You are on page 1of 9

บทที่ 3

คุณธรรมและจริยธรรม
ของวิชาชีพครู
คุณธรรม
คุณธรรม คือ สภาพคุณงามความดี (ราชบัณฑิตยสถาน 2556:263)
คุณธรรมสามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. คุณธรรมพื้นฐาน

คุณธรรมพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ 8 ประการ คือ


1)ขยัน 2)ความประหยัด 3)ความซื่อสัตย์ สุจริต 4)มีวินัย 5)สุภาพ
6)สะอาด 7)สามัคคี 8)มีน้ำใจ
คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ มีประโยชน์ต่อครู อาจารย์ในการดำเนินชีวิต
ซึ่งทางพุทธศาสนา หมายถึงเรื่องต่างๆ 3 เรื่อง ดังนี้
1. เรื่องความสัมพันธ์กับโลกภายนอก ด้วยพฤติกรรมทางกาย วาจา และ
ใช้อินทรีย์ต่างๆ
2. เรื่องของจิตใจ เจตจำนง ความตั้งใจ แรงจูงใจ ที่จะทำให้เรามี
พฤติกรรมต่างๆสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนั้น
3. เรื่องของปัญญา ความรู้ ความคิด เป็นตัวชี้ทางว่าเราทำพฤติกรรมของ
เราไปตามความรู้ ความเข้าใจ และภายในขอบเขตของความรู้นั้น
2. คุณธรรมหลัก
ครูอาจารย์ ควรมีคุณธรรมหลัก ดังนี้
2.1 อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ เป็นหลักคำ
สอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา ได้แก่ 1)ทุกข์ 2)สมุทัย 3)นิโรธ
และ 4)มรรค
2.2 พรหมวิหาร 4 คือ หลักธรรมที่สอนให้คนประพฤติปฏิบัติ โดยการ
แสดงออกในด้านความรัก มีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต
ได้แก่ 1)เมตตา 2)กรุณา 3)มุทิตา และ 4)อุเบกขา
2.3 สังคหวัตถุ 4 เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคน เพื่อให้บุคคลใน
ครอบครัว องค์กร สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ได้แก่ 1)ทาน
2)ปิยวาจา 3)อัตถจริยา 4)สมานัตตตา
2.4 ฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่ 1)สัจจะ
2)ทมะ 3)ขันติ 4)จาคะ
2.5 อิทธิบาท 4 คือ ทางสู่ความสำเร็จ มีดังนี้ 1)ฉันทะ 2)วิริยะ 3)จิตตะ
4)วิมังสา
2.6 อคติ 4 คือความลำเอียง ความไม่ที่ยงธรรม ความไม่ยุติธรรม
ทางที่ไม่ควรดำเนินไป อคติ 4 มีดังนี้ 1)ฉันทาคติ 2)โทสาคติ 3)โมหาคติ
4)ภยาคติ
2.7 สัปปุริสธรรม 7 ประการ คือธรรมของคนดี เป็นตัวคอยกำหนดให้
คนประพฤติดี ประกอบด้วย 1)ธัมมัญญุตา 2)อัตถัญญุตา 3)อัตตัญญุตา
4)มัตตัญญุตา 5)กาลัญญุตา 6)ปริสัญญุตา 7)ปุคคโลปรปรัญญุตา
จริยธรรม
คุณธรรม
จริยธรรม คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ (ราชบัณฑิตยสถาน. 2556:303)

องค์ประกอบของ
จริยธรรม

1. ด้านความรู้หรือปัญญา เป็นความรู้ที่บอกว่าสิ่งใดควรกระทำ สิ่งใดควรงดเว้น


2. ด้านอารมณ์และความรู้สึก เป็นความพึงพอใจ ความศรัทธาเลื่อมใส ชอบหรือ
ไม่ชอบในการนำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ
3. ด้านพฤติกรรมแสดงออก มี 2 ประเภท คือ 1)พฤติกรรมแสดงออกภายใน
เช่น ความรู้ ความคิด สติปัญญา 2)พฤติกรรมแสดงออกภายนอก เช่น
4. การกระทำ การพูดจา
คุณธรรม
ประเภทของจริยธรรม

สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้


1. ความรู้เชิงจริยธรรม
2. ทัศนคติทางจริยธรรม
3. เหตุผลเชิงจริยธรรม
4. พฤติกรรมเชิงจริยธรรม
คุณธรรม
แนวทางการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมสำหรับครู อาจารย์ในศตวรรษที่ 21
1. ศึกษาหนังสือหรืองานวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมของประเทศ
2. สังเคราะห์คุณธรรม จริยธรรมทั้งของประเทศและประเทศต่างๆเพื่อให้
เห็นแนวทางปฏิบัติและพัฒนาครู
3. กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษาควรระดมข้อสรุปที่เป็นแนวทาง
หลักของคุณธรรม จรอยธรรม เพื่อให้ครู อาจาย์ใช้เป็นแนวทางดำเนิน
ชีวิตของตน
จบการนำเสนอ

You might also like