You are on page 1of 21

โครงงานประวัติศาสตร์สากล

เรื่อง สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
เสนอ
ครูอาภร จันทร์ปาน

จัดทำโดย

นายสุรพัศ ชุมเมฆ เลข


ที่ 4
นายภูรินท์ ระย้า เลขที่ 9
นายชินภัทร ฮ่อบุตร เลขที่ 10
นายมาฮีรัน หะยีมะสาและ เลข
ที่ 14
นางสาวภิณญดา หมีนสอีดเลขที่ 37
นางสาววาซินีย์ มันเหมาะ เลขที่
38
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6/2 (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-
คณิตศาสตร์)
ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2566

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม


โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง
ศึกษาธิการ

บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2565 รัสเซียได้เปิ ดปฏิบัติการทาง
ทหารในยูเครนภายใต้การนำของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน และผู้ที่ดำรง
ตำแหน่งประธานาธิบดีของยูเครนคือ ประธานาธิบดี โวโลโดเมียร์ เซเลนสกี
สาเหตุของความขัดแย้งเกิดจากในทางประวัติศาสตร์ยูเครนเคยเป็ นสมาชิกของ
สหภาพโซเวียตมาก่อน จนกระทั่งเมื่อปี คริสต์ศักราช 1991 ก็ได้แยกตัวออก
มาหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต มีชาวรัสเซียจำนวนไม่น้อยอาศัยอยู่ใน
ยูเครนโดยเฉพาะฝั่ งตะวันออก โดยรัสเซียยังไม่ยอมรับเอกราชอย่างสมบูรณ์
ของยูเครน เนื่องจากรัสเซียมองยูเครนเป็ นส่วนหนึ่งของประเทศตนเองมาโดย
ตลอด และเรียกยูเครนว่า “Little Russia” ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน คริสต์
ศักราช 2013 ที่กรุงเคียฟของยูเครน มีการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดี วิก
ตอร์ ยากูโนวิช เนื่องจากประธานาธิบดี วิกตอร์ ยากูโนวิช มีแนวคิดสนับสนุน
รัสเซียอย่างชัดเจนจนทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดจนในที่สุดประธานาธิบดี
หลบหนีออกนอกประเทศและได้ทิ้งรอยแผลขนาดใหญ่ไว้คือความแตกแยกทาง
ความคิดอย่างรุนแรงในหมู่ประชาชนชาวยูเครน อีกชนวนเหตุหนึ่งเกิดขึ้นใน
เวลาไล่เลี่ยกันในปี คริสต์ศักราช 2014 รัสเซียเข้ายึดครองและผนวกรวมดิน
แดนไครเมีย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้และเป็ นส่วนหนึ่งของยูเครน ทั้งนี้มีชาวไครเมีย
ตัดสินใจอยู่ฝั่ งเดียวกับรัสเซีย ผ่านการลงประชามติหาข้อสรุปในพื้นที่พิพาท
กองทัพรัสเซียจึงได้เข้ายึดครองภูมิภาคไครเมียซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของยูเครนก่อน
การผนวกรวมอย่างถูกกฎหมาย หลังจากผลการลงประชามติของชาวไครเมีย
ว่าต้องการอยู่กับรัสเซีย และเป็ นเหตุให้ 2 ดินแดนทางภาคตะวันออกของ
ยูเครนพากันทำประชามติตามเพื่อประกาศอิสรภาพจากยูเครนบ้าง แต่กลาย
เป็ นสงครามแบ่งแยกดินแดนในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง และมีประเด็นสำคัญอีก
ประการหนึ่งคือเนื่องจากทางด้านภูมิศาสตร์ยูเครนตั้งอยู่ระหว่างรัสเซียและ
ชาติยุโรปต่าง ๆ ทำให้ยูเครนพยายามจะเข้าร่วมเป็ นสมาชิกของนาโต้โดยได้รับ
การสนับสนุนจากสหรัฐฯ หากยูเครนเข้าเป็ นสมาชิกของนาโต้ได้สำเร็จจะทำให้
รัสเซียรู้สึกถึงภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศตน
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความตึงเครียดทางชาติพันธุ์รุนแรงขึ้น และผู้
แบ่งแยกดินแดนซึ่งสนับสนุนรัสเซียในภูมิภาคดาเนียตสก์ และภูมิภาคลูกาน
สก์ ทางตะวันออกของยูเครนได้จัดการลงประชามติในอีก 2 เดือนต่อมา เพื่อ
ประกาศอิสรภาพจากยูเครน การนองเลือดเกิดขึ้นนานหลายเดือนหลังผู้แบ่ง
แยกดินแดนในภูมิภาคดาเนียตสก์และภูมิภาคลูกานสก์ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อ
ประกาศอิสรภาพจากยูเครน แม้ว่ายูเครนกับรัสเซียจะลงนามในสนธิสัญญา
สันติภาพที่กรุงมินสค์เมื่อปี คริสต์ศักราช 2015 แล้วก็ตาม ทั้งนี้ สนธิสัญญาดัง
กล่าวได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสและเยอรมนี และได้มีการละเมิดการหยุด
ยิงหลายต่อหลายครั้ง
กล่าวโดยสรุปคือ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนเกิดขึ้นเนื่องจาก
ต้องการความเป็ น เอกราชของยูเครนอย่างสมบูรณ์แบบ และเนื่องจาก
ยูเครนในอดีตเคยเป็ นส่วนหนึ่งของประเทศสหภาพ โซเวียตก่อนที่จะล่มสลาย
ทำให้มีประชาชนที่ทั้งยังต้องการรวมกับรัสเซียและต้องการเป็ นเอกราชยูเครน
อย่างชัดเจน ทำให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นระหว่างประชาชนสองฝ่ าย
และที่สำคัญรัสเซียยังคงคิดเสมอว่ายูเครนเป็ นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ทำให้รัสเซีย
มีความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศตนเอง ถ้าหากยูเครนได้เข้าร่วม
เป็ นสมาชิกของนาโต้รวมกับประเทศกลุ่มยุโรป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาสาเหตุของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
2. เพื่อศึกษาผลกระทบจากสงครามที่ส่งผลต่อประเทศไทย
สมมติฐาน/คำถามการศึกษา
1. ความขัดแย้งระหว่างยูเครนกับรัสเซียส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของไทย
หดตัวลง
2. สาเหตุของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนเกิดจากจากการแยกตัว
ของรัฐโดเนสต์
3. ผลกระทบจากความขัดแย้งที่ส่งผลให้ราคาสินค้าต่าง ๆ ใน
ประเทศไทยสูงขึ้น
ขอเขตของการศึกษา
1. สาเหตุของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
2. ผลกระทบจากสงครามที่ส่งผลต่อประเทศไทย
3. ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในประเทศไทย
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทำให้ทราบผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย
2. ทำให้ทราบสาเหตุของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
3. ทำให้ทราบผลกระทบจากสงครามที่ส่งผลต่อประเทศไทย

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการจัดทำโครงงานผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเอกสารและเว็บไซต์ต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1 สาเหตุของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
2.2 ผลกระทบจากสงครามที่ส่งผลต่อประเทศไทย
2.3 ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในประเทศไทย

2.1 สาเหตุของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
ยูเครนเป็ นประเทศที่มีขนาด 603,628 ตารางกิโลเมตร คั่นกลาง
ระหว่างรัสเซียกับยุโรป ยูเครนเป็ นสมาชิกของสหภาพโซเวียตถึงปี พ.ศ. 2534
หลังจากนั้นเป็ นต้นมาก็กลายเป็ นประเทศที่มีประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ เศรษฐ
กิจซบเซาและนโยบายต่างประเทศอ่อนแอแกว่งไปมาระหว่างการสนับสนุน
รัสเซียกับการสนับสนุนยุโรปเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ที่กรุงเคียฟของ
ยูเครน มีการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดี “วิกตอร์ ยากูโนวิช” ที่ปฏิเสธ
แผนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับสหภาพยุโรป ระหว่างการประท้วงในยูเครน
รัสเซียให้การสนับสนุนยากูโนวิช ขณะที่สหรัฐและยุโรปสนับสนุนผู้ประท้วง
ประธานาธิบดียากูโนวิชหลบหนีออกนอกประเทศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.
2557 หลังกองกำลังความมั่นคงของยูเครนปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรง
ทำให้การประท้วงลุกลามขึ้น ซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลง ในเวลาไล่เลี่ยกัน
ชาวไครเมียตัดสินใจอยู่ฝั่ งเดียวกับสหพันธรัฐรัสเซีย ผ่านการลงประชามติหา
ข้อสรุปในพื้นที่พิพาท เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 กองทัพรัสเซียจึงได้เข้ายึด
ครองภูมิภาคไครเมีย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของยูเครน ก่อนการผนวกรวมอย่าง
ถูกกฎหมาย ประธานาธิบดี “วลาดิีเมียร์ ปูติน” ของรัสเซีย ได้เน้นย้ำถึงความ
จำเป็ นในการรักษาสิทธิของชาวรัสเซียและผู้ที่ใช้ภาษารัสเซีย ทั้งในไครเมียและ
ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครนตลอดมา เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความ
ตึงเครียดทางชาติพันธุ์รุนแรงขึ้น และผู้แบ่งแยกดินแดนซึ่งสนับสนุนรัสเซีย ใน
ภูมิภาคดาเนียตสก์ และภูมิภาคลูกานสก์ ทางตะวันออกของยูเครน ได้
จัดการลงประชามติในอีก 2 เดือนต่อมาเพื่อประกาศอิสรภาพจากยูเครน
2.2 ผลกระทบจากสงครามที่ส่งผลต่อประเทศไทย
ประเทศไทยส่งออกสินค้าไปรัสเซียเพียงราว 0.6% และส่งออกไปยูเครน
ราว 0.1% ของยอดส่งออกทั้งหมดในปี 2564 โดยสินค้าส่งออกสำคัญไปรัสเซีย
ได้แก่ รถยนต์และอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ยาง ดังนั้น การส่งออกไปรัสเซียจึง
ส่งผลกระทบต่อยอดส่งออกโดยรวมของไทยเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ดี ไทย
อาจได้รับผลกระทบในทางอ้อมเนื่องจากการฟื้ นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจช้าลง
และประเทศในยุโรปซึ่งเป็ นตลาดส่งออกราว 8% ของยอดส่งออกของไทย
ทั้งหมดอาจได้รับผลกระทบรุนแรงจากปั ญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับ
ยูเครน
ในส่วนของภาคการท่องเที่ยวอาจได้รับผลกระทบอยู่บ้าง เนื่องจากนัก
ท่องเที่ยวรัสเซียเป็ นหนึ่งในตลาดที่สำคัญ โดยในปี 2562 ชาวรัสเซียเกือบ 1.5
ล้านคนเดินทางเข้ามาในไทย คิดเป็ น 3.7% ของจำนวน นักท่องเที่ยวต่างชาติ
ทั้งหมดและในปี 2564 มีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียราว 31,000 คนเดินทางเข้า
มาในประเทศไทย อย่างไรก็ดี เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวยังคงอยู่ในช่วงเริ่ม
ต้นของการฟื้ นตัวอย่างช้าๆ จึงอาจไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวม
มากนัก แต่อาจส่งผลให้การฟื้ นตัวของภาคกาท่องเที่ยวฟื้ นตัวช้า
ในส่วนของภาคธุรกิจ บริษัทใหญ่ๆในไทยเพียงไม่กี่บริษัทมีธุรกิจอยู่ใน
รัสเซียทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างไรก็ดี มีชาวรัสเซียจำนวนมากเข้ามา
ประกอบธุรกิจในไทย ดังนั้น การที่ธนาคารรัสเซียบางแห่งถูก คว่ำบาตรจึงส่ง
ผลกระทบต่อการทำธุรกรรมการเงินของนักธุรกิจรัสเซียในไทย เช่น ไม่สามารถ
ใช้บัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสดของธนาคารที่ถูกคว่ำบาตรได้ และไม่สามารถ
โอนเงินชำระค่าสินค้าได้
ปั ญหารัสเซีย-ยูเครนมีผลกระทบโดยตรงต่อไทยในแง่ของราคาน้ำมันที่
แพงขึ้นมาก ในขณะที่ในส่วนอื่นๆไม่มีผลกระทบโดยตรงมากนัก อย่างไรก็ดี
ไทยจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ
จากปั ญหาเงินเฟ้ อและปั ญหาในห่วงโซ่อุปทานซึ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
จากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย
ในส่วนของการลงทุน นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำควรชะลอการลงทุน
เพื่อรอดูความชัดเจน ในขณะที่นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง และอาจมองว่า
ปั ญหารัสเซีย-ยูเครนจะจบเร็ว หรืออาจมองเป็ นโอกาส เนื่องจากไทยไม่ได้รับ
ผลกระทบรุนแรง และอาจได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าบางรายการ
ทดแทนสินค้าจากรัสเซีย รวมถึงอาจมองว่านักลงทุนต่างชาติมองไทยเป็ นตลาด
ที่ปลอดภัยจากปั ญหาความขัดแย้งดังกล่าว ก็อาจตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ที่
มีความเสี่ยงในระดับที่เหมาะกับท่าน

2.3 ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในประเทศไทย
ตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือนที่ผ่านมา สำนักวิจัยทางเศรษฐกิจหลายแห่ง
วิเคราะห์ว่าวิกฤตด้านพลังงาน อันเป็ นผลพวงที่เกิดขึ้นจากสงครามรัสเซีย-
ยูเครน จะกลายเป็ นแรงกดดันและส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการฟื้ นตัว
ของเศรษฐกิจไทย สำนักวิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้ปรับประมาณการการ
ขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจากเดิม 3.7% ลงมาเป็ น 2.8% ขณะที่งานวิจัยของ
KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะ
Stagflation หรือ เศรษฐกิจชะลอตัวแรง ชัดเจนขึ้นจากภาวะเงินเฟ้ อสูงขึ้น
4% ในขณะที่เศรษฐกิจเติบโตช้าลง นั่นเป็ นภาพรวมทางเศรษฐกิจ แต่สำหรับ
ประชาชนทั่วไปก็ต้องเผชิญชะตากรรมไม่แตกต่างกัน โดย 5 เรื่องที่สะท้อนให้
เห็นว่าวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นนี้ส่งผลอย่างไรต่อปากท้องของคนไทย ในรอบ 1
เดือนที่ผ่านมา และหากว่าสงครามยังคงยืดเยื้อต่อไปอีก คนไทยต้องเตรียม
แบกรับภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงอะไรบ้าง
1. อาหาร ปลากระป๋ อง เครื่องปรุง เสี่ยงปรับราคาขึ้น
ณ ขณะนี้ แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะผันผวน และสงครามได้ก่อให้เกิดผลก
ระทบในทางอ้อม แต่กระทรวงพาณิชย์ยังไม่อนุญาตให้ปรับขึ้นราคาสินค้า
หลายรายการ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารสด อาหารกระป๋ อง ข้าวสารถุง
ซอสปรุงรส น้ำมันพืช น้ำอัดลม นมและผลิตภัณฑ์จากนม รวมทั้งเครื่องใช้
ไฟฟ้ า ผลิตภัณฑ์ซักล้าง ปุ๋ย เป็ นต้น
ทว่า ผู้ประกอบการผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิ ดเผยว่า ที่ยังไม่เห็นการขยับของ
ราคาอย่างมีนัยสำคัญก็เพราะยังมีวัสดุที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำรองไว้ส่วนหนึ่ง
แต่หากสถานการณ์ยืดเยื้อออกไปอีกก็อาจจะได้รับ ผลกระทบ โดยเฉพาะจาก
ราคาแผ่นเหล็กทำกระป๋ องที่ปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่องมากว่า 2 ปี นายธรรศ ทัง
สมบัติ นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า ต้องการเห็นสันติภาพโดย
เร็ว เพราะหากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อ ในช่วงกลางไตรมาสที่สองจะส่งผลกระ
ทบต่อราคาสินค้าอาหารสำเร็จรูป โดยเฉพาะกลุ่มผักผลไม้กระป๋ อง ทูน่า
กระป๋ อง อาหารทะเลกระป๋ อง อาหารพร้อมรับประทานและเครื่องปรุงรส ใน
เวลาเดียวกันต้นทุนการทำการเกษตรและการประมงกำลังจะเพิ่มสูงขึ้นอีกจาก
ปั จจัยหลายอย่าง เช่น ค่าขนส่ง ค่าปุ๋ย หรืออาหารสัตว์ที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งท้าย
ที่สุดอาจจะทำให้สินค้าข้างต้นปรับราคาเพิ่มขึ้นเท่าตัว ซึ่งประชาชนจะต้อง
เป็ นผู้แบกรับภาระในที่สุด
2. ราคาก๊าซ-ไฟฟ้ า แพงขึ้น
ต้นทุนการขนส่งซึ่งผันแปรตามราคาเชื้อเพลิง เช่น ค่าน้ำมันและก๊าซหุงต้ม
เป็ นหนึ่งในเหตุผลผลักที่ทำให้ราคาอาหาร สินค้า และวัสดุล้วนเพิ่มสูงขึ้นอย่าง
เลี่ยงไม่ได้ ตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ กระทรวงพลังงานได้กำหนดให้ปรับขึ้นราคา
ก๊าซหุงต้มอีก 15 บาท สำหรับถังขนาด 15 กิโลกรัม จาก 318 บาท เป็ น
333 บาท
โดยให้เหตุผลว่าได้มีการตรึงราคามาแล้วตั้งแต่ช่วงปี 2563 ระหว่างที่มีการ
แพร่ระบาดโรคโควิด-19
โดยราคาก๊าซแอลพีจีขณะนั้น ในตลาดโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 400 ดอลลาร์สหรัฐต่อ
ตัน ส่วนปั จจุบันเพิ่มมา
อยู่ที่ 968 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน จึงจำเป็ นต้องปรับขึ้นเพื่อสะท้อนต้นทุน ขณะ
ที่ค่าไฟฟ้ านั้นกระทรวงพลังงานมีแผนจะปรับค่าไฟฟ้ าผันแปร หรือ "ค่าเอฟที"
เพิ่มขึ้นเพื่อให้สะท้อนตามต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็ นเชื้อเพลิงหลักใน
การผลิตกระแสไฟฟ้ า โดยมีกำหนดจะปรับขึ้น 16 สตางค์ต่อหน่วยในงวดเดือน
พฤษภาคมนี้
3. ค่าก่อสร้างบ้านแพงขึ้นอีก 5-8%
หนึ่งในข่าวร้ายท่ามกลางวิกฤตยูเครนสำหรับผู้ที่วางแผนจะปลูกบ้านใหม่คือ
ค่าก่อสร้างบ้านกำลังจะเพิ่มขึ้นอีกจากค่าขนส่งที่ถีบตัวสูงขึ้นทำให้วัสดุในการ
ก่อสร้างก็ต้องขยับราคาขึ้นตาม ในขณะที่เหล็กเส้นรูปพรรณที่นำมาใช้ขึ้น
โครงสร้างบ้านที่นำเข้าจากทั้งยูเครนและรัสเซียก็ขาดแคลนทำให้ราคาปรับสูง
ขึ้นเช่นกัน แม้ว่าจะสัดส่วนการนำเข้าเหล็กรูปพรรณจากทั้งสองประเทศไม่มาก
นักคิดเป็ นราว 2% ของมูลค่าการนำเข้าก็ตาม นายวรวุฒิ กาญจนกูล นายก
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านบอกกับบีบีซีไทยว่า ที่จริงแล้วราคาวัสดุมีการปรับขึ้น
มาแล้วตั้งแต่ช่วงกลางปี จนถึงปลายปี 2564 และการผ่อนคลายมาตรการ
ล็อกดาวน์เมื่อย่างเข้าสู่ปี 2565 ถือเป็ นสัญญาณดี แต่วิกฤตสงครามยูเครน ส่ง
ผลต่อราคาน้ำมันซึ่งเป็ น ต้นทุนหลักในการขนส่งวัตถุดิบ
4. ปุ๋ยเคมีต้นทุนพุ่ง 36-49% จากปี 2564
รัสเซียและยูเครนถือว่าแหล่งผลิตปุ๋ยเคมีรายใหญ่ ขณะที่ไทยต้องพึ่งพาการนำ
เข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด โดยแต่ละปี นำเข้าราว 5 ล้านตัน จาก
ตะวันออกกลาง จีน รัสเซีย และ แคนาดา เป็ นต้น ดังนั้น เมื่อเกิดสงคราม
ระหว่างสองชาติผู้ผลิตปุ๋ยเคมีดังกล่าว ผนวกกับผลของราคาน้ำมันในตลาดโลก
เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตปุ๋ยเคมีต้องขยับขึ้นตามราว 36-49% เมื่อเทียบ
กับปี 2564 หรือเกือบ 100% เมื่อเทียบปี 2563 นี่จึงเป็ นที่มาของข้อเรียกร้อง
ของผู้ประกอบการปุ๋ยเคมีในไทยให้ภาครัฐเข้าช่วยเหลือ เพื่อป้ องกันไม่ให้เกิด
ภาวะการขาดแคลนปุ๋ยเคมี ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็ นลูกโซ่ไปยังกลุ่มผู้จัด
จำหน่าย รวมถึงเกษตรกรผู้จำเป็ นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในการเริ่มต้นฤดู
การเพาะปลูกใหม่ที่กำลังจะมาถึงส่วนผลการหารือระหว่างผู้ประกอบการปุ๋ย
เคมีกับกรมการค้าภายในเมื่อวันที่ 17 มี.ค. ที่ผ่านมา คือ กรมการค้าภายในจะ
พิจารณาปรับขึ้นราคาปุ๋ยเคมีเป็ นราย ๆ ไป เนื่องจากผู้ประกอบการแต่ละราย
มีต้นทุนแตกต่างกัน
5. ภาคการท่องเที่ยวฟื้ นตัวช้ากว่าที่คาด
ปั ญหาทางตรงที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่หลัก ๆ อย่าง
พัทยา และภูเก็ตที่เปิ ดรับนักท่องเที่ยวไปแล้ว คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติอาจ
กลับมาช้ากว่าที่ประเมินไว้ รายงานวิจัยของ KKP Research บ่งชี้ว่าสงคราม
รัสเซีย-ยูเครน จะส่งผลกระทบทางลบต่อภาคการท่องเที่ยวจากทั้งราคาน้ำมัน
ที่ส่งผลให้ต้นทุนในการเดินทางปรับตัวสูงขึ้น นักท่องเที่ยวรัสเซียที่จะยังไม่
สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ในช่วงนี้และเศรษฐกิจยุโรปที่อาจชะลอตัว
ลง
โดยหากนับเฉพาะนักท่องเที่ยวรัสเซีย แม้ในช่วงก่อนโควิดจะมีสัดส่วนไม่
มาก แต่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่หายไป ทำให้ในช่วงปี 2562 จำนวนนักท่อง
เที่ยวรัสเซียที่เดินทางไปไทยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็ นราว 7% ของนักท่องเที่ยว
ทั้งหมด 427,869 คนในปี 2564 และในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยว
รัสเซียยังมีสัดส่วนสูง เกือบ 10% จึงมีโอกาสสูงที่การท่องเที่ยวไทยจะฟื้ นตัว
ได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการศึกษา

การดำเนินการศึกษาครั้งนี้ผู้จัดการศึกษาได้ค้นคว้าโดยใช้วิธีการทาง
ประวัติศาสตร์ในการสร้างองค์ความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดประเด็นเรื่อง
ขั้นที่ 2 การรวบรวมข้อมูลหลักฐาน คณะผู้จัดทำการศึกษาข้อมูลข่าวสาร
จากอินเทอร์เน็ตหลากหลายเว็บไซต์เช่น เว็บไซต์แบงก์ค๊อกบิซนิว เรื่อง เรียนรู้
อะไรจาก 6 ตุลาฯ และเว็บไซต์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้เพื่อรวบรวม
ข้อมูลหลักฐานเพื่อใช้ในการสรุปผลการศึกษาครั้งนี้ โดยได้ใช้ตารางแสดง
ข้อมูลหลักฐานดังต่อไปนี้

ตารางวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐาน

ประเภท
เอกสาร
เป็ นลาย
วัน เดือน
ลำ ผู้เขียน ลักษณ์
ชื่อเอกสาร แหล่งที่มา ปี
ดับ บันทึก อักษร/ไม่เป็ น
ที่พิมพ์
ลายลักษณ์
อักษร
1 รัสเซีย-ยูเครน: สรุป ประชาชาติ เป็ นลาย https:// 03/09/2
ที่มาความขัดแย้ง ธุรกิจ ลักษณ์อักษร www.prachach 566
รวมทุกเรื่องที่ควรรู้ at.net/world-
news/news-
849302
https://
www.krungsria
sset.com/TH/
ผลกระทบจาก ดร. ฐนิต Plan-your-
สงครามรัสเซีย- พงศ์ ชื่นภิ เป็ นลาย investment/ 03/09/2
2
ยูเครน บาล ลักษณ์อักษร Learn-about- 566
Investment/
impact_Russia-
Ukraine_war.as
px
รัสเซีย ยูเครน : 1
www.doct6.co
เดือนของสงครามส่ง สุธาชัย ยิ้ม
เป็ นลาย m/learn- 11/09/2
3 ผลกระทบปากท้อง- ประเสริฐ
ลักษณ์อักษร about/how 566
เศรษฐกิจไทยอย่างไร

https://
www.thaipbs.o
สงครามรัสเซีย-
เป็ นลาย r.th/news/ 17/08/2
4. ยูเครน ไทยพีบีเอส
ลักษณ์อักษร focus/ 566
RussiaUkraineC
risis
5 สงครามรัสเซีย– Shaun เป็ นลาย https:// 17/08/2
ยูเครน golink.icu/
Walker ลักษณ์อักษร 566
DdqXpf3
ส่องวิบากกรรมเด็ก
นักเรียนในยูเครน ที่ https://
ต้องเรียนหนังสือ วิตาลี เชฟ เป็ นลาย www.bbc.com 17/08/2
6
กลางภัยสงครามจาก เชนโก ลักษณ์อักษร /thai/articles/ 566
รัสเซีย cd1z4qrr709o

ครบรอบ 1 ปี รัสเซีย
https://
บุกยูเครน: สงครามที่ Pongprap
thematter.co/
ยังไม่สิ้นสุด กับความ as เป็ นลาย 17/08/2
7 social/1-year-
สูญเสียที่กระทบคน Saengsuri ลักษณ์อักษร 566
ukraine-war/
ทั้งโลก yong
197984

ขั้นที่ 3 ตรวจสอบประเมินค่าหลักฐานการศึกษาครั้งนี้ผู้จัดทำได้นำหลัก
ฐานมาวิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินค่าหลักฐาน ดังตารางต่อไปนี้
ตารางตรวจสอบและประเมินค่า

ตารางประเมินค่าภายนอก

ช่วงระยะเวลา
ลำดั ชื่อเอกสาร ผู้เขียนบันทึก ที่บันทึกหลัก อายุหลัก
บ ฐาน ฐาน
รัสเซีย-ยูเครน: สรุปที่มาความขัด
ประชาชาติ
1 แย้ง รวมทุกเรื่องที่ควรรู้ 03/09/2566
ธุรกิจ

ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย- ดร. ฐนิตพงศ์


2 ยูเครน ชื่นภิบาล 03/09/2566

รัสเซีย ยูเครน : 1 เดือนของ


สุธาชัย ยิ้ม
สงครามส่งผลกระทบปากท้อง-
3 ประเสริฐ 11/09/2566
เศรษฐกิจไทยอย่างไร

สงครามรัสเซีย-ยูเครน
4. ไทยพีบีเอส 17/08/2566

สงครามรัสเซีย–ยูเครน
5 Shaun Walker 17/08/2566

ส่องวิบากกรรมเด็กนักเรียนใน
ยูเครน ที่ต้องเรียนหนังสือกลาง วิตาลี เชฟเชน
6 17/08/2566
ภัยสงครามจากรัสเซีย โก

ครบรอบ 1 ปี รัสเซียบุกยูเครน:
Pongprapas
สงครามที่ยังไม่สิ้นสุด กับความ
7 Saengsuriyon 17/08/2566
สูญเสียที่กระทบคนทั้งโลก
g
ตารางประเมินค่าภายใน

ช่วงระยะ
ผู้ จุดมุ่ง ความน่า
ลำ เวลาที่ อายุ
เขียน หมายของ เชื่อถือของ
ดั ชื่อเอกสาร บันทึกหลัก หลัก
บันทึ หลักฐาน หลักฐาน
บ ฐาน ฐาน

น่าเชื่อถือ
รัสเซีย-
ได้ทราบ เพราะมี
ยูเครน: สรุป
ประช ถึงที่มา ข้อมูล
ที่มาความขัด 03/09/256
1 าชาติ ความขัด ละเอียดมี
แย้ง รวมทุก 6
ธุรกิจ แย้งของ แหล่งอ้างอิง
เรื่องที่ควรรู้
สงคราม และภาพ
ประกอบ
ได้ทราบ น่าเชื่อถือ
ดร. ฐ
ถึงผลกระ เพราะมี
ผลกระทบ นิต
ทบจาก ข้อมูล
จากสงคราม พงศ์ 03/09/256
2 สงคราม ละเอียดมี
รัสเซีย-ยูเครน ชื่นภิ 6
รัสเซีย- แหล่งอ้างอิง
บาล
ยูเครน และภาพ
ประกอบ
3 รัสเซีย ยูเครน สุธา 11/09/256 ได้ทราบ น่าเชื่อถือ
: 1 เดือนของ ชัย 6 ถึงผลกระ เพราะมี
สงครามส่ง ยิ้ม ทบของ ข้อมูล
ผลกระทบ ประเ สงคราม ละเอียดมี
ปากท้อง-
แหล่งอ้างอิง
เศรษฐกิจไทย สริฐ
และภาพ
อย่างไร
ประกอบ

น่าเชื่อถือ
ได้ทราบ
เพราะมี
ถึงสาเหตุ
สงคราม ข้อมูล
ไทยพี 17/08/256 ที่เป็ น
4. รัสเซีย-ยูเครน ละเอียดมี
บีเอส 6 ปั จจัยส่ง
แหล่งอ้างอิง
ผลให้เกิด
และภาพ
สงคราม
ประกอบ
น่าเชื่อถือ
ได้ทราบ
เพราะมี
Shau ถึงสาเหตุ
สงคราม ข้อมูล
n 17/08/256 ที่เป็ น
5 รัสเซีย-ยูเครน ละเอียดมี
Walk 6 ปั จจัยส่ง
แหล่งอ้างอิง
er ผลให้เกิด
และภาพ
สงคราม
ประกอบ
6 ส่องวิบาก วิตาลี 17/08/256 ได้ทราบ น่าเชื่อถือ
กรรมเด็ก เชฟ 6 ถึงผลกระ เพราะมี
นักเรียนใน เชน ทบของ ข้อมูล
ยูเครน ที่ต้อง โก สงคราม ละเอียดมี
เรียนหนังสือ แหล่งอ้างอิง
กลางภัย และภาพ
สงครามจาก
รัสเซีย ประกอบ

ครบรอบ 1 ปี
รัสเซียบุก น่าเชื่อถือ
Pon
ยูเครน: เพราะมี
gpra ได้ทราบ
สงครามที่ยัง ข้อมูล
pas 17/08/256 ถึงผลกระ
7 ไม่สิ้นสุด กับ ละเอียดมี
Saen 6 ทบของ
ความสูญเสียที่ แหล่งอ้างอิง
gsuri สงคราม
กระทบคนทั้ง และภาพ
yong
โลก ประกอบ

ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ แยกแยะ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล นำ


ข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ แยกแยะประเด็น
ขั้นที่ 5 เรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล นำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์
สังเคราะห์ แยกแยะ จัดหมวดหมู่แล้วมาเรียบเรียงภายในหรืออ้างอิงเป็ น
เชิงอรรถข้างล่างในแต่ละหน้า

ปฏิทินในการดำเนินงาน
ระยะเวลา
ลำ ผู้รับผิด
ขั้นตอนการดำเนินงาน การดำเนิน ผลการดำเนินงาน
ดับ ชอบ
งาน

02/08/256 สมาชิกใน ให้ทุกคนศึกษาหา


1 วางแผนการดำเนินงาน
6 กลุ่ม หัวข้อ

05/08/256 สมาชิกใน ได้หัวข้อที่จัดทำเป็ น


2 ประชุมเพื่อกำหนดหัวข้อ
6 กลุ่ม โครงงาน

สรุปหัวข้อเรื่อง
กำหนดประเด็นหัวข้อที่จะ 12/08/256 สมาชิกใน เหตุการณ์เกิดความ
3
ศึกษา 6 กลุ่ม ขัดแย้งระหว่าง
รัสเซีย-ยูเครน

25/08/256 สมาชิกใน ได้ข้อมูลใช้ในการ


4 รวบรวมหลักฐาน
6 กลุ่ม ศึกษา

ตรวจสอบประเมินค่าหลัก 25/08/256 สมาชิกใน ทราบความถูกต้อง


5
ฐานการศึกษา 6 กลุ่ม ของข้อมูล

การวิเคราะห์ สังเคราะห์
31/08/256 สมาชิกใน ลำดับเหตุการณ์ที่
6 แยกแยะและจัดหมวดหมู่
6 กลุ่ม เกิดขึ้นอย่างชัดเจน
ข้อมูล
7 เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอ 31/08/256 สมาชิกใน จัดทำโครงงานที่ได้
ข้อมูล 6 กลุ่ม เรียบเรียง

You might also like