You are on page 1of 1

K-Shaped ภาวะไม่สมดุลทางการศึกษา

ความเหลื่อมล้้าในประเทศไทยถือได้ว่าเป็นปัญหาเรื้อรัง ซึ่งนับวันจะมีแต่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
เรื่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด–19 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว
แบบกราฟรูปตัว K หรือ K-shaped ซึ่งเป็นรูปแบบการฟื้นตัวที่ขาดสมดุล ในด้านการศึกษากราฟรูปตัว K
สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้้าทางการเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้น เกิดช่องว่างทางการเรียนรู้ระหว่างเด็กที่มีฐานะ
ร่้ารวยและเด็กที่มีฐานะยากจน ซึง่ K-Shape ทางการศึกษาในประเทศไทย มีทั้งหางชี้ขึ้น-ชี้ลง ภาวะนี้ท้าให้
“ความเหลื่อมล้้ายิ่งกว้างมากขึ้น”

กราฟรูปตัว K หรือที่เรียกว่า "K-Shaped" ในด้านเศรษฐกิจหมายถึง รูปแบบการฟื้นตัวที่ขาดสมดุล


คือมีทั้งส่วนที่ฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่้าสุดเรื่อย ๆ จนกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ ขณะที่ยังมีบางส่วนที่ตกต่้าต่อไป
ในเวลาเดียวกัน ท้าให้ปลายของกราฟฉีกไปคนละทางเหมือนตัวอักษร K ซึ่งทางด้านการศึกษา กราฟรูปตัว
K หรือ K- Shaped แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้้าทางการศึกษา ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ที่เกิดขึ้น เด็กทุกคนต่างเกิดการสูญเสีย โอกาสทางการเรียนรู้ พอเข้าสู่ช่วงการฟื้นฟูการเรียนรู้ เด็กที่มีฐานะ
ร่้ารวยสามารถปรับตัวและฟื้นฟูการเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่าเด็กที่มีฐานะยากจน เพราะเป็นเด็กมีความพร้อมใน
เรื่องการเรียน On-Line มีอุปกรณ์เพียงพอ มี Internet ครูมีศักยภาพในการสอน On-Line บ้านมีความพร้อม
พ่อแม่ให้การสนับสนุน เด็กกลุ่มนี้จะสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ อย่างรวดเร็ว แต่ส้าหรับเด็กที่มีฐานะยากจน
กลับสูญเสียการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์การเรียน ชีวิตได้รับผลกระทบจากโควิด เช่น พ่อแม่
ตกงาน ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ พ่อแม่ป่วย หรือแย่ ที่สุดคือเด็กที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องเสียชีวิตจาก
โรคโควิด-19 กลายเป็นเด็กก้าพร้า เด็กกลุ่มหลังนี้จะได้ผลกระทบในระยะยาว อย่างรุนแรง อาจถึงขั้นต้อง
หลุดออกจากระบบการศึกษาไป เพื่อไม่ให้มีใครต้องถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลั ง หลังจากสถานการณ์โ ควิด -19
กลับมาดีขึ้น จึงจ้าเป็นต้องเร่งฟื้นฟูการเรียนรู้ โดยเริ่มจากการที่เด็กและผู้ปกครองควรได้รับการฉีดวัคซีน
เพื่อป้องกันและลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัสโควิด -19 เมื่อเด็กได้กลับมาเรียนจึงควรเปิดสอนเสริมให้เด็ก
เพื่อชดเชยช่วงเวลาที่หายไปภายในระยะเวลา 1-2 ปี เพื่อปิดช่องว่างทางการเรียนรู้ระหว่างเด็กฐานะร่้ารวย
กับเด็กฐานะยากจนในช่วงโควิด -19 ที่ผ่านมา ล้าดับต่อมาต้องติดตามเด็กและเยาวชนที่ยังไม่กลับเข้าสู่ระบบ
การศึกษา ให้กลับเข้ามาสู่ระบบการศึกษา

เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ดีขึ้นของผู้เรียน การบริหารโรงเรียนจึงจ้าเป็นต้องดูแลและ
บริหารจัดการระบบภายในองค์กร ปรับปรุงหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน ให้เต็มศักภาพในทุก มิติของ
การศึกษาและมีแผนเผชิญเหตุ ในทุกสถานการณ์ เพื่อเป็นการฟื้นฟู การศึกษาจาก K- Shaped เป็น แบบ
V-Shaped คือทุกคนสามารถกลับมามีชีวิตปกติและดีขึ้นเรื่อยๆ ผู้เรียนได้รับความเสมอภาคทุกคน

นางสาวอัญชนา พลายละหาร
รหัสนักศึกษา 65H61270218 เลขที่ 18

You might also like