You are on page 1of 6

รายงาน

เรื่อง การใช้เซนเซอร์ในโปรแกรม Phyphox

จัดทำโดย
นายธนพัฒน์ เซี่ยงคิ้ว รหัสนักศึกษา 64010322

เสนอ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช บุญแสง

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ELECTRICAL INSTRUMENTS AND MEASUREMENTS รหัสวิชา


01026208
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
คณะวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ที่มาและความสำคัญ
ในปัจจุบันก็มีการนำเซนเซอร์มาประยุกต์ใช้กับการทำงานในหลากหลายรูปแบบ โดยเซนเซอร์จะเป็น
อุปกรณ์ที่ตรวจจับปริมาณทางกายภาพแล้วแปลงค่าออกมาเป็นรูปแบบสัญญาณไฟฟ้า โดยเซนเซอร์ก็มี
หลากหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป โดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใกล้ตัวของเราเช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต และ
อื่นๆ นั้นประกอบไปด้วยเซนเซอร์หลากหลายชนิด ทำให้ในรายวิชานี้มีการนำเอาเซนเซอร์จากในโทรศัพท์มา
ประยุกต์ใช้ในการตรวจจับสิ่งที่ต้องการวัดค่าผ่านโปรแกรม Phyphox ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถนำเอา
สัญญาณจากเซนเซอร์มาใช้คิดคำนวณและสร้างโปรแกรมประยุกต์ได้ผ่านหัวข้อ editor ในเว็บไซต์ของ
โปรแกรม โดยผู้จัดทำจะใช้เซนเซอร์ Proximity ซึ่งเป็นเซนเซอร์ที่สามารถตรวจหาการปรากฏของวัตถุได้โดย
ที่ไม่ต้องผ่านการสัมผัส นำมาใช้นับจำนวนสิ่งของที่เคลื่อนที่บนสายพานผ่านเซนเซอร์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับ
โรงงานขนาดเล็กได้และยังใช้เซนเซอร์ location เพื่อแสดงที่ตั้งของเซนเซอร์นั้นด้วยว่าตั้งไว้ที่ไหนเพื่อนำไปใช้
วิเคราะห์ข้อมูลที่เซนเซอร์ตัวนั้นตรวจสอบได้

หลักการ
ในการทำโปรแกรมนี้ผู้จัดทำได้ทำการใช้เซนเซอร์สองตัวคือ
1. Proximity sensor เป็นเซ็นเซอร์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการตรวจจับวัตถุ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับวัตถุ
โดยตรง ทำให้ชิ้นงานที่ต้องการตรวจสอบไม่เกิดรอยหรือเกิดการชำรุดเสียหาย ซึ่งเซ็นเซอร์ชนิดนี้จะ
อาศัยหลักการทำงานจากสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กบริเวณด้านหน้าของอุปกรณ์
2. Location sensor เป็นเซนเซอร์ที่แสดงค่าตำแหน่งผ่านทาง gps โดยจะบอกค่าละติจูดและลองติจูด
ที่เซนเซอร์นั้นตั้งอยู่
วิธีการ
1. หาหัวข้อที่ต้องการทำที่สอดคล้องกับเซนเซอร์ที่มีในโทรศัพท์มือถือ
2. เข้าไปที่เว็บของตัวโปรแกรม Phyphox
3. ไปที่หัวข้อ editor เพื่อทำการสร้างโปรแกรมขึ้นมา
4. เมื่อสร้างโปรแกรมเสร็จแล้วก็ทำการ export โดยใช้ qr code แล้วนำไปใช้กับโทรศัพท์มือถือ

วิธีการดำเนินการใน Phyphox
1.ในหัวข้อ main ใน phyphox จะตั้งชื่อว่า count sensor

2. ในหัวข้อ Input ก็จะเลือกเซ็นเซอร์ Proximity และ Location


3.ในหัวข้อ views จะเป็นการเลือกว่าจะต้องการให้แสดงค่าในรูปแบบใดบ้างเช่น กราฟ ค่าตัวเลข ข้อมูล
และอื่นๆ

5.ในหัวข้อ Analyze ก็จะเป็นการนำเอาข้อมูลจากเซนเซอร์มาประมวลผลโดยในเซนเซอร์ proximity ผม


จะแสดงผลการทำงานของตัวเซ็นเซอร์โดยการใช้กราฟ และผมต้องการให้นับจำนวนครั้งจึงมีการใช้
Module คือ count, divide, round และ แสดงผลออกเป็นค่า ใน Module count จะทำการนับการ
ทำงานของเซนเซอร์โดยเซนเซอร์จะมีการทำงานปิดเปิดจะทำให้ count นับเป็น 2 เมื่อมีวัตถุผ่าน 1
ครั้งจึงทำการใส่ Module divide ลงไปโดยการ หาร 2 จะทำให้ได้ 1 ครั้งแต่จะเกิดการนับ 0.5 ก่อน
แล้วพอวัตถุผ่านจะนับเป็น 1 จึงทำการใส่ module round ลงไปเพื่อให้เมื่อที่ต้องแสดงค่า 0.5 หายไป
แล้วแสดงออกเป็นค่าจำนวนเต็มเท่านั้น
5. ใช้หัว Download/Transfer สร้าง qr code เพื่อ export ไปใช้งานในโทรศัพท์มือถือ

6. หน้าตาของโปรแกรมระหว่างการใช้งาน

Qr code สำหรับการ export โปรแกรม


Calibration curve
ในการทำ Calibration cure ในแนวแกน Y จะใช้เป็นค่าที่เซ็นเซอร์อ่านและแสดงผลออกมา และแกน X เป้น
ค่าที่ผู้ทดลองทำการนับว่ามีสิ่งของผ่านไปเท่าไหร่

จากการทำ Calibration curve ก็จะพบว่า จำนวนครั้งเซนเซอร์อ่านได้ และ จำนวนของที่ผ่านโดยการนับจาก


ผู้ทดลอง มีค่าที่ตรงกันเมื่อมาพล็อตกราฟก็จะได้เป็นเชิงเส้น

สรุป
จากการทำรายงานและทำการทดลองสร้างโปรแกรมนี้ขึ้นมา ทำให้ทราบว่าเซนเซอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่
สามารถนำมาใช้ทุ่นแรงในการทำงานได้ จากการทำโปรแกรมนี้ที่ใช้นับสิ่งของที่ผ่าน โดยหากมีกำลังในการ
ผลิตสินค้าไม่มากการนับโดยปกติก็จะทำได้แต่หากมีการผลิตในจำนวนมากขึ้นการนำเอาเซ็นเซอร์มาช่วยนับ
นั้นก็จะทำให้มีความสะดวกสบาย และความแม่นยำมากขึ้น จึงทำให้ในปัจจุบันนั้นมีการนำเอาเซนเซอร์มา
ประยุกต์ใช้ในหลากหลาย และก็สามารถพบเจอได้ในอุปกรณ์ทั่วไปในชีวิตประจำวันเช่นโทรศัพท์มือถือ

You might also like