You are on page 1of 26

หมายเหตุ Thai SMC

ข ้อเขียนชน ิ้ นี้ ดร.ครรชติ มาลัยวงศ ์ ราชบัณฑิตสาขาคอมพิวเตอร์ได ้เขียนไว ้เมือ ่ พ.ศ. 2544


เพือ ้ นเอกสารประกอบการสม
่ ใชเป็ ั มนา “การเขียนเรือ่ งทางวิทยาศาสตร์” ให ้แก่บค ุ ลากรของ
สถาบันสง่ เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซงึ่ ศูนย์สอ ื่ สารวิทยาศาสตร์ไทยเห็นว่า
เนือ้ หาของเอกสารนีจ ้ ะเป็ นประโยชน์แก่ผู ้ทีส
่ นใจในเรือ
่ งการเขียนทั่วไปด ้วย ทางศูนย์ฯ จึง
ได ้ติดต่อขออนุญาตผู ้เขียนเพือ ่ เผยแพร่ และได ้รับอนุญาตให ้เผยแพร่ผา่ นทางเว็บไซต์นี้

ื่ สารวิทยาศาสตร์ไทย
ศูนย์สอ

เขียนเรือ
่ งมีสไตล์ แบบสบายและสนุก
ิ มาลัยวงศ ์
ดร.ครรชต

เนื้อหาต่อไปนี้เป็นคาบรรยายทีผ่ มเรียบเรียงอย่างย่อๆ ขึน้ เมือ่ วันที่ 28 กรกฎาคม 2544 เพื่อใช้


ประกอบคาบรรยายในการสัมมนาเจ้าหน้าทีแ่ ละอาจารย์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสาขา
คณิตศาสตร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื้อหาคาบรรยายนี้ได้เรียบเรียงจาก
หนังสือสองเล่มคือ
1.John Ellison Kahn, “How to write and speak better”, Hong Kong : Reader’s
Digest’1998
2.William Zinsser, “On writing well”, 5th Edition, New York : HarperPerennial,1994

คาบรรยายทีจ่ ดั เตรียมไว้เดิมนัน้ มีแต่หวั ข้อเท่านัน้ ไม่มคี าอธิบาย ดังนัน้ เพื่อให้เป็นประโยชน์


กว้างขวางมากขึน้ โดยเฉพาะแก่ผทู้ ไ่ี ม่มโี อกาสมาฟงั คาบรรยาย ผมจึงขยายความต่อไปให้มรี ายละเอียด
มากขึน้ อย่างไรก็ตาม โดยทีเ่ วลาผมไม่ค่อยมากนัก จึงไม่สามารถเขียนคาอธิบายและบรรจุเนื้อหาที่
ต้องการอ้างอิงได้ครบถ้วน ดังนัน้ ผูอ้ ่านเรือ่ งนี้คงจะต้องศึกษารายละเอียดเพิม่ เติมตามทีแ่ นะนาไว้
เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาทีผ่ มอธิบายได้ชดั เจนมากขึน้
ผมหวังว่าหัวข้อคาบรรยายและคาบรรยายนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่ผทู้ ส่ี นใจจะฝึกฝนการเขียน
เรือ่ ง แต่ลาพังการอ่านคาบรรยายเพียงอย่างเดียวก็คงจะไม่ทาให้คุณเขียนเรือ่ งได้เก่งขึน้ คุณจะต้องลง
มือเขียนเรือ่ งทีค่ ุณสนใจด้วยตนเอง เขียนแล้วก็อ่าน อ่านแล้วก็แก้ ทากลับไปกลับมาจนกว่าคุณจะพอใจ
หรือคุณอาจจะขอให้เพื่อนของคุณอ่านและวิจารณ์เรือ่ งทีค่ ุณเขียนก็ได้
คนไทยนัน้ เป็นคนทีม่ นี ิสยั ช่างเขียนช่างบันทึกเหมือนกัน แต่จานวนคนทีเ่ ขียนนัน้ มีน้อย เราไม่
ใคร่ทราบว่าสมัยสุโขทัยนัน้ มีใครแต่งบทกลอนหรือบันทึกเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับชีวติ หรือการค้าขายเอาไว้
หรือไม่ หากมีกค็ งจะสูญหายไปแล้ว ทีม่ อี ยูจ่ ริงก็เป็นศิลาจารึกทางศาสนาเสียเป็นส่วนใหญ่ อาจจะเป็น
เช่นนี้เองทีท่ าให้คนไทยไม่ใคร่เขียนหรือบันทึกเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับชีวติ ประจาวันเอาไว้เป็นงานวรรณกรรม
ให้ศกึ ษา ถ้าจะมีบา้ งก็คอื เพลงชาวบ้านทีร่ อ้ งและเล่นสืบต่อๆกันมา แต่กค็ น้ หาไม่ได้ว่ามีใครแต่งบทไหน
กันบ้าง ไม่มใี ครรูว้ ่าอีกพันปีขา้ งหน้าจะเกิดอะไรขึน้ หากเราต้องการให้ลกู หลานของเรารูว้ ่าเราคิดอะไร
เราก็ควรเขียนเรือ่ งเอาไว้มากๆ คงจะมีบา้ งทีเ่ ป็นมรดกตกทอดให้เยาวชนในอีกพันปีขา้ งหน้าได้ศกึ ษาว่า
พวกเราคิดอะไร มีชวี ติ ความเป็นอยูอ่ ย่างไรและทาอะไรกันอยูบ่ า้ ง

การเขียนในชวี ต
ิ ประจาวัน
ผูห้ ลักผูใ้ หญ่ทม่ี ปี ระสบการณ์ผ่านงานมามากแล้วพบว่า ทุกวันนี้ผปู้ ฏิบตั ริ นุ่ หนุ่มสาวมี
ความสามารถในการเขียนเรือ่ งต่างๆ น้อยกว่าคนรุน่ ก่อนๆ เรือ่ งนี้เป็นจริงโดยแท้เพราะผมเองก็ปวดหัว
เรือ่ งนี้อยูบ่ ่อยๆ เนื่องจากรายงานทีล่ กู น้องร่างส่งมาให้พจิ ารณานัน้ อ่านไม่ค่อยรูร้ อ่ื ง ต้องแก้ไขให้เป็น
ภาษาทีถ่ ูกต้องเหมาะสมและอ่านแล้วเข้าใจง่ายอยูเ่ สมอ ดังนัน้ ครูเองก็อ่อนด้อยทักษะในด้านการเขียน
ไปด้วย เมือ่ อ่อนด้อยก็ไม่สามารถสอนให้นกั เรียนเขียนเรือ่ งให้คนอ่านรูเ้ รือ่ ง
คนรุน่ ใหม่จานวนมากอ้างว่าเวลานี้เราไม่จาเป็นจะต้องเก่งทางด้านการเขียนก็ได้ เพราะการ
สื่อสารทุกวันนี้เน้นทางด้านการพูดและการฟงั โทรทัศน์และวิทยุกส็ ่อื สารโดยใช้เสียงพูด คนทัวไปตั ่ ง้ แต่
เด็กไปถึงคนชราก็มโี ทรศัพท์มอื ถือซึง่ สามารถติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆได้ตลอดเวลา ดังนัน้ แม้คนส่วน
ใหญ่จะเขียนไม่เป็นก็ไม่เป็นไร ขอให้สนทนาได้กแ็ ล้วกัน
ข้ออ้างข้างบนนี้ไม่จริง แม้ว่าเราจะต้องใช้ทกั ษะในด้านการพูดและการฟงั มากขึน้ แต่ผมก็พบอีก
นันแหละว่
่ าเด็กรุน่ ใหม่พดู ไม่ค่อยจะรูเ้ รือ่ ง และฟงั เรือ่ งต่างๆ แล้วจับสาระไม่ได้ ตรงนี้กเ็ ป็ นปญั หาใหญ่
อีกอย่างหนึ่งซึง่ จะต้องหยิบยกขึน้ มาวิพากษ์วจิ ารณ์กนั ต่อไป ส่วนทีผ่ มกล่าวว่าการสื่อสารด้วยการ
สนทนายังไม่พอก็เพราะทุกวันนี้ระบบอินเ ทอร์เ น็ ตได้รบั ความนิยมมาก ในหมูค่ นไทยก็อาจจะมีผใู้ ช้
อินเทอร์เน็ตมากกว่าล้านคนแล้ว ผูใ้ ช้อนิ เทอร์เน็ตส่วนมากนิยมสื่อสารกันด้วยระบบอีเมลหรือจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ ซึง่ โดยพืน้ ฐานก็คอื การเขียนข้อความถึงกัน ดังนัน้ หากไม่พฒ ั นาความสามารถในด้าน
การเขียนให้ดยี งิ่ ขึน้ แล้วอีเมลทีส่ ่งไปก็อาจจะอ่านไม่รเู้ รือ่ ง
ทีอ่ ธิบายมายืดยาวข้างต้นนี้กเ็ พื่อทาให้ผอู้ ่านเห็นความสาคัญของการเขียนว่ายังมีบทบาท
สาคัญอยูอ่ กี มาก นอกจากนัน้ หากเราลองวิเคราะห์การทางานในหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน
ภาครัฐหรือเอกชน เราจะพบว่ามีเรือ่ งทีจ่ ะต้องเขียนในสานักงานออกมาดังต่อไปนี้
 บันทึกโต้ตอบ/บันทึกข้อความ เป็นบันทึกสัน้ ๆ สาหรับการสังงาน ่ การแสดงความคิดเห็น
การขอความเห็น ฯลฯ
 รายงานการปฏิบตั งิ านต่างๆ โดยเฉพาะคือการสรุปงานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย รายงานการ
เดินทางไปดูงานหรือเจรจากับหน่วยงานต่างประเทศ รายงานสรุปโครงการ ฯลฯ
 รายงานการประชุม รายงานเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ หรือผลการพิจารณาเรือ่ งต่างๆ ทีป่ รากฏใน
วาระการประชุม
 หนังสือราชการหรือจดหมายธุรกิจ เป็นเอกสารหลักทีส่ ่งจากหน่วยงานไปยังอีกหน่วยงาน
หนึ่งเพื่อแจ้งเรือ่ ง เพื่อขอความร่วมมือ หรือเพื่อจุดประสงค์อ่นื ๆ
 ข้อกาหนดคุณลักษณะอุปกรณ์ทจ่ี ะจัดซือ้ จัดหา หมายถึงรายละเอียดเกีย่ วกับพัสดุหรือ
ครุภณั ฑ์ทต่ี อ้ งการจัดซือ้ จัดหา เช่น ในการจัดซือ้ เครือ่ งคอมพิวเตอร์กจ็ าเป็นจะต้องเขียน
รายละเอียดทางด้านเทคนิคของเครือ่ งคอมพิวเตอร์ทต่ี อ้ งการให้ครบถ้วน หากเขียนไม่ครบ
หรือใช้คาทีผ่ ดิ พลาดไป ก็จะเกิดปญั หากับการจัดซือ้ ได้
 ระเบียบ ข้อบังคับ คาสัง่ และประกาศ เป็นเอกสารทีจ่ ะต้องเขียนให้รดั กุม เข้าใจง่าย ตีความ
ได้ถูกต้อง ไม่คลุมเครือ นอกจากนัน้ ยังจะต้องมีน้าหนักให้คนเชื่อถือและปฏิบตั ติ ามได้
 หนังสือเชิญ/บัตรเชิญ(ไทย-อังกฤษ) เป็นเอกสารทีด่ งู า่ ย แต่ถา้ หากท่านจะต้องเขียนบัตร
เชิญแขกมาในงานเปิดสาขาซึง่ จะมีพระราชาคณะชัน้ สมเด็จมาเป็นประธาน ท่านจะเขียน
อย่างไรจึงจะถูกต้อง และท่านจะแปลเป็นภาษาอังกฤษอย่างไรจึงจะเป็นทีเ่ ข้าใจของแขก
ต่างประเทศ
 คากล่าวรายงาน/คากล่าวเปิด-ปิดการสัมมนา-ประชุม หน่วยงานทีจ่ ดั ประชุมบ่อยจาเป็น
จะต้องจัดทาร่างคากล่าวต่างๆ เหล่านี้ให้แก่ผบู้ ริหารและประธานอยูเ่ สมอ รายงานจะต้องมี
สาระทีเ่ หมาะสม ไม่ยดื ยาว และใช้คาทีเ่ หมาะสมกับวุฒขิ องผูเ้ ข้าร่วมสัมมนาและประชุม คา
กล่าวเหล่านี้หากเป็นภาษาไทยก็พอทีจ่ ะเรียนรูไ้ ด้ไม่ยาก แต่หากต้องเขียนเป็น
ภาษาอังกฤษ ท่านจะต้องสามารถเขียนวิธกี ล่าวต่อทีป่ ระชุมเป็นภาษาอังกฤษได้อย่าง
ถูกต้องด้วย
 ร่างคาบรรยายของหัวหน้า, ผอ., รมต.,นายกรัฐมนตรี หน่วยงานทีเ่ ชิญผูใ้ หญ่มาบรรยายใน
งานสัมมนาหรือการประชุมนัน้ บางครัง้ ก็จาเป็นจะต้องจัดทาร่างคาบรรยายให้ท่านเหล่านัน้
ด้วย ผูใ้ หญ่หลายท่านใช้เนื้อหาทีเ่ ราจัดเตรียมให้นนั ้ เป็นโครงร่างทีท่ ่านจะบรรยายหรือ
ปาฐกถาคือท่านจะอธิบายขยายความจากประสบการณ์ส่วนตัวของท่านต่อไปอีก แต่บาง
ท่านก็อ่านคาบรรยายทีจ่ ดั เตรียมไปให้นนั ้ ตรงๆด้วยเหตุน้กี ารจัดร่างคาบรรยายจึงต้องใช้
ความรอบรูท้ งั ้ ในด้านเนื้อหาและบุคลิกการพูดของผูท้ เ่ี ราจะจัดทาคาบรรยายให้ดว้ ย
 หนังสือส่วนตัว เมือ่ เราปฏิบตั งิ านมีตาแหน่งสูงขึน้ ไปแล้ว เราก็อาจจะต้องเขียนหนังสือ
ส่วนตัวในนามของหน่วยงานด้วยเหมือนกัน อาทิ
- หนังสือรับรอง เช่น หนังสือรับรองการปฏิบตั งิ านของพนักงาน หนังสือรับรอง
ความประพฤติ หนังสือรับรองและสนับสนุนในการศึกษาต่อ หนังสือรับรองเรือ่ งอื่นๆ
- คาไว้อาลัยให้แก่ผวู้ ายชนม์ สามารถเขียนได้สองลักษณะคือไว้อาลัยในนามของ
หน่วยงาน และไว้อาลัยแบบส่วนตัวในนามของผูเ้ ขียนเอง
- หนังสือตักเตือน/ตาหนิ เป็นหนังสือทีจ่ ะต้องเขียนให้รดั กุม ชีแ้ จงประเด็นต่างๆให้
ครบถ้วน และระบุสงิ่ ทีผ่ รู้ บั จะต้องปฏิบตั อิ ย่างชัดเจน
 ข่าวแจกสื่อมวลชน มีความสาคัญมากในแง่การประชาสัมพันธ์ เราไม่ควรหวังว่าเมือ่ จัดการ
แถลงข่าวแล้ว นักข่าวจะจับประเด็นหรือสาระของข่าวได้ถูกต้อง โดยเฉพาะชื่อและตาแหน่ง
ของผูท้ เ่ี กีย่ วข้องและหน่วยงานนัน้ หากไม่เขียนเป็นข่าวแจกพร้อมกับการแถลงข่าวแล้ว
เราจะแปลกใจเมือ่ พบว่าข่าวทีล่ งพิมพ์นนั ้ มีเนื้อหาแตกต่างจากเรือ่ งข่าวทีเ่ ราแถลง
 รายงาน/บทความวิจยั ข้อเขียนกลุ่มนี้จาเป็ นมากสาหรับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับการทาวิจยั
ด้านต่างๆ อาทิ สถาบันวิจยั มหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาอื่นๆ ดังนัน้ ผูท้ ท่ี างานทางด้าน
การวิจยั ก็จะต้องหัดเขียนรายงานและบทความวิจยั เอาไว้ดว้ ย

สไตล์การเขียนที่ดี
คาว่าสไตล์ในทีน่ ้ผี มหมายถึงรูปแบบและแนวการเขียนอันเป็นบุคลิกส่วนตัวของผูเ้ ขียนและยัง
หมายถึงรูปแบบการเขียนทีจ่ ะต้องแตกต่างไปตามลักษณะของเรือ่ งทีเ่ ขียนด้วย อาทิ บทความวิจยั ก็
จะต้องมีรปู แบบการขียนทีเ่ คร่งขรึม เน้นความแม่นยาและชัดเจนของคาทีใ่ ช้ เน้นลาดับความคิดและ
ขัน้ ตอน ไม่ใช้คาทีฟ่ ุ่มเฟือยหรือแสดงอารมณ์ ในทางตรงกันข้าม บทความวิจารณ์สงั คมอาจจะต้องมีแนว
การเขียนทีใ่ ช้คาทีแ่ สดงอารมณ์ให้ผอู้ ่านคล้อยตาม เน้นการจีป้ ระเด็นทีต่ อ้ งการอย่างน่าเชื่อถือ
แม้รปู แบบการเขียนจะมีลกั ษณะทีเ่ ป็นไปตามลักษณะของบทความหรือเรือ่ งทีเ่ ขียน แต่เมือ่ ลอง
ศึกษาการเขียนแล้วก็อาจจะกล่าวได้ว่า สไตล์การเขียนทัง้ หมดรวมแล้วเท่ากับจานวนนักเขียนหรือ
ผูเ้ ขียนเรือ่ งเหล่านัน้ เพราะผูเ้ ขียนแต่ละคนย่อมมีรปู แบบของตนเอง ยกเว้นแต่เมือ่ ยังคิดไม่ออกว่าจะใช้
รูปแบบการขัยนแบบใดดี ทีผ่ มพูดเช่นนี้กเ็ พราะผมรูจ้ กั คุน้ เคยกับนักเขียนหลายคน ได้เคยฟงั นักเขียน
เหล่านี้พูดและอภิปรายในเรือ่ งต่างๆ มาหลายครัง้ จนจาได้ว่า แต่ละคนมีวธิ พี ดู อย่างไร เมือ่ ผมอ่านเรือ่ ง
ทีน่ กั เขียนเหล่านัน้ เขียน ผมรูส้ กึ เหมือนกับว่านักเขียนเหล่านัน้ กาลังพูดให้ผมฟงั เลยทีเดียว เพราะ
สานวนทีเ่ ขียนนัน้ กล่าวได้ว่าเหมือนกับสานวนพูดทุกประการ
การพัฒนารูปแบบการเขียนของตนเองนัน้ เป็นเรือ่ งสาคัญหากคุณคิดจะเป็นนักเขียนทีด่ แี ละมี
คนสนใจติดตามอ่านเรือ่ งทีค่ ุณเขียน คุณอาจจะเริม่ ต้นพัฒนารูปแบบการเขียนของคุณด้วยการศึกษา
รูปแบบการเขียนของนักเขียนอื่น คือศึกษาว่านักเขียนแต่ละคนมีวธิ กี ารเขียนอย่างไร ใช้พาราการ์ฟ
ประโยค และคาต่างๆ อย่างไร มีวธิ นี าเสนอความคิดหลัก ความคิดรอง เหตุผล และลาดับการนาเสนอ
ความคิดนี้อย่างไร จากนัน้ ให้พจิ ารณาต่อไปว่าเราชอบวิธเี ขียนของเขาทีต่ รงไหน หรือตรงไหนบ้างที่
เป็นจุดอ่อนทีเ่ ราไม่ชอบ การศึกษาวิธกี ารเขียนของนักเขียนเก่งๆ จะทาให้เราเริม่ ต้นเลียนแบบวิธกี าร
เขียนของเขาบ้าง แต่ไม่ชา้ คุณจะรูส้ กึ ว่าไม่ค่อยถนัดเพราะไม่ใช่การเขียนหรือการแสดงออกทีเ่ ป็น
ธรรมชาติของคุณ หลังจากนัน้ คุณก็จะเริม่ ปรับเปลีย่ นรูปแบบการเขียนของคุณจากการเลียนแบบไปสู่
รูปแบบทีค่ ุณถนัด และนันแหละที ่ ค่ ุณจะมีรปู แบบการเขียนของคุณเอง
ไม่ว่าคุณจะใช้รปู แบบการเขียนแบบใด งานเขียนของคุณควรจะมีลกั ษณะกว้างๆ ดังต่อไปนี้
 ใช้คาได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาหรือเรือ่ งทีต่ อ้ งการบอกเล่า ไม่ควรใช้คาทีห่ รูหราหรือ
ซับซ้อนเกินความจาป็น
 แบ่งเนื้อเรือ่ งเป็นย่อหน้าทีม่ ขี นาดไม่ยาวเกินไป แต่ละย่อหน้ามีแนวความคิดหลักอย่างเดียว
ซึง่ อาจอยูต่ อนต้นหรือตอนท้ายของย่อหน้าก็ได้ การเลือกว่าจะวางแนวคิดหลักไว้ทต่ี อนต้อ
คือประโยคแรกของย่อห น้ าหรือตอนท้ายนัน้ เป็นเคล็ดลับอันเกีย่ วเนื่องกับการเปิดเผยหรือ
คลีค่ ลายความคิด ซึง่ คุณควรจะศึกษารูปแบบของนักเขียนอื่นด้วยเหมือนกัน
 แต่ละประโยคมีความสมบูรณ์ คือ มีประธาน กริยา กรรม ครบถ้วน ทาให้รวู้ ่าประโยคนัน้
ต้องการจะกล่าวถึงอะไร ใครเป็นคนทาอะไร ฯลฯ หากคุณต้องการจะเขียนประโยคทีไ่ ม่
ครบถ้วนก็ยอ่ มทาได้ แต่ตอ้ งเลือกเขียนในเรือ่ งทีเ่ อือ้ ให้ทาเช่นนัน้ ได้ เช่น นิยาย เรือ่ งสัน้
หรือบทกวี

สไตล์การเขียน-ทัวไป่
เพื่อให้เห็นภาพของรูปแบบการเขียนชัดเจนขึน้ ผมจึงขอให้รปู แบบงานเขียนต่างๆทีม่ ผี ใู้ ช้กนั
มากและตัวอย่างทีค่ ุณจะศึกษาได้
 งานเขียนวิชาการล้วนๆ อาจศึกษาได้จากบทความวิจยั ทัวไปที ่ ต่ พี มิ พ์ในวารสารวิจยั ของ
สถาบันวิจยั หรือมหาวิทยาลัยชัน้ นาต่างๆ เวลานี้นกั วิจยั และอาจารย์เขียนบทความวิชาการกัน
มากขึน้ คุณอาจจะเห็นลักษณะของงานเขียนวิชาการได้ชดั แต่อาจไม่ได้เห็นรูปแบบการเขียน
ของนักวิชาการแต่ละคน นอกจากในรายทีเ่ ขียนบ่อยมาก
 งานเขียนทีเ่ กีย่ วกับเหตุการณ์ เป็นงานเขียนทีร่ ายงานเรือ่ งราวหรือเหตุการณ์ต่างๆทีเ่ กิดขึน้
งานเขียนเหล่านี้มใี ห้ศกึ ษาได้มากมายในข่าวหนังสือพิมพ์ อย่างไรก็ตามคุณจะต้องระวังให้มาก
เพราะข่าวทัง้ หลายควรจะเขียนอย่างปราศจากอารมณ์ แต่ขา่ วทีต่ พี มิ พ์เวลานี้มกั จะใส่สสี นั กัน
จนเกินเลย
 งานวิจารณ์กง่ึ เสนอแนะ เป็นงานเขียนทีว่ พิ ากษ์วจิ ารณ์การดาเนินงานของหน่วยงานในภาครัฐ
เป็นส่วนใหญ่ เราอาจจะหาอ่านได้จากบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ต่างๆ
 งานเขียนอันเป็นบทความส่วนตัวแบบกลางๆ อาจจะเป็นบทความที่ เล่า ถึงงาน เล่าถึงการ
เดินทาง เล่าเรือ่ งต่างๆ แล้วโยงไปถึงประสบการณ์ส่วนตัวหรือความเห็นของตนเอง เราอาจหา
อ่านงานเขียนเหล่านี้ได้ทวไปโดยเฉพาะก็
ั่ คอื บทความทีผ่ เู้ ขียนใช้คาว่า ผูเ้ ขียน หรือ ข้าพเจ้า
 งานเขียนอันเป็นเรือ่ งส่วนตัวมากๆ มักจะเป็นบทความทีแ่ สดงความเห็นของตนเองเป็นหลัก
พูดง่ายๆก็คอื อาจจะเป็นบทความเชิงสอนอย่างเรือ่ งทีค่ ุณกาลังอ่านอยูน่ ้ี คุณอาจจะศึกษาได้จาก
บทความหรือเรือ่ งทีผ่ เู้ ขียนเน้นคาว่า ผม, ฉัน,หรือ ดิ ฉัน
 บทความสอนและแนะนาเรือ่ งต่างๆ ได้แก่แผ่นพับนาเทีย่ วทัวไป ่ ตาราทากับข้าว หรือคู่มอื การ
ใช้อุปกรณ์ต่างๆ คุณอาจจะศึกษารูปแบบการเขียนเหล่านี้ได้ไม่ยาก

สไตล์นักเขียนไทย
เพื่อให้คุณได้เห็นภาพการเขียนของนักเ ขียนได้ชดั เจนขึน้ ผมจึงลองหยิบยกเอารูปแบบการ
เขียนของนักเขียนทีม่ ชี ่อื เสียงโด่งดังในบรรณพิภพของไทยมาวิจารณ์ให้คุณรับฟงั แต่คุณไม่จาเป็ น
จะต้องมองเห็นเหมือนผมเสียทีเดียว เพราะสิง่ ทีผ่ มมองเห็นนัน้ เป็นทัศนะส่วนตัวของผม คุณอาจจะมี
ทัศนะทีแ่ ตกต่างออกไปและมองเรือ่ งของนักเขียนเหล่านี้จากมุมทีต่ ่างไปจากผมก็ได้
ม.ร.ว.คึกฤทธิ ์ ปราโมช รูปแบบของท่านผูน้ ้กี ค็ อื หยิก หยอก แบบส่วนตัว ใช้ประสบการณ์
ส่วนตัวในการเขียนค่อนข้างมาก สานวนเขียนมีลกั ษณะสัน้ ใช้คาคมทีก่ นิ ใจ อ่านแล้วสนุก
สุลกั ษณ์ ศิวรักษ์ รูปแบบงานเขียนของคุณสุลกั ษณ์มลี กั ษณะ เสียดแทง ใช้ประสบการณ์
ส่วนตัว มีความสามารถในการเขียนแบบไม่ใส่อารมณ์ แต่อ่านแล้วเกิดอารมณ์คล้อยตามได้ เรือ่ งทีเ่ ขียน
ใช้เกร็ดจากการอ่านและคาบอกเล่าจากผูอ้ ่นื มาก บางเรือ่ งไม่สามารถล่วงรูไ้ ด้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม
อ่านเรือ่ งของคุณสุลกั ษณ์แล้วท้อแท้ในอนาคตของประเทศ
นิตภิ มู ิ นวรัตน์ รูปแบบงานเขียนทีป่ รากฏในหน้า 2 ไทยรัฐนัน้ มีลกั ษณะทิม่ แทงลึกๆใช้
ความรูจ้ ากการอ่านและรับฟงั จากมิตรสหายทัวโลกมามาก
่ งานเขียนจึงแสดงประสบการณ์ส่วนตัว
ค่อนข้างมาก ทาให้งานเขียนมีลกั ษณะค่อนข้างอวดตัว แสดงความรูส้ กึ และอารมณ์ออกมามาก อ่านแล้ว
มันส์
ซูม รูปแบบงานเขียนมีลกั ษณะเลื่อนไหลไปเรือ่ ยๆ ความเห็นทีแ่ สดงออกมามีลกั ษณะกลางๆ
อ้างถึงประสบการณ์ส่วนตัวมากเหมือนกัน แต่กเ็ สนอความเห็นอย่างระมัดระวัง อ่านแล้วเพลิน

ข้อแนะนาเกี่ยวกับสไตล์
เมือ่ คุณเริม่ มีรปู แบบการเขียนของตัวเองหรืออีกนัยหนึ่งได้คน้ พบตัวเองแล้ว คุณก็จงใช้รปู แบบ
นัน้ ในงานเขียนไปเรือ่ ยๆ จนกระทังช ่ านาญ จากนัน้ งานเขียนของคุณก็จะเป็นธรรมชาติมากขึน้ ทุกที
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีเรือ่ งราวทีค่ ุณควรจะใส่ใจอีกหลายเรือ่ งด้วยกันคือ
 เลือกรูปแบบการเขียนทีต่ วั เองถนัด อย่าฝืนใช้รปู แบบทีเ่ ขียนแล้วไม่เป็ นธรรมชาติ นอกจากจะ
ได้ทดลองแล้วพบว่าทาได้ดี ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณถนัดเขียนเรือ่ งการเดินทางแต่ไม่ถนัดเขียน
นิยายวิทยาศาสตร์กอ็ ย่าไปฝืน
 อย่าใช้หลายรูปแบบปนกันในเรือ่ งเดียวกั น เพราะจะทาให้เรือ่ งทีเ่ ขียนมีลกั ษณะพิกลพิการ เช่น
การเล่าเรือ่ งไปเทีย่ วในรูปแบบส่วนตัวเป็นกันเอง จากนัน้ จูๆ่ ก็เอาเนื้อหาในแผ่นพับมาแทรก
เข้าไปในเรือ่ งนัน้ ดือ้ ๆ
 ควรรักษาทิศทางและน้าหนักของเรือ่ งทีก่ าลังเขียนให้เป็นเอกภาพ ไม่ควรสอดส่ายไปหลาย
ทิศทางโดยจับประเด็นไม่ถูกเพราะจะทาให้เรือ่ งไม่น่าอ่าน
 เมือ่ คุณเขียนจนชานาญแล้วคุณอาจเลือกใช้รปู แบบต่างๆ ได้หลากหลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับ
เรือ่ งทีค่ ุณอยากจะเขียน แต่ก่อนจะทาเช่นนัน้ ขอให้ฝึกฝนจนเก่งเสียก่อน

สังเกตการเลื่อนไหลของความคิ ดจากประโยค
การเขียนเรือ่ งต่างๆนัน้ ต้องใช้คาและประโยคสาหรับถ่ายทอดความคิดไปยังผูอ้ ่าน ประโยคที่
สร้างขึน้ จะต้องร้อยเรียงเชื่อมโยงเพื่อนาเสนอความคิดของผูเ้ ขียนได้อย่างเลื่อนไหล โดยปกติเราไม่นิยม
ใช้ประโยคสัน้ ๆ เกินไปเพราะจะไม่น่าอ่าน เรามักจะนาประโยคต่างๆ มาเชื่อมโยงกันโดยคาสัณธานที่
เหมาะสมจนเกิดเป็นอเนกัตถประโยคขึน้ ประโยคทีม่ ลี กั ษณะซับซ้อนเหล่านี้นาเสนอแนวความคิดที่
แตกต่างกันไปสุดแท้แต่คาสัณธานทีใ่ ช้เชื่อมอนุประโยคหรือเชื่อมวลีต่างๆ หากพิจารณาให้ดเี ราจะ
สังเกตการเลื่อนไหลของความคิดจากคาสัณธานทีใ่ ช้ในประโยคนัน้ ๆ ได้ ดังต่อไปนี้
การเลื่อนไหลของความคิ ดแบบตรงไป ดูได้จากคาสัณธาน และ นอกจากนัน้
ตรงไปทุกอย่างชัดเจน ดูจากคาสัณธาน ดังนัน้ เพราะฉะนัน้ ในกรณีน้ี
เลี้ยวอ้อมไป ดูได้จากคาสัณธาน อีกนัยหนึ่ง บางที โปรดสังเกตว่า
โปรดระวังอย่ารีบนัก ไปช้าๆหน่ อย ดูจากสัณธาน ความจริงแล้ว อันทีจ่ ริง โดยปกติ
แน่ละ ขอให้สงั เกตว่า
หยุดย้อนกลับไปที่เก่าก่อน ดูได้จากสัณธาน แต่ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า

ขอให้ศกึ ษาตัวอย่างข้อความต่อไปนี้แล้วทดลองพิจารณาว่า แต่ละประโยคได้นาเสนอแนวคิดที่


เลื่อนไหลไปอย่างไร
“การพนันกับคนไทย ดูเหมือนจะเป็นของคู่กนั ชนิดแยกกันไม่ออก ทุกวันนี้คนไทยเล่นการพนัน
เกือบจะทุกวันเพราะมีทงั ้ ม้า มว ย และ ฟุตบอล ให้เสีย่ งโชค ซึง่ ถือเป็นการพนันนอกระบบ... ” จาก
คอลัมน์ “มุมมองหมอเมา” โดย ทพ.พิชยั ปิตุวงศ์ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ 4 ส.ค.44
“วัฒนธรรมของเวียดนามชอบการแข่งขันทางวิชาการ ยกย่องคนเก่ง ทุกคนใฝร่ ใู้ ฝเ่ รียน ไม่ว่าจะ
เป็นคนยากดีมจี น ชาวไร่ ชาวนา หรือกรรมกร ล้วนสนใจการเรียนทัง้ สิน้ มีนิสยั ชอบเอาชนะปญั หาทีท่ า้
ทาย ประกอบกับมีการสรรหาผูม้ คี วามสามารถพิเศษตัง้ แต่ชนั ้ ต้นๆ นักเรียนจึงมีโอกาสฝึกฝน เรียนรู้
วิชาเฉพาะทาง ไม่ว่าคณิตศาสตร์ ฟิสกิ ส์ เคมี ชีววิทยา และสารสนเทศ (คอมพิวเตอร์) อย่างน้อยไม่ต่า
กว่า 3 ปีในมัธยมปลาย เวียดนามจึงประสบความสาเร็จในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการมากกว่าไทย”
จากคอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทย ของ “ลมเปลีย่ นทิศ” นสพ.ไทยรัฐ 4 ส.ค. 44

คา...เครื่องมือพื้นฐานของนักเขียน
 นักเขียนต้องเป็นนายของคา นักเขียนทีเ่ ก่งจะต้องเชีย่ วชาญเรือ่ งคาเป็ นอย่างดี หากไม่รเู้ รือ่ งคา
อันเป็นพืน้ ฐานแล้วก็จะไม่สามารถเขียนเรือ่ งได้ เพราะเรือ่ งทัง้ หมดล้วนมีคาเป็นพืน้ ฐานสาคัญ
โดยทัวไปแล้
่ วนักเขียนจะต้องรูจ้ กั คาในลักษณะต่อไปนี้
- รูค้ วามหมายลึกซึง้ เช่น ต้องรูว้ ่า โลกา ภิวตั น์ สะกดอย่างไร หมายถึงอะไร ตรงกับคา
ภาษาอังกฤษว่ากระไร นอกจากนัน้ ยังต้องรูล้ กึ ซึง้ อีกว่า โลกา ภิวตั น์มผี ลกระทบอย่างไรต่อ
สังคมในยุคปจั จุบนั
- รูว้ ธิ ใี ช้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ นักเขียนจะต้องใช้คาให้ถูกต้องตามหน้าทีข่ องคาตาม
หลักไวยากรณ์ หากจะใช้ให้แปลกไปจากเดิมก็จะต้องระมัดระวังให้มากและอาจจะใช้ในกรณี
ทีเ่ ป็นกวีนิพนธ์ได้
- เข้าใจประเภท/ระดับของคา คาไทยมีระดับทีแ่ ตกต่างกันมาก ยกตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษ
มีคาว่า I อยูค่ าเดียว แต่ในภาษาไทยมีทงั ้ กู ฉัน ผม กระผม ดิฉนั ข้าพเจ้า อาตมา หม่อม
ฉัน ข้าพระพุทธเจ้า ฯลฯ ดังนัน้ เราจะต้องเข้าใจว่าคาเหล่านี้มรี ะดับอย่างไร จะเลือกใช้
เมือ่ ใด เช่น เราไม่ใช้คาว่าพระกินข้าว แต่ใช้คาว่าพระฉันจังหัน
- สนุกกับคา นักเขียนจะต้องรูส้ กึ สนุกเพลิดเพลินกับคาและจะต้องหมันคิ ่ ดค้นเรือ่ งคาให้มากๆ
เป็ นทีร่ จู้ กั กันดีว่าคาไทยทีม่ เี สียงใกล้เคียงกันนัน้ มีความหมายไปในทางเดียวกันมาก หาก
เราลองพิจารณาดูกจ็ ะค้นพบว่า
เก เข เซ เฉ เบ้ เป๋ เหล่ เหม่ เถลไถล เห ล้วนมีความหมายว่าไม่ตรง แต่คุณทราบ
หรือไม่ว่ามีอยูค่ าหนึ่งทีใ่ ช้สระ เอ แต่มคี วามหมายวว่าตรง
คาว่า เกีย่ ง เฉียง เบีย่ ง เถียง เลีย่ ง เดีย้ ง เหวีย่ ง เอียง ก็มคี วามหมายว่าไม่ตรง
เหมือนกัน แต่กม็ อี ยูบ่ างคาทีไ่ ม่ได้มคี วามหมายเหมือนกลุ่มนี้ คุณจะบอกได้หรือไม่ว่าเป็น
คาอะไร
คาทีเ่ กีย่ วกับตัวเลขไทยนัน้ ส่วนมากตรงกับคาภาษาจีน นันแปลว่ ่ า คนไทยไม่รจู้ กั
ตัวเลขหรืออย่างไร หากคนไทยรับเรือ่ งตัวเลขมาจากจีนแล้วเหตุใดเราจึงเขียนจานวนเลข
ไม่เหมือนในภาษาจีน และมีอยูค่ าเกีย่ วกับเลขบางคาทีไ่ ทยรับมาจากอินเดีย คุณทราบไหม
ว่าเป็นคาอะไร
 เครือ่ งมือเกีย่ วกับคา นักเขียนทีด่ ตี อ้ งมีเครือ่ งมือเกีย่ วกับการใช้คาสาหรับใช้ศกึ ษาหรือค้น หาคา
ทีต่ อ้ งการได้ตลอดเวลาทีต่ อ้ งการ ผมไม่เชื่อว่าจะมีนกั เขียนไทยคนไหนทีร่ จู้ กั คาไทยและ
ความหมายหมดทุกคา ดังนัน้ เราจึงควรเสาะแสวงหาเครือ่ งมือทีเ่ กีย่ วกับคามาใช้
- พจนานุกรมต่างๆ เป็นเครือ่ งมือคาทีเ่ ป็นพืน้ ฐานทีส่ ุด ผมสังเกตเห็นว่าคนไทยจานวนมากมี
พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย แต่กลับไม่มพี จนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ทีไ่ ม่มกี ค็ งเป็น
เพราะภาษาไทยเป็นภาษาทีใ่ ช้คาโดดและคาไทยทีซ่ บั ซ้อนนัน้ เกิดจากการนาคาพืน้ ฐาน
ง่ายๆ มาต่อกัน เช่น ดาวเทียมสารวจทรัพยากร ระเบิดเพลิง เครือ่ งพิมพ์แบบฉีดหมึก
พาณิชย์อเิ ล็กทรอนิกส์ ระบบกระแสงาน ฯลฯ คาเหล่านี้เมือ่ เราเห็นเราก็เข้าใจความหมาย
ทันที แต่อาจจะไม่ชดั เจนนัก ควรจะหาพจนานุกรมมาศึกษาประกอบด้วย อย่างไรก็ตามคา
ทีย่ กมาให้ดนู ้อี าจจะหาไม่พบในพจนานุ กรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับปจั จุบนั เราจะต้อง
หาพจนานุกรมเฉพาะด้านมาศึกษาด้วย เช่น พจนานุกรมศัพท์กฎหมาย พจนานุกรมศัพท์
ธุรกิจ พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ พจนานุกรมแปลกๆ ทีท่ างนักเขียนไทยรวบรวม
ขึน้ ก็มมี าก อาทิ คุณนพพร สุวรรณพานิช ได้รวบรวมศัพท์สปั ดน มาเขียนเป็นพจนานุกรม
ฉบับสัปดนขึน้ เมือ่ ปี 2541 บังเอิญระยะเดียวกัน ศาสตราจารย์ ดร.อุดม วิโรฒน์สขิ ดิตถ์ ก็
ได้ตพี มิ พ์พจนานุกรมศัพท์ประเภทนี้ออกมาเหมือนกัน ใครเขียนดีกว่าก็ควรไปลองหาอ่านดู
ถ้าจะให้ดคี ุณควรจะมีพจนานุกรมศัพท์ภาษาอังกฤษฉบับใหม่ๆด้วยเพราะทางต่างประเทศ
นัน้ เขาทางานด้านการเก็บศัพท์และเขียนคาอธิบายได้เร็วกว่าไทย ยกตัวอย่างเช่น มีการ
พิมพ์ Dictionary of Word ฉบับ Oxford ด้วย ในนัน้ มีคาใหม่ๆจานวนมากพร้อมด้วย
ความหมายอย่างละเอียด อ่านแล้วได้ความรูอ้ กี มาก
- พจนานุกรมประวัต-ิ รากศัพท์ ผมชอบศึกษาประวัตขิ องคาต่างๆ และได้เคยสะสม
ความหมายของคาเอาไว้มาก แต่กไ็ ม่มเี วลาทีจ่ ะนามาเรียบเรียงเป็นเรือ่ งให้ใครอ่าน
จนกระทังเรื ่ อ่ งทีร่ วบรวมไว้กระจัดกระจายหายไปมากแล้ว เวลานี้มหี นังสือทีเ่ กีย่ วกับประวัติ
ของคาออกมาหลายเล่ม บังเอิญเป็นคาภาษาอังกฤษซึง่ ก็มคี วามสาคัญและน่ารูเ้ หมือนกัน
จึงขอแนะนาให้ไปหามาอ่าน อาทิ พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ตานานคา ของ นพพร สุวรรณ
พานิช และ สันติ อิศโร จัดพิมพ์โดยมูลนิธเิ ด็ก เมือ่ ปี 2542 นี้เอง
- สารานุกรม สารานุกรมเป็นแหล่งรวบรวมความรูเ้ รือ่ งต่างๆเอาไว้อย่างย่อๆ
ราชบัณฑิตยสถานได้เรียบเรียงและจัดพิมพ์สารานุกรมไทยมาตัง้ แต่ผมยังเป็นเด็กนักเรียน
จนบัดนี้ผมได้รบั พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้เป็นราชบัณฑิตแล้ว สารานุกรมไทยฉบับ
ราชบัณฑิตสถานก็ยงั ทาไม่เสร็จ ขณะนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงโปรดเกล้าฯให้
เรียบเรียงและตีพมิ พ์สารานุกรมเยาวชนขึน้ แล้วหลายเล่ม แม้วธิ กี ารเรียบเรียงจะต่างไปจาก
สารานุกรมอื่นๆ และมีจดุ มุง่ หมายสาหรับเยาวชน แต่เรือ่ งทีเ่ รียบเรียงก็น่าอ่านและอาจ
นามาใช้ศกึ ษาเป็นแนวทางการเขียนเรือ่ งได้ดี
- พจนานุกรมคาพ้อง ในบางครัง้ การเลือกใช้คานัน้ มีความจากัดตรงทีบ่ างครัง้ เรานึกไม่ออกว่า
จะใช้คาอะไรดี เราพอทราบเป็นเค้าๆว่าต้องการใช้คาทีม่ คี วามหมายอะไรแต่นึกคาที่
ต้องการไม่ออก ในกรณีอย่างนี้คุณจะต้องอาศัยพจนานุกรมคาพ้องมาช่วย พจนานุกรมคา
พ้องทีม่ ขี ายทัวไปเป็
่ นประเภท Synonyms และ Antonyms ซึง่ หมายถึงคาพ้องและคา
ตรงกันข้าม แต่พจนานุกรมคาพ้องทีม่ ปี ระโยชน์ต่อนักเขียนนัน้ มีช่อื เรียกว่า Thesaurus
หรือภาษาไทยเรียกว่า อักขราภิธาน พจนานุกรมประเภทนี้รวบรวมคาทีม่ คี วามหมายพ้อง
เหมือน หรือ คล้ายเอาไว้มากมายให้เลือกใช้ในการเขียนประโยค น่าเสียดายทีอ่ กั ขราภิธาน
ภาษาไทยนัน้ ค่อนข้างน้อยและไม่เป็นทีน่ ิยมอีกเช่นกัน หลายปีมาแล้วทางซีเอ็ดได้พมิ พ์
ออกมาหนึ่งเล่ม
- ศัพท์บญ ั ญัติ ราชบัณฑิตยสถานได้จดั ทาศัพท์บญ ั ญัตขิ องคาทีใ่ ช้ในวิชาการและเทคโนโลยี
สาขาต่างๆมากมายหลายเรือ่ งด้วยกัน อาทิ ศัพท์บญั ญัติ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี
สารสนเทศ แพทย์ศาสตร์ ฯลฯ ศัพท์บญ ั ญัตทิ ร่ี าชบัณฑิตยสถานจัดทาขึน้ นัน้ อาจจะถูกใจ
บ้างไม่ถูกใจบ้าง แต่กค็ วรพิจารณาศัพท์บญ ั ญัตเิ หล่านัน้ ก่อนทีจ่ ะคิดสร้างคาใหม่ขน้ึ มา
เพื่อให้ผอู้ ่านสับสน การทีศ่ พั ท์บญ
ั ญัตไิ ม่ค่อยถูกใจชาวบ้านนัน้ มีเรือ่ งราวเล่าได้อกี มากมาย
เพราะผมก็มสี ่วนเกีย่ วข้องกับการบัญญัตศิ พั ท์อยูด่ ว้ ยเหมือนกัน แต่สาหรับในทีน่ ้จี ะยกไว้
ก่อน

นอกเหนื อจากการรวบรวมเครื่องมือสาหรับศึกษาคาต่างๆข้างต้นแล้ว นักเขียนยังควร


รวบรวมหนังสือที่กล่าวถึง สานวน คาคม สุภาษิ ต คาพังเพย คาด่า คาเปรียบเทียบต่างๆเท่าที่จะ
มีขายมาศึกษาด้วย หนังสือเล่มที่คลาสสิ กมากคือ “สานวนไทย” ของท่านกาญจนาคพันธ์

การใช้คา
 ภาษาต่างๆล้วนรุม่ รวยคา คาทีม่ คี วามหมายเดียวกันมีหลายคา เราต้องรูจ้ กั เลือกใช้ให้เหมาะสม
แก่โอกาส เช่น เวลาพูดถึงพระภิกษุกต็ อ้ งใช้คาให้ถูกต้องตามความนิยมทางศาสนา จะไปเขียน
ว่า พระขึน้ นังพู
่ ดบนตัง่ ย่อมไม่ได้ ต้องเขียนว่า พระขึน้ เทศน์บนธรรมาสน์ ลองค้นดูเถอะครับว่า
คาไทยทีม่ คี วามหมายเหมือนกันมีอะไรบ้างหากยังไม่มพี จนานุกรมคาพ้องให้ศกึ ษาก็ตอ้ งลอง
รวบรวมดู จะพบว่าเป็นเรือ่ งสนุกน่าสนใจไม่น้อย ยิง่ ถ้าหากใครอยูใ่ นภูมภิ าคอื่นๆ อาจรวบรวม
คาท้องถิน่ ไว้เปรียบเทียบด้วยก็ได้
 เวลาเขียนถึงสิง่ เดียวกัน ในประโยคเดียวกัน พยายามใช้คาหลากหลาย รวมทัง้ สรรพนาม
ยกเว้นคาแทนตัวคนเขียน เช่น ฉัน หรือ ผมนัน้ ทัง้ เรือ่ งต้องใช้คาเดียวกันโดยตลอด จะไปเขียน
ว่า ผมไม่นึกเลยว่าเขาจะทากับฉันได้ ย่อมไม่เหมาะ แม้ว่าวลีหลังนัน้ จะมาจากชื่อเพลงดังก็เถอะ
ลองพิจารณาประโยคยืดยาวต่อไปนี้ แล้วดูว่าน่าเบื่อไหมครับ ถ้าเห็นว่าไม่ได้เรือ่ งก็จงแก้ไขให้
เป็นภาษาทีส่ ละสลวย
“ผมเปิดเครือ่ งรับโทรทัศน์เพื่อดูขา่ วโทรทัศน์เกีย่ วกับช่างซ่อมโทรทัศน์ปีนขึน้ ไปบนเสาส่ง
โทรทัศน์และตกลงมาจากเสาส่งโทรทัศน์ มาฟาดรถถ่ายทอดโทรทัศน์แล้วกระเด็นไปถูกช่าง
กล้องโทรทัศน์ จนกล้องโทรทัศน์ชารุดไม่สามารถใช้กล้องโทรทัศน์ได้อกี ดีทน่ี กั ข่าวโทรทัศน์
อีกช่องใช้กล้องโทรทัศน์ถ่ายภาพไว้ได้ เราจึงมีขา่ วเรือ่ งนี้ดทู างโทรทัศน์ ”

การใช้ Passive Voice และคาว่า “ถูก”


 คาว่าถูกนัน้ ปกติมกั จะใช้กบั กรณีทเ่ี ป็นเรือ่ งไม่ดหี รือเรือ่ งร้ายๆ เช่น ผมถูกตีหวั หรือ รถยนต์
ของฉันถูกรถเมล์ชน หรือ หัวหน้างานถูกใส่รา้ ย หรือ นายสมชายถูกตารวจจับกุม
 มีขอ้ ยกเว้นอยูเ่ หมือนกันทีเ่ ป็นกรณีทด่ี แี ละเกิดได้ยาก เช่น ผมถูกรางวัลเลขท้าย 3 ตัว ขอให้
สังเกตว่าในกรณีน้คี าว่า “ถูก” ไม่ได้หมายถึง passive voice เสียแล้ว แต่หมายความว่าเลขท้าย
ของสลากกินแบ่งนัน้ ตรงกับเลขทีอ่ อกพอดี “ถูก ” ในทีน่ ้มี คี วามหมายสอดคล้องกับ “ถูกใจ ”
อย่างไรก็ตามคงไม่เหมาะถ้าจะเขียนว่า ผมถูกเจ้านายชมเชย หรือ ผมถูกเชิญไปบรรยายพิเศษ
 อันทีจ่ ริงแล้วประโยคแบบ Passive Voice นี้เราไม่จาเป็นต้องเขียนให้เหมือนกับประโยค
ภาษาอังกฤษเสียทีเดียว นันก็ ่ คอื เราสามารถละเว้นคาว่า “ถูก” ได้โดยการเปลีย่ นให้เป็นประโยค
แบบ Active Voice หรือมิฉะนัน้ ก็ยกคาว่า “ถูก” ออกไปเลย
ลองดูตวั อย่างต่อไปนี้
- ผมถูกพาไปหน้าชัน้ ควรแก้เป็น คุณครูพาผมไปหน้าชัน้
- หนังสือของผมทีถ่ ูกซีเอ็ดพิมพ์นนั ้ ขายดีมาก ควรแก้เป็น หนังสือของผมทีซ่ เี อ็ดพิมพ์นนั ้ ขาย
ดีมาก
- ผอ.ทีเ่ พิง่ ถูกแต่งตัง้ จะมารับตาแหน่งพรุง่ นี้ ควรแก้เป็น ผอ.ทีเ่ พิง่ ได้รบั การแต่งตัง้ จะมารับ
ตาแหน่งวันพรุง่ นี้
คนรุน่ ใหม่อาจจะอ่านประโยคทีม่ คี าว่า “ถูก” ในลักษณะ passive voice แล้วไม่รสู้ กึ ขัดหู เพราะ
คนจานวนมากพูดและเขียนในแบบผิดๆ เช่นนี้มามากจนเกิดความรูส้ กึ จาเจ อย่างไรก็ตาม หากเรารักที่
จะเขียนเรือ่ งให้สละสลวยสวยงาม ก็ควรจะคานึงถึงเรือ่ งนี้ดว้ ย การแก้ไขนัน้ ไม่ยากขอเพียงแต่ให้หมัน่
ระลึกว่าเขียนแบบนี้ไม่เหมาะ เมือ่ เผลอเขียนเมือ่ ใดแล้วกลับมาอ่านพบก็ขอให้แก้ไขให้ดขี น้ึ
หลีกเลี่ยงการเขียนที่คลุมเครือ
ระหว่างทีเ่ ขียนเรือ่ งใดๆ ก็ตาม เราควรจะอ่านข้อความทีเ่ ขียนอยูน่ นั ้ ขณะเดียวกันก็ให้คดิ
พิจารณาไปด้วยว่าข้อความทีเ่ ขียนนัน้ เมือ่ อ่านแล้วจะเข้าใจชัดเจนหรือไม่ บางครัง้ เราอาจจะเขียน
ข้อความบางประโยคทีค่ ลุมเครือและอาจสร้างความสับสนและความเข้าใจผิดแก่ผอู้ ่านได้ ยกตัวอย่าง
เช่น
เขาชอบผมมากกว่าคุณ
มีความหมายมากกว่าหนึ่ง ลองพิจารณาว่ามีความหมายอะไรบ้าง
1.____________________ 2.___________________

ตัวอย่างทีส่ อง คือ
เขาไม่เคยมีความสุขและต้องการกาจัดภรรยา
มีคาถามว่า เขาต้องการกาจัดภรรยาหรือไม่

ตัวอย่างทีส่ าม คือ
มหาวิ ทยาลัยปฏิ เสธที่จะร่วมมือและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสอน
มีคาถามว่า มหาวิทยาลัยให้ขอ้ มูลหรือไม่

ทาความเข้าใจความหมายของประโยคให้ชดั
ประโยคทีเ่ ราเขียนนัน้ อาจจะมีความหมายได้ต่างๆ นานา สุดแท้แต่คาทีเ่ ราเลือกนามาใช้ ใน
ประโยคนัน้ โดยเฉพาะก็คอื คาสัณธานต่างๆ ทีใ่ ช้เชื่อมอนุประโยคนันเอง
่ ลองพิจารณาความหมายของ
แต่ละประโยคในกลุ่มต่อไปนี้แล้วเปรียบเทียบว่าแตกต่างกันอย่างไร

ก. ผมเข้าใจเรือ่ งทีค่ ุณอธิบายดีและจะดาเนินการต่อไป


ผมเข้าใจเรือ่ งทีค่ ณุ อธิบายดีแต่ดาเนินการต่อไป

ข. ในกรณีเช่นนัน้ คุณจะดาเนินการต่อก็ได้
ในบางกรณีคณ ุ จะดาเนินการต่อก็ได้
ในกรณีเช่นนัน้ คุณดาเนินการต่อไป

ค. นอกจากนัน้ ตัวอย่าง X มีชวี ติ อยูน่ านกว่า Y


อีกนัยหนึ่ง ตัวอย่าง X มีชวี ติ อยูน่ านกว่า Y

การทีเ่ ราจะเข้าใจความหมายของประโยคต่างๆ ได้ดนี นั ้ เราจะต้องหัดพิจารณา


ความหมายทีป่ รากฏในเรือ่ งทีเ่ ราอ่านอยูเ่ สมอ ขอให้ลองหาบทความ สารคดี ข่าว เรือ่ งสัน้ ทางด้าน
วิทยาศาสตร์มาอ่านอย่างพินิจพิเคราะห์ หาความหมายทีซ่ ่อนอยูใ่ นประโยคทีซ่ บั ซ้อน ศึกษาว่าประโยค
เหล่านัน้ ชัดเจนหรือไม่ หากเห็นว่าไม่ชดั เจนหรือมีความหมายทีไ่ ม่น่าจะถูกต้อง ก็ให้ทดลองปรับปรุง
ประโยคเหล่านัน้ ให้ชดั เจนขึน้

อย่าเขียนประโยคที่ซบั ซ้อนหรือยืดยาวมาก
ภาษาไทยไม่นิยมใช้เครือ่ งหมายวรรคตอน เมือ่ เราเพลินกับการคิดเรือ่ งและแต่งออกมาเป็น
ประโยคโดยไม่มเี ครือ่ งหมายมหัพภาค เราอาจจะไม่ทนั สังเกตว่าประโยคของเรายืดยาวเกินไปเสียแล้ว
ประโยคทีย่ าวๆ นัน้ มีปญั หาในการสื่อสารมาก ผูอ้ ่านอาจจะจับใจความไม่ถูกว่าผูพ้ ดู หมายถึงอะไร อาจ
ไม่ทราบด้วยซ้าว่าประธานเป็นใครหรืออะไรเป็นกริยา เมือ่ หาประธานและกริยาไม่พบก็ไม่ตอ้ งสงสัยแล้ว
ว่าจะอ่านประโยคนัน้ รูเ้ รือ่ งหรือไม่
การแต่งเรือ่ งให้น่าอ่านนัน้ จาเป็นจะต้องเรียบเรียงประโยคให้อ่านรูเ้ รือ่ ง ประโยคนัน้ ไม่ควรยาว
เกินไปหรือสัน้ เกินไป เวลานี้เราไม่เขียนกันสัน้ ๆ เหมือนในศิลาจารึกแล้ว หากใครเขียนเรือ่ งดังต่อไปนี้
คนอ่านคงไม่สนุกและคงคิดว่าคนเขียนน่าจะสติไม่ค่อยดี

โครงการของผมชือ่ ดวงดาว ผมคานวนวงโคจรดาว ผลลัพธ์น้ดี ี ผมตีพมิ พ์เผยแพร่ ใครใคร่ใช้


ผลลัพธ์ใช้ ผมมีคอมพิวเตอร์ ในคอมพิวเตอร์มโี ปรแกรม ในโปรแกรมมีขอ้ มูล ข้อมูลบ่ตอ้ งซื้อหา ข้อมูล
ถูกผลลัพธ์ถูก ข้อมูลผิดผลลัพธ์ผดิ ใครใช้ควรระวัง

จากตัวอย่างทีใ่ ช้ประโยคสัน้ ๆ คราวนี้ลองพิจารณาตัวอย่างทีใ่ ช้ประโยคยาวมากๆดูบา้ ง

จากหลักฐานทีไ่ ด้รบั แสดงว่าซอฟต์แวร์ทสี ่ ่งมาให้สาหรับใช้รวมกับส่วนประสานฮาร์ดแวร์


ซอฟต์แวร์ทมี ่ มี าแต่เดิมและนาเข้าจากประเทศญีป่ นุ่ โดยบริษทั XYZ ซึง่ จดทะเบียนในประเทศไทยโดย
ได้รบั สิทธิประโยชน์จาก BOI และเป็นผูร้ บั บารุงรักษาด้วย จาเป็นจะต้องเปลีย่ นใหม่
คาถาม
บริษทั XYZ ขายอะไร
บริษทั XYZ บารุงรักษาอะไร
เราต้องเปลีย่ นอะไร
เราซือ้ อะไรจากญีป่ นุ่

ทดลองปรับปรุงแก้ไขประโยค
การเขียนเรือ่ งให้อ่านได้สละสลวยนัน้ นอกจากจะต้องพิจารณาว่าประโยคต่างๆ จะต้องไม่สนั ้ ไป
ไม่ยาวไป ไม่กากวม และมีประธานและกริยาชัดเจนแล้ว บางครัง้ เรายังจะต้องเขียนให้กระชับ นันคื
่ อไม่
เขียนคาหรือข้อความซ้าๆ กันหลายหน หากพบว่าเราได้เขียนข้อความทานองนี้กค็ วรจะแก้ไขปรับปรุง
ให้กระชับขึน้ ลองดูตวั อย่างต่อไปนี้
ผูว้ จิ ยั เริม่ ทดลองกับหนูชุดแรกเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แต่ไม่ได้ผล ผูว้ จิ ยั จึงเปลีย่ นไปทดลองกับหนู
ชุดทีส่ องอีก 1 สัปดาห์ แต่กไ็ ม่อาจสรุปผลได้ชดั เจน ในทีส่ ุดหลังจากทดลองกับหนูชุดทีส่ ามแล้วไม่ได้ผล
ผูว้ จิ ยั จึงเปลีย่ นไปใช้ยา XYZ

พิ จารณาว่ามีอะไรขาดหรือเกิ นไปบ้าง
การเขียนเรือ่ งทางวิทยาศาสตร์นนั ้ ไม่จาเป็นจะต้องระบุรายละเอียดทีไ่ ม่จาเป็นลงไป ยิง่ ถ้าหาก
เป็นบทความวิจยั ด้วยแล้ว เรายิง่ ต้องระวังให้มากและควรระบุเฉพาะสิง่ ทีจ่ าเป็นจริงๆ นันหมายความ

ด้วยว่า เนื้อหาและข้อมูลทีร่ ะบุในเรือ่ งจะต้องครบสมบูรณ์ ไม่มอี ะไรขาดและไม่มอี ะไรเกิน นอกจานัน้ ยัง
จะต้องแม่นยาด้วย
ลองดูตวั อย่างต่อไปนี้ จากนัน้ ให้ตอบคาถามข้างล่าง

ั ่ ้ าฟิลปิ ส์เป็ นเวลา 3 นาที แล้วนาใบที ่


ั ่ ละเอียดโดยใช้เครือ่ งปนไฟฟ
ผูว้ จิ ยั ใช้ใบเล็บครุฑมาปนให้
แหลกแล้วมาผสมกับน้ า จากนัน้ จึงคนให้เข้ากัน ต่อมาจึงช้อนลูกน้ า 10 ตัวใส่ลงไปในน้ าทีผ่ สม
ใบเล็บครุฑ พอรุง่ เช้าปรากฏว่าลูกน้ าตาย 100 เปอร์เซ็นต์

คาถามก็คอื
มีขอ้ มูลอะไรมากเกินไป
มีขอ้ มูลอะไรขาดไปบ้าง
ถ้าไม่มขี อ้ มูลอื่นประกอบเลย เราจะตอบได้ไหมว่าทาไมลูกน้าจึงตายหมด

แนวทางการคิ ดโครงเรื่อง
เมือ่ ผมเรียนอยูช่ นั ้ มัธยมนัน้ อาจารย์ผสู้ อนวิชาเรียงความของผมก็คอื อาจารย์ สายสวาท รัตน
ทัศนีย์ ท่านอาจารย์ได้เคีย่ วเข็ญให้พวกเราเข้าใจว่า การทีจ่ ะเขียนเรือ่ งใดๆ ก็ตาม จาเป็นจะต้องสร้าง
โครงเรือ่ งให้ดกี ่อน หากยังคิดโครงเรือ่ งไม่ได้แล้วฝืนเขียนไปเรือ่ ยๆ ผลลัพธ์ทไ่ี ด้กจ็ ะไม่ดี เพราะเนื้อหา
จะไม่ปะติดปะต่อ หรือหากโครงเรือ่ งทีค่ ดิ ขึน้ ไม่ดพี อหรืออ่อนยวบ เนื้อหาก็จะไม่ดตี ามไปด้วย
โครงเรือ่ งในทีน่ ้กี ค็ อื หัวข้อกว้างๆของเนื้อหาทีเ่ ราจะเขียน
ปญั หาสาคัญในการเขียนโครงเรือ่ งมีอยูส่ องอย่าง อย่างแรกก็คอื ไม่มใี ครบอกได้ชดั เจนว่าโครง
เรือ่ งนัน้ ดีหรือไม่ โครงเรือ่ งเป็นเพียงแต่แผนทีห่ ยาบๆว่าเนื้อหาของเรือ่ งทีเ่ ขียนนัน้ จะไปทางไหน แต่ละ
ส่วนมีความสัมพันธ์กนั อย่างไร
ปญั หาอย่างทีส่ องก็คอื คิดโครงเรือ่ งไม่ออกว่าเรือ่ งนัน้ จะกาหนดให้มหี วั ข้อหรือเนื้อหาอะไรบ้าง
เมือ่ นึกโครงเรือ่ งไม่ออกก็จะเขียนรายละเอียดไม่ได้
ผมได้ทดลองคิดแนวทางสาหรับสร้างโครงเรือ่ งมาให้ลองศึกษาและปฏิบตั ติ ามดู
 ถามตนเองว่าต้องการเขียนเรือ่ งอะไร เช่น เรือ่ งทาไมแมวจึงมีรปู ร่างลักษณะเหมือนกัน
หมด หรือประวัตไิ มโครโพรเซสเซอร์
 จดประต่างๆ ทีค่ ดิ ได้โดนไม่จาเป็นต้องเรียงลาดับก่อนหลัง
 อ่านประเด็นต่างๆ แล้วพยายามคิดหารายละเอียดให้มากขึน้ ไปอีก เมือ่ คิดได้แล้วก็ให้จด
เอาไว้
 ขีดเส้นใต้ประเด็นสาคัญ
 ตัง้ คาถามในประเด็นทีย่ งั คลุมเครือเพื่อจะได้หาคคาตอบทีหลัง
 โยงประเด็นต่างๆเข้าด้วยกัน แล้วเรียบเรียงเป็นลาดับ
 เขียนโครงร่างแรกจากประเด็นทีเ่ รียงลาดับแล้ว
 พิจารณาโครงเรือ่ งว่าเหมาะสมดีแล้วหรือไม่
 ปรับปรุงโครงเรือ่ งให้ดยี งิ่ ขึน้
ลองเขียนโครงเรือ่ งตามหัวข้อทีใ่ ห้ขา้ งต้นดูว่าจะออกมาแบบไหน

การสร้างโครงเรื่องมีได้หลายแบบ
เราอาจเขียนโครงเรือ่ งได้มากมายหลายแบบ แต่สาหรับเรือ่ งทีเ่ ป็นสารคดีวทิ ยาศาสตร์ทวไป
ั่
นัน้ อาจจะกาหนดโครงเรือ่ งมาตรฐานได้ไม่กแ่ี บบ ผมได้ทดลองร่างหัวข้อโครงเรือ่ งมาตรฐานขึน้ ไห้ลอง
พิจารณาพร้อมกับตัวอย่างโครงเรือ่ งทีค่ ดิ ขึน้ ตามแนวโครงเรือ่ งมาตรฐานนัน้

โครงเรื่องแบบที่ 1 เริ่ มจากปัญหาไปจบที่ข้อสรุป


โครงเรือ่ งแบบนี้คอ่ นข้างจะธรรมดา เพราะงานด้านวิทยาศาสตร์หลายอย่างมักจะเริม่ เกิดจาก
ปญั หา โดยทัวไปเรามั
่ กจะได้ยนิ เรือ่ งราวต่างๆอยูเ่ สมอ เราอาจจะเขียนเรือ่ งอธิบายปญั หาและนาไปสู่
ข้อสรุปได้ดงั นี้
 เกิดปญั หาขึน้ แล้ว โรควัวบ้ามาถึงไทย
 ความเป็ นมาของปญั หา โรคนี้เกิดทีอ่ งั กฤษ
 สาเหตุ/คาอธิบายปญั หา เกิดจากไวรัส
 สรุป ควรรีบกาจัดวัวในไร่ทม่ี วี วั ปว่ ยด้วยโรคนี้
- ควรทาอย่างไรต่อไป
- การแก้ปญั หา

การสร้างโครงเรื่องแบบที่ 2
โครงเรือ่ งแบบทีส่ องนี้เป็นการพยายามเชือ่ มโยงเหตุการณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน เป็นโครงเรือ่ งใน
ทานองประวัตหิ รือโครงเรือ่ งสาหรับอธิบายขยายความเรือ่ งต่างๆในแบบเรียงลาดับเหตุการณ์
 เหตุการณ์ท่ี 1 ผูป้ ว่ ยเป็ นแผลเรือ้ รัง
 เหตุการณ์ท่ี 2,3 การทดลองของแฟลมมิง
 ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ เชือ้ โรคฆ่าเชือ้ โรคได้
 อธิบายความสัมพันธ์ การกาเนิด Antibiotics
 สรุป ยา Antibiotic ช่วยรักษาโรคมนุษย์ได้

ทดลองเขียนโครงเรื่อง
เป็นอันว่าคุณผูอ้ ่านคงจะเกิดแนวคิดแล้วว่าจะเขียนโครงเรือ่ งได้อย่างไร ต่อไปนี้กข็ อเชิญให้
ทดลองเขียนโครงเรือ่ งสาหรับหัวข้อบทความหรือสารคดีต่อไปนี้ดบู า้ ง
 การสอนวิธใี ช้เครือ่ งคิดเลขทาให้เรียนคณิตศาสตร์สนุกขึน้
 การใช้เครือ่ งคิดเลขในโรงเรียนทาให้เด็กอ่อนคณิตศาสตร์
 คิดใหม่ ทาใหม่ ทางด้านการสอนวิทยาศาสตร์
 ครูวทิ ยาศาสตร์ควรทาวิจยั เป็น
 เหตุใดเราจึงควรเปลีย่ นเวลามาตรฐานไทยให้เร็วขึน้ อีกหนึ่งชัวโมง

 การสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลางเหมาะกับการเรียนคณิตศาสตร์
 นักเรียนทีเ่ ก่งคณิตศาสตร์จะเก่งคอมพิวเตอร์ดว้ ย
 ผูร้ คู้ ณิตศาสตร์บริหารเก่งกว่าผูท้ ไ่ี ม่รคู้ ณิตศาสตร์
 การพิสจู น์ทฤษฎีพธิ าโกรัส
 ประวัตวิ ชิ าสถิติ

การเขียนโดยไม่ต้องมีโครงเรื่อง
นักเขียนบางคนใจร้อนอยากเขียนสิง่ ทีค่ ดิ ออกมาเลยโดยไม่ตอ้ งวางโครงเรือ่ ง หรือมิฉะนัน้ ก็อาจ
เห็นว่าการวางโครงเรือ่ งนัน้ ทาให้สบั สน ชอบเขียนไปคิดไปวางแนวเรือ่ งไปมากกว่า ผมเองก็ไม่ได้วาง
โครงเรือ่ งอย่างเป็นกิจจะลักษณะแล้ว เมือ่ คิดจะเขียนเรือ่ งอะไรก็เกิดโครงเรือ่ งแวบขึน้ มาในสมองทันที
การเขียนโดยไม่มโี ครงเรือ่ งนัน้ จะยุง่ ยากมากหากต้องแก้ไขหรือโยกย้ายเนื้อหาจากทีห่ นึ่งไปยัง
อีกทีห่ นึ่ง หากเราใช้กระดาษเขียนเรือ่ ง การย้ายข้อความ การเพิม่ เนื้อหาหรือการแก้ไขเนื้อหาจะยาก
มาก แต่หากใช้คอมพิวเตอร์แล้วจะเป็นเรือ่ งง่ายมากเพราะมีโปรแกรมประมวลคาทีช่ ่วยให้การแก้ไข
สะดวกขึน้ ดังนัน้ หากคุณไม่ตอ้ งการเขียนโครงเรือ่ งก็ไม่เป็นไร ลงมือพิมพ์เรือ่ งทีค่ ดิ เข้าสู่คอมพิวเตอร์
เลยก็ได้ หรือหากยังไม่มคี อมพิวเตอร์จะเขียนบนกระดาษก็ได้
ขัน้ ตอนทีข่ อแนะนาก็คอื
 เขียน/พิมพ์ทุกอย่างทีค่ ดิ ได้ ในตอนแรกนี้ยงั ไม่ตอ้ งห่วงเรือ่ ง สานวน ประโยค หรือย่อหน้า
ว่าจะยังไม่ชดั เจน ไม่สละสลวยหรือไม่ปะติดปะต่อ หลังจากระยะหนึ่งแล้วเมือ่ ได้แนวคิดใหม่
เพิม่ เติมจึงค่อยเขียนขยายความออกไป
 เขียน/พิมพ์ต่อไปเรือ่ ยๆโดยอาจใช้กระดาษหลายแผ่นหรือหากเห็นว่าจะเปลืองกระดาษและ
ต้องการแยกข้อความทีย่ งั ไม่ต่อเนื่องหรือทีจ่ ะต้องค้นคว้าต่อ ก็ให้พมิ พ์เส้นคันข้
่ อความแต่ละ
ส่วนในแฟ้มข้อมูลให้เห็นชัดเจน
 พยายามมองหาโครงเรือ่ งทีไ่ ด้เขียนหรือพิมพ์ขา้ งต้นนี้ให้ออก อาจใช้เทคนิคการโยงประเด็น
ต่างๆเหมือนทีไ่ ด้แนะนาไว้ในตอนทีว่ ่าด้วยการเขียนโครงเรือ่ งก็ได้ แต่ในทีน่ ้เี ราไม่ได้เขียน
โครงเรือ่ ง เราจะหาทางสลับเนื้อหาให้เรียงกันเป็นลาดับทีเ่ หมาะสม
 สลับข้อความ ประโยค พาราการฟหรือเปลีย่ นคาต่างๆทีใ่ ช้ตามโครงเรือ่ งทีม่ องออกข้างต้น
 อ่านทบทวนเนื้อหาทีไ่ ด้เขียนหรือจัดทาขึน้ ถามตเองว่าเรือ่ งนี้อ่านเข้าใจดีหรือไม่ ลาดับการ
นาเสนอเนื้อหาเหมาะสมหรือไม่ การใช้ภาษาดีหรือไม่ เหตุผลทีใ่ ช้ในเนื้อหาถูกต้องดีแล้ว
หรือไม่
 แก้ไขปรับปรุงจนกว่าจะพอใจ

ใช้เครื่องมือย่อยความคิ ด
ก่อนทีเ่ ราจะเขียนเรือ่ งใดๆนัน้ เราจาเป็นต้องเข้าใจเนื้อหาอย่างชัดเจนก่อน หรือแม้แต่การเขียน
นิยายก็จาเป็นจะต้องมีพล็อตเรือ่ งทีช่ ดั เจนและสร้างรายละเอียดเกีย่ วกับบุคลิกลักษณะของตัวละครใน
เรือ่ งให้ชดั เจนด้วย เรือ่ งทีม่ เี นื้อหาผูกพันยาวเป็นร้อยๆ ตอนอย่าง เช่น สามก๊ก นัน้ ใช้คนและสถานที่
จริงเป็นรากฐาน ดังนัน้ บุ คลิกของผูค้ นในเรือ่ งจึงมีเอกภาพทีโ่ ดดเด่น เมือ่ เขียนไปแล้วก็ไม่ขดั แย้ง
กันเองในภายหลัง ส่วนเรือ่ งที่ ยาวอย่างเช่น มังกรหยก ซึง่ ยืดยาวมากและยังมีตอนพิเศษเพิม่ เติมอีก
มากนัน้ ผมไม่ทราบว่า กิมย้ง ซึง่ เป็นผูเ้ ขียนนัน้ ได้วางพล็อตอย่างไรจึงสามารถร้อยเรียงเนื้อหาให้เข้า
กันได้อย่างแน่ นแฟ้น แม้ตอนทีห่ นึ่งทีก่ ล่าวถึงก๊วยเจ๋งจะออกมาทีหลังภาคพิเศษ อย่างเช่นเรือ่ งของ อึง้
เอียะซือ หรือ อัง้ ชิดกง นัน้ แต่กก็ ล่าวถึงบุคลิกได้สอดคล้องกันดีมากทีเดียว น่าเสียดายทีต่ น้ ฉบับภาค
พิเศษทีค่ ุณจาลอง พิศนาคะ แปลนัน้ ได้หายไปและค้นหามาพิมพ์เผยแพร่ไม่ได้เสียแล้ว อย่างไรก็ตาม
ผมขอเสนอว่าเรามีเครือ่ งมือง่ายๆทีจ่ ะช่วยให้นกั เขียนย่อยความคิดหรือจัดหมวดหมูค่ วามคิดให้เป็น
ระบบได้หลายอย่างด้วยกัน ลองศึกษาเครือ่ งมือเหล่านี้ดแู ล้วจะพบว่าเป็นประโยชน์ต่อการเขียนของเรา
มาก
เครือ่ งมืออย่างแรกก็คอื กราฟต้นไม้ ซึง่ เป็นภาพโครงกิง่ ก้านของต้นไม้แบบกลับหัว คือ เอาลา
ต้นไม้ไว้ขา้ งบนแล้วเอากิง่ ก้านสาขาไว้ทางด้านล่าง ลาต้นนัน้ ให้ใช้กบั แนวคิดหลักส่วนกิง่ ก้านก็เป็น
แนวคิดย่อยทีแ่ ตกออกไปจากแนวคิดหลักตามลาดับ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
งานเขียน

นิ ยาย งานวิ จยั สารคดี บทความ ข่าว

บทละคร เรื่องยาว เรื่องสัน้ รายงาน จม.ถึงบ.ก. บทความ วิ ชาการ สัมภาษณ์ วิ จารณ์

ขอให้สงั เกตว่ากราฟชนิดนี้เหมาะกับการจัดหมวดหมู่
แต่อาจไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างหมู่ เราจึงอาจต้องมองหาเครื่องมืออื่นๆมาใช้อกี

เคล็ดลับในการคิ ดเรื่องที่จะเขียน
การคิดว่าจะเขียนเรือ่ งอะไรและอย่างไรดีนนั ้ เป็นเรือ่ งยากเหมือนกันแม้แต่สาหรับผมซึง่ เขียน
เรือ่ งต่างๆเป็นประจา การทีเ่ ป็นเรือ่ งยากสาหรับผมก็เพราะผมต้องเขียนเรือ่ งให้ผอู้ ่านหลายระดับ
บางครัง้ ต้องเขียนให้ ผู้บริหารประเทศระดับอธิบดีและปลัดกระทรวง บางครัง้ ต้องเขียนให้ระดับเด็ก
นักเรียนมัธยมอ่าน บางครัง้ ต้องเขียนให้ครูบาอาจารย์อ่าน ดังนัน้ การคิดว่าจะเขียนเรือ่ งอะไร เขียนใน
ทานองไหน จะลงรายละเอียดมากน้อยแค่ไหน จึงเป็ นปญั หาทีผ่ มต้องหาคาตอบก่อน ผมคาดว่ามือใหม่
ทีส่ นใจจะเขียนเรือ่ งก็คงจะประสบปญั หาคล้ายกันกับผม ดังนัน้ จึงขอเสนอเคล็ดลับสาหรับคิดเรือ่ งให้ลอง
นาไปใช้
 คิ ดแง่มมุ ต่างๆ เกีย่ วกับเรือ่ งทีต่ อ้ งเขียน (ในกรณีทม่ี หี วั ข้อกว้างๆ เช่น การเรียน
คณิ ตศาสตร์ หรือหัวข้อทีค่ ่อนข้างเจาะจงมากขึน้ แล้ว เช่น “เทคนิคการเรียนคณิตศาสตร์ให้
เก่ง”)
- ให้คดิ ย้อนหลังไปถึงตัวเอง-พิจารณาความประทับใจเกีย่ วกับการเรียน
- คิดว่ามีใครบ้างทีเ่ ราเคยรูว้ ่าเขาเรียนเก่ง ให้คน้ หาว่าเพราะอะไรจึงเก่ง
- ให้คดิ แง่มมุ แล้วจดบันทึกอย่างละเอียด
 คุยกับมิ ตรสหาย เกีย่ วกับเรือ่ งทีน่ ่าจะเป็นทีส่ นใจตามหลัก “สองหัวดีกว่าหัวเดียว”
- ลองแลกเปลีย่ นความเห็นกับเพื่อนเกีย่ วกับเรือ่ งทีน่ ่าจะนามาเขียน
- ปล่อยให้การแลกเปลีย่ นความคิดแล่นไปโดยไม่ตอ้ งทักท้วง นันคื ่ อใช้หลักการแบบระดม
สมอง(Brainstorm)
- จดบันทึกเรือ่ งต่างๆทีไ่ ด้แลกเปลีย่ นความคิดเอาไว้
- นาเรือ่ งทีจ่ ดบันทึกไว้นนั ้ กลับมาพิจารณาต่อ
 ค้นคว้าหาข้อมูล การเขียนเรือ่ งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนนั ้ จาเป็นจะต้องเขียนแบบ
วิทยาศาสตร์ คือ มีขอ้ มูลทีแ่ น่ นแฟ้น ไม่ใช่เขียนแบบเลื่อนลอยไร้หลักฐาน ดังนัน้ เราจึงต้องหา
ข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาสนับสนุน
- ใครคือนักคณิตศาสตร์ทเ่ี ก่งบ้าง ลองค้นหาประวัตสิ มัยเด็ก
- ศึกษาความประทับใจและผลงานของพวกเขา
- หากเป็นคนไทยอาจใช้วธิ ี “สัมภาษณ์”

การเขียนคู่มือการใช้อปุ กรณ์
การเขียนคู่มอื สาหรับการทดลองวิทยาศาสตร์ คู่มอื วิธใี ช้กล้องโทรทัศน์ คู่มอื การติดตัง้ ใช้
โปรแกรมบทเรียนจากแผ่นซีดรี อม ฯลฯ ล้วนเป็นงานเขียนทีม่ คี วามสาคัญอย่างยิง่ สาหรับยุคนี้ เนื่องจาก
มีการประดิษฐ์คดิ ค้นอุปกรณ์ต่างๆ ออกมาจาหน่ายมากมายหลายอย่างและเท่าทีผ่ มได้เห็นมานัน้ รูส้ กึ ว่า
คู่มอื ส่วนมากมักจะไม่ได้เรือ่ ง คือ เขียนแล้วไม่ค่อยเข้าใจหรือทาตามทีเ่ ขียนแล้วไม่เป็นไปอย่างที่
ต้องการ
ผมคิดว่าคนทีจ่ ะเขียนคูม่ อื ต่างๆได้ดี ควรเป็นคนทีร่ วู้ ธิ เี ขียนโปรแกรมสังงานคอมพิ
่ วเตอร์
เพราะการเขียนโปรแกรมนัน้ จะต้องรูล้ าดับขัน้ ตอนในการแก้ปญั หาหรือการคานวนด้านนัน้ ๆเป็ นอย่างดี
หากเขียนลาดับขัน้ ตอนผิดไปโปรแกรมก็จะทางานผิดพลาด แม้จะกล่าวเช่นนี้แต่คุณก็คงไม่ถงึ กับต้องไป
เรียนวิธเี ขียนโปรแกรมก่อน ขอเพียงให้เข้าใจและสามารถเรียบเรียงลาดับขัน้ ตอนการปฏิบตั งิ านกับ
อุปกรณ์นนั ้ ๆได้อย่างถูกต้องก็แล้วกัน
การเขียนคูม่ อื นัน้ มีสองแบบ แบบแรกคือเขียนขึน้ สาหรับแนะนาการทดลอง การใช้อุปกรณ์
หรือการติดตัง้ ใช้งานโปรแกรมทีเ่ ราทาเอง แบบทีส่ องก็คอื การแปลคู่มอื จากภาษาอื่นมาเป็นภาษาไทย
ขัน้ แรกสุดเราจะต้องศึกษาบันทึกขัน้ ตอนต่างๆ ของการใช้งานอุปกรณ์นนั ้ ๆเอาไว้ก่อน ลอง
ทาซ้าหลายๆครัง้ ว่าเป็นเช่นนัน้ จริง จากนัน้ จึงลงมือเขียน โดยระวังให้ขอ้ ความแนะนานัน้ สัน้ กระชับ อีก
ทัง้ ต้องพยายามใช้ภาษาและคาง่ายๆ อย่าใช้ศพั ท์ทย่ี ากเกินไป ถ้าต้องการใช้ศพั ท์เกีย่ วกับอุปกรณ์นนั ้ ก็
ต้องอธิบายคาเหล่านัน้ เอาไว้ก่อนทีจ่ ะเริม่ ต้นอธิบายการใช้งาน
แนวทางการเขียน
 จัดทารูปแสดงส่วนประกอบของอุปกรณ์และอธิบายให้ชดั เจน
 เขียนคาอธิบายการใช้งานอุปกรณ์ตามลาดับฟงั ก์ชนั หรือตามลาดับงานทีผ่ ใู้ ช้สนใจใช้หรือ
ตามลาดับความยากง่าย
 เขียนคาอธิบายการทางานทีละฟงั ก์ชนั อย่าเขียนปนกัน
 เขียนเป็นข้อๆอย่างชัดเจน อย่ารวบรัดโดยบอกว่าขัน้ นี้ให้ทาเหมือนขัน้ ที่ 4-7 ในฟงั ก์ชนั ค.
 ทดสอบคาอธิบาย โดยให้คนทีไ่ ม่รวู้ ธิ ใี ช้มาอ่านแล้วทาตามว่าจะถูกต้องหรือไม่
 แก้ไขคาอธิบายให้ถูกต้องสมบูรณ์

การเขียนงานวิ จยั
การเขียนรายงานวิจยั นัน้ มีแนวคิดสาคัญว่าจะต้องแสดงข้อความทีเ่ ป็นจริงทีร่ กู้ นั ทัวไป ่ เรือ่ งทีไ่ ด้
มีผพู้ สิ จู น์ทราบแล้วว่าเป็นจริงและเรือ่ งทีเ่ ราได้พสิ จู น์ทราบในงานวิจยั นัน้ ข้อเขียนจะต้องมีอารมณ์เป็น
กลาง ไม่ควรเขียนแบบลาเอียง ไม่เขียนเรือ่ งทีไ่ ม่ได้มใี ครพิสจู น์หรือทีเ่ ราไม่ได้พบเห็นหรือพิสจู น์ทราบ
ด้วยตนเอง ต่อไปนี้เป็นคาแนะนาย่อๆ
 พยายามให้ชดั เจนในทุกด้าน การเขียนทุกประโยคต้องอ่านแล้วเข้าใจชัดเจน ไม่คลุมเครือ และ
ต้องไม่เปิดโอกาสให้ผอู้ ่านแปลความหมายเป็นอื่นไปได้
 ปกตินิยมใช้บุรษุ ที่ 3 เมือ่ ต้องการพูดถึงตนเอง เช่น ใช้คาว่า “คณะวิจยั พบว่า...” แทนทีจ่ ะเขียน
ว่า “ผมพบว่า...” หรือ “เราพบว่า...” อย่างไรก็ตาม การเขียนแบบนี้ให้ความรูส้ กึ เป็นทางการมาก
ไป ดังนัน้ ระยะหลังจึงพบว่ามีผใู้ ช้บุรษุ ที่ 1 มากขึน้
 พยายามอ้างถึงงานคนอื่น (ทีน่ ่าเชื่อถือ) หากงานของเราผิดพลาดจะมีขอ้ อ้างว่ามาจากงานทีผ่ ดิ
(แต่ทาไม่ ?) การอ้างถึงงานวิจยั ทีพ่ สิ จู น์ทราบแล้วเป็นเรือ่ งจาเป็นมากแต่กต็ อ้ งให้เกียรติแก่ผทู้ ่ี
พิสจู น์โดยอ้างงานของเขาให้ชดั เจน
 อย่าเขียนถึงสิง่ ทีไ่ ม่มงี านวิจยั สนับสนุน เรือ่ งเช่นนี้พลาดกันได้งา่ ย เพราะมีเรือ่ งบางอย่างทีเ่ รา
ยอมรับกันทัวไปแต่
่ ยงั ไม่ได้มใี ครพิสจู น์ ยกตัวอย่างเช่น
“นร.ชายได้เป็นตัวแทนไปแข่งคอมพิวเตอร์โอลิมปิกเพราะนร.หญิงไม่เก่งด้านคอมพิวเตอร์”
 อย่าขยายความจนเกินจริง นักวิจยั บางคนนาข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งทีม่ ขี อบเขตจากัดมาก คือ
พบว่าเป็นจริงเฉพาะบางคนหรือบางสิง่ บางอย่าง ไปขยายความให้เป็นข้อเท็จจริงโดยรวมของ
ทัง้ กลุ่ม แบบนี้ไม่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์ อาทิ
“นร.ไทยได้เหรียญทองเคมีโอลิมปิก ดังนัน้ อุตสาหกรรมเคมีของไทยจะรุง่ เรือง”
 อย่าใส่อารมณ์หรือความสุดโต่ง การเขียนทานองนี้พบเห็นบ่อยครัง้ ในงานวิทยานิพนธ์หรือสาระ
นิพนธ์ของนักศึกษาทีย่ งั ไม่ชานาญและมักจะเขียนในแบบข่าวทีต่ อ้ งการสีสนั เกินควร อาทิ
“หนูทดลองแสดงอาการเจ็บปวดมากเมือ่ ถูกฉีดยา”

บัญญัติสิบประการสาหรับการเขียนที่ดี
ความต้องการเขียนเรือ่ งให้ดนี นั ้ มีอยูใ่ นคนทุกชาติ เพราะการเขียนเป็นการสือ่ สารทีจ่ าเป็น
สาหรับใช้ในการถ่ายทอดความรูแ้ ละประสบการณ์จากคนหนึ่งไปยังคนอื่นๆ หากเขียนได้ดมี คี ุณภาพก็
สามารถเก็บเรือ่ งทีเ่ ขียนเอาไว้เป็นหลักฐานได้นานๆ ดังนัน้ จึงมีคนเขียนคาแนะนาสาหรับการเขียนทีด่ ี
เอาไว้มากด้วยกัน ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของคาแนะนาของ R. A. Day ซึง่ เขียนไว้ในรูปแบบของ Ten
command for good writing ในหนังสือเรือ่ ง How to Writing & Publish a Scientific Paper พิมพ์โดย
สานักพิมพ์ Oryx เมือ่ ค.ศ.1994
1. Each pronoun should agree with their antecedent.
2. Just between you and I, case is important.
3. A preposition is a poor word to end a sentence with…
4. Verbs has to agree with their subject.
5. Don’t use no double negatives.
6. Remember to never split an infinitive.
7. Avoid clichés like the plague.
8. Join clauses good, like a conjunction should.
9. Do not use hyperbole, not one write in a million can use it effectively.
10. About sentence fragments.
คาแนะนาของเดย์ขา้ งต้นนี้เขียนอย่างมีเสน่หแ์ ละพลิกแพลงใช้คาต่างๆสาหรับยา้
ความหมายของคาแนะนาให้เห็นชัด ด้วยเหตุน้ี ผมจึงไม่ขอแปลบัญญัตสิ บิ ประการเหล่านี้ ขอให้คุณ
ผูอ้ ่านตีความหมายกันเองเทอญ

นิ ยายวิ ทยาศาสตร์
การเขียนนิยายวิทยาศาตร์ให้สนุกสนานได้เป็นเรือ่ งยาก เพราะพอขึน้ ต้นว่าเป็น ไซไฟ ( SciFi)
ผูอ้ ่านก็เริม่ รูแ้ ล้วว่าไม่ใช่เรือ่ งสมมุตทิ อ่ี าจเป็นจริงไม่ได้เลย แต่ถงึ จะเป็น ไปไม่ได้ อย่างน้อยก็จะต้อง
อ้างอิงความเป็นจริงของวิทยาศาสตร์ หาคาอธิบายทางวิทยาศาสตร์ หรือสร้างกฎเกณฑ์ทจ่ี ะหลีกหนีให้
พ้นความเป็ นจริงทางวิทยาศาสตร์ได้ เช่น ถ้าเขียนเรือ่ งให้คนกลายเป็ นหมาปา่ ในวันพระจันทร์เต็มดวง
แบบนี้กไ็ ม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์ แต่กลายเป็นเรือ่ งเหนือธรรมชาติหรือเรือ่ งภูตผิ ปี ีศาจไป อย่างไรก็ตาม
เวลานี้เรือ่ งแปลกๆทานองนี้กเ็ ริม่ กลายพันธุม์ าเป็นนิยายวิทยาศาสตร์มากขึน้ ดังเช่นเรือ่ ง
Metamorphosis ของคอฟก้า ทีอ่ ยูๆ่ คนก็กลายเป็นแมงมุมไปนัน้ ก็อาจถือว่าเป็นทัง้ นิยายวิทยาศาสตร์
และนิยายจิตวิทยาสังคมได้
ในทีน่ ้ผี มจะยังไม่อธิบายแนวทางการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์โดยละเอียด เนื่องจากยังไม่มเี วลา
นังรวบรวมความคิ
่ ด อีกอย่างหนึ่งระยะหลังนี้ผมไม่ค่อยได้มเี วลาอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ดว้ ย อย่างไรก็
ตาม ขอสรุปว่านิยายวิทยาศาสตร์ในปจั จุ บันอาจจะจัดให้เป็นประเภทต่างๆได้หลากหลาย ดังได้ทดลอง
นามาจัดกลุ่มไว้ขา่ งล่างนี้ กรุณาอย่าเพิง่ อ้างอิงเป็นตาราเพราะเพียงแต่คดิ เอง
- Fantasy/Strange - Medical story
- Crime/Mysteries - Strange Animals
- Space travel - Discovery
- Robots - Cyber-Society
- Alien and Invasion - Environment
- Time Travel - Wars
- Mind and psychology - Futuristic

การเขียนบทความสัมภาษณ์
ทาไมคนเราถึงอยากอ่านบทสัมภาษณ์? คาถามนี้ไม่น่าตอบยาก แต่กค็ งจะมีคาตอบได้
หลากหลาย เช่น อยากทราบความคิดของผูอ้ ่นื อยากทราบวิธกี ารทีผ่ อู้ ่นื ประสบความสาเร็จ อยากทราบ
ความเป็นมาหรือสาเหตุของเรือ่ งทีเ่ ป็นข่าว ฯลฯ แต่กย็ งั มีอกี มากมายทีอ่ ยากทราบเรือ่ งส่วนตัวของคน
ดังหรือดาราว่าชอบกินอะไร ไปเทีย่ วทีไ่ หน เพราะเหตุน้เี อง บทสัมภาษณ์และข้อเขียนเชิงซุบซิบนินทา
ตามหน้าหนังสือพิมพ์จงึ ได้รบั ความสนใจและมีผตู้ ดิ ตามอ่านมาโดยตลอด
การเขียนบทความสัมภาษณ์นนั ้ อาจจะเห็นว่าง่าย เพราะเพียงแต่เอาเทปไปอัดเสียงแล้วถอด
เทปมาเท่านัน้ นี่กจ็ ริงอยูบ่ า้ งแต่ไม่จริงไปหมด เพราะบทความสัมภาษณ์จะอ่านสนุกและได้อรรถรส
หรือไม่นนั ้ ไม่ได้ขน้ึ อยูก่ บั การตอบอย่างเดียว แต่ขน้ึ อยูก่ บั สาระของคาถามและการสัมภาษณ์ดว้ ย ไม่ใช่
ว่าคุณนึกอยากจะสัมภาษณ์ใครก็ไปถามๆ แล้วก็นามาเขียน คุ ณจะต้องเตรียมตัวและทาการบ้านอย่างดี
มาก่อน

วิ ธีเตรียมตัวเขียนเรื่องสัมภาษณ์
 รวบรวมรายละเอียดเกีย่ วกับผูท้ จ่ี ะให้สมั ภาษณ์เพื่อขอสัมภาษณ์
- ประวัตสิ ่วนตัว
- ผลงานและความสาเร็จ
 พิจารณาว่าผูอ้ ่านต้องการรูเ้ รือ่ งอะไรบ้างทีเ่ กีย่ วกับผูท้ จ่ี ะให้สมั ภาษณ์
 คิดคาถามทีเ่ หมาะสมและเห็นว่าผูอ้ ่านอยากจะทราบ พยายามคิดให้ละเอียด มีเนื้อหาครอบคลุม
และเชื่อมโยงกัน
 ส่งคาถามให้ผสู้ มั ภาษณ์/นัดวันสัมภาษณ์ เพื่อให้ผสู้ มั ภาษณ์มเี วลาเตรียมตัวและหาข้อมูลทีจ่ ะ
ตอบได้อย่างครบถ้วน
 สัมภาษณ์ (ใช้เทป+ถามคาถามเพิม่ เติมซึง่ คิดออกมาระหว่างการสัมภาษณ์)
 ถอดเทปและเรียบเรียงคาให้สมั ภาษณ์เสียใหม่ ตกแต่งถ้อยคาให้รน่ื หู เพราะผูใ้ ห้สมั ภาษณ์บาง
คนก็พดู ซ้าๆ หรือวกไปวนมา ขืนถอดเทปมาโดยตรงก็จะไม่น่าอ่าน
 ส่งให้ผใู้ ห้สมั ภาษณ์ตรวจแก้ไข เพราะระหว่างการให้สมั ภาษณ์เขาอาจจะพาดพิงใครบางคนซึง่
พอกลับไปคิดทีหลังอาจเห็นว่าไม่ควรพูดไปเช่นนัน้ ก็ได้ เรือ่ งการตรวจแก้น้สี าคัญมาก
ยกตัวอย่างเช่นตัวผมเองนัน้ เคยให้สมั ภาษณ์เรือ่ งต่างๆหลายครัง้ แต่ผมก็พบว่านักข่าวไม่ได้ลง
ถ้อยคาทีผ่ มให้สมั ภาษณ์อย่างตรงไปตรงมา พูดง่ายๆก็คอื พอผมอธิบายเรือ่ งของ X นักข่าว
กลับคิดว่า X หมายถึง Y แล้วก็นา Y มาอธิบาย แทนทีจ่ ะกล่าวถึง X ตามทีผ่ มให้สมั ภาษณ์ นัน่
เป็นเทคนิคของนักข่าวทีพ่ ยายามเจาะลึกหรืออีกนัยหนึ่งพยายามตีความจากคาสัมภาษณ์ว่า
ผูใ้ ห้สมั ภาษณ์หมายความว่าอย่างไรหรือมีอะไรซ่อนเร้นอยู่ การเขียนเรือ่ งเช่นนี้เกิดขึน้ บ่อยครัง้
จนกระทังระยะหลั
่ งผมต้องพยายามนาตัวเองให้ห่างจากนักข่าวทัง้ หลายในแบบทีเ่ รียกว่าทาตัว
Low Profile นันแหละ
่ ด้วยเหตุน้ี เพื่อให้เกียรติแก่ผทู้ ย่ี อมสละเวลามาให้สมั ภาษณ์ เราก็ควรส่ง
ต้นฉบับทีเ่ ขียนขึน้ ไปให้เขาตรวจแก้ ทัง้ นี้เพื่อไม่ให้เกิดความขุน่ เคืองใจกัน
 แก้และจัดทาต้นฉบับสุดท้ายเพื่อส่งพิมพ์

การเขียนบทความสัมภาษณ์นนั ้ มีได้หลายอย่าง สุดแทแต่ความถนัดของคนเขียนรูปแบบการ


เขียนทีง่ ทีส่ ุดก็คอื ลงคาถามและสัมภาษณ์สลับกันไปโดยไม่มขี อ้ เขียนอื่นเพิม่ เติม อารมณ์ของเรือ่ งจะมา
จากคาถามและคาสัมภาษณ์เท่านัน้
อีกรูปแบบหนึ่งคือผูส้ มั ภาษณ์เป็นคนทีบ่ อกเล่ารายละเอียดต่างๆเกีย่ วกับผูใ้ ห้สมั ภาษณ์และ
เดินเรือ่ งสัมภาษณ์ โดยใส่อารมณ์เข้าไปในบทสัมภาษณ์ดว้ ย การเขียนบทสัมภาษณ์แบบนี้จะน่าอ่าน
กว่าแบบแรกและมีรายละเอียดทีอ่ าจจะไม่ปรากฏในคาสัมภาษณ์ดว้ ย อย่างไรก็ตามข้อควรระวังในการ
เขียนแบบนี้กค็ อื จะต้องไม่บรรยายเกินจริง เช่น “เขาทาท่าลังเลอยูน่ านกว่าจะตอบว่า... ” แบบนี้จะต้อง
แน่ใจว่าผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ลงั เลจริงๆ บางทีเขาอาจจะไม่ลงั เลแต่นึกไม่ออกก็ได้ การเขียนแบบเกินจริงมาก
เกินไปจะทาให้คุณภาพของเรือ่ งเสียไปและคนจะไม่เชื่อถือในบทสัมภาษณ์นนั ้

แนวทางของการเขียนเรื่องสัน้ ที่ดี
ผมชอบอ่านเรือ่ งสัน้ มากกว่านิยายเพราะใช้เวลาน้อยกว่าและบางครัง้ ก็ให้อารมณ์ได้รวดเร็ว
กว่านิยายขนาดยาว แต่ทแ่ี ปลกก็คอื ตัวผมเองก็ชอบอ่านนิยายขนาดยาวมากๆเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรือ่ ง
เพชรพระอุมาของพนมเทียนหรือมังกรหยกของกิมย้ง(ความจริงเรือ่ งหลังนี้ผมอ่านมามากกว่าหนังสือ
เรือ่ งมังกรหยกทีม่ พี มิ พ์จาหน่ายอยูเ่ วลานี้ เพราะเคยอ่านภาคพิเศษทีเ่ ป็นประวัตขิ องอึง้ เอียะซือและจอม
ยุทธ์คนอื่นๆ แต่เมือ่ ถามสานักพิมพ์กไ็ ด้ความว่าต้นฉบับหายไปหมดแล้ว)ระยะหลังนี้ผมไม่มเี วลาอ่าน
เรือ่ งยาวๆมากนัก แม้ใครจะบอกว่าแฮร์ร่ี พอตเตอร์ เป็นสุดยอดของนิยายยุคนี้ผมก็ไม่มเี วลาจะอ่านแล้ว
นักเขียนบางคนบอกว่าการเขียนนิยายขนาดยาวนัน้ ง่ายกว่าการเขียนเรือ่ งสัน้ แต่กระนัน้
ปรมาจารย์นกั เขียนอย่างเช่น คุณมาลัย ชูพนิ ิจ ก็เขียนเรือ่ งสัน้ เอาไว้กว่าสามพันชิน้ ในขณะทีท่ ่านเขียน
นิยายขนาดยาวเอาไว้ไม่มากนัก ผมเองเห็นว่าการเขียนเรือ่ งสัน้ นัน้ น่าสนใจและทดลองแนวเขียนของ
ตนเองได้งา่ ยกว่าเรือ่ งยาว ดังนัน้ จึงขอแนะนาให้ลองเขียนเรือ่ งสัน้ กันมากๆ
ก่อนอื่นคงจะต้องเข้าใจลักษณะของเรือ่ งสัน้ ก่อน
 เรือ่ งสัน้ มีความยาวเพียงไม่กห่ี น้า คือหากพิมพ์เป็นหนังสือปกอ่อนก็ควรมีความยาวระหว่างสัก
ห้าหน้าขึน้ ไปถึงประมาณสักยีส่ บิ หน้า หากสัน้ กว่านี้กจ็ ะเป็นเรือ่ งสัน้ ๆ(ฝรังเรี
่ ยกอย่างนี้จริงๆผม
เคยมีเรือ่ ง Short short stories หลายเล่ม แต่ละเรือ่ งสัน้ ๆอ่านสนุก) ส่วนเรือ่ งทีย่ าวกว่านี้กจ็ ะ
กลายเป็นเรือ่ งสัน้ ขนาดยาว ซึง่ หากยาวกว่านี้อกี สักเล็กน้อยก็จะกลายเป็นนิยายขนาดสัน้ ไป
แล้ว
 ตัวละครหรือผูเ้ กีย่ วข้องมีน้อย เรือ่ งสัน้ จะปล่อยตัวละครออกมามากไม่ได้ บางเรือ่ งอาจจะปล่อย
ออกมาหลายคน แต่กจ็ ะเป็นตัวประกอบ ตัวละครทีเ่ ดินเรือ่ งจะมีเพียงสองสามคนเท่านัน้ การที่
มีผเู้ กีย่ วข้องน้อยทาให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาทีต่ อ้ งการบรรยายได้อย่างชัดเจนและรวดเร็วมาก
ขึน้
 มีเหตุการณ์หลักเพียงอย่างเดียว เรือ่ งสัน้ ควรมีเหตุการณ์หลักซึง่ เป็นจุดเด่นของเรือ่ งเพียงอย่าง
เดียว ไม่ควรทาให้ผอู้ ่านสับสนด้วยเหตุการณ์ทไ่ี ม่สาคัญเข้ามาบรรยายในท้องเรือ่ ง
 บทบาทของตัวละครกับเหตุการณ์สมั พันธ์กนั การกล่าวถึงสิง่ ใดก็ตามหรือเหตุการณ์ใดก็ตาม
ควรสัมพันธ์กบั ตัวละครและควรเป็นสิง่ ทีเ่ ด่นหรือจงใจจะชีว้ ่าเป็นสิง่ หรือเหตุการณ์ทใ่ี ช้เดินเรือ่ ง

แนวทางในการเขียนเรื่องสัน้
การเขียนเรือ่ งสัน้ นัน้ จะต้องคิดพล็อตเรือ่ งให้ได้เสียก่อน หากยังคิดพล็อตเรือ่ งไม่ออกก็จะเขียน
ไม่ได้ เพราะจะไม่มที างรูว้ ่าจะเขียนไปทางไหนหรือจะให้ไปจบอย่างไร
พล็อตเรือ่ งสัน้ มีได้หลายแนว ผมจะลองนาแนวเรือ่ งสัน้ บางแนวมาอธิบายในทีน่ ้ี อย่างไรก็ตาม
แนวเรือ่ งสัน้ ไม่ได้มเี พียงแค่น้เี ท่านัน้ ยังมีอยูอ่ กี หลายแนว
1. แนวแรกเริม่ ต้นด้วยการเกิดปญั หาอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อมาปญั หาเพิม่ มากขึน้ จนไม่น่าจะ
แก้ปญั หาได้ แต่ลงท้ายเกิดเหตุการณ์แทรกเข้ามาทาให้แก้ปญั หาได้ เป็ นอันจบเรือ่ ง การ
เขียนแบบนี้ค่อนข้างยากและจะให้อ่านสนุกก็ยงิ่ ยาก
2. แนวทีส่ องคือเกิดปญั หาหรือเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งขึน้ เนื้อหาคาบรรยายหรือคาพูดใน
เนื้อเรือ่ งลวงให้มขี อ้ สรุปอย่างหนึ่ง แต่เมือ่ ถึงตอนจบปรากฏว่าผลสุดท้ายเป็นอีกอย่างหนึ่ง
แนวเขียนแบบนี้เรียกว่าแบบหักมุม บางครัง้ เรียกว่าเป็นแนวเขียนเรือ่ งสัน้ แบบของโอ เฮนรี
ซึง่ เป็นยอดนักเขียนเรือ่ งสัน้ ชาวอเมริกนั การเขียนแบบนี้ไม่ยากนัก ข้อสาคัญคืออยูท่ ่ี
จะต้องคิดพล็อตการหักมุมให้ออก หากคิดได้กจ็ ะเขียนเรือ่ งออกมาได้
3. แนวทีส่ ามก็คอื เกิดเหตุการณ์อย่างแรกซึง่ นาไปสู่เหตุการณ์อย่างทีส่ องและทีส่ าม
ต่อเนื่องกันไปจนจบ ไม่มอี ะไรพิเศษเป็นเสมือนบอกเล่าว่าเกิดอะไรขึน้ แล้วก็จบไม่มกี ารหัก
มุม ไม่มกี ารแก้ปญั หา การเขียนแนวนี้ค่อนข้างยาก เพราะจะต้องสร้างความฉงนให้ผอู้ ่าน
เพื่อให้ตดิ ตามอ่านไปเรือ่ ยๆจนกระทังจบ ่

เรื่องขาขัน มีทงั ้ Clean และ Dirty


ในช่วงไม่นานมานี้ผมเห็นมีคนพิมพ์หนังสือรวมเรือ่ งขาขันออกมามากมายหลายเล่ม แน่นอน
ทีส่ ุดหนังสือขาขันเก่อแก่ทม่ี อี ายุยนื ยาวทีส่ ุดของไทยเวลานี้กค็ อื ต่วยตูน และหนังสือขาขันแบบการ์ตูน
ก็คอื ขายหัวเราะ การทีอ่ ยูร่ อดสภาพเศรษฐกิจตกต่ามาได้นานขนาดนี้แปลว่าเป็นหนังสือทีช่ ่วยให้
ผูอ้ ่านคลายเครียด คลายความกังวล ไม่คดิ ทาอัตนิวบิ าตกรรมเสียก่อน
เรือ่ งขาขันสัน้ ๆนัน้ เขียนให้อ่านขบขันจริงๆได้ยากมาก แต่กระนัน้ เรือ่ งขาขันภาษาอังกฤษ
มีมากมายเป็นพันๆเรือ่ ง หนังสือขาขันของไทยนัน้ ส่วนมากก็แปลมาจากของฝรัง่ อย่างไรก็ตาม ไทยเรา
ไม่สามารถแปลเรือ่ งขาขันมาได้หมด เพราะความขบขันนัน้ บางครัง้ ก็ขน้ึ กับภาษาและวัฒนธรรมด้วย
เหมือนกัน
เรือ่ งขาขันนัน้ อาจจัดได้เป็นแบบสะอาด ( clean) หรือแบบสกปรก ( dirty ) ซึง่ ทีจ่ ริงก็
หมายความว่าเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับเพศนันเอง ่ เรือ่ งขาขันทีเ่ กีย่ วกับเพศนี้มมี ากและมีผทู้ ค่ี ดิ ออกมาได้
แปลกๆมากมายไม่น่าเชื่อ บางคนถึงกับสร้างเว็บไซต์เพื่อส่งเรือ่ งขาขันไปให้สมาชิกอ่านทุกวันและยังมี
ฐานข้อมูลเรือ่ งขาขันเก็บเอาไว้นบั แสนนับล้านเรือ่ ง
เรือ่ งขาขันนัน้ ส่วนมากมักจะเป็นเรือ่ งทีม่ พี ล็อตเรือ่ งดังต่อไปนี้
 เสนอเรือ่ งทีไม่คาดฝนั ไม่น่าเกิดขึน้ ได้
 เสนอเนื้อหาเกีย่ วกับสิง่ ทีค่ ุนเคยเช่นนิสยั ของคน นิสยั ประจาชาติทร่ี จู้ กั กันดีหรือการกระทาที่
เป็นสากล แต่ผทู้ เ่ี ดินเรือ่ งทาสิง่ ทีแ่ ตกต่างไปจากทีค่ วรทา
 เสนอเนื้อหาในเชิงหักมุม

การตรวจแก้เรื่องที่เขียน
นักเขียนทีด่ คี วรตรวจแก้เรือ่ งทีเ่ ขียนก่อนทีจ่ ะส่งออกไปเสนอสานักพิมพ์หรือส่งไปพิมพ์เสมอ
การตรวจแกจะทาให้เราค้นพบทีผ่ ดิ พลาดไม่ว่าจะในเนื้อหาหรือในประโยคและข้อความต่างๆได้
นอกจากนัน้ ยังเป็นโอกาสให้เราปรับปรุงเรือ่ งให้มคี ุณภาพดียงิ่ ขึน้ ได้
โ ดยปกติแล้วเมือ่ ส่งเรือ่ งไปยังสานักพิมพ์กจ็ ะมีบรรณาธิการทาหน้าทีอ่ ่านและตรวจสอบเรือ่ งที่
เราส่งไปนัน้ คือ จะดูว่าเรือ่ งนัน้ เหมาะสมหรือไม่ คุณภาพทัง้ ในด้านเนื้อหาและภาษาดีจริงหรือไม่ เมือ่
อ่านแล้วบรรณาธิการบางคนอาจจะแจ้งนักเขียนว่าไม่สามารถลงเรือ่ งทีส่ ่งมาได้ แต่บางคนก็อาจจะแก้ไข
เรือ่ งให้นกั เขียนตามทีต่ นเห็นว่าเหมาะสมด้วย เมือ่ ครัง้ ทีผ่ มทาหน้าทีเ่ ป็นบรรณษธิการนิตยสาร BCM
ผมพยายามแก้ไขเรือ่ งและภาษาให้นกั เขียนเหมือนกัน แต่ทาได้ไม่กเ่ี รือ่ งก็ตอ้ งยอมแพ้ เพราะแม้ว่าเรือ่ ง
ของบางคนจะมีคุณภาพดี แต่ภาษาทีใ่ ช้นนั ้ เกินวิสยั ทีใ่ ครจะแก้ให้สละสลวยขึน้ ได้ จึงต้องส่งกลับไปให้
นักเขียนแก้ไขเอง
เทคนิคการตรวจแก้ไขเรือ่ งของตนเองให้ดยี งิ่ ขึน้ มีเขียนไว้ในหนังสือ How to Write and Speak
Better ของสานักพิมพ์ Reader’s Digest ตีพมิ พ์เมือ่ ปี 1993 ซึง่ ผมขอเก็บความมาขยายความต่อดังนี้
 หลังจากเขียนเสร็จแล้วให้เว้นระยะเวลาสักพักใหญ่ อย่าเพิง่ นาเรือ่ งทีเ่ ขียนนัน้ มาอ่านและตรวจ
แก้ทนั ทีเพราะเราอาจจะยังจาเนื้อเรือ่ งทีเ่ ขียนได้แม่น ลองเว้นระยะจนลืมรายละเอียดไปแล้ว
ค่อยนามาอ่านจะดีกว่า
 ให้ทาตัวเองเสมือนเป็นผูอ้ ่านทัวไปที ่ ไ่ ม่มคี วามรูเ้ กีย่ วกับเรือ่ งนัน้ วิธนี ้ชี ่วยให้เราค้นพบว่าเราลืม
อธิบายศัพท์ยากๆ บางคาทีก่ ล่าวถึงในเรือ่ งบ้างหรือไม่ เราอ้างถึงแนวคิดบางอย่างโดยทึกทัก
เอาเองว่าผูอ้ ่านรูแ้ ล้วหรือเปล่า
 ระหว่างทีอ่ ่านเรือ่ งนัน้ ให้ลองตัง้ ประเด็นคาถามต่อไปนี้
- เรือ่ งนี้เป็นเรือ่ งแบบไหน วิธกี ารทีน่ าเสนอนัน้ เหมาะสมหรือไม่
- วัตถุประสงค์ของเรือ่ งคืออะไร อ่านแล้วบอกได้หรือไม่ว่าเราต้องการบอกอะไรแก่ผอู้ ่าน และ
ผูอ้ ่านได้รบั สารนัน้ หรือไม่
- การจัดเรียงหัวข้อและรูปแบบของหัวข้อเหมาะสมดีหรือไม่ หรือว่าสับสน
- โครงสร้างของเนื้อหาเหมาะสมหรือไม่ ตัวเราเองพอมองออกหรือไม่ว่าเรือ่ งนัน้ มีโครงเรือ่ ง
อย่างไร
- เราได้กาหนดหัวข้อต่างๆครบถ้วนหรือไม่
- เนื้อหาถูกต้องแม่นยาหรือไม่ การอ้างตัวเลขต่างๆ เช่น เลขปีและวันที่ ถูกต้องหรือไม่ การ
อ้างอิงรูปและตารางถูกต้องหรือไม่ การอ้างอิงเอกสารอื่นๆถูกต้องหรือไม่(ตัวเลขนัน้ เวลา
พิมพ์มกั จะสลับตาแหน่งหรือพิมพ์ผดิ อยูเ่ สมอ บางครัง้ พบว่าในบทความชีวประวัตนิ นั ้
เจ้าของประวัตติ ายก่อนจะเกิดเสียอีก อ่านแล้วทาให้สบั สนและน่าราคาญมาก)
- สีสนั ของเรือ่ งเป็นอย่างไร เหมาะสมกับเนื้อหาหรือไม่
- สไตล์ของการเขียนเป็นอย่างไร การใช้ภาษาเหมาะกับระดับความรูแ้ ละอายุของผูอ้ ่าน
หรือไม่
- เราวางแผนจะใช้รปู ภาพประกอบบ้างหรือไม่ และรูปทีต่ อ้ งการใช้นนั ้ เข้ากันกับเนื้อหา
หรือไม่
- การใช้คาศัพท์เทคนิคเหมาะสมหรือไม่ หากเป็นศัพท์ทผ่ี อู้ ่านไม่น่าจะเข้าใจนัน้ เขียน
คาอธิบายไว้ครบถ้วนและเข้าใจได้งา่ ยหรือไม่
- ในกรณีทใ่ี ช้คาภาษาต่างประเทศในแบบทับศัพท์ ให้พจิ ารณาว่าศัพท์นนั ้ ได้เขียนอย่าง
ถูกต้องตรงกับหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศของราชบัณฑิตยสถานหรือไม่
- ในกรณีทใ่ี ช้ศพั ท์บญ ั ญัตใิ หม่ ให้พจิ ารณาว่าสมควรเขียนคาภาษาต่างประเทศเอาไว้ใน
วงเล็บต่อจากศัพท์บญ ั ญัตนิ นั ้ หรือไม่ การเขียนคาภาษาต่างประเทศไว้ดว้ ยนัน้ เป็นเรือ่ งทีจ่ ะ
ช้าวยทาให้เข้าใจความหมายของเรือ่ งดรขึน้ แต่กจ็ ะทาให้เรือ่ งนัน้ ไม่น่าอ่านเพราะมีคาที่
เขียนด้วยภาษาอื่นมากเกินไป

ตรวจลึกลงไปในเนื้ อเรื่อง
นอกจากการตรวจภาพรวมของเรือ่ งแล้ว เรายังต้องตรวจลึกลงไปถึงเนื้อเรือ่ งและภาษาทีใ่ ช้ดว้ ย
ประเด็นทีส่ มควรตรวจมีดงั ต่อไปนี้
 การใช้คาต่างๆ สม่าเสมอเหมือนกันหมดทัง้ เรือ่ งหรือไม่?
 การสะกดการันต์ถูกต้องหรือไม่?
 อ่านแล้ว สนุก เพลิดเพลินหรือไม่?
 พิจารณาคาทีใ่ ช้ในเนื้อเรือ่ งว่า
- มีความหลากหลายหรือไม่
- สามารถแสดงความหมายได้อย่างถูกต้องหรือไม่
- การใช้คาคุณศัพท์มสี สี นั และน้าหนัก พอดีหรือไม่
- การใช้คานามถูกต้องไหม “เครือ่ งจักร เครือ่ งมือ เครือ่ งใช้ อุปกรณ์”
- การใช้คากริยาถูกต้องและมีสสี นั หรือไม่
- ใช้คาว่า “ทาการ” พร่าเพรือ่ มากไปหรือไม่
 พิจารณาประโยคว่าซับซ้อนเกินไปหรือไม่ อ่านแล้วเข้าใจง่ายหรือไม่
 พิจารณาแต่ละย่อหน้าว่าได้วางประโยคทีเ่ ป็นเนื้อหาสาคัญไว้เหมาะสมหรือไม่ เนื้อหาอยูท่ ใ่ี ด
 พิจารณากระแสความคิดของเรือ่ งว่าดาเนินไปดีหรือไม่
 ตรวจหาจุดอ่อนของเหตุผลในเรือ่ ง
 ตรวจดูประโยคหรือความคิดทีค่ ลุมเครือ
 ตรวจแก้คาศัพท์บญ
ั ญัติ ศัพท์เฉพาะ สะแลง สานวน ให้ดยี งิ่ ขึน้

สรุป
คาแนะนาการเขียนทีผ่ ่านสายตาคุณผูอ้ ่านไปนี้ยงั ไม่สมบูรณ์เสียทีเดียว อย่างไรก็ตาม ผมก็เชื่อ
ว่าเนื้อหาทีเ่ รียบเรียงไว้ในทีน่ ้นี ่าจะเป็นประโยชน์ต่อผูอ้ ่านบ้าง การเขียนเป็นศิลปะของการแสดงออก
อย่างหนึ่งของมนุษย์ เป็นศิลปะทีเ่ รียนรูไ้ ด้ดว้ ยการสังเกตเรือ่ งเขียนต่างๆทีม่ ใี ห้ศกึ ษามากมายนับไม่
ถ้วน นอกจากนัน้ ยังสามารถฝึกฝนให้ตนเองมีความชานาญมากขึน้ ได้ตลอดเวลา
การเขียนมีหลายประเภท ผมได้นาแนวทางการเขียนสาหรับเรือ่ งประเภทต่างๆ มาเสนอไว้อย่าง
ย่อๆ เท่านัน้ รายละเอียดสาหรับการเขียนแต่ละประเภทนัน้ มีผรู้ แู้ ละนักเขียนชัน้ นาทัง้ ไทยและเทศได้
เขียนเอาไว้เป็นเล่มใหญ่ๆ มากมายหลายเล่ม ใครรักและสนใจทีจ่ ะเขียนอย่างจริงจังควรระต้องหา
หนังสือเหล่านัน้ มาศึกษาต่อไป
เคล็ดลับสาหรับการเขียนให้ดนี นั ้ ผมเชื่อว่าอยูท่ อ่ี ทิ ธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิรยิ ะ จิตตะ วิมงั สา นันก็

คือ เราจะต้องมีใจรักทีจ่ ะเขียนเป็นปฐมบท หากไม่รกั ทีจ่ ะเขียนก็อย่าไปฝืนใจเลยครับจะเสียเวลาเปล่าๆ
ต่อมาก็จะต้องมีความพยายามทีจ่ ะฝึกฝนและเขียนเรือ่ งต่างๆ อยูเ่ สมอ ต้องเอาใจใส่สนใจศึกษาแนว
ทางการเขียน คอยครุน่ คิดหาทางปรับปรุงแนวทางการเขียนของตนให้ดอี ยูเ่ สมอ และสุดท้ายก็คอื การ
พิจารณาไตร่ตรอง หรือคือการประเมินผลงานของตนว่าดีหรือไม่นนเอง ั่
สุดท้ายจริงๆ ผมก็ขออานวยพรให้ทุกท่านทีส่ นใจในการเขียนประสบความสาเร็จในการเขียนสม
ความปรารถนาและขอบคุณครับทีส่ นใจติดตามเรือ่ งนี้

You might also like