You are on page 1of 9

หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฯ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การฉีดวัคซีนไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับผูต้ ิดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

รหัสการศึกษาต่อเนื่อง 1010-1-000-003-06-2566 ภญ.จุฑามาศ สืบสิน, ผศ.ดร.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์

การฉีดวัคซีนไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

รหัสการศึกษาต่อเนื่อง 1010-1-000-003-06-2566
จำนวน 2.5 หน่วยกิต
วันที่รับรอง 23 มิถุนายน 2566
วันที่หมดอายุ 22 มิถุนายน 2567
โดย ภญ.จุฑามาศ สืบสิน1, ผศ.ดร.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์2
1โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
2กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

*ติดต่อผู้นิพนธ์: ผศ.ดร.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


85 ถ.สถลมาร์ค ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 E-mail: uraiwan.a@ubu.ac.th

วัตถุประสงค์
1. ทราบการพัฒนาและหลักการทำงานของวัคซีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
2. ทราบชนิดของวัคซีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
3. ทราบความจำเป็นของการฉีดวัคซีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
4. สามารถให้คำปรึกษาการใช้วัคซีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

บทคัดย่อ
เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2 2019) เริ่มต้นการแพร่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน
ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 2019 แล้วแพร่กระจายไปทั่วโลก ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะมีอาการระบบทางเดินหายใจ
ได้แก่ ไข้ ไอ มีน้ำมูก หายใจถี่ หายใจลำบาก ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม
ปอดอักเสบ ไตวาย หรือ อาจเสี ย ชี วิต วัคซี น เป็น เครื่องมือในการสร้างภู มิคุ้ม กัน เมื่ อกลุ่ ม ประชากรมีภู มิคุ้ มกัน ต่ อ
โรคติดต่อจำนวนมากพอจะเกิดภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ทำให้โรคระบาดนี้หยุดลงหรือถูกควบคุมได้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและ
ผู้ป่วยเอดส์เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรครุนแรงเมื่อมีการติดเชื้อการได้รับวัคซีนย่อมมีความสำคัญ การตัดสินใจรับ
วัคซีนต้องอาศัยข้อมูลเท่าที่มีการอ้างอิงจากทฤษฎีหรือข้อมู ลจากวัคซีนอื่น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน จากผลงานวิจัย
ทางคลินิกระยะที่ 2 และ 3 การศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ของวัคซีนโคโรนาสายพันธุ์ใหม่
2019 ที่ใช้ในปัจจุบันมีความปลอดภัย ดังนั้นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีควรได้รับวัคซีน ผู้ป่วยเอดส์หรือกรณีมีโรคติ ดเชื้อ
ฉวยโอกาสรุนแรง ควรรักษาอาการคงที่ก่อนและควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจรับวัคซีนโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

คำสำคัญ: วัคซีนโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019, ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

1
หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฯ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การฉีดวัคซีนไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับผูต้ ิดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
รหัสการศึกษาต่อเนื่อง 1010-1-000-003-06-2566 ภญ.จุฑามาศ สืบสิน, ผศ.ดร.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์

บทนำ
เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus, SARS-CoV-2
2019) เริ่ ม ต้ น การแพร่ ร ะบาดในเมื อ งอู่ ฮั่ น ประเทศจี น ตั้ ง แต่ ป ลายปี ค.ศ. 2019 แล้ ว แพร่ ก ระจายไปทั่ ว โลก
ในประเทศไทยมีการระบาดในช่วงต้นและกลางปี ค.ศ. 2020 และเกิดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงเดือนมีนาคม
ค.ศ. 2021 การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ก่อให้ เกิดความสูญ เสียชีวิตและเศรษฐกิจของ
ประเทศไทยและเศรษฐกิจโลก
วัคซีนเป็นเครื่องมือในการสร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อกลุ่มประชากรมีภูมิคุ้มกันต่อโรคติดต่อจำนวนมากพอจะเกิด
ภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ทำให้โรคระบาดนี้หยุดลงหรือถูกควบคุ มได้ วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันมีประสิทธิผลและความปลอดภัยสูง
สำหรับบุคคลทั่วไป ลดการติดเชื้อและลดการเสียชีวิตมีประโยชน์และคุ้มค่าที่จะฉีด ผู้ที่ไม่มีข้อห้ามหรือข้อระวังของการ
ฉีดควรได้รับวัคซีนอย่างถ้วนหน้า วัคซีนโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ชนิดต่าง ๆ ได้ถูกคิดค้น พัฒนาและวิจัยขึ้นมาใหม่
ในระยะเวลารวดเร็วเร่งด่วน การเริ่มวิจัยวัคซีนในทางปรีคลินิกเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 2020 และมีโครงการฉีดวัคซีนให้กับ
ประชากรจำนวนมาก (mass vaccination) ได้เริ่มขึ้นเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2020 การขึ้นบัญชีเป็นวัคซีนสำหรับการใช้
งานฉุกเฉิน ขององค์การอนามัยโลก (WHO Emergency Use Listing – EUL) ทำให้ ข้อมูลการศึกษาต่าง ๆ จึงยังมี
ข้อจำกัดในประชากรกลุ่มพิเศษ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หรือผู้ที่มีความภูมิกันบกพร่อง เป็นต้น การศึกษาส่วน
ใหญ่จะคัดกลุ่มบุคคลเหล่านี้ออกเพื่อความปลอดภัยในการวิจัย วัคซีนใหม่ ข้อมูลเชิงประจักษ์จึงยังมีข้อจำกัด อย่างไรก็
ตามกลุ่มบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรครุนแรงเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 การได้รับ
วัคซีนย่อมมีความสำคัญ การตัดสินใจรับวัคซีนต้องอาศัยข้อมูลเท่าที่มี การอ้างอิงจากทฤษฎีหรือข้อมูลจากวัคซีนอื่น ๆ
ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกัน
เภสัชกรเป็นส่วนหนึ่งของทีมสหสาขาวิชาชีพ ในการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้รับวัคซีนความเข้าใจประโยชน์และ
ข้อมูลประสิทธิผลและความปลอดภัยก่อนตัดสินใจในการรับวัคซีน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และเข้าใจ
เรื่องวัคซีนด้านต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนา หลักการทำงาน ชนิดของวัคซีน ความจำเป็นของการฉีด และการใช้วัคซีนไวรัส
โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ เพื่อเป็นข้อมูลที่ใช้ในการให้คำปรึกษาแก่บุคลากร
ทางการแพทย์และกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ในการตัดสินใจรับวัคซีนโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

การพัฒนาและหลักการทำงานของวัคซีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
เชื้ อ ไวรั ส โคโรนาสายพั น ธุ์ ใ หม่ 2019 (Severe Acute Respiratory Syndrome, SARS-CoV-2) อยู่ ใ น
Coronaviridae family รูปร่างกลม มีเปลื อกหุ้ม (envelope) ประกอบด้วย ชั้นไขมัน โปรตีน E แท่งโปรตีนหนาม
spike protein ยื่นออกจากตัวอนุภาคไวรัส ซึ่งไวรัสโคโรนาอาศัยโปรตีนหนาม จับกับตัวรับ ในการเข้าสู่ร่างกายของ
มนุ ษ ย์ คื อ angiotensin converting enzyme-2 receptor (ACE2) ระยะฟั กตั ว ตั้ ง แต่ 2 - 14 วั น สามารถ
แพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านฝอยละออง จากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย อัตราการแพร่กระจายเชื้อ
เฉลี่ย 2 - 4 คน (Basic Reproductive Number: R0 เท่ากับ 1.4 – 3.9) ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของประชากร ผู้ป่วย
ด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะมีอาการระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้ ไอ มีน้ำมูก หายใจถี่ หายใจลำบาก ใน
กรณี ที่ อ าการรุ น แรงมาก อาจทำให้ เกิ ด ภาวะแทรกซ้ อ น เช่ น ปอดบวม ปอดอั ก เสบ ไตวาย หรือ อาจเสี ย ชี วิ ต 8
เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2 2019) เริ่มต้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ตั้งแต่ป ลายปี ค.ศ. 2019
แล้วแพร่กระจายไปทั่วโลก การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยในช่วงต้นและกลางปี ค. ศ. 2020 และในช่วงเดือน
มีนาคม ค.ศ. 2021 เกิดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบทางสาธารณสุข เศรษฐกิจเป็นอย่างมากตลอดปี ค.ศ.
2021 ที่มีการระบาดอย่างหนักทัว่ โลก

2
หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฯ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การฉีดวัคซีนไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับผูต้ ิดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
รหัสการศึกษาต่อเนื่อง 1010-1-000-003-06-2566 ภญ.จุฑามาศ สืบสิน, ผศ.ดร.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์

วัคซีนเป็นเครื่องมือในการสร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อร่างกายได้รับการฉีดวัคซีน macrophage ทำหน้าที่เป็นเซลล์


นำเสนอแอนติ เจน (antigen presenting cell) ในกระบวนการกระตุ้ น เม็ ด เลื อ ดขาวลิ ม โฟไซต์ ช นิ ด ที แ ละชนิ ด บี
(T and B lymphocyte) ให้ ท ำงานร่ว มกั น โดย B lymphocyte จะจดจำและสร้างแอนติบ อดี (antibody) อย่ าง
ต่ อ เนื่ อ งต่ อ โปรตี น หนามทำให้ ร่ า งกายมี ภู มิ คุ้ ม กั น ต่ อ เชื่ อ ไวรั ส เมื่ อ มี เชื้ อ ไวรั ส เข้ า มาในร่ า งการครั้ ง ต่ อ ไป
T lymphocyte จะกระตุ้ น B lymphocyte ให้ ท ำงานร่ ว มกั บ แอนติ บ อดี ในการต่ อ สู้ กั บ เชื้ อ ไวรัส 1 และเมื่ อ กลุ่ ม
ประชากรมีภูมิคุ้มกันต่อโรคติดต่อจำนวนมากพอจะเกิดภาวะภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อทำให้โรคระบาดนี้หยุดลงหรือถูกควบคุม
ได้
การพัฒนาวัคซีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 องค์กรหรือหน่วยงานหลายแหล่งได้เร่งพัฒนาวัคซีนสำหรับ
เชื้อนี้อย่างเร่งด่วนโดยถือว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินจนสามารถมีวัคซีนที่ได้รับการรับรองให้ใช้จริงภายในระยะเวลาไม่ถึง
1 ปี ระยะการพัฒนาการวิจัยระดับปรีคลินิก คลินิก จนถึงการใช้จริง
การเริ่มวิจัยวัคซีนในทางปรีคลินิกเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 2020 เมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถคัดแยกโครงสร้างและรหัส
พันธุกรรมของไวรัสได้อย่างสมบูรณ์ และค้นพบส่วนของไวรัสที่เป็นแอนติเจน (antigen) ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
ของมนุษย์ต่อมาได้ทำการวิจัยโดยศึกษาทางคลินิกระยะที่ 1 เป็นการศึกษาในกลุ่มประชากรที่สุขภาพแข็งแรงจำนวน
หลักสิบเพื่อหาข้อมูลความปลอดภัยและขนาดของแอนติเจนที่จะใช้ ต่อมาศึกษาทางคลินิกระยะที่ 2 ในกลุ่มประชากร
จำนวนหลักร้อยถึงหลักพันเพื่อทดสอบผลลัพธ์ของวัคซีนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและเพิ่มเติมข้อมูลความปลอดภัย และ
การศึกษาทางคลินิกระยะที่ 3 เป็นการศึกษาในกลุ่มประชากรในจำนวนหลักหมื่น เพื่อศึกษาประสิทธิ ผลในการป้องกัน
การติดเชื้อ และข้อมูลความปลอดภัยในระดับกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับประชากรจริง ข้อมูลระยะนี้เป็นข้อมูล
ที่สำคัญในการขึ้นทะเบียนวัคซีนและการนำมาประยุกต์ใช้ต่อไป1
โครงการฉีดวัคซีน ให้ กับ ประชากรจำนวนมาก (mass vaccination) ได้เริ่มขึ้นเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2020
ขณะนี้มีวัคซีนสำหรับใช้งานตามเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน 4 รูปแบบ การขึ้นบัญชีเป็นวัคซีนสำหรับการใช้งานฉุกเฉิน
ขององค์การอนามัยโลก (WHO Emergency Use Listing – EUL) 13 ได้แก่
1. วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer/BioNtech Comirnaty) เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2020
2. วัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca/AZD1222) เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2021
3. วัคซีนแจนส์เซน (Janssen/Ad26.COV 2.S) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2021
4. วัคซีนโมเดอร์นา (Moderna COVID-19 (mRNA 1273) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2021
5. วัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm COVID-19) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2021
6. วัคซีนซิโนแวค (Sinovac-CoronaVac) เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2021

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ประเทศไทย ได้อนุมัติขึ้นทะเบียน วัคซีน COVID-19 แบบใช้ใน


ภาวะฉุกเฉินแล้ว 5 รายการ ได้แก่
1. วัคซีน AstraZeneca เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2021
2. วัคซีน Sinovac หรือ วัคซีน CoronaVac เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2021
3. วัคซีน Johnson & Johnson เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2021
4. วัคซีน Moderna เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2021
5. วัคซีน Sinopharm เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 202115
6. วัคซีน Pfizer/ BioNtech เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2021

3
หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฯ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การฉีดวัคซีนไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับผูต้ ิดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
รหัสการศึกษาต่อเนื่อง 1010-1-000-003-06-2566 ภญ.จุฑามาศ สืบสิน, ผศ.ดร.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์

สำหรับวัคซีนโควิด 19 ที่รัฐบาลจัดหาและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในระยะแรกของ
การบริการฉีดวัคซีน มี 2 ชนิด คือ14
1. วัคซีน AstraZeneca ให้ในในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 10 – 12 สัปดาห์
2. วัคซีน CoronaVac หรือ Sinovac ในผู้ที่มีอายุ 18 – 59 ปี ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 2 – 4 สัปดาห์
ในปัจจุบัน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยังคงมีการให้บริการวัคซีนในโรงพยาบาลและหน่วยงานสังกัด
กรมการแพทย์ทั่วประเทศ เช่น วัคซีน Pfizer/ BioNtech (Bivalent) วัคซีน Moderna และวัคซีน AstraZeneca
รายละเอียดเปรียบเทียบของวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 แสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ชนิดของวัคซีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 1,3,6,11


ชนิดวัคซีน ชนิดสารพันธุกรรม ไวรัสตัวพา เชื้อตาย โปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ
(messenger RNA) (virus vector vaccines) (inactivated virus (protein vaccines)
vaccines)
ตัวอย่าง Pfizer, Moderna Astra Zeneca, Sinovac, Novavax
Janssen, Sputnik V Sinopharm
เทคโนโลยี1 -เทคโนโลยีชนิดใหม่ -เทคโนโลยีการบรรจุกรด -เทคโนโลยีในการเลี้ยง - ใช้เทคโนโลยีการผลิต
messenger RNA นิวคลิอิกที่มียีนในการ ไวรัสแล้วทำให้ไวรัสหมด
แบบใช้โปรตีนเบส เป็น
จะถูกบรรจุอยู่ในเยื่อ สร้างโปรตีนหนามของ ฤทธิ์ การเพาะโปรตีนใหม่ขึ้นมา
ไขมันเพื่อนำเข้าสู่รา่ งกาย ไวรัสใส่ไว้กบั ไวรัสตัวพา - เมื่อได้รับวัคซีนเปรียบ
และใช้ชนิ้ ส่วนโปรตีนของ
ผ่านกระบวนการไรโบโซม -เมื่อวัคซีนเข้าสู่ร่างกายจะ เหมือนการได้รับเชื้อไวรัส โคโรน่าไวรัสมาผลิต
ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เกิดกระบวนการเสมือนติด ที่ตายแล้วทั้งตัว เพื่อไป -จากนั้นจึงนำโปรตีนส่วน
เชื้อจริงและกระตุ้นระบบ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน - หนามของไวรัสมารวมกับ
การสร้างแอนติบอดีต่อไป วัคซีนมีส่วนผสมของสาร สารกระตุ้นภูมิตา้ นทาน
กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และฉีดเข้าสู่ร่างกายของ
(adjuvant) เพื่อกระตุ้นให้
มนุษย์ เพื่อกระตุ้นให้
เม็ดเลือดขาวตอบสนองต่อ
ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อ
วัคซีนได้ดียงิ่ ขึ้นเชื้อไวรัส
ข้อเด่น -มีอาร์เอ็นเอจำเพาะใน -เก็บอุณหภูมิตู้เย็น -เป็นเทคโนโลยีที่ใช้มา
-การเลือกใช้หนามของโค
การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน -ไวรัสตัวนำมีชวี ิตแต่ไม่ก่อ ก่อน เช่น วัคซีนไข้หวัด
วิดในการทำวัคซีน
- ผลิตได้จำนวนมาก โรค ใหญ่ -นักวิจัยสามารถเปลี่ยน
รวดเร็วราคาไม่แพง -เก็บที่อุณหภูมิตู้เย็น
ชนิดโปรตีน เพื่อรองรับ
ไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจดื้อ
ยาได้
ข้อด้อย ความคงตัวไม่ดีเนื่องจาก การเพิ่มขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนการผลิตต้อง ต้องใช้สารเสริมฤทธิ์
กรดนิวคลิอิกห่อหุ้มด้วย เล็กน้อยในขั้นตอนการ เพาะเลี้ยงเชื้อในห้องนิรภัย (adjuvant) เพื่อเพิ่มการ
ไขมันบาง ๆ เท่านั้นจึงต้อง บรรจุลงในไวรัสตัวนำแทน ชีวภาพทำให้ต้นทุนสูง ตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
เก็บที่อุณหภูมิต่ำพิเศษ การบรรจุในชั้นไขมัน -ใช้เวลานานในการผลิต
0 0
เก็ บ รั ก ษ า -70 C: Pfizer, 3-5 C 3-5 0C 2-8 0C
(0C) -20 0C: Moderna

4
หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฯ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การฉีดวัคซีนไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับผูต้ ิดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
รหัสการศึกษาต่อเนื่อง 1010-1-000-003-06-2566 ภญ.จุฑามาศ สืบสิน, ผศ.ดร.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์

ความจำเป็นของการฉีดวัคซีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
การฉีดวัคซีน ทำให้ ผู้ที่ ฉีดมีภูมิคุ้ มกัน ต่อเชื้อโรค เมื่อคนส่ วนใหญ่ มีภูมิคุ้มกันแล้ วจึงไม่ติดโรคและมีโอกาส
แพร่โรคน้อยลงทำให้เกิดผลทางอ้อมในการป้องกันการติดเชื้อกับคนส่วนน้อยที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค เกิดภูมิคุ้มกันหมู่
(herd immunity) และหยุดการแพร่ระบาด
วัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้ างสภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ โดยไม่ต้องรอให้ประชากรจำนวนมากมีภูมิคุ้มกัน
จากการติดเชื้อตามธรรมชาติเพราะการปล่อยให้ติดเชื้อเองตามธรรมชาติจะนำไปสู่การเจ็บป่วยรุนแรง การเสียชีวิตใน
จำนวนมากจนเกินขีดความสามารถของทรัพยากรทางการแพทย์ เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
การทำให้เกิดสภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ต่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งมีความสามารถใน
การแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ (R0) เฉลี่ย 2.2 คน การสร้างสภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ คำนวณได้ดังสมการ

Herd immunity threshold (ร้อยละ) = (1- (1/ R0) x 100

เมื่อคำนวณ Herd immunity threshold เฉลี่ยเท่ากับ ร้อยละ 55 อย่างไรก็ตามวัคซีนไม่ได้มีประสิทธิผลร้อย


ละ 100 ดังนั้ นประชากรควรได้รับวัคซีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ให้ มากกว่าร้อยละ 60-70 ของประชากร
ทั้งหมด จึงจะเพียงพอในการป้องกันโรคระบาดได้

การใช้วัคซีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์5


ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเป็นกลุ่มผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด -19 และเกิดอาการของการติด
เชื้อโควิด-19 รุนแรงได้ ผลงานวิจัยต่าง ๆ พบว่าในผู้ป่วยที่มี CD4 < 350 cell/mm3 จะเกิดอาการรุนแรงเมื่อ ติดเชื้อ
โควิด-19 มากกว่าผู้ที่มี CD4 สูง ถึง 3 เท่า ดังนั้นผู้ติดเชื้อเอชไอวี จึงควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19
1. คำแนะนำโดยสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย2, กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค5
• ผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรได้รับวัคซีนโควิด -19 เนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และเกิดอาการรุนแรงได้แม้ว่า
ไม่มีข้อมูลของประสิทธิผลในผู้ติดเชื้อเอชไอวีมากพอ
• ยังไม่พบความสัมพันธ์ของระดับ CD4 กับระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิดหลังการรับวัคซีนโควิด และ ให้ป้องกัน
ด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น ใส่หน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง รวมทั้งรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง
• กรณีมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสรุนแรงอยู่ควรรักษาจนอาการคงที่ก่อน
2. ความปลอดภัยและประสิทธิผลของวัคซีน (Vaccine safety and effectiveness)
WHO แนะนำวัคซีนโควิด 19 ที่ปลอดภัยสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี 4 ได้แก่ บริษัท AstraZeneca/Oxford,
บริษัท Johnson and Johnson, บริษัท Moderna, บริษัท Pfizer/BioNTech, บริษัท Sinopharm และ Sinovac
โดยยังไม่มีรายงานการเกิดปฏิกิริยาระหว่างวัคซีนโควิด -19 กับยาต้านไวรัสเอชไอวีที่ผู้ติดเชื้อทานอยู่เป็นประจำ7
การศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนโควิด-19 ของ Oxford/AstraZeneca ระยะที่ 2/3 ของวัคซีน
AstraZeneca นำโดยศาสตราจารย์ John Frater จาก University of Oxford และคณ ะ ศึ ก ษา Safety and
immunogenicity of the ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222) vaccine against SARS-CoV-2 in HIV infection: a
single-arm substudy of a phase 2/3 clinical trial ระหว่ า งวั น ที่ 5– 24 พ.ย. 2020 ที่ โ รงพยาบาลในสหราช
อาณาจักร ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีอายุ 18-55 ปี จำนวน 54 คนซึ่งได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสและมีปริ มาณไวรัส
(viral load) ที่ยั บ ยั้งอย่ างสมบู รณ์ viral load (< 50 copies/ml) และ CD4 count > 350 cell/mm3 (เฉลี่ย 694
cell/mm3) เป็นเพศชายทั้งหมด กลุ่มควบคุมที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 50 คน และทุกคนได้รับวัคซีน AstraZeneca
2 ครั้ง ห่างกัน 4-6 สัปดาห์

5
หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฯ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การฉีดวัคซีนไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับผูต้ ิดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
รหัสการศึกษาต่อเนื่อง 1010-1-000-003-06-2566 ภญ.จุฑามาศ สืบสิน, ผศ.ดร.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์

ผู้เข้าร่วมถูกติดตามเป็นเวลา 56 วันหลังฉีดวัคซีน เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อทดสอบ immunological tests ที่


baseline และในวันที่ 14, 28, 42 และ 56 ตัวอย่างได้รับการทดสอบสำหรับจำนวนของ antibodies ต่อ SARS-CoV-
2 spike protein, neutralizing antibodies ปริมาณของ T-cells ที่จำเพาะต่อไวรัสและความสามารถในการแพร่
ขยายเมื่อมีโปรตีนขัดขวาง SARS-CoV-2
การทดสอบพบว่าไม่มีความแตกต่างในการตอบสนองของแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันของเซลล์ (T-cell) ระหว่าง
ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มควบคุมที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี ณ จุดใดก็ตามหลังการฉีดวัคซีน จำนวน CD4 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
ไม่มีผลต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เปรียบเทียบอาการไม่พึงประสงค์ระหว่างผู้ติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มควบคุมที่ไม่ติดเชื้อ
เอชไอวี ไม่พบความแตกต่างที่มีนั ยสำคัญ อุบั ติการณ์ ของปฏิกิริยาที่พบบ่อยที่สุด เช่น ความเจ็บปวดบริเวณที่ฉีด
(รายงานโดย 49% ของผู้ ติ ด เชื้ อ เอชไอวี) ความเหนื่ อ ยล้ า (47 %) ปวดศี รษะ (47%) และปวดกล้ ามเนื้ อ หรื อ ข้ อ
(36%) ส่วนใหญ่อาการลดลงหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง จากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี
ควรได้รับการสนับสนุนให้รับวัคซีน ป้องกันโควิด-19 อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมในผู้ที่มีจำนวน CD4 ต่ำ
กว่า 350 cell/mm3 หรือปริมาณ viral load (> 50 copies/ml) ดังแสดงในตารางที่ 2 12

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบประสิทธิผลวัคซีน 6,12


ประสิทธิผล บริษัทผู้ผลิต
ในด้านต่าง ๆ Sinovac Sinopharm Janssen AztraZeneca Moderna Pfizer
- 51% (ความรุนแรงของ
การเจ็บป่วยในระดับเบา-
กลาง-หนัก)
ป้องกันการเจ็บป่วย 79-86% 64-72% 79% 94% 95%
- 84% (ความรุนแรงของ
การเจ็บป่วยในระดับ กลาง-
หนัก)
ป้องกันการป่วย 100% ไม่มีข้อมูล 100% 100% 100% 100%
หนัก
ป้องกันการแพร่เชื้อ ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล 50% ไม่มีข้อมูล 60%

อาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีน
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยและไม่รุนแรง5 ได้แก่ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด มีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว เหนื่อย
เพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
อาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง สามารถเกิดได้ แต่พบได้น้อย ได้แก่
1. อาการผื่นแพ้วัคซีน
2. ภ า ว ะ ลิ่ ม เลื อ ด อุ ด ตั น ร่ ว ม กั บ เก ล็ ด เลื อ ด ต่ ำ (Vaccine-induced immune thrombotic
thrombocytopenia (VITT) กลไกการเกิด: เกี่ยวกับองค์ประกอบของวัคซีนบางส่วนที่ทำให้ร่างกาย
ของผู้ที่ได้รับวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาไปกระตุ้นเกล็ ดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันและเกล็ดเลือด
ต่ำ โดยอุบัติการณ์ในการเกิด ประชากรทั่วไปจะพบได้ประมาณ 1 ต่อแสนประชากร ที่ฉีดวัคซีน ส่วน
ผู้สูงอายุจะพบได้น้อยมาก โดยอายุเกิน 65 ปีจะพบได้ 1 ต่อล้านของประชากร สำหรับผู้ที่มีอายุน้อย
กว่า 55 ปี จ ะพบได้บ่ อยขึ้น พบได้ 1 ต่อ 50,000 ของประชากร นอกจากนี้พ บว่า ส่ ว นใหญ่ พบใน

6
หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฯ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การฉีดวัคซีนไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับผูต้ ิดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
รหัสการศึกษาต่อเนื่อง 1010-1-000-003-06-2566 ภญ.จุฑามาศ สืบสิน, ผศ.ดร.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์

เพศหญิง โดยเกิดขึ้นประมาณสัปดาห์ที่ 1-2 หลังฉีดวัคซีนเข็มแรก พบตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 30 วันหลังฉีด


วัคซีน สำหรับอาการแสดง ส่วนมากจะพบที่หลอดเลือดดำของสมอง มึนศีรษะ ปวดศีรษะ และปวด
รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คลื่นไส้อาเจียน ตามัว แขนขาอ่อนแรง และชักได้ ส่วนอาการที่พบน้อย จะเป็น
ภาวะที่มีเลือดออก อาจจะมีจ้ำช้ำ จุดเลือดออกเล็กๆ 8
3. ภาวะปฏิกิริยาที่สัมพันธ์กับ ความเครียดจากวัคซีน (Immunization Stress-Related Responses,
ISRR)9 อาการที่ พ บ เช่น ชา อ่ อ นแรง ปากเบี้ ย ว ในบางรายมี อ าการคล้ ายโรคหลอดเลื อ ดสมอง
แต่ไม่ได้เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่แท้จริง เมื่อตรวจเอกซเรย์สมอง และตรวจอื่น ๆ พบว่าปกติ โดย
อาการส่วนใหญ่มักเกิดใน 5-30 นาทีหลังได้รับวัคซีน อาการจะเป็นชั่วคราวและหายเป็นปกติใน 1-3
วัน มักเกิดเป็นกลุ่มก้อน (กลุ่มคนที่ไปรับการฉีดวัคซีนในคราวเดียวกัน) เกิดได้กับทุกวัคซีนและทุกรุ่น
การผลิต มักจะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบมากในผู้ที่อายุน้อย
4. ภาวะกล้ า มเนื้ อ หั ว ใจและเยื่ อ หุ้ ม หั ว ใจอั ก เสบที่ เกิ ด จากวั ค ซี น โควิ ด 19 ชนิ ด เอ็ ม อาร์ เอ็ น เอ
(Myocarditis and pericarditis after mRNA vaccination)10 โดย คณะผู้เชี่ยวชาญเหตุการณ์ไม่พึง
ประสงค์ภายหลังการได้รับวัคซีน สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม 2564
สำหรั บ กลไกการเกิ ด ยั ง ไม่ เป็ น ที่ ชั ด เจนนั ก อาจเกิ ด จาก Molecular mimicry และ
Immune cross-Reactivity หลั ง จากที่ วั ค ซี น กระตุ้ น ให้ เ ซลล์ ภู มิ คุ้ ม กั น ในร่ า งกายผลิ ต Spike
protein ของเชื้ อ ไวรั ส ซึ่ งพบว่ า มี โครงสร้า งคล้ ายกั บ แอนติ เจนที่ อ ยู่ บ นกล้ า มเนื้ อ หั ว ใจ ทำให้
ภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นขึ้น นอกจากจะไปจับกับ Spike protein เพื่อทำลายเชื้อ SARS-CoV-2 แล้ว ยัง
ไปจับ กับแอนติเจนที่บนกล้ามเนื้อหัวใจเกิดเป็นการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจขึ้นได้ หรืออาจเป็น
Inflammatory process หลังฉีดวัคซีน เพราะอาการมักเกิดขึ้นเร็ว ตั้งแต่วันแรกจนถึง 5 วันหลังจาก
ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 อีกทั้งไขมันอนุภาคนาโน (lipid nanoparticle) ที่เป็นตัวช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
อาจเป็นปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิด Immune cross- reactivity
คณะกรรมการควบคุ ม โรค ประเทศสหรัฐ อเมริก า (Centers for Disease Control and
Prevention, CDC) ได้รายงานข้อมูลตั้งแต่เริ่มมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิด mRNA จนถึง
วั น ที่ 11 มิ ถุ น ายน 2564 จำนวน 300 ล้ า นโด๊ ส ผ่ า นระบบ VAERS (Vaccine Adverse Event
Reporting System) และ VSD (Vaccine Safety Datalink) พบอุบัติการณ์การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจ
อักเสบหลังจากเข็มที่ 2 ประมาณ 16 รายใน 1 ล้านโด๊สของการฉีด ซึ่งเกิดหลังการได้รับวัคซีนเข็มที่
2 มากกว่าเข็มที่ 1 และพบส่วนใหญ่ในเพศชาย อายุระหว่าง 16-24 ปี สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด
19 ชนิ ด mRNA แล้ วมีอ าการไม่พึ งประสงค์ เช่น แน่ นหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่ อย หรือใจสั่ น
เกิดขึ้นภายใน 7 วันหลังได้รับวัคซีน ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญในประเทศ
ไทยแนะนำว่า ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยที่มีประวัติการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือเคยมีภาวะหัวใจ
ล้มเหลวมาก่อน ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาเพื่อประเมินก่อนฉีดวัคซีน

สรุป
วัคซีน เป็ นเครื่องมือที่สำคัญ ในการควบคุมหรือหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพั นธุ์ใหม่
2019 วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันมีความปลอดภัย ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีควรได้รับวัคซีน ผู้ป่วยเอดส์หรือกรณีมีโรคติด
เชื้อฉวยโอกาสรุนแรงควรรักษาอาการคงที่ก่อนและควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจรับวัคซีน

7
หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฯ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การฉีดวัคซีนไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับผูต้ ิดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
รหัสการศึกษาต่อเนื่อง 1010-1-000-003-06-2566 ภญ.จุฑามาศ สืบสิน, ผศ.ดร.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์

เอกสารอ้างอิง
1. ธเนศ ชัยสถาพร. วัคซีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. กลยุทธ์การบริบาลผู้ป่วยนอก Ambulatory
Medicine.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพเพ็ญวานิสย์; 2564. หน้า 9-35.
2. สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย. คำแนะนำการรับวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี สมาคมโรคเอดส์
แห่งประเทศไทย.สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2564. Available from:
http://www.thaiaidssociety.org/index.php?option=com_content&view=article&id=199&Itemid
=131.
3. กรมควบคุมโรค 2564. แนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศ
ไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564. Available from: https://ddc.moph.go.th/vaccine-
covid19/getFiles/11/1620107083101.pdf
4. WHO. Coronavirus disease (COVID-19): COVID-19 vaccines and people living with HIV. สืบค้น
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564. Available from: https://www.who.int/news-room/q-a-
detail/coronavirus-disease-(covid-19)-covid-19-vaccines-and-people-living-with-hiv.
5. กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์.กรมควบคุมโรค.แนวทางฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี (1
มิ.ย. 2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564. Available from
https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=19077&deptcode=brc&news_views=1040.
6. สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. ประสิทธิภาพวัคซีนโควิด.สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2564.
Available from https://www.hfocus.org/content/2021/05/21582
7. นฤดี รุกขะเสรณีย์,ณวัฒน ฉายเเสงมงคล,ณัฐรัตน์ พลแหลมและคณะ.คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
องค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับวัคซีนต้านโควิด-19 Essential knowledge of COVID-19 vaccines. สืบค้นเมื่อ
วันที่ 12 กรกฎาคม 2564. Available from:
https://med.mahidol.ac.th/library/th/books/med/07022021-1431-th.
8. ลลิตา นรเศรษฐ์ธาดา, ชาตรี ชัยอดิศักดิ์โสภา.คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
และเกล็ดเลือดต่ำหลังฉีดวัคซีนโควิด19 (VITT). สืบค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564. Available from:
https://web.med.cmu.ac.th/index.php/th/allarticle/25-hilight-news/1185-19-vitt-2.
9. สถาบันประสาทวิทยาและกรมควบคุมโรค.แนวทางปฏิบัติสำหรับอาการไม่พึงประสงค์หลังการได้รับวัคซีน
ป้องกันโรค กรณีปฏิกิริยาที่สัมพันธ์กับความเครียดจากการฉีดวัคซีน กลุ่มอาการคล้ายภาวะหลอดเลือดสมอง .
สืบค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564. Available from:
.https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/2564043009
3047AM_%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0
%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0
%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%
B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%20ISRR_25Apr2021.pdf.
10. กองระบาดวิทยา. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบที่เกิดจากวัคซีนโควิด 19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ.
สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564. Available from:
https://apps.doe.moph.go.th/boe/software/file/Vaccine%20induced%20myocarditis_Jul29_20
21_Final_v2.pdf.

8
หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ฯ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การฉีดวัคซีนไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 สำหรับผูต้ ิดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
รหัสการศึกษาต่อเนื่อง 1010-1-000-003-06-2566 ภญ.จุฑามาศ สืบสิน, ผศ.ดร.ภญ.อุไรวรรณ อกนิตย์

11. โรงพยาบาลวิชัยเวช.วัคซีนโควิดโนวาแวกซ์ สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564. Available from:


https://vichaivej-nongkhaem.com/health-
info/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9
%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%
A7%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B9%8C/.
12. Frater J et al. Safety and immunogenicity of the ChAdOx1 nCoV-19 (AZD1222) vaccine against
SARSCoV-2 in HIV infection. SSRN pre-print, posted online 19 April 2021. Retrieved June 24,
2021Available from: https://www.thelancet.com/journals/lanhiv/article/PIIS2352-
3018(21)00103-X/fulltext.
13. WHO. Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers on vaccine (ปรับปรุงเมื่อ 13
มิถุนายน 2564). Retrieved September 2, 2021.Available from:
https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19/q-a-on-
covid-19-vaccines.กรมควบคุมโรค.
14. วัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย. Retrieved September 5, 2021.Available from:
https://ddc.moph.go.th/.
15. ThaiPBS. เปิด 5 วัคซีนป้องกัน COVID ที่ขึ้นทะเบียนในไทยแล้ว. Retrieved September 5,
2021.Available from: https://news.thaipbs.or.th/content/304738.

You might also like