You are on page 1of 45

1

การศึกษาลวดลายผ้า

The study of fabric patterns

นายกษิดิศ บ่อน้อย เลขที่ 7

นายนันทพงศ์ แกล้วกล้า เลขที่ 13

นางสาวสุพรรณวสา เทียนสำเภา เลขที่ 21

นางสาวธิดารัตน์ รักพ่วง เลขที่ 34

นางสาวอุษาสิริ อาจจุฬา เลขที่ 35

นางสาว กัญญพัชร นุ่มขึง เลขที่ 36

นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 5/9

รายงานประกอบรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ

I30202

โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร

คำนำ

รายงานฉบับนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชาการศึกษาค้นคว้าเเละ
สร้างองค์ความรู้จากมรดกโลก(IS1) ผู้จัดทำได้จัดทำรายงานฉบับนี ้
ขึน
้ เพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษาค้นคว้า ลักษณะลวดลายผ้าของ
เเต่ละยุคสมัยพร้อมทัง้ ประโยชน์ของลวดลายผ้า โดยได้ทำการศึกษา
เเละรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ อินเทอร์เน็ตเเละเเหล่งเรียนรู้ต่างๆ
คณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนีจ
้ ะเป็ นประโยชน์เเก่ผู้สนใจเกี่ยว
กับลวดลายผ้าเพื่อนำไปสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆต่อไป

คณะผู้จัดทำ

บทคัดย่อ

รายงานเรื่อง ลวดลายผ้า จัดทำขึน


้ เพื่อศึกษาประวัติการ
ลวดลายแต่ละสมัย ลายผ้า ประเภทต่าง ๆ และการอนุรักษ์ผ้าไทย
จากการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ข้อสรุป
ดังนีผ
้ ้าไทยถือว่าเป็ นมรดก ทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชนชาติไทย
มาตัง้ แต่โบราณซึ่งลวดลายของได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ ตัง้ แต่ อดีต
จนถึงปั จจุบัน ตัง้ แต่สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุง
รัตนโกสินทร์ โดยการทอลวดลายผ้า ก็เป็ นเอกลักษณ์ของชาติไทย
การทอลวดลายผ้ายังบ่งบอกถึงความหมาย เเละความเชื่อ และ
วัฒนธรรมของคนไทยอีกด้วย ศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาเป็ น
ระยะนาน ดังนัน
้ จึงเป็ นสิง่ สำคัญที่ลูกหลานไทยจะต้องอนุรักษ์ผ้า
ไทยให้สืบทอดกับเเผ่นดินไทยไปอย่างยาวนาน

กิตติกรรมประกาศ

รายงานเล่มนีส
้ ําเร็จเรียบร้อยได้ด้วยความกรุณาของอาจารย์น
นทพร หน่อคํา ที่ปรึกษา รายงานเล่มนีท
้ ี่ได้ให้ความรู้และช่วย
แนะนำ ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่อย่างดี
สม่ำเสมอตลอดมา นอกจากนีผ
้ ู้จัดทำรายงานยังได้รับความกรุณา
จากอาจารย์ศิริลักษณ์ ชาญเชี่ยว อาจารย์ พรสุภา อิ่มเนย ที่กรุณา
แนะนำข้อบกพร่องแก้ไขรายงานเล่มนีใ้ ห้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึน

ตลอดระยะเวลาในการจัดทำรายงานเล่มนี ้ ขอกราบขอบพระคุณ
บิดา มารดา ผู้ซึ่งให้ ความรัก ความเมตตา ความห่วงใย และเป็ น
กำลังใจให้กับผู้จัดทำรายงานจนสำเร็จ และขอขอบพระคุณพี่ ๆ
น้อง ๆ รวมทัง้ เพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้กำลังใจ ผู้จัดทำรายงานรู้สึก
ซาบซึง้ ใน พระคุณอย่างสูง

ความดีของรายงานครัง้ นี ้ ขอมอบเป็ นเครื่องบูชาบิดา มารดา


์ ระสาทความรู้แก่ผู้จัดทำ
และบูรพาจารย์ทุกท่านที่ได้ ประสิทธิป
รายงานจนสามารถทำรายงานเล่มนีไ้ ด้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

หน้า

คำนำ

บทคัดย่อ

กิตติกรรมประกาศ

สารบัญ

สารบัญภาพ

สารบัญตาราง

1.บทนำ
1
2.ความเป็ นมาของผ้า
1

3.ความเป็ นมาของผ้าสมัยสุโขทัย
2
3.1 ลวดลายผ้าในสมัยสุโขทั
3
4.ความเป็ นมาของลวดลายผ้าสมัยอยุธยา
8
4.1 ลวดลายผ้าในสมัยกรุงศีอยุธยา
8
5.ความเป็ นมาของผ้าสมัยรัตนโกสินทร์
11
5.1 ลวดลายผ้าในสมัยรัตนโกสินทร์
12
6.ลวดลายและสัญลักษณ์ในผ้า
14
7.การเปรียบเทียบความแตกต่างของผ้าสมัย สุโขทัย –
รัตนโกสินทร์ 16
8.สรุป
17

บรรณานุกรรม
18
ภาคผนวก
19

สารบัญภาพ

ภาพที่
หน้า

1.ลายเครือน้อย
3

2.ลายเครือกลาง
3

3.ลายเครือใหญ่
4

4.ลายดอกมนสิบหก
4

5.ลายสิบสองหน่วยตัด
5

6.ลายน้ำอ่าง
5

7.ลายสองท้อง
6

8.ลายแปดขอ
6

9.ลายสี่ขอ
7

10.ผ้าลายอย่าง
9

11.ผ้าลายทอง
10

12.ผ้าลายเทียมยกทองลาย
10

13.ผ้าตาดระกำไหม
12

14.ผ้ายกดิน
้ ทอง
12

15.ผ้ากรองทอง
13

16.ผ้าตาดทอง
13

17.ภาพภาคผนวก
19

สารบัญตาราง

ตารางที่
หน้า

1.การเปรียบเทียบความแตกต่างของลวดลายผ้าในสมัย
สุโขทัย – รัตนโกสินทร์ 16

1.บทนำ

ผ้าพื้นบ้านพื้นเมืองของไทยที่ทอกันตามท้องถิ่นต่างๆ ในปั จจุบันนี ้


เต็มไปด้วยลวดลาย และสัญลักษณ์ต่างๆ มากมาย ซึง่ ผู้ใช้ผ้าในยุค
ปั จจุบันอาจไม่เข้าใจความหมาย และมองไม่เห็นคุณค่าลวดลายและ
สัญลักษณ์เหล่านี ้ บางลายก็มีช่ อ
ื เรียกสืบต่อกันมาหลายชั่วคน บาง
ชื่อก็เป็ นภาษาท้องถิ่น ไม่เป็ นที่เข้าใจของคนไทยในภาคอื่นๆ
สัญลักษณ์ และลวดลายบางอย่าง ก็เชื่อมโยงกับคติและความเชื่อ
ของคนไทยพื้นบ้าน ที่นับถือ สืบต่อกันมาหลายๆ ชั่วอายุคนและ
ยังสามารถเชื่อมโยงกับลวดลายที่ปรากฏอยู่ในศิลปะอื่นๆ เช่น บน
จิตรกรรมฝาผนัง และสถาปั ตยกรรม หรือบางทีก็มีกล่าวถึงใน
ตำนานพื้นบ้าน และในวรรณคดี เป็ นต้น

บางลวดลายก็เป็ นคติร่วมกับความเชื่อ สากล และปรากฏอยู่ใน


ศิลปะของหลายชาติ เช่น ลายขอ หรือลายก้นหอย เป็ นต้น ซึ่งนับว่า
เป็ นลายเก่าแก่แต่โบราณของหลายๆ ประเทศทั่วโลก หากเรารู้จัก
สังเกต และศึกษาเปรียบเทียบแล้ว ก็จะเข้าใจลวดลาย และ
สัญลักษณ์ในผ้าพื้นเมืองของไทยได้มากขึน
้ และมองเห็นคุณค่าได้ลึก
ซึง้ ขึน
้ ลายที่จะนำมาเป็ นลวดลายผ้านัน
้ เกิดจากอิทธิพลความเชื่อ
ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ของมนุษย์ด้วย เช่น ลายเกี่ยวกับ สัตว์ เกี่ยวกับพืชและความคิด
สร้างสรรค์ ของช่าง ซึ่งลายต่าง ๆในสมัยก่อนจะไม่ทอปะปนกันจะ
แยกออกจากกันโดยเด็ดขาด ทัง้ นีอ
้ าจเป็ น เพราะมีความเชื่อเอาลาย
2

ที่ไม่เหมาะสมกับงานนัน
้ ๆ จะไม่ได้รับความนิยมและที่สำคัญจะไม่
ได้บุญได้กศ
ุ ลและไม่ร้จ
ู ักกาลเทศะประกอบกิจอันใดก็จะไม่เจริญ
รุ่งเรือง

เนื่องด้วยเหตุนก
ี ้ ลุ่มของผูศ
้ ึกษาสนใจจะจัดทำรายงานเรื่อง “ลว
ยลายของผ้าในสมัยต่างๆ”โดยผู้ศก
ึ ษาจะศึกษาประวัติความเป็ นมา
ของผ้าและลวดลายของผ้าในสมัยต่างๆ เพื่อนำความรู้มาใช้
ประโยชน์และพัฒนาให้ได้มากที่สุด

2.ความเป็ นมาของลวดลายผ้า

จากหลักฐานทางโบราณคดีแสดงว่า ดินแดนที่เป็ น
ประเทศไทยในปั จจุบันนีเ้ คยมีการใช้ผ้าและทอผ้าได้ตงั ้ แต่สมัยก่อน
ประวัติศาตร์ เมื่อราว 2000-4000 ปี มาแล้ว โดยได้พบเศษผ้าติดอยู่
กับคราบสนิมของกำไลทองสำริด และแวดินเผาซึ่งเป็ นอุปกรณ์ปั่น
ด้ายแบบง่ายๆ รวมทัง้ ลูกกลิง้ แกะลายสำหรับใช้ทำลวดลายบนผ้า
เป็ นจำนวนมาก อยู่ที่บริเวณแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียง อำเภอ
หนองหาน จังหวัดอุดรธานี นับเป็ นหลักฐานเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับการ
ใช้ผ้า และการทอผ้าของไทยในอดีต
3

สมัยสุโขทัยเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีหลักฐานที่ระบุไว้
ค่อนข้างชัดเจน และ ลวดลายผ้านับเป็ นหัตถกรรมอย่างหนึ่งที่ทำ
สืบต่อกัน

มาเป็ นเวลานาน ตัง้ แต่ก่อนสมัยสุโขทัยเป็ น ราชธานีสันนิษฐานจาก


ประวัติศาสตร์ไทยได้กล่าวไว้ จากหลักฐานการแต่งกายของพระมหา
กษัตริย์ เจ้านาย ข้าราชการ คหบดี ในสมัยนัน
้ และ ได้กล่าวไว้เกี่ยว
กับเรื่องการส่งส่วย มักกล่าวว่า "ส่งผ้าทอเป็ นมัด น้ำผึง้ ไม้หอม" และ
อื่น ๆ เป็ นเครื่องราชบรรณาการ การทอผ้านับว่าเป็ นศิลปะอย่าง
หนึ่งที่ผู้เป็ นช่างทอจะต้องมีความสามารถในการใช้สีของเส้นด้าย
ประกอบกันให้เกิดความสวยงามเหมาะสม และการแต่งแต้มสีทำให้
เกิดลวดลาย การย้อม หากผู้ใดได้จับชมแล้วยากที่จะวางลงได้ การ
ทอผ้านับเป็ นสถาปั ตยกรรมอีกด้วย เพราะช่างทอผ้าต้องออกแบบ
ลายผ้าของตนเองขึน
้ มา โดยการนำลักษณะต่าง ๆ ของธรรมชาติ
เช่น ดอกไม้ มาคิดประดิษฐ์ประดอยเป็ นลายผ้า จนมีช่ อ
ื เรียกตาม
ลักษณะของสิ่งเหล่านัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ นิยามว่า


สิ่งที่ทำด้วยเยื่อใย เช่น ฝ้ าย ไหม ขนสัตว์ โดยวิธีทอหรืออัดให้เป็ น
พื้น เรียกตามลักษณะของสิง่ ที่ทำ เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้ าย ผ้าขนสัตว์ผ้า
สิ่งที่ทอ ถัก ด้วยเส้นใยฝ้ าย ป่ าน ปอ ไหม ขนสัตว์ ให้เป็ น ผืนเพื่อใช้
ประโยชน์ลักษณะต่างๆ เช่น ใช้เป็ นเครื่องนุ่งห่ม ใช้ในพิธีกรรม มี
4

กลวิธีการทอ ลวดลาย และสีหลากหลาย ตามขนบนิยมของแต่ละ


กลุ่มชน

3.ความเป็ นมาของลายผ้าในสมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1792-


1981)
ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงบอกให้เราทราบว่า พ่อขุนศรี
อินทราทิตย์ พระราชบิดาของพระองค์ ได้ประกาศตัง้ เมืองสุโขทัย
เป็ นราชธานี ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ บันทึกนีบ
้ อกให้ทราบได้ว่า ใน
สมัยสุโขทัยนัน
้ ผ้าที่มีค่า คือ ผ้าไหม ผ้าแพร ผ้ากำมะหยี่ และรองลง
มาคือ ผ้าที่ท่อด้วยด้ายหรือฝ้ าย และย้อมเป็ นสีต่างๆ ที่เรียกว่า ห้าสี
คงได้แก่ สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว และสีเหลือง ครัง้ นัน
้ เรียกว่า ผ้า
เบญจรงค์ คนจีนในสมัยนัน
้ เรียกคนไทยว่า "เสียน" และว่าคนไทย
ทอผ้าได้ดี รู้จักเย็บผ้า ซึ่งในสมัยนัน
้ นับเป็ นเทคนิคใหม่และยาก ดัง
บันทึกของโจวต้ากวาน พ.ศ. ๑๘๙๓ หนังสือไตรภูมิพระร่วง ทำให้
เราทราบถึงผ้าที่นำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น ผ้าขาว
เนื้อดี ซึ่งเรียกว่า ผ้าสุกล
ุ พัตร์ ผ้าเล็กหลก ผ้าสำลี ผ้าชมพู ผ้าหนง
ผ้ากรอบ หลักฐานต่างๆ ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คนไทยแม้มีความ
เชี่ยวชาญในการทอผ้าแต่ก็นิยมสั่งซื้อผ้าจากต่างประเทศ เช่น จีน
และอินเดียด้วย ส่วนการทอนัน
้ น่าจะเกิดจากประสบการณ์ที่
สืบทอดกันมาเป็ นเวลานาน เราใช้ผ้าเป็ นเครื่องนุ่มห่มตามแบบไทย
ผ้าซิ่นใช้นุ่ง ผ้าสไบใช้ห่ม ผ้าขาวม้าใช้สารพัดประโยชน์ นอกจากนีก
้ ็
ใช้ผ้าทำประโยชน์อย่างอื่น เช่น ทำหมอน ปูที่นอน และทำธง
เป็ นต้น เราช่วยกันทำตัง้ แต่ การปลูกต้นฝ้ าย แล้วนำผลฝ้ ายมา
5

ปั่ นเอาใยฝ้ ายออกจากเมล็ด ทำเป็ นเส้นด้าย ย้อมสี ออกแบบ


ลวดลาย แล้วทอจนสำเร็จเป็ นผืนผ้า ถ้าต้องการใช้ผ้าไหม คนใน
ครอบครัวจะต้องนำตัวไหมมาเลีย
้ ง จนตัวไหมชักใยหุ้มตัวมากพอ ที่
เราจะสาวเป็ นเส้นไหม นำมาย้อมสี และออกแบบลวดลาย สำหรับ
ทอต่อไป

การเตรียมทอผ้าฝ้ าย ผ้าไหม แต่ละผืน จึงมีหลายขัน


้ ตอน
และกินเวลานานมาก ทุกขัน
้ ตอนดำเนินการด้วยมือ การทอก็ใช้แรง
คนเรียกว่า ทอด้วยมือ แต่ละครอบครัวแสดงผีมือ และความ
สามารถในการออกแบบผ้า ให้แตกต่างกันไป

3.1 เอกลักษณ์ผ้าตีนจกศรีสัชนาลัยสมัยสุโขทัย

เอกลักษณ์ผ้าตีนจกศรีสัชนาลัย
ผ้าตีนจกศรีสัชนาลัย มีแหล่งทอที่สำคัญอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย ซึง่ มีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่การจกลาย “จก” หมาย
ถึง ผ้าที่ทอให้เกิดลวดลายตามที่กำหนด โดยใช้ขนเม่น หรือเครื่อง
มือที่มีลักษณะเรียวแหลม ควัก หรือล้วง เส้นด้ายพุ่งพิเศษ ให้
ปรากฏเป็ นลายบนผืนผ้า นิยมใช้วิธีการจกล้วงแบบอิสระ มีการทอ
ลายเต็มผืนผ้า และจกลายเต็ม ลวดลายที่ทอนัน
้ จะเป็ นลวดลายหลัก
ในท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ 9 ลาย ได้แก่

1. ลายเครือน้อย
มีลักษณะเป็ นลายน้อยเป็ นลายง่ายลายประกอบของลายหลักนีจ
้ ึง
เป็ นลายนกหมู่ ซึ่งเป็ นเอกลักษณ์เฉพาะลาย
6

รูปที่ 1 ชื่อ ผ้าลายเครือน้อย


ที่มา http://www.sathorngoldtextilemuseum.com/thai-
phuan-teenjok.html

2. ลายเครือกลาง

มีลายหลักที่เหมือนกับลายเครือน้อย เพียงแต่มค
ี วามยาวใน
การจกลายเพิ่มขึน
้ ลายประกอบของลายหลักนีเ้ ป็ นลายนกคาบ
ลายพันคีง ลายดอกหมีแ
่ ละลายสร้อยลา ลายเครือกลางนีเ้ ป็ นที่นิยม
มาต่อกับซิ่นเข็น
7

รูปที่ 2 ผ้าลายเครือกลาง

ที่มา http://www.sathorngoldtextilemuseum.com/thai-

phuan-teenjok.htm

3. ลายเครือใหญ่

ลายหลักที่มีดอกไม้อยู่ตรงกลาง ลายเครือประกอบของ
ลายนีค
้ ือลายนกคุ้ม ลายนกคาบ ลายพันคีง ลายเครือขอและลาย
เครือใหญ่นิยมนำมาต่อกับซิ่นมุก

รูปที่3 ผ้าลายเครือใหญ่

ที่มา http://www.sathorngoldtextilemuseum.com/thai-
phuan-teenjok.html
8

4. ลายดอกมนสิบหก

ลายดอกมนสิบหกหรือบางแหล่งเรียกลายสิบหกหน่วยตัด
หมายถึงลายที่มีมุม 16 มุม ลายประกอบของลายหลักนีจ
้ ะเหมือน
กับลายอื่นทั่วไป แต่จะต้องนำไปต่อกับซิ่นตาเติบ

รูปที่4 ผ้าลายดอกมนสิบหก

ที่มา http://www.sathorngoldtextilemuseum.com/thai-
phuan-teenjok.html

5. ลายสิบสองหน่วยตัด

หมายถึงลายหลักที่มีขอจำนวน 12 ขอประกอบกัน เป็ นดอกมี


ขาพัน ทำเป็ นสามเหลี่ยมและยังมีลายประกอบคือ ลายนกคาบหรือ
หงส์ตัวเล็กอยู่ด้วย ลายหลักนีน
้ ิยมต่อกับซิ่นตาหว้า
9

รูปที่5 ผ้าลายสิบสองหน่วยตัด

ที่มา http://www.sathorngoldtextilemuseum.com/thai-
phuan-teenjok.html

6. ลายน้ำอ่าง

หมายถึง ลายหลักที่มีหงส์สองตัวคาบดอกไม้รวมกันคล้ายกับ
ว่าหงส์สองตัวคาบอกไม้ในอ่างน้ำนั่นเอง ลายหลักนีเ้ ป็ นที่นิยมทอ
กันมากที่สุดและนิยมเอามาต่อกับซิ่นเข็น

รูปที่6 ผ้าลายน้ำอ่าง
10

ที่มา http://www.sathorngoldtextilemuseum.com/thai-

phuan-teenjok.html

7. ลายสองท้อง

เป็ นลายหลักที่มีความแปลกกว่าลายอื่นคือ ครึ่งหนึ่งของลาย


จะเป็ นสีดำ อีกครึ่งจะเป็ น สีแดง

รูปที่7 ผ้าลายสองท้อง

ที่มา http://www.sathorngoldtextilemuseum.com/thai-
phuan-teenjok.html

8. ลายแปดขอ
11

หมายถึง ลายที่มีความเหมือนกับลายสิบหกหน่วยตัด แต่ย่อ


ขนาดให้เล็กลง ลายประกอบ จะเป็ นนกแถว ลายหลักนีน
้ ิยมต่อกับ
ซิ่นอ้อมแดง

รูปที่8 ผ้าลายแปดขอ

ที่มา http://www.sathorngoldtextilemuseum.com/thai-
phuan-teenjok.html

9.ลายสี่ขอ

หมายถึง เป็ นลายขนาดเล็กมีลายประกอบขนาดเล็ก ๆ ใช้ต่อ


กับผ้าซิ่น ให้เด็กหญิงใส่ ลายหลักนีน
้ ิยมต่อกับซิ่นตาหว้า เป็ นลายที่
ใช้ในการหัดทอผ้าตีนจก
12

รูปที่ 9 ผ้าลายสี่ขอ

ที่มา http://www.sathorngoldtextilemuseum.com/thai-
phuan-teenjok.html
13

4.ความเป็ นมาของลายผ้าสมัยอยุธยา

จากหลักฐานจดหมายเหตุของชาวจีนและชาวยุโรป และ
วรรณคดีบางเรื่อง กล่าวถึงผ้าชนิดต่างๆ มากมาย ทัง้ ที่ทำขึน
้ ใน
ประเทศไทยและที่นำมาจากต่างประเทศ ได้แก่ ผ้าฝ้ าย ผ้าไหม ผ้า
แพร ผ้าหนังไก่ (ผ้าแพรมีเนือผ้าหยุ่นๆ คล้ายหนังไก่) ผ้าสมปั ก (ผ้า
ทอด้วยไหมเพลาะมีลวดลายและสีต่างๆ) ผ้าปูม(ผ้าไหมทอมีลวด
ฃายเป็ นสีต่างๆ โดยลวดลายแลเห็นไม่เด่นชัดนัก) ผ้าจวน(ผ้าแพร

้ ทอง และผ้าพมพ์ ตำนาน


เพลาะเนื้อบางนิ่ม) ผ้าปั กไหม ผ้าปั กดิน

วังเก่าในประชุมพงศาวดารภาคที่ 63 กล่าวถึงแหล่งค้าผ้าที่
สำคัญหลายแห่งในกรุงศรีอยุธยา เช่น ย่านป่ าไหมขายไหม
ครุย ไหมฟั่ น ไหมเบญจพรรณ(ไหมย้อมเป็ นสีตา่ งๆ) สำหรับ
ฉลองพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดิน ทรงโพกพระเศียรด้วยผ้า
สีขาว ทรงพระภูษาผ้าไหมปั กผ้าสี่เหลี่ยมมีรัตพัสตร์ (ผ้าสี
แดง) ทำด้วแพรต่วน เวลาเสด็จทำสงครามหรือเสด็จ
ประพาสล่าสัตว์จทรงฉลองพระองค์ชุดสีแดง เสื้อของทหาร
ที่ตามเสด็จประพาสล่าสัตว์จะทรงฉลองพระองค์ชุดสีแดง
เสื้อของทหารที่ตามเสด็จก็เย็บด้วยผ้ามัสลินย้อมสีแดง
ขุนนางที่มีความดีความชอบ เช่น รบศึกชนะ พระเจ้าแผ้น
ดินจะพระราชทานบำเหน็จรางวัลให้ โดยของอย่างหนึง่ ที่
ทรงใช้ปน
ู บำเหน็จรางวัล คือ ผ้า นอกจากนี ้ ขุนนางจะได้รับ
14

พระราชทานผ้าสมปั กตามตำแหน่งสำหรับนุง่ เข้าฝ้ า ซึ่งมี


หลายชนิด เช่น เจ้าปลัดกรมใช้สมปั กไหม หัวหมื่นนายเวรใช้
สมปั กลาย การนุง่ ผ้าสมปั กยังขึน
้ อยู่กับโอกาสและพิธีการ
บางอย่างอีกด้วย

4.1 ลวดลายผ้าในสมัยอยุธยา

การออกแบบลวดลายผ้าลายอย่างนัน
้ ต้องทำอย่างประณีต
พิถพ
ี ิถัน ด้วยเหตุว่าในสมัยก่อนนัน
้ ผ้าลายอย่างเป็ นผ้าชัน
้ สูง คือ
เป็ นผ้าทรงสำหรับกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ชน
ั ้ สูง สามัญชนจะนุ่งได้เมื่อ
ได้รับพระราชทานตามบรรดาศักดิ ์ อยู่ๆแค่มีเงินจะไปซื้อมานุ่งตาม
อำเภอใจไม่ได้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความนิยมให้ลักษณะของผ้า
เป็ นเครื่องแสดงฐานะ และตำแหน่งของผู้สวมใส่ ข้าราชการที่
ทำความดีความชอบ พระเจ้าแผ่นดินก็จะทรงมีบำเหน็จรางวัลให้
และของอย่างหนึ่งที่ใช้ปูนบำเหน็จรางวัลก็คือ ผ้า ขุนนางจะรับ
พระราชทานผ้าสมปั กไว้นุ่งเข้าเฝ้ า ผ้าพระราชทานนีเ้ ปรียบเสมือน
เงินเดือน แต่พระราชทานรายปี เรียกว่า ผ้าหวัดรายปี ผ้าสมปั ก มี
หลายชนิด สำหรับฐานะ และตำแหน่งแตกต่างกัน เช่น สมปั ก ลาย
หัวหมื่นนายเวรใช้ สมปั กไหมเจ้ากรมปลัดกรมใช้ ส่วนมหาดเล็กใช้
ผ้าลาย บางทีการนุ่งผ้าสมปั กก็ขน
ึ ้ อยู่กับโอกาส หรือพิธีบางอย่างอีก
ด้วย
15

กระบวนลายในกรุงศรีอยุธยา
สำหรับการรวบรวมกระบวนลายผ้าในสมัย
อยุธยานัน
้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแทบไม่ได้มีการบันทึกไว้นอกเสียจาก
ลายไทยที่อยู่ตามวัด คุณธนิตจึงเริ่มภารกิจตามหาลายไทยสมัย
อยุธยาในสถานที่ประวัติศาสตร์ของเพชรบุรี

ลายอย่าง

นอกจากลายที่ถอดมาจากภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยา คุณธนิต
ยังได้เพิ่มเติมเรื่องความประณีต ในเส้นสายความเป็ นไทย ซึ่ง
แตกต่างจากผ้าลายอย่างในสมัยอยุธยา ที่แม้ช่างในราชสำนักจะ
เขียนลายออกมาสวยหวานขนาดไหน ทว่าคนแกะลายคือช่างชาว
อินเดีย ดังนัน
้ ความเข้าใจในลวดลายไทยจึงมีไม่ถ่องแท้ และบ่อย
ครัง้ ยังใส่กลิ่นอายอินเดียแถมเข้ามาในลายผ้า ผ้าลายอย่างของ
อยุธยาจริงๆ มักจะเขียนลายไทย แบบไม่สุด ตวัดหางไม่คมชัด
เพราะต่างชาติทำ พอเรามาทำเองเราจึงอยากบอกให้รู้ว่านี่คือ
ผ้าลายอย่างที่คนไทยทำ ดังนัน
้ ความละเอียดในลายไทยจึงต้องสุด
พลาดไม่ได้ และก็ได้มีการพัฒนามาเป็ นการพิมพ์ลายบนผ้าไหม
ทอมือจากสุรินทร์ พร้อมทัง้ รื้อฟื้ นการเขียนลายทองแบบอยุธยาขึน

มา โดยใช้เทคนิคตามแบบอยุธยาโบราณเช่นกัน
16

รูปที่ 10 ผ้าลายอย่าง

ที่มา https://thestandard.co/buppae-sunniwas-beauty-of-
the-fabric/

ลายทอง

สำหรับการเขียนลายทองนัน
้ เป็ นการผสมผสานระหว่างผ้าลาย
อย่าง และการเขียนเส้นทองเพื่อใช้เป็ นผ้าสำหรับกษัตริย์ แต่ความ
ยากของการเขียนลายทองคือต้องเขียนยางไม้ให้เป็ นลายก่อน จาก
นัน
้ จึงนำทองคำเปลวมาปิ ดเกิดเป็ นลาย ซึ่งข้อดีของเทคนิคนีค
้ ือลาย
ทองสวยเงางาม มีความนูน แต่ถ้าใช้บ่อยหรือมีการพับ เส้นทองจะ
แตก คุณธนิตจึงทดลองว่าทำอย่างไรไม่ให้เส้นทองแตก กระทั่งมา
ค้นพบสูตรยาง มะเดื่อ ผสมน้ำผึง้ ซึง่ เป็ นสูตรเดียวกับที่ช่างอยุธยา
ใช้เขียนลายในพระอุโบสถของวัดใหญ่สุวรรณาราม
17

รูปที่ 11 ผ้าลายทอง

ที่มา https://thestandard.co/buppae-sunniwas-beauty-of-
the-fabric/

ผ้าลายเทียมยกทองลาย ประจำยามราชวัตร
นำยางมะเดื่อที่ขน
ึ ้ อยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรีมาทดลอง ปรากฏว่า
เขียนลายทองบนผ้าได้ดีกว่าสีสมัยใหม่มาก แต่ก็ต้องใช้เวลาทำนาน
มากเช่นกัน ไหนจะต้องเปลี่ยนพู่กันทุกชั่วโมง เพราะยางมะเดื่อจะ
รัดพู่กันจนเขียนไม่ได้ ด้ามหนึ่งใช้ได้ไม่นานต้องทิง้ ผ้าเขียนลายทอง
ชิน
้ แรกที่ทำสำเร็จต้องใช้เวลานานถึง 11 เดือน

รูปที่ 12 ผ้าลายเทียมยกทองลาย

ที่มา https://thestandard.co/buppae-sunniwas-beauty-of-
the-fabric/
18

5.ความเป็ นมาของลายผ้าสมัยรัตนโกสินทร์

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การใช้ผ้าเป็ นไปตามฐานะและ


ตำแหน่งหน้าที่การงานเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา โดยในรัชกาลที่ 1
โปรดเกล่าฯ ให้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการแต่งกายของขุนนาง
ชัน
้ ผู้ใหญ่ ขุนนางชัน
้ ผู้น้อย และราษฎรทั่วไป มีลายละเอียดของ
เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้สวมใส่
เช่น ชุดขุนนางชัน
้ ผู้น้อยห้ามนุ่งผ้าสมปั ก ใส่เสื้อครุยกรองคอและ
กรองต้นแขน คาดรัดประคดหนามขนุนและกัน
้ ร่มผ้า ซึง่ สิ่งเหล่านี ้
ใช้ได้เฉพาะขุนนางชัน
้ ผู้ใหญ่เท่านัน
้ นากจากนี ้ ในกรณีของสามัญชน
ยังห้ามใส่จเี ้ สมาภควจั่นประดับเพชร ถมยาราชาวดีประดับพลอย
และใส่กำไลเท้าทองคำ
ในรัชกาลที่ 2 ปรากฏว่ามีผ้าเพิ่มขึน
้ อีกชนิดหนึ่ง
เรีกยว่า ผ้าโหมด หรือ ผ้าโหมดเทศ เป็ นผ้าทอจากอินเดีย ทำด้วย
กระดาษเงินและกระดาษทองพันเส้นไหมทอกับไหมสีต่างๆ เช่น สี
ม่วง สีน้ำเงิน เป็ นลายริว้ หรือเป็ นลายดอก ผ้าชนิดนีใ้ ช้ตัดเสื้อ ตอน
แรกๆใช้สำหรับเจ้านาย แต่ต่อมาสามัญชนนำมาใช้ได้ นอกจากนีย
้ ัง
เป็ นผ้าพระราชทานแก่แม่ทัพนายกองที่มีความชอบอีกด้วย
ในรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 มีการกล่าวถึงการแต่งกายของ
สามัญชนบ้าง ทำให้ทราบว่า ผ้าบางชนิดนิยมใช้กับคนบางกลุ่ม เช่น
คนมีเงินนิยมใช้แพรจีนสีต่างๆ โดยห่มหรือเย็บซ้อนกัน 2 ชัน
้ ใช้ผ้าสี
นวลอยู่ข้างใน ริมผ้าขลิบลูกไม้ส่วนมุมผ้าติดพู่ ข้าราชการนิยมนุ่งผ้า
19

ปูม แต่เวลาเข้าเฝ้ าจะนุ่งผ้าสมปั ก ส่วนเจ้านายทรงผ้าลายเขียนทอง


ผ้าปั กทองแล่ง(ทองแล่ง คือ ทางที่นำมารีดเป็ นแผ่นบางๆ แล้วตัด
เป็ นเส้นๆ) ผ้าเข้มขาบ (ผ้าทอควบกับทองแล่งเป็ นริว้ ๆ ตามยาว)
ในรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการที่เข้า
เฝ้ าเลิกนุ่งผ้าสมปั ก เปลี่ยนมานุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงินแก่แทน และใส่เสื้อ
แพรสีต่างๆ ตามกระทรวง เช่น ข้าราชการกระทรวงกลาโหมใช้สีลูก
หว้า กระทรวงมหาดไทยใช้สีเขียวแก่ กระทรวงการต่างประเทศใช้
สีน้ำเงินแก่ อาลักษณ์และโหรใช้สีขาว
ผ้าม่วงเป็ นผ้าไหมเนื้อละเอียด สัง่ ทำจากประเทศจีน
มีสีต่างๆ เวลานุ่งจะนุง่ แบบโจงกระเบนมีผส
ู้ ันนิษฐานว่า คำว่า
“ม่วง” มาจากภาษาจีนออกเสียงว่า “หม่วง” เข้าใจว่าคงเป็ นชื่อ
เมืองหรือสถานที่ที่ผลิตผ้าชนิดนีใ้ นประเทศจีนขณะนัน

20

5.1 ลวดลายผ้าในกรุงรัตนโกสินทร์

ผ้าตาดระกำไหม

รูปที่ 13 ผ้าตาดระกำไหม

ที่มา
https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?
book=

15&chap=5&page=t15-5-infodetail05.html

ผ้ายกดิน
้ ทอง
21

รูปที่ 14 ผ้ายกดิน
้ ทอง

ที่มา
https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?
book=15&chap=5&page=t15-5-infodetail05.html

ผ้ากรองทอง

รูปที่ 15 ผ้ากรองทอง

ที่มา
22

https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?
book=15&chap=5&page=t15-5-infodetail05.html

ผ้าตาดทอง

รูปที่ 16 ผ้าตาดทอง

ที่มา
https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?
book=15&chap=5&page=t15-5-infodetail05.html
23

6.ลวดลายและสัญลักษณ์ในผ้าไทย

ผ้าไทยมีลวดลายต่างๆ กัน บางลวดลายก็เป็ น


สัญลักษณ์มีความหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามคติความเชื่อทางศาสนา
หรือ สื่อความหมายทางวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น ชื่อของ
ลวดลายก็มีต่างๆ กัน บางชื่อสามารถเข้าใจความหมายได้ไม่ยาก แต่
บางชื่อเป็ นชื่อจากภาษาท้องถิ่น ชื่อของลวดลายก็มีต่างๆกัน บางชื่อ
สามารถเข้าใจความหมายได้ไม่ยาก แต่บางชื่อเป็ นชื่อจากภาษาท้อง
ถิ่น อาจไม่ทราบความหมายหรือที่มาของชื่อเหล่านัน
้ อาจจะแบ่ง
ลักษณะของลวดลายที่ปรากฏอยู่บนผ้าพื้นเมืองของไทย ออกเป็ น
ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี ้

ลายเส้นตรงและเส้นขาด

ลายลักษณะนีป
้ รากฏเป็ นเส้นตรงทางยาวหรือทาง
ขวาง เส้นเดียวหรือหลายๆเส้นขนาดกัน โดยอาจเป็ นเส้นยาวติดต่อ
กันหรือขาดเป็ นช่วงๆ แยกจากกัน

ลายเส้นตรงทางยาวมักพบในผ้านุ่งของคนไทยกลุ่ม
ลาวโซ่ง หรือไทยดำในภาคอีสาน โดยผู้หญิงมักนุง่ ซิ่นสีดำ หรือสี
ครามแก่ มีลายเป็ นเส้นตรงสีขาวยาวลงมา ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่
วัดหนองบัว อำเภอท่าวังผาจังหวัดน่าน ก็แสดงการทอผ้าพื้นเมือง
โดยหญิงชาวบ้านนุ่งผ้าที่มีลายเส้นตรงและเส้นขาดตามขวาง

ลายเส้นตรงหรือเส้นขาดนีย
้ ังพัฒนารูปแบบเป็ นลา
ยอื่นๆ เช่น ลายฝนตก ลายน้ำไหล ลายดอกหญ้า ลายต้นไผ่
24

ลายฟั นปลา

เป็ นลายที่สลับเยื้องกันไปมา อาจเป็ นทางขวางหรือ


ทางยาวก็ได้ ชาวบ้านทางภาคเหนือ และภาคอีสานเรียกลายนีว้ ่า
“ลายเอีย
้ ” ลายฟั นปลามักปรากฏอยู่ตามเชิงของผ้าซิ่นตีนจกและ
ผ้าซิ่นมัดหมี่ นอกจากนี ้ ผ้าของชาวม้งทางภาคเหนือก็นิยมใช้ลาย
ฟั นปลาประดับผ้าด้วยเช่นกัน

ลายฟั นปลาได้มีการพัฒนาเป็ นนรูปต่างๆ เพื่อให้


สวยงามขึน
้ เช่น ลายนาคและนก ลายนาคและปราสาท ลาย
ปราสาทและตะขอ

ลายสี่เหลี่ยมขนมเปี ยกปูนและลายกากบาท

เป็ นลายที่เกิดจากการขีดเส้นตรงทางเฉียงหลายๆ เส้น


ตัดกัน ทำให้เกิดเป็ นรูปกากบาท หรือตารางสี่เหลี่ยมขนมเปี ยกปูน
หลายๆ รูปติดต่อกัน

ลายนีพ
้ บอยู่ทั่วไปบนผ้าจก ผ้าขิต และผ้ามัดหมี่ ในทุก
ภาคของประเทศไทย รวมทัง้ บนลวดลายผ้าของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง
และกะเหรี่ยงด้วย ในประเทศใกล้เคียง เช่น ลาว อินโดนีเซีย และ
ตอนใต้ของจีน ก็พบลายชนิดนีบ
้ นผ้าพื้นเมืองเช่นกัน

ลายสี่เหลี่ยมขนมเปี ยกปูนและลายกากบาทมีการพฒ
นาเป็ นรูปลายต่างๆ ได้หลายแบบ เช่น ภายในรูปขนมเปี ยกปูนอาจ
บรรจุดาว 8 เหลี่ยม หรือกากบาทเส้นตรง หรือรุปขนมเปี ยกปูน
ขนาดเล็ก ภาคอีสานเรียกลายชนิดนีใ้ นผ้าหมี่ว่า “ลายโคม”
นอกจากนีอ
้ าจผสมลายสี่เหลี่ยมขนมเปี ยกปูนกับลายตะขอ และ
25

เรียกชื่อต่างๆ กัน เช่น ลายแมงมุม ลายปลาหมึก ลายปู หาก


ปรากฏบนฝ้ ายกดอกหรือผ้ามัดหมี่ บางแห่งนิยมเรียก ลากดอกแก้ว
หรือ ลายดอกพิกล

ลายขดเป็ นวงเหมือนกันหอยหรือตะขอ

ลายนีพ
้ บอยู่ทั่วไปบนผ้าจก ผ้าขิต และผ้ามัดหมี่ ชาว
บ้านภาคเหนือและภาคอีสานเรียกว่า “ลายผักกูด”ผักกูดเป็ นพืช
ชนิดหนึ่งในตระกูลเฟิ ร์นมีอยู่ทั่วไปในภาคต่างๆ ของประเทศไทย

ลายก้นหอยและลายตะขอ (หรือตาขอ หรือที่ชาวบ้าน


เรียกว่า ลายขอ) เป็ นลวดลายที่เก่าแก่มากของไทย โดยพบเป็ น
ลวดลายที่ตกแต่งบนภาชนะเครื่องปั ้ นดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ซึ่งขุดพบที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ปั จจุบันลายนีพ
้ บอยู่บนผ้าขิต
และผ้าจกของชาวไทยลื้อในภาคเหนือ และผ้ามัดหมี่ของภาคอีสาน
โดยในภาคอีสานมักจะเรียกว่า ลายขอ ลายนีต
้ ่อมาได้พัฒนาเป็ นลา
ยอื่นๆ ให้สวยงามขึน
้ เช่น ลายนาคเกีย
้ ว ลายนาคชูต้นสน ลายนก
ฮูก

ผ้าไทยนับเป็ นงานศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ
ควรแก่การศึกษาค้นคว้าและการอนุรักษ์ไว้ ตลอดจนมีการส่งเสริม
พัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึน
้ ปั จจุบันผ้าไทยที่เป็ นผ้าโบ
ราน มีอายุเก่าแก่หลายสิบปี หรือนับร้อยปี กลายเป็ นของมีค่าซึ่งนัก
สะสมพยายามเสาะแสวงหาและเก็บรักษาไว้ ดังนัน
้ เราจึงควรศึกษา
หาความรู้เกี่ยวกับผ้าไทยว่ามีความเป็ นมาอย่างไรและมีการพัฒนา
26

มาเป็ นลำดับอย่างไรจนถึงปั จจุบัน เพื่อเป็ นการเรียนรู้วัฒนธรรม


อย่างหนึ่งของชาติ

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบความแตกต่างของลวดลายผ้า
ในสมัย สุโขทัย - รัตนโกสินทร์

ยุคสมัย วิธีการทำ ลวดลาย เนื้อผ้า ชื่อผ้า

สมัย การทอผ้า ลวดลายมัก ผ้าไหม ผ้า ผ้าซิ่น

สุโขทัย และการจก คล้ายกับ แพร ผ้า ตีนจก


ลาย พวกสัตว์ กำมะหยี่
และสิง่ ของ
เน้น
สมัย การพิมพ์ ผ้าฝ้ าย ผ้า ผ้าลาย
ลวดลาย
อยุธยา ลายด้วยแม่ แพร ผ้า อย่าง
บรรจง
พิมพ์ไม้ สองปั ก
27

วิจิตร มี
เส้นทอง
ตามขอบ
ลาย

สมัย การพิมพ์ เขียนลาย ผ้ายก ผ้า ผ้าตาด

รัตนโกสิน ลาย ด้วยทอง ไหม ผ้า ระกำไหม


เรียกว่าลาย สมปั ก
ทร์
ทอง

7.สรุป
28

การศึกษาความเป็ นมาของลวดลายผ้าในยุคสมัยสุโขทัย-
รัตนโกสินทร์ ทำให้ร้ถ
ู ึงประวัติความเป็ นมาของผ้าในสมัยสุโขทัยที่
เริ่มปรากฏ ในหลักศิลาจากรึกพ่อขุนรามคำแหงที่กล่าวไว้เกี่ยวกับ
ผ้าในสมัยสุโขทัยที่ทำด้วยการทอ ผ้าที่มีค่าในสมัยสุโขทัยคือ ผ้าไหม
ผ้าแพร และผ้ากำมะหยี่ ลายผ้าที่ใช้ทอขึน
้ เช่น ผ้าลายเครือน้อย
ลายอ่าง และลายสี่ขอ ความเป็ นมาของผ้าในสมัยอยุธยาคล้ายกับ
สมัยสุโขทัยที่มีการทอผ้าและมีการซื้อผ้าจากต่างประเทศ ผ้าที่มีใน
สมัยอยุธยา เช่น ผ้าฝ้ าย ผ้าไหม ผ้าสองปั ก ลวดลายของผ้า เช่น ผ้าลาย
อย่าง ผ้าลายทอง และผ้าลายเทียมยกทอง ลายผ้าในสมัยรัตนโกสินทร์
ผ้ามีความเปลี่ยนไปตามรัชสมัย ช่วงต้นรัตนโกสินทร์จะมีการทอเป็ น
เส้นไหม ผ้าในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลายลาย เช่น ผ้าผ้าลายเขียน
ทอง ช่วงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย
จะมีการทอและมีเครื่องสาวไหม ผ้าในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลายลาย
เช่น ผ้าลายปราสาท
ซึ่งสมัยสุโขทัย-รัตนโกสินทร์ มีความแตกต่างกันที่วิธีการ
ทำคือ สมัยสุโขทัย ใช้การทอผ้าและการจกลวดลายผ้าเป็ นรูปสัตว์
ต่างๆ สมัยอยุธยาใช้การทอและมีการพิมพ์ลาย ผ้ามักเน้นลวดลาย
และมีเส้นทองตามขอบลาย ส่วนสมัยรัตนโกสินทร์ใช้การทอและ
เขียนลายทอง ผ้ามักเน้นเขียนด้วยลายทอง ดังนัน
้ การศึกษาลาย
ผ้าจึงมีความสำคัญเป็ นอย่างมาก เพราะแสดงถึง ศิลปะ คติความ
เชื่อ วัฒนธรรม และเป็ นสมบัติของชาติ จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
พวกเราจึงนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการนำลายผ้าไป
29

ดัดแปลงเป็ นสิ่งของต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น นำไปทำลวดลายบน


กระเป๋าผ้า และ นำไปทำลวดลายบนแจกัน เป็ นต้น

บรรณานุกรม

งามศิลปกรรมเลิศลํา้ ลวดลาย. (2561). นิทรรศการออนไลน์ มรดก


ศิลป์ ในซิ่นหาดเสีย
้ ว.

วิบูลย์ สีสุวรรณ .(2559). พจนานุกรม ผ้าและเครื่องถัก. กรุงเทพ

บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด.

สันติ เล็กสุขุม.(2542).ศิลปะอยุธยา. กรุงเทพ ด่านสุทธาการพิมพ์.

สันติ เล็กสุขุม.(2549).ศิลปะสุโขทัย. กรุงเทพ สำนักพิมพ์ฟิกสิกส์


เซ็นเตอร์.
30

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2546). สมัย


รัตนโกสินทร์ตอนต้น สืบค้นเมื่อ 28

กรกฎาคม 2565, จาก


https://library.stou.ac.th/odi/online/exhibition-
morradoksin/index.html

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ สืบค้นเมื่อ 28
กรกฎาคม 2565 , จาก

https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/
book.php?book=15&chap=

ศรัณยู นกแก้ว, Broadcast Thai Television สืบค้นเมื่อ 28


กรกฎาคม 2565, จาก

https://thestandard.co/buppae-sunniwas-beauty-of-
the-fabric/

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม


2565 , จาก

https://www.sacit.or.th/uploads/items/
attachments/2fcf433e2ef21ffdb3745d4a1ad2faf7/
_b778b5a663bc06ac36c717cd4614ef80.pdf

ดมิสา อยู่สุข,ผ้าไทย สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2565 , จาก


31

https://sites.google.com/site/khundaysmeemai/lwdlay-
laea-saylaksn-ni-pha-thiy

ยุวนุช,GotoKnow สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2565 จาก

https://www.gotoknow.org/posts/660446

สุโขทัย CRAFTS AND FOLK ART สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2565


, จาก

http://sukhothaicraftsandfolkart.com

ภาคผนวก
32

ภาคผนวก

You might also like