You are on page 1of 18

ั ค

ประวต ิ วามเป็นมา
ของการศึกษาพเิ ศษไทย
ได้เริ่มขึ้น เมื่อมีสุภาพสตรีตาบอดชาวอเมริกัน
ชื่อ นางสาวเจเนวีฟ คอลฟิลด์ (พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๕๑๕)
เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. ๒๔๘๑
ซึ่งเป็นระยะเวลา ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยได้ร่วมกับ
เพื่อนคนไทย และชาวอเมริกัน นาคนไทยตาบอดคนหนึ่งมา
เลี้ยงดู อบรมสั่งสอน ให้ฝึกหัดอ่าน และเขียนอักษรเบรลล์
ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ โดยการฝึกหัดทางานการฝีมอื
และงานในชีวิตประจาวัน ตลอดจนการทาอาหาร
จนกระทั่งต่อมาจานวนคนตาบอดที่เข้ามารับ
การเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนมีมากขึ้นจึงได้มีการตั้ง
เป็นโรงเรียนสอนคนตาบอกรุงเทพฯพร้อมๆกับ
จัดตั้งมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยใน
พระบรมราชูปถัมภ์ ปีพ.ศ.๒๔๘๒ ฉะนั้นจึงจัดได้
ว่า การจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทยได้เริ่ม
ดาเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒
รูปปั้นของนางสาวเจเนวีฟ คอลฟิลด์ ชาวอเมริกัน
( ผู้ริเริ่มการศึกษาพิเศษในประเทศไทย )
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ได้มีการจัดตั้ง
ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กตาบอด
และครอบครัวที่วิทยาลัยครูสวนดุสิตเพื่อให้
บริการแก่ครอบครัวที่มีลูกตาบอดและแก่เด็กตา
บอดอายุ ๐-๗ ปี เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา
ให้กับเด็ก คือให้สามารถเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ
ได้เร็วขึ้นและปี ๒๕๓๔ นี้ได้นาเด็กตาบอดและเด็ก
เห็นเลือนลางเข้าเรียนร่วมในระดับชั้นอนุบาลที่
โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ โรงเรียนสาธิตอนุบาลลอออุทิศ
นอกจากความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษา
แล้วก็ยังมีการขยายงานช่วยเหลือบุคคลตาบอด
ในด้านอาชีพด้วย กล่าวคือ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕
มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยใน
พระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพ
คนตาบอดขึ้นหลายแห่ง
S ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ กรมสามัญศึกษาได้รับอนุมัติให้จัดตั้งหน่วย
ทดลองสอนเยาวชนหูหนวกขึ้นเป็นครั้งแรกต่อมามีจานวนเด็กมากขึ้น T
จึงได้จัดตั้ง "มูลนิธิเศรษฐเสถียร“

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ เพื่อร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้ง


"โรงเรียนสอนคนหูหนวก" ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น
"โรงเรียนเศรษฐเสถียร“

ใน ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้มีการยกเลิกมูลนิธิเศรษฐเสถียรและจัดตั้ง


เป็น "มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก" แทน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๗
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดเกล้าฯ ทรงรับมูลนิธิ

O อนุเคราะห์คนหูหนวกไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ W
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนสอนคน
หูหนวกทุ่งมหาเมฆในกรุงเทพมหานครปัจจุบันเปลี่ยน
ชื่อเป็น "โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ" และตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๕๐๔ จนถึงปัจจุบันนี้กระทรวงศึกษาธิการ
ก็ได้เปิดโรงเรียนพิเศษสาหรับสอนเยาวชนผู้พิการ
หูหนวกอีกหลายแห่งทั่วประเทศ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
องค์อุปถัมภ์มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ
การศึกษาพิเศษสาหรับเยาวชนผูพ ้ กิ ารทางร่างกายในประเทศไทยนั้น
ได้เริ่มโดยกรมสามัญศึกษา อนุมัติให้กองการศึกษาพิเศษ จัดทาโครงการ
สอนเด็กเจ็บป่วย ด้วยโรคโปลิโอ ในโรงพยาบาลในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ทั้งนี้
เพราะระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๔ - พ.ศ. ๒๔๙๕ โรคไขสันหลังอักเสบ (โปลิโอ)
ระบาดในประเทศไทย ทาให้มีเด็กเจ็บป่วยด้วยโรคนี้เป็นจานวนมากจึงมีการ
จัดตั้งมูลนิธิสงเคราะห์คนพิการขึ้นต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช
ชนนีทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์มูลนิธินี้ จึงได้ชื่อว่า "มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ
ในพระบรมราชินูปถัมภ์ของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี"
ทางมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการได้จัดตั้ง
"ศูนย์บริการเด็กพิการ" ที่อาเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เด็กที่ศูนย์บริการเด็กพิการมีจานวน
มากขึ้นและเด็กจาเป็นต้องได้รับการศึกษาให้สามารถ
กลับไปเรียนต่อที่โรงเรียนเดิมได้ โดยไม่ต้องหยุดเรียน
หรือกลับไปเรียนซ้าชั้นทางมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ จึง
ได้จัดตั้ง "โรงเรียนสอนเด็กพิการ" ขึ้น
ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติเงิน
ก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมในโอกาสนี้สมเด็จพระศรี-
นครินทราบรมราชชนนี พระราชทานชื่อโรงเรียนว่า
"โรงเรียนศรีสังวาลย์"ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ที่ได้มีการเริ่ม
จัดทาโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยด้วยโรคโปลิโอใน
โรงพยาบาลนั้น ก็ได้มีการดาเนินการมาตลอด จนถึง
ปัจจุบัน ก็ได้มีการขยายโครงการไปที่โรงพยาบาลอื่นๆ
ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และภูมิภาค ยังมีแผนที่จะ
ขยายสู่โรงพยาบาลในส่วนภูมิภาคให้มากขึ้นต่อไปอีก
โรงเรียนศรีสังวาลย์
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๙ - พ.ศ. ๒๕๐๐ ผู้ที่เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกได้ทา
การสารวจจานวนบุคคลปัญญาอ่อนในประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ และได้มีการ
จัดตั้ง "มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์" ขึ้น ใน
ปี พ.ศ. ๒๕๐๕

ใน ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้จดั ชั้นเรียนพิเศษขึ้นในโรงพยาบาล เพื่อสอนเด็กปัญญาอ่อน


อายุ ระหว่าง ๗ - ๑๘ ปี เรียนตามระดับความสามารถ คือ ระดับเรียนได้ ระดับฝึก
ได้ และระดับปัญญาอ่อนรุนแรง

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ได้


เสด็จพระราชดาเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาเปิด
โรงเรียน ซึ่งพระราชทานนามว่า "โรงเรียนราชานุกูล" ที่ได้พระราชทานรายได้ จาก
การฉายภาพยนต์ส่วนพระองค์ จัดสร้างอาคารเรียนให้ ภายในบริเวณโรงพยาบาล
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนในพระ
บรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดตั้ง "โรงเรียนปัญญาวุฒิกร เป็นแห่ง
ที่ ๒ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ทางโรงเรียนและมูลนิธิฯ ได้
ขยายงานโดยจัดตั้งโรงงานในอารักษ์ฝึกอาชีพคนปัญญา
อ่อนขึ้น ที่โรงเรียนปัญญาวุฒิกร และที่ศูนย์วิชาชีพหญิง
อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และมีการขยายงานไปสู่
ส่วนภูมิภาค โดยจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนใน
ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ในภาค เด็กที่เจ็บป่วยเรื้อรังในชั้นเรียนพิเศษในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดอุบลราชธานี ใน พ.ศ. ๒๕๒๖
และในภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ กรมสามัญศึกษาได้รับโอนโรงเรียนกาวิละวิทยา
กองทัพบกอุปถัมภ์ และเปิดเป็นโรงเรียนสอนเด็กปัญญาอ่อนขึ้น โดยใช้ชื่อว่า
"โรงเรียนกาวิละอนุกูล จังหวัดเชียงใหม่" ได้รับนักเรียนปกติ ที่อยู่ใกล้โรงเรียน
เข้าเรียนร่วมกับเด็กปัญญาอ่อนด้วย

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนในพระบรมราชินูปถัมภ์


ได้จัดตั้ง "ศูนย์ฝึกเด็กปัญญาอ่อนประภาคารปัญญา" เพื่อฝึกเด็กปัญญาอ่อน
รุนแรง ศูนย์ตั้งอยู่ที่ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ มูลนิธิฯได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กปัญญาอ่อนวัย
ก่อนเข้าเรียน ในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร
ใน ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญ
ศึกษาได้จัดตั้ง "โรงเรียนอนุบาลปัญญานุกูล" จังหวัด
อุบลราชธานี โดยรับโอนมาจากโรงเรียนบ้านคาไฮ
วิทยา จากกองการมัธยมศึกษาในปี พ.ศ. ๒๕๓๑
มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อน ก็ได้เริ่มโครงการจัดตั้งศูนย์
ฝึกอาชีพแบบโรงงานในอารักษ์ ที่นนทนิเวศน์ จังหวัด
นนทบุรี เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพแก่บุคคล
พิการทางสติปัญญาวัยผู้ใหญ่
สาหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ที่เป็น
เด็กเรียนช้านั้น ก็ได้มีการจัดการศึกษาพิเศษให้ตั้งแต่
ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยกรมสามัญศึกษา จัดเป็นชั้นเรียน
พิเศษในโรงเรียนปกติ ในเขตกรุงเทพมหานคร ๔ แห่ง
คือ ที่โรงเรียนพญาไท โรงเรียนวัดชนะสงคราม
โรงเรียนวัดนิมมานรดี และโรงเรียนวัดหนัง ต่อมาได้
ขยายออกไปอีก ๕ แห่ง และในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้มี
บางโรงเรียนยกเลิกโครงการไป
แต่กรมสามัญศึกษาก็ยังสงวนไว้ ๕ แห่ง คือ โรงเรียนวัดชนะสงคราม
โรงเรียนพญาไท โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ โรงเรียนวัดหนัง และโรงเรียน
วัดเวตวันธรรมาวาสในปัจจุบัน ได้มีการขยายโอกาสให้เด็กพิการทาง
สติปัญญา ทั้งประเภทเรียนช้า และปัญญาอ่อนระดับเรียนได้ในระดับ
ประถมศึกษาออกไปอีกหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานคร ในโรงเรียนสังกัด
สานักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา ในต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง
จัดทาโดย นายอธิเบศ กาศรัมย
รหัสนั กศึกษา 64121880205
สาขาวิชาการประถมศึกษา

THANK YOU

You might also like