You are on page 1of 14

เชฟมืออาชีพ With.

คณิตคิดเร็ว (การ์ดเกม)
สถานการณ์เกม

ผู้เล่นจะต้องสวมบทบาทเป็ นเชฟมืออาชีพที่พร้อมจะทำอาหารตาม
สั่ง โดยใช้วัตถุดิบให้ตรงกับชนิดของอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่ปรุงออกมา
รสชาติอร่อยถูกปาก แต่การทำอาหารนั้นจะต้องมีการคำนวณค่าวัตถุดิบ
ให้ถูกต้องด้วย

จำนวนผู้เล่น : 2 - 6 คน

เวลา : 20 - 40 นาที

วัตถุประสงค์

1) ต้องการให้นักเรียนฝึ กทักษะการคิดเลขเร็ว
2) ต้องการให้นักเรียนได้สนุกสนานไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้

คู่มือการเล่น
Math party

เป็ นเกมการ์ดซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยมีแนวคิดที่ต้องการจะส่งเสริมให้
เด็กได้บริหารสมองผ่านการคิดคำนวนตัวเลข แต่การนั่งคิดเลขซ้ำๆคงจะ
น่าเบื่อแน่ ๆ เราจึงทำการ์ดเกมขึ้นมาเพื่อแก้ปั ญหาความน่าเบื่อของการ
คิดคำนวนเลข และ การ์ดเกมนี้ยังช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้
คณิตศาสตร์อย่างสนุกสนานผ่านช่องทางอื่น ๆ นอกจากการนั่งเรียนใน
ห้องเรียนอีกด้วย

กลุ่มเป้ าหมาย : เด็กนักเรียนช่วงชั้นตั้งแต่ ประถมต้น – มัธยมปลาย


จุดประสงค์ของเกม MATH PARTY

- ฝึ กไหวพริบของเด็กๆในการคิดคำนวนคณิตศาสตร์เบื้องต้น

- ใช้ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างๆเด็กๆในห้อง

- สร้างแนวทางการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่ไม่ได้ติดอยู่แค่การสอนบน
กระดาน แต่เป็ นการเรียนรู้ผ่านการเล่นบอร์ดเกม

การ์ดเกมจะประกอบไปด้วยการ์ด 3 รูปแบบดังนี้

1. การ์ดตัวเลข (Number Card)

2. การ์ดสัญลักษณ์ (Symbol Card) ได้แก่ บวก ลบ คูณ และ หาร

3. การ์ดการกระทำ (Action card)

รายละเอียดการ์ดแต่ละชนิด

การ์ดตัวเลข (Number card) : ประกอบด้วยเลข 0-9 (10 ใบ) มี


จำนวนทั้งสิ้น 6 ชุด 6*10 = 60 ใบ

การ์ดสัญลักษณ์ (Symbol card) : มี 4 ใบ ได้แก่ บวก ลบ คูณ


หาร

*** 4 ใบนี้จะ ไม่ ถูกนับรวมใส่ในกองการ์ด 80 ใบ

3. การ์ดการกระทำ (Action card) : มีการ์ดอยู่ 4 ประเภท แต่ละ


ประเภทมี 5 ใบ 5*4 = 20 ใบ

3.1 การ์ดคัดลอก // จะสามารถคัดลอกการ์ดตัวเลขบนมือได้หนึ่ง


ใบ
3.2 การ์ดขโมย // จะทำให้สามารถขโมยการ์ดบนมือของผู้เล่นได้ 1
คน

3.3 การ์ดลบแต้ม // ทำให้ตัวเลข 1 ตัวของการ์ดบนมือ ลดลงได้


ตามต้องการ

ตัวอย่างเช่น มีการ์ดเลข 5 สามารถเปลี่ยนการ์ดนั้นเป็ นเลขอะไร


ก็ได้ ตั้งแต่เลข 0-4

3.4 การ์ดบวกแต้ม // จะทำให้ตัวเลข 1 ตัวของการ์ดบนมือ เพิ่ม


ขึ้นได้ตามต้องการ

ตัวอย่างเช่น มีการ์ดเลข 5 สามารถเปลี่ยนการ์ดนั้นเป็ นเลขอะไร


ก็ได้ ตั้งแต่เลข 6-9

** รวมทั้งสิ้นมีการ์ดทั้งหมด 80 ใบ + 4 ใบ (เป็ นการ์ดสัญลักษณ์ที่


แยกออกมาจากกองกลาง)

กติกา
- แบ่งผู้เล่นกลุ่มละ 4-5 คน ให้ตกลงกันว่าใครจะเริ่มคนแรก จากนั้นให้
วนรอบเล่นโดยให้คนที่เล่นคนต่อไปเป็ นคนทางซายของเรา เมื่อตกลงกัน
ได้ให้ตัวแทน หยิบการ์ดจากกองกลางแจกผู้เล่น คนละ 4 ใบ ถือเป็ น
การ์ดตั้งต้น
- เมื่อแจกการ์ดเสร็จจะให้ตัวแทน เลือกการ์ดสัญลักษณ์แบบสุ่มมา 1 ใบ
เพื่อเป็ นโจทย์พิเศษในรอบการเล่นนั้น โดยโจทย์พิเศษนี้หากทำตาม
เงื่อนไขจะทำให้ได้คะแนนพิเศษเพิ่ม แต่ไม่บังคับว่าจะต้องทำตามก็ได้
โดยผู้เล่นที่สร้างสมการตามโจทย์พิเศษในรอบนั้นจะได้คะแนนเพิ่ม
จำนวน 2 คะแนน
ตัวอย่างเช่น ถ้าหยิบสุ่มได้การ์ด + ในรอบการเล่นนั้นหากผู้เล่นสร้าง
สมการบนมือโดยใช้การบวกก็จะได้แต้มพิเศษเพิ่มอีก 2 คะแนน แต่หาก
ไม่ทำตามก็ไม่มีผลอะไรเพียงแค่จะไม่ได้แต้มเพิ่มเท่านั้นเอง
**ดังนั้นทุก ๆ ครั้งก่อนลงสมการให้สังเกตด้วยว่าโจทย์พิเศษรอบ
นั้นคืออะไร เพราะเราอาจจะได้คะแนนเพิ่มโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้
- ในรอบของผู้เล่นแต่ละคน ผู้เล่นจะหยิบการ์ดได้คนละ 2 ใบจากกอง
กลาง เมื่อหยิบการ์ดเสร็จก็จะมาดูกันว่าในมือของผู้เล่นนั้นสามารถสร้าง
สมการได้ไหม ถ้าได้ก็ให้ลงสมการนั้นบนสนาม โดยผู้เล่นจะได้คะแนน
ตามผลลัพธ์ของโจทย์เลขที่ลง + จำนวนการ์ดที่เราใช้
ตัวอย่างเช่น โจทย์พิเศษรอบนี้คือ การบวก และ A สามารถสร้าง
สมการได้ โดยใช้การ์ด เลข 5 ,1 และ 6 บนมือ โดยสมการของ A คือ
5+1 = 6 ทำให้ A ได้แต้ม 6 คะแนน + จำนวนการ์ดตัวเลขที่ A เล่น ( 5
1 6 = A ใช้การ์ดตัวเลขไป 3 ใบ) + คะแนนพิเศษจากการทำตามโจทย์
พิเศษของรอบนี้คือ การบวก ทำให้ได้เพิ่มอีก 2 คะแนน ทำให้ตานี้ A ได้
คะแนนไปทั้งหมด 6+3+2 = 11 คะแนน
** ในกรณีที่ไม่สามารถลงโจทย์สมการได้จะถูกลงโทษโดยให้จั่ว
การ์ด 1 ใบ แล้วข้ามรอบการเล่นนั้นไปยังผู้เล่นคนถัดไปทันที
- เล่นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนวนกลับมาผู้เล่นคนที่ 1 ถือว่าจบ 1 รอบ
- เมื่อเริ่มรอบใหม่ ให้ทำการสุ่มหยิบการ์ดสัญลักษณ์ใหม่เพื่อกำหนด
โจทย์พิเศษในรอบนั้น จากนั้นให้เล่นตามกติกาเดิม
- ให้ผู้เล่น เล่นไปเรื่อย ๆ จนกว่าการ์ดกองกลางจะหมด เมื่อกองกลาง
หมดจะถือว่าจบเกมทันที เมื่อจบเกมให้ดูผลรวมว่าใครได้แต้มเยอะที่สุด
จะเป็ นผู้ชนะ
กิจกรรม A Fair Hopper : การกระโดดที่ยุติธรรม

กิจกรรม A Fair Hopper : การกระโดดที่ยุติธรรม เป็ นกิจกรรมในวิชา


คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็ น มีจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อ

1. นักเรียนสามารถเขียนผลลัพธ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการทดลองสุ่ม
ที่กำหนดให้ได้

2. นักเรียนสามารถเขียนความน่าจะเป็ นของเหตุการณ์ที่กำหนดให้
ได้

3. นักเรียนสามารถออกแบบกิจกรรม A Fair Hopper : การกระ


โดดที่ยุติธรรม ให้มีความยุติธรรมได้
ตรีโกณ SMASH!

รายละเอียดของบอร์ดเกม

จุดประสงค์ของบอร์ดเกมตรีโกณ SMASH

1. นักเรียนสนุกสนานกับการเรียนรู้ เกิดการแข่งขัน

2. นักเรียนจดจำอัตราส่วนตรีโกณได้ดีขึ้น

กติกา

1. เกมนี้เล่นได้ 2 - 6 คน

2. การ์ด ตรีโกณ SMASH! มีด้วยกัน 2 ประเภท คือ

2.1 การ์ด MONSTER


2.2 การ์ด ATTACK
วิธีการเล่น

1. แจกการ์ด ATTACK ให้ผู้เล่นคนละ 5 ใบ

2. เริ่มเล่นโดยให้คนที่เริ่มก่อนเป็ นคนเปิ ดการ์ด MONSTER จากนั้นเวียน


คนเปิ ดไปทางขวามือ

3. เมื่อมีคนเปิ ดการ์ด MONSTER ให้ทุกคนหาการ์ดบนมือของตัวเองที่


ตรงกับอัตราส่วนตรีโกณที่ปรากฏในการ์ด MONSTER โดยคนที่ลงได้เร็ว
ที่สุดจะได้การ์ด MONSTER นั้นไป จากนั้นจั่วการ์ด ATTACK ขึ้นมือหนึ่ง
ใบ การ์ด ATTACK ที่ใช้แล้วให้ไว้ในกองการ์ดทิ้ง

4. เกมจะจบเมื่อมีผู้เล่นคนใดคนหนึ่งสะสมการ์ด MONSTER ครบทั้ง 9


ใบ หรือการ์ด MONSTER หมดกอง

เอฟเฟคการ์ด

1. การ์ด SMASH! สามารถลงได้ทันทีไม่ว่าจะเป็ นอัตราส่วนตรีโกณใด


2. การ์ด MONSTER ที่มีสัญลักษณ์พิเศษต่อไปนี้เมื่อผู้เล่นเก็บได้ สามารถ
ใช้เอฟเฟคได้ทันที

3. หากสัญลักษณ์อื่น ๆ ของการ์ด ATTACK ตรงกับการ์ด MONSTER จะ


สามารถขโมยการ์ด MONSTER ของผู้เล่นคนอื่นได้ 1 ใบ
ตัวอย่างเช่น

You might also like