You are on page 1of 30

สถานที่ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
9 มิถุนายน 2565
เรื่อง ขอส่งรายงานการปฏิบัติฝึกงานภาคฤดูร้อน
เรียน อาจารย์ประจำวิชาการฝึกงาน 01208399
ตามที่ข้าพเจ้า นาย อนันตชัย วังดอน นิสิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ปฏิบัติฝึกงานภาคฤดูร้อนระหว่างวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565 ถึงวันที่
10 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ในตำแหน่งนักศึกษาฝึกงานฝ่ายออกแบบทางวิศวกรรม
บัดนี้ การปฏิบัติการฝึกงานภาคฤดูร้อนสิ้นสุดลงแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอส่งรายงานดังกล่าวมาพร้อม
กันนี้ จำนวน 1 ฉบับ เพื่อขอรับคำปรึกษาต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ขอแสดงความนับถือ

(นาย อนันตชัย วังดอน)


นิสิตฝึกงานภาคฤดูร้อน
กิตติกรรมประกาศ
(Acknowledgement)
จากการที่ข้าพเจ้าได้ทำการฝึกงานภาคฤดูร้อนกับทาง ทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล ศูนย์เทคโนโลยี
โลหะและวัสดุแห่งชาติ ภายใต้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้
เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการออกแบบพัฒนาเครื่องจักรกลต่างๆ เช่น การออกแบบชุดโครงอุปกรณ์ยึด
มอเตอร์ตัวเดินของแท่นดัมพ์ช่วยในการยกรถเททะลายปาล์มแบบใหม่ การออกแบบชุดแขนเอ็กซ์ลิฟท์สำหรับจับ
ยึดหัวพ่นสเปย์น้ำดับไฟ การออกแบบชุดโครงสำหรับการวางถังไวน์ รวมทั้งได้เข้าร่วมฝึกการปฏิบัติงานติดตั้งชุดกัน
ล้อหลังรถบรรทุกของแท่นดัมพ์ช่วยยกเทรถบรรทุกทะลายปาล์ม การติดตั้งอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิกในเรือช้อนขยะ
ขนาดเล็ก และการทดสอบฟังก์ชันการทำงานเบื้องต้น ทำให้ข้าพเจ้าได้รับประสบการณ์ในการทำงานออกแบบและ
พัฒนาเครื่องจักรกลอย่างมากมายในการปฏิบัติงานจริง จากการสนับสนุนของ คุณธนาภรณ์ โกราษฎร์
หัวหน้าทีมวิจัยพัฒนาเครื่องจักรกล และการให้คำแนะนำในการออกแบบเครื่องจักรกล และปฏิบัติงานทำต้นแบบ
เครื่องจักรกล จาก คุณดุสิต ตั้งพิสิฐโยธิน วิศวกรอาวุโส , ดร.ศุภกิจ วรศิลป์ชัย นักวิจัย และ คุณจิรพงษ์ พงษ์สี
ทอง ผู้ช่วยนักวิจัย ซึ่งได้เสียสละเวลาในการสอน และให้คำแนะนำในการทำงาน ด้วยความกรุณาเอาใจใส่เป็นอย่าง
ดีในช่วงการการฝึกงานภาคฤดูร้อนข้าพเจ้าขอขอบคุณ ทีมวิศวกร นักวิจัย ของทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกลทุก
ท่านทีเ่ สียสละเวลา ในการให้คำแนะนำ และสอนการฝึกงานของข้าพเจ้าให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีตลอดทั้งการ
ตรวจแก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นความประทับใจอย่างยิ่ง

อนันตชัย วังดอน
บทคัดย่อ
(Abstract)
จากการฝึกงานภาคฤดูร้อนกับทาง ทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ
แห่งชาติ ภายใต้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งมีโอกาสได้เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติงาน
เกี่ยวกับการออกแบบพัฒนาเครื่องจักรกลต่างๆ เช่น การออกแบบโดยใช้โปรแกรม Solid Work กับ ชุดโครง
อุปกรณ์ยึดมอเตอร์ตัวเดินของแท่นดัมพ์ช่วยในการยกรถเททะลายปาล์มแบบใหม่ ซึ่งเป็นการออกแบบตัวเสื้อ
โครงสร้างเหล็กที่จะนำไปเชื่อมกับโครงสร้างฐานของแท่นดัมพ์ และด้านในโครงสร้างจะต้องใช้ติดตั้งมอเตอร์ไฮดรอ
ลิกตัวเดินสำหรับเป็นดุมล้อขับเคลื่อนของแท่นดัมพ์ที่ล้อหลังทั้งสองข้าง โดยการออกแบบให้ผนังโครงสร้างเสื้อมี
หน้าแปลนแบบตัวยูสำหรับสวมเชื่อมเข้ากับโครงฐานแท่นดัมพ์ได้ง่าย และมีการออกแบบเสริมแรงโดยการ
ออกแบบ ครีบ Lip เพื่อให้โครงสร้างเสื้อมอเตอร์ไฮดรอลิกตัวเดินมาสามารถรับน้ำหนักจากแท่นดัมพ์ได้โดยไม่เกิด
การงอ หรือฉีกเสียหาย การออกแบบชุดแขนสำหรับจับยึดหัวพ่นสเปย์น้ำดับไฟ จะเป็นการออกแบบให้ชุดจับยึด
ของหัวพ่นสเปรย์น้ำขนาดเล็ก เป็นลักษณะแบบเอ็กซ์ลิฟท์ซึ่ง สามารถปรับระดับความสูงต่ำในการพ่นน้ำได้ด้วย
การควบคุมของกระบอกไฮดรอลิกในการยืด-หด ทีจ่ ะต้องนำมาติดตั้งอยู่ทางด้านบนโครงสร้างของตัวหุ่นยนต์ดับ
ไฟซึ่งทำให้มีฟังก์ชั่นที่จะสามารถกำหนดทิศทมางการพ่นน้ำดับไฟได้ตรงจุดเป้าหมายได้สะดวก และทำการควบคุม
ทิศทางได้ง่าย การออกแบบชุดโครงสำหรับการวางถังไวน์แบบซ้อนกับหลายชั้น จะเป็นการออกแบบโครงสร้าง
เหล็กสำหรับการวางถังบมไวน์ ขนาด 500 ลิตร บนโครงสร้างเหล็กให้สามามรถวางซ้อนกันได้ 3 - 4 ชั่นโดยไม่เกิด
ความเสียหาย โดยจะออกแบบให้โครงสร้างเหล็กหนึ่งชุดมีล๊อคตัวยูสามารถวางถังไวน์ได้ 2 ถังในแนวระดับ และ
สามารถยกโครงสร้างเหล็กชุดอื่นเทินกับโครงสร้างชุดตัวโครงสร้างเหล็กด้านล่างได้ โดยให้เสาของโครงสร้างเหล็ก
ต่อกัน และส่งถ่ายแรงจากการรับน้ำหนักไปยังเสาหลักของโครงสร้างตัวล่างโดยไม่ให้ผนังของถังไวน์ด้านบนรับ
น้ำหนักซึ่งจะสามารถยกซ้อนกันได้หลายชั้นโดยไม่ทำเกิดความเสียหายถังไวน์ ซึ่งมีการออกแบบ Lip ครีบเสริมแรง
ระหว่างโครงล๊อคถังไวน์กับโครงเสาหลัก ซึ่งจะต้องมีการนำแบบโครงสร้างรับถังไวน์ไปวิเคราะห์ความแข็งแรงด้วย
โปรแกรมไฟไนต์อิลิเมนต์ และต้องน้ำวัสดุเหล็กโครงสร้างไปทดสอบหาค่า Tensile strength ก่อนการผลิตจริง
เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บถังไวน์โรงบ่มไว้ได้มากขึ้น นอกจากการออกแบบ
ชิ้นส่วนทางวิศวกรรมแล้ว ยังได้เข้าร่วมฝึกการปฏิบัติงานติดตั้งชุดกันล้อหลังรถบรรทุกของแท่นดัมพ์ช่วยยกเท
รถบรรทุกทะลายปาล์มที่มีการสร้างต้นแบบให้สามารถปรับเลื่อนระยะของตัวกันล้อได้สำหรับแก้ปัญหาที่กันล้อ
แบบเดิมซึง่ จะชนกับแหนบรถบรรทุกขณะรถบรรทุกถอยหลังขึ้นแท่นดัมพ์ และ การติดตั้งอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิก
ในเรือช้อนขยะขนาดเล็ก ในการควคบคุมกระบอกไฮดรอลิกของแขนบูม 2 ชุด สำหรับการยกแขนบูม และการ
หงาย และคว่ำบุ้งกี๋
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ ................................................................................................................................................. 2
บทคัดย่อ................................................................................................................................................................ 3
สารบัญ .................................................................................................................................................................. 4
สารบัญรูปภาพ....................................................................................................................................................... 5
บทนำ..................................................................................................................................................................... 5
วิธีการศึกษา ( Method of Education) ............................................................................................................... 9
รายละเอียดงานที่ปฏิบัติ ..................................................................................................................................... 11
ผลการศึกษา (Result) ........................................................................................................................................ 26
วิเคราะห์ผลการศึกษา ......................................................................................................................................... 27
สรุปผลการศึกษา (Conclusion)......................................................................................................................... 28
ปัญหา และ ข้อเสนอแนะ.................................................................................................................................... 29
เอกสารอ้างอิง (References) ............................................................................................................................. 30
สารบัญรูปภาพ
รูปที่ 3.1 ชุดกั้นล้อรถบรรทุกของแท่นดัมพ์แบบเก่า ...................................................................................... 12
รูปที่ 3.2 ชุดกั้นล้อรถบรรทุกของแท่นดัมพ์แบบใหม่ที่ได้รับการแก้ไขปรับติดตั้งแล้ว ..................................... 12
รูปที่ 3.3 แท่นดัมพ์ช่วยยกรถบรรทุกเททะลายปาล์มแบบเก่า ....................................................................... 13
รูปที่ 3.4 แท่นดัมพ์ช่วยยกรถบรรทุกเททะลายปาล์มแบบใหม่ที่ใช้ระบบไฮดรอลิกในการขับเคลื่อนที่ ........... 14
รูปที่ 3.5 แบบร่างสเก็ตโครงเสื้อติดตั้งมอเตอร์ตัวเดินไฮดรอลิกเพื่อใช้ออกแบบออกแบบด้วยโปรกแกรม Solid
Work ............................................................................................................................................................ 15
รูปที่ 3.6 โครงเสื้อมอเตอร์ตัวเดินไฮดรอลิกรูปแบบเก่า ................................................................................. 16
รูปที่ 3.7 โครงเสื้อมอเตอร์ตัวเดินไฮดรอลิกที่ออกแบบใหม่ ........................................................................... 16
รูปที่ 3.8 ปรับแก้โดยเปิดช่องด้านล่าง ........................................................................................................... 17
รูปที่ 3.9 โปรแกรม NX................................................................................................................................. 17
รูปที่ 3.10 โครงวางถังบ่มไวน์แบบเก่าที่ถังบ่มไวน์รับแรงกันเอง .................................................................... 18
รูปที่ 3.11 โครงวางถังบ่มไวน์แบบใหม่ที่ใช้โครงเหล็กในการรับแรง .............................................................. 19
รูปที่ 3.12 โครงขาสำหรับติดตั้งหัวพ่นสเปรย์น้ำแบบเอ็กลิฟท์ ...................................................................... 20
รูปที่ 3.13 โครงสร้างเรือ ............................................................................................................................... 21
รูปที่ 3.14 เรือเมื่อติดติดอุปกรณ์ .................................................................................................................. 21
รูปที่ 3.15 วงจรไฮดรอลิก ............................................................................................................................. 22
รูปที่ 3.16 และ รูปที่ 17 ........................................................................................................................... 23
รูปที่ 3.18 X-lift ........................................................................................................................................... 23
รูปที่ 3.19 ฝึกเขียนรูปแบบงานต่างๆ ............................................................................................................ 24
รูปที่ 3.20 ฝึกเขียนรูปแบบต่างๆ .................................................................................................................. 24
รูปที่ 3.21 ..................................................................................................................................................... 25
รูปที่ 3.22 ..................................................................................................................................................... 25
รูปที่ 3.23 ..................................................................................................................................................... 25
บทนำ
1.1 ที่มาและความสำคัญ
เอ็มเทคเป็นที่ยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะหน่วยงานสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีวัสดุและการผลิต สะท้อนได้จากคุณภาพของ
ผลงานที่เกิดจากความเชี่ยวชาญของทีมวิจัยตรงความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ
เศรษฐกิจและสังคมอย่างมีนัยสำคัญอันเกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรมืออาชีพในองค์กร
1.2 รายละเอียดเกี่ยวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการ
อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 ตาม พ.ร.บ.พัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นหน่วยงานที่บริหารกองทุนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอยู่ภายใต้การ
กำกับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
สวทช. มุ่งส่งเสริมระบบเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและส่งเสริมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับการ
เปลี่ยนให้ทันสถานการณ์ ผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยการนำ
ความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยให้ภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรมสามารถ
ดำเนินงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
หากเราจะมุ่งพัฒนาประเทศสู่ ‘เศรษฐกิจฐานความรู้’ นั่นหมายถึง ประเทศเราต้องไม่เพียงรับงาน
ประกอบชิ้นส่วน หรือไม่เพียงแต่ผลิตสินค้าตามแบบที่คนอื่นคิดไว้แล้ว เพราะอย่างไรก็จะมีคนอื่นที่ผลิตได้ถูกกว่า
ดังนั้น เราจำเป็นต้องสร้างสรรค์ และวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีของเราเอง อีกทั้งหาวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่
แล้ว ถ้าเราไม่สามารถพัฒนาตนเองในด้านนี้ได้แล้ว สิ่งที่แต่ละคนทำจะมีมูลค่าน้อย และจะบั่นทอนความก้าวหน้า
ทางเศรษฐกิจของชาติอีกด้วย
สวทช. จึงได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับส่วนราชการ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อเชื่อมโยงให้
นักวิทยาศาสตร์ไทยได้ทำงานกันอย่างใกล้ชิด และเข้าถึงความต้องการของทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม
ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ การแพทย์ สิ่งทอ การประมง และอื่นๆ ทั้งนี้
เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยี เกิดการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์
ความต้องการของ อุตสาหกรรม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศบนเวทีการค้าโลกได้
1.3 วัตถุประสงค์ (Objectives)
▪ เพื่อศึกษาการออกแบบชิ้นงานโดยใช้หลักวิศวกรรม
▪ เพือ่ สร้างเสริมประสบการณ์จากการลงพื้นที่ปฏิบัติหน้างานจริง
▪ เพือ่ เรียนรู้แนวคิดในการสร้างสรรค์และพัฒนาชิ้นงาน
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการปฏิบัติงาน
▪ มีความเข้าใจในด้านการออกแบบทางวิศวกรรมมากยิ่งขึ้น
▪ มีความรู้ในการทำงานเป็นขั้นตอน
▪ มีความรู้ทางด้านการลงพื้นที่หน้างานจริงมากยิ่งขึ้น
▪ สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นและมีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี
วิธีการศึกษา ( Method of Education)
2.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
- แรงลอยตัว คือแรงพยุงของของเหลวและแก๊สที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในของเหลวและแก๊สนั้น ทำให้วัตถุ
ลอยอยู่ได้ โดยมีทิศทางของแรงพุ่งขึ้นต่อต้านต่อน้ำหนักของวัตถุ ขนาดของแรงลอยตัวขึ้นอยู่กับความหนาแน่น
ของของเหลวหรือก๊าซนั้นและปริมาตรของวัตถุส่วนที่จม
สมการคำนวณแรงลอยตัว

𝐹𝑏 = 𝜌𝑉𝑔
เมื่อ 𝐹𝑏 คือ ขนาดของแรงลอยตัว มีหน่วยเป็น นิวตัน (N)

𝜌 คือ ความหนาแน่นของของเหลว มีหน่วยเป็น กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3)

𝑉 คือ ปริมาตรของของเหลวที่ถูกแทนที่ มีหน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร (m3)


- หาค่าแรงบิดที่มอเตอร์ไฮดรอลิกใช้ในการขับเคลื่อนชุดล้อใบพัด

𝑇𝑜𝑟𝑞𝑢𝑒 = 𝐹 × 𝑟
2.1 การออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้ Solidworks
โปรแกรม Solidworks เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานสูงมาก คือสามารถที่จะทำงาน
มากมายหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นชิ้นงานที่ต้องขึน้ เป็น solid หรือ surface ก็มีเครื่องที่รองรับเป็นอย่างดีเมื่อสร้าง
ชิ้นงานเสร็จเรียบร้อยสามารถที่จะประกอบชิ้นงานได้้ใน Mode ของชุดคำสั่ง Assembly รวมทัง้ ผู้ต้องการ
Drawing ของชิ้นงาน ก็เพียงลากชิ้นงานมาวางในใบงานแล้วขนาด จะมองเห็นได้ว่าผู้ใช้งานสามารถที่จะ
ประหยัดเวลาในการทำ งานและสนุกกับการทำงานอีกด้วย
2.1.1 ความสำคัญของงานเขียนแบบ
ในการสื่อสารระหว่างผู้คิดสิ่งประดิษฐ์กับผผู้ลิตในทางงานวิศวกรรม ให้สามารถปฏิบัตงิ านได้
อย่างรวดเร็วและถูกต้องนั้นการใช้รปู สัญลักษณ์หรือรูปภาพเป็นมาตรฐานตามวิธีการงานเขียนแบบจะทำให้การ
สื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิ์ภาพ
2.1.2 ระบบและมาตรฐานการเขียนแบบ
งานเขียนแบบที่มีคุณภาพที่สามารถใช้ในการสื่อสารใช้ผู้ที่อยู่ในอาชีพเดียวกันให้เข้าใจตรงกัน
ของวิชาชีพ วิศวกรรมสาขาต่าง ๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีองค์กรกลางเป็นผู้กำหนดมาตรฐานที่ เกี่ยวข้องกับ
งานเขียนแบบ ในแต่ละสาขาให้เป็นไปในแนวปฏิบัติเดียวกัน
หน่วยงานระบบและมาตรฐานสากล
ISO ( International Organization for Standardization ) องค์ระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน
เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่บัญญัติศพั ท์ให้ความหมายกำหนดรูปสัญลักษณ์กำหนดคุณสมบัติ คุณภาพของบริภัณฑ์ต่างๆ
ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และสาขาอื่นๆ
2.2 มาตรฐานของกระดาษเขียนแบบ
ตามมาตรฐาน DIN 476 ได้กำหนดมาตรฐานขนาดเขียนแบบขนาด DIN A0 ( กระดาษที่มีพื้นที่ 1
ตารางเมตรและมีอัตราส่วนด้านยาว: ด้านกว้าง เป็น 1:2 ) และเมื่อแบ่งย่อยลงไปจะได้เป็นขนาด A1 A2 A3 A4
A5 และ A6 ดังนี้

ตารางที่ 1 รูปแบบและขนาดของกระดาษเขียนแบบตามมาตรฐาน DIN 476


รายละเอียดงานที่ปฏิบัติ
ได้รับงานในด้านการออกแบบ โดยให้พัฒนา ปรับแก้ไข้ชิ้นงานเพื่อให้เกิดความแข็งแรงแต่การใช้งานแต่
ละประเภท
งานชิ้นที่ 1 การลงพื้นที่ปฏิบัติงานปรับปรุงแก้ไขชุดกั้นล้อหลังรถบรรทุกของแท่นดัมพ์ช่วยในการยก
รถบรรทุกเททะลายปาล์ม
เป็นการปรับแก้ชุดกั้นล้อหลังรถบรรทุกของแท่นดัมพ์ รุ่นแรก เนื่องจากชุดกั้นล้อหลัง
รถบรรทุกของแท่นดัมพ์แบเดิมเป็นแบบ เชื่อมประกอบกับโครงถาดดัมพ์ และพับขึ้นลงได้ เมื่อต้องการที่จะกั้นล้อก็
สามารถพับที่กันล้อขึ้น ซึ่งจะมีปัญหาเมื่อผู้ปฏิบัติงานพับที่กั้นล้อหลังขึ้นซึ่งทำให้ที่กันล้อหลังรถบรรทุกสูงขึ้น และ
เมื่อทำการถอยหลังรถบรรทุกปาล์มที่บรรทุกปาล์มปริมาณมากโครงกระบะรถบรรทุกถูกกดให้ต่ำทำให้ บังโคลน
และแหนบของล้อหลังรถบรรทุกไปชนกับที่กั้นล้อหลังเกิดความเสียหาย จึงทำให้การใช้งานแท่นดัมพ์ทำได้จำกัด
และไม่เกดความปลอดภัย ทางทีมวิจัย จึงได้ทำการออกแบบชุดกั้นล้อหลังใหม่เป็น โครงสร้างแบบหูยึดเพลาที่รอย
เข้ากับชุดกั้นล้อซึ่งสามารถปรับเลื่อนตำแหน่งได้ เพื่อที่จะสามารถเลื่อนชุดตัวกันล้อหลบไม่ให้ชนกับ ชุดบังโคลน
ล้อ และแหนบของรถบรรทุกได้ เมื่อทำการถอยหลังรถบรรทุกปาล์มขึ้นมาบนโครงถาดดัมพ์ แล้วจึงเลื่อนชุดกั้นล้อ
รถมาตรงกับตำแหน่งของล้อรถได้ ทำให้มีความปลอดภัยในการใช้งานแท่นดัมพืมากขึ้น และเจ้าของรถบรรทุกก็จะ
ไม่กังวลว่า บังโคลนล้อ และชุดแหนบของรถบรรทุกจะไปชนกับชุดกั้นล้อแล้วเกิดความเสียหาย
ดังนั้นทีมวิจัย และทีมงานช่าง นักศึกษาฝึกงานจึงได้ดำเนินการนำชุดกั้นล้อหลังแบบใหม่ไปทำ
การติดตั้งแทนชุดกั้นล้อหลังรถบรรทุกแบบเดิม กับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรที่ได้ร่วมทดสอบใช้งานแท่นดัมพ์ 3 แห่ง
ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรดอนยาง จำกัด สหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร จำกัด และ สหกรณ์การเกษตรหลัง
สวน จำกัด ที่ จ.ชุมพร
รูปที่ 3.1 ชุดกั้นล้อรถบรรทุกของแท่นดัมพ์แบบเก่า

รูปที่ 3.2 ชุดกั้นล้อรถบรรทุกของแท่นดัมพ์แบบใหม่ที่ได้รับการแก้ไขปรับติดตั้งแล้ว


งานที่ 2 การออกแบบตัวเสื้อโครงสร้างเหล็กมอเตอร์ตัวเดินที่จะนำไปเชื่อมกับโครงสร้างฐานของ
แท่นดัมพ์แบบใหม่
จากการพัฒนาแท่นดัมพ์ช่วยยกรถบรรทุกเททะลายปาล์มในรุ่นที่ 1 จะเป็นการออกแบบแท่น
ดัมพ์ที่มีระบบขับเคลื่อนที่ใช้ระบบส่งกำลังจากเครื่องยนต์ผ่านชุดเกียร์ ไปขับเพลา และขับชุดเฟืองท้าย ของล้อ
หลังแท่นดัมพ์ ซึ่งมีระบบบังคับเลี้ยวด้วยพวงมาลัยพวงมาลัยที่ล้อหน้า ซึ่งใช้เครื่องยนต์ขนาดใหญ่ 100 แรงม้า
เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนติดตั้งอยู่บนโครงห้องบังคับทางด้านข้างของโครงแท่นดัมพ์ และชุดเครื่องยนต์ต้น
กำลังดังกล่าวจะต่อพ่วงขับกับชุดระบบปั๊มไฮดรอลิกสำหรับจ่ายน้ำมันไฮดรอลิกผ่านระบบวาล์วไฮดรอลิกเข้าสู่
กระบอกไฮดรอลิกที่ติดตั้งอยู่ระหว่างโครงฐานแท่นดัมพ์ กับโครงถาดดัมพ์ สำหรับใช้ในการควบคุมกระบอกไฮดรอ
ลิกให้ยืดออกในการยกถาดดัมพ์ที่มีรถบรรทุกอยู่ด้านบนให้เอียงขึ้น และทะลายปาล์มในกระบะรถบรรทุกไหลตก
ลงมาททางด้านหลังรถบรรทุกและแท่นดัมพ์
ซึ่งในการออกแบบพัฒนาแท่นดัมพ์ช่วยในการยกรถบรรทุกเททะลายปาล์มแบบเก่านั้น มีต้นทุน
ในการผลิตสูง และผู้ใช้งานแท่นดัมพ์จะต้องมีความสามารถในการขับรถยนต์ได้ก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้
เนื่องจากเป็นการออกแบบลักษณะการใช้งานแบบการขับรถบรรทุก จึงเป็นข้อจำกัดในการใช้งานแท่นดัมพ์

รูปที่ 3.3 แท่นดัมพ์ช่วยยกรถบรรทุกเททะลายปาล์มแบบเก่า


การออกแบบพัฒนาแท่นดัมพ์ช่วยในการยกเทททะลายปาล์มแบบใหม่นั้นทางทีมวิจัยได้ทำการ
ออกแบบชุดระบบต้นกำลัง การขับเคลื่อนที่ของแท่นดัมพ์ใหม่ให้ใช้การทำงานของระบบไฮดรอลิกเป็นหลัก ซึ่งจะ
ทำให้ใช้ต้นกำลังเครื่องยนต์ขนาดเล็กประมาณ 11 แรงม้าขับชุดปั๊มไฮดรอลิก จ่ายน้ำมันไฮดรอลิกผ่านระบบ
วาล์วไฮดรอลิกในการจ่ายน้ำมันไปยังชุดมอเตอร์ตัวเดินไฮดรอลิกที่ติดตั้งเป็นชุดล้อขับเคลื่อนทางด้านหลังของแท่น
ดัมพ์ ส่วนล้อทางด้านหน้าของแท่นดัมพ์จะเป็นล้ออิสระ และจ่ายน้ำมันไฮดรอลิกไปควบคุมกระบอกไฮดรอลิก
ในการยกโครงถาดดัมพ์ขึ้นลง

รูปที่ 3.4 แท่นดัมพ์ช่วยยกรถบรรทุกเททะลายปาล์มแบบใหม่ที่ใช้ระบบไฮดรอลิกในการขับเคลื่อนที่

ซึ่งในการใช้ระบบมอเตอร์ตัวเดินไฮดรอลิกในการขับเคลื่อนที่แท่นดัมพ์ จะต้องมีการออกแบบชุดโครงสื้อ
ที่ตดิ ตั้งกับโครงฐานแท่นดัมพ์ และใช้เป็นแท่นติดตั้งมอเตอ์ตัวเดินไฮดรอลิกสำหรับขับเคลื่อนล้อหลังของแท่นดัมพ์
ซึ่งตัวโครงสร้างเสื้อสำหรับติดตั้งกับโครงฐานแท่นดัมพ์และมอเตอร์ตัวเดินนี้จะต้องมีความแข็งแรงสามารถรองรับ
น้ำหนักรวมของแท่นดัมพ์ได้โดยไม่เกิดความเสียหาย และจะต้องสามารถถอดประกอบติดตั้งมอเตอร์ตัวเดินไฮดรอ
ลิกได้ง่าย สำหรับการซ่อมบำรุงรักษาด้วย
การออกแบบโครงสร้างเสื้อ สำหรับยึดโครงฐ่นแท่นดัมพ์เพื่อใช้ติดตั้งมอเตอร์ตัวเดินไฮดรอลิก
จากงานที่แล้ว โดยการกำหนดแบบขึ้นมาใหม่เพื่อให้มีความแข็งแรงมากขึ้นพี่วิศวกรจึงได้
ออกแบบโครงร่างใส่กระดาษขึ้นมาเพื่อให้เขียนขึ้นในโปรแกรม Solidworks

รูปที่ 3.5 แบบร่างสเก็ตโครงเสื้อติดตั้งมอเตอร์ตัวเดินไฮดรอลิกเพื่อใช้ออกแบบออกแบบด้วยโปรกแกรม Solid


Work

ในการออกแบบโครงเสื้อมอเตอร์ตัวเดินไฮดรอลิกแบบใหม่ ซึ่งจะมีชุดหน้าแปลนแบบตัวซี
สำหรับนำไปเชื่อมประกอบติดตั้งกับโครงฐานแท่นดัมพ์ นั้นในสส่วนนี้จะต้องมีความแข็งรงเพียงพอที่จะสามารถ
รองรับน้ำหนักของแท่นดัมพ์ ร่วมทั้งน้ำหนักของรถบรรทุกทั้งหมดได้ประมาณ 8 ตันได้ จึ่งจะต้องมีการออกแบบ
เสริมแรงชุดหน้าแปลนตัวซีดังกล่าวเป็นแบบครีบระหว่างหว่างผนังด้านบนหน้าแปลน กับผนังของโครงเสื้อติดตั้ง
มอเตอร์ตัวเดินไฮดรอลิก ทั้งทางด้านล่างและด้านบน
รูปที่ 3.6 โครงเสื้อมอเตอร์ตัวเดินไฮดรอลิกรูปแบบเก่า

รูปที่ 3.7 โครงเสื้อมอเตอร์ตัวเดินไฮดรอลิกที่ออกแบบใหม่


การปรับปรุงแก้ไขโครงเสื้อมอเตอร์ตัวเดินไฮดรอลิกที่ออกแบบใหม่
เนื่องจากกล่องที่ออกแบบใหม่นั้นไม่สามารถยึดน็อตที่ตัวล่างสุดได้จึงได้ทำการปรับแก้ไขโดย
เปิดด้านล่างเป็นช่องเพื่อที่จะใช้มือเข้าไปในการขันน็อตตัวล่างสุดได้ดังรูป

รูปที่ 3.8 ปรับแก้โดยเปิดช่องด้านล่าง


ได้ทำการทดสอบความแข็งแรงของวัสดุโดยใช้โปรแกรม NX CAD CAM ดูว่าตรงไหนรับแรง
มากหรือน้อยถ้าส่วนไหนมีการรับแรงน้อยโปรแกรมจะแสดงผลเป็นสีฟ้าซึ่งเราสามารถพิจารณาได้ว่าสามารถตัด
ส่วนนั้นออกเพื่อลดภาระที่ไม่จำเป็นได้หรือไม่
*หมายเหตุ ไม่สามารถทราบผลการทดลองได้เนื่องจากระยะเวลาในการทดสอบไม่เพียงพอ
เพราะว่าต้องจองเครื่องที่จะทดลอง จึงไม่ทันได้ทดสอบ

รูปที่ 3.9 โปรแกรม NX


งานที่ 3 ออกแบบชุดโครงสร้างเหล็กสำหรับวางถังไวน์
เนื่องจากโครงสร้างวางถังบ่มไวน์แบบเก่า ถูกออกแบบไว้สำหรับการวางถังบ่มไวน์แบบ 1-2 ชั้น
เมื่อผู้ประกอบการโรงบ่มไวน์มีการปรับปรุงห้องบ่มไวน์ใหม่ สำหรับต้องการให้สามารถบ่มไวน์ได้มากขึ้นจึงต้องมี
ระบบการจัดการวางถังบ่มไวน์ในแนวดิ่งเข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณการเก็บถังบ่มไวน์ได้มากขึ้นในพื้นที่เท่าเดิม
ดังนั้นจะมีการนำชุดโครงสร้างวางถังบ่มไวน์มาซ้อนกัน แต่รูปแบบโครงสร้างวางถังบ่มไวน์แบบเก่า จะทำให้ถังบ่ม
ไวน์ที่อยู่ในชั้นล่างสุดรับแรงมากขึ้น จึงมีความกังวลว่าเมื่อมีการซ้อนถังไว้ที่สูงขึ้นมากๆจะทำห็โครงถังบ่มไวน์เกิด
ความเสียหายได้ จึงทำให้ไม่สามารถซ้อนถังบ่มไวน์ได้สูงหลายๆชั้นได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกแบบ
โครงสร้างเหล็กสำหรับวางถังบ่มไวน์ที่สามารถซ้อนกันได้หลายๆชั่น ประมาณ 3 - 5 ชั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
เชิงพื้นที่ของโรงบ่มไวน์มากขึ้น

รูปที่ 3.10 โครงวางถังบ่มไวน์แบบเก่าที่ถังบ่มไวน์รับแรงกันเอง


การออกแบบโครงสร้างถังบ่มไวน์แบบใหม่
การออกแบบโครงสร้างเหล็กวางถังบ่มไวน์แบบใหม่จะเป็นการออกแบบโครงสร้างเหล็กที่จะใช้การ
ถ่ายแรงการรับน้ำหนักในแต่ละชั้นผ่านชุดโครงเสาเหล็กต่อระหว่างโครงวางถัวบ่นไวน์ตัวบนกับโครงถังบ่มไวน์ตัว
ล่าง และในช่องวางถังบ่มไวน์จะออกแบบให้มีล้อสำหรับรองรับถังไวน์ในแต่ละช่อง

รูปที่ 3.11 โครงวางถังบ่มไวน์แบบใหม่ที่ใช้โครงเหล็กในการรับแรง

งานที่ 4 การออกแบบชุดโครงขายึดหัวพ่นสเปย์น้ำดับไฟ สำหรับติดตั้งบนโครงสร้างหุ่นยนต์ดับไฟ


จากกการออกแบบพัฒนาหุ่นยนต์ดับไฟ เพื่อช่วยในงานระงับอัคคีไพต่างๆ ซึ่งทีมวิจัยงาน
พัฒนาเครื่องจักรกล จะออกแบบเป็นหุ่ยนต์แบบล้อแทรกติดตั้งอุปกรณ์หัวพ่นสเปรย์น้ำสำหรับทำการดับไฟอยู่
ทางด้านบน ซึ่งชุดหัวอุปกรณ์พ่นเสปรย์ละอองน้ำช่วยดับไฟนี้จะต้องสามารถปรับระดับความสูง และองศาการ
เอียงของหัวพ่นละอองน้ำดับไฟได้ เพื่อที่จะสามารถออกแบบติดตั้งกับระบบควบคุมที่บังคับชุดหัวพ่นเสปรย์ละออง
น้ำที่สามารถพ่นเสปรย์กระแสละอองน้ำได้ตรงกับตำแหน่งของต้นกองเพลิงได้ เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพในการ
ดับเพลิงได้ดี และใช้ปริมาณน้ำในการดับเพลิงน้อย จึงจะต้องมีการออกแบบชุดโครงขาสำหรับติดตั้งหัวพ่นเสปรย์
น้ำดับไฟให้มีฟังก์ชั่นตามกำหนด และสามารถติดตั้งอยู่บนโครงสร้างด้านบนของหุ่นยนต์ดับไฟได้อย่างเหมาะสม
การออกแบบชุดโครงขาสำหรับติดตั้งหัวพ่นสเปรย์น้ำสำหรับหุ่นยนต์ดับไฟ
จากความต้องการชุดโครงขาสำหรับติดตั้งหัวพ่นเสปรย์น้ำสำหรับหุ่ยนต์ดับไฟ ที่สามารถ
ควบคุมปรับระยะความสูงของหัวพ่นสเปรย์ละอองน้ำจึงได้ออกแบบชุดขาสำหรับติดตั้งหัวพ่นสเปรย์น้ำ เป็น
แบบเอ็กลิฟท์ ซึ่งควบคุมการยืด- หด ปรับระดับความสูงของหัวพ่นเสปรย์ละอองน้ำได้ ด้วยกระบอกไฮดอรลิกที่ติด
ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของโครงเอ็กลิฟท์ และจะนำโครงสร้างของเอ็กลิฟท์ไปติดตั้งอยู่ด้านบนโครงฐาน slewing Gear
ที่สามารถหมุนได้รอบตัว 360 องศา ก็จะสามารถทำให้หุ่นยนต์สามารถทำการดับไฟได้หลายทิศทางโดยรอบตัว

รูปที่ 3.12 โครงขาสำหรับติดตั้งหัวพ่นสเปรย์น้ำแบบเอ็กลิฟท์

งานที่ 5 การติดตั้งอุปกรณ์ระบบไฮดรอลิกในเรือช้อนขยะขนาดเล็ก
จากที่ทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล ได้ทำการออกแบบเรือช้อนขยะผิวน้ำขนาดเล็กซึ่งใช้
ระบบต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์ขับปั๊มไฮดรอลิก สำหรับดูดน้ำมันจากถังไฮดรอลิกผ่านระบบวาล์วไฮดรอลิกในการ
จ่ายน้ำมันไฮดรอลิกไปยังชุดกระบอกไฮดอรลิก2 ชุด ของแขนบูมติดตั้งตั้งบุ้งกี๋ช้อนขยะ และจ่ายน้ำมันไปยัง
มอเตอร์ไฮดรอลิก 2 ชุดสำหรับควบคุมการขับเคลื่อนวงล้อใบพัดทางด้านข้างเรือให้ทำงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะ
นำไปใช้ในการช้อนขยะผิวน้ำในคูคลองขนาดเล็ก เพื่อเป็นเครื่องทุ่นแรงในการดูแลบำรุงรักษาคูคลองส่งน้ำให้
สะอาด และสามารถระบายน้ำได้ดี แก้ปัญมหาน้ำในคูคลองเน่าเสียได้
จากการดำเนินงานสร้างต้นแบบเรือช้อนขยบะผิวน้ำ นั้นได้มีการประกอบโครงทุ่นเรือ และติดตั้งชุด
โครงสร้างแขนบูมสำหรับบุ้งกี๋ช้อนขยะ โดยชุดแขนบูมของบุ้งกี๋ช้อนขยะจะควบคุมด้วยกระบอกไฮดรอลิก จำนวน
2 ชุด โดยกระบอกที่ 1 สำหรับควคุมการยก ขึ้น-ลงของชุดแขนบูม และ ชุดกระบอกไฮดรอลิกที่ 2 จะใช้สำหรับ
ควบคุมการคว่ำ-หงายบุ้งกี๋ ซึ่งจะต้องมีการออกแบบระบบวงจรไฮดรอลิก และติดตั้งอุปกรณ์ไฮดรอลิกดัง กล่าว
เพื่อทดสอบการทำงานของชุดแขนบูมช้อนขยะในเบื้องต้น ซึ่งได้มอบหม่ายให้ทดลองออกแบบระบบวงไฮดรอลิก
ในเบื้องต้น และร่วมทดสอบฟังก์ชั่นการทำงานของชุดแขนบูมบุ้งกี๋ช้อนขยะ เพื่อจะได้มีความเข้าการออกแบบใช้
ระบบไฮดรอลกในเครื่องจักรกลเบื้องต้น ในเบื้องต้น

รูปที่ 3.13 โครงสร้างเรือ

รูปที่ 3.14 เรือเมื่อติดติดอุปกรณ์


วงจรไฮดรอลิกเรือควบคุมการทำงานทั้ง 4 อย่าง คือ ยกแขนบูม คว้ำ-หงายบุ้งกี้ ล้อใบพัด1
และ ล้อใบพัด 2 จากรูปที่แสดงจะเห็นว่ามีการติดตั้ง Flow control ในตอนที่แขนบูมลงเพราะว่าตอนลงอาจจะ
มีความเร็วที่ไวเกินไปทำให้อาจจะเกิดอันตรายแก่คนได้ จึงต้องมีการควบคุมความเร็วในตอนลง

รูปที่ 3.15 วงจรไฮดรอลิก


*เนื่องจากเราไม่รู้ว่าเรือจะกินน้ำลึกเท่าไหร่จากท้องเรือ และ เรือมีความสมดุลหน้า-หลังหรือไม่ ดังนั้นในการ
ออกแบบจึงมีการเผื่อการเลื่อนสิ่งของบนเรือไว้เมื่อตอนเอาลงน้ำทดสอบ
งานเขียนแบบทั่วไป
เขียนแบบแม่แรงที่ใช้ช่วยผ่อนแรงในการใช้งานสิ่งต่างๆ

รูปที่ 3.16 รูปที่ 3.17

รูปที่ 3.18 X-lift


รูปที่ 3.19 ฝึกเขียนรูปแบบงานต่างๆ

รูปที่ 3.20 ฝึกเขียนรูปแบบต่างๆ


รูปที่ 3.21

รูปที่ 3.22

รูปที่ 3.23
ผลการศึกษา (Result)
จากการทำงานตลอดระยะเวลาฝึกงานภาคฤดูร้อนนี้ทำให้เรียนรู้ถึงหลักการที่ใช้ในการออกแบบทาง
วิศวกรรม การเขียนแบบโดยใช้โปรแกรมโดยคำนึงถึงวัสดุชิ้นไหนรับแรงมากหรือน้อยร่วมด้วยกับการออกแบบ
รวมทั้งยังได้รับประสบการณ์ในการคิดพัฒนาเครื่องจักรกล ระบบขั้นตอนในการทำงาน และยังได้ประสบการณ์ใน
การทำงานจริงในหน้างานโดยสามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดีรวมทั้งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยมีพี่ๆคอย
ให้คำปรึกษาร่วมด้วย
วิเคราะห์ผลการศึกษา
จากประสบการณ์ในการฝึกงานภาคฤดูร้อนนี้ทำให้เกิดผลประโยชน์ในตัวข้าพเจ้าอย่างมากในหลายๆ
ด้านโดยยกตัวอย่างเป็นข้อๆดังนี้
➢ ได้ความรู้หลักในการออกแบบทางวิศวกรรมเพิ่มมากขึ้นในการทำงานจริง
➢ ได้ฝึกทำงานร่วมกับผู้อื่น
➢ ได้ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
➢ ได้การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การนอบน้อม การเคารพผู้อาวุโส
➢ ได้รับผิดชอบงานที่มอบหมายให้สำเร็จ
สรุปผลการศึกษา (Conclusion)
ออกแบบทางวิศวกรรมโดยใช้การวิเคราะห์การรับแรงในชิ้นส่วนต่างๆ การผลิต ติดตั้ง ประกอบและ
พัฒนาเครื่องจักรกลรวมทั้งยังปรับปรุงบางส่วนให้ดีขึ้นเนื่องจากเครื่องจักรบางส่วนต้องปรับปรุงให้มีประสิทธิ์ภาพ
มากขึ้นและความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งานรวมทั้งยังต้องคำนึกถึงความปลอดภัยการใช้งานอีกด้วย โดยใช้ผลตอบ
รับจากผู้ใช้งานจริงในการออกแบบปรับปรุงต่อไป
ปัญหา และ ข้อเสนอแนะ
การปฏิบัติในการฝึกงานภาคฤดูร้อนได้ศึกษาการออกแบบ การทดสอบวัสดุ การประยุกต์ใช้ความคิดใน
การพัฒนาเครื่องจักรกล พบปัญหา ดังนี้
1. เนื่องจากเจอวัสดุที่แตกต่างกันจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่าวัสดุไหนรับแรงจากตรงไหนมาก หรือน้อย
2. เนือ่ งจากในการทดสอบทางโปรแกรมอาจจะใช้ระยะเวลาค่อยข้างนาน
3. การให้ขนาดของงานเขียนแบบให้เป็นไปตามสากลโลก
ข้อเสนอแนะ เนื่องด้วยการทำงานจริงในเชิงปฏิบัติอาจจะไม่ได้มีเขียนไว้ในทฤษฎีเราจึงควรที่จะศึกษา
ข้อมูลสิ่งที่เราจะทำในเครื่องจักรแต่ละประเภทให้รอบครอบ
เอกสารอ้างอิง (References)
การออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (9 มิถุนายน 2565). Available URL :
https://www.research-system.siam.edu/images/coop/Engineer02/9-
%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97-2.pdf
แรงลอยตัว (9 มิถุนายน 2565). Available URL :
https://sites.google.com/site/thermophysic/khxnghil/buoyant-force
ฝึกเขียนแบบ ( 1 มิถุนายน 2565). Available URL :
https://www.pinterest.com/benchter/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%
B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%
9A%E0%B8%9A/
ฝึกเขียนแบบ ( 1 มิถุนายน 2565). Available URL :
https://www.youtube.com/c/CADCAMTUTORIAL/community

You might also like