You are on page 1of 26

รายงานภูมิปั ญญาท้องถิ่น เรื่อง ผ้าไหมแพรวา

ผู้จัดทำ

นางสาวอุไรพร ดอนน้ำชม
663270077-1
นายกฤตญาณคุป ศรีเทพ
663270085-2
นางสาวจิรัชญา เถื่อนนาดี
663270097-5
นายณัฐพงศ์ ไชยราช 663270113-
3
นางสาวทอฝั น เช้าวันดี
663270117-5
นายนิติรัฐ สุวรรณศรี
663270137-9
นางสาวบุษรินทร์ จำปาบุรี 663270142-
6
นางสาวปุญญิศา พิศวงปราการ
663270159-9
นายพชรพงษ์ ดอนหัวบ่อ 663270162-
0
นางสาวพนิษา โตแทนสมบัติ 663270163-
8

อาจารย์ที่ปรึกษา
รศ.ดร.สุวรี ฤกษ์จารี

รายงานนี้เป็ นส่วนหนึ่งของรายวิชา GE141153 ภูมิปั ญญา


ท้องถิ่น
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้ประสบความสำเร็จได้ด้วยความกรุณาอย่างสูง
จากอาจารย์ รศ.ดร.สุวรี ฤกษ์จารีเป็ นอาจารย์ที่ให้แนวคิด และ
ข้อเสนอแนะต่างๆในการทำโครงงานเรื่องนี้ จนทำให้โครงงาน
เรื่องนี้ออกมาสมบูรณ์แบบ ผู้จัดทำจึงขอกราบขอบพระคุณเป็ น
อย่างยิ่ง
ขอบพระคุณ คุณสมศรี สระทอง ที่ช่วยสละเวลาเพื่อให้
ความรู้แก่ผู้จัดทำโครงงาน ทั้งการสัมภาษณ์ ในการทำโครงงานนี้
ขอบพระคุณบรรณารักษ์ประจำห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ขอนแก่น ที่ช่วยเหลือในการสืบค้นเกี่ยวกับโครงงานเรื่องผ้าไหม
แพรวา
ขอบคุณเพื่อนๆที่ช่วยในการร่วมมือในการทำงาน และช่วย
ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานที่เกี่ยวกับโครงงานนี้ ให้บรรลุล่วงได้
บทคัดย่อ
โครงงานภูมิปั ญญาท้องถิ่น เรื่องผ้าไหมแพรวา ในชุมชนบ้านโพน
ตําบลโพน อําเภอคําม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความ
เป็ นมาของการทําผ้าไหมแพรวา เพื่อให้รู้จักขั้นตอนวิธีการทอ ผ้าไหม
แพรวา และเพื่อเผยแพร่ภูมิปั ญญาการทําผ้าไหมแพรวาให้เป็ นที่รู้จักแพร่
หลาย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ศึกษา คือ ชาวบ้านในชุมชนบ้านโพน อําเภอคําม่วง
จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
ผลของการศึกษา เรื่อง ผ้าไหมแพรวา ทําให้ได้รู้ถึงความเป็ นมา ได้รู้
ถึงขั้นตอนวิธีการทอ ผ้าไหมแพรวา ได้รู้จักภูมิปั ญญาการทอผ้าไหมแพร
วา ราคาขายของผ้าไหมแพรวา และลายของผ้าไหมแพรวา
บทที่ 1
บทนํา

ที่มาและความสําคัญของโครงงาน
ชาวบ้านโพน ประกอบอาชีพทอผ้าไหมแพรวาจําหน่าย ส่วนใหญ่
เป็ นกลุ่มแม่บ้านที่รวมกลุ่มกัน ทอผ้าไหมแพรวา มีคุณค่าที่สะท้อนให้เห็น
ถึงการใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ มาทอเป็ นผ้าไหมแพรวาสร้างอาชีพ อีก ทั้ง
ยังเป็ นผลิตภัณฑ์ที่นิยมมากในปั จจุบัน ไม่ว่าจะใส่ไปงานบุญ เข้าวัด มี
คุณค่าน่าสะสม มีเอกลักษณ์ที่ โดดเด่น ทางกลุ่มเราจึงจัดทําโครงงานนี้
ขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อรวบรวมข้อมูลของผ้าไหมแพรวา
2. เพื่อประมวลความรู้เกี่ยวกับสภาพการผลิตรูปแบบของผ้าไหมแพร
วา
3. เพื่อเชิดชูและต่อยอดภูมิปั ญญาท้องถิ่นให้เป็ นมรดกทางวัฒนธรรม
ขอบเขตการศึกษา
1. บุคคลที่สัมภาษณ์
นางสมศรี สระทอง กลุ่มผู้ทอผ้าไหมแพรวา
2. ระยะเวลา
วันที่ 1 สิงหาคม 2566 ถึง 28 กันยายน 2566
คํานิยามศัพท์
1. ผ้าไหมแพรวา มีความหมายรวมกันว่า ผ้าเป็ นผ้าทอมีลักษณะเป็ น
ผืน
2. ชาวภูไท เป็ นคนเผ่าไทยกลุ่มหนึ่ง อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือของประเทศไทย
3.ภูมิปั ญญาท้องถิ่นอีสาน ภูมิปั ญญาหมายถึง องค์ความรู้ ความเชื่อ
ความสามารถ ของคนในท้องถิ่น
3.อีสาน หมายถึง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ภูมิปั ญญาท้องถิ่นอีสาน จึงหมายถึง ความรู้ ความสามารถของคนใน
ท้องถิ่นใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบความเป็ นมาของผ้าไหมแพรวาบ้านโพน
2. ทราบถึงวิธีการทอของผ้าไหมแพรวาบ้านโพน
3. เพื่อให้ความรู้และเป็ นประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาในเรื่องผ้าไหมแพร
วา
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ประวัติความเป็ นมา
แพรวา หรือ ผ้าไหมแพรวาเป็ นผ้าทอมืออันเป็ นเอกลักษณ์ของชาว
ผู้ไทยหรือภูไท การทอผ้าแพรวามีมาพร้อมกับวัฒนธรรมของชาวภูไท ซึ่ง
เป็ นชนกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในบริเวณแคว้นสิบสองจุไทย (ดินแดนส่วน
เหนือของลาว และ เวียดนาม ซึ่งติดต่อกับดินแดนภาคใต้ของจีน) อพยพ
เคลื่อนย้ายผ่านเวียดนาม ลาว แล้วข้ามฝั่ งแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งหลักแหล่ง
อยู่แถบเทือกเขาภูพานทางภาคอีสานของไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด
กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร โดยยังคงรักษาวัฒนธรรม
ประเพณี ความเชื่อ การแต่งกาย และการทอผ้าไหมที่มีภูมิปั ญญาในการ
ทอด้วยการเก็บลายจากการเก็บขิด และการจก ที่มีลวดลายโดดเด่น ที่มี
ภูมิปั ญญาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก บรรพบุรุษและพัฒนามาอย่างต่อ
เนื่อง ผ้าแพรวาจึงเปรียบเสมือนเป็ นสัญลักษณ์ของกลุ่มชนที่สืบเชื้อสาย
มาจาก กลุ่มภูไท
ผ้าแพรวานิยมทอด้วยไหมทั้งผืน มีสีสัน ลวดลาย ที่หลากหลายนับ
เป็ นผ้าไทยอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ได้นับความนิยมสูง ในหมู่ผู้นิยมผ้าไทยทั้งที่
อยู่ในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะที่บ้านโพน อำเภอคำม่วง
จังหวัดกาฬสินธุ์เป็ นจังหวัดที่มีการทอผ้าไหมแพรวาที่งดงามและมีชื่อ
เสียง
ผ้าแพรวาได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากโครงการศูนย์ศิลปา
ชีพพิเศษในสมเด็จ พระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยม
พสกนิกรชาวอำเภอคำม่วง เมื่อปี พ.ศ. 2520 ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวภู
ไท บ้านโพน แต่งตัวโดยใช้ผ้าแพรวาห่มตามแบบสไบเฉียง หรือเรียกว่า
ผ้าเบี่ยง ได้ทรงสนพระทัยมากจึงโปรดให้มีการสนับสนุน และได้มีพระ
ราชดำริให้ขยายหน้าผ้าให้กว้างขึ้น เพื่อที่จะได้นำไปใช้เป็ นผ้าผืนสำหรับ
ตัดเสื้อผ้าได้ อีกทั้งพัฒนาลวดลายให้เหมาะสมตามความต้องการของ
ตลาด การพัฒนาการทอผ้าแพรวาเกิดขึ้นเพราะพระบารมีของสมเด็จ
พระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถที่ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นความงาม
และคุณค่าแห่งศิลปะชิ้นนี้ในครั้งนั้น
แนวคิดเกี่ยวกับภูมิปั ญญาท้องถิ่น
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รวบรวบข้อมูล เพื่อ
ประมวลความรู้เกี่ยวกับผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ โดยเรามีพื้นที่เพื่อดำเนิน
การศึกษาดังกล่าว คือ กลุ่มทอผ้าไหมแพรวา ตำบลโพน อำเภอคำม่วง
จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยศึกษาจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในด้านต่างๆ ประกอบด้วย
1.โดยการสืบค้นเก็บข้อมูล เกี่ยวกับการทอผ้าไหมแพรวา รวมถึงรายได้ใน
การประกอบอาชีพ
1.1.เว็บไซต์ตามอินเทอร์เน็ต ที่เกี่ยวกับผ้าไหมแพรวา
1.2.หนังสือและแผ่นพับ ที่เกี่ยวกับสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดกาฬสินธุ์
2.โดยวิธีการสัมภาษณ์และสนทนา ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลจาก
ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผ้าไหมแพรวากาฬสินธุ์ ในวันที่14 เดือนกันยายน
พ.ศ.2566
2.1.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมบ้านโพน
2.2.ผู้นำชุมชนและบุคคลภายนอก
ส่วนผู้ทำการศึกษาจะทำหน้าที่เป็ นผู้สังเกต ตั้งประเด็นคำถาม จดบันทึก
และเรียบเรียงข้อมูลทั้งหมด เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล ให้ได้ข้อมูลที่ถูก
ต้องครบถ้วน และให้เป็ นประโยชน์แก่ผู้ที่จะศึกษาต่อไป
รูปแบบศิลปะผ้าไหมแพรวา
ผ้าไหมแพรวาเป็นศิลปะผ้าทอที่เกิดจากภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย นับตั้งแต่การ
เลี้ยงไหม และการถักทอที่ใช้กลวิธีด้วยการใช้มือที่ให้สีสันลวดลายที่วิจิตรพิสดาร บ่งบอกถึงความเพียร
พยายามของช่างทอได้เป็นอย่างดี
คำว่าผ้าแพรวามีความหมายจำแนกได้ดังนี้
แพร หมายถึง ผ้า
ว่า หมายถึง ความยาวของผ้า 1 วา (ประมาณ 2 เมตร)
ลักษณะพิเศษที่โดดเด่นของผ้าแพรวาอยู่ที่ลวดลายผ้า การให้สีสันที่สะดุดตา ประกอบกับการเลือกใช้สีเส้น
ไหมน้อยหรือไหมยอดที่มีความเลื่อมมัน ประกอบเข้ากับกรรมวิธี การเก็บลายหรือเก็บชิดจกที่ได้รับการ
ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษชาวผู้ไทหรือภูไทที่อาศัยอยู่ในถิ่นเดิม คือประเทศลาว
ผ้าแพรวาเป็นผ้าชนิดหนึ่งที่นิยมทำกันในหมู่ชาวผู้ไท ชาวผู้ไทเป็นเชื้อสายของชนกลุ่มหนึ่งที่อพยพเข้ามา
อาศัยอยู่ในประเทศไทย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่น ๆ ชาวผู้ไทมีวัฒนธรรมอารยธรรมความ
เจริญต่าง ๆ มาก ผ้าแพรวาของชาวผู้ไททอขึ้นเพื่อใช้เป็นผ้าสไบหรือผ้าคลุมไหล่ทับชุดพื้นเมือง ผ้าแพรวา
มิได้หมายความว่ายาวเพียงวาเดียว แต่ยาวพอที่จะห่มเบี่ยงได้ คำว่าห่มเบี่ยงนี้เป็นคำพื้นเมืองซึ่งหมายถึง การ
สไบเฉียง แพรหมายถึง สไบ แต่สไบของชาวบ้านโพนอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ทอจากใยไหมที่
งดงามวิจิตรไป ด้วยลวดลาย สีสันประณีต ถึงแม้กระบวนการทอจะคล้ายกับผ้าจก แต่ใช้ไม้เก็บลายเหมือน
คิดแล้วจึงทอปรากฏเป็นลวดลายเหมือนผ้ายกดอกหรือผ้าปัก หากแต่ลวดลายของผ้าจกและผ้าแพรวามีสีสัน
และลวดลายในแถวเดียวกัน แพรวพราวกว่าการทอจึงต้องใช้ความชำนาญงานฝีมือและเวลาในการทอค่อน
ข้างมาก
นอกจากนี้ความสำคัญที่เป็นลักษณะเดิมของผ้าแพรวาที่บ้านโพนอีกประการหนึ่ง คือการประดิษฐ์
ลวดลายบนผืนผ้าที่เกิดจาการคิดและการจกแต่ละลาย จะใช้เส้นไหมที่มีสีสันที่แตกต่างกันสอดสลับจนเกิด
เป็นลวดลายตามต้องการ ดังนั้นผ้าแพรวาที่บ้านโพนจึงเป็นผ้าแพรวาที่มีสีสันแพรวพราวอยู่ในแต่ละลายที่
อยู่ในแต่ละแถว ลวดลายที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้าแพรวาที่บ้านโพนยังมีความเรียบเนียนเป็เนื้อเดียวกันกับพื้น
ของผืนผ้า คุณสมบัติของผ้าแพรวาทั้งหมดที่กล่าวมานั้นได้แสดงถึงการทอผ้าที่ต้องใช้ความชำนาญ และการ
สั่งสมประะสบการมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังต้องใช้เวลาในการทอค่อนข้างมาก

ลวดลายและกรรมวิธีการทอ
ลวดลายผ้าแพรวานับเป็นผ้ามรดกของครอบครัว โดยในแต่ละครัวเรือน จะมี ผ้าแซ่ว ซึ่งเป็นผ้าไหม
ส่วนใหญ่ทอพื้นสีขาว ขนาดประมาณ 25 x 30 เซนติเมตร มีลวดลายต่าง ๆ เป็นต้นแบบลายดั้งเดิมแต่โบราณ
ที่ทอไว้บนในผืนผ้าเป็นแม่แบบดั้งเดิมที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ บนผ้าแซ่วผืนหนึ่งๆมีอาจลวดลายมากถึง
ประมาณกว่าร้อยลาย การทอผ้าจะดูลวดลายจากต้นแบบในผ้าแซ่วโดยจะจัดวางลายใดตรงส่วนไหน หรือ
ให้สีใดขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ทอ เกิดเป็นเอกลักษณ์ของผ้าแพรวาจากการวางองค์ประกอบของ
ลวดลายต้นแบบและการให้สีสรรของผู้ทอ ากการสังเกตพบว่า ชาวบ้านที่ทอผ้าจะไม่ได้ใช้สายวัดมาตรฐาน
มาวัดระหว่างทอ หากแต่ชาวบ้านได้ใช้วิธีกะขนาดความยาวโดยประมาณว่าผ้าที่ทอนั้นยาวได้ประมาณ 1 วา
หรือประมาณเท่ากับความยาวของแขนผู้ทอ เมื่อกางแขนเหยียดตรงออกสองข้าง ซึ่งขนาดของความยาวของ
ผืนผ้าแพรวาดังกล่าวนั้น จึงมีขนาดความกว้างและยาวพอเหมาะที่จะนำไปใช้ห่มพันหน้าอกรอบลำดับส่วน
บนของสตรี และพาดคลุมบ่าด้านหนึ่งลงมา ทิ้งชายห้อยสั้น ๆ ที่ด้านหน้าอกและด้านหลังของสตรีพอดี ๆ
หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ยาวเพียงพอกับการใช้เป็นผ้าสไบห่มเฉียงบ่า หรือที่ชาวบ้านโพนเรียกว่าเป็น “ผ้
าเบี่ยง
ลักษณะเด่นที่สำคัญอีกประการหนึ่งของผ้าแพรวาที่บ้านโพน คือ เป็นผ้าที่ทอด้วยไหมน้อย ซึ่งเป็นไหมเส้น
ละเอียดอ่อน ย้อมด้วยสีแดงเข้มซึ่งเป็นสีที่ได้จากครั้ง และเมล็ดต้นชาตรี มีการทอให้เป็นลวดลายทั้งผืน
ลวดลายบนผืนผ้าซึ่งเกิดจากการจกผสมกับการปิ ดนั้น ในแต่ละลายได้ประดิษฐ์ลวดลายทอด้วยเส้นไหม
หลายสีอยู่ในแต่ละแถวของลายลักษณะโครงสร้างหลักของผืนผ้าแพรวาเมื่อนำมาทบครึ่งตื่น ก็จะแบ่งออก
ได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือส่วนของชายครุย กับส่วนของผืนผ้า
ลวดลายของแพรวามีลักษณะที่โดดเด่นคล้ายกับลายขิดอีสาน แต่มีลักษณะรวมกันคือ ลายหลักมักเป็น
รูปสี่เหลี่ยมขนมเปี ยกปูน ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของลายผ้า ส่วนสีสันบนผ้าแพรวาแต่เดิมนิยมพื้นสีแดง
คล้ำย้อมด้วยครั่ง มีลายจกสีเหลือง สีน้ำเงิน สีขาว และสีเขียวเข้มกระจายลวดลายที่ปรากฏบนผ้าทอแพรวาที่
ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของผ้าประเภทนี้ จะประกอบด้วยตัวลายทั้งหมด 3 ส่วน ดังนี้
1) ลายหลัก คือ ลายที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งปรากฏอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของลายผ้าในแนวนอน ลายหลัก
แต่ละลายมีความกว้างของลายสม่ำเสมอกัน คือกว้างประมาณแถวละ 8-12 เซนติเมตร ใน แพรวาผืนหนึ่งๆ
จะมีลายหลักประมาณ 13 แถว ลายหลักต่างๆ เช่น ลายนาค สี่แขน ลายพันธุ์มหา ลายดอกสา ฯลฯ ส่วน
ประกอบสำคัญของลายหลัก คือ ลายนอก ลายใน และ ลายเครือ
- ลายนอก คือส่วนที่มีลักษณะเป็นตารางสามเหลี่ยม ประกอบสองข้างของลายใน มีลวดลายครึ่งหนึ่งของ
ลายในตลอดความกว้างของผืนผ้า
- ลายใน คือส่วนที่อยู่ตรงกลางของแถวหลัก มีลวดลายเต็มรูปอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ขนมเปี ยกปูนตลอดความ
กว้างของผืนผ้าเช่นกัน
- ลายเครือ คือส่วนที่อยู่ในกรอบแถวบนของกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปี ยกปูนในแต่ละแนว มีกึ่งกลางของลาย
หลักเป็นส่วนยอดของลายเครือ
2) ลายคั่น หรือลายแถบ คือ ลายที่มีขนาดเล็กอยู่ในแนวขวางผืนผ้า ความกว้างของลายประมาณ 4-6
เซนติเมตร ทำหน้าที่เป็นตัวแบ่งลายใหญ่ออกเป็นช่วงสลับกันไป เช่น ลายตาไก่ ลายงูลอย ลายขาเข ฯลฯ
3) ลายช่อปลายเชิง หรือลายเชิงผ้า คือลายที่ปรากฏอยู่ตรงช่วงปลายของผ้าทั้งสองข้าง ทอติดกับลายคั่น
ทำหน้าที่เป็นตัวเริ่มและตัวจบของลายผ้า มีความกว้างประมาณ 4-10 เซนติเมตร เช่น ลายช่อขันหมาก ลาย
ดอกบัวน้อย ลายใบบุ่นน้อย ฯลฯ

ผ้าแพรวาแต่เดิมนิยมพื้นสีแดงคล้ำ มีลายจกสีเหลือง สีดำ สีขาว และสีเขียวเข้ม ประกอบด้วยลาย 3 ส่วน


คือ ลายหลัก ลายคั่น และลายช่อเชิงปลาย
จุดเด่นและความเป็นเอกลักษณ์ของผ้าแพรวาคือลวดลายสีสัน และความมีระเบียบ ความเรียบ ความเงา
งามของผืนผ้า ในผ้าแพรวาผืนหนึ่งจะมีอยู่ประมาณ ๑๐ หรือ ๑๒ ลาย ใช้เส้นไหมในการทอตั้งแต่ 2-9 สี
สอดสลับในแต่ละลายแต่ละแถว ลวดลายที่ปรากฏจะประณีตเรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งผืนผ้า
ลักษณะลายผ้าของแพรวาที่ทอในปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ผ้าแพรวาลายล่วง ผ้าแพรวา
ลายจก และผ้าแพรวาลายเกาะ
ผ้าแพรวาลายล่วง หมายถึง ผ้าแพรวาที่มีลวดลายเรียบง่าย มีสองสี สีหนึ่งเป็นสีพื้นส่วนอีกสีเป็นลวดลาย
ผ้าแพรวาลายจก หมายถึง ผ้าแพรวาลายล่วงที่มีการเพิ่มความพิเศษโดยการจกเพิ่มดอกเข้าไปในลายล่วง
บนผืนผ้า เพื่อแต้มสีสันให้สวยงามยิ่งขึ้นแต่สีจะไม่หลากหลายสดใสเหมือน แพรวาลายเกาะ
ผ้าแพรวาลายเกาะ หมายถึง ผ้าแพรวาที่มีลวดลายและสีสันหลายสีเกาะเกี่ยวพันกันไป
ลวดลายที่ใช้ทอแพรวาลายเกาะส่วนใหญ่เป็นลายดอกใหญ่ซึ่งเป็นลายหลักของการทอผ้าแพรวา
อาจจะทอไม่ให้ซ้ำลายกันเลยในแต่ละแนวก็ได้

สภาพการทอผ้าไหมแพรวา
1. ราคาเฉลี่ย หลักร้อนจนถึงหลักล้าน ราคาเริ่มที่500 ขึ้นไปจนถึงสูงสุด 5 ล้าน เพราะเป็นผ้าแบบโบราณผ้า
แบบดั้งเดิมจะขายในราคาสูง ราคามีหลายประเภท ราคา 500 จะเป็นผ้าประเภทฝ้ าย
ผ้าพันคอราคาจะอยู่ที่ 500-2500
ผ้าสไบเล็กราคาจะอยู่ที่ 3500-35000
ผ้าสไบคลุมไหล่ราคาจะอยู่ที่ 8500-85000
ถ้าเป็นผ้าตัดชุดแบบสองสีราคาจะอยู่ที่ 3500-8500 ถ้าเป็นผ้าแบบสลับสีราคาจะอยู่ที่ 15000-35000 ถ้าเป็น
ผ้าคลุมไหล่แบบสลับหลายราคาจะอยู่ที่ 65000-650000

2. ลายที่ขายบ่อย และเป็นที่นิยม
-ลายพญานาค
-ลายใบบุด
-ลายหางปลาวา
-ลายพญานาคน้อย
เป็นลายสิริมงคล ลายที่ทอยาก
3. การใช้เวลาในการทอ
-ใช้เวลาเป็นเดือนขึ้นไป ตามลายที่ทอ ลายที่ทอง่ายใช้ระเวลา 30 วันขึ้นไป ลายราคาหลักหมื่นจะใช้ระยะ
เวลา 60 วันขึ้นไป ลายราคาหลักแสนจะอยู่ในระยะเวลา 6 เดือน-1 ปี และถ้าเป็นราคาผ้าหลักล้านจะใช้ระยะ
เวลา 3 ปี เป็นต้น
ผู้ทอผ้าไหมส่วนใหญ่ได้ไหมมาซาการซื้อดังนั้นกระบวนการผลิตผ้าไหมแพรวาจึงแบ่งเป็นสี่ขั้นตอนคือ
1. การฟอกไหม เมื่อซื้อไหมมาแล้วต้องฟอกให้เส้นไหมมีความอ่อนนุ่มและสะอาด วิธีการฟอกมีดังนี้ นำ
หม้อน้ำตั้งบนเตาที่ติดไฟดีแล้ว เติมน้ำด้านล่างในหม้อต้มน้ำจำนวนพอประมาณโดยอาศัยความเคยชินกะ
ปริมาณน้ำที่ต้มเอง เมื่อน้ำเดือดนำเส้นไหมลงจุ่มทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วจึงเขย่าเส้นไหมจากนั้นนำ
เส้นใหม่ไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วผึ่งแดดให้แห้งเส้นไหมจะได้สีขาวสะอาดพร้อมที่จะนำไปย้อมสีตามที่
ต้องการ
2. การรังไหมหรือปั่นไหม วิธีการดังนี้
นำหลามาวางแล้วใส่กระบอกน้อยแล้วจึงนำอักพร้อมหางเห็นมาตั้งให้ได้แนวที่จะปั่นเส้นไหมจากนั้นนำ
ปลายเส้นไหมหรืออักผ่านแป๊ ะรังไหมใส่ในกระบอกน้อยที่หลา แล้วจึงแกว่งหลา เส้นไหมจะหมุนผ่านแป๊ ะ
รังไหม พันรอบกระบอกน้อย การรังไหมต้องให้เส้นไหมเปี ยกอยู่ตลอดไม่ควรปล่อยให้เส้นแห้ง เพราะไหม
จะไม่รัดตัวแน่น ทำให้คุณภาพไหมไม่ดี
3. การย้อมไหม มี 2 มีวิธีคือ
3.1 ย้อมหลังจากฟอกเส้นไหมและรังไหมแล้ว ผู้ย้อมจะนำสีใส่ในหม้อต้มน้ำที่ตั้งอยู่บนเตาไฟ การเติมสีขึ้น
อยู่กับความต้องการของผู้ย้อม หากเติมสีมากจะมีความเข้มข้นมาก เส้นไหมที่ลงย้อมจะมีสีเข้ม จากนั้นนำ
เส้นไหมที่ร้อยไว้กับห่วงย้อมไหมจุ่มลงในน้ำสีที่มีความร้อน ใช้ไม้เพื่อกลับไหมช่วยกดและกลับเส้นไหม
เมื่อเส้นไหมกลืนสีทั่วแล้ว ยกเส้นไหมมาสะเด็ดน้ำ นำไปผึ่งแดดจนไหมแห้งดี ตรวจดูความสม่ำเสมอของสี
หากสีติดดีนำไปใช้ทอได้ต่อไป
3.2 ย้อมโดยวิธีนำน้ำด่างและสีใส่ลงในหม้อน้ำพร้อมกัน วิธีนี้จะใช้กับเส้นไหมสีขาว แต่หากไหมสีเหลือง
ไม่นิยมใช้ โดยการทำด้วยไม้ยาว 1 เมตร ปลายด้านมีเหล็กแหลม อีด้านเป็นวงล้อใหญ่ เหล็กไนกับวงล้อจะมี
เส้นด้ายคล้องเกี่ยวกัน ใช้สำหรับกรอด้ายใส่หลอดและรังไหมหรืออักน้อย ทำด้วยไม้ไผ่ยาว 20-30
เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 เซนติเมตร หัวและท้ายปิ ดด้วยไม้แผ่นวงกลม ใช้สำหรับกรอเส้น
ไหม บางครั้งเรียกกระบอก ทำด้วยไม้ที่ระแนงยาว 40 เซนติเมตร ตีรอบแผ่นไม้วงกลมสองแผ่น ซึ่งมีเส้น
ผ่านศูนย์กลางประมาณ 17 เซนติเมตร ใช้สำหรับกรอเส้นไหม
ไม้แผ่นหนายาว 40 เซนติเมตร ปลายด้ามหนึ่งมีหลักสูงประมาณ 30 เซนติเมตร บนหลักจะมีไม้กลมๆยื่น
ด้านยาวไปทางเดียวกันกับแผ่นไม้ ใช้สอดในอักหรือกระบอกไม้บอกเมื่อต้องการปั่นไหม เป็นแผ่น
กระเบื้อง ตรงกลางเป็นร่องที่มีตะขอ ใช้สำหรับคล้องเส้นไหมเวลารังไหม
4. การทอ เตรียมอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อมนำเส้นไหมที่ผ่านขั้นตอนการย้อมสีแล้วมาสืบหูก โดยการเอาเส้น
ไหมแต่ละเส้นสอดแยกผ่านเหาผ่านฟื ม จากนั้นเอาปลายเส้นไหมผูกมัดติดกับปลายด้ายหรือไหมที่คล้อง
เกี่ยวอยู่ไม้พันหูกหรือไม้กำพั้น เมื่อแล้วเสร็จถือว่าเป็นหูกที่พรเอมจะเริ่มทอได้ ควรกรอไหมใส่หลอดให้
พร้อมเพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งานต่อไป
บทที่3
วิธีการศึกษา
วิธีการศึกษา
1. ประชุมปรึกษาหารือกันภายในกลุ่ม
2. กาหนดหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา หรือหัวข้อโครงงาน
3. ร่างเค้าโครงโครงงานเสนอต่ออาจารย์ผู้สอน
4. เก็บรวบรวมข้อมูล
5.สัมภาษณ์ผ่านโทรศัพท์
6. วิเคราะห์ข้อมูล
7. สรุปผล
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1.เครื่องมือในการทอผ้าไหมแพรวา
- หลา ปั่ นหลอด
- หลอด
- กงใส่ไหม
- ฟี ม
- หลักเฟื อ
- คันเครือหูก
- กี่ทอผ้า
- สีเคมีสำหรับย้อมเส้นไหม
- ด่างสำหรับฟอก
- ไม้คันผัง
- ไม้ลาย
- ไม้เหยียบหูก
2.วัสดุ / อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
- โทรศัพท์ / แท็บเลต
- เครื่องคอมพิวเตอร์
วิธีการเก็บรวบรวม
1. การสัมภาษณ์
2. การสนทนากลุ่ม
3. การสังเกต
กลุ่มเป้ าหมาย/ผู้ให้ข้อมูล
- แม่สมศรี สะทอง อายุ 43 ปี
การดำเนินงาน
ขั้นตอนแรกเตรียมเส้นยืนในการทอผ้า โดยนำเส้นไหมที่ลอกกาว
และย้อมสีแล้วมาทำการค้นเครือหูกหรือที่เรียกว่า การค้นเส้นยืน เริ่มต้น
ด้วยการนำเส้นไหมไปสวมเข้าในกงเพื่อทำการกรอเส้นไหมเข้าอัก จากนั้น
ทำการค้นเส้นไหมในลักษณะเดียวกันกับเส้นยืน จากนั้นนำเส้นด้ายมา
ร้อยกับฟื มโดยการร้อยผ่านช่องฟั นหวีแต่ละช่อง โดยแต่ละช่องจะมีเส้น
ไหมประมาณ 2 เส้น และนำท่อนไม้ไผ่เล็กๆสอดเข้าในห่วงเส้นด้ายที่ร้อย
เข้าช่องฟั นหวีเพื่อทำการขึงเส้นด้ายให้ตึง และจัดเรียงเส้นด้ายให้
เรียบร้อย ส่วนด้านหน้าของฟื มก็จะมีช่องไม้ไผ่เช่นเดียวกันกับด้านหลัง
เพื่อขึงเส้นด้ายให้ตึง จากนั้นทำการเก็บตะกอฟื มแบบ 2 ตะกอ ซึ่ง
เรียบร้อยจะได้ชุดฟื มทอผ้าสำหรับการทอนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมสีแล้ว
มากรอเข้าหลอดด้ายสำหรับใส่กระสวยในการทอแล้วทำลวดลายหลักบน
ผืนผ้าแพรวาโบราณ โดยใช้ไม้สานเก็บลาย ทั้งนี้ลายหลักของผ้าแต่ละผืน
จะมีไม่เท่ากันซึ่งหากมีหลายลายอาจต้องใช้ไม้เก็บลายหลายร้อยอันทอ
ลวดลายตลอดการทอทั้งผืนผ้าด้วยวิธีการขิด จากการจก และเก็บลาย
ด้วยไม้ยกลายเพื่อยกเส้นยืนพร้อมจกด้วยนิ้วก้อยยกเส้นยืนขึ้น พร้อม
สอดเส้นไหมสีต่างๆ เป็ นช่วงๆ ตามลวดลายที่ออกแบบไว้ ครั้งละ 2 เที่ยว
เพื่อให้ลายเกิดความนูนเด่น สลับกับการเหยียบไม้ตะกอฟื ม และการสอด
พุ่งกระสวย

ตารางการดำเนินงาน

กิจกรรม เดือน ส.ค. เดือน ก.ย. เดือน ต.ค. ผู้รับผิดชอบ


1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4
1.แบ่งหน้าที่ภายในกลุ่ม สมาชิกทุก
คนในกลุ่ม
2.หาข้อมูลเกี่ยวผ้าไหม
แพรวา
3.ติดต่อนัดเวลาการ
สัมภาษณ์
4.สัมภาษณ์ผ่าน
โทรศัพท์
5.สังเคราะห์ข้อมูล/
รวบรวมข้อมูลจัดทำ
โครงงาน

บทที่ 4
ผลการดำเนินโครงงาน

จากการดำเนินงานตามขั้นตอนวิธีดาเนินงานที่กำหนดไว้ มีผลการดำเนิน
งานดังนี้
ความเป็ นมาของผ้าไหมแพรวา
ชาวบ้านในพื้นที่บ้านโพน ทำผ้าไหมแพรวาเพื่อสืบทอดวัฒนธรรม
ที่มาจากบรรพบุรุษ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็ นการหารายได้และ
เป็ นค่าครองชีพให้แก่ชุมชน ผ้าไหมแพรวาจึงเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของ
กลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจาก ชาวภูไท จึงเป็ นการเริ่มต้นในการทอผ้าไหม
แพรวา
ลายการทอที่เป็ นที่นิยม
1. ลายพญานาค(ลายใหญ่,ลายเล็ก)
2. ลายสี่แขน
3. ลายพันธุ์มหา
4. ลายดอกสา
5. ลายใบบั่น
6. ลายหางปลาวา
7. ลายตาไก่
8. ลายงูลอย
9. ลายช่อขันหมา
10. ลายดอกบัว
ขั้นตอนวิธีการทอผ้าไหมแพรวา
ขั้นตอนเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์
- การเตรียมเส้นไหม
1. จะต้องนำเส้นมาคัดเส้นไหมที่มีขนาดเส้นสม่ำเสมอและมีการตกแต่งไจ
ไหมที่เรียบร้อย
2.มีการทำไปประมาณ 4-6 ตำแหน่ง ขนาดน้ำหนักไหมต่อไจโดย
ประมาณ 80-100 กรัม ทั้งนี้เพื่อเป็ นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติ
งานในขั้นตอนการลอกกาว ย้อมสี และการกรอเส้นไหม
- การลอกกาวเส้นไหมทั้งเส้นพุ่ง เส้นยืน โดยการใช้สารธรรมชาติ
1. นำกาบต้นกล้วยมาทำการเผาไฟจนกระทั่งเป็ นขี้เถ้า
2. นำขี้เถ้าไปแช่น้ำใช้ไม้คนให้ทั่ว ปล่อยทิ้งไว้ให้ขี้เถ้าตกตะกอนแบ่งชั้น
น้ำและตะกอน
3. ทำการกรองน้ำใสที่อยู่ส่วนบนชั้นตะกอนด้วยผ้าบาง
4. นำเส้นไหมที่ได้เตรียมไว้แล้วมาทำการต้มลอกกาวด้วยสารลอกกาว
ธรรมชาติดังกล่าวโดยใช้ในสัดส่วนของสารลอกกาวต่อเส้นไหมโดย
ประมาณ 30:1
5. ในระหว่างการต้มลอกกาวจะมีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับ 90-
95 องศาเซลเซียส เป็ นเวลาประมาณ 90 นาที
6. ในระหว่างการต้มลอกกาว ให้ทำการกลับเส้นไหมในหม้อต้มอย่าง
สม่ำเสมอ เพื่อให้กระบวนการลอกกาวเส้นไหมสมบูรณ์
7. นำเส้นไหมที่ทำการลอกกาวเสร็จเรียบร้อยออกจากหม้อต้ม
8. นำไปล้างน้ำร้อนน้ำอุ่น แล้วบีบน้ำออกจากเส้นไหม
9. นำเส้นไหมไปตากผึ่งแห้งที่ราวตาก ทั้งนี้ให้ทำการกระตุกเส้นไหมเพื่อ
ให้มีการเรียงเส้นไหมในแต่ละไจ อย่างเรียบร้อย นั่นคือการลอกกาวเส้น
ไหม เราก็จะได้เส้นไหมที่พร้อมจะย้อมสี เพื่อนำไปทอผ้าต่อไป
- การเตรียมฟื มทอผ้า
ทำการค้นเส้นไหมในลักษณะเดียวกันกับเส้นยืน จากนั้นนำเส้นด้ายมา
ร้อยกับฟื มโดยการร้อยผ่านช่องฟั นหวีแต่ละช่อง โดยแต่ละช่องจะมีเส้น
ไหมประมาณ 2 เส้น และนำท่อนไม้ไผ่เล็กๆสอดเข้าในห่วงเส้นด้ายที่ร้อย
เข้าช่องฟั นหวีเพื่อทำการขึงเส้นด้ายให้ตึง และจัดเรียงเส้นด้ายให้
เรียบร้อย ส่วนด้านหน้าของฟื มก็จะมีช่องไม้ไผ่เช่นเดียวกันกับด้านหลัง
เพื่อขึงเส้นด้ายให้ตึง จากนั้นทำการเก็บตะกอฟื มแบบ 2 ตะกอ ซึ่ง
เรียบร้อยจะได้ชุดฟื มทอผ้าสำหรับการทอ
- การเตรียมเส้นพุ่ง
นำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมสีแล้วมากรอเข้าหลอดด้ายสำหรับใส่กระสวยใน
การทอ
- การเก็บตะกอลายหลัก
เป็ นการทำลวดลายหลักบนผืนผ้าแพรวาโบราณ โดยใช้ไม้สานเก็บลาย
ทั้งนี้ลายหลักของผ้าแต่ละผืนจะมีไม่เท่ากันซึ่งหากมีหลายลายอาจต้องใช้
ไม้เก็บลายหลายร้อยอัน
- การทอลวดลายไหมแพรวา
เป็ นการทอลวดลายตลอดการทอทั้งผืนผ้าด้วยวิธีการขิด จากการจก และ
เก็บลายด้วยไม้ยกลายเพื่อยกเส้นยืนพร้อมจกด้วยนิ้วก้อยยกเส้นยืนขึ้น
พร้อมสอดเส้นไหมสีต่างๆ เป็ นช่วงๆ ตามลวดลายที่ออกแบบไว้ ครั้งละ 2
เที่ยวเพื่อให้ลายเกิดความนูนเด่น สลับกับการเหยียบไม้ตะกอฟื ม และ
การสอดพุ่งกระสวย
วิธีการตั้งเพดานราคา
ราคาของผ้าไหมแพรวาแต่ละผืนนั้น ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลายที่
ทอ ระยะเวลาในการทอ ความหายากของผ้าแต่ละลายที่สูญหายไปตาม
กาลเวลา เพราะลายบางลายนั้นจากที่ได้ฟั งผู้ให้สัมภาษณ์บอกเล่า เป็ น
ลายบนผ้าที่เก็บไว้มานานกว่าสามสิบปี ต่อให้ทอใหม่ ก็ไม่มีทางเหมือนเด
มิ
ราคาโดยเฉลี่ยของผ้าไหมแพรวา
มีตั้งแต่ราคาหลักร้อยจนถึงหลักล้าน ราคาเริ่มที่ 500 บาทขึ้นไปจนถึง
สูงสุด 5 ล้านบาท
; ผ้าพันคอราคาจะอยู่ที่ 500-2500 บาท
; ผ้าสไบเล็กราคาจะอยู่ที่ 3500-35000 บาท
; ผ้าสไบคลุมไหล่ราคาจะอยู่ที่ 8500-85000 บาท
; ถ้าเป็ นผ้าตัดชุดแบบสองสีราคาจะอยู่ที่ 3500-8500 บาท
; ถ้าเป็ นผ้าแบบสลับสีราคาจะอยู่ที่ 15000-35000 บาท
; ถ้าเป็ นผ้าคลุมไหล่แบบสลับหลายราคาจะอยู่ที่ 65000-650000 บาท
ระยะเวลาในการทอผ้าไหม
ระยะเวลาในการทอผ้าไหมแพรวาขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละลาย
ลายราคาหลักพันจะใช้ระยะเวลา 1 เดือนขึ้นไป ลายราคาหลักหมื่นจะใช้
ระยะเวลา 2 เดือนขึ้นไป ลายราคาหลักแสนจะอยู่ในระยะเวลา 6 เดือน-
1 ปี ลายราคาผ้าหลักล้านจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปี เป็ นต้น
อาชีพหลักของชุมชมบ้านโพน
คนในชุมชนบ้านโพน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ทํานา ไร่มัน
สําปะหลัง ไร่ออ้ ย เลี้ยงโคกระบือ เลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ ด ทําสวน แต่ในการทอ
ผ้าไหมแพรวา คนในชุมชนมักใช้เวลาว่างหลังจากทํานา ทําสวนมาทอผ้า
เป็ นอาชีพรองและทํารายได้เสริม แต่จากการสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์ได้
เล่าว่ารายได้จากการทอผ้ามีมากกว่าการทําการเกษตรเสียอีก
บุคคลสําคัญ
1. แม่ คําสอน สะทร (ศิลปิ นแห่งชาติ)
2. แม่ คกใหม่ โยคะสิงห์ (เสียชีวิตแล้ว)
3. แม่ สมศรี สระทอง (ผู้ให้สัมภาษณ์)
บทที่ 5
อภิปรายผลการดำเนินโครงงาน
ผลของการศึกษา
ผลที่ได้จากการดำเนินงานโครงงานกับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทำให้เรา
ทราบว่า ผ้าไหมแพรวามีการพัฒนาตั้งแต่โบราณ และยังความเป็ น
เอกลักษณ์ของผ้าไหมแพรวาอยู่ และได้รู้ว่าสมัยก่อน ก่อนที่จะมียาย้อม
อเนกประสงค์ ชาวบ้านได้สีจากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดสีสันได้
บทที่ 6
สรุปผลและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงงาน

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้เรียนรู้การทางานจากประสบการณ์จริง
2. ได้เรียนรู้จักการทางานเป็ นทีม
3. ได้ความรู้เรื่องการทอเสื่อกกจากผู้เชี่ยวชาญและปราชญาชาวบ้าน
4. ได้รับความสนุกสนานและเป็ นการเสริมสร้างความสามัคคี
5. รู้จักการแก้ปั ญหาในการทางาน
6. มีความตระหนัก และเห็นคุณค่าของภูมิปั ญญาท้องถิ่น
อุปสรรคปั ญหาที่พบ
เพื่อนในกลุ่มมีเวลาว่างไม่ตรงกัน และสภาพอากาศทำให้เดินทางลำบาก
ข้อเสนอแนะ
ผู้ที่อ่านโครงงานนี้หรือสนใจเรื่องผ้าไหมแพรวาควรศึกษาเพิ่มเติมจาก
ที่ต่างๆเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในการทำกรรมวิธีและเทคนิคใน
การทำผ้าไหมแพรวาจากชุมชนอื่นๆ
ภาคผนวก
อ้างอิง

สุภาภรณ์ เชียงใหม่ ดร.สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์ .ชุมชนกลุ่มผ้าไหม. อาจารย์ประจำวิทยาการ


ปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชาติ วรรณกุล และคณะ “การทอผ้าไหมแพรวาในจังหวัดกาฬสินธุ์” ในวารสารมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม ฉบับประจำเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2541
จังหวัดกาฬสินธุ์. หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลจังหวัดกาฬสินธุ์. 2544 แผ่นพับ
ชาติ วรรณกุล อุดม วงศ์สุภา อำภาศรี อำไพกูลย์. “การผลิตผ้าไหมแพรวา ในจังหวัดกาฬสินธุ์”
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตกาฬสินธุ์
ประวัติความเป็นมาผ้าไหมแพรวา สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ผ้า
ไหมแพรวา
ความสำคัญผ้าไหมแพรวา สืบค้นจาก https://www.ketysmile.com/

You might also like