You are on page 1of 7

1.

การวิเคราะห์ผลการทดลองและการอ่านกราฟ
แนวข้อสอบในหัวข้อนี้จะเกี่ยวข้องกับการตั้งสมมติฐานหรือการสรุปผลการทดลอง โดยอาจสรุปผลจากการสังเกตการทดลอง
หรือวิเคราะห์กราฟที่ได้จากการทดลอง
1. ในการทดลองหนึง่ นักทดลองบรรจุน้ำไว้เต็มขวดพลาสติกที่เปิดฝาไว้ จากนั้นใช้เข็มขนาดเท่ากันเจาะรูด้านข้างของขวด
บริเวณทีม่ ีน้ำ จะพบว่าน้ำพุ่งออกมาจากรูที่เจาะไว้ โดยสิ่งที่นักทดลองต้องการทราบ คือ ถ้าเจาะรูทรี่ ะดับความลึกจาก
ผิวหน้าของน้ำลงไปที่ระดับต่าง ๆ กัน แล้วน้ำจะพุ่งออกไปได้ระยะทางที่เท่ากันหรือไม่ อยากทราบว่าหากต้องการตอบ
คำถามนี้ นักทดลองควรตั้งสมมติฐานอย่างไร
1) ที่ระดับความลึกจากผิวหน้าของน้ำที่แตกต่างกัน น้ำจะพุ่งไปไกลไม่เท่ากัน
2) ของเหลวต่างชนิดกัน จะพุ่งไกลไม่เท่ากัน
3) ยิ่งลึกลงไป น้ำจะยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้น
4) ขนาดของรูที่เจาะจะทำให้น้ำพุ่งไปไกลไม่เท่ากัน
5) ขนาดของขวดพลาสติก มีผลต่อระยะทางของน้ำที่พงุ่ ไป
2. ในการทดลองเรื่องสภาพยืดหยุ่นของของแข็ง โดยนักทดลองนำลวด A และ B ซึ่งมีความยาวและพื้นที่หน้าตัดเท่ากัน มา
แขวนด้วยวัตถุที่มีมวลเท่ากัน ได้ผลการทดลองดังกราฟ
(กำหนดให้  แทน ความเค้นของลวด และ  แทน ความเครียดของเส้นลวด)

ลวดโลหะ B

ขีดจำกัดแปรผันตรง

ลวดโลหะ A

หากต้องการให้ลวดที่นำมาแขวนวัตถุมีระยะยืดน้อยที่สุด อยากทราบว่าควรเลือกใช้ลวดชนิดใด เพราะเหตุใด


1) ลวด A เพราะมีขีดจำกัดแปรผันตรงมากกว่า
2) ลวด B เพราะมีขีดจำกัดแปรผันตรงน้อยกว่า
3) ลวด A เพราะมีค่ามอดุลัสของยังน้อยกว่า
4) ลวด B เพราะมีค่ามอดุลัสของยังมากกว่า
5) ลวด A และ B จะทำให้วัตถุมีระยะยืดเท่ากัน
3. ในการทดลองวัดระยะห่างจากจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวกับสถานีตรวจวัด พบว่าแผ่นดินไหวใต้ผิวโลกที่เกิดขึ้นให้
กำเนิดคลื่นตามยาวและคลื่นตามขวางซึ่งมีอัตราเร็วของคลื่นเป็น v1 และ v2 ตามลำดับ โดย v1 มีค่ามากกว่า v2
อยากทราบว่าข้อมูลในข้อใดที่สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวจะสามารถวัดได้เพื่อคำนวณหาระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลาง
การเกิดแผ่นดินไหวกับตำแหน่งของสถานีตรวจวัด
1) ระยะเวลาที่คลื่นตามยาวใช้ในการเดินทางมาถึงสถานี
2) ระยะเวลาที่คลื่นตามขวางใช้ในการเคลื่อนที่มาถึงสถานี
3) ระยะเวลาที่คลื่นตามยาวมาถึงสถานีหลังจากคลื่นตามขวาง
4) ระยะเวลาที่คลื่นตามขวางมาถึงสถานีหลังจากคลื่นตามยาว
5) ระยะเวลาของการเกิดแผ่นดินไหว

4. การทดลองหนึ่งนำชิ้นส่วนหนึ่งซึ่งประกอบจากพลาสติกและโลหะติดกันแช่ไว้ในอ่างน้ำ โดยให้ด้านทีเ่ ป็นโลหะอยู่ด้านบน


จะพบว่าชิ้นส่วนนี้จะลอยโดยครึ่งหนึ่งของส่วนที่เป็นพลาสติกจมน้ำอยู่ ดังรูป และทำการทดลองซ้ำอีกครั้งโดยให้ส่วนที่
เป็นโลหะจมอยู่ในน้ำแทน อยากทราบว่าในการทดลองครั้งที่สองนี้สัดส่วนของชิ้นส่วนพลาสติกที่อยู่ใต้ผิวน้ำจะเป็น
อย่างไรเมื่อเทียบกับครั้งแรก
โลหะ
พลาสติก

น้ำ

1) ลดลง
2) เพิ่มขึ้น
3) เท่าเดิม
4) อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของน้ำ
5) อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะ
2. วิทยาศาสตร์ในชีวติ ประจำวัน
แนวข้อสอบในหัวข้อนี้จะเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยสิ่งที่ข้อสอบมักจะสนใจ
คือหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์นั้น ๆ
1. ข้อใดต่อไปนี้ไม่เป็นการช่วยลดการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ
1) ตั้งอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้สูงขึ้น 1 – 2 องศา
2) ตากผ้าขณะเปิดเครื่องปรับอากาศ
3) ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศเดือนละครั้ง
4) เปิดพัดลมขณะเปิดเครื่องปรับอากาศ
5) หมัน่ ทำความสะอาดห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ

2. หากในห้องหนึ่งซึ่งเป็นห้องอ่านหนังสือ มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เนื่องจากห้องนี้มีขนาดใหญ่ ในฐานะที่ท่านเป็นวิศวกร


อยากทราบว่าจะทำอย่างไร เพื่อให้ห้องนี้เหมาะแก่การอ่านหนังสือ
1) ปรับปรุงห้อง โดยลดขนาดห้องให้เล็กลง
2) ซื้อหลอดไฟแบบ incandescent มาเปลีย่ นแทนหลอดไฟ LED เพราะให้ความสว่างมากกว่า
3) เพิ่มจำนวนหลอดไฟในห้อง
4) คำนวณความสว่างทีเ่ หมาะสม และเปลีย่ นไปใช้หลอดไฟที่มีความสว่างเหมาะสม
5) เปลีย่ นห้องนี้เป็นห้องรับแขก และไปใช้ห้องอื่นอ่านหนังสือแทน
3. บ้านหลังหนึ่งมีผนังทำมาจากฉนวนความร้อน และมีเครื่องทำความร้อน (heater) เปิดอยู่ภายในบ้าน หากขณะนี้เป็น
ฤดูหนาวและลมพัดช้ามาก อยากทราบว่าอากาศเย็นจะเคลื่อนที่เข้าประตูในลักษณะใด

สถานการณ์ A สถานการณ์ B

1) สถานการณ์ A เนือ่ งจากอากาศเย็นจะเคลื่อนทีต่ ิดกับพื้นห้อง


2) สถานการณ์ B เนือ่ งจากอากาศเย็นจะเคลื่อนทีต่ ิดกับเพดานห้อง
3) เกิดทั้งสองสถานการณ์พร้อม ๆ กัน
4) อากาศเย็นจะไม่เคลื่อนที่เข้าบ้าน
5) ไม่สามารถสรุปได้

4. ข้อใดต่อไปนี้อธิบายถึงสาเหตุที่ถุงลมนิรภัย (Airbag) ในรถยนต์ชว่ ยให้คนในรถยนต์ไม่ได้รับบาดเจ็บหนักจาก


อุบติเหตุการชนกันได้ถูกต้องที่สุด
1) ถุงลมนิรภัยช่วยให้โมเมนตัมของการชนไม่เปลี่ยนแปลง
2) ถุงลมนิรภัยช่วยให้โมเมนตัมของการชนเปลีย่ นแปลงน้อยลง
3) ถุงลมนิรภัยช่วยให้โมเมนตัมของการชนเปลีย่ นแปลงมากขึ้น
4) ถุงลมนิรภัยช่วยให้โมเมนตัมของการชนเปลีย่ นแปลงภายในระยะเวลาที่น้อยลง
5) ถุงลมนิรภัยช่วยให้โมเมนตัมของการชนเปลีย่ นแปลงภายในระยะเวลาที่มากขึ้น
3. การคำนวณเชิงตัวเลขทั่วไป
แนวข้อสอบในหัวข้อนี้จะเกี่ยวข้องกับการคำนวณเชิงตัวเลข ซึ่งจะคล้ายกับการคำนวณทางฟิสิกส์ แต่ไม่ซับซ้อนเท่า โดย
ข้อสอบในหัวข้อนี้มักจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่โจทย์กำหนด เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ก่อนจะเริ่มการคำนวณ
1. นักเรียนชายและหญิงกลุ่มหนึง่ อยู่ในห้องประชุม ถ้านักเรียนหญิง 15 คน ออกจากห้องไปแล้ว จะพบว่ามีนักเรียนชายเหลือ
เป็น 2 เท่า ของนักเรียนหญิง หลังจากนักเรียนหญิงออกไปแล้ว นักเรียนชายอีก 45 คน ก็ออกจากห้องตามไป และปรากฏ
ว่านักเรียนหญิงเหลืออยู่เป็น 5 เท่าของนักเรียนชายที่เหลืออยู่ในห้อง อยากทราบว่าในช่วงแรกมีนักเรียนหญิงทั้งหมดกี่คน
1) 35 คน
2) 40 คน
3) 45 คน
4) 50 คน
5) 55 คน

2. กบตัวหนึ่งตกลงไปในบ่อที่มีความสูง (H) 8 เมตร ซึ่งกบพยายามจะไต่ให้ถึงปากบ่อ โดยในเวลากลางวันกบจะไต่ขึ้นไปได้


(M) เป็นระยะทาง 3 เมตร และในเวลากลางคืนจะนอนหลับจึงไม่ได้ไต่ แต่จะไถลลงมา (N) เป็นระยะทาง 2 เมตร
อยากทราบว่ากบจะใช้เวลากี่วันในการไต่ถึงปากบ่อ (กำหนดให้กบเริ่มไต่ในเวลากลางวัน)

M N
H

1) 5 วัน
2) 6 วัน
3) 7 วัน
4) 8 วัน
5) 9 วัน
3. เมื่อนับจำนวนหัวของกระต่ายและนกพิราบรวมกัน จะได้ 200 หัว และนับจำนวนขาของกระต่ายและนกพิราบรวมกัน จะ
ได้ 580 ขา อยากทราบว่ามีกระต่ายและนกพิราบอย่างละกี่ตัว ตามลำดับ
1) 80, 120
2) 90, 110
3) 100, 100
4) 110, 90
5) 120, 80

4. งานชิ้นหนึ่ง หากให้ผู้ใหญ่ 4 คน กับเด็ก 6 คน ช่วยกันทำ จะใช้เวลา 8 วัน จึงจะเสร็จ งานชิ้นเดียวกันนี้หากให้ผู้ใหญ่ 3


คน กับเด็ก 7 คน ช่วยกันทำ จะใช้เวลา 10 วัน จึงจะเสร็จ อยากทรายว่าถ้าให้เด็ก 10 คนทำงานชิ้นเดียวกันนี้จะใช้เวลากี่
วันจึงจะเสร็จ
1) 15 วัน
2) 20 วัน
3) 25 วัน
4) 30 วัน
5) 40 วัน

You might also like