You are on page 1of 15

โครงงานคุณธรรม “แบบอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอนทั้งปวง”

1. ความสำคัญของปัญหา
โครงการคุณธรรมเป็นการดำเนินงานเพื่อสืบสานพระราชปณิธาน เดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
ซึง่ ดำเนินงานตามนโยบายภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรม เพื่อให้การจัดการศึกษาสำหรับ
เยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถ เป็นคนดี คนเก่ง และมี
ความสุข ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
การพัฒนาครูและบุคลากรในโรงเรียนจึงมีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา
เพราะครูผู้มีหน้าที่ในการให้ความรู้ การอบรมสั่งสอนนักเรียนทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ผู้บริหารสถานศึกษา
และครูจึงเป็นต้นแบบในการเป็นแบบอย่างสำหรับนักเรียน ดังนั้น การปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ การมี
มนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มีความมุ่งมั่น อุทิศตนในการสอนและการพัฒนานักเรียน
จึงเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียน และสถานศึกษามีคุณภาพ “ให้โรงเรียนช่วยกันสร้าง
คนดีให้บ้านเมือง” พระราชประสงค์ในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นปณิธานที่ข้าพเจ้าได้ยึดมั่นในการกระทำ ความ
ดี เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในสถานศึกษาและบุคคลทั่วไป และจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้อง
มีวินัยในตนเอง (ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖) อีกทั้งมีคำกล่าวไว้ว่า “ผู้บริหาร
เป็นปัจจัยความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์กร” จากแนวคิดข้างต้ น ข้าพเจ้าจึงเล็งเห็นความสำคัญและ
ตระหนักคำว่า“ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี” จึงได้จัดทำโครงงานคุณธรรม “แบบอย่างที่ดี
มีค่ากว่าคำสอนทั้งปวง”
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีอย่างเต็มความสามารถ
2.2 เพื่อนิเทศการสอนและนิเทศงานอย่างสม่ำเสมอ
2.3 เพื่อส่งเสริมและยกย่องครูและนักเรียนในการทำความดี หรือกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนเป็นประจำ
2.4 เพื่อปลูกฝังความมีวินัยในตนเอง
3. กลุ่มเป้าหมาย
3.1 เชิงปริมาณ นายศานติกรศิ์ วงค์เขียว ผู้อำนวยการโรงเรียนสบปราบพิทยาคม
นายอนุเทพ ชาประดิษฐ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสบปราบพิทยาคม
นายธเนศร์ กามาด รองผู้อำนวยการโรงเรียนสบปราบพิทยาคม
3.2 เชิงคุณภาพ
3.2.1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีอย่างเต็มความสามารถ
3.2.2 เพื่อนิเทศการสอนและนิเทศงานอย่างสม่ำเสมอ
3.2.3 ส่งเสริมและยกย่องครูและนักเรียนในการทำความดี หรือกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนเป็นประจำ
4. วิธีการแก้ปัญหา
วิธีดำเนินงาน/กิจกรรม เครื่องมือในการประเมิน ระยะเวลาดำเนินงาน
1.จัดทำร่างโครงงานคุณธรรม แบบฟอร์มโครงงาน 16-20 พ.ค. 64
คุณธรรม
2.ดำเนินงานกิจกรรมตามโครงงานคุณธรรม แบบบันทึกผลการปฏิบัติ ตลอดปีการศึกษา
“แบบอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอนทั้งปวง” แบ่งออกเป็น กิจกรรมและแบบรายงาน 2564
3 กิจกรรม ได้แก่ การปฏิบัติกิจกรรม
2.1 กิจกรรม “แบบดีกว่าบอก” โดยมีวิธี
ดำเนินงาน/การปฏิบัติตน ดังนี้
2.1.1 มาโรงเรียน ก่อนเวลา 07.30 นาฬิกา
2.1.2 มายืนรับนักเรียนหน้าประตูโรงเรียน
2.1.3 มายืนเข้าแถวหน้าเสาธง ในวันจันทร์ และ
เข้าร่วมกิจกรรมประจำวันในวันอังคารถึงวันศุกร์
2.1.4 แต่งกายถูกระเบียบและตามข้อตกลง
ของโรงเรียน
2.1.5 เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในโรงเรียนและชุมชน
2.2 กิจกรรม “Coaching & Mentoring” แบบบันทึกผลการปฏิบัติ ตลอดปีการศึกษา
โดยมีวิธีดำเนินงาน/การปฏิบัติตน ดังนี้ กิจกรรมและแบบรายงาน 2564
2.2.1 เดินเยี่ยมชั้นเรียน การปฏิบัติกิจกรรม
2.2.3 ประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
2.2.4 สรุปผลและถอดบทเรียนอย่างมีส่วนร่วม
2.3 กิจกรรม "ยกย่องส่งเสริมคนดี คนเก่ง” แบบบันทึกผลการปฏิบัติ ตลอดปีการศึกษา
2.3.1 ส่งเสริมและยกย่องครูและนักเรียน กิจกรรมและแบบรายงาน 2564
ผ่านการมอบเกียรติบัตร หรือให้กำลังใจอย่างเป็น การปฏิบัติกิจกรรม
ประจำ
3. ประเมินผลการดำเนินตามกิจกรรม และสรุปรายงาน google form ประเมินผล ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่
คุณธรรมเป้าหมายและ 15-30 ตุลาคม 2564
พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก ระยะที่ 2 ระหว่าง
ด้าน “ความมีวินัย” วันที่ 15-30 มีนาคม
ตามคุณธรรมอัตลักษณ์ 2565
ของผู้บริหาร
โดยครูและนักเรียน
เป็นผู้ประเมิน
5. หลักธรรม /พระราชดำรัส /พระราชดำริ /คำสอน
5.1 หลักธรรม “อิทธิบาท 4”
ฉันทะ คือ ผู้บริหารสถานศึกษามีความเต็มใจในการปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีอย่างเต็ม
ความสามารถและนิเทศการสอนและนิเทศงานอย่างสม่ำเสมอ
วิริยะ คือ ผู้บริหารสถานศึกษามีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ประพฤติปฏิบัติตนอย่างเต็มกำลังความสามารถ
จิตตะ คือ ข้าพเจ้าเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อสิ่งที่ปฏิบัติอย่างจริงจัง
และวิมังสา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาหมั่นทบทวน ไตร่ตรอง ปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เป็นนิจ อีกทั้ง
ยอมรับคำแนะนำ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจากข้อเสนอแนะของผู้อื่น เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดประโยชน์ต่อ
ตนเอง คุณภาพนักเรียน โรงเรียน และส่วนรวมสูงสุด
5.2 ผู้บริหารโรงเรียนสบปราบพิทยาคมตั้งปณิธานและยึดมั่นสืบสานพระราชประสงค์ในหลวงรัชกาลที่ 9
“ให้โรงเรียนช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง”

6. ความเชื่อมโยงสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน
6.1 คุณธรรมเป้าหมาย ความมีวินัย
6.2 พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก
6.2.1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีอย่างเต็มความสามารถ
6.2.2 นิเทศการสอนและนิเทศงานอย่างสม่ำเสมอ
6.2.3 ส่งเสริมและยกย่องครูและนักเรียนในการทำความดี หรือกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนเป็นประจำ

7. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จและวิธีการประเมินผล
7.1 ตัวชี้วัด ผลการประเมินพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกด้านการปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีอย่างเต็ม
ความสามารถและนิเทศการสอนและนิเทศงานอย่างสม่ำเสมอ ระดับมากขึ้นไป ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
7.2 วิธีการประเมิน แบบประเมินคุณธรรมอัตลักษณ์ ด้านความมีวินัย และแบบสอบถามความคิดเห็น
เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อพฤติกรรมความเป็นผู้บริหารสถานศึกษา
7.3 เครื่องมือที่ใช้ประเมิน
7.3.1 google forms แบบประเมินคุณธรรมอัตลักษณ์ ด้านความมีวินัย
7.3.2 google forms แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อพฤติกรรมความเป็น
ผู้บริหารสถานศึกษา
7.4 ช่วงเวลาการประเมิน
ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 15-30 ตุลาคม 2564
ระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 15-30 มีนาคม 2565
8. ผลการดำเนินงาน
8.1 กิจกรรม ““แบบดีกว่าบอก”
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีอย่างเต็มความสามารถ โดยมีกิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้

ทีมฝ่ายบริหารโรงเรียนสบปราบพิทยาคมมาโรงเรียน ก่อน 07.30 น.อย่างสม่ำเสมอ ได้ปฏิบัติหน้าที่มายืน


รับนักเรียนหน้าประตูโรงเรียน พบว่า ทำให้ฝ่ายบริหารนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเอง คือ“ครองตน ครอง
คน ครองงาน” ครูมาปฏิบัติเวรประจำวันหน้าประตูโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ นักเรียนมีเปลี่ยนแปลงด้าน
พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกด้าน ความมีวินัยเพิ่มขึ้น ได้มีโอกาสพูดคุยกับครูและนักเรียน รวมทั้งได้รู้จักนักเรียน
เป็นรายบุคคลมากขึ้น
ผู้บริหารโรงเรียนสบปราบพิทยาคมมายืนเข้าแถวหน้าเสาธงในวันจันทร์และเข้าร่วมกิจกรรมประจำวัน
ในวันอังคารถึงวันศุกร์อย่างสม่ำเสมอ พบว่า ครูมาปฏิบัติได้มาปฏิบัติหน้าที่กำชับ ดูแล นักเรียนเข้าแถวร่วม
กิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ นักเรียนมีเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกด้านความมีวินัยและคุณลักษณะที่
พึงประสงค์ในการปฏิบัติตนในการเข้าแถวและทำกิจกรรมหน้าเสาธงดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งได้พบปะพูดคุยกับ
คณะครูและนักเรียนจึงทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ผู้บริหารโรงเรียนสบปราบพิทยาคมแต่งกายถูกระเบียบและตามข้อตกลงของโรงเรียน พบว่า ครู
บุคลากร และนักเรียนแต่งกายถูกระเบียบและตามข้อตกลงของโรงเรียนเป็นระเบียบเรียบร้อยเพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะการแต่งชุดลูกเสือ แต่ก็ยังมีครูและนักเรียนบางคน เป็นบางวัน ไม่แต่งกายตามระเบียบและตาม
ข้อตกลงของโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียนสบปราบพิทยาคม เป็นแบบอย่างในการเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน นอกจากหน้าที่
คือ บริหารจัดการ ผู้บริหารยังเป็นผู้ที่ต้องลงมือปฏิบัติเสมือนเป็นครูและบุคลากร โดยที่ไม่ได้คิดว่า ผู้ บริหาร
โรงเรียนไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะ วางแผน สั่งการ ติดตามการทำงานเท่านั้น พบว่า เกิดความร่วมมือในการปฏิบตั ิ
หน้าที่ของคณะครูและบุคลากร รวมทั้งนักเรียน ทำให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมาย
ผู้บริหารโรงเรียนสบปราบพิทยาคมเป็นแบบอย่างในการเข้าร่วมกิจกรรมนอกโรงเรียนหรือชุมชน เช่น
เยี่ยมบ้าน จิตอาสา องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานราชการ เป็นต้น พบว่า การปฏิบัติงานเกิดความร่วมมือ ร่วม
แรง ร่วมใจในการพัฒนาโรงเรียนมากขึ้น และเกิดความสำเร็จ ในการปฏิบัติงานตามโครงการหรือกิจกรรม
ต่างๆบรรลุตามเป้าหมาย
8.2 กิจกรรม ““Coaching & Mentoring””
ผู้บริหารโรงเรียนสบปราบพิทยาคม ได้ปฏิบัติการนิเทศการสอนและสอนงานอย่างสม่ำเสมอ โดยมี
กิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้

ผู้บริหารโรงเรียนสบปราบพิทยาคมเดินเยี่ยมชั้นเรียน นิเทศการสอนอย่างสม่ำเสมอ พบว่า ครูได้


ปฏิบ ัติห น้าที่ในการเรีย น การสอน เกิดความตระหนักในการพัฒ นาการเรี ยนการสอนและขับเคลื ่ อ น
คุณธรรมอัตลักษณ์และคุณลักษณ์ ที่พึงประสงค์ของนักเรียนมากขึ้น เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารกับครู
และนักเรียน
ผู้บริหารโรงเรียนสบปราบพิทยาคมได้ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วางแผนโดยใช้กระบวนการการมีส่วน
ร่วมจากคณะครูและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งเครือข่ายทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง พบว่า ได้องค์ความรู้
แนวทางการปรับปรุงพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา จนส่งผลให้นักเรียน คณะครูและบุคลากร ตลอดถึง
ทีมผู้บริหารที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาตนเอง และได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติในด้านต่าง ๆ
8.3 กิจกรรม "ยกย่อง ส่งเสริมคนดี คนเก่ง”
ผู้บริหารโรงเรียนสบปราบพิทยาคม ได้ “ยกย่องส่งเสริม ครูและนักเรียน คนดี คนเก่ง” เพื่อให้ครูและ
นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ ในการแสดงความสามารถและการทำความดี โดยดำเนินกิจกรรมดังนี้

กิจกรรม "ยกย่อง ส่งเสริมครูและนักเรีย นนั้น เพราะฝ่ายบริหารโรงเรียนสบปราบพิทยาคมนั้นได้


ตระหนักถึงถ้อยคำสำคัญ “แบบอย่างที่ดี มีค่ากว่าคำสอนทั้งปวง” โดยมอบเกียรติบัตรยกย่อง ชื่นชมเพราะ
เป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการ ทำความดีเพื่อความดี ให้บุคลากรครูและนักเรียนเป็นบุคลากรที่ดี
มีคุณภาพ เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง ประพฤติปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาท มีความประพฤติที่ดี เหมาะสมตาม
แนวกรอบของคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้สถานศึกษา โรงเรียนสบปราบพิทยาคมมี “คุณธรรมทุกพื้นที่ ความดี
ทั้งโรงเรียน”
9. สรุปผลการดำเนินงาน
1. คุณธรรมเป้าหมาย “ความมีวินัย” และพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก “ปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีอย่างเต็ม
ความสามารถ” พบว่า นักเรียนประเมินได้ระดับคุณภาพมากขึ้นไป ร้อยละ 89.00 และครูประเมินได้ระดับ
คุณภาพมากขึ้นไป ร้อยละ 100 ซึ่งค่าเฉลี่ยคิดเป็น ร้อยละ 94.50
2. คุณธรรมเป้าหมาย “ความมีวินัย” และพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก “นิเทศการสอนและนิเทศงานอย่าง
สม่ำเสมอ” พบว่า นักเรียนประเมินได้ระดับคุณภาพมากขึ้นไป ร้อยละ 91.00 และครูประเมินได้ระดับคุณภาพ
มากขึ้นไป ร้อยละ 96.00 ซึ่งค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 93.50
3.คุณธรรมเป้าหมาย “ความมีวินัย” และพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก “ส่งเสริมและยกย่องครูและนักเรียนในการทำ
ความดี หรือกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนเป็นประจำ” พบว่า นักเรียนประเมินได้ระดับคุณภาพมากขึ้นไป ร้อย
ละ 88.03 และครูประเมินได้ระดับคุณภาพมากขึ้นไป ร้อยละ 100 ซึ่งค่าเฉลี่ยคิดเป็น ร้อยละ 94.02
10. ข้อเสนอแนะ
11.1 ควรกำหนดตัวชี้วัดในด้านพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการประเมิน
11.2 ควรมีรูปแบบการนิเทศการสอนและสอนงาน โดยใช้กระบวนการ PLC อย่างเป็นระบบ
11.3 ควรจัดทำโครงงานคุณธรรม/กิจกรรมให้ครอบคลุมคุณธรรมเป้าหมายและพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกตาม
คุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้บริหาร “ความมีวินัย ความพอเพียง ความซื่อสัตย์สุจริต และมีจิตอาสา”
11. ผู้รับผิดชอบโครงงานคุณธรรม

ดร.ศานติกรศิ์ วงค์เขียว
ผู้อำนวยการโรงเรียนสบปราบพิทยาคม

นายอนุเทพ ชาประดิษฐ์ นายธเนศร์ กามาด


รองผู้อำนวยการโรงเรียนสบปราบพิทยาคม รองผู้อำนวยการโรงเรียนสบปราบพิทยาคม

You might also like