You are on page 1of 8

การศึกษาพิเศษในประเทศไทย

การศึกษาพิเศษในประเทศไทย

ในอดีต คนพิการในประเทศไทยตกอยู่ใน
สภาพการจำกัดสิทธิ์ทางการศึกษา เห็นได้จากการ
ได้รับการยกเว้นการเข้าโรงเรียนตามพระราช
บัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2478 ต่อมา นักการ
ศึกษาพิเศษได้พยายามจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
พิการ ซึ่งในระยะแรกจัดได้เพียงแค่ 4 ประเภท คือ
- เด็กตาบอด
- เด็กหูหนวก
- เด็กปัญญาอ่อน
- เด็กพิการทางร่างกาย
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กตาบอด
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กตาบอดนี้ เอกชนเป็นผู้ริเริ่มก่อน โดยมีบัณฑิต
สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ชื่อ น.ส. เยเนวีฟ คอลฟิลด์ เป็นผู้ทำ อักษรเบรลล์
และได้มีการรับเด็กตาบอดเข้าเรียนในปี 2481
พ.ศ. 2482 จัดตั้งมูลนิธิ ช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินู
ปถัม และมีการเปิดโรงเรียนสอนคนตาบอดเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี
การศึกษาสำหรับเด็กหูหนวก
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตั้งหน่วยทดลองสอนคนหูหนวกเป็นครั้งแรก
ในวันที่ 10 ธันวาคม 2494 จัดขึ้นที่โรงเรียนเทศบาล 17 (โรงเรียนวัด
โสมนัสวิหารในปัจจุบัน) โดยมี ม.ร.ว.เสริมศรี เกษมศรี เป็นผู้ริเริ่ม ต่อ
มาเมื่อนักเรีหูหนวมีจำนวนเพิ่มขึ้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงเปิดโรงเรียน
สอนคนหูหนวกดุสิต และเปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนเศรษฐเสถียร “ เมื่อ
พ.ศ. 2518

ในปี 2521 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสอนคนหูหนวก


เป็นโรงเรียน " โสตศึกษา " และระบุสถานที่ต่อท้ายชื่อ

สำหรับการศึกษาสำหรับเด็กหูตึง เริ่มในพ.ศ. 2512 ที่ โรงเรียนอนุบาลละ


อออุทิศ ต่อมาได้มีการจัดให้เด็กหูตึงเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียน
พญาไท ในปีพ.ศ. 2519 แหลังจากนั้นจึงมีการสนับสนุนโครงการเรียนร่วม
ในอีกหลายๆแห่ง
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการทางร่างกาย
ในระหว่างปี 2493-2494 เกิดโรคไขสันหลังอักเสบ ระบาดในประเทศไทย ทำให้เด็กป่วย
เป็นโรคโปลิโอ เมื่อหายป่วยเด็กจะพิการด้านแขนขาลำตัว ทำให้เกิดปัญหาด้านการศึกษาการ

การศึกษาแก่เด็กพิเศษทางด้านร่างกาย เริ่มขึ้นในโรงพยาบาลศิริราช ต่อมาในปี 2501


กระทรวงสามัญศึกษาเห็นาเด็กมีจำนวนมากขึ้น จึงได้จัดตั้ง " ศูนย์บริการเด็กพิการ " และได้ตั้ง
" โรงเรียนสอนเด็กพิการ " ในปี 2504

ต่อมาปี 2508 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม


และสมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชชนนี ทรงพระราชทานชื่อโรงเรียนนี้ว่า " โรงเรียนศรี
สังวาลย์ "
การจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา
จากการสำรวจองค์การอนามัยโลกในปี พ. ศ 2499 พบว่า มีบุคคลปัญญาอ่อนในประเทศไทยราว 25,000 คน
กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการบริหาร และได้รับอนุมัติให้จัดการดำเนิดการ เปิดโรงพยาบาล
ปัญญาอ่อน ในปี 2503 มีนายแพทย์ รสชง ทัศนาญชลีเป็นผู้อำนวยการคนแรก และได้มีความเห็นว่าเด็กเหล่านี้ควรได้
รับการเพิ่มพูนสมรรถภาพทางการศึกษา จึงจัดชั้นเรียนขึ้นในโรงพยาบาล เพื่อให้เด็กช่วยตนเองในชีวิตประจำวันได้
ต่อมาโรงพยาบาลได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯพระราชทานเงินสร้างอาคาร
เรียนสำหรับเด็กปัญญาอ่อนขึ้น และพระราชทานว่า " โรงเรียนราชานุกูล " ต่อมาโรงพยาบาลได้เปลี่ยนเป็นโรงพยาบาล
ราชานุกูลด้วย
ในปี พ. ศ 2509 ได้เปิดอาคารดรุณีวัฒนาเพิ่มขึ้นสำหรับเด็กปัญญาอ่อนชั้นปฐมวัย
ใน ปี พ.ศ. 2519 มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อน ในพระบรมราชิรูปถัมถ์ ได้ก่อนตั้งโรงเรียนปัญญาอ่อนในพระบรม
ราชินูปถัมภ์อีกแห่ง และได้รับพระราชทานนามว่า " โรงเรียนปัญญาวุฒิกร '' และเปิดโรงเรียนฝึกอารักษ์สำหรับ
ปัญญาอ่อนได้ขยายออกไปจังหวัดเชียงใหม่ ชื่อ " โรงเรียนกาวิลาอนุกูล " ที่วัดม่วงแค และศูนย์พัฒนาเด็กปัญญาอ่อน
ก่อนวัยเรียนที่คลองเตย
สรุปได้ว่า

การจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทยเริ่ม ประมาณปี พ.ศ. 2482 เป็นการทำงานร่วมกันของภาครัฐกับภาค


เอกชน และเจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ จนในปัจจุบันกรมสามัญศึกษากระทรวงการศึกษาธิการ ได้กำหนดความ
พิการทางการศึกษาไว้ 9 ประเภท ได้แก่
-บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
-บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
-บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
-บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย การเคลื่อนไหว สุขภาพ
-บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
-บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
-บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านพฤติกรรม หรืออารมณ์
-บุคคลออทิสติก
-บุคคลพิการซ้อน
และได้มีการจัดการศึกษาพิเศษ 2 รูปแบบ คือ การเรียนรวม และโรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะความพิการ
รายชื่อสมาชิก

นางสาว กนกพร บุญเรือน รหัส 072


นางสาว รุ่งรวิน ด้วงนุ้ย รหัส 075
นางสาว วราภรณ์ นิยมศรี รหัส 081
นางสาว สุฎากรณ์ สายเมือง รหัส 088

You might also like