You are on page 1of 18

ไมโครอิมัลชันและไมโครอิมัลชันเจลในการนำส่งยาต้านสิวเฉพาะที่

(Microemulsions and microemulsion-based gels for topical delivery of anti-


acne drugs)
ชื่อผู้เขียนบทความ นศภ.มาลิสา มาลีหอม นศภ.ศิริลักษณ์ นาคเนตร และ รศ.ดร. ประภาพร บุญมี

1.บทคัดย่อ
ไมโครอิมัลชันเป็นหนึ่งในระบบนำส่งยา สามารถแบ่งออกเป็นได้สามประเภท คือ ชนิดน้ำในน้ำมัน
ชนิดน้ำมันในน้ำ และ ชนิดต่อเนื่องแบบคู่ ซึ่งสามารถเตรียมได้โดยการผสมสารในวัฏภาคน้ำ สารในวัฏภาค
น้ ำมั น สารลดแรงตึงผิวในอัตราส่วนขององค์ ประกอบที ่เ หมาะสมซึ ่ งได้ข้ อมู ลจากพื ้น ที่ ไมโครอิ มัลชันใน
แผนภาพวัฏภาคไตรภาคหรือแผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียม ไมโครอิมัลชันเป็นระบบที่มีข้อดีหลายประการ
คือ มีความเสถียรต่ออุณหพลศาสตร์ มีความโปร่งใสทำให้มีรูปลักษณ์ที่ดี เตรียมได้ง่าย มีความสามารถในการ
ละลายสูงเพิ่มการซึมผ่านสู่ผิวหนัง ระคายเคืองต่อผิวหนังน้อย ในปัจจุบันจึงมีการนำระบบไมโครอิมั ลชั นมาก
ขึ้นในทางด้านยา และในบทความนี้มุ่งเน้นไปที่การใช้ไมโครอิมัลชันในการนำส่งยาต้านสิวเฉพาะที่ เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพของยาต้านสิว เพิ่มการซึมผ่านผิวหนัง เพิ่มการกักเก็บยาใต้ผิวหนัง หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของยา
ลดการระคายเคือง และเพิ่มการละลายของยาที่ไม่ชอบน้ำ อีกทั้งการเตรียมในรูปแบบไมโครอิมัลชันเจลยังช่วย
เพิ่มความหนืดเพื่อให้ยาสามารถคงอยู่บนผิวหนังได้นานมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการพัฒนาการนำส่งยาในรู ปแบบไม
โครอิ ม ั ลชั น และไมโครอิมัลชัน เจลจึง เป็ น ทางเลื อ กหนึ ่ง ในการเพิ ่ มประสิ ทธิ ภาพของยาและสามารถลด
ผลข้างเคียงข้างยาต้านสิวได้ เช่น isotretinoin, tazarotene, dapsone, azelaic acid, cinnamaldehyde
และ berberine

2. คำสำคัญ : ไมโครอิมัลชัน, ไมโครอิมัลชันเจล, ยาต้านสิว, ระบบนำส่งยาเฉพาะที่

3. บทความทางวิชาการฉบับเต็ม

1
3.1 วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

1.ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเกิดสิวและประเภทของสิว

2.ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับไมโครอิมัลชัน

3. ทราบถึงประโยชน์ของการนำส่งยาต้านสิวในรูปแบบไมโครอิมัลชัน/ไมโครอิมัลชันเจล

3.2 เนื้อหา

สิว (Acne, Acne Vulgaris)(1)

สิว เกิดขึ้นจากเซลล์ผิวที่ตายแล้วและไขมันที่มากเกินไปมาอุดตันรูขุมขน ซึ่งส่งผลให้เกิดการสะสมของ


ไขมันใต้ผิวและไปกระตุ้นการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium acne
(P.acne) ซึ่งในปัจจุบันมีชื่อว่า Cutibacterium acne (C.acne) ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นเพื่อต่อต้าน
กับเชื้อแบคทีเรีย P.acne ที่เพิ่มขึ้นและทำให้เกิดการอักเสบต่อไป ซึ่งจะเห็นเป็นรอยแดง ปวด บวม และเกิด
หนองและสิว (รูปที่1) สิวแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ

1. สิวอุดตัน (non-inflammatory acne)แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทย่อยๆ ดังนี้


1.1 สิวอุดตันหัวเปิด หรือ สิวหัวดำ (blackheads) จะมีลักษณะเป็นสิวหัวดำแข็งๆ ในระยะแรกๆ หัว
สิวของสิวอุดตันหัวดำจะเป็นสีขาวเหลือง ซึ่งเป็นสีของเคราตินและไขมัน แต่เมื่อหัวสิวสัม ผั สกับ
อากาศระยะหนึ่ง หัวสิวจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ และเปลี่ยนสีเป็นสีดำ
1.2 สิวอุดตันหัวปิดหรือสิวหัวขาว (whiteheads) มีลักษณะเป็นสิวเม็ดเล็กๆ หัวขาวเกิดจากการ
อุดตันภายในรูขุมขน เมื่อแบคทีเรีย ซีบัม และเคราตินรวมตัวกันจะเกิดเป็นถุงซีสต์ หากปล่อยไว้
ไม่รักษา ถุงซีสต์เหล่านี้จะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และดันผนังรูขุมขนให้แตกออก เข้าสู่ผิวหนังและเกิดการ
อักเสบ
2. สิวอักเสบ(inflammatory acne)แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทย่อยๆ ดังนี้
2.1 สิวตุ่มแดง (papule) จะเป็นสิวแดงกลมๆขนาดเล็ก ไม่มีหัวหรือหนอง รู้สึกเจ็บเล็กน้อยเมื่อสัมผัส
อาจเกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรียผสมกับการอุดตันของรูขุมขน หรือพัฒนามาจากสิวอุดตัน
2.2 สิวหัวหนอง (pustule) มีลักษณะเป็นตุ่มสิวแดงๆ ตรงกลางจะมีจุดสีขาวเหลือง ซึ่งจุดสีขาว
เหลือง คือหนองที่เกิดภายใต้ผิวหนัง เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อย สิวหัวหนองเกิด จากทั้ง
แบคทีเรียพร้อมกับการอุดตันของรูขุมขน หรืออาจพัฒนามาจากสิวอุดตัน

2
2.3 สิวหัวช้าง หรือสิวตุ่มแดงใหญ่ (nodule) มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดใหญ่และแข็งสาเหตุเกิ ด จาก
การติดเชื้อแบคทีเรีย ลุกลามเข้าไปถึงชั้นผิวหนังที่ลึกขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบรุนแรง

รูปที่ 1 กระบวนการการเกิดสิว

(ที่มา :https://coastalvalleydermatology.com/acne-treatment-center/ )

รูปที่ 2 ประเภทของสิว

(ที่มา : www.thaitopclinic.com/type-of-acne/ )

ไมโครอิมัลชัน (Microemulsions)(2,3)

ไมโครอิมัลชัน เป็นผลิตภัณฑ์ของเหลวที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวใสประกอบด้วยวัฏภาคน้ำ (water


phase) และวัฏภาคน้ำมัน (oil phase) ซึ่งทําให้เกิดเสถียรภาพโดยฟิล์มที่ผิวประจันของสารลดแรงตึงผิว หรือ
ของสารผสมระหว่างสารลดแรงตึงผิวกับสารลดแรงตึงผิวร่วม(surfactant/cosurfactant mixture) ไมโคร
อิมัลชันจำแนกได้เป็น 3 ประเภทตามลักษณะการกระจายตัวของวัฏภาคน้ำและวัฏภาคน้ำมัน ในระบบคือ
ประเภทน้ ำมัน ในน้ำ (oil-in-water),ประเภทน้ ำ ในน้ ำมั น (water-in-oil) และประเภทต่ อ เนื ่ อ งแบบคู่
3
(bicontinuous) ไมโครอิมัลชันทุกประเภทได้รับความนิยมในการศึกษาวิจัยทั้งในเชิงคุณลักษณะและในเชิง
ประสิทธิภาพเพื่อใช้เป็นตัวกลางในการนำส่งยาเข้าสู่ร่างกายได้ทางให้ยาต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางผิ วหนัง ซึ่ง
ระบบไมโครอิมัลชันมีข้อดีหลายประการ คือ

1) ไมโครอิมัลชันมีลักษณะที่ใสและน่าใช้โดยอาจนำไปใช้ในรูปของเหลวแบบหยด(drops) หรือสเปรย์
(sprays) หรืออาจเติมสารก่อเจล (gelling agent) เพื่อปรับรูปให้เป็นไมโครอิมัลชันเจล
2) ไมโครอิมัลชันเป็นระบบที่มีเสถียรภาพทางอุณหพลวัต(thermodynamic stability)

3) ไมโครอิมัลชันสามารถเกิดขึ้นได้เองเมื่อระบบมีชนิดและความเข้มข้นของวัฏภาคน้ำและวัฏภาคน้ำมัน
สารลดแรงตึงผิว และสารลดแรงตึงผิวร่วมที ่เ หมาะสมจึง ผลิตได้ง่ายโดยการผสมธรรมดาไม่ จำเป็นต้อ งใช้
เครื ่ อ งมือที่ ซับซ้อ นซึ่ง เป็นข้อเด่นของไมโครอิ มัลชั น ที ่ เหนื อกว่าอิม ัลชั น (emulsion) และนาโนอิ มัลชัน
(nanoemulsions)โดยสองรูปแบบหลังจำเป็นต้องใช้พลังงานในกระบวนการผลิตสูง

4) ไมโครอิมัลชันมีกำลังในการละลายสูงจึงสามารถผสมเข้ากับสารได้หลากหลายทั้งสารที่ชอบน้ำมันและ
สารที่ชอบน้ำ

5) โครงสร้างระดับไมโครทำให้ไมโครอิมัลชันสามารถนำส่งสารสำคัญทางยาเข้าสู่ผิวหนังได้ดีกว่าตำรับใน
รูปแบบดั้งเดิมจึงช่วยเรื่องดังต่อไปนี้เช่น

-ช่วยเพิ่มการซึมผ่านของยาทางผิวหนังซึ่งการนำส่งสารสำคัญทางยาเข้าสู่ผิวหนังในชั้นล่างๆของหนัง
กำพร้ามีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของสารสำคัญของยาหลายชนิด

-ลดผลการระคายเคืองต่อผิวหนังที่เกิดจากยา

-เพิ่มความสามารถในการละลายของยา

ประโยชน์ของการนำส่งยาต้านสิวแบบเฉพาะที่ในรูปแบบไมโครอิมัลชัน/ไมโครอิมัลชันเจล
1. เพิ่มการซึมผ่านผิวหนังของยาต้านสิว (Skin permeation)(3-5)
จากการศึกษาเรื่องDevelopment and Evaluation of Azelaic Acid-Loaded Microemulsion for
Transfollicular Drug Delivery Through Guinea Pig Skin: A Mechanistic Study โดย Salimi A. และ
คณะ(3) ได้มีการศึกษาการซึมผ่านของยาazelaic acid โดยการใช้ไมโครอิมัลชันเป็น drug carrier เนื่องจาก
azelaic acid เป็นยาต้านสิวที่มีความสามารถในการซึมผ่านของผิวหนัง ที่ไม่ดีทำให้ลดประสิทธิภาพในการ
รักษาและเพิ่มการระคายเคืองของผิวได้ผู้วิจัยมีการสร้างแผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียม จากนั้นจะเลือกจุด ใน
พื้นที่แรเงามาทั้งหมด 8 จุด โดยจะเลือกจากแผนภาพวัฏภาค a. 4 จุด และ แผนภาพวัฏภาค b. 4 จุด ดัง
4
แสดงในรูปที่ 3 จากนั้นนำมาเตรียมสูตรไมโครอิมัลชัน 8 สูตรและสูตรควบคุมคือ azelaic acid solutionซึ่งมี
การศึกษาการซึมผ่านผิวหนังของ Azelaic acidโดยใช้ vertical diffusion cells และใช้บริเวณหน้าท้องที่มีขน
และบริ เวณผิวหนัง หูท ี่ไ ม่ม ีขนของหนูตะเภานำมาใช้ เ ป็ น แบบจำลองของ follicular และepidermal
pathwaysตามลำดับ ซึ่งก่อนการทดสอบจะมีการปรับสมดุลผิวหนังก่อน และreceptor chamberจะเติม
สารละลายPBS (PBS,pH 7) จากนั ้ น นำผิ ว หนั ง ที ่ เ ตรี ย มไว้ ไ ปวางระหว่ า ง donor และ receptor
compartments ซึ่งdonor chamber จะเติมสูตรที่ผู้วิจัยต้องการทดสอบ จากนั้นนำสารละลายในreceptor
chamber ออกมาที่เวลา 0.5,1,2,3,4,5,6,7,8,24 และ 48 ชั ่ วโมง เพื ่ อ นำไปหาปริ มาณการซึ มผ่านของ
Azeleic acid

รูปที่ 3 แผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียม โดย aและ bจะประกอบด้วย S:C ในอัตราส่วน 4:1 และ 6:1ตามลำดับ
(3)

โดยค่าdroplet diffusion coefficients ที่สูงและค่า hydrodynamic radius ที่ต่ำ ทำให้เกิดการซึม


ผ่ านของ Azelaic acid สูง กว่าเมื่อ เปรียบเที ย บกั บกลุ ่ ม การควบคุ ม (ตารางที่)ซึ่ ง ME-1 มี ค่ า droplet
diffusion coefficient สูงสุด และ ค่า hydrodynamic radius ต่ำสุด จึงเป็น ME ที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มค่า
affinity ของ azelaic acid
ตารางที่ 1 ผลลัพธ์ของการทดลอง Diffusion and Hydrodynamic size, enthalpy (∆H) และtransition
temperatures (Tm) ของ drug-loaded MEs (Mean±SD, n=3) (3)

5
จากผลการทดลองพบว่าสูตรไมโครอิมัลชันมีค่าฟลักซ์ (Jss) และค่าpermeation (P) สูงกว่ากลุ่ม
ควบคุม ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าระบบไมโครอิมัลชันสามารถเพิ่มการซึมผ่านของ azelaic acidซึ่งค่า permeation จะ
แสดงปริมาณยาต่อพื้นที่ (mg/cm2) แต่ค่าฟลักซ์ (Jss) จะแสดงอัตราของปริมาณยาที่ซึมผ่านต่อพื้นที่ต่อ
ชั่วโมง (mg/cm2/h)
ตารางที่ 2 พารามิเตอร์การซึมผ่านของกรด Azelaic acid loaded MEsในการทดลองแบบin vitroในบริเวณ
ผิวหนังที่มีขนและไม่มีขนของหนูตะเภา (Mean±SD, n=5) (3)

จากการศึก ษาเรื่องA novel hydrogel-thickened microemulsion of dapsone for acne


treatment: Development, characterization, physicochemical stability and ex vivo permeation
studies โดย B. Lida และคณะ(4) เตรียมยา dapsone ในรูปแบบไมโครอิมัลชันเจล เนื่องจากยาdapsoneซึม
ผ่านชั้นstratum corneumได้น้อย จึงใช้ระบบไมโครอิมัลชันในการเพิ่มความสามารถในการซึมผ่านผิวหนัง ซึ่ง
ผู้วิจัยมีการสร้างแผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียม 2 แผนภาพ ซึ่งแผนภาพ a จะมี Isopropyl myristate เป็น
oil phase และแผนภาพ b. จะมี Oleic acidเป็นoil phase จากนั้นผู้วิจัยจะเลือกจุดในพื้นที่แรเงาของแต่ละ
วแผนภาพมาอย่างละ 1 จุด เพื่อเตรียมเป็นสูตร ME-1 และ ME-2 และจากการทดสอบพบว่า ME-2 มี
particle size อยู่ในช่วงที่ไม่เหมาะสม จึงไม่ได้นำไปพิจารณาในพัฒนาต่อไป ส่วน ME-1นำมาพัฒนาเป็น ME-
3 และ ME-4 ( ตารางที่ 3)

6
รูปที่ 4 แผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียม โดยแผนภาพa. มีIsopropyl myristate เป็น oil phaseและ
แผนภาพb. มี Oleic acid เป็น oil phase (4)

ตารางที่ 3 ส่วนประกอบสูตรไมโครอิมัลชันแต่ละสูตรและสูตรเจลควบคุม(4)

และทำการศึกษาการซึมผ่านผิวหนังโดยใช้ Franz diffusion cellโดยใช้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องของหนู วิสตาร์


เพศผู้ที่มีการโกนขนออกขนาด3.46 ตารางเซนติเมตรจากนั้นนำผิวหนังไปล้างด้วยน้ำเกลือ และห่อด้วยแผ่น
อะลูมิเนียมเก็บไว้ที่อุณหภูมิ-21 องศาเซลเซียส ใช้ 30% absolute ethanol ในน้ำกลั่น เป็น receptor fluid
และเติมสูตรที่ต้องการทดสอบใน donor chamber จากนั้นที่เวลา 0-10 ชั่วโมง นำ receptor fluid ใน
receptor chamber ไปวิเคราะห์หาปริมาณของยา dapsone
ผลการทดสอบพบว่าค่าฟลักซ์ (Jss)และ ค่า Cumulative amount of drug permeation (Q10)
ของ MG4, MG3 และ MG1สูง กว่า รูปแบบเจลทั ่วไปอย่างมี นั ยสำคั ญ (p <0.05)ซึ ่ ง บ่ ง ชี้ ได้ ว่าการเตรียม
dapsone ในรูปแบบไมโครอิมัลชันเจล สามารถเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังของยาได้มากกว่ารูปแบบเจลทั่วไป
เนื่องจากไมโครอิมัลชันประกอบด้วย solubilizing agent เช่น Tween 80, Diethylene glycol monoethyl
ether,Ethanol ซึ่งช่วยเพิ่มการละลายของยา dapsone และเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังของยา นอกจากนี้การ
เติ ม menthol ลงไปในสูตร ก็ ช่วยเพิ่ม การซึ ม ผ่ านผิ วหนั ง เนื ่ อ งจาก menthol จะทำให้ ชั ้ น stratum

7
corneum แข็งแรงน้อยลงโดยไปทำลาย Hydrogen bond ของ ceramide ซึ่ง ceramide จะทำหน้าที่ให้
ความแข็งแรงและความคงตัวของชั้น stratum corneum

ตารางที่ 4 พารามิเตอร์ permeationของไมโครอิมัลชันเจล และเจลควบคุม(4)

รูปที่ 5 permeation profiles ของ dapsone (4)

จากการศึก ษาเรื่อ ง Novel microemulsion-based gel formulation of tazarotene for


therapy of acne โดย Mrunali Rashmin และคณะ(5) ซึ่งสร้างแผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียม และเลือกจุด
ในพื้นที่แรเงามา 8 จุด เพื่อเตรียมเป็นตำรับ 8 ตำรับ จากนั้นมีการศึกษาประสิทธิภาพในด้านต่างๆของแต่ ละ
สูตรตำรับและพบว่าสูตรที่ดีที่สุดคือสูตร ME-8 จากนั้นผู้วิจัยนำ ME-8 มาพัฒนาต่อโดยนำมาเตรียมเป็นยา
tazarotene ในรูปแบบไมโครอิมัลชัลเจล และทำการศึกษาเรื่องskin permeation เทียบกับ Tazarotene
market gel ที่มีความเข้มข้นของยา tazarotene 0.05 %โดยทำการทดสอบด้วยvertical franz diffusion
cell ซึ่งทำการทดสอบกับหนูวิสตาร์ตัวผู้ โดยจะโกนขนและตัดผิวหนังบริเวณหน้าท้องของหนูแต่ละตัวซึ่งมี

8
ความหนาเท่าๆกัน และมีพื้นที่ 3.14 ตารางเซนติเมตร จากนั้นนำไปล้างด้ วยน้ำเกลือ และนำไปแช่ ตู้ เ ย็น ที่
อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียล และก่อนทำการทดสอบการซึมผ่าน จะทำให้ผิวหนังของหนูที่เตรียมไว้ชุ่มชื้นด้วย
สารละลายบัฟ เฟอร์ pH 7.4 นาน 30 นาที ที ่ อ ุ ณ หภู มิ ห้ องเพื่ อกำจัด เอนไซม์และเศษที ่อ ยู่ ภายนอก ใน
receptor chamber บรรจุน้ำเกลือ: เอทานอล 95 % ในอัตราส่วน 7 : 3 v/v ปริมาณ 12 มิลลิลิตรและ
donor compartment จะบรรจุสารตัวอย่างของสูตรที่ต้องการทดสอบปริมาณ 1 กรัมจากนั้นนำของเหลวใน
receptor chamberปริมาณ 10 มิลลิลิตรออกมาที่เวลา 1, 2, 4, 6, 8,10 และ 12 ชั่วโมงและนำไปวิเ คราะห์
หาปริมาณของ tazarotene โดยผู้วิจัยนำไปวิ เคราะห์ด้ ว ยเครื ่อง HPTLC ซึ่ง HPTLC เป็นเครื่องมือ ที่มี
ประสิทธิภาพ ซึ่งอาศัยการเคลื่อนที่บนชั้นของตัวดูดซับที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กกว่าซึ่งมีขนาดเส้น ผ่าน
ศูนย์กลางประมาณ 5 ไมโครเมตร และมีความแตกต่างจาก HPLC ซึ่งเป็นวิธีที่นิยม คือ HPLC ประกอบด้วย
ระบบการไหลของปั้มที่ขับเคลื่อนด้วยเฟสที่อยู่นิ่งในคอลัมน์ ในขณะที่ HPTLC เป็นประเภทของโครมาโตกราฟี
แบบระนาบที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่ผ่านเฟสคงที่ บน plate นอกจากนี้ HPLC ยังประกอบด้ วยระบบปิ ด
ในขณะที่ HPTlC เป็นระบบปิด (8)

รูปที่ 6 แผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียมของlabrafac CC, Cremophor RH40/Capmul MCM


(Emix, 1:1)และ น้ำ(5)
จากผลการทดสอบการซึมผ่านผิวหนังหนูของยา tazarotene ในรูปแบบไมโครอิมัลชัลเจลกับรูปแบบ
เจลทั่วไปที่วางขายตามท้องตลาด พบว่า ค่าฟลักซ์ (Jss) และค่าประสิทธิภาพการซึมผ่าน (Kp) ของรูปแบบ
ไมโครอิมัลชัลเจลมีค่าสูงกว่ารูปแบบเจลทั่วไป เนื่องจากมี labrasol, cremophor RH-40 และ capmul
MCM เป็น surfactant และ cosurfactant ในตำรับ ซึ่งทำหน้าที่เป็น permeation enhancers โดยการลด
diffusional barrier ของชั้น stratum corneum ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ว่าการเตรียมtazarotene ในรูปแบบ

9
ไมโครอิมัลชัลเจลสามารถเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อเทียบกับเจลทั่วไปที่วางขาย
ตามท้องตลาด
ตารางที่ 5 Permeation parameters ของ tazarotene ในรูปแบบไมโครอิมัลชันเจลและเจลทั่ วไปตาม
ท้องตลาด(5)

รูปที่ 7 Permeation profiles ของ tazarotene ในรูปแบบไมโครอิมัลชันเจลและเจลทั่วไปตาม


ท้องตลาด(5)

2. เพิ่มการกักเก็บยาใต้ผิวหนังของยาต้านสิว (Skin retention)


จากการศึก ษาเรื่อ ง Novel microemulsion-based gel formulation of tazarotene for
therapy of acne โดยMrunali Rashmin และคณะ ทำการศึกษาเรื่อง skin retentionเพื่อวิเคราะห์ หา
ปริมาณยาในผิวหนังหนูที่ผ่านการทดสอบ skin permeationมาทำความสะอาดผิวหนัง ของหนูด้วยน้ำและเม
ทานอลทั้งสองด้านและเช็ดให้แห้ง จากนั้นเติมเมทานอลตามจำนวนที่กำหนดลงบนผิวหนังหนูแต่ละชิ้น ซึ่ง
ตั วอย่ างจะถูกปั่น แยกเป็น เวลา 10 นาทีเพื่ อแยกปริ มาณยาและคนข้ ามคืน จากนั ้ น ตั วอย่างจะถูกนำมา
วิเคราะห์โดยใช้HPTLC

10
จากผลการทดสอบพบว่ารูปแบบไมโครอิมัลชันเจลจะมีปริมาณของยา tazarotene สะสมใต้ผิวหนัง
(47.33 ± 0.82 mg) สูงกว่ารูปแบบเจลทั่วไปที่วางขายตามท้องตลาด(35.00 ± 1.73 mg)อย่างมีนัยสำคัญ
(p<0.05) (ตารางที่ 5)

3. ลดการระคายเคืองของผิว (Skin irritation)(6)

จากการศึกษาเรื่อง Novel isotretinoin microemulsion-based gel for targeted topical


therapy of acne โดย Mrunali Rashmin และคณะ(6) ศึกษา Skin irritation ซึ่งเปรียบเทียบผลการระคาย
เคืองของ isotretinoin ที่เตรียมในรูปแบบไมโครอิมัลชันเจล และ isotretinoinรูปแบบเจลที่วางขายตาม
ท้องตลาด โดยทำการทดสอบdraize patch test กับกระต่ายขาวและจะแบ่งกระต่ายออกเป็น 4 กลุ่ม โดย
กลุ่มที่ 1 จะเป็นกลุ่มควบคุม, กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ทดสอบด้วยisotretinoinรูปแบบเจลที่วางขายตามท้องตลาด
(มีปริมาณ isotretinoin 0.05 % w/w), กลุ่มที่ 3 ทดสอบด้วยไมโครอิมัลชันเจลที่ไม่มีตัวยาisotretinoin(
เจลหลอก) และกลุ่มที่ 4 ทดสอบด้วยไมโครอิมัลชันเจลที่มีตัวยาisotretinoin(0.05% w/w)โดยจะตัวอย่างแต่
ละสูตรที่นำมาทำการทดสอบปริม าณ 0.5 กรัม บนผิวหนัง กระต่ายที่ไม่ม ีขนในพื้นที ่ 4 ตารางเซนติเมตร
จากนั้นสังเกตการเปลี่ยนแปลงบนผิวหนัง เช่น การเกิดผื่นแดง ที่เวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง โดยวัดจาก
ระดับคะแนนในการเกิดผื่น แดง ดังนี้ 0คะแนน คือ ไม่เกิดผื่นแดง, 1 คะแนน คือเกิดผื่นแดงเล็กน้อย, 2
คะแนนคือเกิดผื่นแดงปานกลาง, 3คะแนน คือเกิดผื่นแดงปานกลางถึงรุนแรง และ 4 คะแนน คือเกิดผื่นแดง
อย่างรุนแรง
จากผลการทดสอบที่ 72 ชั่วโมง (รูปที่ 8) พบว่ากลุ่มที่ได้รับการทดสอบด้วยไมโครอิมั ลชันเจลที่มีตั ว
ยาisotretinoin(0.05%, w/w)แสดงอาการระคายเคืองผิวหนังเพียงเล็กน้อย แต่กลุ่มที่ได้รับการทดสอบด้วย
isotretinoinรูปแบบเจลที่วางขายตามท้องตลาดมีการเกิดผื่นปานกลาง ซึ่งสรุปได้ว่าการเตรียม isotretinoin
ในรูปแบบไมโครอิมัลชันไมโครอิมัลชันเจลก่อให้เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าการเตรียมในรุปแบบเจลทั่วไป
ตามท้องตลาด เนื่องจากการ encapsulation ยา isotretinoinไว้ในไมโครอิมัลชันเจล ทำให้ลดการสัมผัสของ
acidic function ของ isotretinoin กับชั้น stratum corneum

11
รูปที่ 8 คะแนนการเกิดผื่นแดงของแต่ละสูตรที่นำมาทดสอบที่ 24 , 48 และ 72 ชั่วโมง(6)

4. เพิ่มการออกฤทธิ์ของยาต้านสิว (Anti-acneactivity)(7)

จากการศึกษาเรื่อง Hydrogel thickened microemulsion : a local cargo for the co-delivery


of cinnamaldehyde and berberine to treat acne vulgarisโดย Azka Gull และคณะ(7) ซึ่งเตรียม
cinnamaldehyde และ berberine ในรูปแบบไมโครอิมัลชันเจล และศึกษาฤทธิ์ในการต้านสิวซึ่งทำการ
ทดสอบฤทธิ์บนใบหูของหนูวิสตาร์โดยจะทำการฉีดแบคทีเรียP.acneปริมาณ 20 ไมโครลิตร เข้าไปในผิ วหนัง
ใบหูด้านซ้ายของหนูและใบหูด้านขวาจะใช้เป็นตัวควบคุมซึ่งจะทำการฉีดด้วย phosphate buffer salineและ
ทำการทดสอบฤทธิ์ในการต้านสิวโดยการแบ่งหนูวิสตาร์ออกเป็น 5 กลุ่มและแต่ละกลุ่มประกอบด้วยหนู 6 ตัว
โดยกลุ่มที่ 1 จะเป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งจะไม่ได้รับการรักษา กลุ่มที่2 จะได้รับการรักษาด้วยยา Clindamycin
1%w/w (สู ตรที่วางขายตามท้อ งตลาด) ส่ วนกลุ ่ ม ที ่ 3, 4 และ 5 ได้ ร ั บการรั ก ษาด้วยformulation-1,
formulation-2 และ formulation-3 ตามลำดับ โดย Formulation-1 ประกอบด้วย 0.5% w/w CA +
0.108 % w/w BER ใน ME-Gel, formulation-2 ประกอบด้วย 0.75% w/w CA + 0.162 % w/w BER ใน
ME-Gelและ formulation-3 ประกอบด้วย 1 % w/w CA + 0.217 % w/w BER ใน ME-Gelซึ่งหนูในกลุ่มที่
2, 3, 4 และ 5 ได้รับการรักษาเป็นระยะเวลา 14 วันจากนั้นนำมาวัดความหนาของใบหูในวันที่ 1, 3,5, 7 และ
14 โดยการใช้vernier calliperและ คำนวณเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงความหนาของใบหู (รูปที่ ?)

รูปที่ 9 แผนการทดสอบฤทธิ์ต้านสิวของหนูวิสตาร์(7)
12
ผลการศึกษาพบว่าเปอร์เซ็นต์ การเปลี่ ยนแปลงความหนาของหู หลัง จากผ่ านไป 14 วัน ของสูต ร
clindamycin (มาตรฐาน) แสดงฤทธิ์ในการต้านสิวสูงสุด ตามด้วย formulation-3, formulation-2 และ
formulation-1เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทีได้รับการรักษาด้วย formulation-3 กับสูตรมาตรฐาน พบว่าไม่มีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.3313)แต่เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทีได้รับการรักษาด้วย Formulation-1, 2
และ 3 กับกลุ่มควบคุมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (รูปที่ 10) จึงสรุปได้ว่าไมโครอิมัลชันเจลมี
ความสามารถที่ดีในการเพิ่มฤทธิ์ของยาต้านสิวอักเสบบนใบหูของหนู

รูปที่ 10 ฤทธิ์ต้านสิวบนผิวหนังใบหูหนูของแต่ละสูตร(7)

3.3 บทสรุป
ปัจจุบันมีการนำไมโครอิมัลชันมาใช้ในการนำส่งยาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากไมโครอิมัลชันจะช่วยเพิ่ม
การละลาย การดูดซึมของยา และการซึมผ่านของยาที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อยหรือยาที่ชอบไขมัน ซึ่ง
ไมโครอิมัลชันมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ เพิ่มการส่งยาผ่านเนื้อเยื่อได้ดีขึ้น, มีความคงตัวทางอุณหพลวัต
ดังนั้น ระบบไมโครอิมัลชันจึงเป็นระบบนำส่งยาที่น่าสนใจ สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์รักษาสิ วแบบพาะ
ที่ เนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือแก้ปัญหาของยาในการนำส่งยา ช่วยลดผลการระคายเคือง
จากยาและช่วยเพิ่มการละลายของยาทำให้ซึมผ่านได้ดีขึ้น จึงนำไปสู่การรักษาสิวอย่างมีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น และเนื่องจากสิวเกิดจากการอุดตันภายในรูขุมขน การเตรียมในระบบไมโครอิมัลชัน ประเภทน้ำมัน ใน
น้ำ และการใช้สารก่อเจลที่มีความชอบน้ำจึงมีความเหมาะสมสำหรับการเตรียมยารักษาสิว
13
3.4 เอกสารอ้างอิง

1.Acne Treatment Center - Coastal Valley Dermatology [Internet]. [cited 2023 Sep 26].
Available from: https://coastalvalleydermatology.com/acne -treatme nt -
center/?fbclid=IwAR0SMGhl_TXuwEYufqK3-Si7T5p2hxs--LsBWIfbM9oDGesSlZ_0vhF6Hiw
2.ณัฐธิดา ภัคพยัต, ทรงวุฒิ ยศวิมลวัฒน์, ประภาพร บุญมี. กรีนไมโครอิมัลชันสำหรับเครื่องสำอาง.
วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2554;6(4):290-298.
3.Salimi A, Zadeh B, Godazgari S, Rahdar A. Development and evaluation of azelaic acid-
loaded microemulsion for transfollicular drug delivery through guinea pig skin: a
mechanistic study. Adv Pharm Bull. 2020;10(2):239-246.
4.Beheshti M, shafaroodi H, jafariazar Z, afshar m. A novel hydrogel -thickened
microemulsion of dapsone for acne treatment: Development, characterization,
physicochemical stability and ex vivo permeation studies. Marmara Pharm J.
2018;22(2):267-276
5. Mrunali R, Rashmin B, Jolly R, Bharat G. Novel microemulsion-based gel formulation of
tazarotene for therapy of acne. Pharm Dev Technol. 2016;21(8):921-9325. B, J
6. Mrunali R, Rashmin B, Jolly R, Bharat G. Novel isotretinoin microemulsion-based gel for
targeted topical therapy of acne: formulation consideration, skin retention and irritation
studies. Appl Nanosci. 2016;6:539-553
7.Gull A, Ahmed S, Ahmad F, Nagaich U, Chandra A. Hydrogel thickened microemulsion; a
local cargo for the co-delivery of cinnamaldehyde and berberine to treat acne vulgaris. J
Drug Deliv Sci Technol. 2020;58:1773-2247
8. Bairy P. A comparison study of HPLC and HPTlC: Principles, instrumentations and
applications. ASJO-JAC. 2015;1(1):20-28
R, Bharat G

14
3.5 คำถาม
1. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการนำส่งยาต้านสิวแบบเฉพาะที่ในรูปแบบไมโครอิมัลชัน/ไมโครอิมัลชันเจล
ก. Reduce skin irritation
ข. Reduce skin permeation
ค. Enhance anti-acne activity
ง. Enhance skin retention
2. ข้อใดคือข้อจำกัดของไมโครอิมัลชัน
ก.การเกาะติดผิวหนังต่ำ
ข.มีวิธีการเตรียมที่ซับซ้อน ยุ่งยาก
ค.ไม่เหมาะกับยาที่ไวต่อความร้อน
ง. มีความสามารถในการละลายต่ำ
3. จากการศึก ษาเรื่อง Novel isotretinoin microemulsion-based gel for targeted topical
therapy of acneมีการทดสอบ Skin irritation ด้วยวิธีใดและทดสอบสัตว์ชนิดไหน
ก.Skin prick testทดสอบกับหนูขาว
ข. Draize patch test ทดสอบกับหนูขาว
ค. Skin prick test ทดสอบกับกระต่ายขาว
ง. Draize patch test ทดสอบกับกระต่ายขาว
4. ปัญหาของยา Azelaic acid เมื่อใช้แบบ topical คืออะไร
ก.irritation และ low retention
ข. low retentionและlow solubility
ค. low permeability และ high irritation
ง. low anti-acne activity และ low retention

15
5. การเตรียมยา isotretinoin ในรูปแบบไมโครอิมัลชันสามารถลดการระคายเคืองได้อย่างไร
ก.จากการที่มีน้ำมันมาห่อหุ้มรอบตัวยา
ข. จากการที่ ย าค่ อ ยๆปลดปล่ อ ยออกมาและกระจายผ่ า นผิ ว หนั ง ชั ้ น ต่ า งๆซึ ่ ง จะช่ ว ยลด local
concentration
ค.จากการลดขนาดยาลงจากรูปแบบเดิม
ง.จากการ encapsulation ยา isotretinoin ไว้ในไมโครอิมัลชันเจล ทำให้ลดการสัมผั สของ acidic
function ของ isotretinoin กับชั้น stratum corneum
6. ค่าของ droplet diffusion coefficients และค่า hydrodynamic radius ข้อใด ส่งผลให้การซึมผ่านของ
กรด Azelaic acid เพิ่มขึ้น
ก. droplet diffusion coefficients สูง, hydrodynamic radius สูง
ข. droplet diffusion coefficients สูง, hydrodynamic radius ต่ำ
ค. droplet diffusion coefficients ต่ำ, hydrodynamic radius สูง
ง. droplet diffusion coefficients ต่ำ, hydrodynamic radius ต่ำ
7.จากการศึกษาจาก Hydrogel thickened microemulsion: a local cargo for the co-delivery of
cinnamaldehyde and berberine to treat acne vulgarisเชื้อสิ วที่ท ำการฉีด ในใบหู ของหนู ข้างซ้าย
ปัจจุบันเรียกชื่อเชื้อนี้ว่าอะไร
ก.P.acne
ข.C.acne
ค.S.acne
ง.A.acne
8.จากการศึกษาเรื่อง Hydrogel thickened microemulsion : a local cargo for the co-delivery of
cinnamaldehyde and berberine to treat acne vulgarisใบหูด้านขวาจะใช้เป็นตัวควบคุมซึ่ง จะทำการ
ฉีดด้วยสารใด
ก.Methanol
ข. Ethanol

16
ค. Phosphate buffer saline
ง. Deionized water
9.จากการเตรียมยา dapsone ในรูปแบบไมโครอิมัลชันในสูตรตำรับสารใดที่ช่วยทำให้ชั้น stratum corneum
แข็งแรงน้อยลงโดยไปทำลาย Hydrogen bond ของ ceramide
ก.Menthol
ข.Propylene glycol
ค.Isopropyl myristate

ง.Ethanol
10.จากการศึกษาเรื่อง Novel isotretinoin microemulsion-based gel for targeted topical
therapy of acne ทำไมยา dapsone จึงเตรียมในรูปแบบไมโครอิมัลชัน
ก.ยาซึมผ่าน stratum corneumน้อย
ข.ยาทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
ค.ยาผสมในตำรับได้ความเข้มข้นน้อย
ง.ยาถูกกักเก็บในชั้น stratum corneum มากเกินไป
11.จากการศึกษาเรื่อง Novel isotretinoin microemulsion-based gel for targeted topical therapy
of acne สารใดไม่ได้เป็น solubilizing agentsในสูตรการเตรียมไมโครอิมัลชัน
ก. Tween 80
ข. Ethanol
ค. Diethylene glycol monoethyl ether
ง. Menthol

17
18

You might also like