You are on page 1of 2

หลวงพ่อคำเขียน (9 ส.ค.

45)

…….. ญาติโยมทั้งหลายที่มีศรัทธาตั้งใจมาศึกษาปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนามาก จะว่ามีหวัง หากเราชาวพุทธมาศึกษาเรื่องภาวนานี้ มันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา


ความรู้สึกของหมู่หลวงพ่อ เหมือนว่า อาจจะเป็นแม่ เวลาป้ อนข้าวใส่ปากลูก ลูกกินข้าวกลืนลง ก็ดีใจ คิดว่าลูกจะต้องเจริญเติบโต ด้วยความเป็นแม่เมื่อเอานมให้ลูก ซึ่งลูกเราดื่มนมหมดขวดครึ่งขวด
แล้วก็มีหวังว่า ลูกเราต้องเจริญเติบโต หมู่หลวงพ่อที่เป็นพระสงฆ์ก็มีทางเดียวเท่านี้ ที่จะนำศาสนา ที่จะเข้าถึงศาสนาได้ คือต้องปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมก็คือ ต้องมาเจริญสติ เพราะตัวสติมัน
.
เป็นต้นกำเนิดเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา เช่นพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าของพวกเราได้ดำเนินมา ได้ปฏิบัติมา จนพระองค์ได้ตรัสว่า …… วิสุทธิญาณ การเจริญสติทุกปี มันเป็นทางอันเอก เป็นทาง
เดินของจิตใจเรา ทางเดินของร่างกายเราก็มีมิตรภาพ มีสุขุมวิท มีเพชรเกษม ไปทุกภาค สู่จุดหมายปลายทางได้ การเดินทางจิตใจก็ต้องมีทางเหมือนกัน แต่หมู่หลวงพ่อคิดว่าพบทางพอสมควร คิดว่า
จะไม่ผิด มาทางนี้แหละ ทางเดินทางของจิตใจเรา มามีความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวต้องเป็นคู่กับกายกับใจ ถ้ากายใจไม่มีความรู้สึกตัว เดี๋ยวความหลงมันจะเข้ามาแทน หากความหลงเข้ามาแทน มันก็
หลงทาง ไม่พบทาง มืดแปดด้าน โกรธจนตาย ทุกข์จนตายก็มี ไม่พบทิศพบทาง เป็นชีวิตที่มืดบอด ความโกรธอย่างเดียวก็ยังโกรธอีก ความทุกข์อย่างเดียวก็ยังทุกข์อีก ความหลงก็ยังหลงอยู่อีกได้
มองไม่เห็นทาง เหมือนคนหลงทาง หลงอยู่นั่นแหละ แต่ถ้าได้ทาง มันจะไม่หลง มันก็เดินคล่อง ไม่เสียเวลา ไม่ต้องไปทุกข์ ไม่ต้องไปโกรธ ไม่ต้องไปวิตกกังวลเศร้าหมอง ชีวิตเราไม่ควร เป็นอย่างนั้น
เหมือนกับเราได้พบทางก็จะเดินสบาย ทางใจ มีสติมันก็เรียบๆยิ่งกว่ามิตรภาพ ยิ่งกว่าเพชรเกษม เอเชีย สุขุมวิท อันนั้นยังมีรถมีรา มีไฟแดง ไฟเขียว แต่ว่าทางจิตใจนี้ ถ้าเป็นทางฟรีเวย์ ก็เป็นใน
ประเทศสหรัฐ หลวงพ่อเคยไปอยู่ประเทศสหรัฐ ทางของเขาเรียกว่าฟรีเวย์ ผ่านได้ตลอด ของเราอย่างดีก็อะไรล่ะ ไฮเวย์ เท่านั้นเอง ไม่กี่กิโล แค่ในกรุงเทพฯ ทางเดินของจิตใจนี้ สติปัฏฐานสี่ นี้มันเป็น
ฟรีเวย์ ผ่านได้ ไม่ต้องไปสะดุดกับความทุกข์ ไม่ต้องไปสะดุดกับความโกรธ ความโลภ ความหลง ไม่ต้องไปสะดุดกับกับความวิตกกังวล มันขึ้นทางได้เรียบ เหมือนชีวิตที่ราบเรียบ ไม่สะดุด พวกเรามัว
สะดุดอยู่ ไม่ได้ คล้ายๆกับว่ามาทางนี้ ๆ อยากจะเชิญชวน ถ้าเป็นอาหารใจก็ดื่มลงไปให้กายให้ใจเรานี้ได้สัมผัสซึมซับกับความรู้สึกตัว นั่งอยู่ที่ไหน กายอยู่ที่นั่น ใจอยู่ที่นั่น สติอยู่ที่นั่น กายกับใจกับ
สติ เป็นคู่กัน เราให้มันเป็นคู่กัน ลองดู นานๆนะ มันจะเกิดอะไรขึ้นกับกายกับใจ มีสติอยู่กับกายมีสติอยู่กับจิตใจ ตรงนี้เราต้องมีความเพียรตรงนี้

แต่รูปแบบที่เราทำก็เป็นสูตรที่สำเร็จจริงๆ พลิกมือขึ้น ยกมือขึ้น รู้จริงๆ ยกมือขึ้นก็รู้ วางมือลงก็รู้ ก้มลงก็รู้ ไม่ต้องไปถามใคร เป็นปัจจัตตังทันที เราเห็นเองรู้เอง แล้วก็ไม่ต้องไปรอ เสี้ยว
วินาทีไม่ต้องรอ พลิกมือขึ้นก็รู้ ยกมือขึ้นก็รู้ รู้ปั๊บทันที นี้มันของจริง ของจริงมันต้องพิสูจน์ได้ ไม่ต้องไปวาดมโนภาพ ไม่ต้องไปคิดว่าจะเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องไปคิด ลองสัมผัสเอาจริงๆ
14 จังหวะ ถ้าทำพอดีๆ 14 จังหวะ จังหวะหนึ่งก็วินาทีหนึ่ง 14 วินาทีก็ได้ 14 รู้ 14 รู้ก็ได้14 วินาที รูปแบบของการสร้างจังหวะ ชั่วโมงหนึ่งก็
รู้สึกตัว ๆถ้าเรายกมือสร้างจัวหวะ

3600 วินาที ถ้าเรารู้ทุกวินาที เราก็ได้ความรู้สึกตัว 3600 รู้ มันเป็นกอบเป็นกำ ถ้ารู้ก็ไม่หลง ถ้าสัมผัสความรู้สึกตัว หนึ่งวันสองวัน หรือพระพุทธเจ้าว่าผู้ใดมีสติอยู่กับกายกับใจอย่างต่อ
เนื่อง มีอานิสงส์สองประการ หนึ่งวันถึงเจ็ดวัน หนึ่งเดือนถึงเจ็ดเดือน หนึ่งปีถึงเจ็ดปี เกิดอานิสงส์สองประการ สูงสุดคือเป็นพระอรหันต์ คือผู้ไกลจากข้าศึก ชีวิตราบเรียบเป็นอริยเจ้า ชีวิตที่ไม่มีข้าศึก
ชีวิตที่ไม่มีภัย สองประการ พระพุทธเจ้าท้าทาย แล้วในหมู่ชาวพุทธเราบกพร่องตรงนี้นะ ตรงอื่นไม่บกพร่อง ดูที่พุทธมณฑลนี้ อะไรก็ใหญ่โต ประเทศเราเป็นเมืองพุทธ อะไรก็สำเร็จทั้งนั้น นอกจาก
ความรู้สึกตัว อยู่กับกายอยู่กับจิต อันนี้ยังมีไม่มาก พวกเราจึงเสริมตรงนี้ หมู่หลวงพ่อได้ทราบข่าวจากคุณปรีชา คุณหมอกำพล พวกเราทุกท่านโดยเฉพาะที่นี่พุทธมณฑล กำหนดทุกเดือนแต่นานๆ
หลวงพ่อจะได้มาสักที หลวงพ่อดีใจ ตั้งใจมาศรัทธามาแต่ไม่ผิดศีลเพราะมาสอนธรรมนี้ไปได้เจ็ดวัน หมู่หลวงพ่อที่เป็นพระสงฆ์ก็ศรัทธามาในพรรษา บอกพระสงฆ์ที่อยู่ในวัด วันที่ 12
ก็จะกลับ ที่นี่
เป็นงานที่เป็นเรื่องที่กระตือรือร้นมาก ถ้าเราได้มีสติรู้สึกกายที่มันเคลื่อนไหว จิตใจที่มันคิด มันจะเกิดอะไรขึ้น ให้เราสัมผัสกับความรู้สึกตัวดู เอากายไปจุ่ม เอาใจไปจุ่มเอา มันจะเป็นอะไร พอมันสงบ
ก็รู้สึกตัว รู้สึกได้สิบนาที ยี่สิบนาที สามสิบนาที เป็นชั่วโมงไป ถ้าได้รู้เป็นชั่วโมง สองชั่วโมงไป ความรู้กับความหลงมันจะต่างกัน เราก็จะรู้จักเลือก ใจมันจะรู้จักเลือก มันจะรู้จักเอา อะไรที่เป็นธรรม
ความหลงไม่เป็นธรรม ความรู้สึกตัวเป็นธรรม รู้จักเลือก นั่นมันกาย กายนี้มันยังช่วยตัวมันได้ ถ้ามันร้อนก็อาบน้ำ ถ้ามันหนาวก็ห่มผ้า ถ้ามันหิวก็หากิน ถ้ามันปวดมันเมื่อย ก็พักผ่อนหลับนอน แต่ใจนี้
ถ้าไม่หัดมันไม่รู้เลย ทุกข์มันก็ยังเอา ความโกรธ ความรัก ความชัง มันเอาหมด ความยินดียินร้ายมันเอาหมด บางทีมันเอาความทุกข์มากกว่า เอาความหลงมากกว่า บางคนต้องซื้อเอาความหลง หา
เรื่องให้มันหลง อยู่นิ่งไม่เป็น ซุกซนมาก บางชีวิตไม่เคยฝึก แต่ถ้าเรามาฝึกให้มันมีความรู้สึกตัวนี่มันก็พอที่จะได้สัมผัสดู ความรู้สึกตัว เป็นอย่างนี้ มันจะรู้จักจัดสรร เข้าข้างความรู้สึกตัว แต่ถ้าเราไม่
เคยฝึก มันจะไม่รู้จักเข้าข้าง มันจะกระโจนไปหลายๆแบบ วิ่งเข้าไปไปเอาสุขเอาทุกข์ไปเอารักเอาชัง ไปเอาความโกรธ ไปเอาความวิตกกังวลเศร้าหมองไปโลด ถ้าเราฝึกให้รู้สึกตัวหนึ่งวัน สองวัน มัน
จะมาหาความรู้สึกตัว เพราะความรู้สึกตัวเป็นธรรม ความหลงไม่เป็นธรรม ยิ่งความโกรธยิ่งไม่เป็นธรรมใหญ่ ความทุกข์ก็ไม่เป็นธรรมใหญ่ มันจะรู้จักเลือก จิตใจเราจะรู้จักเลือก ทางที่มันถูกต้องและ
ปลอดภัย ทีนี้ถ้ าเราไม่ฝึกมันไม่เป็น ก็ทำไม่เป็น ไม่ได้รู้ ไม่ใช่ความรู้ ทุกท่านมีความรู้อยู่แล้ว เรียนจบอะไรมาหลายๆอย่าง สำเร็จในอาชีพการงานมาแล้ว แต่ว่ารู้จิตใจนี้ยังไม่สัมผัสกับชีวิตที่มันเป็น
ความถูกต้อง ความถูกต้องเกิดจากเหตุจากผล เกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆ อะไรที่มันผิดมันถูก รู้ไป เช่นรู้ว่าโกรธมันไม่ดีเราก็รู้อยู่ ทุกข์มันไม่ดี เราก็รู้อยู่ แต่ก็ยังโกรธอยู่ ทั้งที่รู้ว่าความโกรธมันไม่ดี ความ
ทุกข์มันไม่ดี เราก็ยังโกรธอยู่ เรายังทุกข์อยู่ บางทีความรู้มันใช้ไม่ได้ มันต้องสัมผัสเอา เอาความรู้ไปแก้ เอาเหตุเอาผลมันใช้ไม่ได้ เหตุผลยังไม่เป็นธรรมบางทีเหตุผล ยังเป็นสมมุติบัญญัติด้วยซ้ำไป
บางทีเหตุผลก็ทำให้ฆ่ากันตายก็ได้ด้วยเหตุด้วยผล การปฏิบัติธรรมนี้ มันไปจุ่มมันไปสัมผัสเอา ไม่ใช่เหตุผล มันเหนือเหตุผลมันเป็นปรมัตถ์ เหตุผลยังเป็นสมมุติบัญญัติ ที่เป็นเหตุปัจจัย แต่ถ้าถึง
ปรมัตถ์แล้ว ไม่ใช่เหตุไม่ใช่ผล เป็นการที่ไปสัมผัสประจักษ์แจ้ง เห็นความโกรธเห็นความไม่โกรธไม่ใช่เห็นผล ความโกรธไม่เป็นธรรม ความไม่โกรธเป็นธรรม เราสัมผัสดูแล้วความหลงไม่เป็นธรรม
ความไม่หลงเป็นธรรม เราสัมผัสดูแล้ว ไม่ต้องไปถามใคร ความจริงของจริงไม่มีปัญหา ถามไม่ได้ มีแต่คำตอบแล้วตัวเองต้องตอบเอาเองด้วยไม่ใช่คนอื่นตอบให้ นี้คือปรมัตถ์ คือของจริง

พวกเราจึงมาทำตรงนี้กัน สามวันสี่วันมาลองดู มาพิสูจน์มาทดสอบ เอากายพิสูจน์เอาใจไปพิสูจน์กับความรู้สึกตัว มันจะเกิดอะไรขึ้น อย่าเพิ่งไปเห็นก่อนเห็น ผิดก่อนผิด ถูกก่อนถูก อย่าเพิ่งไปคิด


บางทีหาคำตอบจากความคิด มันอาจจะไม่ถูก ความคิดนี้แล้วแต่ใครคิดยังไง ใครก็คิดได้ เอาเหตุเอาผลไปคิด ความคิดไม่จีรังยั่งยืน ถ้าเราไปเจอเข้าจริงๆ เจอความรู้เจอความหลง ไม่ใช่ความคิด พอ
!
มันหลงอยู่ รู้สึกตัว โอ มันใช้ได้ ไม่ใช่เหตุไม่ใช่ผล ไปจุ่มไป มันเป็นอย่างนี้ ถ้ามันโกรธทีไร มีสติ ความโกรธก็หายไป ก็ใช้ได้ จิตใจเราก็ดีขึ้น บริสุทธิ์มากขึ้นมีประสบการณ์มากขึ้น มีบทเรียนเพิ่มขึ้น
อันนี้นะ ของจริงไม่ต้องไปยื่นให้กัน ให้ไปตอบไปสัมผัสดูให้ไปลองสัมผัสดู ไปจุ่มลองดู เอากายเอาใจไปจุ่มความรู้สึกตัว พยายามที่จะใส่ความรู้สึกตัว เพิ่มความรู้สึกตัวกับกาย

เราก็มีเจตนามีรูปแบบ มีรูปแบบให้ทำ ให้ทุกคนเอามือวางไว้ตรงเข่า ลองดู เอามือสองข้างวางบนเข่า รู้จักหัวเข่ามั้ย อย่าไปวางไว้ที่อื่น นี้ต้ องคว่ำไว้อย่างนี้ ดูหลวงพ่อ จุดประสงค์มืออยู่ที่เข่าอย่างนี้นะ
วางหรือยัง เอามือไว้ที่เข่าหรือยัง ใครเป็นผู้รู้ว่ามืออยู่ไหน วางแล้วนะ มั่นใจไหมว่ามืออยู่บนเข่า มั่นใจมั้ย ถ้าหลวงพ่อบอกว่ามือของท่านทั้งหลายอยู่ข้างหลัง จะเชื่อมั้ย ตอบได้มั้ย หลวงพ่อว่ามือของ
ท่านอยู่ข้างหลัง เชื่อมั้ย ไม่เชื่อ ทำไมถึงไม่เชื่อ เราเห็นอยู่ เรารู้อยู่ ใครเป็นผู้เห็น เราเองเห็นหรือผู้อื่นเห็นให้ อะไรที่มันเห็นว่ามืออยู่บนเข่า ตาหรือ หลับตาดูรู้มั้ยว่ามืออยู่บนเข่า มันไม่ใช่ตา มันรู้ว่ามือ
อยู่บนเข่า นั่นแหละเรียกว่าสติปัฏฐาน มันมีที่ตั้ง ปัฏฐาน ฐานแปลว่าที่ตั้ง เอามือมาตั้งไว้บนเข่าให้สติอยู่กับมือ พลิกมือข้างขวาตั้งไว้ รู้จักมือข้างขวามั้ย พลิกตั้งไว้มือข้างขวา ถ้าตั้งให้ทำอย่างนี้ ถ้า
คว่ำให้ทำอย่างนี้ เรียกว่าตั้งตะแคงไว้ ตั้งไว้ ตะแคงหรือยัง ตะแคงกับคว่ำเหมือนหรือต่างกันมั้ย มั่นใจมั้ยว่าตัวเองตั้งไว้ ยกขึ้นพอประมาณ อย่ากด อย่าขึงเครียด อย่าเพ่ง ทำเบาๆให้รู้ ว่ารู้แล้ว ๆ เอา
มาวางประกบไว้หน้าท้อง ตะแคงข้างซ้ายตั้งไว้ ยกขึ้น รู้ มาประกบมือข้างขวา รู้สึกว่ามันอยู่ยังไง สองข้างมันอยู่ตรงไหน รู้ เลื่อนมือข้างขวาเหนือมือข้างซ้าย รู้ เลื่อนไปข้างขวา ลำดับ ซ้ายไปขวา ยก
ออกไปข้างๆ รู้นะ ตั้งไว้ คว่ำลง สบายๆ อมยิ้มไว้ อย่าไปว่ามันยาก เลื่อนมือซ้ายขึ้นมา รู้ เลื่อนออกไปข้างๆ รู้ วางลงเข่า ตั้งไว้รู้ คว่ำลงรู้ มันจะมีความรู้สึกตัว เป็นครั้งๆ ถ้าเรานับมันจะเป็น 14 ครั้ง
เอามือวางไว้บนเข่าอีก ถ้าเรานับมันจะมี 14 14ครั้ง 1 2 3 4
รู้ ลองนับดู รู้ รู้ รู้ รู้…… ..14 .
รู้ เอาอีก ทำให้มันรู้เป็นจังหวะพอดีๆ แต่ว่าไม่ต้องนับนะ รู้…รู้… รู้ วินาทีหนึ่ง รู้ทีหนึ่ง
อย่าช้าเกินไป ถ้ามันหลงไป เรากลับมาๆ รู้ที่มือนี้ ให้มันคุ้นเคยกับอิริยาบท อย่าไปหลง อย่าไปเพ่ง อย่าไปนับ รู้แล้ว ๆ ๆ รู้เป็นครั้งๆ รู้ไม่ใช่รู้แบบยาว อันนั้นจะเป็นสมถะ มันจะไม่เห็นความคิด แต่
ความคิดมันจะไม่เกิด อันนี้เราไม่กลัวความคิด มันจะเกิดอะไรขึ้นมา เราจะได้เห็นมัน แล้วเราจะได้กลับมา วางมือไว้ รู้มั้ย ความรู้สึกตัว ๆ ไม่ใช่ความคิด แล้ว มันเป็นเรื่องของการประกอบความรู้สึกตัว
เป็นเรื่องประกอบ เป็นเรื่องสัมผัส ไม่ใช่คิด ไม่ใช่จำ เอากายไปรู้เอา แม้บางทีใจมันคิด มันก็รู้ เวลาใดที่มันคิด ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจ คิดไปเอง เราก็อย่าไปตามความคิด เรากลับมาอยู่กับมือ มันคิดไป
โน่น ให้กลับมาอยู่กับมือ อย่าหลงไปในความคิด มันจะหลงไปในความคิดบ้าง มันจะหลงไปในความปวดความเมื่อยบ้าง ก็พยายามกลับมาให้เป็น กลับมาหามือให้เป็น อย่าไปทางอื่น ปฏิบัติคือ
กลับมา ๆ หาที่ตั้งไว้ ตั้งไว้ตรงนี้ แม้มันจะหลุดไปหลุดอีกก็กลับมาแล้วกลับมาอีก ก็ยิ่งดีๆใหญ่ เหมือนเด็กน้อยตั้งไข่ พอมันล้มก็ลุกขึ้นมา พอล้มอีกก็ลุกขึ้นมาอีก ก็แข็งแรง การหกล้มของเด็กน้อยหัด
เดิน หัดนั่ง มันก็ดี ทำให้แข็งแรง ว่าแต่อย่ายกมันขึ้นมา ให้เขาลุกเอง บอกลุกขึ้น ๆ ๆ เราอย่าไปช่วยเขา ตัวเราก็เหมือนกัน ถ้ามันหลงไปก็กลับมาอีก กลับมาที่ตั้งอยู่ เรามีที่ตั้งอยู่นี่ที่ตั้งของเรา คือ
14 จังหวะนี้ตั้งไว้ หันไปกี่ครั้งกี่หนก็ตั้งไว้ ก็ธรรมดา คนทำงาน ก็มีเรื่องอื่นเกิดขึ้น เหมือนพวกเราที่ทำงาน ความปวดความเมื่อยก็มี เหงื่อไหลไคลย้อยก็มี แต่เราก็ยังทำงานอยู่ หรือชาวนาปลูกข้าว
แม้ว่าแดดร้อน หลังสู้ฟ้ าหน้าสู้ดิน มันก็มีความเมื่อยความเหนื่อยก็มี แต่ชาวนาก็ต้องปลูกข้าวไปเรื่อยๆ หรือเกี่ยวข้าวไปเรื่อยๆ ปวดมือ ปวดเมื่อย อะไรต่างๆ ปวดก็ปวดไป ฉันใดก็ดีการเจริญสติก็
3 3
เหมือนกัน บางทีเราจะปวดเมื่อย ก็อย่าให้ความปวดเมื่อย ทำให้เราหยุดทำความเพียร ความปวดความเมื่อยรู้ รู้แล้วก็กลับมา เหมือนเรานั่งทำงาน ตั้งแต่ โมงจนบ่าย โมง สิบกว่าชั่วโมง อันนี้ก็
หัดเหมือนกัน ถ้ามันจะปวดจะเมื่อยก็ขัดขืน ปรับปรุงหรือบรรเทาเล็กๆน้อยๆ อย่าให้เวทนามันปวดมันเมื่อยเป็นใหญ่ ถ้าความปวดความเมื่อยทำให้เราหยุดทำความเพียร เหมือนความปวดความเมื่อย
ที่เราทำงาน งานมันก็ไม่เสร็จ งานเราก็ไม่เสร็จ ความร้อนความหนาว มาให้เราหยุดทำงาน งานก็ไม่เสร็จให้เราเห็น แล้วก็รู้จักกลับมา มันจะสร้างความอดทนไปในตัว สร้างความเข้มแข็งไปในตัว
สร้างบทเรียนสร้างประสบการณ์ไปในตัว บางทีอาจจะง่วง ก็พยายามปลุกตัวเราให้ตื่น ปลุกให้ตัวเองให้ตื่น วิธีใดที่ทำให้เราตื่น ตื่นจากความง่วงหามา มันไม่มีสูตรสำเร็จสอนกัน ต้องหามา อาจจะลุก
ขึ้นเดิน อาจจะมองท้องฟ้ า อาจจะเอามือลูบหน้าลูบตัว หรือไปล้างหน้า อะไรต่างๆ อย่าให้ความง่วงมันยิ่งใหญ่ จนเรายอมทิ้งสติ หาวิธีดับใส่มัน ถ้าเราได้หัดก็ดี ได้บทเรียนจากความง่วง ได้บทเรียน
จากความหลง ได้บทเรียนจากความทุกข์ อะไรเกิดขึ้นมาเราจะได้มีความรู้สึกตัว ความง่วงทำให้เรามีความรู้สึกตัว ความปวดทำให้เรามีความรู้สึกตัว ความหลงทำให้เรามีความรู้สึกตัว ความคิดทำให้
เรารู้สึกตัว มีแต่บทเรียนทั้งนั้น ได้บทเรียนจากความหลงบ้าง ได้บทเรียนจากความปวดเมื่อย ได้บทเรียนจากอะไรๆต่างๆเยอะแยะ เพราะความรู้สึกตัวมันเป็นตัวเฉลยเรื่องของกายของใจ มันใช้ได้หมด
มันเป็นสัจจธรรม ความรู้สึกตัว ไปเกี่ยวข้องกับกายกับใจได้ มันไม่เหมือนอันอื่น ไม่เหมือนยารักษาโรค ถ้าปวดท้องก็ต้องใช้ยาแก้ปวดท้อง ถ้าปวดหัวก็ใช้ยาแก้ปวดหัว เรื่องของกายของใจ เอาสติไปใส่
มันใช้ได้ ความหลงทำให้รู้ ความง่วงทำให้รู้ ความคิดทำให้รู้ มันสะดวกการเจริญสติ มันสะดวก ๆมากๆ มีโอกาสจะรู้ได้ทุกแบบ กระพริบตาก็รู้ได้ หายใจก็รู้ได้ นอกจากยกมือสร้างจังหวะแล้ว หัดไปอยู่
จุดนั้นจุดนี้บ้ างก็ได้ บางทีมันทำไปนานๆ อาจล้า เราต้องรู้จักเปลี่ยนอิริยาบทใหม่ ปรับปรุงตัวเองบ้าง อยู่ท่านี้นานเกินไป ครึ่งรู้ครึ่งหลงเราต้องปรับแผนใหม่ ตั้งต้นใหม่ให้มัน ให้ความรู้สึกตัวมัน
เด่นๆ อยู่ในฉากใดฉากหนึ่ง เหมือนกับนับถ่ายภาพ ถ้ามีมุมมองไม่สวยไม่เด่น แล้วก็หาจุดที่มันเด่นๆหาเอา ถ้านั่งไปๆมันง่วง ลุกขึ้น เดินจงกรมให้ความรู้มันเด่น อย่าให้ความง่วงความหลงมันเด่นก็
ปรับไปเรื่อยๆ ทำไปทำมา ความรู้สึกตัวมันเด่นมันเป็นใหญ่ มันก็มีอำนาจ ง่ายที่จะรู้ถ้าเราทำไม่เป็นก็ง่ายที่จะหลง แต่ถ้าความหลงมันยิ่งใหญ่แล้วก็ เป็นภาระเราจึงพยายาม หัดใหม่ๆ นี้ พยายาม
ทำให้มันแม่นยำ ให้มันชัดเจน การยกมือสร้างจังหวะ อย่าทำสักว่าทำ ใส่ความรู้สึกตัวเข้าไป ถ้าไม่รู้สึกตัว ก็อย่าไปพลิกมือ ทำช้าๆไว้ ใส่ใจลงไป รู้ รู้ ดีดหัวใส่ ให้มันมั่นใจ รู้ รู้ เอาให้มันมั่นใจ มันรู้
จริงๆ อย่าสักแต่ว่าทำเฉยๆ มันจะได้นิสัยได้ปัจจัย ง่ายที่จะรู้
บางทีจะเข้าใจธรรมะรู้แจ้งได้ไว ถ้าเราครึ่งรู้ครึ่งหลง มันเริ่มต้นไม่ดี ก็จะเป็นเรื่องไม่ดีไป มันง่วงเหงาหาวนอนบ้าง ถ้ามันนั่งสัปหงกอยู่ มันก็นั่งสัปหงกอยู่นั่นแหละ ก็จะเป็นอยู่อย่างนั้น มันต้องตื่นตัว
ๆ รู้สึกตัว อมยิ้มไว้ วางใบหน้าวางใจวางกายอย่าไปคิดว่ามันยุ่งมันยาก เรียกว่าพอจะทำความเพียรนี่ มันยากมันเย็น ให้ทำไปสบายๆ เราไม่ได้เอาผิดเอาถูก จะเป็นยังไงไม่เป็นไรๆ หลงบ้างไม่เป็นไร
ทำสนุกๆ ถ้าทำแบบกระฟัดกระเฟียด ใจระมัดระวังเกินไป อาจจะหนักนะ อาจจะเกิดความง่วงได้ง่าย ถ้าทำแบบไม่เป็นไร ผิดไม่เป็นไร ให้รู้ไปสนุก

หน้า B

…………นะ ฉลาดด้วยกายกับใจใจ เรียกว่าปัญญา ได้ความฉลาดจากกายจากใจ ความรอบรู้ในกองสังขาร เรียกว่าปัญญา สังขารก็คือกาย … จิตตสังขาร มันมีมาก จะรู้แจ้ง เรื่องกายเรื่อง
ใจ ก็ไม่มีอะไรหรอกชีวิตเรา เรียนให้มันจบ ถ้าเรียนไม่จบมันก็เป็นโจทก์เรา เราจะต้องเป็นจำเลยของกายของใจอยู่เสมอ รับใช้มัน เป็นทาสมันด้วย มันบังคับผลักไส ถ้าเรียนให้มันรู้แจ้ง เฉลยมันได้ผ่าน
!
ได้ตลอด เรื่องกายเรื่องใจ แต่ถ้าเราไม่รู้ โอ กิเลสก็พันห้าตัณหาก็ร้อยแปด ถ้ามาศึกษาแต่หนุ่มแต่น้อยดีมาก หมู่หลวงพ่อจะเป็นเพื่อน ทำให้ไม่ได้ ตัวใครตัวเรา ท่านหลงเองท่านก็ต้องแก้ความหลง
เอง ถ้ามันหลงลงไปก็จะได้แก้เป็นตัวรู้ ถ้ามันเด่นลงไป เราจะได้แก้เป็นตัวรู้ ถ้าทุกข์ลงไป จะได้แก้เป็นตัวรู้ เอาความรู้สึกตัวไปใส่ความทุกข์ เอาความรู้สึกตัวไปใส่ความหลง เอาความรู้สึกตัวไปใส่
ความง่วงเหงาหาวนอน มันอยู่ไม่ได้ ว่าแต่ให้เราใส่ใจ มีศรัทธา พอผิดนิดผิดหน่อยก็ โอย ! ไม่ไหวๆ อันนั้นไม่ใช่นะ สู้ ฮึดสู้สักหน่อย อย่าอ่อนแอนะ ถ้าเราทำอยู่ไม่เหลือวิสัย เราจะทำได้นะ หลวง

พ่อจะเป็นเพื่อน มีปัญหาอะไรก็ถามได้ คิดว่าจะไม่พาหลงทิศหลงทาง นะ สามวันสี่วันนี้… .. (เอ้า ต่อไปจะมอบให้ อาจารย์ณรงค์… ..)

You might also like