(Zero Emission Vehicle) หรือ รถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็ นศูนย์ให้ได้
อย่างน้อย ๓๐% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ (ค.ศ.
๒๐๓๐) พร้อมส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ า ทั้งมาตรการทางภาษีและที่
ไม่ใช่ภาษี รวมถึงเตรียมความพร้อมระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้ ารอบด้าน
(EV Ecosystem) เพื่อให้ผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้ าเกิดความมั่นใจที่จะตัดสิน
ใจเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ าได้ง่ายขึ้น
นโยบายดังกล่าวจะส่งผลทำให้ประเทศไทยลดการนำเข้าน้ำมันและ
ก๊าซธรรมชาติ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไม่อยู่ในภาวะเสี่ยงเมื่อมีความ
ขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเทศต่างๆ

You might also like