You are on page 1of 7

พระราชบัญญัติสหกรณ

พุทธศักราช 2471
-------------
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกลาเจาอยูหวั ทรงพระราชปรารภ
ประชาราษฎรผูประกอบการเพาะปลูกและจําพวกอื่น ๆ ที่มีกําลังทรัพยนอยแตมีความตองการ
อยางเดียวกัน ทรงพระราชดําริวาหมูชนนัน้ ๆ ควรไดรบั อุดหนุนใหตงั้ สหกรณขึ้นอีก เพื่อยังใหเกิด
การประหยัดทรัพย การชวยซึ่งกันและกันและการชวยตนเอง เปนทางอีกทางหนึ่งซึ่งเผยแผความ
จําเริญทรัพยและจําเริญธรรมในบานเมืองใหยิ่งขึน้ อนึ่งทรงพระราชดําริวา การจัดสหกรณทไี่ ด
โปรดเกลา ฯ ใหทํามาแลวเปนการทดลอง นั้น อาศัยพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459 ซึ่ง
ไดโปรดเกลา ฯ ใหตราขึ้นใชชั่วคราวระหวางทดลองขอความยังไมพอแกการที่จะขยายสหกรณให
แผกวางออกไปจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกลา ฯ ใหตราพระราชบัญญัติขึ้นไว ดั่งตอไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ใหมีนามวาพระราชบัญญัติสหกรณ พุทธศักราช 2471
มาตรา 2 ใหใชพระราชบัญญัตินี้เปนกฎหมายเริ่มตั้งแตวนั ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เปนตนไป
มาตรา 3 พระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459 นั้นใหยกเลิก
มาตรา 4 เวนแตเมื่อใชในที่ซงึ่ บงใหเห็นความเปนอยางอืน่
(1) เสนาบดี ใหหมายความวา เสนาบดีผูมีหนาที่รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
(2) สหกรณ ใหหมายความวา สมาคมซึ่งไดจดทะเบียนแลวตามพระราชบัญญัตินี้ ฤาพึ่งถือ
ไดวาไดจดทะเบียนแลวตามพระราชบัญญัตินี้
(3) ขอบังคับ ใหหมายความวา ขอบังคับสหกรณและขอแกไขเพิ่มเติม ขอบังคับสหกรณซึ่ง
นายทะเบียนไดรับจดทะเบียนไว
(4) กรรมการดําเนินการ ใหหมายความวา กรรมการซึ่งสหกรณไดเลือกตั้งขึ้นตามขอบังคับ
เพื่อใหดําเนินการของสหกรณ
(5) สมาชิก หมายความรวมทั้งผูเขาชื่อขอจดทะเบียนสหกรณ และผูท ี่ไดรับเลือกตาม
ขอบังคับใหเขาเปนสมาชิก
(6) จํากัดสินใช ใหหมายความวา สมาชิกแหงสหกรณอนั ไดจดทะเบียนแลวนั้น ตองรับใช
หนี้สิ้นของสหกรณจํากัด เพียงไมเกินราคาหุนของตนที่ยังสงไมครบ
(7) ไมจํากัดสินใชใหหมายความวา สมาชิกแหงสหกรณอันไดจดทะเบียนแลวนั้นทุกคน
ตองรับ ใชหนีส้ ินของสหกรณรวมกันและแทนกันไมมีจาํ กัด
มาตรา 5 สมาคมซึ่งอาจจดทะเบียนเปนสหกรณไดนั้น คือ สมาคมซึ่งตั้งขึ้นเพื่อดําเนินกิจ
ธุระรวมกันเปน ประโยชนสามัญแกสมาชิกทั้งปวงในทางทรัพยมีชนิด ดังตอไปนี้
(1) สมาคมซึ่งหามมิใหเฉลี่ยกําไร
(2) สมาคมซึ่งเฉลี่ยกําไรไดแตในหมูสมาชิกตามสวนราคาแหงการกูยืม และคาขาย ซึ่ง
สมาชิกนั้น ๆ ไดกระทํากับสมาคม
(3) สมาคมซึ่งตั้งขึ้นเพื่อยังความสะดวกใหเกิดแกกจิ การของสมาคม เชนที่กลาวใน (1)
ฤา (2) ฤาชุมนุมแหงสมาคมเชนนั้น
(4) สมาคมชนิด (2) ฤา (3) ซึ่งมีขอบังคับยอมใหเฉลี่ยเงินปนผลตามหุน ได โดยอัตรา
ไมเกิน รอยละ 6 ตอปนั้น จะจดทะเบียนก็ได แตตองไดรับอนุมัติเสนาบดีทุกราย
มาตรา 6 เพื่อใชพระราชบัญญัตินี้ใหไดผลตามความมุงหมาย ใหเสนาบดีมีอํานาจภายใน
บังคับแหงมาตรการกอนที่จะกําหนดตามซึ่งเห็นสมควร และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเปน
คราว ๆ วา จะยอมรับจดทะเบียนสหกรณชนิดใดและประเภทใดบาง และทั้งใหมีอํานาจกําหนดวา
บุคคลจําพวกใดบางอาจรวมกันตั้งสหกรณ และในเขตใดบางที่จะตั้งสหกรณ ขึ้นได
มาตรา 7 สหกรณซึ่งตั้งและกอนวันประกาศพระราชบัญญัตินี้ และไดจดทะเบียนตาม
พระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459 นั้น ใหถือวาไดจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 8 ใหเสนาบดีมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตั้งเจาพนักงานนายหนึ่งเปน
นายทะเบียนสหกรณ มีหนาที่รับจดทะเบียนสหกรณ และกระทําการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้
เมื่อไดรับอนุญาตเปนหนังสือจากเสนาบดีแลว นายทะเบียนจะมอบอํานาจหรือแบงมอบสวนแหง
อํานาจตามพระราชบัญญัตินี้ ใหแกผูหนึ่งผูใ ดในบังคับของตนก็ได แตตองเขียนเปนหนังสือ
มาตรา 9 สมาคมซึ่งมีประสงคจะจดทะเบียนเปนสหกรณนั้น ถาเปนสมาคมซึ่งเอกชนเปน
สมาชิกตองมีจํานวนคนอยางนอยสิบคนอายุครบยี่สิบปหรือกวานั้นขึน้ ไป และถาความมุงหมาย
ของสมาคม คือการจัดใหทนุ ใหสมาชิกกูไ ซร คนทั้งหลายนั้นตองมีสํานัก อยูในหมูบ านเดียวกัน
หรือหมูบานซึง่ ใกลเคียงกันหรืออยูในจํากัดแดน ดั่งซึ่งนายทะเบียนเห็นชอบ
มาตรา 10 หนังสือขอจดทะเบียนนัน้ ตองยืน่ ตอนายทะเบียน โดยแบบซึง่ นายทะเบียนจัด
ขึ้นไว หนังสือขอจดทะเบียนนั้นตองลงนามดั่งนี้
(1) ถาเปนสมาคมซึ่งไมมีสหกรณเปนสมาชิก ตองมีคนดัง่ บัญญัติไวในมาตรา 9 ลงนาม
อยางนอยสิบคน
(2) ถาเปนสมาคมซึ่งเปนชุมนุมสหกรณ ตองมีผูไดรับตั้งแตงใหเปนผูแทนสหกรณนนั้ ๆ
ลงนาม แทนทุกสหกรณ ถาสมาชิกมิใชสหกรณทั้งหมดก็ใหมีเอกชนที่เปนสมาชิกลงนามอีกสิบคน
หรือถามีไมถึงสิบคน ก็ใหลงนามทั้งหมดคําขอจดทะเบียนทุกรายใหระบุวา สมาคมนั้นจะ
จดทะเบียนจํากัดสินใชหรือไมจํากัดสินใช คําวา"จํากัดสินใช" หรือ "ไมจํากัดสินใช" นี้ ใหเปน
คําสุดทายแหงนามของสหกรณ แตสมาคมซึ่งมีสหกรณเปน สมาชิกนัน้ ใหจดทะเบียนไดแตจํากัด
สินใชเทานั้น คําขอจดทะเบียนนัน้ ตองมีขอบังคับซึ่งจะขอจดทะเบียนยื่นมาดวยฉบับหนึ่งขอบังคับ
นั้นตองมี รายการเหลานี้อยูด วย คือ
(ก) นามของสมาคม
(ข) สํานักของสมาคม
(ค) ความมุงหมายของสมาคม ถานายทะเบียนตองการทราบขอความใด ๆ ในเรื่องสมาคม
นั้นไซร ผูขอจดทะเบียนหรือผูซึ่งแตงตั้งใหผูอื่นมาขอจดทะเบียนแทนนั้น ตองแสดงขอความให
นายทะเบียนทราบตามประสงค
มาตรา 11 เมื่อนายทะเบียนพอใจวาขอบังคับนั้นไมขัดกับพระราชบัญญัตินี้ และกฎ
เสนาบดี ซึ่งออกตามพระราชบัญญัตนิ ี้ และทั้งสมาคมนั้นเปนสมาคมซึ่งควรจดทะเบียนเปน
สหกรณได ตามพระราชบัญญัตินี้ดวยประการทั้งปวงแลว ใหนายทะเบียนรับจดทะเบียนและสง
ขอบังคับลงชื่อทะเบียนเปนสําคัญ ใหแกสหกรณฉบับหนึ่งถาสหกรณแกไขฤาเพิ่มเติมขอบังคับ
ทานวาขอแกไขเพิ่มเติมนั้นยังไมสมบูรณ เวนไวและจดกวาจะไดจดทะเบียนโดยวิธีทกี่ ลาวไวใน
วรรคกอน
มาตรา 12 สมาชิกสหกรณคนหนึ่งใหออกเสียงในกิจการของสหกรณไดแตเสียงเดียว
สมาชิกเอกชนจะมอบใหผูอื่นออกเสียงแทนตนไมไดเปนอันขาด แตในสหกรณซึ่งมีสหกรณอื่น
เปนสมาชิกนัน้ ใหสหกรณซึ่งเปนสมาชิกตั้งสมาชิกของตนคนหนึ่งเปนผูออกเสียงแทนได
มาตรา 13 สมาชิกแหงสหกรณ ซึ่งจดทะเบียนไมจํากัดสินใชนั้นจะโอนหุนซึ่งตนเปน
เจาของฤาประโยชน ซึ่งตนพึงไดรับในทุนของสหกรณทงั้ หมดฤาแตสว นใดสวนหนึง่ ไมได เวนแต
(1) สมาชิกนั้นจะไดเปนเจาของหุนฤาประโยชนนนั้ มาแลวอยางนอยปหนึ่ง และ
(2) การโอนนั้นเปนการโอนใหแกสหกรณนั้นเอง ฤาใหสมาชิกอื่นในสหกรณเดียวกัน
มาตรา 14 สมาชิกซึ่งออกจากสหกรณไปนัน้ ตองมีสวนรับแบกหนี้สหกรณตามจํานวนเงิน
ที่ สหกรณเปนหนี้อยูเมื่อวันซึ่งตนออกมีกําหนดสองป นับแตวนั ที่ออกจากสมาชิก
มาตรา 15 ถาสหกรณเปลี่ยนสํานัก ตองรีบแจงใหนายทะเบียนทราบโดยเร็ว สหกรณตองมี
พระราชบัญญัตินี้ไวฉบับหนึง่ กฎเสนาบดีซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ฉบับหนึ่งขอบังคับสหกรณ
ฉบับหนึ่ง หนังสือสําคัญเหลานี้บุคคลผูใสใจในการสหกรณ อาจตรวจดูไดที่สํานักของสหกรณ ทุก
เวลาอันควร โดยไมตองเสียคาธรรมเนียม
มาตรา 16 ในขอบังคับสหกรณใหวางระเบียนการเลือกกรรมการดําเนินการไวกรรมการนี้
เมื่อ ไดรับตั้งแตงตามระเบียบแลว ใหเปนผูจัดทํากิจการทั้งปวงของสหกรณ และใหเปนผูแทน
สหกรณในกิจทั้งปวง อันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ใหสหกรณมีทะเบียนสมาชิกไวทุกสหกรณ และ
สหกรณซึ่งจํากัดสินใชนั้นใหมีทะเบียนหุน แสดงนามเจาของหุน ที่อยู อายุ อาชีพ ของเจาของหุน
นั้น ๆ ไวดวยสําเนาแหงรายการอันไดลงทะเบียน ฤา บัญชีของสหกรณไวโดยลักษณะกิจการปกติ
ตามพระราชบัญญัตินี้ก็ดี ฤา ตามกฎเสนาบดี ซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ก็ดี ถาไดมีผูลงนาม
รับรองตามซึ่งวางระเบียบไวในกฎเสนาบดีแลวใหถือเปนพยานหลักฐานขอความซึ่งไดลงไวใน
สําเนานั้นทุกอยางที่รายการเดิม จะเปนหลักฐานไดและใหถือวาเสมอกัน
มาตรา 17 บัญชีของสหกรณนั้น ใหนายทะเบียนตรวจอยางนอยปละครัง้ ทุกสหกรณฤาถา
จะมี หนังสืออนุญาตใหผูอื่นทําแทนก็ไดนายทะเบียนและผูตรวจบัญชี ฤาผูตรวจการสหกรณ ซึ่ง
นายทะเบียนตัง้ แตงไวนั้นอาจเรียกสมุด บัญชี หนังสือสําคัญ และหนังสือหลักทรัพยของสหกรณ
ตรวจไดทกุ เมือ่ และใหเจาหนาที่ใน สหกรณ แจง ขอความในเรื่องกิจการของสหกรณใหผูทําการ
ตรวจบัญชี ฤาตรวจการทราบตามประสงค
มาตรา 18 เมื่อสหกรณไดจดทะเบียนแลว ทานวาเปนนิตบิ ุคคล
มาตรา 19 หามมิใหสหกรณใหผูมิไดเปนสมาชิกกูเงินเปนอันขาด แตถานายทะเบียน
อนุญาตแลวสหกรณหนึ่งจะใหอีกสหกรณหนึ่งกูเงินก็ไดใหสหกรณกูเงินและรับฝากเงินจากผูมิได
เปนสมาชิกไดแตตามกําหนดซึ่งอนุญาตไวในกฎเสนาบดีซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ และตาม
ขอบังคับเทานั้น พ.ร.บ. สหกรณแกไขเพิม่ เติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 ใหเพิ่มความตอไปนี้เปนมาตรา
19 ทวิมาตรา 19 ตรี และมาตรา 19 จัตวา คือ"มาตรา 19 ทวิ ในกรณีรัฐบาล ใหสหกรณกูเงินดี หรือ
ในกรณีสหกรณกูเงินจากผูอนื่ แตรัฐบาลค้ําประกันการชําระดอกเบีย้ หรือตนเงินหรือทั้งดอกเบี้ย
และตนเงินก็ดี ทานวาอันจะอนุญาตใหสมาชิกกูเงิน ที่ไดมานี้ไมวาจะเปนการกูในระยะเวลายาว
หรือสั้น สหกรณจะตองปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับตนเงิน ดอกเบีย้ การผอนใชหนี้ หลักประกัน
และการตีราคาที่ดิน ซึ่งจะไดกําหนดไวในกฎกระทรวง
มาตรา 19 ตรี เมื่อสิ้นขวบปหนึ่ง ๆ ใหสหกรณที่กูเงินจากรัฐบาลหรือที่กูเงินจากผูอื่นโดย
รัฐบาลเปนผูค้ําประกันการชําระดอกเบีย้ หรือตนเงินหรือทั้งดอกเบี้ย ตนเงิน ทุกสหกรณจําหนาย
เงินกําไรสุทธิของ สหกรณ ตามกฎเกณฑดั่งตอไปนี้
(1) หักเงินกําไรสุทธิไวรอยละเกาสิบ เพื่อเปนทุนสํารอง เงินสํารองที่ไดหักไวจากเงินกําไร
สุทธิในขวบปหนึ่ง ๆ สหกรณจะตองจัดการรักษาตอทุน โดยอาจเรียกไดเปนตัวเงินทันที และจะ
จําหนายเพื่อประโยชนอยางใด ๆ ไมได นอกจากเพื่อไถถอนเงินกู ซึ่งจะถึงกําหนดชําระ เงินสํารอง
นี้ใหอยูในความควบคุมดูแลของกรมสหกรณ
(2) หักเงินกําไรสุทธิไวรอยละหา เพื่อจายเขาสมทบในทุนสหกรณกลางของกรมสหกรณ
ทุนสหกรณกลางนี้ ใหกรมสหกรณเก็บรักษาไว หากสหกรณใดในจําพวกทีก่ ลาวไวนี้เกิดมีหนี้สิน
ลนพนตัวขึน้ กรมสหกรณมอี ํานาจที่จะถอนเงินสวนหนึง่ สวนใด จากทุนสหกรณกลาง
เพื่อชําระหนี้สินของสหกรณนั้น ๆ แกเจาหนี้ได แตตองไดรับอนุญาตจากกระทรวงการคลังกอน
(3) หักเงินกําไรสุทธิไวรอยละหา เพื่อสมทบทุนสาธารณะของสหกรณ เงินทุนสาธารณะนี้
จะ ตองรักษาสะสมไว เพื่อใชจายในกิจการอันเปนสาธารณูปโภคในทองที่ การเบิกจายเงินรายนี้
จะตองไดรับอนุญาตจากนายทะเบียนเปนราย ๆ ไป
มาตรา 19 จัตวา ถาสหกรณเปนสหกรณซงึ่ ยอมใหเฉลี่ยผลกําไรไดในหมูสมาชิก ทานให
สหกรณ นั้นตัง้ บัญชีไวตางหาก สําหรับเงินกูที่รัฐบาลใหกูหรือที่รัฐบาลค้ําประกันการชําระดอกเบีย้
หรือตนเงิน หรือทั้ง ดอกเบี้ยและตนเงิน"
มาตรา 20 เงินสหกรณนนั้ ใหฝากฤาจัดการตอทุนไดดั่งนี้ คือ
(1) ฝากในคลังออกสินของรัฐบาล
(2) จัดการอยางอื่นตามที่อนุญาตไวในกฎเสนาบดีซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 21 ในสหกรณซึ่งไมจํากัดสินใช และไมมีหุนนั้น หามมิใหเฉลี่ยกําไรเปนอันขาด
ในสหกรณซึ่งไมจํากัดสินใชและมีหนุ สวนนั้น ตราบใดสหกรณยังกูเงินจากผูมิไดเปนสมาชิก
ู ตราบนั้นหามมิใหเฉลี่ยกําไรในสหกรณซึ่งจํากัดสินใชนนั้ กําไรที่ไดในปหนึ่ง ๆ อาจจําแนกได
ดังนี้
(1) โอนไปเพิม่ เงินสํารองตามที่กําหนดไวในขอบังคับ
(2) ใชเปนเงินปนผลตามหุน
(3) เฉลี่ยใหแกสมาชิกตามราคาแหงการกูย มื ฤาซื้อขายซึ่งสมาชิกนั้น ๆ ไดกระทํากับ
สหกรณ ในระหวางป
มาตรา 22 ถามีเหตุใดเหตุหนึ่งดั่งตอไปนี้ สหกรณตองเลิก
(1) เมื่อสมาชิกกวาครึ่งแหงจํานวนสมาชิกทั้งหมดรองขอใหเลิก และนายทะเบียนเห็นชอบ
ดวย
(2) เมื่อศาลพิพากษาใหลมละลายฤาปรากฏวาไมสามารถที่จะใชหนีส้ ินได
(3) เมื่อนายทะเบียนสั่งใหเลิก
มาตรา 23 เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งดั่งตอไปนีใ้ หนายทะเบียนสั่งเลิกสหกรณ
(1) ถาเปนสมาคมซึ่งเอกชนเปนสมาชิกทั้งหมด เมื่อจํานวนสมาชิกมีเหลือนอยกวาสิบ
(2) เมื่อมีเหตุสมควรซึ่งนายทะเบียนเห็นวาสหกรณนนั้ จะอยูตอไปไมได เมื่อนายทะเบียน
ไดมีคําสั่งใหเลิกสหกรณ โดยอาศัยความในขอนี้แลว ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแตวันที่สหกรณ
ไดรับคําสั่ง สหกรณจะยื่นคํารองตอเสนาบดีขอใหเสนาบดีสั่งเพิกถอนคําสั่งของนายทะเบียนเสียก็
ได ถาแหละสหกรณไดยนื่ คํารองตอเสนาบดีดั่งวามานี้แลวคําสั่งใหเลิกสหกรณของนายทะเบียน
นั้นตองงดไวจนกวาเสนาบดีจะวินิจฉัยถึงที่สุดเห็นชอบดวยคําสั่งนั้น
มาตรา 24 ถาสหกรณใดตองเลิกเพราะลมละลาย ใหใชบทในพระราชบัญญัติลมละลายซึ่ง
ใชอยู ในเวลานั้นเปนกฎหมายบังคับ
มาตรา 25 ถาสหกรณใดเลิกเพราะเหตุอน่ื นอกจากลมละลาย ใหสมาชิกมีประชุมตาม
ลักษณะ ที่กําหนดไวในกฎเสนาบดี ตั้งผูชําระบัญชีขึ้นทําการชําระบัญชี การเลือกผูชําระบัญชีนี้ตอง
ไดรับความเห็นชอบของนายทะเบียนดวย ถาสมาชิกมิไดพรอมกัน ตั้งผูชําระบัญชีดั่งที่กลาวมา
ขางตนภายในเดือนหนึ่งตั้งแตวันเลิก สหกรณไป ใหนายทะเบียนตั้งผูชําระบัญชีขึ้นภายในบังคับ
แหงบทมาตรา 23 (2)
มาตรา 26 สหกรณซึ่งเลิกนัน้ ใหถือวายังคงตั้งอยูจนกวาผูชําระบัญชีจะไดรายงานตอ
นายทะเบียนวา ไดจัดการชําระบัญชีสําเร็จแลว และนายทะเบียนตัดชื่อสหกรณออกจากทะเบียน
มาตรา 27 ผูชําระบัญชีซึ่งตั้งขึ้นตามมาตรา 25 มีหนาที่ดั่งนี้
(1) จัดการสหกรณตอไป เพือ่ ชําระหนี้สินและจัดทรัพยของสหกรณตามพระราชบัญญัตินี้
ตามกฎเสนาบดีซึ่งออกตามพระราชบัญญัตินี้และตามขอบังคับ
(2) ผูชําระบัญชีตองทําดั่งตอไปนี้ ภายในสิบสี่วนั นับแตวนั ที่รับตั้ง
(ก) ประกาศในหนังสือพิมพรายวันและโดยวิธีอื่น ใหเจาหนี้ทราบการชําระบัญชี และ
ใหยนื่ คําทวงหนี้ตอผูชําระบัญชี
(ข) ขอจดทะเบียนการชําระบัญชีตอนายทะเบียนสหกรณและบอกนามผูชําระบัญชี
(3) ทํางบดุลยื่นตอนายทะเบียนและที่ประชุมใหญของสหกรณในเวลาเร็วที่สุดที่จะทําได
มาตรา 28 ผูชําระบัญชีซึ่งตั้งขึ้นตามมาตรา 25 มีอํานาจทําการดั่งกลาวตอไปนี้
(1) เรียกประชุมสมาชิกสหกรณ
(2) ฟองฤาแกฟองในคดีทั้งแพงและอาญา และทําปราณีประนอมในเรื่องใด ๆ ในนามของ
สหกรณ
(3) ยื่นคํารองตอศาลขอใหพิพากษาใหสหกรณลมละลาย
(4) ขายทรัพยของสหกรณ
(5) เรียกใหลูกหนี้และเจาหนีข้ องสหกรณใชหนี้ฤารับเงินใชหนี้
(6) กระทํากิจการอยางอื่นทุกประการที่จําเปน เพื่อใหการชําระบัญชีสําเร็จไป
มาตรา 29 ในการชําระบัญชีของสหกรณนนั้ ใหจายสินทรัพยโดยลําดับกอนหลัง
ดังตอไปนี้
(1) ใชคาใชจายตาง ๆ ที่ผูชําระบัญชีไดจายฤาทดลองไปในการชําระบัญชี
(2) ชําระหนี้สนิ ที่คางแกผูมิไดเปนสมาชิก
(3) ใชเงินซึ่งสมาชิกไดออกทดลองไปในการจัดสหกรณ
มาตรา 30 สินทรัพยของสหกรณซึ่งชําระบัญชีแลวนั้น จะแบงปนใหแกสมาชิก ฤาจะจัด
ตอไป ประการใดตามขอบังคับตองเปนทรัพยสินเหลือจากจําหนายตามมาตรา 29
มาตรา 31 เมื่อการชําระบัญชีเสร็จแลว ผูมีอรรถคดีจะฟองรอง
(1) สหกรณกด็ ี
(2) สมาชิกคนใดคนหนึ่งก็ดี
(3) ผูชําระบัญชีก็ดี
ใหฟองรองไดภายในกําหนดสองปนับแตวนั ที่รายงานของผูชําระบัญชีซึ่งไดยื่นตอนาย
ทะเบียนขอใหตัดชื่อสหกรณออกจากทะเบียนตามมาตรา 26
มาตรา 32 ตั้งแตวันทีป่ ระกาศพระราชบัญญัตินี้เปนตนไป ผูใดใชคําวา "สหกรณ" เปนนาม
หรือ สวนหนึง่ แหงนามการคาขายหรือกิจธุระะของตน ทานวามีความผิดตองระวางโทษปรับไม
เกินพันบาท แตถากิจการคาขายหรือกิจธุระรายใด ซึ่งตั้งอยูกอนวันประกาศพระราชบัญญัตินี้ มีนาม
ดั่งที่กลาวมาขางตนนั้นทานอนุญาตใหเวลาหนึ่งปที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติในวรรคกอน
มาตรา 33 ใหเสนาบดีมีอํานาจออกกฏเสนาบดีกําหนดคาธรรมเนียมที่จะตองเสียในการ
จดทะเบียน และเพื่อจัดการทั้งปวงใหเปนไปตามประสงคของพระราชบัญญัตินี้ เมื่อกฎนั้นได
ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแลว ใหเปนอันใชบังคับได
มาตรา 34 ใหเสนาบดีกระทรวงพาณิชยและคมนาคมมีหนาที่รักษาการตามพระราชบัญญัติ
นี้ ประกาศมา ณ วันที่ 19 พฤษภาคม พุทธศักราช 2471 เปนปที่ 4 ในรัชกาลปจจุบัน (45 ร.จ. 60
ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2471)

You might also like