You are on page 1of 31

รายงานการวิจัย

การทดสอบฤทธิ์ไล่ยุงของสารสกัดจากสัก (Tectona grandis L.f.)


ต่อยุงลายบ้าน (Aedes aegypti (L.))
Mosquito Repellent Test of Teak (Tectona grandis L.f.) Extract
against Aedes aegypti (L.)

โดย
สุทธิ ทองขาว
วิโรจน์ ฤทธาธร
กชพรรณ สุกระ
โสภาวดี มูลเมฆ
วาสินี ศรีปล้อง
ธีรพล ฆังคมณี
ปิติ มังคลางกูร

สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
กันยายน 2555

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาฤทธิ์ไล่ของสารสกัดจากสักต่อยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) สายพันธุ์


ห้องปฏิบัติการ (USDA) และสายพันธุ์นครศรีธรรมราช โดยใช้วธิ ีการสกัดสาร 2 วิธี คือ วิธีแช่ยุ่ย และวิธี Soxhlet
ซึง่ ใช้ชุดทดสอบ Excito-repellency assay เพื่อสังเกตพฤติกรรมการหลีกหนีสารของยุง โดยไม่ให้ยุงสัมผัสสาร
สกัดจากสักโดยตรง และให้ยุงสัมผัสสารสกัดโดยตรง ระดับความเข้มข้นของสารสกัดจากสักทีใ่ ช้ในการทดสอบ คือ
0.5%, 1%, 2.5%, 5% และ 10% (น้้าหนัก/ปริมาตร) จากการทดสอบพบว่า สารสกัดจากสักมีฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้าน
สายพันธุ์ห้องปฏิบัติการได้ โดยมีการออกฤทธิ์ไล่แบบท้าให้ยุงเกิดการระคายเคืองแล้วบินหนีไป (irritancy effect)
และฤทธิ์ในการไล่ยุงโดยไม่ต้องสัมผัส (repellency effect) นอกจากนี้สารสกัดที่ได้จากวิธี Soxhlet ที่ระดับความ
เข้มข้น 10% จะมีฤทธิ์ในการไล่ที่ดีที่สุด โดยพบว่าเป็นความเข้มข้นเดียวและวิธีสกัดเดียวที่มีความแตกต่างอย่างมี
นัยส้าคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกล่องยุงเปรียบเทียบของการทดสอบนั้น ๆ ทั้งแบบไม่ให้สัมผัสสารสกัดจาก
สักโดยตรงและแบบให้สัมผัสสารสกัดโดยตรง (P = 0.01 และ 0.03 ตามล้าดับ)

กิตติกรรมประกาศ
คณะผู้วิจัยขอขอบคุณ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่เห็นความส้าคัญและให้การสนับสนุน
งบประมาณส้าหรับการวิจัย เรื่อง “การทดสอบฤทธิ์ไล่ยุงของสารสกัดจากสัก (Tectona grandis L.f.) ต่อยุงลาย
บ้าน (Aedes aegypti (L.))” และขอขอบคุณ ศ.ดร. ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน และ รศ.ดร. อรัญ งามผ่องใส ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะ
ทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ที่ให้ค้าปรึกษาและเอื้อเฟื้อสถานที่ พร้อมทั้ง
เครื่องมือและอุปกรณ์ในการท้าวิจัยในครั้งนี้ นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล ผู้อ้านวยการส้านักงานป้องกัน
ควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ให้การสนับสนุนการด้าเนินงานวิจัย รวมทั้งผู้ร่วมปฏิบัติงานและ
สนับสนุนการด้าเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่มิได้เอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้ ที่มีส่วนร่วมในการด้าเนินงานวิจัยครั้งนี้
จนประสบความส้าเร็จ

คณะผู้วิจัย
กันยายน 2555

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ....................................................................................................................................................................................... ก
กิตติกรรมประกาศ....................................................................................................................................................................... ข
สารบัญ .......................................................................................................................................................................................... ค
สารบัญตาราง................................................................................................................................................................................ง
สารบัญภาพ.................................................................................................................................................................................. จ
บทที่ 1 บทน้า
ความส้าคัญและที่มาของปัญหา ............................................................................................................................... 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย........................................................................................................................................... 2
ขอบเขตของการวิจัย................................................................................................................................................... 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ........................................................................................................................................ 3
นิยามศัพท์เฉพาะ ........................................................................................................................................................ 3
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทบทวนวรรณกรรม ..................................................................................................................................................... 5
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ..................................................................................................................................................... 9
บทที่ 3 วิธีด้าเนินการวิจัย
การสกัดสารจากสัก................................................................................................................................................... 10
การทดสอบฤทธิ์ในการไล่ของสารสกัดจากสักต่อยุงลายบ้าน ............................................................................ 10
การเก็บรวบรวมข้อมูล.............................................................................................................................................. 12
การควบคุมการวิจัย .................................................................................................................................................. 12
การวิเคราะห์ข้อมูล ................................................................................................................................................... 13
บทที่ 4 ผลการศึกษา............................................................................................................................................................... 14
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรุปผล ........................................................................................................................................................................ 19
อภิปรายผล................................................................................................................................................................. 19
ข้อเสนอแนะ............................................................................................................................................................... 20
บรรณานุกรม.............................................................................................................................................................................. 21

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 การออกแบบการทดลองส้าหรับทดสอบพฤติกรรมการหลีกหนีสารเคมี ......................................................... 8
ตารางที่ 2 ผลการทดสอบฤทธิ์ไล่ยุงของสารสกัดจากสักซึ่งสกัดด้วยวิธีแช่ยยุ่ และวิธี Soxhlet ................................... 14
ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ต่อยุงสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการและสายพันธุ์นครศรีธรรมราช
ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบประสิทธิผลของสารสกัดจากสัก โดยให้ยุงทดสอบสัมผัสสารสกัดความเข้มข้นต่างกัน..... 15
ตารางที่ 4 ฤทธิ์ไล่ของสารสกัดจากสักต่อยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) สายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ ............................. 16
และสายพันธุ์นครศรีธรรมราช จากการสัมผัสให้สารและไม่ให้สัมผัสสารสกัด
จากวิธีแช่ชุ่ยและวิธี Soxhlet ทีร่ ะดับความเข้มข้นต่าง ๆ

สารบัญภาพ
หน้า
รูปที่ 1 เครื่องมือทดสอบ Excito-Repellency assay........................................................................................................... 4
รูปที่ 2 กล่องทดสอบการต้านทานสารเคมีฆ่าแมลงเชิงพฤติกรรมในยุงพาหะน้าโรคมาลาเรียชนิดพับเก็บได้ (EREC)........8
รูปที่ 3 รูปแบบการหลีกหนีสารเคมีของยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) สายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ................................ 17
ทีม่ ีการให้สัมผัสสาร (บน) และไม่ให้สัมผัสสาร (ล่าง) โดยใช้สารสกัดจากสัก
ทั้งวิธีแช่ยุ่ย และวิธี Soxhlet ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ
รูปที่ 4 รูปแบบการหลีกหนีสารเคมีของยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) สายพันธุ์นครศรีธรรมราช ............................. 18
ทีม่ ีการให้สัมผัสสาร (บน) และไม่ให้การสัมผัสสาร (ล่าง) โดยใช้สารสกัดจากสัก
ด้วยวิธีแช่ยยุ่ และวิธี Soxhlet ทีร่ ะดับความเข้มข้นต่าง ๆ
1

บทที่ 1
บทนา
ความสาคัญและที่มาของปัญหา
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อนาโดยแมลง ที่ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สาคัญของประเทศไทย ในแต่
ละปีจะมีรายงานพบผู้ป่วยเป็นจานวนมาก เฉลี่ยประมาณปีละ 50,000–60,000 คน และพบผู้ป่วยเสียชีวิตในทุกปี
จากสถานการณโรคไขเลือดออกในพื้นที่ภาคใต้ ปี พ.ศ. 2553 มีจานวนผู้ปว่ ยทั้งสิ้น 28,572 ราย (อัตราป่วยเท่ากับ
324.17 ต่อประชากรแสนคน) และผู้เสียชีวิต 60 ราย (อัตราตายเท่ากับ 0.68 ต่อประชากรแสนคน) ซึ่งสูงกว่าภาค
อื่น ๆ เนื่องจากโรคไขเลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ (Dengue virus) และยังไมมีวัคซีนใช้ป้องกัน การป้องกัน
ควบคุมโรคไขเลือดออกจึงมุ่งเน้นไปที่การควบคุมพาหะนาโรค ซึ่งมียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นแมลงพาหะ
นาโรคไข้เลือดออก (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2543) ดังนั้น แนวทางป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก คือ
การควบคุมยุงพาหะนาโรค สามารถทาได้หลายวิธี เช่น การทาลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การป้องกันยุงกัดโดยใช้มุ้ง
การใช้ทายากันยุง การใช้สารฆ่าแมลงแบบพ่นหมอกควัน หรือใช้สารฆ่าแมลงเทมีฟอส (ทรายอะเบท) ฆ่าลูกน้า
ยุงลาย (กรมควบคุมโรค, 2552) ซึ่งการใช้สารฆ่าแมลงเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข เทศบาล องค์การบริหารส่วนตาบล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ทั่วประเทศ ได้สั่งซื้อสารฆ่าแมลงคิดเป็นมูลค่านับพันล้านบาทต่อปี ซึ่งสารออกฤทธิ์ (Active ingredient) ของสาร
ฆ่าแมลงดังกล่าวต้องนาเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบรายงานการสร้างความต้านทานของลูกน้า
ยุงลายต่อสารเคมีดังกล่าวทั้งในและต่างประเทศ (Saelim et al., 2005; Wirth and Georghiou, 1999; Braga et
al., 2004) ดังนั้น การป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามากัด น่าเป็นมาตรการที่สาคัญในการควบคุมโรคนี้ ในปัจจุบันมีสารสกัด
จากพืชหลายชนิดที่ได้นามาศึกษา และคาดว่ามีคุณสมบัติในการไล่ยุง ได้แก่ สะเดา (Azadirachta indica A. Juss)
แมงลัก (Ocimum americanum) ขมิ้นชัน (Curcuma longa) มะกรูด (Citrus hystrix) ตะไคร้หอม
(Cymbopogon winterianus) กานพลู (Syzygium aromaticum L.) ข่า (Alpinia galangal L.) ทาย์ม (Thymus
vulgaris L.) (Barnard 1999, Tawansin et al. 2000)
การป้องกันการระบาดของโรคติดต่อนาโดยแมลง โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกนั้น การควบคุมยุงพาหะนา
โรคสามารถทาได้หลายวิธี เช่น การทาลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การป้องกันยุงกัดโดยใช้มุ้ง การใช้ยาทากันยุง การใช้
สารเคมีกาจัดแมลงพ่นเคมีแบบหมอกควันหรือแบบฝอยละออง และการใช้สารเคมีกาจัดลูกน้ายุงลาย ซึ่งการใช้
สารเคมีกาจัดแมลงดังกล่าวเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เห็นได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวง
สาธารณสุข เทศบาล องค์การบริหารส่วนตาบล และองค์การบริหารส่วนจังหวัดทัว่ ประเทศ ได้สั่งซื้อสารกาจัด
แมลงคิดเป็นมูลค่านับพันล้านบาทต่อปี ซึ่งสารออกฤทธิ์ (Active ingredient) ของสารเคมีดังกล่าวต้องนาเข้าจาก
ต่างประเทศทั้งหมด เพื่อใช้ในการผลิตสารเคมีกาจัดแมลง นอกจากนี้ ยังพบรายงานการสร้างความต้านทานของ
ทั้งตัวเต็มวัยและลูกน้ายุงลายต่อสารเคมีดังกล่าวทั้งในและต่างประเทศ เมื่อพิจารณามาตรการในการป้องกันการ
ระบาดของยุงลาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่นิยมใช้สารฆ่าแมลงดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉีดพ่นหมอกควัน
หากฉีดพ่นบ่อยๆ ก็จะเป็นตัวเร่งให้ยุงลายสร้างความต้านทานต่อสารเคมีเร็วขึ้นและเพิ่มระดับความต้านทานสูงขึ้น
นอกจากนี้ มีการใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ในการไล่ยุง รูปแบบของสารเคมีไล่แมลงในทางการค้าที่มีอยู่ทั่วไปในตลาดส่วน
ใหญ่จะประกอบด้วย สาร DEET (N,N-diethyl-3-methylbenzamide) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงและแมลงกัด
เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาความเป็นพิษต่อมนุษย์หลังจากการใช้ DEET มีความแตกต่างกันไป ตั้งแต่อย่าง
อ่อนถึงรุนแรง (Qui et al. 1998) ดังนั้น การที่จะหลีกเลี่ยงผลที่เป็นอันตรายเหล่านี้ จึงหาสารไล่แมลงที่มาจากสาร
สกัดจากพืชมาแทน DEET
2

การวิจัยและพัฒนาแนวทางอื่น ๆ เพื่อเป็นทางเลือกในการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด จึงเป็นสิ่งจาเป็นเพื่อจะ


ลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีกาจัดแมลงดังกล่าวข้างต้นแล้ว ทั้งยังช่วยลดการนาเข้าและลดอันตรายจาก
สารเคมีกาจัดแมลงที่อาจจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยส่งผล
กระทบต่อมนุษย์ไมว่าจะเป็นปัญหาพิษเฉียบพลันหรือพิษเรื้อรังต่อผู้ใช้โดยตรง ตลอดจนการเกิดมลพิษต่อ
สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยุงพาหะมีวิวัฒนาการเพื่อการอยูรอด เช่น การสร้างความต้านทานต่อสารเคมี เป็นต้น
การใช้พืชสมุนไพรในการควบคุมพาหะนาโรคไขเลือดออก และการป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามากัด จึงเป็น
ทางเลือกหนึ่งที่สามารถนามาทดแทนการใช้สารเคมี ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น หาไดง่าย สะดวก และไม่มีฤทธิ์
ตกค้างในสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยุงพาหะนาโรคยังไมมีวิวัฒนาการสร้างความต้านทาน ทาให้ลดปัญหาการดื้อต่อ
สารเคมี ลดภาวะเสี่ยงที่เกิดจากการใช้สารเคมีของผู้สัมผัสสารเคมี รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการนาเขาสารเคมีจาก
ต่างประเทศ
สมุนไพรหรือพืชพื้นบ้านหลายชนิดที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ตะไคร้หอมหรือไพล มีสารเคมีที่สามารถ
ใช้ในการป้องกันการกัดของยุงได้ และมีการศึกษาพบว่า ในเนื้อไม้สักมีสารกลิ่นฉุน เรียกว่า สารเทคโทควิโนน
(Tectoquinone) มีประโยชน์ในการขับไล่แมลงศัตรูพืชได้ โดยสาเนาว์ ฤทธิ์นชุ จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
ชัยนาท ได้ค้นพบวิธีการสกัดสารเทคโทควิโนนจากต้นสัก นาไปใช้ประโยชน์ในการขับไล่แมลงศัตรูพืชได้ โดยนาขี้
เลื่อยไม้สักที่ยังใหม่ ๆ หรือจะเป็นขี้เลื่อยที่เก็บรักษาไว้ในถุงที่ปิดสนิท ไม่ให้อากาศและความชื้นเข้ามาสกัดสาร
ควรเป็นขี้เลื่อยจากไม้สักทอง เพราะจะให้สารเทคโทควิโนนมากที่สุด หากไม่มีขี้เลื่อยให้ใช้กิ่งไม้สักทองสับเป็นชิ้น
เล็กๆ มาใช้สกัดก็ได้ วิธีการเริ่มจากตวงขี้เลื่อยไม้สักทองให้ได้ 1 ลิตร ใส่ลงในขวดพลาสติก แล้วเท ethanol 95%
จานวน 2 ลิตร ลงไป ปิดฝาหมักทิ้งไว้ในที่ไม่โดนแสงแดด นานประมาณ 1 เดือนขึ้นไป ก็จะได้สารเทคโทควิโนนจาก
ต้นสัก ซึ่งใช้ต้นทุนการสกัดเพียงลิตรละ 90 บาท เมื่อจะนาไปใช้ ก็ให้กรองเอากากออก นาสารสกัดที่ได้ 100 ซีซี
ผสมกับน้าสะอาด 200 ลิตร นาไปฉีดพ่นในแปลงปลูกพืชทุก 1-2 สัปดาห์ ใช้ได้ทั้งนาข้าว พืชผัก ไม้ดอก และไม้ผล
สามารถขับไล่ศัตรูสาคัญ เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้าตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียวในนาข้าว รวมไปถึงหนอน และตั๊กแตน
หรือจะผสมน้านาไปใช้รดต้นพืช ป้องกันศัตรูในดิน เช่น มด มอด และปลวก สารเทคโทควิโนนดังกล่าว มี
ประสิทธิภาพในการขับไล่แมลงศัตรูพืชได้ดีกว่าสารสกัดจากพืชสมุนไพรทั่วไป แต่ใช้ได้เฉพาะป้องกันศัตรูพืชไม่ให้
มารบกวน ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าศัตรูพืช จึงควรใช้ก่อนที่จะมีแมลงเข้าทาลาย (ตามทันเกษตร, 2553)
ดังนั้น การวิจัยและพัฒนาแนวทางอื่น ๆ เพื่อเป็นทางเลือกในการควบคุมป้องกันยุงลายจึงเป็นสิ่งจาเป็น
และใช้สารสกัดจากพืชที่มีประสิทธิภาพในการไล่ยุง ป้องกันไม่ให้ยุงกัด นอกจากจะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ
ใช้สารเคมีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังช่วยลดการนาเข้าและลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากไม้สักในการไล่ยุงลาย ซึ่งหากสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ในการไล่ยุงได้ ก็จะเป็น
ทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าการใช้สารเคมีให้ประสิทธิผลที่ดี ต้นทุนต่า แต่ต้อง
นาเข้าสารดังกล่าวจากต่างประเทศ หากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นภายในประเทศมาใช้
ประโยชน์ และในอนาคตมีการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ ก็จะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ใช้วัตถุดิบ
ภายในประเทศและพึ่งพาตนเองได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นด้วย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาฤทธิ์ไล่ยุงของสารสกัดจากสักต่อยุงลายบ้าน
ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตด้านพื้นที่
ดาเนินการศึกษาในห้องปฏิบัติการ โดยศึกษาวิธีการสกัดสารจากสัก และทดสอบฤทธิ์ในการไล่ยุงลายบ้าน
ของสารสกัดจากสัก โดยมีขอบเขตของงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
3

1) การสกัดสารจากสัก ดาเนินการที่ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยา ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะ


ทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2) การทดสอบฤทธิ์การไล่ของสารสกัดจากสักต่อยุงลายบ้าน ดาเนินการที่ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยา
ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
ขอบเขตด้านเวลา
เดือนตุลาคม 2554 ถึงกันยายน 2555
ประโยชน์ทคี่ าดว่าจะได้รับ
1. หากสารสกัดจากสักมีประสิทธิผลในการไล่ยุงได้ ก็สามารถนาสารสกัดจากสักไปพัฒนาต่อยอดและ
ประยุกต์ใช้ในการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงลายพาหะนาโรคมากัดคน เป็นการลดการสัมผัสระหว่างคนกับยุงพาหะนา
โรค ช่วยทาให้ไม่ป่วยเป็นโรคติดต่อนาโดยแมลง ซึ่งได้แก่ โรคไข้เลือดออก มาลาเรีย เท้าช้าง และชิคุนกุนยา เป็น
ต้น โดยจะต้องศึกษาประสิทธิผลในการไล่ยุงจากสารสกัดจากสักในคนต่อไป
2. หากสารสกัดจากสักมีประสิทธิผลในการไล่ยุงในคน สามารถนาไปพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม
เช่น โลชัน น้ามันหอมระเหย สเปรย์ ฯ แล้วนาไปใช้ในการป้องกันยุงพาหะนาโรคต่อไป
3. วัสดุที่ใช้ในการสกัดสาร คือ ขี้เลื่อยสัก เป็นวัสดุเหลือใช้แล้ว สามารถนามาให้เกิดประโยชน์ได้ เป็น
การเพิ่มมูลค่าของขี้เลื่อย แทนที่จะทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ หากมีการพัฒนาวิธีการสกัดที่ง่าย ๆ ก็
สามารถถ่ายทอดให้แก่ชุมชนที่จะนาไปผลิตใช้กันต่อไป
นิยามศัพท์เฉพาะ
การแช่ยยุ่ (maceration) เป็นกระบวนการสกัดสาระสาคัญจากพืชโดยวิธีการหมักสมุนไพรกับตัวทา
ละลายในภาชนะที่ปิด เช่น ขวดปากกว้าง ขวดรูปชมพู่ หรือโถ เป็นต้น ทิ้งไว้ 5-7 วัน หมั่นเขย่าหรือคนบ่อย ๆ เมื่อ
ครบตามกาหนดเวลาจึงค่อย ๆ รินเอาสารสกัดออก พยายามบีบสารละลาย ออกจากกากให้มากที่สุด รวมสารสกัด
ที่ได้นาไปกรอง การสกัดถ้าจะสกัดให้หมดจด อาจจาเป็นต้อง สกัดหลาย ๆ ครั้ง วิธีนี้มีข้อดีที่สารไม่ถูกความร้อน
แต่เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองตัวทาละลายมาก
การสกัดด้วยวิธี Soxhlet (Soxhlet extraction) เป็นวิธีที่ใช้ความร้อนในการสกัด และต้องอาศัยการ
ควบแน่นเข้าช่วย เป็นวิธีการสกัดแบบต่อเนื่อง ตัวทาละลายจะต้องมีจุดเดือดต่า เมื่อระเหยจะนาสารจากพืช
สมุนไพรไปด้วย จากนั้นเมื่อถูกความเย็นก็จะกลั่นตัวลงใน Thimble ซึ่งบรรจุสมุนไพรไว้ เมื่อทาตัวละลายใน
extracting chamber สูงขึ้นถึงระดับกาลักน้า สารสกัดจะไหลกลับไปในขวดรูปชมพู่ด้วยวิธีกาลักน้า ทาตัวละลาย
ก็ระเหยขึ้น แล้วกลั่นตัวกลับมาเป็นตัวทาลายสกัดสารใหม่วนเวียนไป การใช้ความร้อนอาจทาให้สารที่ระเหยง่าย
ระเหยออกไป จึงไม่เหมาะกับการสกัดสารจากพืชสมุนไพรที่มีสารที่ระเหยง่ายเป็นองค์ประกอบ วิธีการสกัด
แบบต่อเนื่องนี้เหมาะสมสาหรับการสกัดสารองค์ประกอบที่ทนต่อความร้อน และใช้ตัวทาลายน้อยไม่สิ้นเปลือง แต่
มีข้อเสีย คือ ไม่เหมาะที่จะใช้กับองค์ประกอบที่ไม่ทนต่อความร้อน และตัวทาละลายไม่ควรเป็นของผสม เพราะจะ
เกิดการแยกของตัวทาละลายแต่ละชนิด เนื่องจากมีจุดเดือดต่างกันจะมีผลให้สัดส่วนของตัวทาละลายแตกต่างไป
จากเดิม
สารสกัดหยาบ (Crude extract) หมายถึง สารสกัดเบื้องต้นจากสมุนไพรทีย่ ังไม่ถึงขัน้ สารบริสุทธิ์
กรรมวิธีการสกัดไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรงหรือต้องผ่าน กรรมวิธีผลิตก่อนทีจ่ ะนาไป
ทาผลิตภัณฑ์
ชุดทดสอบ Excito-Repellency assay (Chareonviriyaphap et al. 2002) ชุดอุปกรณ์นี้ ประกอบด้วย
1) ฝาครอบกล่องด้านนอก (rear door cover) 2) ฝากล่องด้านใน (Plexiglas with rubber-sealed door) ทาด้วย
แผ่นอะครีลิกใสที่เจาะตรงกลางเป็นช่องวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 11.5 เซนติเมตร ซึ่งช่องกลมนี้จะถูกปิดด้วยแผ่น
ยางสองแผ่นที่วางซ้อนทับกันเล็กน้อย เพื่อเป็นประตูสาหรับสอดเอายุงใส่เข้าไปกล่องและป้องกันยุงที่ใส่เข้าไปใน
4

กล่องแล้วหนีออกมาทางช่องนี้ 3) กรอบครอบแผ่นอะครีลิก (Plexiglas holding frame) 4) แผ่นมุ้งลวดด้านใน


สาหรับติดตั้งกระดาษทดสอบ (screened inner chamber) แต่ละแผ่นมีขนาด 22.5 x 19 ตารางเซนติเมตร ทั้ง 4
แผ่นสามารถประกอบกันเป็นโครงกล่องสี่เหลี่ยมเปิดหน้าเปิดหลังได้ 5) ผนังกล่องด้านนอก (outer chamber) เป็น
แผ่นสแตนเลสทึบ 4 แผ่นสามารถประกอบกันเป็นโครงกล่องสี่เหลี่ยมเปิดหน้าเปิดหลังได้ แต่ละด้านมีขนาด 23 x
23 ตารางเซนติเมตร 6) ฝาครอบด้านหน้า (front panel) เป็นฝาสแตนเลสที่มีช่องทางออกของยุงติดไว้ด้วย และ 7)
ช่องทางออกของยุง (exit portal) ซึ่งชิ้นส่วนที่เป็นโลหะทั้งหมดต้องทาด้วยแตนเลส เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิมและ
สามารถใช้อะซีโตนทาความสะอาดได้ นอกจากนี้ยังมีกล่องกระดาษทาขึ้นมาต่างหากเพื่อให้ยุงที่หนีออกจากกล่อง
ทดสอบเข้ามาหลบ และเป็นกล่องที่ใช้นับยุงที่หนีออกมาแต่ละนาที โดยกล่องนี้ทาขึ้นมาโดยใช้กระดาษแข็ง 5 ด้าน
ส่วนด้านบนจะใช้แผ่นพลาสติกใสแทนเพื่อให้มองเห็นยุง ทางด้านหน้าของกล่องจะเจาะทาช่องเพื่อสอด mouth
aspirator เข้าไปดูดยุงออกได้ กล่องนี้มีขนาด 8 x 8 x 8 ลูกบาศก์นิ้ว

1) rear door cover 2) Plexiglas with rubber-sealed door 3) Plexiglas holding frame 4) screened inner chamber
5) outer chamber 6) front panel 7) exit portal
รูปที่ 1 เครื่องมือทดสอบ Excito-Repellency assay
ที่มา: Noosidum et al., 2008
5

บทที่ 2
ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทาการรวบรวม ค้นคว้าข้อมูล ทั้งจากเอกสาร หนังสือราชการ วารสารและ


บทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในครั้งนี้ โดยทาการศึกษาในประเด็นดังต่อไปนี้
1. ทบทวนวรรณกรรม
1) การสกัดสารสมุนไพรจากพืช
2) สัก
3) การศึกษาพฤติกรรมการหลีกหนีสารเคมีในยุงพาหะ
2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทบทวนวรรณกรรม
การสกัดสารสมุนไพรจากพืช (Supamonproduct. 2554) สามารถทาได้ 3 วิธีดว้ ยกัน คือ
1. Maceration วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยทาการคัดเลือกตัวทาละลายที่เหมาะสมกับสารใน
พืชสมุนไพรแล้วนาพืชสมุนไพรไปใส่ไว้ในภาชนะที่ปิด เช่น ขวดปากกว้าง ขวดปากชมพู่หรือโถ ทาการเขย่าเป็น
เวลา และแช่ไว้อย่างน้อย 7 วัน จากนั้นนามากรอง แล้วบีบเอาสารสกัดออกมาจากกากสมุนไพรให้ได้มากที่สุด นา
สารละลายสมุนไพรที่ได้ไปทาการกรองเอาเศษสมุนไพรที่ติดออกให้หมด แล้วจึงนาสารที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป วิธี
นี้มีข้อดี คือ สารสกัดจะไม่ถูกความร้อน ทาให้โอกาสในการสลายตัวของสารสกัดลดลง ข้อเสียของวิธีนี้ คือ จะ
สิ้นเปลืองตัวทาละลายมาก
2. Soxhlet extraction เป็นวิธีที่ใช้ความร้อนในการสกัดและต้องอาศัยการควบแน่นเข้าช่วย เป็นวิธีการ
สกัดแบบต่อเนื่อง ตัวทาละลายจะต้องมีจุดเดือดต่า เมื่อระเหยจะนาสารจากพืชสมุนไพรไปด้วย จากนั้นเมื่อถูก
ความเย็นก็จะกลั่นตัวลงใน Thimble ซึ่งบรรจุสมุนไพรไว้ เมื่อทาตัวละลายใน extracting chamber สูงขึ้นถึง
ระดับกาลักน้า สารสกัดจะไหลกลับไปในขวดรูปชมพู่ด้วยวิธีกาลักน้า ทาตัวละลายก็ระเหยขึ้น แล้วกลั่นตัวกลับมา
เป็นตัวทาลายสกัดสารใหม่วนเวียนไป การใช้ความร้อนอาจทาให้สารที่ระเหยง่ายระเหยออกไป จึงไม่เหมาะกับการ
สกัดสารจากพืชสมุนไพรที่มีสารที่ระเหยง่ายเป็นองค์ประกอบ วิธีการสกัดแบบต่อเนื่องนี้เหมาะสมสาหรับการสกัด
สารองค์ประกอบที่ทนต่อความร้อน และใช้ตัวทาลายน้อยไม่สิ้นเปลือง แต่มีข้อเสีย คือ ไม่เหมาะที่จะใช้กับ
องค์ประกอบที่ไม่ทนต่อความร้อน และตัวทาละลายไม่ควรเป็นของผสม เพราะจะเกิดการแยกของตัวทาละลายแต่
ละชนิด เนื่องจากมีจุดเดือดต่างกันจะมีผลให้สัดส่วนของตัวทาละลายแตกต่างไปจากเดิม
3. Extraction of volatile oil ใช้สาหรับการสกัดน้ามันหอมระเหยโดยวิธีการต่าง ๆ หลายวิธี เลือกใช้
ตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด เช่น การดูดซับ การใช้ตัวทาละลาย วิธีการบีบ การกลั่นโดยน้าหรือไอน้า
สัก (Aradhana et al, 2010)
สัก (Tectona grandis Linn.) มีสามัญภาษาอังกฤษว่า Teak เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีการผลัดใบปีละครั้ง
เปลือกมีสีน้าตาลอ่อน ขนาดความสูงประมาณ 20-35 เมตร จัดอยู่ในวงศ์ Verbenaceae ซึ่งต้นสักทั้งต้นมี
คุณสมบัติเป็นยาที่สาคัญ โดยมีรายงานมากมายที่ได้อ้างอิงใช้ในการรักษาโรคได้หลากหลาย ทั้งในหนังสือตารา
โบราณของฮินดูที่มีการรวบรวมไว้ และขนบธรรมเนียมความเชื่อของชาวอินเดีย ในประเทศอินเดีย มีการใช้
ประโยชน์จากสักเป็นสมุนไพรที่สืบเนื่องกันมาตามธรรมเนียม ดังนี้
1. เนื้อไม้ (Wood): ระงับประสาท (Sedative), กาจัดหนอนพยาธิ (Anthelmintic), โรคริดสีดวงทวาร
(piles), รักษามดลูกในหญิงตั้งครรภ์ (in the treatment of gravid uterus), ผิวด่างขาว (Leucoderma), โรคบิด
(dysentery), อาการปวดหัว (headache), burning pain over liver region, antiinflammatory, ยาแก้ปวด
(anodyne), ยาฆ่าหนอนพยาธิ (vermifuge), ยาเกี่ยวกับตา (ophthalmic), depurative, ยาระบาย (laxative),
6

vitiated conditions of pitta & kapha, อาการปวดประสาท (neuralgia), ข้ออักเสบ (arthritis), อาหารไม่ย่อย
(dyspepsia), อาการท้องอืด (flatulence), ไอ (cough), โรคผิวหนัง (skin diseases), โรคเรื้อน (leprosy), ภาวะ
กรดมาก (hyperacidity), อาการปวดระดู (menorrhagia), ระดูขาว (leucorrhoea), แท้งลูก (abortion), ริดสีดวง
ทวาร (hemorrhoids), antibilious and lipid disorders.
Paste made from the wood is used as a ยาขับปัสสาวะ (diuretic), ยาบารุง (stimulant),
hepatic, ยาสมนา (astringent), บรรเทาอาการปวดฟัน (relief from tooth ache)
Wood ash is applied to the swollen eyelids to strengthen the eye sight.
น้ามันที่ได้จากเศษไม้ ใช้รักษาโรคเรื้อนกวาง (eczema)
2. ราก (Root): .ใช้ในการรักษาภาวะไร้ปัสสาวะ (anuria) และกั้นปัสสาวะ (urine retention)
3. ใบ (Leaves): ใช้ในการมุงหลังคา ห้ามเลือด (haemostatic), depurative, ยาแก้อักเสบ (anti-
inflammatory), vulnery, โรคผิวหนัง (skin diseases), โรคเรื้อน (leprosy), puritus, ปากอักเสบ (stomatitis),
indolent ulcers, อาการเลือดไหลไม่หยุด (hemorrhages), การไอเป็นเลือด (Haemoptysis), vitiated
conditions of pitta
4. เมล็ด (Seed): ขับปัสสาวะ (Diuretic), สารทาให้นุ่มและชุมชื้น (emollient), ยาบรรเทาระคาย
(demulcent), โรคผิวหนัง (skin diseases), prurities and in vitiated conditions of vata
น้ามันจากเมล็ดใช้ในการปลูกผม และใช้รักษาโรคเรื้อนกวาง (eczema), ขี้กลาก (ringworm) โรคหิด
(scabies)
5. เปลือก (Bark): โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis), อาการท้องผูก (Constipation), Anthelmentic,
Depurative, ภาวะกรดมาก (hyperacidity), โรคบิด (dysentery), การติดหนอนพยาธิ (verminosis), burning
sensation, โรคเบาหวาน (diabetes), โรคเรื้อน (leprosy), โรคผิวหนัง (skin diseases), leucoderma, อาการปวด
หัว (headache), โรคริดสีดวงทวาร (piles), ยาระบาย (laxative), ยาขับเสมหะ (expectorant), ยาแก้อักเสบ (anti-
inflammatory), ไฟธาตุพิการ (indigestion), ยาขับพยาธิ (expels worms from the body) และ in vitiated
conditions of pitta.
6. ดอก (Flowers): โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis), biliousness, urinary discharge, ยาขับปัสสาวะ
(diuretic), depurative, ยาแก้อักเสบ (anti-inflammatory), burning sensation, dipsia, โรคเรือ้ น (leprosy), โรค
ผิวหนัง (skin diseases), อาการปวดขัดเบา (strangury), โรคเบาหวาน (diabetes) และ vitiated conditions of
pitta and kapha.
น้ามันจากดอกใช้ในการปลูกผม และรักษาโรคหิด (scabies) โรคเรื้อนกวาง (eczema)
Infusion of flowers is taken in congestion of liver.
7. ผล (Fruits): ยาขับปัสสาวะ (diuretic), demulcent, อาการปวดขัดเบา (strangury), นิ่ว (vesicle
calculi), pruritus, ปากอักเสบ (stomatitis)
All the parts of the plant seeds, flowers, fruits, wood, bark, roots, and leaves are useful
either alone or along with other plants for many applications.
องค์ประกอบทางเคมีที่พบในใบสัก
1. Quinones: Tectoquinone, lapachol, deoxylapachol and its isomer, tectoleafoquinone,
anthraquinone – napthaquinone pigment.
2. Steroidal compounds: Squalene, poly isoprene-α -tolyl methyl ether, betulinic acid,
tecto grandone, monoterpene, Apocarotenoids: Tectoionols-A, Tectoionols-B.
3. Glycosides: Anthraquinone glycosides
4. Phenolic acids: Tannic acid, Gallic acid, Ferulic acid, Caffeic acid and ellagic acid.
7

5. Flavonoids: Rutin and Quercitin


องค์ประกอบทางเคมีที่สาคัญที่ทาให้ไม้สักมีความทนทานตามธรรมชาติ คือ Tectoquinone, Lapachol
และ Deoxylapachol โดยจะพบในส่วนของแก่นเป็นส่วนใหญ่ และจะมีปริมาณมากขึ้นเมื่อไมมีอายุมากขึ้น จาก
รายงานการศึกษาการกระจายของสารแทรกในไม้สักจากป่าธรรมชาติ พบว่า ปริมาณเทคโทควิโนนที่พบในแก่นไม้
สักป่าธรรมชาติจากจังหวัดกาญจนบุรี จะมีค่าระหว่าง 0.2-1% และปริมาณเทคโทควิโนนที่พบในแก่นไม้สักป่า
ธรรมชาติจากจังหวัดลาปาง มีคา่ ระหว่าง 0.2-0.7% (Premrasmi and Dietrichs, 1967; Simatupang, 1999) และ
จากการศึกษาถึงผลของเทคโทคิวโนนที่มีต่อปลวกใต้ดินชนิด Coptotermes gestroi พบว่า เทคโทคิวโนนมีผล
ยับยั้งการกินอาหารของปลวกชนิดนี้ได้ แล้วทาให้ปลวกตายในเวลาต่อมา แต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ความเป็นพิษ
โดยตรงถึงขั้นทาให้ปลวกตาย (ทรรศนีย์ และยุพาพร ,2546)
การศึกษาพฤติกรรมการหลีกหนีสารเคมีในยุงพาหะ
การศึกษาพฤติกรรมการต้านสารเคมีฆ่าแมลงในยุงพาหะนาโรคมาลาเรีย จัดเป็นสาขาหนึ่งของกีฏวิทยา
ทางการแพทย์ที่มีความจาเป็นอย่างยิ่งสาหรับนักกีฏวิทยาทางแพทย์ และนักวิชาการควบคุมโรคติดต่อ ในการ
นามาประกอบใช้ในการควบคุมยุงพาหะนาโรค เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการวางแผนควบคุม ปัจจุบันยังมี
การศึกษาทางด้านพฤติกรรมการต้านสารเคมีฆ่าแมลงในยุงพาหะนาโรคมาลาเรีย ทั้งนี้อาจอันเนื่องมาจากขาด
แคลนอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพดีพอ ส่งผลให้การประเมินหรือสรุปผลงานทางด้านกีฏวิทยาทางด้านการป้องกัน
ควบคุมยุงพาหะนาโรคไม่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องเท่าที่ควร เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมการต้านสารเคมีฆ่าแมลง
ในยุงพาหะนาโรคมาลาเรีย ผู้เรียบเรียงได้ออกแบบกล่องบ้านจาลอง ซึ่งสามารถใช้ศึกษาพฤติกรรมการตอบสนอง
ของยุงพาหะนาโรคมาลาเรียที่มีต่อดีดีทีและไพรีทรอยด์สังเคราะห์ โดยให้ขาส่วนปลายที่เรียกว่า tarsi ของยุงพาหะ
มีโอกาสได้สัมผัสกับสารเคมีโดยตรง (physical contact with chemical) และโดยที่ tarsi ของยุงพาหะที่
ทาการศึกษาไม่มีโอกาสที่สัมผัสกับสารเคมี (without physical contact) ภายในกล่องมีกล่องชั้นใน ซึ่งทาด้วยตา
ข่ายและสามารถพับเก็บได้ ซึ่งบ้านจาลองหลังเล็ก ๆ หลังนีช้ ว่ ยอธิบายบทบาทและกลไกที่แท้จริงของยุงพาหะนา
โรคมาลาเรียที่มีตอ่ ดีดีที และไพรีทรอยด์สังเคราะห์ (อาทิ ยุงพาหะใช้เวลาในการเข้ากัดกินเหยื่อนานเพียงไร) และ
การศึกษาครั้งนี้ ทาการประเมินประสิทธิภาพของสารไพรีทรอยด์สังเคราะห์ทั้งเพอร์เมทรินและเดลต้าเมทรินที่มีต่อ
ยุงพาหะนาโรคมาลาเรีย ซึ่งนามาใช้เป็นมาตรการเสริมหรือทดแทนการใช้ดีดีที ซึ่งมีแนวโน้มที่เลิกใช้ในอนาคต
อันใกล้นี้
การศึกษาพฤติกรรมการหลีกหนีสารเคมีในยุงพาหะได้เริ่มศึกษาครั้งแรกอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ. 2503 โดย
นักกีฏวิทยา ชื่อ Muirhead Thomson ในปี พ.ศ. 2506 โดย Culuzzi ในปี พ.ศ. 2507 โดย Busvine และในปี พ.ศ.
2515 โดย Elliott อย่างไรก็ตามเครื่องมือที่ได้ผลิตและถือว่าได้บุกเบิกศาสตร์ด้านพฤติกรรมการหลีกหนีสารเคมี
เพื่อใช้ในการศึกษาพฤติกรรมของยุงก้นปล่อง คือ ชุดทดสอบของ Coluzzi ในปี พ.ศ. 2506 เป็นอุปกรณ์ง่าย ๆ โดย
ใช้ไม้ทาเป็นกล่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ และมีประตูเลื่อนปิดเปิดเพื่อให้ยุงได้บินเข้าและบินออก ต่อมากล่องสี่เหลี่ยมเล็ก
ๆ นี้ได้ปรับปรุงโดยนักวิทยาศาสตร์ ชื่อ Rachou และได้ใช้ชื่อกล่องนี้ว่า “excito-repellency test box” ต่อมาได้
มีการพัฒนากล่องทดสอบเป็น “เครื่องมือทดสอบ” เพิ่มเติมโดย Charlwood และ Paraluppi ในปี พ.ศ. 2511
หลังจากนั้นการศึกษาพฤติกรรมการหลีกหนีได้หยุดชะงักไปเป็นเวลานานพร้อม ๆ กับมีคนป่วยตายด้วยโรคมาลาเรีย
เป็นจานวนมาก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ชื่อ Roberts ได้กลับมาทบทวนศาสตร์
ด้านนี้ใหม่อีกครั้ง โดยพร้อมกับได้ออกแบบเครื่องมือทดลองพฤติกรรมการหลีกหนีที่ทาด้วยไม้ เพื่อใช้ในการศึกษา
พฤติกรรมของยุงก้นปล่อง อย่างไรก็ตามงานวิจัยด้านนี้ยังคงไม่คืบหน้ามากนัก โดยปัญหาที่สาคัญมาจากเครื่องมือ
ศึกษาที่ด้อยคุณภาพ และไม่ได้จาแนกพฤติกรรมที่แท้จริงของยุงพาหะ ดังได้กล่าวมาแล้วว่า พฤติกรรมการหลีก
หนีสารเคมีทเี่ กิดขึ้นจริงๆ ได้จาแนกเป็น 2 ประเภท คือ หลีกหนีก่อนการสัมผัสสารเคมี (repellency) และหลีกหนี
หลังจากการสัมผัสสารเคมี (irritancy) (Roberts et al. 1997)
8

ในปี พ.ศ. 2540 Roberts ได้พัฒนาเครื่องมือทดสอบพฤติกรรมการหลีกหนีและทดสอบประสิทธิภาพการ


ทางานของสารเคมีควบคู่กันไป เครื่องมือชนิดนี้สามารถอธิบายการทางานของสารเคมีได้อย่างสมบูรณ์แบบ และได้
ใช้ครั้งแรกโดยนักกีฏวิทยาชาวไทยในการทดสอบกับยุงก้นปล่องจากทวีปอเมริกากลางและใต้ พบว่าเป็นการศึกษา
ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในขณะนั้น อย่างไรก็ตามเครื่องมือชนิดนี้ไม่สะดวกในการนาไปใช้ในภาคสนาม และใช้เวลานาน
ในการทดลองแต่ละครั้ง ในปี พ.ศ. 2544 ธีรภาพ และคณะ ได้ปรับปรุงเครื่องมือชนิดนี้เพื่อความสะดวกและง่ายใน
การใช้งานทั้งในภาคสนามและในห้องปฏิบัติการ โดยให้ชื่อเครื่องมือชนิดใหม่นี้ว่า Excito-Repellency Escape
Chamber หรือเรียกย่อ ๆ ว่า EREC เป็นเครื่องมือทดสอบ (test kit) สาหรับตรวจหาการต้านทานสารเคมีเชิง
พฤติกรรมในยุงพาหะนาโรคมาลาเรีย test kit 1 ชุด ประกอบไปด้วย
1. Collapsible escape chamber จานวน 4 กล่อง มี 2 กล่องสาหรับ treatment (physical contact
with chemical และ without physical contact with chemical) และ 2 กล่องสาหรับ control [กระดาษที่ไม่มี
สารฆ่าแมลง จานวน 2 กล่อง (control สาหรับ physical contact และ control สาหรับ without physical
contact)] พร้อมที่เก็บ (cage) (ตารางที่ 1)
2. กล่องรับยุง จานวน 4 ชิ้น (receiving cages)
3. หลอดดูดยุงจานวน 1 อัน (aspirator)
4. กระดาษชุบสารเคมีสั่งจากองค์การอนามัยโลก (WHO impregnated paper)
ตารางที่ 1 การออกแบบการทดลองสาหรับทดสอบพฤติกรรมการหลีกหนีสารเคมี
กระดาษที่บุ สัมผัสหรือไม่สัมผัสกับกระดาษที่บุภายในกล่อง
ภายในกล่อง สัมผัส ไม่สัมผัส
ชุบสารเคมี  
ไม่ชุบสารเคมี  
ที่มา: Chareonviriyaphap et al., 2002

รูปที่ 2 กล่องทดสอบการต้านทานสารเคมีฆ่าแมลงเชิงพฤติกรรมในยุงพาหะนาโรคมาลาเรียชนิดพับเก็บได้ (EREC)


ที่มา: Chareonviriyaphap et al., 2002
9

เครื่องมือทดสอบการต้านทานต่อสารเคมีในเชิงพฤติกรรมชนิดนี้ เรียกว่า "กล่องทดสอบพฤติกรรมการ


หลีกหนีของยุงพาหะนาโรคมาลาเรียที่มีต่อสารเคมีฆ่าแมลง" (Excito-Repellency Escape Chamber หรือ เรียกว่า
EREC) (รูปที่ 2) การออกแบบกล่องทดสอบดังกล่าวผู้ออกแบบได้เลียนแบบบ้านหรือกระท่อมในธรรมชาติที่สร้างใน
ท้องที่ที่มีไข้มาลาเรียระบาด บ้านหรือกระท่อมจาลองหลังเล็ก ๆ ที่ออกแบบนี้ทาด้วยสแตนเลส มีประตูทางเข้า
และหน้าต่างอย่างละหนึ่งช่องทาง ภายในบ้านหรือกระท่อมจาลองหลังนี้ออกแบบไว้สาหรับบุหรือฉาบกระดาษที่
ชุบด้วยสารเคมี โดยยึดติดกับผนังด้านในกับอุปกรณ์ชนิดพิเศษ บ้านหรือกระท่อมจาลองหลังนี้มีลักษณะพิเศษ
สาหรับไว้ศึกษาในกรณีที่ป้องกันไม่ให้ยุงได้มีโอกาสสัมผัสกับสารเคมีเลย และติดตามดูพฤติกรรมที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ
กันกับกรณีตรงข้าม บ้านจาลองหลังเล็ก ๆ หลังนี้ จะช่วยอธิบายบทบาทและกลไกที่แท้จริงทางด้านพฤติกรรมการ
ต้านทานสารเคมีของยุงพาหะนาโรคมาลาเรีย ลักษณะเด่นของกล่อง EREC ชนิดใหม่นี้ คือ
1. สามารถพับเก็บได้ ทนทาน เคลื่อนย้ายสะดวก และไม่เสียเวลาในการประกอบเหมาะสาหรับนาไปใช้ทั้ง
ในห้องปฏิบัติการและในภาคสนาม
2. ทาความสะอาดได้ง่ายเนื่องจากทาจากสแตนเลส และสามารถใช้ทดสอบกับสารเคมีได้มากกว่าหนึ่งชนิด
3. สามารถใช้ทดสอบในกรณีที่ให้ยุงพาหะนาโรคได้สัมผัสกับสารเคมีโดยตรง (physical contact with
chemical) และเพื่อไม่ให้เกิดการโน้มเอียง (bias) ในเชิงปฏิบตั ิจริง ๆ ผู้ออกแบบได้ออกแบบโดยป้องกันไม่ให้ยุง
พาหะได้มีโอกาสสัมผัสกับสารเคมี โดยออกแบบอุปกรณ์ด้านในที่ทาด้วยลวดตาข่ายชนิดพิเศษ (without physical
contact with chemical)
4. สามารถติดตามพฤติกรรมของยุงพาหะนาโรคมาลาเรียได้ทุกเสี้ยวนาที ตั้งแต่เริ่มเข้าไปในกระท่อมหรือ
บ้านจาลอง (enter) และออก (exit) จากกระท่อมหรือบ้านจาลองดังนั้นสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่าง
เต็มที่โดยไม่มีการสูญหายของข้อมูลเกิดขึ้น
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทรรศนีย์ และยุพาพร (2545) ทาการศึกษาปริมาณเทคโทคิวโนน (2-เมทธิลแอนทราคิวโนน) ในการสกัด
จากกระพี้และแก่นไม้สักจากสวนป่าแม่มาย จังหวัดลาปาง ที่อายุ 15 ปี 20 ปี 25 ปี และ 30 ปี พบว่า สารสกัด
จากกระพี้มีปริมาณเทคโทคิวโนนน้อยมาก (น้อยมาก-0.002%) และสารสกัดจากแก่นมีค่าตั้งแต่ 0.030-0.095%
และผลของปฏิกิริยาการตอบสนองต่อปลวกที่มีต่อสารสกัดจากกระพี้และแก่นที่ความเข้มข้น 2% ของปริมาณสาร
สกัดทั้งหมด พบว่า สารสกัดจากแก่นเท่านั้นที่มีผลต่ออัตราการตายของปลวก ส่วนมาตรฐานของเทคโทคิวโนนไม่มี
ผลต่ออัตราการตายของปลวกเลย แต่มีผลในการเป็นสารขับไล่ปลวก
ทรรศนีย์ (2554) ได้ศึกษาปริมาณเทคโทควิโนน (2-เมทธิลแอนทราควิโนน) ในสารสกัดจากกระพี้และแก่น
ไม้สัก จากสวนป่าที่อายุต่าง ๆ (13-30 ปี) จากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ สวนป่าแม่มาย จังหวัดลาปาง สวนป่าขุนแม่คามี
จังหวัดแพร่ สวนป่าแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ สวนป่าทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และสวนป่าน้าสวยห้วยปลาดุก
จังหวัดเลย พบว่า สารสกัดจากกระพี้มีปริมาณเทคโทควิโนนน้อยมาก (ปริมาณน้อยมาก–0.009 %) และสารสกัด
จากแก่นพบปริมาณเทคโควิโนนมีค่าตั้งแต่ -0.099 %
Cheng et al. (2008) ได้ศึกษาฤทธิ์การฆ่าลูกน้าของสารสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของ Cryptomeria
japonica D. Don ต่อลูกน้ายุงลายบ้านและยุงลายสวนวัยที่ 4 พบว่า สารสกัดจากกระพี้มีผลในการฆ่าลูกน้า
ยุงลายบ้านและยุงลายสวนดีที่สดุ ค่า LC50 ที่ 24 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 2.4 และ 3.3 µg/ml ตามลาดับ และยังศึกษา
ส่วนประกอบของสารที่อยู่ในกระพี้ของ C. Japonica พบว่า มีเทคโทคิวโนน (tectoquinone) เป็นส่วนประกอบ
ซึง่ ค่า LC50 ที่ 24 ชั่วโมง ของเทคโทคิวโนนต่อยุงลายบ้านและยุงลายสวน มีค่าเท่ากับ 3.3 และ 5.4 µg/ml
ตามลาดับ
10

บทที่ 3
วิธีดาเนินงานวิจัย

การทดสอบฤทธิ์ไล่ยุงของสารสกัดจากสัก (Tectona grandis L.f.) ต่อยุงลายบ้าน (Aedes aegypti (L.))


ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ทาการทดลองในห้องปฏิบัติการ (Laboratory scale)
โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การสกัดสารจากสัก
ขั้นตอนที่ 2 การทดสอบฤทธิ์ในการไล่ของสารสกัดจากสักต่อยุงลายบ้าน
การสกัดสารจากสัก
โดยนาขี้เลื่อยจากไม้สักที่ยังใหม่ ๆ หรือจะเป็นขี้เลื่อยที่เก็บรักษาไว้ในถุงที่ปิดสนิท ไม่ให้อากาศและ
ความชื้นเข้า มาสกัดสารโดยใช้วิธีการสกัด 2 วิธี คือ วิธีการแช่ยุ่ย (Maceration) และวิธี Soxhlet extraction
ณ ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยา ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่ อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยนาขี้เลื่อยของไม้สัก ไปสกัดตามรายละเอียดในการสกัดทั้ง 2
วิธี ดังนี้
1) การสกัดด้วยวิธีแช่ยุ่ย โดยนาขี้เลื่อยไม้สักชั่งให้ได้ปริมาณ 1 กิโลกรัม ใส่ในขวดแก้วขนาด 20 ลิตร
เติมเอทานอล 70% ลงไปจนท่วม ปิดปากขวดให้สนิทด้วยจุกยางที่หุ้มกระดาษอลูมิเนียม (Aluminum foil) ทิ้งไว้
7 วัน จากนั้นนาสารละลายที่ได้กรองด้วยกระดาษกรองแบบหยาบ และระเหยด้วยเครื่องระเหยสุญญากาศแบบ
หมุน (rotary evaporator) นาสารที่ได้ไปใส่ในจานขนาดเล็ก (evaporator dish) ก่อนนาไประเหยที่อุณหภูมิ 60
°C ใน Water bath อีกครั้ง เพื่อแยกตัวทาละลายที่อาจหลงเหลืออยู่ออกให้หมด ส่วนตัวทาละลายที่แยกออกมาได้
นากลับไปแช่ขี้เลื่อยไม้สักทองอีกครั้ง เพื่อสกัดน้ามันที่ยังเหลืออยู่ ทาซ้าแบบนี้ 7 ครั้ง จะได้สารสกัดจากสักอย่าง
หยาบ (crude extract) เพื่อนาไปใช้ในการทดสอบต่อไป
2) การสกัดด้วยวิธี Soxhlet โดยนาขี้เลื่อยไม้สักไปสกัดในเอทานอล 70% โดยวิธี Soxhlet extraction
ที่อุณหภูมิ 60 °C เป็นระยะเวลานาน 24 ชั่วโมง จากนั้นกรอง และระเหยให้แห้งด้วย vacuum evaporator นา
สารที่ได้ไปใส่ในจานขนาดเล็ก (evaporator dish) ก่อนนาไประเหยที่อุณหภูมิ 60 °C ใน Water bath อีกครั้ง เพื่อ
แยกตัวทาละลายที่อาจหลงเหลืออยู่ออกให้หมด จะได้สารสกัดอย่างหยาบ (crude extract) เพื่อนาไปใช้ในการ
ทดสอบต่อไป
การทดสอบฤทธิ์ในการไล่ของสารสกัดจากสักต่อยุงลายบ้าน
1. การเลี้ยงเพิ่มปริมาณยุงลายสาหรับใช้ในการทดสอบ
ยุงลายบ้านที่ใช้ในการทดสอบครั้งนี้ ใช้ยุงลายบ้าน 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์นครศรีธรรมราช และสาย
พันธุ์ห้องปฏิบัติการ ซึ่งยุงสายพันธุ์นครศรีธรรมราชจะเก็บลูกน้ายุงลายบ้านจากชุมชนในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง
อาเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วนามาเลีย้ งเพิ่มปริมาณในห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยา สานักงานป้องกัน
ควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้อุณหภูมิ 25  5 °C แสงสว่าง 12 : 12 (สว่าง : มืด) และความชื้น
สัมพัทธ์ที่ 80  10% ซึ่งมีวิธีการเลี้ยงตามขั้นตอน ดังนี้
1) นาลูกน้ายุงลายบ้านที่เก็บมาได้ ใส่ถาดพลาสติกขนาด 20 x 30 x 6 เซนติเมตร ทีบ่ รรจุน้าประปา
ที่ผ่านการระเหยสารคลอรีนออกแล้วใน 1 สัปดาห์ โดยใส่น้าในถาดพลาสติกให้สูงประมาณครึ่งหนึ่งของถาด และ
เลี้ยงลูกน้าด้วยอาหารหมูสาเร็จรูป ซึ่งจะเปลี่ยนน้าในถาดพลาสติกทุก ๆ 2 วัน เพื่อทาให้ลูกน้าเจริญเติบโตเร็วขึ้น
เมื่อลูกน้าเจริญเป็นตัวโม่ง จะใช้หลอดดูดดูดตัวโม่งใส่ในถ้วยพลาสติก แล้วนาถ้วยดังกล่าวไปใส่ในกรงเลี้ยงยุง
ขนาด 30 x 30 x 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร เพื่อให้ตัวโม่งลอกคราบกลายเป็นยุงตัวเต็มวัยต่อไป
11

2) หลังจากตัวโม่งเจริญเป็นตัวเต็มวัยแล้ว นาสาลีซึ่งพันกับหลอดกาแฟแบบสั้นเป็นแท่ง ให้มี


เส้นผ่าศูนย์กลางด้านหน้าตัดประมาณ 1 เซนติเมตร ชุบน้าหวานความเข้มข้น 10% แล้วใส่ในขวดแก้วขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร สูง 6 เซนติเมตร ไปวางไว้ในกรงเลี้ยงยุง สาหรับเป็นอาหารของยุงตัวเต็ม
วัย และต้องเปลี่ยนน้าหวานทุก ๆ 2 วัน หลังจากทีย่ ุงตัวเต็มวัยอายุได้ 2-5 วัน ยุงจะเริ่มผสมพันธุ์กันภายในกรง
เลี้ยงยุง ปล่อยให้ยุงผสมพันธุ์กันเป็นเวลา 2 วัน จึงให้ยุงกินเลือดของหนูตะเภา เพื่อให้ยุงเพศเมียที่ได้รับการผสม
พันธุ์แล้ว นาโปรตีนที่อยู่ในเลือดไปพัฒนาเป็นไข่ยุงต่อไป
3) หลังจากยุงเพศเมียกินเลือดแล้ว 2-3 วัน นาถ้วยพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร
ซึ่งบุผนังถ้วยด้านในด้วยกระดาษที่มีสีน้าตาลคล้ายภาชนะเครื่องปั้นดินเผา และใส่น้าสูงประมาณครึ่งหนึ่งของ
กระดาษใส่เข้าไปในกรงเลี้ยงยุง เพื่อให้ยุงเพศเมียที่ไข่สุกแล้ววางไข่ หลังจากนั้น 3 วันจึงเอาถ้วยวางไข่ออกมา จะ
พบกลุ่มไข่ที่ยุงวางไว้เป็นฟองเดี่ยว ๆ วางชิด ๆ ติดกันมากมาย จนเห็นเป็นแถบรอบกระดาษวางไข่บริเวณตั้งแต่
เหนือระดับน้าขึน้ มา ยกกระดาษไข่ยุงออกมาวางผึ่งในแนวราบที่อุณหภูมิห้อง ปล่อยให้กระดาษไข่ยุงแห้งเองอย่าง
ช้า ๆ ซึ่งกระดาษไข่ยุงนี้จะสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานหลายเดือน โดยเก็บที่อุณหภูมิห้องในภาชนะที่มีถ่ายเทอากาศ
เข้าออกได้บ้าง (ห้ามปิดฝาสนิท) เพื่อรอการนาไปใช้ในการทดสอบต่อไป และลงบันทึก วัน เดือน ปี ที่เก็บไข่ไว้บน
กระดาษไข่นั้น ๆ ไข่ที่ได้เป็นไข่รุ่นที่ 1 เมื่อถึงเวลาทดสอบ นาไข่ไปฟักในถาดพลาสติกเลี้ยงลูกน้า โดยแต่ละถาด
พลาสติกจะให้มลี ูกน้าประมาณ 200 ตัวเท่านั้น เพื่อช่วยลูกน้ามีขนาดใหญ่และเจริญเติบโตเร็วขึ้น เมื่อตัวเต็มวัยมี
อายุ 2-5 วัน ก็จะนาไปทดสอบกับชุดทดสอบ Excito-Repellency assay ต่อไป
สาหรับยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ ใช้ยุงสายพันธุ์ USDA จากห้องปฏิบัติการกีฏวิทยา
ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ซึง่ การ
เลี้ยงเพิ่มปริมาณ โดยนาไข่ของยุงมาเลี้ยง ซึ่งมีการดูแลเช่นเดียวกันกับสายพันธุ์นครศรีธรรมราชทุกประการ
2. การทดสอบฤทธิ์ไล่ของสารสกัดจากสักต่อยุงลายบ้าน
1) การเตรียมสารละลายสารสกัดที่ใช้ในการทดสอบ
สารละลายสารสกัดที่ใช้ในการทดสอบ มีความเข้มข้น 0.5%, 1%, 2.5%, 5% และ 10% (น้าหนัก/
ปริมาตร) มีวิธีการเตรียมโดยนาสารสกัดจากสักอย่างหยาบที่ได้จากการสกัดจานวน 10 กรัม แล้วเติมเอทานอล
70% จนมีปริมาตรรวมเท่ากับ 100 มิลลิลิตร จะได้สารละลายสารสกัดความเข้มข้น 10% จากนั้นเตรียมสารละลาย
สารสกัดที่ความเข้มข้น 5% โดยนาสารละลายสารสกัดความเข้มข้น 10% จานวน 50 มิลลิลิตร ผสมกับเอทานอล
70% จานวน 50 มิลลิลิตร แล้วเตรียมสารละลายสารสกัดที่ความเข้มข้น 2.5% โดยนาสารละลายสารสกัดความ
เข้มข้น 5% จานวน 50 มิลลิลติ ร ผสมกับเอทานอล 70% จานวน 50 มิลลิลิตร แล้วเตรียมสารละลายสารสกัดที่
ความเข้มข้น 1% โดยนาสารละลายสารสกัดความเข้มข้น 10% จานวน 10 มิลลิลิตร ผสมกับเอทานอล 70%
จานวน 90 มิลลิลิตร และเตรียมสารละลายสารสกัดที่ความเข้มข้น 0.5% โดยนาสารละลายสารสกัดความเข้มข้น
1% จานวน 50 มิลลิลิตร ผสมกับเอทานอล 70% จานวน 50 มิลลิลิตร แต่ละครั้งของการผสมสารละลายจะต้อง
นาไปกวนให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว
2) การเตรียมกระดาษชุบสารสารละลายสาหรับทดสอบ
กระดาษทดสอบที่ใช้เป็นกระดาษกรอง WHATMAN เบอร์ 1 ตัดให้มีขนาด 15 x 17.5 ตาราง
เซนติเมตร โดยกระดาษทดสอบแต่ละแผ่นจะต้องเขียนที่หัวกระดาษด้วยดินสอดาแสดงความเข้มข้น และวันที่ทา
กระดาษ จากนั้นทาการหยดสารละลายของสารสกัดจากสักที่ผสมไว้แล้วด้วยปิเปตขนาด 5 มิลลิลิตร ลงบน
กระดาษที่ตัดเตรียมไว้แล้วในปริมาตร 2.9 มิลลิลิตร ตามความเข้มข้นต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ คือ 0.5%, 1%, 2.5%, 5%
และ 10% (น้าหนัก/ปริมาตร) แล้ววางผึ่งให้แห้งประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้สารที่หยดแผ่กระจายตัวได้ทั่วแผ่น
จากนั้นจึงนามาห่อด้วยกระดาษอลูมิเนียม และใส่ถุงพลาสติกเก็บไว้ในตู้เย็นช่องปกติ เพื่อรอการนาไปใช้ทดสอบ
ต่อไป ส่วนกระดาษควบคุม (control) จะหยดด้วยเอทานอล 70% เพียงอย่างเดียวในปริมาตร 2.9 มิลลิลิตร เท่ากัน
ในแต่ละกล่องทดสอบจะใช้กระดาษทดสอบ 4 แผ่น กระดาษทดสอบจะเตรียมที่ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยา
12

ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และ


ห้องปฏิบัติการทางกีฏวิทยา สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
3) การทดสอบฤทธิ์ไล่ของสารสกัด (Repellency test) (Mongkalangoon et al., 2009)
การทดสอบฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้านของสารสกัดจากสักทั้งที่สกัดด้วยวิธีแช่ยุ่ย และวิธีแบบ Soxhlet ที่
ระดับความความเข้มข้น 0.5%, 1%, 2.5%, 5%, และ 10% (น้าหนัก/ปริมาตร) โดยใช้ชุดทดสอบ Excito-
repellency assay ซึ่งประกอบด้วยกล่องทดสอบ 4 กล่อง คือ
1) กล่องควบคุมแบบไม่ให้ยุงสัมผัสกับกระดาษทดสอบโดยตรง (control noncontact chamber)
2) กล่องทดสอบสารสกัดแบบไม่ให้ยุงสัมผัสกับกระดาษทดสอบโดยตรง (noncontact chamber)
3) กล่องควบคุมแบบให้ยุงสัมผัสกับกระดาษทดสอบโดยตรง (control contact chamber)
4) กล่องทดสอบสารสกัดแบบให้ยุงสัมผัสกับกระดาษทดสอบโดยตรง (contact chamber)
ในการทดสอบครั้งหนึ่ง ๆ กล่องทดสอบถูกแบ่งออกเป็น 2 คู่ โดยในแต่ละคู่จะแบ่งเป็นการทดสอบ
แบบที่ไม่ให้ยุงสัมผัสกับกระดาษทดสอบโดยตรง (มีแผ่นมุ้งลวดตาข่ายกั้น) และแบบให้ยุงสัมผัสกับกระดาษทดสอบ
โดยตรง (ไม่มแี ผ่นมุ้งลวดตาข่ายกั้น) (Chareonviriyaphap et al., 2002) ซึ่งแตกต่างกันตรงที่ถ้าเป็นการทดสอบ
แบบไม่ให้ยุงสัมผัสสารโดยตรง จะต้องติดตั้งกระดาษชุบสารให้อยู่ใต้แผ่นมุ้งลวดตาข่าย ดังนั้นขายุงจะไม่มีโอกาส
ได้สัมผัสกับสารสกัดเลย จะได้รับเฉพาะไอของสารที่ระเหยออกมาเท่านั้น ยุงลายบ้านที่ใช้ทดสอบต้องให้อด
น้าหวานเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ก่อนเริ่มทาการทดสอบ และการทดสอบทั้งหมดจะทาในช่วงเวลา 08.00-16.30 น.
จากนั้นนายุงเพศเมียปล่อยในกล่องทดสอบทั้ง 4 กล่องดังกล่าวในข้างต้น กล่องละ 15 ตัว โดยใช้ mouth
aspirator แล้วปิดฝากล่องด้านนอก โดยมีกล่องกระดาษติดทางด้านทางออกของกล่องทดสอบ แต่ต้องใช้แผ่น
ฟองน้าสอดเข้าไปปิดช่องทางออกไว้ก่อน ให้พักยุงในกล่องทดสอบเป็นเวลา 3 นาที เพื่อให้ยุงปรับสภาพ หลังจาก
นั้นเปิดช่องทางออก ทาการจับเวลา และบันทึกจานวนตัวของยุงที่บินออกจากกล่องทั้ง 4 กล่อง ทุก ๆ 1 นาที
พร้อมทั้งดูดยุงที่บินออกมาจากกล่องทดสอบแต่ละกล่องใส่ในถ้วยกระดาษที่ทาเป็นภาชนะใส่ยุงจนครบ 30 นาที
แล้วบันทึกจานวนยุงที่เหลือในกล่องทดสอบทั้ง 4 กล่อง ทั้งยุงที่สลบและไม่สลบ พร้อมทั้งนาเอาใส่ถ้วยกระดาษที่
ใช้เลี้ยงยุงอีกใบหนึ่ง ส่วนถ้วยกระดาษใส่ยุงที่หนีออกมาจากช่องทางออก ก็บันทึกจานวนยุงที่สลบด้วยเช่นกัน
ดังนั้น แต่ละกล่องทดสอบจะมีถ้วยกระดาษเลี้ยงยุง 2 ใบ หลังจากนั้นนาถ้วยกระดาษที่ใส่ยุงเหล่านี้ไปเลี้ยงต่อ 24
ชั่วโมง หลังการทดสอบเสร็จ โดยในห้องเลี้ยงยุงนั้นถ้วยกระดาษแต่ละใบจะวางสาลีชุบน้าหวานความเข้มข้น 10%
พอหมาด ๆ บนผ้ามุ้งที่ปิดปากถ้วยกระดาษ เมื่อครบ 24 ชั่วโมง บันทึกจานวนยุงที่ตายในแต่ละถ้วยกระดาษ แล้ว
คานวณอัตราการตายหลังจาก 24 ชั่วโมงในแต่ละกล่องทดสอบ หากยุงในกล่องควบคุมกล่องใดกล่องหนึ่งในซ้าใดมี
อัตราตายเกิน 20% ควรดาเนินการทดสอบใหม่ในซ้านั้น ๆ แล้วทาการทดสอบซ้าเป็นจานวนอย่างน้อย 4 ครั้งของ
สารสกัดแต่ละความเข้มข้น
การเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจานวนตัวของยุงที่บินออกจากกล่องทั้ง 4 กล่อง (ชุดที่มีสาร 2 กล่อง และชุด
ควบคุม 2 กล่อง) ทุกๆ 1 นาที จนครบ 30 นาที และบันทึกจานวนยุงที่ตายในแต่ละถ้วยกระดาษ
การควบคุมการวิจัย
การทดสอบฤทธิ์การไล่ของสารสกัดจากสักกับยุงลายบ้าน จะดาเนินการในระหว่างเวลา 08.00-16.30 น.
ในห้องปฏิบัติการที่มีแสงสว่างอยู่ในช่วง 300-500 Lux อุณหภูมิ 25  5 C และความชื้นสัมพัทธ์ที่ 80  10%
โดยจะเปรียบเทียบจานวนยุงลายที่บินออกจากกล่องทั้ง 4 กล่อง (ชุดทดสอบ (มีสารสกัด) 2 กล่อง และชุดควบคุม
(ไม่มีสารสกัด) 2 กล่อง) ของสารสกัดจากสักที่ทดสอบที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ สาหรับการควบคุมคุณภาพการ
ทดสอบนั้น กล่องทดสอบที่ใช้ จานวนทั้งหมด 4 กล่อง (ชุดทดสอบ 2 กล่อง และชุดควบคุม 2 กล่อง) และมีทาการ
ทดลองซ้าเป็นจานวนอย่างน้อย 4 ครั้ง
13

การวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้ Kaplan-Meier survival analysis method ในการวิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลพฤติกรรมการ
ตอบสนองของยุง (Kleinbaum, 1995, Roberts et al. 1997) ซึ่ง Survival analysis ถูกใช้ในการประมาณค่าความ
น่าจะเป็นของเวลาที่ยุงหนีออกจากกล่องทดสอบ (escape time, ET) และเปรียบเทียบความแตกต่างของการ
ตอบสนองในยุงต่อลักษณะการหลีกหนีสารสกัดจากสักในแต่ละระดับความเข้มข้น (Kleinbaum, 1995) โดยดูจาก
รูปแบบการหลบหนีของยุงในแต่ละนาที ซึ่งยุงที่หนีออกจากกล่องทดสอบในแต่ละนาทีก่อนสิ้นสุดการทดสอบ ให้
หมายถึง ยุงที่ตอบสนองและได้รับผลกระทบจากสิ่งเร้า ซึ่งก็ คือ สารไล่ยุง ซึ่งในการวิเคราะห์ survival analysis จะ
เรียกยุงเหล่านี้ว่า deaths ส่วนยุงที่ยังเหลืออยู่ในกล่องทดสอบในแต่ละนาทีนั้น ๆ ถือว่าเป็นยุงที่รอดอยู่ ซึ่งต่อไป
จะเรียกยุงเหล่านี้ว่า survivals ส่วนยุงที่หลงเหลืออยู่ในกล่องทดสอบตามจานวนที่พบจริง จะถูกเรียกว่า
censored (Roberts et al., 1997, Chareonviriyaphap et al. 1997). และหลังจากนั้นแต่ละความเข้มข้นหรือ
วิธีการจะถูกนามาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มด้วยวิธี log-rank test (Mantel and Haenzel, 1959)
ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ต่อไป
14

บทที่ 4
ผลการศึกษา
การทดสอบฤทธิ์ไล่สารสกัดจากสักจากวิธีแช่ยุ่ยและวิธี Soxhlet ต่อยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) สาย
พันธุ์ห้องปฏิบัติการ (USDA) และสายพันธุ์นครศรีธรรมราช ที่ระดับความเข้มข้น 0.5%, 1%, 2.5%, 5% และ 10%
พบว่า สารสกัดจากสักจากวิธีสกัดทั้งสองวิธีที่ระดับความเข้มข้น 0.5%, 1%, 2.5%, และ 5% เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์
ไล่ยุงทั้งโดยใช้กล่องทดสอบแบบไม่ให้ยุงสัมผัสกับสารสกัดโดยตรง (มีแผ่นมุ้งลวดตาข่ายกั้น) หรือใช้กล่องทดสอบ
แบบให้ยุงสัมผัสกับสารสกัดโดยตรง (ไม่มแี ผ่นมุ้งลวดตาข่ายกั้น) พบว่า ฤทธิ์การไล่ยุงระหว่างกล่องควบคุม (ไม่มี
สารสกัด) และกล่องทดสอบ (มีสารสกัด) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในยุงลายบ้านทั้งสองสายพันธุ์ แต่พบว่าสาร
สกัดจากสักที่ได้จากวิธี Soxhlet ทีร่ ะดับความเข้มข้น 10% เมื่อทดสอบกับยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ
(USDA) โดยใช้กล่องทดสอบแบบไม่ให้ยุงสัมผัสกับสารสกัดโดยตรง มีฤทธิ์ในการไล่ยุง โดยผลการไล่ยุงในกล่อง
ควบคุมและกล่องทดสอบมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญ (P < 0.05) และฤทธิ์ไล่ยุงโดยใช้กล่อง
ทดสอบแบบให้ยุงสัมผัสกับสารสกัดโดยตรง พบว่าฤทธิ์การไล่ยุงในกล่องควบคุมและกล่องทดสอบมีความแตกต่าง
กันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญเช่นกัน (P < 0.05) (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ผลการทดสอบฤทธิ์ไล่ยุงของสารสกัดจากสักซึ่งสกัดด้วยวิธีแช่ยยุ่ และวิธี Soxhlet ที่ระดับความ
เข้มข้นต่าง ๆ ต่อยุงสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการและสายพันธุ์นครศรีธรรมราช
สายพันธุห์ ้องปฏิบัตกิ าร (USDA) สายพันธุน์ ครศรีธรรมราช
ความเข้มข้น
วิธีแช่ยุ่ย วิธี Soxhlet วิธีแช่ยุ่ย วิธี Soxhlet
0.5% CN vs CC (0.55) CN vs CC (0.63) CN vs CC (0.55) CN vs CC (0.55)
1.0% CN vs CC (0.15) CN vs CC (1.00) CN vs CC (0.31) CN vs CC (0.98)
2.5% CN vs CC (0.57) CN vs CC (1.00) CN vs CC (0.32) CN vs CC (0.32)
5.0% CN vs CC (0.98) CN vs CC (0.57) CN vs CC (0.98) CN vs CC (0.61)
10% CN vs CC (0.53) CN vs CC (0.54) CN vs CC (0.56) CN vs CC (0.99)
0.5% CN vs TN (0.29) CN vs TN (0.29) CN vs TN (0.29) CN vs TN (0.41)
1.0% CN vs TN (0.94) CN vs TN (0.25) CN vs TN (0.24) CN vs TN (0.25)
2.5% CN vs TN (0.98) CN vs TN (0.99) CN vs TN (0.16) CN vs TN (0.09)
5.0% CN vs TN (0.98) CN vs TN (0.11) CN vs TN (0.17) CN vs TN (0.11)
10% CN vs TN (0.18) CN vs TN (0.01)* CN vs TN (0.10) CN vs TN (0.38)
0.5% CC vs TC (0.27) CC vs TC (0.38) CC vs TC (0.25) CC vs TC (0.09)
1.0% CC vs TC (0. 10) CC vs TC (0.42) CC vs TC (0.05) CC vs TC (0.25)
2.5% CC vs TC (0.67) CC vs TC (0.66) CC vs TC (0.10) CC vs TC (0.10)
5.0% CC vs TC (0.51) CC vs TC (0.42) CC vs TC (0.51) CC vs TC (0.22)
10% CC vs TC (0.44) CC vs TC (0.03)* CC vs TC (0.41) CC vs TC (0.41)
0.5% TN vs TC (0.50) TN vs TC (0.76) TN vs TC (0.50) TN vs TC (0.75)
1.0% TN vs TC (0.22) TN vs TC (0.67) TN vs TC (0.52) TN vs TC (0.97)
2.5% TN vs TC (0.32) TN vs TC (0.65) TN vs TC (0.23) TN vs TC (0.45)
5.0% TN vs TC (0.31) TN vs TC (0.77) TN vs TC (0.31) TN vs TC (0.99)
10% TN vs TC (0.96) TN vs TC (0.99) TN vs TC (0.75) TN vs TC (0.96)
CN = กล่องควบคุมทีไ่ ม่มกี ารสัมผัสสารสกัดโดยตรง (มีตะแกรงกัน้ ) CC = กล่องควบคุมที่มีการสัมผัสสารสกัดโดยตรง (ไม่มีตะแกรงกั้น)
TN = กล่องทดสอบทีไ่ ม่มกี ารสัมผัสสารสกัดโดยตรง (มีตะแกรงกัน้ ) TC = กล่องทดสอบที่มีการสัมผัสสารสกัดโดยตรง (ไม่มีตะแกรงกั้น)
* P < 0.05 แตกต่างอย่างมีนยั สาคัญ P > 0.05 ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ
15

เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ไล่ยุงของสารสกัดจากสักโดยวิธีแช่ยุ่ยและวิธี Soxhlet ระหว่างระดับความเข้มข้น


ต่าง ๆ ของสารสกัดโดยวิธีนนั้ ๆ พบว่า สารสกัดจากสักโดยวิธีแช่ยุ่ยต่อยุงลายบ้านสายพันธุ์นครศรีธรรมราช
เปรียบเทียบที่ระดับความเข้มข้น 0.5% กับ 10% มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนการ
เปรียบเทียบความเข้มข้นอื่น ๆ นั้น ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบประสิทธิผลของสารสกัดจากสัก โดยให้ยุงทดสอบสัมผัสสารสกัดความเข้มข้นต่างกัน
สายพันธุย์ ุงลายบ้าน เปรียบเทียบภายในวิธีแช่ยุ่ย เปรียบเทียบภายในวิธี Soxhlet
ห้องปฏิบัติการ (USDA) 0.5% vs 1.0% (0.81) 0.5% vs 1.0% (0.96)
0.5% vs 2.5% (0.47) 0.5% vs 2.5% (0.70)
0.5% vs 5.0% (0.31) 0.5% vs 5.0% (0.94)
0.5% vs 10% (0.75) 0.5% vs 10% (0.13)
1.0% vs 2.5% (0.36) 1.0% vs 2.5% (0.71)
1.0% vs 5.0% (0.22) 1.0% vs 5.0% (1.00)
1.0% vs 10% (0.61) 1.0% vs 10% (0.12)
2.5% vs 5.0% (0.74) 2.5% vs 5.0% (0.71)
2.5% vs 10% (0.69) 2.5% vs 10% (0.06)
5.0% vs 10% (0.48) 5.0% vs 10% (0.12)
นครศรีธรรมราช 0.5% vs 1.0% (0.16) 0.5% vs 1.0% (0.98)
0.5% vs 2.5% (0.08) 0.5% vs 2.5% (1.00)
0.5% vs 5.0% (0.09) 0.5% vs 5.0% (0.98)
0.5% vs 10%* (0.04) 0.5% vs 10% (0.74)
1.0% vs 2.5% (0.74) 1.0% vs 2.5% (0.98)
1.0% vs 5.0% (0.76) 1.0% vs 5.0% (0.96)
1.0% vs 10% (0.49) 1.0% vs 10% (0.76)
2.5% vs 5.0% (0.98) 2.5% vs 5.0% (0.99)
2.5% vs 10% (0.72) 2.5% vs 10% (0.74)
5.0% vs 10% (0.70) 5.0% vs 10% (0.72)

เมื่อเปรียบเทียบการหนีของยุงในการทดสอบสารสกัดจากสักด้วยวิธีแช่ยุ่ยทีร่ ะดับความเข้มข้น 0.5%, 1%,


2.5%, 5% และ 10% ต่อยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ พบว่า การตอบสนองของยุงต่อสารสกัดจากสักทั้ง
แบบให้สัมผัสสารและไม่ให้สัมผัสสาร ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มียุงหลีกหนีสารสกัดร้อยละ 8.33:5.26,
8.62:3.45, 5.00:1.69, 3.70:1.75, และ 6.78:6.67% ตามลาดับ ส่วนสารสกัดจากสักด้วยวิธี Soxhlet ทีร่ ะดับความ
เข้มข้น 0.5%, 1%, 2.5%, 5% และ 10% ต่อยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ พบว่า การตอบสนองของยุงต่อ
สารสกัดจากสักทั้งแบบให้สัมผัสสารและไม่ให้สัมผัสสาร ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติเช่นกัน ยุงมีการหลีกหนี
สารสกัดร้อยละ 6.90:8.47, 6.78:8.62, 5.00:3.39, 6.78:8.33, และ 15.52:15.52 ตามลาดับ ส่วนการเปรียบเทียบการ
หนีของยุงโดยใช้ยุงลายบ้านสายพันธุ์นครศรีธรรมราช พบว่า การตอบสนองของยุงต่อสารสกัดจากสักโดยวิธีแช่ยุ่ย
ทีร่ ะดับความเข้มข้น 0.5%, 1%, 2.5%, 5% และ 10% ทั้งแบบให้สัมผัสสารและไม่ให้สัมผัสสาร ไม่มีความแตกต่าง
กันทางสถิติ ยุงมีการหลีกหนีสารสกัดร้อยละ 8.74:5.17, 10.17:6.78, 8.47:3.33, 8.47:6.78, และ 6.78:8.33
ตามลาดับ และสารสกัดจากสักโดยวิธี Soxhlet ทีร่ ะดับความเข้มข้น 0.5%, 1%, 2.5%, 5% และ 10% พบว่า การ
ตอบสนองของยุงต่อสารสกัดทั้งแบบให้สัมผัสสารสกัดและไม่ให้สัมผัสสารสกัดไม่แตกต่างกันทางสถิติเช่นกัน ยุงมี
การหลีกหนีสารสกัดร้อยละ 8.74:6.90, 8.33:8.47, 8.47:5.00, 8.62:8.47, และ 6.78:7.02 ตามลาดับ (ตารางที่ 4)
16

ตารางที่ 4 ฤทธิ์ไล่ของสารสกัดจากสักต่อยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) สายพันธุ์ห้องปฏิบัติการและสายพันธุ์นครศรีธรรมราช จากการสัมผัสให้สารและไม่ให้สัมผัสสารสกัดจากวิธีแช่


ชุ่ยและวิธี Soxhlet ทีร่ ะดับความเข้มข้นต่าง ๆ
วิธีแช่ยุ่ย วิธี Soxhlet
การสัมผัส Control Treatment Control Treatment
สายพันธุ์ ความเข้มข้น
สาร จานวนยุง จานวนตัว จานวนยุง จานวนตัว จานวนยุง จานวนตัว จานวนยุง จานวนตัว
ที่ทดสอบ ที่หลีกหนี (%) ที่ทดสอบ ที่หลีกหนี (%) ที่ทดสอบ ที่หลีกหนี (%) ที่ทดสอบ ที่หลีกหนี (%)
ห้องปฏิบัติการ Contact 0.5% 56 2 (3.45) 55 5 (8.33) 54 2 (3.33) 54 4 (6.90)
1.0% 58 0 (0.00) 46 12 (8.62) 57 2 (3.39) 55 4 (6.78)
2.5% 56 2 (3.45) 57 3 (5.00) 57 2 (3.39) 57 3 (5.00)
5.0% 57 1 (1.72) 52 2 (3.70) 57 2 (3.39) 55 4 (6.78)
10% 54 2 (3.57) 55 4 (6.78) 56 2 (3.45) 49 9 (15.52)
Non-contact 0.5% 58 1 (1.69) 54 3 (5.26) 55 3 (5.17) 54 5 (8.47)
1.0% 55 2 (3.51) 51 7 (3.45) 57 2 (3.39) 53 5 (8.62)
2.5% 56 1 (1.75) 58 1 (1.69) 57 2 (3.39) 57 2 (3.39)
5.0% 58 1 (1.69) 56 1 (1.75) 57 1 (1.72) 55 5 (8.33)
10% 58 1 (1.69) 56 4 (6.67) 58 1 (1.69) 49 9 (15.52)
นครศรีธรรมราช Contact 0.5% 57 2 (3.39) 54 5 (8.47) 58 1 (1.69) 54 5 (8.47)
1.0% 57 1 (1.72) 53 6 (10.17) 57 2 (3.39) 55 5 (8.33)
2.5% 58 1 (1.69) 54 5 (8.47) 57 1 (1.72) 54 5 (8.47)
5.0% 57 1 (1.72) 54 5 (8.47) 58 2 (3.33) 53 5 (8.62)
10% 57 2 (3.39) 55 4 (6.78) 56 2 (3.45) 55 4 (6.78)
Non-contact 0.5% 59 1 (1.67) 57 3 (5.17) 56 2 (3.45) 54 4 (6.90)
1.0% 60 0 (0.00) 55 4 (6.78) 56 2 (3.45) 54 5 (8.47)
2.5% 59 0 (0.00) 58 2 (3.33) 58 0 (0.00) 57 3 (5.00)
5.o% 58 1 (1.69) 55 4 (6.78) 55 1 (1.79) 54 5 (8.47)
10% 58 1 (1.69) 55 5 (8.33) 57 2 (3.39) 53 4 (7.02)
17

สัดส่วนของยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการที่เหลืออยู่ในกล่องทดสอบในช่วงเวลาต่าง ๆ ในการทดสอบ
ซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น 30 นาที สามารถใช้สังเกตรูปแบบการหลีกหนีสารสกัดของยุงลายได้ พบว่า สารสกัดจากสักโดย
วิธี Soxhlet ที่ความเข้มข้น 10% มีฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการมากที่สุด โดยพบว่าจานวนยุงที่
เหลือในกล่องทดสอบที่มีสารสกัดทั้งแบบให้ยุงมีการสัมผัสสารและไม่มีการสัมผัสสารมียุงเหลืออยู่น้อยที่สุด เมื่อ
เปรียบเทียบกับความเข้มข้นอื่น ๆ ที่สกัดโดยวิธี Soxhlet และวิธีแช่ยุ่ย (รูปที่ 3)

รูปที่ 3 รูปแบบการหลีกหนีสารเคมีของยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) สายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ ทีม่ ีการให้สัมผัส


สาร (บน) และไม่ให้สัมผัสสาร (ล่าง) โดยใช้สารสกัดจากสักทั้งวิธีแช่ยุ่ย และวิธี Soxhlet ทีร่ ะดับความ
เข้มข้นต่าง ๆ
18

สัดส่วนของยุงลายบ้านสายพันธุ์นครศรีธรรมราชที่เหลืออยู่ในกล่องทดสอบในช่วงเวลาต่าง ๆ ในการทดสอบ
ซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น 30 นาที เพื่อสังเกตรูปแบบการหลีกหนีสารสกัดของยุงลายได้ พบว่า สารสกัดจากสัก ทั้งวิธี
Soxhlet และวิธีแช่ยุ่ย ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ยุงลายบ้านมีรูปแบบการหลีกหนีไม่แตกต่างกัน (รูปที่ 4)

รูปที่ 4 รูปแบบการหลีกหนีสารเคมีของยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) สายพันธุ์นครศรีธรรมราช ทีม่ ีการให้สัมผัส


สาร (บน) และไม่ให้การสัมผัสสาร (ล่าง) โดยใช้สารสกัดจากสักด้วยวิธีแช่ยุ่ย และวิธี Soxhlet ทีร่ ะดับ
ความเข้มข้นต่าง ๆ
19

บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

สรุปผล
จากการทดสอบฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ (USDA) และสายพันธุ์นครศรีธรรมราชของสาร
สกัดจากสักด้วยวิธีแช่ยุ่ยและวิธี Soxhlet ที่ระดับความเข้มข้น 0.5%, 1%, 2.5%, 5% และ 10% พบว่า สารสกัด
จากสักในทุกระดับความเข้มข้นจากวิธีสกัดทั้งสองวิธี ไม่มีความแตกต่างทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกล่องควบคุม
ยกเว้นสารสกัดจากสักจากวิธี Soxhlet ระดับความเข้มข้น 10% ที่ทดสอบกับยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ
(USDA) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างยุงในกล่องควบคุมและกล่องทดสอบแบบไม่ให้ยุงสัมผัสกับสารสกัดโดยตรง มี
ความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญ (P = 0.01) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างยุงในกล่องควบคุมและกล่อง
ทดสอบแบบให้ยุงสัมผัสกับสารสกัดโดยตรง มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญเช่นกัน (P = 0.03)
ฤทธิ์ไล่ยุงของสารสกัดจากสักระหว่างระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ของวิธีแช่ยุ่ยและวิธี Soxhlet พบว่า สาร
สกัดจากสักโดยวิธีแช่ยยุ่ ต่อยุงลายบ้านสายพันธุ์นครศรีธรรมราชแบบให้ยุงสัมผัสกับสารสกัดโดยตรง ที่ระดับความ
เข้มข้น 0.5% กับ 10.0% เท่านั้นที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p = 0.04) ส่วนการเปรียบเทียบอื่น ๆ
ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติใดใด
สัดส่วนของยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการที่ยังอยู่ในกล่องทดสอบ โดยมีการสัมผัสสารสกัดและไม่มี
การสัมผัสสารสกัดจากสัก หลังจากทดสอบกับสารสกัดจากสักด้วยวิธีแช่ยยุ่ และวิธี Soxhlet เป็นเวลา 30 นาที
สัดส่วนนี้จะใช้บอกแบบการหลีกหนีสารของยุงลาย ซึ่งสารสกัดจากสักโดยวิธี Soxhlet ที่ความเข้มข้น 10% มียุง
หลีกหนีออกจากกล่องทดสอบมากที่สุด โดยในกล่องที่มีการสัมผัสสาร มียุงเหลืออยู่ 84.48% และกล่องที่ไม่มีการ
สัมผัสสาร มียุงเหลืออยู่ 84.48% เช่นกัน
จากผลการทดสอบทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากสักมีฤทธิ์ในการขับไล่ยุงทั้งแบบสัมผัสสารแล้วบิน
หนี และแบบขับไล่โดยตรงโดยไม่ต้องสัมผัสสารก่อน
อภิปรายผล
พฤติกรรมการหลีกหนีต่อสารเคมีของยุงพาหะนาโรค นับเป็นสิ่งสาคัญสาหรับใช้ในการควบคุมยุงพาหะ
นาโรค ซึ่งได้มีการพยายามพัฒนาเครื่องมือทดสอบพฤติกรรมการหลีกหนีต่อสารเคมีที่มีความน่าเชื่อถือในหลาย
รูปแบบของ Excito-repellency test system (Roberts et al. 1984, Chareonviriyaphap et al. 1997,
Rutledge et al. 1999, Sungvornyothin et al. 2001) แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนา Excito-repellency test
system ให้มีขนาดกะทัดรัดได้สาเร็จสามารถนาไปใช้ทดสอบยุงในสถานที่ต่าง ๆ ได้สะดวก (Polsomboon et al.
2008)
สารเคมีสามารถป้องกันยุงกัดได้ 3 ทาง คือ ฤทธิ์ทาให้ยุงที่เกาะบนสารเกิดการระคายเคืองแล้วบินหนีไป
(irritancy effect) ฤทธิ์ในการไล่ยุง (repellency effect) และฤทธิ์ในการการฆ่า (killing effect) (Grieco et al.
2007) ในการศึกษาครั้งนี้ ยุงลายบ้านทั้งสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ (USDA) และสายพันธุ์นครศรีธรรมราช แสดงให้
เห็นชัดเจนว่า มีพฤติกรรมหลีกหนีต่อสารสกัดจากสักทั้งวิธีสกัดแบบแช่ยุ่ยและแบบ Soxhlet ในแบบทั้งการสัมผัส
สารและไม่สัมผัสสารต่า ซึ่งแสดงว่าสารสกัดจากสักที่สกัดได้จากวิธีสกัดทั้งแบบแช่ยุ่ยและแบบ Soxhlet ทีร่ ะดับ
ความเข้มข้น 0.5%, 1%, 2.5%, 5% และ 10% มีฤทธิ์ไล่ต่า อย่างไรก็ตามสารสกัดจากสักด้วยวิธี Soxhlet ทีร่ ะดับ
ความเข้มข้น 10% มีฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการมากที่สุด เนื่องจากมีจานวนยุงหลบหนีมากที่สุด
ซึ่งสถิติ survival analysis ที่ใช้ในการเปรียบเทียบฤทธิ์การขับไล่ยุงของสารเคมีนั้น นอกจากจะใช้จานวนยุงที่
หลงเหลืออยู่ในกรงเมื่อสิ้นสุดการทดสอบแล้ว ยังใช้ความไวในการหลบหนีออกจากกล่องทดสอบด้วย แต่ผลการ
ทดลองนี้ให้ผลไม่เด่นชัดนักอาจเนื่องมาจากการเลือกระดับความเข้มข้นของสารสกัดจากสักต่าเกินไป จึงทาให้ผล
การไล่ยุงของแต่ละความเข้มข้นมีความใกล้เคียงกันมากและมีผลที่คลุมเครือแปรปรวนมาก และเห็นการไล่ไม่
20

ชัดเจนนัก นอกจากนั้นการที่สารทดสอบแสดงผลการไล่ต่อยุงสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการได้ดีโดยการสกัดแบบ
Soxhlet อาจเนื่องมาจากยุงสายพันธุ์นี้ไม่สามารถต้านทานต่อสารเคมีใด ๆ เลย เพราะถูกเลี้ยงไว้ในห้องเลี้ยงแมลง
โดยไม่ให้มีการสัมผัสสารเคมีใด ๆ เลย ในขณะที่ยุงสายพันธุ์นครศรีธรรมราชเป็นยุงในธรรมชาติซึ่งย่อมต้องทนทาน
ต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ได้มากกว่า และการสกัดสารโดยใช้ Soxhlet น่าจะให้สารออกฤทธิ์ที่เข้มข้นกว่า จึงพบว่าที่น้าหนัก
สารเท่ากันจึงมีอัตราการไล่ดีกว่ากัน
นอกจากนี้ขี้เลื่อยของสักที่นามาใช้ในการสกัดสารสาหรับใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ก็ไม่ทราบว่าได้จากไม้สักที่
มีอายุกี่ปี เพราะอายุของไม้สักที่แตกต่างกันจะมีปริมาณสารปริมาณเทคโทควิโนนที่แตกต่างกัน ซึ่งจากการศึกษา
ของทรรศนีย์ (2554) ได้ทาการศึกษาปริมาณเทคโทควิโนน (2-เมทธิลแอนทราควิโนน) ในสารสกัดจากกระพี้และ
แก่นไม้สักจากสวนป่าที่อายุต่าง ๆ (13-30 ปี) จากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ สวนป่าแม่มาย จังหวัดลาปาง สวนป่าขุนแม่
คามี จังหวัดแพร่ สวนป่าแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ สวนป่าทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และสวนป่าน้าสวยห้วย
ปลาดุก จังหวัดเลย พบว่า สารสกัดจากกระพี้มีปริมาณเทคโทควิโนนน้อยมาก (ปริมาณน้อยมาก-0.009 %) และ
สารสกัดจากแก่นพบปริมาณเทคโควิโนนมีค่าตั้งแต่ 0.030-0.099% และจากรายงานการศึกษาการกระจายของสาร
แทรกในไม้สักจากป่าธรรมชาติ พบว่า ปริมาณเทคโทควิโนนที่พบในแก่นไม้สักป่าธรรมชาติจากจังหวัดกาญจนบุรี
จะมีค่าระหว่าง 0.2-1% และปริมาณเทคโทคิวโนนที่พบในแก่นไม้สักป่าธรรมชาติจากจังหวัดลาปาง มีค่าระหว่าง
0.2-0.7 (Thanom and Dietrichs, 1967) ซึ่งการศึกษานี้ นาขี้เลื่อยไม้สักซึ่งไม่สามารถทราบอายุได้มาทาการสกัด
สาร ซึ่งหากเป็นไม้สักที่มีอายุน้อย อาจทาให้ปริมาณเทคโทควิโนนที่พบขี้เลื่อยน้อยไปด้วย และมีรายงาน
ผลการวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารสกัดและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นสักที่ปลูกไว้ในสวนป่าของ
กรมป่าไม้ที่อาเภองาว จังหวัดลาปาง ว่าปริมาณสารสกัดจากไม้สักที่สกัดด้วยตัวทาละลายคลอโรฟอร์มและเมทธา
นอล จะขึ้นกับสภาวะแวดล้อมและลักษณะทางพันธุกรรม (Simatupang,1995)
นอกจากนี้ Cheng และคณะ (2008) ได้ศึกษาฤทธิ์การฆ่าลูกน้าของสารสกัดจากส่วนต่าง ๆ ของ
Cryptomeria japonica D. Don ต่อลูกน้ายุงลายบ้านและยุงลายสวนวัยที่ 4 พบว่า สารสกัดจากกระพี้มีผลใน
การฆ่าลูกน้ายุงลายบ้านและยุงลายสวนดีที่สุด ค่า LC50 ที่ 24 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 2.4 และ 3.3 µg/ml ตามลาดับ
และยังศึกษาส่วนประกอบของสารที่อยู่ในกระพี้ของ C. Japonica พบว่า มีเทคโทคิวโนน (tectoquinone) เป็น
ส่วนประกอบ ซึ่งค่า LC50 ที่ 24 ชั่วโมง ของเทคโทคิวโนนต่อยุงลายบ้านและยุงลายสวน มีค่าเท่ากับ 3.3 และ 5.4
µg/ml ตามลาดับ ดังนั้น สารเทคโทคิวโนนที่อยู่ในไม้สักน่าจะมีฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ายุงลายบ้านและยุงลายสวนได้
เช่นกัน
ข้อเสนอแนะ
1. สารสกัดจากมีแนวโน้มในการไล่ยุงลายบ้านได้ในระดับความเข้มข้นที่สูงขึ้น เพราะจากการศึกษาพบว่า
ที่ระดับความเข้มข้น 10% โดยสกัดด้วยวิธี Soxhlet ต่อยุงลายบ้านสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการมีฤทธิ์ไล่ในระดับต่า
ซึ่งหากเพิ่มความเข้มข้นให้สูงขึ้นอาจจะมีฤทธิ์ในการไล่ยุงลายบ้านได้ ซึ่งน่าจะทาการศึกษาต่อไป
2. ในการสกัดสารจากสักนั้น ควรพิจารณาอายุของต้นสัก และแหล่งที่ปลูก เพื่อจะได้ต้นสักที่มีปริมาณ
สารเทคโทคิวโนน (tectoquinone) มากสาหรับใช้ในการทดสอบ
3. ควรจะมีการวิเคราะห์ตรวจหาระดับความเข้มข้นของสารเทคโทคิวโนน ที่อยู่ในสารสกัดจากสัก เพื่อจะ
ได้ทราบถึงปริมาณของสารเทคโทคิวโนนที่มีอยู่ในสารสกัดที่ใช้ในการทดสอบ ซึ่งได้ข้อมูลยืนยันถึงผลการทดสอบที่
ได้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
4. ควรจะทาการศึกษาฤทธิ์การฆ่าลูกน้าของสารสกัดจากสักต่อลูกน้ายุงลายบ้านและยุงลายสวนด้วย ซึง่
มีการศึกษาพบว่า สารเทคโทคิวโนนมีฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ายุงลายบ้านและยุงลายสวนได้ ซึ่งหากสารสกัดจากสักมี
ประสิทธิผลในการฆ่าลูกน้าได้ ก็จะสามารถนามาใช้ทดแทนสารเคมีกาจัดลูกน้าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้
บรรณานุกรม

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2543. ไข้เลือดออกและการควบคุมยุงพาหะนาโรค. กลุ่มงานกีฏวิทยา สถาบันวิจัย


วิทยาศาสตร์สาธารณสุข และ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
(ออนไลด์). สืบค้นจาก: http://www.a4s-thai.com/mcontents/marticle.php?
headtitle=mcontents&id=38743&Ntype=1. (ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2553).
กรมควบคุมโรค. 2552. สถานการณ์โรคไข้ชิคุนกุนยา (Chikungunya Fever) ประเทศไทย. (ออนไลด์). สืบค้นจาก:
http://203.157.15.4/chikun/chikun/situation/y52/chikun_200906261457.pdf. (ค้นเมื่อ 30
มิถุนายน 2552).
ตามทันเกษตร. 2553. สารเทคโทควิโนนจากสักไล่แมลง (ออนไลด์). สืบค้นจาก:
http://thailand.siamjobit.com/News-detail-351956.html (ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2553).
ทรรศนีย์ กิติรัตน์ตระการ และยุพาพร สรนุวัฒน์. 2545. เทคโทคิวโนนในไม้สักจากสวนป่า I. รายงานการประชุม
การป่าไม้ประจาปี 2546. กรมป่าไม้.
ทรรศนีย์ พัฒนเสรี. 2554. เทคโทควิโนนในไม้สักจากสวนป่าทีพ่ นื้ ทีป่ ลูกและอายุตา่ งๆ. (ออนไลด์). สืบค้นจาก:
http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=8&d=104976 (ค้นเมื่อ 1 กันยายน
2554).
Aradhana R., K. N. V. Rao, David Banji and R. K. Chaithanya. 2010. A Review on Tectona grandis.linn:
Chemistry and Medicinal uses (FAMILY: VERBENACEAE) Herbal Tech Industry, November 2010.
Barnard, D. R. 1999. Repellency of essential oils to mosquitoes (Diptera: Culicidae). J. Med. Entomal.
36: 625-629.
Braga, I.A., Lima, J. B. P., Soares, S. S. and Valle, D. 2004. Aedes aegyptei Resistance to temephos
during 2001 in several municipalities in the states of Rio de Janeiro, Sergipe, and Alagoas,
Brazil. Mem.Inst. Oswaldo Cruz, Rio de Janeiro. 99: 199-203.
Chareonviriyaphap, T., D. R. Roberts, R. G. Andre, H. H. Harlan and M.J. Bangs. 1997. Pesticide
avoidance behavior in Anopheles albimanus, a malaria vector in the Americas. J. Am. Mosq.
Contr. Assoc. 13: 171-183.
Chareonviriyaphap T., A. Prabaripai, S. Sungvornyothin. 2002. An improved excito - repellency for
mosquito behavioral test. J Vector Ecol 27: 250-252.
Grieco, J.P., N.L. Achee, T. Chareonviriyaphap, W. Suwonkerd, K. Chauhan, M.R. Sardelis, and D.R.
Roberts. 2007. A new classification system for the actions of IRS chemicals traditionally used
for malaria control. PloS One. 2 (8): e716.
Kleinbaum, D.G. 1995. Survival Analysis. Springer-Verlag, New York. 324 pp. [Online] Available HTTP:
http://www.google.com/books?hl=th&lr=&id=GNhzxRkFnJ0C&oi=fnd&pg=PR7&dq=Kleinbaum
,+D.G.+%22Survival+Analysis%22&ots=Z38qSnGd75&sig=Z3atFvA4QHMXgOlvnli8RQ9qcPc#v=
onepage&q=Kleinbaum%2C%20D.G.%20%22Survival%20Analysis%22&f=true (ค้นเมื่อ 17
กันยายน 2554)
22

Mantel, N. and W. Haenzel. 1959. Statistic aspects of the analysis of data from retrospective studies
of diseases. J. Natl. Cancer Inst. 22: 719-748.
Noosidum A., A. Prabaripai, T. Chareonviriyaphap and A. Chandrapatya. 2008. Excito-repellency
properties of essential oils from Melaleuca leucadendron L., Litsea cubeba (Lour.) Persoon,
and Litsea salicifolia (Nees) on Aedes aegypti (L.) mosquitoes. Journal of Vector Ecology. Vol.
33, no. 2. 305-312.
Premrasmi T. and H.H. Dietrichs. 1967. Nature and Distribution of Extractives in Teak (Tectona grandis
Linn.) from Thailand. The Natural Histry Bulletin of Siam Society. Bangkok. Vol. 22 No. 1&2.: 1-
14.
Polsomboon S., P. Poolpraset, M. J. Bangs, W. Suwonkerd, J. P. Grieco, N. L. Achee, Parbaripai A. and
Chareonviriyaphap T.. 2008. Effects of physiological conditioning on behavioral avoidance by
using a single age group of Aedes aegypti exposed to deltamethrin and DDT. J. Med.
Entomol. 45 251-259.
Qui, H., H. W. Jun, and J. W. McCall. 1998. Phamacokinetics, formulation, and safty of insect
repellent N,N-diethyl-3-methylbenzamide (deet): A review. J. Mosq. Contr. Assoc. 14: 12-27.
Roberts, D.R., W.D. Alecrim, A.M. Tavares, and K.M. McNeil. 1984. Influence of physiological condition
on the behavioral response of Anopheles darlingi to DDT. Mosq. News 4: 357-561.
Roberts, D. R., T. Chareonviriyaphap, H. H. Harlan, and P. Hshieh. 1997. Methods of testing and
analyzing excitorepellency responses of malaria vectors to insecticides. J. Am. Mosq. Contr.
Assoc. 13: 13–17. [Online] Available HTTP: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9152869 (ค้น
เมื่อ 17 กันยายน 2554)
Roberts D. R, Chareonviriyaphap T, Harlan HH, Hshieh P. 1997. Methods of testing and analyzing
excito-repellency responses of malaria vectors to insecticides. J. Amer. Mosq. Control Assoc.
13: 13-17.
Rutledge, L.C., N.M. Echana, and R.K. Gupta. 1999. Responses of male and female mosquitoes to
repellents in the World Health Organization insecticide irritability test system. J. Am. Mosq.
Contr. Assoc. 15: 60-64.
Saelim, V., Kankaew, P and Sithiprasasna, R. 2005. Temephos resistance by bottle and biochemical
assays in Aedes aegypti in Thailand. Pattani Provincial Public Health Office, Muang District,
Pattani, Thailand. [Online]. Available from: http://esa.confex.com/esa/2004/tech-
program/paper_14849.htm. (ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2554)
Sen-Sung Cheng, Chin-Gi Huang, Wei-June Chen, Yueh-Hsiung Kuo, Shang-Tzen Chang. 2008.
Larvicidal activ ity of tectoquinone isolated from red heartwood-type Cryptomeria japonica
against two mosquito species. Bioresource Technology 99 (2008) 3617–3622.
Simatupang, M.H. 1999. Importance of Teakwood Extractives to Wood Properties and Tree Breeding.
Regional Seminar on Site, Technology and Productivity of Teak Plantations. Chiang Mai,
Thailand. P. 235-246.
23

Sungvornyothin, S., T. Chareonviriyaphap, A. Prabaripai, T. Trirakhupt, S. Ratanatham, and M.J. Bangs.


2001. Effects of nutritional and physiological status on behavioral avoidance of Anopheles
minimus (Diptera: Culicidae) to DDT, deltamethrin and lambdacyhalothrin. J. Vector Ecol. 26:
202-215.
Supamonproduct. 2554. กรรมวิธีสกัดสมุนไพร. [Online] Available HTTP:
http://www.supamonproduct.com/?cid=1290073&f_action=forum_viewtopic&forum_id=9670
1&topic_id=95429 [2554, กันยายน, 17]
Thanom P. and H. H. Dietrichs. 1967. “Nature and Distribution of Extractives in Teak (Tectona grandis
Linn) from Thailand.” The Natural History Bulletin of Siam Society. Bangkok. Vol. 22 No. 1 & 2.
: 1-14.
Tawansin, A., S. D. Wratten, R. R. Scott, U. Thavara, and Y. Techadamronsin. 2001. Repellency of
volatile oils from plants against three mosquito vectors. J Vector Ecol 26(1): 76-82.
Thai AGDP network (vlog). (2554). Survival Analysis [Online] Available HTTP:
http://thaiagdpnetworkvlog.blogspot.com/2008/03/survival-analysis.html (ค้นเมื่อ 17 กันยายน
2554)
Wirth, M.C. and Ceorghiou, C.P. 1999. Selection and characterization of temephos resistance in a
population of Aedes aegypti from Tortola, British Virgin Islands. J Am Mosq Control Assoc.,
15:315-20.
24

ประวัติผู้วิจัย

1. ที่ปรึกษาโครงการวิจัย
1) ศ.ดร. ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ ตาแหน่งศาตราจารย์ ระดับ 10
ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 0-2942-7131 โทรสาร 0-2942-7130
E-mail address: faasthc@ku.ac.th
2) รศ.ดร. อรัญ งามผ่องใส ตาแหน่งรองศาตราจารย์ ระดับ 9
ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112
โทร. 0-7428-6101-2 โทรสาร 0-7421-2823
E-mail address: aran.n@psu.ac.th
2. หัวหน้าโครงการวิจัย
นายสุทธิ ทองขาว ตาแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชานาญการ
กลุ่มพัฒนาวิชาการ สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
184/117 ถนนเทวบุรี ตาบลโพธิ์เสด็จ อาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์ 0-7534-1147 ต่อ 13 โทรสาร 0-7534-2328
E-mail address: thongkhao.sootthi@gmail.com
3. ผู้ร่วมวิจัย
1) นายวิโรจน์ ฤทธาธร ตาแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชานาญการ
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงที่ 11.2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
ถนนเทวบุรี ตาบลโพธิ์เสด็จ อาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์ 0-7535-6509 โทรสาร 0-7536-6587
E-mail address: wirote_138@hotmail.com
2) นางสาวกชพรรณ สุกระ ตาแหน่งนักกีฏวิทยา
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงที่ 11.2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
ถนนเทวบุรี ตาบลโพธิ์เสด็จ อาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์ 0-7535-6509 โทรสาร 0-7536-6587
E-mail address: nasawansukra@hotmail.com
3) นางสาวโสภาวดี มูลเมฆ ตาแหน่งนักกีฏวิทยา
ศูนย์อ้างอิงแมลงพาหะนาโรค สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
428 ถนนไทรบุรี ตาบลบ่อยาง อาเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
โทรศัพท์ 0-7431-1411 โทรสาร 0-7431-1411
E-mail address: sopavadee14a@yahoo.com
4) นางสาววาสินี ศรีปล้อง ตาแหน่งนักกีฏวิทยา
ศูนย์อ้างอิงแมลงพาหะนาโรค สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
428 ถนนไทรบุรี ตาบลบ่อยาง อาเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000
โทรศัพท์ 0-7431-1411 โทรสาร 0-7431-1411
E-mail address: wawa_jung@hotmail.com
25

5) นายธีรพล ฆังคมณี ตาแหน่งนักกีฏวิทยา


ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงที่ 11.2 จังหวัดนครศรีธรรมราช
ถนนเทวบุรี ตาบลโพธิ์เสด็จ อาเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
โทรศัพท์ 0-7535-6509 โทรสาร 0-7536-6587
E-mail address: tkar_4@hotmail.com
6) ดร. ปิติ มงคลางกูร ตาแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชานาญการ
สานักโรคติดต่อนาโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ซ.บาราศนราดูร ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร. 02-5903144 โทรสาร 02-5918422
E-mail address: blacktuche@gmail.com

You might also like