You are on page 1of 56

สธ ส

หน่วยที่ ๓


การเมืองการปกครองไทย
รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณฉัตร หมอยาดี

.
สธ สธ
มส . มส

ธ.
.ม
ชื่อ รองศาสตราจารย์ ดร.ปัณฉัตร หมอยาดี
วุฒิ ศศ.บ. (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยบูรพา
ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปร.ด. (วัฒนธรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ต�ำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจ�ำสาขาวิชาศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ ๓
สธ ส
๓-2 ไทยศึกษา

แผนการสอนประจ�ำหน่วย


ชุดวิชา ไทยศึกษา

.
หน่วยที่ ๓ การเมืองการปกครองไทย
สธ สธ
มส . มส
ตอนที่
๓.๑ การปกครองไทยสมัยจารีต
๓.๒ แนวคิดตะวันตกกับการปกครองไทย
๓.๓ การเมืองไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตย

แนวคิด
๑. การปกครองภายในแคว้นสุโขทัยมีรูปแบบการปกครอง ๒ รูปแบบ คือ การปกครองแบบ
ปิตรุ าชาหรือพ่อปกครองลูกและการปกครองแบบธรรมราชา ขณะทีก่ ารปกครองในสมัยอยุธยา
ได้อิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากอาณาจักรเขมร ส่งผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์ของอยุธยา
มีการปกครองแบบเทวราชาตามคติของศาสนาพราหมณ์ แต่ถงึ กระนัน้ พระมหากษัตริยย์ งั ยึด
ธ.

หลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นหลักในการปกครอง ขณะทีก่ ารปกครองสมัยกรุงธนบุรมี รี ปู แบบ


การปกครองคล้ายกับอยุธยาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ และรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระมหากษัตริย์
ทรงเป็นราชาธิราช คือ เป็นจักรพรรดิราช หรือธรรมิกราชาธิราช
๒. แนวคิดแบบตะวันตกได้สง่ ผลต่อการเมืองการปกครองตัง้ แต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยูห่ วั และถูกน�ำมาใช้ปฏิรปู การปกครองอย่างชัดเจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
.ม
เจ้าอยู่หัว ด้วยการปรับปรุงองค์การบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ที่ส�ำคัญ
แนวคิดแบบตะวันตกน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยในปี ๒๔๗๕
๓. การปกครองระบอบประชาธิปไตยทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศไทยไม่ได้ราบรืน่ นัก เนือ่ งจากต้องเผชิญ
กับปัญหาทางการเมืองทั้งปัญหาจากการเมืองภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุก
รัฐบาล และแต่ละรัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ แต่
ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งแม้ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองเป็นระบอบ
ประชาธิปไตยจะด�ำเนินมาอย่างยาวนาน แต่ปัญหาทางการเมืองของไทยก็ยังคงด�ำเนินอยู่
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-3

วัตถุประสงค์


เมื่อศึกษาหน่วยที่ ๓ จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
๑. อธิบายการปกครองไทยสมัยจารีตได้
๒. อธิบายแนวคิดตะวันตกกับการปกครองไทยได้
๓. อธิบายการเมืองไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยได้

.
สธ สธ
กิจกรรมระหว่างเรียน

มส . มส
๑. ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ ๓
๒. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ ๓.๑–๓.๓
๓. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอน
๔. ฟังรายการวิทยุกระจายเสียง/ซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา (ถ้ามี)
๕. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์/ดีวีดีประจ�ำชุดวิชา (ถ้ามี)
๖. ชมรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการสอนเสริม (e-Tutorial) (ถ้ามี)

๗. เข้ารับบริการสอนเสริม (ถ้ามี)
๘. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ ๓

สื่อการสอน
ธ.

๑. เอกสารการสอน
๒. แบบฝึกปฏิบัติ
๓. รายการวิทยุกระจายเสียง/ซีดีเสียงประจ�ำชุดวิชา (ถ้ามี)
๔. รายการวิทยุโทรทัศน์/ดีวีดีประจ�ำชุดวิชา (ถ้ามี)
๕. รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการสอนเสริม (e-Tutorial) (ถ้ามี)
๖. การสอนเสริม (ถ้ามี)
.ม
ประเมินผล
๑. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
๒. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
๓. ประเมินผลการสอบไล่ประจ�ำภาคการศึกษา

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ ๓ ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป
สธ ส
๓-4 ไทยศึกษา

ตอนที่ ๓.๑


การปกครองไทยสมัยจารีต
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ ๓.๑ แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
๓.๑.๑ การปกครองสมัยสุโขทัย

มส . มส
๓.๑.๒ การปกครองสมัยอยุธยา
๓.๑.๓ การปกครองสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น

แนวคิด
๑. การปกครองภายในแคว้นสุโขทัยมีรูปแบบการปกครอง ๒ รูปแบบ คือ การปกครอง

แบบปิตรุ าชาหรือพ่อปกครองลูก เป็นการปกครองทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงแรกของการก่อตัง้ และ
การปกครองแบบธรรมราชา เกิดขึน้ ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท โดยการน�ำหลักธรรม
ทางพุทธศาสนามาใช้ในการปกครอง ขณะเดียวกันยังมีการจัดรูปแบบการปกครอง
ในลักษณะกระจายอ�ำนาจด้วยการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ
๒. การรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากอาณาจักรเขมร ส่งผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์
ธ.

ของอยุธยามีการปกครองเปลีย่ นแปลงจากธรรมราชาตามคติของพุทธศาสนามาเป็นการ
ปกครองแบบเทวราชาตามคติของศาสนาพราหมณ์ โดยพระมหากษัตริยท์ รงอยูใ่ นฐานะ
สมมติเทพ แต่ถงึ กระนัน้ พระมหากษัตริยย์ งั คงยึดหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นหลักใน
การปกครองเช่นเดิม ขณะที่การจัดรูปแบบปกครองภายในอาณาจักรมีการปรับเปลี่ยน
รูปแบบการปกครองแตกต่างกันแต่ละยุคแต่ละสมัย
.ม
๓. การปกครองสมัยกรุงธนบุรีเป็นช่วงเวลาสั้นที่มีรูปแบบการปกครองคล้ายกับอาณาจักร
อยุธยาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ คือ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสูงสุดเปรียบ
เสมือนสมมติเทพ ขณะที่รัตนโกสินทร์ตอนต้น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นราชาธิราช คือ
เป็นจักรพรรดิราชหรือธรรมิกราชาธิราช นอกจากนีย้ งั ทรงเป็นรามาธิบดีหรือองค์อวตาร
ของพระวิษณุ รูปแบบของการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถ้าพิจารณาให้ดจี ะ
พบว่ามีความคล้ายรูปแบบการปกครองของอาณาจักรอยุธยา
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-5


วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ ๓.๑ จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
๑. อธิบายลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัยได้
๒. อธิบายลักษณะการปกครองสมัยอยุธยาได้

.
๓. อธิบายลักษณะการปกครองสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้
สธ สธ
มส . มส

ธ.
.ม
สธ ส
๓-6 ไทยศึกษา

เรื่องที่ ๓.๑.๑


การปกครองสมัยสุโขทัย

ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย

. การปกครองภายในแคว้นสุโขทัยมีรปู แบบการปกครองทีส่ ำ� คัญ ๒ รูปแบบ คือ การปกครองแบบ


สธ สธ
ปิตุราชาหรือพ่อปกครองลูก และการปกครองแบบธรรมราชา ลักษณะการปกครองดังกล่าวจะใช้ในช่วง

มส . มส
เวลาที่แตกต่างกันและขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางการเมือง กล่าวคือ

การปกครองแบบปิตุราชา
แคว้นสุโขทัยในช่วงแรกของการก่อตั้งมีอาณาเขตและจ�ำนวนพลเมืองไม่มากนัก และอยู่ในช่วง
ของการก่อร่างสร้างแคว้น ท�ำให้พระมหากษัตริย์สามารถใกล้ชิดกับประชาชน พระมหากษัตริย์สุโขทัย

จึ ง ทรงมี ฐ านะเป็ น พ่ อ ขุ น ที่ ค อยดู แ ลพลเมื อ งอย่ า งใกล้ ชิ ด เปรี ย บเหมื อ นพ่ อ ดู แ ลลู ก ของตน ดั ง นั้ น
พระมหากษัตริย์ในช่วงเวลานี้จึงใช้ค�ำน�ำหน้าพระนามว่า “พ่อขุน” และการปกครองแบบนี้เรียกว่า การ
ปกครองแบบปิตุราชาหรือพ่อปกครองลูก
การปกครองแบบปิตรุ าชาเป็นการปกครองทีม่ กี ารจัดระเบียบการปกครองอย่างง่ายๆ ไม่ซบั ซ้อน
ธ.

เหมาะส�ำหรับบ้านเมืองที่มีประชาชนไม่มาก การปกครองลักษณะดังกล่าวมีความเด่นชัดมากในสมัย
พ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช โดยการปกครองแบบปิตรุ าชานัน้ ในยามทีบ่ า้ นเมืองสงบ พระมหากษัตริยม์ หี น้าที่
บ�ำบัดทุกข์บำ� รุงสุข ประชาชนสามารถเข้าไปร้องทุกข์ตอ่ กษัตริยไ์ ด้อย่างใกล้ชดิ พระองค์ทรงโปรดให้สร้าง
พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ไว้กลางดงตาล ในวันพระจะทรงนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน
ส่วนวันธรรมดาจะทรงเสด็จออกมาเพือ่ ให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง จะเห็นได้วา่
พระมหากษัตริย์ในช่วงเวลานี้จะท�ำหน้าที่ทั้งเป็นผู้พิพากษาสูงสุดในการให้ความยุติธรรมแก่ประชาชน
.ม
อีกทั้งยังส่งเสริมท�ำนุบ�ำรุงพุทธศาสนา สั่งสอนอบรมศีลธรรมจรรยาแก่ประชาชน ขณะที่ในยามสงคราม
พระมหากษัตริยจ์ ะเป็นแม่ทพั ใหญ่ในการต่อสูก้ บั อริราชศัตรู รวมทัง้ มีภาระหน้าทีใ่ นการแผ่ขยายอาณาเขต
เพือ่ ความมัน่ คงของบ้านเมือง (วิไลเลขา ถาวรธนสาร, ๒๕๒๙, น. ๓๒–๓๓) จะเห็นได้วา่ พระมหากษัตริย์
ในช่วงเวลานี้มีความเป็นเจ้าของอ�ำนาจอธิปไตย แม้ว่าในเวลาช่วงเวลานี้จะมีการปกครองเหมือนพ่อที่
ปกครองลูกก็ตาม
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-7

. ม
สธ สธ
มส . มส
ภาพที่ ๓.๑ ภาพวาดพ่อขุนรามค�ำแหงเสด็จออกมาเพื่อให้ประชาชนเข้าร้องทุกข์

ที่มา: http://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/IMG_0004%281%29.jpg สืบค้นเมื่อ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๑.

การปกครองแบบธรรมราชา
หลังจากพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชเสด็จสวรรคต ใน พ.ศ. ๑๘๔๑ พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา
ธ.

คือ พระยาเลอไท และพระเจ้างั่วน�ำถม ไม่สามารถรักษาความมั่นคงของสุโขทัยเอาไว้ได้ ส่งผลให้เกิด


ปัญหาทางการเมืองทั้งจากการเมืองภายในแคว้นและการเมืองภายนอกแคว้น ซึ่งด้านการเมืองภายใน
แคว้น ได้เกิดปัญหาการสืบราชสมบัติส่งผลให้การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าลิไทใน พ.ศ. ๑๘๙๐ มิได้เป็น
ไปอย่างราบรื่น พระองค์ต้องทรงใช้ก�ำลังปราบปรามเจ้านายกลุ่มอื่นๆ เพื่อขึ้นครองราชย์สมบัติ ในด้าน
การเมืองภายนอก เมืองหลายเมืองแยกตัวเป็นอิสระ และแคว้นล้านนาซึ่งอยู่ทางเหนือของแคว้นสุโขทัย
ก�ำลังแผ่ขยายอ�ำนาจทางการเมืองอย่างมาก
.ม
พระมหาธรรมราชาลิไททรงตระหนักดีวา่ ทรงไม่สามารถจะแก้ไขปัญหาทางการเมืองทีเ่ กิดขึน้ ด้วย
การทหารเพียงอย่างเดียว เพราะอ�ำนาจการทหารของสุโขทัยในรัชสมัยของพระองค์มไิ ด้เข้มแข็งเหมือนดัง่
สมัยพ่อขุนรามค�ำแหง ดังนัน้ พระมหาธรรมราชาลิไทจึงทรงหันมาใช้พทุ ธศาสนาเป็นเครือ่ งมือประการหนึง่
ในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการใช้ก�ำลังทางทหาร พระองค์ได้ทรงเสริมสร้าง
ฐานะพระมหากษัตริย์ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในสุโขทัยและของบรรดาหัวเมืองต่างๆ ด้วยการยึด
แนวทางการเป็นกษัตริยท์ ดี่ แี ละพระมหากษัตริยท์ ปี่ ระเสริฐตามแนวคิดการเมืองของพุทธศาสนา (ศุภรัตน์
เลิศพาณิชย์กลุ , ๒๕๕๔, น. ๓-๑๖) เป็นทีม่ าของระบบการปกครองทีเ่ รียกว่า “ธรรมราชา” ดังนัน้ ลักษณะ
การปกครองแบบธรรมราชาจึงเป็นลักษณะการปกครองที่ยึดหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นส�ำคัญ
สธ ส
๓-8 ไทยศึกษา

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ ๓.๒ พระมหาธรรมราชาลิไท
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/พระมหาธรรมราชาที่_1 สืบค้นเมื่อ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๑.

นอกจากนั้นพระมหาธรรมราชาลิไทยังทรงเน้นให้กิจกรรมทางพุทธศาสนาเป็นกิจกรรมหลักใน
ธ.

ชีวติ ประจ�ำวันของชาวสุโขทัย ขณะเดียวกันยังทรงสร้างสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมทางพุทธศาสนา เช่น


เจดีย์ที่นครชุม พระพุทธชินราช ฯลฯ เพื่อเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนและเพื่อให้เกิดความเลื่อมใส
ศรัทธาในพุทธศาสนา ทีส่ ำ� คัญยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรือ่ ง “เตภูมกิ ถาหรือไตรภูมพิ ระร่วง” ซึง่ เป็น
วรรณกรรมทางพุทธศาสนาเรื่องแรกของไทยไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
การปกครองแบบธรรมราชาในสมัยสุโขทัยนัน้ พระนามของกษัตริยล์ ว้ นทรงพระนามว่า “พระมหา-
.ม
ธรรมราชา” และการปกครองแบบธรรมราชาถูกน�ำมาใช้ในการปกครองจนถึงรัชสมัยพระมหาธรรมราชา
ที่ ๔ (บรมปาล) อันเป็นรัชกาลสุดท้ายของราชอาณาจักรสุโขทัย

การจัดรูปแบบการปกครอง
สมัยพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราชแคว้นสุโขทัยมีอาณาเขตค่อนข้างกว้างขวาง ดังนั้น จึงจ�ำเป็นต้อง
มีการปกครองแบบกระจายอ�ำนาจโดยแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ เพื่อกระจายอ�ำนาจในการปกครองออก
ไปให้ทั่วถึง โดยสันนิษฐานว่า สุโขทัยแบ่งเขตการปกครองดังนี้
- เมืองราชธานี คือ มีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี
- เมืองลูกหลวงหรือหัวเมืองชั้นใน เมืองต่างๆ ที่มีอิสระในการปกครองตนเอง และมีอ�ำนาจใน
การบริหารกิจการงานภายในเมืองของตนค่อนข้างมาก จนเกือบจะเป็นเอกเทศ ทัง้ ในด้านการเก็บภาษีอากร
การพิจารณาช�ำระไต่สวนตัดสินคดีความที่เกิดขึ้นภายในเมือง การตั้งต�ำแหน่งขุนนางชั้นผู้น้อยเพื่อ
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-9

ช่วยบริหารราชการต่างๆ และการควบคุมเมืองบริวารเล็กๆ ที่มาขึ้นอยู่ด้วยกับเมืองของตน (ศุภรัตน์


เลิศพาณิชย์กลุ , ๒๕๕๔, น. ๓-๑๘) ขณะเดียวกันยังท�ำหน้าทีเ่ ป็นเมืองหน้าด่าน ซึง่ เมืองลูกหลวงมีอยู่ ๔ ทิศ
คือ
ทิศเหนือ ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย
ทิศตะวันออก ได้แก่ เมืองสองแคว (พิษณุโลก)

. ทิศใต้ ได้แก่ เมืองสระหลวง (เมืองพิจิตรเก่า)


ทิศตะวันตก ได้แก่ เมืองนครชุม (ก�ำแพงเพชร)
สธ สธ
- เมืองพระยามหานครหรือหัวเมืองชัน้ นอก ห่างจากเมืองราชธานีออกไปมากกว่าเมืองลูกหลวง

มส . มส
พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถไปปกครองดูแล
แต่ต้องขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์ เช่น เมืองพระบาง (นครสวรรค์) เมืองเชียงทอง (จังหวัดตาก) เมือง
บางพาน (จังหวัดก�ำแพงเพชร) เป็นต้น
- เมื อ งออกหรือเมืองขึ้น หรือเมืองประเทศราช สมัยพ่อขุนรามค�ำ แหงมีเมืองประเทศราช
หลายเมือง เช่น เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองนครศรีธรรมราช ทวาย เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าสมัยพ่อขุนรามค�ำแหงเป็นช่วงเวลาที่แคว้นสุโขทัยมีอาณาเขตที่ค่อนข้างกว้างขวาง
และจากนั้นอาณาเขตการปกครองค่อยๆ ลดลง จนถึงสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทแม้อาณาเขตไม่
กว้างใหญ่เท่าในสมัยพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช แต่สมัยของพระองค์ก็มีรูปแบบการปกครองที่โดดเด่น
ด้วยการรวบรวมแคว้นสุโขทัยให้เป็นปึกแผ่นโดยใช้ศาสนาเป็นสือ่ กลางและทรงกระจายอ�ำนาจการปกครอง
ธ.

เมืองต่างๆ หลายเมืองด้วยการมอบอ�ำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง

เมืองออกหรือเมืองขึ้นหรือเมืองประเทศราช
เมืองพระยามหานครหรือหัวเมืองชั้นนอก
เมืองลูกหลวงหรือหัวเมืองชั้นใน
.ม
เมืองราชธานี

ภาพที่ ๓.๓ แสดงผังการปกครองของแคว้นสุโขทัย


สธ ส
๓-10 ไทยศึกษา


กิจกรรม ๓.๑.๑
การปกครองภายในแคว้นสุโขทัยมีรูปแบบการปกครองแบบใด

แนวตอบกิจกรรม ๓.๑.๑
การปกครองภายในแคว้นสุโขทัยมีรปู แบบการปกครองทีส่ ำ� คัญ ๒ รูปแบบ คือ การปกครองแบบ

.
ปิตุราชาหรือพ่อปกครองลูก เป็นการปกครองที่มีการจัดระเบียบการปกครองอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน
สธ สธ
เหมาะส�ำหรับบ้านเมืองที่มีประชาชนไม่มาก และการปกครองแบบธรรมราชา มีลักษณะการปกครอง

มส . มส
แบบธรรมราชาจึงเป็นลักษณะการปกครองที่ยึดหลักธรรมทางพุทธศาสนาเป็นส�ำคัญ

เรื่องที่ ๓.๑.๒

การปกครองสมัยอยุธยา

อาณาจักรอยุธยาสามารถพัฒนาความเจริญรุ่งเรือง สร้างความเป็นปึกแผ่นได้อย่างรวดเร็ว และ


ธ.

มีการขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันยังมีการรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากเขมร (ขอม)


ส่งผลให้การปกครองของอยุธยามีการเปลี่ยนแปลงไปจากสุโขทัยอย่างมาก

สถาบันพระมหากษัตริย์
การรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรเขมร (ซึง่ ได้รบั จากอินเดียอีกต่อหนึง่ ) ส่งผลให้สถาบัน
พระมหากษัตริยข์ องอยุธยามีการปกครองเปลีย่ นแปลงจาก “ธรรมราชา” ตามคติของพุทธศาสนา มาเป็น
.ม
“เทวราชา”1 ตามคติของศาสนาพราหมณ์ และส่งผลให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยามีฐานะแตกต่างจาก
พระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยอย่างมาก
ตามแนวคิดเรือ่ งเทวราชานัน้ พระมหากษัตริยท์ รงมีฐานะทีแ่ ตกต่างจากสามัญชน ทรงอยูใ่ นฐานะ
สมมติเทพ ทรงเป็นผู้มีบุญญาธิการเสมอด้วยองค์เทวะ ดังนั้น ตามแนวคิดนี้พระมหากษัตริย์ทรงเป็น
องค์อวตารของพระเป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ไม่ว่าจะเป็นพระศิวะหรือพระวิษณุองค์ใดองค์หนึ่ง สังเกต
ได้จากพระนามของพระมหากษัตริยม์ กั มีความเกีย่ วเนือ่ งกับพระอิศวร (ศิวะ) หรือพระนารายณ์ (พระราม)
น�ำไปสูฐ่ านะของพระมหากษัตริยท์ รงอยูเ่ หนือบุคคลทัว่ ไป ทรงเป็นผูม้ พี ระราชอ�ำนาจสูงสุดของอาณาจักร

1 คติความเชือ่ นีเ้ ห็นเด่นชัดในสถาบันพระมหากษัตริยอ์ ยุธยาหลังแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมา ส่วนใน


ระยะแรกก่อตั้งอาณาจักรนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์อยุธยาดูจะผูกพันอยู่กับคติความเชื่อในศาสนาพุทธมากกว่า (มัลลิกา มัสอูดี,
๒๕๕๔, น. ๔-๑๕)
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-11

และทรงมีพระราชอ�ำนาจอย่างเด็ดขาดในการปกครองทัง้ ในยามสงบและยามสงคราม ขณะเดียวกันยังทรง


เป็นเจ้าของแผ่นดินและเป็นเจ้าของชีวิตของราษฎรอีกด้วย
เมือ่ พระมหากษัตริยท์ รงอยูใ่ นฐานะเป็นเทพเจ้า จึงต้องมีการสร้างระเบียบแบบแผนและกฎเกณฑ์
ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับฐานะและความยิ่งใหญ่ เช่น การตั้งที่ประทับต้องอยู่เหนือคนอื่นๆ ต้องมีสร้าง
ราชาศัพท์ขนึ้ ส�ำหรับใช้กบั พระมหากษัตริยแ์ ละพระราชวงศ์ มีกฎมณเฑียรบาล กฎหมายและข้อห้ามต่างๆ

.
เกีย่ วกับกษัตริย์ มีพธิ กี ารต่างๆ มากมายทีเ่ ป็นการถวายพระเกียรติ เป็นต้น ทีส่ ำ� คัญทรงต้องประกอบพิธี
บรมราชาภิเษกเพือ่ แสดงให้เห็นว่า พระมหากษัตริยไ์ ด้ทรงกลายเป็นพระเป็นเจ้าแล้ว (พิทยลาภพฤฒิยากร,
สธ สธ
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น, ๒๕๑๗, น. ๘๙)

มส . มส
แม้วา่ พระมหากษัตริยอ์ ยุธยาทรงยึดรูปแบบการปกครองตามคติเทวราชา แต่ในทางปฏิบตั คิ วาม
เป็นเทวราชาของพระองค์ไม่มีลักษณะเด็ดขาดเหมือนตามคติความเชื่อที่ได้รับมาจากอาณาจักรเขมร
ที่เป็นเช่นนี้เพราะพระมหากษัตริย์ไทยได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาด้วยคติที่ว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นผู้น�ำ
ทั้งทางโลกและทางธรรม ในทางโลกทรงเป็น “กษัตริย์” ส่วนในทางธรรมทรงอยู่ในฐานะความเป็น
อัครานูปถัมภกทีจ่ ะต้องท�ำนุบ�ำรุงพุทธศาสนา ธรรมะทีส่ ำ� คัญของมหากษัตริยท์ ยี่ ดึ ถือมาตัง้ แต่ครัง้ สุโขทัย

คือ การยึดมั่นในทศพิธราชธรรม ราชจรรยานุวัตร และจักรวรรดิวัตร (ทวี สุรฤทธิกุล, ๒๕๕๙, น. ๗๑)
ที่ส�ำคัญเมื่อพิจารณาจากหลักฐานต่างๆ ปรากฏว่า สถาบันพระมหากษัตริย์อยุธยาในระยะแรก
ของการก่อตั้งอาณาจักรจะยึดแนวคิดพุทธศาสนาเป็นหลัก แม้ในประกาศแช่งนํ้าโคลงห้า ซึ่งใช้ใน
พระราชพิธีถือนํ้าพระพิพัฒน์สัตยาและเป็นพิธีกรรมที่อยุธยาได้รับมาจากรัฐที่ตั้งอยู่ในลุ่มแม่นํ้าเจ้าพระยา
ตอนล่างมาก่อน เหมือนอ้างความเป็นกษัตริย์ตามแนวพุทธศาสนา คือ เป็นมหาสมมติราช และนอกจาก
ธ.

เป็นมหาสมมติราชแล้ว กษัตริยอ์ ยุธยาในระยะแรกก่อตัง้ อาณาจักรยังมีฐานะเป็นพระโพธิสตั ว์ผมู้ บี ญ ุ บารมี


และพระจักรพรรดิราช หรือพระราชาธิราชผู้ยิ่งใหญ่เหนือกว่าพระราชาทั้งปวง ซึ่งต�ำนานมูลศาสนาและ
กฎหมายตราสามดวงต่างได้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นพระโพธิสัตว์ ส่วนในประกาศแช่งนํ้า
โคลงห้าได้กล่าวอ้างถึงการเป็นพระจักรพรรดิราชด้วยเช่นกัน (มัลลิกา มัสอูดี, ๒๕๕๔, น. ๔-๑๖)
.ม
การจัดรูปแบบการปกครอง
การปกครองของกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นราชธานีอนั ยาวนาน มีการปรับเปลีย่ น
รูปแบบการปกครองแตกต่างกันแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึง่ สามารถแบ่งรูปแบบการปกครองได้เป็น ๓ ช่วง คือ
สมัยอยุธยาตอนต้น สมัยอยุธยาตอนกลาง และสมัยอยุธยาตอนปลาย
สมัยอยุธยาตอนต้น เริม่ ตัง้ แต่สมัยของการก่อตัง้ อาณาจักรในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ จนถึง
สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พระเจ้าสามพระยา) มีการแบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ส่วน คือ
การปกครองส่วนกลาง และการปกครองหัวเมือง
การปกครองส่วนกลาง คือ การปกครองภายในราชธานีและหัวเมืองที่อยู่ใกล้เคียง พระมหา-
กษัตริย์ทรงด�ำเนินการปกครองด้วยพระองค์เอง โดยแบ่งการปกครองออกเป็น ๔ ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์
ได้แก่
สธ ส
๓-12 ไทยศึกษา

๑) กรมเวียงหรือกรมเมือง มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของไพร่พลที่มีภูมิล�ำเนาอยู่ใน


เขตราชธานี มีเสนาบดีต�ำแหน่ง “ขุนเวียงหรือขุนเมือง” เป็นผู้ดูแล
๒) กรมวัง มีหน้าที่เกี่ยวกับราชส�ำนัก รักษาพระราชวัง จัดงานพระราชพิธีต่างๆ และดูแล
ข้าราชการฝ่ายใน มีเสนาบดีต�ำแหน่ง “ขุนวัง” เป็นผู้ดูแล
๓) กรมคลัง มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร จัดหารายได้เข้าสู่ท้องพระคลัง จัดการเบิกจ่าย

.
พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และส่วนราชการ มีเสนาบดีต�ำแหน่ง “ขุนคลัง” เป็นผู้ดูแล
๔) กรมนา มีหน้าทีด่ แู ลบริหารเกีย่ วกับไร่นา จัดเตรียมเสบียงอาหารไว้ใช้ในยามศึกสงคราม
สธ สธ
มีเสนาบดีต�ำแหน่ง “ขุนนา” เป็นผู้ดูแล

มส . มส
การปกครองหัวเมือง คือ การปกครองหัวเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานี และหัวเมืองใกล้เคียง โดย
มีการแบ่งเป็นล�ำดับชั้น ดังนี้
๑) เมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง คือ เมืองที่อยู่รายล้อมราชธานี มีความส�ำคัญในการ
ป้องกันข้าศึก พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครองดูแล เมือง
ลูกหลวงเป็นเมืองทีม่ อี ำ� นาจปกครองตนเองค่อนข้างอิสระ เมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น ลพบุรี

นครเขื่อนขันธ์ นครนายก สุพรรณบุรี เป็นต้น
๒) หัวเมืองชั้นใน คือ เป็นหัวเมืองที่ถัดจากเมืองหน้าด่านเมือง แต่อยู่ไม่ไกลจากราชธานี
มากนัก พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองไปปกครอง แต่ต้องอยู่ในบังคับบัญชาของราชธานี หัวเมือง
ชั้นในในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น ปราจีนบุรี ราชบุรี สิงห์บุรี เป็นต้น
ธ.

๓) หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองที่มีขนาดใหญ่มีความส�ำคัญต่อ
อาณาจักร พระมหากษัตริยท์ รงส่งเจ้านายชัน้ สูงไปปกครองจนเกือบจะเป็นอิสระทัง้ การเก็บภาษีอากร การ
ควบคุมก�ำลังไพร่พล หัวเมืองชั้นนอกในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น เมืองพิษณุโลก เมืองไชยา เมือง
นครราชสีมา เมืองจันทบุรี เมืองตะนาวศรี เป็นต้น
๔) หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองทีอ่ ยูห่ า่ งไกลออกไปจากราชธานี มีการปกครองอิสระตาม
ประเพณีเดิมของตน แต่ตอ้ งส่งเครือ่ งราชบรรณาการมาถวายตามก�ำหนด เพือ่ เป็นการแสดงความจงรักภักดี
.ม
เมือ่ เกิดศึกสงครามต้องส่งก�ำลังและเสบียงอาหารมาสมทบ หัวเมืองประเทศราชในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น
เขมร มอญ เป็นต้น
สมัยอยุธยาตอนกลาง เริม่ ต้นเมือ่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงปฏิรปู การปกครอง ทรงปฏิรปู
การปกครองใน พ.ศ. ๑๙๙๘ การปฏิรูปการปกครองครั้งนี้มีความส�ำคัญต่อประวัติศาสตร์การเมือง
การปกครองไทยอย่างมาก โดยพระองค์ทรงปฏิรูปการปกครอง ๒ ส่วน คือ การปกครองส่วนกลาง และ
การปกครองหัวเมือง
การปกครองส่วนกลาง ทรงปรับปรุงระบบจตุสดมภ์ทเี่ กิดในสมัยอยุธยาตอนต้น โดยตัง้ กรมใหญ่
เพิ่มขึ้นมาอีก ๒ กรม เพื่อถวงดุลอ�ำนาจซึ่งกันและกัน คือ กรมกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีต�ำแหน่ง
“สมุหพระกลาโหม” เป็นผู้ควบคุมดูแล มีหน้าที่ตรวจตราว่าการฝ่ายทหารทั้งภายในราชธานีและหัวเมือง
ต่างๆ และกรมมหาดไทย มีอัครมหาเสนาบดีต�ำแหน่ง “สมุหนายก” เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
ดูแลกิจการพลเรือนในหัวเมืองต่างๆ ทุกเมือง ควบคุมไพร่พลที่สังกัดฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร และ
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-13

รับผิดชอบควบคุมดูแลกรมต่างๆ โดยอัครมหาเสนาบดีผู้บังคับบัญชากรมทั้งสองมีอ�ำนาจเหนือเสนาบดี


จตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา และมีขอบข่ายอ�ำนาจหน้าทีท่ แี่ ตกต่างกัน (มัลลิกา มัสอูด,ี ๒๕๕๔, น. ๔-๒๒-
๔-๒๓) ส่วนกรมจตุสดมภ์นั้นมีการปรับปรุงขอบข่ายอ�ำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองที่ได้แผ่กว้างออกไป ดังนี้
๑) กรมเวี ย งหรื อ กรมเมื อ ง เปลี่ ย นชื่ อ ใหม่ เ ป็ น กรมนครบาล ดู แ ลปกครองท้ อ งที่

.
ปราบปรามโจรผู้ร้าย รักษาความสงบภายใน มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
๒) กรมวัง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมธรรมาธิกรณ์ ดูแลรับผิดชอบงานทั้งหมดในพระ-
สธ สธ
ราชส�ำนัก ทั้งงานด้านธุรการและงานพระราชพิธีต่างๆ มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี

มส . มส
๓) กรมคลัง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมโกษาธิบดี มีหน้าที่เก็บ จ่าย และรักษาพระราชทรัพย์
ที่ได้จากภาษีอากร รับผิดชอบดูแลการค้าส�ำเภาของพระมหากษัตริย์ มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
๔) กรมนา เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กรมเกษตราธิการ มีหน้าที่ตรวจตราส่งเสริมการท�ำนาของ
ประชาชน เก็บหางข้าว ออกโฉนดทีน่ า จัดซือ้ ข้าวขึน้ ฉางหลวง และตัดสินคดีพพิ าทเกีย่ วกับทีน่ า ผลิตผล
ในนาและโคกระบือ มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี

พระมหากษัตริย์

สมุหพระกลาโหม สมุหนายก
ธ.

ฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน

ภาพที่ ๓.๔ แสดงการปกครองส่วนกลางในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ


.ม
การปกครองหัวเมือง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงปรับปรุงการปกครองหัวเมืองในรูปแบบ
ใหม่ดังนี้
๑) หัวเมืองชั้นใน พระองค์ทรงลดฐานะเมืองลูกหลวงและเมืองหลานหลวงลงมาเป็นเมือง
ชั้นในที่อยู่ภายใต้การปกครองของราชธานี และพระมหากษัตริย์ทรงส่งขุนนางไปปกครองในฐานะ “ผู้รั้ง”
ไม่เรียกว่า เจ้าเมือง เนื่องจากต�ำแหน่งนี้จะมีอำ� นาจน้อยกว่าเจ้าเมืองมาก
๒) หัวเมืองชั้นนอก คือ เมืองที่อยู่ถัดจากเขตหัวเมืองชั้นในออกไป แบ่งออกเป็นหัวเมือง
ชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี ตามขนาดและความส�ำคัญของเมือง พระมหากษัตริย์จะส่งเจ้านายหรือขุนนาง
ไปปกครอง หรือบางครั้งก็ให้เจ้านายเชื้อสายเจ้าเมืองเดิมเป็นผู้ปกครอง และการปกครองภายในเมือง
ค่อนข้างมีความเป็นอิสระ แต่ต้องอยู่ในความควบคุมของราชธานี
สธ ส
๓-14 ไทยศึกษา

๓) หัวเมืองประเทศราช คือ เมืองทีย่ งั คงให้เจ้านายเชือ้ สายเจ้าเมืองเดิมเป็นผูป้ กครองอย่าง


อิสระตามประเพณีการปกครองของแต่ละเมือง แต่ตอ้ งส่งเครือ่ งราชบรรณาการมาถวายกษัตริยอ์ ยุธยาตาม
เวลาที่กำ� หนด

พระมหากษัตริย์

. สมุหกลาโหม/สมุหนายก
สธ สธ
มส . มส
หัวชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช
(หัวเมืองชั้นจัตวา) (เมืองพระยามหานคร) ปกครอง โดย ผู้ปกครองเมืองเดิม
ผู้ปกครอง คือ ผู้รั้ง แต่งตั้งจากราชส�ำนักอยุธยา ส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้

หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองชั้นโท หัวเมืองชั้นตรี

ภาพที่ ๓.๕ การปกครองในสมัยอยุธยาตอนกลาง


ที่มา: http://withtheoldboy.blogspot.com/2013/06/blog-post.html สืบค้นเมื่อ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๑.
ธ.

สมัยอยุธยาตอนปลาย เกิดขึ้นใน ๒ รัชกาล คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จ-


พระนารายณ์มหาราช กล่าวคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองใหม่
โดยการยกเลิกการส่งเจ้านายบางพระองค์ไปปกครองหัวเมืองส�ำคัญ และให้บรรดาเจ้านายเชื้อพระวงศ์
กลับมาอยูภ่ ายในราชส�ำนัก ส่งผลให้อำ� นาจของพวกขุนนางเพิม่ มากขึน้ นอกจากนีท้ รงปฏิรปู การปกครอง
หัวเมืองใหม่ โดยยกเลิกเมืองพระยามหานคร โดยแบ่งหัวเมืองนอกเขตราชธานีออกเป็น ๓ ชัน้ ตามขนาด
.ม
ของเมือง คือ เมืองเอก เมืองโท และเมืองตรี ซึ่งแต่ละเมืองมีเมืองย่อยเรียกว่า เมืองจัตวา
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงปรับปรุงการปกครองด้วยการให้อำ� นาจแก่เจ้านาย
อีกครัง้ พระองค์ทรงตัง้ กรมให้เจ้านายดูแล ซึง่ เป็นกรมทีไ่ ม่มหี น้าทีใ่ นการบริหารงานราชการ มีหน้าทีเ่ พียง
ควบคุมก�ำลังคนเท่านั้น เรียกกรมเหล่านี้ว่า “กรมเจ้า” การให้เจ้านายคุมแรงงานคนเพราะในสมัยก่อน
ก�ำลังคนเป็นแหล่งที่มาของอ�ำนาจทางการเมืองและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ (มัลลิกา มัสอูดี, ๒๕๕๔,
น. ๔-๒๖)
จะเห็นได้ว่าการปกครองของอยุธยามีรูปแบบการปกครองที่เน้นองค์พระมหากษัตริย์ที่มีอ�ำนาจ
มากทีส่ ดุ ตามคติของเทวราชา แต่ถงึ กระนัน้ พระมหากษัตริยส์ มัยนีท้ รงมีคณ ุ ธรรมตามหลักของพุทธศาสนา
ขณะเดียวกันเน้นรูปแบบการปกครองแบบกระจายอ�ำนาจไปยังหัวเมืองต่างๆ
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-15


กิจกรรม ๓.๑.๒
พระมหากษัตริย์ของอยุธยาทรงมีรูปแบบการปกครองอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม ๓.๑.๒
การปกครองในสมัยอยุธยาทรงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรเขมร ส่งผลให้สถาบัน

.
พระมหากษัตริยข์ องอยุธยามีการปกครองเปลีย่ นแปลงจาก “ธรรมราชา” ตามคติของพุทธศาสนา มาเป็น
สธ สธ
“เทวราชา” ตามคติของศาสนาพราหมณ์ และส่งผลให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยามีฐานะแตกต่างจาก

มส . มส
พระมหากษัตริยส์ มัยสุโขทัยอย่างมาก แนวคิดเรือ่ งเทวราชานัน้ พระมหากษัตริยท์ รงมีฐานะทีแ่ ตกต่างจาก
สามัญชน ทรงอยู่ในฐานะสมมติเทพ ทรงเป็นผู้มีบุญญาธิการเสมอด้วยองค์เทวะ แต่ในทางปฏิบัติ
พระมหากษัตริยเ์ ป็นผูม้ ธี รรมะ โดยธรรมะทีส่ ำ� คัญของมหากษัตริย์ คือ ทศพิธราชธรรม ราชจรรยานุวตั ร และ
จักรวรรดิวัตร

เรื่องที่ ๓.๑.๓
การปกครองสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ธ.

การปกครองสมัยธนบุรี
การปกครองสมัยธนบุรีเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพียง ๑๕ ปี โดยมีรูปแบบการปกครองคล้ายกับสมัย
อยุธยาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ คือ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมติเทพ
และทรงจัดรูปแบบการปกครองแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ การปกครองส่วนกลาง มีฝ่ายทหารหรือ
.ม
สมุหพระกลาโหม และฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก ทัง้ ๒ ต�ำแหน่ง มีอคั รมหาเสนาบดีตำ� แหน่ง “เจ้าพระยา”
เป็นผูค้ วบคุมดูแล ส่วนจตุสดมภ์ ๔ กรม ได้แก่ กรมเมือง (นครบาล) กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) กรมพระคลัง
(โกษาธิบดี) และกรมนา (เกษตราธิการ) พระองค์ทรงก�ำหนดไว้คงเดิมและก�ำหนดเสนาบดีต�ำแหน่ง
“พระยา” เป็นผู้ควบคุมดูแล
การปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมืองแบ่งออกเป็น
หัวเมืองชั้นใน มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า
ผู้รั้ง หรือจ่าเมือง
หัวเมืองชัน้ นอก แบ่งได้ตามขนาดและความส�ำคัญของเมืองเป็นเมืองเอก เมืองโท เมืองตรี
และเมืองจัตวา โดยรูปแบบการบริหารยังคงเหมือนสมัยอยุธยา แต่ฐานะของเมืองอาจมีการเปลี่ยนแปลง
ไปจากเดิมบ้าง
สธ ส
๓-16 ไทยศึกษา

หัวเมืองประเทศราช ในช่วงเวลานั้น ได้แก่ เชียงใหม่ ล้านช้าง กัมพูชา นครศรีธรรมราช


และปัตตานี หัวเมืองประเทศราชจะมีอสิ ระในการปกครอง แต่ตอ้ งปฏิบตั ติ ามค�ำสัง่ ของธนบุรี ทีส่ ำ� คัญต้อง
ส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง รวมทั้งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์ตามที่ก�ำหนด
จะเห็นได้ว่าการปกครองสมัยกรุงธนบุรีแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพียง ๑๕ ปี และไม่ได้มีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนก็ตาม แต่ก็มีการปรับปรุงการปกครองเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับยุคสมัย

.
ในขณะนั้น
สธ สธ
การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

มส . มส
ช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ ช่วงเวลาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๓ ช่วงเวลานี้เป็นช่วง
ของการฟื้นฟูบูรณะบ้านเมืองให้กลับสู่สภาพเหมือนสมัยอยุธยาก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๑๐) โดย
เมือ่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงตัง้ ราชธานีแห่งใหม่ทางฝัง่ ตะวันออกของแม่นาํ้ เจ้าพระยา
พระองค์ทรงได้พยายามสร้างสิทธิธรรมและความชอบธรรมในการขึน้ ครองราชย์ดว้ ยการท�ำนุบำ� รุงพุทธศาสนา
พระองค์ทรงด�ำรงความเป็นธรรมราชาหรือจักรพรรดิราช อันเป็นความเชื่อที่เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

นอกจากนี้ยังทรงยึดกฎแห่งพระธรรมศาสตร์เป็นหลักในการปฏิบัติอีกด้วย พระมหากษัตริย์ใน
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทรงถือปฏิบัติตามกฎที่มีอยู่ในพระธรรมศาสตร์ ซึ่งหน้าที่ของพระมหากษัตริย์
ตามที่ก�ำหนดไว้ในพระธรรมศาสตร์คือ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ศาสนา คุ้มครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ และ
ให้ความยุติธรรม (อคิน รพีพัฒน์, ๒๕๑๘, น. ๙๙)
ธ.

กษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงเป็นราชาธิราช คือ เป็นจักรพรรดิราช หรือธรรมิกราชาธิราช


นอกจากนี้ยังทรงเป็นรามาธิบดีหรือองค์อวตารของพระวิษณุ ในแง่นี้ “อ�ำนาจ” หรือสิทธิธรรมในการเป็น
กษัตริย์ของพระองค์มิได้มีรากฐานอยู่บนความเป็นมนุษย์ธรรมดา หากแต่มาจากการเป็นพระโพธิสัตว์
ซึ่ ง สั่ ง สมบุ ญ บารมี ม ามากมายในอดี ต ชาติ ห ลายต่ อ หลายชาติ และมาจากพิ ธี ก รรมคื อ พระราชพิ ธี
บรมราชาภิเษก ซึ่งท�ำให้พระองค์ทรงกลายเป็นเทพเจ้าถือว่าพระราชอ�ำนาจของพระองค์แผ่ออกไปโดย
รอบอย่างไม่มีขอบเขตจ�ำกัด (อรรถจักร สัตยานุรักษ์, ๒๕๔๑, น. ๒๙)
.ม
ขณะเดียวกันรูปแบบของการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่ามี
ความคล้ายรูปแบบการปกครองของอาณาจักรอยุธยา แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างในบางส่วนตามความ
เหมาะสมกับสถานการณ์ในช่วงเวลานี้ โดยการปกครองแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ การปกครองส่วนกลาง
และการปกครองส่วนภูมิภาค
การปกครองส่วนกลาง ยังคงมีการปกครองในรูปแบบของการบริหารภายใต้หน่วยงาน ๖ หน่วยงาน
คือ สมุหพระกลาโหม สมุหนายก และจตุสดมภ์ คือ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา นอกจากนี้
ยังทรงโปรดฯ ให้คนื หัวเมืองฝ่ายใต้ทถี่ กู ยกเลิกไปในสมัยอยุธยาตอนปลายให้กลับคืนมาอยูก่ บั สมุหกลาโหม
ตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสาน แต่ยงั คงให้มหี วั เมืองชายทะเลรอบอ่าวไทย
ในความดูแลของกรมคลัง (ควอริช เวลส์, ๒๕๑๙, น. ๑๗๗) เสนาบดีทั้งหลายมีอ�ำนาจสั่งการภายในเขต
ความรับผิดชอบของตน
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-17

การปกครองส่วนภูมิภาค การบริหารส่วนภูมิภาคในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงใช้รูปแบบ


เหมื อ นสมั ย อยุ ธ ยาที่ เรี ย กว่ า “ระบบกิ น เมื อ ง” คื อ การให้ ขุ น นางที่ ดู แ ลเมื อ งต่ า งๆ สามารถเก็ บ
ค่าธรรมเนียมรายได้ และสามารถประกอบอาชีพอื่นๆ ควบคู่ไปกับการรับราชการได้ เนื่องจากสมัยนี้
ยังไม่มีเงินเดือนประจ�ำ ขณะเดียวกันยังมีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และ
หัวเมืองประเทศราช

. หัวเมืองชั้นใน คือ หัวเมืองที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวง ข้าราชการผู้ใหญ่ที่ไปดูแลเป็น


ต�ำแหน่ง “ผู้รั้ง” และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเสนาบดีในเมืองหลวง
สธ สธ
หัวเมืองชั้นนอก คือ หัวเมืองใหญ่ หัวเมืองชั้นรองและหัวเมืองชายแดน ข้าราชการที่ดูแล

มส . มส
มีต�ำแหน่ง “เจ้าเมือง” หัวเมืองใหญ่คือ หัวเมืองชั้นเอกที่อยู่ห่างไกลและต้องดูแลหัวเมืองชั้นรองและ
หัวเมืองประเทศราช ขณะเดียวกันยังมีการแบ่งหัวเมืองอีกวิธีหนึ่งด้วยการแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ
เอก โท ตรี จัตวา ตามความส�ำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร
หัวเมืองประเทศราช การดูแลหัวเมืองประเทศราชในช่วงเวลานี้จะให้หัวเมืองเอกที่อยู่ใน
ภูมิภาคใกล้เคียงกันเป็นผู้ดูแล และรายงานไปยังเสนาบดีที่รับผิดชอบเพื่อจะได้กราบบังคมทูลต่อไป

หัวเมืองประเทศราชทางเหนือ ได้แก่ หัวเมืองล้านนา คือ เชียงใหม่ ล�ำพูน ล�ำปาง แพร่ น่าน เชียงราย
เชียงแสน อีกแนวทางพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึก
ของเจ้านายหัวเมืองประเทศราช โดยการน�ำเจ้านายจากหัวเมืองประเทศราชเข้ามาอาศัยในราชส�ำนักไทย
หรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย จากนั้นทรงส่งเจ้านายพระองค์นั้นกลับไป
ธ.

ปกครองหัวเมืองประเทศราช วิธกี ารนีจ้ ะท�ำให้หวั เมืองประเทศราชเกิดความรูส้ กึ ผูกพันกับราชธานีมากขึน้


ขณะเดียวกันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมและช�ำระ
กฎหมายเก่าที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้น จากนั้นคัดลอกไว้ ๓ ฉบับ
ทุกฉบับจะประทับตามราชสีห์ (ส�ำหรับต�ำแหน่งสมุหนายก) ตราคชสีห์ (ส�ำหรับต�ำแหน่งสมุหพระกลาโหม)
และตราบัวแก้ว (ส�ำหรับต�ำแหน่งโกษาธิบดี หรือพระคลัง) เรียกกฎหมายดังกล่าวว่า “กฎหมายตรา
สามดวง” ซึ่งกฎหมายตราสามดวงใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕
.ม
สธ ส
๓-18 ไทยศึกษา

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ ๓.๖ กฎหมายตราสามดวง
ที่มา: http://www.museumthailand.com/th/562/storytelling/กฎหมายตราสามดวง/ สืบค้นเมื่อ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๑.

จะเห็นได้ว่าการปกครองในสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ค่อยมีความเปลี่ยนแปลง
ธ.

ไปจากสมัยอยุธยามากมายนัก แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดบ้างเล็กน้อยตามสภาพของสังคม
ที่เปลี่ยนแปลงไป

กิจกรรม ๓.๑.๓
ลักษณะการปกครองที่ส�ำคัญของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คืออะไร
.ม
แนวตอบกิจกรรม ๓.๑.๓
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงตั้งราชธานีแห่งใหม่ พระองค์ทรงท�ำนุบ�ำรุง
พุทธศาสนา ทรงด�ำรงความเป็นธรรมราชาหรือจักรพรรดิราช ทรงยึดกฎแห่งพระธรรมศาสตร์เป็นหลัก
ในการปฏิบัติ นอกจากนี้กษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ยังทรงเป็นราชาธิราช คือ เป็นจักรพรรดิราช หรือ
ธรรมิกราชาธิราช และทรงเป็นรามาธิบดีหรือองค์อวตารของพระวิษณุ
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-19

ตอนที่ ๓.๒


แนวคิดตะวันตกกับการปกครองไทย
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ ๓.๒ แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
๓.๒.๑ การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕

มส . มส
๓.๒.๒ การเปลีย่ นแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕

แนวคิด
๑. การเมืองการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวส่วนใหญ่ยังคงยึด
ตามรูปแบบการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าได้มี

การเปลีย่ นแปลงรายละเอียดบางประการ ทีส่ ำ� คัญทรงมีการปรับปรุงการปฏิบตั งิ านของ
กรมกองต่างๆ และการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ให้มีประสิทธิภาพตามแบบตะวันตก การ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาจากแนวคิดของตะวันตกที่เข้ามาเผยแพร่
๒. สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในช่วงต้นรัชกาลยังทรงด�ำเนินการตาม
รูปแบบการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ต่อมาทรงด�ำเนินการปฏิรูป
ธ.

การปกครองตามแบบอย่างของตะวันตกอย่างชัดเจน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้
ศูนย์อ�ำนาจมาอยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มี
การจัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองใหม่ ด้วยการปรับปรุงองค์การบริหารส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
๓. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเน้นการปกครองด้วยแนวทางอุดมการณ์
.ม
ชาตินิยม โดยพระองค์ทรงเพื่อเผยแผ่ความคิดและอุดมการณ์ในพระราชนิพนธ์ที่
ทรงใช้นามแฝงว่า อัศวพาหุ ขณะเดียวกันทรงแสดงให้เห็นถึงแนวคิดในเรื่องการเมือง
การปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยการจัดสร้างนครจ�ำลอง “ดุสิตธานี”
๔. สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพยายามร่างรัฐธรรมนูญ เพือ่ น�ำไปสูก่ าร
ปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ไม่สามารถปฏิบตั ไิ ด้ตามประสงค์ เนือ่ งจากคณะราษฎร
ได้ทำ� การยึดอ�ำนาจเพือ่ เปลีย่ นแปลงการปกครองเมือ่ พ.ศ. ๒๔๗๕ น�ำไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลง
การปกครองแบบประชาธิปไตย
สธ ส
๓-20 ไทยศึกษา


วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ ๓.๒ จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
๑. อธิบายการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้
๒. อธิบายการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้

. ๓. อธิบายการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้
๔. อธิบายการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๗ และการเปลีย่ นแปลงการปกครอง พ.ศ.
สธ สธ
๒๔๗๕ ได้

มส . มส

ธ.
.ม
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-21

เรื่องที่ ๓.๒.๑


การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕

การปรับปรุงการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๔

. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่ไทยต้องเผชิญกับการคุมคามของ
สธ สธ
ตะวันตก โดยทีทา่ ของตะวันตกทีต่ อ้ งการรุกรานประเทศไทยนัน้ มีมาตัง้ แต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้า

มส . มส
เจ้าอยูห่ วั ดังนัน้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ ทรงเห็นถึงภัยจากตะวันตกดังกล่าว พระองค์จงึ
เริม่ ศึกษาภาษาอังกฤษกับมิชชันนารีชาวอเมริกนั ทรงคบค้ากับชาวตะวันตก เพือ่ จะได้ทรงทราบเรือ่ งราว
และวิทยาการจากโลกตะวันตก อีกด้านหนึ่งเมื่อรัฐบาลของชาติตะวันตกโดยเฉพาะรัฐบาลอังกฤษได้ส่ง
ร้อยเอก เฮนรี เบอร์นี (Henry Burney) เข้ามาขอเจรจาท�ำสนธิสญ ั ญาพระราชไมตรีและการพาณิชย์กบั ไทย
และได้มีการตกลงท�ำสนธิสัญญากันขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๖๙ เรียกว่า สนธิสัญญาเบอร์นี (Burney Treaty)

แต่องั กฤษไม่พอใจกับข้อตกลงในสนธิสญ ั ญาฉบับนี้ ดังนัน้ อังกฤษจึงได้สง่ เซอร์จอห์น เบาว์รงิ (Sir John
Bowring) เข้ามาขอเจรจาท�ำสนธิสัญญาพระราชไมตรีและการพาณิชย์กับไทยอีกครั้งในรัชสมัยพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ตกลงท�ำสนธิสัญญากันใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๙๘ เรียกว่า สนธิสัญญา
เบาว์ริง (Bowring Treaty)2 การติดต่อกับตะวันตกในครั้งนี้มีส่วนอย่างมากในการน�ำทั้งวิทยาการ
สมัยใหม่และที่ส�ำคัญได้น�ำแนวคิดแบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในสังคมไทย
ธ.

แนวคิดของตะวันตกที่เข้ามาเผยแพร่ส่วนหนึ่งได้ส่งผลส�ำคัญที่น�ำไปสู่การปฏิรูปการปกครองใน
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้การเมือง
การปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวส่วนใหญ่ยังคงยึดตามรูปแบบการปกครองใน
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางประการ เช่น
การปกครองหัวเมืองชั้นนอก เรียกชื่อใหม่ว่า หัวเมืองชั้นกลาง โดยเปลี่ยนแปลงเมืองที่ขึ้นสังกัดให้
.ม
เหมาะสมกับสถานการณ์ยงิ่ ขึน้ ขณะทีว่ ธิ กี ารปกครองภายในเมืองของแต่ละหัวเมือง ต�ำแหน่งต่างๆ ส่วนใหญ่
ใช้แบบเดิม คือ มีตำ� แหน่งเจ้าเมือง กรมการเมือง ปลัดเมือง เป็นต้น นอกจากนีพ้ ระองค์ทรงปรับปรุงแก้ไข
การปกครองต่างๆ ที่มีปัญหาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก
(เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท และอัมพิกา สวัสดิวงศ์, ๒๕๖๐)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงด�ำเนินการต่างๆ เพือ่ ให้การบริหารราชการแผ่นดิน มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ พระองค์ทรงมีการปรับปรุงการปฏิบัติงานของกรมกองต่างๆ และการ
จัดตัง้ หน่วยงานใหม่ให้มปี ระสิทธิภาพตามแบบตะวันตก ด้วยการจ้างชาวตะวันตกทัง้ ชาวยุโรปและอเมริกนั
เข้ามารับราชการในกรมกองต่างๆ ของประเทศไทย ในฐานะเป็นทีป่ รึกษาให้คำ� แนะน�ำเกีย่ วกับแนวความคิด
ใหม่แก่ข้าราชการไทย นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้มีการใช้กฎหมายเพื่อการปรับปรุงด้าน

2 รายละเอียดศึกษาได้จากหน่วยที่ ๔
สธ ส
๓-22 ไทยศึกษา

การปกครอง ซึง่ เป็นพืน้ ฐานของการปฏิรปู กฎหมายและการศาลในสมัยต่อมา โดยพระองค์ทรงใช้กฎหมาย


ที่ตราขึ้นเองในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างจริงจัง โดยกฎหมายที่ใช้ในช่วงเวลานี้จะออกมาในรูปของ
“ประกาศ”3 ดังนั้นกฎหมายในสมัยนี้จึงมีลักษณะเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร
จะเห็นได้วา่ การปรับปรุงด้านการเมืองการปกครองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั
แม้จะไม่ได้มีความแตกต่างจากรูปแบบการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมากมายนัก แต่จากการ

.
รับอิทธิพลจากการติดต่อกับตะวันตกได้ส่งผลให้ทรงปรับปรุงการปกครองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วย
การปรับปรุงการปฏิบัติงานของกรมกองต่างๆ ทรงจัดตั้งหน่วยงานใหม่ และทรงใช้กฎหมายเป็นกลไก
สธ สธ
ทางการปกครองอย่างจริงจัง

มส . มส
การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อทรงสามารถบริหารบ้านเมืองด้วยพระองค์เองโดย
ไม่มตี อ้ งมีผสู้ ำ� เร็จราชการแผ่นดิน4 โดยในช่วงแรกของการปกครอง พระองค์ยงั คงด�ำเนินการตามรูปแบบ
การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาเมือ่ ขึน้ บริหารประเทศอย่างสมบูรณ์แล้วพระองค์ทรงเห็นว่า

รูปแบบการปกครองแบบเดิมทีใ่ ช้อยูม่ คี วามล้าหลัง และหน่วยงานต่างๆ ทีม่ อี ยูข่ าดประสิทธิภาพ กล่าวคือ
(สุมาลี บ�ำรุงสุข, ๒๕๓๘, น. ๔๑๔-๔๑๖)
๑. กรมกองต่างๆ มีภาระหน้าทีแ่ ละบทบาทซํา้ ซ้อนกัน ก้าวก่าย ปะปนกัน ไม่มหี น้าทีเ่ ฉพาะด้าน
ตามชือ่ กรมกองทีค่ วรจะเป็น ท�ำให้บางกรมกองมีภาระหน้าทีม่ ากจนท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้ เช่น
ธ.

กรมพระคลัง ที่มีหน้าที่ควบคุมเรื่องจัดเก็บรายได้และการค้า และยังต้องรับผิดชอบการปกครอง หัวเมือง


ชายทะเลตะวันออก การต่างประเทศ และการศาล เป็นต้น ขณะที่บางกรมกอง เช่น กรมช้าง กรมม้า
กรมภูษามาลา ไม่มีภาระอะไรมากนัก เป็นต้น
๒. ขุนนางเกือบทั้งหมดไม่มีเงินเดือนประจ�ำ และไม่มีงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละกรมกอง
ต้องหารายได้จากผลประโยชน์ในต�ำแหน่งและหน้าที่การงานของกรมตน ส่งผลให้บางกรมสามารถหา
ผลประโยชน์ได้มากพอแก่การท�ำงาน แต่บางกรมไม่มีผลประโยชน์เพียงพอที่จะด�ำเนินงาน น�ำไปสู่การ
.ม
ทุจริตได้ง่าย
นอกจากปัญหาที่เกิดในหน่วยงานของการบริหารส่วนกลางแล้ว ในส่วนภูมิภาคก็ประสบปัญหา
เนือ่ งจากการคมนาคมติดต่อสือ่ สารไม่สะดวก เจ้าเมืองในหัวเมืองชัน้ นอกและเจ้าประเทศราชมีอสิ ระในการ
ปกครองเมืองของตนค่อนข้างมาก เจ้าเมืองเหล่านี้จึงมีฐานะและอ�ำนาจในท้องถิ่นของตนเองอย่างมาก
ตามไป ขณะเดียวกันการแทรกแซงของชาติมหาอ�ำนาจตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ที่มีทีท่า
รุกรานไทยมากยิ่งขึ้น ที่สำ� คัญยังเกิดปัญหาจากปฏิกิริยาของกลุ่มต่างๆ ที่มีต่อการเมืองในขณะนั้น ไม่ว่า
3 มีจ�ำนวน ๓๔๓ ฉบับ ดูรายละเอียดได้จาก ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (บรรณาธิการ). (๒๕๔๗). ประชุมประกาศรัชกาลที่
๔. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ ขณะนั้นพระองค์มี
พระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา จึงจ�ำเป็นต้องมีผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดิน คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
จนเมื่อพระชนมายุ ๒๐ พรรษา จึงได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ โดยไม่ต้องมีผู้ส�ำเร็จราชการ
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-23

จะเป็นกลุม่ เจ้านายและข้าราชการทีร่ บั ราชการ ณ สถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน และกรุงปารีส รวมตัวกัน


ท�ำหนังสือกราบบังคมทูลให้เปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดินเมื่อ ร.ศ. ๑๐๓ (พ.ศ. ๒๔๒๗) กลุ่ม
ชนชัน้ ปัญญาชนโดยเฉพาะกรณีของ เทียนวรรณ (พ.ศ. ๒๓๘๕-๒๔๕๘) ปัญญาชนผูป้ ระกอบอาชีพค้าขาย
เป็นทนายความและได้ท�ำหนังสือรายปักษ์ “ตุลวิภาคพจนกิจ” และรายเดือน “ศิริพจนภาค” ที่เสนอ
ความคิดเห็นทางการเมืองในขณะนั้น นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาส�ำคัญทางการเมืองอีกประการหนึ่ง คือ

.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงเกิดความขัดแย้งกับกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญหรือวังหน้า
ซึ่งตามโบราณราชประเพณีแล้วถือเป็นเชื้อพระวงศ์ที่มีความส�ำคัญและอ�ำนาจรองจากพระมหากษัตริย์
สธ สธ
ความขัดแย้งได้น�ำมาซึ่งความหวาดระแวงจนน�ำไปสู่เหตุการณ์บาดหมางระหว่างกัน5

มส . มส
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้มีส่วนส�ำคัญท�ำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงด�ำเนินการ
ปฏิรปู การปกครอง โดยมีจดุ มุง่ หมายหลักเพือ่ ให้ศนู ย์อำ� นาจมาอยูท่ สี่ ถาบันพระมหากษัตริย์ การด�ำเนินงาน
ที่ส�ำคัญ คือ ทรงสร้างกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดก้าวหน้า ไว้เป็นก�ำลังต่อรองทางการเมืองกับขุนนางเก่า
โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมทหารมหาดเล็ก ฝึกหัดวิชาการทหารแบบตะวันตกและวิชาการแขนงอื่น จัดตั้ง
กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ แล้วขยายเป็นกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เพื่อเป็น

กลุ่มก�ำลังสนับสนุนรุ่นใหม่ ขณะเดียวกันทรงเผยแพร่ความคิดด้านการเมืองการปกครอง ด้วยการออก
หนังสือการเมืองภาษาไทยฉบับแรกของไทย ชื่อว่า “ดรุโณวาท” เพื่อเผยแพร่สู่ประชาชน นอกจากนี้
ยังมีการจัดตั้ง “สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน” (พ.ศ. ๒๔๑๗) และ“สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์” (พ.ศ.
๒๔๑๗) (บังอร ปิยะพันธุ,์ ๒๕๓๘, น. ๒๕๑-๒๕๓) ทัง้ ๒ สภา เป็นองค์กรทีร่ วมอ�ำนาจบริหารเข้าสูส่ ถาบัน
ธ.

พระมหากษัตริย์ และเพื่อให้สถานภาพของพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงและเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ในการบริหารราชการ เท่ากับเป็นการดึงอ�ำนาจมาไว้ที่ศูนย์กลาง
.ม

5 เกิดระเบิดและไฟไหม้ภายในวังหลวง ทางวังหน้าจะน�ำทหารพร้อมอาวุธไปช่วยดับเพลิงแต่วังหลวงไม่อนุญาต และ


ทางวังหลวงเข้าใจว่าวังหน้าเป็นผูว้ างระเบิด กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงระแวงภัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั
จึงเสด็จหลบหนีไปอยูใ่ นสถานกงสุลอังกฤษ เหตุการณ์ในครัง้ นีส้ ร้างความตึงเครียดภายในการเมืองไทยเหตุการณ์หนึง่ ในช่วงเวลานัน้
สธ ส
๓-24 ไทยศึกษา

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ ๓.๗ หนังสือการเมืองภาษาไทยฉบับแรกของไทย ชื่อว่า “ดรุโณวาท”
ที่มา: http://yenchalisa.blogspot.com/ สืบค้นเมื่อ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๑.

การเปลีย่ นแปลงทางการเมืองทีส่ ำ� คัญอีกประการหนึง่ คือ ภายหลังกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ


ธ.

หรือวังหน้าเสด็จทิวงคต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกต�ำแหน่งดังกล่าวแล้วทรง


ตั้งต�ำแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” ใน พ.ศ. ๒๔๒๙ โดยทรงสถาปนาสมเด็จ
พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นสยามมกุฎราชกุมารหรือองค์รัชทายาทเป็นพระองค์แรก ส่งผล
ให้เสถียรภาพของพระมหากษัตริยม์ คี วามมัน่ คงยิง่ ขึน้ จะเห็นได้วา่ การยกเลิกต�ำแหน่งวังหน้า สะท้อนถึง
ความส�ำเร็จในการดึงพระราชอ�ำนาจทางการเมืองกลับมาสูส่ ถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นพืน้ ฐานส�ำคัญ
.ม
ที่นำ� ไปสู่การปฏิรูปการปกครอง (เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท และอัมพิกา สวัสดิวงศ์, ๒๕๖๐)
เมือ่ ศูนย์กลางอ�ำนาจมีความมัน่ คง พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มกี ารจัดระเบียบการปกครองบ้าน
เมืองใหม่ ด้วยการปรับปรุงองค์การบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมภิ าค และส่วนท้องถิน่ และภายหลังจากความ
ตึงเครียดทางการเมืองภายในผ่อนคลายลง ขณะเดียวกันทรงมีความพร้อมทีจ่ ะด�ำเนินการปฏิรปู กล่าวคือ
เริ่มมีบุคลากรที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศกลับมาช่วยงาน นอกจากนี้สถานการณ์ทางการเมือง
จากภายนอกโดยเฉพาะการคุกคามของฝรั่งเศสมีความรุนแรงยิ่งขึ้น6 เหล่านี้ส่งผลให้พระบาทสมเด็จ-
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงต้องรีบด�ำเนินการปฏิรูปบ้านเมือง โดยทรงปฏิรูปในส่วนต่างๆ ดังนี้
6 เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรสยามกับฝรั่งเศส ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ จากการอ้างอ�ำนาจ
อธิปไตยเหนือพืน้ ทีฝ่ ง่ั ซ้ายของแม่นำ�้ โขง (พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่ของประเทศลาวในปัจจุบนั ) สุดท้ายฝร้ง่ เศสใช้นโยบายเรือปืนเพือ่ บีบบังคับ
ไทย โดยส่งเรือรบ เลอ ลูแตง (Le Lutin) เข้ามาจอดหน้าสถานทูตฝร้ง่ เศสซึง่ อย่รู มิ่ แม่นำ�้ เจ้าพระยา (http://wiki.kpi.ca.th/index.
php?title==วิกฤตการณ์_ร.ศ._112 สืบค้นเมื่อ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๖)
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-25

การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พระองค์ทรงด�ำเนินการปฏิรปู การปกครองตามแบบทีพ่ ระเจ้า-


น้องยาเธอกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ ศึกษาแบบแผนการจัดหน่วยบริหารราชการแผ่นดินของตะวันตก
เนื่องจากทรงเห็นว่าระบบบริหารราชการที่ใช้อยู่เป็นระบบที่ใช้มานานและแม้จะมีการปรับปรุงในแต่ละ
ช่วงเวลา แต่ก็เริ่มไม่เหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมืองตามที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้น พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชด�ำรัสแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน ร.ศ. ๑๐๖ (พ.ศ.

.
๒๔๓๐) ด้วยการจัดสรรงานแต่ละแขนงเพื่อขจัดปัญหาด้านความสับสนในการปฏิบัติงาน โดยจัดตั้ง
หน่วยงานบริหารเพิ่มขึ้นอีก ๖ กรม รวมกับที่มีอยู่เป็น ๑๒ กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้ค�ำว่า “กระทรวง”
สธ สธ
แทน โดยประกาศสถาปนากรมหรือกระทรวงต่างๆ ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ และยังได้ประกาศ

มส . มส
ตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆ ที่มีอ�ำนาจเสมอกันหมดและให้ได้รับเงินเดือนประจ�ำจากรัฐบาล กระทรวง
๑๒ กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวง
นครบาล กระทรวงเกษตรพานิชการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุทธนา-
ธิการ กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงมุราธาธิการ
จะเห็นได้ว่าการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นได้

ส่งผลให้การปกครองแบบจตุสดมภ์ที่ใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาสิ้นสุดลง และเกิดหน่วยงานที่มีการแบ่งความ
รับผิดชอบในการบริหารออกไปในแต่ละกระทรวงตามหน้าที่ ทีส่ ำ� คัญท�ำให้สถาบันพระมหากษัตริยม์ อี ำ� นาจ
สมบูรณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน
การปฏิ รู ป การปกครองส่ ว นภู มิ ภ าค พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงมอบ
ธ.

พระราโชบายในการจัดการปกครองส่วนภูมภิ าคให้แก่กระทรวงมหาดไทย ซึง่ ในขณะนัน้ มีสมเด็จพระเจ้า-


บรมวงศ์เธอกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงเป็นเสนาบดี ด้วยการน�ำระบบเทศาภิบาลมาใช้ในการปกครอง
ส่วนภูมภิ าค โดยทรงมีพระราชประสงค์จะยุบเมืองประเทศราช เลิกระบบกินเมือง รวมหัวเมืองเอก โท ตรี
จัตวา และจัดตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาล ท�ำให้ทุกเมืองมีศักดิ์เท่าเทียมกัน ที่ส�ำคัญทรงมอบให้กระทรวง
มหาดไทยมีหน้าที่จัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาค ในลักษณะของการรวมอ�ำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
(centralization) การจัดการปฏิรูปการปกครองนี้มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปตามข้อจ�ำกัดของประเทศ
.ม
ในขณะนั้น
การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นการจัดหน่วยราชการส่วนภูมิภาคที่ค่อนข้างใหญ่ มีข้าหลวง
เทศาภิบาลเป็นผูม้ อี ำ� นาจในการดูแล รองลงมาคือ เมือง มีผวู้ า่ ราชการเมืองปกครองดูแล อ�ำเภอ มีนายอ�ำเภอ
ท�ำหน้าที่ดูแลบริหารงาน ต�ำบล มีก�ำนันคอยดูแลบริหารงาน และหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแล ซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้า-
บรมวงศ์เธอกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ (เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก) ทดลองจัดระเบียบการ
ปกครองระดับต�ำบล หมู่บ้าน ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ อ�ำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้มี
การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ (https://www.matichonweekly.
com/matichonweekly-special/article_47931 สืบค้นเมื่อ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๑)
การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ โดยรวมเมืองตั้งแต่ ๓ เมืองขึ้นไป
เป็นกลุม่ เมือง เรียกว่า “มณฑลเทศาภิบาล” มีลกั ษณะของการปกครองแบบ “เทศาภิบาล” มีระบบบังคับ
สธ ส
๓-26 ไทยศึกษา

บัญชาเรียกว่า “การเทศาภิบาล” โดยส่งข้าราชการจากส่วนกลางไปปกครองแต่ละมณฑล เรียกว่า


“กองข้าหลวงเทศาภิบาล” (บังอร ปิยะพันธุ์, ๒๕๓๘, น. ๒๕๕-๒๕๖)
การปกครองในรูปแบบของมณฑลเทศาภิบาลเริม่ แรกมีอยูด่ ว้ ยกัน ๖ มณฑล และจากนัน้ คือ ตัง้ แต่
เริ่มมีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล พ.ศ. ๒๔๓๗ จนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๔๔๙ มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีรวมทั้งหมด ๑๘ มณฑล7 โดยมณฑลจันทบุรีจัดตั้งเป็นมณฑลสุดท้าย เนื่องจาก

.
ตกอยู่ภายใต้อำ� นาจของฝรั่งเศส เมื่อเป็นอิสระจึงจัดตั้งเป็นมณฑลขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๙
สธ สธ
มส . มส

ธ.

ภาพที่ ๓.๘ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ขณะเสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร


ที่มา: ภาพจากหนังสือเทศาภิบาล. ๒๕๔๕. อ้างอิงจาก https://blogazine.pub/blogs/dulyapak/ post/5819 สืบค้นเมือ่ ๒๕ ตุลาคม
๒๕๖๑.

ผลของการเปลี่ยนแปลงเป็นมณฑลเทศาภิบาล ท�ำให้เกิดระบบการเมืองแบบรัฐประชาชาติเป็น
.ม
ครัง้ แรก เมืองต่างๆ กลายเป็นจังหวัดหนึง่ ของประเทศ การบริหารมีลกั ษณะรวมศูนย์ มีกระทรวงมหาดไทย
ท�ำหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งการ
ปกครองท้องถิ่นในรูปแบบ “สุขาภิบาล” เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักรักษาสุขภาพอนามัย และสร้าง
การสาธารณูปโภคต่างๆ สุขาภิบาล มีเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเลือกจากประชาชนให้มาท�ำหน้าที่ในการบริหาร
กิจการของสุขาภิบาลภายใต้การควบคุมของรัฐบาล โดยจัดตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ในเขตกรุงเทพฯ
เรียกว่า “พระราชก�ำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ” ต่อมาได้ขยายไปยังท้องถิน่ อืน่ ๆ โดยเริม่ ต้นที่ “สุขาภิบาล

7 ได้แก่ มณฑลลาวเฉียง มณฑลลาวพวน มณฑลลาวกาว มณฑลลาวกลาง มณฑลเขมร มณฑลภูเก็ต มณฑลพิษณุโลก


มณฑลปราจีนบุรี มณฑลราชบุรี มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลกรุงเก่า มณฑลฝ่ายตะวันตก มณฑลนครศรีธรรมราช
มณฑลชุมพร มณฑลปัตตานี มณฑลไทรบุรี และมณฑลจันทบุรี
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-27

ต�ำบลท่าฉลอม” จังหวัดสุมทรสาคร ใน พ.ศ. ๒๔๔๘ จากนั้นได้มีการประกาศ “พระราชบัญญัติจัดการ


สุขาภิบาล ร.ศ. ๑๒๗” (พ.ศ. ๒๔๕๑) มีการแบ่งออกเป็นสุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลต�ำบล
จะเห็นได้วา่ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็นช่วงเวลาทีม่ กี ารปฏิรปู การปกครอง
อย่างชัดเจนตามแบบอย่างของตะวันตก ซึง่ การปฏิรปู การปกครองดังกล่าวได้นำ� มาซึง่ การพัฒนาการเมือง
การปกครองของไทยให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ ขณะเดียวกันได้น�ำไปสู่การปกครองใน

.
รูปแบบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทมี่ ปี ระสิทธิภาพและพระมหากษัตริยท์ รงมีพระราชอ�ำนาจสมบูรณ์
มากขึ้น
สธ สธ
มส . มส
กิจกรรม ๓.๒.๑
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงโปรดฯ ให้มกี ารปฏิรปู การปกครองส่วนกลางอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม ๓.๒.๑

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้มีการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางด้วย
การเกิดหน่วยงานทีม่ กี ารแบ่งความรับผิดชอบในการบริหารออกไปด้วยการจัดตัง้ หน่วยงานบริหารเพิม่ ขึน้
อีก ๖ กรม รวมกับที่มีอยู่เป็น ๑๒ กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้ค�ำว่า “กระทรวง” ผลของการปฏิรูป
การปกครองส่วนกลาง ท�ำให้การปกครองแบบจตุสดมภ์สิ้นสุดลง
ธ.

เรื่องที่ ๓.๒.๒
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕
.ม
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อขึ้นครองราชย์นั้นพระองค์ทรงมีพระราชปณิธาน
ที่ จ ะสร้ า งชาติ ใ ห้ เจริ ญ ทั ด เที ย มนานาอารยประเทศ และแม้ ว ่ า จะทรงใช้ รู ป แบบการปกครองแบบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พระองค์ได้ทรงให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนด้วยทรงให้เสรีภาพแก่นักเขียน
และนักหนังสือพิมพ์ที่มีความคิดเห็นต่างจากพระองค์ ขณะเดียวกันพระองค์ได้วางแผนให้ข้าราชการของ
พระองค์รู้จักการปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน
นโยบายทางการเมืองที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเน้นคือเรื่อง “อุดมการณ์
ชาตินิยม” ที่ประกอบด้วย “ความรักชาติ ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และความยึดมั่นในพุทธ
ศาสนา” โดยพระองค์ทรงเพื่อเผยแพร่ความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองเรื่อง “ความรู้สึกชาตินิยม”
สธ ส
๓-28 ไทยศึกษา

หรือ “ส�ำนึกความเป็นชาติ” ปรากฏในพระราชนิพนธ์ที่ทรงใช้นามแฝง (นามปากกา) ว่า “อัศวพาหุ”


นอกจากนีโ้ ปรดเกล้าฯ ให้มี “การสถาปนากองเสือป่า” ขึน้ เมือ่ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ดังปรากฏ
ในกระแสพระราชด�ำรัสที่พระราชทานแก่ราษฎรในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีความตอนหนึ่งว่า

“การตั้งกองเสือป่าขึ้นด้วยความมุ่งหมายจะให้คนไทยทั่วกันรู้สึกว่าความจงรักภักดี ต่อผู้ด�ำรงรัฐ

.
สีมา อาณาจักรโดยต้องตามมติธรรมประเพณีประการ ๑ ความรักชาติบา้ นเมือง และนับถือศาสนาประการ
๑ ความสามัคคีในคณะและไม่ท�ำลายซึ่งกันและกัน” (http://journal.sirirajmuseum.com/2016/05/02/
สธ สธ
กองเสือป่าในรัชกาลที่-6/ สืบค้นเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๑)

มส . มส
ระหว่างที่พระองค์ทรงวางแนวคิดและด�ำเนินการทางการปกครองนั้นได้เกิดเหตุการณ์สำ� คัญ คือ
มีกลุ่มนายทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน เรียกตัวเองว่า คณะ ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๕) ได้วางแผน
การปฏิวตั กิ ารปกครอง ด้วยต้องการให้เกิดการเปลีย่ นแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ด้วยการให้พระมหากษัตริยพ์ ระราชทานรัฐธรรมนูญและพระมหากษัตริยต์ อ้ ง

อยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนพระมหากษัตริย์ของประเทศอังกฤษหรือพระมหาจักรพรรดิของประเทศญี่ปุ่น
(วิลาสินี สิทธิโสภณ, ๒๕๖๑) แม้การลงมือกระท�ำดังกล่าวไม่ส�ำเร็จ แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ได้สะท้อนความ
ไม่พอใจในการปกครองระบอบเก่าและสะท้อนถึงกระแสของความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเริ่ม
เกิดขึ้นในสังคมไทย
ธ.
.ม

ภาพที่ ๓.๙ กองเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ ๖


ที่มา: http://journal.sirirajmuseum.com/2016/05/02/กองเสือป่าในรัชกาลที่-6/ สืบค้นเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๑.
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-29

จากเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๓๐ ดังกล่าวได้ส่งผลประการหนึ่งคือ การที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า


เจ้าอยู่หัวทรงแสดงให้เห็นถึงแนวคิดในเรื่องการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยการจัดสร้าง
นครจ�ำลองโดยพระราชทานนามว่า “ดุสิตธานี” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ เพราะเดิมตั้งอยู่ในเขตพระราชวังดุสิต
แต่ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ท่ีพระราชวังพญาไท (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) ภายในดุสิตธานีจะจ�ำลอง
สถานทีส่ ำ� คัญต่างๆ เช่น อาคารบ้านเรือน โรงเรียน โรงพยาบาล วัด สวนสาธารณะ ธนาคาร ฯลฯ ภายใน

.
เมืองได้มีด�ำเนินการ ได้แก่ การแบ่งข้าราชบริพารและขุนนางออกเป็น ๒ พรรค คล้ายกับการเป็น
พรรคการเมือง คือ พรรคโบว์นาํ้ เงินกับพรรคโบว์แดง ทรงจัดให้มกี ารเลือกตัง้ ขึน้ มีการเลือกผูแ้ ทนสภาเมือง
สธ สธ
ดุสติ ธานี ออกสิง่ พิมพ์ชื่อ “ดุสิตสมิต” ประชาชนที่อาศัยอยู่ในดุสิตธานี เรียกว่า ทวยนาคร

มส . มส

ธ.
.ม
ภาพที่ ๓.๑๐ ดุสิตธานี ตั้งอยู่หลังพระที่นั่งพิมานจักรี
ที่มา: http://www.bangkokgoguide.com/places/palace-phya-thai/phot04.htm สืบค้นเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๑.

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสถาบันพระ-
มหากษัตริย์และกลุ่มการเมืองต่างๆ มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายาม
แก้ปัญหาด้วยการจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภาเพื่อเป็นการเรียกความเชื่อมั่นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่การ
แต่งตัง้ และการด�ำเนินงานของอภิรฐั มนตรีสภาท�ำให้เกิดความไม่พอใจเพิม่ มากขึน้ ประกอบกับในช่วงเวลานัน้
ผลของการพัฒนาทางด้านการศึกษาที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ และจากการที่ได้มีการส่งนักเรียนไทย
ไปศึกษาวิทยาการต่างๆ ยังตะวันตกได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างมาก โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในเรื่องของการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
สธ ส
๓-30 ไทยศึกษา

จะเห็นได้จากมีนักคิดนักเขียนที่สามารถเขียนบทความหรือวิพากษ์วิจารณ์ระบบการปกครองและสถาบัน


พระมหากษัตริยไ์ ด้อย่างเสรี ขณะเดียวกันได้มกี ารน�ำเสนอแนวความคิดทางการเมืองสมัยใหม่สสู่ งั คมไทย
ทั้งแนวคิดแบบประชาธิปไตย ลัทธิชาตินิยม ลัทธิสังคมนิยม
นอกจากนี้ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ยังเป็นช่วงที่เกิด
ปัญหาเศรษฐกิจทัง้ จากการทีป่ ระเทศไทยมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย และเป็นช่วงหลังสิน้ สุดของสงครามโลก

.
ครั้งที่ ๑ ส่งผลให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลกในทศวรรษที่ ๒๔๗๐ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเพื่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยวิธีการต่างๆ ที่ส�ำคัญทรงแก้ปัญหา
สธ สธ
ด้วยการดุลข้าราชการออกจ�ำนวนมากเพือ่ ตัดลดงบประมาณ ท�ำให้เกิดความไม่พอใจในหมูข่ า้ ราชการและ

มส . มส
ประชาชนทีเ่ ดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ ในอีกด้านหนึง่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพยายาม
ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อน�ำไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยทรงมอบให้ เรย์มอนด์ บาร์ทเล็ตต์
สตีเฟนส์ (Raymond B. Stevens) ที่ปรึกษาราชการกระทรวงการต่างประเทศชาวอเมริกัน และพระยา-
ศรีวิศาลวาจาเป็นผู้ศึกษารัฐธรรมนูญ โดยพระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะมอบรัฐธรรมนูญแก่ปวงชนก่อนงาน
เฉลิมฉลองครบรอบ ๑๕๐ ปีราชวงศ์จักรีในปี ๒๔๗๕

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ นับเป็นเหตุการณ์ส�ำคัญอย่างยิ่งส�ำหรับการเมือง
การปกครองไทย โดยเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดจากการรวมกลุ่มกันเป็น “คณะราษฎร” จากบุคคล ๒ กลุ่ม คือ
ธ.

- กลุ่มทหาร มีพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นผู้นำ�
- กลุ่มพลเรือน มีหลวงประดิษฐ์มนูธรรมหรือนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้น�ำ
โดยแต่ละฝ่ายได้มกี ารประชุมเพือ่ วางแผนกันหลายครัง้ จนในทีส่ ดุ คณะราษฎรได้ตกลงท�ำการยึด
อ�ำนาจและได้ท�ำการตกลงกันที่จะท�ำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย มีการตกลงที่ใช้วิธีการ “ยึดอ�ำนาจ
โดยฉับพลัน” (ชาญวิทย์ เกษตรศิร,ิ ๒๕๓๕, น. ๒๖) โดยท�ำการปฏิวตั ใิ นเช้าวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถนุ ายน พ.ศ.
.ม
๒๔๗๕
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-31

. ม
สธ สธ
มส . มส
ภาพที่ ๓.๑๑ คณะราษฎร

ที่มา: https://www.bbc.com/thai/thailand-40213116 สืบค้นเมื่อ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑.

การปฏิ วั ติ นี้ ค ณะปฏิ วั ติ ไ ด้ มี ก ารจั บ กุ ม เจ้ า นายและข้ า ราชการชั้ น สู ง ควบคุ ม ไว้ ที่ พ ระที่ นั่ ง
อนันตสมาคม นอกจากนีไ้ ด้ให้ทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณลานพระราชวังดุสติ หน้าพระทีน่ งั่
ธ.

อนันตสมาคม โดยอ้างว่าเพื่อฝึกยุทธวิธีทหารราบต่อสู้รถถัง จากนั้นพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา


ได้อา่ นแถลงการณ์คณะราษฎร ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ประกาศยึดอ�ำนาจการปกครอง แผนการ
ในครั้งนี้สำ� เร็จลงอย่างไม่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อ
โดยในวันปฏิวตั เิ ป็นวันทีพ่ ระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั และสมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี
พระบรมราชินที รงแปรพระราชฐานประทับทีพ่ ระราชวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ เมือ่ ทรงทราบ
เรื่องการปฏิวัติพระองค์ทรงเสด็จนิวัติพระนครโดยรถไฟ ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระองค์ทรง
.ม
โปรดเกล้าฯ ให้คณะราษฎรเข้าเฝ้า และทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร ขณะที่
คณะราษฎรขอพระราชทานอภัยโทษและปรารถนาให้ทรงลงพระปรมาภิไธยไธยในพระราชก�ำหนด
นิรโทษกรรมแก่คณะราษฎรทีท่ ำ� การยึดอ�ำนาจ (ปรีดี พนมยงค์, ๒๕๒๕, น. ๘) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชก�ำหนดนิรโทษกรรมในวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕
แต่ทรงไม่ลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้ร่างขึ้น พันเอก
พระยาทรงสุรเดชจึงขอรับร่างกลับไปแก้ไข และในวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎร
ได้เข้าเฝ้าฯ และน�ำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ขึ้น
ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้ลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเติมค�ำว่า
“ชั่วคราว” ต่อท้ายรัฐธรรมนูญ นับเป็นการเริ่มต้นระบอบรัฐธรรมนูญของไทย
สธ ส
๓-32 ไทยศึกษา

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงประกอบพิธีพระราชทาน


ธรรมนูญ ณ พระทีน่ งั่ อนันตสมาคม ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ นับได้วา่ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก
ของไทย และเป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ ท� ำ ให้ อ� ำ นาจการปกครองของประเทศไทยที่ ป กครองด้ ว ยระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เปลี่ยนเป็นการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

.
สธ สธ
มส . มส

ธ.

ภาพที่ ๓.๑๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงประกอบพิธพี ระราชทานรัฐธรรมนูญ


ที่มา: https://scoop.mthai.com/specialdays/5171.html สืบค้นเมื่อ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๑.

กิจกรรม ๓.๒.๒
.ม
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามแก้ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
อย่างไร

แนวตอบกิจกรรม ๓.๒.๒
พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงพยายามแก้ ป ั ญ หาทางการเมื อ งด้ ว ยการจั ด ตั้ ง
อภิรฐั มนตรีสภาเพือ่ เป็นการเรียกความเชือ่ มัน่ ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่การแต่งตัง้ และการด�ำเนินงาน
ของอภิรัฐมนตรีสภาท�ำให้เกิดความไม่พอใจเพิ่มมากขึ้น
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-33

ตอนที่ ๓.๓


การเมืองไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ ๓.๓ แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

.
หัวเรื่อง
สธ สธ
๓.๓.๑ การเมืองไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองและการปกครองแบบชาตินิยม

มส . มส
๓.๓.๒ การเมืองไทยยุคระบบเผด็จการกับการเรียกร้องประชาธิปไตย
๓.๓.๓ การเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๒๑
๓.๓.๔ รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กับการปฏิรูปการเมืองไทย

แนวคิด

๑. ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระยะแรกๆ ได้เกิดความขัดแย้งขึน้ โดยเฉพาะ
ความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับคณะรัฐบาล น�ำไปสู่การท�ำรัฐประหารของพระยา
พหลพลพยุหเสนา แต่หลังรัฐประหารปัญหาเรื่องความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มต่างๆ
ยังด�ำเนินอยู่ จนเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงได้มี
ธ.

การด�ำเนินนโยบายการปกครองแบบชาตินยิ ม แต่การบริหารงานก็ตอ้ งประสบกับปัญหา


ทางการเมืองทั้งปัญหาจากการเมืองภายในและภายนอกประเทศ
๒. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เมื่อขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ใช้การปกครองประเทศ
ด้วยระบบเผด็จการและพยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้น�ำกับประชาชนตาม
ลักษณะแบบพ่อปกครองลูก เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ถึงแก่อสัญกรรม ผู้สืบทอด
ภารกิจแห่งระบอบการปกครองอ�ำนาจเผด็จการต่อมา คือ พลเอกถนอม กิตติขจร
.ม
แต่การบริหารงานไม่ราบรื่นและไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ สร้างความ
ไม่พอใจกับประชาชนอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มปัญญาชน จนน�ำไปสู่เหตุการณ์ ๑๔
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ และ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙
๓. การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นสมัยของ
จุดเริม่ ต้นของสมัยประชาธิปไตยครึง่ ใบ ภายใต้รฐั ธรรมนูญปี ๒๕๒๑ ขณะทีก่ ารบริหาร
งานของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ยึดนโยบาย “การเมืองน�ำการทหาร” ด้วย
การขยายอ�ำนาจอธิปไตยและเสรีภาพของปวงชน ด้วยการออกประกาศ ๖๖/๒๕๒๓
เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์
สธ ส
๓-34 ไทยศึกษา


๔. รั ฐ บาลพลเอกชาติช าติ ชุณหะวัณ เป็นรัฐบาลพลเรือนชุดแรกนับ ตั้งแต่ภายหลัง
เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามระบอบ
พรรคการเมืองอย่างแท้จริง แต่ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถบริหารประเทศได้จนครบสมัย
เนือ่ งจากเกิดความขัดแย้งทางการเมือง และในทีส่ ดุ ก็นำ� ไปสูเ่ หตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๓๕

. ๕. การเมืองภายใต้รฐั ธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นช่วงเวลาทีส่ ถานการณ์ทางเศรษฐกิจ


สธ สธ
ของประเทศไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า “วิกฤตต้มย�ำกุ้ง” หรือ

มส . มส
“ฟองสบู่แตก” ที่ส�ำคัญรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ ยังได้เอื้อต่อกลุ่มนักธุรกิจได้
เข้ามามีบทบาททางการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองที่ส�ำคัญคือ พรรคไทยรักไทย การ
บริหารราชการของพันต�ำรวจโททักษิณ ชินวัตร ได้รับการชื่นชมจากประชาชน แต่ใน
อีกด้านหนึ่งต้องพบกับปัญหาต่างๆ ทั้งในและนอกสภาอย่างมากมาย จนน�ำไปสู่ความ
วุ่นวายทางการเมือง

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ ๓.๓ จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
๑. อธิบายการเมืองไทยหลังการเปลีย่ นแปลงการปกครองและการปกครองแบบชาตินยิ มได้
๒. อธิบายการเมืองไทยยุคระบบเผด็จการกับการเรียกร้องประชาธิปไตยได้
ธ.

๓.  อธิบายการเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๒๑ ได้


๔. อธิบายจุดเริ่มต้นของระบอบประชาธิปไตยตามระบอบพรรคการเมืองได้
๕. อธิบายรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กับการปฏิรูปการเมืองไทยได้
.ม
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-35

เรื่องที่ ๓.๓.๑


การเมืองไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองและการปกครอง
แบบชาตินิยม

.
การเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕
สธ สธ
ภายหลังการเปลี่ยนการปกครองมาเป็นด้วยระบอบประชาธิปไตยภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

มส . มส
ส่งผลให้รัฐธรรมนูญกลายเป็นรากฐานทางการเมืองของสังคมไทย และพระมหากษัตริย์มีสถานภาพอยู่
ภายใต้รัฐธรรมนูญ
หลังจากคณะราษฎรได้ยึดอ�ำนาจการปกครองแล้วได้มีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ด้วยการตั้งพระยา-
มโนปกรณ์นติ ธิ าดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก8 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “รัฐธรรมนูญฉบับถาวร” หรือ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

ไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕” ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ มี ๖๘ มาตรา นับเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้น
โดยสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร่างคนส�ำคัญคือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี
หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นารีลกั ษณ์ ศิรวิ รรณ. http://wiki.kpi.ac.th/ index.php?title=พระยามโนปกรณ์-
นิติธาดา สืบค้นเมื่อ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๑)
ภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตยในระยะแรกๆ ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นในการเมืองไทย
ธ.

โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับคณะรัฐบาล ซึง่ เกิดจากประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองใน


เรือ่ ง เค้าโครงการเศรษฐกิจ กล่าวคือ ภายหลังเปลีย่ นแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ปัญหาเศรษฐกิจไทย
ทีส่ ะสมมายังไม่สามารถแก้ปญ ั หาต่างๆ เหล่านีไ้ ด้ จึงได้มกี ารเสนอแนวความคิดและแผนการแก้ไขปัญหา
เศรษฐกิจเข้าสู่การพิจารณาเป็นจ�ำนวนมาก และก่อให้เกิดความขัดแย้งในคณะรัฐบาลและในคณะราษฎร
ที่ส�ำคัญคือ เมื่อมีการเสนอให้พิจารณาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์)
.ม
ได้นำ� เสนอร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ซึง่ ต่อมารูจ้ กั กันในชือ่ “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” หรือ “สมุดปกเหลือง”
เค้าโครงการเศรษฐกิจดังกล่าวได้นำ� ไปสูก่ ารเผชิญหน้าและขัดแย้งกันระหว่างกลุม่ ทีเ่ ห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ขณะเดียวกันเค้าโครงการเศรษฐกิจยังถูกมองว่า มีแนวความคิดแบบเดียวกับประเทศสหภาพโซเวียต
รุสเซีย (ในขณะนัน้ ) โดยยกพระบรมราชวินจิ ฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ขึน้ มากล่าวอ้าง
ดังนี้

8 ในครัง้ แรกเรียกว่า “ประธานคณะกรรมการราษฎร” เมือ่ มีรฐั ธรรมนูญฉบับถาวรจึงเปลีย่ นมาเรียกว่า “นายกรัฐมนตรี”


สธ ส
๓-36 ไทยศึกษา

“...โครงการนีน้ นั้ เป็นโครงการอันเดียวอย่างแน่นอนกับทีป่ ระเทศรัสเซียใช้อยู่ ส่วนใครจะเอาอย่าง


ใครนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบ…ตอบได้ข้อเดียวว่าโครงการทั้ง ๒ นี้เหมือนกันหมด เหมือนกันจนรายละเอียด
เช่นที่ใช้และรูปของวิธีการกระท�ำ จะผิดกันก็แต่รัสเซียนั้นแก้เสียเป็นไทย หรือไทยแก้เป็นรัสเซีย...”
(โครงการหนังสือประวัติศาสตร์การเมือง, ๒๕๐๖, น. ๒๐๖)

.
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ ๓.๑๓ หลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์)
ธ.

ที่มา: https://nankvsmile.wordpress.com/ด้านส่งเสริมสันติภาพ-เส/นายปรีด-ี พนมยงค์-หรือหลว/สืบค้นเมือ่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๑.

ความขัดแย้งดังกล่าวยังส่งผลให้หลวงประดิษฐมนูธรรม ต้องเดินทางไปอยู่ฝรั่งเศสชั่วคราวและ
กลั บ เข้ า มาใหม่ ใ นเดื อ นกั น ยายน พ.ศ. ๒๔๗๖ และที่ ส� ำ คั ญ ได้ ส ่ ง ผลให้ พ ระยาพหลพลพยุ ห เสนา
ท�ำรัฐประหารครั้งแรกในวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ภายใต้ก�ำลังสนับสนุนส�ำคัญ คือ นายปรีดี
.ม
พนมยงค์ หลังรัฐประหารพระยาพหลพลพยุหเสนาได้รับต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ ๒ ของประเทศ
แทนที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และเหตุการณ์นี้เป็นเหตุที่ท�ำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๔๗๕ สิ้นสุดลง

การเมืองหลังการท�ำรัฐประหารครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๗๖


เมือ่ พระยาพหลพลพยุหเสนาด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้มกี ารตราพระราชบัญญัตกิ ารเลือกตัง้
ขึ้นและจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งแรกทั้งในระดับต�ำบลและจังหวัด การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้ง
ทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย โดยการให้กรมการอ�ำเภอ ด�ำเนินการเลือกตั้งผู้แทนต�ำบลขึ้น
ทัว่ ประเทศในระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ จากนัน้ ผูแ้ ทนต�ำบลทีร่ าษฎร
เลือกตั้งไว้ต�ำบลละหนึ่งคนไปเลือกผู้แทนราษฎรอีกชั้นหนึ่ง (นรนิติ เศรษฐบุตร http://wiki.kpi.ac.th/
index.php?title=15_พฤศจิกายน_พ.ศ._2476 สืบค้นเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๑) การด�ำเนินการดังกล่าว
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-37

เกิดขึน้ ไม่พร้อมกัน ขึน้ กับความพร้อมของในแต่ละเขตเป็นหลัก การเลือกตัง้ ครัง้ แรกถูกวิพากษ์วจิ ารณ์ใน


ภายหลังว่ายังไม่ได้เป็นไปตามรูปแบบการเลือกตัง้ แบบประชาธิปไตยทีแ่ ท้จริง แต่การเลือกตัง้ ครัง้ แรกนับ
เป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความส�ำคัญของการสร้างกลไกระบบตัวแทนประชาชนในระบอบการเมืองแบบ
ประชาธิปไตย
ขณะเดียวกันในช่วงเวลาดังกล่าวยังได้มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

.
ด้วยการจัดตัง้ กลุม่ ทางการเมืองทีเ่ รียกว่า “คณะกูบ้ า้ นกูเ้ มือง” หรือทีร่ จู้ กั กันในเวลาต่อมาว่า “กบฏบวรเดช”
ภายใต้การน�ำของพลเอกพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช กฤษดากร โดยเริม่ ต้นขึน้ เมือ่ ๑๑ ตุลาคม
สธ สธ
พ.ศ. ๒๔๗๖ คณะกู้บ้านกู้เมืองได้แถลงถึงความไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล ซึ่งมีการกระท�ำที่ไม่

มส . มส
เป็นประชาธิปไตยหลายประการ และลบหลู่ดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อีกทั้งยังได้ส่งข้อเสนอถึงรัฐบาลให้ลาออก (วิทยา สุจริตธนารักษ์, ๒๕๓๒, น. ๕๑๔) แต่ทางฝ่ายรัฐบาล
ภายใต้การน�ำพระยาพหลพลพยุหเสนาไม่ยอมรับเงือ่ นไข คณะกูบ้ า้ นกูเ้ มืองใช้ทหารหัวเมืองล้อมกรุงเทพฯ
และเลือกจังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์บัญชาการ แต่การกระท�ำการไม่สำ� เร็จ

ธ.
.ม
ภาพที่ ๓.๑๔ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช กฤษดากร
ที่มา: https://hhistory25.wordpress.com/ tag/กบฏบวรเดช/ สืบค้นเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๑.

การบริหารประเทศของพระยาพหลพลพยุหเสนายังประสบปัญหาในเรือ่ งความขัดแย้งทีเ่ กิดขึน้ ใน


กลุม่ ต่างๆ ทัง้ ระหว่างฝ่ายหลวงประดิษฐมนูธรรมกับฝ่ายหลวงพิบลู สงคราม หรือระหว่างหลวงโกวิทอภัยวงศ์
(ควง อภัยวงศ์) และหลวงประดิษฐมนูธรรม (วิทยา สุจริตธนารักษ์, ๒๕๓๒, น. ๕๑๒-๕๑๓) เหตุการณ์
ส�ำคัญต่อมา คือ ในวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศ
สธ ส
๓-38 ไทยศึกษา

สละราชสมบัติ รัฐบาลจึงได้อัญเชิญพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์แทน และ


ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาพหลยุหเสนาได้พ้นจากต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการแพ้
คะแนนเสียงในการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรลงมติเลือกพันเอกหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
พร้อมกับมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นในวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ นอกจากนี้ยังมีการเชิญนายปรีดี
พนมยงค์ มาเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลด้วย

.
การบริหารประเทศภายใต้รัฐบาลชาตินิยม
สธ สธ
มส . มส
เมื่อพลตรีหลวงพิบูลสงครามด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายในการสร้างชาติ ซึ่งมี
ลักษณะเป็นลัทธิชาตินิยมทางการเมือง ซึ่งนโยบายชาตินิยมแสดงออกเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลครั้งแรก คือ
การรณรงค์เพือ่ เรียกดินแดนคืนจากฝรัง่ เศส (ประเทศไทยเสียดินแดนไปในเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒) เหตุการณ์
ครั้งนี้มีความส�ำคัญที่ท�ำให้บทบาทของพลตรีหลวงพิบูลสงครามโดดเด่นขึ้นมา9 นอกจากนี้จอมพล ป.
พิบูลสงคราม ยังพยายามสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมใหม่ โดยการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๘๕ เพือ่ จัดระเบียบการด�ำเนินชีวติ ของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศ ความพยายามทีจ่ ะสร้าง

วัฒนธรรมชาติไทยขึ้นมาใหม่เห็นได้ชัดเจนจากการประกาศรัฐนิยมจ�ำนวน ๑๒ ฉบับ ซึ่งรัฐนิยมได้ส่งผล
ต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยเพราะเป็นการสร้างวัฒนธรรมชาตินิยมและสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
ของความเป็นไทยให้เกิดขึ้นและส่งผลมาถึงปัจจุบัน
ขณะเดียวกันยังได้สร้างวัฒนธรรมของผูน้ ำ� ทางการเมืองภายใต้แนวคิด “เชือ่ ผูน้ ำ� ” เพือ่ ให้กา้ วไป
ธ.

สูค่ วามก้าวหน้าและความมัน่ คงของประเทศชาติ จอมพล ป. พิบลู สงคราม ได้พยายามสร้างตนเองให้เป็น


หลักของชาติ ซึ่งนโยบายชาตินิยมภายใต้การเมืองดังกล่าว มีผลให้สถาบันกษัตริย์ถูกลดความส�ำคัญลง
ต่อมาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นได้บังคับขอใช้ดินแดนประเทศไทยเพื่อเคลื่อนกองทัพ
โจมตีกองก�ำลังของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอื่นๆ ส่งผลให้ในวันที่ ๑๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศยอมให้กองทัพญี่ปุ่นใช้ดินแดนประเทศไทย
เป็นทางผ่านไปยึดครองพม่าและอินเดีย เนื่องจากไม่สามารถต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นได้ ในอีกด้านหนึ่ง
.ม
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจ�ำกรุงวอชิงตันได้ร่วมมือกับกองก�ำลังที่จัดตั้งขึ้นมาพิเศษ
โดยการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาเรียกว่า “เสรีไทย” แทรกซึมเข้าไปในประเทศไทยเพื่อโจมตีกองก�ำลัง
ของญี่ปุ่นในเมืองไทย ขบวนการเสรีไทยนี้เองมีส่วนส�ำคัญอย่างมากที่ท�ำให้หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
ประเทศไทยสามารถรอดพ้นจากภาวะผู้แพ้สงคราม แต่ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง จอมพล ป.
พิบลู สงคราม ได้ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี จากนัน้ คือ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ได้มพี ระบรม-
ราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี การเข้าด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ของนายควง ต้องเผชิญกับภาระที่ค่อนข้างหนัก เนื่องจากอยู่ในภาวะตึงเครียดของสงครามโลกครั้งที่ ๒
9 กระทรวงกลาโหมได้ขอพระราชทานยศทหารให้เป็นพลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๔๘๔ ต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น จอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ปีเดียวกัน
(สงบ สุรเิ ยนทร์, ๒๕๑๔, น. ๙๙-๑๔๔) และในวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้รบั ต�ำแหน่งผูบ้ ญ
ั ชาการทหารเรือพิเศษ ผูบ้ ญ
ั ชาการ
ทหารอากาศพิเศษ
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-39

การเมืองไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒


หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว นายควงได้ลาออกจากต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาล
ชุดใหม่ภายใต้การน�ำของนายทวี บุณยเกตุ ได้รับหน้าที่บริหารต่อจน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับ
จากสหรัฐอเมริกา จึงได้มกี ารจัดตัง้ รัฐบาลขึน้ จากนัน้ จึงได้มกี ารจัดให้มกี ารเลือกตัง้ เพือ่ ให้เป็นไปตามหลัก
ประชาธิปไตย ผลจากการเลือกตั้งปรากฏว่า นายควง อภัยวงศ์ ขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็น

.
ครัง้ ที่ ๒ เมือ่ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ แต่ตอ่ มาในวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ นายควง อภัยวงศ์
สธ สธ
ลาออกจากนายกรัฐมนตรี ดังนั้น สภาผู้แทนราษฎรจึงได้เลือก นายปรีดี พนมยงค์ เข้าด�ำรงต�ำแหน่งเป็น
นายกรัฐมนตรีแทนเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ แต่ในวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ มีการ

มส . มส
ประกาศใช้รฐั ธรรมนูญฉบับใหม่ ดังนัน้ ใน วันที่ ๗ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๘๙ นายปรีดี พนมยงค์ จึงได้ลาออก
เพื่อให้เป็นไปตามบทเฉพาะกาลมาตรา ๙๕ ของรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ได้ออกกฎหมายให้มกี ารจัดตัง้ พรรคการเมืองขึน้ ส่งผลให้เกิดพรรคการเมืองขึน้ มาเพือ่ สนับสนุน โดยกลุม่
สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ ได้แก่ พรรคสหชีพ และพรรคแนวรัฐธรรมนูญ กลุม่ สนับสนุนนายควง อภัยวงศ์
และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้แก่ พรรคก้าวหน้า พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาชน ส่วนกลุ่มที่

สนับสนุนจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลุ่มนี้เป็นกลุ่มอ�ำนาจนิยม ได้แก่ พรรคธรรมาธิปัตย์ พรรคสังคม
ประชาธิปไตย และพรรคกสิกรรมกร
หลังการเลือกตัง้ ด้วยรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๔๘๙ นายปรีดี พนมยงค์ ได้กลับมาด�ำรงต�ำแหน่งนายก-
รัฐมนตรีอกี ครัง้ แต่การกลับมาในครัง้ นี้ รัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่
ธ.

สะสมมานาน ทีส่ ำ� คัญยังประสบในกรณีการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั อนันทมหิดลใน


ตอนเช้าของวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ เหตุการณ์ดังกล่าวได้กลายเป็นปัญหาทางการเมือง ด้วยการ
ที่รัฐบาลไม่สามารถหาความกระจ่างในเรื่องดังกล่าวได้ นายปรีดี พนมยงค์จึงแสดงความรับผิดชอบด้วย
การลาออก แล้วให้หลวงธ�ำรงนาวาสวัสดิ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน แต่เหตุการณ์ในสภาไม่มีท่าทีจะสงบ
ในที่สุดคณะนายทหารที่สนับสนุนจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ท�ำการรัฐประหารในวันที่ ๘ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๔๙๐ และแต่งตั้งให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตี (ทวี สุรฤทธิกุล, ๒๕๕๔, น. ๘๕)
.ม
จอมพล ป. พิบูลสงครามกับการบริหารประเทศระยะที่ ๒
นายควง อภัยวงศ์ ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ไม่นานก็ถูกกลุ่มนายทหารชุดเดียวกับ
คณะรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ บีบบังคับให้ลาออกจากต�ำแหน่ง เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๑ และ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับเข้ามาด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๑
การขึ้นมามีอ�ำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่ได้ราบรื่นเหมือนกับการขึ้นมามีอ�ำนาจใน
ครั้งแรกเนื่องจากการกลับมาครั้งนี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเผชิญกับการต่อต้านจากกลุ่มต่างๆ
หลายกลุม่ โดยในครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เกิดกบฏที่เรียกว่า กบฏของฝ่ายเสนาธิการหรือ
กบฏนายพล มีเสนาธิการของกองทัพบก เป็นหัวหน้า ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๒ เกิดกบฏวังหลวง
ซึง่ ได้มคี วามพยายามล้มอ�ำนาจของจอมพล ป. พิบลู สงคราม เหตุการณ์ครัง้ นีเ้ กิดขึน้ โดยนายปรีดี พนมยงค์
สธ ส
๓-40 ไทยศึกษา

แอบเข้าประเทศ เข้ามาร่วมกับคณะนายทหารเรือ หน่วยนาวิกโยธินและพรรคพวกเสรีไทยกลุ่มหนึ่งเพื่อ


หวังเข้ามาท�ำรัฐประหาร ขณะที่รัฐบาลใช้วิธีการปราบปรามที่รุนแรง ที่ส�ำคัญเหตุการณ์ครั้งนี้ได้ท�ำให้
พลโทสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีบทบาทโดดเด่นขึ้นมาในวงการเมือง (ปัณฉัตร หมอยาดี, ๒๕๕๔, น. ๙-๓๕)
เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๔ เกิด กบฏแมนฮัตตัน โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกควบคุมโดย
ทหารเรือระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนจากเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกาให้รัฐบาลไทย

.
ชื่อ แมนฮัตตัน ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร แต่รัฐบาลสามารถ
ปราบปรามได้ ซึ่งผู้ที่มีบทบาทในการปราบปรามเหตุการณ์วุ่นวายในแต่ละครั้ง ได้แก่ พลต�ำรวจเอกเผ่า
สธ สธ
ศรียานนท์ และพลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ส่งผลให้ภายหลังเหตุการณ์ต่างๆ บุคคลทั้ง ๒ คือ พลเอกสฤษดิ์

มส . มส
ธนะรัชต์ (กลุ่มสี่เสาเทเวศวร์) และพลต�ำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ (กลุ่มราชครู) ได้กลายเป็นผู้มีอ�ำนาจ
ทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น และทั้ง ๒ ฝ่าย ก็มีความขัดแย้งกันกันอย่างรุนแรงด้วยเช่นกัน ขณะที่ จอมพล
ป. พิบูลสงคราม ได้พยายามส่งเสริมและไกล่เกลี่ยเพื่อให้ไม่เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น
จอมพล ป. พิบูลสงคราม อยู่ในต�ำแหน่งจนครบวาระ จึงได้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ ๒๖
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมีพรรคการเมืองใหญ่ ๒ พรรค ลงแข่งขัน คือ พรรคเสรีมนังคศิลาและ

พรรคประชาธิปตั ย์ ผลปรากฏว่าพรรคเสรีมนังคศิลาได้รบั เสียงข้างมาก จอมพล ป. พิบลู สงคราม ในฐานะ
หัวหน้าพรรคจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ แต่การ
เลือกตัง้ ในครัง้ นีส้ ร้างความไม่พอใจให้กบั ประชาชนอย่างมาก เพราะพบว่าเป็นการเลือกตัง้ ทีไ่ ม่สจุ ริต และ
ได้มีการชุมนุมประณามการเลือกตั้งครั้งนี้ ส่งผลให้รัฐบาลต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน และจอมพลสฤษดิ์
ธ.

ธนะรัชต์ ได้ลาออกจากต�ำแหน่งทางการเมืองและต�ำแหน่งสมาชิกพรรคการเมืองของรัฐบาล ขณะเดียวกัน


ได้มีการสะสมก�ำลังและยื่นค�ำขาดให้รัฐบาลลาออกทั้งคณะ พร้อมให้พลต�ำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ลาออก
จากต�ำแหน่งด้วย แต่รัฐบาลไม่ยอมท�ำตามข้อเสนอ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงท�ำรัฐประหารรัฐบาลของ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐
เหตุการณ์ในครั้งนี้เท่ากับเป็นการสิ้นสุดอ�ำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนับเป็นการ
ปิดฉากอ�ำนาจของกลุม่ คนในคณะราษฎรทีม่ บี ทบาทต่อการเมืองการปกครองไทยมาตัง้ แต่มกี ารเปลีย่ นแปลง
.ม
การปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕

กิจกรรม ๓.๓.๑
จอมพล ป. พิบูลสงครามมีนโยบายการบริหารประเทศอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม ๓.๓.๑
จอมพล ป. พิบลู สงครามมีนโยบายด้วยการสร้างชาติ ซึง่ มีลกั ษณะเป็นลัทธิชาตินยิ มทางการเมือง
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-41

เรื่องที่ ๓.๓.๒


การเมืองไทยยุคระบบเผด็จการกับการเรียกร้องประชาธิปไตย

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์กับการสร้างระบบเผด็จการ

. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อท�ำรัฐประหารแล้วไม่ได้เข้าบริหารประเทศเอง แต่ได้เชิญนายพจน์


สธ สธ
สารสิน ขณะนั้นด�ำรงต�ำแหน่งเลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มส . มส
(ส.ป.อ. หรือ SEATO) เข้ารับต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดรักษาการณ์ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยก�ำหนดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ปีเดียวกัน
หลังการเลือกตั้ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เห็นว่าพรรคการเมืองที่สนับสนุน คือ พรรคสหภูมิ
มีเสียงไม่พอที่จะสนับสนุนตนเป็นรัฐบาลได้ จึงได้มีการจัดตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ คือ พรรคชาติสังคม และ
สามารถรวบรวมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนมีเสียงมากพอในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ในครั้งนี้จอมพลสฤษดิ์

ธนะรัชต์ ได้ให้พลโทถนอม กิตติขจร ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนจอมพลสฤษดิ์ ได้เดินทางไปรักษา
สุขภาพที่สหรัฐอเมริกา รัฐบาลพลโทถนอม กิตติขจร บริหารประเทศภายใต้ปัญหาต่างๆ ที่ไม่สามารถ
แก้ไขได้จนเมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เดินทางกลับประเทศไทย และท�ำรัฐประหารอีกครั้งในวันที่ ๒๐
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จากนั้นขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หลังจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่ง
ธ.

ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๙๕ และยกเลิกพระราชบัญญัตพิ รรคการเมือง พ.ศ. ๒๔๙๘ ท�ำให้การด�ำเนินการ


ของพรรคการเมืองต่างๆ ต้องยุบไป พร้อมทั้งประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศ จากนั้นได้ทูลเกล้าเสนอ
ให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๐๒ ซึ่งมี
ทัง้ หมด ๒๐ มาตรา โดยมาตรา ๑๗ เป็นมาตราทีใ่ ห้อำ� นาจแก่นายกรัฐมนตรีอย่างเต็มทีใ่ นการกระท�ำใดๆ
ทั้งในด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ มาตรานี้ท�ำให้รัฐบาลมีอ�ำนาจอย่างเต็มที่ในการบริหารประเทศ
.ม
อันเกี่ยวข้องกับการบ่อนท�ำลายความมั่นคงของชาติได้ การปราบปรามการกระท�ำอันเป็นคอมมิวนิสต์
มาตรา ๑๗ ถือว่าค�ำสั่งของนายกรัฐมนตรีนั้นชอบด้วยกฎหมาย (ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, ๒๕๒๖, น. ๒๒๖-
๒๙๐ อ้างแล้วใน สุจิต บุญบงการ, ๒๕๔๐, น. ๖๔๐)
นอกจากนีจ้ อมพลสฤษดิย์ งั ได้ทำ� การปกครองประเทศด้วยระบบเผด็จการ (Authorianism) และ
พยายามสร้างความชอบธรรมทางการเมือง และพยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผูน้ ำ� กับประชาชนตาม
ลักษณะแบบพ่อปกครองลูก โดยจอมพลสฤษดิอ์ ยูใ่ นฐานะ พ่อ ทีป่ กครองด้วยความเป็นธรรมและเปีย่ มไป
ด้วยความเมตตา คอยดูแลทุกข์สุขของประชาชน มี “ข้าราชการ” คอยเป็นหูเป็นตาหรือเป็นตัวแทนของ
รัฐบาลดูแลประชาชน ส่วนประชาชนมีหน้าทีด่ ำ� เนินการตามนโยบายและคอยรับสิง่ ทีเ่ ป็นความ “อุปถัมภ์”
จากรัฐบาล ซึ่งเรียกการปกครองตามแบบของจอมพลสฤษดิ์ว่า “ระบบพ่อขุนอุปถัมภ์” (ลิขิต ธีรเวคิน,
๒๕๓๗, น. ๑๕๙) ขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ยังเน้นเรื่องการเร่งรัดพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน โดยได้มี
การพยายามปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยขนานใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นฐาน เช่น
สธ ส
๓-42 ไทยศึกษา

นํ้า ถนน ไฟฟ้า โรงเรียน ฯลฯ ภายใต้ค�ำขวัญที่ว่า “นํ้าไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานท�ำ บ�ำรุงความสะอาด”


นอกจากนี้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยังมีบุคลิกของการท�ำงานแบบเข้มแข็งเอาจริงเอาจัง ดังจะเห็นได้
จากเมือ่ มีภยั พิบตั ติ า่ งๆ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จะลงไปบัญชาการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และถ้ามีผใู้ ด
กระท�ำผิดในคดีร้ายแรง เช่น ปล้นฆ่า วางเพลิง ฯลฯ ก็จะถูกสั่งประหารชีวิตโดยไม่ต้องขึ้นศาลด้วยอาศัย
อ�ำนาจตามมาตรา ๑๗

. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ผู้สืบทอดภารกิจแห่ง


ระบอบการปกครองอ�ำนาจเผด็จการต่อมา คือ พลเอกถนอม กิตติขจร โดยได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
สธ สธ
ให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖

มส . มส
จอมพลถนอม กิตติขจรกับเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
การเป็นนายกรัฐมนตรีครัง้ ที่ ๒ จอมพลถนอม กิตติขจร ยังคงพยายามด�ำเนินนโยบายตามจอมพล
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทีไ่ ด้วางไว้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ คือ เรือ่ งของการใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. ๒๕๐๒ (ฉบับที่ ๗) ทีป่ ระกาศใช้ตงั้ แต่ภายหลังการท�ำรัฐประหาร และรัฐบาลยังยึดระบบการปกครอง

แบบเผด็จการอยู่เช่นเดิม ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่ลัทธิคอมมิวนิสต์แผ่ขยายอย่างมากในประเทศไทย
และรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ท�ำให้ปัญหาคอมมิวนิสต์กลายเป็นภัยอย่างมากต่อความ
มั่นคงและเสถียรภาพของรัฐบาล
ต่อมาเมือ่ มีการประกาศใช้รฐั ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นผลให้คณะรัฐมนตรี
ธ.

ของจอมพลถนอม กิตติขจร สิ้นสุดลง แต่เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๒


ผลปรากฏว่าพรรคสหประชาไทย ของจอมพลถนอม กิตติขจร ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุดท�ำให้จอมพล
ถนอม กิตติขจร กลับเข้ามาด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีอกี ครัง้ เป็นสมัยที่ ๓ แต่การบริหารประเทศในช่วง
เวลานี้ไม่ได้แตกต่างจากช่วงเวลาแรกมากนัก เนื่องจากยังคงเกิดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ เช่นเดิม และ
ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ท�ำการปฏิวัติรัฐบาลตนเอง เมื่อวันที่ ๑๗
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นเหตุให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๑ สิ้นสุดลง
.ม
หลังจากการปฏิวัติรัฐบาลตนเอง จอมพลถนอม กิตติขจร ได้เข้าด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี
อีกครั้งแต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้เช่นเดิม เหล่านี้สร้างความไม่พอใจกับประชาชนอย่าง
มากโดยเฉพาะกลุ่มปัญญาชน เช่น อาจารย์ นิสิตนักศึกษา ฯลฯ ท�ำให้คนกลุ่มนี้ออกมาด�ำเนินกิจกรรม
ทางสังคมและการเมือง ด้วยการจัดตั้งกลุ่มอิสระภายในมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ในทางการเมือง ที่ส�ำคัญกลุ่มนิสิตนักศึกษา ได้มีการรวมตัวและจัดตั้งเป็นศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่ง
ประเทศไทย (ศนท.) ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ และเริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นเมื่อ พ.ศ.
๒๕๑๕ โดยนายธีรยุทธ บุญมี เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยในขณะนั้นได้รวมกัน
การรณรงค์ตอ่ ต้านสินค้าญีป่ นุ่ และในช่วงต้นปี ๒๕๑๖ ได้แสดงพลังเคลือ่ นไหวทางการเมืองอย่างต่อเนือ่ ง
โดยมีการจัดอภิปราย สัมมนา และรวมกลุ่มถกปัญหาทางการเมืองต่างๆ จนกระทั่งได้มีการยกประเด็น
ทุง่ ใหญ่นเรศวรขึน้ มาโจมตีรฐั บาล ในกรณีทนี่ ายทหารและนายต�ำรวจได้ใช้เครือ่ งบินและอาวุธปืนของทาง
ราชการเพื่อใช้ล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน แต่เกิดอุบัติเหตุตกที่ อ�ำเภอบางเลน จังหวัด
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-43

นครปฐม ในซากเฮลิคอปเตอร์นนั้ พบซากสัตว์เป็นจ�ำนวนมาก เหตุการณ์นไี้ ด้รบั ความสนใจจากประชาชน


อย่างมาก และน�ำไปสู่การโต้ตอบระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มปัญญาชนอย่างรุนแรง (ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ,
๒๕๓๖, น. ๔๒) ต่อมานักศึกษามหาวิทยาลัยรามค�ำแหงได้ออกหนังสือ “มหาวิทยาลัย: ทีย่ งั ไม่มคี ำ� ตอบ”
เป็นเหตุให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามค�ำแหงได้สงั่ ลงโทษนักศึกษาแกนน�ำ ๙ คน ทีท่ ำ� หนังสือด้วยการลบ
ชื่อออกจากมหาวิทยาลัย (ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ๒๕๓๖, น. ๔๒-๔๓) การลบชื่อนักศึกษาในครั้งนี้ท�ำให้

.
ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและนักศึกษาทุกมหาวิทยาลัยออกมาชุมนุมประท้วงการกระท�ำ
ของอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามค�ำแหง
สธ สธ
ขณะเดียวกันในวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ กลุม่ เรียกร้องรัฐธรรมนูญทีม่ นี กั ศึกษาจ�ำนวน ๑๓ คน

มส . มส
น�ำโดย นายธีรยุทธ บุญมี เดินถือป้ายโปสเตอร์ และแจกใบปลิวและหนังสือเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่
ถูกจับกุม เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้สร้างความไม่พอใจแก่ให้นักศึกษาและประชาชนเพิ่มมากขึ้น จนน�ำไป
สู่เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เริม่ จากการชุมนุมประท้วงทีม่ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริเวณ
ลานโพธิ์ จากกลุม่ นักศึกษาทีเ่ ข้าร่วมชุมนุมไม่มากนักเริม่ ขยายเพิม่ มากขึน้ ส่วนฝ่ายรัฐบาลจอมพลถนอม

ได้สั่งให้ใช้ก�ำลังในการปราบปราม การประท้วงครั้งนี้จนน�ำไปสู่การนองเลือด แต่ถึงกระนั้นรัฐบาลก็ไม่
สามารถปราบปรามได้ ในที่สุดจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์
กิตติขจร ได้ลาออกจากต�ำแหน่งและเดินทางออกนอกประเทศ จากนัน้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ล
อดุลยเดช โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (ปัณฉัตร หมอยาดี,
ธ.

๒๕๕๔, น. ๙-๔๖)
.ม

ภาพที่ ๓.๑๕ การชุมนุมที่บริเวณลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ที่มา: http://freedom-thing.blogspot.com/2011/09/6-2519.html สืบค้นเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๑.
สธ ส
๓-44 ไทยศึกษา

เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และการเกิดนโยบายขวาจัด


หลังนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการแต่งตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
พ.ศ. ๒๕๑๗ และได้มกี ารจัดการเลือกตัง้ ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘ (ลิขติ ธีรเวคิน, ๒๕๓๗, น. ๑๔๖-๑๔๗)
ซึง่ ผลของการเลือกตัง้ ปรากฏว่า ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช สามารถขึน้ ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีอกี ครัง้ แต่
ด�ำรงต�ำแหน่งได้เพียง ๑๕ วัน เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรในการแถลง

.
นโยบาย (ชรินทร์ สันประเสริฐ, ๒๕๔๘, น. ๑๐๒) ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จึงขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งนายก-
สธ สธ
รัฐมนตรีแทน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ แต่การบริหารประเทศของรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ไม่ได้
เป็นไปอย่างราบรื่น เหตุผลส�ำคัญมาจากการเป็นรัฐบาลผสมจากพรรคการเมืองถึง ๑๔ พรรค ท�ำให้

มส . มส
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ประกาศยุบสภาเมือ่ เดือนมกราคม ๒๕๑๙ ภายหลังจากการเลือกตัง้ ใหม่ ม.ร.ว.เสนีย์
ปราโมช กลับขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๑๙ (ปัณฉัตร หมอยาดี,
๒๕๕๔, น. ๙-๔๙)
สภาพทางการเมืองทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงรัฐบาลบ่อยส่งผลให้เสถียรภาพทางการเมืองไม่คอ่ ยมัน่ คง
เท่าทีค่ วร ทีส่ ำ� คัญยังเป็นช่วงเวลาทีเ่ กิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างขัว้ อนุรกั ษ์นยิ ม (ฝ่ายขวา) และ

ฝ่ายเสรีนิยมหัวก้าวหน้า (ฝ่ายซ้าย)10 นอกจากนี้ยังเกิดจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์และอ�ำนาจ
ทางการเมืองของผู้น�ำทางการเมืองและผู้น�ำทางทหาร ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในครั้งนั้นได้
พยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่สามารถด�ำเนินการได้
ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ กลุ่มนักศึกษาภายใต้การน�ำของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่ง
ธ.

ประเทศไทย (ศนท.) ได้รวมตัวกันเพื่อต่อต้านการกลับเข้ามาในประเทศของจอมพลประภาส จารุเสถียร


และจอมพลถนอม กิตติขจร (สุธาชัย ยิม้ ประเสริฐ, ๒๕๓๘, น. ๔๙) การต่อต้านด�ำเนินไปและลุกลาม โดย
มีการรวมตัวกันประท้วงทีส่ นามหลวง และย้ายเข้าไปชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การต่อต้านขยาย
วงกว้างขึน้ จนน�ำไปสูเ่ หตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ และหลังเหตุการณ์ในวันนัน้ ได้เกิดการรัฐประหาร
โดยมีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติฯ จากนั้นได้มี
การแต่งตั้งพลเรือน คือ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
.ม

10 ฝ่ายเสรีนยิ มหัวก้าวหน้า (ฝ่ายซ้าย) มีแนวคิดทีค่ ล้ายและก�ำ้ กึง่ ระหว่างประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ ฝ่ายอนุรกั ษ์นยิ ม


(ฝ่ายขวา) ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักอยู่ในระบบราชการทั้งทหาร ต�ำรวจ และข้าราชการอื่นๆ บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของกลุ่ม
นักศึกษาซึง่ เป็นฝ่ายซ้าย จึงเป็นภัยคุกคามต่อแนวคิดอนุรกั ษ์นยิ ม จนน�ำไปสูก่ ารใส่รา้ ยด้วยข้อกล่าวหาคอมมิวนิสต์ และความรุนแรง
ตามมา สืบค้นจาก http://www.ispacethailand.org/การเมือง/9795.html สืบค้นเมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๑.
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-45

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ ๓.๑๖ เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙
ที่มา: https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_3139 สืบค้นเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๑.

รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีจดุ เด่นอยูท่ กี่ ารด�ำเนินนโยบายขวาจัด คือ มีลกั ษณะการอนุรกั ษ์นยิ ม
และด�ำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ มีการจับกุมและคุมขังผูต้ อ้ งสงสัยว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์จำ� นวนมาก
ธ.

จนก่อให้เกิดกระแส “ขวาพิฆาตซ้าย” ส่งผลให้นักศึกษาและประชาชนจ�ำนวนมากเดินทางออกสู่ชนบท


หรือเพือ่ เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย นอกจากนีภ้ ายในคณะรัฐบาลเองก็เกิดปัญหาต่างๆ
จนน�ำไปสู่การเกิดเหตุการณ์รัฐประหารขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ภายใต้การน�ำของ
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ หลังยึดอ�ำนาจได้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๑๙ และมาใช้รัฐธรรมนูญ
ฉบับชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๒๐ แทน จากนั้นได้มีแต่งตั้งพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี
.ม
กิจกรรม ๓.๓.๒
สาเหตุส�ำคัญที่น�ำไปสู่การเกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ คืออะไร

แนวตอบกิจกรรม ๓.๓.๒
เหตุการณ์เริม่ มาจากการทีจ่ อมพลถนอม กิตติขจร สืบทอดอ�ำนาจต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
สร้างความไม่พอใจกับประชาชนอย่างมากโดยเฉพาะกลุม่ ปัญญาชน และฉนวนของการเกิดเหตุการณ์ ๑๔
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ทีส่ ำ� คัญ คือ เฮลิคอปเตอร์ทหารเกิดอุบตั เิ หตุตกและภายในซากเฮลิคอปเตอร์พบซาก
สัตว์เป็นจ�ำนวนมาก สร้างกระแสไม่พอใจในหมูน่ กั ศึกษาและประชาชนทัว่ ไปเป็นอย่างมาก ท�ำให้นกั ศึกษา
เริ่มมีการรวมกลุ่มประท้วงและในที่สุดก็น�ำไปสู่เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖
สธ ส
๓-46 ไทยศึกษา

เรื่องที่ ๓.๓.๓


การเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๒๕๒๑

รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๒๑ กับสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ

. การเมืองการปกครองไทยสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นสมัยของจุดเริ่มต้นของ


สธ สธ
สมัยประชาธิปไตยครึง่ ใบ11 ซึง่ ภายหลังการขึน้ ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้มกี ารประกาศเลิกใช้นโยบาย

มส . มส
ขวาจัดโดยหันมาให้สิทธิทางการเมืองแก่ประชาชนมากขึ้น แต่บริหารประเทศได้ระยะหนึ่งจึงได้มีก�ำหนด
ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๒๑ มีบทบัญญัติทั้งหมดรวมบทเฉพาะกาล ๒๐๖
มาตรา โดยสาระส�ำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นับว่ามีความเป็นประชาธิปไตยพอสมควร หากไม่นับ
บทบัญญัติเฉพาะกาลถึง ๑๒ มาตรา และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังก�ำหนดให้มี ๒ สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร

และวุฒิสภา ซึ่งวุฒิสมาชิกและนายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง และยังเปิดโอกาสให้ข้าราชการ
ประจ�ำสามารถด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองได้ โดยไม่ตอ้ งพ้นจากต�ำแหน่งข้าราชการประจ�ำ และให้สมาชิก
วุฒิสภามีสิทธิเช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ท�ำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ฉายาว่า “ประชาธิปไตย
ครึ่งใบ” (สมบัติ ธ�ำรงธัญวงศ์, ๒๕๔๙, น. ๔๓๓-๔๓๔)
การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถูกก�ำหนดขึ้นในวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ ผลของ
ธ.

การเลือกตัง้ ท�ำให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอกี ครัง้ แต่สดุ ท้ายต้องประสบ


กับปัญหาและถูกบีบให้ประกาศลาออกจากต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๓
โดยกลุม่ ทีก่ ดดันท�ำให้ลาออก คือ กลุม่ นายทหารในวุฒสิ ภาและกลุม่ ยังเติรก์ 12 หรือคณะทหารหนุม่ ทีห่ นั
ไปสนับสนุนพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
การบริหารงานของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ยึดนโยบาย “การเมืองน�ำการทหาร” ด้วย
การขยายอ�ำนาจอธิปไตยและเสรีภาพของปวงชน ด้วยการออกประกาศ ๖๖/๒๕๒๓ เรื่อง นโยบายการ
.ม
ต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ คือ เป็นสัญญาการประนีประนอมกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
ประเทศไทยกับรัฐบาลเพื่อยุติการสู้รบด้วยอาวุธ เป็นเหตุให้สงครามระหว่างทหารกับพรรคคอมมิวนิสต์
แห่งประเทศไทยเริม่ ยุตลิ งตัง้ แต่ประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๔ (วิทยากร เชียงกูล, ๒๕๕๑, น. ๖๐) และมีการออก
ประกาศ ๖๕/๒๕๒๕ เรื่อง แผนรุกทางการเมือง การใช้นโยบายดังกล่าวนับว่าประสบผลส�ำเร็จอย่างดี
ส่งผลให้นักศึกษาเริ่มทยอยออกจากป่า ส่วนผู้ที่มีอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ก็เริ่มวางอาวุธหันมาช่วยพัฒนา
ประเทศ (ชรินทร์ สันประเสริฐ, ๒๕๔๘, น. ๑๐๗)

11 สมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ หมายถึง การเมืองการปกครองที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยครึ่งหนึ่ง แต่อีกครึ่งหนึ่ง


ยังคงปรากฏลักษณะเผด็จการ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง พ.ศ.๒๕๒๑-๒๕๓๑
12 กลุ่มนายทหารที่สำ� เร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น ๗
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-47

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีนานถึง ๓ สมัยรวมระยะเวลาทั้งสิ้น ๘ ปี


๕ เดือน ซึง่ แต่ละสมัยต้องเผชิญทัง้ ปัญหาจากทัง้ ภายในประเทศ ทีส่ ำ� คัญคือ ปัญหาอันเกิดจากรัฐบาลผสม
ที่น�ำไปสู่ความไม่ลงรอยกันทางการเมือง ขณะเดียวกันยังเกิดการรัฐประหารเพื่อยึดอ�ำนาจการปกครอง
โดย พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา รองผู้บัญชาการทหารบกร่วมกับกลุ่มนายทหารหนุ่มที่เรียนจบจากโรงเรียน
นายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๗ หรือรุ่นยังเติร์ก13 ผลจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้สร้างชื่อให้กับ พลตรี

.
อาทิตย์ ก�ำลังเอก เนือ่ งจากเป็นก�ำลังส�ำคัญในการคุมก�ำลังทหารเพือ่ การต่อต้านกับคณะปฏิวตั ิ ส่วนปัญหา
ระหว่างประเทศ ประเทศไทยต้องเผชิญปัญหาจากการที่กองทหารเวียดนามเข้าไปครอบครองกัมพูชาใน
สธ สธ
พ.ศ. ๒๕๒๒ ท�ำให้ประเทศไทยต้องประสบปัญหาผูล้ ภี้ ยั นอกจากนีย้ งั ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกตํา่ ซึง่ เป็น

มส . มส
ผลมาจากภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก เหล่านี้เป็นปัญหาส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในรัฐบาลของ พลเอกเปรม
ติณสูลานนท์ จนน�ำไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎร และให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๓๑ ปรากฏว่า พรรคชาติไทยได้รับคะแนนเสียงข้างมากและได้เป็นพรรคแกนน�ำในการจัดตั้งรัฐบาล
โดยมีพลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคได้เข้ารับต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พลเอกชาติชาติ ชุณหะวัณกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบอบพรรคการเมือง
รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐบาลพลเรือนชุดแรกนับตั้งแต่ภายหลังเหตุการณ์
๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ทีป่ กครองในระบอบประชาธิปไตยตามระบอบพรรคการเมืองอย่างแท้จริง เนือ่ งจาก
พลเอกชาติชายลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคการเมืองคือ พรรคชาติไทย
ธ.

การบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนีม้ นี โยบายเน้นนโยบายต่างประเทศกับประเทศในกลุม่ อินโดจีน


ด้วยการเปลี่ยนนโยบายการเผชิญหน้าไปสู่นโยบายเศรษฐกิจ มีการเจรจาร่วมระหว่างเขมร ๔ ฝ่าย เพื่อ
ยุติการสู้รบ นับเป็นจุดเริ่มต้นในการน�ำสันติภาพที่ถาวรมาสู่กัมพูชา นโยบายต่างประเทศนี้รู้จักกันอย่าง
แพร่หลายในชือ่ “นโยบายเปลีย่ นสนามรบเป็นสนามการค้า” (ทศ คณนาพร, ๒๕๕๓, น. ๑๑๐) โดยรัฐบาล
มีการคาดหมายว่าประเทศไทยจะเป็น “เสือตัวที่ ๕” ของเอเชีย (Fifth Asian Tiger)14 ขณะเดียวกัน
ยังพยายามพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ หรือที่เรียกว่า “นิกส์ (NIC)” อีกด้วย
.ม
การบริหารประเทศของรัฐบาลพลเอกชาติชายแม้ว่าจะท�ำให้เศรษฐกิจไทยเฟื่องฟูอย่างมาก แต่
ส่งผลให้นักธุรกิจเข้ามามีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้น น�ำไปสู่การเกิด “ธุรกิจการเมือง” แม้ว่าในสายตา
ของชาวต่างประเทศมองว่าเสถียรภาพทางการเมืองของไทยน่าจะมัน่ คงขึน้ แต่ในความเป็นจริงการบริหาร
ประเทศของรัฐบาลพลเอกชาติชายก�ำลังประสบกับปัญหาต่างๆ ที่ส�ำคัญถูกโจมตีเรื่องการทุจริต จนมี
ค�ำกล่าวโจมตีว่าเป็น “บุฟเฟ่ต์คาบิเนต” และรัฐบาลชาติชายยังได้สร้างปัญหาความขัดแย้งกับกลุ่มทหาร
ขึน้ การบริหารงานของรัฐบาลในลักษณะดังกล่าวได้นำ� ไปสูเ่ หตุการณ์ทางการเมือง คือ การท�ำรัฐประหาร
โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยพลเอก
สุนทร คงสมพงษ์
13 การขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกเปรม แม้ว่าจะมาจากการสนับสนุนของ จปร.๗ แต่ภายหลังพลเอก
เปรมดูเหมือนจะตั้งให้ความส�ำคัญกับ จปร.๕ มากกว่า ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่น�ำไปสู่ความไม่พอใจจนเกิดรัฐประหารขึ้น
14 ต่อจาก “๔ เสือเศรษฐกิจของเอเชีย” คือ เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน
สธ ส
๓-48 ไทยศึกษา

หลังจากคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ยึดอ�ำนาจมีผลท�ำให้รฐั ธรรมนูญฉบับ พ.ศ.


๒๕๒๑ สิ้นสุดลง และได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๓๔ ขึ้นใช้ ขณะเดียวกันได้จัดตั้งรัฐบาล
พลเรือนขึ้น โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งการ
บริหารงานของรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน เน้นเรือ่ ง “ความโปร่งใส” และยังด�ำเนินนโยบายเป็นเอกเทศ
ไม่ยอมอยู่ใต้คำ� สั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

. รัฐบาลนายอานันท์จัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ และจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดย


รัฐบาลได้จดั ท�ำโครงการต่างๆ เพือ่ เผยแพร่ประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน เช่น โครงการ ๔ ทหารเสือ ฯลฯ
สธ สธ
และให้มี “องค์กรกลาง” มีหน้าที่เพื่อสอดส่องดูแลการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม และภายใต้รัฐธรรมนูญ

มส . มส
ฉบับ พ.ศ. ๒๕๓๔ พรรคการเมืองต่างๆ ได้ส่งผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งผล
การเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคสามัคคีธรรมได้เป็นแกนน�ำในการจัดตั้งรัฐบาล ดังนั้นจึงได้มีการเตรียม
การเสนอชือ่ นายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม แต่สหรัฐอเมริกา
แถลงข่าวว่า นายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นผู้หนึ่งที่เป็นผู้ “ต้องห้าม” และจะไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้า
สหรัฐอเมริกาได้ พรรคร่วมรัฐบาลไปเชิญพลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นรับต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน

เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้มีการสืบทอดอ�ำนาจให้กับคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ นับว่า
เป็นการทวนกระแสกับความรู้สึกของประชาชน สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนอย่างมาก จนน�ำไปสู่
การประท้วงเพื่อการเรียกร้องประชาธิปไตยขึ้น
ธ.

เหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ และการเมืองไทยหลังเหตุการณ์พฤษภาคมทมิฬ


การชุมนุมประท้วงการขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกสุจินดา คราประยูร เริ่มต้นมา
ตั้งแต่ประมาณเดือนเมษายน โดยผู้ร่วมชุมนุมในครั้งนี้ค่อนข้างมีความหลากหลาย เพราะประชาชน
ส่วนใหญ่เริม่ มีความตืน่ ตัวทางการเมืองเพิม่ มากขึน้ และเป็นพลังทีห่ นุนซึง่ กันและกันในการต่อสูก้ บั ระบอบ
อ�ำนาจนิยม (วรวิทย์ เจริญเลิศ, ๒๕๓๖, น. ๑๑๘) กลุ่มที่มีความส�ำคัญในการชุมนุมครั้งนี้ คือ ชนชั้นกลาง
ที่เริ่มแสดงพลังทางการเมืองอย่างจริงจังด้วยการเข้าชุมนุมประท้วงร่วมกับนักศึกษา นักวิชาการ องค์กร
.ม
พัฒนาเอกชน และพรรคการเมือง เพื่อให้รัฐบาลแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย การชุมนุม
ครั้งนี้เป็นที่มาของศัพท์ใหม่ทางการเมืองว่า “ม็อบมือถือ” และ “ม็อบรถเก๋ง” (อเนก เหล่าธรรมทัศน์,
๒๕๓๖, น. ๘๗) คือ คนที่มาชุมนุมส่วนใหญ่จะขับรถเก๋งมาจอดเพื่อฟังการปราศรัย และช่วงนี้การสื่อสาร
ที่ถูกน�ำมาใช้กันมากที่สุด คือโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือ
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-49

. ม
สธ สธ
มส . มส

ภาพที่ ๓.๑๗ เหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๓๕
ที่มา: http://pirun.ku.ac.th/~b521080372/Untitled-4.html สืบค้นเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๑.

หลังการชุมนุมตัง้ แต่เดือนเมษายนจนเข้าเดือนพฤษภาคม เริม่ มีการเผชิญหน้ากันระหว่างผูช้ มุ นุม


ธ.

กับเจ้าหน้าทีต่ ำ� รวจและทหารในบริเวณราชด�ำเนินกลาง ท�ำให้สถานการณ์ตงึ เครียดมากขึน้ ทีส่ ำ� คัญรัฐบาล


เริ่มใช้แผนไพรีพินาศ/๓๓ ซึ่งเป็นแผนยุทธการจัดวางกองก�ำลังและสลายการชุมนุม การใช้แผนดังกล่าว
ได้น�ำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดที่เรียกกันว่า เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ หลังจากเหตุการณ์ พลเอกสุจินดา
ได้ประกาศลาออกจากต�ำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
หลังเหตุการณ์สงบพรรคฝ่ายร่วมซึ่งมีเสียงข้างมากได้สนับสนุนให้ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์
หัวหน้าพรรคชาติไทย ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ดว้ ยแรงกดดันจากประชาชนประกอบกับการเจรจา
.ม
ต่อรองในระดับสูง ท�ำให้ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ตัดสินใจเสนอชื่อ
นายอานันท์ ปันยารชุน กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕
จากนัน้ จึงได้มกี ารเลือกตัง้ ซึง่ การเลือกตัง้ ในครัง้ นีร้ ฐั บาลอานันท์พยายามเปลีย่ นแปลงกฎเกณฑ์
การเลือกตัง้ ใหม่เพือ่ ป้องกันการซือ้ เสียงทีช่ ดั เจนยิง่ ขึน้ โดยการจัดตัง้ องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการ
กลุม่ หนึง่ ได้จดั ตัง้ องค์กรกลางขึน้ เพือ่ ดูแลการเลือกตัง้ และป้องกันการฉ้อฉลในการเลือกตัง้ ทัง้ นีส้ อื่ มวลชน
ได้ให้ความร่วมมือในการเสนอข่าวการฉ้อฉลในการเลือกตั้งด้วย (ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์,
๒๕๔๖, น. ๖๐๗) ผลการเลือกตัง้ ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ ผลปรากฏว่าพรรคประชาธิปตั ย์ครองเสียงข้างมากและได้
เป็นแกนน�ำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายชวน หลีกภัย ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งแม้ว่านายก-
รัฐมนตรีจะมาจากการเลือกตั้ง แต่มีกลุ่มปัญญาชนหลายกลุ่มได้เรียกร้องให้มีการปรับปรุงระบบการเมือง
ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ส่งผลให้ให้รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ต้องจัดตั้ง “คณะกรรมการพัฒนา
สธ ส
๓-50 ไทยศึกษา

ประชาธิปไตย (คพป.)” เพื่อท�ำหน้าที่ศึกษาแนวทางในการจัดท�ำร่างรัฐธรรมนูญ โดยข้อเสนอของ


คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตยได้รับการพิจารณาในช่วงรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งเข้ามารับ
ต�ำแหน่งภายหลังการเลือกตัง้ ใหม่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และรัฐบาลได้พยายามสร้างความชอบธรรม
ทางการเมืองด้วยการจัดตั้ง “คณะกรรมการปฏิรูปการเมืองไทย (คปก.)” มีนายชุมพล ศิลปอาชา เป็น
ประธาน จากนั้นได้มีการจัดตั้งองค์กรหลักในการจัดท�ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในชื่อว่า “สภาร่าง

.
รัฐธรรมนูญ (สสร.)” การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญมาส�ำเร็จในวันที่ ๑๕ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึง่ เป็นช่วงเวลาทีพ่ ลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.
สธ สธ
๒๕๔๐ เป็นพื้นฐานส�ำคัญในการปฏิรูปการเมืองไทยหลายประการ

มส . มส
กิจกรรม ๓.๓.๓
กลุ่มที่มีความส�ำคัญในการชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ คือกลุ่มใด

แนวตอบกิจกรรม ๓.๓.๓
กลุ่มที่มีความส�ำคัญในการชุมนุมในเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ คือ ชนชั้นกลาง ที่เริ่ม
แสดงพลังทางการเมืองอย่างจริงจังด้วยการเข้าชุมนุมประท้วงร่วมกับนักศึกษา นักวิชาการ องค์กรพัฒนา
เอกชน และพรรคการเมือง
ธ.
.ม
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-51

เรื่องที่ ๓.๓.๔


รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กับการปฏิรูปการเมืองไทย

การเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐

. การเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นช่วงเวลาที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของ


สธ สธ
ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า “วิกฤตต้มย�ำกุ้ง” หรือ “ฟองสบู่แตก” เป็นเหตุให้

มส . มส
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ต้องลาออกเพือ่ รับผิดชอบต่อปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจทีเ่ กิดขึน้ นายชวน หลีกภัย
ได้เข้ารับต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อมา จนถึงปลายปี ๒๕๔๓ มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาที่มาจาก
ระบบเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๑๕ และต้นปี ๒๕๔๔ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรในระบบใหม่ คือ ระบบคะแนนบัญชีรายชื่อและการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรในระบบเขตเดียว

เบอร์เดียว เป็นจุดเริ่มต้นของการด�ำเนินการทางการเมืองในเส้นทางปฏิรูปการเมืองไทยสมัยใหม่ ท�ำให้
การเลือกตัง้ ได้รบั การตรวจสอบอย่างเข้มงวดในการเลือกตัง้ ให้บริสทุ ธิท์ สี่ ดุ และเป็นช่วงเวลาทีพ่ ลังการเมือง
ในระบบคือคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีประธานคนแรกคือ นายโอภาส อนุรินทร์ และพลังการเมือง
นอกระบบคือ เอ็นจีโอ (Non Governmental Organizations: NGOs) ต่างๆ ได้ร่วมมือกันตรวจสอบ
และพยายามด�ำเนินการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม (เมธีพัชญ์ จงวโรทัย, ๒๕๕๔)
ธ.

รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ ยังได้เอื้อต่อกลุ่มนักธุรกิจได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น


โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถจัดตั้งพรรคการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองที่
เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้มักเป็นพรรคการเมืองที่กรรมการบริหารพรรคส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจชั้นน�ำของ
ประเทศไทย ที่ส�ำคัญคือ การเกิดขึ้นของพรรคไทยรักไทย ภายใต้การน�ำของพันต�ำรวจโท ดร.ทักษิณ
ชิ น วั ต ร และภายใต้ค�ำขวัญ “คิดใหม่ ท� ำใหม่ เพื่อคนไทยทุกคน” ซึ่งเลือกตั้งทั่วไปในปี ๒๕๔๔
.ม
พรรคไทยรักไทยที่เน้นนโยบายประชานิยมที่ดึงดูดใจของประชาชน เช่น ปลดหนี้เกษตรกร หนึ่งต�ำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ กองทุนหมู่บ้าน และโครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค เป็นต้น นโยบายเหล่านี้ท�ำให้พรรค
ไทยรักไทยสามารถชนะการเลือกตั้งและพันต�ำรวจโททักษิณได้เข้าด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี
การบริหารราชการของพันต�ำรวจโททักษิณได้รบั การชืน่ ชมจากประชาชนอย่างมากโดยเฉพาะใน
เรือ่ งทีท่ ำ� ให้ประเทศไทยสามารถใช้หนีก้ องทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund:
IMF) ได้ก่อนเวลาที่ก�ำหนด (เมธีพัชญ์ จงวโรทัย, ๒๕๕๔) และแม้ว่าจะประสบปัญหาทางการเมือง
อย่างไรก็ไม่ได้ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล รัฐบาลสามารถด�ำรงอยู่ได้จนครบวาระ ๔ ปี
ทีส่ ำ� คัญยังส่งผลให้พนั ต�ำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร กลับเข้ารับต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ ๒ จาก
ผลการเลือกตัง้ เมือ่ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ แต่การด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพันต�ำรวจโท
ทักษิณเป็นสมัยที่ ๒ ไม่ได้ราบรืน่ เหมือนดังสมัยแรก เนือ่ งจากต้องพบกับปัญหาต่างๆ ทัง้ ในและนอกสภา
อย่างมากมาย โดยเฉพาะเรือ่ งผลประโยชน์ทบั ซ้อนจากการทีต่ ระกูลชินวัตรขายหุน้ บริษทั ชินคอร์เปอร์เรชัน่
สธ ส
๓-52 ไทยศึกษา

ให้กบั บริษทั เทมาเส็กโฮลดิง้ ของสิงคโปร์ จนท้ายทีส่ ดุ จึงเกิดการชุมนุมประท้วง ภายใต้การน�ำของนายสนธิ


ลิ้มทองกุล พลตรีจ�ำลอง ศรีเมือง กลุ่มที่รวมตัวชุมนุมประท้วงภายใต้ชื่อ “พันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย (พธม.)” ส่งผลให้มีการประกาศยุบสภา
จากการประกาศยุบสภาและก�ำหนดวันเลือกตั้งที่เร่งด่วนท�ำให้เกิดการคว�่ำบาตรไม่ส่งผู้สมัคร
ลงรับเลือกตัง้ ของพรรคฝ่ายค้านในรัฐบาลชุดก่อน (ฤกษ์ ศุภศิร,ิ ๒๕๕๓, น. ๑๗๐) ดังนัน้ เมือ่ ผลการเลือกตัง้

.
ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทยสามารถกลับเข้ามาด้วยคะแนนเสียงข้างมากอีกครั้ง แต่การเลือกตั้งในครั้งนี้
ถูกตัดสินว่าเป็นโมฆะ เนื่องจากมีผู้สมัครจากพรรคการเมืองเดียวจึงต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง
สธ สธ
มส . มส
รัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๔๙ และผลกระทบทางการเมือง
ความวุน่ วายทางการเมืองทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงเวลานีน้ ำ� ไปสูก่ ารรัฐประหารในวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.
๒๕๔๙ โดยคณะทหารในนาม “คณะปฏิรปู การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริยท์ รง
เป็นประมุข (คปค.)” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (คปค.)”
มีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผูบ้ ญ
ั ชาการทหารบกขณะนัน้ เป็นผูน้ ำ� การรัฐประหาร การปฏิวตั ขิ องคณะปฏิรปู

การปกครองฯ ได้ระบุชดั เจนว่า วัตถุประสงค์ของการยึดอ�ำนาจครัง้ นีเ้ พราะเพือ่ ให้เกิดความสามัคคีภายในชาติ
ธ.
.ม

ภาพที่ ๓.๑๘ รัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๔๙


ที่มา: https://news.mthai.com/webmaster-talk/588165.html สืบค้นเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๑.
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-53

หลังรัฐประหาร พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ได้เลือกพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หนึง่ ในองคมนตรีและ


อดีตผู้บัญชาการทหารบกขึ้นมาด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ พร้อมทั้ง
มีการยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๔๐ จากนั้นได้มีการร่างรัฐธรรมนูญด้วยการแต่งตั้งสมาชิกสภา
ร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เนื้อหาของรัฐธรรมนูญที่มีการร่างขึ้นนั้นมีการลดอ�ำนาจของนายกรัฐมนตรี
ลดบทบาทของรัฐสภา ปกป้องฝ่ายข้าราชการจากการถูกแทรกแซงจากนักการเมือง

. ความพยายามของคณะรัฐประหารและรัฐบาลสุรยุทธ์กลับไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าที่ควร ในการ
พยายามควบคุมพลังทางสังคมของกลุม่ ผูส้ นับสนุนทักษิณ รัฐบาลสุรยุทธ์สญ ู เสียคะแนนความนิยมลงอย่าง
สธ สธ
รวดเร็วอันเป็นผลมาจากภาพลักษณ์ของรัฐบาล อันเนื่องจากคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม

มส . มส
ข้าราชการเกษียณ ท�ำให้สื่อมวลชนจึงตั้งฉายาให้ว่า “รัฐบาลขิงแก่” (เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท, ๒๕๖๐,
น. ๑๕-๑๔) ขณะที่พรรคไทยรักไทยถูกศาลตัดสินให้ยุบพรรค และได้มีการตั้งพรรคการเมืองใหม่ภายใต้
ชื่อ “พรรคพลังประชาชน”
จากนั้นพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประกาศก�ำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ซึ่งพรรคพลังประชาชนสามารถชนะการเลือกตั้ง ท�ำให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อีกครั้ง โดยมีนายสมัคร

สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ก็ได้รับการวิพากษณ์วิจารณ์อย่างหนัก ขณะเดียวกันก็เกิด
ปัญหาต่างๆ มากมายจนน�ำไปสู่การชุมนุมประท้วงและต่อต้านรัฐบาล โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตรประชาชน
เพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ได้กลับมาชุมนุมอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ การชุมนุมประท้วง
รัฐบาลรุนแรงมากขึ้นตามล�ำดับจนเกิดเหตุปะทะกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
ธ.

(นปช.) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลและทักษิณ (เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท, ๒๕๖๐, น. ๑๕-๑๔) ท�ำให้


สถานการณ์เลวร้ายลงจนต้องมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพฯ
ต่อมานายสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติ
เป็นเอกฉันท์ให้พน้ จากต�ำแหน่ง ส่งผลให้สภาผูแ้ ทนราษฎรซึง่ มีพรรคพลังประชาชนครองเสียงข้างมากใน
สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติเลือกนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นมาด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลใน
ช่วงเวลานีย้ งั คงเกิดปัญหาเดิมคือ การเผชิญหน้าและการใช้ความรุนแรงระหว่างกลุม่ ผูช้ มุ นุมต่อต้าน (พธม.)
.ม
กับฝ่ายรัฐบาล สถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ศาลรัฐธรรมนูญมีค�ำสั่ง
ยุบพรรคพลังประชาชน จากกรณีการทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรค
พลังประชาชน ส่งผลให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิใ์ นฐานะรักษาการณ์หวั หน้าพรรคต้องพ้นจากต�ำแหน่งนายก
รัฐมนตรีดว้ ย และพรรคประชาธิปตั ย์ภายใต้การน�ำของนายอภิสทิ ธิ์ เวชชาชีวะ ได้ขนึ้ มาเป็นนายกรัฐมนตรี
แทน แต่ในสมัยของรัฐบาลอภิสิทธิ์ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงด�ำเนินอยู่ และน�ำไปสู่การประกาศ
ยุบสภาผู้แทนราษฎรและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ (เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท,
๒๕๖๐, น. ๑๕-๑๕)
สธ ส
๓-54 ไทยศึกษา

ความขัดแย้งทางการเมืองและเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๕๗


การเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ผลปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาล
และเป็นการขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลยิง่ ลักษณ์ได้มกี ารน�ำแนวนโยบายของนายทักษิณ ชินวัตร15 มาปรับใช้ เช่น
การเพิม่ รายได้เพือ่ กระตุน้ การบริโภคผ่านการเพิม่ ค่าแรงขัน้ ตํา่ เป็น ๓๐๐ บาท และการใช้จา่ ยงบประมาณ

.
ด้านสาธารณูปโภค เป็นต้น นอกจากนี้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ รัฐบาลได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติ
สธ สธ
นิรโทษกรรม ซึ่งมีผลให้นายทักษิณหลุดพ้นจากโทษความผิดในคดีต่างๆ ที่ถูกศาลตัดสินไปแล้ว และเมื่อ
ร่างพระราชบัญญัตนิ ผี้ า่ นสภาผูแ้ ทนราษฎร กระแสการต่อต้านของประชาชนได้ทวีความรุนแรงมากยิง่ ขึน้

มส . มส
มีการออกมาชุมนุมประท้วงของกลุม่ ทีเ่ รียกว่า “คณะกรรมการประชาชนเพือ่ การเปลีย่ นแปลงประเทศไทย
ให้เป็นประชาธิปไตยทีส่ มบูรณ์อนั มีพระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมุข (กปปส.)” มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
เป็นแกนน�ำ ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญวินจิ ฉัยให้นายกรัฐมนตรียงิ่ ลักษณ์และรัฐมนตรี ๙ คนพ้นจากความเป็น
รัฐมนตรี จากการมีมติโยกย้ายนายถวิล เปลีย่ นศรี และในวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะรัฐมนตรี
มีมติให้นายนิวฒ ั น์ธำ� รง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงพาณิชย์ ขึน้ รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน

แต่ด�ำรงต�ำแหน่งได้ไม่นานได้เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ โดย
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ภายใต้ “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)”
ส่งผลให้รัฐธรรมนูญฉบับ ปี ๒๕๕๐ ถูกยกเลิกไป มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาขึ้นด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ธ.

จะเห็นได้วา่ การเมืองไทยตัง้ แต่เปลีย่ นแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึงปัจจุบนั (พ.ศ. ๒๕๖๑)


การเมืองไทยยังคงขาดเสถียรภาพทางการเมืองตามแนวคิดแบบประชาธิปไตย เนื่องจากการเมืองไทย
ยังคงวนเวียนอยูก่ บั การปฏิวตั ริ ฐั ประหารหลายต่อหลายครัง้ ขณะเดียวกันก็ยงั ขาดส�ำนึกทางการเมืองตาม
ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงของนักการเมือง

กิจกรรม ๓.๓.๔
.ม
สภาพการเมืองก่อนการเกิดรัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๔๙ มีลักษณะอย่างไร

แนวตอบกิจกรรม ๓.๓.๔
สภาพการเมืองไทยในขณะนัน้ มีความขัดแย้งแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายทีส่ นับสนุนพันต�ำรวจโท
ทักษิณกับฝ่ายที่ต่อต้านน�ำโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สภาพความขัดแย้งดังกล่าว
น�ำไปสูก่ ารท�ำรัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยคณะทหารในนาม “คณะปฏิรปู การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ซึ่งมีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้า
คณะปฏิวัติ

15 จากค�ำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๖/๒๕๕๘ เรื่อง การด�ำเนินการเพื่อถอดพันต�ำรวจโท ทักษิณ


ชินวัตร ออกจากยศต�ำรวจ
สธ ส
การเมืองการปกครองไทย ๓-55

บรรณานุกรม


ควอริช เวลส์. (๒๕๑๙). การปกครองและการบริหารของไทยสมัยโบราณ. แปลโดย กาญจนี สมเกียรติกุล, และ
ยุพา ชุมจันทร์. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

.
โครงการหนังสือประวัติศาสตร์การเมือง. (๒๕๒๖). พระปกเกล้าทรงโต้ตอบเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์.
สธ สธ
กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
ชรินทร์ สันประเสริฐ. (๒๕๔๘). หน่วยที่ ๙ การเมืองไทยกับสังคมโลก. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาไทยกับสังคม

มส . มส
โลก. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (๒๕๓๕). ๒๔๗๕ การปฏิวัติสยาม. กรุงเทพฯ: พลพันธ์การพิมพ์.
. (บก.). (๒๕๔๗). ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย.
ทวี สุรฤทธิกลุ . (๒๕๕๔). พัฒนาการการปกครองไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาไทยศึกษา. นนทบุร:ี สาขาวิชา
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทศ คณนาพร. (๒๕๕๓). สงครามประชาชนบนถนนสายประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: แฮปปี้บุ๊ค.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (๒๕๓๖). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และ
ม.ร.ว. ประกายทอง สิริสุข กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (๒๕๓๖). ความเคลื่อนไหวของนักศึกษาไทยในยุคแรก. ใน ขบวนการนักศึกษาไทยจาก
๒๔๗๕ ถึง ๒๕๑๖. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
ธ.

นรนิติ เศรษฐบุตร. http://wiki.kpi.ac.th/ index.php?title=15_พฤศจิกายน_พ.ศ._2479 สืบค้นเมือ่ ๔ ตุลาคม


๒๕๖๑.
นารีลกั ษณ์ ศิรวิ รรณ. http://wiki.kpi.ac.th/ index.php?title=พระยามโนปกรณ์นติ ธิ าดา สืบค้นเมือ่ ๕ ตุลาคม
๒๕๖๑.
บังอร ปิยะพันธุ์. (๒๕๓๘). ประวัติศาสตร์ไทย: การปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ก่อนสมัยสุโขทัย จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
.ม
ปัณฉัตร หมอยาดี. (๒๕๕๔). การเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ 7-พ.ศ. 2519. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาประวัตศิ าสตร์
ไทย. นนทบุรี: สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร, และคริส เบเคอร์. (๒๕๔๖). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์
ซิลค์เวอร์ม.
พิทยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. (๒๕๑๗). ชุมนุมพระนิพนธ์. กรุงเทพฯ: พระจันทร์.
มัลลิกา มัสอูดี. (๒๕๕๔). อาณาจักรธนบุรีและรัตนโกสินทร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาประวัติศาสตร์ไทย.
นนทบุรี: สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เมธีพัชญ์ จงวโรทัย. (๒๕๕๔). การเมืองการปกครองไทยหลัง พ.ศ. ๒๔๑๙-๒๕๕๓. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา
ประวัติศาสตร์ไทย. นนทบุรี: สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท, และอัมพิกา สวัสดิวงศ์. (๒๕๖๐). การเมืองการปกครองไทยสมัยรัชกาลที่ ๔-๖. ใน เอกสาร
การสอนชุดวิชาประวัติศาสตร์ไทย. นนทบุรี: สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ลิขิต ธีรเวคิน. (๒๕๓๐). การเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สธ ส
๓-56 ไทยศึกษา

วรวิทย์ เจริญเลิศ. (๒๕๓๖). ชนชั้นกลางกับเหตุการณ์พฤษภาคม: ฝ่ายประชาธิปไตยหรือรัฐปฏิกร. ใน ชนชั้น


กลางบนกระแสประชาธิปไตยไทย (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ: ๑๗๙ การพิมพ์.
วิทยา สุจริตธนารักษ์. (๒๕๓๒). การเมืองไทยหลัง 2475. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาประวัตศิ าสตร์ไทย. นนทบุร:ี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิทยากร เชียงกูล. (๒๕๕๑). ปฏิวตั ปิ ระชาธิปไตยเพือ่ แก้ไขวิกฤติของชาติ. กรุงเทพฯ: สายธาร. วิลาสินี สิทธิโสภณ
http://wiki.kpi.ac.th/ index.php?title=เหตุการณ์_ร.ศ._๑๓๐ สืบค้นเมื่อ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๑.

.
วิไลเลขา ถาวรธนสาร. (๒๕๒๙). แคว้นสุโขทัย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสังคมศึกษา ๕. นนทบุรี: สาขาวิชา
สธ สธ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มส . มส
วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน. (๒๕๒๗). การเมืองการปกครองไทย ใน เอกสารการสอนชุดวิชาประวัติศาสตร์สังคมและ
การเมืองไทย (เล่มที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กลุ . (๒๕๕๔). แคว้นสุโขทัย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาประวัตศิ าสตร์ไทย. นนทบุร:ี สาขาวิชา
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สงบ สุริเยนทร์. (๒๕๑๔). ประวัตินายกรัฐมนตรี. พระนคร: โรงพิมพ์ประจักษ์การพิมพ์.
สมบัติ ธ�ำรงธัญวงศ์. (๒๕๔๙). การเมืองการปกครองไทยยุคเผด็จการ–ยุคปฏิรูป. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์

เสมาธรรม.
สาโรช ซุ่นทรัพย์. (๒๕๓๙). ธุรกิจกับการเมืองในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุจติ บุญบงการ. (๒๕๔๐). ทหารกับการเมืองไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาวิวฒ ั นาการการเมืองไทย. นนทบุร:ี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธ.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (๒๕๕๑). สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทพี.เพรส จ�ำกัด.


สุมาลี บ�ำรุงสุข. (๒๕๓๘). การเผชิญหน้ากับจักรวรรดินิยมและการปรับปรุงบ้านเมือง. ใน เอกสารการสอนชุด
วิชาประวัติศาสตร์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ ๕). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรชาติ บ�ำรุงสุข. (๒๕๔๑). ทหารกับประชาธิปไตยไทย: จาก ๑๔ ตุลา สูป่ จั จุบนั และอนาคต. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์
ต้นต�ำรับ.
อคิน รพีพัฒน์, ม.ร.ว. (๒๕๑๘). สังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๕–๒๔๑๖. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ.
.ม
อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (๒๕๓๖). ม็อบมือถือ : ชนชั้นกลางและนักธุรกิจกับพัฒนาการประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ:
พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.
อรรถจักร สัตยานุรกั ษ์. (๒๕๔๑). การเปลีย่ นแปลงโลกทัศน์ของชนชัน้ ผูน้ ำ� ไทย ตัง้ แต่รชั กาลที่ ๔ ถึงพุทธศักราช
๒๔๗๕. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
https://www.matichonweekly. com/matichonweekly-special/article_47931 สืบค้นเมื่อ ๒๕ ตุลาคม
๒๕๖๑.
http://journal.sirirajmuseum.com/2016/05/02/กองเสือป่าในรัชกาลที่-6/ สืบค้นเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๑.

You might also like