You are on page 1of 29

๒๖

ข้อมูลเพื่อการวางแผนส้มโอ
จังหวัดสมุทรสงคราม
ปี ๒๕๖๓

กลุ่มสารสนเทศการเกษตร
สานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม
เอกสาร กษ.สส. ที่ ๓/๒๕๖๓
กรกฎาคม ๒๕๖๓
๒๗

คานา
ส านั กงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม ดาเนินการจัดทาระบบข้อมูล รายสินค้า
เพื่อการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ตามโครงการศูนย์ข้อมูลด้านการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด
โดยการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทาระบบข้อมูลด้านการเกษตรของจังหวัดเป็นรายสินค้า เพื่อใช้ประโยชน์
ในการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์รายสินค้าของจังหวัด โดยรวบรวมข้อมูลด้านนโยบายของจังหวัด
และข้อมูลเฉพาะ เช่น ข้อมูลพันธุ์ ข้อมูลด้านกายภาพ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของพืชเกษตรที่สาคัญของจังหวัด
ส้มโอขาวใหญ่ ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของจังหวั ดสมุทรสงคราม มีการปลูกกันมานานกว่า 150 ปี
มีลักษณะเด่นคือ ไม่มีเมล็ด กุ้งหรือกลีบของเนื้อส้มโอเป็นสีน้าผึ้ง เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคเนื่องจากมีรสชาด
อร่อย และโดยพื้นที่พิเศษของเมืองสมุทรสงคราม เมืองสามน้า ที่มีเพียง ๓ อาเภอ แต่ในพื้นที่ ๒ อาเภอ คือ
อาเภออัมพวา และอาเภอบางคนที ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็จะเห็นแต่ต้นส้มโอ ด้วยสภาพพื้นดินจังหวัด
สมุทรสงครามมีความอุดมสมบูรณ์ แบบลักจืดลักเค็มหรือน้ากร่อยทาให้ ส้มโอมีรสชาดดี ประกอบกับจังหวัด
สมุทรสงครามให้ความสาคัญกับการปรับปรุงคุณภาพให้เป็นส้มโอปลอดสารพิษ ซึ่งจะปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
ดั ง นั้ น ในปี 2563 ส านั ก งานเกษตรและสหกรณ์ จัง หวัด สมุ ท รสงครามจึ ง จัด ท าระบบฐานข้ อ มู ล ส้ มโอ
ในการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์รายสินค้าของจังหวัด
ในการจัดทาข้อมูลส้มโอเพื่อการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์นี้ สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
เพราะได้ รั บ ความอนุ เคราะห์ ข้อมูล จากหน่ว ยงาน ดังนี้ ข้อมูล ด้านการผลิ ตจากส านักงานเกษตรจังหวัด
สมุ ท รสงคราม ข้ อ มู ล ค่ า ใช้ จ่ า ยการผลิ ต /ต้ น ทุ น อาชี พ การผลิ ต ส้ ม โอ จากส านั ก งานตรวจบั ญ ชี ส หกรณ์
สมุทรสงคราม จึงขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้

กลุ่มสารสนเทศการเกษตร
สานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม
กรกฎาคม ๒๕63
๒๘

สารบัญ
หน้า
แผนที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกส้มโอ จังหวัดสมุทรสงคราม 1
ข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาส้มโอ 2
นโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่) 2
นโยบายจังหวัดสมุทรสงคราม 3
การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่/ผลผลิต 4
ปัญหา/อุปสรรคและข้อเสนอแนะ 5

ข้อมูลเฉพาะของส้มโอ 7
ลักษณะทั่วไปของส้มโอ 7
ข้อมูลพันธุ์ส้มโอ 7
ข้อมูลส้มโอจังหวัดสมุทรสงคราม 9
จุดเด่นของส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ 9
วิธีเลือกซื้อส้มโอ 9
ลักษณะทั่วไป 10
อายุการเก็บเกี่ยว 10
ระบบเก็บเกี่ยว 10
ฤดูกาลเก็บเกี่ยว 10
สรรพคุณทางยาสมุนไพร 10
คุณค่าทางอาหาร 10
ประโยชน์ของส้มโอ 10

ข้อมูลด้านกายภาพ 11
พื้นทีป่ ลูก ๑1
การคัดเลือกกิ่งพันธุ์ 11
ลักษณะดิน 11
สภาพภูมิอากาศ 11
แหล่งน้า 11
ภัยธรรมชาติ 11
ปฏิทินการปลูกส้มโอ 12

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของส้มโอ 13
ปริมาณการผลิต 13
ค่าใช้จ่ายการผลิต/ต้นทุนอาชีพการผลิตส้มโอ 13
การแปรรูป 15
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) 15
ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) 16
๒๙

หน้า
ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (QR code) 16
ช่องทางการตลาด 16
วิถกี ารตลาดส้มโอ 17
ราคาสินค้าเกษตร 17
ราคาจาหน่าย 17
แหล่งจาหน่าย 17
พื้นทีป่ ลูก 18
คุณภาพ 18
แผนงาน/โครงการ ที่เกี่ยวข้องกับส้มโอ ประจาปี 2559 18

ภูมิปัญญาท้องถิ่น 20
องค์ความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น 20
การปลูก 20
การเตรียมพื้นที่ปลูก 20
การดูแลสวนส้มโอ 20
การตัดแต่งกิ่งส้มโอ 21
การเพิ่มผลผลิต 21
การป้องกัน 22
แมลงศัตรูพืช 23

คณะผู้จัดทา

ข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาส้มโอ
จังหวัดสมุทรสงคราม
การพั ฒ นาจั ง หวั ด สมุ ท รสงคราม เป็ น การพั ฒ นาที่ เ กิ ด จากความต้ อ งการของประชาชน
เป็ น หลั ก โดยมี ทุ ก ภาคส่ ว นในจั ง หวั ด สมุ ท รสงครามร่ ว มใจกั น ขั บ เคลื่ อ นยุ ทธศาสตร์ พั ฒ นาจั ง หวั ด
โดยดาเนินการพัฒนาผลักดันให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในทุกระดับ โดยการพัฒนาให้จังหวัดเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
จังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มริมทะเล มีแม่น้าแม่กลองไหลผ่าน มีคลอง ๓๖๖ คลอง ครอบคลุม
พื้นที่ของจังหวัด เป็นเมือง ๓ น้า ๓ นา คือ น้าจืด น้าเค็ม น้ากร่อย และนาข้าว นาเกลือ นากุ้ง สภาพสังคม
ยังคงความเป็นสังคมชนบท ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร พืชเศรษฐกิจที่สาคัญของ
จังหวัด คือ ส้มโอ ลิ้นจี่ มะพร้าว
จังหวัดสมุทรสงครามมีศักยภาพด้านทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตอาหาร
ทะเลและสัตว์น้ าจื ด ประชาชนยังดารงไว้ซึ่งวิถีชีวิตบ้านริมน้า และขนบธรรมเนียมที่ดีงาม จึงได้กาหนด
ทิ ศ ทางการพั ฒ นาจั ง หวั ด ตามวิ สั ย ทั ศ น์ จั ง หวั ด สมุ ท รสงคราม คื อ “เมื อ งแห่ ง วิ ถี ชี วิ ต 3 น้ าอย่ า งยั่ ง ยื น
แหล่งผลิตอาหารทะเลและการเกษตรปลอดภัย เพิ่มมูลค่าผลผลิตให้มีมูลค่าสูง มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
และพร้ อ มรั บ ต่ อ การเปลี่ ย นแปลง” และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มี นโยบายในเรื่อ งการจั ดท าแปลง
การเกษตรขนาดใหญ่ โ ดยให้ เกษตรกรรายย่อยมีการรวมกลุ่ มและรวมพื้นที่การผลิ ตเป็นแปลงขนาดใหญ่
ที่มีผู้จัดการพื้นที่เป็นผู้บริหารจัดการแปลง ตั้งแต่การวางแผนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)
การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกษตรกรมีความสามารถในการจัดการผลิตสินค้าเกษตรจนถึ งการตลาดที่มี
มาตรฐานเช่นเดียวกับฟาร์มขนาดใหญ่การส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ (ส้มโอ) เป็นการส่งเสริมการเกษตรที่
ยึดพื้นที่ (Areabased) เป็นหลักในการดาเนินงานในลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี
ผู้จัดการพื้นที่เป็นผู้บริหารจัดการทุกกิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
1. นโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่)
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดาเนินนโยบายโครงการบริหารจัดการวิสาหกิจเกษตรแปลง
ใหญ่ (Mega Farm Enterprise) เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้เกษตรกร โดยเริ่มตั้งแต่การผลิตและจาหน่ายออกสู่ตลาด
ให้มีศักยภาพ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ตามนโยบาย "การตลาดนาการผลิต" ภายใต้แนวทาง "การจัดทา
แผนการผลิ ตภาคการเกษตร" (Agricultural Production Plan) และ"โครงการเกษตรแปลงใหญ่" (Mega
Farm Project) ซึ่งมีเกษตรกรและภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชน เข้ามามีส่ว นร่วมในการบริหารจัดการเกษตร
แปลงใหญ่ วัตถุประสงค์เพื่อสนั บสนุน ให้มีการพัฒนาระบบเกษตรกรรมของไทย ลดต้นทุนการผลิตและมี
ผลผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยมีเป้าหมายแปลงใหญ่ ไม่น้อยกว่า 1 แปลงใหญ่ ต่อ 1
ภูมิภาค พื้นที่ติดกันรวมกันไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ ขึ้นไป เพื่อก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of
Scale) จากการผลิต ทาให้ต้นทุน ทาเกษตรกรรมลดลง โดยคัดเลือก จากพื้นที่ อาทิ พื้นที่ สปก.ที่มอบให้
เกษตรกร พื้น ที่ตามโครงการจัดทาที่ดินทากิน แห่ งชาติ (คทช.) พื้นที่ซึ่งเกษตรกรได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็น
สหกรณ์การเกษตรหรือวิสาหกิจชุมชน พื้นที่ที่ทาการเกษตรแปลงใหญ่อยู่แล้วรวมกันอยู่หลายๆ แปลง ในพื้นที่
อาเภอเดียวกัน

จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ดาเนินการจัดทาโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ดังนี้

แปลงปี จานวน กลุ่มสินค้า สินค้า ชื่อแปลง จานาน จานวน ผู้จัดการแปลง


แปลง (ราย) พื้นที่ (ไร่)
2559 3 แปลง ไม้ผล ส้มโอ 1. แปลงใหญ่ส้มโอ 73 308 นายประวิตร คุ้มสิน
ต.บางสะแก อ.บางคนที
ไม้ผล ส้มโอ 2. แปลงใหญ่ส้มโอ 88 265 นายอานาจ สังขะกุล
ต.บางนางลี่ อ.อัมพวา
ไม้ยืนต้น มะพร้าว 3. แปลงใหญ่มะพร้าว 49 288 นางณภัทร จาตุรัส
ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา
2560 3 แปลง ไม้ผล ส้มโอ 1. แปลงใหญ่ส้มโอ 34 409 นายชัยยุทธ โพธิ์ไทย
ต.โรงหีบ อ.บางคนที
ไม้ยืนต้น มะพร้าว 2. แปลงใหญ่มะพร้าว 49 216 นายเกษม เด่นทุกทาง
ต.บ้านปรก อ.เมืองฯ
ไม้ผล ลิ้นจี่ 3. แปลงใหญ่ลิ้นจี่ 30 153 นายอโนชา หลีสุวรรณ์
ต.แควอ้อม อ.อัมพวา กานัน ต.แควอ้อม
2561 3 แปลง แมลง ชันโรง 1. แปลงใหญ่ชันโรง 39 195 นายวสันต์ ภูผา
เศรษฐกิจ ต. เหมืองใหม่ อ.อัมพวา
ไม้ยืนต้น มะพร้าว 2. แปลงใหญ่มะพร้าว 43 250 เกษตรอาเภอบางคนที
ต.บางคนที อ.บางคนที
ปศุสัตว์ โคเนื้อ 3. แปลงใหญ่โคเนื้อ 30 867 นายผดุงศักดิ์ แดงด้อม
ต.แพรกหนามแดง ยุทธ สนง.ปศุสัตว์
ต.วัดประดู่ อ.อัมพวา
2562 1 แปลง ไม้ยืนต้น มะพร้าว 1. แปลงใหญ่มะพร้าว 33 480 นายโสธร ไชยบุตร
ต.บ้านปราโมทย์
อ.บางคนที

2. นโยบายจังหวัดสมุทรสงคราม
การพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สิ น ค้า
เกษตรและประมง
๑. จังหวัดสมุทรสงคราม กาหนดให้มีการพัฒนาคุณภาพให้มีการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานและ
ความปลอดภัยสินค้าเกษตรและประมงเป็นตาแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ที่สาคัญของจังหวัด
เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและกสิกรรม ได้แก่ การทาสวนผลไม้
การปลูกพืชผักต่าง ๆ ประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งอ่าวไทย ส่วนมากมีอาชีพทาการประมง ซึ่งสามารถ
สร้างรายได้ให้แก่จังหวัดจานวนมาก ดังนั้น จังหวัดสมุทรสงครามจึงมีความจาเป็นต้องแปรรูปและพัฒนาการ
จาหน่ายสินค้าเกษตรและประมง เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตสินค้าเกษตรและประมงให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
สนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง สู่ประเทศ
ที่มีรายได้สูง ตามนโยบายของประเทศไทย 4.0 จังหวัดสมุทรสงคราม จึงมีโครงการพัฒนาสินค้าแปรรูปและ
จาหน่ายสินค้าเกษตรและประมงจังหวัดสมุทรสงคราม โครงการประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการตลาดสินค้า

เกษตรและประมงจังหวัดสมุทรสงคราม โครงการพัฒนาสาธารณูปโภคเพื่อการผลิต การขนส่ง การแปรรูป


การจาหน่าย สินค้าเกษตรและประมงจังหวัดสมุทรสงคราม โครงการสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้า
เกษตรและประมงจังหวัดสมุทรสงคราม
๒. สร้างระบบประกัน ความเสี่ยง ลดความเสี่ยงการผลิตสินค้าเกษตร บริหารจัดการศัตรูพืช
มีการเฝ้าระวังและเตือนภัยศัตรูพืช(ก่อนเกิ ดภัย) มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรในศูนย์จัดการศัตรูพืช
ชุมชน การติดตามการระบาดของศัตรูพืช
๓. มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลไม้ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมแก่เกษตรกร
สนับสนุนปัจจัยการผลิตในแปลงสาธิตการผลิตผลไม้คุณภาพดี และดาเนินการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง โดยพัฒนาอาสาสมัครเกษตร จัดกระบวนการเรียนรู้และอบรมเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง
๔. การพัฒนาองค์กรเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้แทนวิสาหกิจ
ชุมชน เพื่อเป็นตัวแทนในการดาเนินการพัฒนา และมีการอบรมพัฒนาผู้นากลุ่ม จัดเวทีเครือข่ายพัฒ นา
แหล่งเรียนรู้องค์กร
๕. ส่งเสริมสนับสนุนช่องทางการตลาดและการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร เชื่อมโยงตลาดสินค้า/จัดหา
ตลาดการค้าแก่ผู้ผลิต /ผู้ประกอบการ พัฒนาตลาดเกษตรรูปแบบใหม่ สร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิตมีการเชื่อมโยง
โดยประชาสัมพันธ์และการจัดประชุมผู้ประกอบการสินค้าเกษตร เพื่อเจรจาการค้าจับคู่ทางธุรกิจ จัดหาสถานที่
จาหน่ายสินค้า จัดงานเทศกาลผลไม้ในจังหวัด

3. การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่/ผลผลิต การปลูกส้มโอของจังหวัดสมุทรสงคราม สรุปได้ดังนี้


3.1 ข้อดี ๑. ดินดีอุดมสมบูรณ์ เป็นดินชุดสมุทรสงครามมีธาตุอาหาร P K และ Ca สูง
๒. น้าดี มีน้าขึ้นน้าลง ถ่ายเทสะดวก
3. ส้มโอขาวใหญ่เป็นส้มโออร่อย กุ้งใหญ่ เนื้อแห้งสีน้าผึ้ง รสหวานอมเปรี้ยว
มีเมล็ดลีบเล็ก มีคุณภาพเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
๔. ส้มโอขาวใหญ่เป็นส้มโอทะวายออกดอกติดผลได้ตลอดปี
๕. ส้มโอขาวใหญ่เป็นพันธุ์ต้านทานต่อโรคแคงเกอร์
๖. เกษตรกรสามารถปรับปรุงผลผลิตได้มาตรฐาน GAP
7. การคมนาคมสะดวก ใกล้กรุงเทพฯ
8. มีผู้รับซื้อมารับซื้อถึงท้องถิ่น
9. มีเงินงบประมาณจากจังหวัด กลุ่มจังหวัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การ
สนับสนุน
๑0. จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนด้านการตลาด เช่น จัดงาน
เทศกาลส้มโอในการระบายสินค้า
๑1. มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวภายในจังหวัดจานวนมาก
๑2. มีการสนับสนุนจากสื่อมวลชนในการประชาสัมพันธ์การผลิตส้มโอ
๑3. มีการพัฒนาคุณภาพ โดยจัดการประกวดทุกปี
14. ได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในชื่อ ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม

3.2 ข้อด้อย 1. น้าเค็มเข้าถึง


2. ขาดความรู้ในคัดเลือกกิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรค ขาดการดูแลรักษา จัดการสวนส้มโอ
3. เกษตรกรอายุมากขาดแคลนแรงงานรุ่นใหม่มาทดแทน
4. ในพื้นที่น้าท่วมถึงดินจะแน่นเหนียวระบายน้าเลว
5. ดินมีอินทรียวัตถุต่า
6. โรครากเน่าโคนเน่าระบาด
7. ใบแก้ว และกาฝาก เนื่องจากขาดการดูแล
8. ขาดการรวมตัวและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดทักษะของเกษตรกร
9. เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง ไรแดง ไรขาว หนอนชอนใบ หนอนฝีดาษส้มโอ หนอนเจาะผล
แมลงหวี่ขาว เพลึ้ยไก่แจ้ แมลงวันทอง เพลี้ยเกล็ดหอย (โรคแมลงระบาด)
10. ส้มเบา ขี้เมา เหลืองร่วง จากเชื้อแบคทีเรีย แซนไทรโมแนส ทริสติซ่า
11. กระรอกทาลายผลผลิต
12. ลาปะโดง ลาคลองตื้นเขิน
13. เกษตรกรบางสวนยังใช้สารเคมีในการป้องกันกาจัดแมลงทาให้ แมลงที่เป็น
ประโยชน์หมดไป
14. มีการนาผลผลิตส้มโอจากแหล่งอื่นมาและพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ขาวใหญ่มาขายใน
พื้นที่ทาให้ผู้ซื้อเกิดทัศนคติไม่ดี

3.3 ปัญหา/อุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหา/อุปสรรค ๑. ปัญหาด้านการผลิต เรื่องน้า เกิดจากโรค แมลง ศัตรูพืชและจากการปฏิบัติ
ดูแลรักษาด้านการเกษตรไม่ถูกต้องเหมาะสม
๑.๑ เกษตรกรชาวสวนส้มโอมีการรวมตัวเป็นกลุ่มปรับปรุงคุณภาพไม้ผล แต่ยัง
ขาดการประสานการบริหารที่มีความเข้มแข็ง
๑.๒ ขาดแคลนแรงงานในการทาสวน คนรุ่นใหม่ไม่ทาอาชีพการเกษตร
๑.๓ เกษตรกรขาดความรู้ในการดูแลรักษาสวน เมื่อมีแมลงระบาด เช่น เพลี้ยไฟ
เพลี้ยแป้ง ไรแดง ไรขาว หนอนชอนใบ หนอนฝีดาษส้มโอ หนอนเจาะผล
แมลงหวี่ขาว เพลึ้ยไก่แจ้ แมลงวันทอง เพลี้ยเกล็ดหอย มีศัตรูพืช เช่น
กระรอก นก ค้างคาว ทาให้ผลผลิตเสียหาย
1.4 น้าเสี ย จากโรงงานทางต้ นน้าแม่กลองและจากแหล่ง อื่น ๆ เช่น โฮมสเตย์
ฟาร์มปศุสัตว์
1.5 น้าทะเลหนุนสูงทาให้น้าเค็มเข้าสวน
1.6 สภาพอากาศแปรปรวนทาให้เกิดโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด
ข้อเสนอแนะ ๑. ด้านการผลิต
๑.๑ ส่งเสริมการรวมกลุ่มการแปรรูปผลผลิต หรือส่งเสริมการรวมกลุ่มใน
รูปแบบต่าง ๆ นาศึกษาดูงานกลุ่มที่ประสบความสาเร็จ การสนับสนุน
งบประมาณต่าง ๆ ให้แก่เกษตรกรในรูปกลุ่มเท่านั้น
๑.๒ ส่งเสริมสนับสนุนแรงงานเก็บเกี่ยว จากเยาวชนในท้องถิ่นช่วงปิดเทอม

๑.๓ อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรดีที่เหมาะสม ในการดูแลรักษาสวน


ปัญหาโรค แมลง ศัตรูพืช
๑.๔ ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมัก/สารชีวภาพ ในการบารุงดิน หรือกาจัดศัตรูพืช
รวมถึงการแก้ปัญหาการเกษตรด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒. ด้านการตลาด
๒.2 มีการกระจายผลผลิตส้มโอ ไปสู่ห้างสรรพสินค้าสาหรับตลาดในประเทศ
และรถตู้คอนเทนเนอร์สาหรับตลาดต่างประเทศ
๒.3 เก็บข้อมูลการเกษตร รวบรวมองค์ความรู้ของส้มโอ เพื่อใช้เป็นข้อมูล
ในการวางแผนการผลิต

ข้อมูลเฉพาะของส้มโอ

1. ลักษณะทั่วไปของส้มโอ
ส้มโอเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกมีกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอด ลาต้นมีสีน้าตาล มีหนามเล็ก ๆ
สูงประมาณ 8 เมตร ใบประกอบ มีใบย่ อย 1 ใบ แผ่นใบเหมือน มะกรูด คือแบ่งใบเป็น 2 ตอน แต่ขนาดใบ
ใหญ่กว่า ใบหนาแข็ง มีสีเขียวแก่ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อสั้นหรือดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีขาว
ปลายกลี บ มนมี 4 กลี บ กลางดอกมี เกสร 20-25 อั น ผลกลมโต บางพั น ธุ์ ต รงขั้ ว มี จุ ก สู ง ขึ้ น มา ผิ ว ผล
เมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ผิวของผลไม่เรียบ ภายในผลเป็นช่อง ๆ มีแผ่นบาง ๆ
สีขาวกั้นเนื้อให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า "กลีบ" มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดฝังอยู่
ระหว่างเนื้อมากกว่า 1 เมล็ด
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-15 ม. กิ่งก้านสาขาที่แตก จะห้อยเป็นทรงพุ่ม
ใบ มีรูปร่างเป็นโล่ห์ ปลายสุดของใบเป็นรอยเว้าเล็กน้อย ส่วนของฐานใบมนจัดเป็นใบขนาด
ใหญ่ กว้างประมาณ 2-12 ซม. ยาวประมาณ 5-20 ซม.
ดอก เกิดบริเวณซอกใบ ลักษณะเป็นช่อ จัดเป็นชนิดดอกเดี่ย ว แต่ละช่อมีดอกจานวน 0-20
ดอก ดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-7 ซม.
ผล รู ป ร่ างกลมหรื อเป็ น ผลแบบสาลี่ มีขนาดปานกลางถึ ง ใหญ่ เส้ นผ่ าศูนย์กลางประมาณ
10-30 ซม. ผลที่ยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวอมเหลือง และเป็นสีเหลืองในที่สุด เปลือกผลอ่อนนุ่ม
หนา 1.5-2.0 ซม. สีเปลือกด้านในเป็นสีขาว/ชมพู ตามลักษณะประจาพันธุ์ เนื้อมีสีเหลืองอ่อนอมเขียวหรือ
ชมพู แต่ละกลีบมีขนาดใหญ่
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของส้มโอ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus maxima (Burm.) Merr. วงศ์ :
Rutaceae ชื่อสามัญ : Pummelo, Shaddock

2. ข้อมูลพันธุ์ส้มโอ
แหล่งปลูกส้มโอกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด คือ จังหวัด
ชุมพร นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ เชียงราย และนครปฐม ซึ่งให้ผลผลิตและมีคุณภาพมาตรฐาน เมื่อปลูก
ในแหล่งที่เหมาะสมดังนี้
พันธุ์ขาวทองดี
แหล่งปลูกในภาคกลาง จังหวัด นครปฐม สมุทรสาคร และราชบุรี เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี
หลังปลูก ออกดอกเดือนมกราคม เก็บผลผลิตเดือนสิงหาคม-กันยายน ของทุกปี ถ้าเป็นทวายจะออกดอกเดือน
มิถุนายน เก็บผลผลิตเดือนมีนาคม-เมษายน ผลกลมแป้นหัวมีจีบเล็กน้อยขนาด ปานกลางเส้นผ่าศูนย์กลางผล
ประมาณ14-16 เซนติ เ มตร เยื่ อ หุ้ ม กลี บ สี ช มพู เ รื่ อ ๆ เนื้ อ กุ้ ง ฉ่ าสี ช มพู อ่ อ นรสหวานจั ด นิ ย มบริ โ ภค
ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
พันธุ์ขาวน้าผึ้ง
แหล่งปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์ขาวทองดี ปลูกมากที่อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เริ่มให้ผลผลิต
เมื่ออายุ 4 ปีหลังปลูก ออกดอกเดือน ธันวาคม-มกราคม เก็บผลผลิตเดือนสิงหาคม-กันยายน ของทุกปี ผล
กลมค่อนข้างสูง ขนาดปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 17 ซ.ม. เยื่อหุ้มกลีบสีขาว และเนื้อกุ้งเป็น
สีน้าผึ้ง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ให้ผลดก ราคาใกล้เคียงกับพันธุ์ขาวทองดี

พันธุ์ขาวแตงกวา
แหล่งปลูกอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ และอุทัยธานี เริ่มให้ผลผลิต
เมื่ออายุ 4 ปีหลังปลูก ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ เก็บผลผลิตเดือนกันยายนของทุกปี ถ้าเป็นทวายจะออกดอก
เดือนสิงหาคม เก็บผลผลิตเดือนมีนาคม ผลกลมแป้น ขนาดปานกลาง เส้น ผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 14-16
เซนติเมตร เยื่อหุ้มกลีบสีขาว เนื้อกุ้งสีขาวอมเหลือง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อยมีราคาสูง
พันธุ์ขาวพวง
แหล่ งปลู กในภาคเกลาง จังหวัดนครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร และปราจีนบุรี เริ่มให้ ผ ลผลิต
เมื่ออายุ 4 ปี หลังปลูก ออกดอก และเก็บผลผลิตช่วงเดียวกั บพันธุ์ทองดี ผลกลมสูงเล็กน้อย หัวจุกสูงมีจีบ
ขนาดปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 18 เซนติเมตร เยื่อหุ้มกลีบและเนื้อกุ้งขาวอมเหลือง รสหวาน
อมเปรี้ยวเล็กน้อย นิยมใช้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ และส่งไปขายต่างประเทศ ราคาค่อนข้างดี
พันธุ์ท่าข่อย
แหล่งปลูกในภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิจิตร และพิษณุโลก เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปีหลังปลูก
ออกดอกเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ เก็บผลผลิตเดือนสิงหาคม ถึงกันยายนของทุกปี ถ้าเป็นทวายจะออกดอก
เดื อ นมิ ถุ น ายน ให้ ผ ลผลิ ต เดื อ น กุ ม ภาพั น ธ์ - มี น าคม ผลกลมสู ง หั ว มี จี บ เล็ ก น้ อ ย ขนาดปานกลาง
เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 15-18 เซนติเมตร เยื่อหุ้มกลีบสีชมพู เนื้อกุ้งสีชมพูอ่อนฉ่าน้ารสหวานอมเปรี้ยว
มีเมล็ดน้อยหรือเมล็ดลีบ บางผลไม่มีเมล็ด ราคาดีปานกลาง
พันธุ์ขาวใหญ่
แหล่งปลูกอยู่จังหวัดสมุทรสงคราม นครปฐม และสมุทรสาคร เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปีหลัง
ปลู ก ออกดอก เดือนธัน วาคม-มกราคม เก็บผลผลิ ตเดือนสิงหาคม-กันยายน ผลกลมสู ง ขนาดปานกลาง
เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณประมาณ 14-18 เซนติเมตร เยื่อหุ้มกลีบสีขาวเนื้อกุ้งแห้ง สีขาวอมเหลือง รสหวาน
อมเปรี้ยวเล็กน้อย ราคาใกล้เคียงกับพันธุ์ขาวทองดี
พันธุ์ขาวหอม
แหล่งปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์ขาวทองดี ปลูกมากที่อาเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เริ่มให้ผลผลิต
เมื่ออายุ 4 ปีหลังปลูก ออกดอกเดือนธันวาคม-มกราคม เก็บผลผลิตเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี ผลกลม
ขนาดปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 12-16 ซ.ม. เยื่อหุ้มกลีบสีขาว เนื้อกุ้งสีขาวอมเหลือง รสหวาน
อมเปรี้ยวเล็กน้อย นิยมบริโภคมาก
พันธุ์ขาวแป้น
แหล่งปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์ขาวพวง เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี หลังปลูก ออกดอก และเก็บ
ผลผลิตในช่วงเดียวกับพันธุ์ขาวทองดี ผลกลมแป้น หัวไม่มีจุก แต่มีจีบเล็กน้อย ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางผล
ประมาณ 12-15 ซ.ม. เยื่อหุ้มกลีบและเนื้อกุ้งสีขาว รสหวานอมเปรี้ยว ให้ผลผลิตสูง ราคาไม่ค่อยสูง
พันธุ์หอมหาดใหญ่
ปลูกมากที่อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี หลังปลูก ออกดอกเดือน
มิถุนายน-กรกฎาคมเก็บผลผลิตเดือนกุมภาพันธ์ -มีนาคม ผลกลมสูงเล็กน้อย ขนาดปานกลางเส้นผ่าศูนย์กลาง
ผลประมาณ 15 เซนติเมตรเยื่อหุ้มกลีบสีขาวอมชมพูอ่อน เนื้อสีทับทิม หรือชมพูเข้มถึงสีแดง รสหวานอม
เปรี้ยว เนื้อกุ้งฉ่าน้าแต่แห้ง ราคาดี ส่งออกประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย

3. ข้อมูลส้มโอจังหวัดสมุทรสงคราม
จั งหวัดสมุทรสงคราม ถือเป็นแหล่ งปลู กส้ มโอที่ให้ คุณภาพดีและเป็นที่ต้องการของผู้ บ ริ โ ภค
เกษตรกรในพื้นที่เริ่มปลูกมาตั้งแต่ ปี ๒๔๗๕ โดยเริ่มจากปลูกแบบสวนหลังบ้าน สวนหลังเตาตาล แพร่ขยาย
เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่มากถึง ๑๒,31๙ ไร่ มีเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอจานวน ๓,๒๔2 ราย ซึ่งส้มโอที่ปลูก
ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม จะมีรสชาติอร่อยกว่าที่อื่นและมีความเป็น อัตลักษณ์ เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัด
สมุทรสงครามเป็นดินดอนปากแม่น้า ซึ่งแร่ธาตุต่างๆ มาตกตะกอนทับถมกัน ประกอบกับมีดิ นในลักษณะ
ค่อนข้างเหนียว หน้าดินลึก อุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียวัตถุ และมีลักษณะพื้นที่สามน้า คือ ได้รับอิทธิพลน้าเค็ม
น้ ากร่ อย และน้ าจื ด นอกจากนี้ คุณสมบัติข องดิน ในพื้นที่จั งหวัดสมุ ทรสงคราม คือ ชุดดินสมุทรสงคราม
จะมีธาตุอาหารโพแตสเซียม (K ) สูง ทาให้ส้มโอมีรสหวานตามธรรมชาติ ความหวานไม่ต่ากว่า 9 องศาบริ๊กซ์
ปัจจัยดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นปั จจัยเฉพาะที่มีอยู่ในเขตทั้ง 3 อาเภอของจังหวัดสมุทรสงครามเท่านั้น ทาให้
ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงครามแตกต่างจากพื้นที่อื่น และสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดมากกว่า 30 ปี ซึ่งปัจจุบัน
มีเกษตรกรที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI ทั้งสิ้นจานวน 90 ราย
4. จุดเด่นของส้มโอพันธุข์ าวใหญ่
“ส้มโอขาวใหญ่” มีรสชาติหวาน อร่อย มีเอกลักษณ์ตรงที่ไม่มีเมล็ด กลีบหรือกุ้งของเนื้อส้มโอ
เป็นสีน้าผึ้ง และเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ยังให้ความสาคัญกับส้มโอที่มีคุณภาพและปลอดสารพิษ ทาให้
เป็นที่ชื่นชอบและนิยมของผู้บริโภค จุดเด่นของส้มโอขาวใหญ่ ได้แก่
- ลักษณะผลใหญ่ ค่อนข้างแป้น ไม่มีเมล็ด กลีบเนื้อส้มโอเป็นสีน้าผึ้ง เกาะตัวแน่นไม่หลุดร่วงง่าย
มีรสชาติดี หวานกลมกล่อมอมเปรี้ยวเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่แห้ง
แต่ ไม่แฉะ แกะออกจากเปลือกง่าย มีเมล็ดน้อย บางครั้งก็ไม่มีเมล็ดเลย และเมื่อรับประทานแล้วยังชุ่มคออีก
ด้วย จังหวัดสมุทรสงครามให้ความสาคัญกับการปรับปรุงคุณภาพให้เป็นส้มโอปลอดสารพิษ
- ลาต้นสูงโปร่ง กิ่งก้านค่อนข้างยาว ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านใต้ใบมีขนนุ่ม และมีขนาดใหญ่กว่า
พันธุ์อื่น มีผลผลิตเกือบตลอดทั้ งปี ถ้ามีการเอาใจใส่ ดูแลรักษากันอย่างเพื่อนสนิท รู้ว่าเมื่อใด ต้องการอะไร
อย่างไร ในระหว่างที่ให้ผลผลิตมากที่เรียกว่าเป็นส้มปี คือ การออกดอกในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์
ซึ่งจะตัดขายได้ในเดือนสิงหาคม-กันยายน และ รองลงมาคือการ ออกดอกในช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน
ซึ่งจะตัดขายได้ในเดือนธันวาคม- มกราคม ..ผลส้มโอพันธุ์นี้เมื่อเล็กจะมีขนที่ผิวเปลือกจับดูรู้สึกนิ่มเมื่อแก่ขน
จะหายไป ที่ผิวเปลือก จะมีต่อมน้ามันเม็ดเล็กๆ อยู่ทั่วทั้งผล ผนังด้านในของเปลือกเป็นสีขาวอมชมพูเล็กน้อย
ผนั งกั้น กลี บ มีสี ช มพู เมื่อ แก่สี ของผลจะจางลงจากสี เขียวเป็นเขียวอมเหลื อง ต่อมน้ามันที่เป็นเม็ดเล็ กๆ
จะขยายตัวใหญ่และเต่งขึ้นสีจะจางลง ตรงบริเวณก้นผลจะแบนและนิ่ม เมื่อใช้นิ้วมือกดจะบุ๋มลง ตามแรงกด
ถ้าใช้วิธีดีดผลฟังเสียง เสียงจะแตกต่างจากผลอ่อน ถ้าจะเลือกส้มโอ ให้ได้ดีต้องดูที่ ผลทรงแป้น มิใช่ทรงสูง
เพราะเปลือกจะหนา และน้าหนักต้องมาก จึงจะได้ลิ้มรสที่ แท้จริงของส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่
5. วิธีเลือกซื้อส้มโอ
ควรสังเกตลักษณะเปลือกบาง สีเขียวอ่อน หรือ สีเขียวนวลจนถึงสีเหลืองนวล มีน้าหนักเหมาะสม
กับขนาดผล นอกจากนั้น เมื่อกดที่ฐานส้มโอแล้วนิ่ม หรือบุ๋มลงไป แสดงว่า "ส้มโอลืมต้น ” รับประทานได้ทันที
รสไม่ฝาด หวานอร่อย
๑๐

6. ลักษณะทั่วไป
ส้ มโอเป็ น ไม้ยื น ต้น ขนาดเล็ ก แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอด ล าต้นมีสี น้าตาล มีห นามเล็ ก ๆ
สูงประมาณ 8 เมตร ใบประกอบ มีใบย่อย 1 ใบ แผ่นใบเหมือนมะกรู ด คือ แบ่งใบเป็น 2 ตอน แต่ขนาด
ใบใหญ่กว่าใบหนาแข็ง มีสีเขียวแก่ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อสั้นหรือดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีขาว
ปลายกลี บ มนมี 4 กลี บ กลางดอกมี เ กสร 20-25 อั น ผลกลมโต บางพั น ธุ์ ต รงขั้ ว มี จุ ก สู ง ขึ้ น มา ผิ ว ผล
เมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ผิวของผลไม่เรียบ ภายในผลเป็นช่อง ๆ มีแผ่นบาง ๆ
สีขาวกั้นเนื้อให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า “กลีบ” มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว
7. อายุการเก็บเกี่ยว
เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ากว่า 15 – 20 ปี
8. ระบบเก็บเกี่ยว
ระยะเวลาดอกบานถึงผลแก่ประมาณ 8 เดือน ต้นส้มอายุ 8 ปี จะให้ผลผลิตประมาณ 80-100
ผล/ต้น/ปี
9. ฤดูกาลเก็บเกี่ยว
ช่วงที่ให้ผลผลิตมากอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
10. สรรพคุณทางยาสมุนไพร
สรรพคุณทางยาในส้มโอนั้นมีอยู่มิใช่น้อยเลย ส้มโอนั้นสามารถป้องกันและรักษาโรคเลือดออก
ตามไรฟัน ช่วยระบาย บารุงหัวใจ แก้ไอ และขับเสมหะ
ผลส้มโอ ขับลมในลาไส้ แก้เมาเหล้า เปลือกผลของส้มโอจะช่วยขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก
ใบส้มโอ นามาต้มพอกศีรษะแก้ปวดหัว นอกจากนั้นยังเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้ออีกด้วย
ดอกส้มโอ แก้อาการปวดกระบังลม และปวดในกระเพาะอาหาร
เมล็ดส้มโอ มีประโยชน์ เช่นกัน แก้ไส้เลื่อน ลาไส้หดตัว แก้หวัด แก้ไข้ แก้ปวดท้องน้อยและ
กระเพาะอาหารได้อย่างมหัศจรรย์
11. คุณค่าทางอาหาร
ส้มโอนั้นนอกจากจะเป็นยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณอยู่มากแล้ว ยังนามาประกอบอาหารจานเด็ด
มากด้วย คุณค่าได้อีกเช่นกัน ส้มโอนามาคั้นทาน้าผลไม้ดื่มแก้กระหาย นามาผสมกับน้าเชื่อม ทาลอยแก้ว และ
มีวิตามินและแร่ธาตุบารุงร่างกายให้แข็งแรง อาทิ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ซึ่งช่วยบารุงกระดูกและฟัน
เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินบี 1 ช่วยในการย่อยอาหาร เสริมสร้างการทางานของกล้ามเนื้อและหัวใจ วิตามินบี 2
ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด และวิตามินซีที่มีมากจะช่วยในการป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และป้องกันโรค
หวัดได้ดี
12. ประโยชน์ของส้มโอ
ส้ มโอมีป ระโยชน์ ตั้งแต่เปลือกใช้เชื่อมเป็นขนมหวาน ส่ว นเนื้อที่เปรี้ยวใช้ ประกอบกับข้าวยา
ทางภาคใต้ เนื้อหวานอมเปรี้ยวใช้ทาส้มโอลอยแก้ว ส่วนเนื้อหวานใช้รับประทานเป็นผลไม้สด เปลือกส้มโอ
นามาต้มทิ้งไว้สักพัก จากนั้นก็นาด้านในของเปลือกส้มโอมาขัดถูภาชนะพวกอลูมิเนียม ตะหลิว ทัพพี ฯลฯ
ก็จะทาให้สิ่งของเหล่านั้นเป็นเงางามเหมือนใหม่อีกครั้ง
๑๑

ข้อมูลด้านกายภาพ
1. พื้นที่ปลูก
ส้มโอสามารถปลูกได้ดีในดิน เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียวดินทรายดินปนทรายที่ระบาย
น้าได้ดีน้าไม่ท่วมขังแฉะแต่คุณภาพผลผลิตแตกต่างกันไป พื้นที่ปลูกที่ทาให้ส้มโอเจริญงอกงามดี ผลดก และมี
คุณภาพดี ควรปลูกในพื้นที่ดินโปร่ง ร่วนซุยมีอินทรียวัตถุอยู่มากระบายน้าได้ดี ถ้าเป็นดินเหนียวต้องยกร่อง
เพื่อให้มีการระบายน้าได้ดีควรมีระดับน้าใต้ดินไม่น้อยกว่า 4 ฟุต น้าไม่ขังแฉะ
2. การคัดเลือกกิ่งพันธุ์
ควรเป็นกิ่งไม่อ่อน หรือแก่เกินไป ด้วยการสังเกตสีเปลือกที่จะออกเขียวมากว่าสีน้าตาลกิ่งพันธุ์
ประเภทนี้จะโตเร็ว ส่วนถ้าเป็นกิ่งแก่ หรือกิ่งที่เคยให้ผลแล้ว นามาทากิ่งพันธุ์จะโตช้า คุณภาพไม่ดี ถ้าเป็นกิ่ง
กระโดงจะโตเร็วกว่า (ควรควั่นกิ่งใบเพสลาด)

3. ลักษณะดิน
ส้มโอตอบสนองต่อดิน น้า แสงแดด และปุ๋ยค่อนข้างเร็ว ฉะนั้น ดินควรสมบูรณ์ ด้วยอินทรีย์วัตถุ
ความเป็ นกรดเป็ น ด่าง 5.5 - 6.5 ส้ มโอต้องได้รับแสง น้า ปุ๋ย อย่างสม่าเสมอ จะทาให้ ส้ มโอขาวใหญ่
มีผลผลิตดีและต่อเนื่อง
4. สภาพภูมิอากาศ
ปริมาณน้าฝนเฉลี่ยปีละ 1,500 - 2,000 มิลลิเมตร และอุณหภูมิ ที่เหมาะสมเฉลี่ยประมาณ 25
- 30 องคาเซลเซียส

5. แหล่งน้า
ควรเป็นน้าจืด มีระดับน้าใต้ดินไม่น้อยกว่า 4 ฟุต น้าไม่ขังแฉะ น้าต้องได้รับสม่าเสมอ

6. ภัยธรรมชาติ
สาหรับการปลูกส้มโอในจังหวัดสมุทรสงคราม ไม่มีภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายกับ
การปลูกส้มโอในจังหวัด
๑๒

7. ปฏิทินการปลูกส้มโอ
๑๓

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของส้มโอ
1. ปริมาณการผลิต
ส้ ม โอเป็ น พื ช ที่ ใ ห้ ผ ลผลิ ต ตลอดปี แต่ จ ะออกผลผลิ ต มากในช่ ว งกลางเดื อ นกรกฎาคม
ถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออานวยต่อการออกผลผลิต
ตาราง ข้อมูลการผลิตส้มโอ ปี ๒๕59-๒๕63
ข้อมูลส้มโอ ปี 2559 ปี 2560 ปี 2561 ปี 2562 ปี 2563*
เมือง(ไร่) 409 374 178 178 -
อัมพวา(ไร่) 6,234 6,234 6,460 5,912 -
บางคนที(ไร่) 6,036 5,887 5,666 5,911 -
จานวนครัวเรือน 3,198 3,252 3,042 3,043 3,285
พื้นที่ปลูก(ไร่) 12,679 12,495 12,304 12,001 12,843
ผลผลิตเฉลี่ย(กก./ไร่/ปี) 1,376 1,352 1,409 1,335 1,891
ราคา (บาท/กก.) 48.94 45.31 41.37 43.65 45.38
มูลค่าผลผลิต (ล้านบาท) 853.82 765.43 717.20 699.33 1,102.10
ที่มา: สานักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม
หมายเหตุ : ปี 2563* ข้อมูลบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่สาคัญของจังหวัด ปี 2563 (ข้อมูลประมาณการ
ช่วงเดือน ม.ค.-ธ.ค. 2563)
2. ค่าใช้จ่ายการผลิต/ต้นทุนอาชีพการผลิตส้มโอ
2.1 ต้นทุนอาชีพการผลิตส้มโอ ของนายอานาจ สังขะกุล ผู้จัดการแปลงใหญ่ส้มโอ ต.บางนางลี่ อ.อัมพวา
พื้นที่ 7 ไร่
รอบการผลิตที่ 2 (ปีปัจจุบัน) รอบการผลิตที่ 1 (ปีก่อน)
1 ม.ค. 2562 ถึง 31 ธ.ค. 2562 1 ม.ค. 2561 ถึง 31 ธ.ค. 2561
หน่วย บาท หน่วย บาท
รายได้
ขายส้มโอ 8,180 กก. 449,900.00 10,000 กก. 500,000.00
รวมรายได้ 449,900.00 500,000.00
หัก ต้นทุน/ค่าใช้จ่าย
ซื้อปุ๋ย 83,300.00 103,600.00
ค่าฮอร์โมน 1,020.00 4,500.00
ค่าน้ามันตัดหญ้า 3,600.00 3,780.00
ค่าไฟฟ้า 3,000.00 3,000.00
ค่าอุปกรณ์ ท่อน้า 5,000.00
คิดค่าแรงงานตนเอง 2 คน 165,000.00 2 คน 165,000.00
คิดรายจ่ายสินทรัพย์ถาวรเฉลี่ยต่อรอบการผลิต 2,100.00 -
รวมต้นทุน/ค่าใช้จ่าย 258,020.00 284,880.00
หัก ต้นทุนการผลิตคงเหลือ (ปุ๋ย ยา พันธุ์ ฯลฯ) - -
ต้นทุนการผลิตทั้งสิ้น 258,020.00 284,880.00
กาไร 191,880.00 215,120.00
๑๔

รายจ่ายของสินทรัพย์ถาวรเฉลี่ยต่อรอบการผลิต = อุปกรณ์/สิ่งปลูกสร้าง
อายุการใช้งาน
1) เครื่องตัดหญ้า ได้มาเมื่อปี 2562 = 4,200.00 บาท
อายุการใช้งาน 2 ปี (2562-2563) = 2,100.00 บาท/ปี
รวมรายจ่ายของสินทรัพย์ถาวรเฉลี่ยต่อรอบการผลิต ปี 2562 (1) 2,200 บาท
ปี 2561 ผลผลิตส้มโอ 10,000 กก. ต้นทุน/กก. 28.49 บาท กาไร/กก. 21.51 บาท
ต้นทุน/ไร่ 40,697.14 บาท กาไร/ไร่ 30,731.43 บาท
ปี 2562 ผลผลิตส้มโอ 8,180 กก. ต้นทุน/กก. 31.54 บาท กาไร/กก. 23.46 บาท
ต้นทุน/ไร่ 36,860.00 บาท กาไร/ไร่ 27,411.43 บาท
2.2 ต้นทุนอาชีพการผลิตส้มโอ ของนายประวิตร คุ้มสิน ผู้จัดการแปลงใหญ่ส้มโอ ต.บางสะแก อ.บางคนที

พื้นที่ 8 ไร่
รอบการผลิตที่ 2 (ปีปัจจุบัน) รอบการผลิตที่ 1 (ปีก่อน)
1 ม.ค. 2562 ถึง 31 ธ.ค. 2562 1 ม.ค. 2561 ถึง 31 ธ.ค. 2561
หน่วย บาท หน่วย บาท
รายได้
ขายส้มโอ 29,764 กก. 901,208.00 18,417 กก. 507,775.00
รวมรายได้ 901,208.00 507,775.00
หัก ต้นทุน/ค่าใช้จ่าย
ซื้อปุ๋ย 11,980.00 3,080.00
ค่าสารกาจัดแมลง 21,835.00 16,048.00
ค่าน้ามันเชื้อเพลิง 5,210.00
ค่าจ้างทาดิน 32,070.00
ค่าจ้างตัดกาฝาก 4,000.00
ค่าอุปกรณ์ต่อท่อ 19,080.00
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 10,769.00
ค่าไฟฟ้า 2,340.00
คิดค่าแรงงานตนเอง 1 คน 109,500.00 1 คน 109,500.00
คิดรายจ่ายสินทรัพย์ถาวรเฉลี่ยต่อรอบการผลิต 7,869.60 5,389.60
รวมต้นทุน/ค่าใช้จ่าย 213,884.60 144,786.60
หัก ต้นทุนการผลิตคงเหลือ (ปุ๋ย ยา พันธุ์ ฯลฯ) - -
ต้นทุนการผลิตทั้งสิ้น 213,884.60 144,786.60
กาไร 687,323.40 362,988.40
รายจ่ายของสินทรัพย์ถาวรเฉลี่ยต่อรอบการผลิต = อุปกรณ์/สิ่งปลูกสร้าง
อายุการใช้งาน
1) สะพานปูน ได้มาเมื่อปี 2561 = 14,948.00 บาท
อายุการใช้งาน 5 ปี (2561-2565) = 2,989.60 บาท/ปี
2) เครื่องสูบน้า ได้มาเมื่อปี 2561 = 7,200.00 บาท
อายุการใช้งาน 3 ปี (2561-2563) = 2,400.00 บาท/ปี
๑๕

3) เครื่องตัดหญ้า ได้มาเมื่อปี 2562 = 12,400.00 บาท


อายุการใช้งาน 5 ปี (2562-2566) = 2,480.00 บาท/ปี
รวมรายจ่ายของสินทรัพย์ถาวรเฉลี่ยต่อรอบการผลิต ปี 2561 (1+2) 5,389.60 บาท
รวมรายจ่ายของสินทรัพย์ถาวรเฉลี่ยต่อรอบการผลิต ปี 2562 (1+2+3) 7,869.60 บาท
ปี 2561 ผลผลิตส้มโอ 18,417 กก. ต้นทุน/กก. 7.86 บาท กาไร/กก. 19.71 บาท
ต้นทุน/ไร่ 18,098.33 บาท กาไร/ไร่ 45,373.55 บาท
ปี 2562 ผลผลิตส้มโอ 29,764 กก. ต้นทุน/กก. 7.19 บาท กาไร/กก. 23.09 บาท
ต้นทุน/ไร่ 26,735.58 บาท กาไร/ไร่ 85,915.43 บาท
ที่มา : สานักงานตรวจบัญชีสหกรณ์สมุทรสงคราม
3. การแปรรูป
ผลส้มโอนอกจากบริโภคสดได้แล้ว ยังสามารถนาไปแปรรูปได้ในหลายส่วน ตั้งแต่ผลอ่อนจนถึง
ผลแก่เลยทีเดียว ผลอ่อน ผลส้มโอที่ติดผลดกมาก ๆ ชาวสวนต้องตัดทิ้ง เพื่อให้ส้มโอมีผลใหญ่ขึ้น ชาวสวน
จะนาผลอ่อนของส้มโอไปทาส้มโอแช่อิ่มขายได้ราคาดี แต่ต้องใช้เวลาแช่อิ่ม 3 เดือ น ผลส้มโอแก่ สามารถ
นาส่วนต่าง ๆ มาแปรรูปได้หลายอย่าง คือ
1. ทาเปลือกส้มโอแช่อิ่ม หรือเปลือกส้มโอเชื่อมน้าตาล ซึ่งก็ทาไม่ยาก เปลือกส้มโอก็มีสรรพคุณ
ทางยารักษาโรคได้ ทาไม่ยาก รสชาติอร่อยดี และสามารถจาหน่ายได้ 2. เปลือกส้มโอตากแห้งใช้ทายารักษา
โรคมะเร็ งได้ แต่ต้องเป็ น เปลื อกส้ มโอที่ไร้ส ารพิษเท่านั้น โดยนาเปลื อกส้ มโอที่ปลอกผลรับประทานแล้ ว
นาเปลือกส้มโอไปตากให้แห้งสนิท อย่าให้เกิดเชื้อรา ขายได้กิโลกรัมละ 300 - 400 บาท
3. การทาเปลือกส้มโอกวน 3 รส หลายพื้นที่ ๆ มีการปลูกส้มโอ มีการทากันมากโดยการนา
เปลือกส้มโอที่ปลอกเนื้อรับประทานแล้วโดยใช้มีดปลอกผิวเปลือกส้มออกทิ้งไป นาเปลือกส้ มที่เหลือไปแช่น้า
ปูนใส หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คั้นกับเกลือนาไปกวนกับน้าตาลทรายจนเหนียวแล้วปั้นเป็นท๊อฟฟี่ 3 รส จาหน่ายได้
4. การทายากันยุงจากผิวเปลือกส้มโอ โดยการนาผิวเปลือกส้มโอไปตากแห้ง แล้วนาไปบดเป็นผง
ผสมกับใบตะไคร้หอมและวัสดุปั้นเส้น นาไปตากแห้งทายากันยุงจุดไล่ยุงได้ดี และจาหน่ายได้ปลอดภัยสารพิษ
ต่อมนุษย์แต่ยุงกลัวหนีไป
4. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (Good Agriculture Practices: GAP)
เป็ น แนวทางในการทาการเกษตร เพื่อให้ ได้ ผ ลผลิ ตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กาหนด
ได้ ผ ลผลิ ต สู ง คุ้ ม ค่ า การลงทุ น และกระบวนการผลิ ต จะต้ อ งปลอดภั ย ต่ อ เกษตรกรและผู้ บ ริ โ ภค มี ก ารใช้
ทรั พ ยากรที่ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด เกิ ด ความยั่ ง ยื น ทางการเกษตรและไม่ ท าให้ เ กิ ด มลพิ ษ ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม
โดยหลักการนี้ได้รับการกาหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
ประเทศไทยมีการนาหลักเกณฑ์ของ GAP มาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
ส าหรั บ พื ช (Good Agriculture Practices: GAP) ของกรมวิ ช าการเกษตรและกรมการข้ า ว ที่ มุ่ ง ให้ เ กิ ด
กระบวนการผลิตที่ได้ผลิตผลปลอดภัย ปลอดจากศัตรูพืชและคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค ประกอบด้วย
ข้อกาหนดเรื่อง แหล่งน้า พื้นที่ปลูก การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร การเก็บรักษาและขนย้ายผลิ ตผล
ภายในแปลง การบันทึกข้อมูล การผลิตให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผล
คุณภาพ และการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
๑๖

สาหรับประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่


ในการตรวจรับรองระบบการจัดการคุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสาหรับพืช (GAP) โดยได้กาหนด
ข้อกาหนด กฎเกณฑ์และวิธีการตรวจประเมิน ซึ่งเป็นไปตามหลักการที่สอดคล้องกับ GAP ตามหลักการสากล
เพื่อใช้เป็นมาตรฐานการผลิตพืชในระดับฟาร์มของประเทศ
สาหรับจังหวัดสมุทรสงคราม เกษตรกรได้รับ GAP ชนิดพืชส้มโอ จานวน 271 ราย จานวนพื้นที่
852.80 ไร่ ดังตาราง
ลาดับ ชนิดพืช จานวน/แปลง/ราย พื้นที่/ไร่ พื้นที่ทั้งหมด/ไร่ เหลือพื้นที่/ไร่
1 ส้มโอ 271 852.90 12,304 11,451.20
2 มะพร้าว 135 799.02 46,713 45,913.98
3 ลิ้นจี่ 78 269.49 5,884 5,614.51
4 มะพร้ า วน้ าหอม 47 293.95 8,150 7,856.05
มะพร้าวอ่อน
5 พืชชนิดอื่น ๆ 83 74.97 4,255 4,180.03
รวม 614 2,290.23 77,306 75,015.77
ที่มา : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2563
หมายเหตุ : พืชชนิดอื่นๆ ประกอบด้วย 42 ชนิด พืช ดังนี้ กล้วยน้าว้า กล้อยหอม กวางตุ้ง กระเพรา ขึ้นฉ่าย คะน้า
แคนตาลูป ชมพู่ ชะพลู ต้นหอม แตงกวา ถั่วฝักยาว ทุเรียน บวบ บัตเตอร์นัทสควอช ใบเตย ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักกาด
ฮ่องเต้น้อย ผักชี ผักบุ้งจีน ผักหวานบ้าน ฝรั่งกิมจู มะกรูด มะเขือเทศ มะเขือเทศราชินี มะเขือเปราะ มะนาว มะม่วง เมล่อน
ส้มแก้ว ส้มจีน หม่อน เห็ด เห็ดถั่งเช่า เห็ดเป้าฮื้อ เห็ดฟาง เห็ดหลินจือ โหระพา ไฮโดรโปนิกส์

5. ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)
กรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ ได้อนุมัติให้ตราสัญลักษณ์ GI เพื่อรับรองแหล่งผลิตที่มี
คุณภาพและมีเอกลักษณ์ของส้มโอขาวใหญ่
เกณฑ์การรับรอง
1) เป็นเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกส้มโอในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยจับพิกัด GPS
2) เกษตรกรต้องปฏิบัติตามคู่มือการผลิตฯ ที่กาหนด
3) โดยเกษตรกรจะต้องจดบันทึกการปฏิบัติในแปลง
4) เกษตรกรจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต GAP ของกรมวิชาการเกษตร
ซึ่งสรุปผลการประเมิน ในปี 2563 มีเกษตรกรผ่านการประเมิน จานวน 90 ราย

6. สร้างความน่าเชื่อถือด้วยระบบตรวจสอบย้อนกลับ (QR code)


เป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคและรับประกันสินค้าด้วยการสร้าง QR code เพื่อให้ผู้บริโภค
ทราบถึงแหล่งผลิตและข้อมูลการผลิต

7. ช่องทางการตลาด
มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อและนาไปส่งตลาดภายนอกและบางรายก็นาไปเองและบางครั้งก็มีงาน
กิจกรรมต่าง ๆ ของจังหวัดกลุ่ มเกษตรกรก็นาไปจาหน่าย และมีพ่อค้าคนกลางส่ งจาหน่ายไปทั่ว ประเทศ
ต่างประเทศก็มีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ราคาในท้องตลาด
๑๗

แม่กลองกิโลกรัมละ 40-50 บาท ส่วนในต่างจังหวัดและต่า งประเทศแพงขึ้นไปกว่านี้ และอีกช่องทางหนึ่ง


สานักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับทางจังหวัดสมุทรสงคราม จัดงาน
"วันส้มโอขาวใหญ่แม่กลอง " ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด จัดเป็นประจาทุก ปี ซึ่งในปี 2563 ได้จัดงาน
เทศกาลส้มโอขาวใหญ่และของดีจังหวัดสมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 17 – 19 มกราคม 2563 " ณ บริเวณ
หน้ า ศาลากลางจั ง หวัด และได้ จั ด งานเทศกาลสุ ด ยอดลิ้ น จี่ ส้ ม โอขาวใหญ่ ส มุ ท รสงคราม ชม ชิ ม ช้ อ ป
กับชาวสวนโดยตรง และเลือกซื้อสินค้า OTOP สินค้าจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทุกพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงคราม
ดังนี้
- วันที่ 28-29 มีนาคม 2563 และวันที่ 3-6 เมษายน 2563 ณ วัดประดู่ อ.อัมพวา
- วันที่ 1-30 เมษายน 2563 ณ ถนนลิ้นจี่-ส้มโอจังหวัดสมุทรสงคราม (ถนนผลไม้)
- วันที่ 1-30 เมษายน 2563 ณ วัดอินทาราม อ.อัมพวา
- วันที่ 4-6 เมษายน 2563 ณ สวนลิ้นจี่ 200 ปี ต.แควอ้อม อ.อัมพวา
- วันที่ 10-15 เมษายน 2563 ณ บริเวณวัดปากน้า อ.อัมพวา
8. วิถีการตลาดส้มโอ ผลผลิตเกษตรกร

ตลาดภายในประเทศ ตลาดต่างประเทศ

พ่อค้าส่ง ผู้บริโภคในประเทศ ผู้รวบรวม ตู้คอนเทนเนอร์

ผู้บริโภคต่างประเทศ
พ่อค้าปลีก

9. ราคาสินค้าเกษตร
ราคาผลผลิตส้มโอมีราคาเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เนื่องจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้อง
ในการปลูก การดูแลสวนส้มโอ เช่น ราคาปุ๋ยที่เพิ่มสูงขึ้น ค่าขนส่งสินค้า จึงทาให้ราคามีแนวโน้มสูงขึ้นในแต่ละปี
10. ราคาจาหน่าย
ผลผลิตส้มโอจังหวัดสมุทรสงคราม มีตลอดทั้งปี ราคาจาหน่ายตามน้าหนักผลผลิตและการดูแล
ผลส้มโอของชาวสวน
ขนาด ราคาจาหน่ายปลีก ปี 2563
ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ ขนาดใหญ่ 50 - 65 บาท/กิโลกรัม
ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ ขนาดกลาง 30 - 49 บาท/กิโลกรัม
ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ ขนาดเล็ก 15 - 29 บาท/กิโลกรัม
๑๘

11. แหล่งจาหน่าย
ต่างประเทศ
พ่อค้าคนกลางมารับซื้อและนาไปส่งตลาดภายนอกและบางรายก็นาไปจาหน่ายเอง ประเทศที่นา
ส้มโอไปจาหน่ายในลาดับต้น ๆ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น
และสิงคโปร์
ในประเทศ
พ่อค้าคนกลางส่งจาหน่ายไปทั่วประเทศ เมื่อจังหวัดมีกิจกรรมต่าง ๆ กลุ่มเกษตรกรนาส้มโอ
ไปจาหน่าย ราคาในท้องตลาดแม่กลอง กิโลกรัมละ 40-50 บาท สานักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม และ
หน่ ว ยงานที่เกี่ย วข้อง ร่ ว มกับ ทางจั งหวัดสมุทรสงคราม จัดงาน "วันส้ มโอขาวใหญ่แม่กลอง " ณ บริเวณ
หน้าศาลากลางจังหวัด จัดเป็นประจาทุกปี ซึ่งในปี 2563 ได้จัดงานเทศกาลส้มโอขาวใหญ่และของดีจังหวัด
สมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 17 – 19 มกราคม 2563 " ณ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสงคราม
12. พื้นที่ปลูก
มีพื้นที่ปลูกส้มโอประมาณ 12,001 ไร่ ปลูกในเขตอาเภออัมพวา 5,912 ไร่ อาเภอบางคนที
5,911 ไร่ อาเภอเมือง 137 ไร่ ผลผลิตส้มโอของจังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อปี 2562 มูลค่า 699 ล้านบาท
ทารายได้ให้กับเกษตรกรและจังหวัดสมุทรสงคราม
13. คุณภาพ
มีรสชาติหวาน อร่อย มีเอกลักษณ์ตรงที่ไม่มีเมล็ด กลีบหรือกุ้งของเนื้อส้มโอเป็นสีน้าผึ้ง และ
เกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ยังให้ความสาคัญกับส้มโอที่มีคุณภาพและปลอดสารพิษ ทาให้เป็นที่ชื่นชอบ
และนิยมของผู้บริโภค จุดเด่นของส้มโอขาวใหญ่ ได้แก่ ลักษณะผลใหญ่ ค่อนข้างแป้น ไม่มีเมล็ด กลีบเนื้อส้มโอ
เป็นสีน้าผึ้ง เกาะตัวแน่นไม่หลุดร่วงง่ายมีรสชาติดี หวานกลมกล่อมอมเปรี้ยวเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีกลิ่น
หอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่แห้ง แต่ไม่แฉะ แกะออกจากเปลือกง่าย มีเมล็ดน้อย บางครั้งก็ไม่มี

14. แผนงาน/โครงการ ที่เกี่ยวกับส้มโอ ประจาปี ๒๕63

ลา แผนงาน/ผลผลิต เป้าหมาย พื้นที่ดาเนินการ งบประมาณ แหล่ง


หน่วยงาน
ดับ โครงการ จานวน หน่วยนับ ตาบล อาเภอ (บาท) งบประมาณ
1 โครงการส่งเสริมการ 13 ร้าน ทุกตาบล เมือง 29,000 งบปกติ สนง.เกษตร
บริโภคและการใช้วัตถุดิบ อัมพวา และสหกรณ์
สินค้า Q บางคนที จังหวัด
2 โครงการส่งเสริมและเพิ่ม 100 ราย ทุกตาบล เมือง 45,000 งบปกติ สนง.เกษตร
ประสิทธิภาพการผลิต อัมพวา จังหวัด
สินค้าเกษตร (ไม้ผล) บางคนที
3 โครงการพัฒนาตลาด 1 จังหวัด ทุกตาบล เมือง 23,550 งบปกติ สนง.เกษตร
สินค้าเกษตร อัมพวา จังหวัด
บางคนที
๑๙

ลา แผนงาน/ผลผลิต เป้าหมาย พื้นที่ดาเนินการ งบประมาณ แหล่ง


หน่วยงาน
ดับ โครงการ จานวน หน่วยนับ ตาบล อาเภอ (บาท) งบประมาณ
4 ศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม 3 ศูนย์ ทุกตาบล เมือง 535,140 งบปกติ สนง.เกษตร
ประสิทธิภาพการผลิต อัมพวา จังหวัด
สินค้าเกษตร บางคนที
5 โครงการระบบส่งเสริม 11 แปลง ทุกตาบล เมือง 1,761,700 งบปกติ สนง.เกษตร
เกษตรแบบแปลงใหญ่ อัมพวา จังหวัด
บางคนที
6 โครงการพัฒนาเทคโนโลยี 3 ศูนย์ ทุกตาบล เมือง 29,700 งบปกติ สถานีพัฒนา
การพัฒนาที่ดินในศูนย์ อัมพวา ที่ดิน
เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิ บางคนที สมุทรสงคราม
การผลิตสินค้าเกษตร
(ศพก.)
7 โครงการส่งเสริมแปลง 2 แปลง ทุกตาบล เมือง 35,920 งบปกติ สถานีพัฒนา
ใหญ่ อัมพวา ที่ดิน
บางคนที สมุทรสงคราม
รวม 2,460,010
๒๐

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1. องค์ความรู้/ภูมปิ ัญญาท้องถิ่น
ส้ ม โอขาวใหญ่ เ มื อ งแม่ ก ลองมี ชื่ อ เสี ย งในความอร่ อ ยของรสชาติ เนื่ อ งจากสภาพการปลู ก
เป็นสวนยกร่อง ระบบน้าผ่านได้ดีและยังได้ปุ๋ยธรรมชาติจากน้า คุณภาพของน้าและดินซึ่งเกิดจากระบบนิเวศ
ตามธรรมชาติของพื้นที่ ซึ่งชาวสวนดูแลตามภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมา
การปลูก ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ เกษตรกรนิยมปลูกโดยการใช้กิ่งตอน โดยการซื้อกิ่งพันธุ์จากสวน
ส้มโอที่ปลอดโรค หรือตอนกิ่งจากสวนของตัวเองตอนจากต้นส้มโอที่ไม่เป็นโรคแมลง
รบกวน โดยตอนกิ่งที่เป็นกิ่งกระโดงที่แข็งแรง หรือกิ่งที่แตกใหม่จากต้นแม่ ตอนกิ่ง
45 วัน กิ่งตอนจะออกรากและรากมีสีเหลืองจึงตัดกิ่งตอนเพื่อนาไปปลูก หรือใส่ดิน
ปลูกในถุงไว้ให้แข็งแรงก่อนแล้วจึงนาไปปลูกในแปลงก็จะมีอัตราการเจริญเติบโต
ดีมาก
การเตรียมพื้นที่ปลูก ถ้ า เป็ น การปลู ก สวนใหม่ ควรปลู ก กล้ ว ยน้ าว้ า หรื อ กล้ ว ยไข่ ก่ อ นปลู ก ส้ ม โอ
สักประมาณ 4 – 5 เดือน แล้วจึงปลูกส้มโอจะดีมาก เพราะจะมีไม้พี่เลี้ยงหรือไม้บัง
ร่มป้องกันลมให้กับต้นส้มโอที่ยังเล็กอยู่ได้ดี ทาให้ต้นส้มโอแข็งแรงและโตเร็ว ถ้าเป็น
ร่องสวนควรยกร่องสูงกว่าระดับน้าปกติ 80 – 100 ซ.ม. ขุดหลุมลึก 20x20 ซ.ม.
ระยะห่างหลุมของการปลูกส้มโอควรเป็นระยะ 4x5 เมตรต่อต้น และต่อระหว่าง
แถว 1 ไร่ ปลูกได้ 35 ต้น นาปุ๋ยหมักและดินดีผสมให้เข้ากันใส่ให้เต็มหลุมที่ขุดไว้
นากิ่งตอนหรือต้นส้มโอที่ปลูกในถุงไว้แล้ว ขุดหลุมเล็กๆ กลางหลุมปลูกที่เตรียมไว้
ปลูกพอมิดรากกิ่งตอน ใช้ดินกลบ ปักไม้ผูกกับกิ่งส้มกันลมพัดกิ่งโยกทาให้รากขาดได้
แล้วให้น้าทุกวัน ถ้าฝนไม่ตก หรือดูว่าดินชุ่มน้าไม่แฉะ จนกว่ากิ่งส้มโอที่ปลูกใหม่
เริ่มแตกใบอ่อน และต้นแข็งแรงดีแล้ว รากเดินเต็มแล้วก็ลดปริมาณการให้น้าน้อยลง
ตามความเหมาะสม 5 วันครั้งก็ได้
การดูแลสวนส้มโอ
ระยะแรก เริ่มใส่ปุ๋ยหมักผสมปุ๋ยยูเรียเล็กน้อย ปุ๋ยหมัก 50 ก.ก. ต่อปุ๋ยยูเรีย 1 ก.ก. เมื่อกิ่ง
ส้มโอเริ่มแตกใบอ่อนและให้น้าทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ยหมัก และให้น้าทุก 7 วัน เมื่อครบ 1 ปี
กล้วยน้าว้าตกผล และเก็บผลได้
ปีแรก ให้ตัดกล้วยออกกอเว้นกอ หรือต้นเว้นต้น เพราะส้มโอต้องการแสงแดดมาก
ขึ้นตัดหญ้าทุกครั้งที่ส้มโอแตกใบอ่อน เพื่อล่อแมลงให้มาวางไข่บนใบหญ้าอ่อนแทน
การไปวางไข่บ นใบส้มอ่อนก็จะมีกบเขียด อึ่งอ่าง คางคก งู มากินแมลงเหล่ านั้น
เป็นการกาจัดแมลงไปด้วย
ปีที่ 2 ก็ต้องตัดต้นกล้วยออกต้นเว้นต้นเช่นเดียวกับปีแรก ใส่ปุ๋ยหมัก 2 เดือนครั้ งๆ
ละ 2 ก.ก./ต้นส้มโอ
ปีที่ 3 ส้มโอจะเริ่มออกดอกติดผล ให้ส้มโอติดผลได้ต้นละไม่เกิน 15 ผล ในปีแรก
ที่ออกผล ใส่ปุ๋ยหมักทุกๆ 2 เดือนครั้งๆ ละ 2 กก./ต้น รดน้าทุก 7 วันครั้ง และเริ่ม
ปลู กต้น ทองหลางข้ างร่ อ งๆ ละ 3 – 5 ต้น ตัดหญ้าในสวนส้ มโอทุกครั้ง ที่ ส้ ม โอ
แตกใบอ่อน
๒๑

ระยะที่ให้ผลแล้ว
ปีที่ 4 ส้มโอเริ่มติดดอกออกผลมากขึ้นให้ส้มโอติดผลได้คราวละไม่เกิน 20 ผล/ต้น
ใส่ปุ๋ยหมักทุกเดือนๆ ละ 2 กก./ต้น ตัดหญ้าทุกครั้งที่ส้มโอจะแตกใบอ่อน ตัดแต่งกิ่ง
หลังเก็บผลส้มโอ พร้อมตัดกาฝาก ก่อนเก็บผล 2 สัปดาห์ ควรหยุดการให้น้าใส่ ปุ๋ย
หลังจากนั้นให้น้าทุก 7 วัน/ครั้ง และตัดต้นกล้วยออกให้หมด (ถ้าปลูกส้มโอเป็นไร่
ไม่ยกร่อง ให้ปลูกต้นเพกาแทนต้นทองหลาง แถวละ 5-10 ต้น แถวยาว 40 เมตร
และควรปลูกกล้วยแซมระหว่างแถวส้มโอแถวละ 5-10 กอ)
ปี ที่ 5 ส้ มโอเริ่มออกผลมากขึ้ น ควรให้ ส้ มโอติ ดผลคราวละไม่ เ กิน 50 ผล/ต้ น
ใส่ปุ๋ยหมักทุกเดือนๆ ละ3-5 ก.ก./ต้น ใส่ปุ๋ยขี้แดดนาเกลือก่อนเก็บผล 2 เดือน
ใส่ทุกเดือนๆ ละ 2-3 ก.ก./ต้น ใส่บริเวณรอบทรงพุ่มส้มโอ ตัดหญ้าทุกครั้งที่ส้มโอ
แตกใบอ่อน ตัดแต่งกิ่งหรือเก็บเกี่ยวผลส้ มโอพร้อมตัดกาฝากทุกครั้ง ให้น้าทุกๆ
7 วันครั้ง ถ้าต้นส้มโอมีผลผลิ ตและอากาศแห้ งแล้งมาก ควรให้น้าทุก 3 วันครั้ง
และหยุดให้น้าวันฝนตก
การตัดแต่งกิ่งส้มโอ ในการดูแลรักษาต้นส้มโอในแต่ละปีหลังจากปลูกส้มแล้ว 1 ปี ควรมีการตัดแต่งกิ่ง
เพื่ อ ก าหนดทรงพุ่ ม ให้ ส วยงามไม่ มี กิ่ ง เล็ ก กิ่ ง น้ อ ย ควรเป็ น กิ่ ง 2 กิ่ ง ใหญ่ ห รื อ
3 กิ่งใหญ่ ทาให้ทรงพุ่มแข็งแรง ส้มโอเจริญเติบโตปีที่ 2 ก็ควรมีการตัดแต่งกิ่งแห้ง
กิ่ ง ที่ เ ป็ น โรคแมลงทิ้ ง ไป และเมื่ อ ส้ ม โอเข้ า สู่ ปี ที่ 3 ส้ ม โอก็ จ ะติ ด ดอกออกผล
การตัดกิ่งก็คงตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้สมดุลกัน และตัดกิ่งแห้ง กิ่งแก่ กิ่งที่มีกาฝากขึ้น
ทิ้งไป กิ่งที่เป็นโรค กิ่งกระโดงที่ทาให้ ทรงพุ่มเสียสมดุลตัดทิ้งไป และมีข้อสั งเกต
ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นว่า กิ่งที่ทาให้ผลผลิตมีคุณภาพดีคือ กิ่งที่แตกกระโดงขนาน
กั บ พื้ น ดิ น หรื อ กิ่ ง ที่ แ ตกออกจากต้ น แม่ ท แยง 45 องศา กั บ พื้ น ดิ น กิ่ ง ที่ ตั้ ง ตรง
จนถึงยอดจะไม่ค่อยติดผล หรือติดผลก็คุณภาพไม่ดี เปลือกหนา เป็นส้มเบา ไม่มีเนื้อ
หรือไม่มีเนื้อ
การเพิ่มผลผลิต ใช้ วิ ธี ก ารงดการให้ น้าต้ นส้ ม โอประมาณ 2 สั ป ดาห์ ในขณะที่ ใ บส้ ม โอแก่ เ ต็มที่
เมื่ อ ต้ น ส้ ม โอถู ก งดการให้ น้ า ต้ น ส้ ม โอจะเริ่ ม เฉา มี ใ บห่ อ ลง ดู ส ภาพต้ น ว่ า เริ่ ม
เหี่ยวเฉาเพราะไม่มีน้าหล่อเลี้ยงต้น พอหลังจาก 2 สัปดาห์ เราเริ่มให้น้าพร้อมปุ๋ย
หมักผสมปุ๋ยเคมีสูตรตัวกลางสูง คือสูตร 15-30-15 (หรือฟอสฟอรัส) เพื่อกระตุ้น
ตาดอกแต่ถ้าไม่มีปุ๋ยเคมีให้ใช้ปุ๋ยน้าหมักชีวภาพที่หมักจากน้ามะพร้าวแก่ หรือน้า
หมักปลาทะเลรด พร้อมให้น้าพอประมาณ โดยในวันแรกอย่าให้น้ามากจนดินแฉะ
ต้นส้มโออาจช็อกน้าได้ วันที่ 2 ให้น้ามากขึ้นแต่ไม่แฉะ วันที่ 3 ให้น้าปกติ วันที่ 4
ถ้าดินยังชื้นอยู่ไม่ต้องให้น้าไปให้วันที่ 5 หลังจากนั้นให้น้า 3 วันครั้ง ส้มโอจะเริ่ม
แทงตาดอกประมาณ 1 สัปดาห์ พร้อมแตกใบอ่อนออกมาพร้อมกับสลัดใบแก่ทิ้งไป
บ้าง คือ มีใบร่วงบ้างเล็กน้อย เมื่อดอกส้มโอติดเป็นผลอ่อน ก็บารุงรักษาโดยการ
ใส่ปุ๋ยหมักทุกเดือน ให้น้าทุก 5-7 วันครั้ง เมื่อส้มโอติดผลได้ 6 เดือน จะใส่ปุ๋ยหวาน
โดยใช้ปุ๋ยหมักจากขี้แดดนาเกลือใส่ลงไป 15 วันครั้ งๆ ละ 1 กามือต่อพื้นที่รอบ
ต้นส้มโอ 1 ตารางเมตร จนกระทั่งเก็บผลส้มโอระยะ 8 เดือน ตั้งแต่เริ่มออกดอก
แต่ก่อนจะเก็บผลส้มโอ 2 สัปดาห์ก็จะหยุดการให้น้าเพื่อให้ต้นส้มโอสะสมอาหาร
๒๒

ในผล ให้รสชาติหวาน อร่อย เก็บผลส้มโอแล้วรับประทานได้เลย ในขณะที่งดการให้


น้าต้นส้มโอ 2 สัปดาห์นั้น นอกจากจะทาให้คุณภาพของผลส้มโอดีแล้ว ยังเป็นการ
กระตุ้นให้ส้มโอติดดอกออกผลในรุ่นต่อไปอีกด้วย จึงทาให้ต้นส้มโอมีผลส้มโอเก็บได้
ตลอดปีฉะนั้น การทาสวนส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ไร้ส ารพิษ ให้ได้ผลดีเป็นสวนส้ มโอ
ต้นแบบนาร่องแบบเกษตรธรรมชาติไร้สารพิษ โดยมีการเรียนรู้และใช้วิธีการดังกล่าว
มาตลอด ทาให้มีผลส้มโอขาวใหญ่เก็บได้ตลอดปี คุณภาพดี รสหวาน เนื้อนิ่มแห้ง
อร่อย เป็นที่ถูกใจของผู้บริโภคและผู้ที่มาเยี่ยมสวน และมีผู้สนใจมาเรียนรู้โดยตลอด
การป้องกัน
โรคของส้มโอ โรคยางไหล ลักษณะอาการจะมียางไหลออกมาตามรอยแตกของเปลือก และกิ่งแห้ง
ใบมีอาการม้วนงด ลาต้นแคระแกร็น ติดผลน้อย และต้นโทรมจนกระทั่งตายลง
การป้องกันและกาจัด ระวังอย่าให้น้าท่วมต้นนาน เฉือนเปลือกบริเวณที่เป็นแผล
ออกให้หมด นาไปเผาทาลายแล้วทาแผลด้วย อาลิเอด อัตราส่วน 40-100 กรัม/น้า
20 ลิตร
โรครากเน่ าโคนเน่า ลักษณะอาการ ใบเหลืองเหี่ยว และร่วง กิ่งแห้งตาย หรือ
ยืนต้นตายทั้งต้น รากเน่าถอนขึ้นง่าย เนื้อไหม้ที่รากเป็นสีน้าตาล หรือดา ต้นโทรม
ผลเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง ทั้ง ๆ ที่ปกติควรเป็นสีเขียว และร่วง
การป้องกันและกาจัด ปรับปรุงสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย ระบายน้า และ
อากาศถ่ายเทได้ดีกับปรับสภาพกรด-ด่าง ให้พอดีอยู่เสมอ ๆ การใส่ปุ๋ยระวังอย่าให้ชิด
โคนต้น การพรวนดินอย่าให้ถูกราก จนเป็นกรณีรากที่เน่า ให้เฉือนแผลเน่าออก นาไป
เผาทาลายแล้วทาแผลด้วยปูนแดง หรืออาลิเอด อัตรา 40-100 กรัม/น้า 20 ลิตร
โรคแคงเกอร์ ลักษณะอาการ ก้าน ใบ ผล จะเกิดเป็นแผลฟูคล้ายฟองน้าสีเหลือง
อ่อน ต่อมาจะเปลี่ ยนเป็นสีน้าตาลเข้ม ขรุขระแตกสะเก็ด นูนแข็ง ตรงกลางบุ๋ม
มีว งสี เหลืองรอบแผล ที่กิ่งหรือก้านจะเกิดแผลรูปร่างไม่แน่นอน ไม่มีว งสี เหลือง
ล้อมรอบ ถ้าเป็นโรคนี้อย่างรุนแรงต้นจะแคระแกรน กิ่งก้านแห้งตาย ต้นโทรม และ
ผลผลิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด
การป้องกันและกาจัด โรคแคงเกอร์มีแมลงประเภทปากกัด และชอนใบเป็นพาหะ
ซึ่งบาดแผลที่ถูกแมลงจาพวกนี้กัดจะเป็นช่องทางเข้าของโรค ต้องป้องกัน และ
กาจัดแมลงพาหะ ส่วนของต้นที่เกิดโรคควรตัดแล้วเผาทาลาย หรือฉีด พ่นด้วยสเต็บ
โตมัยซิน ในรูปของเกลือซัลเฟต โดยเฉพาะระยะที่แตกใบอ่อน
โรคตริสเตซา ลักษณะอาการ เส้นใบเป็นขีดโปร่งใสสั้น ๆ มีสีเหลืองเป็นปื้น ๆ
รู ป ใบโค้งงอ บิ ดเบี้ยว ใบหนา ด้าน และชี้ตั้งขึ้น ใบอ่อนขนาดเล็ กมีสี เหลืองซีด
บางครั้ งมีย อด และใบแตกออกมาเป็นกระจุก เมื่อเอาเปลื อกของล าต้น หรือกิ่ง
ออกมาตรวจดู จะพบรอยเว้าบุ๋มลึกสีน้าตาล ด้านในของเปลือกอาจมีหนามแหลม
ยื่นออกมา หากต้นส้มเป็นโรคนี้รุนแรง จะทาให้ต้นโทรม และตายในที่สุด
การป้องกันและกาจัด ตริสเตซาเป็นโรคที่ติดมากับสายพันธุ์ ดังนั้น จึงควรเลือก
กิ่ ง พั น ธุ์ ที่ ไ ม่ มี โ รคมาปลู ก โรคนี้ มี เ พลี้ ย อ่ อ นเป็ น พาหะ ควรป้ อ งกั น และก าจั ด
๒๓

เพลี้ยอ่อนด้วยสารคาร์บารีล หรือมาลาไธออน หากพบโรคนี้เกิดขึ้น ควรตัดทิ้งทั้งต้น


เพื่อลดปริมาณโรค และการระบาด
โรคกรีนนิ่ง ลักษณะอาการ ใบอ่อนมีสีเหลืองซีด แต่เส้นกลางใบ และเส้นแขนง
จะมีสีเขียว ขนาดใบเล็กกว่าปกติ หนากว่าปกติ และชี้ตั้งขึ้น หากเป็นโรคนี้รุนแรง
ใบแก่จะโค้งงอ ขนาดผลเล็ก เมล็ดลีบ และร่วง กิ่งจะแห้งตายจากปลายเข้ามาหา
โคนกิ่ง แล้วลุกลามไปทั้งต้น
การป้องกันและกาจัด กรีนนิ่งเป็นโรคที่ติดมากับสายพันธุ์ ควรเลือกกิ่งพันธุ์ ที่ไม่มี
โรค แข็งแรง อวบสมบูรณ์มาปลูก โรคนี้มีเพลี้ยกระโดดเป็นพาหะ ควรป้องกันกาจัด
ด้วยสารเคมีคาร์บาริล หากเป็นโรคนี้รุนแรงให้ ถอนต้นทิ้งเผาทาลายเพื่อป้ อ งกัน
การแพร่ระบาดของโรค
โรคราดา ลักษณะอาการ มักเกิดกับใบ และกิ่ง โดยมีราสีดา หรือน้าตาลเกาะ
ติดแน่น เป็นเหตุให้ต้นส้มแคระแกร็น
การป้องกันและกาจัด ด้วยการตัดกิ่ง หรือส่วนที่เชื้อราเข้ามาเกาะทาลาย ด้วยการเผา
หรือใช้สารเคมีเบนโนมิลหรือคาร์เบนตาซิม
แมลงศัตรูพืช เพลี้ยไฟ ป้องกันและกาจัดด้วยการใช้กับดักกาวเหนียว หรือสารเคมีคาร์โบซัลแฟน
หรืออิมิโคลปิค
หนอนชอนใบ ป้องกันและกาจัดด้วยสารสะเดา หรือสารเคมีคาร์โบซัลแฟน หรือ
ไซฟลูธริน
หนอนฝีดาษส้ม ป้องกันและกาจัดด้วยการห่อผล หรือสารเคมี เมทธามิโตฟอส
ในระยะกลับดอกเริ่มร่วง
หนอนเจาะผล ป้องกันและกาจัดด้วยสารสะเดา หรือสารเคมีเมทธามิโตฟอส
หนอนแก้วส้ม ป้องกันและกาจัดด้วยสารสะเดา หรือสารเคมีเมทธามิโตฟอส
ไรแดง ป้ องกันและกาจัดด้ว ยกับดั ก กาวเหนียว หรือสารเคมีโ ปรปาไจท์ หรือ
อะมิทราส
ไรสนิมส้ม ป้องกันและกาจัดด้วยสารเคมีโปรปาไจท์ หรือกามะถันผง
ไรขาว ป้องกันกาจัดด้วยสารเคมีไดโคโฟล
สาเหตุอื่นๆ กาฝาก เกิดจากเกษตรกรมีเวลาดูแลสวนน้อย เกิดจากนกเล็ กในสวนเป็น พาหะ
กาฝากจับตันไม่ใหญ่ไม่มีการกาจัด
แนวทางการแก้ ไ ข เกษตรกรต้ อ งดู แ ลตัด ต้ นกาฝากในสวนเป็ นประจ า ให้ ส่ ว น
ราชการตัดกาฝากต้นไม้สาธารณะ
เชื้อรา สาเหตุเกิดจากโคนเน่า เป็นรู เป็นแผล แล้ ว เกิดยางไหล ฝนตกชุดทาให้
เนื้อแฉะเกินไป ต้นพันธุ์เป็นโรค
แนวทางการแก้ไข ใส่ปุ๋ยหมักกับไม้ผล ตัดแต่งกิ่งให้แดดส่องถึงโคนต้น
ส้มขี้เมา สาเหตุเกิดจากต้นพันธุ์ไม่ดี ผลดกเกินไป กลบเลนหนาเกินไป และขาด
การบารุงดิน
๒๔

แนวทางการแก้ ไ ข ตั ด แต่ ง กิ่ ง และให้ น้ าสม่ าเสมอ ควรใช้ ปุ๋ ย หมั ก บ ารุ ง ดิ น
(ปุ๋ยอินทรีย์) มีการตัดแต่งผล การเสริมรากแก่ต้นไม้ ควรจัดอบรมให้ความรู้แก้ปัญหา
ส้มขี้เมา
ส้มเป็นข้าวสาร สาเหตุเกิดจากส้มแก่จัดเกินไป อากาศหนาว ให้น้าไม่สม่าเสมอ
แนวทางการแก้ไข ใส่เกลือดา/ขี้แดดนาเกลือ ควรมีการให้น้าสม่าเสมอในฤดูแล้ง
กระรอก กัดกินผลส้มโอ แทะกินไม่หมดลูกและกินลูกสวย ๆ
แนวทางการแก้ไข ตั้งงบซื้อหางกระรอกอย่ างต่อเนื่อง จัดงานรณรงค์ยิงกระรอก
ปีละ 1 ครั้ง และรับซื้อลูกอ่อนกระรอก
การตลาด สาเหตุเกิดจากราคาผลผลิตตกต่า
แนวทางการแก้ไข จัดประชาสัมพันธ์คุณภาพส้มโออร่อยที่แม่กลอง สร้างเครือข่าย
การตลาดส้มโอ ตั้งงบจัดงานไม้ผลประจาจังหวัด (เน้นส้มโอขาวใหญ่) ควรมี การ
ประกันราคาผลผลิต
๒๕

คณะผู้จัดทา
ที่ปรึกษา
นางสาวกัณฐชา วิญญูวิริยวงศ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้จัดทา/รวบรวมข้อมูล
นายวรวรรษ กระจ่างแจ่ม นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชานาญการ
นางสาวหนึ่งฤทัย มหาชยานนท์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
นายวิญญู คงรักษา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
นางสาวกมลเนตร สุวรรณ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
กลุ่มสารสนเทศการเกษตร

You might also like