You are on page 1of 6

คณะนิตศิ าสตร์ วิทยาเขตสงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ

ข้อสอบปลายภาค (ภาคปกติ) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563


วิชา วิธพี จิ ารณาความแพ่ง 1 รหัสวิชา 0801351 จานวน 3 หน่วยกิต
สอบวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.00–15.30 น. คะแนนเต็ม 60 คะแนน
อาจารย์หทัยกาญจน์ กาเหนิดเพชร, อาจารย์สนัน ยามาเจริญ ผูอ้ อกข้อสอบ
------------------------------------------------------------------------------------

คาชีแ้ จง
1. ข้อสอบอัตนัยมีจานวน 3 ข้อ ๆ ละ 20 คะแนน
2. ห้ามนาเอกสารใดๆ เข้าห้องสอบและห้ามนาข้อสอบและห้ามนาข้อสอบออกนอกห้องสอบเมือ่ สอบ
เสร็จสิน้
3. ให้นสิ ติ เขียนเลขทีน่ งั่ สอบทีม่ มุ ขวาของกระดาษคาตอบ
4. ห้ามทุจริตในการสอบ หากทุจริตจะถูกปรับตกในรายวิชานี้ และดาเนินการทางวินยั นิสติ

------------------------------------------------------------------------------------

ข้อ 1. โจทก์มีภูมิลาเนาจังหวัดสงขลาส่วนจาเลยมีภูมิลาเนาอยู่ในจังหวัดพัทลุง คาฟ้องของโจทก์อ้างว่าจาเลย


เช่าที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 1234 จานวนเนื้อที่ 20 ไร่ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานี จาเลยผิดสัญญาโจทก์จึงได้
บอกเลิกสัญญาแล้ว จาเลยไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทขอให้ศาลพิพากษาขับไล่จาเลยออกไปจากที่ดิน ดังกล่าว
คาฟ้องของโจทก์ได้เสนอต่อศาลจังหวัดปัตตานี ต่อมาจาเลยยื่นคาให้การต่อสู้ว่าจาเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาท
ตามสัญญาเช่า สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุด โจทก์จึงไม่มีอานาจฟ้องขับไล่จาเลยออกจากที่ดิน พิพาทขอให้ศาลยก
ฟ้องโจทก์ ระหว่างการพิจารณาคดี นายสามได้ยื่นคาร้องสอดเข้ามาเพื่อขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม โดยคา
ร้องสอดอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1234 บางส่วนโดยจากการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง
ปรปักษ์เนื้อที่จานวน 3 ไร่ นายสามจึงยื่นคาร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับการรับรองคุ้มครองหรือบังคับตาม
สิทธิของตนที่มีอยู่ในคดีที่โจทก์ฟ้องจาเลยดังกล่าว ดังนี้
(ก) ศาลชั้นต้นจะมีคาสั่งรับคาร้องสอดของนายสามไว้หรือไม่ อย่างไร (10 คะแนน)
(ข) โจทก์เสนอคาฟ้องต่อศาลจังหวัดปัตตานีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (10 คะแนน)
แนวคาตอบ ข้อ 1.
(ก) ศาลชั้นต้นจะมีคาสั่งรับคาร้องสอดของนายสามไว้หรือไม่ อย่างไร
หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 57 (1) บุคคลภายนอกอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด (ก) ด้วยความสมัครใจเองเพื่อยังให้
ได้รับการรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ (4 คะแนน)
วินิจฉัย โจทก์ฟ้องขับไล่จาเลย อ้างว่าจาเลยผิดสัญญาเช่าจึงไม่มีอานาจอยู่ในที่ดินที่ดินที่เช่า จึงฟ้อง
ขอให้ขับไล่จาเลยออกไปจากที่ดินดังกล่าว จาเลยให้การว่าจาเลยมิได้ผิดสัญญาเช่าสัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุดจึงมี
อานาจอยู่ในที่ดินที่เช่าต่อไป ประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์จาเลยจึงมีเพียงว่าจาเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาท
ตามสัญญาเช่าหรือไม่ หรือสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จาเลยมีอยู่หรื อไม่ ไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่ากรรมสิทธิ์ใน
ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของโจทก์หรือของจาเลย การที่ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท
ดังกล่าวบางส่วน จึงเป็นการกล่าวอ้างเป็นข้อพิพาทว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าว อันเป็นข้อพิพาทกับ
โจทก์เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งสิทธิของผู้ร้องหากมีอยู่อย่างไรก็อาจฟ้องร้องต่อโจทก์ได้ ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับ
จาเลยหาได้กระทบสิทธิของผู้รอ้ งในอันทีจ่ ะทาให้ผรู้ ้องสอดเข้ามาเพือ่ ยังให้ได้รับการรับรองคุ้มครองหรือบังคับ
สิท ธิของผู้ร้อ งสอดอันเป็นสิท ธิเ กี่ ยวกรรมสิท ธิ์ในที่ ดินบางส่ วนตามคาร้องสอดดัง กล่าวได้ (เทียบเคียงคา
พิพากษาฎีกา 6757/2540) (4 คะแนน)
ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจรับคาร้องสอดของผู้ร้องในคดีนี้ไว้ได้ (2 คะแนน)

(ข)โจทก์เสนอคาฟ้องต่อศาลจังหวัดปัตตานีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร
หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 ทวิ คาฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ให้
เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ หรือต่อศาลที่จาเลยมีภูมิลาเนา (4 คะแนน)
วินิจฉัย คาฟ้องของโจทก์ซึ่งฟ้องขับไล่จาเลยออกจากที่ดินที่เช่าแม้จะมีมูลมาจากสัญญาเช่าแต่คาฟ้อง
ดังกล่าวจะต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับตัวอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นคาฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 4 ทวิ
(เทียบเคียงคาพิพากษาฎีกา 1134/2514) โจทก์จึง อาจเสนอคาฟ้องต่อศาลที่อสังหาริ มทรัพย์ตั้งอยู่ หรือที่
ภูมิลาเนาของจาเลยได้
จากข้อเท็จจริงตามปัญหาโจทก์ได้เสนอคาฟ้องต่อศาลจังหวัดปัตตานีซึ่งเป็นศาลที่อสังหาริมทรัพย์
ตั้ง อยู่ ศาลจัง หวัดปัตตานีจึงเป็นศาลที่มี เขตอานาจ โจทก์ เสนอคาฟ้องต่อศาลจังหวัดปัตตานีจึง ชอบด้วย
กฎหมายแล้ว (4 คะแนน)
ดังนี้ โจทก์เสนอคาฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดปัตตานีจึงชอบด้วยกฎหมาย (2 คะแนน)
ข้อ 2. โจทก์ฟ้องจาเลยให้ชาระหนี้เงินกู้จานวน 500,000 บาท จาเลยยื่นคาให้การปฏิเสธขอให้ศาลยกฟ้อง คดี
ไม่ มี ก ารชี้ส องสถานแต่ศาลชั้นต้น ก าหนดวันนัดสืบ พยานในวันที่ 20 กั นยายน 2562 ต่อมาในวันที่ 17
กันยายน 2562 ก่อนวันสืบพยานโจทก์ยื่นคาร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นสอบถามจาเลยแล้วจาเลยคัดค้าน
ศาลพิจารณาคาร้องขอถอนฟ้องโจทก์แล้วมีคาสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและมีคาสั่งจาหน่ายคดีโจทก์ออก
จากจากสารบบความ คาสั่งจาหน่ายคดีดังกล่าวถึงที่สุด ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า
(ก) คาสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจาหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความชอบ
ด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (10 คะแนน)
(ข) โจทก์ในคดีแรกจะฟ้องจาเลยคนเดียวกันเป็นคดีใหม่โดยอาศัยมูล เหตุเดียวกันกับคดีแรก ฟ้องคดี
ใหม่ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (10 คะแนน)

แนวคาตอบ ข้อ 2.
(ก) คาสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจาหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความชอบด้วย
กฎหมายหรือไม่ อย่างไร (10 คะแนน)
หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175
โจทก์อาจถอนฟ้อง ก่อนจาเลยยื่นคาให้การโจทก์อาจถอนฟ้องได้โดยบอกกล่าวต่อศาล
ภายหลังจาเลยยื่นคาให้การแล้ว โจทก์อาจถอนฟ้องได้โดยยื่นคาขอต่อศาลโดยทาเป็นคาร้อง ศาลจะ
อนุญาตหรือไม่ก็ได้
(1) ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจาเลยหรือผู้ร้องสอดก่อนถ้ามี... (4 คะแนน)

วินิจฉัย โจทก์ถอนฟ้องภายหลังจาเลยยื่นคาให้การแล้วโดยการคาเป็นคาร้องต่อศาล ซึ่งศาลได้แจ้งให้


จาเลยทราบแล้วโดยจาเลยได้คัดค้านคาร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ดังกล่าว แต่แม้จาเลยจะได้คัดค้านการที่ศาล
จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจอานาจของศาลที่จะอนุญาตหรือไม่ หาจาต้องฟังตามข้อ
คัดค้านของจาเลยไม่ การที่ศาลได้ฟังจาเลยแล้ว จึงได้อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจาหน่ายคดี จึงเป็นคาสั่งที่
ชอบด้วยกฎหมายแล้ว (4 คะแนน)
สรุป ดังนั้น การที่ศาลมีคาสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจาหน่ายคดีออกจากสารบบความจึงชอบด้วย
กฎหมาย (2 คะแนน)
(ข)โจทก์ในคดีแรกจะฟ้องจาเลยคนเดียวกันเป็นคดีใหม่โดยอาศัยมูลเหตุเดียวกันกับคดีแรก ฟ้องคดีใหม่
ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (10 คะแนน)
หลักกฎหมาย (4 คะแนน)
มาตรา 176
มาตรา 132 (1) 131 (2)
มาตรา 148, 144
มาตรา 173 วรรคสอง (1)
วินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นมีคาสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องกรณีดังกล่าวและจาหน่ายคดีออกจากสา
รบบความนั้น มีผลทาให้ลบล้างผลแห่งการที่โจทก์ได้ยื่นคาฟ้องไว้ทั้งนี้ตามมาตรา 176 และเมื่อศาลได้มีคาสั่ง
จาหน่ายคดีโจทก์เสียตามมาตรา 132 (1) ประกอบมาตรา 131 (2) ผลของการจาหน่ายคดีดังกล่าวเป็นกรณีที่
ศาลยังมิ ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีที่โจทก์ฟ้องมาแต่อย่างใด โจทก์จึงอาจนาคดีเดียวกั นดังกล่าวมาฟ้อง
จาเลยใหม่ภายในอายุความ แม้คาสั่งจาหน่ายคดีถึงที่สุดโจทก์นาคดีมาฟ้องจาเลยเป็นคดีใหม่ย่อมไม่เป็นฟ้อง
ซ้าตามมาตรา 148 หรือเป็นการดาเนินกระบวนพิจารณาซ้าตามมาตรา 144 ทั้งมิ ใช่ก รณีที่เ ป็นการฟ้อง
ในขณะคดีแรกอยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) แต่อย่างใด ฟ้อง
ของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้า ดาเนินกระบวนพิจารณาซ้า หรือฟ้องซ้อนแต่อย่างใด (4 คะแนน)
ดังนี้โจทก์นาคาฟ้องเรื่องเดียวกันมาฟ้องจาเลยเป็นคดีใหม่จึงไม่ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย (2 คะแนน)

ข้อ 3. คดีสามัญเรื่องหนึ่ง จาเลยที่ 1 และจาเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคาให้การ ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว


และพิพากษาให้จาเลยที่ 1 และจ าเลยที่ 2 แพ้คดีและต้องชาระหนี้ตามสัญญาเงินกู้ให้แก่โจทก์ ศาลส่งคา
บังคับให้จาเลยที่ 1 และ 2 ด้วยวิธีปกติ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2560 ณ ภูมิลาเนาของจาเลยทั้งสองตามที่ปรากฏ
ในทะเบียนราษฎร โดยกาหนดในคาบังคับให้จาเลยทั้งสองชาระหนี้ตามคาพิพากษาภายใน 30 วัน ต่อมาโจทก์
นาเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินที่เป็นของจาเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2561 และนาเจ้าพนักงานบังคับคดี
ยึดที่ดินของจาเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561
วันที่ 14 กรกฎาคม 2561 จาเลยที่ 1 และ 2 ยื่นคาขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างเหตุว่า ขณะโจทก์
ฟ้องจาเลยทั้ง 2 อยู่ต่างประเทศ เพิ่งเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561 จึงทราบว่าตนถูก
ฟ้อง จาเลยทั้งสองไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคาให้การ และจาเลยทั้งสองไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ ลายมือชื่อจาเลยที่ 1
และ 2 ในหนังสือสัญญาเงินกู้เป็นลายมือชื่อปลอม
ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคาขอพิจารณาคดีใหม่ของจาเลยที่ 1 และ 2 ในวันนัดไต่สวน ศาลไต่สวนแล้ว
วินิจฉัยว่าจาเลยที่ 1 ยื่นคาขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อพ้นกาหนดเวลาตามที่กฎหมายกาหนด ให้ยกคาขอพิจารณา
คดีใหม่ ส่วนจาเลยเลยที่ 2 สั่ง อนุญ าตให้พิจ ารณาคดีใหม่ และให้ยื่นคาให้ก ารภายใน 15 วัน จ าเลยที่ 1
อุทธรณ์คาสั่งยกคาขอพิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าตนเพิ่งกลับจากต่างประเทศเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561
จึงชอบที่จะยื่นคาขอพิจารณาคดีใหม่ได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง
การที่จาเลยที่ 1 ยื่นคาขอพิจารณาคดีใหม่ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2561 จึงชอบแล้ว
ให้วินิจฉัยว่า คาสั่ง ศาลชั้นต้นที่ ให้ยกคาขอพิจ ารณาคดีใหม่ ของจ าเลยที่ 1 และคาสั่ง อนุญ าตให้
พิจารณาคดีใหม่ในส่วนจาเลยที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวเฉลยย่อ คาตอบข้อ 3. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 จัตวา ได้กาหนดเกี่ยวกับ
ช่วงเวลาในการยื่นคาขอให้พิจารณาคดีใหม่สาหรับจาเลยที่ขาดนัดยื่นคาให้การหลังจากที่ศาลได้มีคาพิพากษา
ให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคาให้การแล้ว ซึ่งกฎหมายกาหนดช่วงระยะเวลาไว้ ดังนี้
ก. จาเลยอาจยื่นภายใน 15 วันนับ แต่วันที่ ได้ส่ง คาบังคับตามคาพิพากษาให้จ าเลยที่ ขาดนัดยื่น
คาให้การ
ข. กรณีห ากปรากฏว่าจ าเลยไม่ อ าจยื่น คาให้ก ารภายในเวลาก าหนดดัง กล่าวใน ก. ด้ วยเพราะ
พฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้ว จาเลยอาจขอภายใน 15 วัน นับแต่พฤติการณ์ที่นอกเหนือไม่
อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลง แต่อย่างไรก็ตามมิให้ยื่นเมื่อพ้นกาหนด 6 เดือน นับแต่ได้ได้ยึดทรัพย์หรือบังคับ
ตามคาพิพากษาหรือคาสั่งโดยวิธีอื่น
กรณีการที่จาเลยทั้งสองมิได้ยื่นคาขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลได้ส่งคาบังคั บ
ให้กับจาเลย โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่าศาลได้ส่งคาบังคับให้จาเลยโดยวิธี ปกติ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2560 ณ
ภูมิล าเนาของจ าเลยทั้ง สองตามที่ปรากฏในทะเบียนราษฎร ก าหนดเวลาที่ จาเลยทั้ งสองจะต้องยื่นคาขอ
พิจารณาคดีใหม่ จึงต้องยื่นภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2561 จึงเป็นการยื่นคาขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15
วันนับแต่ที่ศาลได้ส่งคาบังคับให้จาเลย อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จาเลย
อาจยื่นคาขอพิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลงได้ ตามปัญหาคาถามอาจแยก
พิจารณาจาเลยแต่ละคนได้ดังนี้
กรณีจาเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่า จาเลย 1 ไม่อาจยื่นคาขอภายในเวลาดังกล่าวได้เนื่องจากจาเลยอ้างว่า
จาเลยอยู่ต่างประเทศและเพิ่งเดินทางกลับมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561 เมื่อฟังได้ว่าจาเลยที่ 1 เพิ่งทราบ
ถึงเพราะเพิ่งเดินทางกลับประเทศไทย จึงถือว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับทาให้ไม่อาจยื่นคาขอ
ภายใน 15 วันนับแต่ศาลได้ส่งคาบังคับให้จาเลยได้ ซึ่งจาเลยที่ 1 ชอบที่ยื่นคาขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15
วันนับแต่วันที่ พฤติก ารณ์ นอกเหนือไม่ อาจบัง คับได้นั้นได้สิ้นสุดลงได้ กล่าวคือภายใน วันที่ 25 กรกฎาคม
2561 แต่อย่างไรก็ตาม จะต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีการยึดทรัพย์หรือบังคับคดีกับจาเลย 1 ด้วย
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าแม้พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นจะได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2561
ซึ่งจาเลยอาจยื่นคาขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายใน 15 วัน กล่าวคือภายในวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ก็ตาม
แต่เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ได้มีการยึดทรัพย์ของจาเลยที่ 1 แล้ว ข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ยึด
ทรัพย์ของจาเลยที่ 1 เมื่อวันที่ วันที่ 5 มกราคม 2561 เมื่อนับถึงวันที่จาเลยยื่นคาขอให้พิจารณาคดีใหม่ใน
วันที่ 14 กรกฎาคม 2561 จึงเกิน 6 เดือนนับแต่วันยึดทรัพย์ของจาเลยที่ 1 การที่ศาลยกคาร้องของจาเลยที่ 1
ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
กรณีของจาเลยที่ 2 จาเลยที่ 2 มีเหตุที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ทาให้ไม่อาจยื่นคาขอให้
พิจารณาคดีใหม่ได้เช่นเดียวกับจาเลยที่ 1 จึงอาจยื่นคาขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายใน 15 วัน นับแต่พฤติการณ์
นอกเหนือนั้นไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงได้ แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ยึดทรัพย์ของจาเลยที่ 2 กรณี
ข้อเท็จจริงเมื่อจาเลยที่ 2 ได้ยื่นคาขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2561 ซึ่งเมื่อนับจากวันที่
จาเลยที่ 2 ได้เดินทางถึงประเทศไทยและทราบถึ งการคาบังคับดังกล่า ว ยังอยู่ในระยะเวลา 15 วัน นับแต่
พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง และหากเมื่อพิจารณาแล้วจาเลยยื่นคาร้องขอพิจารณาคดีใหม่
นับแต่วันที่ศาลได้ยึดทรัพย์ของจาเลยที่ 2 แล้ว ระยะเวลายังไม่พ้นกาหนด 6 เดือน นับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์
ของจาเลยที่ 2 แต่อย่างใด กล่าวคือมีการยึดทรัพย์ของจาเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 จาเลยยื่นคาขอ
พิจารณาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2561 การที่ศาลชั้นต้นมีคาสั่งรับคาร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจาเลยที่ 2
ไว้พิจารณาจึงชอบด้วยกฎหมายทั้งนี้ ตามมาตรา 199 จัตวาแล้ว

You might also like