You are on page 1of 360

กำเนิดสยามจวกแผนที่


^ ^-
โ: . ประว้ติศาสตร์ภูมิกาขาของช!ติ
5\ เ VI 0 00- แเ?เเ,60
350* .

- ,เ 1 ฬ๊ เ!แาเ, เ.' 1 )' 0 ภ. เฟ็!แ]ภ ^


รจขย วนวว กล
-
--...'.
' .-
.
^-
V 1 ’


II โ

---. ะ
-
1

* - -.
^
—ๆ
เ เ"
ะ "
8817 [ฒุ
^*,-* ส&&เ เ®
- . เ เ
9


I
1

.
-
เ^

I ^^ ฮเ เฮ’ * เ1! ^
131.

-*
ฒเ

- เ
*
V
1 V '-
- 1
4- * ' ,

-- -- 1


-

'
*
า*
ฟ่
-

4*
.-/
จ** - เ
31



ใ -

1

7
"-1"- V 3

-
3

ะ .' /
--
I -- 'ไ
3
/

*
ตเ
-
I ;- 1

^^
ฯ เ11ศนหน
-I

+ -
ดัเกฤษ -.
โ ใ ฝรง่เศส ทุ*ซีฟ้ธฺเฏื
& เฑธ้ศิ
"
II
^- — I*

ก1
^

-- **
*

แป3๒ย พวงกอง ภ:วค


ั 5พันธุ 1อถา ออฺณวงก I พงปเลิก พงน่วนไนต'
กำเนิดสยามจากแผนที่:
ปร:วัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
กิาเนิดสยามจากแผนที:่ ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของขาดิ
ผู้เขียน ธงชัย วินิจจะกูล
คณะผู้แปล พวงทอง ภวัครพันธุ, ไอดา อรณวงศ์, พงษ์เลิศ พงษ์วนานศ์
บรรณาธิการแปล ชูดักต ภัทรกุลวณิชย์

* ^^*
*
813111 ชุ)!)©*1: 11 81๐17 ณ© 06๐-8๐(17 อ!' 31ง31 ๐ก *
๖7 X๖๐ก80๖3 010๖31ณ *
^ ^^ ^ ^
713081316(1 ๖7 ?113ก8*๖0ถธึ ?3ผ3 3[)3ก, 1(13 1๐0ก^๐08, ?๐1ใ 1©11 ?๐11 3ก3ก
*
71311ธ13(10ก 6(1 1©(1 ๖7 0111831* ?3น313๒1 3011:

* ^*
** * *
* *
0๐[)711ธึ๖* © 1990, 110 6181*7 011 3^31* ?1©8ร
** ^ * * *
7๖ 8 6(1111๐0 18 3 1?30ธ131 00 31111101126(1 ๖7 16 01 8 031 [)11๖1 8๖©1, 170 6X8 17 ๐1 131^31 *
^
* *
* * * * * ^* ^
8x688. 11 118 118 16861^6(1. าโ !© 7๖31 ©( 11 00 8 [)๐๖๖ร๖6(1 ๖7 0๖ 31
^ * ** * * * * * ^ * * *
1 ๖1 8 1 08 ?เ0]601 30(1 8.63(1 ( 30) 80๖1 8๖ ฑ8 , 8308๒)๒ 7๖3 130(1 2013
*

* ^
8๐๖131 ?11๖ 8 1 08 *1ญํ60 8 3 831* ๐ 1๖6 8๐00(131 00 1๐1 060106X3(7 30(1
06\,61๐{)016018*0(1 68 (81)08).
พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2556
หมายเลขมาตรฐานสากลประจำหนงสีอ 188๖1
- -
ปกอ่อน 978-616 7158- 26 6 ปกแข็ง 978 616-7158 27 3 - - -
จัดพิมพ์[ดย โครงการจัดพิมพ์คบไฟ ร์วมกบ สำนักพิมพ์อ่าน
บรรณาธิการด้นฉบับ วริศา กิตติคุณเสรี
กองบรรณาธิการ เนาวนิจ สิริผาดวิรัตน์, สมิทธ์ ถนอมศาสนะ, สายทิพย์ ขนอินทร์
ออกแบบปก มุกหอม วงษ์เทศ
ภาพแผนที่ปกหนัาดัดแปลงจาก 8 กาล สก๘ 8ส!!}ไ&เ’ เกปเส (ค.ศ. 1909) โดย ป๐ ไก 060X96
^ *
**
83โ า0เ๐กา6ผ (สมบดส่วนบุคคลของคุณธวัชชัย ตั้งศริวานิช)
ออกแบบรู ปเล่ม กุลวัฒน์ กาญจนสุนทรี
โครงการจัดพิมพ์คบไฟ
478 ถนนสุขุมวิท 79 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10260
โทรศพท 0- 2332 - 2543-4 โทรสาร 0- 2332 - 2544
6-ฌลแะ ร. (๐ )!ฌํ@9๓311.00๓
**
สำนักพิมพ์อ่าน
เลขท 7 / 2 ซ.อรุณอมรินทร์ 37 ถ.อรุณอมรินทร์บางกอกนัอย กรุงเทพฯ 10700
-
โทรศพท/โทรสาร 0 2882-4788 0-กๆอแ: X6ส0เ]๐นโก3เ@9กาฌ่เ.00ฌ
-
เพลท เลย์โปรเซส 0 28830306 - 1
พิมพ์ โรงพิมพ์ภาพพิมพ์ 0 24330026-7-
จัดจำหนำย บริษัทเคล็ดไทย จำภัต 0 2225-9536- 40 -
ปกอ่อน ราคา 400 บาท ปกแข็ง ราคา 550 บาท
กำเนิดสยามจากแผนที:่
ประวัติศาสตร์ภูนิกายาของชาติ

ธงชัย วินิจจะทูล เขียน

พวงทอง ภวัครพันธุ
ไอดา อรุณวง
^
พงษ์เลิศ พงษ์วบานต'
แปล

(&
สำาXกพิมพ์อ่าน
สารบัญ

สารบัญภาพประกอบ (7)
คำนำ ฉบับแปลภาษาไทย (8 )
คำนำ ฉบับพิมพ์ครั้งแรกในภาษาอังกฤษ ( 1 7)
บทนำ กาธดำธงอยู่ของความเปิบชาติ
ทวิวิถีของการนิยามความเป็นชาติ 4
การนิยามความเป็นไทยทางตรงและทางกลับ 4
ไทยศึกษา 9
การปะทะต่อสู้ของการดีความ 13
สยามในฐานะประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม 17
ขอบเขตและวิธีการศึกษา 22
บทกี่ 1 ภูมิของคบผึ้นถั๋นแสะแผนกี่โบราณ
ภูมิลักษณ์ศักดึ้สิทธิ้
1
29
ภาพของพื้นที่ /ภูมิในจินตนาการ: แผนที่โบราณ 35
การอยู่ร่วมบันของมโนทัศน์ต่างชนิดต่อพื้นที่ / ภูมิ 45
บทกี่ 2 ภูมิคาสฉธ์แบบไหม้กำลังมา
สองโลก เทศะเดียวกัน: กำเนิดของโลกแบบสมัยใหม่ 53
การฝ่าทะลวง : ดาราศาสตร์ผ่านโหราศาสตร์ 60
พื้นที่ /ภูมิประ๓ทใหม่ : ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ 67
เทศะใส่รหัส: แผนที่สมัยใหม่ 71
แบบวิถีของการเปลี่ยนแปลง: ความกำกวมและการเข้าแทนที่ 79
บกที่ 3 เสํนเขตแดน
เส้นเขตแดนแบบดะวันตกต้านชายแดนดะวันตก 89

การปะทะกนของมโนภาพต่อเส้นเขดแดน 97

อาณาจกรที่เขตแดนลัอมไม่รอบ 104

บกที่ 4 อำนาจอธิฮตย์
ความส้มพ้นธ์แบบเป็นลำดับชั้นระหว่างร์ฐ 139

อธิปไดยร่วม: ยุทฺธศาสตร์เพื่อความอยู่รอด 144

อธิปไตยช้อนและชาวยุโรป 149

บกที่ 5 ชายขอบ
ชายขอบที่ช้อนทับกัน 164
การก่อร่างพื้นที่ “ของเรา” 169
ชายขอบใหม่: สยามและอังกฤษ 176

การอุบตของรอยต่อระหว่างพรมแดนด้วยกำลังทหาร 179

บกที่ 6 แผนที่ะ เทคโนโลยี!หม่ของพื้นที่/ภู0


สยามในแผนที่ของชาวดะวันดก 187
การทำแผนที่แบบตะวันตกในสยาม 190

การสรางพื้นที่ “ของเรา”ด้วยแผนที่ 195

ศึกแผนที:่ เมื่ออาวุธรายแรงแผลงฤทธี้ 199


บกกี่ 7 ภู กายา
กำเนิดภูมิกายา: ชัยชนะของแผนที่ 210
ภูมิกายามีอำนาจ 214
เลยพ้นดินแดนและภูมิศาสตร์ 21 9

บทกี่ 8 ภูมิกายาและประวัติศาสตร์
บาดแผลของวิกฤติการณ์ร.ศ. 11 2 กับอดีตที่ไม่ต่อเนื่อง 228
ภูมิกายากำมะลอในอดีตของไทย 231
แผนที่ประว้ติศาสตร์ 241
อดีตโดนโครงเรื่องบังคับ ( อดีตโตนวางยา) 250
อดีตผลิตใหม่ 256
บทสรุป ภูมิกายา ประวัติศาสตร์ แสะความเปิบชาติ
การสร้างตัวตนของเรากับความเป็นอื่น 263
หน้าที่ของศัตรู 266
ชายแดนของความเป็นไทย 269
พลังอำนาจของสัญลักษณ์ 271
คำส่งท้าย 273
หมายเหตุเกี่ยวกับการอ้างอิง 278
เชิงอรรถ 279
บรรณานุกรม 311
ดัชนี 329
สารบัณภาพประกอบ

แผนที่ 1 (หน้า 22 ) อุษาคเนย์ภาคพึ๋นทวีปก่อนมีการกำหนดเส้นเขตแตนแบบสมัยใหม่


ภาพประกอบ หน้า 139 161 -
ภาพที่ 1 แผนที่จาริกแสวงบุญจากคัมภีร์ลัานนา
ภาพที่ 2 แผนที่ตำนานจากคัมภีร์ไตรภูมิ
ภาพที่ 3 แผนที่ชายส์งต้านทิศตะวันออกของทะเลสาบสงขลา จากศตวรรษที่ 17
ภาพที่ 4 แผนที่ชายฝังจากคัมภีร์ไตรภูมิ
ภาพที่ 5 แผนที่ยุทธศาสตร์ของร้ชกาลที่ 1
ภาพที่ 6 “แผนที่สยาม”ของ [ะ. เ|^ 6 3เ6
ภาพที่ 7 แผนที่อาณาจักรสยามและประเทศข้างเคียง โตยนักทำแผนที่ชาวฝรั่งเศส,
ค.ศ. 1686
ภาพที่ 8 แผนที่อาณาจักรสยามและโคชินจีน ฉบับจอห์น ครอว์เฟิร์ด, ค.ศ. 1828
ภาพที่ 9 แผนทีข่ องยอร์จ เคอร์ซอน ในงานเขียน “7เา6 313๓656 ธ0บกป3เ7 (วน65110๙
ค.ศ. 1893
ภาพที่ 10 แผนที่ฉบับแมคคาร์ธ,ี ค.ศ. 1888
ภาพที่ 11 การ์ตูนจากสมัยร้ซกาลที่ 6
ภาพที่ 12 สัญลักษณ์มูลนิธิสายใจไทย
ภาพที่ 13 แผนที่แสดงประวีติศาสตร์อาณาเขตของประเทศไทย
ภาพที่ 14 แผนที่แสตงการเคลื่อนที่ของคนไทยจากโบราณถึงยุคปัจจุบัน
ภาพที่ 15 อาณาจักรน่านเจ้า
ภาพที่ 16 อาณาจักรสุโขทัย สมัยพ่อขุนวามคำแหงมหาราช
ภาพที่ 17 อาณาจักรอยุธยา สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ภาพที่ 18 อาณาจักรธนบุรี สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช
ภาพที่ 19 อาณาจักรรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1
ภาพที่ 20 “ตื่นเถิด ชาวไทย”

ธงชัย วินิจจะกุล (7 )
คำนำฉบับแปลภาษาไทย

หนังสือเล่มหนึ่งเมื่อพ้นมือคนเขียนไปแล้วมักจะมีโขคชะตาไม่ตรงกับทคนเ'ขียน
คาดหวัง คนเขียนทุ่มเทความคิด จินตนาการ และส่วนหนึ่งของชีวิต ลงไปในตัวบท
แต่บ่อยครั้งคนอ่านมองไม่เห็นสิ่งที่คนเขียนต้องการจะบอก ทว่าบ่อยครั้งคนอ่าน
กลับเห็นในสิ่งที่คนเขียนเองก็นึกไม่ถึง
313๓ /หฝ็ภ/ว©๙ (ต่อจากนี้จะเรียกว่า ธ/ห) อ่านได้หลายแบบ ทั้งโดยเจตนาของ
ผู้เขียนที่พยายามออกแบบให้เป็นเช่นนั้น และด้วยการด้นพบของผู้อ่านซึ่งผู้เขียน
เพิ่งมาเข้าใจภายหลัง
ธ/หศึกษาความเปลี่ยนแปลงความรู้ความคิดทางภูมิศาสตร์ที่ให้กำเนิดสยาม
ประเทศ หวังว่าอย่างน้อยๆ ผู้อ่านจะได้อิ่มเอมกับประวัติศาสตร์ของภูมิศาสตร์
นอกเหนือจากนั้นถือเป็นของกำนัลซึ่งขอฝากไวํให้ตามแต่ผู้อ่านจะด้นพบหรึอสร้าง
ความหมายมากน้อยขึ้นมา
ความปรารถนามูลฐานของผู้เขียนมีอยู่เพียงว่าอยากเล่าเรื่องดีๆ (1016แ ล
90๐0 51017) สักเรื่องหนึ่ง นึ่เป็นความอยากของนักประว้ติศาสตร์โดยทั้วไป ความ
ปรารถนาข้อนี้ฟังดูง่ายดีแต่ทำไต้ยากชะมัด และไม่ใช่ว่านักประว้ติศาสตร์ทุกคนจะ
ประสบความสำเร็จ เพราะ “การเล่าเรื่องดีๆ”มีความหมายหลากหลายตามแด่คน
อ่านคาดหวัง และตามแต่ความปรารถนา จินตนาการในการเข้าใจอดีต และประสบ -
การณ์ชีวิตของคนเขียน
ธ/หเขียนขึ้นหลัง 6 ตุลา 2519 และหลังขบวนการสังคมนิยมไทยล่มสลาย ใน
ขณะนั้นคำถามและการวิเคราะห์ร่วมสมัยของปัญญาชนกำลังเป็นอดีตไปแล้ว แด่
จิตวิญญาณกบฏและความท้าทายต่อโลกที่เป็นอยู่ กลับยังคงโลตแล่นผ่านกรอบ
ความคิดใหม่ๆหลายกระแสเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ นับแต่เข้าวันพุธเตือนตุลาปีนั้น
ผ่านการณ์ผันแปรทั้งหลายหลังจากนั้น ทำให้ผู้เขียนตระหนักว่า “ประวัติศาสตร์
โหดร้าย ”(ในทุกๆความหมายของวลีนี้ ) ธ/หจึงเป็นการโรมรันพันตูกับความร้
ประว้ติศาสตร์โทยเต็มตัว ตั้งแต่ชื่อ ประเด็นใจกลาง วิธีการศึกษา แนวคิดวิเคราะห์
หลักและรอง หลายเรื่องหลายประเด็น ตลอดจนถึงนัยและความหมายโตยอ้อม

(8) I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ในขณะเดียวกัน ร/ห ก็เข้าร่วมถกเถียงสนทนากับโลกวิชาการนอกประเทศไทย
อย่างตั้งใจ ทั้งในแง่สาระข้อเสนอและในแง่แนวคิดวิธีการศึกษา ทั้งต่อไทยศึกษาและ
ต่อกระแสหลังอาณานิคมและภูมิศาสตร์แบบหลังสมัยใหม่
ด้วยเหตุนี้ ร/ห จึงอ่านได้หลายแบบหลายระดับตามแต่ผู้อ่านจะเล็งเห็น
ในระยะแรกๆ สหายเก่าทั้งหลายก็แปลกใจที่ ร/หไม่ตอบปัญหาร่วมสมัยใดๆ
ที่พวกเขาหมกหม่นครุ่นคิดอยู่เลย แถมในเวลานั้นวงวิชาการไทยยังไม่คุ้นเคย ไม่
เข้าใจวิธีคิดและสิ่งที่ธ/หต้องการเสนออีกทั้งธรรมเนียมไทยๆบางอย่างทำให้แม้แต่
การศึกษาซึ่งเกี่ยวเนื่องหรือโต้แย้ง ร/ห ก็ทำโดยไม่ระบุถึง ร/ห ดังนั้น ร/หจึงแทบ
ไม่ปรากฏตัวในโลกวิชาการของไทย จนกระทั้งในเวลาถัดมาอีกหน่อย โลกวิชาการ
นอกภาษาไทยมีส่วนช่วยอย่างมากให้ ร/ห คืบคลานกลับเข้ามาในวงวิชาการไทย
โดยผ่านนักวิชาการรุ่นหลังเป็นสำคัญ
ชะตากรรมของ ร/หในวงวิชาการนอกประเทศไทยกลับไปไกลเกินกว่าที่
ผู้เขียนเองจะคาดคิดได้ คือเป็นหน้งสีอที่รู้จักกันดีในไทยศึกษาและอุษาคเนย์ศึกษา
(50๗16331 /เรเ3ก 51๗163) กล่าวกันว่าเป็นหนังสือที่ “มีอิทธิพลที่สุด”เล่มหนึ่งใน
อุษาคเนย'ศึกษา ร/ห มีส่วนช่วยกระตุ้นการศึกษาทำนองเดียวกันในอีกหลายกรณี
บนผิวโลก ยิ่งกว่านั้น ประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมา ความสนใจภูมิศาสตร์และ รเวส06
ในแง่ประว้ดีศาสตร์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมศึกษากำลังเติบโตและระบาดเข้าไปใน
แทบทุกสาขาวิชา (จนบางคนเรียกว่า 7เ16 รกลแลเ โบ!ก) ร/หมีส่วนช่วยบุกเบิกและ
'

ร้บอานิสงส์จากกระแสวิชาการดังกล่าวด้วย
ส่วนที่มีผู้กล่าวว่า ร/หได้พลิกโฉมไทยศึกษา (นอกประเทศไทย ) นั้น จะจริง
หรือไม่ ผู้เขียนไม่อยู่ในวิสัยที่จะตัดสิน ( แด'ไม่เป็นความจริงสำหรับไทยศึกษาใน
ประเทศไทยอย่างแน่นอน)

ความท้าทายของประวัติศาสตร์มิใช่อยู่แค่ความสามารถวิเคราะห์ดีความให้เห็นความ
เปลี่ยนแปลงในกรณีหนึ่ง ๆ แด่ที่มากไปกว่านั้นซึ่งนักเรียนประวัติศาสตร์ปรารถนา
อยากจะทำให็ได้ด้วยคือ การเล่าเรื่องดีๆดักเรื่องหนึ่ง ซึ่งสำหร้บผู้เขียนหมายถึง
หนึ่ง ความริเริ่มแปลกใหม่ ท้าทายความรู้ที่มีอยู่เติม ร/ห เขียน'ขึ้นด้วยความ
ปรารถนาจะสร้างสรรค์งานที่ท้าทายความรู้ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมอย่าง
,
ถึงราก ไม่ช่วยให้เกิดความภูมิใจในบรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ แด่ผู้เขียน'ใม

ธงชัย วินิจจะกล (9)


ต้องการ'ให้มีประโยชน์'ต่อยุทธศาสตร์ยุทธวิธีเปลี่ยนสังคมไทยแต่อย่างใด เพราะ
ประวิติศาสตร์ชนิดนั้นเรียกร้องการเชื่ออย่างไม่พึงสงลัยไปอีกแบบ การเล่าเรองตี ๆ
น่าจะทำให้เราเชื่ออย่างเดิมไม่ได้อีกต่อไป เชื่ออย่างไม่พึงสงสัยไม่ได้ลักเรื่อง กระด้น
ให้เราตั้งคำถามและใช้วิจารณญาณไม่หยุดหย่อนจนกลายเป็นนิสัย ทังต่อประวต -
ศาสตร์และต่อความรู้ความเชื่อสังคมไทยที่ไม่อนุญาตให้สงสัย เรื่องฉีๆที่ผู้เขียน
อยากเล่าคือประวิตศาสตร์เพื่อต่อสู้รับมือกับประวิติศาสตร์ที่โหดร้าย
สอง การเล่าเรื่องดีๆ อาจหมายถึง เล่าเรื่องได้สนุกชวนสิตตามแด่ด้นจนจบ ที่
สำคัญกว่าคือหมายถึง เล่าเรื่องซวนให้คิด ท้าทายเซลล์สมอง น่าตื่นเต้นที่จะร่วม
คิดร่วมสนทนาด้วยจนเกิดความพึงพอใจทางปัญญา การเล่าเรื่องใหัตีตามประสา
นักประว้ตืศาสตร์มิได้หมายถึงสำนวนโวหารอ่านสนุกเสมือนอ่านนิยาย แด่ต้อง
,
หมายถึงมีสาระ วิเคราะห์ ดีความได้อย่างน่าสนใจและน่าเชื่อด้วย แต่ก็เชื่อไม ลง
ดังนั้นต้องหนักแน่นทางแนวคิดทฤษฏีพอที่จะสร้างความริเริ่มแปลกใหม่ได้ แต่ไม่
ต้องอวดรู้แนวคิดทฤษฏีจนเกะกะชัดหูขัตตา ควรปล่อยให้แนวคิดทฤษฏีเป็นที่รับรู้
ได้ควบคู่ไปกับเรื่องที่เล่า
สาม พลังของเรื่องที่ดีมักเกิดจากการใส่ใจกับรายละเอียด เล่าความเปลี่ยน-
แปลงของกรณีรูปธรรมเฉพาะเจาะจงได้อย่างเป็นเรื่องราวมีซีวิดชีวา แด่เรื่องเล่า
เฉพาะเจาะจงดังกล่าวต้องฉายให้เห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่โตกว่ากรณี
เฉพาะนั้นๆจึงจะเกิดเป็นความสว่างไสวอิ่มเอมทางปัญญา เรื่องเล่ากรณีเล็กๆ ที่
ไม่สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่กว่านั้นหรือสะท้อนให้เห็นเรื่องเล่าที่
ใหญ่กว่าใด ๆ เลย จะไม่ก่อให้เกิดความตื่นตาตื่นใจทางปัญญาแม้ว่าอาจเล่าได้น่าที่ง
ในรายละเอียดก็ดาม พลังของเรื่องที่ดีมักช่วยให้เราสามารถคิดจินตนาการเลยพ้น
ไปจากกรณีรูปธรรมเฉพาะเจาะจงไปสู่ความเข้าใจประวํติศาสตร์ที่กว้างขึ้น
การศึกษาประวิดศาสตร์ของเรื่องใหญ่โตที่เป็นนามธรรมเช่น รัฐประชา -
ธิปไตย ระบบเศรษฐกิจ ฯลฯมักต้องอาศัยภาษาทางสังคมศาสตร์ (ที่มักเรียกกันว่า
ทฤษฏี ) ที่เป็นนามธรรมจึงจะสามารถบรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างสรุปราบย 0ต
ไต้ แด่มักเลยพ้นชีวิตชีวาออกไปไกล กลวิธีการเล่าเรื่องอีกอย่างที่นักเขียนนานิยาย
ประวิดศาสตร์รู้จักเป็นอย่างดีคือ การเล่าเรื่องซ้อนขนานกันระหว่างเรื่องเฉพาะกับ
เรื่องใหญ่ นักประวิดศาสตร์ก็น่าจะสามารถใช้วิธีเล่าทำนองนี้ใด้เพราะเราเชื่อว่า
ความเปลี่ยนแปลงกรณีเฉพาะเจาะจงมักจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่ใหถ]กว่านั้น

(10) กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ในบางแง่บางมุม ดังนั้น จินตนาการทางประวัติศาสตร์ที่มีพลัง จึงต้องการความรู้
ในระดับนามธรรมของลังคมกับความสามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่
สะท้อนเชื่อมโยงหรือแสดงออกมาในกรณีรูปธรรมเฉพาะเจาะจง นี่เป็นกลวิธี “เล่า
เรื่องตี ๆ”ที่นักประว่ติศาสตร์ก็น่าจะนำมาประยุกต็ใช้เท่าที่จะทำได้
ธ/หเขียนขึ้นด้วยความปรารถนาจะเล่าเรื่องดีๆ ลักเรื่องหนึ่ง จะประสบความ
สำเร็จหรือไม่แค่ไหนผู้อ่านคงดัดสินตามวิจารณญาณของตน

ธ/หศึกษาประว่ติศาสตร์ของความรู้ภูมิศาสตร์ซึ่งลูเหมือนจะอยู่นอกความสนใจ
ของนักประวัติศาสตร์ทั้งในและนอกเมืองไทยเมื่อ 20 กว่าปีก่อน ( แต่ถึงวันนี้เป็น
ความรู้แขนงหนึ่งที่เติบโตขึ้นอย่างน่าตื่นเต้น) วิธีการศึกษาคืออาศัยดัญวิทยา
(36๓10๒97) และวาทกรรมวิเคราะห์ (ย่เ500น|-36 3ก6เ7รเ3) เพื่อสิบสวนหาสาแหรก
(96ก63๒97) วิ* องศวว*'*รู้ภูมิศวสตร์!นวิะยะที่ก่วลัง1กิตกาวิ*•ปลี่ยน11•ปสงสู่ยุตสมัย
ใหม่ กรณีเฉพาะเจาะจงอย่างประว้ติศาสตร์ความคิดที่ทำให้เกิดแผนที่และประว้ติ -
ศาสตร์ของดินแดนที่เกิดใหม่เพราะแผนที่ จึงฉายให้เห็นความเปลี่ยนแปลงหลาย
ด้านที่ใหญ่โตซับซ้อนและสับสนกว่านั้นมาก ทุก ๆ ขณะของการปะทะกันระหว่าง
ความรู้คนละชนิด เกิดการแลกเปลี่ยนประนิประนอมกันก็มี ชิงพื้นที่เบียดขับ
ผลักไสแทนที่กันก็มี เกินกว่าที่จะจับลงกล่องตัดสินว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจาก
ภายนอกหรือภายใน เพราะทั้งสองด้านมีบทบาทในทุกขณะไปต่างๆกันและแยก
จากกันไม่ได้ แถมลงท้ายต้องมีอำนาจเช้ามาเป็นปัจจัยขึ้ขาดการปะทะกันของ
ความรู้ทั้งสิ้น ทั้งอำนาจรัฐและไม่รัฐ ใครเป็นหมาป่า ใครเป็นลูกแกะ อาจผิดจากที่
เราเข้าใจกันอย่างง่ายๆ มาเป็นเวลานาน
นักประวัติศาสตร์รู้มานานแล้วว่าสยามสมัยก่อนไม่มีเส้นเขตแดนที่ชัดเจน
รอบประเทศอย่างที่รู้จักกันในยุคสมัยใหม่ นึ่ไม่ใช่ข้อเสนอแปลกใหม่ของ ร/ห แด่
เป็นจุดเริ่มต้น นักประวัติศาสตร์มักเช้าใจผิดว่าเส้นเขตแดนไม่ชัดเจนเพราะขาด
ความรู้ขาดเทคโนโลยี ธ/หเห็นว่านึ่เป็นปัญหาสำคัญมาก เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของ
การขาดแคลนเทคโนโลยี แต่เป็นเพราะความรู้ภูมิศาสตร์คนละชนิดกัน เขตแดน
แบบเก่าผูกอยู่กับความรู้ภูมิศาสตร์คนละชนิดกันกับความรู้ภูมิศาสตร์ที่ผลิตเส้น
เขตแดนและสำนึกเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนอย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน
ธ/ห อธิบายการปะทะกันของความรู้ภูมิศาสตร์คนละชนิด ณ ชั่วขณะต่าง ๆ

ธงชัยวินิจรีะกูล (11 )
อธิบายการปะทะกันของความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยคนละชนิด ความคิดเรื่อง
ดินแดนและสิทธิเหนือดินแดนคนละอย่าง ความคิดเรื่องเขตแตนคนละแบบ อธิบาย
การทำและการอ่านแผนที่ซึ่งอิงกับความรู้คนละชุดกันโดยสิ้นเชิง การเปลี่ยนผ่าน
จากความรู้แบบเดิมสู่ชัยชนะของภูมิศาสตร์และแผนที่สมัยใหม่ มีทั้งการปะทะ
เล็กๆน้อยๆและใหญ่โตทั้งที่น่าขบชัน น่าทึ่ง และเคร่งเครียด คอขาดบาดตาย
การปะทะครั้งสำคัญที่สุด คือ วิกฤติการณ์ร.ศ. 112
ความขัดแย้งกับฝรั่งเศสคือการแข่งกันแย่งชิงดินแดนประเทศราชที่อยู่ภายใต้
จารีตอธิปไตยซ้อนทับคลุมเครือตามแบบเก่า ผนวกให้กลายเป็นของตนแต่ผู้เดียว
ตามหลักอธิปไตยเหนือดินแตนแบบสมัยใหม่ วิกฤติการณ์ ร.ศ. 1 1 2 ไม่ใช่ความ
ขัดแย้งระหว่างเจ้าอาณานิคม (หมาป่า ) ที่หวังฮุบสยามเป็นอาณานิคมอย่างที่เข้าใจ
,
กันตลอดมา ความพ่ายแพ้ของสยามมิใช่ความพ่ายแพ้ของเหยื่อ ( ลูกแกะ) ที่ไม มี
ทางสู้อย่างที่เข้าใจกันตลอดมา ลูกแกะที่แทัจริงกลับไม่ใช่สยาม แต่คือประเทศราช
เดิมทั้งหลายซึ่งถูกสยามและฝรั่งเศสแข่งกันขยำ “ได้”ดินแตนเป็นของตน ความรู้
ภูมิศาสตร์ก่อนสมัยใหม่หมดบทบาทในการเป็นฐานของระบบรัฐและความสัมพันธ์
ระหว่างรัฐต่าง ๆ นับจากนั้นเป็นต้นมา
สยามเพิ่งถือกำเนิดจากภูมิศาสตร์และแผนที่ เป็นผลลัพธ์ของการปะทะและ
ถูกฝรั่งเศสกำหนด ชนชั้นนำสยามมิได้ส่รางวีรกรรมให้กำเนิดเองหรือรักษาของที่มี
อยู่เดิมไว้แด่อย่างใด แต่วิกฤติการณ์ที่ใหักำเนิดสยามคือวิกฤติการณ์ที่คนไทยรับร้
กลับตาลปัตรว่าเป็นการเสียดินแตนครั้งใหญ่หลวง
ดินแดนของชาติเกิดมีความหมายใหม่ ค่านิยมใหม่ผูกติดอย่างที่ไม่เคยมีมา
ก่อน สำคัญถึงขนาดถวายชีวิตตนได้ ฆ่าคนอื่นก็ได้ เพื่อรักษาดินแดนทุกตารางนึ่า
ดินแตนทางภูมิศาสตร์มีความหมายมากกว่าเป็นแค่พื่นผิวโลกชิ้นหนึ่ง คือกลายเป็น
“ตัวตน”ทางภูมิศาสตร์ของชาติสมัยใหม่ ผู้เขียนเรียกว่าเป็น “ภูมิกายา” (960-
เว๐ปV ) ของ,ชาติ
ภูมิกายาสำคัญมากเพราะมีผลต่อการจัดการใช้อำนาจรัฐแทบทุกต้าน มีผล
ต่อการเขียนประว้ดิศาสตร์ใหม่ทั้งหมด มีผลต่ออุดมการณ์อารมณ์ความร์สึกของตน
ทั้งชาติ เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดมิไต้ของลัทธิชาตินิยมทุกแห่งทุกขนิต
ในโลก รวมทั้งราชาชาตินิยมของสยามด้วย
ภูมิกายา คือฐานของการที่เราสามารถคิดและพูดถึงความเป็นไทยได้

(12 ) กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ร/ห เกิดขึ้นได้เพราะโลกกำลังเคลื่อนออกจากมนต์ขลังของความเป็นชาติ เริ่มมี
ระยะห่างจากรัฐชาติอันคักดี้สิทธี้หรืออธิปไตยแบบที่อิงอยู่กับดินแดนพอที่เราจะ
หันกลับมาตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ชาติและอธิปไตยเหนือดินแดนได้ทั้งๆ ที่เคย
ถือกันว่าไม่พึงสงสัย ในขณะเดียวกันเราตระหนักรู้ว่ามีภูมิศาสตร์และ ธ|ว306 แบบ
อื่นๆ ดำรงอยู่และสำคัญไม่แพ้กัน ทุกวันนี้ภูมิศาสตร์สังคมมนุษย์ข้ามเส้นความเป็น
ชาติเป็นว่าเล่น มีคนสังกัดหลายชาติหรือไม่สังกัดชาติใด ๆ เลยมากขึ้นทุกที ไม่ว่าจะ
ด้วยการย้ายถิ่นฐานการทำมาหากิน การแต่งงาน หรือถูกบังคับใหัอพยพโยกย้าย
หรือถูกขับไล่ไสส่งออกนอกประเทศของตน หรือโคจรไปทั่วโลกตามวิสัยของทุน
และข่าวสาร ธรรมชาติของทุนในระยะ 200 ปีแรกเติบโตได้ด้วยการจัดการจำแนก
เป็นเขตๆแบ่งงานกันทำและแบ่งตลาดเป็นเขต ๆ มาบัตนี้ทุนกลับเติบโตได้ด้วยการ
เคลื่อนข้ามเขต ขนาดของการผลิตและการหมุนเวียนของสินค้าต้องข้ามเขตได้อย่าง
เสรีจึงจะสร้างกำไรไต้ต่อไป ในภาวะเช่นนี้เองที่ภูมิศาสตร์การเมืองในแบบเติมกลับ
เป็นอุปสรรคและต้องปรับตัว การศึกษาถึงภาวะข้ามเขต (๖อฟ6โ (ะโ08ธเก9 ) และการ
อพยพเคลื่อนย้ายของมนุษย์ ( ส่13ธ|ว0โ3 สกป ๓!9โ31เ0ก) เป็นเรื่องที่กำลังขยายตัว
อย่างรวดเร็วในวงวิชาการทั้งโลก
ร/หจึงถอยมาตูกำเนิดของความเป็นชาติอย่างปราศจากมนต์ขลัง ปราศจาก
ความยิ่งใหญ่อลังการที่ประว้ติศาสตร์และทุกประเทศบนพึ้นผิวโลกพรํ่าสอนกันมา
ร/ห เพ่งลงไปที่กระบวนการอันแสนจะสามัญ ไม่มีวีรกรรมของบรรพบุรุษใด ๆ ทั้งสิ้น
ประเทศสยามเกิตจากแผนที่ อีกหลายประเทศในโลกก็เช่นกัน
ทว่า ร/ห มิได้เปิดฉากในบทนำด้วยเรื่องภูมิศาสตร์ การเสียดินแดน หรือลัทธิชาติ -
นิยม แด่เริ่มด้วยการตั้งคำถามต่อ “ความเป็นไทย”(ในระยะที่ยังมีนักวิชาการน้อย
คนที่วิพากษ์วิจารณ์ความเป็นไทยอย่างจริงจัง) ร/ห ถือว่า “ภูมิกายา”เป็นรูปธรรม
ของความเป็นไทยอย่างสำคัญที่เชื่อกันว่ามีอยู่จริงเป็นธรรมชาติจนไม่ต้องสงสัยว่า
มาจากไหนเกิดขึ้นไต้อย่างไร ในเมื่อจะตั้งคำถามต่อกำเนิดและการประดิษฐ์ความ
เป็นไทย ก็ศึกษาสิ่งที่ตูเหมือนเป็นธรรมชาติที่สุดของความเป็นไทยเสียเลยเพื่อชี้ใหั
เห็นว่าเนี้อแท้ของความเป็นไทยไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร แม้แต่ดินแดนก็มิไต้มีอยู่ตาม
ธรรมชาติ มิได้อยู่มานานหลายร้อยปี แต่เป็นประติษฐกรรมของสังคมมนุษย์ เป็น
ผลลัพธ์ของการนิยามให้ความหมายในประว้ตศาสตร์ราวร้อยกว่าปีมานี้แค่นั้นเอง

ธงชัย วินิจจะกูล I ( 13)


ในแง่นี้ร/หทั้งเล่มจึงเป็นทั้งประวิดศาสตร์และเรื่องเล่าเปรียบเทียบ (3แ690เ7)
ว่าด้วยการประดิษฐ์สรำงความเป็นไทย ซึ่งไม่ว่าในแง่ไหนก็ล้วนเป็นผลของการนิยาม
ความหมายทั้งนั้น เป็นผลลัพธ์ของการลากเส้นกำหนดให้มีความหมายอย่างหนึ่ง
ในเวลาหนึ่งๆ แค่นั้นเอง ตามนัยนี้ย่อมหมายความว่ามีความเป็นไทยในความหมาย
อื่นก็ได้และมีชายขอบของความหมายคลุมเครือเสมอด้วย เพราะมีความหมาย
หลายอย่างปะทะท้าทายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งความไม่เป็นไทยก็มีอยู่นอกขอบเขต
ของความหมายเซ่นกัน อัตลักษณ์ทุกชนิดเป็นผลของการต่อสู้เพื่อนิยามความหมาย
ทั้งด้วยความรู้และอำนาจ การต่อสู้เรื่องความเป็นไทยจึงเป็นการต่อสู้เพื่อช่วงชิง
ความหมาย การศึกษาประว้ติศาสตร์ความเป็นไทยจึงน่าจะศึกษาการต่อสู้ช่วงชิง
เพื่อลากเส้นกำหนดความหมายด้วยความรู้และอำนาจที่ต่างกัน รวมถึงการปฏิเสธ
ไม่ยอมรับความหมายใด ๆ และเส้นไหนๆ ทั้งสิ้นด้วย เพราะการลากเส้นไม่ว่าแบบใด
ย่อมมีผข ู้ตกเป็นเหยื่อหรือ “ลูกแกะ”ที่ลูกความเป็นไทยทำร้ายด้วยอย่างหลีกเลี่ยง
ไม่ ได้
ร/หได้เสนอแนะวิธีการศึกษาประว้ติศาสตร์ของความเป็นไทยไว้ด้วยแล้ว ถี0
ควรสนใจสัญญะและวาทกรรมต่างขุดกัน ที่พยายามแย่งชิงกันนิยามความหมาย
ในปริมณฑลเดียวกัน จึงเกิดปะทะต่อสู้กันเพื่อสถาปนาความหมายหลักเหนือปริ-
มณฑลนั้นๆ การปะทะต่อสู้มักเกิดขึ้นตามขายขอบของปริมณฑลนั้นเพื่อต้องการ
กำหนดขอบเขตของความหมายเสียใหม่เพราะจะทำให้นิยามเปลี่ยน นอกจากนี้
สัญญะและวาทกรรมหนึ่ง ๆ เป็นตัวแทนอำนาจของความรู้และการต่อสู้ของความรั
ก็เพื่ออำนาจด้วยเช่นกัน
ในโลกภาษาอังกฤษ 30 กว่าปีที่ผ่านมา งานวิชาการที่ศึกษาการก่อตัวและ
เปลี่ยนแปลงอัดลักษณ์สารพัดกรณีมักใช้ศัพท์แสงสำนวนทางภูมิศาสตร์ (ร[331131
๓©!3ฤเา0โ) กันจนเกร่อ เช่น ร[3306, ฝ่อ๓3เก, เวอบกฝ่3เ7 ธ/ห างลัองานวิชาการเหล่า
นั้นด้วยการทำกลับกัน คือถือเอาแนวความคิดและศัพท์แสงสำนวนเหล่านั้นมา
ศึกษาประวิดศาสตร์ของภูมิศาสตร์เสียเลย ด้วยหวังว่ากระบวนการนิยามความ -
หมายทางภูมิศาสตร์จะมีผลเป็นเรื่องเล่าเปรียบเทียบถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลง
อัดลักษณ์ที่ใหญ่กว่านั้น และอาจใช้ได้กับกรณีมากมายเลยพันประวิติศาสตร์ไทย
ออกไปอีกด้วย

( 14) I เราเนิตสยามจากแผนที่: ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


การแปลมิใช่งานง่ายแค่เครื่องกลก็ทำได้หรือเพียงแค่รู้สองภาษาก็พอแล้ว เพราะ
ประสบการณ์ของภาษาต่างกันย่อมทำให้คำที่ดูเหมือนจะแปลสิ่งเดียวกัน เอาเข้า
จริงกลับแบกความหมายโดยตรงและโดยนัยที่ต่างกัน การแปล รท ก็เผชิญปัญหา
ทำนองเดียวกัน เพราะหาภาษาไทยที่พอดีกับคำและความในภาษาอังกฤษไม่ได้
หลายแห่ง หลังจากเพียรพยายามแก้ปัญหาที่คณะผู้แปลและบรรณาธิการตรวจแก้
ทิ้ง'ไว้ให้1' ปทีละแห่งๆ ลงท้ายมีอยู่เพียง 3 คำที่ต้องขอซี้แจงลักเล็กน้อยแต่ต้น
เกย่!ฐ6กวบธ คำง่ายๆคำนี้มีความหมายชัดเจนสำหรับหน้ง์สือภาษาอังกฤษที่
เกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมอื่น ครั้นแปลเป็นภาษาของสังคมวัฒนธรรมนั้นเอง ความ-
หมายอาจชวนให้เข้าใจผิดทันที เช่น “ตั้งเดิม”(ซึ่งมีนัยถึงความเก่าแก่ทั้งๆที่คำใน
ภาษาอังกฤษไม่มี ) หรือ “ท้องถิ่น”(ซึ่งมีนัยหมายถึงไม่ใช่ศูนย์กลาง ทั้งๆที่คำใน
ภาษาอังกฤษหมายรวมถึงศูนย์กลางด้วย ) ใน รทจึงใช้คำว่า “พื้นถิ่น”โดยตลอด
50306 เป็นคำที่ก่อความปวดเศียรเวียนเกล้าให้ผู้แปล ผู้ตรวจแก้ และผู้เขียน
เองอย่างมาก แถมเป็นคำสำคัญของ รทเสียด้วย ในภาษาอังกฤษ ความหมาย
เข้าใจไต้ตามบริบทของประโยค เช่น อวกาศ พื้นที่ว่าง พื้นที่ในเชิงนามธรรม ภาวะ
สองมิติในเชิงนามธรรม ดินแตน ( อย่างไม่เฉพาะเจาะจง) หรือหมายถึงระยะห่าง
ระหว่างสองสิ่ง และหมายถึงพื้นที่รูปธรรมเฉพาะเจาะจงก็ได้ ในภาษาไทยไม่มีคำที่
กินความกว้างขวางหลากหลายตามบริบทเช่นนี้ แถมบางความหมายหาคำภาษา
ไทยไม่ได้ ในที่นี้จึงแปลต่างๆกันไปตามบริบทของความในแด่ละแห่ง แด่มีหลาย
แห่งที่คำๆ เดียวในภาษาไทยไม่ครอบคลุมพอหรืออาจทำให้เข้าใจผิด ในที่นี้ก็จะ
แปลโดยใช้ภาษาไทยสองคำคู่กัน ซึ่งเป็นการเขียนภาษาไทยที่ง่มง่ามและประดัก-
ประเดิตอย่างยิ่ง นอกจากนั้นยังขอเสนอคำว่า “เทศะ”ในหลายแห่ง เพราะเป็นคำ
ที่กินความกว้างหลากหลายทำนองเดียวกับ 80306 ที่สุด
อีกคำที่ไม่สามารถหาคำแปลใดๆในภาษาไทยได้เหมาะสม คือ คำว่า |60โ6-
86ก131เ 0กในแง่ของการสื่อสาร สื่อความด้วยการแสดง แสดงถึง ถ่ายทอดความ-
-
หมายโดยตัวลัญญะ หรือวาทกรรมหนึ่ง ๆ ใน รทจะเลือกใช้แปลความต่าง ๆ กันตาม
ความเหมาะสม
นอกจากนี้ ในฉบับแปลครั้งนี้ยังใช้คำว่า “อุษาคเนย์”แทนคำว่า “เอเชียตะวัน-
-
ออกเฉียงใต้”ในเมื่อคำหลังนี้ก็เป็นวิสามานยนาม (010061- ก0บก) ที่มิได้มีความหมาย

ธงชัยวินิจจะทูล I ( า 5)
ตายตัวตามธรรมชาติ หรือลูกต้องเที่ยงตรงเป็นวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด เพียงแต่
เป็นคำนามที่เช้าใจร่วมกันในหม่ข้ขผ่ ้ใช้ภาษาไทยปัจจุจิ บันเท่านั้น ในที่นี้จึงขอใช้คำว่า
“อุษาคเนย์”ทับความหมายของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณ
ไมเคิล ไรท์ ผู้ผลิตคำนี้ขึ้นมาในภาษาไทย
51 1 ใช้เวลากว่า 20 ปี จึงเดินทางกลับมาสู่ภาษาไทย เกือบครึ่งทางของเวลา
^
ดังกล่าวเนื่องมาจากต้นฉบับแปลกองอยู่บนโต๊ะของผู้เขียนเอง อาจารย์พวงทอง
ภวัครพันธุ แปลเสร็จในร่างแรกเมื่อเกือบสิบปีก่อน หลังจากนั้น คุณไอตา อรุณวงศ์
และคุณพงษ์เลิศ พงษ์วนานต์ มาร่วมแปลต่อในร่างที่สอง โดยมีอาจารย์'ชูศักดี้
ภัทรกุลวณิชย์ เป็นบรรณาธิการแปล คณะผู้แปลและบรรณาธิการทำงานของตน
เสร็จเรียบร้อยนานแล้ว ด้วยความเกรงใจผู้เขียน จึงขอให้ผู้เขียนตรวจทาน ซึ่งใช้
เวลาอีกหลายปีกว่าจะเสร็จ (โดยมากทิ้งไว้เป็นปี เนื่องด้วยนิสัยของผู้เขียนเองที่
อยากเดินหน้าไปเรื่อย ๆ มากกว่าจะทุ่มเทให้กับงานที่ผ่านไปแล้ว)
ผู้เขียนต้องขออภัยอย่างสูงต่อทุกท่านที่ลงแรงมาเป็นเวลานานและขออภัย
ด่อผู้อ่านด้วย
สำนักพิมพ์คบไฟโดยคุณสุนิย์ วงศ์ไวศยวรรณ เป็นผู้สนับสนุนการแปลตั้งแต่
เริ่มต้น ให้ความกรุณากระทั่งผู้เขียนล่าช้าหายสาบสูญก็ไม่ถือสาหาความ แต่ความ
ล่าซัานี้เองท่าให้ผู้เขียนเกรงใจ จึงขอให้สำนักพิมพ์อ่านเข้ามาเป็นภาระการจัดพิมพ์
แทน ขอขอบพระคุณผู้เกี่ยวข้องในสำนักพิมพ์ทั่งสองเป็นอย่างสูง และขออภัยอีก
ครั้งในความเหลวไหลล่าช้าไปหลายปี
ขอชอบพระคุณอย่างสูงต่อคณะผู้แปลและบรรณาธิการตรวจแก้ คืออาจารย์
พวงทอง ภวัครพันธุ, คุณไอดา อรุณวงศ์, คุณพงษ์เลิศ พงษ์วนานศ์, อาจารย์ชูศักตี้
ภัทรกุลวณิชย์ ที่สละเวลาท่างานนี้จนเสร็จและอดทนกับผู้เขียนได้ขนาดนี้ รวมถึง
คุณวริศา กิตติคุณเสรี ที่ทำหน้าที่บรรณาธิการด้นฉบับในขั้นของการจัดพิมพ์
ขออภัยสำหรับความยุ่งยากใจใด ๆ ที่ผู้เขียนก่อขึ้น ขอขอบคุณคุณธนาพล อิ๋วสกุล
ที่เป็นธุระจัตการในหลายๆ เรื่อง และคุณไอดา อรุณวงศ์ ที่ช่วยดูแลจนการจัดพิมพ์
เสร็จสิ้นลง

ธงชัย วินิจจะกูล
พฤษภาคม 2555
76๓33©เ^/ 81ก93|3บโ3
I
( 16) ก็าเนิตสยามจากแผนที:่ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
คำนำ
(ฉบับพิมพ์ครั้งแรกในภาษาอังกฤษ)

ในทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 โลกกำลังเคลื่อนไปข้างหน้าสู่ประชาคมชนิด
ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยแรงผลักของประชาคมยุโรป บรรษัทนานาชาติมีบทบาท
เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆไม่ใช่รัฐบาลใดเพียงแห่งเดียว ตลาดและการผลิตผูกโยงกันทั้ง
โลก ระบบการเงินและการไหลเวียนของข่าวสารและทุนไม่สนใจเส้นเขตแตน เอเชีย
โลกแปซิฟิค และอเมริกากำลังพยายามไล่ให้ทันยุโรป โลกของเราดูท่าทางกำลัง
ตระเตรียมจะข้ามให้พ้นมรดกของยุโรปศตวรรษที่ 19 ชาติและชาตินิยมส่อแววว่า
จะพันสมัยไม่ข้าก็เร็ว อย่างไรก็ตาม ในช่วงขณะเดียวกันนี้การล่มสลายของค่าย
สังคมนิยมกลับปลดปล่อยพลานุภาพของลัทธิชาตินิยมและชาติพันธุนิยมที่ออกจะ
เก่าแก่ ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าทรงพลังยิ่งกว่าที่มาร์กซ์หรือเลนินเคยคาดคิด ชาติใหม่
อันเก่าแก่กลับมาปรากฏตัวอีกครั้ง ความเป็นชาติช่างน่าปรารถนาอย่างแรงกล้าใน
ขณะที่กำลังจะพันสมัย
หนังสือเล่มนี้กำเนิดขึ้นมาในบริบทดังกล่าว ชาติหนึ่งๆ เป็นส่วนสำคัญของ
ทุกชีวิต ชาติมีรัฐบาล ระบบเศรษฐกิจ สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม ทั้งหมดนี้มี
ผลกระทบต่อปัจเจกบุคคล ความเป็นชาติช่างมีพลังยึดโยงชุมชนไว้ด้วยกันทั้ง ๆ ที่
สมาซิกของชาติอาจไม่มีวันรู้จักหน้าค่าตากันเลย ช่างทรงพลังถึงขนาดที่หลายชีวิต
ยอมเสียสละให้ชาติได้ ช่างเป็นแรงบันดาลใจผู้คนมาหลายชั่วคนให้ทุ่มเทเพื่อบรรลุ
ผลสำเร็จอันริเริ่มสร้างสรรค์แก่ชาติ ความเป็นชาติเป็นสิ่งปรารถนารวมทั้งในหมู่
พวก 1-3ป!0ล1 ในหลายๆ ประเทศซึ่งจงรักภักดีต่อประเทศของตนไม่น้อยไปกว่าที่
ศัตรูของพวกเขาภักดีต่อประเทศของตนเอง
แด่ทว่าผลกระทบอย่างหายนะของลัทธิชาตินิยมก็มีมหาศาล หายนภัยของ
มันท่าให้พวกเราตระหนักถึงความไร้เหตุผลและความจอมปลอมของชาติหนึ่งๆ
ณ ปัจจุบันสมัยที่เศรษฐกิจข้ามชาติกับลัทธิชาตินิยมทางการเมืองดำรงอยู่ร่วมกัน
การศึกษาลัทธิชาตินิยมและความเป็นชาติควรจะเดินไปในทิศทางใหม่ได้แล้ว เรา
ไม่ไต้ถูกครอบด้วยความยิ่งใหญ่ท่วมทันและความเสแสร้งของลัทธิชาตินิยมใหม่อีก
ต่อไปแล้ว ความสำนึกดังกล่าวก่อให้เกิดระยะห่างระหว่างปัจเจกบุคคลกับชาติของ
พวกเขา เราสามารถตรวจสอบความเป็นชาติจากจุตยืนที่สามารถมองได้ชัดเจน

ธงชัย วินิจจะทูล I ( 17 )
กว้างขวางกว่าเดิมซึ่งอยู่เลยพ้นโลกของความเป็นชาติไปแล้วชาติหนึ่งๆสามารถถูก
สังเกตห่างออกไปหน่อยจนเห็นว่ามันเป็นประติษฐกรรมทางวัฒนธรรมในบริบททาง
ประว้ติศาสตร์เฉพาะอย่าง เป็นประติษฐกรรมซึ่งอุดมด้วยคุณและโทษ จุดยืนดังกล่าว
ไม่ได้อยู่กับความเป็นจริงของปัจจุบัน แต่ก็ไม่ใช่เหลวไหลไม่จริง จุตยืนดังกล่าวเป็น
วาทกรรมหรือสภาวะเป็นไปได้ที่จะพูดในแบบใหม่ ความเป็นไปได้นี้ถูกสร้างขึ้นมา
ในขณะที่เรากำลังเข้าใกล้จุดสิ้นสุดของศตวรรษที่ 20
หนังสือเล่มนี้หยิบเอาสยามเป็นกรณีศึกษา เพื่อสอบสวนว่าความเป็นชาติ
ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไม่เป็นเหตุเป็นผลและจอมปลอมอย่างไร โดยศาสตร์ที่รู้จักกันดี
คือภูมิศาสตร์ และโดยแผนที่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นปฐมของความรู้ภูมิศาสตร์
ท่ามกลางช่วงขณะต่างๆที่เกิดการปะทะและผลักไสแทนที่ของความหมายต่างๆ
แม้แต่อัดลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุดของชาติคือดินแดนของชาติและคุณค่า
ทั้งหลายที่ผูกพันกับมัน ซึ่งทั้งหมดนี้ผู้เขียนเรียกรวมว่า “ภูมิกายา”ก็ถูกสร้างขึ้น
โดยวาทกรรม บทนำกล่าวถึงความสำคัญของความเป็นชาติในแบบที่ไม่คุ้นเคย
กันนัก โดยตั้งคำถามต่ออัดลักษณ์ของชาติไทยผ่านสายตาคนไทยคนหนึ่ง ซึ่งอาจ
เรียกไต้ว่ามองจากข้างใน แทนที่จะมองแบบนักบูรพคดีวิทยา (0ก่6ก1สแธ1) อย่างที่
เอ็ดวาร์ต ชาอิด (ผห/ฌป รฟป) คงจะเรียก* บทนำตั้งโจทย์และความมุ่งหมายของ
การศึกษานี้รวมทั้งแนวติดและวิธีการศึกษาพี้นฐานของการศึกษานี้
บทที่ 1 สำรวจความรู้แบบพี้นถิ่น(เกป!96กอบธ) ต่อเทศะ/พี้นที่ทั้งในเชิงจักรวาล-
วิทยาความติดแบบศาสนา และแบบทางโลกย์หรือสามัญวิสัย บทนี้ปูพี้นฐานให้ชัดๆ
ว่าดังคมก่อนสมัยใหม่ในภูมิภาคนี๋ไม่เคยขาดแคลนความรู้และเทคโนโลยีเพื่อร้บร้
เข้าใจเทศะ/พี้นที่ บทที่ 2 จะเปิดเผยให้เห็นคัวแบบของการเปลี่ยนผ่านความร้ท่าง

* คำนำนี้เขียนขึ้นราว พ .ศ. 2535 โดยหลักๆ เพื่อสื่อสารกับผู้อ่านงานวิชาการในโลกภาษาอังกฤษ


ซึ่งเต็มไปด้วยการศึกษาอัดลักษณ์โดยนักวิจัยจากโลกตะวันตก จนถูกซาอิดวิพากษ์ไวิในหนังสือ
0ก่6ก1‘ส//ร. ทท อันทรงอิทธิพลกว้างขวาง แต่ในฉบับภาษาไทยนี้ขอบันทึกว่า บทนำจะกล่าวดึงความ
สำคัญของความเป็นชาติในแบบที่คนไทยคงไม่คุ้นเคยนัก๗นกันแต่ด้วยเหตุผลดรงกันข้าม กล่าวคือ
มีงานมากมายในภาษาไทยที่ทึกทักว่าคนไทยรูเรื่องไทยตีที่สุด ความเป็นชาติ ความเป็นไทยเป็น
สิ่งน่าภาคภูมิใจอย่างไม่เคยตั้งคำถามสงสัย หรือทึกทักว่าเป็นคนไทยต้องคิดไปในทางรักชาติ รัก
ความเป็นไทย ถ้าไม่คิดตามนี้คงไม่ใช่คนไทย บทนำของหนังสือนี้ตั้งคำถามกับความคิดเหล่านี้ของ
สังคมไทยด้วย อาจเรียกว่าเป็นการมองจากข้างนอกทั้งที่อยู่ข้างในก็คงได้ ภาวะที่ยึนอยู่สองข้าง
ในเวลาเดียวกันหรืออาจเรียกว่ายืนอยู่ระหว่างสองสภาวะ (เก -66เพ66ก ) คือจุดยืนทางปัญญาของ
หนังสือเล่มนี้ (รวมทั้งของผู้เขียนในงานวิชาการอื่นๆ อีกหลายขึ้น) - หมายเหตุเพึ่มเติมฉบับแปล

I
( 18) กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวิติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ภูมิศาสตร์ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยศึกษาจากตำราเรียนภูมิศาสตร์สมัยใหม่เล่มแรกๆ
ในสยาม บทนี้จะเพ่งลงไปที่การผลักไสแทนที่ของความรู้คนละชนิดผ่านปฏิป้ติการ
ดัญวิทยา (ธ6ฌเ0เ09\0 เหตุการณ์สำคัญยิ่งของการเปลี่ยนผ่านก็จะได้รับการอธิบาย
จากแง่มุมของปฏิบ้ติการสัญวิทยาเช่นกัน
บทที่ 3 , 4 และ 5 ศึกษาการผลักไสแทนที่ของความรู้ภูมิศาสตร์ในสนามทาง
ความคิดและการปฏิบ้ติสามแห่ง ได้แก่ เส้นเขตแดน อธิปไตยเหนือดินแดน และ
ชายขอบของดินแดน ในสนามเหล่านี้ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ผลักไสความรับรู้แบบ
พื้นถิ่นออกไปให้พ้น แล้วเสนอตัวเองเป็นความรู้ที่คูกต้องชอบธรรมอย่างใหม่ แต่
การผลักไสแทนที่เกิดขึ้นได้หลายแบบต่างๆกัน เกี่ยวพันกับกรณีปัญหาที่หลาก -
หลายมากมายตามชายแดนทุกแห่งของสยาม ในทุกกรณี ปฎิบ้ติการทางการเมือง
,
ของดัญญะไม ใช่แค่เรื่องทางปัญญาหรือวิชาการ การผลักไสเกิดขึ้นในการทูต
การเมือง สงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ และแม้แต่ในแผ่นกระดาษที่แลกเปลี่ยน
ไปมา และเกิดขึ้นบนผิวโลกด้วย บทที่ 6 อธิบายบทบาทสำคัญของแผนที่ในการให้
กำเนิดสยามชนิดใหม่ขึ้นมา แผนที่ลงมือปฏิบ้ติการควบคู่กับกำลังทหาร แผนที่ผลิต
ความคาดหวังของสยามว่าควรมีดินแตนแค่ไหนแล้วลงมือตัดสินอีกด้วย ภูมิกายา
ของชาติจึงอุปัติขึ้น
บทที่ 7 และ 8 อภิปรายวาทกรรมภูมิกายาว่าช่วยก่อรูปก่อร่างความรู้เกี่ยวกับ
สยามขึ้นมาอย่างไรเพื่อรับใช้การดำรงอยู่ของภูมิกายาเอง โดยเน้นที่ประวิติศาสตร์
เพื่อแสดงให้เห็นว่าภูมิกายามีอำนาจในการกำหนดมุมมองและความรู้เกี่ยวกับ
อดีตของสยาม ช่วงขณะที่ภูมิกายาปรากฏตัวขึ้นนั่นเองเป็นกุญแจสำคัญในการ
สร้างโครงเรื่องทางประว่ติศาสตร์อย่างใหม่ขึ้นมา ซึ่งเป็นโครงเรื่องที่ครอบงำสำนึก
ประว้ติศาสตร์ของสังคมไทยตลอดศตวรรษที่ 20 และจะยังครอบงำต่อไปอีกนาน
หลายปีช้างหน้า
อำนาจนำของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ แผนที่ และภูมิกายาของชาติ ทรงพลัง
เข้มแข็งกว่าที่เราตระหนัก อำนาจนำเช่นนั้นผลิตช้าตัวมันเอง แล้วครอบเราทั้งหลาย
เข้าไวํในระบอบของมัน นี่เป็นความจริงไม่ใช่เฉพาะสำหรับสังคมไทย แต่เป็นจริง
ในกรณีอื่น ๆ จำนวนมากในโลกที่เต็มไปด้ว ยแผนที่ใบนี้ด้วย

ธงชัย วินิจจะกล I (19)


บทนำ
การดำรงอยู่ของความเป็นชาติ
1ฬ31ก13กป่ รอษ 116381
0 130
* ^813
300 *
450 เทป®

*([81117113] * ษ*! \
4
า ๆ6ฆ•
-
เฆ
11*0* ห่ษ์ผํ 0เบา
1

!
V

9*** * 7เ*
* 53
** ธ
57X7 / *\4ษ*ต* ร *
***ส
๐ * ^
10
1*
** * * ฬบ * X#

. ’-^*ต1 ห!**!***
01 0 5 60

^

^*
เ V*ผ/ ๐ 0

-'
เห่(เ ๗
51 1ฬิ7
ร*** *** 1
X && *" .เฉ*ทำ: !
‘จ
1000 00
* VI 0

} บ 6 ** * น
" **81
*

^
14*ก*๖๗

V *ะ
*๒** 0
โ * ]
XVIXIIเ V* [03๓1x 18]
5.10๗*00
* *๐
รห่เท 6

0

70๗6

*
760 110๒1
ห0001 1* *1
4 ! 60

10*
0
0

0

0
ซี
2

• V
ยเบ8
1(50X11
เชะบ**!:
1

'
0 0

*' แ ป *
^
ด้6 6 6

เ เพ!
[ฬ8เ8?518]

100* *0
อุษาคเนย์ภาคพื้นทวีปก่อนมีการกำหนดเสนเขดแดนแบบสมัยใหม่
บกนำ
การดำรงอย่ของความเอนชาติ

หลังจากเดนมาร์กมีชัยเหนือสก็อตแลนด็ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบแรกในปี
1986 (พ.ศ. 2529 ) มีรายงานว่าราวร้อยละ 97 ของประชากรเดนมาร์ก 5 ล้านคน
ได้เฝืาชมการถ่ายทอดการแช่งขันนัดนั้น ผู้ประกาศของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง
วิจารณ์ประชากรที่เหลืออีกร้อยละ 3 ว่า “มีแต่ซาวสวีเดนกับพวกคนทรยศเท่านั้น
แหละที่ไม่ได้ดู”1 อารมณ์ขันของคำวิจารณ์ดังกล่าวช่างเผยให้เห็นนัยอื่นๆ อีกมาก
เพราะเป็นการกล่าวติดตลกถึงความสำคัญของความเป็นชาติ ( กสแอกเาออถ่) ในยุค
สมัยใหม่ กระนั้นก็ตาม ด้านที่น่าโศกเศร้าของความเป็นชาติกลับมีเหลือคณานับ
ขณะที่โลกกำลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เราได้เห็นดึงการแตกสลายของโลก
สังคมนิยมในยุโรปตะวันออก ที่กลายมาเป็นความขัดแย้งระหว่างซนชาติและซาดิ -
นยมต่างๆ อย่างรุนแรงระหว่างรัฐที่ต้องการเกิดใหม่ โลกนี้ช่างเต็มไปด้วยความ
ขัดแย้งระหว่างผู้คนที่นิยามตนเองว่าดังกัดรัฐชาติหนึ่งต่อต้านอีกรัฐชาติหนึ่ง
คำวิจารณ์เกี่ยวกับผู้ซมฟุตบอลข้างต้นฟังเข้าใจได้ก็เพราะการแช่งขันชิงตีระหว่าง
ชาติที่ปรากฎอยู่ในคำวิจารณ์นั้น มีนัยถึงความไม่เป็นมิตร การต่อสู้แช่งขัน และ
ความเป็นศัตรูกันระหว่างชาติต่างๆ ในบริบทอื่นที่กว้างกว่านั้น คำวิจารณ์ดังกล่าว
^
เป็นสิ่งที่เข้าใจได้เพราะมันเล่นกับความรับรู้มาตรฐาน ( กอโ๓ส1 6 เว6โอ6เวแ0ก)
เกี่ยวกับธรรมชาติของความเป็นชาติและความดัมพันธ์ของชาติต่อปัจเจกบุคคล
สมัยใหม่

บทน์า การดำรงอยู่ของความเป็นชาติ 3
ทวิวิถีของการนิยามคาามเป็นชาติ
^
นด้านหนึ่ง เราท่านมักถือว่าชาติคือองค์รวม (ส 0011601 6 เว๐๘V ) ซึ่งปัจเจกบุคคล
ต้องสังกัด เราท่านยังมักทึกทักต่อไปว่า ชาติเป็นสิ่งที่มีตัวตนอยู่แน่ชัด ( © ก!เนุ0
ที่ส่วนประกอบหรืออนุภาคของชาติ (ได้แก่ประชาซน) มีธรรมชาติเหมือนกัน ชาติ
หนึ่งๆ มีสารัตถะที่แท้จริงบางอย่างซึ่งฝังลึกในหมู่สมาชิกของมัน ทั้งยังถือผล
ประโยชน์ของชาติเหมือนๆ กันอีกด้วย ความรักชาติ ความจงรักภักดี และความ
ผูกพันอื่นๆ ทั้งในแง,ของความติด ความรู้สึก และกิจปฏิบัติต่างๆ ล้วนเป็นความ
สัมพันธ์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในอีกด้านหนึ่ง เราท่านมักถือว่าชาติหนึ่งๆ ดำรงอยู่
นประชาคมโลกของสารพัดชาติ กล่าวคือมีชาติอื่นๆซึ่งมีสารัตถะและผลประโยชน์
ที่ไม่เหมือนชาติเรา แข่งชันกับเรา หรือแม้กระทั้งเป็นอริกับเรา วาทกรรมเกี่ยวกับ
ชาติยุคใหม่จึงมักวางอยู่บนการนิยามตัวตนสองแบบนั่นคือในทางตรง (เวงร!! © )
นิยามด้วยธรรมซาติอัตลักษณ์หรือผลประโยชน์ร่วมกันของชาติเรา และในทางกลับ
^^
^^
ก©93{ ©1 ) นิยามด้วยความแตกต่างจากชาติอื่น กล่าวได้ว่า อัตลักษณ์ร่วมและ
ความแตกต่างเป็นพึ๋นฐานสำคัญของอารยธรรมยุคใหม่ของมนุษย์เรา
แล้วอัตลักษณ์ของชาติหนึ่งๆ และความตรงข้ามกับชาติอื่น หรือการนิยาม
ตัวตนของความเป็นชาติสองแบบนี้มาจากไหน? สร่างมาจากอะไร? มนุษย์สมัยใหม่
คุยกันรับรู้หรือประกอบกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาติได้อย่างไร? ความรู้เกี่ยวกับ
ชาติก่อรูปขึ้นในอารยธรรมของเราได้อย่างไรกัน? คำตอบต่อคำถามเหล่านี้ไม่ควร
จำกัดอยู่แค่เป็นงานอีกชิ้นเกี่ยวกับกำเนิดรัฐประชาชาติหรือการสร้างชาติเท่านั้น
แด่ควรเป็นการศึกษาเกี่ยวกับวาทกรรมว่าด้วยความเป็นชาติ โดยมุ่งศึกษากรณี
ของสยามหรือประเทศไทย แต่นัยยะสำคัญของงานศึกษานี้ไปไกลเกินกว่าตัวกรณี
ศึกษา กล่าวคือ น่าจะใช้อธิบายได้กับซาติสมัยใหม่อีกจำนวนมากที่ไต้ปรากฏตัวชิ้น
บนพึ้นผิวโลกในข่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา

การนิยามคาามเป็นไทยทางตรงและทางกลับ
ในประเทศไทยทุกวันนี้ คนทั่วไปเข้าใจว่ามีสิ่งที่ถือว่าเป็นธรรมชาติของไทยหรือ
เอกลักษณ์ไทยดำรงอยู่ นั่นคือ ความฟ้นโทยซึ่งเชื่อกันว่าดำรงอยู่มาช้านานแล้ว
และคนไทยทุกคนล้วนตระหนักดีถืงคุณค่าของมัน แม้ว่าในข่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมา
สยามได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลสู่ความเป็นสมัยใหม่ก็ตาม ผู้คนก็เชื่อ

4 ปาเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
อยู่ดีวำสารัตถะของความเป็นไทยนี้ได้รับการสงวนรักษาเป็นอย่างดีมาจนถึง
ปัจจุบัน ผู้คนทั่วไปเชื่อว่า ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ( ในกรณีนี้คือพระมหากษัตริย์) ไต้เลือกรับ
เอาเฉพาะสิ่งที่ดีจากตะวันตกเข้ามา ขณะที่สงวนรักษาคำนิยมตั้งเดิมของตนไว้
อย่างดีที่สุด แม้ว่าพวกขี้สงสัยอาจตั้งข้อกังขากับทัศนะดังกล่าว แต่ความคิตเซ่นนี้ก็
ยังแพร่หลายแม้แต่ในหมู่นักวิชาการไทย
ตัวอย่างหนึ่งของความหันสมัยอย่างเลือกรับบนฐานความเป็นไทยที่ถูกอ้าง
ถึงบ่อยที่สุด ก็คือการที่เรายังยืดมั่นในพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติควบคู่
ไปกับการยอมรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบตะวันตกเข้ามาตลอดระยะการ
ปรับตัวสู่สมัยใหม่ ข้อยีนยันที่รู้จักกันดีอีกตัวอย่างหนึ่งก็คือความเห็นของกษัตริย์
ไทยคนสำคัญเกี่ยวกับการรับความรู้แบบตะวันตกว่า เราจักต้องคำนึงถึงความ
เหมาะสมกับสยาม ไม่ใช่ยึดเอาแม่แบบหรือมาตรฐานของตะวันตกมาเป็นเกณฑ์
แต่กลับไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะซี้ซัตได้ว่าอะไรคือความจำเป็น เหมาะสม ดีงาม มี
ประโยชน์หรือถูกต้อง ไม่เคยมีการนิยามได้แน่ซัดว่าอะไรคือสิ่งที่ “ถูกต้อง”ด้วยซ่า 1

เพราะเอาเข้าจริงมันนิยามไม่ได้ ฉะนั้น การดีความทั้งหลายเกี่ยวกับความเป็นไทย


จึงเปลี่ยนไปตามกาลเวลา สิ่งนี้ดำเนินมาตั้งแต่ศตวรรษก่อนโน่นแล้ว
อะไรบ้างละคือสิ่งที่ “ไม่ดี”? พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครอง
ราชย์พ .ศ. 2411 - 2453 / ค .ศ . 1868 - 1910 ) ให้ความเห็นเมื่อพ . ศ. 2428 ( ค .ศ.
1 885 ) ว่าความคิดเกี่ยวกับพรรคการเมืองและระบบรัฐสภาเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม
กับจารีตทางการเมืองของสยาม2 และในอีกโอกาสหนึ่งยังได้ซี้แนะว่าความพยายาม
ของซาวจีนที่จะก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นในสยามเป็นสิ่งที่ซัดต่อผลประโยชน์ของ
สยามและต้องต่อต้านทุกวิถีทาง 3 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ครอง
ราชย์ พ.ศ. 2453 - 2468 /ค.ศ. 1910- 1925 ) ได้สั่งห้ามเผยแพร่ตำราเศรษฐศาสตร์
ภาษาไทยเพราะมีดำริว่าไม่เหมาะสมกับสังคมไทย ทั้งนี้เนื่องจากประซาซนชาวไทย
ล้วนเสมอภาคกันภายใต้เบึ้องพระยุคลบาทอยู่แล้ว วิชาเศรษฐศาสตร์อาจก่อให้เกิด
ความแตกแยกหรือความยุ่งเหยิงขึ้นได้เพราะเศรษฐศาสตร์สนใจเรื่องล้าดับชั้นทาง
สังคมระหว่างคนจนกับคนรวย ในทางกลับกัน ท่านได้นำเสนอหลักปรัชญาเศรษฐ-
ศาสตร์ขึ้นมาอีกชุต โดยอยู่บนฐานดำสอนของพุทธศาสนาที่ว่าบุคคลควรพอใจกับ
สิ่งที่ตนมีอยู่ ไม่เพียงแต่ห้ามเขียนตำราเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่ในพ.ศ. 2470 (ค.ศ.
1927 ) ยังมีการออกกฎหมายห้ามสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ด้วย4

บทใเา การดำรงอยู่ของความเป็นชาต 5
อะไรบ้างคือสิ่งที่ต้องธำรงรักษาก็คลุมเครือเช่นกัน เพราะผู้ทรงคุณวุฒิจาก
หลายค่ายต่างอุดมการณ์มักเอ่ยอ้างนิยามความเป็นไทยไปต่าง ๆ กัน เป็นที่ทราบ
กันดีในหมู่นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องเมีองไทยว่าสถาบันกษัตริย์และพุทธศาสนา
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของชาติไทย พระมงกุฎเกล้าฯ ได้เคยดำริไว้ว่า
พระมหากษัตริย์สำคัญที่สุดต่อความเป็นชาติไทยที่แท้จริง ครั้งหนึ่ง สมเด็จฯ กรม
พระยาดำรงราชานุภาพ นักประว้ตศาสตร์และนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ เคยชี้ว่าคนไทย
ประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำคัญสามประการ คือรักความอิสระ มีความอดกลั้น และ
รู้จักประสานประโยชน์5 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
(พ.ศ. 2481 - 2488 /ค.ศ. 1 938 - 1945 ) มีความริเริ่มเหลือเชื่อมากมายเพื่อยกระดับ
วัฒนธรรมไทยสู่ความเป็นอารยะ6 มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายชุดเพื่อกำหนด
ว่าวัฒนธรรมไทยควรเป็นเช่นไรและเพื่อดูแลการเผยแพร่วัฒนธรรมนั้น ประชาชน
,
ถูกสงให้ปฎิบดตามวัตรปฏิบัติยิบย่อยนับแด เรื่องส่วนตัวไปจนถึงเรื่องสาธารณะ
เรื่องครอบครัวจนถึงเรื่องสังคม7 ที่แปลกพิลึกก็คือเครื่องแต่งกายแบบตั้งเดิมและ
การเคี้ยวหมากถูกสั่งห้าม ทว่ารัฐบาลกลับประกาศให้ประชาชนหันมาสวมใส่กางเกง
กระโปรงและให้สามีจุมพิตภรรยาก่อนออกจากบ้านไปทำงาน บางส่วนของวัฒนธรรม
ใหม่เหล่านี้อยู่ไม่ยืดเกินสมัยของรัฐบาลจอมพล ป. แด่ก็มีบางอย่างที่ยังคงสืบทอด
มาจนถึงทุกวันนี้จนหลงเชื่อกันว่าคือความเป็นไทยที่มีมาช้านาน
ยังมีทัศนะอื่นๆอีกมากเกี่ยวกับความเป็นไทย และมีคำนิยามอื่นๆไม, รู้จบ
ไทยเป็นชาติหนึ่ง ( แด่ไม่ใช่ชาติเดียว ) ที่กังวลต่อการธำรงรักษาและส่งเสริมวัฒน-
ธรรมของชาติราวกับว่ามันอาจจะหายวับไปไต้ดังนั้นจึงต้องมีหน่วยงานของรัฐบาล
เพื่อการนี้อยู่เสมอแม้ชื่อหรือภารกิจอาจเปลี่ยนไปตามกาลเวลา หนึ่งในหน่วยงาน
ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันก็ศึอ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งมีหน้าที่นิยามความ
เป็นไทยเพื่อจะได้กำหนดภารกิจของตนในการวางแผนงาน ประสานงาน และให้คำ
ปรึกษาเกี่ยวกับความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ครั้งหนึ่ง
คณะกรรมการเอกลักษณ์ฯได้ข้อสรุปว่าชาติมีองค์ประกอบ 8 ประการ ( อ้นได้แก่
ดินแตน ประชากร ความเป็นเอกราชและอธิปไตย รัฐบาลและการปกครอง ศาสนา
พระมหากษัตริย์วัฒนธรรม และเกียรติภูมิ ) กระนั้นก็ตี คณะกรรมการแสดงความ
ห่วงใยว่า “จะเห็นได้ว่าคำว่า ‘เอกลักษณ์ของชาติ, มีความหมายที่กว้างมาก ครอบ
คลุมทุกส่วนของชาติจนทำให้บางครั้งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่สับสนและความ

6 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาต
เข้าใจที่ไม่ชัดเจน และสิ่งที่กำหนดขึ้น 8 ประการตังกล่าวนี้ ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับจาก
ทุกฝ่าย”8 เอาเข้าจริง ผู้ทรงคุณวุฒิสามท่านได้ดีดวามองค์ประกอบเอกลักษณ์ของ
ชาติต่างกันหลากหลายในจุลสารหนาเพียง 26 หน้าที่ชื่อว่า เอกลักษณ์ของชาติ
ทั้งนี้องค์ประกอบเหล่านั้นมิไต้ขัดแย้งกันเลย ทุกอย่างนับเป็นเอกลักษณ์หมดและ
ผู้อ่านสมควรรับเอาไว้ทั้งหมด 9 จำนวนคุณสมบัติและสถาบันที่ถูกนับว่าเป็นไทย
ดูเหมือนจะมีไม่จำกัดในที่นี้ความซํ้าซ้อนจึงเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์
ถึงแม้ว่าจะไม่มีทางนิยามตัวตนของความเป็นไทยไต้ชัดเจนแต่เรายังเชื่ออยู่ดี
ว่าคนไทยทุกคนรู้จักม้นต็ ม.ร.ว. คึกฤทธึ้ ปราโมช หนึ่งในรัฐบุรุษและปัญญาชน
ที่สำคัญที่สุดของสังคมไทยสมัยใหม่ เคยสารภาพว่าท่านเองก็ไม่ค่อยแน่ใจนักว่า
เอกลักษณ์แปลว่าอะไร กระนั้นก็ตาม ท่านมั่นใจว่าจักต้องมีเอกลักษณ์ฝังแน่นอยู่ใน
ตัวท่าน “เอกลักษณ์ของคนชาติใดชาติหนึ่งนั้น...มีติดตัวมาแด่กำเนิดโดยสายเลือด
ความเป็นไทยส่วนใหญ่นั้นเกิดมาพร้อมกับคนไทย เป็นไทยเลียอย่างต้องมีความ
รูสกอย่างนนๆตองมลกษณะอย่างนนนพมใครแกใด”1
ในเมื่อยากที่จะนิยามปริมณฑลของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน จึงมีความ
พยายามจะนิยามปริมณฑลของความไม่เป็นไทย ( ยก -!ห31) ให 1 ใต้มาดลอดเช่นกัน
ความพยายามพรรค์นี้ข่วยให้เรานิยามปริมณฑลของความเป็นไทยไปได้พร้อมๆ
กันจากอีกต้าน เอ็ดมุนค์ ลืช (ผกาบก๘ เ-6ล0เา ) ได้ชี่ไห้เห็นในกรณีของพม่าตอนบน
ว่า กลุ่มชาติพันธ์ต่างๆนิยามตนเองได้ในแง่ของความแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ
อื่นๆ แทนที่จะนิยามจากคุณสมบัติร่วมของคนในซนเผ่าตน (ซึ่งเป็นแค'นิทานทาง
สังคมวิทยาเท่านั้น)11 นี้คือสิ่งที่ผู้เขียนเรียกว่า “การนิยามตัวตนทางกลับ”(ก69ล-
^
1 6 ฬธกใ1แ031เ0ก )
มีบ่อยครั้งที่ความเป็นอื่น (0เ1า6๓6ธ5) หมายถึงอะไรบางอย่างที่สังกัดชาติอื่น
แด่ชาติอื่นหรือชนชาติอื่นที่อ้างถึงกลับมีความหมายคลุมเครือว่าหมายถึงใครหรือ
อะไรกันแน่ ตัวอย่างเช่น ในภาษาไทย คำว่า “ฝรั้ง”เป็นคำคุณศัพท์และคำนามที่
รู้จักกันดีว่าหมายถึงชาวตะวันตก โดยไม่ได้เจาะจงถึงสัญชาติ วัฒนธรรม ชนชาติ
ภาษา หรืออะไรลักอย่าง “แขก”เป็นอีกคำที่มีความหมายครอบคลุมประชาชนและ
ประเทศต่างๆตั้งแต่คาบสมุทรมลายู หมู่เกาะอินเดียตะวันออก เอเชียใต้ไปจนถึง
ตะวันออกกลาง โดยไม่มีอะไรเฉพาะเจาะจง แขกยังหมายถึงซาวมุสลิมอีกด้วย นั้น
ก็คือ บางครั้งการอ้างถึงความเป็นอื่นก็ท่ากันโดยมิได้สนใจว่าคุณสมบัติที่เอ่ยถึง

บทนำ การดำรงอยู่ขธงความเป็นชาติ 7
นั้นเป็นของชาติหรือชนชาติใดโดยเฉพาะ เพราะจุดประสงค์ของวาทกรรมตังกล่าว
ต้องการแค่บอกถึงสิ่งที่ไม่ใช่ไทย มากกว่าที่จะมุ่งนิยามคุณสมบิตของชนชาตินั้นๆ
มื่อสามารถบอกได้ว่าความไม่เป็นไทยคืออะไรแล้ว ด้านตรงข้ามของมันซึ่งก็คีอ
ความเป็นไทยก็จะเป็นที่เข้าใจได้
ตัวอย่างการนิยามตัวตนทางกลับนั้นเป็นสิ่งที่หาได้ใม่ยากในชีวิตประจำวัน
ในการสนทนาระหว่างเอกอัครราชทูตไทย ณกรุงแคนเบอร์รา กับนักศึกษาไทย
ที่นั้น เมื่อกลางเตือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2530 เกี่ยวกับนักศึกษาเอเชียในประเทศ
ออสเตรเลีย ท่านทูตได้กล่าวเตือนนักศึกษาไทยว่า “อย่าประพฤติตัวเหมือนพวก
เวียดนาม” ไม่แน่ใจนักว่าท่านหมายถึงพวกเวียดนามในออสเตรเลีย หรือคอมมิว -
นิสต์เวียดนามในเวียดนาม หรือว่าทั้งสองอย่าง ท่านเองก็คงไม่ได้สนใจนักว่าคำที่
ท่านใช้นั้นหมายถึงอะไรกันแน่ คำว่า “เวียดนาม”ในกรณีนี้ใช้แทนความเป็นอื่น
ชนิดหนึ่งหรือสิ่งที่ไม่ใช่ไทยที่เราควรหลีกเลี่ยงแค่นั้นเอง โตยไม่สำคัญเลยว่าจริง ๆ
แล้วคนเวียดนามประพฤติตนเช่นนั้นจริงหรือไม่
บางครั้งความไม่เป็นไทยก็ไม่ใช่เรื่องของชาติหรือเซี้อชาติ ดังเช่นที่ผูสื่อข่าว
คนหนึ่งเล่าว่าเขาเคยแกล้งแหย่คนไทยคนหนึ่งว่าเป็นคอมมิวนิสต์ แต่คนไทยผู้นั้น
กลับไม่12 เสึกตลกเลย และรีบสวนกลับไปทันทีว่า “ผมไม่ใช่คอมมิวนิสต์ ผมเป็นคน
ไทย” นี่เป็นทัศนะทางการของรัฐไทยที่มีต่อคอมมิวนิสต์ด้วยเช่นกัน กล่าวอย่าง
รวบรัดก็คือ พระราชบิ'ญญิติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (พ.ศ. 2495 /
ค.ศ. 1952 ) ซึ่งมีแม่แบบมาจากกฎหมายว่าด้วยการกระทำที่ไม่เป็นอเมริกัน ({เา6
บก-/\๓6ท่ดลก /\๗7เ1เ6ธ 169เธเ31เ0ก) วางอยู่บนหลักคิดที่ว่าคอมมิวนิสต์ไม่ใช่ไทย
ทั้งในแง่ของความคิดและวิถีชีวิต, 3 เมื่อราว 30 ปีก่อน ในยุคของสงครามเย็น ได้มี
การแจกจ่ายโปสเตอร์เกี่ยวกับภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ไปตามโรงเรียนระดับประถม
ทุกแห่ง โปสเตอร์นั้นเป็นภาพวาดแสดงแผนที่ประเทศไทยขนาดเล็กนิดเดียวกำลัง
ถูกข่มขู่จากปีศาจยักษ์สีแตงที่มีกำเนิดจากตอนเหนือขึ้นไปภายในภาคพื้นทวีป
เอเชีย ในที่นึ่ดัทธิคอมมิวนิสม์กับชาติอื่นผนวกรวมกันหมายถึงความเป็นอื่นอัน
ชั่วร้าย (จะพิจารณารูปโปสเตอร์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันนึ่แต่ใหม่กว่าโดยละเอียด
ในช่วงท้ายของหนังสือเล่มนี้)
ขบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคนในช่วงพ.ศ.2516- 2519
( ค.ศ. 1973-1976 ) มักถูกกล่าวหาว่าเป็นการสมคบคิดกับศัตรู ศัตรูในที่นึ่ก็คือลัทธิ

8 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวํตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
คอมมิวนิสม์บวกกับต่างชาติ ผู้นำนักศึกษาถูกป้ายสีว่ามีเชื้อสายเวียดนาม เพราะนับ
จากปีพ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975 ) เวียดนามได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอื่น
ที่ชั่วร้ายที่สุดในสายตาของรัฐไทย ในเหตุการณ์ดังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6
ตุลาคม 2519 ขณะที่ผู้ร่วมชุมนุมนับพันกำลังถูกโจมตีจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและ
กลุ่มฝ่ายขวาติดอาวุธ นักศึกษาบางคนถูกรุมประชาทัณฑ์เพราะพวกม็อบป่าเถื่อน
ถูกปันหัวว่าผู้ตกเป็นเหยื่อเหล่านั้นเป็นญวน ฉะนั้นในบริบทนี้ เวียดนาม ลัทธิ
คอมมิวนิสม้ และ “พวกหัวรุนแรง”ทำหน้าที่ ({นก(ะแอก ) เซ่นเดียวกับชาวสวีเดนและ
พวกคนทรยศตามคำกล่าวของผู้ประกาศทางโทรทัศน์นั้นเอง ความเป็นอื่น ความ
ไม่เป็นไทย เป็นสิ่งที่จำเป็นพอๆ กับการนิยามความเป็นไทยในทางตรง อาจกล่าว
ได้ว่าความเป็นไทยจะขาดความเป็นอื่นไม่ไต้

ไหยศึกษา
แม้ว่าคำนิยามหรือองค์ประกอบของความเป็นไทยจะไม่ชัดเจนนัก แต่ก็ชัดมากพอ
ในจิตใจของคนไทย ความเป็นไทยเป็น “สิ่ง”ที่ดำรงอยู่บนพึ๋นผิวโลกและในประวัติ -
ศาสตร์ มีลักษณะเฉพาะตนที่แตกต่างจากชาติอื่น นักวิชาการไทยจำนวนมากเห็น
ว่าการศึกษาสิ่งดังกล่าวเป็นเรื่องที่คนไทยย่อมรู้ดีลึกซึ้งกว่าคนชาติอื่น คนไทย
ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการหรือไม่ก็ตาม ต่างคุ้นเคยกับคำเดือนว่าอย่า “ตามกันฝรั่ง”
สำหรับพวกเขา ความเป็นไทย ประเทศไทย คนไทย ไทยศึกษา หรืออะไรก็ตาม
เกี่ยวกับไทย เป็น “สิ่ง”ที่ฝรั่งศึกษาได้ แด่จะไม่มีวันเข้าถึงอย่างที่คนไทยทำได้
เพราะคนไทยเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทย แต่ฝรั่งไม่ใช่ คนไทยจึงเป็นเจ้าของ
มัน และมันก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่พวกเขามีร่วมกัน ความรู้สึกว่าอัตลักษณ์นี้
เป็นส่วนหนึ่งของตน ทำให้นักวิชาการไทยถือว่าตนอยู่ในสถานะเหนือคนชาติอื่น
ในวงการไทยศึกษา เพราะ “ไทย”มิใซ่เป็นเพียงแค่อาณาบริเวณการศึกษา แต่เป็น
ส่วนประกอบภายในตัวเขา ในทางตรงข้าม นักวิชาการฝรั่งจะต้องหาทางเอาชนะ
ซ่องว่างมหาศาลที่ขวางกั้นระหว่างตัวตนของผู้ศึกษากับสิ่งที่ศึกษาให็ได้
บางครั้งซ่องว่างนี้ได้ถูกวัดออกมาให้เห็นอย่างชัตเจนและเป็นรูปธรรมด้วย
เส้นพรมแตนของไทย ดังเซ่นนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระดับ
แนวหน้าคนหนึ่งของไทยเคยใช้ประเด็นนี้โต้ตอบนักวิชาการต่างชาติในปัญหา
กัมพูชา เขากล่าวว่านักวิชาการด่างชาติเหล่านั้นอยู่ห่างไกลจากสิ่งที่กำลังเกิดชื้น

บทน์า การท้ารงอยู่ของความเป็นชาติ 9
ในกัมพูชาและตามชายแดนไทย - กัมพูซา ซึ่งไม่เหมือนคนไทย (ประชาซน? นัก
วิชาการ? ทหาร? ) ที่มีประสบการณ์โดยตรง เพราะฉะนั้น “นักวิชาการ...บางคน
สนใจรับฟังเหตุผลของคนต่างชาติที่มองปัญหาอย่างผิวเผินมากกว่าของคนไทย
อย่างนี้ก็ช่วย'ไม่'ได้”14
'

เอ็ดวาร์ต ซาอิด ( ผพ3 โกิ 83๒ ) ไต้เสนอว่าวาทกรรมเกี่ยวกับประเทศและ


ประชาซนที่อยู่นอกยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับ“ชาวตะวันออก”(๒© ๐กิ©ก -
131 ) เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์เชิงอำนาจของซาวยุโรปที่สถาปนาความเป็น
“คนอื่น”(๒6 ๐๒© โ ) ขี่นมา เพื่อตอกยํ้าอัตลักษณ์และความเหนือกว่าของมหานคร
ยุโรป มากกว่าที่จะเป็นการบันทึกว่า “ซาวตะวันออก ”จริงๆเป็นเช่นไร15 อย่างไร
ก็ตาม บรรดานักวิชาการตะวันตกได้ตระหนักถึงลัทธิยุโรปเป็นศูนย์กลาง ( 5บโ© -
©©ก!กิ 3กา ) และอคติที่มีต่อผู้อื่นมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว ความสำนึกผิดนี้
ได้ผลักดันให้นักวิชาการตะวันตกหันไปทางตรงข้ามเพื่อแก้ไข ขอโทษ และรักษา
โรคที่นักบูรพคดีวิทยา (๒© 0โ1©ก!สแ31) ได้กระทำไว้ก่อนหน้านี้ นั้นคือ การยอมรับ
ทัศนะ - ความลิตของคนพึ้นถิ่น ดังเช่นงานศึกษาชิ้นหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับ
อุษาคเนย์ได้ประกาศว่าเป็นงานศึกษาที่กระทำด้วย “แนวทางการวิจัยทื่อยุติธรรม
น้อยมากต่อประชาซน...ที่เราทำงานด้วย”16 แด่บางครั้งการหันไปทางตรงข้ามนี้ก็
ออกจะมากเกินไป ตังเช่นกรณีไทยศึกษา ด้วยความที่ประเทศไทยต่างจากประเทศ
.

ที่เคยตกเป็นอาณานิคมอื่นๆในแง, ที่ไม่มีการปะทะต่อสู้กันระหว่างวิชาการของ
เจ้าอาณานิคมกับฝ่ายต่อต้านอาณานิคม บางครั้งจึงทำให้นักวิชาการที่เห็นอก -
เห็นใจคนพื้นถิ่นสมยอมทางภูมิปัญญาอย่างไม่วิพากษ์วิจารณ์ นักวิชาการเหล่านี้
มีแนวโน้มยอมรับทัศนะของชนชั้นนำสยามเป็นวาทกรรมอันชอบธรรมเกี่ยวกับ
ประเทศไทยไป , 7 หากกิจกรรมทางปัญญาถูกสถาปนาโดยความสัมพันธ์ทางอำนาจ
ดังเช่นที่ซาอิดได้เสนอไว้แล้ว ในบริบทนี้ การเป็นคนพื้นถิ่นก็ได้กลายเป็นอภิสิทธึ้
อย่างน้อยก็สำหรับนักวิชาการจำนวนไม่น้อย
ขณะที่ลัทธิบูรพคดีวิทยา (๐กิ©ก!สแ5กา ) โดยพื้นฐานเป็นความรู้เกี่ยวกับคนอื่น
(๒© ๐๒© โ ) ของอารยธรรมตะวันตก เรื่องไทยของคนไทยเป็นความรู้ของความเป็น
“เรา”(พ© ) หรือตัวตนของคนๆ หนึ่งเอง ความเป็นจริงที่ถูกกล่าวถึง ศึกษา หรือ
จินตนาการชิ้นมา ไม่ใช่ “ศู่ตรงข้าม”(©©นก!© โ -ถ3โ!) แต่เป็นตัวเราเองทางสังคม
และแบบรวมหมู่ ด้วยเหตุผลนี้ชุมชนของชาติและมิติทั้งหลายของมันไม่ว่าจะเป็น

10 ก็าเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ชาตินิยม ความรักชาติ อัตลักษณ์วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาพลักษณ์โลกทัศน์
และอื่นๆ จึงมิไต้เป็นเพียงหัวข้อของการศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่เป็น
มิติของความเป็นตัวเรา (พ© -ธ©II ) ทั้งในทางกายภาพและจิตวิญญาณที่เราศึกษา
หาความเข้าใจ พอๆ กับที่ห่วงหาอาลัย จงรักภักดี เข้าข้าง และคลงไคลใหลหลง
ภายใต้รูปโฉมของการศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์และรูปแบบทางวิชาการ
( โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใส่เชิงอรรถ การอ้างอิง และบรรณานุกรม ) การศึกษาเรื่อง
ไทยโตยคนไทยอยู่ภายใต้กรอบกระบวนทัศน์ของความเป็นตัวเราตลอดมา สิ่งนี้
ทำให้งานเหล่านั้นมีทัศนะ อารมณ์ค่านิยม ตลอดจนข้อจำกัด ข้อห้าม ข้ออ้าง และ
ความน่าเชื่อถึอในแบบหนึ่ง วิทยาการของความเป็นตัวเรายังมีเศรษฐกิจการเมือง
และคำถามอีกแบบที่แดกต่างไปจากวิทยาการไทยศึกษาโดยนักวิชาการต่างชาติ
,
อีกด้วย ประเทศไทยที่ถูกมองและศึกษาโดยนักวิชาการไทย มักไม เหมือนกับ
ประเทศไทยในสายตาของนักวิชาการต่างชาติ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวาท -
18

กรรมเกี่ยวกับความเป็นตัวเรา ไทยศึกษาโดยคนไทยจึงดูเหมือนมีอำนาจน่าเชื่อถือ
ตามธรรมชาติ เป็นทัศนะของ “คนใน”ที่จะบอกว่าอะไรคึอสิ่งที่ต็หรือเลวสำหรับ
ไทยและอะไรเป็นไทยหรือไม่ หัวข้อศึกษาที่ชอบอ้างอำนาจของทัศนะคนในและถือ
เป็นความไต้เปรียบอยู่เรื่อยก็คือ ชาติพันธุวิทยาเกี่ยวกับความคิดและโลกทัศน์ของ
คนพึ้นเมือง ดังเช่นที่งานชิ้นหนึ่งได้อ้างว่า:
[หนังสือเล่มนี]้ จะ...พยายามบรรลุถึงคุณประโยชน์บางประการของแนวโน้ม
ใหม่ในการศึกษาชาติพันธุวิทยา ด้วยวิธีการศึกษา ที่เรียกว่า “ทัศนะจาก
ภายใน”โดยพิจารณาโลกทัศน์ของคนไทยจากสายตาของคนไทยด้วยกันเอง
ถึงแม้ว่าผู้เขียนหลายท่านในหนังสือเล่มนี๋ได้เคยผ่านการศึกษาจากตะวันตก
มาแล้ว แต่โดยพึ้นฐานพวกเขาเป็นคนไทยทั้งไนแง่ของความคิดและการ
กระทำงานเขียนในเล่มนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงความคิดและการรับรู้ของคนไทย
มิใช่ของตะวันตก19
คำว่า “ไทย”( ไม่ว่าจะเป็นโลกทัศน์คน สายดา ความคิด พฤติกรรม การรับรู้ )
ตามข้อความข้างบนนี้ ดูเหมือนจะเป็นเอกภาพชัดเจนดีและไม่จำเป็นต้องมีการ
ขยายความให้กระจ่างแต่ประการใด เพราะปรากฏรูปร่างตัวตนเป็นบรรดาผู้เขียน
อยู่แล้ว งานวิจัยประเภทนี้ขยายตัวอย่างมากมายเมื่อไม่นานนี้เอง ส่วนใหญ่เป็น
ผลงานของนักประว้ติศาสตร์และศูนย์ชาติพันธุศึกษาในภูมิภาคต่างๆ ผลก็คิอ เรา

บทนำ การติารงอยู่ของความเป็นชาติ 11
มีโลกทัศน์ของคนไทยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ และยังมี
โลกทัศน์ของคนไทยสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนดัน20 วิธีการศึกษา
ของงานเหล่านี้ก็แทบจะเหมือนกันหมด กล่าวคือ จัดข้อมูลหลักฐานเป็นหมวดหมู่
ตามคุณสมบ้ตของความเป็นไทยที่ผู้ศึกษากำหนดล่วงหน้าไว้แล้วว่าประกอบกัน
เข้าเป็นโลกทัศน์ของคนไทย แล้วผู้เขียนก็คัดลอกข้อความจากหลักฐานโดยตรง
ไม่ว่าจะเป็นนิทานพื้นบ้าน เพลง สุภาษิต การละเล่น แล้วบอกว่านั่นคือผลของการ
วิเคราะห์โลกทัศน์ของคนไทย21 ไม่มีใครตั้งคำถามว่า แท้ที่จริงแล้ว ผลของการ
วิเคราะห์นั้นเป็นโลกทัศน์ของคนไทยที่พบจากข้อมูล หรือเป็นผลของการจับข้อมูล
ใส่ลงตามการจำแนก (13X1วกวกIV ) แบบที่ผู้เขียนกำหนดล่วงหน้าไปแล้วตามที่ระบุ
ไว่ในตอนดันของงานวิจัยแต่ละชิ้น พวกเขาคงจะมีสมมติฐานว่าสองสิ่งนี้เป็นสิ่ง
เดียวกัน ดังนั้นแหล่งที่มาของโลกทัศน์ไทยก็คือตัวผู้เขียนเอง ข้อมูลหลักฐานเพียง
แค่มาช่วยยืนยันผู้เขียนซึ่งเป็นตัวตนของโลกทัศน์ไทยอยู่แล้ว
ข้อวิจารณ์นี้ไม่ใช่เป็นการปฏิเสธว่าแต่ละสังคมมีลักษณะเฉพาะของตนเอง
แต่เพื่อชิ้ว่าวาทกรรมเกี่ยวกับความเป็นตัวเราไม่ใช่แค่เป็นผลของการกล่าวอ้าง
อย่างเกินจริงถึงลักษณะเฉพาะของตน (ซึ่งตามมาด้วยการยํ้าจน “เว่อร์”ว่าความ
คุ้นเคยใกสํชิดสำคัญขนาดไหน) หากยังเป็นการอวดอ้างโตยคนบางคนหรือหนังสือ
บางเล่มว่าตนมีอภิสิทธี้ สิทธิ หรืออำนาจในวิทยาการด้านไทยศึกษาหรือความเป็น
ไทย เพราะความผูกพันที่ตนมีตามธรรมชาติ ทัศนะของคนพื้นถิ่นเป็นยาขนานดี
เพื่อต่อสู้กับความสัมพันธ์ทางอำนาจของวาทกรรมแบบนักบูรพคดีวิทยา แต่วาท-
กรรมว่าด้วยความเป็นไทย (ของคนไทย) ก็เป็นอาณาจักรแห่งอำนาจของตนเอง
ด้วยเช่นกัน ในบริบทของลัมพันธภาพทางอำนาจระดับโลก มันอาจเป็นชายขอบ
เพื่อต่อด้านศูนย์กลางของโลก แต่ในบริบทของลัมพันธภาพทางอำนาจในสังคม
ไทย บ่อยครั้งมันเป็นข้ออ้างเพื่อความชอบธรรมของวาทกรรมครอบงำหรือวาห-
กรรมของรัฐที่มีเหนือผู้ถูกปกครองหรือเสียงข้างน้อยภายในโลกของคนไทยเอง
ในยุคหลังอาณานิคมผู้ปกครองที่กดขี่มักใช้วาทกรรมต่อต้านตะวันตกเพื่อช่วยให้
ผู้ปกครองสามารถควบคุมอาณาจักรแห่งอำนาจของตนได้อย่างมั่นคงยิ่งชิ้น หาใช่
วาทกรรมของผู้ที่ถูกกดขี่ไม่ ด้วยเหตุที่ไม่เคยนิยามความเป็นไทยที่ชัดเจนออกมา
และไม่มีวันเป็นไปได้ ฉะนั้นการศึกษาว่าอะไรคือความเป็นไทยและดัมพันธภาพ
ทางอำนาจอ้นเป็นผลที่ตามมาของการศึกษานั้นๆ จึงเป็นสนามของการปะทะกัน
ระหว่างการดีความโดยฝ่ายต่างๆกันเพื่อแย่งชิงอำนาจนำ (ก696๓อกV )

12 I กี่เาเนิตสยามจากแผนที:่ ประวติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
รปะทะต่อส์ของการตีความ
บแต่กลางทศวรรษ 1970 จนถึงกลางทศวรรษถัดมา (ราวๆพ.ศ. 2518- 2528 )
ถานีวิทยุทั้งหมดในเครือข่ายของกองทัพบก ชึ่งมีจำนวนถึงสองในสามของสถานี
ทยุทั้งหมดในประเทศไทยขณะนั้นออกอากาศรายการประจำ 2 รายการทุกวันใน
ลา 6.45 น. และ 1 8.00 น. เรียกร้องความมีวินัยและความสามัคคีของคนในชาติ
ระตุ้นกระแสชาตินิยมและให้คนไทยตระหนักถึงความมั่นคงของชาติที่กำลังตก
ยู่ท่ามกลางภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ หัวข้อที่
อกอากาศมีตั้งแต่วิจารณ์การเมืองและปัญหาสังคม รวมทั้งโจมตีรัฐบาลพลเรือน
มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งคราว ไปจนถึงตอบจดหมายที่ส่งเข้ามาและประกาศ
ยวกับงานศพ แต่สาระสำคัญของรายการมีอยู่ชัดเจน นั้นคือ อะไรคือสิ่งที่ถูกและ
ดสำหรับคนไทย คนไทยควรประพฤติตนเข่นไรและควรคิดกับเรื่องต่างๆ อย่างไร
ายการพรรค์นี้พยายามยัดเอียดแบบแผนทางสังคมและความคิดให้กับประชาชน
ป็นรายการล้างสมองอย่างโจ่งแจ้งที่แทรกซึมไปในทุกครัวเรือนและรถประจำทาง
กคันวันละสองเวลา การสรางความชอบธรรมให้กับทัศนะมาตรฐานเหล่านั้น บ่อย
รั้งไม่ไต้มีอะไรมากกว่าคำพูดประ๓ท “ตาม[วัฒนธรรม คำนิยม ประเพณี ประรัติ -
าสตร์] แบบไทย...”22 สำหรับการนิยามทางตรง บทวิจารณ์มักอ้างประรัตศาสตร์
ระราชดำรัส หรือดำพูดของผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
ฉพาะด้านต่างๆ ของความเป็นไทย สำหรับการนิยามทางกลับ พวกเขามักจะ
ล่าวถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินโดจีน ว่าเป็น
วอย่างของความชั่วร้าย เสื่อมทราม และค่านิยมที่คนไทยพึงหลีกเลี่ยง กล่าวให้
ดเจนยิ่งขึ้นก็คีอ มักมีการกส่าวหาบ่อย ๆว่าอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในประเทศเหล่านั้น
อความชั่วร้ายและเสื่อมทราม เป็นคนอื่น รายการดังกล่าวนอกจากทำหน้าที่ระดม
ลังสนับสนุนของมวลชนให้กองทัพบกแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมของ
างราชการเพื่อผลิตมาตรฐานของความเป็นไทย23
ขณะที่ความพยายามจะสร้างมาตรฐานดังกล่าวนี้มีเป้าหมายอยู่ที่การดีความ
วามเป็นไทยที่โต้แย้งไม่ไต้ ก็กลับมีการดีความแบบอื่นมาโต้แย้งอยู่ดี แด'การ
ตีความอื่นๆ เหล่านั้นแทบทุกกรณี ท้าทายทัศนะของทางการก็เพื่อจะได้เสนอ
มาตรฐานของความเป็นไทยอีกชุดหนึ่งเท่านั้นเอง การละทิ้งความคิดเรื่องความ
ป็นไทยอาจไม่เคยมีในความคิดของพวกเขาเลยก็เป็นได้ แม้แต่พรรคคอมมิวนิสต์

บทน์า การดำรงอยู่ของความเป็นชาติ 13
แห่งประเทศไทย (พคท. ) ซึ่งเป็นองค์กรที่ต่อต้านอำนาจรัฐไทยอย่างเด็ดขาดที่สุด
ในประรัตศาสตร์ยุคใหม่ ก็ยังกระตุ้นความรู้สึกชาตินิยมจนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น
พวกต่อด้านตะวันตก จนช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในงานโฆษณาชวนเชื่อ
ด้านอุดมการณ์ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 สัญญาณที่ชัดเจนของคุณลักษณะ
ดังกล่าวก็คือแผนงานด้านวัฒนธรรมของ พคท . ที่มีลักษณะเคร่งครัดหัวโบราณ
( เวนท่เสก!(ะส! ) มุ่งสร้างวัฒนธรรมของมวลซนแบบประเพณี (ที่ตนสร้างขึ้น) และโจมตี
การไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตกที่ฟอนเฟะและความหน้าไหว้หลังหลอกของ
รัฐไทยที่ไม่สามารถปัองกันการเสื่อมถอยของวัฒนธรรมไทยได้ ผู้นำนักศึกษา
คนหนึ่งที่เคยเข้าร่วมกับ พคท. และถอนตัวออกมาในภายหลัง ได้กล่าวไว้ว่า “ในแง่
ถือค่านิยมเก่าแล้ว , พรรคคอมมิวนิสต์รับ ‘มรดก’ของไทยมามากกว่าที่ผู้ลังเกต -
การณ์หลายคนจะมองเห็น”24 เท่าที่ผ่านมา บรรดาผู้วิพากษ์ พคท. ยังไม่เคยกล่าว
ถึงประเด็นนี้ นี่เป็นเพราะว่าพวกเขายังมองไม่เห็นลักษณะอนุรักษนิยมของ พคท .
หรือเป็นเพราะว่านึ่เป็นลักษณะที่พวกเขาเห็นร่วมกับ พคท. เช่นกัน?
ยังมีการดีความเกี่ยวกับความเป็นไทยอีกชุดหนึ่งซึ่งเป็นแนวคิตที่ใหม่กว่า
และยังคงมีอิทธิพลต่อแวดวงปัญญาชนด้วยเสน่ห์ของลักษณะราดิกัลแบบ
^
อนุรักษนิยม (00กธ6ก/ล1 6 โสก่เ(ะส!!ธ๓) เป็นแนวคิดที่ใหม่กว่าและยังคงมีอิทธิพล
ต่อแวดวงปัญญาชน การดีความแนวนี้โจมดีความล้มเหลวของสังคมไทยยุคใหม่
จากทัศนะของจารีตทางพุทธศาสนาของไทย โดยโต้แย้งว่าความทันสมัย ทุนนิยม
และลัทธิบริโภคนิยมได้ดัดขาดคนไทยจากรากทางอารยธรรมของไทยเองจนนำไป
สู่ความดกตํ่าของวัฒนธรรมสมัยใหม่และความเสื่อมทรามของศีลธรรมและพุทธ-
ศาสนาในสังคมไทยโดยรวม ในทางกลับกัน แนวคิดนี้เรียกร้องการกลับไปสู่ความ
เป็นไทย กลับไปสู่รากเหง้าหรือคุณค่าพึ้นฐานของอารยธรรมไทยและนี้นฟูภูมิ -
ปัญญาไทย ซึ่งทั้งหมดนี้มีพื้นฐานอยู่กับพุทธศาสนา25 บุคคลเหล่านี้ยังต่อด้าน
ระบอบทหารและสถาบันอำนาจการเมือง เพราะระบอบทหารนิยมคือสาเหตุของ
ความเสื่อมทรามของสังคมไทย และไม่มีทางที่จะเทียบได้กับผู้นำแบบกษัตริย์ไทย
ในอดีต26
คนบางส่วนของแนวทางนี๋ได้ป่าวประกาศว่าความเป็นไทยเป็นสิ่งที่ฝังรากลึก
อยู่ในวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เกษตรกร ตาม
ทัศนะเช่นนี้ ความเป็นไทยและภูมิปัญญาไทยจึงอยู่ที่ชนบทและถือกำเนิดจาก

14 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ขั้วตรงข้ามกับซนชั้นนำ 27 แต่สิ่งที่พวกเขาเป็นเหมือนๆ กับความเป็นไทยของ
ชนขั้นนำก็คือการต่อต้านวัฒนธรรมตะวันตก บทกวีเล่มหนึ่งที่เขียนโตยประกาศก
คนสำคัญของทัศนะนี้ ได้กล่าวว่า:
บทกวีที่ก้าวทันความขั้าซากว่าเจของวิธีคิตที่ลอกเลียนปรัชญาตะวันตก เพื่อ
นำสู่การมองภาพหมู่บ้านชนบทและงานพัฒนาได้อย่างมีชีวิตชีวาจากความ
เป็นจริง... ทักทายแนวคิดตะวันตกด้วยการผสมผสานสุนทรียด้านใน ผ่าน
ความประณีตบรรจงเพื่อสร้างงานฝากไว้กับแผ่นดินในยุคที่คิลปีนจำนวน
มากกำลังสูญเสียเอกลักษณ์แบบไทยๆ ก้าวเข้ารับใช้เอกลักษณ์ใหม่ที่หลง -
ใหลเข้ามาจากแผ่นดินอื่น...
28

สำหรับฝายทหาร แม้สังคมไทยจะเผชิญการคุกคามจากฝ่ายซ้ายตลอดเวลา
แต่ความเป็นไทยก็ยังเข้มแข็งตีอยู่ แต่สำหรับชาวพุทธที่ราดิกัล ( โ3.6 เ0ฝ) ความ
เป็นไทยตกอยู่ในวิกฤติเพราะอิทธิพลท่วมทันของวัฒนธรรมตะวันตก เพราะฉะนั้น
ความเป็นไทยจะต้องได้รับการพื่นฟูอย่างเร่งด่วน เพราะมันเป็นหนทางเดียวเพื่อ
อนาคตของสังคมไทย29 ดังที่ชาวพุทธราติกัลคนหนึ่งได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “การที่
คนไทยรุ่นปัจจุบันดีดัวออกจากความเป็นไทย คือรู้สึกแปลกแยกและสูญเสียความ
ภาคภูมิใจในชาติของตนนั้นก็เพราะชนขั้นนำของสังคมไทยในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา
ขาดการใช้สติปัญญาถามถึงเอกลักษณ์ของเราอย่างจริงจัง เพราะมัวไปเดินท่อมๆ
ตามกันฝรั่งกัน”30 ที่แปลกพิกลก็คือ ความกังวลต่อศีลธรรมเสื่อมถอยนี้เหมือนกับ
ที่ขบวนการพุทธที่ทรงอิทธิพลอีกกลุ่มหนึ่งห่วงใยเช่นกัน นั้นคือสำนักธรรมกาย ซึ่ง
ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกของราชวงศ์และผู้นำทหาร แต่ถูกตั้งข้อรังเกียจจาก
กลุ่มพุทธราดิกัล สำนักพุทธสายนี้แสดงความไม่ไว้ใจต่อวิทยาการและวัฒนธรรม
ของตะวันตกและผลกระทบที่มีต่อพุทธศาสนา31 อย่างไรก็ตาม สำหรับพระที่เป็น
นักต่อต้านคอมมิวนิสต์ตัวยงอย่างกิตติวุฑโฌกลับไม่ห่วงเรื่องนี้แม้ว่าเขาจะเห็น
ด้วยว่าความโลภของทุนนิยมและการศึกษาขั้นสูงเป็นสาเหตุของความตกตํ่าทาง
ศีลธรรมและศรัทธาในศาสนาในโลกตะวันตก แต่เขาก็เชื่อมั่นว่าในประเทศไทยซึ่งมี
พุทธศาสนาเป็นดวงประทีปนำทาง การเข้ามาของเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์มีแด่
จะช่วยทำให้ศรัทธาในพุทธศาสนาแรงกล้าขึ้น32
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าการดีความแบบไหนถูกต้องและชอบธรรมมากที่สุต แด่
อยู่ที่ว่าความใกล้ชิดตามธรรมชาติและตามสายเลือดท่าให้คนไทยมีความคุ้นเคย

บทนำ การท้ารงอผู่ของความเป็นชาติ I 15
หรือรู้จักความเป็นไทยดีจนเป็นสัญชาตญาณ แต่กลับไม่เป็นหลักประกันว่าคนไทย
สามารถนิยามความเป็นไทยให้ชัดเจนได้ไม่ประกันว่าการปะทะต่อสู้ในประเด็นนี้
ระหว่างคนไทยด้วยกันเองจะรุนแรงน้อยกว่า จะกตขี่ ปราบปรามและครอบงำคน
ไทยด้วยกันเองน้อยกว่าความพยายามของนักบูรพคดีวิทยาตะวันตกที่ตอกสลัก
ขัดเกลาชาวตะวันออกขึ้นเป็นตัวเป็นตน การป้ายข้อหาคอมมิวนิสต์ บ่อนทำลาย
กบฏ และหมิ่นพระบรมเตชานุภาพ หาใช่เรื่องผิดปกติในสังคมไทยแด่อย่างใด
ตัวอย่างเหล่านี้ยังขึ้ใหัเห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่ว่าการดีความซุตไหนจะขึ้น
มาครอบงำสังคม หรือไม่ว่ามันจะผสมผสานแล้วกลั่นตัวออกมาเป็นอะไรก็แล้วแด่
สถานะอันสูงส่งของความเป็นไทยจะยังคงเป็นเช่นเติมไม่เปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่าการ
ดีความเหล่านี้จะเห็นแย้งกันอย่างมากในหลายๆด้านแด่พวกเขามิความห่วงใยใน
พุทธศาสนาและภัยคุกคามของวัฒนธรรมตะวันตกต่อความเป็นไทยเหมือนๆ กัน
แม้ว่าพวกเขาจะมีจุตยืนทางการเมืองที่แตกด่างกัน แด่ทุกพลังที่ต่อสู้กันล้วนอ้าง
สิทธิธรรมของตนด้วยการแอบอิงอยู่กับความเป็นไทย ความเป็นไทยกลายเป็น
กระบวนทัศน์ของความคิดทางการเมืองที่ไม่มีใครกล้าละเมิด หากใครก็ตามถูก
กล่าวหาว่าละเมิดพื่นฐานข้อนี้เขาผู้นั้นจะสูญเสียความน่าเชื่อถึอและความชอบ-
ธรรม นี่คือยุทธศาสตร์ที่ฝ่ายขวาใช้เพื่อต่อต้านการเติบโตของขบวนการฝ่ายซ้าย
ในไทยระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2519 (ค.ศ. 1973- 1976 ) และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้
พคท. ล่มสลายด้วย กล่าวคือหลังจากนักศึกษาปัญญาซนที่เข้าร่วมกับพคท. หลัง
,
6 ตุลาคม 2519 ได้ประสบกับตนเองวา พคท. ได้ยืดเอาจีนเป็นแม่แบบของการ
ปฏิวัติไทยอย่างหัวปักหัวป้าและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
โดยตรง พวกเขาก็ตาสว่างขึ้น33 สำหร่บคนหนุ่มสาวเหล่านี้ปัจจัยแปลกปลอมจาก
ภายนอกดังกล่าวทำให้ความชอบธรรมของ พคท. และพลังของวาทกรรมว่าด้วย
การต่อสู้ทางซนขั้นและสังคมไทยแทบจะไม่หลงเหลืออยู่เลย
แต่ความเป็นไทยหรือความเป็นชาติไทยซึ่งคนไทยมองว่าเป็น “ตัวเรา”เป็น
แหล่งที่มา เป็นสิ่งอ้างอิง และเป็นสิ่งตัดสินความชอบธรรม กฎเกณฑ์มาตรฐาน
อารมณ์ความรู้สึก แรงบันตาลใจ และความเป็นอรินั้นไม่เคยถูกตั้งคำถามอย่าง
จริงจังว่ามันมาจากไหนและอย่างไร มันเป็นธรรมชาติที่คนไทยจะอ้างว่ามีอยู่ใน
สายเลือดได้จริงๆ หรือ? ถ้าไม่ใช่ แล้วความเป็นไทยถูกสร่างขึ้นมาอย่างไรกัน?

16 ท้าเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
สยามในฐานะประติษฐกรรมทางวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์คือฐานข้อมูลสำคัญของความเป็นไทย การตีความเกี่ยวกับความเป็น
ไทยทั้งหลายมักอ้างอย่างภาคภูมิใจว่าประวัตศาสตร์สนับสนุนความคิดของตน
นแง่นี้ประวัตศาสตร์เป็นอำนาจตัดสินว่าอะไรเป็นไทยหรือไม่ แทบจะไม่มีการ
ดีความอันใดที่ไม่ใช้ประวัตศาสตร์เป็นอำนาจ อาจกล่าวได้ว่าการศึกษาประวัติ -
ศาสตร์ไทยเป็นกระดูกสันหลังของวาทกรรมความเป็นชาติอย่างเป็นวิชาการและ
ป็นวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุนี้สิ่งที่ควรจะทำกับไทยศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดย
คนไทย ก็ไม่ควรเป็นเพียงแค่งานเขียนที่จะถูกผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
งานที่มีอยู่แล้ว แต่ควรจะเป็นตรงข้าม คือควรจะเป็นการท้าทายหรือประวัติศาสตร์
สวนทาง (00บก๒โ - (าเร๒โV )
งานประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประเทศไทยที่ทำกันมามักสมมติล่วงหน้าว่าประเทศ
ป็นหน่วยทางการเมืองหรือสังคมเศรษฐกิจซึ่งเป็นอาณาจักรหรือรัฐที่ดำรงอยู่
ก่อนแล้วแต่กาลโพ้น ด้วยวิธีนี้ นักประวัติศาสตร์จึงสามารถกล่าวถึงระบอบการ
ปกครอง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม หรือพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไต้
ประเทศดำรงอยู่ในตัวมันเอง การศึกษายืนยันการดำรงอยู่ของมัน แต่หนังสือเล่มนี้
ป็นประวัติศาสตร์เพื่อหาว่าความเป็นชาติถูกสร้างขึ้นมาอย่างไรโตยจะตรวจสอบ
ประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งซึ่งนักประวัติศาสตร์แบบจารีตมักยกย่องสรรเสริญว่าเป็น
หนึ่งในเหตุการณ์ที่ยืนยันความเป็นเลิศของความเป็นไทยได้แก่การสร้างรัฐสยาม
สมัยใหม่ แต่แทนที่จะอภิปรายเกี่ยวกับกระบวนการสร้างชาติ งานขึ้นนี้ต้องการ
แสตงให้เห็นว่าสยามคือประติษฐกรรมของวาทกรรม กษัตริย์ไทยเป็นเพียงเครื่องมือ
ของวาทกรรมชุตใหม่เท่านั้น และความเป็นไทยก็หาใช่อะไรอื่นนอกจากประติษซิ -
กรรมที่มีกำเนิดอันสามัญธรรมดา
เช่นเดียวกับชาติทั้งหลายที่อยู่นอกทวีปยุโรป ประวัติศาสตร์ถือว่าการต่อสู้
ของสยามต่อจักรวรรดินิยมยุโรปในศตวรรษที่ 1 9 เป็นจุตเริ่มต้นของชาติสมัยใหม่
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต่างจากผู้อี่นก็คือ สยามไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก
อย่างเป็นทางการเลย นี่เป็นปรากฎการณ์โดดเด่นที่คนไทยรูสึกภูมิใจอยู่เสมอ ดังนั้น
จึงมักถือกันว่าสยามเป็นรัฐแบบจารีตที่ปรับเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่ความเป็นชาติสมัย
ใหม่ด้วยความสามารถของกษัตริย์ไทยในการรับมือกับภัยคุกคามจากมหาอำนาจ
ยุโรปได้อย่างชาญฉลาดและทันท่วงที โดยปรับปรุงประเทศไปสู่ความท้นสมัยใน

บทน์า การดำรงอยู่ของความเป็นซาต 17
ทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเวลา ฉะนั้น ความต่อเนื่อง เป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน และความยั่งยืนของจารีตประเพณีโดยเฉพาะพุทธศาสนาของไทยและ
สถาบันกษัตริย์ จึงเป็นคุณสมบัติอันโตดเด่นหรือถึงกับเป็นลักษณะเฉพาะของ
สยามยุดใหม่ที่ไม, เหมือนใคร ทัศนะมาตรฐานทางประวัติศาสตร์ไทยนี้ดำรงอยู่
อย่างเหนียวแน่นมั่นคงในสังคมไทย รวมทั้งในหมู่นักวิชาการที่ศึกษาประเทศไทย
และแวดวงคนหนุ่มสาวหัวก้าวหน้าในปัจจุบัน34 แม้ว่าจะถูกท้าทายอยู่บ้างก็ตาม
แน่นอนว่านื่เป็นการให้สิทธิธรรมกับลัทธิทหารด้วยเซ่นกัน
ในประเทศไทย ทัศนะมาตรฐานนี๋ได้ถูกตั้งดำถามโดยประว้ติศาสตร์นิพนธ์
ไทยแนวมาร์กซิสต์ ในช่วงทศวรรษ 1 950 - 1970 (ราว ๆ พ.ศ. 2490 เศษ และ 2520
เศษ)35 มีการนำเสนอประวัติศาสตร์ทางเลือกใหม่จัานวนหนึ่ง โดยเฉพาะในกรอบ
ของการต่อสู้ทางซนชั้นและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม ตามทัศนะนี้ การ
ก่อตัวของสยามสมัยใหม่เป็นผลของการที่สยามไต้เข้าสู่ระบบตลาดโลกโดยถือเอา
สนธิสัญญากับอังกฤษในปี พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1 855 ) เป็นหลักหมาย พวกเขาโต้แย้ง
กับประวัติศาสตร์กระแสหลักที่ยํ้าถึงบทบาทของสถาบันกษัตรีย็ในกระบวนการ
สร้างรัฐชาติ ด้วยข้อเสนอว่าจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของรัฐชาติคือเมื่อระบอบสมบูร -
ณาฌาสิทธิราชย์สิ้นสุตลงในปี 2475 (ค.ศ. 1932 ) และสยามนับแต่ปลายศตวรรษ
ที่ 19 จนถึงสามทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 20 ยังคงเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธึ้อยู่ 36
ควบดู่ไปกับวาทกรรมภายในประเทศเกี่ยวกับรัฐไทย นักวิชาการตะวันตก
หลายคนก็ตั้งดำถามในทำนองเดียวกัน พวกเขาเห็นว่าสยามเป็นประเทศอาณา -
นิคมทางอ้อมทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและการเมืองนับจากกลางศตวรรษที่ 19 ตลอด
มาจนถึงระบอบเผด็จการทหารยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง37 การสร้างชาติและ
บทบาทของสถาบันกษัตรีย็ในปลายศตวรรษที่ 1 9 ยังถูกตั้งคำถามอย่างแรงว่าอาจ
เป็นอะไรก็ได้แต่ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของรัฐประชาชาติ ประเด็นสำคัญของข้อโต้แย้งนี้
ก็คือข้อเท็จจริงที่ว่า รัฐไทยไม่สามารถสร้างความเป็นปืกแผ่นทางการเมืองแบบชาติ
สมัยใหม่ตัวยการประสมประสานชนกลุ่มน้อยทุกประ๓ท ไม่ว่าจะเป็นด้านเชี้อชาติ
ศาสนา หรืออุตมการณ์ ให้เข้ากับคนส่วนใหญ่ที่เป็นไทยพุทธภายใต้การปกครอง
ของกษัตริย์ได้ 38 ภายใต้วาทกรรมของนักวิชาการตะวันตก ความหมายของสิ่งที่
รู้จักกันในฐานะชาติไทยสมัยใหม่ยังได้ถูกนิยามเสียใหม่ไปต่างๆ นานา ( คือไม่เป็น
ความหมายเดียวชัตเจนอีกต่อไป )39

18 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
การท้าทายเหล่านี้พยายามที่จะตอบโต้กับการให้ความสำคัญจนเกินเลยกับ
ความปรีชาสามารถของกษัตริย์และความสามารถในการปรับตัวของสถาบันจารีต
ทั้งหลาย การท้าทายเหล่านี้หันไปพิจารณาพลังทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้ผูกติต
อยู่กับปัจเจกบุคคล และยังพยายามที่จะแยกกษัตริย์ที่ตูคล้ายนักชาตินิยมออกจาก
กำเนิดของชาติในปัจจุบันด้วยการยํ้าให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพของรัฐไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ระบอบกษัตริย์ในการทำให้ไทยกลายเป็นรัฐประชาชาติ
ที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม การมองปัญหาด้วยวิธีการทางเศรษฐกิจสังคมนี้จักต้อง
อิงกับตัวแบบ ทฤษฎี หรือบรรทัดฐานจำนวนหนึ่งของความเป็นรัฐประชาชาติ เพื่อ
เปรียบเทียบสยามกับตัวแบบนั้นๆ ภารกิจของวิธีการศึกษาเหล่านั้น ก็เพื่อระบุว่า
สยามเป็นรัฐประชาชาติหรือไม่ หรีอเพื่อเปิดเผยธรรมชาติของรัฐด้วยการประยุกต์
ใช้เกณฑ์คุณลักษณะที่นักวิชาการกำหนดขึ้นเอง
ประวัติศาสตร์ครํ่าครึเรื่องกษัตริย์กับสงครามมักถือเอานิยามที่ล้าสมัยและ
หยุดนิ่งเกี่ยวกับความเป็นรัฐชาติไทย แล้วประยุกต์ใช้ย้อนไปในอดีต ส่วนประวัติ -
ศาสตร์ทางเลือกก็มักจะเสนอพลวัตและกระบวนการ แต่ทว่ายึดติดอยู่กับเกณฑ์
ทางวิชาการจำนวนหนึ่งที่สรุปมาจากไหนไม่รู้ แต่อยู่นอกเหนือประวัติศาสตร์ที่พวก
เขาพยายามอธิบายแน่ๆ อันที่จริง ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ของรัฐประชาชาติใน
ยุโรป นักวิชาการก็พยายามจะพิจารณาตัดสินว่า องค์ประกอบที่แท้จริงและเป็น
ธรรมชาติของชาติ สัจจะหรือตัวตนของชาติ คืออะไรกันแน่ ประวัติศาสตร์ทั้งหมด
ของชาติหนึ่งมักจะต้องถือว่าชาตินั้นๆ ดำรงอยู่แล้วอย่างไม่ต้องสงสัย หรือทึกทัก
ว่าชาตินั้นๆ มีคุณสมปัติที่แน่นอนอย่างนั้นอย่างนี้ ราวกับว่าตัวตนของชาติหล่นมา
จากฟ้าก่อนหน้านั้นแล้ว
ความยุ่งยากนี้มิได้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะกับประวัติศาสตร์สมัยใหม่
ของชาติในภูมิภาคอุษาคเนย์เท่านั้น คำถามใหญ่ประการหนึ่งที่ยังคงหลอกหลอน
นักประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ในยุคด้นอยู่ก็คือเรื่องการก่อตัวของรัฐ กล่าวให้ชัดเจน
ยิ่งขึ้นก็คือ คำถามว่าเราจะพูดเกี่ยวกับการก่อตัวของรัฐได้อย่างไรหากไม่กำหนด
ล่วงหน้าไว้ก่อนว่ารัฐคืออะไร ทั้งนี้รัฐเป็นสิ่งที่นักสังคมศาสตร์กำหนดมาให้ไม่ใช่
มาจากผู้คนซาวอุษาคเนย์เอง ฉะนั้น บางครั้งนักประวัติศาสตร์จึงสงสัยว่ารัฐหนึ่งๆ
ที่ตนศึกษาถือได้ว่าเป็นรัฐแน่หรือเปล่า
40

บทนำ การติารงอผู่ของความเป็นชาติ I 19
หากดูใหํใกลไปกว่าเรื่องชาติ โดนัลด์ เอ็มเมอร์สัน ( อ0กส1๘ 3กาโก6โรอก) ชี้ให้
เห็นว่า แม้แต่ตัวตนของสิ่งที่เรียกว่าอุษาคเนย์ (รอนขา6331 /เธเส) ก็ยังไม่เป็นที่รู้จัก
เลยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง กล่าวคีอผู้ปกครองอาณานิคมนิยามภูมิภาคนี้ตาม
เขตปกครองของจักรวรรดินิยมต่างๆ สงครามต่างหากที่ล้มเลิกเส้นแบ่งแบบลัทธิ
อาณานิคมดังกล่าว โดยเฉพาะการยึดครองของญี่ปุ่น หาใช่โลกวิชาการ นอกจากนี้
ยังมีคำกล่าวว่า “การทำสงครามหมายถึงการทำแผนที” ่ นั่นคือ า ห6 แสขอกสเ 060-
.
"

^
9โ3ถขเอ 3ออเ6 ไต้ผลิตแผนที่อุษาคเนย์เ นขณะที่ฝ่ายส้มพันธมิตรได้จัดตั้ง “ศูนย์
บัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”ขึ้น ผลก็คือ ภายหลังสงคราม คำว่า รอบ*ก6351
^ประเด็นถกเถียงกันอย่างมากก็ตาม'
3เส หรือ “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้”จึงกลายเป็นที่รู้จักกัน แม้นิยามของมันจะเป็น
11
ในเมื่ออดีตสหภาพโชเวิยตและยูโกสลาเวิย
ได้แยกตัวออกมาเป็นชาติต่างๆไต้คือ รัสเชีย ลิทัวเนืย ดัตเวิย ยูเครนโครเอเชีย
บอสเนีย เซอร์ฌีย และอื่นๆ แล้วจะมีใครสามารถบอกไต้อย่างนั่นใจว่าพม่าและ
ศรีลังกาสมควรจะเป็นชาติเดี่ยว หรือแตกออกมาเป็นพม่า มอญ กะเหรี่ยง ไทใหญ่
ศรีลังกา ทมิฬ และอื่นๆ กันแน่? ลิ่งที่ถูกเชื่อว่าเป็นสารัตถะของชาติหรือเป็นตัวตน
ที่ยืนยันได้ อาจเป็นแค่การเสกสรรปันแต่งขึ้นมาในระยะสั้นๆ (ของประว้ติศาสตร์)
แทนที่จะแสวงหาอัตลักษณ์ที่แท้จริงของชาติ เบน แอนเดอร์ดัน ( 06ก6๘เอ
, *
๘อโรอก) กลับถือว่าชาติคือชุมชนจินตกรรม' 2 ชาติมิใช่ความเป็นจริงในตัวมันเอง
ตามธรรมชาติ แด่เป็นผลผลิตของจินตนาการเกี่ยวกับมันมากกว่า หากเราเปรียบ
เทียบกับศาสนจักรและราชอาณาจักร ย่อมกล่าวได้ว่าชาติเป็นชุมชนจินตกรรมของ
*
ยุคใหม่ เป็น'ชุมชน'ชนิตัใหม่ที่มีกาลมิติแบบเอกภาพ ( 6กาเาอโสเ ห๐๓อ96ก6เ 7 ) *
และเทศมิติอันได้รับการปรุงแต่งผสมผสานกันในหลากหลายวิถีทางต่างจากชุมชน
จินตกรรมชนิดก่อนๆ การนิยามตัวตนเช่นนี้เป็นไปไต้ก็โดยกระทำผ่านสื่อกลาง
บางอย่างเช่นภาษา ในฐานะที่เป็นเทคโนโลยีสำคัญของการสร้างจินตนาการของ
ความเป็นชาติ ภาษาผลิตชาติออกมาด้วยวิธีด่าง ๆ กัน ตัวอย่างเช่น ด้วยภาษาพูด
ภาษาเขียน สิ่งพิมพ์ ราชาศัพท์ กลไกของรัฐอย่างการศึกษา หรือภาษาร่วมของ
ระบอบอาณานิคมในประเทศที่ไม่เคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาก่อน กล่าวอย่าง
รวบรัดก็ศึอ ภาษาทำให้คนบางกลุ่มสามารถคิดถึงชุมชนของตนด้วยนิยามเชิง
กาละและเทศะแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ความเป็นชาติเป็นปริมณฑลที่ถูกจินตนาการ
ขึ้นมา ไม่ได้มีดัวตนหรือสารัตถะที่แน่นอนในตัวมันเอง แต่เป็นประติษฐกรรมทาง

20 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาชองชาติ
วัฒนธรรม เราสามารถที่จะรู้เกี่ยวกับชาติไต้ตราบเท่าที่เราใช้เทคโนโลยีบางชนิด
จดจารลงไปในปริมณฑลที่พอจะเป็นไปได้ ในทางกลับกัน อาจกล่าวได้ว่าเทคโน-
โลยีดังกล่าวสรางทั้งความรู้และสร้างความจริงของความเป็นชาติขึ้นมา ท่าให้สิ่งที่
เรียกว่าชาติเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา
งานบุกเบิกของแอนเดอร์ลันได้แผ้วทางให้กับการศึกษาเกี่ยวกับความเป็น
ชาติอย่างกว้างขวาง กระนั้นก็ตาม งานของเขากลับก่อให้เกิดคำถามท้าทายมากยิ่ง
ขึ้น ประการแรกสุด ภาษาซึ่งเป็นสื่อให้เกิดชุมชนจินตกรรมในงานของแอนเดอร์สัน
หมายถึงภาษาที่ใซักันตามปกติ สำหร้บนักภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้างนั้นเป็นภาษา
พูตที่ดำเนินอยู่ในการสนทนาปกติ ขณะที่ “ภาษา”ในความหมายกว้าง หมายถึง
สื่อชนิดไหนก็ได้ระหว่างปัจเจกบุคคลกับโลกภายนอกตัวเขา ถ้า๗นนั้น สื่อกลาง
ชนิดอื่นๆ มีอะไรบ้าง ( เช่นเทคโนโลยีภาษาแบบอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาพูด )
แล้วสื่อเหล่านี้ทำงานอย่างไรในการสื่อและสร้างชุมชนจินตกรรม?
ประการที่สอง แอนเตอร์ลันตูจะให้ความสนใจกับจินตนาการหรือความสามารถ
ที่จะคิดเกี่ยวกับชาติมากเกินไป ราวกับว่าชาติถูกผลิตออกมาจากหัวสมองของ
คนๆ หนึ่งและดำรงอยู่แค่ตราบเท่าที่ยังมีการผลิตช้าภายในหัวของคนๆ หนึ่ง จึง
ถูกเรียกว่าเป็นชุมชนจินตกรรม เราอาจตั้งคำถามได้ว่าสื่อกลางดังกล่าวสามารถ
สร้างสถาบันทางสังคมและการปฎิบ้ติทั้งหลายซึ่งสืบทอดปฎิป้ติการและการผลิตช้า
ชุมชนจินตกรรมขึ้นมาในความสัมพันธ์ที่เป็นจริงของมนุษย์ได้อย่างไร การให้ความ
สำคัญสูงสุดกับมโนสำนึกเหนือปฎิบํติการของมนุษย์มีแนวโน้มจะออกไปในทาง
จิตนิยมเสมอ ฉะนั้น ชุมชนจินตกรรมใหม่จึงดูเหมือนจะถูกสร้างจากการเผยแพร่
ความคิดใหม่อย่างปราศจากแรงเสียดทานใด ๆ ราวกับการจดจารภาษาใหม่ลงบน
แผ่นกระดาษอันว่างเปล่า หากชาติมิใช่ชุมชนจินตกรรมชนิดแรกหรือเพียงชนิดเดียว
และถ้าสื่ออย่างใหม่มิได้ปฏิบัติการในสุญญากาศแล้วล่ะก็ จะต้องเกิดการพบปะ ปะทะ
แข่งขัน ผสมผสาน หรือเชื่อมประสานกันระหว่างสื่ออันเก่าและอันใหม่ด้วย
ประการที่สาม การนิยามชุมชนจินตกรรมของแอนเดอร์สันเป็นการนิยามใน
^
ทางตรง ( เว08เ1 6) ในทัศนะของเขา ภาษาเป็นสิ่งที่สร้างพื้นที่แห่งอัดลักษณ์ ก่อ
รูปร่างและนิยามแกนทางกาละและเทศะของลักษณะร่วมกันของชาติขึ้นมา แต่
การก่อรูปร่างของลักษณะร่วมก็ต้องนิยามความแตกต่างระหว่างปริมณฑลนั้นกับ
ปริมณฑลอื่นที่ต่างออกไป ตัวตนใดๆที่จินตนาการขึ้นมาย่อมมีนัยถึงตัวตนที่อยู่

บทนำ การส์าวงอยู่ของความเป็นชาด I 21
ในพรมแดนถัดออกไปด้วย นักชาติพันธุวิทยาล้วนคุ้นเคยเป็นอย่างดีถับความ
ยุ่งยากในการนิยามเขึ้อชาติ โตยพึ๋นฐาน การนิยามตัวตนเซิงเชื้อชาติเป็นเพียงการ
ขีดเส้นแบ่งพื่นที่ของความเป็น “เรา”ที่ตรงข้ามกับ “เขา”อย่างมีพลวัต ในหลาย
กรณี ความคิดว่าเราเป็นใครเป็นไปได้ด้วยการนิยามบุคลิกลักษณะของผู้คนที่มิใช่
พวกเรา มากกว่าจะเป็นการพิจารณาทางตรงว่าอะไรคือคุณสมป้ติอันเป็นธรรมชาติ
ของ “เรา” ยิ่งไปกว่านั้นการแยกแยะความแตกต่างก็เป็นเรื่องวัฒนธรรม หาได้
วางอยู่บนคุณสมบัติตามธรรมชาติแต่ประการใด ดังนั้นจึงสามารถเปลี่ยนแปลง
ได้43 นี่ก็เป็นความจริงของการนิยามตัวตนของความเป็นชาติเช่นถัน
หนังสือเล่มนี้มิใช่เป็นงานศึกษาอีกชินหนึ3่ เกี่ยวกับการสร้างชาติ พัฒนาการ
ของรัฐหรือกำเนิดของชาติ อีกทั้งไม่ไต้เป็นงานประว้ติศาสตร์การเมืองหรือเศรษฐกิจ
เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิก่อนสมัยใหม่สู่การเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ แต่เป็น
ประ'วัติศาสตร์ของ การนิยามตัวตนของความเป็นชาติ กล่าวคือ อะไรคือสิ่งที่ทำให้
เกิดการดำรงอยู่ของความเป็นขาติไทย และตัวตนของมันถูกรังสรรค์ขึ้นมาอย่างไร?

ชอฆเฃตและวิธีการธีกษๆ
ความเป็นชาติมีองค์ประกอบหลายประการ งานของแอนเดอร์ลันได้ยํ้าให้เห็นว่า
จิตสำนึกต่อเวลาแบบใหม่ช่วยสร้างสำนึกต่อชุมชนใหม่ที่มีรากเหง้าทางประวัติ -
ศาสตร์ (ที่แตกต่างจากชุมชนจินตกรรมก่อนหน้านี)้ และสำนึกต่อเวลาเดียวกัน
(ย่อ๓0ฐ6ก60บร 11๓6) ของชุมชนใหม่ งานขึ้นนี้มุ่งศึกษาองค์ประกอบอีกอันหนึ่ง
^^
ของความเป็นชาติ คือ ภูมิกายา (960 -|ว0( ) โดยจะอธิบายถึงปฏิบัติการของ
เทคโนโลยีการจัดการพึ้นที่ / ภูมิ (เ6๓10ท่3แ ) ที่ได้รังสรรค์ความเป็นชาติในเชิง
เทศะขึ้นมา และต้องการยํ้าให้เห็นถึงการแทนที่ของความรู้เกี่ยวกับพึ้นที่ /ภูมิที่ได้
ส่งผลให้เกิดสถาบันทางสังคมและการปฏิบัติที่นำไปสู่การสร้างความเป็นชาติขึ้นมา
การเสือกศึกษาภูมิกายานี้มิได้มาจากเหตุผลทางทฤษฎีหรือประวัติศาสตร์
ใด ๆ แด่ในเมื่อจะท้าทายความเป็นอมตะเหนือกาลเวลาของความเป็นไทยหรือความ
เป็นตัวเรา ก็น่าจะเป็นการเล่นกับคุณลักษณะของชาติที่เป็นรูปธรรมที่สุด ดูเหมือน
เป็นธรรมชาติและมีความมั่นคงถาวรมากที่สุด เพื่อจะแสดงให้เห็นว่าแม้แต่องค์-
ประกอบที่ลูเป็น “ธรรมชาติ”มากที่สุดที่สถาปนาความเป็นชาติ ที่แท้ก็ถูกสร้างขึ้น
ในทางวัฒนธรรมด้วยความรู้และเทคโนโลยีบางอย่าง กระนั้นก็ตาม งานศึกษานี้
กระทำต้วยความตระหนักอย่างเต็มเชื่ยมว่าในช่วงเวลาเดียวกันนี้ “การปฏิวัติทาง
22 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ดศาสตร์ภูมิกายาของชาต
เวลา”(๒6 โ6V01บ1เอก ๒ แ๓© ) ก็กำลังดำเนินอยู่และเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน44
ดินแตนของชาติมิใช่เป็นเพียงแค่'สันผิวโลกขนาดใหญ่ชิ้นหนึ่ง แต่มันเป็น
เรื่องของการจัดการสันที่/ภูมิ ในที่นี้ขออ้างถึงคำของนักทฤษฎีทางภูมิศาสตร์ที่วำ
“การจัดการสันที่ / ภูมิ [เป็น] ความพยายามของปัจเจกหรือกลุ่มคนในการสร้าง
ผลกระทบ กำหนดอิทธิพลและควบคุมคน ปรากฏการณ์ และความสัมพันธ์ ด้วย
การกำหนดขอบเขตและควบคุมสันที่ทางภูมิศาสตร์ ... [มัน] มิได้เกิดจากสัญชาต-
ญาณหรือแรงผลักอะไร แต่เป็นเรื่องของยุทธศาสตร์อันสลับซับซ้อน ... [และ]
เครื่องมือที่ผู้คนใช้สร้างและรักษาการจัดระเบียบของสันที่”45 การจัดการสันที่ /
ภูมิเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมสันฐานของมนุษย์สามประการ คือ การจัดหมวดหม
ของสันที่/ภูมิ การติดต่อสื่อสารด้วยเส้นเขตแตน และความพยายามบังคับใช้สอง
อย่างแรก แต่เหนืออื่นใด ในฐานะที่เป็นการแสดงออกขั้นสันฐานของภูมิศาสตร
เกี่ยวกับอำนาจและอิทธิพล “การจัดการสันที่เป็นสิ่งที่มนุษย์และสังคมสร้างขึ้นอย
เสมอ...เพราะมันเป็นผลิตผลของบริบททางสังคมซึ่งไม่ว่าเราจะพูดถึงมันว่าอย่างไร
.. . ก็จะมีนัยตามความหมายมาตรฐาน ( กอโ๓311V© 1๓ฤแอ©แอก ) ผูกติดอยู่และ
สามารถที่จะโยงกลับไปยังบริบททางสังคมไต้”46 ในทำนองเดียวกัน ภูมิกายาของ
ชาติคือการนิยามดินแดนที่กระทำโดยมนุษย์ซึ่งได้สร้างผลกระทบด่อผู้คน สรรพสิ่ง
และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ด้วยการจัดหมวดหมู่ ติดต่อสื่อสาร และบังคับใช้ให้เป็นจริง
กล่าวในทางภูมิศาสตร์ ภูมิกายาของชาติครอบครองสันผิวโลกจำนวนหนึ่ง
ซึ่งสามารถระบุขึ้ซัตออกมาได้ มันปรากฎต่อสายตาของเราราวกับดำรงอยู่ไต่โดย
มิไต่ขึ้นอยู่กับจินตนาการใดๆ แด่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ภูมิกายาของชาติเป็น
เพียงผลของวาทกรรมทางภูมิศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญของมันก็คือ
แผนที่ ความรู้มากมายของเราเกี่ยวกับความเป็นชาติของสยามถูกสร้างขึ้นจากการ
เห็นสยามที่อยู่บนแผนที่ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากแผนที่และมิไต้ดำรงอยู่นอกเหนือ
ไปจากบนแผนที่แต่อย่างใด
คำว่า “ภูมิกายา”เป็นคำที่ผู้เขียนคิดขึ้นมาเอง แต่มิได้มีคำจำกัดความตายคัว
หรือสำเร็จลงตัวแต่อย่างใด ผู้อ่านจะพบว่าคำนี้ยืดหยุ่นมากพอที่จะสื่อความหมาย
ต่างๆ เกี่ยวกับดินแตนของชาติ เราต่างรู้ดีว่าดินแดนของชาติมีความสำคัญเพียงใด
ดินแดนคือสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สุด กล่าวโดยตรงและโดยนัยได้ว่าเป็นฐานอัน
แข็งแกร่งที่สุตของความเป็นชาติทั้งมวล มีแนวติด การปฏิบัติ และสถาบันนับไม
ถ้วนที่เกี่ยวข้องหรือทำงานภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดของภูมิกายาของชาติ อาท
บทนำ การติารงอยู่ของความเป็นชาติ 23
เซ่น แนวคิดเกี่ยวกับบูรณภาพและอธิปไตย การควบคุมแนวชายแดน การปะทะ
ของกองกำลัง การรุกราน และสงคราม หรือการใช้ดินแตนนิยามเศรษฐกิจของ
ชาติ เซ่น ผลผลิต อุตสาหกรรม การค้า ภาษี ภาษีศุลกากร การศึกษา การปกครอง
^
วัฒนธรรม และอื่นๆ แต่การใช้คำว่าภูมิกายาก็เพื่อสื่อความหมาย (5เ9ก! ) ว่าสิ่งท
ศึกษามิใซ่เป็นเพียงเรื่องของพึ้นที่หรือดินแดน แด่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของ
ชีวิตของชาติ เป็นที่มาของความภาคภูมิใจ ความจงรักภักดี ความรัก พลังดลใจ
อคติ ความเกลียด เหตุผล ความไร้เหตุผล เมื่อคำนี้ถูกเชื่อมโยงเช้ากับปัจจัยด้าน
ต่างๆ ของความเป็นชาติ ยังไต้ผลิตแนวติดและการปฏิบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความ
เป็นชาติออกมาอีกมาก
ทั้งๆที่ดินแตนของชาติมีลักษณะเป็นรูปธรรม แต่ที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยว
กับประวัติศาสตร์ดินแดนของซาดิกดับมีน้อยมาก (หรือความเป็นรูปธรรมที่ว่าน
อาจเป็นสาเหตุก็ได้) งานเกือบทั้งหมดสนใจอยู่กับปัญหาความขัดแย้งเรื่องดินแดน
และการขีดเส้นพรมแดน งานเหล่านั้นมักถือว่ามีการกำหนดเส้นเขตแตนของชาติ
ในแบบสมัยใหม่ดำรงอยู่มานานแล้ว จากนั้น งานเหล่านั้นก็จะเพียงแด่ให้ความ
ชอบธรรมหรือตอบโต้ข้อกล่าวอ้างหนึ่งๆเกี่ยวกับดินแตน เพราะฉะนั้นก็เป็นเพียง
ประวัติศาสตร์การเมืองแบบเทคนิคทางการเมืองเท่านั้น มีเพียงงานของเอ็ดมุนค์
ลีช เกี่ยวกับพม่าที่กระตุ้นให้เกิดการพิจารณาอย่างจริงจังต่อความไร้เหตุผลของ
เส้นเขตแดนที่เพิ่งกำเนิดขึ้นมาเพียงหยกๆ47 อย่างไรก็ตาม สีซเพียงแต่เปิดเผยให
เห็นว่า เส้นเขตแดนสมัยใหม่มีช้อจำกัด และใช้ไม่ได้กับหน่วยของชาติพันธุ เขาไม่
ได้พิจารณาเกี่ยวกับบทบาทของเส้นเขตแตนสมัยใหม่ในฐานะผู้สร้างความเป็นชาติ
การขาดความสนใจในประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติได้นำไปสู่การดีความ
ทางประวัติศาสตร์ที่หลงทิศหลงทางหลายประการ เพราะถือเอาแนวความติด
สมัยใหม่เกี่ยวกับพึ๋นที่ไปอธิบายเหตุการณ์ในอดีตที่ยังอยู่ภายใต้วาทกรรมแบบ
ก่อนสมัยใหม่ ไม่เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวาทกรรมทาง
ภูมิศาสตร์แบบก่อนสมัยใหม่กับแบบสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพ
-หนึ่งไปสู่อีกแบบ ไม่มีใครสนใจจริงจังกับสภาวะที่ไม่มีเส้นเขตแดนแน่นอนของ
(1เ 3ก3เ0ฌา3110ก ) หรือการเปลี่ยนเคลื่อน ( ธห!!!:) หรือการเผชิญหน้ากันจากแบบ

สยามก่อนสมัยใหม่ ราวกับว่ามันเป็นเพียงข้อบกพร่องในทางปฏิบํติหรือทางเทค-
นิคเท่านั้น48 นักประวัติศาสตร์หลายคนดึงกับย้อนหลังไปขีดเส้นพรมแดนให้กับ

24 I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ชาติยุคก่อนสมัยใหม่ มีหนังสือจำนวนนับไม่ถ้วนที่แสดงดินแตนในประวัติศาสตร
ด้วยแผนที่ผิดยุคสมัย เอาแผนที่สมัยใหม่ไปใส่ให้กับภูมิและพื้นที่ในประวัติศาสตร
ในแง่นี้ งานซิ้นนี้มิใช่เป็นเพียงแค่การบันทึกว่าการทำแผนที่ถูกนัามาประยุกต์ใช
อย่างไรเมื่อไร และเส้นพรมแดนยุติลงด้วยสนธิสัญญาอย่างไร แต่ต้องการเน้นให
เห็นความเปลี่ยนแปลงที่วาทกรรมทางภูมิศาสตร์แบบใหม่ได้เช้ามาแทนที่วาห-
กรรมของคนพื้นถิ่น ก่อให้เกิดความชัดแย้ง การเผชิญหน้า และความเช้าใจผิด
อย่างไร ทั้งนี้ประเด็นใจกลางของงานศึกษานี้ก็คือคำถามที่ว่าแผนที่ได้สร้างภูมิ -
กายาของชาติสมัยใหม่ได้อย่างไร
ในที่นี้ ภูมิศาสตร์อยู่ในฐานะเป็นสื่อกลางชนิดหนึ่ง มิใช่สิ่งที่ “ดำรงอยู่แล้ว”
ตามธรรมชาติ แด่เป็นความรู้ชนิดหนึ่ง เป็นความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรมของ
ความเป็นจริงตามภววิสัย เป็นชุดของระบบสัญลักษณ์ เป็นวาทกรรม ยุทธศาสตร
ของงานศึกษานี้ก็คือการวิเคราะห์วาทกรรมของยุคก่อนสมัยใหม่และสมัยใหม่ แล้ว
สืบหา “ช่วงขณะ”( ๓0กา©กเ) ที่วาทกรรมเก่าและใหม่ปะทะกัน ช่วงขณะเหล่านั้น
- ^
เป็นปฎิบัติการทางการเมืองดัญวิทยา ( เว0เ )แ00 ธ6โกเ0เ0ฐ ) ซึ่งภายใด้ปฏิบ้ติการ
ดังกล่าว วาทกรรมใหม่ไต้คุกคามและเข้าแทนที่วาทกรรมที่มีอยู่ก่อน ช่วงขณะเหล่า
นี้เกิดขึ้นเมื่อมีการปะทะชัดแย้งของความคิดและความหมายเกี่ยวกับภูมิศาสตร
เส้นเขตแตน อธิปไตยเหนือเขตแดน และบริเวณชายขอบ (๓ลโ9เก) ช่วงขณะเหล่า
นั้นสามารถปรากฏตัวในกิจกรรมทางสังคมทุกรูปแบบ เช่น ความสัมพันธ์ทางการ
ทูต การสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์ จดหมายโต้ตอบสื่อสาร การเดินทาง ตำรา
เรียน สงคราม และในการสำรวจและทำแผนที่ มันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกหนแห่ง
จากห้องทำงานในวังจนถึงป่าดง ณชายแดนห่างไกล เราสามารถระบุช่วงขณะของ
การปะทะได้ด้วยการตรวจหาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีการสื่อความหมายคลุมเครือ
เกี่ยวกับภูมิและพื้นที่ อันเป็นผลของการที่วาทกรรมด่างชนิดกำลังประชันกันชิง
ความหมาย'ของชุดคำศัพท์ (เ6เทาเก0๒97) และการปฎิบัติเดียวกัน เราจะเห็นความ
สัมพันธ์ระหว่างการทำแผนที่และกำลังทางทหารในฐานะที่เป็นปฏิบัติการร่วมทาง
ความรู้และย้านาจที่สร้างสัจจะของความรู้ทางภูมิศาสตร์ขึ้นมา
การใช้คำว่า สยามชาวสยามประเทศไทย และไทย ตลอดหนังสือเล่มนี้ถึอ
ดามหลักง่ายๆคือ สยามและซาวสยามใช้สำหรับก่อนที่จะมีการเปลี่ยนชื่อประเทศ
ในปี 2482 (ค.ศ. 1939 ) ส่วนคำว่าประเทศไทยและไทยใช่ในบริบทหลังปี 2482

บทนำ การติารงอยู่ของความเป็นชาติ 25
การทำเซ่นนี้ทั้งๆ ที่รู้เป็นอย่างดีถึงข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับซื่อของประเทศว่า การ
เปลี่ยนชื่อของประเทศและผู้คนเป็นการกระทำทางการเมืองของระบอบคลั่งชาติ
เพื่อส่งเสริมการครอบงำของชาติพันธุและวัฒนธรรมไทยเหนือคนกลุ่มอื่น แต่ถึง
แม้ว่าอคติทางชาติพันธุตามที่แสดงออกในรากศัพท์ของชื่อดังกล่าวและตามความ
เป็นจริงเป็นเรื่องยากเกินกว่าจะแก้ตกไปได้ง่ายๆ แด่ความหมายที่ครอบงำก็ไม่ไต้
มีความสำคัญอีกต่อไป การใช้คำว่า ไทยในปัจจุบันกว้างขวางกว่าความหมายทาง
ชาติพันธุ ตัวอย่างเซ่น “ความเป็นไทย”ที่ได้กล่าวถึงในบทน่านี้ มีได้ต้องการให้
หมายถึงคุณลักษณะของคนเชึ้อชาติไทยโดยเฉพาะเพียงกลุ่มเดียว แต่หมายถึงคน
ของประเทศไทยโดยรวม ในอีกด้านหนึ่งการใช้คำว่าสยามนั้นแคบกว่ามาก ไม่มี
ใครใช้คำว่า “ความเป็นสยาม”เพื่อหมายถึงคุณลักษณะร่วมกันของประชากร
ทั้งหมดของชาติ ชื่อที่ตั้งใหม่นี้ยังไม่เคยถูกเปลี่ยนแปลงนับแต่กำเนิดขึ้นมา แต่การ
ใช้และการอ้างอิงถึงชื่อนี้ทั้งในแง่ของประเทศและประชาซนได้เปลี่ยนไปแล้ว ดังนั้น
ความสดับซับช้อนของปัญหานี้จะถูกละไว้นอกขอบข่ายของการศึกษานี้
คำอีกคำหนึ่งที่มักทำให้หลงความหมายอย่างมากก็คือ “สมัยใหม่ ”( ๓0016๓)
เป็นคำคลุมเครือและสัมพัทธ์จนแทบจะไม่สามารถสื่อความได้ซัดว่ามีลักษณะ
เฉพาะทางประว่ติศาสตร์อย่างไร ยกเว้นคำนามที่มีความหมายเฉพาะ เซ่นศิลปะ
ของยุคสมัยใหม่ (๓0016๓13๓) แล้ว คำนี้สามารถหมายถึงสารพัดสิ่ง ขึ้นอยู่กับคำ
นามที่ตามมาหรือบริบทที่ใซั ตัวอย่างเซ่น ยุคสมัยใหม่ของอุษาคเนย์มิได้มีความ -
หมายเซ่นเดียวกับยุคสมัยใหม่ของยุโรป หรือของศิลปะ ในบริบทของประว่ติศาสตร์
สยาม คำคุณศัพท์คำนี้มักหมายถึงการเป็นอย่างตะวันตกในแง่ตรงข้ามกับเป็นอย่าง
จารีต แต่น่าสงสัยว่าสยามที่เป็นอย่างตะวันดกในปลายศตวรรษที่ 19 ยังจะถือว่า
เป็น “สมัยใหม่ ”ได้หรือไม่ ความไม่ชัดเจนของคำๆ นี้ทำให้คำอื่นๆที่สัมพันธ์กัน
เซ่น “จารีต”“ก่อนสมัยใหม่ ”และอื่นๆ พลอยคลุมเครือไปด้วย คำแต่ละคำเหล่านี้
เป็นที่เข้าใจได้ก็ต่อเมื่ออ้างอิงถึงคำอื่นๆ
ยิ่งไปกว่านั้น โดยปกติคำว่า “สมัยใหม่”มักจะทึกทักกันว่าหมายถึงการเคลื่อน
ไปข้างหน้า ความก้าวหน้า หรือกระทั่งหมายถึงดีและเป็นธรรม กล่าวคือ มันอ้าง
ความเหนือกว่าสิ่งที่เป็นคู่ตรงข้าม เหนือกว่าก่อนสมัยใหม่และจารีต แน่นอนว่าการ
กล่าวอ้างเซ่นนี้ใม่จำเป็นต้องถูกต้อง แด่ด้วยลักษณะสัมพัทธ์และไม่ชัดเจนนี่เองจึง
ช่วยให้คำๆ นี้มีความยืดหยุ่นและครอบคลุม จนสามารถใชในโอกาสใดก็ได้ ฉะนั้น
ในแง่นี้คำนี้จึงมีประโยชน์มาก

26 ก็าเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาดิ
บกที่ 1
ภูมิของคนพื้นที่นและแผนที่โบราณ
บกกี่ 1
ภูมิของคนผื้นถี่นและแผนที่โบราณ

งานส่วนใหญ่ที่ศึกษาความคิดก่อนสมัยใหม่ของไทยเกี่ยวกับพนที่ /ภูมิ มักจะมุ่ง


ความสนใจไปที่จักรวาลวิทยาของพุทธศาสนาที่รู้จักกันในนาม จักรวาลวิทยาแบบ
ไตรภูมิ ไตรภูมิซึ่งแปลตรงตัวไต้ว่าสามโลกนั้น เป็นคติคำสอนที่สำคัญของพุทธ
เถรวาท คัมภีร์ภาษาไทยที่รู้จักกันมากที่สุดของคตินี้ก็คือ ไตรภูมิพระร่วง' แม้จะ
ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเอกสารดังกล่าวเขียนขึ้นเมื่อใต แต่เชื่อกันว่าเป็นคัมภีร์
สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย2 ความสำคัญของจักรวาลวิทยาดังกล่าวเห็นได้ชัดเจน
แม้กระทั่งในปลายศตวรรษที่ 18 กษ้ตริย์คนสำคัญสองคนคือพระเจ้ากรุงธนบุรีและ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ก็ยังจัดให้มีการสังคายนาคัมภีร์ไตรภูมิขึ้นใหม่ โดยถือ
เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญเพื่อพื่นฟูราชอาณาจักรภายหลังกรุงศรีอยุธยาถูกพม่า
ทำลายในปี 2310 (ค.ศ. 1767) ผลที่เกิดขึ้นมิใช่แค่การคัดลอกโตรภูมิพระร่วง อีก
ครั้ง แด่เป็นการแต่งขึ้นใหม่ภายใต้กรอบของคติความเชื่อเดียวกัน อย่างไรก็ตาม
การทึกทักว่าไตรภูมิเป็นมโนภาพเชิงพื่นที่/ภูมิเพียงแบบเดียวของคนพื่นถิ่นสยาม
ก่อนภูมิศาสตร์สมัยใหม่จะเข้ามาถึงนั้นเป็นการหลงทิศผิดทางแน่ๆ3

ภูมิลักษณ์ สักตสิทธ
ตามจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ สิ่งมีชีวิตถูกแบ่งกลุ่มตามบุญกรรมของตน และถูก
กำหนดให้มีชีวิตอยู่ในภูมิหนึ่งๆตามแด่ผลบุญที่ได้สั่งสมมา สิ่งชั่วร้ายที่สุดต้องอยู่
ในนรกขุมลึกที่สุด ใครมีบุญมากขึ้นก็ได้อยู่ในภูมิที่สูงขึ้นไป ผลบุญสามารถเพิ่มขึ้น
หรือลดลงโดยขึ้นอยู่กับการกระทำของบุคคล ทั้งยังส่งผลต่อชีวิตในชาติหน้าด้วย
ด้วยตรรกะเช่นนี้ ชีวิตในปัจจุบันก็คือผลของ.ชีวิตก่อนหน้า ไตรภูมิหรือโลกทั้งสาม

บทที่ 1 ภูมิของคนพนถิ่นและแผนที่โบราณ 29
นี้มีทั้งหมด 31 ชั้นภูมิ จัดลำดับชั้นตามคุณค่าของสรรพสัตว์โดยโลกมนุษย์เป็น
เพียงชั้นภูมิหนึ่งเท่านั้น พื้นที่ / ภูมิในไตรภูมิแสดงคุณค่าของสรรพภาวะตาม
จินตนาการ แต่ถึงกระนั้นคัมภีร์โตรภูมิทั้งหมดเท่าที่เหลือมาถึงปัจจุบันก็ได้แจกแจง
รายละเอียดของภูมิต่าง ๆ โดยเฉพาะโลกมนุษย์ รวมทั้งรายละเอียดการโคจรของ
ตวงอาทิตย์และตวงจันทร์ ตลอดจนการเปลี่ยนฤดูกาลไว้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
ในขณะที่ ไตรภูมิพระร่วง และคัมภีร์อื่นๆในแนวเดียวกันโดยทั่วไปเป็นเรื่อง
ของสิ่งมีชีวิตในระดับต่างๆของภูมิทั้งสามและสัจธรรมของนิพพานโดยมีเพียงหนึ่ง
หรือสองบทเท่านั้นที่เกี่ยวกับจักรวาล การเคลื่อนไหวของโลก และสัณฐานของโลก
แต่บางคัมภีร์ในแนวเดียวกันที่สำคัญๆเช่น โลกป้ญอุ/ต และ จักรวาลทีปนีกลับเป็น
แม่แบบของตำราจักรวาลวิทยา4 ตัวอย่างเช่น จักรวาลทีปนีซึ่งถือเป็นการบรรยาย
เกี่ยวกับจักรวาลวิทยาที่ดีที่สุดนั้น สาระสำคัญเน้นเฉพาะเรื่องของรูปทรงสัณฐาน
ของโลกและจักรวาล ทั้งนิยามขนาด และรายละเอียดของส่วนต่างๆของโลก ( เช่น
ภูเขา มหาสมุทร และอื่นๆ ) ทวีปทั้งสี่ของมนุษย์ เรื่องราวของ 36 เมืองและ 21
ชนบท บทบรรยายเกี่ยวกับภพของเทพเทวดาและใต้พิภพ5 สำหรับมนุษยภูมินั้น
ประกอบด้วยสี่ทวีปใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ดามทิศทั้งสี่รอบภูเขาที่เป็นใจกลางของจักรวาล
คือเขาพระสุเมรุ และยังมีมหาสมุทรและภูเขาอีกเจ็ดทิวคั่นอยู่ระหว่างทวีปทั้งสี่กับ
เขาพระสุเมรุ นอกเหนือจากทวีปทางทิศใต้หรือชมพูทวีปแล้ว เรื่องของอีกสาม
ทวีปเป็นที่รับรู้น้อยมากหรือรับรู้เพียงในแง่สัญลักษณ์เท่านั้น ส่วนชมพูทวีปนั้น คือ
ดินแดนที่พระพุทธเจ้าประสูติและเป็นที่ตั้งของประเทศทั้งหลายที่รู้จักกันทั้วไป แม้
การบรรยายเกี่ยวกับมนุษยภูมิในคัมภีร์ต่าง ๆ จะเต็มไปด้วยตัวเลขอย่างละเอียดซึ่ง
โดยมากเป็นสูตรท่านองเดียวกัน แต่ภาพของโลกมนุษย์ที่ปรากฎในคัมภีร์ด่าง ๆ
นั้นกลับแตกด่างกันไป โลกมนุษย์สามารถถูกจินตนาการได้หลากหลายแบบ
การศึกษาเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาของพุทธเถรวาทและการเปลี่ยนเคลื่อน (3ฤ1 1)
ไปสู่จักรวาลวิทยาสมัยใหม่ในปลายศตวรรษที่ 1 9 นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักประว้ติ -
*
ศาสตร์ที่สนใจเรื่องไทย6 อย่างไรก็ดาม ไม่มีการศึกษานักว่าความสัมพันธ์ระหว่าง
จักรวาลวิทยาพุทธกับความคิดภูมิศาสตร์ในแบบอื่นๆ เป็นอย่างไร อันที่จริงความ
สนใจศึกษาความคิดเกี่ยวกับพื้นที่ /ภูมิแบบอื่นแทบไม่มีอยู่ด้วยชั้า* การลดความ
* นี่เป็นข้อดังเกตขณะที่เขียนหน้ง์สีอเลํมนี้เมื่อด้นทศวรรษ 1990 นับจากนั้นมามึการลึกษาเกี่ยวกับ
เทศะ/พนที่ เพิ่มขึ้นมาก - หมายเหจุเพิ่มเดิมฉบับแปล

30 เ1าเนิดสยามจากแผนที่ : ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
หลากหลายของมโนภาพพื้นถิ่นในเรื่องพื้นที่ /ภูมิลงไปเหลือเพียงกรอบของไตรภูมิ
ทำให้เราหลงทางสองประการ ในประการแรก โลกมนุษย์ในจักรวาลวิทยาแบบ
ไตรภูมิถูกมองว่าเป็นทัศนะอันบิดเบี้ยวหรือล้าหลังของซาวบ้านที่มีต่อโลก เป็น
ทัศนะที่แปดเข้อนด้วยความเชื่อผิดๆ หรืองมงาย7 แด่น่าสงสัยว่าการถ่ายทอดเชิง
สัญลักษณ์อย่างในแผนที่โลกของไดรภูมิที่ว่านี้ ถูกออกแบบให้เป็นภาพแทนของ
โลกจริงๆหรือ? ความจริงที่ว่ามีการพรรณนาโลกในลักษณะต่างๆกันไป (เช่นโลก
ทรงสี่เหลี่ยมแบนราบบ้าง หรือโลกทรงกลมบ้าง) มิได้ชี้ถึงพัฒนาการต้านความรู้
ของชาวบ้านเกี่ยวกับลูกโลกหรือชี้ถึงความงมงายขาดความรู้แด่อย่างใด ทว่าน่าจะ
เป็นสิ่งบอกให้รู้ว่า รูปธรรมของโลกมนุษย์สามารถจินตนาการขึ้นมาได้มากกว่า
หนึ่งแบบ เพียงแต่ว่าต้องยึตมั่นในความหมายทางจิตวิญญาณของภูมิทั้งสาม มิติ
ทางจิตวิญญาณนี้ศึอ “ความเป็นจริง”ของเทศะแบบไตรภูมิ นี่ต่างหากที่เป็นคฺวามรู้
สำคัญที่ต้องการให้สื่อออกมาอย่างถูกต้อง
ประการที่สอง ความรู้พื้นถิ่นเกี่ยวกับกายภาพของพึ้นผิวโลกถูกมองข้าม
ราวกับว่าไม่มีอยู่เลย แท้ที่จริง ภายใต้การครอบงำของจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ
ยังมิความรู้พื้นถิ่นเกี่ยวกับพื้นที่ / ภูมิอีกหลายแบบดำรงอยู่เซ่นกัน ซึ่งรวมถึง
มโนทัศน์ของโลกกายภาพที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาด้วย งานคลาสสิคที่จะต้องพิจารณา
เป็นอันดับแรกคืองานของ โรเบิร์ต ไฮน์-เกลเต็น ( ค0๖6ก เ-เ6เก6-06๒6โก) ว่าด้วย
ความสัมพันธ์ของจุลจักรวาลกับมหจักรวาล ( กา!0โ0005๓ สก!) ๓ส01-0003๓) จาก
การศึกษาแบบแผนทางสถาปัตยกรรมของพระราชวังและศาสนสถาน'โนอุษาคเนย์
-
ไฮน์ เกลเด็นแสดงให้เห็นว่าอาณาจักร ศูนย์กลางอาณาจักร และพระราชวังอันเป็น
ที่ประหับของกษ้ต่ริย์นั้นคือจุลจักรวาล พระราชวังและศาสนสถานจึงต้องถูกออก-
แบบให้สอตรับกับระเบียบจักรวาล พื้นที่ทางสถาปัตยกรรมทั้งในจารีตของพุทธ
ฮินดู หรืออิสลาม ล้วนแต่เป็นการจัดการพื้นที่โดยสัมพันธ์เชิงอุปมากับจักรวาล-
วิทยา8 กระนั้นก็ตาม พึ้นที่ทั้งสองแบบนี้ก็หาได้เหมือนกันทั้งหมดเสียทีเดียว พื้นที่
ทางสถาปัตยกรรมมีกฎเกณฑ์จารีต แบบแผนของการเปลี่ยนแปลงของตนชุดหนึ่ง
อันที่จริง เรื่องพื้นที่คักดี้สิทชี้ของศูนย์กลางเป็นหัวขัอที่รู้จักกันดีในหมู่นักประว้ติ -
ศาสตร์และนักมานุษยวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับอุษาคเนย์9

บทที่ 1 ภูม๚ิ องคนขึ้นถิ่นและแผนที่โบราณ 31


^
ครั้งหนึ่ง แฟรงค์อ.ี เรย์โนลส์ ( เ สกเ* ค©Vก0ฬ 5) ได้เที่ยวซมวัดสี่แห่งใน
ประเทศไทย และด้นพบการเดินทางไปสู่สิ่งที่เขาเรียกว่าเทศะแบบพุทธวิทยา
( ธบฝ่ปก010ฐ!03เ ร[ว308) เรย่โนลส์แบ่งความคิดของพุทธเถรวาทออกเป็นสามระดับ
ได้แก่ ปวัชญาเกี่ยวกับนิพพาน จักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ และเรื่องราวทางพุทธ-
วิทยาเกี่ยวกับพุทธประว้ดิ ชาดก พระธาตุ พุทธทำนาย และอื่นๆ ทั้งสามระดับนี้
แม้จะอิงอาศัยกันและกัน ทว่าเป็นวิธีการเข้าถึงพุทธศาสนาในแบบต่างๆกัน แถม
ยังร้อยวัดผูกพันกับความเชื่อต่าง ๆ ของท้องถิ่นหรือความเชื่ออื่นๆ ของอินเดียอีก
ด้วย จิตรกรรมฝาผนังภายในวัดต่างๆที่เรย์โนลส์เข้าซมล้วนบอกเล่าพุทธประวิด
อย่างเชื่อมโยงกับท้องถิ่นทำเลที่ตั้งของวัดนั้นๆ10 ในภาพวาดเหล่านี้ ถิ่นทำเลที่ตั้ง
ของวัดและดินแดนอันเป็นสากลของพระพุทธเจ้าถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน กลายเป็น
ภูมิศาสตร์แบบพุทธวิทยา ( ธบปฝ่แอเอฐเวสเ ฐ60ฐโส|วกV ) ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะถูกต้อง
ตรงกับโลกบนดินที่เรารู้จัก จิตรกรรมฝาผนังนั้นเป็นเสมือนงานประพันธ์ที่คนไทย
เรียกว่าตำนาน หรือที่ภาษาพม่าเรียกว่าตะมาย (7กสทาส!กฐ) ซึ่งเชื่อมต่อกาละและ
เทศะของพุทธศาสนาเข้ากับแต่ละท้องถิ่น ค่าความจริงของภูมิศาสตร์แบบพุทธ-
วิทยานี้ก็เป็นเซ่นเดียวกับค่าความจริงของโลกในไตรภูมิ คิอมิได้อยู่ที่ความถูกต้อง
แม่นยำของคำพรรณนาถึงผิวโลก แต่อยู่ที่การนำเสนอความเป็นจํริงทางจิตวิญญาณ
ที่ถูกถ่ายทอดผ่านเรื่องราว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต่างจากไตรภูมิก็ดีอเทศะที่ภาพ
จิตรกรรมสนใจมิใช่จักรวาลวิทยาของสามภูมิ แต่เป็นเทศะแบบศาสนาของพุทธ-
วิทยา หน่วยของเทศะเซ่นนี้จะวับรู้เข้าใจได้ก็ต่อเมื่อนำมาสัมพันธ์กับเรื่องราวของ
พุทธศาสนาในท้องถิ่น จิตรกรรมฝาผน้งจึงเป็นการนำเสนอภาพแทนพี้นที่/ภูมิอีก
ชนิดหนึ่งนั้นเอง
พี้นที่/ภูมิทางศาสนาอีกชนิดหนึ่งคือภูมิลักษณ์ของการจาริกแสวงบุญและ
*
ชะตาลิขิต ชาร์ลส์ คายส์ ((วเาสฝ65 6X63) ได้ศึกษาพระธาตุดักตี๋สทธึ้ 1 2 แห่งของ
ซาวล้านนา ซึ่งเชื่อกันว่าแต่ละพระธาตุมีอำนาจเหนือปีเกิดในรอบ 12 นักษัตร นั่น
หมายความว่าตวงชะตาของคนๆ หนึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของพระธาตุประจำปีเกิด
ของตน ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่จะดักการะบูชาพระธาตุของตน คายส์ซี้
ว่าวงจร 12 นักษัตรคือระเบียบจักรวาลก่อนยุคภารตะที่มีมาแต่โบราณในภูมิภาคนี้
ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นระเบียบจักรวาลแบบพุทธในเวลาต่อมา ฉะนั้นพระธาตุทั้ง 12
แห่งนี้จึงเข้ามาแทนที่สิ่งศักดึ้สิทธึ๋ตั้งเดิมของท้องถิ่น เชื่อกันว่าพระธาตุ 12 นักษัตร

32 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว?!ศาสตร์ภูมิกาขาของชาติ
มีความเกี่ยวพันกับพระพุทธเจ้าไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ถึงแม้บางแห่งจะมีอายุไม่มาก
ก็ตามและตำแหน่งของพระธาตุอาจจะเปลี่ยนไปไต้ แต่ตัวเลขจะต้องเป็น า 2 เช่น
เติม 11 นอกจากนี้ ยังถือกันว่าสถานที่ศักดึ๋สทธี๋ทั้ง 1 2 แห่งนี้รวมกันเป็นภูมิลักษณ์
ของจักรวาลซื่งผู้คนเดินทางแสวงบุญไปสักการะให้ครบ หากไม่ใช่เพื่อไปทำบุญก็
เพื่อเสริมดวงชะตาของตน น่าสนใจที่ภูมิลักษณ์นี้ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของพม่า
ลาว และภาคเหนือของไทย และเชื่อมโยงพื้นที่เหล่านี้เข้ากับด้นกำเนิดในอินเดีย
หนึ่งในพระธาตุกลุ่มนี้อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงต้องกำหนดให้วัตแห่งหนึ่งบน
พื่นโลกเป็นสิ่งแทนเพื่อให้ผู้คนดักการะบูชาได้ด้วย เครือข่ายของพระธาตุจึง
ไม่เพียงแต่ขยายข้ามพรมแดนประเทศเท่านั้น แด่ยังข้ามพันโลกมนุษย์อีกด้วย
ครอบคลุมพึ้นที่ /ภูมิในจินตนาการอย่างสวรรค์และชมพูทวีป ตลอดทั้งพื้นที่ที่เป็น
จริงของล้านนา พม่า ลาว และอินเดียเข้าไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม แผนที่ของการ
แสวงบุญนี้มิได้เหมือนกับแผนที่สมัยใหม่ซึ่งแสดงสถานที่และระยะทางบนพื้นผิว
โลก แด่เป็นเหมือนบันทึกการเดินทางในรูปของแผนผัง ซึ่งแสดงสถานที่ต่างๆใน
ดักษณะที่มีความเชื่อมโยงบางอย่างต่อกัน (ตูภาพที่ 1 ) 12
ภูมิศาสตร์ของการแสวงบุญนี้มิใช่ระเบียบจักรวาลก่อนยุคภารตะเพียงแบบ
เดียวที่เป็นกรอบในการจัดระบบความคิดเกี่ยวกับพื้นที่ /ภูมิ เอช. แอล .ชอร์โต ( เ-เ. เ-.
รก0110 ) และเตวิด แชนด์เลอร์ ( อ37๒ อก3กฝ่เ0|- ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับระเบียบของ
พื้นที่ /ภูมิของอาณาจักรมอญและกัมพูชา ซึ่งถือกำเนิดและถูกจัดวางโดยจักรวาล -
วิทยาก่อนยุคภารตะ พื้นที่ /ภูมิเหล่านี้มิได้เป็นเทศะในจินตนาการดังเช่นในไตรภูมิ
แต่เป็นการจัดระบบพื้นที่ / ภูมิของพื้นพิภพโลก เป็น “ความเป็นพื้นที่ /ภูมิ (๒๓ -

^
๒กํล111)0” ตามคำของโรเบิร์ต แซ็ค (ซึ่งกล่าวถึงในบทก่อน) อาณาจักรมอญอันเป็น
อาณาจักรโบราณตามแนวชาย งตอนใต้ชองพม่าในปัจจุบันนั้น แบ่งออกเป็น 32
หัวเมือง (๓70 ) เสมอมาโตยไม่รวมเมืองหลวง ไม่ว่าอำนาจของอาณาจักรจะแผ่ขยาย
หรือถดถอยอย่างไร ตัวเลขก็จะยังคงเป็น 32 เช่นเดิม เรื่องเกี่ยวกับที่มาของ 32
หัวเมืองนี้มีอยู่ต่างๆกันไป ตำนานหนึ่งเล่าว่าหัวเมืองทั้ง 32 คือสถานที่ประดิษฐาน
พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นอาณาจักรมอญจึงเป็นพุทธจักรที่
แท้จริงตามพุทธทำนาย อีกตำนานหนึ่งเล่าว่าเมืองเหล่านั้นเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้า
ผู้มีข้างเผือก ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักตึ้สิทธึ้ตู่บารมีกษ้ตริย์ อย่างไรก็ตาม ชอร์โดพบว่า
ในทุกกรณี การจัดลำดับชั้นของหัวเมืองนั้นเหมือนกับระเบียบของการบูชาผีหรือ

บทที่ 1 ภูมิของคนด้นถิ่นและแผนที่โบราณ 33
นัต (กสเ) 37 ตน อันเป็นผีของคนพื้นถิ่นในยุคก่อนที่พุทธศาสนาเข้ามา เช่น อารักษ์
ประจำถิ่น ผีประจำภูเขา หรือผีบรรพบุรุษซึ่งจำนวนมากถูกแทนที่ด้วยสิ่งศักดึ๋สทขึ้
ทางพุทธศาสนา หรือกลายมาเป็นพระธาตุในเวลาต่อมา 13 กล่าวโดยย่อดือ เมื่อนำ
เรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของหัวเมืองทั้งหมดมาประมวลกันเข้าก็จะพบว่าอาณาจักรของ
เมืองทั้ง 32 นี้เป็นดินแดนศักดี๋สฑขึ้ที่ร้อยรัดเข้าด้วยกันโดยสิ่งศักดึ๋สทขึ้ 32 อย่าง
ไม่ว่าจะเป็นข้างเผือก ผี พระธาตุเจดีย์ หรือทั้งหมดนั้นประกอบกันโดยให้ชิ่งศักดื่สฑขึ้
สูงสุดประดิษฐานอยู่ที่เมืองหลวง นี่ดือกฎของจักรวาลในการจัดระบบพึ้นที่ /ภูมิ
ภายในอาณาจักรมอญรวมถึงอาณาจักรพม่าที่รับเอาจารีตของมอญไปใช้ด้วย
อาณาจักรหนึ่งๆ จึงถูกจัดวางตามระเบียบจักรวาลไม่ว่าจะเป็นแบบภารตะ
หรือก่อนภารตะ ระบบความคิดทางศาสนานั้นเองที่ทำให้อาณาจักรศักดื่สิ่ทขึ้หรือ
พื้นที่ / ภูมิอันศักดื่สทขึ้มีหลักหมายชัดเจนโดยพระธาตุประจำถิ่น ซึ่งหลายแห่ง
เสมือนเป็นเทพยสถาน ยิ่งไปกว่านั้น ถึงแม้ว่าตัวเลขในที่นี้จะไม่ใช่ 1 2 อย่างกรณี
เทศะของการจาริกแสวงบุญข้างต้น แต่คำอธิบายอย่างเป็นเหตุผลของตัวเลขเหล่า
นี้ล้วนคล้ายคลึงกัน14 จักรวาลวิทยาจึงดูเหมือนจะสัมพันธ์กับการจัดการพื้นที่ /ภูมิ
ของอาณาจักรมากขึ้นไปอีก กระนั้นมันก็มิใช่เทศะประเภทเดียวกัน
แขนด์เลอร์ศึกษาชื่อภูมิประเทศในเอกสารเก่าแก่ของเขมรสองขึ้น และพบว่า
อาณาจักรกัมพูชาเป็นภูมิลักษณ์ศักดึ้สิทธึ้ของสถานที่ต่างๆซึ่งมีผีเจ้าที่ ( ๓6ธล,
^
กส ส ) คอยเผีาดูแลหรือเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมศักดี้สิทขึ้ ถึงแม้ว่า
แขนด์เลอร์จะมิไต้อภิปรายถึงระเบียบของจักรวาลที่อยู่เบื้องหลังการจัดการพื้นที่ /
ภูมิในลักษณะดังกล่าว แต่เขาก็ได้ยํ้าให้เห็นถึงอีกด้านหนึ่งของรายชื่อภูมิประเทศ
เหล่านั้น นั้นดือ มันเป็นแผนที่พื้นถิ่นของอาณาจักรโดยรวมก่อนหน้าที่แผนที่ภูมิ -
ศาสตร์สมัยใหม่จะเข้ามา 15
ในกรณีของสยาม ความคิดที่ว่าอาณาจักรในความรับรู้ของผู้คนเป็นภูมิลักษณ์
ศักดึ้สิทธึ้นั้น เห็นได้ชัดเจนจากคำที่ใข้เรียกดินแดนในอำนาจของกษัตริย์ คำว่า
“อาณาจักร”นั้นแปลตรงตัวไต้ว่าดินแตนภายใต้วงโคจรของจักร อันเป็นสัญลักษณ์
แทนกษัตริย์อีกคำหนึ่งดือ “ขอบขัณฑสีมา ”แปลตรงตัวได้ว่าปริมณฑลที่'อยู่ภายใน
กำหนดของหลักสีมาหรือเสมา ดือหินเครื่องหมายบอกเขตพื้นที่ศักดี้สิทขึ้ซึ่งตาม
ปกติหมายถึงรัดอันเป็นสถานที่ประกอบพิธีอุปสมบท เสมายังหมายถึงหินรูปทรง
เดียวกันบนกำแพงเมืองด้วย ฉะนั้นจึงถึอกันว่า แผ่นดินของกษัตริย์ดือดินแดน

34 I ก็าเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ศักดิ้สิทธี้ภายใต้อำนาจของจักรของกษัตริย์ หรือดินแดนศักดี้สิทธี้ภาย'ใน'ขอบเขต
ของสีมา นอกจากนี้ยังมีเอกสารชิ้นหนึ่งของไทยสมัยต้นกรุงศรีอยุธยาหรืออย่าง
น้อยในช่วงกลางศตวรรษที่ 14 ที่คล้ายกับเอกสารเขมรที่แขนต์เลอร์ศึกษาด้วย ถึง
แม้ว่าจะยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับตัวเลขคักตึ้สิทธี้หรือสหพันธภาพของผีประจำ
ถิ่นต่างๆที่ปรากฏในเอกสาร แต่ความศิตที่ว่าเมีองหนึ่งๆมีเทพารักษ์ประจำอยู่นั้น
ก็เป็นเรื่องที่รู้จักกันดี แม้แต่กรุงเทพฯ ทุกวันนี้ก็มักมีการเรียกหาพระสยามเทวา -
ธิราชผู้เป็นเทพารักษ์เพื่อขอให้ปกปักคุ้มครองทั้งประเทศ

ภาฬบองทึ้นที๋ /ภูมิในจินตนาการ: แผนที่โบราณ


แผนที่ไตรภูมิศึอการสื่อแทน ( โ6|3|-636ก131!0ก ) การดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
ออกมาเป็นรูปภาพ รูปลักษณ์ของสามโลกนั้นเป็นสัญลักษณ์สำหรับเรา คือ ไม่ใช่
แผนที่ของภูมิศาสตร์โลกจริง ๆ แผนที่ไตรภูมิมิได้มีอยู่แค่ในเอกสารตัวเขียนเก่าแก่
แด่ยังพบได้ตามฝาผนังของวัดพุทธจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ภายในโบสถ์ด้าน
หลังพระประธาน ซึ่งแสดงถึงความสำคัญของจักรวาลตามคติพุทธศาสนา อย่างไร
ก็ตาม ภาพของพึ้นที่ /ภูมิแบบไตรภูมิมักแตกด่างกันไป รูปทรงของชมพูทวีปอาจจะ
เป็นรูปไข่หรือสามเหลี่ยมก็ได้16 ความแตกต่างนี้สะท้อนให้เห็นถึงจารีตหรือสำนัก
จิตรกรรมอันหลากหลายมากกว่าเป็นเรื่องของพัฒนาการของความรู้เกี่ยวกับโลก
จักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ เป็นเพียงหนึ่งในบรรดาเรื่องราวที่เป็นที่รู้จักกันดีที่
ปรากฏอยู่บนฝาผนังวัดเท่านั้น ยังมีเรื่องอื่นๆในทางพุทธวิทยาอีก เช่น พุทธประว้ติ
พระเวสสันดรชาดก และเรื่องเกี่ยวกับพระธาตุหรือพระพุทธรูปด้วย โดยส่วนใหญ่
ภาพจักรวาลวิทยาและพุทธวิทยาจะอยู่บนฝาผนังคนละด้านกัน17 ยังมีเอกสารเก่า
แก่อีกชิ้นหนึ่งซึ่งเป็นแหล่งที่มาสำคัญของภาพวาดความรู้ทางพุทธวิทยามาจนถึง
ทุกวันนี้ เอกสารที่ไม่ปรากฏชื่อนี้ระบุว่าเขียนขึ้นในปื พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776 ) แต่
ÿ™
ชื่อที่ดั้งให้ในภายหลังว่า นบุรี อาจทำให้เราเข้าใจผิดไป
'

ว่าภาพเขียนเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องราวของไตรภูมิทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าเนี้อหาหลักของ
เอกสารดังกล่าวจะเป็นรูปภาพเกี่ยวกับไตรภูมิ แต่ที่จริงก็มิได้มีแต'พรรณนาทาง
พุทธศาสนาเท่านั้น หากยังได้รวมเอาแผนที่ต่างๆ ชนิดเข้ามาไว้ด้วย18
เอกสารตัวเขียนดังกล่าวเป็นหนังสีอภาพสมุดไทย มีภาพจักรวาลวิทยาแบบ
ไตรภูมิ เรื่องพุทธประรัต มหาชาติชาดก และดำนานที่พุทธศาสนาเข้ามาในดินแดน

บทที่ 1 ภูมิของคนพึ้นถิ่นและแผนที่โบราณ 35
สุวรรณภูมิหรืออุษาคเนย์ภาคพื้นทวีปในปัจจุบัน เอกสารเริ่มจากภาพมหานคร
,
นิพพาน อันเป็นปริมณฑลแห่งการหลุดพ้นชั่วนิรันดร์ซึ่งอยู เหนือพ้นไปจากภูมิ
ทั้งสามของสรรพสัตว์ตามด้วยภาพของอรูปพรหม รูปพรหม และเทพต่างๆ เรียง
ตามลำดับจากสูงลงไปจนถึงอารักษ์ทั้งสี่ที่ปกป้องจักรวาล แล้วก็ถึงภาคที่ยาวที่สุด
ของเอกสาร คือภาพนรกทุกขุมลงไปจนถึงอเวจีซึ่งอยู่ลึกที่สุต ในส่วนที่พรรณนา
เกี่ยวกับมนุษยภูมิเริ่มด้วยภาพพุทธประวีติ ตามด้วยชาดกบางเรื่อง ภาพสถานที่และ
สัตว์ในตำนาน ส่วนสุดท้ายเป็นภาพทศชาติและพระเวสสันดร ภาพวาดเรื่องราว
ในชาดกและตำนานต่างๆ ถ ู ก ล ำ ด ั บ ไ ป ต า ม ส ั ญ ล ั ก ษ ณ ์ ข อ ง แ ม ่ น ี ้ า ( )ซึ่ง
ทำให้ภาพส่วนนี้ดูคล้ายแผนที่ อีกทั้งเห็นได้ชัดว่ารูปภาพจำนวนหนึ่งที่อยู่ระหว่าง
เรื่องของพระเวสสันดรและทศชาติอื่นๆ เป็นแผนที่ภูมิศาสตร์ สัญลักษณ์แม่นั้ามิได้
สื่อแค่ความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตริในความเข้าใจของเราเท่านั้น แต่ยังอาจแสดงถึง
ความสัมพันธ์แบบอื่น เซ่น สืบสายวงศ์วานว่านเครือ หรือลำดับเรื่องราวก็ได้เซ่นกัน
หากเราพิจารณาแผนที่อย่างละเอียด (ตูภาพที่ 2 ) แผ่นพับที่ 1 ถึงแผ่นพับที่ 4
แสดงถึงเรื่องราวในพุทธประว้ติ เริ่มด้นด้วยเมืองและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพุทธ
ประว้ติ ดามด้วยไสไลท์อุบัติการณ์สำคัญๆ ก่อนและหลังการตรัสรูของพระพุทธเจ้า
ในเมื่อเอกสารนี้เป็นสมุดภาพเกี่ยวกับภูมิหรือเทศะ อุบ้ติการณ์เหล่านี้จึงถูกระบุถึง
ด้วยสถานที่ได้แก่เทวนครของบิดาของพระพุทธเจ้า ด้นไม้ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติ
สถานที่ตรัสรู้ ต้นไม้ทั้งเจ็ดต้นที่พระพุทธเจ้าพักผ่อนอิริยาบถและพิเคราะห์ธรรมที่
คันพบและสถานที่อีกหลายแห่งที่ได้เดินทางไปแสดงธรรมเทศนา รวมทั้งภูเขาของ
ยักษ์มารและเมืองของสัตว์
ถ้าเราติดตามสัญลักษณ์แม่นั้าไปสู่แผ่นพับที่ 5 ก็จะพบว่าถิ่นที่อยู่ต่อกับ
สถานที่ต่างๆในพุทธประว่ด คือล้านนาแน่ๆ ด้านบนของแผ่นพับที่ 5, 6 และ 7 คือ
ภูมิภาคในลาวและเวียดนามปัจจุบัน รวมถึงอาณาจักรจามปาซึ่งถูกยึดครองโดย
เวียดนามในศตวรรษที่ 1 6 ด้านล่างของแผ่นพับที่ 7 และ 8 คือภูมิภาคในพม่าและ
มอญปัจจุบัน รวมทั้งพุกาม มะละแหม่ง สิเรียม สะเทิม และทวาย ตรงแถบกลางของ
แผ่นเหล่านี้ซึ่งเป็นใจความสำคัญของภาพคือเมืองต่างๆในล้านนาและสยามซึ่งรวม
ถึงอยุธยา (ไม่มีกรุงเทพฯ) แผ่นพับที่ 8 แสดงถึงปากแม่นํ้าหลายสายและคาบสมุทร
ทั้งหมดนับจากคอคอดกระลงไป ซึ่งปรากฏเป็นเกาะขนาดใหญ่ แผ่นพับที่ 9 และ 1 0
แสดงถึงทะเลที่พระภิกษุเรืองนามสองรูปแห่งอุษาคเนย์ คือพระพุทธโฆษาจารย์

36 ท้าเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาสิ
และพระพุทธทัตตะเดินทางไปและกลับจากเกาะลังกาหรือศรีลังกาในปัจจุบัน ด้าน
ล่างของแผ่นพับที่ 8 ถึง 1 0 เป็นเรื่องราวตอนหนึ่งจากเรื่อง รามเกียรติ้ซึ่งรู้จักกัน
ตี คือตอนที่พระรามสั่งให้หนุมานถมทะเลสร้างถนนไปจนถึงกรุงลงกา อันเป็น
เมืองของพวกอสูรที่มีชื่อคล้ายลังกาในภาษาไทย แผ่นพับที่ 11 คือเกาะลังกา
หรือศรีลังกาในปัจจุบันโดยเน้นที่พระธาตุอันเป็นที่ประดิษฐานพระทันตสารีริกธาตุ
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ เวลาที่ใชในการเดินทาง และระยะทาง
อีกด้วย แผ่นพับที่ 12 เป็นภาพปลาอานนตามเรื่องปรัมปรา
ไมเคิล ไรท์ เขียนบทความในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นงานชิ้นเดียวที่
กล่าวถึงแผนที่นี้ เขาเห็นว่าภาพชุตนี้เป็นแผนที่ภูมิศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยาที่อาจ
จะยังไม่ได้รับอิทธิพลจากแผนที่ของต่างชาติ , 9 ขณะที่ไรท์ตั้งข้อสังเกตว่า ที่ตั้ง
ของเมืองในล้านนาและภาคกลางหลายเมืองนั้นนับว่าถูกต้องโดยทั่วไป แด่เขาก็
แปลกใจกับข้อผิดพลาดอย่างฉกรรจ์สองประการ นั้นคือ การที่ล้านนาและสถานที่
ในพุทธประว่ดิอยู่ติดต่อกันโดยไม่มีพม่าคั่นกลาง และการที่อินเดียกับศรีลังกากลับ
ไปตั้งอยู่ปลายสุดคนละด้านของแผนที่ เขายังสังเกตด้วยว่าอยุธยาซึ่งเป็นศูนย์กลาง
ของอาณาจักรกลับไม่ได้มีสถานะพิเศษใดๆในแผนที่เลย ทั้งนี้ใรท็ไม่ไต้กล่าวถึง
ถนนพระรามจาก รามเกียรตี้หรือพุทธประว้ติที่ปรากฏในตอนด้นของแผนที่ว่า
เกี่ยวข้องกับแผนที่ภูมิศาสตร์อย่างไร
เราจะเข้าใจสมุดภาพชุดนี้ได้ง่ายชิ้นหากเรายอมรับว่าแผนที่ไม่จำเป็นต้อง
เป็นสื่อแทน ( โ6|ว|-6ธ6ก13แอก ) พี้นผิวโลกเท่านั้น แด่สามารถเป็นภาพแสดงความ
สัมพันธ์ของพึ้นที่ /ภูมิชนิดอื่นไต้ด้วย เรื่องที่อยู่กัดจากพระเวสสันดรชาดกก็คือเรื่อง
ของชาติกัดมาที่เป็นพระพุทธเจ้า สำหรับผู้คนในภูมิภาคนี้ นอกเหนือจากพุทธ-
ประว้ติแลัว เรื่องราวของพุทธศาสนาที่มีความหมายอย่างยิ่งก็คือความรุ่งเรืองของ
พุทธศาสนาในดินแตนสุวรรณภูมิหรือภาคพึ้นอุษาคเนย์ ภาพเขียนเหล่านี้แสดงการ
สิบสานพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้นั้นเองโดยด้านหนึ่งอวดว่ามีกำเนิดจากชมพูทวีป
และจากสมัยพุทธกาลโดยตรง และในอีกด้านหนึ่งอ้างถึงการสถาปนาศาสนาโดย
พระอริยาจารย์สองรูปจากศรีลังกาอันเป็นถิ่นของพุทธเถรวาทที่แทั ความสัมพันธ์
เหล่านี้ทั้งหมดถูกจัดวางเชื่อมโยงในรูปของสถานที่ต่างๆที่สัมพันธ์กัน ขณะที่
ความรู้เกี่ยวกับล้านนา ลุ่มเจ้าพระยา เมืองชายส่งของพม่า และศรีลังกา มาจาก
ภูมิศาสตร์พื้นผิวโลกตามที่ผู้วาดรับรู้ แด่เทศะของพุทธประรัติ พระอริยาจารย์

บทที่ 1 ภูมิของดนพึ้นถิ่นและแผนที่โบราณ 37
ทั้งสองและสรรพชีวิตอื่นๆในปรัมปราชาตกกลับเป็นเรื่องจินตนาการล้วนๆ ภาพ
เขียนชุดนี้มิได้ถูกออกแบบมาให้เป็นภูมิศาสตร์ที่แท้จริงของภูมิภาคนี้ดังที่ไรท้คาด
หวัง ศิลปินผู้วาดภาพจงใจบรรจุแผนที่ล่งไปในกรอบของการพรรณนาที่ใหญ่กว่า
นั้น และเอารายละเอียดของชมพูทวีป สุวรรณภูมิ และศรีลังกา มาวางไว่ในกรอบ
การพรรณนาชุดเดียวกัน
ฉะนั้นการที่ชมพูทวีปและล้านนาอยู่ติดกันโดยไม่มีพม่าคั่นกลางจึงมิใช่ความ
ผิดพลาดแม้แต่น้อยสำหรับช่างวาดและผู้ชมในยุคของเขา การอยู่ติดกันหมายถึง
จุดเริ่มด้นของพุทธศาสนาท้องถิ่นที่มาจากกำเนิดอันเป็นสากล ดังนั้นจึงไม่มีความ
จำเป็นต้องแก้ไขหรือให้คำอธิบายใด ๆ ( เช่นว่าในอดีตอาจมีเส้นทางพิเศษระหว่าง
ชมพูทวีปกับล้านนา ) ดังที่ไรท์พยายามเสนอ แผนที่ของภาคพื้นอุษาคเนย์ที่มี
20

ทิศตะวันออกอยู่ด้านบนและทิศตะวันตกอยู่ด้านล่างนี้เป็นหน่วยทางภูมิศาสตร์ของ
ภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ภูมิของหน่วยทางภูมิศาสตร์นี้มิใช่ภูมิ
ในจินตนาการหรือภูมิทางจักรวาลวิทยาแต่อย่างใด ดังนั้นแผนที่ภูมิลักษณ์จึงถูก
นำมาใช่ในที่นี้โดยที่สัญลักษณ์แม่นํ้านั้นหมายถึงแม่นั้าจริง ๆ ลังกาก็หมายถึงลังกา
จริง ๆ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างลังกาและสุวรรณภูมิกลับแสดงผ่านสัญลักษณ์
21

ของเรื่องราวของพระอริยาจารย์สองรูป ส่วนทะเลก็มีความเป็นสัญลักษณ์มากพอ
ที่จะใส่เรื่องราวที่เป็นปรัมปราเข้าไปได้ ต็าแหน่งของชมพูทวีปและลังกาที่อยู่คนละ
ด้านของแผนที่ ระยะห่างระหว่างกัน และทิศทางที่คลาดเคลื่อนเมื่อเทียบกับอุษาค -
เนย์ ก็ไม่ใช่ข้อผิดพลาดทางภูมิศาสตร์ อีกทั้งตำแหน่งของล้านนาและสยามที่อยู่
ตรงกลางของแผนที่ ก็ไม่ได้สื่อว่าอาณาจักรทั้งสองคือศูนย์กลางของไตรภูมิแต่
อย่างใด ทุกอย่างถูกจัดวางไว้ในตำแหน่งแห่งที่อันควรจะเป็นแล้วตามกรอบการ
พรรณนาประว้ติพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ มิใช่ตามพื้นผิวโลกที่เป็นจริง
โดยรวมแล้ว ภาพชุดนี้บอกเล่าเรื่องคล้ายเรื่องราวในจิตรกรรมฝาผนังของ
วัดต่าง ๆ บางส่วนของภาพชุดนี้เหมือนกันสนิทกับภาพวาดเรื่องราวทางพุทธซึ่ง
สามารถพบไต่ในที่อื่นๆ* เช่น ภาพภิกษุจข่ผ้เผยแผ่ศาสนาสองรปพบกั
ช้
นกลางมหาสมุจ ทร
และภาพพระพุทธเจ้าสละชีวิตทางโลก22 การพรรณนาความเชื่อมโยงระหว่าง
'

ล้านนากับพุทธกาลในลักษณะเดียวกันนี้ยังสามารถพบไต่ในตำนานพุทธศาสนา
ท้องถิ่นจำนวนมาก นักประวัติศาสตร์บางคนถึอว่านึ่เป็นข้อมูลภูมิศาสตร์จริง ๆ
สำหรับค้นหาแหล่งกำเนิดของคนไท แด่ก็มีข้อถกเถียงที่น่าเชื่อกว่าว่าเป็นภูมิ -

38 กำเนิตสยามจากแผนที่ะ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาขฮงชาติ
ศาตต!
' ในอุดมคติ นั่นคือเป็น “ภูมิศาสตร์ตำนาน” ฉะนั้น ภาพเขียนทั้งชุตนี้จึงเป็น

“แผนที่ตำนาน”23 แสตงความสัมพันธ์ของเทศะและพึ้นที่ตามเรื่องในตำนาน โดยที่


ภาพสำคัญหน่วยหนึ่งในชุดเป็นแผนที่ตินแดนจริงตามความเข้าใจสมัยใหม่ของเรา
การอภิปรายของเราที่มาถึงตรงนี้แสดงให้เห็นมโนภาพของคนพึ้นถิ่นในแบบ
ต่างๆต่อพื้นที่/ภูมิและแผนที่ ก่อนที่ภูมิศาสตร์สมัยใหม่จะเข้ามา ไม่เป็นที่กังขาอยู่
แล้วว่าจักรวาลวิทยานั้นครอบคลุมแพร่หลาย แต่มโนภาพต่างๆต่อเทศะ พื้นที่ /ภูมิ
สามารถดำรงอยู่ด้วยกันไต้ และก่อให้เกิดความรู้ การปฎิบ้ติ และแผนที่อันซับซ้อน
ขึ้นมาด้วย พื้นที่/ภูมิเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกทำให้คักดี๋สทขึ้ด้วยแนวคิดและลัญนิยม
ทางศาสนา ตัวอย่างเช่นในการจาริกแสวงบุญนั้น“สำหรับผู้มีจิตศรัทธาแล้ว สัจธรรม
อันปราศจากข้อกังขามิได้สถิตอยู่เพียงในมโนภาพและสัญลักษณ์ของความจริง
สูงสุดเท่านั้น หากยังรวมไปถึงพื้นที่กายภาพที่ผูกติดกับสัญลักษณ์เหล่านั้นจนกลาย
เป็นสถานที่อันคู่ควรต่อกิจกรรมทางศาสนาอันสูงส่ง”24 หรือกล่าวไต้ว่าพื้นที่ดัง
กล่าวเกิดขึ้นและถูกทำให้มีความหมายด้วยระบบสิ่งศักตึ้สิทธี้ทั้งหลาย สิ่งคักดี้สิทธี้
นี้เป็นสื่อกลาง (ฌ60แ3101') ระหว่างพื้นที่กับมนุษย์ ก่อให้เกิดเทศะในจินตนาการขึ้น
มาชุดหนึ่ง ผลก็คือคุณลักษณะของเทศะดังกล่าวถูกกำหนดด้วยความสัมพันธ์ของ
สิ่งดักตึ้สิทธึ๋ทั้งหลาย เช่น ลำดับชั้นของผี (นัด) ทั้ง 37 ตนและหัวเมือง (กา7๐) ทั้ง 32
หรือพระธาตุ 12 นักษัตร และแนวติดเกี่ยวกับการแสวงบุญ ภูมิศาสตร์ตำนานและ
เรื่องราวของพิธีกรรม -ความเชื่อ เราจะเข้าใจเทศะและแผนที่ประเภทนี้ได้ก็ต่อเมื่อ
เราเข้าใจแนวความติด (ไวยากรณ์ ) และสัญลักษณ์ (หน่วยคำ ) ของมัน
ทำมกลางภูมิลักษณ์คักตึ้สิทธึ้เหล่านี้ อย่าคิดว่าแผนที่พื้นผิวโลกที่ไม่เกี่ยวข้อง
1 กับศาสนาเลยจะไม่ดำรงอยู่ แผนที่ของอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีปที่อยู่ในแผนที่ตำนาน
คือหลักฐานอย่างหนึ่ง แชนด์เลอร์บอกเราว่ากัมพูชามีแผนที่ของท้องถิ่นเล็กๆ อยู่
จำนวนมาก เช่น หมู่บ้านและเส้นทางเดินทาง แต่กลับมีสิ่งที่เขาเรียกว่าแผนที่ระดับ
ประเทศอยู่ไม่กี่ขึ้น เขาอธิบายว่าเป็นเพราะวิถีชีวิตของชาวเขมรขาตปฏิสัมพันธ์
ระหว่างภูมิภาคต่างๆ และเป็นเพราะหมู่บ้านเขมรมีลักษณะโดดเดี่ยวและกระจัต -
กระจาย25 อย่างไรก็ตาม ในกรณีสยาม แผนที่ก่อนสมัยใหม่ของท้องถิ่นและเส้นทาง
เล็กๆกลับหายากซึ่งอาจเป็นเพราะที่ผ่านมาไม่มีความสนใจในเรื่องนี้มากพอ (หาก

^
นี่เป็นความจริงก็หมายความว่าแผนที่จำนวนมากยังมิได้ถูกด้นพบ) ภาพที่ 3 เป็น
ส่วนหนึ่งของแผนที่ฉบับต่อกันยาวเหยียดของ งตะวันออกทะเลสาบสงขลา ณ เส้น

บทที่ 1 ภูมิของคนพนลิ่นและแผนที่โบราณ 39
รุ้งที่ 7 -8 องศาเหนือบนอ่าวสยาม มีอายุระหว่าง พ.ศ. 2223- 2242 (ค.ศ. 1680 -
1699 ) บริเวณทั้งหมดปรากฎต่อเนื่องกันไปในรูปของวัด 63 แห่ง 26 งานศึกษา
แผนที่นี้ชิ้นหนึ่งชี้ว่าภูมิประเทศดังกล่าวถูกอ่าน ( นั่นคือถูกสร้างชิ้นมาและถูก
กำกับ ) ด้วยสถานที่ดักดี๋สิ่ทธี้ซึ่งทำให้ภูมิลักษณ์มีคุณค่าความหมายชิ้นมา27 แด่
วัดดักดึ๋สิ่ทธึ้ที่แสดงในที่นี้มิได้เป็นสัญลักษณ์ตามจินตนาการแทนระบบความเชื่อ
แต่อย่างใดหากเป็นสื่อแทนสถานที่ (เ00ส1!เ7) ที่วัดเหล่านั้นตั้งอยู่จริง ๆ หน่วยของ
พื้นที่ /ภูมิในแผนที่นี้ก็มิใช่จักรวาลวิทยาหรือโลกในจินตนาการชนิดไหนทั้งนั้น แต่
เป็นแผนที่ของพื้นผิวโลกเชิงประจักษ์นั่นเอง พึงระลึกว่าแผนที่เส้นทางเดินทาง
หรือแผนผังลายแทงสมบ้ดิ ก็คือรูปแบบแรก ๆ ของแผนที่โบราณในทุกวัฒนธรรม
แผนผังของพื้นผิวโลกที่เป็นส่วนๆ แบบนี้เป็นสิ่งที่คนพื้นถิ่นของสยามรู้จักเป็น
อย่างตีเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีแผนที่อันน่าทึ่งอีกฉบับที่เป็นส่วนหนึ่งของ สมุดภาพไตรภูมิ
ฉบับธนบุรี นั่นคือแผนที่ชาย &[งทะเลจากเกาหลีถึงอาระเบีย ซึ่งถูกผนวกเข้าเป็น
ส่วนหนึ่งของการพรรณนาเกี่ยวกับมนุษยภูมิอันเป็นส่วนหนึ่งของไตรภูมิ ( ดูภาพ
ที่ 4) 28 ในแผนที่นี้ชายย้งทั้งหมดเรียงรายเป็นลำดับตลอดด้านล่างของแผนที่ทุก
แผ่นและทะเลทั้งหมดอยู่ด้านบน เริ่มจากเกาหลีและญี่ปุ่นซึ่งตั้งอยู่ในทะเล ตาม
ด้วยชายฝังของจีนที่อยู่ตรงข้ามกับไต้หวันเชิ้องไปทางขวาของกวางตุ้ง ( แผ่นพับ
ที่ 1 ) ต่อมาคือชายฝังเวียดนามที่ลูคลัายคาบสมุทรยื่นเข้าไปในทะเลโดยมีปาก
แม่นํ้าโขงอยู่ตรงยอดสุดและชายฝังอ่าวสยามที่เป็นแอ่ง ( แผ่นพับที่ 2) ตรงด้านล่าง
ของแผ่นพับที่ 3 อยุธยาปรากฎเป็นเมืองใหญ่ที่สุตในอ่าวสยาม คาบสมุทรมลายู
เป็นเช่นเดียวกับเวียดนามคือยื่นชิ้นไปข้างบน ( แผ่นพับที่ 4) ตรงตอนล่างของอ่าว
นี้คือเมืองมอญและพม่า ( แผ่นพับที่ 5 ) นอกจากชื่อในบริเวณที่กล่าวมาแล้วนี้
ไม่สามารถบอกได้ว่าชื่อที่ปรากฏบนดินแดนที่คาดว่าเป็นชายฝังอินเดีย ( แผ่นพับ
ที่ 5 -6 ) คือเมืองอะไรที่เรารู้จัก ยกเว้นเมืองที่อยู่ตรงกลางของชายฝังของแผ่นพับ
ที่ 6 ที่ชื่อ “โรมน้อย” ในทะเลมีเกาะจำนวนมากอยู่ในรูปวงรี หลายเกาะสามารถระบุ
ได้ว่าหมายถึงที่ไหน เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน สีชัง อันดามัน และศรีลังกา ในแผ่นพับที่ 1
และครึ่งหนึ่งของแผ่นพับที่ 2 ด้านบนของแผนที่เป็นทิศดะวันออก สำหรับแผ่นอื่นๆ
ที่เหลือ ด้านบนเป็นทิศใต้ ส่วนชายฝังซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของทะเลปรากฏอยู่ด้าน
ล่างของแผนที่ และทิศตะวันออกอยู่ทางซ้าย ทิศตะวันตกอยู่ทางขวา

40 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ไรท์เสนอว่าแผนที่ชายฝังนี้เขียนขึ้นตามขนบแผนที่ของจีนส่วนเทอร์วิล ( ธ-ป.
6โพเ61) แย้งว่าแผนที่ยุโรปในศตวรรษที่ 17 เป็น “แรงบนตาลใจสำคัญของแผนที่
^
นี”้ 29 ขณะที่เวงศ์ (*๒บ3 พ6ก ) เห็นว่าน่าจะเป็นแผนภูมิจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ
พราะแผนที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของตัวคัมภีร์ไตรภูมิ เทอร์วิลสนับสนุนการวิเคราะห์
องเวงศ์และพิจารณาแผนที่นี้ไปในแนวนั้นแม้จะไม่ค่อยแน่ใจนักก็ตาม:
[แผนที่นี้เป็น] ตัวอย่างที่ขึ้ใหัเห็นถึงความสามารถของคนไทยในการตูดซับ
ข้อมูลใหม่ ๆ เข้ามาอย่างละเอียดและปรับให้เข้ากับความคิดจักรวาลวิทยา
แบบไตรภูม.ิ ... มิใช่งานทางภูมิศาสตร์ในความหมายตรงๆ กล่าวดือ ชายฝัง
หลายแห่งมีทิศทางบิดเบี้ยวไม่เหมือนจริง ขนาดประเทศด่างๆโดยเปรียบ-
เทียบก็ผิด และไม่มีเส้นบอกพิกัด เกาะหลายแห่งถูกจัดวางในตำแหน่งที่ผิต
อย่างโจ่งแจ้ง... ความบิดเบี้ยวจากความเป็นจริงอย่างเห็นไต้ชัดน่าจะยืนยัน
ข้อสรุปที่ว่า ผู้ประดิษฐ์แผนภูมินี้ให้ความสนใจกับจักรวาลวิทยามากกว่า
ภูมิศาสตร์ อาจถือได้ว่าแผนภูมินี้เป็นความพยายามที่จะเสนอภาพชายฝัง
ยาวเหยียดของทวีปทางทิศใต้ของไตรภูมิ รวมทั้งเกาะที่เสิอกมาจำนวนหนึ่ง
จากทั้งหมด 500 เกาะ30
การเหมาว่าก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามานั้นคนพื้นถิ่นไม่มีความรู้เกี่ยวกับพื้นผิว
ของโลกเลย หรือว่าข้อมูลใหม่สามารถที่จะเข้าใจได้ด้วยแนวคิดจักรวาลวิทยาแบบ
ตรภูมิเท่านั้น เป็นการทึกทักอย่างผิดๆ นอกจากนี้การปฏิเสธความรู้ของคนพื้นถิ่น
ด้วยคำอธิบายว่ามันไม่ถูกต้องแม่นยำตามมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ของเรา ก็เป็น
ความผิดพลาดเช่นกัน โลกมนุษย์ของไตรภูมิและของโลกตามภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ /
ภูมิคนละชนิดกันแต่สัมพันธ์กันด่างทำงานภายในกรอบของมโนภาพและปฏิบ้ดิ -
การของมนุษย์แบบหนึ่งๆ ที่แตกด่างกัน ในทำนองเดียวกับแผนที่ของอุษาคเนย์
ภาคพื้นทวีป แผนที่ชายบี้งซื่งถูกรวมเข้าไปในการบรรยายพื้นที่ /ภูมิแบบไตรภูมิ
จะต้องถือว่าเป็นหน่วยหนึ่งในกรอบใหญ่ของการพรรณนาเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา
แต่กระนั้นก็ตาม ตัวมันเองโดดๆเป็นแผนที่ภูมิศาสตร์ของพื้นผิวโลก หาใช่แผนภูมิ
จักรวาลวิทยาไม่ หากพิจารณาเฉพาะแผนที่ชายส์งนี้โดดๆ เราจะพบว่ามีลักษณะ
คล้ายกับแผนผังชายฝังทะเลในขนบแผนที่ของจีนมากกว่าแผนที่ของยุโรป ถึงแม้
ว่าข้อมูลบางอย่างอาจจะมาจากยุโรป แต่แบบแผนพื้นฐานของแผนที่ตูจะมาจาก
ต้นแบบของจีนมากกว่า31 ทั้งนี้การทำแผนผังชายฝังทะเลนั้นเป็นธรรมเนียมปฏิบํดิ

บทที่ 1 ภูมิของคนพี๋นถิ่นและแผนที่โบราณ 41
ของชาวจีนมาตั้งแต่ยุคต้นคริสตกาล ก่อนจะหลีกทางให้การทำแผนที่แบบยุโรป
อันเนื่องมาจากอิทธิพลของพวกบาทหลวงเยซูฮิตราวศตวรรษที่ 16 และ 17 ใน
บรรดาแผนผังที่เหลืออยู่บางส่วนเป็น “แผนที่ที่เป็นแถบแคบๆโดยมีชายส่งหรือ
แนวชายส่งทะเลยาวเหยียดทอดตามแนวนอนของแผนที่ตลอดจากขวาไปซ้ายโดย
ไม่สนใจว่าทิศจะถูกต้องหรือไม่ ”32 ทิศหลักๆหันเข้าหาแผ่นดินหรือหันออกไปหา
ทะเล และแผ่นดินจะทาบตลอดด้านบนหรือไม่ก็ต้านล่างของแผนที่ มาตราส่วนของ
แผนที่ก็ไม่สมํ่าเสมอ ที่จริงควรกล่าวว่าการทำแผนที่แบบนื้ไม่มีการกำหนดมาตรา
ส่วนด้วยซํ้า
ชาวจีนเป็นหนึ่งในนักเดินทางรุ่นแรกๆในดินแตนตะวันออกไกล อุษาคเนย์
และดินแตนอันไกลไปกว่านั้น พวกเขาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่ตนไต้ใปเยือน
หรือไต้ยินได้ฟังเพื่อนำมาทำแผนที่ในเวลาต่อมา33 มีการผลิตแผนที่ของภูมิภาคนี้
ตั้งแต่ต้นคริสตกาลและชื่อของสถานที่ต่าง ๆ ก็ถูกจดจารในบันทึกของนักเดินทาง
ซาวจีนตั้งแต่นั้นฉะนั้นจึงไม่นำประหลาดใจแด่อย่างใดที่รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่
ต่าง ๆ ตั้งแต่แถบทะเลจีนใต้ไปจนถึงชายส่งมหาสมุทรอินเดียจะมีมากกว่าของโลก
อาหรับและยุโรป อย่างไรก็ตาม ในขั้นนี้เป็นการยากที่จะบอกได้ว่าอิทธิพลของจีน
ต่อการทำแผนที่ของสยามมีมากน้อยเพียงใด หรือว่าชาวสยามได้ปรับธรรมเนียม
ปฏิบัติของจีนให้มาเป็นของตนมากน้อยเพียงใด ในการผลิตแผนที่ ผู้ทำอาจจะนำ
ข้อมูลจากหลายแหล่งมาใช้ ซึ่งอาจจะมีของยุโรปรวมอยู่ด้วย ทั้งที่อาจจะไม่เคยมี
ประสบการณ์โดยตรงกับชายส่งเหล่านั้นเลยก็ได้ ชื่อสถานที่ ระยะทาง หรือแม้แด่
สถานที่ตั้ง อาจมาจากคำเล่าลือและเรื่องปรัมปราเกี่ยวกับสถานที่ด่าง ๆ โดยมิได้
มีบรรทัดฐานทางวิทยาศาสตร์แบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
แผนที่สุดท้ายที่จะกล่าวถึงในที่นี้คือแผนที่ที่เรียกกันว่า แผนที่ยุทธศาสตร์ของ
รัชกาลที่ 1 (ดูภาพที่ 5 ) กล่าวกันว่าเป็นแผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย34 แต่ถ้า
หากเรายอมรับว่าภาพและแผนภูมิพื้นถิ่นนานาชนิดที่ได้กล่าวมาข้างด้นเป็นแผนที่
ชนิดหนึ่งเซ่นกัน คำกล่าวอ้างเซ่นนี้ย่อมผิดอย่างเห็นไต้ซัด อย่างไรก็ตาม ด้วยความ
ที่แผนที่ยุทธศาสตร์'นี้ปลอดจากรหัสทางคาสนาโดยสิ้นเซิง ม้นจึงแสดงให้เห็นถึง
ความรู้พื้นถิ่นเกี่ยวกับ'สันผิวโลก แผนที่นี้เป็นแผนที่ท้องถิ่นและพื้นผิวโลกที่ปรากฏ
ในแผนที่ก็คือดินแดนลาว ซึ่งต่อมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในปัจจุบัน
^
ริคเตอร์ เคนเนดี ( \ก่ด10 โ X©กก©( ) ไต้ศึกษาแผนที่นี้โตยพิจารณาจากฉบับเดียว

42 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว?)ศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ที่มีอยู่ซึ่งเป็นฉบับผลิตช่าในสมัยรัชกาลที่ 6 (ครองราชย์ พ.ศ. 2453- 2468 /ค.ศ.
1910-1925) หลังจากได้ตรวจสอบรายละเอียดของแผนที่แล้ว เขาสรุปว่ามันเป็น
แผนที่ของกองทัพสยามที่ยกไปตีเวียงจันทน์ไนพ.ศ. 2370 (ค.ศ. 1827) แต่ก็เป็น
ไปไต้มากว่าต้นฉบับของแผนที่นี้ก็คัดลอกมาจากต้นฉบับที่เก่ากว่าโดยมีการแกํไข
รายละเอียดให้เข้ากับวัตถุประสงค์ทางทหาร35
แผนที่นี้แสดงเส้นทางการเดินทางจากกรุงเทพฯไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตามแม่นํ้า แต่ก็ได้รวมเอาภูเขา แม่นี้า ป้อมค่าย และเมือง
หลายแห่งตลอดเส้นทางไว้ด้วย ระยะทางระหว่างสถานที่สองแห่งวัดตามระยะเวลา
ที่ใซ์ในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เคนเนดีได้พยายามประเมินความ
ถูกต้องแม่นยำของแผนที่นี้ตามมาตรฐานของแผนที่สมัยใหม่ จึงพบว่ามีจุตบกพร่อง
อยู่มากมาย ที่ดั้งของสถานที่หลายแห่งผิดพลาด ไม่มีการกำหนดมาตราส่วน และ
ระยะทางเชื่อถือไม่ได้ กระนั้นก็ตาม ความผิดที่ผิดทางเหล่านี้กลับเป็นร่องรอยที่น์า
เขาไปสู่ช้อสรุป กล่าวคือ บริเวณบางแห่งถูกขยายใหญ่จนผิดสัตส่วน และมีราย -
ละเอียดมากกว่าบริเวณอื่นๆ ก็เพราะว่ามันสำคัญต่อการรบในปี 2370
แม้ว่าจะอยู่ผิดที่ผิตทาง แด่พึ้นที่ /ภูมิของแผนที่นี้มีความหมายและสามารถ
จินตนาการได้มิใช่ในแง่ของสิ่งดักดี้สิทธี๋ทั้งหลาย แต่ในแง่สถานที่ต่างๆที่ผู้เดินทาง
ได้พบพานตามเส้นทางต่างๆบนผิวโลกจริง เห็นได้ชัดว่ามันมิใช่แผนที่ภูมิลักษณ์
อันคักดี้สิทธี้หรือแผนผังจักรวาลวิทยาหากเป็นแผนที่ของพื้นผิวโลกผืนหนึ่งเหมือน
กับแผนที่สมัยใหม่ ทว่าต่างจากแผนที่สมัยใหม่ตรงที่มันมิได้แสดงให้เห็นว่าพื้นผิว
โลกผืนนั้นสัมพันธ์กับโลกทั้งใบอย่างไร หรือดั้งอยู่ตรงไหนของโลกใบนี้ไม่มีอะไร
อ้างอิงถึงพื้นผิวโลกที่กว้างใหญ่กว่านี้ เช่น เส้นรุ้งเส้นแวง หรือความสัมพันธ์ของ
ดินแดนนี้กับอาณาจักรที่ใกล้เคียงในแง่ของเส้นเขตแดน ความสัมพันธ์ดังกล่าวคง
ไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับแผนที่ท้องถิ่น เพราะความรุ้เกี่ยวกับพื้นผิวโลกทั้งหมด
เป็นเรื่องของจักรวาลวิทยา การที่พื้นผิวโลกผืนหนึ่งอยู่โดดๆจากโลกทั้งใบ อาจ
เปรียบไต้กับการอยู่โดด ๆ ของโลกมนุษย์จากหมู่ดาวทั้งมวลในความรู้สึกของคนยุค
ปัจจุบัน กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในความรู้เกี่ยวกับพื้นที่/ภูมิของคนพื้นถิ่น เขาจัด
ให้ภูมิศาสตร์ท้องถิ่นอยู่คนละหมวดหมู่กับโลกทั้งใบ เปรียบได้กับปัจจุบันที่วีทยา -
ดาสตร์สมัยใหม่แบ่งภูมิศาสตร์และตาราศาสตร์หรือฟิสิกส์ดาราศาสตร์ออกจากกัน
เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาแผนที่ตำนานและแผนที่ชายส่งทะเลด้วยความเข้าใจ

บทที่ 1 ภูมิของคนพี่นลิ่นและแผนที่โบราณ 43
ที่ได้จากแผนที่ยุทธศาสตร์นี้สิ่งที่อาจถือเป็นความผิดพลาด (“เป็นความบิตเบี้ยว
จากความเป็นจริงอย่างเห็นได้ซัด ”ในทัศนะของเทอร์วิล ) และการบิดเบือนนั้น อาจ
เป็นผลจากวิธีการทำแผนที่และข้อมูลการเดินทางของคนพื้นถิ่นก็ได้ แผนที่เหล่านี้
ผลิตขึ้นมาโดยไม่มีบรรทัดฐานทางวิทยาศาสตร์และมาตรฐานของความน่าเชื่อถือ
แบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน แต่ผู้ทำแผนที่น่าจะมีวิธีการและมาตรฐานของพวกเขา
เอง ในแผนที่ตำนาน ดูเหมือนว่าเส้นทางแม่นํ้าและข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางเลียบ
แม่นั้าจากเหนือถึงใต้คือข้อมูลหลักที่มีการบันทึกไว้ ภาคพื้นอุษาคเนย์ทั้งหมดเป็น
ที่รู้จักได้ก็เพราะเมืองและแม่นั้าหรือสถานที่ที่ตั้งอยูริมฝังแม่นํ้า ฉะนั้นดินแดนภายใน
อันกว้างใหญ่ระหว่างลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยากับแม่นี้าโขงจึงเกือบจะไม่ตำรงอยู่เลย
ขณะที่พื้นที่แถบแคบๆที่มีแม่นํ้าสี่สายไหลผ่านลงสู่อ่าวสยามนั้นได้รับการขยาย
ให็ใหญ่ขึ้น ยิ่งกว่านั้น ในการเดินทางดามแม่นํ้าแต่ละสาย นักเดินทางคงจะประสบ
ปัญหาในการแยกแยะพิกัดเส้นรุ้งที่แตกต่างกันระหว่างปากนํ้าอิระวดีและเจ้าพระยา
มันจึงปรากฎออกมาอยู่ในระดับเดียวกันในแผนที่ หรือเมืองด่างๆในปากนํ้าอิระวดี
ก็ลูจะค่อนมาทางใต้มากกว่าที่ควรจะเป็น อาจเป็นเพราะในการรับรู้ของผู้เดินทาง
ทางเรือ แม่นั้าทั้งหมดล้วนไหลขนานกันไป ในแผนที่อุษาคเนย์ภาคพื้นทวีปที่จัดทำ
โดยชาวยุโรปก่อนกลางศตวรรษที่ 1 9 ในภาวะที่ยังไม่เคยมีชาวยุโรปลักคนเข้าไป
สำรวจดินแดนลึกเข้าไปและจึงต้องอาศัยแด่คำบอกเล่าของชาวบ้านเป็นหลักนั้น
แม่นั้าสายหลักทั้งหมดจากพม่าถึงชาย&เงเวียดนามลูจะเรียงขนานกันไปหมด
การเดินทางทางทะเลตามชายฝังจากจีนถึงอินเดียโดยไม่มีการตรวจสอบกับ
การเดินทางทางบกนั้น อาจผลิตข้อมูลซึ่งถูกปรุงแต่งโดยปัจจัยในการเดินเรือ ภูมื -
อากาศตามฤดูกาล คลื่น ลม และอื่นๆ การที่ข้อมูลนี้ผสานเข้ากับตำนานปรัมปรา
&
หรือคำเล่าลือต่าง ๆ น่าจะช่วยอธิบายความหยาบของแผนที่ซาย งทะเล ซึ่งสามารถ
กำหนดตำแหน่งด่างๆตามซาย &งและระยะทางระหว่างจุดต่างๆในแง่เวลาเดินทาง
ไต้ค่อนข้างดี แต่ไม่อาจให้ข้อมูลของแผ่นดินตามเส้นทางเดินเรือได้ ความบิดเบือน
หรือผิดที่ผิดทางอาจเป็นร่องรอยช่วยให้เรามองเห็นแหล่งที่มาเฉพาะของข้อมูล
นั้นๆ รวมถึงจุดประสงค์หรือเทคนิคการทำแผนที่พื้นถิ่นแต่ละฉบับได้ ดังที่เคนเนดี
มองเห็นในกรณีของแผนที่ยุทธศาสตร์ แทนที่จะเชื่อตามแนวการศึกษาที่ผ่านมา
จำนวนมาก เราจึงต้องพิจารณาความผิดที่ผิดทางเหล่านี้ในเชิงบวกว่าเป็นร่องรอย
ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจวิธีการหรือมโนภาพที่อยู่เบี้องหลังและคุณสมปัดหลายอย่าง

44 ก็าเน้ตสยามจากแผนที:่ ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ของแผนที่เหล่านี้ไม่ควรมุ่งประเมินคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ของมันเพียงอย่างเดียว
อีกทั้งไม่ควรถือว่าความผิตที่ผิดทางถือหลักฐานว่าแผนที่ประเภทนี้ไม่มีอะไรเกี่ยว
ข้องกับภูมิศาสตร์ของพึ๋นผิวโลก แล้วมองว่าเป็นเรื่องของจักรวาลวิทยาไปหมด
เมื่อเปรียบเทียบแผนที่พึ้นถิ่นหลายประเภท เราจะเห็นความแตกต่างระหว่าง
การวาดภาพพึ๋นที่ /ภูมิในจินตนาการกับแผนที่ของพี๋นที่กายภาพประการหนึ่ง นั่น
ถือการวัตระยะทางระหว่างสถานที่ต่างๆ กล่าวถือ แม้ว่าแผนที่แบบไตรภูมิและแบบ
พุทธตำนานจะมีตัวเลขจำนวนมาก แด่ตัวเลขเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของโลกต่าง ๆ
ของสถานที่ในอุดมคติ ของชีวิตต่างๆ ตามภพภูมิ หรือไม่ก็เป็นจำนวนสัญลักษณ์
ของสิ่งศักตี้สิทธึ้ต่างๆ ในหลายกรณีเราสามารถจะคำนวณไต้ด้วยสูตรคณิตศาสตร์
เช่น ขนาดของโลกและภูมิอื่นๆ หรีอขนาดและระยะทางระหว่างเทือกเขาและมหา -
สมุทรทั้งเจ็ด 36 จะมีก็แด, แผนที่ที่แสตงพึ้นผิวโลกผืนหนึ่งเท่านั้นที่มีรายละเอียด
ระยะทางระหว่างสถานที่ในรูประยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ตัวอย่างเช่น ในแผนที่
ยุทธศาสตร์มีการทำเครื่องหมายระยะเวลาการเดินทางด้วยการลากเส้นต่อระหว่าง
สถานที่สองแห่งและเขียนคำไม่กี่คำกำกับใต้เส้น เช่น “วันหนึ่งสองคืน” ระยะห่าง
ในแง่ของเวลานี้ปรากฏอยู่ในแผนที่ตำนานเช่นกัน เช่น ระยะทางระหว่างสถานที่
หลายแห่งบนเกาะใหญ่ทางขวาของปากนั้าเจ้าพระยา มีการเขียนกำกับไว้ว่า “ทาง
ห้าวัน” ในแผนที่ชายฝังก็มีเลันมากมายเชื่อมระหว่างสถานที่ต่างๆ สองแห่ง ระยะ
1
ทางวัตเป็นโยชน์ (ราว 16 กิโลเมตร) อันเป็นหน่วยวัดที่ใชั นไตรภูมิเช่นกัน แด่ค่อน
ข้างชัตเจนว่าตัวเลขในแผนที่เหล่านี้เป็นระยะทางที่วัดจากประสบการณ์ของมนุษย์
ซึ่งอาจเป็นการคำนวณจากระยะเวลาในการเดินทางตัวยเช่นกัน

การอยู่ร่วมกันของมโน,กัศน์ต่างชนิดส่อพี้นที๋ /ภูมิ
เราสามารถจินตนาการถึงจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิและภูมิลักษณ์อันศักดึ๋สทธี้
ประเภทต่างๆในแบบที่ด่างออกไปจาก “ความเป็นจริง”ทางภูมิศาสตร์ที่เราคุ้นเคย
กันอยู่ได้ ความที่เป็นพึ๋นที่ /ภูมิแบบศาสนาหรือจินตนาการ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นจะต้อง
ถูกต้องตรงกับพึ้นผิวโลกเซิงประจักษ์ ความเป็นจริง ความหมาย และสารที่สื่อออก
มาในความสัมพันธ์เชิงเทศะเหล่านี้มิได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์เชิงประจักษ์
ผลก็ถือเราสามารถเสนอสารเดียวกันด้วยภาพพึ้นที่ /ภูมิต่างกันมากมายนับไม่ถ้วน
ทั้งนี้ เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่แนวถืตเกี่ยวกับไตรภูมินี้เป็นแรงบันดาลใจ

บทที่ 1 ภูมิของคนพึ๋นถิ่นและแผนที่โบราณ 45
ให้กับศิลปินมากมายทั้งแนวจารีตเดิมและสมัยใหม่37 แต่ในอีกด้านหนึ่ง ความรู้เกี่ยว
กับภูมิศาสตร์ท้องถิ่นหรือเกี่ยวกับพึ้นผิวโลกบางส่วน ก็เป็นมโนภาพทางพึ๋นที่ /ภูมิ
อีกชนิดหนึ่ง ที่มิใช่ในเชิงสัญลักษณ์และไม่ดักดี๋สทธี้
อาจกล่าวได้ว่า ในแขนงความรู้ภูมิศาสตร์ก่อนสมัยใหม่นั้นมีวาทกรรมเกี่ยวกับ
พี๋นที่/ภูมิอยู่หลายชุด แต่ละชุดใช้งานได้ภายในปริมณฑลหนึ่งๆของกิจกรรมชีวิต
ประจำวันของมนุษย์ กล่าวอีกอย่างก็คือ มีปริมณฑลของความรู้อยู่หลายชุด ซึ่ง
ด่างมีมโนภาพเฉพาะอย่างกำกับ (หรือมีอำนาจนำในปริมณฑลนั้น) พ้นไปจาก
ปริมณฑลนั้นก็จะมีความรู้ชุดอื่นกำกับอยู่ ความรู้เกี่ยวกับหมู่บ้านและเมืองอาจ
ใช้งานไต่ในระดับของท้องถิ่น พึ้นที่/ภูมิของแผนที่ยุทธศาสตร์หรือแผนที่ชายฝัง
ทะเลอาจมีผลต่อการตัดสินใจของแม่ทัพและพ่อค้าซาวจีน ความรู้ต่างๆดังกล่าวถูก
นำมาใช้เฉพาะแต่ในการรบ การปกครอง หรือสำหรับการค้าทางทะเลเท่านั้น แด่
ในเวลาที่ชาวบ้านคิดหรือพูดคุยเกี่ยวกับสยาม อาณาจักรเวียงจันทน์ หรือจีน พวก
เขาก็อาจมีมโนภาพเกี่ยวกับพึ๋นที่ /ภูมิอีกชนิดปรากฎขึ้นในใจ และเมื่อคิดหรือพูด
ถึงดาวเคราะห์โลกที่พวกเขาอาศัยอยู่ ภาพแบบไตรภูมิน่าจะเช้ามามีอำนาจนำใน
ความคิด การเปลี่ยนเคลื่อนไปมาของความรู้ชนิดหนึ่งไปสู่อีกชนิดหนึ่ง หรือจาก
ปริมณฑลของมโนภาพทางพึ๋นที่ /ภูมิแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่งนั้น ก็ไม่ต่างจาก
การเปลี่ยนเคลื่อนมโนทัศน์อื่นๆ อีกมากมายในชีวิตมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและอดีต
หาใช่เรื่องผิดปกติแด่อย่างใด
ฉะนั้นในยามที่พูดถึง “สยาม” ก็อาจมีมโนภาพของสยามมากกว่าหนึ่งชนิด
กำลังทำงานอยู่ ตัวอย่างที่เด่นชัดในเรื่องนี้เกิดขึ้นช่วงประมาณ พ.ศ. 2368 - 2393
( ค.ศ. 1825 - 1850) อันเป็นช่วงเวลาที่ซนชั้นนำสยามได้รู้จักกับความรู้และแผนที่
ภูมิศาสตร์แบบตะวันตกแล้ว และมีสัญญาณว่าไต้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนะของ
*^
ชาวสยามต่อสังคมโลก เพ่รตเดอริค เอ.นิล (เะโ6ก่6ท่( .1\16316)ได้เล่าเรื่องน่าสนใจ
เกี่ยวกับวาทกรรมของราชสำนักสยามในเรื่องแผนที่ของ “สยาม” นิลเล่าว่าวันหนึ่ง
พระเจ้าแผ่นดินสยามเล่าให้อาคันตุกะชาวยุโรปฟังเกี่ยวกับความขัดแย้งปัญหา
พรมแดนระหว่างสยามและพม่า จากนั้นพระเจ้าแผ่นดินได้อวดภาพเขียนของสอง
อาณาจักรซึ่งว่ากันว่าเขียนขึ้นโดยอัครมหาเสนาบดีของสยาม เนื่องจากต้องการโชว์
ความสามารถของสยามในเรื่องภูมิศาสตร์และความปราดเปรื่องในการเขียนภาพ
นิลบรรยายแผนที่ฉบับดังกล่าวและความรู้สึกของตนตามสายตาและความนึกคิด

46 กำเนิตสยามจากแผนที่ะ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ของชาวอังกฤษผู้ศิวิไลซ์ไร้ถึงสามหน้ากระดาษ ซึ่งมีเนึ้อหาควรแก่การยกมาอ้าง
พร้อมรูปภาพจากหนังสึอของเขา (ตูภาพที่ 6):
อย่างไรก็ตาม พวกเรา๓อบจะเสียมารยาทด้วยการระเบิดเสียงหัวเราะออกมา
และรู้สึกทรมานเหสิอเกินกับการที่ด้องพยายามควบคุมความรู้สึกอันหฤหรรษ์
นั้นไว้ รอยยิ้มที่เห็นชัดบนใบหน้าของเรา ทำให้พระมหากษัตริย์รู้สึกยินดี ด้วย
สำคัญผิดไปว่าพวกเรารู้สึกปิติและชื่นชมต่อผลงานศิลปะอันงดงามตรงหน้า
ที่ยังความตะลึงลานแก่สายตาด้วยสีสันฉูดฉาดเหล็อร้บ แผนที่มีขนาดราว
สามคูณสองฟุต ตรงกลางเป็นแผ่นสีแตงยาวประมาณสิบแปดนิ้ว กว้างสิบนิ้ว
เหนือขึ้นไปเป็นแผ่นสีเขียว ยาวประมาณสิบนิ้ว กว้างสามนิ้ว ในพื่นที่สีแตง
ทั้งหมดเป็นรูปคนที่ตัตมาจากกระดาษสีเงินแปะติดไว้ รูปคนที่ว่านี้จองมอง
มาข้างหน้า มีอข้างหนึ่งถึอสามง่ามขนาดใหญ่และอีกข้างหนึ่งถึอผลส้ม สวม
มงกุฎไว้บนหัว สวมเดีอยไว้ที่ลันเท้า และขาสองข้างที่ผอมเก้งก้างจนน่า
เวทนาก็งอเข่าเข้าหากันอย่างน่าสมเพช และมนุษย์ผู้ตูเ'หมีอนขากศพนี้เอง
1

ก็ค็อมนุษย์อ้วนกลมที่กำลังนั้งอยู่ตรงหน้าเรา รูปที่ว่านี้ต้องการแสดงให้เห็น
ถึงบุญญาบารมีของพระเจ้าอยู่หัว ที่แผ่ขยายไปไพศาลจากปลายด้านหนึ่งไป
ถึงอีกด้านหนึ่งของพระราชอาณาจักร ภายในแผ่นสีเขียวเล็กมีรูปคนขนาด
เล็กที่เขียนด้วยหมึกอินเดีย มีจุตเล็กที่หมายดึงหัว จุดใหญ่หมายถึงร่างกาย
และเส้นขีตสี่เส้นที่หมายถึงแขนและขา เป็นรูปที่ตั้งใจให้หมายถึงสาราวดีผู้
ชั่วร้าย ซึ่งก็ดีอกษัตริย์พม่าในขณะนั้น มีกองทัพภูตผีร้ายตัวเล็กๆในท่าทาง
ด่างๆ นานาเต้นอยู่รอบทิศของพระราชอาณาจักร เจ้าตัวขยุกขยุยนี้มีไว้แสดง
ให้กับพวกไม่ประสีประสาเห็นถึงอาณาจักรของพม่าที่เต็มไปด้วยปัญหาและ
ความวุ่นวายและกษัตริย์พม่าผู้มิได้มีความสำคัญอะไรในอาณาจักรของตน
แถบสีตำคนกลางอยู่ระหว่างสีเขียวกับสีแตงหมายถึงเส้นเขตแดนที่ไม, มี
ปัญหา และทางย้งสีแดงของแถบสีตำมีเส้นโค้งบางเขียนด้วยหมึกเพื่อระบุว่า
เป็นดินแดนที่ฝ่ายพม่าอ้างสีทขึ้แต่ฝ่ายสยามไม่ยอมรบ ส่วนที่เหลึอของแผนที่
เป็นสีนิ้าเงินหมายถึงมหาสมุทร ในพื้นที่สีนํ้าเงินที่อยู่ล้อมรอบสีแดงหรือ
ดินแดนของสยาม ปรากฎรูปเรือสำเภาที่วาดขึ้นอย่างหยาบๆ กำลังแล่นไป
มามากมาย บางลำชักเสาเรือแล่นเข้าหาย้ง แต่ก็เห็นได้ว่าบางลำพลิกควํ่า
หรือเสาเรือก็ขึ้ไปผิดทิศ ข้างพม่าที่น่าสงสารกลับไม่มีแมักระทั้งเรือลำเล็ก ๆ
ลักลำให้เห็น แน่นอนว่าทุกคนล้วนด่างนึ่งเงียบต่อคำกล่าวของพระเจ้าอยู่หัว

บทที่ 1 ภูมิของคนพึ้นลิ่นและแผนที่โบราณ 47
และแสดงความประหลาดใจออกมาด้วยอาการใบ้เฉกเช่นนักระบำบัลเลฺต์
กษัตริย์ผู้ชราดูจะพอใจและปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง จึงสั่งให้เอาแผนที่ไปเก็บ
และแอบหัวเราะอยู่ชั่วขณะหนึ่ง 38
บทบรรยายเหตุการณ์ตังกล่าวอาจถูกใส่สีสันจนเกินจริง และภาพในหนังสีอ
ของนีลก็แสดงให้เห็นว่าคนวาดภาพประกอบนั้นไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาพเขียนของ
สยามเอาเสียเลย แต่จากข้อมูลที่มีก็ทำให้เราจินตนาการได้ว่าแผนที่ฉบับนี้มีหน้าตา
เช่นไร หากเราแทนที่รูปมนุษย์สยามในสี่เหลี่ยมใหญ่ด้วยรูปเทวดาสวมชฎาหรือ
มงกุฎ และเปลี่ยนสามง่ามคันใหญ่และผลส้มให้เป็นตรีและสังข์ร่างที่อยู่ในอาณาเขต
ของสยามก็จะกลายเป็นเทพบนสรวงสวรรค์ ฉะนั้นสยามก็คือดินแดนของเทวดา
นั้นเอง ตรงกันข้าม พม่าคือดินแดนของอสูรซึ่งมักถูกนำเสนอในภาพทำนองเดียว
กับที่นีลบรรยาย เราไม่ควรนำเสนอผิดๆว่าราชสำนักสยามไม่มีความรูใดๆ เลย
เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ที่ไม่ใช่แบบไตรภูมิ ทว่ามโนภาพเกี่ยวกับพึ้นที่ /ภูมิที่ต่างกัน
จะใช้งานไต่ในสถานการณ์ที่ต่างกันหรือเพื่อจุดประสงค์ที่ด่างกัน ในกรณีนี้วาห -
กรรมเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของสองอาณาจักรถูกนำเสนอในแบบจักรวาลวิทยา
อย่างไรก็ตาม น่าประหลาดใจอย่างยิ่งที่ปัญหาพรมแตนสามารถแสดงออกในแผนที่
แบบที่ไม่ใช่ภูมิศาสด-!ได้ด้วย
งานศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของซาวสยามในปลายศตวรรษ
ที่ 19 มักมีข้อสรุปอยู่สองประการ ประการแรกคือ การเปลี่ยนผ่านเป็นการตามอย่าง
ตะวันตกที่ค่อนข้างราบรื่นซึ่งนับเป็นคุณูปการของชนชั้นนำสยามผู้รอบรู้ปราด -
เปรื่องและของพวกมิชชันนารีผู้อุดสาหะด้วยบางส่วน แทบจะไม่มีการกล่าวอย่าง
จริงจังถึงการปะทะกันกับความรู้พนถิ่นที่ดำรงอยู่ก่อนเลย ประการที่สองในเมื่องาน
ศึกษาส่วนใหญ่มักเน้นความสำคัญของจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิจนเกินเลยและ
,
ไม สนใจมโนภาพของพื่นที่ / ภูมิแบบอื่นเลย จึงตูราวกับว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิด
ขึ้นนั้น คือการเปลี่ยนเคลื่อนจากความคิดแบบไตรภูมิไปสู่ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ ยิ่ง
ไปกว่านั้นก็คือ ไม่เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนของความรู้ทางภูมิศาสตร์
เป็นการเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกี่ยวกับโลกทัศน์มักถูกรวมเข้าไปอยู่ใน
บริบทของการเข้ามาของวิทยาศาสตร์แบบตะวันตกในสยามอย่างรวมๆทั่วๆไป
แม้ว่าการปะทะกับจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิจะสร้างความสั่นสะเทือนที่สุต
ทว่าการเข้ามาของภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์สมัยใหม่ ไม่เพียงแด่ต้องปะทะกับ

48 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
จักรวาลแบบไตรภูมิเท่านั้นแต่ยังต้องเผชิญหน้ากับมโนภาพต่างๆที่ดำรงอยู่ก่อน
ทั้งที่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ท้องถิ่น เส้นเขตแดน ผืนดิน รัฐ และอีกมากมาย เป็นไปได้
ว่าความขัตแยังได้เกิตขึ้นในทุกสมรภูมิที่มีการเผชิญหน้ากันของมโนภาพและการ
ปฏิบัติ อาทิเช่น การกำหนดเส้นเขตแดน หรือแนวความคิดเกี่ยวกับอาณาจักรอัน
เป็นพี้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในภูมิภาคนี้มาแต่เดิม
เทศะ/ พี้นที่ / ภูมิโดยตัวมันเองก็ไม่มิความหมายอะไรถ้าหากมนุษย์มิได้เอา
แนวคิดและสื่อกลางบางอย่างเข้าไปจัดการและสื่อมันออกมา ในกรณีนี้ สิ่งศักดึ้ -
สิทขึ้ ความคิดทางศาสนา และโลกทัศน์แบบไตรภูมิ ไต่ให้เครื่องมือ ความคิด และ
สัญญะต่างๆอันนำไปสู่การปฏิบัติแบบหนึ่งๆ ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ไม่ใช่เป็นแค่
ข้อมูลใหม่ที่มาสมทบกับมโนภาพที่มีอยู่แล้ว แด่มันเป็นความรู้ คนละชนิด เกี่ยวกับ
เทศะ /พี้นที่ /ภูมิ มีระบบการจัดแบ่งหมวดหมู่ แนวคิด และสัญญะสื่อกลางของมัน
เองอีกแบบหนึ่ง ฉะนั้น คำถามก็ด็อ เกิดผลอะไรดามมาเมื่อผู้คนเลิกคิดถึงเทศะ /
พื้นที่ /ภูมิในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งศักดึ๋สทธึ้ทั้งหลาย และเริ่มรับรู้มันด้วย
สัญญะและกฎเกณฑ์ชุดใหม่แทน?
เมื่อพูดถึงหน่วยทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่นชาติ นั้น มโนภาพพื้นถิ่นจะเป็นไปตาม
วาทกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรบนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น อำนาจ
อธิปไตย และเขตแตน มากกว่าที่จะเกี่ยวข้องกับจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ ในปริ-
มณฑลของวาทกรรมเหล่านี้นึ่เองที่ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ซึ่งมีกฎระเบียบของตัวเอง
และเทคโนโลยีหลักสำหรับมโนภาพเชิงพื้นที่ / ภูมิ อันได้แก่แผนที่สมัยใหม่ ต้อง
ปะทะกับความรู้พื้นถิ่นที่เป็นคู่ตรงข้ามของมัน ผลลัพธ์จากการปะทะที่ว่านี้ ก็คือวิธี
คิดและวิธีรับรู้เกี่ยวกับพื้นที่ /ภูมิแบบใหม่ทั้งหมด และการเกิดขึ้นของแผ่นดินชนิด
ใหม่ของสยาม

บทที่ 1 ภูมิของคนพึ้นถิ่นและแผนที่โบราณ 49
/
บกกี่ 2
ภูมิศาสตร์แบบใหม่กำลังมา
-

33

-'
*
1
บกกี่ 2
ภูมิศาสตร์แบบไหม่กำลังบา

ราวช่วงเวลาเดียวกับที่ราชสำนักสยามนำภาพสยามที่เป็นดินแตนแห่งสรวงสวรรค์
มาแสดงแก่อาคันตุกะต่างชาตินั้น ความรู้ที่ว่าสยามเป็นเพียงประเทศหนึ่งทำม
กลางประเทศมากมายบนพื่นผิวโลกก็เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปอยู่แล้ว การค้าขาย
ทำให้การติดต่อสัมพันธ์กับประเทศยุโรปและเพื่อนบ้านเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ,
เมื่อถึงต้นศตวรรษที่ 19 ชื่อของประเทศต่างๆทั่งในยุโรปและเอเชียก็ได้รับการ
กล่าวถึงไวํในเอกสารราชการและวรรณกรรมที่เป็นที่รู้จักกันดีของไทยแล้ว2

สองโลก เทศะเดียวกัน: กำเนิดบองโลกแบบสมัยใหม่*


นับแด่ทศวรรษ 1 830 (พ.ศ. 2373-2382) เป็นต้นมา เราไต้รับรู้มากขึ้นถึงเรื่องราว
ของชาวสยามและความสนใจของพวกเขาต่อภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ของ
ตะวันตก เพราะเป็นหัวข้อที่บันทึกส่วนใหญ่ของพวกมิชชันนารีนิยมกล่าวถึง แม้ว่า
คุณูปการของพวกมิชชันนารีต่อการทำสยามให้ทันสมัยจะถูกประเมินเกินเลยไป
^
ก็ตาม จอห์น เทย์เลอร์โจนส์ (ปอกก 7ล เ0โ ปอก6ธ) หนึ่งในมิชชันนารีคนแรกๆ
ในสยาม เดินทางมาถึงเมื่อพ.ศ. 2376 ( ค.ศ. 1833) พร้อมด้วยแผนที่โลก เขา
ได้เล่าถึงพระภิกษุรูปหนึ่งที่ขอดูแผนที่อังกฤษ3 โจนส์และมิชชันนารีผู้โด่งดังอีก
'

^
* หัวข้อนี้ในด้นฉบับดึอ ‘ๆพ0 อลกเโธ, ร3๓6 8(3308: 7เา6 (กโ6กI 0เ ห0๘6 โก อ3โแา”หัวข้อที่น่าจะ
ตรงกับเนี้อหาของบทนี้กว่าน่าจะเป็น “ไพอ พ0โ๒ธ, 83๓6 อฮโ(ก: ...”หรือ “สองภูมิ โลกใบเดียวกัน...”
อย่างไรก็ตาม ฅำแปลในที่นี้ถีอตามด้นฉบับ - หมายเหตุเพิ่มเติมฉบับแปล

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่ย่าอังมา 53
สองคนคือ บรัดเลและเฮาส์ ยังบอกให้เรารู้ว่า การจัดแสดงการทดลองวิทยาศาสตร์
ให้สมาชิกของชนชั้นนำสยามชมนั้น บางครั้งพวกเขาแสดงโลก หุ่นจำลองระบบ
สุริยะ และการโคจรของดาวเคราะห์ให้ชมด้วย4 กล่าวกันว่าในบรรดาชนชั้นนำ
สยาม เจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
(ครองราชย์พ.ศ. 2394 - 2411 /ค.ศ. 1851 -1868) ได้ละความเชื่อในจักรวาลวิทยา
แบบไตรภูมิมาตั้งแต่ก่อนปี 2379 (ค.ค. 1 836 ) แล้ว เจ้าฟ้ามงกุฎนั้นมีลูกโลก
ตารางคำนวณการเกิดสุริยคราส และแผนที่ต่าง ๆ อยู่ในห้องของตน และยังเคยถาม
มิชชันนารีเหล่านี้ด้วยคำถามนับไม่ถ้วนเกี่ยวกับโลกใบนี5้ บรัดเลยังเล่าว่าเจ้าฟ้า-
มงกุฎรู้สึกประทับใจอย่างมากกับหนํงลือ /แ/ทสกส0 สก๘4ร&)กก0กา/ ของมิชชันนารี
ซื่อเจสซี แคสเวลส์ (ป6886 (วส8พ6แ ) ที่เขียนขึ้นในปี 2386 (ค.ศ. 1 843) เพื่อท้าทาย
ความเชื่อเรื่องไตรภูมิของซาวสยาม หนังลือเล่มนี้แพร่กระจายในหมู่สานุศิษย์ของ
เจ้าฟ้ามงกุฎอย่างรวดเร็ว6
ในการสนทนาตอนคํ่าวันหนึ่งระหว่างเจ้าฟ้ามงกุฎกับคนของท่านในกลาง
ทศวรรษ 1840 ขุนนางผู้ใหญ่คนหนึ่งได้กล่าวว่า หลังจากได้อ่านหนังลือของ
แคสเวลส์ เขาถึงยอมรับความคิดว่าโลกกลม เจ้าฟ้ามงกุฎกล่าวตอบว่าตนมีความ
เห็น๗นนั้นมาก่อนหน้าตั้ง 15 ปี ซึ่งหมายถึงก่อนที่พวกมิชชันนารีอเมริกันจะ
ปรากฏตัวในสยามเสียอีก อย่างไรก็ดาม ขุนนางผู้ใหญ่อีกคนหนึ่งกลับปฏิเสธ
ความคิดดังกล่าวและกล่าวว่าตนไม่มีทางจะยอมเชื่อเช่นนั้นเด็ดขาด7 บทสนทนา
นี้แสดงให้เราเห็นอย่างน้อยสองอย่าง ประการแรก ปัญหาเรื่องรูปทรงของโลกได้รับ
ความสนใจจากปัญญาชนในขณะนั้นอย่างมาก เป็นประเด็นที่ยังใหม่สดและยังหา
ข้อยุติไม่ได้ ประการที่สอง เจ้าฟ้ามงกุฎเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าโลกกลม ถึงขนาดอ้างว่า
เลิกเชื่อว่าโลกแบนมานานแล้ว เป็นอดีตไกลโพ้นไปแล้ว คำกล่าวอ้างนี้ต่อให้เกิน
จริงก็มีนัยว่าความเชื่อในคติแบบเติมนั้นล้าสมัยขนาดไหนและท่านเองทันสมัย
ขนาดไหน ขณะที่ขุนนางผู้ยังตึงดันเชื่อว่าโลกแบนซึ่งปรากฏในฉากสนทนาเดียว
กันนี้คือประจักษ์พยานถึงความคงทนของมโนภาพแบบจารีตที่มีด่อโลก เรื่องราว
เหล่านี้ขึ้ว่าชนชั้นนำสยามบางส่วนมีความคุ้นเคยกับความรู้ภูมิศาสตร์แบบตะวัแ-
ตกมาบ้างแล้ว พวกเขายินดีต้อนรับความรู้ชนิดใหม่และกระดือรือรันอย่างยิ่งที่จะ
ใฝ่หาความรู้ใหม่นี้ กระนั้นก็ตาม พวกมิชชันนารีก็ยังต้องเผชิญกับบรรดาผู้ที่เชื่อใน
จักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิอยู่อย่างเหนียวแน่น

54 กี่เาเนึดสยามจากแผนที่ : ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาต
เจ้าฟ้ามงกุฎเริ่มมีความสนใจในวิชาดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์สมัยใหม่ตั้งแต่
วงปีแรกๆที่ออกบวช และโปรดปรานการคำนวณการโคจรของดาวเคราะห์เป็น
วิ}
พิเศษ เมื่อเทียบกับผู้คนในยุคเดียวกันแล้ว ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกเช่นนี้นับว่า
ก้าวหน้าไม่น้อย ในข้อเขียนที่โต้ตอบคำอธิบายของบรัดเลเกี่ยวกับบทบาทของ
พระเจ้าผู้สร้างและคัมภีร์ไบเบิลต่ออารยธรรมนั้น ท่านได้แสดงให้เห็นว่าโลกทาง
วิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไรในทัศนะของตน ข้อเขียนดังกล่าวยังติเตียนว่า
คัมภีร์ไบเบิลเต็มไปด้วยข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับโลกและธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งความเชื่อเรื่องการสร้างโลกภายในหกวัน และท้าทายว่า หากไบเบิลเป็นแหล่ง
กำเนิดของอารยธรรมมนุษย์จริง ทำไมจึงไม่มีการเอ่ยถึงการวัดเส้นรุ้ง - เส้นแวงบ้าง
เลย8 บางครั้งความนิยมที่พระองค์มีต่อการคำนวณพิกัตของพึ๋นผิวโลกก็ออกจะ
มากไปหน่อย เช่นในจดหมายที่มีไปถึงสหายชาวอเมริกันครั้งหนึ่งในช่วงก่อนขึ้น
ครองราชย์ระบุว่าเขียนจาก “แห่งหนึ่งในผืนทเล เส้นรุ้ง 1 3 องศา 26 ลิปดาเหนือ แล
เส้นแวงา 01 องศา 3 ลิปตาตะวันออกในอ่าวสยามวันที่ 18 เดือนพฤศจิกายนพระ -
คริสตกาล 1849”9
หลังจากขึ้นครองราชย์ พระจอมเกล้าฯ ได้แนะให้บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์
ศึกษาเล่าเรียนแบบตะวันตก ทั้งนี้ ภูมิศาสตร์สมัยใหม่และดาราศาสตร์เป็นส่วน
หนึ่งของวิชาที่สอนโดยมิชชันนารี10 เราอาจเข้าใจถึงสถานะของภูมิศาสตร์ใน
ความคิดของท่านได้จากคำวินิจฉัยต่อเรื่องราวของคณะทูตจากอยุธยาที่ไปเยือน
ฝรั่งเศสในปลายศตวรรษที่ 1 7 ชื่งปรากฎ'ใน'ข้อเขียน'ที่ม'ี ไปถึง เซอร์จอห์น เบาวํริง
(3เโ ปอเาก 8อพก่ก9 ) ทูตอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในสมัยนั้น โดยท่านมีความเห็น
ว่าข้อมูลเหล่านั้นล้วนไม่น่าเชื่อถีอเพราะ “ขัดแย้งกับความรู้ทางภูมิศาสตร์ อันเป็น
ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับโลก”11 เวลาพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 กล่าวถึงความ
จริงหรือศาสตร์อันอัศจรรย์จากตะวันตก ปรากฎว่าภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์ดูจะ
เป็นลำดับต้นๆ ในบรรดาศาสตร์ทั้งหลายของตะวันตก12
แน่นอนว่ากรณีของพระจอมเกล้าฯ มีความสำคัญมาก เพราะด้วยบทบาท
ของการเป็นผู้น่าคน'หนึ่ง ทัศนะต่อวิทยาศาสตร์และภูมิศาสตร์แบบใหม่ของผู้ที่เป็น
ผู้น่าย่อมมีผู้คล้อยตาม กระนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ผู้คนหายคลางแคลงใจใน
ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ แม้แต่หม่อมราโชทัย ล่ามชาวสยามในคณะทูตที่เดินทางไป

บทที่ 2 ภูมิหาสตร์เพบใหม่กำลังมา 55
ชื่อมสัมพันธไมตรีกับราชสำนักของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียในปี 2400 ( ค.ศ.
1 857 ) ซึ่งเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษและคุ้นเคยกับความคิดแบบตะวันตกเป็นอย่างดี
ก็ยังตั้งข้อกังขาไว้ใน นิราศลอนตอนว่า :
เมื่ อ อุไทยแจ่ม แจ้ง เหนแสงส่อง
ขึ้นจากท้องวังวลชลฉาน
หฤาจะฝนเช่นอังกฤษเขาคิดการ
ว่าสันถานโลกย์กลมเหมือนซ่มโอ
พระอาทิตย์อยู่ที่เดียวไม่เลี้ยวเลื่อน
แต่โลกย์เคลื่อนหมุนหันขันอักโข
อันพื้นแผ่นแดนไตรก็ใหญ่โต
เราคนโง่คิดไม่เหนฝนอย่างไร, 3
โลกแบบไตรภูมิหยั่งรากลึกในความนึกคิตของผู้คนจนเกินกว่าจะทิ้งไต้ง่ายๆ
ดังที่นักประว้ติศาสตร์ผู้หนึ่งได้กล่าวไว้ว่า การเปลี่ยนเคลื่อน (รเาเส ) เป็นไปอย่าง
ชื่องข้าเสมือนการเคลื่อนของธารนํ้าแข็ง มโนทัศน์แบบไตรภูมิยังปรากฏอยู่ในวิถี
ชีวิตทางสังคมและในวัฒนธรรมแบบจารีตบางอย่าง เช่น ในวงการสงฆ์ พิธีกรรม
ทศกาลทางศาสนา และในสิ่งที่ต่อมาเรียกว่าวัฒนธรรมชาวบ้าน14 การพินิจอย่าง
กส์ชดถึงสภาวะที่เกิดการเปลี่ยนเคลื่อนมโนทัศน์ขึ้นนั้น จะขึ้ให้เราเห็นพลังที่สํงผล
ต่อการลงหลักปักฐานของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ เราจะพบว่าความรู่ใหม่นี้มิได้เข้ามา
อย่างราบรื่นหรีอค่อยเป็นค่อยไปแด่อย่างใต
การแสวงหาภูมิศาสตร์สมัยใหม่และศาสตร์อื่นๆของตะวันตกเกิดขึ้นในช่วง
วลาเดียวกันกับที่มีการปฏิรูปพุทธศาสนาในกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งนำไปสู่กำเนิด
ของธรรมยุติกนิกายในสยาม ทั้งการปฏิรูปพุทธศาสนาและการแสวงหาศาสตร์
สมัย'ใหม่มีผ'ู้นำเป็นคนกลุ่มเดียวกัน คือเจ้าพึามงกุฎและบรรดาสานุศิษย์โดยเริ่ม
มาตั้งแต่ทศวรรษ 1 820 ( พ .ศ. 2363 - 2372 ) ระหว่างที่เจ้าฟ้ามงกุฎยังอยู่ใน
สมณเพศ อันที่จริงเราสามารถกล่าวได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงทั้งสองเป็นขบวนการ
คลื่อนไหวทางการเมืองและภูมิปัญญาขบวนเดียวกันที่ตั้งคำถามต่อความเป็น
พุทธแท้และความถูกต้องของคณะสงฆ์อย่างที่เป็นอยู่ในสยามในขณะนั้น
เช่นเดียวกับการปฏิรูปพุทธเถรวาทครั้งอื่นๆ พุทธที่แทัและคณะสงฆ์ที่แท้
สามารถพบได็ในคัมภีร์ตั้งเติมคือ พระไตรปิฎก หาใช่จากอรรถกถาหรือการดีความ

6 ก็าเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
และพบไตัเนพระวินัยอันเคร่งครัตของคณะสงฆ์ซึ่งเชื่อกันว่าบัญญติไวัแล้วตั้งแต่
ครั้งพุทธกาล กระนั้นก็ตาม หัวใจของขบวนการของเจ้าฟ้ามงกุฎอยู่ตรงที่ว่า พุทธ-
ศาสนาที่แท้จะต้องไม่ข้องแวะกับเรื่องทางโลก และจำกัดขอบเขตของตนอยู่แต่
เฉพาะเรื่องของศีลธรรมและจิตวิญญาณเท่านั้น พวกเขาเชื่อว่า คำสอนทางพุทธ-
ศาสนาเกี่ยวกับเรื่องจักรวาลวิทยานั้น ล้วนปนเย้อน'ไปด้วยความเชื่อผิตๆ เช่นลัทธิ
พราหมณ์ตังนั้นพวกเขาจึงแยกเรื่องทางโลกกับทางจิตวิญญาณออกจากกัน แม้ว่า
ทั้งสองอย่างจะสัมพันธ์กันก็ตาม พวกเขาเชื่อว่าพุทธศาสนาคือสัจจะทางธรรมใน
ขณะที่วิทยาศาสตร์คือสัจจะทางโลก กลุ่มของเจ้าฟ้ามงกุฎจึงต้อนรับศาสตร์ของ
ตะวันตกมากกว่ากลุ่มอื่นใตในสยามขณะนั้น มากเสียจนพวกมิชชันนารีถือว่า
ขบวนการพุทธศาสนาเคร่งคัมภีร์กลุ่มนี้คือฝ่ายก้าวหน้าของสยาม15
ปึกที่ว่ากันว่าก้าวหน้านี้ก้าวขึ้นมามีอำนาจในปี 2394 (ค.ศ. 1851 ) ในที่สุต
นับแต่นั้นมาสยามก็เปลี่ยนโฉมหน้าสู่ความทันสมัย ข้อเท็จจริงที่ว่ากลุ่มซึ่งสนบสนุน
วิทยาศาสตร์ตะวันตกเป็นฝ่ายขึ้นมามีอำนาจในสยามในตอนนั้นถือกันว่าเป็นเหตุ
สำคัญที่ท่าให้การเปลี่ยนผ่านสู่ความทันสมัยเป็นไปอย่างราบรื่นและความรู้แบบ
ยิ่งกว่านั้นมักอ้างกันว่าการคุกคามของจักรวรรดิ-
ตะวันตกแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
นยมตะวันตกในจีนและพม่าได้เตือนภัยให้สยามรีบไขว่คว้ารับความรู้ที่เหนือกว่า
และทรงอิทธิพลกว่าของตะวันตกเข้ามา กษัตริย์และชัยชนะของจักรวรรดินิยมเป็น
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ความรู้แบบตะวันตกแพร่ขยาย มิใช่ด้วยคุณค่าในตัวมันเอง
เท่านั้นหากยังได้รับแรงหนุนจากอำนาจพิเศษนอกเหนือญาณวิทยาด้วย จนท่าให้
ความรู้ชุดนี้สามารถยึตที่มั่นในสังคมได้และยิ่งท่าให้มันมีอิทธิพลมากขึ้นไปอีก
แด่ผลสะเทือนของขบวนการธรรมยุติ อำนาจของกษัตริย์ ตลอดจนการ
เผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก มิไต้ตัดสินผลลัพธ์ของการปะทะกันระหว่าง
จักรวาลวิทยาแบบตะวันตกกับของคนพื้นถิ่นอย่างอัตโนมัติ ตลอดสมัยวัชกาลนี้
ความเชื่อทั้งสองดังกล่าวได้ต่อสู้กันอย่างเปิดเผยในหลายลักษณะด้วยกัน ตัวอย่าง
เช่น ในปึ 2409 ( ค.ศ. 1866) บรัดเลได้ดีพิมพ์บทความชุดหนึ่งเกี่ยวกับโลก นี่เป็น
หัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้อ่านของเขา อีกทั้งในขณะนั้นก็มีแต่งาน
ของบรัดเลที่ให้คำอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับโลก เขาเริ่มจากเรื่องข้อพิสูจน์
เชิงประจักษ์ว่าโลกกลม จากนั้นให้ข้อมูลทั้วไปเกี่ยวกับภูมิลักษณ์ของโลก เช่น
ขนาด ส่วนประกอบของพื้นผิวโลก ชื่อและที่ตั้งของมหาสมุทรและดินแดนต่างๆ

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่กำลังมา 57
เขตภูมิอากาศ และอื่นๆ16 ( น่าเสียดายที่หนังสือพิมพ์ของบรัตเลหยุตพิมพ์!นปี .
เดียวกันนั้นขณะกำลังเล่าเรื่องซาวเอสกิโม) บรัตเลตั้งใจใช้ความรูใหม่นี้เป็นหัวหอก
ทะลุทะลวงความเชื่อเก่า โตยพุ่งเป๋าไปที่ศรัทธาในพุทธศาสนาโดยเฉพาะ จดหมาย
โต้ตอบฉบับหนึ่งที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 มีไปถึงบรัตเล ได้ร่วมมือกับเขาในการ
พยายามกัดเซาะความเชื่อในเรื่องจักรวาลวิทยาแบบตั้งเดิม แต่ในจดหมายฉบับ
เดียวกันนั้นเอง ก็มีการท้าทายคำสอนในไบเบิลด้วยเหตุผลขุดเดียวกัน17
เพียงหนึ่งปีให้'หลัง (พ.ศ. 241 อ/ ค.ศ. 1 867 ) เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ผู้เป็น
ขุนนางชั้นสูงสุดคนหนึ่งของสยามก็พิมพ์หนังสือชื่อ หนังสือแสดงกิจจานุกิจ เพื่อ
โต้ตอบแนวคิดจักรวาลวิทยาแบบตั้งเดิมและตอบโต้คริสต์ศาสนาด้วย18 กิจจานุกิจ
เดินตามแนวญาณวิทยาของขบวนการธรรมยุติของเจ้าฟ้ามงกุฎ กล่าวคือ แนวลิต
ที่ถีอว่าปริมณฑลทางโลกกับทางศาสนาต่างจากกัน สัจจะของปริมณฑลทางโลก
อยู่ที่วิทยาศาสตร์ สัจจะทางธรรมอยู่ที่พุทธศาสนา19 ทิพากรวงศ์ยืนยันในสัจธรรม
ของพุทธศาสนาและโต้แย้งคำสอนทั้งหลายที่ไม่ลงรอยกับพุทธศาสนา โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งคำวิจารณ์ของพวกมิชชันนารี20 แต่การทำเช่นนั้นก็ทำให้ท่านต้องพราก
พุทธศาสนาออกจากการข้องแวะกับสัจจะของโลกธรรมชาติ กล่าวคือ ต้องทำให้
พุทธศาสนาเป็นยอดทางศีลธรรมและจริยธรรมเท่านั้น
ในช่วงต้นของหนังสือ ทิพากรวงศ์ใต้สอนเกี่ยวกับภูมิศาสตร์สมัยใหม่และ
,
ตาราศาสตร์ในแง ที่เป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับโลกธรรมชาติ
ประเด็นเรื่องรูปทรงของโลกได้กลายมาเป็นหัวข้อใจกลางของการปะทะกันใน
ตัวบท สัจจะตามความรู้พนถิ่นสยามโดยเฉพาะจักรวาลวิทยาแบบพุทธถูกทดสอบ
โดยความรู้แบบตะวันตก21 ท่านอธิบายโลกในฐานะดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบ
สุริยะด้วยความเชื่อมั่นหนักแน่นว่าโลกกลม จนสามารถอธิบายแหล่งกำเนิดของมัน
พร้อมกับสามารถตั้งคำถามตอบโต้บรรดาผู้ที่เชื่อว่าโลกแบนได้ด้วย ต่อปัญหาว่า
เราจะรู้ใด้อย่างไรว่าโลกไม่แบนนั้นท่านอ้างถึงปรากฏการณ์ที่เห็นได้ด้วยดาและ
เรื่องโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา ซึ่งตัวอย่างทั้งสองนี้พบได้ในหนังสือพิมพ์ของ
บรัตเล22 ในการท่าเช่นนั้น ท่านตระหนักดีว่าจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิไต้กลาย
เป็นเป๋าโจมดีของตนและอาจท่าให้เกิดข้อกังขาต่อความถูกต้องของพระพุทธเจ้า
เนื่องจากถือกันว่าพระพุทธองศ์เป็นผ้รีรเขิ้แจังในสัจธรรมของสรรพสิ่ง อย่างไรก็ดี
รี

ทิพากรวงศ์ไม่เพียงสามารถหลีกเลี่ยงจากการเป็นพวกมิจฉาทิฐิได้เท่านั้น แต่ยัง

58 กำเนิดสยามจากแผนที่ะ ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
สามารถถกเถียงไปไดัใกลถึงขนาดกล่าวว่า “ถ้าคนใดคิตเหนว่า แผ่นดินแบนก็จะ
ถูกกับที่เขาถือว่ามีผู้สร้างใหัเปน ถ้าถือว่าพิภพกลมก็จะถูกกับคำพระพุทธเจ้าที่
กล่าวไว้ว่า ธรรมดานิยม” 23
วิธีการเอาตัวรอดจากความอิหลักอิเหลื่อของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ กลายเป็น
แบบฉบับของคนไทยพุทธยุคใหม่ซึ่งศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่ พอๆกับ
เชื่อมั่นในความรู้ที่เที่ยงตรงของวิทยาศาสตร์แบบตะวันตก นอกจากจะแยกสอง
ปริมณฑลของชีวิตออกจากกันแล้ว ท่านยังยืนยันว่าพระพุทธเจ้ารู้แจ้งในสัจจะเกี่ยว
กับโลก แต่ขณะเดียวกันก็ตระหนักว่าสิ่งที่รู้นั้นขัดกับความเชื่อของผู้คน หากยก
ปัญหานี้ขึ้นมาก็จะทำให้ผู้คนหมกมุ่นอยู่กับเรื่องนี้จนละเลยมรรคเพี่อการหลุดพ้น
กล่าวอีกอย่างคือเรื่องธรรมชาติที่แท้จริงของโลกเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ไม่มีความ
สำคัญพอที่จะสอน และไม่คุ้มที่จะท้าทาย ท่านโทษพวกพระครูแก่ๆ ในยุคหลังที่
ผนวกเรื่องนี้เข้ามาไว้ในคำสอนทางพุทธศาสนา ทั้งที่อย่างมากที่สุดที่พวกเขาทำ
ได้ก็คือพึ่งคัมภีร์ลัทธิพราหมณ์และอรรถกถาบาลีบางฉบับที่ล้วนเป็นอวิชชา 24

เห็นได้ชัดว่าท่านมิได้ลังเลแม้แต่น้อยที่จะโจมดีคำสอนแบบจารีตที่ปนเปือนไปด้วย
ลัทธิพราหมณ์ ในขณะที่ส่งเส่ริมภูมิศาสตร์แบบใหม่ซึ่งพุทธศาสนาที่แท้จริงรับรอง
ต้อนรับ
ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ดูจะเป็นความรู้ชนิดใหม่ล้าหรับปัญหาใด ๆ ก็ตามเกี่ยวกับ
พื้น'ที่ /ภูมิ/ เทศะ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหายุ่งยากเอาเสียเลย ตัวอย่างเช่น เจ้าพระยา
ทิพากรวงศ์ต้องพยายามอธิบายเรื่องในพุทธประว้ดิที่ว่าพระพุทธเจ้าไปแสดงธรรม
แก่มารตาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านเห็นว่าเรื่องนี้ก็น่าจะจริง แต่ก็ใช่ว่าจะขัดแย้ง
กับความรู้ภูมิศาสตร์ เพราะในความเห็นของท่าน ดาวดึงส์อาจอยู่บนดาวเคราะห์
ทรงกลมอีกใบหนึ่งที่ห่างไกลออกไปก็เป็นได้25 จะเห็นได้ว่าล้าหรับท่านแล้ว ความ
ขัดแย้งระหว่างความจริงตามเรื่องราวในพุทธประวัติกับความจริงของวิทยาศาสตร์
สมัยใหม่นั้นสามารถหาข้อยุติได้อย่างน่าอัศจรรย์และอย่างสอดคล้องต้องกัน
หนังสือแสดงกิจจานุกิจ เป็นหลักฐานดียิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการที่สยาม
รับมือกับอิทธิพลของความคิดจักรวาลวิทยาแบบตะวันตก ในแง่หนึ่ง ยุทธศาสตร์
ทางญาณวิทยาเช่นนี้นับเป็นทางออกเพื่อประนิประนอมชุดความรู้ที่ขัดแย้งกันโดย
ไม่สนใจว่าลูกผสมที่ออกมาจะไม่คงเส้นคงวาในทางตรรกะหรือไม่ ขณะเดียวกันก็
เป็นการรุกดีจักรวาลวิทยาดั้งเติมที่ครอบงำอยู่ ดังที่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ได้ระบุไว้

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่กำลังมา 59
ในคำนำของหนังสือว่า ต้องการให้เป็นหน้ง่สือสำหรับคนรุ่นหลังไต้อ่านแทนบรรตา
หนังสือ “ไม่ฝนประโยชน์”ที่แพร่หลายในขณะนั้น26
อย่างไรก็ดี แม้จะมีอำนาจอยู่ในมือ แต่ขบวนการเคลื่อนไหวทางความคิดที่
พยายามประนึประนอมระหว่างความรู้พื้นถิ่นกับความรู้ตะวันตก ก็ต้องต่อสู้อย่าง
หนักทั้งกับความเชื่อพื้นถิ่นและกับคริสต์ศาสนา พระจอมเกล้าฯ ต้องต่อสู้ตลอดทั้ง
ชีวิตเพื่ออุดมการณ์ลูกผสมของตนซื่งชื่นชมวิทยาศาสตร์แบบตะวันตกและเชิดชู
พุทธศาสนาไปพร้อม ๆ กัน การเดินทางไปหว้ากอเพื่อสังเกตสุริยุปราคาในปี 2411
( ค.ศ. 1868 ) อันเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่มรณกรรมของพระองคํในที่สุตนั้น ก็คือ
ขั้นตอนหนึ่งของการปะทะกันอย่างเจ็บปวดและแตกหักของความรู้คนละประเภท
จะว่าไปแล้วเหตุการณ์ที่หว้ากอถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ทางญาณวิทยา
ในหลายแง่ด้วยกัน หากใช้ภาษาของกรัมชึ่ก็ต้องบอกว่า การอยู่ร่วมกันของความร
สองชนิดที่ดูเหมือนจะราบรื่นตีนี้ แท้ที่จริงคือการทำสงครามรุกคืบชิงพื้นที่ (พลโ 01
ก03เ1เ0ก) เพื่อครองอำนาจนำ (เา6ฐ6ฌ0กV) นั้นเอง
การVเาทะลวง ะ ดาราสาสต!ผ่านโหราศาสตร์
นอกเหนือจากความนิยมซมชอบในการคำนวณพิกัตของพื้นผิวโลกแล้ว พระจอม-
เกล้าฯ ยังชื่นชอบการคำนวณการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์อีกด้วย โดยไต้พัฒนา
ความเชี่ยวชาญต้านนี้จากความรู้ทางโหราศาสตร์ไทยตั้งแต่เมื่อครั้งที่ยังอยู่ใน
สมณเพศ แม้จะไต้ชื่อว่าเป็นทั้งผู้นำของฝ่ายหัวก้าวหน้า ผู้นำของขบวนการพุทธ
สายใหม่ และผู'น้ ำอัสตงคตาภิวิติ (พ©๙6โก!2ล1เ0ก) ของสยาม แต่แท้จริงแล้วท่านก็
เป็นศิษย์ตัวยงคนหนึ่งของวิชาโหราศาสตร์โบราณพร้อมๆกันนั้นก็ยังเรียนรู้เกี่ยว
กับดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์แบบตะวันตกจากตำราภาษาอังกฤษด้วย27
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 มีคุณูปการใหญ่หลวงต่อวงการโหราศาสตร์ไทย
ดังที่นักโหราศาสตร์ชื่อดังในยุคปัจจุบันคนหนึ่งของไทยได้กล่าวไว้ เซ่นเมื่อครั้งที่
ค้นพบว่าอาจเกิดหายนะขึ้นกับราชอาณาจักรเนื่องจากดวงเมืองของกรุงเทพฯ ที่
จารึกไว้บนสุพรรณบัฏซึ่งฝังไวํใต้เสาหลักเมืองนั้นเป็นกาลกิณีกับดวงชะตาของตน
ท่านก็ได้จัดการแก้ไขตวงเมืองเสียใหม่28 นอกจากนี้ท่านยังมักแสดงความสามารถ
ทางโหราศาสตร์ในคำประกาศต่างๆอยู่เสมอ หนึ่งในคุณูปการต่อวงการโหรา -
ศาสตร์ไทยคือการคำนวณปฏิทินของไทยเสียใหม่ โดยถึงกับตำหนิพวกโหรของ

60 กำเนิดสยามจากแผนที่ ะ ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ราชสำนักว่าไม่เคยตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของการคำนวณและไม่เคยตั้ง
คำถามหรือแม้แด'จะเข้าใจตำราโหราศาสตร์อย่างถ่องแท้ด้วยขึ้าไป ปฏิทินของทาง
ราชการจึงมั่วไปหมด การคำนวณวันสำคัญทางพุทธศาสนาก็ผิดพลาตอย่างฉกรรจ์
ฤกษ์ยามสำหรับการมงคลจึงคลาดเคลื่อน ไม' ต้องสงสัยเลยว่า สิ่งเหล่านี้เป็น
ตัวอย่างที่ตีที่สุดที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในเรื่องโหราศาสตร์ของพระจอม -
เกล้าฯ29
นอกจากนี้ทุกวันสงกรานต์อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ทางราชสำนักจะประกาศ
ให้ประชาชนทราบถึงฤกษ์งามยามดีของปีนั้นๆ ประกาศดังกล่าวยังต้อนรับปีใหม่
ด้วยการระบุเวลาเผงๆ และช่วงเวลาที่แน่นอนของแต่ละราศี รายละเอียดของคราส
ต่างๆที่จะเกิดขึ้น ปรากฎการณ์บนท้องฟ้าที่สำคัญ ฤกษ์งามยามดีสำหรับการ
มงคล วันอัปมงคลที่ควรหลีกเลี่ยง ฯลฯ 30 ตลอดรัชสมัย พระจอมเกล้าฯ เรียบเรียง
คำประกาศประจำปีและคำนวณวันเวลาต่างๆ เอง บางครั้งก็วิจารณ์ความรู้ทาง
โหราศาสตร์ไปด้วย ดังปรากฏในคำโต้เถียงเกี่ยวกับการพยากรณ์ปริมาณนํ้าฝนใน
ปีที่จะมาถึง โดยก่อนหน้านี้ภารกิจดังกล่าวเป็นของโหรประจำราชสำนัก ซึ่งจะระบุ
จำนวนนาคที่ให้นั้าและปริมาณนํ้าฝนที่ทำนายว่าจะตกตามที่ต่าง ๆ ในจักรวาลของ
ไตรภูมิ เช่น ป่าหิมพานต์ ภูเขา และมหาสมุทรทั้งเจ็ด โลกมนุษย์ และอื่นๆ ซึ่ง
ท่านถือว่าแนวปฏิบ้ตเหล่านี้เชื่อถือไม่ไต่31
แต่งานต้านโหราศาสตร์ที่พระเจ้าอยู่หัวสกฝนและปฏิยัตจำกัดอยู่เฉพาะ
เรื่องการคำนวณการเคลื่อนที่ของดวงดาวเท่านั้น ไม่รวมถึงการท่านายโชคชะตา
อนาคต นอกจากนี้ยังได้ตั้งคำถามกับปฏิทินของทางราชการเพราะพบความผิด
พลาดในการคำนวณวงโคจรของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ คำประกาศเนื่องในวัน
สงกรานต์ของแต่ละปีจะเต็มไปด้วยรายละเอียดของตำแหน่งของโลกที่สัมพันธ์กับ
ตำแหน่งของดาวในแต่ละจักรราศี เวลาต่างๆ ที่โลกโคจรเข้าหรือออกแต่ละราศี
เวลาข้างขึ้นข้างแรม และคำพยากรณ์การเกิดคราส ท่านยังโปรดปรานการสังเกต
ปรากฏการณ์ต่างๆ บนท้องฟ้า เช่น ดาวหาง จุดดับบนดวงอาทิตย์ และการโคจร
ของดาวนพเคราะห์อื่นๆ
อย่างไรก็ตาม พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ไม่เคยประณามหรือปฏิเสธการท่านาย
โชคชะตาอนาคต เพียงแต่แยกมันออกจากศาสตร์การคำนวณปรากฏการณ์บน
ท้องฟ้า ในทัศนะของท่าน ปรากฏการณ์บนท้องฟ้ามิไต้มีผลกระทบต่อความเป็นไป

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบ11หม่กำลังมา 61
ของมนุษย์ ความคิดเช่นนี้ย่อมแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากบรรดานักโหราศาสตร์
ในยุคเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากกรณีปรากฎการณ์ดาวหางสองครั้งในปี 2401 และ
ปี 2404 ( ค.ศ. 1858 และ 1861 ) ซึ่งท่านเตือนว่าอย่าไปหลงเชื่อข่าวลือว่าจะเกิด
โรคระบาต หายนะ สงคราม หรือลางร้ายต่างๆโดยชี้ว่าคนทางฝังยุโรปก็เห็นดาว
หางดวงเดียวกันมาก่อนแล้ว ฉะนั้นจึงมิใช่ลางร้ายที่เกิดขึ้นเฉพาะแด่กับกรุงเทพฯ
นอกจากนี้ มนุษย์เรายังสามารถคำนวณว่าดาวหางจะมาเมื่อไรได้ล่วงหน้าอีก
ด้วย 32 ท่านไต้อธิบายไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ตวงจันทร์กับดาว
เสาร์โคจรมาอยู่แนวเดียวกันในปี 2411 ( ค.ศ. 1868 ) และดวงอาทิตย์กับดาวพุธ
โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกันในปี 2404 ( ค.ศ. 1861 ) ซึ่งถือเป็นลางร้ายตามหลัก
โหราศาสตร์ โดยชี้ว่าบางทีดาวสองตวงก็โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกันเป็นครั้งคราว
ดาวดวงหนึ่งจึงย่อมบดบังดาวอีกดวงหนึ่ง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมซาติ33 “การ
บนฟ้ามนุษย์สังเกตทายล่วงหน้าไวํได้ อะไรเห็นประหลาดบนฟ้า ไม่ควรที่จะเก็บ
ผ้ร้เขารัป ้ใต้แล้ว”34 นอกจากนี้ ในทัศนะ
เอาเป็นเหตุจ มาตื่นกันต่างๆ* ต้นเหตุจ ที่เป็นมีปป
ของพระจอมเกล้าฯ โลกเป็นเพียงหนึ่งในดาวเคราะห์ดวงหนึ่งเหมือนดวงอื่นๆ และ
พึ้นผิวโลกเต็มไปด้วยประเทศต่างๆโดยสยามก็เป็นหนึ่งในนั้น ในคำพยากรณ์การ
เกิดคราสบางครั้ง ท่านประกาศว่าจะมองเห็นได้จากส่วนอื่นของโลกแต่ไม่ใช่สยาม
บางครั้งก็ระบุพิกัดเส้นรุ้งแวงที่สามารถมองเห็นคราสได้ชัดเจนที่สุด โลกในทัศนะ
ของท่านเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะนั้นเอง
จักรวาลวิทยาแบบใหม่นี้ไม่มีอะไรเกี่ยวพันกับโหราศาสตร์แผนโบราณเลย
อำนาจของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 อาจช่วยปัดเป้าอันตรายจากการโจมดีใดๆ
และเป็นที่มั่นให้กับการรุกคึบทางปัญญาของตน แด่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถ
ล้มภูมิปัญญาความเชื่อที่ฝังรากลึกลงได้ ในการถกเถียงเรื่องวิทยาศาสตร์และ
ศาสนากับบรัดเล มีหลายครั้งที่พระจอมเกล้าฯ ประณามชนชั้นนำหลายคน ไม่ว่า
พระผู้ใหญ่ พระสังฆราช และแม้แด' พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ว่าคนเหล่านี้ไม มี
,

ความรู้เรื่องโลกหรือท้องฟ้า แม้แด่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ของพม่าก็ยังไม่รอดพันจาก
การถูกโจมดีในเรื่องโลกทัศน์จักรวาลวิทยาที่พวกเขาเองถืออยู่ 35 อย่างไรก็ตาม
ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าโหรในยุคนั้นมีปฏิกิริยาต่อการท้าทายของโลกทัศน์แบบใหม่ที่เกิด
จากชาวสยามด้วยกันเองอย่างไร แด่ไม่ว่าจะอย่างไร การต่อสู้ของพระจอมเกล้าฯ

62 ก็าเนิดสยามจากแผนที่ : ประวติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ยังคงตำเนินต่อไปอย่างไม่ลดละ ด้วยความเชื่อมั่นและด้วยท่าทีเป็นปฏิปักษ์กับ
บรรดาโหรประจำราชสำนักด้วย ทีน่ ่าตลกก็คึอ โหรหลวงส่วนใหญ่เคยเป็นพระ
มาก่อนและรํ่าเรียนวิชาเหล่านี้จากวัดเช่นเดียวกัน การต่อสู้ของท่านตำเนินไป
อย่างตุเดีอดจนถึงบั้นปลายชีวิต
ในการพยากรณ์จันทรุปราคาครั้งหนึ่ง พระจอมเกล้าฯ ได้ยํ้าว่านึ่เป็นการ
คำนวณของตน มิใช่ของโหรประจำราชสำนัก 36 เหตุผลที่ต้องยํ้าเช่นนี้มาเปิดเผย
ภายหลังในประกาศวันสงกรานต์ปี 2409 (ค .ศ. 1866 ) ว่าที่มิไดให้รายละเอียดการ
เกิดคราสไว้เพราะ “ราชการอื่นๆ มาก ไม่มีช่องจะคำนวณเลย จะให้โหรคำนวณก็
หยาบนักเอาแน่ไม่ได้”37 บางครั้งท่านก็เรียกคู่ต่อสู้ว่าพวก “โหรซ่มซ่าม”38 หรือ
บริภาษพวกพระหรืออดีตพระที่คำนวณปฏิทินว่า “เถร”และยังแบ่งเถรออกเป็น 3
กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ “งมเถร”คือพวกที่ไม่สนใจทำอะไรนอกจากกินกับนอน “ระยำ
เถร”คือพวกที่ชอบยุ่งกับผู้หญิงหรือกิจกรรมอันไม่เหมาะสม และ “ใหลเถร” คือ
พวกพระที่โง่เขลาไม่มีความรู้อะไรลักอย่างนอกจากประจบสอพลอผู้อื่น และพวก
สุดท้ายนี่เองที่กลายมาเป็นเจ้าหน้าที่ทำปฏิทินของราชสำนัก 39 ท่านมักใช้คำ
เหล่านี้โจมดีการทำงานของพวกโหรและพระ รวมถึงความรู้ฉาบฉวยในการคำนวณ
เวลาของพวกเขา40
การเดินทางไปสังเกตสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอในปี 2411 (ค.ศ. 1868 )
เป็นจุดสุดยอดของการต่อสู้ของพระจอมเกล้าฯ คำพยากรณ์ประกาศออกมาในวัน
สงกรานต์ของปีนั้น แต่ไม่มีรายละเอียด เนื่องจากท่านติดภาระราชการ ไม่มีเวลา
พอที่จะคำนวณ แต่พอถึงเดือนสิงหาคมก็มีคำประกาศของทางราชการออกมา
ท่านคำนวณเวลาแน่นอนที่จะเกิดคราสตามการนับเวลาของไทย ( โมง , บาท ) และ
ช่วงเวลาแน่นอนที่คราสจับเต็มดวง คือหนึ่งบาท หรือ “6 นาทีนาฬิกากล”41 แต่
สุริยุปราคาเต็มดวงจะเห็นได้จากบางแถบของโลกเท่านั้นคือ แถบที่พาดผ่าน
คอคอดกระที่ “ลองดิชูต 99 องศา 40 ลิปดา 20 พิลิพ คิดมาแต่ที่ครูครืน1วิช เป็น
ทิศตะวันตกกรุงเทพฯ ไปเพียง 49 ลิปดากับ 40 พิลิพ เวลาผิดกันกับกรุงเทพฯ 3
นาทีกับ 16 วินาที เศษเล็กน้อย มีลาดิตุดขิปทุวิเหนือ 11 องศา 41 ลิปดา 40 พิลิพ
เป็นข้างใต้กรุงเทพฯ ลงไป 2 องศา 3 สิปดา 29 พิสิพ”42 หน่วยการวัตเป็นคำไทย
^
ของ ๘69 โ663 , ๓!กบ(63 และ 3600ก 3 ตามลำดับ วิธีการวัตในแง่ของพิกัดบนพื้น

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่!ทดังมา 63
ผิวโลกเป็นแบบตะวันตกอย่างไม่ต้องสงสัย ในงานชิ้นหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับกรณี
นี้ชิ้ว่าพระจอมเกล้าฯไต้ใช้วิชาที่แหวกแนวออกไปคือตำราของตะวันตกและตำรา
สารัม,ก็ชงเป็นตำราคำนวณดาวนพเคราะห์ของมอญหนึ่งในสองฉบับที่รู้จักกันดีใน
หมู่คนไทย43
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเล่าไว้ว่า ตามความรู้ทางโหราศาสตร์ที่
เผยแพร่อยู่ในสยามในเวลานั้น จันทรุปราคาเต็มตวงเป็นสิ่งที่เกิดได้ แต่สุริยุปราคา
เต็มดวงไม่เคยมีและไม่น่าจะเป็นไปได้ ดังนั้น บรรดาโหราจารย์ในเวลานั้นจึงไม่เชื่อ
การพยากรณ์ของพระจอมเกล้าฯ เนื่องจากนอกกรอบนอกตำรา44 คำอธิบายย้อน
หลังของกรมพระยาดำรงฯ ออกจะเกินจริง สุริยุปราคาเต็มดวงมีใช่ปรากฏการณ์
ที่ขัดแย้งกับโหราศาสตร์1ไทย เพราะเรื่องนี้ก็เคยมีการกล่าวถึงไว้แล้วอย่างน้อย
ครั้งหนึ่งในจดหมายเหตุโหร45 อย่างไรก็ตี นัยยะที่สำคัญที่สุดของความทรงจำ
ของกรมพระยาดำรงฯ ก็คือมีการประจันหน้าท้าทายกันอยู่ลึกๆ ระหว่างพระเจ้า -
อยู่หัวรัชกาลที่ 4 กับบรรดาโหรประจำราชสำนัก เป็นไปได้ว่าสาเหตุที่คำพยากรณ์
สุริยุปราคาของพวกโหราจารย์ด่างออกไปอย่างสิ้นเชิงก็เพราะพระจอมเกล้าฯ
เลือกที่จะใช้วิธีคำนวณตามตำรา สารัมภ์กับของตะวันดก ขณะที่โหรส่วนใหญ่ใช้
ตำราอีกเล่ม46 ผลการคำนวณของพวกโหรจึงออกมาเป็นสุริยุปราคาแต่ไม่เต็มดวง
นอกจากนี้พวกเขาก็ไม่เคยรู้จักสิ่งที่เรียกว่าแถบบนพึ๋นผิวโลกด้วย คงไม่ยากที่จะ
จินตนาการถึงความโดดเดี่ยวและแรงกดดันต่างๆ ที่พระเจ้าอยู่หัวเผชิญอยู่ในขณะ
นั้น เพราะต้องเสี่ยงเอาเกียรติยศของตนเป็นเดิมพันในการเผชิญหน้ากับบรรดา
โหราจารย์ ดังนั้น นี่จึงเป็นมากกว่าการแสดงภูมิความรู้ และฝ่ายตรงข้ามก็มิได้
,
เป็นแค่โหร แด คือสถาบันที่มีอำนาจมั่นคงชนิดหนึ่ง ฉะนั้นนับแด่ท่านพยากรณ์
สุริยุปราคาครั้งนี้ ก็หันมาหมกมุ่นอยู่กับการคำนวณอย่างละเอียดแม่นยำในทุกจุด
เพื่อพิสูจน์ความรู้และเกียรติยศของตนในฐานะกษัตริย์
ด้วยความเชื่อมั่นในความสามารถของตน พระจอมเกล้าฯ จึงจัดเตรียมพิธี
สังเกตการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงและเดินทางไปสังเกตด้วยตนเองแม้จะมีอายุมาก
ถึง 64 ปีแล้วก็ตาม และยังต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเดินทางและการ
พักค้างอ้างแรมในป่าอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อพิสูจน์ความแม่นยำและความ
สามารถของตน จึงได้เลือกหว้ากอเป็นจุดสำหรับสังเกตการณ์สุริยุปราคาแม้ว่า

64 ที่เาเนิตสยามจากแผนที่ ะ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
หว้ากอจะเป็นป่าชุกชุมไปด้วยโรคร้าย47 นอกจากนี้ ยังมีการเชิญเจ้าหน้าที่ระดับสูง
ของมหาอำนาจยุโรปเข้าร่วมการสังเกตการณ์ด้วย อังกฤษและฝรั่งเศสตอบรับคำ
ชิญนี้และขนคณะสังเกตการณ์ชุดใหญ่พร้อมอุปกรณ์มากมายสำหรับดูสุริยุปราคา
และทดลองวิทยาศาสตร์ คณะของสยามเองก็ใหญ่โตไม่แพ้กัน มีเครื่องอำนวยความ
สะดวกเกินจำเป็นสารพัดสำหรับการอยู่ป้าและเพื่อความสำราญของพระเจ้าอยู่หัว
และเหล่าอาคันตุกะ คณะของสยามมิได้ขนเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อะไรไปด้วย
ลย แต่อุตส่าห์ขนนํ้าแข็งจากเมืองหลวงไปด้วย การประชุมกันที่หว้ากอกลายเป็น
งานสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ระดับนานาชาติ และอาจจะเป็นครั้งยิ่งใหญ่ตระการตา
คราวเดียวที่เคยจัดในภูมิภาคนี้ก็ว่าไต้ หากมองในเชิงสัญลักษณ์ หัวใจสำคัญของ
หตุการณ์นี้ คือการพบกันระหว่างโหราศาสตร์แบบดั้งเติมกับดาราศาสตร์แบบ
ตะวันดก รวมถึงทุก ๆ อย่างที่อยู่ตรงกลางระหว่างความรู้ทั้งสอง
วันชี้ชะตา 1 8 สิงหาคม พ.ศ . 2411 ท้องฟ้าที่หว้ากอปกคลุมด้วยเมฆ ทุกคน
ด่างเสารอเวลาที่จ่ะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงโตยเฉพาะอย่างยิ่งชาวยุโรปที่จ้ดเตรียม
อุปกรณ์ของตนไว้พร้อมสรรพ แต่โชคไม่ดีที่แทบมองไม่เห็นดวงอาทิตย์เลย ไม่ว่า
จะลูด้วยตาเปล่าหรือโตยเครื่องมือก็ตาม ทว่าจู่ ๆขณะที่คราสกำลังคืบคลานเข้าจับ
ดวงอาทิตย์ ท้องฟ้ากลับปลอดโปร่งขึ้นฉับพลันและสุริยุปราคาเต็มตวงก็ประจักษ์
แก' สายตาของทุกคน ณ ที่นั้น สุริยุปราคาเต็มตวงเป็นไปตามพยากรณ์ของพระ
จอมเกล้าฯ ทุกอย่างจนถึงรายละเอียต แด่ท่านมิได้เตรียมการทดลองทางวิทยา-
ศาสตร์ใต ๆอย่างอาคันตุกะชาวยุโรป ลำพังการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงก็คือความ
สำเร็จของการทดลองแล้ว เป็นการยืนยันอย่างวิเศษที่สุตถึงชัยชนะครั้งสำคัญที่สุด
ของพระเจ้าอยู่หัว
อย่างไรก็ตาม ชัยชนะนี้ก็มิได้หมายถึงความฟายแพ้ราบคาบของภูมิปัญญา
พื่นถิ่นเสียทีเดียว ความสำเร็จของพระจอมเกล้าฯ เป็นผลมาจากความรู้ทาง
ภูมิศาสตร์และตาราศาสตร์ของตะวันตกมากพอ ๆ กับความเชี่ยวชาญโหราศาสตร์
แผนโบราณอันเป็นที่โปรดปรานของท่านเอง เพียงแต่ความคิดใหม่เรื่องเทหวัตถุ
บนฟากฟ้าและวิธีการคำนวณเท่านั้นที่ไต้ร้บการพิสูจน์แล้วว่าเหนือกว่า แม้กระทง
พระเจ้าอยู่หัวเองก็ถึอว่า ท้องฟ้าที่จู่ ๆก็ปลอดโปร่งขึ้นมาอย่างฉับพลันนั้นนับเป็น
ปาฏิหาริย์ เป็นการดลบันดาลของสิ่งดักดี้สิทชี้ชึ่งต้องถือว่ามีส่วนร่วมในความ

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่กำลังมา 65
สำเร็จครั้งนี้ด้วย เมื่อคราสเริ่มคลายออก ขณะที่อาคันตุกะซาวยุโรปยังคงสาละวน
อยู่กับการทดลองวิทยาศาสตร์ ท่านก็เริ่มพิธีสักการะบูชาเพื่อตอบแทนเทพยดา
และสิ่งคักดื่สิ่ทธึ๋ทั้งหลาย
48

ครั้นเมื่อกลับถึงพระนคร พระเจ้าอยู่หัวพบว่าบรรดาโหรประจำราชสำนัก
รวมทั้งพระโหราธิบดี ผู้เป็นหัวหน้าและขุนนางผู้ใหญ่อีกหลายคนที่อยู่ในพระนคร
กลับไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับสุริยุปราคาที่เห็นในกรุงเทพฯได้อย่างเป็นเรื่อง
เป็นราว จึงสั่งให้ลงโทษคนเหล่านี้อย่างหนักให์ไปทำความสะอาดสวนในวังหนึ่ง
วันและขังดุกอีกแปดวัน จากนั้นพระเจ้าอยู่หัวได้มีอรรถาธิบายเกี่ยวกับสุริยุ -
49

ปราคาเต็มดวง ทั้งยังตำหนิบรรดาผู้ที่ไม่เชื่อพระองค์ และประณามพวกที่มีรายได้


มากกว่าราคาของเครื่องลักการะสิ่งคักตื่สทธี๋ แด, กลับไม่สนใจคำพยากรณ์ของ
พระองค์ โดยประณามคนเหล่านี้ว่าเป็นพวกจิตใจหยาบช้า ตํ่าชั้น และตีแต่พูดโง่ๆ
1

เซอะๆ เพราะไม่ยอมใส่ใจรายละเอียดคำพยากรณ์ของท่าน ทั้งยังไม่ใส่ใจการวัต


คำนวณด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ พวกเขาปล่อยให้ไพร่ที่ดูแลนาฬิกาเป็นคนจับเวลา
ละเลยรายละเอียดต่างๆ และยังเห็นดีเห็นงามไปกับคำทำนายหยาบๆ ของโหร
ประจำราชสำนัก ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังมองดูสุริยุปราคาด้วยวิธีการอันครํ่าครึ
เซ่นใช้มือป้องตาตู และนาฬิกาที่ใช้จับเวลาก็หาความเที่ยงตรงไม่ได้เอาเสียเลย
“เวลาจับนั้นไม่ชอบกลเลย . . . แต่ที่นับถือของพระสงฆ์แก่ๆ” ท่านยังประณามพวก
โหรที่เคยบวชเรียนหลายพรรษาว่าดีแต่อวดอ้างความสามารถของตน โดยไม่สนใจ
ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ “ตั้งแต่นี้ไป การหยาบๆไพร่ๆ สกปรกอย่างใจซาววัต คนมา
แต่วัตเซ่นนี้ ให้พวกโหรคิดเงือดงดเสีย” ทุกคนที่เกี่ยวช้องถูกสั่งให้คัดลอกข้อดำริ
เหล่านี้ไว้50
น่าเสียตายที่กว่าจะบรรลุความสำเร็จตังกล่าว พระจอมเกล้าฯ ได้ประกอบ
ภารกิจหนักมากเสียจนพลานามัยทรุดโทรม การเสี่ยงเลือกหว้ากอเป็นสถานที่
สังเกตการณ์สร้างผลสำเร็จ แด่ท่านเองและเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ผู้เป็นโอรสได้รับเชื้อ
มาลาเรียกลับมาด้วย เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ป่วยหนักอยู่ระยะใหญ่แต่ก็รอดชีวิตมาได้
ทว่าพระเจ้าอยู่หัวเองไม่เป็นเซ่นนั้น แม้จะมีชัยเหนือพวกโหรหัวโบราณประจำราช-
ล้านักและเหนือจักรวาลวิทยาแบบพึ้นถิ่น ทว่าก็เป็นชัยชนะที่น่าเศร้า เนื่องจากการ
ต้องสละชีวิตเพื่อความเชื่อของตน

66 กำเนิดสยามจากแผนที่ะ ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาต
พื้นที่ /ฎมิประเภทใหม่ะ ภูมิศาสตร์สมัยใหม่
ด้วยเหตุที่เรารับรู[้ ลกโดยผ่านสื่อกลางคือมโนภาพชุดหนึ่ง ดังนั้นมโนภาพที่ต่างกัน
ไปย่อมส่งผลต่อความรู้ของเราที่มีต่อโลกและต่อแบบแผนปฏิบัติทางภูมิศาสตร์
ทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง โลกในสายตาคนไทยปลายศตวรรษที่ 19 จะด่างไปอย่างไร
หากพวกเขารับรู้มันด้วยภูมิศาสตร์สมัยใหม่ ? และวาทกรรมใหม่เกี่ยวกับเทศะจะ
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพื่นที่อย่างไรบ้าง ? เพื่อจะตอบคำถามนี้ เรา
ต้องตรวจสอบภูมิศาสตร์สมัยใหม่ว่าถูกนำเข้ามาในภาวะทางประวัติศาสตร์อย่างไร
แม้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์จะไม่ประสบความสำเร็จในการพยายามให้ หนังสือ
แอดงกิจจานุกิจ ของท่านเป็นแบบเรียนในโรงเรียน แต่ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ก็
สามารถลงหลักปักฐานในสังคมไทยได้อย่างรวดเร็ว เพียง 8 ปีหลังจาก กิจจานุกิจ
ตีพิมพ์ออกมา และ 6 ปีภายหลังจากชัยชนะที่แลกมาด้วยชีวิตของพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 หนังสือภูมิศาสตร์ภาษาไทยเล่มแรกซึ่งดัดแปลงมาจากหนังสือภาษา
อังกฤษก็ได้รับการดีพิมพ์ออกมาในปี 2417 ( ค .ศ . 1874 ) คือหนังสือภูมะนิเทศ

^ โดยวันไดกี้อุทิศหนังสือเล่มนี้แด่พระบาทสมเด็จ
เขียนโดยวันไดกี้ (ป. พ. Vสก 0 6 ) มิชชันนารีชาวอเมริกันซึ่งอยู่ในสยามระหว่างปี
2412 - 2429 (ค.ศ. 1869 - 1886 )
พระจุลจอมเกล้าฯ เพื่ออนาคตอันรุ่งโรจน์ของสยาม 51 นึ่ถือว่าเป็นหนังสือ “แผนที่
โลก ”ฉบับภาษาไทยเล่มแรก ส่วนตรงกลางของหน้าแรกของหนังสือเป็นรูปข้าง
เผือกยืนอยู่เหนึอปีที่พิมพ์ตามปฏิทินไทย
ภูมะนิเทศใช้ในโรงเรียนไม่กี่แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนของมิชชันนารีชาว
อเมริกัน แด่ไม่ได้ร้บการรับรองให้เป็นแบบเรียนของทางการ ในช่วงทศวรรษ 1 880
(พ .ศ. 2423 - 2432 ) อันเป็นระยะเริ่มด้นของระบบการศึกษาแบบใหม่ในสยาม ภูมิ -
ศาสตร์ยังมิได้เป็นวิชาที่นักเรียนต้องเรียน ยกเว้นในระดับมัธยมต้นของหลักสูตร
ภาษาอังกฤษในบางโรงเรียนเท่านั้น โรงเรียนไทยส่วนใหญ่ยังคงเรียนสอนจักรวาล -
วิทยาแบบเดิมอยู่ ในปี 2430 (ค.ศ.! 887 ) หลังจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ธได็วิจารณ์
ตำราที่ใช้สอนตามโรงเรียนขณะนั้นว่าไร้ประโยชน์เพราะเต็มไปด้วยเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการคนใหม่ จึงเริ่มปฏิรูปหลักสูตร
การศึกษาและตำราเรียนทั้งหมตที่ใช้ในโรงเรียนไทย ในปี 2435 (ค.ศ. 1892 ) จึงเริ่ม
ใช้หลักสูตรใหม่ ภูมิศาสตร์กลายเป็นวิชาใหม่ที่บรรจุในหลักสูตรของนักเรียนระดับ
มัธยมทุกชั้นปี52 ตำราภูมิศาสตร์สมัยใหม่จึงเป็นที่ต้องการอย่างเร่งด่วน

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่ลัาดังมา 67
หลักสูตรใหม่ปี 2435 ระบุว่าภูมิศาสตร์ดึอการศึกษาเกี่ยวกับโลก ระบบสุริยะ -
จักรวาล ดาวเคราะห์ และปรากฎการณ์ธรรมชาติ รวมทั้งการเซียนแปลนบ้าน การ
วางผังหมู่บ้านหรือเมือง และการใช้แผนที่ 53 หลักสูตรที่ปรับปรุงต่อมาในปี 2438
และ 2441 (ค .ศ. 1895 และ 1898 ) กำหนดให้มีการสอนวิชาภูมิศาสตร์ในเกือบ
ทุกชั้นปีและมีรายละเอียดที่ซับซ้อนมากชื้นสำหรับชั้นที่สูงขึ้น เช่น เรียนเกี่ยวกับ
ประเทศต่างๆ และวิธีการทำแผนที่เบื้องต้น ตำราเรียนเล่มหนึ่งที่จัดทำชื้นในช่วง
ริเริ่มนี้คือ ภูมิศาสตร์!สยามของ ดับเบิลยู. จี. ยอนสัน (พ. 0. ม่อเๆกรอก ) ซึ่งกลายมา
เป็นต้นแบบของการทำตำราอีกหลายเล่มในเวลาต่อมา54
ตำราเหล่านี้บอกเราว่าในขณะนั้นมีการเผยแพร่ภูมิศาสตร์สมัยใหม่อย่างไร
และผู้คนรับรู้มันอย่างไรบ้าง มันเป็นเครื่องมีอทางความคิดอย่างดีสำหรับปลูกฝัง
มโนภาพเกี่ยวกับพื้นที่ /ภูมิอย่างภูมิศาสตร์สมัยใหม่ให้แก่นักเรียนเนี้อหาของตำรา
ในช่วงแรกนี้ค่อนข้างง่าย เป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิศาสตร์สมัยใหม่ ต่อมาเมื่อ
มีการผลิตตำราที่ซับซ้อนออกมา ตำราพื้นฐานก็ถูกยกเลิกหรือไม่ก็เอาไปใช้สอน
นักเรียนชั้นประถมแทน ตำราภูมิศาสตร์เล่มหนึ่งต่อมากลายเป็นแบบเรียนวิชา
ภาษาไทย ไม่ใช่ภูมิศาสตร์ เพราะตำราเหล่านี้ก็เหมีธนตำราไวยากรณ์เบื้องดัน คือ
จำเป็นต้องทำให้ง่าย
ตำราเหล่านี้ช'ี้ ว่า เมื่อถึงด้นศตวรรษที่ 20 ความเชื่อแบบเก่าที่ว่าโลกแบน ถูก
เบียดขับตกเวทีไปแล้ว ตำราเหล่านี้ไม่สนใจที่จะถกเถียงเรื่องนี้อีกต่อไป ไม่เอ่ยถึง
ด้วย'ช้า ยกเว้นเล่มเดียวที่เซียนโดยพระยาเทพศาสตร์สถิตในปี 2445 (ค .ศ. 1902 )
ซึ่งเอ่ยถึงเรื่องปลาอานนแบกโลกเอาไว้ แด่ท่านพระยาแต่งตรงนี้ว่าเป็นคำของ
เด็กชายที่มๆ คนหนึ่งคุยกับชายที่ไรัการศึกษาในท้องถิ่น55 ในทางตรงกันข้าม ใน
หนังสือเล่มเดียวกันนี้ เมื่อครูถามเด็กนักเรียนว่าโลกมีรูปทรงเช่นไร เด็กทุกคนใน
ชั้นต่างยกมือชื้นและตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “กลมเหมือนผลส้ม”56 ผู้แต่งตำรา
เล่มนี้ถีอว่าเรื่องโลกกลมเป็นความรู้ทั้วไปที่เด็กทุกคนควรตอบได้ แม้ว่าหนึ่งในนั้น
อาจจะดังเลอยู่บ้างเพราะไปรับเอาความเห็นของชายแก่ที่ไรัการศึกษาคนหนึ่งมา
แน่นอนว่าตำราภูมิศาสตร์เหล่านี้ย่อมไม่มีที่ทางให้กับโลกในจักรวาลวิทยา
แบบไตรภูมิ โลกตามภูมิศาสตร์สมัยใหม่คือดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่โคจรรอบดวง
อาทิตย็ในระบบสุริยะ พื้นผิวโลกประกอบด้วยทวีปใหญ่ๆ และมหาสมุทรต่างๆ ที่
สำคัญมากก็ศึอ บนพื้นผิวโลกนี้เต็มไปด้วย “ประเทศ”ต่างๆ ทั้งนี้คำว่าประเทศใน

68 กี!่ าเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ความหมายตั้งเดิม หมายถึงสถานที่หรือบริเวณอย่างทั่วๆไป (ท้องที่ ภูมิภาค เมือง
หรือแม้แต่ป่าเขา) สื่อถึงพื้นผิวโลกชิ้นหนึ่งอย่างไม่เจาะจงขนาด ประชากร หรือ
อำนาจปกครอง ร่องรอยของความหมายเก่าของคำนี้ยังคงปรากฎอยู่ในพจนานุกรม
ภาษาไทยที่ทำชิ้นในปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 2057 แต่ไนขณะนั้น
ความหมายของคำว่าประเทศ ที่แปลว่าชาติ ก็เริ่มปรากฎอยู่ในพจนานุกรมบางฉบับ
แล้วเช่นกัน58 คำจำกัดความใหม่ของคำว่าประเทศ มาจากมโนภาพทางภูมิศาสตร์
ใหม่เกี่ยวกับโลกตามที่ไต้อธิบายไว่ในหนังสือ ภูมะนิเทศ ของวันไดกี้และหนังสือ
ของยอนสัน
ในหนังสือของวันไตกี้พื้นผิวโลกแบ่งออกเป็นทวีปและมหาสมุทรต่างๆ แต่ละ
ทวีปประกอบต้วยดินแดนที่ถูกปกครอง (หรือครอบครอง) ที่มีเลันเขตแดนเป็นตัว
แบ่ง เรียกว่า อาณาจักร จักรวรรดิ หรือสาธารณรัฐ ดินแดนแด่ละแห่งเหล่านี้เรียก
ว่า ประเทศ ในแต่ละประเทศจะต้องมีเฏืองหลวงและประมุขสูงสุดที่เรียกว่า กษัตริย์
จักรพรรดิหรือประธานาธิบดี และมีเจัาเมืองปกครองส่วนอื่นๆของประเทศ โดยอยู่
ภายใต้อำนาจของเมืองหลวง59 ยกเว้นสองบทแรกแล้ว แต่ละบทของหนังสือเล่มนี้
จะว่าด้วยแด่ละทวีป60 ในแด่ละทวีปบางประเทศจะถูกหยิบยกมาเป็นตัวอย่าง เริ่ม
จากประเทศไทย แผนที่ของแด' ละทวีปและของสยามแสดงอยู่ด้นบทที่เกี่ยวข้อง
หน้าสุดท้ายของหนังสือเป็นหมายเหตุระบุมาตราส่วนและสัญลักษณ์ที่ใซในแผนที่
ข้อน่าสังเกตของหนังสือเล่มนี้ดือการใช้คำว่า “ประเทศไทย”ตลอดทั่งเล่ม
ทั้งนี้เพราะชาวสยามในขณะนั้นยังเรียกประเทศของตนว่า “เมืองไทย ”ขณะที่
โลกภายนอกเรียกว่า “สยาม”ตลอดมา จนกระทั่งมีการใช้ชื่อใหม่ดือ “7เา3แ3ก๙’
ในภาษาอังกฤษและ “ประเทศไทย”ในภาษาไทยในปี 2482 (ค.ศ. 1939 ) ประเทศ
อื่นๆ ก็ใซัคำว่าประเทศนำหน้าชื่อเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าคำว่า ประเทศ ถูกใช้เพื่อ
แทนที่คำว่า “เมือง”ซึ่งมีความหมายครอบคลุมตั้งแต่ชุมชน เมือง กรุง หรือแม้แต่
ประเทศ ซึ่งหมายถึงดินแดนที่อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองหนึ่ง ไม่ว่าจะมีขนาด
เท่าไร ระดับหรือชนิดของอำนาจปกครองแบบไหน หรือโครงสร้างการปกครอง
ยังไงก็ตาม ขณะที่ความหมายของ เมืองค่อนข้างยืดหยุ่นความรู้ใหม่ได้ช่วงชิงเอา
คำว่าประเทศ ซึ่งเคยมีความหมายกว้าง ๆ ไม่เฉพาะเจาะจงแล้วทำให้มีความหมาย
เฉพาะตามไวยากรณ์ของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ชิ้นมา ดือหมายถึง ชาติ นั้นเอง

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่กำลังมา 69
ความหมายใหม่ที่เฉพาะเจาะจงของคำว่าประเทศ ยังถูกเอ่ยถึงในหนังสือของ
ยอนสันด้วย ในฉบับพิมพ์ครั้งแรกๆ ยอนดันใช้คำหลากหลายสำหรับเรียกสยาม
เช่นในหน้าต้นๆใช้คำว่าประเทศสยามหรือสยามประเทศในหน้าหลังๆใช้คำว่ากรุง
สยาม61 เขาเรียกอังกฤษว่ากรุงอังกฤษ เดิมทีคำว่า “กรุง”ซึ่งหมายถึงเมืองใหญ่นั้น
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 และผู้คนในยุคนั้นใช้เพื่อหมายถึงราชอาณาจักรเช่นกัน
และใช้กันอยู่นานพอสมควร แต่นับจากฉบับพิมพ์ปี 2457 (ค.ศ. 1914 ) เป็นด้นมา
คำว่ากรุง ที่ปรากฎในฉบับก่อนหน้านั้นถูกแทนที่ด้วยคำว่าประเทศเกึอบทั้งหมต
ยกเว้นบางแห่งในหน้าท้าย ๆ เท่านั้น
ยอนดันให้คำจำกัดความของคำว่าประเทศ ไว้ใน “คำนำของภูมิศาสตร์”ว่า
คือส่วนต่างๆของพื้นผิวโลกที่มีคนชาติต่างๆอาศัยอยู่ ตัวอย่างเช่นดินแตนของ
ทวีปเอเชียส่วนที่มีคนไทยอาศัยอยู่ เรียกว่าประเทศสยาม62 ในฐานะที่เป็นหนังสือ
ภูมิศาสตร์ของสยาม ยอนลันนิยามที่ตั้งของสยามด้วยข้อความสองแบบคือ หนึ่ง
สยามตั้งอยู่บนคาบสมุทรทาง&งตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชีย และสอง เขาลำดับชื่อ
ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่รอบสยาม63
ลักษณะสำคัญที่สุดของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ที่นำเสนอให้กับเด็กๆในสยาม คือ
ความรู้ว่าพื้นผิวของโลกทรงกลมใบนี้เต็มไปด้วยชาติต่าง ๆ สยามเป็นหนึ่งในชาติ
เหล่านั้น ตั้งอยู่ ณจุดหนึ่งของผิวโลกแน่ๆ ประเทศเป็นดินแตนบนพื้นผิวโลกที่รับรู้
ได้เชิงประจักษ์โดยเราสามารถระบุตำแหน่งแห่งที่ของมันได้ด้วยสองวิธีเป็นอย่าง
น้อย วิธีที่หนึ่งสถานที่ตั้งที่แน่นอนของประเทศนั้นๆบนพื้นผิวโลกอันเป็นส่วนหนึ่ง
ของทวีปที่กว้างใหญ่กว่า วิธีที่สอง ด้วยการดู “ความสัมพันธ์ของเส้นเขตแดน”กับ
เขตปกครองอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ ในกรณีแรก บางครั้งพื้นที่ที่อ้างถึงมิได้จำกัดอยู่แค่
ทวีป แต่อ้างถึงโลกทั้งใบโดยระบุพิกัดที่ชัตเจนดังเช่นที่พระเจ้าอยู่หัววัชกาลที่ 4 มัก
จะทำ ในทำนองเดียวกัน หนํง็สีอ ภูมะณิทศของวันไตกี๋บอกผู้อ่านถึงการดำรงอยู่
,
ของแด ละประเทศ ด้วยการระบุว่าตั้งอยู่ตรงส่วนไหนของทวีปและระบุดินแดน
เพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน ชาติหนึ่งๆมีดัวตนเชิงประจักษ์เช่นสยามบนพื้นผิวโลก เป็น
จริงแน่ๆ เสียจนสามารถระบุได้ว่า สยามมีรูปร่างเหมือนขวานโบราณของยามรักษา
วังหรือเหมือนกระบวยดักนํ้า ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ให้ความมนใจกับผู้ที่เซื่อในศาสตร์
นี้ว่าสยามและประเทศทั้งหลายมีอยู่บนผิวโลกจริง ๆ ราวกับเป็นธรรมชาติ

70 I ฑำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาตึ
แต่ถ้าไม่เคยมีใครเห็นลูกโลกที่บรรจุชาติต่าง ๆ ไว้เต็มไปหมดด้วยตาของตัว
เอง และหากเราไม่สามารถมองเห็นดินแดนเพื่อนบ้านทั้งหมดไต้พร้อมกัน แล้วเรา
จะเข้าใจวิธีการอธิบายทั้งสองแบบข้างด้นได้อย่างไร? นอกเหนือจากความรู้ทั้วไป
ว่าโลกกลมแล้ว อะไรที่ทำให้คำอธิบายดังกล่าวฟังรู้เรื่อง วิธีอธิบายทั้งสองแบบมี
ลักษณะร่วมกันประการหนึ่ง นั่นคือ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับแผนที่ของโลกหรือของ
ทวีปหรืออย่างน้อยก็บางส่วนของโลก ดังนั้นหนังสือ ภูมะนิเทศของวันไดกึ้ต้อง
แสดงภาพแผนที่โลกทรงกลมและทวีปด่าง ๆ ประกอบแด่ละบท อีกทั้งในหน้าแรก ๆ
ยังมีคำอธิบายอย่างย่อว่าแผนที่คืออะไรและให้วิธีอ่านแผนที่อย่างพื่นฐานไว้ด้วย
เขายังแนะนำชัด ๆ ว่าผู้อ่านควรใช้หนังสือแผนที่โลกประกอบการอ่านหนังสือของ
เขา เพื่อจะได้เห็นรูปร่างของประเทศต่างๆได้ตีขึ้น หนังสือของยอนสันฉบับพิมพ์
ครั้งแรกก็บรรจุแผนที่ไว้สองภาพด้วย คือแผนที่เอเชียอย่างคร่าวๆกับ “แผนที่เส้น
เขตแดนสยาม”ที่ระบุประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ64
เราอาจสงสัยว่าคนๆ หนึ่งจะเข้าใจว่าสยามตั้งอยู่ตรงไหนหรือมีรูปร่างอย่าง
หนึ่ง ๆ ได้อย่างไรหากไม่เคยเห็นแผนที่พวกนี้และไม่มีความรู้พื่นฐานในการอ่าน
แผนที่ ฉะนั้นหากไม่มีความรู้ฟ้องด้นเกี่ยวกับแผนที่แล้ว คำอธิบายทั้งสองวิธีข้างต้น
ย่อมเข้าใจไม่ได้เลย เรายังอาจตั้งข้อสงสัยได้ต่อไปอีกว่า ความรู้ต่อเทศะแบบใหม่นี้
จะสามารถสื่อสารกันได้หรือถ้าไม่มีความรู้เกี่ยวกับแผนที่เลย ถ้าอย่างนั้นในภูมิ-
ศาสตร์ชนิดนี้ แผนที่ทำให้คำอธิบายเหล่านี้เข้าใจได้รู้เรื่องได้อย่างไร? พูดให้ง่ายขึ้น
ก็คือ แผนที่ทำงานอย่างไร? แผนที่คืออะไร?

เทศะใส่รหัส: แผนที่สมัยใหม่
หนังสือภูมิศาสตร์รุนแรกอีกเล่มหนึ่งอาจช่วยเราตอบคำถามดังกล่าวได้คือภูมิศาล'ตร์
เล่ม 1 และ 2 ของพระยาเทพศาสตร์สถิต พิมพ์เมื่อปี 2445 และ 2447 (ค.ศ. 1 902
และ 1904 ) ตามลำดับ65 หนังสือทั้งสองเล่มนี้อาจจะเป็นตำราหนึ่งที่ใซ้สอนใน
โรงเรียนนานที่สุดและดีพิมพ์ข้าบ่อยที่สุตในประว้ติศาสตร์ของหลักสูตรการศึกษา
สยาม66 ในเล่ม 2 สืบบทแรกเป็นความรู้ฟ้องด้นเกี่ยวกับการทำแผนที่เริ่มตั้งแต่จะ
ระบุทิศทั้งสื่อย่างไร จนถึงวิธีอ่านและทำแผนที่ นักเรียนจะได้เรียนรู้ทีละเรื่องเป็น
ขั้นๆไป ตั้งแต่เรื่องแบบแปลน มาตราส่วน แผนที่ ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแปลน
กับแผนที่ และความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งนี้กับความเป็นจริงที่มันนำเสนอ

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่ท้าลังมา 71
ตามแบบเรียนดังกล่าว แบบแปลนคือ “โครงร่าง ”ของสิ่งหนึ่งๆ (หรือ 0ฬแก©
ตามความหมายเถรตรงของคำ ) ราวกับมองมาจากด้านบน (บทที่ 2- 3) แบบแปลน
ต่างจากรูปภาพเพราะรูปภาพบอกผู้ตูว่าสิ่งนั้นคืออะไรราวกับได้เห็นเอง แต่แบบ
แปลนสามารถบอกได้แค่รูปทรงและขนาดของสิ่งนั้นๆ หรือระยะห่างจากสิ่งอื่นๆ
ที่อยู่ในแบบแปลนเดียวกัน (บทที่ 4 ) มาดราส่วนคือวิธีขยายหรือลตขนาดของ
แบบแปลนตามสัดส่วนที่เป็นจริงของสิ่งนั้นๆ เหล่านี้เป็นความรู้ที่นักเรียนจะต้อง
ทำความเข้าใจก่อนที่จะเข้าสู่บทที่ 8 - 10 ว่าด้วยการทำแผนที่และแผนที่สยาม ในเมื่อ
ห 'แงสึอจริงเป็นบทสนทนาขนาดยาวระหว่างลุงกับหลานสองคนจึงขอนำเสนอบาง
ส่วนดังนี:้
ลุงจึงถามต่อไปว่า “แผนที่คืออะไร”นายชมตอบโพล่งออกไปว่า “แผนที่คือ
รูปภาพขอรับ”ลุงร้องออกมาด้วยเสียงอันดังว่า “ผิด แผนที่ไม่ใช่รูปภาพ ถ้า
ฝนรูปภาพแล้วเราคงเห็นมีเปนรูปเรือ รูปต้นไม้และรูปคนอยู่ในนั้น แต่นึ่เรา
ไม่เห็นเลย เพราะฉะนั้นจงจำไว้ว่าแผนที่ไม่ใช่รูปภาพ”
ลุงอธิบายต่อไปว่า “แผนที่ก็คือแปลนนี้เอง ไม่ผิดอะไรกัน...แผนที่เปน
แปลนของพึ้นบนโลก แผนที่จะฝนแปลนของนํ้าก็ได้ หรือจะฝนแปลนของ
บกก็ได้แผนที่ ๆ บอกพื้นโลกทั้งหมด...ก็ฝนแปลนของโลกทั้งโลก...
ลุงเปิดสมุดแผนที่ขึ้น แล้วขึ้บอกว่า “นี่เราเรียกว่าแผนที่ของประเทศ
สยาม นี่แหละคือฝนส่วนของโลกที่พวกเราอยู่ เจ้ารู้หรือไม่ว่าเหตุใดแผนที่
ของประเทศสยามนี้จึงฝนสีแปลกๆ กัน?”นายชื่นตอบว่า “เห็นจะเปนด้วย
สีของดินในประเทศเราแปลกกันกระมังขอรับ ”ลุงตอบว่า “ไม่ใช่ ที่จริงนั้นสี
ดินก็เหมือนๆ กันทั่วไป... ที่เขาระบายสึให้ผิด ๆ กันก็เพื่อจะให้เห็นง่ายเข้าว่า
มณฑลนี้อยู่ที่ตรงนี้มณฑลนั้นอยู่ที่ตรงนั้นเท่านั้นเอง”
“ถ้าหากว่าเราเหาะขึ้นไปสูง ๆ ได้แล้วมองลงมาดูประเทศของเรา เจ้า
คิดว่าจะฝนสีอะไร” นายชื่นกับนายชมคิดว่าจะฝนสีเขียว ด้วยว่าประเทศ
เรามีด้นไม้มาก ลุงพยักหน้าว่าถูก แล้วปิดสมุดแผนที่เสีย แก้ม้วนกระดาด
ออกอีกหนึ่งม้วน บอกแก่หลานทั้งสองว่าฝนแผนที่ของกรุงเทพฯ นายชื่นกับ
นายชมยังไม่เคยเห็นแผนที่ของกรุงเทพฯ เห็นฝนขีดยุ่งๆ ยิ่งๆก็นึกหวนใจ
ว่าตัวจะไม่เข้าใจ แต่พอเหลือบไปเห็นอักษรแถวหนึ่งอ่านว่า “แม่นำเจ้าพระ -
ยา”นายชื่นร้องว่า “อ้อ! ผมเข้าใจบ้างละ นี่อย่างไรเล่า แม่นํ้าเจ้าพระยาอยู่
นี่แน่ะ แหม! ช่างคดเคี้ยวจริง ไม่นึกว่าจะฝนอย่างนี้เลย”ฝ่ายนายชมก็ร้อง
ว่า “เออ! นี่แน่ะ พระบรมมหาราชวัง แหม! ... อยู่ติดกับแม่นั้าทีเดียวแหละ นี่

72 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ตศาสดร์ภูมิกายาของชาติ
อะไรขอรับฝนเส้นตรงขีดไปขีดมา? ”นายชื่นนึกรู้แล้ว จึงตอบแทนลุงว่า “นั่น
แหล่ะคีอถนนแต่ที่ฝนเส้นเล็กๆคดไปคดมานั้นเห็นจะฝนคลอง”
ยิ่งตูก็ยิ่งเพลิน ประเดี๋ยวนายชื่นมองพบถนนที่ตนอยู่ ประเดี๋ยวนายชม
มองพบถนนที่พี่ปัาน้าอาอยู่ ยิ่งตูไปก็ยิ่งรู้จักตำแหน่งแห่งหนมากขึ้นๆ ทุกที...
ลุงขึ้ที่ต่างๆ เช่น สวนดุสิต สนามม้าท้องสนามหลวง และที่อื่นๆให้นาย
ชื่นกับนายชมตูอีกฝนหลายแห่ง แล้วเมื่อวัดตูตามสเกลก็ทราบได้ว่า ตั้งแต่
ที่นั้นไปถึงที่นั้นฝนหนทางยาวเท่านั้น และถนนนั้นยาวเท่านั้น คลองนั้นไกล
เท่านั้นฝนต้น ลุงอธิบายต่อไปว่า “เมื่อกางแผนที่ออกตู เจ้าต้องรู้ได้ทันทีว่า
กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ทั้งสองฟากแม่น่า...”
เมื่อเห็นว่าเด็กทั้งสองเข้าใจซึมตีแล้ว ลุงจึงกลับย้อนพูดว่า “จงจำไว้
แผนที่ฝนแปลนที่ขึ้ให้เราเห็นรูปและขนาดของส่วนแห่งพึ๋นโลก และแผนที่
อาจจะบอกให้เรารู้ด้วยว่าระยะทางตั้งแต่ที่นั้นไปถึงที่นั้นใกล้ไกลเท่านั้นๆ” 67

บทเรียนเรียบง่ายนี้น่าสนใจมากเพราะแม้ว่าจะไม่ไดให้รายละเอียดมากนัก แต่
สามารถบอกเราอย่างรวบยอดว่าแผนที่เป็นสื่อระหว่างความคิดของมนุษย์กับพื่นที่
ได้อย่างไร
นอกเหนือจากสัญชาตญาณหรือความรู้สึกแล้ว มนุษย์รับรู้โลกและสื่อสารกัน
ผ่านลัญญะด่าง ๆ ที่ทำงานอย่างซับซ้อนในระบบลัญญะนับไม่ถ้วนในซีวิตประจำวัน
แผนที่เป็นสัญญะอย่างหนึ่ง ทฤษฎีการสื่อสารด้วยแผนที่เสนอว่า แผนที่เป็นตัวสื่อ
ระหว่างพึ้นที่จริงๆ กับมนุษย์ (ทั้งผู้ทำและผู้ใช้แผนที่ ) เพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถ
รับรู้เกี่ยวกับพื่นที่นั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์โดยตรง ความสัมพันธ์
ระหว่างพื่นที่ แผนที่ และการรับรู้ของมนุษย์ อันเป็นปัจจัยพื่นฐานสามประการของ
การสื่อสารด้วยแผนที่นี้ เป็นสิ่งที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง แผนผังต่อไปนี้อธิบายทฤษฎีตัง
กล่าวอย่างพื่นฐานง่าย ๆ 68

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่ก็าลังมา 73
( 1) ( 2)
* พนที่จริง *

I I

(8 ), ( ธง (0) ( 02)

-
2

ผู้ทำแผนที่
เทคนิคและความร้ 13 14 ความรในการ *5 ผูใซัแผนที่
!
+
การรับ ของเขา และ แผนทI
ของผู้ทำแผนที่ อ่านแผนที่ การร้บรู้ของเขา
วัตถุประสงคํของแผนที่

*
( 1) มโนภาพเกี่ยวกับความเป็นจริงของผู้ทำแผนที่
*
( 2)
( ธ1 )
มโนภาพเกี่ยวกับความเป็นจรงา)องผู้ใช้แผนที่
กัตวิสัยของผู้ทำแผนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการรับรู้และเป้าหมายของแต่ละโครงการ
82
( )
( 1)
ความรู้ของผู้ทำแผนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคในการฝลี่ยนซัอมูลให้กลายเป็นแผนที่
ความรู้ของผู้ใช้ในการอ่านแผนที่
( 2) อัดวิสัยของผู้ใซั โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการรํบรู้ของพวกเขา
*11 กระบวนการเปลี ่ยนสภาพหรือการดีความ
ที่มา: แผนผังมาจากการบรรยายของ *.*0เ30โ ใน “03เ109|-ส0*าเ0 เก*๐เหาอ*!อก,”เวเว. 47-49.
^
ผู้ทำแผนที่สังเกตหรือสำรวจภูมิประเทศ ( / เ; ด้วยเป้าหมายเฉพาะเจาะจง
สำหรับแผนที่แต่ละประ๓ท แล้วประมวลความคิดต่อพึ๋นที่นั้นตามวิธีการของแผนที่
('ธ; เปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ไนรูปของแผนที่ ("ธ; และผลิตแผนที่ออกมา ข้อมูลที่แผนที่
สื่อออกมาถูกรับรู้ (0 ) และแปลความด้วยความรู้เกี่ยวกับแผนที่ของผูใข้ อย่างไร
ก็ตาม ความซับซ้อนอยู่ที่แด่ละขั้นตอนในแผนผัง กล่าวคือ การผลิตแผนที่อาจได้ร้บ
อิทธิพลจากหลายปัจจัย ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาแตกด่างกันไป ตัวอย่างเช่น การ
รับรู้และทัศนคติของผู้ทำแผนที่ เป้าหมายเฉพาะของแผนที่แด่ละฉบับ หรือการใช้
สัญลักษณ์ที่ด่างกันไป การเปลี่ยนสภาพจากวัตถุให้กลายเป็นสัญลักษณ์และจาก
สัญลักษณ์ไปสู่ความรูของผู้อ่านล้วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการดีความ69 แบบเรียน
ของพระยาเทพศาสตร์สถิตชี้นัยของขั้นตอนทางทฤษฏีเหล่านื้ใวัหลายประการโตย
ไม่ทำให้กลายเป็นตำราทางทฤษฏีแด่ประการใต ทั้งนี้เราสามารถขยายความต่อไป
ถึงธรรมชาติอันเฉพาะเจาะจงของแผนที่และกลไกนำเสนอของมันได้จากทฤษฏี
และข้อความข้างต้น กล่าวคือ

74 ทำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว็ตศาสตร์ภูมิกายาขธงซาด
- -
ประการแรก แผนที่เหมือนรูปภาพตรงที่อ้างว่าเป็นตัวแทน ( 1 6(31 6360131100 )
พื้นที่จริงด้วยกราฟฟิคสองมิติ แต่ในเมื่อเป็นแบบแปลนชนิดหนึ่ง แผนที่แตกต่าง
จากรูปภาพตรงรูปแบบการนำเสนอ ตามที่ลุงกล่าวไว้รูปภาพบันทึกรูปลักษณ์ของ
เทศะวัตถุ (รกส!!3เ ๐เว]ธ๐!) ราวกับว่าผู้ดูกำลังเห็นสิ่งนั้นด้วยตาของตนเอง แด่ด้วย
การที่เรามองวัตถุนั้นๆ จากเพียงจุตเดียว ทำให็โครงร่างที่ปรากฏอยู่ในรูปภาพมิได้
เป็นฆิรูปทรงที่แทัจริงของวัตสุจํนั้น แต่ผปัต‘บ่ หมายรู'ฃ่ ้เทศะวัตสุจ่นั้นได้จากรูขิ ปลักษณ์ของมัน
ในทางตรงกันข้าม แบบแปลนเป็นการบันทึกรูปทรง โครงสร่างของวัตถุ สำหรับลุง
แผนที่จึงเป็นแบบแปลนชนิดหนึ่งที่มองจากด้านบนของวัตถุแล้วบันทึกรูปทรงและ
ความสัมพันธ์ทางโครงสร้างของสิ่งต่างๆ นั้นก็คีอ แผนที่เป็นการแสดงรูปร่างทาง
โครงสร่าง (ธ!โบ๐!บใ &เ 000แ9บใ31เ0ก ) ของเทศะวัตถุบนพึ้นที่
'

ประการที่สอง ไม่ว่าแผนที่จะเหมือนกับพื้นที่ที่มันเป็นตัวแทนมากเพียงใด
ก็ตาม มันสามารถท้าเช่นนั้นได้โดยการเปลี่ยนสภาพของพื้นที่จริงๆ สามมิติอัน
ซับซ้อนให้เป็นแผนที่ กระบวนการเปลี่ยนสภาพเช่นนี้ต้องอาศัยขั้นตอนอีกอย่าง
น้อยสามประการด้วยกันคึอ หนึ่ง ประมวลลักษณะทั่วไป (9606 ใ3แ23แ0ก ) ของพื้นที่
หมายถึง รวบรวม คัดสรร ผสมผสาน ประมาณการ บิดผัน ลดทอน หรือขยายข้อมูล
รายละเอียดของพื้นที่จนกลายเป็นข้อมูลสำหรับแผนที่แต่ละชิ้นได้ สอง วิธีการ
กำหนดมาตราส่วน หมายความถึงการขยายหรือย่อขนาตที่เป็นจริงด้วยอัตราส่วนที่
แน่นอน สาม ทำให้เป็นสัญลักษณ์หมายถึงการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องมือบางชนิด
ในการนำเสนอ70 ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนสภาพด้วยวิธีการคำนวณทางเรขาคณิต และ
ส่วนใหญ่จะถูกนำเสนอด้วยสัญลักษณ์ทางเรขาคณิต ผลที่ออกมาก็คือ พื้นที่จริงๆ
กลายเป็นนามธรรมที่ต้องตีความ
ประการที่สาม แม้ว่าจะเป็นนามธรรมที่ต้องดีความ แผนที่มักอ้างว่าได้จำลอง
ความเป็นจริงมาอย่างถูกต้อง แผนที่จึงสามารถทำงานได้ตราบเท่าที่เรายอมรับว่า
มันเป็นสื่อชนิดโปร่งใสระหว่างพื้นที่จริงๆกับการรับเของมนุษย์ ความเป็นจริงเป็น
ทั้งแหล่งที่มาและผลลัพธ์ของการสื่อสารนั้น หัวข้อสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการสื่อสาร
ด้วยแผนที่ก็คือกลวิธีเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช่ในแผนที่เป็นการจำลองความจริง (๓1๓6315 )
หรือเป็นการสมมติชิ้นเอง (สเ-ย่แใสโ๒633) มากน้อยเพียงใด นั้นคือการศึกษาว่า ใน
การเสนอความจริงด้วยแผนที่นั้น บรรดาเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ขนาด สี หรือ
แม้แด่ตำแหน่งของลัญญะเหล่านี้ สามารถจำลองความจริงหรือกำหนดกันชิ้นมา

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่กำลังมา 75
เองมากน้อยต่างกันแค่ไหน71 บางคนถึงขนาดกล่าวว่าแผนทมีความผูกพันตาม
ธรรมชาติกับโลกภายนอก ขณะที่แผนผังเป็นเพียงสื่อสมมติที่ไม่มีความสัมพันธ
หากปราศจากสมมติฐานว่าแผนที่มีความผูกพันตามธรรมชาติกับโลก
ดังกล่าว72
ภายนอกแล้ว ลุงกับเด็กชายทั้งสองคนนั้นย่อมไม่สามารถสนุกสนานกับการค้นหา
ตึกของทางราชการและสถานที่ด่าง ๆ ที่ปรากฎอยู่บนแผนที่ของกรุงเทพฯ ไต้เลย
อย่างไรก็ตาม หลักการพื้นฐานนี้กลับเป็นสิ่งที่นำสงสัย ดังที่เราจะได้เห็นต่อไป
ประการที่สี่ แผนที่สามารถสื่อสารระหว่างผู้ผลิตกับผู้ใช้ และทั้งสองฝ่ายเข้าใจ
ตรงกันว่าแผนที่สัมพันธ์กับวัตถุจริงอย่างไร ก็เพราะกลไกในกระบวนการผลิตโตย
นักทำแผนที่ และกระบวนการอ่านแผนที่โดยผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง สัญลักษณ
มาตราส่วนและอื่นๆนั้น ล้วนวางอยู่บนระบบภาษาแผนที่ชุดเดียวกัน แผนที่มีชีวิต
อยู่ไต้ด้วยขนบซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกัน (เ30กห6ก11๐กธ) ลุงต้องสอนเด็กทั้งสอง
เกี่ยวกับขนบเหล่านั้น เด็กนักเรียนในทุกสังคมที่เป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมภูมิ -
ศาสตร์สมัยใหม่ในโลกล้วนต้องเรียนร้า)นบเหล่านี้ทั้งนั้น พวกเขาต้องผ่านกระบวน-
การกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อทำให้กฎเกณฑ์และขนบเป็นที่ยอมรับกันต่อไป
แผนที่ซึ่งเป็นการผสมผสานของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ขึ้นมาเป็นภาพสองมิตินี้มีชีวิตขึ้น
มาได้ ก็เพราะกฎเกณฑ์และขนบที่มากับภูมิศาสตร์สมัยใหม่และเทคนิคฟ้องด้น
ของการทำแผนที่ การปฏิบัติที่เหมือนกันทั้วโลก๗นนี้เท่านั้นจึงจะทำให้พื้นที่ซึ่ง
แผนที่นำเสนอปราศจากความคลุมเครีอ (ถ้าอ่านถูกวิธ)ี ถึงแม้อาจจะมีความลักลั่น
ปรากฎอยู่บ้างก็ตาม
ประการสุดท้าย แผนที่มิได้เป็นเพียงตัวแทนเทศะวัตถุหรือทำให้มันกลายเป็น
นามธรรม แต่บางทีความมหัศจรรย์ที่สุดของเทคโนโลยีนี้นำจะอยู่ที่ความสามารถ
ในการพยากรณ์ของมัน อันที่จริงวิธีการพื้นฐานที่สุตอย่างหนึ่งของการทำแผนที่ก
คือการคาตคำนวณทางคณิตศาสตร์ มนุษย์ช่างเล็กจิ๊บจ๊อยในขณะที่โลกช่างใหญ่โต
เหลือเกิน แด่ความใคร่รู้ของมนุษย์กลับกว้างไกลเลยพันโลกใบนี้ ครั้นเมื่อพื้นผิว
โลกถูกถือเป็นกรอบอ้างอิงที่สำคัญที่สุดของแผนที่สมัยใหม่ ในศตวรรษที่ 16 ก็ม
การพัฒนาพิกัดเส้นรุ้ง - แวงที่ครอบคลุมโลกทั้งใบขึ้นมาใช้เป็นฐานอ้างอิงในการ
คำนวณวัตระยะนับแต่นั้นมาโลกใบนี้ก็ทำให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าหลงใหลใฝ่หาตินแตน
ที่ยังมิได้ถูกด้นพบ เพื่อเดิมตารางสี่เหลี่ยมว่างๆที่คาตคำนวณได้ด้วยคณิตศาสตร
นั้นให้เต็ม แผนที่สมัยใหม่สามารถทำนายได้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างอยู่ ณพิกัดหนึ่ง

76 ก็าเนิดสยามจากแผนที่ะ ประวตศาสตร์ภูมิกายาของซาด
“ตรงนั้น”แน่ๆ ผู้ที่ศร้เาธาในแผนที่สมัยใหม่ก็จะ “ค้นพบ”ข้อเท็จจริงและความรู้ใน
เวลาต่อมา เพราะฉะนั้น ในเมื่อแผนที่ในศตวรรษที่ 19 บอกไว้แล้วว่ามีชาติดำรงอยู่
บนผิวโลก แล้วชาติจะไม่ถูกค้นพบได้อย่างไรกัน
กล่าวโดยสรุปก็ศึอ แผนที่คีอรหัสชุดหนึ่งที่ใซักับเทศะวัตถุในภูมิศาสตร์สมัย
ใหม่ ในฐานะที่เป็นสัญญะ แผนที่ถอดแปรเทศะวัตถุให้กลายเป็นระบบสัญญะชุต
ใหม่ด้วยการทำให้วัตถุกลายเป็นนามธรรม แผนที่ใส่รหัสให้กับพึ๋นที่ซึ่งสามารถถูก
ถอดรหัสออกมาเป็นความรู้เกี่ยวกับพึ๋นที่จริง แผนที่เป็นผลผลิตของวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์พอ ๆ กับที่เป็นผลผลิตของสถาบันสังคมของยุคสมัยใหม่
แผนที่ที่เราพิจารณาตรงนี้แตกตำงอย่างสิ้นเชิงกับแผนที่ก่อนภูมิศาสตร์
สมัยใหม่ ความแตกต่างนี้มิได้เป็นเพียงเรื่องของเทคนิควิธีการเท่านั้น แด่เกิดจาก
ความรู้และมโนภาพต่างชนิดด้วย ตัวอย่างเช่นในมโนภาพพึ๋นถิ่น พนที่มักถูก
นิยามด้วยสิ่งสักตึ๋สทธหรือศาสนภาวะบางอย่าง นี่เป็นคุณสมบัติเนี้อแท้ของเทศะ
หรือกล่าวอีกอย่างก็คึอ คุณสมบัติเชิงศาสนาข่มกายภาพหรือคุณสมบ้ติทางวัตถุ
ของเทศะ/พิ่นที่ให้อยู่ใต้ดำนาจของมันทำให้คุณสมบัติทางวัตถุขึ้นต่อหรือเป็นการ
แสดงออกของคุณค่าทางศาสนา ในทางตรงกันข้าม ภูมิศาสตร์สมัยใหม่เป็นแขนง
ความรู้ที่ร์ากัตตัวเองอยู่กับการศึกษากายภาพของโลก พนที่บนแผนที่สมัย'ใหม่
หรือพึ๋นที่ที่มนุษย์อาศัยอยู่นั้นเป็นรูปธรรมและเป็นโลกิยะ ไม่เกี่ยวกับศาสนา ฉะนั้น
แผนที่ก่อนสมัยใหม่จึงไม่สนใจต่อความถูกต้องแม่นยำในเรื่องการวัต และไม่ต้อง
อาศัยวิธีการวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ แผนที่เพียงแต่ฉายข้อเท็จจริงหรือสัจธรรม
ซึ่งรับรู้กันอยู่แล้วออกมาเป็นภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจักรวาลวิทยา คำสอนทาง
ศาสนา หรือเส้นทางการเดินทาง ในทางกลับกัน แผนที่สมัยใหม่ปฏิเสธการศึกษา
โลกโลกิยะในเชิงศักตึ้สิทธึ้และจินตนาการ แต่ได้สร้างวิธีการใหม่ในการรับรู้เทศะ
ขึ้นมา และนำเสนอวิธึคิตด่อเทศะชุดใหม่ที่ปฏิเสธจินตนาการ “ที่ไม่เป็นจริง”และจะ
ยอมให้เฉพาะเทศะที่เป็นจริงเท่านั้นดำรงอยู่หลังการถอตรหัสแผนที่
ในแผนที่ก่อนสมัยใหม่ไม่มีการคำนึงว่าพึ๋นที่หน่วยที่นำเสนออยู่นั้นเป็นเพียง
ส่วนย่อยส่วนหนึ่งของมวลเทศะใหญ่โตที่เป็นเอกภาพเดียว ไม่มีการระบุตำแหน่ง
แห่งที่ของพี๋นที่หน่วยนั้นๆ บนพี้นผิวโลก แต่การวาดแผนที่สมัยใหม่ของประเทศ
หนึ่งๆย่อมมีนัยว่าพึ้นที่หน่วยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโลกทั้งใบ ความสำคัญของการ
อ้างอิงถึงโลกกายภาพทั้งใบสร้างความแตกต่างจากแผนที่ก่อนสมัยใหม่เพิ่มขึ้นมา

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบ11หม่(V)ลงมา I 77
อีกประการหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นประการที่สำคัญที่สุต กล่าวคือ แผนที่ก่อนสมัยใหม่
เป็นเพียงภาพประกอบเรื่องเล่าอีกแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่าทางศาสนาหรือ
เรื่องเล่าเส้นทางการเดินทางก็แล้วแต่ บางฉบับอาจมิได้สื่อถึงพึ้นที่จริงใดๆ เลย
ดังนั้นแผนที่ก่อนสมัยใหม่จึงเป็นสิ่งที่มีก็ได้ไม่มีก็ไม่เป็นไร ในทางตรงข้าม ด้วยเหตุ
ที่เทศะซึ่งแผนที่ประเทศสมัยใหม่ต้องการสื่อถึงกลับไม่มีใครเคยสัมผัสรับรู้พื้นที่
จริงทั้งหมดโดยตรง และเป็นไปไม่ได้ที่จะทำเช่นนั้น แผนที่สมัยใหม่จึงเป็นสื่อที่เรา
ขาดไม่ได้เพื่อรับรู้และคิดเกี่ยวกับเทศะขนาดมหึมาทั้งหมดใหํใดั นี่คือภารกิจซึ่ง
แผนที่ก่อนสมัยใหม่ไม่เคยทำ
นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโลก แผนที่ของประเทศหนึ่งๆต้องระบุ
ชัดว่าอยู่บนพึ้นผิวโลก วิธีการที่จะชี้ข้อนี้ให้ชัดจึงขาดไม่ได้อีกเช่นกัน วิธีการทั้ง
หลายต้องบอกให้รู้ว่าแด่ละส่วนของโลก ประเทศ และแผนที่ของประเทศสามารถต่อ
กันเข้าจนกลายเป็นโลกทั้งใบไต[ดยปะติดปะต่อเส้นเขตแดนไปเรื่อย เส้นเขตแตน
จึงสำคัญมากสำหรับแผนที่ของประเทศ เพราะแผนที่ของประเทศไม่สามารถมี
ตัวตนอยู่ได้หากปราศจากเส้นเขตแดน เราอาจจินตนาการถึงชาติได้[ตยไม่มีคำ
หรีอสัญลักษณ์ใดๆหรือสีสันบนแผนที่ แด่เราจินตนาการถึงชาติไม่ได้ถ้าหากเส้น
เขตแดนอันเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้แผนที่ของชาติเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมานั้นถูกลบทิ้ง
ไป เส้นเขตแดนจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อการดำรงอยู่ของแผนที่ประเทศชาติ กล่าว
อีกอย่างก็คือ แผนที่ประเทศชาติกำหนดให้ต้องมีเส้นเขตแดนดำรงอยู่ หากคิดตาม
ตรรกะ หมายความว่าเส้นเขตแตนน่าจะต้องมีอยู่ ก่อนทิ้จะเกิดแผนที่ เพราะตัวสื่อ
ทำหน้าที่เพียงแค่บันทึกและอ้างถึงความจริงที่ดำรงอยู่แล้ว แต่ในกรณีนี้ ความเป็น
จริงกลับตาลปัตรกับตรรกะดังกล่าว เพราะมโนภาพของชาติตามภูมิศาสตร์สมัย
ใหม่บงการให้เกิดความจำเป็นต้องมีเส้นเขตแดนที่ชัดเจน แผนที่จึงมิได้เป็นเพียง
ตัวสื่อ แด่เป็นผู้สรางความเป็นจริงขึ้นมาตามต้องการได้ด้วย
ประเทศที่ถูกแทนด้วยรหัส( แผนที่ )นี้ กำลังเข้าสู่โลกชนิดใหม่ที่มีกฎเกณฑ์
และขนบชุดที่ต่างไป เป็นวิถีความสัมพันธ์ที่ต่างออกไป ถ้าหากแผนที่เป็นมากกว่า
ตัวสื่อที่ทำการบันทึกหรือสะท้อนความจริง นั้นหมายความว่าการเปลี่ยนสภาพเข้า
สู่พื้นที่ชนิดใหม่ย่อมซับซ้อนมากกว่าที่เราคาด หากมองปัญหานี้จากกรอบทาง
ประว้ตศาสตร์ก็คือ เราสามารถจินตนาการถึงชาติในรูปของแผนที่ได้ก็ด่อเมื่อเกิด
การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ทั้งมโนภาพและการปฏิบัติของมนุษย์ที่เกี่ยวกับอาณา

78 I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
บริเวณและขอบเขตของประเทศ เงื่อนไขเบึ้องด้นสำคัญที่สุตที่จะทำให้สามารถ
จินตนาการถึงชาติไต้ก็คือ มโนภาพและการปฏิบัติเกี่ยวกับเส้นเขตแตนที่เป็น
คัวขีดแบ่งดินแตนอธิปไตยหน่วยหนึ่งออกจากอีกหน่วยหนึ่ง เส้นเขตแตนของชาติ
ทำงานสองทางพร้อมๆ กัน ในด้านหนึ่ง มันกำหนดขีดสิ้นสุดของอำนาจอธิปไตย
หนึ่งอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง แต่ในอีกด้านหนึ่ง มันแบ่งพึ๋นที่อย่างน้อยสองหน่วย
ออกจากกันอย่างเด็ดขาด กล่าวอีกอย่างก็คือ เส้นเขตแตนเป็นทั้งขอบของหน่วย
หนึ่งและเป็นสิ่งที่อยู่ตรงกลางด้วย ดังนั้น มโนภาพและการปฏิบัติหลายประการที่
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐจะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับ
ภูมิศาสตร์ชนิดใหม่ของประเทศหนึ่ง ๆ มโนภาพพื่นถิ่นจำต้องถูกผลักไสออกไป

แบบวิถีของการเปลี่ยนแปลง: ความกำกวมและการเข้าแหนที๋
ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของสยามมิใช่บทบรรยายการขีดเส้นเขตแดนและเหตุการณ์
ต่างๆที่นำไปสู่การเกิดแผนที่สยามเรียงไปตามลำดับเวลา ทว่ากรณีของพระจอม -
เกล้าฯ และความสัมพันธ์ระหว่างดาราศาสตร์กับโหราศาสตร์ดังที่เน้นให้เห็นโดย
กรณีหว้ากอนั้น เป็นตัวอย่างชัดเจนที่แสดงว่าการผลักไสและเข้าแทนที่ของความรู้
ภูมิศาสตร์นั้นซับซ้อนขนาดไหน เป็นกรณีที่ชี้ให้เห็นความรู้ภูมิศาสตร์คนละชนิดที่
ดำรงอยู่ร่วมกัน ปะทะกัน และผลักไสแทนที่กันในที่สุด
การสังเกตสุริยุปราคาที่หว้ากอเน้นให้เห็นการปะทะกันของความรู้สองชุต
ความหมายของเหตุการณ์ดังกล่าวที่ดกมาถึงยุคของเรายังคงกำกวมอยู่ พระจอม -
เกล้าฯได้รับสมัญญานามว่า บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และว้นที่ 18 สิงหาคมซึ่ง
เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงคราวนั้น ก็ลึอกันว่าเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ คำว่า
“วิทยาศาสตร์ไทย” หมายถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในประเทศไทย มิใช่
หมายถึงความรู้วิทยาศาสตร์แบบพึ๋นถิ่นของไทย ดังจะเห็นได้จากเหตุผลที่ใข้ใน
การสดุดีท่าน เช่น ความเชี่ยวชาญทางดาราศาสตร์ การต่อต้านความเชื่องมงาย
และพวกโหราจารย์ ความสนใจในวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ และการประ -
ดิษฐ์คิดคันทางวิทยาศาสตร์ เช่น เรือกลไฟและหนังสือพิมพ์ เป็นด้น73 ทว่าคำ
สดุดีเหล่าน !.ม่ ะขึ้นอยู่กับการดีความเท่านั้น แต่เหตุผลของ
การสดุดีก็มิได้ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นนัก กล่าวคือ ถึงแมัเราอาจจะพูดได้ว่าเหตุการณ์
ที่หว้ากอและวันที่ 18 สิงหาคมเป็นชัยชนะของวิทยาศาสตร์ ( แบบตะวันตก ) แด่เรา

บฑที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่ท้าสงมา 79
,
ก็ไมควรดูพาความโปรดปรานโหราศาสตร์และการที่พระเจ้าอยู่หัวเชื่อว่ามีเทพข -
ดาช่วย ด้วยเหตุนี้เอง เรื่องตลกก็คือพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ยังได้รับสมัญญานาม
ยกย่องจากนักโหราศาสตร์ให้เป็น “บิดาแห่งโหราศาสตร์ไทย”74 (หมายถึงความรู้
โหราศาสตร์แบบจารีตพื้นถิ่น) อีกด้วย ในทำนองเดียวกัน เราไม่อาจมองข้ามข้อ
เท็จจริงที่ว่าความรู้ด้านจักรวาลวิทยาในการคำนวณของท่านมาจากตาราศาสตร์
ของตะวันตก และท่านยังเป็นปฏิปักษ์กับโหรหัวโบราณด้วย
มีการประเมินสถานะของพระจอมเกล้าฯ และกรณีหว้ากออีกแบบหนึ่ง
ซึ่งหลีกเลี่ยงการตัดสินในทางใดทางหนึ่งระหว่างดาราศาสตร์แบบตะวันตกกับ
โหราศาสตร์แบบไทย คือ มีผู้กล่าวว่าจุดมุ่งหมายแท้จริงของกรณีหว้ากอเป็นเรื่อง
จิตวิทยาทางการเมือง เพื่อพิสูจน์ว่าสยามเท่าเทียมกับตะวันตกในแง่ความรู้ ฉะนั้น
จักรวรรดินิยมตะวันตกจะอ้างว่าสยามไร้อารยธรรมและควรตกเป็นอาณานิคมของ
ตะวันตกจึงย่อมฟังไม่ขี้น75 ความคิดนึ่ทึกหักเอาว่าราชสำนักรักชาติเป็นอ้นหนึ่ง
อ้นเดียวกันเพื่อต่อด้านการคุกคามของจักรวรรดินิยม นี่เป็นชาตินิยมย้อนหลังไม่
ต้องสงสัย เพราะที่จริงคู่ปฏิปักษ์ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 คือบรรดาโหรแบบ
จารีตของไทย ทว่าซาวยุโรปกลับท่าหน้าที่เป็นพลังกดดันทางสากลที่สนับสนุน
พระองค็ในกรณีนี้
อย่างไรก็ตาม ความหมายที่แท้จริงอาจกำกวม มิได้ดีความได้เพียงอย่างเดียว
คงเป็นความผิดพลาดหากถือว่าความมุมานะของพระจอมเกล้าฯ เป็นกลอุบาย
คนพื้นถิ่นเพื่อต่อสู้กับโลกทัศน์แบบตะวันตก หรีอตะวันตกสู้กับคนพื้นถิ่น นี่คือ
ญาณวิทยาลูกผสม แม้ว่าเราจะเห็นว่าไม่คงเส้นคงวา ขัดแย้งกันเอง หรือลักลั่นทาง
ตรรกะก็ตาม การดีความหรือคำอธิบายแต่ละอย่างพยายามกำหนดความหมาย
และคุณค่าบางอย่างให้เหตุการณ์ตังกล่าวเพื่ออวดอ้างว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4
และความเชื่อของท่านเป็นบรรพบุรุษของตน แต่เป็นไปได้ว่า ความกำกวมของ
เหตุการณ์ทั้งหมดและญาณวิทยาลูกผสมของท่านคือหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของการ
เปลี่ยนเคลื่อนทางความรู้
ผู้แต่งชีวประวัติของพระจอมเกล้าฯ รายหนึ่งในยุคนั้นระบุในย่อหน้าสรุปไว้
ตอนหนึ่งว่า:
พระองค์ทรงทราบซัดเจนในวิชาโหราศาสตร์และคัมภีร์ฝ่ายสยามและตำรา
ฝ่ายยุโรป อาจจะทรงคำนวณคติโคจรของพระอาทิตย์และพระเคราะห์ทั้งปวง

80 ?1าเนิดสยามจากแผนที:่ ป!ะว้ฅิศาสตร์ภูมิกายาของชาด
ไต้โดยถ้วนถี่ ทายสุริยุปราคา จันทรุปราคา แม่นหาผู้เสมอมิไต้ และทรงทราบ
ทั่วไปในยิโอกวิาพื่ด้วยวิธีวัดแดตวัดดาวโดยแม่นยำ ... .พระองค์ทรงพระราช-
ศรัทธาสถิตมนในคุณพระรัตนตรัยมิได้ย่อหย่อน78
นี่เป็นชีวประวัติขึ้นแรกเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินสยามที่กล่าวถึงความปรีชา
สามารถของพระมหากษัตริย์โน “ศาสตร์”แผนโบราณ อาทิ โหราศาสตร์และศาสนา
พุทธ เคียงคู่กับความรู้แขนงใหม่เกี่ยวกับดวงอาทิตย์ ดวงดาว และโลก ( แม้ว่าจะ
มิได้เอ่ยไวํในที่นี้ก็ตาม ) นั่นคีอแขนงความรู้ที่คนไทยในยุคนั้นเรียกว่า “ยิโอกราที่ ”
ตำแหน่งของคำนื้โนย่อหน้าข้างบนจึงไม่ใช่ความบังเอิญแต่อย่างใด
โหราศาสตร์เป็นวิชาชั้นสูงในสังคมที่เชื่อว่า ดวงดาวบนท้องฟ้ามีอิทธิพลหรีอ
ลิขิตความเป็นไปของมนุษย์ การตำนวณหาตำแหน่งและการโคจรของดวงดาว
ตลอดจนศิลปะในการดีความอิทธิพลของตวงดาวเป็นภารกิจพื่นฐานสองอย่างของ
โหราศาสตร์ โหรจึงเป็น “นักวิทยาศาสตร์”ที่ทรงอิทธิพลในทุกระดับของสังคม
ตั้งแต่ราชสำนักจนถึงหมู่บ้าน เพราะพวกเขามิความรู้ในการคำนวณทิศทางของ
ดวงตาวและทำนายผลที่จะเกิดขึ้นได้ ศิลปะการพยากรณ์ไม่เพียงแต่ขาดความเป็น
ภววิลัยหรือถึงชั้นงมงายในสายตาของเรา แด่ที่จริงมีพื่นฐานมาจากการดีความที่
มีมาก่อนและบันทึกที่สั่งสมมานานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็น
อิทธิพลของดวงดาว ณ ตำแหน่งต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น การคำนวณทางโหราศาสตร์
ยังเป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์โนกรอบของจักรวาลวิทยาที่พัฒนามา
หลายชั้วอายุคน บางทีความรู้เกี่ยวกับการโคจรของดวงดาวดามหลักโหราศาสตร์
อาจเป็นภววิสัยในเชิงคณิตศาสตร์โม่น้อยไปกว่าดาราศาสตร์ก็เป็นได้
โหราศาสตร์ต้องอาศัยความแม่นยำในการคำนวณเช่นเดียวกับที่วิทยาศาสตร์
สมัยใหม่ต้องอาศัยคณิตศาสตร์ ยิ่งคำนวณได้แม่นยำเท่าไร คำทำนายทางโหรา -
ศาสตร์ก็ยิ่งมิความแม่นยำและน่าเชื่อถีอมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น เพื่อแสวงหาความ
แม่นยำ ความรู้จากตะวันตกเกี่ยวกับการโคจรของดวงดาวและโลก และการลังเกด
ปรากฏการณ์เชิงประจักษ์อันเป็นวิญญาณของวิทยาศาสตร์จึงมีเสน่ห์มากสำหรับ
คนอย่างพระจอมเกล้าฯ และบรรดาสานุศิษย์ ไม่แพ้ศาสตร์อื่นๆ เกี่ยวกับเรื่อง
ทางโลก บุคคลเหล่านี้โต้แทนที่ความรู้สันถิ่นด้วย “ยิ โ อกราหี ่ เ ”อย่างใหม่ แต่พวก
เขาก็มิได้มุ่งขจัตโหราศาสตร์ให้หมดสิ้น เพียงแต่ว่าพวกเขากระหายความรู้ใหม่
ล่าสุดที่จะช่วยปรับปรุงการคำนวณ “ยิโอกราฟื ”ซึ่งรวมถึงดาราศาสตร์ด้วยนี้

บทที่ 2 ภูมศาสตร์แบบใหม่กี่เาดังมา 81
ประกอบภารกิจพื้นฐานหนึ่งในสอง0ย่างของโหราศาสตร์ได้อย่างแม่นยำกว่าจึงน่า
เชื่อถือมากกว่า ความรู้สองชนิดที่เข้ากันไม่ได้โดยพื้นฐานกลับถูกจับคู่ประกบกัน
แล้วพบว่ามันทำงานเข้ากันได้เป็นอย่างดี ศาสตร์ทั้งสองนี้จึงปรากฏเคียงข้างกันใน
ย่อหน้าเดียวกันของชีวประวัติของพระจอมเกล้าฯ
ควรกล่าวในที่นี้ด้วยว่าตำราโหราศาสตร์ของไทยในยุคต่อมา ได้นำเอาระบบ
สุริยะและจักรวาลของดาราศาสตร์ มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์และคำนวณการ
โคจรของดวงดาว โดยไม่กระทบต่อการทำนายแต่อย่างใด การด้นพบล่าสุดทาง
ดาราศาสตร์เซ่น ความรู้เกี่ยวกับดาว เคราะห์สามดวงที่อยู่ไกลสุดในระบบสุริยะได
ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของความรู้โหราศาสตร์แล้ว ซึ่งซ่วยให์โหรปรับปรุงหรือ
ขยายวิธีคำนวณชะตาราคีอีกด้วย นักโหราศาสตร์ชื่อดังคนหนึ่งของไทยจึงกล่าวว่า
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เป็นผู้นำของวิธีการอันแหวกแนวนี77้
ด้วยเหตุที่มีมโนภาพและการทำงานที่เข้ากันไต้เซ่นนี้ ความเข้าใจภูมิศาสตร
สมัยใหม่จึงดำเนินไปโดยแทรกกลืน ( ฝิธธเกาแล(เกฐ) เข้ากับมโนภาพที่มีอยู่แล้ว
ที่สำคัญคือผ่านชุดคำศัพท์ ( (6โ•๓เกอเอฐV ) ที่มีอยู่แล้ว เหมือนกับการเรียนภาษา
ใหม่โดยแปลผ่านภาษาแม่ของตน เราลองเอาภูมิศาสตร์กายภาพเป็นตัวอย่างก็ได
,
การจัดหมวดหมูภูมิศาสตร์กายภาพในบทแรกของหนังสือของวันไดกี้ และใน
ภูมิศาสตร์สยามของยอนลัน และในเล่ม 1 ของพระยาเทพศาสตร์สถิตนั้น มีระบบ
การตั้งชื่อและแบ่งหมวตหมู' ((8X0กอ๓V ) คล้ายกับจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิเป็น
อย่างยิ่ง ระบบการตั้งชื่อและแบ่งหมวดหมู่ตามแบบพื้นถิ่นจึงเป็นเครื่องมือสำหรับ
ทำความเข้าใจภูมิศาสตร์สมัยใหม่ ถึงแม้ว่าจะมีระบบความคีตที่แตกต่างกัน แต
ชุดคำศัพท์แบบพื้นถิ่นเติมได้กลายมาเป็นคำศัพท์ให้กับภูมิศาสตร์สมัยใหม่ด้วย
คำว่า “ภูมิ”ซึ่งโดยปกติหมายถึงแผ่นดินหรือโลก กลายมาเป็นคำหลักสำหรับ
“ฐ60ฐโ3|ว(ให้’ในภาษาไทย คือ “ภูมิศาสตร์” อันที่จริง ภูมะนิเทศ ชื่อหนังสือของ
-
วันไดกี้ก็เป็นชื่อบทหนึ่งของ จักรวาลทีปนีอันเป็นคัมภีร์เลื่องชื่อเกี่ยวกับจักรวาล
วิทยาแบบไตรภูมิ เพียงแต่ว่าบทนั้นว่าด้วยเทพยดาและนรกภูมิ ต่อมาคำๆนี้ยัง
ปรากฏในเอกสารบางชันโดยมีความหมายอย่างเดียวกับภูมิศาสตร์78 นอกจากน
คำไทยอย่าง ทวีป มหาสมุทร และหน่วยทางภูมิศาสตร์อื่นๆรวมทั้ง “ประเทศ ”ก
เอามาจากคลังความรู้เกี่ยวกับพื้นที่/ภูมิที่มีอยู่เติมซึ่งดำรงอยู่คู่ขนานไปกับระบบ
การตั้งชื่ออย่างใหม่ ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ดำศัพท์สำหรับภูมิศาสตร์สมัยใหม

82 ก็าเนิดสยามจากแผนที่: ประวํตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
เกือบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เกี่ยวกับจักรวาลและเทศะขนาดใหญ่ จึงมา
จากระบบการตั้งชื่อของไตรภูมิ
ความรู้ทั้งสองชนิดนี้จึงไม่เพียงแต่ศึกษาเรื่องคล้ายกัน แด่ทั้งคู่ยังใช้คำศัพท์
เหมือนๆ กันในระบบการแบ่งหมวดหมู่ที่เทียบเคียงกันไต้ด้วย ฉะนั้น ความรู้สอง
ชนิดนี้ไม่เพียงแต่อยู่เคียงคู่กันเท่านั้น แต่ยังช้อนทับด้วยโดยการใช้คำศัพท์ร่วมกัน
กล่าวอีกอย่างคือ คำศัพท์กลายเป็นปัจจัยเชื่อมต่อระหว่างความรู้ทั้งสองนี้ ในทาง
กลับกันศัพท์ร่วมเหล่านี้แด่ละคำย่อมมีความหมายสองแบบและสื่อความหมายต่าง
กันไปตามระบบความคิดแต่ละชนิด ชุดคำศัพท์และอาจรวมถึงระบบการแบ่งหมวด
หมู่ทั้งหมดกลายเป็นระบบด้ญ่ญะที่มีสองความหมาย นั้นหมายความว่าความรู้และ
คำศัพท์เกี่ยวกับพื่นที่กลายเป็นสิ่งคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ภูมิศาสตร์สมัยใหม่จึงเผชิญ
ภารกิจสองด้านด้วยกัน กล่าวคือ ด้านรับที่ต้องคอยแก้ไขความสับสนและแยกแยะ
ความหมายของดนออกจากความหมายอื่น และด้านรุกที่ต้องฉวยโอกาสจากการ
ช้อนทับกันและความคลุมเครือของวาทกรรมทางภูมิศาสตร์
สำหรับภารกิจแรก ในเมื่อระบบความคิดความรู้ช้างหลังคำศัพท์ชุดเดียวกัน
และการจัดหมวดหมู่ที่เทียบเคียงกันได้นั้นเป็นคนละระบบกันคำๆ หนึ่งจึงสามารถ
สื่อถึงคนละสิ่งแตกต่างกันตามแด่รหัส (0๐ย่6) ที่ใช้ในขณะนั้น วิธีแก้ปัญหานี้หรือ
ภารกิจแยกแยะความหมายก็คือ การส่งรหัสสัญญาณ (ธเ9ก3แก9 00ย่6) บางอย่าง
เพื่อบอกแก่ผู้รับสารว่าก้าดังสื่อถึงมโนภาพอย่างใหม่ การใช้แผนที่สมัยใหม่คือ
ตัวอย่างหนึ่งของรหัสสัญญาณนี้ เพราะมันเป็นคุณสมบ้ดีของภูมิศาสตร์สมัยใหม่
เท่านั้น สำหรับรหัสสัญญาณอื่นๆ นั้นน่าจะตูจาก หนังสือแสดงกิจจานุกิจ ของ
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ซึ่งเป็นตัวอย่างวิเศษที่แสดงว่าภาษาเกี่ยวกับพี๋นภูมิสองชนิด
นี้สามารถโลดแล่นอยู่ในสนามเดียวกันแด, อยู่ใต้กฎเกณฑ์คนละชุดกันได้อย่างไร
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ตระหนักดีถึงความคลุมเครือของความรู้ภูมิศาสตร์ทั้งหมดที่
เพิ่มมากขึ้น แด่ท่านก็เช้าใจความแตกต่างของภาษาทั้งสองชุดนี้เป็นอย่างดี เราได้
เห็นแล้วว่าประเด็นหนึ่งที่เป็นการเผชิญหนัากันอย่างหนักระหว่างภูมิศาสตร์คนละ
ชนิดคือ ปัญหาเบื้องด้นว่าด้วยมโนภาพของโลก ประเด็นนี้คือเส้นแบ่งระหว่างความ
รู้สองชนิด การที่วันไดกี่และยอนลันเริ่มต้นหนังสือด้วยข้อความว่าโลกมีรูปร่าง
อย่างไรนั้น คงไม่ใช้แค่การถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้องไปยังผู้อ่าน ทั้งสองคนขึ้นป้าย
ไว้ตรงทางเข้าของหนังสือเลย ข้อความว่าด้วยโลกกลมทำหน้าที่เป็นรหัสสัญญาณ

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่ท้าดังมา 83
หรือรหัสผ่านเพื่อบอกว่าเรื่องราวภายในเล่มสังกัดภูมิศาสตร์สมัยใหม่ นี่จึงกลาย
มาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของบรรดาหนังสือภูมิศาสตร์ในรุ่นนั้นว่าต้องเริ่มด้วย
ข้อความเกี่ยวกับโลกก่อน ไม่ว่าหนังสือเล่มนั้นจะเป็นเรื่องภูมิศาสตร์แบบใด ไม่ว่า
ภูมิศาสตร์กายภาพหรือการเมืองหรือของสยามหรือส่วนอื่นๆของโลกก็ตาม แม้แต่
หนังสือแผนที่โลกในรุ่นหสังก็มักเริ่มจากรูปโลกกลมก่อนเสมอราวกับเป็นคำนำของ
ยอนดัน ธรรมเนียมจึงกลายเป็นขนบที่มิได้ทำหน้าที่ดั้งเดิมของมันอีกต่อไปแล้ว
กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือกลายเป็นจารีต หาใช่รหัสสัญญาณอีกต่อไป
ภารกิจที่สองยิ่งสำกัญกว่า การกล่าวว่าวาทกรรมทางภูมิศาสตร์คลุมเครือ
หมายความว่าวาทกรรมพื้นถิ่นเกี่ยวกับพื้นที่ / ภูมิ มิไต้เป็นภาษาเพียงชุดเดียวที่
ทำหน้าที่ป้อนไวยากรณ์หรือผูกขาดรหัสในการรับรู้เกี่ยวกับพื้นที่ / ภูมิอีกต่อไป
นอกจากการสนับสนุนผลักดันจากราชสำนักและผู้นำทางปัญญาแล้ว ภูมิศาสตร์
สมัยใหม่ได้ดั้งตัวเป็นคู่ต่อสู้ คือเป็นภาษาคู่แข่งที่สามารถร่วมใช้ทรัพย์สินกับภาษา
เดิม แล้วสอดแทรกอำนาจของตนเหนือสนามการสื่อความหมายแห่งเดียวกัน
ในสภาวะคลุมเครือเช่นนี้ ความรู้เดิมเกี่ยวกับพื้นที่ /ภูมิย่อมถูกสั่นคลอน
ในขณะที่ความรู้ทางเสือกใหม่ กลายเป็นสิ่งคุกคามเพื่อการเปลี่ยนแปลง ภูมิศาสตร์
สมัยใหม่มิใช่แค่อยู่ร่วมกันอย่างสงบ หรือแค่พึ่งพิงอิงแอบอยู่กับแรงสนับสนุนทาง
การเมืองซึ่งไม่ใช่พลังทางญาณวิทยา แต่ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ดั้งตัวเองเป็นทางเลือก
ใหม่ แม้ว่าการแปลเป็นศัพท์พื้นถิ่นจะเป็นเรื่องปกติที่มนุษย์ทำเพื่อสร้างความ
เข้าใจแต่ครั้นการเทียบเคียงนี้ลงหลักปักฐานมั่นคงแล้วย่อมเป็นเรื่องนอกเหนือ
เจตนาของมนุษย์ ภูมิศาสตร์สมัยใหม่มีศักยภาพที่จะเข้ายึตครองคุณสมบัติด่าง ๆ
ของความรู้พื้นถิ่นมาเป็นของตนและผลักดันตัวเองให้เป็นช่องทางใหม่ในการส่งสาร
ในที่สุดมนุษย์ด้องเข้ามาจัดการให้ความคลุมเครือหมดไปไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
กล่าวอย่างย่อก็คือ ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ฉวยโอกาสจากภาวะทับช้อนกันเพื่อสั่น
คลอนหรือทำให้ภาษาพื้นถิ่นคลุมเครือ จากนั้นจึงเสนอตนเป็นช่องทางใหม่ในการให้
ความหมายกับคำศัพท์เหล่านั้น
การผลักไสแทนที่ของความรู้มิใช่กระบวนการที่ราบรื่นค่อยเป็นค่อยไปหรือ
ปรับตัวต่อเนื่องกันไป แด่เป็นกระบวนการที่เกิดช่วงขณะ ( ทา0กา6ก1) วิกฤติมากมาย
ปะทุขี้นมาเพื่อสะสางความคลุมเครือด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง กระบวนการนี้
ออกจะรุนแรง เหตุการณ์หว้ากอเป็นหนึ่งในช่วงขณะวิกฤติที่ว่านั้น ความกำกวมของ

84 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
การประเมินเหตุการณ์หว้ากอย้อนหลังเป็นผลมาจากความกำกวมและแนวโน้ม
ทางความคิดของพระจอมเกล้าฯ เพราะภูมิศาสตร์สมัยใหม่ดำรงอยู่ควบคู่กับความ
รู้พื้นถิ่นเดิม การที่ท่านโจมตีโหรหลวงและหนังสือของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ก็เป็น
ช่วงขณะที่นำพาให้ความคิดภูมิศาสตร์คนละชนิดเกิดการเผชิญหน้าแตกหักกัน
การกล่าวว่าความคิดวิทยาศาสตร์ลงหลักปักฐานในสยามได้อย่างต่อเนื่อง
ราบรื่นนุ่มนวลดุจใยไหม เท่ากับบอกว่าไม่มีความเสียดทานที่สำคัญหรือการต่อสู้
แดกหักใดๆ ระหว่างมโนภาพหรือการปฏิบัติของความรู้ที่แข่งขันกันเกิดขึ้นเลย แด่
ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ การแลกมาด้วยมรณกรรมของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4
จะหมายถึงอะไรเล่าหากมิใช่ชัยชนะอันน่าเศร้าในการต่อสู้ทางความรู?้ คำอธิบาย
คังที่ได้นำเสนอมาในบทนี้ เป็นตัวแบบสำหรับการอธิบายด้านอื่นๆ ของการผลักไส
แทนที่ความรู้ทางภูมิศาสตร์ไต้เช่นกัน การผลักไสแทนที่ในแง่อื่นๆ ก็เป็นผลของ
การเผชิญหน้า ความกำกวม และช่วงขณะแตกหัก ณเวลา สถานที่ และจังหวะ
ต่างๆกันไป ประเด็นที่เรามุ่งเน้นในที่นี้คือมโนภาพและการปฏิบัติเกี่ยวกับเส้นเขต
แตนและอธิปไตยเหนือดินแตน เราจะเห็นต่อไปว่าช่วงขณะของการผลักไสแทนที่
ความรู้ภูมิศาสตร์ที่ปะทุแตกหักอย่างรุนแรงที่สุดเป็นเหตุการณ์ที่รู้จักกันดีในประ -
วัติศาสตร์ไทย เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาเราเข้าใจเหตุการณ์นั้นในแบบอื่น ดือเห็นว่า
เป็นเหตุการณ์อันเจ็บปวดสำหรับคนไทยทุกชั้นชนเพราะมันจบลงด้วยสิ่งที่เรียก
ว่าการสูญเสียดินแดนใหักับมหาอำนาจตะวันตกในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 1 9

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์แบบใหม่กำลังมา 85
บทที่ 3
เส้นเขตแดน
บกกี 3
เส้นเขดแดน

สยามและพม่าเป็นศัตรูคู่ปรับกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 6 ทั้งสองฝ่ายต่างรุกรานโจมตี
กันและกันเป็นระยะๆจนทำให้เมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างสองอาณาจักรโตยเฉพาะทาง
ชายฝังต้านใต้ของพม่าที่รู้จักกันในเวลานั้นว่าเป็นอาณาจักรของซาวมอญนั้น มี
ความสำคัญยิ่งสำหรับสองฝ่าย อันที่จริงพื้นที่ระหว่างสองอาณาจักรจากเหนือจรต
ใต้ล้วนเป็นเทือกเขาใหญ่โตซับช้อนและป่าตงดิบผืนใหญ่ กระนั้นก็ตามทั้งสองฝ่าย
ถือว่าหัวเมืองมอญเหล่านั้นดือแหล่งอาหารและกำลังพลอันสมบูรณ์ซึ่งเป็นปัจจัยที่
สำคัญที่สุดสองอย่างสำหรับการสงครามยุคก่อนสมัยใหม่ สยามและพม่าผลัตกันมี
อำนาจเหนือเมืองเหล่านี้ครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อให้ทำหน้าที่ผลิดเสบียงอาหารส่งให้
กองทัพของฝ่ายตน ขณะเดียวกันอีกฝ่ายหนึ่งก็จะมุ่งโจมตีเมืองเหล่านี้ เพื่อป้องกัน
ไม่ให้เป็นแหล่งเสบียงของศัตรู

เส้นเขตแตนแบบตะวันตกต้านชายแตนตะวันตก
เรื่องราวเร้าใจของเราเปิดฉากขึ้นในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 1 9 เมื่ออังกฤษทำ
สงครามกับพม่าเป็นครั้งแรกระหว่างปี 2367 - 2369 ( ค.ศ . 1824 - 1826 ) ซึ่งขณะนั้น
เป็นอาณาจักรอังวะ ในปี 2368 ( ค.ศ . 1 825 ) คณะทูตของอังกฤษนำโดยกัปตัน
เฮนรี เบอร์นืย์ ( แ6ก!'V ธนโก© V ) ได้รับมอบหมายจากบริษัทอินเดียตะวันออก ( ธ331
เก0แส 00๓[วสก V ) ให้มาเจรจากับสยาม'ไนหลายประเด็นโตยเฉพาะเรื่องหัวเมือง
มลายูและข้อตกลงทางการค้าระหว่างสองฝ่าย แมัน้กประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่า
สงครามอังกฤษ- อังวะในขณะนั้นสร้างความหวาตวิตกแก่ราชสำนักสยามก็ตาม

บทที่ 3 เส้นเขตแดน 89
แต่เบอร์นีย์กลับบันทึกว่าสยามในขณะนั้นมีทัศนคติที่เป็นมิตรกับอังกฤษ ดูเหมือน
ว่าราชสำนักยินดีต้อนรับ ( อย่างระมัดระวัง ) มหาอำนาจใตก็ตามที่ต่อสู้กับพม่า
รายงานของเบอร์นีย์ยังบอกให้เรารู้ว่าราชสำนักสยามติดตามสถานการณ์สู้รบอย่าง
จจดใจจ่อ และกระตือรือร้นที่จะได้ฟังข้อมูลหรือข่าวลือเกี่ยวกับการรบ ต้วยเหตุ
ที่ทั้งสยามและอังกฤษถือพม่าเป็นศัตรูร่วม ทั้งสองฝ่ายเกือบจะบรรลุข้อตกลงที่
ห้สยามส่งทหารสองกองทัพไปช่วยอังกฤษ แต่ข้อตกลงไม่เป็นจริงเพราะเกิดการ
ข้าใจผิตระหว่างทั้งสองฝ่าย อันเนื่องมาจากวิธีการทำสงครามที่แตกต่างกันและ
สงครามได้ยุติลงไม่กี่เดือนหลังจากนั้น
ในช่วงที่เบอร์นึบัอยู' ที่กรุงเทพฯ จากปลายปี 2368 ถึงด้นปี 2369 ( ค . ศ .
1 825 - 1826 ) อังกฤษสามารถยึดครองภาคใต้ของพม่าไวัใด้ทำให้ตะนาวศรีกลาย
ป็นเขตปกครองของอังกฤษ จากนั้นชายแตนฝังตะวันตกของสยามก็เริ่มกลายเป็น
ปัญหาขึ้นมา 1 เบอร์นีย์ขอให้ฝ่ายสยามส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปตกลงเรื่องเขตแดน
ระหว่างสยามกับดินแดนที่อังกฤษเพิ่งได้มาใหม่ เจ้าพระยาพระคลังซึ่งดูแลเรื่อง
การค้าและการต่างประเทศกลับบ่ายเบี่ยงด้วยการกล่าวว่า แท้ที่จริงแล้ว ทั้งทวาย
และมะริดอันเป็นเมืองท่าสำคัญสองแห่งทางตอนใต้ของพม่า เคยเป็นเขตแดนของ
สยาม และสยามเคยเดรียมจะยึดเอาเมืองทั้งสองกลับมาจากพม่า อย่างไรก็ตาม
นเมื่อทั้งสองตกเป็นของอังกฤษแล้ว และเพื่อเห็นแก่มิตรภาพของสองฝ่ายที่บังมี
ศัตรูร่วมอยู่ทางตอนเหนือ ( หมายถึงอังวะ ) สยามก็จะไม่อ้างสิทธิ้เหนือเมืองทั้งสอง
อีกต่อไป เบอร์นืย์เล่าต่อไปว่า เจ้าพระยาพระคลังบังอวยพร “ด้วยท่าทีที่เปิดเผย
จริงใจมากกว่าที่... ได้คาดการณ์ไว้”ให้การยึดครองดินแดนของอังกฤษประสบ
ความสำเร็จในการปกครองดินแดนใหม่ และท่าน “หวังว่าอังกฤษจะนำการค้าอัน
คึกคักมาสู่สยามโดยผ่านช่องทางด้งกล่าว ”
เมื่อคำตอบของเจ้าพระยาพระคลังไม่ตรงกับคำขอ เบอร์'นีย์จึงยํ้าความต้อง -
การของฝ่
,
ายอังกฤษอีกครั้ง และแนะว่าพระคลังควรเดินทางไปชายแดนด้วยตนเอง
ณบัดนั้นเอง “...ท่านเสนาบดีหมุนร่างอันใหญ่โตของท่านไปรอบๆ จ้องมองข้าพเจ้า
อย่างตกใจราวกับว่าข้าพเจ้าได้เสนอให้ท่านเดินทางไปยุโรป ”2 เบอร์นีย์อธิบายว่า
ปฏิกิริยาตังกล่าวเป็นเพราะพระเจ้าแผ่นดินสยาม ( รัชกาลที่ 3 ในขณะนั้น ) ไม่ไว้
วางใจให้ใครในราชสำนักของตนไปทำสัญญาใดๆ กับอังกฤษ ตังนั้นผู้ที่ไต้รับ
แต่งตั้งก็จะไม่มีอำนาจจริงและไม่สามารถดัดสินใจใด ๆ ได้ ดี. จี. อี. ฮอลล์ ( 0. 0. 5.

90 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวตศาสดร์ภูมิกายาของชาติ
แลแ ) เห็นว่าข้อเสนอของเบอร์นีย์ทำให้พระคลังตกใจกลัวเพราะการเจรจาใดๆกับ
อังกฤษนอกเหนือจากที่ทำกันที่กรุงเทพฯ แล้ว ย่อมเป็นอันตรายต่อเอกราชของ
สยาม แด่นั่นคงไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริง เจ้าพระยาพระคลังตกใจจริง แด่เรื่องเอกราช
3

น่าจะไม่ใช่ประเด็น เป็นไปได้มากกว่าว่าภายใต้การจัดสรรอำนาจปกครองของ
สยามในขณะนั้น บริเวณต้านตะกันตกเฉียงใต้ของอาณาจักรอยู่ภายใต้การดูแล
ของเจ้าพระยากลาโหม หากพระคลังเจรจาใดๆเหนือดินแดนด้งกล่าว ก็หมายถึง
ไปคุกคามอำนาจของเจ้าพระยากลาโหม เจ้าพระยาพระคลังย่อมไม่ต้องการเอา
ตนเองไปทำเรื่องเสี่ยงแบบนั้น บางทีการเดินทางไปยุโรปอาจน่าตกใจน้อยกว่าก็ได้
แด่ไม่ว่าจะอย่างไร คำตอบของพระคลังชี้ว่า ในขณะนั้นการกำหนดเส้นเขตแดนกัง
มิใช่เรื่องที่ราชสำนักสยามให้ความสำคัญมากนัก
กันรุ่งขึ้น เจ้าพระยาพระคลังมอบสาส้นจากเจ้าพระยากลาโหมให้กับเบอร์นืย์
มีใจความว่า สยามเห็นว่าปัญหาเส้นเขตแตนมังมิใช่เรื่องเร่งด่วน เพราะในขณะนั้น
ผังไม่แน่นอนว่าอังกฤษจะมีชัยเหนือพม่าอย่างเด็ดขาด หรือสามารถรักษาเมือง
เหล่านั้นไวได้หรือไม่ ราชสำนักสยามถือว่าเส้นเขตแดนขึ้นอยู่กับผลของสงคราม
4

หากพม่ารุกกลับได้ เมืองเหล่านั้นอาจถูกเผาทำลายอีกครั้งแทนที่จะเป็นตำแหน่ง
ของเขตแดน พระคลังผังกล่าวด้วยว่า ส้มพันธไมตรีกับอังกฤษมีความสำคัญมาก
พอที่จะเก็บเรื่องไม่สำคัญอย่างการเรียกร้องสิทธิ้เหนือเมืองท่าเหล่านั้นเข้าลิ้นชัก
ไว้ก่อน และฝ่ายกลาโหมก็เห็นว่าเส้นเขตแดนผังมิใช่เรื่องจำเป็นเช่นกัน เห็นได้ชัด
ว่าทั้งเจ้าพระยาพระคลังและเจ้าพระยากลาโหมมิได็ให้ความสำคัญกับปัญหาเส้น
เขตแดนเท่าเบอร์'แย์
,
แม้ว่าราชสำนักสยามจะไม สนใจ เบอร์นืย์ก็ผังคงรบเร้าราชสำนักให้เจรจา
ตกลงเขตแดนกัน ในที่สุดความพยายามของเขาประสบผลสำเร็จ แด่คำตอบของ
ราชสำนักสยามช่างง่ายและตรงไปตรงมาจนน่าประหลาดใจ :
...เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวกันถึงเขตแดนของมะรีด ทวาย และดะนาวศรีนั้นไม่เคย
มีเขดแดนใดสามารถกำหนดกันได้ระหว่างสยามกับพม่า แต่ในเมื่ออังกฤษ
ปรารถนาจะให้กำหนดเขตแดนเหล่านี้แน่นอนลงไป ก็ให้ไปถามเอาจากผู้เฒ่า
ที่อาศัยอยู่ตามชายแดนมะริด ทวาย ตะนาวศรี ว่าพวกเขารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ
ดินแดนที่เชื่อมกัน และให้ถือเอาดามที่คนเหล่านั้นขึ้นั่นแหละเป็นเขตแดน
ระหว่างส่วนของอังกฤษกับสยาม5

บทที่ 3 เส้นเขตแดน 91
นักประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมาอย่างฮอลล์เห็นว่าคำตอบดิงกล่าวไร้เดียงสา
เบอร์นีย์เห็นว่าคำตอบนั้นไร้สาระจนน่าขัน (ลเวธบฟ ) และเขารู้ดีว่าทางการอังกฤษ
ต้องประหลาดใจแน่ๆหากเขาส่งคำตอบดิงกล่าวไปให้6 แด่สำหรับขุนนางสยามที่
อยู่ในคณะเจรจานั้น ไม่มีอะไรน่าประหลาตแม้แต่น้อยเพราะว่า:
เส้นเขตแดนระหว่างสยามและพม่าเต็มไปด้วยเทือกเขาและปากว้างหลาย
ไมล์และไม่สามารถบอกไต้ว่าเป็นของชาติใด ต่างฝ่ายต่างมีกองทหารของตน
คอยเสาดูเพื่อวับคนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เดินพลัดหลงเข้าไปในบริเวณดังกล่าว 7
เป็นที่ชัดเจนว่า “เส้นเขตแดน”ตามที่อังกฤษและสยามเข้าใจนั้นอาจคล้ายกัน
แต่ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ราชสำนักสยามเข้าใจลำบากว่าทำไมเส้นเขตแดนจึงสำคัญ
นัก มันควรเป็นเรื่องของชาวบ้านดามชายแดนมากกว่าจะเป็นเรื่องของกรุงเทพฯ
ผลก็คือในร่างข้อตกลงที่จัดทำโดยสยามนั้น แม้จะมีการระบุว่าดินแดนไหนเป็นของ
สยามและอังกฤษอยู่หลายแห่ง ทว่าไม่มีการตกลงเส้นเขตแดนแต่อย่างใด เป็นการ
บอกกลายๆว่า สำหรับสยามนั้นการแบ่งตรงไหนของใครข้ตเจนอยู่แล้วโดยไม่ต้อง
อาคัยเลันเขตแดนแบบที่อังกฤษต้องการ8 อย่างไรก็ตามในที่สุตเบอร์นีย์ก็สามารถ
โน้มน้าวให้ราชสำนักทำข้อตกลงอย่างกว้างๆเรื่องเส้นเขตแตนจนได้ดังมีบรรจุไว้
ในทั้งฉบับร่างและข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ในปี 2369 ( ค. ศ . 1 826 ) มาตราที่เขียน
อย่างยืดยาวตามธรรมเนียมไทยนี้มีสาระอยู่เพียงแค่ว่าหากฝ่ายใดข้องใจเกี่ยวกับ
เขตแดน ก็ใหัแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายและคนจากชายแดนเพื่อสอบสวนและ
ตกลงกันฉินมิตร9 นี่หมายความว่าเส้นเขตแดนในขณะนั้นไม่มีปัญหาแต่อย่างใดและ
ไม่จำเป็นต้องทำอะไรกับมันประสบการณ์มากกว่าครึ่งปีในกรุงเทพฯของเบอร์นีย์
ทำให้เขาเรียนรู้ว่าการประน็ประนอมที่ดีที่สุดที่เขาจะทำได้ก็คือใส่อะไรดักอย่าง
ลงไปในสัญญา แม้ว่าจะดูมีประโยชน์น้อยนิดสำหรับอังกฤษก็ตาม อาจกล่าวได้ว่า
เบอร์นีย์ยอมที่จะพูดภาษาเดียวกันกับราชสำนักสยามในเรื่องเส้นเขตแดน
หากไม่นับเหตุการณ์เล็กๆในปี 2372 ( ค.ศ . 1829 ) ที่ทหารท้องถิ่นของสยาม
บุกเข้าไปในเขตของอังกฤษเป็นครั้งคราวแล้ว 10 ทั้งสองฝ่ายไม่มีปัญหาเส้นเขตแดน
ระหว่างกันจนกระทั้งปี 2383 ( ค.ศ . 1 840 ) ในปีนั้น อี. เอ. บลันเดลล์ ( 5.& . ธเบกส่6แ )
ผู้ว่าการจังหวัดตะนาวศรีของอังกฤษยกปัญหานี้ขึ้นมาด้วยเหตุว่าเส้นเขตแดนซึ่ง
บังไม่ได้ตกลงกันนี้กำลังสร้างปัญหาขึ้นมาเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ดีบุก ชายแดน

92 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ด้านใต้สุดของตะนาวศรีมีแม่นี้าปากจั่นพาดผ่าน11 ทั้งสองส่งแม่นํ้าเต็มไปด้วยดีบุก
และแร่อื่นๆ เมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของสยามออกเก็บภาษีอากรจากชาวบ้านที่ทำแร่
อยู่ทั้งสองฟากแม่นํ้า ชาวบ้านที่อยู่ในส่งอังกฤษจึงปฏิเสธไม่ยอมจ่ายภาษีชาซ้อน
ให้กับอังกฤษอีก อีกทั้งคนเหมืองชาวจีนบางส่วนก็ร้องขอความคุ้มครองจากอังกฤษ
ด้วย 12 บดันเดลล์ถือว่าแม่นี้าปากจั่นคือเส้นเขตแดน ด้วยคนเฒ่าคนแก่ในท้องถิ่น
บอกเขาว่า เป็นจุตไกลสุตที่กองทหารพม่าเคยมาตั้งค่ายชั่วคราว เขาจึงส่งจดหมาย
ไปกรุงเทพฯ กล่าวหาเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของสยามว่าได้ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตอังกฤษ
ราชสำนักตอบกลับในปลายปีเดียวกันนั้นว่าอังไม่เคยมีการกำหนดเส้นเขตแดนที่
ตายตัว ซึ่งเท่ากับบอกเป็นนัยว่าสยามไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ้ของบดันเดลล์13
เจ้าหน้าที่อังกฤษในอินเดียเดือนบดันเตลส์ให้ระมัดระวัง เพราะพวกเขาเรียนรู้
จากประสบการณ์คราวเบอร์นีย์ว่าราชสำนักสยามไม่ชอบให้หยิบยกเรื่องดังกล่าว
ขึ้นมาด้วยเหตุผลที่พวกเขาไม่เข้าใจ จนถึงปี 2385 ( ค .ศ . 1 842 ) เจ้าหน้าที่ทาง
เบงกอลอังไม่เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องตกลงเรื่องเส้นเขตแดนเป็นทางการ
แต่อย่างใด 14 กระนั้น บดันเตลล์อังคงดึงดันขอให้สยามส่งเจ้าหน้าที่ไปอังบริเวณ
ดังกล่าวแม้ว่าเขาจะไม่ไต้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของสยามก็ตาม
ปรากฎว่าในกลางปี 2385 จู่ ๆ ราชสำนักกลับยินยอมที่จะให้มีการชี้เส้นเขตแตน
แม้ว่าจะไม่ยอมรับให้แม่นั้าปากจั่นเป็นเส้นเขตแดนก็ตาม 15 ทว่าฤดูฝนที่ตามมา
ทำให้ทั้งสองฝายไม่สามารถบุกป่าเข้าไปเพื่อตัดสินเขตแดนได้
อังกฤษเร่งให้สยามตัดสินเรื่องนี้อีกครั้งในปี 2387 ( ค.ศ . 1 844 ) เพราะมีปัญหา
เล็กน้อยเกิดขึ้นตามชายแตน ครั้งนี้ผู้ว่าการคนใหม่ของอังกฤษ พ้นโท บรอดฟุต
( แ /13] 0 โ 8โ0ลส่ ?00ใ ) ขอให้ตกลงเขตแตนตั้งแต่เชียงใหม่ลงมาถึงแม่นั้าปากจั่น 16
ราชสำนักดูจะหงุตหงิด แต่ก็ตอบกลับไปอย่างซัดเจนว่า:
-

เหตุที่อังกฤษและสยามมีโอกาส'ใต้กล่าวถึงเรื่องเส้นเขตแดนเพราะ...สยาม
และอังกฤษมีสัมพ้นธไมตรีอันยิ่งใหญ่ต่อกัน และตังที่พันโทบรอดฟุต... ด้วย
ความปรารถนาที่จะให้ส้มพันธไมตรียั่งยืนต่อไป ไต้เขียนจดหมายฉันมิตร
เกี่ยวกับการวัตการเขตแดน เจ้าหน้าที่ของ...กรุงเทพทวาราวดีฯ จึงปรารถนา
เช่นกันที่จะตัดสินเขตแตนให้เรียบรอย ...โดยหวังว่าพันโทบรอดฟุตจะ...ตกลง
อย่างยุติธรรมและเป็นธรรมว่าตรงไหนเป็นเส้นเขตแดน เสนาบดีของ...กรุงเทพ
ทวาราวดีฯ ยินดีที่จะตกลงด้วย17

บทที่ 3 เส้นเขดแดน 93
กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เพื่อเห็นแก่สัมพันธไมตรีของสองฝ่าย อังกฤษปรารถนา
สิ่งใด สยามย่อมเห็นดีด้วย ขอเพียงให้เป็นไปอย่างยุติธรรม
ในจดหมายฉบับเดียวกันซึ่งลงวันที่ 1 3 พฤศจิกายน 2387 ( ค.ศ. 1 844 ) ราช -
สำนักได้แสดงความไม่พอใจที่ฝ่ายอังกฤษอ้างสิทธิ้เหนือฝังขวาของแม่นั้าปากจั่น
โดยราชสำนักให้เหตุผลว่าปัญหาเล็กๆนัอยๆที่เกิดขึ้นตามชายแดนนั้น เนื่องมา
จากคนในบังคับของอังกฤษและชาวเมืองกระที่ดูแลแม่นั้าปากจั่นอาศัยอยู่ใกล้กัน
เกินไป นี่จึง “ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีต่อกันระหว่างสองชาติมหามิตร”ฝ่ายสยาม
จึงค้านข้อเสนอของอังกฤษ เพราะแม่นั้าปากจั่นอยู่ห่างจากเมืองกระไปไม่กี่ร้อย
เมตรเท่านั้น
แล้วเส้นเขตแดนแบบไหนที่ราชสำนักสยามต้องการ คำตอบก็คือ:
หากเส้นเขตแดนถูกกำหนดไว้ตามแนวแม่นํ้าปากจั่น ก็จะใกล้กับเมืองกระจน
เกินไป ในอีกแง่หนึ่ง หากกำหนดให้อยู่ตรงสุดปลายเขตที่สยามเคยมีอำนาจ
ปกครอง มันก็ยังห่างไกลจากมะรีดพอควร ตรงนั้นจึงน่าจะเป็นการดัตสินที่
ยุติธรรม เพื่อที่ว่าคนของทั้งสองฝ่ายจะได้อาศัยอยู่ห่างจากกันมากพอ18
บางทีฝ่ายอังกฤษอาจจะไม่เข้าใจนิยามของเส้นเขตแตนแบบนี้ดีพอ เพราะ
พวกเขายังคงยาข้อเสนอของตนต่อไป การแลกเปลี่ยนถกเถียงเรื่องนี้ต่อมาขยาย
ครอบคลุมไปถึงชายแตนมะละแหม่งทางตอนเหนือของตะนาวศรี เมื่อถึงตรงนั้น
นั้าเสียงของจดหมายจากราชสำนักระหว่างเดือนสิงหาคม 2388 ( ค.ศ. 1 845 ) ถึง
สิงหาคม 2389 ( ค.ศ . 1 846 ) บอกถึงความไม่สบอารมณ์ชัดๆ ที่แปลกก็คือยิ่งสยาม
รำคาญมากขึ้นเท่าใด ความต้องการที่จะยุติปัญหานี้ก็มีมากขึ้นเท่านั้น ในจดหมาย
ฉบับแรก สยามยื่นข้อเสนอตอบโต้ยาวเหยียดเกี่ยวกับเส้นเขตแตนจากเชียงใหม่ถึง
เมืองกระกลับไปให้อังกฤษ มีใจความตอนหนึ่งว่า :
สถานที่ใดก็ตามที่ต้องการสำรวจ ให้เจ้าเมืองและเจ้าพนักงานของเมืองนั้นชี้
ว่าเขตแดนของสยามอยู่ตรงไหนบ้าง ให้พวกเขากล่าวอย่างซื่อตรงเพื่อจะได้
ตัดสินให้สิ้นความ ...เมื่อตัดสินได้แล้ว ขอใหัมีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
สำหรับทุก ๆ ส่วนของเส้นเขตแดน ซึ่งควรถือเป็นที่สิ้นสุด เพื่อที่ว่าในอนาคต
จะได้ไม่มีการล่วงลํ้าแดนของอีกฝ่ายอีกต่อไป19

94 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ในจดหมายฉบับเดือนสิงหาคม 2389 ปัญหาเขตแดนดูจะสร้างความรำคาญ
ใจให้กับราชสำนักเป็นอย่างยิ่ง จดหมายกล่าวถึงกรณีที่อังกฤษกล่าวหาว่าเจัา -
พนักงานท้องถิ่นของสยามล่วงลํ้าเช้าไปในดินแดนของตน ปักธงและใช้อำนาจ
เหนือชาวบ้านในบริเวณดังกล่าว อังกฤษสงสัยว่าราชสำนักอาจมีส่วนรู้เห็นกับการ
กระทำนี้และแคลงใจต่อความจริงใจของราชสำนัก ราชสำนักสอบสวนกรณีดังกล่าว
และสรุปว่าต้องหาทางตกลงเรื่องเขตแตนโดยต่วนเพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจมี
ขึ๋นอีก 20 ฝ่ายอังกฤษดีใจมากที่ผลออกมาเช่นนี้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถตกลงกัน
ได้หลายจุดเช่นตรงแม่นํ้าปากจั่น แต่สยามยอมรับความสำคัญของเส้นเขตแตนและ
มุ่งมั่นจะใหัมีการแบ่งเขตแดน มั่นก็หมายความว่า สยามยอมที่จะพูดเรื่องนี้ในแบบ
ที่อังกฤษต้องการ
ไม่แน่ชัดว่าทำไมลยามจึงเปลี่ยนท่าทีของตนจากการไม่ให้ความร่วมมืออย่าง
ซื่อๆไม่ค่อยเช้าใจในช่วงปีแรกๆ มาเป็นความไม่พอใจแต่ให้ความร่วมมืออย่าง
แข็งขัน ฝ่ายอังกฤษเชื่อว่าเป็นผลกระทบของการรบที่พม่ากำลังพยายามดีเมือง
ของพวกคะยา ( หรือกะเหรี่ยงแตง ) ในแถบภูเขาที่อยู่ระหว่างชายแตนเชียงใหม่
กับอังวะ ฝ่ายอังกฤษคิดว่านี่เป็นการรบระหว่างพม่ากับสยาม ซึ่งเท่ากับว่าเป็น
ข้อพิพาทระหว่างประเทศ พวกเขาเอาเหตุการณ์สองอย่างคือการเปลี่ยนนโยบาย
ของสยามกับลงครามชายแดนเช้ามาวิเคราะห์ภายใต้ระบบเหตุผลแบบการทูต -
การทหารสมัยใหม่ มั่นคือ อังกฤษคิดว่าสยามกำลังกังวลต่อความมั่นคงของเมือง
ประเทศราชของตนทางตอนเหนือ ฉะนั้นจึงต้องการรักษาทางใต้และตะรันตกของ
ประเทศเอาไว่โดยยอมทำตามความต้องการของอังกฤษ ฝ่ายอังกฤษเองก็ตระหนก
กับการรุกของพม่า ทว่าพวกเขาวางตัวเฉยอยู่ การสื่อสารแลกเปลี่ยนกันในหมู่
เจ้าหน้าที่อังกฤษระหว่างปลายปี 2387 ( ค. ศ . 1844 ) ถึงต้นปี 2389 ( ค.ศ . 1846 )
เต็มไปด้วยรายงานการถกเถียงและการคาดการณ์เกี่ยวกับผลกระทบของสงคราม
ต่อความสัมพันธ์ระหว่างอังวะและกรุงเทพฯ เพราะอังกฤษคิดว่าพม่าตั้งใจจะ
ทดสอบชายแดนสยาม อังกฤษยังแจ้งอย่างเร่งด่วนให้ราชสำนักสยามทราบด้วยว่า
อังกฤษวางดัวเปีนกลางในกรณีน21ี้
กลายเป็นว่าฝ่ายอังกฤษตื่นตูมไปเองตามหลักคิดแบบหลักเหตุผลของตน
เพราะอันที่จริงกรุงเทพฯ ไม, รู้เรื่องที่พม่าโจมดีเมืองของพวกคะยาเลยจนกระตั้ง

บทที่ 3 เส้นเขตแตน 95
เดือนธันวาคม 2388 ( ค.ศ . 1 845 ) ซึ่งการรบยุติไปแล้ว ทางเชียงใหม่เพียงรายงาน
เข้าไปว่าพม่าไดั[จมดีเมืองของพวกกะเหรี่ยงแดงแต่ไม่สำเร็จ แม้แต่เชียงใหม่ก็มิไต้
ถือว่าการปะทะคราวนั้นเป็นเรื่องของดน เพราะเมืองของพวกคะยา “ไม่มีขึ้นแก่ผู้ใด
มาแด่โบราณ”22 เรื่องทั้งหมดมีเพียงแค่นั้นเอง ฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ในจดหมาย
ตอบกลับของสยามต่อเรื่องอังกฤษวางตัวเป้นกลางนั้น ราชสำนักไม่ได้เอ่ยถึงการ
ปะทะครั้งนั้นเลยแม้แด่น้อย 23
การเปลี่ยนแปลงทัศนะต่อปัญหาเส้นเขตแดน เป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษสุดท้ายในรัชสมัยของพระนั้งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3
( ครองราชย์พ.ศ. 2367 - 2394 / ค.ศ. 1824 - 1851 ) ความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับ
ตะรันตกราบรื่นมาตลอดจนถึงช่วงดังกล่าว และตามบันทึกของเบอร์นีย์ซึ่งด่างจาก
ทัศนะของนักประรัติศาสตร์หลายคน ก็ไม่มีอะไรบ่งบอกว่าสงครามอังกฤษ- พม่า
ทำให้มิตรภาพของสองฝ่ายเสื่อมทรามลงนับแต่ทศวรรษ1820 (ระหว่าง พ.ศ . 2363-
2372 ) 23 สยามในสมัยรัชกาลที่ 3 นับว่าโดดเด่นเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูตกับ
ดะรันตก นักการทูตร่วมสมัยของอังกฤษก็กล่าวว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 นั้น
“ชื่นชอบชาวอังกฤษ”25 อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษสุดท้ายของรัชสมัย ราชสำนัก
สยามกลับหมางเมินกับตะวันตก ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงนี้
อย่างเพียงพอแด่ก็มีคำอธิบายที่หลากหลาย เช่น เป็นผลจากความขัดแย้งทางการ
ค้า เป็นผลจากการปกครองของอังกฤษในพม่าและสงครามรี]่ นในจีนในพ .ศ . 2383
( ค.ศ . 1 840 ) และเป็นผลจากการข่มขู่ของพ่อค้าชาวอเมริกันที่ขัดแย้งกับราชสำนัก
และเรียกร้องให้ราชนาวีอังกฤษสนับสนุนตน26 เหตุการณ์เหล่านี้บวกกับการต้อนรับ
คณะทูตตะรันตกหลายคณะอย่างเยึนชา ชี้ใหัเรารู้ว่าช่วงเวลารันชื่นคืนสุขได้สิ้นสุด
ลงแล้ว
กลายเป็นว่า ในช่วงปีแรกๆของรัชกาลที่ 3 สยามไม่สนใจที่จะตกลงเรื่องเขต
แดนตามที่อังกฤษร้องขอบ่อยครั้งเพราะเห็นแก่มิตรภาพของสองฝ่าย แด่เมื่อความ
สัมพันธ์เริ่มขื่นขมและสยามรำคาญเจ้าหน้าที่อังกฤษที่ชักจะก้าวร้าวขึ้นในช่วง
ทศวรรษ 1 840 ( พ.ศ . 2383- 2392 ) สยามกลับมุ่งมั่นจะตกลงให้เสร็จ สื่งนี้บอกเรา
เป็นนัยว่ามโนภาพและการหน้าที่ของเส้นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายเข้าใจอยู่มิใช่อย่าง
เดียวกัน

96 กำณิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
การปะทะกันขอ 3มโนภาพต่อเส้นเขตแตน
ระหว่างปี 2377 - 2379 ( ค .ศ . 1834 - 1836 ) คณะทูตของอังกฤษชุดหนึ่งถกส่งไป
เชียงใหม่ ศูนย์กลางของอาณาอักรล้านนา ภารกิจอย่างหนึ่งของพวกเขาคือตระ-
เตรียมการเจรจาเขตแตนระหว่างล้านนากับอังหอัตตะนาวศรี อังกฤษเล็งเห็น
ศักยภาพของอุตสาหกรรมป่าไม่ในล้านนา แต่หลังจากศึกษาบันทึกท้องถิ่นแล้วพบ
หลักฐานว่าพม่าเคยมีลิทธึ้เหนือส่งตะวันออกของแม่นั้าสาละวิน พวกเขาจึงเตรียม
เสนอ ( ต่อเชียงใหม่ ) ให้แม่นํ้าสาละวินเป็นเส้นเขตแตน ผู้มีอำนาจที่อินเดียเห็นชอบ
ด้วย แด่เดือนว่าอย่าเร่งเร้าจนเกินไปเพราะอาจกระทบกระเทือนความสัมพันธ์กับ
สยามเนื่องจากทางกรุงเทพฯ ไม่รู้เกี่ยวกับการเดินทางไปเชียงใหม่ของคณะทำงาน
ชุตนี้ ปรากฏว่าทางฝ่ายเชียงใหม่ไม่เพียงแด่พร้อมที่จะทำสัญญากับอังกฤษโตย
ทางกรุงเทพฯ ไม่มีส่วนร้บรู้เท่านั้น แต่เจ้าเชียงใหม่ยังยกดินแตนส่วนหนึ่งให้กับ
อังกฤษเป็นของขวัญเพื่อมิตรภาพทั้งๆที่อังกฤษมิไดัเรียกร้อง 27
แด' ว่าข้อตกลงเขตแดนทำเป็นลายลักษณ์อักษรบนกระดาษโดยไม' มีการ
ปักปันเขตแดนบนพื้นที่แต่อย่างใด เพราะเจ้าเชียงใหม่ก็ไม่ต่างจากกรุงเทพฯ คือไม่
สนใจเรื่องแบบนี้ ต่อมาในปี 2390 ( ค.ศ . 1847 ) ฝ่ายอังกฤษรบเร้าเชียงใหม่ให้
ปักปันเขดแดนให้ชัดเจนตามสัญญาปี 2377 ( ค. ศ . 1834 ) ฝ่ายเชียงใหม่ตอบว่า
ง่ายมาก คืออนุญาตให้อังกฤษทำเองได้เลย
,
ทางกรุงเทพฯ ไม มีส่วนรู้เห็นในข้อตกลงและดินแดนที่ยกให้เป็นของขวัญ
ด้งกล่าวเลย ฝ่ายอังกฤษจึงออกจะกังวลอยู่ แต่ก็มิได้ทำให้อังกฤษละทิ้งโอกาสทอง
นี้ อังกฤษใช้เวลาสองปีสำรวจลำนั้าสาขาทุกสายของแม่นี้าสาละวิน เพื่อหาสายนั้า
หลักที่จะถือเป็นเส้นเขตแดน และด้วยความช่วยเหลือของผู้เฒ่าชาวกะเหรี่ยงห้าคน
ที่อาศัยอยู่ตามแม่นั้า พวกเขาก็ปักปันเขตแดนแบบสมัยใหม่เสร็จในปี 2392 (ค.ศ.
1 849 ) 28
อีกกรณีหนึ่งที่มีการยกดินแดนผืนใหญ่เป็นของขวัญ ก็คือทางด้านหัวเมือง
มลายู ในปี 2372 ( ค.ศ . 1 829 ) กัปตันเจมส์ โลว์ ( อลเวเฒ่ก ปล๓65 1อพ) เจ้าหน้าที่
อังกฤษที่ปีน้งเสนอใหัมีการปักปันเขตแดนระหว่างมณฑลเวลส์เลย์ซึ่งอังกฤษเช่า
อยู่กับเคดะห์ (ไทรบุรี) ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของนครศรีธรรมราชในเวลานั้น เจ้า
นครฯ โกรธมากที่อังกฤษขอมาเช่นนี้ เพราะเขากล่าวว่าปัญหาเวลส์เลย์ได้ตกลงไว้
ชัดเจนแล้วในสัญญาระหว่างเคดะห์กับปีน้งที่ทำในปี 2345 ( ค.ศ . 1802 ) อย่างไร

บทที่ 3 เส้นเขตแดน 97
ก็ตาม ในสัญญานั้นระบุไว้'แต่เพียงว่าเวลส์เลย์กว้างและยาวเท่าไร นี่อาจชัดเจนพอ
สำหรับเจ้านครฯ แด่ไม่ใช่สำหรับอังกฤษ และสยามก็ไม่รู้เรื่องสัญญานี้อีกเช่นกัน29
เขตแดนของเวลส์เลย์เป็นปัญหาขึ้นมา เพราะในขณะนั้นพลพรรคของสุลต่าน
เคดะห์ที่ถูกกองทัพสยามขับออกไป ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ตามชายแดนเวลส์เลย -
เคดะห์เพื่อหวังชิงอำนาจกลับมา สุลต่านที่ปกครองอยู่ในเวลานั้นจึงมักส่งคนของตน
ข้ามแดน ( ที่ยังไม่ได้กำหนดชัดเจน) ไปฝังเวลส์เลย์เพื่อสืบความลับ 30 ฉะนั้นใน
ปีกัดมาคือ พ . ศ . 2373 ( ค. ศ . 1 830 ) หลังจากเห็นว่าสัญญาปี 2345 เพียงระบุว่า
เวลส์เลย์มีความกว้าง 60 โอลองจากชายฝังทะเล ฝ่ายอังกฤษจึงเสนอให้มีการปักปัน
เขตแดนให้ชัด 31 ทั้งรับอาสาว่าตนจะท่าเอง “ฯพณฯ ท่านมีความเห็นว่า แทนที่จะ
ทำให้ชาวสยามตกใจหรือไปกระดุ้นความอิจฉาเข้า จะเป็นการดีกว่าถ้าเจ้าพนักงาน
ของเราจะจัดการวัดพื้นที่ 60 โอลองนั้นและกำหนดเส้นเขตแดนขึ้นมา ปล่อยให้ชาว
สยามเป็นฝ่ายหักท้วงถ้าหากเห็นว่าการจัดของเราผิดพลาด”32
การกระทำดังกล่าวดูน่าตกใจอยู่ แต่หลังจากอังกฤษช่วยเจ้านครฯ ปราบกบฏ
ในเคดะห็ในปี 2374 ( ค .ศ . 1831 ) การเจรจาเรื่องเขตแดนโดยให้ฝ่ายอังกฤษปักปัน
เองก็ง่ายขึ้น พวกเขาตั้งเสาอิฐไว้สามจุดทางฝังตะจันออกของเวลส์เลย์และตั้งใจจะ
เชื่อมจุดทั้งสามด้วยถนนซึ่งจะถือเป็นเส้นเขตแตน เนื่องจากเส้นเขตแดนนี้จะช่วย
ให้อังกฤษป้องกันการเคลื่อนไหวของพลพรรคของสุลต่านคนเก่าได้ด้วย เจ้านครฯ
จึงขอบคุณความช่วยเหลือของอังกฤษโดยตอบแทนมากกว่าที่อังกฤษคาดหจัง ใน
จดหมายที่มีถึงข้าหลวงอังกฤษที่อินเดีย นอกจากเจ้านครฯ จะอวยพรท่านข้าหลวง
และชาวอังกฤษแล้ว ท่านยังกล่าวด้วยว่า:
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นหนี้บุญคุณอย่างสุดซึ้งต่อมิตรของข้าพเจ้า และขอส่งความ
ขอบคุณอย่างจริงใจมายังท่านนอกจากนี้ราชาแห่งสิงคโปร์ (นายอิบเบ็ทดัน)
ได้ร้องขอให้ข้าพเจ้าจัดการเรื่องเขตแดนที่อยู่ระหว่างดินแดนอำนาจของปีนัง
กับของสยาม ข้าพเจ้ายินดีอย่างยิ่งที่จะทำดามคำขอและไตให้ความร่วมมือใน
ทันที ในสัญญาเดิมที่ได้ท่าไว้กับบริษัทนั้น [หมายถึงบริษัทอินเดียตะจันออก
ของอังกฤษ-ผู้แปล] ขนาดของที่ดินจากชายฝังทะเลคือหกสิบโอลองข้าพเจ้า
จึงขอมอบดินแตนเพิ่มให้อีก เพื่อเป็นการตอบแทนราชาแห่งสิงคโปร์และ
กัปตันโลร์33

98 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
แน่นอนว่าอังกฤษไม่ได้คาดฝืนมาก่อน ดินแดนที่ได้มาใหม่ทำให้เวลส์เลย็ใหญ่
ขึ่นเทำตัวและมั่งคั่งยิ่งขึ้น! 34 กรุงเทพฯไม่ได้รับรู้ด้วยถึงข้อตกลงและของสมนาคุณ
นี้ทำนองเดียวกับของขวัญจากเจ้าเชียงใหม่ในปี 2377 ( ค.ศ . 1 834 ) เจ้านครฯ เอง
ก็ดูจะคล้ายกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ที่ชื่นชอบชาวอังกฤษมากถึงขนาดที่ในปี
กัดมาเจ้านครฯ ได้ขอให้มีการติดต่อเป็นประจำกับทางเบงกอล และได้ส่งของขวัญ
ไปอืกพร้อมแสดงความประสงค์จะได้เห้นเรือกลไฟ 35
ในเดือนเมษายน พ.ศ . 2388 ( ค. ศ . 1 845 ) อังกฤษล่งจดหมายถึงราชลำน่ก
กรุงเทพฯ เรียกร้องให้สยามตกลงเรื่องเขตแดนจากเชียงใหม่ถึงคอคอดกระให้
เรียบร้อย ด้วยนํ้าเสียงข่มขู่และสั่งสอนอยู่ในที :
สมควรเป้นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกฎเกณฑ์เป็นแบบแผนเดียวกันเกี่ยวกับเขต
แดนจากเหนือจรดใต้เพื่อที่ว่าเหตุแห่งความเข้าใจผิดทั้งหลายจะถูกขจัดออก
ไปสิ้นหากเรายึดมั่นในกฎเกณฑ์ตังกล่าว
ขอแนะนำให้ราชสำนักกรุงเทพฯ ออกคำสั่งอย่างเคร่งครัดไปตลอดชาย -
แตน เพื่อที่ว่าผู้ใต้บังตับบัญชาทั้งหลายจะได้เข้าใจถึงเรื่องเส้นเขตแตน... เขต
แดนต้องชัดเจน และความผิดพลาดใดๆในอนาคตไม่อาจนำมาใช้อ้างได้
เจ้าพนักงานสยามต้องไม่ใช้อำนาจและเก็บภาษีภายในเส้นเขตแตนฝ่าย
นี้ และพันจากเส้นเขตแตนนี้ไป เจ้าพนักงานอังกฤษก็จะไม่ปฏิบัติ [ เช่นเดียว
กัน]36
ข้อความข้างต้นอาจดูไม่แปลกสำหรับเรา แต่เส้นเขตแดนชนิดนี้เป็นสิ่งที่
สยามไนขณะนั้นยังไม, คุ้นเคย และการดั้งเงื่อนไขเช่นนี้ออกจะก้าวร้าวเกินไป
นั้าเลียงในจดหมายที่ราชสำนักกรุงเทพฯ ตอบกลับไปในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน
จึงมีนั้าเสียงเซิงสั่งสอนไม่แพ้กัน และแสดงถึงความมั่นใจของราชสำนักว่ารอบรู้
พื้นที่ตังกล่าวเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ราชสำนักสยามเห็นว่าแต่ละอาณาบริเวณ
ด่างอยู่ภายใต้อำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น นอกจากนี้ กรรมวิธีปักปันเขดแตน
ก็มิได้เป็นแบบแผนเดียวกันทั้งหมดจากเหนือจรดใต้ ที่น่าสนใจคือ เขตแดนมิได้
ถูกกำหนดโดยแม่นํ้า ภูเขา และลำนี้าเ'ท่านั้น แต่ยังรวมถึงป่าสัก ภูเขาที่ซ้อนกัน
หนองตมที่มีเจดีย์สามองค์ดั้งอยู่ ต้นมะปราง หินสามกอง และพื้นที่ระหว่างช้าง
เผือก ( ? ) กับแม่นั้านอง และอื่นๆ37 ไม่มีส่วนไหนที่เป็นเส้นเลย ในจดหมายยังกล่าว
ว่า นับแต่อังกฤษเข้าครอบครองดินแดนดังกล่าวมา 20 ปี ชาวบ้านไทยและพม่า

บทที่ 3 เสนเขตแดน 99
ถูกห้ามเข้าป่ามีค่าบริเวณพรมแดน ซึ่งพวกเขาเคยดำรงชีวิตด้วยการเก็บนั้าผึ้งป่า
ไม้ฝางไม้สัก และจับข้าง นี่หมายความว่าสำหรับสยาม เส้นเขตแดน !' ม่ควรเป็นสิ่ง
กีดกันชาวบ้านจากวิถีชีวิตที่เคยปฏิบัติกันมาใช่หรือไม่ ?
เหตุการณ์ในปี 2389 ( ค.ศ . 1846 ) เป็นอีกกรณีหนึ่งที่ชี้ถึงความแตกต่างของ
มโนภาพที่มีต่อเส้นเขตแดน หลังการโต้ตอบทางจดหมายข้างด้น ทั้งสยามและ
อังกฤษที่ตะนาวศรีตกลงส่งเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเต็มไปทำการตกลงเส้นเขตแตน
ณ ปลายขอบด้านตะวันออกเฉียงเหนือของตะนาวศรี กำหนดนัดหมายดือเตือน
มกราคม 2389 แด่ฝ่ายอังกฤษมาถึงที่นัตหมายข้าไปหนึ่งเดือน ฝ่ายสยามที่ตั้งค่าย
คอยมาหนึ่งเดือนเต็มก็เพิ่งถอนกลับไปก่อนหน้านั้นเพียงสามวัน เจ้าหน้าที่อังกฤษ
ที่ได้รับคำสั่งให้มาเจรจาอย่างฉันมิตรที่สุดกลับพบว่าฝ่ายสยามไต้ล่วงลํ้าเข้าไปไกล
ถึงตัวเมืองชายแดนที่เป็นของอังกฤษและได้ก่อกองหินไว้เป็นหลักหมายเพื่ออ้างว่า
เป็นดินแดนของสยามเรียบร้อยแล้ว ฝ่ายอังกฤษจึงรื้อถอนหลักหมายนั้นลงเสีย
จากนั้นเจ้าหน้าที่อังกฤษที่ตะนาวศรีก็ส่งจดหมายประท้วงไปยังราชสำนัก
กรุงเทพฯ ด้วยภาษาที่รุนแรงและประซดประชัน เช่น ถามว่าทำไมสยามไม่ปักปัน
เส้นเขตแดนไว้ตรงกลางเมืองมะละแหม่งเสียเลยเล่า เป็นต้น38 ฝ่ายอังกฤษถกเรื่อง
นี้กันภายในอย่างเอาจริงเอาจังด้วยวิตกว่าสยามอาจเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่ออังกฤษ
ครั้นพวกเขาพยายามเข้าใจสาเหตุที่สยามกระทำอุกอาจเช่นนั้น ก็ใช้ระบบเหตุผล
'

แบบการทูต- การทหารอย่างเคย โดยอธิบายว่า เพราะการรบระหว่างพม่ากับสยาม


เพื่อแย่งชิงเมืองของกะเหรี่ยงแดงเพิ่งยุติลง ดังนั้นสยามจึงไม่มีเหตุผลเร่งด่วนที่จะ
ต้องตกลงกับอังกฤษอย่างที่พวกเขาเองวิเคราะห์ไว้ก่อนหน้านั้น
ราชสำนักสยามทำการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว จากนั้นจึงตอบกลับอย่างสุขุม
เยือกเย็นในเดือนสิงหาคม 2389 ปรากฏว่ากรณีดังกล่าวในมุมมองของฝ่ายสยาม
กลับแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง กล่าวดือ เจ้าหน้าที่สยามกลับมารายงานว่าไม่พบ
เจ้าหน้าที่อังกฤษ ณ จุดนัดหมาย พวกเขาไม่ได้รายงานถึงการลํ้าเข้าไปในดินแตน
ของอังกฤษหรือได้ทำเครื่องหมายปักปันใดๆไว้พวกเขาทุกคนยืนยันว่าไม่มีคำสั่ง
ให้ทำหลักหมายปักปันเขตแดนใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขากลับมาโดยไม่ได้ปรึกษาหารีอ
เรื่องนี้กันต่อเลยดักนืต เพราะพวกเขาไม่ได้พบกับฝ่ายอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ราช -
สำนักไต้อธิบายเพิ่มเติมว่า:

100 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ส่วนกองหินและเรือนไม้เล็กๆทางศาสนาบนกองหินนั้น... สร้างขึ้นโดยชาว
ตะเลง [มอญ - ผู้เขียน] ซึ่งแวะพักที่บ้านนายด่านอุทัยธานี เพื่อเป็นเครื่อง -
หมาย... ว่านายด่านทำหน้าที่ถึงตรงไหนการที่เจ้าหน้าที่อังกฤษสั่งใหํรี้อถอน
หล้กหมายที่สร้างขึ้นนั้น ตามธรรมเนียมปฏิบัติ [ของกรุงเทพฯ] ไม่ถือเป็น
เรื่องพึงใส่ใจ39
ดูเหมือนว่านายด่านเจ้าพนักงานฝ่ายสยามได้เดินทางเข้าไปในดินแดนของ
อังกฤษจริง แต่พวกเขาไม่ได้ถือวำนี้เป็นการล่วงลํ้าดินแดนของผู้อื่น และเครื่อง -
หมายที่สร้างขึ้นก็ไม,ใช่หลักปักปันเขตแดนอย่างแน่นอน ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้อง
ขอโทษหรือถูกลงโทษแต่อย่างใด ไม่ว่าเรื่องตังกล่าวจะจริงหรือไม่ก็ตาม สยามต้อง
ถือว่านี่เป็นการตอบกลับอย่างดีต่อข้อกล่าวหาของอังกฤษ ดังนั้นจึงไม่ส่อว่าสยาม
ต้องการบ่ายเบี่ยงประเด็นหรือน่าอายที่เล่าเรื่องเซ่นนั้นกลับไป อันที่จริงราชสำนัก
กรุงเทพฯ ได้สอบถามไปยังนายด่านว่าตั้งใจรุกเข้าไปในดินแดนอังกฤษและอ้าง
สิทธิ้เหนือดินแดนนั้นหรือเปล่า ซึ่งแสดงว่าราชสำนักไม่มีส่วนรู้เหินด้วยและต่อให้
จริงก็เป็นเรื่องของนายด่านทำเอง นายด่านตอบว่าจุดดังกล่าวห่างจากบ้านของเขา
ถึงสามวัน ซึ่งไกลเกินกว่าที่เขาจะดูแล
ฝ่ายอังกฤษคงจะอึ้งกับคำตอบ ในเมื่อกรณีที่พวกเขาวิตกว่าใหญ่โตร้ายแรง
กลับไม่เป็นสาระได้ขนาดนี้ แม้ว่าอังกฤษอาจไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่ก็คงมากพอ
ที่จะตระหนักว่าการดีความของตนต่อกรณีนี้ช่างน่าขบขัน และหากจะยังประท้วง
การกระทำของนายด่านต่อไปก็จะยิ่งไร้สาระมากเข้าไปอีก อังกฤษจึงไม่ต่อความ
ยาวในกรณีนี้อีกเลย อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องน่ารำคาญใจหนึ่งในหลายๆ
เรื่องซึ่งทำให้ราชสำนักยิ่งต้องการตกลงเรื่องเขตแตนให้หมดเรื่องหมดราวไป
กระนั้นก็ตาม ความเต็มใจของสยามที่จะตกลงปัญหาเขตแตน มิได้ประกัน
ว่าการปักปันเขตแตนจะทำเสร็จได้ภายในเวลาไม่กี่ปี ด้วยเหตุผลทางเทคนิค การ
จัตการ และอื่นๆ นานัปการ ภารกิจนี้จึงตกมาถึงราชสำนักของพระจอมเกล้าฯ ซึ่ง
ให้ความร่วมมือมากกว่าเดิม พระเจ้าอยู่หัวมีความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับการปักปัน
เขตแดนและยังตระหนักถึงความขับซ้อนที่อาจก่อปัญหาการเมืองได้ จึงได้หา
คำตอบด้วยตนเองเกี่ยวกับรายละเอียดของบริเวณหลายแห่งที่จะทำการปักปัน
รวมถึงปัญหาแม่นี้าปากจั่นด้วย ทั้งยังให้คำแนะนำหลายประการเกี่ยวกับชายแดน
บางแห่งแก่สมุหพระกลาโหมซึ่งเป็นผู้นำคณะเจรจาของสยาม พระเจ้าอยู่หัวรัชกาล

บทที่ 3 เส้นเขตแดน า 01
ที่ 4 ได้กำชับว่าอย่าให้คณะเจรจายอมรับแผนที่ของฝ่ายอังกฤษโดยไม่ไตร่ตรองให้ดี
สียก่อน เพราะอาจมีรายละเอียดผิดๆ และอาจนำไปสู่กรณีพิพาทได้ แด่ขณะเดียว
กันก็ไม่ยอมรับแผนที่ซึ่งเจำหน้าที่ท้องถิ่นทำขึ้น เพราะ “แผนที่ที่ทำนั้นก็จะไม่ถูก
กับที่... ถึงกระนั้นภอเข้าใจได้ว่า ความรูในแผนที่นั้นฝนแด่ท่าไปตามวิไสยไทย ”40
ห็นได้ชัดว่าเส้นเขตแดนที่ถูกกล่าวถึงในที่นี้เป็นชนิดเดียวกับที่อังกฤษเข้าใจ แด่ก็
มิใซ่ชนิดเดียวกันกับที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของสยามเข้าใจ
เขตแดนตามแนวสยามกับพม่าของอังกฤษเป็นเรื่องขึ้นอีกครั้งช่วงทศวรรษ
1 870 และ 1880 ( ระหว่างพ.ศ. 241 3 - 2432 ) ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ( ครองราชย์พ.ศ . 241 1 - 2453 / ค.ศ . 1 868 -
1910 ) มีปัจจัยสองประการที่ทำให้ปัญหาปะทุขึ้นมาคือกรณีพิพาทยุ่งเหยิงเกี่ยวกับ
การทำป่าไม้ตามชายฝังแม่นั้าสาละวินและในเขตล้านนาและสงครามอังกฤษ-
พม่าที่ปะทุขึ้นมาอีกเป็นครั้งที่ 3 อันเป็นครั้งสุดท้ายในปี 2427 - 2428 ( ค.ศ. 1884 -
1885 ) เมื่อกรมหลวงพิชิตปรีชากรถูกส่งให้ขึ้นไปดูแลหัวเมืองเชียงใหม่ในปี 2427
ท่านได้ตระหนักว่าภารกิจเร่งด่วนอย่างหนึ่งก็คือการตรวจตราความปลอดภัยและ
กวดชันการดูแลบริเวณชายแดนให้แน่นหนายิ่งขึ้น ท่านพบว่าหลังจากอังกฤษมี
ชัยเหนือพม่า อังกฤษได้ส่งคนออกตรวจตราบริเวณชายแดนสมํ่าเสมอ ในขณะที่
จ้าหน้าที่ท้องถิ่นของล้านนามักอยู่แต่ในเมือง รอคอยโอกาสที่จะเข้าไปปล้นสะดม
และกวาดต้อนผู้คนจากฝังพม่าเข้ามาในล้านนา ท่านจึงมีบัญชาให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
ตั้งหมู่บ้านใหม่ขึ้นตลอดชายแดน รวมทั้งด่านตรวจคน ค่ายทหาร และบ้านเรือน
ขึ้นในแด่ละจุด ทั้งบัญญัติให้บ้านด่านและหัวหน้าหมู่บ้านตรวจตราชายแดนอย่าง
สมํ่าเสมออันเป็นงานที่คนเหล่านี้ไม่คุ้นเคย และยังบัญชาให้พวกเขาปักปันเขตแดน
แด่ละจุดอย่างเร่งด่วนด้วยหลักหมายอะไรก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้นกรมหลวงพิชิตฯ ยัง
รียกประชุมหัวหน้าหมู่บ้านบริเวณชายแดนแล้วให้พวกเขาลงนามในคำประกาศ
ถวายความจงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินของสยามและให้สาบานด้วย เสร็จแล้ว
หัวหน้าหมู่บ้านเหล่านั้นก็ไดัรับเสื้อผ้าซั้นดีและชุดราชปะแตนอันเป็นเครื่องแบบ
ข้าราชการกึ่งตะวันตกซึ่งในขณะนั้นใช้กันในราชสำนักที่กรุงเทพฯ เท่านั้น รวมทั้ง
งินอีกจำนวนหนึ่งเป็นการตอบแทน41 นึ่ดือการเผชิญหน้ากันระหว่างมโนภาพ
และการปฏิบัติเกี่ยวกับเส้นเขตแตนและการควบคุมชายแดนที่แตกด่างกันระหว่าง
ผู้มีอำนาจของกรุงเทพฯ กับเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น ฝ่ายกรุงเทพฯ นั้นตูจะตระหนัก

02 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ถึงความแตกต่างนี้เป็นอย่างดี จึงได้ใช้มาตรการอันเหมาะสมเพื่อสถาปนาเส้น
ขตแดนแบบใหม่โดยผ่านการปฏิบัติแบบจารีต
ความขัดแยงเกี่ยวกับธุรกิจป่าไม้ที่เกิดขึ้นหลายครั้ง นำไปสู่การลงนามเป็น
ทางการครั้งแรกระหว่างสยามกับอินเดียของอังกฤษในปี 2417 ( ค.ศ . 1 874 ) ที่
กัลกัตตาเพื่อตกลงเส้นเขตแดนระหว่างล้านนากับตะนาวศรี42 แด่หลังจากอังกฤษ
มีชัยเหนืออังวะในปี 2428 ( ค. ศ . 1 885 ) เขตแตนระหว่างตอนเหนือของล้านนากับ
พม่าตอนบนในอำนาจของอังกฤษก็เริ่มมีปัญหาขึ้นมา ทั้งฝ่ายอังกฤษและสยามส่ง
จ้าหน้าที่ของตนไปสอบถามเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเกี่ยวกับชายแดนบริเวณดังกล่าว
จ้าหน้าที่ของกรุงเทพฯ และท้องถิ่นต่างพยายามใช้วาทกรรมภูมิศาสตร์แบบเดียว
กับของอังกฤษในการกำหนดเส้นเขตแดน พวกเขาจัดการได้ตีเป็นส่วนใหญ่แม้ว่า
จะไม่คุ้นเคยกับม้นน้กและใช้อย่างประดักประเด็ดบ้างก็ตาม
เจ้าหน้าที่อังกฤษรบเร้าให้พวกหัวหน้าหมู บ้านแสดงหนังสือสัญญาหรือ
1

อกสารสักอย่างที่ระบุเส้นเขตแตน แต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นคนหนึ่งกลับตอบว่า
ชาวบ้านในบริเวณนี้เป็นเพื่อนบ้านที่เป็นมิตรกัน ไว้เนี้อเชื่อใจกันและเข้าใจกันดี
ขตแดนจึงไม่ห้ามผู้คนข้ามเขตไปมาหาสู่หรือทำมาหากิน ฉะนั้นจึงไม่เคยมีการทำ
อกสารใดๆ สำหรับพวกเขา ชายแตนเป็น “ทางเงินทางทอง เปิดอิสระสำหรับพ่อค้า
วาณิชย์ ” นอกจากนี้ดูเหมือนว่าในบางกรณี หัวหน้าหมู่บ้านถูกสั่งให้ทำแผนที่ขึ้น
มาดังที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นผู้หนึ่งตอบอย่างตรงไปตรงมาว่ากำลังทำอยู่และคงจะเสร็จ
ในเร็วๆนี้43 สิ่งที่น่าสับสนที่สุดสำหรับอังกฤษก็คือการที่คนๆ หนึ่งขึ้นกับอำนาจ
มากกว่าหนึ่งฝ่ายในเวลาเดียวกัน เพราะเกิดปัญหาในการตัดสินว่าใครเป็นของฝ่าย
ไหนในเมื่อมักมีผู้มีอำนาจมากกว่าหนึ่งรายใช้อำนาจเหนือคนๆ เดียวกันที่ครอบ
ครองบริเวณหนึ่งๆ อยู่ในขณะที่ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ตามป่าเขาไม่อยู่ในบังคับของใคร
เลย ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่สร้างความสับสนงงงวยให้อังกฤษที่สุตก็คือ การที่บางแห่ง
เช่นเมืองสิงหรือเชียงแขงซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ตรงรอยต่อระหว่างพม่า ลาว และจีน
ในปัจจุบัน เจ้าเมืองและคนในบังคับของเขาขึ้นต่ออธิราชสามรายในเวลาเดียวกัน
เชียงใหม่และน่านเป็นประเทศราชของสยาม แต่เชียงตุงเป็นประเทศราชของพม่า
หัวหน้าคณะสอบสวนของอังกฤษได้สรุปไว้อย่างชาญฉลาดว่า “นี่เป็นเมืองกลาง...
เพราะยังมิได้ดัดสิน”44 เราจะพิจารณากรณีแบบนี้ในบทต่อไป

บทที 3 เส้นเขตแดน 103


อาณาปีกรทื่เขตแดฬล้ฮมไม่รอบ
เราได้เห็นแล้วว่าเส้นเขตแดนที่สยามและอังกฤษพูดกันอยู่นั้นเป็นคนละเรื่องกัน
สำหรับคนสมัยใหม่และน่าจะรวมถึงชาวอังกฤษในเรื่องนี้ด้วย เส้นเขตแดนของ
ประเทศเป็นสิ่งที่เข้าใจกันอยู่ทั่วไป นักภูมิศาสตร์การเมืองได้ให้คำจำกัดความเส้น
เขตแดนไว้ว่า :
เส้นเขตแดนระหว่างประเทศดำรงอยู่ ณ จุดบรรจบระหว่างดินแดนของรัฐที่
อยู่ติดกัน มีความสำคัญเป็นพิเศษในการกำหนดขอบเขตของอำนาจอธิปไตย
และกำหนดรูปทรงของพื้นที่ของภูมิภาคการเมืองหนึ่งๆ... เส้นเขตแดน
( เว0 บกสํลโ!0ธ) ได้รับการอธิบายอย่างหลวม ๆ ว่าเป็นเส้นทอดยาวต่อเนื่องกัน
ไป ( IIก630 แต่ที่จริงเส้นเขตแดนเกิดขึ้นตลอดแนวดิ่ง ( ขึ้นไปในท้องฟิา ) ของ
จุลบรรจบระหว่างอธิปไลยของรัฐหนึ่งๆกับอีกรัฐ ที่กัดกับพืนผิวโลก ในทาง
ตรงกันข้าม ชายแดน ( ( โ (วก!16 โ) คือแถบ ( 20 ก6 ) และเพราะฉะนั้นจึงประกอบ
ด้วยภูมิประเทศต่างๆ และบ่อยครั้งมีประชากรอยู่ด้วย ในเมื่อเป็นแนวดิ่งของ
จุดบรรจบ เส้นเขตแดนจึงไม่มีความกว้างตามแนวราบ... 45
หรอตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิรัฐศาสตร์สรุปไว้ว่า: “เส้นเขตแดนหมายถึงเส้น
ชายแดนหมายถึงแถบ ”46 สำหรับนักภูมิรัฐศาสตร์ คำว่า ‘ป!-อก!เ © โ”และ “เวอฟ© โ”
หรือ “ชายแดน”และ “พรมแดน”มิความหมายเหมือนกันคือเป็นแถบหนา 47 เป็น
ไปได้อย่างยิ่งว่าชาวอังกฤษที่ปรากฏในเรื่องนี้มีมโนภาพดังกล่าวเช่นกัน แม้ว่าจะ
ไม่ได้มีนิยามทางเทคนิคชัดเจนเท่านี้ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม สยามในขณะนั้นยังมิได้อยู่ในระเบียบโลกแบบนี้ และยังไม่
จำเป็นต้องท่าตามประดิษฐกรรมของชาวยุโรป อย่างเช่นเส้นเขตแดนของชาติที่
ตายตัวและกฎหมายธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆที่เกี่ยวพันกัน แต่นึ่มิได้หมายความว่า
สยามไม่มีความรับรู้เกี่ยวกับชายขอบของดินแดนในอำนาจของตน ในความเป็น
จริง ภาษาไทยกรุงเทพฯ ในขณะนั้นมีหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกับเส้น
เขตแดน ( (วอนกอ]ลฤา เช่นขอบเขต เขตแดน อาณาเขต ขอบขัณฑสีมา เป็นด้น
ในพจนานุกรมของขุนประเสริฐอักษรนิติปี 2434 ( ค.ศ . 1891 ) มีคำหลายคำ
6

ที่หมายถึงพื้นที่ ประเทศ ตำบลหรือเมือง แด' ไม่มีคำสำหรับเส้นเขตแดนหรือ


ขอบเขตขณะที่คำว่า “อาณาเขต”หมายถึงดินแดนภายใต้การควบคุม48 ในพจนา -
นุกรมไทย - อังกฤษ- ละดินของบัลเลอกัวซ์ปี 2397 ( ค.ศ. 1854 ) คำว่า “อนาจักร”
“เขตอนาจักร” และ “อณาเขตร”หมายถึง “แดก IIร อ1 1เา© เปกฐปอกา ๒ พเาเอเา 1(า©

104 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


^
เบก่รป!011อก © X๒กฝ่ธ, 1ฤ6 (ว0ผ6 โ ด1 11า6 เ^ กฐ , ” “แก'า 1๒ บ1 ( 1า6 เก9๘0๓ , ” และ
^ ^
“เวอโฝ่6 โร รบ XX อบกฝ่เก9 ใเา© พเา0 เ 6 เก9๘0๓ , ฝ่อโกเก311อก 0\/ © โ ให © ผเา0 เ6 เกฐ-
ฝ่อทา ”ตามลำดับ ฉบับพิมพ์ปี 2439 ( ค.ศ . 1896 ) ยังคงคำแปลไว้ดามเติม แต่เพิ่ม
49

คำว่า “เขต ” “ขอบเขต ” และ “เขตขัณฑสีมา ”ซึ่งหมายถึง “แกาเ๒ , ”“แโท!!ธ 3แ

^
ลโอบกฝ่ ” และ “เวอบทฝ่ลโอเ 1เา กา”ดามลำดับ พจนานุกรมไทย -ไทย
6 เท่กฐฝ่0 50

ของบรัดเลฉบับปี 2416 ( ค. ศ . 1 873) ซึ่งดีพิมพ์ระหว่างงานของปัลเลอกัวซ์สอง


ครั้งไม่มีคำว่า “อาณาเขต” ขณะที่คำว่า “ขอบเขตร”หมายถึง “ประเทศที่หัวเมือง ,
ที่สุดแดนแห่งเมืองหลวงทั้งปวง , หฤาที่ธุดแว่นแคว้นนา”51
จึงมีหลักฐานชัดเจนว่าสยามมิได้ขาดแคลนคำศัพท์และมโนภาพสำหรับ
รับมือกับอังกฤษในเรื่องเส้นเขตแดน แด่เมื่อพิจารณาคำเหล่านี้อย่างละเอียด เราจะ
เห็นว่า คำที่มีอยู่มิได้มีความหมายเหมือนกับเส้นเขตแดน'ในความเข้า'ใจของอังกฤษ
หากจะระบุความแดกต่างพื้นฐานประการหนึ่งก็คือ คำไทยเหล่านี้ลัวนมีความหมาย
ถึงพื้นที่ ตำบล หรือชายแตน แต่มิใช่เส้นเขตแดน คำพวกนี้หมายถึงขีตจำกัดหรือ
1

ปลายสุด แด่ไม่ใช่ขอบที่ชัดเจนและไม่มีนัยยะถึงการแบ่งแยกขัดระหว่างอำนาจ
ของสองฝ่าย นี่คือความเข้าใจของสยามเมื่ออังกฤษร้องขอให้มีการตกลงเรื่องเส้น
เขตแดน ฉะนั้น ราชสำนักจึงมิได้รู้สึกแปลกใจเมื่ออังกฤษร้องขอมา แด่พวกเขา
เข้าใจความหมายไปในแบบของตนเอง
อะไรคือคุณลักษณะสำคัญของเขตแดนก่อนสมัยใหม่ตามความรับรู้ของสยาม
ประการแรกสุด มันมิได้ถูกกำหนดหรืออนุมัติโดยอำนาจส่วนกลาง การชี้เส้นเขต
แดนเป็นภารกิจที่ดูเหมือนเจ้าพระยาพระคลังไม่เคยคิดว่าตนจะต้องทำ และไม่ใช่
งานที่น่าสนใจสำหรับเจ้าเชียงใหม่แต่อย่างได ทว่าเป็นงานที่อังกฤษสามารถทำได้
ด้วยตนเองหากต้องการจะทำ โดยอาศัยความช่วยเหลือจากคนท้องถิ่นที่รับผิดชอบ
ปกป๋องชายแดน อย่างเช่นนายด่าน นายพราน หรือชาวบ้านที่หากินอยู่กับการเก็บ
นํ้าผึ้งหรือจับช้าง
ประการที่สองโดยพื้นชิานแล้ว เขตแดนของแต่ละเมืองชี้นอย่'บ กับว่าแด่ละเมือง
ฬ้

สามารถดแลพื้นที่โดยรอบของตนไดไกลแค่ไหน เมืองหนึ่งจึงไม่จำเป็นต้องมีชายแดน
บรรจบกับอีกเมืองหนึ่งพอดี จึงไม่ต้องพูดถึงเสนแบ่งเขตอ๊านาจระหว่างเมืองหรือรัฐ
สองแห่ง อาณาจักรซึ่งรวมหลายเมืองเข้าด้วยกันจึงประกอบด้วยพื้นที่ของอ๊านาจ
ต่างๆ เป็นหย่อมๆ เป็นแห่งๆ โดยมีที่ว่างระหว่าง เมืองเหล่านึ่นอยู่เต็มไปหมด

บทที่ 3 เส้นเขตแดน 1 ๐5
ประการที่สาม เขตแดนของอาณาจักรหนึ่ง ๆ ครอบคลุมไปถึงขอบเขตของ
หัวเมืองรอบนอกสุดและบริเวณที่พวกเขาสามารถใช้อำนาจได้พ้นจากนี้ไปอาจเปีน
พื้นที่ป่าเขาขนาดใหญ่ที่เป็นกันชนระหว่างอาณาจักรสองอาณาจักร มันจึงเป็น
ชายแดนที่ไม่มีเส้นเขตแดน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งไต้ว่าเป็น “เส้นหนา”ที่เป็นแนว
ราบขนาดใหญ่
ประการที่สี่ ไม' ถือว่าพื้นที่ตลอดแนวชายแตนทั้งหมดอยู่ใต้อำนาจอธิปัตย์
หรือการควบคุมของรัฐหนึ่ง ๆ ดังที่ราชสำนักสยามได้ระบุไวไนจดหมายลงจันที่ 28
สิงหาคม พ.ศ . 2388 ( ค.ศ . 1 845 ) ว่า “ตรงไหนก็ตามที่มีถนนหรือทางที่มีผู้สัญจร
ไปมา ก็จะมีการสร้างด่านไว้สำหรับคุ้มครองดูแลถนนและสถานที่นั้นๆ”52 เมื่อ
สยามกล่าวถึงเขตแดน สยามกำดังหมายถึงบริเวณทางไปสู่หรือทางผ่านชายแดน
ที่เป็นป่าเขานี้นั้นเอง หมายความว่าทางเหล่านีด่้ างหากที่มีความสำคัญควรค่าแก่
1

การดูแลและทำเครื่องหมายไว้ว่าเป็นปลายเขตที่อยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่
ท้องถิ่น หาใช่บริเวณตลอดแนวชายแดนทั้งหมด ยิ่งไม่ต้องกล่าวถึง “เส้นบางๆ”
ตลอดแนวชายแดน ทางเหล่านี้เท่านั้นที่สามารถใช้ต้นไม้หรือกองหินเป็นหลัก -
หมายบอกเขตได้
หลักหมายพรรค์นี้ปรากฏอยู่ในหลักฐานประวัติศาสตร์จำนวนมาก 53 ทางผ่าน
หรือ “ด่าน”สองแห่งระหว่างสยามและพม่าอันเป็นที่รู้จักกันดีและถูกเอ่ยถึงบ่อย
ครั้งในเอกสารเกี่ยวกับการสงครามระหว่างสองอาณาจักร ก็คือด่านเจดีย์สามองค์
และด่านสิงขร ล้วนเป็นเขตแดนประเภทนี้ อันที่จริงด่านเจดีย์สามองค์มิใช่เจดีย์
,
จริงๆ แต่เป็นหินกองโตที่ถูกก่อขึ้นมาเพื่อบอกว่านึ่คือปลายเขด 5' ในเอกสารทาง
ประวัติศาสตร์จำนวนมาก คำว่า “เขตแดน” ถูกใช้หมายถึงทางผ่านหรือด่าน ดัง
เช่นที่หัวหน้าหมู่บ้านในล้านนาคนหนึ่งกล่าวว่า เขตแดนคือทางเงินทางทอง หาก
เครื่องหมายเขตแดนเป็นเส้นบางๆมันก็เป็นแค่เส้นสั้นๆดัดพาดบนทางสัญจรและ
บริเวณใกล้เคียงเท่านั้น ดังกรณีเขตแดนระหว่างเชียงใหม่และคะยาที่ถูกกำหนต
ตามพิธีกรรมทางเดินของวัวบนยอดเขา 55
ดังนั้น นายด่านจะตูแลป้องกันเฉพาะบริเวณที่มีคนอยู่อาศัยหรือทางผ่านที่ถือ
ว่าเป็นปลายเขตเท่านั้น บ้านนายด่านจึงเป็นหลักหมายของสุดเขตอำนาจอธิปตย์ที่
มีเหนือดินแดนนั้น น่าดังเกดว่าในยามที่กรุงเทพฯยังมิไต้ยอมรับเรื่องเส้นเขตแตน
( แบบที่อังกฤษต้องการ ) ตำแหน่งบ้านนายด่านและระยะทางที่นายด่านสามารถ

106 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวตศาลตร์ภูมิกายาของชาติ


เดินตรวจตราได้ถึง เป็นตัวกำหนดขนาดของพี้นที่ภายได้อำนาจของกรุงเทพฯ
ขณะที่ในยุคสมัยใหม่ของเรานั้น ขนาดของดินแดนใต้อธิปไตยที่กำหนดโดยเส้น
เขตแตนเป็นตัวกำหนดพื้นที่ซึ่งเจ้าหน้าที่ชายแดนต้องดูแล แต่ละชิ้นส่วนของ
เขตแตนแบบสมัยก่อนถูกกำหนดโดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นตามลำพัง มันอาจจะ
เชื่อมต่อกับชายแดนชิ้นส่วนอื่นหรือไม่ก็ได้ ฉะนั้น “เขตแดน”ของอาณาจักรจึง
ขาดเป็นช่วงๆไม่ต่อกันตลอด และดังนั้นอาณาจักรก็ไม่ถูกล้อมรอบตลอดหมดด้วย
เขตแดน
ประการที่ห้า บางแห่งบ้านนายด่านก็ไม่ได้มีความหมายอะไร เพราะชาวบ้าน
สองฝังเขตแดนสามารถเดินทางไปมาหาสู่กัน หรือย้ายไปตั้งรกรากระหว่างเมือง
ชายแตนสองฝังได้อย่างสบาย เจ้าหน้าที่อังกฤษที่ร่วมสำรวจชายแดนระหว่าง
ล้านนากับพม่าดอนบน ด้องงงงายกับข้อเท็จจริงที่ว่า ชาวไทใหญ่หรือฉาน ( หรือ
เงี๋ยว ) ที่เป็นคนในบังคับของเชียงตุง กลับตั้งรกรากอยู่แถวเชียงแสนอันเป็นเมือง
ชายแตนของเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่สยามอธิบายว่าไม่มีการห้ามการกระทำดังกล่าว
และไม่ว่าพวกเขาจะตั้งรกรากหรือไม่ก็ไม่เป็นไร กรณีนี้เนื่องจากขณะนั้นเชียงใหม่
และเชียงตุงมิไต้เป็นศัตรูต่อกัน จึงไม่มีความจำเป็นต้องคอยตรวจตราชายแดนหรือ
จับกุมคนของอีกฝ่าย ผลก็คือ ไม่ว่าจะมีคนไทใหญ่ในบังคับของเชียงตุงจำนวน
มากอาศัยอยู่ในป่าใกล้เมืองเชียงแสนหรือไม่ก็ตาม:
[เรา] ไม่เห็น เพราะถือหลักกำแพงเมืองเป็นต้นที่สำคัญ ที่ตำบลใกล้เคียงเป็น
สาขาอาณาเขต คนเงี้ยวจะแอบแฝงชุ่มซ่อนอยู่บ้างฤาอย่างไร กำลังตั้งทำมา
หากิน เวลานั้นก็ไม่ได้ตรวจทั่ว ด้วยถือแตนที่แบ่งเป็นที่สำคัญ.... นํ้าย้อยตก
ดันเขาใหญ่คั่นเขตแตนเป็นประมาณและถือว่าเมืองเป็นใหญ่กว่าคนอาศัย 56

ประการที่หก หากรัฐสองฝ่ายเป็นอริกัน ประชาชนของสองฝ่ายก็ยังสามารถ


เข้าไปทำมาหากินในบริเวณแนวกันชนตามชายแดนไต้ แต่ไม่สามารถผ่านเข้าไปใน
บริเวณที่อย่ในอำนาจของเจ้าหน้าที่ของอีกฝ่ายหนึ่งไต้ ในกรณีเช่นนี้ พื้นที่ปฏิบัติ
หน้าที่ของนายด่านนับว่าสำคัญและจะต้องมีการกำหนดให้ชัดเจน ในนิยามสมัย
ใหม่ของเรา ชายแดนคือแถบพื้นที่ซึ่งขนานกับเส้นเขตแดนตลอดแนวของ แต่ละ
ฝ่ายซึ่งประจันกับแถบชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน กล่าวอีกอย่างก็คือเส้น
เขตแดนคือสิ่งที่อยู่ ระหว่าง ชายแดนของสองประเทศ แด่เขตแตนในความหมาย
ของสยามตามที่ปรากฎในเอกสาร กลับมีลักษณะเป็นชายแดนหรือแถบพื้นที่ขนาด

บทที่ 3 เส้นเขตแตน า07


ใหญ่ที่ตั้งอยู่ระหว่างขอบเขตแดนของอำนาจสองฝ่าย กล่าวโดยสรุปก็คือ สำหรับ
สยามนั้น ปลายสุตของภูมิศาสตร์การเมืองมีมากกว่าหนึ่งแบบ แบบหนึ่งคือขอบ -
เขตของอำนาจอธิปัตย์ซึ่งอยู่ ขำง!นของชายแดน อีกแบบหนึ่งคือชายแดนที่อยู่
นฮกพ้น เขตของอำนาจอธิปตย์และ ไม่ปี เส้นเขตแดน อำนาจอธิปตย์และชายแตน
ไม่จำเป็นต้องเท่ากันพอดี
ประการที่เจ็ด ขอบเขตของอำนาจรัฐสามารถกำหนตขึ้นเองได้โดยไม่จำเป็น
ต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากอีกประเทศหนึ่ง เขตแดนของอาณาจักรแต่
ก่อนจัดอยู่ในประเภทนี้ จึงไม่จำเป็นต้องประชิดบรรจบพอตีกับเขตแดนของอีกรัฐ
หนึ่ง ปล่อยช่องตามพรมแตนที่อยู่นอกขอบเขตอำนาจไว้เป็นกันชนที่ไม่ขึ้นอยู่กับ
ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ที่จริงในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 เมื่อราชสำนักสยามกล่าวถึงเขตแดน
ระหว่างตะนาวศรีกับเมืองกระภายหลังสงครามอังกฤษ- พม่าสิ้นสุดลงแล้วว่า
“เขตแดน [ตะนาวศรี] ขยายฆาต,อ เขตแดนของสยาม ”57 คำกล่าวนี้สะท้อนให้เห็น
ถึงแนวคิดดังกล่าวอย่างชัตเจนนั้นคืออธิปไตยของสองอาณาจักรโดยปกติจะตั้งอยู่
ห่างจากกันโดยไม่ต้องบรรจบกัน
ประการที่แปด ขณะที่ในยุคสมัยใหม่ การเปิดหรือปิดชายแดนส่อถึงความ
สัมพันธ์ระหว่างสองประเทศว่าราบรื่นเพียงใด ความสัมพันธ์ทางชายแตนในยุค
ก่อนสมัยใหม่ก็เช่นกัน แด่ด้วยวิธีที่ต่างกัน กล่าวคือสำหรับ “ทางเงินทางทอง ”ก็จะ
ไม่ห้ามชาวบ้านเดินทางผ่านหรือเข้าไปทำมาหากิน จะตั้งรกรากใกล้เมืองชายแดน
ของกันและกันโดยไม่ต้องขออนุญาตก็ได้ แด่ขณะเดียวกันก็มีชายแดนอีกแบบที่
ห้ามฝ่ายศัตรูล่วงลํ้า โดยทั่วไป คู่อริมักเลือกที่จะปล่อยให้พื้นที่ระหว่างกลางว่างไว้
เป็นกันชนแยกสองฝ่ายออกจากกัน
สำหรับชายแดนของรัฐที่เป็นศัตรูกัน เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะ
ตรวจตราการเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม ด้วยการส่งกองสอดแนมเข้าไปในดินแดน
ของฝ่ายตรงข้าม พร้อมกับป้องกันชายแดนของตนมิให้กองสอดแนมของอีกฝ่าย
ลอบเข้ามา บางทีข้อกล่าวหาของฝ่ายอังกฤษที่ว่านายด่านของสยามล่วงลํ้าเข้าไป
ในดินแดนของตนอาจมีมูลอยู่เหมือนกัน แด่ว่าเครื่องหมายบอกจุดที่นายด่านปฏิปติ
หน้าที่และศาลบูชาเจ้าที่มิใช่หลักหมายปักปันเขตแดน
1
อย่างไรก็ตาม สำหรับ
ชายแดนของรัฐที่เป็นมิตรกันอย่างเช่นในช่วงต้นรัชสมัย การปฏิบัติกลับตรงข้ามกัน
โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ “ทุกว้นนี้ไทยกับอังกฤษเป็นไมตรีกัน ไม่ต้องระรังรักษาเขต

108 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวดิศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


แดนเหมือนอย่ฆ ใกล้กับพม่าข้าศึกอย่างแด่ก่อน”58 สำหรับรัฐที่เป็นมิตรกัน การที่
ฬิ

อังกฤษห้ามประชาชนไม่ให้ผ่านข้ามชายแดนไปมาจึงเป็นสิ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง ทั้ง
อาจถูกมองว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตร เนื่องจากตามธรรมเนียมแล้ว การกระทำ
เช่นนั้นคือขั้นตอนก่อนตั้งทำจะจับกุมข้าศึก นี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมการที่อังกฤษ
ห้ามผ่านทางจึงเป็นเรื่องขุ่นเคืองใจแก่ราชสำนักอย่างยิ่ง การห้ามยังทำให้ชาวบ้าน
ที่เคยข้ามเขตแตนเพื่อนบ้านไปมาโดยไม่ต้องขออนุญาตเกิดความสับสนอีกด้วย
ชาวบ้านเหล่านี้คุ้นเคยกับการไปมาหาสู่ญาติพื่นัองสองฝัง บ้างก็อพยพไปอาศัยอยู่
อีกฝัง ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นตลอดชายแตนจากแม่นั้าปากจน
จนถึงเหนีอสุดของล้านนา
ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับสยามโดยทั้วไปยังเป็นไป
ต้วยตี การห้ามผ่านแดนไม่ใช่อย่างเดียวที่สยามเห็นว่าเป็นเครื่องหมายแสดงความ
ไม่เป็นมิตร แด่ยังรวมถึงการขอให้ระบุเส้นเขตแดนอย่างชัดเจนด้วย ดังเหตุการณ์
ในปี 2372 ( ค.ศ . 1829 ) เมื่อเจ้านครฯได้รับการร้องขอจากข้าหลวงอังกฤษที่ปีนัง
ให้ทำการปักปันเขตแดนระหว่างเคดะห์กับเวลส์เลย์ในยามที่ความสัมพันธ์ระหว่าง
สองฝ่ายยังดีมาก โดยเฉพาะระหว่างตัวเขาเองกับเจ้าหน้าที่อังกฤษหลายนาย เจ้า
นครฯงงรันกับคำขอของอังกฤษอย่างเห็นได้ชัด :
... ในขณะที่เรามีใจเอนเอียงแก่อังกฤษเสมอมาและในจดหมายของเราไม่เคย
มีเจตนาร้ายใดๆ เลย เราประหลาดใจอย่างมากว่า ทำไมมิตรของเราจึงส่ง
จดหมายมาสอบถามเกี่ยวกับขอบเขตของดินแดน
...ดังนั้นเราจึงส่งขุนอากรกับจดหมายฉบับนี้มายังมิตรของเราเพื่อให้เขา
สอบถามอย่างฉันมิตรว่าอะไรคือเจตนาที่มิตรของเราได้ทำเซ่นนี59้
และในอีกกรณีหนึ่ง เมื่ออังกฤษกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของสยามไปปักธง
เพื่อแสดงเส้นเขตแดนในดินแดนของอังกฤษ ราชสำนักตอบกสับไปว่า “สยามไม่เคย
ล่งผูใดหรือคณะใดไปปักธงชาติ ... เป็นสิ่งที่ชัดกับกฎและธรรมเนียมปฏิบัติของสยาม
ที่จะส่งคนไปปักธงและชี้เขดแดน”60
นี่อาจช่วยอธิบายได้ว่าทำไมคำร้องขอของอังกฤษในระยะแรก จึงทำให้สยาม
ไม่พอใจและไม่เต็มใจตอบสนอง แต่เมื่อทัศนคติของสยามที่มีต่ออังกฤษเปลี่ยนไป
สยามกสับตอบรับคำร้องขอจากอังกฤษอย่างทันทีทันใด ซึ่งอังกฤษถือเป็นเรื่องน่า
ชื่นชมยินดีแต่สยามกลับเต็มไปด้วยความรำคาญ ควรกล่าวไว่ในที่นี้ว่า ในจดหมาย

บทที่ 3 เส้นเขตแดน 109


ตอบรับให้ความร่วมมือกับอังกฤษนั้น มักมีจดหมายอีกฉบับจากราชสำนักแนบไป
ด้วยเพื่อปฏิเสธข้อกล่าวหาของอังกฤษเรื่องสยามรุกลํ้าไปในดินแดนของอังกฤษ
บางครั้งสยามก็กล่าวหาอังกฤษเป็นการดอบโต้ ในระยะนี้นี่เองที่ราชสำนักเสนอ
ให้มีเส้นเขตแดนแบบที่มีกันชนกั้นกลางระหว่างสองประเทศ เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า
สยามเห็นว่าข้อเรียกร้องของอังกฤษให้มีเส้นเขตแดนและกฎเกณฑ'ในการควบคุม
ชายแดนนั้น เกือบจะไม่ต่างจากพฤติกรรมของรัฐเพื่อนบ้านที่ไม่เป็นมิตรต่อกัน61
จากข้อดังเกดที่กล่าวมาทั้งหมต เราจะเห็นได้ว่ามีเส้นเขตแดนสารพัดซึ่งอาจ
ไม่ติดต่อกันแต่ทว่ายืดหยุ่นได้บางชนิดหนาเตอะ บางชนิดพร่ามัว บางแห่งเลือน
หายไปหรือไม่เคยมีอยู่เลย สยามก่อนทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 19 จึงมิได้มี
รูปร่างเหมือนขวานโบราณ แต่เป็นการปะติดปะต่อกันขึ้นมาของหน่วยอำนาจต่าง ๆ
ที่มิได้ติดต่อกัน มีคนหลากหลายดังกัดอยู่ปะปนกันในบริเวณเดียวกัน ในขณะที่
กองสอดแนมกำดังทำงานอยู่ใกล้เมืองชายแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง และดินแดนที่ห่าง
ไกลจากศูนย์กลางอำนาจก็อาจกลายเป็นของกำนัลเพื่อมิตรภาพได้ในกรณีเช่นนั้น
ชายแดนอาจหดลงนิดหน่อยแด่ก็ไม่เป็นไร ดังที่นักวิชาการท่านหนึ่งได้กล่าวถึง
จารีตของอุษาคเนยไว้ว่า “การยกดินแดนชายขอบให้กันมิได้ถือว่าเป็นอันตรายต่อ
อาณาจักร ตราบเท่าที่หัวใจของอธิปัตย์ [ศูนย์กลาง] มิได้ถูกกระทบกระเทือน การ
ยกดินแดนให้กันถือเป็นกุศโลบายที่ชอบธรรม”62
ปริมณฑลของดินแดนหรือขอบเขตของอาณาจักร ถูกกำหนดโตยความจงรัก
ภักดีของหัวเมืองที่มีต่อศูนย์กลางของอาณาจักรเท่านั้น เราอาจวาตแผนที่ของ
ปริมณฑลทางการเมืองได้โตยความสัมพันธ์ทางอำนาจ มิใช่ด้วยความเป็นปีกแผ่น
ของดินแดนฉะนั้นเมื่อจะพูดถึงชายแดนของรัฎฐาธิปัตย์เช่นอาณาเขตขอบขัณฑ-
สีมา จึงหมายถึงอำนาจตามชายขอบของหัวเมืองห่างไกล หรือก๊กเหล่าบริเวณชาย
ขอบของอาณาจักร หาใช่พี้นที่ชายแดนโดยตัวมันเอง
ความพยายามของอังกฤษที่จะปักปันเขตแดน ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่าง
มโนภาพที่ต่างกันต่อพื้นที่ทางการเมือง อย่างไรก็ดาม ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ตระหนัก
ถึงการปะทะนี้เพราะต่างฝ่ายด่างก็ใช้ภาษาที่ดูเหมือนจะหมายถึงสิ่งเดียวกัน คำว่า
“(วอนก0เสโV ” และ “เขตแดน”หรือ “อาณาเขต”หรือคำอื่นที่คล้าย ๆ กันนี้ดูเหมือน
จะใช้แปลแทนกันได้ แต่ในความเป็นจริง ทุกครั้งที่มีการสื่อสารกัน ก็จะเกิดการ
ปะทะกันในกระบวนการสื่อความหมาย ฝ่ายอังกฤษพยายามผลักดันมโนภาพของ

110 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


“เส้นเขตแดน”แบบสมัยใหม่ที่แตกต่างจาก “เขตแดน” แบบพื้นถิ่น การทำเช่น
นั้นทำให้มโนภาพของ “เขตแดน”ของสยามสั่นคลอน ขณะที่ “เส้นเขตแดน”
ของตะวันตกได้เสนอตัวเป็นความหมายอันใหม่ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ “เส้น
เขตแตน” เสนอมโนภาพแบบของตนให้เป็นความหมายเทียบเคียงโดยผ่านชุด
คำศัพท์ที่เทียบเคียงกันได้ ตัวสื่อความหมายจึงเกิดความกำกวม เพราะกำลัง
ลื่อมโนภาพที่แดกต่างกันในเวลาเดียวกัน สภาวะเช่นนี้ส่งผลให้การปฏิบัติเปลี่ยนไป
คือ การปฏิบัติที่ผูกกับมโนภาพทั้งลองเกิดผสมปนเปกันจนกว่าจะตกลงกันได้
แน่นอนว่ากฎเกณฑ์ที่ควบคุมการปฏิบัติแต่ละชุดก็ถูกกระทบและเปลี่ยนแปลงด้วย
เช่นกัน การตกลงยอมรับแบบแผนปฏิบัติภายใต้กรอบมโนภาพของ “เส้นเขต -
แดน”แบบสมัยใหม่ เท่ากับว่าพวกเขาได้ยินยอมให้กฎและการปฏิบัติใหม่เริ่มลง
หลักปักฐาน ยิ่งสยามยอมตามคำเรียกร้องของอังกฤษมากเท่าใต การปฏิบัติเกี่ยว
กับ “เขตแตน” แบบจารีตเดิมก็ยิ่งถูกสั่นคลอน เปลี่ยนแปลง และเคลื่อนเข้าใกล้
ข้อกำหนดของฝ่ายอังกฤษมากขึ้นเท่านั้น
ชนชั้นนำร่วมรุ่นกับพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 คือผู้'ที่รับเอามโนภาพ กฎเกณฑ์
การปฏิบัติแบบใหม่เข้ามาอย่างมีสำนึก รวมทั้งวิธีกำหนตเส้นเขตแดนแบบสมัยใหม่
และการใช้แผนที่ด้วย ถึงแม้ว่าความแตกต่างระหว่างมโนภาพหลากชนิดบังดำรง
อยู่ในระดับต่างๆของสังคมโดยเฉพาะในหมู่ซาวบ้านที่อยู่ตามชายแตน แด่ในเวลา
ไม่นานนัก กรุงเทพฯ ก็สามารถกวตขันการควบคุมชายแตนแบบใหม่ได้ด้วยกล -
อุบายอันชาญฉลาด เช่น อาศัยความไม่รู้ของคนท้องถิ่นเพื่อท่าพิธีกรรมถวายความ
จงรักภักดี เป็นต้น กรุงเทพฯสามารถสถาปนาการปฏิป้ดชุตใหม่ขึ้นมาได้ทั้งๆที่
เพียงครึ่งศตวรรษก่อนหน้านั้นบังไม่มีใครรู้จักด้วยชํ้าไป

บทที่ 3 เส้นเขตแดน 111


*
' I
0 00 0? 0 09;
2?
00
เห
0
& 0
๐2
'

น เห 30 ^:
) \\
ๆ ( &*\
^๙
เ0
0 {ะ' 0
-
10 3
0'

&* ^
05

^ ธฺสึต00- (X
เห
0เ
8
•9 — &า
05

ลสุ เห
05
0
จ้ซั
’0' ส 0 300 !X

ดี
0
I^
0
5 •V เห 0ปีๆ *
^7, ^ ?เ
05

^
" ^?\

เ ?ชิ

0
อ 03/
ปี*

^
•0

ษ?1

23 1 XX !3ๆช็!ฬ ?

โ 00^เ2 0*? 30
ส ล 2
• 3^
0
V\
/ 0 ธ^

จ •ๆ 3

Vา 5
3

? ต
0 0)

^^
0 0

๘ 31 00ถ0 03 ตก \ 0 0 5 :เ เย้ 00 *Iหุ?

๙ส5 เ
^
ถ ®*3® 7!เห
จ่ ธ 3 -*
0\
{ (5 ชิ


0- 5

0
5 0
®
&61*?
I
9'

ะ ^*
0 ชุ 0
33 ถ 'ส? 7 0
0

เ300
4 0 เห,
-

,
/
:ว เห
*ฉๆ๐
^
0 ณ
0 3 \
61 }
®? ฬ 3 ฤ? 00 * .

ธ 3ชิ® 9 61
เริ^•0905
ว V
*
6* 0

อ &ซ ห เห

ฮะ
15 1/ว
^ 0

:*
'}
V ®; เ
0
ส•
ฯธ?5 |9 ^
0
V เห 0
&ฐ*0
V

V
เ' 5 ๆ 0 8
เห เ0

ชิ ?* ) ? 2
0909
* ะ

า ^*ชิ1 เ
0 3 0
®สิ
0 0 เห
เ\?
0 เะ'
V เ* 0*8

'

000
0*
(V
15 5*
0 ขิ “
^^3 ? ^5
1ะ*
0 3 ซิ 3 /
3 0 0* 2) *93
5V
VI * .

ภาพที่ 1: แผนที่การจาริกแสวงบุญจากคัมภีร์ล้านนา ( อางจาก “เ\เ0กเาอโก 7เาสเ IVเลกบร๐!’!Iว!: 8บปป1าเธใ


IV!สกบล!,”ในป๐หก IV). &*)0เ800แ6๗0ก, ได้รับการอนุญาดจากมหาวิทยาล้ยคอร์แนล, สหรชีอเมริกา)
'** *-
. ชิ ภาพที่ 2, แผ่นพับที่ 1 ะ
6 .-
/

แผนที่ดำนาน จากคัมภีร์
-^ .ะ: -:/ V
1 "
-1
• *•**4^'V***
ไดรภูมิ (ได้ร์บความ

.
. ,

X' อนุเคราะห์จาก ติลป -
,2*11 เท*# &* +เ& าฒนธรรม )
*1*

'. .
V
\

- .* ;'*
1

'
' 1

^
1

&+! !77
- V

‘1
'
, ••'•'' '
1
'

/
0
-
เ'
(©เร่ *
ห/ *, ' ^^ ท !!# & ' .#
ท! } ๆ
17 /
ก ไ!โ ,**Vโ
'

91
V
{ ะ.^ V

-
-ไ

V, ***- .'
1
V
.'ซ^ -

1
ภาพที่ 2, แผ่นพับที่ 2

.* , 1 01.. . ~ เ*®รึ! .7
"

-*^ ' • - เ * 1
* ^ - .- -
, . 1
‘ - •* *

1'
'
.- '

9
^8 2
/
*

&4 &?-
;.
*
เชิ
V

โ/

-
7 ไ *
-
* 1

ะ -
ภาพที่ 2, แผ่นพับที่ 3 . ' .-
ะ .ะ ,
-- *
(ะ
' -. :
' ••ห *
-
Iโ,'- ,11 V." '
-
0
8*
,

-
*
1
^ 4* '
ง ห
1
-* , ^V
V 0 ไ. , .

^-
..-
‘•"* # I


7 9 1**411 (7
* 1? ๐1 ®
*
' / * .1

-
/
3 . . 11

เ4
)! - * ^ - 7 ^**
- . ':.

#
/
7 7 777" " ? *

; 17 70.1 *

( .

.
(

.

1 7 ?
* V ๆ!

-
\

ภาพที่ 2, แผ่นพับที่ 4 เ ^2 ;
ศ่ท์ฟ้( เ1)

^^
;
'- ^V .ะ

^ }"'^.*''
/* ^ , * 0* * 6* 1•

' ริ
* • - ’ เ ะ

II
เ'?เ
. ,- - ^44 4 ~ -
•: ' V ^ ะ ;:
- ^ 07?:
.
I

. .-
4

* .•
IV ? ะ,ท) V ะเห.?.;-? ' ..
. V • ;. 4
' '
?0
1 ๆ *
??

0
1

77

.
(

'

;

-
' \ :: V

^
-
'
*'
•V

ร ‘7- 4
^-
"

า- 1 ''
-- - .
V^ ภาพที่ 2 , แผ่นพับที่ 5

แ15121
.

: 7^
1' ? ๗ '

1'
'

~~ /

-
โ —
::ะะ71
^ ^ ?

\ แภ ' -
'•' - ' ’


. .

*^2* ะฯ 0
ห' .* .
0 •
-
,
'
? •. '" *'
1

'
-*

VIน?4:: ;ห

^ ^— ^—-. ^ - I
1

เฟ้ เท ’ "
I
ท์}* *"*
. ^
1 1

\7
- - V/ \
เเ'? ชุ. .-:.;:^-
^
/
* /?*/ 1*! * ’;*1 ; ะ
I

^ ^
ภาพที่ 2 , แผ่นพับที่ 6
^ เ ^
’'' *
1?

]
-
* , **'
V
ชั * ” เฟ้
\
\ \ -
'
4
^•ะ!**

’**
*
1 *
' ^ -'
1

-
*?

I
-1 า

เ6
*
เะว .
3 4•' *
/' '
4 -
;* IX .V ว
'*

; * ^^
0
1 1
1 V
1 ไ 1
:
X .

- .-
'.
1

;-
1 V '*1

^
"V

4
\ 7 1-

ไ )

^1 า
!
ภาพที่ 2, แผ่นพับที่ 7 V
\
7 ' โ
๘!
1
1**
V
/

4®—
;*
'

**4๗ ;
V, ,
4*

-

*^
V


แ^
ะะะะะะ ^ { ;

*
ภาพที่ 2 , แผ่นพับที่ 8
^'ะ'^
^ะ:

^^^
•V
'

\ X
ง'' ห 1 !/!

^
/
V ,

เ ว '
ะ.;
--
น .- - 30[ว
* -
- V
V
;-ะ!':-๘*' :, 1 ะ

'๘ ' ะ

12ว
7

7

/ /V /

!"
. *
/ 2 3


7

ะ^ ^า
1

. โ
;

- -
^^ ^
** /
:/

โ*เส--'.
' เ "' ' 1 [1 ]
V
(ะ 1*' -
/V * )
^

— ^
4-^^-?0-*-
ไ?
ภาพที่ 2, แผ่นพับที่ 9

1ต แ
3 11311
3

'
ซิ ;
V./) ^
.1I
'


^
.
^

.. -.
'

^
'

ชเ ะ; -. '
ซี

1
4?"'

^ 0^&
^ 'สา
0!!เงกฒ
~*

^^- ^ ^
V ไโไ ชิ
*' 1
#/ / 5 * 0*
*' เ

:
^# 1

ซ ’ิ ^ .
เ '
' ***?" !, ห .'
. *
... .
'•''ฟ-;
444 -.
414 ดึ 4
"'

I
7
- ^

เแแ
- 1

ภาพที่ 2 , แผ่นพับที่ 10

^^^
.

เ 8* ; 1
-*
3,11''-'1.'.-
( •

V
1

^ 4.ซิซ ซ;ิ

. ^ ะ
-
^แเฒฒ
V
0*
V ำห
'

ส®ส®
1

I - 1
.

, V
1
.
'

ตึดึสี

^
-
ฌ&
7

เแแ
*
*I#

ฟ้ฝื 3พ^104 ชิ ,#1 ซิ


1 ง
!

&
^ •
^7
• ’

แ!5ชิ
119^ ^
.
•ะ'

,ซิ

ซิ : 44'ซิ*5/ซิฟ?V’?
- ซ}5 6 ' **
'

' ซิ 4
'4
-1

ซี?ะ
*4
-^
ะ '
' 4 4. '
/ * -'
7 58
'///'' *
ภาพที่ 2 , แผ่นพับที่ า 1 -.
ซ'#''/
. .. .
*' *

)
8โ ' 2

7 0
/ *•' 1

1( ะๆ ะ'
I


\

ะ]
•ำ

*5

1 เ
-
-' -’' /*

\
:ห!’ ^
'
V

ภ&ม่เ ' " ] เ3[,V เห่


( ะ
7-

7ะะ
"ะ/,* .

บ3เะ3 1
* \

\^
1

ภาพที่ 2 , แผ่นพับที่ 1 2 : - . *
ติย!ิ
เฟ้* *' หํ'**?ะ /' •''
" เทI '/ เ*"ว่เห่
ะ ะ

^^
''ะ ะ 1
" 1 ' /

601)*1 11x2) V (เท่/เ ^ เ /,


^

?ซี&,1* ะ,'
8? ’
ไ โ


ะ ’'
ะ'*. 2
0
ร่&V
; '))1’1 'ะ ,

ะ **ธื5?
โา /I \ะะ * * &-
ะส
'ะ
,

-
-X -ร*้ ? 5 *
เ ^
^๚^
?
I -
*
ส โา
** ะ ?

?*


'ะ

***I จ*

-*. V
I '* ไ)ณ:
.5'
}

**
ะะ**''

*-
''1

๙* 5 7. จี?V //'./า
0

*" 13 า
-V ะ
30เ . 4 * 2
4,
1 '
* ะ& * -
.* ’. -
" 1

'โ ^ 'ะ
X
*

9
*
V
I

:
-
เ' *

* :.
.
V
. V

*-
*
รี

. . .-
!
'


.
-
*-
*

- V1 -
ะ* - .• 1 * --.
-.- -1
'
.

*
*
*
" V

ะ 7 0' V
/
9
{
V
'
โ .
เส
^
**•
X •-
+-
1

* #เ * 1*
' 99
\
V

.
' *
* - — -
/
**๙7* 9
•^* '

' ^® เ รี? **

;
(' • I

&
-*1
1
®
.
เะ 0.

* V*
1

*'

- *
-
* '
- ' .
.
-

. 1

ภาพที่ 3: แผนที่ชายฝ็งดานดะวัน00กของทะเลสาบสงขลา เฎนแผนที่ท้องลิ่นจากศฅวรรษ { 1 7


(ไดวับกาวอนุญาดจากหอสนุหแห่ง1าห) , *
ภาพที่ 4 , แผ่นพับที่ 1 ะ
แผนที่ชายส่ง จากคัมภีร์
ไตรภม (ไดรับความ ะ*
อนุเคราะห์จาก ศิลป -
าฒนธรรม )
*
'
'
- ะ - **
. --
1ส*
&#. .7
•'

V"
1

^
'
V *

1
V .
1 51

'
1;.
/


7-

^
-ๆ-/ VVIไ ข้,
V เ
ะ ๚

7 ' I
/


X
. *

**
4
^

1
ภาพที่ 4 , แผ่นพับที่ 2
- รุ่
^
* '-
&* •เ, . ;
.

*
/

*
^
I
ะ/. /
(
.1
ะ เ'

,
1
^99 45)
** ๕ะ
จ\ ^ '{ะ

/ 7 VI
'* 7
/
/ ' //
เฒเ;

.
*
' -

\ / *
0
จ ซี^-
/
\ 1
..

*5*
0 X
-
1

-
*
^
/
I

.
- ภาพที่ 4 , แผ่นพับที่ 3

แ?แ &-
\

.
•. * .'*1:า ^ฯ*
**
'* I *

'• .
/
ช&

2

ะ' . 7
-*
แI
** /
เ'
'
8
/
' ./
•V
‘V

®
? ฯ- ““

.
'ะ ภาพที่ 4 , แผ่นพับที่ 4

^^
'1 2 ฒ&
-
ะ'
ฯ?ซึ *5*V.I ะะ.
V * 11' \( 1
ส ฐ®?-
,

-

*''V
ะ -*
,

I . 5! --
***
ะ'

เฒ
เแแฏื '

' -

- V .
-
/ * ••''* 1

- -.

I *

+
-? 1
.-
,
1 เ ^
V
1

*X

^ 11 1 \

1'
*
ภาพที่ 4 , แผ่นพับที่ 5 -
-
I V V

/
\
/
* ะ
1

-
0เ

เส ? *
1

' เ)
' -'
^/' -
7
' •ร
'
\'

-
ะ:5
-
^V ก 1" - .
*
'า ะะะ
I

-

-
*
3
*7*
-
•5.

กิ\ ^V
- ะ/.
' .
7 7

7 *V -

' .,
/--:

! ’!

ซิ
ภาพที่ 4, แผ่นพับที่ 6
/

ะ/ ^
ฒฒแ!! /
V

^^ ส
8

เแ เ1\.๖
,
'1
63

|
0
2
1 V.
0 * ^1ฒ1ฃ^
เฒแธุ1111
แ *V
9

V ๕V /
ะ? -?เ' 7 / 2
\ ะะะะะะะ?'0411!:!!:! . •- 3

ะะ-เ
{
I เ1

/

/
2533
. 'V

I
-
//.
ร 1

!ี ะ^ ^
ซิ- ร*ส ะ * 0\
ะX
'.ฬ
(
ะเ'หะ

*ะ ะ
*7 ะ/
V * / '/

/
/
7;
* ภาพที่ 5: แผนที่
*
ยุทธศาสดาของวิชกาลที่ 1
,

* '- . I

(กรมแผนที่ทหาร)
1

8? *
ะ ซี
-. 11
*
-\
ฟิ’ 4 ธิ


-
}}
-- - -
,-
**
52 V

©สะ*
-
/
•1
V
* *
*V’
*5* ๒ ใ
^
*
V

** -
' I
\
-* *-

* *
I
^ I
4

- ใ-

-
0
?‘ะ
- นะ-!*:'* 3*
'
.
-
-
เะร
. : .1., V
-. ชิ?

*
- ๙V .
*

/
4

- •- ใ
เ*1 ?^* -
*
ซี
1
13

-
'
.'
-
-
'
52:

'ะ *
. ยย้*
1

V4 4*
38x )*

&เ
ฒแ!
ภาพท 6: “แผนทสยาม
^
( . ผ© ลเ6, /V3^311Vอ
0เ /\ ค6 ธ/๙6ก06 31 11า6
0ฮ/ว/๒/ 0 เ 1116 X เกฎ(10กา
0เ 5/301, 55 )
-
ะะ

;-
'
-

ซี 1
.!^ะ
^

ซีะ --
1
.

3 ะ' ชิ
\
^X 1

&ระ *,\ ? .
^ ^^^ ^
] ?
*3*
001,? }
'/ 1
เI /
1)1 0)1ฬ 0 0, : /*
16 ป้!
เ V
* *.ร/ ,

^^
^^ ^^^ ^ เ "- --^ 1*#8เ 7\ \ ๐ \ \1- ^ เ/ '...#ซี^14 . 1*
*
ธ ^ ;1 ^ 4
^ ^ /!^
ฒเ
1^ VV!
0า1
*X 11^
^ ไ
ซื?เซี X* ๐น1111
โ โ ๐๘
0?? 0ฒ
# *07๓ภ5: 5^
.^
—- เแซี แฬเ^

ะ}


.

*
I

0 # *
5ช้
0
ณ ๐ 3น
^
ไไ!6 5

I#3 -
4
4 ^4
เ เ,
"เ; 4 ร' *,'*".

^
^*-'?/เ
.
V *+

^ ^^
/

^ 4/1 2*

1^.- ^^ ^ 11. - ฯ^® -'1#/XสV235^!? / .I .VV ^


'

^
^
0® *
.1-
11
* ปีะ -

**
** ^ V
*
ปี ' '
0
,

^
* '

^ ^ -
^ */ . \
ร' (V .. เ ,

3^

X * *'
0
*
'
!

^
(? * 7 2; จุ

^
ร้?ซิ!/รเ/\
'*

เร \
- ®เ/ 1 .๐^417*0:
Vะ I ?\\(?11
^^ -
''•'ร *เ*

^^
^ ^^^
,
V .0 ใ ป0 ร ล* 5 '

เ^
''' *1
"

0 ® ® •แ, , ^
เ* คเ . โ,! ^:I*๐ * .'•ร' (1*" 7 V\
^
0 ท -?ทา'?เ ! ท

^ ^ V^1V"เฐ’
1
4 ฒ

^^^
#
(

.1 “1

&เ5&ะ
' -&
I) I] 5
!

- V 1, ๐. / ' 00
^}' 17* ( &•} - 10*1^- 4' ;.(1/*^ . ^1 ^1

^
ร/
01 ^// //รู !///ร"

^:
\ ท 1 !XV ) *I 4010/
IX(ท! 0 ง® /ร เ แ / *ริ เ ห

5?± ^** Vๆ '-*^


1 x 0 &^ 5^ 0
*—/;'/ / / ห* -*-**}
1
•/าร,;

แ ก*
?

ล โ
1
0

/7’
// / / //* // ร 4ร/// /'/// / II เท&010.4, .
'-

0- 1 8 ชชิ
14

พี

9

1
7.2 .
60เ00เ )0

^ **

1

^.. -:
1 ** *"^

^7 ^ ร 5*
1* ^

ฯ &
3.
•• ®
"•เร ,1&. 2/เ
. ^
I
เ เ

^ชิ!^/^- ^7

/ ะ
^^ '/ *"'
®^. '

-- ‘•'' - •^-0** / /
XI*
^/
. . -
* * ห้ 4.1รุ0๐
ร เ *14 เ
,

^
1

/ / /เ*ร ^.
^
^ เ•*
/ ร #

- ^ **
ร #/
I 4
'

//
/

—. - —^.
รเรร ร
•'
/

1
*4

**
เ ง./ 0*4/1•ห•๐ เ//V
- /4
'- ร /
5*ป &/11&**49

ภาพที 7: แผนที่อาณาจักรสยามและประเทศข์างเคียงโดยนักทำแผนที่ชาวฝรั่งเศส, พ.ศ. 2229 หรือ


ค.ศ. 1686 ( กรมแผนที่ทหาร)
.
1จ* *
^\
/ V
1 -
'
ฯ7 VI /:: ๙
1 I
1 :
/

า&^{--.- ำ
ว55
/ 11
'
ไจฺ12. ? '

*
X *’
V •

-.. V
../
-
1
4

:5 -
*“
*^
)
I
๔+ ''

11 '
'
-
-!
1 1

*5

ๆ{ะ '\“

เ7 .
วิสื
ห-
*
;
V

1* X


7 I* *
1ว
ก. 1

^.

1
1 4
3*
V:
V
1 ; ‘V


/
‘ส ะ * 1*9

I?
(('สุเ *ๆะ9 - 9 )
^- ^
X

' )

ชุ ? ฯแ *Vง*
โ /*00& ( X'1'’/ &!(X?&
,

^09X ท . XXX.
V
V
•4
6**** ๒
'
-.
ฯ ?
0 ^. '^ **[ // V***
5
๙^'1 /0
๘ / ’

•V
* ะ. ม* เ’เ1 \ พ 1^’111****
*

ะ'

\- .V-
( )
*
เ IV *
- สะ
.. .. ..

^V
V
ะ: \

ะ* V '-
1? \ ช วว' .
๘,
ะ*. ** 4 โ •X"
ะ^
+
* - 5.
ๆ ’ ะ?4
7 ****
^ะ
'

: *- ;- ~
'
\ V ? ”1 1" *
/

.-
ะ:
;
'. ะ •' ร ,*' *
ะ*! 7 * /

ภาพที่ 8: แผนที่อาณาจกรสยามและโคชินจีนฉบับจอห์น ครอว์เฟิร์ด, พ.ศ. 2371 หรือ ค.ศ. 1828


^
( อำงจาก ปอบโก3เ 01 3ก กา!วสรร/ 1โ0กา 1เา6 0076โ กอโ -06ก&โ3เ อ1 เกป13 10 1!า6 00บโไธ 01 5/3ก1
3ก๘ 000เาเก 01าเก3 )
#1 - *
ฯ- '
V
\ 4ไ 4^
I! I
-~ 3 - *

V, V.
.
{1 *
1 * *!
0 *
V #

\ X 0' ร1 4
*
V - .- V* ;*

.*45:
แ’

^3
เฟ่
ห *' ’''' *
26' -

*
6

^
^*,

V
4
*

*ะ^^
*
1

^ ’)แ /1 61/
VI*.
.
1
*
1* \0V* แ ®*
XX

1' * ๐4
^!,
V
V
*

- V

- -
58 - —
-* -
I
''
1

^}
1
•5
'

* .ะ - I
8 I 1 1'

-
V.
-
*- 1

* - .ส**'*'ห้,

าา 0
โ '’***ฯ.' * *
/
V ๒เ ะ7X2 ' *

^.
I *:
6*
-ะ


/
เ/

-
* ,4 . -
แ'“
** 01* 0*
0
/ 1

|• • 1 4 *
0*(1* •
: * V

•I ?. 0
*
**
โ..

X‘ 4
1

X1* ร
I

'- ะ
/
-
/*

0 **

*
/ *-

^
-
1* 30 เ
1

+.
V
'ใ -
•V
,0
:*
*? เ
ฟ้
*
'1'' '

ภาพที่ 9: แผนที่ที่ยอร์จ เคอร์ชอน ประมวลขนในบทความ “71า6 ร!สกา6ร6 รอก63โV อบ68ใ!อก,”


พ.ศ. 2436 หรือ ค.ศ. า 893 พรมแดนจากส่งซัายมือไปถึงส่งขวามือในภาพ แสดงให้เห็น 1 ) แนว
ชายแดนตามสมมติฐานของ ร. รอเาโลฝ่61- (พ.ศ . 2435 /ค.ศ. 1892 ) 2 ) แนวชายแดนระหว่างอ้นนัม
กับสยาม ตามแผนที่ของการ์นิเย ( พ.ศ. 2409 - 241 1 /ค.ศ. 1866 - 1868) และ 3) แนวชายแดนตาม
แผนที่ของแมคคาร์ธึ ( พ.ศ. 2430 /ค-.ศ. 1887 ) (ได้ร้บการอนุญาตจาก ธกํใ!3ใา ม!*3เโV)
ภาพที่ 10: แผนที่ฉบับ
แมคคารธี พ.ศ. 2431
* * * หรือ ค.ศ. 1888 (ได้รับ

I) ๚
- 1-๕ 3
"! ป
- "V
XXI ^ ?**1|
าโ ) ฒเ ( การอนุญาตจาก 6โ!1!ธ1า
น&[สโV )

เ฿* --

* * - -
V .
*

\ ห -
- 0

^^
[

•- *1X 01*01 8
(


'-


‘ •
'

#!ช่®3
ภาพที่ 11 : ภาพการ์ตูนจาก
1- V4*
*
I
หนังสือพิมV? ดุสิตสมิต

ซี)

เฒ ^สจ !

:จ

11
*. 'ะ

-
'1:
6
๙เ ใ’/ ^ I
/,

* รึ

. .
/ // 0
แ! 'เ‘
1
& ห# 3
'
/// *1

I
/

*1
/
3V* 3*

‘หเฯ.
I
^*
6 && \\ . XV /.
*

*
1

* 0
*

ภาพที่ 12: สัญลักษณ์ของ


มูลนิธิสายใจไทย
11

*?ลแธ์ส่ายใจไทย
::&&* ปี*& ^
^^^^ ^^^^^^^
๙๔ ๔0๒

ธินเคย /
/

V
5๔
' '
ซ* .๒๔

VVส^*± ! !
/, -

^
/ V
V "'

- โ
ฯ' ^ -
^6 -. .^ ^
' พ่ *
^
,0 จีแคะกสง
*
” ,'
๐ ®เช่ ' * 04|เ. งงยว
ๆ !. '\ เ " ย - - ^ -’
* - ะ?[?หนื1ช:*ิ. ฒ)1. :- ไ : 71 *
เต^
-
" '0 3

^V:
พุกาม

.
’ * ^ จี8ฃี
จ®* สาว " V'‘
‘ .,

2
0


ช้

ะ®

?,! * . ก1 * ๙ ,1* (
^
ลาน!1า น่าน
ปา3
*3 *.
ญ 4 4

ย่างฺ1}ง์ 0 V

๖ **ม กวางพหํ ©๖

ซี
[
กวาง*จ่าย
,3พุย1

^
;\

เ ^^ ^^
หขีา#
ไ3 เท 1* *
ก่วํ ต้น


‘4& .:๒-
ร์นท
ะ ; ฬห่}0

ซี ๓
^
^5
ก }

" '' 1
.
ถ กงเ
6\ ' หํนน่มิยข
^
๙\

0 ข
*** ร่าวใ‘ไย ,โ ^'
*
* * 0ไ 81*
( !อ ‘' / *8®ค๘10
^งืภงฺห่ธึยว
1

มหา# ม าร ด็นเติย
0ฬํง์งา
1 ทะ เส จน
จีนไต
๔ ๘
®6เ
'จ ÿ™ แผนที่ประร์ตฅ์าพึ่ตร
กสนสํน
‘กเทท ๐
* ช* ๘ ^
ต กๆ} ไทย


แส์ดง ประวัติอาณาเขต!ทย
ส์วนต่าง9 ที่เชืย!ป
•4
*.ม?าน๐๐ 01ทํปา! ( V
\4๐. มลายู^" . -ษIด้รีาก!เทงฺปุรเม3 พ.ส.๖ ๖ '-๒*๔"’
-
. สํตกเง์ถ{ะเนรธงพม่ าเม3 พุ.ศ. ๒ ๖
.
,ง่งสะจิ 3 ปาพิง ซิ ห #

๓. 5 กแ !นร•3งฝ3.ง์เศส ม*ุ!'' •จ-.^©0


? โ# เผ

^* ๐มะย:กา
** — — •
^ พ ^ ^ ^
เ เ1 เ 1.1 จ •น V จ่
น3กา
(

ยะโ

๐ ๙๔ 0๒
ซี
๐0 6* ค!!เบน'ๆยงฆะงเหกะฬ พ ห เย**เ๐
๘. ตก,ง็นาม®*{กถษเมือ พ.ศ. 0๔
1
. .
๑ซี0 ^
๒ .^!

^

ภาพที่ 13 : ประวติศาสตร์อาณาเขตของประเทศไทย ( ได้รับการอนุญาตจากบริษ้ทไทยวัฒนาพานิช )



^^^- ^
- ’- ภาพที ่ 14: การเคลื ่ อ นที ่
^^ . เ
'ะ . 0

- เห่ งัเท01ศโ•'ฟ้-IX
7

* V เ^* . ^ I
- V
ของคนไทยจากโบราณ
.
V อ ฺ ข ้ ซ1ี
ะ'
'.
"5,/
* ห* • I? ๒. ถึงปัจจุบัน (ได้รับการ

^ๆV/.^? ^ฟะะ?^57^ซิ
8* (
* )
ง่ '

.^ เ - * -
*
-
'ะ
ฉีเธ อนุญาตจากบริษัท
.' 1


1
'
1 -
! X -- 1? V
; ฟ ้ 4? '

*1๒ ฬรี* /เ '** ไทยวัฒนาพานิช)
รี
'
.

^^^
•ๆ -.

^
/
)

.3 * . “ *^ / ฒ#1 Vÿ™
1

* สิห*ื
0 0

*6 (

-* เ3เ เ
รี® ® 0

^ - ^-ซิ
. 3 3 าเ'เผเ น''* 4
*'
*
. 4.
‘แชIV! เ'ฟ้’ห่
" &ฟ้ ท่หเ

่ ิ ส ดซ’ีึ *
ะ !หช
. . **1* . ~ .
V-

121
หเ
VI*1*1
' 'หึห*’ เภ็หฟ้ 0
^3? V\ V\ \1
***ส*7
โ รี ** *
.
รี! ®*
ๆ 2
'''1'ๆ

’’ ;

^
)
รี* * เหเ *6
ไห๗
’ *4
^ \ - IV®
\ าๆ
- \
I ^

ห่ร9ี ๒1
** *
I * ' โทๆ

ฯ แยนที่ป!ะวํอิ (รีา:(ต!
ไทย

.. ... .-.
•หะ
* โบราณ
การเคลึยึนทิขจงเทย
แส์ด

0 32&เห}* ะร* .6หย่1เฬาเารี ?[ง(6เรี;-**


ถงงจจุบํน 2- ,,
/*
* ! 3^ทย
'^** **'* * *

'0‘. โาเ&’* *;
ทำ
" ' ๆ ๆ ( ท ข (แฬะๆทเ
•รี ห
•(•
(

ทึโ ยๆ!
'' ่ ๆ
*
Vผแรีเ ษ า

**V
(X !1
ท์1

- -- ^
1*1'
V
141
-.: ภาพที่ 15 ะ อาณาวักร
0 '
^ น่านเจา (ได้รับการ

เ^** * *
I 30 าณารี
1114 ก รู'่ สุ*' น่ V

.
อนุญาตจากบริษัทไทย
1

0(๒* 0 ไ 5ๆ** 7-*31*ะ*4 *๗ '"' *- -*, วัฒนาพานิช )


,^
*
* ะเ
อาณารีก! ป 4*
7
1 0

ช#
^ * ^* .
0 รี
น่านเ -า.

- .

ไ ไ “' “
เ! :.
^. *
3ชแาผเ 8
'พุ # , ' ' ชิาณาจํ'กรจีน 0
* * •เหเ*
'

อนเดข ๒!• ' ณ


ๆ *
หู โแ •


รี

-
หํเ . ซิ
^ I 1/. ** ^**'-
'ะก

^
. ฐเา ณ ๆ จ*'ก 5, ' ,
.
V รีI
'‘
+'

-
?7' *1 .ซี ‘
•: เ*ฟ้ 5

82

คู
4!) , * *** ; }
•ร ••ท*ห}'
1

:

^**
- กร '•'๒
, เ
๚าณารี '‘
! เ ค'

*4* ^ๆ* 3
' **, ^^
*
.ท'.'ะ '
"

"ว ,
0า


! 1
-' .
แ ษทปุ!:! ีตบั
*วัร"
*
(8 !

ไห ๆ-'
๗ดรี อาณาจํก์ * - .*
น่านเจา
.
ห!"

.- *. . น '/*!**** ๒
1

๏ ^ ? แห ห !รีท 4*ท]
เตึเ ฒุ ป้เข้ ภรี
แ รีโ
0
ห -* *5
1.1
*019
ภาพที่ 16: อาณาจักร
สุไขท้ย สมัยพ่อขุน 'ะ
^ -/. , ซวั * Vวัวั V !
'
'
. ,•'• ญ า ง า''
1
’ ,- *; “ะ ๆ
รามคำแหงมหาราช
( ได้รับการอนุญาตจาก
บริษัทไทยวัฒนาพานิช)
.^
1ชุ’ณา ก5ทุก

V

3๒1

1
..
1
;
- ๘๒ •* :เ

-.

*
อาทแา 0๕

* ,เ

ะ:X *2*I
4 * .
๘ ©
•า ^ 3
'

^
2 ! - ร่ -

****
* * *อาณาจ
* เ ห

ะ เห่
I
, ฒ ท ฬฬฺเ
เ- *
*
®

9 จ*
ห ***•*1* ' 3,

0 'ๅ
* / *

-
-

'

-V
-
-.
‘1
จะ^ *
ษ®ทึ{ประว’
ชิค้า?&เ*
**
0

*
' ง ""เ *
ไทย
แค้คง อาณา ?ก*ก*•ง!{โรหํ® '
.
•• 1
" - ยุคพ่อๅเรเรามคำแหง*ทงา*าซ'
ห.ค้. * *๒๒-©๔๕ ®
0

.-..•
(

• ^


ห เ เหห**แห11*เห่ หคา ( ฟ
'
.

*
^ ^ ^^^
- -
ภาพที่ 17 : อาณาจักร
1 .* ' ” *' " ' : *
~ ^ .
*
.
0ห

. *‘ '
อยุธยา สมัยสมเด็จ 3 3 าเซิ
-1
๘ 3ส" ;
.
®
พระนเรศวรมหาราช '”' (1 *.- - • .ๆ • ะ
‘ & **** *
ะ /หง
' '

'
า VI *๒ •เห"**
1
V3เหู่
( ได้รับการอนุญาตจาก
./;

ะห็ เ แฒ
0
บริษัทไทยวัฒนาพานิช) V ะ
ใ'
V
-*
-
-
1 :
ฟ้ ?
'V

-^&& . -
* ***
• 1 ’*

*~า๒!11'

*

^ ธ!ย* -
1

990 ไ,

- กฺ ห!•ๆ ๗ ะ*!**:
' /**๒*๒

* 4
‘1 ฟ(๒ ;
0* -
ซิ 1

.-

^

. 1-
V.
1
/

3 —
ษ®นทบ?ะวชิค้าค้ค
แลาบุ
3
(75 ไทย
แค้คง อาณาจก?ก{ง( ยา สอบุ*

.-'. **.* *..*-**ÿ™.


V, บุคค้แเด็จห? ะไเแค้ว? แหาราช'
.
ห คํ . ๒ © เต31 ๒ © ๔๔
• ท ร 41 ษ !?!! :•ท) ;
I *‘ *^? * * ะ]เ1ห! 0
น *015
1 1

— —
^เซีซ:ี? . - ชิฒ.- ซี^เลึ
ภาพที่ 18: อาณาจักร
ซีซี
1 ซ^ ีา
ร. ?''' ธนบุรี สมัยสมเด็จ
'ซี&ธ ห614*.1*; *1 IV- ,ไ‘.**1 พระเจัาตากสิน (ได้รับ
. . เะะ *5
.1 * 4' ห . ะ'*!'
•' •ห เห?1าซ้ ) จฯ
'
*1
* การอนุญาตจากบริษัท
1 4 ! '

0 *' .รี. 1
1

, V* - V

:.--
*
*1

V '

'เ&
V
ไทยวัฒนาพานิช )
: • •• ะ

5 ไ
21 ง* .
- ‘** - . 1*:'*.
+& ฬ่
V •1ะ"
*;

^ *.

- 1 - .2 ห
ฟ้
•ะ''"“
\0
53. -*?* * ะไ

. ะ: IV
-

;
’1

.
I* *2 •๙

*
ะ 11
'

*"9*
*
* 5
. ซี . -

•V ,006:1111.1
^
I ! */
งรค * แห*ที!
่ ?ะวเดิคำ ด
อ ไทย * 1'

* 'V.

ร! สาย
.
แร(ดง ยาณาจํก!กรุง*นบุ่โ
ยคส์น;&ห*ะหาตาก(รน)
1 ,•
• 1

พ.คํ. ๒ต® -๖*๒1'


?

*
-
0

911 * * * *•.••'น*^แฟ่
- V 1 10 0.11๓66 'ห่เ ๘ า 1!
2 I
1, 901 เ ® . * ***
10

ภาพที่ 19: อาณาจักร

ซี ซี ซ ี
^
ซี
^; รัดนโกสินทร์ สมัย
?
'ไ

:
นเ
? รัชกาลที่ 1 (ได้รับการ
V . -เ V - :? ?;
ซี ? ,5
^
1 2 - 2 '

อนุญาตจากบริษัทไทย
^ฟ งเ
? .ช: ุ ซี4 ๆ"",}1 - ' •
-
ซี
' *
- 1 1
. ซีซีซี ซี ; วัฒนาพานิช )

ซ&ีซซ
*

ี ซีซ.*'ี ]
ฯเ :.{ริ^

4ซีซี , 1:* 1
#ี .
. ..
V*

**
. , I
เะ *
41
1 . 1


-***
*
.
1
/

4 ..ะ
•. ะ
ะ - -1คคำ &'ด
แง) นที่ปร. /
.
.., 1:
ร9 ไทย
๗กง ยายกรีก*กรุง?ตนโก'#นพ/
* -
:•1.11

ซี! ลาย . -
ธุดพ!ะบาทคํนเกรพ'ะหุท81)9คฟั' ๆ ;
* “๙ .
ห คํ. ๒*หรอ 4 ๖เห ๖ - -^
1

V
แหห*เษฌเ*เทณ พ้&| ’| 1
Vชิ *
0
* . *** *** * * ร 1 *1
0
^ )
-

* ••หหเ*


*
5
4
.

II
V * ^,
*
๙' ๙
V. -
-
V

/
-
ฬ- ;
.

+
*
I

"- ส** *
ภาพที่ 20: “ตื่นเถิด ชาวไทย’, (ได้รบการอนุญาตจาก ดอกโลป 73 0โ)
^
บทที่ 4
อำนาจอธิฮตย
บกกี 4
อำนาจอธิปิดย์

การกำหนดเขตแดนของสยามซับซ้อนยุ่งยากมากยิ่งขึ้นในกรณีที่พรมแตนมิได้เป็น
แถบหนากั้นกลาง แต่เป็นเมืองชายแดนร่วมของอาณาจักรมากกว่าหนึ่งอาณาจักร
การมีเส้นเขตแดนสมัยใหม่ย่อมเป็นไปไม่ได้จนกว่าจะขึ้ชัดลงไปก่อนว่าเมืองไหน
แค่ไหนเป็นแผ่นดินของใคร แต่ชุมชนการเมืองก่อนสมัยใหม่ขัดฟินด่อกรรมวิธี
สมัยใหม่ดังกล่าว การเผชิญหน้าและข้อพิพาทเกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียกกันทุกวันนี้ว่า
“อำนาจอธิปไตย ”เหนือดินแดนของรัฐฉาน ล้านนา กัมพูชา หัวเมืองมลายู และฝัง
ซ้ายของแม่นี้าโขง มีความสำคัญยิ่งต่อการก่อรูปของรัฐไทยสมัยใหม่และต่อประว้ดิ -
1

ศาสตร์รัฐไทยแบบเข้าใจผิดๆ

ความสัมพันธ์แบบเป็นลำดับชั้นระหว่างรัฐ
ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจต่างๆในชุมชนการเมืองก่อนสมัยใหม่ มีลักษณะเป็น
ลำดับ'ชั้น ( ห!© โ&เ'๐ห!๐ล.!) กล่าวคือ เจ้ารายที่มีอำนาจเหนือเจ้าท้องถิ่นอื่นหรือพ่อเมือง
เล็กๆซึ่งมักอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงรอบๆก็สยบยอมสวามิภักด ต่อเจ้านครอีกรายหนึ่ง
1

ที่เหนือกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐตามแบบแผนนี้แผ่ไปทุกระดับขึ้นไปจนถึง
ยอดของปิรามิดคือพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงอำนาจที่สุดในแผ่นดิน ลีเบอร์แมน ( \40๒โ
น6เว6ก1าลก) ขึ้ว่าแม้แต่ในสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง (พ.ศ . 2094- 2124 / ค.ศ 1551 -
1581 ) ที่ถือกันว่าเป็นยุคที่พม่าเป็นปึกแผ่นมากที่สุตในประวัติศาสตร์นั้น ความ
สัมพันธ์ระหว่างเจ้าหัวเมืองกับเจ้าศูนย์กลางก็ยังเป็นการสวามิภักดิ้ส่วนดัวที่มีต่อ

บทที่ 4 อำนาจอธิปัดย์ 139


“อธิราชหรือราชาธิราช ”( แเฐเา เกฐ ) เจ้าผู้ปกครองหัวเมืองใหญ่ ( บายิน) มีอำนาจ
จำกัดและถือเครื่องราชกกุธภัณฑ์แบบกษัตริย์ อาณาจ้กรดำรงเป็นปึกแผ่นอยู่ได้
ตราบเท่าที่การสวามิภักดิ้ต่ออธิราชผังมั่นคงอยู่ ในภาษาไทย หน่วยการปกครอง
1

ในความสัมพันธ์ลำดับชั้นนี้ มีคำเรียกอย่างไม่แยกแยะว่า “เมือง”ซึ่งหมายถึง


บริเวณที่มีอำนาจปกครองอยู่ นั่นคือ บริเวณที่อยู่ใต้การคุ้มครองโดยธรรมของเจ้า -
เหนือหัว
ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจ้กรด่าง ๆ รวมทั้งระหว่างมหาอำนาจในภูมิภาค
อย่างสยามหรือพม่า กับเมืองประเทศราชอย่างล้านนา ล้านช้าง และหัวเมืองมลายู
ล้วนเป็นไปดามแบบแผนนี้ โดยพื้นฐานแล้ว เมืองประเทศราชเหล่านี้ถือเป็นอาณา -
จักรด่างหากออกไปที่มีเครือข่ายเจ้าเป็นลำดับชั้นที่ขึ้นต่อตนต่างหาก พระเจ้า -
แผ่นดินของประเทศราชเหล่านี้ไม่เพียงถือว่าตนเป็นเจ้าเหนือหัวในอาณาจักรของ
ตน แด่ราชาธิราชที่มีอำนาจสูงสุดในภูมิภาคนั้นตามปกติก็จะปล่อยมือไม่ยุ่งเกี่ยว
กับประเทศราชเท่าไรนัก กษัตริย์ประเทศราชแด่ละแห่งมีราชสำนัก ระบบการคลัง
การบริหารการจัดเก็บภาษีกองทัพ และการศาลเป็นของตนเอง เราอาจกล่าวได้ว่า
อาณาจักรที่เล็กกว่าเหล่านี้มีอำนาจอธิปัตย์ของตนเอง อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์
ระหว่างรัฐในภูมิภาคนี้ตำเนินไปได้ก็ด้วยการยอมรับระเบียบโลกแบบล่าดับชั้นที่
มีเจ้าเหนิอหัวสูงสุตผู้มีบุญบารมีมากที่สุด มีอิทธิพลเหนือเจ้าชั้นรองลงมา และหาก
จำเป็น บุญบารมีนี้ก็จะแสตงออกในรูปกำลังทางทหาร ขณะเดียวกัน ประเทศราช
ต้องสวามิภักตึ๋ตอเจ้าชั้นสูงกว่าหรือสูงสุด และยอมรับสถานะที่ด้อยกว่าของตน
ผลก็คือ เจ้าเหนือหัวสูงกว่าจนถึงสูงสุด ( อธิราชหรือราชาธิราช ) สามารถเรียกร้อง
หรือแทรกแซงในกิจการของอาณาจักรชั้นรอง ๆ ไต้ในยามที่ตนเห็นว่าชอบธรรม
กระนั้นก็ตาม บุญบารมีของเจ้าเหนือหัวที่สูงกว่าก็อาจหมดลงได้ฉับพลันเช่นกัน
ซึ่งหมายถึงอำนาจและสิทธิธรรมของเขาตกดำลง ในกรณีเข่นนี้ เจ้าเหนือหัวราย
นั้นอาจถูกท้าทายโดยเจ้าประเทศราชหรือโตยเจ้าชั้นสูงอีกรายที่เป็นคู่แข่ง อันจะ
น่าไปสู่ความวุ่นวายปันป่วนของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐแบบลำดับชั้น มาตรการ
รูปธรรมที่จะยุติความไม่แน่นอนดังกล่าวก็คีอสงคราม ประเทศราชอาจดีดัวออกห่าง
จากเจ้าเหนือหัวรายเติมระยะหนึ่งหรือหันไปร่วมมือกับอธิราชอีกราย จนกว่าจะ
มีการจัดลำดับชั้นระหว่างราชันย์ใหญ่น้อยให้ลงตัวไปทางใดทางหนึ่ง แล้วประเทศ -
ราชก็จะถูกปีบให้เข้าสู่สถานะประเทศราชอีกครั้งหนึ่ง ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของ

140 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ชุมชนการเมืองอุษาคเนยไนลักษณะนี้ เป็นที่รู้จักในหมู่นักวิชาการว่า มัณฑลา
( แ /เลกปลเ3) * โวลเตอร์ส ( 0. พ. พ(ว๒! ธ) ผู้เสนอคำนี้ชื้นมาได้กล่าวว่า:
'

มัณฑลา ( หรือแว่นแคว้น) หมายถึงสภาพการณ์ทางการเมืองแบบหนึ่งซึ่งมัก


ผันผวนไม่มั่นคงในพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่ระบุชัดไม่ได้เพราะไม่มืเส้นเขตแตน
ชัดเจนตายตัวและศูนย์อำนาจเล็กๆ มักมองไปรอบทิศทางเพื่อความมั่นคง
ปลอดภัย มัณฑลาจะแผ่ขยายและหดตัวคล้ายหีบเพลง แต่ละแว่นแคว้น
ประกอบด้วยเจ้าประเทศราชหลายราย เมื่อสถานการณ์อำนวยเจ้าประเทศ -
ราชบางรายอาจปฏิเสธสถานะเป็นบริวารของตนและพยายามสร้างเครือข่าย
บริวารของตนเองชื้นมา2
ความสัมพันธ์แบบประเทศราชมีพันธะ การกำกับควบคุม และความผูกพัน
สังกัดในแบบของตนเอง พันธกรณีสำคัญที่สุดก็คือพิธีกรรมแสดงความสวามิภักตั้
ประเทศราชจะต้องถวายบรรณาการให้กับเจ้าเหนือหัวที่สูงชื้นไปหรือราชาธิราช
สมํ่าเสมอปีละครั้งหรือสามปีครั้ง เพื่อเป็นเครื่องหมายว่ายังคงผูกพันสวามีภักดิ้ต่อ
เจ้าชั้นสูงกว่าอยู่ เครื่องบรรณาการมักประกอบด้วยเงินทองและสิ่งของมีค่า แต่
บรรณาการที่จะขาดเสียมิได้คือ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง หรือที่ในภาษามาเลย์เรียกว่า
บุหงามาศ ( ธมกฐล ๓ลธ) ฝ่ายราชาธิราชก็จะตอบแทนเจ้าประเทศราชด้วยของ
กำนัลที่มีค่าสูงกว่า
การกำกับควบคุมที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การแต่งตั้งเจ้าประเทศราช ซึ่ง
จะต้องได้รับความเห็นชอบและสถาปนาตำแหน่งโดยเจ้าชั้นสูงกว่า เจ้าประเทศราช
รายใหม่จะต้องถวายบรรณาการ ซึ่งจะได้รับเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของกำนัล และ
สาส์นตราแต่งตั้งที่ทำจากแผ่นทองคำตอบแทนจากเจ้าเหนือหัว โดยปกติ กษัตริย์
ราชาธิราชมักไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการลืบราชสมบัติของประเทศราช ไม่ว่าจะเป็น
การลืบทอดตามสายโลหิตหรือแย่งชิงบัลลังก์ก็ตาม แต่ในสถานการณ์พิเศษ ราชา -
ธิราชจะเข้าแทรกแซงเพื่อผลลัพธ์ที่ตนต้องการ ฉะนั้นในด้านหนึ่ง การสถาปนา

* คำสันสกฤตนี้คือคำเดียวกับ “มณฑล,, ในภาษาไทย ในที่นี้จึงขอคงตัวสะกตและเสียงให้แดกต่างไว้


เพื่อไม่ให้สับสนทึกทักว่ามีความหมายเหมือน “มณฑล,, ในภาษาไทยปัจจุบัน ซึ่งหมายถึงเขตการ
ปกครองระดับภาคหรือเป็นส่วนย่อยของราชอาณาจักร สำหรับนักประว่ติศาสตร์อุษาคเนย์นั้น มัณฑลา
( โกลกอํลเล) มิใช่หน่วยปกครองย่อย แต่เป็นรัฐโบราณรูปแบบหนึ่ง ผู้เขียนเห็นว่าคำไทยที่ใกล้เคียงที่สุต
น่าจะเป็น “รัฐแบบแว่นแคว้น” แต่ในที่นี้ขอใช่หับศัพท์ไปพลางก่อน - หมายเหตุเพิ่มเติมฉบับแปล
'

บทที่ 4 อำนาจอธิปัตย์ 141


เป็นการแทรกแซงของราชาธิราชต่อราชาที่ตํ่าดักดื่กว่า ในอีกด้านหนึ่งเป็นวิธีการ
ประกันความผูกพันสังกัดของประเทศราช นอกจากนี้ ประเทศราชจะต้องส่งกำลัง
คน ทหาร สิ่งของ เงิน และอื่นๆไปให้เจ้าเหนือหัวยามที่ฝ่ายหลังต้องการ พันธะนี้
มีความสำคัญ มิใช่เพียงแค่เป็นการสนับสนุนทางวัตถุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยาม
สงคราม แต่ยังเป็นสัญญาณแสดงความจงรักภักดีอีกด้วย
ความพยายามใด ๆ ที่จะหลีกเลี่ยงพันธะดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีถวาย
บรรณาการ เป็นสัญญาณแสดงถึงความกระด้างกระเดื่องต่อเจ้าเหนือหัวที่สูงกว่า
จึงหมายถึงการกบฏ ในความเป็นจริง สงครามจำนวนมากในประวัติศาสตร์ของ
ภูมิภาคนี้หาได้มีสาเหตุจากการแข่งขันระหว่างอาณาจักรที่เป็นศัตรูคู่อริกันไม่ แต่
เป็นสงครามที่ราชาธิราชเจ้ามหาอำนาจต้องการกำราบลงโทษเจ้าประเทศราชที่
กระด้างกระเดื่อง ระดับการทำลายล้างก็แตกต่างกันไป บางครั้งเพียงแค่เปลี่ยนตัว
เจ้าประเทศราช บางครั้งจบลงด้วยความพินาศย่อยยับไม่น้อยกว่าสงครามระหว่าง
ราชอาณาจักรที่เป็นศัตรูกัน
เหตุผลรองรับความสัมพันธ์เป็นลำดับชั้นเช่นนี้มักได้รับการอธิบายว่า รัฐที่
อ่อนแอกว่าจำต้องแสวงหาการคุ้มครองจากรัฐที่เข้มแข็งกว่า เพื่อความปลอดภัยจาก
โลภะของอธิราชอีกผู้หนึ่งที่เลวร้ายกว่า รัฐที่อ่อนแอกว่าจึงต้องตอบแทนบุญคุณของ
อธิราชผู้คุ้มครอง ดังนั้นจึงเป็นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์กัน แต่การลงโทษอย่าง
รุนแรงต่อประเทศราชที่ด้องการดีตัวออกห่าง ชี้ว่าความสัมพันธ์นี้ห่างไกลมากจาก
ความยินยอมพร้อมใจของทั้งสองฝ่ายหรือเป็นสิ่งที่ฝ่ายอ่อนแอกว่าแสวงหา ใน
ภาษาไทย การที่รัฐอ่อนแอกว่ายอมตัวเป็นประเทศราช เรียกว่า “ขอเป็นขำขอบ
ขัณฑสีมา”นั้นคือขอเข้ามาอยู่ภายในปริมณฑลศักดิ'สทชี้ของอำนาจยันสูงสุดหรือ
“ถวายสวามิภักติ'”หมายความว่าราชสำนักสยามจะต้องคุ้มครองเหล่าประเทศราช
ให้ปลอดภัยจากการคุกคามของราชาธิราชรายอื่น เช่น พม่าหรือเวียดนามหรือจาก
กบฏที่ต้องการโค่นล้มเจ้าประเทศราช ดามนัยนี้การสวามิภักดิ้ย่อมถือเป็นความ
สมัครใจและการคุ้มครองก็ถูกร้องขอมา แม้ว่าเหตุผลที่ใหันี้จะไม่ผิดเสียทีเดียว แต่
ก็ถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะความคุ้มครองในความสัมพันธ์แบบนี้ยังมีความหมายใน
แบบอื่นด้วย

142 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


สำหรับรัฐแบบพุทธเถรวาทในดินแตนแถบนี้ ธรรมราชาหรือจักรพรรดิราช
มีหน้าที่ปกป้องรักษาพุทธศาสนามิให้เสื่อมทรามลง การปกป้องพุทธศาสนากับการ
แสวงหาความยิ่งใหญ่สูงสุดเป็นภารกิจเดียวกัน กษัตริย์ที่ทรงอำนาจของรัตน-
3

โกสินทร์จักต้องต่อสู้เพื่อแผ่ขยายพระบรมโพธิสมภารและร่มบุญญาธิการหรือ
ราชธรรมของตนให้กว้างไกลที่สุต เพื่อนำอาณาจักรที่บุญด้อยกว่าเข้ามาอยู่ภายใต้
ร่มบุญญาธิการของตน การทอดทิ้งไม่ปกป้องคุ้มครองราชาที่อ่อนบุญกว่าถือเป็น
ความบกพร่องเพราะราชาเหล่านั้นอาจตกไปอยู่ในมือของมารมิจฉาทิฐิ การผนวก
ประเทศราชโดยตัวของมันเองจึงแสดงถึงความยิ่งใหญ่สูงสุด ความสำเร็จในการ
ป้องกันไม่ให้ประเทศราชตื้อแพ่งหรือดีดนออกห่างหรือถูกแย่งชิงโดยอธิราชรายอื่น
จึงแสดงถึงสถานะของความยิ่งใหญ่สูงสุตนี้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้พิทักษ์ได้ทึกทัก
หน้าที่ของตนขึ้นมาเองและพยายามแสวงหาผู้ถูกพิทักษ์ เพื่อบรรลุภารกิจของตน
ที่จะเป็นจักรพรรดิราช ตามนัยนี้ การปกป้องคุ้มครองมิได้มาจากการร้องขอ หาก
แต่เป็นการยัดเอียดให้
ความเข้าใจทั่วไปชวนให้เข้าใจไปว่าอันตรายมาจากฝ่ายที่สาม ซึ่งอาจเป็น
อีกอาณาจักรหนึ่งหรือกบฏภายในประเทศราชนั้น แด่ตามนัยของการคุ้มครองแบบ
พุทธที่อธิบายข้างต้นนี้ ภัยคุกคามมิได้มาจากแหล่งอื่นใด แต่มาจากอธิราชผู้
คุ้มครองนั้นเองที่บังคับให้รัฐซึ่งอ่อนแอกว่าตกเป็นประเทศราชใต้คุ้มครองของตน
และคงสถานภาพเช่นนั้นตลอดไป ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมเช่นนี้ การสวามิภักตื้จึง
ถูกบังคับอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ หาใช่เป็นความสมัครใจ แนวลิดเรื่องความคุ้มครอง
ทั้งสองแบบนี้ดำรงอยู่ด้วยกันและปรากฏให้เห็นในการปฏิบัติเดียวกัน กล่าวอีก
อย่างหนึ่งก็คือ ความสัมพันธ์แบบประเทศราชเป็นวิถีปฏิบัติที่คลุมเครือกำกวม
กรณีของรัฐมลายูและกัมพูชาจะชี้ใหัเห็นถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆ กันที่รัฐทั้ง
หลายเข้าสู่ความสัมพันธ์แบบประเทศราช ในบางกรณี การปกป้องคุ้มครองแบบ
ข่มเหงเป็นการยัดเอียดให้ และฝ่ายประเทศราชเองก็แทบไม่มีทางเลือกอื่น ขณะที่
ในบางกรณีการแดกเป็นฝักฝ่ายในราชสำนักของประเทศราชนำไปสู่การร้องขอ
ความคุ้มครองจากอธิราชหนึ่งรายหรือมากกว่านั้น ในบางกรณีประเทศราชร้องขอ
ความช่วยเหลือจากอธิราชรายหนึ่งเพื่อคานกับอธิราชอีกรายหนึ่ง

บทที่ 4 อำนาจอธิปัตย์ 143


อธิปไตยร่วม: ยุหธศาสตร์เฬื่อลาามอยู่รอต
กัมพูชาเป็นอาณาจักรทรงอำนาจทางตอนใต้ของแม่นั้าโขงที่ถูกขนาบไว้ด้วยสอง
อาณาจักรซึ่งทรงอำนาจมากกว่า คือสยามและเวียดนาม นับแต่เริ่มตกตํ่าลงใน
ศตวรรษที่ 14 กัมพูชาได้กลายมาเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา สถานการณ์
ยิ่งเลวร้ายลงนับแด่ศตวรรษที่ 17 เมื่อเวียดนามเข้มแข็งขึ้นและเรียกร้องให้กัมพูชา
สวามิภักดี่ด่อตน กัมพูชาไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจำนนต่ออำนาจเหนือหัวของ
เพื่อนบ้านทั้งสอง4
การแข่งข้นระหว่างสยามและเวียดนามที่จะเป็นใหญ่เหนือกัมพูชานั้น ทวี
ความซับช้อนและรุนแรงยิ่งขึ้นจากการแตกเป็นฝักฝ่ายของราชสำนักกัมพูชาใน
ช่วงระหว่างปลายศตวรรษที่ 18 ถึงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 ยามใตที่ฝักฝ่ายหนึ่ง
ร้องขอความช่วยเหลือจากอธิราชรายหนึ่ง อีกฝ่ายกจะหันไปหาความคุ้มครองจาก
อธิราชอีกราย เมื่อการแย่งชิงบัลลังก์ตุเดือดยิ่งขึ้น อธิราชทั้งสองก็มักเข้าแทรก
แซงกิจการของราชสำนักกัมพูชาผ่านฝักฝ่ายที่แตกเป็นขั้ว 5 กัมพูชาไม่เพียงต้อง
ส่งบรรณาการและปฏิบัติตามพันธกรณีต่าง ๆ เช่นต้องได้รับการยอมรับจากราช
สำนักกรุงเทพฯ และเว้ แด่มหาอำนาจทั้งสองยังส่งกองทัพของตนเข้าไปตั้งมั่นใน
ดินแดนของกัมพูชาอีกด้วย 6
ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่น่าสิ้นหวังเช่นนี้ กษัตริย์กัมพูชาจึงต้องพยายาม
ถ่วงดุลอำนาจของอธิราชทั้งสองฝ่ายอยู่ตลอดเวลาด้วยการท่าให้ความผูกพันสวา -
มีภักดิ้พร่าเลือน เพื่อให้อาณาจักรของตนคงอิสระอยู่ไต้บ้าง 7 สถานะของกัมพูชา
ในภาวะดังกล่าวถูกสรุปไว้อย่างชัดเจนในพระราชสาส์นของพระเจ้ายาลอง ( 0!ล
10ก9 ) จักรพรรดิเวียดนามที่มีถึงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 ในปี 2354 ( ค.ศ . 1811 )
เพื่อขอให้ฝ่ายหลังยกโทษให้สมเด็จพระอุทัยราชาที่หนืไปไซง่อน ( เยียดินห์ไนขณะ
นั้น) หลังจากเกิดข้อพิพาทกับรัชทายาทของตนซึ่งหนีไปพึ่งกรุงเทพฯ:
...เพราะเมืองเขมรเคยพึ่งทั้งไทยและญวนมาแต่ก่อน พระเจ้ากรุงสยามเหมือน
เป็นบิดา และพระเจ้าเวียดนามเหมือนเป็นมารตาของเจ้ากรุงกัมพูชา บัตนี้
สมเต็จพระอุทัยราชามีความผิดต่อบิดา ไปอ้อนวอนขอให้มารดาช่วยขอโทษ
ก็มิรู้ที่จะทอดทิ้งเสียได้จึงมีพระราชสาสน์มาขอพระราชทานโทษ8
การทะเลาะเบาะแว้งระหว่าง “ลูก ๆ”ในความคุ้มครอง ได้ทำให้ความเป็นอริ
ระหว่าง “พ่อ”กับ “แม่ ”เลวร้ายลง จนน่าไปสู่สงครามในปี 2377 ( ค.ศ . 1 834 ) ซึ่ง

144 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ยาวนานถึง 14 ปี กว่าความบาดหมางระหว่างพ่อและแม่จะจบสิ้น กัมพูชาก็พินาศ
ย่อยยับโดยปราศจากผู้ชนะ ข้อตกลงของการสมานฉันท์ก็คือให้กัมพูชากลับไปคง
สถานะเดิมก่อนสงคราม ซึ่งกษัตริย์เขมรกล่าวไว้อย่างชัดเจนคือ “...ให้เราได้พึ่งบุญ
บารมีพระนครใหญ่ทั้ง 2 ราษฎรไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจะได้อยู่เย็นเป็นสุขทั้วหน้า”9
สำหรับสยาม พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ถือว่านี่เป็นความสำเร็จในแง่ที่ว่า “แต่
ญวนเอาเมืองเขมรชองเราไปตั้งแต่ปีวอก จัตวาศก นับได้ถึง 36 ปีแล้ว พึ่งไดคน
มาเป็นของเรา”' 0 ส่วนแชนด์เลอร์ลึอว่านี่เป็นการฟินฟู “เอกราช ”ของกัมพูชา 11
เอกราชของกัมพูชาในปี 2390 (ค.ศ. 1 847 ) ไม่ด่างจากปี 2354 ( ค.ศ. 1811 ) เท่าใด
นัก ซึ่งพระเจ้ายาลองสรุปไวัดีที่สุด ( ดังที่แชนด์เลอร์แปลไว้) คือเป็น “อาณาจักร
เอกราชที่เป็นทาสของลองฝ่าย ”12
สำหรับรัฐมลายูทางตอนเหนือ สถานการณ์ลำบากลำบนต่างจากกัมพูชาอยู่
เล็กน้อย แม้จะเป็นแว่นแคว้นเล็กๆหลายแห่งที่มิได้เป็นปีกแผ่น แต่ตำแหน่งทาง
ภูมิศาสตร์ที่อยู่ไกลออกไปทำให้พวกเขาไม่ต้องตกอยู่ท่ามกลางการปะทะแย่งชิง
กันระหว่างอธิราชทั้งหลาย ราชาแห่งรัฐมลายูเหล่านั้นจึงพอจะหายใจหายคอได้
มากกว่าดักหน่อย และยุทธศาสตร์ในการทัดทานแรงกดดันจากสยามก็ผาดโผน
กว่า อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ไม่ด่างจากกัมพูชาเท่าไรนัก
ว่ากันตามประวัติศาสตร์ สุลต่านแห่งเคตะห์ดัองต่อสู้เป็นประจำกับรัฐมลายู
รอบข้างและอริที่มีอำนาจในภูมิภาคเช่นมะละกาและอาเจะห์ เพื่อรักษาอำนาจของ
ตนไว้ ในทศวรรษ 1 650 (ระหว่าง พ.ศ . 21 93- 2202 ) ข้อพิพาทที่มีกับพวกดัทช์
ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในภูมิภาคขณะนั้น ทำให้เคดะห่ไม่มีทางเลือก ต้องร้อง
ขอความช่วยเหลือจากราชสำนักสยามด้วยการส่งดันไม้เงินต้นไม้ทองมาถวาย
อยุธยา สยามจึงถือว่าเคตะห้เป็นประเทศราชของตนนับแต่นั้นมา ตลอดศตวรรษที่
17 เคตะห์เอาตัวรอดด้วยการแสวงหาความช่วยเหลือสดับไปมา ไม่จากดัทช์ก็จาก
สยามเพื่อถ่วงดุลอีกฝ่ายหนึ่งไว้ กล่าวได้ว่าสุลต่านแห่งเคดะห์ประสบความสำเร็จ
ในการดำรงอิสระของตนไว้ได้ระดับหนึ่ง13
การขึ้นมามีอำนาจในพม่าของอังวะ และการล่มสลายของอาณาจักรอยุธยาใน
ปลายศตวรรษที่ 18 ทำให้เคดะห์สามารถตีดัวออกห่างจากสยามได้แต่ปรากฏว่า
อังวะต้องการให้เคดะห์สวามิภักติ้ด่อตน เคดะห์จึงต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองไป
ถวายอังวะ ที่แย่ก็คือสยามสามารถฟินดัวได้อย่างรวดเร็วและต้องการรื้อหื่เนสถานะ

บทที่ 4 อำนาจอธิปัตย์ 145


อธิราชเหนืออดีตประเทศราชของอยุธยา แต่สุลต่านแห่งเคดะห์ก็สามารถ “รักษา
สันติภาพกับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วยการถวายสวามิภักดิ้บางครั้งให้กับฝ่ายนี้ บางครั้งก็
ให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง และบ่อยครั้งให้กับทั้งสองฝ่าย ”14
อำนาจของอธิราชสยามต่อเคดะห์เพิ่มขึ้นด้วยเหตุผลสองประการ ประการ
แรกเพราะฝ่ายต่างๆภายในราชสำนักเคดะห์แย่งชิงบัลลังก์กันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในปี 2346 ( ค.ศ. 1 803 ) ซึ่งฝ่ายหนึ่งขอให้สยามส่งกองทัพเข้าไปช่วย 15 ประการ
ที่สอง เพราะเจ้านครศรีธรรมราชขันแข็งในการขยายอำนาจของตนเหนือเคดะห์
โดยถือว่ากระทำในฐานะเป็นตัวแทนของกรุงเทพฯ เพื่อดูแลผลประโยชน์ให้สยาม 16
ทั้งที่ความจริงทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง เกินกว่าความรับรู้หรือคำสั่งจาก
กรุงเทพฯ ส่งผลให้เคดะห์ขัดขืนและก่อการกบฎต่อสยามอยู่เนืองๆ17 ในท้ายที่สุด
สุลต่านแห่งเคดะห์ก็ถูกโค่นโตยกองทัพของเจ้านครฯในปี 2364 ( ค.ศ . 1821 )
กลันดัน ตรังกานู และฟรัก ก็เผชิญสถานการณ์ทำนองเดียวกัน สุลต่านของ
รัฐเล็กๆ เหล่านี้มีอำนาจในการปกครองตนเอง แต่ต้องจำยอมต่อความประสงค์ของ
สยาม การคุ้มครองมิใช่สิ่งที่พวกเขาปรารถนา เว้นแด่เมื่อต้องการความสนับสนุน
ราชบัลลังก์ แด่การต่อสู้เพื่อเป็นอิสระก็คงยังเป็นสิ่งที่คิตไม่ถึง การสวามิภักตึ๋ต่อ
หลายฝ่ายจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษจากอธิราชทั้งหลาย แทนที่
ราชาจะหาทางกำจัดเจ้าเหนือหัวจากด่างแดนไปเสียให้หมด เขาจำต้องทำให้มหา
อำนาจอีกรายหนึ่งมีผลประโยชน์ในอาณาจักรของตนเพื่อช่วยคานอำนาจของ
สยาม ดังนั้นเมื่ออังกฤษซึ่งเป็นอำนาจใหม่ในการคำทางทะเลของภูมิภาคนี้กำลัง
มองหาที่ตั้งสถานีการค้าของตน สุลต่านแห่งเคดะห์จึงรีบเชิญชวนทันที
การให้อังกฤษเช่าเมืองทำกัวลาในปี 231 5 ( ค.ศ . 1772 ) และเกาะปีนัง'ในปี
2328 ( ค.ศ. 1785 ) และการยกดินแตนเวลส์เลย์ให้อังกฤษ'ในปี 2343 ( ค.ศ . 1800 )
,
ไมใช่แค่การให้เช่าที่ดินเพื่อหารายได้ แด' ทั้งหมดเกิดขึ้นในบริบทของการเมือง
ระหว่างรัฐพี้นถิ่นในปลายศตวรรษที่ 18 สุลต่านเคดะห์ถือว่าอังกฤษมีพันธสัญญา
ที่จะต้องให้ความคุ้มครองเคดะห์หากเผชิญกับภัยคุกคามจากสยามหรือพม่า โดย
เฉพาะอย่างยิ่งจากความทะเยอทะยานของเจ้านครฯ ฝรัก กดันดัน และตรังกานูก็
ใช้ยุทธศาสตร์แบบเดียวกันนี้เช่นกัน18 ฟรักถึงกับขอขึ้นต่ออังกฤษ เพื่อเป็นหลัก
ประกันว่าอังกฤษจะช่วยในยามที่ถูกสยามแทรกแซง 19 แด่โชคร้ายตรงที่เจ้าหน้าที่
อังกฤษไม่เข้าใจการเมืองแบบประเทศราชเลย เพราะการเมืองที่อังกฤษรู้จักนั้นมี

146 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ธรรมเนียมคนละอย่างกัน อังกฤษจึงเต็มไจรับของขวัญจากบรรดาสุลต่าน แต่กลับ
มิได้สนองตอบความต้องการของพวกเขา
กรณีกัมพูชาและรัฐมลายู ชี้ให้เห็นถึงภาวะหนีเสือปะจระเข้ที่ประเทศราช
เผชิญ และความเปราะบางของยุทธศาสตร์ที่พวกเขาใช้เพื่อรับมือกับแรงกดดันจาก
อธิราชทั้งหลาย ความคุ้มครองเป็นการข่มเหงที่พวกเขาไม' ปรารถนา แต่ในเวลา
เดียวกันก็เป็นทางเสือกเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกดขี่ มันเป็นมือที่สามในกรณีทะเลาะ
เบาะแว้งระหว่างฝักฝ่ายในราชสำนัก แล้วมักลงเอยกลายเป็นกำปันเหล็กทุกครั้งไป
แม้แด่สยามก็ยังขอให้อังกฤษเข้าแทรกแชงในความขัดแย้งภายในราชสำนักของ
ตนในปี 2417 ( ค.ศ . 1874 ) ในช่วงเวลาที่ลัทธิรักชาติยังมิได้ถือกำเนิดนั้น ชนชั้น
ปกครองเชี้อเชิญอำนาจแทรกแซงจากต่างชาติเป็นครั้งคราวเพื่อขอการคุ้มครอง นี่
เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งเพื่อความอยู่รอต20
สิ่งที่น่าสนใจยิ่งก็คือ ปฏิสัมพันธ์ส่วนใหญ่ในความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักร
เหล่านี้ดำเนินการผ่านตัวกลางในรูปของกำนัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องบรรณาการ
และต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ความคลุมเครือของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศราชก็
แสดงออกผ่านความหมายอันคลุมเครือของบรรณาการประเทศราชต้วย งานเขียน
^
คลาสดิคเรื่อง 7/16 (3/71 ของมาร์แชล โมสส์ ( เ เ 3โ061 IV!ลบธร) ช่วยให้เราเข้าใจว่า
การแลกเปลี่ยนของกำนัลในสังคมก่อนสมัยใหม่เป็นวิธีสื่อความหมายถึงประเภท
ระดับ และเงื่อนไขของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับ21 ในอุษาคเนย์ก่อนสมัย
ใหม่ ของกำนัลอันหลากหลายอาจเป็นรหัสซึ่งสามารถถอดความได้ตามกฎเกณฑ์
ของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ นี่อาจช่วยอธิบายได้ว่าทำไมเอกสารเกี่ยวกับความ
สัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรเหล่านี้และกับตะวันตก จึงเต็มไปด้วยรายละเอียดของ
ของกำนัลที่มอบให้และได้รับ อย่างไรก็ตาม ประเด็นในที่นี้ก็คือการแลกเปลี่ยนของ
กำนัลซึ่งเป็นพิธีกรรมอันเก่าแก่นั้น มีความย้อนแย้งในตัวเอง ( เวลโลฤ(IX ) กล่าวคือ
“ของกำนัลนั้นเป็นทั้งสิ่งที่ตูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ แต่เป็นเรื่องผล -
ประโยชน์เสมอ และเป็นลิ่งที่ดูเหมือนกระทำโดยสมัครใจแต่จริงๆไม่ได้สมัครใจ ”22
ในกรณีสยาม แม้ว่าคณะทูตสยามจะแสดงความสวามิภักดิ้ต่อจักรพรรดิจีน
เป็นประจำ แต่การถวายเครื่องบรรณาการต่อจักรพรรดิจีนได้รับการอธิบายจาก
นักวิชาการสมัยใหม่ส่วนใหญ่ว่าเป็นการลงทุนเพื่อแสวงหากำไรอย่างหนึ่ง มิใช่
สัญญาณแสตงความนอบน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น เพราะจักรพรรดิจีนจะตอบแทน

บทที่ 4 อำนาจอธิปัตย์ า 47
คณะทูตสยามด้วยข้าวของที่มีค่าสูงกว่าและนำไปขายต่อในตลาดได้เสมอ ในทาง 23

กลับกัน เครื่องบรรณาการโดยเฉพาะดันไม้เงินด้นไม้ทองที่รัฐที่อ่อนแอกว่ามอบให้
สยาม กลับถูกถือว่าเป็นหลักฐานแสดงความนอบน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น อย่างไรก็ดี
ผู้มอบบรรณาการอย่างเคดะห์คงไม่ยอมรับการตีความแบบใช้อำนาจบาตรใหญ่
เช่นนี้ได้ และแย้งว่าบรรณาการเป็นเครื่องหมายของมิตรภาพและพันธมิตร “เป็น
เพียงการแลกเปลี่ยนความเคารพต่อกัน”ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น 24

ในความสัมพันธ์แบบประเทศราช เครื่องราชบรรณาการจึงอาจเป็นเครื่องหมาย
แสดงความคุ้มครองทั้งสองแบบ ในสถานการณ์,หนึ่งอาจแสดงถึงการสวามิภักติ้ที่
มิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อรักษาความสงบกับอธิราชเหนือหัว หรืออาจเป็นเพียงกล -
อุบายในอีกสถานการณ์หนึ่งก็ได้ มันเป็นทั้งปัญหาและทางออกไปพร้อมๆกัน เป็น
ทั้งการกดขี่และทางเลือก เป็นทั้งการบังคับและความสมัครใจ เป็นทั้งภาระที่ถูกบังคับ
และกุศโสบายเอาตัวรอด แล้วแด่เจตจำนง สถานการณ์แวดล้อม และมุมมองทั้งของ
ผู!้ ห้และผู้รับ ( และของนักประว้ตีศาสตร์ซึ่งเลือกข้างใดช้างหนึ่งเช่นกัน)
เจ้าประเทศราชใช้ความกำกวมของการคุ้มครองและการมอบบรรณาการเป็น
ยุทธศาสตร์เพื่อความอยู่รอต ถึงแม้พวกเขาจะไม่สามารถป้องกันการมัตเยียตการ
คุ้มครองแบบมาเฟืยไต้ แด่พวกเขาก็สามารถขัดขืนมันได้ตัวยการใช้เครื่องมือ
เดียวกัน นั้นคือบรรณาการและของกำนัล เพื่อแสวงหาการคุ้มครองจากมหาอำนาจ
อีกฝ่ายหนึ่ง ความสัมพันธ์แบบประเทศราชจึงไหลลื่นได้ตราบที่อำนาจและการ
ต่อต้านเกิดขึ้นภายใต้ความสัมพันธ์และการปฏิบัติเดียวกัน นอกจากนี้ความสัมพันธ์
แบบประเทศราชด่างจากแนวคิดรัฐฏาธิปัตย์สมัยใหม่ตรงที่ว่า การสวามิภักตึ้อย่าง
เป็นทางการและเปิดเผยมิได้ขัดกับความพยายามของประเทศราชที่จะธำรงอำนาจ
ปกครองตนเองหรือ “อิสรภาพ”ของตนไว้ การธำรงอำนาจปกครองตนเองมิได้ขัด
กับการที่ประเทศราชสวามิภักดี้ด่ออธิราชมากกว่าหนึ่งรายในเวลาเดียวกัน บ่อย
ครั้งการสวามิภักตึ๋ตอหลายอธิราชพร้อม ๆ กันกลับเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งหาก
ประเทศราชต้องการธำรง “อิสรภาพ ”ของตนไว้ ด้านที่น่าเศร้าของยุทธศาสตร์
แบบนี้ก็คือ มหาอำนาจมักถือว่าประเทศราชเป็นสมบัดของตน ดังเช่นที่สยามและ
เวียดนามอ้างสิทธิอำนาจเหนือกัมพูชา ในขณะที่กษัตริย์กัมพูชาถือเสมอว่าตนเป็น
อิสระ เคดะห์ก็เช่นกัน คือสุลต่านสามารถมอบปีนังและเวลส์เลย์เพื่อแลกเปลี่ยน
กับอำนาจเอาไว้ถ่วงดุลมหาอำนาจอีกฝ่ายหนึ่ง แด่เคดะห์ก็ยังมักตกเป็นเหยื่อของ

148 กำเนิตสยามจากแผนที่: ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


การคุ้มครองที่ถูกยัดเขียดโดยสยามอยู่เสมอ อำนาจอธิปัตย์ของประเทศราชมิได้
ถูกยึดรวบไปหมดโดยอธิราชที่สูงกว่าและอาณาจักรก็มิได้ถูกยึดครองอย่างอาณา -
นิคมสมัยใหม่ อำนาจอธิปัดย์ของรัฐก่อนสมัยใหม่มิได้เป็นหนึ่งเดียวหรือเป็นของ
เจ้าราย'ใดแด่ผู้เดียว แด่มีหลากระดับซ้อนทับกันอยู่และสามารถมีเจ้าของร่วมได้
คือทั้งอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินประเทศราชนั้น และของอธิราชที่สูงกว่านั้น ทั้งนี้
มิใช่การดัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ แด่ซ้อนทับกันอยู่ดามลำดับชั้นของอำนาจ และนี่คือ
สิ่งที่เจ้าหน้าที่อังกฤษเรียกว่า เมือง “ร่วม”(“00๓๓0ก”๓บลกฐ )

ยธิปไตยช้อนและชาวยุโรป
ถึงแม้ว่าการมี “อิทธิพล”โตยน้ยเหนือรัฐอี่นจะเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองระหว่าง
ประเทศในปัจจุบัน แต่ถ้าว่ากันโดยทางการแล้ว อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของรัฐ
หนึ่งๆ แด่ผู้เดียว มิใช่มีหลายเจ้าของหรือซ้อนหับลดหลั่นกันอยู่ และต้องชัดเจน
ไม่คลุมเครือ แม้แต่อาณานิคมก็ถีอว่าเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตยของประเทศ
จักรวรรดินิยม ฉะนั้นในทัศนะของชาวยุโรปในศตวรรษที่ า 9 พวกเขาต้องชี้ขาด
ว่าประเทศราชหนึ่งๆเป็นเอกราชหรือว่าเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นอาณานิคมของอีก
อาณาจักรหนึ่ง ต้องมิใช่อยู่กึ่งๆ กลางๆ ระหว่างเป็นเอกราชกับตกอยู่ในอาณ์ติหรือ
ดกเป็นของอาณาจักรอื่นมากกว่าหนึ่งรายพร้อมๆ กัน ความคลุมเครือของความ
สัมพันธ์แบบประเทศราชนี้เองทำให้กระทั้งนักวิชาการสมัยของเราเองก็ยังเข้าใจ
ไขว้เขว เพราะช่วงประมาณทศวรรษ 1930 - 1940 (ระหว่างพ.ศ . 2473- 2492 )
คำว่า “ประเทศราช”ถูกแทนที่ด้วยคำใหม่คือ “อาณานิคม” ทั้งๆ ที่คำใหม่นี้ใช้กับ
การเมืองสมัยใหม่เท่านั้น25 ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทยคนหนึ่งเคยพยายาม
จัดแบ่งสถานะของประเทศราชในแง' ที่ว่ามีเอกราชหรืออยู่ในอาณติระดับใด โดย
แบ่งออกเป็น กึ่งอิสระ ( ธ6๓!- เกบ่6|วธก0เ6ก1) , เมืองของเจ้าครองนคร ( เวทก0แว3แใ7 ),
-
เกือบอิสระ (ฤม35เ -1กบ่0ก6กส่6ก!) และหัวเมืองรอบนอก (ก©ก่ฤเา0โ3เ ดอก!©! ) 26 ส่วน
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสยามยุคใหม่อีกคนหนึ่งถึงกับถือว่าประเทศราชคือจังหวัดหนึ่ง
ของสยามนั้นเอง27
ในกรณีของรัฐมลายูในศตวรรษที่ 1 9 เกิดการเข้าใจผิดหลายครั้งในหมู่เจ้าหน้าที่
อังกฤษ และระหว่างพวกเขากับสยามและบรรดาสุลต่านมลายู ปัญหาเกิดขึ้นมา
นาน เช่นตั้งแต่ปี 2364 ( ค.ศ. 1821 ) เมื่อกองทัพของนครฯ บุกเคดะห์ สุลต่านของ

บทที่ 4 อำนาจอธิปัตย์ 149


เคตะห์ร้องขอความช่วยเหลือจากอังกฤษแต่ถูกปฏิเสธ เคดะห์จึงกล่าวหาว่าอังกฤษ
ละเมิดพันธสัญญา (โดยนัยของการให้เช่าปีนังและเวลส์เลย ) ในที่สุดสุลต่านเคดะห์
ถูกเนรเทศและอังกฤษก็มิไต้เข้ายุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด
ฝ่ายอังกฤษรู้สึกสับสนต่อความคลุมเครือของความสัมพันธ์แบบประเทศราช
ไม่แน่ใจว่าเคดะห์เป็นเอกราชหรืออยู่ในอาณ์ติของสยามกันแน่ หากขี้นต่อสยาม
การที่นครฯ โจมตีเคดะห้ก็ต้องถือเป็นกิจการภายในของสยามที่ตนไม, ควรเข้าไป
แทรกแซง ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการช่วยเหลือเคดะห์ แต่หากเป็นกรณีเช่นนั้น การเช่า
ปีนังและเวลส์เลย์ดามสัญญาที่ทำกับเคดะห็ในปี 2329 และ 2345 ( ค.ศ. 1 786 และ
1 802 ) โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากสยาม ย่อมต้องถือว่าเป็นโมฆะ แด'ในอีกต้าน
หากเคดะห์เป็นเอกราช สัญญาเช่าย่อมมีผลบังคับใช้ และการที่นครฯ บุกเคดะห์
ก็ย่อมต้องถือเป็นการรุกรานและต้องมีการตอบโต้ การถกเถียงในหมู่เจ้าหน้าที่
อังกฤษมุ่งไปที่ประเด็นว่าการถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นการบังคับหรือสมัครใจ
มันเป็นเครื่องแสดงการสวามิภักตี่ของผู้ให้ต่อผู'้ รับ หรือว่าเป็นเพียงของกำนัลแสดง
ความเคารพโดยรัฐที่มีอำนาจน้อยกว่าซึ่งย่อมมีอิสระที่จะมีหรือยกเลิกความสัมพันธ์
ตังกล่าวตามที่ตนปรารถนาไต้ทุกเมื่อดังที่สุลต่านเคดะห้ใต้เคยอ้างไว้ นักประวัติ -
ศาสตร์คนหนึ่งไต้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “ความจริงตูจะอยู่ตรงไหนดักแห่งระหว่างทัศนะ
ที่สุดขั้วทั้งสองนี”้ 28 หรือกล่าวให้ชัดยิ่งขี้นก็คือ ความจริงตำรงอยู่ในความหมาย
ทั้งสองอย่างและเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไต้
นอกจากนี้ อังกฤษยังสงสัยว่าสัญญากับเคดะห์มีนัยยะว่าอังกฤษมีพันธะต้อง
คุ้มครองเคดะห์ด้วยหรือไม่ ซึ่งปัญหานี้ก็อยู่ที่นัยของการแลกเปลี่ยนของขวัญ (ซึ่ง
ในกรณีนี้ก็คือสัญญาเช่าปีนังและเวลส์เลย ) ในธรรมเนียมพื้นถิ่นอีกเช่นกัน ปัญหา
ความสัมพันธ์แบบประเทศราชและประเพณีการแลกเปลี่ยนของขวัญ ส่งผลให้
เจ้าหน้าที่อังกฤษแตกออกเป็นสองฝ่าย ต่างฝ่ายต่างเสนอนโยบายที่อิงตามการ
ตีความของตน ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 1 9 อังกฤษไม่ปรารถนาไปยุ่งเกี่ยว
กับการเมืองของคนพื้นเมือง29 แน่นอนว่าอังกฤษพอใจที่จะดีความว่าสัญญาเช่า
มีผลบังคับใช้โดยไม่ต้องมีพันธะใดๆ ต่อเคดะห์ พวกเขาอ้างว่าสัญญาไม่ไต้เอ่ยถึง
พันธกรณีใดๆ เลย โตยมองข้ามทัศนคติคนพื้นเมืองต่อการแลกเปลี่ยนของขวัญ
สิ้นเซิง อังกฤษไม่เพียงยอมรับเหตุการณ์วุ่นวายในปี 2364 ( ค.ศ . 1821 ) โดยไม่
เข้าไปแทรกแซง แต่ยังกังวลว่าสยามอาจเกิดข้อกังขาต่อการที่อังกฤษอยู่ที่นั้นอีก

1 50 กำเนิดลยามจากแผนที่: ประวติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ด้วย ฉะนั้น คณะทูตจอห์น ครอว์เฟิร์ด (ป0เาก 0โ3พ!บโป ) ที่เดินทางมาสยาม'ในปี
เดียวกันนั้นจึงมีภารกิจประการหนึ่งก็คีอ สอบถามว่าสยามคิดอย่างไรต่อสัญญาที่
อังกฤษทำกับเคดะห์และต่อการปรากฎดัวของอังกฤษในภูมิภาคนั้น
ลงท้ายปรากฎว่าครอร์เฟิร์ดดัองประหลาดใจแต่ก็ยินดีที่ประเด็นดังกล่าวไม่
เป็นปัญหาแต่ประการใด เขาสรุปไว่ในรายงานด้วยหลักเหตุผลตามกฎหมายของ
ชาวยุโรปว่า การที่สยามนิ่งเงียบตลอด 37 ปีที่ผ่านมา ย่อมถือได้ว่าเป็นการยอมรบ
สิทชิ้ของอังกฤษ30 ที่ตลกก็คีอ หลายทศวรรษหลังจากนี้ อังกฤษกลับเป็นฝ่ายที่
ยังคงสงลัยว่าสัญญาเช่าที่ทำกับเคดะห์นั้นมีผลบังคับใช้หรือไม่ เพราะพวกเขาไม่
เคยแน่ใจว่าสถานะของเคดะห็ในความสัมพันธ์กับสยามเป็นเช่นไรแน่ ในท้ายที่สุด
เจ้าหน้าที่อังกฤษคนหนึ่งชี้ว่า ถึงแม้ว่าเคดะห์จะขึ้นกับสยาม แต่สัญญาเช่ากระทำ
ด้วยความเข้าใจ( ผิด )ว่าเคดะห์เป็นรัฐเอกราช ฉะนั้นการครอบครองปีนังและเวลส์-
เลย์จึงอาจเป็น “ความผิดพลาด ” แด่สิทธอันเกิดจากการครอบครองนั้นไต้รับการ
ยอมรับจากสยามในภายหลัง ที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คิอเขาให้เหตุผลว่า เนื่องจาก
เจ้านครฯ เป็นขุนนางชั้นสูงของสยาม ฝ่ายอังกฤษซึ่งกังวลกับข้อกฎหมายจึงถือเอา
ข้อตกลงที่ทำกับเจ้านครฯ เกี่ยวกับการปักปันเขตแดนในปี 2376 ( ค.ศ. 1833 )
เป็นหลักฐานทางกฎหมายที่หนักแน่นชิ้นแรกที่แสดงสิทชิ้ของอังกฤษเหนือปีนัง
และเวลส์เลย 31
ความสับสนเกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบประเทศราชอีกอย่างหนึ่งที่ซับซ้อน
ยิ่งกว่านั้น เผยตัวชัดในเหตุการณ์ที่เกี่ยวช้องกับการโจมดีเปรักโดยเจ้านครฯ ในปี
2369 ( ค.ศ . 1826 ) ภารกิจหนึ่งของคณะทูตเบอร์นืย์ในปี 2368 - 2369 คือการขอ
หลักประกันจากสยามว่าจะไม่ส่งกองทัพเข้าโจมดีรัฐมลายูไม่ว่าในสถานการณ์ใด
,
ก็ตาม เบอร์นืย์ทำสำเร็จโดยไม ต้องสะสางความคลุมเครือว่ารัฐมลายูเหล่านั้นมี
สถานะชิ้นต่อหรือเป็นอิสระจากสยามกันแน่32 สยามตกลงตามคำขอภายใต้
เงื่อนไขว่าอังกฤษต้องไม่ข้ตขวางการที่รัฐมลายูเหล่านั้นถวายต้นไม้เงินด้นไม้ทอง
ตามที่เคยเป็นมา เมื่อคำนึงว่าในขณะนั้นอังกฤษเองก็สับสนกับเรื่องประเทศราช
จึงเป็นการยากที่จะตำหนิเบอร์นืย์ที่ยอมรับเงื่อนไขที่ขัดแย้งกันเองนี้ อย่างไรก็ตาม
ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดที่สัญญาดังกล่าวทั้งถูกวิพากษ์อย่างรุนแรงพอ ๆ กับได้รับ
การสนับสนุนอย่างแข็งข้นในหมู่เจ้าหน้าที่อังกฤษ33 พวกเขาเห็นตรงกันข้อเดียวว่า
การถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองไม่ควรถูกดีความว่าเป็นการสวามีภักดิ้ต่อกรุงเทพฯ

บทที่ 4 อำนาจอธิปัดย์ ารา


ฉะนั้นในทัศนะของอังกฤษ สยามจึงไม, มีสิทธึ้แทรกแซงในกิจการของรัฐมลายู 34
ในกรณีของกลันดันและตรังกานู อังกฤษก็ทำความตกลงกับสยามในทำนองเดียว
กันด้วย 35 ทั้งสองฝ่ายต่างมิได้ตระหนักว่าข้อตกลงเหล่านี้อยู่บนฐานความเข้าใจผิด
ไม่นานหลังจากสนธิสัญญาเบอร์นีย์สำเร็จลง เจ้านครฯ ส่งกองทัพขนาดย่อม
เข้าไปย้งเปรักเพื่อทวงต้นไม้เงินต้นไม้'ทอง กัปตันเจมลั โลร์ เจ้าหน้าที่ประจำปีนัง
ที่อยู่ฝ่ายสนับสนุนรัฐมลายู ผู้เข้าใจดีว่าต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นเครื่องหมายของ
การสวามีภักดี้ จึงยุให้สุลต่านฟรักยืนยันในเอกราชของตนโดยปฏิเสธคำเรียกร้อง
ของเจ้านครฯ ยิ่งไปกว่านั้น เขาทำสัญญาในนามของบริษ้ทอังกฤษ ประกาศ
ยอมรับสถานะเอกราชของฝรักทั้ง ๆ ที่มิได้รับการอนุม่ดีจากระดับสูงอย่างถูกต้อง
ฝ่ายฝรักถือว่าอังกฤษยอมรับเป็นผู้คุ้มครองของตนแล้วตามพันธะที่มาพร้อมกับ
การทำสัญญาดังกล่าว เปรักจึงข้บไล่กองทัพของนครฯ ออกไป ทั้งยังแจ้งให้สยาม
,
รับรู้ว่าอังกฤษจะเข้าข้างตน แด ปรากฏว่าเมื่อเจ้าหน้าที่อังกฤษที่ปีนังรู้เรื่องเข้า
พวกเขารีบปฏิเสธและแจ้งว่าอังกฤษไม่ไต้มีพันธะดังกล่าว ที่ตลกก็คือ ฝ่ายนครฯ
เองยอมล่าถอยและบอกเปรักว่าตนจะไม่โจมดีเปรักอีก แต่เปรักต้องคงสถานะเป็น
ประเทศราชของสยามอยู่ต่อไป ฟรักก็ยอมตกลงและกล่าวว่าความสัมพันธ์ระหว่าง
ฟรักกับสยามไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แถมฟรักยังแสดงความชื่นชมต่อข้อตกลง
ระหว่างสยามกับอังกฤษ ฟรักบรรลุเป๋าหมายในการใช้อังกฤษเป็นตัวยันกับสยาม
แม้ว่าอังกฤษจะปฏิเสธที่จะให้การช่วยเหลือก็ตาม เหตุการณ์นี้ยุติลงไต้ก็ด้วยอาศัย
ความเข้า' ใจผิตที่ ซับ ซ้อนและแสนจะสับสนเหล่านี้นี้เอง 36
1 1

ดูเหมือนว่าสยามจะถือว่าข้อตกลงที่จะไม่ส่งกองทัพเข้าไปในรัฐมลายูนั้นเป็น
ประเด็นต่างหากที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐมลายูเป็นประเทศราชของสยาม ราชสำนัก
สยามจึงไม่ค่อยเข้าใจสถานะของอังกฤษในเปรักเท่าไรนัก แม้จนล่วงเลยมาถึงปี
2393 ( ค . ศ . 1850 ) ราชสำนักสยามยังร้องเรียนกับทูตอังกฤษอีกคนคือ เซอร์เจมส์
บรูค ( รเโ ปล๓658 โ 00 เ^6 ) ว่าเปรักเคยเป็นประเทศราชของสยามและส่งต้นไม้
เงินต้นไม้ทองให้สยาม แต่ได้ถูกปีนังยืดเอาไปแล้ว 37 อังกฤษอาจปฏิเสธข้อกล่าวหา
ดังกล่าว แต่คำกล่าวของสยามสะท้อนให้เห็นว่าราชสำนักสยามเข้าใจความสัมพันธ์
ระหว่างฟรักกับอังกฤษอย่างไร สยามจะดีความความสัมพันธ์ระหว่างเปรักและ
อังกฤษเป็นอื่นไต้อย่างไรนอกจากจะเห็นว่านี้เป็น “ความคุ้มครอง ” ที่อังกฤษมอบ
ให้กับเปรัก

152 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ความคุ้มครองหรือ ? สุลต่านเคดะห์หลายคนได้เรียนรู้มาครั้งแล้วครั้งเล่า
ว่าอังกฤษมิได้ยึดถือพันธะตามนัยที่มากับการมอบของขวัญ อังกฤษไม่ลังเลที่จะ
ทอดทิ้งพันธมิตรที่กำลังตกระกำลำบากเพื่อรักษาสันติภาพของภูมิภาค ( ที่แปลว่า
การค้าในภูมิภาค) พวกเขาเลือกที่จะไม่เป็นปฏิปักษ์กับสยาม โดยแลกกับชะตากรรม
ของเคดะห์ พวกเขากังวลว่าหากตนไม่ร่วมมืออย่างเต็มที่กับสยาม อาจทำให้สยาม
ไม่พอใจและส่งผลกระทบต่อสถานีการค้าของพวกเขาในปีนังและเวลส์เลย์ อังกฤษ
ช่วยสยามปราบปรามกองทัพของสุลต่านเคดะห์คนเก่าที่ต้องการกดับมามีอำนาจ
ด้วยการส่งเรือปืนไปปิดปากแม่นี้าเคดะห็ไว้ถึงสองครั้งในปี 2374 และ 2381 (ค.ศ.
1831 และ 1 838 ) 38 การที่เคดะห์มอบปีนังและเวลส์เลย์เป็นของขวัญไม่ได้ทำให้
อังกฤษซึ่งคิดแค่ตามประสากฎหมาย ยื่นมือมาช่วยป้องกันการแทรกแซงของสยาม
อังกฤษได้เมืองทำชั้นตีไว่ในมือและไม่ต้องการให้อะไรมากระทบการค้าของตน ดังที่
บอนนี ( ค. ธอกก©V ) ได้กล่าวไว้ว่า ความหวังของสุลต่านเคดะห๎ได้กลายเป็น “ความ
หลงละเมอครั้งใหญ่หลวง”39
กรณีเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเข้าใจผิดที่เกิดจากการปะทะกันระหว่างความ
สัมพันธ์แบบประเทศราชที่มีอยู่เดิมกับการเมืองระหว่างประเทศสมัยใหม่ตามระบบ
เหตุผลของยุโรป ยิ่งไปกว่านั้น การที่รัฐมลายูเหล่านี้ร้องขอความคุ้มครองจาก
อังกฤษ ทำให้อังกฤษสามารถอ้างได้ว่ารัฐมลายูเป็นสมบัติของตน ตลอดครึ่งแรก
ของศตวรรษที่ 1 9 อังกฤษยึดถือนโยบายไม่แทรกแซงกิจการของรัฐมลายูเพื่อรักษา
ผลประโยชน์ทางการค้าของตนในภูมิภาคให้ได้มากที่สุต ด้วยการนี้อังกฤษจึงไม่
แตะต้องความคลุมเครือในเรื่องอธิปไตยของประเทศราชเหล่านี้ ขณะที่ฝรั้งเศสซึ่ง
เผชิญกับความคลุมเครือของฐานะประเทศราชเช่นเดียวกันกลับไม่ปล่อยให้ความ
คลุมเครือนั้นตำรงอยู่ต่อไป พวกเขาตูจะตระหนักถึงสถานการณ์ที่ดำรงอยู่และฉวย
ประโยชน์จากมันเพื่อบรรลุความมุ่งหมายของตนในอินโดจีน
เช่นเดียวกับอังกฤษในระยะแรกฝรั่งเศสยอมรับอิทธิพลของสยามในกัมพูชา
และลังเลที่จะเข้าแทรกแซงกิจการภายในของกัมพูชา40 ในปี 2404 ( ค.ศ. 1861 )
ราชสำนักเขมรแตกออกเป็นฝักเป็นฝ่าย ฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะช่วยเหลือเจ้าเขมรฝ่าย
ที่ร้องขอความคุ้มครองจากตน41 อย่างไรก็ตาม ต่อมาฝรั่งเศสเริ่มตระหนักถึงอีกต้าน
หนึ่งของความคลุมเครือ นั้นคือความเป็นอิสระของประเทศราช เมื่อฝรั่งเศสและ
กัมพูชาทำข้อตกลงฉบับแรกในปี 2406 ( ค.ศ . 1863) โดยสยามไม่ได้รับรู้ สยามจึง

บทที่ 4 อำนาจอธิปัตย์ 153


ยื่นประท้วง ผู้บัญชาการกองเรือฝรั่งเศสตอบกลับอย่างหัวหมอประสากฎหมายว่า
กัมพูชาเป็นประเทศเอกราช มีอธิปไตยเป็นของตนเอง จึงมีสิทธึ๋ที่จะเจรจาทำสนธิ
สัญญากับตนได้โดยไม่จำเป็นต้องปรึกษาประเทศอื่นใดก่อน42
ฝรั่งเศสและนักประวัติศาสตร์ภายหลังถือว่าสนธิสัญญาซึ่งมี 19 มาตราในปี
ค.ศ . 1863 ( พ.ศ . 2406 ) ที่ทำให้กัมพูชากลายเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส คือ
หลักหมายที่แสดงความสัมพันธ์แบบอาณานิคมระหว่างสองประเทศ กระนั้นก็ตาม
สยามและกัมพูชาในขณะนั้นอาจไม,ได้เข้าใจสนธิสัญญาในแบบนั้น ไม,ใช่เพราะ
พวกเขาต่อด้านจักรวรรดินิยม แด่เพราะพวกเขาเข้าใจข้อตกลงดังกล่าวด้วยกรอบ
ความคิดที่ด่างกัน ในความเป็นจริง แม้ว่าจะมีสนธิสัญญาดังกล่าว ฝรั่งเศสเองก็มิได้
ห้ามกัมพูชาคงความสัมพันธ์แบบประเทศราชกับสยาม รวมทั้งการส่งบรรณาการให้
สยาม43 ในปีลัดมา ฝรั่งเศสยังเชิญให้สยามเข้าร่วมในพิธีบรมราชาภิเษกของกษัตริย์
นโรตมอีกด้วย 44 ในจดหมายถึงกษัตริย์นโรตม พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ได้ชี้แจงถึง
สิ่งที่กงสุลฝรั่งเศสอธิบายเกี่ยวกับสถานการณ์โดยรวมแก่ราชสำนักสยามว่า:
มองสิเออวิโอบาเรต์กงสุลฝรั่งเศสก็ไต้มาคิดกันกับท่านเสนาบดีผู้ใหญ่ จะให้
ฝ่ายไทยแลฝ่ายฝรั่งเศสไปให้พร้อมกัน อภิเศกเธอให้ฝนเจ้ากรุงกัมโพชาต่าย
ตามอย่างอ้างว่าครั้งสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชพระองค์จันนั้นไต้รับสุพรรณ-
บัตรทั้งไปแต่กรุงเทพฯ นี้แล้ว ภายหดังก็ไปรับหองทั้งมาแต่เมืองเวียดนามฝน
สองฝ่าย...( ถึงองค์สมเด็จพระหริรักษ์ฯ ก็เหมือนกัน ได้รับสุพรรณบัตรไปแด่
กรุงเทพฯ แล้ว ก็ไปรับหองข้างกรุงเวียดนาม ).... ในสองคราวเจ้าแผ่นดินเขมร
นั้น เมื่อมีหนังสือมาถึงไทยก็ใช้ชื่อไทย เมื่อมีหนังสือไปถึงญวนก็ใช้ชื่อญวน
ญวนกับไทยไม่ชอบกันจึงแยกย้ายกันทั้ง ด่างคนต่างว่าเมืองเขมรเปนของตัว
ก็ในที่ไทยญวนก็ว่าเมืองเขมรเปนของตัวในคราวเดียวกันดังนี้นั้น ฝรั่งเศส
ไม่ดัตสิน ฝรั่งเศสเปนไมตรีอันสนิทกับไทยก่อนญวนจึงชิงชัง ...จึงมาทำ
สัญญาช่วยทำนุบำรุงเมืองเขมรแทนที่ญวนแด่ก่อน เพราะเปนไมตรีกับไทย
การปติพัทธอันใดของไทยที่มีอยู่ในเมืองเขมรก็ให้คงที่ [ทั้งฝรั่งเศสและไทย]
มีอำนาจในเมืองเขมรเท่ากัน....การที่กงสุลฝรั่งเศสว่าดังนี้ รูปความก็เข้าเรื่อง
กันกับหนังสือที่ฝรั่งเศสเขียนให้เธอที่เมืองอุดงมีไชย ที่ส่งเข้ามาให้ดูนั้นแล
[สัญญาปี 2406 / ค . ศ . 1863] ท่านเสนาบดีผู้ใหญ่ได้ฟังดังนี้แล้วปฤกษาเห็น
พร้อมกันจะให้พระยามนตรีสุริยวงษ์คุมสุพรรณบัตรแลเครื่องอิศริยยศทั้งปวง
ออกไปทำการอภิเศกแก่เธอ 45

154 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ประเด็นตรงนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่าข้อความดังกล่าวถ่ายทอดสิ่งที่โอบาเรตกล่าวต่อ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ได้ถูกต้องหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าพระเจ้าอยู่หัวและขุนนางใน
ราชสำนักเข้าใจสถานการณ์ดังกล่าวอย่างไร ในเอกสารอีกชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับกัมพูชา
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ยอมรับว่าในระยะแรกสยามไม่ค่อยเข้าใจข้อตกลงระหว่าง
ฝรั่งเศสและกัมพูชาเท่าใดนัก จากนั้นจึงให้คำอธิบายต่อสถานการณ์ด้วยวาทกรรม
แบบพื้นถิ่น นั้นคือ กัมพูชายังคงขึ้นต่อทั้งสยามและฝรั่งเศส สยามและฝรั่งเศสเปีน
มิตรกัน จึงไม่เหมือนกับเวียดนาม ฉะนั้นสยามจึงดกลงให้ฝรั่งเศสดูแลเจ้าเขมรและ
อาณาจักรสองส่วนของกัมพูชาที่อยู่ห่างออกไปเกินกว่าที่สยามจะดูแลเองได้ส่วน
สยามยังคงดูแลดินแดนอีกสองส่วนที่ดั้งอยู่ใกล้สยามต่อไป ดังนั้น เจ้าเขมรจึงควร
ให้ความเคารพทั้งสยามและฝรั่งเศส46 การอธิบายว่าฝรั่งเศสเข้ามาแทนที่เวียดนาม
ในความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่ก่อนแล้ว และยินดีไห้พิธีกรรมที่สำคัญสองประการ ( คือ
การถวายเครื่องบรรณาการและบทบาทของสยามในพิธีบรมราชาภิเษก ) ดำเนิน
ต่อไป เท่ากับว่าบทบาทของฝรั่งเศสมิไต้แปลกแยกต่อการเมืองแบบที่ดำรงอยู่ก่อน
แด่อย่างใด ฝรั่งเศสกลายเป็นหุ้นส่วนใหม่ของการร่วมอุปถัมภ์กัมพูชา ดูเหมือนว่า
ฝรั่งเศสรู้จักหาประโยชน์เข้าตัวจากความสัมพันธ์แบบประเทศราชของคนพื้นเมือง
แต่เหยื่อของความสัมพันธ์ใหม่นี้มิใช่แค่กัมพูชา และผู้ชนะก็มิใช่แค่ฝรั่งเศส
เท่านั้น การประชันข้นแข่งอีกอย่างหนึ่งที่ถ่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ ก็คือ แบบวิถีความ
สัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในด้านหนึ่ง การให้ความคุ้มครองร่วม
ต่อกัมพูชา คือหลักประกันชั้นเลิศต่อสันติและวิถีชีวิตปกติในกัมพูชาดังที่กษัตริย์
กัมพูชาผู้หนึ่งได้เคยกล่าวไว้ มันเป็นเงื่อนไขคํ้าจุนเสถียรภาพในภูมิภาค อำนาจ
อธิปไตยซ้อนกันไม่ใช่สิ่งผิดปกติและไม่ต้องปรับตัวแก่ไข ตราบเท่าที่ไม่มีการต่อสู้
ชิงความเป็นใหญ่ระหว่างอธิราชครั้งใหม่ แต่ในอีกด้านหนึ่ง การที่ฝรั่งเศสเข้ามา
เป็นหุ้นส่วนรายใหม่นี้ ก็เปิดโอกาสให้ระบบอาณานิคมแบบยุโรปเกิดขึ้น ภายใด็วิถี
ความสัมพันธ์อย่างอาณานิคม อธิปไตยซ้อนทับเหนือดินแตนเดียวกันนับเป็นสิ่งผิด
ปกติ สถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้ให้หลักประกันสำหรับสันติภาพและเสถียรภาพ การ
ปรับเปลี่ยนจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐลองแบบวิถีกำลังดำเนินอยู่บนเวทีเดียวกัน ทั้งใน
ระดับของมโนทัศน์และการปฏิบัติ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเหล่านี้คลุมเครือ
ในปีต่อๆมา ฝรั่งเศสจึงหาทางขจัดความคลุมเครือเกี่ยวกับอำนาจอธิปัดย์เหนือ

บทที่ 4 อำนาจอธิปัตย์ 155


กัมพูซาด้วยการอุทธรณ์ต่อนานาชาติตามระบบกฎหมายระหว่างประเทศ พระเจ้า-
อยู่หัวรัชกาลที่ 4 ก็ยืนยันสิทธิ้ของสยามต่อประชาคมโลกเช่นกัน แด' ข้ออ้างที่ถูก
นำมาเสนอนี้อิงอยู่กับระบบการเมืองแบบพื้นถิ่น กล่าวดือพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4
ได้เสนอประวิเดศาสตร์กัมพูชาตามฉบับของไทยเพื่อแสดงสถานะของกัมพูชา ( ซึ่ง
ท่านเห็นว่าเป็นซนกึ่งอารยะกึ่งอนารยะ ) ว่าเป็นประเทศราชของสยามซึ่งเป็นชน
ชาติที่มีอารยธรรมสูงส่งกว่า47 ในระยะเวลาไม่กึ่ปี ฝรั่งเศสเรียกร้องราชสำน้กสยาม
ครั้งแล้วครั้งเล่าให้ทำความตกลง “ปัญหาการเมืองของกัมพูชา” ในที่สุดเมื่อวันที่
า 5 กรกฎาคม 2410 ( ค.ศ . 1 867 ) ทูตสยาม ณ กรุงปารีสไต้ลงนามในสนธิสัญญา
ยอมรับว่าฝรั่งเศสมีอำนาจเหนือกัมพูซาแต่ผู้เดียว การสวามิภักดึ๋หลายทางเพื่อ
ความอยู่รอดของกัมพูชากลายเป็นโอกาสสำหรับฝรั่งเศสอันเป็นตัวแทนภูมิศาสตร์
สมัยใหม่ ส่วนมโนทัศน์และการปฏิบัติของระบบการเมืองก่อนสมัยใหม่กลายเป็น
ผู้แพ้ ระบบการเมืองสมัยใหม่ได้ลงหลักปักฐานเป็นวิถีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่
ชอบธรรม ไม่เฉพาะแต่กับตะวันตก แด่รวมทั้งต่อชนชั้นนำในท้องถิ่นด้วย
ทางชายแดนภาคใต้ของสยาม ตลอดสามทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 19
ทั้งสยามและอังกฤษยกระดับการแทรกแซงและการควบคุมของตนเหนือรัฐมลายู
ด้วยการส่งตัวแทนของตนเข้าไปประจำในรัฐที่ตนมีอิทธิพลอยู่ ทั้งสองฝ่ายปกป้อง
อิทธิพลของตนโดยปราศจากการปะทะกัน ในช่วงเวลานี้ฝ่ายสนับสนุนนโยบาย
อาณานิคมของอังกฤษได้เสนอให้หาทางผนวกรัฐมลายูและคอคอตกระ แม้ว่าจะมี
เสียงคัดค้านเข้มแข็งพอควรเนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงการยั่วยุฝรั่งเศส อังกฤษ
เริ่มสถาปนาอำนาจปกครองเต็มที่เหนือรัฐมลายูหลังจากเกิดความขัดแย้งระหว่าง
บรรดาสุลต่านมลายูหลายครั้งในทศวรรษ 1860 และ 1870 (ระหว่าง พ.ศ. 2403
ถึง 2422 ) ขณะที่สยามค่อยๆ ผนวกรัฐที่อ้างว่าเป็นของตนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ
ระบบการปกครองแบบใหม่ที่รวมศูนยไนปีพ. ศ . 2414 ( ค.ศ. 1871 ) เคดะห์กลาย
เป็นจังหวัดหนึ่งภายใต้การดูแลโตยตรงของกรุงเทพฯ และต่อมาถูกยกระดับขึ้น
เป็นศูนย์กลางของมณฑลไทรบุรีในปี 2434 ( ค.ศ. 1 891 ) 48 แด่สยามต้องเผชิญ
กับปัญหาในการควบคุม ( มิพักต้องพูตถึงการผนวก) จังหวัตมลายูเหล่านี้ซึ่งเป็น
ภาระที่สร้างปัญหาให้กรุงเทพฯตลอดมา ในที่สุดเมื่อปี 2452 ( ค.ศ. 1909 ) สยาม
ตกลงมอบรัฐมลายูสี่แห่งรวมทั้งเคดะหไห้กับอังกฤษ โดยแลกเปลี่ยนกับสิทธิ -
ประโยชน์บางประการ เช่น ยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนอังกฤษในสยาม

156 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


และเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่าจากอังกฤษเพื่อสร้างทางรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ กับมลายูของ
อังกฤษ49 การปักปันเขตแดนอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นในครั้งนั้น
การปักปันเขตแดนระหว่างสยามและกัมพูชาก็เริ่มขึ้นหลังจากปัญหาอำนาจ
อธิปไตยเหนือดินแตนกัมพูชาแบบสมัยใหม่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน50 แต่เกิตปัญหา
ขึ้นเมื่อสยามและฝรั้งเศสพยายามลากเส้นเขตแตนบนพื่นที่ตามบริเวณตลอตแนว
แม่นั้าโขง เพราะบริเวณที่เป็นกันชนระหว่างมหาอำนาจทั้งสองเต็มไปด้วยเมืองที่มี
อธิปไตยซ้อนทับกันจึงต้องมีการตัดสินกันว่าเมืองเหล่านั้นเป็นของใครกันแน่

บทที่ 4 อำนาจอธิปัตย์ า 57
บทที่ 5
ชายขอบ
บกกั 5
ชายขอบ

ข้อพิพาทระหว่างสยาม -ฝรั่งเศสเหนือดินแดนลาวในช่วงต่อระหว่างศตวรรษที่ 19
และ 20 ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางโดยนักวิชาการอุษาคเนย์โดยทั่วไปจัดแบ่ง
ได้เป็น 3 แนวทาง แนวทางแรกคือจากมุมมองแบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
คือตูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสยาม ฝรั่งเศส อังกฤษ และมหาอำนาจยุโรป
บางประเทศ เช่น รัสเชีย และเยอรมนี การศึกษาแนวนี้มุ่งตูนโยบายและการกระทำ
ของเจ้าอาณานิคม การเจรจา สนธิสัญญา นโยบายต่างประเทศของสยาม และผล
กระทบจากสนธิสัญญา แนวทางที่สองศึกษาการเมืองภายในของประเทศที่เกี่ยวข้อง
คือพิจารณาความขัดแย้งระหว่างฝักฝ่ายภายในราชสำนักสยามหรือรัฐบาลต่างๆ
และชีวประวัติของผู้ที่มีบทบาทสำคัญ หรือความสามารถของสยามในการรับมือ
กับจักรวรรดินิยมในแง่ที่เกี่ยวกับกิจการต่างๆภายในประเทศ กองทัพ การบริหาร
ราชการ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญเพื่อรับมือกับภัยคุกคามของจักร-
วรรดินิยม แนวทางที่สามเป็นการอธิบายตัวเหตุการณ์ เช่น การปะทะ ข้อพิพาท
วีรกรรมสำคัญ ๆ และเหตุการณ์ปิดแม่นํ้าเจ้าพระยาบริเวณพระบรมมหาราชรังโดย
เรือฝรั่งเศสในปี 2436 ( ค.ศ. 1 893 ) หรือที่รู้จักกันในนามวิกฤติการณ์ ร.ศ. 1 1 2
ถึงแม้ว่าจะมีแง่มุมต่างๆ กัน แต่งานศึกษาข้อพิพาทระหว่างสยาม -ฝรั่งเศส
ส่วนใหญ่มีสาระสำคัญ (11า6๓6) เดียวกัน นั่นคือการรุกรานของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส
ชนชั้นนำสยามไต้รับการยกย่องเชิดชูในแง่อัจฉริยภาพทางการทูต ทักษะและสายตา
อันยาวไกลในการรับมือกับสถานการณ์ และความเป็นผู้นำอย่างยากจะมีใครเทียบ

บทที่ 5 ชายขอบ 16 ใ
เคียงได้ต่อกิจการภายในประเทศ งานศึกษาเหล่านี้ตอกยํ้าจนดูเหมือนปราศจาก
ข้อสงสัยแล้วว่า เหตุการณ์ร.ศ. 112 เป็นผลมาจากการรุกรานของจักรวรรดินิยม
ฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าข้อพิพาทจะเป็นเรื่องของดินแดน แด่ปัจจัยที่สำคัญที่สุตกลับไต้รับ
ความสนใจน้อยมาก นั่นคือ ธรรมชาติของตัวพี้นที่นั้นเอง
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะธรรมชาติของหลักฐานซึ่งโดยมากเป็นเอกสารโต้ตอบ
ระหว่างกรุงเทพฯ ปารีส และลอนดอน ดังนั้น ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้
จึงสนใจคันหาว่าดินแดนเหล่านี้ถูกแบ่งสรรอย่างไรในเชิงการเมือง มากกว่าจะตูที่
ธรรมชาติของพื้นที่ซึ่งกำลังเปลี่ยนโฉม การทูตและการสงครามจึงเป็นประเด็น
ใหญ่ที่ครอบงำคำบรรยายโตยมาก อย่างไรก็ดี เหตุผลที่ลึกลงไปกว่านั้นก็คือ
นักวิชาการเหล่านั้นปักใจไว้ก่อนแล้วว่าไม, มีความแตกต่างใดๆ เกี่ยวกับความรู้
และเทคโนโลยีของพื้นที่ทางการเมือง แนวคีตสมัยใหม่ในเรื่องอำนาจอธิปไตย
บูรณภาพแห่งรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ครอบงำการคิดของเราเสีย
จนทำให้เรามองข้ามการดำรงอยู่ของมโนภาพและแบบแผนการปฏิบัติที่แตกต่าง
จากแบบของเราหรือถึงขนาดปฏิเสธไว้ล่วงหน้าด้วยซํ้าไป ในเมื่อเชื่อหัวปักหัว
ป้าเช่นนี้ นักวิชาการจึงมักพยายามสะสางความยุ่งเหยิง คันหาว่าอำนาจอธิปัตย์
ควรเป็นของใครเพียงหนึ่งเดียวเหนือดินแตนที่เป็นข้อพิพาท ด้วยการประเมินจาก
ประวัติศาสตร์ว่าคู่กรณีฝ่ายไหนมีสิทธึ๋ชอบธรรมมากกว่ากัน จิตสำนึกสมัยใหม่
,
เป็นตัวคัดกรองที่ทำให้ระบบการเมืองและภูมิศาสตร์ที่มีอยู่เดิมซึ่งเราไม คันเคย
กลับฟังดูคุ้นเคยมากขึ้นโดยแปลเป็นวาทกรรมสมัยใหม่เสียเลย นักวิชาการเหล่า
นั้นมองไม่เห็นบทบาทที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีพื้นที่แบบใหม่ ผลก็คือ
งานเหล่านี้นำเราไปผิตทาง มองเห็นแด่ทัศนะของรัฐซึ่งต่อมาเป็นรัฐชาติสมัยใหม่
เท่านั้น เมื่อกล่าวถึงกรณีนี้ครั้งใต เราได้ยินแต่การอำงสิทธิ้ของชาติสำคัญๆเท่านั้น
แทบไม่มีใครรู้จักชะตากรรมของประเทศราชเล็กๆ ที่ตกเป็นข้อพิพาทเลย น้อยคน
ที่จะสนใจฟังพวกเขา ทำราวกับว่าพวกเขาครอบครองพื้นที่ที่ตายสนิทไปแล้ว หรือ
ไม่เคยมีชีวิต ไม่มีทัศนะ ไม่มีสิทธิ้เสียง และไม่มีประวํเติศาสตร์เป็นของตนเอง
สภาพการณ์อธิปไตยซ้อนหับกันเป็นเรื่องปกติของอาณาจักรที่เล็กกว่าและ
หัวเมืองน้อยๆตลอดชายแดนสยาม ( ยกเว้นด้านพม่า ) รวมทั้งดินแดนลาวตลอด
แม่นี้าโขงและเลยออกไป ที่น่าสนใจคือ คำคุณศัพท์ที่ใข้เรียกเมืองเหล่านี้ในภาษา

162 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ไทยและลาวคือคำว่า “สองฝ่ายฟ้า ”หรือ “สามฝ่ายฟ้า”ซึ่งแสดงถึงจำนวนของ
อธิราชที่เมืองๆ หนึ่งขึ้นต่อ1 บางครั้งก็เรียกว่า “ส่วยสองฝ่าย (ฟ้า )”หรือ “ส่วยสาม
ฝ่าย ( ฟ้า ) ” ส่วย ใน'ที่'แหมายถึง บรรณาการ และบางครั้งคำว่า ฟ้า ก็ถูกละไว้ ในที่นี้
จึงหมายถึงบรรณาการที่ส่งให้อธิราชสองหรือสามแห่งนั่นเอง2
รัฐที่เล็กกว่า เช่น ล้านนา หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ มักอยู่ใต้อธิราชหลาย
รายในเวลาเดียวกัน หัวเมืองน้อยๆที่อยู่ระหว่างล้านนากับพม่า ระหว่างหลวง -
พระบาง ยูน'นาน ดังเกี๋ย และระหว่างเวียงจันทน์กับดังเกี๋ยและอันนัม ล้วนเปีนเมือง
ที่ขึ้นกับเจ้าเหนือหัวหลายราย หัวเมืองเหล่านี้เป็นพวกฉาน (ไทใหญ่ ) ลื้อ กะเหรี่ยง
ลาว พวน ผู้ใท จีน และชนชาติอื่นๆ อีกมาก หัวเมืองเหล่านี้อ่อนแอกว่าและมัก
แตกเป็นก๊กเหล่า แต่ก็เป็นตัวของตัวเองในความสัมพันธ์กับเจ้าที่มือำนาจมากกว่า
ผลก็คือ พวกเขายอมสวามิภักตึ๋ตอรัฐใดก็ตามที่เข้มแข็งกว่าและสามารถทั้งให้
ความคุ้มครองหรือรุกรานก่อความเจ็บปวดแก่พวกเขาได้
ประเทศราชเล็กๆ เหล่านี้ถูกถือว่าเป็นชายแดนของอาณาจักรใหญ่ๆ หลาย
แห่งในเวลาเดียวกัน กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาณาจักรของราชาธิราช ไม่ว่าจะ
เป็น สยาม พม่า และเวียดนาม มีชายแดนช้อนทับกันอยู่ ภาวการณ์เช่นนี้คือราก
เหง้าของปัญหา เพราะเมื่อนำความคิดเรื่องเส้นเขตแตนสมัยใหม่ที่ถือว่าอำนาจ
อธิปัตย์เหนือดินแดนต้องชัดเจนเด็ดขาดและมีเจ้าของรายเดียวเท่านั้นมาใช้ พื้นที่
ชายขอบของรัฐใหญ่ ๆ ในภูมิภาคนี้ย่อมกำกวมทั้งนั้น
เมื่อถึงทศวรรษท้ายๆของศตวรรษที่ 19 ผู้ปกครองในกรุงเทพฯ ตระหนักถึง
ปัญหานี้เป็นอย่างดี พวกเขาสมัครใจเข้าร่วมการแข่งขันแย่งชิงพื้นที่ภายใต้อำนาจ
อธิปัตย์อันกำกวม ในขณะที่อังกฤษและฝรั่งเศสกำลังเดินหน้ามาเรื่อยเป็นลำดับทั้ง
จากตะวันตกและตะวันออกในระยะเดียวกัน พวกเขาทั้งหมตทุกฝ่ายโบกธงชาติคน
ละผืน แต่พวกเขาล้วนเป็นตัวแทน ( 3ฐ6ณ5) ของภูมิศาสตร์สมัยใหม่เพื่อเข้าแทนที่
พื้นที่ทางการเมืองแบบก่อนสมัยใหม่ที่ดำรงอยู่เดิม ข้อชัดแย้งระหว่างพวกเขามี
เพียงว่าจะตัดสินชายแดนที่ช้อนหับกันอย่างไร ความปรารถนาที่จะยึดครองอธิป-
ไตยเหนือดินแดนแต่เพียงผู้เดียวนี่เอง ที่นำไปสู่วิกฤติการณ์ระหว่างสยาม -ฝรั่งเศส
ในปี 2436 หรือ ร.ศ . า 1 2 ( ค.ศ. 1 893 )

บทที่ 5 ชายขอบ 163


ชายขอบที่ซ้อนทับกัน
ทางตอนเหนือของสยามมีศูนย์กลางอำนาจในภูมิภาคอยู่สองแห่ง คือ ล้านนาและ
สิบสองปันนา ( อยู่ทางใต้ของจีนในปัจจุบัน) ช่วงศตวรรษที่ 14 ถึงต้นศตวรรษที่ 16
ล้านนาเป็นหนึ่งในอาณาจักรที่ทรงอำนาจที่สุดในภูมิภาคโดยมีศูนย์กลางที่เชียงใหม่
ปลายศตวรรษที่ 16 ถึงศตวรรษที่ 18 ล้านนาตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักร
ดองอูของพม่าและของสยามในบางเวลา ในปลายศตวรรษที่ 18 หลังจากย่อยยับ
เสียหายจากสงครามยืดเยื้อระหว่างพม่า - สยามในช่วงทศวรรษ 1760- 1780 ( พ.ศ.
2303- 2332 ) ล้านนาได้รับการฟืนฟูให้เป็นประเทศราชของสยาม สิบสองปันนา
ซึ่งอยู่ทางเหนือของล้านนา เป็นกลุ่มของรัฐเล็กๆ และแบ่งย่อยกว่า โตยเชียงตุงมี
อำนาจมากที่สุด ด้วยความที่อยู่ระหว่างพม่า ล้านนา และยูนนาน เชียงตุงจึงเป็น
ประเทศราชของอธิราชทั้งจากพม่า จีน และบางครั้งก็สยามด้วย ในขณะที่เชียงตุงมี
ประเทศราชของดนในแว่นแคว้นสิบสองปันนา*
ระหว่างเชียงใหม่กับเชียงตุง มีหัวเมืองที่อ่อนแอกว่าตั้งอยู่เช่นเชียงรุ้ง เชียง-
แขง และเชียงแสน เมืองเหล่านี้ส่งบรรณาการให้กับบรรดาเจ้าเหนือหัวในภูมิภาค
และส่งโดยตรงให้กับศูนย์กลางอำนาจของพม่าและสยามด้วย กระนั้นก็ตาม เมือง
เหล่านี้ก็มีอำนาจปกครองตนเองในระดับที่สามารถขัดขืนเจ้าเหนือหัวและเปลี่ยน
สังกัดสวามิภักดิ้ของตนได้ อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งในราชสำนักของพวกเขา
หรือระหว่างเจ้าผู้ปกครองท้องถิ่นกันเองมักนำไปสู่การแทรกแซงจากเจ้าเหนือหัว
หลายราย 3
สถานะและภาวะของหัวเมืองที่ขึ้นกับอธิราชหลายรายนี้เป็นเรื่องปกติและ
เป็นที่รับรู้เข้าใจกันในหมู่อธิราช เชียงแสนซึ่งเป็นเมืองโบราณที่ขึ้นกับเชียงใหม่
เชียงตุง และหลวงพระบางมาโดยตลอด ถูกทอดทั้งไม่มีเจ้าปกครองในช่วงปลาย
ศตวรรษที่ 18 เพราะผู้คนถูกกวาดต้อนหรือพากันอพยพหนีหายไปในช่วงสงคราม
พม่า - สยาม และไม่มีการฟืนฟูจนถึงทศวรรษ 1 880 ( พ.ศ . 2423 - 2432 ) ถึงตอนนั้น
ได้มีพวกฉานเข้าไปอยู่และทำมาหากินรอบๆ กำแพงเมืองที่ถูกทอดทั้ง ที่น่าสนใจ

* ข้ 0 ความดอนนี้แปลตามด้นฉบับซึ่งผิดพลาด เชียงตุงเป็นเมืองอำนาจสูงสุดในหมู่หัวเมืองในแว่น
แคว้นรัฐฉานสิบสองปันนาอยู่เหนือขึ้นไปอีกโดยมีเชียงรุ้งเป็นหัวเมืองใหญ่สุด หัวเมืองเล็กๆ ระหว่าง
ล้านนาและแว่นแคว้นรัฐฉาน มีอาทิเช่น เชียงแขง เชียงแลน เชียงของ เมืองสิง เมืองยอง เป็นต้น -
หมายเหตุเพิ่มเติมฉบับแปล

164 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ดิศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ก็คือแม้สยามจะยืนยันว่าดนมีอำนาจอธิปัตย์เหนือเชียงแสน แต่พระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 ก็มิได้อ้างว่าเชียงแสนเป็นของสยามแต่ผู้เดียว เพียงมีดำริว่าหากพม่า
และเชียงตุงยินยอมให้เชียงแสนขึ้นต่อทั้งสองฝ่าย (พม่า / เชียงตุง และ สยาม /
เชียงใหม่ ) เชียงใหม่ก็ควรอนุญาตให้พวกฉานตั้งรกรากได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่พม่า
ก็มิได้อ้างเอาเชียงแสนเป็นของตนแต่ผู้เดียวเช่นกัน ( ตามความในจดหมายฉบับ
เดียวกันของรัชกาลที่ 5 ) แด่ขอให้เชียงแสนตำรงสถานะเดิม นั่นคือเป็น เมือง
“ร่วม ”ที่ผู้คนของทั้งเชียงตุงและเชียงใหม่สามารถอยู่อาศัยได้4
บริเวณเลียบแม่นํ้าสาละรินทางด้านตะวันดกของล้านนาเป็นดินแดนของพวก
คะยา ( บางทีเรียกว่ากะเหรี่ยงแตงหรือยาง ) รอนัลด์ เรนาร์ต ( ค0ก3เ0เ ค6ก3 โ0เ ) ชี้ว่า
รัฐคะยาเล็ก ๆ เหล่านี้เป็นชายแดนกั้นกลางระหว่างพม่าและล้านนาที่มีพลวัตผันแปร
ไปมา เพราะนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 รัฐคะยาสวามิภักตี้กับทั้งสองฝ่ายและ
บ่อยครั้งก็ขัดขืนต่ออำนาจของสองฝ่าย บางครั้งพวกคะยายังถึงกับสั่งให้เมืองเล็ก ๆ
ที่อยู่ใต้อำนาจเชียงใหม่ส่งบรรณาการให้กับตน5
ดินแตนของชาวลาวตลอดสองฝังแม่นํ้าโขงก็เต็มไปด้วยหัวเมืองที่อยู่ในภาวะ
ทำนองเดียวกัน ล้านช้างเป็นอาณาจักรหนึ่งที่ทรงอิทธิพลในภูมิภาคคล้ายกัมพูชา
และล้านนา แต่ตกเป็นเมืองประเทศราชของสยามและพม่านับแต่ปลายศตวรรษ
ที่ 1 6 เป็นด้นมา ในทศวรรษ 1 680 ( พ.ศ. 2223 - 2232 ) ล้านช้างแตกออกเป็น
สองอาณาจักร คือหลวงพระบางและเวียงจันทน์ และในศตวรรษที่ 18 เวียดนาม
( อันนัม ) ก็เริ่มเช้ามามีบทบาทเป็นเจ้าเหนือหัวอีกราย นับแต่ปลายศตวรรษที่ 18
,

อาณาจักรลาวทั้งสองส่งบรรณาการให้กับสยามและเวียดนามโดยสมํ่าเสมอ ในปี
2369 ( ค.ศ. 1826 ) เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์นำการลุกฮือของประเทศราชต่อต้าน
สยามผู้กดขี่ การพ่ายแพ้ของเวียงจันทน์เปิดโอกาสให้เวียดนามเช้ามามีบทบาท
โดยตรง เพราะเจ้าอนุวงศ์ขอความคุ้มครองจากอันนัม ทั้วทั้งภูมิภาคตลอดแนว
ลำนำโขงดกเป็นเป้าการแย่งชิงกันนับแด่นั้นมา
อาณาบริเวณระหว่างหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และศูนย์อำนาจของเวียดนาม
ในดังเกี๋ยและอันนัม เต็มไปด้วยหัวเมืองเล็กๆ จำนวนมากทำนองเดียวกับทาง
เหนือของล้านนา ส่วนบนของบริเวณนั้นที่ดิตกับตอนใต้ของจีนเรียกว่าสิบสอง-
จุไท เป็นกลุ่มหัวเมืองเล็กๆที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของเมืองไลไลเป็นถิ่นที่อยู่ของพวก
ผู้ไทมาแด่โบราณ ไลส่งบรรณาการให้กับหลวงพระบาง ดังเกี๋ย (ฮานอย ) และจีน

บทที่ 5 ชายขอบ 165


( กวางตุ้ง ) ประว่ตศาสตร์ของพวกเขาเองบอกว่าไลอยู่ภายใต้เจ้าเหนือหัวสามฝ่าย
มานานกว่า 300 ปี 6 โดยแบ่งอาณาจักรไสออกเป็นสามส่วนแต่ละส่วนส่งแรงงาน
ไพร่และส่วยให้กับเจ้าเหนือหัวแต่ละแห่ง มีธรรมเนียมปฏิบัติในราชสำนัก ระบบ
การบริหาร เงินตรา และตัวอักษรที่รับมาจากจารีตของจีนและเวียดนาม เวียดนาม
^ ^
เรียกเจ้าไลว่า กวานฟู ( พลก บ ) ส่วนจีนเรียกว่า หอง ( แอกฐ ) และหลวงพระบาง
เรียกว่า หลวงพรหมวงศา 7 ดลอดครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ดินแดนแถบนี้ประสบ
ความเดือดร้อนจากพวกโจรจีนซึ่งเรียกกันว่าฮ่อ ที่อพยพมาจากทางใต้ของจีนหลัง
พ่ายแพ้จากกบฏไต้เผ็ง ( พ.ศ. 2393- 2407 / ค.ศ. 1850 - 1864 ) กองทัพของดังเกี๋ย
ให้ความตุ้มครองไลและขับไล่พวกฮ่อออกไป ในขณะที่ไลร้องขอความตุ้มครองจาก
หลวงพระบางด้วยแต่ถูกเพิกเฉย ไลจึงหยุดส่งบรรณาการให้หลวงพระบาง ดังนั้น
ในระยะก่อนหน้าเกิดข้อพิพาทระหว่างสยาม-ฝรั่งเศสนั้น ไลจึงอยู่ภายใต้อิทธิพล
'

8
ของเวียดนามทงทางวัฒนธรรมและการทหาร8
แกง หรือเตียนเบียนฟูในปัจจุบัน เป็นเมืองสามฝ่ายฟ้าของไล เวียดนาม
( ดังเกี๋ย ) และหลวงพระบาง รัฐเหล่านี้มีสายสัมพันธ์ที่เข้มขันเสียจนแถงมิใช่เพียง
แค่ประเทศราชของเจ้าเหนือหัวทั้งสามมาเนิ่นนาน แด่ในปรัมปราต้นกำเนิดของแถง
ยังเชื่อว่าดนมีกำเนิดร่วมกับเวียดนามและลาวด้วย บรรพบุรุษของพวกเขาทั้งหมด
เป็นพี่น้องกัน9 ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างแถงกับเวียดนามเหนียวแน่นมาก
,
สยามไม มีอะไรเกี่ยวข้องกับแถงเลย แต่ปรากฏว่าก่อนจะเกิดข้อพิพาทระหว่าง
สยาม-ฝรั่งเศสไม่นาน แถงถูกสยามยึดครองและทำให้กลายเป็นหัวเมืองขอบนอก
สุดของสยามซึ่งสยามใช้เป็นศูนย์บัญชาการกองทัพปราบฮ่อในปี 2428 ( ค.ศ .
1 885 ) 10 ณ เวลานั้นเองที่สยามจับกุมเจ้าผู้ครองแถง ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าไล เพราะ
เจ้าแถงปฏิเสธที่จะอ่อนน้อมยอมแพ้ต่อกองทัพของสยาม สยามจึงแต่งตั้งคนที่
จงรักภักดีต่อสยามขึ้นเป็นเจ้าแกงคนใหม่แทน
ทางใต้ของสิบสองจุไทมีกลุ่มเมืองเล็กๆที่เรียกว่าหัวพันห้าทั้งหก เมืองเหล่านี้
เป็นประเทศราชของหลวงพระบาง เวียงจันทน์ดังเกี๋ย อันน้ม และเป็นของเจ้าทางใต้
ของจีนในบางครั้ง หลังจากเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้ในปี 2369 ( ค.ศ . 1826 ) สยามก็ยก
หัวพันฯ ให้กับหลวงพระบางเป็นรางวัลตอบแทนความจงรักภักดีที่มีต่อสยาม แต่
ขณะเดียวกัน เจ้าอนุวงศ์ก็ยกหัวพันฯ ให้กับเวียดนามเป็นรางวัลตอบแทนที่ช่วย
ตุ้มครองตนจากการคุกคามของสยาม เมื่อประสบความเดือดร้อนจากพวกโจรฮ่อ

166 I กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


หัวพ้นฯ ไต้ร้องข 0 ความช่วยเหลือจากทั้งสยามและเวียดนาม ผลก็คือไนปี 2428
( ค.ศ. 1885 ) กองทัพสยามประกาศว่าหัวพันฯทั้งหมดเป็นของสยาม
กรณีของพวนก็คล้ายๆ กัน กล่าวคือ หลังการกบฎของเจ้าอนุวงศ์พวนถูกยก
ให้กับหลวงพระบางและเวียดนามพร้อมๆกัน เจ้าอนุวงศ์หนีเข้าไปอยู่ในเมืองพวน
จนกระทั้งกองทัพสยามติดตามเข้าไปกวาดล้าง สยามตั้งผู้ที่ภักดีกับตนขึ้นปกครอง
พวน แต่ถูกเวียดนามสังหารในอีกไม่กี่ปีต่อมา ผลที่ตามมาก็คือในปี 2376 ( ค.ศ.
1 833 ) กองทัพสยามทำการกวาดต้อนผู้คนและเผาทำลายหัวพันฯ และเมืองพวน
เพราะถือว่าพวนเปินเมืองด่านหน้าของเวียดนาม11 ภายหลังสงคราม 14 ปีระหว่าง
สยามกับเวียดนาม เวียดนามสถาปนาเจ้าพวนขึ้นปกครองในฐานะประเทศราชของ
ตนโดยพวนต้องส่งบรรณาการให้กับตนเป็นประจำทุกปี อย่างไรก็ตาม พวนตกเป็น
ของสยามอีกครั้งในปี 2428 ( ค.ศ . 1885 ) ด้วย!เมือของกองทัพเดียวกันกับที่ปราบ
แกง ไล และหัวพันฯ12
บริเวณตลอดแนวสองฝังแม่นั้าโขงเต็มไปด้วยรัฐประเทศราชเล็กๆ ถึงแม้ว่า
เจ้าผู้ครองหัวเมืองเหล่านี้จะถือว่าตนมีอธิปไตยและอำนาจในการปกครองตนเอง
แต่พวกเขาอยู่ชายขอบอำนาจของอธิราชหลายราย กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ใน
สายตาของอธิราชเจ้าเหนือหัว เมืองเหล่านี้เป็นเมืองชายแดนของตนหรือไม่ก็ของ
ศัตรู ในฐานะเมืองชายแดน พวกเขาจึงถูกปล่อยปละทั้งใหัมีอิสระและทั้งถูกละเลย
ตราบเท่าที่ไม่มีสงครามระหว่างเจ้าเหนือหัวในภูมิภาคเกิดขึ้น แต่ในภาวะสงคราม
ประเทศราชใดที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางทัพของสองฝ่ายมักตกเป็นเหยื่อก่อนเสมอ
ในสถานการณ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้น เจ้าห้องถิ่นอาจถูกบังคับใหํขึ้นต่ออำนาจของเจ้า
เหนือหัว มิฉะนั้นอาจถูกปลดและแทนที่ด้วยผู้ที่สวามิภักดี้กับเจ้าเหนือหัว ในกรณี
ที่เลวร้ายที่สุด หากพวกเขาไม่ถูกบังคับให้ส่งอาหารและกำลัง ก็อาจเจอกับการ
ปล้นสะดมเผาทำลายและกวาดต้อนผู้คน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายศัตรูใช้ประโยชน์
ดังที่แม่ทัพของสยามกล่าวถึงกรณีของพวนในปี 2376 ( ค.ศ. 1 833):
ระวังระไวอย่าให้พวนซึ่งกวาดมาแล้วหนีกลับไปบ้านเมืองได้ เข้าฤดูแล้งก็ให้
คิดเกลี้ยกล่อมเอาพวนซึ่งตกค้างอยู่นั้นต่อไป ถ้าจะเอามาโดยดีก็ให้เกลี้ย -
กล่อมเอามา ถ้าเห็นว่าจะเอามาโดยตีไม่สิ้นพวนยังตกค้างอยู่ จึงจะโปรดให้
กองทัพไปดีกวาตเอามาให้สิ้น อย่าให้เป็นเชื้อสายทางเสบียงอาหารกับข้าศึก
ต่อไปได้13

บทที่ 5 ชายขอบ 167


ด้วยมาตรการเหล่านี้รัฐประเทศราชเล็ก ๆ ที่ถูกถือว่าเป็นเมืองชายแดนจึงถูก
บังคับให้เปลี่ยนสังกัดเพื่อความอยู่รอดเป็นระยะๆ อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน
รัฐเหล่านี้จึงกำกวมยุ่งเหยิงตามการดับเปลี่ยนย้ายสวามีกักติ้และกลับไปมาหดัง
ความพ่ายแพ้ทำให้อำนาจอธิปัตย์ของรัฐเหล่านี้คลุมเครือและซับช้อน แต่การยึด
ครองมักเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และเป๋าหมายอยู่ที่การบังคับให้เจ้าประเทศราช
ยอมสวามีกักดิ้ชึ่งก็มิใช่ข้อยืนบันว่าผู้พิชิตเป็นเจ้าของประเทศราชแด่ผู้เดียว แม้ว่า
ผู้พิชิตจะอ้างสิทธิ้ของตน แต่รัฐประเทศราช “ชายแตน”เหล่านี้ ยังคงอยู่ภายใต
อำนาจอธิปไตยช้อน
ในระบบการเมืองที่ดำรงอยู่แด่เดิม ขอบข่ายอำนาจของราชาธิราชแผ่รัศมีออก
ไปในลักษณะเหมือนแสงเทียน เมืองประเทศราชเล็กๆเหล่านี้มักตั้งอยู่บนส่วนท
ขอบข่ายอำนาจของอธิราชหลายรายช้อนทับกัน 4 '
ในขณะที่พรมแดนสยามต้าน
พม่าแยกสองฝ่ายออกจากกันนั้น พรมแดนสยามด้านอื่นๆ ล้วนมีอีกอาณาจักรเป็น
เจ้าของร่วม ชายแดนของรัฐเหล่านี้ช้อนหับกัน ในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐแบบจารีต
ชายขอบอำนาจที่ช้อนหับกันอยู่ไม่ถือว่าเป็นปัญหาถ้าหากมิได้ถูกใช้เป็นเส้นทาง
รุกรานของฝ่ายศัตรู อำนาจอธิปไตยช้อนถือเป็นภาวะปกติที่ได้รับการยอมรับจาก
ฝ่ายต่างๆ แม้แด' พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และพม่าก็ยินดีให้เชียงแสนอยู่ภายใต
เจ้าเหนือหัวสองฝ่าย 15 ฉะนั้นอธิปไตยที่คลุมเครือเหนือดินแดนประเทศราชจึงม
ประโยชน์และเป็นสิ่งที่อธิราชเองก็ปรารถนา คือแทนที่จะต้องตั้งรัฐอิสระขึ้นมาเป็น
กันชน องค์อธิราชหลายรายกลับมีอำนาจร่วมกันเหนือรัฐในแถบกันชนตราบเท่า
ที่เจ้าประเทศราชชายราชอาณาจักรเหล่านั้นคงความจงรักภักดีต่ออธิราชทุกราย
สยามจึงไม่ใช่เพียงแค่ปราศจากเส้นเขตแดนแบบสมัยใหม่ล้อมรอบตน แต่สยามบัง
ถูกล้อมรอบด้วยชายแดน “ร่วม ”คือชายแดนที่ใซัร่วมกับรัฐอื่นอีกด้วย
แด่รัฐแบบสมัยใหม่ไม่ยอมใหัมีชายแดนช้อนทับ อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน
ระหว่างรัฐต่าง ๆ ต้องแบ่งแยกจากกันอย่างกระจ่างชัดจนถึงจุดที่อำนาจของสอง
ฝ่ายมาบรรจบกันพอดี ต้องไม่ช้อนทับกันและต้องไม่มีช่องว่างคั่นกลาง ดังนั้นการ
เปลี่ยนสภาพของชายขอบรัฐแบบก่อนสมัยใหม่ให้เป็นดินแดนแบบสมัยใหม่ท
บรรจบกันพอดี หรือสร้างขอบของรัฐแบบสมัยใหม่ขึ้นบนพื้นที่ที่รัฐก่อนสมัยใหม่
เคยถือครองร่วมกัน ย่อมหมายความว่า สามารถมีเส้นเขตแดนได้มากกว่าหนึ่งเส้น
และทุกเส้นย่อมถูกต้องพอๆ กัน เพราะเส้นเขตแดนสามารถจะเป็นตรงไหนก็ไต้บน

168 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


พืนทีทีช้อนทับกันอยู่ ขึ้นอยู่กับว่าอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนประเทศราชถก
ตัดสินแบ่งกันอย่างไร หากเราคำนวณตามหลักคณิตศาสตร์ก็อาจกล่าวไต้ว่า ยิ่ง
มีประเทศราชมากรายและอธิราชเข้ามาเกี่ยวข้องหลายฝ่ายมากเท่าใด จำนวน
เส้นเขตแตนที่เป็นไปไต้ก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดข้อพิพาทเหนือ
ดินแดนย่อมมีจำนวนนับไม่ถ้วน
เพื่อบรรลุความปรารถนาที่จะมีเส้นเขตแดนที่ดายตัวซัดเจนและมีอำนาจ
อธิปไตยเพียงหนึ่งเดียว ดินแดนของประเทศราชในบริเวณที่ช้อนทับกันอย่จะต้อง
ถูกตัดสินและแบ่งสรรกันให้เด็ดขาด ทั้งสยามและมหาอำนาจยุโรปร่วมกันท่าสิ่งนี้
สยามปฏิบัติการตามทางของตนเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งดินแดนมาเป็นของตน สยาม
มิได้เป็นเหยื่อผู้อ่อนแอของลัทธิล่าอาณานิคมอย่างที่มักเข้าใจกัน ชนชั้นปกครอง
ของสยามในปลายศตวรรษที่ า 9 คุ้นเคยกับความสัมพันธ์แบบประเทศราช และ
หลายคนเริ่มคุ้นเคยกับแนวคิดภูมิศาสตร์การเมืองแบบตะวันตกเซ่นกัน ในระยะที่
ระบอบอาณานิคมซึ่งมาพร้อมกับพลังอำนาจของเส้นเขตแดนและระบบการเมือง
สมัยใหม่กำลังคืบคลานมา สยามจำต้องรักษาสถานะเจ้าเหนือหัวเหนือประเทศราช
ของตนไว่โดยด่วน ด้านหนึ่งผู้ปกครองของสยามตระหนักดีถึงอำนาจอธิปัตย์เหนือ
ดินแดนประเทศราชเหล่านั้นที่ไม่ชัดเจนและรู้ว่าประเทศราชเหล่านั้นยังไม่ได้เป็น
, ,
ของสยามแด ผู้เดียว แดในอีกต้าน สยามปรารถนาจะขยายอำนาจเข้ายึดครอง
ประเทศราชเหล่านั้นไว่ในกำมือตนให้มั่นคงยิ่งขึ้น สิ่งที่แตกด่างจากการคุ้มครอง
ของอธิราชแบบเดิมก็คือ คราวนี้สยามมาพร้อมเครื่องมือกลไกของมหาอำนาจแบบ
ใหม่ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ ระบบการปกครองบริหาร จนถึงการปักปันเขตแดนและทำ
แผนที่ สยามเข้าชิงชัยกับมหาอำนาจยุโรปเพื่อพิชิตและผนวกรัฐชายขอบเหล่านี้
เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนใต้อำนาจอธิปไตยเด็ดขาดเพียงหนึ่งเดียวของตน
ความปรารถนาที่จะแผ่ขยายดินแดนนี้แสดงออกอย่างโจ่งแจ้งตรงไปตรงมา

การก่อร่างพื้นที่ “ของเรา”
ในปลายศตวรรษที่ 19 สยามตระหนักดีถึงชาวยุโรปที่มีอำนาจมากกว่า แด่นั้นไม่ไต้
หยุดยั้งความปรารถนาของสยามที่จะขยายอำนาจแบบเจ้าเหนือหัวของตนต่อ
ประเทศราชต่างๆ ออกไปเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อพม่ามีปัญหากับอังกฤษในปี 2428
( ค.ศ. 1885 ) เจ้าเมืองฉานบางแห่งไต้ร้องขอความคุ้มครองจากสยาม คำตอบรับ

บทที่ 5 ชายขอบ 169


ของพระจุลจอมเกล้าฯ แสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานของสยามได้เป็นอย่างดี
นั่นคือ “ไทย ลาว และเงี๋ยวด่างถือว่าเป็นคนชาติเดียวกัน พวกเขาล้วนเคารพเรา
ในฐานะเจ้าเหนือหัวสูงสุดของพวกเขา ดูแลทุกข์สุขให้กับพวกเขา”16
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 นั้นเข้าใจเป็นอย่างดีว่าหลวงพระบางเป็นเมืองสอง
ฝ่ายฟ้าของเวียดนามและสยาม และความจงรักภักดีที่หลวงพระบางมีต่อสยามก็
คลอนแคลนได้ ในช่วงที่พวกฮ่อก่อความเดือดร้อนนั้น กองทัพจากกรุงเทพฯไม่ได้
ให้การคุ้มครองแก่หลวงพระบางเพียงพอ ในปี 2430 ( ค.ศ. 1887 ) หลวงพระบาง
ถูกโจมดีและพระเจ้าล้านช้างหนีเอาชีวิตรอดไปได้ด้วยความช่วยเหลือของกอง
ทหารฝรั่งเศส แม่'ว่ากองทัพจากกรุงเทพฯ จะเอาหลวงพระบางคืนมาไดในปีกัดมา
แด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ก็กลับวิตกเกี่ยวกับความจงรักภักดีของหลวงพระบาง
ว่าอาจโน้มเอียงไปทางฝรั่งเศส ในจดหมายราชการลับที่มีไปถึงข้าหลวงไทยประจำ
หลวงพระบางที่กรุงเทพฯ เพิ่งแต่งตั้งไป พระเจ้าอยู่หัวได้บอกถึงกลวิธีผูกใจเจ้าลาว
วิธียุใหัเจ้าลาวระแวงฝรั่งเศส และวิธีโต้แย้งฝรั่งเศส ทั้งนี้ข้อความที่น่าสนใจที่สุด
ลูจะเป็นยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนประเทศราชที่กำกวมให้เป็นประโยชน์กับสยาม:
...ต้องอาไศรยด้วยการโอบอ้อมเอาใจ ชี้แจงให้เห็นการเท็จแลจริงใน
การที่ชาติไทยกับลาวเปนชาติเดียวภาษาเดียวกัน เปนแผ่นดินอันเดียวกัน
...ฝ่ายฝรั่งเศสเปนแต่ผู้อื่น มีความหมิ่นประมาทชาติวงษ์ของพวกลาว
ว่าฝนชาวป่าชาวตง ถือว่าคนฝรั่งเศสผู้หนึ่งผูใตจะมาทำการอย่างใดให้ฟน
ที่ชอบใจเปนคุณแก่เจ้านายในเมืองหลวงพระบางอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ฝนแต่
เหยื่อที่จะมาเกี่ยวเบตล่อให้ติดทันอย่างเดียว
... ถึงแม้ว่านํ้าใจลาวจะถือว่าลาวฝนเราไทยฝนเขาในเวลาที่มีอยู่ด้วย
กันแต่สองพวกเท่านั้นก็ตี แต่เมื่อเอาไทยกับฝรั่งเศสเทียบกันแล้วก็คงเห็น
ไทยฝนเรา ฝรั่งเศสฝนเขา อยู่ฝนธรรมดา17
นี้คึอจุดประสงค์หลักของความพยายามสำคัญสองประการคือ การปฏิรูปการ
ปกครองท้องถิ่นและการยกทัพปราบฮ่อ ซึ่งน้กประวัติศาสตร์เห็นว่าเป็นมาตรการ
ป้องกันตนเองของสยามจากภัยคุกคามมหาอำนาจยุโรป แด่แท้จริงแล้วปฏิบตการ
ทั้งสองเป็นความพยายามจัดการความกำกวมของพื้นที่ชายขอบที่ซ้อนหับกันอยู่
การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นในทศวรรษ 1 880 และ 1 890 ( พ.ศ . 2423-
2442 ) เป็นประเด็นยอดนิยมหัวข้อหนึ่งสำหรับผู้สนใจเรื่องการทำสยามให้ทันสมัย

170 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


การปฏิรูปฯ ถูกทดลองใช้เป็นครั้งแรกในล้านนาเมื่อทศวรรษ 1 870 (พ.ศ . 2413-
2422 ) มีการปรับปรุงและนำไปใช้กับดินแดนลาวตลอดลำนํ้าโขง รวมทั้งหลวง -
พระบางและประเทศราชทั้งเล็กและใหญ่อื่นๆ และนับแต่ปี 2435 ( ค.ศ . 1892 )
เป็นต้นมาก็ถูกนำไปใช้กับภูมิภาคอื่นๆ รวมทั้งหัวเมืองชั้นในของสยาม มันเป็น
กระบวนการที่กลไกรวมศูนย์อำนาจการปกครองแบบสมัยใหม่เข้าแทนที่การ
ปกครองตนเองแบบจารีตของหัวเมือง (โดยเฉพาะเมืองขึ้น) อย่างค่อยเป็นค่อยไป
แม้อัตราความเร็วช้าของการเปลี่ยนแปลง กลวิธีการแก้ปัญหา และทางออกจะ
แดกด่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แด่ผลออกมาแบบเดียวกัน นั่นคือ กรุงเทพฯได้เข้า
ไปควบคุมรายได้ ภาษี งบประมาณ การศึกษา ระบบตุลาการ และกลไกบริหารอื่นๆ
ผ่านข้าหลวงที่ถูกส่งไปประจำในพื้นที่เพื่อดูแลการทำงานของผู้ปกครองท้องถิ่น
หรือบางครั้งถึงกับดำเนินการปกครองเสียเอง ข้าหลวงเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพี่ๆ
น้อง ๆ หรือคนสนิทของพระเจ้าอยู่หัว นำสังเกตว่าในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง
กรุงเทพฯ และประเทศราชต่างๆ แด่เติมนั้นมีลำดับชั้นและดำเนินการผ่านเจ้าผู้
ปกครอง ระบบการปกครองแบบใหม่นี้เรียกว่าเทศาภิบาล ซึ่งแปลตรงตัวว่าการ
ดูแลปกครองดินแดน
วิธีปกครองแบบใหม่นี้คล้ายกับระบบที่ใซ์ในอาณานิคมมากทีเดียว พระจอม -
เกล้าฯนั้นเคยมีความประสงค์ที่จะเดินทางไปลูแบบอย่างการปกครองแบบดะวันตก
ที่สิงคโปร์มาก่อน ไม่นานหดังจากพระจุลจอมเกล้าฯขึ้นครองราชย์ก็สามารถบรรลุ
ความใฝ่ฝันของบิดาโดยการไปเยือนสิงคโปร์ ชวา และอินเดีย ซึ่งบรรดาผู้ปกครอง
ของสยามเข้าใจว่าการปกครองในประเทศเหล่านี้คล้ายกับของยุโรปและจัดว่า
ศิวิไลซ์พอกัน18 ดังข้อปรารภที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มีด่อผู้สำเร็จราชการของ
อินเดียว่า “ทั้งข้าพเจ้าและคณะมนตรีเชื่อว่าไม่มีประเทศใดในภูมิภาคดะวันออกนี้
ที่จะเข้าถึงศาสตร์แห่งการปกครองและการดำรงชีพของประชาชนจะได้รับการดูแล
เอาใจใส่ได้ดีเท่า [อินเดีย ] ”19 ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ระบบเทศาภิบาลมีความ
คล้ายคลึงกับระบบที่เจ้าอาณานิคมคิดด้นมาใช้กับคนพื้นเมือง ในงานนิพนธ์เรื่อง
ชวา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ผู้ปลุกปันระบบใหม่นี้ เรียกข้าหลวงดัชท์ว่า “เรสิ -
เดนด์ ( สมุหเทศาภิบาล ) ”20 ในที่นี้ กรมพระยาดำรงฯ เปรียบข้าหลวงอาณานิคมเข้า
กับเจ้าเมืองในระบบเทศาภิบาล โดยเอาคำว่าสมุหเทศาภิบาลใส่ไว้ในเครื่องหมาย
วงเล็บ เพื่อให้ความหมายแก่คำว่า โ6ธฬธก1 เราคงไม่พลาดที่จะอ่านความหมาย

บทที่ 5 ชายขอบ 171


กลับทางกัน นั่นคือ “เรสิเดนด์”แท้จริงแล้วก็คือนิยามของสมุหเทศาภิบาลนั่นเอง
ระบบทั้งสองแบบนี้เหมือนกันในทัศนะของกรมพระยาดำรงฯ
ถ้าหากการปฏิรูปฯ กำจัดความกำกวมของพื้นที่ออกไปด้วยวิธีการที่ค่อนข้าง
ตันติ การยกทัพปราบฮ่อกลับเต็มไปด้วยความรุนแรงกว่ามาก คำว่า “ฮ่อ”เป็นคำที่
คนลาวไข้เรียกซาวยูนนานโดยทั้วไป ในกรณีนี้หมายถึงคนจีนที่พ่ายแพ้จากกบฏ
ได้เผ็งทางตอนใต้ของจีนในกลางทศวรรษ 1 860 ( หลังสิ้นสุดกบฏไต้เผ็งใน พ.ศ .
2407 ) แล้วหนีลงมาทางใต้เข้าสู่ลุ่มนี้าโขงตอนบนและสุ่มนี้าดำ พวกเขากลายเป็น
กองกำลังอิสระที่เที่ยวปล้นสะดม ทำลาย หรือเข้ายึดครองหัวเมืองเล็กๆ และถึง
ขนาดคุกคามอาณาจักรต่างๆของลาวตลอดลำนํ้าโขงระหว่างทศวรรษ 1870 และ
1880 ในระหว่างปี 2427 - 2428 ( ค.ศ . 1884 - 1885 ) และ 2428 - 2430 ( ค.ศ .
1885 - 1887 ) สยามส่งกองทัพขึ้นไปปราบฮ่อสองครั้ง21 แด่สถานการณ์กลับทวิ
ความซับซ้อน'ขึ้นเมื่อเกิดการต่อสู้ใน,หมู่เจ้าผู้ปกครองหัวเมืองเล็ก ๆ กันเอง
1 1

มีหลายครั้งที่พวกฮ่อเป็นแค' ทหารรับจ้างที่ช่วยเจ้าเมืองหนึ่งโจมตีอีกเมือง
หนึ่ง บางครั้งพวกฮ่อก็ร่วมมือกับเจ้าเมืองหนึ่งต่อสู้กับเจ้าเมืองอีกเมืองหนึ่งซึ่งเป็น
พันธมิตรกับฮ่ออีกกลุ่มหนึ่ง กองทัพของหัวเมืองกับพวกฮ่อเริ่มผสมปนเปกัน ผู้นำ
ฮ่อหลายคนกลายเป็นเจ้าเมืองและขุนนางของหัวเมืองบางแห่ง จนทำให้สยามถือ
ว่าเจ้าเมืองบางคนเป็นหัวหน้าโจรฮ่อ ความเข้าใจที่ว่าความวุ่นวายเกิดจากกองโจร
ภายนอกภูมิภาคนั้น นับว่ามีส่วนถูกอยู่ แด่การโยนความผิดทั้งหมดไปให้พวกฮ่อ
เป็นความเข้าใจผิดแน่นอน ตัวอย่างเช่น การบุกทำลายหลวงพระบางในปี 2430
( ค.ศ. 1887 ) แท้ที่จริงคือการแก้แค้นของเจ้าเมืองไลด่อการที่กองทัพสยามจับกุม
บุตรชายทั้งสามของตนไปในปี 2429 ( ค.ศ. 1 88 6 ) 22 แด่ก็เป็นความจริงที่กองทัพ
ของเจ้าไลมีพวกฮ่อรวมอยู่ด้วย สยามในขณะนั้น (รวมทั้งนักประว่ตศาสตร์บางคน
ในเวลาต่อมา ) จึงถือว่าเจ้าไลเป็นหัวหน้าแก๊งโจรฮ่อ23
เป๋าหมายของการปราบฮ่อโดยกองทัพสยามในทศวรรษ 1 880 มิไต้อยู่แค่การ
ปราบโจรฮ่อให้ราบคาบ แต่เพื่อสถาปนาอำนาจอธิปัตย์ของสยามเหนือดินแดนเหล่านี้
ด้วยการใช้กำลังทหาร ยิ่งไปกว่านั้นนึ่มิใช่การใช้อำนาจของเจ้าเหนือหัวแบบจารีต
อีกต่อไป ดังที่เจ้าพระยาสุรศักดิ้มนตรี ผู้บัญซาการทัพสยาม ได้กล่าวถึงเป๋าหมาย
ของกองทัพของตนว่าเพื่อปราบโจรฮ่อและเพื่อ “จัดการอาณาเขต”:

172 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวเติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


เวลานีเป็นโอกาสที่จะจัดการอาณาเขต ต้วยฝรั่งเศสมาทำสงครามกับญวน
และจะแบ่งเขตแตนกับจีน ถ้าเขามาแบ่งเขตแตนเข้ามาใกล้เมืองหัวพันห้า-
ทั้งหก เมืองสิบสองจุไทย ก็จะเลยเข้ามาเหยียบพระราชอาณาเขต ก็จะเคลม
เอาเสียว่าเป็นอาณาเขตของญวน เพราะเหตุน.ี้ .. ( พระเจัาอยู่หัว )...กล้าจะไม่
ทันฟางที จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรายกกองทัพขึ้นไปปราบปรามอ้ายฮ่อในแล้ง
ปีระกานี24้
วลี “จัดการอาณาเขต”บ่งซี้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับชายแดน เส้นเขตแดน หรือ
อบเขตของดินแดนที่ต้องสะสาง ภารกิจของการปราบฮ่อคือการช่วงชิงโอกาสที่จะ
ทำให้ดินแดนเหล่านี้กลายเป็นของสยามแด่ผู้เดียวอย่างแจ่มชัด พระเจ้าอยู่หัว
ชกาลที่ 5 ได้แนะนำไว้อย่างละเอียดต่อปัญหาชายแดนและวิธีรับมือกับฝรั่งเศส
หากเกิดการเผชิญหน้ากันขึ้น “เขตแดนข้างไหนใครว่าเพียงใดก็ใหัทำแผนที่ไว้
ะได้ปรึกษากันแบ่งปันให้ดกลงโดยทางไมดรีที่กรุงเทพฯ”25
ภายหลังสงคราม 1 4 ปีระหว่างสยามกับเวียดนามในระหว่างปี 2377 - 2391
ค.ศ. 1834 - 1848 ) ประเทศราชเล็กๆในภูมิภาคกลับสู่สถานะเดิมที่ขึ้นต่อหลวง -
'

พระบางและเวียดนาม การปราบฮ่อนับแด่ปี 2427 ( ค.ศ. 1 884 ) เป็นด้นมาคือการ


ปรากฏตัวของอำนาจสยามเหนือประเทศราชเหล่านี้เป็นครั้งแรก สยามอ้างอย่าง
ถูกต้องแล้วว่าประเทศราชเหล่านี้ขึ้นกับหลวงพระบาง ถึงกระนั้นสยามก็ยอมรับ
าประเทศราชเหล่านี้รวมทั้งหลวงพระบางมีอำนาจอธีปัตย์ที่ซ้อนทับกันอยู่ การ
อ้างว่าสยามเท่านั้นที่มีอำนาจอธีปัตย์เหนือหัวเมืองเหล่านี้ ก็คือการขยายขอบเขต
อำนาจสยามตามระบบความคิตของภูมิศาสตร์สมัยใหม่เหนือดินแตนที่กำกวมแบบ
จารีต กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ภายหลังจากพิชิตหัวเมืองเล็กๆ เหล่านี้มาได้แล้ว
แทนที่จะปล่อยให้เจ้าเมืองถวายบรรณาการแก่เจ้าเหนือหัวหลายแห่งตังที่เคยเป็น
มา สยามจำเป็นต้องหาวีธีทื่จะรักษาอำนาจอธิปัตย์แต่ผู้เดียวของตนเอาไว้ให้ใต้
เหตุการณ์หลายกรณีชี้ว่าสยามตระหนักตีว่านึ่คือปฏิบัติการขยายดินแตน
ตัวอย่างเช่นในปี 2429 ( ค. ศ . 1886 ) เมื่อกองทัพสยามยึดเมืองทื่รู้ตีว่าอยู่นอก
ขอบเขตอำนาจของตน พระจุลจอมเกล้าฯ มีความเห็นว่าให้ยึดครองเมืองนั้นไว้ก่อน
หากฝรั่งเศสประท้วงขึ้นมาก็ให้หาพยานในพื้นที่และในกรุงเทพฯ มายืนยันว่าเป็น
มืองสองฝ่ายฟ้า หรือไม่ก็ให้อ้างว่าเจ้าเมืองของเมืองนั้นไต้ร้องขอความช่วยเหลือ
จากสยาม หรือไม่ก็อ้างว่ากองทัพสยามติดตามเข้าไปปราบโจรฮ่อ ซึ่งเป็นศัตรูร่วม

บทที่ 5 ชายขอบ 173


ของสยามและฝรั่งเศส และกองทัพรั้งอยู่ต่อเพื่อรักษาความสงบในเมือง มิใช่
รุกราน26 ในทำนองเดียวกัน เมื่อสยามเดินทัพเข้าสู่สิบสองจุไทในปี 2430 ( ค.ศ .
1 887 ) เจ้าพระยาสุรศักดี๋มนตรีตั้งคำถามว่าควรจะผนวกสิบสองจุไทเข้ามาใน
อำนาจของสยามหรือไม่ หลังจากปรึกษากับเสนาบดีการต่างประเทศแล้ว พระเจ้ว -
อยู่หัวรัชกาลที่ 5 ไดให้คำตอบไปว่าให้ผนวกหัวเมืองเหล่านั้นเข้ามา “ควรจะรวบ
เอาไว้ก่อน เมื่อจะแบ่งปันเขดร์แตนกับฝรั่งเศส จะว่ากล่าวขอร้องกันประการใด เมื่อ
ควรจงปลดให้จึงค่อยปลดให้ใปด่อภายหลัง ”27 เราเห็นได้ชัดว่าระบบการเมืองแบบ
จารีดก่อนสมัยใหม่มิได้ทำใหัผู้ปกครองสยามสับสน ตรงกันข้าม พวกเขาฉวย
ประโยชน์จากมันเพื่อยึดครองอดีตประเทศราชทั้งหลาย “ความสงบ”และ “พวก
ฮ่อ”เป็นเพียงเหตุผลกลวงๆในเชิงบวกและลบสำหรับสร้างความชอบธรรมให้กับ
การกระทำของพวกเขาเท่านั้นเอง
กรณีสำคัญอีกกรณีหนึ่งที่ควรต้องกล่าวถึงคือ กรณีคำเกิดและคำมวน เมือง
แฝดที่อยู่ภายใต้อำนาจของเมืองพวน ซึ่งเป็นจุดที่กองทัพสยามและฝรั่งเศสเกิด
ปะทะกันในปี 2436 ( ค.ศ . 1893) ในปี 2429 ( ค.ศ. 1886 ) พระจุลจอมเกล้าฯได้ชี้
แนะอย่างชัดเจนให้ดำเนินนโยบายฉวยโอกาสต่อเมืองแฝดนี้ กล่าวคือ:
แต่ทางเมืองคำเกิดคำมวนนี้ อยู่ข้างจะเสียเปรียบหลวมตัวมากกว่าทางเมือง
เชียงแสนและเมืองขุนยวม ด้วยฝ่ายญวนตั้งเจ้าบ้านผ่านเมืองเป็นหลักฐาน
ยังมีเคลมของเราที่ว่าเป็นขึ้นสองฝ่ายอยู่ เห็นว่าเวลานี้ฝรั่งเศสเข้าปกครอง
เมืองญวนไม่เต็มมือ คงยังไม่ออกจัดการหัวเมือง ถ้าจะให้เมืองคำเกิดคำมวน
มาคงขึ้นเราได้ด้วยอุบายประการใตก็ให้คิดจัดการไป ถ้าเห็นว่าเป็นการเหลือ
กำลังฤๅจะก่อวิวาทกันขึ้นกับฝรั่งเศส ก็ละวางเสีย ไม่ได้เสียประโยชน์อันใด
นอกจากที่เขตแดนจะไม่ได้แนวเขา...20
ในปี 2434 ( ค.ศ . 1 891 ) พระยอดเมืองขวาง ขำราชการไทยคนแรกที่ได้เป็น
เจ้าเมืองพวนและต่อมาถือกันว่าเป็นวีรบุรุษในการต่อสู้กับฝรั่งเศสไต้เสนอให้สยาม
ยึดครองเมืองแฝดนี้ไว้มิใช่ด้วยสิทธิทางประว้ดิศาสตร์ใดๆ แด่เพื่อความนั้นคงของ
การยึดครองดินแดนแถบลุ่มนั้าโขงของสยาม29
แด่เดิมนั้น เมื่อพิชิตประเทศราชไต้แล้วต้องบงการให้สวามิภักตั้ และโดยส่วน
ใหญ่มักยึดครองเมืองนั้นเบ็ดเสร็จเพียงชั่วคราวเท่านั้น หลังจากกองทัพถอนออก
ไป เจ้าเมืองนั้นอาจสวามิภักตั้ด่ออธิราชอีกรายก็ได้เพื่อความอยู่รอดของตน แด่ใน

174 I กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


การยกทัพปราบหัวเมืองในทศวรรษ 1 880 ( พ.ศ . 2423- 2432 ) สยามใหักองทัพของ
ตนตั้งมั่นอยู่ที่หัวเมืองที่พิชิตมาไต้อย่างถาวร “การคุ้มครอง”จากอธิราชสยามมิได้
อยู่ห่างไกลอีกต่อไป กองทัพสยามเข้าเปลี่ยนแปลงระบบปกครองของรัฐเล็กๆ ที่
ตนพิชิต บางกรณีก็ถอดถอนเจ้าผู้ปกครองเดิมแล้วแต่งตั้งผู้ที่จงรักภักดีต่อสยาม
ขึ้นปกครองแทน ในหลายกรณีก็แต่งตั้งข้าราชการไทยไปปกครองโดยตรง ในกรณี
ที่เจ้าเมืองประเทศราชได้รับอนุญาตให้ปกครองต่อไปก็จะมีข้าราชการสยามคอย
กำกับอีกชั้นหนึ่ง ระบบปกครองใหม่นี้ขึ้นตรงต่อแม่ทัพจากกรุงเทพฯ พื้นที่กำกวมใน
ดินแดนลุ่มนํ้าโขงอันห่างไกลจึงถูกตัดสินด้วยวิธีการทางทหาร กล่าวอีกอย่างหนึ่งได้
ว่า กำลังทางทหารไต้ทำให้ภูมิกายาส่วนนี้ของสยามเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
ระบบการบริหารแบบใหม่นี้เป็นกลไกที่สถาปนาความสัมพันธ์แบบใหม่
ระหว่างกรุงเทพฯ กับอดีตประเทศราช จึงเป็นอำนาจอธิปไตยแบบใหม่ของรัฐแบบ
ใหม่ ปฏิบัติการทางทหารไม่ใช่อะไรอื่นแด่ดือการแย่งชิงแล้วผนวกดินแตนนั่นเอง
ทั้งปฏิบัติการทางทหารและระบบบริหารใหม่ได้สถาปนาภูมิศาสตร์การเมืองชนิด
ใหม่ ซึ่งไม่อนุญาตใหัมีชายขอบที่ช้อนหับกันหรืออำนาจอธิปไตยหับซ้อน พื้นผิว
ของโลกไต้ถูกลิขิตขึ้นในแบบใหม่ ภารกิจทางภูมิศาสตร์ที่แฝงมากับการชูธงปราบ
ฮ่อมิความสำคัญต่อซนชั้นนำของสยามในขณะนั้นมากน้อยขนาดไหน สามารถตูได้
จากราชทินนามที่กรุงเทพฯ ตั้งให้เจ้าเมืองท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ยอมสวามิภักตี้ แทนที่จะ
ประกอบด้วยคำแสดงอำนาจ บุญบารมีอิทธิฤทธี้และคำมงคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ
สิ่งศักดิ"สิทธี้ทั้งหลายดังที่นิยมกัน กลับมีราชทินนามพิลึกๆที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
เช่น พระสวามิภักตึ้สยามเขต เพื้ยพันธุระอาณาเขตโกไสย พระพิทักษ์อาณาเขต
พระยาคุมพลพิทักษ์บูรณเขต พระรัตนอาณาเขต และพระยาขัณฑเสมา เป็นต้น30
เจ้าเมืองท้องถิ่นคงไม่เห่นว่าการเสียเมืองหนนี้มีความแตกต่างไปจากความ
สัมพันธ์ประเทศราชที่พวกเขาเคยรู้จัก พวกเขาคงไม่นึกว่าคราวนี้ดือการควบคุม
ทางการเมืองแบบใหม่ ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติตามสำนึกทางภูมิศาสตร์สมัยใหม่ ปฏิบัติ -
การทั้งหลายไต้ผลิตรหัสที่สื่อถึงความสัมพันธ์สองประเภทพร้อม ๆ กัน ต้านหนึ่งสื่อ
ถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศราชกับราชาธิราชแบบจารีตก่อนสมัยใหม่ ในอีก
ต้านหนึ่งสื่อแทนการเมืองแบบใหม่และภูมิศาสตร์การเมืองชุดใหม่ การขยับเคลื่อน
(ธเาเII ) เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในทุกขณะที่ดัวแทนของวาทกรรมชุตใหม่มีชัย
เหนือวาทกรรมแบบจารีต กล่าวดือ ในปฏิบัติการที่เหมือนกับการแสดงอำนาจของ

บทที่ 5 ชายขอบ 175


ราชาธิราชอย่างที่เคยเป็นมานั่นเอง มโนภาพและการปฏิป็ตชุตใหม่เริ่มทำให้วาห-
กรรมชุดใหม่ปรากฏเป็นรูปธรรมขึ้นมา สภาวะนี้ไม่ต่างจากกรณีฝรั่งเศสที่เข้าไป
,
ยุ มย่ามในความสัมพันธ์ประเทศราชแบบจารีตตำยการสถาปนาอารักขาเหนือ
กัมพูชา ก่อให้เกิดรหัสสองชุดแฝงอยู่คู่กัน ทำให้ทั้งราชสำนักสยามและเขมรเข้าใจ
การกระทำของฝรั่งเศสว่าเป็นไปตามระบบราชาธิราชแบบจารีต ในการยึดครอง
หัวเมืองตามลุ่มนํ้าโขง กรุงเทพฯ ก็ใชัยุทธศาสตร์ทำนองเดียวกัน ด้วยการยัดเยียด
ความสัมพันธ์ อำนาจอธิปไตย และพื้นที่แบบใหม่ผ่านปฏิบัติการล่าอาณานิคม ซึ่ง
ก็คือการพิชิตดินแตนและการปฏิรูประบบบริหารบ้านเมืองใหม่ ความสัมพันธ์เชิง
อาณานิคมได้เชื่อมการเปลี่ยนผ่านแทนที่ของภูมิศาสตร์การเมือง มันเป็นความ
สัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจและรัฐที่ถูกพิชิต แด, กระนั้นก็ไม่เหมือนความสัมพันธ
,
ระหว่างประเทศราช / ราชาธิราชในแง ที่ว่าความกำกวมของอำนาจอธิปัดย์เหนือ
พื้นที่ถูกขจัดไปแล้ว
แน่นอนว่าผู้ปกครองสยามย่อมไม่คิดว่าตนเป็นเหมือนจักรวรรดินิยมตะวันตก
ความแดกด่างสำคัญที่สุดในทัศนะของพวกเขาก็คือ ฝรั่งเศสและมหาอำนาจยุโรป
^
อื่นๆ เป็นคนต่างด้าวหรือคนด่างชาติ หรือเป็น “เขา ”(7ก6 ) แด่สยามเป็น “เรา”
(พ6 ) สำหรับคนพื้นถิ่นในภูมิภาค หากคำว่า “ล่าอาณานิคม”ฟังตูรุนแรงเกินไป ก
อาจพูดใหม่ได้ว่าการพิชิตยึดครองมีไต้สองแบบ คือโดย “พวกเรา ”กับโดย “พวก
เขา ”ไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่เป็นความแดกด่างอันทรงพลังที่ทำให้การพิชิตโดย “พวก
เรา”ตูเหมือนจะมีความชอบธรรมและควรค่าแก่การเฉลิมฉลองมากกว่า ขณะที่การ
พิชิตอีกแบบหนึ่งสมควรถูกประณาม แด่แน่นอนว่าผู้คนของเมืองไล แถง หรือแม
กระทั้งหลวงพระบางคงไม่ได้เห็นว่าสยามเป็น “พวกเรา”มากเท่ากับเป็น “พวกเขา”

ชายขอบใหม่: สยามและอังกฤษ
สยามมิได้เป็นฝ่ายเดียวที่จัดการกับปัญหาดินแตนกำกวมในช่วงเวลาเดียวกันกับท
สยามกำลังดำเนินการปฏิรูป และยาดรากองทัพของตนไปทั่วลุ่มนํ้าโขง มหาอำนาจ
ยุโรปก็เข้ามาร่วมจัดสรรดินแดนที่กำกวมนี้ด้วยเช่นกัน ในแง่หนึ่งเท่ากับว่าทุกฝ่าย
ร่วมไม้ร่วมมือกันเปลี่ยนถ่ายแทนที่พื้นที่ทางการเมืองแบบจารีตของพื้นถิ่น ดังนั้น
การปะทะขัดแย้งมิได้เกิดขึ้นระหว่างกองกำลังทหารของฝ่ายต่างๆ เท่านั้น แด' ยัง
เกิดขึ้นระหว่างกรอบความรู้ภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันอีกด้วย

176 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


หลังจากสงครามระหว่างอังกฤษ-พม่ายุติลงในปี 2428 ( ค.ศ. 1 885 ) ชายแดน
ระหว่างล้านนากับพม่าตอนบนกลายเป็นปัญหา เพราะพื้นที่นั้นอยู่ในปริมณฑล
ของอำนาจอธิราชหลายฝ่าย พื้นที่ที่เป็นปัญหาสำกัญสองแห่งคือ รัฐคะยาบนลุ่มนั้า
สาละริน และหัวเมืองของพวกฉานและลื้อที่อยู่ระหว่างเชียงตุงกับล้านนา 31 สำหรับ
ชายแดนตามแม่นั้าสาละรินมีหมู่บ้านเล็กๆที่ชักธงช้างเผือกของสยาม มีรั้วล้อม
และกองทหารตั้งอยู่ ชาวบ้านคะยาบางส่วนถูกจับดักเพื่อยืนยันว่าหมู่บ้านคะยา
ทั้งห้าแห่งเป็นของสยาม32 อย่างไรก็ตาม ในปี 2418 ( ค.ศ . 1875) กษัตริย์พม่าที่
อังวะได้อ้างสิทธิ้ของตนกับรัฐบาลอังกฤษที่อินเดียว่าเจ้าเมืองคะยาหลายเมืองได้
ส่ง “สาวพรหมจารีให้กับกษัตริย์พม่าเป็นบรรณาการแสดงความสวามิภักดื่ ”และ
ประเพณีนี้ได้ดำเนินมา “ตั้งแต่กำเนิดของโลก ” ทูตพม่าอ้างว่าชาวคะยา “ไต้ถือ
คำสาบานแสดงความจงรักภักดีต่อพม่าตลอตมานับแต่โบราณกาลจนถึงไม่กี่เดือน
ที่ผ่านมา ”33 ดังนั้นอังกฤษจึงสนับสนุนเจ้าเมืองคะยาที่ปฏิเสธการอำงสิทธิ้ของ
สยาม ในปลายปี 2431 ( ค.ศ. 1888 ) กองทัพอังกฤษจึง “กลับเข้าครอบครอง ”รัฐ
คะยาอีกครั้ง สยามจึงประท้วง34
ดินแดนระหว่างเชียงตุงกับเชียงใหม่เต็มไปด้วยกรณีที่อาจกลายเป็นข้อ
พิพาท สยามและอังกฤษตกลงแก้ปัญหาด้วยการแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่เพื่อสอบ
ถามคนท้องถิ่นและสำรวจพื้นที่ จุดที่เป็นปัญหามากที่สุดคือเมืองสิง ซึ่งไม่รู้ว่าขึ้น
กับเชียงตุงที่กลายมาเป็นของอังกฤษ หรือขึ้นกับน่านที่เป็นของสยามกันแน่ ทั้งนี้
เจ้าเมืองสิงเป็นญาติกับเจ้าเมืองเชียงตุง แต่สวามิภักดิ้กับน่านและส่งด้นไม้เงิน
ต้นไม้ทองให้กับกรุงเทพฯ ด้วย เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น เจ้าเมืองสิงถึงกับเสนอว่าจะ
ส่งบรรณาการแบบเดียวกันนี้ให้กับอังกฤษด้วยเพื่อแสดงความจำนงที่จะอยู่ใต้
อำนาจของอังกฤษ35
การสืบถามและเจรจาต่อรองดำเนินไปดลอดปี 2434 - 2435 ( ค.ศ . 1891 -
1892 ) ในที่สุดทั้งสองฝ่ายบรรลุข้อดกลงในปี 2435 โดยยกเมืองสิงให้กับสยามและ
ยกเมืองคะยาทั้งห้าพร้อมป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ให้กับอังกฤษ36 การสำรวจ การ
ทำแผนที่ และการปักปันเขตแดนดำเนินไปพร้อมๆ กับการเจรจาในช่วงปี 2433-
2434 การปักปันขั้นสุดท้ายกระทำโดยคณะกรรมการร่วมในปี 2435- 2436 ( ค.ศ.
1892 - 1893 ) ทั้งสองฝ่ายให้ดัดยาบันรับรองสนธิสัญญาพร้อมแผนที่ในปี 2437
( ค.ศ. 1894 )

บทที่ 5 ชายขอบ 177


มีปัจจัยหลายประการที่ช่วยทำให้ข้อพิพาทเหล่านี้ไม่กลายเป็นความขัดแย้ง
รุนแรง โดยพื้นฐานแล้ว รัฐบาลอังกฤษที่อินเดียต้องการให้สยามเป็นรัฐกันชนทาง
ด้านตะวันออกของอินเดีย นอกจากนี้ ในช่วงเวลาเดียวกันฝรั่งเศสได้เข้าไปมีบทบาท
ในอินโตจีนมากขึ้นและความขัดแย้งกับสยามทวีความรุนแรงขึ้น ความรุนแรงใด ๆ
ระหว่างสยามกับอังกฤษอาจจะเร่งเร้าฝรั่งเศสซึ่งอยู่อีกฟากขึ้นมา 37 ในอีกแง่หนึ่ง
ดูเหมือนว่าทัศนคติของผู้นำสยามที่มีต่ออังกฤษในขณะนั้นผสมปนเปกันระหว่าง
ความกลัวกับความนับถือยกย่อง และความปรารถนาจะสร้างไมตรีและเป็นพันธมิตร
กับอังกฤษด้วย ซึ่งแดกด่างจากทัศนคติที่พวกเขามีต่อฝรั่งเศสซึ่งค่อนไปทางเป็น
ศัตรูเสียมากกว่า
อังกฤษมีอิทธิพลมากพอควรในหมู่ชนชั้นปกครองของสยาม เหตุการณ์หนึ่ง
ที่แสดงถึงอิทธิพลดังกล่าวก็คือบทบาทของอังกฤษในวิกฤติการณ์วังหน้าปี 2417
( ค.ศ. 1 874 ) ที่ความขัดแย้งในราชสำนักสยามเกือบจะนำไปสู่สงครามกลางเมือง
อังกฤษเข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าว 38 อีกกรณีหนึ่งที่แสดงถึง
ส้มพันธภาพพิเศษระหว่างอังกฤษกับสยาม ก็คือกรณีความขัดแย้งกับฝรั่งเศส
สยามตั้งความหวังไว้สูงมากว่าอังกฤษจะช่วยเหลือตน ผู้ปกครองสยามรายงานให้
อังกฤษรับรู้ถึงความขัดแย้งกับฝรั่งเศสอย่างละเอียด รวมทั้งขอคำปรึกษาจาก
อังกฤษในทุกชั้นตอน39 สยามถึงกับขออยู่ใต้ “การอารักขาแบบผ่อนปรน”ของ
อังกฤษ แด่อังกฤษปฏิเสธที่จะทำการใดๆที่เป็นปฏิปักษ์กับฝรั่งเศสเพื่อหลีกเลี่ยง
การยั่วยุฝรั่งเศส ในทางดรงกันข้าม อังกฤษกลับแนะนำให้สยามยอมแพ้และยอม
ปล่อยดินแดนฝ่งซ้ายของแม่นํ้าโขงตามที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง40
มีปรากฏการณ์อื่นๆ อีกที่แสตงถึงความสัมพันธ์พิเศษที่สยามมีด, ออังกฤษ
เช่นบทบาทของที่ปรึกษาชาวอังกฤษในราชอาณาจักรสยาม การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้
เกี่ยวกับการก่อรูปของรัฐชาติไทยถึงกับขึ้วำ การปฏิรูปการปกครองในล้านนาดังที่
เรียกกันนั้น แท้จริงแล้วเป็นผลจากการร่วมมือระหว่างราชสำนักสยามกับอังกฤษ
เพื่อผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมป่าไม้ กลไกอำนาจรัฐชนิดใหม่ถูกออกแบบเพื่อ
เอื้อผลประโยชน์!ห้กับอังกฤษไม,ใช่เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ป้องกันตนเองจากภัย
คุกคามอังกฤษ41 ปรากฏการณ์เหล่านี้อาจชวนให้หวนนึกถึงความส้มพันธ์ระหว่าง
เคดะห์กับอังกฤษที่ปีนัง และการเมืองแบบจารีตที่แสวงหาความคุ้มครองผ่านการ
สร้างพันธมิตรกับมหาอำนาจที่เหนือกว่าฝ่ายหนึ่งเพื่อสู้กับอีกฝ่ายหนึ่ง ฉะนั้นจึง

178 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ไม่น่าแปลกใจเลยที่ในที่สุตรัฐบาลสยามและอั
,
งกฤษสามารถดกลงปัญหาดินแดน
ประเทศราชทั้งหลายได้อย่างสันติในสนธิสัญญาปี 2435 (ค.ศ. 1892) อย่างไรก็ดาม
ในขณะนั้นสยามมีความหวังว่าสนธิสัญญานี้จะช่วยชักนำให้อังกฤษเข้าแทรกแซง
ในความชัดแย้งระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ทั้งยังหวังว่าความดกลงดังกล่าวจะเป็น
หลักประกันว่าสยามจะไต้รับความช่วยเหลือจากอังกฤษ และอังกฤษจะไม่ห้ามการ
ส่งอาวุธผ่านชายแดนระหว่างทั้งสองประเทศ 42 ความหวังดังกล่าวช่างไม่ด่างกับ
ของสุลต่านเคดะห์คือเป็นเพียงความหลงละเมอเพ้อพกครั้งใหญ่

การอุบัติบองรอยต่อระหว่างทรแแตนด้วยกำลังทหาร
ผิดกับกรณีสยาม - อังกฤษ ความข้ตแยังระหว่างสยามและฝรั่งเศสเพื่อตัดสินพื้นที่
กำกวมตลอดแม่นั้าโขงกลับเต็มไปด้วยความรุนแรง ฝรั่งเศสเริ่มยุทธการยึดครอง
บริเวณนั้นช้ากว่าสยามสองปี ดังที่นักประวิดศาสตร์คนหนึ่งกล่าวไว้ว่า ฝรั่งเศสพบ
ว่า “มีด่านเล็กๆของสยามปรากฏอยู่ตลอดแนวลันปันนา... กองทหารไทยยึดครอง
ดันเขาดลอดแนวที่มองลงมายังที่ราบอันนัม ”43 ดังนั้นฝรั่งเศสจึงอ้างสีทธึ๋ของตน
ตอบโต้สยามและประท้วงการตั้งกองทหารของไทยในภูมิภาคนั้น
บันทึกและแผนที่ทั้งหลายซึ่งทำโดยชาวยุโรปในศตวรรษที่ 19 ล้วนแด่ระบุว่า
ดินแดนที่อย่นอกเหนือลุ่มนั้าเจ้าพระยาล้วนเป็นประเทศที่แยกด่างหากจากสยาม
ดังเช่นที่ ออกุสต์ ปาวี ( มฐปธ๒ โ,3ห่6 ) กงสุลฝรั่งเศสประจำหลวงพระบางและ
^
กรุงเทพฯ ในช่วงที่เกิตข้อพิพาทเคยกล่าวไว้ ปาวีซึ่งเป็นนักสำรวจและนักบุกเบิก
อีกด้วย มีความเห็นว่าขอบเขตดินแดนของสยามจำกัดอยู่ในบริเวณลุ่มนั้าเจ้าพระ-
ยา แด่ก็ไม่ชัดเจนว่าอำนาจอธิปัตย์ของสยามเหนือดินแตนลาวนั้นมีมากน้อยเพียง
ใดและบรรจบกับอำนาจของเวียดนามตรงไหน44 ด้วยเหตุที่สยามรุกคืบก่อนและไต
ยึดครองดินแดนที่พิพาทกันเกือบทั้งหมดก่อนหน้าฝรั่งเศส ทำให้สยามอยู่ในฐานะ
เป็นต่อฝรั่งเศสเล็กน้อยในแง่การครอบครองพื้นที่ ฝรั่งเศสจึงต้องประท้วงอย่าง
หนักต่อการดำรงอย่ของกองทัพสยามและสิทธึ้ในการครอบครองดินแตนเหล่านั้น
ปาวีโต้แย้งว่าจารีตการเมืองท้องถิ่นที่มีการสวามีภักตึ๋ตออธิราชหลายรายนี้มิได
หมายความว่าประเทศราชสูญเสียอำนาจอธิปไตยของตนเองไป ซึ่งหมายความว่า
สยามมิไต้มีสิทธี้มากไปกว่าจีน อันน้ม หรอพม่า เขายังอ้างพงศาวดารของหลวง-
พระบางที่แทบไม่ได้เอ่ยถึงสยามในประวิดศาสตร์ลาวดักเท่าไร45 ที่กลับตาลปัตรก

บทที่ 5 ชายขอบ 179


คือ กลวิธีที่สยามและฝรั่งเศสใช่ในการโต้แย้งในกรณีนี้สลับกันกับเมื่อปี 2407 (ค.ศ.
1864 ) คือเมื่อครั้งพระจอมเกล้าฯ ประท้วงการที่ฝรั่งเศสยึดเอากัมพูชาไปเป็นของ
ตนแต่ฝ่ายเดียว
เหตุการณ์ที่นับเป็นจุดหักเหหนึ่งในการแย่งชิงดินแตนลาวกันก็คือ เมื่อครั้ง
กองทัพเมืองไลบุกเผาทำลายหลวงพระบางในเดือนมิถุนายนปี 2430 ( ค.ศ. 1887 )
เพื่อแก้แค้นที่สยามจับกุมบุตรชายของเจ้าเมืองไลไป กษัตริย์หลวงพระบางรอด
ชีวิตไต้ด้วยการช่วยเหลือจากปาวี46 ปาวีอ้างว่าหลังจากเหตุการณ์นี้ กษัตริย์ลาวได้
บอกกับเขาว่าหลวงพระบางไม่ได้ถูกสยามพิชิตยึดครอง แต่หลวงพระบางสมัครใจ
ที่จะส่งบรรณาการให้กับสยามเพราะหวังจะไต้รับการคุ้มครองหากถูกโจมดี (จาก
คนอื่น) และเห็นได้ชัดว่ากษัตริย์หลวงพระบางไม่พอใจกับผลที่เกิตขึ้น ปาวีรายงาน
ถึงคำที่กษัตริย์หลวงพระบางกล่าวอ้างตามวาทกรรมแบบจารีตพื้นถิ่นว่า “เราไม่
ต้องการเกี่ยวข้องกับพวกเขา ( สยาม ) อีกต่อไป หากลูกชายของเราเห็นด้วย เราจะ
ขอมอบตัวเราเป็นของขวัญให้แก่ฝรั่งเศส ภายใต้เงื่อนไขว่าฝรั่งเศสจะต้องป้องกัน
,
เราจากหายนภัยในอนาคต”47 อย่างไรก็ตาม ไม มีราชาธิราชใตที่สามารถป้องกัน
ไม่ให้เกิดหายนภัยดังกล่าวขึ้นได้เพราะราชาธิราชเองคือที่มาของหายนภัยดังกล่าว
ยิ่งไปกว่านั้นกษัตริย์ลาวมิได้ตระหนักว่า ภายใต้วาทกรรมภูมิศาสตร์แบบใหม่ซึ่ง
ทั้งสยามและฝรั่งเศสเป็นตัวแทนอยู่นั้น วาทกรรมการมอบของขวัญเพื่อแสดงความ
สวามิภักดี๋โดยไม่ต้องถูกยึดครองไม่สามารถตำรงอยู่ได้อีกต่อไป
หลักฐานที่แสดงสวามิภักดิ้ อันเป็นวิธีการที่แต่ละฝ่ายใช้เพื่อสนับสนุนข้ออ้าง
ของตนและปฏิเสธความชอบธรรมของอีกฝ่ายไม่อาจเป็นข้อพิสูจน์อะไรไต้เลย ข้อ
โต้แย้งที่ใชัก็ถูกและผิดได้เท่าๆกัน ชายแดนที่กำกวมนี้ต้องถูกตัดสินลงไปสักทาง
ไม่ว่าจะด้วยวิถีทางสันติหรือรุนแรง เพราะเหตุว่าในตัวของมันไม่สามารถจะนำเอา
เหตุผลใดๆหรือเอาประว่ติศาสตร์มาตัดสินได้ ปาวีกล่าวได้ถูกต้องว่าสยามจำต้อง
ใช่วิถีทางทหารเพราะหลักฐานทางภูมิศาสตร์และชาติพันธุไม่เพียงพอจะสนับสนุน
การอ้างสิทธึ้ของตน และเขาถูกต้องอีกเช่นกันที่กล่าวว่าการปราบฮ่อเป็นเพียง
ข้ออ้างของสยามเพื่อเข้าแทรกแซงประเทศราช48 อย่างไรก็ตาม ความเห็นของปาวี
ก็ใช่โต้กับฝรั่งเศสได้ไม่ด่างกัน กลายเป็นว่าความพยายามที่จะขจัดความกำกวม
ของชายแดนในภูมิภาคนี้ กระทำด้วยการใช้กำลังจากทั้งสองฝ่าย
กองทหารของทั้งสยามและฝรั่งเศสยาดราเข้าสู่ดินแดนลุ่มนํ้าโขง ชักธงของ

180 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ตนขึ้นเหนือดินแดนที่ต่างฝ่ายต่างเข้าครอบครองให้เร็วที่สุตที่จะทำไต้ จนกระทั่ง
กองทัพของสองฝ่ายเคลื่อนมาประจันหน้ากัน ณ หลายจุดบนฝืงซ้ายของแม่นี้าโขง
การเผชิญหน้ากันที่เมืองแกง ( เตียนเบียนฟู ) ในปี 2431 (ค.ศ. 1888 ) เป็นตัวอย่าง
อันตีที่ชี้ให้เห็นว่าเส้นเขตแตนถูกตัดสินชั่วคราวอย่างไร ในกรณีนี้ ทั้งสองฝ่ายได้
“ปราบฮ่อ”มาดลอตเส้นทางจนกระทั้งมาเจอกันที่เมืองแกง ในขั้นต้น ผู้บัญชาการ
ทหารของสองฝ่ายต่างอ้างสิทธี้ของฝ่ายตนเองและขอให้อีกฝ่ายถอนกำลังออกไป
ในที่สุตพวกเขาบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นว่าทั้งสองฝ่ายจะไม่เคลื่อนกำลังคืบหน้าต่อ
ใครยึดดินแดนตรงไหนไว้ก็ให้เป็นของฝ่ายนั้นไปก่อน จนกว่าการเจรจาที่กรุงเทพฯ
จะตกลงกันไต้ตามวิถีทางการทูต ข้อตกลงที่เมืองแกงในเตือนธันวาคม 2431 ให้
ถือว่าใชได้กับแนวประจันหน้าอื่นๆตลอดลุ่มนี้าโขงด้วย49
ไม่ใช่เพียงประเทศราชเท่านั้นที่ถูกพิชิต แต่ตลอดระยะทางนั้น ภูมิศาสตร์
การเมืองแบบจารีตของพื้นถิ่นที่ยอมให้มีอำนาจอธิป๋ตย์ซ้อนกันก็ถูกผลักไสออกไป
ด้วย กองทหารได้ทำลายความกำกวมให้หมดไป ครั้นเกิดการเผชิญหน้ากัน พื้นที่
ภายใตัใพร่พลของสองฝ่ายก็ประชิตติดกันเป็นครั้งแรกในประว้ดิศาสตร์ พื้นที่ที่เคย
ซ้อนหับกำกวมถูกเปลี่ยนสภาพเป็นแนวบรรจบกันพอดีของดินแตนใต้อธิปไตย
ของสองฝ่าย อำนาจของความรู้ภูมิศาสตร์แบบใหม่ที่กองทัพสยามและฝรั่งเศสใช้
ได้รับชัยชนะและได้สร้างสรรค์พื้นที่ชนิตใหม่ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม การแบ่งสรร
ดินแตนด้วยการยึตครองทางทหารยังไม่ลงตัวและเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น ภูม -
กายาของสองฝ่ายยังมิไต้ถูกกำหนดตายตัวลงไป เพราะมีอีกหลายจุดที่พวกเขายัง
ตกลงกันไม่ได้ว่าผิวหน้าที่บรรจบกันพอต็ควรอยู่ ณตำแหน่งใต
มาถึง ณ เวลานั้น ผู้นำสยามใส่ใจมากกับเรื่องดินแตนและผืนดินซึ่งครั้งหนึ่ง
บรรพชนของพวกเขาไม่เคยต้องกังวลและบางครั้งก็ถึงกับยกให้เป็นของกำนัลแก่
ผู้อื่นด้วยซา สิ่งที่อำนาจอธิปไตยต้องหวงแหนได้เปลี่ยนเคลื่อนจากศูนย์กลางเมือง
1

และเจ้าเมืองมาเป็นตัวดินแดนจริงๆ สำหรับสยามในเวลานั้นผืนดินทุกกระเบียดนิ้ว
เป็นสิ่งพึงปรารถนา มิใช่เพราะมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ แด่เพราะความสำคัญของผืนดิน
ที่แสดงถึงอำนาจอธิปไตย ศักดี๋ศรีของพระมหากษัตริย์ และความเป็นชาติ นับแต่
การเผชิญหน้ากันครั้งแรกในปี 2431 ( ค.ศ. 1888 ) จนถึงวิกฤติการณ์ปี 2436 (ค.ศ.
1 893) หรือที่รู้จักกันดีในนามวิกฤติการณ์ร.ศ. 1 1 2 สยามได้ทุ่มเทความพยายาม
อย่างเต็มที่เพื่อทำให้พื้นที่ชายแดนอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของตนอย่างมั่นคง สิ่งที่

บทที่ 5 ชายขอบ 1 81
,
ดามมา 0 ย่างหลีกเลี่ยงไมไต้ก็คือ การจัดการกับบริเวณชายแตนตามแบบจารีต
ธรรมเนียมแต่โบราณจะต้องเปลี่ยนไป การสอดส่องตรวจตราชายแดนต้องเข้มงวด
กวดข้นมากขึ้น มีการส่งกำลังเข้าไปเสริมดามจุดด่างๆ ดลอดชายแตน ไพร่ราบถูก
เกณฑ์แรงงาน จับฉลากผลัดกันเข้าไปตั้งค่ายชั่วคราวอยู่ในบริเวณซึ่งไม่เคยมีคน
อาศัยอยู่50
แน่นอนว่าปฏิบัติการและความใส่ใจในเรื่องเหล่านี้คงเป็นสิ่งแปลกปลอม
สำหรับบรรพชนของพวกเขา สนามรบได้เปลี่ยนจากการปกป้องกำแพงเมืองไปลู่
จุดปะทะอื่นๆ รวมถึงพื้นที่รกร้างปราศจากผู้คนอยู่อาศัยหรือทรัพย์สินใดๆ เหตุ-
การณ์หลายอย่างที่น่าไปสู่วิกฤติการณ์ปากนํ้าและการปิดปากนํ้าเจ้าพระยาเกิดขึ้น
ในพื้นที่ซึ่งคงถูกมองข้ามไปหากความคิดภูมิศาสตร์แบบจารีดก, อนสมัยใหม่ยัง
ครอบงำอยู่ การปะทะครั้งสำคัญเกิดขึ้นในเตือนเมษายน 2436 ( ค.ศ . 1893) เหนือ
สันดอนกลางแม่นํ้าโขงที่ไม่มีคนอยู่อาศัย 51 เหตุการณ์นี้นำไปสู่วิกฤติการณ์ไน
ภูมิภาคและเขยิบเป็นระต้บระหว่างประเทศเมื่อฝรั่งเศสส่งเรือป็นสองลำเข้าปิดปาก
นี้าเจ้าพระยา นี่เป็นเพียงการรุกคืบทางยุทธศาสตร์อีกครั้งเพื่อตัดสินความกำกวม
'

ของพื้นที่
กรณีพิพาทระหว่างฝรั่งเศส- สยามได้รับการพิจารณามาเป็นเวลานานว่าเป็น
ความขัดแย้งระหว่างสองชาติ แด่หากพิจารณาในแง่การผลักไสแทนที่ภูมิศาสตร์
การเมืองแบบประเทศราชอย่างเติมด้วยภูมิกายาแบบใหม่แล้ว คู่กรณีทั้งสองฝ่าย
กลับยืนอยู่ข้างเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายด่างใช้พลังของความรู้สมัยใหม่เข้าปะทะและ
สยบความรู้แบบจารีตของพื้นถิ่น ปริมณฑลของอำนาจแบบที่ช้อนกับกันถูกตัดสิน
และแบ่งสรรกันไป แนวบรรจบกันที่อุปดขึ้นคือปลายสุดของดินแดนของแด่ละฝ่าย
ทำหน้าที่เป็นเส้นเขตแดนอันบางเฉียบและชัดเจนที่แบ่งแยกดินแดนของสองฝ่าย
ยิ่งไปกว่านั้น อาณาจักรที่ถูกกำหนดด้วยเส้นแบ่งเขตชนิดใหม่นี้ยังถูกกลไกการ
ควบคุมชนิดใหม่เปลี่ยนสภาพจนกลายเป็นบูรณภาพของดินแดนที่เป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกัน การกระทำและเหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้เป็นช่วงขณะต่างๆ ของการ
เปลี่ยนเคลื่อน (๓0๓6ก13 01 รเาเ115 ) และการแทนที่กันของวาทกรรมทางภูมิศาสตร์
ได้อุบดิขึ้น เราสามารถมองการปะทะต่างๆ และวิกฤติการณ์ร.ศ. 1 12 ได้ว่าเป็นช่วง
ขณะที่นำไปสู่การอุบดิขึ้นของอธิปไตยเหนือดินแดนและระเบียบโลกแบบสมัยใหม่
และความหมายใหม่ของผืนดิน

182 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ดศาสดร์ภูมิกายาของชาติ


แต่ทั้งนี้ วิธีการดัตสินความกำกวมของพื้นที่มิได้มีเพียงกำลังทางทหารและ
การปกครองแบบใหม่เท่านั้น การที่อธิปไตยได้เปลี่ยนเคลื่อนไปอยู่ที่ดินแตน
หมายความว่าการแสดงออกของอธิปไตยจะต้องเปลี่ยนรูปแบบด้วยเช่นกัน จาก
พิธีกรรมและธรรมเนียมปฏิบัติเพื่อการสวามิภักดิ้แบบเดิม ต้องเปลี่ยนเป็นการ
แสดงตัวของอำนาจอธิปไตยที่เกี่ยวกับพื้นผิวโลกโดยตรง การเริ่มสำรวจพื้นที่และ
ทำแผนที่ชายแดนอย่างเต็มกำลังโตยรัฐสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่เพียงสะท้อนว่า
พระเจ้าอยู่หัวเองก็อยู่ข้างภูมิศาสตร์สมัยใหม่เท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงการเปลี่ยน
แปลงของวาทกรรมว่าด้วยอำนาจอธิปไตยอีกต้วย ทั้งสยามและฝรั่งเศสต่อสู้ทั้งด้วย
กำลังและด้วยแผนที่ เพื่อบรรลุความปรารถนาที่จะก่อร่างสร้างภูมิกายาของตนขึ้น
มาเป็นรูปธรรม และขีดเส้นขอบเขตแตนให้ชัดเจนสำหรับอำนาจอธิปไตยที่เป็นของ
ตนแต่ผู้เดียว

บทที่ 5 ชายขอบ 183


บทที่ 6
แผนที:่ เทคโนโลยีไหม่ของพื้นที/่ ภูมิ
บกกี 6
แผนที่: เกคโน!ลยึไหม่ของพื้นที่/ภูมิ

นับแต่ยุคเริ่มแรกที่ชาวยุโรปออกเดินทางจนกระทั่งถึงยุคอาณานิคมในศตวรรษที่ 1 9
ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์อันทรงพลังซึ่งแยกไม่ออกจากความรู้เกี่ยวกับโลกตะวันออก
สำหรับคาบสมุทรมลายูนั้น ชาวจีนเดินทางแวะเวียนมาเป็นประจำและได้ทำแผนที่
ชายฝังแถบนี้ไวัเป็นจำนวนมาก แผนที่เหล่านี้บางชิ้นเป็นแหล่งความรู้มีค่าสำหรับ
^
ซาวยุโรป เช่น มาร้โค โปโล ( โเ/!31-๐๐ เ เถ) ซึ่งทำแผนที่ออกมาในช่วงปี ค.ศ. 1 292 -
1294 ( พ.ศ . 1835 - 1837 ) 1 นับแต่นั้นมาดินแดนแถบนี้ก็ปรากฎบนแผนที่ทั่งยุค
คลาสสิค ยุคกลาง และต้นยุคสมัยใหม่ของยุโรป2 อย่างไรก็ดาม สยามกลับปรากฎ
บนแผนที่ของชาวยุโรปหลังจากนี้มาก ในแผนที่การค้นพบโลกใหม่ของโปรตุเกส
ไม่มีสยามปรากฎจนกระทั่งครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 นับจากนั้นมาสยามจึงค่อย
เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักทำแผนที่คนสำคัญ ๆ3

สยามในแผนที่ของชาวตะวันตก
ในศตวรรษที่ 1 7 ฝรั่งเศสและดัทช์เป็นผู้นำด้านเทคนิคการทำแผนที่ ผู้นำหลาย
รุ่นของสมาคมวิทยาศาสตร์ที่ราชสำนักฝรั่งเศสจัดตั้งชิ้นเป็นผู้เชี่ยวชาญแผนที่ 4
ประเทศทั่งสองยังเป็นผู้นำของบรรดามหาอำนาจยุโรปในการสำรวจโลกตะวันออก
สมัยนั้น ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างสยามกับฝรั่งเศสในทศวรรษ 1680 ( พ.ศ.
2223- 2232 ) มีผลต่อความก้าวหน้าของความรู้ภูมิศาสตร์และการทำแผนที่ของ
สยาม คณะทูตและผู้เชี่ยวชาญแผนที่ของราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 1 4 ตีพิมพ์

บทที่ 6 แผนที่ : เทคโนโลยีใหม่ของพี๋นที่ /ภูมิ 18 7


แผนที่สยามออกมาหลายฉบับและเผยแพร่ความรู้ของพวกเขาไปยังนักทำแผนที่
ชาวยุโรปคนอื่นๆ ภาพที่ 7 คือแผนที่โดยผู้เชี่ยวชาญแผนที่ซึ่งเดินทางมากับคณะ
ทูตฝรั่งเศสในปี 2229 ( ค.ศ. 1686 ) นับแต่นั้นมาสยามก็โดดเด่นบนแผนที่ภูมิภาคนี้
ที่ทำโดยนักทำแผนที่ซาวยุโรปเรื่อยมา5
อย่างไรก็ตาม บนแผนที่ทั้งหลายก่อนครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 มักมีแต่
รายละเอียดเฉพาะชายฝังของสยาม ดินแดนดอนในยังอยู่นอกความรับรู้ของพวก
ชาวยุโรป มีเพียงนักบวชเยซูอิดและนักเดินทางไม่กี่คนที่เคยเดินทางเข้าไปถึงลาว
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ในปี 2179 ( ค.ศ. 1636 ) นักเดินทางชาวดัทช์ผู้หนึ่งเคย
พยายามทำแผนที่เส้นทางแม่นี้าจากเจ้าพระยาขึ้นไปถึงลาว ปรากฏว่าเขาแทบจะ
ไม่มีความรู้เกี่ยวกับดินแดนตอนในเสียเลย เขาเชื่อว่าแม่นั้าเจ้าพระยาเป็นเส้นทาง
ไปล้านข้าง ( หลวงพระบางหรือเวียงจันทน์) และขึ้นเหนือไปอีกก็จะถึงหลี่ผีซึ่งที่จริง
อยู่ตรงชายแดนลาว -กัมพูชาในปัจจุบัน
คณะทูตของจอห์น ครอว์เฟิร์ด ที่เดินทางมาถึงสยามในปี 2364 ( ค.ศ . 1821 )
มีภารกิจสำคัญส่วนหนึ่งคือการสำรวจภูมิประเทศของดินแดนแถบนี้ ดัวครอว์เฟิร์ต
เองเป็นนักภูมิศาสตร์ไต้ทำแผนที่ชายฝังด้านดะวันออกของอ่าวสยามออกมาถึง
10 ฉบับ มีฉบับหนึ่งที่แสดงส้นดอนในแม่นั้าเจ้าพระยาจากกรุงเทพฯถึงปากอ่าว
ด้วย 6 เฮนรีเบอร์นืย์มีความปรารถนาที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับดินแดนล้านนาซึ่งในขณะ
นั้นเขากล่าวว่า “ยังไม่เป็นที่รู้จักของนักภูมิศาสตร์ยุโรป”7 แด่เขายังไม่มีโอกาสทำ
เช่นนั้นระหว่างที่เป็นทูตอยู่ในสยามระหว่างปี 2368- 2369 (ค.ศ. 1825 - 1826 )
จนกระทั้งถึงปี 2373 ( ค.ศ . 1 830 ) ครอว์เฟิร์ดก็ยังคงกล่าวว่า รายละเอียดเกี่ยวกับ
ชายแดนดอนเหนือของสยามนั้นแค่ดีกว่าการคาดเดาเพียงเล็กน้อย ภาพที่ 8 เป็น
แผนที่ซึ่งแนบอยู่ในรายงานปี 2371 (ค.ศ. 1828 ) ที่ครอว์เฟิร์ดบันทึกเกี่ยวกับการ
เดินทางสู่สยามและเวียดนามในช่วงปี 2364- 2365 ( ค.ศ . 1821 - 1822 )
นับแต่เมอร์เคเดอร์ ( แ6โ03๒0 ได้กำหนดโครงข่ายเส้นรุ้ง - แวงขึ้นมาทาบอยู่
บนพี้นผิวโลกทั้งใบ โลกก็เต็มไปด้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัสว่างเปล่าที่รอการเดิมให้เต็ม
ต่อมาจึง “คันพบ ”โลกใหม่ (|\เ 6พ ผ0 โ๒ หมายถึงทวีปอเมริกา ) เจอทวีปอัฟริกา
พื้นที่ที่ไม่เคยรู้จักก็เผยโฉมและถูกบันทึกลงบนแผนที่ แผนที่สมัยใหม่กลายเป็น
แรงบันดาลใจให้กับคณะสำรวจนับไม่ถ้วนที่สนองความปรารถนาของแผนที่เพื่อจัด
ระวางโลกทั้งใบ ครอว์เฟิร์ดและนักสำรวจอื่นๆ จำนวนมากหรือเจ้าหน้าที่อาณา -

188 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


นิคมในรุ่นนั้นก็เหมือนกับบรรพชนของพวกเขาในศตวรรษก่อนหน้านั้นที่พยายาม
จะผลิตแผนที่ของสยามและภูมิภาคนี้ทั้งหมดออกมา แรงปรารถนาต่อความรู้ทาง
ภูมิศาสตร์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับการแผ่อาณานิคม เพราะภูมิศาสตร์ได้กลาย
เป็นศาสตร์หลักอย่างหนึ่งสำหรับการล่าอาณานิคม พอๆ กับเป็นศาสตร์สำหรับนัก
สำรวจและนักปกครอง9 แลร์รี สเติร์นสไตน์ ( เ.3|า7 816๓ธ๒๒) เล่าถึงกรณีร้อยเอก
เจมส์โลว์ ผู้ผลิตแผนที่ของภูมิภาคที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักเพื่อเป็นทางไต่เด้าในหน้าที่
การงานของตน10 โลว์ตระหนักว่าภาคพื้นอุษาคเนย์เป็นดินแตนที่มีคนรู้จักน้อย
มาก แต่รายงานผลการสำรวจของครอว์เฟิร์ตก็กำลังจะเสร็จในไม่ข้า โลว์จึงรีบเร่ง
ผลิตแผนที่สยาม ลาว และกัมพูชาออกมา ซึ่งได้รับการตอบรับด้วยความคึกคักจาก
บรรดาผู้บังคับบัญชาของเขา อีกทั้งยังได้รับรางวัลเป็นเงินถึงสองพันเหรียญสเปน
อีกด้วย แด่ข้อมูลที่โลว์นำมาทำแผนที่นี้ล้วนมาจากคำบอกเล่าของคนท้องถิ่นโดย
ไม่มีการสำรวจที่แท้จริง สเดิร์นสไตน์ทุ่มเทเกือบทั้งบทความเพื่อประณามแผนที่
ปี 2367 ( ค.ศ . 1824 ) ของโลว์เขาชำแหละให้เห็นว่าโลว์ใช้ข้อมูลเก่าล้าสมัย ละเลย
การคันคว้าใหม่ๆ และละเลยข้อมูลของคนพื้นเมือง แผนที่ของโลร์ “เกือบทั้งหมดอิง
,
อยู่กับคำเล่าลือ” 1 แม้กระนั้นก็ตาม แผนที่ของโลว์และเรื่องราวของเขา ชี้ให้เห็นถึง
' 1

สถานะของความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์สยามในหมู่ชาวยุโรปในขณะนั้น โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งพัฒนาการในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 1 9
ดินแตนตอนในบนแผนที่ในช่วงเวลานั้นยังเป็นแตนปริศนา (๒โโส เก009ก!๒)
ตัวอย่างเช่นในหนังสือชื่อดังของเซอร์จอห์น เบาว์ริง ซึ่งดีพิมพ์ในปี 2400 ( ค.ศ .
1 857 ) เขาเชื่อว่าระหว่างที่ราบลุ่มภาคกลางกับล้านนามีทะเลทรายคั่นกลางอยู่ 12
อีกทั้งเข้าใจว่าลำนั้าโขงนั้นไหลตรงจากต้นนั้าลงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้า
ที่งานสำรวจของฟรองซีส์ การ์นิเยร์ ( เนิ'สก0เ5 ดสโกเ6โ ) จะตีพิมพ์ออกมาในปี 2407
( ค.ศ. 1864 ) นั้นจุตหักเหของลำนั้าโขงทางใต้ของหลวงพระบางไปทางตะวันออก
ก่อนจะวกลงใต้อีกครั้งหนึ่งก็ยังไม่เป็นที่รู้จัก13 เรียกได้ว่าก่อนหน้านี้ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือของไทยในปัจจุบันแทบไม่มีอยู่บนแผนที่เลย ปรากฎเป็นแค่แถบพื้นที่
แคบๆ ระหว่างแม่นั้าโขงกับเทือกเขาตลอดแนวตะวันออกของสยามเท่านั้น สยาม
ในความรับรู้ของชาวยุโรปที่มีมาจนถึงทศวรรษ 1850 (พ.ศ. 2393- 2402 ) จึงดูไม่
เหมือน “ขวานโบราณ”เลยสักนิด เอกสารของด้นศตวรรษที่ 1 8 ชี้นหนึ่งกล่าวว่า
สยามมีรูปทรงคล้ายเสี้ยวดวงจันทร์ด้วยซํ้าไป14 เห็นได้ชัดว่าแผนที่เหล่านี้อาศัย

บทที่ 6 แผนที่ : เทคโนโลยีใหม่ของพี้นที่ /ภูมิ 189


ข้อมูลของคนพื้นเมืองที่มิได้รับรู้หรือคิดถึงโลกสัณฐานแบบลูกโลกเลย และพวกเขา
อาจมีความรู้ภูมิศาสตร์เกี่ยวกับดินแตนดอนในและแม่นํ้าโขงน้อยมาก
แม้ว่าแผนที่เหล่านี้จะหลากหลาย แต่ทั้งหมดมีลักษณะคล้ายคลึงกันอย่างน่า
ทึ่งประการหนึ่ง นั่นก็คือ สยามตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่นี้าเจำพระยาและส่วนบนของ
คาบสมุทรมลายูเท่านั่น ชายแดนด้านเหนือของสยามอยู่เลยเมืองพิชัย พิษณุโลก
หรือสุโขทัยขึ้นไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นหรือกระทั้งอยู่ใต้กำแพงเพชร ทางฝังตะวัน-
ออก อาณาจักรสยามถูกจำกัดโดยเทือกเขายาวเหยียด ซึ่งข้ามไปก็เป็นดินแตน
ของลาวและกัมพูชา ชาวยุโรปอย่างครอว์เหิเร์ดและเบาร์ริงรับรู้ว่าลาว กัมพูชา และ
มลายูอยู่ภายใต้อำนาจที่ขึ้นๆ ลงๆของสยาม พม่า จีน และเวียดนาม15 แด่ชัดเจนว่า
พวกเขาเข้าใจผิดว่ารัฐที่เข้มแข็งหนึ่ง ๆ ผลัดเปลี่ยนกันเข้ายึดครองรัฐที่อ่อนแอกว่า
มิใช่มีอธิราชหลายรายในเวลาเดียวกันโดยไม่มีเส้นเขดแดนตรงชายขอบ การกล่าว
เช่นนี้มิใช่เพื่อพิสูจน์หรือลบล้างการอ้างสิทธึ๋ ทางประวิดศาสตร์แต่อย่างใด แต่เพื่อ
'

ชี้ว่าชาวยุโรปในขณะนั้นรับรู้เกี่ยวกับสยามในเชิงภูมิศาสตร์อย่างไร และอะไรคือ
สิ่งที่คนท้องถิ่นที่เป็นแหล่งข้อมูลมองว่าเป็นสยามและไม่ใช่สยาม แผนที่และข้อมูล
เหล่านี้อาจแสดงให้เห็นว่าในมโนภาพของชาวสยามในขณะนั้น พวกเขาเองก็ไม่ไต้
เห็นว่าล้านนา ลาว และกัมพูชา เป็นส่วนหนึ่งของสยามแด่อย่างใด

การทำแผนที่แบบตะวันตกในสยาม
ไม่มีหลักฐานว่าการทำแผนที่ของชาวฝรั่งเศสและดัทช์น้บตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 7 มีผล
กระทบต่อการทำแผนที่ของสยามหรือไม่อย่างไร ก่อนหน้ารัชสมัยของพระจอม -
เกล้าฯ ราชสำนักยังมิได้สนใจหรือเสียเวลากับการสำรวจดินแดนยกเว้นในกรณีการ
สำรวจเส้นทางรบเข้าสู่พระนคร เช่น แผนที่ร่องนั้าแม่นี้าเจ้าพระยาของครอว์เฟิร์ด
ที่ถูกประท้วงจากราชสำนัก16 ครั่งหนึ่งคนส่งสาส์นของอังกฤษซึ่งต้องการเดินทาง
โดยทางบกจากกรุงเทพฯ ไปยังตะนาวศรี ถูกเจ้าหน้าที่สยามพาเดินวนเวียนอยู่ใน
ป่าชายแดนอยู่นาน เพราะไม่ต้องการให้อังกฤษรู้เส้นทางบกระหว่างกรุงเทพฯ กับ
ดินแดนใต้การยึดครองของอังกฤษ17
,
แด สยามในยุคพระจอมเกล้าฯ นั้นแตกต่างไป ผู้นำสยามยุคนี้คุ้นเคยกับ
แนวคิดดะวันตกและอุปกรณ์วีทยาศาสตร์มากกว่า ลูกโลกและแผนที่เป็นหนึ่งใน
อุปกรณ์ที่พวกเขาชื่นชอบ สำคัญขนาดไหนเห็นได้จากของขวัญที่คณะทูตตะวันดก

190 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ถวายให้กับพระเจ้าอยู่หัวนัน มักมีแผนที่ของประเทศและเมืองต่าง ๆ รวมอย่ด้วย
เสมอ18 คงยากจะระบุว่าผู้ถวายต้องการให้พระเจ้าอยู่ห้วมีแผนที่พวกนี้ด้วยความ
มุ่งหมายแอบแฝงบางอย่าง หรือเพราะผู้รับเองปรารถนาจะได้และเป็นเจ้าของ
แผนที่พวกนี้ แต่กล่าวได้ว่าแผนที่เป็นของขวัญพิเศษพอที่จะมอบให้กับ “ค6 X
813๓6กธเบ๓”ซึ่งเป็นนามที่พระเจ้าอยู่หัวเองนิยมใช้ในจดหมายโต้ตอบกับชาวด่าง
ชาติ สำหรับชนชั้นนำสยามแล้ว การได้พบกับคณะทูตจากนานาประเทศที่ห่างไกล
และเรียนรู้เกี่ยวกับพวกเขามาพอสมควร โตยเฉพาะอย่างยิ่งการได้เห็น ประเทศ
เหล่านั้นบนแผนที่ * พวกเขาจะห้ามใจไม, นึกจินตนาการหรือปรารถนาที่จะเห็น
สยามปรากฏีอยู่บนแผนที่เช่นเดียวกับอารยประเทศเหล่านั้นได้หรือ ? สยามอยู่ตรง
นั้นและกำลังจะถูกรวมไว้บนลูกโลกด้วย แด่ว่าบนแผนที่ขณะนั้นสยามยังเป็นแดน
ปริศนาที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักแม้กระทงต่อชนชั้นนำสยามเอง สยามอยู่ตรงนั้นแหละ
แด่ยังตกสำรวจและไม่เป็นที่รู้จักนัก
ผู้นำสยามในยุครัชกาลที่ 4 ให้ความร่วมมือและพร้อมที่จะทำงานร่วมกับชาว
ด่างชาติมากขึ้นแม้ว่าจะมีแค่แผนที่ตามแบบเก่าๆ ก็ดาม อันที่จริงต้องนับว่ามาก
กว่าให้ความร่วมมือเสียอีก กล่าวคือพวกเขาช่วยขยายบทบาทของแผนที่เข้าไป
ในกิจการต่างๆของรัฐอย่างเอาการเอางานและสร้างสรรค์ ในช่วงห้าปีสุตท้ายของ
รัชกาลที่ 4 ทางราชสำนักได้ออกจดหมายและคำสั่งจำนวนมากเพื่อสอบถามเจ้า -
หน้าที่ท้องถิ่นเกี่ยวกับชายแดนด้านพม่าและกัมพูชา มีการติดต่อสื่อสารกันเกี่ยว
กับการสำรวจทำแผนที่ท้องถิ่นต่างๆ ของสยามขณะนั้น เช่น พิษณุโลก พึมาย และ
ปราจีน เอกสารติดต่อบางขึ้นมีเนี้อหาเกี่ยวกับการสำรวจร่วมกับฝรั่งเศสในศรีโส-
ภณ (ขณะนั้นอยู่ตรงชายแดนไทย - กัมพูชา มิใช่ภายในกัมพูชาดังปัจจุบัน) , 9 นี่นำ
จะเป็นสัญญาณแรก ๆ ของมโนภาพชุดใหม่เกี่ยวกับการปกครองบริหารดินแดน
ราวช่วงเวลาเดียวกัน การเจรจากับอังกฤษและฝรั่งเศสเกี่ยวกับชายแดน
หลายจุดทั้งด้านตะวันดกและตะวันออกก็กำลังตำเนินอยู่ แต่ไม่มีหลักฐานว่าสยาม
ได้พยายามสร้างแผนที่ภูมิกายาของตนขึ้นมา จนกระทั้งถึงปี พ. ศ . 2409 ( ค . ศ .
1866 ) เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทราบว่าคณะสำรวจของฝรั่งเศสกำลังสำรวจ
บริเวณดามลำนั้าโขง จึงได้ตระหนักว่าสยามจะต้องทำอย่างเดียวกัน ราชสำนักได้
* เน้นตามต้นฉบับ

บทที่ 6 แผนที่: เทคโนโลยีใหม่ของพื๋นที่ /ภูมิ า 9า


แต่งตั้งนาย “โดยชก ”( อบVธ3เ1) ชาวดัทช์ให้เป็นผู้นำคณะสำรวจดินแดนบริเวณ
แม่นํ้าโขงจากน่าน หลวงพระบาง ไปถึงมุกดาหาร เขาเป็นชาวยุโรปคนแรกๆ ที่ได้
สำรวจบริเวณลุ่มนํ้าโขงทางตอนเหนือของหลวงพระบาง อย่างไรก็ดาม จนมาถึง
ปัจจุบันเราก็ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดของการสำรวจครั้งนั้น20 นอกจากภารกิจนี้
,
แล้ว ไม มีหลักฐานว่าสยามทำการสำรวจเขตแตนอีกเลยจนกระทั่งทศวรรษ 1880
( พ.ศ. 2423- 2432 )
การทำแผนที่และการสำรวจภูมิประเทศตูจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการ
ปรับปรุงกรุงเทพฯ และหัวเมืองบางแห่งให้ทันสมัย บทบาทนี้ขยายมากยิ่งขึ้นใน
รัชสมัยต่อมาอันเป็นยุคที่สยามมุ่งสู่ความทันสมัยอย่างรวดเร็ว การเติบโตของเมือง
และโครงการก่อสร้างด่างๆ ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนน ทางรถไฟ และ
โทรเลข จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีแผนที่ทั่งในแง่ความรู้ช่างเทคนิค และอุปกรณ์ต่างๆ
แด่ด้วยเหตุที่เป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับชาวสยาม ภารกิจทำแผนที่ในยุคต้นๆ
นี้ส่วนใหญ่จึงอยู่ในมือของชาวด่างชาติ รวมทั้งชาวด่างชาติที่มิได้เป็นช่างเทคนิค
เฮนรี อลาบาสเตอร์ ( เ-เ6กเ7 /Vเลเงลธ(6โ ) รองกงสุลอังกฤษประจำกรุงเทพฯในสมัย
รัชกาลที่ 4 กลายเป็นที่ปรึกษาซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ให้ความไว้วางใจที่สุด
คนหนึ่ง ถึงแม้เขาจะไม่ได้ผ่านการฟิกฝนเป็นนักสำรวจหรือผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่
แต่เขาก็มีความสามารถด้านวิศวกรรมเพียงพอ เขารับผิตชอบโครงการวางสาย
โทรเลขสองสายหลัก ( คือกรุงเทพฯ-ปากนั้า และกรุงเทพฯ -บางปะอิน) รวมทั้ง
โครงการสร้างถนนหลายสายในกรุงเทพฯ และสายกรุงเทพฯ สู่ปากอ่าว พระเจ้า -
อยู่หัวรู้สึกประทับใจอย่างมากกับความสามารถรอบตัวของเขา และอลาบาสเตอร์
เองก็สนุกกับงานของเขา 21 ชาวด่างชาติอีกคนที่ทำงานให้ราชสำนักสยามในช่วงปี
2421 - 2422 ( ค.ศ. 1878- 1879 ) คือออกุสต์ ปาวีนักสำรวจชาวฝรั่งเศสผู้มีความรู้
ความสามารถรอบด้าน เขาดูแลการวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ไปถึงพระตะบอง
เพื่อเชื่อมต่อกับสายของฝรั่งเศสซึ่งวางไปถึงไช่ง่อน
ในปี 2423 ( ค.ศ. 1880 ) รัฐบาลอังกฤษที่อินเดียขออนุญาตราชสำนักสยาม
ทำการสำรวจภายในสยาม เพราะต้องการวางโครงข่ายสามเหลี่ยม ({โ!ลก9 มเ 3{[วก )
เพื่อทำแผนที่ชายแดนอินเดียของอังกฤษให้เสร็จสิ้น อังกฤษไต้วางโครงข่ายสาม -
เหลี่ยมจากอินเดียถึงชายแดนอาณานิคมฝังตะวันออกของตนหรือพม่าไว้เรียบร้อย
แล้ว แด่หากจะทำแผนที่ชายแดนด้านนี้ให้เสร็จ พวกเขาจำเป็นต้องวางโครงข่าย

192 I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ต่อเนื่องเข้ามาในสยาม รัฐบาลอังกฤษต้องการติตตั้งหมุดหมาย ณ จุดสูงสุดแห่ง
หนึ่งในแผ่นดินของสยาม จุดแรกที่เสนอมาคือภูเขาทองในกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ห่างจาก
พระบรมมหาราชวังแค่ไม่กี่กิโลเมตร และถือเป็นเขาศักติ้สิทธี้ของกรุงเทพฯ อันมี
พระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ตรงยอดเจดีย์ อีกแห่งหนึ่งศึอที่พระปฐมเจดีย์ จังหวัด
นครปฐม อันเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในสยาม อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางตะวันตก
เฉียงใดไม่ถึง 50 กิโลเมตร22
ราชสำนักกรุงเทพฯ ตื่นตระหนกต่อคำขอของอังกฤษ มีการประชุมด่วนของ
เสนาบดีและชุนนางผู้ใหญ่เพื่อพิจารณาคำขอดังกล่าวเพราะหลายคนเชื่อว่าการ
สำรวจนี้เป็นขั้นแรกของการรุกรานจากต่างชาติ ปฏิกิริยาเช่นนี้เป็นสิ่งที่เข้าใจได้
เพราะนึ่มิใช่การสำรวจเพื่อโครงการก่อสร้างเฉพาะบริเวณอย่างที่ชนชั้นปกครอง
สยามคุ้นเคย เป็นไปไต้ว่าหลายคนอาจมิได้เข้าใจด้วยชาว่าการวางโครงข่ายสาม -
เหลี่ยมคืออะไร ในสมัยนั้นยังไม่เคยมีการสำรวจพึ้นที่ขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ เลย
แม้ว่าจะมีการสำรวจภูมิประเทศตามแนวชายแดนหลายจุด แด่งานเหล่านั้นมิได้
ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่อย่างการวางโครงข่ายสามเหลี่ยม แถมยังไม่เคยรวมเอา
เมืองหลวงไว้ในการสำรวจด้วย ข้อนี้น่าจะเป็นสิ่งที่คุกคามความรู้สึกของราชสำนัก
มากที่สุด นอกจากนี้ จุดที่อังกฤษร้องขอทำหมุดหมายก็ล้วนเป็นพื้นที่ศก่ดี้สิทธี้ จึง
เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สร้างความวิตกกังวลให้กับสยามอย่างมาก คำขอดังกล่าวยัง
แสดงให้เราเห็นว่าอังกฤษและภูมิศาสตร์สมัยใหม่ทำตัวเป็นเจ้าจักรวรรดิที่ไรัความ
ละเอียดอ่อนเสียจริงๆ แถมภารกิจดังกล่าวยังเป็นการริเริ่มโดยอังกฤษ ทำโดย
อังกฤษ และเพื่อผลประโยชน์ของอังกฤษทั้งสิ้น
อลาบาสเตอร์มิไต้มีความตระหนกวิตกดังกล่าว แต่เพื่อช่วยปัดเป่าความกลัว
ของผ้นำสยาม เขาจึงเสนอว่าสยามควรจ้างช่างเทคนิคชาวอังกฤษมาทำแผนที่
สยามให้รัฐบาลสยาม เพื่อเชื่อมต่อกับโครงข่ายสามเหลี่ยมของอังกฤษ พระเจ้า -

พระ'วิภาคภูวดล จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้น์าทีมสำรวจให้กับรัฐบาลสยาม23
^ ^
อยู่หัวก็เห็นพ้องด้วย เจมส์ ฟิทซ์รอย แมคคาร์ธี (ม่3๓68 ฅ12เ-07 1 เ003เ11 ) 'ครือ "

การวางโครงข่ายสามเหลี่ยมจากอินเดียเสร็จสิ้นลงและกลายเป็นฐานให้กับ
การสำรวจเพื่อทำแผนที่ของสยาม24 แต่ว่าหลังเสร็จภารกิจนี้แมคคาร์ธีและคณะ
ของเขาได้กลับมาทำโครงการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ผลงานบางส่วนของพวก
เขาได้แก่:

บทที่ 6 แผนที่ : เทคโนโลยีใหม่ของพื้นที่ / ภูมิ 193


ปี 2424 ( ค.ศ. 1881 ): ติตตั้งสายโทรเลขระหว่างตากของสยามกับมะละแหม่ง
ของพม่า
ปี 2425 ( ค.ศ . 1882 ) : ทำแผนที่ย่านสำเพ็งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บ
ภาษีรายหัวชาวจีน
ปี 2425 - 2426 ( ค.ศ . 1882 - 1 883 ) : ทำแผนที่เส้นเขตแตนระหว่างระแหง
กับเชียงใหม่เพื่อแกไขข้อพิพาทเรื่องจัดเก็บภาษีตัดไม้
ปี 2426 ( ค.ศ . 1 883) : ทำแผนที่เส้นเขตแตนระหว่างปัตตานีของสยามกับ
ฟรักของอังกฤษ25
กระนั้นก็ตาม เทคโนโลยีของชาวยุโรปนี้ก็มิได้เป็นที่ต้อนรับนักสำหรับคน
พื้นเมือง พระยามหาอำมาตยาธิบตี ( เส็ง ) นักสำรวจและทำแผนที่คนสำคัญของ
สยามที!่ เกฝนวิชาจากแมคคาร์ธี กล่าวว่างานของพวกเขาต้องพบอุปสรรคมากมาย
แม้กระทั่งจากพวกเจ้าและขุนนางด้วยกันเอง เนื่องจากกลัวว่าทรัพย์สินของตน
อาจถูกรัฐยึดเอา การทำงานของพวกเขาถูกจับตามองแทบทุก!) ก้าว ในบันทึกของ
แมคคาร์ธิ เขาบ่นบ่อยครั้งถึงอุปสรรคจากขุนนางท้องถิ่นที่ทำให้งานของเขายาก
ลำบากกว่าที่ควรน้องชายของพระยามหาอำมาดยาฯ ถูกฆ่าตายขณะทำการสำรวจ
ในสิบสองปันนาเพราะชาวบ้านไม่ต้องการให้สำรวจ26 อย่างไรก็ตามความเปลี่ยน-
แปลงกำลังเกิดขึ้น ตังที่แมคคาร์ธีบันทึกไวในปี 2438 ( ค.ศ. 1 895 ) ในช่วงท้ายของ
ชีวิตการทำงานของเขาในสยาม เมื่อหวนรำลึกถึงสิ่งที่เขาประสบในช่วงต้นๆ ของ
งานในสยามว่า “การสำรวจถูกมองว่าไม่มีประโยชน์โตๆ ต่อการบริหารประเทศและ
อาจเป็นประโยชน์ต่อผ้รุกรานในภายหน้ามากกว่าต่อผู้เป็นเจ้าของประเทศเอง แต่
ถึงเวลาแล้วที่ความคิตดังกล่าวจะหมดไปและงานสำรวจมีสถานะมั่นคงขึ้น”27
สำหรับผู้ปกครองในกรุงเทพฯ การทำแผนที่มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็ว กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสยามพอๆ กับถนนหนทาง ไฟฟ้า โทรเลข และ
ทางรถไฟ พนักงานทำแผนที่ขุดแรกแต่งตั้งขึ้นในปี 2418 ( ค.ศ. 1 875 ) โตยคัตเลือก
ทหาร 50 นายจากกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ตั้งเป็น “[ฒแย่สโX [ะก9เก66โร
0เ ย่า6 ค0 X 31 80๘X9 บ31X1 ”ภายใต้การบังคับบัญชาของอลาบาสเตอร์28 นับเป็น
กองทหารแบบตะวันดกหน่วยแรกในสยาม แต่ก็มีเพียงไม่กี่คนที่ผ่านการ!) กอบรม
จนจบหลักสูตรและโครงการถูกระงับไปจนกระทั่งแมคคาร์ธิเข้ามารับหน้าที่ต่อและ
เริ่มการ!) กลอนอีกครั้งในปี 2424 ( ค.ค. 1881 )

194 I กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ในปี 2425 ( ค . ศ . า 882 ) สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ เสนอให้ตั้งโรงเรียนแผนที่
ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อแกหัดเจ้าหน้าที่มาเป็นผู้ช่วยแก่ช่างเทคนิคชาวยุโรป โรงเรียน
นี้รับน้กศึกษาจำกัดจำนวนตามความต้องการของรัฐ ส่วนใหญ่เป็นลูกหลานขุนนาง
ผู้ใหญ่ ส่วนหนึ่งของวิชาที่สอนคือคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์แบบตะวันตกและ
การใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ซับช้อน นักศึกษายังได้เรียนการคำนวณหาพิกัด
และการวัตภูมิประเทศด้วย29 โรงเรียนแผนที่เป็นหนึ่งในโรงเรียนแบบตะวันตกซึ่ง
มีอยู่ไม่กี่แห่งในขณะนั้น และเป็นโรงเรียนเดียวของรัฐบาลสยามที่มีการสอนภาษา
อังกฤษและวิทยาศาสตร์ตะวันตกอย่างเข้มข้นเนื่องจากเป็นความรู้ที่จำเป็นสำหรับ
การทำแผนที่ ทว่าด้วยความที่เป็นโรงเรียนฟิกสอนเฉพาะด้าน มิใช่การศึกษาแบบ
'

สามัญ งานวิจัยที่เกี่ยวกับการศึกษาสมัยใหม่ในประเทศไทยจึงแทบไม่ได้เอ่ยถึง
สถาบันแห่งนี้เลย 30
สามปีต่อมา คือเมื่อปี 2428 ( ค .ศ . า 885 ) จึงมีการสถาปนากรมแผนที่ขึ้นมา
เพื่อรับผิดชอบงานทั้งหมดเกี่ยวกับการสำรวจ วางแผน และทำแผนที่ของรัฐบาล 31
การทำแผนที่มิได้เป็นเทคโนโลยีต่างด้าวในสยามอีกต่อไป

การสร้างทื้นทื่ “ฃองเรา” ด้ายแผนที่


พระยามหาอำมาดยาธิบดี ( เส็ง ) กล่าวไว้ว่า เมื่อตอนที่เขาเข้าทำงานในกระทรวง
มหาดไทยในปี 2435 ( ค . ศ . า 892 ) นั้น เขามั่นใจว่าผู้บังคับบัญชาของเขารู้จักเมือง
แถบชายแตนแต่เพียงชื่อ ไม่สามารถระบุตำแหน่งแห่งที่ของเมืองเหล่านั้นในแผนที่
ได้ เขาเห็นว่าอาจเป็นเพราะผู้บังคับบัญชาเหล่านั้นมิได็ใส่ใจปัญหาบริเวณชายแตน
เท่าไรนัก 32 นี่อาจจะเป็นการกล่าวเกินจริงไปดักหน่อย เพราะเมื่อถึงปี 2435 ปัญหา
ชายแตนกลายเป็นประเด็นสำคัญของรัฐบาลในกรุงเทพฯ และในช่วงนั้นชนชั้นนำ
จำนวนมากต้องรับรู้เกี่ยวกับแผนที่ของหัวเมืองชายแตนแล้ว กระนั้นก็ตามคำกล่าว
ของพระยามหาอำมาตยาฯ ชี้ว่า เขาตระหน่กถึงการเปลี่ยนผ่านจากเวลาที่เมือง
ชายแดนเป็นที่รัจักกันแต่ในนามไปสู่เวลาที่เมืองเหล่านั้นเป็นที่รู้จักจากแผนที่ การ
เปลี่ยนเคลื่อนนี้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น คือ สองทศวรรษสุดท้ายของ
ศตวรรษที่ า 9
ไม่กี่ปีหดังจากที่อังกฤษขอทำโครงข่ายสามเหลี่ยมอันน่าพรั่นพรึง ความ
ต้องการแผนที่ในสยามก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม แรงผลักดันสำคัญนับ

บทที่ 6 แผนที่: เทคโนโลยีใหม่ของพื้นที่ /ภูมิ ใ 95


จากกลางทศวรรษ 1880 (ปลายพุทธทศวรรษ 2420 ) เป็นต้นมา มิใช่การก่อสร้าง
โครงสร้างพื้นฐาน แต่เป็นการปกครองท้องถิ่นแบบใหม่ดังที่กล่าวถึงไปแล้ว หาก
เราสังเกตจากภารกิจของแมคคาร์ธีระหว่างปี 2425 - 2426 ( ค.ศ . 1882 - 1883 )
จะเห็นได้ว่ามีปัญหาเส้นเขตแดนระหว่างเมืองของสยามแห่งหนึ่งกับล้านนา และ
ระหว่างปัตตานีที่อยู่ในอำนาจสยามกับเปรักที่อยู่ใต้อำนาจอังกฤษ อันที่จริงสยาม
ทั้งประเทศเริ่มเปลี่ยนเคลื่อนจากจารีตความสัมพันธ์การปกครองแบบลำดับชั้นไปสู่
การปกครองแบบใหม่บนพื้นฐานของดินแตน
ตามระบบการปกครองท้องถิ่นแบบจารีตที่วางอยู่บนเครือข่ายความสัมพันธ์
เป็นลำดับชั้นของเจ้าท้องถิ่นซึ่งอยู่ใต้การดูแลของขุนนางในกรุงเทพฯ อีกทีหนึ่งนั้น
เมืองเล็กสามารถที่จะร้องขอเปลี่ยนไปขึ้นต่อเจ้านายรายใหม่ไต้ โดยมากมักเกิดขึ้น
หลังกรณีพิพาท เจ้านายรายใหม่อาจครองเมืองซึ่งมิได้ตั้งอยู่ติดกับเมืองเล็กนั้นก็ได้
ปริมณฑลอำนาจของเจ้าระดับภูมิภาคจึงอาจไม่ต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน33 ฉะนั้น
เมืองเล็กๆจึงมักเป็นที่รู้จักแด่โดยชื่อ บ่อยครั้งกรุงเทพฯ เองก็ไม่รู้เลยว่าปริมณฑล
อำนาจของศูนย์กลางภูมิภาคแด่ละแห่งกว้างขวางแค่ไหน เช่นเดียวกับที่ราชสำนัก
ของรัชกาลที่ 3 บอกให้เจ้าหน้าที่อังกฤษไปสอบถามเรื่องเขตแดนเอากับชาวบ้าน
ในท้องที่ การติดต่อสื่อสารระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองบริเวณชายแดนเกี่ยวกับเล้น
เขตแดนบางแห่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ชี้ว่าราชสำนักไม่ได้รู้จักอาณาจักรของตนในเชิง
ดินแดนเท่าไรนัก
การปฏิรูปการปกครองซึ่งเริ่มด้นใช้กับประเทศราชใหญ่ ๆ ในล้านนาและลุ่ม
นั้าโขงเป็นส่วนใหญ่ไม่เพียงแด, ท่าให้กรุงเทพฯ รวบอำนาจได้มากขึ้น แด่กังเป็นการ
ปรับโครงสร้างการปกครองของเมืองใหญ่น้อยต่างๆ ด้วย เจ้าหน้าที่ของกรุงเทพฯ
พบปัญหาใหญ่ประการหนึ่งคือ ดินแดนที่อยู่ใต้อำนาจของเจ้านายทั้งหลายนั้น
กระจายตัวกันอย่างสับสนวุ่นวาย ทางแก้ปัญหาคือจัดสรรดินแดนเสียใหม่ด้วยการ
โยกเมืองหลายเมืองจากเจ้านายรายหนึ่งไปขึ้นกับอีกรายหนึ่งและยกเลิกเมือง
บางเมืองเสีย ด้วยสำนึกทางภูมิศาสตร์สมัยใหม่ กรุงเทพฯ ได้เสนอมาตรการสอง
ประการที่จำเป็นสำหรับการปกครองจังหว้ดที่ถูกจัดสรรใหม่ นั้นก็คือ การทำแผนที่
และจดทะเบียนสำมะโนครัว34
การปฏิรูปแสดงให้เห็นการเปลี่ยนผ่านมหาศาลของมโนภาพเกี่ยวกับแผ่นดิน
ของสยาม เป็นครั้งแรกที่ชนชั้นปกครองสยามพยายามที่จะรู้จักหน่วยต่างๆ ที่

196 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ประกอบขี้นเป็นอาณาจักรในแง่ของดินแดน นี่เป็นผลจากมโนภาพใหม่อ้นเกิดมา
จากแผนที่ตามวาทกรรมภูมิศาสตร์สมัยใหม่อย่างแน่น0น การทำแผนที่เป็นทั้ง
กระบวนทัศน์ในการรับรู้เข้าใจโลกและเป็นเครื่องมือสำหรับการปกครองแบบใหม่
แผนที่บงการให้เกิดการจัดสรรและจัดการพื้นที่การเมืองใหม่ เพื่อให้สอดรับกับการ
ใช้อำนาจปกครองรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของดินแดน ซื่อ “เทคาภิบาล”( แปลตรง
ตัวว่า การปกครองดูแลพื้นที่ ) สะท้อนการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างตรงไปตรงมา แต่การ
จัดสรรดินแดนใหม่เริ่มกระทำในช่วงเวลาเดียวกับที่สยามกำลังแข่งขันกับฝรั่งเศส
เพื่อแย่งชิงดินแดนลุ่มนํ้าโขง ในกรณีนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้แสดงความ
ประสงค์อย่างชัดแจ้งที่จะใหัมีการทำแผนที่และจัดการพื้นที่บริเวณชายแดนเสีย
ใหม่ เพื่อใช้เป็นมาดรการดอบโต้ฝรั่งเศส 35 แม้ว่าการปฏิรูปอย่างเป็นทางการใน
ดินแดนแถบนี้จะเกิดขึ้นค่อนข้างช้ากว่าที่อื่นคือปี 2433 ( ค.ศ . 1890 ) แต่ในความ
เป็นจริงได้เริ่มขึ้นดั้งแด่ก่อนหน้านี้แล้ว
น่าสนใจอย่างยิ่งว่านับแต่เริ่มต้น การทำแผนที่ในสยามเกี่ยวข้องกับความ
ปรารถนาที่จะผนวกดินแดนลาวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยาม ในด้นปี
2427 ( ค .ศ . 1884 ) เจ้านายสยามคนหนึ่งเสนอว่า ราชสำนักควรส่งคณะนักสำรวจ
และเจ้าพนักงานแผนที่ขึ้นไปทำแผนที่ดินแตนลุ่มแม่นี้าโขงส่วนที่ติตกับดังเกี๋ยและ
อ้นนัม แมคคาร์ธีเตือนว่าปัญหาชายแดนในดินแดนเหล่านั้นกำลังคุกรุ่น การทำ
แผนที่จึงมีความจำเป็นเร่งด่วน36 แน่นอนว่าการทำแผนที่มิได้เกี่ยวข้องกับการ
ปราบฮ่อ แต่ผู้ปกครองสยามตระหนักดีว่ามันเป็นเครื่องมือทรงพลังในการรับมือกับ
ปัญหาเขตแดน
ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2427 เป็นครั้งแรกในประวีดศาสตร์ที่คณะ
พนักงานแผนที่ซึ่งนำโดยแมคคาร์ธี เดินทางร่วมกับกองทัพสยามเพื่อไปสำรวจ
ดินแตนรอบหลวงพระบางและเวียงจันทน์ 37 นับจากนั้นมาจนถึงกลางปี 2436 ( ค.ศ.
1 893) กองทัพสยามที่ส่งไปปราบฮ่อจะมีคณะนักสำรวจและทำแผนที่เดินทางร่วม
ด้วยเสมอ การทำแผนที่เป็นภารกิจสำคัญของทุกยุทธการโดยแท้ พระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 มีรับสั่งอย่างดรงไปตรงมาต่อกองทัพสยามในปี 2428 ( ค.ศ. 1885 )
ว่า “มีพระราชประสงค์ที่จะทรงทราบถิ่นฐานทั้งปวงอ้นเป็นพระราชอาณาเขด....
จึงโปรดฯ ใหัมีกองแผนที่ขึ้นมาตรวจสอบถิ่นฐานทั้งปวงให้ใต้ความชัดแจ้ง ให้
แม่ทัพนายกองทั้งปวงช่วยกันอุดหนุนเจ้าพนักงานทำแผนที่ให้ไต้ทำการตลอด

บทที่ 6 แผนที่ : เทคโนโลยีใหม่ของพื้นที่ / ภูมิ 197


ไป ”38 การ “ทราบ ”ของพระเจ้าอยู่หัวในที่นี้ ก็คือการได้รู้จักในเชิงภูมิศาสตร์
นั่นเอง รายงานการเดินทัพปราบฮ่อของเจ้าพระยาสุรศักดี้มนตรีจึงเต็มไปด้วยราย -
ละเอียดเกี่ยวกับธรรมชาติของสถานที่ต่าง ๆ ชาวบ้าน และการพยายามระบุที่ตั้ง
แน่ชัดของแต่ละแห่งด้วยวิธีการอ้างอิงต่างๆ แน่นอนว่าแผนที่ถูกวาดขึ้นในทุกๆ ที่
ที่กองทัพยาตราไปถึงและทยอยจัดส่งกลับมายังกรุงเทพฯ เป็นระยะๆ39
ดูเหมือนสยามคาดหวังว่าแผนที่จะเป็นเครื่องมือที่สามารถตัดสินเขตแดน
ทุกด้านของดินแดนสยามให้สำเร็จเสร็จสิ้นไป กล่าวคือแผนที่จะขจัดความกำกวม
บริเวณชายขอบให้หมดไปและขอบเขตที่ชัดเจนของอาณาจักรสยามจะปรากฎ
ชัดเจน เทคโนโลยีการทำแผนที่มิใซ่สิ่งแปลกประหลาดหรือน่าหวาดระแวงสำหรับ
ผู้น์าสยามอีกต่อไป พวกเขาดระหนักดีว่า หากจะโต้แย้งการอ้างสิทธี้ของฝรั่งเศส
ให้ไต'ผล ภูมิศาสตร์สมัยใหม่เป็นภาษาทางภูมิศาสตร์ชนิดเดียวที่ตะวันดกยินดี
รับฟัง และแผนที่สมัยใหม่เท่านั้นที่จะสามารถโต้แย้งต่อรองได้ การทำแผนที่ซึ่ง
ทำให้ราชล้านักประหวั่นพรั่นพรึงในช่วงปีแรกๆของรัชสมัย มาถึงตอนนี้ได้กลาย
เป็นเทคโนโลยีที่ขาดไม่ได้สำหรับกำหนดและสถาปนาภูมิกายาของสยาม
อย่างไรก็ดาม การริเริ่มด่างๆเกี่ยวกับการทำแผนที่ซี้ชัดว่า จนกระทั่งถึงขณะ
นั่นสยามยังไม่มีหลักฐานประเภทนี้อยู่ในมือเพื่อใช้ยืนยันการอ้างสิทธึ๋ของตน การ
บรรลุภารกิจอันยากแสนเข็ญเช่นนี้ในระยะเวลาอันสั้นหลังการเดินทางไม่กี่ครั้ง เป็น
เรื่องเกินกว่าจะลิดได้ แต่ก็ยากที่จะบอกได้ว่าผู้ปกครองสยามตระหนักถึงเงื่อนไข
ทางเทคนิคนี้หรือไม่ บางทีคำวิจารณ์ของนักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งที่ว่าชนชั้นนำ
สยามประเมินความสามารถทางทหารของตนสูงเกินจริงแต่ขาดความพร้อมที่เป็น
จริง อาจใช้อธีบายสภาพที่พวกเขาจัดการกับการทำแผนที่ได้ด้วย40 กล่าวคือพวกเขา
พร้อมที่จะใช้แผนที่เพื่อยืนยันข้ออ้างของตนทั้งในสนามรบและบนโต๊ะเจรจา แด่กลับ
ปรากฏว่าไม่มีแผนที่ชายแดนที่ทำเสร็จสมบูรณ์ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ร.ศ . 1 1 2 เลย
การสำรวจปี 2427 ( ค.ศ . 1 884 ) เป็นโครงการทำแผนที่ชายแดนโครงการแรก
ที่ดำเนินการโดยสยาม (หากไม่นับการสำรวจของ “โดยซก”ซึ่งเราไม่รู้ว่าผลสำรวจ
เป็นเช่นไร) และเป็นหนึ่งในโครงการแรกๆที่ดำเนินการโดยชาวยุโรป ถึงแม้ว่าจะ
มีนักสำรวจชาวฝรั่งเศสจำนวนมากไต้เคยเดินทางเข้ามายังดินแดนแถบนี้ตั้งแต่
ทศวรรษ 1860 ( พ.ศ . 2403- 2412 ) แต่ผลการสำรวจยังไม่เป็นที่น่าพอใจ มิพัก
ต้องพูดถึงแผนที่ที่ตรงดามหลักวิชา อย่างไรก็ดี การสำรวจปี 2427 ประสบความ

198 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ล้มเหลวเพราะเกือบทุกคนในทีมสำรวจล้มป่วยด้วยไข้ป่า ช่างเทคนิคชาวอังกฤษ
คนหนึ่งถึงอับเสียชีวิต 41 นับแต่นั้นเป็นต้นมา การสำรวจชายแตนจึงกระทำเป็น
ประจำในช่วงหน้าแล้งของทุกปี ระหว่างเตือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนจนถึงเดือน
พฤษภาคมในปีอัตไป เมื่อถึงด้นปี 2430 ( ค.ศ. 1887 ) พนักงานทำแผนที่เดินทางถึง
แกง สิบสองจุไท หัวพันห้าทั้งหก พวน และหัวเมืองเลกอื่นๆ แด่โครงการที่ทำเสร็จ
นช่วงนี้เป็นเพียงแค่การสำรวจภูมิประเทศเท่านั้น

ลึกแผนที่: เมื่ออาวุธร้ายแรงแผลงฤทธึ๋
สยามมิไดัทำแผนที่ฝ่ายเดียว นักสำรวจฝรั่งเศสเข้ามาในภูมิภาคนี้เป็นเวลาหลาย
ทศวรรษแล้ว พวกเขาเชื่อว่าแม่นํ้าโขงเป็นเส้นทางที่นำไปสู่ตอนใต้ของจีนอันลึกลับ
และมั่งคั่ง อองรี มูโอต์ ( แอกก่ เท่ 0บเา 0เ ) เป็นซาวฝรั่งเศสคนแรกที่เดินทางจาก
ปากแม่นั้าขึ้นไปถึงหลวงพระบางในปี 2403- 2404 ( ค.ศ. 1860 - 1861 ) แด่โรคภัย
คร่าชีวิตเขาเสียก่อนที่จะเดินทางต่อไปได้42 ระหว่างปี 2409 - 241 1 (ค.ศ. 1866 -
1868 ) ตูตารต์ เดอ ลาเกร ( อบสํลเ1 ๘6 เ-สฐโธ่6 ) และฟรองซีส์ การ์นิเยร์ได้สานต่อ
ความพยายามของมูโอต์และเป็นซาวยุโรปสองคนแรกที่ทำแผนที่แว่นแคว้นต่างๆ
ดลอดแม่นั้าโขงจากการสำรวจพื้นที่จริง ๆ43 ตัวแทนผลประโยชน์คนสำคัญของ
ฝรั่งเศสในการแช่งขันอับสยามในช่วงทศวรรษ 1880- 1890 ( ค.ศ . 2423- 2442 )
ก็คือ ออกุสต์ ปาวี หลังจากเป็นลูกจ้างทำงานให้อับรัฐบาลสยามในโครงการวาง
สายโทรเลขระหว่างปี 2421 - 2422 ( ค.ศ . 1878 - 1879 ) ปาวีและทีมนักสำรวจชาว
ฝรั่งเศสก็หันมาทำงานให้อับรัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศสในการสำรวจบริเวณลาวตอน
หนือตลอดทศวรรษอัดมา
ในปี 2429 ( ค.ศ . 1 886 ) ปาวี ในนามของรัฐบาลฝรั่งเศส ได้ขออนุญาตสยาม
จัดตั้งสถานกงสุลขึ้นที่หลวงพระบาง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แย้งว่าเหตุผลที่แท้
จริงของการขอตั้งกงสุลมิใช่เพื่อคุ้มครองคนในบังคับของฝรั่งเศส เพราะในขณะนั้น
คนในบังคับฝรั่งเศสในลาวยังมีจำนวนไม่มากนัก จุดประสงค์แท้จริงที่เห็นได้ขัด ๆ
คือเพื่อการทำแผนที่ในภูมิภาคนั้น44 แม้คำขอจะถูกปฏิเสธ แด่ปาวียังคงมุ่งหน้า
ทำงานต่อไป เขาเดินทางไปทั้วภูมิภาค โดยมากมีกองทัพสยามเป็นผู้คุ้มครองเกือบ
ดลอดทาง ปาวีและการสำรวจของเขาจึงเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของฝรั่งเศสก่อน
กองทหารฝรั่งเศสจะปรากฏตัวเสียอีก การทำแผนที่ของเขาเป็นการนำร่องให้

บทที่ 6 แผนที่ : เทคโนโลยีใหม่ของ,ต้นที่ / ภูมิ า 99


จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส นี่เป็นสัญญาณอีกอย่างถึงอานุภาพของเทคโนโลยีนี้
สยามรู้สึกว่างานของปาวีเป็นภัยคุกคามต่อสยามอย่างไม่ต้องสงสัย ปาวีบ่น
บ่อยครั้งในบันทึกและรายงานของเขาว่าเจ้าหน้าที่สยามกีดกันและขัดขวางการ
ทำงานของเขา ต่อให้คำพรํ่าบ่นของเขาเกินจริงเพื่ออวดอ้างความสำคัญของตัวเอง
ในผลสำเร็จที่ได้รับ แต่ก็ดูจะเป็นความจริงไม่น้อย อุปสรรคบางอย่างที่ปาวีกล่าวถึง
ตรงกับหลักฐานของฝ่ายไทยที่ยอมรับอย่างเปิดเผยว่าเป็นมาดรการจำเป็นเพื่อ
ประโยชน์ของสยาม ตัวอย่างเช่นในปี 2431 ( ค.ศ . 1888 ) สยามเรียกร้องครั้งแล้ว
ครั้งเล่าให้ฝรั่งเศสยอมรับสิทธึ๋ของสยามเหนือหลวงพระบางก่อนที่ปาวีจะทำการ
สำรวจใด ๆ นอกจากนี้สยามยังส่งเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งคอยเสาดูความเคลื่อนไหว
ของปาวีตลอดการเดินทางของเขา และมีมาดรการอีกหลายอย่างที่ปาวีเชื่อว่าราช-
สำนักมอบหมายให้ทำเพื่อหน่วงรั้งการสำรวจของเขา อุปสรรคแต่ละครั้งทำให้งาน
ของเขาต้องล่าช้าไปหลายวัน45 ปาวีบ่นว่าตนถูกรังควานโดยเจ้าหน้าที่สยามดลอด
เวลา คนเหล่านี้ไม่เช้าใจงานของเขาและระแวงว่าทำไมเขาจึงสนใจนักกับการเก็บ
ตัวอย่างแมลง ตอกไม้ และจารึกโบราณ เจ้าหน้าที่สยามยังไม่ไว่ใจที่เห็นปาวีสนใจ
วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและถ่ายรูปไว้ ปาวีบันทึกว่าครั้งหนึ่งเขาถึงกับระเบิด
โพล่งออกไปว่า “ผมหงุตหงิตจริงๆ ที่พวกคุณก่อความลำบากให้ผม...ทั้งๆที่ฝ่าย
คุณก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา...ผมแค่ขอให้คุณช่วยชี้เส้นเขตแดนที่ [ชื่อเมือง] ของเราใช้
ร่วมกันอยู่แค่นั้นเอง”46 อย่างไรก็ดาม ในปีแรกๆที่ยังไม่ปรากฏกองทหารฝรั่งเศส
ในแถบนั้น ปาวีต้องอาศัยความช่วยเหลือจากสยามทั้งในเรื่องความคุ้มครอง เสบียง
และการดระเตรียมทุกขั้นดอนของการเดินทาง ฉะนั้นเขาจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยง
การแทรกแซงรบกวนจากสยามได้ แด่ทว่าไม่มีใครสามารถชี้สิ่งที่เขาต้องการได้
อยู่ดี นั้นคือ เส้นเขตแดน
ไม่น่าแปลกใจที่พนักงานทำแผนที่ของสยามจะเดินหน้าทำงานสำรวจอย่าง
รีบเร่ง พยายามครอบคลุมดินแดนที่สยามอ้างลิทธื่ให้ได้มากและรวดเร็วที่สุดเท่าที่
จะทำได้ ครั้งหนึ่งแมคคาร์ธีขอคำอนุญาตจากพระเจ้าอยู่หัวให้คณะสำรวจของดน
เดินทางล่วงหน้าเช้าไปยังดินแดนต่างๆ ที่กองทัพยังไปไม่ถึง เนื่องจากถูกรั้งไว้ด้วย
งานจัดการเมืองต่างๆ ที่ยึดมาได้ เขาเสนออย่างกระดือรือร้นว่าจะสอบถามชาวบ้าน
เกี่ยวกับประวัติของเมืองเพื่อตัดสินว่าเส้นเขตแดนน่าจะอยู่ตรงไหนแล้วลงแผนที่
เลียเลย “แล้วเราจะได้รู้จักแผ่นดินที่ดัวเราอยู่นั้นได้” พระเจ้าอยู่ห้วเองก็กระดือ -

200 I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้เดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


รือร้นไม่น้อยไปกว่าแมคคาร์ธี และถึงแม้จะแสดงคำชมต่อเขา แด่ก็มีการติติงว่า
“เหมือนหนึ่งว่าจะเป็นพระวิภาค [แมคคาร์ธ]ี กำหนดเขตร์แดนเองไป”47 จะโดยรู้ตัว
หรือไม่ก็ตามแด่นนคือสิ่งที่แมคคาร์ธีกำลังกระทำอยู่ เขาตระหนักดีถึงพลังอำนาจ
ของแผนที่ ครั้งหนึ่งแมคคาร์ธีบอกกับบรรดาเจ้าเมืองและหัวหน้าชุมนุมท้องถิ่น
ว่า พระเจ้าแผ่นดินส่งเขามาทำการสำรวจดินแดนแถบนี้ “เพื่อผู้คนตามหัวเมือง
ห่างไกลจะได้รู้แน่ชัดว่าดินแตนของไทยครอบคลุมถึงตรงไหน”48
ในที่สุดกองทหารฝรั่งเศสก็เดินทางมาถึง การเผชิญหน้ากันที่เมืองแถงในปี
2431 ( ค.ศ . 1888 ) นั้นด่างฝ่ายไม่เพียงเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งถอนกำลังออกไป
,
แด ทั้งคู่ด่างแสดงความจำนงจะส่งคณะสำรวจของตนเข้าไปในดินแดนที่อีกฝ่าย
ครอบครองอยู่ด้วย เจ้าพระยาสุรศักดี้มนตรีรายงานว่า ปาวีกล่าวว่าแผนที่สิบสอง -
'

จุไทของเขาดีพอที่จะใช้กำหนดเส้นเขตแดนและไม่มีความจำเป็นที่พนักงานสำรวจ
ของสยามจะต้องเดินทางเข้าไปในบริเวณดังกล่าว49 ส่วนปาวีรายงานว่าเจ้าพระยา
สุรศักดื่มนดรีพยายามเกลี้ยกล่อมตนอยู่สองครั้งในปี 2430 และ 2431 (ค.ศ . 1887
และ 1888 ) ให้ใช้แผนที่ที่สยามทำขึ้นซึ่งแสดงดินแตนของสยามครอบคลุมเลยลุ่ม
แม่นํ้าโขงดอนบนขึ้นไปอีก 50 แม้ว่าทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธี้เหนือดินแดนและเสนอให้
ใช้แผนที่ของตนสำหรับการเจรจา แด่ทั้งสองฝ่ายกลับยอมรับโดยนัยว่าแผนที่ของ
ตนยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องสำรวจต่อ ในที่สุดแม้ว่าการประจันหน้าทาง
ทหารยังคงอยู่ พวกเขายอมรับว่าแผนที่ของตนเป็นเพียงฉบับสำรวจเบื้องด้น ดังนั้น
พวกเขาจึงยินยอมให้คณะสำรวจของอีกฝ่ายเข้าไปทำงานในพื้นที่ที่ฝ่ายตนยึดครอง
อยู่ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเจรจาที่คาดว่าจะมีขึ้นที่กรุงเทพฯ
การแข่งกันสำรวจและทำแผนที่ระหว่างสยามและฝรั่งเศสตำเนินควบคู่ไปกับ
ความผันผวนทางการเมืองในดินแตนแถบแม่นั้าโขง การสำรวจทำแผนที่เขตแตน
ของฝ่ายสยามนับจากปี 2427 (ค.ศ. 1 884 ) สรุปได้ดังนี:้
ปี 2427 ( ค.ศ . 1884 ): สำรวจภูมิประเทศชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
แถบหลวงพระบาง สิบสองจุไท หัวพันห้าทั้งหก และพวน
ปี 2427 - 2428 ( ค.ศ. 1884 -1885 ): เดินทางสู่หลวงพระบางด้วยเส้นทางใหม่
ผ่านทางน่านและสำรวจภูมิประเทศรอบหลวงพระบาง
ปี 2428 - 2429 ( ค.ศ . 1885- 1886 ): เดินทางสู่หลวงพระบาง แต่ไม่สามารถ
กระทำการใด ๆ ได้เพราะกองทัพมาถึงล่าข้ากว่ากำหนด

บทที่ 6 แผนที่ : เทคโนโลยีใหม่ของพื้นที่ / ภูมิ 2๐1


ปี 2429 - 2430 ( ค.ศ. า 886 - 1887 ): เดินทางสู่เชียงใหม่ หลวงพระบาง และ
แถง และทำการสำรวจเพื่อจุดประสงค์ทางการทหารและการปกครอง
ปี 2430 - 2432 ( ค.ศ. 1887 - 1889 ) : สำรวจเพื่อสร้างทางรถไฟสายกรุง -
เทพฯ- เชียงใหม่
ปี 2433 - 2434 (ค.ศ. 1890 - 1891 ) : ทำแผนที่เส้นเขตแดนดามแนวชายแตน
ระหว่างสยามและพม่า
ปี 2434 ( ค.ศ. 1891 ): วางโครงข่ายลามเหลี่ยมชายแตนด้านเหนือเพื่อเชื่อม
เข้ากับระบบโครงข่ายสามเหลี่ยมของบริติชอินเดียต้านชายแดนตะวันออก สำรวจ
ชายแดนดะวันดกเฉียงเหนือและทำแผนที่เส้นเขตแตนต้านนี้เสร็จ
ปี 2435 - 2436 ( ค.ศ . 1892 - 1893 ) : ทำโครงข่ายสามเหลี่ยมต่อจากทาง
ตะวันตกเฉียงเหนือและทางเหนือของล้านนาไปทางทิศตะวันออก พาดผ่านหลวง-
พระบางไปถึงบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือและตอนใต้ของหลวงพระบาง5
,
แผนที่ฉบับที่เป็นหลักฐานสำคัญในการสนับสนุนข้ออ้างลิทธิ้ของสยามทั้ง
ในขณะนั้นและในภายหลังเมื่อนักประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปวิเคราะห์เหตุการณ์
ครั้งกระนั้นคือชิ้นที่เรียกกันว่า แผนที่แมคคาร์ธีปี 2430 ( ค . ศ . 188 7 ) 52 แผนที่นี้
ทำขึ้น 6 ปีก่อนวิกฤติการณ์ ร.ศ. 1 1 2 จึงถือกันว่าเป็นแผนที่สมัยใหม่ฉบับแรกของ
สยาม นักประวิดศาสตร์ไทยที่ศึกษาความขัดแย้งระหว่างสยามกับฝรั่งเศสมักอ้าง
แผนที่ฉบับนี้ดามที่ดีพิมพ์อยู่ในบทความของยอร์จ เคอร์ซอน ( 060โฐ6 (วนโ20ก )
โดยที่ไม่เคยเห็นฉบับจริง ลอร์ตเคอร์ซอนเป็นนักอาณานิคมคนสำคัญในการเมือง
-
ของอังกฤษ เป็นนักภูมิศาสตร์ และต่อมาเป็นอุปราช (พ่นธเ (ว / ) ของอังกฤษประจำ
อินเดีย บทความชิ้นนี้ดีพิมพ์ในเดือนกรกฎาคม 1 893 (พ.ศ. 2436 ) โดยมีจุดหมาย
เพื่ออภิปรายนโยบายของอังกฤษภายหลังจากที่ฝรั่งเศสรุกคืบเข้าไปในอินโตจีน
มากเข้าทุกที แผนที่ของเขาประมวลสรุปขึ้นจากแผนที่ที่เสนอเส้นเขตแดนระหว่าง
สยามและเวียดนามสามฉบับเข้าด้วยกัน ฉบับหนึ่งโดยแมคคาร์ธีในปี 1887 ( พ.ศ .
2430 ) อีกลองฉบับโดยนักสำรวจชาวฝรั่งเศสในปี 1866 -1868 ( พ.ศ. 2409 - 2411 )
และปี 1892 ( พ.ศ. 2435 ) (ตูภาพที่ 9 ) เคอร์ซอนตั้งข้อสงสัยกับแผนที่สองฉบับของ
ฝรั่งเศสว่าขาตความน่าเชื่อถือและข้อมูลคลาดเคลื่อนสับสน แด่ที่น่าดังเกดคือเขา
ไม่ได้กล่าวถึงแผนที่ของแมคคาร์ธีเลยแม้แด่คำเดียว53

202 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ในปี พ.ศ . 2528 ( ค.ศ. 1 985 ) กรมแผนที่ทหารตีพิมพ์แผนที่ชื่อ “71า6 1 887
^ ^
1 3เว 0( 51ล๓ 3ก0เ แร อ6เว6ก0เ6กต่6ร”โดย ปล๓65 |1๐0ลโ1เา V แต่เห็นได้ชัดว่า
นี่มิ'ใช่แผนที่แมคคาร์ธีปี 2430 ที่กล่าวถึงในย่อหน้าก่อน เพราะมันแสดงเขตแดน
ของสยามหลังการทำสนธิสัญญาปี 2436 ( ค.ศ . 1893) กับฝรั่งเศส แถมยังระบุชื่อ
มณฑลหลายแห่งที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อตามนั้นกระทั่งปี 2442 ( ค.ศ. 1899 ) ( และมณฑล
หนึ่งยังไม่ได้ใช้ชื่อนั้นจนกระทั่งปี 2449 / ค.ศ . 1 906 ) 54 ระหว่างปี 2427 - 2430
( ค.ศ . 1884 - 1887 ) แมคคาร์ธีทำงานได้ดามเป้าหมายสองปีสำรวจและล้มเหลว
อีกสองปี งานทั้งหมดทำอยู่ในบริเวณลุ่มนั้าโขงตอนบนระหว่างหลวงพระบางและ
สิบสองจุไท ทั้งหมดเป็นการสำรวจภูมิประเทศ การตรวจวัดเขตแดนแถบนั้นด้อง
เริ่มด้วยการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมต่อเนื่องมาจากชายแดนด้านตะวันตก (ซึ่งเป็น
ชายแดนด้านดะวันออกของอังกฤษ) ซึ่งมิได้เริ่มขึ้นจนกระทั่งปี 2433 - 2434 (ค.ศ.
1890 - 1891 ) แมคคาร์ธิเดินทางกลับไปอังกฤษช่วงสั้นๆในปี 2430 (ค.ศ. 1887 )
และแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับงานสำรวจของเขาในสยามต่อ โห© ค073เ (ว60ฐโลเวเาเ0
^
ร00เ 6 อันทรงเกียรติของอังกฤษในเตือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน อันที่จริงแผนที่
แมคคาร์ธึได้รับการดีพิมพ์!นปี 2431 ( ค.ศ. 1888 ) มิใช่ 2430 (ค.ศ . 1887 ) 55
แผนที่ต้นฉบับคล้ายกับฉบับที่พิมพ์อยู่ในบทความของเคอร์ซอน คือครอบคลุม
ดินแดนสยามทั้งหมดแด่เน้นไปที่ดินแดนลุ่มนํ้าโขง มีเส้นสี (หนาๆ) คาดว่าเป็น
เส้นเขตแดนลากจากเชียงแขง (ปัจจุบันอยู่บริเวณชายแตนพม่า - ลาว ) ไปยังแม่นํ้า
ดำ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของสิบสองจุไท ทั้งหมดของหัวพันห้าทั้งหกและพวน
แล้วลากลงมาทางใต้ตามเทือกเขาที่ขนานไปกับชายฝังจนถึงเส้นรุ้ง 13 องศาเหนือ
แล้ววกกลับไปทางตะวันตกไปบรรจบกับเส้นเขตแตนของพระตะบองที่สยามตกลง
กับฝรั่งเศสเรียบร้อยแล้ว ( ตูภาพที่ 10 ) นี่คือการแปรความเชื่อและความปรารถนา
ของชนชั้นนำสยามที่อยากเห็นสยามบนแผนที่ให้ปรากฎเป็นจริงขึ้นมา แผนที่ของ
แมคคาวิธีก็เหมือนกับข้อเสนอเรื่องเส้นเขตแดนฉบับอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็นการดีความ
ดินแตนชายขอบที่กำกวมด้วยสัญญะชนิดใหม่ต่อพื้นที่ /ภูมิ คือเป็นการคาดเดาทาง
ภูมิศาสตร์อีกแบบโดยแปรความปรารถนาออกมาเป็นระบบดัญญะ
ในอีกด้านหนึ่ง ปาวีกล่าวถึงบ่อยครั้งในหนังสือของเขาว่าเส้นเขตแตนด่างๆ
ยังไม่ได้ตัดสิน แม้เขาจะอ้างสิทธี้เหนือดินแดนต่างๆในนามของฝรั่งเศส แด่เขา
ตระหนักว่ายังไม่มีเส้นเขตแดนที่แน่นอน ในแผนที่เกือบทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในหนังสือ

บทที่ 6 แผนที่ : เทคโนโลยีใหม่ของพื้นที่ / ภูมิ 203


ของเขา ไม่ปรากฏเส้นเขตแดนยกเว้นแต่ช่วงสั้นๆ ระหว่างสยามกับกัมพูชาตรง
ชายแตนพระตะบอง - เสียมราฐที่เป็นไปตามสนธิสัญญาปี 2410 ( ค.ศ . 1867 )
ระหว่างปารีสกับคณะทูตของพระจอมเกล้าฯ ไม่มีใครรู้แน่ว่าการที่ปาวีไม่ได้ระบุ
เส้นเขตแตนระหว่างสยามกับอินโตจีนฝรั่งเศสในงานของเขานั้น เป็นเพทุบายของ
เขาที่จงใจปล่อยทิ้งไว้เพื่อในอนาคตจะได้อ้างเอาดินแตนเพิ่ม หรือเป็นเพราะความ
เคร่งคร้ตทางวิทยาศาสตร์ของเขาที่ทำให์ไม' อาจระบุเส้นเขตแตนไต่ในขณะที่การ
ปักปันยังไม่เสร็จสิ้น
แม้ผู้ปกครองสยามจะมั่นใจในการอ้างสิทธี้ของตน ไม่ว่าจะเป็นเพราะมีความ
เชื่อในสิทชี้ตามประว้ติศาสตร์ หรือความเชื่อมั่นที่เกินจริงในสมรรถนะทางทหาร
และแผนที่ของตน หรือทั้งสองอย่างก็ดาม แต่พวกเขาก็ต้องการหลีกเลี่ยงการปะทะ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มักยํ้าเสมอว่าข้อพิพาทใดๆ ที่อาจนำไปสู่การปะทะทาง
ทหารควรนำขึ้นสู่โต๊ะเจรจาที่กรุงเทพฯ วิธีการปัองกันการปะทะที่'ไม่พึงปรารถนา
แบบหนึ่งก็คือการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อทำการสำรวจและปักปันเขตแตน
ตั้งแต่ปี 2430 ( ค.ศ . 1887 ) 56 แด่คณะกรรมการนี้ทำงานไม่เป็นผลเพราะต่างฝ่าย
ด่างกล่าวหาอีกฝ่ายว่าข้ตขวางการทำงานและการเจรจาด้วยวิธีการด่าง ๆ ในขณะ
เดียวกันก็ประกาศว่าตนมีเจตจำนงแน่วแน่ที่จะแก็ไขปัญหาด้วยตันติวิธ57ี
ความสัมพันธ์ระหว่างแผนที่กับกำลังทหารเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ความ
ปรารถนาของกำลังทหารคือการยึดครองให้ดินแตนเป็นของตนแต่ผู้เดียวแล้วทำ
เป็นแผนที่ให้เสร็จสิ้น แด่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คึอปฏิบัติการทางทหารถูกกำหนดแผน
และชี้นำโดยแผนที่สำรวจเบื้องด้นของอาณาบริเวณนั้นๆ58 ดังกรณีที่แมคคาร์ธี
ต้องการทำแผนที่ไปล่วงหน้าก่อนกองทัพ ปฏิบัติการทางทหารเป็นฝ่ายตามเพื่อ
ทำให้ข้อเสนอโดยแผนที่เป็นความจริ
,
งขึ้นมา แผนที่ทะลุทะลวงนำร่องการยึตครอง
ดินแดน อย่างไรก็ดาม ด้วยเหตุทีปริมณฑลอำนาจของประเทศคู่กรณีไม่มีการระบุ
อย่างชัดเจนมาก่อนและที่จริงกำกวมช้อนทับกันอยู่ เส้นเขตแดนสมัยใหม่จึงอาจ
อยู่ตรงไหนก็ไต่ในพื้นที่ชายขอบนั้น เส้นเขตแดนที่แผนที่ต่างๆ เสนอขึ้นมาจึงเป็น
การคาดเตาที่ขึ้นอยู่กับมุมมองของแด่ละฝ่ายซึ่งถูกกว่าและผิดกว่าข้อเสนอของอีก
ฝ่ายหนึ่งได้พอๆกัน ในทางปฏิบัติ การสำรวจดินแดนของฝ่ายหนึ่งจึงกระทำควบคู่
ไปกับการรุกคืบทางทหาร เพื่อให้กองทัพเป็นผู้ตัดสินว่าอธิปไตยเหนือดินแดน
,
ครอบคลุมถึงไหน และเป็นผู้แผ่อำนาจปกป้องการทำแผนที่ ไมใช่ในทางกลับกัน

204 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาต


กล่าวคือกำลังทางทหารเป็นด้วดัตสินพื้นที่ แผนที่เป็นตัวยืนยันให้ความถูกต้อง
แก่การตัดสินโตยกองกำลังทหาร หากปราศจากกำลังทหาร ลำพังแผนที่คงไม่
เพียงพอที่จะอ้างสิทธิ้เหนือดินแดน แด่แผนที่ทำให้การคงกำลังทหารเหนือดินแดน
หนึ่งๆ เป็นสิ่งถูกต้องชอบธรรม การทำแผนที่และกองทัพจึงกลายเป็นชุดเทคโน-
โลยีที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันในการใช้อำนาจเหนือพื้นที่ เพื่อนิยามและก่อร่างสร้าง
ภูมิกายาของสยามขึ้นมา
ความส้มพันธ์ระหว่างนักทำแผนที่กับปฏิบัติการทางทหารในกระบวนการนี้
ยิ่งน่าสนใจกว่าที่กล่าวมาเสียอีก เจมส์ เอฟ. แมคคาร์ธี นั้นไม่ได้เป็นแค่นักสำรวจ
และช่างเทคนิค นับแต่การสำรวจพื้นที่แถบแม่นั้าโขงปี 2427 ( ค.ศ . 1 884 ) เป็น
ด้นมา เขาเช้าไปเกี่ยวช้องอย่างมากกับการวางแผนทางยุทธศาสตร์และปฏิบติการ
ทางทหารในชิ*- านะที่เป็น‘ผ้บ 'บร้วักพื้นที่เป็นอย่างดี เขาร้'บดีถึงขนาดแนะว่ากองทัพสยาม
9

จะสามารถคุมที่ราบสูงพวนและหัวพันห้าทั้งหกได้อย่างชะจัด ถ้าหากกองทัพสยาม
ทุ่มกำลังไปที่พวนและรื้อพื้นเชียงขวาง เมืองหลวงของพวนขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้เป็น
ศูนย์บัญชาการของตน ชัยชนะของปฏิบัติการทางทหารในปี 2428- 2431 ( ค.ศ .
1885 - 1888 ) ถือกันว่าเป็นผลมาจากข้อแนะนำของแมคคาร์ธี ดลอดปฏิบัติการ
ดังกล่าว ข้อมูลการสำรวจของเขามีบทบาทสำคัญทั้งในสนามรบและในกรุงเทพฯ
ภูมิศาสตร์ให้อำนาจแก่เขาในการเสนอว่าควรจะยึดเมืองใด ภูมิศาสตร์ให้1ความรู้แก่
กองทัพสยามว่าจะตั้งจุดควบคุมชายแดนตรงไหนและปักปันเส้นเขตแดนที่ไหน
แมคคาร์ธีนั้นเองคีอผู้ที่ร่างแผนที่ปฏิบัติการทางทหารและแผนที่ชายแดนสยามใน
ปี 2430 ( ค.ศ . 1887 ) เพื่อสนับสนุนการอ้างสิทธเหนือดินแดนและหนุนปฏิบัติการ
ทางทหารของสยาม59
เมื่อถึงปี 2436 ( ค.ศ . 1 893) ความขัดแย้งดึงเครียดมากขึ้น เกิดการปะทะย่อย ๆ
ตลอดแนวชายแดน ขณะที่พนักงานแผนที่ของทั้งสองฝ่ายก็เดินหน้ากับภารกิจ
ของตนอย่างไม่หยุดยั้ง นับจากปี 2433 ถึง 2436 ( ค.ศ . 1890-1893) แมคคาร์ธี
นำคณะสำรวจเพื่อวางโครงข่ายสามเหลี่ยมจากด้านตะวันดกและเหนือของล้านนา
มุ่งหน้าอย่างรวดเร็วไปทางดะวันออกพาดผ่านดินแดนลาว เขาเร่งทำงานโดยมิได้
เดินทางกลับกรุงเทพฯ อย่างเคย จนกระทั้งเกิดวิกฤติการณ์ร.ศ . 1 12 การทำงาน
ต่อเนื่องนี้เพื่อหวังทำแผนที่เส้นเขตแดนระหว่างสยามกับพม่าของอังกฤษ แล้ววาง
โครงข่ายสามเหลี่ยมจากจุดดังกล่าวไปทางตะวันออก ผ่านน่าน หลวงพระบาง

บทที่ 6 แผนที่ : เทคโนโลยีใหม่ของพื้นที่ /ภูมิ 205


พวน จำปาศักดี้ และอุบลราชธานี เพื่อเชื่อมเข้ากับเส้นเขตแตนที่ดัตสินไปแล้วตรง
พระตะบอง แต่ปรากฎว่าแผนงานของเขาก็ต้องหยุดชะงักลงเพราะวิกฤติการณ์
ปากนั้าในขณะที่โครงการเพิ่งลุล่วงแค่เกินครึ่งไปนิดหน่อยเท่านั้น60 แมคคาร์ธีอยู่
บนภูเขาเมื่อข่าวเรือฝรั่งเศสปิตปากนั้าเจ้าพระยามาถึงเขาพร้อมกับใบบอกเรียกตัว
กลับเข้ากรุงเทพฯในทันที การท่าแผนที่กำลังดำเนินไปอยู่บนภูเขาขณะที่ชายแตน
กำลังจะถูกตัดสินในแม่นั้า ภูมิกายาของสยามกำลังก่อรูปเกิดร่างบนแผ่นกระดาษ
ชีวิตใหม่ของสยามกำลังอุบ้ติขึ้น

206 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


บกที่ 7
กู กายา
บกกิ 7
ภูมิกายา

แผนที่สยามที่มีขอบเขตชัดเจนปรากฎโฉมเป็นครั้งแรกหลังวิกฤติการณ์ปากนา
ปี 2436 ( ค.ศ . 1893) หรือที่รู้จักกันว่าวิกฤติการณ์ร.ศ. 112 ที่ตลกร้ายก็คือมันเป็น
ผลพวงของความร่วมมือระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส และสยามจวบจนกระทั่งปี 2436
นั้น มีแต่เส้นเขตแดนและแผนที่ชายแดนระหว่างสยามและพม่าเท่านั้นที่ทำเสร็จ
แล้ว หากไม่นับเส้นเขตแดนสั้นๆ ตรงพระตะบองและอีกเส้นระหว่างเคดะห์กับ
ฝรักแล้ว ชายแดนด้านอื่นๆทำไปได้แค่สำรวจภูมิประเทศและร่างคร่าวๆ เท่านั้น
ฉะนั้นจึงต้องใช้วิธีรวบรวมข้อมูลจากฝ่ายสยามและฝรั่งเศสเข้าด้วยกันโดยความ
ร่วมมือจากอังกฤษ ในปี 2440 ( ค.ศ . 1 897 ) สยามทำแผนที่ออกมาสองฉบับ ฉบับ
แรกพิมพ์ในอังกฤษ1 อีกฉบับพิมพ์ที่กัลกัดตาชื่อว่า แผนที่พระราชอาณาเขตสยาม
ร.ศ. 116 เขียนโดยเจ้าพนักงานไทยสองคนคือนายสอนกับนายแบบ2 แผนที่ทั่งสอง
ฉบับระบุอย่างชัดเจนว่า ตรงไหนที่ข้อมูลการสำรวจของสยามยังขาดโหว่อยู่ก็ได้
คัดลอกแผนที่ของอังกฤษและฝรั่งเศสมาเติมแล้ว ภูมิกายาเริ่มแรกของสยามและ
ภาพแทนของมันทั้งในความเป็นจริงและในเชิงสัญลักษณ์มาจากมหาอำนาจดะวันตก
เข้ามาช่วยสร้างเสริมเติมแต่งและก่อรูปก่อร่างให้
ออกุสด์ปาวี พิมพ์แผนที่ละเอียดของดินแดนแถบนี้ในปี 2445 ( ค.ศ. 1902 )
ซึ่งถือกันว่าเป็นแผนที่ที่มีข้อมูลมากและน่าเชื่อถีอที่สุดในขณะนั้น เป็นแผนที่
ภูมิประเทศที่แสดงลักษณะธรรมชาติของพื้นที่อย่างละเอียด แด่ไม่มีเส้นเขตแตน
ยกเว้นส่วนที่แยกสยามจากพม่าของอังกฤษ ซึ่งคงลอกมาจากงานของแมคคาร์ธี

บทที่ 7 ภูมิกายา 209


และอังกฤษที่ทำในระหว่างปี 2433 ถึง 2434 ( ค.ศ. 1 890 - 1891 ) ไม่มีเส้นเขตแดน
บริเวณลุ่มนํ้าโขงแต่อย่างใด
ภูมิกายาของสยามถูกปรับเปลี่ยนรูปทรงหลายครั้ง ด้วยเทคนิคการทำแผนที่
และด้วยสนธิสัญญาต่างๆที่ทำกับอังกฤษและฝรั่งเศสในปี 2436 ( ค.ศ . 1893) ปี
2442 ( ค.ศ . 1 899 ) ปี 2445 ( ค.ศ . 1 902 ) ปี 2447 ( ค.ศ. 1 904 ) และ ปี 2450 ( ค.ศ .
1907 ) สยามและมหาอำนาจทั้งสองจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายชุตเพื่อด้ตสิน
เส้นเขตแดนและทำข้อตกลงเพิ่มเติมหลายฉบับเกี่ยวกับชายแดนเป็นส่วนๆโตยทำ
แผนที่เฉพาะส่วนนั้นขึ้นมาด้วย 3 จึงเป็นเรื่องตลกร้ายที่แผนที่ของปาวีกลายเป็น
ด้นแบบที่สยามยึดถือในการทำแผนที่ฉบับต่อๆมาของตนอยู่นานทีเดียว แม้กระทั้ง
ในยุคชาตินิยมของรัชกาลที่ 6 ( ครองราชย์พ.ศ . 2453- 2468 / ค.ศ . 1910 -1925)
ก็ยังพิมพ์แผนที่ของปาวีฉบับปรับปรุงปี 2452 ( ค.ศ . 1909 ) ขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้เป็น
แผนที่ทางการของสยาม4

กำเนิดภูมิกายา: ชัยชฬะฃองแผนที่
หากจะตัดสินว่าการแข่งขันระหว่างสยามกับฝรั่งเศสเหนือดินแดนแม่นํ้าโขงตอน
บนและลาวทั้งหมตนั้น เป็นการไต้หรือสูญเสียดินแดนของสยาม ก็คงขึ้นอยู่กับ
,
มุมมองของแด ละคน แต่ที่แน่ๆ ก็คือการแข่งขันนี้เป็นจุดกำเนิดภูมิกายาของ
สยาม และผู้ที่พ่ายแพ้โตยสิ้นเชิงนั้นเอาเข้าจริงก็ไม่ใช่สยาม ผู้ที่พ่ายแพ้คือบรรดา
1

หัวเมืองเลีก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ตลอดเส้นทางการเดินทัพของสยามและฝรั่งเศสต่างหาก
, ,
พวกเขาไม เพียงแด ถูกพิชิตราบคาบ ซึ่งเป็นชะตากรรมที่ไม่แปลกเลยสำหรับ
พวกเขา แด่พวกเขายังถูกทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่การเมืองชนิดใหม่
ที่นิยามด้วยอธิปไตยและเส้นเขตแดนในแบบใหม่ นอกจากนี้ผู้แพ้อย่างถึงที่สุดอีก
อย่างหนึ่ง ก็คือความรู้แบบพื้นถิ่นเกี่ยวกับพื้นที่การเมือง ความรู้ภูมิศาสตร์สมัย
ใหม่ได้เข้ามาแทนที่ความรู้แบบพื้นถิ่น และระบอบของแผนที่กลายเป็นอำนาจนำ
ชัยชนะของความรู้ภูมิศาสตร์สมัยใหม่นี้เองที่ขจัดความเป็นไปได้ ( มิพักต้อง
กล่าวถึงโอกาส) ที่หัวเมืองเล็ก ๆ เหล่านี้จะดำรงอยู่แบบที่เคยเป็นมาหลายศตวรรษ
กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ วาทกรรมแผนที่สมัยใหม่คือผู้กำชัยอย่างถึงที่สุด โดยใช้
อำนาจของมันผ่านปฏิบัติการสารพัดของบรรดาตัวแสดงสำคัญ ๆ ที่กระทำในนาม
ของรัฐต่างๆซึ่งแย่งชิงแตนกัน ความรู้ภูมิศาสตร์แบบใหม่เป็นพลังเบื้องหลังทุก
ขั้นดอนตั้งแต่เริ่มคิด คาดหมายเล็งผล และสร้างตัวตนชนิดใหม่ขึ้นมา
210
นับแต่จุตเริ่มต้น มันคือความรู้ชนิดใหม่หรือ “ภาษา”ใหม่ของภูมิศาสตร์ ที่
ผลิตข้อมูลและให้กำเนิดความรับรู้เ,หม่เกี่ยวกับดินแตนของสยาม มันกลายเปีนกรอบ
สำหรับการดิต จินตนาการ และคาตหมายเล็งผลถึงดินแตนที่ปรารถนา มันกลาย
เป็นภาษาสำหรับการถกเถียงพูตถึงสยาม แต่เนื่องจากยังไม่มีสยามแบบนั้นตำรง
อยู่จริง ภูมิศาสตร์ใหม่จึงเป็นวิสัยทัศน์สำหรับภูมิกายาของสยามที่ต้องถูกสร้างขึ้น
องค์ประกอบที่ขาตมิไต้ของภูมิกายา ทั้งเส้นเขตแดน อธิปไตยเหนือดินแตน และ
ชายขอบชนิดใหม่ก็ต้องก่อตัวขึ้นมาณช่วงขณะกาละและเทศะต่างๆ และในวิถีทาง
ต่างๆกันไป ในเมื่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด่างโตนครอบด้วยมโนภาพชนิดใหม่ของรัฐ
พวกเขาจึงสร้างแบบจำลองและโครงร่างของขอบเขตอาณาจักรสยามขึ้นมาก่อนที่
จะมีการสำรวจจริงๆเสียอีก ภูมิกายาของสยามเป็นสิ่งที่ถูกคาตหมายและปรารถนา
,
โตยทุกฝ่าย หากแด่ขนาดของตัวตนตามคาดหมายที่แด ละฝ่ายต้องการสร้างขึ้น
กลับแตกด่างกัน ความคืตจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจยุโรปทั้งสองจึงขัดแย้งกับ
ความมุ่งมั่นอยากเป็นใหญ่ของเจ้าสยาม
เมื่อถึงจุดนี้ แผนที่มิได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือทางความคิดเพื่อถ่ายทอดพื้นที่
อีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นเครื่องมืออานุภาพร้ายแรงเพื่อแปรความปรารถนา
ให้กลายเป็นรูปธรรมบนผิวโลก แผนที่มิไต้เป็นเพียงแค่อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับ
การปกครองแบบใหม่และเพื่อการทหารอันเป็นประโยชน์ใช้สอยตามปกติชอง
เครื่องมือชนิดหนึ่ง แด่วาทกรรมแผนที่ได้กลายเป็นกระบวนทัศน์ซึ่งทั้งการปกครอง
และการทหารขึ้นต่อและรับใช้ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือแผนที่เปลี่ยนการปฏิบัติทั้ง
สองด้านนั้นให้กลายเป็นเพียงกลไกของมันเพื่อทำให้สิ่งที่มันคาดหมายเป็นความ .
จริงขึ้นมา ทำ “วาทะ”ของมันให้เป็นตัวเป็นตน แผนที่เปลี่ยนมนุษย์ทุกชาติและ
ปฏิบัติการของพวกเขา ไม่ว่าจะกล้าหาญหรือป่าเถื่อน ทรงเกียรติหรือสามานย์ ให้
กลายเป็นพนักงาน (ล.90กI) ของมันเพื่อทำให้เทศะแบบแผนที่ปรากฎตัวขึ้น สยามมี
เส้นขอบล้อมรอบ ภูมิกายาอุบัติขึ, ้น แผนที่ไต้สร้างสยามอย่างใหม่ขึ้นมา เป็นตัวตน
ใหม่ที่มีภูมิกายาซึ่งไม่เคยดำรงอยู่มาก่อน
ไม่ว่าทฤษฏีการสื่อสารหรือสามัญสำนึก ล้วนชวนให้เราคีตว่าแผนที่เป็นการ
แปรความเป็นจริงให้เป็นนามธรรมตามหลักวิทยาศาสตร์ แผนที่เพียงแค่ถ่ายทอด
ความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ก่อนแล้วตามภววิลัย แด่ตามประวัติศาสตร์ของภูมิกายา
ความสัมพันธ์ดังกล่าวกลับหัวกลับหางกัน นั้นคือแผนที่เล็งและส่งผลให้เกิดเทศะ
ขึ้นมาในความเป็นจริง มิใช่กลับกัน หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่าแผนที่เป็นตัวแบบ

บทที่ 7 ภูมิกายา 211


ของความเป็นจริง มิใช่แบบจำลองที่ลอกมาจากความเป็นจริง แผนที่มิใช่ตัวกลาง
โปร่งใสระหว่างมนุษย์กับพึ้นที่ แต่เป็นสื่อสร้างที่เป็นฝ่ายกระทำ ในกรณีนี้องค์ -
ประกอบที่จำเป็นต่อการมีแผนที่ประเทศยังไม่มีดำรงอยู่ในสยามก่อนสมัยใหม่
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างองค์ประกอบจำเป็นเหล่านั้นขึ้นตามความต้องการของ
แผนที่ ผลลัพธ์ท้ายสุตก็คือผลของการปะทะกันระหว่างความปรารถนาเล็งผลที่ขัต
กันของคู่กรณี แผนที่มิได้สะท้อนสยามที่ดำรงอยู่ก่อนแล้วออกมาอย่างเชื่องๆ ดังที่
เรามักลิตกัน แด่มันได้ประกอบสร้างตัวตนของ “สยาม ”ขึ้นมาอย่างขยันขันแข็งทั้ง
ในความนึกคิดของเราและบนพื้นผิวโลก
จะว่าไปแล้ว ความสัมพันธ์ยันกำกวมระหว่างแผนที่กับเทศะวัตถุที่มันคาด
หมายและแนวโน้มที่จะเกิดความสัมพันธ์กลับหัวกลับหางนั้น สามารถพบได้ใน
ความกำกวมของความหมายของคำว่าภูมิศาสตร์ คำว่า “960ฐ|-3|วก V ”ไ นภาษา
อังกฤษ หรือ “ภูมิศาสตร์”ในภาษาไทย หมายถึงทั้งความรู้หรือการศึกษาเกี่ยวกับ
เทศะวัตถุ และยังหมายถึงเทศะวัตถุนั้นเองด้วย ความสัมพันธ์ที่กำกวมซับซ้อน
ระหว่างความหมายทั้งสองนี้ขึ้ว่าเทศะวัตถุหนึ่ง ๆ อาจเป็นสิ่งที่ความรู้เกี่ยวกับเทศะ
วัตถุนั้นก่อเป็นรูปร่างขึ้นมา แน่นอนว่าเราอาจดั้งคำถามต่อความสัมพันธ์ระหว่าง
ความรู้แขนงอื่นๆ กับสิ่งที่ความรู้นั้นศึกษาด้วยก็ไต้ โดยเฉพาะแขนงความรู้ที่มีนัย
สองความหมายอยู่ในคำๆ เดียวกันอย่างเช่น ประวัติศาสตร์ เป็นต้น
งานประวัติศาสตร์ตามปกติมักอธิบายว่า สยามยุคใหม่เป็นผลของการปฏิรูป
และการทำให้หันสมัยโดยผิมือของชนชั้นนำสยาม ดินแดนสยามเป็นผลพวงของ
“การรวมประเทศ ”ที่ผนวกส่วนต่างๆ ยันกระวัดกระจายเข้ามาด้วยกันด้วยกลไก
“ภายใน”ของสยามเอง ส่วนตะวันดกคืออำนาจ “ภายนอก ”ที่คุกคามความอยู่รอด
ของสยามและเฉือนเอา “บางส่วนของกาย ”ของสยามไป สยามคือเหยื่อของโลก
ตะวันดก ซึ' ่งดูชั้วร้าย แต่ทว่าตามประวัติศาสตร์ภูมิกายานั้น การผนวกเอาหน่วย
ทางการเมืองที่ตามปกติเป็นตัวของตัวเองให้กลายมาเป็นของสยาม เกิดขึ้นอย่าง
ทะเยอทะยานและก้าวร้าวทั้งด้วยกลไกทางปกครองและกำลังทางทหาร แต่ทั้งการ
ปฏิรูปฯ และการทหารรวมกันยังนับว่าเป็นเพียงต้านหนึ่งของความพยายามบันทึก
ภูมิกายาของสยามลงบนผิวโลก คือเป็นการสร้างยัดลักษณ์ในทางตรง (|ว๐3เ'ปV ©
ฬ ©ก1111031เอก ) ว่าอะไรคือเทศะ/พื้นที่ “ของเรา”(0ปโ 3(330© )

212 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


อีกด้านหนึ่งของกำเนิดภูมิกายาของสยาม คือการสร้างเทศะ/พื้นที่ของผู้อื่น
(0แา6โธ’ธเวลด© ) โดยจักรวรรดินิยมต่างๆ ด้วยการหูดและการทหาร พวกเขา
จำกัดขอบเขตปริมณฑลของสยามด้วยการกำหนดขอบเขตปริมณฑลของอาณา -
นิคมของพวกเขา รัฐอื่นๆ ที่อยู่รอบสยามถูกทำให้เป็นรูปเป็นร่างและมีขอบเขต
ในกระบวนการเดียวกัน สิ่งที่จำแนกสยามจากผู้อื่นหาใช่ภาษา วัฒนธรรม หรือ
ศาสนา เพราะสยามเองก็ได้ผนวกเอาประเทศราช “ด่างชาติ ” หลายแห่งเข้ามา
เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนตน สยามเป็นเพียงพื้นที่ที่หลงเหลือรอดจากการตกเป็น
อาณานิคมโดยตรงเท่านั้นเอง สยามเป็นพื้นที่ระหว่างกลาง ( เก - เว6เพ66ก ) นึ่คือ
^
การนิยามอัดลักษณ์ในทางกลับ ( ก ©931 6 ฬ © กแกดลแ (วก ) ให้กับภูมิกายาของ
สยาม การดีความว่าสยามเสียดินแดนให้จักรวรรดินิยมหรือสยามเป็นผู้แพ้ในการ
แข่งข้นแย่งชิงดินแดนจึงขี้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน แด, ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธ
ไม่ได้ก็คือ เจ้าอาณานิคมมีส่วนสำคัญในการช่วยสถาปนาภูมิกายาของสยามอย่าง
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ภูมิกายาของสยาม มิได้เกิดจากวิวัฒนาการที่ค่อยเป็นค่อยไปของพื้นที่
การเมืองแบบพื้นถิ่นมาสู่พื้นที่การเมืองแบบสมัยใหม่ แต่เป็นผลของการที่แบบใหม่
เข้าผลักไสแทนที่แบบเดิม ณช่วงขณะต่างๆ ทั้งโตยมหาอำนาจตะวันตกและโตย
สยามเอง กล่าวในทางยุทธศาสตร์ก็คือวาทกรรมชุตใหม่ได้คุกคาม สั่นคลอน หรือ
ทำให้วาทกรรมที่ดำรงอยู่ก่อนกำกวมแล้วเข้าผลักไสแทนที่ในที่สุด การปรากฎ
ขี้นของภูมิกายาของสยามเป็นผลจากอำนาจนำของภูมิศาสตร์สมัยใหม่และแผนที่
นั่นเอง มันคือปรากฏการณ์ที่เทศะของมนุษย์ถูกบันทึกในแบบหนึ่งแทนที่จะเป็น
อีกแบบหนึ่ง ปรากฎการณ์นี้จะดำรงอยู่ตราบเท่าที่ความรู้ที่ใช้บันทึกผิวโลกยังคง
อำนาจนำอยู่ ภูมิกายาเป็นสิ่งประดิษฐ์ยุคใหม่ แต่หากเรามองประวัติศาสตร์ใน
กรอบเวลายาวนานของพื้นผิวโลกและมนุษยชาติ ภูมิกายาของชาดิก็มิใช่สิ่งยั่งยืน
ถาวรแต่อย่างใด ยังมีความรู้เกี่ยวกับเทศะ/ พื้นที่แบบอื่นๆ ที่เผชิญหน้ากับภูมิกายา
อยู่ ไม่ว่าจะเป็นแบบเก่าที่ตกค้างอยู่หรือเป็นความรู้ใหม่ การดำรงอยู่ของภูมิกายา
ต้องประสบกับการท้าทายอยู่เสมอ

บทที่ 7 ภูมิกายา 213


ภูมิกายามีอำนาปี
ความหลงใหลบูชา (๒1เธหเธกโไ ) ในความเป็นชาติของโลกสมัยใหม่เป็นเรื่องออกจะ
น่าฉงนและต้องการคำอธิบาย โรเบิร์ต แซ็ค ชี้ว่าผู้คนมักจะคิตวำตินแตนของชาต
มีอยู่ตามธรรมชาติ พวกเขาจึงสังกัดเป็นส่วนหนึ่งของดินแตนชาติทั้งทางอารมณ
ความรู้สึก และจิตวิญญาณ5 ส่วนเบน แอนเตอร์สันก็อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง
ชาติกับธรรมชาติว่าการทำให้ชาติกลายเป็นสิ่งที่มีอยู' ตามธรรมชาติ จึงทำให้การ
สังกัตต่ออัตลักษณ์หนึ่งร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติเกิดชี้นตามไปด้วย นึ่คือที่มาของ
ความคักตั้สึทธี๋และกรงเล็บอันแข็งแกร่งของความเป็นชาติ 6
กำเนิดของชาติต่างๆในยุโรปยุคแรกๆ อยู่บนรากฐานของลักษณะร่วมกันท
มีมานาน เช่น ภาษา ชาติพันธ์ หรือแม้กระทั้งความเลื่อมใสทางการเมือง ถือกันว่า
ลักษณะเหล่านี้คือส่วนสำคัญที่เกือบจะเป็นเนื้อแท้ของอัตลักษณ์ เส้นพรมแดนของ
ชุมชนชาติจึงถูกมองว่าเป็นไปตามธรรมชาติด้วยเช่นกัน แต่ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม
ได้ก็ศึอทุกเส้นพรมแดนเป็นสิ่งประดิษฐ์ ทั้งหมดเป็นสิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น มิใช่ม
อยู่แล้วในธรรมชาติ ถึงแม้ว่าบางเส้นจะดูเป็นธรรมชาติมากกว่าเส้นอื่นก็ตาม7
วิธีบัญญัติมีหลากหลายตั้งแต่ใช้ภูมิประเทศที่มีอยู' ตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา
แม่นำ หรือดันปันนํ้า จนถึงการคำนวณหาพิกัต ( ดังกรณีหลายประเทศในแอฟริกา )
หรือด้วยการลากเส้นบนแผนที่ตามอำเภอใจ ( ดังกรณีอินเดียกับปากีสถานที่ลังเวย
ชีวิตผู้คนไปมหาศาล) หรือใช้การสร้างถนน รั้ว ด่าน หรือกำแพงเบอร์ลิน อย่างไรก็ด
คำถามที่ต้องการคำตอบก็คือ สิ่งประดิษฐ์อย่างภูมิกายาได้ถูกทำให้เป็นธรรมชาต
ได้อย่างไร
บทเรียนง่ายๆจากตำราภูมิศาสตร์เล่มแรกๆในสยามเป็นตัวอย่างอันดีที่แสดง
ให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ในการปลูกฝังความคิดที่ทำให้ภูมิกายากลายเป็นธรรมชาต
ข้างล่างนี้คือบทสนทนาระหว่างลุงกับเด็กชายสองคน:
“เจ้ารู้แล้วว่าโลกของเรากลม แต่เจ้ารู้หรึอว่าโลกแบ่งออกไปเป็นอย่างไร”
[เด็กชายชิต ได้เรียนภูมิศาสตร์มาแต่โรงเรียนบ้างแล้ว จึงตอบว่า]
“โลกแบ่งออกเป็นพื้นนํ้าประมาณสามส่วนและพื้นดินส่วนเดียว ”
ลุงบอกว่า “ถูกแล้ว แต่พื้นดินแบ่งออกเป็นอย่างไรอีกเล่า”
เด็กชายชมตอบว่า “แบ่งออกเป็นทวีปครับ”
ลุงถามต่อไปว่า “ทวีปแบ่งออกได้อีกหรือไม่ ”

214 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


เด็กชายทั้งสองตอบไม่ได้ ลุงจึงอธิบายว่า “พื้นดินของโลกแบ่งออกเป็นส่วน
ใหญ่ๆ เรียกว่า ทวีป และทวีปยังแบ่งออกไปเป็นประเทศอีกหลายประเทศ
ประเทศเหล่านี้ผิดๆ กันทั้งสิ้น บางประเทศก็ใหญ่ มีผคนหนาแน่
ู้ '
น แด่บาง
ประเทศก็เล็กและมีผู้คนน้อย ประเทศจีนอยู่ในจำพวกประเทศใหญ่ ประเทศ
ไทยอยู่ในจำพวกประเทศเล็ก”8
นี่เป็นบทเรียนว่าด้วยผิวโลกอย่างง่ายๆ แต่น่าทึ่งอย่างยิ่ง ข้อเด่นก็คือการเอา
หน่วยทางภูมิศาสตร์คนละประเภทมาผสมกัน กล่าวคือ ชาติกับภูมิประเทศตาม
ธรรมชาติ ชาติกลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นผิวโลกตามธรรมชาติเช่นเดียวกับผืน
แผ่นดินและมหาสมุทร ความแตกต่างระหว่างสองประเภทอยู่ที่ขนาดแค่นั้นเอง
การอธิบายทำนองนี้ยังปรากฏอยู่ในตำราภูมิศาสตร์รุ่นแรก ๆ ในสยามเกือบทั้งหมด
และอาจจะเกือบทั้งหมดในปัจจุบันด้วย หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผนที่ชาติ
ต่างๆของวันไตกิ้เริ่มจากการแนะนำพื้นผิวโลก แล้วแบ่งทวีปหนึ่งๆ ออกเป็นชาติ
ด่าง ๆ โดยไม่ไต้อธิบายเกี่ยวกับภูมิประเทศใด ๆ ขณะที่คนในรุ่นเราอาจล้วนผ่านการ
เรียนวิชาภูมิศาสตร์ที่บรรจุแนวคิดว่าชาติเป็นภูมิประเทศตามธรรมชาติประเภท
หนึ่ง อย่างไรก็ตาม ควรกล่าวไว่ในที่นี้ว่า ยกเว้น ตำราพิชิกะ - ภูมิศาสตร์ที่เขียน1ขึ้น
ในปี 2444 ( ค.ศ . 1901 ) แด่ดีพิมพีในปี 2461 ( ค.ศ. 1918 ) ซึ่งเป็นหนังสือเพียงเล่ม
เดียวในยุคแรกที่อธิบายลักษณะทางธรรมชาติของพื้นผิวโลก ไล่ตั้งแต่ชั้นบรรยา -
กาศจนถึงแกนโลก โดยมิได้เอ่ยถึงชาติแด่อย่างใด9
การทำภูมิกายาให้กลายเป็นสิ่งธรรมชาติสามารถกระทำได้อย่างง่ายตาย
เพราะฐานทางกายภาพของมันคือพื้นผิวโลก อีกทั้งคำที่ใช์ถ่ายแทนภูมิกายาอย่าง
“ภูมิศาสตร์” และ “ประเทศ ”ล้วนคงรากศัพท์และการอ้างอิงถึงโลกหรือผืนดินไว้
วัฒนธรรมอุษาคเนย์โดยมากถือกันว่าผืนดินคือส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งของกำเนิด
,
มนุษยชาติและอารยธรรม นาคหรือไม ก็พระแม่ธรณีคือมารดาของมนุษยชาติ
ความหมายของ “มาตุภูมิ ”จึงฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมทั้งหลายในรูปใดรูปหนึ่งใน
ยุคก่อนสมัยใหม่ ผืนดินหรือแผ่นดินแม่อาจระบุด้วยวัดวาอาราม หรือด้วยพรมแดน
ทางธรรมชาติ หรือถือเอาผืนดินของซนเผ่าหรือเครือญาติตามความเชื่อเดียวกัน
เรื่องปรัมปรากำเนิดมนุษย์ หรือปริมณฑลที่อยู่ภายใต้เจ้าเหนือหัวสูงสุดคนเดียว
กัน ในยุคสมัยของเรา มาตุภูมิระบุได้ด้วยภูมิกายา ภูมิกายาเป็นรูปธรรมอย่างใหม่
ให้แก่แผ่นดินแม่อันเป็นที่รักหรือแผ่นตินที่เราอาศัยอยู่ร่วมกัน ในทางกลับกัน ภูม-
กายาจึงได้รับความจงรักภักดีที่มนุษย์มีใหักับผืนดินมาแสนนานเป็นสิ่งตอบแทน

บทที่ 7 ภูมิกายา 215


ด้วยเหตุที่ผืนดินเคยเป็นตัวนิยามการอยู่ร่วมกัน ภูมิกายาจึงได้รับมอบความสำคัญ
ยิ่งใหญ่ของผืนดินพร้อม ๆ กับทำให้ตัวมันเองเป็นตัวนิยามลักษณะร่วมกันของผู้คน
บนผืนดินเดียวกัน ไม่เพียงแต่ภูมิกายากลายเป็นธรรมชาติ แต่มันยังถูกผูกโยงเข้า
-
กับสิ่งที่คลิฟฟอร์ต เกียร์ช (011001๘ 066112 ) เรียกว่าความผูกพันดั้งเดิม ( เวก่โก0โ -
๘เ3เ ร6ก1เกา6ณ) ของมนุษย์ที่มีกับผืนดินอีกด้วย 10
อย่างไรก็ตาม ความเป็นธรรมชาติมิได้เป็นวาทกรรมเชิงยุทธศาลตร์อย่าง
เดียวที่ภูมิกายาใช้สร้างสำนึกของการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเดียวกัน ความสำคัญ
ของผืนดินหรือโลกอาจแตกด่างกันไปในแด่ละวัฒนธรรมและอาจมีสิ่อสร้างชนิด
อื่นสำหรับนิยามเอกลักษณ์ร่วมกัน ภูมิกายาลามารถเป็นสัญลักษณ์ทรงพลังของ
เผ่าพันธุชาติด้วยการสมคบเชื่อมตัวเข้ากับตัวนิยามเอกลักษณ์ชุมชนชนิดอื่นๆ
พลังความน่าหลงใหลบูชาของภูมิกายามิได้ขึ้นอยู่กับ “ความเป็นธรรมชาติ ”อย่าง
เดียว แด่ยังมาจากการเชื่อมประสานเข้ากับสัญลักษณ์อื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ที่เป็นของพื้นถิ่นหรือจารีตประเพณี ตัวอย่างที่ตีเยี่ยมในกรณีของสยามก็คือความ
สัมพันธ์ระหว่างภูมิกายากับความเป็นกษัตริย์
ในดังคมก่อนสมัยใหม่หลายแห่งในอุษาคเนย์ เชื่อกันว่าดินแดนหรือราช -
อาณาจักรหรือบ้านเมืองเป็นส่วนขยายของเรือนกายของกษัตริย์ซึ่งเป็นบุคลา-
ธิษฐานของอำนาจคักติ้ลิทธิ้อีกต่อหนึ่ง แต่ อาณาจักรไม่มี เขตแดนล้อมรอบเพราะ
ไม่ใช่รัฐเชิงดินแดน ดังที่ เชลลีย์ เออร์ริงดัน ( 51า6 แ 6 6เ- โเก9เ0 ก ) ชี้ว่าในสังคม
^ ,
ของชาวมูกิส ( ธม9เร) เรือนกายของกษัตริย์มิได้หมายถึงเพียงแค ร่างกายในทาง
ชีววิทยาเท่านั้น แด่ยังหมายถึงข้าราชบริพารทั้งหมดรวมถึงขุนนางใหญ่น้อยและ
เจ้าผู้ปกครองระดับรองภายในอาณาจักร11 อีกกรณีเปรียบเทียบ คือความคิดของ
ชาวมอญว่าพระราชอาณาจักรเป็นสหพันธ์ของเจ้าฟ้าและผีท้องถิ่น ( นัด ) ในกรณ
ของสยาม กษัตริย์ก็มิได้หมายถึงร่างกายในทางชีววิทยาเท่านั้นเช่นกัน ดังข้อความ
ในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ ซึ่งเชื่อกันว่าแต่งโดยพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ 1
( ครองราชย์พ.ศ. 2325 - 2352 / ค .ศ. 1 782 - 1 809 ) ที่ว่า:
อันพระนครทั้งหลาย
ก็เหมือนกับกายสังขาร
กษัตริย์คือจิตวิญญาณ
เป็นประธานแก่ร่างอินทรีย12์

216 กำเนิตสยามจากแผนที่ : ประวดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ประเทศหรืออาณาจักรมักถูกเรียกด้วยคำที่แสดงว่าเปีนทรัพย์สินของกษัตริย์
เช่น “พระราชอาณาเขต ”หรือ “พระราชอาณาจักร”นี่หมายความว่าดินแตนมิใช่
วัตถุทางโลก แต่เปีนส่วนประกอบของตัวกษัตริย์ เมื่อภูมิกายาเข้าแทนที่อาณาจักร
แบบลำดับชั้นก่อนสมัยใหม่ที่ไม่มีเส้นเขตแดนล้อมรอบ รูปกายของกษัตริย์จึง
ปรากฏขึ้นในรูปแบบใหม่ แต่ภูมิกายาก็ยังคงเป็นกายของกษัตริย์อยู่นั่นเอง หลัง
วิกฤติการณ์ ร.ศ . 112 ผ่านพ้นไป พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โทมนัสจนแทบจะสิ้นใจ
แต่ก็ฟินคืน'ขึ้นมาไต้ในที่สุต พระเจ้าอยู่หัวปลอบตนเองด้วยเหตุผลที่น่ารับฟัง ดัง
คำบอกเล่าของขุนนางใกล้ชิตคนหนึ่งว่า “การเสียเขตแตนแต่เพียงเล็กน้อยตาม
ชายพระราชอาณาจักรซึ่งเราเองก็ทำนุบำรุงรักษาให้เจริญเต็มที่ไม่ได้นั่น ก็เปรียบ
เหมือนกับเสียปลายนิ้วของเราไป ยังไกลอยู่ รักษาหัวใจกับตัวไว่ใหัตีก็แล้วกัน”13
แต่ทว่าการแลกเปลี่ยนความหมายเชิงสัญวิทยาย่อมเกิดขึ้นในสองทิศทางเสมอ ใน
เมื่อเขตแตนถูกเปรียบเป็นเรือนกาย พระราชอาณาจักรก็ปรากฎในรูปกายชนิดใหม่
กายาที่ขยายไต้ของกษัตริย์ คือส่วนเสี้ยวของผืนแผ่นที่ปะติดปะต่ออยู่บนตาว
พระเคราะห์สีฟ้าใบนิ้ และมิได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลหรือชมพูทวีปตามจักร-
วาลวิทยาของฮินดู - พุทธอีกต่อไป แต่ในการขยับเคลื่อนเชิงสัญวิทยานี้ ( 56๓10 -
เ09 เ03เ รเาเน่) ความศักดิ้สิทขึ้ของกษัตริย์ก็ถ่ายเทย้ายไปอยู่กับภูมิกายาเช่นกัน
การเชื่อมประสาน ( (ะอก]ยท0{นโ6 ) ทางลัญวีทยาและเคลื่อนความหมายที่
สำคัญที่สุตก็คือคำ ว่า “ชาติ ”นั่นเอง ตามรากศัพท์ชาติ , ชา -ติและชาตะหมายถึง
'

การเกิต หรือเป็นสมุหนามหมายถึงเกิดมาจากต้นกำเนิดเดียวกันซึ่งอาจจะเป็น
ในเชิงเชื้อชาติ เวลา หรือสังคมก็ไต้ ความหมายดังกล่าวของชาติ ยังคงอยู่ใน
พจนานุกรมภาษาไทยฉบับบรัตเล ปี 2416 ( ค.ศ. 1873) ตัวอย่างที่เขาใช้ประกอบ
คือ ชาติหน้า ชาติไทย ชาติไพร่ ชาติกษัตริย์ และชาติหมา ซึ่งเป็นคำดำที่ยังนิยม
ใช้กันอยู่ถึงทุกวันนี้ คำว่า 0{เากเอในภาษาไทยคือคำว่า ชาติพันธุ และชาตะ ยังคง
มีความหมายตั้งเติมคือหมายถึงกำเนิด แด่ในราวปลายศตวรรษที่ 19 ความหมาย
ของคำว่า ชาติ เปลี่ยนไปจากเติมอย่างสำคัญทีเดียว
นักวิชาการสองท่านไต้ศึกษาการขยับเคลื่อนความหมายของคำว่า “ชาติ ”
โตยใช้แนวคิดของแอนเดอร์ลันในเรื่องชาตินิยมทางการมาอธิบาย 14 โดยหลักๆ
พวกเขาอธิบายว่า รัฐสยามในขณะนั่นไต้บ่มเพาะความหมายอย่างใหม่ของ “ชาติ ”
( คือ กล1เ 0ก ) จากมโนภาพตั้งเติมที่มีอยู่ในคำว่า ชาติ นอกจากนี้งานของพวกเขา

บทที่ 7 ภูมิกายา 217


ยังแสดงให้เห็น (โดยไม่ตั้งใจ ) ถึงร่องรอยของการขยับเคลื่อนและเชื่อมประสาน
ทางสัญวิทยาที่เกิดจากพลังของภูมิกายาที่อุยัดขึ้นใหม่ด้วย
แด' เดิมที เมื่อกล่าวถึงหน่วยพื้นที่ที่อยู่ใต้การปกครอง คำที่ใช้คือ “เมือง ”
,
หรือ “บ้านเมือง ” ถึงแม้ว่าคำว่า บ้านเมือง จะมีนัยยะเชิงพื้นที่อยู่ แด มันก็มิไต
'

หมายถึงพื้นที่ใดโดยเฉพาะหรือชัดเจนแต่อย่างใด มันเป็นคำทั่วไปที่หมายถึงหน่วย
การเมืองหนึ่งหรือดินแดนของกษัตริย์ คำว่า ชาติ ตามความหมายเก่ามิได้เกี่ยวกับ
พื้นที่เลย แต่หมายถึงลักษณะร่วมกันโดยกำเนิด หลังจากความหมายของ ชาต
เริ่มเคลื่อนไปจากเดิมในปลายศตวรรษที่ 19 ชาติได้กลายมาหมายถึงชุมชนของ
ประชาชนที่มีลักษณะร่วมทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นช้าแผ่นดิน
ของกษัตริย์คนเดียวกัน จากนั้นดำว่า ชาติ และ บ้านเมือง จึงสื่อถึงชุมชนเดียวกัน
ทั่งทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่นิยามโดยอำนาจของกษัตริย์ ภูมิกายาจึงให
นิยามเชิงพื้นที่อย่างใหม่แก่ชุมชนหรือปริมณฑลใต้อำนาจกษัตริย์เช่นว่านี้ นิยาม
ใหม่นี้เกิดขึ้นได้เพราะภูมิศาสตร์สมัยใหม่โดยผ่านคำว่า “ประเทศ ”ซึ่งเคยหมายถึง
พื้นที่บริเวณหนึ่งอย่างไม่ได้เฉพาะเจาะจงด้วยซํ้าไป การเชื่อมประสานทางดัญ -
วิทยาเกิดขึ้นเมื่ออำนาจและคุณคำที่อัดแน่นอยู่ในคำว่า บ้านเมือง และ ชาติ อัน
หมายถึงกำเนิดร่วม ลักษณะร่วมทางวัฒนธรรม ผืนดิน และกษัตริย์ศักดึ้สิทธ
มาประจวบกับอำนาจและคุณค่าที่มีอยู่ในภูมิกายา แล้วถ่ายทอดอำนาจและคุณค่า
,
ให้แก กันและกัน การเชื่อมประสานทางลัญริทยานี้เกิดขึ้นกับคำว่า ชาติ และ
ประเทศ กล่าวคือคำว่า ชาติ ซึ่งมีรากหมายถึงอัดลักษณ์ร่วม กับคำว่า ประเทศ ซึ่งมี
รากหมายถึงเทศะ / พื้นที่ คำทั่งสองกลายมามีความหมายเดียวกัน ด่างมอบความ
หมายและคุณคำให้แก่กันและกัน นับแด่นั้นมา คำทั่งสองมักถูกเอามารวมเป็นคำ
เดียวกันอยู่เสมอ กลายเป็น “ประเทศชาติ ”หรือ “ชาติประเทศ ”15 อันเป็นคำที่ถูก
ประติษเขึ้นอย่างพิถีพิกันโดยเอาคุณค่าดามจารีต ผสมผสานเช้ากับกายภาพรูป-
ธรรมของยุคสมัยใหม่
การเชื่อมประสานมโนภาพภูมิกายาเช้ากับตัวนิยามอัตลักษณ์ชุมชนแบบ
อื่นๆ ทำให้ภูมิกายามีความหมายกว้างขวางและซับช้อนมาก คุณค่าที่มีพลังหลายๆ
อย่างผนวกเช้าไปในความหมายของภูมิกายาจนเลยพ้นดินแตนออกไป แผ่ขยาย
คลุมไปถึงความหมายของผืนดิน ชาติ และปริมณฑลของอำนาจกษัตริย์ เป็นต้น
ภูมิกายาจึงมิใช่เป็นแค่ภาพแทนดินแดนอีกต่อไป แด่รวมถึงชุมชนที่เกาะเกี่ยวขึ้น

218 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ต่อกันซึ่งประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของมันด้วย เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพลังอันน่าหลงใหล
บูชาของภูมิกายามิได้แค่อิงอยู่กับความเป็นธรรมชาติที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นเท่านั้น แด่
พลังของมันเพิ่มขึ้นอย่างมากด้วยการสอดประสาน ( เก!6 โ0อบโ 56 ) กับวาทกรรมทรง
พลังอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดการถ่ายโอนคุณค่าจากจารีตจนทำให้ภูมิกายาอุดมลมบูรณ์
ยิ่งขึ้น ชีวิตของภูมิกายาจึงงอกได้อย่างน่ากลัว

เลยพ้นดินแดนและภูมิศาสตร์
อย่างไรก็ดาม การแลกเปลี่ยนความหมายและคุณค่าเกิดขึ้นในสองทิศทาง ในขณะ
ที่ภูมิกายามีความหมายและคุณค่าเพิ่มพูนขึ้น ภูมิกายาก็เป็นพลังผลักดันให้ความ-
หมายของวาทกรรมอื่นๆ ขยับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงด้วย ตัวอย่างที่ดีสำหรับกรณีนี้
คือความสัมพันธ์ระหว่างภูมิกายากับกษัตรียภาพเช่นเคย กรณีเฉพาะคือมโนภาพ
ของคำว่า “เอกราช ”กับ “อิสรภาพ ” ในปัจจุบันคำทั้งสองหมายถึงความเป็นอิสระ
( เก๘6 เว6 ก๘6ก06 ) ประเทศที่เป็นเอกราชคือประเทศที่เป็นอิสระ การสูญเสียเอกราช
หมายถึงการตกเป็นอาณานิคม แด่ว่าในพจนานุกรมภาษาไทยทุกฉบับที่ทำขึ้นใน
ศตวรรษที่ 19 นั้นคำว่า เอกราชและอิสรภาพ ไม่ได้แปลว่าความเป็นอิสระ ตัวอย่าง
เช่น พจนานุกรมไทย - อังกฤษ- ละดินปี 2397 ( ค.ศ. 1854 ) ของปัลเลอกัวช 16:
เอกะระ: รน[ว6โเ0โ, พเา0 ๘063 ก01 เ63โ 1เา0 ๐เหธโร; 80๒, หฮบฮหเV ๓ธก
^
เอกะราช: เก9 รบก6ท0 โ 10 011า61 ร
' •

อิศราช : เงก9 ธบเว0ท่0โ ๒ เห© ๐เห© โ5


อิศราภาพ: รนกเ ©๓6 ฤ0ผ6 โ
อิลาวิภาพ: แ37เก9 รบเวโ6๓6 ©นเห๐[ แV
'
อิศะระ, อีศะโร: ฅโธเ, 6X 0611601, ๘0๓๒31๒9 ว ®1' ©เห© โ5
หรือพจนานุกรมไทย -ไทยของบรัตเล ปี 2416 ( ค.ศ . 1873)17:
เอกะระ: คือ คนเปนคนลึอดัวมานะ ไม่กลัวผู้ใดนั้น
เอกราช: แปลว่า พระยาองค์เดียว
อิศละไวิ: เปนใหญ่ แปลว่าเปนใหญ่ เช่น คนเปนกระบัดริย์เปนต้นนั้น
(ไม่มีคำว่า อิสรภาพ ในพจนานุกรมเล่มนี)้
หรือพจนานุกรมไทย -ไทยของขุนประเสริฐอักษรนิตี้ปี 2434 ( ค.ศ. 1891 ) 1 ธะ

บทที่ 7 ภูมิกายา 219


เอกราชย, ม.: เจ้าแผ่นดินในประเทศหนึ่ง
อิสสร, ม. อิศวร, ส: ผู้เป็นใหญ่ , กษัดร, อิศวร
ในพจนานุกรมอังกฤษ-ไทยของสมิธ ปี 2442 ( ค.ศ . 1899 ) คำที่ใกล้เคียงกับ
“ป6ฤ6กป©ก©© ”และ “ป©ฤ© กป© ก©V ”มากที่สุดคีอคำว่า “เมืองขึ้น”' 9 ซื่งหมายถึง
ความสัมพันธ์แบบเป็นลำดับชั้นของบรรดาเจ้าเหนือหัวมากกว่าจะหมายถึงอาณา -
นิคม สำหรับคำว่า “เกป©ฤ© กป© ก©© ”นั้นสมิธไม่สามารถหาคำไทยที่เหมาะเจาะได้
จึงอธิบายว่าหมายถึง “ระหว่างมิได้พึ่งอาไศรยใคร; พันอำนาจผู้อื่น; เลี้ยงตัวเอง
มิไต้พึ่งผู้อื่นให้เลี้ยง; ทำตามอำเภอใจของตัวเอง มิได้ให้คนอื่นชักชวน”20
พจนานุกรมเหล่านี้ทำให้เรารู้ว่า ในขณะนั้น คำว่า เอกราช กับ อิสรภาพ หมายถึง
,
กษัตริย์ที่มีอำนาจสูงสุด ชึ่งมีนัยความหมายคู่กันว่า สุดยอด และไม เป็นสองรอง
ใคร คำทั้งสองแสดงถึงการอยู่บนจุดสูงสุดของลำดับชั้น ตัวอย่างเช่น ใน สังคีติย -
วงด์ ซึ่งเป็นคัมภีร์พุทธศาสนาภาษาบาลีที่แต่งโดยสมเด็จพระวันรัตน์ในปลาย
ศตวรรษที่ 1 8 เขียนไว้ว่ากษัตริย์ที่เป็นเอกราช (ไม่ใช่ประเทศเป็นเอกราช ) รู้สึก
ริษยาต่ออิสรภาพของกษัตริย์พระองค์อื่นๆ21 อีกตัวอย่างหนึ่งคือในพระราช -
พงศาวดารทุกฉษับที่เขียนขึ้นก่อนกลางศตวรรษที่ 19 ล้วนมิเรื่องราวเมื่อครั้งกรุง
ศรีอยุธยาเสียแก่พม่าและตกเป็นประเทศราชของพม่าในปลายศตวรรษที่ 16 ต่อมา
กษัตริย์พม่าระแวงว่าพระนเรศวรจะเป็นกบฏ จึงวางแผนสังหารพระนเรศวร ตรงนี้
พระราชพงศาวดารทุกฉบับกล่าวว่าเพื่อบรรลุ “อิสรภาพที่ยิ่งใหญ่กว่ากรุงอื่นๆ”
อิสรภาพ จึงหมายถึงความยิ่งใหญ่สูงสุด มิใช่ความเป็นอิสระ พม่าเป็นฝ่ายที่แสวงหา
อิสรภาพเหนือ สยาม ไม่ใช่สยามแสวงหา อิสรภาพจาก พม่า 22 ในความสัมพันธ์
เป็นลำดับชั้นระหว่างกษัตริย์ จะกล่าวว่าเจ้าประเทศราชพยายามต่อสู้เพื่อให้ได้
อิสรภาพ คงไม่สมเหตุสมผล เพราะต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าเจ้ารายนั้นจะ
บรรลุความยิ่งใหญ่สูงสุตไต้
แต่เมื่อบริบทเปลี่ยนเคลื่อนจากความสัมพันธ์แบบลำดับชั้นของกษัตริย์
กลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และหน่วยของความสัมพันธ์กลายเป็น
รัฐที่มีดินแตนเป็นของตนเองแน่ชัด ความหมายของ เอกราช จึงต้องเปลี่ยนจาก
ความยิ่งใหญ่สูงสุดของกษัตริย์กลายเป็นสถานะของรัฐสมัยใหม่ที่สัมพันธ์กับรัฐ
อื่นๆ เมื่อไม่มีระบบอธิราชเป็นลำดับชั้นแล้ว ความหมายเก่าย่อมไม่สมเหตุสมผล
อีกต่อไป การเปลี่ยนเคลื่อนนี้ได้ลบล้างความหมายเดิมในแง่ความสูงสุดตามลำดับ

220 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ชั้น ในขณะที่ยังรักษาความหมายในแง่ไม่ขึ้นต่อผู้ใดเอาไว้ นับตั้งแต่ทศวรรษแรกๆ
ของศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คำว่า เอกราช และ อิสรภาพ ไม่มีความหมายเชื่อม
โยงกับสถานะของกษัตริย์อีกต่อไป ความหมายใหม่ของมันจึงเทียบได้กับ “ความ
เป็นอิสระ” ( เก0เ606ก0เ6ก06 ) ในทางนิรุกติศาสตร์ คำทั้งสองอาจสูญเสียเงื่อนไขใน
การตำรงอยู่ไปเมื่อมโนภาพแบบเติมที่สื่อถึงความสัมพันธ์แบบลำดับชั้นถูกผลักไส
แทนที่ อย่างไรก็ดีการเชื่อมประสานเข้ากับมโนภาพภูมิศาสตร์สมัยใหม่ได้ขยับ
เคลื่อนความหมายของคำจนทำให้คำทั้งสองดำรงอยู่ต่อไปไต้ ภูมิกายาเข้ามามีส่วน
ในการผลิตความคิตใหม่ คุณค่าใหม่ และวัฒนธรรมใหม่ที่อยู่นอกเหนือภารกิจเบื้อง
ต้นของภูมิกายาในการนิยามพี้นที่
บทบาทสำคัญของแผนที่จึงไม,ไต้อยู่แค่เป็นภาพแทนดินแดนของสยาม แด่
ยังทำหน้าที่สื่อความหมายและคุณค่าอื่นๆ ต้วย แผนที่มักถูกใช้บ่อยครั้งเพื่อแสดง
ความเป็นชาติ เพื่อกระตุ้นความรู้สึกชาตินิยม ความรักแผ่นดินเกิด หรือสารอื่นๆ
เกี่ยวกับชาติ ภาพที่ 1 1 เป็นภาพการ์ตูนแสดงความเก่งกาจของกษัตริย์สยามที่
สามารถยกสถานะสยามให้พันจากหุบเหวจนสูงกว่าพม่า กัมพูชา และเวียดนาม
ที่กำลังร้องขอความช่วยเหลือ ( ตรงกันหุบเหว ) ภาพนี้แตกต่างเล็กน้อยจากภาพ
ต้นฉบับที่ชนะการประกวดรางวัลจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 คือในภาพด้นฉบับ
นั้น มิได้มีคนอยู่ในชิงข้า แต่เป็นแผนที่สยาม23
ในฐานะสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ แผนที่สยามกลายเป็นเครื่องหมายยอด
นิยมอย่างหนึ่งล้าหรับสถาบัน องค์กร พรรคการเมือง บริษัทธุรกิจ และเครื่องหมาย
การค้า การใช้แผนที่จะเคร่งขรึมจริงจ้งหากมันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ไต้สำหรับสื่อความ -
หมายให้กับสัญลักษณ์เฉพาะอันหนึ่ง หรือถูกออกแบบมาให้กระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก
ภาพที่ 12 เป็นสัญลักษณ์ของมูลนิธิสายใจไทย มูลนิธิในพระบรมราชูปถัมภ์ที่ตั้งขึ้น
เพื่อทหาร ตำรวจ และครอบครัวของตำรวจตระเวนชายแดนที่บาดเจ็บหรือทุพพล-
ภาพจากการต่อสู้กับ “เหล่าอริราชศัตรู”เพื่อปกป้องชาติ สัญลักษณ์ของมูลนิธิ
ประกอบด้วยแผนที่ประเทศไทย เจดีย์ เครื่องหมายอุณาโลม และหัวใจที่มีเลือด
ไหลริน สัญลักษณ์นี้ทรงพลังอย่างยิ่ง อัดแน่นไปด้วยความหมายดรงๆชัดๆเป็น
การผสมกันอย่างจงใจ แผนที่ในรูปทำหน้าที่ควบคุมความหมายที่ถูกต้องควรจะเป็น
สัญลักษณ์อีกอย่างที่มีความหมายอัดแน่นคล้ายๆ กัน คือสัญลักษณ์ของลูกเสือ
ชาวบ้านซึ่งมีบทบาทแข็งชันทางการเมืองในปลายทศวรรษ 1 970 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

บทที่ 7 ภูมิกายา 221


ในเหตุการณ์ดังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 251 924 สัญลักษณ์สำคัญของ
ลูกเสือชาวบ้านคือผ้าพ้นคอสีแดงเลือดหมูที่สมาชิกแต่ละคนสวมใส่ สัญลักษณ์บน
ผ้าพันคอคือแผนที่ประเทศไทยสีเหลืองและมีคำว่า “ไทย”สีฟ้าพาดบนแผนที่
แต่บางครั้งแผนที่ก็มิได้มีความเคร่งขรึมจริงจ้งแต่อย่างใด เพราะมันมิได้ถูก
ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก เช่นในการพาณิชย์แผนที่อาจถูกเดิมแต่ง
,
บิตผัน หรือเปลี่ยนรูปเพื่อสร้างความประทับใจต่อผู้ชมจนอาจดูไม เหมือนแผนที่
เลยก็ได้มันอาจเป็นภาพล้อแผนที่ประเทศหรือใช้อย่างเล่นๆ ลองจินตนาการตูว่า
จะเกิดอะไรขึ้นหากเอาแผนที่ซึ่งดูเล่นๆ หรือบิดเบี้ยวไปแทนแผนที่ซึ่งดูขึงขังใน
สัญลักษณ์ของมูลนิธิสายใจไทยและบนผ้าพันคอของลูกเสือชาวบ้าน ความหมาย
ที่ต้องการจะถูกสื่อออกมาหรือไม่ ? ภาพล้อเลียนแผนที่จะสามารถเร้าความรู้สึก
ชาตินิยม ราชานิยม หรือความรู้สึกขึงขังจริงจังได้หรือไม่ ?
แผนที่มักถูกตึงออกจากบริบทแรกเริ่มของมันซึ่งก็คือพี้นผิวของโลก ในหลาย
กรณีมักไม่มีดัญลักษณ์ที่แสดงพิกัดหรือประเทศเพื่อนบ้านที่ล้อมรอบดังในตำรา
ภูมิศาสตร์แผนที่อาจอยู่ลอยๆ ยิ่งไปกว่านั้นบางครั้งอาจไม, มีสัญลักษณ์หรือข้อ
กำหนดทางแผนที่ใดๆเลย กระนั้นก็ตาม แผนที่ลอยๆที่ไม่มีช้อกำหนดใดๆก็ยัง
สามารถสื่อสารกับใครก็ตามที่คุ้นเคยกับแผนที่นั้นๆ เพราะว่าแผนที่ทั้งหลายที่
ปรากฏในเครื่องหมายและการโฆษณาที่กล่าวมาช้างดันมิใช่แผนที่อีกต่อไป มัน
มิใช่ภาพแทนดินแดนของประเทศอีกต่อไป แต่มันเป็นรูปดัญญะ (ธเ9 กเแ6โ) ที่สื่อ
ถึงแผนที่ของชาติ รูปดัญญะดังกล่าวมีความหมายและคุณค่าและสามารถสื่อสารได้
เพราะมันอ้างถึงแผนที่ของชาติที่บรรจุความหมายและคุณค่าของความเป็นชาติอีก
ทอดหนึ่ง กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือแผนที่ของชาติได้กลายมาเป็นความหมายที่ถูก
อ้างถึง ตามคำของโรล็องต์ บาร์ตส์ ( ค0 เ 3ก๘ ธลโแา6ธ) ก็คงต้องเรียกว่าแผนที่ของ
ชาติกลายเป็นอภิดัญญะ ( กโเธเ351ฐก ) กล่าวคือกลายเป็นสัญญะที่มีความหมายเพียง
พอในตัวมันเองโดยไม่จำเป็นต้องอ้างอิงไปถึงดินแตนของชาตินั้นๆ เมื่อลัญญะ
เสมือนแผนที่นี้สามารถสื่อถึงแผนที่ของชาติได้ มันย่อมสื่อความหมายและคุณค่า
อื่นๆ ที่แผนที่มีอยู่ด้วย ในทางกลับกัน เมื่อแผนที่ของชาติกลายเป็นอภิดัญญะ จึง
สามารถที่จะผลิตคุณค่าและความหมายที่ไม่มีอะไรเกี่ยวช้องกับดินแดนได้ด้วยเช่น
เดียวกัน

222 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


มาถึงตรงนี้เราคงตระหนักถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นระหว่างแผนที่
กับเทศะ / พื้นที่ คงยากที่จะจำกัดให้แผนที่เป็นแค่ภาพแทนของเทศะ / พื้นที่ มัน
ดินทางออกไปไกลจากจุตกำเนิดทางเทคนิคเกินกว่าที่จะกลับไปหานักทำแผนที่
ผู้สร้างมันขึ้นมาไต้อีกแล้ว นักทำแผนที่มิได้เป็นเจ้าของแผนที่อีกต่อไป พวกเขา
สูญเสียอำนาจการควบคุมมันแล้วโดยสิ้นเชิง เมื่อแผนที่เป็นอิสระจากเทศะ /พื้นที่
และจากมนุษย์ผู้สร้าง แผนที่จึงกลายเป็นสาธารณสมบตของวาทกรรมว่าด้วยความ
ป็นชาติ
แผนที่มีคุณูปการต่อความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับชาติโนหลายๆ แง่ ใน
ฐานะสัญญะ มันเป็นสื่อที่เป็นผู้กระทำอย่างมีประสิทธิภาพที่สามารถรังสรรค์
ภูมิกายาขึ้นมาไต้ ในฐานะอภิลัญญะ มันเป็นแหล่งอ้างอิงในตัวมันเองจนสามารถ
สร้างความหมายและคุณค่ามากกว่าความหมายแรกเริ่มได้ นอกจากข้อเท็จจริง
ที่ว่าแผนที่ผูกขาดวิธีการที่มนุษย์ใช้สร้างมโนภาพต่อพื้นที่ประดิษฐ์ขนาดมหึมาที่
รียกว่าชาติแล้ว บทบาททั้งสอง ( ทั้งการเป็นลัญญะและอภิดัญญะ) ยังเอื้อให้แผนที่
มีอำนาจบงการปริมณฑลความรู้ว่าด้วยความเป็นชาติไต้อย่างสะดวกดาย จนทำให้
มันแทบจะเป็นวัดถุธรรมชาติไปแล้ว
จากตัวอย่างทั้งหลายที่กล่าวมา เราสามารถชี้ถึงกรณีด่าง ๆ มากมายนับไม่
ล้วนที่ภูมิกายาและแผนที่ในฐานะที่เป็นวาทกรรม ความรู้ดัญญะ อภิดัญญะ ได้ผลิต
ความหมายและขยับเคลื่อนมโนภาพ แด่ผลกระทบสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของภูม-
กายาและแผนที่ที่มีต่อความรู้ของเราก็คือ อำนาจในการบงการความรู้เกี่ยวกับอดีต
ถึงตรงนี้ ประเด็นก็คือการประสานเชื่อมกันระหว่างความรู้ภูมิศาสตร์สมัยใหม่กับ
ความรู้ประวัติศาสตร์ ภูมิกายาและแผนที่สร้างประวัติศาสตร์ได้อย่างไร ประวัสิ -
ศาสตร์จะต้องเปลี่ยนไปอย่างไรเพื่อให้ลงตัวกับการอุบดขึ้นของภูมิกายาและกำเนิด
อ้นปันป่วนโกลาหลของมัน

บทที่ 7 ภูมิกายา 223


บกกี่ 8
ภูมิกายาและประวัติศาสตร์
บกกี่ 8
ภูมิกายาและประวัติคาสตร์

... เรื่องโบราณลถานนั้น เป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรที่


เราจะช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯ แล้ว ประเทศ
ไทยก็ไม่มีความหมาย...
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ,
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พ.ค. 2500
ประวัติศาลตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อชีวิตของความเป็นชาติ ข้อความที่ยก
มาข้างต้นไม่เพียงละท้อน แต่ยังผลิตซํ้าและล่งผ่านข้อเท็จจริงดังกล่าวอย่างโน้ม-
นาวใจยิ่ง แต่ทำไมประเทศไทยจึงต้องไร้ความหมายหากปราศจากอาณาจักรสยาม
ในอดีต ? ทำไมประชาชนไทยทุกวันนี้จึงรู้สึกว่าคำว่าประเทศไทยมีความหมาย
ชัดเจนไม่คลุมเครือ ? ความหมายของข้อความในแบบที่ยกตัวอย่างมานี้ชัตเจนไต้
อย่างไร? วาทกรรมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เมื่อพูดถึงอดีต เราอาจนึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว แต่ความจริงก็คือมีแต่สิ่งที่เรา
นึกออกเท่านั้นที่ประกอบกันเข้าเป็นความรู้เกี่ยวกับอดีตที่มีความหมายสำหรับเรา
ในภาษาอังกฤษ อดีต (11า0 [3351) ดือเหตุการณ์ที่เราหวนระลึกถึงไต้ (|-6-00แ60๒0เ /
เก็บรวบรวมขึ้นมาใหม่ ) อดีตดำรงอยู่โตยสัมพันธ์กับองค์ความรู้ที่เรารวบรวม
ประกอบขึ้น ฉะนั้น อดีตที่เรารู้จักจึงสื่อความหมายแทนอดีตที่สร้างขึ้นจากมโน-
ภาพของเราเองแต่เชื่อว่าเป็นอดีตที่แท้จริง ประว้ติศาสตร์ในฐานะวิชาความรู้แขนง
หนึ่งจึงเป็นวาทกรรมเกี่ยวกับอดีต เป็นภาษาที่ทำให้เรื่องราวที่เราระลึกถึงมีความ-
หมายและชัดเจนเข้าใจได้ ประวัติศาสตร์มิได้เป็นการค้นพบข้อเท็จจริงที่ขาด ๆ
-
หายๆ มากไปกว่าเป็นการประกอบจัดเรียงเข้าเป็นเรื่อง ( เ 6 -๓6๓เวอเ ) ว่าจะจดจำ-
อย่างไร

บทที่ 8 ภูมิกายาและประว้ติศาสตร์ 227


เช่นเดียวกับกรณีของภูมิศาสตร์ มโนภาพก่อนสมัยใหม่ของคนพื้นถิ่นต่ออดีต
ตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากความศิตต่อประวัติศาสตร์แบบโลกตะวันตก และในที่สุด
ก็ถูกเบียดขับด้วยมโนภาพอย่างใหม่ อย่างไรก็ตาม นี่เบีนประเด็นที่ด้องศึกษา
ยกออกไปด่างหาก คำถามของเราในที่นี้มังคงอยู่ที่ว่า ก่าเนิดของภูมิกายามีส่วน
กี่ยวข้องอย่างไรต่อการสร้างอดีตของสยาม มันได้ผลิตหรือส่งผลกระทบต่อความรู้
หรือวาทกรรมชนิดอื่นอย่างไรเพื่อทำให้ความรู้หรือวาทกรรมชนิดอื่นสอดคล้อง
ล้อยดามอำนาจและความต้องการของภูมิกายา? การพิจารณาประเด็นนี้จะทำให้
ราเห็นถึงตัวอย่างอันซับซ้อนแต่ขัดเจน ถึงการที่วาทกรรมอันทรงพลังสองชนิดนี้
ชื่อมผนึกเข้ากันได้อย่างไร และผลคืออะไร ในความเป็นจริงนั้น ความต้องการ
ประวัติศาสตร์ใหม่ถอดด้ามเกิดขึ้นพร้อมกับภูมิกายา เพราะการมาของภูมิกายา
อให้เกิดความพลิกผันต่อชีวิตของสยาม การเขียนอดีตชนิดใหม่เป็นสิ่งจำเป็นต่อ
ารสมานรอยแดกร้าวของประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องยาวนาน

บาตแผลบองวิกฤติการณ์ร . ส . 112 กับอต่ตที่ไม่ต่อเนื่อง


รณีฝรั่งเศสนำเรือปีนเข้าปิดปากแม่นี้าเจำพระยาและจ่อปืนไปยังพระบรมมหา -
าชวังอยู่หลายวัน เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตระหนกตกใจให้แก่ชนชั้นนำของ
สยามอย่างยิ่ง พวกเขาไม่อยากเชื่อว่าสยามจะพ่ายแพ้อย่างง่ายดายเช่นนี้ อีกทั้ง
นชั้นนำสยามหลงเชื่อใจว่าอังกฤษจะให้ความช่วยเหลือหากสยามเกิดพิพาทกับ
รั่งเศส เหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำลายความเชื่อมั่นในตนเอง และอังกฤษก็กลาย
ป็นพันธมิตรที่พึ่งพิงไม่ได้ อังกฤษไม่ต้องการมิความขัดแย้งขั้นรุนแรงกับฝรั่งเศส
ทนสยาม และได้ชี้แจงกับสยามมากกว่าหนึ่งครั้งว่าตนจะไม่เข้าไป “ผสมโรง ”กับ
หตุการณ์ดังกล่าว ในวันที่ฝรั่งเศสปิดปากแม่นี้าเจ้าพระยา ราชสำนักสยามไต้
องขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ ในคำตอบที่ส่งแก่ราชสำนักสยาม อังกฤษแจ้ง
อสยามว่าให้ “ขจัดความศิดที่ว่าเรากำลังใคร่ครวญปฏิบัติการร่วมเพื่อปกป้อง
รุงเทพฯ”ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น อังกฤษบอกให้สยามทำตามความต้องการของ
รั่งเศสเรื่องดินแดนฝ็งซ้ายแม่นี้าโขง และเมื่อสยามลังเล อังกฤษกล่าวหาสยามว่า
ม่ให้ความร่วมมือ1
ในที่สุดสยามต้องยอมแพ้ ความเชื่อมั่นใน!]มือทางการทูต การทหาร และสิทธิ
ามธรรมชาติของดนที่มีเหนือดินแตนที่เป็นข้อพิพาทถูกสั่นคลอนและถดถอยลง

28 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
อย่างมาก นักประวัติศาสตร์รายหนึ่งกล่าวว่า วิกฤติการณ์ ร.ศ . 1 1 2 ในปี 2436
( ค.ศ . 1893 ) นีทำให้เกิต “วิกฤติขวัญกำลังใจ ”ในหมู่ชนชั้นปกครองสยาม :
ความรู้สึกไม่มั่นคง [ของสยาม] มีมากขึ้น ความนับถือตนเองแตกร้าว ...
พระมหากษัตริย์ถึงกับล้มป่วยตลอดช่วงวิกฤติการณ์ รู้สึกทุกข์ทรมานทั้งทาง
กายและใจ นาหนักของท่านลดลงถึง 42 ปอนต่ในช่วงระหว่างเดือนสึงหาคม
ถึงพฤศจิกายน และกล่าวอย่างไม่ปิดบังว่าไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป 2
ในขณะนั้นมีคนไม่มากนักที่เชื่อว่าพระจุลจอมเกล้าฯ จะรอดพ้นจากวิกฤต-
การณ์นี้ได้ เริ่มมีการวิ่งเต้นเพื่อตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเพื่อดแลราชบัล-
ลังก์แทนองค์รัชทายาทที่ยังเยาว์วัยอยู่3 แต่พระเจ้าอยู่หัวก็รอดมาไดในที่สุด ทั้งนี้
ต้องยกความดีความชอบให้กับบทกลอนที่มีเนื้อหาตำหนิพร้อมกับให้กำลังใจของ
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้เป็นน้อง4 ไม่เพียงแด่ผ่านพันวิกฤติการณ์
มาได้ ท่านยังสามารถหื่เนสุขภาพไต้อย่างน่าทึ่งเพื่อเป็นกัปตันนำนาวาสยามต่อไป
อย่างที่กรมพระยาดำรงฯ กล่าว พระเจ้าอยู่หัวได้ผนึกจิดใจของบรรดาชนชั้นน่าให้
เข้มแข็งเพื่อรับมือกับภารกิจภายภาคหน้า
อย่างไรก็ตาม ใครจะสามารถปฏิเสธคำกล่าวที่ว่า “วิกฤติการณ์ร.ศ. 1 1 2 ได้
ฝากแผลเป็น”ให้กับพระจุลจอมเกล้าฯ และผู้นำคนอื่นๆ5 พวกเขารู้สึกว่าเอกราช
ของสยามเผชิญกับภัยคุกคามคืบใกล้เข้ามาทุกทีในแต่ละปี การ “เสีย ”ดินแดน
ตามที่พวกเขาเข้าใจ อาการช็อกในกลางเดือนกรกฎาคมปี 2436 ความล้มเหลว
ของราชอาณาจักรที่ถูกเปิดเผยและพิสูจน์อย่างฉับพลัน ความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง
ต่อความเชื่อมั่นในตนเองที่เกินจริงและต่อความเชื่อมั่นในวิถีทางการทูตแบบ
อารยะ ตลอดจนวิกฤติการณ์ขวัญกำลังใจที่ตามมา สิ่งต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้นึ่เองที่
ทำให้ผู้คนเห็นว่าวิกฤติการณ์ร.ศ. 1 1 2 เป็นช่วงขณะที่เจ็บปวดรวดร้าวอย่างยิ่งของ
ประวัติศาสตร์สยาม แน่นอนว่ามันคือความเจ็บปวดรวดร้าวของชนชั้นปกครอง
สยาม
ในแง่นี้วิกฤติการณ์ร.ศ. 112 เป็นช่วงขณะแห่งความชัดแย้งในตัวเองอย่าง
สำคัญ กล่าวคือเป็นเวลาที่สยามสูญเสียประเทศราชของตนให้แก่ฝรั่งเศส ขณะ
เดียวภันก็คือเวลาที่ภูมิกายาหรือตัวตนทางกายภาพของสยามอุบัติขึ้น เป็นช่วง
ขณะที่เกิดการปะทะแตกหักของมโนภาพและแบบแผนการปฏิบัติทางภูมิศาสตร์
คนละชนิต จนความเข้าใจต่อความเป็นชาติแบบเก่าได้ถูกดับเปลี่ยนแทนที่ ดูเผินๆ

บทที่ 8 ภูมิกายาและประวตศาสตร์ 229


สยามกำลังอยู่ในกระบวนการทำให้ทันสมัย แล้ววิกฤติการณ์มารบกวนกระบวนการ
นี้ แต่ที่จริงคงไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ว่า สยามหลัง ร.ศ . 112 มิได้เหมือนกับ
สยามก่อนหน้านั้นอีกต่อไปแม้กระทั่งในความคิดของผู้ปกครองสยามเอง พวกเขา
ดำเนินภารกิจของตนต่อ แต่เป็นไปในสถานการณ์ที่แตกต่างจากเติม ในสยามที่แตก
ด่างไปทั่งในแง่ของกายภาพบนพี้นผิวโลกและในความนึกคิดของพวกเขา วิกฤต -
การณ์ร.ศ. 112 เป็นจุตพลิกผันหักเหอย่างรุนแรงในชีวิตของสยาม รอยแดกหักใน
ชีวิตของชาตินี้จำเป็นต้องไต้รับการสมาน และจำต้องมีคำอธิบายต่อความปันป่วน
อย่างน่ารับฟังพอที่จะช่วยสมานแผลเยียวยา เพื่อทำให้ทุกคนเกิดความรู้สึกนั้นใจ
ว่าชีวิตของประเทศชาติยังคงดำเนินต่อไปตามสายธารเวลาที่ต่อเนื่องปกติ
ความต้องการเรื่องราวแบบใหม่ ณ ห้วงเวลาที่เกิดความตึงเครียดในช่วงขณะ
ระหว่างความต่อเนื่องกับความพลิกผันหักเห หาใช่ปรากฏการณ์ใหม่แต่อย่างใด
ทั่งมิใช่เรื่องใหม่สำหรับสยามด้วย งานศึกษาหลายชิ้นได้ยาถึงบทบาทของงาน
เขียนทางประวัติศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรม
ให้กับระบอบใหม่เหนือคู่ต่อสู้ของตน ในลักษณะที่เป็นโฆษณาชวนเชื่อหรือการ
ควบคุมความคิด 6 อย่างไรก็ตาม มีงานน้อยชิ้นที่วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง
ความพลิกผันหักเหในอดีตกับการสร้างความรู้ประวัติศาสตร์ที่เน้นความต่อเนื่อง
ของชีวิตปกติที่คุ้นเคย หรือการฟืนฟูยุคทองในอดีต เพื่อสร้างความนั้นใจให้กับ
ผู้คน อย่างเช่น ตอนเริ่มยุครัตนโกสินทร์ในปลายศตวรรษที่ 18 ราชวงศ์ใหม่ใน
พระราชวังใหม่ ณราชธานีใหม่ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นจุลจักรภพแห่งใหม่ ได
พยายามฟืนฟูระบบระเบียบของบ้านเมืองชิ้นมาหลังการล่มสลายของศูนย์กลาง
อำนาจเก่า ความดึงเครียดระหว่างความต่อเนื่องกับการแตกหักของสายธารประวิต -
ศาสตร์ได้รับการบรรเทาเบาบางลงด้วยการตอกยํ้าเรื่องราวทางศาสนาว่าด้วยโลก
ที่ได้รับการจัดระเบียบชิ้นมาใหม่ ผนวกกับการเขียนประวิดศาสตร์ราชสำนักใหม่
ให้เป็นผู้สีบทอดลานต่อระเบียบโลกเก่า 7 เมื่อพิจารณาการบิดเบือนและเรื่องราวที่
ผิดฝาผิดตัว งานเขียนดังกล่าวอาจไม่ไต้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อสร้างความ
ชอบธรรมให้กับระบอบใหม่มากเท่ากับที่เป็นเครื่องมือทางอุดมการณ์ที่ช่วยให้พวก
เขาเองเข้าใจและทำใจได้กับอดีตเจ็บปวดที่เพิ่งผ่านพันไป
การแตกหักอีกครั้งดือการปฏิวิต 2475 ( ค.ศ. 1932 ) ซึ่งเป็นจุดจบของระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์และจุดเริ่มด้นของสยามใหม่ใต้อำนาจทหาร คราวนี้รอย

230 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวิดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


แยกถูกเย็บสมานเข้าด้วยกันโดยปิดบังอำพรางหรือมองข้ามลักษณะหักรากถอน
โคนของการปฏิว้ติปี 2475 สิ่งที่เข้ามาแทนที่คือการอธิบายอดีตของไทยในกรอบ
การต่อสู้ครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อปลดปล่อยประเทศจากการปกครองของต่างชาติ หรือ
เพื่อปกป้องเอกราชของชาติ นี่คือเรื่องของการต่อต้านลัทธิอาณานิคมที่คุ้นเคยกันดี
ซํ้าร้ายไปกว่านั้น สยามหลังการปฏิวติ 2475 ถูกสร้างให้กลายเป็นการฟินฟูยุคทอง
ของสุโขทัยซึ่งถือกันว่าคืออาณาจักรแห่งแรกของสยาม8 ตามกรอบการเล่าเรื่อง
เช่นนี้ แม้ชีวิตของชาติจะขี้นๆลงๆ แด' ปัจจุบันคือความต่อเนื่องของวันเวลาอัน
รุ่งเรืองในอดีต ความเปลี่ยนแปลงมิได้ทำให้สูญเสียอะไร และอนาคตของชาติก็
ไม่มีอะไรที่ประหลาดน่ากลัว แม้ว่าจะไม่มีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แล้วก็ตาม
อันที่จริงช่วงเวลาแห่งความสับสนวุ่นวายไม่เคยถูกเก็บงำหรือลบล้างจาก
ความทรงจำ ตรงกันข้าม มันเป็นที่รับรูโดยที'วไป
่ เพียงแต่ว่ามันถูกตบแต่งดัดแปลง
และอธิบายในแนวที่ทำให้ความแตกหักสามารถเข้ากันได้กับอดีตอันมนคงยืนยาว
ถ้าเช่นนั้น รอยแตกร้าวของวิกฤติการณ์ ร.ศ . 1 1 2 ได้ก่อผลกระทบกับเรื่องเล่า
สมัยใหม่เกี่ยวกับอดีตของสยามมากเพียงใด ? เป็นไปได้หรือไม่ว่ากำเนิดของภูม-
กายาและบทบาทของแผนที่จะต้องถูกกลบเกลื่อนเพื่อลบล้างความไม่ต่อเนื่อง?
สยามหลังวิกฤติการณ์ร.ศ . 1 12 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรากฎตัวของภูมิกายา มี
ความสัมพันธ์กับการเกิดขี้นของการเขียนประวัติศาสตร์แบบใหม่ในสยามหรือไม่
อย่างไร? เราลองมาดูว่าเรื่องราวจุดพลิกผันของวิกฤติการณ์ร.ศ . 1 1 2 ได้ถูกอธิบาย
ไวัอย่างไร ยุทธศาสตร์ที่ประวัติศาสตร์นิพนธ์ดังกล่าวใช้อาจชี้ใหัเห่นว่าอดีตของ
สยามทั้งหมดถูกประกอบสร้างขี้นมาอย่างไร

ภูมิกายากำมะลอในอดีตของไทย
ผลผลิตแรกของการเชื่อมต่อระหว่างภูมิกายากับประวัติศาสตร์ที่เราจะพิจารณา
กันคือประวัติศาสตร์นิพนธ์ของช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อดังกล่าวนั้นเอง นักประวิติศาสตร์
ไทยมิไต้มองว่าช่วงสองทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 19 เป็นกำเนิดของภูมิกายา
หรือตัวตนทางกายภาพของสยามหรือเป็นเรื่องสลักสำคัญอะไร ยุคสมัยและ
เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการสูญเสียดินแดนและการปฏิรูปการปกครอง
เข้าสู่ศูนย์กลาง ทั้งสองส่วนนี้สัมพันธ์กันแด่เป็นคนละกระบวนการ นักวิชาการ
ตะวันตกก็ยอมวับทัศนะดังกล่าวของไทยโดยไม่ตั้งคำถาม ประวัติศาสตร์นิพนธ์

บทที่ 8 ภูมิกายาและประวตศาสตร์ 231


ตามแบบแผนนี้ถูกผลิตออกมาด้วยวิธีการเซ่นไร? แน่นอนเหลือเกินว่าประวัติ -
ศาสตร์ดังว่านี้ส่งผลอย่างยิ่งต่อความทรงจำเกี่ยวกับช่วงขณะแห่งความผันผวน
ปันป่วนครั้งนั้น
เรื่องเล่าแบบฉบับมักเริ่มด้นด้วยความกระสันของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสที่จะ
ยึดครองอุษาคเนย์ เพื่อต้านทานการขยายอิทธิพลของจักรภพอังกฤษในภูมิภาค
และเพื่อแสวงหาเส้นทางไปสู่จีนตอนใต้ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นโครงการที่จะสร้างกำไร
ทางเศรษฐกิจให้กับฝรั่งเศส ปัญหาเกิตขึ้นเมื่อฝรั่งเศสครอบครองเวียดนามไต้และ
อ้างสิทขึ้ของตนเหนือฝังซ้าย ( ตะวันออก ) ของแม่นั้าโขง รอง ศยามานนท์ กล่าว
ไวีในตำราภาษาอังกฤษเกี่ยวกับประเทศไทยว่า ฝรั่งเศสไต้ยึดเอาสิบสองจุไทและ
หัวพันห้าทั้งหกไปจากไทยในปี 2430 ( ค.ศ . 1887 ) แด่ฝรั่งเศสก็บังไม่ยอมรามือ
รองเสนอภาพของฝรั่งเศสว่าเป็นพวกไร้เหตุผลที่ต้องการยึดครองลาวไว้ทั้งหมด
ทั้ง ๆ ที่แผนที่ของฝรั่งเศสเองก็แสดงว่าลาวเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ฝรั่งเศสได้
กระทำการก้าวร้าวในข้อพิพาทหลายกรณีตลอดชายแดนเพราะพวกเขาถูกความ
โลภครอบงำ9
ขจร สุขพานืช นักประวัติศาสตร์สำคัญของไทยอีกคนหนึ่ง ก็เสนอเรื่องราว
ความโลภ ไร้เหตุผล และไวีใจไม่ได้ของฝรั่งเศส เขากล่าวว่า แม้ว่าสยามจะไต้ยื่น
ข้อเสนอที่สมเหตุสมผลและจริงใจไห้กับฝรั่งเศสเพื่อยุติข้อพิพาทด้วยสันติวิธี แด่
ฝรั่งเศสกลับหาทางบ่ายเบี่ยง หน่วงเหนี่ยว และโกหกอยู่ตลอดเวลา สยามเป็นเหยื่อ
ผู้บริสุทขึ้รายต่อไปจึงตกอยู่ในอันตราย และพยายามอย่างเต็มที่ที่จะปกป้องตนเอง
จากสัตว์ร้าย แด่เมื่อเกิดปะทะกันขึ้น ฝรั่งเศสกลับหาว่าที่ผ่านมาสยามเป็นฝ่าย
รังควานฝรั่งเศสตามชายแตนมานานหลายปี ฉะนั้นจึงสมควรถูกโต้ตอบอย่างสาสม
ขจรอธิบายว่านี่คือวีธีที่ฝรั่งเศสสร้างความชอบธรรมให้กับการยึดครองของตน10
รองและขจรมิได้เขียนงานประวัติศาสตร์ที่ลงรายละเอียด แต่ความที่ทั้งสอง
ทำหน้าที่คุมวิทยานิพนธ์นักศึกษาปริญญาโทประวัติศาสตร์ พวกเขามีส่วนผลักตัน
ผลงานแนวนี้ออกมาจำนวนมาก ในเบื้องด้นคนเหล่านี้จะศึกษาข้อมูลรายละเอียด
ต่างๆของเหตุการณ์มารองรับคำอธิบาย ครั้นทัศนะดังกล่าวกลายเป็นกระแสหลัก
มันก็สามารถผลิตชํ้าดัวเองได้โดยไม่ต้องสนใจว่าใครเป็นคนเสนอคนแรก งาน
หลายขึ้นเห็นพ้องต้องกันว่าฝรั่งเศสใช้กลวิธีอันชั่วร้าย โป้ปดมดเท็จและฉ้อฉล เพื่อ
บรรลุความมักใหญ่ใฝ่ละโมบของพวกตน ขณะที่สยามได้พยายามทุกวิถีทางที่จะ

232 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ปกป้องตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปการปกครองเพื่อดึงประเทศราชของตนเข้า
มาอยู่ใต้การควบคุมโดยตรงของกรุงเทพฯ ไปจนถึงการยกทัพปราบฮ่อในดินแตน
ที่ดกเป็นข้อพิพาท แต่ในที่สุด ฝรั่งเศสกลับหันไปใช้การทูตแบบเรือปืนโดยปราศ -
จากความสมเหตุลมผลใดๆ มีแด่ต้องการจะเอาชนะ'ไทย'ใหัใต้ นี่เป็นวิธีการที่สยาม
ไม่สามารถสู้ด้วยได้ กล่าวโดยสรุป นี่เป็นเรื่องเศร้าว่าด้วยปีศาจร้ายกระทำยํ่ายี
หญิงพรหมจารี' 1
แน่นอนว่างานทุกชิ้นล้วนเสนอว่าฝังซ้ายของแม่นั้าโขงทั้งหมดเป็นของสยาม
อย่างปราศจากข้อสงสัย งานของเตวิด ไวแอตตํ (|ว3พ่(1 พ7311) ซึ่งปัจจุบันเป็น

ดำรามาตรฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยในภาษาอังกฤษ ก็รับเอาทัศนะดังกล่าว
มาเช่นกัน ด้วยความเห็นใจต่อสยาม เขาแก้ต่างย้อนหลังว่าฝรั่งเศสมิได้มีหลักฐาน
แม้แด่ชิ้นเดียวที่สนับสนุนการอ้างสิทธิ้ของตน นอกจากสิทธึ๋ไนฐานะผู้คุ้มครองที่
ตกทอดมาจากเวียดนาม และเป็นเรื่องเศร้าที่สยามไวัใจอังกฤษมากเกินไปทั้งยัง
หลงเชื่อว่า “ฝรั่งเศสคงไม่มีทางยืนยันสิทธี้อันน่าหัวร่อของตนต่อโลกอารยะ”' 2
ข้อความข้างล่างนี้เป็นการสรุปอย่างชาญฉลาดของไวแอดด์ ซึ่งงานเขียนแบบ
จารีตทั้งหลายต้องเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์อย่างแน่นอน:
ในความเป็นจริง สยามถูก มํงคํบใหัยอมรับข้อเรียกร้องที่ น่าทุเรศ เพียงเพราะ
สยามได้ ปกปีองดินแดนของดน จาก การรุกรานของล่างชาติ เสมือนประหนึ่ง
ว่ารัฐบาลใหม่ที่เพิ่งขึ้นสู่อำนาจในอังกฤษได้อ้างสิทธึ้ดั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ที่
อังกฤษมีเหนือสหรัฐอเมริกา แล้วลงโทษรัฐบาลอเมริกันที่ข้ตขืนการรุกราน
ของอังกฤษ' 3
ขณะที่ไวแอดดํใข้เรื่องสมมติจากประวัติศาสตร์ของอังกฤษ- อเมริกามาจับ
ใจความสำคัญของวิกฤติการณ์ร.ศ. 112 ทั้งหมดขจรเลือกใช้นิทานอีสปเรื่องหนึ่ง
ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีมาเปรียบเปรย “เราก็ไต้เห็นชัดว่า ฝรั่งเศสหันมาดำเนินกโลบาย
ของหมาป่า ซึ่งกล่าวหาปรักปรำลูกแกะก่อน แล้วจึงกระโจนเข้าขบกัดต่อไป ”' 4
การอุปมาอุปไมยเช่นนี้มาจากตัวเหตุการณ์เอง หรือว่าเป็นไปในทางกลับกัน?
กล่าวคือ หรือว่านิทานเรื่องหมาป่ากับลูกแกะนี้ได้กลายเป็นกรอบความคิดที่ช่วยจัด
องค์ประกอบของเหตุการณ์ในอดีตที่สับสนใหัเป็นระเบียบ มีโครงสร้าง เข้าใจได้
ง่าย และตคุ้นเคยสำหรับผู้อ่าน? อุปมาอุปไมยนั้นเองไต้กลายเป็นกรอบทางความ
คิดเพื่อทำความเข้าใจอดีตดอนดังกล่าวลักแค่ไหน?

บทที่ 8 ภูมิกายาและประว้ติศาสตร์ 233


ในทัศนะของสยาม ประวัติศาสตร์ของช่วงเวลาตังกล่าวเป็นโศกนาฎกรรม
ไม่ใช่เพราะความใฝ่ฝันของตัวเอกไม่บรรลุผลดังที่มักปรากฏในโศกนาฎกรรมของ
ตะวันตก แต่เพราะว่าในประวัติศาสตร์ฉากนี้ ฝ่ายอธรรมมีชัยเหนือฝ่ายธรรมะซึ่ง
ผิตทำนองคลองธรรมตามหลักพุทธศาสนา ในแง่นี้ประวัติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับ
การปฏิรูปการปกครองจึงน่าจะช่วยบรรเทาความรู้สึกพ่ายแพ้สูญเสียและความไม่
ถูกทำนองคลองธรรมไต้
ความทรงจำเพื่อบรรเทาทุกข์ดังกล่าวปรากฎดัวครั้งแรกในรูปบันทึกความ
ทรงจำของกรมพระยาตำรงฯ ผู้ทำหน้าที่ดูแลการปฏิรูปการปกครองระหว่างปี
2435 - 2458 ( ค.ศ. 1892 - 1915 ) ใน เทศาภิบาล ที่เขียนขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ
1940 ( ภายในครึ่งแรกของพุทธทศวรรษ 2480 ) ทว่าผู้เขียนถึงแก' กรรมก่อนที่
หนังสือจะเสร็จ กรมพระยาดำรงฯ เล่าว่าพระจุลจอมเกล้าฯไต้เตือนท่านเกี่ยวกับภัย
คุกคามด่างซาดิที่มีต่อสยามและจึงสนับสนุนให้ท่านดำเนินการปฏิรูป หากสยามไม่
รีบวัตระเบียบการปกครองส่วนท้องถิ่นของตน ปล่อยให้อยู่ในสภาพยุ่งเหยิงต่อไป
ประเทศชาติก็จะตกอยู่ในอันตราย สยามอาจต้องสูญเสียเอกราชในที่สุต15
ในไม่กี่ทศวรรษต่อมา เตช บุนนาค นำแนวอธิบายดังกล่าวมาขยายความ งาน
ของเตชไต้กลายเป็นต้นแบบให้กับงานวิจัยในไทยรุ่นต่อๆ มาเกี่ยวกับการปฏิรูป
การปกครอง เตชทำให้เราระลึกถึงมรดกของกรมพระยาดำรงฯ ด้วยการเลือกศึกษา
เฉพาะช่วงเวลาที่กรมพระยาดำรงฯ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เขา
รับเอากรอบการอธิบายของกรมพระยาดำรงฯ มาอย่างซื่อสัตย์ และกล่าวว่าเขา
เขียนงานนี้ด้วย “ความเชื่อว่า [การปฏิรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล] เป็นหนึ่งใน
ปัจจัยที่ช่วยทำให้สยามอยู่รอดเป็นชาติเอกราชได้ในยุคจักรวรรดินิยมตะวันตก”16
เตชเริ่มด้วยการบรรยายถึงการปกครองก่อนปี 2435 ( ค.ศ. 1892 ) เขากล่าว
ว่า “ในทางทฤษฎี ”สยามก่อนปี 2435 เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อำนาจอธิปไตย
ของสยามเหนือห้วเมืองรอบนอกและประเทศราชหรือบูรณภาพของสยามนั้นไม่
คยสั่นคลอน ปัญหาอาจปะทุขึ้นได้เพราะทฤษฎีดังกล่าวยังมิไต้ถูกนำไป “ปฏิบัติ ”
ให้เป็นจริงจนกระทั่งปี 243517 ช่องว่างระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติไต้กลายเป็น
งื่อนไขที่อันตรายก็ต่อเมื่อสยามเผชิญกับลัทธิล่าอาณานิคมเท่านั้น เตชกล่าวว่า
ในเตือนมกราคม 2439 ( ค.ศ . 1896 ) พระจุลจอมเกล้าฯได้เตือนบรรดาผู้ตรวจ
ราชการประจำอดีตประเทศราชว่า มหาอำนาจด่างชาติเตรียมจะใช้ความชัดแย้ง

234 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


“ภายใน” เป็นข้ออ้างเพื่อแทรกแซงกิจการภายในของสยาม พวกเขาจักต้อง
ปกปัองสยาม “จากอันตรายทั้งจากภายในและภายนอก ”18 ประเทศราชคือจุดที่
อ่อนแอที่สุด และจำเป็นต้องมีการปฏิรูปหากสยามต้องการ “ปกป้อง”ตนเอง ฉะนั้น
การรวมศูนย์อ่านาจการปกครองคือกุญแจสู่การแก้ปัญหา แม้ว่าจะต้องประสบการ
ต่อต้านและขัตขืนอย่างมากก็ตาม ส่วนที่เหลือในหนังสือของเตชเป็นรายละเอียด
แด่ละขั้นตอนของการผนวกการปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าสู่ส่วนกลางทั้วประเทศ
หนังสือของเตชไต้กลายเป็นฐานให้กับงานชิ้นต่อๆ มาของนักประวัติศาสตร์
ไทยอีกจำนวนมากที่เพียงเอาแนวคีตแบบเดียวก้นนี้ไปใช้อธิบายการปฏิรูปการ
ปกครองในทีละพื้นที่หรือทีละด้าน บ้างก็นำไปใช้กับช่วงเวลาที่ขยายครอบคลุม
ทั้งก่อนและหลังการบริหารงานของกรมพระยาดำรงฯ บ้างก็นำไปใช้ศึกษาผลงาน
ของเจ้านายคนอื่นๆ19 สำหรับคนเหล่านี้ แกนเรื่องว่าด้วยไทยเผชิญภัยคุกคาม
ด่างชาติดังนั้นจึงต้องมีการปฏิรูปเพื่อ “ปกป้อง”ตนเองดังกล่าวนี้เป็นฐานความเชื่อ
เบื้องต้นที่ถือว่าเป็นจริงแน่ๆ (|3โ6ธ0 โก!วใเ 0ก ) มิใช่สมมติฐานที่ต้องการการพิสูจน์
(11า6ธ1ธ ) ในหลายกรณีพวกเขาไปไกลถึงขั้นระบุไว้แต่ต้นว่านี่เป็นข้อเท็จจริงที่ไร้
ข้อโต้แย้งจนแทบจะเป็นสัจธรรม จึงไม่นำประหลาดใจที่คนเหล่านี้พากันสรุปด้วย
ความรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจและมั่นใจว่าการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
นี่เองที่ทำให้สยามรอตพ้นมาไต้ สำหรับเตช สยามได้ผ่านพันช่วงเวลาที่ยากสำบาก
ที่สุดช่วงเวลาหนึ่งในชีวิตของตนมาด้วยความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ สยามไต้ผงาดขึ้นสู่
ความรุ่งโรจน์ยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา มันจึงมิใช่แค่การปฏิรูป แต่เป็นการปฏิวัติอัน
รุ่งโรจน์20 :
[ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ] และระบบเทศาภิบาลได้ช่วยรักษา
ราชอาณาจักรไทยให้คงอยู่เป็นประเทศเอกราชไว*ได้เพียงประเทศเดียวใน
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคสมัยของการแสวงหาอาณานิคมของชาว
ยุโรป... ระหว่างช่วงเวลานั้น [พ.ศ . 2435- 2458/ค.ศ. 1892 -1915 ภายใต้
การบริหารงานของกรมพระยาตำรงฯ] สยามได้เปลี่ยนจากการรวมรัฐและ
หัวเมืองด่าง ๆ ขึ้นเป็นประเทศโตยไม่มีเส้นแบ่งเขตแตน ไปเป็นประเทศที่เป็น
ปีกแผ่นซึ่งมีการกำหนตพรมแดนแน่นอนชัดเจน มีการวางรากฐานการปก-
ครองส่วนกลางแบบสมัยใหม่และรวมศูนย์อำนาจการปกครองเข้าสู่ส่วน
กลาง มีการเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจ ราษฎรต่างไต้รับการปลดปล่อยให้พ้นจาก

บทที่ 8 ภูมิกายาและประว้ติศาสตร์ 235


การเป็นทาสและกึ่งทาส และทำให้เกิดความริเริ่มในการปกครองตนเอง ...
[การปฏิรูป] ก่อให้เกิดพลังเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งยังเป็นสิ่งที่ก่อรูปประเทศไทย
สมัยใหม่จวบจนทุกวันนี2้ '
ตามทั้งสองท้องเรื่อง คือเรื่องการสูญเสียดินแตนและการปฏิรูปนั้น จักรวรรดิ -
นยมยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศส รับบทเป็นหมาป่า ส่วนสยามเป็นลูกแกะที่
,
ชะตากรรมแขวนอยู่บนเส้นด้าย ขณะที่เพื่อนบ้านของตนล้วนเอาชีวิตไมรอตแล้ว
ทั้งสิ้น สยามสามารถปกป้องตนเองไต้อย่างสง่างาม สมเหตุสมผล และชาญฉลาด
แม้ว่าต้องยืนฝ่ามรสุมอยู่เพียงลำพังก็ตาม เรื่องแรกจบลงด้วยโศกนาฏกรรม แต่
ก็เพราะว่าหมาป่าอยู่เหนือความสามารถของสยามที่จะจัดการด้วยเหตุและผลได้
ส่วนเรื่องหลังจบลงด้วยความสุข สยามไม่เพียงปกป้องตนเองได้เท่านั้น แด่ยังก้าว
กระโดตไกลไปข้างหน้าอีกด้วย
ทั้งการสูญเสียดินแดนและการปฏิรูปดูจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุเดียว
ก้น นั้นคือภัยคุกคามจากภายนอก ซึ่งเป็นปัจจัยเดียวที่ร้อยเรื่องทั้งสองไว้ด้วยก้น
ทั้งสองเรื่องสื่อสาระเดียวก้น นั้นคืออันตรายจากภายนอกและความจำเป็นที่จะ
ต้องปกป้องหรือเสียสละ ทั้งสองเรื่องดูจะเป็นผลลัพธ์สองด้านที่เกิดจากช่วงขณะ
เดียวก้นของอดีต เรื่องทั้งสองถูกบันทึกไว้ในจิตใต้สำนึกของเรา ก่อเกิดวาทกรรม
คู่ของเรื่องเดียวก้นซึ่งผลิตวาทกรรมประวัติศาสตร์ชาตินิยมออกมาจำนวนมาก
แน่นอนว่าเรื่องราวทั้งสองแทบไม่เคยเผยตัวว่าเป็นปฏิบัติการสองชนิดในการแข่ง
กับฝรั่งเศสเพื่อครอบครองพื้นที่ชายขอบ จนนำไปสู่กำเนิดของภูมิกายา อันที่จริง
งานบางชิ้นพูดถึงการท่าแผนที่ไว้มากมายและบางอย่างเกี่ยวกับการสวามิก้กดี๋ของ
เมืองสองสามฝ่ายฟ้า แม้แด่เดชก็ยังเอ่ยถึงการไม่มีเส้นเขตแดนสม้ยใหม่ว่าเป็น
หนึ่งในปัญหาการปกครองก่อนปี 2435 ( ค.ศ. 1892 ) แด่งานเหล่านี้ถึอว่าแผนที่
และปัญหาเขตแดนเป็นแค' ประเด็นทางเทคนิคที่มิได้มีบทบาทสำคัญอะไรไม่ว่าจะ
เป็นสาเหตุหรือทางออกต่อปัญหาใด ๆ
หากพิจารณาอย่างละเอียดกลับจะเห็นว่า เรื่องราวทั้งสองนี้วางอยู่บนสมมติ -
ฐานร่วมก้นจำนวนหนึ่ง ซึ่งหากไม่มีสมมติฐานเหล่านี้แล้ว เราก็จะอ่านหรือจดจำเรื่อง
ทั้งสองในแบบที่แตกด่างออกไป ผู้เขียนเรียกสมมติฐานเหล่านี้ว่า “ยุทธศาสตร์”
ของเรื่อง เพราะม้นมิได้เป็นแค่ความคิดเลื่อนลอย แต่ม้นทำหน้าที่บงการว่าเนี้อหา
สาระของเรื่องราวทั้งสองจักต้องถูกจัดวางหรือเรียบเรียงอย่างไรตามโครงเรื่องที่

236 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


เหมาะสม เพื่อสร้างความหมายและคุณค่าตามที่ปรารถนา ทั้งทางปัญญาและทาง
อารมณ์ความรู้สึก
ยุทธศาสตร์แรกคือการทึกทักว่าภูมิกายาของสยามดำรงอยู่มานานแล้ว งาน
เขียนทั้งหมดเกี่ยวกับการสูญเสียดินแตนจักต้องยืนยันว่าภูมิกายาของสยามที่
แผ่ขยายไปไกลถึงฝังซ้ายแม่นํ้าโขงดำรงอยู่เช่นนี้มาโดยตลอด นอกจากนี้ยังต้อง
ยืนกรานว่าพื้นที่ทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ไม่ว่าจะแบบพื้นถิ่น
หรือแบบสมัยใหม่นั้น ไม่ได้แตกต่างกันมากมายนัก ดังนั้นจึงไม่มีความคลุมเครือ
ในเรื่องของพื้นที่แด่อย่างใดทั้งสิ้น หากไม่มีสมมติฐานนี้แล้วย่อมไม่มีเหตุให้รู้สึก
เจ็บปวดราตร้าวไต้เพราะไม่มีตินแตนไหนที่ “สูญเสีย ”ไป สำหรับประวัติศาสตร์
การปฏิรูปการปกครองนั้น ยุทธศาสตร์นี้ยิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดสำหรับสร้าง
ความชอบธรรมให้กับการควบคุมโดยตรงของกรุงเทพฯ เพราะหากไม่ทึกทักว่า
ภูมิกายาของสยามดำรงอยู่มานานแล้ว ความพยายามของสยามที่จะควบคุม
ดินแตนที่เป็นข้อพิพาทย่อมถูกมองเป็นอื่น มิใช่การป้องกันตนเอง และการปราบ
ปรามอดีตประเทศราชทั้งหลายย่อมมิใช่กิจการภายใน กลไกที่จะกำกับยุทธ-
ศาสตร์นี้คือ ต้องป้องกันไม่ให้เกิดการดีความ “อย่างไม่เหมาะสม ”ที่อาจชี้ให้
เห็นถึงการขยายดินแตน การดีเมืองขึ้น หรือแม้แด' การแช่งข้นแย่งชิงของสยาม
ภูมิกายากำมะลอที่ทึกทักเอาเองช่วยกำกับแนวลิดเรื่องภายใน/ ภายนอกและการ
ป้องกันตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น ยุทธศาสตร์นี้ยังนำไปสู่ทัศนะที่ยอมรับกันทั่วไปใน
ปัจจุบันว่าเป็นเรื่องปกติ ได้แก่ ทัศนะที่มองปัญหาทั้งหมดจากสายดาของกรุงเทพฯ
ซึ่งเป็นอีกยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะกล่าวถึงต่อไป ทัศนะดังว่านี้จึงเท่ากับเป็นการกตทับ
ปิดกั้นมุมมองของรัฐเล็กๆในภูมิภาค การทึกทักว่าภูมิกายามีมาแด่เก่าก่อนแม้
จะเป็นเพียงในทาง “ทฤษฎี ”ก็ตาม ย่อมขัดขวางมิใหัมีความทรงจำว่าภูมิกายา
กำดังถูกสร้างขึ้นในกระบวนการช่วงขณะนั้นนั้นเอง บทบาทของการท่าแผนที่ซึ่ง
เป็นที่มาของภูมิกายาจึงถูกปิดบัง แถมยังท่าให้เราเข้าใจช่วงขณะแห่งความพลิก -
ผันนั้นผิดเพี้ยนไปโดยสิ้นเชิง กลายเป็นว่าช่วงขณะเหล่านั้นมิไต้มีอะไรเกี่ยวข้อง
กับการต่อสู้แช่งขันเพื่อขจัดความคลุมเครือของพื้นที่ ช่วงขณะเหล่านั้นกลายมา
มีความสำคัญเพียงแค่เพื่อรักษาบูรณภาพที่ดำรงอยู่แล้วและผลักดันภูมิกายาที่เป็น
เอกภาพกับอธิปไตยหนึ่งเดียวให้เป็นจริง

บทที่ 8 ภูมิกายาและประว้ตศาสตร์ 237


ยุทธศาสตร์ที่สองคือ การสถาปนาเรื่องเล่าภายใต้บริบทการเมืองระหว่าง
ประเทศสมัยใหม่ โตยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิล่าอาณานิคม บริบทเช่นนี้กำหนตว่า
เรื่องราวจะต้องถูกมองในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างสยามในฐานะรัฐชาติลันเป็น
หนึ่งเดียว กับมหาอำนาจตะวันตก บริบทของการเมืองระหว่างประเทศเป็นเสมือน
ตะแกรงที่ทำหน้าที่เลือก กรอง จัตชั้น หรือขจัตเสียงของรัฐเล็กๆ ทั้งหลายที่ไม่มี
โอกาสถือกำเนิดเป็นรัฐชาติในเวลาต่อมา แม้ว่าพวกเขาจะมีบทบาทสำคัญในขณะ
นั้นก็ตาม ตะแกรงนี้อนุญาตให้มีแด่เรื่องราวของรัฐชาติ มันจึงเป็นบริบทของเหตุ -
การณ์ที่มองจากเมืองหลวงเท่านั้นในมุมมองของรัฐเล็กๆ และท้องถิ่น นี่เป็นบริบท
ที่ผิดฝาผิดตัวและผิดยุคผิตสมัย
ถ้าหากเรามองผ่านบริบทที่ด่างออกไป บทบาทของสยามในความสัมพันธ์
กับต่างชาติก็จะต่างไปด้วย ภายใต้บริบทพื้นถิ่นในขณะนั้นซึ่งความสัมพันธ์ทาง
อำนาจเป็นแบบลำดับชั้นที่ยังไม่มีภูมิกายา ทั้งสยามและฝรั่งด่างชาติด่างก็เป็นพวก
ล่าดินแดนที่กำดังต่อสู้แย่งชิงเหยื่อตัวเดียวกันแม่จะมีความสามารถไม่เท่ากันก็ตาม
แต่ถ้ามองผ่านบริบทการเมืองระหว่างประเทศของยุคอาณานิคม ความขัดแย้งกสับ
กลายเป็นข้อพิพาทที่ไม่ยุติธรรมระหว่างชาติมหาอำนาจกับชาติเล็กๆ ที่พยายาม
ปกป้องตนเอง ทัศนะต่อด้านจักรวรรดินิยมที่นักประวัติศาสตร์ในยุคหลังอาณานิคม
รับไปใช้อย่างภาคภูมิใจได้เปลี่ยนความหมายของความสัมพันธ์ดังกล่าว สยามใน
บริบทการเมืองโลกดามทัศนะพวกเขามิได้เป็นคู' แข่งขัน หรือเป็นอำนาจหนึ่งที่
แสวงความเป็นใหญ่ หรือเป็นนักล่าตินแดนระดับท้องถิ่นอีกต่อไป สยามกลายเป็น
ลูกแกะแทนที่จะเป็นหมาป่าตัวเล็ก แทนที่จะเป็นประวัติศาสตร์การครองความเป็น
ใหญ่ในภูมิภาค กลับกลายเป็นประวัติศาสตร์ของการต่อต้านลัทธิอาณานิคมลันทรง
เกียรติที่นำแสดงโดยซนชั้นนำสยาม ภัยคุกคามจากมหาอำนาจไร้ศีลธรรมกลายเป็น
ข้อแก้ตัวให้แก่การกระทำด่าง ๆ ของสยามในช่วงเวลานั้น และท่าให้การกระทำของ
สยามกลายเป็นการต่อสู้ที่ชอบธรรมเพื่อ “ความอยู่รอด”ของตน
ยุทธศาสตร์ที่สามและสุดท้าย ก็คือการใช้มุมมองของกรุงเทพฯ ภายใต้
บริบทดามยุทธศาสตร์ที่สอง มุมมองของกรุงเทพฯ อาจดูเหมาะสม เป็นการเมือง
ที่ถูกต้อง และย่อมชอบธรรมที่นักประวัติศาสตร์ที่ดีจะยืนอยู่ฝ่ายกรุงเทพฯ แด่ทว่า
ความเจ็บปวดรวดร้าวของรัฐเล็กๆ เสียง และความต้องการของพวกเขาย่อมถูก
มองข้ามหรือขจัดทั้งไป ราวกับว่าพวกเขาเป็นด้นทุนที่ต้องจ่ายให้กับความมั่นคง

238 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


(ของสยาม ) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ชัยชนะของกองทัพสยามและการสถาปนาระบบ
รวมศูนย์อำนาจได้รับการเฉลิมฉลองว่าเป็นความสำเร็จอันน่าภาคภูมิใจ ด้งที่เดช
ได้กล่าวไว่ในข้อความที่อ้างถึงไปแล้วว่า ราษฎรด่างได้รับการปลดปล่อย และการ
ปกครองตนเองได้ริเริ่มขึ้น แต่มันเป็นการปกครองตนเองของใครกัน? ใครได้รับการ
ปลดปล่อยจากใคร?
ที่จริงถ้าเราเพียงแต่เปลี่ยนมุมมอง เราก็จะสามารถอ่านเรื่องราวทั้งหมด
เกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองและสงครามปราบฮ่อในแบบเดียวกันกับประวัติ -
ศาสตร์นักล่าอาณานิคม กล่าวคือ สยามพยายามอ้างความเหนือกว่าโดยธรรมชาติ
ต่อบรรดารัฐชายขอบ ดังนั้นหน้าที่ของวาทกรรม “ภัยคุกคามภายนอก”ในฐานะ
ต้นเหตุของท้องเรื่องจึงสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประว้ติศาสตร์สยาม เพราะวาทกรรม
ภัยคุกคามไม่เพียงแด' เปลี่ยนบริบทของเรื่องเท่านั้น แด่มันยังเปลี่ยนมุมมองของ
กรุงเทพฯ จากสายดาที่จ้องล่าเหยื่อของตน ไปเป็นสายตาเฝืาระแวงอำนาจภายนอก
แทน มุมมองที่เคลื่อนเปลี่ยนไปได้ปิดบังความปรารถนาของนักล่าดินแดน แด่กลับ
ขยายต้านที่ด่อด้านลัทธิอาณานิคมแทน
นี่ไดักลายเป็นมุมมองของนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ศึกษาเรื่องสยามสู่
ความทันสมัย พวกเขาชื่นชม สดุดี และเฉลิมฉลองการที่สยามสามารถรักษาล้านนา
และรัฐมลายูจำนวนหนึ่งไวัได้ รวมทั้งการปราบปรามพวกที่ต่อด้านการรวมศูนย์
อำนาจของกรุงเทพฯเช่นขบถร.ศ . 121 ในปี 2445 ( ค.ศ. 1 9 0 2 ) 22 ในสายตาของ
กรุงเทพฯ การต่อต้านของท้องถิ่นเป็นอุปสรรคต่อความอยู่รอดของ “ประเทศชาติ ”
ฉะนั้น การปราบปรามประเทศราชในบางคราวจึงจำเป็นต่อความมั่นคง “ภายใน”
ยิ่งไปกว่านั้น ความเจ็บปวดรวดร้าวของผู้ปกครองสยามในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผลจาก
ความพ่ายแพ้ในการแข่งชันล่าดินแดนและอาการช็อกเมื่อกลางเดือนกรกฎาคมร.ศ.
1 1 2 ได้กลายมาเป็นความเจ็บปวดรวดร้าวแห่งชาติซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกต่อด้านภัย
คุกคามจากด่างชาติร่วมๆกันในหมู่คนไทยทั้งหมด
นอกจากนี้ มีหลายกรณีที่ความมืตบอดแบบชาตินิยมของซนชั้นนำส่งผลต่อ
การประเมินหลักฐาน นักประวัติคาสตร์หลายรุ่นนับแด่ขจร สุขพานิซ จนถึงลูกศิษย์
ของเขา ไต้อาศัยแผนที่และบทความของยอร์จ เคอร์ซอน23 เป็นหลักฐานเพื่อย้อน
กลับไปโต้แย้งการอ้างสิทธึ้ของฝรั่งเศส ขจรถึงกับยกย่องลอร์ตเคอร์ซอนว่าเป็น
ี่ ชิตกับสยาม ฉะนั้นจึงเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และเราคงเดาได้ว่าเจมส์
ผู้ท'ใกล้

บทที่ 8 ภูมิกายาและประวตศาสตร์ 239


ฟิตช รอย
'
แมคคาร์ธีก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ขจรนับว่าเป็นผู้ที่เชื่อถีอไต้อย่างยิ่ง อัน
24

ที่จริงเคอร์ชอนได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในบทความของเขาว่า เขาไม่ต้องการเห็น
ฝรั่งเศสขยายไปทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น เพราะจะทำให้พม่าและมลายาของอังกฤษ
ตกอยู่ในภาวะอันตราย แต่เขาก็คัตด้านหัวซนฝาหากอังกฤษจะเข้าไปเกี่ยวข้อง
นข้อพิพาทระหว่างฝรั่งเศสกับสยาม ไม่มีตรงไหนสักแห่งเดียวที่เขาสนับสนุนการ
อ้างสิทธี,้ของสยาม ยอร์จ แนธาเนียล เคอร์ชอน เป็นนักล่าอาณานิคมผู้มีชื่อเสียง
ด่งดัง ซึ่งต่อมาได้เป็นอุปราชประจำอินเดีย แด่เขาอาจไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับ
สยามก็เป็นได้ ดังที่ เอ็ดวาร์ต ซาอิด บรรยายเกี่ยวกับเคอร์ชอน’ไว้-ว่า:
ลอร์ดเคอร์ซอน. .. พูตภาษาจักรวรรดิเสมอ และในลักษณะที่โอ้อวดยิ่งกว่า
โครเมอร์เขาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจักรภพอังกฤษกับโลกตะวันออก
ในแง่ของการครอบครองเป็นเจ้าของ ในแง่ของพึ้นที่ภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่ที่
ตกเป็นของเจ้าอาณานิคมผู้เก่งกาจ สำหรับเขา... จักรวรรดิมิใช่ “เป้าของ
ความทะเยอทะยาน”ทว่า “ก่อนอื่นและที่สำกัญที่สุดก็คือมันเป็นข้อเท็จจริง
ทางประวํเดิศาสตร์ การเมือง และสังคมวิทยา” 25
ดูเหมือนว่าความเจ็บปวดแห่งชาติถูกตอกยาต่อๆ มาโดยนักประวัติศาสตร์
นั่นเอง ถึงขนาดที่ทำให้พวกเขาปฏิเสธฝรั่งเศสในอดีตอย่างมีดบอต บรรทัดฐาน26

ง่ายๆ ที่พวกเขาใช้บอกว่าใครน่าเชื่อถือหรือไม่อยู่ตรงที่ว่าใครเข้าข้างฝ่ายไหน
นแง่นี้แม้ว่าเหตุการณ์ที่สยามต้องผิดหวังที่ไว้ใจพันธมิตรอังกฤษมากไปจะล่วงเลย
มามากกว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว แต่ลูเหมือนว่านักประวัติศาสตร์ยังคงเล่นเกมเดิมด้วย
วิธีการเดิม คือหวังจะใช้อำนาจของเจ้าอาณานิคมอังกฤษเพื่อสู้กับฝรั่งเศส
กล่าวโดยสรุปคือ งานประวัติศาสตร์ทั่ว ๆ ไปที่ว่าด้วยการสูญเสียดินแตนและ
การปกครองแบบเทคาภิบาลสามารถดำรงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐ
แบบลำดับชั้นก่อนสมัยใหม่และอาณาจักรที่ไม่มีพรมแดนถูกละเลยหรือกดหับไว้
ท่านั่น แล้วอ่านเหตุการณ์ทั่งหมดด้วยมโนภาพสมัยใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศและรัฐสมัยใหม่ที่มีเลันเขตแดนชัดเจน มีอำนาจอธิปไตยอันสมบูรณ์เป็น
ของรัฐหนึ่งๆ แด, ผู้เดียว ความเจ็บปวดก็ชัดเจนเป็นรูปธรรมถึงกับนิยามได้ด้วย
สัญลักษณ์ของมโนภาพใหม่ เช่นดินแดนที่ “สูญเสีย ”ไป ยุทธศาสตร์ทั่งหมดนี้ได้
ดระเบียบให้กับความทรงจำถึงช่วงขณะหัวเลี้ยวหัวต่อในชีวประวัติของสยาม เพื่อ
ห้เกิดผลที่ปรารถนา ผลพวงที่สำกัญที่สุตก็คือ ช่วงขณะดังกล่าวเกือบจะเหมือน

40 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ดิศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ประวิดศาสตร์การต่อต้านลัทธิอาณานิคมหรือประวัติศาสตร์ชาตินิยมของประเทศ
เพื่อนบ้าน สยามรอดพ้นมาได้อย่างสง่างามและการปฏิรูปที่ประสบความสำเร็จ
ยกให้เป็นผลของความปรีชาสามารถและความชาญฉลาดของกษัตริย์และเจ้านาย
ผู้ปกครองทั้งหลาย พวกเขาได้กลายเป็นผู้กู้ชาติ 27 ประวัติศาสตร์ชนิดนี้สามารถที่
จะเปลี่ยนรอยแดกหักให้เป็นความต่อเนื่องและความสำเร็จอันน่าภาคภูมิใจของ
กษัตริย์ อันเป็นโครงเรื่องที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสำนึกทางประวิดศาสตร์ของไทย

แผนที่ประวัติสาสตร์
หากความเจ็บปวดจากการพ่ายแพ้มหาอำนาจยุโรปได้กลายเป็นบาตแผลในความ
ทรงจำของคนไทยจวบจนถึงปัจจุบัน ก็ย่อมไม่มีข้อสงสัยว่าครึ่งศตวรรษหลังจาก
ช่วงขณะแห่งความปันป่วนโกลาหล ความทรงจำดังกล่าวยังคงตราติดฝังแน่นอยู่
ในความคิตของชนชั้นนำสยามในรุ่นนั้น แม้กระทั้งหลังการปฏิวัติ 2475 ที่ล้มเลิก
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ บาดแผลนั้นก็ยังคงอยู่ ทว่ามิได้เป็นแค่บาดแผล
ต่อเกียรติยศของกษัตริย์ แต่ได้ส่งผ่านให้กลายเป็นบาดแผลของชาติ อนุสาวรีย์
ของความเจ็บปวดดังกล่าวคือดินแตนที่ “สูญเสียไป ”เหล่านั้นนั้นเอง ประเด็น
การเสียตินแดนถูกกล่าวถึงในงานหลายชิ้น จนกระทั้งกลายเป็นประเด็นแห่งชาติ
อีกครั้งในปลายทศวรรษ 1930 (ราวๆหลัง พ.ศ . 2 480 ) 28 ในภาวะที่สยามไม่มี
กษัตริย์หลังจากพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 สละราชสมบํติในปี 2478 ( ค.ศ. 1935)
รัฐบาลหลัง 2475 (ค.ศ. 1932 ) ต้องพยายามสร้างความชอบธรรมและความน่าเชื่อ
ถือให้กับตน ท่ามกลางกระแสพ่าสซิสม์ของโลก รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
(พ.ศ . 2482 - 2487 / ค.ศ. 1 939 - 1 944 ) ได้ปลุกแนวคิดคลงชาติให้กับชาติไทยอัน
ศิวิไลซ์มีการเปลี่ยนชื่อประเทศไปเป็น “ประเทศไทย ”ในปี 2482 ( ค.ศ. 1939 ) 29
แนวคิดชาตินิยมและแบบแผนปฏิบัติจำนวนมากถูกเผยแพร่ภายใต้แนวทางที่
รัฐบาลกำหนด ซึ่งสร้างบรรทัดฐานพฤติกรรมทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจตั้งแต่
ระดับสังคม ครอบครัว จนถึงปัจเจกบุคคล30
ในทางการเมือง รัฐบาลโฆษณาชวนเชื่อเรื่องความยิ่งใหญ่ของเชื้อชาติไทย
และความเป็นพี่น้องระหว่างคนเผ่าไทในภาคพื้นอุษาคเนย์ ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อระดม
แรงสนับสนุนจากประชาชน พวกเขาผลักตันให้เกิดขบวนการเรียกร้องดินแตนคืน
เจตจำนงของพวกเขาที่จะเอาตินแดนที่สูญเลียไป “กลับคืนมา ”โดยเฉพาะฝังขวา

บทที่ 8 ภูมิกายาและประวดศาสตร์ 24 ใ
ของแม่นํ้าโขงที่ยกให้กับฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาในปี 2447 ( ค.ศ. 1 904 ) และ 2450
( ค.ศ . 1907 ) มีความสำคัญต่อรัฐบาลจอมพลป. มากเลียจนสถานะของรัฐบาลต้อง
ง่อนแง่นภายหลังจากที่รัฐบาลวิซีของฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะทำตามคำร้องขอในปี
2483 ( ค.ศ. 1 940 ) เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงหายนะทางการเมือง รัฐบาลจอมพล ป. จึง
ตัตสินใจร่วมมือกับญี่ปุ่นในปี 2483 เพื่อหวังให้ญี่ปุ่นใช้อิทธิพลสนับสนุนไทยใน
เวทีการเมืองโลก สิ่งนี้นำไปสู่ความร่วมมือทางการทหารในปี 2484 (ค.ศ. 1941 )
และประเทศไทยก็ได้รับพระตะบอง เลียมราฐ และศรีโสภณของกัมพูชา แด่เป็นการ
ครอบครองเพียงชั่วคราวจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง31
ในสถานการณ์เช่นนี้เองที่มีการดีพิมพ์ “แผนที่ประว่ตอาณาเขตไทย”ออกมา
และกลายเป็นสิ่งที่ทรงอิทธิพล ( ตูภาพที่ 1 3) 32 แผนที่นี้เสนอว่า ดินแดนของสยาม
ที่มึเส้นเขตแดนชัดเจนก่อนจะเสียดินแตนใดๆ คืออาณาเขตที่ถูกต้องชอบธรรม
ทั้งหมดของสยาม แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าอาณาเขตคันถูกต้องชอบธรรมนี้มาจากไหน
ประวัติศาสตร์เส้นเขตแดนคือเรื่องราวของดินแดนสยามที่สูญเสียไป จนลดขนาด
อาณาเขตลงเป็นลำดับ จนกระทั้งเขตแดนปัจจุบันของสยามถือกำเนิดขึ้น แต่ทว่า
เรื่องราวการเสียดินแดนก็มีหลายสำนวนเหลือเกิน สำนวนที่รู้จักกันดีและปรากฏ
ในที่นี้ มีดินแตนที่เสียไปแด่ละส่วนถูกระบายด้วยลีด่างกันไปพร้อมด้วยเลข 1 ถึง 8
ดังนี:้
1 . เกาะปีนังกับเวลส์เลยถูกยกให้อังกฤษในระหว่างปี 2329 - 2343 ( ค.ศ .
1786 - 1800 )
2. เมืองทวาย มะรีด ตะนาวศรี ดกเป็นของพม่าเมื่อปี 2336 ( ค.ศ . 1 793)
3. กัมพูชาเกือบทั้งหมดตกเป็นของฝรั่งเศสในปี 2410 ( ค.ศ. 1867 ) ยกเว้นภาค
ตะวันตกที่กลายมาเป็นมณฑลบูรพาของสยามจนกระทั้งเลียไปในข้อ 7
4. แคว้นลีบสองจุไทถูกยึดครองโดยฝรั่งเศสในปี 2431 ( ค.ศ . 1888 )
5. ลาวทางฝังซ้ายของแม่นํ้าโขงดกเป็นของฝรั่งเศสในปี 2436 ( ค.ศ. 1893)
6. ลาวทางฝังขวาของแม่นํ้าโขง ฝังตรงข้ามหลวงพระบางและจำปาคักติ้ ตก
เป็นของฝรั่งเศสในปี 2447 ( ค.ศ . 1904 )
7. ฝังดะวันดกของกัมพูชา (พระตะบอง เลียมราฐ และศรีโลภณ) ตกเป็นของ
ฝรั่งเศสในปี 2450 ( ค.ศ . 1 907 )
8 . เคดะห์ ปะสิส กลันดัน และตรังกานู ตกเป็นของอังกฤษในปี 2452 (ค.ศ.
1909 )

242 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


การเสียดินแดนที่ปรากฏในแผนที่นี้ส่วนใหญ่เสียให้แก, มหาอำนาจยุโรปนับ
แด่ปลายศตวรรษที่ 19 ยกเว้นสองกรณีแรกที่เสียไปในศตวรรษก่อนหน้า ( และกรณี
ที่สองก็เสียให้แก่ศัตรูเก่าของสยาม) แต่แผนที่นี้ฉบับพิมพ์เมื่อปี 2478 (ค.ศ. 1935 )
กลับมีการเสียดินแดนอยู่แค่ 7 ครั้งเท่านั้น จำนวนและดินแดนที่สยามเสียไปที่
ปรากฏในงานเขียนหลายชิ้น แดกด่างกันไป บางชิ้นไม่เอ่ยถึงการเสียดินแดนใน
ข้อ 4 โดยเห็นว่าสิบสองจุไทไม่เคยเป็นของสยาม งานหลายชิ้นไม่เอ่ยถึงดินแดนใน
สองหรือสามข้อแรก เพราะเกิดขึ้นในบริบทที่แดกด่างจากส่วนอื่น แด่งานชิ้นหนื่ง
กลับรวมเอาสิงคโปร์ มะละกา และยะโฮร์ว่าเป็นส่วนหนื่งของดินแดนที่เสียไปด้วย
บางชิ้นเพิ่มรัฐฉานและสิบสองปันนาเข้าไปแด่ไม่ได้เอ่ยถึงสิบสองจุไท33 นอกจาก
นี้ ไม่มีใครเอ่ยถึงการที่เชียงใหม่ยอมยกดินแดนให้อังกฤษในปี 2377 ( ค.ศ . 1834 )
และกรุงเทพฯยกให้อังกฤษในปี 2435 ( ค.ศ. 1892 )
ในทำนองเดียวกัน นักวิชาการตะวันดกที่ศึกษากรณีนี้อยู่ในสภาพไม่ด่างกัน
จำนวนการเสียดินแดนมีหลากหลาย และแผนที่ที่เสนอก็ด่างกันตัวอย่างเช่นมีนตัน
^
โกลด์แมน ( แก10 ก (30๒๓3ก ) ไม่ได้นับว่าสิบสองจุไทเป็นส่วนหนื่งของดินแดนที่
เสียไป และรวมหัวพันห้าทั้งหกไว้เป็นส่วนหนื่งของอินโดจีนฝรั่งเศสตั้งแต่ก่อนปี
2436 ( ค.ศ. 1893) เสียอีก 34 นักวิชาการไทยส่วนใหญ่ย่อมไม่เห็นด้วยกับโกลด์แมน
อย่างแน่นอน ขณะที่ไวแอดต์ยึดตามแผนที่ของไทยปี 2483 ( ค.ศ. 1940 ) เป็น
ส่วนใหญ่ แต่ดินแดนที่เสียให้ฝรั่งเศสในปี 2431 ( ค.ศ . 1 888 ) กลับใหญ่กว่าส่วน
ที่ปรากฏในแผนที่ฉบับอื่นๆ แม้กระทั่งแผนที่ของไทยเอง แด่เขากลับไม่ได้รวมส่วน
ที่เสียให้พม่าไว้ในแผนที่ของเขา ฉะนั้นอาณาเขตอันชอบธรรมของสยามโดยรวม
ก่อนการเสียดินแดนที่ปรากฏในแผนที่ของเขาจึงแตกต่างจากด้นแบบของไทย
ในแผนที่ของคนไทย อาณาเขตทั้งหมดก่อนการเลียดินแดนมีดินแดนของมอญที่อยู่
ทางใต้ของพม่าอยู่ด้วย แด่ไม่มีสิบสองปันนา ทว่าในแผนที่ของไวแอดต์มีสิบสอง-
ปันนา แด่ไม่มีดินแดนของมอญ35
เป็นที่เข้าใจได้ว่าแผนที่ชนิดนี้คือการนำเสนอดินแตนของสยามก่อนและหลัง
การเสียดินแดน แด่ดังที่เราได้เห็นแล้วว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะระบุให้ชัดแจ้งลงไป
ว่าสยามก่อนการเสียดินแดนมีแค่ไหนแน่ หรือแม้แด่จะบอกว่ามีการเสียดินแตนจริง
หรือไม่ หากยึดตามหลักภูมิศาสตร์สมัยใหม่แล้ว นักประวัติศาสตร์ใช่วิธีการอะไร
มาบอกว่าอาณาเขตอันชอบธรรมของสยามก่อนช่วงปลายศตวรรษที่ 1 9 มีอยู่แค่ไหน

บทที่ 8 ภูมิกายาและประวตศาสตร์ 243


นการพูดถึงหรือระบุความสูญเสีย ? งานเหล่านี้จะมีอำนาจชี้ขาดได้อย่างไรว่าส่วน
หนรวมหรือไม่รวมอยู่ในอาณาจักรสยาม และส่วนไหนที่สูญเสียหรือไม่สูญเสีย ?
อาณาเขตที่อ้างว่าชอบธรรมของสยามนั้นมีอยู่หลายสำนวนด้วยกัน แต่ไม่มี
งานชี้นไหนเลยอธิบายว่าทำไมจึงเสนอว่าสยามมีอาณาเขตเท่านั้นเท่านี้พวกเขา
พากันหลบเลี่ยงคำถามนี้แด่ระบุได้ว่าดินแดนอะไรบ้างที่สูญเสียไปซึ่งถูกลดทอนลง
จากอาณาเขตทั้งหมด แต่ถ้าหากว่าดินแดนทั้งหมดก่อนการสูญเสียเป็นเพียงการ
คาดเดาทางตรรกะ การ “เสียดินแดน”อย่างเก่งก็เป็นแค่การคาดเดาทางตรรกะที่
ผู้นำสยามหยิบยื่นให้เพื่อส่งต่อความรู้สึกเจ็บปวดของพวกเขาให้ประชาชน แผนที่
นี้เป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์ขององค์ประกอบพื้นฐานสองประการ คือความทรงจำของ
ชนชั้นนำต่อวิกฤติการณ์ร.ศ . 1 1 2 และภูมิกายายุคใหม่ของสยาม อาศัยมุมมองตาม
ความทรงจำที่ซนชั้นนำเสนอให้ แผนที่นี้จึงเป็นการฉายภาพภูมิกายาในปัจจุบัน
ของสยามย้อนกลับไปให้อดีต ผลที่ออกมามีสองประการด้วยกันคือ ประการแรก
ภูมิกายากำมะลอซึ่งไม่เคยดำรงอยู่ในอดีต ได้ถูกท่าใหัมีตัวตนด้วยการฉายภาพ
ย้อนเวลาไปในอดีต ประการที่ลอง ความเจ็บปวดถูกแปรเป็นรูปธรรม มองเห็นได้
วัดขนาดได้ และส่งทอดได้ง่ายดายในรูปของแผนที่
แผนที่ดังกล่าวจึงมิใช่หลักฐานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่แสดงความจริงทาง
ภูมิศาสตร์แม้แต่น้อย แต่เป็นการคาดเดาทางประวัติศาสตร์ออกมาในรูปแผนที่
ป็นการเอาวิกฤติการณ์มาใส่รหัส เป็นประดีษฐกรรมเชิงสัญญะล้วนๆ สาระสำคัญ
ของแผนที่นี้มิไต้อยู, ที่ว่าสยามถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร แต่อยู่ที่ว่ารูปร่างขวานของ
สยามดังที่เห็นในปัจจุบันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แผนที่นี้มิไต้ลังเลที่จะบอกเล่า
ประวัติศาสตร์ของตน แด่เล่าอย่างฉลาดเพื่อปฏิเสธลัทธิขยายอำนาจของสยาม
แถมยังปฏิเสธประวัติศาสตร์ที่ว่าสยามถูกกำหนดเส้นเขตแดนเป็นครั้งแรกโดย
มหาอำนาจตะวันดก ถ้าหากว่าสยามที่ยิ่งใหญ่กว่าและมีเส้นเขดแดนที่ติดต่อกันนี้
ดำรงอยู่ก่อนมาเป็นเวลานานแล้วอย่างที่แผนที่นี้พยายามบอก เหตุการณ์หลาย
ครั้งที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นว่า ศัตรูผ[ู้ หดร้ายและไร้เหตุผลได้บีบบังคับให้สยามต้อง
สียสละร่างกายของตนครั้งแล้วครั้งเล่า บางครั้งความสูญเสียสามารถคำนวณออก
มาเป็นตารางกิโลเมตรได้ ราวกับวัดความเจ็บปวดเป็นปริมาณได้ คือเกือบครึ่งหนึ่ง
ของร่างกายอันชอบธรรม อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าความเจ็บปวดจะมีมากมายเพียงไร
แผนที่คงอยากจะบอกว่าลิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การธำรงเอกราชไว้และสยามเอาชีวิต
รอดมาได้

44 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ในปื 2483 ( ค.ศ . 1940 ) แผนที่นี้ถูกแจกจ่ายไปตามโรงเรียนและสถานที่
ราชการทั่วประเทศ กงสุลอังกฤษถือว่านี่เป็นพฤติกรรมของ “จักรวรรดินิยม”สยาม
ที่หวังจะผนวกฝังซ้ายแม่นํ้าโขง พม่าตอนล่าง และรัฐมลายูทั้งสี่ กงสุลอังกฤษ
กับฝรั่งเศสจึงประท้วง36 กระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้ดีพิมพ์แผนที่อธิบายเลี่ยงว่า
แผนที่นี้ใช้สำหรับศึกษาประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ต่อมาแผนที่นี้ก็ถูกใช้ในขบวนการ
เรียกร้องดินแตนคืนจากฝรั่งเศส ฝ่ายอังกฤษเองวิดกว่าขบวนการดังกล่าวอาจ
เรียกร้องดินแตนคืนจากอังกฤษด้วย 37 จอมพลป. รับปากกับกงสุลอังกฤษว่าจะไม่
เกิดกรณีดังกล่าวขึ้นและจะระงับการแจกจ่ายแผนที่นี้ แต่ที่ปรึกษาคนสนิทคนหนึ่ง
ของจอมพล ป. ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นผู้นิยมญี่ปุนอย่างมาก ไต้นำแผนที่นี้ออกมาตีพิมพ์
อีกและขายเพียงฉบับละสิบสตางค์38 รัฐบาลไทยปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวช้องด้วย
และสั่งห้ามจำหน่าย ทว่ากระทั่งในปัจจุบัน แผนที่นี้ยังคงพบได้ทั่วไปในตำราเรียน
และหนังสือแผนที่ของไทย เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
และพ้นยุคล่าอาณานิคม แผนที่นี้ก็หมดพลังทางการเมืองเฉพาะหน้า แด่หน้าที่
ของมันในฐานะภาพรหัสทางประว้ติศาสตร์ที่กระดุ้นอารมณ์ยังคงมีอยู่ต่อไป อำนาจ
ของมันต่อวาทกรรมว่าด้วยชีวประวัติของชาติยังมิได้ลดทอนลงไป
ยังมีแผนที่ที่ทรงพลังอีกชุดหนึ่งที่มิได้เสนอแค่วิกฤติการณ์คราวใดโดยเฉพาะ
แด่ครอบคลุมประวัติศาสตร์ใทยทั้งหมด แผนที่นี้กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม
เป็นผู้จัดพิมพ์ระหว่างปี 2478- 2479 (ค.ศ. 1935-1936 ) เป็นแผนที่แสดงอาณา -
จักรของไทยนับแด่ศตวรรษที่ 8 ถึงยุคด้นรัตนโกสินทร์ รวมทั้งการอพยพย้ายถิ่น
ของคนไทยตั้งแต่ประมาณ 5 , 000 ปีก่อน (ดูภาพที่ 14 ถึง 19 ) 39 แลร์รี สเดิร์นสไตน์
^
เรียกแผนที่ชุดนี้ว่า “7/16 เ-เ 1ธ10แ03เ 1๒3 0/ 71า3แ3ก๘” (หนังสือแผนทีประวัติ -
ศาสตร์ของประเทศไทย ) 40 หนังสือแผนที่ประวัตศาสตร์นี้พบได้ทั่วไปในตำราเรียน
และหนังสือแผนที่ของไทยเช่นเดียวกันกับแผนที่เขตแดนของประเทศไทย
ชื่อของแผนที่ชุดนี้แดกด่างกันเล็กน้อยในการพิมพ์แต่ละครั้ง หนังสือแผนที่
ของทองใบ แดงน้อย ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดนับแต่ปี 2506 ( ค.ศ. 1963 ) ยาคำว่า
“ไทย ”ในชื่อของแผนที่ทุกฉบับ ขณะที่ด้นฉบับปี 2478- 2479 ไม่ได้ระบุไว้ แผนที่
แด่ละฉบับถูกออกแบบเพื่อแสดง “อาณาจักร... ยุค...”41 ของไทย ช้างล่างนี้คือราย
ชื่อแผนที่ที่ปรากฎในแผนที่ของทองใบ:

บทที่ 8 ภูมิกายาและประวตศาสตร์ I 245


ภาพที่ 14 : แผนที่ประวัติศาสตร์ไทยแสดงการเคลื่อนที่ของไทยโบราณ
ถึงปัจจุบัน
ภาพที่ 15: แผนที่ประวัติศาสตร์ไทยแสดงอาณาจักรน่านเจ้า42
ภาพที่ 16: แผนที่ประวัติศาสตร์ไทยแสดงอาณาจักรกรุงสุโขทัย
ยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ. 1822 -1843
( ค.ศ. 1279 - 1300) 43
ภาพที่ 1 7 : แผนที่ประวัติศาสตร์ไทยแสดงอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
ยุคสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. 2133- 2148
( ค.ศ. 1590 - 1605 )
ภาพที่ 18: แผนที่ประวัติศาสตร์ไทยแสดงอาณาจักรกรุงธนบุรียุคสมเด็จ
พระเจ้าตาก ( สิน) พ.ศ. 2310 - 2325 ( ค.ศ. 1767 - 1782 )
ภาพที่19 : แผนที่ประวัติศาสตร์ไทยแสดงอาณาจักรกรุงรัตนโกสินทร์
ยุคพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ พ.ศ. 2325- 2352
( ค.ศ. 1782 - 1809 )
สเติร์นสไตน์เห็นว่าหนังสือแผนที่นี้เป็น“ข้อมูลที่ครอบคลุมและถูกต้องแม่นยำ
ที่สุดในแง่ของตัวเลข สถานที่ตั้ง และสถานะของศูนย์กลางอำนาจต่างๆที่ดำรงอย
ในยุคสำคัญๆก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ” อย่างไรก็ตี เขาซี้ให้เห็นความคลาดเคลื่อน
และข้อบกพร่องหลายจุด 44 เขาบังระบุว่าแผนที่มิได้แสดงความซับช้อนของความ
สัมพันธ์แบบลำดับชั้นของศูนย์กลางอำนาจต่างๆภายในอาณาจักร แด่แผนที่สมัย
ใหม่จะทำเช่นนั้นไต้อย่างไร? หน้าที่ของแผนที่สมัยใหม่ในการกดทับพื้นที่ของคน
พื้นถิ่นไม่เคยเป็นประเด็นที่ใครสนใจ ในทางตรงข้าม ความสามารถของเทคโนโลย
ทางภูมิศาสตร์สมัยใหม่ในการประดิษฐ์ ควบคุมพื้นที่ของอดีต ดลอดจนจับมันใส่ลง
บนแผ่นกระดาษ กลับได้รับการยกย่องสรรเสริญ แม้แต่สเติร์นสไตน์มังเข้าร่วมใน
ความพยายามที่จะระบุเส้นเขตแดนของอาณาจักรไทยเหล่านี้
คำถามก็คือ แผนที่เหล่านี้สํงผลต่ออารมณ์ความรู้สึกและก่อรูปความทรงจำ
ของเราได้อย่างไร? ประการแรกสุด จะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานอย่างน้อยสอง
ประการเพื่อทำให้แผนที่เหล่านี้มีความชัดเจนเข้าใจไต้ นั้นคือ ความรู้ทางประวัติ -
ศาสตร์ที่ทำให้เราเข้าใจว่าแผนที่เหล่านี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรและความรู้สำหรับ

246 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


อ่านแผนที ทว่า เช่นเดียวกับแผนที่ประวัติศาสตร์เขตแตนของไทย แผนที่เหล่านี้
ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับสยามที่อยู่บนพื้นผิวโลกเลย แต่ในฐานะภาพรหัสของ
ความรูทางประวัติศาสตร์ แผนที่เหล่านี้คือการคาดเตาย้อนหลัง โดยอิงกับภูมิกายา
ของสยามในปัจจุบัน หากเราไม่เคยเห็นแผนที่ปัจจุบันของสยามมาก่อน แผนที่
ประวัติศาสตร์เหล่านี้ก็คงไม่มีความหมายอะไร แด่หากเราได้เคยเห็นแผนที่ปัจจุบัน
ของสยามมาแล้ว แม้ว่าเราจะไม่เคยออกจากบ้านไปไกลกว่าไม่กี่กิโลเมตร หรือ
แม้แต่นักเรียนต่างชาติที่ไม่เคยมาเมืองไทยแด่ได้อ่านหนังสือของไวแอตต์ ก็จะ
เข้าใจสารที่แผนที่เหล่านี้สื่อ ที่มาของแผนที่ประวัติศาสตร์เหล่านี้มิใช่อดีตอันไกล
โพ้นอย่างที่มันอวดอ้าง ที่มาของมันคือภูมิกายาของสยามในปัจจุบันด่างหาก
แผนที่ประวัติศาสตร์เหล่านี้ทำให้เราหลงคิดว่าภูมิกายามิใช่ผลผลิตของยุค
สมัยใหม่ มันปฏิเสธความคิดที่ว่าความเป็นชาติไทยเพิ่งปฏิสนธิเมื่อไม่นานมานี้เอง
และเป็นผลผลิตของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสยามเก่ากับมหาอำนาจตะวันดก นอกจาก
นั้น แผนที่เหล่านี้ยังขจัดแนวคิดที่ว่าสยามสมัยใหม่เป็นผลของการแดกหักมิใช่
ความต่อเนื่อง ช่วงขณะแห่งการแตกหักไต้ถูกลดทอนความรุนแรงและทำให้พอ
รับได้มากขึ้น ช่างเป็นเรื่องพิลึกที่ต้นกำเนิดของภูมิกายาและความเป็นชาติถูก
กดทับโดยแผนที่ อันเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับที่ใหักำเนิดทั้งสองสิ่งนั้นเอง เมื่อ
ด้นกำเนิดอันตํ่าด้อยของภูมิกายาจากกระบวนการสร้างแผนที่ถูกปิดบังอำพราง
ภูมิกายาของความเป็นชาติจึงถูกทำให้กลายเป็นธรรมชาติที่ดำรงอยู่คู่คนไทยมา
แต่โบราณกาล
ปฏิบัติการของวาทกรรมแผนที่ครอบคลุมปริมณฑลมากกว่าความรู้เกี่ยวกับ
พื้นที่ คือล่วงลํ้าเข้ามาในความทรงจำของเราด้วย อาศัยแผนที่ประวัติศาสตร์เป็น
สื่อกลางนี้เอง ทำให้ปริมณฑลของพื้นที่และความทรงจำพาดข้ามเกี่ยวข้องกันไปมา
ทั้งทางความรู้และอารมณ์ นักประวัติศาสตร์ไทยท่านหนึ่งชี้ใหัเห็นว่า วิธีการหนึ่ง
ที่ทำให้ละครประวัติศาสตร์ของไทยสามารถกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชม ก็คือ
“...มีการใช้คำว่า ‘ประเทศไทย’กับยุคสุโขทัยและอยุธยา โดยไม่คำนึงว่านี้เป็นการ
ใช้ผิดยุคผิดสมัย แด่เป็นการจงใจทำให้ความต่างของเวลาพร่าเลือน เพื่อที่อดีตจะ
ได้ถูกพรากออกจากบริบทของมัน แล้วปรับให้เข้ากับความต้องการของผู้แต่งก่อน
นำเสนอด่อผู้ชมเพื่อสร้างผลสะเทือนทางอารมณ์ในแบบที่ต้องการ” 45

บทที่ 8 ภูมิกายาและประว้ตศาสตร์ 247


ภูมิกายาของสยามในอดีตที่ปรากฎในแผนที่ประวัติศาสตร์เหล่านี้ทำหน้าที่
เดียวกันกับคำว่า ประเทศไทย ตังกล่าวข้างต้น การนำเอาปัจจุบันไปใส่ให้กับอดีต
ทำให้อดีตเป็นสิ่งที่เรารู้สึกคุ้นเคย จากนั้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะส่งผ่านค่านิยม
อารมณ์ และความหมายอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกชาตินิยมและคลั่งชาติจาก
ปัจจุบันย้อนกลับไปให้อดีต และจึงเข้าสู่ความทรงจำของเรา หากไม่มีกลวิธีเอา
ปัจจุบันไปใส่ให้กับอดีต บทละครและแผนที่ประวัติศาสตร์จะต้องล้มเหลวอย่าง
แน่นอน ภูมิกายาในแผนที่ประวัติศาสตร์ก็มีหน้าที่แบบเดียวกัน มันเป็นช่องทาง
1

และโอกาสในการฉวยใช้อดีตให้รับใช้ปัจจุบัน กล่าวโดยย่อก็คือ ภูมิกายาในฐานะที่


เป็นเครื่องมือผิตยุคผิตสมัยนั้นเองได้ช่วยนำเสนอความต่อเนื่องของประวัติศาสตร์
ไทย ทั้งๆที่เรื่องกลับตาลปัตรคือ ในความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ตัวมันเองนั้น
แหละเป็นผลจากความแตกหักของความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์นั้น ภูมิกายา
เป็นตัวกลางที่ทำให้เกิดความต่อเนื่องของชีวิตของชาติ
นอกเหนือไปจากหน้าที่เป็นสื่อสร้างของภูมิกายาแล้ว แผนที่ประวัติศาสตร์
สามารถก่อรูปการรับรู้อดีตของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการใตอีกบ้าง ?
เป็นความจริงที่ว่าแผนที่เหล่านี้เสนอแด่ช่วงเวลาการเติบใหญ่ของไทยในภูมิภาค
แห่งนี้ แผนที่มิได้แสดงความผันแปรขึ้นลงของอาณาเขตและอำนาจที่เกิดในบาง
ช่วงบางตอน และไม่ได้นำเสนอลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่แท้จริงของ
การเมืองในภูมิภาค46 แด่นื่คือจุดแข็ง มิใช่จุดอ่อน แผนที่เหล่านี้เลือกสรรแต่สิ่งที่
สามารถทำให้ชีวประวัติของสยามโดดเด่นขึ้นมาได้ ด้วยการแสดงให้เห็นถึงการ
เคลื่อนไหวและเติบโดของร่างกาย นั้นคือความเป็นชาติของสยามนับแด่ยุคเริ่มแรก
จนถึงปัจจุบันด้วยภาพ 7 ภาพ ( แผนที่ประวัติศาสตร์ 6 ภาพและแผนที่ประวัติ -
ศาสตร์เขตแตนไทย ) แผนที่บอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มด้นของชาตินับแต่บัง
เป็นเด็กน้อยว่า คนไทยถูกด่างชาติ ในที่นี้ก็คือคนจีน บีบบังคับให้ต้องอพยพลงมา
ทางใต้ อันเป็นดินแดนที่พวกเขาเชื่อว่าอนาคตอันรุ่งโรจน์รอคอยพวกตนอยู่ การ
อพยพโยกย้ายแสดงถึงความทุกข์ยากและความรักอิสรภาพที่มีมาแต่โบราณกาล
ในที่สุตคนไทยได้เคลื่อนย้ายลงมาถึงดินแดนสุวรรณภูมิที่เขมรครอบครองอยู่
เกือบทั้งหมด แม้ว่าจะต้องเผชิญกับความทุกข์ยากภายใต้การปกครองของด่างชาติ
อีกก็ตาม แด่อิสรภาพกิบังดำรงอยู่ในหัวใจของคนไทย พวกเขาจึงต่อสู้เพื่อสถาปนา

248 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของตนขึ้นมาจนกระทั่งเกิดอาณาจักรสุโขทัย ตลอดช่วงเวลา
หลายร้อยปีในดินแดนแห่งนี้ อาณาจักรไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากต่างชาติ
อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะจากพม่า ช่วงเวลาที่ถูกเชิดซูให่โดดเด่นแสดงให้เห็นว่า
ในภาวะระสํ่าระสายเหล่านี้ กษัตริย์ผู้กล้าหาญของไทยไต้นำคนไทยเข้าต่อสู้เพื่อ
ฟินฟูประเทศชาติอยู่เสมอในแต่ละครั้ง สยามสามารถกลับมาเป็นปีกแผ่นได้เสมอ
และเกรียงไกรยิ่งกว่าเติม แม้ว่าจะเต็มไปด้วยความยากลำบากและภัยคุกคามจาก
ต่างชาติ สยามก็ยังสามารถครองความยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองอยู่ได้ แผนที่ทำให้อดีต
ของชาติมีชีวิตขึ้นมา แผนที่ทั่งหมดมิไต้ดำรงอยู่อย่างเป็นเอกเทศ แต่ทำงานร่วม
กันในฐานะภาพรหัสชุดหนึ่ง เมื่อมันร้อยเรียงร่วมกันเข้าก็จะได้โครงเรื่องทั่งหมด
ของประว่ติศาสตร์ไทย
ผลทางอารมณ์อีกประการหนึ่งที่ปรากฏให้เห็นผ่านแผนที่เหล่านี้คือ ความ
ยิ่งใหญ่ของสยาม เราสังเกตเห็นแน่ๆ ว่า ร่างกายของสยามในอดีตนั้นช่างยิ่งใหญ่
เสียนี่กระไรเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านทั่งหลาย แผนที่ทำให้เราจินตนาการถึง
วันชื่นคืนสุขแต่หนหลัง เมื่อลาว รัฐมลายู บางส่วนของจีนตอนใต้ รัฐฉาน กัมพูชา
ทั่งหมด และล้านนา ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสยาม สยามตูยิ่งใหญ่เสียจนศัตรูตัว
ฉกาจในประวัติศาสตร์ของไทย คือพม่าและเวียดนาม ช่างตูตํ่าต้อยในแผนที่ทุก
ฉบับ สิ่งนี้แสดงถึงความพยายามของบรรพชนที่ได้สถาปนาและธำรงรักษาประเทศ
ชาติไว้ ทำนุบำรุงความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ปัจจุบัน
แผนที่เหล่านี้มิได้มีไวัสำหรับศึกษาภูมิศาสตร์ในอดีต แต่มีไว้สำหรับสร้าง
สำนึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชีวิตของชาติ ข้อมูลและข้อเท็จจริงทั่งหลายมี
ความจำเป็นเพื่อทำให้ม้นตูสมจริงและเชื่อถือไต้ จะมีประโยชน์อะไรที่จะผลิตแผนที่
สยามปี 2112 - 2127 ( ค.ศ. 1569 - 1584 ) ระหว่างที่สยามพ่ายแพ้และถือกันว่าสูญ
เลียเอกราชให้กับพม่า ? หากมีใครทำออกมาในแบบเดียวกันกับแผนที่ประวัติ -
ศาสตร์อื่นๆ สยามย่อมมีลีเดียวกับพม่าโตยอยุธยาถูกผนวกเข้าไว้โนอาณาจักรพม่า
จะมีประโยชน์อะไรที่จะผลิตแผนที่ของศตวรรษที่ 1 5 ขณะล้านนายังเป็นเอกราชและ
ต่อสู้กับอยุธยาเพื่อแย่งชิงอำนาจเหนือสุโขทัย ? แผนที่ “สมมติ ”ทั่งสองย่อมสร้าง
ความสับสนหรือทำลายอุดมการณ์ที่แผนที่ประวัติศาสตร์ทั้งชุตถูกออกแบบมาให้
นำเสนอ

บทที่ 8 ภูมิกายาและประว้ตศาสตร์ 249


อดีตโตนโครง!.รี่องบังคับ ( อดีตโตนวางยา) *
ทธศาสตร์ทางแนวคิดและกลวิธีทางวรรณกรรมที่สร้างขึ้นโดยอาศัยภูมิกายา มี
ความสำคัญทั้งต่อประวิติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยวิกฤติการณ์ร.ศ. 112 และต่อแผนที่
ประวัติศาสตร์ ยุทธศาสตร์และกลวิธีเหล่านี้ทำหน้าที่กำกับควบคุมสมมติฐานและ
มุมมอง ตลอดจนสร้างผลทางอารมณ์Iนแบบที่ต้องการ เพื่อทำให้ช่วงขณะแห่งการ
ปะทะแตกหักในชีวิตของความเป็นชาติตูรุนแรงน้อยลง และในทางกลับกันได้ผลิต
ชีวประวิดการต่อต้านระบอบอาณานิคมที่น่าภาคภูมิใจขึ้นมา
ตังที่น้กคิดหลายท่านไต้เสนอไว้ว่า อดีต เรื่องราวในประวัติศาสตร์ และงาน
รรณกรรม มิได้เป็นปริมณฑลแยกขาดจากกัน ไม่เพียงแด่การจงใจผิดยุคผิดสมัย
และการเน้นยาอย่างเลือกสรรเท่านั้นที่ทำให้เกิดผลทางอารมณ์ตามที่ต้องการ แต่
การจัดวางองค์ประกอบของเรื่องในประวิติศาสตร์นิพนธ์และแผนที่ยังก่อให้เกิดการ
ำลึกถึงอดีตในลักษณะจำเพาะเจาะจงด้วย นับเป็นเรื่องน่าประหลาดอย่างยิ่งว่า
มื่อพิจารณาการจัดวางองค์ประกอบหรือโครงเรื่องของประวิติศาสตร์วิกฤติการณ์
.ศ . 112 และแผนที่ประวัติศาสตร์จะพบว่าคล้ายคลึงกับโครงเรื่องแบบฉบับของ
นิยายและบทละครอิงประวิติศาสตร์ที่สาธารณชนนิยมกันมาก
หลวงวิจิตรวาทการ ( พ.ศ. 2441 - 2505 / ค.ศ . 1898 - 1962 ) เป็นผู้ผลิตงาน
ซิงวัฒนธรรมชาตินิยมออกมามากที่สุดและทรงอิทธิพลมากที่สุตในประเทศไทย
ป็นตัวแทนของประวัติศาสตร์นิพนธ์ชาตินิยมที่ทรงพลัง เป็นผู้เขียนนิยายประวิติ -
ศาสตร์จำนวนมาก เป็นนักเขียนบทละครอิงประวัติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง และเป็นนัก
แต่งเพลงปลุกใจอันโด่งตังมากมาย 47 การพิจารณาบทละครของหลวงวิจิตรฯ อย่าง
ย่อๆอาจเป็นวิธีที่ตีที่สุดที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางวรรณศิลป๋กับ
ประวิติศาสตร์ไทย แกนเรื่องหลักๆในบทละครของหลวงวิจิตรฯ มีค่อนข้างจำกัด
กล่าวคือมักเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของคนไทย การสถาปนาอาณาจักรไทยยุคต่างๆ
การต่อสู้เพื่อเอกราช สงครามต่อต้านศัตรูด่างชาติ และการรวมชาติไทย มีเพียง
ม่กี่ชิ้นที่เกี่ยวกับความไม่จีรังของชีวิต ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงตกตํ่าของชีวิตราชการ
องเขาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ภายใต้แกนเรื่องเหล่านี้ แม้เนื้อเรื่องจะซับซ้อน
“Xห0 ก33( 810116๙’ผู้เซียนจงใจใหัมีความหมายสองนัยไปด้วยกัน กล่าวคือ
0เ หมายถึง ( น. ) โครงเรื่อง ( ก . ) ใส่โครงเรื่อง ก็ไต้ หรือหมายถึง ( น. ) แผนการลับ ( ก . ) วางแผน
ารดับ ซึ่งอาจเรียกว่า “วางยา”ดามสำนวนสมัยปัจจุบันก็ได้ ไม่มีคำแปลภาษาไทยที่ใหัความหมาย
งสองนัยไต้อย่างใกล้เคียงตามที่ผู้เซียนต้องการ จึงขอแปลหัวข้อออกมาทั้งสองนัย - หมายเหตุเพิ่ม
ติมฉบับแปล
50 I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
แตกต่างกันไป แด่โครงเรื่องมักเหมือนกัน กล่าวคือ ชาติที่รักสงบถูกรุมล้อมโดย
ศัตรูด่างชาติ วีรกรรมในการแก้ปัญหา และบทลงเอยอันน่ายกย่องสรรเสริญ สำหรับ
เฮย์เดน ไวท์ ( แ 3Vล่6ก ผเาI๒) นี่เป็นโครงเรื่องแนวหัสนาฏกรรม แด่ในสายตาของ
ผู้เขียน นี่เป็นเรื่องแนวประโลมโลกย์ของไทยที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
ตัวอย่างที่เป็นแบบฉบับของโครงเรื่องดังกล่าวจะทำให้เราเห็นภาพชัดขี้น
ละครประวัติศาสตร์เรื่องแรกของหลวงวิจิตรฯ “พระนเรศวรประกาศอิสรภาพ”เปิด
แสดงครั้งแรกในปี 2477 ( ค.ศ. 1934 ) เป็นเรื่องราวของวีรกษัตริย์ในปลายศตวรรษ
ที่ 16 ที่เริ่มต้นด้วยการเล่าเรื่องและบทสนทนาเปิดเรื่องระหว่างสมเด็จพระนเรศวร
กับขุนนางผู้หนึ่งถึงความทุกข์ทรมานที่คนไทยต้องประสบนับแต่อยุธยาพ่ายแพ้
แก่พม่าเมื่อ 1 5 ปีก่อนหน้านั้น เพื่อเป็นการแก้แค้น พวกเขากำลังมองหาโอกาสที่
จะฟืนพ่อิสรภาพของประเทศและเรียกร้องดินแตนคืน “เราต้องกู้อิสรภาพของเรา
พะย่ะค่ะ อิสรภาพคือชีวิตจิตดีใจ ประเทศใดไร้อิสรภาพ พลเมืองของประเทศนั้นก็
เหมือนไม่ใช่มนุษย์พะย่ะค่ะ”48
โอกาสมาถึงเมื่อพระเจ้านัแทบุเรงของพม่าสั่งให้อยุธยาส่งกองทัพไปช่วย
พม่ารบกับกบฏที่เมืองอังวะในปี 2127 (ค.ศ. 1584 ) แต่เมื่อกองทัพสยามบุกไปถึง
เมืองแครงของมอญ แม่ทัพมอญสองนายที่ไต้รับคำสั่งจากพระเจ้านัแทบุเรงให้ชุ่ม
โจมดีพระนเรศวรเกิตเปลี่ยนใจและหันไปเข้ากับฝ่ายไทย พระนเรศวรประณาม
กษัตริย์พม่าที่ไรัสัตย์และวางแผนลอบลังหาร จากนั้นจึงประกอบพิธีกรรมประกาศ
อิสรภาพของอยุธยา หลังจากนั้นพวกมอญก็อาสาเข้าร่วมกับกองทัพสยามบุกโจมดี
หงสาวดี เมืองหลวงของพม่า 49 ฉากสุดท้ายของละครอันเป็นหนึ่งในบรรดาเรื่อง
น่ามหัศจรรย์ที่สุตในประวัติศาสตร์ไทยคือ ฉากที่ชาวไทยและมอญภายใต้การนำ
ของพระนเรศวรกำลังข้ามแม่นั้ากลับมายังฝังไทยหลังจากบุกโจมตีเมืองหงสาวดี
โตยไม่มีใครเสียชีวิตแม้แต่ผู้เดียว ทว่ากองทัพพม่าติดตามมาอย่างกระชั้นชิต พระ-
นเรศวรจึงยิงปีนข้ามแม่นั้ากว้างใหญ่ไปหนึ่งนัดถูกแม่ทัพพม่าเสียชีวิตทันทีราว
ปาฏิหาริย์ 50 ในที่สุดพระนเรศวรทำนายว่าดวงวิญญาณของตนจะปกป้องดูแล
ประเทศชาติตลอดไป แด่ชาวไทยจะต้องเอาอย่างความกล้าหาญ การเสียสละ และ
ความมุมานะไม่ย่อท้อต่อสู้กับข้าศึกดัดรูดลอตไปเช่นเดียวกัน
เรื่องราวในบทละครดำเนินไปใกล้เคียงกับเนึ้อหาในพระราชพงศาวดาร
สำหรับเรื่องที่ซับช้อนกว่านี้อาจจะมีเหตุการณ์มากขี้น มีการใส่ปัญหาและความ

บทที่ 8 ภูมิกายาและประว้ตศาสตร์ I 251


ขัดแย้งเข้าไปในโครงเรื่องใหญ่มากขึ้น แต่ส่วนที่เพิ่มเข้าไปมักเป็นปัญหาในอีก
ระดับ ส่วนใหญ่เป็นประเด็นปัจเจก เช่น ความกตัญญู ความเคียดแค้นส่วนตัว และ
ความรัก อันเป็นเรื่องที่นิยมมากที่สุด ระดับของปัญหาที่ด่างกันจะสร้างเหตุการณ์
และโครงเรื่องที่ซับช้อนมากยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวที่ผลประโยชน์ของปัจเจก -
บุคคลขัดแย้งกับผลประโยชน์ของชาติ แน่นอนว่า สำหรับนักชาตินิยม ผลประโยชน์
อย่างแรกต้องมาทีหลังและจะต้องเสียสละให้กับอย่างหลังเสมอ ยิ่งไปกว่านั้น ใน
บทเกริ่นของแด, ละเรื่องมักคาดการณ์ได้ว่าปัญหาจะมีจุดจบในแบบที่พึงปรารถนา
เช่นการปลดปล่อยประเทศชาติ ซึ่งประสบความสำเร็จเสมอ นอกจากนี้บทละคร
หลายเรื่องจบลงด้วยการเสียสละหรือการเสียชีวิตของวีรบุรุษที่ทำให้ผู้ชมรู้สึก
สะเทือนอารมณ์ยิ่งขึ้น กระนั้นก็ตาม การจบแบบนี้หาใช่โศกนาฎกรรม เพราะเป็น
การเสียสละเพื่ออุดมการณ์อันสูงส่ง การเสียสละและเตรียมพร้อมสำหรับความยาก
ลำบาก ไม่ใช่งอมืองอเท้า คือสารที่ส่งไปยังผู้ชม ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์
ของปัจเจกบุคคลกับของชาติทำหน้าที่แบบเดียวกัน กล่าวคือการเสียสละของ
ปัจเจกบุคคลที่น่าเศร้าหรือน่าเร้าใจนั้นเป็นสิ่งที่สะเทือนอารมณ์อย่างยิ่ง และเป็นจุด
สุดยอดของบทละครหลายเรื่อง โครงเรื่องแนวนี้มิได้เป็นไปเพื่อวิเคราะห์อธิบาย
51

หรือแสดงความสมเหตุสมผลของเหตุการณ์ แด่เป็นการแสดงอารมณ์สะเทือนใจที่
แทนที่คำอธิบายหรือเหตุผลใดๆ ทั้งมวล ในหลายกรณีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราว
ระหว่างคนรัก หลวงวิจิตรฯ ฉลาดในการใช้บทสนทนาเพื่อคลี่คลายปมขัดแย้งด้วย
เหตุผลโดยไม่ขาดอารมณ์สะเทือนใจตัวอย่างเช่นเขาเล่นกับคำว่า “รัก”ซึ่งเป็นส่วน
หนึ่งของคำว่ารักชาติ ผู้ชมของเขาถูกกระตุ้นให้คิดและรู้สึกถึงความรักชาติโดย
52

ผ่านการเสียสละความรักส่วนตน
หลวงวิจิตรฯ เคยยอมรับว่า บทละครประวิดศาสตร์มิใช่ประวิดศาสตร์ ถึงแม้
เนี้อเรื่องจะอาศัยข้อมูลจากประวิดศาสตร์ แต่มันถูกแต่งแต้มสีสัน ต่อเติมเสริมแต่ง
หรือกระทั้งปันแต่งขึ้นมาเพื่อให้เกิดผลบางประการ ละครบางเรื่องไม่สมควรถูก
53

เรียกว่าละครประวิดศาสตร์ด้วยซํ้า เพราะมันเกี่ยวพันกับประวิดศาสตร์เพียงในแง่
ของชื่อหรือเหตุการณ์ที่เป็นฉากหลังของเรื่องเท่านั้น ตัวละครมักแบน มีด้านเดียว
ไม่ขาวก็ดำ และคาดเดาได้ บทสนทนาก็ขาดความเป็นธรรมชาติ บ่อยครั้งเหมือน
ภาษาเขียน แด' สิ่งที่ถูกถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ในบทละครเหล่านี้มิใช่เนี้อเรื่อง
หรือตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมา แด่เป็นสารที่ถูกสื่อออกมาโดยแนวเรื่องและโครงเรื่อง

252 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


งานเขียนประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยามไม่เคยถูกมองว่ามีคุณสมบัติคลำย
วรรณกรรมหรือนวนิยายมาก่อน แต่น่าคิดว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยการเสีย
ดินแดนและการปฏิรูปเทศาภิบาลใช้กลยุทธ์และกลวิธีของนวนิยายอย่างไรบ้าง ?
วิธีหนึ่งที่ใช้ก็ถือ การกำหนดให้เล่าเรื่องจากมุมมองที่เฉพาะเจาะจงมุมมองหนึ่ง
สิ่งนี้ทำให้เกิดผลสะเทือนเซ่นเดียวกับนวนิยาย เซ่นการที่ตัวละครบางตัวถูกทำ
ใหัมีความสำคัญเกินจริงหรือลดความสำคัญลง ภายใต้วาทกรรมเซิงบริบททาง
การเมืองระหว่างประเทศ ตัวละครถูกจัดหมวดหมู่แบ่งประเภท และแยกตัวละคร
สำคัญสองตัวคือสยามกับจักรวรรดินิยมออกมา แล้วจัดกลุ่มความขัดแย้งและ
ปัญหาออกเป็นระดับต่างๆตามคุณค่า ความสำคัญ ผล และลำดับความสำคัญของ
ปัญหา เซ่น ภายนอกหรือภายใน ต่างประเทศหรือกิจการภายใน ชาติหรือปัจเจก
บุคคล เป็นดัน อารมณ์ร่วมจึงเกิดขึ้นตามการจัดระดับและประเภทของความขัดแย้ง
การเสียสละของคู่รักหรือผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลเพื่อผลประโยชน์ของชาติ
เป็นสิ่งที่น่ายกย่องสรรเสริญฉันใด การปราบปรามประเทศราชเพื่อ “การปลด -
ปล่อย ” และ “การปกครองตนเอง ”ในยามที่เอกราชของชาติกำลังตกอยู่ในอันตราย
จากภัย “ภายนอก”กิน่ายกย่องสรรเสริญฉันนั้น
ประวัติศาสตร์นิพนธ์และแผนที่ที่กล่าวถึงในบทนี้ใซัสมมติฐานและเครื่องมือ
ที่ผิดยุคผิดสมัยเซ่น ภูมิกายา เส้นเขตแตนมโนภาพสมัยใหม่เกี่ยวกับเอกราชและ
อื่นๆ ไม่ต่างจากการใช้ถ้อยคำและบทสนทนาหลงยุคในบทละครของหลวงวิจิตรฯ
ด้วยวิธีการเซ่นนี้ เรื่องราวเหล่านี้ร้งเช้าใจได้ง่ายและดูคุ้นเคยสำหรับผู้ซมในยุค
ปัจจุบัน วิธีการดังกล่าวยังเอี้อต่อการส่งทอดคุณค่า ความคิด และอารมณ์ความรู้สึก
นอกจากนี้ เพื่อสร้างคุณค่าบางอย่างจากอดีต ตัวละครเอกสองตัวในความขัดแย้ง
หลักมักจะแบนราบ นำเสนอให้เป็นขาวกับดำเสียจนสามารถเอาไปเปรียบกับความ
ดีและความชั่วในนิทานอีสปไต้ สำหรับแผนที่ประวัติศาสตร์ เทคนิคการขับเน้นจุด
สำคัญเป็นสิ่งจำเป็น หากแผนที่ทั้งหมดได้รับการจัดวางเรียงอย่างเหมาะเจาะโดยมี
แผนที่การอพยพโยกย้ายของบรรพบุรุษทำหน้าที่เป็นบทนำของประวิดศาสตร์ไทย
ดามด้วยแผนที่ของยุควีรกษัตริย์ต่างๆ และแผนที่ประวัติศาสตร์เขตแดนของไทย
ทำหน้าที่เป็นฉากก่อนถึงยุคปัจจุบัน เส้นทางของประวัติศาสตร์ไทยก็จะกลายเป็น
พัฒนาการของรัฐไทยเชิงดินแดน
นอกเหนือจากยุทธศาสตร์และกลวิธีเหล่านี้แล้ว โครงเรื่องของประวิติศาสตร์ -

บทที่ 8 ภูมิกายาและประว้ติศาสตร์ 253


พนธ์ แผนที่ และบทละครของหลวงวิจิตรฯ มีความคล้ายคลึงกันอย่างชัดเจน
รื่องราวมักมีสาเหตุมาจากความชัดแย้งระหว่างสยามกับศัตรูด่างชาติ อันนำไป
สู่การกระทำด่าง ๆ อาจมีความชัดแย้งอื่นเพิ่มเข้ามาแตกเป็นรองเรื่องหลัก และการ
ระทำต่างๆ ก็ถูกกักทอล้อมรอบแกนกลางความชัดแย้งหลัก สำหรับเรื่องว่าด้วย
ารปฏิรูปการปกครองระบอบเทศาภิบาลนั้น จุดสุดยอดของเรื่องอยู่ที่การนำระบบ
หม่ไปใช้กับประเทศราช เรื่องลงเอยด้วยความสุขสมอารมณ์หมาย เราได้เห็นการ
ยายตัวของระบบใหม่ไปทั่วประเทศ และการสรรเสริญชื่นชมความสำเร็จของ
บรรดาเจ้านายผู้บริหารประเทศ สำหรับเรื่องการเสียดินแดน แน่นอนว่าจุดสุดยอด
องเรื่องย่อมอยู่ที่วิกฤติการณ์ร.ศ. 112 เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องราวค่อนข้างโศกสลด
ด่ดังที่หลวงวิจิตรฯ ตระหนักเป็นอย่างดีว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา ตราบเท่าที่
วามอยู่รอดและเอกราชของประเทศชาติเป็นที่รับรู้กัน เราย่อมไม่คิดว่าการเสีย
สละเป็นโศกนาฏกรรมหรือการงอมืองอเท้า เรื่องราวการเสียดินแดนทำให้เรา
ำลึกถึงความยากลำบาก การเสียสละ และความรักชาติและสามัคคี อันจำเป็นยิ่ง
ละคุณค่าเหล่านี้จะส่งทอดมาถึงเราในลักษณะที่ปลุกเร้าและสะเทือนอารมณ์
สำหรับแผนที่ประวัติศาสตร์ แม้ว่าจะประกอบด้วยประวัติศาสตร์หลายดอนแด่
ครงเรื่องที่ใช้ก็คล้ายคลึงกันและคุณค่าที่นำเสนอก็เป็นอย่างเดียวกัน แต่มันก็มิ'ใช่
ผนที่ชุดหนึ่งซึ่งไม, มีอะไรสัมพันธ์กันเพราะแผนที่ทั่งชุดคือประวัติศาสตร์สยาม
ทั่งหมดอย่างย่อที่สรุปรวบยอดว่า ปัญหาใหญ่ที่สุตตลอดชีวิตของชาติไทยคือ
นตรายจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นข้าศึกด่างชาติ กัยคุกคามจากภายนอก จีน
ขมร พม่า ฝรั่งเศส หมาป่า หรืออะไรก็ตามแต่ ศัตรูภายนอกอุบัติขึ้นอีกได้และ
มรออยู่ นึ่คือประเด็นที่ถูกตอกยาครั้งแล้วครั้งเล่านับจากฉากแรกจนถึงปัจจุบัน
ารลำดับเหตุการณ์ที่ตอกยํ้าความคิดนี้ซํ้าแล้วซํ้าอีกได้กลายมาเป็น “โครงเรื่อง
ม่บท ”( กา3ร16โ 0๒1) สำหรับชีวประวัติของชาตินับแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน
โครงเรื่องแม่บทนี้ประกอบด้วยสองโครงเรื่องรองที่ชัดแย้งกันเอง ด้านหนึ่ง
สดงถึงพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลง หรือความก้าวหน้าในช่วงชีวิตของชาติ อีก
านหนึ่ง ความคิดว่าด้วยภัยคุกคามภายนอกและการต่อสู้เพื่ออิสรภาพก็ได้รับการ
อกยํ้าครั้งแล้วครั้งเล่า ประว่ติศาสตร์ที่ดูเหมือนมีพลวัดจึงเป็นเพียงปรากฏการณ์
า ๆ ยํ่าอยู่กับที่ เรื่องราวที่ยิ่าแล้วยํ้าอีกอาจดูซึ่าซาก ทว่าความชํ้าซากกลับมีความ
1 1

ำคัญยิ่งต่อความทรงจำของเรา ดังที่เอ็ดมุนด์ ลีช ได้กล่าวไว้ในงานของเขาเกี่ยว

54 กำเนิดล:ยามจากแผนที่ : ประวิดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
กับปกรณัมการสร้างโลกว่า:
ในความคิตของผู้ที่ศรัทธา. . ความชาซากของปกรณัมกลับทำให้ข้อเท็จจริง
น่าเชื่อจนสนิทใจ ปกรณัมใดที่แยกออกมาอยู่เป็นเอกเทศก็เหมือนกับสาร
ใส่รหัสที่เต็มไปต้วยคลื่นรบกวน แม้แต่สาวกที่มีความเชื่อมั่นมากที่สุดก็ยัง
ไม่แน่ใจนักว่าสารนั้นหมายถึงอะไรกันแน่ ขณะที่ความชํ้าซากของปกรณัม
-
สามารถทำให้ผู้มืจิตศรัทธารู้สึกได้ว่า ปกรณัมด่างสำนวนแม้ ว่าจะมีราย -
,
ล ะเอียตที่แดกต่างกัน แด ก็ยีนยันถึงความเข้าใจของเขาและช่วยตอกยํ้า
สารัตถะหลักของปกรณัมทุกฉบับ54
อย่างไรก็ตาม โครงเรื่องรองทั้งสองเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน และร่วมกันสร้าง
โครงเรื่องแม่บทอันเป็นที่มาของอดีตทั้งมวลของสยาม สยามเติบโตขึ้น ก้าวไป
ข้างหน้า ขณะที่อิสรภาพอันเป็นสารัตถะของชีวิตของประเทศเข้มแข็งยิ่งขึ้น ตาม
โครงเรื่องแม่บทนี้ สยามได้ผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความระสํ่าระสายหลายครั้งหลาย
ครา ได้เผชิญกับศัตรู ภัยคุกคาม ความยากลำบากจากการอพยพย้ายถิ่น ความ
พ่ายแพ้ แตกสามัคคี ฯลฯ แต่สยามก็รอดพันมาได้ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในปลาย
ศตวรรษที่ 19 เป็นเพียงหนึ่งในช่วงแห่งความระสํ่าระสายที่อิสรภาพของสยามตก
อยู่ในอันตราย กระนั้นสยามก็รอตมาได้อีกครั้งหนึ่งเพราะความปรีชาสามารถของ
กษัตริย์ไทยและความรักในอิสรภาพของสยาม ในแง่ของชีวประวิด เรือนร่างของ
ประเทศผ่านพันภาวการณ์ต่างๆ มาได้ และบางครั้งก็ได้รับบาดแผลแสนสาหัส
การเสียสละอวัยวะบางส่วนในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 19 มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อความ
อยู่รอด ความจริงก็คือสยามยืนหยัดรุ่งเรืองได้อีกครั้ง แถมคราวนึ่ยังพัฒนาก้าว
หน้าและมีความเป็นอารยะมากยิ่งขึ้น หากกำเนิดของภูมิกายาและวิกฤติการณ์
ร.ศ. 112 ประกอบกันขึ้นเป็นจุดหักเหพลิกผันในชีวิตของสยามแล้วไซร้ประวัติ -
ศาสตร์นิพนธ์ชนิดที่เราพิจารณากันมาก็ทำหน้าที่พิเศษช่วยสร้างความต่อเนื่อง
ให้กับชีวิตของชาติ ไม่มีการแตกหัก กะเทาะร้าว หรือเบียดขับผลักไสทดแทนใดๆ
ทั้งนั้น สิ่งเหล่านึ่ถูกปิดบังช่อนเร้นหรือไม่ก็ลบออกไปจากความทรงจำของเรา ช่วง
เวลาแห่งความระสํ่าระสายหาใช่จุดพลิกผันอันใหญ่หลวง แต่กลับกระตุ้นความ
สามัคคีภายใต้ผู้นำของชาติ โตยเฉพาะกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีด้วยซํ้าไป
โครงเรื่องแม่บทของนิยายนี่เองที่เป็นแหล่งธารอันอุดมส่าหรับประวัติศาสตร์
เชิงนวนิยายของหลวงวิจิตรฯ มิใช่ข้อมูลจากอดีต ในกรณีประวัติศาสตร์การเสีย

บทที่ 8 ภูมิกายาและประวตศาสตร์ 255


นแตนและการปฏิรูปการปกครอง โครงเรื่องแม่บทก็เป็นที่มาของความเชื่อล่วง
น้าและโครงเรื่องย่อยๆ อันจำเป็นต่อความเข้าใจว่าวิกฤติการณ์โนช่วงปลายศต-
รรษที่ 1 9 เป็นปรากฏการณ์'ชํ้าๆ เดิม ไม่ด่างจากวิกฤติการณ์ก่อนหน้านี้จะแตก
างกันก็แต่เพียงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง การกระทำ ตัวละคร และบทสนทนา
แล้ววรรณกรรมก่อนสมัยใหม่ที่เกี่ยวกับอดีตอันเป็นแหล่งอ้างอิงของประวิต-
าสตร์สมัยใหม่ มีโครงเรื่องแม่บทด้วยหรือไม่ ? หรือว่าเป็นการอ่านเรื่องเล่าก่อน
มัยใหม่ด้วยความคิดสมัยใหม่ ?

ดีตผลิตใหม่
ญหาที่กล่าวมาข้างบนนี้นำเราไปสู่ชุตคำถามที่สำคัญยิ่งกว่า นับแด่ปลายศตวรรษ
1 9 ถึงต้นศตวรรษที่ 2 0 เป็นระยะที่ประวัติศาสตร์นิพนธ์สมัยใหม่เริ่มถือกำเนิด

นในสยาม ปัญญาชนรุ่นบุกเบิกในสาขานี้ไต้เสนอวิธีการศึกษาและมโนภาพใหม่
ำหรับประกอบสร้างอดีต เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์และความรู้แขนงอื่นๆ อดีตชนิด
หม่นี้สะท้อนความหักเหพลิกผันแตกหักจากความคิดเติมของคนพื้นเมืองที่มีต่อ
ดีต แม้ว่าดูผิวเผินจะอิงกับตำราจารีตก็ตาม การปะทะแตกหักในปลายศตวรรษ
19 ส่งผลต่อการสร้างอดีตชนิดใหม่นี้หรือไม่ ? ถ้าหากประสบการณ์Iนช่วง 2 - 3
ศวรรษก่อนสิ้นสุดศตวรรษที่ 1 9 เป็นบาดแผลทางจิตใจสำหรับผู้ปกครองสยาม
วงเวลาอันเลวร้ายนั้นจะส่งผลต่อสมมติฐานของพวกเขาที่มีต่อชะตากรรมของ
ระเทศทั้งในอดีตและปัจจุบันหรือไม, ? วิธีคิดแนวใหม่และอารมณ์ความรู้สึก
นิดใหม่ที่เกิดขึ้นจากช่วงเวลาดังกล่าว มีส่วนในการเขียน กำหนดทิศทาง และวาง
ครงเรื่องอดีตอันใหม่มากน้อยเพียงใด เป็นไปไต้หรือไม, ที่โครงเรื่องแม่บทของ
ระวัตศาสตร์สยามที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ที่จริงแล้วเป็นผลผลิตของความทรงจำ
าดแผลหลังวิกฤติการณ์ร.ศ . 1 1 2 ?
จนถึงตรงนี้ ผู้เขียนเสนอว่า กำเนิดของภูมิกายาเรียกร้องต้องการประวัติศาสตร์
หม่เพื่อปิดรอยร้าวแตกหักในชีวิตของชาติ ประวัติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับวิกฤต-
ารณ์ดังกล่าวได้ทำหน้าที่นี้เป็นอย่างดี แม้ว่างานเขียนเกี่ยวกับการเสียดินแตน
ละการปฏิรูปการปกครองแบบเทศาภิบาลถูกสร้างขึ้นภายหลังเหตุการณ์ไปมาก
ด่เป็นไปได้อย่างมากว่าวิกฤติการณ์โดยตัวมันเองและความทรงจำต่อเหตุการณ์
นได้ช่วยผลิตอดีตชนิดใหม่ของสยามขึ้นมา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็ศึอ ผลกระทบจาก

56 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
กำเนิดของภูมิกายานั้นมีมากเสียจนอดีตของสยามจักต้องถูกเขียนขึ้นใหม่ด้วย
มุมมองใหม่ ประวัติศาสตร์ใหม่ถูกสร้างขึ้นจากวาทกรรมหลงยุคผิดสมัยที่อาศัย
ภูมิกายากำมะลอ รวมถึงมโนภาพและปฏิบ้ติการที่เกี่ยวข้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้
สมมติฐานแบบผิดยุคผิดสมัยเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของตัวตนทางกายภาพของ
สยามและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การใช้บริบทของการเมืองระหว่างประเทศ
ผิตที่ผิดเวลาอย่างจงใจ มโนภาพเรื่องอำนาจอธิปัตย์ที่เป็นเอกภาพหนึ่งเดียวของ
รัฐก่อนสมัยใหม่ และที่ผิตเหลือเชื่อคือการใช้แผนที่ ประวัติศาสตร์แบบ “เช้าใจ
ผิดๆ”ว่าด้วยการเสียดินแตนและการปฏิรูปการปกครอง ตลอดจนแผนที่ที่ผิดยุค
ผิดสมัยไต้มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างและดอกยํ้าวาทกรรมใหม่ว่าด้วยอดีตของ
ไทย ที่มาพร้อมโครงเรื่องใหม่ สมมติฐานใหม่ คุณค่าใหม่ และเทคนิคใหม่ๆ วาทกรรม
ใหม่นี้ได้ถูกผลิตซาโดยสื่อสารมวลชน โรงเรียน และสถาบันทางอุดมการณ์อื่นๆ อีก
มากมายกลายเป็นวาทกรรมที่ครองความเป็นใหญ่
ในเมื่อภูมิกายามีบทบาทสำคัญในการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้แก่สยาม
วาทกรรมภูมิกายาก็น่าจะผลิตหรือปรับเปลี่ยนแง่มุมอื่นๆ ของประวัติศาสตร์ใหม่
ด้วย ตัวอย่างที่ผู้เขียนต้องการพิจารณาในที่นี้คือ ขอบเขตของอดีตแบบใหม่ ในที่นี้
คือ อดีตแบบ'ใหม่ครอบคลุมพื้นที่แค่’ไหน? หรือพื้นที่ใดเป็นหัวข้อประวัติศาสตร์ใต้?
อดีตของพื้นที่ใดที่ควรค่าแก่การบันทึก ? เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ . 2450 ( ค.ด.
1907 ) พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ไต้กล่าวปาฐกถาอันเป็นหลักหมายสำคัญของการ
ศึกษาประวัติศาสตร์ในสยามในพิธีเปิด “โบราณคดีสโมสร” เนื้อหาในปาฐกถานี้
เป็นตัวแทนที่ชัดเจนของวาทกรรมใหม่ว่าด้วยอดีตของสยาม ท่านได้เดือนให้
สมาชิกสมาคมฯ ศึกษาอดีตของ “ประเทศชาติ ”ในแบบที่แดกต่างจากพงศาวดาร
ในทัศนะของท่าน ประเทศชาติมิใช่มีแค่อาณาจักรอยุธยาและกรุงเทพฯ แต่ยังรวม
ถึงเมืองใหญ่อื่นๆใน “ประเทศสยาม”ด้วย:
เรื่องราวเหล่านี้ คงจะต้องจับตั้งแต่เมืองหลวง ไนยหนึ่งเรียกว่าหาง ห้าง ฤๅ
ช้าง ซึ่งเปนที่ตั้งของชาติไทย แต่ต้นเติม ลงมาจนถึงเมืองเชียงแสน เชียงราย
เชียงใหม่ สวรรคโลก โศกโขทัย อยุทธยาเก่า อยุทธยาใหม่ แลเมืองลโว้ ลพบุรี
นครไชยศรี นครศรีธรรมราช ฤๅเมืองซึ่งเปนเจ้าครองเมือง เซ่น กำแพงเพชร
ไชยนาท พิษณุโลกย์ เมืองสรรค์ สุพรรณ กาญจนบุรี เพชรบุรี เหล่านี้ฝนต้น
บรรดาซึ่งไต้เปนใหญ่ในกาลครั้งใด ครั้งหนึ่งแล้วรวบรวมมาเปนประเทศ
สยามอันหนึ่งอันเดียวนี55้

บทที่ 8 ภูมิกายาและประว้ตศาสตร์ 257


เห็นได้ชัตว่าภูมิกายาที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นเป็นตัวกำหนดพื้นที่ของประวัติศาสตร์
ใหม่ ภูมิกายาเป็นคำอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลอย่างเดียวว่าทำไมเมืองเหล่านั้นจึง
ควรนับรวมเป็นประเทศสยามด้วยในทัศนะนี้ อีกทั้งประวัติศาสตร์ไม่ควรถูกจำกัด
อยู่เฉพาะช่วงเวลาที่ปรากฎในพงศาวดารเท่านั้น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ยังแนะ
ด้วยว่าขอบเขตเวลาของประกัติศาสตร์ใหม่ควรกินเวลาเป็นพันปี
ด้วยกรอบการมองอดีตที่มีศูนย์กลางหลายแห่งนี้ จึงมีการเขียนและรวบรวม
ประว้ติศาสตร์เกี่ยวกับศูนย์อำนาจในภูมิภาคต่างๆ ออกมามากมาย แด่นักประวัติ -
ศาสตร์รุ่นต่อมา โดยเฉพาะพระมงกุฎเกล้าฯ และกรมพระยาดำรงฯ ได้ปรับเปลี่ยน
กรอบทางเวลาและพื้นที่ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เคยเสนอไว้ แนวการศึกษา
ใหม่นี้มุ่งความสนใจไปที่ประวัติศาสตร์ของศูนย์กลางใหญ่ๆไต้แก่ สุโขทัย อยุธยา
และกรุงเทพฯ อันเป็นวิธีการที่ไร้การทัดทานจวบจนถึงทศวรรษ 1980 ( พ.ศ .
,
2523- 2532 ) อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของวาทกรรมว่าด้วยภูมิกายายังคงมือยู
ชัดเจน การมุ่งความสนใจไปที่เมืองหลวงและไม่เอ่ยถึงเมืองใหญ่อื่นๆ มิได้หมาย
ความว่าพื้นที่ของประวัติศาสตร์ใหม่แบ่งแยกกระจัตกระจายดังเช่นในอดีต ในทาง
ตรงกันข้าม เมื่อถึงช่วงด้นศตวรรษที่ 20 ศูนย์กลางอำนาจก็คือตัวแทนประเทศ
ชาติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ( ถึงได้มีการใช้ชื่อเมืองหลวงหรือแม้แด่เมืองที่ผู้นำ
พำนักอยู่เพื่อหมายถึงประเทศ ) เมืองหลวง'ในประวัติศาสตร์'นิพนธ์
' ,
ใหม่นี้ชี้ถึงความ
ตระหนักในภูมิกายาที่เป็นปีกแผ่น สุโขทัยถูกถือว่าเป็นราชธานีแห่งแรกของสยาม
เพราะเชื่อกันว่ามีอำนาจปกครองครอบคลุมดินแดนเกือบทั้งหมดที่เป็นสยามใน
ปัจจุบันและไกลไปกว่านั้น ขณะที่ศูนย์กลางใหญ่อื่นๆ ใหญ่ไม่เท่า ดังที่กรมพระยา
ดำรงฯ กล่าวไว้เมื่อปี 2472 ( ค.ศ. 1 929 ) ว่า:
ไทยพวกที่ตั้งเป็นอิสระในแขวงลานนาได้อาณาเขตเพียงแต่ในมณฑลพายัพ
เดี๋ยวนี้แล้วเสื่อมอำนาจ แด่ไทยพวกที่ตั้งเป็นอิสระ ณ เมืองสุโขทัยสามารถ
แผ่อาณาเขตไต้กว้างใหญ่ไพศาลไปจดประเทศอื่น และได้ปกครองเป็นเจ้า -
ของประเทศสยามสืบมาจนกาลบัดนี้จึงนับว่าเมืองสุโขทัยเป็นปฐมราชธานีแห่ง
ประเทศสยามตั้งแต่เป็นสืทธึ้แก่ชนชาติไทยในราวเมื่อ พ.ศ. 1 800 เป็นต้นมา56
บางทีเหตุผลหนึ่งที่ท่าให้ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงโด่งดัง ได้รับการยกย่อง
สรรเสริญเกินพอดี อาจมาจากความเชื่อว่ามันเป็นหนึ่งในหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่ซี้
ว่าอาณาจักรสุโขทัยเกือบจะยิ่งใหญ่เท่ากับภูมิกายาของสยามในปัจจุบัน57

258 I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


เป็นไปไต้มากว่า การรับรู้ที่เปลี่ยนไปของภูมิกายาคือสาเหตุสำคัญที่ทำไห้
เกิดการเปลี่ยนขอบเขตพื้นที่ของอดีต สยามที่มีศูนย์กลางหลายแห่งแบบที่เห็นใน
ความคืตของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ตูจะมีนัยยะถึงความสัมพันธ์ของหน่วยทาง
พืนทีทีต่อเนื่องเป็นผืนเดียว ขณะที่ประวัติศาสตร์ของศูนย์กลางอำนาจทำให้เมือง
หลวงเป็นตัวแทนของทั้งหมด ในแง่นี้ ความสนใจต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เพิ่ม
มากขึ้นในไทยในทศวรรษ 1 980 (พ.ศ. 2523- 2532 ) กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
และการเมืองในไทยที่เปลี่ยนไปในทศวรรษตังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโต
ของระบบทุนนิยมที่รัฐให้การสนับสนุน และการเติบโตของเมืองใหญ่ในภูมิภาค
ต่างๆ อาจมีความสัมพันธ์กัน
แน่นอนว่าวาทกรรมว่าด้วยภูมิกายาส่งผลกระทบมหาศาลต่อความรู้เกี่ยวกับ
,
อดีตของสยามในหลายระดับและหลายลักษณะด้วยกัน แม้แด เรื่องราวเกี่ยวกับ
ธรรมะและอธรรม อันเป็นสารัตถะของอดีตในทัศนะเติมของคนพื้นถิ่น ยังถูกแทนที่
ด้วยเรื่องการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติ58 อดีตถูกมองว่าเป็นชีวิตของชาติไทยที่ต้อง
เผชิญหน้ากับชาติอื่น นับจากต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา แนวเรื่องของประรัต -
ศาสตร์ไทยที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพมากที่สุตไต้ถือกำเนิดขึ้น นั่นคือ ประรัต-
ศาสตร์ “ไทยรบพม่า”59 ความเป็นชาติ ความรักชาติ และอะไรทำนองเดียวกันนี้
กลายมาเป็นภาระที่กำหนดให้เราอ่านอดีตในแบบเดียว ประรัตศาสตร์จึงกลายเป็น
หนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญที่สุตในการนิยามความเป็นชาติไทย
ในทำนองเดียวกันกับกรณีภูมิศาสตร์สมัยใหม่เข้าแทนที่ภูมิศาสตร์พื้นถิ่น
เป็นไปได้มากว่าเกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างวาทกรรมว่าด้วยอดีตที่แตกด่างกัน
เป็นการเผชิญหน้าซึ่งอดีตแบบใหม่ยังไม่สามารถยึตครองผลักไสอดีตแบบเก่าได้
หมด ดังนั้นจึงยังปรากฏความลักลั่นไม่ลงรอย ความคลุมเครือ และร่องรอยที่แสดง
ให้เห็นว่าอดีตแบบใหม่กำลังถูกสร้างขึ้น60 อย่างไรก็ดาม ขอบข่ายเรื่องที่ว่ามานี้อยู่
นอกเหนือขอบเขตของหนังสือเล่มนี้*
* นี่เป็นหัวข้อวิจัยใหญ่เรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนสนใจมากที่สุตภายหลัง ร/ล๓ /ฬล/ว/06๙ อาจกล่าวไต้ว่าคือ
การหันจากความรู้ภูมิศาสตร์มาศึกษาความรู้ประวัติศาสตร์ด้วยวิธีวิทยาในทำนองเดียวกัน แต่ผู้เขียน
พบว่าห่วงทำนองและการเปลี่ยนผ่านของความรู้ประวัติศาสตร์แดกด่างจากความรู้ภูมิศาสตร์มาก
พอสมควร ผู้เขียนเคยเสนอเด้าโครงการเปลี่ยนผ่านของความรู้ประวัติศาสตร์ในบทความเกี่ยวกับ
ประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยม และไต้เขียนขยายความบางประเด็นในบทความ “813๓’ร 0อ1อ-
^^ ^ ^
ก!ล! 0เวกฝ่เใ10กร 3กฝ่ ใเา6 ธเโไเา อ/ 7เา 3เ แเรไอเหั ’ ซึ่งดีพิมพ์ใน \ 1 6 โ 0 โ 3เวอพรเ , 6(1* 5๐๙ 635 /
,

^ ^^
45/3/1 /-//ร/อก์อฮ/ล/ว/!/ ปก! V6 แเกฎ / /!6 /ฬ///!ร: /ะรรล/ร เก เ-เ0ก0บ! อ/ ธล/อ/!๘ ปสก 7 ©กฬ่อ/ ( ธลกฐ ๐ :
' '

^
โ 8๐๐ 5 , 2 0 1 1 ) - หมายเหตุเพิ่มเติมฉบับแปล

บทที่ 8 ภูมิกายาและประวิดศาสตร์ I 259


บทสรุป
ภูมิกายา ประวัติศาสตร์ และความเป็นชาติ
บกสรุป
ภูมิกายา ปร:วัติศาสตร์ และความเป็นชาติ

ภูมิกายาและประวัติศาสตร์ใต้กลายมาเป็นเทคโนโลยีทรงพลังของความเป็นชาติ
อานุภาพทรงพลังที่สุตของมัน คือปฏิบ้ติการนิยามความเป็นไทยหรือตัวตนของเรา
(ผ6 -ร6แ) ที่ตรงข้ามกับความเป็นอื่น ( 01เา6โก6รร) ดังที่เอ็ดมุนต์ ลีซ ไต้กล่าวไว้
นานแล้วว่า ความวุ่นวายทางการเมืองในที่ต่างๆทั่วโลกแสดงให้เราเห็นว่า เส้นเขตแดน
แบ่งแยกผู้คนชาติพันธุ (61หกเ0 0600162) มากมายออกเป็นคนชาติ ( กลใ!อกลเร) ต่าง ๆ
กันอย่างรุนแรงและตามอำเภอใจ1 ตลอดชายแดนสยาม มีคนชาติพันธุต่างๆจำนวน
มากถูกถือว่าเป็นไทย ไม่ใช่พม่า ลาว กัมพูซา หรือมาเลเซีย หรือไม่ใช่มอญ กะเหรี่ยง
คะยา ฉาน ลาว ม้ง ลื้อ ดัวะ พวน เขมร หรือมลายู กระนั้นก็ดาม ด้วยพลังอำนาจ
เดียวกันนี้ของภูมิกายา เป็นที่ประจักษ์แจ้งพอกันว่าทุกวันนี้คนชาติพันธุต่างๆเองก็
ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะมีอัตลักษณ์ทางการเมืองซึ่งนิยามโดยเส้นเขตแดน

การสร้างตัวดฬของเรากับความเป็นอื่น
ตามจารีตพี้นถิ่นของอุษาคเนย์ คนๆ หนึ่งสังกัดมูลนายเป็นอันดับแรกก่อนสังกัดรัฐ
และคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หนึ่งไม่จำเป็นต้องสังกัดกับผู้ปกครองในพื้นที่นั้นเสมอไป
แม้ว่าพวกเขาคงต้องจ่ายภาษีหรือค่าเช่าแก่เจ้านายของบริเวณนั้น ดังที่ เจมส์แมค-
ดาร์ธี ตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยความฉงนว่า นี่เป็นธรรมเนียมแปลกประหลาดที่อำนาจเหนือ
ปัจเจกบุคคลกับเหนือพื้นที่แยกจากกัน2 ชาวตะวันตกสมัยใหม่อย่างเขาไม่ตระหนัก
ว่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นสิ่งปกติในภูมิภาคนี้และหลายแห่งในเอเชีย

บทสรุป ภูมิกายา ประวตศาสตร์ และความเป็นชาติ 263


นั่นเป็นเรื่องน่าฉงนเช่นกันสำหรับนักปกครองสมัยใหม่ที่ต้องการใช้ภูมิศาสตร์
กำหนดสัญชาติ ซึ่งรวมถึงความจงรักภักดีและพันธะต่อชาติด้วย หลังสนธิสัญญาปี
2436 ( ค .ศ . 1893) เสร็จสิ้นลง เจ้าหน้าที่สยามต้องการให้เส้นเขตแดนไทย - ลาวที่
พิ่งตกลงกันนั่นเป็นดัวแบ่งประชากรตามพรมแดนไทย -ลาวด้วยเช่นกัน ผู้คนที่ขึ้น
สังกัดกับมูลนายทางฝังซ้ายแม่นํ้าโขง ( อินโตจีนฝรั่งเศส ) แด่ตั้งบ้านเรือนอยู่บนฝัง
1

สยาม ได้รับอนุญาตให้กลับไปบ้านเกิดของตนไต้ หากพวกเขาไม่กลับก็ด้องกลาย


ป็นคนสยามตามถิ่นพำนักอาศัยโดยปริยาย ฝรั่งเศสไม่ยอมรับความคิดตังกล่าว แต่
สนอให้ใช้สถานที่เกิตเป็นตัวกำหนดสัญชาติ นั่นหมายความว่าคนลาวทางฝังซ้าย
แม่นั่าโขงย่อมเป็นคนในสังกัดของฝรั่งเศสตลอดไปไม่ว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่ที่ไหน3
การเมืองของข้อโต้แย้งซึ่งกินเวลาหนึ่งทศวรรษนี้คิอการชิงกันควบคุมประชากร
หรือหมายถึงกำลังคนนั่นเอง เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าภูมิภาคนี้มีประชากรเบาบาง ทั้ง
จ้าหน้าที่ของสยามและฝรั่งเศสพยายามทำให้ผู้คนเหล่านี้กลายเป็นคนในสังกัดของตน
ด้วยมาตรการสารพัด ทั้งยกเลิกภาษี แจกเงินทองเสื้อผ้า และข่มขู่คุกคาม 4 อย่างไร
ก็ตาม ข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายล้วนแด่ผลักให้อัดลักษณ์ของผู้คนและพันธะดังภัต
หรือความจงรักภักดีของผู้คนเคลื่อนจากความผูกพันกับบุคคลแบบจารีตเติมไปสู่
ความผูกพันกับภูมิกายาใหม่ในแง่ถิ่นกำเนิดหรือไม่ก็ถิ่นที่อยู่อาศัย ข้อเสนอของสยาม
สะท้อนว่าสยามตระหนักดีถึงการเบนออกจากการปฎิบ้ดีแด่เติม
ผลกระทบมีสองด้านด้วยกัน ในด้านหนึ่ง ระบบสังกัดเพื่อควบคุมกำลังคน
แบบจารีตหมดประสิทธิภาพลง นี่เป็นความเปลี่ยนแปลงสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่นำ
ปสู่การยกเลิกระบบไพร่ทาสในที่สุต ในอีกด้านหนึ่ง สยามจำต้องเร่งคิดหาระบบ
การนิยามอัดลักษณ์อย่างใหม่เพื่อทำให้ผู้คนเป็น “ชาวสยาม”ผลก็คือมีการจัดทำ
ทะเบียนสำมะโนครัวทั้วประเทศและเปลี่ยนการขึ้นต่อมูลนายแบบจารีตไปสู่การ
ปกครองท้องถิ่นที่มีตินแดนเป็นตัวกำหนด5 นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เจ้าฟ้าคนไทย
ซึ่งปกครองหัวเมืองลาวฝังขวาของแม่นี้าโขงคนหนึ่งออกคำตั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ลิกธรรมเนียมระบุชาติพันธุของราษฎรในสำมะโนครัวและในการสำรวจสำมะโน
ประชากร แต่ให้ระบุแบบเดียวกันทั้งหมดว่าเป็น “คนในบังคับสยาม”6 แม้นิยามใหม่
นี้ไม่ทันได้ดำเนินการอย่างทั้วถึงในช่วงระยะเวลาอันสั้น แต่ภูมิกายาได้เริ่มวาง
ทิศทางและรากฐานวิธีการจัดจำแนกประชาชนอย่างใหม่แล้ว ในปี 2484 ( ค.ศ.
941 ) หนึ่งในรัฐนิยมคลั่งชาติของรัฐบาลจอมพล ป. คือการบังคับให้เรียกประชาชน

64 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ทยทั้งหมด ไม่ว่าจะมาจากภูมิภาคหรือเชื้อชาติอะไร ว่าเป็น “คนไทย ”โดยไม่ระบุ
มิหลังทางชาติพันธุอันหลากหลายของพวกเขา7 ในปี 2510 ( ค.ศ . 1967 ) ซารล์ส
ายส์ ระบุว่าคนทางฝังขวาของแม่นาโขงยังคงเรียกตนเองว่าเป็นลาวอยู่แม้ว่าพวก
ขาจะค่อยๆ กลายมาเป็น “อีสาน”มากขึ้นเรื่อยๆ ก็ดาม เขายังให้ข้อสังเกตด้วย
าอีสานนิยมซึ่งเคยทำท่าจะมีปัญหาการแบ่งแยกดินแตนในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.
นั้น ในช่วงที่เขาทำการศึกษามิได้เป็นปัญหาอีกต่อไปแล้ว ชุมชนระดับภูมิภาคได้
กลายมาเป็นอัดลักษณ์หนึ่ง ภาย!นปริมณฑลของชาติไทย แต่ไม่มีขบวนการเรียก -
องการแบ่งแยกรัฐอีสานอีกแล้ว8 “คนลาว”ได้กลายมาเป็น “คนอีสาน”อันเป็นการ
นิยามอัดลักษณ์ทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมด้วยพึ้นที่ภายใต้กรอบความเป็นชาติที่
พิ่งถูกสร้างชื้นมา9
ทุกวันนี้ดามพื้นที่ชายขอบบางแห่งของประเทศไทย การนิยามประซาซนด้วย
ดินแดนยังเพิ่งถูกนำไปใช้ ในปี 2529 ( ค.ศ . 1 986 ) รัฐบาลไทยทำการสำรวจทาง
อากาศเพื่อทำแผนที่ชายแดนไทยส่วนที่อยู่ตรงข้ามกับพม่าและลาว พวกเขาพบ
ว่ายังมีซนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวโดยไม่เคยมีใครเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยมา
นานแล้วและโยกย้ายข้ามไปมาระหว่างสามประเทศด้วย ฉะนั้นนอกเหนือจากการ
ทำแผนที่แล้ว พวกเขาจึงลงมือทำสำมะโนประชากรและจดทะเบียนสำมะโนครัวโดย
อ้างเหตุผลทางความมั่นคง
หากกล่าวถึงภารกิจของประวัติศาสตร์ในการก่อร่างสร้างความเป็นไทย จะ
พบว่าอดีตได้ถูกสร้างชื้นบนฐานของคู่ตรงข้ามว่าอะไรคือไทยและอะไรคือความ
,
เป็นอื่น ในเรื่องนี้ภูมิกายาได้เสนอตัวตนของความเป็นอื่นให้แก ประวัติศาสตร์
ในการนี้ชาติที่ถูกจัดให้เป็นอื่นนั้นส่วนใหญ่เป็นรัฐสมัยใหม่ ไม่ใช่อาณาจักรเล็กๆ
น้อยๆหรือหัวเมืองใหญ่ๆดังที่เคยเป็นในระบอบการเมืองยุคก่อนสมัยใหม่ ยิ่งไป
กว่านั้น ความแตกต่างระหว่างอะไรเป็นไทยกับอะไรเป็นคนอื่น มิได้จำกัดอยู่แค่
ตัวตนทางการเมืองเท่านั้น ในทัศนะของประวัติศาสตร์ไทย พม่าเป็นพวกก้าวร้าว
ชอบรุกราน และชอบหาเรื่องทะเลาะวิวาท ขณะที่คนเขมรเป็นพวกชื้ขลาดตาขาว
แต่ชอบฉวยโอกาสโจมดีสยามในยามที่สยามกำลังเดือดร้อน ฉะนั้นจึงไม่ยากที่จะ
เห็นได้ว่าบุคลิกลักษณะของคนไทยตามวาทกรรมประวัติศาสตร์ก็คือภาพดักษณ์ที่
ตรงกันข้ามกับลักษณะของคนอื่นเหล่านี้ “ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด” อีกทั้ง
กล้าหาญและรักอิสระอย่างที่เพลงชาติบอกกับเราตลอดมานั้นเอง

บทสรุป ภูมิกายา ประว้ดศาสตร์ และความเป็นชาติ 265


ดังที่ไต้ระบุไว้ในช่วงด้นของหนังสือแล้วว่าความเป็นอื่นทำหน้าที่เป็นตัวนิยาม
^
อัตลักษณ์ในทางกลับ ( ก6ฐลใ 6 ฬ 6ก1แ1031เ0ก ) โตยไม่สนใจว่าจริงๆ แล้วชาติอื่น
เหล่านั้นเป็นหรือทำอย่างนั้นดามวาทกรรมของไทยจริงหรือไม, ชาติอื่นๆ มักถูก
ประณามว่าชั่วร้ายและสร้างความเสียหายให้กับไทย ยกตัวอย่างเช่น นักประว้ต -
ดาสต!
' ไทยมักจะโทษพม่าอย่างง่ายๆ ว่าเป็นต้นเหตุให้หลักฐานทางประว้ตศาสตร์

ของไทยสูญหายไป ทั้ง ๆที่อาจเกิดจากการที่ในขณะนั้นยังไม่มีสำนึกทางประว้ตศาสตร์


แบบสมัยใหม่มากกว่าเหตุอื่น'0 อย่างไรก็ดาม ความเชื่อในลักษณะนี้ของนักประว้ต -
ดา สตร์มิไต้จำกัตอยู่แต่เฉพาะในหมู่คนไทยเท่านั้น11

หน้าที่ของศัตรู
แนวเรื่องว่าด้วยการต่อสู้เพื่อเอกราชหรือภัยคุกคามของศัตรูต่างชาติไต้กลายเป็น
มนต์วิเศษสำหรับผลิตวาทกรรมว่าด้วยความมั่นคงของชาติทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ตัวอย่างทางประว้ตศาสตร์ที่เด่นชัดอาจลูไต้จากการที่นักประว้ตศาสตร์ไทยคนสำคัญ
รายหนึ่งได้สร้างความชอบธรรมให้กับระบบไพร่ของไทย ขจร สุขพานิช เขียน
งานคลาสสิคชิ้นหนึ่งโต้ตอบกับทัศนะแบบมาร์กซิสต์ที่เห็นว่าระบบไพร่คือหลักฐาน
แสดงการกดซี่ขูตรีดทางชนชั้นในอดีตของไทย 12 ขจรโต้ว่าความทุกข์และความ
ยากลำบาก ( และการกดชี่ ? ) เป็นสิ่งจำเป็น เสียงครํ่าครวญไม่สมควรได้รับความ
เห็นใจเพราะภัยคุกคามจากศัตรูและสงครามกำลังอยู่ตรงหน้า “เสรีภาพส่วนบุคคล
ในยามบ้านเมืองเกิดทุกข์เข็ญ ย่อมมีความสำคัญรองลงมาจากเอกราชของประเทศ
และอิสรภาพของประชาชาติ ”' 3 ยิ่งไปกว่านั้นสถานการณ์ของไทยอาจมิได้แย่เท่า
ชะตากรรมของคนชาติอื่นๆ ขจรกล่าวว่า “ถ้าท่านผู้อ่านเห็นว่า บรรพบุรุษของเราถูก
กดขี่ข่มเหงโดยสังคมของท่าน ข้าพเจ้าก็ขอเกริ่นคำตอบให้ทราบด้วยว่า บรรพบุรุษ
ของสังคมอื่น เช่น ลาว เขมร ญวน พม่า มลายู ก็ตกอยู่ในสภาพการถูกกตชี่ทารุณ
พอๆกัน หรือซาร้ายยิ่งกว่าเสียอีก”14 กล่าวอีกอย่างไต้ว่า ความทุกข์ยากเป็นเรื่อง
พอทนได้ ตราบเท่าที่เป็นไปเพื่อความมั่นคงของชาติ ยุทธศาสตร์จ้ตลำดับชั้นของ
ปัญหาแบบนี้ เป็นอย่างเดียวกับที่หลวงวิจิตรฯ ใช่ในบทละครของตน การอ้างถึง
ความเป็นอื่นมีความหมายและประสิทธิภาพทางอุดมการณ์แม้ว่ามันจะไม่มีนี้าหนัก
ทางวิชาการเลยก็ตาม

266 กำเนิตสยามจากแผนที่ : ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวาทกรรมความมั่นคงของชาติคือโรควิตกจริตขึ้นสมอง
ที่รัฐไทยป้อนให้คนไทยธรรมดาไต้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความเป็นอื่น
โตยเฉพาะอย่างยิ่งสร้างศัตรูร้าย เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับ
การควบคุมทางการเมืองและสังคม ต่อต้านคู่แข่งทั้งจากภายนอกและภายใน หาก
ปราศจากศัตรูตามวาทกรรมแล้วไซร้ กองกำดังติดอาวุธทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกอง
กำดังอาสาสมัครตามชายแดนทุกแห่งของประเทศไทยตลอดจนถึงกองทัพอาชีพ
ย่อมกลายเป็นส่วนเกินที่หมดความจำเป็น อันที่จริงรัฐและกลไกด้านความมั่นคง
ดำรงอยู่ไต้ด้วยศัตรู แม้ว่าคำกล่าวนี้จะสวนทางกับสามัญสำนึกก็ตาม เพราะในเชิง
วาทกรรม สิ่งที่สร้างศัตรูและภัยคุกคามส่วนใหญ่ของประเทศอย่างไม่หยุดหย่อน
หาใช่อื่นไกล แด่คือกลไกความมั่นคงของรัฐนั่นเอง ศัตรูจำต้องถูกนำเสนอ ผลิตซํ้า 1

หรือไม่ก็พัวพันอยู่ในทุกเรื่อง ศัตรูต้องลูกอุปโลกน์ขึ้นมาเสมอ หากไม่ถึงกับ เป็นที่


ปรารถนาอยากไต้อย่างออกนอกหน้า
พระมงกุฎเกล้าฯก่อตั้งกองกำลังของตนเองขึ้นมาในปี 2454 (ค.ศ. 1911 )
เพื่อแข่งกับกองทัพในขณะนั่น และตั้งชื่อกองกำดังนี้ว่าเสือป่า ชื่อนี้เข้าใจว่ามีที่มา
จากยามเสาระวังเขตแดนสยามในประรัติศาสตร์ ชื่อเสือป่ามีน้ยประหวัดถึงอดีต ถึง
ชายแตนระหว่าง( ความเป็น)ไทยกับคนอื่น และถึงภัยคุกคามจากศัตรู เสือป่าจึง
เป็นสัญลักษณ์ของกองกำดังที่ปกป้องความเป็นไทยจากศัตรู15 เหตุผลทำนองเดียว
กันนี้ใซัอธิบายหน้าที่ของทหารไทยเสมอ ลองตูตัวอย่างจากโอวาทครั้งหนึ่งของ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีขึ้นเพียงสองเตือนหลังการสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อ 6
ตุลา 2519 (ค.ศ. 1976 ):
บ้านเมืองเราในปัจจุบันกำลังถูกฝ่ายปัจจามิตรบุกรุกคุกคามอยู่ตลอดเวลา จน
อาจพูดไต้ว่าถ้าหากคนไทยขาตความสำนึกในชาติและความพร้อมเพรียงใน
กาย ใจที่จะต่อสู้ศัตรูของแผ่นดิน อิสรภาพและความเป็นไทยของเราอาจย่อยยับ
ไปแล้วก็เป็นไต้ ทหาร'ใทยนั่นเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุด'ในการปัองกันบ้าน
,
เมืองมาทุกยุคทุกสมัย พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ 6
ใครหรืออะไรคือศัตรู? ภัยคุกคามที่อ้างถึงในที่นี้มาจากไหน? แม้ว่าสงคราม
ในอินโตจีนจะลูกหยิบยกมาเป็นข้ออ้างตลอดหลายทศวรรษ แด่ข้อเท็จจริงคือ นับ
แด่การก่อตั้งกองทัพอาชีพเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 กำลังทหารไทยปฏิบัติภารกิจ
อย่างเข้มแข็งมากในสมรภูมิภายในประเทศเพื่อสร้างความเป็นใหญ่ทางการเมืองให้

บทสรุป ภูมิกายา ประวตศาสตร์ และความเป็นชาติ 267


กับตนเอง แต่การสู้รบกับชาติอื่นกลับไม่ค่อยมีสักเท่าไร และทุกกรณีเหล่านั้นเราก็
สามารถตั้งคำถามไต้ว่าเป็นการป้องกันประเทศหรือเป็นไปเพื่อการอื่นกันแน่ ไม่ว่า
จะเป็นกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสเกี่ยวกับดินแตนแม่นั้าโขง หน่วยทหารที่ส่งไปฝรั่งเศส
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กองทหารที่ส่งไปรบในสงครามเกาหลีและเวียดนาม กอง
ทหารรับจ้างกึ่งทางการที่ปฏิปติการอย่างลับๆ ในลาวและการสู้รบประปรายตามแนว
ชายแดนไทย -กัมพูชาและไทย - ลาว แม้ว่าศัตรูนั้นอาจตูเป็นนามธรรมเลื่อนลอยหรือ
ยากจะชี้ชัดเพียงใด แด่ยังไงๆก็ด้องมีศัตรูอยู่เสมอเพื่อตอกยํ้าความเป็นไทย
การสร้างศัตรูของชาติมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการรับรู้ของประชาชนต่อผู้ที่
ถูกถือว่าเป็นศัตรู ในปี 2528 ( ค.ศ . 1985 ) มีงานสำรวจที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก
เกี่ยวกับทัศนคติชาตินิยมของผู้นำท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์
และครูระดับตำบลและหมู่บ้าน ผลที่ออกมาไม่น่าประหลาดใจแด่อย่างใตคือ ผู้ตอบ
แบบสอบถามมีความรู้สึกอันแรงกล้าว่าประเทศไทยเป็นชาติอันเลอเลิศที่พวกเขา
ปรารถนาจะได้กลับมาเกิดอีกครั้ง ส่วนชาติที่พวกเขาเกลียดมากที่สุตคือ เวียดนาม
กัมพูชา และลาว ประชาชนของประเทศเหล่านี้เป็นพวกไว่ใจไม่ไต้ คนไทยไม่ควร
คบหาอย่างสนิทสนมหรือแต่งงานด้วย ส่วนคนพม่าไต้คะแนนความเกลียดชังเป็น
อันดับที่ 4 ' 7 หากมีใครถามว่าทำไมคนชาติเหล่านี้จึงถูกจัดว่าเป็นศัตรู ก็จะไม, มี
เหตุผลที่ชัดเจนให้ เพราะหน้าที่ของความเป็นอื่นไม่จำเป็นต้องมีคำอธิบายที่เป็น
ภววีลัย หน้าที่ของความเป็นศัตรูเพียงแด่ต้องเป็นรูปธรรม สมจริง และระบุได้ว่า
เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับตัวตนเราเท่านั้น โดยไม่สนใจว่าพวกเขาเป็นใครหรืออะไรจริง ๆ
ข้อเท็จจริงที่ว่าภูมิกายาและประวัติศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการผลิตความ
เป็นไทยและสร้างศัตรูของความเป็นไทยนั้น สามารถสาธิตให้เห็นอย่างชัดเจน
ด้วยโปสเตอร์แผ่นหนึ่งซึ่งอาจจะไม่เป็นที่เผยแพร่มากนัก แด่นับว่าเป็นแบบฉบับ
อันโดดเด่นของภาพทำนองเดียวกัน ภาพที่ 20 แสตงภาพแผนที่ที่ลอยอยู่โตตๆโตย
ปราศจากการอ้างอิงพิกัดใดๆของผิวโลกเป็นพี้นหลัง แด่เราตูออกได้ง่ายว่าเป็น
แผนที่ประเทศไทย ตรงชายแดนด้านตะวันออกมีรูปทหารที่คาดเข็มขัดกระสุนปีน
เต็มพิกัด ตาของเขาเขม้นมองไปยังแผนที่ประเทศไทยและอ้าปากกว้างราวกับ
กำลังข่มขู่หรือว่ากำลังจะกลึนกินแผนที่ประเทศไทย ตูจากเครื่องแบบ ดาวบนหมวก
และค้อนกับเคียวที่เสียบอยู่ตรงเข็มขัด เห็นได้ชัดว่าเขาคือคอมมิวนิสต์ ลักษณะที่
โดดเด่นที่สุดของทหารผู้นี้ก็คือรูปร่างของเขาที่วาดจากเค้าโครงของแผนที่เวียด -

268 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวํตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


นาม กัมพูชา และลาวประกอบกัน ด้านบนของกรอบรูปเป็นแถบสามสีของธง
ชาติไทยที่อยู่เหนือสัญลักษณ์ขององค์กรที่ผลิตโปสเตอร์นี้ สัญลักษณ์ตังกล่าว
ยังประกอบด้วยแผนที่ประเทศไทยกับธงไตรรงค์ คำบรรยายด้านล่างของโปสเตอร์
มีข้อความว่า “ตื่นเถิต...ชาวไทย ” ภายในแผนที่ประเทศไทยมีข้อความ “เราเสีย
ดินแดนไปแล้ว 352 , 877 ตารางกิโลเมตร ยังเหลืออยู่เพียง 514 ,000 ตารางกิโล -
เมตร”ด้านล่างของแผนที่เป็นคำขวัญอีกชิ้นว่า “สามัคคีคือพลัง ป้องกันชาติ หยุด!
ฉ้อราษฎร์ ชาติเจริญ”กัดลงมาล่างสุดเป็นชื่อผู้สนับสนุนการพิมพ์ “หลวงพ่อสำเนียง
อยู่สถาพร”พระผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง18

ชายแคนของความเป็น1 ใทย
การแบ่งขั้วภายใน/ ภายนอกเป็นยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุตอย่างหนึ่ง
ในการแยกแยะตัวตนของเรากับความเป็นอื่น กระนั้นก็ตามเส้นแบ่งระหว่างภายใน
กับภายนอก ตัวตนของเรากับคนอื่น( หรือศัตรู) บางครั้งก็พร่าเลือน แม้กระทั่ง
ภูมิกายาซึ่งควรเป็นตัวนิยามที่เป็นรูปเป็นร่างและเด่นชัดที่สุดของความเป็นชาติไทย
ก็มีข้อจำกัดณหลายๆจุดที่เส้นเขตแดนของมันมิไต้ตรงกันพอตีกับเส้นเขตแดนของ
ความเป็นไทย ปริมณฑลของความเป็นไทยนั้นค่อนข้างคลุมเครือ มันอาจกว้างขวาง
มหาศาลหรือจำกัดคับแคบก็ได้ในปี 2531 (ค.ศ. 1988 ) ประเทศไทยทั้งประเทศโดย
มีคนไทยในสหรัฐอเมริกาเป็นแนวหน้า เดินขบวนเรียกร้องให้สถาบันศิลปะแห่งเมือง
ชิคาโกคืนหับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ ศิลปะเขมรในศตวรรษที่ 11 กลับสู่สถานที่
ประดิษฐานเติมของมันณปราสาทหินพนมรุ้งซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศไทย อัน
ที่จริงหับหลังฯ เป็นงานศิลปะของเขมรในยุคสมัยก่อนที่คนไทยจะขยายอำนาจชิ้นมา
ในอุษาคเนย์ และอาจมิใช่ศิลปะชิ้นสำคัญที่สุดด้วยซํ้าไป แต่เมื่อสำนึกเรื่องอัตลักษณ์
แห่งชาติในหมู่คนไทยทุกวันนี้สูงชิ้นอย่างน่าประหลาดใจ หับหลังฯ จึงถูกถือว่าเป็น
สมบัติลํ้าค่าของอัดลักษณ์แห่งชาติไทย คนไทยทั้งชาติด่างโกรธแค้นที่ชาวอเมริกัน
ขโมยสมบัติของชาติไปจากแผ่นดินไทย ในที่สุดคนไทยทั้งชาติรู้สึกปลาบปลื้มใจ
อย่างที่สุดเมื่ออัดลักษณ์แห่งชาติชิ้นดังกล่าวหวนคืนกลับสู่มาตุภูมิของมันหมายถึง
ประเทศไทย ไม่ใช่กัมพูชา19 ความเป็นไทยในที่นี้จึงเป็นการยื่นขยายในเชิงวัฒนธรรม
ข้ามพ้นประเทศไทยไปจนจรดธรณีประตูของอาณาจักรนครวัด เขตปฏิบัติการของ
ความเป็นไทยไปไกลถึงชิคาโก ช่างเป็นเรื่องอัศจรรย์ยิ่งที่ชิ้นส่วนของเขมรสามารถ

บทสรุป ภูมิกายา ประวตศาสตร์ และความเป็นชาติ 269


จุดกระแสคนไทยทั่วโลกได้เพียงเพราะสถาน,ที่ประดิษฐานของมันในปัจจุบันอยู่
ภายในภูมิกายาของไทย
ตัวอย่างขั้วตรงข้ามที่เด่นซัดก็คือความเข้าใจต่อลัทธิคอมมิวนิสม์และคอมมิว -
นิสต์ไทย ลัทธิคอมมิวนิสม่ในวาทกรรมของไทยไม่ได้เกี่ยวข้องมากมายอะไรกับลัทธิ
มาร์กซัเ,นแง่ที่เป็นทฤษฏี แผนเศรษฐกิจ-การเมือง หรืออุดมการณ์อันซับซ้อน ลัทธิ
คอมมิวนิสม์คืออะไรก็ดามที่เป็นศัตรูของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นศัตรู
หมายเลขหนึ่งของความเป็นไทย ฉะนั้นจึงอยู่นอกความเป็นไทย ในโฆษณาชวนเชื่อ
ยุคสงครามเย็น ลัทธิคอมมิวนิสม์มักถูกทำ ให้เท่ากับประเทศอื่นอย่างร้สเชีย จีน
1

และเวียดนามเหนือ แต่การมีคอมมิวนิสต์ที่เป็นคนไทยย่อมชัดแย้งกับนิยามดังกล่าว
โดยเฉพาะในช่วงปลายทศวรรษ 1970 (ช่วงก่อนและหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 )
เมื่อแนวคิดสังคมนิยมแพร่กระจายกว้างขวาง และนักศึกษาชนขั้นกลางนับพันคน
เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ กระนั้นก็ตามยุทธศาสตร์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่อยู่
ยงคงกระพันมากที่สุตอย่างหนึ่งก็คือการโยงนักสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และฝ่ายซ้าย
เข้ากับภัยจากภายนอก ผลก็คีอนักศึกษาเหล่านี้ถูกเรียกว่าเป็น “ผู้หลงผิด ”หรือ
“ลูกหลานของเราที่หลงผิด”(โดยคอมมิวนิสต์? หรือโดยความเป็นอื่น? ) ซึ่งเป็นการ
จัดประเภทที่สร้างขึ้นมาให้อยู่ตรงกลางระหว่างความเป็นไทยกับความเป็นอื่น “ผู้
หลงผิด”นี้ต่อมาถูกนำไปใช้กับคอมมิวนิสต์ไทยทั่งหมด บรรดาคณะกรรมการกรม
การเมืองสูงสุดของพรรคก็เป็น “ผู้หลงผิด ”ด้วย หลังจากพวกเขาตัดสินใจวางอาวุธ
และทิ้งอุดมการณ์ ส่วนใหญ่ได้รับนิรโทษกรรมและกลายมาเป็น “ผู้ร่วมพัฒนาชาติ
ไทย ”พวกเขากลายเป็น “หนึ่งในพวกเรา”ของชาติไทย
กองกำลังหนึ่งในการปราบปรามการก่อการร้ายคือตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่ง
มีภารกิจหลักในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ไทยในชนบท คำว่า “ชายแตน”ในที่นี้เป็น
ลัญญะสื่อถึงเส้นแบ่งระหว่างความเป็นอื่นกับความเป็นไทย มากกว่าที่จะหมายถึง
นิยามทางภูมิศาสตร์ วาทกรรมว่าด้วยภูมิกายาสร้างจินตภาพที่ทรงประสิทธิภาพ
ในการทำให้กลุ่มต่อต้านในสังคมไทยเท่ากับภัยคุกคามจากภายนอก ดังนั้นตำรวจ
ตระเวนชายแดนจึงเป็นกองกำลังที่พิทักษ์ชายแตนของความเป็นไทยต่อต้านศัตรูที่
อยู่ภายนอกชายแตนนี้แหง ๆ ไม่ว่าในความเป็นจริงพวกเขาอาศัยอยู่ตรงไหนก็เถอะ
ดังนั้นเราจึงพบตำรวจตระเวนชายแดนปฏิปัตการที่ไหนก็ได้ตั้งแต่บริเวณชายแตน
ในหมู่ชนกลุ่มน้อย ( เพื่อสอนภาษาไทยและแนะนำให้พวกเขารู้จักธงไตรรงค์ พระ-

270 : กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


พุทธรูป และรูปภาพของกษัตริย์และราชินี) ในหมู่บ้านชาวนาไทยที่อยู่ในดินแตน
ไทย ( เพื่อจัดตั้งหน่วยต่อต้านคอมมิวนิสต์ ) ไปจนถึงเมืองใหญ่ เช่นเชียงใหม่ และเป็น
กองกำลังหลักที่บุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์!นเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลา
2519 ( ค.ศ. 1976 ) ด้วย
สิ่ง “ภายนอก”อาจไม่จำเป็นต้องเป็นอยู่ข้างนอกจริงๆ และสิ่ง “ภายใน”
สามารถถูกทำให้ดูเป็นภายนอกหรือต่างด้าวก็ได้ ปริมณฑลของวาทกรรมความเป็น
ไทยมีเอกภาพไปเสียหมดในทุกๆ สถานการณ์ ในทางกลับกัน คำที่ใข้ในวาทกรรม
ภูมิศาสตร์ เช่น ชายแดน กลับกลายเป็นคำที่กำกวม มันอาจหมายถึงสิ่งอื่นที่ไม่ใช่
พื้นที่หรือภูมิศาสตร์ก็ไต้ ในตัวอย่างที่กล่าวถึงช้างต้น ตำรวจตระเวนชายแดนปฏิบ้ดิ -
การอยู่ทุกแห่งหนตามชายแดนของความเป็นไทยกระทั่งลึกเข้าไปภายในภูมิกายา
ชายแดนของความเป็นไทยจึงจำกัดตัวกว่าภูมิกายามาก ภูมิกายาของไทยไม่จำเป็น
ต้องเท่ากับความเป็นชาติไทย เราอาจนึกถึงชนกลุ่มน้อยสารพัดที่อาศัยอยู่ภายใน
ภูมิกายาแด่กลับอยู่ ณ ชายขอบของความเป็นไทยในแง่ของชาติพันธุ ศาสนา หรือ
อุดมการณ์ และไม่ไต้รับการยอมรับว่าอยู่ในปริมณฑลของความเป็นไทย เหล่านี้คือ
พื้นที่อ่อนไหวที่การเผชิญหน้ารํ่า ๆ จะบังเกิด

พลังอำนาปีชองสัญลักษณ์
รหัสหรือสัญลักษณ์เช่นคำว่า “ชายแดน”หรือแผนที่ของชาติ ไม่จำเป็นต้องสื่อถึง
ความหมายตั้งเดิมแรกเริ่ม มันอาจผลิดอกออกผลผลิตความหมายที่เกี่ยวโยงกัน
ออกมาไต้อีกมากมาย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือสัญลักษณ์แต่ละอันมีศักยภาพในตัว
มันเองที่จะสื่อความหมายหลากหลาย การต่อสู้เพื่อควบคุมความหมายของสัญลักษณ์
จึงเป็นสงครามที่เข้มข้น เป็นการแช่งชันที่มุ่งบ่อนเซาะและขจัดความหมายบางอย่าง
ออกไป พร้อมกับเสนอความหมายอีกอันหนึ่งแทนที่ ฉะนั้นการยึดมั่นหรือการต่อต้าน
ความหมายหลักของสัญลักษณ์หนึ่ง ๆ จึงอาจแสดงถึงการยอมขึ้นต่อหรือแสดงถึงการ
แข็งขืนต่ออำนาจครองความเป็นใหญ่ของวาทกรรม...และอำนาจ
โดยปกติสัญลักษณ์ของความเป็นชาติเป็นการผสมผสานของวาทกรรมหลาย
,
ชุด แด ละชุตมีประสิทธิภาพโดยตัวมันเอง นั้นทำให้สัญลักษณ์ของความเป็นชาติ
รุ่มรวยและมีสมรรถนะสูง มีพลังอำนาจ ตัวอย่างที่ตีที่สุดตัวอย่างหนึ่งคือธงชาติ
ประวัติศาสตร์ว่าด้วยธงชาติไทยที่ผ่านมาเป็นการศึกษาอย่างผิวเผินเกี่ยวกับการ

บทสรุป ภูมิกายา ประว้ติศาสตร์ และความเป็นชาติ I 271


เปลี่ยนสีรูปทรงและสัญลักษณ์ 20 แต่ประวัติศาสตร์ธงชาติน่าจะทำให้เราค้นหา
ร่องรอยการก่อรูปของวาทกรรมอัตลักษณ์ความเป็นชาติได้ อะไรคือความหมาย
ของการที่พระจอมเกล้าฯ คิดค้นธงชาติ “สยาม”ขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์ที่แยกด่างหาก
จากสัญลักษณ์ของกษัตริย์? การที่พระเจ้าอยู่หัวคนเดียวกันนี้เสีอกช้างเผือกเป็น
สัญลักษณ์บนธงชาติ ขณะที่ธงของกษัตริย์ใช้ตราพระราชลัญจกรประจำตัวเป็น
สัญลักษณ์นั้นบ่งชี้ถึงอะไร? ก้าวสำคัญในการนำเสนอธงไตรรงค์เป็นธงชาติมีความ-
หมายอย่างไร? กล่าวกันว่าการตัดสินใจของพระมงกุฎเกล้าฯ ในการถอดช้างเผือก
ออกจากธงชาติ มีเหตุจากการชักธงชาติกลับหัวโตยษังเอิญ 21 ต่อให้เป็นเรื่องจริงแล้ว
ธงไตรรงค์กลายมาเป็นสัญลักษณ์ไต้อย่างไร? อำนาจเช้ามามีส่วนในการสร้างสิ่งนี้
อย่างไร?
ธงไตรรงค์ได้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์หลายคเงโดยไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ขณะที่
สัญลักษณ์ของชาติหลายอย่างจากยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกท้าทาย การปฏิวัติ
2475 ซึ่งล้มเลิกระบอบสมมูรณาญาสิทธิราชย์ได้พยายามผลักดันให้รัฐธรรมนูญ
เป็นสัญลักษณ์สูงสุดเพื่อให้คนเคารพ22 ผู้มีอำนาจในระบอบใหม่มอบหมายให้มีการ
แต่งเพลงชาติใหม่เพื่อใช้แทนเพลงของกษัตริย์ในพิธีการด่างๆ23 ยิ่งไปกว่านั้น เพลง
สรรเสริญพระบารมีก็ถูกดัดให้สั้นลงและมีการสร้างสัญลักษณ์!หม่ ๆ ขึ้นมาแข่งขัน24
ท่ามกลางการต่อสู้เหล่านี้ธงไตรรงค์ยังคงอยู่รอดมาได้อย่างไม่ถูกแตะต้อง ทำไมธง
ไตรรงค์จึงทรงพลังนัก? หรือว่าเพราะมันอ่อนกำลังกำกวม และดังนั้นจึงยืดหยุ่นมาก?
หากเป็นเช่นนั้นจริง มีการเคลื่อนความหมายหลัก การดีความ หรือหน้าที่ในกฎเกณฑ์
และพิธีกรรมที่เกี่ยวช้องกับธงไตรรงค์หรือไม่ ? 25
เมื่อธงชาติถูกสร้างและไต้รับการสนับสนุนด้วยอำนาจและวาทกรรมของรัฐไทย
ความหมายและอัตลักษณ์ของมันจึงถูกกำกับด้วยวาทกรรมความเป็นไทย ซึ่งไม่
นับรวมฝ่ายต่อต้านและคงไม่ไต้รับการยอมรับจากพวกเขา นับจากปี 2525 ( ค.ศ.
1 982 ) เมื่อกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ามอบตัวกับรัฐบาล พวกเขามอบอาวุธปีนและธง
แตงให้กับทางการ แล้วรับธงไตรรงค์และรูปภาพของกษัตริย์และราชินีกลับมา จาก
นั้นจึงร่วมกันร้องเพลงชาติไทยในตอนท้าย พิธีกรรมเปลี่ยนสถานะทางการเมือง
ด้วยธงไตรรงค์และสัญลักษณ์อื่นๆ นื้ใต้แปลงโฉมคอมมิวนิสต์ไทยภายใต้ธงแตงให้
กลายเป็นสมาชิกของสังคมกระแสหลักภายใต้ธงไตรรงค์ นี่หมายความว่าพวกเขา
มิได้เป็นไทยเต็มที่จนกว่าจะเข้าร่วมในพิธีกรรมดังกล่าวกระนั้นหรือ?

272 I กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ดิศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


กลุ่มพลังการเมืองทั้งหลายรับรู้พลังอำนาจของธงชาติและรู้ว่าธงชาติเป็นเรื่อง
คอขาดบาดตาย ณวันสุกดิบก่อนการลุกฮือของประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลา
25 1 6 รัฐบาลทหารในขณะนั้นกล่าวหาว่าขบวนการนักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์และ
ความวุ่นวายเป็นแผนของพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อตอบโต้ข้อกล่าวหาดังกล่าว เมื่อ
ประซาซนหลายแสนคนเริ่มเดินขบวน กองทัพนักศึกษาที่เดินนำหน้าขบวนและไม่มี
อาวุธได้ชูธงชาติผืนใหญ่และภาพของกษัตริย์และราชินี
สัญลักษณ์นี้ทรงพลังแค่ไหนนั้นสามารถตูไต้จากยามที่ใข้มันอย่างไม่เหมาะสม
หรือเมื่อมันถูกท้าทาย ชายคนหนึ่งถูกจับเพราะใส่ถุงเท้าที่มีรูปธงชาติไทยพิมพ์อยู่
ใกล้กับส้นเท้า ซึ่งในวัฒนธรรมไทยถือว่านี้เป็นการลบหลู่ธงชาติ 26 อีกกรณีหนึ่ง
ในเดือนตุลาคม 2518 ( ค.ศ. 1975 ) นักศึกษาได้จัดงานรำลึกครบรอบสองปีของการ
ลุกฮือเมื่อเหตุการณ์ 1 4 ตุลา จุดสุดยอดของงานอยู่ที่การเดินขบวนไปตามถนน
ราชดำเนิน ผู้จัดไต้เตรียมธงกระดาษเล็กๆ นับพันสำหรับใข้ในการเดินขบวน แต่
แทนที่จะเป็นธงไตรรงค์ พวกเขาประดิษฐ์ธงขึ้นใหม่สำหรับงานนี้โดยเฉพาะ เป็นธงสี
ฟ้าใส มีภาพวีรกรรมในเหตุการณ์ที่คุ้นเคยกันดีพิมพ์ประหับบนธงด้วยสีขาว ในตอน
แรก ศิลปินที่สร้างธงนี้ขึ้นมาถูกตำหนิว่าสีฟ้าและขาวไม่สามารถสื่อจิตใจสู้รบ (เซฟ!-
03เ ) ของการลุกฮือได้แด่ต่อมากองทัพนำเรื่องธงนี้ไปโฆษณาชวนเชื่อโจมดีนักศึกษา
ลงท้ายผู้นำนักศึกษาเห็นว่าควรยกเลิกธงวีรชนเสียเพราะอาจถูกดีความได้ว่าเป็นการ
จงใจท้าทายธงชาติซึ่งอาจนำไปสู่หายนะทางการเมืองที่คาดไม่ถึง การถกเถียงตุเดือดใน
หมู่ผู้จัดงานดำเนินไปดลอดคืนก่อนที่จะมีการเก็บธงวีรชนจนหมด แล้วต้องกว้านชื้อธง
ไตรรงค์ขนาดเล็กนับพันทั้วกรุงเทพฯ ตอนรุ่งสางแทน พวกเขากลัวหงอเกินไปไหม?
หรือสุขุมรอบคอบดีแล้ว ? หรือว่าพวกเขาไม่ควรทำธงใหม่นี้ขึ้นมาแด่แรก แทนที่จะต้อง
มายกเลิกมันในนาทีสุดท้าย ?

คำส่งท้าย
อัดลักษณ์ของความเป็นชาติเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งชองการจำแนกหมู่พวก
(๒๒๓เธ๓) โดยมีฐานอยู่บนตู่ตรงข้ามระหว่างตัวตนของเรากับความเป็นคนอื่น
แน่นอนว่าอัตลักษณ์มีหลายชนิดและหลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นรุ่น โรงเรียน ภูมิภาค
อาชีพ ความเป็นชาติ และอันหนึ่งอาจข้ดแย้งกับอีกอันหนึ่งก็ได้ แต่อำนาจของมัน
แดกด่างกันไปขึ้นอยู่กับลำดับชั้นของอัดลักษณ์ ตัวอย่างเช่น คอมมิวนิสต์เสนอว่า

บทสรุป ภูมิกายา ประว้ติศาสตร์ และความเป็นชาติ 273


ผู้ใช้แรงงานไม่ควรสังกัดตนกับประเทศใดประเทศหนึ่ง และก็ดูสมเหตุสมผลที' จะ
หวังว่าโลกที่แบ่งเป็นชาติต่างๆ นี้จะหลีกทางให้กับโลกใหม่ของสากลนิยม แต่มาร์กซ์
และเองเกลส์ออกจะมองโลกในแง่ดีเกินไปและถูกลวงตาด้วยลักษณะข้ามชาติของ
ทุนนิยม จนทำให้พวกเขามองไม่เห็นว่าการเป็นผู้ใซัแรงงานนั้นสำคัญเป็นรองการ
เป็นคนสังกัดชาติหรือแม้แต่ชาติพันธุ ไม่ว่าโครแอด เซิร์บ สลาฟ เชค ยูเครเนียน
กะเหรี่ยง มอญ ทมิฬ สิงหล หรือคนไทยภาคใต้ ผู้ใช้แรงงานแทบไม่เคยสามัคคีกัน
โดยปกติพวกเขาไปกันคนละทาง แม้แต่ความสามัคคีที่อิงกับอัดลักษณ์ชนิดหนึ่งก็
อาจมลายหายสูญไปได้เพื่อหลีกทางให้กับการจำแนกแบบใหม่ที่อิงกับอัดลักษณ์
อีกชนิดหนึ่ง แม้แด่ชาติซึ่งเป็นอัดลักษณ์ที่ยังเข้มแข็ง มีรากมายาวนานและเป็นที่
ปรารถนาของผู้คนก็อาจสลายตัวได้วันหนึ่งข้างหน้าชาติต่างๆก็จะมลายไป อาจถูก
แทนที่ด้วยอัดลักษณ์ของชุมชนอีกแบบหนึ่งซึ่งคงเหนือกว่าชาติ
อัดลักษณ์ที่ผูกติดกับความเป็นชาติไม่ได้ถ่ายทอดคุณสมบัติเนื้อในตาม
ธรรมชาติใดๆของความเป็นชาติเลย แค่ถ่ายทอดสิ่งที่มันสร้างขึ้นมาเอง คำนิยาม
และปริมณฑลของความเป็นชาติไม่ไต้ดำรงอยู่ดั้งเติมจากไหน มันถูกประกอบสร้าง
สลักเสลา บันทึก และปันแต่งขึ้นมา ความเป็นหนึ่งอันเดียวกันของมันมิได้มีอยู่แด่
ดั้งเติม อัดลักษณ์ถ่อรูปถ่อร่างขึ้นมาจากองค์ประกอบที่เป็นผลของวาทกรรมที่
ทำหน้าที่นิยามปริมณฑล สร้างความหมาย หรือปะทะกับวาทกรรมอื่นอยู่เนืองๆ
อัดลักษณ์ไม่เคยแน่นอนตายตัว กำกวมตลอดเวลา ขัดแย้งในตัวเอง คับแคบเกินไป
ทว่าก็กว้างมากไป การเผยตัวของอัดลักษณ์เป็นแค่การประสานกันชั่วคราวของ
วาทกรรมบางชุดซึ่งร่วมกันสถาปนาอำนาจนำเหนือปริมณฑลของความหมายหนึ่งๆ
แต่วาทกรรมอื่นก็มักดำรงอยู่ในบริเวณตามชายขอบของปริมณฑลนั้นด้วย วาทกรรม
ใหม่สามารถอุบัติขึ้นมาท้าทาย บ่อนเซาะ และผลักไสแทนที่วาทกรรมที่ครอบงำอยู่
แล้วจึงบันทึกความหมายใหม่บนปริมณฑลจนกลายเป็นอัดลักษณ์ใหม่ อัดลักษณ์
ดกอยู่ในวิกฤติการณ์เนื่องมาจากการแข่งขันและเข้าผลักไสแทนที่ ตังนั้นมันจึง
เปลี่ยนแปลงได้เสมอ อัดลักษณ์จึงมีชีวิตที่ไม่นั้นคงและไม่ต่อเนื่อง เต็มไปด้วยช่วง
ขณะของการเคลื่อนเปลี่ยน ขัดจังหวะ แตกหัก และเข้าผลักไสแทนที่ ฉะนั้นการ
ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นชาติจึงควรขจัดมายาภาพว่าด้วยอัดลักษณ์ ยิ่งไปกว่านั้น
ด้วยเหตุที่การสร้างสรรค์ความเป็นชาติเต็มไปด้วยการแข่งข้น ต่อสู้ และลับเปลี่ยน
แทนที่ การศึกษาวาทกรรมอัดลักษณ์จึงควรเป็นการศึกษาสิ่งที่กำกวม ความเข้าใจ

274 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ที่ผิดๆ ช่วงขณะที่ผันผวนของการสื่อความหมาย และพลังปัจจัยแวดล้อมที่บ่มเพาะ
อัดลักษณ์เช่นว่านี้
บทบาทของแผนที่ในงานประวิดศาสตร์ที่ผ่านมามักเป็นเพียงตัวประกอบ บัดนี้
เราควรยอมรับในพลังอำนาจของมัน หนังสือเล่มนี้ให้ความสำคัญแก่มันเกินจริงไป
หรือเปล่า ? อาจเป็นไปได้ แต่ที่แน่ๆ ก็คืองานอื่นที่ผ่านมาให้ค่ามันน้อยเกินไป แผนที่
ไม่ได้เป็นแค่วิธีการหรือคำกริยาของมนุษย์ แด่อาจกลับกัน เราน่าจะกล่าวถึงเทค-
โนโลยีอื่นๆ ไตในทำนองเดียวกัน คือเทคโนโลยีสามารถเป็นประธานแบบอมนุษย์ที่
แปลงมนุษย์ให้กลายเป็นแค่พนักงานของมันหรือกระที'งเป็ ่ นวัตถุที่ถูกกระทำโดย
เทคโนโลยีนั้น ผู้ที่ไต้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างเช่นนักทำแผนที่ มักไม่ปรากฏซื่อและไม่ควร
ต้องรับผิดชอบต่อความจริงที่ว่าผลงานของพวกเขาอยู่เหนือการควบคุมของตนเอง
มนุษย์มักถูกมอบหมายใหัมีบทบาทหลักในเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ พวกเขา
สมควรมีสถานะทางประวัติศาสตร์อย่างด้อยค่าเจียมตัวกว่านี้ เช่นเป็นคนรับใช้ของ
เทคโนโลยี นี่อาจจะเป็นสิ่งกำลังเป็นอยู่จริงๆในขณะนี้
งานประวัติศาสตร์ว่าด้วยชาติตามปกติมักเต็มไปด้วยเรื่องราวของวีรบุรุษ ผู้นำ
อัจฉริยะ การต่อสู้เพื่อเอกราชความเจ็บปวดจากนั้ามือของศัตรู และอื่นๆ เรื่องเหล่า
นี้มีค่าแก่การจดจำในแง่ว่าเราเคยจำอดีตของเรามาอย่างไร แต่อันที่จริงประวัติ -
ศาสตร์ว่าด้วยกำเนิดของชาติล้วนเต็มไปด้วยกรณีน่าอดสู ไร้เหตุผล บังเอิญ ไม่ไต้
ตั้งใจแต่มีเสน่ห์ และเหตุการณ์ซวนขัน รวมถึงการปกปิดทางอุดมการณ์และจิตวิทยา
มากมาย ไม่ว่าประวิติศาสตร์แบบนี้จะมีคุณค่าและมีประโยชน์หรือไม่ คงปฏิเสธไม่ไต้ว่า
นี่ก็เป็นประวัติศาสตร์อีกอย่างที่อยู่ในอดีตเดียวกันกับเรื่องอย่างแรกนั้นแหละ
แผนที่สร้างชาติขึ้นมา แม้ว่าจะไม่ใช่โดยลำพังตัวมันเองก็ตาม แด่การให้เกียรติ
กับแผนที่ซึ่งไม่ไต้เก่าแก่อะไรแถมมีกำเนิดทางเทคนิคอันตํ่าต้อยคงเป็นสิ่งยากจะ
รับได้ เพราะเท่ากับไปถอนเกียรติภูมิของชาติที่ไต้ฝากไวิในบัญชีของประวัติศาสตร์
ออกมา กระนั้นก็ตาม ทำไมการแสวงหาจุดกำเนิดของชาติในอดีตอันไกลโพ้นจึง
สำคัญยิ่งนัก? เหตุใดจึงไม่ดูที่องค์ประกอบซึ่งเห็นอยู่โต้งๆของความเป็นชาติ แล้ว
วิเคราะห์มันอย่างระมัดระวัง เพื่อจะได้เห็นการประสานที่ไม่คงทนถาวรของวาทกรรม ?
เราอาจกล่าวอย่างง่ายๆว่า กำเนิดของ “สยาม ”มาจากการประสมกันของตัวอักษร
ส - ย -า- ม ฉันใด ภูมิกายาของมันก็มิไต้มาจากไหนเลย หากแต่กำเนิดมาจากแผนที่
ก็ฉันนั้นนั้นเอง

บทสรุป ภูมิกายา ประว้ตศาสตร์ และความเป็นชาติ 275


เชิงอ33ถ
บ53ณานุก5ม
ดัชนี
หมายเหตุเกี่ยวกับการอัางอิง

-
การอ้างถึง 7/76 8มโท6/ ?30615 ( เอกสารเฮนรี เบอร์นีย์ ) อยู่ในรูปของ 88 ( เล่ม ) / ( ภาค )
ตัวอย่างเช่น 884 / 1 หมายถึง เล่ม 4 ภาค 1 หมายเลขชองเล่มที่ในที่นี้หมายถึงการนับเล่ม
.
ดามตัวเอกสารชั้นต้น ไม่ว่าจะปรากฏอยู่ในฉบับตีพิมพ์เล่มใดก็ตาม เพราะหมายเลขของเล่ม
เอกสารชั้นต้นไม่ดรงภับการนับเล่มพิมพ์ ตัวอย่างเช่น เล่มที่ 2 ของเอกสารชั้นต้นดีพิมพ์เป็น
สองเล่ม นอกจากนี้วิธีนับเรียงหน้าหนังสือของเอกสารทั้งชุดนี้ก็ไม่คงเสนคงวา ในเล่ม 1 และ
เล่ม 3 ของเอกสารชั้นด้นนับหน้าเรียงกันจากต้นจนจบไปดลอด 4 ภาค และ 2 ภาคดามลำดับ
แด่ในเล่ม 2 และเล่ม 4 เริ่มด้นนับหน้าหนึ่งใหม่ทุกครั้งที่ขึ้นภาคใหม่ เล่มที่ 5 มีเพียงภาคเดียว
เพราะฉะนั้น การอ้างถึงหมายเลขภาคจึงจำเป็นเฉพาะกับเล่ม 2 และเล่ม 4 เท่านั้น แต่จะไม่
อ้างถึงหมายเลขภาคในเล่มอื่นๆ เพื่อป้องกันความดับสน

ประชุมพงศาวดาร สิ่งพิมพ์ชุดนี้รวมเอกสารประกัดิศาสตร์และบทความสารพัดชนิด มี 80
ภาคด้วยกัน ฉบับพิมพ์โดยคุรุสภาที่ใช่ในหนังสือเล่มนี้แบ่งเอกสารออกเป็น 50 เล่ม เพื่อให้
มีแต่ละเล่มพิมพ์ความหนาพอ ๆ กัน โดยไม่สนใจว่าแด่ละภาคจะเริ่มด้นและจบในเล่มพิมพ์
เดียวกันหรือไม่ ดังนั้นการอ้างจะอยู่ในรูปของ ประชุมพงศาวดาร ( เล่ม) / ( ภาค). ตัวอย่าง
เช่น ประชุมพงศาวดาร 34 / 62 และ 35 / 62 หมายถึงเล่ม 34 และ 35 ในภาค 62 , ประชุม
พงศาวดาร 11 / 13 และ 11 / 14 หมายถึงทั้งภาค 13 และ 14 อยู่ในเล่ม 11 ขณะที่ชื่อของ
เอกสารจะปรากฏอยู่ในเกือบทุกกรณีในรูปเดียวกับชื่อบทความในหนังสือ

278 I กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


เชิง03รถ

การอ้างอิงเอกสารในเชิงอรรถจะอยู่ในรูปย่อ ส่วนเอกสารที่อ้างถึงบ่อยครั้งและชื่อยาวจะอ้างอิง
เต็มรูปเฉพาะในการอ้างอิงถึงครั้งแรกเท่านั้น หลังจากนั้นจะเป็นชื่อย่อ ล้าหรบรายละเอียดที่
สมบูรณ์สามารถดูได้จากบรรณานุกรมท้ายเล่ม

บทนำ การดำรงอยู่ฆองความเ!เฬชาติ
1 . ร/๘ก6ห 1^0 -ก!กฎ กเ6 -ล/๘, 9 ปบกอ 1986.
โ โ

2. ละออทอง อัมรินทร์รัดน์ , “การส่งนักเรียนไปศึกษาต่อด่างประเทศดั้งแด่ พ.ศ . 2411 -


2475, ” หน้า 99 -100.
3. เพิ่งอ้าง, หน้า 212 - 213.
4. สิริลักษณ์ ศักดั้เกรียงไกร, บ.ก., พระยาสุริยานุวัตร ( เกิด บุนนาค ) นักเศรษฐศาสตร์
คนแรกของเปีองไทย , หน้า 27 - 30.
5. สมเด็จฯ กรมพระยาด่ารงราชานุภาพ, “ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ, ”
หน้า 6 - 7.
6. 7เาสการออเ* ผบโกกอก0เส, กกลแลกย ลกป {ก6 ยล{วลก&56 ก*โ656ก06 1941 - 1945 , {ว[ว.
'

21 - 41 .
7. \๖\6 . นอกจากนี้ ลูคำประกาศด่าง ๆ ของรัฐบาลช่วงนั้นใน กรมโคสนาการ, ประมวนวักน -
ธมแห่งชาติ.
8. คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ , รายงานการสัมมนาเรื่องเอกลักษณ์ของชาติกับการ
พัฒนา , หน้า 1 .
9. คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ , เอกลักษณ์ของชาติ .
10. จากสุนทรพจน์ของ ม.ร.ว. คึกฤทธ ปราโมช ดู เพิ่งอ้าง , หน้า 9.
1 1 . เะ0เ๓บก๘ เ-6สอเา, ก*0แไเ0ลเ 8 ธ16กา5 0เกแฎกเลก๘ 8บโ-กาล , เวเว. 285 - 286 , 290 - 292.
^
เชิงอรรถ 279
12 .
1 3.
=
83? รสร!©/'ก 1 00ก(วกา!อ ค6ฟ6IV, 18 ปบก© 1987 , 9 53. -
8โบ๘ห!33ก ปบกาIวลเล, “เก!6 โ681 ลกป รโ©3©บโ© 6โ0น|ว8, ” [ว. 1 30.
14. สัมภาษณ์ดร. เขียน ธีระวิทย์ใน มติชนรายวัน, 8 เมษายน 2528 , หน้า 2.
1 5. รปพลโป รล!ป, 0/6ก!ล//5กา.
1 6.
^ ^
&/13โ แอเวลโ! ลกป คอ!ว© โ! 7ล/ เอโ, 6๘8., 0อก !, เศ&ลก/กฎ 3ก6 ?0\#6โ เก 30ม 6ลร!
/\ร/ล, ก. 7.
'
'
^
1 7.
18.
^
8©ก©ปเอ! กป© โรอก, “31บปเ68 อ!1เา© ๆ ห31 ร!©!©: 7เา© ร!ล!© อ! าโหล1 ร!บปเ © ร,”[ว. 1 96.
"

7!าอก9๐หฌ่ พเกเอเาลเฒเ , “รเลฌ [เ/เลกก©ป: & แเร1อโ/ อ! 1!า© (3© 0 -!ว0ป/ 0! รเ3กา ,”
(3โ!เอเ6 ) เวเว. 1 55- 156 ประเดนนี้ถูกกล่าวถึงในคำวิจารณ์หลังการประชุมโดยผู้ดำเนิน
รายการ ดู “คอร อโเก!”๖V 6©!า©ก พเ]© V©ผลโป©ก© เก \^0เ. 3, [ว!. 2 , กก. 650- 652 .
^
1 9.
ก. 8.
^
จากบทนำของ ๓ลโล คอก9รลก!อ!ไ ใน 7โลอ/! / /อกล/ 3กป 0[า3ก9เกฎ 7กํ3เ IVอ/’/อ/ \/เ6 พ,
'

20. สิทธ บุตรอินทร์ , โลกทัศน์ชาวไทยลานนา; สังคมศาสตร์ ฉบับโลกทัศน์ชาวลานนา ;


จำเริญ แสงดวงแข, โลกทัศน์ชาวไทยภาคใด'ที่ปรากฏในเพลงกล่อมเด็ก , สุธิวงศ์ พงศ์-
ไพบูลย์, บ.ก., [สกทรรศน์โทบภาค!ดํ; จารุวรรณ ธรรมรัตร, โลกทัศน์ทางการเมืองจาก
วรรณกรรมอีสาน; ปัญญา บริสุทธิ,้ โลกทัศน์ของคนไทย วิเคราะห์จากวรรณคดีคำสอน
สบัยสุโขทัย และ เสาวภา ไพทยวัฒน์, “โลกทัศน์ของคนไทยสมัยด้นรัดนโกสินทร์ 2325-
2416.”
21 . โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานของปัญญา บริสุทธิ้ที่อ้างถึงข้างด้น สิ่งที่เขาเรียกว่าการวิเคราะห์
1

นั้นเกือบจะเป็นการคัดลอกข้อความจากหลักฐานแบบคำต่อคำ .
22. ลูบทรายการวิทยุไดํใน เพื่อแผ่นดินไทย.
23. มีรายการวิทยุและโทรทัศน์อื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันนี้อยู่อีก แมัว่าไม่ใช่ทุกรายการจะเป็นที่
นิยมของประชาชน และบางรายการภิมีคนลูหรือฟังน้อยมากเพราะมีวิช้การนำเสนอที่น่าเบื่อ
แต่รายการเหล่านี้เป็นส่วนหนี้วของความพยายามสร้างมาดรฐานให้กับความเป็นไทย ดู อยู่
อย่างไทย สิ่งพิมพ์รายปีของบทรายการวิทยุและโทรทัศน์ของรายการที่มีชื่อเดียวกัน.
24. เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, “บทวิจารณ์หน้งสิอ 7!?ล/ /ลกอ/: รออ/©!/ 3ก6 7อ/!/ /อร, ”หน้า 406.
' '

25. ทัศนะดังกล่าวนี้ลูจะปรากฏชัดเจนที่สุดในงานของน้กวิจารณ์สังคมชื่อดังและมีผลงาน
มากที่สุด คือ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และลูกศิษย์ของเขา ในภาษาอังกฤษดู เช่น รเสกา เก
0/7ร/ร; ร©©อ/ร อ! ค©ลอ©: 7\ 8บอ/อ//?/ร! V เรเอก Iอ/’ 86ก6 พเกฎ รออ/©!/ และ ค©//ฐ/อก
' '

^
สกอ/ 0© \/©/อ/วโท©ก! นอกจากนี้ ดู อ0ก3เอ1 รพ©ลโ©โ, “รบเล รพลโล รล’8 ธบอ]ป!าเ31
Vเรเอก เอโ ค©ก©ผเก9 รออ!©!/ ,”กก. 17 - 57 ปัจจุบันแนวศิดนี้เป็นที่นิยมและได้รับการ
^
ยอมรับอย่างกว้างขวางจากทั้งนักวิชาการและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ส่วนผู้นำทาง
อุดมการณ์[นสายนี้ที่มีชื่อเสียงอีกคน คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะลี หมอที่
ผันตัวเองมาเป็นนักวิจารณ์ดังคม.
26. สุลักษณ์เคยด้องข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปี 2527 และ 2534 ( ค.ศ . 1984 และ
1991 ) ในคดีเมื่อปี 2534 เขายงโดนข้อหาหมิ่นประมาทผู้บัญชาการทหารบกด้วย แด่ใน

280 I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ความเป็นจริง เป็นที่รู้กันดีว่าสุลักษณ์นั้นเป็นพวกนิยมกษัตริย์ งานเขียนจำนวนมากของ
เขามีเนื้อหาเกี่ยวกับประวิติและบทดัมภาษณ์สมาชิกราชวงศ์ การสนับสนุนอย่างแข็งขัน
ต่อสถาบันกษัตริย์ของสุลักษณ์ยังปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในงานเขียนหลายชิ้นของ
เขา อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้ที่มีความคิดเช่นนื้มิได้เสนอให้เราต้องย้อนกลับไปสู่อดีต แต่
เดือนให้เอาอย่างคุณค่าและสถาบันตั้งเดิมของไทย ซึ่งพวกเขาถือว่าเป็นวิถีทางแบบ
ไทยในการมุ่งไปสู่อนาคต.
27. ตู อภิชาติ ทองอยู่, วัฒนธรรมกับชุมชุน: ทางเสือกใหม่ของงานพัฒนา ในบรรดาผู้มีชื่อ ,

เสียงเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับแนวคิดแบบนี้ในไทย ที่สำคญได้แก่ บำรุง บุญปัญญา, ตร. เสรี


พงษัพิศ และ ตร. กาญจนา แกวเทพ.
28. ข้อความที่อ้างอิงนำมาจากโฆษณาหนังสือ จารึกไวัท่ามกลางยุคสมัยอันสับสน ที่เขียน
โดยอภิชาติ ทองอยู่ ดามที่ปรากฏในวารสารสั งคมพัฒนา 11 , ฉบับที่ 5 - 6 ( 2526 ) ,
1
'

หนัา 104 .
29. สง่า ลือชาพ้ฒนพร และอาทร เตชะธาดา, บ.ก., วิกฤตการณ์ทางเอกลักษณ์.
30. พระประชา ปสนฺนธมฺโม, “ท่าน'พุทธ'ทาสกับการปฎิรัติ วัฒนธรรม , ” หนัา 76.
'

-
31 . สำหรับเรื่องของธรรมกาย ตู ค©!© โ ป30เ(ร0ก, ธม๘๘!/ /ร/ท, เ 6ฎเปกาอปอก อก๘ 0อกปเ0เ: 7เ16
?0แ1เ03เ เ^บก0ป0กร 0เ งโ๖อก 7/1อเ ธม๘๘เาเรกา ตูบทวิพากษ์ของสุลักษณ์ ใน มติชนสุด -
สัปดาห์, 13 กรกฎาคม 2529.
^
32. เ^อ!' อร!6โก 500/10๓/๘ ธ6ฟ©ห/, 18 ปบก© 1987 , [ว[ว. 53- 54 สำหรับพระรูปนี ตู
(วเา3โ!©ร 1
^
I . ©765, “ค0แ!เ031 0โเรเร 3กป [ฒเ!3ก! ธบ๘0แาเรกๆ เก อ0ก!©๓[ว0โ3เ7 7/131-

เอก๘, [ว[ว. 246 - 248.


^
เ 3กป” และ อ©V!ป เ อโ©II 3กป อเาฟ-3ก3ก 83๓บป373ก1]3, ค0////๘3/ 00/1/I อ! เก 7/13/- '

33. ตู โ50โก[ว!โอ๓ 13๓แา3๓, “800131 0โ'*9เก 3กป !/1© อ© 76 เ 0|ว๓© ก! 0!!/16 (ว0๓๓บกเร!
'

ลเฯV 0 7เา3แ3กป,,’[ว[ว. 205- 209 และ 212 - 215; และ 03ผเก อเาบ!!๓3, 7/16 7/56
*
อก๘7อ!! 01 ปา& 0อกากาบกเร!7อโ!V 0เ 7/13//3/1๘ (1973-1987 ) , บทที 1 และหน้า 44 - 60
เป็นการยากที่จะวัตออกมาว่า “ปัจจัยจีน”นี้เป็นสาเหตุมากน้อยแค่ไหนของความแตกแยก
ระหว่าง พคท. กับปัญญาชนหนุ่มสาว อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเหตุผลหนึ่งทีบรรดาผู้ที่หัน
1

หลังให้กับ พคท. กล่าวถึงมากที่สุด ( ตู Vบ3ก9 โ3! พ©๘©!, 7/16 7/13/ 73๘/๘3/5 3/1๘ ป16
0อกากาบกเร! 73๘/).
34 ตูตัวอย่างเช่น “รัฐไทยกับจักรวรรดินิยม,”หน้า 15 - 35 โดย ตันติสุข โสภณสิร.ิ
.
35 . สำหรับบริบททางประวิดศาสตร์ของมาร์กซิสต์ไทยในช่วงทศวรรษ 1 950 รวมทั้งการหยิบ
ยกไปใช้และผลกระทบของมาร์กซิสด์ในทศวรรษ 1970 ตู 0โ3เ9 ป. ค©Vก0เปร 3กป เ-Vร3
^
แ0ก9 , “ © / Xเร๓ เก 7เา3เ เ-แร!0โเ03เ 3!บป165, ”[ว;ว. 77 -104.
36. สมเกียรติ วันทะนะ, “รัฐสมมูรณาญาสิทธึ๋ในสยาม 2435 - 2475” นอกจากนี้ ตูการ
วิวาทะของนักวิชาการรุ่นใหม่ในประเด็นเดียวกันนี้ใน ปาจารยสาร 8, ฉบับที่ 3 (มิถุนายน-
กรกฎาคม 2524 ): 14 - 57.
37. กปโ©ผ 7บเ10ก 6! 3เ ., 7/13แอก๘: (~เ00เ5 0เ อ0ก///๘!.

เชิงอรรถ 281
*
38. 4ก๘©โรอก , “ร!บ๘เ6ธ 0 ๒© 7๘ลเ 81316 , ” เวเว. 211 - 215 ไต้ถกเถียงเกี่ยวกับชนชาติ
บทความนี้โดยรวมยังวิพากษ์มายาคติเกี่ยวกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของ
กลุ่มน้อย
รัฐไทยในต้านอื่นๆ ด้วย.
39. 01าลโเ©ร ค. ['(©ห©ร, 7/1ส//ลก๘: 81/๔๘/1/51 /(/ทฐ๘อ๓ 55 0๘©โ-ท /V©1/00 -5/31© นอกจาก
นี ดู 4ก๘โ©ผ 7บเ10ก , “นฌเ!ร อ1 1๘601091031 ออฌเกล!เอก ลก๘ ๒© คอโ๓ล!เอก 01 รออเลเ
ออกร0เ 0บรก©รร”เกี่ยวกับความแดกต่างหลากหลายของดังคมและขอบข่ายของจิตสำนึก.
40. X©กก©ชา 8. แ3แ ลก๘ ป0เาก X. พหเ1๓0โ©, ©๘ร., /ว/0โ-©!/©/7 เก 8ลโ•/ห ร001/16551
^
45/5/1 /-//ร!0โ-ห: 7/16 0๘ฐ/โ75 0/ 301/1/16551 45/5โ1 51ล1©0โล!!ในส่วนบทนำ และบทนำ
ของ อลVI๘ ผเลโโ ลก๘ 4.0. [พเก©โ, ©๘ร., 3001/16551 45/5 เก 1/16 91/1 10 741/1 0©ท1บโห.
41 . ออกล[๘ X. [ะกากา© โร0ก, ‘“รอบ๒©ลร! 4รเ5’: ผเาล!’ร เก ล ผล๓© ?,”[ว[ว. 5- 14.
42. ธ©ก©๘เอ! 4ก๘© โร0ก, เกา5ฐ//?©๘ 00๓โทบ/?/!/©ร: 8©1/601/0/75 0/7 1/16 0๘ฐ/ท 5ท๘ ร/วโ-©ล๘
01 ผล!/0ทล//ร๓.
43. ดูตัวอย่างเช่นงานคลาสสิคเกี่ยวกับการนิยามตัวตนของพวกคะฉิ่นและฉาน (ไทใหญ่ -
ผู้แปล ) ใน บ©ล©[ , /-//ฐ/1/ลท๘ 8บโ๓ลและดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนิยามตัวดนเชิงเชี้อชาติ

ในบทนำของ คโ©๘ ^ 8ลโ๒, ©๘., 81/1ท/© (รโ0บ/วร ลท๘80มท๘ลท่©ร: 7/16 รออ/ส/ (วโฐลท/-
โ ' •

251/0ท 01 0บ/!มโ-ล/ อ! /!© -©ท©© และ 0หลโเ ©ร 7. X©ห©ร, ©๘., 81/10 /0 4๘ล/ว!ล!/0ท ลท๘

/๘©ท!/!ห: 7/76 / ลโ©ก 0ก 1/76 7/1ล/ 8๓ท!/© เพํ๒ รบ/'๓ล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทของ


( โ'

X©ห©ร, Xบกร!ล๘!© โ, 1©[าฌลก และ บทนำ .


44. ที่ผ่านมายังไม่มีการค้นคว้าเกี่ยวกับการจินตนาการใหม่เกี่ยวกับเวลาอย่างลึกซึ่ง ซึ่งนี่เป็น
ประเดนที่ควรมีการวิจัยด่างหาก นอกเหนือจากงานของแอนเดอร์ดันแลัว งานที่บอกเรา
ว่านาฬิกากลไกได้เข่ามาเกี่ยวข้องกับชีวิดสมัยใหม่มากเพียงใดก็คืองานของ อลVI๘ บลก-
๘©ร, 8©หอ/บ!เอก เก 7/๓©: 0/00/(ร ลท๘ 1/16 /\4ล/(เกฐ 01 1/16 / 0๘6๓ พอโ-/๘.
^
^
45. 80๘© โ! 0. รลอ , 1-1บกา3ก 7©โท!อโ /ล//!ห: /!5 71?60โห ลท๘ 8/510 /ห คำจำกัดความที่ใหใน
' '

ที่นี้เป็นการอัางที่นำมารวมกันจากข้อความหน้า 19 - 20 และ 216.


46. แวเ๘., [ว. 30 สำหรับผลกระทบของพฤติกรรมพื้นฐานทั้งสามประการนี้ ดู หน้า 21 - 22
และ 31 - 34.
47. 8๘๓บก๘ บ6ล0เา , ‘ๆาา© คโอก!!©โร 01 ธบโฌล,” [ว[ว. 49 - 68.
48. 7©] ธบกกลฐ, 8/0ฟท©/ล/ 4๘กาเกเร!โ-ล!เอก 013/5๓ 1892 - 1915, [ว[ว. 2 - 3, 17 -19.

บทที่ 1 ภูมิฃองคนพื้นถิ่นและแผนที่โบราณ
1. ล้าหรับงานแปลไตรภูมิพระร่วงและการถกเถียงเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาของไตรภูมิใน
โลกภาษาอังกฤษ ดู คโลก 8. ค©หก0เ๘ร ลก๘ !\/เลกเ 8. ค©หก0[๘ร, 7/7โ-©© I 0โ-/๘ร
^
4000โ-๘/ทฐ 10 Xเกฐ 8บลทฐ: 4 7/1ล/ 80๘๘/7/51 005๓0/อฐห.
^
^ ^
2. /แ๐หล©! VI๐ ©โห, “4 ผ0!© อก 16 © 0ล1© 01 ๒© 7โลแวหบ๓เ ล๒ล,”[ว[ว. 275- 284.
3. 8. ป. 7© โพเ6เ , “เห!บลก9 1 หลเ ลก๘ !เา© พอโ!๘: 0หลกฐเกฮ ค©โร[ว©อ!IV©ร อบโเก9 ๒© 7!าเโ๘
"

ค©!9ก.”

282 กำเนิตสยามจากแผนที:่ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


4. สำหรับบทคัดย่อตำราด่างๆในคตินี้ตู สุภาพรรณ ณ บางช้าง, “วรรณกรรมโลกศาสตร์
ในพุทธศาสนาเถรวาท.”
5. จักรวาลทีปนี , ตูบรรณานุกรม.
^ ^
6. 0โล!9 ป. ค©Vก0๒8, “8บป๘๘!81 003๓09โ3๘ V 1ก โ 31 เ-เ!ร!0โ7 ผ!! ๘ ร0©ด!©! ค©!©โ©ก©©
"

๒ เ^แก©!©©ก!๘ -0©ก!บโV 0บ!1 บโ© 0๘3ก9 © ,”00. 203- 220.


7. ตัวอย่างเช่น 8. ป. 7© โพเ©1, “/ตํบลก9 7๘ล! ©ก๘ ชา© พ©โ๒, ” 00. 5 - า 0.
8. ค0บ©โ! แ©เก©-6© ๒© โก , 0อกออก( เอกร อ! 5(3(0 อกอ! X เกฎร/ใ /0 เก ร©© //ใ©©ร/ /\รเส .
9. ตูตัวอย่างเช่น นวโโ©เก© 0©3เ0เ^ , ©๘., 0©โใ /©โร, ร/โท๘0เร , อกอ! /-//©โ©โ©/ไ/©ร: รรรฝ็/ร อก
( เาอ 01อรธเออ! ร/© /©ร อ( ร©บ//? ©© ร/ /\ธเอ และ รเา© I V เะโโเก9๒ก , 1\/เออกเกก อกอ! ค© IV©โ
เก ร©บ//ใ©©ร/ 4รเอก ค©© /โท.
1 0. คโลก 8. ค©Vก0๒ร, “8บ๘๘๘!ร๓ ©3 บก!V © โร©! ค© แ9 เ0ก ©ก๘ 33 017๒ ค©!!910ก,,’00.
^
1 94 - 203 สำหรับรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวความคิดพุทธศาสนาที่แบ่งเป็นสามระดับ
ตู ค©V ก0๒ร ©ก๘ ค©Vก0๒3, 7 /าโ©© พ© /๘ร, 00. 11 - 22.
"

^
11 . 0๘©โ!©ร ค. ©7©ร, “ธบ๘๘๘!ร! ค!!9โเ๓©96 0©ก!©1'ร ลก๘ !เา© 7พ©! ©©โ V^ I 6 ,,,
00. 71 -89.
^
12 ภาพที 1 นำมาจาก “เ\เ0 ! โ ๘ © โก 7!าล! เ\4ลกบ30โ!0!: 8บ๘๘๘!ร! /ต© ํ กบล!, ” ใน ร/าลก /

^
ผ0โ!๘© โก 7๘ล! / ๘๓©โ /VI©กบ30โ!0! 00แ60ช0ก, ก0.288 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ป0/าก /VI.
80/1013 00แ60ช0ก, 00โก6แ บก!V ©โร!! V บทสรุปเขียนว่า “รวมเอกสารแผ่นพับเกี่ยวคับ
คัมภีร์พุทธศาสนาที่สำคัญและเรื่องจิปาถะ ประกอบด้วย ‘สร้างเจดีย์อย่างไร,, ‘ตั้งฉายา
ให้พระภิกษุใหม่อย่างไร,, ...ซึ่งเชื่อมต่อนครรัฐของพุทธที่สำคัญในอินเดียเข้ากับองค์เจดีย์
ที่ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของจักรวาลในจักรวาลวิทยาแบบพุทธ ส่วนสุดท้ายคือส่วน
ที่เป็นสีตำและแดงและมีแผนที่ของสถานที่สำหรับการจาริกแสวงบุญของพุทธศาสนาใน
อินเดีย” น่าที่งที่ ป03©0๘ รด/าพลโ!2๘© โ9 สามารถถอดรห้สเอกสารออกมาจนได้บันทึก
ภูมิศาสตร์ของการจาริกแสวงบุญ อย่างน้อยก็เป็นการถอดรห้สที่นำคล้อยตาม ตู 0ลV!๘
พ00๘พลโ๘, ©๘., เ-เ7ร. /©0เ อ! 0ออ(อกออก\ใ/, 70เ . 2 , 0!. 2 ขอขอบคุณศาสตราจารย์
ป0360 /า รด๘พ©! โ 2๘© โ9 ที่กรุณาแนะนำเอกสารนี้และถกเถียงสิ่งที่ท่านคันพบกับผู้เขียน

นอกจากนี้ ตูงานศึกษาอีกขึ้นเกี่ยวกับพื้นที่ของการจาริกแสวงบุญในภาคดะรันออก-
เฉียงเหนึอของไทยใน ป©๓©ร 8. คโบ©รร, “/VI ©โ!! -ร©©๒ก9 เก คบ๘!!ด,,, 00. 169- 206.
13. แ. 8. ร๘0๘0, “7๘6 32 /ตํV05
“7๘© 0©พล!©บ ร0!©0©ก ” 00 127 -141.
5 .
^ ^ ^
©ย่เ ©V ©! 0ก เก9๘0๓ ,” 00. 572 - 591 และ

14. ชอร้โดถึงกับเสนอว่าสูตรของตัวเลข ซึ่งรวมตั้งพระธาตุที่มีสถานะสูงที่สุด คือ 2ก + 1 ตู


“7๘6 32 /ตํ7035” 00. 581 - 582.
15. 0©7ฬ ค. 0๘©ก๘!© โ, “/เ/1©03 เ0โ !๘© /\กด©ร!0โร,,, 00. 170-187.
1 6. ตู ปรุงศรีวัลลิโภดม และคณะ, บ.ก., สรุปผลการสัมมนาเรื่องไตรภูมิพระร่วง , หน้า 11 5-
164 ซึ่งมีภาพถ่ายของรัดต่างๆ รวมอยู่ด้วย
1 7. สำหรับงานศึกษาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับภาพเขียนของไทยและแนวเรื่องจันหลากหลาย

เชิงอรรถ 283
ดู ป63ก 6อเ5ร6แ ©โ, 7เา3เ ?3เก{เกฎ.
8. สมุดภาพไตรภู
, มิฉป้บกรุงธนบุรี มีอยู่อย่างน้อยสองฉบับที่ยังคงเหลืออยู่มาถึงปัจจุบันโดย
มีรายละเอียดปลีกย่อยที่แดกต่างกันอยู่หลายจุด ฉบับหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน
ซึ่งบางส่วนของฉบับนี้ได้รับการดีพิมพ์พร้อมคำอธิบายโดยย่ออยู่ในงานของ เง3บร พ©ก ,
7/73แ3กบ130เา6 {ศเกเ3{ม!’กา316โ'616ก ก30เ7 61ก6? 83กบ50/7ก่# ๘6โ เก๘1ร0เา&ก เ( มกธไ3เว -
^
^
{อ/ เมกฎ บ©/' 5{33{ แ0เา6ก ม566ก ร© '/ / เก อีกฉบับหนึ่งอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ หอสมุด
แห่งชาติ กรุงเทพฯ ซึ่งมีต้นฉบับภาพเขียนเกี่ยวกับไดรภูมิตั้งแต่ยุคแรก ๆ และที่เปินฉบับ
ภาษาลาวและเขมร.
19. ไมเคิล ไรท์, “คนโบราณมองภูมิศาสตร์โลก”หน้า 90- 96.
20. เพิ่งอ้าง, หน้า 92 -93.
21 . ไรท์เห็นว่ารายละเอียดที่ให่ใวัอย่างถูกต้องแม่นยำเกี่ยวกับเกาะซีลอนอาจชี้ว่าผู้เขียน
เคยเดินทางไปยังซีลอนจริง ๆ.
22. 8อ!รร©!!©โ, 7/131 83เก{เกฎ, ฎฎ. 80 , 84, 200, 204.
^ ^
23. เอ!-)ล©! Vเอ ©โV , “7!า© เ-เ๐กคโเกอ© 3กบ ค©!ล!©บ ค© โก3โ!{ร อก ผอก[า© โก แ!ร!อโV , ” คค.
361 - 362 และ พเก3เ คอก9รโเคเลก, “7โ©บเ!!อก©! 71า3เ แเร!อโเอ9โลคกํV 3ก
!©6ก!!ไ -อ©ก!บโV อ60แก6, ” ฎฎ. 69 -82.

^ ผเก6-
24. ปล๓68 8. คณ©รร, “1\/เ© โเ!-ร©©เถ่ก9 เก คน611อ,,, 9 170. -
^ ^ -
25. อ!าลกบ!© โ , “ 3คร !อโ !!า© กอ©ร!0โร, ” เวค 174-175.
26. สามารถดูภาพร่างแผนที่ทั้งหมดไดในงานของ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, รายงานการวิจัย
พุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาบสงขลาฝ็งตะวันออกสม้ยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมองว่าแผนที่
คือร่องรอยที่นำไปสู่การเข้าใจวัดต่างๆ การบริจาคที่ดินและพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ช่วง
ปลายสมัยอยุธยา ต้นฉบับของเอกสารชี้นนี้อยู่ที่หอสมุดวซิรญาณ ในหอสมุดแห่งชาติ
กรุงเทพฯ.
^
27. บ0โโ3เก© ด©รเอ , “ค©3บ!ก9 เ-3กบ3อ3ค6, ” เวเว. 157 -162.
28. สำหรับงานศึกษาเบื้องด้นเกี่ยวกับแผนที่นี้จากสมุดภาพฉบับที่อยู่ที่กรุงเบอร์ลินดู !งลบร
พ© ก!*, “2บ ©เก© โ ‘1ลกบเ*© โ!©’ รบ©บ- บกบ 0ร!3รเ ©กร.,, ส่วน ไมเคิล ไราๆ, “แผนที่
โบราณ,, เป็นงานอีกชี้นหนึ่งที่ศึกษาแผนที่จากสมุดภาพฉบับที่อยู่กรุงเทพฯ แผนที่
ทั้งสองมีรายละเอียดที่แดกด่างกัน ( ดูเชิงอรรถที่ 18) ขณะที่ พ©กเ*, 7/73/73กบ/รอ/76, เวเว.
66 - 67 ได้ดีพิมพ์เพียงบางส่วนของแผนที่น.ี้
29. 7©โพ!©!, “เ\/เบ3ก9 า หลเ 3กบ !!า© พอโ!บ,” ฎ. 9.
"

0. เบเบ., เวเว. 6 - 7.
1 . ลูดัวอย่างแผนผังชายส่งทะเลจีนสองชี้นจากศตวรรษที่ 16 และ 18 ในงานของ ป. V. เฒเร,
^
“อ!าเก©ร© 0อ3ร!3เ 3คร, ”หน้าดรงข้ามหน้า 156 และ เ-60 ธ39โ0พ, เ-เ1ร{0V 0เ 03โ -
{0ฎโ3ฎเา}โ , เวเ. อ!V.

^
2. !แร, “อ!าเก©ร© 0อ3ร!3เ IV!ลเวร, ” ค- 151.
3. คลน! พ!-ไ©ล!!©V , 7/76 ดอ/บ©ก X เ161รอก©ร©, บทที 1 .
'

84 I กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
34. กรมแผนที่ทหาร, วิวัฒนาการทางแผนที่ในประเทศไทย , หน้า 5.
^ ^ ^^ ^
35 . Vเอ/อโ ©กก©๘ , ก เก๘เ9©กอนร ธสโ1 แก©/©©ก/ เา ร6ก/นเ7 [ ส[ว ๐1 รอก/ โส! สก๘
[งอกห© 381 Xหสแสก๘ ,”[ว[ว . 315 - 348 .
,
36. ดู ไตรภูมิพระร่วงฉบับแก้ไขชำระใหม่ที่มีการ “ตรวจสอบและแก้ไข ”ตัวเลขด่างๆในบท
'

ที่ 9 เกือบทั้งหมดที่เกี่ยวกับโลก ทะเล มหาสมุทร และอื่นๆ การแก้ไขชำระใหม่นี้เป็นการ


ทำดามสูดรคณิตศาสตร์จำนวนหนึ่งได้มีการอธิบายบางส่วนไวในงานของธ©Vกอ!๘รสก๘
ค©Vก0 เ๘ร, 71ใโ66 พอโ/๘ ขณะที่ฉบับแก้ไขชำระใหม่ของไทยไม่มีการให้คำอธิบายใดๆ
ทั้งสิ้น.
37. สำหรับการเสนอภาพของสามโลกในภาพเขียนของไทย ดู ค©Vก๐1๘ร สก๘ ค©Vก0๒5,
7/ ใโ©© IVอ/'/๘ร.
^^
38. ธโ©๘©ก่อ . [ง©ส!© , /Vสกส//V6 อ/ ส ธ©ร/๘©กอ© ส / //ใ © รส/ว//ส/ อ/ //ใ© Xเกฐ๘อ/ท อ/
ร/สกา, (ว(ว. 54- 56 ภาพประกอบมาจากหน้า 55.
บทที่ 2 ภูมิศาสต!แบบ, ใหม่กำลังมา
1. [ เกก1 9’ 7/ใ3/7สก๘ เก //ใ© /ง/ก© /©©ก//ใ ร©ก/บโ) .
"
'
2. ธโเกอ© อเาสกเกเ Vส/ , “7เา© เกรอกํ[ว/เอกร อ! พส/ ธเาโส ป©/น6อก ,” เก รอ//©อ/©๘ /4ก/อ/©ร,
'

[วก. 21 - 22 ; นางนพมาศ หรือตำวับท้าวศรีจุพาลักษณ์ , หน้า 1 - 3 จารึกวัดพระเชดุพน


สร้าง'ในปี พ.ศ. 2379 ( ค.ศ. 1 836 ) แด่ปืที่เขียนนางนพมาศบังไม่ปรากฎชัดเจน ดูบทนำ
ของหนังสือ และดู นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, หน้า 337 - 344 ขณะที่ในพระ-
อภัยมณีวรรณคดีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในยุคนั้น มีดัวเอกของเรื่องคนหนึ่งเป็น
ฝรั่งที่มาจากเมืองลังกา (ศรีลังกาหรือเกาะชีลอน).
3. ธ. ป . 7© โพเ© เ , “1\4นสก9 7เาสเ สกก /เา© พอโ!๘ , ” [ว[ว. 1 7 - 1 8.
4. แวเ๘., [ว[ว. 20- 21 ; เวสก ธ. ธ/ ส๘!© V , ร//สอ/ อ/ //ใ© ปอบ/กส/ อ/ ธ©^©โ©ก๘ รสก 8©สอ/ใ

ธ/ส๘/©/, /\4.0., [ว. 26.


5. (3©0 โ96 แ. ธ©!/มร, รส/ทบ© / ธ©/กอ/๘ร /-/อบร© อ/ ร/ส/ท, [ว. 24.
6. 0. ธโส๘เ© V , ปอบ/'กส / อ/ ธ©เ'©โ©ก๘ รสก ธ©สอ/ใ ธโส๘/©/, [ว. 28.
7. พแแสโก ธโส๘!©V , ร/ส/ท 71ใ ©ก, [ว . 49 ดูรายละเอียดเพิ่มเดิมของการสนทนาดังกล่าวได้
ในจดหมายของแคสเวลส์ใน พแแสกา ธโส๘!©V , “ธโเกอ© 1\4อก9 เ(น/ สก๘ ป©รร© รสรพ©!! , ”
[ว. 38.
8. ธสกฐ/(อ/* ธ©ออ/'๘©โ, Vอ!. 1 , กอร. 21 - 22 , ปสก 1866.
9 . พระบาทสมเด็จพระจอมเกลัาเจาอยู่หัว, พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกลัา -
เจาอยู่หัว , หน้า 6 ( ด้นฉบับของจดหมายเป็นภาษาอังกฤษ).
10. พ. ธโส๘!© V , ร/ส /ท 7/ใ©ก; 7/ใ© ธ๐โ©/ฐก รอ/อก/ เก ธสกฐ/(อ/* ธ© /๐โ© สก๘ 4 //©โ 4กกส,
[ว. 102.
11 . ร!โ ปอหก ธอพก่ก9, 7/ใ© /{/กฐ๘๐โท สก๘ ธ©อ/ว/© อ/ ร/สโท, V๐!. 2, [ว. 144.
1 2. ดูจดหมายโต้ตอบที่มีไปถึงสหายชาวอเมริกันที่มีการถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างยืดยาว

เซิงอรรถ 285
ใน พระราชหดถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , หน้า 6 -18.
13. หม่อมราโชทัย , นิราศลอนดอน, หน้า 89.
14 .
1 5. ^^
"

^
อโลเ9 น่. ค6X 001๘3, “ธบ๘๘ก่!81 0อ5กาอ9 โ80เาV เก ๆ หลเ แ!81๐17 , ” เว . 217 - 219.
ดู 0โลเ9 น่. 86X๐01๘3, “71า6 ธบ๘๘เาเ 51 ๐ก ห๐๐ป เก ผเก©!©©ก!เา 0©ก1บโX 7เาลแลก๘, ”บทที
3 - 4 , โดยเฉพาะหน้า 79 - 96 สำหรับเรื่องราวของขบวนการเคลื่อนไหวของพระเจ้า -
อยู่หัวรัชกาลที่ 4 นอกจากนี้ลู ศรีสุพร ช่วงสกุล, “การเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์: ศึกษา
กรณีธรรมยุติกนิกาย ( พ.ศ . 2368 - 2464 ) ”.
1 6. ค©©© โ๘©/', ^0\. 2 , ก03. 2 , 9, 1 2 ( 1 7 /ด ล โ. , 27 ปบก© และ 1 1 9 - 1 866 ).
17. -
แวเ๘., ^/ 0\ . 1 , กอ. 21 (ปลก. 1866 ) , 9 211.
18. เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, หนังสือแสดงกิจจานุกิจ สำหรับงานภาษาอังกฤษที่กล่าวถึงหนัง -
สือของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์อย่างละเอียด โดยมีทั้งคำวิจารณ์ ข้อถกเถียง และการอัด
ข้อความบางดอนของหนังสือ ดู แลกโV 3๖ล51©โ, 7/7© /ด©๘©/?7 8บ๘๘เาเร!.
19. สำหรับงานที่พูดถึงหนังสือเล่มนี้ ดู ค© Vก0เ๘5, “ธบ๘๘เาเ81 [ดอกเปา00๘, ” ฤฤ. 129 - 132
^
และ “8บ๘๘6151 005กา09 โลเว6 , ” 215 - 219 นอกจากนี้ ดูบทย่อของหนังสือไดใน
8อกา]ลเ ค6ลเโอ!!61โลโล!, “76© แเ310ก่อลเ ผก่!เก9 01 06ล0 คเาโลVล 76เฤ6ล อโลผอก9, ” ^
บทที่ 3.
20. เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, หนังสือแสดงกิจจานุกิจ, หน้า 245- 249.
21 . เพิ่งอ้าง, หน้า 83-107.
22. 8สกฎ 0 ค©©©โ๘©ก V©!. 1 , กอ. 2 ( 16 เดลโ. 1 865 ) และ ^0\. 2 , กอ. 2 ( 1 7 เดลโ 1 866 ).
^^
23. เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, หนังสือแสดงกิจจานุกิจ, หน้า 104.
24. เพิ่งอ้าง, หน้า 100-102.
25. เพิ่งอ้าง, หน้า 106 -107.
26. เพิ่งอ้าง , หน้า 1 .
27. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ , ความทรงจำ , หน้า 99.
28. ประยูร อุลุซาฏะ, “พระจอมเกล้ากับโหราศาสตร์ไทย”, หน้า 43- 51 หากสนใจประเด็นนี้
^
โดยเฉพาะและข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดู แ©โเ๘ล อ00เ^, “ 7ล!© 01 7พ0 (ว!!X ศเ-
^ ^ ^
เลโ5 ะ เด0 ก9 บ! ลก๘ 71าล! 51โ0 I 09 X อก 1เา6 6 01 เด0๘© โกเ 2ล!เอก,” ฤฤ. 279 - 313.
29. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบรมราชาธิบายอธิกมาศอธิกวารและปักข -
ดณนาวิธี เป็นการรวมผลงานเขียนของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เกี่ยวกับหัวข้ออังกล่าว
หรือดู พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 , เล่ม 4 , หน้า
120 - 141 .
30. พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ไอัจ้ดคำประกาศเนื่องในรันสงกรานต์ไว้เป็นอันอับแรกของคำ
ประกาศทุกปี ดู พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4.
31 . พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 , เล่ม 3, หน้า 272 -
273.
32. เพิ่งอ้าง, เล่ม 2 , หน้า 96 -97, 305.

286 I กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


33. เพิ่งอ้าง , เล่ม 4 , หน้า 25.
34 . เพิ่งอ้าง, เล่ม 2 , หน้า 320.
35. ดูตวั อย่างเช่น 83ก3
^ ^
00โ66 / 01. 1 , กอ. 21 และเจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราช -
พงศาวดารกรุงรัดนโกสินทร์รัชกาลที่ 4, เล่ม 2 , หน้า า 60.
36. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 , เล่ม 2, หน้า า 99.
-
37. เพิ่งอ้าง, เล่ม 4, หน้า 24 25.
38. ดูตัวอย่างเช่น เพิ่งอ้าง, เล่ม 4 , หน้า 92.
39. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบรมราชาธิบายอธิกม-าศ, หน้า 2.
40. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 , เล่ม 2, หน้า 3า 3 และ
เล่ม 4 , หน้า 142 -145.
41 . เพิ่งอ้าง , เล่ม 4 , หน้า 117 -120.
42. กรมศิลปากร, รวบรวม, ประชุมจดหมายเหตุ เรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ 4 และเรื่อง
รัชกาลที่ 4 ทรงพระประชวรและสวรรคด , หน้า 29 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและรูปภาพการ
เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในระวี ภาวิไล, “สุริยุปราคา 18 สิงหาคม 241 11”และ แชนปัจจุ-
-
ลานนท์, “สุริยุปราคาเต็มคราส พ.ศ . 2411 ,” หน้า 124 141 แนวการเกิดสุริยุปราคา
นี้ทาบผ่านเอเดนอินเดีย และเกาะบอร์เนียวซึ่งชาวยุโรปได้ดั้งสถานีลังเกดการณ์ขี้น.
43. “จดหมายเหตุเสด็จหว้ากอ , ” ใน ประชุมพงศาวดาร 13/ 19 , หน้า 16 และเจ้าพระยา
ทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัดนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4, เล่ม 2 , หน้า 242 ตำรา
อีกเล่มที่โหรสมัยนั้นใช้กันเป็นปกติคือ คัมภีร์สุริยยาดร อย่างไรก็ตาม ไม่มีการระบุว่า
พระเจ้าอยู่หัวใช้ตำราภาษาอังกฤษเล่มใด.
44. สมเด็จฯ กรมพระยาตำรงราชานุภาพ , ความทรงจำ , หน้า 36 - 37 นอกจากนี้ตู ประชุม
พงศาวดาร 13 / 19 , หน้า ( 3 ) - ( 4 ) และ 30 / 52 , “จดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคด,” หน้า 132 -134.
45. ดู “จดหมายเหตุโหร,”ประชุมพงศาวดาร 8 / 8 , หน้า 110.
46. แด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 โปรดวิธีการของ ดำราลารัมภ์มากกว่า ดู พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบรมราชาธิบายอธิกมาศ , หน้า 72 - 73.
47 . น้บแต่เหตุการณ์นี้ เรารู้จักหว้ากอก็แต่เพียงในนาม ไม่มีใครจำได้ถึงสถานที่ดั้งที่ชัดเจน
อีกทั้งไม่เคยมีชื่อปรากฎอยู่ในแผนที่ แม้จะมีความพยายามค้นหาที่ดั้งของหว้ากออยู่บ้าง
แด่ก็ไม่สามารถหาช้อยุติได้ดู แชน {เจจุลานนท์ , “สุริยุปราคาเต็มคราส พ.ศ . 2411 , ”
หน้า 31 ( อย่างไรก็ดามน้บแต่ปี 2532 มีการบูรณะหว้ากอขี้นเป็น “อุทยานวิทยาศาสตร์
พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” แล้ว - หมายเหตุเพิ่มเดิมฉบับแปล )
.
48 กรมศิลปากร, ประชุมจดหมายเหตุเรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ 4 , หน้า 31 .
49. เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัดนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 , เล่ม 2 , หน้า
250 - 251 .
50. กรมศิลปากร, ประชุมจดหมายเหตุเรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ 4 , หน้า 31 - 33.
51 . วันไดกี,้ ภูมะนิเทศ , คำนำ แม้ว่าหนังสือจะไม่ไดใส่ชื่อภาษาอังกฤษของผู้เขียนไว้ก็ดาม

เชิงอรรถ 287
สาธุคุณวันไดก (ป. พ. Vสก 0/1*6) เป็นมิชชันนารีนิกายเพรสไบทีเรียนที่ฟ้ามาในสยาม
ระหว่างปี 2412 - 2429 (ค.ศ . 1869 -1886 ) ดู สถาบันไทยคดีศึกษา, “หมอบรัดเลย์กับ
สังคมไทย , ”หน้า 4 ไม่มีหลักฐานว่าวันไดกี้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาไทยหรือว่าเป็น
การแปลจากดันฉบับภาษาอังกฤษ.
52. วารุณีโอสถารมย์, “การศึกษาในสังคมไทย พ.ศ. 241 1 - 2475, ” หน้า 67 -85.
53. เพิ่งอำง , หน้า 84 .
54. ดับเบิลยู. จี. ยอนสัน, ภูมิศาลตร์ลยาม มีความสับสนเกี่ยวกับปีที่หนังสือเล่มนี้ดีพิมพ์ครั้ง
แรก ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914 ) ระบุว่ายอนดันเขียนหนังสือเล่มนี้เป็น
ภาษาอังกฤษเมื่อปี 2443 (ค.ศ. 1900 ) แต่ไม่สามารถแปลเสรีจไดํในปีเดียวกันนี้น ( ดู
คำนำโดยพระยาเมธาธิบดีในฉบับปี 2457 ) คำนำที่เขียนโดยยอนลันเองดามที่ปรากฎอยู่
ในฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 ในปี 2450 ( ค.ศ . 1907 ) ระบุว่าเขียนในปี 2445 (ค.ศ. 1902 ) แต่
ผู้เขียนได้พบฉบับปี 2443 ที่ซื่อหนังสือ คำ และตัวสะกดหลายคำ แตกด่างจากฉบับที่
พิมพ์หลังจากนี้ แด่เนื้อหาภายในเหมือนกันเกือบหมด ยกเวันสถิติบางรายการที่มีการ
ปรับปรุงใหม่ในการดีพิมพ์แด่ละครั้ง การอัางอิงในที่นี้ใซัฉบับพิมพ์ปี 2443.
55. พระยาเทพศาสตร์สถิต, หนังสืออ่านภูมิศาสตร์ เล่ม 1 , หน้า 58 - 59.
56. เพิ่งอำง, หน้า 34.
^ ^
57. 0. ป. 0. 0สแ©90 , 0เ0 IIอกล/'/ย/ท แกฎมสฎ6 771313 6 ร/ลกไอกร /รเก!6/]ว/'ล/ล//อก6 /-ส //'กส ,
^
6เ3เแ03 6! /\กฎII03 , กก. 523, 626 ; ก’สแ©ฐ0 3เ3กา6ร6 /7/6เ ก0เา 5/7ฎแรเา 01๘10ก31V,
5
'

ก. 776; แดน บีช บรัตเลย์, หนังสืออ่กขราภิธานศร์บท์: 0(0!(0ก31V 0( !เา6 รเ3กา636


เ- 3กฎย3ฎ6 , หน้า 412 , 514; ขุนประเสริฐอักษรนิด และคณะ, พจนานุกรมลำดับและแปล
ศพท์ที่ใช้ในหนังสือไทย , หน้า 282.
^
58. ตัวอย่างเช่น ใน 0สแธฐว , ร/ลก!อ56 5โ&ก0เา &?ฐ//ร/? 0(0แ0กลโ } ( ดูเชิงอรรถที่ 57 ข้าง
'

-
'
ต้น) และ รส๓บ©! ป. ร๓!๒, /4 0ว/ท/ว/'©/?©/?ร/V© /\กฎเอ 8(3กา656 0(0\(0กลก , ก- 671.
'
59. วันไดกี,้ ภูมะนิเทศ , หน้า 6 - 7.
60. หนังสือดำเนินเป็นลำดับด้วยคำถามและคำตอบ คำถามจำนวนหนึ่งในหัวข้อเดียวกัน จด
เป็นหนึ่ง “แม่ ”ดามอย่างตำราแบบโบราณของไทย หลาย “แม่ ”เรียงลำดับกันจัดเป็น
หนึ่ง “บท” ครั้นเริ่มบทใหม่ก็เริ่มนับ “แม่”ใหม่.
61 . ยอนสัน, ภูมิศาสตร์สยาม , หน้า 59, 64 , 67 และตลอดเล่ม.
62. เพิ่งอำง, หน้า 8.
63. เพิ่งอำง, หน้า 11 - 12.
64 . ในฉบับพิมพ์ปี 2457 (ค.ศ. 1914 ) หรืออาจจะก่อนหน้านี้ไม่ปรากฎแผนที่ของเอเชีย แม้ว่า
จะถูกเอ่ยถึงไว่ในหน้า 1 1 นอกจากนี้ แผนที่ชายแดนสยามยงถูกแทนที่ด้วยแผนที่ล่าสุด
ของ “ราชอาณาจักรสยาม”ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการปกครองมณฑลเทศาภิบาลและ
ชายแตนมากขึ้น.
65. พระยาเทพศาสตร์สถิต , หนังสืออ่านภูมิศาสตร์เล่ม 1 และ หนังสืออ่านภูมิศาสตร์เล่ม 2
ซื่อผู้เขียนในที่นี้ใซัตำแหน่งและราชทินนามสุดท้ายในราชการของเขา ฉะนั้นในฉบับที่

288 I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ตีพิมพ์ครั้งก่อนหน้า ชื่อผู้เขียนจึงแตกต่างออกไป เช่น ขุนธราภาคพาที เป็นต้น.
66 . พระยาเทพศาสตร์สถิต, หนังสืออ่านภูมิศาสตร์ เล่ม 1 ดีพิมพ์'ช้าถึง 36 ครั้งระหว่างปี
'

2445- 2501 ( ค.ศ . า 902 - า 958) จำนวนที่พิมพ์สูงเกือบถึงลามล้านเล่ม ส่วนเล่ม 2 ไม่


ปรากฏข้อมูลข้ตเจน.
67 . มาจาก พระยาเทพศาสตร์สถิต ( ขุนธราภาคพาที) , หนังสืออ่านภูมิศาสตร์ เล่ม 2 , ร.ศ .
123 ( ค.ศ . 1904 ) , หน้า 50 - 58 (ในต้นฉบับภาษาองกฤษ สรุปย่อบทสนทนาสั้นกว่านี้
มาก ฉบับแปลภาษาไทยนี้อางเป็นส่วนๆ จากฉบับพิมพ์ร.ศ . 123 โดยตรง คงตัวสะกด
ตามต้นฉบับ - หมายเหตุเพิ่มเดิมฉบับแปล).
^ ^
68. ตู /V ๐เลอก “อลโปวฐโล(ว6 )0 เก๒โ๓ลปอก,”[ว(ว. 47 - 49 และ &เ1เาบเ’แ. ค06เกรอก ลก6
^
8ลโ6ลโล 8. 861๙ไ©กเ , 7/76 \3เ Xม!'6 อ/ /ฬลภร.
^
69. ตูรายละเอียตใน คอเวเกรอก ลก6 8©เอเา6กเ , 7/76 /ล/บ/'6 อ/ /\4ล/วร, บทที่ 3 โดยเฉพาะ
^ ^
หน้า 30- 32 และรูป 2.4 - 2.6 หรือตู อเลอก , “ดลโเอฐโล(วเาเอ เกเอโ๓ลปอก,’, (ว. 48 และ
^
ป. ร. ©ล!©ร, ปกปอ!' ร/ล/ๆปเกอ 1\/เล/วร, (ว. 72.
70. วิธีการทั้งสามที่นำมาเสนอในที่นี้ใซัเพื่อการถกเถียงในเล่มนี้เท่านั้น.
^ -
71 . เช่น 8อ6เกรอก ลก๘ 8©!อเา© กเ , 7/76 ปอ!ม!’6 อ/ /\4ล/วร, [ว(ว. 61 66.
^
72. 6ล{65, ปกปอ!'ร/ลกป Iกฎ /ฬลภร, (ว. 72.
73. อดิศักดทองบุญ, “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติกับพระปิตาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย, ”หน้า 3- 4.
74. ประยูร อุลุชาฎะ, “พระจอมเกล้ากับโหราศาสตร์ไทย ,” หน้า 43.
1

75. สุลักษณ์ ศิวรักษ์ , “จดหมายจากหว้ากอ,”หน้า 36- 41 .


76. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส , เทศนาพระราขประวิดพระบาท -
สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกลาเจาอยู่หา , หน้า 40 - 41 .
77. ประยูร อุสุชาฏะ, โหราศาสตร์ , บทนำ .
78. ตูจตหมายจากกรมหลวงเทววงศ์วโรปกรณ์ถึงกรมพระยาตำรงราชานุภาพเกี่ยวกับ
การสำรวจตินแตนของฝรั่งเศส ใน จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ, วิกฤติการณ์สยาม ร.ศ.
112 และ สมเต็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส , ประมวลพระนิพนธ์ฯ:
-
ประวิดศาสตร์ โบราณคดี , ‘หนา 117.

บททึ่ 3 เสันเขตแตน
1. ลันที่จริง คำว่า “เสนเขตแดน”( เวอบกปอโV ) ที่ใช์ในบทนี้ ใช่ไต้กับเส้นเขตแดนสมัยใหม่
แต่สื่อความไดใม่ดรงน้กกับการระบุขอบเขตหรือปลายสุตของอาณาจ้กรแบบพื้นถิ่น
อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะตวกในที่นี้ คำดังกล่าวจะใช่ในน้ยยะทั้งสองอย่างตลอดทั้งบท
ความแตกด่างจะชัตเจนขึ้นในการอภิปรายที่จะมีต่อไปและโดยเฉพาะในดอนสุตทัายของ
เนี้อหาในบทนี.้
'
^
2. ข้อความส่วนนี้และข้างต้นลัางจาก 7/76 &บ!กอ 8ลภ6/'ร1 ( หลังจากนี้เป็น 88) , (ว. 54.
3. 0. 0 . 8. แลII , ปอก! }' 8บ/ท©)'; 7\ 8อ// //อล/ 8/อฐ/ลภ/7)/, (ว. 73.
4. 88 1 , (ว(ว. 60 - 61 และ 85-86.

เชิงอรรถ 289
’, .
5. ธ/ะ 1 , 00 154 -155.
^
6. ธ/ะ 1 , 00. 122 , 161 ; แลแ, เ-เอก! ธน!’ก©/, 0 73 . .
7. 88 1 , 0. 122 .
8. 88 1 , 00. 304 - 309.
9. ดู 88 1 , 0. 313, /\ โ!เอ!© 4 และ 0. 377, /\ โ!เอ!© 3 ลำหรับข้อเสนอของเบอร์นี ดู 88
1 , 00. 251 - 252.
.
10. 88 2 / 6 , 00 288- 289.
11. ใน 7กอ รบโท©/ 83(361'5 ใช้คำเรียกชื่อแม่นี้าหลากหลายกันไป คือ (ว!าลก , 8ล 0หลก , ^
^
คล อเาลก และใช้สดับกันไปมา เช่นใน 88 4 / 1 , 00. 102 - 103, 139-142 , 161 เป็น
ตัวอย่าง ส่วนเอกสารของไทยเรียกว่ากระหรือปากจั่น ชื่อที่ต่างกันอาจหมายถึงส่วน
ต่างๆ ของแม่นํ้าหรือสายนี้าที่แตกแขนงออกไป ผู้เขียนจะใช้ “ปากจั่น” เพียงชื่อเดียว
เพื่อความละตวก (ลำนาสายนี้ในปัจจุบันรู้จักในชื่อคลองกระหรือแม่นํ้ากระ โดยเฉพาะ
ตอนใกลัปากนี้า แต่ยังมีบางส่วนและบางสายตอนในลึกเช้าไปที่เรียกว่า คลองปากจั่นและ
แม่นํ้าปากจั่นอยู่จนทุกจันนี้ - หมายเหตุเพิ่มเติมฉบับแปล )
12. 88 4 / 1 , 00. 82- 85 , 110.
13. 88 4 / 1 , 00. 89 , 94.
14. 88 4 / 1 , 00. 86, 96.
15. 88 4 / 1 , 00. 102 -103, 109.
16. 88 4 / 1 , 00. 118 -119.
17. 88 4 / 1 , 00. 131 -132.
18. ข้อความส่วนนี้และก่อนหน้านี้อ้างจาก 884 / 1 , 00. 131 - 132.
19. 88 4 / 1 , 00. 160 และ 162 ตามลำดับ ดูจดหมายฉบับเต็มในหน้า 156 -162.
20. 88 4 / 1 , 00. 198-199.
21 . 88 4 / 1 , 00. 122 -125.
22. เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3, เล่ม 2 , หน้า
104 - 106 เกี่ยวกับเมืองอ้นแข็งแกร่งแห่งนี้ ดู ค. ค© กลโก่, “70© 0© แก©ล!เอก อ!![า©

23.
^ ล/ ล!า 8!ล1©ร คโอก!เ ©โร พเ!เา 7!าลแลก0เ: 1809- 1894 ,” 0. 87.
88 4 / 1 , 00. 153-155.
24. -
Vง3!I © โ ค. V©แล, ร/ลกา มกปอ!’ ค?ลกาล III 1824 1851 , 0. 117.
25. 1๖101., 00. 125- 129.
26. ตูรายละเอียดเพิ่มเติมใน V©แล, ร/ลก? มกปอ!’ คลก?ล III , บทที่ 9; ประชุมพงศาวดาร
34 / 62 และ 35 / 62 , “ทูตฝรั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์”และขจร สุขพานิช, ข้อมูลประรัต-
ศาสตร์สมัยบางกอก , หน้า 81 - 110 และ 117 -149 ลำหรับกรณีพ่อค้าชาวอเมริกันชื่อ
โรเบิร์ต ฮันเตอร์ดู เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่
3 , เล่ม 2 , หน้า 93 94 , และ 88 4 / 2 , 00. 81 - 83, 92 - 94 , 129 - 135 และ 193-194.
-
-
27. ข้อมูลส่วนนี้และช้างล่างนี้อยู่ใน 88 4 / 1 , 00.221 241 ซึ่งเป็นการติตต่อระหว่างเจ้า -

290 I กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ดิศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


หน้าที่อังกฤษกันเองในปี 1847 (พ.ศ . 2390 ) พวกเขาพบเอกสารเกี่ยวกับเส้นเขตแตน
ในเอกสารการเดินทางของริชาร์ตสันตั้งแต่ปี 1834 (พ.ศ . 2377 ) สำหรับจดหมายจาก
เจ้าเชียงใหม่ ดูในหน้า 227 - 229.
28. 88 4 / 1 , [ว[ว. 242 - 263.
29. 88 3, [ว[ว. 142 -143, 151 -152 , 155ศ., เอกสารลงปี 1829 (พ.ศ. 2372 )
30. 88 3, [ว[ว. 161 -164.
-
31 . 88 3 , [ว[ว. 192 193 หน่วยวัดของมาเลย์นี้ใน 7เาอ 8นโโ707 คล/ว©โร บางทีก็เรียกว่า
รูลอง ( โบ๒กฐ) บางทีก็เรียกว่า โอลอง (0โเ0กฐ) มิใช่หน่วยวัดของไทยตามที่ระบุไว่ใน
88 3, [ว. 359.
32. 88 3, [ว. 193.
33. แวฬ ., [ว. 301 ดูจดหมายฉบับเต็มในหน้า 300 - 304 ดูข้อความคล้ายกันนี้ในจดหมายจาก
นครฯในหน้า 359 - 361.
34. เป็นคำกล่าว,ของมิสเตอร์อิบเบ็ทสัน ( แวเว©!ร๐ก ) ดู 88 3, [ว[ว. 294 - 295 , 298 - 299.
35. 88 3, เวเว. 360 - 361 .
36 . ดูจดหมายดังกล่าวใน 88 4 / 1 , [ว[ว. 140 - 142.
37. ดูจดหมายฉบับเต็มใน 88 4 / 1 , [ว[ว. 156 -162.
38. 88 4 / 1 , [ว[ว. 163- 169 , 172 .
39 . 884 / 1 , [ว[ว. 188 - 192.
40. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า -
เจ้าอยู่หัว , หน้า 352 - 359 ดูรายละเอียดเพิ่มเดิมในหน้า 351 - 363 นอกจากนี้ดู
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ , พระราชพงศาวดารกรุงรัดนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4, เล่ม 2 , หน้า
54 -55, 67 -71 , 97 -98 และณฐวุฒิ สุทธิสงคราม, สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
อัครมหาเสนาบดี , เล่ม 1 , หน้า 317 - 335.
41 . ดูเรื่องเต็มใน นคร พันธุณรงค์ , “การเจรจาและข้อดกลงระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาล
อังกฤษเกี่ยวกับหัวเมืองชายแดนลานนาไทยและพม่า สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ระยะ พ.ศ . 2428- 2438 , ”หน้า 106 -120, 314 - 326.
42 . เพิ่งอ้าง, หน้า 251 - 256.
43. เพิ่งอ้าง , หน้า 341 ส่วนที่อ้างอิงในเครื่องหมายคำพูดมาจากหน้า 330 และเส้นทาง
ที่เป็นมิตรอยู่ในหน้า 334 - 335 จดหมายฉบับเต็มอยู่ในหน้า 329 - 341 การสอบถาม
ตำเนินไปโดยฝ่ายอังกฤษถาม เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดอบ ส่วนเจ้าหน้าที่กรุงเทพฯ โดยมาก
ทำหน้าที่เป็นล่าม บันทึกหลักฐานนี้เป็นภาษาไทยกลาง.
44. เพิ่งอ้าง, หน้า 341.
^ ^^
45. ค!(ะ0ลโ๙ เม!โ, /\40๙©โท ค©//7/0ล/ 60 I'^8IาV , [ว. 119 ส่วนที่เน้นเป็นของผู้เขียน.
46 . ป. ค. V. คโ©80011, 8อมโ7ยลโ/65 ลโ/๙ คโ0๗©โร, [ว. 3 1 .
' '

^
47. แว!๙., บทที่ 7; IVเนเโ, /\4ด๙©โก ค0 //7/ 0ล/ (360 โ38กV , บทที่ 6 และ
/\ 0/๗0ก3/7 0เ 6©0ฮโ3/ว/?/, [ว[ว. 44 , 132.
ม่ *
^
1 0กเ๙า0บร© ,

เซิงอรรถ 291
48. ขุนประเสริฐอักษรนิด และคณะ, พจนานุกรมลำดับและแปลศัพท์ที่ใชในหนังสือไทย , หน้า
557 และดูหน้า 386 , 429.
49. 010!10ก3/7นกา แก9ย3ฎ6 7/73/, ก. 16.
'

50. คลแอฐอเ / , ร/3/77656 /ฯโ-อก0/7 รกก//'ร/7 0/๙/063/7, กก. 16 3กง่ 334.


51 . บรัดเลย์, หนังสืออกขราภิ ])านศรับท์ , หน้า 84 คำว่า “ประเทศ ,, ในหน้า 412 หมายถึง
“คือที่ใดๆ มีที่บ้านที่เมือง, แลที่ลำเนาทุ่งนาป่าดงนั้น”ไม่ใช่หมายถึงประเทศชาติ.
52. 804 / 1 , กก. 157 -158.
53. ดู “เรื่องเมืองนครจำปาดักดี๋ , ” ใน ประชุมพงศาวดาร 44 / 70 , หน้า 173-193 ดูอีก
ตัวอย่างหนึ่งใน “พงศาวดารหลวงพระบาง, ” ใน ประชุมพงศาวดาร 4 / 5 , หน้า 333,
336.
54. ข้อลังเกดนี้เป็นของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ , ประชุมพระนิพนธ์เป็ดเดลด ,
หน้า 26 - 29 แต่กรมพระยาดำรงฯ มิได้คิดว่านึ่เป็นเครื่องหมายเขตแตน เพราะมันอยู่
“ข้างใน”สยาม นี่เป็นประเด็นที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงต่อไป.
^^^
55. ค6 ก3โง่, “อ6!เก6ล1เ0ก 0! ล ล 5/3/6 , ” กก. 81 , 85.
56. นคร พันธุณรงค์, “การเจรจาและข้อดกลงระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษ,” หน้า
335.
57. “ทูตฝรั่งสมัยกรุงรัดนโกสินทร์, ” ใน ประชุมพงศาวดาร 35 / 62 , หน้า 113, 148 ส่วน
ที่เน้นเป็นของผู้เขียน ตาม
ก็ดาม
ÿ™
เป็นไปได้ว่าเจ้าหน้าที่สยามแปลออกมาดามน้ยที่ตนเองเข้าใจ.
บรูค อย่างไร
58. “ทูตฝรั่งสมัยกรุงรัดนโกสินทร์ , ”ใน ประชุมพงศาวดาร 35/ 62 , หน้า 149.
59. 80 3, ก. 151 , จดหมายลงวันที่ 26 ตุลาคม 1829 (พ.ศ. 2372 ).
60. เก!ง่., ก. 198.
61 . การดำรงอยู่ร่วมกันของเส้นเขดแดนพื้นถิ่นสองชนิดนี้ได้รับความสนใจน้อยมากจากงาน
ประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ ยกเวันงานของ เ^06!โ ๐กอ เกี่ยวกับประว่ดศาสตร์ชวา แต่เขา
กลับเอาทั้งสองสิ่งผสมปนเปกันแทนที่จะแยกออกมาให้เห็นความแดกด่าง ดู ร06๓3โ-
^
83เง่ ! 06 โ!อก0 , 513/6 3/7๘ ร/3/ออ/3// เก 0/๘ ปลVล, กก. 114 - 11 5.
62 . คอก6ภ I. ร0เ0๓อก , “รอมกง่3โ7 อ0ก06ก!5 3กง่ 1วโ3ด/1063 เก รวน/ก635/ /\5เ3, ”ก. 1 5.

บทที่ 4 อำนาขิอธิปัตย์
1.
2.
^
\ 0๒โ น6ก6โกา3ก, 8บ!'กา656 /4๘กาเก Iธ#ล/ /\?6 0/๙65, กก. 33 - 38.
0. พ. พ0!เ 6โ5, เ-เ/ร/อ//, รน//ม/ 6 , 3/7๘ 069เ0ก เก รอน//763ร/ /\5เลก 06 / ร/ว6๙/1/65, กก.
' '

16 -17 นอกจากนี้ดู ค6ก66 แ3ฐ6ร!6|]ก , 0/๗65 ๙ X เก95 คำอธิบายเรื่องความส้มพันธ์


เชิงอำนาจภายใต้อาณาจ้กรและระหว่างอาณาจ้กรต่างๆในภูมิภาคนี้มีหลากหลาย หนึ่ง
ในคำอธิบายที่เป็นที่รู้จ้กกันดีคือ 03เ301เ0 ค0แ!/ ของแทมไบยาห์โปรดดู 5. ป. 73๓กเ3ก,
“7ก6 63เ30!!0 คอแนุ/ : 7ก6 ร!โมอ!บโ6 0!7โ3ง่เ!เอก3เ ^ เก9ง่0๓ เก รอบ!ก635! /\5เ 3”หรือ
หนังสืออีกเล่มหนึ่งของเขา พอ/ /๘ 0๐/7กนอ/อ/ 3/7๘ พอ/ /๘ 0อ/70นกออ/-, บทที่ 4.
' ' ' '

292 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวัดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


. ดูงานทฤษฎีประรัดิศาสตร์เกี่ยวกับระบบกษัตริย์ได่ในงานคลาสสิคของ 73๓เวเสก, 1 0๘!๘
0อกฤบ©กว/- สก๘ 14 0๘๘ ค©กอบกอ© /' นอกจากนี้ลู รบกลเ! อกบแก!3โลกอกป , “(วส โสVสชก:
^
^
ใ ก© เป©อ!อ9 / อ! 7โลปเชอกส! พลโ!สโ6 เก รเส๓ สกป ธบโ๓ ส , า 548 -1605.”
'‘
^
. สำหรับประวิตศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชา สยาม และเวียดนามก่อนศตวรรษที่
19 โปรดดู อสVเป อกสกป!© โ, /-//ร!อ// 0( 03๓60๘/3, [ว[ว. 94 -97 , 1 13- 1 16.
. ลูเพิมเดิมใน อกสกป!© โ , ค/©!อ// ๐! 03๓60๘/3, บทที่ 7 และ V ©!เส, ร/3๓ บก๘©โ ค3๓3
'

III , บทที่ 7.
. ดู “พงศาวดารเขมร,” ใน ประฒุพงศาวดาร 1 / 1 , หน้า 295 และ “พงศาวดารเมือง
พระดะบอง,”ในประชุมพงศาวดาร 12 /16 , หน้า 127 ในขณะนั้น กษัตริย์เขมรพำน้กอยู่
ที่อุดงมีชัย ซึ่งอยู่ทางดอนเหนือของพนมเปญ ส่วนกองทัพสยามประจำอยู่ที่พระตะบอง
และกองทัพเวียดนามอยู่ที่พนมเปญ.
. อกสกป!©โ, ค/ร!อ// อ!03๓60๘/3, [ว. 116.
'

8. จาก “จดหมายเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ 3, ดอนที่ 1 , ”ใน ประชุมพงศาวดาร


41 / 67 , หน้า 235 ดูขัอความเดียวกันแด่รายละเอียดแดกด่างกันเลิกน้อยที่คัดมาจาก
เอกสารเวียดนาม ใน อกสกป!©โ, /7/ร!อ// ๙ 03๓60๘/3, [ว. 116.
9. เจ้าพระยาทิพากร,วงศ์ , พระราชพงศาวดารกรุงรัดน[กสินทร์รัชกาลที่ 3, เล่ม 2 , หน้า 107.
10. “ว่าด้วยเหตุการณ์เมืองเขมรดอนเสร็จสงครามไทย-ญวน,”ใน ประชุมพงศาวดาร 31 /56 ,
หน้า 207 ส่วนที่เน้นเป็นของผู้เขียน.
1 1. อกสกป!© โ, ค/ร!0โ)' อ! 03๓60๘13 , [ว. 133.
12. ชวเป., [ว. 26.
13. ค. ธอกก©V , /(©๘สก, 1771 - 1821 , [ว[ว. 18- 22.
14. เกเป., [ว. 26.
15. ^
เกเป., [ว[ว. 1 10 - 112 และดู อกเ^บส รบพสกกสชาส!- คเสก , ‘ๆ ก© อกอกเวบโเ -8สก9 0เ(

^
^
คอ!เชอส! เป©อ!อ9V ©ก๘ ชร 6015 บ[วอก 7กส!- ล!ลV ค©เสชอกร 1767 -1851 ,” [ว[ว.
95-106.
16 . ^
เ-อโโสเก© อ©รเอ!*, “!0ก9รกเ[ว สกป คอ!เชอส! เก!©9 ชอก เก 7โสปเชอกส! รเส๓ 1767 -
1 824, ”[ว[ว. 1 54 - 1 64 และบทนำของสมเด็จฯ กรมพระยาด่ารงฯ ใน จดหมายหลวงอุดม -
ล'มบด, หน้า 1 2.
17.
^
^ ^.
ดู อกเ*บส, “อกอกกบกิ - ธสก9 ช0ช คอ!เชอล! ฬ60เ09 ’* [ว[ว. 103-104 และ 8อกก©V,
©๘36, 1771 - 1821 .
18. ^
เ-. /\. แเแร, 8๘!/รก / ส/ส/ส, 1824 - 67 , [ว[ว. 150 -153 นอกจากนี้ลู จดหมายหลวงอุดม -
ลมบด , จดหมายฉบับที่ 9 -15.
19. อ. 0. 8. คล!!, ค©ก/)' ธบ/'ก©/: /\ คอ//!/อส/ 8/0ฮ/ส[วก/, [ว[ว. 13- 28.
20. ดูเรื่องราววิกฤติการณ์ปี 2417 (ค.ศ. 1 874 ) ของราชสำนักสยาม ใน โงอ©! ธส!IV© , ‘ๆก© "

เ\4 แเ!สโ/ , 0อ\/© โก๓©ก!, สกป รออเ ©!/ เก รเส๓, 1868-191 0 ,”บทที 4 อีกกรณีหนึ่งที
เกิดขึ้นในปลายศดวรรษที่ 17 คือเมื่อสมเด็จพระนารายณ์อาดัยสายสัมพันธ์ที่มีกับฝรั่ง -

เชิงอรรถ 293
เศสตั้งกองท้พฝรั่งเศสขึ้นมาเพื่อคุ้มครองบัลสังก์ของตนจากฝ่ายคู่แข่ง ดู นิธิ เฮียวศรีวงศ์,
' '

การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักกันในนาม การปฏิวัติปี 2231


(ค.ศ . 1688 ) ดู (วเลบ๘© ๘© 8^26 , 7/70 1688 ค01/0/บ//0กเกร/ส/?? และ 8. พ. แบ!ด[า!ก -
ร0ก, 4๘1/0ก/บ/'©/5 เก 8เ3กา เก //?0 ร© ^©ก/© ©ก//? 0©ก/บ/)/.
,

^ ^
21 . เ สก:©! ลบรร, 7/70 0เ!!: 7อโกา5 สก๘ รบก©//๖กร 0! 8x0๘5000 เก /\?อ}!3เอ 500/0//05.
'

^ ^
22. คำนำของ เ ลโV 8แ2ส56!5 ธ6 /'โV ใน “0 ๒9 เก 4ร1ล-4 3x^7*๐ร' บกา 5- 307.
23. ชนชั้นนำสยามในศตวรรษที่ 19 ก็ใช้คำอธิบายดังกล่าวเช่นกัน ดู พระบาทลมเด็จพระ-
จอมเกล้าเจ้าอยู่มัว , ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 , เล่ม 4 , หน้า 158-184; คำนำของสมเด็จฯ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ใน ประชุมพงศาวดาร 4 / 5, หน้า 37 - 40 ส่วนการดีความ
แนวด้นทุน-กำไรโดยน้กวิชาการสมัยใหม่ เริ่มปรากฏในช่วงต้นปี 2479 (ค.ศ. 1936 );
ดู “หูดฝรั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์,,, ใน ประชุมพงศาวดาร 34 / 62, เชิงอรรถหน้า 227
สำหรับงานวิจัยดามแนวนี้ในระยะต่อมาดู 8ลโส81ก Vเโส[ว!า0เ , 7ก์เ)บ!0 3?7๘ ร/ง///: 81ก0-
8เ3กา6ธ6 7/ล๘© 1652 - 1853 และ รบ©5รส©ก9 รเา/0กา๘บก, “รเก0 -ร!สกา©ร© 7โแวบ!ลโV
,

แ© เส!เ 0กร, 1 282 - 1 853.”


24. เพแร, รก//ร!ไ /\4313/ 3, [ว[ว. 31 - 32.
25. กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ , วิทยาวรรณกรรม, หน้า 1 72 - 186 ท่านเป็นน้กภาษา -
ศาสตร์คนสำดัญของไทย ได้อธิบายคำใหม่นี้ว่า ตนได้ศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ
และใช้จักรภพอังกฤษเป็นแม่แบบในการนิยามความหมาย ซึ่งในความเห็นของผู้เขียน
(ธงชัย ) คำว่าอาณานิคมจึงถอดมาจากคำว่า “ด0 เ 0ก)/ ” มิใช่จากคำว่าประเทศราชหรือ
เมืองขึ้นดามการเมืองก่อนสมัยใหม่ของสยามอย่างแน่นอน แด่เมื่อมีการใช้คำเหล่านี้
แทนกัน ประกอบกับการสิ้นสุดของระบบการเมืองแบบก่อนสมัยใหม่ ความหมายของ
อาณานิคมจึงเช้ามาแทนที่ความหมายดามเดิมของประเทศราช.
^ ^
26. 0ลVI๘ . พVส!!, 4 ร/70ท /-/เร!อโ อ! 7/7ส //สก๘, [ว[ว. 158 - 161 .
27. นิเป็นสมมติฐานในงานของ I©] 8บกกส9 , 7โอVI กอ!31 4๘/77เกเธ!โ3!เอก อ! 8เ3โก 1892 -
1915 ผู้เขียนจะอภิปรายประเด็นนี้เพิ่มเติมในบทที่ 8.
28. เพแร, ร/'/ //5/7 /V/ล/ล)/3, [ว. 32.
29. 151๘., [ว[ว. 30- 39.
30. (ว/'ส IV/บ/'๘ รส00/ร, [ว[ว. 38 - 39.
,, ^
31. ดู ปสกา©ร ย0พ, “แ©!โ0ร[ว©©! 0! 8ก่!เร!า 7อ\\อV เก !!า© ร!/•ส!! 0! เ สเส©©ส,”ใน 87 5,
[ว[ว. 63- 67 คำว่า “ความผิดพลาด ที่ใชิในที่นี้มาจากหน้า 65 เอกสารขึ้นนี้เป็นการถก
เรื่องเคดะห์และสัญญาเช่าปีน้งและเวลส์เลยไดยเฉพาะและบังเอ่ยถึงเจ้าหน้าที่อังกฤษ
หลายคนที่เกี่ยวช้องกับประเด็นนี้ นอกจากนี้ ดู เพแร, ร/'///ร/? /\43เ3}โ3, [ว. 36.
32. 87 1 , [ว[ว. 201 , 215- 216 , 245 - 247, 257 - 258 , 261 , 299 - 301 .
^
33. เพแร, ร/-///ร/? / ส/ส)/ล, [ว. 156 ; แลแ , เ-เ©ก/•/ รบ/ /?©/, [ว. 155.
'

34. แลแ, แ©ก?X รบ/'/?©/, [ว[ว. 282 - 283, 298 และ 494 - 512 เบอร์นีย์ได้อธิบายการดีความ
สัญญาตามที่เขาคิดซึ่งโด้แยังกับเจ้าหน้าที่อังกฤษที่ปีน้งไว้ด้วย.

94 I กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
^ ^
5. ดูมาดรา 12 ในสัญญาเบอร์นีย์ และรายละเอียดใน เ ;แร, 8ก่1เธ/ไ / ส/ส/ส, เวเว. 150 -153.
6 . ดูเรื่องราวดังกล่าวได้ใน 882 / 6 , [ว[ว. 1 - 35 , 118 - 121 สำหรับทัศนะที่สนับลนุนอังกฤษ
^ ^
อย่างเห็นได้ชัด ดู !แร, 8ก่11ธเา / ส/ส/ส, [วเว. 140-162.
7. “ทูตฝรั่งสมัยกรุงรัดนโกสินทร์ ,,’ใน ประชุมพงศาวดาร 35 / 62 , หนัา 152.
38. สำหรับเหตุการณ์ในปื 2374 ( ค.ศ . 1831 ) ดู 88 3, เวเว. 210- 287 สำหรับเหตุการณ์ปี
2376 (ค.ศ . 1833) ดู 883, เวเว. 477 - 530 ขณะที่ จดหมายหลวงอุดมสมบดได้มั, น'ทึก
*^
เหตุการณ์ปี 2376 ไว้เป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ดู 0 เว บล, “01า0กเวนทํ-ธสก9เ๗( 80 -
แ1เ0ลเ 10เ60เ09/ [ว/ว. 104 - 105.
^
39. 8อกก©V , ©๘ส/ไ, 1771 - 1821 , บทที่ 4.
40. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจาอยู่หัว , พระราชหัดถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกลา -
เจ้าอยู่หัว , หนัา 65- 66 และ 640 - 641 .
41 . เพิ่งอัาง, หน้า 633- 640.
42. หอสมุดแห่งชาติ, แผนกตัวเขียน, จดหมายเหตุ ร. 4 จ.ศ . 1225 , เลขที่ 63, อัสมิราลถึง
พระคลัง, รันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ . 2406.
43. เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ , พระราชพงศาวดารกรุงรัดนโกสินทร์รัชกาลที่ 4, เล่ม 2 , หน้า
46 - 47.
44. เพิ่งอ้าง, หน้า 55-57.
45. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระราชหัดถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า -
เจ้าอยู่หัว , หน้า 115- 116.
46. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , “เรื่องแผ่นดินเขมรเป็นสี่ภาค”ใน!/ระชุ - มพระราช -
นพนธ็ในรัชกาลที่ 4 หมวดโบราณคดี, หน้า 91 - 93.
^189-197.
47 . แ1(วก 0รเว0๓6 ลกฝ่ อล
^ . ผ/ลน, “7น6 /\6โ๒96๘ วลกา&00แลก อ[าโ0กเ0เ6, ” [ว[ว.
48. “พงศาวดารเมืองไทรบุร,ี ”ใน ประชุมพงศาวดาร 2 / 2 , หน้า 268- 299; ร[ไสโ0โก /๛
^
กาล!, “ 66ลเา -8เลฌ 86เล1เ 0กธ, 1821 -1905 , ”[ว[ว. 97 -117.
49 . 7เาลกาธ00เ* แบกาก0กขล, “แล901เล1เ 0กธ ค6ฎลเปเก9 ๒6 อ6ธธเ0ก 0! รเลโก686 /ศล1ลV
813๒8 1907 -1909 ,”[วก. 227 - 235.
50. เจ้าพระยาทิพากร'วงศ์, พระราชพงศาวดารกรุงรัดนโกสินทร์รัชกาลที่ 4, เล่ม 2 , หน้า 78 -
79 , 118 - 119.

บทที่ 5 ชายขอบ
1. ดู เจ้าพระยาสุรศ์กดี๋มนตรี, ประวดการของจอมพลเจ้าพระยาสุรหักดมนดรี, เล่ม 2 , หน้า
62.
^
2. ปล๓6ธ วอลเชา/, 8บ^6พ่ก& สก๙ 5x0/วกํกฎ เก 81ล/ท, [ว. 1 02 เรียกจารีดนีว่า “8ล6-
,
^
ธลกา!ลเ ”ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน นอกจากนึ๋ลู [ เววลโนา/], /4ก 5กฎ//ร/ไกไสก ร ร/สกไ-
สรส ป0บโกส / 1890 - 1893 , [ว. 186.

เชิงอรรถ 295
ดูตัวอย่างเช่น “พงศาวดารเชียงรุ้ง’, และ “พงศาวดารเชียงแขง , ”ใน ประชุมพงศาวดาร
9 / 9.
ดูจดหมายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีไปถึงพระเจาบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ใน ณฐ,วุฒิ สุทธิสงคราม และบรรเจิด อินทุจันทร์ยงศ์,
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม, หนา 187 -190.
*^
ค©กล*ป , “เว6!1ก©ล!เวท 0 ลVล!า 81๙63 ,” [วก. 81 - 87 .

“พงศาวดารเมืองไล, ”ใน ประชุมพงศาวดาร 9 /9, หน้า 45 พงศาวดารฉบบนี้บันทึกโดย


ขุนนางสยามจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เมืองไลในปี 2428 ( ค.ศ. 1885).
เพิ่งอ้าง, หน้า 48- 56.
เพิ่งอ้าง, หน้า 70-99 สำหรับกรณีหลวงพระบางและไล ใหัลูหน้า 85, 122.
“พงศาวดารเมืองแกง,” ใน ประชุมพงศาวดาร 9 /9 บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์เดียวกัน
กับพงศาวดารเมืองไล ไม่ปรากฎชัดเจนว่าแกงเป็นประเทศราชของไลนานเพียงใด แต่
ชัดเจนว่าเวียดนามได้มอบแกงใหักับไลหลังจากไลขับไล่พวกฮ่อออกไปจากแกงในด้น
ทศวรรษ 1870 ( ดูหน้า 50 - 52 , 79 - 80 ) สำหรับดำนานความเชื่อ ดูหน้า 103- 113.
0. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, “จดหมายเหตุกองทัพปราบฮ่อ, ”ใน ประชุมพง -
ศาวดาร 14 / 24, หน้า 232 - 234.
. “จดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ 3, ”ในประชุมพงศาวดาร 41 /67 , หน้า
255- 276.
2. “ดำนานเมืองพวน, ”ใน ประชุมพงศาวดาร 44 / 70, หน้า 114 -130 ดูรายละเอียดเกี่ยว
กับโศกนาฎกรรมของชาวพวนใน X©กกวก ธโ©ล2©ล!© ลกห รลกII รลกาบ๗ ลโก , 4 0๗-^
(บโ’6 เก ร©ลโว/ไ ว/ 5บก//'V ล/: 7/76 ค/ไง3ก ว/ ภ/ไ31เ3ก๘ 3ก๘ 1-305 หลังจากนีจะอ้างอิง
'

ว่า ค/ใบ3ก.
3. “จตหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวนในรัชกาลที่ 3, ”ใน ประชุมพงศาวดาร 41 /67 , หน้า
275 ดูรายละเอียดการกวาดด้อนชาวพวนโดยกองทัพสยามระหว่างปี 2370- 2394 ( ค.ศ.
1827 - 1851 ) ใน ธโ©ล2©ล!© ลกห รลกเ!, ค/ไบลโ?, บทที 1 .
4. สำหรับแนวลิดเรื่องอำนาจดามจารีดเดิมและอำนาจแบบรัศมีเปลวเทียน ลูใน 8©ก©61๐1
^
กห©โรวก , ‘ๆห© เห©ล ว! ควพ© โ เก ม่ลVลก©ร© อบ!!บโ© ,”ก[ว. 22 - 23.
5. ณ์ฐวุฒิ สุทธิสงคราม, พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม , หน้า 188.
'

^
6. อ้างจาก พเ กลเ ควกฐรก่[วเลก, “7โลหเ!!วกล! XหลI แเร!วโ!วฐโล[ว!า ”[ว. 392.
. อ้างจาก จิราภรณ์ สกาปนะวรรธนะ, วิกฤติการณ์สยามร.ศ. 1 1 2 , หน้า 411 - 412 ดู
พระราชหัดถเลขาฉบับเต็มในหน้า 405- 421.
. สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ความทรงจำ , หน้า 246 - 247 , 264.
^ ^
. ธลนV© * “ เแ1ล*7, อเ0ห©โก๓©ก!, ลกห 3ว0เ © เก 31ลกไ , ” [ว. 121.
. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ความทรงจำ , หน้า 256.
. เอกสารภาษาไทย ดู เจ้าพระยาสุรศ์กดึ๋มนดรี, ประวิดการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศ์กด -
มนตรี โดยเฉพาะเล่ม 2 - 4 ซึ่งมีรายละเอียดการยกทัพปราบฮ่อ สำหรับภาษาอังกฤษ ดู

6 I กำเนิดลยามจากแผนที่ : ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ

คโ©ล263 6 ลกง่ 8ลกเใ, ค/ใบลก , [ว[ว. 47 - 52 และตลอดทั้งตอนที่ า นอกจากนี้ ดู /\ก6 โ ©พ
อ. พ. คอโ๖6ร, “7!า6 8ใโบ99เ© ใอโ เ-เ 69© ๓อกV เก ใ! © แเก©ใ©© กใ!า 0©กใบโV 1-308 ,” [ว[ว.
'ไ

81 - 88.
22. ดูการวิเคราะห์เรื่องการบุกทำลายหลวงพระบางใน 8 โ63263เ6 3กง่ 8ลก!ใ, ค/ไ บลก , [ว.
^
96 และ ๐โ!ว68, “รใโบ99เ © ใ0โ แ ©9©๓อกV , ” [ว[ว. 86 -88.

24. เจ้าพระยาสุรตักติ้มนตรี! ^
23. ดูตัวอย่างเช่น ธลใใV © , “เฒเใลโV , 007© โก๓©กใ, ลกง่ 8ออ!©ใ เก 813๓,”[ว. 257.
, /'ระว้ดการของจอมพลเจ้าพระยาลุรศ้กดมนตรี, เล่ม 2 , หน้า 499.
25. เพิ่งอ้าง, หน้า 339 - 340.
26. เจ้าพระยาสุรศึกติ้มนตรี, ประว้ดการของจอมพลเจ้าพระยาลุรศ้กดมนตรี, เล่ม 3, หน้า า 3.
27. เพิ่งอ้าง, หน้า 59.
28. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม, พระเจ้าฆรมวงศ์เธอกรมหลจงประซิกษ์ศิลปาคม , หน้า 190 - 191.
29 . “เรื่องกรมหลวงประจ้กษ์ศิลปาคมเสด็จไปราชการในหัวเมืองลาวพวน, ”ใน ประชุมพง -
ศาวดาร 46 / 74 , หน้า 195- 198.
30. ดู เจ้าพระยาสุรตักตี๋มนตรี, ประวดการของจอมพลเจ้าพระยาลุรศักดึ่มนตรี , เล่ม 2, หน้า
264 , 389 และเล่ม 3, หน้า 202 - 203, 290 เป็นดัน.
31 . สำหรีบงานหลักในภาคภาษาไทยที่ใช้เอกสารไทยในการศึกษาข้อพิพาทเรื่องเขตแตน
ทางด้านนี้โตยเฉพาะและการแกไขปัญหา ดู นคร พันธ์ณรงค์, “การเจรจาและข้อตกลง
ระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษเกี่ยวกับหัวเมืองชายแตนล้านนาไทยและพม่า
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวระยะพ.ศ . 2428- 2438” สำหรับในภาษา
อ้งกฤษ ดู 830 831๓0ก9 1\43ก9 โล!, 7776 81า3ก 513163 3กป ใ/ไ© ธ/ / ใ/ร/ไ /\กโไ©X3ใ/อ/ไ,
'

บทที่ 10 เป็นงานที่ใช้เอกสารภาษาอ้งกฤษเป็นหลัก.
^ ^
32. ค©กลโง่ , “อ©แก©3ใเอก 0ใ ล7ล!ไ รใลใ©ร, ”[ว. 90; 830 8ล!๓อก9 ! 3ก9 โล!, ร/ไล/ รใลใ©ร,
[ว. 227 และ นครพันธ์ณรงค์ , “การเจรจาและข้อตกลงระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาล

อ้งกฤษ, ” หน้า 314 - 326.


33.
34.
^
ค©ก3โง่ , “อ©แก©ลใ!อก อใ ล7ลเา 3ใ3ใ68, ” [ว. 90.
830 83เ ๓0ก9 ใทํ3ก9โ31, ร/ไล/ไ รใลใ©ร, [ว[ว. 229 - 231 .
35. แวเง่., [ว. 233.
36. ^ -
แว!ง่. , [ว[ว. 233- 234; ค©กลโง่ , “0© แก© ลใเอก อใ ลVล!ใ รใลใ©ร, ” [ว[ว. 90 92 และ นคร
พันธ์ณรงค์, “การเจรจาและข้อตกลงระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษ,”หน้า 208 -
213.
37. ^
ดู 0!า3กง่โลก ป©5หบโลก, “7!า© ก9 เ0 - คโ©กอเา อ©อ!ลโลใ!อก อใ ปลกบลโV 1896 ลกง่ ให©
เกง่©[ว©กง่©กอ© 0ใ 8เล๓ , ” [ว[ว. า 05- 126 .
38.
39.
^ ^
คลใใ © , “ แเใลโV, 0อ70 โก๓© กใ, ลกง่ 8ออเ ©ใV เก รเล๓,” บทที 4.
แวเง่., [ว. 315; อเาลกง่โลก ป©ร[าบโลก , “7เา © ก9เอ- คโอกอ!า 0©อเลโลใเอก.”
40. ^ -
06ลกง่โลก ป©ร!าบโลก , “7!า6 ก9เ๐- คโ©กอเา อ©อ!ลโลใ!อก ,”[ว[ว. 108 11 1 .
41 .
^
0!าลเ ลก คล]อ!าล9ออ!, “7!า© 8ออ!ล! ลกง่ 8ใลใ© คอโ๓ลใ!อก เก 8!ล๓ 1855 -1932 ,”[ว[ว.

เชิงอรรถ 297
24 - 28.
42. นคร พันธุณรงค์, “การเจรจาและขัอตกลงระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษ,,, หนา
210 - 211 ; อัมพรตั้งเสรี, “วิเทโศบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยู่หัวที่มี
ต่อมหาอำนาจยุโรป,,, หน้า 19 - 20.
43. 8โ63263เ6 3ก๖ รลก!!, 9!ามลก , (ว. 93.
^ ^ -
44. / บ9บร!© ค3716, เ /รร/อก 9ล\โ16 เกยอ 0เา1ก6 1879 - 1895 , ^0\. 1 , ก. 194.
45. ๒๒., *0\ . 6, (วก. 1 1 1 , 1 27, 1 35 , 1 42.
46. 801๖6ร, “8!ณ99 เ6 เ0 โ แ©90กาอกV ,”ก- 88.
^
47 . 8ลพ่6 , เ /รร/อก 93ฟ©, \^0เ. 6 , ก. 114 .
48. ๒๒., \^0 เ . 7, ก. 270.
49. เจาพระยาสุรศักดมนตรี, ประรัดการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศกดมนตรี , เล่ม 4 , หน้า
^
154 -172 โดยเฉพาะหน้า 155-159 นอกจากนี้ดู ค3พํ6, )ธร /อก 93ฬํ©, 70เ . 1 , กก.
245 - 246 , 288 - 289 , 290 และ จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ, วิกฤติการณ์สยาม ร.ศ .
112, หน้า 61 -66.
50. อรวรรณ นพดารา, “การปรับปรุงการปกครองและความขัดแยงกับฝรั่งเศสในมณฑลอุดร
ระหว่าง พ.ศ. 2436 - 2453, ” หน้า 118.
51. ดูเอกสารชั้นต้นเกี่ยวกับกรณีนี้ได็ในพระณรงค์วิชิต ( เลื่อน ณ นคร) , จดหมายเหตุ ร.ศ.
1 12.

บทที่ 6 แผนที่: เทคโนโลยีใหม่บองทื้นที่ / ภูนิ


. เ- V 8!© !©เก 3ก๖ ปอ! 8เล0เ , “/\ แอ!© อก 7! ©© คอเอ เ^ลกร,,, กก. 347-349.
ลโโ โกร (

^^
ไก าโ
2. ค3บเ พ!ไ©ล!!©V, 7776 0อ1๘©ก X เา&โรอก656 , ก!. 2 ; ค. ค. ค!าแแกา๐โ© , “/๒ 8ลโ ลกร
^ ^
อ! ๒© 3๒ ค©กเกรบ๒,” กก. 175- 178 หรือ 8ลเผ๒!าลกก๒!า©ร, “รใบ๖V 0! คลโเ V
ด3โ!อ9 โสก!IV เก 7!าสแลก๖, ”กก. 81 -89.
3.
.
^
ค. 7. ค6แ, 9ลโ!)โ /\4ลกร อ( 8อม(!า -8ลร( ร/ล, กก. 71, 73.
สำหรับประวิตศาสตร์วิชาการทำแผนที่ ซึ่งเป็นการทำแผนที่ของชาวยุโรปเป็นหอัก ดู
1-60 8ล9โ0ผ, 1-115101? 0( 0ลโ(อกโลก!า?.
. ค© แ, 9ลโ!V 1\/เลก5 อ( 8อม(!า - 9ลร( /\ร /ล, กก. 72 - 75.
^
. 0โล ] มโย 9ลกอโร, กก. 9 , 11 , 71 - 72 ราชสำนักสยามได้ยื่นประทัวงไปยังผู้ว่าการของ
อังกฤษที่ปีน้งเกี่ยวกับแผนที่ร่องนี้าเจำพระยาเพราะสยามถือว่าแผนที่นี้เป็นภัยต่อ
ความปลอดภัยของพระบรมมหาราชวัง ดู “ทูตฝรั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์,,, ใน ประขุม -
พงศาวดาร 34 /62, หน้า 254 - 256.
. 89 1 , ก. 58.
. ปอ!ไก (วโลผเบโ๖, ปอมโกล! 0( ลก 9กายลรร )โ (โอโก ๒© 0อ^อโก0โ -06กอโล! อ( เกย/ล (0 ๒©
0อมโ(ร อ( 81ลโก ลกย 0ออเาเก 0/7เกล, \^0เ. 2 , ก. 199.
. 8๖ผลโ๖ 83๒, 0กํอก!ล!/รกไ , กก. 216 - 219.

98 I กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
^
10. เ-สโโV ร{©โกร๒เก, “‘1.0๙ เ สเวร 0เ รเส๓,”{ว{ว. 132 -156 และ “1.0๙ร อ©รอก่[ว!เ0ก 0เ
.
{{ไ © รเส๓©ร© 8กาเวเโ6 เก 1824 , ” {วเว 9 - 34.

^
11 . 3{© โทร{© เก , “‘1.0๙ ฉีเวร 0!รเฉีกา,”เวเว. 138 - 144 ข้อความที่อ้างมาจากหน้า 138.
12. ดูแผนทีใน ร!โ ป0{ไก 80พก่ก9 , 7710 X เกฎอ/0กา สกอ/ ?60?เ6 อ/ 31สโท, V0I . 1 .
13. 8โลกอเร 6สโก!©โ, 1.3 000/7เกอเาเกอ //'สก 3186 อก 1864.
^ -
14. รฉีเกา(วก, ๐อ/อก! 1 118101? 0โ /! ^
/ อ คโ'636ก! ร/ส /อ อ/ // /Vส //อกร, V0!. 1 ซึ่งเขียนขึ้นราว
ปี 1724 ( พ.ศ. 2267 ) แผนที่ของอุษาคเนย็ในหนังสือเล่มนี้ทำขึ้นโดย เฮอร์แมน โมลล์
นักทำแผนที่ชื่อดัง นอกจากนี้ลูดัวอย่างแผนที่สยามที่ทำโดยชาวยุโรปก่อนที่การ์นิเยร์
จะ “ดันพบ”จุดหักดังใหญ่ของแม่นี้าโขง เช่น 81๓0ก ป© เ-ฉี 1-0น{ว6โ6 , 7770 X เกฎอ/อก!
อ/ ร/สกา : / //ร/อ/ )' อ/ /ก่อ /กอ/เสก &โอ!
' ' / //วอ/สฮอ ( 1820 ) และ /4 /วอรอก)ว//Vอ 01อ//อกส/ /
! '

อ/ //!6 เกปเสก เ3เ3กป8 สกป ลออก! รอบก/ก่อร ( 1856 ) ของ ปอ{ไก ดโสพ{นโป; ป. เ-เ.
^
1\ 00โ, /Vอ//ออ5 อ/ /!/ © /กอ//สก /4 โอ!/ //วอ/สฐอ ส!/ อ/ /4อ//สออก/ รอบก/ก่อร ( 1837 ) ; 8. /\.
' '

ผ©ส!© , /Vสกส //Vอ อ/ ส คอร/๘อกออ ส / //!อ รส]อ//ส/ อ/ //!อ X เกฐอ/อก! อ/ ร/สก!( 1852 )
'

นอกจากนี้สเติร์นสไตน์ยังได้ศึกษาอย่างดีเยี่ยมเกี่ยวกับความพยายามของร้อยเอกโลร์
ในปี 1824 และ 1830 ( พ.ศ. 2367 และ 2373) ในการศึกษาภูมิศาสตร์ของภูมิภาคนี้
และทำแผนที่ขึ้นมา ดูร่างแผนที่ไดในงานของเขา “‘10๙ ลเวร 0{ รเส๓” และ “10๙ร
0©รอโเ{ว{เอก 0{ 16© รเส๓©ร© 8๓[วI โ© เก 1824.”
15. เช่นงานของ อโล๙บโป , ปอบก!ส / อ/ สก /ะก!6สรร/, \โ0 เ. 2 , [วเว. 214 - 215 และ 00พโเกฐ,
XIกฎ๘๐ก! สกป คออ/ว/อ อ/ ร/สก!, \โ0เ. 1 , เว[ว. 1 - 4.
16. ด “ทดฝรั่งสมัยกรงร้ดนโกสินทร์,”ใน ประชมพงศาวดาร 34 / 62 , หน้า 254 - 256.
11
1 7.
1 8.

19.
^^
. 199 -

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ , พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 , เล่ม 1 , หน้า


136- 137 , 140.
หอสมุดแห่งชาติ , แผนกตัวเขียน, จดหมายเหดุ ร. 4 จ.ศ . 1226 - 1230.
20. 3{©โกร{© เก , “‘10๙1\/ใล{วร 0{ รเส๓,” {ว. 145 ใน เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ , พระราช -
พงศาวดารกรุงรัดนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 , เล่ม 2 , หน้า 99 - 100 เอ่ยถึงชื่อนี้ว่า “โดยชก ”

21 .
^
ลเติร์นลไตน์ยืนยันว่าคือชาวดัชท์ชื่ออบ 5ลโ{ (ตูเชิงอรรถที่ 12 ในบทความของเขา).
ณฐ'วุฒิ สุทธิสงคราม, ลมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีลริุ ยวงศ์อัครมหาเลนาบดี, เล่ม 2 ,
'

หน้า 158-159.
22. พระยามหาอำมาดยาธิบดี ( เส็ง ) , “กำเนิดการทำแผนที่ในประเทศไทย ,”หน้า 1 - 2.
23. เพิ่งอ้าง, หน้า 2 - 3 และดูประว้ตย่อของแมคคาร์ธีไดในหน้า 43- 48.
24. สำหรับตัวอย่างแผนผังโครงข่ายสามเหลี่ยมของสยามที่ด่อมาจากโครงข่ายสามเหลี่ยม
^
ในอินเดียตามชายแดนด้านดะรันออก ดูไดใน เ อรลโ{{ไ V, รบโVอ//กฐ สก๘ &โ/ว/อก่กฐ เก
รเสกา , ก่อนเริ่มบทที่ 1 .
^
25. ดูรายละเอียดเพิ่มเดิมของโครงการนี้ไต้จาก ! 0รสโ{{ไV, รบก/©)กํกฮสก๘ /ว/อกํกฐเก ร/สก!.
^
26. พระยามหาอำมาดยาธิบดี ( เส็ง ) , กำเนิดแผนที่, หน้า 6 , 14-15 และ 0ร3โ{{ไ V , รบ/'-

เชิงอรรถ 299
^ ^ ], /เก รกฐ// /เก ร/ , ร, คำนำ656และหนำ เ 11890
V6 Iก สก๔ 5XIว/0โ/กฎ สก7 - 3 117. ,
27. [[
^เล่มนี้มิไดให้^ ชื่อผู้แต่ง เพียงแด่ระบุไวในหนำแรกว่าหนํ-ง1893
อดลโแา 5 7โกสก 5 /สโก ปอมโก3 , กก. 2 - 3 ผู้พิมพ้หนํงสือ
ลือนี้เป็นฉบับพิมพ์ซาแบบไม่
ดัดต่อของหนังสือชื่อ ค ก ! อ! รมก ^ เก 813๓ ซึ่งดีพิมพ์และเผยแพร่ในลอนดอน
6 0โ 3 /6
โดยไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งในปี 1 895 ( พ.ศ. 2438) เนี้อหาของหนังสือเกือบจะเหมือนกันเปิะ
กับ [^ดอลเซา , รยก 6/ สก๔ ร*เว/ /กฎ เก 8เ ซึ่งดีพิมพ์ต่อมาภายหลัง ดังนัน
^ / /กฎ อโ 3๓
ในที่นี้จึงคงชื่อของฉบับพิมพ์ซาไว้เซ่นเดิมเพื่อสะดวกแก่การอ้างอิงแด่จะระบุชื่อผู้แต่งว่า
คือแมคคาร์ธ.ี
28. ดู ‘ๆๆๅ6
^
คอ ! รบก/© V 0©ก3โ!กา©ก! รเลโก: & ค©!โอรก©อ!,” ก. 19 (ขณะที่ใน “ประวิด
กรมแผนที่ทหาร,” ที่ระลึกครบรอบวันสถาปนา 100 ปีกรมแผนที่ทหาร, 3 กนยายน
2528 , หนำ 2 ให้รายละเอียดต่างออกไป คือ ดัดเลือกทหาร 30 นาย และระบุว่า
แมคคาร์ธีเป็นครูใหญ่ของโรงเรียน นอกจากนี้ยังไม่ได้ระบุชื่อโรงเรียนนี้ในภาษาไทย จึง
ขอไม่แปลชื่อเป็นไทยในที่นี้ - หมายเหตุเพิ่มเดิมฉบับแปล) .
29. แวเ6 ., ก. 20 ; มหาอำมาดยาธิบดี ( เส็ง ) , กำเนิดแผนที่, หนำ 5, 8 และ “พีฒนาการด้าน
การศึกษาในโรงเรียนแผนที่”ซึ่งเป็นบทความหนึ่งใน กรมแผนที่ทหาร, ที่ระลึกครบรอบ
วันสถาปนา 100 ปีกรมแผนที่ทหาร, หนำ 293 กระนั้นก็ดาม งานเหล่านี้ให้รายละเอียด
เกี่ยวกับหลักสูดรการเรียนการสอนน้อยมาก.
30.
^
0371๘ พVส!!, รอ//!/อร 01 1 610^๓ เก ร/7ส//สก๔, กก. 110 - 115, เชิงอรรถที่ 356 มี
^
โรงเรียนชื่อ “ร0เา00เ 0!คอV3I รบโ 06ก3โ!๓©ก!”ปรากฎอยู่โดยไม่มีรายละเอียดใด ๆ;
วารุณี โอสถารมย์, “การศึกษาในดังคมไทย พ.ศ . 241 1 - 2475 ”เป็นหนึ่งในงานที่ดีที่สุด
เกี่ยวกับประวิดการศึกษาสมัยใหม่ในประเทศไทยแด่มิได้เอ่ยถึงโรงเรียนนี้เลย.
31. ดูประวิดย่อของกรมแผนที่ทหารใน “ค©!โอรก©อ!” ( ดูเชิงอรรถที่ 28 ข้างบน) ผู้แต่ง
เอกสารชันนี้น่าจะเป็น โรนัลด์ ดับเบิลยู. กิบลิน ( คอก3เ6 พ. 01๒แก ) ซึ่งเป็นอธิบดีกรม
แผนที่ทหารระหว่างปี 2444 - 2452 (ค.ศ. 1 901 - 1 909 ) งานเขียนเกี่ยวกับประวิดของ
กรมแผนที่มีเพียงชันเดียวคือ ที่ระลึกครบรอบวันสถาปนา 100 ปีกรมแผนที่ทหาร ก็เป็น
ประวิดแบบหน่วยราชการ ให้ข้อมูลที่ไม่ค่อยมีประโยชน์นัก.
32. 70] ธบกกล9, คโอฟกอ/ล/ /\๔กา/ก/5!โส!/อกอ!ร/ลโก 1892 - 1915, กก. 1 - 2 .
' '

33. ตัวอย่างของระบบปกครองเซ่นนี้พบไดีในหัวเมืองลาว ซึ่งปัจจุบันคือภาคอีสานของไทย


ดู “พงศาวดารหัวเมืองอีสาน, ”ใน ประชุมพงศาวดาร 3/ 4 , โดยเฉพาะหนำ 359 - 360 ,
363- 364 และ 394 - 395 นอกจากนี้ลู เดิม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติคาสด{อีสาน และ
อรวรรณ นพดารา , “การปรับปรุงการปกครองและความขัดแยงกับฝรั่งเศสในมณฑลอุดร
ระหว่าง พ.ศ. 2436 - 2453, ” หน้า 118 - 122.
34 . อรวรรณนพดารา, “การปรับปรุงการปกครองและความขัดแยังกับฝรั่งเศสในมณฑลอุดร, ”
หน้า 127 , 176-180.
35. “พงศาวดารหัวเมืองอีสาน,’, ใน ประชุมพงศาวดาร 3/ 4 , หนำ 370.
.
36. จิราภรณ์สถาปนะวรรธนะ, วิกฤติการณ์สยามร ศ. 112 , หน้า 41 - 46, 67.

300 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวิตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


37.
^ที่ปด0รากฏในงานของจิ
สโ{ เารบก อ/ กฎ อก๘ ^
/ เก 3เอกา, [ว[ว. 18-77 ช่วงเวลาของการสำรวจ
Xเวเอกํกฎ
ราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ, วิกฤติการณ์สยาม ร.ศ. 112, หน้า 44-
45 ไม่ถูกดอง.
38. เจ้าพระยาสุรศักดี้มนตรี, ประวติการของจอมพลเจ้าพระยาสุรค'กดมนตรี, เล่ม 2 , หน้า 332.
39. เพิ่งอ้าง, เล่ม 3, หน้า 234.

ผู้ป^
^
กครองสยามในขณะนั้นเป็นคนรุ่นใหม่ไต้รับ^การศึกษาแบบตะวันดก พวกเขาจึงยึดมั่น
40. ธส ©, “เฒเ{สโ , (ว0 \/©โกกา©ก{ สก๘ ร0ด่©{ เก รเลโก,” [ว[ว. 319 - 350 เขากล่าวว่า
5

ในหลักการและต้องการไต้รับการปฏิบดอย่างเท่าเทียมกับชาวดะวันตกและไม่ยอมเป็น
ฝ่ายถูกข่มขู่คุกคาม พวกเขาเชื่ออย่างหนักแน่นว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของสยามเพราะ
สยามคือผู้ยึดครองล่าสุด ดังนั้นสยามจึงพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อปกป้องหลักการและดินแดน
ของตน แม้ว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จะตระหนักถึงความกำกวมของชายแดน แต่ก็ยัง
แน่วแน่ที่จะยืนยันเกียรติยศของดนทุกวิถีทาง รวมกระทั่งด้วยกำลังทหาร อย่างไรก็ดาม
เจดจำนงอ้นแน่วแน่ของคนหนุ่มผู้ยึดในอุดมคติแต่ไฟแรงในการพยายามปฏิรูประบบ
สถาบันแบบจารีดทั่งหลายอย่างเร่งด่วนพร้อมกับการเชิดชูความยิ่งใหญ่ของสยามใน
เวทีการเมืองระหว่างประเทศนั้น กลับมิได้มีกำลังทหารที่จำเป็นรองรับอยู่ สยามมิได้มี
ความพร้อมไม่ว่าจะทางการทหารหรือการเมือง กองทัพสยามปวกเปียกเกินไปสำหรับ
การสู้รบ กองทหารราบของสยามซึ่งส่วนใหญ่ประจำอยู่ในพระนครและมีกระจัดกระจาย
อยู่ดามจังหวัดรอบนอกบ้างนั้นยังอยู่ในสภาพแบเบาะ กองทหารปืนใหญ่และทหารม้ามี
ไร้ประดับงานพระราชพิธีเท่านั้นมิใช่สำหรับทำการสู้รบ กองทัพเรือซึ่งมีนายทหารส่วน
ใหญ่เป็นชาวเดนมาร์กก็ไม่ไต้เตรียมไว้สำหรับการรบแด่อย่างใด กองทัพสยามยังอยู่ใน
ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากกำลังไพร่เกณฑ์ไปสู่กองทหารอาชีพ และการสร้างกองทัพ
อาชีพในขณะนั้นส่วนมากเป็นไปเพื่อใช่ในงานพระราชพิธีเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นกองกำลัง
หน่วยรบเกือบทั่งหมดประกอบด้วยพวกเชลยศึกและชนกลุ่มน้อยที่ครั้งหนึ่งเคยรบกับ
กองทัพสยามแต่พ่ายแพ้ มวลชนชาวนาเหล่านี้รู้จักแด่การทำสงครามและอาวุธแบบ
โบราณเท่านั้น ทั่งยังไม่มีความรู้สึกรักชาติหรือรับรู้ว่าเป็นสงครามต่อด้านเจ้าอาณานิคม
แด่อย่างใด ข้อพิพาทกับฝรั่งเศสก็เป็นเรื่องการรักษาดินแตนที่คนเหล่านี้ไม่เคยไดํยนมา
ก่อน ธส{{V © กล่าวว่า “กองทัพสยามเต็มไปด้วยความล้าหลังผิดยุคผิดสมัย ตั้งแต่หัว
จรดเท้า” (หน้า 340 ).
^ ^
41 . 1 ©0สโ{เา , 3บก/อ/!กฎ อกป กิX /ว/0?เกฎ เก ร/3/77, [ว[ว. 72 - 73.
42 . [-[ ©กโ! |\4อนเา0{, 7โส ^©/ร เก #70 รอก&31 กิ3๘5 อเ เก๘อ-รเาเกอ ( 31อกา ), 03/77๖0๘เอ, อก๘
๖305.
43. ดูเรื่องราวการเดินทางที่จบลงด้วยโศกนาฏกรรมนี้ใน ฒ{©ก 05๖0โก© , กิ/Vอ! กิ03๘ {0'

0เ7/กอ: 7๖0 /ฟ©/(๖0/7ฐ กิ/V©/ กิXฎอ๘/ แ0ก 1866 - 1873.


'

44. เจ้าพระยาสุรศกดี๋มนตรี, ประวติการของจอมพลเจ้าพระยาสรศกดี้มนตรี, เล่ม 2 , หน้า


470 ’
^ . . . .
45. เพิ่งอ้าง., หน้า 468 - 470; กิสฟ© , แรรเอกกิ3ฟ©, ^1 1 , [ว[ว 199 - 200, 246; V0เ 2 , [ว

เชิงอรรถ 301
101 ; \^0เ. 6 , ถ. 113 และจิราภรณ์สถาปนะวรรธนะ, วิกฤติการณ์สยามร.ศ . 112, หน้า
28- 29.
46.
47.
^
คลVI© , / /รร/อก คลฟ©, V0I . 6 , ถ. 37.
'

ตูคำขออนุญาตและคำตอบของพระจุลจอมเกล้าฯ ใน เจ้าพระยาสุรดักดี๋มนตรี, ประวิดการ


ของจอมพลเจ้าพระยาสุรศ้กดมนตรี, เล่ม 2 , หน้า 365- 372 ข้อความที่อ้างถึงอยู่ในหน้า
372 และ 366 ตามลำตับ.
48. ข้อความที่อ้างถึงมาจาก 8เ'6ล26ล1© ลก0เ รลก11, คกบลก, ถ. 74.
49. เจ้าพระยาสุรดักดมนตรี, ประวิดการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศกดมนดรี, เล่ม 4, หน้า
154-155.
50. คลVI © , / /ร510ก คลฟ©, \^0เ . 7 , ถ. 46 และ V0I. 6 , ถถ. 51 - 52.
^
51. สรุปจาก “ค©{โอรถ©๙,” ถถ. 20- 23.
52. ปาวีรายงานว่าเจ้าพระยาสุรตักดมนตรีมีแผนที่ของแมคคาร์ธีอยู่กับตนเพื่อใช่โต้แย้งกับ
ฝรั่งเศส แต่ไม่ทราบด้วยเหตุผลใดท่านจึงมิได้กางแผนที่นั้นออกมาใช้ ตู คลฟ©, /\4/รร/วก
คลฟ©, \^0เ. 7 , ถ. 67.
53. 6© 0 โ9 © อบโ20ก , “71า© 813๓03© คอนกปลโ/ บ©ร!เอก,” ถถ. 34 - 55.
54. ในระหว่างที่กำลังเขียนวิทยานิพนธ์อยู่ ผู้เขียนก็ย้งมิได้เห็นต้นฉบับแผนที่ของแมคคาร์ธี
เช่นกันผู้เขียนจึงอภิปรายแจกแจงว่าทำไมแผนที่ฉบับพิมพ์ใหม่ปี 2528 (ค.ศ. 1985) จึง
มิใช่แผนที่ฉบับปี 2430 (ค.ศ. 1 887 ) อย่างแน่นอน แด่ต้องเป็นฉบับปี 2442 (ค.ศ. 1 899 )
หรือหลังจากนั้น (ตูวิทยานิพนธ์ของผู้เขียน ถถ. 297 - 308 ) ผู้เขียนขอขอบคุณ ก0เโ©ผ
า บกอก และ X©กกอก 8โ©ล26ลเ6 ที่ให้ข้อมูลและช่วยติดต่อขออนุญาตตีพิมพ์แผนที่จาก
"

บริดิชมิวเชียมในเล่มนี.้
55. แผนที่และบทปาฐกถาของเขาดีพิมพ์อยู่ใน โ*1ออ©©๘เกฎ3 0( /ก© คอ/ล/ (รออฮโล]อก/อ
รออ/© //, ก©พ ร©กิ©ร 10 ( เฟลโอกิ 1888): 1 17 -134 ตัวแผนที่อยู่ในหน้าตรงข้ามกับ
หน้า 188.
56. จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ, วิกฤติการณ์สยามร.ศ . 112, หน้า 47- 49; คลฟ©, ฬ/รร/อก *

คลฟ©, \^อ1. 1 , ถ. 224.


57. จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ, วิกฤติการณ์สยามร.ศ. 112, หน้า 72 , 77 -81 , 92 - 93,
^
119 -128; คลVI ©, }รรเอก คลฟ©, Vอ!. 1 , ถ. 325; V๐I . 2 , ถถ. 86 , 214.
58. ตูตัวอย่างใน เจ้าพระยาสุรดักดมนตรี, ประวิดการของจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดมนตรี ,
เล่ม 2 , หน้า 444 มีอยู่ครั่งหนึ่งในปี 2429 (ค.ศ. 1886 ) เจ้าพระยาสุรสักดิ้มนตรีบ่นว่า
แผนที่ที่ทำโตยกรมแผนที่ทหาร เล็กและหยาบเกินไป “จะถือเอาเป็นหลักในการเดินทัพ
ก็หาไดไม่ ทั้งเป็นแผนที่ประมาณด้วย.”
59. 8โ6ล26ลเ6 ลกกิ รลก!{, คกบลก, ถถ. 74 , 89 -92 , 95- 98, 1 16.
60. [[ฟอ(วลโ{กิ/], /\ก คกฎแรกก?ลก ,5 ร/ลก?©ร© ปอบทกล/ เป็นเรืองราวการทำงานของเขา
โดยเฉพาะระหว่างปี 2433- 2436 ( ค.ศ. 1890-1893 ) ตูหน้า 146 -147 ของเล่มนี้หรือตู
หน้า 175 ของ (VI๐ ห/ , รบ/V©//กฐลก๘ คX]ว/อกํกฎเก ร/ลก? สำหรับคำดังจากกรุงเทพฯ

302 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวิดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ที่มีรายละเอียดของบริเวณต่างๆ ที่ต้องกำหนตเส้นเขตแดนให้เสร็จสิ้น ส่วนผังโครงข่าย
สามเหลี่ยมของชายแดนด้านนี้อยู่ในงานเล่มเดียวกันนี้ในหนาก่อนเริ่มบทที่ า .

บทที่ 7 ฎมิกายา
1 . “ค©Iโ080601, ”0. 23 แผนที่ชิ้นตีพิมพ์ในอังกฤษนี้นำจะเป็นต้นฉบับของชิ้นที่ดีพิมพ์ใหม่
โดยกรมแผนที่ทหารในปี 2528 (ค.ศ . 1985 ) ซึ่งอัางว่าเป็นแผนที่ของแมคคาร์ธีปื 2430
(ค.ศ . 1887 ).
่ 8ซี่งแนบมากับจุลสารวิวัฒนาการแผนที?นประเทศไทยหรือรูปที่ 6.1 8
,
2. ดูแผนทีรายการที
'

ในวิทยานิพนธ์ของผู้เขียน.
3. ดูรายละเอียดข้อตกลงเส้นเขตแดนหลายแห่งระหว่างสยามกับพม่า สยามกับอินโดจีนของ
^
ฝรั่งเศส และสยามกับมลายูของอังกฤษในป. ค. V. คโ©ร©011, ส/ว 0 เ เตํ31กเลก๘ 4ร/3
^
๖V 7เโ63 , ก[ว. 382 - 408 , 418- 446 และ ค/001/'©/ร 0 เ /\ธเ3 30๘ 301/1/76331 /\รเ3, [ว[ว.
54 - 59.
4. วิวฒนาการแผนที่ในประเทศไทย , หน้า 8 - 9 .
^
5. ค01ว©โ! 830 , เ-เมกาลก 76/ก้10ก้ล//!/, [ว. 74.
^
6. 06ก6๘101 ก๘©โร0ก, 1/713ฎเก©๙ 0อกากาบกแเ6ธ, [ว[ว. 131 - 132.
7. ป. ค. V. คโ630011, 801/0๘3/763 3/7๘ ค/0/71/6โร, บทที่ 1 .
8. พระยาเทพศาสตร์สถิต, หนังสืออ่านภูมิศาสตร์, เล่ม 1 , หน้า 95.
9 . ว่าที่นายพันตรี หลวงศัลวิธานนิเทศ , ตำราพิชิกะ-ภูมิศาสตร์
10. (วฒ0 โ๘ 066๘2 , “76© เก!©ฐโส!!V© ค6 ^0เม!!0ก,”[ว[ว. 105- 157.
^
1 1 . 81า6 แ 6 [ะโโเก910ก , “กา© ค1ส06 01 ค©9ส1|ส เก เ-บผม,’’[ว. 228.

12. รามเกียรด, เล่ม 2 , หน้า 73.


1 3. ขจร สุขพานิช, ข้อมูสประวิดศาสตร์สมัยบางกอก , หน้า 252.
^ ^
1 4. &]! บโ3รเาเกา3, ‘ๆาา© 0โเ9 เก 01 /เ0๘6โก 01110เ 3เ 81316 I๘60 I 09 V 1 ก ไ!13แสก๘,” [ว[ว.

80 - 96; Xบแส๘ส X ©รเว00ก0เา00 , “(ว!!!©เส1 แส!10กสแรโก บก๘6โ X เก9 01ไมเ 3เ0ก9 0โก,,
และ “011เ0เ3เ แส!!0กสแรกา บก๘© โ Xเก9 V ©]เโ©V บ๘!ไ ,” [วเว. 107 - 120 สำหรับมโนภาพ
^
^
เรืองชาตินิยมทางการ ดู ก๘6โร0ก, เกา3ฐ/ /76๘ 00/77กามก/!/6ร, บทที 7.
' ' '

1 5. นำสนใจว่าคำที่มักใช'กันทั่วไปคือ “ประเทศชาติ ”แต่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มักใช้คำว่า


“ชาติประเทศ ”ในสุนทรพจน์หลายครั้ง.
^ ^
1 6 . I3ลแ©ฐ0 , 0/๘1/0ก3๘0/77, [ว[ว. 129 , 175 - 1 76 และดู คสแ©90 , ร/3/77636 ค/6ก0/7 คกฐ//รก้
' '

01๘!7!10กลV , [ว[ว. 138, 192 - 193 ( ทั่งสองเล่มแปลคำไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ และ


ละดิน แด่ดัวสะกดคำไทยและคำแปลเป็นภาษาอังกฤษของคำที่ยกมานี้ไม่ดรงกันเผงใน
พจนานุกรมสองเล่มแม้จะให้ความหมายตรงกันก็ตาม ในที่นี้ถีอเอาดาม 0/๘1/003ก้ม/77 -
หมายเหตุเพิ่มเติมฉบับแปล )
17. บรัดเลย , หนังสืออ่กขราภิธานศรับท์ , หน้า 798, 806.
1 8. ขุนประเสริฐอักษรนิด และคณะ, พจนานุกรมลำดับและแปลศัพท์ 'ที่ใข้ในหนังสือไทย , หน้า

เชิงอรรถ 303
579, 584.
^
19 . รสกาบ6 เ ป. รกไเชา , /\ 00๓0โ©/ไ©กร/V© /\กฎเด-ร/สกา©50 010แอกส , [ว. 1028.
20. ๒!6 ., [ว. 90.
21 . สมเด็จพระวันรัดน้, สังคีติยวงศ์, หน้า 370 , 381 .
22. ดู พระราชพงศาวดารฉบับพระราชพัตถเลขา , เล่ม 1 , หน้า 226 ; พระราชพงศาวดาร
กรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ , เล่ม 1 ( ประชุมพงศาวดาร 38 / 64 ) , หน้า 174 ;
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระจักรพรรติพงศ์ ( จาด ), เล่น 1 , หน้า 170 และ
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัดน์ , หน้า 140.
23. ทวี มุขธระโกษา , พระมหาธีรราชเจา , หน้า 593.
^
24. 0ส7๒ 0 โ6 แ สก6 0๖สเ -สกลก รสกาบ0เสVสก!เส, ค0แ(10ส / 00๙//๙ เก 7เๅสแสก๖, [ว[ว.
244 - 264 ; ป๐หก ร. 6!โ1!ก9 , 77ไสแสกป: 500/6// สก๖ ค0แแอร , [ว[ว. 211 - 214.

บทที่ 8 ภูมิกายาและประวัติศาสตร์
1. 0๖สกปโลก ป©ร๖บโบก , ‘ๆาา© /\ก91๐-1=1 ©ก๐ห
' 0©0เลโล!๒ก 0! ปสกบล!V 1896 ลกป ๒©
'

\ก6 ©[ว©กป©ก©© 0! ร!สกา , ”[ว[ว. 108 -111 .


^
2. แ06 เ /\. 8ล!! 6 , “7เา© [ฒ!
3. {๖]6 ., เว. 376. ^
! ลโV , (3076โกกา©ก!, ลกป ร0016 !ก ร!สกา,,, [ว. 369.

^
4. ลูบทกลอนฉบับเต็มพรัอมคำแปลเป็นอังกฤษในปส๓©ร ผ. 0ร6เ, “/V ค0 ©!!0 7โลกร!ล!!0ก
( โ0๓ ๒© ร!ล๓©ร©: คโ!กด© ล๓โ0ก9’ร ค©[วเ V เก V©โร© ๒ คล๓ล V ,” [ว[ว. 103- 111.

^ ^ .
5. 8ล! 6, “7๖6 !!!!ลโV 607© โก๓©ก!, สกป ร00!©! เก ร!ล๓,”[ว. 396.
^
6. สำหรับงานประวัติศาสตร์ใทย ลูการวีเคราะห์แนวนี้ในงานของ นิธิ เฮียวศรีวงศ์ , ประวิด -
ศาสตร์รัดนโกสินทรีในพระราชพงศาวดารอยุธยา.
7. ตูประเด็นความต่อเนื่อง / แตกห์กของช่วงเวลาดังกล่าวใน 0ส\/ ]6 พVล!!, “7๖6 ‘รบ๖!เ ©
^
ค© V๐เบ!!0ก’0! เก9 คล๓ส I 0! ร!ล๓, ” [ว[ว. 9- 52; นิธิ เฮียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบ
เรือโตยเฉพาะบทความชื่อ “วัฒนธรรมกระสุมพีกับวรรณกรรมด้นรัตนโกสินทร์” ฮีกทั้ง
^
ตู เงลบร พ©ก , 7/ไ© ค©ร!01ล!/0ก 0( 7เาสแสก๖ ปก๘©โ คลกาส I , 1782 - 1809 สำหรับ
เรื่องความจำเป็นเร่งด่วนในการบรรเทาความตึงเครียด ดูอโล!9 ป. ค©Vก๐๒ร, “ค©!!9*0บร
แ!ร!0โ!0สเ พโ!!!ก9 ลกป ๒© เ-69เ1!๓ส!!0ก 0! ๒© ค!โร! 8ลก9เ*0เ* ค©!9ก, ”[ว[ว. 90- 107.
8. อโล!9 ค©Vก0๒8, “7๖6 ค๒! 0! า หล! แ!ร!0 โ7 ะ 7๖60โV ลกง่ คโลด!!©© ,” [ว[ว. 318 - 325.
"

9. ค0ก9 รสVล๓©ก0ก6 ล, 7\ ค/ธ!01? 0( 7/7ล//ลก๘, [ว. 1 35ศ.


10. ขจร สุขพานิช, ขอมูลประวิดศาสดร์สมัยบางกอก , หน้า 240 - 244.
1 1. ในบรรดาหน้3สือภาษาไทยที่เป็นที่รู้จักมากที่สุตคืองานของ จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ,
วิกฤติการณ์สยามร.ศ . 112 และ สุวีทย์ธีรศาศวัด, ความสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส ร.ศ.
1 12 - 126 : การเสียตินแดนฝังขวาแม่นํ้าโขง โครงเรื่องและเรื่องราวเช่นนี้กลายมาเป็น
แบบแผนของตำราสอนเด็กนักเรียนในโรงเรียน ตัวอย่างเช่นงานของ ภารดี มหาขันธ์,
ประวิดศาสตร์ไทยสมัยใหม่ , หน้า 164 -165.

304 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวิดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


า 2. พVสห, /\ ร/?©/? แเร/01)1 0เ 7/7ส//สก๙, [ว[ว. 201 - 208 ข้อความที่อ้างถึงในที่นี้มาจากหน้า
204.
13. 1๖1๖., [ว[ว. 203- 204 ส่วนที่เน้นเป็นของผู้เขียนในช่วงหลังของบทนี้ ผู้เขียนจะถกเกี่ยว
กับว่า คำต่าง ๆ สามารถกำหนดทัศนะของเราและสร้างผลสะเทือนทางอารมณ์ได้อย่างไร
1 4. ขจร สุขพานิช , ขอมูลประวิตศาสตร์สมัยบางกอก , หน้า 244.
15. สมเด็จฯกรมพระยาตำรงราชานุภาพ และพระยาราชเสนา, เทศาภิบาล , หน้า 7.
16. 76] ธนกกลฐ, ?โ'©ฟ!ก©/3เ 7\๘'กาเก!ร!!’311อก 0เ 513111 1892 - 1915, [ว. V.
17. 1๖11( , [ว[ว. 17 - 19.

1 8. 1๖1๖., [3. 249.


19. ดูงานวิจัยในแนวนี้ใน วุฒิชัยมูลศิลป็ และสมโชติ อองสกุล , บ.ก., มณฑลเทศ าภิบาล: -
วิเคราะห์เปรียบเทียบ.
20. เตช บุนนาค, “การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบบปฎิวิดหรือวิวัฒนาการ.,,
21 . 7©] ธนกก3ฐ, /1จ10Vเก013, เ ๙กาเกเ5(1ล//0ก 0 เ 813171 1892 - 1915 , [ว. 261 ส่วนทีเน้นเป็น
ของผู้เขียน ส่วนที่อ้างเป็นข้อความท่อนสุดทัายของหน้งสึอ.
22 . เตช บุนนาค, ขบถ ร.ศ. 121.
23. ดู (3©0โฐ© ผล๒ลก!©! อบโ2©ก, “7๖6 ร!ลกา©ร© ธ© บก๖ลโV 0บ6รปอก , ” [ว[ว. 34 - 55
( เชิงอรรถเพิ่มเติมฉบับแปล ).
24. ขจร สุขพานิช, ขอมูลประวิตศาสตร์สมัยบางกอก , หน้า 232 - 233.
25. ธ๖พลโ๖ รล!๖, 0/7©ก/ล//5๓, เวเว. 213- 216 ข้อความในเครื่องหมายคำพูดอยู่ในหน้า 213
สำหร้บบทบาทสำกัญของลอร์ตเคอร์ซอนต่อลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษ ดู 0๖ลก๖โลก
ป65๖บโลก, 7/?© ออก /©ร/ 101 8เ3กา 1889 - 1902.
26. ทั้ง จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ, วิกฤติการณ์สยาม ร.ศ . 112 และ สุวิทย์ ธีรศาศวัต,
ความสมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส ร.ศ. 112- 126 ใชับทความและแผนที่ของเคอร์ซอนในข้อ
ถกเถียงของดนราวกับว่ามันเป็นหลักฐานที่ด่อด้านลัทธิอาณานิคม หรือเป็นข้อความที่
แสดงความเห็นอกเห็นใจต่อสยาม นอกจากนี้ เมื่อพวกเขานำแผนที่นี้มาอ้างอิง ก็ไดใชั
เครื่องหมายจุดและขีด ( ) เข้ามาแทนที่เสนสีหนาๆซึ่งเคอร์ซอนใชัแทน
การประมาณเส้นเขตแดนต่าง ๆ ที่เกิดจากการดีความที่แตกต่างกันด้วย อาจเป็นได้ว่า
พวกเขาเสีกว่าเส้นสีต่างๆ นั้นลูไม่จริงจังและไม่น่าเชื่อถือจึงด้องใซัระเบียบวิธีของแผนที่
มาทำให้แผนที่ดูเป็นวิทยาศาสตร์และเป็นวิชาการ.
27. ดังที่เบน แอนเตอร์ดัน ได้กล่าวว่า ภาพลักษณ์ของกษัตริย์สยามลูจะปรากฏเคียงข้างไป
กับบรรดาผู้นำชาตินิยมของประเทศเพื่อนบัานดู “ร/บป!©ร ©/ /๖© 7๖ล! ร/ล/©,,, [ว. 198.
28. ดู ธำรงดักดิ้ เพชรเลิศอน้น่ด,้ “การเรียกร้องดินแดนคืน พ.ศ. 2483, ”หน้า 28- 65.
29.
^
7๖ลกา30๐ ผบ๓ก©ก๖ล, 7กล/ /ลก๘3ก๙ //า© ปล/ว3กอร© 656 ก06 1941 - 1945, บทที่ 2 .
'

30. ( ๖!ป. สำหรับบทแปลเอกสารทางราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ลู 7๖ล อ๖ล-


เ ๐6กา /!ลโลกล, ©ป., 7๖31 ?อ////อร: 5x113013 3ก๘ อ©©นก?©ก/ร 1932 - 1957 , บทที 2.
'
^
31 . ธ. 7๖ลป© บร ค©©ป, “7๖6 1940 ธโลก©© -7๖ล! ธ© โป©โ อ!3[วน/© ลกป ธ๖!๖บบก ร©กฐ -

เชิงอรรถ 305
๓ ออกา๓11๓6กI 10 น่สกสก, ” [ว[ว. 304- 325.
เแาโลล ’3
32. แผนที่นี้มาจาก ทองใบ แดงน้อย , แผนที่ภูมิศาสตร์ ประโยคมิธยมศึกษาตอนต้นและ
'

ตอนปลาย, หน้า 39 สเดิร์นสไดน์แปลชื่อแผนที่เป็นภาษาอังกฤษว่า “0V©!มป๐ก 0* 1เา©


^
ธ0 มกปล 0* า หสแสก๙’ และใส่ปีที่พิมพ์ด้นฉบับว่าเป็น ค.ศ . 1940 (พ.ศ. 2483) ด
"

^
เ-ลโโV 816๓ร!© เก, “4 0ล1ลเ09บ6 อ1 กร 0171าสแสก6 เก 11า6 &/เบร©บ๓ 0111า6 ค0 ส1 71าสเ
^
รบโV ©\/ อ©[วล[1๓6ก!, 8ลก9 0เ๙’ ที่จริงแผนที่นี้เคยดีพิมพ์มาแล้วในปื พ.ศ. 2478 (ค.ศ .
1935) ซึ่งแดกด่างอย่างมากจากฉบับที่ดีพิมพ์ในภายหดัง ดูแผนที่ใน ธำรงลักดี้เพชร-
เลิศอน้นด์, “การเรียกร้องดินแดนคืน,,, หน้า 54 แด่นี่เป็นแผนที่ฉบับพิมพ์ พ.ศ. 2483
ที่ไต้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย.
33. ดู ธำรงลักดิ้ เพชรเลิศอน้นด์, “การเรียกร้องดินแดนคืน,,, หน้า 51 - 62 และแผนที่ใน
หน้า 54, 56 อีกทั้งดู พยนต์ ทิมเจริญ, “แนวพรมแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนของ
ฝรั่งเศส,,, หน้า 26 (หมายเหตุเพิ่มเดิมฉบับแปล - ประวัดศาสตร์การเสียดินแดนสำนวน
ใหม่ๆ ยังคงพบได้จนทุกวันนี้ สำนวนล่าสุดที่ผู้เขียนพบคือระหว่างกรณีพิพาทเขาพระ-
วิหารปี 2551 นี้เอง สำนวนล่าสุดนี้มาในรูป [วอพ©โกอเก! กโ©ร©ก!ส!เอก ของการเสียดิน
แดน 14 ครั้ง เพราะทึกทักไปว่าคาบสมุทรมลายูทั้งหมดและรัฐฉานทั้งหมดดลอดถึงฝ่ง
ซ้ายของแม่นี้าสาละวินเป็นของสยามมาก่อน จึงด้องระบุว่า “เสีย,, ไปเมื่อไร ประวัต-
ศาสตร์การเสียดินแดนมีแกนเรื่องเหมือนๆ กัน แด่สาระแทบไม่เคยตรงกันเลย )
34. ดู IVแก1๐ก อ0เก่๓สก , “0โสก00 -8โเ1เรเ- คเVส1เ7 ©V©โ รเส๓,”ก. 226.
35. ดู พXส!!, 4 รก่อโ!เ-เ/ร!00โ อ!7ก่ส//สก๙, ก. 207 รวมทังงานของ อ. 0. 0. แสแ , 4 /-//ร!อโห

'

อ! รอม!ก่- 5สร!45/3, ก. 729.


*

36 . รเโม่0รเสเา อโ0รIวV, ร/ลกา: 7116 005รโอ3๘5, กก. 113-114 ขณะที่งานของ 0เ00๙


“7เา© 1940 0โสก00 -71าสเ 00โป© โ อเรกบ!© สก6 เ3หแวบบก ร0ก9เปาโลส๓’ร 00๓๓!เ ๓©ก!
10 น่สกสก,, บอกเล่าเรื่องราวที่แดกด่างเลิกน้อย เขาบอกว่าครอสบีเห็นใจต่อคำร้องขอของ
สยาม แด่ไม่สามารถให้ความเห็นใจอย่างเป็นทางการต่อสยามได้ เพราะอิทธิพลของ
อเมริกาที่มีด่อนโยบายของอังกฤษในประเด็นนี.้
37. กนต์ธีร์ ศุภมงคล, การวิเทโศบายของไทย, หน้า 24.
38. เพิ่งอ้าง สำหรับบทบาทของนายวนิช ปานะนนท์ และกลุ่มที่สน้บสนุนญี่ปุ่นในรัฐบาล
พิบูลสงคราม ดู ค006 , “7เา© 1 940 0โสก00-71าสเ 00โ0เ©โ
,,
อเรกบ !© สกง่ กเาแวบบก ร0ก9 ~
^ - -
เาโลล๓’ร อ0๓๓11๓©ก! 10 น่สกสก , กก. 312 313, 317 และ 322 324 และ 71าส๓
-
-
^ -
ร00เ^ แบ๓กอกปส, 7ก่ส//ส, ก6 สก๘ ปส/วสก©5© 7 656กอ© 1 941 1945 , กก. 115 116 และ
หลายแห่งดลอดบทที่ 1 และ 3 สำหรับข้อมูลภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับชายผู้นี้ ดู 8©ก]ล๓เก
ธส!ร0ก ลกป รเาI ๓เ2บ แส]เ๓© , ©กํร., 7ก่© 7โสฐ©ปุ/ อ! VI!สก/!.
-
39. กรมแผนที่ทหาร, วิวัฒนาการทางแผนที่ในประเทศไทย , หน้า 13 14 ภาพประกอบมา
จาก ทองใบ แดงน้อย, แผนที่ภูมิศาสตร์ , หน้า 27, 29 , 31 , 33, 35 , 37 ตามสำดับ ซึ่งแทบ
-
จะเหมือนกับฉบับปี พ.ศ . 2478 2479 ทั้งหมด .
40. เ-สโโV 816๓ร!©เก, “4ก แเร!อกํ0ล! 41เลร 01 7เาสแสก๙”ก. 7 แม้จะใช้คำว่า “สก,, ในชื่อ

306 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


บทความ แต่ 7/76 ในที่นี้เป็นการยํ้าของสเติร์นสไตน์เอง ขอตั้งข้อสังเกตว่างานของเขา
ไม่มีแผนที่แผ่นแรกในรายการที่ระบุในที่นี้ เขาใช้แผนที่เพียง 5 แผ่น แมัว่าที่จริงแผนที่
ชุดนี้มี 6 แผ่นก็ตาม.
4 า.แต่สเติร์นสไตน์ศึกษาแผนที่เหล่านี้ในฐานะ “สภาพทางกายภาพและสถานการณ์ทาง
การเมืองในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”ซึ่งทำให้เขาใส่ชื่อแผนที่แต่ละฉบับในรูป
พหูพจน์ เช่น เก9๘0๓3 ลก6 0เ1เ63 31 11า6 11๓6 01. .”
42. กรมแผนที่ทหาร, วิว้ฒนาการทางแผนที่ในประเทศไทย , หน้า า 3 ชี้ว่าในด้นฉบับปี 2478
( ค.ศ. า 935) แผนที่นี้ชื่อว่า “อาณาจักรหนองแส”ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเมืองหลวงของน่าน-
เจัา อย่างไรก็ตามในบทความของสเดิร์นสไดน์แผนที่นี้ถูกเรียกว่าอาณาจักรของวัชสมัย
โก๊ะล่อฝง กษัตริย์ของน่านเจ้า, พ.ศ. 1291 (ค.ศ. 748 ).
1
43. ในแผนที่ในหนังสือ แผนทีภูมิศาลตร์ของทอง' บ ฉบับพิมพ์พ.ศ. 2529 (ค.ศ . 1986 ) ,
หน้า 31 ยุคของพ่อชุนรามคำแหงถูกเปลี่ยนเป็นพ.ศ . 1822 - 1843 ( ค.ศ. 1279 - 1300 )
ดามความรู้ประวัติศาสตร์ล่าสุด แต่เขาไม่ได้แก็ใขเนื้อหาในหน้า 30 ที่อยู่ตรงข้ามกับ
แผนที.่
^ ^
44 316๓ร16เก, “ ก แเร10โเ03เ 1เ33 01 7เา31เ 3ก6 ,” ฤ. 20.
.
45. 30๓เปล! พลก!เาลกล, “71า6 ?0แ1เ03 01 [40016๓ 7!าล1 แเร10ก่0ฐโลฤเาV , ” ฤ. 341 .
46. สเติร์นสไดน์แสดงความเห็นดังกล่าวข้างต้น และเสนอว่าเพราะความไม่สมบูรณ์เหล่านี้
^
แผนที่แต่ละฉบับจึงควรถูกแยกพิจารณาออกจากกัน ดู “ ก แ ;810 โเ0ล1 /\11ล8 01 XหลI -
เลกบ,”ฤ. 7 ผู้เขียนเห็นว่าความสมบูรณ์ของแผนที่อยู่ที่การพิจารณาทั้งหมดรวมกันมิใช่
แยกออกจากกัน.
47. ดูงานศึกษาบทละครของหลวงวิจิตรวาทการใน ประอรรัตน์ บูรณมาดร์, หลวงวิจิตร-
าาทการกับบทละครประวิดศาสตร์โตยเฉพาะบทที, ่ 4 ข้อมูลเกี่ยวกับบทละครของหลวง
วิจิตรฯ หลังจากนี้มาจากงานของประอรรัตน์เป็นส่วนใหญ่ สำหรับงานเขียนทางประวิติ -
ศาสตร์ของหลวงวิจิตรฯ โปรตลู กอบเกื้อ สุวรรณหัต - เพียร, “การเขียนประว้ติศาสตร์
แบบชาตินิยม: พิจารณาหลวงวิจิตรวาทการ,” น. 149 - 180 และ 0หล๓VII ล8618เก่ , *
^
“71าลเ แเ810ก่09โลฤ[า V 1โ0๓ กด!6ก! 71๓63 10 1เา6 [400๒๓ ?6ก่00เ ,” ฤฤ. 156 - 170 ดู
งานที่ศึกษาทัศนะทางประวิดศาสตร์ของหลวงวิจิตรฯ ที่เยี่ยมยอดใน 30๓เปล! พลก!เาล-
'
าล, “7116 ?0แ1เ08 01 [ 40016๓ 7เาล1 แเ 3100๒9โลฤ!1V บทที 4 สำหรับบทเพลงบางเพลง
พร้อมคำแปลภาษาอังกฤษ ดู 7เาลเ( 0เา3เ06๓1เลโลกล, 60เ., 7/7ล/ ?0111105, ฤฤ. 317 - 322
'

เพลงหลายเพลงถูกใช้ในกิจกรรมทางการทหารทั้งในช่วงเวลาปกติและยามรัฐประหาร.
48. หลวงวิจิตรวาทการ, “พระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ,”ใน วิจิตรสาร, เล่ม า , หน้า า 24.
49. ไม่มีพงศาวดารไทยฉบับไหนเอ่ยถึงการโจมดีครั้งนี้ มีแด่พงศาวดารพม่าที่บันทึกไวั แด่
กล่าวไวัว่าการโจมดีไม่สำเร็จ ส่วนบทละครของหลวงวิจิตรฯไม่กล่าวถึงรายละเอียดและ
ผลของการโจมดี.
50. เนื่องจากประอรรัตน์ บูรณมาตร์ ถือว่าฉากนี้เป็นจุดสุดยอดของละครเรื่องนี้ จึงตำหนิ
หลวงวิจิตรฯ ที่ไม่ใช้การประกาศอิสรภาพเป็นฉากจุดสุดยอดของละคร (ดู หลวงวิจิตร -

เชิงอรรถ 307
วาทการกับบทละครประว้ติศาสตร์, 'แ. า 68 ) ในความเห็นของผู้เขียน ฉากนี้เป็นเพียง
ปาฏิหาริย์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาเท่านั้น แท้จริงแล้วจุดสุดยอดของละครเรื่องนี้อยู่ที่ช่วงขณะอัน
มหัศจรรย์ของการประกาศอิสรภาพนั้นเอง.
51 . ประอรร้ดน์ บูรณมาดร์ , หลวงวิจิตรวาทการกับบทละครประวัติศาสตร์ , หนา 171 - 178.
52 . เพิ่งอัาง, หน้า 207 - 212.
53. เพิ่งอาง, หน้า 79 - 80.
54. 5๙กบก0เ 1.080๙ 06ก65เ5 35 /[/เ/ เก ล/?๘ 0เก6(- 5553/5, เว. 9.
55. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, “สมาคมสืบสวนของโบราณในประเทศสยาม,,’
หน้า 45- 46 ข้อความเต็มอยู่ในหน้า 42- 46.
56. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, “ลักษณะการปกครองประเทศสยามแด่โบราณ, ”
หน้า 6.
57. ทัศนะทางประวีดศาสตร์ที่ดีความผิดเวลาและสถานที่เช่นนี้ อาจเกิดขึ้นทับอดีตและวีร-
บุรุษของชาติในประเทศอื่นๆด้วย เช่นพุกามในช่วงเวลาของพระเจ้าอโนรธาและพระเจ้า
จานสิดา และล้านข้างในช่วงของพระเจ้าไชยเชษฐา.
58. ธงชัยวีนิจจะกูล, “ผู้ร้ายในประวีดศาสตร์ไทย: กรณีพระมหาธรรมราชา,”หน้า 173 196. -
59. “ไทยรบพม่า”เป็นชื่อเรื่องของงานวรรณกรรมประวีตศาสตร์ไทยสมัยใหม่ที่รู้จักกันดีและ
ทรงพลังมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เขียนขึ้นครั้งแรกโดยสมเด็
,
จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ในปื 2460 ( ค.ศ. 1917 ) ชื่อเรื่องดามทีพิ่ มพ์ ใน !/ระชุมพงศาวตาร, ภาคที่ 6 คือ “พง -
' '

ศาวดารเรื่องเรารบพม่า” ดีพิมพ์ซาในปี 2463 (ค.ศ. 1920 ) โดยเปลี่ยนคำว่า เรา เป็น


ไทย ( ตู ประขุมพงศาวตาร 5 / 6 , 6 / 6 , 7 / 6 ) ในฉบับพิมพ์หลังจากนี้คงเหลือเป็นไทยรบ
พม่า โครงเรื่องและโครงสร้างของอดีดในแนวนี้ถูกนำเสนอในปี 2454 ( ค.ศ. 1911 ) โดย
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ เช่นกัน ดู แสดงฆรรยายพงศาวดารสยาม ( ม.ป.ท., ม.ป.ป. )
^
60. ดู 1.0 / โลเก© ด68เ0๙ เก เก0 เ-3ก๘ 0( 1-3๘/ IV'ก!\] 6 8100๙: 30บเก6โพ 7ก3113ก ล/ไ๘
^
เกอ เ 63กเก9 0( หเ5\0กุ/ เป็นงานประวีดศาสตร์ชาติพันธุวรรณนาที่น่าดื่นดาดื่นใจมาก
พูดถึงการเดินทางเข้าสู่ปริมณฑลในอดีตของท้องถิ่นที่ประวัติศาสตร์ชาติอย่างที่เป็น
วีทยาศาสตร์ไม่สามารถกดปราบได้สำเร็จ ผู้เขียนเองก็ได้เสนอประเด็นพึงด้นควัา เพื่อ
ศึกษาบทบาทของมันต่อการสร้างอดีตขึ้นใหม่ในทำนองเดียวกับบทบาทของภูมิ -
^ ^
ศาสตร์ในหน้งลือเล่มนี้ลู 7 า0ก90เาสเผเกเดแล ฟ, “รเลโก IVเลถถ©๙’( 0เ88©กล!เอก), ถถ.
333- 338.

บทสรป ภูมิกายา ประวัติศาสตร์ และความเป็นชาติ


1. 8.6 กไบก6 1.680๙ “7เา© 7 (0 ภ!!6โ8 0เ 8บโกาล, ”ถถ. 49 - 51 .
^
2. [ เ เ0อลโ1เาV], /\ก 5/7ฐ/ /5/ไ /ทล/ไ’5 ร/ล/ท656 ป001’ก3เ 1890 - 1893, ถถ. 185-186 และ
รม! Vล/ /กฎ 3ก๙5X1เวเ0กํ/ไฐ เก ร/ล/ท, ถถ. 101 - 102.
'

3. จิราภรณ์สถาปนะวรรธนะ, วิกฤติการณ์สยาม ร.ศ . 112 , หน้า 316 - 318.


4. เพิ่งอ้าง , หน้า 318 นอกจากนี้ดู ปิยะฉดร ปิตะวรรณ, ระบบไพร่ในสังคมไทย พ.ศ .

308 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวีดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


2411 - 2453, หน้า 72 , 75, 133 -136.
. ปิยะฉดร ปิดะวรรณ, ระบบไพร่ , หน้า 145 156. -
. เ® มวิภาคย์พจนกิจ , ประวดศาสตร์อีสาน, เล่ม 2 หน้า 531 เติมมิ1ใต้'ระบุปีที่มีการออก
คำสั่งนี้แม้จะบอกทางออมว่าเป็นหลังปี 2442 (ค.ศ . 1 899 ) ขณะที่ จิราภรณ์ สถาปนะ-
วรรธนะ, วิกฤติการณ์สยามร.ศ . 112 , หน้า 319 ซึ่งอ้างจากเติม เสนอว่าคำสั่งนี้ออกมา
ในปืถัตจากวิกฤติการณ์ร.ศ. 112 ( พ.ศ. 2436 /ค.ศ. 1893 ) อย่างไรก็ดาม ไม่มีการอ้าง
หลักฐานชั้นด้นในงานทั้งสองนี.้
. 7กลแ: อกลเ06กาชลโสก8, 6ป., 7 กล/ คอ//!/อร, [ว[ว. 246 - 247.
"

8.
^
อกลโ!©ร 17 6768, /รลก: 7เ6 ฎเ0ก3แรกา เก ผอ๘ก©ลร!©/ท 7ก3แ3ก๘, [ว[ว. 2 - 3, 60 - 61 .
ดู 0อ\( \6 ร!โ6อ !บ53, “อโ©ล!!ก9 ‘7ก6 7กล!,: 7ก© ค๓6โ9©กอ© อ! เกป!9©กอบ3 ผล!!อกล!-
9.
^
13๓ ๒ ผอก-ออเอก!ล! ร!ล๓ 1850 - 1980.”
0. แม้กระทั้งปัจจุบันก็ยังเชื่อกันว่านี้เป็นปัญหาใหญ่ของการศึกษาประวิดศาสตร์!ทยดูวิน้ย
พงศ์ศรีเพียร, บ.ก., ปัญหาในประวิดศาสตร์ไทย , หน้า 3.
^ *^ .
11 . แ. น รก๐โ!อ, “/\ [VI (วก 0©ก ©ล1๐9 0 !ก9ร ”ก 64. -
1 2. ขจร สุขพานิช , “ฐาน้นดรไพร่, ”หน้า 69 , 71 บทความนี้ดีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2503 ( ค.ศ .
1960 ) และได้รับการดีพิมพ์ซํ้าหลายครั้งในฐานะงานคลาสสิค ขจรตั้งชื่อบทความเป็น
ภาษาอังกฤษว่า “คโ©©๓ลก ร!ล!บ©” พรัอมด้วยคำอธิบายว่าทำไมไพร่จึงมิใช่ 36โ! แด่
เป็น!โ© ©๓ลก ( เสรีชน) ผู้ที่เขามุ่งไจมดีในงานชั้นนี้ก็คือมาร์กซิสด์ไทยที่ชื่อจิตรภูมิกักด ,
โฉมหน้าศักดินาไทยโนปัจจุปัน, ที่ดีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2500 ( ค.ศ. 1957 ) ตู อโส!9 ป.
ค© Vก0เป5, 71131 7(3ป/'0ล/ อ/ร00มโร6 : 7ก© ค©ล/ 7306 0 เ 7กล/ ค©บ๘ล//ร๓ 70๘ล/.
1 3. ขจร สุขพานิช, “ฐานันดรไพร่,”หน้า 90.
14. จากบทนำของ ฐานนดรไพร่ฉบับปี 2519 ( ค.ศ. 1976 ).
15. พล!! 6โ 7 . V ©แล, อกล//0/, [ว[ว. 29 - 31.
16 . ข้อความทังหมดอ้างจาก ปอกก ร. 0!โแก9 , 7๘3/730๘: 500161/ 30๘ คอ//!/อร, [ว. 215 ซึ่ง
แปลมาจาก สยามจดหมายเหด, 2 - 8 ธันวาคม 2519.
1 7.
^
น ก!! อก!โลV69!ก , “ผล!!อกล!!ร๓ ลกป !ก© ร!ล!© เก 7กล!!ลกป.”
'

18.
^ -^
ภาพที่ 20 มาจาก เกร/๘© ร/ล 7 ( 76เว. เ ลโ. 1986 ) , [ว. 15 ถ่ายภาพโดย ออกโสป
19. ^
7ล อโ.
^^
อกลโ!637 . © 63, ‘ๆ ก© อล© © อ!!ก© คบโเอ!ก©ป นก!©!,” [ว[ว. 261 - 292 .
"

20. ดู ฉวีงาม มาเจริญ, ธงไทย.


21 . จมื่นอมรดรุณารักษ ( แจ่ม สุนทรเวช ) , พระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระ-
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , เล่ม 6, หน้า 8- 30.
22. ดูเอกสารจำนวนมากเกี่ยวกับงานฉลองรัฐธรรมนูญประจำปีในหลายจังหวัดระหว่างปี
2478 - 2479 ( ค.ศ. 1935-1936 ) ใน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ , กระทรวงมหาดไทย ,
( ม.ท.) 2.2.13/ 2 และ 2.2.13/ 7 ; 5.14 / 1 และ 5.14 / 49 มีอยู่ครั้งหนึ่งที่รัฐธรรมนูญถูก
วางไว้บนภูเขาจำลองที่เป็นสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุ.

เซิงอรรถ 309
23. ครูเงิน ( นามแฝง ), เพลงไทยดามนัยประวด, หน้า 1 - 22.
24. กรมศิลปากร, รวบรวม , คำชี้แจงเรื่องการใช้เพลงเกียรติยศและเกร็ดความรู้เรื่องดนตรี
ไทย , หน้า 1 - 2.
25. ดู ฉวีงาม มาเจริญ, ธงไทย , หน้า 9 - 1 7 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชบ้ญญ้ตและข้อบังคับ
ของทางการเกี่ยวกับธงชาติและรายละเอียดของกฎระเบียบล่าสุดที่แกัไขเพิ่มเดิมใน
เตือนธ้นวาคม 2519 ไม่กี่เดือนหลังกรณี 6 ตุลา “...เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเกิดความ
ผูกพันทางจิตใจ และมีความตื่นตัวเกี่ยวกับดัญลักษณ์ของบัานเมืองยิ่งขึ้น...,,
26. ผู้เขียนขอขอบคุณเดวิด สเดร็คฟ้สส์ ที่ให้ข้อมูลนี้แก่ผู้เซียนซึ่งในระหว่างที่ผู้เขียนเขียน
งานขึ้นนี้ เขากำลังอยู่ระหว่างทำวิจัยเรื่องวาทกรรมว่าด้วยความมั่นคงของชาติ.

10 I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว่ติศาสดร์ภูมิกายาของชาติ
บรรณานุกรม

แหล่งอ้างอิงภาษาไทย
กนก วงษ์ตระหง่าน. ข้อคิดจากกรุงศรีอยุธยา. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ , สำนัก
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ, 2527.
กนต์ธีร์ ศุภมงคล. การวิเทโศบายของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
2527.
กรมโคสนาการ. คู่มือพลเมือง. พระนคร: อักษรนิต, 2479.
. เขตต์แดนของรัฐ. พระนคร: โรงพิมพ์พานิชศุภผล, 2483.
. ประมวนวธนธมแห่งชาติ. พระนคร: กรมโคสนาการ, 2486.
กรมแผนที่ทหาร. วิรัฒนาการทางแผนที่ในประเทศไทย. ดีพิมพ์ในโอกาสแสตงนิทรรศการ
ทางทหารสมโภชกรุงร้ตนโกสินทร์ 200 ปี. กรุงเทพฯ, 2525.
. วารสารแผนท: ฉบบพิเศษครบรอบ 200 ปี 24- 25 (กรกภาคม 2524 - มิถุนายน


2526 ).
^^
. ที่ระลึกครบรอบรันสถาปนา 100 ปี กรมแผนที่ททาร 2528. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
กรมแผนที่ทหาร, 2528.
กรมศิลปากร, รวบรวม. ประชุมจดหมายเหตุ เรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ 4 และเรื่องรัชกาลที่ 4
.
ทรงพระประชวรและสวรรคด พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาตรี
หลวงจำเติมเผด็จศึก. กรุงเทพ, 2514.
. คำชี้แจงเรื่องการใช้เพลงเกียรติยศและเกร็ดความรู้เรื่องดนตรีไทย. พิมพ์เป็นอนุ-
สรณ์!นงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตรีสว่าง พันธุมเสน. กรุงเทพฯ, 2516.
กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร. “การเขียนประวิดศาสตร์แบบชาตินิยม: พิจารณาหลวงวิจิตรวาท-
1

การ.” วารสารธรรมศาสตร์ 6 , ฉบับที่ 1 (มิถุนายน - กันยายน 2519 ): 149 -180.


ขจร สุขพานิช. “ฐานันดรไพร่.” ใน ประรัตศาสตร์และการเมือง. เอกสารประกอบการเรียน
วิชาอารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2518. พิมพ์ครั้งที่

บรรณานุกรม 31 1
2 พร้อมคำนำใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2519.
. ข้อมูลประวติศาสตร์สมัยบางกอก. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2524.
ข่มุกต์ มิสินทะเลข และคณะ. ห ,แงสือประชุมพงศาวตาร: บรรณนิทรรศนัและดรรชนีค้นเรื่อง.
พิมพ์เป็นอนุสรณ์โนงานประชุมเพสิงนางเทพภูษิต ( เมี้ยน มิสินทะเลข ). กรุงเทพฯ: กรม-
ดีลปากร, 2520.
ณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ. รายงานการสัมมนาเรื่องเอกลักษณ์ของชาติกับการพฒนา.
กรุงเทพฯ: บริษัทวิคดอรีเพาเวอร์พอยท์ จำกัด, 2528.
. เอกลักษณ์ของชาติ. กรุงเทพฯ: กราฟฟิคอาร์ต, 2526.
รูเงิน นามแฝง ). เพลงไทยตามนัยประวิด. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2524.
^

(
ริยาวรรณ อาภรณ์รัตน์. “ปัญหาของรัฐบาลไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวกับคนเอเชียในบังคับอังกฤษและฝรั้งเศส.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร
มหาบณฑิด ภาควิชาประวิดศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2525.
อมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเต็จพระ. ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4. 4 เล่ม. พระนคร:
คุรุสภา, 2503- 2504.
. พระบรมราชาธิบายอธิกมาศอธิกวารและปักขคณนาวิธ.ี พระนศร : มูลนิธิมหามกุฎ -
ราชวิทยาลัย , 251 1 .
. ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่4 และนิพนธ์'ของพระอมราภรักขิต ( เกิด ).พิมพ์เป็น
!
อนุสรณ์ นงานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมดิลก. กรุงเทพฯ: พุทธอุปถัมภ์การพิมพ์, 2516.
. พระราชหัดถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หว. พระนคร: โรงพิมพ์มหา -
มกุฎราชวิทยาลัย, 2521 .
กรวาลทีปนี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2523.
ารุวรรณ ธรรมวตร. โลกหัศน์ทางการเมืองจากวรรณกรรมอีสาน. กรุงเทพฯ: สมาคมดังคม-
ศาสตร์แห่งประเทศไทย , 2523.
รภา ภาษิตปรัชญา. “การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเต็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” วารสาร
มนุษย์ศาสตร์ 2 , ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม -กันยายน 2514 ): 35 - 50.
ราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ. วิกฤติการณ์สยาม ร.ศ . 112: การเสียดินแดนปังชายแม่นํ้าโขง.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิดร, 2523.
ลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระ. “สมาคมสืบสวนของโบราณในประเทศสยาม.”
ศิลปากร 12 , ฉบับที่ 2 ( กรกฎาคม 251 1 ) : 42 - 46.
ำเริญ แสงตวงแข. โลกทศน์ชาวไทยภาคใค้ที่ปรากฏในเพลงกล่อมเด็ก. สงขลา: ศูนย์ส่งเสริม
ภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ , 2523.
วีงาม มาเจริญ. ธงไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2520.
ยวัฒน์ สถาอานนท์ และสมบัติ อันทรวงศ์ , บ.ก. อยู่เมืองไทย: รวมบทความทางลังคมการ
เมืองเพื่อเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในโอกาสอายุครบ 60 ปี. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2530.
ชนปัจจุสานนท์, พลเรือตรี “สุริยุปราคาเต็มคราสพ.ศ. 2411 .”นาวิกศาสตร์ 62 , ฉบับที่ 1 1
(พฤศจิกายน 2522 ) : 124 - 141 .

12 กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
!
ณรงค์วิชิต ( เลือนณนคร), พระ. จดหมายเหตุร.ศ . 17 2. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ นงานพระราชทาน
เพลิงศพ เสวกตรี พระอภิรักษ์อัมพรสถาน (ถึก เสมรสุนทร). พระนคร: โรงพิมพ์ไทย -
เขษม, 2483.
ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ อัครมหาเสนาบดีผู้สำเร็จราชการ
แผ่นดินในรัชกาลที่ 5. 2 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา, 2516.
. พระประวิตและงานสำอัญของพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 2 กรมหลวงวงษาธิราชสนิท
ตนราชสกุลวงศ์ “สนิทวงศ์.” พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์, 2524.
ณ์ฐวุฒิ สุทธิสงคราม และบรรเจิด อินทุจันทร์ยงค์. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ -
ศิลปาคม ( ผู้ถวายชีวิดรักษาแผ่นดินอีสาน ). กรุงเทพฯ: รัชรินทร์การพิมพ์, 2523.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. ประชุมพระนิพนธ์เป็ดเตล็ต. พระนคร: คุรุสภา, 2504.
. นิทานโบราณคดี. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร, 2509.
^
. ความทรงจำ . กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, 2517.
. “ลักษณะการปกครองประเทศสยามแต่โบราณ. ” ใน ประวิดิศาสตร์และการเมอง.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2518.
^

. แสดงบรรยายพงศาวดารสยาม. ม.ป.ท., ม.ป.ป.


.
^^

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา และ ราชเสนา, พระยา. เทศาภิบาล พิมพ์เป็นอนุสรณ์


ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอรรถกระวีสุนทร ( สงวน ศตะรัต). กรุงเทพฯ: กรม
ศิลปากร, 2503.
เตช บุนนาค. “การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบบปฎิวิตหรือวิจัฒนาการ.”อังคมศาสตร์
ปริทศน์ 4, ฉบับที่ 3 ( 2509).
..
. ขบถ ร ศ 121. กรงเทพฯ: มลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนษยศาสตร์.
.
เดิม วิภาคย์พจนกิจ. ประวิดศาสตร์อีสาน 2 เล่ม. พระนคร: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศ
ไทย, 2513.
ทวี มุขธระโกษา. พระมหาธีรราชเจ้า. ม.ป.ท., ม.ป.ป.
ทองใบแตงน้อย. แผนท็ภูมิศาสตร์ประโยคม้ธยมศึกษาตอนตนและตอนปลาย. พิมพ์ครั้ง'ที่ 23.
กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช , 2529.
ทิพากรวงศ , เจัาพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัดนโกสินทร์รัชกาลที่ 3. 2 เล่ม. กรุงเทพฯ:
องค์การค้าของคุรุสภา, 2504.
. พระราชพงศาวดารกรุงรัดนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4. 2 เล่ม. กรุงเทพฯ: องค์การค้า
ของคุรุสภา, 2504.
^

. หนังสือแสดงกิจจานุกิจ. พระนคร: องค์การล้าของคุรุสภา, 2514.


เทพศาสตร์สถิต, พระยา. หนังสืออ่านภูมิศาสตร์เล่ม 1 . กรมธรรมการ. พระนคร: โรงพิมพ์
อักษรนิต,ื้ 2445.
.. หนังสืออ่านภูมิศาสตร์ เล่ม 2. กรมธรรมการ. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรนิติ้, 2447.
ธงชัย วินิจจะกล. “ผ้ร้ายในประวิตศาสตร์ไทย: กรณีพระมหาธรรมราชา.”ใน ไทยคดีศึกษา:
รวมบทความเพอแสดงมุทิตาจิต อาจารย์ พันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา.
กาญจนี ละอองศรี และคณะ, บ.ก. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, 2533.

บรรณานุกรม 313
ธำรงศกดี้ เพชรเลิศอน้นต์. “การเรียกร้องดินแดนคืน พ.ศ . 2483.” สมุดสังคมศาสตร์ 12,
ฉบบที่ 3- 4 (กุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2533): 28- 65.
นคร พันธุณรงค์. “การเจรจาและข้อตกลงระหว่างร้ฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษเกี่ยวกับ
หัวเมืองชายแดนลานนาไทยและพม่า สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระยะ
พ.ศ. 2428- 2438.” ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต วิทยาลัยวิชาการศึกษา ( ประ-
สานมิดร) , 2516.
นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรีพระเจ้าวรวงค์เธอ กรมหมื่น. วิทยาวรรณกรรม. พระนคร: แพร-
พิทยา, 2514.
นริศรานุวัตติวงศ์ , สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. บันทึกความรูเรื่องต่างๆ. 5 เล่ม. พระนคร:
สมาคมลังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย , 2506.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหา -
วิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523.
. ประวิเตศาสตร์ร์ดนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2527.
^
. ปากไก่และใบเรือ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, 2527.
. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุร.ี กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม , 2529.
. “นครศรีธรรมราชในราชอาณาจักรอยุธยา.”ใน อยู่เมืองไทย, ชัยวัฒน์ สถาอานนท์
^

'

และสมบัติ จันทรวงศ์, บ.ก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2530.


นางนพมาศ หรือดำรับท้าวศรีจุฬาสกษณ์.พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนากิ
,
จศพ คุณพ่อถมปัศร์
จาฎามระ. พระนคร, 2506.
^^
บร้ตเลย์, แตน บีช. หนังสืออักขราภิธานศรับท์: 0เ01เ0ก31? 0( 076 313171656 I-3ก บ3 6 .
พระนคร: คุรุสภา, 2514 [2416].
ประชา ปสนฺนธมฺโม , พระ. “ท่านพุทธทาสกับการปฎิว่ติวัฒนธรรม.”ปาจารยสาร 1 0 , ฉบับที่ 1
( 2526 ): 51 - 81 .
ประชุมพงศาวดาร. 50 เล่ม. ฉบับคุรุสภา. กรุงเทพฯ: องศ์การคำของคุรุสภา, 2506 - 2513.
ประยูร อุลุชาฎะ (พลูหลวง ). “พระจอมเกล้ากับโหราศาสตร์ไทย.” สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 6 ,
ฉบับที่ 2 ( กันยายน-พฤศจิกายน 251 1 ): 43- 51 .
^^
. โหราศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอเตียนสโตร์, 2516.
ประเสริฐอักษรนิด ( แพ ตาละลักษมณ์ ) , ขุน และคณะ. พจนานุกรมลำดับและแปลศัพท์ที่ใชใน
หนังสือไทย. พระนคร: กรมธรรมการ, 2434.
ประอรรัตน์บูรณมาตร์. หลวงวิจิตรวาทการทับบทละครประวิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2528.
ปรีดี พนมยงศ์. “ความเป็นมาของซื่อ ‘ประเทศสยาม’กับ ‘ประเทศไทย’.”ใน ไทยหรือสยาม,
สุพจน์ ด่านตระกูล, บ.ก. นนทบุร:ี สันติธรรม , 2528.
ปรุงศรี วัลลิโภตม และคณะ, บ.ก. สรุปผลการสัมมนาเรื่องไดรภมิพระร่วง. พิมพ์ในโอกาส
ฉลองครบรอบ 700 ปี ลายลือไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2526.
ปัญญา บริสุทธี.้ โลกทัศน์ของคนไทย วิเคราะห์จากวรรณคดีคำสอนสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ:
โอเตียนสโตร์, 2523.
ปิยะฉัดร ปิตะวรรณ. ระบบไพร่ในสังคมไทย พ.ศ . 2411 - 2453. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

314 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ . 2493. พระนคร: ราชบัณฑิตยสถาน, 2493.
พยนต์ ทิมเจริญ. “แนวพรมแตนระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส.,, วารสารแผนที่ 26 ,
ฉบับที่ 3 ( มกราคม - มีนาคม 2527 ) : 5 - 29 และ ฉบับที่ 4 ( เมษายน-มิถุนายน 2527 ) :
64 -93.
พระราชพงศาวตารกรุงศรีอยุธ-ยา ฉบับพระจักรพรรติพงศ์ ( จาต ). 2 เล่ม. พระนคร: องค์การค้า
ของคุรุสภา, 2504.
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. 2 เล่ม. พระนคร: คลังวิทยา , 2516.
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธ-ยาฉบับพันจันทนุมาศ . 2 เล่ม. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา,
2512.
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธ-ยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์. พระนคร: คลังวิทยา, 2514.
พื่อแผ่นดินไทย. 3 เล่ม. กรุงเทพฯ: สำนักงานสารนิเทศ กองบัญชาการทหารสูงสุด กระทรวง
กลาโหม , 2529.
ภารตี มหาขันธ์. ประรัดิศาสตร์ไทยสบัยใหม่ . กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, 2526.
มหาอ็ามาตยาธิบดี ( เส็ง วิรยคิริ ) , พระยา. กำเนิดกรมแผนที.่ อนุสรณ์งานพระราชทาน

249 ;.
เพลิงศพ พระยามหาอำมาตยาธิบดี ( เส็งวิริยคิริ ). พระนคร: โรงพิมพ์บริษัท ส. พยุงพงศ์,

“กำเนิดการทำแผนที่ในประเทศไทย.,, วารสารแผนที่: ฉบับพิเศษ ปีที่ 24- 25


(กรกฎาคม 2524 -มิถุนายน 2526): 1 -18.
ไมเคิล ไรท์. “คนโบราณมองภมิศาสตร์โลก.” ศลปวัฒนธรรม 6 , ฉบับที่ 3 ( มกราคม 2528 ):
90 - 96.
. “แผนที่โบราณ.,, ศิลปวัฒนธรรม 7, ฉบับที่ 2 (ธันวาคม 2528) : 46 - 48.
ยอนดัน, ดับเบิลยู. จี. ภูมิศาสตร์ของประเทศสยาม (สำหรับโรงเรียนไทย ). พระนคร: โรงพิมพ์
พิศาลบรรณนิต,ี้ 2443.
.ภูมิศาสตร์สยาม( สำหรั:บชั้นประถมศึกษา ).พิมพ์ค' ร์งที่ 4.พระนคร: โรงพิมพ์อักษรนิต,
1
' '

2450.
ระวี ภาวิไล. “สุริยุปราคา 18 สิงหาคม 2411 .”สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 6 , ฉบับที่ 2 (กันยายน-
พฤศจิกายน 2511 ) : 26 - 34.
ราโชหัย , หม่อม. นิราศลอนดอน. พิมพ์เป็นอนุสรณ์!นงานฌาปนากิจศพนางจำนวนจิปิภพ.
พระนคร, 2505.
รามเกียรด. 2 เล่ม. พระนคร: คลังวิทยา, 2507.
ละออทอง อัมรินทร์รตน์. “การส่งนักเรียนไปศึกษาต่อด่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2411 - 2475.”
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวิตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,
2522.
ลิไทย , พญา. ไตรภูมิพระร่วง. ฉบับตรวจสอบชำระใหม่. กรุงเทพฯ: กรมคิลปากร, 2526.
โลกบัญญ้ต. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2528.
วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. เทศนาพระราชประวัติพระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจัาอยู่หัว. หนังสือแจกในงานบำเพ็ญกุศลถวาย

บรรณานุกรม 315
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวิต.
พระนคร, 2500.
. ประมวลพระนิพนธ์ฯ : ประวัดศาสตร์ - โบราณคดี. พระนคร: คณะรัฐมนตรี, 2514.
วันรัตน์ , สมเด็จพระ. ^
^ ก อ , . พ. ). ภูมะนิเทศ . เพชรบุรี, 2417.
^

รันไดกี,้ ย. ว. ( \ © ป
สังคีติยวงศ์. แปลโดย พระยาปริย้ตธรรมธาดา ( แพ ดาละลักษมณ์ ).
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรุมขุนเพชรบูรณ์อิน-
ทราชัย. พระนคร: 2466.
วารุณี โอสถารมย์. “การศึกษาในดังคมไทย พ.ศ. 241 1 - 2475.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสดร
มหาบัณฑิต ภาควิชาประวิดศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2524.
วิจิตรวาทการ, หลวง. วิจิตรสาร. 5 เล่ม. พระนคร: มงคลการพิมพ์, 2508 - 2509.
วินัย พงศ์ศรีเพียร, บ.ก. ปัญหาในประวิดศาสตร์ไทย: จุลสารคณะกรรมการชำระประวิดศาสตร์
ไทย สำนักนายกรัฐมนตรี 1 , เล่ม 1 (ธันวาคม 2528-สิงหาคม 2529 ).
วุฒิชัย มูลศึลป๋ และสมโชติ ย์องสกุล, บ.ก. มณฑลเทศาภิบาล: วิเคราะห์เปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ:
สมาคมดังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2524.
ศรีสุพร ช่วงสกุล. “ความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์: ศึกษากรณีธรรมยุติกนิกาย (พ.ศ. 2368 -
2464 ).” วิทยานิพนธ์อักษรศาสดรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวิดศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา -
วิทยาลัย , 2530.
ศ์ลวิธานนิเทศ ( แอบ รักตประจิต ), ว่าที่นายพันตรี หลวง. ตำราพิชิกะ - ภูมิศาสตร์. พระนคร:
กระทรวงกลาโหม, 2461 .
สงวน อั้นคง. สิ่งแรกในเมืองไทย. 3 เล่ม. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. พระนคร: แพร่พิทยา, 2514.
สง่า ลือชาพัฒนพร และอาทร เตชะธาดา, บ.ก. วิกฤตการณ์ทางเอกสักษณ์: บันทึกของคนรุ่น
ใหม่. กรุงเทพฯ: ปาจารยสาร, 2524.
สถาบันไทยคดีศึกษา. หมอบรัดเสย์กับสังคมไทย: รวมบทความเสนอในงานสัมมนาเรื่องหมอ
บร์ดเลย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2528.
ลมเกียรติ วันทะนะ. “รัฐสมบูรณาญาสิทธี้ในสยาม 2435- 2475.”เอกสารประกอบการปาฐก -
ถาสมาคมดังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ, 2525.
สวรรค์ สุวรรณโชติ. ประเทศไทยกับปัญหาเมืองจนทบุรีและตราดที่ฝรั่งเศสยึดครองระหว่างปี
พ.ศ. 2436 - 2449. กรุงเทพฯ: กรมการฟิกหัตครู, 2520.
1

สังคมศาสตร์ฉบับโลกบัศน์ขาวลานนา ( มหาวิทยาลยเชียงใหม่) 6 , ฉบับที่ 2 ( ตุลาคม 2526 -


มีนาคม 2527 ).
ตันติสุข โสภณสิริ, “รัฐไทยกับจักรวรรดินิยม.”ปาจารยสาร 12 , ฉบับที่ 2 ( มีนาคม- เมษายน
2528 ): 15- 35.
สิทธ บุตรอินทร์. โลกกั, ศน์ชาวไทยลานนา. เชียงใหม่: ศูนย์หนังสือเชียงใหม่, 2523.
สิริลักษณ์ ศึกดเกรียงไกร, บ.ก. พระยาสุรียานุวัตร ( เกิด บุนนาค ): นักเศรษฐศาสตร์คนแรก
ของเมืองไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราลังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2523.
สุธิวงศ์พงศ์ไพบูลย์. โลกทรรศนัไทยภาคใด. สงขลา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ , 2521 .
^^^
, บ.ก. รายงานการวิจัยพุทธศาสนาแถบลุ่มทะเลสาบสงขลาฝ่งดะวันออกสมัยกรุงศรี
อยุธยา. สงขลา: สถาบันทักษิณศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( สงขลา ) , 2523.

316 กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประวิติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ภาพรรณ ณ บางชาง. “วรรณกรรมโลกศาสตร์!,นพุทธศาสนาเถรวาท.” เอกสารประกอบ
การประชุมวิชาการเรื่อง “วรรณกรรมเกี่ยวกับโลกศาสตร์และสุภาษิตพระร่วง” จัดโดย
โครงการบัณฑิตศึกษาภาควิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 8 กันยายน 2527.
มาลี วีระวงศ์, ว่าที่ นาวาตรีหญิง , แปล. “เมืองไทยปลายสมัยอยุธยา.” วารสารแผนที่ 27 ,
ฉบับที่ 3 ( มกราคม- มีนาคม 2528 ): 99 - 1 1 1 และ ฉบับที่ 4 ( เมษายน- มิถุนายน
^ -
2528 ): 60 - 70. แปลจาก 760๓38 ร3เ ๓วก, เ0ย่๙ก เ เ1ธ{01V ด/ // ใ6 ?โ656ก{ ร/3/0 ด/
^
/\แ / 3//ดกร, 70เ . า , 03. 1724.
รศ์กด้มนดรี, จอมพล เจ้าพระยา. ประวัดการของจอมพลเจาพระยาสุรคักดมนตรี. 4 เล่ม.
พระนคร: องศ์การค้าของคุรุสกา, 2504 - 2505.
ลักษณ์สิวรักษ์. “จดหมายจากหว้ากอ.”สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 6, ฉบับที่ 2 ( 251 1 ): 36 - 41 .
-
วิทย์ ธีรศาลวัต. ความสมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 126 : การเสียดินแดนฝังขวาแม่นำ
โขง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( ประสานมิตร) , 2523.
สกสรรศ์ประเสริฐกุล. “บทวิจารณ์หนังสือป0เาก ร. ดเโแก9, 7/73/73ก6: รดด/ด// 306 ?ด// //05.”
'

อักษรศาสตร์ ( มหาวิทยาอัยศิลปากร ) 6 , ฉบับที่ 1 - 2 ( 2526 ) : 399 - 406.


สาวกา ไพทยวัฒน์. “โลกทัศน์ของคนไทยสมัยด้นรัตนโกสินทร์ 2325 - 2416.” วารสาร
ประวิดศาสตร์ 7 , ฉบับที่ 1 ( มกราคม - เมษายน 2525 ) : 1 - 41 .
ดิต้กตั้ ทองบุญ. “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติกับพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย.” วารสารราข-
บณีฑิดยสถาน 9 , ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม - กันยายน 2527 ) : 3- 4.
ภิชาติ ทองอยู่. วัฒนธรรมอับชุมชน: ทางเลึอกใหม่ของงานพัฒนา. กรุงเทพฯ: สภาแคธอลิก
เพื่อการพฒนาแห่งประเทศไทย , 2527.
มรดรุณารักษ์ ( แจ่ม สุนทรเวช ) , จมื่น. พระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ -
เกล้าเจาอยู่ทัว. 8 เล่ม. กรุงเทพฯ: คุรุสภา, 251 1 - 2513.
ยู่อย่างไทย. บทวิทยุและรายการโทรทัศน์ “อยู่อย่างไทย.”กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่เอก -
ลักษณ์ของไทย กระทรวงศึกษาธิการ, 2521 - 2522 ; กรุงเทพฯ: คณะกรรมการส่งเสริม
เอกลักษณ์ของชาติ ส่านักนายกรัฐมนตรี, 2524 - 2527 .
รวรรณ นพตารา. “การปรับปรุงการปกครองและความขดแยังกับฝรั่งเศสในมณฑลอุดร
ระหว่าง พ.ศ . 2436 - 2453.”ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิด สาขาวิชาประวัติศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( ประลานมิตร) , 2520.
อัมพร ตั้งเสรี. “วิเทโศบายของพระบาทสมเดจพระจุลจอมเกลัาเจ้าอยู่หัวที่มีต่อมหาอำนาจ
ยุโรป.”วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา-
วิทยาลัย , 2523.
อุดมสมบิติ , หลวง. จดหมายหลวงอุตมสมป้ดิ. คำนำโตยสมเต็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา
ดำรงราชานุภาพ. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระรัดนธีชมนี.พระนคร: กรมศิลปากร,
2505 ’ ’
อุปกิดศิลปสาร, พระยา. ชุมนุมนิพนธ์ของ อ.น.ก. พระนคร: คุรุสภา, 2507.

บรรณานุกรม 317
แหล่งอ้างอิงภาษาอังกลุษ

\!ไ๓ส!, ร!ไสโ0โก. ©ปล!ไ -รเส๓ ค© เส!!0กร, 1821 - 1905.” ปอบ/'กส/ 01 11าอ ร/สกา 80061/
59 , 0บ 1 (ปสก. 1971 ): 97 - 1 17.
\แก ค3๙0!ไส0เสกส. 7/76 0โ0สก/2ล!I0ก 01 7/าส/ 500/6I/ เก 1116 คสโเ/ 8ลกฎ!(0 คเ6ก0๘,
' '

1782 - 1873. รอบ!!ไ©สร! /\รเส คโอ9 โส๓. อส!3 คส0© โ 74. เ!เาส0ส: ออโก© II บกเV© โร!!V ,
^ '

1969.
^ -
\ เส!)สร!©โ, เ-เ 6กโV. 7/76 เ 0๘6/'ก คบ๘๙ไ /ร/; 86/00 1176 V'/6^5 01 ล 5/3กา©ร© / /ก/ร/©/' 01
5/ส /© 0ก ค/ร ก สก๘ 01เา6โ 86เ1ฐ/0กร. นวกป0ก: 7โม6ก© โ & 00., 1870.
'
'
^ ' '

- ^
\ แปโ© , ผแแส๓ เ-เ . “0อกอ©0!ร 0! 0 โป©โ เก ร0บ!เา ©สร! /\ รเส สกข /แ๐ โ๐ก ©รเส . ” 00๓0สโส //V©
5/0๙©ร เก 800©// สก๘81310โ / 14 ( 1972 ): 484 - 493.
กป© โรอก , 8©ก © (ะแอ!. “7เา © เป©ส 0! คอผ© โ เก ปสVสก©ร© อบ!!บโ©.” เก อบ/ /มโ’6 สก๘ ค©////©ร '

เก เก๘0065/3, 61 เ เาส©ส : 00 โก6แ บก!V© โร!!V คโ©รร, 1972.


( อเสเโ เ-เ 0 เ!. !

. “ร!น๙©ร 0!!เา© 7เาสเ ร!ส!©: 7เา© ร!ส!© 0! 7!าสเ ร!บ๙©ร.” เก 7/า© ร/บ๘/ 01 7/7ส/- '

เลกป: ,4กส//ร©ร 01 X กอหโ/©๘06 , /\??โ’030เา6ร , สก๘ ค/'0ร060 /ร เก 4ก//า/'000/0ฐ/, 4 โ/


^ ^

/ /

'

^^
8เร10 โ/, ค0000๓/05, 8เร!0 โ/ สก๘ คอ////03 / 50/6006, 6(1 8แ 26 โ 8. 7 1 . ค306โร เก เก!© โ -
กส!เอกส! ร!บป!©ร, รอบ!!า©สร! /\รเสก ร© โ!©ร, กอ 54. /\!!ไ ©กร: 0!าเ๐ บกเ V © โรเ!V , 1978.
. Iกาลฎเก6ป 00๓๓บก/ //©ร: ค© //©©//0กร 00 1176 000/0 สก๘ ร0โ636 01 8ส//003/75๓.
' ' '

2 กป ©ป. บอกปอก: V© โรอ, 1991 .


^^^^^

!เอก.” /๓ล00 /V!บก๙ 10 ( 1953): 123-128.


'
^
\ 7บ ร ส, รเาเก!สโอ. “7!า© 77065 0เ ผอโเป 1 30 [VI สป© เก ป30สก’ร /\ฐ6 อ! แส!!อกสเ เรอเส-

8ส9 โอผ, บ© อ . ค/ร/อโ/ 01 03๘00โ-ส0/7/. ค©V!ร©ป เวV คอ!)© โ! /บ ร © )!อก. บอกปอก : 0.


พส!!ร & 0อ., 1964.
'

^
8สโ!!ไ , คโ©ปโเแ ©ป. ค//าก/© 6โ0บ05 สก๘ 8อบก๘สโ/©ร: 7/76 500/ส / 0โ0สก/2ส //อก อ/ อบ//บโส/
/ว/ //©/'©ก©©. 8©โ9©ก: บก!V© โร!!©!ร!อโเส9©!; บอกปอก: /\ แ©ก & บกผเก, 1969.
'

8ล!รอก, 8©ก]ล๓เก, สกป ร!าเฌเ2บ แส]!๓© , ©ปร. 7/า© 7โ-ส06๘/ อ/ เ4/สก//; /4 ปล?สก656
/4000บก/ อ/ 14/3โ//๓© 7/าส/ คอ// //©ร. ร060เส1 คนปแอส!!อก ร© โ!©ร, กอ. 1 . รเก9300โ©:
' '

ปอบโกส! อ! รอน!!ไ©สร! /\รเสก ร!บปเ68, 1990.


8ส!!76 , แอ©! “7!า© [Vแแ!สโ7, 0๓/ ©โก๓©ก!, สกป รออเ©!7 เก รเส๓, 1868- 1910: คอแ!!อร
^ ,
สกป IVแแ!สโ7 ค©!๐โ๓ อบโ!ก9 !!ไ© ค©!9 ก 0! !ก9 0!าบเสเอก9แวโก - ’ ค!า อ. ปเรร© โ!ส!เอก,
ออโก ©แ บกเ V©โร!!7, 1974.
8626 , อเสบป© ป©. 7/76 1688 ค© Vโอ/บ//00 เก ร/ส๓. 7โสกรเส!©ป เว7 แบ!©!าเกรอก . แอก9
^ ^
อก9 : แอก9 อกฮ บกเ V©โรเ!7 คโ© ธร , 1968.
8อ!รร©แ© โ, ป©สก. 7/7ส/ คส/ก//ก0. 7โสกรเส!©ป ๘7 ป©อ©! 5©แ9๓สก. 7อ 7อ อปสกร!า3 เก!©โ-
'
^ ^ '

กส!!อกส!, 1976.
8๐กก©7, ค. X66ล!! , 1771 - 1821 : 7/76 563๓/7 /อ/' ร©©บก// สก6 เก๘©060๙©006. บอกปอก:
'

0x10 โป บก!V ©โร!!7 คโ©รร, 1971.


8อผก่ก9, ร!โ ปอ!ไก. 7/76 /ง'ก0๘0๓ สก๘ ค©00/© อ/ ร/ส๓. 2 V0 Iร. บอกปอก, 1857. ค60โเก!.

318 I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


^!บสเส/ , สก๓8 สอ-: 0? x๒/\เร/บกลอ!? อ/ !๒IV©
โสป ©
ปบ เวนโ
© า. ) /
โป V© โร คโ©รร, 1 969 .
ปอบ!',กส/ อ/ ค© Vอ/©ก๘ สก ธ©สอ/? ค/3ป/©/, /ฟ. อ. ,
-
/\4©๙อส/ /\/?/รร/อกส// เก ค/ส /ท, 1835 1873. คปเ?©ป ปV 0©0โ9© แ. ค©!?บร. ด!©V© เสกป:
'

^บเ ?!ฐโล[ว?ไ อ©[วลโ?๓©ก? อ? ๒© โ!ฌ 0 หบโ๐ห, า 936


8119 .
, . ป
^ .

8 โสป!©/ , ผ! II!สกา I. “คก่กอ© IVเอกฐ บ? สกป ป©รร© 0สรพ© II .” ปอบ!'กส / อ/ //?© ร/สก] ©©/©?/
54 [ว! 1 ( ©ก 1966 ) : 29 - 41
. ร/สก] 7/า©ก: 7?]© คอ/ ©/9ก อ/อก/ เก คสกฐ/(๐ 86101-6 สก๘ 4(16โ กกส. คลรส-
'
^ /
^
ป©กส พ!!แล๓ ดลโ©/ ม?วโลโ/ , 1981 .
:
โส!!© / , แเฐ©! ป. “01าเ ©ก9กา ©! ©กป !เา© เกด©[ว!!อก 0? สกป /\ป๓เกเร!โล?!V© ©ก!โสเ12ส!เอก
8อแ0/ เก รเส๓.” รออ?/? คสร? 4ร/สก ร?อด//©ร 11 , กอ. 3 ( 0©อ. 1973): 299 - 330 สกป
/

กอ. 4 ( เ/เสโ. 1974 ) : 439 - 469 .


^ ^
8โ©ล26ลเ6, ©กกอก , สกป รสก!? รส๓บอเ ลโก. /4 ๗?บ/ © เก ร©สโอ/] อ/ รอโพVส /; 7/]© ค/?อสก
^
อ/ 7/7ส//สก๘ สก๘ ปสอร. เ อกอฐโส[ว?ไ ร©โ!©ร, กอ. 31 . แ ©พ แสV©ก: VสI © นก!V© โร!?/
รอบ?!า©สร? /\ร!ส ร?บป!©ร, 1988.
บโฐ!า© ! -
โ , คแอ?ไสโป. “7!า© คอโ๓ส?เอก อ? ?!า© ดอกอ©[ว? อ? แล?เอก -ร!ส? © เก แ © [วส!.”ปอบโ กส / อ/

/45/สก ร?อ๙©ร 44 ( 1984 ): 101 - 125.

^
7/]© รอ/'ก©/ คสฐ©/ร. 5 70เร. เก 6 . 8ลกฐเ : Vส]! โสกสกส แล?เอกส! ม!วโสโ/ , 1910 - 1914 .
ดเาส !/สก แส]อ!าล900เ. “7!า© รออเส! สกป ร?ส?© 8อโ๓ส?เอก เก รเส๓ 1855 - 1932 .” 8!า.อ.
^
!เา©รเร, บก!V©โรเ?/ อ? ลกอ?ไ©ร?© โ, 1984.
0!าสกป!© โ, สVเป 8. “IVเส[วร ?0โ ?เา© /\กอ©ร?0โร: รสอโสแ26ป 7อ[ว๐9 โส[ว!า/ ©กป รอ!ไอ©ร อ? '

^
/\ก9 อโ เก 7พอ ดสฌปอป!สก 76X?ร.” ปออ/ กส/ อ/ //7© ร/ส /ท รออ/©?/ 64 , [ว?. 2 (ปบ!/
1976 ): 170-187.

^^
. /\ /-//ร?อ// อ/ สก?/วอ๙'ส. พ©ร?V!©พ 8อเ6ร. แส?เอกร อ? ดอก?©๓[วอโสโ/ รเล.
รอบ!ป©โ: พ©ร?VI©พ 8โ©รร 1983.
^
ด!าสกปโสก ป©ร!าบโสก. “7!า6 กฐเอ- คโ©กอ?ไ อ©อเสโส?เอก อ? ปสกมลโ/ 1896 สกป ?!า© เกป© -
[ว© กป© กอ© อ? ร!ล๓.” ปออ/'กส / อ/ ?/]© ร/สกา รออ/©?/ 28 , [ว?. 2 (ปบ!/ 1970 ) : 105 126. -
. 7/7© อก?©ร? /อ/ ร/สก? 1889 - 1902: /\ ร?อป/ /ก //ว/อ/ทส ?/อ ค/Vส ///. บสเส
'
^
^
ปบ๓[วบโ : 8© ก© โ!ว!? บก!V© โร!?! 6ปสก9รส3ก เ สเส /รเส , 1977 .
^
^
ด!าลโกVI? สร©?ร!โ!. ‘ๆ เาส! แเร?อก่อ9โส[ว!า/ ?โ๐๓ /\กอ!©ก? 71๓©ร ?0 ?!ไ© IVเอป©โก 8©โเอป.”
"

เก ค©/อ©/ว?/๐กร อ/ //]© คลร? /ก รออ?/?©สร? /4ร/ล, ©ปร. ก??ไอก/ ค©เป สกป 03Vเป IVเลโโ.
ร!สก ร?บป!©ร รรออเส?เอก อ? /V บร?โสแส , รอบ?ก่©สร! รเส คบ!วแอล?เอก ร© ก่©ร, กอ. 4.
รเก9ส9๐โอ: แ©เก©๓สกก คปบอล?!อกล! 8๐๐เ(ร ( /\รเส) , 1979.
^
ด0๐ป, แ© โ!ปส. \ 7ส!© อ? 7พ0 ด!?/ 8!แสโร: IVเอกฐ บ? สกป 7!าล! ร?โอเอฐ/ อก ?1า6 V © อ? ^
^
เ อป© โกเ 2ล!!อก.” เก คส??©/กร สก๘ Iแบรเอกร : 7/7ล/ ค/ร?อ// สก๘ 7/]ออฐ/??, ©ปร. 0©!ไสก

พ!]© /©พลโป©ก© สกป 8. ด. ด!ไส[ว๓สก. ดสก!ว© โโส: !เา© คเอ!ไสโป อสVเร คบกป สกป
^
อ©[วลโ?๓©ก? อ? /\ก?!ไโอ[วอเอฐ/ , บร!โส!!สก แล?เอกล! บก!V©โร!?/ ; ร!กฐล[ว0โ©: เกร?!! บ?© อ?
รอบ?เา©สร? ร!สก ร?บปเ ©ร, 1992.
ดโลพ?บโป, ปอ?ไก. ค/ร?อ// อ/ //?© เก๙'สก /\โอ/? //ว©/สฐอ. 3 Vอ!ร. คป!ก!วบโฐ!ไ , 1820.

บรรณานุกรม 319
. ป01/ กส / 01 สก 0กา63รร/ / 0กา /๘© 00\เอกาอโ -ร©ก© ส / อ/ เก๘เ3 /อ /๘© 00บ[15
โ' โ' ' โ'

อ / 8เ3กา สก๘ รออ๘/ก 0เาเก3. 2 V0I 3. 2กย ©ย. เ-0กยอก , 1830. 0x๒ โย เก /\ ร!ล แเร๒ท่อสเ
^^^^

ค©[วท่ก๒. Xมล!ล เ-บ ๓[วนโ: 0x๒๒ บก!V © โร!/ / คโ03ร , 1967.


. /\ 0650ก่เ0(1V© 010//อกส/'/ อ/ /๘© เก๘/สก เ5เ3ก๘5 3ก๘ 4๘/'สอ©ก/ รอบกเท65. 1-0ก-
ยอก, 1856. 0x๒๒ เก /\ร!ล ค!ร/อโ!อลเ ค©เวโเก๒. Xบลเล เ-ม๓กบโ: 0x๒๒ บก!V©โร!//
^^^^

คโ© 55, 1971 .


คลก ^^
7๘© 013พ/บโ'๘ 6โ5. ธสก9 อ : Vส]!โลกสกส ผล/!อกล! นเวโล17, 1915 . 0x๒๒ เก /\5เส
แ!5๒ท่อลเ ค©เวโเก๒. Xบลเล เ-บ๓กบโ: 0x๒๒ บก!V©โร!/ / คโ๏ร3, 1 967 .
(วโอ5เวV , 31โ' ปอ5เลท่. ร/สกา : 7๘© ร/'อรรโอส๘ร. บอกยอก: แอแ5 & รลโ{©โ, อล. 1945 .
0บโ2อก, 0©0โ9© ผ. “1เา6 รเล๓©56 ธอบกยลโV 0บ65{เอก.” ค/ก© {66ก๒ ร©ก/บโ/ 28, กอ.
'

197 (ปบ!V 1893): 34 - 55.


^
อเาลกเก! Vล1 , คท่กอ© . รอ//©อ๒๘ ๘/อ/©ร ย/ เ-เ. เ-เ. คกภอ© อ/ ใสก/ก/Vสบ ธลก9 0 : 3!สฌ
รออเ ©IV . 1 969.
'

^^
คลร/ , พ. 0อโยอก , ลกย คโ©5ออ// , ป. ค. V. รบโ 7โสฐก76ก๒๘ พอ๘๘: &ก Iก(โ 0๘บอ//อก ๒
^
คอ// //อส/ 0609โส/ว/ใ/. ผ©พ '/อโ : IVเลอ๓!แลก, 1975.
ค๓๓© โรอก , ออกลเย X. “ ‘รอบ๒©สอI /\ร!ล’: พเาล{๒ เก ส ผล๓©.” ปอบ/'กล/ อ/ รอบ๒©สร/
^ร/สก ร/บ๘/©ร 15 ( 1984 ) : 1 - 21 .
คโโเก9๒ก , รท่©แ/ . “7๘6 คเลอ© อ/ ค©93แล เก เ-บผม.” เก 06ก/©โ'ร, ร/ก7๘อ/ร, สก๘ เ-เ/อโส /'-
อ๘16ร, ©ย. เ-อโโสเก© 0©ร!อ๒ ผ©พ คลV©ก: VสI © บก!V©โร!/ V , 1983.
^^^^

ร!/ / ค!'03ร , 1989.


'
^
. /14©สก /กก สก๘ คอพ© โ เก รอบ// ใ©สร/ ร/สก ค©ส /กา. คโ!กอ©/อก : คท่กอ©/อก บก!V© โ -

^
ค© แ , ค. 7. คส/'// 1\4ส]อร อ/ รอบ/๘-คสร/ ร/ส. 1๓ส9©ร อ/ /๒!ล ร©โ!©ร. รเก93๘อโ6: 0x๒๒
บก!V©โร!/V ค, โ©3ร, 1988.
ค©เ/บร , 06๐โ96 คลพร. รสกใบ©/ ค©/กอ/๘ร เ-เอบ56 อ/ ร/สกา, ค/อก©© โ /I'๒๘/อส/ 1\415ร/อกสโ/,
'

1874 - 1876 . ผ©พ /อโ๒ ค©V © ! ! , 1924 . แปลเป็นไทยในชื่อ ดร. เรโนลด์เฮาส์หมอฝรั่ง


สามรัชกาล. ไม่ปรากฎชื่อผู้แปล . กรุงเทพฯ : สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย , สุริยบรรณ ,
2525 .
คเออย, ค. 7ท่ลย©บร. “7๘6 1 940 คโลกออ-7ท่ลเ 8อ๒©โ อเรกบ/© ลกย ค/ไ!๘บบก รอก9เ๒โลล๓’5
0อ๓๓!{๓©ก/ ๒ ปลกลก.”ปอบโกส / อ/ รอบ/๘©สร/ /๒/สก ค/ร/อโ/ 10 (1969 ): 304 - 325.
^
คอโเว©ร, กยโ©พ อ. พ. “7เา© 8{โบ99๒ ๒โ ค©9©๓อก/ เก ผเก©{©©ก๒ 0© ก{มโ/ เ-ล03: 7๘6
7๘เโย ร!ล๓©ร© /VIIแ /ลโ/ คXก©ย!{เอก {๐ {๘© ผอโ{๘©ลร/ ( 1885-1887 ).” เก คโออ©©๘เกฎ5
'

รสก๘©โ'/'ส, 1987. \๒เ. 3, [ว/. 1 . รลก๘©โโล, 1987.


^
อ/ /๘© /ก/©โกส //อกส / รอก/©โ'©กอ© อก 7๘ส/ ร/บ๘/©ร, บร/โ•ส //สก คร//'อกส / บก/V©โร///,

(รลโก!© โ, คโลกอเร. เ-3 00อ๘เก0๘เก6 /โสก ส /ร© ©ก 1864. คลท่ร: 0๘ลแล๓©! ล!ก(บ 1864.
0ลพเก 0๘บ/!๓ล. 7๘6 ค/ร© สก๘ คส// อ/ /๘© รอกใกใบก/ร/ คส๘)' อ/ 7๘ส//สก๘ ( 1973- 1987 ).
0©ก{โ© อ/ รอม{๘- คลร/ /\รเลก ร/บย!©ร, 0ออลร!อกลเ คลก©โ กอ. 12. รลก{©ท่วมโ/ : บก!-
V©โรเ / / อ/ X© ก/ ล/ รลก{© โ๘บโ/ , 1 990.

^ ^
0©©โ/2, 01เ ๒โย. “7๘6 เก/©9โล/!V© ค©V0I บ/!อก: คโ!๓0๒!ล! ร©ก/!๓©ก/ร ลกย 0 แ คอแ/!อร เก

320 I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


*
๒© ผ©พ 813 65.” เก 0/๘ 300161168 ลท๘ /V6\IV ร?ล*©ร, ©๘. 0แสอโ๘ 0©6โ 2. ผ6พ V๐โ :
คโ©© คโ©รร, 1963.
* ^
* * *
©ร๒๒ บวโโล!ก©. “X เก9ร!า!!ว 3ก๘ คอแ เอลเ เก ©9 โ3 เ0ก เก 7โ3๘! !0ก3เ รเ3โก 1767 - 1824.”
'

*
ค!า.0. ๘!รร© โใ3 !(วก, รอโก©II บก V©โร! V , 1976.
* * *
, ©๘. ร©ท?©โร, ร)'โท๘อ/ร, ลโ?๘ ค//©โล/ อ/?/©ร: ครรล)'ร อโ? ?/?© ร/ล5ร/อล/ ร?ล?©ร อ?
' '

* * * ^
รอ๙??©ลร? 45/3. รอบ !า©3ร 4รเล ร บ๘!©ร, อก๐9โล[ว!า ร© โ!©ร, กอ. 26. ผ©พ เ-เ©V©ก:
V 3เ6 บก!V© โร! V , 1983. *
**
. “ค©3๘เก9 ค3ก๘รอล[ว©: คอ !©อ เอกร อก ล ร3อโ©๘ ร! © เก รอบ !า 7!า3แ3ก๘.”๘๐บโกล/ * *
*
อ? ???© ร/ลโท รออ/©?)' 73, 9 ร. 1 - 2 ( 1985 ): 157- 162 .
. เก ?/า© /-ลท๘ อ? /-ล๘)' ห???/?© ธ/อ๐๘: รอบ???©โ•ท 7??ล/ /ลโ?๘ ลก๘ ?/า© / ©ลท/ทฐ อ?
* *
/-/ /ร?๐โ)'. เ !า3อ3: 0อโก© I รอม*!า© ลร 4ร!3 คโอ9โ3๓, 1995.
^
* -
!๘๘©กร, 4ก !าอกV 7/?© /Vส?/!๐ท-ร?ล?© ลท๘ VI อ/©ก06. ออก ©๓[วอโลโV 0โ! 1ฤบ© อ แ!ร 0โ!อ3เ * * * *
*
!\4ล ©โเลแร๓. \?0เ. 2. ดล๓!วโ!๘9© , คก9เ 3ก๘: คอ!!*V คโ© รร, 1985.
0!โแก9, ปอ?ไก ร. 7/73/73ก๘: รออ/©?)' ลท๘ ธอ//?/อร. เ !า3อล: ดอโก©II บก!V©โร! ) คโ©รร, 1981 .
'
* *'
^
6 เก9 เก 4ร!ล-4 ร)'กา[วอร!บกา.” ๘๐บโทล/ อ? 4ร/ลท ร?บ๘/©ร 46 ( 1987 ): 305 - 379.
0อเ๘๓ลก , เพก*อก ค. “คโลกออ- รก่*เร!ไ ค!VลเโV 0\/©โ ร!ล๓, 1896 -1904.” ๘อบโกล/ อ?
'

'

รอบ???©ลร? /4ร/ลทร?บ๘/©ร 3 ( 1972 ) : 210 - 228.

*
^
ลลร, เ ลโ)' ค. 7??ล/ -คทฐ//ร?? ร?บ๘©ก?,ร ร/อ?/อทลโ)'. บวก๘อก: 0x๒ บก!V©โร!*V คโ©รร, 1 964.
' '

ล9©ร ©!]ก, ค©ก?©. ร/โอ/©5 อ? XIกฎร: คอ//?/อล/ ธ/กลโท/อร เก ธล/'/)' รอก?/ท©ท?ล/ รอบ???©ลร?
'
^
*
/4ร/ล. ออโ๘ โ©อ!า ลก๘ คโอV!๘© กอ©: คอโ!ร, 1 989.

ลแ , อ. 0. ค., ©๘. ค//ร?อโ/ลกรอ? รอบ??? ธลร? /4ร/ล. บวก๘อก: 0x๒โ๘ บก!V©โร!*) คโ©รร, 1961 .
. ค?©ทโ)' ธบโท©)': /4 คอ//?/อล/ ธ/อฐ/ ล/ว??/. เ-อก๘อก: 0x๒โ๘ บก!V©โร! ) คโ©รร, 1974. '
' ' '
'
*'
. /4 ค?/ร?อโ)' อ? รอบ??? คลร? /4ร/ล. 4*!า ©๘. ||\ ©พ 7อโ๒ ร . 1 ลเ1!ก’ร คโ©รร, 1981 . * ^
^^^^1

-
'

^ * * ^
ลแ , ©กก© ?ไ ค., ลก๘ พ!ไ! ๓อโ© , ป๐หก ., ©๘ร. 5X/ว/อโล?/อทร /ท คลโ/)' รอบ???©ลร? 4ร/ลท
^^

-
' ' '

ค//ร?0โ)': 7??© 0ทํฐ/ทร อ? รอบ???©ลร? 4ร/ลก ร?ล?©อโล??. 4กก 4โ?วอโ: 0©ก*© โ ๒โ รอบ*!ไ ©ลร
'
*
*
4ร!ลก ร บ๘!©ร, บก!V©โร! V อ เพอ?ไ!93ก , 1976. * *
^
แลพ ©ร, 7© โโ©กอ©. ร?โบอ?บโล//ร๓ ลก๘ ร©โท/อ?/อร. ©พ 4ออ©ก ร© โ!©ร. คอก๘อก: เ © !าบ©ก ,
1982.
'
^ * ^*
แ©!ก© -0© เ๘©โก, คอ๘© โ*. รอกอ©/ว?/อกร อ? ร?ล?© ลก๘ Xเกฐร??//ว เก รอบ?/?©ลร? 45/3. อ3*3
คล[ว©โ 18, รอบ*!16ลร* 4ร!ล คโอ9โ3๓. เ*!า303: 0อโก©II บก!V© โร!*)', 1956.
^
แอ!วลโ*, เ ลโ๒ ลก๘ 7ล) เอโ, คอ!ว© โ*, ©๘ร. รอก?©X?, /V๒ลท/ทฐ ลท๘ คอ^©โ /ก รอบ?/?©ลร? 45/3.
'
รอบ*?ไ©ลร* 4ร!ล คโอ9โล๓. เ*เา3อล: ออโก©I บก!V ©โร!*)', 1986.
'

แอก9, เ-7ร3. 7/73/7ลท๘ /ท ???© /\IIท©?©©ท??? ร©ท?บโ)': ค\ อ/บ?/อก อ? ??7© คอ๐ทอ๓)' ลท๘ รออ/©?)'. '
ร!ก93[วอโ© : เกร*!*ม*© อ* รอบ*!ไ©ลร* 4ร!ลก ร*บ๘!©ร, 1989.
แบ*อ!ไ!กรอก, ค. พ. 4๘\'©ท?บโ©โร เก ร/ล๓ /ก ???© ร© V©ท?©©ท??? ร©ท?บโ)'. บวก๘อก, 1940.
^
ปลอ รอก, ค©*© โ. ธบ๘๘?? /ร๓, ค©ฐ/?/๓ล?/อก ลท๘ รอท?//อ?: 7??© คอ//?/อล/ คบทอ?/๐กร อ? ป!ไ๖ลท
' '

7/?ล/ ธบ๘๘??/ร๓. ร!ก9ล[วอโ©: เกร*!*บ*© อ* รอม*!ไ©ลร* 4ร!ลก ร*บ๘!©ร, 1 989.


'
'

^6ล*6ร, ป. ร. (๘ท๘©โร?ลท๘/ทฐ / ลฐร. ผ©พ V๐โ๒ พ!!© )' , 1982.


^
บรรณานุกรม 321
^©©กก !©V,, VIรแ๐1๐6. ผส. “/4/อกลก // 6. ก3 นร© . เ-!V๐กผเกเ๐ก©!:©[ เมก!อเาเกร
ฝ©นโ โฝ ฝ
รกใ 0 { ก , 1966.
0

^ © ! 7๘ .” เก เก /\๘©กา๐ / ร๘Xล 4 ๘ 0 คลุก!/สV๘๘๐^สฐก, ©อ! ออก. 7!©] !ธบกกลผ9 !๘-


©ฝ
สร สแสกฝ
โ เกฝเฐ © รสโ
โ สกใ
©
กบกใสก
© บโ
ฝร
โล ลกฝ © โ
สกฝ

^1เ0๘ล©เ รกาเ!๘!©ธ. ธลก9เ^: รเส๓ ร ©!V, 1970.


© หสโเ รกใ
©ติ
เ^©V ร, 0 ©ร ร. 1ร3ก : ค©ฐ/อกส// เก \เ /๘633 7๘ /สก๘. 0๐ ©II 7
[ 0โ (6โก ส/']©©! โก เาสแสกฝ รโ©
เก!© ๓ ค ฐ© ! ร© ©ร, ก . 10. ร บ!เา© ! 4ร!ล 9 ๓, อส!ส รสฐ© 65. !เ เาส ส:
กํ © โ โเ © © สร คโ© โล โ ©
0๐โก©แ บกเ V©โร!!V , 1967.
.. “รมฝฝ!าเร! รแ9 โล๓ส9 © 0©ก!©โร สกฝ !เา© 7พ©!V © -'/ ©สโ 0x01©: ผ©! โ ห© โก ไ หส )
"

IV ๐โสเ 0โฝ©โร เก ร(วส©© สกฝ 7( ๓6.” ค/3\0กฺ/ อ/ ค©//ฐ/อก 15 (1975 ): 71 -89.


^^^

'

. “เว๐แ!เ©ลเ อโเรเร ลกฝ IVแแ!สก! ธมฝฝเาเร๓ เก ออก!©๓ฐ©โลโV 7เาสแลกฝ.”เก ค©//ฐ/อก


1

สก๘ /- ©ฐ/ //กาล//อก อ/ คอIV©โ เก 7 /ใส//สก๘, /-สอร สก๘ ธมโกใส, ©ฝ. รสโฝพ© I I. ร๓!เ !ไ.
' ' '

0เาส๓เว©โร!วบโ9, รส.: 4กเ ๓ล 6๐๐ 5, 1978. ^


^^^^5

ร๘แลฝ©!ฐ๘เส: เกร!!เ ม!เ©ก 0!!!ไ © ร!บฝV ๐! คม๓สก เรรบ©ร, 1979.


^
©ฝ. ค//ใก/© 4๘ส/ว/ส //อก สก๘ /๘©ก// //; 71/?© ส/'©ก อก //ใ© 7๘ล/ คโอก//©/' พ//๘ รม/ กาส. ' '

, 7/ใส //สก๘; ธม๘๘/ใ/ร/ Xเกฐ๘๐กา 35 /\๘๐๘©โก /Vส //อก-ร/ส /©. พ©ร!VI©พ คโ©!แ©ร.
,
' '

คส!!©กร ๐! ออก!©๓ฐ© โลโV 4รเล. 6๐บเฝ©โ: พ©ร!V ) ©พ รโ©รร, 1 987.


^^
. “7เา© อสร© ๐!!เา© รบโ!©เก©ฝ นก!©!: 7เา© ร© แ!เ08 ๐! ล ๘๓©โ รเาโเก© สร ล 7เาลเ
ผล!!©กลเ ค©โ!!ส96.” เก ผล//อกส/ /๘©ก// /V สก๘ / /ร อ© /©กร©; 7/าส//สก๘ 1939 1984 , ©ฝ.
^
^
^
-

รโ©รร, 1991 .
^
อโลเ9 ฝ. ค©Vก0เฝร. อกสร!ไ รสฐ©โร ©ก ร© ม!!ไ ©สร! 4ร!ล, ก©. 25. 6แว© บโก © : 4โเร!©©

^ ©๘!(บล รบพสกกล!!ไส!- รเลก. “7เา© ช๘๐ก๘บโ!-รสก9เ(0{เ ร©แ!!©ลเ เฝ©0เ09 V สกฝ ! เ ร ค!!60!3 บฐ©ก
^
7เาลเ - สเสV ค©เส!เ ©กร 1767 -1851.” เก รโออ©©๘/กฐรอ/ //ใ© /ก/©โกส //อกส/ ออก/©โ©กอ©
'

อก ท๘ส/' ร/ม๘/©ร, 4มร/โส//สก ผล//อกส/ อก/V©โร//)โ, อลก๘©โโส, 1987. V©เ. 3 ฐ!. 1 . อสก!ว© โโล,
1987.
^ ^^ -
0เล0 , 4. “อสโ!©9โลฐ๘!© เก!© โ๓ล!!©ก: 4 รบกฝล๓©ก!สเ อ© ก©©ฐ! สกฝ 7©โ๓ เก เ ©ฝ© โก
^
^ ^ ^
06๐9 ๘ ” อสโ/อฐโสฐ๘/© ๘๐มโกส/ 6 , ก©. 1 (ฝนก© 1969 ): 47 - 49.
^
บแสฝส ©ร!ว©©ก©!ไ ©©. “0สเ©เส! ผล!!©กลแร๓ บกฝ© โ เก9 อ!ไนเลเ ©กฐ อโก.”รสฐ© โ ฐโ©ร©ก!©ฝ
^
ส!!เา© เก!© โกส!เ ©กลเ อ©ก!©โ©ก©© © ก 7เาลเ ร!บฝ!©ร, ธสกฐ , /\ บ9บร! 1 984.
^
^
^
. “(วส!ติลเ ผล!เ©กลแร๓ บกฝ©โ เก9 Vส]เโสVมฝ!1.” เก ร,โออ©©๘เกฎ3 อ/ II-16 /ก/©โ -
กล//อกส / ออก/©โ©กอ© อก 71ใส / ร/ม๘/'©ร, 4มร/โส//'สก ผล//อกส / อก/V©โร//)โ, อสก๘©โโส,
^

1987. V©!. 3, ฐ!. 1 . อสก๘©โโล, 1987.


เ-ล เ-©บ๘๙© , ร!๓๐ก ฝ© . 7๘© Xเกฐ๘๐กา อ/ ร/สกใ. (วX!© โฝ เก 4ร!ล คเร!© โเ©ลเ ค©ฐโเก!ร. บลเส
เ-น๓ฐบโ: (วX!© โฝ บก!V©โร!!V รโ©รร, 1969.
^
เ-ลกฝ©ร, ชลV!ฝ. ค© Vอ/ม//อก เก 7/'กา©; อ/ออ/(ร สก๘ /๘© /เ๘ส/ก่กฐ อ/ /๘© /\๘๐๘©โก พอโ/๘.
อล๓๘โ!ฝ9๏: คลโVลโฝ บก!V©โร!!V รโ©รธ, 1983.
เ-630ห , รฝ๓บกฝ. รอ////อล/ ร)โร/©การ อ/ ค/ฐ๘/ลก๘ ธมโกใส; 4 ร/ม๘)โ อ/ สอ๘/ก รออ/ล/ ร/โมอ/มโ©.
^
เ-©กฝ©ก ร©๘©©! 0! ร©©ก©๓เ©ร /10ก09โสฐ๘ร 01ก ร©ติลเ 4ก!๘ โ©ฐ©!©9V , ก0. 44. [.©กฝ©ก ,
^
1954. ค©ฐโเก!. นวกฝ©ก, 1970.

322 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ดิศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


. I3โ0ก!16 โร อ! ธบโ๓ล.” ดอกใ/วลโล!//© ร!ข๘/©ร เก รอ©/©!/ ลท๙ ค/ร!อโ/ 3 ,
“ไ {ไ ©


^^^

กอ. 1 ( อ!. า 960 ) : 49 - 68.


. 0©0©ร/ร ลร /\4/!!ใ สกป 0!!)©โ 5รรล/ร. บวกฝ่อก: ปอกล!!าลก ดล/)© , 1969.
-66 Vอกฐ เ-©กฐ. 7!?© คล20โ’ร 5๘ฐ©; ธอขท๘ลโ/©ร สกป 8๐00๘ลโ/ อ/ร/วข!©ร เก รอข!!)©ลร!/4ร/ล.
^^^^

' '

ค©ร© ลโ๐ห แอ{©ร ลกฝ่ อเรอมรรเอก คล/ว©โร, กอ. 1 5. รเก9ล/วอโ©: เกร!!! บ!© อ! รอบ!!า©ลร!
^ รเลก 3!นฝ่เ ©ร, า 980.
น6เว©โ๓ลก, Vเอ!อโ. 8ขโ-โท©ร© /4๘ท)/ท/ร!โล!/V© ร/อ/©ร. /4กลโ อ/ใ/ สกะ! ดอก9ข©ร!, อ. 1580 - 1760.
'

คโเกอ©{อก : 8 โเกอ©!อก บกเ V © โร!!/ คโ©รร , 1984.

^
น !าเ! เวก่เโล7©9เก. “แล!เอกลแร๓ ลกฝ่ !!ไ © ร!ล!© เก 7!าลแลกฝ่.” คล/ว© โ !อโ !!16 ค©9เอกล!
^ ^
พอโ ร!ไอ/ว อก เกอกํ!เ ©ร เก ธมฝ่ฝ!่ ไเร! 8อแ!เอร, 7!าลเ ร!บฝ่เ © ร คโอ9โล๓, ด!าบเลเอก9บวโก
บกเV © โร!!/ , ปบก© า 985.
[VIลก’, เวลVเฝ่ 0., ลกฝ่ [ฒก©โ, 0., ©ฝ่ร. รอข!!)©ลร!/4ร/ล เก !/ไ© 9!!) !๐ 74!!) ร©ท!ขโ/. รเก9ล-
'

/วอโ©: เกร!!!บ!© อ! รอบ!!า© ลร! /Vรเลก ร!บฝ่เ ©ร; รลก!ว© โโล: ค©ร©ลโอ{ไ รอ!ใออเ อ! คลอ!I เอ
ร!นฝ่เ ©ร, /Vบร!โลแลก แล!!อกลเ บกเV©โร!!/ , 1986.
^
[VIลบรร, ลโอ©!. 7!)© 01(1: คอโท)ร สกะ! คขทอ!/อทร อ!5x๙7309© เก /4โอ!)ล/อ รออ/©!/©ร. แ©พ '/อโ :
แอโ!อก มเวโลโ/ , 1967.
^
^ ^
(VIอ !© ลV / , แ©กโ/. ธ/ลอ/( ค/ล9ร เก V1©!0ล0ใ. นวกฝ่อก: แ6ก & บกผเก , 1968.
[ปเอดลโ!!ไ / , ปลฌ©ร. “ร!ล๓.”เก คโออ©©๘/ทฐร อ!!/)© คอ/ล/ (3©อฐโล/ว!ไ/อ รออ/©!/. แ©ผ ร©โ!©ร
^
10 ( ลโ. 1888 ): 1 17 -134.
. รขโV©//ทฐ ล0๘ 5x๘/๐009 เก 51สกา. เ-อกฝ่อก: ปอ!ไก [VI นโโล/ , 1902.
[[ Vเอดลโ!!ไ/ , ปล๓©ร]. 4ท คทฐ//ร/ใทใลท’รร/ลทใ©ร© ปอขโทล/ 1890 - 1893. เ-อกฝ่อก, อล. 1895.
^^^^

^^
/

^
ค© /วโ!ก!. ธลก9 อ : ร!3๓ ©ฝ่เล เก!©โกล!เอกลเ ธออ ร, ก.ฝ่.^
^
[ปเอคลโเลกฝ่, 060โ9© ธ. 7เาลเ - ก0แร/ไ ร/อ!/003โ/. ร!ลก!0โฝ่: ร!ลก!อโฝ่ บกเV©โรเ!/ คโ©รร, า 944.
[VIอคลโเลกฝ่, ร. 0. /\ก คทฐ//ร/)-ร/ลโท©ร© ร/อ!/003โ/. ค©V เร©ฝ่ ลกฝ่ ©ก!ลโ9 ©ฝ่ {ว/ ธ
^ ^^
*

[ อคลโเลกฝ่. ธลก9บว : ๓©ก่อลก คโ©ร!ว/!© โเลก IVแรรเอก คโ©รร, 1 903.

^ 1เแร, ป. V. “ด!ไเก©ร© ดอลร!ลเ (VIล/วร.” เกา39อ ขท๘/ 1 า (1953 ) : 151 - 168.


^
^ -
[VI เแร, 7. /V ธโ/!/ร/) ล/ล/ล, 1824 67. เก!โอฝ่บอ!!อก !ว/ 0. X . ธลรร©!!. เ-อกฝ่อก: 0x๒โฝ่
บกเV©โร!'เ / คโ©ธร, 1966.
[ปเอ©โ!อกอ, รอ©๓ลโรลเฝ่. ร!ล!© สกะ! ร!ล!©อโล!! /ท 0/๘ ปลVโล; /4 ร!ขะ!/ อ!{/ใ© /-ล!©โ /\4ล!ลโลโท

^ ^
ค©โ/๐๘, 1616 !อ 79!!) ด©ท!ขโ/. เ อกอ9 โส/)!ไ ร©โ!©ร, กอ. 43. เ อฝ่©โก เกฝ่อก©รเล คโอ]©อ!
คน!วแอล!เอกร. เ{!าลอล: ดอโก©II บก!V©โร!!/ , 1968.
[Vเอก !าอบร© , ค. ป. /4 ร/อ!/003โ/ อ! 0©อ9โส/ว!ใ/. เ-อกฝ่อก: คฝ่ผลโฝ่ โกอเฝ่, 1965.
^ ^
^
! ออโ, ป. แ. แอ!/อ©รอ!!!)© เกะ!เสก /4โอ/ใ//ว©/ล9อ 30๘ /4๘/ลอ©ท! ดอขท!โ/©ร. รเก9ส[วอโ© , 1837 .
^
ค© /)โ!ก!. เ-อกฝ่อก: คโลก ดลรร & ดอ., 1968 .
[VI อโ© I , ลVเฝ่, ลกฝ่ ด!ไล!-ลกลก รล๓บฝ่ลVลกเ]ล. คอ//!/อล/ ดอท!//อ! /ท 7/ใล//ลท๘; ค©!อโทใ,
ค©ลอ!/อก, ค© Vอ/ข!/อก. ดล๓!วก่ฝ่9© , [VI ลรร.: 0©เ9 6ร0!าเล 0 บกก & คเสเก, 1981 .
^[ อร©!, ปล๓©ร แ. “/V คอ©!เอ 7โลกรเล!เอก {โอ๓ {{ไ © รเส๓© ร©: คโเกอ© อส๓โอก9’ร ค©/วเ / เก
V©โ86 !อ คส๓ล V.” ปอขโกล/ อ!!!)© ร/ลท) รออ/©!/ 47 , [ว!. 1 (ปลก. 1959 ): 103- 1 า 1 .

บรรณานุกรม 323
ฟอม ?าอ? , แ©กโ!. 013โ/: 7 โล V©/ร เก ?๘© ด©ก?โล/ คลโ?ร อ? เก๘0 -ด?าเกล (ร/ลโท ), ดลโท๘๐๘1ล ,
ลก๘1-305 ๘อโ/กฐ 1858 - 1861. 2 V0 I3. บวก60ก, 1864.
^
ฟม!โ, ค!อ?าลโ6 . /ฟอ๘©โก คอ//?/อล/ 060ฎโ3ฎเาV - บวก๘๐ก: 80๓( แลก, 1975.

80ม1เา63ธ1 &ธเลก 31บ0แ6ธ 19 ( 1988 ) : 80- 96 . ^


ฟมโลร?ไ!๓ล, 8เ]1. “7เา© (วก่9เก อ? (ฟ๐๘© โก 0??เอ!ล1 31ล1© 1๘60 เอ9 เก ฑาลแลก67 ปออโกล/ อ?
'

^ ^
แล ล๓มโล, แเโ08ห! “(ว!ป ด?า!ก©ร© พอโ!๘ (ฟล0ร คโ©ร©ก/©๘ เวV 1เา© อโ©ลกร. ” เกา3ฎ0 เ บก๘I
4 ( 1947 ): 3- 22.
^
^
แ©ล!©, คโ©๘©โ!อ /\. /Vลโโล?/V© อ? 3 ค©ร/๘©ก06 ล? ?๘© ดล/ว/?ล/ 0? ?๘© XIกฎปอกา อ? ร/ลโท.
'

บวก6 อก: 0??!อ© อ? 1ห© แล?!อกล! ( แบ8?โล?©ฝ นเวโลโV, 1852.


วร!วอโก© , (ฟ!!?อก 8. ค/'V ©โ คอล๙ ?0 ร/ใ/กล; 71ใ© /ฟ©/(๘อก9 ค/V©โ &โ/ว©๘/?/อก 1866 - 1873.
^
บวก๘อก: ด©อโ9© แลก & บกผเก, 1975.
'

^ "

อ? ดลกา!วอฝเลก แ!ร?อโV.” ค/ ลกอ© -/4ร/© 22 , กอ. 193 ( 1968 ): 189-197.



^
8๘0๓6, (ฟ!!?อก, ลก๘ พVล11, ลVI๘ . ‘ๆ!า© /V๘โ!๘9©๘ ดลกา!วอฝเลก ด?าโอก!อ!©: 7?าล! V©โ3เอก
คล!!©9อ!X , 0. ป. 8. อ/อ?/อกลโ/อกใ 1-1กฎบ3ฐ© 7/ใล/ ©/V© ร/ลโท©กร/ร /ก?©โ/วโ©?ล?/อก© /-ล?/กล,
^
ดล///อลล? / กฎแกล. (ชื่อภาษาไทย: สัพะพะจะนะ พาสาไท ). คลโ!ร, 1854.
. ร/ลโท©ร© คโ©กอ/ใ คกฐ//ร/ใ อ/อ?/อกลโ)'. (ชือภาษาไทย: ศริพจน์ภาษาไทย ). 8x1©กฝ-
'

^
©ฝ ลก๘ โ© V!ร©ฝ ?โอ๓ คล!!©9๐!X’ร อ/อ?/๐กลโ/อโท [วV ค©V© โ© กฝ ป. I. \ . 8ลก9 ๐ :
^^
^^

คโ!ก?เก9 0??!อ© อ? ? ?า© ดล??าอแอ (ฟ!รร!อก , 1896.


คลV เ © , 9มร?©. /ฟ/รร/อก คลฟ© /ก๘๐อ/ใ/ก© 1879 - 1895: ฐ©อฐโล/ว/ใ/© ล? Vจ/ลฐ©ร. 7 V๐Iร.
คลโ!ร: 8. เ-6 โอมX , 1900 -1919.
ค?า!!แ๓๐โ©, ค. แ. ‘7\ก 8ลโ!V (ฟล0 อ? ??า© ?ฟล!ลV ค©ก!กรน!©.”/โทลฐอ /ฟอก๘/ 13 (1956 ): 175-178.
อโกฐ!โอ๓ เล๓ !?าล๓. “รออ!ล! 0โ !9 เก ลก๘ ??า6 06761๐0๓©ก? อ? ??า © ด๐๓๓บก!ร? คลโ?V อ?
'

7?าลแลก๘.” [ฟลร?©โ อ? 0©76 เ00๓©ก? ร?ม๘!©ร ๘!รร©โ?ล?!อก, เกร?!?บ?© อ? รออ!ล! ร?บ๘!©ร,


7เา© แล9ม© , 1982.
โ©รออ?? , ป. ค. V . /ฟล0 อ? /ฟล/ก/ลก๘ /4ร/ล ๘/ 7โ©ล?) . ดลโ!?อก: (ฟ©แวอมโก© บก!V©โร!?V คโ©รร,

1975.
^^
. คโอก?/©โรอ? /4ร/ลลก๘ รออ?/ ©ลร? /4ร/ล. ดลโ!?อก: (ฟ©!6๐บโก© บก!V©โร!?V คโ©รร,

1977
. รอบก๘ลโ/©ร ลก๘ คโอก?/©โร. บวก๘อก: ดโอ๐๓ แ©!๓, 1978.
โออ©©๘/กฐร อ? ?/า© /ก?©โกล?/อกล/ ดอก?©โ©กอ© อก 7?ใล/ ร?อ๘/©ร, /4อร?โล//ลก แล?/อกล/
^^^^

บก/V©โร/?/, ดลก๘©โโล, 1987. 3 V๐Iร. ดลกเว©โโล: /\มร?โล!!ลก แล?!อกล! บก!V©โร!?V , 1987.


โบ๘?า!รลก ปม๓เวล!ล. “เก?© โ©ร? ลก๘ คโ©รรมโ© ดโอม0ร.” เก 00V ©โกกา©ก? ลก๘ คอ//?/อร อ?

^ ^
7?ใล/เลก๘, ©๘. รอ๓รล ๘! Xม?อ. มล!ล เ-ม๓0มโ: 0x1๐โ๘ บก!V©โร!?V คโ©รร, 1 987.
โบ©รร, ปล๓©ร 8. “(ฟ©โ!?-ร©©!ปํก9 !ก คม!ว!!อ: 8ม๘๘?าเร? ค!!9โ!โก39© เก แอโ? ?า©ลร?©โก 7?ไลแลก๘.”
ปออโกล/ อ? ?๘© ร/ล/ท รออ/©?/ 64 , 0?. 1 (ปลก. 1976 ): 169 - 206.
ค©!๘, ก?เาอกV , ลก๘ (ฟลโโ, ลV!๘ , ©๘ร. ค©โอ©ค?/อก5 อ? ?๘© คลร? เก รออ?๘©ลร? /4ร/ล.
^
^ ^
รเลก ร?บ๘!©ร /\รรออ!ล?เอก อ? บร?โล!!ล, รอม??า©ลร? ร!ล คบ!ว!!อล?!อก ร©โ!©ร, กอ. 4.
ร!กฐล0๐โ© ะ แ©!ก©๓ลกก 8๘บอล?!อกล! 8๐๐(^8 ( / ร!ล), 1979. ^
24 I กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
"

^
ก© กลโง่, ก(วกลเง่ ช. ‘ๆ ก่© ช© แก©ล!เอก อ! 1ห© ล/ลก่ ร!ล!©ร กโอก{๒โร พ!{ก่ 71าลแลกง่:
1809 - 1894.”ปอมโทล/ อ! รอบ//?©ลร/ /\5 เลก รเม๙!65 18 ( 1987 ) : 81 - 92 .
^^
ก© V ก๐เง่ร, (วโลเ9 ป. “7เา© ธบง่ง่หเร! [ ๐ก ก่ออง่ เก ผเก©!66ก![ 0© ก!บโV 7เาลแลกง่.”
ก[ .ช. ง่เรร©โ!ล!!อก, ออโก© II บก!V© โร!! / , 1973.

'

^^^^
. “8บง่ง[่ าเร! ออร๓๐9โล[ว[าV เก โหล! แเร!๐โV พเ![ ร[ว©อ!ล! ก©!©โ©กอ© !อ แเก©!©©ก![ -
'
ไ ไ

อ©ก!บโV อบ!!บโ© อ!าลก9©.”ป0มโกล/ อ! /\5เลก ร!ม๙65 35 ( 1976 ): 203- 220.


^^^^^
. “ก©แฎเอบร แเร!๐ก่อล! ผก่!เก9 ลกง่ {ก่© บ©9!เ !๓ล!เอก อ!![ © กเโร! รลก9 ๐ ก©!9ก-”

^^
[ ก ก©โอ©/ว!/อกร อ! !1า6 กลร! เก รอม!/?©3ร! 4ร/ล, ©ง่ร. 4ก{ก่อก/ ก© เง่ ลกง่ ชลVเง่ [VI ลโโ.
'

รเก9ล[วอโ©: ก©เก6กาลกก กง่บอล{เอกล! ธออเ^ร ( 4รเล) , 1979.


^^
. โ/ไล/ กล๘เอลเ ช/รอ๐บโร©: โ/?© ก©ล/ กลอ© อ! โ/ไล/ ก©บ๘ล//รโโ? โอ๘ล/. !เ !าลอล:
ออโก©!! รอบ!!า©ลร! 4รเล กโอ9โลกา , 1987.
. “7!า© ก!อ! อ! โ[ไลเ แเร!0โ/ : 7[า©อโ/ ลกง่ กโลอ!เอ©.” เก กล!!©โโ?ร 3ก๙ IIIมร/อโ?ร;
โ/?ล/ /-//ร!0โ/ ลโ?๙ โ/?อมฐ/ !, ©ง่ร. อ©ก่ลก พ!]©/ ©ผลโง่© ก© ลกง่ ก. อ. อ!าลเวกาลก.

อลกง่©โโล: ![ © กเอ[าลโง่ ชลV!ร กบกง่ ลกง่ ช © 9ลโ!กา © ก! อ! /\ ก!ก่โอ[ว๐!อ9 / , 4บร!โล!เลก


แล!เอกล! บกเ V©โรเ!/; รเก9ลเวอโ©: เกร!!เ บ!© อ! รอบ![ ©ลร! 4ร!ลก ร!บง่เ ©ร, 1 992.

ก© /กอ!ง่ร, อโลเ9 ป., ลกง่ หอก9 , บ/รล. สก(เรโก เก โก่ลเ แเร!๐ก่อล! ร!บง่!©ร.” ปอบโกล/ อ!
4ร/ลก ร!ม๙!65 43 ( 1983): 77 -104.
^
ก© /กอ!ง่ร, กโลก ก. “รบง่ง่ห!รทา ลร บกเ V © โรล! ก©แ9เอก ลกง่ ลร อ!Vเอ ก©แ9เอก: รอกา©
0!วร6โVล!เอกร อก ล ก©อ©ก! โอบโ อ! ธบง่ง่ก่เร! อ©ก!© โร เก อ©ก!โล! 7[าลแลกง่.” เก
ร©//ฎเอก ลก๘ บ©ฐ/ //กาล!!อก อ! กอพ©โ เก โ/?ล//ลก๘, 1.305 ลโ?๙ รม! กาล , ©ง่. รลโง่พ©!! บ.
' '

^
รโกเ![า. อ!าล๓[ว©โร!วบโ9 , กล.: /Vกเกาล รออ ร, 1978.
ก© / กอ!ง่ร, กโลก!* ก. , ลกง่ ก© /กอ!ง่ร, [VI ลกเ 8. โ/?โ©© พอโ/๙ร 4อออโ๙เก9 !อ X เกฎ รมลกฎ:
4 โ/ไล/ รม๘๘เาเ5! 005!กอเอฐ/. รลก่*6 เ6/ : บก!V©โร!!/ อ! อลแ!0โกเล กโ©รร, 1982.
กอ!วเกรอก, 4โ{ก่บโ แ., ลกง่ ก©!อก่©กแ*, 8ลโเวลโล 8. โ/ © แล/บโ© อ! /\4ล/วร. อ!าเอล9อะ

บกเ V©โร!!/ อ! อ!าเอล9๐ กโ©รร, 1976.


กอก9 รล/ลกาลกอกง่ล. 4 รเร/อโ/ อ! โ/?ล//ลก๘. รลก9เ*0เ*: 7!าลเพล!![าลกล9[าลก!!, 1977.
“กอ/ ล! รบโV© / ช©[วลโ!กา©ก! ร!ลกา: 4 ก©!โอร[ว©อ!. ”ใน วารล'ารแผนที่ ฉบบพิเศษรวมเล่ม
ปีที่ 24 - 25 ( กรกฎาคม 2524 - มิถุนายน 2526): 19 - 26 ( คำแปลภาษาไทยอยู่ในหน้า
27 -36 ) .
รลอ!*, กอ!ว©โ! ช. เ-เมกาลก โ©โโ//๐โ/ล// //; //ร โ/ ©อโ/ ลโ?๘ รIร/อโ/. อล๓!)โเง่9© , แ.V.: อล๓!วโเง่9©

บกเV©โรเ!/ กโ©รร, 1986.


^
รล!ง่, กง่พลโง่. 0โ/©โไ/ล//รโท. บอกง่อก: กอบ!!©ง่9© & ©9ลก กลบ!, 1978.
รล!พเง่[าลกกเง่ก่©ร, บ!. ออก. ก!าโล/ล. “ร!บง่/ อ! กลโ!/ อลโ!๐9 โล{วห/ เก โเาล!เลกง่.” ปอมโทลเ
อ! I!16 ร/ลกา รออ/©// 50 , [ว!- 2 ( ช©อ. 1962 ): 81 - 89.
รลอ รลเ๓๐ก9 [VIลก9โลเ. รเาลก ร/ล/©ร ลโ?๘ //?© รกํแร/? ,4กก©Xล//อท. รอบ![า©ลร! 4ร!ล กโอ9โล๓,
ชล!ล กล[ว© โ 57. เชาลอล: ออโก©!! บกเV© โรเ!/ , 1965.
รลโลรเก V เโล[วก่อ!. โโ/๖บ/© ลโ?๘ รโอ// /; ร/ทอ-ร/ลโท©ร© โโล๘© 1652 - 1853. อล๓เวก่ง9่ © .

^[ ลรร.: แลโVลโง่ บก!V ©โร!!/ กโ© รร, 1977.


'

บรรณานุกรม 325
^
8ห๐โ10 , 1-1. I. ‘7\ I/เอก 0©ก©ลเอฐ/ 0* เกฐร: 0เวร©กโล*!อก อก แเปลกล โสณเวห3เ0**ไล.” เก
ค/ร/อโ/ลกร อ/ รอ๙๘ คลร/ 4ร/ล, ©ป. 0. 0. ค. แลแ. 0x๒โป: 0x๒ บก!V©โร!*/ คโ©รร,
'

1961 .
/
'
^ '

. “7*า© 32 ^/เV๐2 เก *๘© ^ ©ป!©Vลเ ^อก ^เกฐปอ๓.” คน//อแก อ/ /๘อ ร๙)ออ/ ๙


อกอก/ล/ 3ก6 /\- /โ/อลก ร/น๘/อร 26 ( 1963): 572 - 591 .
^^

'

. “7๘6 ©พลIลบ รอ*ลฐลก: ^ ^เอก คโอ*อ*/ ฐ© 0* *๘© 37 แล*ร.” คน//อก//ก อ/ /๘อ


^^
'

รอ/70อ/ อ/ อโ/อก/ล/ สก๘ /4 / /อสก ร/อป/อร 30 (1967 ): 127 -141 .


^

'

3กา!!ห, 8ลโปพ©III-., ©ป. คอ//ฎเอก สก๘ / อฐ/ //โทล//อก อ/ คอพอโ- เก 7/73แสก๘, /-ลอร สก๘ 8บ [ กาส .
''
.
' ' '

0หลฌเว©โรปบโฐ. คล.: /\กI ๓ล 8อ๐เ*ร, 1978.


ร๓!*เา, รล๓น©! ป. /4 ออโทฐโอ๘อกร/V© กฐ/อ-ร/ลโทอรอ อ/อ//อกลโ) . (ชื่อภาษาไทย: คำภีร์
สรรพพจนานุโยค ) พระนคร: โรงพิมพ์บางคอแหลม, 2443.
^ โ

รอ๒๓อก, คอเว©โ* I. “8๐นกปลโV ออกอ©ฐ*ร ลกป คโลอ*เอ©3 เก รอบ*ห©ลร* /\ร!ล.” 14/07/๘


คอ////อร 23 ( 1970 ): 1 - 23.
รอ๓]ลเ คเาล!โอ**เาเโลโล*. ‘ๆาา© แเร*0ก่อลเ ผโ!*!กฐร อ อเาลอ ค๘โล/ล 7๘!ฐ๘ล๒)โลผอกฐ.”คเา.อ.
ปเรร©โ*ล*!อก , บกเ V©โร!*V อ* แอโ*๘© โก แแกอ!ร, 1 983.
'
'
*
* * ^
รอ๓๒ล* ผลก* เลกล. “716 คอ!!*!อร อ* เอป©โก 7 าล! แเร*0ก่อ9โลเว*1V - ” ค*า.อ. ป!รร©โ*ล*!อก, *
^
เ อกลร*-ไ บก!V©โร!*/ , 1 986.
รอ๓รล๒! Xน*๐, ©ป. อ0 \โอโกโทอก/ ลก๘ คอ////อร อ/ 7๘ล//สก๘. ๒บลเล เ-น๓เวนโ: 0x๒โป
บก!V ©โร!*)/ คโ©ธร, 1987.
^ *
ร*©โกร*©!ก, เ-ลโโ/. “/\ก แเร*0ก่อลเ *เลร อ 7*าล!1ลกป.” ๘ออโกล/ อ/ //?อ ร/ลกา รออ/อ// 52 ,
'

^
ฐ*. 1 ( ฐโ. 1964 ): 7 - 20.
*^ * * ^ *
. “& 0ล*3เ๐9บ6 อ ลฐร อ 7*าลแลกป เก * า6 เบร©น๓ อ * า6 แอVล! 7 าล! รบกโ©/
0©ฐลโ*๓©ก*, 8ลก9๒)๒ ”๘ออโกล/ อ/ /๘6 ร/ล๓ รออ/อ// 56 , ฐ*. 1 ( ปลก. 1968 ): 47 - 99.
^^
**
. คอโ/โล// อ/ 8สกฐ/(อ/(. 8ลก9๒ว๒ รลกฐ๒ * 6*โ0ฐ0แ*ลก /\ป๓!ก!ร*โล*!อก, 1982. ^^
^ *
. “ ‘เ-0พ’ ลฐร อ รเล๓.”๘ออโกล/ อ/ /๘อ ร/ลกา รออ/อ// 73, ฐ*. 1 ( 1 985 ): 1 32 - 1 56.
*
. “เ-อพ*ร อ©รอโ!ฐ*เอก อ* * า6 ร!ล๓©ร© ค๓ฐ!โ© เก 1 824.” ๘ออโกล/ อ/ //)อ ร/ลกา
^^ ^^

รออ/อ// 78, ฐ*. 1 ( 1990): 9 - 34.


'

ร*©โกร*©เก, เ-ลโโ/ , ลกป 8เลอ๒ ปอ*ไก. \ แอ*© อก 7*าโ66 คอเอ เ ลฐร.”เก คอ//อ/ /ล//อก V'อ/อโทอร
อ/ รออ/๘อลร/ /4ร/ลก ร/อ๘/อร คโอรอก/อ๘ /อ /-//ร /-//ฐ/ากอรร คโ/กออ อ/)ลก/ก/Vล/ คโอกาลโทอก
^ ' '

81๘/ล/ล๘๘ คโ/๘๘)โล๒)โก. \๒1. 2 . รลก9๒)๒ 3!ล๓ รอด!©*/ , 1965.


ร*โ©อ๒บรร, 0ลVIป. “อโ63*เก9 ‘7๘6 7๘ล!’: 7*า© 8๓©โ9©ก06 อ* เกป!9©กอบร แล*!อกลแร๓ เก
'

^
แอก-ออเอก!ล! ร!ล๓ 1850 -1980.” เ ./\. *เา©ร!ร, บก!V© โร!*/ อ* ผ!รออกร!ก -เ ลป!รอก,
1987.
'
^
รน©เวรล©ก9 ค*ไโอ๓เวนก “ร!กอ-ร!ล๓©ร© 7โแวน*ลโ/ ค©!ล*!อกร, 1282 - 1853.”คเา.อ. ป!รร©โ-
*ล*!อก , บก!V©โร!*/ อ* ผ!รออกร!ก- เลป!รอก, 1971 . ^
^ ^
รนเล ร!Vลโล รล. คอ//ฐ/อก ลก๘ ออV'อ/อ/วโทอก/. 8ลก9๒)๒ 7เาล! เก*©โ-ค©!!ฐ!อบร อ0๓๓!รร!อก
*0 0© ร©/เอฐ๓©เกก*,อโ1981
โ \โ .
^^
- /ร/ร. 2กป ©ป. ธลก9เ อ๒ 7เาล! เก © - ค©แฐ!อมร 0อ๓๓!รร!อก
ลโท
^ * โ
*0 โ

326 I กำเนิดสยามจากแผนที่: ประว็ตศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


อ©V ©!©!ว๓©ก!, า 990.
. ร©©๘ร อ/ ค©ลอ©: /4 คบ๘๙ /ร! \/เร/อก /อโ ค© โ16พเกฎ รออ/©!/. ค© โ©พ© โป ๖V บ - บ -
ไ ,

^
^ ^

70© อล!ล! 13๓3. คโ©1306 ป/ 76!๐ห แ 6ล1 แลก6 . ธ© โ ©! © / ะ คลโ3แผ( คโ©85 , 1992 .
^
รบกล!! 06 บ1!ก!ลโลก©กป. “ ลI^โลVล!!ก: 76© เป©๐!©9/ 0! 7โ3ป!1!๐กล! พลโ!ลโ© เก รเ3๓ ลกป
รบโ๓3, 1548-1605.” ร[า.0. ปเรร© โ!311อก, 00โก6แ บก!V ©โร! ! / , 1990.
รพ โ © ป รบ ล ร โ ร รบปปเา ร ร อโ
© 3 © โ , อ กล! . “ ! ! V
6 , ก© . 2 ( 1991 ) : 17 - 57 .
© 3 53’
^ ^ ! { V ! ! ©ก 1 ค© ก ©พ ! ก9 ร©©!©!V - ” รโอรรโอล๘ร

73๓6530 , ร. ป. “70© 031301!© ค©!!!V : 70© ร!โบ©!บโ© 01 7 โลป!!!©กล! X!ก9ป© ๓ร !ก ร©บ!เา© 3ร!
/Vร13.” /\กก3เร อ/ // © /V©พ Vอ/'/( /4อล๘© โท/ อ/ 30เ6ก0อร 293 ( 15 ปบ!/ 1977 ) : 69 - 97 .

. พอโ/ป รอก9บ6 โอโ ลท๘ I4/๐๘๘ ค©ทอบทอ© โ. 03๓6 โ!ป9© : 03๓6 โ ! ป96 บก!V© โร!!/
1

คโ ©รร , 1976 .
7©] รบกก39 - คโอฟทอ/ล/ 4๘โท/ท/ร!โล!/อก อ! ร/ลโท 1892 - 1915. X ง3เ 3 เ-บ๓เวบโ: 0x1© โป
/

บก!V© โร!!/ คโ©รร , 1977 .


^ ^ ^
7©] รบกก39 ลกป ร๓!! 6!©ร, 1 1เ๐ห3©1, ©ปร. เก / ©โท0โ/ลโท ค/ไ/ล ทบกาลท คล/ล๙?๐ท. 0สก9เ*0เ*:
ร!ล๓ ร©©!©!/ , 1970.
^
7©โพ!©!, ธ. ป. “ ๒ลก9 763! 3กป 16© พ©โ!ป: 063ก9!ก9 ค6โร[ว©©!!V©ร อบโ!ก9 16© 76!โป ค©!9ก.”
ค3[ว© โ เวโ656ก!©ป 3116© ร©๓!ก3โ ©ก /\รเล: /V ร©กร© 01 ค๒©© , 03ก6©โโ3, /\บธ!โล!!3ก
แล!!©กล! บก!V© โร!!/ , 1 986.
^
763 063!๐©๓1!3โ3ก3, ©ป. 71/าล/ คอ//!/อร: 5x1โลอ!5 ลท๘ รออบโท©ท/ร 1932 - 1957 . ร3ก9เ :
ร©©!ล! ร©!©ก©© /\ธร©©!ล!!©ก 01 76ล!เลกป, 1 978.
^
^
76ล๓ร©© แบ๓ก©กปล. “แ©9011ล1!0กร ค©9ลโปเก9 166 0©รร!0ก 01 ร!3๓©ร© 1ล!ล/ ร!ล!©ร
1907 -1909.” บอบโทล/ อ/ //ไ© ร/ลโท รออ/©!/ 55 , [ว!. 2 (ปบ!/ 1967 ) : 227 - 235.
^
. ค/ไล//ลก๘ ลท๘ //ไ© บล/วลท©ร© คโ©ร©ทอ© 1941 - 1945 . ร!ก9ล[ว0โล: เก3111๙6 ๐1
ร©บ!6©ลร! /\ร!ลก ร!บป!©ร, 1977.
^^^^

^ ^ *
760ก906ล! พ!ก!©6ลเฒเ. “ร!ล๓ 1 3[ว[ว© ป: แ!ร!© โ/ ๐ 16© 0©0 -60ป/ 01 ร!ล๓.” เก
คโออ©©๙กฐร อ/ //ไ© /ก!©โทล!/อทล/ รอก/©โ©ทอ© ๐ท ค/ไล/ ร!บ๙©ร, /4บร!โล//ลท แล!/'อทล/ '

บก/V©โร!/ /, รลท6©โโล, 1987 . \7 จ\ . 1 , 0ลก6© โโล: /\บร1โ3เ!3ก แล!!©กล! บก!V© โร!! / , 1987.
^^^
. “ร!ล๓ [/เ3[ว[ว©ป: แ!ร!© โ/ ๐1 16© 0©0 -60ป/ 01 ร!ล๓.” ค6.อ. ป!รร©!โ ล!!©ก,
บก!V© โร!!/ 01 ร/ปก© / , 1988.
คโล๙!/อทล/ ลท๘ ร/าลทฐ/กฐ ค6ล/ พอโ/๘ V//©พ. ร© บ!66351 /\ร!ลก ร!บป!©ร คโ©9 โ3๓ (ร!ก93[ว© โ© )
'

ลกป ร©©!ล! ค©ร©ลโ©6 เกร!!!บ!© , 06บเ 3เ0ก9เ*©โก บก!V© โร!


^^
! /. ร3ก9 0 , 1985.
^
คบโ!© ก , กปโ©พ, ©1 3เ. ค/ไล//ลท๘ คออ!ร อ/ รอก///อ!. แอ!!!ก963๓: ร[ว© ©๓3ก , 1978.
;
^
. “น๓!! ร 01 เป©0เ๐9!©ล! 0©๓!กล!!©ก ลกป 16© ค©โ๓ล!!©ก ๐1 ร©©!ล! รอกร©!©บรก©รร.”
^

เก ค/ร!0โ/ ลท๘ ค©ลรลก! รอทรอ/อบรท©รร เก 30ม11า คลร! 4ร/ล, ©ปร. /\กปโ©พ คบโ!©ก ลกป
' '

ร6!9©6 ลโบ 7ลกล6©. ร©กโ! ร16ก0เ09!©ล1 ร!บป!©ร, ก©. 13. 0รลเ0: แล!!©กล! [/!บร© บ๓ 01
ร16ก0เ09/, 1984.
^^
V©แล, ผล!!© โ ค. ร/ลโท บท๘© โ คลโทล III 1824 - 1851 . แ©พ V © โ : รร©© !ล!!©ก 1อโ /\ร!ลก
ร!บป!©ร, 1957.

บรรณานุกรม 327
^^^^
. อ/ไล//อ/ X เกฎ V'ลุ//โสVบก่ก่ ลก๘ ไก่ 6 0©1/© /อ/วทา©กใ อ! 7ก่ลเ คลใ/อกล//รทไ. แอกอเบเบ:
บกเ V©โร!IV 0เ แสพล!! คโ©รร, 1978.
^
V!©[(©โ/ , /แ๐หล© เ . \ ผอใ© อก ใ!า© ลใ© อ! ใ!า© 7โส!!ว!าบ๓!!(ลใ!ไส. ” ปอบ I'กล! อ! ไ!16 ร/ล/ท
รอ06ไV 62 , [วใ. 2 (ปบ!V 1974 ) : 275 - 284.
. “7!า© นอก คโ!กอ© สก๘ ค©!สใ©ป ค©๓ลโ!(ร อก โง๐โ!ห©โก แ!รใอโV.”ปออ/ทล/ อ! ใ/ไ©
ร/ลทา รออ/©ใ/ 64 , [วใ. 1 (ปลก. 1976 ): 326 - 377.
^ ^

พ©ก! , ^เสนร. 7/าล//ลก๘/รอ/?© /Vใ/ท/ลในโทาล/©โ©/©ก ก3อ/ไ 6เก©โ ค3ก๘รอ/ไโ/ใใ ๘©โ เก(ปเธอ!16ก


(

X บกรใล6ใ©//บกฎ ๘©โรใลลใ//อ/ไ©ก 1\/ไบร©©ก 8©โ//ท. พ!©ร!วล๘©ก: คโสก2 รใ©!ก©โ, 1965.


. “2บ ©เก© โ ‘1ลก๘!(สโใ©’ รบ©๘-บก๘ 0รใสร!©กร.” เก ค© //อ/ใลใ/อก Vอ/นกา6ร อใ
รอนใ/ไ©ลรใ /4ร/ลก รใน๘/©ร คโ©ร©กใ©๘ ไอ เ-แ5 เ-แฎ!าก6รร คโ/ทอ© 0ก่ลกเกเVลไ Xโอกาลทไบก
ร/๘/ล/ล๘/า 8โ/๘/า/ล/(อโก. Vอ!. 1 . 8สก9 0 ะ ร!ล๓ รออ!©ใ/ , 1965.
^^
. 7!16 ค©รใอโลใ/อก อใ 7/าล//ลก๘ (ปก๘©โ คลท?ล I , 1782 - 1809. 7บอรอก: บก!V©โร!ใ/
^\ 120กล 1968.
^^^^

อใ โ คโ©รร,
พ!า©ลใ!©/ , คสบ!. 7!ไ© (รอ/๘©ก XII 6โรอก©ร©; รใน๘/©ร เก ไ!!6 ไ-แรไอก่อล! (ร©อฐโล]อ/ไ/ อ! ไ!!6
^ ^ ^
/ ล/ล/ ค©ก/กรน/ล ร©/อโอ /4.0. 7500. บสเส 1บกา[วบโ: บก!V©โร!ใ/ อใ ลเล/ ล คโ©รธ, 1961.
พ!า!ใ© , แส/๘©ก. /14©ใล/ไ/รใอโ/; 7!ไ© ไ-แรไอก่อล! เกาลฎเกลไเอก เก เก6ไ6อกไก่ อ©กในโ/ รนโอ/ว©.
8ลเใ!๓0 โ©: ปอ!ากร แอ[ว!ปกร บก!V© โร!ใ/ คโ©รร, 1973.
^
^^
. 7โอ/ว/อร ๙ อ/รออนโร©. 8ลเใ!กาอโ©: ปอ!ากร แอ[ว!ปกร บก!V©โร!ใ/ คโ©รร, 1978.
พ กล คอก9รโ![ว!ลก. “7โล๘!ใ!อกส! 7ใาส! แ!รใอก่อ9โสเว!า/ ลก๘ เใร ผ!ก©ใ©©กใ!า 0©กใบโ/ 0©อเ เก©.”
! ! '

ค!า.!ว. ๘!รร©โใสใ!อก , บก!V©โร!ใ/ อใ 8โ!รใอ!, 1983.


พอ!ใ©โร, 0. พ. ค/รใ๐โ/, อน/ในโ©, ลก๘ ค©ฎเอก เก รอนใ/ ©ลรใ /4ร/ลก ค©โร/ว©อใ/V©ร. ร!ก9ส[วอโ©:

เกรใ!ใบใ© อใ รอบใ!า©ลรใ ร!สก รใบ๘!©ร, 1982.


พอ อล
0๘พสโ๘ , V!๘, ©๘. ค/รไอโ/ อ! อลโใอฐโล/อ/ไ/. 7๐1. 2 8ออ!( 1 , 2 , สก๘ 3. 0!า!อล9อ:
บก หเอล
!V©โร!ใ/ อใ 0 9อ คโ©รร, 1992 , 1995, สก๘ 1998.
พ / ลใใ อสV!๘
, . คอ ^ ค เก ร
/อกฎแอโก. ค©พ แสV ©ก: VสI© บก!V©โร!ใ/ คโ©รร, 1969.
เก
//ใ/อร อ! © /อโทา 7ก่ลแลก๘; ๘นอลใ/อก ใ/ไ© ค©/ฎก อ! X เกฎ อ/ไน/ล-

^^ ^^
^
. ”7เา© ‘รบ!วใ!© ค©70เบใ!อก’ อใ !ก9 คล๓ล I อใ ร!ล๓.” เก /\4อโล/ 0โ๘©โ ลก๘ ใ/ไ©
(วน©รใ/อก อ! อ/ไลกฎอ: ครรล/ร อก รอนใ/ไ©ลรใ 4ร/ลก 7!ไอนฎก่ใ. รอบใ!า©ลรใ /\ รเล รใบ๘!©ร,
อกอ9 โล[ว!า ร©โ!©ร, ก©. 24. ค©พ แลV© ก: VลI © บก!V©โร!ใ/ , 1982.
^ , /4 ร/ไอโใ ค/รใ๐โ/ อ! 7!าล//ลก๘. ค©พ แลV ©กะ VลI© บก!V©โร!ใ/ คโ©รร, 1984.
^
^^

Vบสก9 โลใ พ©๘©!. 7ก่อ 7!ไล/ เ ลอ!เอล!ร ลก๘ ใ/ไ© ออกไทไนก/รใ คลโใ/; เกใ©โลอใ/อก อ! /๘©อ/อฐ/
ลก๘ คลใ/อกล//รท? เก ไก่อ คอโ©รใ, 1975 - 1980. ร!ก93[ว© โ©: สโบ2©ก /\ ร!ล, 1983.
^

328 I กำเนิดสยามจากแผนที่ : ประว้ดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ดิชนิ

6 ตุลา 2519 , การลังหารหมู่ 9 , 222 , 267, 271 คณะสงฆ์ 56 - 57


*
ครอว์เฟิร์ด, จอห์น ( น่0ง่ก ดโลผ บโง่ ) 151 , 188-190
กรมแผนที่ทหาร า 95, 203, 245, 300 เชิงอรรถที่ 31 ครอสบี , โจไซอาห์ (ม่0รเ3ง่ ดโ0รง่V ) 306 เชิงอรรถ
กรุง ( คำที่ใช้ต' ามความหมายเดิม ) 70 ที่ 36
กระ 36, 94 คุ้มครอง, ความ:
กลาโหม, เจ้าพระยา 91 , 101 ความหมายสองต้าน 142 -143, 147;
กษัตริยภาพ (เปํก9รง่เ0), การเปลี่ยนแปลงของ ของชาติยุโรปที่มีต่อสยาม 147, 178-179.
มโนภาพเกี่ยวกบ 219 - 221 228, 293 เชิงอรรถที่ 20
กัมพูชา: ความเป็นชาติ :
กับความเป็นอื่นของไทย 265, 266 , 268; -
การนิยามความเป็นชาติ 4 9 , 212 - 213;
กับอธิปไตยช้อน 148 , 153- 155; ทำใหัชาติกลายเป็นธรรมชาติ 214 - 216;
การตกเป็นอาณานิคม 154-156; ในฐานะประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม 20-23,
สยามกับเวียดนามแข่งข้นกันครอบครอง 1 44 - -
209 213;
145; ในฐานะหน่วยทางลังคม - เศรษฐกิจ 17-19;
เส้นเขตแดน 204; ประวีดศาสตร์กับ 227, 275.
อาณาจักรดักต๓าธ 34, 39 และดู ประวัติศาสตร์ไทย; รัฐชาติไทย;
เกียร์ตช์ , คลิฟฟอร์ด (ตเสอโง่ 066112:) 2 ใ 6 เอกลักษณ์ไทย
ความเป็นไทย ดู เอกลักษณ์ไทย
ขจร สุขพานิช 232 - 233, 239 , 266 -
คอมมิวนิสม์ , ลัทธิ 8 , 9 , 270 271;
เขตแตน ( ตามมโนภาพยุคก่อนสมัยใหม่ในสยาม ) คอมมิวนิสต์ไทย 270 271 -
104 -110 และดู เส้นเขตแตนยุคก่อนสมัยใหม่ คะยา 95-96, 1 00, 1 06 , 1 65 1 77 .
เขมร 248, 265, 269 และดู กัมพูชา คาบสมุทรมลายู 40 , 187
“แขก” 7
คำเกิตและคำมวน 174
^
คายส์ , ชาร์ลส์ (อง่ลโเ68 1 6ร) 32 - 33, 265

คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ 6 - 7 คึกฤทธึ๋ ปราโมช 7

ดัชนี 329
เคดะห์ (หรือไทรบุรี): ชาติ (ตามมโนภาพยุคก่อนสมัยใหม่ในสยาม )
กับการทำสัญญาให้เช่าปี,แงและเวลส์เลย์ 217 - 218 , 303 เชิงอรรถที่ 15
146 - 147, 150 ; ชาตินิยม ดู ความเป็นชาติ; ป. พิบูลสงคราม,
ความสัมพันธ์กับสยาม 145 -153; รัฐบาลจอมพล; มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6,
ความสัมพันธ์กับอังกฤษ 149 153; - พระบาทสมเด็จพระ; ริจิดรวาทการ, หลวง
ภายใต้ระบบปกครองแบบใหม่ 156 157; - -
ชายขอบ, พี้นที่ 163 169 และดูชายแดน;
เลันเขตแดนที่ติดกับเวลส์เลย์ 97 -98. พรมแดน; เมืองชายแดน
และดู คุ้มครอง; บุหงามาศ ; ประเทศราช ชายแดน (เโ0กแ6โ) 104 ;
*
เคนเนติ , วิคเดอร์ ( \ก่0เ0โ ©กก©ก่V ) 42 - 43 ชายแดนที่ซ้อนท้บกัน 168 169 -
เคอร์ชอน, ยอร์จ ( (360โฐ6 ดบโ20ก) 202 , 240 , เชียงขวาง 205
305, เซิงอรรถที่ 23 เชียงแขง 164 , 203 และดู เมืองสิง
เชียงตุง 103.164 -165, 177
จอมเกลัาเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 , พระบาทลมเต็จพระ: เชียงรุ่ง 164
กับการทำแผนที่ 101 -102, 191-192; เชียงแสน 107, 164 -165, 168
กับการปฏิรูปพุทธศาลนา 56 - 57; เชียงใหม่ 94, 96, 103, 177, 194 , 202;
กับการปะทะกับโหร 60 - 61 , 62 - 66; กับเขตแดน 97 - 99;
กับธงสยาม 272 ; กับประเทศราช 164 165 -
กับศาลดร์แบบตะวันดก 54 - 58; และดู ล้านนา
กับสุริยุปราคาที่หวัากอ พ.ศ. 241 1 63-65; แชนด์เลอร์, เดวิด ( ลVษ โ,. อก่สกก่เ6โ) 33- 34 ,
บิดาแห่งริทยาศาสตร์และโหราศาสตร์ไทย 39, 145
79 -80 ;
สวรรคด 66. ชาอิด, เอ็ดวาร์ต (ผพ13โ6 รลฬ ) (18) , 10, 240
และดู หว้ากอ กับการสังเกตสุริยุปราคา พ.ศ. แช็ค, โรเบิร์ด ( ค0ก่6 โใ รลอเป 33, 214
2411 ; โหราศาสตร์แบบไทย
จ้กรพรรติราช 143
' ด่านเจดีย์ลามองค์ 106
จักรวาลทีปนี 30, 82 ด่านสิงขร 106
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รั ช กาลที ่ 5 , พระบาทสมเดจ ดาราศาสตร์ ดูวิทยาศาสตร์แบบตะวันดกในสยาม
พระ 5, 67, 102 , 229 , 258; ดาวดึงส์ 33, 59
-
กับการทำแผนที่ของสยาม 183, 192 193, ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม
197 -198, 200, 204; พระยา 6, 64 , 67 , 171 - 172 , 195, 229 ,
กับประเทศราช 165, 170-174 ; 234- 236, 258
การปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นในสมัย 171
172 , 234 - 235
- เตียน เบียน ฟู ดู แถง
“โดยชก,, ( เวนVรลก่) 1 92 , 1 98 , 299 เซิงอรรถ
^
จ้าเหนือหัว 6โเ0ฟธก่เถ) ดู ประเทศราช , อธิราช ที่ 20
ชมพูทวีป 30 , 35, 37 - 38 ต้นไม้เงินดันไมัทอง 141 , 145, 147, 150-152
ชวอร์ดชเบิร์ก , โจเซฟ (ม่0ร6กก่ ร๙ไผลโใ2๖6 โ9 ) ดะนาวศรี, จังหวัด 90 , 91 , 242 และดู เสันเขตแตน
283, เซิงอรรถที่ 12 -
ระหว่างสยาม พม่า
ชอร์โด , เอช. แอล. ( แ. I. รก่อโ!0) 33- 34 ตำรวจตระเวนชายแดน 270 - 271
ชาติ ดู ความเป็นชาติ; รัฐชาติไทย เตช บุนนาค 234- 236

330 I กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวิดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


ไตรภูมิ 29 - 30: นเรศวร, สมเด็จพระ 251
กับการเผชิญหน้ากับศาสตร์แบบตะวันตก นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3, พระบาทสมเด็จพระ
58- 63; 90 , 96 , 108 , 145
กับการเปลี่ยนผ่านแทนที่ของความรู้ 82 -84 ; น่าน 103, 177 , 192 , 205
คติความเชื่อ 30;
ในตำราเรียนภูมิศาสตร์ยุคแรกๆ 68;
*
นิล , เฟรเตอริค เอ. ( 8โ60เ6โเ{ /V. แ63เ6) 46 - 48

เผชิญหน้ากับภูมิศาสตร์สมัยใหม่ 48 - 49, บรรณาการ 147 -148


54 - 56 ; บรัดเล 54 , 55, 57 - 58, 62
วาทกรรมแบบไตรภูมิ 46 - 48
ไตรภูมิพระร่วง 29, 30 , 285 เชิงอรรถที่ 36
^
บรูค, เชอร์ เจมล์ ( รเโ ป3๓6ร ธโ00 0 ) 152
บล้นเตลล์, อี. เอ. ( 8. 8เบกป0แ ) 92 - 93
บ้านนายด่าน 106 -107
แถง 166 , 167 , 176, 181 , 201 บ้านเมือง (คำที่ใชตามความหมายเดิม ) 218
บุหงามาศ ตู ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง
ทำแผนที่, การ: บูรพคดีวิทยา, ล้ทธิ (0ก่0ก!3แร๓) 10-11 และตู
กับกำเนิดสยาม 211 ; ชาอิด, เอิตวาร์ด
กับอธิปไตยซ้อน 198, 204 - 205 ; เบอร์'นิย์, รัอยเอกเฮนรี ( อ3ฤ!3เก เ-เ6กา/ 8บ๓©V )
ในความขัดแยังระหว่างฝรั่งเศส-สยาม 1 97-206. 89 - 92 , 96 , 151 -152 , 188
และตู แม่นาโขง เบาว็รง , เซอร์จอห์น (รเโป๐หก 8อพกัก9 ) 55 , 189
ทำแผนที่ในสยาม, การ:
กับการตอบสนองของผู้คนในท้องถิ่น 194; ^
แบรดลีย์, แดนบีช ( อ3ก 8630แ 8โ3(1 ) ดู บรัดเล
โบราณคดีสโมสร 257
กับการปรับปรุงประเทศให้หันสมัย 1 91 , 1 92,
193- 194 ; ป. พิบูลสงคราม , รัฐบาลจอมพล 6 , 242 , 245,
กับการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมของอังกฤษ 264 - 265
192 -194 ; ปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น สมัยรัชกาลที่ 5, การ
บทเรียนเรื่องแผนที่ในตำราเรียน 70 - 73; 170 - 172 , 196 -197;
โรงเรียนแผนที่ 195. กับประว่ติศาสตร์นิพนธ์ 234 - 236.
และตู กรมแผนที่ทหาร; เส้นเขตแตน และตู เทศาภิบาล
ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา ตู หนังสือแสดงกิจจานุกิจ ปฏีว้ติ 2475 231
เทพศาสตร์สถิต, พระยา : และ ภูมิศาสตร์ 68, 71 - ประเทศ (คำและการเปลี่ยนความหมาย ) 68- 70,
73, 74 - 76, 214 - 215 , 288 เชิงอรรถที่ 65, 66 218 , 251 , 303 เชิงอรรถที่ 15 ;
เทศาภิบาล 1 71 -1 72 , 1 97 , 234 และตู ปฏิรูป ประเทศไทย ( การใชิในภาษาไทย ) 69, 248
การปกครองส่วนท้องถิ่น สมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศราช 140 -142 , 148-149, 155;
ไทยรบพม่า , เขียนโดย ลมเด็จฯ กรมพระยาตำรง กับการเปลี่ยนเคลื่อนความหมาย 149 -150.
ราชานุภาพ 259 และตู อำนาจอธิปไตยซ้อน
ไทยศึกษา: โตยชาวไทยและชาวตะวันดก 9-12 ประว่ติศาสตร์ไทย:
ไทรบุรี ตู เคตะห์ ความเป็นอื่นใน 265 - 266 ;
โครงเรื่องของประว่ติศาสตร์ไทยในแผนที่
ธงชาติไทย 271 - 273 ประวติศาสตร์ 248- 249;
ประว่ตศาสตร์!หม่หลังวิกฤติการณ์ ร.ศ. 11 2
นครศรีธรรมราช 97 - 99, 109, 146, 150 -152 256 - 258;

ดัชนี 331
พุทธศาสนาและสถาบันกษัตริย์ใน 18 -19; แผนที่ประวัติศาสตร์ของไทย 242 - 249 , 306
หลังเกิด'วิกฤติการณ์'ทางดังคม 230 - 231 ; เชิงอรรถที่ 40, 307 เชิงอรรถที่ 41 , 46;
เอกลักษณ์ไทยกับ 17 . กับโครงเรื่องของประวัติศาสตร์ไทย 254 - 256 ;
และดู ประ'
ว้ ตศ
ิ าสตร์ น พ

1
นธ์ ใทย ; แผนที ป
่ ระว้ ต - ความผิดยุคหลงสมัยใน 248.
ดาสตร์ของไทย; และดู ภาพประกอบที่ 14 -19
ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย: แผนที่ยุคก่อนสมัยใหม่ 39 - 45 และดู แผนที่การ
กลวิธีทางวรรณศิลป็ที่ใร์ใน 250, 253-256; จาริกแสวงบุญ; แผนที่ชายฝังทะเล; แผนที่
กับการก่อเกิดรัฐชาติสมัยใหม่ 17-19; ตำนาน; แผนที่ท้องถิ่น; แผนที่ยุทธศาสตร์ของ
เกี่ยวกับวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 231 - 234, 236, รัชกาลที่ 1 ; ไตรภูมิ
236 - 240; แผนที่ยุทธศาสตร์ของรัชกาลที่ 1 42 - 43
โครงเรื่องใน 255-256; แผนที่สมัยใหม่:
บทบาทของแผนที่ใน 236; กับกลไกการน้าเสนอ 73- 77;
ฝรั่งเศสและสยามใน 232 - 233, 236. กับความสามารถในการพยากรณ์ 76 - 77;
และดู ปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น สมัยรัชกาล กับความสำคัญของเส้นเขตแดน 78 ;
ที่ 5; ฝรั่งเศส-สยาม, ความขัดแย้งระหว่าง ความสัมพันธ์กับวัตถุ 75 - 76 , 211 - 212 ;
ปาวี, ออกุสต์ ( &บฐมร16 VI© ) 179 -180, 192; แผนที่ชาติ 71 , 78
กับการเผชิญหน้าทางการทหาร 201 ; แผนที่สยาม:
กับแผนที่ 209 - 210; กับการทำแผนที่ของชาวยุโรป 187-190, 199;
การสำรวจและทำแผนที่โตข 199- 204 กับสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ 221 - 223;
ปืน้ง 146 , 150, 1 51 , 153, 178 และดู เคดะห์; การทำแผนที่ของสยาม 190-195;
เวลส์เลย, จังหวัต ฉบับของปาวี 209 - 210;
เปรัก 146 -147 , 151 -152 และดู บุหงามาศ; ฉบับของสยาม 209;
ประเทศราช ไม่รวมประเทศราช 189 190; -
^
โปโล, มาร์โค ( เ ลโ00 ?0เ 0 ) 187 รูปร่างของสยามใน 189 -190.
และดู ทำแผนที่; ทำแผนที่ในสยาม; แผนที่
ผลักไสแทนที่ของความรู,้ แบบวิถีของการ 82 - 85 ฉบับแมคคาร์ธี
แผนที่การจาริกแสวงบุญ 33, 283 เชิงอรรถที่ 12 ;
ภูมิลักษณ์ของการจาริกแสวงบุญ 32 - 33 “ฝรั่ง,, 7, 9 , 285 เซิงอรรถที่ 2
แผนที่ฉบับแมคคาร์ธี พ.ศ . 2431 ( ค.ศ. 1888 ) ฝรั่งเศส - สขาม, ความขัดแย้งระหว่าง
179 -182 ;
202 - 203 และดู ภาพประกอบที่ 10 กองกำลังทหารของสยามในเหตุการณ์ 198 ,
แผนที่ชายฝังทะเล 40-42 , 43-44 301 เชิงอรรถที่ 40;
แผนที่ตำนาน 35- 39 และดู ภาพประกอบที่ 2 , 4 กับการขยายดินแดนของสยาม 169 -176;
แผนที่ไตรภูมิ 31 , 35; กับการผลักไสแทนที่ของชุตความรู้ทาง
กับเทศะแบบพุทธวิทยา (
32;
^ห๐!๐ฮเ๐ลเ 30306 )
บ ภูมิศาสตร์ 181 -182;
ประวิติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับ 161 -162, 232-
กับแผนที่ชายฝังทะเล 40, 41 ; เชิงอรรถที่ 26.
233, 305
กับแผนที่ท้องถิ่น 43; และดู ทำแผนที;่ แม่นาโขง
กับภูมิลักษณ์ของการจาริกแสวงบุญ 33;
สัจธรรมใน 32 พม่า:
แผนที่ท้องถิ่น 39 - 40 กับการทำแผนที่ในสยาม 192 -194 , 202 , 205;

332 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวิติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


กับอังกฤษ 89 - 90 , 177; กับการนิยามเอกลักษณ์ร่วมกัน 216 ;
กับอำนาจอธิราช 139 - 140, 145-146 , กับการสร้างศัตรูของชาติ 266 - 269 ;
163 165; - กับประวิดศาสตร์ไทยอย่างใหม่ 257 - 259;
ความสัมพันธ์กับสยาม 89, 91 - 92 , 95- 96, กับสัญชาติ 263- 264 ;
-
99 100 ; ของสยามกับอำนาจของตะรันดก 209 - 210;
ในฐานะความ เป็นอื่นของความ เป็นไทย 46 - ความเป็นธรรมชาติกับ 214 216 ;-
48 , 259 , 266 , 268; ความสำคัญของ 23- 24 , 213;
ในบทละครและแผนที่ประวิดศาสตร์ของไทย คำนิยามของ (18), 22 -24;
242 , 249, 251; -
ชาติกับ 217 218;
ในประวิดศาสตร์ไทย 259 , 265; ในประวิตศาสตร์ไทย 231 - 249;
ในแผนที่โบราณของสยาม 36 , 37, 40, 47- 48; ประว้ตศาสตร์ของ 17 , 22 - 25 , 210 - 213, 275;
-
เส้นเขตแตนกับสยาม 91 92 , 97, 99, 102 - แผนที่ประวิดศาสตร์กับ 244 - 248;
-
103, 106 109, 177; อำนาจของ 216 - 221 , 263- 273.
พรมแดน ( เว0โ0เ @ โ ) 104 - 106; และดู ทำแผนที่; แผนที่ยุคก่อนสมัยใหม่;
ความสัมพันธ์ทางชายแดน 108-110. แผนที่สมัยใหม่; แผนที่สยาม; ภูมิศาสตร์
และดู ชายแตน; เส้นเขตแตน ภูมิศาสตร์:
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ( พคท. ) 13-14. กับการผลักไสแทนที่ทางความรู้ 25, 48- 49,
16, 270 , 281 เชิงอรรถที่ 33 82-85, 176, 179 -182 ;
พระคสัง, เจ้าพระยา 90 - 91 -
กับจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ 45 48. 82 -83;
พระยอด ( เมืองขวาง ) 174 กับชาติ 69 - 71.215 - 216 ;
พวน 167 , 174 , 199, 203, 205 กับตำราเรียนของสยาม 67 - 71 , 82, 214 - 215;
พิชิตปรีชากร, กรมหลวง 102 กับระบบการตั้งชื่อและแบ่งหมวดหมู่ 82 -84 ;
พี้นที่ / ภูมิ , เทคโนโลยีการจัดการ (16ฌ่ใ0กิลแ!V )
1
กับราชทินนามของเจ้าเมืองท้องถิ่นใต้อาณ์ติ
22 - 23 สยาม 175;
พุทธยอตฟัาจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 , พระบาท คำและความหมายเกี่ยวกับ, ในภาษาไทย 81 ,
สมเด็จพระ 29, 42, 216 82-83, 212, 215- 218;
พุทธศาสนา ; ลัทธิอาณานิคมกับชัยชนะของวาทกรรมทาง
กับชาวพุทธที่ราดิกัล 15; ภูมิศาสตร์ 175 -176, 187 -189 , 210 - 213
กับเทศะแบบพุทธวิทยา 32 - 33; และดู ไตรภูมิ; ทำแผนที่; แผนที่ยุคก่อนสมัย
กับเอกสักษณ์ไทย 6 , 14 -15 , 270 ; ใหม่; แผนที่สมัยใหม่; พุทธศาสนา; ภูมิกายา;
ปะทะกับความรู้แบบวิทยาศาสตร์ 57 - 60. วิทยาศาสตร์แบบตะวันดก; เสันเขตแตน
-
และดู จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 , พระบาท ภูมิศาสตร์ตำนาน 32, 38 39 และดู แผนที่ตำนาน
สมเด็จพระ; ไตรภูมิ ภูมิศาสตร์สยาม ดู ยอนสัน, ดับเบิลยู. จี.

ภูมะนิเทศ , เขียนโตย รันไตกี้ 67 , 69, 70 , 82 , มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 , พระบาทสมเด็จพระ


83-84 , 288 เชิงอรรถที่ 60 ; 5 , 43, 210 , 258 , 267, 272
คำว่า “ภูมะนิเทศ ” 82 มหาอำมาตยาธิบดี ( เส็ง ) , พระยา 194 , 195
ภูมิ 36, 82 และดู ไตรภูมิ -
มอญ 33 34 , 89, 243, 251
ภูมิกายา ((360-เว(XIV)ะ มัณฑลา (๓3กย่ลเล) 141
กษตรียภาพกับ 216- 217; มะละแหม่ง 94 , 100

ดัชนี 333
มือง ( คำที่ใซัตามความหมายเติม) 69 , 140, 218; ไรท์, ไมเคิล ( เพ0เา3©1 พท่ฮใาใ) ( 15), 37, 41
เมือง “ร่วม” 149
มืองขึ๋น ( ดามมโนภาพยุคก่อนสมัยใหม่ในสยาม ) ละครประวิติศาสตร์ 251 - 253
220 และดู ประเทศราช; อาณานิคม ล้านช้าง 165, 170, 188 และดู ลาว ; เวียงจันทน์;
มืองชายแดน 167 -168, 195 หลวงพระบาง
มืองสิง 103, 177 และดู เชียงแขง ล้านนา 102 -103, 140, 163, 164 -165, 171 ,
มคคาร์ธ,ี เจมสิ เอฟ. (ปลกา©8 0. [พ;ดลโใเาX ) 177, 178, 188, 196, 249
193, 194 , 196 , 197, 200- 206 ลาว 179, 199, 264 - 265, 268 และดู ล้านช้าง;
ม่น์าโขง: เวียงจันทน์; หลวงพระบาง
กับการได้คึนตินแดนที่เสียไป 241 - 245;
กับชายแดนในความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศส- 263
^
ลีช , เอ็ดมุนด์ ( ๘โทนก๘ 163๙1) 7 , 24, 254 - 255 ,

สยาม 162 -167, 171 , 172 , 178-182, 228; ลีเบอร์แมน, วิคเดอร์ ( VI๐ใ๐!' น6๖6โ๓ลก) 139-140
การทำแผนที่บริเวณ 191 -192, 197- 205, โลก 57-59, 68- 69 และดู วิทยาศาสตร์แบบ
2 1 0; ดะวันดก
ในความรับรูของชาวดะวันดก 189 -190; โลกทัศน์ของคนไทย: การศึกษาเกี่ยวกับ 11 -12
ในประวิดศาสตร์นิพนธ์ไทย 237 , 242; โลว์ , กัปตัน เจมสิ ( ดลเวใล)ก ปลโท©ร เ-อพ) 97 ,
ในแผนที่ชายฝ็งทะเล 40; 1 52, 1 89 และดู สเติร์นสไดน์, แลร์รี
แบ่งแยกไทย - ลาว 264 - 265 ไล 165-166, 172
ม่นํ้าเ'จ้าพระยา 1 82, 1 88, 1 90 , 228
'

ม่นํ้าปากจั่น 93- 94, 95, 101 , 109


ม่นํ้าสาละ'วิน 97, 1 02 , 1 65, 1 77
'
และดู ภูมะนิเทศ
^
วันไดกี่ (ป. พ. Vลก 0x 6) 287 เชิงอรรถที่ 51

^ ^
มสส์, มาร์แชล ( เ3โ06เ เ ลนรร) 147 วิจิดรวาทการ, หลวง 250- 252, 254
วิทยาศาสตร์แบบดะวันดกในสยาม 53 - 60
อนสัน, ดับเบิลยู. จี. (พ. 6. ป0ใไกร0ก) , วิภาคภูวดล, พระ ดู แมคคาร์ธ,ี เจมสิ เอฟ.
ภูมิศาสดร์เสยาม, เขียนโดย 68, 71 , 82 - 84, เวลส์เลย , จังหวัด 150-151 ;
288 เชิงอรรถที่ 54 กับสัญญาที่ทำกับเคดะห์ 146 -147 ;
าลอง, พระเจ้า 144 กับเส้นเขตแดน 97 - 99.
และดู เคดะห์; เส้นเขตแดน ระหว่างเวลส์เลย-
ศ.112 , วิกฤติการณ์ 228- 231 ; เคดะห์
กลวิธีทางวรรณศิลป๋ที่ใชิในประวิดศาสตร์นิพนธ์ เวสสันดรชาดก 35, 36 , 37
เกี่ยวกับ 253- 256; เวียงจันทน์ 163, 165, 166 , 197
ประวิดศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับ 231 - 234 , 236 , เวียดนาม:
236 - 240. กับกัมพูชา 144-145, 148, 154 -155;
และดู ฝรั่งเศส- สยาม, ความขัดแย้งระหว่าง กับประเทศราช 163, 165- 167 , 173, 179;
อง ศยามานนท์ 232 กับฝรั่งเศส 173- 174 , 179;
ชกาลที่ 9 , พระเจ้าอยู่หัว 227, 267 การทำแผนที่ของ 202;
ฐชาติไทย 17 -19 และดู ความเป็นชาติ ความเป็นอื่นของความเป็นไทย 8-9, 266, 268;
ฐมลายู 145,147 , 149 -153, 156 -157 ในแผนที่ประวิดศาสตร์ไทย 249;
นาร์ด, รอน้ลด์ ( ค0กลเ๘ ค©กลฟ) 165 โวลเดอร์ส (พอ!ใ©โร, 0. พ. ) 141
^
ย์โนลด์ , แฟรงค์ อี. ( คโล๙ . 06X001๘5 ) 32 ^
ไวแอดด้, เดวิด ( 0ล7เ๘ . พX3ใใ) 233, 243

34 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประวิดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ
ศรีลังกา 37 - 38, 285 เชิงอรรถที่ 2 หลักหมายบอกเขตแดน 99 , 106 -107
ศัตรู: วาทกรรมเกี่ยวกับ 266 - 268 เส้นเขตแดน ระหว่างล้านนา-พม่า 97 , 102 -103,
177
ลงกรานด์ 61 เส้นเขตแตน ระหว่างเวลส์เลย์ - เคตะห์ 97 -99
สเติร์นสไตน์ , แลร์รี ( เ-3โโ7 816๓ธ๒เก ) 189 , เส้นเขตแดน ระหว่างสยาม - กัมพูชา 156 , 203-
245- 246, 299 เชิงอรรถที่ 20, 306 เชิงอรรถ 204
ที่ 40 , 307 เชิงอรรถที่ 41 , 46 เส้นเขตแตน ระหว่างสยาม -พม่า:
สถาบันกบัตริย้ไทย 6, 17 - 18, 241 , 270 การปักปัน 102 -103, 177 , 192 -194 , 202 ,
สถาปัตยกรรมแบบฮินดู-พุทธ 31 205 - 206 , 208- 209 ;
สมุดภาพไดรภูมิฉบับกรุงธนบุรี 35- 36 , 40, 284 การร้องขอและปฏิกิริยาตอบสนองต่อการ
เชิงอรรถที่ 18 กำหนด 90- 96;
ดัญชาติ 264 - 265 ความเข้าใจผิตเกี่ยวกับ 94 - 96,
สิบสองจุไท 165, 166, 173-174; 99 -101 .
การทำแผนที่ของ 199 , 203; -
และดู เส้นเขตแตน ระหว่างล้านนา พม่า
ในแผนที่ประว้ตศาสตร์ไทย 243 เสียดินแดนของสยาม , การ 242 - 243;
สิบสองปันนา 164, 194 , 243 -
แผนที่ของ 241 246
สื่อสารด้วยแผนที่ , ทฤษฎี ก าร (11า60 กํ © ร-ออ
{ 3โ10 และดู ภาพประกอบที่ 1 3
9 โ3[วเาเอ (วอกากาบกเ031เอก) 73- 74
สุโขทัย 227 , 231 , 246, 248, 249, 250, 258, 259 หนงสึอแสดงกิจจานุกิจ , เขียนโดย เจ้าพระยา
สุรศักดี้มนตรี, จอมพล เจ้าพระยา 172 -173, 174, ทิพากรวงศ์ 58 - 60, 67, 83, 85
198 , 201 หลวงพระบาง 164 -167 , 170 , 173, 179 , 189 ;
สุริยุปราคา พ.ศ . 2411 63-66 , 287 เชิงอรรถ การทำแผนที่เมือง 192, 197, 200-203, 205;
ที่ 42 การปล้นสะตม 172 , 180
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ 280 เชิงอรรถที่ 25, 26 หลวงพระบาง , กบัดริย์ 180
เส้นเขตแตน (6อบก๘3โ7) ะ หว้ากอ กับการลังเกดสุริยุปราคา พ.ศ . 2411
การแทนที่ของมโนภาพที่แตกด่างกันต่อ 110 - (ค.ศ. 1868 ) 60, 63- 66, 79 -80, 84 -85
111; หัวทันห้าทั้งหก 166 -167 , 173;
ของชาติ 78 - 79; การทำแผนที่ 199, 203, 205;
ของอำนาจ 107 -108; ในแผนที่ประว้ดศาสตร์ไทย 243
คำจำกัดความแบบสมัยใหม่ 104; โหร 62 - 66
คำในภาษาไทยเกี่ยวกับ 104 - 105; โหราธิบดี, พระ 66
-
มโนภาพที่แดกด่างกันต่อ 99-101 , 102 103, โหราศาสตร์ไทย 60 - 66
1 1 1 - 1 1 2;

สภาวะที่ไม่มี 24- 25; อธิราช 139-143, 147 และดูคุ้มครอง; ประเทศราช


อุบ้ติซ้นด้วยกำลังทหาร 180 -182. อนุวงศ์, เจ้า 165, 166 -167
และดู ชายแดน; พรมแดน อยุธยา:
-
เส้นเขตแดนยุคก่อนสมัยใหม่ 91 - 92 , 94 , 99 100 , ในประว่ดศาสตร์ไทย 227, 251 , 257 , 258;
102 -103, 104-110 ; ในแผนที่โบราณ 36 , 40;
ขาตเป็นช่วงๆ 106 - 107 ; ในแผนที่ประว้ดศาสตร์ 246 , 247, 249
และพรมแดน 107 108; - อลาบาสเตอร์, เฮนรี ( แอกโV /\เ3๖3ร16โ) 192 ,

ดัชนี 335
193, 194 ในมุมมองของกองทัพ 13, 15;
อังวะ ดู พม่า ประว้ดศาสตร์กับ 17, 227;
อาณาจักร 34 -35, 110; พุทธศาสนากับ 14 -15;
เป็นพี๋นที่ศักตี๋สทธิ้ 32- 35 กัยคุกคามต่อ 14 , 15, 16
อาณานิคม 149 , 294 เชิงอรรถที่ 25 ^
เอ็มเมอร์ลัน, โตนัลต์ ( ออกลฬ กากา©โรอก ) 20
อำนาจอธิปไตย, อำนาจอธิป้ตย์:
การเปลี่ยนผ่านแทนที่ของมโนภาพเกี่ยวกับ ^^ ^
เออรึรงดัน, เชลลีย์ (3เา6แ โโเก9*อก) 216
แอนเดอร์ลัน, เบเนดิกท์ ( ธ©ก©คํเอ! กกํ©โรอก )
155- 156 , 175-176 ; 214 - 217 ;
คำในภาษาไทยเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยช้อน /กาลฐ/ก©๙ 0๐/71กาบก!1163 20 - 22
162 -163;
คำเรียกอำนาจอธิปไตยในภาษาไทย 34 - 35; ฮ่อ 166, 170, 172 -174 , 175, 180, 181 , 197 -
อำนาจอธิปไตยช้อน 144 - 149, 154 , 162 -169 198
อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน ดู อำนาจอธิปไตย ฮอลล์, ดี. จี. อี. ( อ. 0. ธ. แ&แ ) 90- 91 , 92
อิสรภาพ 219 - 221 ไฮน์- เกลเด็น, โรเบิร์ต ( คอบ©!โ ค©!ก© - (36เ0เ6โก) 31

อีสาน 265
อกราช 219 - 221
อกลักษณ์ไทย : /กาลฐ/ก©๙ ด0กากาบก/?/©5, เขียนโตย เบเนดิกท์
กับข้อจำกัด 269 - 271 ; แอนเดอร์ลัน 20 - 22
กับไทยศึกษา 9 -12 ;
การเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่กับ 4 - 5 ; .
7๖6 6/0 เขียนโดย มาร์แชล โมสส์ 147 และดู
ทัศนะแบบพุทธราดิกัลต่อ 14 -15; คุ้มครอง; บรรณาการ; ประเทศราช
นิยาม 4 - 9, 13;
นิยามที่แตกด่างกัน 4 -7, 13-15;

336 กำเนิดสยามจากแผนที:่ ประว้ดศาสตร์ภูมิกายาของชาติ


81
ฯ/งพ:!)
^^
/ ! &(๐!'V ๐*'0า00^0-8๐0
๐* 8ธู 31100
*
'

^ ^ ^
โ๖ดก เ1ผํ เก ๗๗น ]

: *&V
'
) ๆ ^
)

/
ปก 510 /7114(11)1)6(1 ฉบับพิมพ์ครั้งแรก
^
ในปี 1994 โดย ฆ11 6181เ)เ 0? ผ[&พ31*1
?โ688

51
• • ) )

11)
^
โ )

0118๗๗ Vาแ •๗๗๗


'
ยว-
* โ' * ' 0* *!I 0.1.010 * 01 **0*108.
4
นั:
0 ป๋
-
'.
1* -- 1 '

4
*
0
-
^^
ปก 510/ท 0 6(1 ฉบับพิมพ์ซาสำหรับ
เผยแพร่ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้โดย รเแเผอโณ 8๐01(8

8 า9
'เ
V
*4* 1
7
-^ เ' ®

'ว

**1 V *ะ
2
ปก 510 /ท 1\40??(!(1 ฉบับภาษาญี่ปุ่น
แปลโดย ศาสตราจารย์โยเนโอะ อซิอิ

* 5*0
พิมพ์โดยสำนักพิมพ์
ปี 2004
^ { 81101611
38 11
คณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา
^เ^/
5

จ# ศาสตราจารย์ ตร. สมบด จ้นทรวงศ์ ประธาน


รองศาสตราจารย์ ดร. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ กรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร. พวงทอง ภว้ครพันธ์ กรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร. พัชรี สิโรรส กรรมการและเหรัญญิก
ศาสตราจารย์ ดร. ชัยว้ฒน์ สถาอานนท์ กรรมการและเลขานุการ

คชี!ช( คณะทำงานฝ่ายจัดการ/บรรณาธิการ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ


ศาลตราจารย์ ดร. ชัยรัฒน์ สถาอานนท์
ดร. สายพิณ ศุพุทธมงคล
สุณีย์ วงศ์!วศยวรรณ
()!
สำนักพิมพ์อ่าน
ที่ปรึกษาสำน้กพิมพ์
ชูศักดี้ ภัทรกุลวณิชย์
ชาดรี ประกิดนนทการ
มุกหอม วงษ์เทศ
อาดาดล อิงคะวณิช
บรรณาธิการบริหาร
ไอดา อรุณวงศ์
กองบรรณาธิการ
เนาวนิจ สริผาดิวิรัตน์
วริศา กิตติคุณเสรี
สายทิพย์ ขุนอินทร์
&ฬ*•วิ

.******
1

เ^
# ”’.- ?V
',"'

-
-,--
I เ^^^ ธ
V
I ’

^. ^ , ^^

. 71
ร ::

ส*^*^
^
ย้

.•ห่ ';

.
7
^ บั. วิ*

\ ***
1|
^-
.บับั
.--
2 ’ ^- . ‘^
V*
-* '’
โ วิ' โ
แ'
.
น X* โ *. :***:ะ*;ห'

*
ดั“
'

XV
.^

.
.

X
ะ*®*
:
^
'
'
^เแ
.. ^^ ^ '&ป &ี .V,ร5์ ๐ ^ เฉีทั!่ ! *.'- * ^'
^ ^*^ ‘^
วิ011

/*
5
*
วิ

.


0


\

)
สุ?*ธด*

0
0
^
* .•( #-^

/
V

จ้ะ .. ,-
^ ไ-'” ๗ *
( ร--9
•^ ^^
ร่ ษํเ ฬ

'จ*
.
*** *
.
^''*.**^* 11** *,
* *

เ-ะ

เทั่®&
&' ** }* /
4 *
/
VI V ,7 ;.' ค เ *4
*
'
'
1
^
**. ๔
^*
**’**-* เ ^'**V
** โ ''
ใ .-
I*
I
3
**** *

๘ ' I
- ^0 -
,
ฟ้*

3 วิ& / .' 'วิ


**ฟ้๛*** อ่*•"วิ* ** เ ๆ" -'

^ ^^: ^ :
จ้
ต*
*ฒเ*ษ่*!ชิ^;'*'*'*^
;

ะฒ ๆะ •ส
• *ซี?

^
5/&เาา ไบัเ 6( ศึกษาความเปลี่ยนแปลงความรู้ความคิดทางภูมิศาสตร์
*
1
ที่ให้กำเนิดสยามประเทศ หวังว่าอย่างน้อยๆ ผู้อ่านจะไดอิ่มเอมกับประวัติศาสตร์
ของภูมิศาสตร์ นอกเหนือจากนั้นถือเป็นของกำนัลซึ่งขอฝากไว่ให้ตามแต่ผู้อ่านจะ
ค้นพบหรือสร้างความหมายมากน้อยขึ้นมา
ความปรารถนามูลฐานของผู้เขียนมีอยู่เพียงว่าอยากเล่าเรื่องดีๆ (101:611 อฐ๐๐(ว่
ร1๐เ7) ส้กเรื่องหนึ่ง นี่เป็นความอยากของนักประวัติศาสตร์โดยทั่วไป ความปรารถนา
ข้อนี้ฟังดูง่ายดีแด่ทำได้ยากชะมัด และไม่ใช่ว่านักประวัติศาสตร์ทุกคนจะประสบความ
สำเร็จ เพราะ “การเล่าเรื่องดีๆ” มีความหมายหลากหลายตามแต่คนอ่านคาดหวัง และ
ตามแด่ความปรารถนา จินตนาการในการเข้าใจอดีตและประสบการณ์ชีวิตของคนเขียน
ธงชัย วินิจจะกูล
“คำนำฉบับภาษาไทย”

ปกหน้า ดัดแปลงจากแผนที ฝ็ม/'/ สกล่ ล/•เ/76/' เก613 โดย 1๐เาก ๐601-86 ธ3เ1เา0 เ 0กา6ผ
ค.ศ. 1909
^
ปกหลัง ภาพจาก สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-กรุงรนบุรี เล่ม 2

^
เ 58 978 - 616 - 7158 - 26 - 6

4
9 786167 58266
สำนักพิมพ์อ่าน ค!สป ออกแบบปก ะ มกหอม วงย์เทศ 400 บาท

You might also like