You are on page 1of 28

วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 85

แนวทางการจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ
ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ดนตรีเด็ก
The Guideline on Music Therapy Activities for Children
with Special Needs through Learning Management
Activities of Music Education for Children

รวมศักดิ์ เจียมศักดิ์1 | Ruamsak Jiemsak


ABSTRACT
Nowadays, there are several methods of potential developments
in children with special needs. One of them is the music therapy. The main
purpose of this academic article is to suggest the way of music therapy using
child-centered music learning management in children with special needs
according to the three world–class music educators namely 1) Emile
Jaques-Dalcroze 2) Zoltán Kodály, and 3) Carl Orff. This process encourages
the children to participate in the fun and interesting activities of their age.
Nevertheless, the learning management does not mainly emphasize the
music skills development, but it helps the children with special needs
develop the other aspects such as physical, emotional, social, learning, and
communicative skills.
Keywords : Music therapy, Music learning management, Children with
special needs

1อาจารย์ ประจำหลั กสู ตรดนตรี สากล คณะมนุ ษยศาสตร์ และสัง คมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลัยราชภัฏ
พระนครศรีอยุธยา
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
86 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

บทคัดย่อ
ในปัจจุบันการพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษมีวิธีการที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือ
การใช้กิจกรรมดนตรีบำบัด บทความวิชาการนี้จึงมีจุดประสงค์ในการแนะนำแนวทางการ
จัดกิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ดนตรีเด็กที่
ได้รับความนิยมแพร่หลายในระดับโลกอย่างวิธีการของ 3 นักดนตรีศึกษา ได้แก่ 1) เอมีล
ฌาคส์ ดาลโครซ 2) โซลทาน โคดาย 3) คาร์ล ออร์ฟ ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้
ดนตรีสำหรับเด็กที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กระตุ้นการมีส่วนร่วมและการลงมือทำจริง ผ่าน
การปฏิบัติกิจกรรมที่สนุกสนานตามวัย ทั้งนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้เด็กพิเศษมีพัฒนาการ
ทางด้านดนตรีเป็นหลัก หากแต่ คาดหวังการพัฒนาในด้านอื่น ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้าน
จิตใจและอารมณ์ ด้านทักษะทางสังคม ด้านการเรียนรู้และทักษะในการสื่อสาร
คำสำคัญ: ดนตรีบำบัด การจัดการเรียนรู้ดนตรีเด็ก เด็กพิเศษ

บทนำ
เด็กพิเศษเป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เช่น ความล่าช้า
ทางพัฒนาการด้านสังคม การสื่อความหมาย ภาษาและจินตนาการ มีพฤติกรรมบาง
ประการที่ไม่พึงประสงค์อย่างชัดเจน เนื่องจากหน้าที่ของสมองบางส่วนทำงานผิดปกติ
เด็กเหล่านี้มีปัญหาในการใช้ความคิดสติปัญ ญาและการรับรู้ ซึ่งมีผลทำให้เด็กสามารถ
เรียนรู้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร มีปัญหาในการสื่อสาร การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และการคบเพื่อน
จัดเป็นภาวะที่ต้องการความช่วยเหลือทุก ๆ ด้าน เพราะฉะนั้น เด็กประเภทนี้จึงควร
ได้รับการดูแลและช่วยเหลือทางด้านการศึกษาเป็นพิเศษ
การช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพในเด็กพิเศษ มีแนวทางการดูแลรักษาอยู่
พอสมควร แต่อาจยังไม่สามารถตอบสนองต่อความหลากหลายของปัญหา และความ
แตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ จึงมีการบำบัดทางเลือกเกิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางเสริมที่ช่วย
ให้การบำบัดรักษาทางการแพทย์ซึ่ง เป็น แนวทางหลักมีประสิท ธิผ ลมากขึ้ น ดัง นั้น
แนวทางเลือกหรือแนวทางเสริมนี้เองที่จ ะช่วยเติมเต็มในส่วนที่แนวทางหลักยั ง ไม่
สามารถรักษาได้ครอบคลุมในทุกด้าน
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 87

ในปัจจุบันมีศาสตร์การบำบัดทางเลือกประเภทต่าง ๆ ได้กำเนิดขึ้นมาเพื่อใช้
เป็นแนวทางเสริมสำหรับการรักษาพยาบาลตามการแพทย์แผนปัจจุบัน อย่างมากมาย
การบำบัดเหล่านี้เชื่อว่ามีผลช่วยบรรเทาและบำบัดความป่วยไข้ อาการผิดปกติ และ
ความบกพร่องต่าง ๆ ของมนุษย์ได้ ตลอดจนช่วยฟื้นฟูความผิดปกติดังกล่าวให้ดีขึ้นได้
ซึ่ง มีร ายงานการวิจ ัยสนับสนุนว่าการบำบัดทางเลือ กต่าง ๆ นั้น มีประสิทธิผ ลที่ดี
พอสมควร เช่น สุคนธบำบัด ศิลปะบำบัด นาฏบำบัด เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ยังมีการ
บำบัดประเภทหนึ่งที่มีความน่าสนใจ นั่นคือการใช้ดนตรีในการบำบัด
ดนตรีค ือทางเลือกหนึ่งที่ได้ถูกนำมาใช้บำบัดผู้ป่วยร่วมกับการแพทย์แผน
ปัจจุบัน โดยการจัดประสบการณ์ดนตรีและกิจกรรมทางดนตรีให้แก่ผู้ ป่วย เพื่อเพิ่มเติม
พัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ ตลอดจนร่างกาย และกล้ามเนื้อให้ดียิ่งขึ้น การนำ
กิจกรรมทางดนตรีไปใช้เพื่อเพิ่มพัฒนาการของเด็กพิเศษ เรียกว่าดนตรีบำบัด ซึ่งมีหลาย
วิธีการ วิธีที่น่าสนใจคือการใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ดนตรีเด็กตามวิธีการของดาล
โครซ โคดาย และออร์ฟ ที่เน้นการทำกิจกรรมสนุกสนานเป็นแนวทางในการจัดกิจ กรรม
ดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ
ลักษณะของเด็กพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่าง ๆ เช่น สติปัญญา การเรียนรู้ อารมณ์ การเข้า
สังคม ฯลฯ มักถูกเรียกเป็นภาพรวมว่าเด็กพิเศษ นอกจากคำว่าเด็กพิเศษแล้ว อาจพบคำ
อื่น ๆ ที่มีความหมายเช่นเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น คำว่า “เด็กที่มีความต้องการ
พ ิ เ ศ ษ ” , “children with special needs” “special children” และ “exceptional
children”
เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมีการแยกแยะอาการผิดปกติของเด็กพิเศษออกเป็นหลายประเภท
เช่น ดาวน์ซินโดรม (down syndrome) การบกพร่องทางการเรียนรู้ (learning disorder)
อาการหู ห นวกหรือ บกพร่ อ งในการได้ย ิ น (deaf or hard of hearing) ตาบอดหรือ
บกพร่องในการมองเห็น (blind or visually handicapped) เด็กพิการทางกาย (physically
handicapped) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ (gifted)
เด็กพิเศษคือบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ เมื่อใช้ชีวิตในสังคมทั่วไปอาจทำสิ่ง
ต่าง ๆ ได้เพียงบางส่วน ไม่สามารถทำทั้งหมดได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่อง
ทางร่างกายหรื อสมอง โดยอาจเป็ นมาตั้ งแต่ กำเนิ ดหรื อไม่ก ็ ได้ (เบญจา ชลธารนนท์ ,
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
88 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

2538: 1) เด็กประเภทนี้เป็นบุคคลที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษในหลายด้าน ทั้งในการรักษา-


พยาบาล การบริการทางสังคม และด้านการศึกษา (สาวิตรี รุญเจริญ , 2549: 17) เด็ก
พิเศษมีความเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ แตกต่างไปจากเด็กปกติอย่างเห็น
ได้ชัด คือ ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านสติปัญญา จากการที่เด็กพิเศษมี
ลักษณะของความเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ข้างต้นผิดแผกแตกต่างไปจาก
เด็กปกติ ทำให้เด็กเหล่านี้อาจเรียนร่วมกับเด็กอื่น ๆ ได้อย่างไม่เต็มที่นัก จึงจำเป็นต้อง
ให้บริการต่าง ๆ เพิ่มเติม (สุชา จันทน์เอม, 2521: 2) เด็กพิเศษไม่สามารถปฏิบัติงานใน
ชีวิตประจำวันได้ดังเช่นเด็กปกติทั่ว ๆ ไป การจัดการเรียนการสอนจึงควรมีรูปแบบที่
พิเศษ เพื่อให้ส อดคล้องและเหมาะสมกับสภาพความบกพร่องและประเภทของเด็ก
ฉะนั้น การให้การศึกษาแก่เด็กพิเศษจึงควรมีลักษณะแตกต่างไปจากเด็กปกติ ทั้งในด้าน
เนื้อหา วิธีการ และการประเมินผล (ผดุง อารยะวิญญู, 2542: 13) โดยเด็กทั้งหมดนี้ต่าง
ก็ต้องการการจัดการศึกษาและบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้พัฒนาศักยภาพของพวก
เขาให้สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (นงนุช เพชรบุญวัฒน์, 2555: 54)
อาจกล่าวให้กระชับขึ้นได้ว่า เด็กพิเศษคือเด็กที่มีลักษณะด้านใดด้านหนึ่ง หรือ
ทุกด้าน เช่น ด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา แตกต่างจากเกณฑ์เฉลี่ยของเด็ก
ปกติทั่วไป ทำให้เด็กประเภทนี้ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่มากเป็นพิเศษด้วยวิธีการเลี้ยงดู
การให้การศึกษา และการบำบัดต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น และสามารถ
ใช้ชีวิตร่วมกับผู้คนในสังคมได้อย่างปกติสุข การพัฒนาเด็กพิเศษมีหลากหลายวิธีก าร
ดนตรีคือทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาเด็กพิเศษได้ เนื่องจากดนตรีมีผล
หลายประการต่อการปรับเปลี่ยนและพัฒนามนุษย์ไปในทางที่ดี
คุณูปการของดนตรีต่อมนุษย์
ดนตรีมีผลในการรักษา บรรเทาอาการป่วย ตลอดจนสามารถกระตุ้นให้มนุษย์
เกิดพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ซึ่งในที่นี้ขอกล่าวถึงพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์
ทักษะทางสังคม การเรียนรู้ และทักษะในการสื่อสาร
ดนตรีมีผลต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอัตราการหายใจ
อัตราการเต้นของชีพจร ความดันโลหิต การตอบสนองของม่านตา ความตึง ตัวของ
กล้ามเนื้อ และการไหลเวียนของเลือด(ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา, 2550: 20) ช่วยกระตุ้นการ
ทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบกล้ามเนื้อ ทำให้สมองหลั่งสารแห่งความสุข
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 89

เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด เพิ่มกำลังในการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยนิยมใช้ในงาน


ฟื้นฟูสุขภาพคนทั่วไป พัฒนาคุณภาพชีวิต ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และเด็กพิเศษ
เป็นต้น (เสาวณีย์ สังฆโสภณ, 2541: 7, 25) ดนตรีช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากเคลื่อนไหว
ร่างกาย เด็กมักชอบเต้นรำไปตามเสียงเพลง ดนตรีช ่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนาน
เพลิดเพลินในการเคลื่อนไหวทำให้ได้พัฒนากล้ามเนื้อ และการทำงานประสานกันของ
กล้ามเนื้อ (ธวัชชัย นาควงษ์, 2543 : 63-64)
ดนตรีมีผลต่อจิตใจและอารมณ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับอารมณ์
ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด (ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา, 2550 : 21) ช่วยลดความวิตกกังวล
ลดความกลัว (เสาวณีย์ สังฆโสภณ, 2541 : 7, 25) ทำให้เกิดอารมณ์และจินตนาการ
เพลิดเพลินไปกับเสียงดนตรี จึงรู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย และสนุกสนาน เพราะดนตรีช่วย
กระตุ้นการหลั่ง สารแห่ง ความสุขจากสมองได้ (สถิตธรรม เพ็ญสุข, 2555 : 12, 66)
นอกจากนี้ การฟังเพลงช่วยทำให้สุขภาพจิตดี ช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยจิตเภทได้
(เสาวณีย์ สังฆโสภณ, 2541 : 7, 25)
ดนตรี ม ี ผ ลต่ อ ทั ก ษะทางสั ง คม เป็ น สื่ อ กลางในการเชื ่ อ มโยงสัง คมช่วย
เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล (ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา, 2550 : 20-21) การเล่น
หรือการทำกิจกรรมเป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นธรรมชาติของเด็ก การที่เด็กได้ส นุกสนาน
กับการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับเพื่อนคือความสุข ดนตรีช่วยให้เด็กบางคนที่มีปัญหาใน
การเข้าสังคมและการทำงานร่วมกับผู้อื่นให้ดีขึ้น โดยทำให้เด็กได้ร่วมปฏิบัติกิจกรรม
ดนตรีกับครูและเพื่อน ดนตรีสามารถทำให้เด็กว้าเหว่น้อยลง ลดความรู้สึกที่ตนเองเป็น
เด็กแปลกแยกในสังคม ทำให้เด็กรู้สึกเป็นปกติมากขึ้น การที่เด็กมีโอกาสได้แสดงกิจกรรม
ดนตรีบนเวทีทำให้ได้รับคำชื่นชมจากพ่อแม่ ครู เพื่อน และสังคม ทำให้เด็กภูมิใจและมี
ความพยายามในการร่วมกิจกรรมดนตรีกับผู้อื่นในโอกาสต่อไป (ธวัชชัย นาควงษ์, 2543 :
63-64) ฉะนั้น การทำกิจกรรมดนตรีจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กได้เข้าสังคม ได้เรียนรู้การใช้
ชีวิตร่วมกันผู้อื่ นในสังคม ได้เรียนรู้บทเรียนที่เป็นข้อผิดพลาดในการทะเลาะกับเพื่อน
การแย่งเครื่องดนตรี และการกระทบกระทั่งกัน ตลอดจนได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการ
แบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรมด้วยกันอย่างเป็นมิตร
ดนตรีมีผลต่อการเรียนรู้ ช่วยพัฒนาสมอง ทำให้เรียนรู้ รับรู้ และเกิดความจำ
ได้ดี โดยเฉพาะเด็กในวัย 4-7 ขวบ ซึ่งประสาทรับฟังกำลังพัฒนาเต็มที่ ทำให้เกิดสติ
ความรู้ส ึกนึ กคิ ดที่ ดี (เสาวณีย์ สัง ฆโสภณ, 2541 : 7, 25) ช่วยให้มีส ติส ั มปชั ญ ญะ
เสริมสร้างสมาธิ การรับรู้สภาพความเป็นจริง ก่อให้ความคิดสร้างสรรค์ และเสริมสร้าง
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
90 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

สติปัญญา (ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา, 2550 : 21) นอกจากนี้ ยังช่วยให้มองโลกในเชิงบวกอีก


ด้วย สำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นหรือเด็กที่มีการเรียนไม่ค่อยดีนัก เมื่อได้รับการ
บำบัดด้วยเสียงดนตรีทำให้เด็กมีประสิทธิภาพการเรียนที่ดีขึ้น ก้าวหน้าขึ้น และมีผลการ
เรียนที่ดีมากขึ้น (สถิตธรรม เพ็ญสุข, 2555 : 12, 66)
ดนตรี บ ำบั ด มี ผ ลต่ อ ทั ก ษะด้ า นภาษาและการสื ่ อ สาร เสี ย งดนตรี ช ่ วย
พัฒนาการสื่อภาษาและทักษะการเรียนรู้ที่ดีขึ้น (สถิตธรรม เพ็ญสุข, 2555 : 12, 66)
สามารถนำมาช่วยเสริมและกระตุ้นการพูดและการสื่อสารได้ อีกทั้งยังสามารถสอนให้
เด็กเรียนรู้ค ำนาม กริยา หรือวลี ผ่านบทเพลงสั้นๆ และการทำท่าทางได้ (ทวีศ ักดิ์
สิริรัตน์เรขา, 2550 : 27) การบำบัดด้วยเสียงจากการใช้การร้องเพลง สวดมนต์ และการ
ใช้เสียงพูด ช่วยให้ผู้รับการบำบัดได้ผ่อนคลายความเครียด ทุเลาจากการซึมเศร้า ช่วย
เพิ่มความมั่นใจในการสื่อสารด้วยการพูด อันเป็นปัญหาหลักของกลุ่มเด็กพิเศษ ช่วยให้
การหายใจมีจังหวะที่ดี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพูด ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีความบกพร่อง
ทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องในการสื่อสารทุกประเภท การฝึกพูดและแก้ไขการ
พูดล้วนต้องพึ่งการบำบัดด้วยเสียงหรือดนตรีเป็นสำคัญ อีกประการหนึ่ง ดนตรีทำให้เกิด
กระบวนการสื่อสารเข้าใจซึ่งกันและกันดีขึ้น สามารถเข้าใจกันโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อกลาง
ในการร่วมกิจกรรมกัน และเป็นพื้นฐานสำคัญในการที่จะพัฒนาเป็นภาษาพูดที่ดีได้ต่อไป
(ศรียา นิยมธรรม, 2555 : 52-53,71) ดนตรีช่วยสนับสนุนการฟังซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นใน
การพัฒนาทางด้านภาษา ความสนใจในเพลงอันไพเราะช่วยให้เด็กตั้งใจฟังมากขึ้นโดย
อัตโนมัติ เมื่อเด็กสนุกสนานกับดนตรีก็ทำให้อยากส่งเสียงร้องออกมาด้วยตนเอง ดนตรี
จึงช่วยให้เด็กที่อยู่ในวัยก่อนพูดได้รู้จักเพลงร้องแล้วเกิดการเลียนแบบคำร้อง ส่วนเด็กใน
วัยฝึกพูดก็จะทำให้เข้าใจความหมายของคำ และเสียงที่ผันไปตามทำนองสูงต่ำได้มากขึ้น
(ธวัชชัย นาควงษ์, 2543 : 62)
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ดนตรีมีคุณูปการต่อมนุษย์หลายประการ
ช่วยเพิ่มพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ทักษะทางสัง คม
การเรียนรู้ และทักษะทางด้านภาษาและการสื่ อสาร ด้วยเหตุนี้ ดนตรีจึงได้ถูกนำมาใช้
เป็นเครื่องมือเสริมในการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยน รักษา และพัฒนาผู้ที่มีค วามผิดปกติ
หรือบกพร่องต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วย ผู้พิการ เด็กพิเศษ เป็นต้น การนำดนตรีมาใช้ในลักษณะ
นี้เรียกว่าดนตรีบำบัด (music therapy)
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 91

ดนตรีบำบัดและรายงานการวิจัยด้านดนตรีบำบัด
ดนตรีบำบัดคือศาสตร์ที่ว่าด้วย การนำดนตรีหรือองค์ประกอบอื่น ๆ ทางดนตรี
มาประยุกต์ใช้เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ
อารมณ์ สัง คม โดยนักดนตรีบำบัดเป็นผู้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่ตั้ง ไว้ ผ่านทาง
กิจกรรมทางดนตรีต่าง ๆ อย่างมีรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจน มีหลักเกณฑ์ และระเบียบวิธี
ทางวิทยาศาสตร์ เป้าหมายของดนตรีบำบัดไม่ได้เน้นที่ทักษะทางดนตรี แต่เน้นในด้าน
พัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มา
รับการบำบัด สามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลายบริบท เช่น ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์
(ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา, 2550: 19) กิจกรรมดนตรีที่ใช้ในการบำบัด เช่น การฟังดนตรี การ
ร้องเพลง การขยับร่างกายประกอบเสียงเพลง หรือการเล่นเครื่องดนตรี เพื่อบำบัดรักษา
ฟื้นฟูผู้ป่วยทั้ง ทางจิตใจและอารมณ์ และโรคทางกาย (กลุ่มดนตรีบำบัดภาควิช าเวช
ศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , 2554: 6) ดนตรีประเภทนี้เป็น
กระบวนการของความคิ ด สร้ า งสรรค์ ท ี ่ น ำไปสู ่ พ ั ฒ นาการ เป็ น กระบวนการของ
ความสัมพันธ์และการตอบสนองระหว่างผู้ป่วย นักบำบัด และดนตรี นักดนตรีบำบัด
จะต้ อ งเป็ น ผู ้ ท ี ่ ม ี ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ แ ละมี ค วามอ่ อ นไหวในการดำเนิ น การตาม
กระบวนการของการบำบัด ช่วงเวลาในการบำบัดควรเป็นเวลาที่คนไข้รู้สึกไว้วางใจที่จะ
แสดงความรู้สึกต่อดนตรีและกิจกรรมดนตรี ซึ่งต้องถูกเลือกให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา (เจิดนภา หัตถกิจโกศล, 2542 : 12)
การนำดนตรีไปใช้ส ำหรับ เป็ นเครื ่องมือบำบั ดหรื อที ่เรี ยกว่ าดนตรี บ ำบั ด
เป็นการผสมผสานกันระหว่างดนตรีและการบำบัด โดยที่ตัวดนตรีนั้นเป็นสิ่งกระตุ้นให
เกิดการเปลี่ยนแปลง ดนตรีก่อใหเกิดความสัมพันธ์แหงการบำบัด เพื่อการเยียวยา
สู่สภาพเดิม การรักษา และการเปลี่ยนแปลงด้านจิตวิทยา สภาพจิตใจและสุขภาพกาย
เพื่อรักษาไวซึ่งพฤติกรรมที่ดีและปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพื่อพัฒนาการด้าน
ร่างกายและทักษะทางสังคม ดนตรีบำบัดมีคุณค่าต่อบุคคลทุกชวงอายุ เป็นสิ่งที่ประยุกต์
ใชได้อย่างกว้างขวางเพื่อตอบสนองต่อความผิดปกติที่หลากหลายของบุคคล สามารถ
นำไปใช้เพื่อกระตุน และสนับสนุนวิธีการรักษาอื่น ๆ ด้วย ซึ่งเป้าประสงค์หลักของดนตรี
บำบัดคือการสร้างเปลี่ ย นแปลงที่ ดี ข ึ้ น ของบุค คล เสริมสร้างการเจริญเติ บโตและ
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
92 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

พัฒนาการ ช่วยสร้างความเป็นตัวของตัวเอง ช่วยเป็นสื่อกลางสร้างความสัมพันธระหว่าง


บุคคล และช่วยส่งเสริมการเข้าสู่สังคมของบุคคล (Edith Hillman Boxill. 1985 : 5-6)
มีการรายงานการวิจัยมากมายที่ระบุว่าการบำบัดด้วยดนตรีมีผลต่อพัฒนาการ
ในด้านต่าง ๆ ของผู้รับการบำบัด ดังนี้ โดยในช่วงปี พ.ศ. 2528 – 2553 มีงานวิจัยทาง
ดนตรีบำบัดในประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 65 เรื่อง ที่ได้เผยแพร่จากสถาบันการศึกษา 5
แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อได้สังเคราะห์งานวิจั ยเหล่านี้ใน
ประเด็นวิธีวิทยาในการบำบัดด้วยดนตรี พบว่า รูปแบบวิธีการบำบัดทางดนตรีที่ใช้มาก
ที่สุด คือ กิจกรรมการฟังดนตรี (ร้อยละ 55.4) รองลงมาคือ กิจกรรมดนตรีที่หลากหลาย
ซึ่งรวมถึงกิจกรรมการฟัง การร้องเพลง การเล่นเครื่องดนตรี การเคลื่อนไหว และการ
สร้างสรรค์ (ร้อยละ 10.8) กิจกรรมดนตรีดังกล่าวใช้บำบัดผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมาก
ที่สุด (ร้อยละ 23.1) โดยส่วนใหญ่เน้นองค์ประกอบดนตรีด้านอัตราจังหวะเป็นหลักใน
การบำบัด (ร้อยละ 13.8) สำหรับทักษะดนตรีที่ใช้มากที่สุดในการบำบัดคือ ทักษะการฟัง
(ร้อยละ 67.7) โดยส่วนใหญ่เป็นการฟังผ่านดนตรีบันทึก (ร้อยละ 70.8) ซึ่งมีเป้าหมาย
เพื่อบำบัดความเจ็บปวดมากที่สุด (ร้อยละ 20) รองลงมาใช้ลดความวิตกกังวล (ร้อยละ
16.9) ในด้านการสรุปผลที่ได้จากการบำบัดทางดนตรี พบว่า ผลการวิจัยส่วนใหญ่มีความ
สอดคล้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย นั่นแสดงให้เห็นว่าดนตรีมี
ประสิทธิผลต่อการบำบัดและการส่งเสริมสุขภาพ (นัทธี เชียงชะนา และสมชัย ตระการ
รุ่งนภา, 2558: 116)
ผลการวิจัยเรื่องดนตรีบำบัดกับผู้มีอาการป่วย ดนตรีบำบัดสามารถลดระดับ
ความเครียดและความวิตกกังวลที่เกี่ยวเนื่องกับการตรวจการนอนหลับได้ ดังนั้นอาจ
เสนอเป็นทางเลือกในการผ่อนคลายให้กับผู้ป่วยที่มาตรวจการนอนหลับได้ (วรกต
สุวรรณสถิต , วิส าข์ส ิริ ตันตระกูล , เจนจิร า เพ็ง แจ่ม และนภารัตน์ อมรพุฒิส ถาพร,
2561: 82) ดนตรียังช่วยระงับความวิตกกังวลของผู้ป่วยขณะรอเข้ารับการผ่าตัดคลอดให้
ลดลงด้วย (รัตนา เพิ่มเพ็ชร์ และเบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ, 2559: 34) และช่วยลดความ
วิตกกังวลและอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งได้ (อุบล จ๋วงพานิช,จุรีพร อุ่นบุญเรือน,จันทรา
พร ลุนลุด,ทิพวรรณ ขรรศร และภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์, 2012: 46) ดนตรีบำบัดช่วยเยียวยา
ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า โดยดนตรีทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นศูนย์ควบคุมการให้รางวัลในสมอง
(Brain reward center) ของระบบลิมบิก ดังนั้น ดนตรีบำบัดเปรียบเสมือนประสบการณ์
การได้รับรางวัลอย่างทันที ทำให้ผู้รับการบำบัดเกิ ดความรู้สึกพึงพอใจกระตุ้นการหลั่ง
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 93

สารเอนโดรฟิ น (Endorphins) ช่ ว ยลดการกระตุ ้ น ประสาทอั ต โนมั ต ิ ซ ิ ม พาเทติ ก


(Sympathetic) ทำให้การหลั่งสารเอพิเนฟริน (Epinephrine) และสารนอร์เอพิเนฟริน
(Norepinephrine) ลดลง จึง ช่วยลดความวิตกกังวลและลดภาวะซึมเศร้าได้ (สราวลี
สุนทรวิจิตร, 2560: 1) นอกจากนี้ ดนตรีบำบัดยังสามารถช่วยส่งเสริมความสุขสบายใน
ผู้ป่วยขณะทำการสลายนิ่วได้ การพัฒนาแนวปฏิบัติการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อส่งเสริม
ความสุขสบายจึงมีความเหมาะสมกับผู้ป่วยขณะทำการสลายนิ่วและส่งผลลัพธ์ที่ดีกับ
ผู้ป่วยและทีมสุขภาพซึ่งส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับมากถึงมากที่สุด (ธันยมัย ปุรินัย,
2556)
ผลการวิจัยเรื่องดนตรีบำบัดกับเด็กเล็กและเด็กพิเศษ การจัดกิจกรรมดนตรี
บำบัดช่วยพัฒนาเด็กและเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี ดนตรีบำบัดที่เน้นการเคลื่อนไหว
ร่างกายประกอบเพลงร้องทำให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการในการพูด การแส ดงท่าทาง
การมีส่วนร่วมกับเพื่อนที่ดีขึ้น (ธนาภรณ์ ธนิย์ธีรพันธ์, 2547) ทำให้เด็กออทิสติกในระดับ
ปฐมวัยที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรีอย่างสม่ำเสมอ มีทักษะทางสังคมสูงขึ้นในทุก ๆ
ด้าน (รุจิพัชญ์ อภิพัฒน์กิตติกุล, 2556) ช่วยลดพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งของเด็กออทิสติกได้
ประมาณครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรี (วิชุนันท์ เชื้อเจริญ ,
2555) ตลอดจน ช่ ว ยให้ เ ด็ ก ออทิ ส ติ ก ในช่ ว งอายุ 6 – 10 ปี รั บ รู ้ แ ละตอบสนอง
องค์ประกอบของดนตรีในเรื่องจังหวะ ทำให้มีพัฒนาการเรื่องการสื่อความหมายที่ชัดเจน
มากขึ ้ น มี พ ั ฒ นาการด้ า นการพูด และเข้ า ใจการสื่ อ ความหมายได้ มากขึ้ น รวมทั้ง
พัฒนาการด้านปฏิส ัมพันธ์ทางสังคมที่ชัดเจนมากขึ้น (วรานิษฐ์ พิชิตยศวัฒน์, 2555)
อีกทั้งดนตรีบำบัดยังมีผลต่อการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กออทิส ติกให้ดีขึ้ นเป็น
ลำดับ (จิรวัฒน์ ตนุสิทธิ์ธนกุล, 2552) นอกจากนี้ ดนตรีบำบัดยังช่วยให้นักเรี ย นชั้น
ประถมศึกษา มีความฉลาดทางอารมณ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยยะสำคัญ
(สุรีย์ ดาวอุดม, 2552)
แนวคิดเรื่องดนตรีบำบัดคื อการใช้ด นตรีเป็น เครื่องมื อเสริ มในการรั ก ษา
เยียวยา พัฒนามนุษย์ในด้านต่าง ๆ ซึ่งในระยะเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมาศาสตร์ประเภท
นี้ได้มีการถูกนำมาใช้อยู่พอสมควรทั้งในแวดวงการแพทย์และแวดวงการศึกษา ทั้ง นี้
ก็เนื่องมาจากการตระหนักในคุณประโยชน์ของดนตรีบำบัด ดังจะเห็นได้จากรายงานการ
วิจัยต่าง ๆ ที่ได้อธิบายถึงผลของดนตรีบำบัดว่าช่วยในการส่งเสริมสุขภาพ บรรเทาความ
เจ็ บ ปวด ลดความวิ ต กกั ง วล ช่ ว ยพั ฒ นาเด็ ก ทางด้ า นร่า งกาย กล้ า มเนื ้ อ การพูด
การสื่อสาร อารมณ์ จิตใจ สังคม ตลอดจนด้านสติปัญญา
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
94 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

ลักษณะการจัดกิจกรรมดนตรีบำบัด
การนำดนตรีไปใช้เยียวยาผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความบกพร่องในด้านต่าง ๆ โดยการ
จัดกิจกรรมดนตรีบำบัด ควรมีการคำนึงถึงลักษณะของการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับ
บริ บ ทนั ้น ๆ โดยที่ ท รงฤทธิ ์ ศรี ส ารคาม (2559: 60-62) ได้ แ บ่ ง ลั ก ษณะการบำบัด
ออกเป็น 3 ประเภท
1. ดนตรีบำบัดประเภทรายบุคคล ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีล ักษณะพิเศษเฉพาะ
เช่น ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องและพิการทางร่างกายจนไม่อาจเข้ากิจกรรมกลุ่มกับผู้อื่นได้
เช่น บกพร่องเรื่องการรับรู้ การฟัง การอ่าน ตลอดจนผู้ป่วยที่มีปัญหาอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วย
ประเภทหลีกหนีจากสังคม ผู้ ป่วยจิตเภทบางประเภทและผู้ป่วยที่มีอาการหวาดระแวง
เป็นต้น
2. ดนตรีบำบัดประเภทกลุ่ม ใช้กรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้ที่สามารถควบคุมได้ สามารถ
รับรู้ เชื่อฟัง ปฏิบัติตามคำแนะนำ และสามารถเข้ากลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้ แม้ว่าบางครั้งอาจ
มีความเป็นส่วนตัวสูงและแยกตัวออกจากกลุ่มอยู่บ้าง ซึ่งผู้จัดกิจกรรมดนตรีบำบัดอาจ
ต้องพิจารณาและตัดสินใจว่าควรนำผู้ป่วยคนไหนเข้ากลุ่มได้หรือไม่ได้ โดยที่สังเกตจาก
พฤติกรรมของผู้ป่วยร่วมกับการตัดสินใจของผู้ค วบคุมดูแลที่ร ู้ประวัติและพฤติกรรม
ผู้ป่วยเป็นอย่างดี
3. ดนตรีบำบัดประเภทรายบุคคลและกลุ่มผสมกัน ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหา
บกพร่อง แตกต่างจากผู้ป่วยรายอื่น แต่สามารถเข้ากลุ่มได้ และในขณะเดียวกันก็ต้องการ
ความช่วยเหลือเป็นรายบุคคลในเรื่องเทคนิคบางประการของการเล่นเครื่องดนตรี การ
ออกเสียง การอ่าน เป็นต้น กระบวนการรักษาเป็นกลุ่มเป็นกระบวนการที่เหมาะกั บ
สภาพในโรงพยาบาลมากที่ส ุดทั้ง ด้านเวลา และบุคลากรเป็นผลดีที่ผ ู้ป่วยได้มีโ อกาส
สัมผัสกับบรรยากาศที่มีประโยชน์กับผู้ป่วยในด้านการเข้าสังคมเป็นอย่างดี
ลักษณะการจัดดนตรีบำบัดในการศึกษาพิเศษมีความหลากหลาย โดยที่แอด
เลอร์ (Adler, 2006) ได้อธิบายไว้ดังนี้
1. การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดแบบตัวต่อตัว (one-on-one sessions) เป็น
การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดให้กับเด็กพิเศษเป็นรายบุคคล มักเป็นการจัดกิจกรรมเสริม
นอกเวลาเรียน โดยแยกเด็กออกมาบำบัดเดี่ยวทีละคน โดยจัดกิจกรรมสัปดาห์ละครั้ง ๆ
ละประมาณ 45–60 นาที หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 95

ในการพัฒนาเด็กแต่ละคน การบำบัดในลักษณะนี้มีตอบสนองการพัฒนาเฉพาะบุคคลได้
ดี ทำให้เกิดผลลัพธ์ของการพัฒนาเด็กที่รวดเร็วกว่าการบำบัดแบบกลุ่ม
2. การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดแบบกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ (small and large
group) เป็ น การจั ด กิ จ กรรมแบบกลุ ่ ม โดยที ่ น ั ก บำบั ด ควรจั ด กลุ ่ ม เด็ ก ตามระดั บ
ความสามารถ และพื้นฐานความต้องการในระดับเดียวกัน รวมทั้งตามเป้าหมายและ
จุดประสงค์ของการบำบัดเดียวกัน ซึ่งการบำบัดในลักษณะนี้คาดหวังให้เด็กมีพัฒนาการ
ในการเรียนรู้และเกื้อหนุนให้เกิดทักษะทางสังคมเพื่อการอยู่ร่วมกันของเด็กทุกคนในกลุ่ม
3. การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดในชั้นเรียนรวม (inclusive classroom) เป็น
การเปิดโอกาสให้เด็กพิเศษได้เป็นสมาชิกคนหนึ่งของชั้นเรียนเช่นเดียวกับเด็กปกติ ได้
ร่วมปฏิบัติกิจกรรมและเรียนรู้ไปพร้อมกัน โดยนักดนตรีบำบัดจะต้องพิจารณานักเรียน
เป็นรายบุคคลตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมในลักษณะ
นี้นักดนตรีบำบัดต้องทำงานเป็นทีมร่วมกั บผู้อื่น เช่น ครู ผู้ปกครอง นักวิชาการศึกษา
พิเศษ เป็นต้น ทั้ง เพื่อส่ง เสริมให้เกิดผลลัพธ์ส ูง สุดต่อเด็กพิเศษตามเป้าหมายที่ไ ด้
กำหนดไว้
4. การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดแบบกลุ่มบูรณาการ (integrated group-music
experiences) คือ กิจกรรมดนตรีที่มีการแสดงร่วมกันกับผู้อื่น เช่น การขับร้องประสาน
เสียง การบรรเลงรวมวง แสดงละครร้อง เป็นต้น โดยที่กิจกรรมแสดงดนตรีต่าง ๆ นั้นมี
การจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในโรงเรียนอยู่เป็นปกติ นักดนตรีบำบัดมีหน้าที่ส่งเสริมและ
สนับสนุนเด็กทุกคนให้ขึ้นเวทีการแสดงดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเปิดโอกาสและ
เสริมแรงให้กับเด็กพิเศษได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ อีกด้วย
ลักษณะการจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดมีความสำคัญ คือ ทำให้ผู้จัดได้ออกแบบ
กิจกรรมให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้รับการบำบัด กิจกรรมดนตรีบำบัดที่จัดขึ้น
นอกจากต้องคำนึงถึงเรื่องลักษณะของการจัดแล้ว ยังต้องคำนึงถึงวิธีการที่ใช้ในการ
บำบัดอีกด้วย การบำบัดด้วยดนตรีมีหลายวิธีการ เช่น การฟังดนตรีสำเร็จรูปจากสื่อ
ต่าง ๆ การฟังดนตรีสดที่ผู้ให้การบำบัดเป็นผู้บรรเลงโดยผู้รับการบำบัดอาจมีส่วนร่วมใน
การร้องเพลงด้วย การบำบัดด้วยการฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรี เป็นต้น วิธีการจัดกิจกรรม
ดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษที่มีความน่าสนใจอย่างหนึ่งคือใช้การจัดการเรียนรู้ดนตรี
สำหรับเด็กเป็นเครื่องมือในการบำบัด
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
96 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

แนวคิดเรื่องการจัดการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็ก
ตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับรองวิชา
ดนตรีให้อยู่ในหลักสูตร เนื่องจากเห็นว่าดนตรีช่วยสนับสนุนศาสตร์อื่นและส่งเสริม
การทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับผู้อื่น ช่วยเสริมสร้างบุค ลิกลักษณะของคน ช่วยส่ง เสริม
จริยธรรม ช่วยพัฒนาสุขภาพร่างกายและจิตใจ อีกทั้งช่วยทำให้การสอนภาษาและวิชา
สังคมศาสตร์สนุกมากขึ้น ต่อมาวิชาดนตรีได้รับการยอมรับว่าเป็นวิชาที่มีเนื้อหาสำคัญ
เป็นของตัวเอง และบทบาทสำคัญของวิช านี้ก็คือการทำให้มนุษ ย์แต่ละคนในสัง คมมี
รสนิยมในการฟังเพลงที่ดี ดังนั้นวงการศึกษาจึงมักจัดวิชาดนตรีไว้ในกลุ่มของวิช าศิลปะ
แม้นักการศึกษาจะพยายามนำดนตรีไปช่วยในการเรียนการสอนวิชาอื่น ๆ แต่วิชาดนตรี
ก็มีเนื้อหาสาระที่มีความสำคัญและรายละเอียดมาก (ธวัชชัย นาควงษ์, 2543: 1)
ดนตรี ศ ึ ก ษาเป็ น วิ ช าการที ่ ม ี ค วามสำคั ญ ที ่ ช ่ ว ยสร้ า งและพั ฒ นาความมี
จิตวิญญาณทางดนตรีของคนในสังคมอย่างมีแบบแผน ทำให้เด็ก เยาวชน และประชาชน
ทั่วไปในทุกสังคมเกิดสุนทรียภาพในโสตศิลป์ได้อย่างดี ช่วยให้เด็กและเยาวชนเติบโตเป็น
ผู้ใหญ่ในฐานะผู้ฟังที่ดี รู้จักรักษาและดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดนตรีที่ดี สำหรับประเทศไทย
การศึกษาดนตรีในระดับก่อนอุดมศึกษา คือ 1) ระดับปฐมวัยศึกษาซึ่งตามหลักสูตร
การศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ได้มีการกล่าวถึงดนตรี เช่น การร้องเพลง การ
ปฏิบัติเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ การเคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ เพื่อให้ได้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์คือทำให้เด็กมี สนใจและมีความสุขกับจังหวะการเคลื่อนไหว
และดนตรี เป็นต้น 2) ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โดยที่ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้กำหนดให้วิชาดนตรีอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้
ศิลปะ ประกอบด้วย ทัศนศิลป์ นาฏศิลป์ และดนตรี (โสตศิลป์) ซึ่งมีแนวทางก ารศึกษา
ดนตรีไว้ชัดเจน และค่อนข้างครบถ้วน แต่มีปัญหาเรื่องระยะเวลาการเรียนที่น้อยเกินไป
(ณรุทธ์, 2561: 13, 20-21 ,165 ,251 ,282)
เมื่อกล่าวถึงระบบการศึกษาดนตรีในประเทศไทยระดับปฐมวัย ประถมศึกษา
มัธยมศึกษา จะพบว่าดนตรีได้แทรกซึมเข้าไปในหลายส่วน ได้แก่
1. ดนตรี/เพลงได้ถูกใช้เป็นสื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ เช่น
วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาลูกเสือ เป็นต้น ทั้งนี้อาจกล่าวได้
ว่าดนตรี/เพลงได้ถูกนำไปใช้เป็นสื่อการสอนในทุกรายวิชา
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 97

2. ดนตรีเป็นกิจกรรมชุมนุม ชมรม ที่จัดขึ้นนอกเหนือวิชาดนตรีในตารางเรียน


เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้น เช่น ชมรมวงโยธวาทิต ชมรมวงดนตรีสมัยนิยม
ชมรมวงดนตรีลูกทุ่ง
3. ดนตรีเป็นวิช าเรีย นในกลุ่มสาระศิล ปะ ซึ่ง ประกอบด้วย 3 วิช า ได้แ ก่
ทัศนศิลป์ นาฏศิลป์ และดนตรี
4. ดนตรีถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบำบัด หรือเรียกว่าดนตรีบำบัดนั่นเอง
ดนตรีเป็นเพื่อนของเด็ก เป็นการพัฒนาชีวิต และการพัฒนาศักยภาพความเป็น
เลิศ ของเด็ก ดนตรีจ ึง จำเป็นต่อชีวิตเด็ก เป็นวิช าที่เด็กทุกคนควรต้องเรียน เด็ก ๆ
ควรต้องรู้และสัมผัสกับดนตรี ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายและจิตใจ พัฒนา
สมอง สติปัญญา พัฒนาความจำพัฒนาความคิดและจินตนาการ พัฒนาอารมณ์และ
ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนมีความสามารถในการแสดงออกต่อสังคมได้อย่างเหมาะสม
ธรรมชาติของเด็กคือมีความชอบในเสียงต่าง ๆ ถ้าเริ่มให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรี
ให้เด็กได้ฟังดนตรี ได้ร้องเล่นเต้นรำ และเคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรีได้อย่างอิสระจะทำ
ให้เด็กซึมซับและมีความสนใจในดนตรี (สุกรี เจริญสุข, 2555: 30-31, 48, 59)
การสอนดนตรีให้กับเด็กเพื่อเป็นการพัฒนาและเติมเต็มศักยภาพของเด็กให้
สมบูรณ์ พัฒนาสมองซีกซ้ายและขวาให้เต็มศักยภาพ พัฒนาสมองให้เต็มสมอง พัฒนา
จิตใจให้เต็มหัวใจ พัฒนาร่างกายให้แข็งแรงเต็มที่ พัฒนาอารมณ์ให้มั่นคง พัฒนาด้าน
สังคมให้เป็นที่ยอมรับ และด้านสิ่งแวดล้อมให้อยู่ได้อย่างอบอุ่นและเป็นธรรมชาติ เพื่อ
ช่วยสร้างบรรยากาศการอยู่ร่วมกับคนอื่น โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง
คนกับคน เด็กทุกคนควรได้เรียนดนตรี (สุกรี เจริญสุข, 2557 :73)
ในปัจจุบันทั่วโลกมีแนวทางการจัดการเรียนรู้ดนตรีเด็กหลายวิธี ความน่าสนใจ
อยู่ที่แนวทางและวิธีการการจัดการเรียนรู้ที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย 3 นักดนตรีศึกษา
คือ 1) ดาลโครซ 2) ออร์ฟ และ 3) โคดาย ซึ่งแต่ละวิธีการมีจุดเน้นและลักษณะเด่นที่
แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ดี ทั้ง 3 วิธีตั้งเป้าหมายไปสู่การให้ประสบการณ์ทางดนตรี
แก่ผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ให้ความสำคัญกับหลักการจิตวิทยาการเรียนรู้ การศึกษาและ
ทำความเข้าใจในวิธีการสอนทั้ง 3 นี้ เป็นแนวทางช่วยให้ผู้สอนดนตรีได้ตระหนักถึง
ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ดนตรีเด็กอย่างมีหลักการ ตลอดทั้งมีความเข้าใจใน
จิตวิทยาการจัดการเรียนรู้ดนตรีเด็กได้ดีขึ้น
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
98 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

การจัดการเรียนรู้ดนตรีตามวิธีการของดาลโครซ
เอมีล ฌาคส์ ดาลโครซ (Emile Jaques-Dalcroze, ค.ศ. 1865-1950) เป็น
นักประพันธ์เพลงและนักดนตรีศึกษาชาวสวิส ผู้บุกเบิกเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายกับ
ดนตรี (movement and music) เขามีแนวคิ ด ว่าร่างกายเป็ นเครื่ องตอบสนองต่ อ
อารมณ์ดนตรีได้ดีที่สุด เมื่อเด็กได้แสดงออกทางดนตรีอย่างดื่มด่ำผ่า นการเคลื่อนไหว
ร่างกายทำให้เด็กได้คุ้นชินกับการแสดงออกนั้น ซึ่งเป็นพื้นฐานให้พวกเขามีจิตวิญญาณ
ความเป็นนักดนตรีสูงต่อไปในอนาคต หากบุคคลใดไม่ได้ฝึกการตอบสนองทางร่างกายต่อ
ดนตรีตั้งแต่เด็ก เมื่อโตขึ้นจะขาดความเป็นนักดนตรีที่สมบูรณ์ เนื่องจากการบรรเลง
ดนตรีกับการแสดงออกทางร่างกายไม่สัมพันธ์กัน (ธวัชชัย นาควงษ์, 2543 : 95)
วิธีการสอนของดาลโครซได้รับความนิยมทั่วโลก เนื่องจากสามารถทำให้ผู้เรียน
เกิ ด ความเข้ าใจในดนตรี ได้ เป็น อย่ า งดี ดาลโครซใช้ หลั กการที ่เ รีย กว่า ยูร ิ ธึมมิกส์
(Eurhythmics) คือการเคลื่อนไหวตามจังหวะที่ดี หลักการนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนา
ความรู้ส ึกของผู้เรี ยนในการตอบสนองต่อ ดนตรี และแสดงออกความรู้ส ึก นั้ น ผ่ า น
การเคลื่อนไหว ทำให้ผ ู้เรียนเข้าใจตนเอง พัฒนาการแสดงออกผ่านการเคลื่อนไหว
ร่ า งกาย นอกจากนี ้ ก ็ เ ป็ น การพั ฒ นาความคิ ด และจิ ต ใจซึ ่ ง มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ
การเคลื่อนไหวร่างกาย อารมณ์ และความรู้สึกของผู้เรียนอีกด้วย
สาระสำคัญของวิธีการสอนแบบดาลโครซตามหลักยูริธึมมิกส์ ประกอบด้วย
3 ส่วน ได้แก่ การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิส ระตามจัง หวะดนตรี (Eurhythmics)
การฝึกโสตประสาทและร้องโซลเฟจแบบโดคงที่ (fixed-do) และการคิดสร้างสรรค์ด้วย
การแต่งทำนอง จังหวะ หรือท่าทางการเคลื่อนไหวใหม่ ๆ (improvisation)
การจัดการเรียนรู้ดนตรีตามวิธีการของโคดาย
โซลทาน โคดาย (Zoltán Kodály, ค.ศ. 1882-1967) เขาเป็นบุคคลที่มีความ
โดดเด่ น ต่ อ วั ฒ นธรรมของประเทศฮั ง การี ช ่ ว งศตวรรษที ่ 20 ในฐานะที ่ เ ขาเป็ น
นักประพันธ์เพลง นักมานุษยวิทยาดนตรี ครูดนตรี และนักภาษาศาสตร์ แนวคิดการสอน
ดนตรีของเขาได้ร ับ การยอมรับในระดับสากล กลายเป็นรากฐานการสอนดนตรี ใ น
ประเทศฮังการี และมีบทบาทสำคัญในการสร้างนักดนตรีมืออาชีพ
โคดายเชื่อว่าการเรียนดนตรีเป็นเรื่องที่เป็นไปได้สำหรับเด็กทุกคน ไม่จำกัด
เฉพาะแต่กับเด็กที่มีแววทางดนตรีเท่านั้น เขาเชื่อว่าด้วยวิธีการสอนที่ดีจะสามารถทำให้
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 99

เด็ ก ได้ พ ื ้ น ฐานและทั ก ษะของการสื ่ อ สารด้ ว ยดนตรี (musical communication)


เหมือนกับการที่เด็กมีทักษะของการสื่อสารด้วยการพูด (ธวัชชัย นาควงษ์ , 2542:1)
โคดายมีกิตติศัพท์ทางด้านดนตรีศึกษา เขาสนใจการแก้ปัญหาในชั้นเรียนดนตรี และ
เขียนแผนการเรียนดนตรีในโรงเรียน รวมทั้งหนังสือด้านดนตรี ผลงานของเขาส่ง ผล
กระทบต่อแวดวงดนตรีทั้งในและนอกประเทศ ถึงแม้ว่าเขาได้ถูกยอมรับว่าเป็นผู้คิดค้น
“ระบบของโคดาย” (Kodály Method) แท้จริงแล้วเขาไม่เชิงเป็นผู้คิดค้นขึ้น หากแต่
เป็นผู้ซึ่งวางรากฐานหลักการศึกษาด้านดนตรีเสียมากกว่า โดยที่โชคซี (Choksy,1981:1)
ได้อธิบายไว้ว่าโคดายไม่ได้คิดระบบการสอนดนตรีขึ้นมา เขาเพียงพยายามสอนให้ดีที่สุด
เท่าที่ครูคนหนึ่งจะทำได้ ซึ่งลูกศิษย์และเพื่อนเกิดความประทับใจในการสอนของเขา
จึงได้รวบรวมวิธีการสอนของเขาทั้งหมดขึ้นมาเป็นรูปธรรมโดยเรียกว่าระบบของโคดาย
การสอนของโคดายเป็นวิธีการที่มีคุณูปการต่อวงการดนตรีศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นดนตรีบำบัดสำหรับเด็กออทิสติกได้เพื่อทำให้มีปฏิสัมพันธ์
กับผู้อื่น (joint attention) มากขึ้น เด็กสามารถเรียนรู้การเข้าร่วมกลุ่มผ่านกิจกรรมร้อง
เพลงพื้นบ้า นและการร้ องโซลเฟจ (solfège) (Natee Chiengchana and Somchai
Trakarnrung, 2014: 547) โคดายเน้นการใช้ดนตรีเพื่อพัฒนาปัจเจกบุคคลในเรื่องของ
สติปัญญา อารมณ์ ร่างกาย สังคม ตลอดจนการพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ เป้าหมาย
ของโคดายคือการวางรากฐานทางดนตรีให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัยเพื่อให้มีพื้นฐานที่ดี
และพั ฒ นาการเรี ย นดนตรี ไ ปได้ ไ กลโดยใช้ ก ารร้ อ งเพลงประกอบเกม /กิ จ กรรมที่
หลากหลาย เพลงที่สนุกสนานเหล่านี้ส ามารถนำไปใช้กับการศึกษาพิเศษได้ (Tiszai,
2016)
สาระสำคัญของวิธีการสอนแบบโคดายคือมุ่งเน้นการร้องเพลงแบบโดเคลื่อนที่
(movable do)และการอ่านโน้ตแบบฉับพลัน (sight-reading) เป้าหมายสูงสุดของโค
ดายคือต้องการให้เด็กเชื่อมโยงเสียงเพลงไปสู่สัญลักษณ์ทางดนตรีได้ หรือการแปลง
เสียงเพลงเป็นโน้ตดนตรีนั่นเอง (transcription)
การจัดการเรียนรู้ดนตรีตามวิธีการของออร์ฟ
คาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff, ค.ศ.1895-1982) เป็นนักประพันธ์เพลงและนักดนตรี
ศึกษาชาวเยอรมัน วิธีการสอนของเขาได้รับการรวบรวมและพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือชื่อ
Schulwerk (ชูล แวร์ค ) แปลตรงตัวได้ว่า งานที่โ รงเรียน (school work) ซึ่ง หมายถึง
การบ้านที่โรงเรียน โดยที่ณรุทธ์ สุทธจิตต์ (2561: 239)
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
100 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

เรี ย กว่ า แบบฝึ ก หั ด สำหรั บ ใช้ ใ นโรงเรี ย น แนวคิ ด ของออร์ ฟ คื อ ดนตรี (music)
การเคลื่อนไหว(movement) และการพูด (speech) เป็นสิ่งที่ต้องเป็นไปด้วยกันโดยไม่
สามารถแยกออกจากกันได้ ทั้ง สามสิ่งหลอมรวมกันเป็นสิ่งที่เรียกว่าดนตรีเบื้องต้น
(elemental music) เขาสั ง เกตว่ า เมื ่ อ เด็ ก แสดงออกทาง ดนตรี ด ้ ว ยตนเองใน
สภาพแวดล้ อ มที ่ เ ป็ น ปกติ โ ดยไม่ ม ี ก ฎเกณฑ์ ม าบั ง คั บ จะทำให้ เ ด็ ก ใช้ ด นตรี
การเคลื่อนไหว และภาษาพูดไปพร้อม ๆ กัน เด็กที่กำลังเต้นหรือรำจะร้องเพลงไปด้วย
และแน่นอนว่า เขามั กเคลื ่อ นไหวร่ างกายไปตามจัง หวะของบทเพลงโดยธรรมชาติ
(ธวัชชัย นาควงษ์, 2542 : 1)
วิธีการสอนของออร์ ฟได้ร ับ การยอมรั บอย่ างกว้างขวางในนานาประเทศ
แต่ออร์ฟไม่เชิงสนับสนุนให้ใช้เพลงของตนในการสอนเด็กชาติอื่น และเขาก็ไม่ส นับสนุน
การแปลเพลงที่เขาประพันธ์ออกเป็นภาษาต่าง ๆ เนื่องจากเพลงเหล่านั้นมีรากฐานมา
จากเพลงพื้นเมืองในประเทศที่เด็กชาวเยอรมั นคุ้นเคยเป็นอย่างดี ในขณะที่ไม่เป็นที่คุ้น
ชินกับเด็กชาติอื่น ออร์ฟส่งเสริมให้แต่ล ะประเทศนำบทเพลงประจำชาติที่เป็นเพลง
พื้นบ้านพื้นเมืองสำหรับเด็กในการสอนดนตรีของชาตินั้น ๆ (ธวัชชัย นาควงษ์, 2548 : 2)
ออร์ฟมีแนวคิดตรงกับดาลโครซหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่ องของจังหวะ
เขาให้ความสำคัญของจังหวะในการพูด จังหวะของการเคลื่อนไหวร่างกาย และจังหวะใน
ดนตรี ตลอดจนการใช้เครื่องดนตรีเครื่องกระทบ (percussion) ในการสร้างจังหวะ
และหัวใจสำคัญคือใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยการแต่งทำนองหรือจังหวะขึ้นมาใหม่
ทั้งดาลโครซและออร์ฟต่ างให้ความสำคัญในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ทาง
ดนตรี โดยที่สุกรี เจริญสุข (2557 :71-72) ก็มีความคิดที่สอดคล้องกัน เขากล่าวว่าครู
ดนตรีมีหน้าที่ส อนความคิดสร้างสรรค์ให้กับ เด็ กสร้างสรรค์ส ิ่ง ใหม่ การด้นเพลงก็
เหมือนกับการด้นชีวิต ปรับเปลี่ยนชีวิต ไม่ได้แตกต่างจากการด้นเพลง สร้างแนวใหม่
การนำคีตปฏิภาณ ดุริยปฏิภาณ เป็นการพัฒนาจินตนาการ เป็นการสร้างรสนิยม สร้าง
บรรยากาศ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนดนตรี ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เป็นบทบาท
สูงสุดของคนเรียนดนตรี เป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาดนตรี
สาระสำคัญของวิธีการสอนแบบออร์ฟคือการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของ
เด็กผ่านการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ เน้นการเคลื่อนไหวร่างกาย การ
ออกเสียง (พูด ท่อง ร้อง) ผลลัพธ์สุดท้ายของออร์ฟคือต้องการให้เด็กสามารถปฏิบตั ิคีต
ปฏิภาณได้ (improvisation)
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 101

การจัดการเรียนรู้ดนตรีเด็กและดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ
ดนตรีส ามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
ตลอดจนเด็กพิเศษได้ดี เนื่องจากสามารถสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีที่หลากหลาย
และสนุกสนาน การออกแบบกิจกรรมที่ดีของผู้สอนช่วยให้เด็กมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ
ดีขึ้นได้ โดยที่ผู้สอนหรือนักกิจกรรมควรวางเป้าหมายอย่างชัดเจนว่าต้องการช่วยเหลือ
บำบัดเด็กในเรื่องใด ดนตรีสามารถนำมาใช้เพื่อเสริมสร้างทักษะสังคมได้ โดยช่วยให้เด็ก
มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมห้องเรียนผ่านกิจกรรมดนตรีรูปแบบต่าง ๆ การละเล่นประกอบ
ดนตรีต่าง ๆ เช่น เก้าอี้ดนตรี มอญซ่อนผ้า เป็นต้น
การจัดกิ จ กรรมการเรียนรู้วิช าดนตรีและดนตรีบำบัดต่างก็มีดนตรีเข้ามา
เกี่ยวข้อง หากแต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของวัตถุประสงค์เบื้องต้น กล่าวคือ การจัด
กิจ กรรมการเรียนรู้ดนตรีมุ่งเน้นที่จ ะพัฒนาทักษะต่าง ๆ ทางด้านดนตรีเป็นสำคัญ
ในขณะที่การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดนั้น ไม่ได้ มีจุดประสงค์เพื่อทำให้เด็กมีพัฒนาการ
ทางด้านดนตรีโดยตรง แต่เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยพัฒนาผู้บำบัดในด้านอารมณ์ จิตใจ
และร่างกาย
การจัดการศึกษาดนตรีให้กับเด็กพิเศษมีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับ
สาระทางดนตรี ซึ่งผู้สอนมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจลัก ษณะความบกพร่องของ
ผู้เรียนอย่างดีพอและเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียน
เหล่านี้เกิดความรู้ด้านดนตรี ส่วนการบำบัดด้วยดนตรีหมายถึงการรักษาผู้ป่วยไม่ว่าทาง
กายหรือทางจิตด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อหรือเครื่องมือในการบำบัด
อาการป่วยนั้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น คลายกังวล หรือคลายเครียด โดยไม่ได้มุ่งหวังให้
ผู้ป่วยเรียนรู้และทำความเข้าใจในสาระดนตรีอย่างจริงจังแต่ประการใด โดยที่ผู้บำบัด
ต้องศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสาระดนตรี การบำบัดเชิงจิตวิทยา และเรื่องทาง
พฤติ ก รรมศาสตร์ อย่ า งไรก็ ต าม ในการใช้ ด นตรี บ ำบั ด นั ้ น ผู ้ ป ่ ว ยบางคนอาจมี
ความสามารถที่จะเรียนรู้ดนตรีได้ ในขณะที่ผู้ป่วยบางคนใช้ประสบการณ์ดนตรี ที่ ตน
ได้รับเพื่อช่วยให้ตนเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย อารมณ์ ความคิด หรือพฤติกรรม
ทางสังคมเท่านั้น โดยทั่วไปผู้สอนดนตรีเด็กพิเศษ จึงมิใช่ผู้ทำดนตรีบำบัดโดยตรง แต่การ
จัดการเรียนรู้ด้านดนตรีให้กับเด็กพิเศษ มีส่วนเช่นกันในการบำบัดอาการหรือพฤติกรรม
บางอย่าง เนื่องจากผลของสาระดนตรี (ณรุทธ์ สุทธจิตต์, 2541 : 65-66)
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
102 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

ความแตกต่างที ่ส ำคั ญประการหนึ่ง ระว่ างเด็ กพิ เศษกับเด็ กปกติค ือ เรื ่ อ ง


ความสามารถในการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ทั้งเด็กพิเศษและเด็กปกติล้วนคือเด็ก ดังนั้น
การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสำหรับเด็กตามแนวทางและวิธีการของดาลโครซ โคดาย และ
ออร์ฟจึงสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กพิเศษได้ โดยผู้สอนต้องปรับกิจกรรมที่
ใช้ส ำหรับเด็กปกติให้ง ่า ยลง เพื่อให้เด็ก พิ เศษสามารถปฏิบั ติ ได้ แต่ทั้ง นี้ก็ ไม่ ไ ด้ มี
จุดประสงค์โดยตรงที่จะพัฒนาทักษะทางดนตรีให้กับเด็กพิเศษ หากแต่การจัดการเรียนรู้
วิชาดนตรีสำหรับเด็กตามวิธีการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นดนตรีบำบัดเพื่อการ
พัฒนาศักยภาพของเด็กพิเศษในด้านอื่น ๆ เช่น ด้านจิตใจ อารมณ์ การฟัง การพูด
การสื่อสาร การเข้าสังคม เป็นต้น
แนวทางการจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้
ดนตรีเด็ก
กิจ กรรมดนตรีส ำหรับเด็กควรเป็นกิจกรรมที่เน้นเกี่ยวกับความสนุกสนาน
เพื่อปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อดนตรีโดยมีขั้นตอนกระบวนการที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การจัด
กิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษขึ้น ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาสาระทางดนตรี
หากแต่มีจุดประสงค์ในการสร้างความสุข และการพัฒนาเด็กในด้านอื่นนอกเหนือจาก
ด้านดนตรี
การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษที่ผู้เขียนพร้อมผู้ช่วยได้ดำเนินการ
มีลักษณะการจัดเป็นกลุ่ม คือนำเด็กพิเศษทุกประเภทเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ เด็กดาวน์
ซินโดรม เด็กออทิสติก และเด็กแอลดี จัดขึ้นที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยกิจกรรมดนตรีบำบัด
นี้ได้นำการจัดการเรียนรู้ดนตรีตามวิธีของดาลโครซ โคดาย และออร์ฟมาปฏิบัติ ขั้นตอน
ของกิจกรรมดนตรีบำบัดในแต่ละครั้ง แบ่งเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นนำ ขั้นเนื้อหา และขั้นสรุป
โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 40 นาที มีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. ขั้นนำ เป็นการเชิญชวนเด็ก ๆ เข้าสู่บทเรียน โดยผู้สอนนำภาพการ์ตูนที่
เกี่ยวกับเพลงให้เด็กดู แล้วให้ตอบคำถามว่าภาพนั้นคือภาพอะไร เพื่อให้เด็กได้ฝึกพูดและ
ออกเสียง ซึ่งเพลงที่ได้นำมาใช้ควรเป็นเพลงร้องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม คือ
สัตว์ สิ่งของ ยานพาหนะ เช่น นก เป็ด ไก่ กบ ลูกโป่ง ลูกบอล กระเป๋า เครื่องบิน เป็น
ต้น ในขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 103

ภาพที่ 1 : ทายชื่อเพลงจากภาพการ์ตูน

2. ขั้นเนื้อหา
2.1 ผู ้ ส อนอ่ า นเนื้ อ ร้ อ งให้ เ ด็ก ฟั ง และให้ เ ด็ ก พู ด ตามไปที ล ะประโยค
ทำแบบเดิม 2 รอบหรือมากกว่านี้ ต่อมาเมื่อเด็กเริ่มคุ้นเคยกับเนื้อร้อง จึงเริ่มฝึกท่องเนื้อ
เพลงให้เป็นจังหวะตามบทเพลงนั้นโดยยังไม่เน้นเรื่องทำนองเพลงที่ถูกต้อง หลังจากนั้น
จึงเริ่มฝึกร้องทำนองเพลงและจังหวะให้ถูกต้องโดยผู้สอนร้องให้ฟังทีละประโยคพร้อมทั้ง
บรรเลงคีย์บอร์ดไปด้วยเพื่อให้ได้ระดั บเสียงที่ถูกต้อง แล้วให้เด็กเลียนแบบการร้องตาม
ฝึกร้องซ้ำไปมาหลาย ๆ รอบ โดยให้เด็กพยายามร้องเพลงตามกันไป การร้องเพลงทำให้
เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ กล่าวให้ถึงที่สุดได้ว่าการร้องเพลงเป็นกิจกรรมทางดนตรีที่
จำเป็นและมีความสำคัญอย่างมากในการเรียนการสอนดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ
เด็กเล็กในระดับปฐมวัยและประถมศึกษา ในขั้นตอนนี้เป็นการใช้วิธีการของโคดายที่เน้น
การร้องเพลงและนำวิธีการยูริธึมมิกส์ของ ดาลโครซมาใช้ประกอบกัน โดยให้เด็กโยกตัว
ปรบมือตามจังหวะ หรือเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระไปรอบห้องเรียนตามเสียงร้องและ
เสียงคีย์บอร์ดของผู้สอน ควรเน้นย้ำให้เด็กพยายามเคลื่อนไหวให้ตรงจังหวะของบทเพลง
ด้วย ซึ่งวิจารณ์ พานิช และวิมลศรี ศุษิลวรณ์ (2560) ได้อธิบายถึงการเคลื่อนไหวร่างกาย
ว่าเป็นการช่วยเพิ่มพลังและความมีชีวิตชีวาของเด็ก และทำให้ไม่น่าเบื่อ ในทางสรีรวิทยา
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
104 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นการออกกำลังกาย ช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดมากขึ้น ทำให้เลือด


ไปเลี้ยงสมองมากขึ้น จึงช่วยการทำงานของสมองในการเรียนรู้ได้ดี
เพลงร้องสำหรับเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กพิเศษ ควรใช้เสียงโน้ตน้อยเพื่อให้
ร้องง่าย และมีช่วงเสียงไม่กว้างจนเกินไป ในส่วนของเนื้อร้อ งให้ใช้ภาษาที่เรียบง่ าย
ที่สำคัญคือควรเป็นเพลงที่มีขนาดสั้นมาก โดยใช้วิธีการร้องซ้ำวนไปมาเพื่อให้เด็กได้ฝึก
การพูด การออกเสียง เพลงร้องสำหรับเด็กนี้ ผู้ให้การบำบัดสามารถเลือกใช้เพลงของ
ผู้อื่นได้ หรือสามารถแต่งเพลงง่าย ๆ ขึ้นเองได้ และคิดเกมหรือกิจกรรมให้เข้ ากับเนื้อ
เพลงนั้น ๆ
ยกตัวอย่างเพลงเด็กง่าย ๆ ชื่อเพลงเครื่องบิน แต่งโดยผู้เขียน เป็นเพลงง่าย
ขนาดสั้น เหมาะสำหรับเด็ก มียาวเพียง 4 ห้องเพลง ในอัตราจังหวะ 2/4 ใช้โน้ตตัวดำ
และเขบ็ตหนึ่ง ชั้น มีเสียงโน้ตเพียง 4 เสียง คือ C, D, E และ G (โด เร มี และซอล )
สำหรับขั้นตอนนี้ใช้เวลา 10 นาที เพลงเครื่องบินมีเนื้อร้องดังนี้ “เครื่องบิน เครื่องบิน
เครื่องบิน บินไปในอากาศ”

ภาพที่ 2 : แสดงโน้ตเพลงเครื่องบิน

ภาพที่ 3 : เด็กฝึกร้องเพลง
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 105

2.2 เมื่อเด็กได้ฝึกร้องเพลงแล้ว เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายใน


การฝึกร้องเพลงวนไปมา จึงให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมประกอบเพลง โดยที่ผู้สอนเลือกใช้
กิจ กรรมที่ส อดคล้องกับเพลง เช่น การร้องเพลงเครื่องบินพร้อมการร่อนเครื่องบิน
กระดาษไปมา การร้องเพลงลูกบอลพร้อมกับการให้นักเรียนโยนลูกบอลยางรับส่ง กับ
เพื่อน ๆ เป็นต้น ในขั้นตอนนี้ใช้เวลา 10 นาที การใช้กิจกรรมหรือเกมประกอบบทเพลง
ธวัชชัย นาควงษ์ (2547:6) ได้กล่าวไว้ว่า กิจกรรมหรือเกมประกอบเพลงสามารถใช้เป็น
เครื่องดึงดูดให้เด็กได้ร้องเพลงบ่อย ๆ และจำเพลงได้เร็ว ดังนั้นในระหว่างทำกิจกรรม
หรือเกม ผู้สอนต้องหาโอกาสแทรกให้เด็กได้ร้องเพลงเสมอ บางเกมอาจให้นักเรียนร้อง
เพลงตลอดเวลาได้ แต่บางเกมที่เป็นการแข่งขันและเด็กไม่สะดวกที่จะร้องเพลงในขณะ
แข่งขันก็เอาเพลงมาแทรกให้ร้องก่อนทำการแข่งขันในรอบต่อไปเสมอ ถ้าเด็กสนุกกับเกม
แล้วก็จะยอมร้องเพลงซ้ำไปมา

ภาพที่ 4 : ปฏิบัติกิจกรรมบำบัดร่อนเครื่องบินกระดาษไปพร้อม ๆ
กับการร้องเพลงเครื่องบิน

2.3 เมื่อเด็กได้ร้องเพลงพร้อมกับกิจกรรมบำบัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ผู ้ ส อนได้ ใ ห้ โ อกาสเด็ ก ปฏิ บ ั ต ิ เ ครื ่ อ งดนตรี ป ระเภทเครื ่ อ งกระ ทบ (Percussion
Instrument) อย่างอิสระตามวิธีของออร์ฟที่เน้นการบรรเลงเครื่องกระทบ กระบวนการ
คิดสร้างสรรค์ และการด้น เครื่องดนตรีที่ใช้ ได้แก่ ระนาดไม้สำหรับเด็ ก (baby xylophone)
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
106 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

กลองมือ (hand drum) คาสทาเน็ตหรือกรับสเปน (castanets) มาราคัสหรือลูกแซ็ก


(maracas) คาวเบลล์ (Cowbell) คาบาซา (cabasa)
นอกจากนี้ เด็กยังได้ทดลองเล่นคีย์บอร์ดอย่างอิสระอีกด้วย ซึ่งเป็น
เครื่องดนตรีที่สามารถปรับเสียงเป็นเครื่องดนตรีได้หลายประเภท ทำให้เด็กมีโอกาสได้ฟัง
เสียงที่หลากหลาย ในขั้นตอนนี้ใช้เวลา10 นาที
ข้อแนะนำประการหนึ่งในขั้นตอนนี้คือ หากเด็กมีโอกาสได้บรรเลง
เครื่องดนตรีของออร์ฟ เช่น ระนาดออร์ฟ จะเป็นการช่วยฝึกด้นดนตรีได้ดี วิธีการคือถอด
ลูกระนาดที่เป็นเสียงโน้ต F และ B ออก ทำให้บนผืนระนาดออร์ฟเหลือโน้ตเพียง 5 เสียง
ได้แก่ C, D, E, G และ A ซึ่ง เป็นโน้ตในบันไดเสี ยงซีเมเจอร์ เพนทาโทนิก (C major
pentatonic scale) การบรรเลงในบันไดเสียงนี้จะทำให้เด็กสามารถด้น (improvisation)
ได้อย่างสะดวกมากขึ้น และควรมีระนาดอีกตัวหนึ่ง (นิยมใช้ระนาดเบส) บรรเลงคลอ
ทำนองเพลง (accompaniment) ซึ่ง ใช้โ น้ต 2 เสียง โทนิก (tonic) และโดมิ แ นนท์
(dominant) ซึ่งคือเสียงโน้ต C และ G โดยระนาดที่บรรเลงคลอทำนองทำหน้าที่เล่นวน
ซ้ำไปมาในลักษณะที่เรียกว่าออสตินาโต (ostinato)

ภาพที่ 5 : ตัวอย่างเครื่องดนตรีที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 107

ภาพที่ 6 : บรรเลงเครื่องดนตรีประเภท percussion อย่างอิสระ

ภาพที่ 7 : ทดลองกดเครื่องดนตรีคีย์บอร์ด
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
108 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

3. ขั้นสรุป ในช่วงท้ายกิจ กรรม ผู้ส อนกระตุ้นให้นักเรียนช่วยกัน


สรุปว่าในคาบเรียนนี้ได้เรียนอะไรบ้าง และให้เด็กๆ ได้ร้องทบทวนเพลงที่ได้เรียนตอนต้น
คาบ เพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคยกับคำร้องและทำนองเพลงมากขึ้น ในขั้นตอนนี้ใช้เวลา
5 นาที

ภาพที่ 8 : เด็ก ๆ ร้องเพลงทบทวนก่อนสิ้นสุดกิจกรรม

บทสรุป
เรื่องที่ต้องยอมรับอย่างหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางดนตรีให้กับเด็ก
พิเศษคือพวกเขาเหล่านี้สามารถเรียนรู้ส าระทางดนตรีและปฏิบัติตามกฎกติกาของ
กิจกรรมได้ไม่เทียบเท่ากับเด็กปกติ เด็กพิเศษแต่ละคนอาจมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ที่
แตกต่างกันไป กิจกรรมดนตรีบำบัดที่ เด็กได้เข้าร่วม เด็กอาจเรียนรู้และปฏิบัติตามได้
ทั้งหมด เกือบทั้งหมด เป็นบางส่วน หรือไม่ได้เลย ขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง บริบทแวดล้อมใน
ช่วงเวลานั้น ตลอดจนเทคนิคของผู้จัดกิจกรรมดนตรีบำบัด ทั้งนี้ ผู้สอนหรือผู้จัดกิจกรรม
ควรมีการประเมินหลัง จัดกิจกรรมทุกครั้ง เพื่ อทำให้ทราบถึง ปัญหา ข้อติดขัด และ
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 109

ข้อบกพร่องในการจัดกิจกรรมครั้งนั้น ๆ เพื่อนำไปปรับกลยุทธ์สำหรับการจัดกิจกรรมใน
ครั้งถัดไป
การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางดนตรีตามวิธี
ของดาลโครซ โคดาย และออร์ฟ ไม่ได้มุ่งพัฒนาเด็กพิเศษในด้านทักษะต่าง ๆ ทางดนตรี
โดยตรง หากแต่มุ่งพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษในด้านอื่น ๆ ได้แก่ การพัฒนาทางด้ าน
ร่างกาย การพัฒนาทางด้านจิตใจและอารมณ์ การพัฒนาทางด้านทักษะทางด้านสังคม
การพัฒนาทางด้านการเรียนรู้และทักษะในการสื่อสาร ทั้งนี้ก็ด้วยความคาดหวังให้พวก
เขาช่วยเหลือและดูแลตัวเองได้ มากขึ้น ตลอดจนสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
อย่างเป็นปกติสุข
การจัดกิจกรรมดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษที่ไม่อาจจัดเป็นรายบุคคลได้ด้วย
เหตุต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นต้องจัดในลักษณะเป็นกลุ่ม ทางเลือกที่ช่วยได้คือการนำการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีสำหรับเด็กตามวิธีของดาลโครซ โคดาย และออร์ฟมาใช้ ซึ่ง
วิธีของนักดนตรีศึกษาทั้ง 3 ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกและถูกใช้อย่างแพร่หลาย เป็น
แนวทางที่ถูกจริตกับทั้งเด็กทั้งหลายเพราะมีลักษณะเป็นการเรียนปนเล่น ทำให้เด็กพิเศษ
ได้เรียนรู้ผ่านการเล่นและการปฏิบัติกิจกรรม ตลอดจนเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการมีส่วนร่วมและการลงมือทำจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนา
ตนเองอย่างสูงสุดเต็มกำลัง

เอกสารอ้างอิง
กลุ่มดนตรีบำบัดภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .
2554 . แนวทางการใช้ดนตรีบําบัดสำหรับผู้ป่วยและผู้พิการทางกาย พ.ศ. 2554.
ม.ป.พ.
จิรวัฒน์ ตนุสิทธิ์ธนกุล. (2552). ผลของการจัดกิจกรรมเสริมทักษะดนตรีรายบุคคลที่มี
ต่อ การพัฒ นากล้ามเนื้อ มัดเล็ก: กรณีศึกษาเด็กออทิสติก ศูนย์ว ิจัยและ
พัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนรวมสำหรับเด็กออทิสติก โรงเรียน
สาธิ ต มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น . วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาศึ ก ษามหาบั ณ ฑิ ต
สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เจิ ด นภา หั ต ถกิ จ โกศล. (2542). ดนตรี บ ำบั ด สำหรั บ เด็ กออทิส ติ ก. วารสารการ
ศึกษาศาสตร์, 1(1), 12-14.
ทรงฤทธิ์ ศรีสารคาม. (2559). ดนตรีบำบัด.นนทบุรี: สัมปชัญญะ.
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
110 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). การบำบัดทางเลือกในเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ : คุรุสภา


ลาดพร้าว.
ณรุ ท ธ์ สุ ท ธจิ ต ต์ . (2540).กิ จ กรรมดนตรี ส ำหรั บ คร กรุ ง เทพฯ : สำนั ก พิ ม พ์ แ ห่ ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2541). จิตวิท ยาการสอนดนตรี . พิมพ์ค รั้งที่ 10. กรุง เทพฯ: จุฬ าลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
_______. (2561). ดนตรีศึกษา: หลักการและสาระสำคัญ . พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาภรณ์ ธนิย์ธีรพันธ์. (2547). การพัฒนาสัมพันธภาพของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
กิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบเพลง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธวั ช ชั ย นาควงษ์ . (2542).การสอนดนตรี ส ำหรั บ เด็ ก ตามแนวของคาร์ ล ออร์ฟ .
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
_______. (2542).การสอนดนตรี ส ำหรั บ เด็ ก ตามแนวของโคได.พิ ม พ์ ค รั ้ ง ที่ 2.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
_______. (2543). การสอนดนตรีสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
_______. (2547). เพลงแบบโคดาย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
_______. (2548). เพลงแบบออร์ฟ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นงนุ ช เพชรบุ ญ วั ฒ น์ . (2555). ความรู ้ เ กี ่ ย วกั บ การศึ ก ษาพิ เ ศษ. มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธันยมัย ปุรินัย.(2556). การพัฒนาแนวปฏิบัติการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อส่งเสริมความสุข
สบาย ในผู ้ ป ่ ว ยขณะสลายนิ ่ ว ในโรงพยาบาลศรี ส ะเกษ 2556. 31(4),
144-151.
นั ท ธี เชี ย งชะนา. (2561). บทบาทของดนตรี บ ำบั ด ในการศึ ก ษาพิ เ ศษ. วารสาร
ครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2561, 46(4), 228-243.
นัทธี เชียงชะนา และสมชัย ตระการรุ่งนภา. (2558). วิธีการบำบัดทางดนตรี: การ
วิเ คราะห์เ นื้อ หาจากงานวิจัย . วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2558; 45(2):
116-133.
บุษ กร บิณฑสันต์ . (2556). ดนตรีบำบัด . กรุง เทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬ าลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2563) 111

เบญจา ชลธารนนท์. (2538). รวมบทความวิชาการทางการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ:


สหธรรมมิก.
ภุชค์ ฉิมพิบูล และพรพรรณ แก่นอำพรพันธ์. (2560). ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วยระยะ
สุดท้า ย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2560. 15(3),
317-378.
รัตนา เพิ่มเพ็ชร์ และเบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ. (2559). ผลของดนตรีบำบัดต่อระดับ
ความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดคลอด. วารสารพยาบาลทหารบก
2559, 17(3), 34-43
รุจิพัชญ์ อภิพัฒน์กิตติกุล.(2556). ผลของกิจกรรมดนตรีที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็ก
ออทิสติกระดับปฐมวัย. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปฐมวัยศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรกต สุวรรณสถิต, วิสาข์สิริ ตันตระกลู, เจนจิรา เพ็งแจ่ม และนภารัตน์ อมรพฒิสถาพร.
(2018). การศึกษาผลของการใช้เสียงดนตรีบำบัดต่อการนอนหลับ ระดับ
ความเครียด และความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจการนอนหลับ
ตลอดคืน : การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม. วารสารรามาธิบดีเวชสาร,
41(3), 82-91.
วรานิษฐ์ พิชิตยศวัฒน์ .(2555). ประสิทธิผลของกิจกรรมดนตรีบำบัดต่อพัฒนาการทาง
สื่อความหมายและปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนออทิ สติก. วิทยานิพนธ์ปริญญา
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วิชุนันท์ เชื้อเจริญ. (2555). ผลการใช้ดนตรีแบบอิสระต่อพฤติกรรมไม่อยู่นิ่งของเด็ก
ออทิสติก. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน
การศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิจารณ์ พานิช และวิมลศรี ศุษิลวรณ์.(2560). ศาสตร์และศิลป์ของการสอน. กรุงเทพฯ:
ภาพพิมพ์.
ศรียา นิยมธรรม.(2555). ศาสตร์แห่งการบำบัดทางเลือกนครปฐม .: บริษัท ไอ คิว.บุ๊ค.
เซ็นเตอร์ จำกัด.
สถิตธรรม เพ็ญสุข .(2555) .อัจฉริยะอย่า งไอน์สไตน์ด้ว ยเสียงดนตรี : กรุง เทพฯ .
ปัญญาชน.
JOURNAL OF HUMANITIES AND SOCIAL SCIENCES
112 Vol. 8 No. 1 (January – June 2020)

สราวลี สุนทรวิจิตร.(2560). ดนตรีบำบัด: การบำบัดทางเลือกสำหรับบุคคลที่มีภ าวะ


ซึมเศร้า. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ 2560, 12 (36), 1-12.
สาวิตรี รุญเจริญ . (2549). เด็กพิเศษ กับความพิเศษของชีวิต ”. วารสารศูนย์บริการ
วิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2549. 14 (4), 13-19.
สิชฌน์เศก ย่านเดิม.วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 19,
ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2558), หน้า 21-31.แนวคิดทฤษฎีการสอนดนตรี
สุกรี เจริญสุข. (2555).ศักยภาพความเป็นเลิศทางดนตรี: ดนตรีกับเด็ก. กรุงเทพฯ :
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
_______. (2557). คู่มือครูดนตรี: ปลูกดอกไม้ในใจ. กรุงเทพฯ: หยิน หยาง การพิมพ์.
สุรีย์ ดาวอุดม. (2552). การพัฒนากิจกรรมดนตรีบำบัดแบบผสมผสานเพื่อพัฒ นา
ความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญา
ครุ ศ าสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาหลั ก สู ต รและการสอน บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
อุบล จ๋วงพานิช,จุรีพร อุ่นบุญเรือน,จันทราพร ลุนลุด,ทิพวรรณ ขรรศร และภัทรวุฒิ
วัฒนศัพท์. (2012). ผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดใน
ผู้ป่ว ยมะเร็งที่ ไ ด้ รั บยาเคมี บำบั ด . วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ 2555, 30 (1).
Adler, R. F. (2006). Goals and treatment objectives, settings, and service
delivery models for the school age years. In M. E. Humpal & C.
Colwell (Eds.), Effective clinical practice in music therapy: Early
childhood and school age educational settings. Silver Spring, MD:
American MusicTherapy Association.
Choksy, Lois. (1981). The Kodály context. NJ: Prentice-Hall Inc.
Edith Hillman Boxill. (1985). Music Therapy for the Developmentally
Disabled.Texas : Pro-ed.
Natee Chiengchana and Somchai Trakarnrung. (2014). The effect of Kodály-
based music experiences on joint attention in children with
autism spectrum disorders. Asian Biomedicine journal, 8(4), 547-555.

You might also like