You are on page 1of 12

เรื่อง ไวรัสตับอักเสบ

นางสาวณัฏฐณิชา คงประเทศ รหัส 65121301027


นางสาวนันท์นภัส ยังจันทร์อินทร์ รหัส 65121301046
นางสาวนันทนี ลาทองมา รหัส 65121301047
นายนิจชวิญญ์ วิสุทธิเมธี รหัส 65121301048
นางสาวพรชิตา ปุ้ยทอง รหัส 65121301062
นางสาวลักษ์คณา คณิสาร รหัส 65121301088
นางสาวศิริทิพย์ เตียงพลกรัง รหัส 65121301096
นางสาวศุภิศา อ่อนแจ้ง รหัส 65121301098
นางสาวสิราวรรณ สุสเกตุ รหัส 65121301103
นางสาวสุธาทิพย์ พลอยวิเศษ รหัส 65121301107
นางสาวอภิญญา อาจมิตร์ รหัส 65121301117

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา 0111300101 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา


วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565

คานา
รายงานเรื่อง ไวรัสตับอักเสบ ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา รายวิชา จุลชีววิทยาและปรสิต
วิทยา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ และในรายงานฉบับนี้มีเนื้อหา
ประกอบด้วยลักษณะทั่วไปของเชื้อ การแพร่กระจายของเชื้อ พื้นที่การแพร่ระบาดของเชื้อ ลัก ษณะ
พยาธิสภาพของโรค การรักษา การป้องกันการติดเชื้อ และวิจารณ์แนวโน้มการก่อโรคและความเสี่ยงใน
การระบาดครั้งถัดไปและการกลายพันธุ์ โดยรวบรวมข้อมูลมาจากแหล่งสารสนเทศหลายแหล่ง คณะ
ผู้จัดทาศึกษาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ความรู้หลากหลายและเนื่องจากเป็นเรื่องที่สามารถนาไปปรับใช้ในการ
เรียน การดาเนินชีวิตประจาวันได้
ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษาและสนใจเพื่อนาไปใช้
ประโยชน์ต่อไป

ผู้จัดทา
9 ธันวาคม 2565

สารบัญ
หน้า
คานา ก
สารบัญ ข
ลักษณะทั่วไปของเชื้อ 1
การแพร่กระจายของเชื้อ 2
พื้นที่การแพร่กระจายของเชื้อ 4
ลักษณะพยาธิสภาพของโรค 4
การรักษา 5
การป้องกันการติดเชื้อ 7
วิจารณ์แนวโน้มการก่อโรคและความเสี่ยงในการระบาดครั้งถัดไป 8
บรรณานุกรม 9
1

ไวรัสตับอักเสบ
กิตติประกาย อัครธรรม (2555, หน้า 7) อธิบายไว้ว่า ไวรัสตับอักเสบ เป็นภาวะตับอักเสบจาก
การติดเชื้อหรือได้รับสารเคมี ทาให้เกิดปฏิกิริยาจากการอักเสบกระจายไปที่เซลล์ตับ เป็นผลให้เซลล์ตับ
เสียหน้าที่หรือตายไป การทาหน้าที่ต่างๆ ของตับจึงผิดปกติ พบได้ในคนทุกวัย ทั้งชายและหญิง
กนกรัตน์ ศิริพานิชกร (2557, หน้า 277) กล่าวว่า ตับอักเสบแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
สาเหตุ จ ากการติ ด เชื้ อ เช่ น ไวรั ส แบคที เ รี ย และปรสิ ต สาเหตุ ที่ ไ ม่ ใ ช่ ก ารติ ด เชื้ อ เช่ น สารเคมี
(alcohol, carbon, tetrachloride, acetaminophen, aspirin, isoniazid และ rifampin) และภูมิแพ้
ตัวเอง (autoimmune)

ลักษณะทั่วไปของเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบมีหลายตัว เชื้อไวรัสเหล่านี้ก่อให้เกิดตับอักเสบคล้าย ๆ กันจะต่างกันที่เรื้อรัง
หรือไม่ การอักเสบของตับมีตั้งแต่อักเสบเล็กน้อยสามารถฟื้นเป็นปกติได้จนถึงอักเสบรุนแรงมีการตายของ
เซลล์ตับ (พรรณทิพย์ ฉายากุล, 2559, หน้า 177)
ไวรัสตับอักเสบเอ มีจิโนมเป็น +ssRNA ติดต่อโดยการรับประทาน เชื้อไวรัสเข้าไปทาลายเชลล์ตับ และมี
ปัจจัยรุนแรงจากปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์ วินิจฉัยโดยการเจาะ anti-HAV IgM
ระยะเฉียบพลัน ส่วนการตรวจพบ anti-HAV IgG บ่งบอกถึงมีการติดเชื้อมาก่อน
ไวรัสตับอักเสบบี มีจีโนมเป็น dsDNA อยู่ในกระเลือด 3 รูปแบบ คือ Dane particle, sphere และ
tubule หรือ rod คนเท่านั้นที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี พบเชื้อในเลือดและสารคัดหลั่ง การติดเชื้อทาง
เลือดมีระยะเวลาฟักตัวสั้นกว่าการติดเชื้อทางอื่น เชื้อไวรัสตับอักเสบบีเข้าไปทาลายเซลล์ตับและมีปัจจัย
รุนแรงจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์ อาการมีหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงมีอาการ
หนัก การวินิจฉัยโดยตรวจ seromarkers ได้แก่ HBsAg, HBeAg, anti-HBs (IgM, IgG), anti- HBe และ
anti-HBc
เชื้อไวรัสตับอักเสบดี หรือเดลตา เป็น single stranded circular RNA ถูกห่อหุ้มด้วย HBsAg ไม่
สามารถแบ่งตัวได้จึงเรียกว่า defective virus จาเป็นต้องมีไวรัสตับอักเสบบีเป็นตัวช่วย ดังนั้นการ
ติ ด เชื้ อ ไวรั ส ตั บ อั ก เสบดี ไ ด้ แสดงว่ า ติ ด เชื้ อ ไวรั ส ตั บ อั ก เสบบี ด้ ว ย การติ ด ต่ อ เหมื อ นกั บ การติ ด เชื้ อ
2

ไวรัสตับอักเสบบี อาการแสดงถ้าเป็น co-infection มีการอักเสบของตับ 2 ครั้ง เป็น superinfection


มักจะทาให้ตับอักเสบรุนแรงหรือบางรายแค่ aminotransaminase ขึ้นสูงอย่างเดียวก็ได้
เชื้อไวรัสตับอักเสบซี เป็น single stranded RNA จิโนมของไวรัสตับอักเสบซี ประกอบด้วย structural
domain ซึ่งมี core, envelope และส่วนที่เป็น non-structural domain ติดไวรัสชนิดนี้ทางเลือดและ
ผลิตภัณฑ์เลือด ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ประมาณร้อยละ 25 เท่านั้นที่มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง อย่างไรก็
ตาม เชื้อไวรั สตับอักเสบซีก่อให้ เกิดการอักเสบของตับเรื้อรัง วินิจฉัยโดยหาแอนติบอดีต่อส่ วน core
antigen ของ HCV และ non-structural protein บริเวณ NS3 กับ NS4
ไวรัสตับอักเสบอี เป็น single-stranded RNA virus ไม่มีเปลือกหุ้ม ติดต่อโดยทาง fecal-oral route
เชื้อไวรัสตับอักเสบอีไปทาลายเซลล์ตับและมีปัจจัยรุนแรงจากปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันชนิดพึ่ง
เซลล์ อาการคล้ายกับเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ แต่รุนแรงน้อยกว่าและหายเร็วกว่า วินิจฉัยโดยส่งตรวจ IgM
และ IgG anti-HEV
ไวรัสตับอักเสบจี เป็น RNA virus ติดต่อทางเลือดและผลิตภัณฑ์เลือด คนที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ

การแพร่กระจายของเชื้อ
นิศากร กิจสวัสดิ์ (2551, หน้า 44-48) กล่าวว่า ปัจจุบันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบถือเป็นปัญหา
ด้านสาธารณสุขที่สาคัญ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีโรคไวรัสตับอักเสบชุกชุมมาก โดยมีการแพร่กระจาย
ของเชื้อดังนี้
ไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อจากการดื่มน้าหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ (fecal-oral route) เมื่อรับ
เชื้อเข้ามาแล้ว เชื้อไวรัสจะเข้าเซลล์บุท่อทางเดินอาหารแบ่งตัว (replication) เพิ่มจานวน หลังจากนั้น
เข้าสู่เซลล์ตับซึ่งเป็นเซลล์เป้าหมาย ระยะเวลาฟักตัวประมาณ 15 วัน เชื้อส่วนหนึ่งถูกขับออกทางน้าดีเข้า
สู่ลาไส้และออกทางอุจจาระ เชื้อไวรัสตับอักเสบเออยู่ในกระแสเลือดช่วงเวลาสั้น ๆ จึงตรวจไม่พบเชื้อใน
กระแสเลือดและไม่สามารถติดต่อทางเลือดได้
ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อจากคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี พบเชื้อในเซรุ่ม เลือด น้าอสุจิ สารคัดหลั่ง
ช่องคลอด น้าลาย และน้านม แบ่งลักษณะการติดต่อได้ดังนี้
3

1. การติดต่อ vertical transmission เป็นการติดเชื้อไวรัสบีจากมารดาไปยังลูกในขณะคลอด


(perinatal transmission) เช่น เลือดแม่เข้าตาเด็ก การติดเชื้อขณะตัดสายสะดือ ฯลฯ
2. การติดต่อ horizontal transmission เป็นการติดต่อโดยวิธีดังนี้
2.1 ได้รับเลือดที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
2.2 ถูกเข็มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสบีทิ่มตา
2.3 ติดต่อโดยการใช้เครื่องมือร่วมกัน เช่น อุปกรณ์ทาแผล ทาฟัน เจาะหู มีดโกนหนวด แปรงสีฟันและ
การสัก
2.4 การสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น การจูบ การใช้ของร่วมกัน
2.5 ทางเพศสัมพันธ์
เชื้อไวรัสตั บอักเสบดี หรือเดลตา ติดต่อเหมือนกับการติดเชื้อไวรัส ตับอักเสบบี นั่นคือ ติดทางเลือด
ผลิตภัณฑ์เลือดและสารคัดหลั่ง มักพบในคนที่ใช้ยาเสพติดฉีดเข้าเส้น พบ vertical transmission ได้
ถ้าการติดเชื้อร่วมกับไวรัสตับอักเสบบีพร้อมกัน เรียกว่า co-infection และกรณีติดเชื้อหลังจากติดเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบบีแล้วเรียกว่า superinfection
เชื้อไวรัสตับอักเสบซี ติดต่อทางเลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือดเหมือนกับตับอักเสบบี มีรายงานว่าน้าคัด
หลั่งน้าลาย ไม่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อ (แต่การมีเพศสัมพันธ์อาจจะติดได้) ระยะฟักตัวของไวรัสตับ
อักเสบซี 6-12 สัปดาห์
ไวรัสตับอักเสบอี ติดต่อโดยทาง fecal-oral route ส่วนใหญ่ติดต่อทางน้าดื่ม ผู้ป่วยอยู่ในระยะตับอักเสบ
จะพบไวรัสตัวนี้ในน้าดีและอุจจาระ ระยะการฟักตัวประมาณ 2-9 สัปดาห์
ไวรัสตับอักเสบจี มีการศึกษาน้อย เป็นไวรัสอยู่ในกลุ่ม faviviridae เป็น RNA virus ติดต่อทางเลือดและ
ผลิตภัณฑ์เลือด คนที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อาจมี aminotransaminase ขึ้นสูงเล็กน้อย มีการศึกษา
พบว่าคนที่เป็นตับอักเสบจีประมาณร้อยละ 50 มี ALT อยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ยังคงเป็นพาหะของไวรัส
4

พื้นที่การแพร่ระบาดของเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบเกิดได้ทั่วโลก มีทั้งเกิดประปรายและเกิดการระบาดในกลุ่มคนที่อยู่ รวมกันเช่น
โรงเรี ย น มหาวิ ท ยาลั ย โรงงาน และมั ก เกิ ด ซ้ าซากในประเทศก าลั ง พั ฒ นา ในพื้ น ที่ ก ารสุ ข าภิ บ าล
สิ่งแวดล้อมไม่ดีจะพบการติดเชื้อในกลุ่มอายุยังน้อย ในผู้ใหญ่โดยทั่วไปจะมีภูมิคุ้มกันโรคจึงไม่ค่อยพบการ
ระบาดของโรคนี้ในผู้ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามในพื้นที่การสุขาภิบาลดี มักพบว่ากลุ่มเด็กวัยรุ่นมีความไวรับต่อ
โรคและมักจะมีการระบาดเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การถ่ายทอดโรคมักจะเกิดกับคนใน
ครอบครัวเดียวกัน การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยในระยะที่ป่วยเฉียบพลัน บางครั้งพบผู้ป่วยประปรายใน
ศูนย์เลี้ยงเด็ก ในกลุ่มผู้เดินทางไปประเทศที่ยังคงมีความชุกของโรคนี้อยู่ ในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติด ในกลุ่มรัก
ร่วมเพศ
ในประเทศที่พัฒนาแล้วหากมีการระบาดเกิดขึ้นก็มักจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆแต่กระจายเป็นวงกว้าง
และนานเป็นเดือนๆ แต่หากเกิดจากแหล่งโรคร่วม ก็จะระบาดอย่างรวดเร็ว ในการระบาดบางครั้งพบว่า
เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเด็กในสถานเลี้ยงเด็ก ผู้ชายรักร่วมเพศที่มีเพศสัมพันธ์สาส่อน ผู้ฉีดยาเสพติด อาจเป็นกลุ่ม
ที่เสี่ยงต่อโรคนี้มากกว่ากลุ่มคนทั่วๆไป ประมาณว่าครึ่งหนึ่งของจานวนผู้ป่วยไม่ทราบแหล่งโรค และโรคนี้
มักเป็นในกลุ่มเด็กนักเรียน และกลุ่มวัยรุ่น

ลักษณะพยาธิสภาพของโรค
ผ่องศรี ศรีมรกต (2553, หน้า 135) กล่าวว่า การติดเชื้อทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพ
ของตับและถุงน้าดี โดยการตอบสนองทางอิมมูนของร่างกายต่อไวรัส การอักเสบและการเกิดเนื้อตายของ
ตับ ทาให้เซลล์ตับเสียหน้าที่ โดยขึ้นกับจานวนเซลล์ตับที่ถูกทาลาย เซลล์ ที่ทาหน้าที่ในการสังเคราะห์
โปรตีน และสเตียรอยด์ รวมทั้งทาลายสารพิษ เกิดการเปลี่ยนแปลง ทาให้หน้าที่ของตับบกพร่อง เนื้อเยื่อ
ตับ หลอดเลือดและท่อตับเกิดการอักเสบ โดยใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ในการฟื้นตัวของเซลล์ตับบาง
รายเกิดการอักเสบเรื้อรัง
อาการแสดงของไวรัสตั บอักเสบโนระยะแรก มักมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ง่วงซึม หงุดหงิด
ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก ไข้ คล้ายไข้หวัดใหญ่
อ่อนล้า คันตามผิวหนังจากการคั่งของเกลือน้าดีในวัยผู้ใหญ่ พบว่ามีปัสสาวะสีเข้มและอุจจาระสีเทาหรื อ
5

ซีด บางรายอาจมีอาการทางสมองจากภาวะตับวาย อาจมีอาการมือสั่น หรือมีภาวะเลือดออกจากการ


เปลี่ยนแปลงของเอนไซม์ตับ หรือเกิดภาวะน้าตาลในเลือดสูงชั่วคราว บางรายอาจมีภาวะตับวายร่วมกับ
อาการทางสมอง เช่น ตื่นเต้น นอนไม่หลับ หรือมีอาการเปลี่ยนแปลงทางจิต อาจพบปัญหาอื่นๆ ที่เป็นผล
จากตับเสียหน้าที่ เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร น้าเกินในช่องท้อง ความดันโลหิตต่า ติดเชื้อระบบ
ทางเดินหายใจและปัสสาวะ เลือดออกง่ายหยุดยากจากการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (พรรณทิพย์ ฉายา
กุล, 2559, หน้า 182)

การรักษา
น้าทิพย์ ไตรยสุนันท์ (2559, หน้า 189) กล่าวว่า การรักษาไวรัสตับอักเสบ ขึ้นอยู่กับชนิดของ
การอักเสบและระยะการอักเสบ โดยทั่วไปการรักษาไวรัสตับอักเสบที่ไม่รุนแรง สามารถรักษาโดยแพทย์
อายุ ร กรรมทั่ว ไปได้ หากเป็ น รุ น แรงอาจจาเป็นต้องรักษากับแพทย์เฉพาะทาง (hepatologist or
gastroenterologist) และต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะหากไม่สามารถรับประทานอาหาร
หรือน้าได้
ไวรัสตับอักเสบเอ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาไวรัสตับอักเสบเอ รักษาตามอาการเท่านั้น พักผ่อน งดใช้ยา
หรือสารเคมีที่มีอันตรายต่อตับ คนที่เสียชีวิตจากโรคตับอักเสบเอ มี 1 ใน 1000 คน
ไวรัสตับอักเสบบี การให้ immunization ประกอบด้วย passive และ active immunizations
สาหรับ passive immunization โดยฉีด hepatitis B immunoglobulin (HBIG) เป็นการฉีดอิมมูโน
โกลบูลินเข้าไปทาลายเชื้อไวรัสตับอักเสบโดยตรง จะฉีดในกรณีที่ถูกเข็มที่สัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งที่มี
ไวรัส นอกจากนี้ยังให้ในเด็กที่คลอดจากมารดาที่มีเชื้อไวรัส active อยู่ อย่างไรก็ตามทั้ง 2 กรณีควรได้รับ
ทั้ง active และ passive immunizations การให้ active immunization เป็นการฉีด HBsAg กระตุ้น
ให้ร่างกายสร้าง HBs antibody ขึ้นมาป้องกันก่อนที่จะมีการติดเชื้อไวรัส ฉี ด 3 เข็ม โดยเข็มที่ 2 และ 3
ห่างจากเข็มที่ 1 ประมาณ 2 และ 6 เดือนตามลาดับ ส่วน HBc antibody ไม่ใช่ protective antibody
เนื่องจาก core antigen ของไวรัสถูกหุ้มด้วย HBsAg อยู่ในรูปของ Dane particle, tubule และ
sphere forms
6

เชื้อไวรัสตับอักเสบดี หรือเดลตา ไม่มียาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ สาหรับ interferon ช่วยลดการแพร่ของ


HDV ได้พบว่าให้ 5 ล้านหน่วย สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4 เดือน aminotransaminase ลดลง แต่มี
ผลข้างเคียงมาก
เชื้อไวรัสตับอักเสบซี จะรักษาตามอาการ มีการทดลองฉีด interferon พบว่าระดับ aminotransa-
minase ลดลงและอาการทางคลินิกดีขึ้น แต่เมื่อหยุด interferon บางคนอาการกลับมาอีก ตอนหลังมี
การให้ร่วมกันระหว่าง Peginterferon aifa-2b กับ ribavirin ผลลัพธ์ดีกว่าใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ปัจจุบัน มียาใหม่ที่ใช้ในการต้านไวรัส (antiviral drugs) ได้แก่ Simeprevir (Olysio)
และ Sofosbuvir (Sovaldi) โดยได้รับการยืนยันจาก FDA ว่าสามารถรักษาการติดเชื้อไวรัสตับ
อักเสบชี ชนิดเรื้อรังโดยใช้ได้ผลประมาณ ร้อยละ 80-95 ยา Sofosbuvir (Sovaldi) ออกฤทธิ์โดยป้องกัน
โปรตีนที่จาเป็นในการแบ่งตัวของไวรัสตับอักเสบซี โดยใช้ร่วมกับ Pegylated interferon และ Ribavirin
for HCV genotype 1 และ 4, และใช้ร่วมกับ Ribavirin
สาหรับ HCV genotype 2 และ 3 ส่วน Imeprevir (Olysio) ออกฤทธิ์โดยป้องกันโปรตีนที่
จาเป็นในการแบ่งตัวของไวรัสตับอักเสบซีเช่นเดียวกัน โดยใช้ร่วมกับ Peginterferon-alfa และ Ribavirin
สาหรับการรักษาไวรัสตับอักเสบซี type 1
ไวรัสตับอักเสบอี รักษาตามอาการเหมือนการติดเชื้อใน HAV ส่วนใหญ่หายขาดไม่เคยพบผู้ป่วยที่เป็น
พาหะเรื้อรัง
ไวรัสตับอักเสบจี รักษาตามอาการและไม่มีวัคซีนป้องกัน
นอกจากนี้ ยาต้านไวรัสชนิดใหม่ ได้แก่ Daclatasvir (Daklinza), Ombitasvir, Paritaprevir,
Ritonavir (Technivie), Ombitasvir-Paritaprevir-Dasabuvir-Ritonavir (Viekira Pak), และ
Sofosbuvir-Ledipasvir (Harvoni) ใช้สาหรับการรักษา HCV genotype 1 ชนิดเรื้อรัง
ในหญิงตั้งครรภ์ การติดเชื้อไวรัสไม่ทาให้เกิดความเสี่ยงต่อ การคลอดผิดปกติ หรือปัญหาในขณะ
ตั้งครรภ์ โดยการติดเชื้อในทารกในครรภ์พบน้อยมาก ยกเว้นไวรัสตับอักเสบ อี (hepatitis E) ที่สามารถ
ถ่ายทอดไปยังทารกในครรภ์ในช่วง ไตรมาสที่ 3 ส่วนไวรัสตับอักเสบบีจะมีการติดเชื้อเมื่อคลอด
7

การป้องกันการติดเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบเกิดจากการทาลายเนื้อเยื่อ ทาให้การทาหน้าที่ต่างๆ
ของตับผิดปกติ นาไปสู่การเจ็บป่วยไม่สบาย เป็นโรคที่รู้จักกันมานาน ยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่ว
โลก รวมทั้งประเทศไทยซึ่งผู้ป่วยโรคนี้มีทุกวัย ทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่เป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลัน
ขณะที่ส่วนน้อยเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมา คือ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ
หากเป็นแล้วตับจะไม่สามารถทางานได้ตามปกติ เมื่อทิ้งไว้จนเรื้อรังมีโอกาสที่จะเป็นตับแข็งและร้ายแรง
ถึงขั้นเป็นโรคมะเร็งตับได้ ดังนั้นการป้องกันไวรัสตับอักเสบจึงเป็นเรื่องสาคัญที่ไม่ควรละเลย (อุมาพร
ไตรยประเสริฐ, 2559, หน้า 189)
หลักการป้องกันทางระบาดวิทยาประกอบด้วย
1) การป้องกันการสัมผัสเชื้อ เช่น การไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ที่มีเชื้อไวรัส
2) การป้องกันการสัมผัสแหล่งโรค เช่น เมื่อต้องการจะไปประเทศที่มีการสาธารณสุขไม่ดีควรรับ
วัคซีนป้องกันก่อนเดินทางล่วงหน้าอย่างน้อย 4 สัปดาห์ เพื่อให้วัคซีนมีประสิทธิภาพเต็มที่
3) การป้องกันการเกิดอาการทางคลินิก เช่น การเพิ่มภูมิคุ้มกันโดยใช้วัคซีน
4) การป้องกันการเสียชีวิตและความพิการ เช่น ควรรีบพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ หรือเมื่อ
สงสัยว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
ไวรัสตับอักเสบเอ ฉีด Hepatitis A vaccine, immuneglobulin (HBIG)
ไวรัสตับอักเสบบี ฉีด Hepatitis B vaccine 3 doses (0,3,6 เดือน) ร่วมกับให้ immuneglobulin
(HBIG)
เชื้อไวรัสตับอักเสบดี หรือเดลตา ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
เชื้อไวรัสตับอักเสบซี ฉีด Hepatitis B vaccine ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบบีแล้วไม่ต้องป้องกันไวรัสตับ
อักเสบบี
ไวรัสตับอักเสบอี ปัจจุบันยังไม่มีวัคชีนป้องกันอย่างไรก็ตาม มีการศึกษาค้นพบวัคซีนป้องกันโรคนี้แล้ว
แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาถึงประสิทธิภาพของวัคซีน
ไวรัสตับอักเสบจี ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
8

วิจารณ์แนวโน้มการก่อโรคและความเสี่ยงในการระบาดครั้งถัดไปและการกลายพันธุ์
โรคตับอักเสบในภาพรวมมีแนวโน้ม สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2555 โดยเฉพาะ โรคไวรัสตับ
อักเสบบี มีผู้ป่วยสูงสุด ร้อยละ 60.21 ของผู้ป่วยตับอักเสบทั้งหมด รองลงมาคือ ไวรัสตับอักเสบที่ไม่
สามารถไม่ ร ะบุ ช นิ ด เชื้ อ ไวรั ส (23.83%) พบว่ า โรงพยาบาลสามารถตรวจทางห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารเพื่ อ
วินิ จฉัย โรคได้ โดยเฉพาะไวรั ส ตับ อักเสบชนิดบี สาหรับไวรัสตับอักเสบชนิดอื่นต้องส่ งตัว อย่างตรวจ
วิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไวรัสตับ
อักเสบชนิด เอ มีการระบาด 2 เหตุการณ์ และต้องส่งตัวอย่าง ตรวจที่ส่วนกลางจึงจะสามารถทาการ
วินิจฉัยได้ ทาให้การควบคุมป้องกันและรักษาโรคอาจล่าช้าได้ จึงควรให้ความสาคัญกับการเฝ้าระวังและ
รายงานโรคดังกล่าวถ้าพบผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับนิยามของโรคต้องออกไปทาการควบคุมโรคโดยไม่ต้อง
รอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และควรประเมินระบบเฝ้าระวังเพื่อศึกษาคุณภาพการรายงานการวินิจฉัย
และข้อจากัดของการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย
บรรณานุกรม
กนกรัตน์ ศิริพานิชกร. โรคติดเชื้อ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โฮลิสติก พับลิชชิ่ง, 2557
กิตติประกาย อัครธรรม. ปัญหาระบบทางเดินอาหาร. เชียงใหม่ : บริษัท ไอกรุ๊ป เพรส จากัด, 2555
นิศากร กิจสวัสดิ์. โรคของตับ ถุงน้าดี ท่อน้าดี และตับอ่อน กรุงเทพฯ : อมรินทร์สุขภาพ, 2551
น้าทิพย์ ไตรยสุนันท์. โรคติดเชื้อและระบาดวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โฮลิสติก พับลิชชิ่ง, 2559
ผ่องศรี ศรีมรกต. การทบทวนกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบโภชนาการทางเดินอาหาร. กรุงเทพฯ :
อมรินทร์สุขภาพ, 2553
พรรณทิพย์ ฉายากุล. ตาราโรคติดเชื้อ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โฮลิสติก พับลิชชิ่ง, 2559
สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจาปี. (2563). สืบค้น ธันวาคม 9, 2565 จาก
http://boe.moph.go.th/
อุมาพร ไตรยประเสริฐ. ระบบทางเดินอาหารและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, 2559

You might also like