You are on page 1of 63

**********************

**********************************
**********************************

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ

คู่มือการเขียนอักษรธรรมล้านนา

ᨹᩪᩢᨲᩯ᩠ᨦ᩵ : ᩋᩢᩣ᩠ᨿᨤᩣᩴᨠᩬᩢᩁ

เผยแพร่ไว้ในกลุ่ม อักษรธรรม Tai Tham Unicode


30 กรกฎาคม 2566

**********************
2

คำนำ

หนังสือคู่มือการเขียนอักษรธรรมล้านนานี้ เป็นการอธิบายลำดับวิธีการลากเส้น จุด


สำคัญของอักษรแต่ละตัว รวมถึงอัตราส่วนของอักษรแต่ละตัว ตามที่กระผมได้ศึกษามาจาก
หลายๆที่ ทั้งจากเอกสารโบราณและจากครูบาอาจารย์ต่างๆ เพื่อจะได้ให้ท่านนำไปเป็น
แนวทางในการฝึกคัดลายมือ หรือฝึกการเขียนอักษรธรรมล้านนาให้มีความถูกต้องสวยงาม
อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้เป็นเพียงการแนะนำคร่าวๆ เท่านั้น และลายมืออาจจะไม่ได้
สวยงามที่สุด ท่านสามารถนำไปประยุกต์เพื่อสร้างให้เป็นลายมือเฉพาะของแต่ละคนได้
ในหนังสือเล่มนี้อาจจะใช้คำที่ไม่ใช่ศัพท์ทางวิชาการมากนัก และถ้าหากว่าขาดตก
บกพร่องจากการพิมพ์ตกหรือพิมพ์ผิด หรืออธิบายในเนื้อหาผิดวิธีตามแบบโบราณ กระผมก็
ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้ายครับ
หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางในการเขียนอักษรธรรมล้านนา
แก่ผู้สนใจไม่มากก็น้อย

รังสิวุฒิ ไชยศิลป์
30 กรกฎาคม 2566

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


3

สารบัญ
คู่มือการเขียนอักษรธรรมล้านนา............................................................................................................1
คำนำ....................................................................................................................................................... 2
สารบัญ................................................................................................................................................... 3
อัตราส่วนที่แนะนำ................................................................................................................................ 8
พยัญชนะ................................................................................................................................................ 9
ᨠ....................................................................................................................................................... 9
ᨡ....................................................................................................................................................... 10
ᨢ....................................................................................................................................................... 11
ᨣ...................................................................................................................................................... 12
ᨤ...................................................................................................................................................... 13
ᨥ................................................................................................................................................... 14
ᨦ...................................................................................................................................................... 15
ᨧ...................................................................................................................................................... 16
ᨨ...................................................................................................................................................... 17
ᨩ...................................................................................................................................................... 18
ᨪ...................................................................................................................................................... 19
ᨫ..................................................................................................................................................... 20
ᨬ.................................................................................................................................................... 21
ᨭ...................................................................................................................................................... 22
ᨭᩛ (แบบหัวเข้า).............................................................................................................................. 23
ᨭᩛ (แบบหัวออก)............................................................................................................................ 24
ᨮ (แบบหลังคา)............................................................................................................................. 25
ᨯ...................................................................................................................................................... 26
ᨰ..................................................................................................................................................... 27
ᨱ.................................................................................................................................................... 28
ᨲ..................................................................................................................................................... 29
ᨳ...................................................................................................................................................... 30
ᨴ...................................................................................................................................................... 31
ᨵ...................................................................................................................................................... 32
ᨶ...................................................................................................................................................... 33

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


4

ᨷ...................................................................................................................................................... 34
ᨸ...................................................................................................................................................... 35
ᨹ...................................................................................................................................................... 36
ᨺ...................................................................................................................................................... 37
ᨻ..................................................................................................................................................... 38
ᨼ..................................................................................................................................................... 39
ᨽ...................................................................................................................................................... 40
ᨾ...................................................................................................................................................... 41
ᨿ..................................................................................................................................................... 42
ᩀ...................................................................................................................................................... 43
ᩁ...................................................................................................................................................... 44
ᩂ....................................................................................................................................................... 45
ᩃ..................................................................................................................................................... 46
ᩅ....................................................................................................................................................... 47
ᩆ...................................................................................................................................................... 48
ᩇ..................................................................................................................................................... 49
ᩈ..................................................................................................................................................... 50
ᩉ..................................................................................................................................................... 51
ᩊ...................................................................................................................................................... 52
ᩋ (แบบหัวออก)............................................................................................................................ 53
ᩋ (แบบหัวเข้า).............................................................................................................................. 54
ᩌ..................................................................................................................................................... 55
พยัญชนะที่เปลี่ยนรูป......................................................................................................................... 56
ᨬ᩠ᨬ.................................................................................................................................................... 57
ᨶᩣ...................................................................................................................................................... 58
ᩓ..................................................................................................................................................... 59
ᩔ................................................................................................................................................... 60
ᩕ ระโฮง............................................................................................................................................ 61
ᩘ กังไหล............................................................................................................................................. 62
พยัญชนะตัวเชิง หรือหาง หรือตัวสะกด..........................................................................................63
ᨮ เมื่อตามตัว ᨭ ในระบบภาษาบาลี.........................................................................................64

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


5

ᨻ เมื่อตามตัว ᨻ ในระบบภาษาบาลี........................................................................................64
ᨧ เมื่อตามตัว ᨧ ในระบบภาษาบาลี..........................................................................................65
ᨩ เมื่อตามตัว ᨩ ในระบบภาษาบาลี.........................................................................................65
ᨳ เมื่อตามตัว ᨲ ในระบบภาษาบาลี........................................................................................66
ᨵ เมื่อตามตัว ᨴ ในระบบภาษาบาลี..........................................................................................66
ตัวเชิงที่มีลักษณะหางเสียบ.........................................................................................................67
ตัวเชิง ᨥ.................................................................................................................................. 67
ตัวเชิง ᨫ.................................................................................................................................... 67
ตัวเชิง ᨬ................................................................................................................................... 68
ตัวเชิง ᨰ.................................................................................................................................... 68
ตัวเชิง ᨹ.................................................................................................................................... 69
ตัวเชิง ᩃ (ละเสียบ).................................................................................................................69
ตัวเชิง ᩃ (ละห้อย)...................................................................................................................70
ตัวเชิง ᩇ.................................................................................................................................... 71
ตัวเชิง ᩈ.................................................................................................................................... 71
ตัวเชิงที่มีลักษณะเปลี่ยนรูปไปจากเดิม.....................................................................................72
ตัวเชิงหรือหาง ᨶ...................................................................................................................... 72
ตัวเชิงหรือหาง ᨷ......................................................................................................................73
ตัวเชิงหรือหาง ᨾ......................................................................................................................74
ตัวเชิงหรือหาง ᨿ.................................................................................................................... 75
ตัวเชิงหรือหาง ᩋ......................................................................................................................76
ไม้ก๋อย ᩬ ᩭ...................................................................................................................................... 77
ไม้ก๋วย ᩠ᩅ᩠ᨿ..................................................................................................................................... 78
หาง ᨶ ผสมหาง ᩋ....................................................................................................................79
หาง ᨾ ผสมหาง ᩋ....................................................................................................................79
สระ........................................................................................................................................................ 80
สระลอย........................................................................................................................................... 81
ᩍ................................................................................................................................................ 81
ᩎ............................................................................................................................................... 82
ᩏ.................................................................................................................................................. 83
ᩐ.................................................................................................................................................. 84
ᩑ.................................................................................................................................................. 85

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


6

สระจม (เฉพาะที่เป็นสระเดี่ยว)....................................................................................................86
สระ ᩡ........................................................................................................................................... 86
สระ ᩣ , ᩤ..................................................................................................................................... 87
สระ - .ᩥ ......................................................................................................................................... 88
สระ - .ᩦ ......................................................................................................................................... 89
สระ - .ᩧ ......................................................................................................................................... 90
สระ - .ᩨ ......................................................................................................................................... 91
สระ - .ᩩ ......................................................................................................................................... 92
สระ - ᩪ.......................................................................................................................................... 93
สระ ᩮ-........................................................................................................................................ 94
สระ ᩯ-..................................................................................................................................... 95
สระ ᩰ-.......................................................................................................................................... 96
สระ ᩱ-......................................................................................................................................... 97
สัญลักษณ์และเครื่องหมาย...............................................................................................................98
ปฏิย๊อกหรือไม้ก๋ง - .ᩫ ......................................................................................................................99
นิคหิต - .ᩴ .......................................................................................................................................... 99
ไม้เก๋าห่อหนึ้ง - .ᩳ .......................................................................................................................... 100
ระห้าม - .᩼ ...................................................................................................................................... 100
ไม้ซ้ำ - .᩻ ......................................................................................................................................... 101
ไม้เหยาะ - .᩵ .................................................................................................................................. 101
ไม้ซัด - .ᩢ ........................................................................................................................................ 102
ไม้ขอช้าง - .᩶ ................................................................................................................................. 102
ตัวเลข................................................................................................................................................ 103
เลข ศูนย์ ᪀ (ใช้ได้ทั้งเลขโหราและเลขในธรรม)...................................................................104
เลขโหรา....................................................................................................................................... 105
หนึ่ง ᪁........................................................................................................................................105
สอง ᪂........................................................................................................................................ 106
สาม ᪃....................................................................................................................................... 107
สี่ ᪄........................................................................................................................................... 107
ห้า ᪅......................................................................................................................................... 108
หก ᪆......................................................................................................................................... 109

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


7

เจ็ด ᪇........................................................................................................................................110
แปด ᪈..................................................................................................................................... 111
เก้า ᪉........................................................................................................................................ 112
เลขในธรรม.................................................................................................................................. 113
หนึ่ง ᪑...................................................................................................................................... 113
สอง ᪒........................................................................................................................................ 114
สาม ᪓...................................................................................................................................... 115
สี่ ᪔............................................................................................................................................ 116
ห้า ᪕......................................................................................................................................... 117
หก ᪖........................................................................................................................................ 118
เจ็ด ᪗....................................................................................................................................... 119
แปด ᪘..................................................................................................................................... 120
เก้า ᪙.......................................................................................................................................121
ภาคผนวก......................................................................................................................................... 122
ลักษณะหัวแบบต่างๆ................................................................................................................. 123
ลักษณะการเก็บหางแบบต่างๆ.................................................................................................125
หลักการแบบขนานและการวางตำแหน่ง................................................................................127

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


8

อัตราส่วนที่แนะนำ
อัตราส่วนในที่นี้คือ ความยาว:ความสูง ของตัวอักษร ซึ่งเป็นการกำหนดคร่าวๆ เพื่อใช้
เขียนส่วนหลักของตัวอักษรเท่านั้นไม่ได้รวมส่วนหางหรือส่วนเกินที่ยื่นออกไป โดยจะกำหนดที่
ความสูงครึ่งบรรทัดบนของสมุดเป็นหลัก เพราะในอักษรธรรมล้านนาส่วนใหญ่จะนิยมเขียน
ห้อยใต้เส้นบรรทัด

1. อัตรส่วน 1:1 หรือสี่เหลี่ยมจตุรัส

2. อัตราส่วน 4:3 หรือบางตัวอักษรจะมีอัตราส่วน 3.5:3 ตามเส้นประสีแดงได้

3. อัตราส่วน 5:3 หรือบางตัวอักษรจะมีอัตราส่วน 4.5:3 ตามเส้นประสีแดงได้


* อัตราส่วน 5:3 ในบางตัวอักษรจะมี 2 ห้องที่เท่าๆ กัน (เส้นประสีเขียว)

4. อัตราส่วน 7.5:3 หรือ 2.5:3 สามห้องต่อกัน

รูปแสดงการกำหนดอัตราส่วนที่แนะนำสำหรับการเขียนอักษรธรรมล้านนา

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


9

พยัญชนะ

ᨠ 3 5

6
2 1

4 7

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (อาจจะให้หัวเป็นวงกลม) แล้วไปด้านซ้ายเล็กน้อยถึง
จุดที่ 2 โค้งขึ้นไปด้านบนจุดที่ 3 แล้วลากลงมาถึงจุดที่ 4 ลากไปถึงจุดที่ 5 จากนั้นก็โค้งไปจุดที่ 6
จากนั้นหักลงมาถึงจุดที่ 7 แล้วเก็บหางตวัดขนานไปกับเส้นเดิมถึงประมาณจุดที่ 6

ข้อสังเกต :
1. จะมีลักษณะ 2 ห้องโดยแบ่งครึ่งเท่าๆ กัน สังเกตจากจุดที่ 2 , 4 และ 6
2. จุดที่ 4 จะต้องลากลงมาด้านล่างให้มากที่สุด หรือจะต้องลากจากด้านบนลงมาไม่น้อย
กว่า 80% ถ้าได้ 100% หรือเสมอด้านล่างจะดีที่สุด
3. จุดที่ 3 , 4 และ 5 จะคล้ายรูปตัว V
4. จุดที่ 1 (หัว) กับจุดที่ 7 จะไม่มาชิดจุดที่ 4 มากเกินไป

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


10


2 4

1 3

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 1:1
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (เป็นวงกลมไม่ต้องใหญ่มากนักจะมีรูหรือไม่ก็ได้) แล้ว
ลากไปด้านบนเล็กน้อยถึงจุดที่ 2 จากนั้นหยักลงมายังจุดที่ 3 แล้วกลับขึ้นไปถึงจุดที่ 4 ลากต่อ
ลงด้านล่างไปถึงจุดที่ 5 จากนั้นก็วกโค้งกลับขึ้นด้านบนไปจุดที่ 6

ข้อสังเกต :
1. ลักษณะการหยักหัวจะไม่หยักลึกมากนัก และในจุดที่ 3 จะไม่หยักแหลมแต่จะเป็นหยัก
แบบคลื่นมากกว่า
2. การทำวงรี(เส้นประสีเขียว)จะต้องใหญ่พอประมาณ โดยส่วนหน้าของวงรี(จุดที่ 5) จะ
ต้องไม่น้อยกว่าแนวจุดที่ 1 (จะต้องไม่น้อยกว่าเส้นประสีแดงอาจจะเกินได้นิดหน่อยตาม
ความเหมาะสม) *อักษรตัวนี้หัวใจสำคัญอยู่ที่วงรีเพราะฉะนั้นควรทำวงรีให้สวยงามและ
ชัดเจน
3. ส่วนปลายจุดที่ 6 จะสั้นกว่านี้ก็ได้ หรือสามารถตวัดมาด้านหน้าและเพิ่มความยาวได้
ตามเส้นประสีเหลือง ในกรณีที่ไม่มีตัวอื่นอยู่ด้านล่างก็ใช้ปลายยาวถ้ามีตัวอื่นๆ อยู่ด้าน
ล่างเพื่อไม่ให้ซ้อนทับกันก็ใช้ปลายสั้น หรือให้พิจารณาตามความเหมาะสม

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


11


8

2 4
7

1 3

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 1:1
วิธีการลากเส้น :
ลากเส้นเหมือนกับตัว ᨡ ตามเส้นประสีขาวก่อน และจะมีเพิ่มเส้นด้านบนคล้ายหลังคา
โดยหลังคาเริ่มจากจุดที่ 7 ไปหาจุดที่ 8
ความสูงของหลังคาพอประมาณไม่สูงหรือต่ำเกินไป ความสูงที่แนะนำคือประมาณครึ่ง
บรรทัด (ตามเส้นประสีเขียว) หรือตามความเหมาะสมของแต่ละคน
ส่วนความยาวไปด้านหลังควรจะหุ้มตัวอักษรหรือยาวกว่าเล็กน้อยพอประมาณหรือขึ้น
อยู่กับบริบทของประโยคโดยไม่ควรทับกับตัวอื่นๆ
ส่วนของหลังคาด้านบน จุดที่ 7 อาจจะตรงขึ้นไปก่อนแล้วค่อยโค้งก็ได้ตามเส้นประสีแดง

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


12


3

1
2

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 4:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (อาจจะให้หัวเป็นวงกลม) แล้วไปด้านซ้ายเล็กน้อยถึง
จุดที่ 2 โค้งขึ้นไปด้านบนจุดที่ 3 แล้วลากลงมาถึงจุดที่ 4 จากนั้นลากลงมาจุดที่ 5 แล้วเก็บหาง
ตวัดขนานไปกับเส้นแม่ถึงประมาณจุดที่ 4 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 3 จะอยู่กึ่งกลางหรื่อค่อนไปทางด้านหลังเล็กน้อย
2. อัตราส่วนไม่ควรน้อยกว่า 3.5:3 เพราะจะแคบเกินไป และไม่ควรเกิน 4:3 เพราะจะทำให้
กว้างเกินไป อย่างไรก็ตามให้พิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละคน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


13

7
4

6 4

1
2

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 1:1
วิธีการลากเส้น :
ลากเส้นเหมือนกับตัว ᨣ ตามเส้นประสีขาวก่อน และจะมีเพิ่มเส้นด้านบนคล้ายหลังคา
โดยหลังคาเริ่มจากจุดที่ 6 ไปหาจุดที่ 7
ความสูงของหลังคาพอประมาณไม่สูงหรือต่ำเกินไป ความสูงที่แนะนำคือประมาณครึ่ง
บรรทัด (ตามเส้นประสีเขียว) หรือตามความเหมาะสมของแต่ละคน
ส่วนความยาวไปด้านหลังควรจะหุ้มตัวอักษรหรือยาวกว่าเล็กน้อยพอประมาณหรือขึ้น
อยู่กับบริบทของประโยคโดยไม่ควรทับกับตัวอื่นๆ
ส่วนของหลังคาด้านบน จุดที่ 6 อาจจะตรงขึ้นไปก่อนแล้วค่อยโค้งก็ได้ตามเส้นประสีแดง

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


14


2 4
9 13

3
1 10 14

5
7 11
6 8 12

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 7.5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (เป็นวงกลมไม่ต้องใหญ่มากนักจะมีรูหรือไม่ก็ได้) แล้ว
ลากไปด้านบนเล็กน้อยถึงจุดที่ 2 จากนั้นหยักลงมายังจุดที่ 3 แล้วกลับขึ้นไปถึงจุดที่ 4 ลากโค้ง
ลงด้านหน้าไปถึงจุดที่ 5 โค้งกลับลงด้านล่างจุดที่ 6 ลางเฉียงขึ้นเล็กน้อยไปถึงจุดที่ 7 ลงล่างอีก
เล็กน้อยถึงจุดที่ 8 จากนั้นโค้งขึ้นไปจุดที่ 9 แล้วตวัดเก็บหางถึงจุดที่ 10 หยุดพักก่อน 1 ครั้ง หรือ
บางคนอาจจะไม่หยุดพัก โดยลากต่อไปเชื่อมกับจุดที่ 11 เลยก็ได้ (ตามเส้นประสีแดง)
จากนั้นก็เริ่มจากจุดที่ 11 ลางเฉียงลงถึงจุดที่ 12 จากนั้นโค้งขึ้นบน ถึงจุดที่ 13 ก่อนที่จะ
ตวัดเก็บหางขนานไปกับเส้นแม่จนถึงจุดที่ 14

ข้อสังเกต :
1. จะเห็นว่ามีทั้งหมด 3 ห้องที่เท่าๆ กัน (อัตราส่วนห้องละประมาณ 2.5:3) คือ ห้องที่เป็นหัว
จุดที่ 5 ถึงจุดที่ 7 ห้องกลางจากจุดที่ 7 ถึงจุดที่ 10 และห้องหลัง คือ จุดที่ 11 ถึงจุดที่ 14
2. จากจุดที่ 5 ควรที่จะลากมาให้ถึงเส้นประสีม่วง หรืออาจจะล้ำออกมาด้านหน้าได้อีกนิด
หน่อยตามความเหมาะสม

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


15


7

6
1
2

3
8
5
4

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น : จะทำด้วยกัน 2 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากจุดที่ 1 ตามเส้นประสีขาว โค้งไปจุดที่ 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ จากนั่น
หักขึ้นไปทางขวาบนเล็กนัอยประมาณ 30 องศา แล้วมาหยุดที่จุดที่ 5 โดยปล่อยไว้ไม่ต้องทำหัว
เป็นวงกลม
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มจุดที่ 6 โดยให้ต่อกันกับจุดที่ 1 ลากเฉียงขึ้นไปยังจุดที่ 7 จากนั้นหักลง
มายังจุดที่ 8 แล้วลากมาทางด้านซ้ายไปยังจุดที่ 9 ตามเส้นประสีเหลือง

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 5 จะเป็นการหยุดโดยไม่สร้างหัว หรืออาจจะตวัดมาด้านหน้าเล็กน้อยได้
2. กรณีมีตัวที่อยู่ด้านล่างและต้องการหางหรือปลายสั้นๆ พอถึงจุดที่ 8 อาจจะหักไปด้าน
ซ้ายต่อไปอีกนิดเดียวโดยไม่ถึงจุดที่ 9 ก็ได้
3. บางครั้งอาจจะเขียนทางด้านซ้ายได้อีก 2 แบบคือ แล้วแต่ว่าใครจะชอบแบบไหน
1. จากจุดที่ 1 มาจุดที่ 3 (ตามเส้นประสีแดง) แล้วไปต่อให้จบ
2. จากจุดที่ 1 ตรงลงมาจุดที่ 4 เลย อาจจะหักมุมเล็กน้อยก่อนถึงจุดที่ 4 เพื่อไม่ให้แหลม
เกินไป (ตามเส้นประสีเขียว)แล้วไปต่อให้จบ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


16


7

6
1
2
5
3

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น : จะทำด้วยกัน 2 ขั้นตอน* คือ
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากจุดที่ 1 ตามเส้นประสีขาว โค้งไปจุดที่ 2 และจุดที่ 3 ตามลำดับ จาก
นั่นหักลงไปจุดต่ำสุดที่จุดที่ 4 แล้วโค้งขึ้นไปอีกนิดมาหยุดที่จุดที่ 5
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มจุดที่ 6 โดยให้ต่อกันกับจุดที่ 1 ลากเฉียงขึ้นไปยังจุดที่ 7 จากนั้นหักลง
เพื่อมาบรรจบกันยังจุดที่ 5 ตามเส้นประสีเหลือง
* บางคนอาจจะทำขั้นตอนเดียว คือ พอมาถึงจุดที่ 5 แล้วก็ต่อไปยังจุดที่ 7 แล้วไปสิ้นสุด
จุดที่ 6 เลยก็ได้

ข้อสังเกต :
1. ส่วนที่เป็นปาก คือ จุดที่ 1 , 2 และ 3 สามารถทำให้ใหญ่กว่านี้อีกเล็กน้อยก็ได้
2. จุดที่ 3 และจุดที่ 5 จะมีความสูงจากฐานใกล้เคียงกัน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


17

6
1
5
3

2
4

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 4:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มจากจุดที่ 1 ทำหัวเป็นวงกลม จากนั้นลากเฉียงลงมาถึงจุดที่ 2 ตวัดขึ้นให้เป็นบ่วง (ไม่
ต้องทำบ่วงให้ใหญ่มากนัก) แล้วมาตัดกันในบริเวณจุดที่ 3 แล้วขีดเฉียงลงมายังจุดที่ 4 โค้งขึ้น
ไปยังจุดที่ 5 แล้วก็ขีดโค้งไปทางซ้ายข้ามหัวของจุดที่ 1 ไปสิ้นสุดในจุดที่ 6

ข้อสังเกต :
1. อักษรตัวนี้ในความคิดผมเป็นลูกผสมระหว่าตัว ᨧ และ ᩈ และในความเป็นจริงก็มีการ
อ่านเป็น จ หรือ ส ได้ เช่นคำว่า ฉบับ ซึ่งจะอ่านเป็น จะบับ หรือ สะบับ ก็ได้
2. อักษรตัวนี้พบน้อยมากในใบลานหรือพับสา (ซึ่งส่วนตัวผมยังไม่พบ) แต่ที่พบเห็นในใบ
ลานและพับสาส่วนมากจะใช้อักษร ᩈ แทน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


18


6
1 7
2

3 8

5
4

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 4:3
วิธีการลากเส้น : จะทำด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากจุดที่ 1 ตามเส้นประสีขาว โค้งไปจุดที่ 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ จากนั้น
หักขึ้นไปทางขวาบนเล็กนัอยประมาณ 30 องศา แล้วมาหยุดที่จุดที่ 5 โดยปล่อยไว้ไม่ต้องทำหัว
เป็นวงกลม
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มจุดที่ 6 โดยให้ต่อกันกับจุดที่ 1 ลากโค้งเป็นหลังคาแล้วมาจบในจุดที่ 7
ขั้นตอนที่ 3 เริ่มจุดที่ 8 (ช่องว่างระหว่างจุดที่ 5 และจุดที่ 7) ทำเป็นหัวตวัดขึ้นตามเข็ม
นาฬิกาแล้วโค้งลงไปจนถึงจุดที่ 9 หรืออาจจะทำหางยาวกรณีไม่มีตัวข้างล่าง โดยการขีดต่อไป
ตามเส้นประสีม่วง จะขีดยาวแค่ไหนก็แล้วแต่ความเหมาะสม

ข้อสังเกต :
1. ขั้นตอนที่ 1 จะคล้ายกับการเขียนตัว ᨦ ในช่วงแรก
2. จุดที่ 7 สามารถขีดเชื่อมไปยังจุดที่ 8 ได้ ตามเส้นประสีเขียว (ใช้ในกรณีที่เขียนเร็วๆ และ
ไม่อยากยกมือ เส้นนี้อาจจะไม่ลงน้ำหนักมากเป็นเส้นที่บางเบา)
3. จุดที่ 8 ในบางครั้งอาจจะเห็นบ่วงใหญ่มีรู หรือบางครั้งก็ไม่ทำเป็นบ่วงโดยสามารถขีด
เป็นเส้นลงมาได้เลย
4. ควรเว้นช่องว่างระหว่างจุดที่ 5 และจุดที่ 7 ให้ห่างกันพอสมควรเพื่อที่จะให้ใส่หางเข้าไป
ในช่องว่างได้พอดี

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


19

11

6
10
1 7
2

3 8

5
4

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 4:3
วิธีการลากเส้น :
ลากเส้นเหมือนกับตัว ᨩ ตามเส้นประสีขาวก่อน และจะมีเพิ่มเส้นด้านบนคล้ายหลังคา
โดยหลังคาเริ่มจากจุดที่ 10 ไปหาจุดที่ 11
ความสูงของหลังคาพอประมาณไม่สูงหรือต่ำเกินไป ความสูงที่แนะนำคือประมาณครึ่ง
บรรทัด (ตามเส้นประสีเขียว) หรือตามความเหมาะสมของแต่ละคน
ส่วนความยาวไปด้านหลังควรจะหุ้มตัวอักษรหรือยาวกว่าเล็กน้อยพอประมาณหรือขึ้น
อยู่กับบริบทของประโยคโดยไม่ควรทับกับตัวอื่นๆ
ส่วนของหลังคาด้านบน จุดที่ 10 อาจจะตรงขึ้นไปก่อนแล้วค่อยโค้งก็ได้ตามเส้นประสี
แดง

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


20


7

11
6

1
2
5
3
8
12

4
10

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 7:3 (3.5:3 + 3.5:3)


วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากจุดที่ 1 ตามเส้นประสีขาว โค้งไปจุดที่ 2 และจุดที่ 3 ตามลำดับ จาก
นั่นหักลงไปจุดต่ำสุดที่จุดที่ 4 แล้วโค้งขึ้นไปอีกนิดมาหยุดที่จุดที่ 5
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มจุดที่ 6 โดยให้ต่อกันกับจุดที่ 1 ลากเฉียงขึ้นไปยังจุดที่ 7 จากนั้นหักลง
เพื่อมาบรรจบกันยังจุดที่ 5 ตามเส้นประสีเหลือง
(ขั้นตอนที่ 1 กับขั้นตอนที่ 2 ก็คือวิธีเดียวกันกับอักษร ᨧ)
ขั้นตอนที่ 3 เริ่มจากจุดที่ 8 (หรือบางครั้งไม่อยากยกมือก็ขีดต่อเนื่องมาจากจุดที่ 5 ก็ได้
ตามเส้นประสีน้ำเงิน) ขีดตรงลงมาด้านล่างโค้งนิดหน่อยถึงจุดที่ 9 แล้วโค้งเฉียงขึ้นไปถึงจุดที่
10 จากนั้นขีดตรงขึ้นไปก่อนถึงเส้นด้านบนให้งอมาทางด้านซ้ายเล็กน้อยในจุดที่ 11 แล้วตวัด
กลับเพื่อเก็บหางให้ขนานกับเส้นเดิมลงมาพอประมาณถึงจุดที่ 12

ข้อสังเกต :
1. ส่วนต่อขยายตั้งแต่จุดที่ 8 - จุดที่ 12 จะมีความกว้างพอๆ กันกับส่วนด้านหน้า (ดูที่เส้น
ประสีเขียว)
2. จุดที่ 8 ควรให้ติดกันกับบริเวณจุดที่ 5 ไม่ควรมีให้ห่างกันหรือทำให้เส้นขาดจากกัน
3. ระหว่างจุดที่ 8 ถึงจุดที่ 9 ไม่ควรเอาลงมามากเกินไป แนะนำว่าเอาลงมาอีกประมาณไม่
เกิน 20% จากฐาน หรือให้ดูตามความเหมาะสม

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


21


2 4
13

3
1
12
5 10

7
6
11

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (เป็นวงกลมไม่ต้องใหญ่มากนักจะมีรูหรือ
ไม่ก็ได้) แล้วลากไปด้านบนเล็กน้อยถึงจุดที่ 2 จากนั้นหยักลงมายังจุดที่ 3 แล้วกลับขึ้นไปถึงจุด
ที่ 4 ลากต่อลงด้านล่างโค้งขึ้นเล็กน้อยไปถึงจุดที่ 5 แล้วตวัดเก็บหางขนานไปถึงจุดที่ 6
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มจากจุดที่ 7 (หรือมาถึงจุดที่ 5 แล้วไม่เก็บหางก็เขียนต่อไปได้เลย) ซึ่งต่อ
กับจุดที่ 5 ขีดลงมาด้านล่างพร้อมโค้งเล็กน้อยถึงจุดที่ 8 แล้วโค้งขึ้นเล็กน้อยไปถึงจุดที่ 9
ขั้นตอนที่ 3 เริ่มจากจุดที่ 10 ขีดลงมาหาฐานบริเวณจุดที่ 11 จากนั้นโค้งขึ้นไปถึงจุดที่ 12
แล้วโค้งไปทางด้านซ้ายเล็กน้อยถึงจุดที่ 13 แล้วตวัดเก็บหางให้ขนานเส้นเดิมมาหาจุดที่ 12
เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. ส่วนหลักของตัวอักษร (เส้นประสีขาวและสีแดง) จะมี 2 ห้องที่เท่าๆ กัน
2. ส่วนที่ห้อยลงมา (เส้นประสีเหลือง) มีข้อสังเกต คือ
1. ความสูงที่แนะนำประมาณเท่าๆ กับส่วนหลัก
2. ความกว้างเมื่อมีตัวอยู่ด้านล่างอาจจะขีดมาถึงจุดที่ 8 ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
3. ความกว้างเมื่อไม่มีตัออยู่ด้านล่างก็เขียนให้ครอบคลุมทั้ง 2 ห้อง
3. วิธีการเขียนบางคนอาจจะเขียนส่วนหลักให้เสร็จก่อนแล้วมาเขียนส่วนห้อยทีหลังก็ได้
4. จุดที่ 9 ไม่ต้องหักขึ้นมากจนไปติดกับส่วนหลัก ควรให้มีช่องว่างพอประมาณสวยงาม

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


22


9
1

2
3
8
4
6
5 7

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 ไม่ต้องใหญ่มากนักจากนั้นลากเฉียงลงมายังจุดที่ 2 แล้ว
หยักเข้าไปหาจุดที่ 3 ลากออกมายังจุดที่ 4 แล้วลากเฉียงลงมาจุดที่ 5 จากนั้นก็ขีดยกขึ้นเล็ก
น้อยไปหาจุดที่ 6 แล้วเฉียงลงมายังจุดที่ 7 ขีดโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 8 แล้วขีดขึ้นไปอีกโค้งเข้ามา
ทางซ้ายเล็กน้อยมายังจุดที่ 9 แล้วตวัดเก็บหางให้ขนานเส้นเดิมมายังจุดที่ 8 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 2 และจุดที่ 4 อาจจะมีระนาบด้านซ้ายเสมอกัน
2. จุดที่ 5 และจุดที่ 7 อาจจะมีระนาบด้านล่างเสมอกัน
3. จุดที่ 6 กระดกขึ้นพอประมาณไม่ต่ำไม่สูงจนเกินไป
4. จุดที่ 1 และจุดที่ 9 มีระยะห่างกันพอสมควร ไม่ติดกันเกินไป
5. การแบ่งช่องตั้งแต่จุดที่ 2 - จุดที่ 7 ให้มีความสมส่วนกัน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


23

ᨭᩛ (แบบหัวเข้า)
1 9

2
3 8

6
5 7

13
12
10

11

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
พยัญชนะตัวนี้จะมีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ แบบหัวเข้า แบบหัวออก และแบบหลังคา ซึ่งจะ
อธิบายอีก 2 แบบในหน้าถัดไป
วิธีการลากเส้น :
จุดที่ 1 - จุดที่ 9 มีวิธีลากเส้นเหมือนกับตัว ᨭ และมีเพิ่มคือ จากจุดที่ 9 แทนที่จะเก็บหางก็
ให้ลากตวัดขนานเส้นหลักแล้วขีดตรงลงมาถึงจุดที่ 10 จากนั้นขีดโค้งเป็นวงรีตามเข็มนาฬิกา
ไปหาจุดที่ 11 , 12 และ 13 ตามลำดับ

ข้อสังเกต :
1. ลักษณะหัวในจุดที่ 1 จะเป็นแบบหัวเข้า
2. ในจุดที่ 12 อย่างน้อยให้ถึงเส้นประสีแดง และสามารถล้ำออกมาด้านหน้าได้นิดหน่อย
แต่อย่างให้เล็กกว่าเส้นประสีแดง
3. ในส่วนของหางห้อยลงมาอาจจะทำวงรีให้ไปตามเส้นประสีเหลืองได้
4. ส่วนหลักและส่วนที่ห้อยลงมามีความสูงใกล้เคียงกัน ตามเส้นประสีเขียว

ข้อควรระวังในการใช้รูปแบบนี้คือ ควรทำเส้นทั้งหมดเชื่อมติดกัน ถ้าส่วนหลักกับเชิงไม่


ติดกันอาจจะมองได้เป็น ฏฺฐ ได้ และในบางครั้งเอกสารโบราณ ฏฺฐ ก็มีรูปแบบเชื่อมติดกันแบบ
นี้ก็มี

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


24

ᨭᩛ (แบบหัวออก)
2 8

7
3 5

4 6

11 12
9

10

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
แบบหัวออก มีลักษณะคล้ายกับแบบหัวเข้า ต่างกันที่ลักษณะของหัวเท่านั้น
วิธีการลากเส้น :
เริ่มด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 ไม่ต้องใหญ่มากนักลากขึ้นไปยังจุดที่ 2 จากนั้นลากเฉียง
ลงมายังจุดที่ 3 แล้วลากเฉียงลงมาจุดที่ 4 จากนั้นก็ขีดยกขึ้นเล็กน้อยไปหาจุดที่ 5 แล้วเฉียงลง
มายังจุดที่ 6 ขีดโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 7 แล้วขีดขึ้นไปอีกโค้งเข้ามาทางซ้ายเล็กน้อยมายังจุดที่ 8
แล้วตวัดเก็บหาง แต่ไม่ต้องเก็บหางให้ลากต่อเนื่องลงมาถึงจุดที่ 9 จากนั้นขีดโค้งเป็นวงรีตาม
เข็มนาฬิกา ไปหาจุดที่ 10 , 11 และ 12 ตามลำดับ

ข้อสังเกต :
1. ลักษณะหัวในจุดที่ 1 จะเป็นแบบหัวออก
2. ในจุดที่ 11 อย่างน้อยให้ถึงเส้นประสีแดง และสามารถล้ำออกมาด้านหน้าได้นิดหน่อย
แต่อย่างให้เล็กกว่าเส้นประสีแดง
3. ส่วนหลักและส่วนที่ห้อยลงมามีความสูงใกล้เคียงกัน ตามเส้นประสีเขียว

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


25

ᨮ (แบบหลังคา)

12

1 7
13
2

3
5
4 6

10 11
8

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3 - 4:3


แบบหลังคา ในส่วนหลักจะมีลักษณะคล้ายตัว ᨳ แล้วต่อเชิงลงมาด้านล่าง หรือแบบ
หัวออกที่มีการต่อหลังคาขึ้นไป
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากจุดที่ 1 ตามเส้นประสีขาว โค้งไปจุดที่ 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ จากนั้น
ก็ขีดยกขึ้นเล็กน้อยไปหาจุดที่ 5 แล้วเฉียงลงมายังจุดที่ 6 ขีดโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 7 แล้วตวัดคล้าย
เก็บหางแต่ให้ลากยาวต่อเนื่องตรงลงมาถึงจุดที่ 8 จากนั้นขีดโค้งเป็นวงรีตามเข็มนาฬิกา ไปหา
จุดที่ 9 , 10 และ 11 ตามลำดับ
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มจุดที่ 12 ตามเส้นประสีเหลือง ต่อจากจุดที่ 1 โค้งไปยังจุดที่ 13 เพื่อเป็น
หลังคาคลุม

ข้อสังเกต :
1. ในจุดที่ 10 อย่างน้อยให้ถึงเส้นประสีแดง และสามารถล้ำออกมาด้านหน้าได้นิดหน่อย
แต่อย่างให้เล็กกว่าเส้นประสีแดง
2. ส่วนหลักและส่วนที่ห้อยลงมามีความสูงใกล้เคียงกัน ตามเส้นประสีเขียว

ท่านสามารถเลือกใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งได้ตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรใช้หลาย
รูปแบบในงานเขียนชิ้นเดียวกันเพราะจะทำให้ผู้อ่านสับสนได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


26


2 4

1 3
5

6
7

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 1:1
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (เป็นวงกลมไม่ต้องใหญ่มากนักจะมีรูหรือไม่ก็ได้) แล้ว
ลากไปด้านบนเล็กน้อยถึงจุดที่ 2 จากนั้นหยักลงมายังจุดที่ 3 แล้วกลับขึ้นไปถึงจุดที่ 4 ลากต่อ
ลงด้านล่างไปถึงจุดที่ 5 จากนั้นลากไปทางซ้ายพร้อมเฉียงลงเล็กน้อยถึงจุดที่ 6 จากนั้นเลี้ยว
กลับไปทางขวาขนานกับเส้นบนหรือโค้งขึ้นบนนิดหน่อยผ่านจุดที่ 7 แล้วลากต่อไปเฉียงลงด้าน
ล่างขวา สิ้นสุดที่จุดที่ 8
ข้อสังเกต :
1. ลักษณะการหยักหัวจะไม่หยักลึกมากนัก และในจุดที่ 3 จะไม่หยักแหลมแต่จะเป็นหยัก
แบบคลื่นมากกว่า
2. ช่องว่างระหว่างเส้นจากจุดที่ 5 - จุดที่ 7 จะห่างกันพอประมาณไม่มากเกินไปและไม่น้อย
เกินไป
3. จุดที่ 6 จะต้องไม่น้อยกว่าแนวจุดที่ 1 (จะต้องไม่น้อยกว่าเส้นประสีแดงอาจจะเกินได้นิด
หน่อยตามความเหมาะสม)
4. ส่วนปลายจุดที่ 8 จะสั้นกว่านี้ก็ได้ หรือสามารถเพิ่มความยาวได้ ตามเส้นประสีเหลือง ใน
กรณีที่ไม่มีตัวอื่นอยู่ด้านล่าง หรือให้พิจารณาตามความเหมาะสม
ตัวนี้ถ้าอยู่กับอักษรตัวอื่นๆ ในประโยคอาจจะมีอัตรส่วนที่กว้างกว่านี้ก็ได้เช่น 3.5:3 ตาม
ความเหมาะสม เพื่อให้ได้ขนาดใกล้เคียงกับอักษรตัวอื่นๆ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


27


2 4
9

1 3
10

5
7
6 8

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (เป็นวงกลมไม่ต้องใหญ่มากนักจะมีรูหรือไม่ก็ได้) แล้ว
ลากไปด้านบนเล็กน้อยถึงจุดที่ 2 จากนั้นหยักลงมายังจุดที่ 3 แล้วกลับขึ้นไปถึงจุดที่ 4 ลากโค้ง
ลงด้านหน้าไปถึงจุดที่ 5 โค้งกลับลงด้านล่างจุดที่ 6 ลางเฉียงขึ้นเล็กน้อยไปถึงจุดที่ 7 ลงล่างอีก
เล็กน้อยถึงจุดที่ 8 จากนั้นโค้งขึ้นไปจุดที่ 9 แล้วตวัดเก็บหางถึงจุดที่ 10
* อักษรตัวนี้คล้ายกับ ᨥ แต่ ᨥ จะมีห้องด้านหลังอีก 1 ห้อง

ข้อสังเกต :
1. จะเห็นว่ามีทั้งหมด 2 ห้องที่เท่าๆ กัน (อัตราส่วนห้องละประมาณ 2.5:3) คือ ห้องที่เป็นหัว
จุดที่ 5 ถึงจุดที่ 7 ห้องหลังจากจุดที่ 7 ถึงจุดที่ 10
2. จากจุดที่ 5 ควรที่จะลากมาให้ถึงเส้นประสีม่วง หรืออาจจะล้ำออกมาด้านหน้าได้อีกนิด
หน่อยตามความเหมาะสม

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


28


3 7

4 6
2 8

1 5 9

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 แล้วไปด้านซ้ายเล็กน้อยขึ้นไปถึงจุดที่ 2 โค้งขึ้นไปด้าน
บนจุดที่ 3 แล้วลากลงมาถึงจุดที่ 4 ลากลงไปหักทำให้ป่องๆ นิดหนึ่งไปถึงจุดที่ 5 จากนั้นลากขึ้น
ไปให้ป่องๆ แล้วเบียดเข้ามาถึงจุดที่ 6 แล้วลากเฉียงขึ้นไปถึงจุดที่ 7 ลากเฉียงลงถึงจุดที่ 8 แล้ว
หักเข้าในเล็กน้อยมาถึงจุดที่ 9 แล้วตวัดเก็บหางขนานขึ้นไปยังจุดที่ 8 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. จะมีลักษณะ 2 ห้องโดยแบ่งครึ่งเท่าๆ กัน
2. จุดที่ 4 , 5 และ 6 จะมีลักษณะคล้ายแจกันคอคอด ซึ่ง จุดที่ 4 และจุดที่ 6 จะไม่ติดกัน โดย
จะให้ช่องว่างห่างกันพอประมาณตามความเหมาะสม
3. จุดที่ 5 ลงมาเกือบจะถึงฐานหรือถึงฐานก็ได้ หรือให้ลงมาจากด้านบนมากกว่า 80%
4. จุดที่ 1 (หัว) กับจุดที่ 9 จะไม่มาชิดจุดที่ 5 มากเกินไป จะมีระยะห่างพอสมควร

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


29


1 3

2
4

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 คือเขียนรูปวงกลม (อัตราส่วนครึ่งหนึ่งหรือ 2.5:3) จะเขียนเวียนซ้ายหรือ
เวียนขวาอย่างไรก็ได้ขอให้เป็นวงกลม
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มต่อจากวงกลมในจุดที่ 2 (วัดจากด้านบนลงมาประมาณ 25%) แล้วลาก
เฉียงขึ้นไปยังจุดที่ 3 แล้วเฉียงลงไปหาจุดที่ 4 หักเฉียงลงมายังจุดที่ 5 จากนั้นตวัดเก็บหาง
ขนานกับเส้นเดิมไปยังจุดที่ 4 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. จะมีลักษณะ 2 ห้องโดยแบ่งครึ่งเท่าๆ กัน
2. วงกลมด้านซ้ายและจุดที่ 5 จะมีความห่างกันพอประมาณไม่ชิดกันเกินไป

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


30


9

8
1 7
2
5 10
3

4 6

11

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 4:3
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากจุดที่ 1 ตามเส้นประสีขาว โค้งไปจุดที่ 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ จากนั้น
ก็ขีดยกขึ้นเล็กน้อยไปหาจุดที่ 5 แล้วเฉียงลงมายังจุดที่ 6 ขีดโค้งขึ้นแล้วขมวดเป็นหัวในจุดที่ 7
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มจุดที่ 8 ตามเส้นประสีเหลือง เฉียงขึ้นไปยังจุดที่ 9 แล้วโค้งลงมาถึงจุดที่
10 ขีดเลยมาโค้งปล่อยลงมาด้านล่างเล็กน้อยสิ้นสุดในจุดที่ 11

ข้อสังเกต :
1. การขมวดหัวในจุดที่ 7 ไม่ต้องใหญ่มากนัก และมีวิธีขมวดแบบเก็บหางอีกวิธีหนึ่ง ตาม
ตัวอย่างตั้งแต่จุดที่ 6 ไปหาจุดที่ 7 ด้านล่างนี้
7

2. เส้นจากจุดที่ 6 - จุดที่ 7 มีความขนานกับเส้นจากจุดที่ 9 - จุดที่ 11


3. ส่วนปลายอาจจะไม่ถึงจุดที่ 11 ก็ได้ โดยในบางครั้งอาจจะเห็นสิ้นสุดในจุดที่ 10 ก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


31


9

8 2

1
10
3 4
7

6
5

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 1:1
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 คือ ทำหัวในจุดที่ 1 (จะทำหัวเล็กกว่านี้ก็ได้) เมื่อทำหัวเสร็จแล้วก็ลากมายัง
จุดที่ 2 แล้วก็หยักเข้าไปถึงจุดที่ 3 ลากออกมายังจุดที่ 4 จากนั้นโค้งลงมาด้านล่างซ้ายถึงจุดที่ 5
แล้วกระดกนิดหน่อยไปหยุดในจุดที่ 6
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มจากจุดที่ 7 (บางคนอาจจะไม่ยกมือโดยขีดต่อเนื่องจากจุดที่ 6 ไปเลย)
ขีดขึ้นด้านบนไปยังจุดที่ 8 แล้วโค้งขึ้นไปทางด้านขวา ผ่านจุดสูงสุดในจุดที่ 9 แล้วหักลงมาอีก
ครึ่งหนึ่งสิ้นสุดในจุดที่ 10

ข้อสังเกต :
1. เส้นระหว่างจุดที่ 1 และจุดที่ 2 มักจะขนานกับเส้นระหว่างจุดที่ 8 และจุดที่ 9
2. ในบางครั้งอาจจะพบรูปที่มาถึงจุดที่ 6 (เส้นประสีขาว) เท่านั้น หรือสิ้นสุดตรงจุดที่ 8 ก็มี

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


32


1

2 6

4
3 5

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นในจุดที่ 1 บริเวณกึ่งกลางด้านบนของตัวอักษร ขีดมาทางด้านซ้ายโค้งเล็กน้อย
มาถึงจุดที่ 2 แล้วขีดโค้งเข้ามาถึงจุดต่ำสุดในจุดที่ 3 จากนั้นทำหยักโดยขีดขึ้นไปยังจุดที่ 4
(ประมาณ 25% จากพื้น) แล้วหักกลับมายังจุดที่ 5 ขีดโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 6 แล้ววกขึ้นไปหาจุดที่ 1
เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. ลักษณะสัญฐานจะคล้ายแก่นถั่ว (เมล็ดในของถั่ว) แบบคว่ำลง หรืออาจจะมองเป็นรูป
หัวใจแบบหงาย
2. จุดที่ 1 และจุดที่ 4 มักจะอยู่กึ่งกลาง
3. จุดที่ 3 , 4 และ 5 จะไม่แหลมแต่จะเป็นลักษณะโค้งแบบคลื่น

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


33


4

3
1
5

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เส้นประสีขาว เริ่มจากจุดที่ 1 ประมาณ 75% จากฐาน ขีดตรงลงมาถึงฐานใน
ตำแหน่งที่ 2
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มจากจุดที่ 3 เชื่อมต่อจากจุดที่ 1 เฉียงขึ้นไปทางขวาไปถึงจุดสูงสุดในจุดที่
4 จากนั้นเฉียงลงแล้วขมวดหัวในจุดที่ 5
ขั้นตอนที่ 3 ทำหาง โดยเริ่มขมวดหัวในจุดที่ 6 โดยให้เชื่อมต่อกับจุดที่ 2 จากนั้นลากไป
ทางขวากระดกขึ้นเล็กน้อยก่อนที่จะเฉียงปล่อยลงไปสิ้นสุดในจุดที่ 7

ข้อสังเกต :
1. จากจุดที่ 1 มาจุดที่ 2 อาจจะไม่ยกมือโดยขีดซ้ำขึ้นไปยังจุดที่ 3 ได้เลย
2. หัวจุดที่ 5 อาจจะขมวดแบบเก็บหางก็ได้
3. จุดที่ 6 จะขมวดให้เป็นวงหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าเป็นวงไม่ควรทำให้ใหญ่เกินไป
4. ส่วนหางจะยาว (ตามเส้นประสีเขียว) หรือสั้นก็ได้แล้วแต่สถานการณ์และความเหมาะสม
และหางอย่างน้อยควรจะถึงเส้นสีม่วงก่อนตวัดกลับหรือล้ำออกไปก็ได้
5. บางครั้งอาจจะเขียนจากจุดที่ 1 ถึงจุดที่ 2 แล้วต่อเนื่องขมวดในจุดที่ 6 ไปจุดที่ 7 แล้ว
ค่อยมาทำหลังคา (เส้นประสีเหลือง) ทีหลังก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


34


1 5

2 4

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นสร้างหัวในจุดที่ 1 แล้วลากเฉียงลงมายังจุดที่ 2 หักโค้งลงมายังจุดต่ำสุดในจุดที่
3 แล้วโค้งขึ้นไปจุดที่ 4 จากนั้นเฉียงขึ้นไปทางซ้ายเล็กน้อยถึงจุดสูงสุดในจุดที่ 5 แล้วตวัดเก็บ
หางขนานลงมายังจุดที่ 4 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. หัวจะไม่ใหญ่มากนัก และตำแหน่งหัว (จุดที่ 1) จะอยู่ด้านในกว่าจุดที่ 2
2. จุดที่ 2 และจุดที่ 4 จะอยู่เสมอกันประมาณ 50% จากฐาน
3. จุดที่ 1 และจุดที่ 5 ให้มีระยะห่างกันพอสมควร ไม่ควรจะทำให้ติดกันมากเกินไป

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


35


6

1 5

2
4

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นสร้างหัวในจุดที่ 1 แล้วลากเฉียงลงมายังจุดที่ 2 หักโค้งลงมายังจุดต่ำสุดในจุดที่
3 แล้วโค้งขึ้นไปจุดที่ 4 จากนั้นลากตรงไปยังจุดที่ 5 แล้วโค้งทำหางขึ้นไปด้านบนพร้อมกับไป
ด้านหลังจนถึงจุดที่ 6

จุดที่ 1 - จุดที่ 4 จะมีวิธีเขียนเหมือนกับตัว ᨷ

ข้อสังเกต :
1. หัวจะไม่ใหญ่มากนัก และตำแหน่งหัว (จุดที่ 1) จะอยู่ด้านในกว่าจุดที่ 2
2. จุดที่ 2 และจุดที่ 4 จะอยู่เสมอกันประมาณ 50% จากฐาน
3. จุดที่ 4 ถึงจุดที่ 5 อาจจะโค้งเล็กน้อยหรือตรงก็ได้
4. ความกว้างส่วนปลายและความสูงส่วนปลายแนะนำให้มีความกว้างหรือความสูงเท่ากับ
ส่วนหลัก (ดูเส้นเหลืองและเส้นประสีเขียวประกอบ)
5. ส่วนปลายจะสั้นหรือยาวก็ได้ให้ดูบริบทของตัวอักษรด้านขวาด้วย

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


36


10

9
1

2
8
3
4

6
5 7

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 ไม่ต้องใหญ่มากนักจากนั้นลากเฉียงลงมายังจุดที่ 2 แล้ว
หยักเข้าไปหาจุดที่ 3 ลากออกมายังจุดที่ 4 แล้วลากเฉียงลงมาจุดที่ 5 จากนั้นก็ขีดยกขึ้นเล็ก
น้อยไปหาจุดที่ 6 แล้วเฉียงลงมายังจุดที่ 7 ขีดโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 8 แล้วลากต่อไปทำเป็นวงในจุด
ที่ 9 แล้วมาตัดกับจุดที่ 8 เหมือนเดิมแล้วโค้งงอขึ้นไปสุดในจุดที่ 10
ขั้นตอนตั้งแต่จุดที่ 1 - จุดที่ 8 มีวิธีเขียนเหมือนกับตัว ᨭ เพียงแต่ตัว ᨭ จะเก็บหางส่วน
ตัวนี้จะทำเป็นวงแทน

ข้อสังเกต :
1. สิ่งที่สำคัญที่สุดของตัวนี้คือการทำวง (ในเส้นประสีเขียว) ควรทำวงให้มีรูเห็นได้ชัดเจน
2. จุดที่ 1 หัว กับจุดที่ 9 ให้ห่างกันพอสมควร ไม่ควรจะติดกันเกินไป
3. หางในจุดที่ 10 สามารถทำให้สั้นได้ตามความเหมาะสม

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


37

11

9
10

2
3

4
8
6
5 7

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 ไม่ต้องใหญ่มากนักจากนั้นลากเฉียงลงมายังจุดที่ 2 แล้ว
หยักเข้าไปหาจุดที่ 3 ลากออกมายังจุดที่ 4 แล้วลากเฉียงลงมาจุดที่ 5 จากนั้นก็ขีดยกขึ้นเล็ก
น้อยไปหาจุดที่ 6 แล้วเฉียงลงมายังจุดที่ 7 ขีดเฉียงขึ้นไปยังจุดที่ 8 จากนั้นลากตรงขึ้นไปเลย
เส้นบนไปอีกประมาณ 30% จากนั้นทำการวนออกขวาทำรูในจุดที่ 9 แล้วโค้งมาด้านซ้ายถึงจุด
ที่ 10 จากนั้นโค้งไปทางด้านขวาสิ้นสุดในจุดที่ 11

ข้อสังเกต :
1. รูปในจุดที่ 9 จะเล็กกว่านี้ก็ได้
2. จุดที่ 10 ลากต่อไปยังจุดที่ 11 อาจจะสั้นกว่านี้ก็ได้
3. จุดที่ 10 อาจจะขยับมาด้านหน้าได้อีกนิดหน่อยกรณีมีสระด้านบนจะทำให้อยู่ข้างในได้
พอดีไม่ติดกัน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


38


3 5

4 6
1
2
7

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 4:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (อาจจะให้หัวเป็นวงกลมติดกับจุดที่ 2 ก็ได้) แล้วลาก
ไปด้านซ้ายเล็กน้อยถึงจุดที่ 2 โค้งขึ้นไปด้านบนจุดที่ 3 แล้วลากหยักลงจุดที่ 4 (ลากจากด้านบน
ลงมาประมาณ 20%) จากนั้นเฉียงขั้นไปยังจุดที่ 5 แล้วก็เฉียงขวาลงไปจุดที่ 6 จากนั้นเฉียงซ้าย
มาถึงจุดที่ 7 แล้วเก็บหางตวัดขนานไปกับเส้นแม่ถึงประมาณจุดที่ 6 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 3 , 4 , 5 จะไม่หยักลึกมากและจะหยักแบบคลื่นมากกว่าหยักแบบแหลม
2. จุดที่ 4 ลากหยักลงมาอย่าให้เกิน 30% จากด้านบน (ถ้าหยักมากจะทำให้ดูคล้ายตัว ᨠ
ได้ แต่ถ้าหยักน้อยเกินไปหรือไม่หยักเลยจะทำให้ดูคล้ายตัว ᨣ ได้)
3. จุดที่ 1 (หัว) กับจุดที่ 7 จะไม่มาชิดจุดที่ 4 มากเกินไป

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


39


9

3 5

8
4 6
1
2
7

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 4:3
วิธีการลากเส้น :
ลากเส้นเหมือนกับตัว ᨻ ตามเส้นประสีขาวก่อน และจะมีเพิ่มเส้นด้านบนคล้ายหลังคา
โดยหลังคาเริ่มจากจุดที่ 8 ไปหาจุดที่ 9
ความสูงของหลังคาพอประมาณไม่สูงหรือต่ำเกินไป ความสูงที่แนะนำคือประมาณครึ่ง
บรรทัด (ตามเส้นประสีเขียว) หรือตามความเหมาะสมของแต่ละคน
ส่วนความยาวไปด้านหลังควรจะหุ้มตัวอักษรหรือยาวกว่าเล็กน้อยพอประมาณหรือขึ้น
อยู่กับบริบทของประโยคโดยไม่ควรทับกับตัวอื่นๆ
ส่วนของหลังคาด้านบน จุดที่ 8 อาจจะตรงขึ้นไปก่อนแล้วค่อยโค้งก็ได้ตามเส้นประสีแดง

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


40


5

6
1 3

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 4.5:3
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากจุดที่ 1 (อาจจะเป็นหัววงกลมก็ได้) จากนั้นลากลงมายังจุดที่ 2 แล้ว
โค้งขึ้นไปยังจุดที่ 3 จากนั้นโค้งต่อไปยังจุดที่ 4 แล้วตวัดขนาดไปกับเส้นเดิมมายังจุดที่ 3
เหมือนเดิม (ส่วนเส้นประสีขาวมีอัตราส่วนประมาณ 2:3)
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มต่อจากจุดที่ 3 (วัดจากด้านบนลงมาประมาณ 25%) แล้วลากเฉียงขึ้นไป
ยังจุดที่ 5 แล้วเฉียงลงไปหาจุดที่ 6 หักเฉียงลงมายังจุดที่ 7 จากนั้นตวัดเก็บหางขนานกับเส้น
เดิมไปยังจุดที่ 6 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 1 กับจุดที่ 4 จะห่างกันพอประมาณ ไม่ติดกันจนเกินไป
2. จุดที่ 3 ไปหาจุดที่ 4 แล้วตวัดกลับจะมีเส้นขนานกันไป
3. ส่วนที่ 1 (เส้นประสีขาว) บางครั้งอาจจะเขียนแบบย้อนกลับ คือ เริ่มจุดที่ 4 ไป 3 , 2 และ 1
ตามลำดับและตวัดเก็บหางจากจุดที่ 1 มาหาจุดที่ 2 ก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


41


1 5

6
2 4

3
7

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 สร้างหัวในจุดที่ 1 แล้วลากเฉียงลงมายังจุดที่ 2 หักโค้งลงมายังจุดต่ำสุดใน
จุดที่ 3 แล้วโค้งขึ้นไปจุดที่ 4 จากนั้นเฉียงขึ้นไปทางซ้ายเล็กน้อยถึงจุดสูงสุดในจุดที่ 5 แล้วตวัด
เก็บหางขนานลงมายังจุดที่ 4 เหมือนเดิม (ขั้นตอนที่ 1 เส้นประสีขาววิธีเขียนเหมือนตัว ᨷ)
ขั้นตอนที่ 2 ส่วนหาง เส้นประสีเหลือง เริ่มจากขมวดหัวตรงกึ่งกลางตัวในจุดที่ 6 แล้ว
ลากเฉียงไปทางขวาลงมายังจุดที่ 7

ข้อสังเกต :
1. ส่วนหางจุดที่ 6 - จุดที่ 7 สามารถทำให้สั้นหรือยาวได้ (ตามเส้นประสีเขียว) แล้วแต่
สถานการณ์ว่าจะมีตัวอยู่ข้างใต้หรือไม่
2. จุดที่ 6 จะไม่ขมวดทำเป็นหัวก็ได้ สามารถลากเฉียงลงมาหาจุดที่ 7 ได้เลย

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


42

ᨿ
1 5 9

4
2 6 8

3 7

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 แล้วลากเฉียงลงมายังจุดที่ 2 หักโค้งลงมายังจุดต่ำสุดใน
จุดที่ 3 แล้วโค้งขึ้นไปจุดที่ 4 (บริเวณกึ่งกลางของตัวอักษร) จากนั้นเฉียงขึ้นไปทางซ้ายเล็กน้อย
ถึงจุดสูงสุดในจุดที่ 5 แล้วตวัดขนานลงมายังจุดที่ 6 จากนั้นหักเฉียงลงมายังจุดที่ 7 แล้วโค้งขึ้น
ไปจุดที่ 8 จากนั้นเฉียงขึ้นไปทางซ้ายเล็กน้อยถึงจุดสูงสุดในจุดที่ 9 แล้วตวัดเก็บหางขนานลง
มายังจุดที่ 8 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. จะมีลักษณะ 2 ห้องโดยแบ่งครึ่งเท่าๆ กัน (อัตราส่วนห้องละ 2.5:3)
2. จุดที่ 1 และจุดที่ 5 ไม่ควรชิดกันเกินไป
3. ความสูงของจุดที่ 5 ควรอยู่แนวเดียวกับจุดที่ 1 และจุดที่ 9
4. พอมาถึงจุดที่ 6 อาจจะหยุดแล้วเริ่มใหม่เป็นการเขียนแบบ 2 ขั้นตอนได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


43


9

2
3
4
8
6
5 7

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 ไม่ต้องใหญ่มากนักจากนั้นลากเฉียงลงมายังจุดที่ 2 แล้ว
หยักเข้าไปหาจุดที่ 3 ลากออกมายังจุดที่ 4 แล้วลากเฉียงลงมาจุดที่ 5 จากนั้นก็ขีดยกขึ้นเล็ก
น้อยไปหาจุดที่ 6 แล้วเฉียงลงมายังจุดที่ 7 ขีดโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 8 จากนั้นขีดตรงขึ้นไปเลยเส้น
ด้านบนไปพอประมาณแล้วโค้งทำหางขึ้นไปด้านบนพร้อมกับไปด้านหลังจนถึงจุดที่ 6

ข้อสังเกต :
1. ส่วนหลักตั้งแต่จุดที่ 1 - จุดที่ 8 จะเขียนคล้ายกับส่วนหลักของ ᨭ , ᨺ
2. ส่วนปลายตั้งแต่จุดที่ 8 - จุดที่ 9 จะเขียนเหมือนส่วนปลายของ ᨸ
3. ความกว้างส่วนปลายและความสูงส่วนปลายแนะนำให้มีความกว้างหรือความสูงเท่ากับ
ส่วนหลัก (ดูเส้นเหลืองและเส้นประสีเขียวประกอบ)
4. ส่วนปลายจะสั้นหรือยาวก็ได้ให้ดูบริบทของตัวอักษรด้านขวาด้วย

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


44


5

1
3

2 6

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 4.5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มจากจุดที่ 1 (อาจจะเป็นหัววงกลมก็ได้) จากนั้นลากลงมายังจุดที่ 2 แล้วโค้งขึ้นไปยัง
จุดที่ 3 จากนั้นโค้งซ้ายเฉียงต่อไปยังจุดที่ 4 แล้วเฉียงขึ้นบนขวาอีกเล็กน้อยไปจุดสูงสุดในจุดที่
5 จากนั้นลากเฉียงลงมา 45 องศา มาถึงฐานในจุดที่ 6

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 4 ยังไม่ใช่จุดที่สูงที่สุด
2. จุดที่ 4 ไปหาจุดที่ 5 อาจจะโค้งได้ (ดูเส้นประสีเหลือง)
3. ส่วนปลายในจุดที่ 6 อาจจะไม่ถึงหรือเลยไปอีกนิดหน่อยก็ได้ หรืออาจจะตวัดมาด้าน
ซ้ายเล็กน้อยก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


45


2 4

5
3
1

7 9 6

10

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 1:1
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (เป็นวงกลมไม่ต้องใหญ่มากนักจะมีรูหรือ
ไม่ก็ได้) แล้วลากไปด้านบนเล็กน้อยถึงจุดที่ 2 จากนั้นหยักลงมายังจุดที่ 3 แล้วกลับขึ้นไปถึงจุด
ที่ 4 หักลงมาเล็กน้อยถึงจุดที่ 5 จากนั้นก็ลากตรงลงมาผ่านเส้นครึ่งบรรทัดเล็กน้อยถึงจุดที่ 6
แล้วโค้งไปหาจุดที่ 7 แล้วโค้งขึ้นต่อไปทำให้เป็นวงรีมาจบในจุดที่ 8
ขั้นตอนที่ 2 ส่วนหาง เส้นประสีเหลือง เริ่มจากขมวดหัวตรงกึ่งกลางวงรีในจุดที่ 9 แล้ว
ลากเฉียงไปทางขวาลงมายังจุดที่ 10

ข้อสังเกต :
1. ส่วนหลักเส้นประสีขาว มีลักษณะคล้าย ᨡ แต่จะมีวงรีลงมาอยู่ด้านล่างเส้นแบ่งครึ่ง
บรรทัด และวงรีจะใหญ่กว่า เพื่อให้ใส่หางได้
2. ส่วนหางเส้นประสีเหลือง จะขนานกับเส้นจากจุดที่ 7 - จุดที่ 8

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


46


3 7

4
2 1
6

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (อาจจะให้หัวเป็นวงกลม) แล้วไปด้านซ้ายเล็กน้อยถึง
จุดที่ 2 โค้งขึ้นไปด้านบนจุดที่ 3 แล้วลากลงมาถึงจุดที่ 4 (บริเวณกึ่งกลาง) หักมาด้านหน้าเล็ก
น้อยก่อนลากลงมาถึงจุดที่ 5 จากนั้นก็โค้งขึ้นไปยังจุดที่ 6 จากนั้นหักซ้ายขึ้นไปยังจุดที่ 7 แล้ว
เก็บหางตวัดขนานไปกับเส้นเดิมถึงประมาณจุดที่ 6 เหมือนเดิม (ตามเส้นประสีขาว)

ข้อสังเกต :
1. จะมีลักษณะ 2 ห้องโดยแบ่งครึ่งเท่าๆ กัน สังเกตจากจุดที่ 2 , 4 และ 6 อัตราส่วนห้องละ
2.5:3
2. จุดที่ 1 (หัว) จะไม่มาชิดจุดที่ 5 มากเกินไป และจุดที่ 3 ก็ไม่ชิดจุดที่ 7
3. บางครั้งเมื่อถึงจุดที่ 3 ก็ขีดเฉียงลงมายังจุดที่ 5 ได้โดยไม่ต้องหยักในจุดที่ 4 (ตามเส้น
ประสีเหลือง)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


47


1

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 1:1 หรือ 3.5:3


วิธีการลากเส้น :
เริ่มตั้งแต่จุดที่ 1 เขียนเป็นวงกลม โดยจะเขียนเวียนซ้ายหรือเวียนขวาหรือเริ่มตรงไหน
อย่างไรก็ได้แล้วแต่ความถนัดของใครของมัน

ข้อสังเกต :
1. เพื่อให้สวยงามวงกลมอาจจะค่อนไปทางรีนิดหน่อยก็ได้ ในอัตราส่วน 3.5:3

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


48


7

6 4
1
2

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 4:3
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 (อาจจะให้หัวเป็นวงกลม) แล้วไปด้านซ้าย
เล็กน้อยถึงจุดที่ 2 โค้งขึ้นไปด้านบนจุดที่ 3 แล้วลากลงมาถึงจุดที่ 4 จากนั้นลากลงมาจุดที่ 5
แล้วเก็บหางตวัดขนานไปกับเส้นแม่ถึงประมาณจุดที่ 4 เหมือนเดิม (เหมือนกับการเขียนตัว ᨣ)
ขั้นตอนที่ 2 เริ่มจากจุดที่ 6 ขีดโค้งไปยังจุดที่ 7 โดยให้ส่วนที่ตัดกันเยื้องอยู่ด้านขวาเล็ก
น้อย

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 3 จะอยู่กึ่งกลางหรื่อค่อนไปทางด้านหลังเล็กน้อย
2. อัตราส่วนไม่ควรน้อยกว่า 3.5:3 เพราะจะแคบเกินไป และไม่ควรเกิน 4:3 เพราะจะทำให้
กว้างเกินไป อย่างไรก็ตามให้พิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละคน

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


49


4 8

9
1 3
7

2 6

10

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เส้นประสีขาว เริ่มจากจุดที่ 1 (อาจจะเป็นหัววงกลมก็ได้) จากนั้นลากลงมายัง
จุดที่ 2 แล้วโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 3 จากนั้นโค้งต่อไปยังจุดที่ 4 แล้วตวัดขนาดไปกับเส้นเดิมมายัง
จุดที่ 3 เหมือนเดิม (ส่วนเส้นประสีขาวมีอัตราส่วนประมาณ 2:3)
ขั้นตอนที่ 2 เส้นประสีเหลือง เริ่มจากจุดที่ 5 (วัดจากด้านล่างขึ้นมาประมาณ 25%) ลาก
เฉียงลงมายังจุดที่ 6 แล้วโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 7 หักขึ้นไปด้านซ้ายเล็กน้อยถึงจุดที่ 8 จากนั้นตวัด
เก็บหางขนานกับเส้นเดิมไปยังจุดที่ 7 เหมือนเดิม
ขั้นตอนที่ 3 ส่วนหาง เส้นประสีแดง เริ่มจากขมวดหัวตรงกึ่งกลางตัวในจุดที่ 9 แล้วลาก
เฉียงไปทางขวาลงมายังจุดที่ 10

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 1 กับจุดที่ 4 จะห่างกันพอประมาณ ไม่ติดกันจนเกินไป
2. จุดที่ 3 ไปหาจุดที่ 4 แล้วตวัดกลับจะมีเส้นขนานกันไป
3. บางครั้งจากจุดที่ 4 ตวัดแล้วลากต่อไปยังจุดที่ 5 ได้เลยโดยไม่ต้องหยุดพักก็ได้ (ตาม
เส้นประสีเขียว)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


50


4 8

1 3
7

5
2 6

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เส้นประสีขาว เริ่มจากจุดที่ 1 (อาจจะเป็นหัววงกลมก็ได้) จากนั้นลากลงมายัง
จุดที่ 2 แล้วโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 3 จากนั้นโค้งต่อไปยังจุดที่ 4 แล้วตวัดขนาดไปกับเส้นเดิมมายัง
จุดที่ 3 เหมือนเดิม (ส่วนเส้นประสีขาวมีอัตราส่วนประมาณ 2:3)
ขั้นตอนที่ 2 เส้นประสีเหลือง เริ่มจากจุดที่ 5 (วัดจากด้านล่างขึ้นมาประมาณ 25%) ลาก
เฉียงลงมายังจุดที่ 6 แล้วโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 7 หักขึ้นไปด้านซ้ายเล็กน้อยถึงจุดที่ 8 จากนั้นตวัด
เก็บหางขนานกับเส้นเดิมไปยังจุดที่ 7 เหมือนเดิม
มีขั้นตอนเหมือนกับตัว ᩇ เพียงแค่ตัดหางออก

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 1 กับจุดที่ 4 จะห่างกันพอประมาณ ไม่ติดกันจนเกินไป
2. จุดที่ 3 ไปหาจุดที่ 4 แล้วตวัดกลับจะมีเส้นขนานกันไป
3. บางครั้งจากจุดที่ 4 ตวัดแล้วลากต่อไปยังจุดที่ 5 ได้เลยโดยไม่ต้องหยุดพักก็ได้ (ตาม
เส้นประสีเขียว)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


51


1 5

6
4
2

7
3

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
เริ่มต้นสร้างหัวในจุดที่ 1 แล้วลากเฉียงลงมายังจุดที่ 2 หักโค้งลงมายังจุดต่ำสุดในจุดที่
3 แล้วโค้งขึ้นไปจุดที่ 4 (กึ่งกลางตัวอักษร) จากนั้นหยักไปด้านหน้าเล็กน้อยแล้วขีดเฉียงขึ้นไป
ถึงจุดสูงสุดในจุดที่ 5 จากนั้นเฉียงมาทางขวาล่างถึงจุดที่ 6 หักมาด้านล่างซ้ายในจุดที่ 7 แล้ว
ตวัดเก็บหางขนานขึ้นไปยังจุดที่ 6 เหมือนเดิม

ข้อสังเกต :
1. หัวจะไม่ใหญ่มากนัก และตำแหน่งหัว (จุดที่ 1) จะอยู่ด้านในกว่าจุดที่ 2
2. จะมีลักษณะ 2 ห้องโดยแบ่งครึ่งเท่าๆ กัน สังเกตจากจุดที่ 2 , 4 และ 6 อัตราส่วนห้องละ
2.5:3
3. บางครั้งเมื่อถึงจุดที่ 3 ก็ขีดเฉียงขึ้นไปยังจุดที่ 5 ได้โดยไม่ต้องหยักในจุดที่ 4 (ตามเส้น
ประสีเหลือง)

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


52


7

6
1
2
3
8
5
4

10
11

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3 - 4:3


วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 (เส้นประสีขาวและสีเหลือง) จะมีวิธีเขียนเหมือนกับตัว ᨦ แต่
จะไม่ทำส่วนปลายยาวโดยให้ถึงจุดที่ 8 ก็พอ
ขั้นตอนที่ 3 คือการใส่งวง (เส้นประสีแดง) เริ่มต่อจากจุดที่ 3 ลากตรงลงมาด้านล่าง จาก
นั้นโค้งไปทางด้านขวาแล้วเฉียงขึ้นไปยังตำแหน่งที่ 10 แล้ววงกลับไปสิ้นสุดในจุดที่ 11

ข้อสังเกต :
1. ส่วนที่เป็นงวงอาจจะยาวเลยบรรทัดได้เล็กน้อยตามความเหมาะสม
2. ส่วนที่เป็นงวงในจุดที่ 10 จะใหญ่ไม่น้อยกว่าเส้นประสีเขียว อาจจะเลยออกไปได้นิด
หน่อยเหมือนกับตัวอย่าง

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


53

ᩋ (แบบหัวออก)
7
2

1 6
5 9
3
8
4

10

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3 - 4:3


ตัว ᩋ สามารถเขียนได้ 2 แบบแตกต่างกันในส่วนด้านหน้า (เส้นประสีขาว) โดย จะแบ่ง
เป็นแบบหัวออกและแบบหัวเข้า ซึ่งจะอธิบายแบบหัวออกก่อน และจะอธิบายแบบหัวเข้าใน
หน้าถัดไป
วิธีการลากเส้น :
ส่วนที่ 1 เส้นประสีขาว เริ่มจากการสร้างหัวในจุดที่ 1 แล้วลากขึ้นไปยังจุดที่ 2 จากนั้นวก
กลับลงมาด้านล่างซ้ายในจุดที่ 3 แล้วลากโค้งลงด้านขวาให้ถึงฐานจุดที่ 4 แล้วกระดกขึ้นไปยัง
จุดที่ 5
ส่วนที่ 2 เริ่มจากทำหัวในจุดที่ 6 (หัวเล็ก) แล้วลากขึ้นไปยังจุดที่ 7 หักลงโค้งไปยังจุดที่ 8
เพื่อทำบ่วงโดยการตวัดขึ้นเป็นบ่วงไปตัดกับจุดที่ 9 จากนั้นเฉียงไปด้านหลังเล็กน้อยแล้วโค้ง
ลงมาด้านหน้าเพื่อทำหางจนถึงจุดที่ 10

ข้อสังเกต :
1. ส่วนที่ 1 กับส่วนที่ 2 ไม่ควรชิดหรือห่างกันมากเกินไป
2. จุดที่ 3 จะแหลมหรือจะมนก็ได้แล้วแต่ความชอบ
3. ส่วนที่ 2 จุดที่ 8 ทำบ่วงจะเป็นบ่วงเล็กหรือใหญ่แล้วแต่ความเหมาะสม และอาจจะลงมา
ถึงเส้นฐาน (เส้นประสีเขียว) ก็ได้ (ในตัวอย่างจะอยู่เหนือเส้นฐานขึ้นไปประมาณ 20%)
4. ส่วนปลายจุดที่ 10 อาจจะสั้นกว่านี้ก็ได้ แต่ควรจะยาวกว่าเส้นฐานลงมา

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


54

ᩋ (แบบหัวเข้า)
1 7

2 6
3
9
4
5 8

10

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3 - 4:3


วิธีการลากเส้น :
ส่วนที่ 1 เริ่มด้วยการสร้างหัวในจุดที่ 1 ไม่ต้องใหญ่มากนักจากนั้นลากเฉียงลงมายังจุด
ที่ 2 แล้วหยักเข้าไปหาจุดที่ 3 ลากออกมายังจุดที่ 4 แล้วลากลงมาถึงเส้นฐานและกระดกขึ้นไป
เล็กน้อยถึงจุดที่ 5 (อาจจะตวัดเก็บหางหรือไม่ก็ได้)
ส่วนที่ 2 เส้นประสีเหลืองมีวิธีการเขียนเหมือนกับส่วนที่ 2 ของตัว ᩋ แบบหัวออก

ข้อสังเกต :
1. ส่วนที่ 1 มีวิธีการเขียนคล้ายกับด้านซ้ายของบางตัว เช่น ᨭ ᨹ ᩀ
2. ส่วนที่ 1 กับส่วนที่ 2 ไม่ควรชิดหรือห่างกันมากเกินไป
3. ส่วนที่ 2 จุดที่ 8 ทำบ่วงจะเป็นบ่วงเล็กหรือใหญ่แล้วแต่ความเหมาะสม และอาจจะลงมา
ถึงเส้นฐาน (เส้นประสีเขียว) ก็ได้ (ในตัวอย่างจะอยู่เหนือเส้นฐานขึ้นไปประมาณ 20%)
4. ส่วนปลายจุดที่ 10 อาจจะสั้นกว่านี้ก็ได้ แต่ควรจะยาวกว่าเส้นฐานลงมา

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


55


1 5

4 6
2

3 8

11 12
9

10

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
ส่วนที่ 1 ตั้งแต่จุดที่ 1 - จุดที่ 7 (เส้นประสีขาว) มีวิธีการเขียนเหมือนกับตัวอักษร ᩉ
ส่วนที่ 2 เริ่มต้นจุดที่ 8 ขีดตรงลงมาถึงจุดที่ 9 จากนั้นขีดโค้งเป็นวงรีตามเข็มนาฬิกา ไป
หาจุดที่ 10 , 11 และ 12 ตามลำดับ

ข้อสังเกต :
1. จากจุดที่ 7 อาจจะไม่เก็บหางแต่สามารถเขียนต่อเนื่องไปจุดที่ 8 ได้เลย
2. ส่วนที่ 2 จุดที่ 11 ควรจะใหญ่ไม่น้อยกว่าแนวเส้นประสีเขียว
3. ส่วนที่ 2 จะมีวิธีเขียนคล้ายกับหางของตัว ᨭᩛ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


56

พยัญชนะที่เปลี่ยนรูป
พยัญชนะที่ผสมกับพยัญชนะตัวอื่นๆ (หลักการข่มซ้อนในภาษาบาลี) หรือผสมกับสระ
บางตัวแล้วเปลี่ยนรูปไปโดยสิ้นเชิงมีดังนี้

ᨬ᩠ᨬ ᨶᩣ ᩓ ᩔ ᩕ ᩘ
1. ᨬ ซ้อน ᨬ ในระบบข่มซ้อนในภาษาบาลี จะเปลี่ยนรูปเป็น ᨬ᩠ᨬ
2. ᨶ เมื่ออยู่ติดกับ ᩣ จะเปลี่ยนรูปเป็น ᨶᩣ ในทุกกรณี
3. และ หรือ แล ในกรณีที่เป็นคำเชื่อมประโยคหรือคำลงท้ายประโยค จะเปลี่ยนรูปเป็น ᩓ
4. ᩈ ซ้อน ᩈ ในระบบข่มซ้อนในภาษาบาลี จะเปลี่ยนรูปเป็น ᩔ
5. ᩁ เมื่อเป็นตัวควบกล้ำจะเปลี่ยนรูปเป็น ᩕ
6. ᨦ เมื่อเป็นตัวข่มในวรรค ᨠ ในภาษาบาลี จะเปลี่ยนรูปเป็น ᩘ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


57

ᨬ᩠ᨬ

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
การลากเส้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหัว (เส้นประสีเขียว) และส่วนตัว (เส้นประสีขาว
เหลืองและแดง)
ส่วนหัว คือ การเขียนหัวครึ่งหนึ่งคล้ายตัว ᨻ ไว้ในส่วนบนติดกับเส้นบรรทัด
ส่วนตัว มีวิธีการลากเส้นเหมือนตัว ᨬ แต่จะขยับลงมาด้านล่างใต้ส่วนหัว และในส่วน
ท้าย (เส้นประสีแดง) จะขีดตรงขึ้นไปจนถึงเส้นบรรทัดด้านบนสุด แล้วจึงตวัดเก็บหางขนานลง
มา

ข้อสังเกต :
1. ส่วนหัวเส้นประสีเขียว คือการเอาหัวของส่วนตัวมาเขียน โดยเอามาแค่ครึ่งเดียว ตาม
กรอบเส้นประสีม่วง
2. ในบางครั้งอาจจะพบเห็นส่วนหัว (เส้นประสีเขียว) มีลักษณะคล้ายตัว ᨱ ก็ได้
3. ในบางกรณีอาจจะพบเห็น ส่วนตัว ᨬ เขียนธรรมดา แล้วเอาส่วนหัว (เส้นประสีเขียว) ขึ้น
ไปไว้เหนือเส้นบรรทัดก็มี

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


58

ᨶᩣ
4 6
3

1
5

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 3.5:3
วิธีการลากเส้น :
วิธีการลากเส้นจะคล้ายกับการเขียนตัว ᨶ แต่จะแตกต่างกันที่มีหยักตรงส่วนบน (ตาม
เส้นประสีเหลือง) คือ
จากจุดที่ 3 ขีดเฉียงขึ้นไปด้านบนขวามายังจุดที่ 4 แล้วหยักลงไปยังจุดที่ 5 แล้วขึ้นไปยัง
จุดที่ 6 จากนั้นเฉียงลงไปแล้วงอกลับไปยังจุดที่ 7

ข้อสังเกต :
1. จุดที่ 4 , 5 และ 6 จะหยักแบบเป็นคลื่นโดยเฉพาะจุดที่ 5 จะไม่แหลมมากนัก และจะอยู่
กึ่งกลางของลำตัว
2. การหยักหัวควรทำให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
3. จุดที่ 7 จะทำเป็นหัววงกลมก็ได้ หรือจะทำหัวแบบเก็บหางก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


59

10
9
8

3
7

4
6
2
1

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 5:3
วิธีการลากเส้น :
วิธีการเขียนช่วงแรกตั้งแต่จุดที่ 1 - จุดที่ 7 จะเขียนเหมือนตัว ᩃ แต่ไม่ต้องเก็บหางโดย
การลากตรงขึ้นไปเลยเส้นบนไปอีกประมาณ 30% จากนั้นทำการวนออกขวาทำรูในจุดที่ 8 แล้ว
โค้งมาด้านซ้ายถึงจุดที่ 9 จากนั้นโค้งไปทางด้านขวาสิ้นสุดในจุดที่ 10

ข้อสังเกต :
1. ส่วนปลายตั้งแต่จุดที่ 7 - จุดที่ 10 จะเหมือนกับส่วนปลายของตัว ᨺ
2. บางครั้งส่วนปลายจากจุดที่ 7 อาจจะลากตรงขึ้นไปแล้วโค้งขวา (ตามเส้นประสีเหลือง)
ซึ่งจะคล้ายส่วนปลายของตัว ᨸ ก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


60


4 8

1
3
5
7

2 6

อัตราส่วนที่แนะนำคือ 7.5:3
วิธีการลากเส้น :
ขั้นตอนที่ 1 เส้นประสีขาว เริ่มจากจุดที่ 1 (อาจจะเป็นหัววงกลมก็ได้) จากนั้นลากลงมายัง
จุดที่ 2 แล้วโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 3 จากนั้นโค้งต่อไปยังจุดที่ 4 แล้วตวัดขนาดไปกับเส้นเดิมมายัง
จุดที่ 3 เหมือนเดิม (ส่วนเส้นประสีขาวมีอัตราส่วนประมาณ 2:3)
ขั้นตอนที่ 2 เส้นประสีเหลือง เริ่มจากจุดที่ 5 (วัดจากด้านล่างขึ้นมาประมาณ 25%) ลาก
เฉียงลงมายังจุดที่ 6 แล้วโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 7 หักขึ้นไปด้านซ้ายเล็กน้อยถึงจุดที่ 8 จากนั้นตวัด
เก็บหางขนานกับเส้นเดิมไปยังจุดที่ 7 เหมือนเดิม
ขั้นตอนที่ 1 กับขั้นตอนที่ 2 เขียนเหมือนกับ ᩈ
ขั้นตอนที่ 3 เพิ่มห้องมาด้านหลังอีก 1 ห้อง (ตามเส้นประสีแดง) ลากเส้นเหมือนกับขั้น
ตอนที่ 2 (เส้นประสีเหลือง)

ข้อสังเกต :
1. ห้องที่เพิ่มมา (เส้นประสีแดง) จะมีขนาดเท่ากับห้องก่อนหน้า (เส้นประสีเหลือง)
2. ถ้าเขียนแบบไม่ยกมือก็สามารถเชื่อมเส้นต่อกันไปได้ตามเส้นประสีเขียว

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


61

ᩕ ระโฮง

2 3

ᩕ ระโฮง หรือบางครั้งเรียก ระโว้ง คือตัว ᩁ เมื่อเป็นตัวควบกล้ำจะอยู่หน้าพยัญชนะตัว


นั้นๆ เช่น ᩕᨠ ᩕᨻ ᩕᨷ เป็นต้น
วิธีการลากเส้น :
ส่วนที่ 1 เส้นประสีขาว เริ่มจากจุดที่ 1 (อยู่เหนือเส้นบรรทัดขึ้นไปเล็กน้อย) ลากตรงลงมา
ด้านล่างยังจุดที่ 2 (เลยเส้นฐานมาเล็กน้อย) แล้วโค้งไปด้านหน้าซ้ายเล็กน้อย จากนั้นโค้งกลับ
ไปไปด้านขวาและขึ้นไปยังจุดที่ 3
ส่วนที่ 2 เส้นประสีเหลือง โดยต่อจากจุดที่ 1 โค้งขึ้นบนไปทางขวาแล้วจบในจุดที่ 4

ข้อสังเกต :
1. จากจุดที่ 2 สามารถโค้งใหญ่ๆ ไปตามเส้นประสีแดง เพื่อให้มีความโค้งใกล้เคียงกับ
ด้านบนก็ได้ ให้พิจารณาตามสถานกาณ์ว่าจะไปทับกับตัวอื่นหรือไม่
2. จุดที่ 3 จะมีระยะห่างจากเส้นฐานพอประมาณจะไม่ติดกันเกินไป
3. ส่วนโค้งด้านบนควรจะหุ้มตัวอักษรที่อยู่ด้านใน
4. โค้งด้านบนไม่ควรขึ้นไปสูงมากจนเกินไป

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


62

ᩘ กังไหล

3
6
1
4
2

ᩘ กังไหล หรือ ไม้กั๋งไหล คือ พยัญชนะ ᨦ เมื่อเป็นตัวข่มในระบบภาษาบาลี โดยจะอยู่


เหนือพยัญชนะในวรรค ᨠ ดังต่อไปนี้คือ ᨠ ᨡ ᨣ และ ᨥ โดยกังไหลนี้จะมีรูปแบบการเขียนที่
เป็นอิสระหลากหลายมาก ซึ่งผู้ศึกษาสามารถศึกษาเพิ่มเติมในใบลานได้ว่าโบราณจารย์ท่าน
เขียนในรูปแบบใดบ้าง โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างมาให้เห็นเพียงแบบเดียวก่อน
วิธีการลากเส้น :
วิธีการลากเส้นจะคล้ายๆ กับ ᨦ แต่จะตวัดหางงอขึ้นไปด้านบนแทน
ขั้นตอนที่ 1 เส้นประสีขาว สร้างหัวหรือฐานก่อน โดยเริ่มจากจุดที่ 1 โค้งไปหา 2 , 3 และ
4 ตามลำดับ
ขั้นตอนที่ 2 เส้นประสีเหลือง เริ่มต่อจากจุดที่ 1 แล้วโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 5 โค้งเฉียงลาง
มายังจุดที่ 6 จากนั้นหยักเล็กน้อยแล้วโค้งขึ้นไปยังจุดที่ 7

ข้อสังเกต :
1. ส่วนหัว ในจุดที่ 1 จะเขียนแบบหัวตัว ᨦ ก็ได้ หรือจะให้มันมนๆ ก็ได้ หรือจะให้แหลม
แบบในตัวอย่างนี้ก็ได้

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ


63

พยัญชนะตัวเชิง หรือหาง หรือตัวสะกด


พยัญชนะตัวเชิง หรือหาง หรือตัวสะกด มักจะอยู่ด้านล่างพยัญชนะต้น ซึ่งพยัญชนะบาง
ตัวก็คงรูปเดิม บางตัวก็เปลี่ยนไปเล็กน้อย บางตัวก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
1. คงรูปเดิม ประกอบด้วย ᨠ ᨡ ᨣ ᨦ ᨧ ᨨ ᨩ ᨭ ᨮ * ᨯ ᨱ ᨲ ᨳ ᨴ ᨵ ᨻ** ᨽ ᩁ ᩅ ᩆ ᩉ ᩊ
เมื่อมาอยู่ด้านล่างก็ยังคงรูปเดิมไว้***
* ในระบบข่มซ้อนภาษาบาลี ᨮ เมื่อเป็นตัวตามของ ᨭ (ฏฺฐ) จะเอาเฉพาะส่วนเชิงด้าน
ล่างเท่านั้น
** ในระบบข่มซ้อนภาษาบาลี ᨻ เมื่อเป็นตัวตามของ ᨻ (พฺพ) จะเปลี่ยนรูปเป็นเหมือน
กับเชิงตัว ᨮ ฏฺฐ
*** ในระบบข่มซ้อนภาษาบาลีบางตัว ตัวซ้อนอาจจะเขียนไม่เต็มและจะติดกันกับตัวข่ม
ได้ เช่น ᨧ᩠ᨧ (จฺจ) , ᨩ᩠ᨩ (ชฺช) , ᨲ᩠ᨳ (ตฺถ) , ᨴ᩠ᨵ (ทฺธ)
2. เปลี่ยนรูปเล็กน้อย โดยส่วนมากจะเป็นหางที่เสียบขึ้นมา ประกอบด้วย ᨥ ᨫ ᨬ ᨰ
ᨹ* ᩃ** ᩇ ᩈ (ในบางครั้งก็ไม่ทำหางเสียบ อาจจะใช้รูปเดิมก็ได้)
* ᨹ หางเสียบแต่จะไม่เก็บหาง จะเขียนเป็นบ่วงแทน
** ᩃ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ
1. คงรูปเดิมกรณีเป็นตัวตามในระบบภาษาบาลี
2. เป็นแบบเสียบขึ้นมา
3. เป็นแบบห้อยอยู่ด้านล่าง (จะมีขนาดและลักษณะต่างจากเดิมเล็กน้อย)
3. เปลี่ยนรูปไปจากเดิม ประกอบด้วย ᨶ ᨷ ᨾ ᨿ ᩋ
4. หางที่ผสมกัน และมีรูปร่างที่น่าสนใจ คือ
1. ไม้ก๋อย ᩬ ᩭ
2. ไม้ก๋วย ᩠ᩅ᩠ᨿ
3. หาง ᨶ ผสมหาง ᩋ จะได้ - ᩠ᨶᩬ
4. หาง ᨾ ผสมหาง ᩋ จะได้ - ᩠ᨾᩬ

ᨻᩢ᩠ᨷᩃᨠ᩠ᨡ ᨱᩋᨠ᩠ᨡ ᩁᨵᨾ᩠ᨾ᩼ᩃᩢᩣ᩠ᨶᨶᩣ

You might also like