You are on page 1of 74

ความปลอดภัย

สำหรับลูกจาง
หลักสูตรความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทำงาน
สำหรับลูกจางทั่วไปและลูกจางเขาทำงานใหม

หัวขอว�ชาที่ 1 หัวขอว�ชาที่ 2 หัวขอว�ชาที่ 3


ความรูเกี่ยวกับ กฎหมายความปลอดภัย ขอบังคับวาดวยความปลอดภัย
ความปลอดภัยในการทำงาน อาช�วอนามัย อาช�วอนามัย
และสภาพแวดลอมในการทำงาน และสภาพแวดลอมในการทำงาน

จัดทำโดย สถาบันสงเสร�มความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทำงาน (องคการมหาชน)


บทนำ
ตามพระราชบั ญ ญั ติ ค วามปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้ อ มในการท างาน
พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กาหนดให้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ออกประกาศกรมสวัสดิการ
และคุ้ ม ครองแรงงาน เรื่ อ ง หลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก าร และเงื่ อ นไขการฝึ กอบรมผู้บ ริ ห าร หั ว หน้ า งาน
และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน กาหนดให้นายจ้าง
จัดให้มีการฝึ กอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน เพื่อให้การ
บริหารจัดการและดาเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท างาน
ได้อย่างปลอดภัย ให้แก่ลูกจ้างระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างในทุกระดับ กรณีที่ นายจ้าง
ไม่ ส ามารถจั ด ให้ มี ก ารฝึ กอบรมให้ แ ก่ลู ก จ้ า ง ให้ น ายจ้ า งจั ด ให้ ลู ก จ้ า งเข้า รั บ การฝึ กอบรมกั บ
สถาบั น ส่ งเสริ มความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้ อ มในการทางาน หรื อ หน่ว ยงาน
ที่กรมสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงานกาหนดหรือยอมรับ

สถาบั น ส่ ง เสริ ม ความปลอดภั ย ฯ จึ ง ได้ จั ด ท าหลั ก สู ต รความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย


และสภาพแวดล้ อ มในการท างาน ส าหรั บ ลู ก จ้ า งทั่ ว ไปและลู ก จ้ า งเข้ า ท างานใหม่ ตามที่
กรมสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงานได้กาหนดไว้ในประกาศ

หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า หลั ก สู ต รนี้ จะช่ ว ยสร้ า งความเข้ า ใจให้ กั บ ลู ก จ้ า งทั่ ว ไปและลู ก จ้ า ง
เข้ า ท างานใหม่ สามารถน าองค์ ค วามรู้ นี้ ไ ปใช้ ใ นการปฏิ บั ติ ง านเพื่ อ ให้ ส ถานที่ ป ฏิ บั ติ ง าน
มีสภาพแวดลอ้ มในการทางานที่ปลอดภัย

กันยายน 2563
สารบัญ
หัวขอ้ วิชาที่ 1 ความรู้เกีย่ วกับความปลอดภัยในการทางาน 1
1. คาจากัดความทีเ่ กีย่ วขอ้ ง 3
2. อุบัติเหตุจากการทางาน 5
3. การเจ็บป่วยจากสภาพแวดลอ้ มในการทางาน 8
4. การป้องกันอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทางาน 12
5. ความร่วมมือและการส่งเสริมสุขภาพของลูกจ้าง 16

หัวขอ้ วิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยฯ 19

1. พระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ 21
2. กฎหมายทีเ่ กี่ยวขอ้ งกับความปลอดภัยในการทางาน 27

หัวขอ้ วิชาที่ 3 ขอ้ บังคับวา่ ดว้ ยความปลอดภัยฯ 28


1. ที่มาและความสาคัญ 30
2. กฎความปลอดภัยทัว่ ไป 32
3. กฎความปลอดภัยในการทางานเฉพาะเรื่อง 34
4. ขอ้ บังคับวา่ ด้วยความปลอดภัย 62
หัวขอว�ชาที่ 1
ความรูเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สแกน QR-CODE
เพ�่อรับชมว�ดีโอบรรยาย
หัวขอว�ชาที่ 1
2 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

หัวข้อวิชาที่ 1 : ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

ประกอบดว้ ยหัวขอ้
1. คําจํากัดความที่เกี่ยวขอ้ ง
2. อุบัติเหตุจากการทํางาน
3. การเจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อมในการทํางาน
4. การป้องกันอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทํางาน

แนวคิด
การประสบอันตรายจากการทํางาน อาจมีผลทําให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ เจ็บป่วย เกิดโรค
จากการทํางานหรือเสียชีวิต และอาจทําให้ทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการ
ทํ า งานเหล่ า นี้ เป็ นเรื่ อ งที่ ส ามารถป้ องกั น มิ ใ ห้ เกิ ด ขึ้ น ได้ การดํ า เนิ น งานด้ า นความปลอดภั ย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน จึงเป็ นแนวทางในการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุ
และการเจ็บป่วยจากการทํางาน สถานประกอบกิจการต้องดําเนิน การค้นหาอันตรายและลดความ
เสี่ ย งต่ อ อั น ตรายนั้ น ตลอดจนหาสาเหตุ ของอุ บั ติ เหตุ แ ละการเจ็ บ ป่ วยที่ เกิ ด ขึ้ น กั บ ลู ก จ้ า งและ
ผู้ เกี่ ย วข้อ ง และกํ าหนดมาตรการควบคุ มที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ โดยลู กจ้า งจะต้ อ งมี ส่ ว นร่ ว มในการ
ดําเนินการตา่ ง ๆ เหลา่ นี้ดว้ ย
การดํา เนิ น งานเพื่ อ การป้ องกั น อั น ตรายต่ อ ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านนั้น ลู กจ้า งจึ งต้ อ งมี ค วามเข้าใจ
ถึงปั ญหา สาเหตุของการประสบอันตรายจากการทํางาน ทราบถึงบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ
และมีแนวทางในการปฏิบัติที่ ชัดเจน เพื่อให้ สามารถดําเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานในสถานประกอบกิจการให้เกิดประสิทธิผลอย่างชัดเจน

วัตถุประสงค์
เมื่อเขา้ รับการฝึ กอบรมในหัวขอ้ วิชานีแ้ ล้ว ผูเ้ ขา้ รับการฝึ กอบรมต้องสามารถอธิบาย
1. ความหมายของคําที่เกี่ยวขอ้ งกับความปลอดภัยในการทํางานได้
2. สาเหตุของอุบัติเหตุจากการทํางานได้
3. สาเหตุของการเจ็บป่วยจากสภาพแวดลอ้ มในการทํางานได้
4. การป้องกันอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทํางานได้
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
3
1. คำจำกัดความที่เกี่ยวข้อง
(1) พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพ
แวดลอ้ มในการทํางาน พ.ศ. 2554 ไดใ้ หค้ ําจํากัดความของคําวา่
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน หมายถึง การกระทํา
หรือสภาพการทํางานซึ่ งปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ
หรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทํางานหรือเกี่ยวกับการทํางาน
โดยทั่ว ไปคํ าว่ า ความปลอดภั ย ในการทํ า งาน หรือ ความปลอดภั ย และสุ ข ภาพ
อนามั ย ในการทํ า งาน (Safety and Health at Work) หรื อ อาชี ว อนามั ย และความปลอดภั ย
(Occupational Health and Safety) หรือ ความปลอดภัย และอาชี วอนามัย (Occupational Safety
and Health) หรือความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ลว้ นมีความหมาย
เหมือนกันคือ หมายถึง ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทํางานของลูกจ้าง
นายจ้ า ง หมายถึ ง นายจ้ า งตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยการคุ้ ม ครองแรงงานและให้
หมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการซึ่งยอมให้ บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาทํางานหรือ ทําผลประโยชน์
ให้ แกห่ รือ ในสถานประกอบกิจการ ไม่ว่าการทํ างานหรือการทํ าผลประโยชน์นั้ นจะเป็ น ส่วนหนึ่ ง
ส่วนใดหรื อ ทั้ ง หมดในกระบวนการผลิ ต หรือ ธุ รกิ จ ในความรับ ผิ ดชอบของผู้ป ระกอบกิจ การนั้ น
หรือไมก่ ็ตาม
ลูกจ้าง หมายถึง ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุม้ ครองแรงงานและให้หมายความ
รวมถึงผูซ้ ึ่งไดร้ ับความยินยอมให้ทํางานหรือทําผลประโยชน์ให้แกห่ รือในสถานประกอบกิจการของ
นายจ้างไมว่ ่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม
เจ้าหนา้ ที่ความปลอดภัยในการทํางาน หมายถึง ลูกจา้ งซึ่งนายจา้ งแต่งตั้งให้ปฏิบัติ
หนา้ ทีด่ า้ นความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน
(2) พระราชบั ญ ญั ติ เงิ น ทดแทน พ.ศ. 2537 ได้ ใ ห้ คํ า จํ า กั ด ความ
ของคําวา่
ประสบอันตราย หมายถึง การที่ลูกจา้ งไดร้ ับอันตรายแกก่ ายหรือผลกระทบแกจ่ ิตใจ
หรือถึงแกค่ วามตายเนื่องจากการทํางาน หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคําสั่ง
ของนายจา้ ง
4 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

เจ็บป่วย หมายถึง การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแกค่ วามตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตาม


ลักษณะ หรือสภาพของงาน หรือเนื่องจากการทํางาน
โดยทั่วไป การประสบอันตรายจากการทํางาน มีความหมายครอบคลุมถึงการเกิด
อุบัติเหตุจากการทํางาน การเจ็บป่วย การเกิดโรคจากการทํางาน และการเกิดโรคอันเกีย่ วเนื่องจาก
การทํางาน ทัง้ นี้ การเจ็บป่วยจากการทํางานมีสาเหตุมาจากสภาพแวดลอ้ มการทํางานและท่าทางการ
ทํางาน เช่น ปวดหลังจากการยกของผิดวิธี อาการตาล้าจากการทํ างาน เป็ น ต้น ส่วนโรคจากการ
ทํ า งาน หรือ โรคจากการประกอบอาชี พ หมายถึ ง โรคที่ เกิ ด จากปั จจั ย จากการทํ างานโดยตรง
เช่น หูตึงจากเสียงดังในโรงงานปั๊ มโลหะ โรคปอดฝุ่นทรายในโรงงานโมบ่ ดหิน เป็ นต้น

(3) มาตรฐานระบบการจัดการดา้ นความปลอดภัย อาชีวอนามัย


และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (สสปท.1-4-01-00-2562) ไดใ้ ห้คําจํากัดความของ
คําวา่
อันตราย หมายถึง สภาวการณท์ ี่มีเหตุอันจะทําใหเ้ กิดความสูญเสีย
อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่มีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลให้เกิดการ
บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพยส์ ินเสียหาย
เหตุ ก ารณ์ เ กื อ บเกิ ด เป็ นอุ บั ติ เ หตุ หมายถึ ง เหตุ ก ารณ์ ที่ ไ ม่ มี ผู้ ใ ดตั้ ง ใจให้ เ กิ ด
เมื่อเกิดขึ้นแล้วไมม่ ีผลให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย
ความสูญเสีย หมายถึง การบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สิ นเสี ยหาย หรือเจ็บป่วย
หรือเป็ นโรค
ความเสี่ยง หมายถึง ระดับของอันตรายที่บง่ บอกวา่ ยอมรับไดห้ รือยอมรับไมไ่ ด้
ระเบียบการปฏิบัติงาน หมายถึง การอธิบายภาพรวมของการทํางานในกระบวนการ
ทํางานวา่ เกี่ยวขอ้ งกับอะไร ใคร เมื่อไหร่ ที่ไหน อยา่ งไร มีเอกสารอะไรบา้ งที่เกี่ยวขอ้ ง
ขัน้ ตอนและวิธีการปฏิบัติงาน หมายถึง การอธิบายว่าแต่ละขั้นตอนงานมีรายละเอียด
การปฏิบตั ิงานอยา่ งไร
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
5
2. อุบัติเหตุจากการทำงาน
จากนิยามคําว่าอุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่ไมม่ ีผู้ใดตั้งใจให้เกิด เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลให้
เกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย ในที่นี้จะกล่ าวถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้ นจากการ
ทํางานเท่านั้น เช่น ลูกจ้างตกจากที่สูงขณะทํางานบนหลังคา ลูกจ้างถูกใบเลื่อยบาดขณะเลื่อยไม้
ลูกจา้ งถูกสารเคมีกระเด็นเขา้ ตาขณะผสมสารเคมี เป็ นตน้

2.1 สาเหตุของอุบัติเหตุ
การเกิดอุ บั ติ เหตุ ที่ ทํ า ให้ เกิด การบาดเจ็ บ และความเสี ย หายต่ าง ๆ เป็ น ผลที่ สื บ เนื่ อ ง
โดยตรงมาจากการกระทําที่ไมป่ ลอดภัย และ/หรือสภาพการณ์ที่ไมป่ ลอดภัย ไดแ้ ก่
(1) การกระทํ า ที่ ไ ม่ ป ลอดภั ย เป็ น การกระทํ าของผู้ ป ฏิบั ติ งานในขณะทํ า งาน ซึ่งอาจ
จะกอ่ ให้เกิดอุบัติเหตุได้ ตัวอยา่ งเช่น
1) ใช้เครื่องจักร เครื่องกล เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ตา่ ง ๆ โดยพลการหรือโดยไมไ่ ด้
รับมอบหมาย
2) ทํางานเร็วเกินสมควรและใช้เครื่องจักรในอัตราที่เร็วเกินกําหนด
3) ซ่อมแซมหรือบํารุงรักษาในขณะที่เครื่องยนต์กําลังหมุน
4) ถอดอุปกรณค์ วามปลอดภัยจากเครื่องจักรโดยไมม่ ีเหตุอันสมควร
5) หยอกลอ้ กันในขณะทํางาน
6) ทํางานในที่ที่ไมป่ ลอดภัย
7) ใช้เครื่องมือที่ชํารุดหรือไมถ่ ูกวิธี
8) ยกหรือเคลื่อนยา้ ยวัสดุด้วยท่าทางหรือวิธีการที่ไม่ปลอดภัย
9) ไมส่ วมใส่อุปกรณค์ มุ้ ครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่จัดให้
10) ไมป่ ฏิบัตติ ามขอ้ บังคับ ขอ้ ห้าม ป้ายหรือสัญลักษณเ์ ตือนตา่ ง ๆ
6 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

(2) สภาพการณท์ ี่ไมปลอดภั


่ ย เป็ น สภาพแวดล้อ มที่ อ ยู่รอบ ๆ ตั วผู้ป ฏิ บัติงานในขณะ
ทํางาน ซึ่งอาจเป็ นสาเหตุกอ่ ให้เกิดอุบัติเหตุได้ ตัวอยา่ งเช่น
1) ไมม่ ีที่ครอบหรือการด์ ปิ ดคลุมสว่ นที่หมุนไดแ้ ละสว่ นสง่ ถา่ ยกําลังของเครื่องจักร
2) ที่ครอบหรือการ์ดของเครื่องจักรไมป่ ลอดภัยหรือไมเ่ หมาะสม
3) เครื่องจักร เครื่องมือที่ใช้ มีการออกแบบทีไ่ มเ่ หมาะสม
4) บริเวณพื้นที่ทํางานลื่น ขรุขระ หรือสกปรก
5) บริเวณที่ทํางานมีการวางของไมเ่ ป็ นระเบียบ กีดขวางทางเดิน
6) การกองวัสดุสูงเกินไป หรือการซ้อนวัสดุไมถ่ ูกวิธี
7) การจัดเก็บสารเคมี สารไวไฟตา่ ง ๆ ไมเ่ หมาะสม
8) แสงสว่างไมเ่ หมาะสม เช่น แสงอาจสว่างไมเ่ พียงพอ หรือแสงจ้าเกินไป เป็ นต้น
9) ไมม่ ีระบบการระบายและถา่ ยเทอากาศที่เหมาะสม

ต่ อ มาได้ มี ก ารอธิ บ ายเชิ ง ลึ ก ถึ ง สาเหตุ ที่ ทํ า ให้ เกิ ด การกระทํ า ที่ ไ ม่ ป ลอดภั ย และ
สภาพการณท์ ี่ไมป่ ลอดภัย วา่ มาจากความบกพรอ่ งของฝ่ายบริหารที่ขาดการบริหารจัดการอยา่ งเป็ น
ระบบ หรือละเลยที่จะดําเนินการให้เกิดความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ทําให้ส ถานประกอบกิจการ
ขาดโครงการ/กิจกรรมความปลอดภั ยที่ ครอบคลุ ม ทุ ก งานอั น ตราย ขาดการนํ ามาตรฐานความ
ปลอดภัยที่ เกี่ยวข้อ งมาใช้อ ย่างครบถ้วนในกิจกรรมที่จําเป็ น รวมถึงขาดการดําเนิ นงานด้านความ
ปลอดภัยที่สอดคล้องกับขอ้ กําหนดของกฎหมาย มาตรฐาน และขอ้ แนะตา่ ง ๆ อยา่ งเครง่ ครัด ดังนั้น
ความบกพร่องในการจัดการของฝ่ายบริห ารของสถานประกอบกิจการ จึงเป็ นสาเหตุห ลักที่ทําให้
เกิดการประสบอันตรายและความสูญเสียในสถานประกอบกิจการ

2.2 ความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุ
ความสูญเสียหรือคา่ ใช้จ่ายอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุจากการทํางาน อาจแบง่ ออกไดเ้ ป็ น
2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
(1) ความสูญเสียทางตรง หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประสบอุบัติเหตุโดยตรง
ได้แก่
1) คา่ รักษาพยาบาล
2) คา่ ทดแทน
3) คา่ ทําขวัญ คา่ ทําศพ
4) คา่ ประกันชีวิต
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
7

(2) ความสูญเสียทางอ้อม หมายถึง คา่ ใช้จ่ายอื่น ๆ (ซึง่ ส่วนใหญจ่ ะคํานวณเป็ นตัวเงิน


ไดย้ าก) นอกเหนือจากคา่ ใช้จา่ ยจากความสูญเสียทางตรง ไดแ้ ก่
1) การสูญเสียเวลาทํางานของ
ก. ผูป้ ฏิบตั ิงานที่ไดร้ ับบาดเจ็บ เพื่อรักษาพยาบาล
ข. ผูป้ ฏิบตั ิงานอื่นทีต่ อ้ งหยุดงานชัว่ คราว เนื่องจาก
- การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยการปฐมพยาบาล หรือนําส่งโรงพยาบาล
- ความอยากรูอ้ ยากเห็น
- การวิพากษ์วิจารณ์
- ความตื่นตระหนก ตกใจ และเสียขวัญ
ค. หัวหนา้ งานหรือผูบ้ ังคับบัญชา เนื่องจาก
- การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
- การสอบสวนหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
- การบันทึกและจัดทํารายงานการเกิดอุบัตเิ หตุ
- การจัดหาและฝึ กสอนผูป้ ฏิบัตงิ านอื่นให้เขา้ ทํางานแทนผูบ้ าดเจ็บ
- การแกไ้ ขและป้องกันอุบัติเหตุไมใ่ ห้เกิดขึ้นซาอีก
2) คา่ ใช้จา่ ยในการซ่อมแซมเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณท์ ไี่ ดร้ ับความเสียหาย
3) วัตถุดิบหรือสินคา้ ที่ได้รับความเสียหายต้องทิ้ง ทําลาย หรือขายทิ้ง
4) ผลผลิตลดลง เนื่องจากกระบวนการผลิตขัดขอ้ ง ตอ้ งหยุดชะงัก
5) คา่ สวัสดิการตา่ ง ๆ ของผูบ้ าดเจ็บ
6) สถานประกอบกิจการตอ้ งจา่ ยคา่ จา้ งให้แกผ่ ูบ้ าดเจ็บตามปกติ แมจ้ ะทํางานได้
ไมเ่ ต็มที่ หรือตอ้ งหยุดทํางาน
7) การสูญเสียโอกาสทางการค้า เช่น ผลผลิตลดลง ทํางานไม่ได้ตามเป้าหมาย
เป็ นต้น
8) การเสียชื่อเสียง และภาพลักษณข์ องสถานประกอบกิจการ
8 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

9) ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่านาประปา และค่าใช้จ่าย


อื่น ๆ ที่สถานประกอบกิจการยังคงต้องจ่ายตามปกติ แม้ว่าจะต้องหยุด หรือ
ปิ ดกิจการในกรณีเกิดอุบตั เิ หตุรา้ ยแรง
นอกจากนี้ ผู้ประสบอุบัติเหตุท่ีได้รับบาดเจ็บจนถึงขั้นพิการหรือทุพพลภาพไมส่ ามารถ
กลับเขา้ สู่กระบวนการทํางานดังเดิมได้ ทําให้ไมส่ ามารถดํารงชีวิตได้ตามปกติ กลายเป็ นภาระของ
สังคมที่ต้องรับ ผิดชอบดูแลร่ว มกัน ดังนั้นความสูญเสี ยทางอ้ อมนั้นมีมูลค่ามากกว่าความสูญเสีย
ทางตรง ซึ่งปกติเรามักจะไมค่ ํานึงถึงความสูญเสียดังกล่าว

3. การเจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
3.1 สภาพแวดล้อมในการทํางานที่เป็ นอันตรายตอ่ สุขภาพ
สภาพแวดล้อมในการทํางานที่เป็ นอันตรายต่อสุขภาพ หมายถึง สิ่งหรือสภาพต่าง ๆ ที่อยู่
รอบตัวผูป้ ฏิบัติงาน เช่น ความรอ้ น ความเย็น แสงสวา่ ง เสียงดัง ความสัน่ สะเทือน รังสี กา๊ ซ ไอสาร
ฝุ่น ฟูม ละออง สารเคมี เชื้อโรค และสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงสภาพการทํางานที่ซาซาก การ
เร่งรีบทํางาน การทํ างานล่วงเวลา สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน ค่าตอบแทน และชั่วโมงการ
ทํางาน เป็ นตน้ ความไมเ่ หมาะสมของสภาพแวดล้อมในการทํางาน นับว่าเป็ นปั จจัยที่มีส่วนเกี่ยวขอ้ ง
ในการกอ่ ให้เกิดการเจ็บป่วยจากการทํางานได้

สภาพแวดลอ้ มในการทํางานที่อยูร่ อบตัวผูป้ ฏิบัติงาน ซึ่งอาจทําให้เกิดการเจ็บป่วย หรือโรค


จากการทํางาน แบง่ เป็ น 5 กลุ่ม ไดแ้ ก่ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทางเคมี ทางชีวภาพ ทางการย
ศาสตร์ และทางจิตวิทยาสังคม ดังภาพที่ 1
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
9

ภาพที่ 1 : สภาพแวดลอ้ มในการทํางานที่เป็ นอันตรายตอ่ สุขภาพ

(1) สภาพแวดล้ อ มทางกายภาพ เช่ น ความร้ อ น ความเย็ น แสงสว่ า ง เสี ย งดั ง


ความสัน่ สะเทือน รังสี และความกดดันบรรยากาศ เป็ นตน้
(2) สภาพแวดล้ อ มทางเคมี เช่ น สารเคมี ช นิ ด ต่ า ง ๆ ที่ เป็ น วั ต ถุ ดิ บ หรื อ ผลผลิ ต
หรือของเสียที่ตอ้ งกําจัด โดยทัว่ ไปสารเคมีดังกลา่ วอาจจะอยูใ่ นรูป กา๊ ซ ไอสาร ฝุ่น ฟูม ควัน ละออง
หรืออยู่ในรูปของเหลว ตัวอย่างสารเคมี เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ตะกั่ว แมงกานีส ปรอท
เบนซีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ แอสเบสตอส (ใยหิน) เป็ นต้น สารเคมีเหล่านี้ อาจเข้าสู่ร่างกาย
โดยการหายใจ การกิ น หรื อ การดู ด ซึ ม ผ่ านทางผิ ว หนั งของผู้ ป ฏิ บั ติ งาน ปริ ม าณของสารเคมี
นั บ ว่ า มี บ ทบาทอย่ า งมากที่ ส่ ง ผลให้ เกิ ด โรคจากการทํ า งานช้ า หรื อ เร็ ว ถ้ า หากผู้ ป ฏิ บั ติ ง าน
ไดร้ ับสารเคมีในปริมาณที่สูงมาก การเกิดโรคจะเห็นไดช้ ัดในระยะเวลาอันสัน้ แตถ่ า้ ไดร้ ับในปริมาณ
ไมม่ ากนัก การเกิดโรคก็จะใช้เวลานาน
(3) สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ไรฝุ่น พยาธิ และสัตวอ์ ่นื ๆ
เช่น ยุง หนู งู เป็ นต้น
(4) สภาพแวดลอ้ มทางการยศาสตร์ เช่น การทํางานที่มีทา่ ทางการทํางานที่ไมเ่ หมาะสม
การกม้ ยกย้ายของผิดวิธี การบิดเอี้ยวตัว การทํางานซาซาก การทํางานหนักเกินขีดความสามารถ
ของผู้ปฏิ บัติ งาน การทํางานที่ สถานี งานมี ระดับความสูงไม่เหมาะสมกั บความสู งของผู้ป ฏิบั ติงาน
เป็ นตน้
10 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

(5) สภาพแวดล้ อ มทางจิ ต วิท ยาสัง คม เช่ น งานที่ ก่อ ให้ เกิ ด ความเครี ย ดต่ อ จิ ต ใจ
ที่ เกิ ด จากการทํ า งานแข่ ง กั บ เวลาต้ อ งทํ า งานด้ ว ยความเร่ ง รี บ การทํ า งานกะ การได้ รั บ ค่ า จ้ า ง
ที่ไมเ่ หมาะสม สัมพันธภาพระหวา่ งผูป้ ฏิบตั งิ าน เป็ นตน้
จากการที่ ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านต้ อ งทํ า งานในสภาพแวดล้ อ มในการทํ า งานที่ ไ ม่ เหมาะสม
อาจเป็ นผลทําให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเกิดโรคจากการทํางานขึ้น เมื่อเกิดการเจ็บป่วย ผู้ปฏิบัติงาน
นั้นอาจได้ รับการตรวจวินิจฉั ย รักษาพยาบาล และฟื้ นฟูส ภาพให้ ห ายได้ แต่เมื่ อผู้ปฏิ บั ติงานนั้น
กลับเข้าทํางานในสภาพแวดล้ อมการทํ างานที่ไม่เหมาะสมเช่นเดิ มอีก ผู้ปฏิบัติงานนั้นก็อาจได้รับ
อันตรายทํานองเดียวกับที่เกิดขึ้นแลว้ ไมม่ ีที่สิ้นสุดดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 : วงจรสัมพันธ์ระหวา่ งสภาพแวดล้อมในการทํางานและผู้ปฏิบัติงาน

3.2 องคป์ ระกอบที่ทําให้เกิดการเจ็บป่วย/โรคจากการทํางาน


องคป์ ระกอบหลักที่ทําให้เกิดอาการเจ็บป่วย และ/หรือโรคจากการทํางาน มี 3 ปั จจัย ไดแ้ ก่
(1) ผูป้ ฏิบัติงาน ปั จจัยที่เกี่ยวกับตัวผูป้ ฏิบตั ิงานที่นับว่ามีอิทธิพลตอ่ การเจ็บป่วย และ/
หรื อ โรคจากการทํ า งานมี ห ลายประการ เช่ น อายุ เพศ กรรมพั น ธุ์ เชื้ อ ชาติ ภาวะโภชนาการ
ของแต่ ล ะบุ ค คล โรคประจํ า ตั ว ความไวต่ อ การเกิ ด โรค พื้ น ฐานการศึ ก ษาของผู้ ป ฏิ บั ติ ง าน
องคป์ ระกอบดา้ นจิตใจ และองคป์ ระกอบดา้ นพฤติกรรม เป็ นตน้
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
11
(2) สภาพแวดล้อมในการทํางานที่เป็ นอันตรายต่อสุขภาพ คือสาเหตุที่สําคัญของการ
เกิดการเจ็บป่วยและ/หรือโรคจากการทํางาน ซึ่งแบง่ ได้เป็ นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทาง
กายภาพ ทางเคมี ทางชีวภาพ ทางการยศาสตร์ และทางจิตวิทยาสังคม
(3) สิ่งแวดลอ้ มทัว่ ไป เป็ นปั จจัยภายนอกที่กระตุ้นและสง่ เสริม ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ที่ จ ะทํ า ให้ โ รคเกิ ด เร็ ว ขึ้ น เช่ น สภาพที่ พั ก อาศั ย ไม่ ถู ก สุ ข ลั ก ษณะ สภาพภู มิ อ ากาศ และสภาพ
เศรษฐกิจ เป็ นต้น

3.3 โรคจากการทํางาน
โรคจากการทํางาน หรืออาจเรียกวา่ โรคจากการประกอบอาชีพ ซึ่งบางครั้งอาจปรากฏ
อาการขึ้นอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากได้รับสิ่งที่ทําให้เกิดโรคในปริมาณความเข้มข้นสูงในระยะเวลา
สัน้ ๆ เช่น กรณีหายใจเอากา๊ ซแอมโมเนียที่เกิดการรัว่ ไหลจากกระบวนการผลิต จะทําให้เกิดผลต่อ
ระบบทางเดิน หายใจ เกิดการเจ็บ ป่วยขึ้น แต่ บางครั้งโรคจากการทํ างานอาจปรากฏอาการแบบ
เรื้อรังเนื่องจากผู้ปฏิบัติงานได้รับสิ่งที่ทําให้เกิดโรคนั้นทีละเล็กทีละน้อย สะสมเป็ นเวลานานหลาย
เดือนหรือหลายปี เช่น หูตึงจากเสียงดัง โรคปอดฝุ่นฝ้าย โรคปอดฝุ่นทราย เป็ นตน้
12 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

4. การป้องกันอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทำงาน
ลําดับมาตรการป้องกันอันตราย หรือควบคุมความเสี่ยง

มาตรการป้ องกั น อั น ตราย หรือ ควบคุ ม ความเสี่ย งที่ อ าจจะเกิดขึ้ น จากการทํ างาน
เป็ นการดําเนินการเพื่อขจัดหรือลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทํางานให้หมดไปหรืออยูใ่ นระดับ
ที่ยอมรับได้ ซึ่งควรดําเนินการตามลําดับ โดยเริ่มจากมาตรการลําดับที่ 1 จนถึงมาตรการลําดับที่ 5
แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้มาตรการควบคุมมากกว่า 1 มาตรการ เพื่อให้ การควบคุมอั นตรายและลด
ความเสี่ ยงเป็ น ไปอย่ างได้ ผล ลํา ดับ มาตรการควบคุม อั น ตรายหรือ ความเสี่ ย งที่ เกิ ดขึ้ น จากการ
ทํางาน มีดังนี้

มาตรการลําดับที่ 1 การขจัดอันตราย
ในการควบคุมความเสี่ยง มาตรการที่ต้องพิจารณาเป็ นลําดับแรกคือการขจัดอันตราย
ซึ่งถือเป็ นมาตรการคุ้มครองดูแลที่ดีที่สุด เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสอันตรายได้ ทําให้
ลูกจ้างมีโอกาสได้รับอันตรายน้อยที่สุด และเป็ นการควบคุมที่ถาวร เช่น การใช้หุ่นยนต์ทํางานแทน
มนุษย์ การแยกเสน้ ทางคนเดินกับเสน้ ทางยานพาหนะ เป็ นตน้
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
13
หากสามารถควบคุ มความเสี่ ยงด้ วยมาตรการลําดั บที่ 1 ได้ อั นตรายที่ อาจเกิดขึ้ นก็จะ
หมดไป ดังนั้นอาจไม่จําเป็ นต้องควบคุมความเสี่ ยงด้วยมาตรการลําดับถัดไป แต่หากไม่สามารถ
ควบคุมอันตรายดว้ ยมาตรการลําดับที่ 1 ได้ ก็จะตอ้ งควบคุมอันตรายดว้ ยมาตรการลําดับถัดไป

มาตรการลําดับที่ 2 การทดแทนดว้ ยสิง่ ทีม่ ีอันตรายนอ้ ยกวา่


มาตรการควบคุมอันตรายหรือความเสี่ยงที่ตอ้ งพิจารณาเป็ นลําดับที่ 2 คือ การทดแทน
ด้วยวัสดุ วิธีการทํางาน หรืออุปกรณ์ที่มีอันตรายน้อยกว่า ถือเป็ นมาตรการที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อ
การสัมผัสอันตราย ทําให้มีโอกาสได้รับอันตรายจากการทํางานนอ้ ยลง เช่น การเลือกใช้สารเคมีที่มี
อันตรายนอ้ ยกวา่ แทนการใช้สารเคมีที่มีอันตรายมาก หรือการใช้สีที่ใช้นาเป็ นตัวทําละลายแทนการใช้
สีที่ใช้สารประเภทนามันเป็ นตัวทําละลาย การนําขั้นตอนการทํางานที่มีความเสี่ยงบนที่สูงลงมาทําใน
ระดับพื้นดิน เป็ นต้น

มาตรการลําดับที่ 3 การควบคุมทางวิศวกรรม
หากไมส่ ามารถควบคุมอันตรายหรือความเสี่ยงด้วยการขจัดอันตราย (มาตรการลําดับ
ที่ 1) และการทดแทนด้ ว ยสิ่ ง ที่ มี อั น ตรายน้ อ ยกว่ า (มาตรการลํ า ดั บ ที่ 2) ได้ ก็ ใ ห้ พิ จ ารณา
ดํ า เนิ น การควบคุ มด้ ว ยการควบคุ ม ทางวิ ศวกรรม ซึ่ งเป็ น การดํ าเนิ น การควบคุ มเพื่ อ ให้ สถานที่
ทํางานปลอดภั ย เช่น การติ ดตั้ งการ์ด ส่ว นที่ เป็ นอั น ตรายของเครื่ องจักร การติ ด ตั้งระบบระบาย
อากาศ การลดความดังของเสียง การยกย้ายวัสดุโดยใช้อุปกรณ์เครื่องกล การป้องกันการตกจากที่
สูงโดยการติดตั้งราวกันตก เป็ นตน้

มาตรการลําดับที่ 4 การควบคุมเชิงบริหารจัดการ
การควบคุมอันตรายหรือความเสี่ยงมาตรการที่ 4 เป็ นการควบคุ มเชิงบริห ารจัดการ
โดยการให้ขอ้ มูลความรู้และการอบรมที่เหมาะสม การตรวจสอบอุปกรณค์ วามปลอดภัย มีระบบการ
อนุ ญ าตเข้าปฏิ บัติ งาน การตรวจวั ดสภาพแวดล้ อ มในการทํ างาน การจัดให้มี โครงการเฝ้าระวั ง
สุขภาพสําหรับผูป้ ฏิบัติงานที่ได้มีการชี้บง่ วา่ มีความเสี่ยง เช่น ผูท้ ี่สัมผัสกับเสียงดัง ผูท้ ี่ใช้เครื่องมือที่
มีความสัน่ สะเทือน ผูท้ ี่มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ เป็ นตน้
14 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

มาตรการลําดับที่ 5 การใช้อุปกรณค์ มุ้ ครองความปลอดภัย


สว่ นบุคคล
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการไม่สามารถควบคุมอันตรายด้วยมาตรการลําดับที่ 1 - 4
อยา่ งได้ผล จึงเลือกใช้มาตรการลําดับที่ 5 เป็ นมาตรการสุดท้าย คือ การใช้อุปกรณค์ ุ้มครองความ
ปลอดภั ยส่ วนบุ คคล เช่ น การใช้ หน้ ากากกั นฝุ่ น ชุ ดกั นความร้ อน ครอบหู หรื อที่ อุ ดหู ลดเสี ยง เป็ นต้ น
มาตรการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลนี้ไม่ควรนํามาใช้เป็ นมาตรการหลักในการ
ป้องกันอันตราย เนื่องจากมาตรการลําดับที่ 5 เป็ นมาตรการควบคุมเพื่อลดความรุนแรงของการเกิด
อุ บัติ เหตุ ไม่ ใช่เป็ น การลดความเสี่ ยงของการเกิด อุ บั ติเหตุ หากจํา เป็ น ต้ องใช้ ให้เลื อ กใช้ อ ย่า ง
ถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะงาน เนื่องจากลูกจ้างมักมีปัญหากับการใช้อุปกรณ์คุม้ ครองความ
ปลอดภั ย ส่ ว นบุ ค คล เช่ น อุ ป กรณ์ มี ข นาดไม่ พ อดี กั บ ผู้ ส วมใส่ ผู้ ใ ช้ ไ ม่ บํ า รุ ง รั ก ษาความสะอาด
อุปกรณ์ทําให้ไม่ถูกสุขอนามัย ผูใ้ ช้ไมเ่ คยชินกับการใช้อุปกรณ์ การสวมใส่เป็ นเวลานานทําให้รู้สึก
รอ้ น อึดอัด รําคาญ ไมส่ ะดวกสบาย เป็ นอุปสรรคตอ่ การปฏิบัติงาน ทําให้อาจไมไ่ ด้รับความรว่ มมือ
ที่ดีในการใช้อุปกรณ์จากผู้ปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตามควรให้ผู้ใช้มีส่ วนร่ว มในการเลือกใช้อุปกรณ์
คุ้ม ครองความปลอดภั ย ส่ ว นบุ คคล ตลอดจนมี การให้ ความรู้ เกี่ย วกับ วิ ธีการใช้ การบํ ารุ งรัก ษา
อุปกรณอ์ ยา่ งถูกตอ้ ง

โดยสรุปการขจัดอันตรายเป็ นมาตรการแรกที่ต้องพิจารณา หากไมส่ ามารถดําเนินการ


ไดใ้ ห้ใช้มาตรการลําดับถัดมา คือการทดแทนด้วยสิ่งที่มีอันตรายน้อยกว่า การควบคุมทางวิศวกรรม
ร่วมกับการควบคุมเชิงบริหารจัดการ เช่น กําหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย การจัดรูปแบบการ
ทํางาน การให้ขอ้ มูลความรู้ และการฝึ กอบรม วัตถุประสงคก์ ็เพื่อเป็ นการคุม้ ครองดูแลผู้ปฏิบัติงาน
ทั้ งหมด ส่ ว นการใช้อุ ป กรณ์ คุ้ มครองความปลอดภั ยส่ วนบุ คคล ควรเป็ น มาตรการสุ ด ท้ า ยที่ จ ะ
นํ า มาใช้ ซึ่ ง เป็ นเพี ย งมาตรการสนั บ สนุ น มาตรการควบคุ ม อั น ตราย และในหลายกรณี อ าจ
จําเป็ นต้องมีการใช้มากกว่าหนึ่งมาตรการเพื่อควบคุมอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทํางาน ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้
- กรณี ผู้ปฏิบัติ งานสั มผั สกับสายไฟฟ้าเปลื อยอาจทําให้ถู กไฟฟ้ าช็อคถึงขั้นเสีย ชี วิต
แต่หากมีการใช้อุปกรณค์ วามปลอดภัย เช่น การหุ้มฉนวน การใช้อุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้า เป็ นต้น
จะสามารถลดความเสี่ยงตอ่ การเกิดอันตรายตอ่ ผูป้ ฏิบัติงานได้
- กรณีเลื่อยวงเดือน หากมีอุปกรณป์ ้ องกันและวิธีปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และใช้งาน
โดยผู้ปฏิบัติงานที่ ผ่านการฝึ กอบรม ก็สามารถป้องกัน หรือควบคุมอั นตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการ
ทํางานได้
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
15
- กรณีปฏิบัติงานกับเครื่องเจีย กอ่ นไดร้ ับอนุญาตให้ทํางาน ผูป้ ฏิบัติงานต้องผา่ นการ
ฝึ กอบรมขั้ น ตอนและวิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ง านอย่ า งปลอดภั ย และก่ อ นจะทํ า งานทุ ก ครั้ ง ต้ อ งทํ า การ
ตรวจสอบอุปกรณต์ า่ ง ๆ ให้อยูใ่ นสภาพพร้อมใช้งานและปลอดภัย รวมทั้งใช้อุปกรณค์ มุ้ ครองความ
ปลอดภัยสว่ นบุคคลที่เหมาะสม จึงจะสามารถลดความเสี่ยงตอ่ การเกิดอันตรายจากงานเจียได้
16 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

5. ความร่วมมือและการส่งเสริมสุขภาพของลูกจ้าง
หากนายจา้ งได้ดําเนินการตามมาตรการดังกล่าวขา้ งต้นแล้ว แต่ลูกจา้ งไมใ่ ห้ความรว่ มมือที่
ดีในการดําเนินการร่วมกับนายจ้าง ก็จะทําให้การดําเนินมาตรการป้องกันอันตรายหรือควบคุมความ
เสี่ยงไม่ประสบความสําเร็จ ดังนั้นลูกจ้างจึงต้องมีความตระหนักถึงปั ญหาความไม่ปลอดภัยในการ
ทํางานที่มีผลกระทบต่อตนเองและเพื่อนรว่ มงาน และมีจิตสํานึกในการป้องกันอุบัติเหตุและโรคจาก
การทํางาน ซึ่งเป็ นหนา้ ที่ของลูกจา้ งทุกคนที่จะตอ้ งปฏิบัติในเรื่องตา่ งๆ ดังนี้

5.1 การให้ความร่วมมือกับนายจา้ งในการดําเนินการ


ตามกิจกรรมและโครงการตา่ ง ๆ เช่น
(1) การปฏิบัติตามกฎระเบียบดา้ นความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการอยา่ งเคร่งครัด

(2) การใช้อุปกรณค์ มุ้ ครองความปลอดภัยสว่ นบุคคลอยา่ งถูกตอ้ ง

(3) หากพบสภาพการทํางาน หรือการกระทําที่ไมป่ ลอดภัยต่าง ๆ ตอ้ งแจง้ ให้


หัวหนา้ งานทราบโดยเร็ว

(4) การเขา้ รับการอบรมในหลักสูตรความปลอดภัยในการทํางานต่าง ๆ

(5) การเขา้ รับการตรวจสุขภาพเป็ นระยะ ๆ เพื่อการเฝ้าระวังโรคจากการทํางาน

(6) เขา้ รว่ มกิจกรรมและโครงการดา้ นความปลอดภัยฯ ที่นายจา้ งจัดขึ้น

5.2 การเขา้ รับการอบรมในหลักสูตรความปลอดภัย


ในการทํางานตา่ ง ๆ
การทํางานในสถานประกอบกิจการ อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วย
จากสภาพแวดล้อมในการทํางานที่อัน ตรายและไม่ถูกสุขลักษณะ ดังนั้นการอบรมหลักสูตรความ
ปลอดภั ย ต่า งๆ จึ งมี ค วามสํ า คั ญ ที่ ทํ าให้ ลู กจ้ า งได้ ท ราบสาเหตุ ของอั น ตรายและวิ ธี ก ารป้ องกั น
ตลอดจนมีส่วนรว่ มในการดําเนินการตามมาตรการ โครงการ และกิจกรรมต่างๆ ที่สถานประกอบ
กิจการจัดขึ้น ทัง้ นี้ในการเขา้ รับการอบรม ลูกจา้ งควรปฏิบัตดิ ังนี้
(1) ตั้งใจเรียน เนื่องจากสิ่งที่เรียนเป็ นแนวทางในการป้องกันการบาดเจ็บและ
การเจ็บ ป่ วยที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น ในงานประจํ าวั น ดั ง นั้ น ถ้ าสงสั ยให้ ส อบถามจนเข้า ใจ หากไม่เข้า ใจ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
17
อาจทํ า ให้ มี ก ารปฏิ บั ติ ผิ ด หรื อ ละเลยการปฏิ บั ติ ที่ ถู ก ต้ อ ง และอาจก่ อ ผลเสี ย หายต่ อ ผลผลิ ต
หรือทําใหเ้ กิดการบาดเจ็บเป็ นอันตรายตอ่ ชีวิตและทรัพยส์ ินโดยสว่ นรวมได้
(2) จดจําสิ่งที่เรียนรู้ เพราะการทํางานในสถานประกอบกิจการตอ้ งปฏิบัติตาม
ระเบียบและขอ้ บังคับที่ไดเ้ รียนรูม้ า จึงตอ้ งรู้ขอ้ ควรระมัดระวังและขัน้ ตอนการทํางาน เมื่อฝึ กปฏิบัติ
ให้สอบถามผูส้ อนหรือหัวหนา้ งานจนสามารถปฏิบตั ิได้อย่างถูกต้อง
(3) หมัน่ ฝึ กฝน ถึงแมว้ ่าได้เรียนรู้และฝึ กปฏิบัติจนเขา้ ใจแล้ว ยังต้องนํามา
ฝึ กฝนให้เกิดความชํานาญ ทําซาๆจนสามารถปฏิบัติไดไ้ มผ่ ิดขัน้ ตอนและผลงานเป็ นที่พอใจ

5.3 การเริ่มทํางานวันใหมด่ ว้ ยอารมณส์ ดใส


การมี อ ารมณ์ ที่ ดี ย่ อ มส่ ง ผลให้ มี ส มาธิ ใ นการทํ า งาน สามารถสร้ า งผลงานที่ มี
ประสิ ท ธิ ภ าพ หากเกิ ด ปั ญหาเฉพาะหน้ า ที่ ต้อ งตั ด สิ น ใจก็ จ ะมี ส ติ ในการแก้ไ ขได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง
โดยเฉพาะในเรื่ องความปลอดภั ยในการทํ างานก่อ นเริ่มทํางาน หากลูกจ้างพั กผ่อ นไม่เพี ยงพอ
หรือยังคงออ่ นเพลีย หรือเรง่ รีบมาทํางานใหท้ ันเวลา จะทําให้มีอารมณท์ ี่ขนุ่ มัวหงุดหงิด เมื่อรา่ งกาย
และจิตใจไมม่ ีความพร้อมในการทํางาน ย่อมเป็ นสาเหตุนําไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น ลูกจ้าง
จึงตอ้ งมีการวางแผนในการปฏิบตั ิกจิ กรรมนอกงานตา่ ง ๆ เพื่อไมใ่ หส้ ง่ ผลกระทบตอ่ การทํางาน

5.4 การเจ็บป่วยบอ่ ย ๆ ทําให้ขาดงาน


และประสิทธิภาพการทํางานลดลง
รวมทั้ ง ยั ง พบว่ าการประสบอั น ตรายจากการทํ า งานที่ เกิด ขึ้ น ส่ ว นหนึ่ ง มี ส าเหตุ
พื้นฐานมาจากปั ญหาสุขภาพของลูกจ้าง การเจ็บป่วยของแต่ละคนขึ้นกับสภาพแวดล้อม โภชนาการ
และพฤติกรรม จึงเป็ นสาเหตุให้สุขภาพลูกจ้างไม่แข็งแรง ยกเว้นผูเ้ จ็บป่วยจากพันธุกรรมหรือเป็ น
ตั้งแต่กําเนิด การเป็ นหวัดบอ่ ย ๆ ก็เป็ นสัญญาณเตือนความบกพร่องในการดูแลสุขภาพตนเองได้
เช่นกัน ดังนัน้ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยลูกจา้ งควรสง่ เสริมสุขภาพกายและใจตนเอง ดังนี้
(1) การรับประทานอาหารที่เป็ นประโยชนต์ อ่ รา่ งกาย ครบทัง้ 5 หมู่ ไดแ้ ก่
- หมู่ 1 โปรตีน (เนื้อสัตว์ ไข่ นม)
- หมู่ 2 คารโ์ บไฮเดรต (ขา้ ว แป้ง นาตาล เผือก มัน)
- หมู่ 3 เกลือแรห่ รือแรธ่ าตุ (พืชผัก)
- หมู่ 4 วิตามิน (ผลไม)้
- หมู่ 5 ไขมัน (ไขมันจากพืชและสัตว์)
18 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

(2) การพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้รับการฟื้ นฟูกอ่ นเริ่มการทํางานใน


แต่ละวัน เนื่องจากความอ่อนเพลียเป็ นสาเหตุห นึ่งที่มีความสําคัญต่อการ
เกิดอุบัติเหตุ
(3) การผ่อนคลายความเครียด ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ฝึ กสมาธิ ทําจิตใจให้
ร่าเริงแจม่ ใส เป็ นต้น เนื่องจากความเครียดทําให้ขาดสมาธิในการทํางาน
ซึ่งอาจทําให้เกิดอุบัติเหตุจากการทํางานได้
(4) การงดสิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ ยาบ้า เป็ นต้น เพราะผูต้ ิดสิ่งเสพติดจะมี
ร่างกายทรุดโทรม ความต้านทานโรคตา ทําให้ เสี่ ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
และโรคจากการทํางานมากกว่าคนทัว่ ไป
(5) หมั่นออกกําลังกายอย่างสมาเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีการยืดเหยียด
กลา้ มเนื้อเพื่อลดการบาดเจ็บและเพิ่มความตื่นตัวในการทํางาน
(6) ทํ า ความสะอาดที่ พั ก อาศั ย และสถานที่ ทํ า งานให้ ถู ก สุ ข ลั ก ษณะอย่ า ง
สมาเสมอ พร้อมทั้งดูแลความสะอาดของร่างกายตนเอง เพื่อลดความเสี่ยง
จากการได้รับสิ่งสกปรกและเชื้อโรคเขา้ สู่รา่ งกาย
หัวขอว�ชาที่ 2
กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดลอมในการทำงาน

สแกน QR-CODE
เพ�่อรับชมว�ดีโอบรรยาย
หัวขอว�ชาที่ 2
20 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

หัวข้อวิชาที่ 2 : กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย


และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ประกอบดว้ ยหัวขอ้
1. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน พ.ศ. 2554
2. กฎหมายทีเ่ กีย่ วขอ้ งกับความปลอดภัยในการทํางาน

แนวคิด
กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เป็ นมาตรฐานขั้น
ต าที่น ายจ้ างต้ อ งใช้ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานในสถานประกอบกิจการ
เพื่อให้ลูกจ้างปฏิบตั ิงานอย่างปลอดภัย

วัตถุประสงค์
เมื่ อ เข้า รั บ การฝึ กอบรมในหั ว ข้อ วิ ช านี้ แ ล้ ว ผู้ เข้ า รั บ การฝึ กอบรมต้ อ งสามารถอธิบ าย
สาระสําคัญของพระราชบัญญั ติความปลอดภัย อาชี วอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํ างาน พ.ศ.
2554 ได้
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
21
1. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
พ.ศ. 2554 ประกอบด้วย 8 หมวด 74 มาตรา ดังนี้
หมวด 1 บททัว่ ไป ประกอบดว้ ยมาตรา 6 และมาตรา 7
หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดําเนินการดา้ นความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทํางาน ประกอบด้วยมาตรา 8 ถึงมาตรา 23
หมวด 3 คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน
ประกอบดว้ ยมาตรา 24 ถึงมาตรา 31
หมวด 4 การควบคุม กํากับ ดูแล ประกอบดว้ ยมาตรา 32 ถึงมาตรา 34
หมวด 5 พนักงานตรวจความปลอดภัย ประกอบดว้ ยมาตรา 35 ถึงมาตรา 43
หมวด 6 กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
ประกอบด้วยมาตรา 44 ถึงมาตรา 51
หมวด 7 สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางา น
ประกอบดว้ ยมาตรา 52
หมวด 8 บทกําหนดโทษ ประกอบดว้ ยมาตรา 53 ถึงมาตรา 72
บทเฉพาะกาล ประกอบดว้ ยมาตรา 73 และมาตรา 74

มาตราสําคัญที่ลูกจา้ งควรทราบและตอ้ งปฏิบัติ มีดังนี้


มาตรา 6 ให้นายจ้างมีหนา้ ที่จัดและดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการ
ทํางานและสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนการ
ปฏิบัติงานของลูกจ้างมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย
ให้ ลูกจ้ างมีห น้าที่ ให้ความร่วมมื อกับนายจ้ างในการดําเนิน การและส่ งเสริ มด้านความ
ปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่ อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างและ
สถานประกอบกิจการ
มาตรา 8 ให้ นายจ้างบริห าร จัดการ และดําเนิ นการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามั ย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ให้เป็ นไปตามมาตรฐานที่กําหนดในกฎกระทรวง
22 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

การกําหนดมาตรฐานตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดทําเอกสารหรือรายงานใด โดยมีการ


ตรวจสอบหรือรับรองโดยบุคคล หรือนิติบุคคลตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
ให้ ลู ก จ้ า งมี ห น้ า ที่ ป ฏิ บั ติ ต ามหลั ก เกณฑ์ ด้ า นความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และ
สภาพแวดล้อมในการทํางานตามมาตรฐานที่กําหนดในวรรคหนึ่ง
กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน พ.ศ.2554 มีดังตอ่ ไปนี้
1. กฎกระทรวงกํ า หนดมาตรฐานในการบริ ห าร จั ด การ และดํ า เนิ น การด้ า นความ
ปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้ อ มในการทํ างานเกี่ ยวกั บการป้ องกั น และระงั บอั ค คี ภั ย
พ.ศ. 2555
2. กฎกระทรวงกํ า หนดมาตรฐานในการบริ ห าร จั ด การ และดํ า เนิ น การด้ า นความ
ปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556
3. กฎกระทรวงการเป็ น หน่ว ยงานฝึ กอบรมการดั บเพลิ งขั้น ต้ น และการเป็ น หน่ วยงาน
ฝึ กซ้อมดับเพลิงและฝึ กซ้อมอพยพหนีไฟ พ.ศ. 2556
4. กฎกระทรวงกํ า หนดมาตรฐานในการบริ ห าร จั ด การ และดํ า เนิ น การด้ า นความ
ปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2557
5.. กฎกระทรวงกํ า หนดมาตรฐานในการบริ ห าร จั ด การ และดํ า เนิ น การด้ า นความ
ปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.
2559
6.กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามั ย และสภาพแวดล้ อมในการทํ างานเกี่ ยวกับการป้องกันและระงับอั คคี ภัย (ฉบับ ที่ 2)
พ.ศ. 2561
7. กฎกระทรวงกํ า หน ดมาตรฐานในการบ ริ ห าร จั ด การ และดํ า เนิ น การด้ า น
ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562
8. กฎกระทรวงกํ า หนดมาตรฐานในการบริ ห าร จั ด การ และดํ า เนิ น การด้ า น
ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานประดานา พ.ศ. 2563
มาตรา 14 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํ างานในสภาพการทํางานหรือสภาพแวดล้อม
ในการทํ า งานที่ อ าจทํ า ให้ ลู ก จ้ า งได้ รั บ อั น ตรายต่ อ ชี วิ ต ร่ า งกาย จิ ต ใจ หรื อ สุ ข ภาพอนามั ย
ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อ าจจะเกิดขึ้น จากการทํางานและแจกคู่มือปฏิบัติงาน
ให้ลูกจา้ งทุกคนกอ่ นที่ลูกจา้ งจะเขา้ ทํางาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทํางาน
มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึ กอบรม
ความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้ อ มในการทํ า งาน เพื่ อให้ บริ ห าร จั ด การ
และดําเนินการดา้ นความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางานไดอ้ ยา่ งปลอดภัย
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
23
ใน กรณี ที่ น ายจ้ างรั บ ลู ก จ้ างเข้ า ทํ างาน เป ลี่ ย น งาน เป ลี่ ย น ส ถ าน ที่ ทํ างาน
หรือเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต รา่ งกาย จิตใจ
หรือสุขภาพอนามัยให้นายจา้ งจัดให้มีการฝึ กอบรมลูกจา้ งทุกคนกอ่ นการเริ่มทํางาน
การฝึ กอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่อธิบดีประกาศกําหนด
กรมสวัสดิ การและคุ้มครองแรงงานได้ออกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครอง
แรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึ กอบรมผูบ้ ริหาร หัวหน้างาน และลูกจา้ ง
ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน มีสาระสําคัญคือ
(1) นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึ กอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม
ในการทํ า งานเพื่ อให้ บริ ห าร จั ด การ และดํ า เนิ นการด้ านความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานได้อยา่ งปลอดภัยให้แกล่ ูกจ้างระดับบริหาร หัวหนา้ งาน และลูกจา้ ง
ทุกคน
กรณี ลู ก จ้ า งเข้ าทํ างานใหม่ เปลี่ ย นงาน เปลี่ ย นสถานที่ ทํ างาน หรื อ เปลี่ ย นแปลง
เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทําให้ลูกจา้ งไดร้ ับอันตรายตอ่ ชีวิต รา่ งกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย
ให้นายจา้ งจัดให้มีการฝึ กอบรมลูกจา้ งทุกคนกอ่ นการเริ่มทํางาน
(2) หลักสูตรฝึ กอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํ างาน
สําหรับลูกจา้ งระดับบริหาร ให้มรี ะยะเวลาการฝึ กอบรม 12 ชั่วโมง
(3) หลักสูตรฝึ กอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
สําหรับลูกจ้างระดับหัวหนา้ งาน มีระยะเวลาการฝึ กอบรม 12 ชั่วโมง
(4) หลักสูตรฝึ กอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
สําหรับลูกจา้ งทัว่ ไปและลูกจา้ งเขา้ ทํางานใหม่ มีระยะเวลาการฝึ กอบรม 6 ชั่วโมง
(5) หลั กสู ตรฝึ กอบรมด้ านความปลอดภั ย อาชี วอนามั ย และสภาพแวดล้ อมในการทํ างาน
สําหรับลูกจ้างเปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ซ่งึ มีปัจจัยเสี่ยง
แตกต่างไปจากเดิม มีระยะเวลาการฝึ กอบรม 3 ชั่วโมง
มาตรา 17 ให้น ายจ้างติ ดประกาศสั ญ ลั กษณ์ เตื อ นอั น ตรายและเครื่อ งหมายเกี่ยวกั บ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน รวมทั้งขอ้ ความแสดงสิทธิและหนา้ ที่
ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกําหนดในที่ที่เห็นได้งา่ ย ณ สถานประกอบกิจการ
24 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ ออกประกาศกรมสวัสดิ การและคุ้มครอง


แรงงาน เรื่อง สัญลักษณ์เตือนอันตราย เครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน และขอ้ ความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง
มีสาระสําคัญคือ
(1) ให้นายจ้างติดประกาศสั ญลั กษณ์เตือ นอันตรายและเครื่อ งหมายเกี่ยวกับความ
ปลอดภัยอาชี วอนามั ย และสภาพแวดล้ อ มในการทํ างาน ให้ เหมาะสมกั บลักษณะและสภาพการ
ทํางานในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ
(2) ให้นายจ้างติดประกาศข้อความแสดงสิ ทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างในที่
ที่เห็นไดง้ า่ ย ณ สถานประกอบกิจการ ซึ่งตอ้ งประกอบดว้ ยขอ้ ความดังตอ่ ไปนี้
1) นายจ้ างและลู กจ้ างมี หน้ าที่ ในการปฏิ บั ติ ตามพระราชบั ญ ญั ติ ความปลอดภั ย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน
2) นายจ้า งมี ห น้ าที่ จัด และดู แลสถานประกอบกิ จการและลู กจ้างให้ มีส ภาพการ
ทํางานและสภาพแวดล้อมในการทํางานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุน
การปฏิ บัติ งานของลู กจ้ า งมิ ให้ ลู กจ้ างได้ รับ อั น ตรายต่ อ ชี วิ ต ร่ างกาย จิ ต ใจ และสุ ขภาพอนามั ย
(มาตรา 6)
3) นายจ้างมีหน้าที่จัดและดูแลให้ลู กจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย
ส่วนบุค คลที่ ได้ มาตรฐาน ถ้ าลู กจ้างไม่ส วมใส่ อุ ปกรณ์ดังกล่ าว ให้ นายจ้างสั่งให้ หยุดการทํ างาน
จนกว่าลูกจ้างจะสวมใส่อุปกรณน์ นั้ (มาตรา 22)
4) นายจ้ า งมี ห น้ า ที่ จั ด ให้ ผู้ บ ริ ห าร หั ว หน้ า งาน และลู ก จ้ า งทุ ก คนได้ รั บ การ
ฝึ กอบรมให้ ส ามารถบริ ห ารจั ด การและดํ า เนิ น การด้ า นความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และ
สภาพแวดล้อมในการทํางานไดอ้ ยา่ งปลอดภัยกอ่ นการเขา้ ทํางาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทํางาน
หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ (มาตรา 16)
5) นายจ้างมี ห น้าที่ แจ้งให้ ลู ก จ้างทราบถึ งอั น ตรายที่ อ าจเกิดขึ้ น จากการทํ างาน
และแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนกอ่ นที่ลูกจ้างจะเข้าทํางาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่
ทํางาน (มาตรา 14)
6) นายจ้ างมี ห น้ า ที่ ติ ด ประกาศ คํ าเตื อ น คํ า สั่ ง หรื อ คํ า วิ นิ จ ฉั ย ของอธิ บ ดี ก รม
สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พนั กงานตรวจความปลอดภัย หรือคณะกรรมการความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน แล้วแต่กรณี (มาตรา 15)
7) นายจ้างเป็ นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน (มาตรา 7)
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
25
8) ลูกจ้างมีห น้ าที่ให้ความร่ว มมือกับนายจ้างในการดํ าเนิน การและส่งเสริมด้าน
ความปลอดภั ย อาชีว อนามั ย และสภาพแวดล้ อ มในการทํ างาน โดยคํานึ งถึงสภาพของงานและ
หนา้ ที่รับผิดชอบ (มาตรา 6 และมาตรา 8)
9) ลูกจ้า งมี ห น้ าที่ แจ้ งข้อ บกพร่อ งของสภาพการทํ างาน หรื อ การชํ ารุด เสี ยหาย
ของอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ ที่ไมส่ ามารถแกไ้ ขได้ดว้ ยตนเองตอ่ เจา้ หนา้ ที่
ความปลอดภัยในการทํางาน หัวหนา้ งาน หรือผูบ้ ริหาร (มาตรา 21)
10) ลูกจ้างมีหนา้ ที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่นายจ้างจัด
ให้ และดูแลให้สามารถใช้งานไดต้ ามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทํางาน (มาตรา 22)
11) ในสถานที่ ที่ มี ส ถานประกอบกิ จ การหลายแห่ ง ลู กจ้ างมี ห น้ าที่ ป ฏิ บั ติ ต าม
หลักเกณฑ์ เกี่ย วกั บความปลอดภั ย อาชี วอนามั ย และสภาพแวดล้ อ มในการทํ างานของนายจ้ า ง
และสถานประกอบกิจการอื่นที่ไมใ่ ช่ของนายจา้ งดว้ ย (มาตรา 18)
12) ลูกจ้างมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการเลิกจ้าง หรือถูกโยกย้ายหน้าที่การ
งานเพราะเหตุที่ฟ้องร้อง เป็ นพยาน ให้หลักฐาน หรือให้ขอ้ มูลเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํ างานต่อพนั กงานตรวจความปลอดภัย คณะกรรมการความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน หรือศาล (มาตรา 42)
13) ลูกจ้างมีสิทธิไดร้ ับคา่ จา้ งหรือสิทธิประโยชน์อ่ืนใดในระหว่างหยุดการทํางาน
หรือหยุดกระบวนการผลิตตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัย เวน้ แตล่ ูกจ้างทีจ่ งใจกระทํา
การอันเป็ นเหตุให้มีการหยุดการทํางานหรือหยุดกระบวนการผลิต (มาตรา 39)
มาตรา 18 ในกรณี ที่ ส ถานที่ ใดมี ส ถานประกอบกิ จการหลายแห่ ง ให้ น ายจ้ างทุ กราย
ของสถานประกอบกิจการในสถานที่นั้น มีหน้าที่ร่วมกันดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานให้เป็ นไปตามพระราชบัญญัตินี้
ลูกจ้างซึ่งทํ างานในสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ ง รวมทั้ งลูกจ้างซึ่ งทํ างาน
ในสถานประกอบกิจการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้าง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางานซึ่งใช้ในสถานประกอบกิจการนัน้ ดว้ ย
มาตรา 21 ลู กจ้ างมี หน้ าที่ ดู แ ลสภาพแวดล้ อ มในการทํ า งานตามมาตรฐานที่ กําหนด
ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อ ชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพ
อนามัยโดยคํานึงถึงสภาพของงานและพื้นที่ที่รับผิดชอบ
ในกรณี ที่ลูกจ้างทราบถึงขอ้ บกพร่องหรือการชํารุดเสียหาย และไม่สามารถแกไ้ ข
ได้ด้วยตนเอง ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร และให้
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน หัวหน้างาน หรือผู้บริห ารแจ้งเป็ นหนั งสือต่อนายจ้างโดย
ไมช่ ักช้า
26 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

ในกรณี ที่ หั ว หน้ างานทราบถึ งข้ อ บกพร่ อ งหรื อ การชํ า รุ ด เสี ย หายซึ่ งอาจทํ าให้
ลูกจา้ งไดร้ ับอันตราย ตอ่ ชีวิต รา่ งกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ตอ้ งดําเนินการป้องกันอันตรายนั้น
ภายในขอบเขตที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมายทันที ที่ทราบ กรณี ไม่อาจดําเนินการได้ให้แจ้ง
ผูบ้ ริหารหรือนายจ้าง ดําเนินการแกไ้ ขโดยไมช่ ักช้า
มาตรา 22 ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุม้ ครองความปลอดภัยสว่ น
บุคคลที่ไดม้ าตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ลูกจ้างมีห น้าที่สวมใส่อุป กรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่ วนบุ คคลและดูแลรักษา
อุปกรณ์ ตามวรรคหนึ่งให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทํางาน
ในกรณีที่ลูกจา้ งไมส่ วมใส่อุปกรณด์ ังกล่าว ให้นายจา้ งสั่งให้ลูกจา้ งหยุดการทํางาน
นัน้ จนกวา่ ลูกจา้ งจะสวมใสอ่ ุปกรณด์ ังกลา่ ว
มาตรา 74 ในระหวา่ งที่ยังมิไดอ้ อกกฎกระทรวง ประกาศ หรือระเบียบเพื่อปฏิบัตกิ ารตาม
พระราชบั ญ ญั ติ นี้ ให้ นํ ากฎกระทรวงที่ อ อกตามความในหมวด 8 แห่ งพระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครอง
แรงงานพ.ศ. 2541 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
กฎกระทรวงที่ อ อกตามความในหมวดที่ 8 แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ คุ้ ม ครองแรงงาน
พ.ศ. 2541 ที่ยังมีผลบังคับใช้อยูต่ ามมาตรา 74 ไดแ้ ก่
(1) กฎกระทรวงกํ าหนดมาตรฐานในการบริ ห ารและการจั ด การด้ า นความปลอดภั ย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน เกี่ยวกับรังสีชนิดกอ่ ไอออน พ.ศ. 2547
(2) กฎกระทรวงกําหนดหลั กเกณฑ์ และวิธีการตรวจสุ ขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการ
ตรวจแกพ่ นักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547
(3) กฎกระทรวงกํ า หนดมาตรฐานในการบริ ห ารและการจั ด การด้ านความปลอดภั ย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน พ.ศ. 2549
(4) กฎกระทรวงกํ าหนดมาตรฐานในการบริ ห ารและการจั ด การด้ า นความปลอดภั ย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางานเกี่ยวกับงานกอ่ สร้าง พ.ศ. 2551
(6) กฎกระทรวงกํ าหนดมาตรฐานในการบริ ห ารและการจั ด การด้ านความปลอดภั ย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้ นจัน่ และหมอ้ นา พ.ศ.2552
(7) กฎกระทรวงกํ าหนดมาตรฐานในการบริ ห ารและการจั ด การด้ า นความปลอดภั ย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
27
2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย
ในการทำงาน
นอกจากพระราชบั ญ ญั ติ ค วามปลอดภั ย อาชี วอนามั ย และสภาพแวดล้ อ มในการทํ างาน
พ.ศ. 2554 แล้ว ยังมีกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ซึ่งมีความเกี่ยวขอ้ งกับความปลอดภัยในการทํางาน ได้แก่
(1) กฎกระทรวงฉบั บ ที่ 2 (พ.ศ.2541) เรื่ อ ง งานที่ อ าจเป็ น อั น ตรายต่ อ สุ ข ภาพและ
ความปลอดภัยของลูกจา้ ง
(2) กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2541) เรื่อง งานที่ห้ามมิให้นายจ้างให้ลู กจ้างซึ่งเป็ นเด็ก
อายุตากว่า 18 ปี ทํางาน
(3) กฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) เรื่อง งานขนส่งทางบก
(4) กฎกระทรวงกําหนดอัตรานาหนักที่นายจา้ งใหล้ ูกจา้ งทํางานได้ (พ.ศ. 2547)
(5) กฎกระทรวงวา่ ดว้ ยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ (พ.ศ. 2547)

รายละเอียดของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน


สามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ของกองความปลอดภัยแรงงาน www.osh.labour.go.th หรือสถาบัน
ส่ ง เสริ ม ความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้ อ มในการทํ า งาน (องค์ ก ารมหาชน)
www.tosh.or.th
หัวขอว�ชาที่ 3
ขอบังคับวาดวยความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดลอมในการทำงาน

สแกน QR-CODE
เพ�่อรับชมว�ดีโอบรรยาย
หัวขอว�ชาที่ 3
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
29
หัวข้อวิชาที่ 3 : ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ประกอบดว้ ยหัวขอ้
1. ที่มาและความสําคัญ
2. กฎความปลอดภัยทัว่ ไป
3. กฎความปลอดภัยในการทํางานเฉพาะเรื่อง
4. ขอ้ บังคับวา่ ดว้ ยความปลอดภัย

แนวคิด
นายจ้า งต้ อ งจั ด ให้ มี ข้ อ บั ง คั บ ว่ า ด้ ว ยความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้ อ ม
ในการทํางานไว้ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยฯ เป็ นเอกสารที่อย่าง
น้อยต้องประกอบด้วยขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยเพื่อควบคุมมิให้มีการกระทําที่อาจ
กอ่ ให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทํางาน รวมทั้งนายจ้างต้องจัดให้มีการอบรมและฝึ กปฏิบัติตาม
ขอ้ บังคับจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทํางานไดอ้ ยา่ งถูกต้องปลอดภัย ดังนั้น ลูกจา้ งจะตอ้ งรู้ และปฏิบัติ
ตามขอ้ บังคับวา่ ดว้ ยความปลอดภัยฯ รวมถึงกฎระเบียบด้านความปลอดภัยที่สถานประกอบกิจการ
กําหนดไว้

วัตถุประสงค์
เมื่ อเข้ารับการฝึ กอบรมในหั วข้อวิชานี้แล้ว ผู้เข้ารับการฝึ กอบรมต้องสามารถปฏิบัติตาม
กฎระเบี ย บและข้อ บั งคั บว่ า ด้ ว ยความปลอดภั ย อาชีวอนามั ย และสภาพแวดล้ อ มในการทํ า งาน
ของสถานประกอบกิจการที่ตนเองปฏิบัติงานอยูไ่ ดอ้ ย่างถูกต้องปลอดภัย
30 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

1. ที่มาและความสำคัญ
ลูกจา้ งเป็ นทรัพยากรที่มีความสําคัญยิ่งในการทํางานให้แกส่ ถานประกอบกิจการ และยังเป็ น
พลังสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น การดูแลให้ลูกจา้ งสามารถทํางานได้อยา่ ง
ปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยที่ดี นอกจากจะช่วยใหผ้ ลผลิตเพิ่มขึ้นแลว้ ยังเป็ นการสรา้ งภาพลักษณ์
ที่ ดี ข องสถานประกอบกิ จ การ ตลอดจนไม่ เป็ นเหตุ ใ ห้ ถู ก กี ด กั น ทางการค้ า ระหว่ า งประเทศ
ทํ า ให้ ป ระเทศมี ก ารพั ฒ นาไปในทิ ศ ทางที่ ดี การที่ ลู ก จ้ า งมี ง านทํ า หมายถึ ง การมี ร ายได้ เป็ น
คา่ ตอบแทนเพื่อการดําเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว ตลอดจนเป็ นการสร้างคุณคา่ ให้แกต่ นเอง
ซึ่งเป็ นสิ่งสําคัญสําหรับการดํารงชีวิต แตก่ ารที่ลูกจ้างทํางานท่ามกลางเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์
และสภาพแวดล้อมที่อาจกอ่ ให้เกิดอันตราย ทําให้มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทํางาน
ในสถานประกอบกิ จ การ ดั ง นั้ น ภาครั ฐ จึ ง ออกกฎหมายให้ น ายจ้ า งจั ด ให้ มี ก ารบริ ห ารจั ด การ
ด้านความปลอดภัยในการทํางานขึ้น โดยมีเจ้าหนา้ ที่ความปลอดภัยในการทํางาน คณะกรรมการ
ความปลอดภัยฯ บุคลากรและหน่วยงานความปลอดภัย ร่วมกันรับผิดชอบกับนายจ้างในการดําเนิน
โครงการ/กิ จ กรรมความปลอดภั ย ฯ ภายในสถานประกอบกิ จ การให้ เป็ นไปตามกฎหมาย
และสามารถลดการประสบอันตรายได้อยา่ งเป็ นรูปธรรม ซึ่งการดําเนินงานป้องกันอุบัติเหตุและโรค
จากการทํ างานในสถานประกอบกิ จ การอย่ างได้ ผลนั้ น จํ าเป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ ลู ก จ้ า งทุ กคนจะต้ อ งมี
จิตสํานึกรับผิดชอบรว่ มกับสถานประกอบกิจการในการดูแลความปลอดภัยของตนเองและผูร้ ่วมงาน
และการจะสร้างความร่วมมือที่ดีนั้น สถานประกอบกิจการต้ องให้ ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกจ้างขณะทํางานในทุกขั้นตอน และให้นําข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตราย
ตา่ ง ๆ มาฝึ กปฏิบตั ิจนกวา่ ลูกจา้ งจะทํางานไดอ้ ยา่ งถูกตอ้ งปลอดภัย ซึ่งหากลูกจ้างทุกคนปฏิบัติตาม
ข้ อ บั ง คั บ และกฎระเบี ย บว่ า ด้ ว ยความปลอดภั ย ฯ ของสถานประกอบกิ จ การอย่ า งเคร่ ง ครั ด
แลว้ จะทําให้ลูกจา้ งปลอดภัยฯ มีสุขภาพอนามัยที่ดี และมีคณ ุ ภาพชีวิตที่ดีตลอดเวลาการทํางาน
ข้ อ บั ง คั บ และคู่ มื อ ว่ า ด้ ว ยความปลอดภั ย ในการทํ า งานมี ที่ ม าจากบทบั ญ ญั ติ ข อง
พระราชบัญญัติและกฎกระทรวง ดังนี้

(1) พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการ


ทํางาน พ.ศ. 2544
มาตรา 14 ในกรณี ที่ น ายจ้ างให้ ลู ก จ้ า งทํ า งานในสภาพการทํ างานหรือ สภาพแวดล้ อ ม
ในการทํ า งานที่ อ าจทํ า ให้ ลู ก จ้ า งได้ รั บ อั น ตรายต่ อ ชี วิ ต ร่ า งกาย จิ ต ใจ หรื อ สุ ข ภาพอนามั ย
ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อ าจจะเกิดขึ้น จากการทํางานและแจกคู่มือปฏิบัติงาน
ให้ลูกจา้ งทุกคนกอ่ นที่ลูกจา้ งจะเขา้ ทํางานเปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทํางาน
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
31
(2) กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร และการจัดการดา้ นความ
ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน พ.ศ. 2549
ขอ้ 3 ให้นายจ้างจัดให้มี ขอ้ บังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานไว้ในสถาน
ประกอบกิจการ
ขอ้ บังคับว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องกําหนดขั้นตอน
และวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยเพื่อควบคุมมิให้มีการกระทําที่อาจกอ่ ให้เกิดความไม่ปลอดภัยใน
การทํ างาน ทั้งนี้ นายจ้ างต้อ งจัดให้ มี การอบรมและฝึ กปฏิ บัติจนกว่าลูกจ้ างจะสามารถทํ างานได้
อยา่ งถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งจัดวางระบบควบคุม กํากับ ดูแล โดยกําหนดให้เป็ นหนา้ ที่รับผิดชอบ
ของเจา้ หนา้ ที่ความปลอดภัยในการงานทุกระดับ
คู่ มื อ ปฏิ บั ติ ง านตามมาตรา 14 ของพระราชบั ญ ญั ติ ค วามปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย
และสภาพแวดล้อ มในการทํ างาน พ.ศ. 2554 และข้อ บังคั บ ว่าด้วยความปลอดภั ยในการทํ างาน
ตาม ข้อ 3 ของกฎกระทรวงกํ าหนดมาตรฐานในการบริห าร และการจัดการด้านความปลอดภั ย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 จึงเป็ นเรื่องเดียวกันที่กําหนดให้นายจา้ ง
ตอ้ งจัดทําขัน้ ตอนและวิธีการปฏิบตั งิ านที่ปลอดภัยให้แกล่ ูกจา้ ง
เมื่ อนายจ้างมี ขั้น ตอนและวิ ธีการปฏิบั ติ งานที่ปลอดภัยแล้ว จะต้ องจัดให้ มีการอบรมและ
ฝึ กปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทํางานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย หากยังไม่มี นายจ้างต้องจัดทํา
ขัน้ ตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย โดยเริ่มจากการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย แล้วนําผล
ที่ไดจ้ ากการวิเคราะหง์ านเพื่อความปลอดภัยมาจัดทําเป็ นขัน้ ตอนและวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย
ดั งนั้น ลูกจ้ างจะต้ องปฏิ บั ติ ตามข้อ บั งคับ และคู่มื อ ว่า ด้ วยความปลอดภั ยในการทํ างานที่
กําหนดไวอ้ ยา่ งเคร่งครัด เนื่องจากการจัดทําขอ้ บังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางาน
ได้ผ่ านกระบวนการวิเคราะห์งานเพื่ อ ความปลอดภั ยมาอย่างละเอี ยดแล้ ว แต่ ห ากมี ขั้น ตอนและ
วิธีการปฏิบัติงานใดมีปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่กําหนดไว้ในขอ้ บังคับและคู่มือว่าด้วยความ
ปลอดภั ย ในการทํ า งาน ลู ก จ้ างควรแจ้ งให้ หั ว หน้ า งานทํ า การวิ เคราะห์ งานเพื่ อ ความปลอดภั ย
และนําไปกําหนดเป็ นขอ้ บังคับและคูม่ ือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานที่เป็ นปั จจุบันของสถาน
ประกอบกิจการตอ่ ไป
การอบรมตามหัวขอ้ วิชาที่ 3 นี้ นายจ้างจะต้องจัดอบรมให้แกล่ ูกจ้างโดยใช้ขอ้ บังคับวา่ ด้วย
ความปลอดภัยฯ ที่มีอยู่ หรือจัดทําขึ้นสําหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในแต่ละงาน เช่น งานเจีย งานกลึง
งานเชื่อม งานยกยา้ ยสิ่งของ เป็ นต้น
32 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

2. กฎความปลอดภัยทั่วไป
กฎระเบียบเป็ นแบบแผนหรือกติกาการอยูร่ ่วมกันในสังคมเพื่อให้เกิดความสงบเรียบรอ้ ย ภาครัฐ
กําหนดกฎระเบียบในรูปของกฎหมายตา่ ง ๆ เพื่อให้ประชาชนทุกคนปฏิบัติ เป็ นกฎดูแลให้เกิดความ
สงบเรียบร้อ ยภายในประเทศ หากผู้ ใดละเมิ ดมี โทษจํ าคุก ปรับ เป็ น ต้ น ในด้ านความปลอดภั ย
ในการทํางานภาครัฐได้ใช้พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ
ทํ างาน พ.ศ. 2554 รวมทั้ งกฎหมายที่ เกี่ ย วข้อ งกั บ ความปลอดภั ย อื่ น ๆ เพื่ อ ควบคุ ม ให้ ส ถาน
ประกอบกิจการมีการดําเนินการเพื่อความปลอดภัยให้แกล่ ูกจา้ ง โดยนายจา้ งจะต้องนําขอ้ กฎหมาย
ต่ า ง ๆ มาปฏิ บั ติ โดยการกํ า หนดเป็ นกฎความปลอดภั ย เพื่ อ การป้ องกั น และควบคุ ม อั น ตราย
ในกิจกรรมที่เสี่ยงตอ่ อุบัติเหตุและโรคจากการทํางาน

ตัวอยางกฎความปลอดภั
่ ยในการทํางานทัว่ ไป
1. พนักงานตอ้ งตระหนักถึงความปลอดภัยอยูเ่ สมอ
2. พนั ก งานต้ อ งศึ ก ษาคู่ มื อ ปฏิ บั ติ งานให้ เข้า ใจก่อ นการปฏิ บั ติ ง านทุ ก ครั้ ง และปฏิ บั ติ ต าม
ขอ้ กําหนดอยา่ งเครง่ ครัด
3. เชื่อฟั งและปฏิบัติตามป้ายเตือนและสัญลักษณค์ วามปลอดภัยอยา่ งเครง่ ครัด
4. แตง่ กายให้เรียบรอ้ ยและสวมใสอ่ ุปกรณค์ มุ้ ครองความปลอดภัยสว่ นบุคคลให้เหมาะสมกับงาน
5. พนั กงานต้องให้ ความร่วมมือในกิจกรรมความปลอดภัยฯ โดยถือว่าเป็ นส่ว นหนึ่ งของการ
ปฏิบัติงาน
6. ห้ามทํางานกับเครื่องจักรหรือสารเคมีอันตรายโดยไมม่ ีหนา้ ทีเ่ กี่ยวขอ้ ง
7. อุ ป กรณ์ ป้ องกั น อั น ตรายที่ เครื่ อ งจั ก รถื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ งของเครื่ อ งจั ก ร ห้ ามถอดออกโดย
เด็ดขาด ยกเวน้ เพื่อทําการซ่อมแซมหรือบํารุงรักษา
8. เมื่อพบเห็นสภาพการทํางานที่ไมป่ ลอดภัย ตอ้ งรายงานหัวหนา้ งานทันที
9. เมื่ อ เกิ ด อุ บั ติ เหตุ จ ากการทํ า งานหรื อ เจ็ บ ป่ วย ต้ อ งแจ้ ง หั ว หน้ างานหรื อ เจ้ า หน้ า ที่ ค วาม
ปลอดภัยในการทํางานทราบโดยเร็ว
10. ห้ามรับประทานอาหารหรือสูบบุหรี่ในที่ปฏิบัติงาน ยกเวน้ ในบริเวณที่จัดไวใ้ ห้เป็ นการเฉพาะ
11. เมื่อไดย้ ินเสียงสัญญาณฉุกเฉิน ให้พนักงานรีบไปยังจุดรวมพลหรือสถานที่ปลอดภัยโดยดว่ น
12. พนักงานต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณใ์ ห้ถูกตอ้ งตามลักษณะการใช้งาน ไมใ่ ช้งานผิดประเภท
13. ตอ้ งแขวนป้าย “อันตราย” เครื่องจักรหรืออุปกรณก์ อ่ นที่จะทํางานซ่อมบํารุง
14. พนักงานไมม่ สี ิทธิ์ทจี่ ะถอดป้าย “อันตราย” ของผูอ้ ่นื ออก
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
33
15. กรณี ห ยุดพั กการซ่ อมเครื่องจักรหรืออุป กรณ์ ผู้ที่ รับผิ ดชอบหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้อ งกับ การซ่อ ม
เครื่องจักรหรืออุปกรณ์นั้นต้องแขวนป้าย “อุปกรณ์ชํารุด” ณ จุดตามความเหมาะสม พร้อม
กับรายงานให้หัวหนา้ ทราบทันที
16. ห้ ามบุ ค คลที่ ไ ม่ มี ห น้ า ที่ เกี่ ย วข้อ งหรื อ ไม่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตขั บ หรื อ บั ง คั บ ควบคุ ม เครื่ อ งจั ก ร
เครื่องยนต์ รถยก ปั้ นจัน่ หรืออุปกรณใ์ นการยกต่าง ๆ
17. ห้ามพนักงานใช้อุปกรณจ์ กั รกลโดยไมผ่ า่ นการฝึ กอบรมมากอ่ น
18. ห้ามใช้ลมจากเครื่องอัดอากาศมาทําความสะอาดเสื้อผา้ หรือสว่ นใดสว่ นหนึ่งของร่างกาย
19. ห้ามหิ้วหรือแบกสารเคมีอันตรายที่บรรจุในถังหรือภาชนะที่ไมไ่ ด้ปิดหรือปิ ดไมเ่ รียบร้อย และ
ในการขนยา้ ยตอ้ งใช้อุปกรณค์ มุ้ ครองความปลอดภัยสว่ นบุคคลที่เหมาะสม
20. ห้ามปี นหรือเกาะไปกับปั้ นจั่นเครื่องจักรหรือยานพาหนะที่กําลังเคลื่อนที่โดยเด็ดขาด เช่น
รถยก, ลิฟตข์ นของ ฯลฯ
21. ห้า มขับ รถเกิ น ความเร็ ว ที่ กํา หนดในบริเวณโรงงานและปฏิ บัติ ต ามกฎจราจรอื่ น ๆ อย่าง
เครง่ ครัด
22. ห้ามนําสุรา ยาเสพติด อาวุธ วัตถุระเบิดเข้ามาภายในพื้ นที่ของโรงงานเป็ นอั นขาด รวมถึง
ห้ามเลน่ การพนันและทะเลาะวิวาทกันในโรงงาน
23. ห้ามผู้มีสภาพมึนเมาเขา้ ปฏิบตั งิ าน รวมทัง้ เขา้ มาในบริเวณโรงงาน
34 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

3. กฎความปลอดภัยในการทำงานเฉพาะเรื่อง
3.1 กฎความปลอดภัยเกี่ยวกับอุปกรณค์ วามปลอดภัย
1) อย่าถอดถอน เคลื่อนยา้ ยอุปกรณค์ วามปลอดภัยต่าง ๆ โดยไมไ่ ด้รับอนุญาต
2) เมื่ อพบเครื่ องจั กรไม่ มี อุ ปกรณ์ ความปลอดภั ย ให้ หยุ ดเครื่ องจั กร และรายงานให้ หั วหน้ างาน
ทราบทันที
3) การถอดถอน หรือการเคลื่อ นย้ายอุ ปกรณ์ฉุกเฉิ น จะกระทํ าได้ ก็ต่ อเมื่อ ได้ รับอนุ ญาต
จากผูบ้ ังคับบัญชา และอยูภ่ ายใตก้ ารกํากับดูแลของหัวหนา้ งานเทา่ นั้น
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
35
3.2 กฎความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
1) อย่าเขา้ ใกล้หรือจับต้องอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีป้ายห้ามใช้
โดยไมจ่ ําเป็ น
2) ผูไ้ มม่ ีหนา้ ที่เกี่ยวขอ้ ง ห้ามเขา้ บริเวณติดตัง้ หมอ้ แปลง
ไฟฟ้าหรืออุปกรณไ์ ฟฟ้าแรงดันสูง
3) หากตัวเปี ยกชื้น ห้ามจับตอ้ งอุปกรณเ์ ครื่องใช้ไฟฟ้า
4) ห้ามวางวัตถุไวไฟใกล้กับเต้ารับ หรืออุปกรณไ์ ฟฟ้า
5) ต้องปิ ดสวิทช์กอ่ นทําความสะอาดอุปกรณไ์ ฟฟ้าทุกครั้ง
6) การซ่อมบํารุงตอ้ งทําโดยช่างไฟฟ้าเทา่ นั้น
7) การเสียบหรือถอดเตา้ เสียบตอ้ งจับที่ตัวเตา้ เสียบ ห้ามใช้วิธีดึงหรือจับที่สายไฟ
8) ห้ามคลุมหลอดไฟฟ้าดว้ ยกระดาษหรือผา้ เพราะอาจทําให้เกิดอัคคีภัยได้
9) การติดตั้งสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องใช้สายและอุปกรณ์ที่เหมาะสมและติดตั้งอย่าง
ถูกตอ้ ง
10) ควรระวังอยา่ วางสายไฟฟ้าสอดไว้ใตพ้ รมปูพ้ืน ใต้บานประตูหนา้ ต่างหรือขวางทางเดิน
เพราะเมื่อถูกเหยียบยาหรือกดทับนานเขา้ ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าจะชํารุดฉีกขาดอันตรายยอ่ มเกิดขึ้น
ไดง้ า่ ย
11) อย่าให้หลอดไฟฟ้าซึ่งมีความร้อนสูงอยู่ติดกับวัตถุซึ่งเป็ นเชื้อเพลิ งติดไฟง่าย เช่น ผ้า
หรือกระดาษ
12) หลอดไฟฟ้ าที่ขาดแล้ ว ควรใส่ ไว้ กับ กระจุ๊ บ ตลอดเวลาจนกว่าจะเปลี่ ยนหลอดใหม่
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่รู้เท่าไมถ่ ึงการณห์ รือเผอเรอเอานิ้วแหยเ่ ขา้ ไป หากหลอดไฟฟ้ากระพริบติด ๆ
ดับ ๆ ควรแจง้ ใหม้ ีการเปลี่ยนหรือซ่อมบํารุง
13) เมื่ อ จะใช้ โ คมไฟฟ้ านอกชายคา หรื อ ใช้ ง านสมบุ ก สมบั น แม้ จ ะเป็ นการชั่ ว คราว
เช่น อู่ซ่อมรถ ควรเลือกใช้โคมไฟฟ้าที่ดีได้มาตรฐาน มีตะแกรงครอบหลอดและมีสายชนิดที่มีฉนวน
หุ้มหนา
14) อย่าเขา้ ใกล้บริเวณที่มีการใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูง หม้อแปลง หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง
อื่ น ๆ เพราะเมื่ อ เข้ า ใกล้ ก็ อ าจเกิ ด อั น ตรายได้ โ ดยไม่ สั ม ผั ส หากจุ ด ที่ ป ฏิ บั ติ ง านอยู่ ใ กล้
สายไฟฟ้าแรงสูงตอ้ งทราบอันตรายและแนวทางป้องกัน และอยูห่ า่ งในระยะที่ปลอดภัย
15) เมื่อประสบเหตุไฟไหมอ้ ุปกรณไ์ ฟฟ้า หรือมีลูกจา้ งถูกไฟฟ้าช็อค ให้ดําเนินการดังนี้
ก. ปิ ดสวิทช์ไฟ ถา้ ไมส่ ามารถทําได้ ให้แจ้งช่างไฟฟ้าทันที
ข. กรณี ไ ม่ ส ามารถปิ ดสวิ ท ช์ ไ ฟได้ ทั น ที เมื่ อ พบเห็ น เหตุ พ บผู้ ถู ก ไฟฟ้ าช็ อ ค
ให้ พ ยายามช่ ว ยเหลื อ ผู้ ป ระสบอั น ตรายออกจากกระแสไฟฟ้ า โดยใช้ วั ต ถุ ที่ ไ ม่ เป็ น สื่ อ ไฟฟ้ า
36 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

เช่ น ผ้ า แห้ ง ไม้ แ ห้ ง เชื อ กแห้ ง สายยางแห้ ง เป็ นต้ น เขี่ ย สายไฟออกจากร่ า งกายผู้ ป ระสบภั ย
อยา่ ช่วยเหลือดว้ ยการจับตอ้ งตัวผูก้ าํ ลังถูกไฟฟ้าช็อคโดยตรง เพราะจะถูกไฟฟ้าช็อคดว้ ย
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
37
3.3 กฎความปลอดภัยในการการใช้ระบบดักจับฝุ่น สารเคมี
การปิ ดครอบป้องกันเสียง ความรอ้ น และการระบายอากาศ
1) ไมเ่ ปิ ดประตู หรือฝาครอบสิ่งที่เป็ นอันตราย เช่น กา๊ ซ ฝุ่น เสียงดัง และแหลง่ กําเนิดความรอ้ น
2) ตรวจสอบรอยรั่ว และรอยแตกของระบบ ซึ่งอาจเกิดอันตรายจากการรั่วและฟุ้ งกระจาย
หากพบวา่ รั่ว หรือแตกใหแ้ จง้ หัวหนา้ งานเพื่อการซอ่ มแซม
3) ตรวจสอบระบบระบายอากาศเฉพาะที่ ว่ าสามารถใช้งานได้ เป็ น ปกติ ห รือ ไม่ และห้ า ม
ดัดแปลงโดยไมไ่ ด้รบั อนุญาตจากหัวหนา้ งาน
4) ห้ามกองวัสดุไว้ใกล้ปากทอ่ ดูดอากาศ เพราะจะทําให้ประสิทธิภาพการระบายอากาศลดลง

3.4 กฎความปลอดภัยในสํานักงาน
1) ทําความสะอาดพื้นที่ทํางานให้แห้งอยูเ่ สมอ
2) เมื่อพบเห็นสิ่งผิดปกติรีบแจง้ ให้ผรู้ ับผิดชอบทราบ
3) หากตอ้ งการยกของ ไมค่ วรยกของสูงเกินไปจนมองไมเ่ ห็นทาง
4) สวมรองเทา้ ให้รัดกุม ไมค่ ับหรือหลวมจนเกินไป
5) เครื่องใช้ไฟฟ้าควรวางใกล้ปลั๊กไฟฟ้าให้มากที่สุด
6) สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์เดินบนพื้นต้องติดเทปกาวให้เรียบรอ้ ย
7) ไมใ่ ช้เกา้ อี้นั่งมารองยืนเพื่อหยิบ หรือวางสิ่งของ
8) กรณีที่หยิบสิ่งของที่สูงๆ ให้ใช้แทน่ หรือบันไดวางใหม้ ั่นคงและมีคนช่วยจับดว้ ย
9) บริเวณมุมอับ หรือหัวมุมตอ้ งเดินให้มุมกว้าง ชิดขวามือตนเอง อย่าเดินชิดหัวมุม
10) หาตู้เก็บเอกสารใส่แฟ้มเอกสาร เอกสารที่มีนาหนักมากควรเก็บไว้ในลิ้นชักล่าง
11) วางหรือยึดตู้เอกสารให้มนั่ คง
12) ไมเ่ ปิ ดตูเ้ อกสารทีละหลาย ๆ ชัน้ พรอ้ มกัน ควรเปิ ดทีละชั้นเสมอ
13) ไมค่ วรวางของเกะกะทางเดิน
14) ตรวจบริเวณทางเดินใหอ้ ยูใ่ นสภาพที่ปลอดภัย และสะอาดอยูเ่ สมอ
15) ตอ้ งใช้อุปกรณเ์ ครื่องใช้สํานักงานให้ปลอดภัยดว้ ยความระมัดระวัง
16) ถอดปลั๊กไฟฟ้า และปิ ดเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง
17) พนักงานต้องรู้จักวิธีการใช้ถังดับเพลิง และวิธีการอพยพหนีไฟตามแผนที่กําหนดไว้
38 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

3.5 กฎความปลอดภัยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
1) ไมป่ ฏิบัตงิ านคอมพิวเตอร์อย่างตอ่ เนื่องนานเกิน ๑ ชั่วโมง
2) ควรปฏิบตั ิงานประเภทอื่นสลับกับงานคอมพิวเตอร์ เช่น ตรวจหรือเขียนเอกสาร
พูดโทรศัพท์ เขา้ ประชุม เป็ นตน้
3) ขณะพู ด โทรศั พ ท์ ไม่ค วรปฏิ บั ติ งานคอมพิ ว เตอร์ เช่ น ไม่ใช้ แ ป้ นพิ ม พ์ เมาส์ เป็ น ต้ น
แต่ถา้ จําเป็ นต้องปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ดว้ ย ก็ควรใช้อุปกรณห์ ูฟังและไมโครโฟนในการ
พูดโทรศัพท์
4) ถ้าต้องมองเอกสารขณะปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ควรวางเอกสารบนที่วางเอกสาร
5) ควรวางเอกสารตรงหน้าระหวา่ งแป้นพิมพแ์ ละจอภาพ หรือวางขา้ งจอภาพ
6) ไม่ ค วรนั่ ง ปฏิ บั ติ ง านกั บ คอมพิ ว เตอร์ เป็ นเวลานานๆ ควรลุ ก ขึ้ น แล้ ว เดิ น ไป-มา
และบริหารสว่ นของรา่ งกายที่มีอาการปวดเมื่อย
7) ให้ปรับเบาะนั่งให้อยูร่ ะดับที่เหมาะสม โดยให้ขาท่อนบนขนานกับพื้น ขาทอ่ นลา่ งตั้งฉาก
กับพื้น และเท้าทั้งสองข้างวางราบบนพื้นหรือบนที่พักเท้า
8) ขณะนั่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ไมน่ งั่ ไขวห่ ้าง ขัดสมาธิ คุกเขา่ พับเพียบ หรือพับขาบน
เบาะนั่ง
9) ให้ปรับพนักพิงหลังให้ตั้งฉากหรือเอนไปดา้ นหลังเล็กนอ้ ย นัง่ พิงพนักพิงหลังอยา่ งเต็ม
แผน่ หลัง
10) ขณะปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ไมค่ วรวางแขนทั้งสองขา้ งบนทีพ่ ักแขน นอกจากจะ
สามารถปรับระดับ และระยะชิด – ห่างจากลําตัวให้เหมาะสมกับร่างกายได้

(ขอ้ มูลจาก “มาตรฐานการปฏิบตั ิงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์” ของ สสปท.)


ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
39
3.6 กฎความปลอดภัยในการทํางานกับเสียงดัง
1) สวมใสป่ ลัก๊ ลดเสียงขณะปฏิบตั งิ านในสถานที่ที่กําหนด
2) ตรวจสอบอุปกรณค์ วบคุมเสียง และอุปกรณล์ ดเสียงเป็ นประจํา เพื่อดูแลให้มีสมรรถนะ
ในการลดเสียงอย่างสมาเสมอ
3) ห้ามมิให้ถอดถอนอุปกรณค์ วบคุมเสียงและอุปกรณ์ลดเสียง และห้ามมิให้ดําเนินการใด ๆ
ที่จะทําให้สมรรถนะของอุปกรณล์ ดลง
4) พนักงานที่ทํางานอยูใ่ นที่ที่มีเสียงดัง จะตอ้ งไดร้ ับการตรวจสมรรถภาพการไดย้ ินเป็ นประจํา
40 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

3.7 กฎความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมี
1) ศึกษาเอกสารขอ้ มูลความปลอดภัยของสารเคมีที่ใช้ทุกชนิด เพื่อทราบอันตรายและ
วิธีการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยตา่ ง ๆ
2) สวมใสอ่ ุปกรณค์ ุม้ ครองความปลอดภัยตามความเหมาะสมกับงาน มีการดูแลทําความ
สะอาด บํารุงรักษาใหอ้ ยูใ่ นสภาพดี
3) ทําความสะอาดทุกครั้งที่มีสารเคมีหก รัว่ ไหล
4) ให้ความรว่ มมือในการตรวจสุขภาพประจําปี
5) ไมป่ ฏิบัติงานตามลําพังหรือไมม่ ีหน้าที่เกี่ยวขอ้ ง
6) ไมใ่ ช้ปากดูดสารเคมี แทนลูกยาง
7) ไมท่ ดสอบสารเคมี โดยการสูดดม หรือกินสารเคมี
8) สวมใสอ่ ุปกรณค์ ุม้ ครองความปลอดภัยสว่ นบุคคลทุกครั้งที่ปฏิบัติงานกับสารเคมี
เช่น ถุงมือ รองเทา้ ชุดป้องกันสารเคมี หนา้ กาก แวน่ ป้องกันสารเคมี
9) เมื่อต้องการขนถ่ายสารเคมีจํานวนมาก ควรใช้รถเข็นในจํานวนที่ไมม่ ากจนเกินกําลังบรรทุก
10) หลังปฏิบัติงานต้องทําความสะอาดรา่ งกายตนเอง และพื้นที่ที่ปฏิบัติงานให้สะอาดทุกครั้ง
11) จัดเก็บสารเคมีใหเ้ ขา้ ที่ (ชั้นจัดเก็บ) อยา่ งเป็ นระเบียบและเก็บในพื้นที่หรือบริเวณให้
เก็บอยา่ งถูกต้อง
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
41
ป้ายสัญลักษณแ์ สดงความเป็ นอันตรายของสารเคมี
สารเคมีที่ใ ช้ในสารประกอบกิจการโดยทั่วไป เช่น เป็ นสารประเภทกรด ด่าง สารฆา่ เชื้อ
สารตัวทําละลาย สารทําสี โลหะหนัก เป็ นต้น ซึ่งอาจอยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว ไอ ฟูม ฝุ่น กา๊ ซ
ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดัน สารเคมีสามารถทําอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ทําให้เกิด
โรคจาการทํางาน หรืออาจกอ่ ให้เกิดอันตรายร้ายแรง เช่น การระเบิดและอัคคีภัย การเก็บสารเคมีมี
ทั้งบรรจุอยู่ในถุง ในถังพลาสติก หรือถังความดันต่าง ๆ และรถบรรทุกสารเคมี โดยที่ภาชนะบรรจุ
จะติ ด ฉลากเคมี ภั ณ ฑ์ แ สดงข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ อั น ตรายของสารเคมี แ ละวิ ธี ป้ องกั น รวมทั้ ง มี ภ าพ
สัญลักษณ์แสดงความเป็ นอั นตรายซึ่ งจําแนกไว้ ๙ แบบติ ดไว้ การเรียนรู้ทํ าความเข้าใจเกี่ยวกั บ
สั ญ ลั ก ษณ์ ต่ า ง ๆ จะช่ ว ยให้ พ นั ก งานตระหนั ก ภั ย ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น หากไม่ ร ะมั ด ระวั งในการเข้า ไป
เกี่ยวขอ้ ง

ภาพ: สัญลักษณแ์ สดงความเป็ นอันตรายของสารเคมี


42 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

3.8 กฎความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย
1) ในบริเวณที่มีป้าย "ระวังสารไวไฟ” ห้ามจุดไฟ สูบบุหรี่หรือมีแหล่งกําเนิดความร้อน
ใกล้บริเวณดังกลา่ ว
2) ไม่ ก่ อ ให้ เกิ ด ประกายไฟ เช่ น เผาหญ้ า ขยะ ในบริ เวณที่ มี น า มั น เชื้ อ เพลิ ง เด็ ด ขาด
หากจําเป็ นให้เลือกสถานที่ปลอดภัยและทําในวันที่ลมสงบเท่ านั้น และหลังจากภารกิจ
เสร็จสิ้นแลว้ ตอ้ งตรวจดูสภาพทันที
3) สูบบุหรีใ่ นสถานทีก่ ําหนดหรืออนุญาตใหส้ ูบเทา่ นัน้ และหลังจากภารกิจเสร็จสิ้นแลว้
ตรวจดูให้แนใ่ จว่าไฟดับจริง ๆ
4) ไมท่ ิ้งเศษนามัน ขี้เลื่อย หรือวัสดุเป็ นเชื้อเพลิงได้งา่ ยไวก้ ลางแจง้ ใหท้ ิ้งในภาชนะที่
จัดเตรียมไวใ้ ห้เทา่ นั้น และปิ ดฝาให้เรียบรอ้ ย
5) เมื่อไดก้ ลิ่นเหม็นไหม้ หรือพบควันไฟผิดปกติ ให้แจง้ เหตุทันที
6) เครื่องดับเพลิงและอุปกรณด์ ับเพลิงอยูใ่ นสภาพพรอ้ มใช้งาน หา้ มโยกยา้ ยหรือเปลี่ยน
ตําแหนง่ ที่ตดิ ตัง้ โดยไมไ่ ด้รับอนุญาต
7) ดูแลรักษาเครื่องดับเพลิงให้มีสภาพพร้อมใช้งาน และไมว่ างสิ่งของกีดขวางทางเขา้ ถึง
เครื่องดับเพลิง
8) ไมว่ างสิ่งของ กีดขวางเสน้ ทางหนีไฟ ประตู บันได และทางออกฉุกเฉิน
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
43
9) เมื่อพบเหตุเพลิงไหม้
- รีบรายงานผู้รับผิดชอบโดยเร็ว
- ปิ ดสวิทช์ไฟฟ้าทัง้ หมด
- ดับเพลิงภายใตก้ ารควบคุมของหัวหนา้ งานจนกวา่ พนักงานดับเพลิงมาถึง
- หากเพลิ ง เกิ ด จากวั ส ดุ อั น ตราย หรื อ มี วั ส ดุ อั น ตรายอยู่ ใ กล้ เ คี ย ง ให้ ย ก
เคลื่อนย้ายวัสดุเหล่านั้นตามคําแนะนําของผู้มีความรู้ และรีบดําเนินการดับเพลิงทันที
- ถ้าไม่ ส ามารถตรวจสอบได้ ว่า มี การตัด กระแสไฟฟ้ าหรื อ ยั ง ห้ ามใช้น า ในการ
ดับเพลิง
- หากนามัน เป็ น สาเหตุ ของการเกิ ดเพลิ งไหม้ ให้ ใ ช้เครื่ องดั บ เพลิงที่ กํ าหนดไว้
แตห่ ากไมม่ ใี ห้ใช้แผน่ ใยสังเคราะหป์ ิ ดคลุมกองไฟ แลว้ จึงดับไฟดว้ ยนา
- เมื่ อ น า มั น ในภาชนะเกิ ด การลุ ก ไหม้ ให้ ปิ ดภาชนะด้ ว ยแผ่ น เหล็ ก หรื อ แผ่ น
ใยสังเคราะห์ ห้ามใช้ทรายเทลงในภาชนะ เพราะจะทําให้นามันไหลออกมาและเพลิงจะขยายไปทั่วได้
10) แจ้งให้พนักงานทุกคนรู้ถึงขอ้ ควรปฏิบัติเวลาเกิดเพลิงไหม้
11) พนักงานทุกคนทราบว่าอุปกรณด์ ับเพลิงอยูท่ ี่ใด สายฉีดนาดับเพลิงที่ใกลท้ ี่สุด
อยูท่ ี่จุดใดในสํานักงาน ตลอดจนเรียนรูว้ ิธีการใช้เครื่องมือดับเพลิงอยา่ งถูกตอ้ ง
12) มีการตรวจสภาพเครื่องมือดับเพลิงให้อยูใ่ นสภาพพรอ้ มที่จะใช้งานไดเ้ สมอ
13) ติดตั้งสัญญาณแจง้ เหตุเพลิงไหมใ้ นทีม่ องเห็นไดง้ า่ ย สะดวกแกก่ ารใช้
14) แจ้งพนักงานทุกคนให้รู้เส้นทางหนีไฟที่พึงใช้เมื่อเวลาเกิดเพลิงไหม้
15) มีป้ายเตือนที่เห็นได้ชัดเจน ห้ามใช้ลิฟตใ์ นขณะเกิดเพลิงไหม้ การละเลยในสิ่งที่เห็นว่า
ยากที่ จะเกิ ดขึ้ นหรือ ไม่เคยเกิ ดขึ้ น เลยในสถานที่ ทํ างาน อาจทํ าให้ เกิ ดความสู ญ เสี ย
อย่างสู ง เมื่ อ เหตุ การณ์ นั้ น เกิ ดขึ้ น แม้ ว่ าในปั จจุ บัน สํ านั กงานส่ วนใหญ่ จะได้ รับ การ
ออกแบบให้ปลอดภัยจากการเกิดเพลิงไหม้ แต่สิ่งที่อยู่ภายในสํานักงาน เช่น กระดาษ
โต๊ะไม้ เฟอร์นิเจอร์ และสารเคมี ต่าง ๆ ฯลฯ เป็ นสิ่ งที่ ติ ดไฟได้ ง่าย ดั งนั้น จึงไม่ควร
ละเลยในจุดนี้
16) กําหนดระเบียบปฏิบัติสําหรับผูส้ ูบบุหรี่ เช่น ห้ามทิ้งไมข้ ีดไฟ เถา้ บุหรี่หรือกน้ บุหรี่ลงใน
ตะกร้าทิ้งขยะบนพื้ นใกล้กั บเครื่องจักรหรือ ใกล้สารเคมีซึ่งไวไฟ ควรจัดที่ เขี่ ยบุ หรี่ไว้
สําหรับผูส้ ูบบุหรี่ นอกจากนัน้ ควรห้ามสูบบุหรี่บริเวณห้องเก็บของหรือห้องเก็บสารเคมี
ทั้งนี้ส ารเคมี ที่ เก็ บ ควรบรรจุ ในภาชนะของบริ ษั ท ผู้ ผ ลิ ต จนกว่ าจะมี ก ารเปิ ดออกใช้
หากพบว่าภาชนะที่บรรจุเกิดรอยรั่วก็ต้องเปลี่ยนภาชนะที่บรรจุเสียใหม่ทันที
17) เศษผ้ า หรื อ กระดาษที่ ใ ช้ เช็ ด ทํ าความสะอาด ถ้ า เปื้ อนน า มั น ห รื อ สารติ ด ไฟ
ควรทิ้งในภาชนะทีป่ ิ ดมิดชิด อยา่ ทิ้งไวใ้ ตเ้ ครื่องจักรหรือในถังขยะ
44 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

18) เก็บกระดาษ กลอ่ งกระดาษหรือสิ่งที่ติดไฟไดไ้ วใ้ ห้ห่างจากเครื่องจักรและอุปกรณไ์ ฟฟ้า


เพราะอาจะเป็ นไดท้ ี่อุปกรณไ์ ฟฟ้าจะเกิดการลัดวงจรหรือเครื่องจักรเกิดความรอ้ นมาก
จะทําใหเ้ กิดเพลิงไหมข้ ึ้น
19) ตรวจสายไฟหมอ้ ต้มนาร้อนหรือหมอ้ ต้มกาแฟว่ามีชํารุดหรือไม่ ถ้าชํารุดควรรีบซ่อม
อย่าใช้ต่อไป
20) กําหนดกฎขอ้ บังคับในการดูแลและทดสอบอุปกรณท์ ี่ใช้ดับเพลิง การดําเนินการอาจทํา
โดยตั้ ง กลุ่ ม ผู้ รั บ ผิ ด ชอบขึ้ น ในแต่ ล ะหน่ วยงานให้ มี ห น้ าที่ ต รวจตราอุ ป กรณ์ ต่ า ง ๆ
รับผิดชอบในการแจ้งเหตุเพลิงไหม้แกพ่ นั กงานและผู้มาติดต่องาน รวมทั้งแจ้งสถานี
ดั บ เพลิ งด้ ว ย ดู แ ลการอพยพคนออกจากอาคาร ช่ ว ยเหลื อ คนพิ ก ารและทํ า หน้ า ที่
ดับเพลิงในระยะแรก
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
45
3.9 ป้ายหรือสัญลักษณค์ วามปลอดภัย
สถานประกอบกิจการจะมีการใช้ป้ายหรือสัญลักษณ์ความปลอดภัย เพื่อสื่อสารหรือเตือน
เรื่ อ งความปลอดภั ย กั บ ลู ก จ้ า ง เช่ น พื้ น ที่ นั้ น มี อั น ตรายอะไรที่ ค วรระมั ด ระวั ง มี ข้ อ บั ง คั บ หรื อ
คําแนะนําให้ปฏิบัติตนอย่างไรหรือมีข้อห้ ามปฏิบัติอย่างไร เป็ นต้น ทั้งนี้ป้ายหรือสั ญลักษณ์ความ
ปลอดภัย ประกอบด้วยสิ่งตา่ ง ๆ ที่ส่อื ความหมายแตกตา่ งกันดังนี้

(1) เครื่องหมายหา้ ม

เครื่องหมายห้าม ความหมาย

ห้ามทัว่ ไป
(general prohibition)

ห้ามสูบบุหรี่
(no smoking)

ห้ามจุดไฟและกอ่ ประกายไฟ ห้ามทําใหเ้ กิดประกายไฟ หา้ มสูบ


บุหรี่
(no open flame; fire, open ignition source and
smoking prohibited)

ห้ามผา่ น
(no thoroughfare)

ห้ามใช้ด่มื
(not drinking water)
46 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

เครื่องหมายห้าม ความหมาย

รถยกและยานพาหนะงานอุตสาหกรรม ห้ามเขา้
(no access for fork lift trucks and other industrial vehicles)

บุคคลทีต่ ิดอุปกรณค์ วบคุมการเตน้ ของหัวใจ ห้ามเขา้


(no access for persons with pacemakers)

ห้ามวัสดุโลหะหรือนาฬิกา
(no metallic articles or watches)

ห้ามใช้นาดับไฟ
(do not extinguish with water)

ห้ามสัมผัส
(do not touch)

ห้ามใช้โทรศัพทเ์ คลื่อนที่
(no activated mobile phones)

บุคคลที่มีโลหะฝั งใน ห้ามเขา้


(no access for persons with metallic implants)

ห้ามยื่นสิ่งใดเขา้ ไป
(no reaching in)
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
47
เครื่องหมายห้าม ความหมาย

ห้ามผลัก
(no pushing)

ห้ามนัง่
(no sitting)

ห้ามเหยียบ
(no stepping on surface)

ห้ามใช้ลิฟตข์ ณะเกิดเพลิงไหม้
(do not use lift in the event of fire)

ห้ามนําสุนัขเข้า
(no dogs)

ห้ามรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม
(no eating or drinking)

ห้ามวางสิ่งกีดขวาง
(do not obstruct)

ห้ามเดินหรือยืนบริเวณนี้
(do not walk or stand here)
48 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

(2) เครื่องหมายเตือน

เครื่องหมายเตือน ความหมาย

เครื่องหมายเตือนทัว่ ไป
(general warning sign)

ระวังวัตถุระเบิด
(warning: explosive material)

ระวังวัตถุกมั มันตรังสี หรือรังสีชนิดกอ่ ไอออน


(warning: radioactive material or ionizing radiation)

ระวังลําแสงเลเซอร์
(warning: laser beam)

ระวังรังสีชนิดไมก่ อ่ ไอออน
(warning: non-ionizing radiation)

ระวังสนามแมเ่ หล็ก
(warning: magnetic field)

ระวังสิ่งกีดขวาง
(warning: obstacles)
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
49
เครื่องหมายเตือน ความหมาย

ระวังตก
(warning: drop (fall))

ระวังอันตรายจากสารชีวภาพ
(warning: biological hazard)

ระวังอุณหภูมิตา/ภาวะเยือกแข็ง
(warning: low temperature/freezing conditions)

ระวังพื้นลื่น
(warning: slippery surface)

ระวังอันตรายจากไฟฟ้า
(warning: electricity)

ระวังสุนัข
(warning: guard dog)

ระวังรถยกและยานพาหนะงานอุตสาหกรรม
(warning: fork lift trucks and other industrial vehicles)
50 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

เครื่องหมายเตือน ความหมาย

ระวังของตกจากที่สูง
(warning: overhead load)

ระวังวัตถุมีพิษ
(warning: toxic material)

ระวังพื้นผิวรอ้ น
(warning: hot surface)

ระวังเครื่องจักรทํางานโดยอัตโนมัติ
(warning: automatic start-up)

ระวังถูกหนีบ
(warning: crushing)

ระวังศีรษะ
(warning: overhead obstacles)

ระวังอันตรายจากไฟ/วัตถุไวไฟ
(warning: risk of fire/ flammable materials)
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
51
เครื่องหมายเตือน ความหมาย

ระวังของมีคม
(warning: sharp elements)

ระวังสารกัดกร่อน
(warning: corrosive substance)

ระวังหนีบมือ
(warning: danger of crushing hand)

ระวังแสงเขา้ ตา
(warning: optical radiation)

ระวังสารออกซิไดซ์
(warning: oxidizing substance)
52 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

(3) เครื่องหมายบังคับ

เครื่องหมายบังคับ ความหมาย

เครื่องหมายบังคับทัว่ ไป
(general mandatory action sign)

ตอ้ งศึกษาคูม่ ือ คําแนะนํา


(refer to instruction manual/booklet)

ตอ้ งสวมอุปกรณป์ กป้องหู


(wear ear protection)

ตอ้ งสวมอุปกรณป์ กป้องตา


(wear eye protection)

ตอ้ งตอ่ สายดิน


(connect an earth terminal to the ground)

ตอ้ งดึงเตา้ เสียบออกจากเตา้ รับ


(disconnect mains plug from electrical outlet)

ตอ้ งสวมอุปกรณป์ กป้องตาชนิดกรองแสง


(wear opaque eye protection)
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
53
เครื่องหมายบังคับ ความหมาย

ตอ้ งสวมรองเทา้ นิรภัย


(wear safety footwear)

ตอ้ งสวมถุงมือ
(wear protective gloves)

ตอ้ งสวมชุดปกป้องร่างกาย
(wear protective clothing)

ตอ้ งลา้ งมือ


(wash your hands)

ตอ้ งจับราว
(use handrail)

ตอ้ งสวมอุปกรณป์ กป้องใบหนา้


(wear face shield)

ตอ้ งสวมอุปกรณป์ กป้องศีรษะ


(wear head protection)
54 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

เครื่องหมายบังคับ ความหมาย

ตอ้ งสวมเสื้อผา้ สะทอ้ นแสง


(wear high visibility clothing)

ตอ้ งสวมหนา้ กากอนามัย


(wear a mask)

ตอ้ งสวมอุปกรณป์ กป้องทางเดินหายใจ


(wear respiratory protection)

ตอ้ งใสส่ ายรัดตัวนิรภัย


(wear safety harness)

ตอ้ งสวมหนา้ กากสําหรับงานเชื่อม


(wear welding mask)

ตอ้ งคาดเข็มขัดนิรภัย
(wear safety belt)

ตอ้ งทาครีม
(use barrier cream)
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
55
เครื่องหมายบังคับ ความหมาย

ตอ้ งใช้สะพานเดินขา้ ม
(use footbridge)

ตอ้ งตัดวงจรกอ่ นซ่อม


(disconnect before carrying out maintenance or repair)

(4) เครื่องหมายสารนิเทศเกีย่ วกับสภาวะปลอดภัย

เครื่องหมายสารนิเทศ ความหมาย
เกีย่ วกับสภาวะปลอดภัย

ทางออกฉุกเฉิน ซ้ายมือ
(emergency exit) (left hand)

ทางออกฉุกเฉิน ขวามือ
(emergency exit) (right hand)

ปฐมพยาบาล
(first aid)

โทรศัพทฉ์ ุกเฉิน
(emergency telephone)
56 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

เครื่องหมายสารนิเทศ ความหมาย
เกีย่ วกับสภาวะปลอดภัย

ทิศทางตรงสูท่ ี่ปลอดภัย
(direction, arrow (90o increments) safe condition)

ทิศทางเฉียงสูท่ ี่ปลอดภัย
(direction, 45 o arrow (90o increments) safe condition)

จุดรวมพล
(evacuation assembly point)

ทุบให้แตกเพื่อใช้งาน
(break to obtain access)

หนว่ ยแพทย์
(doctor)

เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ

ที่ลา้ งตาฉุกเฉิน
(eyewash station)
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
57
เครื่องหมายสารนิเทศ ความหมาย
เกีย่ วกับสภาวะปลอดภัย

ฝั กบัวอาบนาฉุกเฉิน
(safety shower)

เปล
(stretcher)

(5) เครื่องหมายอุปกรณเ์ กีย่ วกับอัคคีภัย

เครื่องหมายอุปกรณ์ ความหมาย
เกีย่ วกับอัคคีภยั

อุปกรณด์ ับเพลิงยกหิ้ว
(fire extinguisher)

สายดับเพลิง
(fire hose reel)

บันไดหนีไฟ
(fire ladder)

ที่จัดเก็บอุปกรณ์ผจญเพลิง
(collection of firefighting equipment)
58 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

เครื่องหมายอุปกรณ์ ความหมาย
เกีย่ วกับอัคคีภยั

จุดกดแจง้ เหตุเพลิงไหม้
(fire alarm call point)

โทรศัพทแ์ จง้ เหตุเพลิงไหม้


(fire emergency telephone)
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
59
3.10 กฎความปลอดภัยในการยกและเคลื่อนยา้ ยวัสดุดว้ ยแรงกาย
1) ยืนหันหนา้ เขา้ หาวัสดุที่จุดเริ่มตน้ และจุดปลายทางของงานยก
2) ไมค่ วรยกวัสดุขึ้นอยา่ งรวดเร็ว หรือดว้ ยอาการกระชาก
3) ไมค่ วรเหวี่ยงหรือโยนวัสดุ
4) ขณะยกวัสดุขึ้นหรือวางลง ควรงอเขา่ หลังตรงหรือกม้ เล็กน้อย
5) ขณะยกวัสดุขึ้นหรือวางลง ควรใหว้ ัสดุวางอยูต่ รงดา้ นหนา้ และใกล้ชิดตัวมากที่สุด
6) ถา้ วัสดุมีขนาดใหญ่ อาจยกในทา่ ที่นั่งคุกเขา่ ขา้ งเดียว
7) ถา้ ไมส่ ามารถยกและเคลื่อนยา้ ยวัสดุเพียงคนเดียวได้ ควรเรียกเพื่อนมาช่วยยก
และเคลื่อนยา้ ย หรือใช้อุปกรณช์ ่ วยยกและเคลื่อนยา้ ยวัสดุ
8) กรณีที่จําเป็ นต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล จะต้องใช้อุปกรณ์
ที่นายจา้ งจัดหาให้
9) บริหารร่างกายในช่วงหยุดพัก เพื่อลดความเสี่ยงตอ่ การเกิดอาการปวดเมื่อยกลา้ มเนื้อ
จากการยกและเคลื่อนยา้ ยวัสดุดว้ ยแรงกาย
10) เมื่อตอ้ งยกของที่มีนาหนักมากให้หลีกเลี่ยงการใช้อิริยาบถที่ออกแรงมากเกินไป
ซึ่งจะเป็ นการใช้กําลังกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ถูกต้องคือให้ยกนาหนัก
ไว้ที่ศูนย์กลางของความโน้มถว่ งโดยให้ยอ่ ตัวลง
11) เมื่อตอ้ งยกของหนักนัน้ ขึ้นเหนือหัวไหลใ่ ห้ใช้มา้ สําหรับรองเทา้ และเมื่อตอ้ งยกของ
ตากวา่ หัวเขา่ ให้ยอ่ ตัวลง
60 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

12) การหันหลังหรือการหมุนตัวอยา่ งรวดเร็วในขณะที่ยกของหนักดว้ ยมือเปลา่ จะทําให้หลัง


ของทา่ นๆไดร้ ับบาดเจ็บได้ ดังนั้น จึงตอ้ งมีการเปลี่ยนทิศทางการกา้ วเดิน เมื่อมีการ
เปลี่ยนทิศทางของนาหนักสิ่งของดังกลา่ ว
13) การวางนาหนักลงควรกระทําอย่างช้า ๆ ละมุนละมอ่ ม การเหวี่ยงนาหนักสิ่งของนัน้ เป็ น
อันตรายอย่างยิ่ง ซึ่งนาหนักนัน้ อาจไปกระทบถูกผู้คนขา้ งเคียงหรือเกิดการกระแทก
14) ในขณะที่มีการแบกของไวบ้ นไหล่ ลานสายตาอาจถูกบังได้ ดังนัน้ สิ่งของที่วางเกะกะบน
ทางเดินนัน้ ควรจัดการนําออกไปจากบริเวณนัน้ เป็ นการลว่ งหนา้
15) เมื่อมีการขนยา้ ยวัตถุสิ่งของที่มีความยาวดว้ ยมือเปลา่ ใหแ้ บกวัตถุนนั้ ไวบ้ นไหล่ โดยให้
ยกวัตถุนนั้ เชิดขึ้นให้ปลายวัตถุดา้ นหนา้ สูง และปลายวัตถุดา้ นหลังตา ระมัดระวังมิให้
วัตถุนนั้ ไปชนผนังในขณะเลี้ยวมุมหรือขณะที่ผ่านทางเขา้
16) วัตถุที่วางซ้อน ๆ กันควรใช้เชือกมัดให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันมิให้วัตถุนนั้ หล่นในขณะ
ขนยา้ ย
17) ในการขนย้ายวัตถุที่ต้องใช้คนยกหลายคน ควรเลือกคนยกของเหลา่ นั้นให้มีขนาดความ
สูงและความแข็งแรงใกลเ้ คียงกัน
18) ในการยกของร่วมกับบุคคลอื่นจะต้องมีการเลือกใช้สัญญาณตา่ ง ๆ เพื่อสื่อสารและ
เป็ นที่เขา้ ใจตรงกันของทุกฝ่ายและใช้สัญญาณดังกล่าวเมื่อยกวัตถุขึ้นและยกวัตถุลง

(ขอ้ มูลจาก “มาตรฐานการยกและเคลื่อนยา้ ยวัสดุด้วยแรงกายตามหลักการยศาสตร์” ของ สสปท


ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
61
3.11 กฎความปลอดภัยในการจัดสถานที่ทํางาน
1) เก็บ วางของในที่ กําหนด หลั งเลิ กใช้ให้ นํา มาเก็ บ ที่ เดิ มทุ กครั้ง และมี หลั กการจัดเก็บ
สิ่งของ ดังนี้

(1) เก็บของที่นํามาใช้บอ่ ย ไว้ในสถานที่สะดวกต่อการนํามาใช้


(2) เก็บวัสดุที่มีขนาดเล็ก ๆ ไว้ในกลอ่ ง แยกตามประเภทและขนาด
(3) เก็บของที่แตกหักงา่ ยในกลอ่ งที่ทําดว้ ยวัสดุแข็งแรง
(4) เก็บวัตถุอันตราย เช่นวัตถุไวไฟ และวัตถุระเบิดแยกจากกัน
(5) เก็บของให้เป็ นระเบียบและติดป้ายชื่อและปริมาณกํากับไว้
2) ของไมจ่ ําเป็ นในการใช้งาน ควรกําจัดออกหรือจัดเก็บในสถานที่จัดเก็บ
3) ทําความสะอาดพื้นที่ทํางานตลอดเวลา หากมีสารเคมี/นาหกบนพื้น ให้ทําความสะอาดทันที
4) การจัดวางสิ่งของที่มจี ํานวนมาก ให้กองซ้อนกันให้เป็ นระเบียบ มัน่ คง และปลอดภัย
ตามลักษณะรูปรา่ งของมัน โดยมีหลักการ ดังนี้
(1) จัดซ้อนสิ่งของที่มลี ักษณะรูปรา่ งเหมือนกันไวด้ ว้ ยกัน
(2) ของที่ตอ้ งการใช้กอ่ น อยูด่ า้ นบน
(3) ของหนักอยูล่ ่าง ของเบาอยูบ่ น
(4) ของชิ้นใหญอ่ ยูล่ า่ ง ของชิ้นเล็กอยูบ่ น
(5) ของรูปร่างยาว และของที่ล้มงา่ ยควรวางแนวนอน หากตอ้ งวางแนวตัง้ ให้ผูกมัด
รวมกัน
(6) ให้วางสลักไมห้ นุนของที่กลิ้งได้
5) ไม่วางวัสดุใกล้หรือกีดขวางการทํางานเครื่องจักร แผงสวิทช์ อุปกรณ์ดับเพลิง ทางเขา้ -
ออก บันได และทางออกฉุกเฉิน
6) ไม่ ว างสิ่ ง ของ ผลผลิ ต หรื อ ขยะนอกบริ เ วณที่ กํ า หนด หากจํ า เป็ นต้ อ งติ ด ป้ าย
หรือเครื่องหมายให้ผูส้ ัญจรเห็นได้ชัด และให้มีการจัดการเพื่อเคลื่อนยา้ ยออกจากพื้นที่
นัน้ โดยเร็วที่สุด
7) ดูแลทางเดินใหส้ ะอาด หากมีคราบ นา หรือนามันใหเ้ ช็ดถูให้สะอาด
8) ทําความสะอาดหลอดไฟฟ้า กระจกหน้าต่าง เป็ นประจํา
9) เศษวัสดุและขยะควรแบง่ แยกและทิ้งลงในภาชนะที่กําหนด
62 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

4. ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย
4.1 ตอ้ งปฏิบัติงานตามคูมื่ อ/ ขอ้ บังคับวาด
่ ว้ ยความปลอดภัยฯ
ของสถานประกอบกิจการอยางเคร ่ งครั
่ ด
ข้อ บั งคับว่าด้ วยความปลอดภั ยฯ เป็ น เอกสารที่ บ่ งบอกขั้น ตอนวิ ธี การทํ างานที่ ป ลอดภัย
ดังนั้น เมื่อเริ่มต้นการปฏิบัติงาน ลูกจ้างทุกคนจําเป็ นต้องศึกษา และฝึ กปฏิบัติทําตามจนเป็ นความ
เคยชิน เกิดทักษะและมีความชํานาญในการทํ างาน อย่างไรก็ ตามลู กจ้ า งอาจมี ความคิ ดเห็ น ใหม่
ในการปรับปรุงขัน้ ตอนการทํางาน แตย่ ังไมส่ มควรเปลี่ยนแปลงตามความคิดของตนเอง ให้นําเสนอ
ความคิดใหมใ่ ห้หัวหนา้ งานทราบ เพราะการที่จะถูกนํามาปฏิบัตไิ ด้ต้องเป็ นที่ยอมรับของทุกคน

ตัวอยางข
่ อ้ บังคับวาด
่ ว้ ยความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอ้ มในการทํางาน
ตัวอยางที
่ ่1
ขอ้ บังคับวา่ ดว้ ยความปลอดภัยในการทํางาน
งานเจียแทง่ เหล็กหลอ่
งานเจี ย แท่ ง เหล็ ก หล่ อ แบ่ ง เป็ น 3 ขั้ น ตอน ได้ แ ก่ ขั้ น ตอนการเตรี ย มงานเจี ย ขั้ น ตอนการเจี ย
และขัน้ ตอนการเก็บงาน แตล่ ะขัน้ ตอนมีรายละเอียด ดังนี้
1. ขัน้ ตอนการเตรียมงานเจีย
1.1 ผู้ปฏิบัติงานต้องทําการตรวจเช็คอุปกรณ์เครื่องเจียให้อยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้อย่าง
ปลอดภัย
(1) ต้องตรวจสอบสภาพของหินเจียให้เรียบร้อยกอ่ นการใช้งาน สภาพหินเจียต้องไม่
ชํารุดหรือแตกร้าว โดยการเคาะหิ นเจียด้วยไม้ หรือด้ามไขควงเบา ๆ โดยรอบเพื่ อฟั งเสียง (Ring
test) ถ้ามีเสียงกอ้ งแสดงว่าไมม่ ีรอยแตกร้าว ถ้ามีเสียงแป๊ก ๆ แสดงวา่ อาจมีรอยร้าว ไม่ควรใช้งาน
หินเจียดังกลา่ วโดยเด็ดขาด เพราะมีโอกาสที่หินเจียจะแตกในขณะใช้งาน
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
63
(2) ต้องมีแท่นรองชิ้นงาน การ์ดครอบหินเจีย และอุปกรณ์ปิดบังชนิดใสป้องกันสะเก็ด
วัสดุกระเด็นใส่ทั้งนี้ แท่นรองชิ้นงานต้องห่างจากหินเจียไมเ่ กิน 1/8 นิ้ว และที่เลื่อนปิ ดครอบการ์ด
ตอ้ งมีระยะห่างไมเ่ กิน 1/4 นิ้ว ทุกครัง้ กอ่ นเริ่มงาน

ที่ปิดบังชนิดใส
การด์ ครอบหินเจีย

แท่นรองชิ้นงาน

เครื่องเจีย

(3) ห้ามนําใบตัดมาใช้ในงานเจีย
(4) ตรวจสอบขนาดของหินเจียใหต้ รงกับความเร็วรอบของมอเตอร์
(5) ลักษณะการใส่หินเจียต้องพอดี ขนาดของหัวจับและรูเจาะต้องพอดีกับหัวจับที่เพลา
แทน่ เทา่ นัน้ ห้ามนําวัสดุอ่นื มาเสริมโดยเด็ดขาด
(6) ในการเปลี่ยนหินเจียทุกครั้ง ให้ทําการปิ ดเครื่อ งและปิ ดสวิทซ์เบรกเกอร์เพื่อเป็ น
การตัดพลังงานไฟฟ้าออกกอ่ นเริ่มทําการเปลี่ยนหินเจีย
(7) เมื่อ เปลี่ ยนหิ น เจี ย ใหม่ ห ลั งติ ด ตั้ ง แล้ ว เสร็ จ ให้ เปิ ดเครื่ อ งทดสอบการหมุ น ก่ อ น
ทํางานวา่ มีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ไมส่ นั่ หรือแกวง่ เป็ นตน้
(8) ตรวจสอบเครื่องเจียว่ามีการต่อสายดินหรือไม่
(9) หากพบว่า เครื่ อ งเจี ย และอุ ป กรณ์ มี ส ภาพไม่ ป ลอดภั ย ให้ แ จ้ งหั วหน้ างานทั น ที
พรอ้ มติดป้าย “ชํารุด” และห้ามใช้งาน หรือสง่ ซ่อมทันที
(9) ตรวจสอบบริเวณพื้น ที่ โดยรอบเครื่องเจีย ต้ องไม่มี วัสดุไวไฟ และวัส ดุติดไฟง่าย
ถ้ามีให้นําออกให้พ้นรัศมีสะเก็ดไฟกระเด็น หากไมส่ ามารถนําออกได้ ต้องมีการปิ ดคลุมด้วยวัสดุ
ทนไฟให้มิดชิดกอ่ นเริ่มปฏิบตั ิงาน
(10) ใช้ฉากกัน้ บริเวณพื้นที่ทําการเจียโดยรอบตามความเหมาะสม
(11) ติดตั้งแผน่ รองรับเพื่อป้องกันแทง่ เหล็กหลอ่ หลน่ ใสเ่ ทา้
64 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

(12) ผูป้ ฏิบัติงานต้องแต่งกายเรียบร้อย รัดกุม ไม่รุ่งริ่ง ไม่สวมใส่เครื่องประดับที่ อาจ


เกี่ยวยึดโยงกับสิ่งใดได้ รวบผมที่ยาวเกินสมควรใหป้ ลอดภัย
(13) ผูป้ ฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์คมุ้ ครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น กระบังหน้า
ชนิดใส ที่ปิดปากปิ ดจมูก ที่อุดหู ถุงมือหนังป้องกันบาด และรองเท้าตามที่กําหนด โดยหัวหน้างาน
ตรวจสอบความเรียบร้อย

2. ขัน้ ตอนการเจีย
2.1 ห้ามเจียชิ้นงานเกินกําลังของเครื่องเจีย
2.2 ต้องใช้หินเจียชนิดหยาบกอ่ น แล้วจึงใช้หินเจียชนิดละเอียดอีกครัง้
2.3 การถอดประกอบหิ น เจี ย ต้ อ งปิ ดสวิ ทซ์ เบรกเกอร์ ทุ กครั้ ง กรณี ใ ช้ ล มให้ ปิ ดวาล์ ว
ตัวเครื่องและปลดสายออกจากหัวจา่ ยลมทุกครัง้

3. ขัน้ ตอนการเก็บงาน
3.1 เมื่อปฏิบัติงานเสร็จแล้ว ให้ทํ าการปิ ดสวิทซ์เบรกเกอร์ทุ กครั้ง และจัดเก็บวัสดุอุ ปกรณ์
ต่าง ๆ ให้เรียบร้อย
3.1 หั ว หน้ า งานต้ อ งควบคุ ม กํ า กั บ ดู แ ลให้ พ นั ก งานปฏิ บั ติ ต ามขั้ น ตอนการทํ า งาน
อยา่ งเครง่ ครัด
3.1 ช่างซ่อมบํารุงต้องทําการตรวจเช็คอุปกรณ์เครื่องเจียเป็ นประจําทุกเดือน โดยใช้แบบ
ตามที่สถานประกอบกิจการกําหนด
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
65
ตัวอยางที
่ ่2
ขอ้ บังคับวา่ ดว้ ยความปลอดภัยในงานขนสง่ และ
เคลื่อนยา้ ยดว้ ยรถยก (Fork Lift)
งานขนส่ ง และเคลื่ อ นย้ า ยด้ ว ยรถยกแบ่ ง เป็ น 3 ขั้น ตอน ได้ แ ก่ ขั้น ตอนก่อ นขั บ รถยก
ขัน้ ตอนขับรถยก และขัน้ ตอนเก็บรถยก แตล่ ะขัน้ ตอนมีรายละเอียดดังนี้

1. ขัน้ ตอนกอ่ นขับรถยก


1.1 ผูข้ ับขี่รถยกต้องผ่านการอบรมการขับขี่รถยกโดยเฉพาะ
1.2 ตรวจสอบรถยกตามแบบฟอร์มที่กําหนดกอ่ นเริ่มงานทุกวัน หากพบขอ้ บกพร่อง ห้ามใช้
รถยกปฏิบัติงาน และให้รายงานหั วหน้างานหรือ ผู้ค วบคุ มงานเพื่ อแก้ไขทั น ที กรณี ไม่
สามารถแกไ้ ขได้ ให้ตดิ ป้ายห้ามใช้จนกวา่ จะดําเนินการแกไ้ ขแลว้ เสร็จ
1.4 ห้ามโดยสารไปกับรถยกโดยเด็ดขาด

2. ขัน้ ตอนขับรถยก
2.1 ห้ามใช้รถยกเพื่อยกชัน้ วาง (Pallets) ที่ชํารุด
2.2 ห้ามใช้รถยกยกวัสดุเกินพิกัดทีผ่ ผู้ ลิตกําหนด
2.3 ต้องสอดงาใต้วัสดุที่ยกให้ลึกที่สุด และต้องให้วัสดุพิงพนักพิงวัสดุ
2.4 ห้ามขนยา้ ยวัสดุที่จัดวางไมเ่ ป็ นระเบียบหรือไมไ่ ดผ้ ูกรัดให้เรียบรอ้ ย
2.5 ตอ้ งไมม่ ีสิ่งกีดขวางเหนือศีรษะตลอดเสน้ ทางที่รถยกผา่ น
2.6 ให้ยกวัสดุในระดับตาที่สุดเทา่ ที่จะทําไดใ้ นขณะเคลื่อนยา้ ยวัสดุที่ยก
2.7 กรณีวัสดุที่ยกสูงจนบังสายตาผูข้ ับขี่ ให้ใช้วิธีขับรถถอยหลังแทน
2.8 ขับรถช้า ๆ และบีบแตรให้สัญญาณเมื่อขับรถยกในจุดที่ทัศนวิสัยในการมองไม่ดี
หรืออยูใ่ นมุมอับ ใกล้ทางเดิน ประตู และทางแยกหรือทางขา้ ม
2.9 ขับรถดว้ ยความเร็วที่เหมาะสมกับสภาพพื้นผิวการจราจร นาหนักบรรทุก และพื้นที่ทํางาน
2.10 ห้ามยื่นแขน ขา ศีรษะ ออกนอกรถขณะขับ
2.11 เวน้ ระยะห่างของตัวรถกับวัสดุรอบขา้ งเสน้ ทางสัญจร
2.12 ห้ามออกรถเร็ว หยุดรถกะทันหัน เลี้ยวรถฉับพลัน
2.13 เว้นระยะห่างจากพาหนะคันอื่นประมาณ 3 ช่วงคันรถนับจากปลายงา
2.14 ห้ามขับแซงรถคันอื่น
66 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

2.15 ห้ามขับทับสิ่งของที่ตกอยูบ่ นพื้นผิวการจราจร


2.16 ให้ลดงาตาสุดเมื่อขับรถเปลา่
2.17 ให้ขับเฉพาะในเสน้ ทางที่กาํ หนด

3. ขัน้ ตอนเก็บรถโฟลค์ ลิฟท์


3.1 ลดงาตาสุดขณะจอด และจอดตามตําแหนง่ ที่กําหนด พรอ้ มทัง้ ดึงเบรก
3.2 นํารถเขา้ ตรวจสอบบํารุงรักษาตามกําหนด
3.3 หากพบหรือสงสัยวา่ มีขอ้ บกพรอ่ งหรือชํารุด ให้แจง้ หัวหนา้ งานหรือผูค้ วบคุมทราบ
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
67
ตัวอยางที
่ ่3
ขอ้ บังคับวา่ ดว้ ยความปลอดภัยในการทํางานผลิต
เหรียญโลหะ
การผลิ ต เหรี ย ญโลหะ แบ่ ง เป็ น 2 ขั้น ตอน ได้ แ ก่ ขั้ น ตอนการเตรี ย มงาน และการปั๊ ม
ตัดเหรียญ แตล่ ะขัน้ ตอนมีรายละเอียดดังนี้

1. ขัน้ ตอนการเตรียมงาน
ผูป้ ฏิบัตงิ านตอ้ งทําการตรวจเช็คอุปกรณเ์ ครื่องปั๊ มตัดให้อยูใ่ นสภาพที่จะใช้งานไดอ้ ยา่ งปลอดภัย

2. ขัน้ ตอนการปั๊ มตัดเหรียญ


2.1 สวมอุป กรณ์ คุ้ม ครองความปลอดภั ยส่ ว นบุ ค คล ได้ แก่ ที่ อุ ด หู ล ดเสี ย ง ถุ งมื อ แว่ น ตา
รองเท้าผา้ ใบหุ้มส้น
2.2 ขณะกดสวิทซ์เพื่อให้เครื่องปั๊ มทํางาน ตอ้ งกดสวิทซ์ทงั้ สองขา้ งพรอ้ มกัน
2.3 เมื่อเครื่องปั๊ มตัดเหรียญเสร็จ ให้ใช้แมเ่ หล็กดูดชิ้นงานขึ้นมา ห้ามใช้มือจับชิ้นงาน

เครื่องปั๊ ม
68 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่

ตัวอยางที
่ ่4
ขอ้ บังคับวา่ ดว้ ยความปลอดภัยในการทําเกลียว
(ตา๊ ฟเกลียว หรือ Tapping)
งานทําเกลียว แบง่ เป็ น 2 ขัน้ ตอน ไดแ้ ก่ ขัน้ ตอนการเตรียมงาน และขัน้ ตอนการทําเกลียว
1. ขัน้ ตอนการเตรียมงาน
ผู้ ป ฏิ บั ติ งานต้ อ งทํ า การตรวจเช็ ค อุ ป กรณ์ เครื่ อ งทํ า เกลี ย วให้ อ ยู่ ใ นสภาพที่ จ ะใช้ ง านได้
อย่างปลอดภัย

2. ขัน้ ตอนการทําเกลียว
2.1 สวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ ที่อุดหูลดเสียง แว่นตา รองเท้า
ผา้ ใบหุ้มสน้ และถุงมือหนัง ห้ามสวมใสถ่ ุงมือผา้ เพราะอาจพันกับดอกสวา่ น
2.2 ขณะใช้สว่านต้องติดการ์ดครอบจุดหมุนทุกครั้ง
2.3 กอ่ นทําการทําเกลียว ตอ้ งล็อคนอ๊ ตยึดตัวจับชิ้นงาน (Jig) ให้แนน่ กอ่ นทุกครั้ง

เครื่องทําเกลียว
“ มุงสรางสรรควัฒนธรรมไทยเชิงปองกัน
สูความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และความผาสุกที่ยั่งยืน ”
คณะผูจ้ ัดทํา
คณะผู้จัดทําหลักสูตรการอบรม
1. นางสาวสุดธิดา กรุงไกรวงศ์

2. นางสาวกาญจนา กานต์วิโรจน์

3. นายวิเลิศ เจติยานุวัตร

4. นางลัดดา ตัง้ จินตนา

5. นายเกียรติศักดิ์ บุญสนอง

6. นางสาวสมพิศ พันธุเจริญศรี

7. นางสาวจุฑาภรณ์ เมืองอุดม

บรรยายวิดีโอประกอบการอบรม
1. นายพฤทธฤ์ ทธิ์ เลิศลีลากิจจา

2. นางจุฑาพนิต บุญดีกลุ
สถาบันสงเสร�มความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทำงาน
(องคการมหาชน)
www.tosh.or.th

เลขที่ 18 ถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ�งชัน กรุงเทพฯ 10170


tosh@tosh.or.th
02 448 9111

สสปท-TOSH สสปท TOSHThailand tosh.th @TOSH

You might also like