You are on page 1of 4

เถาวัลเปรียง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Derris scandens (Roxb.) Benth

ลักษณะทั่วไปเถาวัลย์เปรียง เถาวัลย์เปรียง เป็ นไม้เถาขนาดใหญ่ เถามัก


จะบิดเนื้อไม้สีมีวงเข้ม ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ชนิดแดง (เนื้อสีแดงวงสี แดงเข้ม)
และชนิดขาว (เนื้อออกสีน้ำตาลอ่อนๆ วงสีนํ้าตาลไหม้)
ต้นเถาวัลย์เปรียง จัดเป็ นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกล
ถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและ ทนทาน กิ่ง แตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว
เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบ
และเหนียว เป็ นสีนํ้าตาลเข้มอมสีดําหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้
เป็ นสีออกนํ้าตาลอ่อนๆ มีวงเป็ นสีน้ำตาล ไหม้ คล้าย กับเถาต้นแดง (เนื้อ
ไม้มีรสเฝื่ อนและเอียน) ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม
ใบเถาวัลย์เปรียง ใบเป็ นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน มีใบ
ย่อย 4-8 ใบ ลักษณะของใบย่อย เป็ นรูปรี ปลายใบเป็ นรูปหอก โคนใบ
มน ขอบใบเรียบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.25 เซนติเมตร และ
ยาว ประมาณ 3-5 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็ นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบ
เรียบ
ดอกเถาวัลย์เปรียง ออกดอกเป็ นช่อตามซอกใบและปลายยอด ช่อดอก
เป็ นสีขาวห้อยลง ดอกเป็ นสีขาวอม สีม่วง อ่อนคล้ายกับดอกถ่ัว กลีบดอก
มี 4 กลีบ และมีขนาดไม่เท่ากัน สวนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็ นรูปถ้วย
สี ม่วงแดง
ผลเถาวัลย์เปรียง ออกผลเป็ นฝั กแบน โคนฝั กและปลายฝั กมน ฝั กเมื่อแก่
เป็ นสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝั กมี เมล็ด ประมาณ 1-4 เมล็ด
สรรพคุณ
1. เถาใช้ต้มรับประทานเป็ นยาถ่ายกระษัย แก้กระษัย (เถา)
2. รากมีรสเฝื่ อนเมา ใช้เป็ นยาอายุวัฒนะ (ราก),, ใช้เป็ นส่วนประกอบ
ของยาอายุวัฒนะ เพื่อช่วยทําให้ร่างกายแข็งแรง
3. ตํารับยาไทยใช้รากเป็ นยารักษาอาการไข้ (ราก)
4. ช่วยแก้หวัด แก้ไอ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะ
กรรมการพัฒนาระบบยา แห่งชาติ ใน บัญชียาหลักแห่งชาติเถาวัลย์
เปรียงจัดอยู่ในกลุ่มยารักษาอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ระบุ รูป
แบบและขนาด วิธีใช้ยาดังนี้
1. บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ ผงจากเถา
ของเถาวัลย์เปรียง รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ถึง 1 กรัม วันละ 3
ครั้ง หลังอาหารทันที
2. บรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง และอาการปวดจากข้อเข้าเสื่อม
สารสกัดจากเถาด้วย 50%เอทานอล รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม
วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารทันที
ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
คําเตือน: ควรระวังการใช้ในผู้ป่ วยแผลเพปติก เนื่องจากเถาวัลย์เปรียง
ออกฤทธิ์คล้ายยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ จึงอาจทําให้เกิดการ
ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
อาการไม่พึงประสงค์ : ปวดท้อง ท้องผูก ปั สสาวะบ่อย คอแห้ง ใจสั่น
เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อุจจาระเหลว

ใบมะขามแขก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna alexandrina Mill
มีสรรพคุณที่โดดเด่นในเร่ืองของการใช้เป็ นยาถ่าย เหมาะสําห
รับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีกําลังน้อย เด็ก คนที่เป็ น ริดสีดวง หรือผู้ที่มีปั ญหาท้อง
ผูกอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) ที่มี
ฤทธิ์ช่วย กระตุ้นการบีบตัวของลําไส้ใหญ่ให้ถ่ายท้องได้ โดยส่วนที่นํามา
ใช้เป็ นยาสมุนไพรได้แก่ ส่วนของใบแห้งและฝั กแห้ง ที่มีอายุในช่วง 1
เดือนครึ่ง (หรือช่วงก่อนออกดอก) แต่ควรใช้เป็ นครั้งคราวเท่านั้นเพื่อ
ความปลอดภัย
สรรพคุณของมะขามแขก
๑. ใบและฝั กมะขามแขกใช้ปรุงเป็ นยาถ่าย ยาระบายได้ดี และช่วย
แก้อาการท้องผูกได้ โดยให้นําใบมะขาม แขกประมาณ 2 หยิบมือ
(ประมาณ 2 กรัม) หรือจะใช้ฝั กประมาณ 10-15 ฝั ก นํามาต้มกับ
น้ำ 1 ถ้วยแก้ว ประมาณ 4 นาที และใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อช่วยกลบ
รสเฝื่ อน แล้วใช้รับประทานเพียงครั้งเดียว หรืออีกวิธี จะใช้วิธีการ
บดใบแห้งให้เป็ นผง ใช้ชงกับน้ํ าดื่มก็ได้ สําหรับบางรายที่ดื่มแล้ว
เกิดอาการไซ้ท้อง หรืออาการ ปวดมวนท้อง (ใบจะออกฤทธิ์ไซ้ท้อง
มากกว่าฝั ก) ให้แก้ไขด้วยการนํามาต้มรวมกับยาขับลมปริมาณเพียง
เล็กน้อย เช่น กานพลู ขิง อบเชย กระวาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการ
ไซ้ท้องและเพื่อแต่งรสให้ดีขึ้น (ใบ, ฝั ก)
๒. ใบมะขามแขกช่วยทําให้อาเจียน(ใบ)
๓. ช่วยถ่ายพิษไข้ (ใบ, ฝั ก)
๔. ช่วยถ่ายพิษเสมหะ(ใบ)
๕. ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
๖. ช่วยขับลมในลําไส้(ใบ,ฝั ก)
๗. ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลําไส้ (ใบ) ๘. ช่วยถ่ายพิษ
อุจจาระเป็ นมูก(ใบ)
๙. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร(ใบ,ฝั ก)
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา
ยาแคปซูลชนิดแข็ง รับประทานครั้งละ 2-3 แคปซูล วันละ 1 ครั้ง
ก่อนนอน
ยาชง รับประทานครั้งละ 2 ซอง แช่ในน้ํ าร้อนประมาณ 120-200
มิลลิลิตร นาน 10 นาที รับประทานวันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
ข้อควรระวัง สําหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรหรือในหญิงมีประ
จําเดือนห้ามรับประทานมะขามแขก ห้ามใช้สมุนไพรมะขามแขกใน
เด็กที่มีีอายุต่ำกว่า 10 ปี
ผลข้างเคียงมะขามแขก สําหรับบางรายอาจมีอาการไซ้ท้องหรืออาการ
ปวดมวนได้ท้องได้ การใช้มะขามแขกเป็ นยาระบาย ให้กินในช่วงก่อน
นอน โดยยาจะออกฤทธิ์ประมาณ 8-10 ชั่วโมงหลังจาก รับประทาน โดย
ตัวยาจะทําให้อุจจาระมีมวลมากขึ้น ทําให้อุจจาระมีลักษณะนิ่ม ขับถ่าย
ได้สะดวก
เมื่อใช้ในการรักษาอาการท้องผูก ควรใช้เป็ นครั้งคราว หรือใช้ยาเท่าที่จํา
เป็ น และใช้รักษาในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ใช้ ติดต่อกันเกินกว่า 2 สัปดาห์

You might also like