You are on page 1of 23

บทความทางวิชาการ

เรื่อง

การบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาในศตวรรษที่
21

เสนอ

ดร.มิตภาณี พุม
่ กล่อม

จัดทำโดย

นางสาวอัญชนา พลายละหาร

รหัสนักศึกษา 65H61270218 เลขที่ 18 ห้อง 2


เป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชา ความเป็ นผู้นำทางวิชาการ

หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการ
ศึกษา

มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี

การบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21

การบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็ นการ


บริหารความเสี่ยงในยุคของ “สังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งเป็ นการ
บริหารจัดการองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน
ดังนัน
้ ผู้นําองค์กรในปั จจุบันจึงจำเป็ นอย่างยิ่งที่ต้องมีสมรรถนะของความ
เป็ นผู้นําด้านการเปลี่ยนแปลง
เพราะองค์กรมีความเสี่ยงทัง้ ปั จจัยภายในและภายนอกองค์กร นั่นคือ
ภายในองค์กร เช่น ความเสี่ยงด้าน
กลยุทธ์ ด้านปฏิบัติการ ด้านการเงิน และด้านการกํากับการปฏิบัติตาม
กฎเกณฑ์ และความเสี่ยงจากภายนอกองค์กรที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น
ความไม่แน่นอนทางการเมือง ปั ญหาด้านเศรษฐกิจ ปั ญหาด้านนโยบาย
ซึ่งส่งผลให้องค์กรต้องมีกลยุทธ์ ในการบริหารความเสี่ยงเพื่อรับมือกับ
ความเสี่ยงที่อาจจะมีผลกระทบกับองค์กร ทําให้ความเสี่ยงนัน
้ หมดไป
หรืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้
นักวิชาการการศึกษาหลาย ๆ ท่าน ได้นิยามความหมายของ”ความ
เสี่ยง” ไว้ดังนี ้

จรัญ พะโยม (2557, หน้า 27) ความเสี่ยง คือ โอกาสที่จะเกิดความ


ผิดพลาด ข้อบกพร่อง สูญเสียหรือเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า
หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้ องค์กรไม่ประสบความสำเร็จตาม
วัตถุประสงค์และเป้ าหมายที่กำหนด โดยกระทำการทุจริตหรือ ประพฤติ
มิชอบในการบริหารจัดการศึกษาตามภารกิจและหน้าที่

น้ำทิพย์ ม่วงปลอด (2560, หน้า 12) ได้สรุปไว้ว่า ความเสี่ยง เป็ น


โอกาสของการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจากภัยธรรมชาติ ภัยจากมนุษย์
ภัยจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อเกิดขึน
้ แล้วก่อให้เกิดผล กระทบ
หรือสร้างความเสียหายต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้ าหมายของ
องค์การ เพื่อเป็ นการป้ องกันความเสียหายหรือลดผลกระทบที่เกิดกับ
องค์กรให้เกิดน้อยที่สุดจึงมีการบริหารความเสี่ยง อีกนัยของความเสี่ยง
หนึ่งที่มีลักษณะไม่มีความแน่นอน เป็ นความเสี่ยงที่ไม่อาจหยั่งรู้ได้ว่าจะ
เกิดขึน
้ เมื่อใด เช่น ภัยธรรมชาติที่รุนแรง แผ่นดินไหว อุทกภัย โคลนถล่ม
หรือ สึนามิ ยากที่หยั่งรู้ว่าจะเกิดขึน
้ เมื่อใดได้อีก ความเสี่ยงที่ไม่แน่นอน
อาจเกิดจากมนุษย์ เช่น การทุจริต สิง่ ต่าง ๆ ข้างต้นไม่ว่าจะเป็ นความ
เสี่ยงประเภทใดผู้บริหารย่อมต้องตระหนักถึงความสำคัญ โดยต้องหาทาง
ป้ องกันและหาทางควบคุมความเสี่ยง

กล่าวโดยสรุปได้ว่า ความเสี่ยง คือโอกาสหรือเหตุการณ์ใด ๆ ที่อาจ


เกิดขึน
้ ในอนาคตได้ และจะส่งผลกระทบ สร้างความเสียหาย ความล้ม
เหลว หรือลดโอกาสที่จะบรรลุตามเป้ าหมายที่ตงั ้ ไว้ โดยสามารถเกิดขึน

ได้ทงั ้ ในระดับองค์กร ระดับส่วนงาน ระดับหน่วยงานใหญ่ และระดับ
หน่วยงานย่อย องค์กรใดที่ไม่ได้วางแผนในการรับมือกับความเสี่ยงนัน
้ จะ
ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรขึน
้ ได้

เมื่อได้ทราบความหมายของคำว่า “ความเสี่ยง” แล้ว ก็จำเป็ นต้อง


ทราบถึงความหายของคำว่า “การบริหารความเสี่ยง” ด้วยเช่นกัน นัก
วิชาการการศึกษาและองค์กรต่าง ๆ ได้ให้คำนิยาม ไว้ดังนี ้

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2556) กล่าวถึง การบริหาร


ความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการที่ ปฏิบัติโดยผู้บริหารและบุคลากรทุก
คนในโรงเรียนช่วยกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินงาน โดยมีการวางแผน
กระบวนการจากสถานการณ์ความเสี่ยงและสามารถตรวจสอบและ
ประเมินผลให้การบริหารความเสี่ยงเป็ นที่ยอมรับของโรงเรียนให้เกิด
ความมั่นใจและบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตงั ้ ไว้ ประกอบด้วย การกำหนด
วัตถุประสงค์ การระบุความเสี่ยง/เหตุการณ์ความเสี่ยง การประเมินความ
เสี่ยง การจัดการและการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง และการรายงาน
และติดตามผล เป็ นต้น

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) (2552 ,


หน้า 111) ได้ตระหนักถึงความ
จำเป็ น ที่เป็ นส่วนราชการต่างๆ ต้องมีแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้การ
บริหารราชการเป็ นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน จึงได้กำหนดแนวทาง
การบริหารจัดการ เรื่องการบริหารความเสี่ยงภายใต้สถานการณ์ที่ไม่
แน่นอน นำพาองค์กรสร้างความเข้มแข็งและเพื่อลดโอกาสและปริมาณ
ความสูญเสียที่จะเกิดขึน
้ เป็ นการควบคุมความเสียหายและการจัดการ
ความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึน
้ ดังนัน
้ จึงต้องมีความรู้
ความเข้าใจเครื่องมือ การประเมินความเสี่ยงมาใช้ในการบริหารความ
เสี่ยง อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โรงเรียน
เป็ นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งที่จะเป็ นหน่วยงานศูนย์กลางในการให้ความรู้
ความเข้าใจ ช่วยเหลือและลดปั ญหาความเสี่ยง เนื่องจากโรงเรียนให้
ความรู้กับนักเรียน เป็ นคนถ่ายทอด
จึงต้องมีการวางแผนโครงการ ดำเนินการวิเคราะห์ ตรวจสอบ ประเมิน
ผลที่จะส่งผลต่อการบริหารงานต่าง ๆของโรงเรียนให้ดำเนินการอย่างราบ
รื่น ได้ประสิทธิผลและประสบความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
อย่างมีประสิทธิภาพ

Chester Simmons (2015) กล่าวว่า การบริหารความเสี่ยง หมาย


ถึง การบริหารจัดการที่วางแผน
สำหรับมองไปข้างหน้าและมีกิจกรรม เพื่อป้ องกันความล้มเหลวที่เกิดขึน

กับโครงการ

กล่าวโดยสรุปได้ว่า การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)


คือการวางแผนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้ าประสงค์และวัตถุประสงค์
โดยมีกระบวนการดำเนินงานที่ได้วางแผน และมีการป้ องกันได้
มีแผนรับรองไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือมีโอกาสเกิดความเสี่ยงได้น้อยที่สุด
เพื่อให้มีแนวทางการบริหารจัดการ
ให้เป็ นไปตามแผน ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ การระบุ
ความเสี่ยง/เหตุการณ์ความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยง การจัดการและการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง
และการรายงานและติดตามผล
เป็ นต้น
เนื่องจากความเสี่ยงที่จะเกิดขึน
้ ในการจัดการศึกษานัน
้ มีทงั ้ ปั จจัย
ภายในและปั จจัยภายนอกที่สามารถส่งผลให้เกิดความเสี่ยงได้ ซึง่ ปั จจัย
ภายนอกคือปั จจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงของ
สถานศึกษา เช่น ปั ญหาทางเศรษฐกิจ ปั ญหาทางการเมือง ปั ญหาด้าน
การเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ปั ญหาจากภัยธรรมชาติ หรือปั ญหาจาก
โรคระบาดที่เกิดขึน
้ ในปั จจุบัน เป็ นต้น ส่วนปั จจัยภายในคือความเสี่ยงที่
สามารถควบคุมไม่ให้เกิดขึน
้ ได้หรือมีโอกาสในการเกิดขึน
้ น้อยมากที่สุด
เท่าที่จะควบคุมได้ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ คือ ความเสี่ยงได้ด้าน
นโยบาย แผนกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา ที่นำไปปฏิบัติไม่
เหมาะสม ไม่สอดคล้อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ พันธกิจของ
องค์กรได้ ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ คือความเสี่ยงในเรื่องการดำเนินงาน
ในสถานศึกษา การจัดทำโครงการต่าง ๆ การพัฒนาครู โรงเรียน ผู้เรียน
พฤติกรรมของผู้เรียน ปั ญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสถานศึกษา
เป็ นต้น ความเสี่ยงด้านการเงิน คือ ความเสี่ยงในเรื่องการจัดสรรงบ
ประมาณ ที่เกิดจากการเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็ นไปตามแผน งบ
ประมาณไม่สอดคล้องกับภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้การจัดสรรงบ
ประมาณไม่เพียงพอ และสุดท้ายความเสี่ยงในด้านการกํากับการปฏิบัติ
ตามกฎเกณฑ์ คือ ความเสี่ยงในเรื่องวินัยที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามวินัย
ได้หรือปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม การตรวจสอบภายในและจากภายนอก
สถานศึกษา การเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบ มาตรการของหน่วยงานต้น
สังกัด ซึ่งอาจจะเป็ นอุปสรรคในการดำเนินการได้ นอกจากความเสี่ยง
หลัก ๆ ของสถานศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในบริบทของสถานศึกษา
ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จะมีความเสี่ยงมากน้อยของสถาน
ศึกษาที่มากหรือน้อยแตกต่างออกไปตามบริบทและสภาพแวดล้อมของ
สถานศึกษานัน
้ ๆ

ดังนัน
้ เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์และทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึน

ของสถานศึกษาได้แล้ว จะต้องนำความเสี่ยงนัน
้ มาเข้าสู่กระบวนการ
บริหารความเสี่ยง โดยบทความนีข
้ อเสนอกระบวนการบริหารความเสี่ยง
ตามแนวคิดของ COSO-ERM : The Committee of Sponsoring
Organizations of the Treadway Commission : Enterprise Risk
Management

การนำแนวคิดของ COSO-ERM มาประยุกต์ใช้นน


ั ้ สามารถใช้ได้ทั่ว
ทัง้ องค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพนัน
้ จะต้องบริหารความเสี่ยงในการ
บริหารแบบบูรณาการทัง้ 3 มิติเข้าด้วยกัน แต่ในบางครัง้ การบริหาร
ความเสี่ยงตามแนวคิด COSO-ERM จะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตาม
บริบทขององค์กรนัน
้ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่มีขนาดเล็กที่
ต้องใช้การประยุกต์แนวคิด COSO-ERM เพื่อให้เข้ากับบริบทของ
โรงเรียนมากขึน
้ ซึ่ง COSO-ERM แยกการบริหารความเสี่ยงออกเป็ น 3
มิติ ดังนี ้

มิติที่ 1 ประกอบด้วยความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ด้านปฏิบัติการ ด้าน


การเงินและการรายงาน
และด้านการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์

มิติที่ 2 ประกอบด้วยความเสี่ยงระดับองค์กร ระดับหน่วยงานย่อย


ระดับกลุ่มงานย่อย
และระดับบุคคล
มิติที่ 3 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบคือ สภาพแวดล้อมภายใน
องค์กร (Internal Environment)
การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting) การระบุเหตุการณ์ที่เสี่ยง
(Event Identifcation) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
การตอบสนองต่อความเสี่ยง (Risk Response) กิจกรรมควบคุมความ
เสี่ยง (Control Activities) การสื่อสารและระบบสารสนเทศ
(Information and Communication) การติดตามผล (Monitoring)

กระบวนการในการดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงตาม
แนวทางของ COSO-ERM สามารถแบ่งออกได้เป็ น 8 ขัน
้ ตอน คือ

1. สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment)


เป็ นกระบวนการแรกในการดำเนินการวิเคราะห์และการดำเนินการ
ป้ องกันความเสี่ยง เป็ นการระบุถึงปั จจัยแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ของสถาน
ศึกษา โดยระบุถึง นโยบายและวิธีการในการดำเนินการป้ องกันความ
เสี่ยง แนวทางในการบริหารความเสี่ยง โครงสร้างขององค์กรในเรื่องของ
กระบวนการในการจัดการความเสี่ยง

2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective setting) คือขัน


้ ตอน
การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็ นขัน
้ ตอนที่สองของกระบวนการในการ
บริหารความเสี่ยง ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องทำการกำหนดวัตถุประสงค์
ของการบริหารความเสี่ยง โดยกำหนดถึงความต้องการในการบริหาร
ความเสี่ยง และกำหนดเป้ าหมายที่ต้องการให้เกิดการบรรลุในการบริหาร
ความเสี่ยง
ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารอาจกำหนดวัตถุประสงค์ในการบริหารความ
เสี่ยงของสถานศึกษา คือ การแก้ไขความเสี่ยงอันจะเกิดขึน
้ จาก
สถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึน
้ ในสถานศึกษา เช่น การปิ ดเรียนเพราะปั ญหา
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019 หรือการฟื้ นฟูผู้เรียนหลังจาก
ผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019 เป็ นต้น
พร้อมทัง้ ระบุด้วยว่าสถานศึกษาต้องการที่จะบริหารความเสี่ยงดังกล่าว
นัน
้ จำนวนเท่าใด พร้อมทัง้ กำหนดเป้ าหมายที่จะต้องการบรรลุของสถาน
ศึกษา

สิ่งที่สำคัญสำหรับขัน
้ ตอนนีค
้ ือ การกำหนดวัตถุประสงค์ในการ
บริการความเสี่ยงนี ้ ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของสถานศึกษาในการดำเนินงาน
ขัน
้ ตอนแรกสำหรับกระบวนการบริหารความเสี่ยง องค์กรควรมั่นใจว่า
วัตถุประสงค์ที่กำหนดขึน
้ มีความสอดคล้องกับเป้ าประสงค์ ในการบริหาร
ความเสี่ยงให้หมดไปจากองค์กร
หรืออยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ซึง่ วัตถุประสงค์มักจะเขียนเป็ นลาย
ลักษณ์อักษรที่ชัดเจน และควรประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนได้รับทราบถึง
วัตถุประสงค์ในการดำเนินการบริหารความเสี่ยงขององค์กร เพื่อให้เข้าใจ
ตรงกัน

3. การระบุเหตุการณ์ที่เสี่ยง (Event Identification) เป็ นขัน



ตอนของการระบุถงึ ปั จจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึน
้ ต่อองค์กร ทัง้ ปั จจัย
ภายในและภายนอกที่สามารถส่งผลกระทบทำให้งานไม่สามารถบรรลุ
ตามวัตถุประสงค์หรือเป้ าประสงค์ที่องค์กรวางไว้

4. การประเมินความเสี่ยง (RiskAssessment) คือการประเมิน


โอกาสและผลกระทบของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึน
้ ต่อวัตถุประสงค์ ซึง่ เป็ น
ขัน
้ ตอนที่สำคัญ เพราะขณะที่การเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งอาจส่ง
ผลกระทบในระดับต่ำหรือระดับสูง ดังนัน
้ องค์กรต้องดำเนินการดังต่อไป
นี ้

4.1 การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) คือการ


วิเคราะห์ผลกระทบของความเสี่ยงที่มี ต่อองค์กรและโอกาสที่จะ
เกิดความเสี่ยง ซึ่งการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงประกอบด้วย 2 มิติ
คือ
- โอกาสที่อาจเกิดขึน
้ ของเหตุการณ์ซึ่งจะมีมีโอกาส
เกิดขึน
้ มากน้อยเพียงใด
- ผลกระทบ คือ หากมีเหตุการณ์เกิดขึน
้ องค์กรจะได้
รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด

4.2 การจัดลําดับความเสี่ยง (Risk Exposure) คือ การจัดลํา


ดับระดับความเสี่ยงมากไปน้อย เพื่อดําเนินการในการจัดทําแผน
บริหารความเสี่ยงต่อไป

ระดับความเสี่ยง = โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ x ผลกระ


ทบต่อองค์กร

โดยระดับความเสี่ยงแบ่งออกได้เป็ น 4 ระดับคือ ระดับความเสี่ยง


สูงมาก (Extreme) มีคะแนนระดับความเสี่ยง 16 -25 คะแนน, ระดับ
ความเสี่ยงสูง (High) มีคะแนนระดับความเสี่ยง 10 – 15 คะแนน,
ระดับความเสี่ยงปานกลาง (Medium) มีคะแนนระดับความเสี่ยง 5 – 9
คะแนน, ระดับความเสี่ยงต่ำ (Low)
มีคะแนนระดับความเสี่ยง 1 – 4 คะแนน โดยระดับโอกาสที่จะเกิด
เหตุการณ์ขน
ึ ้ แบบออกเป็ น 5 ระดับและระดับของผลกระทบขององค์กร
จะแบ่งออกเป็ น 5 ระดับเช่นกัน โดยเรียงระดับความเสี่ยงจากน้อยไป
มากตามลำดับ

การประเมินระดับความเสี่ยงสามารถทำได้ทงั ้ การการประเมินในเชิง
คุณภาพและในเชิงปริมาณ
โดยพิจารณาทัง้ เหตุการณ์ที่เกิดขึน
้ จากปั จจัยภายนอกและปั จจัยภายใน
องค์กร นอกจากนีจ
้ ะต้องการประเมินระดับความเสี่ยงทัง้ ก่อนจัดการ
ความเสี่ยง และหลังจากที่มีการจัดการความเสี่ยงแล้ว ปั จจัยที่ควรใช้ใน
การพิจารณาการจัดการความเสี่ยง เช่น

- การปฏิบัติงานของผู้บริหารและครู - กระบวนการ
ปฏิบัติงาน

- กระบวนการรายงาน / วิธีการติดต่อสื่อสาร -
โครงสร้างองค์กร

- การวัดผลการปฏิบัติงานและการติดตามผล -
ทัศนคติและแนวทางของผู้บริหาร

- กิจกรรมการควบคุมภายใน - พฤติกรรมขององค์กรที่
คาดว่าจะมีและที่มีอยู่ในปั จจุบัน

5. การตอบสนองต่อความเสี่ยง (Risk Response) กำหนดการ


ตอบสนองต่อความเสี่ยงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับระดับความรุนแรง
ของความเสี่ยง โดยแนวทางในการบริการจัดการกับความเสี่ยงหรือการ
ตอบสนองต่อความเสี่ยงนัน
้ จะถือหลักตามแนวทางของ 4T’s คือ
5.1 การยอมรับ (Take) คือความเสี่ยงที่อยู่ในระดับที่สามารถ
ยอมรับได้ เป็ นความเสี่ยงที่มีผลกระทบไม่มากหรือมีสาเหตุจาก
ปั จจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุมขององค์กร ไม่สามารถเลือกใช้
วิธีอ่ น
ื ได้ ไม่ต้องมีการดำเนินการใด ๆ เพิ่มเติม เพื่อจะช่วยในการลด
โอกาสที่จะเกิดขึน

หรือลดความรุนแรงจากผลกระทบที่จะเกิดขึน
้ หากเกิดความเสี่ยงนัน

5.2 การควบคุม หรือการลดความเสี่ยง (Treat) คือความเสี่ยงที่


ยอมรับไม่ได้แต่อยู่ในการควบคุมให้สามารถลดลงให้อยู่ในระดับ
ความรุนแรงที่ยอมรับได้โดยต้องหาวิธีการจัดการด้วยวิธีการอย่างใด
อย่างหนึง่ ซึ่งเป็ นการดำเนินการเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่องค์กรมีอยู่
เพื่อที่จะลดความเสี่ยงขององค์กรให้เหลือน้อยลง ซึ่งอาจจะลดได้ทงั ้
โอกาส และผลกระทบที่เกิดขึน
้ ก็ได้

5.3 การโอน หรือการกระจายความเสี่ยง (Transfer) เป็ นความ


เสี่ยงที่มีผลกระทบสูงมาก
คาดเดาได้ยาก ป้ องกันได้ยาก โดยจะต้องทำการถ่ายโอนความเสี่ยง
ให้แก่องค์กรหรือบุคคลอื่นที่มีความชำนาญมากกว่าดำเนินการ
จัดการ เช่น การประกันภัย การเกิดภัยธรรมชาติ เป็ นต้น

5.4 การหลีกเลี่ยง หรือหยุดดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ


(Terminate) เป็ นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ โดยจะส่งผลกระทบกับ
แผนงาน/โครงงาน กระบวนการทำงานและองค์กรเป็ นอย่างมาก
จึงจำเป็ น ต้องหยุดกิจกรรม เปลี่ยนวัตถุประสงค์หรือหยุดการดำเนิน
การใด ๆ ขององค์กรเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเสี่ยง
6. กิจกรรมควบคุมความเสี่ยง (Control Activities) คือ
นโยบายและกระบวนการปฏิบัติงานที่ทำให้องค์กรเกิดความมั่นใจได้ว่ามี
การจัดการความเสี่ยง มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้ าประสงค์ของ
องค์กรแล้ว  โดยขัน
้ ตอนนีเ้ ป็ นขัน
้ ตอนที่กำหนดให้บุคลากรภายในองค์กร
รับผิดชอบในการพิจารณาประสิทธิผลของการจัดการความเสี่ยง และ
พิจารณาการเพิ่มเติมกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่จำเป็ นในการจัดการกับความ
เสี่ยง
เป็ นกิจกรรมที่สามารถช่วยป้ องกันและบ่งชีใ้ ห้เห็นความเสี่ยงที่มีผลกระ
ทบต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร ทัง้ นีก
้ ิจกรรมควบคุมแบ่งออกเป็ น 4
ประเภท คือ

- การควบคุมเพื่อการป้ องกัน ( Preventive Control)

- การควบคุมเพื่อให้ตรวจพบ (Detective Control)

- การควบคุมเพื่อการชีแ
้ นะ (Directive Control)

- การควบคุมเพื่อการแก้ไข (Corrective Control)

7. การสื่อสารและระบบสารสนเทศ (Information and


Communication) เป็ นขัน
้ ตอนของการแจ้งข้อมูลข่าวสาร และให้ความ
รู้แก่คนในองค์กรในเรื่องของแนวทางปฏิบัติทางด้านการจัดการความ
เสี่ยงขององค์กร ทางเลือกในการลดปั ญหาความเสี่ยง ข้อมูลความเสี่ยงใน
ลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้ทุกฝ่ ายที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจตรงกันอย่างทั่วถึง และ
มีข้อมูลความเสี่ยงขององค์กรตรงกัน ซึ่งการติดต่อสื่อสารและเอกสารที่
เกี่ยวข้องมีความสำคัญของแต่ละขัน
้ ตอนในกระบวนการบริหารความ
เสี่ยง
8. การติดตามผล (Monitoring) เป็ นขัน
้ ตอนสุดท้ายแต่มีความ
สำคัญที่จะทำให้ผู้บริหารมั่นใจว่าการบริหารความเสี่ยงทั่วทัง้ องค์กรเป็ น
ไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี และการ
บริหารความเสี่ยงได้นำไปประยุกต์ใช้ในทุกระดับขององค์กร โดยการ
ติดตามประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง
และสม่ำเสมอ ซึ่งการติดตามการบริหารความเสี่ยงสามารถทำได้ 2
ลักษณะคือ

8.1 การติดตามอย่างต่อเนื่องหรือการติดตามระหว่างการ
ปฏิบัติงาน การติดตามอย่างต่อเนื่องเป็ นการดำเนินการอย่าง
สม่ำเสมอเพื่อให้สามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างทัน
ท่วงทีและถือเป็ นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน

8.2 การติดตามเป็ นรายครัง้ เป็ นการติดตามประสิทธิผลเป็ น


ครัง้ คราวตามระยะเวลา
ที่กำหนด

นอกจากนีอ
้ งค์กรควรมีการจัดทำรายงานความเสี่ยงเพื่อให้การ
ติดตามการบริหารความเสี่ยง
เป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

จากกระบวนการจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษาตามแนวคิด
COSO จะเห็นได้ว่าการจัดการอย่างเป็ นขัน
้ ตอนจะทำให้สามารถ
วิเคราะห์ระดับความเสี่ยงเพื่อให้สามารถหาวิธีการรับมือกับความเสี่ยง
ตามลำดับความสำคัญ และสามารถจัดการได้อย่างทันเวลา ทำให้ทราบ
ว่าความเสี่ยงใดควรจัดการก่อนและความเสี่ยงใดควรจัดการทีหลัง โดย
ประโยชน์ที่ได้รับจากการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถานศึกษา คือ
สามารถระบุและจัดการความเสี่ยงได้อย่างครอบคลุม ช่วยเพิ่ม
ประสิทธิผล ลดผลกระทบเชิงลบจากเหตุการณ์ไม่สามารถควบคุมได้หรือ
ม่สามารถคาดคิดได้ สามารถสรางเสริมความเขาใจโครงการและจัดทํา
แผนที่ใกลเคียงความ
เปนจริงมากขึน
้ ทัง้ ในด้านของการประมาณการคาใชจายและระยะเวลา
ดําเนินการ บุคลากรมีความเขาใจการทํางานมากขึน
้ สามารถวิเครา
ะหแยกแยะ ประเมินและระมัดระวังความเสี่ยงในหนาที่ของตนได ทําใหส
ามารถทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพและบรรลุเปาหมายได้ บุคลากร
ไดฝกการคิดแบบเปนระบบและทันสมัยมากขึน

มีอิสระในการพิจารณาความเสี่ยงของโครงการซึ่งจะชวยใหการตัดสินใจ
จัดการความเสี่ยงใหมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึน
้ ช่วยลดกา
รดําเนินงานที่จะไม่ตรงตามเป้ าหมายเนื่องจากสามารถควบคุม ป้ องกัน
เหตุการณ์ที่ไม่คาดหวังได้ ทําให้การดําเนินงานอยู่ภายใต้กรอบเป้ าหมาย
โดยไม่จำเป็ นต้องจัดการความเสี่ยงให้หมดไปแต่ป้องกัน ควบคุมความ
เสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ องคกรสามารถบริหารการใชทรัพยากร
ไดอยางคุมคาและถูกตอง โดยมุงเนนการใชทรัพยากรไปยังจุดที่มีความ
เสี่ยงสูง องคกรสามารถดํารงอยูไดอยางยั่งยืน

การบริหารความเสี่ยงขององค์กรในศตวรรษที่ 21 จัดว่ามีความ
สำคัญเป็ นอย่างมากต่อการบริหารจัดการองค์กรในปั จจุบัน เรียกว่าเป็ น
“สังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งเป็ นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็วในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็ นด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการพัฒนา
นวัตกรรม ด้านเทคโนโลยี ฯลฯ ดังนัน
้ ผู้นำองค์กรในปั จจุบันจึงต้องมี
สมรรถนะของความเป็ นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะสามารถรับมือ
กับความเสี่ยงที่อาจจะมีผลกระทบกับองค์กรทำให้ความเสี่ยงนัน
้ ให้หมด
ไปหรืออยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
ชัยยนต์ เพาพาน (2559) ได้กล่าวถึง คุณลักษณะของผู้บริหาร
สถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย การมีวิสัยทัศน์ ความสามารถ
ทางวิชาการ การสื่อสาร และเทคโนโลยีการเป็ นนักริเริ่มสร้างสรรค์และ
ประกอบการนักสร้างพลังและ แรงบันดาลใจเชิงบวก ตัวแบบที่ดี และ
การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

Crawford (อ้างถึงในวิโรจน์ สารรัตนะ, 2556) ได้กล่าวว่า “สำหรับ


ผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะผู้นำยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ที่มีความ
สามารถไม่ได้มีมาแต่เกิดแต่สามารถพัฒนาขึน
้ ได้ซึ่งต้องอาศัยการฝึ ก
อบรมหรือการพัฒนาในทักษะที่สำคัญ ๆ และควรมีลักษณะดังนี ้ 1) เป็ นผู้
ที่มีความคาดหวังสูง (high expectations) ผู้นำสถานศึกษาที่มีวิสัยทัศน์
จะมุ่งความสำเร็จงาน และจะใช้ความพยายามเพื่อให้บรรลุผลในความ
เชื่อมั่นของตนเอง 2) เน้นพื้นฐานการเรียนรู้ (A Focus on the
Fundamentals) การเรียนรู้ของผู้เรียนจึงเป็ นจุดมุ่งหมายพื้นฐานของ
สถานศึกษาที่สำคัญยิ่งกว่าด้านอื่น ๆ ผู้บริหารจึงมุ่งการบรรลุจุดมุ่งหมาย
นัน

3) มีความสามารถพิเศษในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (A Talent for
Collaborative Problem solving)ความร่วมมือนำไปสู่การสร้าง
นวัตกรรมการแก้ปัญหาใหม่ ๆ และความสำเร็จ ผู้นำสถานศึกษาที่ฉลาด
จะสร้างความเป็ นหุ้นส่วนให้เกิดขึน
้ ในทุกระดับของโรงเรียนเพื่อร่วมมือ
กันแก้ปัญหาและแสวงหาทางเลือกใหม่ ๆ มาใช้4) มีจิตสร้างสรรค์ (An
Inventive Mind) ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนำเอาเทคโนโลยีใหม่
ๆ มาใช้
ทัง้ ในการเรียนรู้ของนักเรียน การพัฒนาหลักสูตร การประเมินผล การงบ
ประมาณ และอื่น ๆ
5) มีความสามารถแปลผลข้อมูลหลัก (The Ability to Read Data’s
Story) ผู้นำสถานศึกษาต้องรู้คุณค่าของข้อมูลที่ดีและนำมาใช้เพื่อพัฒนา
สถานศึกษาสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็ว นำสู่การปฏิบัติและ
ประเมินผลเพื่อวัดผลสำเร็จ และ 6) ความสามารถในการบริหารเวลาและ
ความใส่ใจ (a gift for directing time and attention) ผู้นำสถาน
ศึกษาในปั จจุบันและในอนาคตจำเป็ นต้องมีการบริหารเวลา (time
management) และการมอบอำนาจ (delegation) เพื่อให้ภารกิจของ
สถานศึกษาที่มีมากมายบรรลุผลสำเร็จ

จากที่ได้ศึกษาแนวคิดของสมรรถนะความเป็ นผู้นำของผู้บริหารด้าน
คุณลักษณะที่ผบ
ู้ ริหารสถานศึกษาควรมี สรุปได้ว่า คุณลักษณะของผู้
บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็ นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและ
ทันสมัย เป็ นผู้ที่มีความรู้ในด้านวิชาการ มีความสามารถในการสื่อสาร
วิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา มีการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและ
รวดเร็ว เป็ นแบบอย่างที่ดีและสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรในองค์กร
ของตน รวมไปถึงต้องผู้ที่จัดการปั ญหา จัดการเวลา และทรัพยากรได้
อย่างสร้างสรรค์และรู้คุณค่า

Hoyle, English and Steffy (2005, อ้างถึงใน แพรดาว สนองผัน,


2557, น.34) ได้เขียนหนังสือเรื่อง ทักษะที่ทำให้ประสบความสำเร็จของผู้
บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 (Skils forSuccessful 21" Century
School Leaders) ประกอบด้วย 10 ทักษะ ดังนี ้

1) ทักษะความเป็ นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ (Skills in Visionary


Leadership)

2) ทักษะด้านในการกำหนดนโขบายและการปกครอง (Skills in
Policy and Governance)

3) ทักษะการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน (Skills in
Communication and

4) ทักษะการบริหารจัดการองค์กร (Skills in Organizational


Management)

5) ทักษะการวางแผนและการพัฒนาหลักสูตร (Skills in
Curiculum Planning and

6) ทักษะการจัดการเรียนรู้ (Skills in Instructional


Management)

7) ทักษะการประเมินผลงานและการบริหารบุคลากร (Skills in
Staff Evaluation and

Personnel Management)

8) ทักษะในการบริหารจัดการบุคลากร (Skills in Staff


Management).

9) ทักษะการวิจัยทางการศึกษา การประเมินผลและการวางแผน
(Skils in Educational
Research, Evaluation and Planning)

10) ค่านิยมและจริยธรรมของการเป็ นผู้นำ (Valucs and Ethics


of Leadership)

Weigel (2012, อ้างถึงใน ชัยยนต์ เพาพาน ,2559) ได้เขียน


บทความเรื่อง Management Skills for the 21st Century : Avis
Gaze (2016) เขียนงานเรื่อง Preparing School Leaders: 21st
Century Skills และ National Association of Secondary School
Principals (NASSP) (2013) เขียนหนังสือเรื่อง 10 Skills for
Successful School Leaders สามารถสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับทักษะ
ยุคใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกัน ได้ดงั นี ้

1. ทักษะการคิดวิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์ (Critical


andcreative thinking skill)

2. ทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving skills)

3. ทักษะการสื่อสาร (communication skill)

4. ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิตอล (Technological
anddigital literacy skills)

5. ทักษะด้านการบริหารองค์การ (Organizational
management skills)

6. ทักษะการบริหารงานบุคคล (Personal management skills)

7. ทักษะทำงานเป็ นทีม (Teamwork skills)


8. ทักษะด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ (Learning innovation
skill)

9. ทักษะการกำหนดทิศทางองค์กร (Setting instructional


direction skill)

10. ทักษะการรับรู้ไว (Sensitivity skill)

11. ทักษะการตัดสิน (Adjustment skill)

12. ทักษะมุ่งผลสัมฤทธิ ์ (Results orientation skill)

13. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal skill)

14. ทักษะคุณธรรมจริยธรรม (ethical-moral skills)

จากที่ได้ศึกษาแนวคิดของสมรรถนะความเป็ นผู้นำของผู้บริหารด้าน
ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สรุปได้ว่า ทักษะที่ผู้
บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีดังนี ้ ผู้บริหารต้องมีทักษะการคิด
วิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา มีทักษะการแก้ปัญหาได้
ดี ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อ่ น
ื ทักษะการสร้าง
มนุษยสัมพันธ์ ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะการตัดสินใจที่มุ่งผล
สัมฤทธิ ์ และเป็ นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม

การบริหารความเสี่ยงขององค์กรในศตวรรษที่ 21 (ระหว่าง
ค.ศ.2001 – ค.ศ.2100) เป็ นการบริหารจัดการองค์กรที่จำเป็ นและสำคัญ
อย่างยิ่ง เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในสังคมแห่งศตวรรษที่ 21
ทำให้มีปัจจัยภายนอกและปั จจัยภายในที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ส่งผลกระ
ทบกับองค์กร ดังนัน
้ ผู้บริหารซึ่งถือว่าเป็ นผู้นำหลักในการบริหารองค์กร
เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดหวังขึน
้ จึงจำเป็ นต้องมีแผนการ/กลยุทธ์
หรือแนวมางในการจัดการความเสี่ยงในองค์กรขึน
้ เพื่อรับมือกับความ
เสี่ยงที่อาจจะมีผลกระทบกับองค์กร ทําให้ความเสี่ยงนัน
้ หมดไป หรืออยู่
ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ สําหรับแนวทางในการบริหารความเสี่ยงที่
องค์กรสามารถนำมาใช้ได้มี 4 วิธีตามแนวคิดของ COSO-ERM คือ การ
ยอมรับ การควบคุม การโอนและการหลีกเลี่ยง ซึ่งแต่ละองค์กรสามา
รถนํามาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงได้ตามความเหมาะสม
และให้เข้ากับบริบทขององค์กร นอกจากนีผ
้ บ
ู้ ริหารต้องคุณลักษณะและ
ทักษะการเป็ นผู้นำในศตวรรษที่ 21 ด้วย จึงจะทำให้การบริหารองค์กรมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึน

เอกสารอ้างอิง

กิตติพันธ์ คงสวัสดิเ์ กียรติ. (2554). การจัดการความเสี่ยงและตราสาร


อนุพันธ์เบื้องต้น. ครัง้ ที่พิมพ์ 4.
สำนักพิมพ์เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า,บจก.

จรัญ พะโยม. (2557). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงในสถาน


ศึกษาขัน
้ พื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต
2. วารสารศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(2): 22-34.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพ้น


ื ฐานการเป็ นผู้นำของผู้
บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

น้ำทิพย์ ม่วงปลอด. (2560). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชีก


้ าร
บริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา
ขัน
้ พื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก. ปริญญานิพนธ์
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

วิจิตรา สีแดงก่ำ. (2563). การบริหารความเสี่ยงขององค์กรในศตวรรษที่


21 (The 21st Century Enterprise
Risk Management). ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ
บริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผ้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่
21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะ


ทางการศึกษาศตวรรษที่ 21.
กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ.์

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารความเสี่ยง.


ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ. (2552) คู่มือคำอธิบาย


ตัวชีว้ ัดการพัฒนา คุณภาพการบริหาร
จัดการภาครัฐ ปี งบประมาณ พ.ศ. 2553 สำหรับส่วน
ราชการระดับกรม. กรุงเทพมหานคร:
สำนักงาน ก.พ.ร. 111.

Chester Simmons, "Risk Management Is the Sum of All


Proactive Management – Directed
Activities", accessed 29 September 2022,
Available http://www.siliconrose.com.

You might also like