You are on page 1of 28

1

น.๔๖๐ นิ ติปรัชญา
ย่อหนั งสือ ของ ศ.ดร. ปรีดี เกษมทรัพย์ และ รศ. สมยศ เชือ้ ไทย
ตามแนวการสอน รศ.สมยศ และ ดร.ฐาปนั นท์
โดย นาย ปิ ยวัฒน์ อินเจริญ

(ส่วนที่ ๑)
บทที่ ๑ ข้อความคิดทัว่ ไป
๑.วิวฒ
ั นาการของความรู้
วิชาความรู้แบ่งได้เป็น ๑. ความรู้แบบสามัญสำนึก
๒. ความรู้ที่เป็นศาสตร์
ความรู้ในระดับสามัญสำนึกมีอยู่ในมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณดึกดำบรรพ์สะสมความรู้จากประสบการณ์
ชีวิตต่าง ๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับอาหารการกินและความเป็นอยู่ซึ่งเป็นความรู้ง่าย ๆ มีสาระความรู้ที่เกี่ยวข้อง
กับข้อเท็จจริงอันเกิดจากการจดจำข้อเท็จจริงและประสบพบเห็นใช้ความคิดง่าย ๆ ปฏิบัติต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ
ตามลำดับก่อนหลังและเชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผลรวมทั้งใช้วิธีการวาดภาพเชื่อมโยงเอา ความรู้ดังกล่าวนั้น
อาจจะเป็นความรู้เชื่ออย่างเข้าใจผิดก็ ได้เพราะในยุคดึกดำบรรพ์มนุษย์ยังไม่มีความสามารถในการสั งเกตและ
วิเคราะห์ยังไม่ละเอียดแม่นยำ โดยสามัญสำนึกในยุคแรกมีลักษณะ ดังนี้
๑.ความรู้ที่มาจากการประจำเป็นความรู้ที่มาจากประสบการณ์และจดจำนำมาใช้
๒.ความรู้ที่มีขอบเขตจำกัดเป็นความรู้ที่ให้ความสนใจในขณะจำกัดเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องใน
การนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องราวความเป็นอยู่หรือเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่มอาหารการ
กิน เป็นต้น
๓.ความรู้ที่นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นความรู้ที่นำมาใช้แล้วจดจำไปใช้ในคราวต่อไป
โดยสรุปแล้วความรู้แบบสามัญสำนึกเป็นความรู้ระยะแรกของมนุษยชาติเป็นความรู้ที่เกิ ดขึ้นจากการ
สั่งสมประสบการณ์ด้วยการสังเกตการจำได้หมายรู้ ซึ่งมีลักษณะเป็นธรรมดาสามัญมีความเชื่อและไม่สงสัย ไม่
มีการพิสูจน์ตรวจสอบ จึงเป็นความรู้ที่มีลักษณะจำกัดเฉพาะ
มีปัญหาในการเริ่มขึ้นอันเกิดจากความสามารถในการใช้สติปัญญาแยกแยะความรู้บางอย่างเข้าใจและ
ทำให้ถูกต้องก็จะมีระบบความคิดที่มีระบบระเบียบและมีส ารเฉพาะมากขึ้นเริ่มมีวิธีการคิดวิธีการค้นหาและ
วิธีการพิสูจน์ยืนยันความถูกต้องเป็นจริงได้
วิชาความรู้ในศาสตร์แขนงต่าง ๆ ในระยะแรกนั้นเมื่อได้รับความรู้เช่นนี้แล้วนาน ๆ ก็จะพัฒนาความรู้
ให้เป็นความรู้ทั่วไป กล่าวคือ การทำความรู้ที่เป็นรูปธรรมให้ เป็นนามธรรมและนำเอาความรู้ที่เป็นนามธรรม
เหล่านี้ไปจากรวมเข้าให้เป็นเรื่องเดียวกัน และโยงให้เข้าใจอย่างเป็นระบบวิชาความรู้จึงเริ่มต้น จากวิชา
ประยุกต์ หรือ ศาสตร์ประยุกต์ แล้วค่อย ๆ พัฒนาความรู้ทางที่ดีเป็นความรู้พิเศษ มีวิธีค้นหาและวิธีตรวจสอบ
พิสูจน์เป็นความรู้ที่ตรวจสอบหาความรู้ให้ขยายพรหมแดนออกไปได้ทางการศึกษาหรือมีความมุ่งหมายของ
ตนเอง
สรุปได้ว่าวิชาการประยุกต์นั้น แตกต่างไปจากวิชาการ หรือ ศาสตร์ทาทฤษฎีตรงที่ว่าสามารถประยุกต์
เป็นความรู้ที่ศึกษาเพื่อนำไปใช้ในทางปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันให้เกิดความรู้ความเข้าใจเป็นการ
แสวงหาความรู้อย่างบริสุทธิ์เห็นความจริง จึงเรียกว่า ศาสตร์บริสุทธิ์
ศาสตร์ในทางทฤษฎีหรือศาสตร์บริสุทธิ์ เป็นความรู้ทำให้ความรู้ขยายตัวมากขึ้นเพราะเป็นความรู้ที่
เป็นกิจกรรมทางวิชาการโดยแท้เป็นแหล่งที่มีความสามารถเฉพาะและขยายความรู้ได้ด้วยตนเองได้หรือไม่หรือ
2

อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่ามีความแข็งแกร่งในทางศาสตร์ทางทฤษฎีใดด้วยเหตุนี้วิชาปรัชญากฎหมาย หรือ วิชา


นิติปรัชญาจึงมิได้ศึกษากฎหมายที่บังคับใช้อยู่แต่ในบ้านเมืองได้ศึกษากฎหมายที่เป็นอุดมคติในกฎหมายที่ควร
จะเป็นด้วยเช่นกัน
๒.ความคิดเกี่ยวกับวิชาการหรือศาสตร์ในสมัยใหม่
ในศตวรรษที่ ๑๘ มีความคิดที่แพร่ให้ทั่วไปว่าวิทยาศาสตร์เป็นวิชาการที่ก้าวหน้าโดยเฉพาะ วิชา
คณิตศาสตร์ และ เรขาคณิตเป็นวิชาบริสุทธิ์โต้แย้งได้ยาก มีการเสนอความคิดเป็นขั้นตอนเป็นปกติ และระบบ
วิชาการหลงใหลในวิธีดังกล่าว และพยายามนำวิธีการคิดแบบวิชาคณิตศาสตร์มาใช้ในวิชาสังคมศาสตร์เพื่อให้
เกิดความก้าวหน้า อาจเรียกได้ว่าเป็นความหลงใหลในวิทยาศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์นิยม
ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ ๑๙ นักคิดในแนวนี้ได้แก่ Comte ซึ่งกล่าวว่าวิชาการที่ถูกต้องนั้นควรเริ่ม
จาก ข้อเท็จจริง ซึ่งสามารถ สังเกต ได้และอ้างว่าสัจธรรมเกิดจากความรู้ที่เรา สังเกต ได้เท่านั้น สิ่งใดเรา
สังเกตไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะไปศึกษา เพราะเป็นการเดาเท่านั้น เพราะฉะนั้น หน้าที่ของนักวิชาการแบบ
วิทยาศาสตร์จะต้อง ๑.ศึกษาค้นหาข้อมูล ๒.ศึกษาค้นหากฎเกณฑ์ ของข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์นั้น ๆ ด้วย
๒ ประการนี้จะทำให้เราได้รับรู้ความแท้จริงในเรื่องที่จากมูลอันเป็นข้อมูลเท็จจริงที่เราสังเกตได้ สิ่งที่เชื่อถือ
ไม่ได้เรียกว่า ความรู้ที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ซึ่งต้องพิสูจน์ให้เห็นเป็นประจักษ์ไม่ได้
อย่างไรก็ดีในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่ใช่วิธีเดียวในการที่จะศึกษาทาง
วิ ช าการ เป็ น การศึ ก ษาโดยวิ ธ ี ท ี ่ ไ ม่ อ าจจะนำไปสู ่ ค วามเข้ า ใจในปรากฏการณ์ ท างวั ฒ นธรรมอั น เป็ น
ปรากฏการณ์ที่ได้รับ “การปรุงแต่ง” จากจิตใจมนุษย์ได้ทั้งหมดการศึกษากระบวนการทางวัฒนธรรมจำเป็น
จะต้องอธิบายปรากฏการณ์นั้นด้ วยการตีความปรากฏการณ์หรือค้นหาความหมายของปรากฏการณ์นั้น
ประกอบไปด้วยเสมอ มิใช่เพียงแต่ศึกษาข้อเท็จจริงและค้นหากฎเกณฑ์และพรรณนาถึงกฎเกณฑ์ที่เป็นอยู่
เท่านั้น การศึกษาจะต้องศึกษาในปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดจากการปรุงแต่ง เช่นนี้ในวงวิชาการ
เยอรมันเรียกว่า”วิชาไกส์เตสวิสเซ้นชาฟ” หรือ ศาสตร์ทางวัฒนธรรม
๓.ข้อความคิดว่าด้วยศาสตร์
๓.๑ ลักษณะของศาสตร์
ความรู้ข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่องเฉพาะราว ได้แก่ความรู้ทั่วไป สามัญทั่วไปเป็นความรู้ในสิ่งที่เป็นรูปธรรม
เป็นเรื่อง เช่น รู้ว่าไฟร้ อน น้ำเย็น การจำได้หมายรู้เหล่านี้ มักมีลักษณะจำกัดเฉพาะอยู่กับปรากฏการณ์ใด
ประการหนึ่งที่ได้สัมผัสมา แล้วรับรู้ความรู้สึกเช่นนั้นมีลักษณะสำคัญสรุปได้ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นความรู้ที่มีลักษณะเป็นการทั่วไปหรือมีลักษณะเป็นนามธรรม เป็นความรู้ที่เป็นหลักวิชาการนี้
โดยทั่วไปมักได้มาจากการนำความรู้เฉพาะเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านการสังเกต จดจำ สะสมมา เข้าประสานอย่าง
เชื่อมโยงสอดคล้องกันเป็นระบบเดียวกันไม่ขัดแย้งและยกระดับความรู้เหล่านี้ให้มีลักษณะทั่วไปขึ้นมา
(๒) เป็นความรู้ที่มีลักษณะเป็นระบบ เป็นความรู้ที่มีความสอดคล้องกันและกันไม่ขัดแย้งกันและมีการ
แยกออกจากกันเป็นหมวดหมู่จากข้อย่อยสู่ข้อใหญ่ได้
(๓) เป็นความรู้ที่มีเหตุผล คือมีความสัมพันธ์สอดคล้องตามกันในทางความคิดของมนุษย์สามารถ
เข้าใจได้ด้วยสติปัญญา
(๔) เป็นความรู้ที่มีวิธีการแน่นอน ในการแสวงหาความรู้นั้นมีวิธีการในการศึก ษาค้นคว้าอาจจะ
แยกแยะลักษณะที่น่าเชื่อถือแน่นอนผลของการศึกษาค้นคว้าจากประกันความเป็นหลักทั่วไปที่ได้นอนยั่ งยืน
ตามสมควร
3

กล่าวโดยสรุป ความรู้เป็นศาสตร์ที่ต้องมีวิธีการศึกษาค้นคว้าค้นหาความรู้และมีวิธียืนยันได้ว่าความรู้
นั้นเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
๓.๒ การแบ่งหมวดหมู่ของศาสตร์
(ก) ปัญหาการแบ่งหมวดหมู่
การแบ่งหมวดหมู่และการจัดระบบของศาสตร์ต่าง ๆ ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงปัจจุบัน มีข้อ
โต้แย้งทางวิชาการว่า การที่ศาสตร์ต่าง ๆ แยกออกจากกันได้อย่างไร การแยกประเภทของศาสตร์ต่าง ๆ โดย
อาศัยปรากฏการณ์หรือวัตถุที่ศึกษาตามที่กล่าวมานั้นมีปัญหาว่าการแยกออกจากกันได้ขาดจริงหรือ เพราะ
วิชาการหรือศาสตร์บางกลุ่มก็ต้องศึกษาค้นคว้าถึงสิ่ งเดียวกัน เช่น การศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับมนุษย์ก็
อาจมีการศึกษาในวิช าต่าง ๆ หลายวิช าคือ วิช าชีว วิทยาวิทยา ในทางวิทยาศาสตร์ธ รรมชาติ และวิช า
เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ในทางวิชาวัฒนธรรมเป็นต้น
ความเห็นแรก มีความเห็นว่าการที่สามารถแบ่งหมวดหมู่และจั ดระบบทางวิชาการหรือศาสตร์ต่าง ๆ
นั้นหาใช่เพราะว่าปรากฏการณ์ หรือวัตถุ แต่จัดทำโดยพิจารณาจาก แง่มุม ที่ศึกษาหรือวัตถุนั้น กล่าวคือ
วัตถุป ระสงค์ หรือ หน้าที่ ของศาสตร์นั้นแตกต่างกัน อาจจะกล่าวได้ว่าศาสตร์ต่าง ๆ แตกต่างกันเพราะ
จุดประสงค์ หรือ หน้าที่ของศาสตร์เหล่านั้นแตกต่างกัน
ความเห็นที่สอง มีความเห็นว่าวิชาการหรือต่าง ๆ แตกต่างกันจนสามารถแยกออกจากกันได้นั้นเป็น
เพราะ วิธีการ ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในแต่ละวิชาแตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากเคยมีผู้เอาวิธีการดังกล่าวนี้
นั้นไปการตั้งปัญหา การสังเกต และการตั้งข้อสมมติฐานรวมทั้งการทดลองมาใช้ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ
เท่าที่ควร เพราะ สภาพทางวัฒนธรรมนั้นศึกษาถึงปรากฏการณ์ที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้นมาด้วยจิตของตน ไม่
สามารถเป็นตามกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวได้ นอกจากศึกษาเพื่อค้นหา “ความน่าจะเป็น” เท่านั้น
จะเห็นได้ว่าศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแขนงเคมีเมื่อเอาถ้า ๒ ธาตุมารวมกันจะเกิดธาตุที่
รวมขึ้นเหมือนกันทุกครั้ง หรือในวิชาฟิสิกส์เมื่อโยนจากวัตถุที่สูง ตกสูงที่ต่ำทุกครั้ ง จึงถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว
แต่ในทางวิชาธรรมศาสตร์ หรือศาสตร์ทางวัฒนธรรมทำให้เห็นว่าเมื่อ นาย ก ลักทรัพย์ ผู้อื่นไปเขาควรถูก
ลงโทษ ในกรณีทรัพย์ของผู้อื่นไปจริง ๆ นาย ก อาจจะตายก่อนหรือตำรวจสืบจับไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้นั้น
เป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ในความเห็น ที่สองนี้ จึงให้ความเห็นว่าศาสตร์ ต่าง ๆ น่าจะแตกต่างกันที่ วิธีการ ใน
การศึกษาค้นคว้าความรู้เป็นสำคัญ
สรุปได้ว่าการแบ่งหมวดหมู่และการจัดระบบของศาสตร์นั้นอาจจะทำได้โดยอาศัย ๑. วัตถุที่ศึกษา ๒.
ของวัตถุที่ศึกษา ๓. จุดประสงค์ของการแสวงหาความรู้หรือหน้าที่ของวิ ชา ๔. วิธีการที่ใช้ในการศึกษาค้นหา
ความรู้
(ข) การแบ่งหมวดหมู่ตามแนวคิดของ วิลเฮล์ม วุ้นท์
ได้แบ่งศาสตร์ทั้งหลายของโลกนี้ออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ ศาสตร์เฉพาะ และศาสตร์สากลหรือ
ปรัชญา การที่วิชาหรือศาสตร์ต่าง ๆ ในโลกนี้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ก็เนื่องมาจากการแสวงหาความรู้ที่
เกี่ยวกับโลกและชีวิตนั้นอาจจะทำได้โดยการพิจารณาถึงสิ่งที่ต้องการศึกษาด้วยวิธีที่มองโลกในส่วนใดส่วนหนึ่ง
เฉพาะส่วนนั้น ๆ เราเรียกว่าวิชาเฉพาะ เช่น วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เป็นต้น
ซึ่งมีความรู้ที่มีขอบเขตจำกัดเฉพาะส่วนจึงเป็นความรู้ที่อยู่ในวงจำกัด ๆ และไม่สมบูรณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงความคับ
แคบของความรู้ที่จะต้องศึกษาหาความรู้ในแง่ของวิชาปรัชญา กล่าวคือเราต้องพยายามศึกษาโลกอย่างไม่แยก
ส่วนเรียกว่า “ทั้งมวล”
4

ศาสตร์เฉพาะ คือวิชาที่นำเอาปรากฏการณ์ ประเภทใดประเภทหนึ่ง มาศึกษาโดยมีอยู่ ๒ ประเภท


ด้วยกันคือ ๑.ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และ ๒.ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม
๑.ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์ของสิ่งที่มีอยู่คงอยู่ และเปลี่ยนแปลงไปโดยตัวของมัน
เองโดยมนุษย์ไม่ได้เข้าไปมีส่วนปรุงแต่ง หรือประดิษฐ์ขึ้นมา วิชาที่นำเอาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมาศึกษา
จึงเรียกว่าวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ได้แก่ วิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี วิชาชีววิทยา เป็นต้นโดยศึกษาค้นพบกฎเกณฑ์
ที่ตายตัวและแน่นอนทางธรรมชาติเหล่านั้นหรืออาจเรียกกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่นกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์
กฎเกณฑ์ทางเคมี เป็นต้น
๒.ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม เป็นปรากฏการณ์ที่มีขึ้นเกิดขึ้ นและวิทยาการเปลี่ยนแปลงไปโดย
มนุษย์มีส่วนร่วมปรุงแต่งตามจิตของตน กล่าวคือเป็นปรากฏการณ์ที่มีความหมายหรือจุดประสงค์ เช่นการ
มนุษย์นำเอาวัตถุทางธรรมชาติมาเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ โดยมีความมุ่งหมายหรือ
มีจดุ ประสงค์เพื่อให้เป็นประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการศึกษาเรียกว่า Cultural science เป็นวิชาที่นำเอา
วัตถุประสงค์ของตนมาศึกษาแบ่ง ออกเป็น ๒ แขนงด้วยกัน ๑ สังคมศาสตร์ ๒ มนุษยศาสตร์ และในแต่ละ
แขนงนั้นก็ยังแยกออกเป็นหลายสาขาด้วยกัน
วิชามนุษยศาสตร์ ถ้าเป็นการศึกษามนุษย์เช่นเดียวกันกับร่างกาย ได้แก่ วิชาอนาโตมี่ เกี่ย วกับจิตใจ
ได้แก่ จิตวิทยาวิชานี้ไม่ใช่วิชามนุษยศาสตร์ มนุษยศาสตร์ที่เป็นวิชาเพราะมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ใน
ศตวรรษที่ ๑๑ ถึงศตวรรษที่ ๑๒ และเฟื่องฟูในศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ เรียกว่า ลัทธิขบวนการนักทีม่ นุษยนิยม ซึ่ง
ก่อตัวขึ้นในประเทศอิตาลี เพราะตามความเชื่ อว่ามนุษย์นั้นมีบาปมาตั้งแต่กำเนิด พยายามจะเข้าไปสู่ดินแดน
สวรรค์ร่วมกับพระเจ้าอย่างเดิมทำนองเดียวกันกับพระพุทธศาสนามุ่งไปสู่นิพพานจนในช่วงศตวรรษที่ ๑๑-๑๒
นั้นประเทศอิตาลีนั้นมีความเป็นเมืองขึ้นมา ชีวิตเริ่มมีความสุขสบายมากขึ้น มีการค้าขายเมื่อมีความสุขเช่น นี้
มนุษย์จึงมีเวลาว่างพอที่จะศึกษาหาความรู้ ดังกล่าวนี้จึงกลายเป็นความคิดมนุษย์นิยมอย่างปัจจุบันพวกลัทธิ
มนุษยนิยมนั้นยกย่องผลงานสร้างสรรค์ของกรีก ว่าเป็นยอดของวิชาเป็น Classic คือเป็นแบบฉบับ การตั้ง
โรงเรียนสอนไม่เพียงแต่ศึกษาคัมภีร์อย่างเดียวแต่ยังศึกษาเรียกว่าวิชา ศิลปศาสตร์ ทำให้คนเป็นผู้รู้ถึงคุณค่าที่
จะชื่นชมในสิ่งที่ดี ทำให้มนาย์บูรณ์เป็นการปลูกฝังความนิยมสิ่งที่ดี ไม่ใช่เรียนไปเพื่อประกอบอาชีพอย่างเดียว
ส่วน วิชาสังคมศาสตร์ นั้นมีวัตถุในการศึกษาคือสังคมมนุษย์เกิดขึ้นโดยเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ เป็น
วิชาที่เกิดขึ้นในสมัยใหม่ ซึ่งเป็นยุคที่วิทยาศาสตร์หรือศาสตร์ทางธรรมชาติกำลังเฟื่องฟู จึงพากันคิดว่า
สังคมศาสตร์เป็นศาสตร์ทางข้อเท็จจริงอย่างวิทยาศาสตร์ด้วย คือเป็นวิชาที่ศึกษาโดยการสังเกต ทดลอง การ
ใช้เหตุผล ดังนั้น วิชาสังคมศาสตร์จึงต้องสังเกตข้อเท็จจริงที่เป็นตัวตน สามารถสัมผัส คำนวณได้ ดังนั้น จึงอยู่
ภายใต้กฎเกณฑ์แห่งเหตุและผลมีความเป็นเหตุและผลในตัวของตัว เองนักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหา
ความสัมพันธ์เหล่านี้ความเชื่อเช่นนี้จึงเรียกว่า scienific spirit
จากความเชื่อจึงทำให้เกิดความสงสั ยว่า นิติศาสตร์ เป็นวิชาสังคมศาสตร์หรือไม่ ซึ่งยังมีประเด็นที่ยัง
เป็นปัญหาในวงวิชาการ นักวิชาการในภาคพื้นยุโรปไม่ ยอมรับว่า วิชานิติศาสตร์ เป็นวิชาสังคมศาสตร์เพราะ
นิติศาสตร์เกิดขึ้นและมีอยู่มานับพันปีแล้ว นอกจากนี้ยังเห็นได้ว่าวิชานิติศาสตร์โดยแท้ เป็นคนละเรื่องกับจาก
ทางข้อเท็จจริงเพราะวิชานิติศาสตร์โดยแท้เป็นวิชากฎหมายในฐานะที่เป็น แบบแผน ความประพฤติ ของคน
ในสังคมว่า ถูก หรือผิดอย่างไร ไม่ได้ศึกษาในข้อเท็จจริงดั่งเช่น วิชาสังคมศาสตร์ในสมัยใหม่

บทที่ ๒ นิติศาสตร์
5

ในการพิจารณาการแบ่งหมวดหมู่ของศาสตร์ต่าง ๆ แล้ วจะพบว่า วิชานิติศาสตร์เป็นวิชาที่นำเอา


กฎหมายที่เป็น ปรากฏการณ์ที่มนุษย์ป รุงแต่งขึ้นด้ว ยจิตใจมาศึกษาจึงเป็นศาสตร์ที่เรียกว่าศาสตร์ทาง
วัฒนธรรม ในการศึกษากฎหมายนั้นแบ่งวิชานิติศาสตร์โดยพิจารณา ๒ประการคือ (ก) พิจารณาจากแง่มุมใน
การศึกษา (ข) พิจารณาจากวิธีการศึกษา
(ก) การแบ่งวิชานิติศาสตร์ตามแง่มุมในการศึกษา
วิชานิติศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษากฎหมายซึ่งเป็นวัตถุในการศึกษาอย่างเดียวกันแต่อาจมีมุมมองที่
แตกต่างกันได้จึงแบ่งสาขาวิชานิติศาสตร์ได้ ดังต่อไปนี้
๑. นิติศาสตร์ในแง่แบบแผน (legal science of norms)
วิชานิติศาสตร์แขนงนี้เป็น วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (Legal science of norms)ในลักษณะของกฎหมาย
วิชานิติศาสตร์โดยแท้จึงเป็นการสอนและศึกษากฎหมายในฐานะเป็นกฎเกณฑ์แบบแผนของสังคม (norm)
เป็นมาตรฐานที่ใช้ตัดสินว่าการกระทำอย่างหนึ่งดีชั่วหรือถูกผิด เมื่อพิจารณาในแง่นี้แล้วอาจจะเรียกวิชา
นิติศาสตร์โดยแท้ว่าเป็น วิชาการทางแบบแผน (normative science) จึงนับเป็นวิชานิติศาสตร์ในความหมาย
อย่างแคบ
ในการศึกษาวิชานิติศาสตร์โดยแท้นั้นซึ่งเป็นวิชานิติศาสตร์ในความหมายอย่างแคบนี้อาจแยกลักษณะ
ได้ ๒ ส่วน คือ การศึกษาในความรู้ใน “เนื้อหาสาระ” ของกฎหมาย และ การศึกษาใน “นิติวิธี”
“เนื้อหาสาระ” ของกฎหมายเป็นความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของกฎหมาย ทั้งนี้ไม่ว่า
บทบัญญัติกฎหมายนั้นจะมีลักษณะอย่างไรเป็นคำพิพากษา หรือจารีตประเพณีทั้งนี้ย่อมรวมถึงหลักกฎหมาย
ในทางวิชานิติศาสตร์ด้วย
“นิติวิธี” เป็นวิธีคิดเกี่ยวกับกฎหมายซึ่งหมายถึง ความคิด และทัศนคติของนักกฎหมายที่มี
ต่อระบบกฎหมายของตน อันได้แก่ ทัศนคติ ต่อกฎหมายลายลักษณ์อักษร ต่อจารีตประเพณีหรือ คำพิพากษา
ของศาล จะถือสิ่งเหล่านี้เป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ดังนั้นวิชานิติศาสตร์โดยแท้นั้นคือวิชานิติศาสตร์แขนงต่าง ๆ
ส่วนใหญ่ที่มีการสอนและศึกษาอยู่ในคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และการที่สังเกตได้ว่าส่วนที่เป็น
นิติวิธีนั้นโดยปกติจะไม่ได้แยกเป็นเอกเทศหากแต่สอดแทรกอยู่ในคำสอนวิชาต่าง ๆ ไปพร้อมกัน
วิ ช านิ ต ิ ศ าสตร์ โ ดยแท้ ม ี ล ั ก ษณะที ่ เ รี ย กว่ า dogmatic legal science มาจาก dogma แปลว่ า
หลักธรรมที่ยอมรับกันเป็นที่ยุติ จะมาโต้แย้งโต้เถียงไม่ได้ ผู้ที่ศึกษาวิชาเทววิทยาจะต้องยอมรับ dogma ว่า
พระเจ้ามีอยู่และพระองค์ทรงมีความดี ความบริสุทธิ์ ความบริบูรณ์ พระองค์เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งต่าง ๆ รวมทั้ง
มนุษย์ด้วย พระเยซูเจ้า เป็นพระบุตรของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นมนุษย์ที่พระองค์สร้างขึ้นมา มนุษย์ก็เป็นสิ่งที่มี
ความดี ความบริสุทธิ์ ความบริบูรณ์ด้วย แต่เหตุผลที่มีความชั่วช้าเกิดขึ้นบนโลกนั้นเพราะมนุษย์ คู่แรกที่พระผู้
เป็นเจ้าสร้างขึ้นมานั้นได้ทำบาปโดยละเมิดคำสั่งของพระองค์ ที่ทรงห้ามให้มนุษย์กินผลไม้ต้องห้าม ทำให้
มนุษย์ตกสู่ห้วงบาปสืบลูกหลานเชื้อสายต่อมา ทางรอดเดียวที่จะมีอยู่ ก็คือมนุษย์จะต้องอ่อนน้อมถ่อมตน
ยอมรับพระเยซูที่เป็นพระบุตรที่พระเจ้าส่งลงมายังโลกเพื่อที่จะได้ไถ่บาปมนุษย์ทั้งมวล ความสว่าง ความมี
สติปัญญา จึงเกิดขึ้นอีกครัง้ หนึ่ง
วิชานิติศาสตร์โดยแท้นั้นมี dogma ที่จะต้องยอมรับเพื่อเป็นที่ยุติอันเป็นรากฐานในการแสวงหา
เหตุผลทางวิชาการด้วยเหมือนกัน กล่าวคือ หลักกฎหมาย (legal dogmatic) นั่นเอง จึงเรียกว่าวิชานิติศาสตร์
โดยแท้ จึงเป็นวิชาที่ศึกษาในหลักกฎหมายวิชานิติศาสตร์โดยแท้นั้ นศึกษาถึงหลักกฎหมายที่มีอยู่เป็น จำนวน
มาก และกฎหมายต่าง ๆ ไม่ได้แยกอยู่กันอย่างโดดเดี่ยว แต่ละกฎหมายต่าง ๆ นั้นย่อมสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่ง
ของระบบกฎหมายเดียวกัน วิชานิติศาสตร์จึงศึกษากฎหมายที่ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ประกอบด้วยกันจากหลักหรือตัว
6

บทของกฎหมายที่แยกอยู่อย่ างไม่มีระเบียบ แต่ในแง่ว่าหลักกฎหมายเหล่านั้นประสานสัมพันธ์กันเป็นจุดเนื้อ


เดียวกันจัดการสิ่งต่าง ๆ อย่างมีระบบหน้าที่ ทางวิชาการทางวิชานิติศาสตร์นั้นก็คือการใช้พลังงานทาง
สติปัญญาจัดระบบให้แก่กฎหมายที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเรียกวิชานิติศาสตร์โดยแท้ว่า วิชา
นิติศาสตร์ที่เป็นระบบ (systematic jurisprudence)
วิชานิติศาสตร์โดยแท้แตกต่างจากวิชาการในสาขาอื่น ๆ ในแง่ว่าวิชานิติศาสตร์โดยแท้นั้น ผู้ที่ศึกษา
ต้องยอมรับหลักกฎหมายในระบบกฎหมายนั้นอันเป็นหลักที่ยุติตายตัวสำหรับใช้เป็นมูลบทในการแสวงหา
ความรู้และข้อสรุปทางกฎหมาย จะตั้งข้อสงสัยหรือโต้แย้งในหลักกฎหมายนี้ไม่ได้
วิชานิติศาสตร์โดยแท้อาจแบ่งตามขอบเขตของการศึกษาได้อีก ๒ ประเภทคือ นิติศาสตร์ทั่วไป และ
นิติศาสตร์เฉพาะ
นิติศาสตร์ทั่วไป หมายถึง การศึกษากฎหมายเพื่อที่จะค้นหาถึงหลักกฎหมายในที่มีลักษณะ
สามัญของกฎหมายว่ามีหลักทั่วไปอย่างไร เช่ น ความรู้เกี่ยวกับหลักทั่วไปในเรื่องนิติวิธีในประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔ ที่วางหลักไว้ว่า ถ้าไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรใช้บังคับกับข้อเท็จจริงให้ใช้จารีต
ประเพณีแห่งท้องถิ่น หากไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นให้เทียบเคียงกับกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ใกล้เ คียง
อย่างยิ่ง ถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นไม่มีให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
นิติศาสตร์เฉพาะ หมายถึง การศึกษากฎหมายเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ใช้บังคับอยู่ เช่น
กฎหมายแพ่งลักษณะหนี้ ลักษณะทรัพย์ ลักษณะครอบครัวและมรดก เป็นต้นนอกจากนี้ในแต่ละสาขานั้นก็ยัง
มีแบ่งเป็นทั้งภาคทั่วไป และ ภาคเฉพาะ อีกเช่น กฎหมายอาญาภาคทั่วไป และภาคเฉพาะ เป็นต้น
๒. นิติศาสตร์ในแง่ข้อเท็จจริง (legal science of facts)
การศึกษาค้นคว้ากฎหมายในฐานะที่กฎหมายเป็นข้อเท็จจริงนั้นอาจมีอยู่ได้หลายสาระด้วยกัน คือ
การศึกษาค้นคว้ากฎหมายในฐานะที่กฎหมายเป็ นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เรีย กว่า “วิชาประวัติศาสตร์
กฎหมาย” และศึกษาค้นคว้าทางกฎหมายในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมเรียกว่า “วิชาสังคม
วิทยากฎหมาย” หรือ นิติศาสตร์ทางสังคม
(๑) วิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย
เป็นวิชาประวัติศาสตร์โดยทั่วไป กล่าวคือ เป็นวิชาที่เล่าถึงเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใน
สังคมอดีต ทั้งนี้โดยการใช้เหตุผลไต่ตรองถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่ามีเหตุและเป็น
ผลเชื่อมโยงกันอย่างไรในลำดับเวลาต่าง ๆ เพื่อทำมาจัดมาเป็นระบบทำให้เราสามารถมองเห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
และวิวัฒนาการต่าง ๆ ได้ การศึกษากฎหมายในฐานะที่เป็นข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวิชา
ประวัติศาสตร์อาจแบ่งพิจารณาด้วย ๒ แง่ด้วยกันคือ
ประวัติศาสตร์ห ลักกฎหมาย คือการศึกษาค้นคว้าถึงตำนาน การกำเนิดถึงวิวัฒนาการของหลั ก
กฎหมายที่มีอยู่ในนิติศาสตร์ ว่ามี จุดประสงค์เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจในตัวบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่
และสามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องอย่างถ่องแท้ ซึ่งผู้ศึกษานั้นจะต้องมีความรู้ภูมิหลังในทางประวัติศาสตร์
ของหลักกฎหมายเรื่องนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เรื่องกรรมสิทธิ์ในศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ มีความคิด ลัทธิปัจเจกชนนิยม
และ ลัทธิเสรีนิยม ได้รับความนับถือกันอย่างแพร่หลาย การจัดทำประมวลของยุโรปในสมัยนั้นนัก วิชาการ
ศึกษาจึงคิดว่ากรรมสิทธิ์เป็น สิทธิเด็ดขาด อย่างเช่นอย่างโรมัน แต่มีเหตุผลน่าเลื่อมใสเพราะว่าต้องตรงกับ
ความคิดนิยมในสมัยนั้น และกฎหมายโรมันในเรื่องของทรัพย์สินจึงนำมาบัญญัติไว้ในกฎหมายประมวลแพ่ง
ของฝรั่งเศส เบลเยี่ยม หรือแม้แต่เยอรมัน แต่ช่วงเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 ลัทธิเหล่านี้นั้นมีความเป็นปฏิปักษ์
ต่อเรื่องกรรมสิทธิ์อย่างเด็ดขาดแบบโรมัน และแพร่หลายขึ้นเป็นลำดับทำให้แนวความคิ ดเรื่องกรรมสิทธิ์ตาม
7

ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันนั้นซึ่งรับแนวกฎหมายของโรมันมาบังคับใช้ต้องถูกปรุงแต่งขึ้นโดยบทบัญญัติ
ของรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญไวร์มาร์ นั้นก็ทำให้มีลักษณะเป็นสิทธิสัมผัสหรือเป็นสิ่งที่ถูกกำจัดได้ ใน
ประเทศไทยเอง
แต่เดิมในเรื่องกรรมสิทธิ์ของสังคมไทยแต่เดิมก็ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ที่มีกรรมสิทธิ์เด็ดขาด
ในที่ดิน เอกชนก็เป็นเพียงผู้ยึดถือที่ดินตามที่พระองค์มอบให้เท่านั้น ดังนั้นเมื่อดูประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิ ช ย์ ม าตรา 1335 และมาตรา 1336 ซึ ่ ง มี ค วามว่ า ภายใต้ บ ั ง คั บ แห่ ง กฎหมาย ถ้ า มี ค วามรู้ ท าง
ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของหลักกฎหมายเรื่องกรรมสิทธิ์ ก็พอที่จะเข้าใจได้โดยง่ายว่าการที่กฎหมาย
บัญญัติไว้เช่นนี้นั้น ก็มีความหมายว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นหาได้มี
ลักษณะเป็นสิทธิ์เด็ดขาดปราศจากขอบเขตหรือเงื่อนไขใด ๆ แต่อยู่ภายใต้บังคับอำนาจของสังคมที่จะออก
กฎหมายมาจำกัดตัดทอนการใช้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเพื่อความเรียบร้อยภายในสังคมก็ย่อมได้
ประวัติศาสตร์กฎหมายสากล คือการศึกษาค้นคว้าถึงการเกิดและวิวัฒนาการของกฎหมายโดยทั่ว ๆ
ไปไม่จำกัดเฉพาะว่าเป็นหลักกฎหมายเรื่องใด แต่เป็นการศึกษาค้นคว้าในหลักเกณฑ์ทั่วไปเพื่อจะทราบว่า
กฎหมายกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร จากปัจจัยอะไรบ้างและพัฒนาการการเจริญงอกงามนั้นเกิดขึ้นได้ในลักษณะ
อย่างไร ทฤษฎีการกำเนิดว่าด้วยวิวัฒนาการของกฎหมายของ สำนักประวัติศาสตร์ (Historical School) ซึ่ง
Prof. Savigny เป็นผู้สถาปนาขึ้นสำนัก ประวัติศาสตร์กฎหมายมี ทัศนะว่า กฎหมายทั้งมวลไม่ได้เกิดขึ้นจาก
เจตจำนงของมนุษย์ผู้ใดบุคคลใดคนหนึ่ง แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกทางศีลธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
และความเชื ่ อ มั ่ น ของชนชาติ ท ี่ เ รีย กว่ า จิ ต วิ ญ ญาณประชาชาติ (Volksgeist) และค่ อ ยๆเปลี ่ ย นแปลง
วิวัฒนาการไปเป็นตัวของมันเหมือนกับภาษาประจำถิ่น
ส่วนวิวัฒนาการของกฎหมายจะเริ่มพัฒนาระยะแรกนั้นเริ่มจากจิตใจของชนชาติเป็นเพียงความรู้สึก
ผิดชอบชั่วดีและสามัญชนที่แสดงออกมา เมื่อเวลานานผ่านไปก็เปลี่ยนกลายเป็นจารีตประเพณีที่ประชาชนใน
สมัยนั้นรู้ว่าอะไรดีและอะไรคือสิ่งที่เกิดขึ้น เมือ่ ชีวิตและสังคมนั้นมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นข้อขัดแย้งก็มีมาก
ขึ้น การที่จะใช้จารีตประเพณีดั้งเดิมก็ไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหากฎหมาย จึงจะต้องพัฒนาวิธีการใช้เหตุผลที่
ละเอียดอ่อนกว่าเหตุผลธรรมดาสามัญจึงเกิดหลั กกฎหมายที่มีความวิวั ฒนาการและซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเมื่อ
กฎหมายพัฒนาถึงขั้นนี้แล้วจึงต้องเป็นหน้าที่ของวิชาชีพนักกฎหมายซึ่ง Savigny ถือว่านักกฎหมายเป็นผู้ทรง
ไว้ซึ่ง จิตวิญญาณประชาชาติ Volksgeist ในยุคนี้นั่นเอง
ดังนั้นกฎหมายของชนชาติใดก็ย่อมเป็นไปตามความรู้สึกสำนึกคิดของชนชาตินั้น ๆ และชนชาติแต่ละ
ชนชาติที่มีประวัติความเป็นมาไม่เหมือนกันความรู้สึกนึกคิดทางศีลธรรมและความเชื่อมั่นย่อมแตกต่างกันจึง
เป็นไปไม่ได้ที่จะบังคับให้ชนชาติหนึ่งไปใช้กฎหมายของอีกชนชาติหนึ่ง
(๒) วิชาสังคมวิทยากฎหมาย
วิชาสังคมวิทยาโดยทั่ว ไปเป็นวิชาที่ว่าด้ว ยข้อเท็จ จริงในสังคมซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้ าเกี่ยวกับ
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมด้านต่าง ๆ เช่น การเมือง การปกครองการศึกษาค้นคว้าข้อเท็จจริงทางสังคมด้าน
เศรษฐกิจ เรียกว่าวิชาสังคมวิทยาเศรษฐกิจ เป็นต้นส่วน วิชาสังคมวิทยากฎหมาย จึงเป็นการศึกษาค้นคว้า
สภาพถึงความเป็นจริงที่เกี่ยวกับกฎหมายในสังคมว่าปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย และมีวิธีการดำเนินชีวิต
ของตนภายในกรอบเกณฑ์ทางกฎหมายนั้นด้วยความเป็นจริงอย่างไร วิชาสังคมวิทยากฎหมาย จึงเป็นการที่
ศึกษาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ กฎหมายอย่างใกล้ชิดในแง่ที่ว่าเกี่ยวข้องกับข้อเท็ จจริงในชีวิตทาง
กฎหมายในเรื่องของหลักการ วิชาสังคมวิทยากฎหมายจะไม่ไปก้าวล่วงขอบเขตข้อเท็จจริงที่เป็นการกระทำ
หรือคำพิพากษาชี้ขาดและปรากฏการณ์ทางกายภาพและจิตวิทยาอื่น ๆ
8

เมื่อพิจารณาขอบเขตของวิชาสังคมวิทยากฎหมายจะพบว่ามีการแบ่งสภาพการค้นคว้าออกเป็น ๒ แง่
ด้วยกันคือ
1. การศึกษาค้นคว้าสภาพเป็น จริงเกี่ยวกับสังคมในตำนานการกำเนิดของกฎหมายซึ่งเป็นการศึกษา
ค้นคว้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์กฎหมายและวิชามานุษยวิทยาอย่างใกล้ชิด
2. การวิเคราะห์ถึงอิทธิพลของกฎหมายที่มีต่อสังคมในฐานะที่กฎหมายเป็นเครื่องมือหรือกลไกอย่าง
หนึ่งที่จะควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมและเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดวิถีชีวิตของคนในสังคม
อาจกล่าวโดยสรุปว่า การศึกษากฎหมายวิชาสังคมวิทยากฎหมายเป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์และ
การพึ่งพาอาศัยกันและกันระหว่างกฎหมายกับสังคม ความรู้ทางสังคมวิทยากฎหมายจะเป็นประโยชน์แก่เรา
ในการช่วยปรุงแต่งกฎหมายให้ดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านนิติบัญญัติ
๓. นิติศาสตร์ในแง่คุณค่า (legal science of values)
การศึกษาในแง่ของคุณค่าคือการวิจารณ์กฎหมายที่มีอยู่ว่าดีหรือไม่ดีมีผลหรือไม่มีผลตามมาตรฐาน
ของอุดมคติอย่างใดอย่างหนึ่งวิชานิติศาสตร์ที่สำคัญใน แขนง นี้ได้แก่
(1) วิชานิติบัญญัติ
คือ วิชาเกี่ยวกับเรื่องการบัญญัติกฎหมายซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ
ภาคทั่วไป ว่าด้วยประวัติความเป็นมาทางกระบวนการนิติบัญญัติหน้าที่และข้อจำกัดทาง
กระบวนการนิติบัญญัติรวมทั้งปัญหานิตินโยบาย
ภาคเฉพาะ ว่าด้วยเทคนิคการบรรยายกฎหมายอันได้แก่การเลือกสรรถ้อยคำต่าง ๆ มาใช้ใน
การเขียนกฎหมายให้ได้ผลตามความมุ่งหมายซึ่งในการนี้ผู้บัญญัติจะต้องวิเคราะห์ถึงนิติวิธีของระบบกฎหมาย
แต่ละระบบด้วย
(2) วิชากฎหมายเปรียบเทียบ
วิชากฎหมายเปรียบเทียบนี้เป็นวิชาใหม่ซึ่งมีขึ้นมาในศตวรรษที่ 20 เป็นการเอานำระบบกฎหมายมา
เปรียบเทียบกัน โดยเฉพาะระบบกฎหมายระบบใหญ่ ๆ คือ ระบบคอมมอนลอว์ และ ระบบซีวิลลอว์ ทั้งสอง
ระบบนี้มีความคิดและวิธีการแตกต่างกันอย่างไรประโยชน์ของกฎหมายเปรียบเทียบก็คือ เพื่อการทำความ
เข้าใจในบทบัญญัติของกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในการใช้กฎหมายระหว่างกฎหมายต่างประเทศกั บกฎหมาย
ภายใน เพื่อให้กฎหมายประเทศต่าง ๆ นั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกัน
อาจกล่าวโดยสรุปว่าแม้จะศึกษาแยกได้เป็นหลายวิชา หลายแขนงด้วยกันแต่ก็มีเอกภาพในแง่ที่ต่างก็
มุ่งศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจในวัตถุที่ศึกษาสิ่งเดียวกัน คือ กฎหมาย การศึกษาวิชานิติศาสตร์โดยแท้เพียง
แขนงเดียวที่สอนให้รู้กฎหมายและใช้กฎหมายเป็นซึ่งหมายถึงนิติศาสตร์ ในความหมายอย่างแคบจึงน่าจะเป็น
ความคิดที่คับแคบและล้าสมัยไม่สมกับวัตถุประสงค์ของทางวิชาการอันเป็นหลักการศึกษาอันเป็นกฎหมาย
สากล
(ข) พิจารณาจากวิธีการศึกษา
การพิจารณาในแง่วิธีการศึกษาเราอาจแบ่งวิชานิติศาสตร์ออกเป็น 3 แขนงคือ
1. นิติศาสตร์อรรถาธิบาย (Commentary Jurisprudence)
เป็นวิชาที่ศึกษากฎหมายโดยการอธิบายตัวบทต่าง ๆ ที่ใช้บังคับอยู่ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ใน
เยอรมัน เชื่อว่ากฎหมายได้ถูกบัญญัติขึ้นโดยนักปราชญ์ทางนิติศาสตร์อย่างดีแล้ว ผู้ใดประสงค์ที่ทำความเข้าใจ
ให้ถูกต้องก็ต้องอ่านตัวบทและทำความเข้าใจในบทนั้น ๆ โดยไม่คำนึงถึงภูมิหลังประวัติและหน้าที่ทางสังคม
ของบทบัญญัติ แต่ละบทบัญญัติ จึงเรียกวิธีการศึกษาเช่นนี้ว่า “วิชานิติศาสตร์ข้อความคิด” คือเชื่อว่าตัวอักษร
9

ตามบทบัญญัตขิ องกฎหมาย จะแสดงความถูกผิดให้เป็นไปตามความคิดหรือความประสงค์ของผู้บัญญัติ จึงยึด


ตัวบทเป็นจุดสำคัญในการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจทำให้ในยุคนั้นมีการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนในทั้งด้วยคำ
และวิธีการบัญญัติ
2. นิติศาสตร์เปรียบเทียบ (ดูเรื่องกฎหมายเปรียบเทียบ)
3. นิติศาสตร์การบัญญัติ (ดูเรื่องการบัญญัติ)

บทที่ ๓ วิชานิติปรัชญา
ในแง่ปรัชญานั้นนิติปรัชญาก็เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ศึกษากฎหมายในเชิงปรัชญาในขณะเดียวกัน
ก็น่าจะพิจารณาได้ว่านิติปรัชญานั้นเป็นวิชานิติศาสตร์ชั้นสูงกล่าวคือเป็นวิชาที่ศึกษากฎหมายในลักษณะทั่วไป
อย่างนามธรรมรวมทั้งวิธีคิดค้นหาความรู้ในแง่นิติศาสตร์ที่เรียกว่านิติศาสตร์ในแง่ทฤษฎีกฎหมาย เริ่มมีปัญหา
ในด้านกฎหมายต่าง ๆ เกิดขึ้นจึงมีการศึกษาค้นคว้าหาความตอบในแง่ทฤษฎีกฎหมายจนทำให้วิชานิติปรัชญา
ค่อยๆกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิ ชานิติศาสตร์ในความหมายอย่างกว้างจึงจะกล่าวได้ว่าวิชานิติปรัชญาเป็นทั้ง
ความรู้ในแง่ปรัชญาและนิติศาสตร์ในเวลาเดียวกัน
นิติปรัชญา : พิจารณาในแง่ปรัชญา
๑.ปรัชญา หรือศาสตร์สากล (Universal Science)
ปรัชญาเป็นวิชาที่ไม่เอาปรากฏการณ์ประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงมาศึกษา แต่จะเป็น
การศึกษาถึงโลก และชีวิตอย่างเป็น ทั้งมวล (as a whole) เพื่อให้เกิดความเข้าใจในโลก จักรวาล ชีวิตและสิ่ง
ที่เป็นอยู่อย่างสมบูรณ์
ความรู้ที่ได้จากสาขาเฉพาะทางต่าง ๆ ก็ล้วนเป็นความรู้ที่ได้มาจากปรากฏการณ์ ซึ่งปรากฏการณ์แต่
ละอย่างนั้นจะต้องมีสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ นั้นขึ้น แต่ละปรากฏการณ์จึงเป็นเพียงผลของสาเหตุ
เท่านั้น หน้าที่ของวิชาปรัชญา คือ การค้นคว้าว่าสาเหตุสุดท้ายที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์นั้นคืออะไร จึงเป็นการ
ตั้งคำถามว่าทำไมสิ่งต่าง ๆ จึงมีอยู่ และดับสลายไป สิ่งเหล่านี้จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับ “ความเป็น” Das Sein
ในขณะที่มีอยู่สิ่งเหล่านี้มีอยู่อย่างแท้จริง หรือเป็นการถามเกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับปรากฏการณ์กับความจริง
เหล่านั้น
กล่าวโดยสรุปว่าวิชาปรัชญามีลักษณะพิเศษ ดังนี้
1. พิจารณาสิ่งทั้งหลายให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงจนเป็นเอกภาพ
2. ค้นคว้าหาสาเหตุรากฐานของปรากฏการณ์ของเรื่องต่าง ๆ ทั้งหลายอย่างถึงที่สุด
3. ยกระดับความคิด
4. ศึกษาเชิงวิจารณ์ในข้อความคิดพื้นฐานของศาสตร์เฉพาะต่าง ๆ
วิชาปรัชญานั้นแบ่งออกเป็น ปรัชญาภาคทั่วไป และ ปรัชญาภาคเฉพาะ
(ก) ปรัชญาภาคทั่วไป หรือปรัชญาโดยแท้ นั้นอยู่ 4 แขนงด้วยกัน คือ
อภิปรัชญา หรือ ทฤษฎีความเป็น คือ ปรัชญาแท้ ๆ ที่พยายามค้นคว้าหา ความเป็น แท้ๆว่าคืออะไร
สิ่งที่ปรากฏแก่ตัวเราและเปลี่ยนแปลงไปอยู่ทุกขณะเป็นการศึกษาของเรื่อง แก่น หรือ สาร ของ ความเป็น ที่มี
อยู่ในทางสภาวะวิทยา
ญาณปรัชญา หรือ ทฤษฎีความรู้ เป็นการศึกษาที่พยายามจะค้นคว้าหาความรู้คืออะไร และเรารู้ได้
อย่างไรและความสามารถที่จะรับรู้ของคนเรานั้นมีจำกัดหรือไม่
10

จริยปรัชญา หรือ ทฤษฎีความดี ซึ่งพิจารณาว่าความดีคืออะไรเรารับรู้ความดีนั้นได้อย่างไรและอะไร


เป็นเกณฑ์
สุนทรียปรัชญา หรือ ทฤษฎีความงาม ซึ่งพิจารณาปัญหาว่าอะไรเป็นมาตรฐานที่จะใช้วัดว่าสิ่งใดสวย
สิ่งใดไม่สวยงามหรือไม่งาม
(ข) ปรัชญาภาคเฉพาะ (Philosophy of particular science)
เป็นการศึกษาปรัชญาศาสตร์เฉพาะ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ยังหาคำตอบที่แน่นอนไม่ได้ เช่น ปรัชญาทาง
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาฟิสิกส์ ที่เป็นปัญหาว่าวัตถุคืออะไรกันแน่ หรือในสาขาทางชีววิทยาที่ยังไม่สามารถ
หาคำตอบได้ที่แน่นอนว่าชีวิตคืออะไร ในแง่นี้ก็อาจจะกล่าวได้ว่าวิชานิติปรัชญาก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งเป็นภาค
เฉพาะนั่นเอง
๒.นิติปรัชญา
นิติปรัชญาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายทั้งในทางนามธรรมชั้นสูงที่เกี่ ยวกับกฎหมาย นิติปรัชญา
จึงไม่เหมือนวิชานิติศาสตร์โดยแท้ ในแง่ที่ว่าวิชานิติศาสตร์โดยแท้นั้น ศึกษากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นเรื่อง ๆ
ไปแต่นิติปรัชญาจะเป็นการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย โดยเจาะลึกถึงรากความคิด แก่นแท้ของกฎหมายคือ
อะไร ไม่ได้ศึกษากฎหมายที่บังคับอยู่เรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ การศึกษานิติปรัชญาจึงมีลักษณะเป็น
การศึกษากฎหมายในระดับความคิดที่ บริสุทธิ์ ซึ่งอาจจะศึกษาจากความรู้ในแง่ปรัชญาได้ ดังต่อไปนี้
(ก) การศึกษานิติปรัชญาในแง่ อภิปรัชญากฎหมาย หรือ ทฤษฎีความเป็น ของกฎหมาย
โดยการศึกษาจะต้องศึก ษากฎหมายทั้งมวลในระดั บความคิดที่บริสุทธิ์ จึงต้องเป็นการศึกษาอย่าง
ครอบคลุม และถึง แก่น สาระสำคัญของกฎหมาย อีกทั้งต้องจัดสรรความรู้อย่างเป็นระบบที่เชื่อมโยงถึงกัน
ตลอดจนจะต้องเป็นการใช้หลักเหตุผลในการคิดวิเคราะห์พิจารณาจากตัวกฎหมายเองว่า กฎหมายแท้จริง คือ
อะไร ถ้าหากว่าตอบคำถามนี้ว่าเป็น “คำสั่ง” กฎหมายก็เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับ เจตจำนง แล้วแต่จิตใจของผู้สั่ง
การตอบคำถามเช่นนี้นั้น สาระสำคัญของกฎหมายก็คือ เจตจำนง แต่ถ้ากฎหมายเป็นแบบแผนที่ไม่ต้องไป
ขึ้นอยู่กับเจตจำนงของใครก็เป็น เหตุผล ในตัวของตัวเอง ดังนี้สาระสำคัญของคำตอบก็คือ เหตุผล ดังนั้นจึง
ต้องมีการตั้งคำถามว่ากฎหมายคืออะไร และแก่นของกฎหมายนี้คืออะไร จึงเป็นการถามอย่ าง อภิปรัชญา
กฎหมาย
(ข) การศึกษานิติปรัชญาในแง่ ญาณปรัชญากฎหมาย หรือทฤษฎีความรู้ของนิติศาสตร์
เป็นการศึกษาที่จะรู้ว่ากฎหมายนั้นรู้ได้อย่างไร และจะค้นหากฎหมายนั้นได้อย่างไร ซึ่งขึ้นอยู่กับการ
ตอบปัญหาว่ากฎเกณฑ์ความถูกผิดใครเป็นผู้กำหนด การถามถึงการรู้กฎหมายในทำนองนี้จึงเป็นการถามถึง
ปัญหาในทางปรัชญาเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้หรือ ญาณปรัชญากฎหมาย
(ค) ศึกษานิติปรัชญาในแง่ จริยปรัชญากฎหมาย หรือทฤษฎีความยุติธรรม เป็นการศึกษาว่ากฎหมาย
ดีหรือไม่อย่างไร ก็จะต้องพิจารณาในแง่ว่ายุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้จะต้องศึกษากันต่อไปว่า
กฎหมายกับความยุติธรรม สัมพันธ์อย่างไร ความยุติธรรมคืออะไร และอะไรเป็นการประเมินคุณค่าของ
กฎหมาย ดังนั้นความยุติธรรมจึงเป็นคุณธรรมในสังคม เช่น ซิเซโร ตอบว่าความยุติธรรมคือ เจตจำนงอันแน่ว
แน่ตลอดกาลที่พึงจะให้แก่ทุกคนในส่วนที่เขาควรจะได้ ถ้าทุกคนได้ส่วนที่ทุกคนพึงจะได้ก็คงจะมีความสุขกัน
ทั่วทุกคน แต่ถ้าไม่ได้สิ่งที่ตนพึงจะได้คนนั้นก็จะบอกว่าไม่ยุติธรรม ปัญหาที่ตามมาก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรู้ได้ว่า
ส่วนไหนเป็นของใครเพียงไร เรื่องของความเป็นธรรมและความไม่เป็นธรรมนี้จึงเป็นเรื่องของปรัชญาสังคมใน
เวลาเดียวกัน
11

จึงสรุปได้ว่าปัญหาเกี่ยวกับคุณค่าของกฎหมายเป็นปัญหาเกี่ยวกับความยุติธรรมที่ต้องแบ่งปันส่วน
ทางสังคมซึ่งเป็นปัญหาแห่งคุณค่าทางกฎหมายหรือปัญหาทาง จริยธรรมปรัชญากฎหมาย นั่นเอง
ส่วนทฤษฎีความงาม หรือ ปัญหากฎหมายสวยหรือไม่นั้น เป็นเรื่องของทาง สุนทรียปรัชญา ไม่เป็น
สำคัญในทางกฎหมาย ดังนั้นในแง่ของวิชานิติปรัชญานั้นอาจเลือกศึกษาได้ 3 ประการคือ 1. ปัญหาทาง
อภิปรัชญากฎหมาย 2. ปัญหาทางญาณปรัชญากฎหมาย 3. ปัญหาทางจริยปรัชญากฎหมาย อีกนัยหนึ่งกล่าว
ได้ว่า นิติปรัชญาศึกษากฎหมายว่าที่แท้จริงคืออะไร เรารู้กฎหมายได้อย่างไร ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมี
ลักษณะอย่างไร และความยุติธรรมคืออะไรเกี่ยวข้องกับกฎหมายได้อย่างไร นั่นเอง
นิติปรัชญา : พิจารณาในแง่นิติศาสตร์
ความรู้ที่เป็นศาสตร์ หรือวิชานั้นต่างจากความรู้ธรรมดา เพราะความรู้ธรรมดาเป็นเพียงแต่ความรู้
ข้อเท็จจริงเฉพาะเรื่อง แต่ศาสตร์นั้นเป็นความรู้ที่มีลักษณะนามธรรมเป็นหลักการทั่วไป มีการเชื่อมโยงทาง
ตรรกวิทยาอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างในลักษณะทั่วไป 3 ระดับคือ ลำดับต้น เรียกว่าวิชาเฉพาะ
ลำดับกลาง เรียกว่าวิชาหลักทั่วไปหรือความรู้กฎหมายทั่วไป และ ลำดับสูงเรียกว่า ทฤษฎี หรือ ปรัชญา ดังนั้น
หากเราศึกษาในวิชานิติศาสตร์โดยแท้ ศาสตร์ทางข้อเท็จจริงและนิติศาสตร์ทางคุณค่า แล้วค่อย ๆ ยกระดับ
ความรู้ทั่ว ไป หรือศึกษาให้ล ึกซึ้งถึงแก่ น หรือ รากฐานของปัญหา ปัญหากฎหมายดังกล่าวก็จะค่อย ๆ
กลายเป็นปัญหาในทางนิติปรัชญา
๑. การศึกษาวิชานิติศาสตร์โดยแท้
เป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในตัวบทบัญญัติกฎหมายที่บังคับใช้อยู่การศึกษาในระดับทั่วไปนี้
เรียกว่า Jurisprudence ดั่งเช่นวิชา Analytical Jurisprudence ของ John Austin เป็นต้น แต่ถ้าศึกษา
ในระดับสูงขึ้นไปอีก เช่นการถามว่า กฎหมายต่างจากกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมอย่างไร ต่างจากจารีตประเพณี
อย่างไร อะไรคือกฎเกณฑ์ที่เป็นแบบแผนความประพฤติที่เป็นกฎหมาย ปัญหาเหล่านี้นั้นเป็นปัญหาเกี่ยวกับ
สาระสำคัญของกฎหมายหรือเรียกว่า ทฤษฎีความเป็น นั่นเอง
๒. การศึกษานิติศาสตร์ทางข้อเท็จจริง
การศึกษากฎหมายในแง่นี้เป็นการศึกษาในกฎหมายที่เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วในสังคม
ได้แก่ วิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย เช่นวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย มีการศึกษาเรื่องความเป็นมาของ
กฎหมาย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยาจนถึงปัจจุบัน จะมีการอธิบายให้เห็นถึงหลักของความเปลี่ยนแปลงของ
กฎหมายจากอดีตถึงปัจจุบัน
ส่วนวิชาสังคมวิทยากฎหมาย เป็นการศึกษากฎหมายในฐานะที่เป็นข้อเท็จจริงในสังคมเช่นกัน แต่
การศึกษาในแง่ความที่เป็นเหตุและผลของกฎหมายที่มีข้อเท็ จจริงอื่น ๆ ในสังคมคำสอนในระดับหลักทั่วไปจะ
เรียกว่า นิติศาสตร์ทางสังคม และนักกฎหมายโรมันได้อธิบายเอาไว้ว่า กฎหมายมีความมุ่งหมาย กล่าวคือ
กฎหมายมีฐานะเป็นวิธีการไปสู่เป้าหมายส่วน Pound ซึ่งเป็นนักกฎหมายชาวอเมริกันก็ได้ให้มีความเห็นว่า
กฎหมายเป็นวิศวกรทางสังคม ก็คือเป็นการตอบคำถามว่า กฎหมายคืออะไร โดยพิจารณาจากการทำหน้าที่
ของกฎหมายในสังคมนั่นเอง
๓. การศึกษานิติศาสตร์ทางคุณค่า
การศึกษาในแง่นี้นั้น เป็นการศึกษาในคุณค่าของกฎหมายในระดับวิชาเฉพาะ เป็นการศึกษาว่ามี
หลักการอะไรในการวินิจฉัยปัญหากฎหมาย เช่นคำสอนของ Bentham อธิบายว่า กฎหมายที่ดี คือกฎหมายที่
ให้ความสุขมากที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุด คำสอนนี้เป็น ทฤษฎีนิติบัญญัติทางทฤษฎีหนึ่งนั่นเอง แต่การนิติ
12

บัญญัตินั้นจะต้องแสวงหาความยุติธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้มีปัญหาว่า ความยุติธรรม คืออะไรเป็นปัญหาในระดับ


นิติปรัชญา
มีข้อสังเกตว่า การศึกษานิติศาสตร์ทั้ง ๓ ประการนี้มีความเกี่ยวข้องกันแยกกันไม่ได้อย่างเด็ดขาด แต่
การแยกไว้ 3 สาขา ก็คือความสะดวกในการศึกษาเท่านั้น เช่น ตามทฤษฎีความยุติธรรมของ อริสโตเติล ได้
อธิบายความยุติธรรมว่ามีอยู่ 2 ประเภท คือ ความยุติธรรมในการแบ่งสันปันส่วน กับ ความยุติธรรมในการ
ชดเชย ปัญหาว่าจะแบ่งสรรทรัพย์สิน หรือความสุขสบาย เกียรติยศ ชื่อเสียง กันอย่างไรนั้นทฤษฎีความ
ยุติธรรมก็จะเกี่ยวพันกับสังคม และหากถามต่อไปอีกว่าความยุติธรรมกับกฎหมายนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ปัญหานี้ก็จะไปสัมพันธ์กับ Theory of law ด้วย กล่าวคือ กฎหมายมีหน้าที่อย่างไร กฎหมายก็ทำหน้าที่ผดุง
ความยุติธรรมในสังคมเท่านั้นหรือ ดังนั้นกฎหมายจึงไม่ใช่ทำหน้าที่เพื่อความยุติธรรมเท่านั้นแต่ยังเป็นการทำ
หน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความเหมาะสมบางประการในสังคมด้วยดังที่ Radbruch นักกฎหมาย
เยอรมันกล่าวว่า อุดมคติอันเป็นรากฐานของกฎหมายมี 3 ประการคือ 1. ความยุติธรรม 2. ความมั่นคงหรือ
เสถียรภาพทางกฎหมาย 3. มีประโยชน์สมประสงค์ ทั้งสามประการนี้อาจกล่าวได้ว่าเมื่อกฎหมายไม่ใช่เพื่อ
ความยุติธรรมแต่อย่างเดียว ดังนั้นถ้าเกิดความขัดแย้งระหว่างวัตถุทั้ง 3 เราจะใช้หลักอะไรเลือกอธิบายได้
Radbruch อธิบายว่าเราเอาความยุติธรรมก่อน เพราะวัตถุประสงค์อื่นมีเพื่อความสะดวกบางประการเท่านั้น
มิใช่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกฎหมาย
วิชานิติปรัชญากับวิชาธรรมศาสตร์ (Jurisprudence)
๑. ข้อความทั่วไป
วิชานิติปรัชญานี้มีความหมายต่างไปจากวิชา Jurisprudence หรือวิชาธรรมศาสตร์ที่มีการสอนและ
ศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ ถึงแม้ว่าปัจจุบันทั้ง 2 วิชานี้จะมีเนื้อหาสาระใกล้เคียงกันก็ตาม Jurisprudence
จึงหมายความว่า ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย แต่จะต้องเข้าใจด้วยว่าเป็นความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่ได้จัด
สานเป็นระบบแล้ว ซึ่งสูงกว่าความรู้ทางกฎหมายที่จำเป็นจะต้องมีเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติโดยตรง ฉะนั้น
วัตถุประสงค์ หรือ หน้าที่ของวิชานี้จึงอยู่ที่การวิเคราะห์กฎหมายบ้านเมือง (Positive Law) เพื่อให้หลักการ
ทั่วไปของกฎหมายเหล่านี้ โดยไม่มีการเท้าความถึงตำนานกำเนิด หรือวิวัฒนาการของกฎหมาย หรือคุณค่า
ทางจริยธรรมตลอดจนความมีเหตุผลของกฎหมายบ้านเมือง จึงมีลักษณะแคบกว่า วิชานิติปรัชญา
การศึกษากฎหมายในประเทศภาคพื้นยุโรปนั้นไม่ได้มีการแยกศึกษากฎหมายออกจากกันกล่าวคือ
ประเทศอังกฤษมีคำอยู่ 2 คำคือคำว่า กฎหมาย (law) กับคำว่า ความถูกต้อง (right) ซึ่งแยกออกจากกันทำให้
นักกฎหมายอังกฤษถือว่า กฎหมาย กับ ความชอบธรรมหรือความถูกต้องนั้นเป็นคนละเรื่องกัน และแยกการศึ
กากฎหมายออกจากความชอบธรรมหรือความถูกต้อง ในประเทศภาคพื้นยุโรปแล้วคำสองคำดังกล่าวใช้ใน
ความหมายอย่างเดียวกันเมื่อกล่าวถึงกฎหมายแล้วก็จะต้องระลึกถึงความชอบธรรมหรือความถูกต้องด้วย
กฎหมายกับความชอบธรรมหรือความถูกต้องที่มีอยู่ควบคู่กันไปจนสามารถใช้คำเดียวอธิบายได้โดยประเทศ
ฝรั่งเศสใช้คำว่า droit และประเทศเยอรมันใช้คำว่า Recht เพียงคำเดียวเท่านั้น นักนิติศาสตร์ในประเทศ
ภาคพื้นยุโรปจึงไม่ได้แยกกฎหมายออกจากความถูกต้องและแยกการศึกษาออกจากกันนั่นเอง
๒. วิชาธรรมศาสตร์เชิงวิเคราะห์ของ John Austin
วิชาธรรมศาสตร์ Jurisprudence เป็นวิชาที่ John Austin เป็นผู้สถาปนาขึ้นเป็นคนแรกในประเทศ
อังกฤษ ตามทัศนะของท่านปฏิเสธที่จะทำเอาการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่เป็นอยู่นั้นมาปรับปรุงกับการศึกษา
เกี่ยวกับกฎหมายที่ควรจะเป็น เห็นว่าเนื้อหาของวิชา Jurisprudence นี้นั้นควรจะจำกัดอยู่ในขอบเขตเฉพาะ
13

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายบ้านเมืองเท่านั้น โดยจะไม่มีการคำนึงว่ากฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในบ้านเมืองนั้นมี
เนื้อหาสาระของวิชานี้จะเป็นกฎหมายที่ดีเลว ยุติธรรม หรือ อยุติธรรม
วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ (Function) ของวิชา Jurisprudence นี้ก็ คือการอธิบายข้อความคิดทั่ว ไป
และหลักการทั่วไปที่มาจาก Positive Law กล่าวคือ John Austin ได้ชี้ให้เห็นว่าระบบกฎหมายที่เจริญแล้ว
ทุกระบบมีโครงสร้างทางความคิดที่เหมือนกันคล้ายคลึงกั น โดยมีการศึกษาโดยเอาคำแต่ละคำนั้นเอามา
แยกแยะ และหาเหตุผลเพื่อให้ได้ข้อความคิดที่มีลักษณะทั่วไป เป็นจริงในทุกระบบกฎหมายทุกหนทุกแห่งและ
ทุกกาลเวลาตลอดจนการแบ่งแยกหมวดหมู่และจัดระบบ สิทธิ และหน้าที่ ที่ชี้ให้เห็นถึงลักษณะเด่นอันเป็น
พื้นฐานในแต่ละระบบกฎหมายด้วย
ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เรียก Jurisprudence ของ จอห์นออสติน อีกชื่อหนึ่งว่า Analytical Jurisprudence
แต่เนื่องจากถ้อยคำเหล่านี้นอกจะเป็นถ้อยคำที่เป็นรากฐานใน Positive Law {คือกฎหมายที่มีสภาพบังคับอยู่ Law as it
is, not as it ought to be} แล้ว ยังเป็น ถ้อยคำที่ ใช้กัน อยู่ในวิช าการต่าง ๆ อีกด้ว ย ด้ว ยเหตุน ี้เองความรู้ในวิช า
Jurisprudence นี้จึงนำไปสู่ทฤษฎีที่ว่าด้วยลักษณะทั่ว ไปของกฎหมายหรือ ทฤษฎีกฎหมาย ของ จอห์น
ออสติน ที่นักกฎหมายโดยทั่วไปให้ความสนใจยิ่งกว่าเนื้อหาสาระของวิชานี้เสียอีก
คำสอนของ John Austin กล่าวโดยสรุปมีลักษณะพิเศษต่อไปนี้
1. ทฤษฎีกฎหมาย (Theory of law)
กฎหมายคือ คำสั่ง ของ รัฏฐาธิปัตย์ เมื่อออกกฎหมายเป็นคำสั่ง จะต้องถือว่าเป็นเรื่องของเจตจำนง (
Will ) ของคน กฎหมายจึงกลายเป็นเรื่องของอำนาจที่จะเลือกใช้ Austin ก็เห็นว่าต้องเป็นคำสั่งทั่วไป Austin
เองต้องการแสดงว่า กฎหมายจะต้องมี Authority จึงเน้นว่าเป็นคำสั่งโดยไม่คิดว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น กฎหมาย
จะต้องมีเจตจำนง ซึ่งมีผลให้ไม่มีความแน่นอน เพราะย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ
เมื่อเป็นคำสั่งของ รัฏฐาธิปัตย์ แล้วแสดงว่าจะต้องมีกฎหมายของชุมชนที่มี อำนาจอธิปไตย หรือเป็น
ชุมชนที่เป็นรัฐแล้ว ดังนั้นชุมชนในสมัยโบราณ จึงไม่มีกฎหมายตามทัศนะคติของ Austin เมื่อกฎหมายเป็น
คำสั่งจึงจะต้องมีสภาพบังคับ ใครขัดขืนจะต้องได้รับผลร้าย ซึ่งทำให้ต้องเน้นว่า กฎหมายต่างกับศีลธรรมตรงที่
มีสภาพบังคับ
๒. ทฤษฎีวิชาการนิติศาสตร์
วิชานิติศาสตร์ของ Austin ศึกษาเฉพาะกฎหมายบ้านเมืองเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงถึงความยุติธรรมหรือ
คุณค่าอื่น วิชา Jurisprudence นี้ Austin กล่าวว่าเป็น Philosophy of Positive Law ควรสังเกตว่า Austin
ใช้คำว่า ปรัชญา ในความหมายของวิชาความรู้ที่เป็นระบบทั้งหมด ซึ่งควรใช้คำว่า ศาสตร์ (Science) น่าจะ
ตรงมากกว่า ส่วนคำว่ากฎหมายบ้านเมือง หมายถึง กฎหมายที่มีสภาพบังคับ จะเห็นได้ว่ากฎหมายควรจะเป็น
อย่างไรนั้นไม่ใช่หน้าที่ของนักกฎหมายที่จะไปสนใจว่ากฎหมายควรจะเป็นอย่างไร นั้นเป็นหน้าที่ของวิชานิติ
บัญญัติซึ่งเป็นการสอนที่เป็นการตรงกันข้ามกับการศึกษาว่ากฎหมายคืออะไร ที่ศึกษามาตั้งแต่สมัยโบราณ
เพราะสมัยโบราณเห็นว่านิติศาสตร์เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรม แต่ Austin ไม่เห็นว่าจะเกี่ยวสัมพันธ์กัน
๓. ทฤษฎีนิติวิธีวิทยา
เป็นการศึกษากฎหมายใช้วิธีนำข้อความคิดในกฎหมายมาแยกแยะเปรียบเทียบ วิธีการศึกษากฎหมาย
จะต้องใช้วิธีการแยกแยะ วิเคราะห์ และแยกองค์ประกอบให้ดี ถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิด รวมถึงการ
ลงโทษต่าง ๆ มาวิเคราะห์หาข้อความคิดก่อนแยกองค์ประกอบให้ชัดเจน ความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายลักษณะ
ดังกล่าวมีความแน่นอนยืนไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลสมัย และตัวผู้พิพากษาที่เปลี่ยนไปในแต่ละคดี Austin จึง
เรียกวิชา Analytical Jurisprudence ว่า Philosophy of Positive Law
14

ขอบเขตของวิชานิติปรัชญา
การสอนและการศึกษาวิชานิติปรัชญานั้นจะแบ่งออกเป็น ๒ ภาคคือ
1. ภาคประวัติศาสตร์ (Historical Part)
2. ภาคระบบ (Systematic Part)
นิติปรัชญาภาคประวัติศาสตร์นี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของทฤษฎี
กฎหมาย ในสํานักความคิดทางทฤษฎีกฎหมายสำนักต่าง ๆ ตามยุคและขั้นตอนแห่งประวัติศาสตร์ ส่วนนิติ
ปรัชญาใน ภาคระบบ นั้นจะเป็นส่วนที่ศึกษาในเนื้อหาละเอียดที่แท้จริงของวิชานิติป รัชญาการศึกษาออกเป็น
นิติปรัชญาภาคทั่วไป และ นิติปรัชญาภาคเฉพาะ
(ก) นิติปรัชญาภาคทั่วไป
ศึกษาถึงเรื่องรากฐานทางทฤษฎีทั่วไปโดยมีรากฐานที่สำคัญอยู่ 3 ประการคือ
1. ปัญหาว่ากฎหมายคืออะไร ศึกษาในเรื่องของปัญหาที่จะดีบ่อเกิดของกฎหมายหรือปัญหาว่า
กฎหมายเกิดจากวิวัฒนาการหรือเกิดจากอะไรปัญหาเหล่านี้เรียกว่า ทฤษฎีวิวัฒนาการกฎหมาย
2. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับวิชานิติศาสตร์และตรรกวิทยา โดยศึกษาว่านิติศาสตร์คืออะไรมี
ขอบเขตอย่างไรซึ่งเป็นปัญหาที่ทฤษฎีวิชานิติศาสตร์ และมีวิธีคิดต่างจากวิชาอื่น ๆ หรือไม่ซึ่ง ทฤษฎีนิติวิธี
วิทยา นี้ เป็นทฤษฎีว่าด้วยวิธีในวิชานิติศาสตร์ว่าต่างจากศาสตร์อื่นอย่างไร
3. ปัญหาเกี่ยวกับคุณค่าของกฎหมายกฎหมายหนี้นั้นมีภารกิจอย่างไรส่งเสริมความยุติธรรม
หรือไม่อย่างไรปัญหาเหล่านี้ที่เชื่อมโยงกับทฤษฎีว่าด้วยกฎหมายหรือทฤษฎีความยุติธรรมหรือทฤษฎีการนิติ
บัญญัติ
(ข) นิติปรัชญาภาคเฉพาะ
จะเป็นการศึกษาเฉพาะปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละยุคสมัย
การศึกษานี้นั้นนอกจากจะศึกษาจากหลักฐานคดีกฎหมาย ทั้งระบบต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจและระบบทรัพย์สิน
ของสังคมซึ่งเป็นระบบที่เกิดขึ้นได้ และก็จะเป็นการศึกษาหาเหตุผลว่าทำไมรัฐจึงมีความชอบธรรมที่จะบังคับ
บัญชาราษฎร เมื่อใดราชการมีหน้าที่หรือผูกพันกันจะต้องเคารพเชื่อฟังกฎเกณฑ์แบบแผนที่กำหนดขึ้น เมื่อจะ
หลุ ด พ้ น จากหน้ า ที ่ ด ั ง กล่ า วนั ้ น ซึ่ ง เป็ น ปั ญ หาว่ า ความชอบธรรมของ การปฏิ ว ั ติ หรื อ การดื ้ อ แพ่ ง
(Disobedience) ไม่ปฏิบัติตามนี้หรือการศึกษาถึงสถานะของรัฐในประชาคมโลกและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของ
รัฐในระบบของโลกว่ามีลักษณะอย่างไร เป็นต้น
15

(ส่วนที่ ๒)
บทที่ ๑ สำนักความคิด
I.สำนักธรรมนิยม (Natural Law School)
สำนักกฎหมายธรรมชาติหรือธรรมนิยมเน้นว่า กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มีระเบียบอยู่โดยธรรมชาติของมันเอง
ไม่ขึ้นอยู่กับอำเภอใจของบุคคล มนุษย์ใช้ปัญญาไปค้นพบได้เท่านั้น
(ก) ลักษณะสำคัญของกฎหมายธรรมชาติ
สำนักธรรมนิยมมีความเห็นว่ากฎหมายธรรมชาติ เป็นกฎหมายที่แท้จริง หรือมีลักษณะสำคัญ 2
ประการ
ประกาศแรก ต้องเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป คือ เป็นจริงในทุกสถานที่ หลักเกณฑ์ใดที่เป็นจริงในสถานที่หนึ่ง
จะต้องเป็น จริงในอี กสถานที่หนึ่งด้วย ถ้าหากกฎเกณฑ์นั้นเป็นจริงในบางแห่งก็ถือว่ากฎเกณฑ์นั้นไม่ ใช่
กฎเกณฑ์ธรรมชาติ
ประการที่สอง กฎเกณฑ์ธรรมชาติจะต้องมีลักษณะนิรันดร คือเป็นจริงตลอดไป ต้องเป็นจริงในสมัย
หนึ่ง อีกสมัยหนึ่งก็ต้องเป็นจริงด้วย
ด้วยความเชื่อมั่นในความคิดต่าง ๆ นั้นจึงได้มีการพยายามค้นหาหลักเกณฑ์นี้คือต้องเป็นกฎเกณฑ์
ทั่วไป และ เป็นนิรนั ดร เพื่อนำมาใช้เป็นกฎเกณฑ์ของสังคมมนุษย์แต่ความพยายามนี้ยังอยู่ภายใต้ข้อจำกัดสอง
ประการ คือ
1 สังคมในสมัยนั้นเป็นสังคมแคบ ๆ ไม่ได้สื่อสารกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีจารีตประเพณีแตกต่าง
ออกไปจึงเชื่อว่า จารีตประเพณีของตนนั้น เป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป
2 การพัฒนาทางสังคมในสมัยนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและกฎเกณฑ์ไม่ชัด
กฎเกณฑ์ทางสังคมมีลักษณะเป็นจารีตประเพณีที่นับถือปฏิบัติต่อกันเรื่อย ๆ จึงเชื่อว่าจารีตของตนเป็นนิรันดร
(ข) ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายธรรมชาติและกฎหมายบ้านเมือง
ในเรื่องนี้นั้นได้มีการแบ่งแนวความคิดเป็น 2 แนวความคิด คือ
แนวความคิดหนึ่ง เห็นว่า กฎหมายธรรมชาติเป็น กฎหมายที่สงู กว่า (Higher Law) เป็นกฎหมายที่สูง
กว่ากฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในบ้านเมือง(Positive Law) ในแง่นี้จึงมองได้ว่ากฎหมายบ้านเมืองจะขัด แย้งกับ
กฎหมายธรรมชาติไม่ได้
ส่วนอีกแนวหนึ่งเห็นว่ากฎหมายธรรมชาติเป็น กฎหมายอุดมคติ กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเป็นกฎหมายที่
เป็นจริงความสัมพันธ์ระหว่างอุดมคติ และความเป็นจริง เป็นความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งและมีลักษณะดึงดูด และ
ผลักไล่กัน เพราะในอุดมคติเป็นอย่างหนึ่ง ความเป็นจริงแตกต่างกัน
ก่อนสมัยกลางถือว่ากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ (Positive Law) ไม่ควรขัดกฎหมายธรรมชาติแต่ในสมัย
กลางนักกฎหมายธรรมชาติ สำนักคริสเตียน ยังยืนยันว่ากฎหมายที่เป็นอยู่จะขัดกับกฎหมายธรรมชาติไม่ได้ ถ้า
ขัดถือว่าไม่เป็นกฎหมายหรือไม่มีผลบังคับ ประชาชนไม่มีหน้าที่ต้องเคารพกฎหมายนั้น เช่นนี้จึงหมายความว่า
กฎหมายธรรมชาตินั้นเป็นกฎหมายบังคับจริง ๆ จึงถือว่ากฎหมายธรรมชาติเป็นรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูง
กว่าส่วนกฎหมายที่เป็นอยู่จะเป็นกฎหมายต่ำกว่า
(ค) ความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์
ความคิดในเรื่องกฎหมายธรรมชาตินี้มีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติของมนุษย์ตั้งแต่ใน
สมัยกรีกจนถึงสมัยปัจจุบัน โดยมีทฤษฎีอยู่ 2 ทฤษฎี คือ
16

๑. ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติในอุดมคติ ในแง่นี้นั้นเห็นว่าธรรมชาติมนุษย์มีเหตุผล เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า


มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผลสามารถรู้จักผิดชอบชั่วดีได้ และเชื่อว่ามนุษย์สามารถที่จะทำความเข้าใจเนื้ อหา
หลักเกณฑ์ที่มีลั กษณะทั่วไป และไม่ยอมเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า “กฎหมายธรรมชาติ” ทฤษฎีนี้กล่าวได้ว่า
สังคมหรือรัฐของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นโดยธรรมชาติที่มีเหตุผลของมนุษย์ รัฐจึงเป็นสิ่งที่พิจารณาวิเคราะห์ด้วยเหตุ
ผลได้ แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ก็ได้ ก็ด้วยเหตุผลเช่นกัน กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมก็เป็นระบบของ
เหตุผลสามารถพัฒนาได้เช่นกัน มนุษย์มีเหตุผลจึงอาจถือได้ว่าแก่นแท้แล้วนั้น มนุษย์นั้นเป็นคนดีมีเหตุผล จึง
สามารถเข้าถึงเหตุผลตามธรรมชาติหรือกฎหมายธรรมชาติได้ ทฤษฎีอย่างนี้นั้นจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สำนัก
ธรรมนิยม” ที่เชื่อว่ามี หลักธรรม ที่เป็นกลาง เป็นภาวะวิสัยมิใช่กำหนดขึ้นโดยมนุษย์ แต่ดำรงอยู่ในตัวมนุษย์
มนุษย์มีความสามารถที่จ ะเข้าใจได้ ในแง่นี้จึงเรียกว่า กฎหมายคือธรรมะ หรือธรรมะคือกฎหมาย ตาม
ความคิดนี้นั่นเอง
๒. กฎหมายธรรมชาติในแง่กายภาพหรือปรากฏการณ์ ทฤษฎีนี้เชื่อว่าจักรวาลมีกฎเกณฑ์เหมือนกัน
แต่เป็นกฎเกณฑ์ในลักษณะเดียวกันกับกฎเกณฑ์ทางกายภาพ เป็นเรื่องของ “พละกำลัง” ไม่ใช่กฎแห่งเหตุผล
โดยไม่เชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่มีเหตุผล มนุษย์เป็นสัตว์ที่ดำเนินชีวิตหรือประพฤติไปตามความต้องการระบบ
สังคม จึงเป็นระบบของอำนาจ เราไม่สามารถที่จะชี้ได้ว่าอะไรผิดอะไรถูกถ้าหากว่าไม่คำนึง เรื่องอำนาจและ
ผลประโยชน์ ดังนั้นเมื่อมีความขัดแย้งก็จะใช้กำลัง อำนาจฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะกฎเกณฑ์ที่ ตั้งขึ้นก็มาจาก
กฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง สำนักแนวคิดนี้เชื่อในกฎเกณฑ์ธรรมชาติเหมือนกัน แต่ธรรมชาติตามความหมายของทฤษฎี
นี้ หมายถึง กฎเกณฑ์ในทางกายภาพที่ปรากฏอยู่อย่างเป็นรูป ธรรม สำนักนี้เชื่อว่ารัฐหรือสังคมมนุษย์นั้น
เกิดขึ้นจากพละกำลัง รัฐจึงเน้นปรากฏการณ์ของอำนาจเท่านั้น กล่าวคือ ฝ่ ายปกครองบังคับผู้อยู่ใต้การ
ปกครองด้วยอำนาจ นั่นเอง
II.สำนักประวัติศาสตร์ (Historical School)
สำนักประวัติศาสตร์มีความคิดที่สำคัญที่ก่อขึ้นโดยศาสตราจารย์ Von Savigny กฎหมายไม่ใช่สิ่งที่
มนุษย์ส ร้างขึ้น ได้ตามใจชอบแต่เป็น สิ่งที่เกิดขึ้นโดยตัว ของมันเอง แล้ว เติบโตเปลี่ ยนแปลงเป็นไปตาม
ประวัติศาสตร์หรือลักษณะของชนชาติเหมือนกับต้นไม้ หรือคน หรือสัตว์เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะค่อย ๆ เติบโตไป
ตามหลักเกณฑ์วิวัฒนาการ
กฎหมายเปรียบเสมือนภาษาประจำชาติซึ่งจะต้องค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการไปตามสังคมของ
ชนชาติ ทั้งนี้เพราะกฎหมายเป็นผลผลิตของชนชาติ กฎหมายของชนชาติใดย่อมเป็นไปตามความรู้สึกของชน
ชาติน ั้น ที่เรีย กว่า จิตใจหรือจิตวิญญาณของชนชาติ โดย ซาวิญญี่ ได้อธิบายว่าชนชาติแต่ล ะชนชาติ มี
ประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ความคิดความรู้สึกหรือจิตใจย่อมแตกต่างกัน กฎหมายแต่ละชนชาติเกิดจากจิต
วิญญาณของชนชาติที่แสดงออกในรูปแบบของขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ซึ่งปฏิบัติอยู่ในสังคมแต่ละชน
ชาติหรือกฎหมายประเพณีสำคัญ
Savigny การบัญญัติกฎหมายจะต้องศึกษาถึงจารีตประเพณีของชนชาติก่อนนั้นก่อนที่จะมีประมวล
กฎหมายจะต้องรู้ถึงการประเพณีของชาติ ความคิดนี้เน้นจารีตประเพณี เน้นประวัติศาสตร์ของชนชาติจึงเรียก
สำนักนีว้ า่ สำนักประวัติศาสตร์
กล่าวโดยสรุป สำนักประวัติศาสตร์เสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับกฎหมายที่สำคัญ 3 ประการคือ
1. ทฤษฎีกฎหมาย (Theory of Law)
สำนักประวัติศาสตร์อธิบายว่ารากฐานของกฎหมายหรือแก่นของกฎหมายคือ จิตวิญญาณประชาชาติ
(Volksgeist) ซึ่งเกิดจากลักษณะพิเศษของแต่ละชาติ รูปลักษณ์ของมันวิวัฒนาการไปตามประวัติศาสตร์
17

เพราะฉะนั้ น Volksgeist ของชาติใดจึงเหมือนกับลมปราณวิญญาณของชาตินั้น ซึ่งแต่ละชาติมีแต่ความ


แตกต่างจากประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งสะสมอยู่ในจิตใจตั้งแต่เริ่มต้นเกิดและมีประสบการณ์มาจนโต
Savigny เน้นว่ากฎหมายนั้นค่อยๆเกิดขึ้นและวิวัฒนาการไปตามประวัติศาสตร์มิใช่ขึ้นอยู่กับเจตจำนง
(Will) ของใคร เมื่อไม่ขึ้นอยู่กับเจตจำนง ก็ต้องปล่อยให้เกิดขึ้นและวิวัฒนาการไปเอง ถ้าเป็นเรื่องเจตจำนง นั้น
เราสามารถบังคับด้วยจิตใจให้เป็นอย่างไรก็ได้ Volksgeist ไม่อยู่ใต้บังคับของจิตใจหรือตัวบุคคล ดังเช่นระบบ
การเต้นของหัวใจที่เป็นไปตามจังหวะของมันทุกนาที ดังนั้นเราจะปรับหัวใจให้มันเต้นตามความต้องการของ
เราไม่ได้ เราจะต้องทำตามระบบการทำงานของมันการนำกฎหมายธรรมชาติไปทำประมวลกฎหมายก็
เหมือนกับเราบังคับหัวใจให้เต้นตามที่เราต้องการ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะกฎหมายไม่ได้อยู่ใต้เจตจำนงของ
คนที่จะทำขึ้นโดยอำนาจอำเภอใจนั้นมิได้ แต่ต้องปล่อยให้วัฒนาการไปเอง เหมือนค่อยๆเจริญเติบโตขึ้นมา ใน
สำนักนี้ถือว่า Volksgeist นั้นเป็นแก่นของกฎหมาย และกฎหมายที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ จารีตประเพณี หรือ
กฎหมายประเพณี
2. ทฤษฎีวิวัฒนาการของกฎหมาย
กฎหมายเกิดขึ้นได้จาก จิตวิญญาณประชาชาติ พัฒนาการมาเป็น กฎหมายชาวบ้าน และพัฒนาจาก
กฎหมายชาวบ้ า นไปสู่ กฎหมายนั ก กฎหมาย {รศ.สมยศ ย้ำ ในสำนัก ประวัติศาสตร์ ไม่มี กฎหมายเทคนิค } สำหรั บ
กระบวนการบัญญัตินั้น สำนักประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากผลของวิช านิติศาสตร์
เพราะฉะนั้นกล่าวว่า สำนักประวัติศาสตร์เป็นปฏิปักษ์กับการนิติบัญญัติโดยเด็ดขาดนั้นย่อมไม่ถูกต้อง เพียงแต่
สำนักประวัติศาสตร์มีวิธีการและความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และถือว่าการนิติบัญญัติเป็นเพียงการบันทึกผล
ของนิติศาสตร์เท่านั้น ความคิดของสำนักประวัติศาสตร์นี้มีความสำคัญต่อการนิติบัญ ญัติสมัยใหม่ เพราะ
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ ของโลกที่เรียกว่า การนิติบัญญัติ ดังคำกล่าวของ ศาสตราจารย์
Rehfld ที่ว่า “การค้นพบการนิติบัญญัติของมนุษย์มีความร้ายแรงอย่างมหาศาลยิ่งกว่าการค้น พบไฟและดิน
ปืน” ความคิดของสำนักประวัติศาสตร์ ช่วยเตือนให้มีความระมัดระวังในการบัญญัติกฎหมายเพื่อไม่ให้เป็นไป
ตามอำเภอใจ
๓. ทฤษฎีวิชาการนิติศาสตร์
สำนัก ประวัติศาสตร์ คั ดค้ านความคิด การศึ กษาแบบ Glossator และ Post - Glossator ซึ่ง เป็ น
นักศึกษากฎหมายโรมันที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัย จัสติเนียน โดยถือว่าเป็น คัมภีร์แห่งเหตุผล แย้งไม่ได้ และไม่
คำนึงถึงความเป็นมาของบทกฎหมาย หรือข้อเท็จจริง สนใจแต่บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรในคัม ภีร์เท่านั้น
จึงถูกเรียกว่าเป็น ความคิดตัดขาดจากประวัติศาสตร์
พวก Glossator และ Post - Glossator เป็นนักนิติศาสตร์ในอิตาลีที่ถือว่ากฎหมายของพระเจ้าจัสติ
เนียนนั้นเป็นกฎหมายปัจจุบันของเขา Savigny เห็นว่าการศึกษากฎหมายอย่างนั้นไม่สามารถทำให้เข้าใจ
กฎหมายได้อย่างถ่องแท้ไม่มีการสืบสวนไปดูว่าตัวบทที่แท้จริงแล้วนั้นมีความเป็นมาอย่างไร
การศึกษาของ Savigny ที่เสนอนิติวิธีทางประวัติศาสตร์ ทำให้สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณของกฎหมาย
วิชากฎหมายโรมันก้าวหน้าและลึกซึ้งยิ่งกว่าเก่า ก่อให้เกิดวิชาที่มุ่งศึกษากฎหมายโรมันมิใช่ในฐานะของ “ของ
ลายคราม” แต่เป็นของที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือเป็น กฎหมายที่มีชีวิต
สำนักประวัติศาสตร์ มี ข้อดี ที่เน้นความสําคัญของจารีตประเพณี โดยเห็นว่ากฎหมายไม่ใช่ สิ่งที่อยู่
อย่างโดดเดียวที่ไม่เกี่ยวกับจิตใจ หรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของประชาชน เพราะฉะนั้นนักประวัติศาสตร์เห็น
ว่ากฎหมายเกิดจากวิญญาณของประชาชาติ
18

ส่วน ข้อบกพร่อง ของสำนักประวัติศาสตร์ คือ มองไม่เห็นบทบาทของการนิติบัญญัติ ในปัจจุบันที่


จำเป็นจะต้องบัญญัติกฎหมายตอบสนองการพัฒนาของสังคมสมัยใหม่ การออกกฎหมายควบคุมสาธารณสุขใน
สังคมมากขึ้นหรือกฎหมายความปลอดภัยอื่น ๆ ในทำนองที่เป็น วิศวกรสังคมกฎหมาย ในทางเทคนิคพิเศษ
เช่นนี้สำนักประวัติศาสตร์จึงไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมสมัยใหม่ซึ่งจะต้องมีการบัญญัติกฎหมาย
เป็นจำนวนมากและกฎหมายส่วนนี้อาจเปลี่ยนแปลงโดยรวดเร็ว ได้ไม่เหมือนกับกฎหมายที่เป็นความผิดใน
ตัวเอง (Mala in se) ต้องอยู่กับศีลธรรมและจารีตประเพณีพัฒนาการไปเรื่อย ๆ
การนิติบัญญัติในทัศนะของสำนักประวัติศาสตร์จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีความรู้ทางวิชาการอย่างชัดเจนทำ
ให้นิติบัญญัติต้องเดินตามหลังวิชาการในฐานะที่วิชาการนั้นเป็นการแสดงตัวออกมาจากวิญญาณประชาชาติ
การนิติบัญญัติจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
เมื่อเปรียบเทียบ สำนักประวัติศาสตร์ กับ สำนักกฎหมายธรรมชาติ มีข้อสังเกตว่าคำสอนของนัก
ประวัติศาสตร์ในแง่หนึ่งต้องนับว่ามีความคิดพื้นฐานที่ตรงกับสำนักกฎหมายธรรมชาติในประการที่สำคัญ คือ
ต่างก็เชื่อว่า กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในบ้านเมืองนั้นไม่ใช่สิ่งที่ ขึ้นกับอำนาจหรือเจตจำนงของผู้ใด
ในเรื่องของความ แตกต่า ง กัน นั้นมีการแตกต่างบางประการคื อ จิตวิญญาณประชาชาติ ตาม
แนวความคิดของสำนักประวัติศาสตร์ มีความคล้ายคลึงกับ เหตุผล ในสำนักความคิดกฎหมายธรรมชาติ มี
ความซับซ้อนมากกว่า เพราะความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของชนชาตินั้นนอกจากเกิดขึ้นจากเหตุผลที่มีอยู่ภายใต้
จิตใจแล้วยังต้องประกอบด้วยอารมณ์และความรู้สึกอย่างอื่นซึ่งเกิดจากข้อเท็จจริงทางสังคม ประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์ และชีววิทยา
อีกประการคือ ความคิดของสำนักประวัติศาสตร์สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงวิ วัฒนาการทาง
กฎหมายเป็นขั้นตอนซึ่งทฤษฎีของสำนักกฎหมายธรรมชาติไม่อาจอธิบายได้เพราะมองว่ากฎหมายเป็นกฎ
สากลไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ใด นั่นเอง
III.สำนักกฎหมายบ้านเมือง (Legal positivism)
จากสำนักธรรมนิยมหรือสำนักกฎหมายธรรมชาติ มีความรุ่งโรจน์ถึงขนาดที่แนวความคิดของกฎหมาย
ของสำนักกฎหมายธรรมชาติได้รับการบัญญัติเป็ นกฎหมายใช้บังคับทั่วไป กฎหมายลายลักษณ์อักษรมากมาย
และมีประมวลกฎหมายในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอื่น ๆ ในยุโรปจนมีความรู้สึกว่า กฎหมายทั้งระบบ
ประกอบด้วยกฎหมายลายลักษณ์อักษรบัญญัติขึ้นโดยกระบวนการนิติบัญญัติเป็นของรัฐ เป็นส่วนสำคัญของ
กฎหมายส่วนเดียวที่พึงมีอ ยู่ รวมทั้งรู้สึกทั่วไปว่าสิ่งที่บัญญัติขึ้นนั้นเป็นกฎหมายแท้จริงเพราะเป็นไปตาม
เจตจำนง หรือ เจตนารมณ์ของ รัฏฐาธิปัตย์ หรืออีกนัยหนึ่ง รัฐบัญญัติหล่านั้นเป็นกฎหมายที่แท้จริง รัฏฐาธิ
ปัตย์จะบัญญัติกฎหมายอย่างไรก็ได้ตามใจชอบ ทำให้มีแนวโน้มในการบัญญัติกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป
กล่าวคือ ก่อนหน้าที่จะมีการบัญญัติกฎหมายเป็นไปตามเหตุผลตามธรรมชาติ ตามแนวความคิดของสำนัก
ธรรมชาติ ก็เปลี่ยนจากการบัญญัติกฎหมายตามเจตจำนง เป็นของรัฏฐาธิปัตย์ กฎหมายแทนที่จะเป็นเรื่องของ
เหตุผลจึงกลายเป็นเรื่องเจตจำนงหรือเรื่องอำนาจของรัฐ
แนวความคิดกฎหมายบ้านเมืองนั้ นปฏิเสธกฎหมายธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่สูงกว่า ที่เป็น
กฎหมายอุดมคติ หรือกฎหมายธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นกฎหมายที่แท้จริง คือ กฎหมายบ้านเมือง
หรือกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เท่านั้น กฎหมายบ้านเมือง (Positive Law) เป็นกฎหมายที่ตั้งอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัย
กฎหมายสูงกว่าเนื่องจาก รัฏฐาธิปัตย์ มีอำนาจสูงสุดและมีความชอบธรรมที่จะออกกฎหมายใดใดก็ได้ โดยไม่
อาจโต้แย้งถึงความถูกผิด ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้กล่าวว่า กฎหมายของ รัฏฐาธิปัตย์ ไม่อาจเป็นความอยุติธรรมได้
เพราะ กฎหมายของรัฏฐาธิปัตย์ นั้นเป็นผู้กำหนดความยุติธรรม ความอยุติธรรม ความถูกผิด ความดีชั่ว ซึ่ง
19

เป็นการปฏิเสธความคิดเรื่องความเป็นธรรมหรือความยุติธรรมมันเป็นรากฐานความคิดทางกฎหมายแต่โบราณ
ด้วยเหตุนี้ความคิดของสำนักนี้ทำให้นักกฎหมายไม่สำนึกถึงหน้าที่ของตนว่าวิชานิติศาสตร์เป็นวิชาที่แสวงหา
ความเป็นธรรมอันเป็นอุดมคติในทางกฎหมายที่มีมาแต่เดิมนั่นเอง
กล่าวโดยสรุป แล้วสำนักกฎหมายบ้านเมือง มีความคิดว่า กฎหมายบ้านเมือง หรือกฎหมายที่ใช้บังคับ
อยู่ในบ้านเมือง (Positive Law) ซึ่งบัญญัติขึ้นโดยรัฐเป็นกฎหมายที่แท้จริง มีความบริบูรณ์ในตัวเอง ไม่มี
กฎหมายอื่นที่เหนือกว่า การแก้ไขข้อปัญหาทั้งปวงจากข้อคิดกฎหมายบ้านเมืองที่ใช้บังคับอยู่ไม่ต้องพึ่งพา
หลักการอื่นใดสูงกว่า ความคิดของสำนักกฎหมายบ้านเมืองนั้นแบ่งออกเป็น 2 แง่คือ
๑.ทฤษฎีกฎหมาย (Theory of Law) สำนักกฎหมายบ้านเมืองมีทัศนะว่า มีแต่กฎหมายบ้านเมืองที่ได้
บัญญัติขึ้นโดยเจตจำนงของรัฐที่ พิจารณาอย่างดีแล้วเท่านั้นที่เป็นกฎหมายแท้จริง ความคิดในแง่นี้เกิดขึ้น
พร้อม ๆ กับการขยายตัวของรัฐสมัยใหม่ที่ต้องการความคิดทางทฤษฎีการเมืองและกฎหมายมาปรุงแต่ง รัฐ
เกิดขึ้นใหม่ที่จะต้องสนับสนุน รัฐฆราวาส ว่ามีความชอบธรรมที่จะทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องอ้างศาสนจักรซึ่งเชื่ อ
กันว่าผู้แสดงพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและควบคุมอาณาจักรมาตลอดในสมัยกลาง จึงทำให้รัฐสมัยใหม่
นั้นมีอำนาจยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม ความคิดที่ส่งเสริมอำนาจสมัยใหม่นี้ก่อให้เกิดผลทางทฤษฎีกฎหมายที่เรียกว่า
สำนักความคิดกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งถือว่ากฎหมายนั้นเป็นผลผลิตของอำนาจแห่งรัฐ
๒.ทฤษฎีว ิชาการนิติศาสตร์ มีความคิดในทางนิติศาสตร์ว ่าระบบกฎหมายมีความสมบูรณ์ในตัว
กล่าวคือนิติศาสตร์นั้นเป็นวิชาการที่พยายามสร้างตัวเองให้สมบูรณ์ คือ พยายามเอาตัวเองออกจากสำนักธรรม
นิยม และจารีตประเพณี ว่าลักษณะพิเศษของกฎหมายมีความแตกต่างจากกฎเกณฑ์ของสังคมอย่างอื่นอย่างไร
และพยายามพัฒนาตนเองให้มีความแน่นอนชัดเจนสม่ำเสมอ ดังนั้นนักกฎหมายไม่ต้องไปสนใจสิ่งอื่นใด
นอกจากกฎหมายบ้านเมือง
วิชาการนิติศาสตร์จึงเป็นผลมาจากความพยายามของนักวิชาการที่จะแสวงหากฎเกณฑ์ที่แน่นอน
ชัดเจนตายตัวและพยายามแยกแยะองค์ประกอบแล้วชี้ว่าอะไรคือกฎหมายดังเช่น ทฤษฎีกฎหมายบริสุทธิ์
จากคำสอนของสำนักกฎหมายบ้านเมือง (Legal Positivsm) ทำให้เกิดผลทางความคิดต่อไปนี้
1. กฎหมายเป็นเรื่องของคำสั่งของรัฐ หรือว่ารัฐเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดไม่ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ใด ๆ
กฎหมายจึงเป็นเรื่องของเจตจำนงของรัฐหรือของผู้มีอำนาจ มิใช่เรื่องของความดี-ชั่ว ถูก-ผิด ในตัวเอง หรือ
เป็นเรื่องของความยุติธรรมกลาง ๆ ไม่ขึ้นอยู่กับจิตใจของใคร
2. กฎหมายเป็น เรื่ องของเจตจำนงของมนุษย์ไม่ใช่เรื่อ งเหตุผ ลของมนุษย์ ดังนั้นกฎหมายจะมี
เนื้อความอย่างไรก็ได้ มีความยุติธรรม หรือไม่มี ไม่ใช่ที่เรื่องนักนิติศาสตร์จะต้องพิจารณาเพราะเมื่อเป็นเรื่อง
ของอำนาจผู้มีอำนาจจะสั่งอย่างไรก็ได้ ดังนั้นกฎหมายจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องเป็นธรรมเสมอ นักกฎหมายในสำนัก
ความคิดนี้จึงนิยมว่า นี่เป็นความยุติธรรมตามกฎหมาย มีความหมายโดยปริยายว่าความยุติธรรมตามกฎหมาย
นั้นอาจไม่เป็น ธรรมตามเหตุผลธรรมดาที่มนุษย์สามัญจะรู้สึก ก็ได้
IV.สำนักความคิดกฎหมายทางสังคมวิทยา (The Sociological School of Law)
เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไป กฎเกณฑ์เก่าที่มีอยู่ก็ไม่ทันกับเหตุการณ์ ในความคิดของนักกฎหมายพอใจ
ดื่มด่ำอยู่ในระบบของตน ทำให้เกิดปัญหาสังคม โดยสภาพเช่นนี้การโน้มเอียงที่จะศึกษากฎหมายในแง่อื่น
นอกจากในแง่วิชานิติศาสตร์โดยแท้จึงเกิดให้เป็นแนวคิด กฎหมายทางสังคมวิทยา หรือนิติศาสตร์ทางสังคม
กล่าวคือ สนใจว่าการศึกษากฎหมายนั้นไม่ใช่แต่จะพิจารณาระบบของกฎหมายเท่านั้น จะต้องพิจารณาว่า
ระบบกฎหมายมีบริบท คือมีสภาพแวดล้อมอย่างไร อยู่ในสังคมไหนมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาและอยู่ใน
ประเทศที่มีภูมิอากาศอย่างไร
20

มองเตสกิเออร์อธิบายว่ากฎหมายทั้งหลายเป็นส่วนสำคัญทั่วไปอย่างที่สุด คือความสัมพันธ์ที่จำจะต้อง
เป็นอันเช่นที่เกิดจากเหตุผลของเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น มนุษย์ก็มีกฎหมายของมนุษย์ พระเจ้าก็มีกฎหมายของ
พระเจ้า สัตว์ก็มีกฎหมายของสัตว์ คำกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่ามองแต่ในเนื้อแท้ยังเป็นนักกฎหมายธรรมชาติในแง่ที่
ถือว่ามีความถูกผิดอยู่ในตัวของมันเองตามเหตุผล เรื่องของจริงไม่ใช่เป็นคนที่ตั้งขึ้นเองตามใจชอบแต่เป็นนัก
คิดในสำนักกฎหมายธรรมชาติที่เน้นเหตุผลเรื่องภายนอก เน้นความสัมพันธ์ของสิ่งใดนอกทำให้รู้ว่าอะไรถูก
อะไรผิดไม่ได้เน้นเรื่องเหตุผลภายในนั้นหนังสือ The Spirit of The Law ของท่านมีความมุ่งหมายอย่างเดียว
คือเพื่อแสดงให้เห็นถึงเหตุผลเรื่องของกฎหมายว่า แต่ละเรื่องมีบริบทอย่างไร จึงก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย
เช่นนั้น
สิ่งเหล่านี้มีส่วนในการปรุงแต่งกฎหมายตามความคิดของ มองเตสกิเออ กฎหมายไม่ใช่คำสั่งของ
รัฏฐาธิปัตย์ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ กฎหมายจึงเป็นไปตามเหตุผลของเรื่องลักษณะ
หรือรูปนั้นเอง จึงนับได้ว่าเป็นผู้เริ่มต้นสอนนักกฎหมายว่า การเรียนกฎหมายไม่ใช่เรียนแต่ระบบกฎหมายที่
เป็นอยู่คือศึกษาตัวบทกฎหมายเท่านั้น แต่ต้องศึกษาสังคมด้วย กล่าวได้ว่าสังคมวิทยากฎหมายนอกจากมอง
เตสกิเออ แล้วยังมี ซาวิญญี่ จัดว่าเป็นผู้ที่มีความคิดโน้มเอียงไปทางสังคมวิทยาด้วย เขาเสนอแนะว่าการศึกษา
ธรรมดาทำอย่างไรนั้นก็ไม่พอ ต้องเอามาวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ประวัติศาสตร์ทางภาษาให้เข้าใจตัวบทกฎหมาย
ยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ด้วย เหตุนี้มีคุณูปการต่อวิชานิติศาสตร์ คือ ปลดปล่อยนักกฎหมายให้มีสายตาที่ยาวและกว้าง
ขึ้นกว่าเดิม นั่นเอง
การศึกษาในลักษณะที่มีแนวโน้มไปทางสังคมวิทยาก็มาถึงจุดสิ้นสุดลงเอยเป็นวิชาใหม่ที่เรียกว่า
sociology of law ,Anthropology of laws ,Ethnology of Law ผู ้ ท ี ่ เ ริ ่ ม วิ ช า Ethnology คื อ Joseph
Kohler เป็ น นั ก ปรั ช ญาทางนิ ต ิ ป รั ช ญาของเยอรมั น ในสมั ย นั ้ น ซึ ่ ง เน้ น ว่ า กฎหมายจะต้ อ งถื อ ว่า เป็น
ปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม เป็นความคิดที่ต่อเนื่องจากเขาคิดว่ากฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมบทบาท
ขอให้เกิดวิวัฒนาการในการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมของมนุษยชาติโดยปกปักรักษาคุ้มค่าที่มีอยู่แต่บนจารีต
ประเพณีเหล่านั้ นมารักษาไว้ในรูปแบบของหมายประเพณีในรูปแบบเอามาเก็บไว้ในรูปของกฎหมายลาย
ลักษณ์อักษรและสร้างคุณค่าใหม่ การนำเอาจารีตประเพณีเหล่านั้นมารักษาไว้ในรูปของกฎหมายประเพณีหรือ
ในรูปที่เอามาเขียนไว้ในกฎหมายลายลักษณ์อักษรและสร้างคุณค่าใหม่ คือ กฎเกณฑ์ใหม่สร้างขึ้นโดยฝ่ายนิ ติ
บัญญัติ เช่น จารีตประเพณีของไทยเดิม มีภรรยาได้หลายคน เมื่อมีประมวลกฎหมายใหม่กำหนดว่าต้อง มีสามี
ภรรยาได้คนเดียว จึงเป็นการเอากฎหมายของฝรั่งมาในเมืองไทย อย่างนี้เป็นตัวอย่างของเรื่อง การสร้างคุณค่า
ใหม่ นั่นเอง

บทที่ ๒ ทฤษฏีกฎหมายสามชั้น (Three-Layer Theory of Law)


กฎหมายคืออะไร ?
กฎหมายคืออะไร เป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งในวิชานิติปรัชญา การพิจารณานี้อาจมองได้หลายแง่มุมและ
จะได้คำตอบที่แตกต่างกันไปตามกฎหมายสามชั้น โดยใช้วิธีการเข้าสู่ปัญหานี้โดยการศึกษาจากประวัติศาสตร์
หรือวิธีการเข้าสู่ปัญหาทางประวัติศาสตร์เพราะเห็นว่าการที่จะเข้าใจกฎหมายได้อย่างถูกต้ องตรงตามความ
เป็นจริงนั้นจะต้องมองกฎหมายในสภาพที่มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงในภาพนิ่ง เพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่มี
การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดมาในประวัติศาสตร์ การมองอย่างภาพนิ่งทำให้หลงเข้าใจผิดคิดว่าลักษณะ
พิเศษของกฎหมายที่ปรากฏเด่นชัดในยุคใดเป็นลักษณะทั่วไปของกฎหมาย ดังนั้น มองภาพของกฎหมายเพี้ยน
ไปจากความเป็นจริงจึงต้องอธิบายวิวัฒนาการของกฎหมายไปพร้อมกับการอธิบายวิวัฒนาการของสังคม ดังคำ
21

ที่ว่า “ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย” โดยสรุปว่าวิวัฒนาการของกฎหมายนั้นมี 3 ยุค และมีกฎหมาย 3


รูปแบบคือ กฎหมายประเพณีหรือกฎหมายชาวบ้าน ,กฎหมายของนักกฎหมาย และ กฎหมายเทคนิค
I.กฎหมายชาวบ้าน
กฎหมายเกิดขึ้นโดยมนุษย์บัญญัติขึ้น หรือกำหนดขึ้นโดยเจตจำนงของมนุษย์ หรือเกิดขึ้นโดยการก่อ
ตัวขึ้นเอง
ในปัญหานี้มีกฎหมายสามชั้นเห็นว่า เกิดขึ้นเองในสังคมมนุษย์แล้วค่อยคลี่คลายออก ต่อมาจนถึง
ปัจจุบัน ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการสร้างโดยเจตจำนงของมนุษย์แต่อย่างใด ในการตอบปัญหากฎหมายสามชั้นให้
เหตุผลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และผลการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการในปัจจุบันพบว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น
เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริง ทฤษฎีกฎหมายสามชั้นเห็นว่ามีอยู่ในหมู่สัตว์ทุกชนิด
รวมทั้งในสังคมของมนุษย์ด้วย เช่น หลักอำนาจบังคับทางดินแดนนั้น มีลักษณะทำนองเดียวกันกับการหวง
แหนทรัพย์สินของมนุษย์ที่เป็นข้อจำกัดขอบเขตความประพฤติเช่นนี้เป็นเครื่องมือป้องกันและตัดทอนการ
วิวาทหรือการต่อสู้ในการรบกวนสิทธิ์ของกันและกัน
กฎเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็น สิ่งที่ส่งเสริมการดำรงอยู่ของชีวิต และกฎเกณฑ์เหล่านี้ถูก ปฏิบัติอย่าง
สม่ำเสมอ ติดต่อกันอย่างชัดเจนกฎเกณฑ์เหล่านี้ก็จะได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและคนรู้สึกจะต้อง
ปฏิบัติเช่นนั้นถึงขนาดที่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่ต้องมีการวินิจฉัยใด ๆ อีกกฎเกณฑ์ดังกล่าวก็จะเป็น
ขนบธรรมเนียมประเพณีหากได้ทำเป็นกิจจะลักษณะยิ่งขึ้นประเพณีดังกล่าวก็จะพัฒนาเป็นกฎหมายประเพณี
หรือก็คือกฎหมายชาวบ้าน
จะรู้ได้อย่างไรว่ากฎเกณฑ์นั้นเป็นแบบแผนที่ถูกต้องจะต้องปฏิบัติตามเช่นนั้นโดยวิเคราะห์จาก {อ.ปรีดี
กล่าวว่า} “เหตุผลของมนุษย์” จึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญก็คือ
1. ความสามารถในการจำแนกแยกแยะข้อเท็จจริงหรือเหตุผ ลในทางข้อเท็จจริง เป็นเรื่องของ
ความสามารถในการจำได้หมายรู้ว่าสิ่งหนึ่งเหมือนหรือต่างกับอีกสิ่งหนึ่งอย่างไร
2. ความสามารถที่จะรู้ได้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ผิดอะไรเป็นสิ่งถูกหรือเรียกว่าเหตุผลทางศีลธรรมซึ่งมนุษย์
นั้นก็จะใช้ความสามารถนี้สถานการณ์ต่าง ๆ ประกอบกับความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงซึ่งข้อเท็ จจริงเหล่านี้มี
ระบบระเบียบในตัวมันเองเรียกว่าเหตุผลของเรื่องและมนุษย์จะใช้ความสามารถทางศิลปะทำมาวิเคราะห์เพื่อ
ชี้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกหรือผิด
II.กฎหมายของนักกฎหมาย
ในสังคมเริ่มแรกมนุษย์ได้ปฏิบัติตามกฎหมายบางอย่างก็ปฏิบัติการโดยอาศัยความเข้าใจอย่างง่าย ๆ
ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมควรจะปฏิบัติตามโดยไม่ใช้เหตุมาประกอบการพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แต่ตอนนี้เริ่มพัฒนา
เรียนรู้ความหมายแฝงอยู่ในสิ่งเหล่านั้นถ้ามีข้อโต้แย้งก็นำเอาหลักเกณฑ์ที่มีอยู่มาช่วย วินิจฉัยข้อพิพาท ใน
ขณะเดียวกันก็ค่อย ๆ นำเหตุผลกฎเกณฑ์และวิธีบังคับตามกฎหมายเหล่านี้ให้ละเอียดซับซ้อนยิ่งขึ้น จน
กลายเป็นกฎเกณฑ์ที่ต้องใช้เหตุผลซับซ้อนมากขึ้น จึงจะสามารถเข้าใจหรือเข้าถึงได้ เหตุผลที่นักกฎหมาย
นำมาใช้ในการตัดสินคดีนั้นจึงเรียกว่า เหตุผลปรุงแต่งทางกฎหมาย เป็นเหตุผลที่นักกฎหมายปรุงแต่งขึ้นจาก
เหตุผลธรรมดาสามัญ นั่นเอง
III.กฎหมายเทคนิค
สังคมไม่ได้หยุดนิ่งเพียงแต่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ นั้น
จะต้องมีกฎหมาย แต่เนื่องว่าโดยสภาพของกฎหมายแต่เดิมนั้นไม่อำนวยต่อการใช้ข้อพิพาทคดี คงไม่อาจรอให้
จารีตประเพณีนั้นเกิดขึ้นมาได้ทันตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาซึ่ง
22

เป็นกระบวนการนิติบัญญัติ ด้วยเหตุนี้ กฎหมายเทคนิค จึงเป็นกฎหมายเดียวที่เกิดขึ้นโดย เจตจำนง อย่างไรก็


ตามเจตจำนงที่ว่านี้ไม่ใช่เจตจำนงจะกำหนดกฎหมายเช่นไรก็ได้แต่เป็น เจตจำนง ที่มีขึ้นมาเพื่อความมุ่งหมาย
บางอย่างเหตุผลทาง เช่น กฎหมายจราจรก็เกิดขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการจราจรที่มีรถยนต์ขั บขี่
นั้นได้อย่างปลอดภัย เป็นต้น
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ทฤษฎีกฎหมายสามชั้นมองว่าเป็น กระบวนการทางประวัติศาสตร์ต่อเนื่องกัน
เป็นสายเดียว ดังกระแสธารที่หารอยตะเข็บไม่ได้ เริ่มจากกฎหมาย คือ ชาวบ้าน ปฏิบัติกันมาเป็นประเพณีสืบ
ทอดต่อกันก่อให้เกิดกฎหมายประเพณี จากนั้นเมื่อมีความซับซ้อนทางสังคมมากขึ้นจำเป็นจะต้องมีการตัดสิน
โดยใช้ความรู้กฎหมายและการใช้เหตุผลปรุงแต่ง จึงสืบทอดต่อมาเป็น กฎหมายของนักกฎหมาย จนมาถึงใน
ยุคทีส่ ังคมนั้นซับซ้อนและต้องใช้เหตุผลทางเทคนิคเพิ่มขึ้นจึงกลายมาเป็น กฎหมายเทคนิค
ซึ่งในทฤษฎีกฎหมายสามชั้นนี้นั้นไม่เห็นด้วยกับสำนักความคิดกฎหมายบ้านเมือง (Legal Positivism)
ทีเ่ ห็นว่ากฎหมายคือคำสั่งของ รัฏฐาธิปัตย์ แต่เสนอว่ากฎหมายคือ แบบแผนความประพฤติของคนในสังคมซึ่ง
มีกระบวนการบังคับเป็น กิจจะลักษณะ
การใช้การตีความ
แต่เดิมนั้นการใช้การตีความกฎหมาย มักพิจารณาจากการตีความตามกฎหมายตามความมุ่งหมายของ
บทบัญญัตินั้นหรือไม่ก็เป็นความมุ่งหมายตามเจตนารมณ์ของผู้บัญญัติกฎหมาย การคิดเช่นนี้จะเป็นการ
พิจารณาว่ากฎหมายเป็นเรื่องของเจตจำนงเพียงแต่อย่างเดียวซึ่งสำหรับ ทฤษฎีกฎหมายสามชั้น ไม่ได้เป็น
เช่นนั้นทฤษฎีกฎหมายสามชั้นนั้นจะต้องพิจารณาถึงที่มาของบทเรียนการต่าง ๆว่ามาอย่างไร
ใน กฎหมายชาวบ้าน ขนบธรรมเนียมและศีลธรรมของคนในสังคมเป็นที่มาของกฎหมายชาวบ้าน
ดังนั้น การตีความจึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาเจตนารมณ์ของผู้บัญญัติแต่ พิจารณาขนบธรรมเนียมและประเพณี
วัฒนธรรมอันเป็นรากฐานของบทบัญญัติดังกล่าว
สำหรับ กฎหมายของนักกฎหมาย การใช้การตีความไม่สามารถถ้าเหตุผลทางศีลธรรมได้เพราะสิ่งที่
เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องทางศีลธรรมแต่เป็นจากการปรุงแต่งด้วยเหตุผลทางมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นจึงจะต้อง
ทำความเข้าใจหลักกฎหมายและประวัติศาสตร์กฎหมายนั้น ๆ
ในส่วน กฎหมายเทคนิค ที่เกิดจากเหตุผลทางเทคนิคที่ไม่มีความถูกต้องหรือความผิดในตัวการตีความ
จะต้องค้นหาเหตุผลหรือเหตุผลทางซึ่งจะหาเหตุผลทางเทคนิคได้จะต้องรู้เหตุผลทางเทคนิคที่สุดก็คือผู้เขียน
กฎหมาย ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องค้นหาจาก เจตนารมณ์ของผู้บัญญัติกฎหมาย
23

(ส่วนที่ ๓)
บทที่ ๑ นักคิดทั่วไป
โซฟิสต์ (Sophist)
เป็นช่วงที่ทำให้คนกรีกนั้นได้เรียนรู้คุณค่าของตนเองมากขึ้น และเชื่อมั่นในปัญญาและมนุษย์ มากกว่า
การผูกตนไว้กับการเคารพและความศรัทธาในอำนาจเหนือธรรมชาติ แสดงให้เห็นว่าความคิดของชาวกรีกนั้น
ออกมาจากความเชื ่ อ ทางศาสนา และนิ ย ายปรั ม ปรา ในช่ ว งนี้ ก ารปกครองของกรี ก ได้ ผ ่ า นเข้ า สู ่ ยุ ค
ประชาธิปไตย และมีสามัญชนได้เข้ามาร่วมในการจัดการกิจการบ้านเมืองมากขึ้น ก่อให้เกิดความแตกแยกทาง
ความคิดและการใช้เหตุผล และวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ
ความคิดเหล่านี้ช่วยผลักดันให้ชนชาวกรีกนั้นคิดและทำการอย่างเป็นอิสระ และในระยะหลั งๆก็ค่อยๆ
เสื่อมทรามลงจนกลายเป็นการคิดและทำตามใจอย่างสุดโต่ง ความเชื่อทางศาสนาและความเคารพในสิ่ ง
ศักดิ์สิทธิ์ที่มีมาอยู่แต่เดิมก็ไ ม่ได้รับความยกย่องนับถืออีกต่อไป ระบบการปกครองดีงามเสื่อมคลายลงจุด
กลายเป็นเรื่องประโยชน์ส่วนตัว ความเจริญงอกงามทางปัญญาก็ถูกแทนที่ ด้วยความปั่นป่วนทางสังคมใน
บ้านเมืองในตัวแทนความคิดเห็นถึงแนวโน้มความเสื่อมลงของยุคสมัยก็คือกลุ่มนักปราชญ์นักเรียกว่า ผู้ชาญ
ฉลาด หรือ ผู้ทรงปัญญา
กลุ่มโซฟิสต์ นี้ไม่ใช่สำนักทางความคิดทางปรัชญา ไม่ได้มุ่งแสวงหาสัจธรรมแต่อย่างใด แต่มุ่งนำการ
ชักจูงให้คนกลุ่มใหญ่ทำตามเขาต้องการเท่านั้น ใช้วิธีการทางการโต้แย้ง และวาทะ เป็นสำคัญจึงเป็นผู้ก่อตั้ง
วิชาวาทศิลป์ในโลกตะวันตก จึงถูกเปรียบเปรยว่ าเป็นเสมือนหมอความที่จะต้องการจะเอาชนะด้วยฝีปากใน
การโต้แย้งเท่านั้น
โซฟิสต์ ที่เป็นที่รู้จักกันคือ Protagoras (โพทากอรัส) เป็นผู้กล่าวคำ Homo Mensura ซึ่งเป็นคำสั้นๆ
แต่แปลว่า {Man is the measure of all things} “มนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง” มนุษย์ในความหมายนี้ไม่ได้หมายถึง
มนุษย์ทั่วไปแต่หมายถึง มนุษย์แต่ละคนที่รวมอัตวิสัยของแต่ละคนเป็นเครื่องตัดสินทุกอย่าง มนุษย์คนหนึ่ง
ย่อมจะจริงสำหรับคนคนนั้นเท่านั้น ความจริงเป็นเรื่องนานาจิตตัง ตามแล้วแต่ว่าใครจะคิดอย่างไร การที่โพทา
กอรัสกล่าว เพราะเขาเห็นว่าความรู้ที่คนได้รับนั้นเกิดจากการสัมผัสของแต่ละคนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของ
แต่ละคนมีประสบการณ์ของแต่ละคนต่างกัน ความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นก็ต้องเกิ ดจากประสบการณ์ไม่เหมือนกัน
เช่นกัน
ความคิดแบบโซฟิสต์ นี้ทำให้ความเป็นระเบียบแบบแผนของสังคมถูกปฏิเสธ ถูกบั่นทอนไป การที่
สอนว่าพวกมนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง และการถือว่าประโยชน์ส่วนของผู้มีอำนาจก็คือกฎหมายนี้ นับเป็น
ความสะท้อนทรรศนะเกี่ยวกับความรู้ของมนุษย์แบบหนึ่ง ทำนองเดียวกันกับพวกที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเห็นว่า ไม่มี
กฎหมายตายตัวแน่นอนความรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับกาลเวลาสถานที่และตัวผู้สังเกตทั้งสิ้น
ดังนั้น ความดี ความยุติธรรม ก็เป็นสิ่งไม่แน่นอน
การที่พวกเขาปฏิเสธความคิดดั้งเดิมแตกไปจากเดิม จึ งทำให้มีผู้พยายามต่อปัญหาของพวกโซฟิสต์ มี
การมาแก้ไขและอธิบายเป็นการต่อยอดทางความคิด จึงกลายเป็นเรื่องของหมอตำแยของความคิดทางปรั ชญา
ตะวันตกก็ได้ นักปราชญ์คนแรกตอบโต้พวกโซฟิสต์ ก็คือโสกราตีส ต่อมา ปลาโต้ ต่อมา เป็นอริสโตเติล
ความคิดของเขาเหล่านี้จึงกลายเป็นความคิดที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ตะวันตก ถึงความมีอยู่จริงของสัจ
ธรรม ศีลธรรม และคุณธรรมความ คิดนี้มีการสืบทอดต่อลงมาแม้ว่าบางสมัยจะถูกคัดค้านโต้แย้งอย่างหนักจน
เสื่อมความนิยมลงไปบ้าง แต่ความคิดก็ยังทนทานยืนหยัดอยู่ท่ามกลางการคัดค้านและการวิพากษ์วิจารณ์อยู่
เสมอ
24

สโตอิค (Stoicism)

บทที่ ๒ นักคิดยุคแรก กรีก-โรมัญ


โสกราตีส (Socrates)
โสกราตีสนั้นมีแนวความคิดที่ตรงกันข้ามกับพวกโซฟิสต์ โดยที่ความรู้และความดีงามเป็นสิ่งมีอยู่จริง
และมนุษย์สามารถรู้และทำดีได้โดยการใช้เหตุผล
๑.ทฤษฎีความรู้ คำสอนของ โสกราตีส ที่ว่าความรู้และความดีงามนั้นมีอยู่จริง และมนุษย์สามารถ
เรียนรู้ได้ อาจทำให้เราเข้าใจหลักการของโสกราตีสที่ว่าความรู้ทั้งหลายทั้งมวลของมนุษย์ เป็นการเรียนรู้โดย
ผ่านข้อความคิดของสิ่งต่าง ๆ คือมนุษย์ทุกคนมีข้อความคิดหรือ แบบ ของสิ่งต่าง ๆ อยู่ในตัวแล้ว การที่มนุษย์
สามารถใช้ภาษาสื่อสารติดต่อกันได้แสดงว่ามนุษย์มีแบบของตนกล่าวถึงนั้นอยู่แล้วในห้วงความคิด และแบบใน
ความคิดของมนุษย์มีลักษณะเหมือน กันมนุษย์จึงเข้าใจซึ่งกันและกัน ในทำนองเดียวกันการที่มนุษย์สามารถ
จำแนกได้ว่าสิ่งที่ตนพบเป็นสิ่งใด เป็นต้นไม้ เป็นบ้าน หรือดวงดาว ก็เพราะว่ามนุษย์มีแบบของสิ่งเหล่านั้นอยู่
ก่อนแล้ว เมื่อพบเห็นสิ่งนั้นจึงสะกิดเตือน ให้นำสิ่งเหล่านั้นมาเทียบเคียงกันกับแบบ ที่มีอยู่และวินิจฉัยได้ว่าสิ่ง
นั้นคืออะไร
โสกราตีสจึงสอนให้มนุษย์รู้จักสำรวจความคิดของตัวเอง สำรวจการกระทำของตัวเอง เมื่อสำรวจ
ตัวเองจนเข้าใจอย่างถ่องแท้ มนุษย์ก็จะสามารถเข้าใจความจริงอยู่ตามธรรมชาติของมนุษย์ได้ สาระสำคัญของ
การหาความรู้จึงเป็นไปตามคำสอนของโสกราตีสที่ว่า “จงรู้จักตัวเอง” (Know thyself)
๒.ทฤษฎีความดี ความรู้ที่แท้จริงเป็นไปได้ และมนุษย์จะสามารถรู้ความจริงได้เป็นรากฐานสำคัญของ
ความคิดทาง จริยศาสตร์ของโสกราตีส เมื่อความรู้มีจริง คนก็สามารถรู้ความดีที่แท้จริงได้ การที่คนเราทำอะไร
นั้นย่อมทำตามความรู้ที่มี ทำในสิ่งนั้นก็เพราะว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่โดยที่คนเรามีกิเลสต่างกัน ดังนั้น หากไม่
ใช้เหตุผลไตรตรองให้ดีอาจให้เขาคิดว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดีทั้ง ๆ ที่ในความจริงนั้นไม่ดีก็ได้
โสกราตีสยืนยันว่าไม่มีใครจะทำความชั่วทั้ง ๆ ที่ตัวรู้ว่าชั่ว ถ้าหากเขาทำก็เพราะว่าเขานั้นเข้าใจผิด
โอกาสมีความศรัทธาในความรู้อย่างยิ่ง เขาจะทำแต่ความดี มีแต่ความไม่รู้หรือความรู้ที่ไม่จริงนำไปสู่การทำชั่ว
หลั ก การสำคั ญเกี ่ย วกั บ ปั ญ หาว่ าด้ ว ยความดี ข องเขาจึ ง รวมอยู ่ใ นประโยคว่ า “ความรู้ คื อ คุ ณ ธรรม”
(Knowledge is Virtue) โดยที่ โสกราตีส เป็นผู้กรุยทางให้กับ แนวความคิดสำนักกฎหมายหมายธรรมชาติ ใน
เวลาต่อมา
ปลาโต้ (Plato)
เป็นผู้ที่จัดตั้ง Academie ขึ้น และเป็นผู้ที่ให้โลกยุคต่อมามองเห็นความงดงามและความจริงที่ดำรงอยู่
ในความมีศีลธรรมและความดี แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่นักปราชญ์แห่งศตวรรษที่ ๒๐ Karl Popper
กล่าวหาว่าเป็นศัตรูของสังคมแบบประชาธิปไตยในฐานะที่วางรากฐานให้แก่แนวคิดแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ
แนวความคิดปรัชญาของปราสาทโอ้นั้นรวมศูนย์อยู่ที่การแสวงหาระบบการปกครองที่ถูกต้องเป็นธรรมทั้งนี้
น่าจะเพราะเขาอยู่ในยุคการเมืองการรำกระสับกระส่ายเกิดความแตกแยกจึงทำให้ปรัชญาของปาโต้นั้นจึงมุ่ง
หาแสวงทางการแก้ไขการเมืองการหากฎเกณฑ์รากฐานของระบอบการปกครองพื้นฐานของหลัก ของเหตุผล
และหลักจริยธรรมที่มีความมั่นคงทางปรัชญาชนิดที่เป็นความรู้แจ้งตลอดแก่บุคคลแต่ละคน
ปลาโต้ ได้อธิบายแนวความคิดของพวก โซฟิสต์ ที่แพร่หลายอยู่ในเวลานั้นว่า ถ้าเราเชื่อว่าความรู้ที่
ผ่านมานั้นรับมาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ทางสัมผัส และจากประสบการณ์ หรือยอมรับว่าความคิดเห็นต่าง ๆ เป็น
ที่มาของความรู้ ดังนี้ข้ออ้างว่าความรู้ที่แท้จริงไม่มีก็ย่อมจะถูกต้อง เพราะว่าถ้าถือตามหลัก Homo Mensura
25

หรือ มนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง แล้ว ความจริงย่อมขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของแต่ละคน ความจริงคือความรู้


ที่แท้ ชนิดที่ไม่ขึ้นกับความเห็นของแต่ละคน ก็ย่อมมีไม่ได้ จะมีได้แต่ความคิดเห็นของคนแต่ล ะคนทั้งนั้น ใน
เมื่อความรู้ที่รับมาด้วยระบบประสาทได้แต่แสดงให้เราเห็นเพียงระดับ ปรากฏการณ์ ดังนั้น ความรู้ชนิดนี้ย่อม
ไม่อาจเปิดเผยความจริงแท้ของสิ่งทั้งปวงให้เราได้ นอกจากนี้ความคิดเห็นทั้งปวงย่อมมีได้ทั้งที่เป็น ความจริง
และที่เป็นเท็จข้อคิดเห็นเหล่านั้นก็เป็นได้เพียงเครื่องจูงใจหรือรู้สึกต่อสิ่งต่าง ๆ และไม่มีค่าในตัวของมันเองทั้ง
ไม่จำเป็นจะต้องสามารถพิสูจน์ความถูกต้องแท้จริงได้ด้วยตัวมันเอง
ด้วยเหตุนี้ปรากฏจึงได้เปรียบเปรยไว้ว่าฝูงชนทั่วไปก็ล้วนแต่เป็นพวก โซฟิสต์ โดยไม่รู้ตัวคือเกิดสับสน
ทางความคิด จนไม่สามารถแยกออกระหว่างปรากฏการณ์กับ ความเป็นจริง หรือไม่สามารถแยกความสุข กับ
ความดีออกจากกันได้ นั่นเอง
๑.ทฤษฎีว่าด้วยแบบ (Idea)
ปลาโต้ ได้อธิบายว่าเป็น คุณภาพในส่วนอันเป็นสาระสำคัญที่สิ่งต่าง ๆ มีอยู่ร่วมกัน และสารัตถะหรือ
ความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ นี้ย่อมดำรงอยู่ร่วมกันในอันเป็นคุณลักษณะทั่วไปของสิ่งเหล่านั้น แนวคิดเรื่องแบบ
ทั่วไปนี้เข้าใจได้ไม่ยากนักซึ่งตามความเห็นของปลาโต้ แล้วนั้น อาจเป็นความเห็นที่ผิด และปลาโต้ยืนยันว่า
แบบ อยู่ในความเป็นจริงมิได้เป็นเพียงแค่ความจริงใจของคนเราหรือแม้ในใจของพระเจ้าหรือ พระผู้ส ร้าง
เท่านั้น และ แบบ ก็ไม่ใช่ผลผลิตของความคิดจิตใจของคนเรา แต่อันที่จริงแล้วล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนที่เรา
จะรู้จักหรือเข้าใจแบบนั้นเสียอีก และความคิดของเราและแม้ของพระเจ้าหรือพระผู้สร้างรู้วัดแล้ว แต่ถูกจูงใจ
ให้อยู่กับ แบบ ตลอดเวลา อธิบายว่า แบบ เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ด้วยตัวเองและย่อมเป็นสารัตถะในตัวเอง แท้จริง
จริงหรือแก่นแท้เป็นต้นตอเป็นนิรันดร์ เป็นต้นแบบของสรรพสิ่งดำรงอยู่ก่อนสรรพสิ่ง และแยกออกจากสรรพ
สิ่งได้ เป็นต้นตอของความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ดังนั้นไม่อาจได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของ
สรรพสิ่งได้
ถ้ำของปลาโต้ เป็นการที่มีคนกลุ่มหนึ่งถูกจับหันหน้าเข้าถ้ำแล้วเอาไว้โดยในถ้ำดังกล่าวมีกองไฟอยู่ข้าง
หลัง จะมีคนชูของ ภาพเหล่านั้นก็จะสะท้อนออกไปในเงาบนผนัง โดยคนจับมัดเอาไว้ก็จะเห็นเฉพาะเงาที่
ปรากฏอยู่บนผนังเท่านั้น ปรากฏอยู่นั้นเป็นรูปจำลองของความจริง ความจริงอยู่ข้างหลังต่างหากที่เป็นของ
จริงก็คือวัตถุนั้น แล้วก็เปรียบเทียบพวกเราทั้งนั้นก็เหมือนคนที่ถูกมัดอยู่ในถ้ำนี้สิ่งที่เราเห็นเป็นเพียงรูปจำลอง
เราคิดว่ามันคือความจริงแท้แต่มันไม่ใช่นั้นความจริงแท้เป็นสิ่งที่อยู่ข้างนอกเป็นโลกแห่งแบบ {อ.ฐาปนันท์ เปรียบ
เป็น แมว ถึงแม้ว่านาย ก เห็นสิ่งนี้ว่าเป็นแมว นาย ข ก็เห็นว่าสิ่งนี้นั่นก็คือแมว เพราะแมวมี แบบ ของมันแบบของแมวก็คือ แมว นั่นเอง}
๒.ทัศนะต่อมนุษย์
จิตวิญญาณของมนุษย์ในทัศนะของ ปลาโต้ แบ่งออกเป็นสองภาคคือ ภาคที่มีเหตุผลอันเป็นธรรมชาติ
ฝ่ายสูง และภาคที่ไร้เหตุผลอันเป็นธรรมชาติฝ่ายต่ำ แต่ส่วนที่ไร้เหตุผลยังแบ่งต่อไปส่วนส่วนที่เป็นพลังด้าน
อารมณ์หรือพลังทางใจกับส่วนที่เป็นความอยากกระะหายจึง มีการอธิบายว่า ปลาโต้นั้นได้แบ่งธรรมชาติทาง
จิตวิญญาณของมนุษย์ออกเป็น 3 ภาค
๑.ความสามารถทางเหตุผล คือ ทรงไว้ทางสติปัญญา สามารถมองเห็นความสัมพันธ์เชิง
เหตุผลของเรื่องราวได้
๒.อารมณ์ห รือ พลังทางใจ คือ ความกล้าหาญ เป็น ภาคที่ทรงไว้ซึ่งอำนาจบงการอันเป็น
ความสามารถในการใช้เจตจำนงค์ทำความการให้สำเร็จ มีอารมณ์ความรู้สึกและลักษณะท่าทางอย่างอื่น เช่น
ความทะเยอทะยานความมีโทสะ และหยิ่งในเกียรติและศักดิ์ศรีของตน
26

๓.ความอยากได้ใคร่มี คือ คุณธรรมความพอดี เป็นความอยากที่ต้องการทางวัตถุและความ


ฉลาดสามารถในการหาทางสนองความต้องการนี้ ควรรู้จักประมานตนและพอดีก็ได้ชื่อว่ามีคุณธรรม
๓.ทฤษฎีวา่ ด้วยรัฐ
โดยทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิด{เชื่อมโยง ข้อ ๒.ทัศนะต่อมนุษย์}เป็นเรื่องที่ว่าด้วยรัฐ และความยุติธรรม
โดยอธิบายว่าคุณธรรมสูงสุดก็คือ ความดี แต่ละบุคคลแต่ละคนย่อมสามารถบรรลุถึงความดีได้โดยลำพังตนเอง
จะบรรลุได้ด้วยการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมในภารกิจของรัฐก็คือการส่งเสริมคุณธรรม และความสุข ความมุ่งหมาย
ของระบบการปกครองรัฐธรรมนูญและกฎหมายทั้งปวงของรัฐจำนวนมากสุดบรรลุสู่ความดีอันสูงสุด
ซึ่ง ปลาโต้ อธิบายต่อไปว่าในแต่ละสังคมแต่ละรัฐจะมีคนหลายประเภทหลายจะอยู่ร่วมกัน ปนกันไป
และทำนองเดียวกันกับจิตวิญญาณของมนุษย์ที่ประกอบด้วยธาตุที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันอยู่ร่วมกันในสังคม
ดำรงอยู่ได้ก็เพราะมีคนต่างจะอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ในทำนองเดียวกันในวิญญาณของมนุษย์ทั้งที่ ผู้ทรง
ด้วยสติปัญญา ยังรู้ทางปรัชญา เพียบพร้อมด้วยเหตุผล หรือธรรมราชา ควรจะทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองไม่ปล่อย
ให้คนฉลาดในการตอบสนองความอยากหรือหาประโยชน์แก่ตนเป็นผู้นำ
ส่วนผู้ทำหน้าที่เป็นทหารหรือนักรบทำหน้าที่ทำสงครามป้องกันรักษาชาติความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ควรจะเป็น ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง มีความกล้าในการปราบปรามยับยั้งความทั่วหรือมีพลังทางใจมีมานะบากบั่นใน
การเป็นผู้นำทั้งหลายในการชอบด้วยหลักการและ ผู้ประกอบเกษตรกรรม ช่างฝีมือพ่อค้า ซึ่งทำหน้าที่ผลิต
สินค้า เสริมสร้างความมั่งคั่งแก่สังคมจะได้แก่ ผู้ที่มีความอยากต้องการที่รู้จักพอ เป็นพื้นไม่ควรปล่อยให้ความ
อยากกลายเป็นโลภ จนไร้ขอบเขตหรือ เป็นการแสวงหาความมั่งคั่งด้วยวิธีการฉ้อฉล
ผลงานเรื่อง Republic ของ ปลาโต้ ถือได้ว่าเป็นการสะท้อนแนวเชิง รัฐอุดมคติ ของเขาภายใต้หลัก
ความยุติธรรมของเขา ด้วยเหตุนี้หรือว่าด้วยรัฐที่เขาเสนอนี้มักถูกขนานนามด้วยคำสอนที่ว่า อุตตมะรัฐ หรือ ยู
โทเปีย ในอุตตมะรัฐ สติปัญญาเป็นใหญ่นี้ หรือ ธรรมราชา (Philosopher King) ย่อมเป็นใหญ่และเป็นผู้ชี้ขาด
ในเรื่องต่าง ๆ ด้วยสติปัญญา เมื่อชี้ขาดด้วยปัญญาก็ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎเกณฑ์ตายตัว ด้วยเหตุนี้
จึงไม่จำเป็นจะต้องปกครองโดยกฎหมายเป็นใหญ่ กฎหมายมีในฐานะแนวทางทั่วไปเท่านั้น หากกรณีกฎหมาย
ไม่สอดคล้องนั้นหรือไม่เป็นธรรมเฉพาะกรณี มักเรียกว่าไม่ต้องด้วยกรณี ดังนี้ธรรมราชาซึ่งทรงด้วยสติปัญญา
และอยู่เหนือกฎหมายและวางกฎเสียใหม่ได้
อย่างไรก็ดีปัญหาของอุตมรัฐคือไม่มีหลักเกณฑ์อันใดจะชี้ขาดได้ว่าผู้ใดคือ ธรรมราชาแท้จริง และ
เป็นไปได้ว่าจะมีผู้อ้างตนเป็นธรรมราชาโดยใช้อำนาจเข้าข่มขู่ให้ยอมรับก็ย่อมได้
ตามคำสอนของ ปลาโต้ มนุษย์กับสังคมการเมืองอย่างใกล้ชิดและย่อมถูกกำหนดและรับการพัฒนาไป
อยู่ร่วมกันเป็นสังคมการเมืองจนเรียกได้ว่า แทบจะหลอมรวมเข้าด้วยกัน ในแง่นี้ความเป็นปัจเจกชนและ
เสรีภาพของเอกชนจึงเป็นสิ่งที่ ไม่ปรากฏไม่รู้จักและไม่ได้กล่าวถึง แต่ขณะเดียวกันนั้นคำสอนของ ปลาโต้ ก็
ยืนยันว่าการแบ่งแยกชนชั้นเป็นสิ่งที่มีมาตามธรรมชาติ และเป็นธรรมในตัวของมันเอง ชนชั้นปกครองเป็นผู้
ทรงสิทธิ์แต่ผู้เดียวในการได้รับการศึกษาและฝึกฝนชั้นสูง เมื่อชนชั้นที่มีอำนาจเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองมีอำนาจ
ควบคุมและมีอภิสิทธิ์เหนือชนชั้นอื่นใดในทางเศรษฐกิจและการค้าใน แง่นี้สังคมการเมืองของปลาโต้จึงได้เป็น
สังคมเปิด หรือ Open Society ซึง่ ตัง้ อยูบ่ นรากฐานของความมีเสรีภาพ และความเสมอภาคทางการเมือง
อย่างไรก็ดีคำสอนของปลาโต้ก็ต่อต้านการใช้เสรีภาพเกินขอบเขต หรือการทำตามอำเภอใจของ
สมาชิกในสังคม โดยชี้ให้เห็นว่าการใช้เสรีภาพตามชอบจะเป็นตัวทำลาย ระเบียบสังคมที่ดำรงอยู่อย่างมีเหตุผล
อาจกล่าวได้ว่าแนวความคิดในอุดมคติของ ปลาโต้นั้นเป็นความคิดที่เน้นคุณค่าส่วนรวม จนไม่เหลือที่ทางแก่
เรื่องส่วนตัวเอาเสียเลย
27

โดยแนวคิดและอุดมคติเหล่านี้ เราอาจจัดให้ ปลาโต้ อยู่ในสำนักความคิดธรรมชาติ ในการว่าเรื่องแห่ง


แบบ หรืออาจจัดให้เป็นนักคิดของสำนักกฎหมายบ้านเมือง ก็ได้

บทที่ ๓ นักคิดสำนักกฎหมายธรรมนิยม หรือ สำนักกฎหมายธรรมชาติ


อริสโตเติล (Aristotle)
(๑) ความคิดรากฐาน 3 ประการของอริสโตเติล
อริสโตเติล มีความคิดที่เป็นข้อแย้งและข้อวิจารณ์ตามความคิดของ ปลาโต้ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1.ทัศนะเกี่ยวกับคน อริสโตเติลมีความเห็นว่า คนแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องคุณสมบัติ
และลักษณะนิสัยความรู้ สังคมที่ดีในอุดมคติจึงต้องหาวิธีการประสานให้คนแต่ละคนซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่
ร่วมกันได้ด้วยความสงบสุข ข้อนี้ ท่านวิจารณ์ความคิดของปลาโต้ ที่มองโดยพิจารณาจากลักษณะของจิตใจซึ่ง
ปลาโต้ แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ
ภาคที่ 1 ได้แก่ เหตุผล
ภาคที่ 2 ได้แก่ แนวความแน่วแน่
ภาคที่ 3 ได้แก่ ความอยาก
ส่วนจิตใจทั้ง 3 แสดงออกด้วยคุณธรรมต่างกันคือ
ภาค 1 ได้แก่ ความมีสติปัญญา
ภาค 2 ได้แก่ ความกล้าหาญ
ภาค 3 ได้แก่ ความพอดี
ด้วยเหตุนี้ปรากฏจึงมีความคิด เห็นว่าคนในสังคมมีอยู่ 3 ประเภท ตามลักษณะของจิตใจ และเสนอว่าควรจัด
ให้บุคคลแต่ละประเภททำหน้าที่แตกต่างกันไปตามลักษณะกล่าวคือ คนที่มีจิตใจ
ภาคที่ 1 มาก ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครอง
ภาคที่ 2 มาก ให้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ปกครอง คือเป็นชนชั้นทหาร หรือเจ้าหน้าที่ข องผู้ปกครองทำ
หน้าที่ปกป้องพิทักษ์ความปลอดภัยของสังคม
ภาคที่ 3 มาก ได้แก่ พวกพ่อค้าและชนชั้นผู้ใช้แรงงานที่มีความอยาก ตัณหามาก ดังนั้นต้องอยู่ใน
กรอบที่เหมาะสม ทัศนะดังกล่าวนี้อริสโตเติล เห็นว่าเป็นการทำให้คนในกลุ่มนั้นเหมือนหรือเกือบเหมือนกัน
หมดเหมือนทำให้สังคมกลายเป็นครอบครัวเดียวกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของคนที่แท้จริง
๒.ทัศนะเกี่ยวกับทรัพย์สมบัติ อริสโตเติล โต้แย้งความเห็นของ ปลาโต้ ทรัพย์สมบัติเป็ นของส่วนรวม
โดยเห็นว่า ต้องยอมรับให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนตน เพราะกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลก่อให้เกิดคุณค่าทั้งภาคเศรษฐกิจและ
ศีลธรรมใน แง่เศรษฐกิจกระตุ้นให้คนอยากทำงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้สมบัติส่วนตัวให้มีมากขึ้น ขณะเดียวกัน
การมีทรัพย์สมบัติส่วนบุคคลทำให้แยกส่วนได้เสีย ของคนในสังคมได้ชัดเจน และ ในแง่ศีลธรรม ทรัพย์สมบัติก็
ทำให้บุคคลนั้นมีศักดิ์ศรีกล่าวคือเมื่อมีทรัพย์สินส่วนตัวทำให้ไม่ต้องพึ่งพาบุคคลคนอื่นและเป็นตัวของตัวเอง
๓.ทัศนะเกี่ยวกับครอบครัว ตามความคิดเห็นของปลาโต้ ที่เสนอให้ยกระบบครอบครัวสำหรับกลุ่มคน
ที่ทำหน้าที่ปกป้องรักษาสังคมเพื่อสังคมส่วนรวม แต่อริสโตเติล เห็นตรงกันข้ามกับ ปลาโต้ โดยเห็นว่าการมี
ครอบครัวเป็นธรรมชาติของมนุษย์และครอบครัวเป็นที่อบรมบ่มเพาะความเป็นมนุษย์ของคน
(๒) ว่าด้วยแบบ (Form)
แบบ เป็นสิ่งที่เป็นอนันตกาลไม่เปลี่ยนแปลง หรือแบบของทุกสิ่งอย่างล้วนเป็นตัวเป็นตนที่เรียกว่า วัตถุ จะ
เปลี่ยนแปลงแตกดับไปไม่คงที่ แต่แบบของวัตถุไม่เปลี่ยนแปลงด้วย และวัตถุไม่ได้แยกจากแบบ แต่ซึมซาบอยู่
28

ในวัตถุนั้น เช่น มะม่วง แบบ ของมันก็คือ ต้นมะม่วงที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และรวมเมล็ดของมะม่วงนั้น โดย


ธรรมชาติของมันจะมีความทะเยอทะยานไปสู่แบบ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือมีความโน้มเอียงโดยธรรมชาติอยู่ใน
เมล็ดพันธุ์ ในอันที่จะผลักดันให้ พัฒนาไปสู่ แบบ อันสมบูรณ์ของมันก็คือ ต้นไม้เจริญงอกงามแล้ว แต่ใน
ขณะเดียวกันยังเป็นเมล็ดอยู่แบบอุดมคติเมล็ดนี้จะมีแนวโน้มไปสู่แบบนั้นก็แฝงอยู่ในเมล็ดนั้นแล้ว
ตามความคิดของอริสโตเติล เห็นว่ามนุษย์เป็นสิ่งที่รับการชักนำจากแบบให้คลี่ออก จนอยู่ในระดับที่สูงกว่าสัตว์
หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แต่อย่างไรมนุษย์ก็มีส่วนหนึ่งเป็นของธรรมชาติ มนุษย์มีลักษณะเป็นนายเหนือธรรมชาติ
เพราะมนุษย์มี เหตุผลและมีสติปัญญา อันเป็นคุณลักษณะของ แบบ ทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์ ทำให้มนุษย์เป็น
มนุษย์ที่สมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ดีการที่อริสโตเติล อธิบายว่ามนุษย์มีธรรมชาติ 2 ส่วนนี้กลายมาเป็นรากฐานของ
ความคิดทางกฎหมายที่สำคัญ นักปราชญ์ที่พยายามอธิบายหลักกฎหมายธรรมชาติในสมัยต่อมาล้วนแต่อาศัย
หลักดังกล่าวคือ ด้านหนึ่งยอมรับว่ามนุษย์นั้นมีเหตุผล แต่อีกด้านก็ยอมรับว่ามนุษย์ยังมีกิเลสอยู่นั่นเอง

สโตอิค (Stoicism)

You might also like