You are on page 1of 3

คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ข้อสอบประจำภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2563


ข้อสอบวิชา 435 301 แนวทางและประเด็นปัญหาในการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ จำนวน 1 หน้า
สอบวันอังคารที่ 23 มีนาคม 2564 เวลา 16.40 น. ถึงวันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 เวลา 16.40 น.
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำชี้แจง : ข้อสอบฉบับนี้ มี 2 ข้อ รวม 40 คะแนน (คำตอบแต่ละข้อกำหนดความยาวไม่เกิน 2 หน้า A4)

1.) ขอให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้จากการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบมาอภิปรายว่าท่านเห็นด้วยหรือไม่กับประเด็น
ถกเถียงที่ว่า “ประชาธิปไตยที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพลเมืองของประเทศนั้นมีการศึกษาและมีชีวิตความ
เป็ น อยู ่ ท ี ่ ดี ” โดยใช้ม ุม มองการวิเคราะห์จากปั จจั ย เชิ งโครงสร้ าง (Structure) และปั จจั ย เชิ ง ตั วกระทำการ
(Agency) พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบการอธิบายให้ชัดเจน (20 คะแนน)
คำตอบ :
หากใช้มุมมองจากรูปแบบเชิงโครงสร้าง (Structure) นักศึกษาเห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า “ประชาธิปไตยที่แท้จริง
จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพลเมืองของประเทศนั้นมีการศึกษาและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ” เพราะรูปแบบทางสัง คม
นั้นมีอิทธิพลต่อการกระทำของมนุษย์ การที่พลเมืองในสังคมจะมีความเป็นอยู่และมีการศึกษาที่ดีไ ด้ นั่นแสดงให้
เห็นว่าโครงสร้างของสังคมนั้นดี ประชาชนได้รับสวัสดิการที่ดี อย่างเท่าเทียมกัน มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
ประชาชนมีจิตสำนึกว่า การที่พลเมืองได้รับการศึกษา สามารถเลี้ยงชีพและดํารงชีวิตอยู่ได้ มีความเป็นอยู่ที่ดีก็
เพราะสั งคม ในเมื่อ สังคมให้ประโยชน์แก่เราเราก็ อยากจะพั ฒนาสัง คมให้ เป็ น สัง คมประชาธิ ปไตยที ่ ดี ยิ่งขึ้น
พลเมืองในสังคมจึงเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการพัฒนาประชาธิปไตย ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอังกฤษประเทศในกลุ่ม
ที่พัฒนาแล้วที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เป็นประเทศที่มีโครงสร้างทางสังคมที่ดี มีวัฒนธรรม
ที่หลากหลาย ประชาชนนั้นก็ได้รับสวัสดิการที่ดี เป็นประเทศที่พลเมืองมีความเจริญมาก เคารพสิทธิเสรีภาพของ
กันและกัน สามารถแสดงออกทางการเมืองได้อย่างเสรี จึงทำให้พลเมืองในประเทศอังกฤษมีความตระหนัก ในสิทธิ
เสรีภาพของตนเองมาก พลเมืองมีส่วนร่วมทางการเมืองมาก ต่างจากสังคมไทย สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่ได้มีอิสระ
อย่างสมบูรณ์ มีการจำกัดโดย วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ประชาชนส่วนนึงไม่สนใจการเมือ งและ
เรื่องสิทธิ์ที่ตนควรจะได้รับ มีการนำศาสนามาข้องเกี่ยวกับการเมือง ทำให้การมีส่วนร่วมแสดงออกทางการเมืองมี
ขีดจำกัด สภาพแวดล้อมก็เป็นส่วนหนึ่งที่หล่อหลอมและครอบงำความคิดของประชาชนไทย อย่างเช่น เรื่องพื้นที่
ชนบท รัฐมองว่าพื้นที่ต่างจ่างหวัด พื้นที่ชนบทไม่จำเป็นต้องมี ความเจริ ญ เหมือ นในตั วเมือง ชนบทเป็นพื้น ที่
ท่องเที่ยวสำหรับคนกรุง เป็นอยู่แบบนี้ก็ดีแล้ว ทั้งๆที่ความเจริญควรเข้าถึงทุกพื้นที่ ทำให้ประชาชนก็ไม่ได้รู้ สึก ถึง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ผู้ออกข้อสอบ


ความจำเป็นว่าพื้นที่ของตนควรจะเจริญได้เท่ากับพื้นที่ในเมือง อีกกรณีของสิทธิในการแสดงออกทางการเมืองของ
ประชาชนนั้นก็ถูกจำกัดโดย ประเพณี วัฒนธรรม การปลูกฝังด้วยเช่นกันว่าเรื่องการเมืองไม่ใช่เรื่องของตน เป็น
เรื่องของนักการเมือง ผู้ใหญ่บางคนบ้างก็ว่า การเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องของเด็ก ทุกวันนี้ประชาชนไทยก็ไม่ได้มีความ
เป็ น อยู ่ ที่ ดีม าก คนจำนวนมากไม่ได้ร ับการศึ กษา ทั ้ ง ที่ เ ป็น สิท ธิขั้ นพื้ นฐานที ่ประชาชนควรจะได้จากรัฐบาล
สวัสดิการไม่ทั่วถึง โครงสร้างทางสังคมเช่นนี้ทำให้ประชาชนในสังคมไม่ได้ให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยมากนัก

หากใช้มุมมองจากปัจจัยเชิงตัวกระทำการ (Agency) นักศึกษาไม่เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า “ประชาธิปไตยที่


แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพลเมืองของประเทศนั้นมีการศึกษาและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ” นักศึกษาจะขอยก
ประเทศไทยเป็นตัวอย่าง ประเทศไทยนั้นมีความขัดแย้งทางการเมือง มีการแบ่งขั้วมานานหลายปี แต่ประชาชน
ส่วนนึงก็มองว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ ไม่ใช่เรื่องของตนเองบ้าง ในสังคมไทยนั้นมีบุคคลอยู่หลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็น ชนชั้น
นำ ชนชั้นกลาง และชนชั้นแรงงาน อย่างเช่นชนชั้นนำและชนชั้นกลางส่วนใหญ่จะมีชี วิตการเป็นอยู่ที่ดี มีเงิน
มากมายที่จะสามารถศึกษาต่อได้ในระดับสูง ถึงจะมีการศึกษาและมีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดี แต่กลุ่มชนชั้นนำและชน
ชั้นกลางบางส่วนนั้นมักไม่ได้ตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพที่ตนพึงมี ยกตัวอย่างจากการต่อต้านไม่ไปเลือกตั้ง ในปี พ.ศ.
2557 ที่เกิดเหตุการณ์ ชุมนุมของกลุ่มกปปส. มีประชาชนที่เป็นกลุ่มชนชั้นนำและชนชั้นกลางส่วนมากออกมา
รณรงค์ไม่ไปเลือกตั้ง ทั้งๆที่การใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งนั้นเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักประชาธิ ปไตย
แต่กลุ่มชนชั้นแรงงานและชนชั้นกลาง ถึงแม้ว่าชีวิตการกินอยู่และการศึกษาอาจจะไม่ได้ดีนัก แต่กลับมีส่วนร่วม
ทางการเมือง และมีการตระหนักถึงสิทธิของตนเองมากกว่ากลุ่มชนชั้นนำและชนชั้นกลางบางกลุ่มเสียอีก อย่างเช่น
กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้ประกันตนสังคม ในช่วงโควิด-19 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล
จ่ายเงินสะสมชราภาพมาเยียวยาความเดือดร้อน ในเมื่อประชาชนในสังคมนั้นไม่ตระหนักถึงสิทธิที่จะมีส่วนร่วม
ทางการเมืองที่ตนพึงมีตามหลักของประชาธิปไตยที่ควรจะเป็น การปกครองครองของประชาชน โดยประชาชน
และเพื่อประชาชน แต่กลุ่มคนบางกลุ่มยังเพิกเฉยต่อการถูกลิดรอนสิทธิ์ ประชาธิปไตยที่แท้จริ ง นั้นก็ คงจะเกิด ขึ้น
ได้ยาก

นางสาว อภิชญา สวนมะลิ รหัสนักศึกษา 620510173

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ผู้ออกข้อสอบ


2. ขอให้ น ั ก ศึ ก ษาวิ เ คราะห์ เ ปรี ย บเที ย บว่ า “ เพราะเหตุ ใ ดกระบวนการสร้ า งประชาธิ ป ไตยให้ ตั้ ง
มั่น (Democratic Consolidation) ในไทยและเมียนมาจึงประสบปัญหา” โดยใช้แนวทางการศึกษาที่ได้จาก
การเรียนวิชานี้อย่างน้อย 1 แนวทางการศึกษา (20 คะแนน)

นักศึกษาขอเลือกใช้ประเด็น Regime type and change เพื่อใช้ศึกษาประเภทของระบอบการปกครองของ


ไทยและเมียนมา ในอดีตประเทศไทยนั้นปกครองประเทศด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.
2475 กลุ่มคณะราษฎรที่นำโดย พระยาพหลพลพยุหเสนาได้ทำการยึดอาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบประชาธิปไตย และในภายหลังก็เกิดการทำรัฐประหารภายในประเทศ วนซ้ำเป็น
ลูป เช่นเดียวกับเมียนมา ประเทศเมียนมามีการปกครองแบบสังคมนิยมโดยการครอบงำทางการเมืองของกองทัพ
เมียนมา เป็นเวลาถึง26 ปี จนช่วงปี พ.ศ.2554-2558 เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย มีการจัดการเลือกตั้ง
และในล่าสุด วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เกิดการรัฐประหารโดยกองทัพเมียนมา ไม่ว่าการรัฐประหารจะเกิดใน
ประเทศใด พลเมืองในประเทศนั้นมักจะถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง อย่างเช่นในเมียนมา
หลังจากเกิดการรัฐประหารครั้งล่าสุด ประชาชนได้ออกมาต่อต้าน ไม่ยอมรับการรัฐประหาร เกิดการต่อสู้ของ
ประชาชนกับทหาร มีประชาชนเสียชีวิตไปจำนวนมากจากเหตุการณ์นี้ ในไทยก็เช่นกัน ในช่วงรัฐประหารโดยคณะ
รักษาความสงบแห่งชาติเข้ามา ผู้ใดที่แสดงออกว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม มีการวิจารณ์กองทัพมักจะถูกจับ ถูกตั้งข้อหา
จนบางคนถึงกับต้องลี้ภัยทางการเมือง ผลของรัฐประหารนั้นทำให้เศรษฐกิจในประเทศต้องหยุดชะงัก เมียนมาใน
อดีตก็มีการหยุดชะงัก ปิดประเทศจนกลายเป็นประเทศด้อยพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนานั้นมักจะมีสถาบัน
การเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ
การเมืองของไทยกับเมียนมานั้นมีความคล้ายคลึงกันตรงที่มักจะเกิดรัฐประหารอยู่บ่อยครั้งโดยกองทัพ มีการ
ยึดกุมอำนาจที่คล้ายกัน ระบบการเลือกตั้งไม่มีเสถียรภาพ เพราะว่า ไทยและเมียนมามีสถาบันทางการเมืองที่ไม่
มั่นคง มักจะเกิดการแทรกแทรงการเมืองโดยกองทัพ ทั้งไทยและเมียนมานั้นไม่สามารถลดอำนาจการแทรกแทรง
การเมื อ งของกองทั พ ได้ นี ่ จ ึ ง เป็ น ผลที ่ ว ่ า ทำกระบวนการ สร้ า งประชาธิ ป ไตยให้ ตั้ ง มั ่ น (Democratic
Consolidation) ในไทยและเมียนมาจึงประสบปัญหา

นางสาว อภิชญา สวนมะลิ รหัสนักศึกษา 620510173

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ผู้ออกข้อสอบ

You might also like