You are on page 1of 3

เอกสารประกอบการสอน LAW 1803 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น

ครั้งที่ 1
- อธิบายเรื่องแผนการสอนและขอบเขตของรายวิชาการวัดและประเมินผล
ศึกษาถึงขอบเขตรายวิชา การวัดและการประเมินผล หนังสือและตำราในการอ่านประกอบ
จุดมุ่งหมายรายวิชา
1.1 มีความรู้ความเข้าใจหลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชน ได้แก่ สถาบันทางกฎหมายมหาชน อำนาจรัฐ ข้อจำกัดการ
ใช้อำนาจรัฐ และสามารถอธิบายหลักการทางกฎหมายนั้นได้
1.2 เข้าใจความแตกต่างของกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน พร้อมทัง้ แยกสาขาของกฎหมายมหาชนได้
1.3 เข้าใจถึงบ่อเกิด นิตวิ ิธีและความสำคัญของกฎหมายมหาชน
1.4 สามารถวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง ตลอดจนสามารถตีความและใช้กฎหมายในทางกฎหมายมหาชนได้
โดยคิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
1.5 เข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนการและพลวัตรของกฎหมายมหาชนของต่างประเทศและของไทย
คำอธิบายรายวิชา ศึกษาสถาบันทางกฎหมายมหาชน ความหมาย องค์ประกอบและรูปแบบของรัฐ การเป็น นิติบุคคล
และ สถาบันต่าง ๆ ของรัฐ ความหมายและความจำเป็นของการปกครองโดยกฎหมาย ความเป็นมาและวิวัฒนาการของกฎหมาย
มหาชน ขอบเขตและลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชน บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน แนวความคิดและนิติวิธีของกฎหมาย
มหาชน หลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชน อำนาจอธิปไตย หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักหลักนิตริ ัฐ นิตธิ รรม
การสอบ : ข้อสอบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ ครอบคลุมเนื้อหาตามคำอธิบายรายวิชา และมีลักษณะเมินผลตามจุดมุ่งหมาย
รายวิชา
เอกสารประกอบ : มคอ3

บทนำ
- ระบบกฎหมายที่มีผลกระทบต่อระบบกฎหมายของประเทศไทย
ระบบคอมมอนลอว์
ระบบประมวลกฎหมาย
ความมุ่งหมาย : หลังจากศึกษาในหัวข้อนี้แล้ว 1. นักศึกษาทราบถึงความแตกต่างของระบบกฎหมายทั้งสองระบบ 2.
ผลจากระบบกฎหมายทั้งสองระบบกับการแบ่งประเภทกฎหมายมหาชน
- ความหมายของกฎหมาย
ให้นักศึกษาลองวิเคราะห์ลักษณะของกฎหมาย (1) ในด้านที่มา และ (2) ในแง่ลักษณะของกฎหมาย และ (3)
อื่น ๆ เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในด้านต่างๆ
ความมุ่งหมาย : นักศึกษาเห็นกฎหมายในแง่มุมต่าง ๆ และเข้าใจลักษณะของกฎหมายมหาชน
ครั้งที่ 1 (ต่อ)
ภาค 1 ความหมายและวิวัฒนาการของกฎหมายมหาชน
- ความหมายของกฎหมายมหาชน
ศึกษาการให้ความหมายของกฎหมายมหาชนของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต่าง ๆ และนำความหมายดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับ
กฎหมายของไทยที่มีอยู่ว่า กฎหมายใดเป็นกฎหมายมหาชนหรือไม่ เพราะเหตุใด
ความมุ่งหมาย : นักศึกษา สามารถนำความหมายดังกล่าวไปอธิบายกฎหมายต่าง ๆ

- ความแตกต่างของกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
คำถามนำสู่การศึกษา: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายคุม้ ครองแรงงาน เป็นกฎหมายมหาชนหรือ
กฎหมายเอกชน
เนื้อหา: ศึกษาถึงผลแห่งการแบ่งกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
ความมุ่งหมาย : นักศึกษาสามารถอธิบายถึงรูปแบบของการกระทำที่อยู่ในเขตแดนกฎหมายมหาชนและกฎหมาย
เอกชน และความสัมพันธ์ในทางกฎหมายที่แตกต่างกันนั้น
เอกสารประกอบการสอน LAW 1803 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น

ครั้งที่ 2
- การแบ่งประเภทของกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
เนื้อหา: ศึกษาถึงทฤษฎีที่ใช้ในการแบ่งแยกกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน นอกจากนีย้ ังศึกษา
ถึงการแบ่งสาขาย่อยในกฎหมายทั้งสองประเภท
ความมุ่งหมาย : นักศึกษาสามารถแบ่งประเภทกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนออกจากกันได้ และสามารถ
อธิบายได้ว่า การกระทำของหน่วยงานของรัฐใด อยู่ภายใต้กฎหมายมหาชนหรือกฎหมายเอกชน และผลแห่งความแตกต่างนั้น มีผล
ต่อเรื่องอื่น ๆ อย่างไร เช่น การจัดองค์กรในการวินิจฉัยข้อพิพาท เป็นต้น และแนวคิดในการแบ่งประเภทกฎหมายมหาชนและ
กฎหมายเอกชนในประเทศไทย
หนังสือ/ตำรา/เอกสารอ่านประกอบ:
1. เกียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
2. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชน และพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ลักษณะพื้นฐานของกฎหมายมหาชน
เนื้อหา : ศึกษาถึงลักษณะพื้นฐานของกฎหมายมหาชนซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจรัฐและการควบคุมอำนาจรัฐ
ความมุ่งหมาย: 1. นักศึกษาเห็นพลวัตรของกฎหมายมหาชน และจุดมุ่งหมายที่สำคัญของกฎหมายมหาชน
2. นักศึกษาสามารถเข้าใจที่มาของลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชน
หนังสือ/ตำรา/เอกสารอ่านประกอบ:
1. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชน และพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- บทบาทความสำคัญของกฎหมายมหาชน
เนื้อหา : ศึกษาถึงบทบาทของกฎหมายมหาชน
ความมุ่งหมาย:
หนังสือ/ตำรา/เอกสารอ่านประกอบ:
1. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชน และพัฒนาการกฎหมายมหาชนในประเทศไทย
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

You might also like