You are on page 1of 40

แนวทางการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูง

Guideline for Health Examination of Height Workers

พ.ศ. 2562
2019 Version

มูลนิธิสัมมาอาชีวะ
Summacheeva Foundation

จัดพิมพ์และเผยแพร่โดยมูลนิธิสัมมาอาชีวะ
800/3 ถนนสุขุมวิท ตําบลแสนสุข อําเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20130
เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ (ISBN) 978-616-8257-09-8
ข้อมูลบรรณานุกรม
มูลนิธิสัมมาอาชีวะ. แนวทางการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูง พ.ศ. 2562.
ชลบุรี: มูลนิธิสัมมาอาชีวะ; 2562. จํานวน 40 หน้า หมวดหมู่หนังสือ 616.98
วันที่เผยแพร่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562
จัดพิมพ์ขึ้นสําหรับแจกฟรีให้แก่ผู้ที่สนใจ
เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย (CC BY 3.0 TH)
อนุญาตให้นําไปใช้อ้างอิง ทําซ้ํา ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มา
หน้าว่าง
คํานํา
การทํางานบนที่สูงเป็นงานที่มีอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างยิ่ง การขึ้นที่สูง
ลูกจ้างจะต้องทําด้วยความระมัดระวัง และอยู่ภายใต้การดูแลตามมาตรการด้านความปลอดภัยจากนายจ้างอย่าง
ใกล้ชิด อย่างไรก็ตามด้วยลักษณะของงานที่มีอันตรายสูง ทุกๆ ปี ในประเทศไทยจึงยังพบรายงานการเสียชีวิตและ
เจ็บป่วยจากการทํางานชนิดนี้อยู่เสมอ การตรวจประเมินสุขภาพคนทํางานที่จะขึ้นไปทํางานบนที่สูง เพื่อพิจารณา
ให้ผู้ที่มีความพร้อมของสุขภาพร่างกายและจิตใจเพียงพอเท่านั้นเข้าไปทํางาน เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดโอกาส
การเกิดอุบัติเหตุ การสูญเสียชีวิตและเจ็บป่วยลงได้ กฎหมายด้านแรงงานของประเทศไทยเกี่ยวกับการทํางานบนที่
สูงมีกล่าวไว้ในกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551, มาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการ
ทํางานบนที่สูง (มปอ. 101: 2561) โดยสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ
ทํางาน (องค์การมหาชน) และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทํางานบนที่สูง ได้มีการกําหนดให้มีมาตรการ
ป้องกันอั นตรายจากการทํางานบนที่สูงด้ วยวิ ธีการต่างๆ แล้วนั้ น แต่ในประเทศไทยยังไม่เคยมีแนวทางด้าน
การแพทย์ที่เกี่ยวกับเรื่องการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูงมาก่อน ด้วยเหตุนี้ทางมูลนิธิสัมมาอาชีวะจึงได้จัดทํา
“แนวทางการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูง พ.ศ. 2562” ฉบับนี้ขึ้น มุ่งหวังเพื่อให้เป็นแนวทางสําหรับแพทย์ผู้ทํา
การตรวจสุขภาพ และสถานประกอบการต่างๆ ได้ใช้อ้างอิงในการดําเนินการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูงใน
ประเทศไทยได้อย่างมีมาตรฐาน มีการตรวจและแปลผลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มูลนิธิสัมมาอาชีวะหวังเป็นอย่าง
ยิ่งว่า “แนวทางการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูง พ.ศ. 2562” ฉบับนี้ จะเป็นแนวทางที่ช่วยให้การตรวจสุขภาพ
คนทํางานบนที่สูงในประเทศไทย มีการดําเนินการอย่างมีคุณภาพ อันจะนําไปสู่การลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
และเจ็บป่วยของคนทํางานได้อย่างเหมาะสมต่อไป

มูลนิธิสัมมาอาชีวะ
5 ตุลาคม พ.ศ. 2562


สารบัญ
คํานํา ก
สารบัญ ค
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร จ
บทนํา 1
นิยามของการทํางานบนที่สูง 1
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2
อันตรายจากการทํางานบนที่สูง 3
แนวทางการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูง 3
 คุณสมบัติของผู้ตรวจสุขภาพ 4
 ความถี่ในการเข้ารับการตรวจสุขภาพ 4
 การสอบถามข้อมูลลักษณะการทํางาน 4
 การสอบถามข้อมูลสุขภาพและการตรวจร่างกายโดยแพทย์ 5
 การตรวจพิเศษ 14
 การสรุปผล 20
 การให้คําแนะนํา 22
ข้อจํากัดและโอกาสในการพัฒนา 23
เอกสารอ้างอิง 24
ภาคผนวก: ตัวอย่างใบรับรองแพทย์สําหรับการทํางานบนที่สูง 26


ความรับ ผิด ชอบในการคุ้ม ครองสุข ภาพและความปลอดภัย ของคนทํา งานในประเทศไทยนั้น เป็น หน้า ที่
ร่วมกันของนายจ้าง ตัวคนทํางานผู้นั้นเอง และผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านอาชีวอนามัยที่ทําหน้าที่ดูแลคนทํางานผู้นั้น
หนังสือเล่มนี้เป็นเพียงข้อมูลทางวิชาการที่เผยแพร่เพื่อเป็นเครื่องช่วยในการดูแลสุขภาพคนทํางานในประเทศไทย ซึ่งเป็น
เพียงข้อมูลประกอบการตัดสินใจเท่านั้น และการนําหนังสือเล่มนี้ไปใช้เป็นแบบไม่มีการบังคับ มูลนิธิสัมมาอาชีวะจะไม่
รับผิดชอบต่อผลเสียใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นกับคนทํางาน เนื่องจากการนําเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ไปใช้


บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
แนวทางการตรวจสุข ภาพคนทํ า งานบนที่สู ง พ.ศ. 2562 ฉบั บ นี้ เป็ น แนวทางที่จั ด ทํ า โดยมู ล นิ ธิ
สัมมาอาชีวะ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แพทย์ที่ตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูงในประเทศไทย ได้ใช้เป็นแนวทางใน
การตรวจประเมินสุขภาพของคนทํางานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีข้อสรุปดังนี้
ผู้ออกใบรับรองแพทย์สําหรับการทํางานบนที่สูงจะต้องเป็นแพทย์ โดย “แพทย์” ในที่นี้ หมายถึงผู้
ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525
ระยะเวลาของการรับรองสุขภาพ แนะนําให้คนทํางานบนที่สูงเข้ารับการตรวจสุขภาพทุก 1 ปี เป็น
อย่างน้อย แต่ในกรณีที่แพทย์เห็นว่าคนทํางานนั้นมีความเสี่ยงสูง อาการของโรคอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่
เสื่อมลงได้เมื่อเวลาผ่านไป อาจแนะนําให้คนทํางานนั้นมาตรวจประเมินสุขภาพถี่บ่อยขึ้นเพื่อความปลอดภัยต่อ
ตัวคนทํางานผู้นั้นเองก็ได้
ในการประเมินสุขภาพของคนทํางานบนที่สูงแพทย์ควรสอบถามข้อมูลสุขภาพของผู้เข้ารับการตรวจ
สุขภาพ ด้วยคําถามคัดกรองอย่างน้อย 24 ข้อ ได้แก่ (1.) คําถามเกี่ยวกับการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือ
หลอดเลือดหัวใจตีบ (2.) คําถามเกี่ยวกับโรคลิ้นหรือผนังหัวใจตีบหรือรั่ว (3.) คําถามเกี่ยวกับโรคหัวใจเต้น
ผิดจังหวะ (4.) คําถามเกี่ยวกับโรคหัวใจชนิดอื่นๆ (5.) คําถามเกี่ยวกับโรคหอบหืด (6.) คําถามเกี่ยวกับโรค
ปอดชนิดอื่นๆ (7.) คําถามเกี่ยวกับโรคลมชักและอาการชัก (8.) คําถามเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือ
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (9.) คําถามเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาต (10.) คําถามเกี่ยวกับอาการวูบ
หน้ามืด หรือหมดสติในทันทีทันใด (11.) คําถามเกี่ยวกับโรคระบบประสาทชนิดอื่นๆ (12.) คําถามเกี่ยวกับ
โรคเกี่ยวกับหูชั้นในหรือโรคที่ทําให้เกิดอาการบ้านหมุน วิงเวียน มึนงง (13.) คําถามเกี่ยวกับโรคปวดข้อ
หรือข้ออักเสบเรื้อรัง (14.) คําถามเกี่ยวกับโรคหรือความผิดปกติของกระดูกและข้อ (15.) คําถามเกี่ยวกับ
ความผิดปกติของการมองเห็นหรือการได้ยิน (16.) คําถามเกี่ยวกับโรคกลัวที่สูงอย่างรุนแรง (17.) คําถาม
เกี่ยวกับโรคจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท (18.) คําถามเกี่ยวกับความคิดอยากฆ่าตัวตาย (19.) คําถาม
เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง (20.) คําถามเกี่ยวกับโรคเบาหวาน (21.) คําถามเกี่ยวกับโรคหรืออาการ
เลือดออกง่าย (22.) เฉพาะคนทํางานเพศหญิง - คําถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ (23.) เฉพาะคนทํางานเพศ
หญิง - คําถามเกี่ยวกับประจําเดือนครั้งสุดท้าย และ (24.) คําถามเกี่ยวกับการเจ็บป่วยเป็นโรคอื่นๆ หรือ
ประวัติทางสุขภาพที่สําคัญอื่น นอกจากนี้ แพทย์ควรทําการตรวจร่างกายผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ และทํา
การสอบถามข้อมูลลักษณะการทํางานเมื่อเห็นว่าจําเป็นด้วย
หลังจากสอบถามข้อมูลสุขภาพและตรวจร่างกาย ควรทําการตรวจพิเศษเพื่อดูสมรรถภาพร่างกายของ
ผู้เข้ารับการตรวจว่ามีความพร้อมในการทํางานบนที่สูงหรือไม่ โดยรายการตรวจพิเศษและเกณฑ์การพิจารณา
เป็นดังนี้


รายการตรวจ เกณฑ์การพิจารณา
ดัชนีมวลกาย สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ เมื่อมีค่าไม่เกิน 35 กิโลกรัม/เมตร2
(Body mass index)
ความดันโลหิต สามารถให้ ทํ า งานบนที่ สู ง ได้ เมื่ อ มี ร ะดั บ ไม่ เ กิ น 140/90
(Blood pressure) มิลลิเมตรปรอท
อัตราเร็วชีพจร สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ เมื่ออยู่ในช่วง 60 – 100 ครั้ง/นาที
(Pulse rate) หรือ 40 – 59 ครั้ง/นาที ร่วมกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ (Sinus
bradycardia) หรือ 101 – 120 ครั้ง/นาที ร่วมกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ปกติ (Sinus tachycardia)
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ให้ แ พทย์ เ ป็ น ผู้ พิ จ ารณาว่ า คลื่ น ไฟฟ้ า หั ว ใจลั ก ษณะใดบ้ า งที่
(Electrocardiogram) สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ หรือไม่สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้
ภาพรังสีทรวงอก ให้แ พทย์เป็ นผู้พิจารณาว่ าผลภาพรั งสี ทรวงอกลักษณะใดบ้างที่
(Chest X-ray) สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ หรือไม่สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้
สมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ ให้ทํ าการตรวจและแปลผลโดยใช้เกณฑ์ ของสมาคมอุรเวชช์แห่ ง
(Spirometry) ประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. 2545 หรือแนวทางการตรวจและแปลผล
สมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย พ.ศ.2561
โดยมูลนิธิสัมมาอาชีวะ ผลการตรวจที่สามารถให้ทํางานได้ คือ ผล
ตรวจปกติ (Normal) หรือ จํากัดการขยายตัวเล็กน้อย (Mild
restriction) หรือ อุดกั้นเล็กน้อย (Mild obstruction) สามารถ
ให้ทํางานบนที่สูงได้
ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ เมื่อฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) มี
(Complete blood count) ระดับตั้งแต่ 10 กรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป และ ความเข้มข้นเลือด
(Hematocrit) มีระดับตั้งแต่ร้อยละ 30 ขึ้นไป และ เกล็ดเลือด
(Platelet) มีระดับตั้งแต่ 100,000 เซลล์/มิลลิเมตร3 ขึ้นไป
ผลวิเคราะห์ปัสสาวะ ให้แพทย์เป็นผูพ้ ิจารณาว่าผลวิเคราะห์ปัสสาวะลักษณะใดบ้างที่
(Urine analysis) สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ หรือไม่สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้
ผลตรวจเลือดดูการทํางานของตับและ ให้แพทย์เป็นผูพ้ ิจารณาว่าผลตรวจเลือดดูการทํางานของตับและ
ไต ไตลักษณะใดบ้างที่สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ หรือไม่สามารถให้
(Liver and kidney function tests) ทํางานบนที่สูงได้
ผลตรวจระดับน้ําตาลสะสมในเลือด ให้แพทย์เป็นผูพ้ ิจารณาว่าผลตรวจระดับน้ําตาลสะสมในเลือด
(Glycated hemoglobin (HbA1C)) ระดับใดที่สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ หรือไม่สามารถให้ทํางาน
บนที่สูงได้


รายการตรวจ เกณฑ์การพิจารณา
สมรรถภาพการมองเห็นระยะไกล สามารถให้ ทํ า งานบนที่ สู ง ได้ เมื่ อความสามารถการมองเห็ น
(Far vision test) ระยะไกลเมื่อมองด้วยสองตาที่ดีที่สุดหลังจากทําการแก้ไขแล้ว
อยู่ที่ระดับ 6/12 เมตร (20/40 ฟุต) หรือดีกว่า
สมรรถภาพการได้ยินเสียงพูด สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ เมื่อผู้เข้ารับการตรวจสามารถได้ยิน
(Whispered voice test) เสียงพูดและสื่อสารโต้ตอบกับแพทย์ผู้ตรวจได้เข้าใจดี
การตรวจร่างกายโดยแพทย์ ให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาว่าผลตรวจตรวจร่างกายลักษณะใดบ้างที่
 ความผิดปกติของรูปร่าง สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ หรือไม่สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้
ลําตัว, มือ, แขน, ขา
(Deformity of trunk,
hands, arms, legs)
 กําลังกล้ามเนื้อในการกํามือ
(Handgrip power)
 กําลังกล้ามเนื้อแขน
(Upper limbs power)
 กําลังกล้ามเนื้อขา
(Lower limbs power)
 การทรงตัวและการ
ประสานงานของกล้ามเนื้อ
(Cerebellar signs)

ในใบรับรองแพทย์ควรมีรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ ของสถานพยาบาลที่ทําการ


ตรวจ มีการบ่งชี้ตัวตนของผู้มารับการตรวจและแพทย์ผู้ตรวจที่ชัดเจน ในการสรุปรายงานผล ให้แพทย์สรุปรายงานผล
เป็นตัวเลือก 3 แบบ คือ
 สามารถทํางานบนที่สูงได้ (Fit to work)
 สามารถทํางานบนที่สูงได้ แต่มีข้อจํากัดหรือข้อควรระวัง (Fit to work with restrictions)
 ไม่ทํางานบนที่สูงได้ (Unfit to work)
แพทย์ควรให้คําแนะนําเพื่อการส่งเสริมสุขภาพแก่คนทํางานผู้มาเข้ารับการตรวจสุขภาพ โดยประเด็น
สําคัญที่ควรแนะนําคือ (1.) การระมัดระวังการทํางานจนเหนื่อยล้า จนอาจเกิดอันตรายต่อตนเอง (2.) การงดดื่ม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดใช้สารเสพติดก่อนทํางานบนที่สูง (3.) การลดน้ําหนักและการควบคุมน้ําหนักตัว
ให้เหมาะสม (4.) การให้คําแนะนําอื่นๆ ที่แพทย์เห็นว่าเหมาะสม


แนวทางการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูง
พ.ศ. 2562
บทนํา
การทํางานบนที่สูงเป็นงานที่เสี่ยงอันตรายเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วส่วนใหญ่จะเป็นบาดเจ็บรุนแรงจนถึง
ทุพพลภาพและเสียชีวิต โดยสถิติการประสบอันตรายและเจ็บป่วยจากการทํางานปี พ.ศ.2559 พบว่ามีการตก
จากที่สูงจํานวน 5,683 ราย มีผู้เสียชีวิตจากการตกจากที่สูงถึง 104 ราย (คิดเป็นร้อยละ 17.81 ของจํานวน
การประสบอันตรายกรณีตาย) [1] ในปี พ.ศ.2560 พบว่ามีการตกจากที่สูงจํานวน 5,553 ราย มีผู้เสียชีวิตจาก
การตกจากที่สูงถึง 101 ราย (คิดเป็นร้อยละ 19.92 ของจํานวนการประสบอันตรายกรณีตาย) [2] และจํานวน
ใกล้เคียงกันในปี พ.ศ.2561 มีการตกจากที่สูงจํานวน 5,854 ราย มีผู้เสียชีวิตจากการตกจากที่สูงถึง 90 ราย
(คิดเป็นร้อยละ 15.84 ของจํานวนการประสบอันตรายกรณีตาย) [3]
อันตรายจากการทํางานที่สูงจะมากขึ้นหากขาดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันอันตรายทั้งจาก
อุปกรณ์ เครื่องมือ และสภาพแวดล้อมในการทํางาน รวมถึงการขาดความตระหนักรู้ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานที่
ไม่เหมาะสม [4] การจะทํางานบนที่สูงได้อย่างปลอดภัยนั้น ต้องมีมาตรการดูแลด้านความปลอดภัยที่เข้มงวด
จากฝ่ายนายจ้าง และการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดของตัวคนทํางานเอง ส่วน
ในทางฝ่ายแพทย์นั้น สามารถช่วยเหลือคนทํางานบนที่สูงให้เกิดความปลอดภัยขึ้นได้โดยการตรวจประเมิน
สุขภาพของคนทํางาน เพื่อพิจารณาอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่มีความพร้อมของสุขภาพร่างกายและจิตใจเพียงพอ
เท่านั้นเข้าไปทํางานบนที่สูง
“แนวทางการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูง พ.ศ. 2562” ฉบับนี้ จัดทําขึ้นโดย “มูลนิธิสัมมาอาชีวะ”
มีความมุ่งหวังเพื่อให้แพทย์ที่ทําหน้าที่ตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูงในประเทศไทย ได้ใช้เป็นแนวทางในการ
ตรวจประเมินสุขภาพของคนทํางาน ว่ามีความพร้อมเพียงพอที่จะสามารถทํางานบนที่สูงได้หรือไม่ เพื่อให้เกิด
ความปลอดภัยแก่คนทํางานผู้มาเข้ารับการตรวจสุขภาพ ข้อพิจารณาต่างๆ ในแนวทางฉบับนี้ ได้มาจากการ
รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Evidence-based) ที่มีอยู่ทั้งในรูปรายงานวิจัย กฎหมาย มาตรฐานระดับประเทศ
ระเบียบขององค์กร และคําแนะนําจากองค์กรวิชาการต่างๆ นํามาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณา จากนั้นใน
ขั้นตอนการพิจารณาให้คําแนะนําในแต่ละประเด็น ใช้การตกลงร่วมกันของคณะทํางาน (Consensus-based)
ซึ่งเป็นคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและพยาบาลอาชีวอนามัยที่มีประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพคนทํางานบนที่สูง

นิยามของการทํางานบนที่สูง
นิยามของคําว่า “การทํางานบนที่สูง” ใน “แนวทางการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูง พ.ศ. 2562”
ฉบับนี้ ใช้นิยามตามกฎหมายของประเทศไทย คือนิยามตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและ
การจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551

1
ซึ่งระบุไว้ หมวด 11 การทํางานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง การพังทลาย และการกระเด็นหรือ
ตกหล่นของวัสดุ ส่วนที่ 1 การป้องกันการตกจากที่สูงดังนี้ [5]
“กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัด
ให้มีนั่งร้าน บันได ขาหยั่ง หรือม้ายืน ที่ปลอดภัยตามสภาพของงานสําหรับลูกจ้างในการทํางานนั้น”
“ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานบนที่ลาดชันที่ทํามุมเกินสามสิบองศาจากแนวราบและสูงตั้งแต่ 2
เมตร ขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพของงาน สายหรือเชือกช่วยชีวิต และเข็มขัดนิรภัย
พร้อมอุปกรณ์ หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกันให้ลูกจ้างใช้ในการทํางานเพื่อให้เกิดความ
ปลอดภัย”
“ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในสถานที่ที่ลูกจ้างอาจได้รับอันตรายจากการพลัดตกหรือถูกวัสดุ
พังทับ เช่น การทํางานบนหรือในเสา ตอม่อ เสาไฟฟ้า ปล่อง หรือคานที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตร ขึ้นไป หรือ
ทํางานบนหรือในถัง บ่อ กรวยสําหรับเทวัสดุ หรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน นายจ้างต้องจัดทําราวกั้นหรือ
รั้วกันตก ตาข่าย สิ่งปิดกั้น หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อป้องกันการพลัดตกของลูกจ้าง
หรือสิ่งของ และจัดให้มีการใช้สายหรือเชือกช่วยชีวิตและเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ หรือเครื่องป้องกันอื่นใดที่
มีลักษณะเดียวกัน ให้ลูกจ้างใช้ในการทํางานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย”
“งานก่อสร้างที่มีปล่องหรือช่องเปิดซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างหรือสิ่งของพลัดตก นายจ้างต้องจัดทําฝาปิดที่
แข็งแรง ราวกั้นหรือรั้วกันตกที่มีความสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และแผงทึบหรือขอบกันของตกมีความสูง
ไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร พร้อมทั้งติดป้ายเตือนอันตราย”
“ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานในชั้นของอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่เปิดโล่งและอาจพลัดตกลงมาได้
นายจ้างต้องจัดทําราวกั้นหรือรั้วกันตกตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรม
ราชูปถัมภ์ หรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน”
และในส่วนที่ 2 การใช้นั่งร้าน บันได ขาหยั่ง และม้ายืน ที่นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่าง
เคร่งครัด

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายที่กําหนดเกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินสุขภาพคนทํางานบนที่สูง
เหมือนการตรวจประเมินสุขภาพคนทํางานในที่อับอากาศ คือกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร
จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับที่อับอากาศ
พ.ศ. 2562 [6] ซึ่งกําหนดให้ต้องมีผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทํางานในที่อับอากาศโดยมีใบรับรองแพทย์
โดยห้ามนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ หากนายจ้างรู้หรือควรรู้ว่าลูกจ้างหรือ
บุคคลนั้นเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจ
เป็นอันตรายต่อบุคคลดังกล่าว แต่การทํางานบนที่สูงนั้นมีข้อกําหนดให้นายจ้างต้องจัดทําใบอนุญาตการ
ทํางานบนที่สูง (Work Permit for Working at Height) [4]

2
ภาพที่ 1 คนทํางานบนที่สูง

อันตรายจากการทํางานบนทีส่ ูง
ในช่วงที่ผ่านมา พบมีรายงานการเสียชีวิตและบาดเจ็บจากการจากการตกจากที่สูงของคนทํางานใน
ประเทศไทยอยู่ทุกปี ข้อมูลจากกองทุนเงินทดแทนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2561 [1-3] พบว่ามีการประสบอันตราย
จากการตกจากที่สูงปีละกว่า 5,000 ราย และเสียชีวิตร้อยละ 15-19 ของจํานวนการประสบอันตรายกรณีตาย
ทั้งหมด นอกจากนั้นยังมีผู้ที่ทุพพลภาพและสูญเสียอวัยวะบางส่วนอีกจํานวนมาก โดยงานก่อสร้างเป็นงานที่มี
ลูกจ้างประสบอันตรายสูงสุด ดังนั้นการจัดการความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดอุบัติเหตุและความเสี่ยงใน
งานก่อสร้างได้รวมถึงการตรวจสุขภาพประเมินความพร้อมในการทํางานที่มีความเสี่ยงสูง [7]

แนวทางการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูง
เนื่องจากที่สูงเป็นสถานที่ทํางานที่มีอันตรายสูง แพทย์ผู้ตรวจประเมินสุขภาพจึงควรพึงระลึกไว้เสมอ
ว่า การให้คนขึ้นไปทํางานบนที่สูงนั้นเป็นการให้คนเข้าไปทํางานในสถานที่ที่มีความเสี่ยง เมื่อขึ้นไปทํางานบนที่
สูงแล้ว ไม่มีคนทํางานใดที่ไม่เสี่ยง แม้ว่าคนทํางานนั้นจะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดีสักเพียงใดก็ตาม หากเกิด
ความผิดปกติของสภาพแวดล้อมหรือเกิดภาวะผิดปกติของร่างกาย หรือเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม ก็มีโอกาสที่จะพลัด
ตกลงมาเสียชีวิตหรือบาดเจ็บได้
การตรวจประเมิ น สุ ข ภาพของคนทํ า งานก่ อ นเข้ า ไปทํ า งานบนที่ สู ง จึ ง เป็ น การดํ า เนิ น การที่ มี
ความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากหากแพทย์อนุญาตให้คนที่มีสุขภาพไม่พร้อม มีความเจ็บป่วยที่เป็นอันตราย
อยู่เดิม ให้ขึ้นไปทํางานบนที่สูงแล้ว อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การเสียชีวิต และความ
เจ็บป่วยจากการทํางานบนที่สูงได้ ทั้งต่อตัวคนทํางานนั้นเอง และต่อเพื่อนร่วมงานของเขาได้ แพทย์จึงควรทํา

3
การตรวจประเมินสุขภาพด้วยความละเอียดถี่ถ้วน สําหรับการตรวจประเมินสุขภาพคนทํางานบนที่สูงในประเทศ
ในไทยนั้น มีแนวทางดังต่อไปนี้

คุณสมบัติของผู้ตรวจสุขภาพ
ผู้ตรวจและรับรองผลสุขภาพคนทํางานในที่อับอากาศต้องเป็นแพทย์ ซึ่ง “แพทย์” ในที่นี้ให้หมายถึง
“ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 [8]

ความถี่ในการเข้ารับการตรวจสุขภาพ
คนทํางานบนที่ สู งควรได้ รั บการตรวจประเมิ นสุ ขภาพอย่ างน้ อยทุ ก 1 ปี แต่ ในกรณี ที่แพทย์ เห็ นว่ า
คนทํางานนั้นมีความเสี่ยงสูง อาการของโรคอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลงได้เมื่อเวลาผ่านไป อาจแนะนํา
ให้คนทํางานนั้นมาตรวจประเมินสุขภาพถี่บ่อยขึ้น เพื่อความปลอดภัยต่อตัวคนทํางานผู้นั้นเองได้

การสอบถามข้อมูลลักษณะการทํางาน
แนะนําให้แพทย์ทําการสอบถามข้อมูลลักษณะการทํางาน เพื่อนํามาเป็นข้อมูลในการพิจารณาประเมิน
ความพร้อมของสุขภาพคนทํางานบนที่สูง โดยข้อมูลลักษณะการทํางานนี้อาจสอบถามได้จากตัวคนทํางานที่มาเข้า
รับการตรวจสุขภาพเอง หรือจากผู้ควบคุมงาน หรือจากหัวหน้างาน หรือจากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยวิชาชีพ
ของสถานประกอบการ หรือจากนายจ้าง หรือจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เท่าที่สามารถทําการสอบถามข้อมูลได้ ใน
บางครั้งแพทย์อาจพบกรณีที่ไม่สามารถสอบถามข้อมูลลักษณะงานจากแหล่งใดได้เลย หรือได้รับทราบข้อมูล
เพียงบางส่วน หากพบกรณีเช่นนี้ ให้แพทย์พิจารณาโดยคาดการณ์ว่าคนทํางานจะต้องเข้าไปทํางานในลักษณะ
ที่เป็นอันตรายมากเอาไว้ก่อน
ข้อมูลลักษณะการทํางานที่แพทย์ควรสอบถาม เช่น ลักษณะของสภาพหน้างานว่าพนักงานทํางานใน
ที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคารระยะเท่าใด มีกิจกรรมที่เสี่ยงอันตรายหรือไม่ (การเชื่อมโลหะ การทํางานที่ก่อ
ประกายไฟ การใช้สารเคมี) มีการทํางานบนหรือในเสา ตอม่อ เสาไฟฟ้า ปล่อง หรือคานที่มีความสูงตั้งแต่ 4
เมตร ขึ้นไปหรือไม่ มีการทํางานบนหรือในถัง บ่อ กรวยสําหรับเทวัสดุหรือไม่ มีสายหรือเชือกช่วยชีวิต และ
เข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ หรือราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่าย อุปกรณ์เครื่องป้องกันตกหรือไม่ มีการใช้นั่งร้าน
บันได ขาหยั่ง และม้ายืนด้วยหรือไม่ ในวันหนึ่งต้องทํางานบนที่สูงนานวันละกี่ชั่วโมง โครงการที่ทําต้องทําเป็น
ระยะเวลานานเท่าใด (กี่วัน กี่เดือน) วันหนึ่งต้องขึ้นไปบนที่สูงกี่รอบ มีช่วงพักระหว่างรอบหรือไม่ ถ้ามีพักนาน
เท่าใด งานทําในช่วงเวลาใดของวัน (เช้า บ่าย เย็น กลางคืน) มีคนทํางานที่ต้องขึ้นไปบนที่สูงพร้อมกันเป็น
จํานวนกี่คน
ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยของสถานประกอบการ ก็เป็นข้อมูลที่มีความสําคัญ ในบางกรณี
แพทย์อาจต้องสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยของสถานประกอบการเพิ่มเติม ถ้าพิจารณาเห็น
ว่าคนทํางานนั้นอาจมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ เช่น ในกรณีผลการประเมินความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลางขึ้น
ไป คือการสอบถามว่านายจ้างมีการจัดทําแผนงานควบคุมความเสี่ยงอย่างไรบ้าง อาทิ จัดให้มีผู้อนุญาต ผู้

4
ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และลูกจ้างที่ผ่านการอบรมการปฏิบัติงานบนที่สูงเป็นต้น มีระบบสัญญาณเตือน
อันตรายหรือไม่ (สัญญาณเสียง ไฟกระพริบ หรือทั้ง 2 อย่าง) มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทํางานก่อน
เข้าไปทํางานหรือไม่ มีอุปกรณ์ความปลอดภัยในการทํางานบนที่สูง อันประกอบไปด้วย จุดยึดเกี่ยว
(Anchorage Point), สายรัดตัวนิรภัยชนิดเต็มตัว (Full Body Harness), เชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิต
(Lanyard หรือ Lifeline) พร้อมหรือไม่ มีอุปกรณ์ช่วยเหลือหรือไม่ (ตะขอเกี่ยว สายสลิง รอกดึงตัว) [3] มี
อุปกรณ์ช่วยชีวิตหรือไม่ (ถังออกซิเจน เปลผู้ป่วย สารน้ํา) มีพยาบาลหรือผู้ที่สามารถปฐมพยาบาลได้ประจําอยู่
ด้วยหรือไม่ เป็นต้น

การสอบถามข้อมูลสุขภาพและการตรวจร่างกายโดยแพทย์
นอกจากข้อมูลลักษณะการทํางานแล้ว การสอบถามข้อมูลสุขภาพในอดีตของคนทํางานก็เป็นสิ่งที่มี
ประโยชน์ต่อแพทย์ในการใช้ประเมินความเสี่ยงของคนทํางานผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพแต่ละรายเช่นกัน
ดังเช่นแนวทางการตรวจสุขภาพคนทํางานในที่อับอากาศของประเทศไทย [9]
การสอบถามข้ อ มู ล สุ ข ภาพนั้ น ควรทํ า การบั น ทึ ก อย่ า งเป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษรไว้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ใน
ใบรับรองแพทย์ด้วย เพื่อที่จะสามารถนํามาทบทวนในภายหลังได้ สําหรับประเทศไทยแนะนําให้แพทย์ถาม
คําถามคัดกรองสุขภาพแก่ผู้มาเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อทํางานบนที่สูง อย่างน้อย 24 ข้อ ในเรื่องต่อไปนี้
(1.) คําถามเกี่ยวกับการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Myocardial infarction) รวมถึงอาการเจ็บ
หน้าอกแบบอันตราย (Unstable angina) เป็นกลุ่มโรคที่สามารถทําให้เกิดอันตรายถึงชีวิต หากกล้ามเนื้อหัวใจเคย
มีภาวะขาดเลือดหรือตายไปบางส่วนแล้ว ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะมีอาการเป็นซ้ําได้ เช่น มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก วูบ
เมื่อขึ้นไปทํางานบนที่สูงเป็นงานที่มีความเสี่ยงอันตรายสูงและมีการใช้กิจกรรมทางกายมาก อาจเป็นเหตุให้เกิด
อุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูงได้
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีประวัติชัดเจนว่าเคยได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาด
เลือดหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเคยมีอาการเจ็บหน้าอกแบบอันตรายมาแล้วในอดีต จัดว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยง
มาก ไม่ควรให้ขึ้นไปทํางานบนที่สูง
ในกรณีที่ผู้มารับการตรวจไม่ทราบการวินิจฉัยในอดีตของตนเองชัดเจน ตรวจร่างกายพบว่าปกติ แต่มี
ประวัติอาการเจ็บหน้าอกที่ชวนให้สงสัย แพทย์ควรส่งไปตรวจประเมินกับอายุรแพทย์โรคหัวใจ เพื่อทําการ
ตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือที่มีความละเอียดมากขึ้น เช่น การตรวจวิ่งสายพาน (Exercise stress test; EST)
หรือการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary angiography)
(2.) คําถามเกี่ยวกับโรคลิ้นหรือผนังหัวใจตีบหรือรั่ว
กลุ่มโรคลิ้นหัวใจ (Valvular heart disease) ทั้งชนิดลิ้นหัวใจตีบ (Stenosis) และชนิดลิ้นหัวใจรั่ว
(Insufficiency) รวมถึงโรคผนังหัวใจรั่ว (Heart septal defect) เป็นกลุ่มโรคหัวใจที่ควรให้ความสําคัญ การ
ตรวจร่างกายผู้ป่วยในกลุ่มนี้อาจได้ยินเสียงฟู่ (Murmur) ที่ตําแหน่งต่างๆ ของหัวใจ หรืออาจไม่ได้ยินก็ได้ ผู้ป่วย

5
แต่ละรายมีอาการรุนแรงได้แตกต่างกัน ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ตําแหน่งที่ตีบหรือรั่ว ความรุนแรงของการตีบ
หรือรั่ว ขนาดของรูที่รั่ว ทิศทางการไหลของเลือด ทําการผ่าตัดรักษาแล้วหรือไม่ และทําการผ่าตัดรักษาเมื่อใด
หากเกิดสภาวะที่มีการเปลี่ยนทิศทางการไหลของเลือด (Shunt) ไม่ว่าจากห้องขวาไปซ้าย (Right-to-left shunt)
หรือห้องซ้ายไปขวา (Left-to-right shunt) อย่างมากแล้ว กลุ่มนี้จัดว่าเสี่ยงมาก เนื่องจากอวัยวะร่างกายจะได้รับ
ออกซิเจนจากเลือดไปเลี้ยงน้อยลงกว่าปกติ หากตรวจพบมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการของหัวใจล้มเหลว
หอบเหนื่อย ตัวเขียว ภาพรังสีทรวงอกพบหัวใจโตชัดเจน ยิ่งเป็นการสนับสนุนว่าเสี่ยงมาก ไม่ควรให้ขึ้นไป
ทํางานบนที่สูง
ในกรณีที่ตรวจร่างกายพบเสียงฟู่ โดยผู้ป่วยไม่เคยได้รับการวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคลิ้นหรือผนังหัวใจตีบ
หรือรั่วมาก่อน แนะนําให้ส่งตัวไปตรวจวินิจฉัยกับอายุรแพทย์โรคหัวใจ เพื่อทําการหาสาเหตุและประเมินความ
รุนแรงของโรคด้วยเครื่องมือที่มีความละเอียดมากขึ้น เช่น การทําอัลตร้าซาวด์หัวใจ (Echocardiogram)
สาเหตุอีกอย่างหนึ่งของเสียงฟู่ที่หัวใจอาจเกิดจากโลหิตจางมาก (Hemic murmur) แพทย์ควรพิจารณาระดับ
ฮีโมโกลบินและความเข้มข้นเลือดประกอบด้วย กล่าวโดยสรุปคือเมื่อใดก็ตามที่ตรวจร่างกายพบเสียงฟู่ที่หัวใจ
แพทย์ควรส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจหาสาเหตุก่อนเสมอ และยังไม่ควรให้ขึ้นไปทํางานบนที่สูง
ในกรณีที่ตรวจร่างกายไม่พบเสียงฟู่ และระบบร่างกายส่วนอื่นปกติ แต่ผู้มาเข้ารับการตรวจสุขภาพให้
ประวัติว่าเคยเป็นโรคนี้ แนะนําให้ส่งตัวไปตรวจวินิจฉัยกับอายุรแพทย์โรคหัวใจให้แน่ชัดเสียก่อนเช่นกัน
ในกรณีที่เป็นโรคลิ้นหัวใจหรือผนังหัวใจรั่ว แต่เข้ารับการผ่าตัดรักษาขยายส่วนที่ตีบหรือเย็บซ่อมปิดรูรั่ว
แล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ทําการผ่าตัดรักษามาตั้งแต่เด็กหรือตั้งแต่อาการยังไม่เป็นมาก การตรวจร่างกายนอกจากรอย
แผลผ่าตัดที่หน้าอกแล้ว ไม่พบอาการผิดปกติอื่น ไม่มีการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และไม่มีข้อมูลอื่นที่
บ่งชี้ถึงลักษณะที่เป็นความเสี่ยง กลุ่มนี้ประเมินได้ว่ามีความเสี่ยงเท่ากับคนทั่วไป สามารถให้ขึ้นไปทํางานบนที่
สูงได้ ส่วนกรณีที่เป็นโรคลิ้นหัวใจแล้วผ่าตัดแก้ไขด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักต้องใช้ยาต้าน
การแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant drug) เป็นประจํา ทําให้มีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่าย จึงจัดว่าเป็น
กลุ่มที่เสี่ยงมาก ไม่ควรให้ขึ้นไปทํางานบนที่สูง
(3.) คําถามเกี่ยวกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจมีอาการเพียงบางชั่วขณะ ทําให้ขณะที่ตรวจคัดกรองคลื่นไฟฟ้า
หัวใจไม่พบความผิดปกติ แต่โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางโรคมีความรุนแรงสูง ก่อความเสี่ยงทําให้หมดสติ
เฉียบพลัน ซึ่งจัดว่าเป็นอันตรายอย่างมากต่อคนทํางานบนที่สูง ในขณะที่บางโรคมีความรุนแรงไม่สูง ไม่ก่อ
ความเสี่ยงต่อการหมดสติเฉียบพลัน จึงสามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อการตรวจ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ)
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพให้ประวัติว่าเคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิด
จังหวะ ชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการทําให้หมดสติเฉียบพลัน เช่น Sick sinus syndrome, Wolff–Parkinson–White
syndrome, Atrial fibrillation แม้ว่าผลการตรวจคัดกรองคลื่นไฟฟ้าหัวใจในวันที่เข้ารับการตรวจสุขภาพนั้น
จะเป็นปกติ ในกลุ่มนี้ก็จัดว่ามีความเสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง

6
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเคยมีประวัติได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจาก
แพทย์ แต่ไม่ทราบชื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด อาจมียาที่รับประทานอยู่เป็นประจํา หรือยาที่รับประทานเฉพาะ
ขณะที่มีอาการ แต่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพไม่ทราบชื่อยา แพทย์ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ถ้ามีประวัติเคย
หมดสติเฉียบพลันจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดดังกล่าวนั้น จัดว่ามีความเสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง ถ้าไม่
เคยมีประวัติหมดสติเฉียบพลัน แต่มีอาการ ใจสั่น เจ็บหน้าอกผิดปกติ แพทย์ควรแนะนําให้ผู้เข้ารับการตรวจ
สุขภาพนําข้อมูลการรักษามาให้แพทย์พิจารณาเพิ่มเติม เช่น ประวัติการรักษา ใบรับรองแพทย์ที่มีรายละเอียดชื่อ
การวินิจฉัยโรค ใบสั่งยา หรือเม็ดยาที่รับประทาน หากไม่ได้ข้อมูลเหล่านี้ หรือแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าสรุปการ
วินิจฉัยและประเมินอาการไม่ได้ชัดเจน ควรส่งผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพไปตรวจยืนยันกับอายุรแพทย์โรคหัวใจ
เพื่อความปลอดภัย
(4.) คําถามเกี่ยวกับโรคหัวใจชนิดอื่นๆ
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีประวัติเป็นโรคหัวใจชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น
และแพทย์พิจารณาจากการสอบถามอาการ การตรวจร่างกาย และข้อมูลอื่นเท่าที่มีแล้ว เห็นว่าโรคอาจมีผลต่อ
การทํางานบนที่สูง ควรส่งตัวผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพไปตรวจประเมินกับอายุรแพทย์โรคหัวใจเพื่อความ
ปลอดภัยต่อไป
(5.) คําถามเกี่ยวกับโรคหอบหืด
โรคหอบหืดหรือโรคหืด (Asthma) เป็นโรคที่เกิดการอักเสบและตีบแคบของหลอดลม เมื่อเกิดอาการ
จะทําให้ผู้ป่วยหอบเหนื่อย หายใจเร็ว และหายใจมีเสียงหวีด (Wheezing) โรคหอบหืดเป็นโรคที่มีความรุนแรง
หลายระดับ ตั้งแต่มีอาการเป็นบางครั้ง (Intermittent) ไปจนถึงมีอาการหอบเหนื่อยเป็นประจํา (Persistent)
การทํางานบนที่สูงจะมีความเสี่ยงมากกรณีผู้ที่เป็นหอบหืดชนิดรุนแรงที่ควบคุมอาการไม่ได้ ควรให้พบอายุร
แพทย์โรคทรวงอกเพื่อรับการรักษาให้ควบคุมอาการได้ ไม่มีภาวะหอบกําเริบจึงจะปลอดภัยในการทํางานบนที่
สูง ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเคยได้รับข้อมูลจากแพทย์ในอดีตว่าอาจเป็นโรคหอบหืด แต่ไม่ทราบการ
วินิจฉัยชัดเจน ไม่มีการใช้ยาขยายหลอดลม แพทย์ควรหาข้อมูลเพิ่มเติม ทําการตรวจร่างกายฟังเสียงการ
หายใจว่ามีเสียงหวีดหรือไม่ และพิจารณาผลการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ และผลตรวจ
ภาพรังสีทรวงอก หากพบมีความผิดปกติเข้าได้กับโรคหอบหืด ควรแนะนําผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพให้ไปทํา
การรักษากับอายุรแพทย์โรคทรวงอก
(6.) คําถามเกี่ยวกับโรคปอดชนิดอื่นๆ
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีประวัติเป็นโรคปอดชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น
และแพทย์พิจารณาจากการสอบถามอาการ การตรวจร่างกาย และข้อมูลอื่นเท่าที่มีแล้ว เห็นว่าโรคอาจมีผลต่อ
การทํางานบนที่สูง ควรส่งตัวผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพไปตรวจประเมินกับอายุรแพทย์โรคทรวงอกเพื่อความ
ปลอดภัยต่อไป

7
(7.) คําถามเกี่ยวกับโรคลมชักและอาการชัก
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพป่วยเป็นโรคลมชัก (Epilepsy) มีความเสี่ยงที่จะหมดสติเนื่องจาก
ชักขณะที่กําลังทํางานอยู่บนที่สูงได้ แม้ว่าในปัจจุบันจะสามารถควบคุมอาการชักได้แล้วหรือไม่ก็ตาม เมื่อไป
ทํางานบนที่สูง อาจมีอาการชักขึ้นมาแล้วทําให้เกิดอุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูงได้ ซึ่งเป็นภาวะที่เสี่ยงอย่างมาก
อย่างไรก็ตามถ้าผู้ป่วยให้ประวัติเป็นโรคลมชักชนิดนี้ แต่แพทย์ยังไม่สามารถสรุปการวินิจฉัยได้ชัดเจน
ควรส่งพบอายุรแพทย์ระบบประสาทเพื่อทําการตรวจวินิจฉัยยืนยันว่าเป็นโรคชนิดนี้จริง
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพไม่ได้ป่วยหรือไม่เคยทราบว่าป่วยเป็นโรคลมชัก แต่เคยมีอาการชัก
(Seizure or fit) เกิดขึ้น แพทย์ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมว่าอาการชักนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เกิดขึ้นบ่อยเพียงใด
และคาดว่าอะไรน่าจะเป็นสาเหตุ เช่น ภาวะเนื้องอกในสมอง การติดเชื้อในสมอง การขาดแอลกอฮอล์ในผู้ที่
ติดแอลกอฮอล์ ครรภ์เป็นพิษ หรือสาเหตุอื่น ถ้าไม่สามารถยืนยันสาเหตุได้ชัดเจน ควรส่งผู้เข้ารับการตรวจไป
ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุกับอายุรแพทย์ระบบประสาท พร้อมทั้งทําการรักษาตามสาเหตุที่เป็นต่อไป ผู้ที่เคยมี
อาการชักเกิดขึ้น โดยทั่วไปจัดว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมาก ไม่ควรทํางานบนที่สูง
(8.) คําถามเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคกลุ่มการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) และอาการสั่นแบบพาร์กินสัน
(Parkinsonism) จากสาเหตุอื่นๆ เช่น การใช้ยาทางจิตเวช ภาวะหลังการติดเชื้อในสมอง เป็นกลุ่มโรคที่ทําให้
ร่างกายเกิดอาการ สั่น แข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้า เดินเซ เป็นอุปสรรคต่อการทํางานบนที่สูง เพราะเป็นงานที่ต้อง
อาศัยทักษะการทรงตัวและมีสมาธิ หากมีอาการอาจก่ออันตรายหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ผู้เข้ารับการตรวจที่เป็น
โรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวผิดปกติเหล่านี้ จัดว่ามีความเสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง
โรคกลุ่ มกล้ ามเนื้ ออ่ อนแรงและอั มพาต เช่ น โรคกลุ่ มกล้ ามเนื้ อฝ่ อลี บจากพั นธุ กรรม (Muscular
dystrophy) โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส (Myasthenia gravis; MG) โรคทางพันธุกรรมกลุ่มมีอาการอัมพาตเป็นระยะ
(Periodic paralysis) เช่น โรคอัมพาตเป็นระยะจากเหตุโพแทสเซียมต่ํา (Hypokalemic periodic paralysis) โรค
เหล่านี้ทําให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเป็นอัมพาต อาจเกิดอาการเป็นระยะหรือเกิดตลอดเวลา และบางโรค
อาการจะถูกกระตุ้นด้วยการออกกําลังอย่างหนัก อาจเป็นอุปสรรคต่อการทํางานเคลื่อนไหวร่างกายและทรงตัวบน
ที่สูง และอาจเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายจากที่สูงหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น โดยทั่วไปจัดว่ามีความเสี่ยงมาก ไม่
ควรให้ทํางานบนที่สูง
ยกเว้นในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจเคยมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอัมพาตจากกลุ่มอาการกิลแลง-
บาร์เร่ (Guillance-Barré syndrome; GBS) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่สามารถหายขาดได้ หากหายโดยยังมีอาการ
ตกค้าง จัดว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง แต่หากหายโดยไม่มีอาการตกค้าง อาจพิจารณา
อนุญาตให้ไปทํางานในที่อับอากาศได้เป็นรายๆ ไป ถ้าแพทย์พิจารณาแล้วว่าลักษณะงานบนที่สูงนั้นไม่มีปัจจัย
เสี่ยงเกินกว่าปกติ และผู้ป่วยไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ หากไม่สามารถประเมินได้ชัดเจน ควรส่งพบอายุรแพทย์
ระบบประสาทเพื่อทําการประเมินอาการของโรคโดยละเอียดอีกครั้ง

8
(9.) คําถามเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาต
โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular accident or stroke) ไม่ว่าหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic
stroke) หรือหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) รวมถึงภาวะหลอดเลือดสมองตีบชั่วขณะ (Transient
ischemic attack; TIA) มักทําให้เกิดความผิดปกติเนื่องจากมีเซลล์สมองตายหรือทํางานผิดปกติไปบางส่วน
โรคหลอดเลือดสมองอาจก่อผลแทรกซ้อนเป็นอาการอัมพาต (Paralysis) ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายตามมา ส่วน
ภาวะหลอดเลือดสมองตีบชั่วขณะผู้ป่วยจะกลับเป็นปกติได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ผู้ที่ป่วยเป็นโรค
หรือภาวะเหล่านี้แล้ว มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือภาวะเหล่านี้ขึ้นได้อีกหากมีปัจจัยเสี่ยงกระตุ้น การทํางาน
บนที่สูงเป็นการทํางานที่เสี่ยงอันตรายสูง ต้องอาศัยทักษะในทการทรงตัวและอาจมีการใช้กําลังกายอย่างมาก
ในการทํางานทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ในทางกลับกันอาการอัมพาตอาจทําให้เกิดข้อจํากัดในการเคลื่อนไหว
บนที่สูง กล่าวโดยสรุปแล้ว หากผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองไม่ว่าชนิดใดก็ตาม หรือ
เคยมีภาวะหลอดเลือดสมองตีบชั่วขณะ หรือเคยมีอาการอัมพาตเกิดขึ้น จัดว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมาก ไม่ควรให้
ทํางานบนที่สูง
(10.) คําถามเกี่ยวกับอาการวูบ หน้ามืด หรือหมดสติในทันทีทันใด
อาการวูบ หน้ามืด หรือหมดสติในทันทีทันใด มักเป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากหัวใจหรือสมอง หรือมี
สาเหตุ ซ่ อ นเร้ น อื่ น ๆ เช่ น มี ก ารเสี ย เลื อ ดเป็ น เวลานานจากแผลในกระเพาะ หรื อ เสี ย เลื อ ดจากการมี
ประจําเดือนมากผิดปกติ มีความดันโลหิตต่ําลงเมื่อเปลี่ยนท่าทาง (Postural Hypotension) จะมีอาการวูบได้
ดังนั้นหากผู้เข้ารับการตรวจมีการการดังกล่าวนี้ควรหาสาเหตุของโรคเพื่อรับการรักษา เนื่องจากอาการเหล่านี้
มีโอกาสเกิดซ้ําได้หากสาเหตุของโรคยังไม่แน่ชัด โดยทั่วไปจัดว่ามีความเสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง
(11.) คําถามเกี่ยวกับโรคระบบประสาทชนิดอื่นๆ
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีประวัติเป็นโรคระบบประสาทชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา
ข้างต้น เช่น ภาวะเลือดออกในสมอง เนื้องอกในสมอง การติดเชื้อในสมอง และแพทย์พิจารณาจากการสอบถาม
อาการ การตรวจร่างกาย และข้อมูลอื่นเท่าที่มีแล้ว เห็นว่าโรคอาจมีผลต่อการทํางานบนที่สูง ควรส่งตัวผู้เข้ารับ
การตรวจสุขภาพไปตรวจประเมินกับอายุรแพทย์โรคระบบประสาทเพื่อความปลอดภัยต่อไป
(12.) คําถามเกี่ยวกับโรคเกี่ยวกับหูชั้นในหรือโรคที่ทําให้เกิดอาการบ้านหมุน วิงเวียน มึนงง
อาการเวียนหัวบ้านหมุน หรือวิงเวียนศีรษะ (Vertigo) เป็นอาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการที่รู้สึกว่าสิ่งต่างๆ
รอบตัวเอียง หมุน รู้สึกโคลงเคลงเหมือนอยู่ใ นเรื อ มีอาการวิงเวียน และเห็นพื้นหรือเพดานบ้านหมุ น ที่
โดยเฉพาะเวลามีการเคลื่อนไหวศีรษะ หรือเวียนศีรษะขณะเปลี่ยนท่า (Benign Paroxysmal Positioning
Vertigo: BPPV) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเวียนศีรษะจากการเปลี่ยนท่า และพบ
ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่มาด้วยอาการเวียนศีรษะ สาเหตุของโรค BPPV ส่วนใหญ่ไม่ทราบ
สาเหตุ แต่อาจพบตามหลังการกระทบกระแทกที่ศีรษะ, โรค viral neurolabyrinthitis, โรค
vertebrobasilar insufficiency, โรค Meniere’s disease และโรคของหูชั้นกลางและหูชั้นใน [10] ผู้ที่มี

9
อาการอาจมีผลต่อการทํางานบนที่สูง ควรส่งตัวผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพไปตรวจรักษากับแพทย์เฉพาะทางโรค
หู
(13.) คําถามเกี่ยวกับโรคปวดข้อหรือข้ออักเสบเรื้อรัง
อาการปวดข้อ (Joint pain) และข้ออักเสบเรื้อรัง (Chronic arthritis) อาจพบได้ในหลายโรค เช่น
โรคเก๊าต์ (Gouty arthritis) โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis; OA)
อาการปวดข้อนี้หากเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการอักเสบกําเริบ อาจทําให้จํากัดความคล่องตัวของ
คนทํางานบนที่สูงได้อย่างมาก หากอาการปวดเกิดขึ้นในบริเวณข้อที่รับน้ําหนัก เช่น ข้อกระดูกสันหลัง ข้อ
สะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า อาจทําให้จํากัดความสามารถในการทํางานได้มาก แพทย์ควรพิจารณาแนะนําผู้เข้ารับ
การตรวจสุขภาพตามความเหมาะสมของอาการโรคและลักษณะการทํางาน หากอาการปวดข้อมีไม่มากนัก
และข้อที่เป็นไม่ใช่ข้อที่รับน้ําหนัก สามารถให้ผู้เข้ารับการตรวจทํางานในบนที่สูงได้ และแพทย์อาจนัดมาตรวจ
ติดตามถ้าเห็นว่าจําเป็น แต่หากข้อที่มีอาการเป็นข้อที่รับน้ําหนัก อาการปวดหรืออักเสบรุนแรง หรือเป็นหลาย
ข้อ น่าจะจํากัดความสามารถในการทํางานบนที่สูง รวมถึงความสามารถเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยลงมาจากที่สูงใน
เวลาที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น แพทย์ควรทําการปรึกษาหารือกับผู้ป่วยและประเมินจากข้อมูลที่มี ถ้าเห็นว่าเสี่ยง
มากก็ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง
(14.) คําถามเกี่ยวกับโรคหรือความผิดปกติของกระดูกและข้อ
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ มีโรคหรือความผิดปกติของกระดูกและข้อชนิดอื่น เช่น นิ้วขาด ข้อ
ยึดติดผิดรูป กระดูกพรุน หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท และแพทย์พิจารณาจากการสอบถามอาการ
การตรวจร่างกาย และข้อมูลอื่นเท่าที่มีแล้ว เห็นว่าโรคอาจมีผลต่อการทํางานบนที่สูงควรส่งตัวผู้เข้ารับการ
ตรวจสุขภาพไปตรวจประเมินกับแพทย์โรคกระดูกและข้อเพื่อความปลอดภัยต่อไป
(15.) คําถามเกี่ยวกับความผิดปกติของการมองเห็นหรือการได้ยิน
การทํางานบนที่สูงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกําลังสายตาที่ดีและการได้ยินในระดับที่สื่อสารกันได้จึงจะ
ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย การถามคําถามเกี่ยวกับความผิดปกติของการมองเห็น เช่น การ
มองไม่ชัด การมองเห็นภาพซ้อน การมีจุดดําลอยบังการมองเห็น การมีลานสายตาที่ผิดปกติ การมีประวัติต้อ
หิน ล้วนแต่เป็นความผิดปกติที่ต้องตรวจหาสาเหตุและรักษากับจักษุแพทย์ เนื่องจากการมองภาพไม่ชัดเป็น
สาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุในการทํางาน ส่วนการได้ยินที่ผิดปกติในระดับที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้จะเป็น
อันตรายในการทํางานบนที่สูง เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายจากที่สูงหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น
(16.) คําถามเกี่ยวกับโรคกลัวที่สูงอย่างรุนแรง
โรคกลัวที่สูงอย่างรุนแรง (Acrophobia) เป็นภาวะทางจิตใจที่เป็นอุปสรรคต่อการทํางานบนที่สูง
อาการของโรคคือ เมื่อขึ้นไปอยู่ที่สูงแล้วมองลงไปที่พื้นด้านล่างจะรู้สึกกลัว หวิว ใจสั่น วิงเวียน อยากอาเจียน
ซีดเซียว หน้ามืด ตัวชา ถ้าผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพให้ข้อมูลยืนยันว่ามีภาวะนี้ ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง ถ้าไม่
มั่นใจในการวินิจฉัย ควรส่งพบจิตแพทย์เพื่อทําการตรวจวินิจฉัยยืนยันต่อไป

10
(17.) คําถามเกี่ยวกับโรคจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท
โรคจิต (Psychosis) เช่น โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) โรคจิดเภท (Schizophrenia) เป็น
กลุ่มโรคทางจิตเวชที่มีอาการรุนแรง ทําให้เกิดภาวะหลงผิด ประสาทหลอน ผู้ป่วยอาจมีความคิด การตัดสินใจ
และการเข้ า สัง คมที่ ผิด ปกติ ไป ก่ อ ความเสี่ ย งหากต้ อ งเข้ า ไปทํ า งานบนที่ สู งซึ่ ง เป็ น งานที่ มี อั น ตรายสู ง มี
ความเครียด บางงานต้องทําร่วมกันหลายคน และการตัดสินใจของคนทํางานคนหนึ่งมีผลต่อความปลอดภัยของ
ผู้ร่วมงานคนอื่น ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพให้ประวัติเคยเป็นโรคจิตมาก่อน จัดว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมาก
ไม่แนะนําให้ทํางานบนที่สูง กรณีที่แพทย์สรุปการวินิจฉัยไม่ได้ชัดเจน ควรส่งผู้เข้ารับการตรวจไปพบจิตแพทย์
เพื่อทําการตรวจวินิจฉัยยืนยันต่อไป
(18.) คําถามเกี่ยวกับความคิดอยากฆ่าตัวตาย
การขึ้นไปทํางานบนที่สูงมีความเสี่ยงโดยตรงถ้าหากพนักงานมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย เนื่องจากทํา
ให้อันตรายถึงตายได้จริง มีการศึกษาของ Inonu University ประเทศตุรกีถึงสาเหตุอุบัติเหตุจากที่สูงในปี
2011-2014 มีผู้ป่วยตกจากที่สูงจํานวน 460 ราย โดยมีผู้ป่วยที่ตกจากที่สูงเนื่องจากการฆ่าตัวตายร้อยละ 1.7
ซึ่งแม้จะเป็นจํานวนที่ไม่มากแต่ความรุนแรงถึงชีวิตสูงที่สุดในบรรดาสาเหตุการตกจากที่สูงทั้งหมด คือร้อยละ
12.5 [11] ดังนั้นการที่แพทย์ผู้ตรวจสุขภาพประเมินความเสี่ยงของผู้เข้ารับการตรวจในเรื่องของความคิดอยาก
ฆ่าตัวตายนี้ไว้ได้จะลดความเสี่ยงอันตรายลง อย่างไรก็ตามการประเมินภาวะซึมเศร้าหรือภาวะความคิดอยาก
ฆ่าตัวตายอาจจะทําได้ยาก และใช้เวลาให้ผู้รับการตรวจไว้วางใจให้ประวัติ หากแพทย์พบความผิดปกติควรส่ง
ผู้เข้ารับการตรวจไปพบจิตแพทย์เพื่อทําการตรวจวินิจฉัยรักษาต่อไป
(19.) คําถามเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อยในคนไทย โรคความ
ดันสูงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ชนิดที่ยังไม่ทราบสาเหตุ (Primary Hypertension หรือ Essential
Hypertension) ซึ่งพบเป็นส่วนมาก และชนิดที่ทราบสาเหตุ (Secondary Hypertension) อาจเกิดได้จาก
หลายสภาวะ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคไต ปัญหาต่อมไทรอยด์ เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต โรคความดัน
โลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่ค่อยแสดงอาการ สามารถตรวจได้โดยการวัดความดันโลหิต ส่วนอาการที่พบได้คือปวด
ศีรษะ มึนศีรษะ ตามัว ปวดตึงท้ายทอย และสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้หลายอย่าง ภาวะ
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและโรคไตวาย สําหรับการควบคุมความดันโลหิต ได้แก่การ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพและการรักษาโดยการรับประทานยา ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจมีประวัติ
เป็นความดันโลหิตสูงแต่ได้ทําการรักษาอยู่แล้วและคุมความดันได้ดี ไม่เคยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความ
ดันโลหิตสูงสามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ แต่หากผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีความดันโลหิตสูงไม่เคยได้รับการ
รักษา แต่ไม่เคยได้รับการรักษาเลย หรือรักษาแล้วแต่คุมความดันไม่ดี แพทย์ควรแนะนําให้ไปรักษาก่อน เมื่อ
คุมระดับความดันโลหิตได้ดีแล้ว จึงค่อยนัดมาตรวจประเมินสุขภาพใหม่
(20.) คําถามเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus; DM) เป็นโรคของระบบต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อย อาการของโรคหาก
ไม่ทําการรักษาจะทําให้ กระหายน้ําบ่อย หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย ตรวจระดับน้ําตาลในเลือดมักจะสูงผิดปกติ

11
อาการในผู้ที่ทําการรักษาและควบคุมระดับน้ําตาลได้ดีอาจมีเพียงเล็กน้อย แต่ในผู้ที่ไม่ได้ทําการรักษาหรือ
ควบคุมระดับน้ําตาลได้ไม่ดีอาจมีอาการรุนแรง ทําให้เกิดภาวะโคม่า (Diabetic coma) จากระดับน้ําตาลที่สูง (Hyper-
glycemia) หรือต่ํา (Hypoglycemia) จนเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน
มานาน อาจพบภาวะแทรกซ้อน เช่น ตามัว ไตวาย อาการชาที่ปลายเท้า เป็นแผลที่เท้าโดยไม่รู้ตัว และเกิด
เป็นเนื้อตายที่เท้า โรคเบาหวานแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (DM type 1) ซึ่งผู้ป่วยจะ
เริ่มเป็นตั้งแต่อายุน้อยและต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (DM type 2) ซึ่งมักเป็น
เมื่ออายุมาก และการรักษามักใช้ยารับประทาน แต่ในบางรายที่คุมระดับน้ําตาลไม่ได้ก็จําเป็นต้องใช้อินซูลินใน
การรักษาเช่นกัน
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดอินซูลิน
และเป็นชนิดที่มีความเสี่ยงต่อภาวะโคม่าจากเบาหวานสูง จัดว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพให้ข้อมูลว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้ทําการพิจารณาเป็นรายๆ ไป
โดย (1.) หากเคยเกิดภาวะโคม่าจากเบาหวาน เช่น ภาวะโคม่าจากเลือดเป็นกรดจากคีโตน (Diabetic ketone
acidosis; DKA) ภาวะโคม่าจากออสโมล่าห์สูงเกิน (Hyperosmolar hyperglycemic state; HHS) ภาวะโคม่า
จากระดับน้ําตาลต่ํารุนแรง (Severe hypoglycemia) กลุ่มนี้จัดว่าเสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง (2.) ใน
กรณีที่คุมระดับน้ําตาลได้ไม่ดี จนต้องใช้การฉีดอินซูลินในการรักษา กลุ่มนี้จัดว่าเสี่ยงมากเช่นกัน ไม่ควรให้
ทํางานบนที่สูง (3.) ในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น ตามัว ไตวาย แผลเรื้อรังที่เท้า กลุ่มนี้จัด
ว่าเสี่ยงมากเช่นกัน ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง (4.) ในกรณีที่เป็นเบาหวานแต่ไม่เคยได้รับการรักษาเลย แพทย์
ควรแนะนําให้ไปรักษาก่อน เมื่อคุมระดับน้ําตาลในเลือดได้ดีแล้ว จึงค่อยนัดมาตรวจประเมินสุขภาพใหม่ (5.)
ในกรณีที่ทําการรักษาอยู่แล้วและคุมระดับน้ําตาลได้ดี ไม่เคยเกิดภาวะโคม่าจากเบาหวาน ไม่ต้องใช้อินซูลินใน
การรักษา และไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถให้ทํางานบนที่สูง แต่ควรให้คําแนะนําให้ระมัดระวังการเกิด
บาดแผลจากการทํางาน และไม่ให้ทํางานหักโหมจนเสี่ยงต่อการหมดสติ ในกลุ่มนี้แพทย์อาจขอข้อมูลการ
รักษาเดิม หรือทําการตรวจระดับน้ําตาลสะสมในเลือด (Hemoglobin A1C) เพื่อมาเป็นข้อมูลประกอบการ
พิจารณาด้วยก็ได้ และแพทย์อาจนัดมาตรวจติดตามอาการเป็นระยะด้วยก็ได้ถ้าเห็นว่ามีความจําเป็น
(21.) คําถามเกี่ยวกับโรคหรืออาการเลือดออกง่าย
ภาวะเลือดออกง่าย (Bleeding disorder) เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นจากโรคทางพันธุกรรม
เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophelia) โรควอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand disease) หรือจากสาเหตุอื่นๆ
เช่น ภาวะตับวาย ภาวะเกล็ดเลือดต่ํา ภาวะขาดวิตามินเค การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด โรคเหล่านี้จะทํา
ให้เกิดอาการเลือดออกง่าย เมื่อเลือดออกแล้วจะหยุดยาก ทําให้เกิดความเสี่ยงเมื่อเข้าไปทํางานบนที่สูง ซึ่ง
ส่วนใหญ่นั้นเป็นสถานที่คับแคบ อาจต้องปีนป่ายเข้าไปทํางาน ต้องใส่ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล มีความเสี่ยง
ต่อการบาดเจ็บจากการกระทบกระแทกได้ง่าย อาจเกิดการฟกช้ํา เลือดกําเดาไหล เลือดออกในข้อ และหากเกิด
การหมดสติขึ้น ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่ายจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออกเนื่องจากการล้มฟาดได้มากกว่าคน

12
ทั่วไป หากล้มศีรษะฟาดอาจเกิดเลือดออกในสมอง โดยสรุปจัดว่าผู้เป็นโรคกลุ่มนี้มีความเสี่ยงมาก ไม่ควรให้
ทํางานบนที่สูง
(22.) คําถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเพศหญิงที่จําเป็นต้องทํางานบนที่สูง ไม่ควรทํางานบนที่สูงเกินกฎหมาย
กําหนด และควรได้รับการสอบถามเกี่ยวกับภาวะการตั้งครรภ์ด้วย เนื่องจากการทํางานทํางานบนที่สูง อาจมี
ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการกระทบกระแทกหรือพลัดตก อาจเป็นผลเสียต่อทารกในครรภ์ได้ หากพบว่าผู้
เข้ารับการตรวจสุขภาพเพศหญิงกําลังตั้งครรภ์อยู่ จัดว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง แพทย์ควร
แนะนําให้เปลี่ยนไปทํางานอื่นที่เหมาะสมก่อนในช่วงที่กําลังตั้งครรภ์
(23.) คําถามเกี่ยวกับประจําเดือนครั้งสุดท้าย
คําถามคัดกรองนี้เพื่อเป็นการทวนสอบในเรื่องการตั้งครรภ์ เนื่องจากคนทํางานเพศหญิงบางรายอาจ
ไม่รู้ตัวว่าตนเองกําลังตั้งครรภ์ในขณะที่เข้ารับการตรวจสุขภาพ จึงควรทําการถามคําถามประวัติประจําเดือน
ครั้งสุดท้าย (Last menstrual period; LMP) ของคนทํางานเพศหญิงทุกรายด้วย หากพบว่ามีประวัติประจําเดือน
ขาดหายไป หรือประวัติชวนให้สงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรทําการตรวจปัสสาวะหาการตั้งครรภ์ (Urine pregnancy test;
UPT) ในผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเพศหญิงรายนั้น เพื่อเป็นการยืนยันการวินิจฉัย และหากพบว่าตั้งครรภ์ ไม่
ควรให้ทํางานบนที่สูง
(24.) คําถามเกี่ยวกับการเจ็บป่วยเป็นโรคอื่นๆ หรือประวัติทางสุขภาพที่สําคัญอื่น
นอกจากโรคต่างๆ ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดแล้ว หากพบว่าผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเคยเจ็บป่วยเป็นโรค
ชนิดอื่นๆ หรือมีประวัติทางสุขภาพที่สําคัญอื่น แพทย์ควรพิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบว่าโรคที่ผู้เข้ารับ
การตรวจสุขภาพกําลังเป็นหรือเคยเป็นนั้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการทํางานบนที่สูงหรือไม่ การสอบถาม
รายละเอียดความรุนแรงของโรค ข้อมูลลักษณะการทํางาน การตรวจร่างกาย และการส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม
ตามความจําเป็น จะช่วยให้แพทย์มีข้อมูลในการพิจารณาประเมินสุขภาพมากขึ้น หากแพทย์เห็นว่าการเจ็บป่วย
หรือประวัติสุขภาพนั้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้เข้ารับการตรวจ รวมถึงเพื่อนร่วมงานของ
เขา ก็ควรแนะนําให้งดการเข้าไปทํางานบนที่สูง
นอกจากการถามประวัติคัดกรองทางด้านสุขภาพแล้ว การตรวจร่างกายโดยแพทย์ก็มีความสําคัญ
เช่นกัน หากพบประวัติสุขภาพที่ผิดปกติในระบบร่างกายใด แพทย์ควรทําการตรวจร่างกายที่เกี่ยวกับระบบ
ร่างกายนั้นอย่างละเอียด เพื่อค้นหาอาการแสดงของโรคที่อาจพบได้ การตรวจร่างกายโดยทั่วไป แพทย์ควรตรวจดู
ว่าผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีภาวะผิดปกติ เช่น ซีด เหลือง หอบเหนื่อย ตัวบวม หรือไม่ ฟังเสียงการเต้นของ
หัวใจและเสียงการหายใจว่ามีความผิด เช่น เสียงฟู่ที่หัวใจ หรือไม่ ผู้เข้ารับการตรวจที่นิ้วขาดหรือข้อติดผิดรูป
อย่างมาก อาจมีปัญหาในการหยิบจับสิ่งของหรือการปีนขึ้นลงบันไดลิง ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้อาจก่อให้เกิด
อันตรายเมื่อเข้าไปทํางานบนที่สูง หากพบความผิดปกติจากการตรวจร่างกายเหล่านี้ แพทย์ควรพิจารณาอนุญาต
หรือห้ามการทํางานบนที่สูงเป็นรายๆ ไปตามความเหมาะสม

13
ภาคผนวกที่อยู่ในส่วนท้าย เป็นตัวอย่างใบรับรองแพทย์สําหรับการทํางานบนที่สูง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2
ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการถามคําถามคัดกรองสุขภาพแก่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพทั้ง 24 ข้อดังที่ได้กล่าวมา ซึ่ง
แพทย์ควรให้ผู้เข้ารั บการตรวจสุขภาพทํ าการกรอกข้ อมู ลในส่วนนี้ด้วยตนเอง ก่อนที่จะเข้ ารั บการตรวจ
ประเมินกับแพทย์ ส่วนที่ 2 เป็นส่วนสําหรับแพทย์ ในการลงผลตรวจร่างกาย ผลการตรวจพิเศษ การสรุปผล และ
ข้อควรระวัง แพทย์สามารถนําตัวอย่างใบรับรองแพทย์สําหรับการทํางานบนที่สูงนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มา
ประยุกต์ใช้ในการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูงของตนเองได้

การตรวจพิเศษ
การตรวจพิเศษทําเพื่อประเมินสมรรถภาพร่างกายของผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพในด้านต่างๆ ว่ามี
ความเหมาะสมเพียงพอที่จะอนุญาตให้ขึ้นไปทํางานบนที่สูงได้หรือไม่ แนวทางฉบับนี้ แนะนําให้แพทย์ทําการ
ตรวจพิเศษและพิจารณาผลตรวจ ตามเกณฑ์การพิจารณาดังต่อไปนี้
(1.) ดัชนีมวลกาย
การวัดดัชนีมวลกาย (Body mass index; BMI) เป็นค่าที่บ่งบอกรูปร่างของคนทํางาน ว่ามีภาวะอ้วน
และน้ําหนักเกินหรือไม่ คนทํางานที่มีภาวะอ้วนอาจเกิดความเสี่ยงเมื่อขึ้นไปทํางานบนที่สูง เนื่องจากร่างกาย
อาจติดในพื้นที่ที่คับแคบ เช่น การทํางานบนเสา ในเสา ตอม่อ นั่งร้าน บันได ขาหยั่ง และม้ายืน น้ําหนักตัวที่
มากอาจทําให้คนทํางานเกิดความเหนื่อยล้าได้ง่าย เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบเฉียบพลัน
ได้ หากคนทํางานที่มีภาวะอ้วนหมดสติบนที่สูง การช่วยเหลือออกมาอาจทําได้ยากกว่าปกติ อุปกรณ์ช่วยชีวิต
มาตรฐานอาจไม่สามารถทนน้ําหนักได้
เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องดัชนีมวลกาย ที่อนุญาตให้ทํางานบนที่สูงได้ อยู่ที่ไม่เกิน 35 กิโลกรัม/เมตร
2
ถ้าดัชนีมวลกายมากกว่านี้ จัดว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางทํางานบนที่สูง
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีดัชนีมวลกายเกิน 30 กิโลกรัม/เมตร2 ขึ้นไป ก็จัดว่ามี
ภาวะอ้วนอย่างมากแล้ว แพทย์ควรให้คําแนะนําแก่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพในกลุ่มที่มีดัชนีมวลกายเกิน 30
กิโลกรัม/เมตร2 แต่ยังไม่เกิน 35 กิโลกรัม/เมตร2 นี้ ซึ่งแม้ว่าจะยังให้ทํางานได้ แต่ต้องทํางานด้วยความระมัดระวัง
อย่างยิ่ง ควรแนะนําให้คนทํางานกลุ่มนี้ลดน้ําหนัก เพื่อผลดีต่อสุขภาพของตนเองในระยะยาวด้วย
(2.) ความดันโลหิต
ความดันโลหิตที่สูงเกินไป ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบเฉียบพลันได้ เมื่อขึ้น
ไปทํางานบนที่สูงซึ่งเป็นงานที่มักต้องใช้กําลังกายอย่างหนัก เกิดความเครียด ความเหนื่อยล้า หรืออยู่กลาง
แดดจ้า ความดันโลหิตอาจสูงขึ้นจนเป็นอันตราย เกณฑ์การพิจารณาระดับความดันโลหิตที่อนุญาตให้ทํางาน
บนที่สูงได้อยู่ที่ไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท หากมีระดับความดันโลหิตสูงกว่านี้ ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง
ในกรณีที่พบว่าผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท แพทย์ควร
แนะนําให้ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพทําการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงนั้น หากผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพได้ไป
ทําการตรวจวินิจฉัยและรักษา จนในภายหลังความดันโลหิตลดลงเหลือไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอทแล้ว
แพทย์สามารถอนุญาตให้ทํางานบนที่สูง

14
(3.) อัตราเร็วชีพจร
อัตราเร็วชีพจร (Pulse rate) เป็นสัญญาณชีพที่ช่วยบ่งบอกการทํางานของระบบหัวใจและหลอดเลือด
ของผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ หากอัตราเร็วชีพจรต่ําหรือสูงเกินไป อาจเกิดจากสาเหตุอันตรายบางอย่าง เช่น
เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นโรคระบบต่อมไร้ท่อ เป็นโรคในระบบร่างกายส่วนอื่นๆ การได้รับยาที่มีผลต่อ
การเต้นของหัวใจผิดขนาด การใช้สารเสพติด หรือการได้รับสารพิษ อัตราเร็วชีพจรที่ต่ําหรือสูงเกินไป ทําให้เกิด
ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบเฉียบพลันได้ เกณฑ์การพิจารณาอัตราเร็วชีพจร ที่อนุญาต
ให้ทํางานบนที่สูงได้ อยู่ในช่วง 60 – 100 ครั้ง/นาที
ในกรณีที่อัตราเร็วชีพจรของผู้เข้ารับการตรวจอยู่ในช่วง 40 – 59 ครั้ง/นาที ร่วมกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เป็นปกติ (Sinus bradycardia) ก็อนุญาตให้ทํางานบนที่สูงได้
ในกรณีที่อัตราเร็วชีพจรของผู้เข้ารับการตรวจอยู่ในช่วง 101 – 120 ครั้ง/นาที ร่วมกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เป็นปกติ (Sinus tachycardia) ก็อนุญาตให้ทํางานบนที่สูงได้เช่นกัน
(4.) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram; ECG) ทําให้แพทย์ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะ
การเต้นของหัวใจ และช่วยคัดกรองโรคหัวใจบางชนิดที่อาจเป็นอันตรายได้ การตรวจนี้ทําได้ง่าย สามารถทําได้
ในสถานพยาบาลทุกระดับ เกณฑ์การพิจารณาผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสําหรับคนทํางานบนที่สูง มีหลักการ
พิจารณาดังนี้
ในกรณีที่พบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ กลุ่มที่มีลักษณะบ่งชี้ถึงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ทุกชนิด เช่น ST elevation, ST depression, รวมถึง Non-specific T wave abnormality กลุ่มนี้ไม่ควรให้
ขึ้นไปทํางานบนที่สูง และควรส่งต่ออายุรแพทย์โรคหัวใจเพื่อทําการตรวจวินิจฉัยยืนยันเสียก่อน
ในกรณีที่พบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ กลุ่มที่มีการเต้นผิดจังหวะแบบ Sinus arrhythmia,
Premature atrial contraction (PAC), และ Premature ventricular contraction (PVC) ทั้งแบบ Occasional
PVC และ Frequent PVC ถ้าไม่มีอาการผิดปกติร่วมด้วย สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ ยกเว้น Premature
ventricular contraction แบบที่เกิดขึ้นทุกครั้งของการเต้นเป็น Ventricular bigeminy ถ้าพบ ไม่ควรให้
ทํางานบนที่สูง และควรส่งพบอายุรแพทย์โรคหัวใจเพื่อทําการรักษาต่อไป
ในกรณีที่พบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ กลุ่มที่มีการเต้นผิดจังหวะแบบ Atrial fibrillation (AF)
และ Atrial flutter (AFL) จัดว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง และควรส่งพบอายุรแพทย์
โรคหัวใจเพื่อทําการรักษาต่อไป
ในกรณีที่พบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ กลุ่มที่มีการเต้นผิดจังหวะแบบ Wolff-Parkinson-
White syndrome (WPW) จัดว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง และควรส่งพบอายุรแพทย์
โรคหัวใจเพื่อทําการรักษาต่อไป

15
ในกรณีที่พบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในกลุ่มแกนหัวใจเบี่ยง (Axis deviation) ทั้งเบี่ยงไป
ด้านซ้าย (Left axis deviation) และเบี่ยงไปด้านขวา (Right axis deviation) ถ้าไม่พบความผิดปกติอย่างอื่น
ร่วมด้วย สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้
ในกรณีที่พบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ กลุ่มที่มีการเต้นกระตุก (Heart block) ต้องพิจารณา
แยกเป็นแต่ละชนิดไป โดย (1.) สําหรับ Incomplete right bundle branch block (ICRBBB), Complete
right bundle branch block (CRBBB), และ First degree AV block (1st degree AV block) กลุ่มนี้จัด
ว่า มี ค วามเสี่ย งต่ํา สามารถให้ ทํางานบนที่สูงได้ (2.) สํา หรับ ลัก ษณะแบบ Shortened PR และ
Prolonged QT กลุ่มนี้จัดว่ามีความเสี่ยงต่ําเช่นกัน สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ (3.) สําหรับลักษณะแบบ
Left bundle branch block (LBBB), Second degree AV block (2nd degree AV block) ทั้งชนิด
Mobitz I และ Mobitz II, และ Third degree AV block (3rd degree AV block) กลุ่มนี้จัดว่ามีความเสี่ยงมาก
ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง และควรส่งพบอายุรแพทย์โรคหัวใจเพื่อทําการรักษาต่อไป (4.) สําหรับลักษณะแบบ
Left anterior fascicular block และ Left posterior fascicular block ถ้าพบจัดว่ามีโอกาสมีความเสี่ยง
มากเช่นกัน ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง และควรส่งพบอายุรแพทย์โรคหัวใจเพื่อตรวจยืนยันเสียก่อน
ในกรณีที่พบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ กลุ่มหัวใจโต (Hypertrophy) ทั้ง Left ventricular
hypertrophy (LVH) และ Right ventricular hypertrophy (RVH) จัดว่ามีโอกาสที่จะมีความเสี่ยงมาก ไม่
ควรให้ทํางานบนที่สูง และควรส่งพบอายุรแพทย์โรคหัวใจเพื่อวินิจฉัยยืนยันต่อไป
(5.) ภาพรังสีทรวงอก
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X-ray) ในท่ายืน (Upright) และถ่ายจากหลังไปหน้า (Postero-
anterior; PA) ด้วยฟิล์มขนาดมาตรฐาน คือมีขนาดอย่างน้อย 14 นิ้ว × 17 นิ้ว [12] หรือลักษณะเป็นภาพ
ดิจิตอลความละเอียดสูง เป็นการตรวจพิเศษที่จะช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคในทรวงอกของผู้เข้ารับการตรวจ
สุขภาพแก่แพทย์ได้เป็นอย่างดี การพิจารณาภาพเงาหัวใจ ปอด และกระดูกบริเวณทรวงอก จะช่วยแพทย์ใน
การคัดกรองความผิดปกติที่รุนแรงบางอย่างในผู้เข้ารับการตรวจได้ เกณฑ์การพิจารณาผลตรวจภาพรังสีทรวง
อกสําหรับคนทํางานบนที่สูงมีแนวทางดังนี้
ในกรณีที่พบลักษณะการอักเสบของเนื้อปอด (Pneumonitis) หรือการติดเชื้อในระยะแพร่กระจาย (Active
infection) เช่น โรคปอดอักเสบจากสารเคมี (Chemical pneumonitis) โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือ
ไวรัส (Pneumonia) วัณโรคปอดระยะแพร่กระจาย (Active pulmonary tuberculosis) กลุ่มนี้จัดว่าเสี่ยงมาก ไม่ควร
ให้ทํางานบนที่สูง การตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจ การวัดไข้ การตรวจย้อมเชื้อในเสมหะ และการตรวจ
เพาะเชื้อในเสมหะ (ถ้าผู้ป่วยมีอาการไอมีเสมหะ) อาจช่วยเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้แพทย์ทําการวินิจฉัยได้ชัดเจน
ยิ่งขึ้น แพทย์ควรส่งตัวผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพที่กําลังมีภาวะปอดอักเสบ ไปทําการรักษากับอายุรแพทย์โรค
ทรวงอก เมื่อหายจากภาวะปอดอักเสบแล้ว จึงให้มาตรวจประเมินสุขภาพใหม่

16
ในกรณีที่พบลักษณะความผิดปกติเล็กน้อย เช่น มีเยื่อหุ้มปอดหนาตัวเล็กน้อย (Plural thickening) มี
ก้อนกรานูโลมา (Granuloma) หรือหินปูนเกาะ (Calcification) ขนาดเล็กในเนื้อปอดที่ดูไม่มีลักษณะอันตราย
หรือไม่โตขึ้นหากมีภาพรังสีทรวงอกเดิมให้เปรียบเทียบ เหล่านี้สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้
ในกรณีที่พบรอยพังผืด (Fibrosis) ในปอด ถ้ามีขนาดเล็ก สามารถให้ทํางานในที่อับอากาศได้ ถ้ามีจํานวน
ค่อนข้างมากหรือมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ให้พิจารณาร่วมกับการตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจ และผลการตรวจ
สมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ ถ้าเป็นปกติทั้งหมด สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้
ในกรณีที่พบลักษณะเป็นถุงลมใหญ่ (Bullae) หรือหลอดเลือดแดงใหญ่ในทรวงอกโป่งพอง (Aortic
aneurysm) กลุ่มนี้จัดว่าเสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง และควรส่งต่อผู้ป่วยไปทําการรักษากับอายุร
แพทย์โรคทรวงอกหรือศัลยแพทย์ต่อไป
ในกรณีที่พบลักษณะเงาหัวใจโตเล็กน้อย (Mild cardiomegaly) แต่ตรวจร่างกายไม่มีอาการอย่างอื่น
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นปกติ สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ ในกรณีที่พบเงาหัวใจโตอย่างเด่นชัด จัดว่าเป็นกลุ่มที่
เสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง ควรส่งพบอายุรแพทย์โรคหัวใจเพื่อทําการตรวจหาสาเหตุและทําการรักษาต่อไป
(6.) สมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์
การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test; PFT) ด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry)
เป็นวิธีการตรวจสมรรถภาพปอดที่ได้รับความนิยม ทําการตรวจได้ค่อนข้างง่าย ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ และ
สามารถทําได้ในสถานพยาบาลทุกแห่งที่มีเครื่องมือ การตรวจชนิดนี้มีหลักการโดยให้ผู้เข้ารับการตรวจเป่าลม
หายใจผ่านเครื่องมือตรวจวัด เพื่อดูปริมาตร (Volume) และอัตราการไหล (Flow rate) ของลมหายใจ แล้ววัด
ออกมาเป็นค่าต่างๆ เช่น Forced expiratory volume in 1 second (FEV1) และ Forced vital capacity
(FVC) นํามาเปรียบเทียบกับค่าของประชากรปกติ
เกณฑ์การพิจารณาผลการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ สําหรับคนทํางานในที่อับอากาศ
ให้แพทย์ทําการตรวจและแปลผลตามแนวทางของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ฉบับปี พ.ศ. 2545 [13]
และแนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอนามัย พ.ศ. 2561 โดย
มูลนิธิสัมมาอาชีวะ [14] ซึ่งให้พิจารณาจาก (1.) ค่า FEV1/FVC ของค่าที่วัดได้จริง (Fixed FEV1/FVC ratio) ใน
ผู้เข้ารับการตรวจที่อายุน้อยกว่า 50 ปี ให้ใช้ค่าปกติที่มากกว่า 75 % ส่วนในผู้เข้ารับการตรวจที่อายุตั้งแต่ 50
ปีขึ้นไป ให้ใช้ค่าปกติที่มากกว่า 70 % (2.) การพิจารณาค่า FEV1 ให้ใช้ค่าคาดคะเนเมื่อเทียบกับประชากรปกติ
(% Predicted) โดยถือว่าปกติเมื่อค่ามากกว่า 80 % Predicted ขึ้นไป (3.) การพิจารณาค่า FVC ให้ใช้ค่า
คาดคะเนเมื่อเทียบกับประชากรปกติเช่นกัน โดยถือว่าปกติเมื่อค่ามากกว่า 80 % Predicted ขึ้นไป
ในกรณีที่ตรวจและแปลผลแล้วพบว่าสมรรถภาพปอดเป็นปกติ (Normal) หรือผิดปกติแบบจํากัด
การขยายตัวเล็กน้อย (Mild restriction) หรืออุดกั้นเล็กน้อย (Mild obstruction) สามารถให้ทํางานบนที่สูง
ได้ ในกรณีที่ตรวจและแปลผลแล้วพบว่าสมรรถภาพปอดผิดปกติแบบจํากัดการขยายตัวปานกลางหรือรุนแรง
(Moderate or severe restriction) ผิดปกติแบบอุดกั้นปานกลางหรือรุนแรง (Moderate or severe
obstruction) หรือผิดปกติแบบผสม (Mixed defect) เหล่านี้จัดว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่

17
สูง และควรส่งผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพไปพบอายุรแพทย์โรคทรวงอกเพื่อทําการตรวจหาสาเหตุและรักษา
ต่อไป
(7.) ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count; CBC) เป็นการตรวจพื้นฐานที่ช่วย
คัดกรองปัญหาเกี่ยวกับระบบโลหิตของผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพได้เป็นอย่างดี ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพที่มี
ภาวะโลหิตจางรุนแรง อาจมีโอกาสวูบ เป็นลม หน้ามืด หมดสติบนที่สูงได้ง่าย และผู้มีภาวะความเสี่ยงต่อ
อาการเลือดออกง่ายเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ํา อาจมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติทั่วไปเมื่อได้รับอุบัติเหตุจากการ
ถูกกระทบกระแทกเมื่อขึ้นไปทํางานบนที่สูง
เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องภาวะโลหิตจาง อนุญาตให้ทํางานในที่อับอากาศได้เมื่อผู้เข้ารับการตรวจมี
ระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ตั้งแต่ 10 กรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป และ ระดับความเข้มข้นเลือด (Hematocrit)
ตั้งแต่ร้อยละ 30 ขึ้นไป หากพบค่าต่ํากว่าเกณฑ์ ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง และควรส่งผู้เข้ารับการตรวจไปพบ
อายุรแพทย์โรคเลือดเพื่อทําการรักษาต่อไป
เกณฑ์การพิจารณาในเรื่องเกล็ดเลือดต่ํา อนุญาตให้ทํางานบนที่สูงได้เมื่อผู้เข้ารับการตรวจมีระดับ
เกล็ดเลือด (Platelet) ตั้งแต่ 100,000 เซลล์/มิลลิเมตร3 ขึ้นไป หากพบค่าต่ํากว่าเกณฑ์ ไม่ควรให้ทํางานบนที่
สูง และควรส่งผู้เข้ารับการตรวจไปพบอายุรแพทย์โรคเลือดเพื่อทําการรักษาต่อไป
(8.) ผลวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urine analysis)
การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urine analysis หรือ Urinalysis หรือ UA) เป็นการตรวจพื้นฐานทาง
การแพทย์ ที่นิยมใช้ตรวจในการตรวจสุขภาพประจําปี เนื่องจากเป็นการตรวจที่ทําได้ค่อนข้างง่าย ไม่ทําให้ผู้
เข้ารับการตรวจเจ็บตัว และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทําหน้าที่ของไตและระบบปัสสาวะของผู้เข้ารับการตรวจ
หลายอย่าง [15] การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ เป็นการตรวจคัดกรองดูการทําหน้าที่ของไตและระบบปัสสาวะ
รวมถึงอาจทําให้ทราบถึงความเจ็บป่วยบางอย่างในร่างกายของผู้เข้ารับการตรวจได้ด้วย (จากการพิจารณา
ปริมาณสารเคมีต่างๆ ที่ขับออกมากับปัสสาวะ) เมื่อแพทย์ผู้ตรวจสุขภาพพบความผิดปกติจากการตรวจแล้ว
เช่น พบว่ามีโปรตีนในปัสสาวะ พบว่ามีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ แพทย์ผู้ตรวจสุขภาพจึงมักต้องแนะนําให้ผู้เข้า
รับการตรวจไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น อายุรแพทย์ทั่วไป (Internist) อายุรแพทย์โรคไต
(Nephrologist) หรือศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (Urologist) เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ รวมถึงทําการ
รักษาหากเป็นโรคที่จําเป็นต้องทําการรักษาต่อไป ให้แพทย์ผู้ตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูงเป็นผู้พิจารณาว่า
ผลวิเคราะห์ปัสสาวะลักษณะใดบ้างที่สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ หรือไม่สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้
(9.) ผลตรวจเลือดดูการทํางานของตับและไต (Liver and kidney function tests)
ตรวจการทํางานของตับ (Liver Function test) การตรวจทั่วไปจะตรวจดูความผิดปกติของตับจาก
ค่าเอนไซม์ตับ (AST หรือ Aspartate aminotransferase; Serum glutamic-oxaloacetic transaminase;
SGOT และ ALT หรือ Alanine aminotransferase; Serum glutamate-pyruvate transaminase) ซึ่ง
สามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติหรือการอักเสบของตับ และการตรวจ ALP (Alkaline phosphatase) ซึ่งเป็น

18
เอนไซม์ที่ผลิตขึ้นมาด้วยโปรตีนจากอวัยวะต่าง ๆ ที่เกิดโรคหรือเกิดความผิดปกติ เช่น ตับ กระดูก ลําไส้เล็ก
ไต หากมีโรคหรือภาวะใดที่ตับ ALP มักจะมีค่าสูงขึ้น
ตรวจการทํางานของไต (Kidney Function test) การตรวจสุขภาพปกติจะเป็นการตรวจดูค่า
Creatinine ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้ประมาณการอัตราการกรองของไต (estimated glomerular filtration
rate, eGFR ) การตรวจค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) เป็นการวัดปริมาณไนโตรเจนในกระแสเลือด ซึ่ง
เกิดจากการย่อยสลายโปรตีนโดยที่สารของเสียจะถูกสร้างเป็นสารยูเรียและถูกกําจัดผ่านไต โดยส่วนประกอบ
สํ า คั ญ ของ ยู เ รี ย คื อ ไนโตรเจน หากไตเสื่ อ มก็ จ ะมี ก ารคั่ ง ของไนโตรเจนเกิ ด ขึ้ น จึ ง สามารถช่ ว ยบ่ ง บอก
ความสามารถในการขับของเสียของไตได้
ให้แพทย์ผู้ตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูงเป็นผู้พิจารณาว่าผลวิเคราะห์ปัสสาวะลักษณะใดบ้างที่
สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ หรือไม่สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้
(10.) ผลตรวจระดับน้าํ ตาลสะสมในเลือด (Glycated hemoglobin (HbA1C))
การตรวจระดับน้ําตาลสะสมในเลือดหรือการตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี (Glycated hemoglobin
(HbA1C)) เป็นการตรวจระดับน้ําตาลสะสมในเลือดตลอดระยะเวลา 12 สัปดาห์ที่ผ่านมา [16] ดังนั้นหากมี
การตรวจในวันถัดไป หรือวันใกล้ๆ กัน ผลการตรวจระดับน้ําตาลสะสมจะไม่เปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นค่าที่ช่วย
พิจารณาและประเมินผลการรักษาโดยรวมในช่วงที่ผ่านมาว่าผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ําตาลได้ดี
หรือไม่ และยังช่วยคัดกรองและวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ได้อีกด้วย ให้แพทย์ผู้ตรวจสุขภาพ
คนทํางานบนที่สูงเป็นผู้พิจารณาว่าผลการตรวจระดับน้ําตาลสะสมในเลือดรับดับใดบ้างที่สามารถให้ทํางานบน
ที่สูงได้ หรือไม่สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้
(11.) สมรรถภาพการมองเห็นระยะไกล
การตรวจสมรรถภาพการมองเห็นระยะไกล (Far vision test) โดยการตรวจความชัดเจนในการมอง
ภาพ (Visual acuity; VA) เป็นการตรวจคัดกรองในเบื้องต้น เพื่อประเมินว่าผู้เข้ารับการตรวจมีความสามารถ
ในการมองเห็นเพียงพอที่จะทํางานบนที่สูงได้หรือไม่ ซึ่งอย่างน้อยคนทํางานบนที่สูงควรมองเห็นภาพได้ชัดเจน
พอสมควร เช่น สามารถมองเห็นป้าย สัญญาณเตือน และหยิบจับเครื่องมือต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง ในการตรวจ
ให้ทําการตรวจการมองภาพระยะไกลโดยทําการตรวจแยกทีละตา ทั้งตาขวา (Right eye) และตาซ้าย (Left
eye) จากนั้นตรวจโดยให้มองพร้อมกันทั้ง 2 ตา (Both eye) ทั้งแบบก่อนทําการแก้ไข (Uncorrected) และ
หลังทําการแก้ไข (Corrected) ให้ดีที่สุดเท่าที่ทําได้ ไม่ว่าจะโดยการให้ใส่แว่น การใส่คอนแทคเลนส์ หรือการให้
ผู้เข้ารับการตรวจมองลอดรูขนาดเล็ก (Pinhole) ก็ตาม
เกณฑ์การพิจารณา จะอนุญาตให้ผู้เข้ารับการตรวจทํางานบนที่สูงได้ ถ้าความชัดเจนในการมอง
ภาพ (Visual acuity) เมื่อทําการมองพร้อมกันทั้ง 2 ตา (Both eye) และได้แก้ไขให้ดีที่สุดแล้ว (Best
corrected) ต้องอยู่ที่ระดับ 6/12 เมตร (20/40 ฟุต) หรือดีกว่า หากพบว่าสมรรถภาพการมองเห็นระยะไกล
ลดลงกว่าระดับนี้ จัดว่าเป็นกลุ่มที่เสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูง และควรส่งผู้เข้ารับการตรวจไปพบจักษุ
แพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและทําการรักษาต่อไป

19
ในกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะสายตาผิดปกติ (Refractive error) เช่น สายตาสั้น สายตาเอียง แต่
เมื่อทําการแก้ไขแล้ว การมองภาพระยะไกลพร้อมกัน 2 ตา อยู่ที่ระดับ 6/12 เมตร (20/40 ฟุต) หรือดีกว่า
คนทํางานกลุ่มนี้สามารถให้ทํางานได้ แต่จําเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ เช่น แว่นสายตา
คอนแทคเลนส์ ระหว่างการทํางาน
(12.) สมรรถภาพการได้ยินเสียงพูด
การตรวจคัดกรองสมรรถภาพการได้ยินเสียงพูดนั้น ทําเพื่อคัดกรองว่าผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพจะ
สามารถได้ยินเสียงพูดของเพื่อนร่วมงานและสื่อสารความหมายกันได้เข้าใจหรือไม่ เนื่องจากหากทํางานบนที่
สูงมีความสามารถในการได้ยินลดลงจนถึงระดับที่ไม่ได้ยินเสียงพูดของผู้อื่นอย่างชัดเจนแล้ว อาจเกิดอันตราย
เนื่องจากมีโอกาสไม่ได้ยินเสียงเตือนของเพื่อนร่วมงานและผู้ช่วยเหลือ รวมถึงเสียงสัญญาณเตือนภัย หากเกิด
เหตุ ฉุ ก เฉิ น ขึ้ น วิ ธี ก ารทดสอบสมรรถภาพการได้ ยิ น เสี ย งพู ด นั้ น แพทย์ อ าจใช้ ก ารทดสอบเสี ย งกระซิ บ
(Whispered voice test) ในการทดสอบก็ได้ หากผู้เข้ารับการตรวจไม่ได้ยินเสียงกระซิบ ให้แพทย์ทดลองพูด
กับผู้เข้ารับการตรวจด้วยระดับเสียงปกติ แต่ใช้กระดาษปิดบังริมฝีปากตนเองไว้เพื่อป้องกันผู้เข้ารับการตรวจ
อ่านริมฝีปาก เกณฑ์การพิจารณาคือหากผู้เข้ารับการตรวจสามารถได้ยินเสียงพูดของแพทย์และพูดโต้ตอบได้
เข้าใจดี ก็สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ แต่หากแพทย์พูดกับผู้เข้ารับการตรวจด้วยระดับเสียงปกติแล้วยังคง
ไม่ได้ยินชัดเจน จัดว่ามีความเสี่ยงมาก ไม่ควรให้ทํางานบนที่สูงและควรส่งผู้เข้ารับการตรวจไปพบแพทย์ หู คอ
จมูก เพื่อทําการตรวจหาสาเหตุและทําการรักษาต่อไป
(13.) การตรวจร่างกายโดยแพทย์
การทํางานบนที่สูงเป็นการทํางานที่เสี่ยงอันตรายอย่างมากและต้องอาศัยกําลังกล้ามเนื้อในการทรง
ตัว ปีนป่าย หยิบจับ และทํางานที่ได้รับมอบหมาย ดังนั้นแพทย์ผู้ตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูงควรทําการ
ตรวจประเมินความผิดปกติด้านต่างๆ ดังนี้
 ความผิดปกติของรูปร่างลําตัว, มือ, แขน, ขา (Deformity of trunk, hands, arms, legs)
 กําลังกล้ามเนื้อในการกํามือ (Handgrip power)
 กําลังกล้ามเนื้อแขน (Upper limbs power)
 กําลังกล้ามเนื้อขา (Lower limbs power)
 การทรงตัวและการประสานงานของกล้ามเนื้อ (Cerebellar signs)
ให้แพทย์เป็นผูพ้ ิจารณาว่าผลตรวจตรวจร่างกายลักษณะใดบ้างที่สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้ หรือไม่
สามารถให้ทํางานบนที่สูงได้โดยคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้เข้ารับการตรวจเป็นสําคัญ

การสรุปผล
หลังจากแพทย์ทําการสอบถามข้อมูลการทํางาน ข้อมูลสุขภาพ ตรวจร่างกาย และพิจารณาผลการ
ตรวจพิเศษแล้ว ให้แพทย์ทําการสรุปผลว่าผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพนั้น สามารถทํางานบนที่สูงได้หรือไม่ เพื่อ

20
เป็นข้อมูลให้กับทางสถานประกอบการได้ใช้ในการดูแลคนทํางานที่มาเข้ารับการตรวจสุขภาพนั้นต่อไป ในการ
สรุปผล แพทย์สามารถสรุปผลได้เป็น 3 กรณี ดังนี้
ในกรณีที่ผลการสอบถามข้อมูลสุขภาพ ผลการตรวจร่างกาย และผลการตรวจพิเศษ อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ทั้งหมด และไม่มีข้อมูลอื่นใดชวนให้สงสัยว่าผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพนั้นจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป ให้
แพทย์สรุปผลว่า “สามารถทํางานบนที่สูงได้ (Fit to work)”
ในกรณีที่ผลการสอบถามข้อมูลสุขภาพ ผลการตรวจร่างกาย และผลการตรวจพิเศษ มีความผิดปกติ
ไปบางส่วน แต่แพทย์พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ความผิดปกติที่พบนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ให้แพทย์สรุปผล
ว่า "“สามารถทํางานบนที่สูงได้แต่มีข้อจํากัดหรือข้อควรระวัง (Fit to work with restrictions)” พร้อมทั้งระบุ
ข้อจํากัดหรือข้อควรระวังในการทํางานไว้ให้ทางสถานประกอบการรับทราบด้วย การสรุปผลเช่นนี้ หมายถึงให้ผู้
เข้ารับการตรวจรายนั้นสามารถทํางานบนที่สูงได้ แต่ก็เป็นการเตือนสถานประกอบการและผู้ควบคุมงานให้
รับทราบว่า ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพรายนั้นไม่ได้มีผลตรวจสุขภาพเป็นปกติดีทั้งหมด และมีข้อจํากัดหรือข้อ
ควรระวังอะไรบ้างในการทํางาน
ในกรณีที่ผลการสอบถามข้อมูลสุขภาพ ผลการตรวจร่างกาย และผลการตรวจพิเศษ พบความผิดปกติ
ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงมาก เกินที่จะยอมรับได้ และแพทย์พิจารณาแล้วว่าไม่ควรให้ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ
รายนั้นทํางานบนที่สูง ให้แพทย์สรุปผลว่า “ไม่สามารถทํางานทํางานบนที่สูงได้ (Unfit to work)” และควร
แจ้งรายละเอียดเหตุผลว่าทําไมจึงมีความเห็นว่าไม่สามารถทํางานบนที่สูงได้ไว้ด้วย รวมถึงการให้คําแนะนําใน
การให้ผู้เข้ารับการตรวจไปพบแพทย์สาขาต่างๆ ที่เห็นควร เพื่อทําการตรวจยืนยันการวินิจฉัยโรคหรือทําการ
รักษาต่อไป และหากเห็นว่าภาวะที่ทําให้ไม่สามารถทํางานบนที่สูงได้นั้นเป็นภาวะชั่วคราว อาจแจ้งเงื่อนไขใน
การที่ผู้เข้ารับการตรวจจะได้ทําการแก้ไขปัญหาสุขภาพของตนเอง พร้อมทั้งนัดเวลาที่จะให้มาตรวจประเมินซ้ํา
ใหม่ด้วยก็ได้ตามความเหมาะสม รายละเอียดที่กล่าวมานี้ควรระบุไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรในใบรับรอง
แพทย์ด้วย
การสรุปผลลงในใบรับรองแพทย์โดยบันทึกไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร จัดเป็นพยานเอกสารทาง
กฎหมาย ที่ทําให้ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ แพทย์ และผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาต สามารถนําข้อมูลมาทบทวน
ในภายหลังได้ แม้ว่าการทํางานบนที่สูงซึ่งเป็นงานที่มีความเสี่ยงอันตรายสูง คนทํางานมักจะได้รับค่าตอบแทนสูง
กว่าการทํางานอื่น ซึ่งอาจทําให้เกิดความคาดหวังในการได้ทํางานอย่างมากในผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพบาง
ราย อย่างไรก็ตามแพทย์ควรพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเข้าไปทํางานบนที่สูง
โดยใช้หลักวิชาทางการแพทย์เป็นหลัก การพิจารณาแพทย์ต้องทําโดยปราศจากอคติ ใช้ข้อมูลลักษณะการ
ทํางาน ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลการตรวจร่างกาย และข้อมูลจากการตรวจพิเศษ ที่แพทย์ได้รับทราบในขณะที่ทํา
การประเมินนั้นเป็นข้อมูลพื้นฐานสําคัญในการพิจารณา โดยมุ่งเน้นที่ความปลอดภัยของผู้เข้ารับการตรวจ
สุขภาพและเพื่อนร่วมงานของเขาเป็นจุดมุ่งหมายสําคัญ แพทย์ควรรับทราบไว้ด้วยว่า ประเทศไทยในปัจจุบัน
นั้น คนทํางานทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกทํางานหรือไม่ทํางานใดก็ได้โดยสมัครใจ และผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพที่
ไม่สามารถทํางานบนที่สูงได้ ก็มีสิทธิในการทํางานชนิดอื่นที่มีความเสี่ยงอันตรายน้อยกว่าเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยง

21
ตนเองและครอบครัว อีกทั้งหากผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นลูกจ้างในความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติความ
ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 [17] ก็เป็นหน้าที่โดยตรงของนายจ้าง ที่
จะต้องเปลี่ยนให้ลูกจ้างไปทํางานอื่นที่มีอันตรายน้อยกว่า เมื่อได้รับทราบข้อมูลความเสี่ยงจากแพทย์ สิ่งที่
แพทย์ควรรับทราบอีกประเด็นหนึ่งคือ เป็นสิทธิของผู้ป่วย (หรือผู้รับบริการทางสุขภาพ) ที่จะขอความเห็นจาก
ผู้ให้บริการทางสุขภาพท่านอื่นได้หากเกิดข้อสงสัย รวมถึงมีสิทธิในการเปลี่ยนผู้ให้บริการทางสุขภาพได้ [18]
ในกรณีของการออกใบรับรองแพทย์สําหรับการทํางานบนที่สูงนี้ หากผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีข้อสงสัย
หรือไม่เห็นด้วยกับการสรุปผลของแพทย์แล้ว ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีสิทธิที่จะให้แพทย์ท่านอื่นทําการ
ตรวจประเมินสุขภาพซ้ําได้

การให้คําแนะนํา
นอกจากการทําหน้าที่ตรวจประเมินสุขภาพแล้ว การให้คําแนะนําผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อลด
ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและเจ็บป่วยจากการทํางานบนที่สูง ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แพทย์ควรดําเนินการด้วย
คณะทํ างานมี ความเห็ นว่ า ในระหว่ างการตรวจสุ ขภาพคนทํ า งานบนที่ สู ง นั้ น แพทย์ ควรให้ คํ าแนะนํ าแก่
คนทํางาน โดยเฉพาะในเรื่องที่สําคัญดังต่อไปนี้
(1.) การระมัดระวังการทํางานจนเหนื่อยล้า
งานบนที่สูงมักเป็นงานที่ต้องใช้กําลังกายอย่างมาก บางครั้งคนทํางานต้องแบกน้ําหนักของชุดอุปกรณ์
ความปลอดภัย และเครื่องมือที่ใช้ทํางาน ทําให้เกิดความเหนื่อยล้าในการทํางานได้เพิ่มขึ้น คนทํางานบางกลุ่มที่
ทํางานในลักษณะลูกจ้างรับเหมาช่วง (Subcontractor) อาจรับงานเข้าไปทํางานบนที่สูงหลายแห่งในหนึ่งวัน เมื่อ
ทํางานเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้พัก อาจทําให้เกิดความเหนื่อยล้า สมาธิในการทํางานลดลง ก่อโอกาสให้เกิด
อุบัติเหตุได้เพิ่มขึ้น แพทย์ควรให้คําแนะนําผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพทุกรายว่า หากทํางานจนเหนื่อยล้า รู้สึกว่า
ทํางานไม่ไหว ควรแจ้งผู้ช่วยเหลือหรือผู้ควบคุมงานเพื่อออกมาพัก ไม่ควรฝืนร่างกายทํางานต่อไป เพราะอาจ
เพิ่มโอกาสที่จะวูบ หมดสติ หรือประมาท เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย คนทํางานควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทําให้
ร่างกายไม่พร้อมหรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ การดื่มของมึนเมา การใช้ยาที่ทําให้
ง่วง ความเครียด ถ้าวันใดคนทํางานเกิดการเจ็บป่วยหรือรู้สึกอ่อนเพลียอย่างมาก ควรแจ้งให้ผู้ควบคุมงาน
ทราบ
(2.) การงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดใช้สารเสพติดก่อนทํางานบนที่สูง
แพทย์ควรสอบถามข้อมูลการดื่มสุราและการใช้สารเสพติดกับคนงานที่ทํางานบนที่สูงทุกราย และให้
คําแนะนําถึงอันตรายขากการดื่มสุราแล้วไปทํางาน อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุตกจากท่สูงบาดเจ็บและเสียชีวิตได้
และบางสถานประกอบการก่อนที่จะมีการทํางานบนที่สูงจะมีการเป่าแอลกอฮอล์เพื่อตรวจระดับแอกอฮอล์
หากพนักงานดื่มแอลกอฮอล์ก่อนมาทํางานก็จะไม่สามารถขึ้นทํางานบนที่สูงได้ ทําให้เกิดผลเสียต่อทั้งสถาน
ประกอบการที่จะขาดคนทํางาน และผลเสียต่อตัวพนักงานเองที่ทําให้ขาดรายได้และอาจถูกเรียกตักเตือนตาม
ระบบ

22
(3.) การลดน้ําหนักและการควบคุมน้ําหนักตัวให้เหมาะสม
แพทย์ควรให้คําแนะนําแก่ผู้เข้ ารับการตรวจสุ ขภาพที่มีภาวะอ้วนหรือน้ําหนักเกิน ให้ ทําการลด
น้ําหนักโดยการออกกําลังกาย และการควบคุมอาหาร เพื่อผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มที่มีดัชนี
มวลกายเกิน 30 กิโลกรัม/เมตร2 ควรให้ความสําคัญกับการลดน้ําหนักมากเป็นพิเศษ สําหรับคนทํางานที่มี
น้ําหนักตัวปกติอยู่แล้ว แพทย์ควรแนะนําให้ควบคุมน้ําหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อไป
(4.) การให้คําแนะนําอื่นๆ ที่แพทย์เห็นว่าเหมาะสม
นอกจากการให้คําแนะนําที่สําคัญดังที่กล่าวมาข้างต้น ในกรณีที่แพทย์พบความเสี่ยงทางสุขภาพอย่าง
อื่นๆ ควรให้คําแนะนําเพิ่มเติมเพื่อป้องกันโรคหรือสร้างเสริมสุขภาพของผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น เช่น
การแนะนําให้ลดการดื่มของมึนเมา การแนะนําให้งดการใช้ยาชนิดที่ทําให้ง่วงก่อนขึ้นไปทํางานบนที่สูง การ
แนะนําให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักให้ครบตามกําหนด การแนะนําให้ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย
อย่างเคร่งครัดทุกครั้งที่ขึ้นไปทํางานบนที่สูง

ข้อจํากัดและโอกาสในการพัฒนา
“แนวทางการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูง พ.ศ. 2562” ของมูลนิธิสัมมาอาชีวะฉบับนี้ จัดทําขึ้น
โดยมีความมุ่งหวังเพื่อให้เป็นแนวทางสําหรับแพทย์ผู้ทําหน้าที่ตรวจประเมินสุขภาพคนทํางานบนที่สูง ได้ใช้
เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่สามารถปฏิบัติได้จริง เมื่อต้องทําการตรวจประเมินสุขภาพคนทํางานบนที่สูง
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตามแนวทางฉบับนี้ไม่ใช่
กฎหรือข้อบังคับ แพทย์ผู้ทําการตรวจสุขภาพคนทํางานบนที่สูงอาจมีความเห็นและแนวทางการประเมิน
สุขภาพแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดในแนวทางฉบับนี้ก็ได้ โดยเฉพาะหากมีข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนว่าเป็น
แนวทางที่ช่วยให้ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีความปลอดภัยมากขึ้น
ข้อจํากัดในการจัดทําแนวทางฉบับนี้ เนื่องจากข้อมูลงานวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้
คนทํางานเสียชีวิตหรือเจ็บป่วยจากการทํางานบนที่สูงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบันมีอยู่อย่าง
จํากัด ทําให้การจัดทําเกณฑ์การพิจารณาส่วนใหญ่ต้องใช้การตกลงความเห็นร่วมกันของคณะทํางาน ซึ่งเป็นแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ และพยาบาลอาชีวอนามัยที่มีประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพคนทํางานบนที่สูงเป็นวิธีการ
หลัก และให้แพทย์ผู้ตรวจสุขภาพเป็นผู้พิจารณาโดยรวม แนวคิดในการจัดทําคณะทํางานยึดความปลอดภัยของผู้
เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประเด็นสําคัญ ในอนาคตหากมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพต่อ
อันตรายจากการทํางานบนที่สูงมากขึ้น จะช่วยให้การจัดทําเกณฑ์การพิจารณามีหลักฐานเชิงประจักษ์ให้อ้างอิง
มากขึ้น
โอกาสในการพัฒนาอีกอย่างหนึ่งคือ ในอนาคตควรมีการระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ
คนทํางานบนที่สูงไว้ในกฎหมายเช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพคนทํางานในที่อับอากาศ [6] ก็จะเป็นโอกาสที่
นายจ้างจะได้จัดให้มีการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความสมบูรณ์พร้อมในการทํางานบนที่สูงที่เสี่ยงอันตรายต่อ
ลูกจ้างอย่างทั่วถึง

23
เอกสารอ้างอิง
1. สํานักงานกองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. สถิติการประสบอันตราย
หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทํางาน ปี 2559. [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค.2562]. เข้าถึงได้
จาก: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/d3789f5205a06fa221f1feaf85bf76b7.pdf
2. สํานักงานกองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. สถิติการประสบอันตราย
หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทํางาน ปี 2560. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค.2562]. เข้าถึงได้
จาก: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/7b721e06eedc8c864b487f1e6b7f0954.pdf
3. สํานักงานกองทุนเงินทดแทน สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. สถิติการประสบอันตราย
หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทํางาน ปี 2561. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค.2562]. เข้าถึงได้
จาก: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/7d1ea6fc4b7a0c7297c205edc5ca481c.pdf
4. สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน).
มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยในการทางานบนที่สูง (มปอ. 101: 2561). กรุงเทพมหานคร:
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน);
2562.
5. กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่
110 ก. (ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2551).
6. กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอน
ที่ 18 ก. (ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562).
7. วิภารัตน์ โพธิ์ขี, สุนิสา ชายเกลี้ยง. การจัดการความปลอดภัยในงานก่อสร้าง. วารสารสาธารณสุข
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2559;9(3-4):1-7.
8. พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 111. (ลงวันที่ 11
สิงหาคม 2525).
9. มูลนิธิสัมมาอาชีวะ. แนวทางการตรวจสุขภาพคนทํางานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2561.ชลบุรี: มูลนิธิ
สัมมาอาชีวะ; 2561.
10. สมชาย ศรีร่มโพธิ์ทอง, ขวัญชนก ยิ้มแต้. การวินิจฉัยและการรักษาโรค Benign Paroxysmal
Positional Vertigo. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2543; 15(4):255-59.

24
11. Kasim Turgut, Mehmet Ediz Sarihan, Cemil Colak, Taner Güven, Ali Gür, and Sükrü
Gürbüz. Falls from height: A retrospective analysis. World J Emerg Med. 2018; 9(1):
46–50.
12. ประกาศกระทรวงอุ ต สาหกรรม ฉบั บ ที่ 4409 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบั ญ ญั ติ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แนว
ปฏิบัติการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงด้านเคมีและกายภาพจากการประกอบอาชีพในสถานประกอบ
กิจการ พ.ศ. 2555. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 105 ง. (ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555).
13. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. แนวทางการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยสไปโรเมตรีย์ (Guideline
for spirometric evaluation). กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์; 2545.
14. มูลนิธิสัมมาอาชีวะ. แนวทางการตรวจและแปลผลสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ในงานอาชีวอ
นามัย พ.ศ. 2561. ชลบุรี: มูลนิธิสัมมาอาชีวะ; 2561.
15. วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์. การแปลผลการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (Urine Analysis; UA).[อินเตอร์เน็ต].
2561 [เข้าถึงเมื่อ 2 ต.ค.2562]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/view/summacheeva/article/ua
16. Nathan DM, Turgeon H, Regan S. Relationship between glycated haemoglobin levels
and mean glucose levels over time. Diabetologia. 2007;50:2239–2244.
17. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554. ราชกิจจา
นุเบกษา เล่ม 128 ตอนที่ 4 ก. (ลงวันที่ 17 มกราคม 2554).
18. แพทยสภา. สิทธิผู้ป่วย [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://
www.tmc. or.th/privilege.php.

25
ภาคผนวก
ตัวอย่างใบรับรองแพทย์สําหรับการทํางานบนทีส่ ูง
(ฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษ)

26
ใบรับรองแพทย์ ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลวัฒนาอาชีวะ
เลขที่ 12345 ถ.สุขุมวิท ต.แสนสุข อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี 20130
สําหรับการทํางานบนที่สูง โทรศัพท์: 038-111-111 โทรสาร: 038-222-222 อีเมล์: occ@wattana.co.th

ใบรับรองแพทย์สําหรับการทํางานบนทีส่ ูง
ส่วนที่ 1 ของผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ
ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว________________________________________________________________________
เลขที่บัตรประชาชน/บัตรข้าราชการ/หนังสือเดินทาง_____________________________________________________
ข้อมูลสุขภาพ: กรุณาตอบคําถามต่อไปนี้ตามความเป็นจริง
1. ท่านเคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่  ไม่เคย  เคย
2. ท่านเคยเป็นโรคลิ้นหรือผนังหัวใจตีบหรือรั่วหรือไม่  ไม่เคย  เคย
3. ท่านเคยเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่  ไม่เคย  เคย
4. ท่านเคยเป็นโรคหัวใจชนิดอื่นๆ หรือไม่  ไม่เคย  เคย
5. ท่านเคยเป็นโรคหอบหืดหรือไม่  ไม่เคย  เคย
6. ท่านเคยเป็นโรคปอดชนิดอื่นๆ หรือไม่  ไม่เคย  เคย
7. ท่านเคยเป็นโรคลมชักหรือมีอาการชักหรือไม่  ไม่เคย  เคย
8. ท่านเคยเป็นโรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือไม่  ไม่เคย  เคย
9. ท่านเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาตหรือไม่  ไม่เคย  เคย
10. ท่านเคยมีอาการวูบ หน้ามืด หรือหมดสติในทันทีทันใดหรือไม่  ไม่เคย  เคย
11. ท่านเคยเป็นโรคระบบประสาทชนิดอื่นๆ หรือไม่  ไม่เคย  เคย
12. ท่านเคยเป็นโรคเกี่ยวกับหูชั้นในหรือโรคที่ทําให้เกิดอาการบ้านหมุน วิงเวียน มึนงงหรือไม่  ไม่เคย  เคย
13. ท่านเคยเป็นโรคปวดข้อหรือข้ออักเสบเรื้อรังหรือไม่  ไม่เคย  เคย
14. ท่านเคยเป็นโรคหรือมีความผิดปกติของกระดูกและข้อหรือไม่  ไม่เคย  เคย
15. ท่านเคยมีความผิดปกติของการมองเห็นหรือการได้ยินหรือไม่  ไม่เคย  เคย
16. ท่านเคยเป็นโรคกลัวที่สูงอย่างรุนแรงหรือไม่  ไม่เคย  เคย
17. ท่านเคยเป็นโรคจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท หรือไม่  ไม่เคย  เคย
18. ท่านเคยมีความคิดอยากฆ่าตัวตายหรือไม่  ไม่เคย  เคย
19. ท่านเคยเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่  ไม่เคย  เคย
20. ท่านเคยเป็นโรคเบาหวานหรือไม่  ไม่เคย  เคย
21. ท่านเคยเป็นโรคหรือมีอาการเลือดออกง่ายหรือไม่  ไม่เคย  เคย
22. เฉพาะคนทํางานเพศหญิง – ขณะนี้ท่านตั้งครรภ์อยู่หรือไม่  ไม่ตั้งครรภ์  ตั้งครรภ์
23. เฉพาะคนทํางานเพศหญิง – ประจําเดือนครั้งสุดท้ายของท่านคือเมื่อใด __________________________
24. ท่านเคยมีการเจ็บป่วยเป็นโรคอื่นๆ หรือมีประวัติทางสุขภาพที่สําคัญอื่นอีกหรือไม่  ไม่เคย  เคย
(ถ้ามีข้อใดตอบว่า “เคย” กรุณาระบุรายละเอียด)__________________________________________________________________________
_______________________________________________________________________________________________________________
_______________________________________________________________________________________________________________

ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อความที่แจ้งข้างต้นนี้เป็นความจริงทุกประการ ข้าพเจ้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูลสุขภาพของข้าพเจ้า
แก่นายจ้าง เพื่อประโยชน์ด้านความปลอดภัยในการทํางานบนที่สูงของข้าพเจ้า
ลงชื่อ________________________________________
ผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพ

27
ใบรับรองแพทย์ ศูนย์อาชีวเวชศาสตร์ โรงพยาบาลวัฒนาอาชีวะ
เลขที่ 12345 ถ.สุขุมวิท ต.แสนสุข อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี 20130
สําหรับการทํางานบนที่สูง โทรศัพท์: 038-111-111 โทรสาร: 038-222-222 อีเมล์: occ@wattana.co.th

ใบรับรองแพทย์สําหรับการทํางานบนทีส่ ูง
ส่วนที่ 2 ของแพทย์
วันที่________เดือน_______________พ.ศ.___________
ข้าพเจ้า นพ./พญ.____________________________________________ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมเลขที่___________________
ได้ตรวจร่างกาย นาย/นาง/นางสาว__________________________________________________________________________________
เมื่อวันที่ (วัน/เดือน/ปี)________________________________ มีรายละเอียด ดังนี้
น้ําหนักตัว____________________กก. ความสูง____________________ซม. ดัชนีมวลกาย____________________กก./ม2
ความดันโลหิต_________________________มม. ปรอท ชีพจร____________________ครั้ง/นาที  สม่ําเสมอ  ไม่สม่ําเสมอ
สภาพร่างกายทั่วไปจากการตรวจร่างกายภายนอก อยู่ในเกณฑ์  ปกติ  ผิดปกติ
(ระบุ)________________________________________________________________________________________________________
ประวัติการใช้ยาประจํา  ไม่มี  มี (ระบุชื่อยาที่ใช้ประจํา)_____________________________
ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ในปัจจุบัน  ไม่ดื่ม  ดื่ม (ระบุความถี่ที่ดื่ม)_______________________________
ผลการตรวจพิเศษ
1. ภาพรังสีทรวงอก  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
2. สมรรถภาพปอด  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
3. คลื่นไฟฟ้าหัวใจ  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
4. ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
5. วิเคราะห์ปัสสาวะ  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
6. ผลตรวจเลือดดูการทํางานของตับและไต  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
7. ผลตรวจระดับน้ําตาลสะสมในเลือด  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
8. สมรรถภาพการมองเห็นระยะไกล  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
9. สมรรถภาพการได้ยินเสียงพูด  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
10. ความผิดปกติของรูปร่างลําตัว, มือ, แขน, ขา  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
11. กําลังกล้ามเนื้อในการกํามือ (ตรวจโดยแพทย์)  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
12. กําลังกล้ามเนื้อแขน (ตรวจโดยแพทย์)  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
13. กําลังกล้ามเนื้อขา (ตรวจโดยแพทย์)  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) __________________________
14. การทรงตัวและการประสานงานของกล้ามเนื้อ (ตรวจโดยแพทย์)  ปกติ  ผิดปกติ (ระบุ) _____________________
แพทย์ได้ทําตรวจประเมินสุขภาพ เพื่อคัดกรองโรคและความผิดปกติต่างๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออันตรายหากทํางานบนที่สูงแล้ว มีความเห็นดังนี้
 สามารถทํางานบนที่สูงได้ (Fit to work)
 สามารถทํางานบนที่สูงได้ แต่มีข้อจํากัดหรือข้อควรระวัง ดังนี้ (Fit to work with restrictions or cautions)
(รายละเอียด) __________________________________________________________________________
 ไม่สามารถทํางานบนที่สูงได้ (Unfit to work)
(รายละเอียด) __________________________________________________________________________
ลงชื่อ________________________________________
แพทย์ผู้ตรวจ
ข้อควรระวัง งานบนที่สูงจัดเป็นงานที่เสี่ยงอันตราย นายจ้างจะต้องจัดมาตรการความปลอดภัยเพื่อป้องกันการพลัดตกจากที่สูงให้กับลูกจ้าง ในคืนวันก่อน
ทํางานและเช้าวันก่อนทํางาน ลูกจ้างไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนขึ้นไปทํางานบนที่สูงโดยเด็ดขาด แรงงานหญิงห้ามทํางานบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่
10 เมตรขึ้นไป ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

28
Medical Certificate for Occupational Medicine Center, Wattana Acheeva Hospital
12345, Sukhumvit Road., Saen Suk, Mueang Chonburi, Chonburi, 20130
Working at Height Tel: (+66)38-111-111 Fax: (+66)38-222-222 E-mail: occ@wattana.co.th

Medical Certificate for Working at Height Fitness to Work


Part 1 for Examinee
I am Mr. / Mrs. / Miss___________________________________________________________________________
Personal identification number / Passport number____________________________________________________
Health data: (Please answer according to your health conditions)
1. Do you ever have myocardial infarction?  No  Yes
2. Do you ever have valvular or septal heart diseases?  No  Yes
3. Do you ever have cardiac arrhythmias?  No  Yes
4. Do you ever have any heart diseases?  No  Yes
5. Do you ever have asthma?  No  Yes
6. Do you ever have any lung diseases?  No  Yes
7. Do you ever have seizures, fit, or epilepsy  No  Yes
8. Do you ever have diseases of abnormal movement or weakness?  No  Yes
9. Do you ever have cerebrovascular accident, stroke, or paralysis?  No  Yes
10. Do you ever have syncope, fainting, or sudden loss of conscious symptoms?  No  Yes
11. Do you ever have any nervous system diseases?  No  Yes
12. Do you ever have inner ear diseases or vertigo, dizziness, lightheadedness symptoms?  No  Yes
13. Do you ever have chronic joint pains or arthritis?  No  Yes
14. Do you ever have any musculoskeletal diseases?  No  Yes
15. Do you ever have vision or hearing disorders?  No  Yes
16. Do you ever have acrophobia (extreme or irrational fear of heights)?  No  Yes
17. Do you ever have psychosis e.g. major depressive disorder, schizophrenia?  No  Yes
18. Do you ever have suicidal idea?  No  Yes
19. Do you ever have hypertension?  No  Yes
20. Do you ever have diabetes mellitus?  No  Yes
21. Do you ever have bleeding disorder diseases?  No  Yes
22. For female only – Are you pregnant?  No  Yes
23. For female only – When is your last menstruation period? __________________________
24. Do you ever have any diseases or other significant health history?  No  Yes
(If answer “Yes”, Please specify details here)_______________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________
___________________________________________________________________________________________________________
This is to certify that the above statements are true. I give consent to the physician for medical examination
and to communicate with the management regarding my safety to working at height.
Signature________________________________________
Examinee

29
Medical Certificate for Occupational Medicine Center, Wattana Acheeva Hospital
12345, Sukhumvit Road., Saen Suk, Mueang Chonburi, Chonburi, 20130
Working at Height Tel: (+66)38-111-111 Fax: (+66)38-222-222 E-mail: occ@wattana.co.th

Medical Certificate for Working at Height Fitness to Work


Part 2 for Physician
Date________Month_______________Year___________
I am (Name) Dr. _________________________________________________ Medical license number_________________________
Has examined Mr./Mrs./Miss_____________________________________________________________________________________
At (Day/Month/Year)________________________________ result as descriptions below
Weight____________________kg. Height____________________cm. Body mass index (BMI) ____________________kg./m2
Blood pressure_________________________mm. Hg Pulse____________________/min  Regular  Irregular
Physical examination result  Normal  Abnormal (Specify) ______________________________________________________
Taking any medications?  No  Yes (Specify name)_______________________________
Present history of alcohol drinking  No  Yes (Specify frequency)____________________________
Special tests
1. Chest X-ray  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
2. Spirometry  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
3. Electrocardiogram  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
4. Complete blood count  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
5. Urine analysis  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
6. Liver and kidney function tests  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
7. Glycated hemoglobin (HbA1C)  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
8. Far vision test  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
9. Whispered voice test  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
10. Deformity of trunk, hands, arms, legs  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
11. Handgrip power (Examined by physician)  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
12. Upper limbs power (Examined by physician)  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
13. Lower limbs power (Examined by physician)  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
14. Cerebellar signs (Examined by physician)  Normal  Abnormal (Specify) ____________________________
Physician has assessed health conditions of the examinee to screen for diseases and disorders that could pose a risk of
harm when working at height, and also found that this examinee
 Fit to work at height
 Fit to work at height with restrictions or cautions
(Specify)_________________________________________________________________________________________
 Unfit to work at height
(Specify)_________________________________________________________________________________________
Signature________________________________________
Physician
Caution Working at height is a dangerous job. Employers must provide safety measures to prevent falling from height for their employees. On
the night before work and morning before work at height, employees should strictly not drink alcohol. According to Thai Labour Protection Act (No. 2) B.E.
2551, female employee must not work on a scaffold of 10 meters or more above the ground.

30

You might also like