You are on page 1of 7

พื้นฐานความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมหมายถึง
ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็ น
รูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่น
วัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็ น
ปั จจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปั จจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริม
สร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็ นวงจรและ
วัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ หรือก็คือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
และที่มนุษย์สร้างขึ้นอยู่รอบ ๆ ตัวเราทั้งที่มีลักษณะกายภาพที่เห็นได้และไม่
สามารถเห็น UNESCO ได้ให้คำจำกัดความของสิ่งแวดล้อมเอาไว้ว่า สิ่ง
แวดล้อม หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งที่เป็ นธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์
สร้างขึ้น รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางสังคมของมนุษย์ด้วย

ประเภทของสิ่งแวดล้อม
1) สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural Environment) เป็ นสิ่งที่เกิดขึ้น
เองตามธรรมชาติเช่น ดิน น้ำ
อากาศ ป่ าไม้ สัตว์ป่ า ฯลฯ สิ่งแวดล้อมประเภทนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
อาจใช้เวลาเร็วหรือช้าเพียงใดขึ้นอยู่กับชนิดและประเภท
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติสามารถแบ่งออกเป็ น 2 ประเภท ได้แก่
1.1) สิ่งมีชีวิต (Biotic Environment) เป็ นสิ่งที่เกิดขึ้นโดย
ธรรมชาติ มีลักษณะและคุณสมบัติ
เฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตเช่น พืช สัตว์และมนุษย์เราอาจจะเรียกว่าสิ่ง
แวดล้อมทางชีวภาพก็ได้
1.2) สิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) เป็ นสิ่งที่เกิดขึ้นตาม
ธรรมชาติที่ไม่มีชีวิต อาจจะ
มองเห็นหรือไม่ก็ได้ เช่น ดิน น้ำ ก๊าซ อากาศ ควัน แร่ธาตุ เมฆ รังสี
ความร้อน เสียง ฯลฯ เราอาจเรียกว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
(Physical Environment) ได้เช่นกัน
2) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Make Environment) เป็ นสิ่งที่
มนุษย์ใช้ความรู้ความสามารถที่
ได้รับการสั่งสอน สืบทอด และพัฒนากันมาตลอด ซึ่ง ได้แบ่งไว้ 2 ประเภท
คือ
2.1) สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือสิ่งแวดล้อมที่สามารถมองเห็นได้
เช่น บ้านเรือน เครื่องบิน โทรทัศน์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่ออำนวย
ความสะดวก หรือตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิต บางอย่างอาจ มี
ความจำเป็ น แต่บางอย่างเป็ นเพียงสิ่งฟุ่มเฟื อย
2.2) สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็ นนามธรรม หรือ
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อความเป็ น ระเบียบสำหรับอยู่ร่วมกันอย่างมีความ
สุข สิ่งแวดล้อมทางสังคมได้แก่ระบอบการปกครอง ศาสนา การศึกษา
อาชีพ ความเชื่อ เจตคติ กฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี ระเบียบข้อ
บังคับ ฯลฯ สิ่งแวดล้อม ที่มองไม่เห็นจะแสดงออกมาในรูปพฤติกรรม
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสิ่งมีชีวิต
ไม่ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ก็ล้วนก็ให้เกิดประโยชน์และ
โทษต่อสิ่งมีชีวิตได้ทั้งสิ้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อสิ่งมีชีวิต (ชัชพล
ทรงสุนทรวงศ์,2546)
1. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต มีความสำคัญ
ต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น เช่น น้ำ ใช้เพื่อการบริโภคและเป็ น
ที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ อากาศ ใช้เพื่อการหายใจของมนุษย์และสัตว์ ดิน เป็ น
แหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตบนบก แสงแดดให้ความร้อนและช่วยในการ
สังเคราะห์แสงของพืช
2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ จะช่วยปรับให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในสภาพ
แวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของมันได้ เช่นช่วยให้ปลาอาศัยอยู่ใน
น้ำที่ลึกมาก ๆ ได้ ช่วยให้ต้นกระบองเพชรดำรงชีวิตอยู่ในทะเลทรายได้
3. สิ่งมีชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม เช่น มีการปรับตัวให้
เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่
4. สิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามการกระทำของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสิ่ง
แวดล้อมนั้น เช่น เมื่อสัตว์กินพืชมีจำนวนมากเกินไปพืชจะลด จำนวนลง
อาหารและที่อยู่อาศัยจะขาดแคลน เกิดการแก่งแย่งกันสูงขึ้น ทำให้สัตว์บาง
ส่วนตายหรือลดจำนวนลงระบบนิเวศก็จะ กลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง
5. สิ่งแวดล้อมจะกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่
ในสิ่งแวดล้อม ในแง่ของการถ่ายทอดพลังงาน ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้
ย่อยสลาย ในแง่ของการอยู่ร่วมกัน เกื้อกูลกัน หรือเบียดเบียนกันมนุษย์
สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม ได้มากมาย ในลักษณะที่แตกต่างไป
จากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น ใช้ประโยชน์จากดินเพื่อการเพาะปลูก ใช้ประโยชน์
จากทุ่งหญ้าเพื่อการเลี้ยงสัตว์ ใช้ประโยชน์จากเหมืองแร่เพื่อการ
อุตสาหกรรม

ภาพที่ 5 ภาพประกอบสิ่งแวดล้อม

การเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของมนุษย์
1) การใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม เป็ นความสัมพันธ์โดยบทบาทหน้าที่
มนุษย์อาศัยธรรมชาติสิ่ง แวดล้อมจึงมีชีวิตอยู่รอดได้เช่น ได้รับอากาศ
หายใจ มีน้ำสะอาดให้อุปโภค บริโภคและในการเพาะปลูกรวมทั้งได้รับ
ประโยชน์นานับประการจากสิ่งแวดล้อม
2) การพยายามทำตนให้กลมเกลียวเป็ นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เป็ นความ
สัมพันธ์ในเชิงที่ไม่เป็ นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมคือ พยายามทำ
ตนให้ประสานสอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่พยายามฝื นกฎธรรมชาติ
3) การพยายามเปลี่ยนแปลงวิถีตามธรรมชาติให้เป็ นไปตามวิถีความ
ต้องการของมนุษย์ ความสัมพันธ์แบบนี้ มนุษย์พยายามเอาชนะ
ธรรมชาติโดยการบังคับวิถีของธรรมชาติ ให้สนองความต้องการของ
ตนให้มากที่สุด เช่น การสร้างเขื่อน เพื่อใช้พลังน้ำมาขับเคลื่อนเครื่อง
ให้เกิดกระแสไฟฟ้ า
4) การพยามพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เป็ นอยู่ ให้มีความเจริญอกงามมาก
ยิ่งขึ้น โดยไม่เป็ นผลเสียต่อระบบรวมของสิ่งแวดล้อม ไม่ได้ปล่อยให้
ระบบสิ่งแวดล้อมดำเนินวิวัฒนาการไปตามธรรมชาติของมัน
5) ความสัมพันธ์ในรูปของการทำลายสภาพเดิมของธรรมชาติสิ่ง
แวดล้อมให้กลับกลายเป็ นสภาพใหม่หรือสูญเสียไป ความสัมพันธ์แบบ
ที่ 5 นี้ มนุษย์พยายามทำลายล้างระบบสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มี
อยู่แล้ว โดยพยายามสร้างระบบสิ่งแวดล้อมใหม่ขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมา
จากสาเหตุ ๒ ประการ คือ
5.1) มนุษย์มองเห็นว่าระบบสิ่งแวดล้อมเดิมไม่มีประโยชน์ เช่น
สภาพอากาศแห้งแล้ง ภูมิประเทศทุรกันดาร ไม่อุดมสมบูรณ์
5.2) มนุษย์มองเห็นว่าระบบสิ่งแวดล้อมที่เป็ นอยู่มีความอุดม
สมบูรณ์จึงใช้ประโยชน์จากมันเช่น ป่ าไม้เยอะจึงทำการตัดไปทำบ้าน
หรือเครื่องใช่ในบ้าน
หลักการและวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ คือ การใช้สิ่งแวดล้อม
และทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาดและใช้ให้เกิดประโยชน์ หลักการ
และวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีดังนี้
1) การถนอมรักษาคือ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ให้คงสภาพทั้งปริมาณและคุณภาพเอาไว้ โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2) การบูรณะฟื้ นฟูคือ การทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลับคืนมาใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม 3) การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือที่เรียก
ว่า รีไซเคิล
4) การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานสิ่งแวดล้อมและ
ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดจะไม่สามารถนามาใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น น้า
ที่ไหลลงมาตามลาน้า ถ้าหากสร้างเขื่อนขวางกั้นลาน้าเพื่อยกระดับของน้า
ให้เขื่อนสูงขึ้น แล้วนาพลังงานน้านั้นมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้ า
5) การนำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบาง
ชนิดฃ

6) การสำรวจแหล่งทรัพยากรเพิ่มเติมเป็ นการค้นหาสิ่งแวดล้อมและ
ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
ภาพที่ 6 กระบวนการ 5R

You might also like