You are on page 1of 208

สารบัญ

เรื่อง หน้า
แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560–2579) 1
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ.2566 - 2570) 3
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ๔
ประจาปีงบประมาณ พ.ศ.2566
สรุปรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 9
- คาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 28/2559 11
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา 13
โครงสร้างการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ 16
สรุปยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 17
องค์คณะบุคคลในกฎหมายการศึกษา 21
ตารางโครงสร้างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 22
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๒ 23
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ 37
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ 48
กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยอานาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๖๑ 66
กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. ๒๕๔๙ 68
กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. ๒๕๔๙ 69
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ 70
คณะกรรมการคุรุสภา 81
คณะกรรมการ สกสค. 82
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ 83
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 86
กฎกระทรวงการประกอบวิชาชีพควบคุม พ.ศ. ๒๕๔๙ 92
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๖๒ 93
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.๒๕๖๕ 96
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ 105
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๐ 116
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 110
สารบัญ (ต่อ)
เรื่อง หน้า
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ 121
บุคคลพิการ 9 ประเภท 126
พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 127
พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ 130
พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 135
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2546
(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 146
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
พระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557 157
และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562
พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ 170
พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562 173
ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 176
ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2537 191
หลักธรรมาภิบาล 193
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกาหนดเวลาทางานและ
วันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ 194
สรุประเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.๒๕๕๕ 196
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. 2549 200
และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
อักษรย่อเกี่ยวกับการศึกษา 205
1

แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2579)


วิสัยทัศน์ (Vision)
“คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดารงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21”
หลักการ/แนวคิด
- SDGs
- เศรษฐกิจพอเพียง
- โลกในศตวรรษที่ 21
เป้าหมาย
1. การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา (Access)
2. ความเท่าเทียมทางการศึกษา (Equity)
3. คุณภาพการศึกษา (Quality)
4. ประสิทธิภาพ (Efficiency)
5. การตอบโจทย์บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลง (Relevancy)
ยุ ท ธศาสตร์ / แนวทางการพั ฒ นาการศึ ก ษาตามแผนการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2560 – 2579
ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากาลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
2

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ( พ.ศ.2566 - 2570)


หลักการและแนวคิด
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (ร่าง) ได้กาหนดทิศทางและเป้าหมายของการ
พัฒนาบนพื้นฐานของหลักการและแนวคิดที่สาคัญ 4 ประการ ได้แก่
1. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสืบสาน รักษา ต่อยอดการพัฒนาตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี
ควบคู่กับการใช้เงื่อนไข 2 ประการเพื่อกากับการกาหนดทิศทางและประเด็นการพัฒนาในส่วนต่าง ๆ ได้แก่
เงื่อนไขความรู้ โดยการใช้องค์ความรู้ทางวิชาการที่รอบด้าน และเงื่อนไขคุณธรรม โดยยึดถือผลประโยชน์ของ
ประชาชนและความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคม
2. แนวคิ ด Resilience ซึ่ ง เป็ น แนวคิ ด ที่ มุ่ ง เน้ น การลดความเปราะบางต่ อ ความเปลี่ ย นแปลง
อันประกอบด้วยการพัฒนาความสามารถใน 3 ระดับ ได้แก่
(1) การพร้อมรับ (Cope) หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการภายใต้สภาวะวิกฤติ
ให้สามารถยืนหยัดและต้านทานความยากลาบาก รวมถึงฟื้นคืนกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว
(2) การปรั บ ตั ว (Adapt) หมายถึ ง การปรั บ ทิ ศ ทาง รู ป แบบ และแนวทางการพั ฒ นา
ให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมกระจายความเสี่ยงและปรับตัวอย่างเท่าทันเพื่อแสวงหาประโยชน์
จากสิ่งที่เกิดขึ้น
(3) การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน (Transform) หมายถึง การ
เปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลง
3. เป้าหมายการพัฒนาอย่ างยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้
ข้างหลัง” โดยมุ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งในมิติของการมีปัจจัยที่จาเป็นสาหรับ
การดารงชีวิตขั้น พื้น ฐานที่เพีย งพอ การมีส ภาพแวดล้ อมที่ดี การมีปัจจัยสนับสนุนให้ มีสุ ขภาพที่ ส มบู ร ณ์
ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การมีโอกาสที่จะใช้ศักยภาพของตนในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงการมุ่ง ส่งต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีไปยังคนรุ่นต่อไป
4. โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 รูปแบบควบคู่กัน ได้แก่ เศรษฐกิจ
ชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยอาศัยฐานศักยภาพและความเข้มแข็งของประเทศ
อันประกอบด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม พร้อมกับการใช้ประโยชน์
จากองค์ ค วามรู้ ท างด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวั ต กรรมในการสร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม เพื่ อ ผลั ก ดัน
ให้ประเทศมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และสามารถกระจายรายได้ โอกาส และความมั่งคั่ง
ได้อย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ การจัดทาแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ยังคานึงถึงเงื่อนไขและข้อจากัดของการพัฒนาประเทศ
ที่สืบเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม
ซึ่งจะส่งผลให้บริบทของประเทศและของโลกเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
วัตถุประสงค์
พลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน ” ซึ่งหมายถึงการสร้าง
การเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับโครงสร้าง นโยบาย และกลไก เพื่อมุ่งเสริมสร้างสังคมที่ก้าวทันพลวัต
ของโลก และเกื้อหนุนให้คนไทยมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมกับการปรับโครงสร้าง
เศรษฐกิจไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสร้าง
มูลค่าเพิ่มที่สูง และคานึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
3

เป้าหมายหลัก
(ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ได้กาหนดเป้าหมายหลักจานวน 5 ประการ
ประกอบด้วย
1. การปรั บโครงสร้ างการผลิตสู่เ ศรษฐกิ จฐานนวัตกรรม โดยยกระดับขีดความสามารถในการ
แข่งขันของภาคการผลิตและบริการสาคัญให้สูงขึ้น และสามารถตอบโจทย์พัฒนาการของเทคโนโลยีและสังคม
ยุคใหม่ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงเศรษฐกิจท้องถิ่นและผู้ประกอบการรายย่อยกับห่วงโซ่มูลค่าของ
ภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย รวมถึงพัฒนาระบบนิเวศที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนและนวัตกรรม
2. การพัฒนาคนสาหรับโลกยุคใหม่ โดยพัฒนาให้คนไทยมีทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับ
โลกยุ คใหม่ ทั้งทักษะในด้านความรู้ ทักษะทางพฤติกรรม และคุณลั กษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสั ง คม
เตรียมพร้อมกาลังคนที่มี คุณภาพสอดคล้ องกับความต้องการของตลาดแรงงาน เอื้อต่อการปรับโครงสร้าง
เศรษฐกิจไปสู่ภาคการผลิตและบริการเป้าหมายที่มีศักยภาพและผลิตภาพสูงขึ้น รวมทั้งพัฒนาหลักประกัน
และความคุ้มครองทางสังคมเพื่อส่งเสริมความมั่นคงในชีวิต
3. การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม โดยลดความเหลื่อมล้าทั้งในเชิงรายได้ ความมั่งคั่ง
และโอกาสในการแข่งขันของภาคธุรกิจ สนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาสให้มีโอกาสในการ
เลื่อนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงจัดให้มีบริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
4.การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน โดยปรับปรุงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตและบริโภค
ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับขีดความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศ แก้ไขปัญหามลพิษสาคัญ
ด้วยวิธีการที่ยั่งยืน โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ ขยะ และมลพิษทางน้า และลดการปล่อยก๊า ซเรือนกระจก
เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในครึ่งแรกของศตวรรษนี้
5.การเสริ มสร้ า งความสามารถของประเทศในการรั บมื อกั บความเสี่ ยงและการเปลี่ ยนแปลง
ภายใต้ บริ บทโลกใหม่ โดยการสร้ างความพร้อมในการรับมือและแสวงหาโอกาสจากการเป็นสั งคมสูงวัย
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยโรคระบาด และภัยคุกคามทางไซเบอร์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ
กลไกทางสถาบั น ที่เ อื้อ ต่ อการเปลี่ ย นแปลงสู่ ดิจิ ทัล รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริ ห ารงาน
ของภาครัฐให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีได้อย่าง
ทันเวลา มีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล
เพื่อถ่ายทอดเป้ า หมายหลั ก ไปสู่ ภ าพของการขั บเคลื่ อ นที่ ชัด เจนในลั กษณะของวาระการพั ฒ นา
(Agenda) ที่เอื้อให้เกิดการทางานร่วมกันของหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนในการผลักดันการพัฒนา
ในเรื่องใดเรือ่ งหนึ่งให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
4

ประกาศกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร
เรื่ อ ง นโยบายและจุ ด เน้ น ของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ประจาปี ง บประมาณ พ.ศ.256 ๗
5
6
7
8
9

สรุ ป รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย 2560


สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ตราไว้ ณ วันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2560
เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน
- เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20
- จัดร่างโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่าง พ.ศ. 2557 – 2560 ภายหลังการรัฐประหาร
ในประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
- พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ
มีทั้งสิ้น 16 หมวด 1 บทเฉพาะกาล 279 มาตรา
หมวดที่ 1 บททั่วไป (มาตรา 1 - 5)
หมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 6 – 24)
หมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย (มาตรา 25 – 49)
หมวดที่ 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย (มาตรา 50)
หมวดที่ 5 หน้าที่ของรัฐ (มาตรา 51 – 63)
หมวดที่ 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ (มาตรา 67 – 78)
หมวดที่ 7 รัฐสภา (มาตรา 79 – 157)
หมวดที่ 8 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 158 – 183)
หมวดที่ 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์ (มาตรา 184 – 187)
หมวดที่ 10 ศาล (มาตรา 188 – 199)
หมวดที่ 11 ศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 200)
หมวดที่ 12 องค์กรอิสระ (มาตรา 251 – 247)
หมวดที่ 13 องค์กรอัยการ (มาตรา 248)
หมวดที่ 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 249 – 254)
หมวดที่ 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 255 – 256)
หมวดที่ 16 การปฏิรูปประเทศ (มาตรา 257 – 261)
บทเฉพาะกาล (มาตรา 262 - 279)
หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มี 13 มาตรา
มาตรา 51 ให้เป็นหน้าที่ทาเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง เป็นสิทธิของประชาชนและ
ชุมชนที่จะติดตาม และเร่งรัดให้รัฐดาเนินการ รวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้
ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้น
มาตรา 52 รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพ แห่ง
อาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิและผลประโยชน์ของชาติ ความมั่นคงของรัฐ และ
ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
มาตรา 54
รัฐต้องดาเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษา
ภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
รัฐต้องดาเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่งเพื่อพัฒนา
ร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์ กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดาเนินการด้วย
10

รัฐต้องดาเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มี
การเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการ
จัดการศึกษาทุกระดับ
การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความ
ถนัดของตนและมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้าในการศึกษาและ
เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐจัดสรรงบประมาณให้แก่กองทุน
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อการ
ปฏิรูปการศึกษา โดยปรากฎในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 54
พ.ร.บ.กองทุ น เพื่ อ ความเสมอภาคทางการศึ ก ษา พ.ศ.2561 ประกาศใช้ บั ง คั บ เมื่ อ วั น ที่ 14
พฤษภาคม 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึ กษา ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
ลดความเหลื่อมล้าทางการศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐเป็น
ผู้จัดสรรงบประมาณให้กองทุน และมีการบริหารงานที่เป็นอิสระ
ภารกิจของกสศ.
กสศ. มีภ ารกิจ ในการช่ว ยเหลื อดูแลกลุ่ มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือด้อยโอกาส
นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยแรงงานให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา เพื่อบรรเทาความยากจนอันเป็นรากเหง้าของ
ปัญหาอื่นๆ ซึ่งหากแก้ไม่ได้ ปัญหานี้จะส่งทอดวนเวียนไปข้ามชั่วคน จากพ่อแม่ ส่งต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานได้
เพราะมีกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงการศึกษา หรือได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพต่างกัน
ภารกิจของกสศ.
1. สร้างเสริมองค์ความรู้และบริการจัดการเชิงระบบเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
2. ลงทุนโดยใช้ความรู้นา เพื่อช่วยเหลือและสร้างคุณค่าเพิ่มแก่กลุ่มเป้าหมาย
3. ระดมการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วน
4. เสนอแนะมาตรการเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย
11

คาสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ 28/๒๕59
เรื่อง ให้จดั การศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ตามที่กฎหมายว่าด้ว ยการศึกษาแห่ งชาติกาหนดให้รัฐต้องจัดให้บุคคลได้รับการศึกษาขั้นพื้ นฐาน
ไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น รัฐบาลที่ผ่านมามีนโยบายจัดการศึกษาดังกล่าวโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
เป็นเวลา ๑๕ ปี ตามมติคณะรั ฐมนตรี วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๒ โดยขออนุมัติตั้งงบประมาณเป็นรายปี
และขยายขอบเขตการดาเนินการตามนโยบายของรัฐบาลแต่ละคณะมาเป็นลาดับ หัวหน้าคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่าโดยที่เรื่องนี้สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
และนโยบายปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล ทั้ง สามารถลดความเหลื่อมล้า สร้างโอกาสทางการศึกษา และความ
เป็นธรรมในสังคม แก้ปัญหาความยากจน ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสอดคล้ อ งกับ
ความต้องการของประชาชน จึงสมควรยืนยันแนวทางดังกล่าวและพัฒ นาต่อไปด้ว ยการยกระดับจากการ
เป็ น โครงการตามนโยบายของแต่ ล ะรั ฐ บาลให้ เ ป็ น หน้ า ที่ ข องรั ฐ และมาตรการตามกฎหมาย เพื่ อ เป็ น
หลักประกันความยั่งยืนมั่นคง และเพื่อให้สามารถจัดงบประมาณสนับสนุนได้อย่างต่อเนื่อง
อาศั ย อ านาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย (ฉบั บ ชั่ ว คราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
จึงมีคาสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในคาสั่งนี้
“ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา” หมายความว่า งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้แก่หรือผ่านทางสถานศึกษา
หรือผู้จัดการศึกษาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี
“การศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี” หมายความว่า การศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล)
(ถ้ามี) ระดับประถมศึกษา จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. ๓) หรือเทียบเท่า
และให้หมายความรวมถึงการศึกษาพิเศษและการศึกษาสงเคราะห์ด้วย
“การศึกษาพิเศษ” หมายความว่า การจัดการศึกษาให้แก่บุคคลซึ่งมีความผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใด
ซึ่งจาเป็นต้องจัดการศึกษาให้เป็นรูปแบบโดยเฉพาะ และอาศัยเทคนิคต่าง ๆ ในการสอนตามลักษณะความ
ต้องการและความจาเป็นของแต่ละบุคคล
“การศึกษาสงเคราะห์ ” หมายความว่า การจัดการศึกษาให้ แก่เด็กที่ตกอยู่ในภาวะยากลาบากหรือ
อยู่ ในสถานภาพที่ด้ อยกว่ าเด็ ก ทั่ว ไป หรือที่มีลั กษณะเป็น การกุ ศล เพื่อให้ มีชีวิตและความเป็ นอยู่ ที่ ดี ขึ้ น
มีพัฒนาการที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
ข้อ ๒ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามที่คณะรัฐมนตรีกาหนดเตรียมการเพื่อจัดให้เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
ได้รับการดูแล และพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาโดยส่งเสริมและสนับสนุน
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดาเนินการด้วย
ข้อ ๓ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้ นฐานดาเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑๕ ปี ให้ มีมาตรฐานและคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายให้ รัฐ มนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยความ
เห็นชอบของคณะรัฐ มนตรีกาหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาสาหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี
เพื่อเสนอตามกระบวนการจัดทางบประมาณรายจ่ายประจาปี
ค่าใช้จ่ายตามวรรคสอง ได้แก่
(๑) ค่าจัดการเรียนการสอน
(๒) ค่าหนังสือเรียน
(๓) ค่าอุปกรณ์การเรียน
(๔) ค่าเครื่องแบบนักเรียน
12

(๕) ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
(๖) ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
ข้อ ๔ ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทาหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อนามาใช้แทนและขยายผล
ต่อจากคาสั่งนี้แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในหกเดือนนับแต่วันที่คาสั่งนี้ใช้บังคับ
ข้อ ๕ ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคาสั่งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอานาจ
วินิจฉัยชี้ขาด
ข้อ ๖ ให้อัตราค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีผลใช้อยู่
ในวันก่อนวันที่คาสั่งนี้ใช้บังคับ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีการกาหนดอัตราค่าใช้จ่ายสาหรับการ
จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี ตามข้อ ๓
ข้อ ๗ คาสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๑๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๙


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาต
13

หมวด 7 รัฐสภา
ส่วนที่ 1 บททั่วไป

รัฐสภา
- ประธาน ส.ส. เป็นประธานรัฐสภา
- ประธาน ส.ว. เป็นรองประธานรัฐสภา

สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) วุฒิสภา (ส.ว.)


จานวน 500 คน อายุ 4 ปี จานวน 200 คน อายุ 5 ปี
- เลือกตั้งแบบแบ่งเขต 350 คน ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของบุคคลซึ่งมี
- บัญชีรายชื่อพรรคการเมือง 150 คน ความรู้ ความเชี่ ย วชาญ ประสบการณ์ อาชี พ
ผู้จะสมัคร ส.ส. ได้ คือ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทางานหรือเคย
- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ทางานด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม โดยใน
- อายุไม่ต่ากว่า 25 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง การแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทาให้ประชาชน
ซึ่งมีสิทธิสมัครรับเลือกทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใด
กลุ่มหนึ่งได้ ให้ดาเนินการตั้งแต่ระดับอาเภอ ระดับ
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ จังหวัด และระดับประเทศ เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภา
1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดย เป็ น ผู้ แ ทนปวงชนชาวไทยในระดั บ ประเทศ
การแปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ผู้สมัคร ส.ว. ได้ คือ
2. บุ ค คลที่ มี อ ายุ ไ ม่ ต่ ากว่ า 18 ปี ในวั น - มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
เลือกตั้ง - อายุไม่ต่ากว่า 40 ปี ในวันสมัครรับเลือกตั้ง
3. มี ชื่ อ อยู่ ใ นทะเบี ย นบ้ า นในขตเลื อ กตั้ ง หมายเหตุ : 5 ปี แ รกของการใช้ รั ฐ ธรรมนู ญ มี
มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวัน วุฒิสภาจานวน 250 คน
เลือกตั้ง
บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช คณะรัฐมนตรี
2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ไม่ 1. นายกรัฐมนตรี
ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่ - ได้จากบุคคลซึ่ง ส.ส. เห็นชอบ ดารงตาแหน่ง
3. ต้ อ งคุ ม ขั ง อยู่ โ ดยหมายของศาลหรื อโดย รวมไม่เกิน 8 ปี
คาสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย 2. รัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน
4. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ - อายุ ไ ม่ ต่ ากว่ า 35 ปี การศึ ก ษาไม่ ต่ ากว่ า
ปริญญาตรี
14

มาตรา 79
1. รัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
2. รั ฐ สภาจะประชุ ม ร่ ว มกั น หรื อ แยกกั น ย่ อ มเป็ น ไปตามบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง รั ฐ ธรรมนู ญ บุ ค คลจะเป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้
มาตรา 80
1. สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก จานวน 500 คน ดังนี้
- สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจานวน 350 คน
- สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจานวน 150 คน
2. ในกรณีที่ตาแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่า ด้ วยเหตุผลใดและยัง ไม่มีการเลือกตั้ง หรือ
ประกาศชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตาแหน่งที่ว่างให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรเท่าที่มีอยู่ในกรณีมีเหตุใดๆ ที่ทาให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญรายชื่อมีจานวนไม่ถึงหนึ่งร้อยห้าสิบ
คน ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
มาตรา 81
1. ร่ า งพระราชบัญ ญั ติประกอบรั ฐธรรมนูญ และร่า งพระราชบัญ ญั ติ จะตราขึ้ นเป็นกฎหมายได้ก็ แ ต่
โดยคาแนะนาและยินยอมของรัฐสภา
2. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ ที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนาขึ้นทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษั ตริย์ ทรงลงพระปรมาภิไธยและเมื่อ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
มาตรา 84
1. ในการเลื อ กตั้ ง ทั่ ว ไป เมื่ อ มี ส มาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรได้ รั บ เลื อ กตั้ ง ถึ ง ร้ อ ยละ 95 ของจ านวน
สมาชิ ก สภาผู้ แ ทนราษฎรทั้ ง หมดแล้ ว หากมี ค วามจ าเป็ น จะต้ อ งเรี ย กประชุ ม รั ฐ สภาได้ โ ดยให้ ถื อ ว่ า สภา
ผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
2. ต้องดาเนินการให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ครบตามจานวน โดยเร็ว
มาตรา 85
1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนน
โดยตรงและลับ
2. แต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เขตละหนึ่งคน
3. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งได้คนละหนึ่งคะแนน
มาตรา 96 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคาสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
4) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
15

สภาผู้แทนราษฎร (500 คน – เลือกตั้ง – อายุไม่ต่ากว่า 25 – วาระ 4)


- มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
- มีอายุไม่ต่ากว่า 25 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง
- เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคการเมืองเดียว เป็นเวลาติดต่อกัน
ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่มีการเลือกตั้ง ทั่วไปเพราะเหตุ ยุ บสภา
ระยะเวลา 90 วัน เหลือ 30 วัน
- สภาผู้แทนราษฎร มีกาหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
ส่วนที่ 3 วุฒิสภา
มาตรา 107 วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจานวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกกันเองของบุคคล
ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะหรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทางาน หรือเคยทางาน
ด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม โดยในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทาให้ประชาชน ซึ่งมีสิทธิสมัคร
รับเลือกทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้
มาตรา 108 สมาชิกวุฒิสภาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ก. คุณสมบัติ
1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2) มีอายุไม่ต่ากว่าสี่สิบปีในวันสมัครรับเลือก
3) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่าสิบปี
ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่ แต่ในกรณีที่มีสมาชิกวุฒิสภาเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
ของจานวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดและอายุของวุฒิสภาเหลืออยู่เกินหนึ่งปีให้ดาเนินการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
ขึ้นแทนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่วุฒิสภามีสมาชิกเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง
การเลือกสมาชิกวุฒิสภาให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และภายในห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกา
มีผลใช้บังคับ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกาหนดวันเริ่มดาเนินการเพื่อเลือกไม่ช้ากว่าสามสิบวันนับแต่วันที่
มาตรา 109 อายุของวุฒิสภามีกาหนดคราวละห้าปีนับแต่วันประกาศผลการเลือก สมาชิกภาพของ
สมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกเมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง
ให้สมาชิกวุฒิสภาอยู่ในตาแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีสมาชิกวุฒิสภาขึ้นใหม่
มาตรา 112 บุคคลผู้เคยดารงตาแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เ กินสอง
ปีจะเป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดารงตาแหน่งทางการเมืองมิได้ เว้นแต่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือบริหารท้องถิ่น

วุฒิสภา (200 คน – เลือกกันเอง – อายุไม่ต่ากว่า 40 – ประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 10 – วาระ 5)


16

โครงสร้างการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษำธิกำร

สำนักงำน สำนักงำน สำนักงำนเลขำธิกำร สำนักงำน สำนักงำน


ปลัดกระทรวง สภำกำรศึกษำ คณะกรรมกำร คณะกรรมกำร
รัฐมนตรี
ศึกษำธิกำร (เป็นกรม ) กำรศึกษำขั้น อำชีวศึกษำ
พื้นฐำน (สพฐ.)
(สป.ศธ.) คณะกรรมกำร 41 คน (สอศ.) (เป็นกรม)
(เป็นกรม)
(เป็นกรม) คณะกรรมกำร
คณะกรรมกำร
ไม่เกิน 32 คน
ไม่เกิน 27 คน
เลขำธิกำร
คณะกรรมกำร
กำรศึกษำ
ขั้นพื้นฐำน

ผู้อำนวยกำร สำนักงำนเขตพื้นที่ สำนักงำนเขตพื้นที่


กำรศึกษำ กำรศึกษำ
สำนักงำนเขต
ประถมศึกษำ มัธยมศึกษำ
พื้นที่กำรศึกษำ
(183 เขต) (62 เขต)

ผู้อำนวยกำร สถำนศึกษำ สถำนศึกษำ


สถำนศึกษำ ขั้นพื้นฐำน ขั้นพื้นฐำน
17

สรุปยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนา


ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” นาไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข และตอบสนองตอบต่อการบรรลุ
ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และสร้าง
ความสุขของคนไทย สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและ เป็นธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ
กรอบแนวทางที่สาคัญของยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี
1. ด้านความมั่นคง
1) เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข
2) ปฏิรูปกลไกการบริหารประเทศและพัฒนาความมั่นคงทางการเมือง ขจัดคอร์รัปชั่น สร้างความ
เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม
3) การรักษาความมั่นคงภายในและความสงบเรียบร้อยภายใน ตลอดจนการบริหารจัดการความมั่นคง
ชายแดนและชายฝั่งทะเล
4) การพัฒนาระบบ กลไก มาตรการและความร่วมมือระหว่างประเทศทุกระดับ และรักษาดุลยภาพ
ความสัมพันธ์กับประเทศมหาอานาจ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่
5) การพั ฒ นาเสริ ม สร้ า งศั ก ยภาพการผนึ ก ก าลั ง ป้ อ งกั น ประเทศ การรั ก ษาความสงบเรี ย บร้ อย
ภายในประเทศ สร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ
6) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ รักษาความมั่นคงของ
ฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
7) การปรับกระบวนการทางานของกลไกที่เกี่ยวข้องจากแนวดิ่งสู่แนวระนาบมากขึ้น
2. ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
1) การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการค้า การลงทุน พัฒนาสู่ชาติการค้า
18

2) การพัฒนาภาคการผลิตและบริการ เสริมสร้างฐานการผลิตเข้มแข็งยั่งยืน และส่งเสริมเกษตรกร


รายย่อยสู่เกษตรยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3) การพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน พัฒนาทักษะผู้ ประกอบการ ยกระดับผลิ ตภาพ
แรงงานและพัฒนา SMEs สู่สากล
4) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและเมือง พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และพัฒนาระบบ
เมืองศูนย์กลางความเจริญ
5) การลงทุน พัฒ นาโครงสร้ างพื้นฐาน ด้ านการขนส่ ง ความมั่นคงและพลั งงาน ระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศ และการวิจัยและพัฒนา
6) การเชื่อมโยงกับภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก สร้างความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนากับนานาประเทศ
ส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานของการประกอบธุรกิจ ฯลฯ
3. ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
1) พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
2) การยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง
3) ปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์
4) การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี
5) การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย
4. ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาค และเท่าเทียมกันทางสังคม
1) สร้างความมั่นคงและการลดความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจและสังคม
2) พัฒนาระบบบริการและระบบบริหารจัดการสุขภาพ
3) มีสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการดารงชีวิตในสังคมสูงวัย
4) สร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมและความเข้มแข็งของชุมชน
5) พัฒนาการสื่อสารมวลชนให้เป็นกลไกในการสนับสนุนการพัฒนา
5. ด้านการสร้างการเติบโตบน คุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
1) จัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟูและป้องกันการทาลายทรัพยากรธรรมชาติ
2) วางระบบบริหารจัดการน้าให้มีประสิทธิภาพทั้ง 25 ลุ่มน้า เน้นการปรับระบบการบริหารจัดการ
อุทกภัยอย่างบูรณาการ
3) การพัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5) การร่วมลดปัญหาโลกร้อนและปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
6) การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และนโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม
6. ด้านการปรับสมดุลและพัฒนา ระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
1) การปรับปรุงโครงสร้าง บทบาท ภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ ให้มีขนาดที่เหมาะสม
2) การวางระบบบริหารราชการแบบบูรณาการ
3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการกาลังคนและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ
4) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
5) การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ
6) ให้ทันสมัย เป็นธรรมและเป็นสากล
7) พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ
8) ปรับปรุงการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายของภาครัฐ
19

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
20

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
21

องค์คณะบุคคลในกฎหมายการศึกษา
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562
❖ องค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือในรูปคณะกรรมการ (จานวน 3 องค์กร)
1) คณะกรรมการสภาการศึกษา (จานวน 41 คน)
2) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (จานวน ไม่เกิน 27 คน)
3) คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (จานวน ไม่เกิน 32 คน)
 คณะกรรมการอื่นในกฎหมายฉบับนี้ที่ควรทราบ
ก) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
▪ สถานศึกษาขนาดเล็ก (จานวนนักเรียนไม่เกิน 300 คน)
➢ มีคณะกรรมการจานวน (9 คน)
▪ สถานศึกษาขนาดใหญ่ (จานวนนักเรียนตั้งแต่ 301 คนขึ้นไป)
➢ มีคณะกรรมการจานวน (15 คน)
ข) คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ (จานวน 21 คน)
▪ ประธานกรรมการ คือ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
ค) คณะกรรมการส่งเสริ มสนับสนุน และประสานความร่ วมมือการศึกษานอกระบบและการศึก ษา
ตามอัธยาศัย (จานวน 21 คน)
▪ ประธานกรรมการ คือ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
ง) คณะกรรมการติ ด ตาม ตรวจสอบและประเมิน ผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิ การ
(จานวน 19 คน)
▪ ประธานกรรมการ คือ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
จ) คณะกรรมการติ ด ตามตรวจสอบ ประเมิ น ผล และนิ เ ทศการศึ ก ษาของเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา
(ก.ต.ป.น.) (จานวน 9 คน)
▪ ประธานกรรมการ คือ (ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา)

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
22

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562
1) คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) (จานวน 14 คน)
▪ ประธานกรรมการ คือ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (โดยตาแหน่ง))
▪ พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ พ.ศ.2551 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556
1) คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ (จานวน 28 คน)
▪ ประธานกรรมการ คือ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
2) คณะกรรมการกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสาหรับคนพิการ
▪ ประธานกรรมการ คือ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
▪ กรรมการและเลขานุการ ผู้อานวยการสานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
▪ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
1) คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ (จานวน 25 คน)
▪ ประธานกรรมการ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2) คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร
▪ ประธานกรรมการ คือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3) คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด
▪ ประธานกรรมการ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด
4) คณะกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็ก
▪ ประธานกรรมการ คือ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ตารางโครงสร้างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมกำรสถำนศึกษำขั้นพื้นฐำน คุณสมบัติคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
(1) มีอายุไม่ต่ากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
ใหญ่ 15 เล็ก 9 (2) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
301 → ← 300 (3) ไม่ เ ป็ น คนไร้ ค วามสามารถ หรื อ คนเสมื อ นไร้
ความสามารถ
1. ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธาน จานวน 1 คน (4) ไม่เคยได้รับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก
เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิดที่ได้กระทาโดยประมาท
2. ผู้แทนผู้ปกครอง จานวน 1 คน หรือความผิดลหุโทษ
3. ผู้แทนครู จานวน 1 คน (5) ไม่เป็นคู่สัญญากับสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ
4. ผู้แทนองค์กรชุมชน จานวน 1 คน สถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษานั้น
5. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จานวน 1 คน
6. ผู้แทนศิษย์เก่า จานวน 1 คน
7. ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์หรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ เล็ก จานวน 1 คน ใหญ่ จานวน 2 คน
8. ผู้ทรงคุณวุฒิ เล็ก จานวน 1 คน ใหญ่ จานวน 6 คน
9. ผู้บริหารสถานศึกษา กรรมการและเลขานุการ จานวน 1 คน
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่งตั้งโดย ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
23

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒


แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙
ประกอบกับ มาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่ งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทาได้โ ดยอาศัยอานาจตาม
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึ งทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ าฯ ให้ ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โ ดยคาแนะนาและยินยอมของรัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ บรรดาบทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคาสั่งอื่นในส่วนที่ได้บัญญัติไว้แล้ว
ในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“การศึกษา” หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการ
ถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้า ทาง
วิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุน ให้
บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
“การศึกษาขั้นพืน้ ฐาน” หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
“การศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่า การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ
การศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย เพื่ อ ให้ ส ามารถพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง
ตลอดชีวิต
“สถานศึกษา” หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน
มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอานาจหน้าที่หรือ มี
วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
“สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
“มาตรฐานการศึกษา” หมายความว่า ข้อกาหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และ
มาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสาหรับการส่งเสริม
และกากับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
“การประกันคุณภาพภายใน” หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษาของสถานศึ กษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้น เอง หรือ โดยหน่ว ยงาน
ต้นสังกัดที่มีหน้าที่กากับดูแลสถานศึกษานั้น
“การประกันคุณภาพภายนอก” หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและ
มาตรฐานการศึ ก ษาของสถานศึ ก ษาจากภายนอก โดยส านั ก งานรั บ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพ
การศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานักงานดังกล่าวรับ รอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มี
การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
24

“ผู้สอน” หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ


“ครู” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริ ม
การเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
“คณาจารย์” หมายความว่า บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
“ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา แต่
ละแห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน
“ผู้ บ ริ ห ารการศึ ก ษา” หมายความว่ า บุ ค ลากรวิ ช าชี พ ที่ รั บ ผิ ด ชอบการบริ ห ารการศึ ก ษานอก
สถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
“บุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุน
การศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ
และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
“กระทรวง” หมายความว่า กระทรวงศึกษาธิการ
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้ รั ฐ มนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และมีอานาจ
ออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงระเบียบ และประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
บททั่วไป
ความมุ่งหมายและหลักการ
มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่ส มบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี
ความสุข
มาตรา ๗ ในกระบวนการเรี ย นรู้ ต้ องมุ่งปลู กฝั งจิตส านึ กที่ ถู กต้ องเกี่ยวกั บการเมื องการปกครอง
ในระบอบประชาธิป ไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ
ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ มี ค วามภาคภู มิ ใ จในความเป็ น ไทย
รู้ จั กรั กษาผลประโยชน์ ส่ ว นรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่ งเสริม ศาสนา ศิล ปะ วัฒ นธรรมของชาติ
การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ
สิ่ งแวดล้ อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่ รู้และเรียนรู้
ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๘ การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(๑) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน
(๒) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(๓) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๙ การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
(๑) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(๒) มีการกระจายอานาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
25

(๓) มีการกาหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและ


ประเภทการศึกษา
(๔) มี ห ลั ก การส่ ง เสริ ม มาตรฐานวิ ช าชีพ ครู คณาจารย์ และบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาและ
การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(๕) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(๖) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

หมวด ๒
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การจั ด การศึ ก ษาส าหรั บ บุ ค คลซึ่ ง มี ค วามบกพร่ อ งทางร่ า งกาย จิ ต ใจ สติ ปั ญ ญา อารมณ์ สั ง คม
การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มี
ผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
การศึกษาสาหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎกระทรวง
การจัดการศึกษาสาหรับบุคคลซึ่งมี ความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคานึงถึง
ความสามารถของบุคคลนั้น
มาตรา ๑๑ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษา
ภาคบังคับตามมาตรา ๑๗ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษา
ภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว
มาตรา ๑๒ นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคล ครอบครัว องค์กร
ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการ
จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๓ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้
(๑) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่บุตร
หรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
(๒) เงิน อุดหนุ น จากรั ฐ ส าหรั บ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
ที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกาหนด
(๓) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสาหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกาหนด
มาตรา ๑๔ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถาน
ประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตาม
ควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
(๑) การสนั บ สนุ น จากรั ฐ ให้ มี ค วามรู้ ค วามสามารถในการอบรมเลี้ ย งดู บุ ค คลซึ่ ง อยู่ ใ นความดู แ ล
รับผิดชอบ
(๒) เงินอุดหนุนจากรัฐสาหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกาหนด
(๓) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสาหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกาหนด

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
26

หมวด ๓
ระบบการศึกษา
มาตรา ๑๕ การจั ด การศึ ก ษามี ส ามรู ป แบบ คื อ การศึ ก ษาในระบบ การศึ ก ษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
(๑) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กาหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของ
การศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสาเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(๒) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกาหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการ
จัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสาคัญของการสาเร็จการศึกษา
โดยเนื้ อหาและหลั กสู ตรจะต้องมี ความเหมาะสมสอดคล้ องกับสภาพปัญหาและความต้ องการของบุ ค คล
แต่ละกลุ่ม
(๓) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ
ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้ไม่ว่าจะ
เป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัยการ
ฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทางาน
มาตรา ๑๖ การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานประกอบด้ ว ย การศึ ก ษาซึ่ ง จั ด ไม่ น้ อ ยกว่ า สิ บ สองปี ก่ อ นระดั บ อุ ด มศึ ก ษา
การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ากว่าปริญญา และระดับปริญญา
การแบ่ ง ระดั บ หรื อ การเที ย บระดั บ การศึ ก ษานอกระบบหรื อ การศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย ให้ เ ป็ น ไป
ตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวง
ว่าด้วยการแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๖
อาศัย อานาจตามความในมาตรา ๑๖ วรรคสอง และมาตรา ๗๔ แห่ งพระราชบัญญัติการศึ ก ษา
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แบ่งออกเป็นสามระดับ ดังนี้
(๑) การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา โดยปกติเป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุสามปี
ถึงหกปี เพื่อเป็ น การวางรากฐานชีวิตและการเตรียมความพร้อมของเด็กทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา
อารมณ์ บุคลิกภาพ และการอยู่ร่วมในสังคม
(๒) การศึกษาระดับ ประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งวางรากฐานเพื่อให้ ผู้เรียนได้พัฒนา
คุ ณ ลั ก ษณะที่ พึ ง ประสงค์ ทั้ ง ในด้ า นคุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม ความรู้ แ ละความสามารถขั้ น พื้ น ฐานโดยปกติ
ใช้เวลาเรียนหกปี
(๓) การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
(ก) การศึ ก ษาระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น เป็ น การศึ ก ษาที่ มุ่ ง ให้ ผู้ เ รี ย นได้ พั ฒ นา
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่าง ๆ ต่อจากระดับประถมศึกษา เพื่อให้รู้ความต้องการ ความสนใจ และ
ความถนัดของตนเองทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจนความสามารถในการประกอบการงานและอาชีพ
ตามควรแก่วัย โดยปกติใช้เวลาเรียนสามปี

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
27

(ข) การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้


ศึกษาตามความถนัดและความสนใจ เพื่อเป็นพื้นฐานสาหรับการศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพ รวมทั้งการ
พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและทักษะทางสังคมที่จาเป็น โดยปกติใช้เวลาเรียนสามปี
ข้อ ๒ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามข้อ ๑ (๓) (ข) แบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้
(๑) ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดความสนใจ
ศักยภาพ และความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เพื่อเป็นพื้นฐานสาหรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
(๒) ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบ
อาชีพให้เป็นกาลังแรงงานที่มีฝีมือ หรือศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
มาตรา ๑๗ ให้ มีการศึกษาภาคบังคับจานวนเก้าปี โดยให้ เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนใน
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์
และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๘ การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดในสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
(๑) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์
ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษ หรือ
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น
(๒) โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันพุทธศาสนาหรือ
ศาสนาอื่น
(๓) ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว
ชุ ม ชน องค์ ก รชุ ม ชน องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น องค์ ก รเอกชน องค์ ก รวิ ช าชี พ สถาบั น ศาสนา
สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
มาตรา ๑๙ การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย หรือหน่วยงาน
ที่ เ รี ย กชื่ อ อย่ า งอื่ น ทั้ ง นี้ ให้ เ ป็ น ไปตามกฎหมายเกี่ ย วกั บ สถานศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษา กฎหมายว่ า ด้ ว ย
การจัดตั้งสถานศึกษานั้น ๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๒๐ การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาของ
เอกชน สถานประกอบการ หรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตาม
กฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๒๑ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทาง
ตามความต้องการและความชานาญของหน่วยงานนั้นได้ โดยคานึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดในกฎกระทรวง

หมวด ๔
แนวการจัดการศึกษา
มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมี ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
ได้และถือว่าผู้เรียนมี ค วามสาคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริ มให้ผู้เรี ยนสามารถพั ฒนา
ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ต้องเน้นความสาคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ
การศึกษาในเรื่องต่อไปนี้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
28

(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ


และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมือง การปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์
เรื่องการจัดการ การบารุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(๔) ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(๕) ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดารงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคานึงถึง
ความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๒) ฝึ กทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ม าใช้
เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทาได้ คิดเป็นทาเป็น รักการ
อ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔) จั ดการเรี ย นการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สั ดส่ ว นสมดุลกัน รวมทั้ง
ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(๕) ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้ ผู้ ส อนสามารถจั ด บรรยากาศ สภาพแวดล้ อ ม สื่ อ การเรี ย นและอ านวย
ความสะดวกเพื่ อ ให้ ผู้ เรี ย นเกิด การเรี ย นรู้แ ละมี ความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้ ก ารวิจั ย เป็ นส่ ว นหนึ่ ง ของ
กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการ
ประเภทต่าง ๆ
(๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง
และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดาเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่
ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูล และแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและ มี
ประสิทธิภาพ
มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความ
ประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการ
สอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการ
จัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ และให้นาผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกาหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อ
ความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดารงชีวิต และการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
ให้ ส ถานศึกษาขั้น พื้ น ฐานมีห น้ า ที่จัด ท าสาระของหลั กสู ต รตามวั ตถุ ประสงค์ ในวรรคหนึ่ งในส่ ว น
ที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของ
ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสาหรับบุคคลตามมาตรา ๑๐
วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ
โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคนให้มี ความสมดุล ทั้งด้านความรู้
ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
29

สาหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา นอกจากคุณลั กษณะในวรรคหนึ่ง และวรรคสองแล้ ว


ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และ
พัฒนาสังคม
มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความ
เข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหา
ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับ
สภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่าง
ชุมชน
มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่ง เสริม
ให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

หมวด ๕
การบริหารและการจัดการศึกษา
ส่วนที่ ๑
การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ
มาตรา ๓๑ กระทรวงมีอานาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกากับดูแลการศึกษาทุกระดับทุกประเภท
และการอาชีวศึกษา แต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอานาจหน้า ที่ของกระทรวงอื่น ที่ มี
กฎหมายกาหนดไว้เป็นการเฉพาะ กาหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อ
การศึกษา ส่ งเสริ มและประสานงานการศาสนา ศิล ปะ วัฒ นธรรม และการกีฬา ทั้งนี้ ในส่วนที่เ กี่ยวกับ
การศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย
กาหนดให้เป็นอานาจหน้าที่ของกระทรวงหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวง
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๓๒ การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือ
ในรู ป คณะกรรมการจ านวนสามองค์ ก ร ได้ แ ก่ สภาการศึ ก ษา คณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานและ
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คาแนะนาแก่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี และ
มีอานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกาหนด
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๒/๑ และมาตรา ๓๒/๒
มาตรา ๓๒/๑ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีอานาจหน้าที่เกี่ยวกับการ
ส่งเสริม สนับสนุน และกากับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้การ
พัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกาหนดให้เป็นอานาจหน้าที่
ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
มาตรา ๓๒/๒ การจัดระเบียบราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๓๓ สภาการศึกษา มีหน้าที่
(๑) พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษา
ทุกระดับ
(๒) พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาเพื่อดาเนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (๑)
(๓) พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
30

(๔) ดาเนินการประเมินผลการจัดการศึกษาตาม (๑)


(๕) ให้ความเห็นหรือคาแนะนาเกี่ยวกับกฎหมายและกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
การเสนอนโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการศึกษา ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
ให้ ค ณะกรรมการสภาการศึ ก ษา ประกอบด้ ว ย รั ฐ มนตรี เ ป็ น ประธาน กรรมการโดยต าแหน่ ง
จากหน่ ว ยงานที่เกี่ ย วข้ อ ง ผู้ แทนองค์กรเอกชน ผู้ แทนองค์กรปกครองส่ ว นท้ องถิ่น ผู้ แทนองค์กรวิ ช าชี พ
พระภิกษุซึ่งเป็นผู้แทนคณะสงฆ์ ผู้แทนคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น
และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีจานวนไม่น้อยกว่าจานวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน
ให้ ส านั ก งานเลขาธิ ก ารสภาการศึ ก ษา เป็ น นิ ติ บุ ค คล และให้ เ ลขาธิ ก ารสภาเป็ น กรรมการและ
เลขานุการ
จานวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกกรรมการ วาระการดารงตาแหน่ง
และการพ้นจากตาแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกาหนด
มาตรา ๓๔ คณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน มี ห น้ า ที่ พิ จ ารณาเสนอนโยบาย แผนพั ฒ นา
มาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีหน้าที*่ *****ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที*่ *****ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
ให้ยกเลิกตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๓๕ องค์ประกอบของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๔ ประกอบด้วย กรรมการโดยตาแหน่งจาก
หน่ ว ยงานที่เกี่ย วข้อง ผู้ แทนองค์กรเอกชน ผู้ แทนองค์กรปกครองส่ ว นท้องถิ่น ผู้ แทนองค์กรวิช าชีพ และ
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีจานวนไม่น้อยกว่าจานวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน
จานวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ
วาระการดารงตาแหน่งและการพ้นจากตาแหน่งของคณะกรรมการแต่ละคณะ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกาหนด
ทั้งนี้ ให้คานึงถึงความแตกต่างของกิจการในความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละคณะด้วย
ให้สานักงานคณะกรรมการตามมาตรา ๓๔ เป็นนิติบุคคล และให้เลขาธิการของแต่ละสานักงาน
เป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๓๕/๑
มาตรา ๓๕/๑ ให้มีคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนาและ
มาตรฐานการอุ ด มศึ ก ษาที่ ส อดคล้ อ งกั บความต้ อ งการตามแผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จและสั ง คมแห่ ง ชาติและ
แผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา
ระดับอุดมศึกษา โดยคานึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับปริญญา
ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบ จานวนกรรมการ คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกและ
การแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการ และกรรมการและเลขานุการ วาระการดารงตาแหน่งและการพ้น
จากตาแหน่งของกรรมการการอุดมศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๓๖ ให้ ส ถานศึ ก ษาของรั ฐ ที่ จั ด การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาเป็ น นิ ติ บุ ค คล และอาจจั ด เป็ น
ส่วนราชการหรือเป็นหน่วยงานในกากับของรัฐ ยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะทางตามมาตรา ๒๑
ให้สถานศึกษาดังกล่าวดาเนินกิจการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหาร และการจัดการที่เป็น
ของตนเอง มี ค วามคล่ อ งตั ว มี เ สรี ภ าพทางวิ ช าการ และอยู่ ภ ายใต้ ก ารก ากั บ ดู แ ลของสภาสถานศึ ก ษา
ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น ๆ

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
31

มาตรา ๓๗ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคานึงถึงระดับของ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน จานวนสถานศึกษา จานวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
ให้รัฐมนตรีโดยคาแนะนาของสภาการศึกษา มีอานาจประกาศในราชกิจจานุเ บกษากาหนดเขตพื้นที่
การศึกษาเพื่อการบริ ห ารและการจั ดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและ
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ในกรณี ที่ ส ถานศึ ก ษาใดจั ด การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานทั้ ง ระดั บ ประถมศึ ก ษาและระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษา
การกาหนดให้ ส ถานศึ กษาแห่ งนั้ น อยู่ ในเขตพื้ นที่ การศึ ก ษาใด ให้ ยึดระดับการศึ กษาของสถานศึ ก ษานั้ น
เป็นสาคัญ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกาหนดโดยคาแนะนาของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มีการศึกษา
ขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้
(๑) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสาหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์
สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ
(๒) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย
(๓) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสาหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
(๔) การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา ๓๘ ในแต่ล ะเขตพื้น ที่ การศึก ษา ให้ มีคณะกรรมการ(เปลี่ ยนเป็ น อานาจของ กศจ. ) และ
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอานาจหน้าที่ในการกากับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในเขตพื้นที่การศึกษาประสาน ส่งเสริมและสนับสนุน สถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา ประสานและ
ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
ส่งเสริมและสนั บสนุ น การจั ดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิช าชี พ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่
การศึกษา
คณะกรรมการเขตพื้น ที่การศึกษาประกอบด้ว ย ผู้ แทนองค์กรชุมชน ผู้ แทนองค์กรเอกชน ผู้ แทน
องค์กรปกครองส่ ว นท้ องถิ่ น ผู้ แทนสมาคมผู้ ป ระกอบวิ ช าชี พ ครู ผู้ แทนสมาคมผู้ ป ระกอบวิช าชี พบริ ห าร
การศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
จานวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระ
การตารงตาแหน่ง และการพ้นจากตาแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
(เปลี่ยนเป็นอานาจของ กศจ.)
ให้ ผู้ อานวยการส านั กงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ(เปลี่ ยนเป็นหน้าที่ของ
ศึกษาธิการจังหวัด)ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา(เปลี่ยนเป็นอานาจของ กศจ.)
ในการดาเนินการตามวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่า
จะอยู่ในอานาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกาหนดโดยคาแนะนาของ
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา ๓๙ ให้กระทรวงกระจายอานาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ
การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการ(เปลี่ยนเป็นอานาจของ กศจ.) และสานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง
หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอานาจดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๐ ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ากว่า
ปริญญา และสถานศึกษาอาชีวศึกษาของแต่ละสถานศึกษาเพื่อทาหน้าที่ กากับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการ
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
32

ของสถานศึ ก ษา ประกอบด้ ว ย ผู้ แ ทนผู้ ป กครอง ผู้ แ ทนครู ผู้ แ ทนองค์ ก รชุ ม ชน ผู้ แ ทนองค์ ก รปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์หรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ และ
ผู้ทรงคุณวุฒิ
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ากว่าปริญญาและสถานศึกษาอาชีวศึกษาอาจมีกรรมการเพิ่มขึ้นได้
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกาหนด
จานวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ
วาระการด ารงต าแหน่ ง และการพ้ น จากต าแหน่ ง ให้ เ ป็ น ไปตามที่ ก าหนดในกฎกระทรวง ให้ ผู้ บ ริ ห าร
สถานศึ ก ษาเป็ น กรรมการและเลขานุ ก ารของคณะกรรมการสถานศึ ก ษา ความในมาตรานี้ ไ ม่ ใ ช้ บั ง คั บ
แก่สถานศึกษาตามมาตรา ๑๘ (๑) และ (๓)
ส่วนที่ ๒
การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๔๑ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น มี สิ ท ธิ จั ด การศึ ก ษาในระดั บ ใดระดั บ หนึ่ ง หรื อ ทุ ก ระดั บ
ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น
มาตรา ๔๒ ให้กระทรวงกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีหน้าที่ในการประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถ
จัดการศึกษา สอดคล้องกับนโยบายและได้มาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณ
อุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่วนที่ ๓
การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน
มาตรา ๔๓ การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนให้มีความเป็นอิสระ โดยมีการกากับติดตาม
การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากรัฐ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ

หมวด ๖
มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา ๔๗ ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและ
ระบบการประกันคุณภาพภายนอก
ระบบ หลั ก เกณฑ์ และวิ ธี ก ารประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน และการ
อาชี ว ศึ ก ษา ให้ เ ป็ น ไปตามที่ ก าหนดในกฎกระทรวง ส าหรั บ ระบบการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา
ระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอานาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกาหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้เป็นไปตาม
กฎหมายว่าด้วยการนั้น
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๔๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดาเนินการอย่าง
ต่อเนื่อง โดยมีการจัดทารายงานประจาปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อ
สาธารณชน เพื่อน าไปสู่ การพัฒ นาคุ ณภาพและมาตรฐานการศึก ษา และเพื่อรองรับการประกัน คุ ณ ภาพ
ภายนอก
มาตรา ๔๙ ให้มีสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชน
ทาหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทาการประเมินผลการจัดการศึกษาที่มิใ ช่การ
จัดการอุดมศึกษาซึ่งอยู่ในอานาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
33

กระทรวงอื่น เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคานึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนว


การจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
ให้ มีการประเมิน คุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่ง อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี นับตั้งแต่
การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
มาตรา ๕๐ ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้อง
กับสถานศึกษา ตลอดจนให้บุคลากร คณะกรรมการของสถานศึกษา รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับ สถานศึกษาให้ ข้อมูล เพิ่มเติมในส่ ว นที่พิจารณาเห็ นว่า เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภ ารกิจของสถานศึกษา
ตามคาร้องขอของสานักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก
ที่สานักงานดังกล่าวรับรอง ที่ทาการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษานั้น
มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ผ ลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กาหนดให้
สานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทาข้อเสนอแนะ การปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงาน
ต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กาหนด หากมิได้ดาเนินการดังกล่าวให้สานักงาน
รั บ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษารายงานต่ อ คณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน หรื อ
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อดาเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒

หมวด ๗
ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๑/๑ ของหมวด ๗ ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๕๑/๑ คาว่า “คณาจารย์” ในหมวดนี้ ให้หมายความว่า บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการ
สอนและการวิจั ย ในสถานศึ ก ษาระดับ อุด มศึก ษาระดับ ปริญ ญาของรัฐ และเอกชน แต่ไม่รวมถึงบุค ลากร
ซึ่งสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๕๒ ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากร
ทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยการกากับและประสานให้
สถาบันที่ทาหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อมและมีความ
เข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และการพัฒนาบุคลากรประจาการอย่างต่อเนื่อง
รั ฐ พึ ง จั ด สรรงบประมาณและจั ด ตั้ ง กองทุ น พั ฒ นาครู คณาจารย์ และบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา
อย่างเพียงพอ
มาตรา ๕๓ ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา มีฐานะเป็นองค์กร
อิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ ในกากับของกระทรวง มีอานาจหน้าที่กาหนดมาตรฐานวิชาชีพออก
และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กากับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิช าชีพ
รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา
ให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐและเอกชน
ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายกาหนด
การจัดให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามที่กฎหมาย
กาหนด
ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่บุคลากรทางการศึกษาที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาตาม
มาตรา ๑๘ (๓) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษาและวิทยากรพิเศษทางการศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
34

ความในมาตรานี้ ไ ม่ ใ ช้ บั ง คั บ แก่ ค ณาจารย์ ผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา และผู้ บ ริ ห ารการศึ ก ษาใน


ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา
มาตรา ๕๔ ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ทั้งของหน่ ว ยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นข้าราชการ
ในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยยึดหลักการกระจายอานาจการบริหารงานบุคคล
สู่เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกาหนด
มาตรา ๕๕ ให้ มีกฎหมายว่าด้ว ยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัส ดิการ และสิ ทธิประโยชน์เกื้อ กู ล อื่ น
สาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะทางสังคมและ
วิชาชีพ
ให้มีกองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนงานริเริ่ม
สร้างสรรค์ ผลงานดีเด่น และเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งนี้ให้เป็นไป
ตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๕๖ การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนา มาตรฐาน และ
จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการบริหารงานบุคคลของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐในสถานศึกษาระดับ
ปริญญาที่เป็นนิติบุคคล ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่งและกฎหมาย ที่
เกี่ยวข้อง
มาตรา ๕๗ ให้หน่วยงานทางการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
โดยนาประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชานาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลดังกล่าวมาใช้ เพื่อให้เกิด
ประโยชน์ทางการศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา

หมวด ๘
ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
มาตรา ๕๘ ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สินทั้งจากรัฐ
องค์กรปกครองส่ ว นท้องถิ่น บุ คคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนเอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิช าชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษาดังนี้
(๑) ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยอาจจัดเก็บภาษีเ พื่ อ
การศึกษาได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกาหนด
(๒) ให้ บุ คคล ครอบครั ว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่ ว นท้องถิ่นเอกชน องค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดย
เป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สินและทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา และ มี
ส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจาเป็น
ทั้งนี้ ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรดังกล่าว
โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้ นภาษี ตามความเหมาะสมและความจาเป็น
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกาหนด
มาตรา ๕๙ ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอานาจในการปกครอง ดูแล บารุงรักษา ใช้
และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุ ตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ และที่
เป็นทรัพย์สินอื่น รวมทั้งจัดหารายได้จากบริการของสถานศึกษา และเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ไม่ขัดหรือ
แย้งกับนโยบาย วัตถุประสงค์ และภารกิจหลักของสถานศึกษา
บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ หรือโดยการซื้อหรือ
แลกเปลี่ยนจากรายได้ของสถานศึกษา ไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ และให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสถานศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
35

บรรดารายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดจากที่
ราชพัสดุ เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษา และเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาการซื้อทรัพย์สินหรือ
จ้างทาของที่ดาเนินการโดยใช้เงินงบประมาณไม่เป็นรายได้ที่ต้องนาส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วย
เงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
บรรดารายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดจาก
ที่ราชพัสดุ เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษา และเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาการซื้อทรัพย์สินหรือ
จ้างทาของที่ดาเนินการโดยใช้เงินงบประมาณให้สถานศึกษาสามารถจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา
ของสถานศึกษานั้น ๆ ได้ตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกาหนด
มาตรา ๖๐ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้ กับการศึกษาในฐานะที่มีความสาคัญสู งสุดต่ อการ
พัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศโดยจัดสรรเป็นเงินงบประมาณเพื่อการศึกษา ดังนี้
(๑) จัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนการศึกษาภาคบังคับและ
การศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดโดยรัฐและเอกชนให้เท่าเทียมกัน
(๒) จัดสรรทุนการศึกษาในรูปของกองทุนกู้ยืมให้แก่ผู้เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อยตามความ
เหมาะสมและความจาเป็น
(๓) จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความ
จาเป็นในการจั ดการศึกษาส าหรับผู้ เรี ยนที่มีความต้องการเป็นพิเศษแต่ล ะกลุ่ มตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง
วรรคสาม และวรรคสี่ โดยคานึงถึงความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษาและความเป็นธรรม ทั้งนี้ให้เป็นไป
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎกระทรวง
(๔) จั ดสรรงบประมาณเป็ น ค่าใช้จ่ายดาเนินการ และงบลงทุนให้ สถานศึกษาของรัฐ ตามนโยบาย
แผนพัฒ นาการศึกษาแห่ งชาติ และภารกิจของสถานศึกษา โดยให้ มีอิส ระในการบริห ารงบประมาณและ
ทรัพยากรทางการศึกษา ทั้งนี้ ให้คานึงถึงคุณภาพและความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา
(๕) จัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไปให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติ
บุคคล และเป็นสถานศึกษาในกากับของรัฐหรือองค์การมหาชน
(๖) จัดสรรกองทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่าให้สถานศึกษาเอกชนเพื่อให้พึ่งตนเองได้
(๗) จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาของรัฐและเอกชน
มาตรา ๖๑ ให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุนการศึกษาที่จัดโดยบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ตามความเหมาะสมและความจาเป็น
มาตรา ๖๒ ให้มีระบบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล การใช้จ่าย
งบประมาณการจัดการศึกษาให้ส อดคล้องกับหลั กการศึกษา แนวการจัดการศึกษาและคุณภาพมาตรฐาน
การศึกษา โดยหน่วยงานภายในและหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ตรวจสอบภายนอก
หลั ก เกณฑ์ และวิ ธี ก ารในการตรวจสอบ ติ ด ตามและการประเมิ น ให้ เ ป็ น ไปตามที่ ก าหนดใน
กฎกระทรวง

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
36

หมวด ๙
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา ๖๓ รั ฐ ต้ อ งจั ด สรรคลื่ น ความถี่ สื่ อ ตั ว น าและโครงสร้ า งพื้ น ฐานอื่ น ที่ จ าเป็ น ต่ อ การส่ ง
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สาหรับการศึกษา
ในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความ
จาเป็น
มาตรา ๖๔ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตารา หนังสือทางวิชาการ
สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถ ในการผลิต
จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิด
ให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
มาตรา ๖๕ ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้
ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
มาตรา ๖๖ ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาส
แรกที่ทาได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
มาตรา ๖๗ รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและ
เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา ๖๘ ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ
ค่าสัมปทาน และผลกาไรที่ได้จากการดาเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคม
จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็น
พิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคม
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิต การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๙ รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลางทาหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริมและประสาน
การวิ จั ย การพั ฒ นาและการใช้ รวมทั้ ง การประเมิ น คุ ณ ภาพ และประสิ ท ธิ ภ าพของการผลิ ต และการใช้
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
(1) อัตราการอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัว ประเภทในระบบโรงเรียน
อัตราการอุดหนุนทั่วไป (บาท/คน/ปี)
ระดับ / สาขา (เดิม) ตามมติ ครม. (ใหม่) ตามมติ ครม.
เริ่มปี 2548 เริ่มปี 2550
ก่อนประถมศึกษา 600 1,700
ประถมศึกษา 1,100 1,900
มัธยมศึกษาตอนต้น 1,800 3,500
มัธยมศึกษาตอนปลาย 2.700 3,800

สาหรับโรงเรียนขนาดเล็ก
1. ระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา (120 คนลงมา) ได้รับเพิ่มพิเศษหัวละ 500 บาท
2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (300 คนลงมา) ได้รับเพิ่มพิเศษหัวละ 1,000บาท
(เริม่ ปีการศึกษา 2553 คือ ในเดือน พฤษภาคม 2553)

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
37

พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
เป็นปีที่ ๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้
ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
จึ งทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ าฯ ให้ ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โ ดยคาแนะนาและยินยอมของรัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๖ ให้จัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
(๑) ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
(๒) ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
(๓) ระเบี ย บบริ ห ารราชการในสถานศึ ก ษาของรั ฐ ที่ จั ด การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาที่ เ ป็ น นิ ติ บุ ค คล
แต่ไม่รวมถึงการจัดการศึกษาที่อยู่ในอานาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกาหนดไว้เป็นการเฉพาะ
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๗ การกาหนดตาแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้คานึงถึง
คุณวุฒิ ประสบการณ์ มาตรฐานวิชาชีพ ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงาน แล้วแต่กรณี
การบรรจุและการแต่งตั้งบุคคลให้ดารงตาแหน่งหน้าที่ราชการต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย
การนั้น

หมวด ๑
การจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
มาตรา ๙ ให้จัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง ดังนี้
(๑) สานักงานปลัดกระทรวง
(๒) ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
มาตรา ๑๐ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
(๑) สานักงานรัฐมนตรี
(๒) สานักงานปลัดกระทรวง
(๓) สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
(๔) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(5) สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) และ (๕) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้ว ย
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
38

มาตรา ๑๑ การแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการตามมาตรา ๑๐ ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและ


ให้ระบุอานาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการดังกล่าว
มาตรา ๑๒ กระทรวงศึกษาธิการมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการ
และกาหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงศึกษาธิการให้ส อดคล้องกับนโยบายที่
คณะรั ฐ มนตรี แ ถลงไว้ ต่ อ รั ฐ สภา หรื อ ที่ ค ณะรั ฐ มนตรี ก าหนดหรื อ อนุ มั ติ โ ดยจะให้ มี รั ฐ มนตรี ช่ ว ยว่ า การ
กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
ในกรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ การสั่งหรือการปฏิบัติราชการของรัฐมนตรีช่วย
ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย
มาตรา ๑๓ ในกรณีที่ส ภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา เสนอความเห็นหรือคาแนะนาต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแล้ว ให้รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึก ษาธิการน าความเห็ น หรื อคาแนะนามาประกอบการพิจารณาเพื่ อให้ เหมาะสมกับการศึ ก ษา
ของชาติ
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๑๔ ให้มีสภาการศึกษา มีหน้าที่
(๑) พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษา
ทุกระดับ
(๒) พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาเพื่อดาเนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (๑)
(๓) พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(๔) ดาเนินการประเมินผลการจัดการศึกษาตาม (๑)
(๕) ให้ความเห็นหรือคาแนะนาในเรื่องกฎหมายและกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการศึกษา
การเสนอนโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการศึกษา ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
นอกจากหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้สภาการศึกษามีหน้าที่ให้ความเห็นหรือคาแนะนาแก่รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการหรือคณะรัฐมนตรี และมีอานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกาหนดหรือตามที่รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย
ให้ ค ณะกรรมการสภาการศึ ก ษา ประกอบด้ ว ยรั ฐ มนตรี เ ป็ น ประธานกรรมการโดยต าแหน่ ง
จากหน่ ว ยงานที่เกี่ ย วข้ อ ง ผู้ แทนองค์กรเอกชน ผู้ แทนองค์กรปกครองส่ ว นท้ องถิ่น ผู้ แทนองค์กรวิ ช าชี พ
พระภิกษุซึ่งเป็นผู้แทนคณะสงฆ์ ผู้แทนคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น
และกรรมการผู้ ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีจ านวนไม่น้อยกว่าจานวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน จานวนกรรมการ
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหา การเลือกกรรมการ วาระการดารงตาแหน่ง และการพ้นจากตาแหน่ง
ของกรรมการให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
ให้ ส านั กงานเลขาธิการสภาการศึกษาทาหน้าที่รับผิ ดชอบงานเลขานุการของสภาการศึกษาและ
มีอานาจหน้ าที่ตามที่กาหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการตามมาตรา ๑๑ โดยมีเลขาธิการ
สภาการศึกษาทาหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการของสภาการศึกษา
มาตรา ๑๕ ให้ มีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีห น้า ที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒ นา
มาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และแผนการศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตามตรวจสอบและประเมินผล การจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และเสนอแนะในการออกระเบียบ หลักเกณฑ์ และประกาศที่เกี่ยวกับการบริหารงานของสานักงาน
นอกจากหน้ า ที่ ต ามวรรคหนึ่ ง ให้ ค ณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานมี ห น้ า ที่ ใ ห้ ค วามเห็ น หรื อ
ให้คาแนะนาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือคณะรัฐมนตรี และมีอานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมาย
กาหนดหรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
39

ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย กรรมการโดยตาแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมี
จานวนไม่น้อยกว่าจานวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน
จานวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ
วาระการดารงตาแหน่งและการพ้นจากตาแหน่งของกรรมการให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
ให้สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทาหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีอานาจหน้าที่ตามที่กาหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการตามมาตรา
๑๑ โดยมี เ ลขาธิ ก ารคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานท าหน้ า ที่ เ ป็ น กรรมการและเลขานุ ก ารของ
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
มาตรา ๑๘ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทางานเพื่อพิจารณาเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมาย
ให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด อันอยู่ในอานาจหน้าที่ของสภาหรือคณะกรรมการก็ได้
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๑๙ สานักงานรัฐมนตรี มีอานาจหน้าที่เกี่ยวกับ ราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสานักงาน
รัฐมนตรีซึ่งหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ***ตัดย่อไปตามความเหมาะสม****
มาตรา ๒๐ ให้กระทรวงศึกษาธิการมีผู้ตรวจราชการของกระทรวง เพื่อทาหน้าที่ในการตรวจราชการ
ศึกษา วิเคราะห์ วิจั ย ติดตาม และประเมินผลระดับนโยบาย เพื่อนิเทศให้ คาปรึกษาและแนะนาเพื่อการ
ปรับปรุงพัฒนา
ในระดั บ ส านั ก งานคณะกรรมการหรื อ ส่ ว นราชการที่ เ รี ย กชื่ อ อย่ า งอื่ น ให้ ท าหน้ า ที่ ติ ด ตามและ
ประเมินผลนโยบายตามภารกิจ ตลอดจนนิเทศ ให้คาปรึกษาและแนะนาเพื่อปรับปรุงพัฒนา
ในระดั บ เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ให้ เ ป็ น การศึ ก ษา วิ เ คราะห์ วิ จั ย นิ เ ทศ ติ ด ตาม และประเมิ น ผล
การบริหารและการดาเนินการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึ กษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
เพื่อการเตรียมการรับการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลจากหน่วยงานภายนอก
การดาเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสาม ให้มีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล
การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศ
การศึกษาของเขตพื้น ที่การศึกษา เป็ นผู้ รับผิ ดชอบดาเนินการ ส าหรับกระทรวงศึกษาธิการหรือส าหรับ
แต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งนี้ จานวน หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาของคณะกรรมการดังกล่าวให้เป็นไปตาม
ที่กาหนดในกฎกระทรวง ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
ให้ยกเลิกความในวรรคห้าของมาตรา ๒๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
การดาเนินการในเรื่องการตรวจราชการและการดาเนินการของคณะกรรมการต่าง ๆ ที่กาหนดใน
มาตรานี้ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับของกระทรวงหรือส่วนราชการมติคณะรัฐมนตรี
หรือคาสั่งของนายกรัฐมนตรี
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๒๑ ให้ ก ระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารก าหนดหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารประเมิ น ความพร้ อ มในการ
จั ด การศึ ก ษาขององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และมี ห น้ า ที่ ใ นการประสานและส่ ง เสริ ม องค์ ก รปกครอง
ส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษา สอดคล้องกับนโยบายและได้มาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการเสนอแนะ
การจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไป
ตามที่กาหนดในกฎกระทรวง

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
40

มาตรา ๒๒ ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรา ๓๓ ไม่อาจบริหารและจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


บางประเภทได้ และในกรณีการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ากว่าปริญญาบางประเภท สานักงาน
ปลัดกระทรวงหรือสานักงานต่าง ๆ ตามที่กาหนดในส่วนที่ ๓ อาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษา
ระดับอุดมศึกษาระดับต่ากว่าปริญญา เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาดังต่อไปนี้ก็ได้
(๑) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสาหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์
สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
(๒) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย
(๓) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสาหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
(๔) การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา
(๕) การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ากว่าปริญญาแต่ไม่รวมถึงสถาบันวิทยาลัยชุมชนตาม
กฎหมายว่าด้วยสถาบันวิทยาลัยชุมชน
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
สาหรับสถานศึกษาของรัฐระดับอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาระดับต่ากว่าปริญญา ซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติ
บุคคลและมิได้มีกฎหมายอื่นกาหนดหลักเกณฑ์การบริหารงานไว้โดยเฉพาะให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาและ
ผู้อานวยการสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ
การจั ด ตั้ ง การบริ ห ารงาน สั ง กั ด และการจั ด ประเภทของสถานศึ ก ษาของรั ฐ ระดั บ อุ ด มศึ ก ษาที่
จัดการศึกษาระดับต่ากว่าปริญญา ตลอดจนหลักเกณฑ์อื่นในการบริหารงานและการดาเนินการทางวิชาการให้
เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
ส่วนที่ ๒
การจัดระเบียบราชการในสานักงานปลัดกระทรวง
ส่วนที่ ๓
การจัดระเบียบราชการในสานักงาน
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๘ ให้ ส านั กงานที่มีหั ว หน้าส่ ว นราชการขึ้ นตรงต่ อรัฐ มนตรีว่า การกระทรวงศึ กษาธิ ก าร
ตามมาตรา ๑๐ (๓) (๔) และ (๕) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและ
รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสานักงาน และอาจแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(๑) สานักอานวยการ
(๒) สานัก สานักบริหารงาน หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าสานักหรือสานัก
บริหารงาน
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
สานักงานใดมีความจาเป็น อาจแบ่งส่วนราชการให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (๑) หรือ (๒) ก็ได้
ส่วนราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้มีอานาจหน้าที่ตามที่กาหนดไว้ให้เป็นของส่วนราชการ
นั้น ๆ โดยให้มีผู้อานวยการสานักอานวยการ ผู้อานวยการสานัก ผู้อานวยการสานักบริหารงานหรือหัวหน้า
ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าสานักหรือสานักบริหารงาน หรือหัวหน้าส่วนราชการอื่น
ตามวรรคสอง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบปฏิบัติราชการ
มาตรา ๒๙ ให้ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตาม
มาตรา ๑๐ (๓) (๔) และ (๕) มีเลขาธิการซึ่งมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบ
ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

มาตรา ๓๐ เลขาธิการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการตามมาตรา ๒๘ มีอานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้


กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
41

(๑) รับผิดชอบควบคุมราชการประจาในสานักงาน แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนปฏิบัติการ


กากับการปฏิบัติงานของส่วนราชการในสานักงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ รวมทั้งเร่งรัดติดตามและประเมินผลการ
ปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสานักงาน
(๒) เป็ น ผู้ บั งคับ บั ญชาข้าราชการในส านั กงานรองจากรัฐ มนตรีว่ าการกระทรวงศึ ก ษาธิ การ และ
รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของข้าราชการในสานักงาน ตลอดจนการจัดทาแผนพัฒนาของหน่วยงาน
ให้เลขาธิการสภาการศึกษารับผิดชอบบังคับบัญชาสานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ตามมาตรา
๑๐ (๓)
ให้ เ ลขาธิ ก ารคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานซึ่ ง รั บ ผิ ด ชอบบั ง คั บ บั ญ ชาส านั ก งาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา ๑๐ (๔) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสานักงานเขต
พื้นที่การศึกษาหรือในสถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาด้วย
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาซึ่งรับผิดชอบบังคับบัญชาสานักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษาตามมาตรา ๑๐ (๕) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสานักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษาด้วย
ในการปฏิบัติราชการของเลขาธิการตามมาตรานี้ ให้มีรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ
และจะให้มีผู้ช่วยเลขาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
ในกรณี ที่ มี ร องเลขาธิ ก ารหรื อ ผู้ ช่ ว ยเลขาธิ ก าร หรื อ มี ทั้ ง รองเลขาธิ ก ารและผู้ ช่ ว ยเลขาธิ ก ารให้
รองเลขาธิการหรือผู้ช่วยเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการรองจาก
เลขาธิการ ให้รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ และผู้ดารงตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสานักงานเลขาธิการ
มีอานาจหน้าที่ตามที่เลขาธิการกาหนดหรือมอบหมาย
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๓๒ ให้ มี ค ณะกรรมการส่ ง เสริ ม การศึ ก ษาพิ เ ศษ ในส านั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษา
ขั้นพื้นฐานทาหน้าที่เป็นองค์กรส่งเสริมและให้คาปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสาหรับบุคคล ซึ่งมีความ
บกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือ
ทุ พ พลภาพ หรื อ บุ ค คลซึ่ ง ไม่ ส ามารถพึ่ ง ตนเองได้ หรื อ ไม่ มี ผู้ ดู แ ลหรื อ ด้ อ ยโอกาส และมี อ านาจหน้ า ที่
ตามที่กาหนดไว้ในกฎหมาย กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวงว่าด้วยการนั้น
ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาสาหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษในสานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ทาหน้าที่เป็นองค์กรส่งเสริมและให้คาปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสาหรับบุคคล
ซึ่งมีความสามารถพิเศษ และมีอานาจหน้าที่ตามที่กาหนดไว้ในกฎหมาย กฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวง
ว่าด้วยการนั้น
จานวน หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตาม
ที่กาหนดในกฎกระทรวง
หมวด ๒
การจัดระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา ๓๓ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคานึงถึงระดับของ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน จานวนสถานศึกษา จานวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การ
จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคาแนะนาของสภาการศึกษามีอานาจประกาศ ในราชกิจจา
นุเบกษากาหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
42

ในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาการกาหนด
ให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้นเป็นสาคัญทั้งนี้ ตามที่
รัฐมนตรีประกาศกาหนดโดยคาแนะนาของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในกรณีที่มีความจาเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาหรือมีเหตุผลความจาเป็นอย่างอื่นตามสภาพ
การจัดการศึกษาบางประเภท คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอาจประกาศกาหนดให้ขยายการบริการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานของเขตพื้นที่การศึกษาหนึ่งไปในเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้
มาตรา ๓๔ ให้จัดระเบียบบริหารราชการของเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้
(๑) สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๒) สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
การแบ่งส่วนราชการภายในตาม (๑) ให้จัดทาเป็นประกาศกระทรวงและให้ระบุอานาจหน้าที่ของแต่ละ
ส่วนราชการไว้ในประกาศกระทรวง ทั้งนี้ โดยคาแนะนาของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การแบ่งส่วนราชการภายในตาม (๒) และอานาจหน้าที่ของสถานศึกษาหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ให้เป็นไปตามระเบียบทีค่ ณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละเขตพื้นที่การศึกษากาหนด
การแบ่งส่วนราชการตามวรรคสองและวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๕ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา ๓๔ (๒) เฉพาะที่เป็นโรงเรียน มีฐานะเป็นนิติ
บุคคล
เมื่อมีการยุบเลิกสถานศึกษาตามวรรคหนึ่ง ให้ความเป็นนิติบุคคลสิ้นสุดลง
มาตรา ๓๖ ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอานาจหน้าที่
ในการกากับดูแล จั ดตั้ง ยุ บ รวม หรื อเลิ กสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา ประสาน ส่ งเสริม และ
สนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ให้สามารถ
จัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการ จัดการศึกษาของ
บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน ศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคม
อื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับอานาจหน้าที่ที่
ระบุไว้ข้างต้น ทั้งนี้ ตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
ให้ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการเขตพื้นที่
การศึกษา
ในการดาเนินการตามวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ว่าจะอยู่ในอานาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศ
กาหนดโดยคาแนะนาของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา ๓๗ ให้มีสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อทาหน้าที่ในการดาเนินการให้เป็นไปตามอานาจ
หน้าที่ของคณะกรรมการตามที่กาหนดไว้ในมาตรา ๓๖ และให้มีอานาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษา ตามที่กาหนด
ไว้ในกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น และมีอานาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) อานาจหน้ าที่ในการบริ หารและการจัดการศึกษา และพัฒ นาสาระของหลั กสูตรการศึกษาให้
สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(๒) อานาจหน้าที่ในการพัฒนางานด้านวิชาการและจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ร่วมกับสถานศึกษา
(๓) รับผิดชอบในการพิจารณาแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาของสถานศึกษาและสานักงานเขต
พื้นที่การศึกษา
(๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกาหนด

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
43

สานักงานตามวรรคหนึ่ง มีผู้อานวยการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิ ดชอบในการปฏิบั ติ


ราชการของสานักงานให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง ในกรณีที่มี
กฎหมายอื่นกาหนดอานาจหน้าที่ของผู้อานวยการไว้เป็นการเฉพาะการใช้อานาจและการปฏิบัติหน้าที่
ตามกฎหมายดังกล่าวให้ คานึ งถึงนโยบายที่คณะรัฐ มนตรีกาหนดหรืออนุมัติแนวทางและแผนการ
ปฏิบัติราชการของกระทรวงด้วย
ในส านั ก งานตามวรรคหนึ่ ง จะให้ มี ร องผู้ อ านวยการเป็ น ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาข้ า ราชการรองจาก
ผู้อานวยการเพื่อช่วยปฏิบัติราชการก็ได้
รองผู้อานวยการหรือผู้ดารงตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสานักงาน มีอานาจหน้าที่ตามที่ผู้อานวยการ
กาหนดหรือมอบหมาย
มาตรา ๓๘ ให้ มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ากว่า
ปริญญา และสถานศึกษาอาชีวศึกษาของแต่ละสถานศึกษา เพื่อทาหน้าที่กากับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการ
ของสถานศึ ก ษา ประกอบด้ ว ยผู้ แ ทนผู้ ป กครอง ผู้ แ ทนครู ผู้ แ ทนองค์ ก รชุ ม ชน ผู้ แ ทนองค์ ก รปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์และหรือผู้ แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้ น ที่
และผู้ทรงคุณวุฒิ
จานวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ
วาระการดารงตาแหน่ง และการพ้นจากตาแหน่ง ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
องค์ ป ระกอบ อ านาจหน้ า ที่ หลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก ารสรรหา และจ านวนกรรมการในคณะกรรมการ
สถานศึกษาสาหรับสถานศึกษาบางประเภทที่มีสภาพและลักษณะการปฏิบัติงานแตกต่างไปจากสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานโดยทั่วไป อาจกาหนดให้แตกต่างไปตามสภาพและลักษณะการปฏิบัติงานตลอดทั้งความจาเป็น
เฉพาะของสถานศึกษาประเภทนั้นได้ ทั้งนี้ ตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
ให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสถานศึกษา
ความในมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและศูนย์การเรียน
มาตรา ๓๙ สถานศึกษาและส่วนราชการตามมาตรา ๓๔ (๒) มีอานาจหน้าที่ตามที่กาหนดไว้ให้เป็น
หน้าที่ของส่วนราชการนั้น ๆ โดยให้มีผู้อานวยการสถานศึกษา หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็น
ผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีอานาจหน้าที่ ดังนี้
(๑) บริหารกิจการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของ
ทางราชการและของสถานศึกษาหรื อส่ ว นราชการ รวมทั้งนโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึ กษาหรือ
ส่วนราชการ
(๒) ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา รวมทั้งควบคุมดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่
และทรัพย์สินอื่นของสถานศึกษาหรื อส่วนราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของทาง
ราชการ
(๓) เป็นผู้แทนของสถานศึกษาหรือส่วนราชการในกิจการทั่ว ไป รวมทั้งการจัดทานิติกรรมสั ญญา
ในราชการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการตามวงเงินงบประมาณที่สถานศึกษาหรือส่วนราชการได้รับตามที่
ได้รับมอบอานาจ
(๔) จัดทารายงานประจาปีเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษาหรือส่วนราชการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
เขตพื้นที่การศึกษา
(๕) อานาจหน้าที่ในการอนุมัติประกาศนียบัตรและวุฒิบัตรของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบที่
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกาหนด
ให้ยกเลิกความใน (๖) ของมาตรา ๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
44

(๖) ปฏิบั ติงานอื่น ตามที่ได้รั บมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลั ดกระทรวง


เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการ การ
อาชีวศึกษา และผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งงานอื่นที่กระทรวงมอบหมาย
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
สถานศึกษาและส่วนราชการตามมาตรา ๓๔ (๒) จะให้มีรองผู้อานวยการหรือรองหัวหน้าส่วนราชการ
รองจากผู้อานวยการหรือหัวหน้าส่วนราชการเพื่อช่วยปฏิบัติราชการก็ได้
สถานศึกษาและส่ว นราชการตามมาตรา ๓๔ (๒) ใดที่ยังไม่ส ามารถปฏิบัติงานบางประการตามที่
กาหนดในกฎหมายหรือที่ได้รับมอบหมายได้ อาจขอให้สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่สถานศึกษาหรื อส่ วน
ราชการนั้นสังกัดเป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานเฉพาะอย่างให้แทนเป็นการชั่วคราวได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และลักษณะของงานที่จะให้ปฏิบัติแทนได้ที่กาหนดในกฎกระทรวง

หมวด ๓
การจัดระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษา
ระดับปริญญาที่เป็นนิติบคุ คล

หมวด ๔
การปฏิบัติราชการแทน
มาตรา ๔๔ ให้ปลัดกระทรวง เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระจายอานาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้ง ด้านวิชาการ
งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรง ในกรณีที่มีกฎหมายกาหนดให้เป็นอานาจหน้าที่ของปลัดกระทรวง
เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเลขาธิการคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษาไว้เป็นการเฉพาะ ให้ผู้ดารงตาแหน่งดังกล่าวมอบอานาจให้แก่ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาหรือผู้อานวยการสถานศึกษา แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ให้ คานึงถึงความเป็นอิสระและการบริหารงานที่
คล่องตัวในการจัดการศึกษาของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ภายใต้หลักการบริหารงาน
การศึกษา ดังต่อไปนี้
(๑) อานาจหน้ าที่ในการพิจ ารณาให้ ความเห็ นชอบเกี่ยวกับงบประมาณและการดาเนินการทาง
งบประมาณของผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อานวยการสถานศึกษา รวมตลอดถึงหลักการ
การให้สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือสถานศึกษามีอานาจทานิติกรรมสัญญาในวงเงินงบประมาณที่ได้รับ
อนุมัติแล้ว
(๒) หลักเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบ การพัฒนา และดาเนินการทางวินัยกับครูและบุคลากร
ทางการศึกษาโดยสัมพันธ์กับแนวทางที่กาหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา
การกระจายอานาจและการมอบอานาจตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
ปลัดกระทรวง เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเลขาธิการ
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา อาจกาหนดให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดมอบอานาจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
ภารกิจที่ตนรับผิดชอบไปยังผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อานวยการสถานศึกษาในเขตพื้นที่
การศึกษาโดยตรงก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ดารงตาแหน่งในการบังคับบัญชาส่วนราชการดังกล่าว
เป็นผู้กาหนด

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
45

ผู้อานวยการสานักบริหารงานในสังกัดสานักงานปลัดกระทรวง และผู้อานวยการสานักบริหารงาน
ในสังกัดสานักงานคณะกรรมการต่าง ๆ อาจมอบอานาจในส่วนที่เกี่ยวกับภารกิจที่ตนรับผิดชอบ หรือที่ได้รับ
มอบหมายตามระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ จากสานักงานคณะกรรมการต่าง ๆ ไปยังผู้อานวยการสานักงานเขต
พื้นที่การศึกษา หรือผู้อานวยการสถานศึกษา หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทีย บเท่ า
ผู้ อานวยการสถานศึกษาโดยตรงได้ ทั้งนี้ โดยจะต้องไม่ขัดต่อนโยบายหรือการสั่ งการของกระทรวง หรือ
คณะกรรมการต้นสังกัด
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๔๕ อานาจในการสั่ ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดาเนินการอื่น ที่
ผู้ดารงตาแหน่งใดในพระราชบัญญัตินี้จะพึงปฏิบัติหรือดาเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคาสั่งใด
หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคาสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีใน
เรื่องนั้น มิได้กาหนดเรื่องการมอบอานาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอานาจไว้ ผู้ดารงตาแหน่ง
นั้นอาจมอบอานาจให้ผู้ดารงตาแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ โดยคานึงถึงความเป็นอิสระการบริหารงานที่
คล่องตัวในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่บัญญัติในมาตรา ๔๔ (๑)
และ (๒) ดังต่อไปนี้
ให้ยกเลิกความใน (๑) (๒) และ (๓) ของมาตรา ๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอาจมอบอานาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปลัดกระทรวง เลขาธิการ หัวหน้าส่วนราชการซึ่งดารงตาแหน่งเทียบเท่าอธิการบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
(๒) ปลัดกระทรวงอาจมอบอานาจให้รองปลัดกระทรวง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง เลขาธิการ หัวหน้า
ส่วนราชการซึ่งดารงตาแหน่งเทียบเท่าอธิการบดี ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อานวยการ
สถานศึกษา หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
(๓) เลขาธิการอาจมอบอานาจให้ รองเลขาธิการ ผู้ ช่ว ยเลขาธิการ หัวหน้า ส่วนราชการซึ่งดารง
ตาแหน่งเทียบเท่าอธิการบดี ผู้อานวยการสานัก ผู้อานวยการสานักบริหารงานหรือผู้ดารงตาแหน่งเทียบเท่า
ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อานวยการสถานศึกษา หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒
(๔) ผู้อานวยการสานัก ผู้อานวยการสานักบริหารงาน หรือผู้ดารงตาแหน่งเทียบเท่าอาจมอบอานาจให้
ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อานวยการสถานศึกษา หรือผู้ดารงตาแหน่งเทียบเท่า
(๕) ผู้ อานวยการส านั กงานเขตพื้น ที่ การศึ ก ษาหรือ ผู้ ดารงตาแหน่ งเทียบเท่ า อาจมอบอานาจให้
ข้าราชการในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อานวยการสถานศึกษาหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่าง
อื่นในเขตพื้นที่การศึกษาที่ตนรับผิดชอบได้ตามระเบียบที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกาหนด
(๖) ผู้ อ านวยการสถานศึ ก ษาหรื อ ผู้ ด ารงต าแหน่ ง เที ย บเท่ า อาจมอบอ านาจให้ ข้ า ราชการ
ในสถานศึกษาหรือในหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นได้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
กาหนด
(๗) ผู้ดารงตาแหน่ง (๑) ถึง (๖) อาจมอบอานาจให้บุคคลอื่นได้ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกาหนด
การมอบอานาจตามมาตรานี้ให้ทาเป็นหนังสือ
คณะรัฐมนตรีอาจกาหนดให้ มีการมอบอานาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตลอดจนการมอบอานาจให้ ท า
นิติกรรม ฟ้องคดี หรือดาเนินคดีแทนกระทรวงหรือส่วนราชการตามมาตรา ๑๐ หรือกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขในการมอบอานาจให้ผู้มอบอานาจหรือผู้รับมอบอานาจตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติก็ได้
มาตรา ๔๖ เมื่อมีการมอบอานาจตามมาตรา ๔๕ โดยชอบแล้ว ผู้รับมอบอานาจมีหน้าที่ต้องรับมอบ
อานาจนั้น และจะมอบอานาจนั้นให้แก่ผู้ดารงตาแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้ เว้นแต่กรณีการมอบอานาจให้แก่ผู้ว่า
ราชการจังหวัดตามมาตรา ๔๕ (๑) (๒) หรือ (๓) ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบอานาจนั้นต่อไป ตามกฎหมายว่า
ด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินก็ได้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
46

ในการมอบอานาจของผู้ว่าราชการจังหวัดตามวรรคหนึ่งให้แก่รองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่า
ราชการจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้ผู้มอบอานาจชั้นต้นทราบ ส่วนการมอบอานาจให้แก่บุคคลอื่น
นอกจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดจะกระทาได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้มอบ
อานาจชั้นต้นแล้ว
มาตรา ๔๗ ในการมอบอานาจตามมาตรา ๔๕ (๑) ถึง (๖) ให้ผู้มอบอานาจพิจารณาถึงการอานวย
ความสะดวกแก่ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของ
ตาแหน่งของผู้รับมอบอานาจและผู้รับมอบอานาจต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบอานาจตามวัตถุประสงค์ของการ
มอบอานาจดังกล่าว
เมื่อได้มอบอานาจแล้ว ผู้มอบอานาจมีหน้าที่กากับติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอานาจ
และให้มีอานาจแนะนาและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอานาจได้

หมวด ๕
การรักษาราชการแทน
มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดารงตาแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
มาตรา ๕๐ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดารงตาแหน่งปลัดกระทรวง *****ตัดย่อไปตามความเหมาะสม******
มาตรา ๕๑ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดารงตาแหน่งเลขาธิการ หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองเลขาธิการ
เป็ น ผู้ รั ก ษาราชการแทน ถ้ า มี ร องเลขาธิ ก ารหลายคน ให้ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารแต่ ง ตั้ ง
รองเลขาธิการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดารงตาแหน่งรองเลขาธิการ หรือมีแต่ไม่อาจ
ปฏิบั ติร าชการได้ ให้ รั ฐ มนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งข้าราชการในสานักงานซึ่งดารงตาแหน่ง
เทียบเท่ารองเลขาธิการ หรือข้าราชการตาแหน่งเลขาธิการสานักหรือผู้อานวยการสานักหรือเทียบเท่าขึ้นไป
คนหนึ่ งเป็ น ผู้ รั กษาราชการแทนแต่รั ฐ มนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอาจแต่งตั้งข้าราชการคนหนึ่งซึ่ง
ดารงตาแหน่งไม่ต่ากว่ารองเลขาธิการหรือเทียบเท่ามาเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
มาตรา ๕๒ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดารงตาแหน่งผู้อานวยการสานัก******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๕๓ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดารงตาแหน่ง ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือมีแต่ไม่อาจ
ปฏิบัติราชการได้ ให้รองผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษารักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้อานวยการ
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหลายคน ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่งตั้ง รอง
ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาคนใดคนหนึ่งรักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดารงตาแหน่ง รอง
ผู้ อานวยการสานักงานเขตพื้น ที่การศึกษา หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ เลขาธิการคณะกรรมการ
การศึกษาขั้น พื้น ฐานแต่ง ตั้งข้ าราชการในเขตพื้น ที่ การศึก ษาซึ่ งดารงตาแหน่งเทียบเท่ารองผู้ อานวยการ
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือดารงตาแหน่งไม่ต่ากว่า ผู้อานวยการสถานศึกษาหรือตาแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป
คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้
ยกเลิกการบังคับใช้
มาตรา ๕๔ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดารงตาแหน่ง ผู้ อานวยการสถานศึกษา หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการ
ได้ ให้รองผู้อานวยการสถานศึกษารักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้อานวยการสถานศึกษาหลายคนให้ผู้อานวยการ
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาแต่งตั้งรองผู้อานวยการสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งรักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดารง
ตาแหน่งรองผู้อานวยการสถานศึกษา หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาแต่งตั้งข้าราชการในสถานศึกษาคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทนก็ได้ ให้นาความในวรรคหนึ่ง
มาใช้บังคับกับส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่าสถานศึกษาด้วยโดยอนุโลม

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
47

ให้ใช้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)


พ.ศ. ๒๕๕๑ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๖๘ แทน
มาตรา ๖๘ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ถ้าตาแหน่ง
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตาแหน่งใดว่างลง หรือผู้ดารงตาแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ได้ ให้ผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปรักษาการในตาแหน่งนั้นได้
ผู้รักษาการในตาแหน่งตามวรรคหนึ่งให้มีอานาจและหน้าที่ตามตาแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มี
กฎหมายอื่ น กฎ ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ มติ ค ณะรั ฐ มนตรี มติ ค ณะกรรมการตามกฎหมาย หรื อ มี ค าสั่ ง ของ
ผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดารงตาแหน่งนั้นๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอานาจและหน้าที่อย่างใด ก็ให้ผู้รักษาการ
ในตาแหน่งทาหน้าที่กรรมการ หรือมีอานาจและหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างรักษาการในตาแหน่งแล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๕ ให้ผู้รักษาราชการแทนตามความในพระราชบัญญัตินี้มีอานาจหน้าที่เช่นเดียวกั บผู้ ซึ่ ง
ตนแทน
ในกรณีที่ผู้ดารงตาแหน่งใดหรื อผู้รักษาราชการแทนผู้ดารงตาแหน่งนั้นมอบหมาย หรือมอบอานาจให้
ผู้ดารงตาแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอานาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือ
มอบอานาจ
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น แต่ งตั้ ง ให้ ผู้ ดารงต าแหน่ งใดเป็น กรรมการหรื อ ให้ มี อานาจหน้ าที่ อ ย่ า งใด
ให้ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอานาจหน้าที่เป็นกรรมการหรือมีอานาจหน้าที่เช่นเดียวกับ
ผู้ดารงตาแหน่งนั้นในการรักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วยแล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๖ การเป็ น ผู้ รั ก ษาราชการแทนตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ไ ม่ ก ระทบกระเทื อ นอ านาจของ
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงหรือผู้ดารงตาแหน่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง
เลขาธิ ก ารหรื อ ผู้ ด ารงต าแหน่ ง เที ย บเท่ า เลขาธิ ก าร ซึ่ ง เป็ น ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาที่ จ ะแต่ ง ตั้ ง ข้ า ราชการอื่ น เป็ น
ผู้รักษาราชการแทนตามอานาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ดารงตาแหน่งรองหรือผู้ช่วยพ้นจากความ
เป็นผู้รักษาราชการแทนนับแต่เวลาที่ผู้ได้รับแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งเข้ารับหน้าที่

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
48

พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
เป็นปีที่ ๕๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้
ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
จึ งทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ าฯ ให้ ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โ ดยคาแนะนาและยินยอมของรัฐ สภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕47
“ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตาม
พระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน งบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะ
เงินเดือนในกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงอื่น
ที่กาหนดในพระราชกฤษฎีกา
“ข้าราชการครู” หมายความว่า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและ
ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาของรัฐ
“คณาจารย์” หมายความว่า บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษา
ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ
“บุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุน
การศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การ
นิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา
“วิชาชีพ” หมายความว่า วิชาชีพครู วิชาชีพบริหารการศึกษา และวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น
“เขตพื้นที่การศึกษา” หมายความว่า เขตพื้นที่การศึกษาตามประกาศกระทรวง
“หน่วยงานการศึกษา” หมายความว่า
(๑) สถานศึกษา
(๒) สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๓) สานักงานการศึกษานอกโรงเรียน
(๔) แหล่งการเรียนรู้ตามประกาศของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๕) หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการหรือตามประกาศ
กระทรวง หรือหน่วยงานที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากาหนด
“สถานศึกษา” หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษา
นอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ของรัฐที่มีอานาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและ
ตามประกาศกระทรวง
“ส่วนราชการ” หมายความว่า หน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเป็นกรมหรือเทียบเท่ากรม
“หั ว หน้ าส่ ว นราชการ” หมายความว่า ปลั ดกระทรวง เลขาธิการ อธิบดี หรือตาแหน่งที่เรี ย กชื่ อ
อย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
49

“กระทรวง” หมายความว่า กระทรวงศึกษาธิการ


“รั ฐ มนตรี เจ้ าสั งกัด ” หมายความว่า รัฐ มนตรีว่าการกระทรวงในกระทรวงที่มีข้ าราชการครู แ ละ
บุคลากรทางการศึกษาอยู่ในสังกัด
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ บรรดาคาว่า “ข้าราชการพลเรือน” ที่มีอยู่ในกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ และข้อบังคับ
อื่นใด ให้หมายความรวมถึงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วย เว้นแต่จะได้มีกฎหมาย ประกาศ
ระเบียบ หรือข้อบังคับอื่นใดที่บัญญัติไว้สาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยเฉพาะ

หมวด ๑
คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะหนึ่ง
เรียกว่า “คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” เรียกโดยย่อว่า “ก.ค.ศ.” ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตาแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เลขาธิ ก าร ก.พ. เลขาธิ ก ารสภาการศึ ก ษา เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานเลขาธิ ก าร
คณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเลขาธิการคุรุสภา
(๓) กรรมการผู้ ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐ มนตรีว่าการกระทรวงศึ กษาธิการแต่ งตั้ง จากบุค คลซึ่ งมี ค วามรู้
ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการศึกษา และด้านกฎหมาย
ด้านละหนึ่งคน
ให้ เ ลขาธิ ก าร ก.ค.ศ. เป็ น กรรมการและเลขานุก าร และให้ เ ลขาธิ ก าร ก.ค.ศ. แต่ ง ตั้ ง ข้ า ราชการ
ในสานักงาน ก.ค.ศ. จานวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
กรณีที่จะแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดให้เป็นกรรมการ
ตาม (๓) ผู้นั้นต้องดารงตาแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
ปรับแก้ไขตามตามคาสั่ง คสช ๑๖/๒๕๖๐
มาตรา ๑๙ ให้ ก.ค.ศ. มีอานาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะและให้คาปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการผลิตและการบริหารงานบุคคล
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) กาหนดนโยบาย วางแผน และกาหนดเกณฑ์ อัตรากาลัง ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา รวมทั้งให้ความเห็นชอบจานวนและอัตราตาแหน่งของหน่วยงานการศึกษา
(๓) เสนอแนะและให้คาปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในกรณีที่ ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมาก หรือการ
จัดสวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูลสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายังไม่เหมาะสมเพื่อ ให้
คณะรัฐมนตรีพิจารณาในอันที่จะปรับปรุงเงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจาตาแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ
สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เหมาะสม
(๔) ออกกฎ ก.ค.ศ. ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการบริหารงานบุคคล ของ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กฎ ก.ค.ศ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศ ในราช
กิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
(๕) พิจารณาวินิจฉัยตีความปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ เมื่อ ก.ค.ศ.มีมติ
เป็นประการใดแล้วให้หน่วยงานการศึกษาปฏิบัติตามนั้น
(๖) พัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารงานบุคคล รวมทั้งการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
50

(๗) กาหนดวิธีการและเงื่อนไขการจ้างเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติ หน้าที่ในตาแหน่งครูและ


บุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษา รวมทั้งกาหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน
(๘) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกาลังใจ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๙) ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่นแก่ข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา
(๑๐) พิจารณาตั้ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาและคณะอนุกรรมการอื่นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ก.ค.
ศ. มอบหมาย
(๑๑) ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน ให้คาปรึกษา แนะนาและชี้แจงด้านการบริหารงานบุคคลแก่
หน่วยงานการศึกษา
(๑๒) กาหนดมาตรฐาน พิจารณา และให้คาแนะนาเกี่ยวกับการดาเนินการทางวินัย การออกจาก
ราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ตามที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(๑๓) กากับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริห ารงานบุคคลของข้าราชการครู และ
บุ คลากรทางการศึกษาเพื่อรั กษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารงานบุคคล ตรวจสอบและ
ปฏิบั ติการตามพระราชบั ญญัตินี้ ในการนี้ให้ มีอานาจเรียกเอกสารและหลั กฐานจากหน่ว ยงานการศึกษา
ให้ผู้แทนของหน่วยงานการศึกษา ข้าราชการ หรือบุคคลใด มาชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอานาจออกระเบียบ
ข้อบังคับ รวมทั้งให้ส่วนราชการ หน่วยงานการศึกษา ข้าราชการหรือบุคคลใดรายงานเกี่ยวกับการบริหารงาน
บุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในอานาจหน้าที่ไปยัง ก.ค.ศ.
(๑๔) ในกรณี ที่ ป รากฏว่ า ส่ ว นราชการ หน่ ว ยงานการศึ ก ษา อ.ก.ค.ศ. เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา
คณะอนุกรรมการหรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือปฏิบัติการโดย
ไม่ ถู ก ต้ อ งและไม่ เ หมาะสม หรื อ ปฏิ บั ติ ก ารโดยขั ด หรื อ แย้ ง กั บ กฎหมาย กฎ ก.ค.ศ. ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด ให้ ก.ค.ศ. มีอานาจยับยั้งการปฏิบัติการดังกล่าวไว้เป็น
การชั่ว คราว เมื่อ ก.ค.ศ. มีมติเป็ นประการใดแล้ว ให้ส่ วนราชการหน่วยงานการศึกษา อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่
การศึกษาคณะอนุกรรมการหรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ปฏิบัติไปตามนั้น
(๑๕) พิ จ ารณารั บ รองคุ ณ วุ ฒิ ข องผู้ ไ ด้ รั บ ปริ ญ ญา ประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ หรื อ คุ ณ วุ ฒิ อ ย่ า งอื่ น
เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และการกาหนดอัตรา
เงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่ควรได้รับ
(๑๖) กาหนดอัตราค่าธรรมเนียมในเรื่องการปฏิบัติการต่างๆ ตามที่กาหนดในพระราชบัญญัตินี้
(๑๗) พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และควบคุม
การเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๑๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๐ ให้มีสานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกโดยย่อว่า
“สานักงาน ก.ค.ศ.” โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกโดยย่อว่า
“เลขาธิการ ก.ค.ศ.” ซึ่งมีฐ านะเป็ น อธิบดี เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสานักงาน
คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๒๑ ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจาเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา เรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา” และคณะอนุกรรมการข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษาประจาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา” สาหรับแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณีซึ่งประกอบด้วย

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
51

มาตรา ๒๓ ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามีอานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้


(๑) พิจารณากาหนดนโยบายการบริหารงานบุคคลสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งการกาหนดจานวนและอัตราตาแหน่ง และเฉลี่ ยอัตรากาลัง ให้ส อดคล้องกับ
นโยบาย การบริหารงานบุคคล ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กาหนด
(๒) พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขต
พื้นที่การศึกษา
(๓) ให้ ความเห็ น ชอบเกี่ย วกั บ การพิจ ารณาความดี ความชอบของผู้ บ ริห ารสถานศึ ก ษา ผู้ บริห าร
การศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขต
พื้นที่การศึกษา
(๔) พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดาเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์
ตามที่กาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(๕) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกาลังใจ การปกป้องคุ้มครองระบบคุณธรรม
การจั ด สวั ส ดิ ก าร และการยกย่ อ งเชิ ด ชู เ กี ย รติ ข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาในหน่ ว ยงาน
การศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
(๖) กากับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๗) จัดทาและพัฒนาฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษา ใน
เขตพื้นที่การศึกษา
(๘) จัดทารายงานประจาปีที่ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาในหน่วยงานการศึกษาเพื่อเสนอ ก.ค.ศ.
(๙) พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาที่ไม่อยู่ในอานาจและ
หน้าที่ของผู้บริหารของหน่วยงานการศึกษา
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย
มาตรา ๒๔ ให้ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้ นที่การศึกษาเป็นผู้บริหารราชการในสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษาและเป็น ผู้บั งคับบั ญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และ
มีอานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับผิดชอบในการปฏิบัติงานราชการที่เป็นอานาจและหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาและ
ตามที่อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย
(๒) เสนอแนะการบรรจุและแต่งตั้ง และการบริหารงานบุคคลในเรื่องอื่นที่อยู่ในอานาจและหน้าที่ของ
อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
(๓) พิ จ ารณาเสนอความดี ค วามชอบของผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา ผู้ บ ริ ห ารการศึ ก ษาในหน่ ว ยงาน
การศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๔) จัดทาแผนและส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษา
ในเขตพื้นที่การศึกษา
(๕) จัดทาทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(๖) จั ดทามาตรฐานคุ ณภาพงาน กาหนดภาระงานขั้น ต่า และเกณฑ์ ก ารประเมิ นผลงานส าหรั บ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๗) ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทารายงานการบริหารงานบุคคลเสนอ อ.ก.ค.ศ.
เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเสนอ ก.ค.ศ. ต่อไป
(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
52

มาตรา ๒๖ ให้คณะกรรมการสถานศึกษา มีอานาจและหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสาหรับ


ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
(๑) กากับ ดูแลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษากาหนด
(๒) เสนอความต้องการจ านวนและอัตราต าแหน่ง ของข้า ราชการครู และบุ คลากรทางการศึ ก ษา
ในสถานศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา
(๓) ให้ ข้ อ คิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ การบริ ห ารงานบุ ค คลของข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา
ในสถานศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา
(๔) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่
การศึกษามอบหมาย
ให้นาความในมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการสถานศึกษาโดยอนุโลม
มาตรา ๒๗ ให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครู และบุค ลากรทางการ
ศึกษาในสถานศึกษา และมีอานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุม ดูแลให้การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษากาหนด
(๒) พิจารณาเสนอความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
(๓) ส่งเสริม สนับสนุนข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่าง
ต่อเนื่อง
(๔) จัดทามาตรฐานภาระงานสาหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
(๕) ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเสนอ
อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่นหรือตามที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่
การศึกษา หรือคณะกรรมการสถานศึกษามอบหมาย
มาตรา ๒๘ ให้ผู้บริหารหน่วยงานการศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กาหนดเป็นผู้บังคับบัญชา
และบริหารหน่วยงาน และให้นามาตรา ๒๗ มาใช้บังคับแก่ผู้ดารงตาแหน่งดังกล่าวโดยอนุโลม

หมวด ๒
บททั่วไป
มาตรา ๒๙ การดาเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิ จการบ้านเมืองที่ดี
โดยยึดถือระบบคุณธรรม ความเสมอภาคระหว่างบุคคล และหลักการได้รับการปฏิบัติและการคุ้มครองสิทธิ
อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ
อายุ สภาพทางกายหรื อสุ ขภาพ สถานะของบุ ค คล ฐานะทางเศรษฐกิจหรื อสั ง คม ความเชื่อทางศาสนา
การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องอื่นๆ จะกระทามิได้
มาตรา ๓๐ ภายใต้ บั ง คั บ กฎหมายว่ า ด้ ว ยสภาครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาส าหรั บ การเป็ น
ผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ซึ่งจะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาได้ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
53

(๓) เป็ น ผู้ เ ลื่ อ มใสในการปกครองระบอบประชาธิ ป ไตยอั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย์ ท รงเป็ น ประมุ ข


ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(๔) ไม่เป็นผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(๕) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กาหนดในกฎ ก.ค.ศ.
(๖) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือ
ตามกฎหมายอื่น หรือถูกสั่งพัก หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในกฎหมาย
องค์กรวิชาชีพนั้นๆ
(๗) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีสาหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๘) ไม่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๙) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๑๐) ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิดที่ได้
กระทาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๑๑) ไม่เป็ น ผู้ เคยถูกลงโทษให้ อ อก ปลดออก หรือไล่ ออกจากรัฐ วิส าหกิจ องค์การมหาชน หรือ
หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ
(๑๒) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทาผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้
หรือตามกฎหมายอื่น
(๑๓) ไม่เป็นผู้เคยกระทาการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
มาตรา ๓๑ อัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจาตาแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจาตาแหน่งข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา
อัตราเงินเดือน เงินประจาตาแหน่งสาหรับบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา ๓๘ ค. (๒) ให้นาบัญชี
อัตราเงินเดือน และเงินประจาตาแหน่งของข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เงินวิทยฐานะและเงินประจาตาแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน
มาตรา ๓๕ วันเวลาทางาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจาปี และการลาหยุด
ราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด ในกรณี ก.ค.ศ. ยังมิได้
กาหนด ให้นาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่ใช้กับข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด ๓
การกาหนดตาแหน่ง
วิทยฐานะ และการให้ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจาตาแหน่ง
มาตรา ๓๘ ตาแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามี ๓ ประเภทดังนี้
ก. ตาแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา ได้แก่ ตาแหน่งดังต่อไปนี้
(๑) ครูผู้ช่วย
(๒) ครู
(๓) อาจารย์
(๔) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(๕) รองศาสตราจารย์
(๖) ศาสตราจารย์
ตาแหน่งใน (๑) และ (๒) จะมีในหน่วยงานการศึกษาใดก็ได้ ส่วนตาแหน่งใน (๓) ถึง (๖) ให้มี ใน
หน่วยงานการศึกษาที่สอนระดับปริญญา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
54

ข. ตาแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ได้แก่ ตาแหน่งดังต่อไปนี้


(๑) รองผู้อานวยการสถานศึกษา
(๒) ผู้อานวยการสถานศึกษา
(๓) รองผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๔) ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(๕) ตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด
ตาแหน่งผู้บริหารใน (๑) และ (๒) ให้มีในสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาตามประกาศกระทรวง
ตาแหน่งผู้บริหารใน (๓) และ (๔) ให้มีในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ตาแหน่งผู้บริหารในหน่วยงานการศึกษาที่สอนระดับปริญญา การกาหนดระดับตาแหน่ง การให้ได้รับ
เงิน เดือนและเงิน ประจ าตาแหน่ง ให้ น ากฎหมายว่าด้ว ยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ ก.ค.ศ. จะกาหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ค. ตาแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีดังต่อไปนี้
(๑) ศึกษานิเทศก์
(๒) ตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด หรือตาแหน่งของข้าราชการ
ที่ ก.ค.ศ. นามาใช้กาหนดให้เป็นตาแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
การกาหนดระดับตาแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจาตาแหน่งของตาแหน่งบุคลากร
ทางการศึกษาอื่นตาม ค. (๒) ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎ ก.ค.ศ. โดยให้นากฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ
พลเรือนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกาหนดตาแหน่ง และการให้ได้รั บเงินเดือนและเงินประจาตาแหน่ง ของ
ข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๓๙ ให้ตาแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดังต่อไปนี้ เป็นตาแหน่งที่มีวิทยฐานะ
ได้แก่
ก. ตาแหน่งครู มีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้
(๑) ครูชานาญการ
(๒) ครูชานาญการพิเศษ
(๓) ครูเชี่ยวชาญ
(๔) ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
ข. ตาแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา มีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้
(๑) รองผู้อานวยการชานาญการ
(๒) รองผู้อานวยการชานาญการพิเศษ
(๓) รองผู้อานวยการเชี่ยวชาญ
(๔) ผู้อานวยการชานาญการ
(๕) ผู้อานวยการชานาญการพิเศษ
(๖) ผู้อานวยการเชี่ยวชาญ
(๗) ผู้อานวยการเชี่ยวชาญพิเศษ
ค. ตาแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้
(๑) รองผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาชานาญการพิเศษ
(๒) รองผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ
(๓) ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ
(๔) ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
55

ง. ตาแหน่งศึกษานิเทศก์ มีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้


(๑) ศึกษานิเทศก์ชานาญการ
(๒) ศึกษานิเทศก์ชานาญการพิเศษ
(๓) ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
(๔) ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ
จ. ตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กาหนดให้มีวิทยฐานะ
มาตรา ๔๐ ให้ตาแหน่งคณาจารย์ดังต่อไปนี้ เป็นตาแหน่งทางวิชาการ
(ก) อาจารย์ (ข) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(ค) รองศาสตราจารย์ (ง) ศาสตราจารย์
การกาหนดระดับตาแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจาตาแหน่งตามวรรคหนึ่งให้ น า
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๔๑ ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๔๒ ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๔๓ ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๔๔ ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******

หมวด ๔
การบรรจุและการแต่งตั้ง
มาตรา ๔๕ การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อแต่งตั้งให้
ดารงตาแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้สาหรับตาแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลาดับที่
ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
ความในวรรคหนึ่งมิให้นามาใช้บังคับกับ
มาตรา ๕๐ บรรจุจากการคัดเลือก
มาตรา ๕๑ บรรจุเชี่ยวชาญระดับสูง
มาตรา ๕๒ บรรจุจากสัญญาจ้าง
มาตรา ๕๘ บรรจุจากการโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๖๔ บรรจุจากผู้ขอกลับรับราชการครู
มาตรา ๖๕ บรรจุจากผู้ขอกลับรับราชการครูที่ออกตามมติ ครม.
มาตรา ๖๖ บรรจุจากผู้ขอกลับรับราชการครูเมื่อพ้นเกณฑ์ทหาร ภายใน ๑๘๐ วัน
มาตรา ๖๗ บรรจุจากผู้ลาออกจากพนักงานส่วนท้องถิ่นแล้วขอกลับเป็นข้าราชการครู
มาตรา ๔๖ ผู้สมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตาแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๐ และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสาหรับตาแหน่งตามมาตรฐาน
ตาแหน่งนั้นตามมาตรา ๔๒
สาหรับผู้ดารงตาแหน่งตามมาตรา ๓๐ (๔) และ (๘) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะมีสิทธิได้รับ
การบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการตามที่สอบแข่งขันได้ก็ต่อเมื่อพ้นจากตาแหน่งนั้นๆ แล้ว
มาตรา ๔๗ ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดาเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคล
เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในกรณีที่หน่วยงานการศึกษาใดมีความพร้อมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กาหนดให้ อ.ก.ค.ศ.
เขตพื้นที่การศึกษามอบให้หน่วยงานการศึกษานั้นเป็นผู้ดาเนินการสอบแข่งขัน

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
56

หลั กสู ตร วิธีการสอบแข่งขัน และวิธีดาเนินการที่เกี่ยวกับการสอบแข่งขัน ตลอดจนเกณฑ์ตัดสิน


การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การนารายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ ใน
บัญชีอื่น และการยกเลิกบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ให้เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด

มาตรา ๕๐ บรรจุจากการคัดเลือก******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๕๑ บรรจุเชี่ยวชาญระดับสูง******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๕๒ บรรจุจากสัญญาจ้าง******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๕๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๔มาตรา
๖๕ มาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้มี
อานาจดังต่อไปนี้เป็นผู้มีอานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
(๑) การบรรจุและแต่งตั้งตาแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ เมื่อได้รับอนุมัติจาก ก.ค.ศ. แล้วให้
ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของส่วนราชการที่ผู้นั้นสังกัดอยู่เป็นผู้มีอานาจสั่งบรรจุและให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดนาเสนอ
นายกรัฐมนตรีเพื่อนาความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
(๒) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งรองผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตาแหน่งรอง
ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้น ที่การศึกษาชานาญการพิเศษ ตาแหน่งรองผู้ อานวยการสานักงานเขตพื้น ที่
การศึกษาเชี่ยวชาญ ตาแหน่งผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา และตาแหน่งผู้อานวยการสานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ มีอานาจสั่งบรรจุและ
แต่งตั้งโดยอนุมัติ ก.ค.ศ.
(๓) การบรรจุ แ ละแต่ ง ตั้ ง ให้ ด ารงต าแหน่ ง รองผู้ อ านวยการสถานศึ ก ษา ต าแหน่ ง ผู้ อ านวยการ
สถานศึกษา ตาแหน่ งผู้ บ ริ ห ารที่เรี ย กชื่ออย่า งอื่น ตามมาตรา ๓๘ ข. (๕) ตาแหน่งศึกษานิเทศก์ ตาแหน่ ง
บุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา ๓๘ ค. (๒) ในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตาแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะ
ชานาญการ ตาแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชานาญการพิเศษ และตาแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ให้ผู้อานวยการ
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้มีอานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งโดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
(๔) การบรรจุและแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งครูผู้ช่วย ตาแหน่งครู และตาแหน่งบุคลากร ทางการศึกษา
อื่น ตามมาตรา ๓๘ ค. (๒) ในสถานศึกษา ให้ ผู้ อานวยการสถานศึ ก ษาเป็นผู้ มี อ านาจสั่ งบรรจุ และแต่ ง ตั้ ง
โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
(๕) การบรรจุ แ ละแต่ ง ตั้ ง ข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาซึ่ ง มิ ไ ด้ อ ยู่ ใ นสั ง กั ด เขตพื้ น ที่
การศึ ก ษา ให้ ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาสู ง สุ ด ของส่ ว นราชการที่ ผู้ นั้ น สั ง กั ด อยู่ เ ป็ น ผู้ มี อ านาจสั่ ง บรรจุ แ ละแต่ ง ตั้ ง
โดยอนุมัติ ก.ค.ศ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย เว้นแต่ตาแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ให้
ดาเนินการตาม (๑) โดยอนุโลม ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด
บรรดาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ที่บัญญัติถึงผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ ให้หมายถึงผู้มีอานาจสั่ง
บรรจุตามวรรคหนึ่ง (๑) หรือผู้มีอานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๖) แล้วแต่กรณี
มาตรา ๕๕ ให้มีการประเมินตาแหน่งและวิทยฐานะสาหรับตาแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
เป็นระยะๆ ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๕๖ ผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาและแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งตามมาตรา ๔๕ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๕๐ ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการใน
ตาแหน่งนั้น แต่ถ้าผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตาแหน่งครูผู้ช่วยให้ผู้นั้นเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่าง
เข้มเป็นเวลาสองปีก่อนแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งครู ทั้งนี้ การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการและการเตรียมความ
พร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กาหนด

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
57

ถ้าในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม แล้วแต่กรณี
ผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ พิจารณาเห็นว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีความประพฤติไม่ดี
หรือไม่มีความรู้ หรือไม่มีความเหมาะสม หรือมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ ราชการหรือเตรียมความ
พร้ อมและพัฒ นาอย่ างเข้มอยู่ ต่ากว่าเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กาหนดโดยไม่ควรให้ รับราชการต่อไปก็ให้ สั่ งให้ ผู้ นั้ น
ออกจากราชการได้ ไม่ว่าจะครบกาหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมและพัฒนา
อย่ างเข้มหรื อไม่ก็ตาม ถ้าพ้น กาหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมและพัฒนา
อย่างเข้มดังกล่าวแล้ว และผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ พิจารณาเห็นว่า ควรให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปก็สั่งให้
ผู้ นั้ น ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ นต าแหน่ ง หรื อ วิ ท ยฐานะที่ จ ะได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง ต่ อ ไปและให้ ร ายงานหั ว หน้ า ส่ ว นราชการ
ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี ******ตัดย่อไปตาม
ความเหมาะสม*******
ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคสองหรือวรรคสาม หรือสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่น
ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ที่มิใช่เป็นการถูกลงโทษ
ปลดออก หรื อไล่ อ อก ให้ ถือเสมือ นว่ าผู้ นั้ น ไม่เ คยเป็น ข้ าราชการครู และบุ คลากรทางการศึ ก ษา แต่ ทั้ ง นี้
ไม่กระทบกระเทือนถึง การปฏิบั ติห น้ า ที่ราชการหรื อเตรีย มความพร้ อมและพัฒ นาอย่างเข้ม หรือการรั บ
เงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างที่ผู้นั้นอยู่ในระหว่าง
ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
มาตรา ๕๗******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วย
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้นั้นอาจถูกเปลี่ยนตาแหน่งหรือย้ายตามวรรคหนึ่งได้ เว้นแต่ถูกสั่งพัก
ราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนในกรณีอื่นตามมาตรา ๑๑๙
มาตรา ๕๘ บรรจุจากการโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๕๙ การย้ ายข้าราชการครู และบุ คลากรทางการศึ ก ษาผู้ ใดไปด ารงต าแหน่ง ในหน่ว ยงาน
การศึกษาอื่นภายในส่วนราชการหรือภายในเขตพื้นที่การศึกษาหรือต่างเขตพื้นที่การศึกษาต้องได้รับอนุมัติจาก
อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาหรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้งของผู้ประสงค์ย้ายและผู้รับย้าย แล้วแต่กรณี และให้
สถานศึกษาโดยคณะกรรมการสถานศึก ษาเสนอความเห็ นประกอบการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้น ที่
การศึกษาหรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้งด้วย และเมื่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง พิจารณา
อนุมัติแล้ว ให้ผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ สั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้นั้นต่อไป
การย้ายผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและรองผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้สั่งย้ายโดยอนุมัติ ก.ค.ศ.
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๖๒ การแต่งตั้งบุ คลากรทางการศึกษาตามมาตรา ๖๑ ส าหรับผู้ ส อบแข่งขันได้ให้ แต่ ง ตั้ ง
ตามลาดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๖๔ บรรจุจากผู้ขอกลับรับราชการครู******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๖๕ บรรจุจากผู้ขอกลับรับราชการครูที่ออกตามมติครม.***ตัดย่อไปตามความเหมาะสม***
มาตรา ๖๖ บรรจุจากผู้ขอกลับรับราชการครูเมื่อพ้นเกณฑ์ทหาร ภายใน 180 วัน
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๖๗ บรรจุจากผู้ลาออกจากพนักงานส่วนท้องถิ่นแล้วขอกลับเป็นข้าราชการครู
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
58

หมวด ๕
การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
มาตรา ๗๒ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา โดยยึดหลักการปฏิบัติตนที่เ หมาะสมกับการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและปฏิบัติ
ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ถือว่าผู้นั้นมีความชอบสมควรได้รับ
บาเหน็จความชอบ ซึ่งอาจเป็นบันทึกคาชมเชย รางวัล เครื่องเชิดชูเกียรติ หรือการเลื่อนขั้นเงินเดือน หรือการ
บริหารงานบุคคลในเรื่องอื่นทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กาหนด
มาตรา ๗๓ การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ ผู้บังคับบั ญ ชา
แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยการพิจารณาให้ยึดหลักคุณธรรม มีความเที่ยงธรรม เปิดเผย โปร่งใสและ
พิ จ ารณาจากผลการปฏิ บั ติ ง านเป็ น หลั ก และความประพฤติ ใ นการรั ก ษาวิ นั ย คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรมและ
จรรยาบรรณวิชาชีพ ทั้งนี้ ภายใต้บังคับมาตรา ๗๔
การเลื่อนขั้นเงินเดือนตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาผลการปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้เรียนเป็นหลัก
ตามแนวทางการจัดการศึกษาที่กาหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
หลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎ ก.ค.ศ.
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาไม่สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดให้
ผู้บังคับบัญชาแจ้งให้ผู้นั้นทราบพร้อมเหตุผลที่ไม่เลื่อนขั้นเงินเดือน
การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเมื่อได้ดาเนินการตามหลักเกณฑ์
และวิธีการตามวรรคสามแล้ว ให้ผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ เป็นผู้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน มาตรา ๗๔ ให้ ก.ค.ศ.
ก าหนดขั้ น เงิ น เดื อ นประสิ ท ธิภ าพของต าแหน่ ง ข้ าราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาในต าแหน่งที่มี
วิทยฐานะ เพื่อให้ ป ฏิบั ติ งานบั งเกิ ดผลดีและมี ความก้ าวหน้ า และได้ ม าตรฐานงานของทางราชการ ทั้ง นี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กาหนด
มาตรา ๗๕ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึก ษาผู้ใดมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีผลงานดีเด่น
เป็นที่ประจักษ์ ให้กระทรวงเจ้าสั งกัดส่วนราชการและหน่วยงานการศึกษาดาเนินการยกย่องเชิดชูเ กียรติ
ตามควรแก่กรณี
เพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติงาน ก.ค.ศ. อาจกาหนดให้ข้าราชการครู
และบุ คลากรทางการศึกษาผู้ ที่มีผ ลงานหรื อผลการปฏิบัติงานดี เด่นหรือผู้ ที่ ได้รับ การยกย่ องเชิดชูเ กี ย รติ
ให้ได้รับเงินวิทยพัฒน์ได้ ตามระเบียบที่ ก.ค.ศ. กาหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๗๙ ให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาและมีหน้าที่พัฒนา ผู้
อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่
เหมาะสม ในอันที่จะทาให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความก้าวหน้า แก่
ราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กาหนด
มาตรา ๘๑ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุนผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา โดยการให้ไปศึกษา
ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาตามระเบียบที่ ก.ค.ศ. กาหนด
ในกรณีที่มีความจาเป็นหรื อเป็ นความต้องการของหน่วยงานเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒ นาคุ ณภาพ
การศึกษาหรือวิชาชีพ หรือคุณวุฒิขาดแคลน ผู้บังคับบัญชาอาจส่งหรืออนุญาตให้ข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึ ก ษาลาไปศึ ก ษา ฝึ ก อบรม หรื อ วิ จั ย โดยอนุ มั ติ ก.ค.ศ. หรื อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา
ที่ได้รับมอบหมาย โดยให้ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และมีสิทธิได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในระหว่างลาไปศึกษา
ฝึกอบรม หรือวิจัย แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ภายใต้บังคับมาตรา ๗๓ วรรคสาม

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
59

หมวด ๖
วินัยและการรักษาวินัย
มาตรา ๘๒ ข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาต้ อ งรั ก ษาวิ นั ย ที่ บั ญ ญั ติ เ ป็ น ข้ อ ห้ า มและ
ข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
มาตรา ๘๓ ข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาต้ อ งสนั บ สนุ น การปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ
และมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น
มาตรา ๘๔ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่ รักษาประโยชน์ของทางราชการ
และต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด
ห้ ามมิให้ อาศัย หรื อยอมให้ ผู้ อื่น อาศัยอานาจและหน้าที่ราชการของตน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรื อ
ทางอ้อม หาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่
มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
มาตรา ๘๕ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถือ
ประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน และไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
การปฏิบั ติห น้ าที่ร าชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการและ
หน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาล ประมาทเลินเล่อหรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวัง
รักษาประโยชน์ของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่าง
ร้ายแรง
มาตรา ๘๖ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติตามคาสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่ ง
ในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่า
การปฏิบัติตามคาสั่งนั้นจะทาให้เสียหายแก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะเสนอ
ความเห็นเป็นหนังสือภายในเจ็ดวัน เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคาสั่งนั้นก็ได้และเมื่อเสนอความเห็นแล้ว
ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันเป็นหนังสือให้ปฏิบัติตามคาสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจะต้องปฏิบัติตาม
การขัดคาสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคาสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วย
กฎหมายและระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงเป็นความผิดวินัยอย่าง
ร้ายแรง
มาตรา ๘๗ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องตรงต่อ เวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทาง
ราชการและผู้เรียน จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้
การละทิ้งหน้าที่หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ
อย่างร้ายแรง หรือการละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวัน โดยไม่มีเหตุผล
อันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัย
อย่างร้ายแรง
มาตรา ๘๘ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน
สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกัน
หรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
การกลั่นแกล้ง ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงผู้เรียน หรือประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่าง
ร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
60

มาตรา ๘๙ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่ กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดย


ปราศจากความเป็ นจริง การกระทาตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเป็น
ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
มาตรา ๙๐ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่กระทาการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทาการ
หาประโยชน์อันอาจทาให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตาแหน่งหน้าที่ราชการของตน
การกระทาตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกระทาโดยมีความมุ่งหมายจะให้เป็นการซื้อขาย หรือให้ได้รับ
แต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งหรือวิทยฐานะใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการกระทาอันมีลักษณะเป็นการ
ให้หรือได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสิทธิประโยชน์อื่น เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับการบรรจุและแต่งตั้งโดยมิชอบหรือ
เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
มาตรา ๙๑ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการ
ของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือนาเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่น หรือจ้างวาน ใช้ผู้อื่นทาผลงานทางวิชาการเพื่อไป
ใช้ในการเสนอขอปรั บ ปรุ งการกาหนดตาแหน่ง การเลื่ อนตาแหน่ง การเลื่ อนวิทยฐานะหรือการให้ ไ ด้ รั บ
เงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้าราชการครู และบุ คลากรทางการศึกษาที่ร่ว มดาเนินการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
โดยมิช อบ หรื อรั บ จั ดทาผลงานทางวิช าการไม่ว่าจะมี ค่าตอบแทนหรื อไม่ เพื่อให้ ผู้ อื่นนาผลงานนั้น ไปใช้
ประโยชน์ในการดาเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
มาตรา ๙๒ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือ ผู้จัดการ หรือ
ดารงตาแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
มาตรา ๙๓ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติ
หน้าที่ และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน โดยต้องไม่อาศัยอานาจและหน้าที่ราชการของตน
แสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองใด
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการดาเนินการใดๆ อันมีลักษณะ
เป็นการทุจริตโดยการซื้อสิทธิหรือขายเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่น
หรือการเลือกตั้งอื่นที่มีลักษณะเป็นการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยรวมทั้งจะต้องไม่ให้การ
ส่งเสริม สนับสนุน หรือชักจูงให้ผู้อื่นกระทาการในลักษณะเดียวกัน การดาเนินการที่ฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้
เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
มาตรา ๙๔ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์
ของตาแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทาการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว
การกระทาความผิ ด อาญาจนได้รั บโทษจาคุก หรือโทษที่ห นักกว่าจ าคุ ก โดยคาพิพากษาถึ ง ที่ สุ ด
ให้จาคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิดที่ได้กระทาโดยประมาท หรือความผิด
ลหุโทษ หรือกระทาการอื่นใดอันใดชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาที่ เ สพยาเสพติ ด หรื อ สนั บ สนุ น ให้ ผู้ อื่ น เสพยาเสพติ ด
เล่นการพนันเป็นอาจิณ หรือกระทาการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษา ไม่ว่าจะอยู่ในความดูแล
รับผิดชอบของตนหรือไม่ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
มาตรา ๙๕ ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่เสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ป้องกันมิให้
ผู้ อยู่ ใต้บั งคับ บั ญชากระทาผิ ดวินัย และดาเนินการทางวินัยแก่ผู้ อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่ งมีกรณีอันมีมูลที่ควร
กล่าวหาว่ากระทาผิดวินัย
การเสริมสร้างและพัฒนาให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีวินัย ให้กระทาโดยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
การฝึ กอบรม การสร้ างขวัญและกาลั งใจ การจูงใจ หรือการอื่นใดในอันที่จะเสริมสร้างและพัฒ นาเจตคติ
จิตสานึก และพฤติกรรมของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้เป็นไปในทางที่มีวินัย

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
61

การป้องกันมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทาผิดวินัยให้กระทาโดยการเอาใจใส่ สังเกตการณ์และขจัดเหตุ
ที่อาจก่อให้เกิดการกระทาผิดวินัย ในเรื่องอันอยู่ในวิสัยที่จะดาเนินการป้องกันตามควรแก่กรณีได้
เมื่อปรากฏกรณีมีมู ลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดกระทาผิดวินัย
โดยมีพยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาดาเนินการทางวินัยทันที
เมื่อมีการกล่าวหาโดยปรากฏตัวผู้กล่าวหาหรือกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาผู้ใดกระทาผิดวินัยโดยยังไม่มีพยานหลักฐาน ให้ผู้บังคับบัญชารีบดาเนินการสืบสวนหรือพิจารณาใน
เบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทาผิดวินัยหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทา
ผิดวินัยจึงจะยุติเรื่องได้ ถ้าเห็นว่ากรณีมีมูล ที่ควรกล่าวหาว่ากระทาผิดวินัย ก็ให้ดาเนินการทางวินัยทันที
การดาเนินการทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทาผิดวินัยให้
ดาเนินการตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗
ผู้ บั งคับ บั ญชาผู้ ใดละเลยไม่ป ฏิบัติห น้าที่ตามมาตรานี้และตามหมวด ๗ หรือมีพฤติกรรมปกป้ อ ง
ช่วยเหลือเพื่อมิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาถูกลงโทษทางวินัย หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่สุจริตให้ถือว่าผู้นั้น
กระทาผิดวินัย
มาตรา ๙๖ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติทาง
วินัยตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ ผู้นั้นเป็นผู้กระทาผิดวินัย จักต้องได้รับโทษทางวินัยเว้นแต่มีเหตุอันควรงดโทษ
ตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๗
โทษทางวินัยมี ๕ สถาน คือ
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
***(๓) ลดเงินเดือน
(๔) ปลดออก
(๕) ไล่ออก
ผู้ใดถูกลงโทษปลดออก ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับบาเหน็จบานาญเสมือนว่าเป็นผู้ลาออกจากราชการ
มาตรา ๙๗ การลงโทษข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ทาเป็นคาสั่ง
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
หมวด ๗
การดาเนินการทางวินัย
มาตรา ๙๘ การดาเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งมีกรณีอั นมี มูล
ที่ควรกล่าวหาว่ากระทาผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อดาเนินการสอบสวนให้ได้
ความจริงและความยุติธรรมโดยมิชักช้า และในการสอบสวนจะต้องแจ้งข้อกล่าวหา และสรุปพยานหลักฐานที่
สนั บ สนุ น ข้อกล่ าวหาเท่าที่มีให้ ผู้ถูกกล่ าวหาทราบ โดยระบุห รือไม่ระบุชื่อพยานก็ได้ เพื่อให้ ผู้ ถูกกล่ าวหา
มีโอกาสชี้แจงและนาสืบแก้ข้อกล่าวหา
การสอบสวนกรณีที่ถูกกล่าวหาว่ากระทาผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ เป็นผู้สั่ง
แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และต้องมีกรณีอันมีมูลว่ากระทาผิ ดวินัยอย่างร้ายแรงเท่านั้น เว้นแต่กรณี
ที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากระทาผิดวินัยร่วมกัน และในจานวนผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าวผู้มีอานาจ
ตามมาตรา ๕๓ ของผู้ถูกล่าวหาผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีลาดับชั้นสูงกว่าผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓
ของผู้ถูกกล่าวหารายอื่น ก็ให้ผู้บังคับบัญชาในลาดับชั้นสูงกว่าดังกล่าวเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
62

ในกรณีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต่างหน่วยงานการศึกษาหรือต่างเขตพื้นที่การศึกษา
กระทาผิดวินัยร่วมกัน ให้ผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ ของผู้ถูกกล่าวหาแต่ละรายประสานการดาเนินการร่วมกัน
ในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ในกรณีที่มีปัญหาหรือความเห็นขัดแย้งในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามวรรคสาม ถ้าใน
ระหว่างผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ ในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน ให้ผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นั้ น เป็ น ผู้ วิ นิ จ ฉั ย ชี้ ข าด ถ้ า ในระหว่ า งผู้ มี อ านาจตามมาตรา ๕๓ ต่ า งเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ให้ เ ลขาธิ ก าร
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ในกรณีต่างส่วนราชการให้รัฐมนตรีเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
รวมทั้งในกรณีที่มีเหตุผลและความจาเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการ หรือจะทาให้การสอบสวนนั้น
เสร็ จ ไปโดยเร็ ว และยุ ติธ รรมก็ให้ ผู้ มีอานาจวินิ จฉัยชี้ขาดดังกล่ าวมีอานาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ขึ้นสอบสวนแทนได้
นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด มีอานาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
ตามวรรคสองได้
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสอบสวนพิจารณาให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎ ก.ค.ศ.
ในกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กาหนดในกฎ ก.ค.ศ. จะดาเนินการทางวินัยโดย ไม่
สอบสวนก็ได้
มาตรา ๙๙ เมื่อได้ดาเนินการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา ๙๘ แล้ว ถ้าฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหามิได้
กระทาผิดวินัย ให้สั่งยุติเรื่อง ถ้าฟังได้ว่ากระทาผิดวินัยให้ดาเนินการตามมาตรา ๑๐๐ และในกรณีที่กระทาผิด
วินัยอย่างร้ายแรงต้องลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนผ่อนโทษห้ามมิให้ลดโทษต่ากว่า
ปลดออก
มาตรา ๑๐๐ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดกระทาผิดวินัยไม่ร้ายแรงให้ผู้บังคับ บัญชา
สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือนตามควรแก่กรณีให้เหมาะสมกับความผิด ถ้ามีเหตุอันควร
ลดหย่อนจะนามาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่สาหรับการลงโทษภาคทัณฑ์ให้ใช้เฉพาะกรณีกระทาผิด
วินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อนซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือน
ในกรณีกระทาผิดวินัยเล็กน้อยและมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทาทัณฑ์บนเป็นหนังสื อ
หรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
การสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่ง ผู้บังคับบัญชาใดจะมีอานาจสั่งลงโทษผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในสถานโทษใด
ได้เพียงใด ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎ ก.ค.ศ.
มาตรา ๑๐๑ ให้กรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีอานาจ
เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพียงเท่าที่ เกี่ยวกับอานาจและ
หน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอานาจ ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๑๐๒ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดซึ่งออกจากราชการอันมิใช่เพราะเหตุตาย
มีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือก่อนออกจากราชการว่า ขณะรับราชการได้กระทาหรือละเว้นกระทาการใด
อันเป็นความผิดวินัย อย่ างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้ นั้นหรือต่อผู้มีหน้าที่สื บสวน
สอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาของผู้บังคับบัญชาของ
ผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาก่อนออกจากราชการว่า ในขณะรับราชการได้กระทา
ความผิดอาญาอันมิใช่เป็นความผิดที่ได้กระทาโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอานาจ
ดาเนินการทางวินัยมีอานาจดาเนินการสืบสวนหรือพิจารณา ดาเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติ
ไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ แต่ต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออก
จากราชการ
กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการกล่าวหา หรือฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาคดีอาญาหลังจากที่ข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดออกจากราชการแล้ว ให้ผู้มีอานาจดาเนินการทางวินัยมีอานาจดาเนินการ
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
63

สืบสวนหรือพิจารณา ดาเนินการทางวินัย และสั่งลงโทษตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้ นั้น


ยังมิได้ออกจากราชการ โดยต้องเริ่มดาเนินการสอบสวนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ และต้อง
สั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ สาหรับกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามมาตรา
๙๘ วรรคเจ็ด จะต้องสั่งลงโทษภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้นั้นออกจากราชการ
ในกรณีที่ศาลปกครองมีคาพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนคาสั่งลงโทษ หรือองค์กรพิจารณาอุทธรณ์คาสั่ง
ลงโทษทางวินัยหรือองค์กรตรวจสอบรายงานการดาเนินการทางวินัยมีคาวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติให้เพิกถอน
คาสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เพราะเหตุกระบวนการดาเนินการทางวินัยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ให้ผู้มีอานาจดาเนินการทางวินัยดาเนินการทางวินัย ให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่มี คาพิพากษาถึงที่สุด
หรือมีคาวินิจฉัยถึงที่สุดหรือมีมติ แล้วแต่กรณี
การดาเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่า
ผู้นั้นกระทาผิดวินัยไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ
ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ไว้ก่อนตามมาตรา ๑๐๓”
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๐๒/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
มาตรา ๑๐๒/๑ ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจ ริตในภาครัฐมีมติชี้มูลความผิดข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใด
ซึ่งออกจากราชการแล้ว การดาเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้นั้น
ให้ เป็ น ไปตามหลั กเกณฑ์และเงื่อนไขที่กาหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แล้วแต่กรณีการดาเนินการทางวินัยตามวรรคหนึ่ง หากปรากฏว่าผู้นั้นกระทาผิดวินัยไม่ร้ายแรงก็ให้งดโทษ
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒

หมวด ๘
การออกจากราชการ
มาตรา ๑๐๗ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาออกจากราชการเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบาเหน็จบานาญข้าราชการ
(๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตามมาตรา ๑๐๘
(๔) ถู ก สั่ ง ให้ อ อกตามมาตรา ๔๙ มาตรา ๕๖ วรรคสอง วรรคสาม หรื อ วรรคห้ า มาตรา ๑๐๓
มาตรา ๑๑๐ มาตรา ๑๑๑ มาตรา ๑๑๒ มาตรา ๑๑๓ มาตรา ๑๑๔ หรือมาตรา ๑๑๘
(๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
(๖) ถู ก เพิ ก ถอนใบอนุ ญ าตประกอบวิ ช าชี พ เว้ น แต่ ไ ด้ รั บ แต่ ง ตั้ ง ให้ ด ารงต าแหน่ ง อื่ น ที่ ไ ม่ ต้ อ งมี
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๑๐๙
วันออกจากราชการตาม (๔) (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ค.ศ. วางไว้การต่อเวลาราชการ
ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องออกจากราชการตาม (๒) รับราชการต่อไปจะกระทามิได้
มาตรา ๑๐๘ นอกจากกรณีตามวรรคสี่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดประสงค์จะ
ลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ เป็นผู้พิจารณา
อนุญาต
ในกรณีที่ผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ พิจารณาเห็นว่าจาเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการจะยับยั้ง การ
อนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่ เกินเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันขอลาออกก็ได้ แต่ต้องแจ้งการยับยั้งการอนุญาต
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
64

ให้ลาออกพร้อมทั้งเหตุผลให้ ผู้ขอลาออกทราบ และเมื่อครบกาหนดเวลาที่ยับยั้งแล้วให้การลาออกมีผลตั้งแต่


วันถัดจากวันครบกาหนดเวลาที่ยับยั้ง
ถ้าผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ ไม่ได้อนุญาตให้ล าออกตามวรรคหนึ่งและไม่ได้ยับยั้งการอนุญ าตให้
ลาออกตามวรรคสอง ให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก
ในกรณีที่ข้าราชการครู และบุ คลากรทางการศึ กษาผู้ ใ ดประสงค์จ ะลาออกจากราชการเพื่ อ ด ารง
ตาแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นหรือการ
เลื อกตั้งอื่น ที่มีลั กษณะเป็ น การส่ งเสริ ม การปกครองในระบอบประชาธิป ไตย ให้ ยื่นหนังสื อขอลาออกต่ อ
ผู้บังคับบัญชา และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออก และการยับยั้งการอนุญาต
ให้ลาออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ค.ศ. กาหนด
มาตรา ๑๑๓ เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดต้องรับโทษจาคุกโดยคาสั่งของศาลหรือ
ต้องรับโทษจาคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุกในความผิดที่ได้กระทาโดยประมาทหรือความผิดลหุ โ ทษ
ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
เพื่อรับบาเหน็จบานาญเหตุทดแทนตามกฎหมาย ว่าด้วยบาเหน็จบานาญข้าราชการก็ได้
มาตรา ๑๒๐ การออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในตาแหน่งซึ่งมี
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้นาความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ เว้นแต่การออกจากราชการ
ตามมาตรา ๑๐๗ (๑) คือ (เสียชีวิต)

หมวด ๙
การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
มาตรา ๑๒๑ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนหรือ
ลดขั้นเงินเดือน ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาอ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่
กรณี ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคาสั่ง
มาตรา ๑๒๒ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดถูกสั่งลงโทษปลดออก ไล่ออกหรือถูกสั่งให้
ออกจากราชการ ให้มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ แล้วแต่กรณี ต่อ ก.ค.ศ. ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
คาสั่ง และให้ ก.ค.ศ. พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน
มาตรา ๑๒๓ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมหรื อ
มีความคับข้องใจเนื่องจากการกระทาของผู้บังคับบัญชาหรือการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยให้ผู้นั้น
มีสิทธิร้องทุกข์ตอ่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาอ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตัง้ หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี
ในกรณี ที่ ข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาผู้ ใ ดเห็ น ว่ า อ.ก.ค.ศ. เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา
(เปลี่ยนเป็นอานาจของ กศจ.) หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง มีมติไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ให้ผู้นั้นมีสิ ทธิ
ร้องทุกข์ต่อ ก.ค.ศ.
มติของ ก.ค.ศ. ตามวรรคสอง ให้เป็นที่สุด
มาตรา ๑๒๔ หลักเกณฑ์และวิธีการในเรื่องที่เกี่ยวกับการอุทธรณ์และพิจารณาอุทธรณ์ และ การ
ร้องทุกข์และพิจารณาร้องทุกข์ ตามมาตรา ๑๒๑ มาตรา ๑๒๒ และมาตรา ๑๒๓ ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎ
ก.ค.ศ.
ในการพิ จ ารณาอุ ท ธรณ์ ห รื อ ร้ อ งทุ ก ข์ เมื่ อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาหรื อ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ.
ตัง้ หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี ได้มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้ผู้มีอานาจตามมาตรา ๕๓ สั่งหรือปฏิบัติไปตามนั้น
ในกรณีที่สั่งให้ผู้อุทธรณ์หรือผู้ร้องทุกข์กลับเข้ารับราชการ ให้นามาตรา ๑๐๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
65

มาตรา ๑๒๕ เมื่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาหรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี
ได้วินิจฉัยอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๑ หรือมาตรา ๑๒๒ แล้ว ข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาผู้ใดเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือกรณีที่มิได้บัญญัติให้มีสิทธิอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ตามหมวดนี้ ผู้
นั้นย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องคดีต่อศาลปกครองได้ภายในกาหนดระยะเวลา ที่กาหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการ
จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
เมื่อศาลปกครองมีคาพิพากษาหรือคาสั่งเป็นประการใดแล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาดาเนินการแก้ไขคาสั่งไป
ตามนั้น

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
66

กฎ ก.ค.ศ.
ว่าด้วยอานาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๖๑
อาศั ย อ านาจตามความในมาตรา ๑๙ (๔) และมาตรา ๑๐๐ วรรคสาม แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ
ระเบียบข้าราชการครูและบุ คลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.ค.ศ. โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐ มนตรี
ออกกฎ ก.ค.ศ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยอานาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน
พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้ อ ๒ ให้ ผู้ อ าานวยการสถานศึ ก ษาหรื อ ต าแหน่ ง ที่ เ รี ย กชื่ อ อย่ า งอื่ น ที่ มี ฐ านะเที ย บเท่ า ซึ่ ง เป็ น
ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้กระทาผิดวินัยไม่ร้ายแรง มีอานาจสั่งลงโทษได้
ดังต่อไปนี้
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งในอัตราร้อยละสองหรือร้อ ยละสี่ของเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับในวันที่มีคาสั่ง
ลงโทษเป็นเวลาหนึ่งเดือน สองเดือน หรือสามเดือน
ข้อ ๓ ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวง เลขาธิการ อธิบดี
หรือตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า อธิการบดีหรือตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า
ศึกษาธิการภาคหรือตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะ เทียบเท่าศึกษาธิการจังหวัดหรือตาแหน่งที่เรียกชื่อ
อย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า หรือผู้อานวยการสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ที่ มี ฐ านะเที ย บเท่ า ซึ่ ง เป็ น ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาของข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาผู้ ก ระท าผิ ด วิ นั ย
ไม่ร้ายแรงมีอานาจสั่งลงโทษได้ ดังต่อไปนี้
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งในอัตราร้อยละสองหรือร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับในวันที่มีคาสั่ง
ลงโทษเป็นเวลาหนึ่งเดือน สองเดือน หรือสามเดือน
(๓) ลดเงินเดือนได้ครั้งหนึ่งในอัตราร้อยละสองหรือร้อยละสี่ของเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับในวันที่มีคาสั่ง
ลงโทษ
ข้อ ๔ การสั่งลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน ถ้าจานวนเงินเดือนที่จะต้องตัดหรือลดมีเศษไม่ถึง
สิบบาทให้ปัดเศษทิ้ง
ข้อ ๕ ในระหว่างที่ ก.ค.ศ. ยังมิได้ปรับอัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจาตาแหน่งของ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อให้เข้าสู่อัตรา ตามบัญชีเงินเดือน
ขั้นต่าขั้นสูง ให้ผู้มีอานาจสั่งลงโทษตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓ แล้วแต่กรณี มีอานาจสั่งลงโทษ ลดเงินเดือนข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้กระทาผิดวินัยไม่ร้ายแรงตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการปรับอัตรา
เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจาตาแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดังกล่าวเข้าสู่
อัตราตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่าขั้นสูง

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑


ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.ค.ศ.

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
67

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.ค.ศ. ฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ


และเงินประจาตาแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ปรับเปลี่ยน
โครงสร้างบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จากเดิมซึ่งเป็นแบบ “ขั้นเงินเดือน” มาเป็น
“บั ญ ชี เ งิ น เดื อ นขั้ น ต่ าขั้ น สู ง ” ประกอบกั บ ค าสั่ ง หั ว หน้ า คณะรั ก ษาความสงบแห่ ง ชาติ ที่ ๑๖/๒๕๖๐
เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช
๒๕๖๐ กาหนดให้แก้ไขคาว่า “ขั้นเงินเดือน” ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึ ก ษา เป็ น ค าว่ า “เงิ น เดื อ น” ทุ ก แห่ ง และค าสั่ ง หั ว หน้ า คณะรั ก ษาความสงบแห่ ง ชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐
เรื่ อ งการปฏิ รู ป การศึ ก ษาในภู มิ ภ าคของกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ลงวั น ที่ ๓ เมษายน พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๖๐
กาหนดให้มีสานักงานศึกษาธิการภาค โดยมีศึกษาธิการภาคเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ
และลู กจ้ างในส านั กงานศึ ก ษาธิ การภาค และให้ มีส านักงานศึก ษาธิ การจังหวั ด โดยมีศึกษาธิการจั ง หวั ด
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างในสานักงานศึกษาธิการจังหวัด สมควรปรับปรุง
กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยอานาจการลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อให้สอดคล้อง
กับ พระราชบั ญญัติและคาสั่ งหั ว หน้ าคณะรักษาความสงบแห่ งชาติ ดังกล่ าว รวมทั้งปรับปรุ งอัตราลงโทษ
ตั ด เงิ น เดื อ นและลดเงิ น เดื อ นเพื่ อ ให้ เ หมาะสมและสอดคล้ อ งกั บ สถานการณ์ ปั จ จุ บั น จึ ง จ าเป็ น ต้ อ งออก
กฎ ก.ค.ศ. นี้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
68

กฎ ก.ค.ศ.
ว่าด้วยกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. ๒๕๔๙
อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๑๙ (๔) และมาตรา ๙๘ วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติระเบี ยบ
ข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.ค.ศ. โดยได้ รั บ อนุ มั ติ จ ากคณะรั ฐ มนตรี อ อก
กฎ ก.ค.ศ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้าราชการครู และบุ คลากรทางการศึก ษาผู้ ใ ดกระท าผิ ดวินัยไม่ร้ายแรง ในกรณีดังต่อ ไปนี้
เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะดาเนินการทางวินัย ตามมาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่งหรือ
วรรคสอง หรือมาตรา ๑๐๔ (๑) โดยไม่สอบสวนหรืองดการสอบสวนก็ได้
(๑) กระทาความผิ ดอาญาจนต้องคาพิ พากษาถึง ที่สุ ดว่าผู้ นั้นกระทาผิ ดและผู้ บั ง คับบัญชาเห็ น ว่ า
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคาพิพากษานั้นได้ความประจักษ์ชัดแล้ว
(๒) กระทาผิ ดวินั ย ไม่ร้ ายแรงและได้ รับสารภาพเป็น หนั งสื อต่ อ ผู้ บั ง คับ บัญชา หรือให้ ถ้อยค ารั บ
สารภาพต่อผู้ มีห น้ าที่สื บ สวนหรือคณะกรรมการสอบสวนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา และได้มีการบันทึกถ้อยคารับสารภาพเป็นหนังสือ
ข้อ ๒ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดกระทาผิดวินัยอย่างร้ายแรง ในกรณีดังต่อไปนี้
เป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะดาเนินการทางวินัย ตามมาตรา ๑๐๐ วรรคสี่หรือมาตรา
๑๐๔ (๑) โดยไม่สอบสวนหรืองดการสอบสวนก็ได้
(๑) กระทาความผิดอาญาจนได้รับโทษจาคุกหรือโทษที่หนักกว่าจาคุก โดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก
หรือให้ลงโทษที่หนักกว่าจาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิดที่ได้กระทาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๒) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวัน และผู้บังคับบัญชาได้ดาเนินการ
สืบสวนแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของ
ทางราชการ
(๓) กระทาผิดวินัยอย่างร้ายแรงและได้รับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญ ชา หรือให้ถ้อยคารับ
สารภาพต่อผู้มีหน้าที่สื บสวนหรือคณะกรรมการสอบสวน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และ
บุคลากรทางการศึกษา และได้มีการบันทึกถ้อยคารับสารภาพเป็นหนังสือ

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙


วิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.ค.ศ.

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
69

กฎ ก.ค.ศ.
ว่าด้วยโรค พ.ศ. ๒๕๔๙
อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๑๙ (๔) และมาตรา ๓๐ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.ค.ศ. โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีออกกฎ ก.ค.ศ. ไว้
ดังต่อไปนี้
โรคตามมาตรา ๓๐ (๕) คือ
(๑) โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
(๒) วัณโรคในระยะติดต่อ
(๓) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
(๔) โรคติดยาเสพติดให้โทษ
(๕) โรคพิษสุราเรื้อรัง

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙


จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.ค.ศ.

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
70

พระราชบัญญัติ
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
---------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
เป็นปีที่ ๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“กระทรวง” หมายความว่า กระทรวงศึกษาธิการ
“วิชาชีพ” หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน
และการส่ งเสริ มการเรี ย นรู้ ข องผู้ เรี ย นด้ว ยวิธี การต่า งๆ รวมทั้งการรับผิ ดชอบการบริ ห ารสถานศึ ก ษาใน
สถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ากว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน และการบริหารการศึกษา
นอกสถานศึกษาในระดับ เขตพื้น ที่ การศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนการศึกษา ให้ บริการหรือปฏิบัติงาน
เกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษา
ต่างๆ
“ผู้ ป ระกอบวิ ช าชี พ ทางการศึ ก ษา” หมายความว่ า ครู ผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา ผู้ บ ริ ห าร
การศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัตินี้
“ครู ” หมายความว่ า บุ ค คลซึ่ ง ประกอบวิ ช าชี พ หลั ก ทางด้ า นการเรี ย นการสอนและ
การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ากว่า
ปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน
“ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตาแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
ภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาต่ากว่าปริญญา
ทั้งของรัฐและเอกชน
“ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตาแหน่งผู้บริหาร นอก
สถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
“บุคลากรทางการศึกษาอื่น” หมายความว่า บุคคลซึ่งทาหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการ
หรื อ ปฏิ บั ติ ง านเกี่ ย วเนื่ อ งกั บ การจั ดกระบวนการเรีย นการสอน การนิ เ ทศ และการบริ ห ารการศึ ก ษาใน
หน่วยงานการศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากาหนดตาแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา
“หน่วยงานการศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่กากับดูแล
สนับสนุน ส่งเสริมให้บริการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่ากว่าปริญญาทั้งของรัฐและ
เอกชน
“สถานศึ ก ษา” หมายความว่ า สถานพั ฒ นาเด็ ก ปฐมวั ย โรงเรี ย น วิ ท ยาลั ย สถาบั น
มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอานาจหน้าที่ หรือ มี
วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
“ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงานในตาแหน่งครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามพระราชบัญญัตินี้
“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ การประกอบวิชาชีพต้องอยู่ภายใต้บังคับหลักเกณฑ์การมีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
71

มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอานาจออก
กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้รวมทั้งให้มีอานาจตีความและวินิจฉัย
ชี้ขาดปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบัติการ อานาจหน้าที่ของผู้ดารงตาแหน่ง หรือหน่วยงานต่างๆ ตามที่กาหนดไว้
ในบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
มาตรา ๗ ให้มีสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า “คุรุสภา” มีวัตถุประสงค์และอานาจหน้าที่
ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในกากับของกระทรวงศึกษาธิการ
มาตรา ๘ คุรุสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
(๑) กาหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กากับดูแลการปฏิบัติ ตาม
มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
(๒) กาหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
(๓) ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
มาตรา ๙ คุรุสภามีอานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กาหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
(๒) ควบคุมความประพฤติและการดาเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไป
ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
(๓) ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
(๔) พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
(๕) สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
(๖) ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(๗) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
(๘) รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชานาญในการประกอบวิชาชีพ
(๙) ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
(๑๐) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
(๑๑) ออกข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วย
(ก) การกาหนดลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓
(ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต
และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชานาญในการประกอบวิชาชีพ
(ค) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
(ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
(จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนามาซึ่งความ
เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
(ช) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภา และ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
72

(ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา


(ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
(ญ) การใดๆ ตามที่กาหนดในพระราชบัญญัตินี้
(๑๒) ให้คาปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒ นา
วิชาชีพ
(๑๓) ให้คาแนะนาหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือการออก
กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ
(๑๔) กาหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทาการใดๆ อันอยู่ในอานาจหน้าที่ของคุรุสภา
(๑๕) ดาเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
ข้ อ บั ง คั บ ของคุ รุ ส ภาตาม (๑๑) นั้ น ต้ อ งได้ รั บ ความเห็ น ชอบจากรั ฐ มนตรี แ ละเมื่ อ ได้ ป ระกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา 10 คุรุสภาอาจมีรายได้ ดังนี้
(1) ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
(2) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
(3) ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดาเนินกิจการของคุรุสภา
(4) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
(5) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (1) (2) (3) และ (4)
รายได้ ข องคุ รุ ส ภาไม่ เ ป็ น รายได้ ที่ ต้ อ งน าส่ ง กระทรวงการคลั ง ตามกฎหมายว่ า ด้ ว ยเงิ น คงคลั ง
และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รวมทั้งไม่อยู่ในข่ายการบังคับตามกฎหมายภาษีอากร
มาตรา ๑๑ ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามประกาศของรัฐมนตรี ทั้งนี้ต้องไม่เกิน
อัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
ส่วนที่ ๒
คณะกรรมการคุรุสภา
มาตรา ๑๒ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการคุรุสภา ประกอบด้วย
ให้ยกเลิกตามคาสั่ง คสช ๑๗/๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ให้ คณะกรรมการคุ รุ ส ภาตามกฎหมายว่ าด้ว ยสภาครู และบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาประกอบด้ ว ย
รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร เป็ น ประธานกรรมการ รั ฐ มนตรี ช่ ว ยว่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเลขาธิการ
คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา เลขาธิ ก ารคณะกรรมการการอาชี ว ศึ ก ษา เลขาธิ ก าร ก.ค.ศ.เลขาธิ ก าร
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และหัวหน้าสานักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล
ส่วนท้องถิ่น เป็นกรรมการ และให้เลขาธิการคุรุสภาเป็นกรรมการและเลขานุการ”
มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการคุรุสภามีอานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) บริหารและดาเนินการตามวัตถุประสงค์และอานาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งกาหนดไว้ใน
พระราชบัญญัตินี้
(๒) ให้คาปรึกษาและแนะนาแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(๓) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คาสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา ๕๔
(๔) เร่งรัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพปฏิบัติตาม
อานาจและหน้าที่ที่กฎหมายกาหนด
(๕) แต่ ง ตั้ ง คณะอนุ ก รรมการเพื่ อ กระท าการใดๆ อั น อยู่ ใ นอ านาจและหน้ าที่ ข อง
คณะกรรมการคุรุสภา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
73

(๖) ควบคุมดูแลการดาเนินงานและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ


ประกาศ หรือข้อกาหนดเกี่ยวกับสานักงานเลขาธิการคุรุสภาในเรื่องดังต่อไปนี้
(ก) การจัดแบ่งส่วนงานของสานักงานเลขาธิการคุรุสภาและขอบเขตหน้าที่ของส่วน
งานดังกล่าว
(ข) การกาหนดตาแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทน
อื่นของพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
(ค) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัยและการลงโทษทางวินัย
การออกจากตาแหน่ง การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์การลงโทษของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งวิธีการ เงื่อนไข
ในการจ้างพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
(ง) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของคุรุสภา
(จ) กาหนดอานาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกั บการปฏิบัติห น้ าที่ ของผู้ ตรวจสอบ
ภายใน
(๗) กาหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดาเนินงานของสานักงาน
เลขาธิการคุรุสภา
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกาหนดไว้ให้เป็นอานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
คุรุสภา
(๙) พิจารณาหรือดาเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
ส่วนที่ ๓
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา ๒๑ ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย
(๑) ประธานกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา
(๒) กรรมการโดยตาแหน่ง ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเลขาธิการ
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๓) กรรมการผู้ ทรงคุณวุฒิ จานวนสี่ คนซึ่งคณะกรรมการคุรุส ภาสรรหาจากผู้ ทรงคุ ณ วุ ฒิ
ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา การบริหาร และกฎหมาย
(๔) กรรมการจากคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา ทั้งของรัฐและ
เอกชนที่มีการสอนระดับปริญญาในสาขาวิชาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษาซึ่งเลือกกันเองจานวน
สองคน
(๕) กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจานวนหกคน ซึ่งเลือกตั้งมาจาก ผู้
ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดารงตาแหน่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนไม่น้อยกว่าสิบปี หรือดารง
ตาแหน่งอาจารย์ ๓ หรือมีวิทยฐานะเป็นครูชานาญการขึ้นไป ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดารงตาแหน่ง
ผู้บริหารสถานศึกษาที่มี ประสบการณ์ในตาแหน่งไม่น้อยกว่าสิบปี ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดารง
ตาแหน่งผู้บริหารการศึกษาที่มี ประสบการณ์ในตาแหน่งไม่น้อยกว่าสิบปี และบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มี
ประสบการณ์ในตาแหน่งไม่น้อยกว่าสิบปี
ให้เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการ
การกาหนดให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอื่น ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา ๒๒ การสรรหา การเลือก และการเลือกตั้งกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา ๒๑ (๓) (๔)
และ (๕) ให้เป็นไปตามที่กาหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา ๒๓ กรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา ๒๑ (๓) (๔) และ (๕) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มี
ลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ แล้วแต่กรณี

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
74

มาตรา ๒๔ กรรมการมาตรฐานวิช าชีพตามมาตรา ๒๑ (๑) (๓) (๔) และ (๕) ให้ อยู่ในตาแหน่ ง
คราวละสี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีก แต่จะดารงตาแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้เมื่อครบกาหนดวาระ
ตามวรรคหนึ่ง
ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตาแหน่ งตามวาระนั้นอยู่ในตาแหน่งเพื่อดาเนินการต่อไปจนกว่ากรรมการ
ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
ในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตาแหน่งก่อนครบวาระ ให้นาความในมาตรา ๑๖ วรรคสอง
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
นอกจากพ้นจากตาแหน่งตามวาระตามวรรคหนึ่ง กรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา ๒๑ (๑) (๓)
(๔) และ (๕) พ้นจากตาแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รั ฐ มนตรี ใ ห้ อ อก เพราะบกพร่ อ งต่ อ หน้ า ที่ มี ค วามประพฤติ เ สื่ อ มเสี ย หรื อ หย่ อ น
ความสามารถ
(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๕ แล้วแต่
กรณี
(๕) คณะกรรมการคุรุ ส ภามีมติให้ ออกด้ว ยคะแนนเสี ยงสองในสามของจานวนกรรมการ
ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
มาตรา ๒๕ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและการพักใช้ห รือ
เพิกถอนใบอนุญาต
(๒) กากับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(๓) ส่งเสริม พัฒนา และเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภากาหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณ
ในการประกอบวิชาชีพ
(๔) ส่ ง เสริ ม ยกย่ อ ง และพั ฒ นาวิ ช าชี พ ไปสู่ ค วามเป็ น เลิ ศ ในสาขาต่ า งๆ ตามที่ ก าหนด
ในข้อบังคับของคุรุสภา
(๕) แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเพื่อกระทา
การใดๆ อันอยู่ในอานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
(๖) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกาหนดไว้ให้เป็นอานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
มาตรฐานวิชาชีพ
(๗) พิจารณาหรือดาเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการคุรุสภามอบหมายให้
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเสนอรายงานการดาเนินงานประจาปีต่อคณะกรรมการคุรุสภาตามระเบียบที่
คณะกรรมการคุรุสภากาหนด
ส่วนที่ ๔
การดาเนินงานของคุรุสภา
มาตรา ๓๕ ให้สานักงานเลขาธิการคุรุสภามีเลขาธิการคุรุสภาคนหนึ่งบริหารกิจการของสานักงาน
เลขาธิการคุรุสภา รวมทั้งดาเนินการตามที่ประธานกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการคุรุสภา ประธานกรรมการ
มาตรฐานวิชาชีพ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมอบหมาย
คณะกรรมการคุรุสภาเป็นผู้มีอานาจสรรหา แต่งตั้ง และถอดถอนเลขาธิการคุรุสภา
หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภาให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา ๓๖ เลขาธิการคุรุสภาต้องเป็นผู้สามารถทางานให้แก่สานักงานเลขาธิการคุรุสภาได้เต็มเวลา
และต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
75

(ก) คุณสมบัติทั่วไป
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ากว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบห้าปี
(๓) เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับกิจการของคุรุสภา ตามที่กาหนดไว้
ในวัตถุประสงค์ และอานาจหน้าที่ตามมาตรา ๘ และมาตรา ๙
(ข) ลักษณะต้องห้าม
(๑) มีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๓ (ข) (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
(๒) เคยต้ อ งโทษจ าคุ ก โดยค าพิ พ ากษาถึ ง ที่ สุ ด ให้ จ าคุ ก เว้ น แต่ เ ป็ น โทษส าหรับ
ความผิดที่ได้กระทาโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๓) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทากับคุรุสภา
มาตรา ๓๗ เลขาธิการคุรุสภามีวาระอยู่ในตาแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกแต่จะดารง
ตาแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา ๓๘ ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๓๙ เลขาธิการคุรุสภามีหน้าที่ บริหารกิจการของสานักงานเลขาธิการคุรุสภาให้เป็นไปตาม
กฎหมาย วัตถุประสงค์ของคุรุสภา ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกาหนด นโยบาย มติและประกาศของคณะกรรมการ
คุรุสภาและเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกตาแหน่ง เว้นแต่ผู้ดารงตาแหน่งผู้ตรวจสอบภายในให้
ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการคุรุสภาตามระเบียบที่คณะกรรมการคุรุสภากาหนดรวมทั้งให้มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ดูแลรักษาทะเบียนผู้ได้รับใบอนุญาต
(๒) ควบคุมดูแลทรัพย์สินของคุรุสภา
(๓) เสนอรายงานประจาปีเกี่ยวกับผลการดาเนินงานด้านต่างๆ ของสานักงานเลขาธิก าร
คุรุสภารวมทั้งรายงานการเงินและบัญชี ตลอดจนเสนอแผนดาเนินงาน แผนการเงิน และงบประมาณของ
ปีต่อไปต่อคณะกรรมการคุรุสภาเพื่อพิจารณา
(๔) เสนอความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการและการดาเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และ
เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภาต่อคณะกรรมการคุรุสภา
เลขาธิ ก ารคุ รุ ส ภาต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบต่ อ คณะกรรมการคุ รุ ส ภาในการบริ ห ารกิ จ การของส านั ก งาน
เลขาธิการคุรุสภา
ส่วนที่ ๕
การประกอบวิชาชีพควบคุม
มาตรา ๔๓ ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุ มตาม
พระราชบัญญัตินี้ การกาหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวงห้ามมิให้ผู้ใดประกอบ
วิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษ ทาง
การศึกษา
(๒) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทาหน้าที่สอนด้วย
(๓) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอนซึ่งทาการ
ฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากาหนด
(๔) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
76

(๕) ผู้ที่ทาหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่


เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบัน
ทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(๖) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา
ทั้งของรัฐและเอกชน
(๗) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(๘) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากาหนด
มาตรา ๔๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้ (ปรับแก้ไขปี พ.ศ. 2562)

ส่วนที่ ๑
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
ข้อ ๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ าม
ดังต่อไปนี้
(ก) มีคุณสมบัติ
(๑) มีอายุไม่ต่ากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) ผู้มีคุณวุฒิที่สาเร็จการศึกษาในประเทศไทย ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
(๒.๑) วุฒิไม่ต่ากว่าปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า ที่คุรุสภารับรอง
(๒.๒) วุฒิไม่ต่ากว่าปริญญาตรีอื่นที่คุรุสภารับรอง
(๒.๓) วุฒิไม่ต่ากว่าปริญญาตรีอื่นและผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานความรู้
วิชาชีพของคุรุสภา
(๓) ผู้มีคุณวุฒิที่สาเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
(๓.๑) วุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า
(๓.๒) วุฒิปริญญาอื่นและมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากต่างประเทศ
(๓.๓) วุฒิปริญญาตรีอื่นและมีคุณวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูที่ใช้เวลา
ศึกษาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๓.๔) วุฒิปริญญาตรีอื่นและผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพของ
คุรุสภา
(๔) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลา
ไม่ น้ อ ยกว่ า หนึ่ ง ปี และผ่ า นเกณฑ์ ก ารประเมิ น ปฏิ บั ติ ก ารสอนตามหลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก าร และเงื่ อ นไขที่
คณะกรรมการกาหนด
(ข) ลักษณะต้องห้าม
(1) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) เคยต้ องโทษจ าคุ กในคดี ที่ คุ รุ สภาเห็ นว่ าอาจน ามาซึ่ งความเสื่ อมเสี ยเกี ยรติ ศั กดิ์
แห่งวิชาชีพ
การขอรับใบอนุ ญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่กาหนดตามข้อบังคับนี้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ส่วนที่ ๑/๑ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต และข้อ ๖/๑
แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๙
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
77

ส่วนที่ ๑/๑
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต
------------------------
ข้อ ๖/๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ผ่านการรับรองประสบการณ์วิชาชีพครูตามที่คณะกรรมการกาหนด
(๒) ผ่านการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ
กาหนด
ทั้งนี้ ไม่กระทบสิทธิของผู้ที่สาเร็จการศึกษาจากปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางการศึกษาที่คุรุสภา
ให้การรับรอง สาหรับผู้เข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา ๒๕๖๒ รวมทั้งผู้ที่ได้สิทธิในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ครูก่อนข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ
ปรับแก้ไขตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๔๕ การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การกาหนดอายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต
การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
กาหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
ผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตหรือผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาต ซึ่งคณะกรรมการมาตรฐาน
วิชาชีพพิจารณาวินิจฉัยไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่ออกใบแทนใบอนุญาต ตามวรรคหนึ่ง
อาจอุทธรณ์คาสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ต่อใบอนุญาต
หรื อการไม่ออกใบแทนใบอนุ ญาตไม่ตัดสิ ทธิผู้ ขอที่จะประกอบวิช าชีพที่ได้รับอนุญาตต่ อไป ทั้งนี้ จนกว่า
คณะกรรมการคุรุสภาจะได้มีคาวินิจฉัยถึงที่สุด
มาตรา ๔๖ ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ
โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุม
ในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา
มาตรา ๔๗ ผู้ ซึ่งได้รั บ ใบอนุ ญาตต้องประกอบวิช าชีพภายใต้บังคับแห่ งข้อจากัดและเงื่อนไขตาม
ข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา ๔๘ ผู้ซึ่งได้รับใบอนุ ญาตต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิช าชีพ ตาม
ที่กาหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา ๔๙ ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย
(๑) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
(๒) มาตรฐานการปฏิบัติงาน
(๓) มาตรฐานการปฏิบัติตน
การกาหนดระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับ
ของคุรุสภา ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการประเมินระดับคุณภาพของผู้รับใบอนุญาตอย่างต่อเนื่องเพื่อดารงไว้ซึ่งความรู้
ความสามารถ และความชานาญการ ตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชี พตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่คุรุสภากาหนด
มาตรา ๕๐ มาตรฐานการปฏิ บั ติ ต น ให้ ก าหนดเป็ น ข้ อ บั ง คั บ ว่ า ด้ ว ยจรรยาบรรณของวิ ช าชี พ
ประกอบด้วย
(๑) จรรยาบรรณต่อตนเอง
(๒) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
(๓) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
(๔) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๕) จรรยาบรรณต่อสังคม

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
78

การกาหนดแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตาม
ข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา ๕๑ บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิช าชีพของผู้ ได้ รับ
ใบอนุญาตมีสิทธิกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตผู้นั้นโดยทาเรื่องยื่นต่อคุรุสภา
กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ หรือบุคคลอื่นมีสิทธิ กล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพว่าผิด
จรรยาบรรณของวิชาชีพ โดยแจ้งเรื่องต่อคุรุสภา
สิทธิการกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง หรือสิทธิการกล่าวโทษตามวรรคสองสิ้นสุดลงเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่
ผู้ ไ ด้ รั บ ความเสี ย หายหรื อ ผู้ ก ล่ า วโทษรู้ เ รื่ อ งการประพฤติ ผิ ด จรรยาบรรณของวิ ช าชี พ ดั ง กล่ า วและรู้ ตั ว
ผู้ประพฤติผิด
การถอนเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษที่ได้ยื่นไว้แล้วนั้นไม่เป็นเหตุให้ระงับการดาเนินการตาม
พระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕๒ เมื่อคุรุสภาได้รับเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษตามมาตรา ๕๑ ให้เลขาธิการคุรุสภา
เสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพโดยไม่ชักช้า
มาตรา ๕๓ ให้ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ พร้อมทั้ง
ส่งสาเนาเรื่องที่กล่าวหาหรือกล่ าวโทษให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกกล่าวหาหรือกล่าวโทษล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
สิบห้าวันก่อนเริ่มพิจารณา
ผู้ ถูกกล่ าวหาหรื อถูกกล่ าวโทษมีสิ ทธิทาคาชี้แจงหรือนาพยานหลั กฐานใดๆ ส่ งให้ คณะกรรมการ
มาตรฐานวิชาชีพ หรืออนุกรรมการ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานกรรมการมาตรฐาน
วิชาชีพ หรือภายในเวลาที่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพกาหนด
มาตรา ๕๔ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอานาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ยกข้อกล่าวหา
(๒) ตักเตือน
(๓) ภาคทัณฑ์
(๔) พักใช้ใบอนุญาตมีกาหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินห้าปี
(๕) เพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๕๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๕๔ (๒) (๓)
(๔) หรือ (๕) อาจอุทธรณ์คาวินิจฉัยต่อคณะกรมการคุรุสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคาวินิจฉัย
การอุทธรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
คาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการคุรุสภาให้ทาเป็นคาสั่งคุรุสภา พร้อมด้วยเหตุผลของการวินิจฉัย
ชี้ขาด
มาตรา ๕๖ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้ ใดประกอบวิช าชีพ
ควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพควบคุมนับแต่วันที่ทราบ
คาสั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้น
มาตรา ๕๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนจะยื่นขออีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่ง
เพิกถอน

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
79

ส่วนที่ ๖
สมาชิกคุรุสภา
มาตรา ๕๘ สมาชิกของคุรุสภามีสองประเภท ดังนี้
(๑) สมาชิกสามัญ
(๒) สมาชิกกิตติมศักดิ์
การจดทะเบียนเป็นสมาชิกให้เป็นไปตามที่คุรุสภากาหนด
มาตรา ๕๙ สมาชิกสามัญต้องเป็นผู้ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ (ข) (๑) (๒) และ (๓) และ
เป็นผู้มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
สมาชิกกิตติมศักดิ์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเป็นเอกฉันท์
มาตรา ๖๐ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญ มีดังต่อไปนี้
(๑) แสดงความเห็ น และซักถามเป็นหนังสื อเกี่ยวกับกิจการของคุรุสภาต่อคณะกรรมการ
เพื่อพิจารณา
(๒) เลือก รับเลือกตั้ง หรือรับแต่งตั้งเป็นกรรมการตามมาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๒๑
(๓) ชาระค่าธรรมเนียม ตามประกาศของคุรุสภา
(๔) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
สมาชิกกิตติมศักดิ์ มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับสมาชิกสามัญ เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ตาม (๒) และ (๓)
มาตรา ๖๑ สมาชิกภาพของสมาชิกย่อมสิ้นสุดเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพเพราะขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๕๙
สาหรับกรณีสมาชิกสามัญ
(๔) คณะกรรมการคุรุสภามีมติถอดถอนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
(๕) ถูกเพิกถอนใบอนุญาต

หมวด ๒
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
มาตรา ๖๒ ให้ มี ค ณะกรรมการส่ ง เสริ ม สวั ส ดิ ก ารและสวั ส ดิ ภ าพครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ กษา
ทาหน้าที่บริหารงานสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น และความมั่นคงของผู้ประกอบ
วิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
(๒) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงาน
ด้านการศึกษา
(๓) ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การจั ด การศึ ก ษาของกระทรวงในเรื่ อ งสื่ อ การเรี ย นการสอน
วัสดุอุปกรณ์การศึกษาและเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนา การดาเนินงานด้านสวัสดิการ
สวัสดิภาพ และผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
80

มาตรา ๖๔ ให้ ค ณะกรรมการส่ ง เสริ ม สวั ส ดิ ก ารและสวั ส ดิ ภ าพครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา


ประกอบด้วย
(๑) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
ให้ เ ลขาธิ ก ารคณะกรรมการส่ ง เสริ ม สวั ส ดิ ก ารและสวั ส ดิ ภ าพครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา
เป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๖๕ ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
การดารงตาแหน่งและการพ้นจากตาแหน่ง******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
ส่วนที่ ๒
สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

หมวด ๓
การกากับดูแล
มาตรา ๗๕ ให้รัฐมนตรีมีอานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กากับดูแลการดาเนินงานของคุรุสภาและสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและ
สวัส ดิภ าพครู และบุ คลากรทางการศึกษา รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณของรัฐ ให้ คุรุสภา และส านักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๒) สั่งเป็นหนังสือให้กรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของคุรุสภาและสานั กงาน
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาและจะให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการ
ดาเนินงานหรือรายงานการประชุมของคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิ
ภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ได้
(๓) สั่ งเป็ น หนั งสื อ ให้ คุรุส ภาและคณะกรรมการส่ งเสริมสวัส ดิการและสวัส ดิภาพครูและ
บุ ค ลากรทางการศึ ก ษาระงั บ หรื อ แก้ ไ ขการกระท าใดๆ ที่ ป รากฏว่ า ขั ด ต่ อ วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องคุ รุ ส ภาและ
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา กฎหมาย หรือข้อ บังคับคุรุสภา
และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๗๖ ให้คุรุสภาเสนอรายงานประจาปีเกี่ยวกับผลการดาเนินงานด้านต่างๆ ของคุรุสภา รวมทั้ง
รายงานการเงินและบัญชี ตลอดจนเสนอแผนดาเนินงาน แผนการเงิน และงบประมาณของปีต่อไป ต่อ
คณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
มาตรา ๗๗ ให้สานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงิน การบัญชีของ
คุรุสภาเป็นประจาทุกปี แล้วรายงานให้รัฐสภาทราบ

หมวด ๔
บทกาหนดโทษ
มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจาทั้งปรับ
มาตรา ๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๖ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหก
หมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตารวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
81

คณะกรรมการคุรุสภา
ประธานกรรมการคุรุสภา

นางสาวตรีนุช เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
คณะกรรมการคุรุสภา

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ นายสุภัทร จาปาทอง


รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

นายอรรถพล สังขวาสี นายอัมพร พินะสา ศาสตราจารย์สัมพันธ์ ฤทธิเดช


เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

นายสุเทพ แก่งสันเทียะ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ ดร.พีรศักดิ์ รัตนะ


เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

นายชัยรัตน์ แก้วเพียงเพ็ญ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์


หัวหน้าสานักงานคณะกรรมการมาตรฐาน เลขาธิการคณะกรรมการ
การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
รักษาการเลขาธิการคุรุสภา
กรรมการและเลขานุการ

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
82

คณะกรรมการ สกสค.
ประธานกรรมการ สกสค.

นางสาวตรีนุช เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
กรรมการ สกสค.

นายสุภัทร จาปาทอง นายอรรถพล สังขวาสี นายอัมพร พินะสา


ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา ลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน
กรรมการ สกสค. กรรมการ สกสค. กรรมการ สกสค.

ศาตราจารย์สมั พันธ์ ฤทธิเดช นายสุเทพ แก่งสันเทียะ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์


เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและ
กรรมการ สกสค. กรรมการ สกสค. บุคลากรทางการศึกษา
กรรมการ สกสค.

รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี


เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
และบุคลากรทางการศึกษา รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการ สกสค.
รักษาการแทนเลขาธิการคุรุสภา กรรมการและเลขานุการ
กรรมการ สกสค.

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
83

คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

รองศาสตราจารย์เอกชัย กี่สุขพันธ์
ที่ปรึกษาคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช


กรรมการโดยตาแหน่ง

นายอัมพร พินะสา นายสุเทพ แก่งสันเทียะ ดร.พีรศักดิ์ รัตนะ


เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์


เลขาธิการสานักงานส่งเสริมการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และบุคลากรทางการศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
84

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

นางภัทราดา ยมนาค รองศาสตราจารย์อนุชาติ พวงสาลี ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ


ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร

นายอภิมุข สุขประสิทธิ์
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
กรรมการจากคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา

ศาสตราจารย์กติ ติคุณ ชนิตา รักษ์พลเมือง รองศาสตราจารย์ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์


มหาวิทยาลัยสยาม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

นายพรรษา ฉายกล้า นายกรศิริ มิ่งไชย นายวิทยา ประวะโข นายสมหวัง บุญสิทธิ์


ตาแหน่ง ครู ตาแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา ตาแหน่ง ผู้บริหารการศึกษา ตาแหน่ง ศึกษานิเทศก์
กรรมการและเลขานุการ

รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา
รักษาการเลขาธิการคุรุสภา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
85

อัตราค่าธรรมเนียม
(๑) ค่าขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ 6๐๐ บาท
(๒) ค่าต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ครั้งละ ๒๐๐ บาท
(๓) ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ฉบับละ ๓๐๐ บาท
(๔) ค่าหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชานาญ
ในการประกอบวิชาชีพ ฉบับละ ๔๐๐ บาท
(๕) ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๒๐๐ บาท
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
และบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาเป็ น ผู้ มี บ ทบาทส าคั ญ ต่ อ การจั ด การศึ ก ษาของชาติ จึ ง ต้ อ งเป็ น ผู้ มี ค วามรู้
ความสามารถ และทั ก ษะอย่ า งสู ง ในการประกอบวิ ช าชีพ มี คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรมและประพฤติ ป ฏิบัติตน
ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับ การเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจาเป็นต้อง
ตรากฎหมายเพื่อ
๑. พัฒนาวิชาชีพครูตามมาตรา ๘๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๔๐ และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา ๙ (๔) แห่งพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
๒. เพื่ อ ปรั บ สภาในกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารตามพระราชบั ญ ญั ติ ค รู พุ ท ธศั ก ราช ๒๔๘๘
เป็นองค์กรวิชาชีพครู ตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้เป็นไป
ตามมาตรา ๗๓ โดยกาหนดให้มี
๒.๑ สภาครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา เรี ย กชื่ อ ว่ า “คุ รุ ส ภา” มี อ านาจหน้ า ที่
กาหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กากับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและ
จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการพัฒนาวิชาชีพ
๒.๒ ส านั กงานคณะกรรมการส่ งเสริ มสวัส ดิ ก ารและสวัส ดิภ าพครูแ ละบุค ลากร
ทางการศึกษามีอานาจหน้ าที่ในการส่ งเสริมสวัส ดิการ สวัส ดิภ าพ ความมั่นคงของผู้ ประกอบวิช าชีพและ
ผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวงการศึกษา
๓. เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
86

ข้อบังคับคุรุสภา
ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
โดยเห็นเป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.
๒๕๔๗
อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๙ (๑๑) มาตรา ๔๕ มาตรา ๘๔ และมาตรา ๘๕ แห่งพระราชบัญญัติ
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ และมติคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๙
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการคุรุสภา
จึงออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒”
ปรับแก้ไขตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๗
(๒) ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๗
(๓) ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการคุรุสภา
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคุรุสภา
“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงาน
หรือผู้มีความประสงค์จะปฏิบัติงานในตาแหน่งครู
“ใบอนุ ญ าตประกอบวิ ช าชี พ ผู้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา” หมายความว่ า ใบอนุ ญ าตประกอบวิ ช าชี พ
ซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้มีความประสงค์จะปฏิบัติงานในตาแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งออกให้
ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้มีความประสงค์จะปฏิบัติงานในตาแหน่งผู้บริหารการศึกษา
“ใบอนุ ญาตประกอบวิช าชีพศึกษานิเทศก์ ” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิช าชีพซึ่งออกให้
ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้มีความประสงค์จะปฏิบัติงานในตาแหน่งศึกษานิเทศก์ ซึ่งเป็นบุคลากรทางการศึกษา อื่น
ตามที่ประกาศกาหนดในกฎกระทรวง
“คาขอ” หมายความว่า คาขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต คาขอหนังสื อรับรองการขึ้นทะเบียนรับ
ใบอนุญาต คาขอต่ออายุใบอนุญาต คาขอใบแทนใบอนุญาต แล้วแต่กรณี
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการคุรุสภารักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอานาจออกระเบียบประกาศหรือ
คาสั่งเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้รวมทั้ง ให้มีอานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบัติการ
ตามที่กาหนดไว้ในข้อบังคับ

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
87

ส่วนที่ ๑
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
ข้อ ๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ าม
ดังต่อไปนี้
(ก) มีคุณสมบัติ
(๑) มีอายุไม่ต่ากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) ผู้มีคุณวุฒิที่สาเร็จการศึกษาในประเทศไทย ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
(๒.๑) วุฒิไม่ต่ากว่าปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า ที่คุรุสภารับรอง
(๒.๒) วุฒิไม่ต่ากว่าปริญญาตรีอื่นที่คุรุสภารับรอง
(๒.๓) วุฒิไม่ต่ากว่าปริญญาตรีอื่นและผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานความรู้
วิชาชีพของคุรุสภา
(๓) ผู้มีคุณวุฒิที่สาเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
(๓.๑) วุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า
(๓.๒) วุฒิปริญญาอื่นและมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากต่างประเทศ
(๓.๓) วุฒิปริญญาตรีอื่นและมีคุณวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูที่ใช้เวลา
ศึกษาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(๓.๔) วุฒิปริญญาตรีอื่นและผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพของ
คุรุสภา
(๔) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลา
ไม่ น้ อ ยกว่ า หนึ่ ง ปี และผ่ า นเกณฑ์ ก ารประเมิ น ปฏิ บั ติ ก ารสอนตามหลั ก เกณฑ์ วิ ธี ก าร และเงื่ อ นไขที่
คณะกรรมการกาหนด
(ข) ลักษณะต้องห้าม
(1) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) เคยต้ องโทษจ าคุ กในคดี ที่ คุ รุ สภาเห็ นว่ าอาจน ามาซึ่ งความเสื่ อมเสี ยเกี ยรติ ศั กดิ์
แห่งวิชาชีพ
การขอรับใบอนุ ญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่กาหนดตามข้อบังคับนี้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ส่วนที่ ๑/๑ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต และข้อ ๖/๑
แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๙
ส่วนที่ ๑/๑
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต
------------------------
ข้อ ๖/๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ผ่านการรับรองประสบการณ์วิชาชีพครูตามที่คณะกรรมการกาหนด
(๒) ผ่านการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ
กาหนด
ทั้งนี้ ไม่กระทบสิทธิของผู้ที่สาเร็จการศึกษาจากปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางการศึกษาที่คุรุสภา
ให้การรับรอง สาหรับผู้เข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา ๒๕๖๒ รวมทั้งผู้ที่ได้สิทธิในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ครูก่อนข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ
ปรับแก้ไขตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๒

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
88

ข้อ ๗ ชาวต่างชาติที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือผู้มีสัญชาติไทยที่ใช้คุณวุฒิที่สาเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ


ในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ผ่านการรับรองประสบการณ์วิชาชีพครูตามที่คณะกรรมการกาหนด
(๒) มีใบอนุญาตให้ทางานในประเทศไทย (Work Permit)
(๓) มีหลักฐานการให้พานักอยู่ในประเทศไทย
(๔) ผ่านการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ
กาหนด
ทั้งนี้ ไม่กระทบสิทธิของผู้ที่สาเร็จการศึกษาจากปริญญา หรือประกาศนียบัตรทางการศึกษาที่คุรุสภา
ให้การรับรอง สาหรับผู้เข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา ๒๕๖๒ รวมทั้งผู้ที่ได้สิทธิในการขอรับใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพครูก่อนข้อบังคับนี้มีผลใช้บังคับ
ผู้มีสัญชาติไทยให้ยกเว้นคุณสมบัติในข้อ (๒) และ (๓)
สถานศึกษาที่รั บครูชาวต่างประเทศเข้าประกอบวิชาชีพครู ในสถานศึกษา ต้องให้ความรู้ในเรื่ อ ง
เกี่ยวกับการเป็ นครู ในประเทศไทยอย่างน้อยในเรื่องภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และกฎหมายเกี่ยวกับ การ
ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ปรับแก้ไขตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อ ๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา หรือ ศึกษานิเทศก์
ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
(๒) มีความรู้และประสบการณ์วิชาชีพตามที่กาหนดในข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ
(๓) ประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ

ส่วนที่ ๒
การขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต
ข้อ ๙ ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ให้ยื่นคาขอต่อเลขาธิการตามแบบที่กาหนด
พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
ข้อ ๑๐ ชาวต่างประเทศที่ไม่มีสัญชาติไทย ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้ ยื่น
คาขอต่อเลขาธิการตามแบบที่กาหนด พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
ข้อ ๑๑ ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาหรือ
ศึกษานิเทศก์ ให้ยื่นคาขอต่อเลขาธิการตามแบบที่กาหนด พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว ประสงค์จะขอหนังสือ
รับรองการขึ้น ทะเบียนรับ ใบอนุญาต ให้ยื่นคาขอต่อเลขาธิการตามแบบที่กาหนด พร้อมด้วยเอกสารและ
หลักฐาน******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
ข้อ ๑๓ ให้วุฒิปริญญาทางการศึกษาตามหลักสูตรปริ ญญาทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษาเปิดการ
สอนอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มีผลใช้บังคับเป็นคุณวุฒิที่
ใช้ในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
ผู้มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้ ยื่นคาขอ
ต่อเลขาธิการตามแบบที่กาหนด พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานตามข้อ ๙

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
89

ข้อ ๑๔ เมื่อตรวจสอบแบบคาขอพร้อมเอกสารหลั กฐานตามข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ หรือ


ข้อ ๑๓ ครบถ้วนและถูกต้องแล้ว ให้เลขาธิการเสนอคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาอนุมัติ ห รื อ
ไม่อนุมัติให้ขึ้น ทะเบีย นรับ ใบอนุญาต หรือออกหนังสื อรับรองการขึ้นทะเบียนใบอนุญาตตามประเภทของ
ใบอนุญาตโดยวันที่ออกใบอนุญาตให้นับตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นคาขอมีคุณสมบัติครบถ้วน
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔ วรรคสาม แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๙
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
กรณีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต หรือออกหนังสือรับรองการ
ขึ้นทะเบียนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้จัดทาเป็นคาสั่งและแจ้งให้ผู้ยื่นคาขอรับทราบ
ปรับแก้ไขตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อ ๑๕ ใบอนุญาตที่ออกให้ แก่ผู้ ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการ
กาหนด

ส่วนที่ ๓
การกาหนดอายุและการต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตให้มีอายุใช้ได้เป็นเวลาห้าปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
ข้อ ๑๗ ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาต ต้องมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการกาหนด และประพฤติตนตาม
จรรยาบรรณของวิชาชีพ
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๗ วรรคสอง และวรรคสาม แห่งข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๙
ปรับแก้ไขตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อ ๑๘ ผู้ ได้รั บ ใบอนุ ญาต ที่ป ระสงค์จะขอต่ออายุใ บอนุญาต ต้องยื่นคาขอต่อเลขาธิการภายใน
หนึ่งร้อยแปดสิบวันก่อนวันที่ใบอนุญาตจะหมดอายุ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
เมื่ อ ตรวจสอบแบบค าขอพร้ อ มเอกสารหลั ก ฐานถู ก ต้ อ งและครบถ้ ว นแล้ ว ให้ เ ลขาธิ ก ารเสนอ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ต่ออายุใบอนุญาตตามประเภทของใบอนุญาต
โดยกาหนดวันออกใบอนุญาตเป็นวันที่ต่อเนื่องจากใบอนุญาตฉบับเดิม
ทั้งนี้ ให้ใช้หลักฐานการชาระเงินเป็นหลักฐานแสดงการยื่นคาขอและผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ
เบื้องต้นแล้ว ผู้ยื่นคาขอจะได้รับใบอนุญาตเมื่อผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
ให้ ย กเลิ ก ความในข้ อ ๑๘ วรรคสี่ แห่ ง ข้ อ บั ง คั บ คุ รุ ส ภา ว่ า ด้ ว ยใบอนุ ญ าตประกอบวิ ช าชี พ
พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
กรณีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่อนุมัติให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้จัดทาเป็นคาสั่งและแจ้งให้
ผู้ยื่นคาขอรับทราบ
ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๙ วรรคหนึ่ง แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิ ชาชี พ
พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๙ ผู้ยื่นคาขอต่ออายุใบอนุญาตหลังจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้ว และมีคุณสมบัติครบถ้วน
ตามข้อ ๑๗ ให้ชี้แจงเหตุผลกรณีที่ยื่นคาขอต่ออายุใบอนุญาตหลังจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุพร้อมเอกสาร
หลักฐานตามข้อ ๑๘ และให้ชาระค่าดาเนินการกรณีขอต่ออายุใบอนุญ าตล่าช้าเป็นเงินเดือนละสองร้อยบาท
แต่ไม่เกินสองพันบาท กรณีระยะเวลาที่ล่าช้านับได้ไม่ถึงหนึ่งเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน
ปรับแก้ไขตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๒

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
90

ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๑๙ วรรคสอง แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ


พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
กรณีผู้ยื่นคาขอต่ออายุใบอนุญาตหลังจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุพ้นระยะเวลาห้าปีให้ดาเนินการตาม
วรรคหนึ่งจนกว่าใบอนุญาตจะมีอายุใช้ได้
ปรับแก้ไขตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๒
เมื่ อ ตรวจสอบแบบค าขอพร้ อ มเอกสารหลั ก ฐานถู ก ต้ อ งและครบถ้ ว นแล้ ว ให้ เ ลขาธิ ก ารเสนอ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ต่ออายุใบอนุญาตตามประเภทของใบอนุญาต
โดยกาหนดวันออกใบอนุญาตเป็นวันที่ต่อเนื่องจากใบอนุญาตฉบับเดิม
ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๑๙ วรรคสี่ แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิ ชาชี พ
พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ทั้งนี้ ให้ ใช้ห ลั กฐานการช าระเงินเป็นหลั กฐานแสดงการยื่นคาขอต่อ อายุใบอนุญาตและผ่ า นการ
ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว ผู้ยื่นคาขอจะได้รับใบอนุญาตเมื่อผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการมาตรฐาน
วิชาชีพ
ปรับแก้ไขตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๒
ให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๑๙ วรรคห้า แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
กรณีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่อนุมัติให้ต่ออายุใบอนุญาต ให้จัดทาเป็นคาสั่งและแจ้งให้
ผู้ยื่นคาขอรับทราบ
ปรับแก้ไขตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๒
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้ว ไม่สามารถใช้สิทธิในการประกอบวิชาชีพตาม
ประเภทใบอนุญาตที่ได้รับต่อไปได้
ข้อ ๒๑ ใบอนุญาตสิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) ใบอนุญาตหมดอายุตามข้อ ๑๖
(๒) ถูกสั่งเพิกถอน
(๓) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
ข้อ ๒๒ ผู้ ที่ถูกเพิกถอนใบอนุ ญาต เมื่อพ้นกาหนดห้ าปีนับแต่วันที่ถูกสั่ งเพิ กถอน ประสงค์ขอรั บ
ใบอนุญาตตามประเภทที่เคยได้รับ ให้ยื่นคาขอต่อเลขาธิการตามแบบที่กาหนด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๒ วรรคสาม แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิ ชาชี พ
พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
กรณีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพไม่อนุมัติออกใบอนุญาต ให้จัดทาเป็นคาสั่งและแจ้งให้ผู้ยื่นคาขอ
รับทราบ
ปรับแก้ไขตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖๒

ส่วนที่ ๔
ใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๒๓ ผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาต กรณีใบอนุญาตถูกทาลาย ชารุด สูญหาย หรือขอเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลที่ปรากฏในใบอนุญาต ให้ยื่นคาขอต่อเลขาธิการตามแบบที่กาหนด พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
ข้อ ๒๔ ใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบตามข้อ ๑๕

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
91

ส่วนที่ ๕
การเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางทะเบียน
ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตที่ประสงค์ขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางทะเบียน ให้ยื่นคาขอต่อเลขาธิการตาม
แบบที่กาหนดพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******

ส่วนที่ ๖
การอุทธรณ์
ข้อ ๒๖ ผู้ ยื่ น ค าขอขึ้ น ทะเบี ย นรั บ ใบอนุ ญ าต ขอต่ อ อายุ ใ บอนุ ญ าต หรื อ ขอใบแทนใบอนุ ญ าตที่
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาวินิจฉัยไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่ออกใบแทน
ใบอนุญาต ผู้ยื่นคาขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ ออก
ใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่ออกใบแทนใบอนุญาต
ถ้าผู้อุทธรณ์เห็นว่าคาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการไม่เป็นธรรมสาหรับผู้อุทธรณ์ สามารถยื่นฟ้อง
ศาลปกครองได้ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคาสั่ง

ประกาศ ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙


พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานกรรมการคุรสุ ภา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
92

กฎกระทรวง
การประกอบวิชาชีพควบคุม
พ.ศ. ๒๕๔๙
อาศัย อานาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง แห่ งพระราชบั ญ ญัติส ภาครู แ ละ
บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจากัดสิทธิและ
เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๙ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย บัญญัติให้กระทา ได้โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออก
กฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ให้วิชาชีพศึกษานิเทศก์เป็นวิชาชีพควบคุม

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙


จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
93

ข้อบังคับคุรุสภา
ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๖๒
ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้
“มาตรฐานวิ ช าชีพ ทางการศึก ษา” หมายความว่ า ข้ อ ก าหนดเกี่ ย วกั บ คุ ณ ลั ก ษณะ และคุ ณ ภาพ
ที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม
ประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐาน การ
ปฏิบัติตน
“มาตรฐานความรู้ แ ละประสบการณ์ วิ ช าชี พ ” หมายความว่ า ข้ อ ก าหนดเกี่ ย วกั บ ความรู้ แ ละ
ประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งผู้ต้องการ
ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีเพียงพอที่สามารถนาไปใช้ในการประกอบวิชาชีพได้
“มาตรฐานการปฏิบัติงาน” หมายความว่า ข้อกาหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ หรือการแสดงพฤติกรรม
การปฏิบัติงานและการพัฒนางาน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการ
ศึกษา ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา รวมทั้ง
ต้องฝึกฝนให้มีทักษะหรือความชานาญสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“มาตรฐานการปฏิบัติตน” หมายความว่า จรรยาบรรณของวิชาชีพที่กาหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการ
ประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม รวมทั้งผู้ต้องการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องยึดถือปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสี ยง และฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคมอันจะนามาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการคุรุสภารักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอานาจออกระเบียบประกาศ
หรือคาสั่งเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ รวมทั้งให้มีอานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามที่
กาหนดไว้ในข้อบังคับ
หมวด ๑
มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
ข้อ ๖ ผู้ ป ระกอบวิช าชี พ ครู ต้องมีคุณวุฒิ ไ ม่ต่ ากว่า ปริ ญ ญาตรี ทางการศึก ษา หรือเทียบเท่ า หรื อ
มีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
(ก) มาตรฐานความรู้ ประกอบด้วยความรู้ ดังต่อไปนี้ มาตรฐานวิชาชีพครู (เดิม)
๑) การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และ ๑) ความเป็นครู
แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒) ปรัชญาการศึกษา
๒) จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และ ๓) ภาษาและวัฒนธรรม
จิ ตวิทยาให้ คาปรึ กษาในการวิเ คราะห์ และพั ฒ นา ๔) จิตวิทยาสาหรับครู
ผู้เรียนตามศักยภาพ ๕) หลักสูตร
๓) เนื้อหาวิชาที่สอน หลักสูตร ศาสตร์การสอน ๖) การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
และเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ ๗) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
๔) การวัด ประเมินผลการเรียนรู้ และการวิจัย ๘) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทาง
เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน การศึกษา
๕) การใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๙) การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ๑๐) การประกันคุณภาพการศึกษา
๖) การออกแบบและการดาเนินการเกี่ยวกับงาน ๑๑) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ
ประกันคุณภาพการศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
94

(ข) มาตรฐานประสบการณ์วิช าชีพ ผ่ านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลั กสู ตรปริ ญ ญา


ทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากาหนด ดังต่อไปนี้
๑) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
๒) การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
หมวด ๒
มาตรฐานการปฏิบัติงาน
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
(ก) การปฏิบัติหน้าที่ครู มาตรฐานการปฏิบัติงาน (เดิม)
(๑) มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู ๑) ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเพื่อ พั ฒ นา
(๒) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม วิชาชีพครูให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ
และมีความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ๒) ตั ด สิ น ใจปฏิ บั ติ กิ จ กรรมต่ า งๆ โดย
(๓) ส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู้ เอาใจใส่ และยอมรั บ ความ คานึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
แตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล ๓) มุ่ ง มั่ น พั ฒ นาผู้ เ รี ย นให้ เ ติ บ โตเต็ ม ตาม
(๔) สร้างแรงบัลดาลใจผู้เรียนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้และผู้สร้าง ศักยภาพ
นวัตกรรม ๔) พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้
(๕) พัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ทันสมัย และทันต่อการ จริงในชั้นเรียน
เปลี่ยนแปลง ๕ ) พั ฒ นา สื่ อกา ร เรี ยนการ สอนให้ มี
(ข) การจัดการเรียนรู้ ประสิทธิภาพอยู่เสมอ
๖) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียน
(๑) พัฒนาหลักสูตรสถานศึ กษา การจัดการเรียนรู้ สื่อ
รู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์โดยเน้นผล
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
(๒) บูรณาการความรู้และศาสตร์การสอนในการวางแผน ๗) รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
และจั ดการเรี ยนรู้ ที่ ส ามารถพั ฒนาผู้ เ รี ยนให้ มีปั ญ ญารู้ คิ ด ได้อย่างมีระบบ
และมีความเป็นนวัตกร ๘) ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
(๓) ดูแล ช่วยเหลือ และพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลตาม ๙) ร่ ว มมื อ กั บ ผู้ อื่ น ในสถานศึ ก ษาอย่ า ง
ศักยภาพ สามารถรายงานผลการพั ฒนาคุณ ภาพผู้เรี ยนได้ สร้างสรรค์
อย่างเป็นระบบ ๑ ๐ ) ร่ ว ม มื อ กั บ ผู้ อื่ น ใ น ชุ ม ช น อ ย่ า ง
(๔) จัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมี สร้างสรรค์
ความสุขในการเรียน โดยตระหนักถึงสุขภาวะของผู้เรียน ๑๑) แสวงหาและใช้ ข้ อ มูล ข่า วสารในการ
(๕) วิจัย สร้างนวัตกรรม และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนา
ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ๑๒) สร้ า งโอกาสให้ ผู้เรีย นได้ เรียนรู้ใ นทุก
(๖) ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีส่วนร่วม สถานการณ์
ในกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพ
(ค) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน
(๑) ร่ ว มมื อ กั บ ผู้ ป กครองในการพั ฒ นาและแก้ ปั ญ หา
ผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
(๒) สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชน
เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของผู้เรียน
(๓) ศึกษา เข้าถึงบริบทของชุมชน และสามารถอยู่ร่วมกัน
บนพื้นฐานความแตกต่างทางวัฒนธรรม
(๔) ส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

หมวด ๓
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
95

มาตรฐานการปฏิบัติตน
ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติตนตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย
จรรยาบรรณของวิชาชีพ

ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒

(นายธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานกรรมการคุรุสภา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
96

ข้อบังคับคุรุสภา
ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
พ.ศ. 2565

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
97

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
98

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
99

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
100

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
101

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
102

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
103

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
104

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
105

ข้อบังคับคุรุสภา
ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๕๖
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการคุรุสภารักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอานาจออกระเบียบประกาศ
หรือคาสั่งเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ รวมทั้งให้มีอานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามที่
กาหนดไว้ในข้อบังคับ
ข้อ ๖ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผน
พฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
หมวด ๑
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และ
วิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
หมวด ๒
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ ๘ ผู้ ป ระกอบวิช าชี พ ทางการศึ ก ษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสั ตย์สุ จริต รับผิ ดชอบต่ อวิช าชี พ และ
เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
หมวด ๓
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กาลังใจแก่ศิษย์
และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
ข้อ ๑๐ ผู้ ป ระกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่ งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสั ยที่ถูกต้อง
ดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา
และจิตใจ
ข้ อ ๑๒ ผู้ ป ระกอบวิ ช าชี พ ทางการศึ ก ษา ต้ อ งไม่ ก ระท าตนเป็ น ปฏิ ปั ก ษ์ ต่ อ ความเจริ ญ ทางกาย
สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับ
หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตาแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
หมวด ๔
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดย ยึด
มั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
หมวด ๕
จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นาในการอนุรักษ์และพัฒ นา
เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่น
ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
106

ข้อบังคับคุรุสภา
ว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
“แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ” หมายความว่า ประมวลพฤติกรรมที่เป็นตัวอย่าง
ของการประพฤติที่กาหนดขึ้นตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาคือ ครู ผู้บริหาร
สถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ต้องหรือพึงประพฤติปฏิบัติตามประกอบด้วย พฤติกรรม
ที่ พึ ง ประสงค์ ที่ ก าหนดให้ ผู้ ป ระกอบวิ ช าชี พ ทางการศึ ก ษาต้ อ งหรื อ พึ ง ประพฤติ ต าม และพฤติ ก รรมที่
ไม่พึงประสงค์ ที่กาหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องหรือพึงละเว้น
“จรรยาบรรณของวิ ช าชี พ ” หมายความถึง มาตรฐานการปฏิ บัติ ต นตามข้ อ บั งคั บ คุรุส ภาว่ า ด้ ว ย
มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการคุรุสภารักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอานาจออกระเบียบประกาศ
หรือคาสั่ง เพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ รวมทั้ง ให้มีอานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ
ตามที่กาหนดไว้ในข้อบังคับ

หมวด ๑
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
ส่วนที่ ๑
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ ๕ ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนา
ทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผน
พฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี
(๒) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดาเนินชีวิตตามประเพณี และวัฒนธรรมไทย
(๓) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สาเร็จอย่างมีคุณภาพ ตามเป้าหมายที่กาหนด
(๔) ศึกษา หาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และสะสมผลงานอย่างสม่าเสมอ
(๕) ค้น คว้า แสวงหา และนาเทคนิคด้านวิชาชีพที่พัฒนาและก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับมาใช้
แก่ศิษย์และผู้รับบริการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือเสพสิ่งเสพติดจนขาดสติหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพเป็น ที่
น่ารังเกียจในสังคม
(๒) ประพฤติผิดทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ
(๓) ขาดความรับผิดชอบ ความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ จนเกิดความเสียหาย ใน
การปฏิบัติงานตามหน้าที่
(๔) ไม่รับรู้หรือไม่แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนรู้ และการปฏิบัติหน้าที่
(๕) ขัดขวางการพัฒนาองค์การจนเกิดผลเสียหาย

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
107

ส่วนที่ ๒
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ ๖ ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ
(๒) รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
(๓) ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้
(๔) อุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าของวิชาชีพ
(๕) ปฏิบั ติห น้ าที่ด้ว ยความรับผิ ดชอบ ซื่อสั ตย์สุ จริตตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนของ
ทางราชการ
(๖) เลือกใช้หลักวิชาที่ถูกต้อง สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ
(๗) ใช้องค์ความรู้หลากหลายในการปฏิบัติหน้าที่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิก ใน
องค์การ
(๘) เข้าร่วมกิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ไม่แสดงความภาคภูมิใจในการประกอบวิชาชีพ
(๒) ดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้ร้ายผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ศาสตร์ในวิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพ
(๓) ประกอบการงานอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(๔) ไม่ซื่อสัตย์สุจ ริต ไม่รับผิดชอบ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ หรือแบบแผนของทาง
ราชการจนก่อให้เกิดความเสียหาย
(๕) คัดลอกหรือนาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
(๖) ใช้หลักวิชาการที่ไม่ถูกต้องในการปฏิบัติวิชาชีพ ส่งผลให้ศิษย์หรือผู้รับบริการเกิดความ
เสียหาย
(๗) ใช้ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพ หรืออาศัยองค์กรวิชาชีพแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือ
ผู้อื่นโดยมิชอบ
ส่วนที่ ๓
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ ๗ ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กาลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาท
หน้าที่โดยเสมอหน้า ครูต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย ที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ครูต้องไม่กระทาตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์
และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ และครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือ
ยอมรั บ ผลประโยชน์ จ ากการใช้ ต าแหน่ งหน้า ที่โ ดยมิ ช อบโดยต้ อ งประพฤติแ ละละเว้น การประพฤติ ต าม
แบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ให้คาปรึกษาหรือช่วยเหลือศิษย์และผู้รับบริการด้วยความเมตตากรุณาอย่างเต็มกาลัง
ความสามารถและเสมอภาค
(๒) สนับสนุนการดาเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส
(๓) ตั้งใจ เสียสละ และอุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการได้รั บการ
พัฒนาตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
108

(๔) ส่งเสริมให้ศิษย์และผู้รับบริการสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่ออุปกรณ์ และ


แหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย
(๕) ให้ศิษย์และผู้รับบริการ มีส่วนร่วมวางแผนการเรียนรู้ และเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม
กับตนเอง
(๖) เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการด้วยการรับฟังความคิดเห็นยกย่อง
ชมเชย และให้กาลังใจอย่างกัลยาณมิตร
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ลงโทษศิษย์อย่างไม่เหมาะสม
(๒) ไม่ ใ ส่ ใ จหรื อ ไม่ รั บ รู้ ปั ญ หาของศิ ษ ย์ ห รื อ ผู้ รั บ บริ ก าร จนเกิ ด ผลเสี ย หายต่ อ ศิ ษ ย์ ห รื อ
ผู้รับบริการ
(๓) ดูหมิ่นเหยียดหยามศิษย์หรือผู้รับบริการ
(๔) เปิดเผยความลับของศิษย์หรือผู้รับบริการ เป็นผลให้ได้รับความอับอายหรือเสื่ อมเสี ย
ชื่อเสียง
(๕) จูงใจ โน้มน้าว ยุยงส่งเสริมให้ศิษย์หรือผู้รับบริการปฏิบัติขัดต่อศีลธรรมหรือ กฎระเบียบ
(๖) ชักชวน ใช้ จ้าง วานศิษย์หรือผู้รับบริการให้จัดซื้อ จัดหาสิ่งเสพติด หรือเข้าไปเกี่ยวข้อง
กับอบายมุข
(๗) เรียกร้องผลตอบแทนจากศิษย์หรือผู้รับบริการในงานตามหน้าที่ที่ต้องให้บริการ
ส่วนที่ ๔
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๘ ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรมสร้างความ
สามัคคีในหมู่คณะ โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรมดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๒) มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกาลังในการพัฒนาการศึกษา
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ปิดบังข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติงาน จนทาให้เกิดความเสียหายต่องานหรือ ผู้
ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๒) ปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยตาหนิ ให้ร้ายผู้อื่นในความบกพร่องที่เกิดขึ้น
(๓) สร้ า งกลุ่ ม อิ ท ธิ พ ลภายในองค์ ก ารหรื อ กลั่ นแกล้ ง ผู้ ร่ ว มประกอบวิ ช าชีพ ให้ เ กิ ด ความ
เสียหาย
(๔) เจตนาให้ ข้อมูล เท็จทาให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเกิดความเสี ยหายต่อผู้ร่วมประกอบ
วิชาชีพ
(๕) วิพากษ์ วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือแตกความ
สามัคคี

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
109

ส่วนที่ ๕
จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้ อ ๙ ครู พึ ง ประพฤติ ป ฏิ บั ติ ต นเป็ น ผู้ น าในการอนุ รั ก ษ์ แ ละพั ฒ นาเศรษฐกิ จ สั ง คม ศาสนา
ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผน
พฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข
(๒) นาภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมมาเป็นปัจจัยในการจัดการศึกษาให้เป็นประโยชน์
ต่อส่วนรวม
(๓) จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ ศิษย์เกิดการเรียนรู้และสามารถดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจ
พอเพียง
(๔) เป็ น ผู้ น าในการวางแผนและด าเนิ น การเพื่ อ อนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ มพั ฒ นาเศรษฐกิ จ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ไม่ให้ ความร่ ว มมือหรือสนับสนุนกิจกรรมของชุ มชนที่จัดเพื่ อประโยชน์ต่อการศึ ก ษา
ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
(๒) ไม่แสดงความเป็นผู้นาในการอนุรักษ์หรือพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนาศิลปวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาหรือสิ่งแวดล้อม
(๓) ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม
(๔) ปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนหรือสังคม

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
110

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546


ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖
เป็นปีที่ ๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“เด็ก” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วย
การสมรส
“เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถ
เลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตราย
ต่อสวัสดิภาพของตน
“เด็ ก ก าพร้ า ” หมายความว่ า เด็ ก ที่ บิ ด าหรื อ มารดาเสี ย ชี วิ ต เด็ ก ที่ ไ ม่ ป รากฏบิ ด ามารดาหรื อ
ไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
“เด็กที่อยู่ในสภาพยากลาบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง
ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่ และได้รับความลาบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือ
กาลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
“เด็กพิการ” หมายความว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ ไม่ว่าความ
บกพร่องนั้นจะมีมาแต่กาเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
“เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทาผิด ” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือ
คบหาสมาคมกั บ บุ ค คลที่ น่ า จะชั ก น าไปในทางกระท าผิ ด กฎหมายหรื อ ขั ด ต่ อ ศี ล ธรรมอั น ดี หรื อ อยู่ ใ น
สภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนาไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
“นักเรียน” หมายความว่า เด็กซึ่งกาลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ทั้งประเภท สามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน
“นักศึกษา” หมายความว่า เด็กซึ่งกาลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษา
ของรัฐหรือเอกชน
“บิดามารดา” หมายความว่า บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่
“ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้ปกครอง ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครอง สวัสดิภาพนายจ้าง ตลอดจน
บุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ใน ความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย
“ครอบครัวอุปถัมภ์” หมายความว่า บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร
“การเลี้ยงดูโดยมิชอบ” หมายความว่า การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนหรือพัฒนาเด็ก
ตามมาตรฐานขั้นต่าที่กาหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
“ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทาหรือละเว้นการกระทาด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็ก
เสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทาผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทาหรือ
ประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ ไม่ว่า
เด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
“สื บ เสาะและพิ นิ จ ” หมายความว่า การค้นหาและรวบรวมข้ อเท็จจริ งเกี่ยวกั บบุ คคลและน ามา
วิเคราะห์วินิจฉัยตามหลักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา กฎหมายและหลักวิชาการอื่น ที่
เกี่ยวข้องกับบุคคลและครอบครัวของบุคคลนั้น

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
111

“สถานรับเลี้ยงเด็ก” หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุ ไม่เกินหกปีบริบูรณ์และ


มีจานวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของหรือผู้ดาเนินการสถานรับเลี้ยงเด็กดังกล่าว
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน
“สถานแรกรับ” หมายความว่า สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็ก
และครอบครัว เพื่อกาหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็กแต่ละราย
“สถานสงเคราะห์” หมายความว่า สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จาเป็นต้องได้รับการ
สงเคราะห์ ซึ่งมีจานวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป
“สถานคุ้มครองสวัส ดิภาพ” หมายความว่า สถานที่ให้ การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพเพื่อแก้ไขความ
ประพฤติ บ าบั ด รั กษา และฟื้น ฟูส มรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่พึง ได้รับการคุ้มครอง
สวัสดิภาพ
“สถานพั ฒ นาและฟื้ น ฟู ” หมายความว่ า สถานที่ โรงเรี ย น สถาบั น หรื อ ศู น ย์ ที่ จั ด ขึ้ น เพื่ อ ให้
การบ าบั ด รั ก ษา การฟื้ น ฟู ส มรรถภาพทั้ ง ทางด้ า นร่ า งกายและจิ ต ใจ ตลอดจนการศึ ก ษา แนะแนวและ
การฝึกอบรมอาชีพแก่เด็กที่จาต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเป็นกรณีพิเศษ
“สถานพินิจ” หมายความว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง สถานพินิจและคุ้มครอง
เด็กและเยาวชนจังหวัด และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนของแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
ในศาลจังหวัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิ จารณาคดีเยาวชน
และครอบครัว
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนคุ้มครองเด็ก
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“ผู้ว่าราชการจังหวัด” หมายความรวมถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก
ผู้ว่าราชการจังหวัด
“ปลั ดกระทรวง” หมายความว่า ปลั ดกระทรวงการพัฒ นาสั ง คมและความมั่น คงของมนุษ ย์ แ ละ
หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวง
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตาม
พระราชบัญญัตินี้ และให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงมีอานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงหรือ
ระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวงนั้น
กฎกระทรวงหรือระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก
มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบดี
กรมสุขภาพจิต อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้อานวยการสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ
และพิทักษ์เ ด็ก เยาวชนผู้ ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้ สู งอายุ เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ ทรงคุ ณ วุ ฒิ
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์แต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์
ในการงานที่ทาในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ ไม่น้อยกว่าเจ็ดปีวิชาชีพละสองคน

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
112

โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละหนึ่งคน และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ซึ่งมีผลงาน
เป็นที่ประจักษ์ในด้านสวัสดิการเด็กมาไม่น้อยกว่าเจ็ดปีอีกสองคน โดยมีรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม
คณะกรรมการจะแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไม่เกิน
สองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
มาตรา ๘ ให้สานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทาหน้าที่เ ป็น
สานักงานเลขานุการของคณะกรรมการ โดยให้มีอานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๙ กรรมการผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ มี ว าระอยู่ ใ นต าแหน่ ง คราวละสามปี ก รรมการผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ
ซึ่งพ้นจากตาแหน่งเพราะครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
มาตรา ๑๔ คณะกรรมการมีอานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย แผนงาน งบประมาณและมาตรการในการสงเคราะห์
คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงินการเก็บรักษา
เงิน และการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน
(๔) วางระเบียบเกี่ยวกับวิธีการดาเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๔๗
(๕) วางหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ให้คาปรึกษา แนะนา และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงาน ด้าน
การศึกษา การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งมีอานาจเข้าไปตรวจสอบ
ในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู สถาน
พินิจ หรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กทั้งของรัฐ
และเอกชน
(๗) ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดาเนินงานของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร
และ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด รวมทั้งให้คาแนะนาและเสนอแนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ
สงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กในกรุงเทพมหานครและระดับจังหวัด
(๘) ดาเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก
มาตรา ๑๕ คณะกรรมการมีอานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทางานเพื่อปฏิบัติการตามที่
คณะกรรมการมอบหมาย
ให้นาบทบัญญัติมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการหรือคณะทางานโดยอนุโลม
มาตรา ๑๖ ให้ มี ค ณะกรรมการคุ้ ม ครองเด็ ก กรุ ง เทพมหานคร ประกอบด้ ว ย ผู้ ว่ า ราชการ
กรุงเทพมหานคร เป็น ประธานกรรมการ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนสานักงาน
อัยการสูงสุด ผู้แทนกองบัญชาการตารวจนครบาล ผู้แทนกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ผู้แทนศาลเยาวชน
และครอบครัวกลาง ผู้ แทนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง ผู้แทนสานักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ
และพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ ผู้อานวยการสานักพัฒนาชุมชน ผู้อานวยการ
สานักการศึกษา ผู้อานวยการสานักอนามัย และผู้อานวยการสานักการแพทย์เป็นกรรมการ และกรรมการ
ผู้ ทรงคุณวุฒิ ซึ่งผู้ ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของปลั ดกระทรวงแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญ
ซึ่งมีประสบการณ์ในการงานที่ทาในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ วิชาชีพละสองคน
โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละหนึ่งคน และแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ ด้าน
สวัสดิการเด็กอีกสองคนโดยมีผู้อานวยการสานักสวัสดิการสังคมเป็นกรรมการและเลขานุการ
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
113

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม
คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุ งเทพมหานครจะแต่งตั้งข้าราชการในส านักสวัสดิการสั งคมไม่เกิน
สองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
มาตรา ๑๗ ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
กรรมการ รองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการ อัยการ
จังหวัด พัฒนาการจังหวัด แรงงานจังหวัด ผู้อานวยการเขตพื้นที่การศึกษา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
ผู้บังคับการตารวจภูธรจังหวัด ผู้แทนศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือผู้แทนศาลจังหวัดในกรณีที่จังหวัด
นั้นไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้แทนสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด หรือผู้แทนกระทรวง
ยุติธรรมซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการในจังหวัดในกรณีที่จังหวัดนั้นไม่มีสถานพินิจ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของปลัดกระทรวงแต่งตั้ง
จากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ในการงานที่ทาในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์
วิชาชีพละสองคน โดยจะต้องมีผู้แทนจากภาคเอกชนอย่างน้อยวิชาชีพละหนึ่งคน และแต่งตั้งจาก ผู้
มีประสบการณ์ด้านสวัสดิการเด็กอีกสองคน โดยมี พัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด เป็นกรรมการและ
เลขานุการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นสตรีไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม
คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดจะแต่งตั้งข้าราชการในจังหวัดนั้นไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการก็ได้
มาตรา ๒๐ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจัง หวั ด
มีอานาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอความเห็ น ต่ อ คณะกรรมการเกี่ ย วกั บ นโยบาย แผนงาน งบประมาณ และมาตรการ
ในการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ให้คาปรึกษา แนะนา และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งมีอานาจ เข้าไปตรวจสอบในสถานรับ
เลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ สถานพัฒนาและฟื้นฟู สถานพินิจ หรือ
สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็กของรัฐและเอกชน
ภายในเขตกรุงเทพมหานครหรือเขตจังหวัด แล้วแต่กรณี
(๓) ก าหนดแนวทางการสงเคราะห์ คุ้ ม ครองสวั ส ดิ ภ าพ และส่ ง เสริ ม ความประพฤติ เ ด็ ก ในเขต
กรุงเทพมหานครหรือเขตจังหวัด แล้วแต่กรณี
(๔) จั ด หาทุ น เพื่ อ การสงเคราะห์ คุ้ ม ครองสวั ส ดิ ภ าพ และส่ ง เสริ ม ความประพฤติ เ ด็ ก ในเขต
กรุ งเทพมหานครหรื อเขตจังหวัด แล้ ว แต่กรณี และรายงานผลการดาเนินการเกี่ยวกับการจัดหาทุน และ
การจัดการทุนต่อคณะกรรมการ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๒๑ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้กรรมการและอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงาน
ตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๒
การปฏิบัติต่อเด็ก
มาตรา ๒๒ การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คานึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสาคัญและไม่ให้ มี
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
การกระทาใดเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก หรือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อเด็กหรือ
ไม่ให้พิจารณาตามแนวทางที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๓ ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครอง
ดูแลของตนตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่นแต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ากว่ามาตรฐาน

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
114

ขั้นต่าตามที่กาหนดในกฎกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตนมิให้ตกอยู่
ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
มาตรา ๒๔ ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอาเภอ ปลัดอาเภอผู้เป็นหัวหน้าประจากิ่งอาเภอ
หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ไม่ว่าเด็ก
จะมีผู้ปกครองหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งมีอานาจและหน้าที่ดูแลและตรวจสอบสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ
สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพสถานพัฒนาและฟื้นฟูและสถานพินิจที่ตั้งอยู่ในเขตอานาจ แล้ว
รายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการ
คุ้มครองเด็กจังหวัด แล้วแต่กรณี เพื่อทราบและให้มีอานาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
พระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๕ ผู้ปกครองต้องไม่กระทาการ ดังต่อไปนี้
(๑) ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรั บ เลี้ ยงเด็กหรือสถานพยาบาลหรือไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยงเด็กหรือ
ที่สาธารณะ หรือสถานที่ใด โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน
(๒) ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใด ๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม
(๓) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จาเป็นแก่การดารงชีวิตหรือสุขภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่
ร่างกายหรือ จิตใจของเด็ก
(๔) ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก
(๕) ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
มาตรา ๒๖ ภายใต้ บั ง คั บ บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง กฎหมายอื่ น ไม่ ว่ า เด็ ก จะยิ น ยอมหรื อ ไม่ ห้ า มมิ ใ ห้ ผู้ ใ ด
กระทาการ ดังต่อไปนี้
(๑) กระทาหรือละเว้นการกระทาอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก 3ด/3ม
(๒) จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจาเป็นแก่การดารงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่อยู่ในความดูแล
ของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก 3ด/3ม
(๓) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทาให้เด็กมีความ
ประพฤติเสี่ยงต่อการกระทาผิด 3ด/3ม
(๔) โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่
ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทาของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว 3ด/3ม
(๕) บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทาด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน
หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทาผิด หรือกระทาด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหา
ประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก 3ด/3ม
(๖) ใช้ จ้ า ง หรื อ วานเด็ ก ให้ ท างานหรื อ กระท าการอั น อาจเป็ น อั น ตรายแก่ ร่ า งกายหรื อ จิ ต ใจ
มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก 3ด/3ม
(๗) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทาการใด เพื่อ
แสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็กหรือ มี
ลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก 3ด/3ม
(๘) ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนันสถานค้าประเวณี
หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า 3ด/3ม
(๙) บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทาการอันมีลักษณะลามก
อนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด 3ด/3ม
(๑๐) จาหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์ 3ด/3ม
ถ้าการกระทาความผิดตามวรรคหนึ่งมีโทษตามกฎหมายอื่นที่หนักกว่าก็ให้ลงโทษตามกฎหมายนั้น

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
115

มาตรา ๒๗ ห้ า มมิ ใ ห้ ผู้ ใ ดโฆษณาหรื อ เผยแพร่ ท างสื่ อ มวลชนหรื อ สื่ อ สารสนเทศประเภทใด


ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทาให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือ
สิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สาหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ 6ด/6ม
มาตรา ๒๙ ผู้ใดพบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพจาต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตาม
หมวด ๓ และหมวด ๔ จะต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครอง
สวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ โดยมิชักช้า
แพทย์ พยาบาล นั ก จิ ต วิ ท ยา นั ก สั ง คมสงเคราะห์ หรื อ เจ้ า หน้ า ที่ ส าธารณสุ ข ที่ รั บ ตั ว เด็ ก ไว้
รั ก ษาพยาบาล ครู อาจารย์ หรื อ นายจ้ า ง ซึ่ ง มี ห น้ า ที่ ดู แ ลเด็ ก ที่ เ ป็ น ศิ ษ ย์ ห รื อ ลู ก จ้ า ง จะต้ อ งรายงาน
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ ทราบโดยมิชักช้า หากเป็นที่ปรากฏ
ชัดหรือน่าสงสัยว่าเด็กถูกทารุณกรรมหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
การแจ้งหรือการรายงานตามมาตรานี้ เมื่อได้กระทาโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับ
ผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางปกครอง
มาตรา ๓๐ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวด ๓ และ
หมวด ๔ มีอานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เข้ า ไปในเคหสถาน สถานที่ ใ ด ๆ หรื อ ยานพาหนะใด ๆ ในระหว่ า งเวลาพระอาทิ ต ย์ ขึ้ น ถึ ง
พระอาทิตย์ตกเพื่อตรวจค้นในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทาทารุณกรรมเด็กมีการกักขังหรือเลี้ยงดู
โดยมิชอบ แต่ในกรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากไม่ดาเนินการในทันทีเด็กอาจได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
หรือถูกนาพาไปสถานที่อื่นซึ่งยากแก่การติดตามช่วยเหลือ ก็ให้มีอานาจเข้าไปในเวลาภายหลังพระอาทิตย์ตกได้
(๒) ซักถามเด็กเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าเด็กจาต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ ******
ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
(๕) เข้าไปในสถานที่อยู่ อาศัยของผู้ปกครอง สถานที่ประกอบการของนายจ้างของเด็กสถานศึกษา
ของเด็ก หรือสถานที่ที่เด็กมีความเกี่ยวข้องด้วย ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อสอบถาม
บุคคลที่อยู่ในที่นั้น ๆ และรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ในครอบครัว
การเลี้ยงดู อุปนิสัย และความประพฤติของเด็ก
ในการปฏิบั ติห น้ าที่ตาม (๑) (๒) และ (๕) พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบั ตรประจาตัว ก่อ นและ
ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอานวยความสะดวกตามสมควร
บัตรประจาตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกาหนดโดยประกาศใน ราช
กิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๑ ในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ต ามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ใ ห้ พ นั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ เ ป็ น เจ้ า พนั ก งาน
ตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๓
การสงเคราะห์เด็ก
มาตรา ๓๒ เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่
(๑) เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกาพร้า
(๒) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง
(๓) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใด ๆ เช่น ถูกจาคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ
เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท
(๔) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ
ทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
116

(๕) เด็ ก ที่ ไ ด้ รั บ การเลี้ ย งดู โ ดยมิ ช อบ ถู ก ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการกระท าหรื อ แสวงหาประโยชน์
โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทาง
ศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
(๖) เด็กพิการ
(๗) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลาบาก
(๘) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จาต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๓ ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ ได้รับแจ้ง
จากบุ คคลตามมาตรา ๒๙ หรื อพบเห็ นเด็ก ที่ พึง ได้รับ การสงเคราะห์ ตามมาตรา ๓๒ ให้ พิจารณาให้ ก าร
สงเคราะห์ตามวิธีการที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับการสงเคราะห์มีอายุ ครบสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ยังอยู่ในสภาพที่จาเป็นจะต้อง
ได้รั บ การสงเคราะห์ ต่อไป ปลั ดกระทรวงหรือผู้ ว่าราชการจังหวัด แล้ ว แต่กรณี อาจสั่ งให้ บุคคลนั้นได้รับ
การสงเคราะห์ต่อไปจนอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ก็ได้ แต่ถ้ามีเหตุจาเป็นต้องให้การสงเคราะห์ต่อไปอีกและบุคคลนั้น
มิได้คัดค้านปลั ดกระทรวงหรื อผู้ ว่าราชการจังหวัด แล้ ว แต่กรณี อาจสั่ งให้ ส งเคราะห์ บุคคลนั้นต่อไปตาม
ความจาเป็นและสมควร แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินเวลาที่บุคคลนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์
มาตรา ๓๕ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ พบเห็นเด็ก
ทีพ่ ึงได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรา ๓๒ (๑) และ (๒) หรือได้รับแจ้งจากบุคคลตามมาตรา ๒๙ ให้สอบถามเพื่อ
ทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก ******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
หมวด ๔
การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
มาตรา ๔๐ เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่
(๑) เด็กที่ถูกทารุณกรรม
(๒) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทาผิด
(๓) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จาต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๑ ผู้ใดพบเห็นหรือประสบพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีการกระทาทารุณกรรมต่อเด็กให้รีบแจ้งหรือ
รายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔
ได้รับแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่ง หรือเป็นผู้พบเห็นหรือประสบพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่ามีการกระทาทารุณกรรมต่อเด็ก
ในสถานที่ใด ให้มีอานาจเข้าตรวจค้นและมีอานาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
โดยเร็วที่สุด
การแจ้งหรือการรายงานตามมาตรานี้ เมื่อได้กระทาโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิด
ทั้งทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางปกครอง
มาตรา ๔๒ การดาเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๔๑ วรรคสอง ต้องรีบจัดให้มีการตรวจ
รั กษาทางร่ างกายและจิ ตใจทันที ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็ นสมควรต้ องสื บเสาะและพินิจเกี่ยวกั บเด็ ก และ
ครอบครั วเพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็ก ก็อาจส่ งตัวเด็กไปสถานแรกรับก่อนได้ ห รื อ
ถ้าจาเป็นต้องให้การสงเคราะห์ก็ให้พิจารณาให้การสงเคราะห์ตามมาตรา ๓๓ และถ้าจาเป็นต้องให้การฟื้นฟู
สภาพจิตใจก็ให้รีบส่งเด็กไปยังสถานพัฒนาและฟื้นฟู
การส่ งเด็กไปสถานแรกรั บ สถานพัฒ นาและฟื้นฟู หรือสถานที่อื่ นใดตามวรรคหนึ่ง ระหว่างการ
สืบเสาะและพินิจเพื่อหาวิธีการการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสม ให้กระทาได้ไม่เกินเจ็ดวัน แต่ในกรณีที่มี
เหตุจาเป็นและสมควรเพื่อประโยชน์ของเด็ก พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานอัยการจะยื่นคาร้องขอต่อศาล
ตามมาตรา ๕ เพื่อมีคาสั่งขยายระยะเวลาออกไปรวมแล้วไม่เกินสามสิบวันก็ได้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
117

มาตรา ๔๕ ห้ามมิให้เด็กซื้อหรือเสพสุราหรือบุหรี่ หรือเข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อการจาหน่ายหรือ


เสพสุราหรือบุหรี่ หากฝ่าฝืนให้พนักงานเจ้ าหน้าที่สอบถามเด็กเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและมีหนังสือเรียก
ผู้ปกครองมาร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือและมีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวิธีการและระยะเวลาในการจัดให้เด็ก
ทางานบริการสังคมหรือทางานสาธารณประโยชน์และอาจวางข้อกาหนดให้ผู้ปกครองต้องปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่ง
หรือหลายข้อตามมาตรา ๔๔ วรรคสองหรือวางข้อกาหนดอื่นใดเพื่อแก้ไข หรือป้องกันมิให้เด็กกระทาความผิด
ขึ้นอีกก็ได้ 3ด/3ม
หากปรากฏว่าผู้ปกครองของเด็กฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ให้นาบทบัญญัติมาตรา ๓๙ มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
การว่ากล่าวตักเตือน ทาทัณฑ์บน และจัดให้เด็กทางานบริการสังคมหรือทางานสาธารณประโยชน์
ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๔๖ ในกรณีที่ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ส่งเด็กเข้ารับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
หรื อในกรณี พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ อ อกข้ อ ก าหนดให้ เด็ ก ท างานบริ การสั ง คมหรื อ ทางานสาธารณประโยชน์
ตามมาตรา ๔๕ หากผู้ปกครองไม่เห็นด้วยให้มีสิทธินาคดีไปสู่ศาลตามมาตรา ๕ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่
วันรับทราบคาสั่ง
มาตรา ๔๗ วิ ธี ก ารด าเนิ น การคุ้ ม ครองสวั ส ดิ ภ าพเด็ ก นอกจากที่ บั ญ ญั ติ ไ ว้ ใ นหมวดนี้ ใ ห้ เ ป็ น ไป
ตามระเบียบที่ คณะกรรมการกาหนด
หมวด ๕
ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
มาตรา ๔๘ ในการดาเนิ น การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัส ดิภ าพ และส่ งเสริมความประพฤติแก่เด็ก
ตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีเหตุสมควรแต่งตั้ง ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพ
เด็กเพื่อกากับดูแลเด็กคนใด ก็ให้ยื่นคาขอต่อปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ให้แต่งตั้ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่สมัครใจและมีความเหมาะสมเป็นผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
โดยจะกาหนดสถานที่อยู่อาศัยของเด็กที่อยู่ในการกากับดูแลของผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กด้วยก็ได้
กรณีที่เด็กพ้นจากความปกครองดูแลของสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และ
สถานพัฒนา และฟื้นฟูแล้ว ถ้ามีเหตุผลสมควรก็ให้ผู้ปกครองสวัสดิภาพยื่นคาขอต่อปลัดกระทรวงหรือผู้ว่า
ราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ให้ตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ นั กสังคมสงเคราะห์หรือบุคคลที่สมัครใจและมีความ
เหมาะสมเป็นผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กได้
การแต่งตั้งผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กให้มีระยะเวลาคราวละไม่เกินสองปี
มาตรา ๔๙ ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กมีอานาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เยี่ ย มเยี ย น ให้ คาปรึ กษา แนะนา และตักเตือ นเกี่ ยวกับ เรื่ อ งความประพฤติ การศึก ษา และ
การประกอบอาชีพแก่เด็กที่อยู่ในการกากับดูแล
(๒) เยี่ยมเยียน ให้คาปรึกษา และแนะนาแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องการอบรมสั่งสอนและเลี้ยงดูเด็ก
ที่อยู่ในการกากับดูแล
(๓) จั ดทารายงานและความเห็ นเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของเด็กและของผู้ ปกครองเสนอต่ อ
ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ปกครองสวัสดิภาพ คณะกรรมการคณะกรรมการ
คุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด แล้วแต่กรณีเพื่อดาเนินการต่อไป
มาตรา ๕๐ ห้ามมิให้ผู้ปกครองสวัสดิภาพหรือผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุลภาพหรือ
ข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับตัวเด็ก ผู้ปกครอง ในลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณหรือสิทธิ
ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งของเด็กหรือผู้ปกครอง 6ด/6ม

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
118

บทบั ญ ญั ติ ใ นวรรคหนึ่ ง ให้ ใ ช้ บั ง คั บ แก่ พ นั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ นั ก สั ง คมสงเคราะห์ นั ก จิ ต วิ ท ยาและ


ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ ซึ่งได้ล่วงรู้ข้อมูลดังกล่าวเนื่องในการปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วย
โดยอนุโลม
ห้ ามมิให้ ผู้ ใดโฆษณาหรื อเผยแพร่ทางสื่ อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใดซึ่งข้อมูล ที่เปิดเผย
โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
หมวด ๖
สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์
สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู
มาตรา ๕๑ ปลั ด กระทรวงมี อ านาจจั ด ตั้ ง สถานรั บ เลี้ ย งเด็ ก สถานแรกรั บ สถานสง เคราะห์
สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู ได้ทั่วราชอาณาจักร และผู้ว่าราชการจังหวัดมีอานาจ
จัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู
ภายในเขตจังหวัดนั้น
หน่วยงานอื่นของรัฐนอกจากที่มีอานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้อาจจัดตั้งและดาเนินกิจการได้
เฉพาะสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยแจ้งให้ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณีทราบและ ให้
ปลัดกระทรวงหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแนะนาหรือสนับสนุนการจัดตั้งและการดาเนินการดังกล่าว
มาตรา ๕๒ ภายใต้บังคับของมาตรา ๕๑ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถาน
สงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู ต้องขอรับใบอนุญาตต่อปลัดกระทรวงหรือผู้ว่า
ราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๕๔ ในสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู
จะต้องไม่ดาเนินกิจการในลักษณะแสวงหากาไรในทางธุรกิจ และต้องมีผู้ปกครองสวัสดิภาพเป็นผู้ปกครองดูแล
และบังคับบัญชา
การดาเนินงานของสถานที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่ปลัดกระทรวงกาหนด
มาตรา ๖๑ ห้ า มมิ ใ ห้ เ จ้ า ของ ผู้ ป กครองสวั ส ดิ ภ าพ และผู้ ป ฏิ บั ติ ง านในสถานรั บ เลี้ ย งเด็ ก
สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู ทาร้ายร่างกายหรือจิตใจ
กักขัง ทอดทิ้ง หรือลงโทษเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลโดยวิธีการรุนแรงประการอื่นเว้ นแต่กระทาเท่า ที่
สมควรเพื่ออบรมสั่งสอนตามระเบียบที่รัฐมนตรีกาหนด (๖ด / ๖ม)
หมวด ๗
การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา
มาตรา ๖๓ โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนว ให้คาปรึกษา
และฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อ ส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อ
สังคม และความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๔ นั กเรี ยนและนั กศึกษาต้องแต่งกายตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและต้อง
ประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๖๕ นั กเรี ยนหรื อนั กศึกษาผู้ ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๖๔ ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบ
ที่รัฐมนตรีกาหนดและมีอานาจนาตัวไปมอบแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น
เพื่อดาเนินการสอบถามและอบรมสั่งสอนหรือลงโทษตามระเบียบในกรณีที่ไม่สามารถนาตัวไปมอบได้จะแจ้งด้วย
วาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
เมื่อได้อบรมสั่งสอนหรือลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้บริหารโรงเรียน
หรือสถานศึกษาแจ้งให้ผู้ปกครองว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอนเด็กอีกชั้นหนึ่ง

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
119

การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้กระทาเท่าที่สมควรเพื่อการอบรมสั่งสอนตามระเบียบที่รัฐมนตรี
กาหนด
มาตรา ๖๖ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวดนี้มีอานาจดาเนินการเพื่อส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและ
นักศึกษา ดังต่อไปนี้
(๑) สอบถามครู อาจารย์ หรื อ หั ว หน้ า สถานศึ ก ษา เกี่ ย วกั บ ความประพฤติ การศึ ก ษานิ สั ย และ
สติปัญญาของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ฝ่าฝืนมาตรา ๖๔
(๒) เรียกให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษานั้นกาลังศึกษาอยู่
มารับตัวนักเรียนหรือนักศึกษา เพื่อว่ากล่าวอบรมสั่งสอนต่อไป
(๓) ให้คาแนะนาแก่ผู้ปกครองในเรื่องการอบรมและสั่งสอนนักเรียนหรือนักศึกษา
(๔) เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือน หรือ ทาทัณฑ์บนว่าจะปกครองดูแลมิให้นักเรียนหรือนักศึกษา
ฝ่าฝืน มาตรา ๖๔ อีก
(๕) สอดส่องดูแลรวมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลหรือแหล่งที่ชักจูง
นักเรียนหรือนักศึกษาให้ประพฤติในทางมิชอบ
(๖) ประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตารวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่
อื่นเพื่อดาเนินการให้เป็นไปตามหมวดนี้
มาตรา ๖๗ ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายหรือระเบียบเกี่ยวกับความประพฤติของ
นั ก เรี ย นหรื อ นั ก ศึ ก ษา ให้ พ นั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ มี อ านาจเข้ า ไปในเคหสถาน สถานที่ ห รื อ ยานพาหนะใด ๆ
ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทาการเพื่อทาการตรวจสอบการฝ่าฝืน
ดังกล่าวได้
ในการปฏิ บั ติ หน้ าที่ ตามวรรคหนึ่ ง พนั กงานเจ้ าหน้ าที่ ต้ องแสดงบั ตรประจ าตั วก่ อนและให้ บุ คคล
ที่เกี่ยวข้องอานวยความสะดวกตามสมควร
บัตรประจาตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกาหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด ๘
กองทุนคุม้ ครองเด็ก
มาตรา ๖๘ ให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสานักงานปลัดกระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรียกว่า “กองทุนคุ้มครองเด็ก” เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการสงเคราะห์
คุ้มครองสวัส ดิภ าพ และส่ งเสริ มความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัว และครอบครัวอุปถัมภ์ของเด็กตาม
พระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๗๑ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทน
สานักงบประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งไม่เกินสามคน ในจานวนนี้
ต้องเป็นผู้แทนจากภาคเอกชนซึ่งเกี่ยวข้องกับงานด้ านสวัสดิการเด็กอย่างน้อยหนึ่งคน เป็นกรรมการและให้
รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายเป็นกรรมการและ
เลขานุการ

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
120

หมวด ๙
บทกาหนดโทษ
มาตรา ๘๐ ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ (๑) หรือ (๕) หรือไม่ยอมส่ง
เอกสารหรือส่งเอกสารโดยรู้อยู่ว่าเป็นเอกสารเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อถูกเรียกให้ส่งตามมาตรา ๓๐ (๔)
ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ผู้ ใ ดไม่ ย อมมาให้ ถ้ อ ยค า ไม่ ย อมให้ ถ้ อ ยค า หรื อ ให้ ถ้ อ ยค าอั น เป็ น เท็ จ ต่ อ พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๐ (๓) ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ
ทั้งจาทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคากลับให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคายังไม่เสร็จสิ้นการดาเนินคดีอาญาต่อ
บุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
มาตรา ๘๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกาหนดของศาลในการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าเขตกาหนดหรือห้ามเข้าใกล้
ตัวเด็กตามมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจาทั้งปรับ
มาตรา ๘๒ ผู้ ใดจั ดตั้งหรื อดาเนินกิจการสถานรับเลี้ ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ ส ถาน
คุ้มครองสวัสดิภาพ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูตามมาตรา ๕๒ โดยมิได้รับใบอนุญาตหรือใบอนุญาตถูกเพิกถอน
หรือหมดอายุ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจาทั้งปรับ
ถ้าผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งได้ยื่นคาขออนุญาตหรือยื่นคาขอต่อใบอนุญาตภายในระยะเวลาที่
พนักงานเจ้าหน้าที่กาหนด การดาเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
มาตรา ๘๓ เจ้าของหรือผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับสถานสงเคราะห์
สถานคุ้มครองสวัส ดิภาพ หรือสถานพัฒนาและฟื้นฟูผู้ ใดไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวง
หรื อระเบี ย บที่ออกตามความในพระราชบั ญญัตินี้ ต้องระวางโทษจาคุ ก ไม่ เกิน หนึ่งเดื อนหรื อปรับ ไม่ เ กิ น
หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ถ้าผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่งได้ดาเนินการแก้ไขหรือปฏิบัติตามคาแนะนาของพนักงานเจ้าหน้าที่
หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ แล้วการดาเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
มาตรา ๘๔ ผู้ใดกระทาการเป็นผู้ปกครองสวัสดิภาพของสถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถาน
คุ้มครองสวัสดิภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟูโดยมิได้รับแต่งตั้งตามมาตรา ๕๕ ต้องระวางโทษจาคุก ไม่เกิน
หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
มาตรา ๘๖ ผู้ใดไม่อานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๖๗ ต้องระวาง
โทษจาคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตารวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
121

พระราชบัญญัติ
การจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคาแนะนาและยินยอมของสภานิติ
บัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑”
“พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“คนพิการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจากัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจาวันหรือเข้าไปมีส่วน
ร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่ องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสารจิตใจ อารมณ์
พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใดประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความ
ต้องการจาเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใดเพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรม
ในชีวิตประจ าวัน หรื อเข้า ไปมีส่ ว นร่ ว มทางสั งคมได้ อย่ างบุ ค คลทั่ว ไปทั้งนี้ ตามประเภทและหลั กเกณฑ์ ที่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกาหนด
“ผู้ดูแลคนพิการ” หมายความว่า บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้องหรือบุคคล
อื่นใดที่รับดูแลหรือรับอุปการะคนพิการ
“แผนการจั ด การศึ ก ษาเฉพาะบุ ค คล” หมายความว่ า แผนซึ่ ง ก าหนดแนวทางการจั ด การศึ ก ษา
ที่สอดคล้องกับความต้องการจาเป็นพิเศษของคนพิการ ตลอดจนกาหนดเทคโนโลยี สิ่งอานวยความสะดวกสื่อ
บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาเฉพาะบุคคล
“เทคโนโลยีสิ่งอานวยความสะดวก” หมายความว่า เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ห รือ
บริการที่ใช้สาหรับคนพิการโดยเฉพาะ หรือที่มีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการจาเป็นพิเศษ
ของคนพิการแต่ล ะบุ คคล เพื่อเพิ่ม รั กษา คงไว้ หรือพัฒ นาความสามารถและศั กยภาพที่จะเข้า ถึง ข้ อ มู ล
ข่าวสาร การสื่อสาร รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในชีวิตประจาวันเพื่อการดารงชีวิตอิสระ
ยกเลิกโดยใช้พระราชบัญญัติปี พ.ศ.2556 ที่มีใจความต่อไปนี้
“ “ครูการศึกษาพิเศษ” หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป
หรื อ ครู ที่ มี วุ ฒิ ท างการศึ ก ษาพิ เ ศษระดั บ ปริ ญ ญาตรี ที่ ผ่ า นการประเมิ น ทั ก ษะการสอนคนพิ ก ารตามที่
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการกาหนด และปฏิบัติหน้าที่สอน จัดการศึกษา นิเทศหรือ
หน้าที่อื่นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน”
“การเรียนร่วม” หมายความว่า การจัดให้คนพิการได้เข้าศึกษาในระบบการศึกษาทั่วไปทุกระดับและ
หลากหลายรูปแบบ รวมถึงการจัดการศึกษา ให้สามารถรองรับการเรียนการสอนสาหรับคนทุกกลุ่มรวมทั้ง
คนพิการ
“สถานศึกษาเฉพาะความพิการ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่จัดการศึกษาสาหรับ
คนพิการโดยเฉพาะ ทั้งในลักษณะอยู่ประจา ไป กลับ และรับบริการที่บ้าน

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
122

“ศูนย์การศึกษาพิเศษ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษานอกระบบ หรือตามอัธยาศัย


แก่คนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต และจัดการศึกษาอบรมแก่ผู้ดูแลคนพิการ ครู
บุคลากรและชุมชน รวมทั้งการจัดสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอานวยความสะดวก บริการและความช่ วยเหลืออื่นใด
ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กาหนดในประกาศกระทรวง
“ศู น ย์ ก ารเรี ย นเฉพาะความพิ ก าร” หมายความว่ า สถานศึ ก ษาที่ จั ด การศึ ก ษานอกระบบ หรื อ
ตามอัธยาศัยแก่คนพิการโดยเฉพาะ โดยหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชนองค์กร
เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการโรงพยาบาล สถาบันทาง
การแพทย์ สถานสงเคราะห์และสถาบันทางสังคมอื่นเป็นผู้จัด ตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย การศึกษา ขั้น
พื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษาและหลักสูตรระยะสั้น
“องค์การคนพิการแต่ละประเภท” หมายความว่า องค์กรสมาชิกระดับชาติตามประเภทความพิการ
ที่ได้แจ้งชื่อไว้กับสานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสาหรับคนพิการ
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอานาจ
ออกกฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวง ระเบียบ
หรือประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
มาตรา ๕ คนพิการมีสิทธิทางการศึกษาดังนี้
(๑) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิตพร้อมทั้งได้รับ
เทคโนโลยี สิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
(๒) เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคานึงถึงความสามารถ
ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจาเป็นพิเศษของบุคคลนั้น
(๓) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการ
เรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจาเป็นพิเศษของคนพิการแต่ล ะ
ประเภทและบุคคล
มาตรา ๖ ให้ครูการศึกษาพิเศษในทุกสังกัดมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามที่กฎหมายกาหนด
ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้การศึกษา
ต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกาหนด
มาตรา ๗ ให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการ
การศึกษาสาหรับคนพิการโดยเฉพาะและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานได้รับเงิน
อุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากรัฐ
หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้เป็นไปตาม ที่
คณะกรรมการกาหนด
มาตรา ๘ ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้สอดคล้ องกับ
ความต้องการจาเป็นพิเศษของคนพิการ และต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อย
ปีละหนึ่งครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในประกาศกระทรวง

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
123

สถานศึ ก ษาในทุ ก สั ง กั ด และศู น ย์ ก ารเรี ย นเฉพาะความพิ ก ารอาจจั ด การศึ ก ษาส าหรั บ คนพิ ก าร
ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งการเรียนร่วม การจัดการศึกษาเฉพาะ
ความพิการ รวมถึงการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ การพัฒนาศักยภาพในการดารงชีวิตอิสระการพัฒนาทักษะ
พื้นฐานที่จาเป็น การฝึกอาชีพ หรือการบริการอื่นใด
ให้ ส ถานศึกษาในทุกสั งกัดจั ดสภาพแวดล้ อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการ
เทคโนโลยี สิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ที่คนพิการสามารถเข้าถึง
และใช้ประโยชน์ได้
ให้ ส ถานศึกษาระดั บ อุด มศึ ก ษาในทุกสั ง กัด มีห น้าที่รับคนพิก ารเข้า ศึ กษาในสั ดส่ ว นหรื อจ านวน
ที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกาหนด
สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย
ให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการและประสานความร่วมมือจากชุมชน
หรือนักวิชาชีพเพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาทุกระดับ หรือบริการทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการ
จาเป็นพิเศษของคนพิการ
มาตรา ๙ ให้รัฐจัดเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และ
การพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในการจัดการศึกษา
สาหรับคนพิการให้รัฐจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสม และสอดคล้อง
กับความต้องการจาเป็นพิเศษของคนพิการและสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสาหรับคนพิการ
มาตรา ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ
เทศบัญญัติ ข้อกาหนด ระเบียบหรือประกาศ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๒
การส่งเสริมการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ
ยกเลิกโดยใช้พระราชบัญญัติปี พ.ศ.2556 ที่มีใจความต่อไปนี้
“มาตรา ๑๑ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสาหรับ
คนพิการ” ประกอบด้วย
(๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(๒) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้แทนขององค์การคนพิการตาม (๔) เป็นรองประธาน
กรรมการ คนที่สอง
(๓) กรรมการโดยตาแหน่ง จานวนสิบคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการ
การศึกษาขั้น พื้น ฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีว ศึก ษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุ ดมศึ ก ษา
เลขาธิการสภาการศึกษา อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอธิบดีกรมสุขภาพจิต
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเลขาธิการสานักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(๔) กรรมการผู้ ทรงคุณวุฒิ จานวนสิบสี่คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ มีความรู้ ความสามารถความ
เชี่ ย วชาญและประสบการณ์ สู ง ด้า นการบริ ห ารการศึก ษา ด้ า นการศึ ก ษาส าหรับ คนพิ ก าร ด้ า นกฎหมาย
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านเทคโนโลยีสิ่งอานวยความสะดวกสาหรับคนพิการและด้านสังคมสงเคราะห์
ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน โดยในจานวนนี้ต้องมีบุคคลซึ่ง เป็นผู้แทนขององค์การคนพิการแต่ล ะ
ประเภทจานวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคน
ให้ผู้อานวยการสานักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อานวยการ
สานักบริหารงานการศึกษาพิเศษแต่งตั้งข้าราชการในสานักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นผู้ช่วยเลขานุการ”

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
124

มาตรา ๑๒ ให้คณะกรรมการมีอานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้


(๑) เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ แผนการจัดสรรทรัพยากรและ
แนวทางการพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการทุกระบบและทุกระดับต่อคณะรัฐมนตรี
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการตามอานาจหน้าที่
(๒) เสนอความเห็นและให้คาปรึกษาต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการกาหนดหลักสูตรการกาหนด
มาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา การประเมินและการทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้อง
กับความต้องการจาเป็นพิเศษของคนพิการ รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการการได้มาและจานวนเงินค่าตอบแทน
พิเศษของครูการศึกษาพิเศษ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนาไปปฏิบัติ
(๓) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาสาหรับคน
พิการของหน่วยงานในทุกสังกัดที่จัดการศึกษาสาหรับคนพิการ รวมทั้งอนุมัติโครงการหรือแผนงานที่จะใช้
เงินกองทุนในส่วนที่เกินกว่าอานาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน
(๔) วางระเบียบ ข้อกาหนด ประกาศ คาสั่ง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสาหรับคนพิก าร
การอุดหนุนทางการศึกษา การจัดสรรเทคโนโลยีสิ่งอานวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสาหรับ คน
พิการของสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ
(๕) ส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการการศึกษา
สาหรับคนพิการ รวมทั้งสนับสนุนโครงการเพื่อสิทธิทางการศึกษาของคนพิการ
(๖) ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการศึกษาสาหรับคนพิการอย่างบูรณาการรวมทั้ง
ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ให้มีองค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะ
ในการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ
(๗) วางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุน โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตาม
มาตรา ๒๓ (๑)
(๘) วางระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาสาหรับ
คนพิการตามมาตรา ๒๓ (๒)
(๙) วางระเบียบเกี่ยวกับการจัดทารายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนตามมาตรา ๒๓ (๓)
(๑๐) วางระเบี ย บเกี่ ย วกั บ การรั บเงิ น การจ่ า ยเงิ น การเก็ บ รั ก ษาเงิ นกองทุ น การตั ด หนี้ เป็นสู ญ
โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตามมาตรา ๒๔
(๑๑) วางระเบียบเกี่ยวกับการกาหนดมาตรฐาน ให้การรับรอง หรือเพิกถอนการรับรองแก่สถานศึกษา
ของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการศึกษาสาหรับคนพิการ และศูนย์การ
เรียนเฉพาะความพิการ
(๑๒) ปฏิบั ติงานอื่น ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่กฎหมายอื่นกาหนดให้ เป็นอานาจหน้าที่ของ
คณะกรรมการ
มาตรา ๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตาแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
เมื่อครบกาหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง ให้ดาเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ภายในหกสิบ
วัน ในระหว่างที่ยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตาแหน่งตาม
วาระนั้นอยู่ในตาแหน่งเพื่อดาเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๘ ให้ ส านั กบริ ห ารงานการศึกษาพิเศษในสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ทาหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการ รวมทั้งให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
125

มาตรา ๑๙ ให้สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่ดาเนินการจั ดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการ


เรียนร่วม การนิเทศ กากับ ติดตาม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามที่กฎหมาย
กาหนด
เพื่ อ ให้ ก ารด าเนิ น การบรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ต ามวรรคหนึ่ ง ให้ ส านั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษา
ขั้นพื้นฐานให้การสนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแก่สานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา ๒๐ ให้ ส ถานศึกษาเฉพาะความพิการของรัฐ มีหน้าที่จัดการศึกษาตามภารกิจแก่คนพิการ
โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล

หมวด ๓
กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสาหรับคนพิการ
มาตรา ๒๑ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสาหรับคนพิการ” ใน
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาการศึกษาสาหรับ
คนพิการอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง โดยกองทุนประกอบด้วย******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
126

บุคคลพิการ 9 ประเภท
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กาหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอานาจตามความในมาตรา ๓ และมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ
พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศกาหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการ
ทางการศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กาหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคน
พิการทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒”
ข้อ ๒ ประเภทของคนพิการ มีดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
(๒) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
(๓) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
(๔) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ
(๕) บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
(๖) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
(๗) บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
(๘) บุคคลออทิสติก
(๙) บุคคลพิการซ้อน
ข้อ ๓ การพิจารณาบุคคลที่มีความบกพร่องเพื่อจัดประเภทของคนพิการ ให้มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๓) บุ ค คลที่ มี ค วามบกพร่ อ งทางสติ ปั ญ ญา ได้ แ ก่ บุ ค คลที่ มี ค วามจ ากั ด อย่ า งชั ด เจนในการปฏิ บั ติ
ตน (Functioning) ในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ ความสามารถทางสติปัญญาต่ากว่า เกณฑ์ เฉลี่ยอย่า งมี
นัยสาคัญร่วมกับความจากัดของทักษะการปรับตัวอีกอย่างน้อย ๒ ทักษะ จาก ๑๐ ทักษะได้แก่ การสื่อความหมาย
การดูแ ลตนเอง การดารงชี วิ ตภายในบ้า นทั ก ษะทางสังคม / การมี ปฏิ สัม พั นธ์กั บผู้อื่ น การรู้ จัก ใช้ ทรั พ ยากร
ในชุมชน การรู้จักดูแลควบคุมตนเอง การนา ความรู้มาใช้ในชีวิตประจาวัน การทางาน การใช้เวลาว่าง การรักษา
สุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ทั้งนี้ได้แสดงอาการดังกล่าวก่อนอายุ ๑๘ ปี
(๕) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติในการทางานของสมองบางส่วน
ที่แสดงถึงความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน คือ
การอ่าน การเขียน การคิดคานวณ ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ในด้านที่บกพร่องได้ ทั้งที่มีระดับสติปัญญาปกติ
(๖) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา ได้แก่ บุคคลที่มีความบกพร่องในการเปล่งเสียงพูด เช่น
เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติ หรือบุคคลที่มีความบกพร่อง ในเรื่องความเข้าใจหรือการใช้
ภาษาพูด การเขียนหรือระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจเกี่ยวกับรูปแบบ เนื้อหาและหน้าที่ของ
ภาษา
(๗) บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ ได้แก่ บุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติ
เป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องหรือความผิดปกติ
ทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์หรือความคิดเช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้าโรคสมองเสื่อม เป็นต้น
(๘) บุคคลออทิสติก ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติของระบบการทางานของสมองบางส่ วนซึ่งส่ง ผลต่อ
ความบกพร่องทางพัฒนาการด้านภาษา ด้านสังคมและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและมีข้อจากัดด้านพฤติกรรม หรือ
มีความสนใจจากัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยความผิดปกตินั้นค้นพบได้ก่อนอายุ ๓๐ เดือน
(๙) บุคคลพิการซ้อน ได้แก่ บุคคลที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภทในบุคคล
เดียวกัน

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
127

พระราชบัญญัติ
การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
เป็นปีที่ ๕๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙
ประกอบกับมาตรา ๓๕ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทาได้โดยอาศัย
อานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึ งทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ าฯ ให้ ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคาแนะนาและยินยอมของรัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕”
มาตรา ๒๑ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๓
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“การศึกษาภาคบังคับ ” หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
“สถานศึกษา” หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ
“ผู้ ป กครอง” หมายความว่า บิ ดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ ใช้อานาจปกครอง หรือ
ผู้ ป กครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช ย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้ว ยเป็นประจา
หรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
“เด็ก” หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหกเว้นแต่เด็กที่ส อบได้
ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
“คณะกรรมการการศึ กษาขั้น พื้ นฐาน” หมายความว่า คณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้นฐานตาม
กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
“คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา” หมายความว่า คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่า
ด้วยการศึกษาแห่งชาติ
“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณีประกาศ
รายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา และการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อระหว่างสถานศึกษา
ที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับโดยให้ปิดประกาศไว้ ณ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา สานักงานองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น และสถานศึกษา รวมทั้งต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็กทราบก่อนเด็กเข้าเรียน
ในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี


ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ /ตอนที่ ๑๒๘ ก/หน้า ๑๑/๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๕

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
128

มาตรา ๖ ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา
เมื่อผู้ปกครองร้องขอ ให้สถานศึกษามีอานาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์
การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกาหนด
มาตรา ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอานาจเข้าไปในสถานที่ใดๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระ
อาทิตย์ตกหรือในเวลาทาการของสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบการเข้าเรียนของเด็ก หากพบว่ามีเด็กไม่ได้เข้าเรียน
ในสถานศึ ก ษาตามมาตรา ๕ ให้ ด าเนิ น การให้ เ ด็ ก นั้ น ได้ เ ข้ า เรี ย นในสถานศึ ก ษานั้ น แล้ ว รายงานให้
คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ทราบ
ในกรณีที่ไม่ส ามารถดาเนิ นการให้ เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่งได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงาน
ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่พบเด็กแล้วแต่กรณี เพื่อดาเนินการให้
เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา
มาตรา ๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจาตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจาตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกาหนด
มาตรา ๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอานวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๑๐ ในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ต ามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ให้ พ นั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ เ ป็ น เจ้ า พนั ก งาน
ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๑๑ ผู้ใดซึ่งมิใช่ผู้ปกครอง มีเด็กซึ่งไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาอาศัยอยู่ด้วย ต้องแจ้งสานักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่เด็กมาอาศัยอยู่
เว้นแต่ผู้ปกครองได้อาศัยอยู่ด้วยกับผู้นั้นการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกาหนด
มาตรา ๑๒ ให้กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และสถานศึกษา จัดการศึกษาเป็นพิเศษสาหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์
สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างพิการ หรือทุพพลภาพหรือเด็กซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มี
ผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส หรือเด็กที่มีความสามารถพิ เศษให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับด้วยรูปแบบและวิธีการ
ที่เหมาะสม รวมทั้งการได้รับสิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดตามความจาเป็น
เพื่อประกันโอกาสและความเสมอภาคในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ
มาตรา ๑๓ ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา ๑๔ ผู้ใดไม่อานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
หนึ่งพันบาท
มาตรา ๑๕ ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร กระทาด้วยประการใดๆ อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียน
ในสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๑๖ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ หรือแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่ง
หมื่นบาท
มาตรา ๑๗ ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้คณะกรรมการการประถมศึกษา
แห่งชาติ ทาหน้าที่แทนคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา ๑๘ ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ให้คณะกรรมการการประถมศึกษา
กรุ งเทพมหานคร คณะกรรมการการประถมศึกษาอาเภอ หรือคณะกรรมการการประถมศึกษากิ่งอาเภอ
แล้ ว แต่ ก รณี ท าหน้ า ที่ แ ทนคณะกรรมการเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา และให้ ส านั กงานการประถมศึ ก ษา
กรุงเทพมหานคร สานักงานการประถมศึกษาอาเภอหรือสานักงานการประถมศึกษากิ่งอาเภอ แล้วแต่กรณี
ทาหน้าที่แทนสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา ๑๙ ให้บรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคาสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติ
ประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึง่ ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ยังคงใช้บังคับ
ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
129

มาตรา ๒๐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอานาจ


แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับมีอานาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตารวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่ าด้วยการศึกษาแห่งชาติ


ได้กาหนดให้ บิ ดา มารดา หรื อผู้ ป กครองมีห น้าที่จัดให้ บุตรหรือบุคคลซึ่ง อยู่ในความดูแลได้รับการศึ ก ษา
ภาคบังคับจานวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาพื้นฐานจนอายุย่างเข้า ปี
ที่ สิ บ หก เว้ น แต่ จ ะสอบได้ ชั้ น ปี ที่ เ ก้ า ของการศึ ก ษาภาคบั ง คั บ จึ ง สมความปรั บ ปรุ ง กฎหมายว่า ด้ ว ยการ
ประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าวจึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
130

พระราชบัญญัติ
การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“เด็ ก ปฐมวั ย ” หมายความว่ า เด็ ก ซึ่ ง มี อ ายุ ต่ ากว่ า หกปี บ ริ บู ร ณ์ และให้ ห มายความรวมถึ ง เด็ ก
ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา
“การพัฒนาเด็กปฐมวัย” หมายความว่า การดูแล การพัฒนา และการจัดการเรียนรู้สาหรับเด็กปฐมวัย
หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย
“ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย” หมายความว่า บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ซึ่งเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
“สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ” หมายความว่า ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์บริการช่วยเหลือ
ระยะแรกเริ่ ม ของเด็ ก พิ ก ารหรื อ เด็ ก ซึ่ ง มี ค วามต้ อ งการพิ เ ศษ สถานรั บ เลี้ ย งเด็ ก และสถานสงเคราะห์
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กซึ่งมีเด็กปฐมวัยอยู่ในความคุ้มครองดูแล หรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
ที่เรียกชื่ออย่างอื่น รวมทั้งโรงเรียน ศูนย์การเรียน หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชน
และสถาบันศาสนา ที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด 1
บททั่วไป
------------------------

มาตรา ๕ การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามพระราชบัญญัตินี้ มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้


(๑) ให้มารดาได้รับการดูแลในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อให้บุตรที่อยู่ในครรภ์มีสุขภาวะและพัฒนาการที่ดี
(๒) ให้เด็กปฐมวัยอยู่รอดปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากการล่วงละเมิดไม่ว่าในทางใด
(๓) ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่ดีรอบด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
ให้สมกับวัย เพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้อย่ างสอดคล้อง
กับหลักการพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคลและความต้องการจาเป็นพิเศษ
(๔) สร้างคุณลักษณะให้เด็กปฐมวัยมีอุปนิสัยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และ
สามารถซึมซับสุนทรียะและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
(๕) บ่มเพาะเจตคติของเด็กปฐมวัยให้เคารพคุณค่าของบุคคลอื่น มีจิตวิญญาณของการอยู่ร่วมกัน
ในสังคมอย่างเสมอภาค และมีจิตสานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
(๖) ให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๖ ให้ ห น่ ว ยงานของรั ฐ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ภาคเอกชน และภาคประชาสั ง คม
ที่เกี่ยวข้อง มีภารกิจร่วมกันดาเนินการเพื่อให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัย และดาเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน
และแนวปฏิ บั ติ ที่ ดี เ กี่ ย วกั บ การพั ฒ นาเด็ ก ปฐมวั ย ตามที่ ค ณะกรรมการก าหนด รวมทั้ ง ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ ดูแล
เด็กปฐมวัย จั ดให้ เด็กปฐมวัย ซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการพัฒ นาตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับ
การพัฒนาเด็กปฐมวัยดังกล่าว
มาตรา ๗ บิดา มารดา และผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้เด็กปฐมวัยซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการพัฒนา
ตามแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๘ การจั ด การเรี ย นรู้ ข องสถานพั ฒ นาเด็ก ปฐมวัย ต้อ งเป็ น ไปเพื่ อ เตรี ย มความพร้ อ มของ
เด็กปฐมวัย แต่ต้องไม่เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการสอบแข่งขันระหว่างเด็กปฐมวัย
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
131

หมวด 2
คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
------------------------
มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตาแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐ มนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยนายกสมาคมองค์การบริห าร
ส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตาบลแห่งประเทศไทย
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จานวนแปดคน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ
ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้านการศึกษา ด้านการศึกษาพิเศษ ด้านการสาธารณสุขด้านสังคมสงเคราะห์ และ
ด้านสื่อสารมวลชน ด้านละหนึ่งคน และด้านการบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจานวนสองคน ซึ่งมาจาก
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยภาครัฐหนึ่งคนและภาคเอกชนหนึ่งคน
ให้เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้แต่งตั้งข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของ
สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจานวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๑๔ คณะกรรมการมีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทานโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษา
แห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ และให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย เสนอต่อ
คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยได้ นาไป
ปฏิบัติ
(๒) อนุมัติแผนงบประมาณและแผนการดาเนินงานประจาปีแบบบูรณาการของหน่วยงานของรัฐ
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๓) เสนอแนะและให้คาปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในการพัฒนาเด็กปฐมวัยและการจัดการศึกษาของ
เด็กปฐมวัยตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษาให้เชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
(๔) เสนอให้มีหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่จาเป็นเพื่อดาเนินการตามนโยบายระดับชาติด้านการ
พัฒนาเด็กปฐมวัยและแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๕) บูรณาการการพัฒนาเด็กปฐมวัยของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเอกชน
และภาคประชาสังคม ให้เป็นไปตามนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยและแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๖) กาหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๗) กาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับเด็กปฐมวัยเข้าศึกษาในระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษา
เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
(๘) กาหนดสมรรถนะและตัวชี้วัดการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๙) ติดตามและส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของเด็กปฐมวัย
อย่างเป็นระบบ
(๑๐) ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๑๑) ส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและครูอาจารย์สามารถดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างมีคุณภาพ
ตามหลักการและปรัชญาของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๑๒) ประสานงานและให้ข้อมูลแก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้ว ย
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือเด็กปฐมวัยซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์
หรือด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
132

(๑๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกาหนดให้เป็นหน้าที่หรืออานาจของ
คณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๘ ให้สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาทาหน้าที่เป็นสานักงานเลขานุการของคณะกรรมการ
รั บ ผิ ด ชอบงานธุ ร การ งานประชุ ม งานวิ ช าการ การศึ ก ษาข้ อ มู ล และกิ จ การต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วกั บ งานของ
คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ และมีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) รวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทานโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยและแผนพัฒนา
เด็กปฐมวัย
(๒) วิเคราะห์และเสนอแนะมาตรการเพื่อผลักดันและสนับสนุนการนานโยบายระดับชาติด้ านการ
พัฒนาเด็กปฐมวัยและแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนพิจารณาเสนอแนะแนวทางและวิธีการ
แก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการดาเนินการต่อคณะกรรมการ
(๓) จั ด ท าและพั ฒ นากลไกและระบบการประสานงานด้ า นการพั ฒ นาเด็ ก ปฐมวั ย เพื่ อ สร้ า ง
ประสิ ทธิภ าพการบริ ห ารจั ดการ ตลอดจนร่ว มมือ และประสานงานกับหน่ว ยงานของรัฐ องค์กรปกครอง
ส่ ว นท้ อ งถิ่ น ภาคเอกชน และภาคประชาสั ง คมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การพั ฒ นาเด็ ก ปฐมวั ย ในการปฏิ บั ติ ง าน
ตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การสร้ า งเครื อ ข่ า ยในระดั บ จั ง หวั ด และระดั บ อ าเภอเพื่ อ การพั ฒ นา
เด็กปฐมวัย
(๕) ให้คาแนะนาแก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
ซึ่งมีหน้าที่ดาเนินการตามภารกิจที่กาหนดไว้ในแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๖) เสนอแนะแนวทางการจัดสรรและแสวงหาทรัพยากรเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเด็กปฐมวัย
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อคณะกรรมการ
(๗) จัดให้มีการศึกษาวิจัยและการสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๘) สารวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเด็กปฐมวัยเพื่อจัดทาฐานข้อมูล รวมทั้งติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับ
เด็กปฐมวัย และเผยแพร่ข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
(๙) จั ด ท าการประเมิ น ผลการปฏิ บัติ ง านตามนโยบายระดั บชาติ ด้ านการพั ฒ นาเด็ก ปฐมวัย และ
แผนพั ฒ นาเด็ ก ปฐมวั ย เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการด าเนิ น งาน เสนอต่ อ คณะกรรมการเพื่ อ เสนอต่ อ
คณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย
เลขาธิการสภาการศึกษาอาจมอบหมายให้รองเลขาธิการสภาการศึกษาคนหนึ่ง เป็นผู้รับผิดชอบ
บังคับบัญชางานการพัฒนาเด็กปฐมวัย แล้วรายงานต่อเลขาธิการสภาการศึกษาได้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
133

หมวด 3
แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
------------------------

มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการเสนอแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความ


เห็นชอบและประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป
ในกรณีที่ส ถานการณ์เปลี่ย นแปลงไปในระหว่างที่แผนพัฒ นาเด็กปฐมวัยใช้บังคับ คณะกรรมการ
อาจดาเนินการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นได้ โดยให้นาความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๐ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรา ๑๙ ต้องกาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการใช้
บั ง คั บ แผนการบริ ห ารและพั ฒ นาเด็ ก ปฐมวั ย วิ ธี ป ฏิ บั ติ หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง รวมทั้ ง ระยะเวลาในการ
ดาเนินการให้ชัดเจน และอย่างน้อยต้องมีแนวทางการดาเนินการในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(๑) แผนงานและโครงการของหน่ ว ยงานของรั ฐ และองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และการใช้
งบประมาณด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
(๒) การบูรณาการการทางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเอกชน
และภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนการดาเนินการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๓) การส่ งเสริ มและสนับ สนุ น การดาเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒ นาเด็กปฐมวัย
ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๔) การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมในครอบครัวและชุมชนที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็ ก
ปฐมวัย รวมทั้งให้เด็กปฐมวัยอยู่รอดปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากการล่วงละเมิดไม่ว่าในทางใด
(๕) การจั ด ให้ มี ก ารพั ฒ นาบุ ค ลากรด้า นการพั ฒ นาเด็ ก ปฐมวัยให้ มีค วามสามารถ ศั ก ยภาพและ
คุณธรรม
(๖) การจัดทาฐานข้อมูลเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๑ เมื่อได้มีการประกาศแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครอง
ส่ ว นท้องถิ่น ซึ่งมีห น้ าที่ดาเนิ น การตามภารกิจที่กาหนดไว้ในแผนพัฒ นาเด็กปฐมวัย จัดทาแผนปฏิบัติการ
ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยและปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว
มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการติดตามให้ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่
ปฏิบัติการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย หรือภาคเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ดาเนินการตามแผนพัฒนาเด็ก
ปฐมวัย ปฏิบัติหรือดาเนินการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย ในกรณีที่มีการไม่ปฏิบัติหรือไม่ดาเนินการตามแผน
ดังกล่าว ให้คณะกรรมการแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาคเอกชน แล้วแต่กรณี
แก้ไขหรือระงับยับยั้งการกระทาที่ไม่เป็นไปตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยภายในเวลาที่คณะกรรมการกาหนด
เมื่อพ้นกาหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากยังไม่มีการปฏิบัติหรือดาเนินการให้ถูกต้องครบถ้วน ให้คณะกรรมการ
มีหนังสือแจ้งผู้ซึ่งมีอานาจกากับดูแลทราบพร้อมด้วยเหตุผล เพื่อพิจารณาดาเนินการตามหน้าที่และอานาจ
ต่อไป

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
134

หมวด 4
การพัฒนาเด็กปฐมวัย
------------------------

มาตรา ๒๓ ในการผลิ ต ครู ห รื อ พั ฒ นาครูด้ า นการพั ฒ นาเด็ ก ปฐมวัย ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาจัดให้
มีการเรี ย นการสอนเพื่อเสริ มสร้างจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ทักษะ และ
ความสามารถในการจั ดการเรี ย นการสอนเพื่ อ ดู แ ลและพั ฒ นาเด็ ก ปฐมวัย ตามหลั ก การและปรั ช ญาของ
การพัฒนาเด็กปฐมวัย
ในการพัฒนาผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ให้หน่วยงานที่ทาหน้าที่พัฒนาผู้ดูแลเด็กปฐมวัยจัดการเรียนการสอน
เพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณของความเป็นผู้ดูแลเด็ก มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะ และความสามารถ
ในการดูแลเด็กปฐมวัยตามหลักการพัฒนาเด็กปฐมวัย

มาตรา ๒๔ สถานพยาบาลของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชนที่มีหน้าที่


ให้บริการสาธารณสุขแก่หญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย ต้องจัดให้มีการให้บริการสุขภาพแก่มารดาและบุตรอย่าง
ทั่วถึง โดยให้บริการวางแผนครอบครัว การอนามัยเจริญพันธุ์ การฝากครรภ์ การเตรียมความพร้อมการเป็น
บิดามารดา ตลอดจนให้บริการการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน การส่งเสริมโภชนาการ การส่งเสริมพัฒนาการ และการ
ส่งเสริมการให้นมมารดาแก่บุตรตั้งแต่แรกเกิดอย่างน้อยหกเดือน
มาตรา ๒๕ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีหน้าที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย ต้องจัดให้มีการอบรมเลี้ยง
ดู เพิ่มพูนประสบการณ์ ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ และจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดให้มี
การส่ ง เสริ ม พั ฒ นาการของเด็ ก ปฐมวั ย ที่ เ หมาะสมในช่ ว งรอยต่ อ ตั้ ง แต่ ก่ อ นระดั บ อนุ บ าลจนถึ ง ระดั บ
ประถมศึกษาอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๒๖ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ในการพัฒนาเด็ก
ปฐมวัย ต้องจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัย รวมทั้งติดตามดูแลเด็กปฐมวัย
ให้ได้รับสวัสดิการและบริการด้านการคุ้มครองสิทธิอย่างทั่วถึง
มาตรา ๒๗ นอกจากการดาเนินการตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ หน่วยงานของรัฐ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขจัดการศึกษา และจัดสวัสดิการและ
ให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัย ต้องดาเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความรู้ ส่งเสริมทักษะ และสร้างเสริมเจตคติที่ดีแก่ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาเด็กปฐมวัย ในเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึง
(๒) จัดให้มีการคัดกรองที่เป็นระบบและได้มาตรฐานเพื่อค้นหาเด็กปฐมวัยที่พิการหรือมีความบกพร่อง
ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม หรือสติปัญญา หรือเด็กปฐมวัยที่ไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส หรือเด็กปฐมวัย
ที่มีความต้องการการพัฒนาเป็นพิเศษอย่างทันท่วงที และจัดให้เด็กปฐมวัยเหล่านี้เข้าถึงสิทธิและได้รับโอกาส
ในการพัฒ นาที่มีคุณภาพเป็ น พิเศษ สิ่ งอานวยความสะดวก สื่ อ และบริการ รวมทั้งความช่ว ยเหลืออื่นใด
ทางการพั ฒ นาและการศึ ก ษาที่ ส อดคล้ อ งเหมาะสมกั บ ความจ าเป็ น ทั้ ง นี้ ตามหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารที่
คณะกรรมการกาหนด
มาตรา ๒๘ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
ภาคเอกชน อาจดาเนินการแบบบูรณาการโดยจัดให้มีบริการสาธารณสุข จัดการศึกษาหรือจัดสวัสดิการและ
ให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัยในหน่วยงานเดียวกันได้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
135

พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543
(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553
มาตรา ๓/๑ การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการ
ปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จาเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น
การกระจายอ านาจตั ด สิ น ใจ การอ านวยความสะดวก และการตอบสนองความต้ อ งการของประชาชน
ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน
การจั ดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้ง บุค คลเข้าดารงต าแหน่ งหรื อปฏิบัติห น้า ที่ ต้ อ ง
คานึงถึงหลักการตามวรรคหนึ่ง
ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ให้คานึงถึงความรับ ผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของแต่ละภารกิจ
เพื่อประโยชน์ในการดาเนินการให้เป็นไปตามมาตรานี้ จะตราพระราชกฤษฎีกากาหนดหลักเกณฑ์และ
วิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติก็ได้
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. ๒๕๔5
มาตรา ๔ ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้
(๑) ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
(๒) ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
(๓) ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๕ การแบ่งราชการออกเป็นส่วนต่างๆ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้กาหนดตาแหน่ง
และอัตราเงินเดือนโดยคานึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของส่วนราชการนั้นๆ ไว้ด้วย
การบรรจุและการแต่งตั้งบุคคลให้ดารงตาแหน่งหน้าที่ราชการต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ส่วนที่ ๑
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
---------------------

มาตรา ๗ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางดังนี้
(๑) สานักนายกรัฐมนตรี
(๒) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
(๓) ทบวง ซึ่งสังกัดสานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
(๔) กรม หรื อ ส่ ว นราชการที่ เ รี ย กชื่ อ อย่ า งอื่ น และมี ฐ านะเป็ น กรม ซึ่ ง สั ง กั ด หรื อ ไม่ สั ง กั ด ส านั ก
นายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
สานักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง
ส่วนราชการตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) มีฐานะเป็นนิติบุคคล

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
136

หมวดที่ ๑
การจัดระเบียบราชการในสานักนายกรัฐมนตรี
---------------------
มาตรา ๑๑ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอานาจหน้าที่ดังนี้
(๑) กากับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วน
ภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทารายงานเกี่ยวกับ
การปฏิบัติราชการ ในกรณีจาเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใดๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรี
ก็ได้และมีอานาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค
และราชการส่วนท้องถิ่น
(๒) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกากับการบริหารราชการของกระทรวงหรือทบวงหนึ่งหรือหลาย
กระทรวงหรือทบวง
(๓) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตาแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการ
ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
(๔) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการสานักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้
ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมให้ได้รับ
เงินเดือนในสานักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม
(๕) แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดารงตาแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง
กรมหนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้ง
มีฐานะเสมือนเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมาดารงตาแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้าเป็น
การแต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ตาแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
(๖) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี หรือ
เป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆ และกาหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง
(๗) แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสานักนายกรัฐมนตรี
(๘) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและ มี
ประสิทธิภาพเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
(๙) ดาเนินการอื่นๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย
ระเบียบตาม (๘) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ใช้บังคับได้

หมวดที่ 2
การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง
---------------------
มาตรา ๑๘ ให้จัดระเบียบราชการของกระทรวงดังนี้
(๑) สานักงานรัฐมนตรี
(๒) สานักงานปลัดกระทรวง
(๓) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางกระทรวงเห็นว่าไม่มีความจาเป็นจะไม่แยก
ส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ให้ส่วนราชการตาม (๒) และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตาม (๓) มีฐานะเป็นกรม
กระทรวงใดมีความจาเป็นจะต้องมีส่วนราชการเพื่อทาหน้าที่จัดทานโยบายและแผน กากับ เร่งรัด และ
ติดตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
เพื่อให้มีสานักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายใน ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงก็ได้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
137

ให้ยกเลิกความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534


และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๐ ภายใต้บั งคับ บทบั ญญัติ มาตรา ๑๑ ในกระทรวงหนึ่ง ให้ มีรัฐ มนตรีว่าการกระทรวง
คนหนึ่ง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการกาหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงาน
ในกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือที่ คณะรัฐมนตรีกาหนดหรืออนุมัติ
โดยจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
ในกรณีที่มีรั ฐ มนตรี ช่ว ยว่ าการกระทรวง การสั่ งหรือการปฏิบั ติราชการของรัฐ มนตรีช่ว ยว่ า การ
กระทรวง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบหมาย
ในกรณีที่รั ฐ มนตรี ว่าการกระทรวงเป็นผู้ บั งคั บบัญชาส่ ว นราชการที่เรีย กชื่ ออย่ างอื่นและมี ฐ านะ
เป็นกรม แต่มิได้สังกัดกระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงปฏิบัติ
ราชการแทนก็ได้
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา 21 ให้ยกเลิกตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๑ ในกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอานาจหน้าที่ดังนี้
(๑) รับผิดชอบควบคุมราชการประจาในกระทรวง แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติ
ราชการ กากับการทางานของส่วนราชการในกระทรวงให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประสานการปฏิบัติงานของ
ส่วนราชการในกระทรวงให้มีเอกภาพสอดคล้องกัน รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ของส่วนราชการในกระทรวง
(๒) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี
(๓) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสานักงานปลัดกระทรวง และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของ
สานักงานปลัดกระทรวง
ในการปฏิบัติราชการของปลัดกระทรวงตามวรรคหนึ่ง จะให้มีรองปลัดกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้ช่วยสั่ง
และปฏิบัติราชการตามที่ปลัดกระทรวงมอบหมายก็ได้
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๒๒ สานักงานรัฐมนตรีมีอานาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่ง
เป็นข้าราชการการเมื องเป็นผู้ บังคับบั ญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสานัก งาน
รัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง
คนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีก็ได้
มาตรา ๒๓ ส านั กงานปลั ดกระทรวงมี อานาจหน้ าที่ เ กี่ยวกับราชการประจาทั่ว ไปของกระทรวง
และราชการที่ ค ณะรั ฐ มนตรี มิ ไ ด้ ก าหนดให้ เ ป็ น หน้ า ที่ ข องกรมใดกรมหนึ่ ง ในสั ง กั ด กระทรวงโดยเฉพาะ
รวมทั้ ง ก ากั บ และเร่ ง รั ด การปฏิ บั ติ ร าชการของส่ ว นราชการในกระทรวงให้ เ ป็น ไปตามนโยบายแนวทาง
และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ในกรณีที่กระทรวงมีทบวงอยู่ในสังกัดและยังไม่ส มควรจัดตั้งสานักงานปลั ดทบวงตามมาตรา ๒๕
วรรคสาม จะให้สานักงานปลัดกระทรวงทาหน้าที่สานักงานปลัดทบวงด้วยก็ได้
มาตรา ๒๔ การจั ด ระเบี ย บราชการในทบวงซึ่ ง มี ฐ านะเที ย บเท่ า กระทรวง ให้ อ นุ โ ลมตามการ
จัดระเบียบราชการของกระทรวงซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘ ถึงมาตรา ๒๓

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
138

หมวดที่ 3
การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
---------------------
หมวดที่ 4
การจัดระเบียบราชการในกรม
---------------------
มาตรา ๓๑ กรมซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อาจแบ่งส่วนราชการ
ดังนี้
(๑) สานักงานเลขานุการกรม
(๒) กองหรื อ ส่ ว นราชการที่ มี ฐ านะเที ย บกอง เว้ น แต่ บ างกรมเห็ น ว่ า ไม่ มี ค วามจ าเป็ น จะไม่ แยก
ส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจาเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (๑) หรือ (๒) ก็ได้
ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕34 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. ๒๕๔6
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
สาหรับสานักงานตารวจแห่งชาติจะแบ่งส่วนราชการให้เหมาะสมกับราชการของตารวจก็ได้
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. ๒๕53
มาตรา ๓๖ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมจะมีเลขาธิการ ผู้อานวยการ หรือ
ตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบ
ในการปฏิ บั ติ ร าชการของส่ ว นราชการนั้ น ให้ เ ป็ น ไปตามที่ ก ฎหมายก าหนด และจะให้ มี ร อ งเลขาธิ ก าร
รองผู้อานวยการหรือตาแหน่งรองของตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น หรือผู้ช่วยเลขาธิการ ผู้ช่วยผู้อานวยการ
หรือตาแหน่ งผู้ช่ว ยของตาแหน่ งที่เรีย กชื่ออย่างอื่น หรือมีทั้งรองเลขาธิการ และผู้ช่วยเลขาธิการ หรือทั้ง
รองผู้อานวยการและผู้ช่วยผู้อานวยการ หรือทั้งตาแหน่งรองและตาแหน่งผู้ช่วยของตาแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และช่วยปฏิบัติราชการแทนก็ได้
หมวดที่ 5
การปฏิบัติราชการแทน
---------------------
ให้ยกเลิกความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕34
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และให้ใช้
ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓๘ อานาจในการสั่ ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดาเนินการอื่ น
ที่ผู้ดารงตาแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดาเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคาสั่งใด หรือมติของ
คณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคาสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้น
มิได้กาหนดเรื่ องการมอบอานาจไว้เป็ นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ ามเรื่องการมอบอานาจไว้ ผู้ดารงตาแหน่งนั้น
อาจมอบอานาจให้ผู้ดารงตาแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในพระราชกฤษฎีกา
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕50
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งอาจกาหนดให้มีการมอบอานาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตลอดจนการมอบ
อานาจให้ทานิติกรรมสัญญา ฟ้องคดีและดาเนินคดี หรือกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขในการมอบ
อานาจหรือที่ผู้รับมอบอานาจต้องปฏิบัติก็ได้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
139

ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับอานาจในการอนุญาตตามกฎหมายที่บัญญัติให้ต้องออกใบอนุญาต
หรือที่บัญญัติผู้มีอานาจอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ ในกรณีเช่นนั้นให้ผู้ดารงตาแหน่งซึ่งมีอานาจตามกฎหมาย
ดังกล่าว มีอานาจมอบอานาจให้ข้าราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ว่าราชการจังหวัดได้ ตามที่เห็นสมควร
หรือตามที่คณะรัฐมนตรีกาหนด ในกรณีมอบอานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอานาจ
มอบอานาจได้ต่อไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้มอบอานาจกาหนด
ในกรณีตามวรรคสาม เพื่อประโยชน์ในการอานวยความสะดวกแก่ประชาชนจะตราพระราชกฤษฎีกา
กาหนดรายชื่อกฎหมายที่ผู้ดารงตาแหน่งซึ่งมีอานาจตามกฎหมายดังกล่ าวอาจมอบอานาจตามวรรคหนึ่ ง
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กาหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวก็ได้
การมอบอานาจให้ทาเป็นหนังสือ
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕50
ให้ยกเลิกความในมาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕34 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓๙ เมื่อมีการมอบอานาจแล้ว ผู้รับมอบอานาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอานาจนั้น โดยผู้มอบอานาจ
จะกาหนดให้ผู้รับมอบอานาจมอบอานาจให้ผู้ดารงตาแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนต่อไป โดยจะกาหนดหลักเกณฑ์
หรือเงื่อนไขในการใช้อานาจนั้นไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่ในกรณีการมอบอานาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด คณะรัฐมนตรี
จะกาหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมอบอานาจต่อไปให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือ
หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดก็ได้
มาตรา ๔๐ ในการมอบอ านาจ ให้ ผู้ มอบอ านาจพิ จารณาถึ งการอ านวยความสะดวกแก่ ประชาชน
ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตาแหน่งของผู้รับมอบอานาจและ
ผู้รับมอบอานาจต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบอานาจตามวัตถุประสงค์ของการมอบอานาจดังกล่าว
เมื่อได้มอบอานาจแล้ว ผู้มอบอานาจมีหน้าที่กากับ ดูแล และติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้ รั บ
มอบอานาจ และให้มีอานาจแนะนาหรือแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอานาจได้
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕50

หมวดที่ 6
การรักษาราชการแทน
---------------------
มาตรา ๔๘ ให้ผู้รักษาราชการแทนตามความในพระราชบัญญัตินี้มีอานาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
ในกรณีที่ผู้ดารงตาแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดารงตาแหน่งนั้นมอบหมายหรือมอบอานาจให้
ผู้ดารงตาแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน ให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอานาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือ
มอบอานาจ
ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดารงตาแหน่งใดเป็นกรรมการหรือให้มีอานาจหน้าที่อย่างใด ให้
ผู้รักษาราชการแทนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอานาจหน้าที่เป็นกรรมการหรือมีอานาจหน้าที่เช่นเดียวกับ ผู้
ดารงตาแหน่งนั้นในการรักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วย แล้วแต่กรณี
มาตรา ๔๙ การเป็ น ผู้ รั ก ษาราชการแทนตามพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ไ ม่ ก ระทบกระเทื อ นอ านาจ
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวง หรือผู้ดารงตาแหน่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง ปลัดทบวง อธิบดี
หรือผู้ดารงตาแหน่งเทียบเท่าอธิบดี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่จะแต่งตั้งข้ าราชการอื่นเป็นผู้รักษาราชการแทน
ตามอานาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ดารงตาแหน่งรองหรือผู้ช่วยพ้นจากความ
เป็นผู้รักษาราชการแทนนับแต่เวลาที่ผู้ได้รับแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งเข้ารับหน้าที่
มาตรา ๕๐ ความในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับแก่ราชการในกระทรวงที่เกี่ยวกับทหาร

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
140

หมวดที่ 7
การบริหารราชการในต่างประเทศ
---------------------

ส่วนที่ 2
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
---------------------

มาตรา ๕๑ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคดังนี้
(๑) จังหวัด
(๒) อาเภอ

หมวดที่ 1
จังหวัด
---------------------
มาตรา ๕๒ ให้รวมท้องที่หลายๆ อาเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
แผ่นดิน พ.ศ. 2534
เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด
ยื่นคาขอจัดตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดในพระราชกฤษฎีกา ในกรณีนี้
ให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕50
ให้ เ พิ่ ม ความต่ อ ไปนี้ เ ป็ น มาตรา ๕๒/๑ แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บบริ ห ารราชการแผ่น ดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๕๒/๑ ให้จังหวัดมีอานาจภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
(๑) นาภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์
(๒) ดู แ ลให้ มี ก ารปฏิ บั ติ แ ละบั ง คั บ การให้ เ ป็ น ไปตามกฎหมาย เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความสงบเรี ย บร้ อ ย
และเป็นธรรมในสังคม
(๓) จัดให้มีการคุ้มครอง ป้องกัน ส่งเสริม และช่วยเหลือประชาชนและชุมชนที่ด้อยโอกาสเพื่อ ให้ได้รับ
ความเป็นธรรมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในการดารงชีวิตอย่างพอเพียง
(๔) จัดให้มีการบริการภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอหน้า รวดเร็วและมีคุณภาพ
(๕) จัดให้มีการส่งเสริม อุดหนุน และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สามารถดาเนิ นการ
ตามอ านาจและหน้ า ที่ ข ององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น และให้ มี ขี ด ความสามารถพร้ อ มที่ จะด าเนินการ
ตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวง ทบวง กรม
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐมอบหมาย
หรือที่มีกฎหมายกาหนด
เพื่ อ ประโยชน์ ในการปฏิบั ติห น้า ที่ ข องจัง หวั ดตามวรรคหนึ่ ง ให้ เ ป็ น หน้ าที่ ข องส่ ว นราชการและ
หน่วยงานของรัฐที่ประจ าอยู่ ในเขตจังหวัดที่จะต้องปฏิบัติให้ส อดคล้ องและเป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวั ด
ตามมาตรา ๕๓/๑
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕50

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
141

ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๕๓ ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรมการจังหวัด ทาหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น กับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกาหนด
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕50
ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคน
ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทาการอัยการจังหวัด ผู้บังคับ
การต ารวจภู ธ รจั ง หวั ด และหั ว หน้ า ส่ ว นราชการประจ าจั ง หวั ด จากกระทรวงและทบวงต่ า งๆ เว้ น แต่
กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจาอยู่ในจังหวัด กระทรวง หรือทบวงละหนึ่งคน เป็นกรมการจังหวัดและหัวหน้า
สานักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. ๒๕46
ถ้ากระทรวงหรือทบวงมีหัวหน้าส่วนราชการประจาจังหวัดซึ่งกรมต่างๆ ในกระทรวงหรือทบวงนั้น
ส่งมาประจาอยู่ในจังหวัดมากกว่าหนึ่ งคน ให้ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวงกาหนดให้หัวหน้าส่วนราชการ
ประจาจังหวัดหนึ่งคนเป็นผู้แทนของกระทรวงหรือทบวงในคณะกรรมการจังหวัด
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรจะแต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการ
ประจาจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นกรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉพาะการ
ปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งก็ได้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๓/๑ และมาตรา ๕๓/๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๕๓/๑ ให้ จั งหวัดจั ดทาแผนพัฒ นาจังหวัด ให้ ส อดคล้ อ งกับ แนวทางการพัฒ นาเศรษฐกิ จ
และสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ในจังหวัด
ในการจัดทาแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือ
ร่วมกันระหว่างหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทาการอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค
หรื อ ราชการบริ ห ารส่ ว นกลางและผู้ บ ริ ห ารองค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ทั้ ง หมดในจั ง หวั ด รวมทั้ ง ผู้ แ ทน
ภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน
การจัดทาแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง จานวนและวิธีการสรรหาผู้แทนภาคประชาสังคมและ
ผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในพระราชกฤษฎีกา
เมื่อประกาศใช้แผนพัฒนาจังหวัดแล้ว การจัดทาแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และการดาเนินกิจการของส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐทั้งปวงที่กระทาในพื้นที่จังหวัดต้องสอดคล้อง
กับแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕50
มาตรา ๕๓/๒ ให้นาความในมาตรา ๕๓/๑ มาใช้บังคับกับการจัดทาแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ด้ว ย
โดยอนุโลม
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕50

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
142

มาตรา ๕๗ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอานาจและหน้าที่ดังนี้
ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบั ญ ญัติร ะเบี ย บบริ หารราชการแผ่ น ดิ น
พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๑) บริหารราชการตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และตามแผนพัฒนาจังหวัด
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕50
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐ มนตรี
สั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๓) บริหารราชการตามคาแนะนาและคาชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวงในเมื่อไม่ ขัดต่อกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคาสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
(๔) กากับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการซึ่งประจาอยู่ในจังหวัดนั้น
ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่า ยอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
ข้าราชการในสานักงานตรวจเงินแผ่นดินและข้าราชการครู ให้ปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ หรือคาสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีหรือ
ยับยั้งการกระทาใดๆ ของข้าราชการในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคาสั่งของกระทรวง
ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราวแล้วรายงานกระทรวง ทบวง
กรม ที่เกี่ยวข้อง
(๕) ประสานงานและร่ วมมือกับข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุล าการ ข้าราชการฝ่ ายอัยการ
ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสานักงานตรวจเงินแผ่นดินและข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการ
และหัวหน้าส่วนราชการในระดับเขตหรือภาค ในการพัฒนาจังหวัดหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
ให้ยกเลิกความใน (๖) และ (๗) ของมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติร ะเบียบบริ หารราชการ
แผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๖) เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง หรือเสนอขอจัดตั้งงบประมาณต่อสานักงบประมาณตาม
มาตรา ๕๒ วรรคสาม และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
(๗) กากับดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕50
(๘) กากับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มีอานาจทา
รายงานหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดาเนินงานขององค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรี
เจ้าสังกัดองค์การของรัฐบาลหรือรั ฐวิสาหกิจ
(๙) บรรจุ แต่งตั้ง ให้บาเหน็จ และลงโทษข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดตามกฎหมาย และ
ตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีมอบหมาย

หมวดที่ 2
อาเภอ
---------------------
มาตรา ๖๑ ในจังหวัดหนึ่งให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่าอาเภอ
การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนเขตอาเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๖๑/๑ มาตรา ๖๑/๒ และมาตรา ๖๑/๓ แห่งพระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๖๑/๑ ให้อาเภอมีอานาจหน้าที่ภายในเขตอาเภอ ดังต่อไปนี้
(๑) อานาจและหน้าที่ตามที่กาหนดในมาตรา ๕๒/๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) โดยให้นาความ
ในมาตรา ๕๒/๑ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
143

(๒) ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการบริการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในลักษณะศูนย์บริการร่วม


(๓) ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อร่วมมือกับชุมชนในการดาเนินการให้มีแผนชุมชน
เพื่อรองรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด และกระทรวง ทบวง กรม
(๔) ไกล่เกลี่ยหรือจัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมตาม
มาตรา ๖๑/๒ และมาตรา ๖๑/๓
มาตรา ๖๑/๒ ในอ าเภอหนึ่ ง ให้ มี ค ณะบุ ค คลผู้ ท าหน้ า ที่ ไ กล่ เ กลี่ ย และประนอมข้ อ พิ พ าทของ
ประชาชนที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลาเนาอยู่ในเขตอาเภอ ในเรื่องที่พิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดินมรดก และ
ข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท หรือมากกว่านั้น ตามที่กาหนดในพระราชกฤษฎีกา
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******
มาตรา ๖๑/๓ บรรดาความผิดที่มีโทษทางอาญาที่เกิดขึ้นในเขตอาเภอใดหากเป็นความผิดอันยอม
ความได้ และมิใช่เป็ น ความผิ ดเกี่ย วกับ เพศ ถ้าผู้ เสี ยหายและผู้ ถูกกล่ าวหายินยอม หรือแสดงความจานง
ให้นายอาเภอของอาเภอนั้นหรือปลัดอาเภอที่นายอาเภอดังกล่าวมอบหมายเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามควรแก่กรณี
และเมื่อผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหายินยอมเป็นหนังสือตามที่ไกล่เกลี่ยและปฏิบัติตามคาไกล่เกลี่ยดังกล่าวแล้ว
ให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีที่ผู้ เสี ย หายและผู้ ถูกกล่ าวหาไม่ยินยอมตามที่ไ กล่ เ กลี่ ย ให้ จาหน่ายข้อพิพาทนั้น แต่เ พื่ อ
ประโยชน์ในการที่ผู้เสียหายจะไปดาเนินคดีต่อไป อายุความการร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายอาญาให้เริ่มนับ
แต่วันที่จาหน่ายข้อพิพาท
หลักเกณฑ์และวิธีในการดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕50
มาตรา ๖๒ ในอาเภอหนึ่ง มีนายอาเภอคนหนึ่งเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการ
ในอาเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอาเภอ
นายอาเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย
บรรดาอานาจและหน้ าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอาเภอหรือนายอาเภอซึ่งกฎหมายกาหนด
ให้กรมการอาเภอและนายอาเภอมีอยู่ให้โอนไปเป็นอานาจและหน้าที่ของนายอาเภอ
มาตรา ๖๕ นายอาเภอมีอานาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้ากฎหมายใดมิได้บัญญัติว่า
การปฏิบัติตามกฎหมายนั้ นเป็ นหน้ าที่ของผู้ ใดโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของนายอาเภอที่จะต้องรักษาการ
ให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐ มนตรี
สั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๓) บริหารราชการตามคาแนะนาและคาชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ มีหน้าที่ตรวจการอื่น
ซึ่งคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ในเมื่อไม่ขัดต่อ
กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคาสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของ
นายกรัฐมนตรี
(๔) ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอาเภอตามกฎหมาย

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
144

ส่วนที่ 3
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
---------------------

มาตรา ๖๙ ท้องถิ่น ใดที่เห็ น สมควรจัดให้ ราษฎรมีส่ ว นในการปกครองท้อ งถิ่น ให้ จัดระเบีย บการ
ปกครองเป็นราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๗๐ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นดังนี้
(๑) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๒) เทศบาล
(๓) สุขาภิบาล
(๔) ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกาหนด
มาตรา ๗๑ การจัดระเบียบการปกครององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และราชการ
ส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกาหนด ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 4 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ มาตรา 71/1 มาตรา 71/2
มาตรา 71/3 มาตรา 71/4 มาตรา 71/5 มาตรา 71/6 มาตรา 71/7 มาตรา 71/8 มาตรา 71/9
และมาตรา 71/10 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

ส่วนที่ 4
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
---------------------

มาตรา ๗๑/๑ ให้ มี ค ณะกรรมการพั ฒ นาระบบราชการคณะหนึ่ ง เรี ย กโดยย่ อ ว่ า “ก.พ.ร.”


ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน รัฐมนตรีหนึ่งคน
ที่ น ายกรั ฐ มนตรี ก าหนดเป็ น รองประธาน ผู้ ซึ่ ง คณะกรรมการการกระจายอ านาจให้ แ ก่ อ งค์ ก รปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมอบหมายหนึ่งคน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินสิบคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้
ความเชี่ยวชาญในทางด้านนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ การบริหารรัฐกิจ การบริหารธุรกิจ การเงิน
การคลัง จิตวิทยาองค์การ และสังคมวิทยาอย่างน้อยด้านละหนึ่งคน
ในกรณี ที่ มี ค วามจ าเป็ น เพื่ อ ให้ ก ารปฏิ บั ติ ง านบรรลุ ผ ล คณะรั ฐ มนตรี จ ะก าหนดให้ ก รรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคนต้องทางานเต็มเวลาก็ได้
เลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตาแหน่ง
การแต่ ง ตั้ ง กรรมการผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ให้ ค ณะรั ฐ มนตรี พิ จ ารณาจากรายชื่ อ บุ ค คลที่ ไ ด้ รั บ การเสนอ
โดยวิธีการสรรหา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาที่คณะรัฐมนตรีกาหนด
มาตรา ๗๑/๑๐ ก.พ.ร. มีอานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะและให้คาปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐ
อย่างอื่น ซึ่งรวมถึงโครงสร้า งระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐานทางคุณธรรมและ
จริยธรรม ค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติราชการอื่น ให้เป็นไปตามมาตรา ๓/๑ โดยจะเสนอแนะให้มีการกาหนด
เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการก็ได้
(๒) เสนอแนะและให้ คาปรึ กษาแก่ห น่วยงานอื่นของรัฐ ที่มิได้อยู่ในกากับของราชการฝ่ายบริหาร
ตามที่หน่วยงานดังกล่าวร้องขอ

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
145

(๓) รายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีการดาเนินการขัดหรือไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กาหนด
ในมาตรา ๓/๑
(๔) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกาหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานในการจัดตั้ง การรวม การโอน การยุบ
เลิก การกาหนดชื่อ การเปลี่ยนชื่อ การกาหนดอานาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการภายในของส่วนราชการ
ที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
(๕) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการตราพระราชกฤษฎีกา และกฎที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. ๒๕45
(๖) ดาเนินการให้มีการชี้แจงทาความเข้าใจแก่ส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชน
ทั่วไปรวมตลอดทั้งการฝึกอบรม
(๗) ติดตาม ประเมินผล และแนะนาเพื่อให้มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ และรายงาน ต่อ
คณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งข้อเสนอแนะ
(๘) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายว่าด้วยการ
ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม รวมตลอดทั้งกาหนดแนวทางปฏิบัติ ในกรณีที่เป็นปัญหา มติของคณะกรรมการ
ตามข้อนี้ เมือ่ ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
(๙) เรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณา
(๑๐) จัดทารายงานประจาปีเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เสนอต่อ
คณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
(๑๑) แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการ คณะอนุ ก รรมการ หรื อ คณะท างาน เพื่ อ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ต่ า งๆ ตามที่
มอบหมาย และจะกาหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนอื่นด้วยก็ได้
(๑๒) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กาหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. ๒๕45

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการจาเป็นต้องกาหนดขอบเขต


อานาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ให้ชัดเจนเพื่อมิให้มีการปฏิบัติงานซ้าซ้อนกันระหว่างส่วนราชการต่างๆ
และเพื่อให้การบริหารงานในระดับกระทรวงมีเอกภาพสามารถดาเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐ มนตรี
กาหนดได้ และสมควรเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการมอบอานาจให้ปฏิบัติราชการแทนให้ครบถ้วนชัดเจนเพื่อไม่ให้
เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติราชการ และกาหนดอานาจและหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการควบคุมดูแลการ
ปฏิบัติราชการของข้าราชการ ซึ่งปฏิบัติราชการในเขตจังหวัดให้เหมาะสมขึ้น ประกอบกับประกาศของคณะ
ปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในการบริหารราชการแผ่นดินได้
ประกาศใช้ บั ง คั บ มาเป็ น เวลานานแล้ ว สมควรแก้ ไ ขปรั บ ปรุ ง เป็ น พระราชบั ญ ญั ติ เ สี ย ในคราวเดี ย วกั น
จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
146

พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546
เป็นปีที่ 58 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
อาศัยอานาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมาตรา
3/1 และมาตรา 71/10 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริห ารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการ
บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใด และ
จะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกาหนดตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร.
มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกากับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
“รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
“ข้าราชการ” หมายความรวมถึงพนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ มาตรา ๕ ให้
นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

หมวด ๑
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
-----------------------

มาตรา ๖ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้


(๑) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
(๒) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(๓) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
(๔) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจาเป็น
(๕) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
(6) ประชาชนได้รับการอานวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
(7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่าเสมอ

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
147

หมวด ๒
การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
-----------------------

มาตรา 7 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมาย


เพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจน
ประโยชน์สูงสุดของประเทศ
มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดาเนินการ โดยถือ
ว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) การก าหนดภารกิ จ ของรั ฐ และส่ ว นราชการต้ อ งเป็น ไปเพื่ อ วั ตถุ ป ระสงค์ ตามมาตรา 7 และ
สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
(๒) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้
เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
(๓) ก่อนเริ่มดาเนิน การ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดี และผลเสียให้ ครบถ้ ว น
ทุกด้าน กาหนดขั้นตอนการดาเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดาเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณี
ที่ ภ ารกิ จ ใดจะมี ผ ลกระทบต่ อ ประชาชน ส่ ว นราชการต้ อ งด าเนิ น การรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของประชาชน
หรือชี้แจงทาความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น
(๔) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวม
และประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการ
ให้เหมาะสม
(๕) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดาเนินการ ให้ส่วนราชการดาเนินการแก้ไขปัญหาและ
อุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบ ข้อบังคับที่ออก
โดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดาเนินการแก้ไข ปรับปรุงโดยเร็ว
ต่อไปและให้แจ้ง ก.พ.ร. ทราบด้วย
การดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกาหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้
ก.พ.ร. จะกาหนดแนวทางการดาเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้

หมวด ๓
การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิต์ ่อภารกิจของรัฐ
-----------------------

มาตรา 9 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้


(๑) ก่อนจะดาเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทาแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
(๒) การกาหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (๑) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลา
และงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดาเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ
และตัวชี้วัดความสาเร็จของภารกิจ
(3) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ ตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกาหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กาหนด

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
148

(4) ในกรณีการปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน


ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จ ะต้องดาเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติ
ราชการให้เหมาะสม
มาตรา 10 ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการหรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียงหรือ
ต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกาหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารราชการ
แบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ให้ส่วนราชการมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าคณะผู้ แทน
ในต่างประเทศ เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการในจั งหวัดหรือในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี สามารถ
ใช้อานาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจาเป็นและบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรา 11 ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการ
เรี ย นรู้ อย่ างสม่าเสมอ โดยต้องรั บ รู้ ข้อมูล ข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนามา
ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริม
และพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากร
ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและมี ก ารเรี ย นรู้ ร่ ว มกั น ทั้ ง นี้ เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการปฏิ บั ติ ร าชการของส่ ว นราชการ
ให้สอดคล้องกันการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา 12 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
เพือ่ กาหนดมาตรการกากับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทาความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยวิธีการ
อื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๖ ให้ส่วนราชการจัดทาแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นโดยจัดทาเป็นแผนห้าปีซึ่งต้อง
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง
ปรับแก้ไขตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕62
ในแต่ล ะปี งบประมาณ ให้ ส่ ว นราชการจัดทาแผนปฏิบัติราชการประจาปี โดยให้ ระบุสาระส าคัญ
เกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการ
รายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
เมื่อรั ฐ มนตรี ให้ความเห็ นชอบแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใดตามวรรคสองแล้ว ให้ ส านัก
งบประมาณดาเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสาเร็จในแต่ละภารกิจตามแผนปฏิบัติ
ราชการดังกล่าว
ในกรณีที่ส่วนราชการมิได้เสนอแผนปฏิบัติราชการในภารกิจใดหรือภารกิจใดไม่ได้รับความเห็นชอบ
จากรัฐมนตรี มิให้สานักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสาหรับภารกิจนั้น
เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทารายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจาปี
เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
มาตรา 17 ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณกาหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทาแผนปฏิบัติ
ราชการเพื่อขอรับงบประมาณ ให้สานักงบประมาณและ ก.พ.ร. ร่วมกันกาหนดแนวทางการจัดทาแผนปฏิบัติ
ราชการตามมาตรา 16 ให้ ส ามารถใช้ ไ ด้ กั บ แผนปฏิ บัติ ร าชการที่ ต้อ งจั ด ท าตามกฎหมายว่า ด้ ว ยวิธี การ
งบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เพิ่มภาระงานในการจัดทาแผนจนเกินสมควร

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
149

มาตรา 18 เมื่อมีการกาหนดงบประมาณรายจ่ายประจาปีตามแผนปฏิบัติราชการของส่วนราช การ


ใดแล้ว การโอนงบประมาณจากภารกิจหนึ่งตามที่กาหนดในแผนปฏิบัติราชการไปดาเนินการอย่างอื่น ซึ่งมีผล
ทาให้ภารกิจเดิมไม่บรรลุเป้าหมายหรือนาไปใช้ในภารกิจใหม่ที่มิได้กาหนดในแผนปฏิบัติราชการ จะกระทาได้
ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ปรับแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกันแล้ว
การปรั บ แผนปฏิบั ติร าชการตามวรรคหนึ่งจะกระทาได้เฉพาะในกรณีที่งานหรือภารกิจใดไม่อาจ
ดาเนินการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้ หรือหมดความจาเป็นหรือไม่เป็นประโยชน์ หรือหากดาเนินการต่อไป
จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินความจาเป็น หรือมีความจาเป็นอย่างอื่นอันไม่อาจหลักเลี่ยงได้ ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง
สาระสาคัญของแผนปฏิบัติราชการ
มาตรา 19 เมื่อนายกรัฐมนตรี พ้นจากตาแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่สรุปผลการปฏิบั ติ
ราชการและให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่สั่งการ ทั้งนี้ เพื่อนายกรัฐมนตรีคน
ใหม่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากาหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป

หมวด 4
การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
-----------------------

มาตรา 20 เพื่อให้การปฏิบัติราชการภายในส่วนราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ส่วนราชการ


กาหนดเป้าหมาย แผนการทางาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ และงบประมาณที่จะต้องใช้
ในแต่ละงานหรือโครงการ และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่วกันด้วย
มาตรา 21 ให้ส่วนราชการจัดทาบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกาหนด
ให้ ส่ ว นราชการค านวณรายจ่ า ยต่ อ หน่ ว ยของงานบริ ก ารสาธารณะที่ อ ยู่ ใ นความรั บ ผิ ด ชอบของ
ส่วนราชการนั้นตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกาหนด และรายงานให้สานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ
ก.พ.ร. ทราบ
ในกรณีที่รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะใดของส่วนราชการใดสูงกว่ารายจ่ายต่อหน่วย
ของงานบริการสาธารณะประเภทและคุณภาพเดียวกันหรือคล้างคลึงกันของส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการนั้น
จัดทาแผนการลดรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะดังกล่าวเสนอสานักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง
และ ก.พ.ร. ทราบ และถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายในสิบห้าวันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติตาม
แผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้
มาตรา 22 ให้สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสานักงบประมาณ
ร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดาเนินการอยู่ เพื่อรายงาน
คณะรัฐมนตรีสาหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดาเนินการต่อไปหรือยุบเลิก และ
เพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกาหนด
ในการประเมินความคุ้มค่าตามวรรคหนึ่ง ให้คานึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจ ความเป็น
ไปได้ของภารกิจ หรือโครงการที่ดาเนินการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้และรายจ่ายที่ต้องเสียไปก่อน
และหลังที่ส่วนราชการดาเนินการด้วย
ความคุ้มค่าตามมาตรานี้ ให้หมายความถึงประโยชน์หรือผลเสียทางสังคมและประโยชน์หรือผลเสียอื่น
ซึ่งไม่อาจคานวณเป็นตัวเงินได้ด้วย

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
150

มาตรา 23 ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดาเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรมโดยพิจารณา


ถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้ ราคา และประโยชน์
ระยะยาวของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกัน
ในกรณี ที่ วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการใช้ เ ป็ น เหตุ ใ ห้ ต้ อ งค านึ ง ถึ ง คุ ณ ภาพและการดู แ ละรั ก ษาเป็ น ส าคั ญ
ให้สามารถกระทาได้โดยไม่ต้องถือราคาต่าสุด ในการเสนอซื้อหรือจ้างเสมอไป
ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลระเบียบเกี่ยวกับการพัสดุปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ส่วนราชการ
ดาเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรา 24 ในการปฏิบั ติภ ารกิจใด หากส่ ว นราชการจาเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือความ
เห็นชอบจากส่วนราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือมติคณะรัฐมนตรีกาหนด
ให้ส่วนราชการที่มีอานาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบดังกล่าว แจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่
ยื่นคาขอทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคาขอ
ในกรณีที่เรื่องใดมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรื อมติคณะรัฐมนตรีกาหนดขั้นตอน
การปฏิบัติไว้ และขั้นตอนการปฏิบัตินั้นต้องใช้ระยะเวลาเกินสิบห้าวัน ให้ส่วนราชการที่มีอานาจอนุญาต อนุมัติ
หรือให้ความเห็นชอบ ประกาศกาหนดระยะเวลาการพิจารณาไว้ให้ส่วนราชการอื่นทราบ
ส่วนราชการใดที่มีอานาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ค วามเห็นชอบ มิได้ดาเนินการให้แล้วเสร็จตามวรรค
หนึ่งหรือวรรคสอง หากเกิดความเสียหายใดขึ้น ให้ถือว่าข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าส่วนราชการ
นั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความล่าช้านั้นมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของตน
มาตรา 25 ในการพิจ ารณาวินิจฉัยชี้ข าดปั ญหาใดๆ ให้ เป็นหน้าที่ของส่ ว นราชการที่รับผิ ด ชอบ
ในปัญหานั้นๆ จะต้องพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว การตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาวินิจฉัย ให้ดาเนินการได้
เท่าที่จาเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ในการพิจารณาเรื่องใดๆ โดยคณะกรรมการ เมื่ อคณะกรรมการมีมติเป็นประการใดแล้ว ให้มติของ
คณะกรรมการผูกพันส่วนราชการซึ่งมีผู้แทนร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย แม้ว่าในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องนั้น
ผู้แทนของส่วนราชการที่เป็นกรรมการจะมิได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยก็ตาม ถ้ามีความเห็นแตกต่างกันสองฝ่าย
ให้บันทึกความเห็นของกรรมการฝ่ายข้างน้อยไว้ให้ปรากฏในเรื่องนั้นด้วย
ความผูกพันที่กาหนดไว้ในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับการวินิจฉัยในปัญหาด้านกฎหมาย
มาตรา 26 การสั่งราชการโดยปกติให้กระทาเป็นลายลักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชา
มีความจาเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้ผู้รับคาสั่งนั้นบันทึก
คาสั่งด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและเมื่อได้ปฏิบัติราชการตามคาสั่งดังกล่าวแล้ว ให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่ง
ราชการทราบในบันทึกให้อ้างอิงคาสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย

หมวด 5
การลดขั้นตอนการปฏิบัตงิ าน
-----------------------
มาตรา 27 ให้ ส่ ว นราชการจั ดให้ มีการกระจายอานาจการตัดสิ น ใจเกี่ยวกับ การสั่ ง การอนุญ าต
การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดาเนินการอื่นใดของผู้ดารงตาแหน่งใดให้แก่ผู้ดารงตาแหน่งที่มีหน้าที่
รับผิดชอบในการดาเนินการในเรื่องนั้นโดยตรง เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ ทั้งนี้
ในการกระจายอานาจการตัดสินใจดังกล่าว ต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน
เมื่อได้มีการกระจายอานาจการตัดสินใจตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ส่วนราชการกาหนดหลักเกณฑ์การ
ควบคุม ติดตาม และกากับดูแลการใช้อานาจและความรับผิดชอบของผู้รับมอบอานาจและผู้มอบอานาจไว้ด้วย
หลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องไม่สร้างขั้นตอนหรือการกลั่นกรองงานที่ไม่จาเป็นในการปฏิบัติงานของข้าราชการ
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
151

ในการนี้ หากสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมแล้วจะเป็นการลดขั้นตอนเพิ่มประสิทธิภาพ
และประหยั ดค่ าใช้ จ่ า ย รวมทั้งไม่เกิดผลเสี ย หายแก่ร าชการ ให้ ส่ ว นราชการดาเนิน การให้ ข้ าราชการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมตามความเหมาะสมและกาลังเงินงบประมาณ
เมื่อส่วนราชการใดได้มีการกระจายอานาจการตัดสิ นใจตามวรรคหนึ่ง หรือได้มีการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศหรือโทรคมนาคมตามวรรคสองแล้ว ให้ส่วนราชการนั้นเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
มาตรา 28 เพื่อประโยชน์ ในการกระจายอานาจการตัดสิ นใจตามมาตรา 27 ก.พ.ร. ด้ว ยความ
เห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอานาจการตัดสินใจ
ความรั บ ผิ ด ชอบระหว่ า งผู้ ม อบอ านาจและผู้ รั บ มอบอ านาจ และการลดขั้ น ตอนในการปฏิ บั ติ ร าชการ
ให้ส่วนราชการถือปฏิบัติก็ได้
มาตรา 29 ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือการติดต่อประสานงานระหว่าง
ส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการแต่ละแห่งจัดทาแผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลาการดาเนินการ รวมทั้ง
รายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนเปิดเผยไว้ ณ ที่ทาการของส่วนราชการและในระบบเครือข่าย
สารสนเทศของส่วนราชการ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจดูได้
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๒๙ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ
วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
การบริ การประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างส่ว นราชการด้วยกัน ต้องกระทาโดยใช้
แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางที่สานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) กาหนดด้วย
ปรับแก้ไขตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕62
มาตรา 30 ในกระทรวงหนึ่ ง ให้ เป็นหน้าที่ของปลั ดกระทรวงที่จะต้องจัดให้ ส่ ว นราชการภายใน
กระทรวงที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออานวยความ
สะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายหรือกฎอื่นใด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อ
สอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติเรื่องใดๆ ที่เป็นอานาจหน้าที่ของส่วนราชการในกระทรวง
เดียวกัน โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว
มาตรา 31 ในศูนย์บริการร่วมตามมาตรา 30 ให้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวต่างๆ และดาเนินการ
ส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อดาเนินการต่อไป โดยให้มีข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อ ง
กับอานาจหน้าที่ของทุกส่วนราชการในกระทรวง รวมทั้งแบบคาขอต่างๆ ไว้ใ ห้พร้อมที่จะบริการประชาชนได้
ณ ศูนย์บริการร่วม
ให้เป็นหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องจัดพิมพ์รายละเอียดของเอกสารหลักฐานที่ประชาชน
จะต้ อ งจั ด หามาในการขออนุ มั ติ ห รื อ ขออนุ ญ าตในแต่ ล ะเรื่ อ งมอบให้ แ ก่ เ จ้ า หน้ า ที่ ข องศู น ย์ บ ริ ก ารร่ ว ม
และให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมที่จะต้องแจ้งให้ประชาชนที่มาติดต่อได้ทราบในครั้งแรกที่มา
ติดต่อ และตรวจสอบว่าเอกสารหลักฐานที่จาเป็นดังกล่าวนั้นประชาชนได้ยื่นมาครบถ้วนหรือไม่ พร้อมทั้ง
แจ้งให้ทราบถึงระยะเวลาที่จะต้องใช้ดาเนินการในเรื่องนั้น
ในการยื่ น คาร้ อ งหรื อ คาขอศูน ย์ บริ ก ารร่ว มตามมาตรา 30 ให้ ถือว่าเป็นการยื่น ต่ อส่ ว นราชการ
ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตามที่ระบุไว้ในกฎหมายหรือกฎแล้ว
ในการด าเนิ น การตามวรรคหนึ่ ง หากมี ปั ญ หาหรื อ อุ ป สรรคในการปฏิ บั ติ ราชการให้ เ ป็ นไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎหมายหรือกฎเรื่องใด ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแจ้งให้ ก.พ.ร. ทราบ
เพื่อดาเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายหรือกฎนั้นต่อไป

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
152

มาตรา 32 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอาเภอ และปลัดอาเภอผู้เป็นหัวหน้าประจากิ่งอาเภอ จัดให้


ส่วนราชการที่รับผิดชอบดาเนินการเกี่ยวกับการบริการประชาชนในเรื่องเดียวกันหรือต่อเนื่องกันในจังหวัด
อาเภอ หรือกิ่งอาเภอนั้น ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอาเภอหรือที่ว่าการกิ่ง
อาเภอ หรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร โดยประกาศให้ประชาชนทราบ และให้นาความในมาตรา 30 และ
มาตรา 31 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

หมวด 6
การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
-----------------------

ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๓๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา 33 ให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจาเป็น หรือสมควร
ที่จะยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงการดาเนินการต่อไปหรือไม่ โดยคานึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท
แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกาลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่าของภารกิจและสถานการณ์อื่ น
ประกอบกัน
ปรับแก้ไขตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕62
กาหนดเวลาในการจัดให้มีการทบทวนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่ ก.พ.ร. กาหนด
ในกรณีที่ส่วนราชการเห็นควรยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงภารกิจ ให้ส่วนราชการดาเนินการ
ปรับปรุงอานาจหน้าที่ โครงสร้าง และอัตรากาลัง ของส่วนราชการให้สอดคล้องกัน และเสนอคณะรัฐมนตรี
พิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อดาเนินการต่อไป
ในกรณีที่ ก.พ.ร. พิจารณาแล้วเห็นว่าภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการใดรับผิดชอบดาเนินการอยู่สมควร
เปลี่ ย นแปลง ยกเลิ ก หรื อ เพิ่ ม เติ ม ให้ เ สนอคณะรั ฐ มนตรี เ พื่ อ พิ จ ารณา เมื่ อ คณะรั ฐ มนตรี เ ห็ น ชอบแล้ ว
ให้ส่วนราชการนั้นดาเนินการปรับปรุงภารกิจ อานาจหน้าที่ โครงสร้างและอัตรากาลังของส่วนราชการนั้น
ให้สอดคล้องกัน
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๓4 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา 34 ในกรณีที่มีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใดทั้งหมดหรือบางส่วน ห้ามมิให้จัดตั้ง
ส่วนราชการที่มีภารกิจหรืออานาจหน้าที่ที่มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับส่ วนราชการดังกล่าวขึ้นอีก
เว้นแต่มีเหตุผลและความจาเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ หรือรักษาผลประโยชน์
ส่วนรวมของประชาชน และโดยได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.ร.
ปรับแก้ไขตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕62
มาตรา 35 ส่วนราชการมีหน้าที่สารวจ ตรวจสอบ และทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และ
ประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อดาเนินการยกเลิก ปรับปรุง หรือจัดให้มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หรือประกาศขึ้นใหม่ ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาวการณ์ หรือสอดคล้องกับความจาเป็นทางเศรษฐกิจ
สั ง คม และความมั่ น คงของประเทศ ทั้ ง นี้ โดยค านึ ง ถึ ง ความสะดวกรวดเร็ ว และลดภาระของประชาชน
เป็นสาคัญ
ในการดาเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการนาความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของประชาชนมา
ประกอบการพิจารณาด้วย

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
153

มาตรา 36 ในกรณีที่สานัก งานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหรือ


ประกาศที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใด ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
ไม่เอื้ออานวยต่อการพัฒนาประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการหรือการดารงชีวิตของประชาชน
หรือก่อให้เกิดภาระหรือความยุ่งยากต่อประชาชนเกินสมควร ให้สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแนะ
ต่อส่วนราชการนั้นเพื่อดาเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกโดยเร็วต่อไป
ในกรณี ที่ ส่ ว นราชการที่ ไ ด้ รั บ การเสนอแนะไม่ เ ห็ น ชอบด้ ว ยกั บ ค าเสนอแนะของส านั ก งาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา ให้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย

หมวด 7
การอานวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
-----------------------

มาตรา 37 ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือติดต่อประสานงานระหว่าง
ส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการกาหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงานและประกาศให้ประชาชน
และข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป ส่วนราชการใดมิได้กาหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานใด และ ก.พ.ร.
พิจารณาเห็นว่างานนั้นมีลักษณะที่สามารถกาหนดระยะเวลาแล้วเสร็จได้ หรือส่วนราชการได้กาหนดระยะเวลา
แล้วเสร็จไว้ แต่ ก.พ.ร. เห็นว่าเป็นระยะเวลาที่ล่าช้าเกินสมควร ก.พ.ร. จะกาหนดเวลาแล้วเสร็จให้ส่วนราชการ
นั้นต่องปฏิบัติก็ได้
ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องตรวจสอบให้ข้าราชการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จ ตาม
กาหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 38 เมื่อส่ ว นราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็ นหนังสื อจากประชาชนหรือจากส่ ว น
ราชการด้วยกันเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอานาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้อง
ตอบคาถามหรือแจ้งการดาเนินการให้ทราบภานในสิบห้าวันหรือภายในกาหนดเวลาที่กาหนดไว้ตามมาตรา 37
มาตรา 39 ให้ส่วนราชการจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการเพื่ออานวยความสะดวก
ให้แก่ประชาชนที่จะสามารถติดต่อสอบถามหรือขอข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ
ของส่วนราชการ
ระบบเครือข่ายสารสนเทศตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทาในระบบเดียวกับที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารจัดให้มีขึ้นตามมาตรา 40
มาตรา 40 เพื่ออานวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่ วนราชการ
ทุกแห่ง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น
ในกรณีที่ส่ ว นราชการใดไม่อาจจัดให้ มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่ ว นราชการได้อาจร้องขอ
ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดาเนินการจัดทาระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ
ดังกล่าวก็ได้ ในการนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะขอให้ส่วนราชการให้ความช่วยเหลือ
ด้านบุคลากร ค่าใช้จ่าย และข้อมูลในการดาเนินการก็ได้
มาตรา 41 ในกรณีที่ส่วนราชการได้รับคาร้องเรียน เสนอแนะ หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติ
ราชการ อุปสรรค ความยุ่งยาก หรือปัญหาอื่นใดจากบุคคลใด โดยมีข้อมูลและสาระตามสมควรให้เป็นหน้าที่
ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องพิจารณาดาเนินการให้ลุล่วงไป และในกรณีที่มีที่อยู่ของบุคคลนั้นให้แจ้งให้บุคคล
นั้นทราบผลการดาเนินการด้วย ทั้งนี้ อาจแจ้งให้ทราบผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วน ราชการ
ด้วยก็ได้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
154

ในกรณีการแจ้งผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ มิให้เปิดเผยชื่อหรือที่อยู่ของผู้ร้องเรียน เสนอแนะ


หรือแสดงความคิดเห็น
มาตรา 42 เพื่ อ ให้ ก ารปฏิ บั ติ ร าชการเป็ นไปอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิภ าพและเกิ ด ความสะดวกรวดเร็ว
ให้ส่วนราชการที่ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้นพิจารณาโดยทันที และในกรณีที่เห็นว่า การ
ร้องเรียนหรือเสนอแนะนั้นเกิดจากความเข้าใจผิดหรือความไม่เข้าใจในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ
ให้ชี้แจ้งผู้ร้องเรียนหรือเสนอแนะทราบภายในสิบห้าวัน
การร้องเรียนหรือเสนอแนะตามวรรคสอง จะแจ้งผ่าน ก.พ.ร. ก็ได้
ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใดมีลักษณะตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.พ.ร.
แจ้ ง ให้ ส่ ว นราชการที่ อ อก กฎ ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ หรื อ ประกาศนั้ น ทราบเพื่ อ ด าเนิ น การปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ข
หรือยกเลิก ต่อไปโดยเร็ว
มาตรา 43 การปฏิบัติราชการในเรื่องใดๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย เว้นแต่กรณีมีความ
จาเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การรักษาความ
สงบเรียบร้อยของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล จึงให้กาหนดเป็นความลับได้เท่าที่จาเป็น
มาตรา 44 ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี รายการ
เกี่ยวกับการจัดซื้อหรือจัดจ้างที่จะดาเนินการในปีงบประมาณนั้น และสัญ ญาใดๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อ
หรือจัดจ้างแล้วให้ประชาชนสามารถขอดูหรือตรวจสอบได้ ณ สถานที่ทาการของส่วนราชการ และระบบ
เครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบหรือ
เสียเปรียบหรือความเสียหายแก่บุคคลใดในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง
ในการจัดทาสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง ห้ามมิให้มีข้อความหรือข้อตกลงห้ามมิให้เปิดเผยข้อความหรือ
ข้อตกลงในสั ญญาดังกล่ าว เว้น แต่ข้อมูล ดังกล่าวเป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือ
ข้อบังคับที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางราชการ หรือในส่วนที่เป็นความลับทางการค้า

หมวด 8
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
-----------------------

มาตรา 45 นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลตามมาตรา 9 (3) แล้ว ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะ


ผู้ ป ระเมินอิส ระดาเนิ น การประเมิน ผลการปฏิบัติราชการของส่ ว นราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ
คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร. กาหนด
มาตรา 46 ส่วนราชการอาจจัดให้มีการประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับหรือหน่วยงาน
ในส่ ว นราชการก็ ไ ด้ ทั้ ง นี้ การประเมิ น ดั ง กล่ า วต้ อ งกระท าเป็ น ความลั บ และเป็ น ไปเพื่ อ ประโยชน์ แ ห่ ง
ความสามัคคีของข้าราชการ
มาตรา 47 ในการประเมิ น ผลการปฏิ บัติ ข องข้ า ราชการเพื่ อ ประโยชน์ใ นการบริห ารงานบุคคล
ให้ ส่ ว นราชการประเมิน โดยคานึ ง ถึงผลการปฏิบั ติง านเฉพาะตัว ของข้า ราชการผู้ นั้ นในต าแหน่ งที่ ป ฏิ บั ติ
ประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่หน่วยงานที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดได้รับจากการปฏิบัติงานของข้าราชการผู้นั้น

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
155

มาตรา 48 ในกรณี ที่ ส่ ว นราชการใดด าเนิ นการให้ บ ริ ก ารที่ มี คุ ณ ภาพและเป็น ไปตามเป้า หมาย
ที่กาหนด รวมทั้งเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบาเหน็จ
ความชอบแก่ส่วนราชการหรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้นเพื่อนาไปใช้
ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่ ก.พ.ร. กาหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา 49 เมื่อส่วนราชการใดได้ดาเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงานและผลสัมฤทธิ์
โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐหรือสามารถดาเนินการตามแผนการลดค่าใช้จ่ าย
ต่ อ หน่ ว ยได้ ต ามหลั ก เกณฑ์ ที่ ก.พ.ร. ก าหนด ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรั ฐ มนตรี จั ด สรรเงิ น รางวั ล การเพิ่ ม
ประสิ ทธิภ าพให้ แก่ส่ ว นราชการนั้ น หรื อให้ ส่ ว นราชการใช้เงินงบประมาณเหลื อจ่ายของส่ ว นราชการนั้น
เพื่อนาไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสั งกัด ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กาหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

หมวด 9
บทเบ็ดเตล็ด
-----------------------

มาตรา 50 เพื่อให้ การบริ ห ารราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ


ก.พ.ร. โดยความเห็ น ชอบของคณะรั ฐ มนตรี อาจกาหนดให้ ส่ ว นราชการต้องปฏิบัติการใดนอกเหนือจาก
ที่กาหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ รวมทั้งกาหนดมาตรการอื่นเพิ่มเติมจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 48 และมาตรา
49 ก็ได้
มาตรา 51 ในกรณี ที่ พ ระราชกฤษฎี ก านี้ ก าหนดให้ ส่ ว นราชการต้ อ งจั ด ท าแผนงานในเรื่ อ งใด
และมีกฎหมายฉบับอื่นกาหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทาแผนงานในเรื่องเดียวกันทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อส่วน
ราชการได้ จั ด ท าแผนงานตามกฎหมายฉบั บ ใดฉบั บ หนึ่ ง แล้ ว ให้ ถื อ ว่ า ส่ ว นราชการนั้ น ได้ จั ด ท าแผนตาม
พระกฤษฎีการนี้ด้วยแล้ว
มาตรา 52 ให้ องค์กรปกครองส่ ว นท้อ งถิ่ นจัดท าหลั ก เกณฑ์ก ารบริห ารกิจ การบ้ านเมือ งที่ ดี ต าม
แนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและการ
อานวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด 5 และ
หมวด 7
ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน
การจัดทาหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 53 ให้องค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริห ารกิจการบ้านเมือ งที่ ดี
ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้
ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่าองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง หรือมี
แต่ไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกานี้ ให้แจ้งรัฐมนตรีซึ่งมี หน้าที่กากับดูแลองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจ
เพื่อพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจนั้นดาเนินการให้ถูกต้องต่อไป

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตารวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
156

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คื อ โดยที่มีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การ


ปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการนี้ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เพื่อให้การบริ หารราชการแผ่ นดิน เป็ น ไปเพื่อประโยชน์สุ ขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
มีประสิทธิภาพเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจาเป็น และประชาชน
ได้รับการอานวยความสะดวกและได้รับ การตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมรการประเมินผลการ ปฏิบั ติ
ราชการอย่ างสม่าเสมอ และเนื่ องจากมาตรา 3/1 แห่ งพระราชบั ญญั ติร ะเบีย บบริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น
พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545
บัญญัติให้การกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่ งการให้ส่วนราชการและข้าราชการ
ปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกระทาโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาจึงจาเป็นต้อง
ตราพระราชกฤษฎีกานี้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
157

พระราชบัญญัติ
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่สมควรมีกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
จึ งทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ าฯ ให้ ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคาแนะนาและยินยอมของรัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒539”
มาตรา ๒๑ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ วิ ธี ป ฏิ บั ติ ร าชการทางปกครองตามกฎหมายต่ า งๆ ให้ เ ป็ น ไปตามที่ ก าหนดใน
พระราชบั ญญัตินี้ เว้น แต่ในกรณีที่กฎหมายใดกาหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โ ดยเฉพาะ
และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ากว่าหลักเกณฑ์ที่กาหนด
ในพระราชบัญญัตินี้
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กาหนดในกฎหมาย
มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
(๒) องค์กรที่ใช้อานาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ
(๓) การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง
(๔) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดาเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี
การบังคับคดี และการวางทรัพย์
(๕) การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
(๖) การดาเนินงานเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ
(๗) การดาเนินงานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารใน
การป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ
(๘) การดาเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
(๙) การดาเนินกิจการขององค์การทางศาสนา
การยกเว้ น ไม่ ใ ห้ น าบทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ นี้ ม าใช้ บั ง คั บ แก่ ก ารด าเนิ น กิ จ การใดหรื อ กั บ
หน่วยงานใดนอกจากที่กาหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการ
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๖๐ ก/หน้า ๑/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
158

มาตรา ๕ ในพระราชบัญญัตินี้
“วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดาเนินการของเจ้าหน้าที่
เพื่อจัดให้มีคาสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดาเนินการใดๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้
“การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดาเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้
มีคาสั่งทางปกครอง
“คาสั่งทางปกครอง” หมายความว่า
(๑) การใช้ อ านาจตามกฎหมายของเจ้ า หน้ า ที่ ที่ มี ผ ลเป็ น การสร้ า งนิ ติ สั ม พั น ธ์ ขึ้ น ระหว่ า งบุ ค คล
ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล
ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ
การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ
(๒) การอื่นที่กาหนดในกฎกระทรวง

ตัวอย่างคาสั่งทางการปกครอง
สิ่งที่เป็นคาสั่งทางปกครอง เช่น
1. การสั่งลงโทษทางวินัย
2. การสั่งเลื่อนเงินเดือน
3. การสั่งแต่งตั้ง โยกย้าย
4. การอนุมัติให้ไปราชการ
5. การอนุญาตให้ลา
6. การอนุมัติเกียรติบัตร ประกาศนียบัตร ฯลฯ
7. การวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ออกใบประกอบวิชาชีพ
8. การออกใบรับรองทางการศึกษา
9. การจดทะเบียนสมรส
10. การสั่งอนุมัติ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขายหรือให้เช่า
11. การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน
12. การสั่งให้พักราชการ หรือออกจากราชการไว้ก่อน
13. คาสั่งสลายการชุมนุม
14. สัญญาณไฟจราจร กรวยจราจร ที่ห้ามจอดเส้นขาว-แดง
15. การประกาศผลสอบ การประกาศผลการเลือกตั้ง
16. คาสั่งให้ข้าราชการไปช่วยปฏิบัติราชการเป็นการชั่วคราว
17. คาสั่งอนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากราชการ
18. ประกาศสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แก้ไขประกาศการขึ้นบัญชีและการ
ยกเลิกบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งหรือเลื่อนและแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งผู้อานวยการ
โรงเรียน
19. ประกาศผลการประกวดราคาจ้างเหมา
20. การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
159

สิ่งที่ไม่เป็นคาสั่งทางปกครอง เช่น
1. การออกกฎ เช่น ประกาศกาหนดเขตพื้นที่การศึกษา
2. การแจ้งข่าวสาร
3. การแถลงการณ์ การอธิบายให้ความเข้าใจ
4. คาสั่งที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป มิได้กระทบต่อสิทธิของผู้รับคาสั่งเป็นการเฉพาะ เช่น คาสั่ง
ให้ครูจัดการเรียนการสอนประจาวิชา การมอบหมายให้เป็นครูประจาชั้น การมอบหมายงานส่งเสริมการ
เรียนรู้ต่างๆ (การดาเนินงานภายในของผู้บังคับบัญชา)
5. คาสั่ งที่อยู่ ในขั้น ตอนการเตรี ย มการหรื อ พิจารณาเพื่ อ ออกคาสั่ ง ทางปกครอง และเจ้าหน้ า ที่
ผู้พิจารณาจะเปลี่ยนแปลงเช่นใดก็ได้ (ยังไม่ถึงมือผู้รับคาสั่ง)
6. คาสั่ งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง เป็นเพียงขั้นตอนการดาเนินการภายในของ
เจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในการที่ผู้มีอานาจจะวินิจฉัยหรือดาเนินการทางวินัยต่อไป ยังไม่มีผลกระทบ
ต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดี คาสั่ง ดังกล่าวจึงไม่ใช่คาสั่งทางปกครอง อ้างอิงจากคาสั่ง
ศาลปกครองสูงสุ ดที่ 638/2547 (คาสั่งศาลปกครองสูงสุ ดที่ 240/2547,177/2546 วินิจฉัยไว้
ในทานองเดียวกัน)
“กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ
ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใด
เป็นการเฉพาะ
“คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท” หมายความว่า คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ มีก าร
จัดองค์กรและวิธีพิจารณาสาหรับการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
“เจ้าหน้าที”่ หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใช้อานาจหรือได้รับมอบให้ใช้อานาจ
ทางปกครองของรัฐในการดาเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ
รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม
“คู่กรณี” หมายความว่า ผู้ยื่นคาขอหรือผู้คัดค้านคาขอ ผู้อยู่ในบังคับหรือจะอยู่ในบังคับของคาสั่ง
ทางปกครอง และผู้ ซึ่ ง ได้ เ ข้ า มาในกระบวนการพิ จ ารณาทางปกครองเนื่ อ งจากสิ ท ธิ ข องผู้ นั้ น จะถู ก
กระทบกระเทือนจากผลของคาสั่งทางปกครอง
มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอานาจออกกฎกระทรวงและ
ประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาตรา ๗ ให้ มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง”
ประกอบด้ ว ยประธานกรรมการคนหนึ่ ง ปลั ด ส านั ก นายกรั ฐ มนตรี ปลั ด กระทรวงมหาดไทย เลขาธิ ก าร
คณะรั ฐ มนตรี เลขาธิ ก ารคณะกรรมการข้ า ราชการพลเรื อ น เลขาธิ ก ารคณะกรรมการกฤษฎี ก า และ
ผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเก้าคนเป็นกรรมการ
ให้ คณะรั ฐ มนตรี แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยแต่งตั้งจากผู้ ซึ่งมีความ
เชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือการบริหารราชการแผ่ น ดิน
แต่ผู้นั้นต้องไม่เป็นผู้ดารงตาแหน่งทางการเมือง

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
160

ให้ เ ลขาธิ ก ารคณะกรรมการกฤษฎี ก าแต่ ง ตั้ ง ข้ า ราชการของส านั ก งานคณะกรรมการกฤษฎี ก า


เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๘ ให้กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระดารงตาแหน่งคราวละสามปี กรรมการซึ่งพ้นจาก
ตาแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตาแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติ
หน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการใหม่

หมวด ๒
คาสั่งทางปกครอง
---------------

ส่วนที่ ๑
เจ้าหน้าที่
---------------
มาตรา ๑๒ คาสั่งทางปกครองจะต้องกระทาโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอานาจหน้าที่ในเรื่องนั้น
มาตรา ๑๓ เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทาการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
(๑) เป็นคู่กรณีเอง
(๒) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
(๓) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใดๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้อง
นับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น
(๔) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี
(๕) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
(๖) กรณีอื่นตามที่กาหนดในกฎกระทรวง

แผนผังการนับญาติ
บุพการี หรือ ทวด
ผู้สืบสันดาน
ไม่ว่าชั้นใด ๆ ปู่ย่า ตายาย บุพการี
บิดามารดา
พี่

ตัวเรา

น้อง บุตร
หลาน ผู้สืบสันดาน
เหลน

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
161

ลูกพีล่ กู น้อง 3. ปู่ย่า ตายาย


นับได้เพียง
3 ชั้น 2. บิดามารดา ลุงป้า น้าอา
1. ลูกพี่ลูกน้อง

ตัวเรา

2. บุตร

3. หลาน

ทางแต่งงานนับ ปู่ย่า ตายาย 1


ได้เพียง 2 ชั้น

บิดามารดา 2

ตัวเรา + คู่สมรส

บุตร 1

หลาน 2

มาตรา ๑๔ เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๑๓ หรือคู่กรณีคัดค้านว่าเจ้าหน้าที่ผู้ใดเป็นบุคคลตามมาตรา ๑๓


ให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ผู้ นั้ น หยุ ด การพิ จ ารณาเรื่ อ งไว้ ก่ อ น และแจ้ ง ให้ ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาเหนื อ ตนขึ้ น ไปชั้ น หนึ่ ง ทราบ
เพื่อที่ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวจะได้มีคาสั่งต่อไป
การยื่ น ค าคั ด ค้ า น การพิ จ ารณาค าคั ด ค้ า น และการสั่ ง ให้ เ จ้ า หน้ า ที่ อื่ น เข้ า ปฏิบั ติ ห น้า ที่ แ ทนผู้ ที่
ถูกคัดค้านให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๕ เมื่อมีกรณีตามมาตรา ๑๓ หรือคู่กรณีคัดค้านว่ากรรมการในคณะกรรมการที่มีอานาจ
พิจารณาทางปกครองคณะใดมีลักษณะดังกล่าว ให้ประธานกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
เหตุคัดค้านนั้น ในการประชุมดังกล่าวกรรมการผู้ถูกคัดค้านเมื่อได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและตอบข้อซักถามแล้ว
ต้องออกจากที่ประชุม
ถ้ า คณะกรรมการที่ มี อ านาจพิ จ ารณาทางปกครองคณะใดมี ผู้ ถู ก คั ด ค้ า นในระหว่ า งที่ ก รรมการ
ผู้ถูกคัดค้านต้องออกจากที่ประชุม ให้ถือว่าคณะกรรมการคณะนั้นประกอบด้วยกรรมการทุกคนที่ไม่ถูกคัดค้าน
ถ้าที่ประชุมมีมติให้กรรมการผู้ถูกคัดค้านปฏิบัติหน้าที่ต่อไปด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม
ของกรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน ก็ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ มติดังกล่าวให้กระทาโดยวิธีลงคะแนนลับ
และให้เป็นที่สุด

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
162

การยื่ น ค าคั ด ค้ า นและการพิ จ ารณาค าคั ด ค้ า นให้ เ ป็ น ไปตามหลั ก เกณฑ์ แ ละวิ ธี ก ารที่ ก าหนดใน
กฎกระทรวง
มาตรา ๑๖ ในกรณีมีเหตุอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่หรือกรรมการ
ในคณะกรรมการที่มีอานาจพิจารณาทางปกครองซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทาให้การพิจารณาทางปกครอง
ไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าที่หรือกรรมการผู้นั้นจะทาการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นไม่ได้
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ดาเนินการ ดังนี้
(๑) ถ้าผู้นั้นเห็นเองว่าตนมีกรณีดังกล่าว ให้ผู้นั้นหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อนและแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา
เหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี
(๒) ถ้ามีคู่กรณีคัดค้านว่าผู้นั้นมีเหตุดังกล่าว หากผู้นั้นเห็นว่าตนไม่มีเหตุตามที่คัดค้านนั้น ผู้นั้นจะทา
การพิจารณาเรื่องต่อไปก็ได้แต่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบ
แล้วแต่กรณี
(๓) ให้ ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาของผู้ นั้ น หรื อ คณะกรรมการที่ มี อ านาจพิ จ ารณาทางปกครอง ซึ่ ง ผู้ นั้ น เป็ น
กรรมการอยู่มีคาสั่งหรือมีมติโดยไม่ชักช้า แล้วแต่กรณีว่าผู้นั้นมีอานาจในการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้น
หรือไม่
ให้นาบทบัญญัติมาตรา ๑๔ วรรคสอง และมาตรา ๑๕ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดย
อนุโลม
มาตรา ๑๗ การกระท าใดๆ ของเจ้ า หน้ า ที่ ห รื อ กรรมการในคณะกรรมการที่ มี อ านาจพิ จ ารณา
ทางปกครองที่ได้กระทาไปก่อนหยุ ดการพิจารณาตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๖ ย่อมไม่เสี ยไป เว้นแต่
เจ้าหน้าที่ผู้เข้าปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ถูกคัดค้านหรือคณะกรรมการที่มีอานาจพิจารณาทางปกครอง แล้วแต่กรณี
จะเห็นสมควรดาเนินการส่วนหนึ่งส่วนใดเสียใหม่ก็ได้
มาตรา ๑๘ บทบัญญัติมาตรา ๑๓ ถึงมาตรา ๑๖ ไม่ให้นามาใช้บังคับกับกรณีที่มีความจาเป็นเร่งด่วน
หากปล่อยให้ล่าช้าไปจะเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะหรือสิทธิของบุคคลจะเสียหายโดยไม่มีทางแก้ไขได้
หรือไม่มีเจ้าหน้าที่อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนผู้นั้นได้
มาตรา ๑๙ ถ้าปรากฏภายหลั งว่ าเจ้ าหน้า ที่ห รื อ กรรมการในคณะกรรมการที่มี อ านาจพิ จ ารณา
ทางปกครองใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือการแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้นั้น
ต้องพ้นจากตาแหน่งการพ้นจากตาแหน่งเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอานาจ
หน้าที่
มาตรา ๒๐ ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๖ ให้หมายความรวมถึง
ผู้ซึ่งกฎหมายกาหนดให้มีอานาจกากับหรือควบคุมดูแลสาหรับกรณีของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีผู้บังคับบัญชาโดยตรง
และนายกรัฐมนตรีสาหรับกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเป็นรัฐมนตรี
ส่วนที่ ๒
คู่กรณี
---------------
มาตรา ๒๑ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล อาจเป็นคู่กรณีในการพิจารณาทางปกครองได้
ตามขอบเขตที่สิทธิของตนถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกกระทบกระเทือนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
มาตรา ๒๒ ผู้มีความสามารถกระทาการในกระบวนการพิจารณาทางปกครองได้จะต้องเป็น
(๑) ผู้ซึ่งบรรลุนิติภาวะ
(๒) ผู้ซึ่งมีบทกฎหมายเฉพาะกาหนดให้มีความสามารถกระทาการในเรื่องที่กาหนดได้ แม้ผู้นั้นจะ
ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือความสามารถถูกจากัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(๓) นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา ๒๑ โดยผู้แทนหรือตัวแทน แล้วแต่กรณี
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
163

(๔) ผู้ซึ่งมีประกาศของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายในราชกิจจานุเบกษากาหนดให้
มีความสามารถกระทาการในเรื่องที่กาหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือความสามารถถูกจากัดตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๒๓ ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ คู่กรณีมีสิทธิ
นาทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทาลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทาของคู่กรณี เว้นแต่
คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น
มาตรา ๒๔ คู่กรณีอาจมีหนังสือแต่งตั้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะกระทาการอย่างหนึ่ ง
อย่ างใดตามที่กาหนดแทนตนในกระบวนการพิจารณาทางปกครองใดๆ ได้ ในการนี้ เจ้าหน้าที่จะดาเนิน
กระบวนพิจารณาทางปกครองกับตัวคู่กรณีได้เฉพาะเมื่อเป็นเรื่องที่ผู้นั้นมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องทาการนั้นด้วย
ตนเองและต้องแจ้งให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งให้กระทาการแทนทราบด้วย
หากปรากฏว่าผู้ได้รับการแต่งตั้งให้กระทาการแทนผู้ใดไม่ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นเพียงพอหรือมี
เหตุไม่ควรไว้วางใจในความสามารถของบุคคลดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้คู่กรณีทราบโดยไม่ชักช้า
การแต่งตั้งให้กระทาการแทนไม่ถือว่าสิ้นสุดลงเพราะความตายของคู่กรณีหรือการที่ความสามารถหรือ
ความเป็นผู้แทนของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ผู้สืบสิทธิตามกฎหมายของคู่กรณีหรือคู่กรณีจะถอนการ
แต่งตั้งดังกล่าว
มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีการยื่ น คาขอโดยมีผู้ ล งชื่อร่ว มกันเกินห้ าสิ บ คนหรื อมี คู่กรณีเ กินห้ า สิ บ คน
ยื่นคาขอที่มีข้อความอย่างเดียวกั นหรือทานองเดียวกัน ถ้าในคาขอมีการระบุให้บุคคลใดเป็นตัวแทนของบุคคล
ดังกล่าวหรือมีข้อความเป็นปริยายให้เข้าใจได้เช่นนั้น ให้ถือว่าผู้ที่ถูกระบุชื่อดังกล่าวเป็นตัวแทนร่วมของคู่กรณี
เหล่านั้น
ในกรณีที่มีคู่กรณีเกินห้าสิบคนยื่นคาขอให้มีคาสั่งทางปกครองในเรื่องเดี ยวกัน โดยไม่มีการกาหนดให้
บุ คคลใดเป็ น ตัวแทนร่ วมของตนตามวรรคหนึ่ง ให้ เจ้าหน้าที่ในเรื่องนั้นแต่งตั้งบุคคลที่คู่กรณีฝ่ายข้างมาก
เห็นชอบเป็นตัวแทนร่วมของบุคคลดังกล่าว ในกรณีนี้ให้นามาตรา ๒๔ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
ตัวแทนร่วมตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องเป็นบุคคลธรรมดา
คู่กรณีจะบอกเลิกการให้ตัวแทนร่วมดาเนินการแทนตนเมื่อใดก็ได้แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่
ทราบและดาเนินการใดๆ ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองต่อไปด้วยตนเอง
ตัวแทนร่วมจะบอกเลิกการเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้ าที่ทราบกับต้องแจ้ง
ให้คู่กรณีทุกรายทราบด้วย

ส่วนที่ ๓
การพิจารณา
---------------
มาตรา ๒๖ เอกสารที่ ยื่ น ต่ อ เจ้ า หน้ า ที่ ใ ห้ จั ด ท าเป็ น ภาษาไทย ถ้ า เป็ น เอกสารที่ ท าขึ้ น เป็ น
ภาษาต่างประเทศให้คู่กรณีจัดทาคาแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่
เจ้าหน้าที่กาหนด ในกรณีนี้ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคาแปลนั้น เว้นแต่
เจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทาขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ และในกรณีนี้ให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทาขึ้น
เป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารดังกล่าว
การรั บ รองความถู ก ต้ อ งของค าแปลเป็ น ภาษาไทยหรื อ การยอมรั บ เอกสารที่ ท าขึ้ น เป็ น ภาษา
ต่างประเทศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎกระทรวง

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
164

ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. ๒๕๓๙ และ


ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๗ ให้เจ้าหน้าที่แจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบตาม
ความจาเป็นแก่กรณี
เมื่อมีผู้ยื่นคาขอเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีคาสั่งทางปกครอง ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้รับคาขอที่จะต้อง
ดาเนิ น การตรวจสอบความถูกต้องของค าขอและความครบถ้ว นของเอกสาร บรรดาที่มีกฎหมายหรือ กฎ
กาหนดให้ต้องยื่นมา พร้อมกับคาขอ หากคาขอไม่ถูกต้อง ให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวแนะนาให้ผู้ยื่นคาขอดาเนินการ
แก้ไขเพิ่มเติมเสียให้ถูกต้อง และหากมีเอกสารใดไม่ครบถ้วนให้แจ้งให้ผู้ยื่นคาขอทราบทันทีหรือภายในไม่เกิน
เจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รั บคาขอ ในการแจ้งดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ทาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับคาขอและ
ระบุรายการเอกสารที่ไม่ถูกต้องหรือยังไม่ครบถ้วนให้ผู้ยื่นคาขอทราบพร้อมทั้งบันทึกการแจ้งดังกล่าวไว้ใน
กระบวนพิจารณาจัดทาคาสั่งทางปกครองนั้นด้วย
เมื่อผู้ ยื่ น คาขอได้ แ ก้ ไขคาขอหรื อจั ดส่ ง เอกสารตามที่ร ะบุในการแจ้ง ตามวรรคสองครบถ้ว นแล้ ว
เจ้าหน้าที่จะปฏิเสธไม่ดาเนินการตามคาขอเพราะเหตุยังขาดเอกสารอีกมิได้ เว้นแต่มีความจาเป็นเพื่อปฏิบัติให้
ถูกต้องตามกฎหมายหรือกฎและได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งตามมาตรา ๒๐
ในกรณีเช่นนั้นให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวดาเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยพลัน หากเห็นว่าเป็นความบกพร่อง
ของเจ้าหน้าที่ให้ดาเนินการทางวินัยต่อไป
ผู้ยื่นคาขอต้องดาเนินการแก้ไขหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมต่อเจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่กาหนดหรือ
ภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่อนุญาตให้ ขยายออกไป เมื่อพ้นกาหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากผู้ยื่นคาขอไม่แก้ไขหรือส่ง
เอกสารเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ยื่นคาขอไม่ประสงค์ที่จะให้เจ้าหน้าที่ดาเนินการตามคาขอต่อไป ในกรณี
เช่นนั้นให้เจ้าหน้าที่ส่งเอกสารคืนให้ผู้ยื่นคาขอพร้อมทั้งแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์ให้ยื่น คาขอทราบ และบันทึก
การดาเนินการดังกล่าวไว้
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตวิ ิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557
มาตรา ๒๘ ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสม
ในเรื่องนั้นๆ โดยไม่ต้องผูกพันอยู่กับคาขอหรือพยานหลักฐานของคู่กรณี
มาตรา ๒๙ เจ้ า หน้ า ที่ ต้ อ งพิ จ ารณาพยานหลั ก ฐานที่ ต นเห็ น ว่า จาเป็ น แก่ ก ารพิ สู จ น์ข้ อ เท็ จจริง
ในการนี้ให้รวมถึงการดาเนินการดังต่อไปนี้
(๑) แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
(๒) รั บ ฟั ง พยานหลั ก ฐาน ค าชี้ แ จง หรื อ ความเห็ น ของคู่ ก รณี ห รื อ ของพยานบุ ค คลหรื อ พยาน
ผู้ เ ชี่ ย วชาญที่ คู่ ก รณี ก ล่ า วอ้ า ง เว้ น แต่ เ จ้ า หน้ า ที่ เ ห็ น ว่ า เป็ น การกล่ า วอ้ า งที่ ไ ม่ จ าเป็ น ฟุ่ ม เฟื อ ยหรื อ เพื่ อ
ประวิงเวลา
(๓) ขอข้อเท็จจริงหรือความเห็นจากคู่กรณี พยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
(๔) ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
(๕) ออกไปตรวจสถานที่
คู่กรณีต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง และมีหน้าที่แจ้งพยานหลักฐานที่
ตนทราบแก่เจ้าหน้าที่
พยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่เจ้าหน้าที่เรียกมาให้ถ้อยคาหรือทาความเห็ นมีสิทธิได้รับค่าป่วยการ
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๐ ในกรณีที่คาสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาส
ที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
ความในวรรคหนึ่งมิให้นามาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะเห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
165

(๑) เมื่อมีความจาเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่ง
ผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
(๒) เมื่อจะมีผลทาให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกาหนดไว้ในการทาคาสั่งทางปกครองต้องล่าช้าออกไป
(๓) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคาขอ คาให้การหรือคาแถลง
(๔) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทาได้
(๕) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง
(๖) กรณีอื่นตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
ห้ ามมิให้ เจ้ าหน้ าที่ให้ โอกาสตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะก่อให้ เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์
สาธารณะ
มาตรา ๓๑ คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จาเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของ
ตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทาคาสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณีไม่มีสิทธิขอตรวจดูเอกสารอันเป็นต้นร่างคาวินิจฉัย
การตรวจดูเอกสาร ค่าใช้จ่ ายในการตรวจดูเอกสาร หรือการจัดทาส าเนาเอกสารให้ เป็ นไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๒ เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีที่ต้องรักษา
ไว้เป็นความลับ
มาตรา ๓๓ เพื่ อ ประโยชน์ ใ นการอ านวยความสะดวกแก่ ป ระชาชน ความประหยั ด และความมี
ประสิ ทธิภ าพในการดาเนิ น งานของรั ฐ ให้ คณะรัฐ มนตรีว างระเบียบกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้
เจ้าหน้าที่กาหนดเวลาสาหรับการพิจารณาทางปกครองขึ้นไว้ตามความเหมาะสมแก่กรณี ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือ
แย้งกับกฎหมายหรือกฎในเรื่องนั้น
ในกรณีที่การดาเนินงานในเรื่องใดจะต้องผ่านการพิ จารณาของเจ้าหน้าที่มากกว่าหนึ่งราย เจ้าหน้าที่
ที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องประสานงานกันในการกาหนดเวลาเพื่อการดาเนินงานในเรื่องนั้น
ส่วนที่ ๔
รูปแบบและผลของคาสั่งทางปกครอง
---------------
มาตรา ๓๔ คาสั่งทางปกครองอาจทาเป็นหนังสือหรือวาจาหรือโดยการสื่ อความหมายในรูปแบบอื่น
ก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้
มาตรา ๓๕ ในกรณีที่คาสั่งทางปกครองเป็นคาสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคาสั่งนั้นร้องขอและการร้องขอได้
กระทาโดยมีเหตุอันสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคาสั่งดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ออกคาสั่งต้องยืนยันคาสั่งนั้น
เป็นหนังสือ
มาตรา ๓๖ คาสั่งทางปกครองที่ทาเป็นหนังสืออย่างน้อยต้องระบุ วัน เดือน และปีที่ทาคาสั่ง ชื่อและ
ตาแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทาคาสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทาคาสั่งนั้น
มาตรา ๓๗ คาสั่งทางปกครองที่ทาเป็นหนังสือและการยืนยันคาสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้
มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสาคัญ
(๒) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
(๓) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
นายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายอาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากาหนดให้ คาสั่ ง
ทางปกครองกรณีหนึ่งกรณีใดต้องระบุเหตุผลไว้ในคาสั่งนั้นเองหรือในเอกสารแนบท้ายคาสั่งนั้นก็ได้
บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เป็นกรณีที่มีผลตรงตามคาขอและไม่กระทบสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
166

(๒) เหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จาต้องระบุอีก
(๓) เป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับตามมาตรา ๓๒
(๔) เป็นการออกคาสั่งทางปกครองด้วยวาจาหรือเป็นกรณีเร่งด่วนแต่ต้องให้เหตุผลเป็นลายลักษณ์
อักษรในเวลาอันควรหากผู้อยู่ในบังคับของคาสั่งนั้นร้องขอ
มาตรา ๓๘ บทบัญญัติตามมาตรา ๓๖ และมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับคาสั่งทางปกครอง
ที่กาหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๙ การออกคาสั่งทางปกครองเจ้าหน้าที่อาจกาหนดเงื่อนไขใดๆ ได้เท่าที่จาเป็นเพื่อให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ของกฎหมาย เว้นแต่กฎหมายจะกาหนดข้อจากัดดุลพินิจเป็นอย่างอื่น
การก าหนดเงื่ อ นไขตามวรรคหนึ่ ง ให้ ห มายความรวมถึ ง การก าหนดเงื่ อ นไขในกรณี ดั ง ต่ อ ไปนี้
ตามความเหมาะสมแก่กรณีด้วย
(๑) การกาหนดให้สิทธิหรือภาระหน้าที่เริ่มมีผลหรือสิ้นผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
(๒) การกาหนดให้การเริ่มมีผลหรือสิ้นผลของสิทธิหรือภาระหน้าที่ต้องขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคต
ที่ไม่แน่นอน
(๓) ข้อสงวนสิทธิที่จะยกเลิกคาสั่งทางปกครอง
(๔) การกาหนดให้ผู้ได้รับประโยชน์ต้องกระทาหรืองดเว้นกระทาหรือต้องมีภาระหน้าที่หรือยอมรับ
ภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบบางประการ หรือการกาหนดข้อความในการจัดให้มี เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่ม
ข้อกาหนดดังกล่าว
ให้ เ พิ่ ม ความต่ อ ไปนี้ เ ป็ น มาตรา ๓๙/๑ แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ วิ ธี ป ฏิ บั ติ ร าชการทางปกครอง
พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๓๙/๑ การออกคาสั่งทางปกครองเป็นหนังสือในเรื่องใด หากมิได้มีกฎหมายหรือกฎกาหนด
ระยะเวลาในการออกคาสั่งทางปกครองในเรื่องนั้นไว้เป็นประการอื่น ให้เจ้าหน้าที่ออกคาสั่งทางปกครองนั้นให้
แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคาขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปของเจ้าหน้าที่ ที่จะกากับดูแลให้เจ้าหน้าที่ดาเนินการ
ให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตวิ ิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557
มาตรา ๔๒ คาสั่งทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อบุคคลตั้งแต่ขณะที่ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป
คาสั่งทางปกครองย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น
เมื่อคาสั่งทางปกครองสิ้นผลลง ให้เจ้าหน้าที่มีอานาจเรียกผู้ซึ่งครอบครองเอกสารหรือวัตถุอื่นใดที่ได้
จัดทาขึ้นเนื่องในการมีคาสั่งทางปกครองดัง กล่าว ซึ่งมีข้อความหรือเครื่องหมายแสดงถึงการมีอยู่ของคาสั่งทาง
ปกครองนั้ น ให้ ส่ ง คื น สิ่ ง นั้ น หรื อ ให้ น าสิ่ ง ของดั ง กล่ า วอั น เป็ น กรรมสิ ท ธิ์ ข องผู้ นั้ น มาให้ เ จ้ า หน้ า ที่ จั ด ท า
เครื่องหมายแสดงการสิ้นผลของคาสั่งทางปกครองดังกล่าวได้
มาตรา ๔๓ คาสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยนั้นเจ้าหน้าที่อาจแก้ไข
เพิ่มเติมได้เสมอ
ในการแก้ไขเพิ่มเติมคาสั่งทางปกครองตามวรรคหนึ่งให้แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบตามควรแก่กรณี
ในการนี้เจ้าหน้าที่อาจเรียกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดส่งคาสั่งทางปกครอง เอกสารหรือวัตถุอื่นใดที่ได้ จัดทาขึ้นเนื่องใน
การมีคาสั่งทางปกครองดังกล่าวมาเพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมได้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
167

ส่วนที่ ๕
การอุทธรณ์คาสั่งทางปกครอง
---------------
มาตรา ๔๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๘ ในกรณีที่คาสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มี
กฎหมายกาหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คาสั่งทางปกครองนั้น
โดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทาคาสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคาสั่งดังกล่าว
คาอุทธรณ์ต้องทาเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย
ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคาสั่งทางปกครอง เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับ
ตามมาตรา ๖๓/๒ วรรคหนึ่ง
ปรับแก้ไขตามพระราชบัญญัตวิ ิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562
มาตรา ๔๕ ให้เจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง พิจารณาคาอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า
แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคาอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ก็ให้ดาเนินการเปลี่ยนแปลงคาสั่งทางปกครองตามความเห็นของตนภายในกาหนดเวลาดังกล่าวด้วย
ถ้าเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง ไม่เห็นด้วยกับคาอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้เร่ง
รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังผู้มีอานาจพิจารณาคาอุทธรณ์ภายในกาหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มี
อานาจพิจารณาคาอุทธรณ์พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตนได้รับรายงาน ถ้ามีเหตุจาเป็น
ไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้มีอานาจพิจารณาอุทธรณ์มีหนังสือแจ้งให้ผู้อุทธรณ์
ทราบก่อนครบกาหนดเวลาดังกล่าว ในการนี้ ให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินสามสิบวัน
นับแต่วันที่ครบกาหนดเวลาดังกล่าว
เจ้าหน้าที่ผู้ใดจะเป็นผู้มีอานาจพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่กาหนดในกฎกระทรวง
บทบัญญัติมาตรานี้ไม่ใช้กับกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกาหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๔๖ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาทบทวนคาสั่งทางปกครองได้ไม่ว่าจะเป็น
ปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือความเหมาะสมของการทาคาสั่งทางปกครอง และอาจมีคาสั่งเพิกถอนคาสั่ง
ทางปกครองเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคาสั่งนั้นไปในทางใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มภาระหรือลดภาระหรือใช้
ดุลพินิจแทนในเรื่องความเหมาะสมของการทาคาสั่งทางปกครองหรือมีข้อกาหนดเป็นเงื่อนไขอย่างไรก็ได้
มาตรา ๔๗ การใดที่กฎหมายกาหนดให้ อุทธรณ์ต่ อเจ้าหน้ าที่ ซึ่งเป็นคณะกรรมการขอบเขตการ
พิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น สาหรับกระบวนการพิจารณาให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ
หมวด ๒ นี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายดังกล่าว
มาตรา ๔๘ คาสั่งทางปกครองของบรรดาคณะกรรมการต่างๆ ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายหรือไม่ให้
คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทั้ง ใน
ปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคาสั่งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการดังกล่าว
เป็ น คณะกรรมการวิ นิ จ ฉั ย ข้ อ พิ พ าท สิ ท ธิ ก ารอุ ท ธรณ์ แ ละก าหนดเวลาอุ ท ธรณ์ ให้ เ ป็ น ไปตามที่ บั ญ ญั ติ
ในกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
168

ส่วนที่ ๖
การเพิกถอนคาสั่งทางปกครอง
---------------
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******

ส่วนที่ ๗
การขอให้พิจารณาใหม่
---------------
******ตัดย่อไปตามความเหมาะสม*******

หมวด ๓
ระยะเวลาและอายุความ
---------------

มาตรา ๖๔ กาหนดเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน หรือปีนั้น มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วย


เว้นแต่จะได้เริ่มการในวันนั้นหรือมีการกาหนดไว้เป็นอย่างอื่นโดยเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องกระทาการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กาหนด ให้นับวันสิ้นสุด
ของระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยแม้ว่าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดทาการงานสาหรับเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่บุคคลใดต้องทาการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กาหนดโดยกฎหมายหรือโดยคาสั่ง
ของเจ้าหน้าที่ ถ้าวันสุดท้ายเป็นวันหยุดทาการงานสาหรับเจ้าหน้าที่หรือวันหยุดตามประเพณีของบุคคลผู้รับ
คาสั่ง ให้ถือว่าระยะเวลานั้นสิ้นสุดในวันทางานที่ถัดจากวันหยุดนั้น เว้นแต่กฎหมายหรือเจ้าหน้าที่ที่มีคาสั่งจะ
กาหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๖๕ ระยะเวลาที่กาหนดไว้ในคาสั่งของเจ้าหน้าที่อาจมีการขยายอีกได้ และถ้าระยะเวลานั้น
ได้สิ้นสุดลงแล้ วเจ้าหน้าที่อาจขยายโดยกาหนดให้ มีผลย้อนหลั งได้เช่นกันถ้าการสิ้นสุดตามระยะเวลาเดิ ม
จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมที่จะให้สิ้นสุดลงตามนั้น
มาตรา ๖๖ ในกรณีที่ผู้ใดไม่อาจกระทาการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กาหนดไว้ในกฎหมาย
ได้ เ พราะมี พ ฤติ ก ารณ์ ที่ จ าเป็ น อั น มิ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น จากความผิ ด ของผู้ นั้ น ถ้ า ผู้ นั้ น มี ค าขอเจ้ า หน้ า ที่ อ าจขยาย
ระยะเวลาและดาเนินการส่วนหนึ่งส่วนใดที่ล่วงมาแล้วเสียใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ ต้องยื่นคาขอภายในสิบห้าวันนับแต่
พฤติการณ์เช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง
มาตรา ๖๗ เมื่อมีการอุทธรณ์ตามบทบัญญัติในส่วนที่ ๕ ของหมวด ๒ แห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือการ
ยื่ น ค าขอต่ อ คณะกรรมการวิ นิ จ ฉั ย ข้ อ พิ พ าทหรื อ คณะกรรมการวิ นิ จ ฉั ย ร้ อ งทุ ก ข์ ต ามกฎหมายว่ า ด้ ว ย
คณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไม่นับในระหว่างนั้นจนกว่าการ
พิจารณาจะถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่น แต่ถ้าเสร็จไปเพราะเหตุถอนคาขอหรือทิ้งคาขอให้ถือว่าอายุ
ความเรียกร้องของผู้ยื่นคาขอ ไม่เคยมีการสะดุดหยุดอยู่เลย

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
169

หมวด ๔
การแจ้ง
---------------

มาตรา ๖๘ บทบัญญัติในหมวดนี้มิให้ใช้บังคับกับการแจ้งซึ่งไม่อาจกระทาโดยวาจาหรือเป็นหนังสือได้
หรือมีกฎหมายกาหนดวิธีการแจ้งไว้เป็นอย่างอื่น
ในกรณี ค าสั่ ง ทางปกครองที่ แ สดงให้ ท ราบโดยการสื่ อ ความหมายในรู ป แบบอื่ น ตามที่ ก าหนด
ในกฎกระทรวงให้มีผลเมื่อได้แจ้ง
มาตรา ๖๙ การแจ้งคาสั่งทางปกครอง การนัดพิจารณา หรือการอย่างอื่นที่เจ้าหน้าที่ต้องแจ้ งให้
ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอาจกระทาด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้าผู้นั้นประสงค์จะให้กระทาเป็นหนังสือก็ให้แจ้งเป็นหนังสือ
การแจ้งเป็นหนังสือให้ส่งหนังสือแจ้งต่อผู้นั้น หรือถ้าได้ส่งไปยัง ภูมิลาเนาของผู้นั้นก็ให้ถือว่าได้รับแจ้ง
ตั้งแต่ในขณะที่ไปถึง
ในการดาเนินการเรื่องใดที่มีการให้ที่อยู่ไว้กับเจ้าหน้าที่ไว้แล้ว การแจ้งไปยังที่อยู่ดังกล่าวให้ถือว่า
เป็นการแจ้งไปยังภูมิลาเนาของผู้นั้นแล้ว
มาตรา ๗๐ การแจ้งเป็นหนังสือโดยวิธีให้บุคคลนาไปส่ ง ถ้าผู้รับไม่ยอมรับหรือถ้าขณะนาไปส่งไม่พบ
ผู้รับและหากได้ส่งให้กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทางานในสถานที่นั้นหรือในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมรับ
หากได้วางหนังสือนั้นหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานที่นั้นต่อหน้าเจ้าพนักงานตามที่กาหนด
ในกฎกระทรวงที่ไปเป็นพยานก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งแล้ว
มาตรา ๗๑ การแจ้งโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกาหนดเจ็ดวันนับแต่
วันส่งสาหรับกรณีภายในประเทศ หรือเมื่อครบกาหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสาหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ
เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อนหรือหลังจากวันนั้น
มาตรา ๗๒ ในกรณีที่มีผู้รับเกินห้าสิบคนเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบตั้งแต่เริ่มดาเนินการในเรื่องนั้นว่า
การแจ้งต่อบุคคลเหล่านั้นจะกระทาโดยวิธีปิดประกาศไว้ ณ ที่ทาการของเจ้าหน้าที่และที่ว่าการอาเภอที่ผู้รับ
มีภูมิลาเนาก็ได้ ในกรณีนี้ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้แจ้งโดยวิธีดังกล่าว
มาตรา ๗๓ ในกรณีที่ไม่รู้ตัวผู้รับหรือรู้ตัวแต่ไม่รู้ภูมิลาเนา หรือรู้ตัวและภูมิลาเนาแต่มีผู้รับ เกินหนึ่ง
ร้อยคน การแจ้งเป็นหนังสือจะกระทาโดยการประกาศในหนังสือพิมพ์ซึ่งแพร่หลายในท้องถิ่นนั้นก็ได้ ในกรณีนี้
ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้แจ้งโดยวิธีดังกล่าว
มาตรา ๗๔ ในกรณีมีเหตุจาเป็นเร่งด่วนการแจ้งคาสั่งทางปกครองจะใช้วิ ธีส่งทางเครื่องโทรสารก็ได้
แต่ต้องมีหลักฐานการได้ส่งจากหน่วยงานผู้จัดบริการโทรคมนาคมที่เป็นสื่อในการส่งโทรสารนั้น และต้องจัดส่ง
คาสั่งทางปกครองตัวจริงโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามหมวดนี้ให้แก่ผู้รับในทันทีที่อาจกระทาได้ ในกรณีนี้ให้ถือว่าผู้รับ
ได้ รั บ แจ้ ง ค าสั่ ง ทางปกครองเป็ น หนั ง สื อ ตามวั น เวลา ที่ ป รากฏในหลั ก ฐานของหน่ ว ยงานผู้ จั ด บริ ก าร
โทรคมนาคมดังกล่าว เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อนหรือหลังจากนั้น

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
170

พระราชบัญญัติ
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙
เป็นปีที่ ๕๑ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่สมควรมีกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
จึ งทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ าฯ ให้ ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคาแนะนาและยินยอมของรัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙”
มาตรา ๒๑ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับใด ๆ ในส่ ว นที่มีบัญญัติไว้แล้ ว ในพระราชบัญ ญั ติ นี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็น
การแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด
“หน่ ว ยงานของรั ฐ ” หมายความว่ า กระทรวง ทบวง กรม หรื อ ส่ ว นราชการที่ เ รีย กชื่ อ อย่ างอื่น
และมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ
หรื อพระราชกฤษฎีกา และให้ ห มายความรวมถึงหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีพระราชกฤษฎีกากาหนดให้ เป็น
หน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
มาตรา ๕ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทาในการ
ปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้ าหน้ าที่ซึ่งไม่ ได้สั งกั ดหน่ว ยงานของรัฐ แห่ งใดให้ ถื อว่ากระทรวงการคลั ง
เป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๖ ถ้าการกระทาละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทาในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิด
ในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรงแต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
มาตรา ๗ ในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้อง
รับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หรือในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐ
ต้องรับผิดหรือต้องร่วมรับผิด หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีสิทธิขอให้ศาลที่ พิจารณาคดีนั้นอยู่เรียก
เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี เข้ามาเป็นคู่ความในคดี
ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิดให้ขยาย
อายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีออกไปถึงหกเดือนนับแต่วันที่คาพิพากษานั้นถึงที่สุด
มาตรา ๘ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของ
เจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทาละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงาน
ของรัฐได้ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทาการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
สิ ทธิเรี ย กให้ ช ดใช้ค่าสิ น ไหมทดแทนตามวรรคหนึ่งจะมีได้เพียงใดให้ คานึงถึงระดับความร้ ายแรง
แห่งการกระทาและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีเป็นเกณฑ์โดยมิต้องให้ใช้เต็มจานวนของความเสียหายก็ได้
ถ้าการละเมิดเกิดจากความผิ ดหรือความบกพร่องของหน่ว ยงานของรัฐหรือระบบการดาเนิ นงาน
ส่วนรวมให้หักส่วนแห่งความรับผิดดังกล่าวออกด้วย
๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๖๐ ก/หน้า ๒๕/๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
171

ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นาหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับและเจ้าหน้าที่
แต่ละคนต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
มาตรา ๙ ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายสิทธิที่จะเรียกให้
อี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง ชดใช้ ค่ า สิ น ไหมทดแทนแก่ ต นให้ มี ก าหนดอายุ ค วามหนึ่ ง ปีนั บ แต่ วัน ที่ ห น่ว ยงานของรั ฐ หรือ
เจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นแก่ผู้เสียหาย
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทาละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ
ที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทาในการปฏิบัติหน้าที่การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่
ให้ น าบทบั ญญัติมาตรา ๘ มาใช้บั งคับ โดยอนุโ ลม แต่ถ้ามิใช่การกระทาในการปฏิบัติห น้าที่ให้ บังคับตาม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองประการตามวรรคหนึ่ง ให้มีกาหนดอายุความ
สองปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และกรณี
ที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด
ให้ สิ ท ธิ เ รี ย กร้ อ งค่า สิ น ไหมทดแทนนั้ น มี ก าหนดอายุค วามหนึ่ ง ปีนั บแต่ วัน ที่ห น่ว ยงานของรัฐ มี ค าสั่ ง ตาม
ความเห็นของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตามมาตรา ๕ ผู้เสียหายจะยื่นคาขอ
ต่ อ หน่ ว ยงานของรั ฐ ให้ พิ จ ารณาชดใช้ ค่ า สิ น ไหมทดแทนส าหรั บ ความเสี ยหายที่ เ กิ ด แก่ ต นก็ ไ ด้ ในการนี้
หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคาขอให้ไว้เป็นหลักฐานและพิจารณาคาขอนั้นโดยไม่ชักช้า เมื่อหน่วยงานของ
รัฐมีคาสั่งเช่นใดแล้ว หากผู้เสียหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อ
คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ตน
ได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย
ให้ ห น่ ว ยงานของรั ฐ พิจ ารณาคาขอที่ไ ด้รั บตามวรรคหนึ่ง ให้ แ ล้ ว เสร็ จภายในหนึ่ง ร้อ ยแปดสิ บ วั น
หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกาหนดนั้นจะต้องรายงานปัญหาและอุปสรรคให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือ
กากับหรือควบคุมดูแลหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นทราบและขออนุมัติขยายระยะเวลาออกไปได้ แต่รัฐมนตรี
ดังกล่าวจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาให้อีกได้ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หน่วยงานของรัฐได้ใช้ให้แก่ผู้เสี ยหาย
ตามมาตรา ๘ หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้ค่าสิไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้กระทาละเมิ ดต่ อ
หน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๐ ประกอบกับมาตรา ๘ ให้หน่วยงานของรัฐ ที่เสียหายมีอานาจออกคาสั่ ง
เรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นชาระเงินดังกล่าวภายในเวลาที่กาหนด
มาตรา ๑๓ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา ๘ และมาตรา
๑๐ สามารถผ่ อนช าระเงิน ที่จ ะต้องรั บ ผิ ดนั้น ได้โ ดยคานึงถึงรายได้ ฐานะครอบครัว และความรับผิ ดชอบ
และพฤติการณ์แห่งกรณีประกอบด้วย
มาตรา ๑๔ เมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นแล้ว สิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ตามมาตรา ๑๑ ให้ถือว่าเป็นสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
มาตรา 15 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
บรรหาร ศิลปอาชา
นายกรัฐมนตรี

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
172

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การที่เจ้าหน้าที่ดาเนินกิจการต่างๆ ของ


หน่วยงานของรัฐนั้น หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่ การปล่อยให้วามรับผิดทางละเมิดของ
เจ้าหน้าที่ ในกรณีที่ปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชนตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นการไม่เหมาะสมก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่า เจ้าหน้าที่จ ะต้อง รับ
ผิดในการกระทาต่างๆ เป็นการเฉพาะตัวเสมอไป เมื่อการที่ทาไปทาให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิด ต่อ
บุคคลภายนอกเพียงใดก็จะมีการฟ้องไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่เต็มจานวนนั้น ทั้งที่บางกรณีเกิดขึ้นโดยความไม่
ตั้งใจหรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยในการปฏิ บัติหน้าที่นอกจากนั้น ยังมีการนาหลักเรื่องลูกหนี้ร่วม ใน
ระบบกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับ ให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทาของเจ้าหน้าที่ผู้อื่นด้วย ซึ่งระบบนั้นมุ่ง
หมายแต่จะได้เงินครบโดยไม่คานึงถึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อแต่ละคน กรณีเป็นการก่อให้เกิดความไม่เป็น
ธรรมแก่เจ้าหน้าที่และยังเป็นการบั่นทอนกาลังขวัญในการทางานของเจ้าหน้าที่ด้วย จนบางครั้งกลายเป็น
ปัญหาในการบริหารเพราะเจ้าหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจดาเนินงานเท่าที่ควร เพราะเกรงความรับผิดชอบที่จะเกิด
แก่ตน อนึ่ง การให้คุณให้โทษแก่เจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทางานของเจ้าหน้าที่ยังมีวิธีการในการบริหารงาน
บุ ค คลและการด าเนิ น การทางวิ นั ย ก ากั บดู แ ลอี ก ส่ ว นหนึ่ง อั น เป็ น หลั ก ประกั น มิ ใ ห้ เ จ้า หน้ า ที่ ท าการใดๆ
โดยไม่ ร อบคอบอยู่ แ ล้ ว ดั ง นั้ น จึ ง สมควรก าหนดให้ เ จ้ า หน้ า ที่ ต้ อ งรั บ ผิ ด ทางละเมิ ด ในการปฏิบั ติ ง านใน
หน้าที่เฉพาะ เมื่อเป็นการจงใจกระทาเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่อ
อย่ า งร้ า ยแรงเท่ า นั้ น และให้ แ บ่ ง แยกความรั บ ผิ ด ของแต่ ล ะคนมิ ใ ห้ น าหลั ก ลู ก หนี้ ร่ ว มมาใช้ บั ง คั บ ทั้ ง นี้
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
173

พระราชบัญญัติ
มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะ
เป็นกรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐในฝ่ ายบริห าร แต่ไม่
หมายความรวมถึง หน่วยงานธุรการของรัฐสภา องค์กรอิสระ ศาล และองค์กรอัยการ
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานของรัฐ
“องค์กรกลางบริหารงานบุคคล” หมายความว่า คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คณะกรรมการ
ข้ า ราชการพลเรื อ นในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษา คณะกรรมการข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษาและ
คณะกรรมการข้าราชการตารวจ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบี ยบข้าราชการประเภทนั้น รวมทั้งคณะกรรมการ
กลางบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่ของรัฐในฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล
ส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
มาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม
------------------------
มาตรา ๕ มาตรฐานทางจริยธรรม คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่
ของรัฐซึ่งจะต้องประกอบด้วย
(๑) ยึดมั่นในสถาบัน หลั กของประเทศ อันได้ แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสานึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่
(๓) กล้าตัดสินใจและกระทาในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
(๔) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ
(๕) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
(๗) ดารงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
มาตรฐานทางจริ ย ธรรมตามวรรคหนึ่ ง ให้ ใช้เป็นหลั ก ส าคั ญ ในการจั ด ทาประมวลจริ ยธรรมของ
หน่วยงานของรัฐที่จะกาหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกี่ยวกับสภาพคุณงามความ
ดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยึดถือสาหรับการปฏิบัติงาน การตัดสินความถูกผิด การปฏิบัติที่ควรกระทาหรือไม่ควร
กระทา ตลอดจนการดารงตนในการกระทาความดีและละเว้นความชั่ว
มาตรา ๖ ให้องค์กรกลางบริ หารงานบุคคลของหน่ว ยงานของรัฐ มีห น้าที่จัดทาประมวลจริยธรรม
สาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งไม่มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่รับผิดชอบ ให้องค์กรต่อไปนี้
เป็นผู้จัดทาประมวลจริยธรรม
(๑) คณะรัฐมนตรี สาหรับข้าราชการการเมือง
(๒) สภากลาโหม สาหรับข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือนกลาโหม
(๓) สานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สาหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๔) คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน สาหรับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานของ
องค์การมหาชน
กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
174

ในกรณีที่มีปั ญหาว่า องค์ กรใดเป็นผู้ จั ด ทาประมวลจริ ยธรรมส าหรับ เจ้ าหน้ าที่ ข องรัฐ ประเภทใด
ให้ ก.ม.จ. เป็นผู้มีอานาจวินิจฉัย
ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐอาจจัดทาข้อกาหนดจริยธรรมเพื่อใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น
เพิ่มเติมจากประมวลจริยธรรมให้เหมาะสมแก่ภารกิจที่มีลักษณะเฉพาะของหน่วยงานของรัฐนั้นด้วยก็ได้
การจัดทาประมวลจริยธรรมและข้อกาหนดจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
ที่ ก.ม.จ. กาหนดตามมาตรา ๑๔ ด้วย
มาตรา ๗ เพื่อให้การจัดทาประมวลจริยธรรมในภาครัฐมีมาตรฐานทางจริยธรรมในระดับเดียวกัน
ในการจัดทาประมวลจริ ยธรรมขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลของศาลหรือองค์กรอัยการองค์กรกลาง
บริหารงานบุคคลของหน่วยงานธุรการของรัฐสภาและองค์กรอิสระ ให้นามาตรฐานทางจริยธรรมตามมาตรา ๕
ไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดทาประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในความรับผิดชอบด้วย
หมวด 2
คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
------------------------
มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ม.จ.” ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้แทนคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) กรรมการโดยตาแหน่ง จานวนห้าคน ได้แก่ ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการข้าราชการ
พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะกรรมการข้าราชการ
ตารวจ คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น และสภากลาโหม อย่างละหนึ่งคน
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจานวนไม่เกินห้าคนเป็นกรรมการ
ให้เลขาธิการ ก.พ. เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการ ก.พ. แต่งตั้งข้าราชการในสานักงาน
ก.พ. เป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจาเป็น
มาตรา ๑๐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดารงตาแหน่งคราวละสามปี
มาตรา ๑๓ ก.ม.จ. มีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะและให้คาปรึกษาเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการ
ส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐต่อคณะรัฐมนตรี
(๒) ก าหนดแนวทางหรื อ มาตรการในการขั บ เคลื่ อ น การด าเนิ น กระบวนการรั ก ษาจริ ย ธรรม
รวมทั้งกลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมสาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้องค์กรกลางบริ หารงานบุคคล
องค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง หรือผู้บังคับบัญชานาไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม
(๓) กาหนดแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมและยึดถือแนวทางปฏิ บัติตามประมวลจริยธรรม รวมทั้งเสนอแนะ
มาตรการในการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมแก่หน่วยงาน
ของรัฐต่อคณะรัฐมนตรี
(๔) กากับ ติดตาม และประเมินผลการดาเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม โดยอย่างน้อยต้องให้
หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม และให้มีการประเมิน
พฤติกรรมทางจริยธรรมสาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้น
(๕) ตรวจสอบรายงานประจาปีของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๑๙ (๓) และรายงานสรุปผลการ
ดาเนินงานดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๖) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
175

การประเมินผลตาม (๔) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม.จ. กาหนด โดยอาจจัดให้มีองค์กร


ภายนอกเข้าร่วมการประเมินผลด้วยก็ได้
มาตรา ๑๔ เพื่อให้การดาเนินการจัดทาประมวลจริยธรรมและข้อกาหนดจริยธรรมตามมาตรา ๖
เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรม และเพื่อประโยชน์ในการดาเนินการตาม
หน้าที่และอานาจตามมาตรา ๑๓ ให้ ก.ม.จ. มีอานาจกาหนดหลักเกณฑ์เป็นระเบียบคู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติ
เพื่อให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคล องค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง และหน่วยงานของรัฐ ใช้เป็นหลักเกณฑ์
สาหรับการจัดทาประมวลจริยธรรมและข้อ กาหนดจริยธรรม รวมทั้งการกาหนดกระบวนการรักษาจริยธรรม
ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการนี้ ให้ ก.ม.จ. มีหน้าที่ให้คาแนะนาแก่องค์กรกลางบริหารงานบุคคล องค์กรตาม
มาตรา ๖ วรรคสอง และหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่ปรากฏแก่ ก.ม.จ. ว่า การจัดทาประมวลจริยธรรมขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือ
องค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง หรือข้อกาหนดจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐแห่งใดไม่สอดคล้องกับมาตรฐาน
ทางจริยธรรมหรือมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.จ. กาหนดตามวรรคหนึ่งให้ ก.ม.จ. แจ้งให้
องค์กรกลางบริหารงานบุคคล องค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง หรือหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นดาเนินการแก้ไข
ให้ถูกต้อง และให้เป็นหน้าที่ขององค์กรกลางบริหารงานบุคคล องค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง หรือหน่วยงาน
ของรัฐที่จะต้องดาเนินการโดยเร็ว
หมวด 3
การรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
------------------------
มาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้หน่วยงานของรัฐดาเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) ก าหนดให้ มี ผู้ รั บ ผิ ด ชอบเกี่ ย วกั บ การรั ก ษาจริ ย ธรรมประจ าหน่ ว ยงานของรั ฐ ในการนี้ อ าจ
มอบหมายให้ส่วนงานที่มีหน้าที่และภารกิจในด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล หรือที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
หรือคณะกรรมการและกลุ่มงานจริยธรรมประจาหน่วยงานของรัฐที่มีอยู่แล้วเป็นผู้รับผิดชอบก็ได้
(๒) ด าเนิ น กิ จ กรรมการส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้ ค วามรู้ ฝึ ก อบรม และพั ฒ นาเจ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ ใน
หน่วยงานของรัฐ และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างให้มีการปฏิบัติตามประมวล
จริยธรรม รวมทั้งกาหนดกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่
ของรัฐ ตลอดจนสร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน
(๓) ทุกสิ้นปีงบประมาณ ให้จั ดทารายงานประจาปีตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ม.จ. กาหนดเสนอต่อ ก.ม.จ.
โดยให้หน่วยงานของรัฐเสนอรายงานประจาปีผ่านองค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรตามมาตรา ๖
วรรคสอง แล้วแต่กรณี เพื่อประเมินผลในภาพรวมของหน่วยงานของรัฐเสนอต่อ ก.ม.จ. ด้วย
มาตรา ๒๐ ให้ องค์กรกลางบริ ห ารงานบุคคลแต่ล ะประเภทและองค์กรตามมาตรา ๖ วรรคสอง
มีหน้าที่กากับดูแลการดาเนินกระบวนการรักษาจริยธรรม และการประเมินผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม
รวมทั้งให้มีหน้าที่และอานาจจัดหลักสูตรการฝึกอบรม การเผยแพร่ความเข้าใจตลอดจนการกาหนดมาตรการ
จูงใจเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐมีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี
และมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทาง
จริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมโดยอาจกาหนดมาตรการเพื่อใช้ในการบริหารงานบุคคลตาม
กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
176

ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
โดยที่เป็ น การสมควรให้ มีป ระมวลจริยธรรมข้ าราชการครูและบุ คลากรทางการศึก ษาเพื่ อ อนุ วั ติ
ให้เป็นไปตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งกาหนดให้มีมาตรฐานทาง
จริยธรรมเป็นหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่ อใช้เป็นหลักสาคัญในการ
จัดทาประมวลจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ
อาศั ย อ านาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ ง แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ ม าตรฐานทางจริ ย ธรรม
พ.ศ. ๒๕๖๒ ก.ค.ศ. ในฐานะองค์กรกลางบริห ารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึ กษา
จึงกาหนดประมวลจริยธรรมข้ าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อใช้เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาก
วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ 2 “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทาง
การศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้อ 3 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเพื่อรักษาจริยธรรมที่กาหนดไว้
อย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ ดังนี้
(๑) ยึดมั่นในสถาบัน หลั กของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสานึกที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และต่อผู้เกี่ยวข้องในฐานะข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา
(3) กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก และกระทาในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
(4) มีจิตอาสา จิตสาธารณะ มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้อง
(๕) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานอย่างเต็มกาลังความสามารถ ที่สะท้อนถึงคุณภาพ
ผู้เรียนและคุณภาพการศึกษา
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
(๗) ดารงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(8) เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คานึงถึงสิทธิเด็ก และยอมรับความแตกต่างของบุคคล
ข้อ 4 หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดจะต้องยึดถือหรือปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
ของวิชาชีพตามกฎหมายหรื อข้อบังคับ อื่นใดที่กาหนดไว้โดยเฉพาะ นอกจากจะต้องรักษาจริยธรรมตามที่
บัญญัติไว้ในประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้แล้ว จะต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณ
ของวิชาชีพนั้นด้วย
ข้อ 5 การจัดทาแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม
ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้ ให้เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กาหนด
ข้อ 6 ให้พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษาประพฤติ
ปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้ด้วย
ข้อ 7 ให้ประธาน ก.ค.ศ. รักษาการตามประมวลจริยธรรมนี้

ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖4


ตรีนุช เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.ค.ศ.

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
177

(๑) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบ


ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
178

(๒) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสานึกที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และต่อผู้เกี่ยวข้อง ในฐานะข้าราชการครูและ


บุคลากรทางการศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
179

(๒) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสานึกที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และต่อผู้เกี่ยวข้อง ในฐานะข้าราชการครูและ


บุคลากรทางการศึกษา (ต่อ)

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
180

(3) กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก และกระทาในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
181

(3) กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก และกระทาในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม (ต่อ)

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
182

(4) มีจิตอาสา จิตสาธารณะ มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้อง

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
183

(4) มีจิตอาสา จิตสาธารณะ มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้อง (ต่อ)

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
184

(๕) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานอย่างเต็มกาลังความสามารถ ที่สะท้อนถึงคุณภาพผู้เรียน


และคุณภาพการศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
185

(๕) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานอย่างเต็มกาลังความสามารถ ที่สะท้อนถึงคุณภาพผู้เรียน


และคุณภาพการศึกษา (ต่อ)

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
186

(๖) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
187

(๖) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ (ต่อ)

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
188

(๗) ดารงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
189

(๗) ดารงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ต่อ)

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
190

(8) เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คานึงถึงสิทธิเด็ก และยอมรับความแตกต่างของบุคคล

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
191

ข้อบังคับ ก.พ.
ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2537
โดยข้าราชการพลเรือนมีหน้าที่และความรับผิดชอบสาคัญในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการให้บริการ
แก่ประชาชน ซึ่งจาเป็นต้องทางานร่วมกันหลายฝ่าย ฉะนั้น เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนมีความประพฤติดี สานึก
ในหน้ า ที่ สามารถประสานงานกั บ ทุ ก ฝ่ า ย ตลอดจนการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ร าชการได้ อ ย่ า ง มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
ประสิทธิผลยิ่งขึ้นจึงสมควรให้มีข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไว้เป็นประมวล
ความประพฤติเพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรี และส่งเสริมชื่อเสียง เกียรติคุณ เกียรติฐานะของข้าราชการพลเรือน
อันจะยังให้ผู้ประพฤติเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธา และยกย่องของบุคคลทั่วไป
อาศัย อานาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 91 แห่ งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
พลเรือน พ.ศ. 2535 จึงออกข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนไว้ดังต่อไปนี้

จรรยาบรรณต่อตนเอง

ข้อ 1 ข้าราชการพลเรือนพึงเป็นผู้มีศีลธรรมอันดี และประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ


ข้อ 2 ข้าราชการพลเรือนพึงใช้วิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ และไม่แสวงหา
ประโยชน์โดยมิชอบ ในกรณีที่วิชาชีพใดมีจรรยาวิชาชีพกาหนดไว้ ก็พึงปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพนั้นด้วย
ข้อ 3 ข้าราชการพลเรือนพึงมีทัศนคติที่ดี และพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเพิ่มพูน
ความรู้ ความสามารถ และทักษะ ในการทางานเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ยิ่งขึ้น

จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน

ข้อ 4 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความสุจริต เสมอภาค และปราศจากอคติ


ข้อ 5 ข้าราชการพลเรือนพึงปฏิบัติ หน้าที่ราชการ อย่างเต็มกาลังความสามารถ รอบคอบ รวดเร็ว
ขยันหมั่นเพียร ถูกต้องสมเหตุสมผล โดยคานึงถึงประโยชร์ของทางราชการและประชาชนเป็นสาคัญ
ข้อ 6 ข้าราชการพลเรือนพึงประพฤติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลา และใช้เวลาราชการให้เป็นประโยชน์
ต่อทางราชการอย่างเต็มที่
ข้ อ 7 ข้ า ราชการพลเรื อ นพึ ง ดู แ ลรั ก ษาและใช้ ท รั พ ย์ สิ น ของทางราชการอย่ า งประหยั ด คุ้ ม ค่ า
โดยระมัดระวังมิให้เสียหายหรือสิ้นเปลืองเยี่ยงวิญญูชนจะพึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
192

จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน

ข้อ 8 ข้าราชการพลเรือนพึงมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน การให้ความร่วมมือช่วยเหลือกลุ่ม


งานของตนทั้งในด้านการให้ความคิดเห็น การช่วยทางานและการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งการเสนอแนะในสิ่งที่
เห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานในความรับผิดชอบด้วย
ข้ อ 9 ข้าราชการพลเรื อ นซึ่ งเป็นผู้ บัง คั บบั ญชา พึงดูแลเอาใจใส่ ผู้ อ ยู่ใ ต้บั ง คับ บัญชาในด้ า นการ
ปฏิบัติงาน ขวัญ กาลังใจ สวัสดิการ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนปกครอง ผู้
อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องตามทานองคลองธรรม
ข้อ 10 ข้าราชการพลเรือนพึงช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางที่ชอบ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความ
สามัคคี ร่วมแรงร่วมใจในบรรดาผู้ร่วมงานในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ข้อ 11 ข้าราชการพลเรื อนพึงปฏิบัติต่อผู้ ร่ว มงาน ตลอดจนผู้ เกี่ยวข้องด้ว ยความสุ ภ าพ มีน้าใจ
และมนุษยสัมพันธ์อันดี
ข้อ 12 ข้าราชการพลเรือนพึงละเว้นจากการนาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม

ข้อ 13 ข้าราชการพลเรือนพึงให้บริการประชาชนอย่างเต็มกาลังความสามารถด้วยความเป็นธรรม
เอื้อเฟื้อ มีน้าใจ และใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน เมื่อเห็นว่าเรื่องใดไม่สามารถปฏิบัติได้หรือไม่อยู่ในอานาจ
หน้ าที่ของตนจะต้องปฏิบั ติ ควรชี้แจงเหตุผ ลหรือแนะนาให้ ติดต่อยังหน่ว ยงานหรือบุคคลซึ่งตนทราบว่ า
มีอานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ต่อไป
ข้อ 14 ข้าราชการพลเรือนพึงประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป
ข้อ 15 ข้าราชการพลเรือนพึงละเว้นการรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัย
ที่วิญญู ช นจะให้ กัน โดยเสน่ ห าจากผู้ ม าติ ดต่ อราชการ หรือผู้ ซึ่งอาจได้ รับประโยชน์จ ากการปฏิ บัติ ห น้ า ที่
ราชการนั้น หากได้รับไว้แล้วและทราบภายหลังว่าทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่รับไว้มีมูลค่าเกินปกติวิสัย
ก็ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว เพื่อดาเนินการตามสมควรแก่กรณี
ข้อ 16 ข้อบังคับฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ให้ไว้ ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537


(ลงชื่อ) ชวน หลีกภัย
(นายชวน หลีกภัย)
นายกรัฐมนตรี
ประธาน ก.พ.

หมายเหตุ ข้อบังคับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทัว่ ไป เล่ม 111 ตอนที่ 19 ง ลงวันที่ 8 มีนาคม 2537

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
193

หลักธรรมาภิบาล
“หลั ก ธรรมาภิ บ าล” หรื อ อาจเรี ย กได้ ว่ า “การบริ ห ารกิ จ การบ้ า นเมื อ งที่ ดี หลั ก ธรรมรั ฐ และ
บรรษัทภิบาล ฯลฯ” ซึ่งเรารู้จักกันในนาม “Good Governance” ที่หมายถึง การปกครองที่เป็นธรรมนั้นไม่ใช่
แนวความคิดใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคม แต่เป็นการสะสมความรู้ที่เป็นวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของมวล
มนุ ษย์ เป็ น พัน ๆปี ซึ่งเป็ น หลั กการเพื่อการอยู่ร่ว มกันในบ้านเมืองและสั งคมอย่างมีความสงบสุ ข สามารถ
ประสานประโยชน์และคลี่คลายปัญหาข้อขัดแย้งโดยสันติวิธีและพัฒนาสังคมให้มีความยั่งยืน
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบที่สาคัญ 6 ประการดังนี้
1. หลั ก นิ ติ ธ รรม คื อ การตรากฎหมาย กฎ ระเบี ย บข้ อ บั ง คั บ และกติ ก าต่ า ง ๆ ให้ ทั น สมั ย และ
เป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่าง
เสมอภาคและเป็นธรรม กล่าวโดยสรุป คือ สถาปนาการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่กระทากันตามอาเภอใจ
หรืออานาจของบุคคล
2. หลักคุณธรรม คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดี
งามให้ ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านในองค์ ก รหรื อ สมาชิ ก ของสั ง คมถื อ ปฏิ บั ติ ได้ แ ก่ ความซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต ความเสี ย สละ
ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น
3. หลักความโปร่งใส คือ การทาให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา
และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการทางานขององค์กรให้มีความโปร่งใส
มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบหรือ
กระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และ
ช่วยให้การทางานของภาครัฐและภาคเอกชนปลอดจากการทุจริตคอร์รปั ชั่น
4. หลักความมีส่วนร่วม คือ การทาให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอ
ความเห็นในการตัดสินใจสาคัญ ๆ ของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม
ได้แก่ การแจ้งความเห็น การไต่สวน สาธารณะ การประชาพิจารณ์การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ และขจัดการ
ผูกขาดทั้งโดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่าง
ภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
5. หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหาร ตลอดจนคณะข้าราชการ ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจา
ต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างดียิ่ง โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ เพื่ออานวยความสะดวกต่าง ๆ
มีความรั บ ผิ ดชอบต่อความบกพร่ องในหน้าที่การงานที่ตนรับผิ ดชอบอยู่ และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้
ทันท่วงที
6. หลักความคุ้มค่า ผู้บริหาร ต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจากัด ดังนั้นในการบริหารจัดการ
จาเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ซึ่งจาเป็นจะต้องตั้งจุดมุ่งหมาย ไปที่ผู้รับบริการหรือ
ประชาชนโดยส่วนรวม

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
194

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
195

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
196

สรุประเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.๒๕๕๕
๑. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๕ มีผลบังคับใช้วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕
ปลัดสานักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
๒. ผู้มีอานาจการลาไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ หากมีเหตุจาเป็นเร่งด่วนให้เสนอใบลา
ต่อผู้มีอานาจเหนือขึ้นไปพิจารณา
- การลาในช่วงก่อนและหลังวันหยุดราชการประจาสัปดาห์หรือวันหยุดราชการประจาปีเพื่อให้
มีวันหยุดต่อเนื่องกัน ให้ผู้มีอานาจใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสม
๓. การนับวันลานับตามปีงบประมาณ
- การนั บ วั น ลาให้ นั บ ต่ อ เนื่ อ งกั น รวมวั น หยุ ด ราชการที่ อ ยู่ ระหว่ า งวัน ลาประเภทเดี ยวกัน
ยกเว้ น ลาป่ ว ย ลาไปช่ ว ยเหลื อ ภริ ย าที่ ค ลอดบุ ต ร ลากิ จ ส่ ว นตั ว ลาพั ก ผ่ อ น นั บ เฉพาะ
วันทาการ
- การลาป่วยหรือลากิจส่วนตัวต่อเนื่องกัน ในปีงบประมาณเดียวกันหรือไม่ก็ตาม นับเป็นหนึ่งครั้ง
- การลาไปช่วยเหลือภริยา ลากิจส่วนตัว (ไม่ใช่ลากิจเลี้ยงดูบุตร) ลาพักผ่อน หากมีราชการ
จาเป็นผู้บังคับบัญชามีอานาจเรียกกลับมาปฏิบัติราชการระหว่างลาได้ และถือว่าให้สิ้นสุด
วันลาก่อนวันกลับมาปฏิบัติราชการ แต่ถ้าผู้มีอานาจเห็นว่าการเดินทางต้องใช้เวลา ให้ถือว่า
สิ้นสุดก่อนวันเดินทางกลับ
- การลาครึ่งวันเช้าบ่าย นับเป็นการลาครึ่งวัน
- การยกเลิกวันลา การลาสิ้นสุดก่อนวันมาปฏิบัติราชการ
๔. การควบคุมการลา
- จัดทาบัญชีลงเวลาปฏิบัติราชการ
- เครื่องบันทึกเวลาการปฏิบัติราชการ
- แบบอื่นตามที่เห็นสมควรได้
๕. การลาต้องใช้ใบลาตามแบบที่กาหนด เว้นกรณีเร่งด่วนจาเป็นใช้วิธีการอื่นได้ แต่ต้องส่งใบลาตาม
แบบในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการส่วนราชการอาจนาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการเสนอ อนุญาต
และยกเลิกวันลา สาหรับวันลาป่วย ลาพักผ่อน ลากิจส่วนตัว (เว้นลากิจเลี้ยงดูบุตร)
๖. การไปต่างประเทศระหว่างการลา หรือวันหยุดราชการ ให้ เสนอขออนุญาตต่อผู้ บังคับบัญชา
ตามลาดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ (ผวจ.) แล้วรายงานให้ปลัดกระทรวงทราบด้วย
๗. การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุญาตได้ไม่เกิน ๗
วัน นายอาเภอท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อประเทศนั้นอนุญาตได้ไม่เกิน ๓ วัน
๘. ข้าราชการที่ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษ ให้รีบรายงานพฤติการณ์ ปัญหา
อุปสรรคต่อผู้บังคับบัญชาตามลาดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ (ผวจ.) ทันทีในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการแล้ว
ไม่ต้องนับเป็นวันลา แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นพฤติการณ์พิเศษ ให้ถือวันวันที่ไม่มาเป็นวันลากิจส่วนตัว
๙. การลาแบ่งออกเป็น ๑๑ ประเภท คือ
(๑) การลาป่วย
(๒) การลาคลอดบุตร
(๓) การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
(๔) การลากิจส่วนตัว
(๕) การลาพักผ่อน
(๖) การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
(๗) การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
197

(๘) การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติงานวิจัย หรือดูงาน


(๙) การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
(๑๐) การลาติดตามคู่สมรส
(๑๑) การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
๑๐. การลาป่วย
- เสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ยกเว้นจาเป็น เสนอวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
- ในกรณีที่ข้าราชการผู้ขอลามีอาการป่วย จนไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ ให้ผู้อื่นลาแทนได้
แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้วให้เสนอใบลาโดยเร็ว
- การลาป่วย ๓๐ วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์
- การลาป่วยไม่ถึง ๓๐ วัน ถ้าผู้มีอานาจอนุญาตเห็นสมควรให้เสนอใบรับรองแพทย์ประกอบ
การลา หรือสั่งให้ไปตรวจร่างกายประกอบการพิจารณาอนุญาตได้
๑๑. การลาคลอดบุตร (ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์)
- เสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ถ้าลงชื่อไม่ได้ให้ผู้อื่นลาแทนได้ เมื่อลงชื่อได้ให้ส่งใบลาโดยเร็ว
- ลาในวันที่คลอด ก่อนหรือหลังคลอดก็ได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน ๙๐ วัน
- ลาไปแล้วยังไม่คลอด ยกเลิกวันลาคลอดบุตรได้ ให้นับวันที่หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจ
- การลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวการลาประเภทอื่น ให้ถือว่าวันลานั้นสิ้นสุดลง และนับเป็นวันลา
คลอดบุตรนับแต่วันลาคลอดบุตร
๑๒. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร (ที่ชอบด้วยกฎหมาย)
- เสนอใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่คลอดบุตร ลาครั้งหนึ่งติดต่อกัน
ไม่เกิน ๑๕ วันทาการ
- ผู้มีอานาจอนุญาตอาจให้แสดงหลักฐานประกอบการพิจารณาได้
๑๓. การลากิจส่วนตัว
- เสนอใบลาจนถึงผู้มีอานาจอนุญาต ได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้
- ถ้ามีเหตุจาเป็น เสนอแล้วระบุสาเหตุ แล้วหยุดราชการไปก่อนได้ แต่ต้องรีบชี้แจงโดยเร็ว
- ถ้าไม่สามารถเสนอใบลาได้ ให้ส่งใบลาพร้อมเหตุผลความจาเป็นในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
- ลากิจส่วนตัวต่อเนื่องจากลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน ๑๕๐ วันทาการ
๑๔. การลาพักผ่อน
- เสนอใบลาจนถึงผู้มีอานาจอนุญาต ได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้
- ลาได้ปีงบประมาณละ ๑๐ วันทาการ
- ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง ๖ เดือนไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจาปีในปีที่บรรจุ
- ปีใดที่ไม่ได้ลา หรือลาแต่ไม่ครบ ๑๐ วัน ให้สะสมวันที่ยังไม่ได้ลารวมกับปีต่อๆ ไปได้แต่รวม
กับวันลาพั กผ่อนในปี ปัจจุบันแล้ว ไม่เกิน ๒๐ วันทาการ ถ้ารับราชการไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี
สะสมไม่เกิน ๓๐ วันทาการ
ปีแรก ลาพักผ่อน ๕ วัน เหลือ ๕ วัน
ปีที่สอง สิทธิลา ๑๐ วัน สะสม ๕ วัน รวม ๑๕ วัน ลาพักผ่อน ๔ วัน เหลือ ๑๑ วัน
ปีที่สาม สิทธิลา ๑๐ วัน สะสม ๑๐ วัน (รับราชการไม่ถึง ๑๐ ปี) รวม ๒๐ วัน
สะสม ๑๑ วัน (รับราชการไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี) รวม ๒๑ วัน

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
198

๑๕. การลาไปอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจญ์
- เสนอใบลาก่อนวันอุปสมบทหรือวันเดินทาง ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน ถ้าไม่ทันให้อยู่ในดุลพินิจของ
ผู้มีอานาจอนุญาต
- ต้องอุปสมบทหรื อเดินทาง ภายใน ๑๐ วันนับแต่วันเริ่มลา และรายงานตัวภายใน ๕ วัน
นับแต่วันที่ลาสิกขาหรือวันเดินทางกลับถึงประเทศไทย ทั้งนี้ นับรวมอยู่ในระยะเวลาที่ได้รับ
อนุญาตการลา
- ถ้ามีอุปสรรค ยกเลิกวันลาและให้นับวันที่หยุดราชการไปแล้วเป็นลากิจส่วนตัว
๑๖. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
- หมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือก
ภายใน ๔๘ ชั่วโมง
- หมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล รายงานต่อผู้บังคับบัญชาภายใน ๔๙ ชม. นับแต่เวลารับ
หมายเรียก
- รายงานลาแล้วไปเข้ารับการตรวจเลือกโดยไม่ต้องรออนุญาต ผู้บังคับบัญชารายงาน ผวจ.
ทราบ
- รายงานตัวกลับเข้ารับราชการภายใน ๗ วัน
๑๗. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย และดูงาน (ทั้งในประเทศและต่างประเทศ)
- เสนอใบลาตามลาดับจนถึง อธิบดี เพื่อพิจารณาอนุญาต แล้วรายงานปลัดกระทรวงทราบ
๑๘. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
- เสนอใบลาตามลาดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาอนุญาต (นับเวลาเต็มเวลาราชการ)
- ลาไม่ เ กิ น ๑ ปี รายงานตั ว ภายใน ๑๕ วั น นั บ แต่ วั น ครบก าหนดเวลา และรายงานผล
ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่กลับมาปฏิบัติราชการ
๑๙. การลาติดตามคู่สมรส
- เสนอใบลาตามลาดับจนถึงปลัดกระทรวงเพื่อพิจารณาอนุญาต
- ลาได้ไม่เกิน ๒ ปี จาเป็นลาต่อได้อีก ๒ ปี รวมแล้วต้องไม่เกิน ๔ ปี ถ้าเกิน ๔ ปีให้ลาออก
๒๐. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
- ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยเหตุปฏิบัติหน้าที่ราชการจนทุพพลภาพหรือพิการ
- ลาไปเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จาเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่
ราชการหรือจาเป็นต่อการประกอบอาชีพ
- ลาได้ครั้งหนึ่งตามระยะเวลาที่กาหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน ๑๒ เดือน
- ได้รั บ อัน ตรายเพราะเหตุอื่นจนทุพ พลภาพหรื อพิ การ ผู้ มีอานาจสั่ งบรรจุ (อธิบดี , ผวจ.)
เห็นว่ายังรับราชการได้ สามารถลาไปอบรบหลักสูตรที่จาเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้
แต่ไม่เกิน ๑๒ เดือน
- ต้องเป็ น หลั กสู ต รที่ส่ ว นราชการ หน่ว ยงานอื่นของรัฐ องค์กรการกุศลอันเป็นสาธารณะ
สถาบันที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของทางราชการ เป็นผู้จัดหรือร่วมจัด
- เสนอใบลา พร้อมหลักฐานเกี่ยวกับหลักสูตรที่จะลา เอกสารที่เกี่ยวข้อง ตามลาดับ เมื่อได้รับ
อนุ ญ าตแล้ ว จึ ง จะหยุ ด ราชการเพื่ อ ไปฟื้ น ฟู ไ ด้ (อธิ บ ดี อนุ ญ าตได้ ไ ม่ เ กิ น ๖ เดื อ น,
ปลัดกระทรวง,รมต. ไม่เกิน ๑๒ เดือน)

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
199

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
200

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. 2549 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
201

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
202

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
203

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
204

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)
205

อักษรย่อเกี่ยวกับการศึกษา
อักษรย่อ ชื่อเต็ม
ศธ. กระทรวงศึกษาธิการ
สป.ศธ. สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กกอ. คณะกรรมการการอุดมศึกษา
กอศ. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กพฐ. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สพท. สานักงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
สพฐ. สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สกอ. สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สกศ. สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สช. สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ก.ค.ศ. สานักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สกสค. สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
สทศ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
สมศ. สานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
สกว. สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
สสวท. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สวทช. สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สคบส. สถาบันพัฒนาครูและคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
สพร. สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
ก.พ.ร. สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
คพร. คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
สพท. สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
กพ. สานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สานักงาน กศน. สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สานักงาน กศน. สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด....................
จังหวัด...........
กศน. อาเภอ........... สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอ.....................
ศรช. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
ศฝช. ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน

กฎหมายการศึกษา (ห้ำมจำหน่ำย)

You might also like