You are on page 1of 2

สงกรานต์กับสังคมไทย

สงกรานต์เป็นประเพณีที่ถูกจัดทำขึ้นทุกๆปีในสังคมไทยและสงกรานสะท้อนๆเรื่องราวต่างๆใน
สังคมไทยได้ไม่มากก็น้อย โดยในสังคมไทยสงกรานต์ได้สื่อถึง การทำบุญเลี้ยงพระ อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และเชื่อกันว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ในหลายต่อหลายครั้งเราพูดถึง
สงกรานต์ราวกับว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีรากเหง้ามีความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับตัวตนความเป็นไทย จนในที่สุด
สงกรานต์ได้ถูกสถาปนาในความรับรู้ของคนไทยว่ามีความเป็นไทยแท้เป็นเครื่องหมายของความเป็นไทย
เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้แสดงออกถึงความเป็นไทย (ปีใหม่ไทย) ได้ในที่สุด แต่จริงแล้วสงกรานต์เป็นประเพณีที่มี
ทุกที่ในรัฐโบราณทุกรัฐในอุษาคเนย์ที่รับมาจากพราหมณ์ชมพูทวีป (อินเดีย) เหมือน ๆ กัน ไม่ใช่มีแค่ไทย
ให้เดียว (ปรานี วงษ์เทศ. 2550:56)
ในอดีตเดือนเรานับเดือนอ้ายเป็นขึ้นปีใหม่ของไทยมาหลายพันปีมาแล้ว โดยถือตามจันทรคติ ขึ้น
1 ค่ำเป็นวันขึ้นปีใหม่ จนสมัยกรุงศรีอยุธยา ปีใหม่ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือของราชสำนักและราษฎร (ปรานี
วงษ์เทศ. 2550:10) โดยของราษฎร จะถือเอา 1 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นปีใหม่ตามคติดั่งเดิม แต่ทางของราช
สำนักจะนับเอา สงกรานต์เป็นปีใหม่ของราชสำนัก เนื่องด้วยรับวัฒนธรรมดั่งกล่าวมาจากความเชื่อ
พราหมณ์-ฮินดู โดยถือคือ ช่วงกลางเดือนเมษายนซึ่งจะตรงกับสงกรานต์พอดี จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มี
การกำหนดให้วันที่ 1 เมษาเป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา จนมาถึงยุคสมัยของจอมพล ป.
พิบูลสงคราม ช่วงพ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ จนถึงทุกวันนี้ตามแบบสากล
ตะวันตก
ท้ายสุดสงกรานต์ไม่ว่าประวัติศาสตร์การเดินทางของความเป็นไปไปมาของมันจะเป็นเช่นไร
แตกต่างจากเดิมเพียงแค่ไหน ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความหมายวัฒนธรรมประเพณีของวันสงกราต์ได้ถูกหล่อ
หลอมจนเป็นวัฒนธรรมที่อาจจะบอกได้วา่ ความหมายและความรับรู้เกี่ยวกับเรื่องสงกรานต์ในปัจจุบันเป็น
ส่วนหนึ่งของภาพสะท้อนของความเชื่อแบบพุทธ พราหมณ์ ผี ในไทยที่ถูกหล่อหลอมเข้ามาด้วยกัน
มองในอีกแง่วันสงกรานต์ได้นำไปสู่คำถามที่ดูจะคล้ายๆกับคำถามที่ถูกถามมาหลายต่อหลายครั้ง
ในสังคมไทยและเป็นคำถามที่คล้ายๆกับบางคำถามในสังคมไทยว่า “เหตุใดวันที่มีความสำคัญทางความ
เชื่อหรือทางศาสนาบางศาสนาจึงถูกนับว่าเป็นวันหยุด” สิ่งนี้มันทำให้แสดงถึงความเอนเอียงของความ
เป็นกลางทางศาสนาของรัฐไทยหรือไม่ การกำหนดวันหยุดที่อิงเพียงความเชื่อศาสนาเพียงบางกลุ่มมัน
สะท้อนถึงเจตนาลึกๆหรือไม่ว่าแท้จริงแล้วความเชื่ออื่นที่อยู่ภายใต้ประเทศนี้ไม่มีความสำคัญมากพอที่จะ
ถูกสถาปนาให้มีความสำคัญในสายตาของรัฐได้เท่าความเชื่อบางกลุ่ม การขบคิดเรื่องนี้จึงนำเรากลับไปสู่
คำถามได้ว่า การกำหนดวัดหยุดทางราชการ วันหยุดแรงงาน แท้จริงแล้วเราควรนำวันอะไรมากำหนดให้
หยุดกันแน่ควรนำเหตุผลอะไรมาสนับสนุนวันหยุด นั้นกันแน่ เพราะหากมองกลับไปในวันหยุ ดทาง
ราชการ วันหยุดแรงงาน คงได้คำถามที่ว่าแท้จริงแล้ววันหยุดต่างๆเหล่านี้ยึดโยงกับประชาชนมากน้อยแค่
ไหน เพราะส่วนใหญ่วันที่ถูกนับมาคิดว่าเป็นวันหยุดนั้น โดยภาพรวมส่วนใหญ่มีเพียงวันสำคัญทางศาสนา
บางศาสนาเท่ า นั ้ น เช่ น วั น ฉั ต รมงคล 4 พฤษภาคม,วั น วิ ส าขบู ช า 15 พฤษภาคม, วั น มาฆบู ช า 16
กุมภาพันธ์ หรือมีเพียงวันที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของไทย เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 28กรกฎาคม,วันคล้ายวัน
สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13,วัน
พ่ อ แห่ ง ชาติ 5 ธั น วาคม เมื ่ อ มองภาพรวมมาถึ ง ตรงนี ้ ค งทำให้ ม องเห็ น ภาพใหญ่ ข องในบรรดา
วันหยุดราชการว่ามองประชาชนแบบไหนและในลักษณะใด ได้ไม่มากก็น้อย
บางที่วันหยุดสงกรานต์ความหมายจึงอาจไม่ได้มีแค่วันหยุดแต่หมายถึงส่วนหนึ่งของคำถามใหญ่ที่
ถูกถามตลอดมาและยังไม่มีคำตอบเรื่องนี้เสียที
***************
พฤติกรรมที่แสดงออกในรูปของสัญลักษณ์ (symbolic action) ผ่านพิธรกรรมในวันสงกราต์
ความหมายแฝงในวันสงกรานต์
สงกรานต์กับอำนาจทางการเมือง

เอกสารอ้างอิง
ปรานี วงษ์เทศ. (2550). สงกรานต์ขึ้นฤดูกาลใหม่(ปีใหม่)ของพราหมณ์สุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด.
ปรานี วงษ์เทศ.ความหมายของสงกรานต์ ช่วงหญิงชายต้องเนื้อตัว-สีกาสาดน้ำถึงกุฏิ และทำไมมีความรุนแรง. [ออนไลน์].
2562,แหล่งที่มา:https://www.silpa-mag.com/culture/article_31023 [17 มีนาคม พ.ศ.2563]
ส.พลายน้อย.สงกรานต์ 3 วัน 13-15 เม.ย.เริ่มมีเมื่อใด ปีใหม่ไทยในอดีตเปลี่ยนไปมา ชาวบ้านตามตรวจดูวันเอง. [ออนไลน์].
2562,แหล่งที่มา https://www.silpa-mag.com/history/article_31026 [13 เมษายน พ.ศ.2564]

You might also like