You are on page 1of 10

แบบเสนอโครงร่างปริญญานิพนธ์

ชื่อเรื่อง
พัฒนาชุดฝึกอบรมระบบควบคุมสภาพอากาศในห้องคลีนรูมจำลองด้วยไดเร็คดิจิทัลคอนโทรล

ผู้นำเสนอ
นายภูเบศ สอนสุทธิ์ TTE-P 6402021520191
นายปรเมศวร์ ศรนารายณ์ TTE-P 6402021510111

อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก นายพศวัต แก้วทิพย์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผศ.ดร.กฤษดา ศรีจันทร์พิยม

ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา Special Project I รหัสวิชา 020213031
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มากขึ้น ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรมและการอยู่อาศัยภายใน
อาคาร ซึ่งระบบควบคุมเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ควบคุมการทำงานให้ง่ายขึ้น โดยระบบควบคุมนั้น เป็น
เครื่องมือที่สามารถตอบสนองต่อการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ในปัจจุบันการใช้ระบบควบคุมการทำงานได้ถูกนำมา
ประยุกต์ใช้ภายในอาคารอย่างแพร่หลายจะเห็นได้จากการประยุกต์ใช้ในการควบคุม ระบบปรับอากาศภายใน
อาคาร การควบคุมระบบแสงสว่างและการประยุกต์ใช้ในการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
การดำรงชีวิตของมนุษย์กว่า 90% ใช้ชีวิตอยู่ในอาคารซึ่งสภาพอากาศในพื้นที่ปิดภายในห้องในอาคาร
จำเป็นจะต้องมีการควบคุมสภาวะของอากาศภายในพื้นที่หรือบริเวณ นั้น ๆให้มีคุณภาพอากาศที่เหมาะสมโดย
ลักษณะของการปรับอากาศสามารถแบ่งประเภท ตามการใช้งานได้ 2 ประเภทได้แก่การปรับอากาศเพื่อการอยู่
อาศัยซึ่งจะสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานของผู้อยู่อาศัย ได้ และอีกประเภทหนึ่งคือการ ปรับอากาศ
สำหรับเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเป็นการควบคุมสภาวะอากาศในกระบวนการผลิต และการเก็บรักษาผลผลิต
ต่าง ๆ [1] โดยแนวโน้มของการปรับอากาศเชิงอุตสาหกรรมมี แนวโน้มที่ จะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจทางด้าน
อุตสาหกรรมโดยเฉพาะด้าน อิเล็กทรอนิกส์ที่มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นมากถึง 3-6% ต่อปี [2] และทางด้าน
การแพทย์ที่มี การเติบโตของธุรกิจมากถึง 5%-7% ต่อปี [3] ซึ่งสิ่งสำคัญในการรองรับการเติบโตของธุรกิจ เหล่านี้
จำเป็นจะต้องมีการควบคุมสภาวะของอากาศในพื้นที่การผลิตการทำงานการวิจัยรวมไปถึง การป้องกันฝุ่นและเชื้อ
โรค [4] พื้นที่ดังกล่าวนี้เรียกว่าห้องคลีนรูม (Cleanroom) ดังนั้นในการ ควบคุมระบบปรับอากาศจะต้องมีผู้
ควบคุมที่สามารถดูแลควบคุมการทำงานของระบบได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้ควบคุมระบบปรับอากาศนั้นจำเป็นต้องมีความรู้
และทักษะ พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียน โปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ใช้ในงานปรับอากาศและแก้ไข
ปัญหาของระบบปรับอากาศได้ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาบุคคลากรหรือผู้ที่มีความสนใจในการ
ควบคุมระบบปรับอากาศให้มีความรู้ความสามารถและมีทัก ษะการทำงานให้เกิดความชำนาญเพื่อให้สามารถ
นำไปใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
อุปกรณ์ไดเร็คดิจิทัลคอนโทรล (Direct Digital Control : DDC) เป็นอุปกรณ์คอนโทรลเลอร์ที่ใช้สำหรับ
ควบคุมเงื่อนไขของอาคารในส่วนของระบบแสงสว่าง ระบบปรับอากาศและระบบรักษาความปลอดภัย ฯลฯ ให้อยู่
ในรูปของการควบคุมระบบแบบอัตโนมัติ ซึ่ง DDC นั้นมีหลายรุ่นหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของงาน
และกำลังในการซื้อจากผู้ใช้งาน
อุปกรณ์ EasyIO-30P เป็นอุปกรณ์ไดเร็คดิจิทัลคอนโทรลรุ่นหนึ่งที่ใช้ในงานควบคุมระบบภายในอาคาร
โดยอุปกรณ์นี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความเหมาะสมกับการควบคุมระบบภายในอาคารและระบบทั่วไปและเป็น
ศูนย์กลางควบคุมอินพุตเอาต์พุตแบบหลายโปรโตคอล เพื่อรองรับการใช้งานทั่ วไปและงานเฉพาะทาง ทั้งยัง
สามารถปรับตั้งค่าได้ง่ายเนื่องจากการเขียนโปรแกรมสั่งงานอุปกรณ์นี้เป็นภาษาบล๊อคโดยโปรแกรมที่ใช้ร่วมกับ
อุปกรณ์ EasyIO-30P นี้มีชื่อว่า CPT tools ด้วยรูปแบบของโปรแกรมนี้เป็นภาษาบล๊อคจึงทำให้มีความสะดวกต่อ
การใช้งานและเหมาะกับผู้ที่เริ่มฝึกใช้โปรแกรมขั้นพื้นฐาน
จากความเป็นมาและความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น ผู้จัดทำเล็งเห็นว่าชุดฝึกอมรมยังเห็นภาพการทำงาน
ของอุปกรณ์ภายในห้องคลีนรูมได้ไม่เต็ม ประสิทธิภาพ ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาการเขียนโปรแกรมควบคุม
ระบบควบคุมสภาพอากาศในห้องคลีนรูมโดยใช้ ไดเร็คดิจิทัลคอนโทรล (ดีดีซี) เพื่อพัฒนาบุคลากรหรือผู้ที่สนใจ
เกี ่ย วกับ การควบคุ ม ระบบปรั บ อากาศ ให้ม ีองค์ค วามรู ้ มีทั กษะที ่จะนำไปปรับ ใช้ ในการทำงานได้อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพ

2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
2.1 เพื่อพัฒนาชุดฝึกการเขียนโปรแกรมควบคุม สภาพอากาศในห้องคลีนรูมโดยใช้ไดเร็ค -ดิจิทัลคอนโทรล
2.2 เพื่อประเมินความเหมาะสมของชุดฝึกการเขียนโปรแกรมควบคุมสภาพอากาศในห้องคลีนรูมโดยใช้ไดเร็ค
ดิจิทัลคอนโทรล

3. ขอบเขตของการวิจัย
3.1 ด้านซอฟต์แวร์ (เอกสารประกอบการฝึก)
3.1.1 ทฤษฎีการใช้งานอุปกรณ์ควบคุมสภาพอากาศเบื้องต้น
3.1.2 การใช้งานโปรแกรม CPT tools
3.1.3 การใช้งานโปรแกรม GP Pro EX
3.1.4 คู่มือการใช้ชุดฝึกการเขียนโปรแกรมฯ
3.2 ด้านฮาร์ดแวร์ (ชุดฝึกการเขียนโปรแกรมฯ)
3.2.1 ใช้ EasyIO-30P ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์
3.2.2 Clean Room-Class 1 (ISO3)
- ระดับ M 1.5 (Class 1) จำนวนอนุภาคขนาดตั้งแต่ 0.5 ไมครอนขึ้นไป ที่ไม่เกิน 35.3
อนุภาคต่อลูบาศก์เมตร
3.2.3 อุปกรณ์ด้านเอาต์พุต
- จอแสดงผลทัชสกรีนขนาด 7 นิ้ว
- พัดลมระบายความร้อน DC 5V
- เอสซีอาร์ (SCR) ควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์
- ฮีตเตอร์ไล่ความชื้น
- ขนาดของห้องจำลอง ความสูง 45 ซม. ความกว้าง 60 x 60 ซม.

4. ประโยชน์ของการวิจัย
4.1 ผู้ใช้ชุดฝึกการเขียนโปรแกรมสามารถนำความรู้ที่ได้การฝึกไปใช้ในงานควบคุมระบบปรับอากาศหรือ
ประยุกต์ใช้ในงานควบคุมระบบอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 บุคคลากรหรือผู้ที่สนใจที่ใช้ชุดฝึกสามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำงานได้

5. แผนผังการทำงานและขั้นตอนดำเนินการ

เริ่มต้น

ศึกษาและหาข้อมูล

ออกแบบโครงสร้างระบบควคุมสภาพอากาศห้อง
คลีนรูมด้วยไดเร็คดิจิทัลคินโทรล

ตรวจสอบโดย ไม่ผ่าน
ปรับปรุงแก้ไข
อาจารย์ที่ปรึกษา

ผ่าน

1
1

ออกแบบการทำงานโปรแกรมควบคุม
เซนเซอร์ห้องคลีนรูม

ตรวจสอบโดย ไม่ผ่าน
ปรับปรุงแก้ไข
อาจารย์ที่ปรึกษา

ผ่าน
เขียนโปรแกรมควบคุมเซนเซอร์ห้องคลีนรูม

ออกแบบห้องคลีนรูมจำลอง

ตรวจสอบโดย ไม่ผ่าน
ปรับปรุงแก้ไข
อาจารย์ที่ปรึกษา

ผ่าน
ประกอบชิน้ งาน

จัดทำปริญญานิพนธ์

สิ้นสุด

ภาพที่ 1 ขั้นตอนการดำเนินงาน
6. แนวคิดและหลักการของโครงการ
ชุ ด ฝึ ก อบรมระบบควบคุ ม สภาพอากาศห้ อ งคลีน รู ม ด้ว ยไดเร็ค ดิ จิ ทั ล คอนโทรล เป็ น ชุ ด ฝึ ก ใช้ง านอุ ปกรณ์
คอนโทรลเลอร์สำหรับควบคุมเงื่อนไขของอาคารในส่วนของระบบปรับอากาศภายในห้องคลีนรูม การควบคุม
ปริมาณฝุ่นละออง แรงดัน อุณหภูมิ หรือสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ไม่ให้เกินระดับมาตราฐานที่ก ำหนดไว้ ฉะนั้นจึงมีความ
จำเป็น อย่างยิ่งที่จ ะต้องพัฒ นาบุคคลากรหรื อผู้ที่มี ความสนใจในการควบคุมระบบปรับ อากาศให้ มีค วามรู้
ความสามารถและมี ท ั ก ษะการทำงานให้ เ กิ ด ความชำนาญเพื ่ อ ให้ส ามารถนำไปใช้ ใ นการทำงานได้ อ ย่ างมี
ประสิทธิภาพสูงสุด

ภาพที่ 2 ภาพแนวคิด
L
N
EasyIO-30P 24
12
SCR 5
0

ภาพที่ 3 แบบร่างชุดฝึกอบรม

ภาพที่ 4 ภาพรวมของระบบ
ชุดฝึกอบรมระบบควบคุมสภาพอากาศห้องคลีนรูมด้วยไดเร็คดิจิทัลคอนโทรล ส่วนประกอบหลักของระบบมีอยู่
ด้วยกัน 4 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ คอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมสั่งงานของส่งไปยังไดเร็คดิจิทัลคอนโทรล ส่วน
ที่ 2 คือ ไดเร็คดิจิทัลคอนโทรล (DDC) ทำหน้าที่รับค่าจากเซนเซอร์ และส่งต่อไปยังส่วน Output แสดงผล ส่วนที่
3 คือ Input เซนเซอร์ต่าง ๆ ทำหน้าที่ วัดค่าความผิดปกติไปจากเดิมของห้องคลีนรูม และส่งค่าเหล่านั้น ๆ ไปที่
ไดเร็คดิจิทัลคอนโทรล (DDC) ส่วนที่ 4 คือ Output ส่วนแสดงผลใช้แสดงค่าที่รับมาจากไดเร็คดิจิทัลคอนโทรล
(DDC) เพื่อทำการปรับแก้ค่าสถานะที่มีความเกี่ยวข้องกับคุณภาพของอากาศภายในห้องคลีนรูม
7. ระยะเวลาการดำเนินงาน
ระยะเวลา

เม.ย.66

พ.ค.66

พ.ย.66
มี.ค.66

ต.ค.66
มิ.ย.66
ก.ค.66

ส.ค.66

ก.ย.66

ธ.ค.66
1. ศึกษาและหาข้อมูล
2. นำเสนอข้อมูล
3. ออกแบบ
โปรแกรมควบคุมสภาพ
อากาศห้องคลีนรูมด้วย
ไดเร็คดิจิทัลคอนโทรล
4. ออกแบบห้องคลีนรูม
5. ประกอบชิ้นงาน
6. จัดทำปริญญานิพนธ์
**หมายเหตุ ช่วงเวลาในเวลาเป็นเวลาโดยประมาณ

8. รายการวัสดุอุปกรณ์สำหรับโครงงาน
ลำดับ รายการวัสดุอุปกรณ์ จำนวน ราคาต่อหน่วย ราคารวม หมายเหตุ
1 DDC EasyIO30P 1 17,326 17,326 อาจารย์สนับสนุน

2 เอสซีอาร์ (SCR) 1 7,000 7,000 อาจารย์สนับสนุน


3 เซนเซอร์วัดฝุ่น 1 890 890
4 เซนเซอร์วัดความชื้น 1 108 108
5 เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ 1 87 87
6 เซนเซอร์วัดการไหลของอากาศ 1 65 65
7 จอแสดงผลทัชสกรีน 1 3,198 3,198
8 พัดลมระบายความร้อน DC 2 269 538
9 ฮีตเตอร์ 1 206 206 อาจารย์สนับสนุน
ราคารวม 29,418 บาท
9. เอกสารอ้างอิง
[1] วิทยานิพนธ์การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างห้องทำความสะอาดชุดคลีนรูม กรณีศึกษา
โรงงานผู้ผลิตตัวจับหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ มหาลัยธรรมศาสตร์
[2] วิทยานิพนธ์การศึกษาความเหมาะสมของเครื่องปรับอากาศระบบแยกส่วนและระบบรวม ศูนย์ในด้าน
พลังงาน สิ่งแวดล้อม ความพึงพอใจของผู้ใช้ มหาลัยธรรมศาสตร์
[3] ienergyguru, “การปรับอากาศ”, [ออนไลน์]
สืบค้นข้อจาก https://shorturl.asia/orfaN
[4] computrols, “อุปกรณ์ไดเร็คดิจิทัลคอนโทรล (Direct Digital Control : DDC)”, [ออนไลน์]
สืบค้นข้อจาก https://shorturl.asia/8q1ET
[5] EasyIO-30P, “อุปกรณ์ EasyIO-30P”, [ออนไลน์]
สืบค้นข้อจาก https://shorturl.asia/NUdk7
แบบประเมินโครงการปริญญานิพนธ์
สถานะนักศึกษา
นักศึกษาปกติ (ลงทะเบียน) นักศึกษาตกค้าง (ลงทะเบียน) นักศึกษาตกค้าง (ไม่ลงทะเบียน)
รอบ ............. ปีที่ ................ รอบ ............... ปีที่ .................
ลักษณะของโครงการ
โครงงานใหม่ 2564
โครงงานเดิม นำเสนอเมื่อปีการศึกษา ............................................
ด้านวิศวกรรม ด้านการศึกษา ความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม
อื่นๆ ...................................
การสอบโครงการปริญญานิพนธ์
คณะกรรมการ ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา + คณะกรรมการ
ความคิดเห็นอาจารย์ที่ปรึกษา
......................................................................................................................................................................

....................................................... ........................................................
(นายพศวัต แก้วทิพย์) (ผศ.ดร.กฤษดา ศรีจันทร์พิยม)
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก อาจารย์ที่ปรึกษารอง
(........./..................../.........) (........./..................../.........)

ความคิดเห็นของคณะกรรมการพิจารณาโครงการปริญญานิพนธ์
ข้อเสนอแนะ..................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................... ............
.......................................................ประธานกรรมการ
(.......................................................)
....................................................................กรรมการ
(.......................................................)
...................................................................กรรมการ
(.......................................................)
การประชุมพิจารณาโครงการปริญญานิพนธ์ ได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ ........เดือน.....................พ.ศ............

You might also like