You are on page 1of 11

จุดสัญญาณขาด้านนอก/ขาด้านใน

จัดทำโดย
นายณัฐวุฒิ กราบทอง 624973012
นายรัชชานนท์ เพชรสง่า 624973013

นำเสนอ
อาจารย์ กิติศักดิ์ รุจิกาญจนรัตน์

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 8033502
คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ประจำปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 2
จุดสัญญาณขาด้านนอก
การนวดจุดสัญญาณขาด้านนอก หมายถึง การกดนวดบริเวณที่เป็นจุดสัญญาณของขา
ด้านนอก ซึ่งมี 5 จุด อยู่ที่บริเวณสะโพก 3 จุด ขาท่อนบนด้านนอก 1 จุด และขาท่อนล่างด้าน
นอก 1 จุด
การนวดจุดสัญญาณขาด้านนอกให้ได้ผลดีและเกิดประสิทธิผล หมอผู้นวดจะต้องจัดท่า
ของผู้ป่วย และท่าของหมอให้ถูกต้อง กดตำแหน่งของจุดสัญญาณให้ถูกต้องแม่นยำ รวมทั้งต้องกด
นวดตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดดังต่อไปนี้

ท่าของผู้ป่วย : ท่านอนตะแคงคู้เข่า 90 องศา แนวหัวไหล่ตั้งฉากกับพื้น


ท่าหมอผู้นวด : ท่านั่งคุกเข่าทั้งสองข้าง โดยไม่นั่งทับส้นเท้า

ตำแหน่งจุดสัญญาณขาด้านนอก
จุดสัญญาณ 1 ด้านนอก เป็นจุดเดียวกับจุดที่ 1 ที่ใช้ในการนวดพื้นฐานขาด้านนอก คือ อยู่
ในแนวดิ่งด้านข้างลำตัว ต่ำกว่าขอบบนของกระดูกสะโพก 1 ฝ่ามือหรือเป็นจุดตัดระหว่างเส้นแนว
ดิ่งด้านข้างลำตัว กับแนวระนาบที่ลากผ่านหัวตะคาก
จุดสัญญาณ 2 ขาด้านนอก เป็นจุดเดียวกับจุดที่ 2 ที่ใช้ในการนวดพื้นฐานขาด้านนอก คือ
อยู่ที่จุดตัดของเส้นแนวดิ่งที่ห่างจากหัวตะคากไปทางด้านหลัง 2 นิ้วมือ ตัดกับเส้นตามแนวระนาบ
ต่ำกว่าหัวตะคาก 1 นิ้วมือ
จุดสัญญาณ 3 ขาด้านนอก เป็นจุดเดียวกับจุดที่ 3 ที่ใช้ในการนวดพื้นฐานขาด้านนอก คือ
อยู่ที่จุดตัดของเส้นที่ลากจากหัวตะคาก ซึ่งทำมุม 45 องศา กับแนวระนาบที่ผ่านหัวตะคาก กับ
เส้นตามระนาบที่ลากผ่านปลายกระดูกกระเบนเหน็บชิ้นที่ 5 ถ้าสังเกตจะพบว่าจุดนี้อยู่ที่รอยบุ๋ม
กึ่งกลางสะโพก
จุดสัญญาณ 4 ขาด้านนอก เป็นจุดที่อยู่บนแนวการคลายกล้ามเนื้อต้นขาท่อนบนด้านนอก
ของการนวดพื้นฐานขาด้านนอก โดยอยู่ชิดเอ็นด้านนอกของขาท่อนบน เหนือข้อพับข้อเข่า
ประมาณ 4 นิ้วมือ
จุดสัญญาณ 5 ขาด้านนอก เป็นจุดที่อยู่บนเส้นชงฆ์ประพาส ซึ่งอยู่ด้านหน้าของหัวกระดูก
น่อง และต่ำกว่าหัวกระดูกน่อง 4 นิ้วมือ ถ้าสังเกตจะพบว่าจุดนี้จะอยู่ระดับเดียวกันกับกึ่งกลาง
ของน่องส่วนที่โตที่สุด หรืออยู่ในระดับ 3 ใน 10 ส่วน ของระยะระหว่างข้อพับเข่าถึงตาตุ่มด้าน
นอก

ขั้นตอนและวิธีการนวด
การนวดจุดสัญญาณขาด้านนอก แต่ละจุดมีขั้นตอนและวิธีการนวด ดังนี้
การนวดจุดสัญญาณ 1 ขาด้านนอก หมอผู้นวดนั่งคุกเข่าทั้งสองข้าง โดยไม่นั่งทับ
ส้นเท้า อยู่ด้านหลังผู้ป่วย เข่าทั้งสองข้างของหมอผู้นวด ขนาดกับลำตัวของผู้ป่วย หันหน้า
ไปทางเดียวกับผู้ป่วย วางนิ้วหัวแม่มือลงทั้งสองข้างคู่กันที่ตำแหน่งสัญญาณ 1 กดนวดใน
ลักษณะคว่ำมือ ระยะเวลาในการกดนวด คาบใหญ่
การนวดจุดสัญญาณ 2 ขาด้านนอก หมอผู้นวดนั่งในท่าและตำแหน่งเดียวกับการ
นวดจุดสัญญาณ 1 ขาด้านนอก วางนิ้วหัวแม่มือลงทั้งสองข้างคู่กั นที่ตำแหน่งจุดสัญญาณ
2 กดนวดในลักษณะหงายมือให้นิ้วหัวแม่มือชี้ขึ้น ระยะเวลาในการกดนวด คาบใหญ่
การนวดจุดสัญญาณ 3 ขาด้านนอก หมอผู้นวดนั่งในท่าเดิม ขยับตัวจากตำแหน่งที่
นั่งนวดจุดสัญญาณ 2 ขาด้านนอก ลงไปทางปลายเท้าของผู้ป่วยเล็กน้อย หันลำตัวไปทาง
ศีรษะของผู้ป่วยโดยทำมุม 45 องศากับลำตัวผู้ป่วย แล้ววางนิ้วหัวแม่มือลงทั้งสองข้างคู่กัน
ที่ตำแหน่งจุดสัญญาณ 3 กดนวดในลักษณะคว่ำมือให้นิ้วหัวแม่มือชี้ลง ระยะเวลาในการ
กดนวด คาบใหญ่
การนวดจุ ด สั ญ ญาณ 4 ขาด้ า นนอก หมอผู ้ น วดอยู ่ ใ นท่ า เดิ ม กั บ การนวดจุ ด
สัญญาณ 3 ขาด้านนอก แต่ตำแหน่งที่ นั่งนวดจะอยู่ระดับเดียวกับโคนขาของผู้ป่วย ก่อน
ทำการนวดบำบัดให้ขยับปลายเท้าขาท่อนล่างที่คู้ ของผู้ป่วยให้ขนานกับขาที่เหยียด โดย
ให้ส้นเท้าอยู่ระดับกึ่งกลางหน้าแข้งของขาที่เหยียด แล้ววางนิ้วหัวแม่มือข้างที่ใกล้ปลาย
เท้าผู้ป่วย กดลงที่ตำแหน่งจุดสัญญาณ 4 ขาด้านนอก ในลักษณะคว่ำมือ โดยแขนอีกข้าง
หนึ่งแนบชิดลำตัว ให้ทิศของแรงช้อนกล้ามเนื้อไปทางด้านหน้า ระยะเวลาในการกดนวด
คาบใหญ่
การกดจุดสัญญาณ 5 ขาด้านนอก หมอผู้นวดนั่งคุกเข่าทั้งสองข้างโดยไม่นั่งทับส้น
เท้าอยู่ระดับเดียวกับข้อพับเข่าของผู้ป่วย ให้ปลายขาท่อนล่างที่คู้ข องผู้ป่วยอยู่ในตำแหน่ง
เดียวกับการนวดจุดสัญญาณ 4 ขาด้านนอก แล้ววางนิ้วหัวแม่มือลงทั้งสองข้างคู่กันที่
ตำแหน่งจุดสัญญาณ 5 ขาด้านนอก กดในลักษณะหงายมือให้นิ้วมือชี้ขึ้น ระยะเวลาในการ
กดนวด คาบใหญ่

ความหมายของการนวดจุดสัญญาณขาด้านนอก
สัญญาณ 1 ขาด้านนอก
o หมายถึง บังคับเลือดและความร้อนเข้าสะโพก ไปทั่วขาด้านนอกออกถึงปลายเท้า
o แก้ โรคลมปราบที่ขา, ขาชา, ขาลีบ, โรคที่เกี่ยวกับสะโพก เช่น ขัดสะโพก ข้อต่อสะโพกเสื่อม
อัมพาตขา
o กดบริเวณ Fascia covering gluteus medius.
สัญญาณ 2 ขาด้านนอก
o หมายถึง บังคับเลือดและความร้อน เข้าหัวต่อกระดูกสะโพก ไปขาออกสันหน้าแข้งด้านนอก
o แก้ ขัดสะโพก, ยอกสะโพก, หัวข้อต่อกระดูกและเบ้าข้อต่อกระดูกสะโพกอักเสบ, อัมพาตขา
o ห้ามนวดในกรณีที่ผู้ป่วยอัมพาตเหยียดคู้ขาไม่ได้ เพราะจะทำให้กระดูกข้อต่อสะโพกเคลื่อน
หลุดออกจากที่มากขึ้น
o กดบริเวณ Gluteus medius muscle.
สัญญาณ 3 ขาด้านนอก
o หมายถึง บังคับเลือดและความร้อนเข้าสะโพก ไปเชิงกราน ออกท้องน้อย
o แก้ กระดูสะโพกเคลื่อนให้เข้าที่ , แก้อักเสบของมดลูก-เชิงกราน ใช้ตรวจดูการเข้าอู่ของมดลูก
หลังคลอด, กระดูกสะโพกเคลื่อนว่าเข้าที่หรือยัง , โรคหมอนรองกระดูกหลังสัญญาณ 3 หลัง
อักเสบ, ข้อต่อสะโพกเสื่อม, อัมพาตขา
o กดบริเวณ Gluteus maximus muscle.
สัญญาณ 4 ขาด้านนอก
o หมายถึง บังคับเลือดและความร้อนเข้าขาท่อนบนด้านนอก ไปในเข่า
o แก้ กล้ามเนื้อขาอักเสบ, กล้ามเนื้อฉีกขาด, โรคที่เกี่ยวกับเข่า เช่น เข่าเคลื่อน, ลมจับโปงเข่า,
ลมลำบองเข่า เป็นต้น
o กดบริเวณ Biceps Femoris , Iliotibial tract.
สัญญาณ 5 ขาด้านนอก
o หมายถึง บังคับเลือดและความร้อนเข้าที่ขาท่อนล่างด้านนอก ไปข้อเท้าและออกหลังเท้า นิ้วเท้า
o แก้ ขาลีบ, ตะคริวปลายเท้า, อัมพาตขา, สันนิบาตตีนตก
o กดบริเวณ Fibularis longus

ประโยชน์ของการนวดจุดสัญญาณขาด้านนอก
การนวดจุดสัญญาณขาด้านนอก มีผลกระตุ้นกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนเลือด ระบบ
ประสาท เพื่อบังคับเลือดและความร้อน นอกจากนี้การกดนวดจุดสัญญาณยังใช้ตรวจประเมินโรค
ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
• จุดสัญญาณ 3 ขาด้านนอก ใช้ตรวจประเมินการเข้าอู่ของมดลูกในหญิงหลังคลอด กรณีมดลูกไม่
เข้าอู่ ตำแหน่งสัญญาณ 3 จะแข็งตึงและมีความร้อน การตรวจประเมินความผิดปกติของข้อต่อ
สะโพก เช่น ภาวะข้อต่อสะโพกเคลื่อนและการกลับเข้าที่ของข้อต่อสะโพก ตำแหน่งจุดสัญญาณจะ
คลำพบแข็งเป็นไตและสัญญาณเต้นไม่ชัดเจน
• จุดสัญญาณ 5 ขาด้านนอก ใช้ตรวจประเมินกรณีกล้ามเนื้อขาลีบ ว่าสามารถแก้กลับคืนได้หรือไม่
หากตรวจพบว่ากล้ามเนื้อของขาบริเวณจุดสัญญาณ 5 ขาด้านนอกลีบ เป็นเส้นเล็กกว่าก้านไม้ขีด
จะแก้คืนไม่ได้

ข้อห้าม/ข้อควรระวังในการนวดจุดสัญญาณขาด้านนอก
การกดนวดแต่ละจุดสัญญาณ จะต้องคำนึงถึงท่าทาง ตำแหน่ง คาบ ขนาดและทิศทางของ
แรง เพราะหากไม่ระวังอาจเกิดอาการต่อไปนี้ได้
• จุดสัญญาณ 1 ขาชา ไม่มีกำลัง อาการรุนแรงมากขึ้นจะทำให้ขาลีบ
• จุดสัญญาณ 2 ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตเหยียดคู้ขาไม่ได้ ห้ามนวดจุดสัญญาณ 2 ขาด้านนอก เพราะ
จะทำให้กระดูกข้อต่อสะโพกหลวมมากขึ้น และอาจเคลื่อนหลุดได้ และทำให้ปลายเท้าตก ไม่มี
กำลัง
• จุดสัญญาณ 3 กล้ามเนื้อเคล็ด ขัด ยอก สะโพก
• จุดสัญญาณ 4 เข่าทรุด ไม่มีกำลัง
• จุดสัญญาณ 5 ทำให้ปลายเท้าตก
จุดสัญญาณขาด้านใน
การนวดจุดสัญญาณขาด้านใน หมายถึง การกดนวดบริเวณที่เป็นจุดสัญญาณของขาด้าน
ใน ซึ่งมี 5 จุด อยู่บริเวณขาท่อนบนด้านใน 3 จุด ที่บริเวณข้อพับเข่า 1 จุด และขาท่อนล่างด้านใน
บริเวณตาตุ่มใน 1 จุด
การนวดจุดสัญญาณขาด้านในให้ได้ผลดีและเกิดประสิทธิผล หมอผู้นวดจะต้องจัดท่าของ
ผู้ป่วย และท่าของหมอให้ถูกต้อง กดตำแหน่งของจุดสัญญาณให้ถูกต้องแม่นยำ รวมทั้งต้องกดนวด
ตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดดังต่อไปนี้

ท่าของผู้ป่วย : ท่านอนตะแคงคู้เข่า 90 องศา แนวหัวไหล่ตั้งฉากกับพื้น ส้นเท้าของขาที่คู้อยู่ชิด


เข่าของขาข้างที่เหยียด
ท่าหมอผู้นวด : ท่านั่งคุกเข่าทั้งสองข้าง โดยไม่นั่งทบส้นเท้า

ตำแหน่งจุดสัญญาณขาด้านใน
จุดสัญญาณ 1 ขาด้านใน อยู่บริเวณด้านในของขาท่อนบนชิดโคนขา ห่างจากแนวเส้น
กึ่งกลางขา ไปทางด้านหลังประมาณ 3 นิ้ว
จุดสัญญาณ 2 ขาด้านใน เป็นจุดเดียวกับจุดที่ 1 ที่ใช้ในการนวดพื้นฐานขาด้านใน คืออยู่ที่
ตำแหน่งจุดตัดของเส้นตามแนวดิ่งที่ผ่านกึ่งกลางของโคนขาด้านในท่อนบนตัดกับแนวระนาบที่
ตำแหน่งต่ำกว่าก้นย้อยของขาข้างที่งอคู้เข้า 2 นิ้วมือ
จุดสัญญาณ 3 ขาด้านใน อยู่บริเวณด้านในของขาท่อนบน อยู่บนเส้นแนวดิ่งที่ผ่านขอบ
สะบ้าด้านใน และเหนือขอบบนสะบ้าขึ้นไปทางโคนขา 4 นิ้วมือ
จุดสัญญาณ 4 ขาด้านใน หรือจุดเปิดประตูลมเข่า อยู่บริเวณกึ่งกลางข้อพับเข่า ณ จุดนี้
หมอผู้นวดจะรู้สึกได้ถึงชีพจรของหลอดเลือดแดงที่ข้อพับเข่า
จุดสัญญาณ 5 ขาด้านใน อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างตาตุ่มด้านในกับส้นเท้า
ขั้นตอนและวิธีการนวด
การนวดจุดสัญญาณขาด้านใน แต่ละจุดมีขั้นตอนและวิธีการนวด ดังนี้
การนวดจุดสัญญาณ 1 ขาด้านใน หมอผู้นวดอยู่ในท่านั่งคุกเข่าคู่ ไม่นั่งทับส้นเท้า
อยู่ด้านหลังระดับโคนขาของผู้ป่วย หันหน้าไปทางเดียวกับผู้ป่วย วางนิ้วหัวแม่มือลงทั้ง
สองข้างคู่กันที่ ตำแหน่งจุดสัญญาณ 1 กดนวดในลักษณะหงายมือให้นิ้วหัวแม่มือชี้ขึ้น
ระยะเวลาในการกดนวด ใช้คาบใหญ่
การนวดจุดสัญญาณ 2 ขาด้านใน หมอผู้นวดนั่งในท่าและตำแหน่งเดียวกับการ
นวดจุดสัญญาณ 1 ขาด้านใน วางนิ้วหัวแม่มือลงทั้งสองข้างคู่กันที่ตำแหน่งจุดสัญญาณ 2
กดนวดในลักษณะหงายมือให้นิ้วหัวแม่มือชี้ขึ้น ระยะเวลาในการกดนวด ใช้คาบใหญ่
การนวดจุดสัญญาณ 3 ขาด้านใน หมอผู้นวดนั่งในท่าเดิม แต่ตำแหน่งที่นั่งจะอยู่
ต่ำลงไปเล็กน้อย เข่าด้านล่างของหมอผู้นวดอยู่ในระดับเข่าของขาข้างที่เหยียดของผู้ป่วย
วางนิ้วหัวแม่มือคู่ ในลักษณะหงายมือ ตรงตำแหน่งจุดสัญญาณ 3 ขาด้านใน ระยะเวลาใน
การกดนวด ใช้คาบใหญ่
การนวดจุดสัญญาณ 4 ขาด้านใน หมอผู้นวดนั่งอยู่ในท่าเดิม วางนิ้วหัวแม่มือเดี่ยว
ข้า งที่ใกล้ปลายเท้าผู้ป่วย ในลัก ษณะคว่ำ มือ กดตรงตำแหน่งสัญ ญาณ 4 ขาด้า นใน
ระยะเวลาในการกดนวด ใช้คาบใหญ่
การนวดจุดสัญญาณ 5 ขาด้านใน หมอผู้นวดอยู่ในท่าเดิม แต่ตำแหน่งที่นั่งนวดจะ
อยู่ต่ำลงไปทางปลายเท้าของผู้ป่วย เข่าด้านล่างของหมอผู้นวด อยู่ในระดับเดียวกับส้นเท้า
ของขาข้างที่เหยียดของผู้ป่วย วางนิ้วหัวแม่มือเดียว ข้างที่ใกล้ปลายเท้าผู้ป่วย กดใน
ลักษณะคว่ำมือบริเวณจุดสัญญาณ 5 ขาด้านใน ระยะเวลาในการกดนวด ใช้คาบใหญ่
ความหมายของการนวดจุดสัญญาณขาด้านใน
สัญญาณ 1 ขาด้านใน
o หมายถึง บังคับเลือดและความร้อนเข้าข้อต่อสะโพก ไปบั้นเอว ออกเข่า
o แก้ ขัดสะโพก, โรคเกี่ยวกับสัญญาณ 3 หลังอักเสบ จากลมปลายปัตคาดและลมลำบอง, โรคที่
เกี่ยวกับท้องและเชิงกราน เช่น มดลูกเคลื่อน, ดานเลือด, ดานลม
o กดบริเวณ Semimembranosus.
สัญญาณ 2 ขาด้านใน
o หมายถึง จ่ายเลือดและความร้อนเข้าขาท่อนบนด้านใน ลงขาทั่วไป ออกปลายเท้า
o แก้ โรคลมปราบที่ขา, กล้ามเนื้ออักเสบ, โรคหมอนรองกระดูก สัญญาณ 1 หลังอักเสบ, กระจาย
ความร้อนในท้อง จากการอักเสบของโรคเกี่ยวกับหลัง
o กดบริเวณ Addactor magnus. โดนหลอดเลือด Femeral artery.
สัญญาณ 3 ขาด้านใน
o หมายถึง บังคับเลือดและความร้อนเข้าท่อนบนด้านในเหนือเข่า ไปในเข่า
o แก้ โรคที่เกี่ยวกับเข่า เช่น ลมจับโปง, ลมลำบอง, ข้อเข่าเคลื่อน
o กดบริเวณ Vastus medialis m. , Sartorius m.
สัญญาณ 4 ขาด้านใน
o หมายถึง จ่ายเลือดและความร้อนเข้าเข่า ไปสะบ้า
o แก้ ข้อเข่าเคลื่อน ผลักกระดูกเข่าที่เคลื่อนให้เข้าที่ , โรคเกี่ยวกับเข่า เช่น ลมจับโปง, ลมลำบอง,
ข้อเข่าเคลื่อน, โรคเกี่ยวกับลูกสะบ้า เช่นสะบ้าบิน, สะบ้าจม
o กดบริเวณ Popliteal artery.
สัญญาณ 5 ขาด้านใน
o หมายถึง บังคับเลือดและความร้อนเข้าข้อเท้าด้านใน ไปฝ่าเท้า ออกนิ้วเท้า
o แก้ โรคเกี่ยวกับข้อเท้า เช่น ข้อเท้าเคลื่อน, ข้อเทาแพลง, ข้อเท้าอักเสบ เป็นต้น, แก้ลมขึ้นเบื้อง
สูง, ตะคริวเข้าท้อง, แก้ชักบางประเภท
o กดบริเวณ Tendon of tibialis posterior.

ประโยชน์ของการนวดจุดสัญญาณขาด้านใน
การนวดจุดสัญญาณขาด้านใน มีผลกระตุ้นกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนเลือด ระบบประสาท
เพื่อบังคับเลือดและความร้อน นอกจากนี้การกดนวดจุดสัญญาณยังใช้ตรวจประเมินโรคที่เกี่ยวข้อง
ดังนี้
จุดสัญญาณ 5 ขาด้านใน ใช้ตรวจประเมินดูการเข้าที่ของข้อเท้าพลิก/แพลงว่าเข้าที่หรือไม่
โดยการดูว่า เมื่อกดจุดสัญญาณ 5 ขาด้านใน หากชีพจรเต้นไม่ชัดเจน จะนวดเพิ่มเติม โดยการคัด
เส้น ซึ่งจะกล่าวในบทที่ว่าด้วยโรคนั้น
กรณีเป็นลมหมดสติ ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต จะนวดโดยการคัดเส้นที่จุดสัญญาณ 5 ขา
ด้านใน

ข้อห้าม/ข้อควรระวังในการนวดจุดสัญญาณขาด้านใน
การกดนวดแต่ละจุดสัญญาณ จะต้องคำนึงถึงท่าทาง ตำแหน่ง คาบ ขนาดและทิศทางของ
แรง เพราะหากไม่ระวังอาจเกิดอาการต่อไปนี้ได้
จุดสัญญาณ 3 ขาด้านใน อาจพบรอยช้ำ และขัดในลูกสะบ้า หลังจากการนวดได้
จุดสัญญาณ 5 ขาด้านใน อาจพบอาการชาฝ่าเท้า หลังจากการนวดได้
สมาชิกกลุ่ม
นายณัฐวุฒิ กราบทอง 624973012
นายรัชชานนท์ เพชรสง่า 624973013

You might also like