You are on page 1of 67

โดย ผศ.ดร.

อภิชาติ อาจนาเสียว
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

1
1. หลักการและชนิดเครื่องอัดอากาศ

อากาศอัดคืออะไร

 อากาศอัด คือ อากาศที่ถูกอัดให้มีความดันสูงขึ้นกว่าความดันบรรยากาศ


เพื่อนำมาใช้เป็นต้นกำลังขับเคลื่อนระบบต่างๆ เช่น กระบอกลม
 ความดันใช้งานที่ผลิตอากาศอัด
 อากาศอัดมีการใช้งานตั้งแต่ความดัน 2 บาร์ ถึง 70 บาร์
การใช้งานอากาศอัด
อุปกรณ์ที่ใช้ลมอัดแบ่งได้เป็ น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. เครื่องมือ (Hand Tool) เช่น สว่านลม ปื นเป่ าลม เป่ าไล่ความชื้นอุปกรณ์ที่
มีความซับซ้อน หรืองานที่มีความละเอียดสูง
https:// 2. กระบอกสูบ (Air Cylinder) เพื่อขับเคลื่อน หรือยกวัตถุไม่หนักมาก
youtu.be/R-
OBtVCPjMc 3. เครื่องจักรอัตโนมัติ (Automatic Machine)
4. อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้อากาศอัด (Pneumatic Control)
การใช้ลมอัดมีข้อได้เปรียบกว่าการใช้มอเตอร์หลายข้อ* ได้แก่
1. ลงทุนต่ำกว่า เพราะไม่ต้องติดมอเตอร์ทุกจุด
2. อุปกรณ์มีขนาดเล็ก เดินเฉพาะท่อลมเข้าจุดที่ใช้
3. ดูแลรักษาง่าย เพราะมีจุดผลิตแบบรวมศูนย์
4. ประสิทธิภาพสูงกว่า เพราะต้นกำลังมีขนาดใหญ่
* ข้อดีต่างๆ เหล่านี้เป็ นของกรณีทั่วไป ในบางกรณีอาจด้อยกว่าก็ได้
ส่วนประกอบของระบบอัดอากาศ
ส่วนประกอบของระบบอัดอากาศ

ต่อไปยังอุปกรณ์นำความร้อนกลับคืน
5 ทางไหลของอากาศ
(ถ้ามี) ทางไหลของสารระบาย
6
ความร้อน

1 5
7 โรงงาน
3 4
2 9
8 8 8

1. ตัวกรองอากาศขาเข้า (Air Inlet Filter) 5. วาล์วนิรภัย (Air Safety Valve)


2. เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) 6. มาตรวัดความดัน (Air Pressure Gauge)
3. ตัวระบายความร้อน (Aftercooler) 7. ถังเก็บอากาศ (Air Receiver)
4. ตัวแยกความชื้น (ก่อนเข้าถึงเก็บ) 8. อุปกรณ์ถ่ายน้ำอัตโนมัติ (Automatic Drain
Trap)
(Moisture Separator) 9. ตัวทำให้อากาศแห้ง (Air Dryer) (เผื่อเลือก)
ชนิดของเครื่องอัดอากาศ

https://youtu.be/bJluUxA7aaY

https://youtu.be/wqNTYLIDaxs
เครื่องอัดอากาศที่ใช้มากในอุตสาหกรรม
1. เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบ
การทำงานเหมือนกับเครื่องยนตร์ โดยอากาศจะถูกดูด
ผ่านวาล์วเข้ากระบอกสูบ แล้วลูกสูบจะอัดอากาศและดันออกไป
มีทั้งแบบ Single Stage ซึ่งจะอัดได้ 10 bar และแบบ Two Stage Single-Acting
ซึ่งจะอัดได้ถึง 70 bar เป็ นเครื่องอัดอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง Single-Stage
กว่าแบบอื่น
อากาศออก
2. เครื่องอัดอากาศแบบสกรู
การทำงานใช้โรเตอร์แบบสกรูสองตัวสวมกันได้พอดีเมื่อ
หมุนเข้าหากันจะอัดอากาศที่อยู่ระหว่างโรเตอร์ ออกโดยไม่ต้อง
ผ่านวาล์ว จึงหมุนด้วยความเร็วสูงได้ ทำให้อัตราอัดอากาศสูง
เหมาะทำงานอย่างต่อเนื่อง หากทำงานที่ No Load จะเสียพลังงาน อากาศเข้า
สูญเปล่ามาก มีทั้งแบบที่ไม่มีน้ำมัน (Oil Free) ซึ่งจะมี
ประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบมีน้ำมัน (Oil Flood) เล็กน้อย
เปรียบเทียบสมบัติของเครื่องอัดอากาศแต่ละชนิด
ชนิด แบบลูกสูบ แบบสกรู แบบเวน แบบหมุนเหวี่ยง
ปริมาณอากาศ ต่ำ-ปานกลาง ปานกลาง-สูง ปานกลาง-สูง สูง
ความดัน ปานกลาง-สูง ปานกลาง-สูง ต่ำ-ปานกลาง ต่ำ-ปานกลาง
ขนาด ไม่กระทัดรัด กระทัดรัด กระทัดรัด กระทัดรัด
การบำรุงรักษา มีส่วนสึกหรอ มีส่วนสึกหรอ มีส่วนสึกหรอ ต่ำ
มากชิ้น น้อยมาก น้อยชิ้น
น้ำมันในอากาศ มีบ้าง บางชนิดมี ต่ำ-ปานกลาง ต่ำ
การสันสะเทือน มาก น้อยมาก น้อยมาก ปานกลาง
ระดับเสียง สูง มีบ้าง เงียบที่สุด มีบ้าง
ประสิทธิภาพ
เมื่อโหลดเต็มที่ ปานกลาง-สูง สูง ปานกลาง สูง
โหลดบางส่วน สูง ไม่ดีหาก>60% ไม่ดีหาก>60% ไม่ดีหาก>70%
2. การเลือกเครื่องอัดอากาศ
ปริมาณความต้องการอากาศของอุปกรณ์ต่างๆ + ค่าเผื่อ 25-50%(ขยายตัวในอนาคต)
มีขั้นตอนดังนี้
1. เลือกช่วงความดันที่ใช้งาน ปกติ 5-10 bars
2. หาความต้องการอากาศรวมในรูปอากาศอิสระ ซึ่งมี 2 แบบ คือ
2.1 แบบต้องการปริมาณอากาศอัดคงที่
2.2 แบบต้องการปริมาณอากาศอัดไม่คงที่

การขนถ่ายอากาศอิสระ (Free air delivery, FAD) หมายถึง การขนถ่ายอากาศที่


ความดันบรรยากาศ เช่น เครื่องอัดมีกำลังการผลิตอากาศ (FAD) 6 m3/min
ความดันใช้งาน 7 bar หมายถึง เครื่องนี้สามารถอัดอากาศความดัน 1 bar ได้ 6
m3/min สามารถอัดอัดอากาศป้ อนเครื่องจักรที่ต้องการความดัน 7 bar ได้
ตัวอย่าง
เครื่องอัดมีกำลังการผลิตอากาศ (FAD) 100 ลิตร/วินาที ที่ความดันในการผลิต 7 bar
จะอัดอากาศเต็มถังได้ภายในเวลากี่วินาที ถ้าถังอัดอากาศมีปริมาตร 3 m3
วิธีทำ
t = V/FAD

หา V (V1 ) ที่ความดัน 1 bar จากสมการ P1V1 = P2V2


แทนค่า V2 = 3 m3
P1 = 1 bar
P2 = 7 bar
V1 = (7 x 3) / 1 = 21 m3 = 21,000 ลิตร
t = 21,000/100 = 210 วินาที
ตัวอย่าง จงหาขนาดเครื่องอัดอากาศ สำหรับโรงงานที่มีอุปกรณ์ดังแสดงใน
ตาราง โดยใช้งานในช่วง 90-125 psi ค่าความต้องการเป็ นแบบเฉลี่ย
และให้ออกแบบเผื่อขนาดไว้ 25%
เครื่องเย็บ 10 ft3/min
เครื่องตัด 20 ft3/min
เครื่องพับ 10 ft3/min
เครื่องบรรจุ 20 ft3/min
รวม 60 ft3/min

วิธีทำ หาความต้องการอากาศรวม 60 + (0.25x60) = 75 ft3/min

เลือกเครื่องอากาศที่มีกำลังการผลิตใกล้เคียง จากตารางหรือ
แคตาลอกจากผู้ผลิต
3. การหาขนาดของถัง
หน้าที่
1. เก็บอากาศอัดและลดการกระเพื่อมของแรงดันอากาศอัดจากคอมเพรสเซอร์
2. ชดเชยความต้องการของโหลดในลักษณะ Peak load ได้ (จ่ายอากาศเสริม
ในช่วงที่มีความต้องการอากาศที่สูงกว่ากำลังการผลิตของเครื่องอัดอากาศ)
3. ลดความถี่ในการเปิ ด-ปิ ดเครื่องอัดอากาศ
4. ระบายความร้อนของอากาศอัดและเป็ นจุดกลั่นตัวของน้ำและน้ำมัน
กรณีหาขนาดของถังอัดหลังจากเลือกเครื่องอัดอากาศแล้ว (เริ่มต้นติดตั้งระบบอัดอากาศ)

V = ปริมาตรของถัง (m3)
Q = ปริมาณการจ่ายอากาศของเครื่องอัดอากาศ (m3/min) ซึ่งได้จาก name plate
ของเครื่องอัดอากาศหลังจากเลือกเครื่องอัดอากาศแล้ว
Pg = ความดันเกจ (bar)
P0 = ความดันสัมบูรณ์ของบรรยากาศ (1.013 bar)
A= ค่าตัวประกอบของเวลา (min)
เท่ากับ 1.5 สำหรับระบบที่มีความต้องการอากาศคงที่
เท่ากับ 3 สำหรับระบบที่มีความต้องการอากาศไม่คงที่
ตัวอย่าง
โรงงานติดตั้งเครื่องอัดอากาศ 75 kW แบบสกรู กำลังการผลิตอากาศอัด
(FAD) = 13 m3/min ที่ความดันในการผลิต 7 bar จงหาขนาดถังอัดอากาศ เพื่อ
รองรับความต้องการของโหลดที่เปลี่ยนแปลง
วิธีทำ
แทนค่าในสมการ
กรณีหาเวลาที่ถังอัดอากาศจะรับโหลดแบบชั่วขณะ (peak load) ได้
กรณีหาเวลาในช่วง Unload และช่วง Load เพื่อหาพลังงานที่ประหยัดได้หลังเพิ่มถังอัดอากาศ

V = ปริมาตรของถัง (m3)
t = เวลา (min)
Q = ปริมาณการจ่ายอากาศของเครื่องอัดอากาศ (m3/min)
Qr = ปริมาณความต้องการของอากาศอัดในระบบ (m3/min)
P0 = ความดันสัมบูรณ์ของบรรยากาศ (1.013 bar)
P1 = ความดันอากาศตัดโหลด (bar)
P2 = ความดันอากาศต่อโหลด (bar)
ตัวอย่าง
โรงงานติดตั้งเครื่องอัดอากาศ 75 kW แบบสกรู กำลังการผลิตอากาศอัด
(FAD) = 13 m3/min ที่ความดันในการผลิต 7 bar มีถังอัดอากาศขนาด 5 m3 เพื่อ
รองรับความต้องการของโหลดที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งมีความต้องการอากาศอัดใน
ระบบชั่วขณะ (peak load) เพิ่มขึ้นเป็ น 16 m3/min ถังนี้จะรับโหลดได้นานเท่าใด
วิธีทำ
แทนค่าในสมการ

แสดงว่า ถังนี้ (5 m3) สามารถรับโหลดที่เพิ่มขึ้นอีก 3 m3/min (16 m3/min) ได้นาน 99


วินาที แต่ถ้ามีโหลดชั่วขณะนานกว่านี้ จะต้องเพิ่มขนาดถังอัดอากาศหรือเครื่องอัด
อากาศอีก
ลักษณะถังและการหาปริมาตรถัง

ทั่วไปถังหนาประมาณ 7-10 mm.


4. หลักปฏิบัติในการประหยัดพลังงานเครื่องอัดอากาศ
1. ประสิทธิภาพ เครื่องอัดอากาศ (อากาศอัดที่ได้เทียบกับพลังงานไฟฟ้ าที่
ใช้) สูงกว่า 80 % เมื่อวัดเทียบกับค่าที่ระบุของเครื่องนั้น หรือเกณฑ์
อ้างอิงดังตารางนี้
ชนิดเครื่องอัดอากาศ ปริมาณอากาศอัดต่อกำลังไฟฟ้ าที่ใช้ (lite/s /kW)
แบบลูกสูบ 2.30-2.65(Single stage)
2.85-3.35 (Double stage)
แบบสกรู 2.35-2.85
แบบเวน 2.22-2.5
แบบหมุนเหวี่ยง 2.85-3.33

“การทดสอบ ดำเนินการที่ ความดัน 7 บาร์”


“การทดสอบ ต้องทดสอบในช่วงที่เครื่องร้อนเท่ากับเวลาใช้งาน”
2. การรั่วไหลของอากาศอัดให้ ไม่เกิน 10%.
3. การปรับปรุงท่อเมน ท่อส่งจ่ายอากาศอัด ให้มีความดันสูญเสียที่จุด
ไกลสุด ไม่เกิน 10%
4. ค่าตั้งความดันอากาศอัดด้านต่ำ (On) สูงกว่าความดันใช้งานของ
กระบวนการไม่เกิน 1 bar และค่าตั้งความดันอากาศอัดด้านสูง
(Off) สูงกว่าด้านต่ำไม่เกิน 1 bar

5. อุณหภูมิอากาศด้านดูดเข้าเครื่องสูงกว่าอุณหภูมิภายนอกห้องในที่
ร่มไม่เกิน 3 oC และช่องดูดอากาศเข้าไม่ใกล้แหล่งความชื้น
6. ลดพฤติกรรมการใช้อากาศอัดที่ไม่เหมาะสม
7. การปรับปรุงถังเก็บอากาศ
8. เครื่องอัดอากาศแบบสกรู มีค่าช่วงเวลาเดินตัวเปล่าไม่เกิน 10 %
9. การบำรุงรักษากรองอากาศและชุดกรองอื่นๆของระบบอัดอากาศ
10. ติดตั้งวาล์ว ด้านจ่ายอากาศอัดออกจากถัง เข้าสู่ระบบและติดป้ าย
“ปิ ดวาล์วทุกครั้งหลังเลิกงานและเปิ ดวาล์วไล่น้ำทุกครั้งก่อนทำงาน”
เกณฑ์ข้อที่ 1 การหาประสิทธิภาพเครื่องอัดอากาศ

 ประสิทธิภาพ เครื่องอัดอากาศ เป็ นการวัดความสามารถในการ ผลิต


อากาศอัด เทียบกับพลังงานที่ใช้ (เกณฑ์ข้อที่ 1)
 เครื่องมือที่ใช้
 เครื่องวัดกำลังไฟฟ้ า
 นาฬิกาจับเวลา
 เครื่องคิดเลข
 สายวัดความยาว
ขั้นตอนการตรวจวัด
 หาขนาดความจุของถังเก็บอากาศ และความจุท่อจากเครื่องอัดถึงถังเก็บ
 ตั้งค่าความดันทดสอบ ตามพิกัดเครื่อง เช่น ทำความดันเกจอากาศ 7 บาร์
 เปิ ดวาล์วถังเก็บอากาศให้อากาศอัดหมดถัง แล้วปิ ดวาล์วให้สนิทดังเดิม
 เดินเครื่องอัดลมเข้าถัง (ปิ ดวาล์วจ่ายลมออก) พร้อมจับเวลาตั้งแต่ pressure
gage อ่าน 1 bar จน 7 bar
 วัดค่ากำลังไฟฟ้ าที่เครื่องใช้ หน่วยเป็ น กิโลวัตต์
 เปิ ดวาล์วปล่อยอากาศอัดออกจากถังให้หมด แล้วทำการทดสอบอีก 4 ครั้ง
เพื่อความแม่นยำ ก่อนนำค่าเฉลี่ยเวลาไปใช้ในการคำนวณ
การหาประสิทธิภาพเครื่องอัดอากาศ (ต่อ)
ตัวอย่าง โรงงานแก่นขอน ใช้เครื่องอัดอากาศชนิดแบบสกรู โดยวิศวกร
ได้ตรวจวัดประสิทธิภาพของเครื่องอัดอากาศ ได้ข้อมูลดังนี้
 FAD = 100 l/s ที่ความดันเกจ 8 bar กำลังไฟฟ้ า 45 kW
 วัดขนาดถังพักลมรวมท่อเมนจากเครื่องอัดมาถังได้ 0.2 m3
 วัดช่วงเวลาเฉลี่ย(ทำการทดสอบ 5 ครั้ง) ในการอัดอากาศช่วง
pressure gage อ่าน 1 bar จนถึง 7 bar ได้ 185 วินาที
 วัดกำลังไฟฟ้ าได้ 47 kW
เกณฑ์ข้อที่ 2 การหาประสิทธิภาพการส่งถ่ายพลังงาน
ระบบอัดอากาศ (% การรั่ว)
“ประสิทธิภาพ การส่งพลังงานอากาศอัดในระบบ เป็ นการวัดความสามารถ
ในการส่งถ่ายพลังงาน ซึ่งในระบบอัดอากาศ กำหนดให้ สูงกว่า 90 %
เมื่อเทียบกับปริมาณอากาศอัดที่ใช้ (ไม่ใช่ปริมาณอากาศอัดที่ผลิต)”
เครื่องมือที่ใช้
 นาฬิกาจับเวลา
 เครื่องคิดเลข
การตรวจสอบการรั่วไหลขณะไม่มีโหลด
วิธีที่ 1 การทดสอบเครื่องอัดอากาศที่ทำงานแบบ ON/OFF Load

ส่วนใหญ่จะเป็ นเครื่องอัดอากาศขนาดเล็กจำพวกลูกสูบ แต่ถ้าเครื่องอัดอากาศขนาด


ใหญ่ที่มีลักษณะการทำงานแบบนี้ ก็ใช้วิธีเดียวกัน

เมื่อ QLeak = อัตราการรั่วไหลของระบบ (l/sec)


Q = อัตราการผลิตที่เครื่องอัดอากาศผลิตได้ (l/sec : FAD)
Tav = เวลาเฉลี่ยที่เครื่องอัดอากาศเริ่มทำงาน (sec)
tav = เวลาเฉลี่ยที่หยุดทำงาน (sec)
วิธีการทดสอบ (เครื่องอัดอากาศที่ทำงานแบบ ON/OFF Load)

1. ปิ ดอุปกรณ์ที่ใช้อากาศอัดในระบบทุกตัว (ปิ ดเครื่องจักรแต่ให้เปิ ดวาล์วไว้)


2. เริ่มเดินเครื่องอัดอากาศ พร้อมกับจับเวลา ( T ) เครื่องอัดอากาศจะหยุด
ทำงานเมื่อถึงความดันที่ตั้งไว้ ทำการบันทึกเวลา ช่วงระยะเวลา หลังจากนี้
อากาศที่อัดจะรั่วออกตามรอยรั่วต่างๆ ให้จับเวลาที่เครื่องหยุด ( t )
3. เมื่อความดันลดลงเครื่องอัดอากาศทำงานใหม่ให้ทำการบันทึกเวลาอีก
ดำเนินการเช่นนี้ประมาณ 3-5 ครั้ง เพื่อความแม่นยำ แล้วนำมาวิเคราะห์ผล
4. นำค่าเวลาที่ได้ไปแทนในสมการ เพื่อคำนวณหาอัตราการรั่วไหลของอากาศ
ตัวอย่าง โรงงานแก่นขอนติดตั้งเครื่องอัดอากาศ 11 kW กำลังการผลิตอากาศ
อัด 20.48 L/sec (FAD) จากการทดสอบการรั่วไหลของอากาศอัด โดยการจับ
เวลาได้ดังนี้ ช่วงเวลาทำงานเฉลี่ย Tav = 45 วินาที และช่วงเวลาเครื่องหยุดเฉลี่ย
tav = 120 วินาที คิดเป็ นการรั่วไหลเท่าไร และคิดเป็ นค่าพลังงานไฟฟ้ าเท่าไร (ค่
าพลังงานต่อการผลิตอากาศอัดเท่ากับ (11 kW/20.48 l/s = 0.537 kW/l/sec)
เวลาทำงาน 3,600 ชั่วโมง/ปี
วิธีทำ

คิดเป็ นพลังไฟฟ้ า = 5.59 x 0.537 (l/sec) x (kW/l/sec) = 3 kW


คิดเป็ นพลังงานไฟฟ้ า = 3 x 3,600 = 10,800 kWh/y
โรงงานมีการรั่วไหลประมาณ 3 กิโลวัตต์ หรือ 27.27% ซึ่งเป็ นการสูญเสีย
มากกว่า 5% ดังนั้นทางโรงงานจะต้องรีบดำเนินการอุดรอยรั่วโดยด่วน
วิธีที่ 2 การทดสอบเครื่องอัดอากาศแบบ Load + Unload

ส่วนใหญ่จะเป็ นเครื่องอัดอากาศแบบสกรู

เมื่อ V = ปริมาตรทั้งหมดของถังพัก ท่อส่ง และวาล์ว (l)


P1 = ความดันสุดท้ายหรือแรงดันตัดโหลด (bar)
P2 = ความดันเริ่มต้น (bar)
Tav = เวลาเฉลี่ยจาก P1 และ P2 (sec)
Qleak = อัตราการรั่วไหลของระบบ (l/sec)
วิธีการทดสอบ (เครื่องอัดอากาศที่ทำงานแบบ Load - Unload)

1. หาปริมาตรของถังเก็บอากาศ ท่อส่ง และวาล์วต่างๆ ทั้งหมด


2. ปิ ดอุปกรณ์ที่ใช้อากาศอัดในระบบทุกตัว (ปิ ดเครื่องจักรแต่ให้เปิ ดวาล์วเอา
ไว้)
3. เดินเครื่องอัดอากาศ เพื่ออัดอากาศเข้าถัง จนถึงความดันที่ตั้งไว้ (P1) แล้วปิ ด
วาล์วด้านอากาศเข้าถัง พร้อมจับเวลา รอจนความดันลดลงถึง P2 ทำการ
บันทึกเวลา
4. ทำเช่นนี้อีก 4 ครั้ง แล้วนำค่าเฉลี่ยไปคำนวณอัตราการรั่วของอากาศ (การ
บันทึกเวลาใช้การเปิ ดเครื่องตลอดเวลาแล้วใช้เวลาช่วง Unload ก็ได้)
ตัวอย่าง โรงงานแก่นขอน ใช้เครื่องอัดอากาศชนิดแบบสกรู โดยวิศวกร
ได้ตรวจวัดเปอร์เซ็นต์การรั่วของระบบ ได้ข้อมูลดังนี้
เกณฑ์ข้อที่ 3 การปรับปรุงท่อส่งจ่ายอากาศอัด

เมื่อมีการเพิ่มเครื่องจักรเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ทำให้ต้องการ
อากาศมากขึ้น

ถ้าเพิ่มเครื่องอัดอากาศอย่างเดียว แต่ท่อเมนของระบบอากาศ
มีขนาดเท่าเดิม จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในระบบตามมา
ท่อเมน อัตราการไหลไม่เกิน 6 m/s
ท่อสาขา อัตราการไหลไม่เกิน 10 m/s

ความดันสูญเสียไม่เกิน 5% ทุกๆ 30 เมตร


ความดันสูญเสียทั้งระบบไม่เกิน 10% (ทำงานต่อเนื่อง)

P= f x L x Q1.85
Pm x d5
P = ความดันที่สูญเสีย, bar f = ตัวประกอบความเสียดทาน
L = ความยาวท่อ, m Q = ปริมาณการไหลอากาศ, l/s (FAD)
Pm = ความดันสัมบูรณ์เฉลี่ยในท่อ, bar d = เส้นผ่าศูนย์กลางในท่อ,
mm
สมการความดันลดจาก
ข้อต่อข้องอ

L = k x f x d2
L = ความยาวเทียบเท่าท่อตรง (m)
f = สัมประสิทธิ์ของความ
ต้านทานของข้อต่อข้องอ
k = 0.2738
d = เส้นผ่าศูนย์กลางภายในท่อ
(mm)
หรือใช้ตารางเปรียบเทียบความ
ยาวของข้องอ-ข้อต่อ
ตัวอย่าง โรงงานแห่งหนึ่งติดตั้งท่อเมนส่งจ่ายอากาศอัด 50 mm ความยาวท่อ
เมน 50 m ซึ่งการต่อมีท่อโค้งงอของท่อโดยติดตั้งข้องอ (Elbow, R = d) 8 ตัว และ
มีความต้องการปริมาณอากาศอัด 250 l/s ที่แรงดัน 7 bar
วิธีทำ
จากตารางเปรียบเทียบความยาวของข้องอ-ข้อต่อ ความยาวของท่องอ
เท่ากับ 0.8 x 8 = 6.4 m แทนค่าในสมการ

เปอร์เซ็นต์แรงดันตก = (0.32/7) x 100 = 4.5% ความดันสูญเสียไม่เกิน 5%


การเดินท่อระบบอากาศอัด
มีลักษณะดังนี้

➠ ทำให้เกิดการสูญเสีย (losses) น้อยที่สุด โดยกำหนดให้ค่าการสูญเสียไม่เกิน 10%


โดยที่มีการสูญเสียในท่อร่วม (main) ไม่เกินครึ่งหนึ่ง
➠ จะต้องวางท่อให้ลาดเอียง 0.1-0.25 in/ft และที่จุดปลายต่ำสุดของท่อควรติด
ตั้งวาล์ว สำหรับระบายน้ำที่ตกค้างภายในท่อทิ้งหรือติดตั้ง Auto Drain นอกจากนี้ ต้องหา
ตำแหน่งที่จะนำน้ำที่เกิดจากการกลั่นตัวของความชื้นอากาศออกจากระบบท่อจะระบายทุก
ๆ 30 เมตร (ติดตั้ง AUTO DRAIN ทุก ๆ 30 เมตร)

การต่อท่อในแนวนอนให้มีมุมลาดเอียง การติดตั้งท่อในกรณีที่มีสิ่งกีดขวาง
➠ ท่อสาขาซึ่งแยกออกจากท่อเมนเพื่อไปใช้งานนั้นต้องต่อขึ้นทางด้านบนและงอโค้งลง
มาเพื่อป้ องกันน้ำกลั่นตัวที่มากับกระแสลมอัดไหลเข้าสู่อุปกรณ์นิวแมติก

การแยกท่อจ่ายจากท่อเมนอีกวิธีหนึ่ง การแยกท่อจ่ายจากท่อเมน

การแยกท่อจ่ายอากาศอัดจากท่อเมนโดยวิธีที่ผิด การต่อท่อเมนงอโค้ง 90° ที่เหมาะสม


➠ ลักษณะการเดินท่อลมอัดควรเป็ นแบบวงแหวน (ring main) เพราะจะ
ช่วยในการรักษาแรงดันและลดแรงดันตกในระบบท่อเมน เพื่อเป็ นการลดเสียงที่เกิดจาก
การสั่นสะเทือนต้องใช้ข้อต่อแบบยืดหยุ่น (flexible coupling)
➠ ปรับตั้งสายพานเพื่อลดการสูญเสียในการส่งกำลัง โดย Belt Tension
Indicator เช่น เครื่องอัดอากาศแบบสกรูมีความเร็วรอบสูงมากประมาณ 4,250
rpm จึงควรมีการปรับความตึงของสายพานตามผู้ผลิตแนะนำตามตาราง
ถ้าเป็นสายพานใหม่แรง
กดต้องมีค่าเป็น 1.3 เท่าของค่า Deflection
ที่กำหนด เมื่อผ่านไป 24 ชม.
ก็ทำการปรับตั้งความตึงสายพาน
ใหม่ให้ได้ตามค่าที่กำหนด ➠
เกณฑ์ข้อที่ 4 การตั้งค่าความดันให้เหมาะสม

“ค่าตั้งความดันอากาศอัดด้านต่ำ (On) สูงกว่าความดันใช้งานของ


กระบวนการไม่เกิน 1 bar และค่าตั้งความดันอากาศอัดด้านสูง
(Off) สูงกว่าด้านต่ำไม่เกิน 1 bar”
เช่น ใช้งาน 4 bar ให้ตั้ง on ไว้ที่ 5 bar และ off ไว้ที่ 6 bar

“ การลด P ทุก ๆ 0.5 bar (ช่วง P 5-7 bar) จะลดการใช้พลังงาน


ได้ประมาณ 5%”
ผลประหยัดพลังงาน %

ความดันอากาศใช้งานที่ลดลง (bar)

การลดความดันมีข้อระวัง ความดันที่ปรับลดต้องเป็ นความดันต่ำ


สุดที่ไม่กระทบกับกระบวนการผลิต
ขั้นตอนการลดแรงดันในการผลิต
1. สำรวจการใช้แรงดันอากาศทุกๆจุด ที่มักเกิดปัญหา
เมื่อแรงดันตก เพื่อทำการแก้ไข
2. สำรวจความต้องการแรงดันอากาศของเครื่องจักร
ทั้งหมดในโรงงาน เพื่อเปรียบเทียบการผลิต
3. สำรวจรอยรั่วไหลของอากาศอัด เพื่อแก้ไข
4. ค่อยๆลดแรงดันคราวละประมาณ 0.5 bar
ในบางโรงงานอาจจะประสบปัญหาไม่สามารถลดความดันอากาศได้ให้
เป็ นไปตามเกณฑ์อาจเนื่องจาก
1. ท่อส่งอากาศอัดมีขนาดเล็กเกินไปทำให้ความดันตกมาก
2. ขนาดของถังพักลมมีขนาดเล็กเกินไปทำให้ ค่าความต่าง
ของการอัดอากาศไม่สามารถตั้งค่าตามค่าแนะนำได้ (กรณีที่ยังไม่มี
ทุนซื้อถังเก็บอากาศใหม่ ให้ตั้งความดันสูงกว่าเกณฑ์ได้ เช่น เดิมตั้ง
ไว้ตัด 6 bar ต่อ 5 bar แต่ตามจริงต้องเพิ่มขนาดถังเก็บ แต่ถังไม่มี
เงิน ให้ใช้การตั้งความดันเพิ่มเป็ น ตัด 6.5 bar ต่อ 5.5 bar เพื่อแก้
ปัญหาได้)
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ความได้รับการแก้ไขเพื่อเราสามารถลดความ
สูญเปล่าที่ไม่จำเป็ นนี้ได้
เกณฑ์ข้อที่ 5 อุณหภูมิป้ อนเครื่องอัดอากาศ

“อุณหภูมิอากาศด้านดูดเข้าเครื่องสูงกว่าอุณหภูมิภายนอกห้องในที่
ร่มไม่เกิน 3 oC และช่องดูดอากาศเข้าไม่ใกล้แหล่งความชื้น”

“ เมื่อลด T อากาศเข้าเครื่องอัดอากาศทุกๆ 1 oC (ช่วง T 25-35


o
C)จะลดการใช้พลังงานได้ประมาณ 0.3%”
ผลประหยัดพลังงาน %

อุณหภูมิที่ลดลง (oC)

ระบบระบายความร้อนทิ้งจากเครื่องอัดอากาศ
เกณฑ์ข้อที่ 6 ลดพฤติกรรมการใช้อากาศอัดที่ไม่เหมาะสม

1. ใช้เป่ าทำความสะอาดพื้น
2. ใช้เป่ าระบายความร้อนและเป่ าฝุ่ นจากตัวเอง
3. ใช้เป่ าระบายความร้อนเครื่องจักร
4. ใช้ท่อยางเป่ าโดยตรงโดยไม่ใช้ปื นลม
5. ใช้เป่ าชิ้นงาน ซึ่งดัดแปลงแทนการใช้กระเดื่องเขี่ย
6. ลืมปิ ดวาล์ว หรือปิ ดวาล์วไม่สนิท
สมการในการคำนวณ

Qleak = 0.158 x d x (Pg + Po)


2

Qleak = อากาศอัดที่รั่วไหล (l/s)


d = เส้นผ่าศูนย์กลางของรูรั่ว (mm)
Pg = ความดันเกจที่จุดรั่วไหล (bar)
Po = ความดันสัมบูรณ์ (1.013 bar)
0.158 เป็นค่ามาตรฐาน (ISO 1217-1986)
ตัวอย่าง เส้นผ่าศูนย์กลางของท่อที่ใช้เป่ าประมาณ 12 mm ที่แรงดัน 6
bar เวลาที่เป่ าต่อวัน 30 นาที/กะ/คน โรงงานทำงาน 24 ชั่วโมงต่อวัน
จำนวน 300 วัน/ปี (กำลังการผลิตของเครื่องจักรเฉลี่ย 0.35 kW/(l/s)
ค่าไฟฟ้ าเฉลี่ย 3 บาท/หน่วย
Qleak = 0.158 x d2 x (Pg + Po)
= 0.158 x 122 x (6 + 1.013)
= 159.56 l/s
คิดเป็ นกำลังไฟฟ้ า = 159.56 x 0.35 = 55.85 kW
คิดเป็ นพลังงานไฟฟ้ า = 55.85 x 1.5 x 300 = 25,132.5 kWh/y
คิดเป็ นเงิน = 25,132.5 x 3 = 75,397.5 บาท/ปี
เกณฑ์ข้อที่ 7 การปรับปรุงถังเก็บอากาศ
เห็นใช้ได้ผลในกรณีที่โรงงานมีเครื่องอัดอากาศมากกว่า 1 เครื่อง แล้วมี
ความต้องการอากาศในบางช่วงมากกว่าถังอัดอากาศเดิมจะรองรับได้
ตัวอย่าง โรงงานมีเครื่องอากาศ 2 ชุด ขนาด 37 kW กำลังการผลิต 115 l/s ถังเก็บอากาศ
1500 ลิตร มีความต้องการอากาศชั่วขณะ 8 m3/mim ต่อเนื่องนาน 120 วินาที ที่แรงดันตัด
โหลด 7 bar ต่อโหลด 6 bar โรงงานทำงานเฉลี่ย 3,600 ชั่วโมงต่อปี
วิธีทำ
การทำงานในปัจจุบัน
tUnload = [1.5 x (7 – 6 )] x 60 = 14.81 วินาที = 13.05%
[1.013 x (6 - 0)]
tUnload = [1.5 x (7 – 6 )] x 60 = 98.72วินาที = 86.95%
[1.013 x (6 – 6.9)]
Cycle การทำงาน 113.53 วินาที
ถังเก็บอากาศสามารถรับโหลดได้นาน
treserve = [1.5 x (7 – 6 )] x 60 = 80.77 วินาที
[1.013 x (8 – 6.9)]

ถังเก็บนี้จะรับโหลดได้นาน 80.77 วินาที ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการที่มีนาน 120


วินาที ทำให้ต้องเดินเครื่องอากาศเครื่องที่ 2 มีผลให้เครื่องที่ 2 มีการทำงานแบบ Unload
มากกว่าแบบ Load แต่ถ้าติดตั้งถังอัดอากาศตามการออกแบบ คือ 3 m3 (คำนวณเอง) จะรับ
โหลดได้นาน
treserve = [3 x (7 – 6 )] x 60 = 161.54 วินาที
[1.013 x (8 – 6.9)]
เกณฑ์ข้อที่ 8 การควบคุมการเดินตัวเปล่า (Un-load)
“เครื่องอัดอากาศแบบสกรูที่มีการเดินเครื่องตัวเปล่า(Unload) มีค่าช่วงเวลา
เดินตัวเปล่าไม่เกิน 10 %”

เครื่องอัดอากาศแบบสกรู ในช่วงเวลาเดินเครื่องตัวเปล่าจะใช้พลังงาน
ประมาณ 30 % (แบบใหม่) และ 70 % (แบบเก่า) ของพลังงานช่วง Load

มาตรการนี้ใช้ได้ดีในกรณีโรงงานมีเครื่องอัดอากาศหลายตัว มีความ
ต้องการลมอัดที่มีการเปลี่ยนแปลงตามลักษณะของการผลิต เช่น มีการ
ทำงาน 24 ชม ซึ่งกลางคืนใช้ลมอัดน้อย เพราะผลิตไม่เต็มที่
ON-OFF LOAD-UNLOAD
kW kW

MODULATION
kW

รูปกราฟกำลังไฟฟ้ ากับเวลาของเครื่องอัดอากาศที่มีการทำงานต่างกัน ก) On-Off load


ข) Load – Unload และ ค) Modulate
การแก้ไขปรับปรุงสามารถดำเนินการได้ดังนี้

1. ใช้เครื่องอัดอากาศแบบสกรูเป็ นเครื่องอัดอากาศที่เป็ นตัวฐาน (Base


Load) และใช้เครื่องอัดอากาศแบบลูกสูบเป็ นส่วนผลิตความดันเสริม

2. เพิ่มถังพักลมและหยุดเดินเครื่องทันที เมื่อ Unload โดยให้ถังพักลม


สามารถมีอากาศอัดพอใช้งานอย่างน้อย 3 นาที หรือช่วงเวลา off ตาม
คำแนะนำของผู้ผลิตเครื่องอัดอากาศ (เครื่องแบบสกรูสามารถตั้งได้
ว่าจะให้ทำงานแบบ Load - Unload หรือ On - Off
ตัวอย่าง โรงงานแก่นขอน ใช้เครื่องอัดอากาศชนิดแบบสกรู โดยวิศวกรได้ตรวจ
วัดเพื่อหาเงินที่สูญเสียจากการเดินเครื่องแบบ Unload
ปริมาณ
รายการ หน่วย ตัวย่อ P OP
กำลังไฟฟ้ าขณะ Unload kW Pe1 22 22
จำนวนเครื่องอัดอากาศ เครื่อง n 1 1
ชั่วโมงการทำงานตอนกลางวัน ในช่วงเวลา 8.00 - 17.00 น.
(พัก 12.00-13.00 น. รวม 1 ชม.) ชั่วโมง/วัน h 7 1
% Duty cycle ของช่วง Unload ในช่วงเวลา 8.00 - 17.00 น.
(พัก 12.00-13.00 น. รวม 1 ชม.) % % unload 0.60 0.60
ชั่วโมงการทำงานตอนกลางคืน ในช่วงเวลา 19.30 - 4.30 น.
(พัก 23.30-24.30 น. รวม 1 ชม.) ชั่วโมง/วัน h 2.5 5.5
% Duty cycle ของช่วง Unload ในช่วงเวลา 19.30 - 4.30 น.
(พัก 23.30-24.30 น. รวม 1 ชม.) % % unload 0.88 0.88
วันทำงานต่อปี วัน/ปี D 288 288
อัตราค่าไฟฟ้ าเฉลี่ยต่อหน่วย บาท/kWh CE 4 2
การคำนวณ
ชั่วโมงการทำงานที่สามารถลดลงได้ต่อวัน
hred =( hd x % unloadd) + ( hn x % unloadn) ชั่วโมง/วัน hred 6.4 5.44
คิดเป็ นค่าพลังงานที่ประหยัดได้ต่อปี
ES = Pe1 x n x hred x D kWh/ปี ES 40,550 34,468
คิดเป็ นเงินที่ประหยัดได้ต่อปี
MS = Es x CE บาท/ปี MS 231,137
เกณฑ์ข้อที่ 9 การบำรุงรักษากรองอากาศและชุดกรอง
อื่นๆ ของระบบอัดอากาศ
การดำเนินการ
1. ตรวจหาและซ่อมจุดรั่วไหลของอากาศอัด เพื่อไม่ให้มีการรั่วเกินกว่า
เกณฑ์ที่กำหนดในประกาศกระทรวง
2. ตรวจสอบระบบระบายน้ำอัตโนมัติ ถ้าไม่มี ให้ตรวจสอบการระบายน้ำใน
ถังลมทิ้ง
3. ทำความสะอาดชุดกรองอากาศในระบบอากาศอัด , แผงกรองอากาศก่อน
เข้าเครื่อง , ตัวกรองสารแขวนลอยในระบบน้ำหล่อเย็น (ถ้ามี) และครีบ
ระบายความร้อน (ถ้ามี)
4. ตรวจสอบสภาพและปริมาตรของน้ำมันหล่อลื่น
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นและไส้กรอง
เกณฑ์ข้อที่ 9 การบำรุงรักษากรองอากาศและชุดกรอง
อื่นๆ ของระบบอัดอากาศ
การดำเนินการ
6. อัดจารบี
7. ตรวจสอบสภาพและปรับแต่งสายพานส่งกำลัง (ถ้ามี) หรือ ชุดเกียร์ส่งกำลั
ง (ถ้ามี)
8. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องวัดต่างๆ ว่าทำงานได้ปกติ
9. ตรวจวัดและบันทึกค่าต่างๆ ต่อไปนี้
- อุณหภูมิและความดันของอากาศเข้า และออกเครื่องอัดในแต่ละขั้น และ
อากาศในถัง
- สัดส่วนของการรับภาระ (load/unload duty)
เกณฑ์ข้อที่ 10 การปิ ดวาล์วถังลม
ติดตั้งวาล์ว ด้านจ่ายอากาศอัดออกจากถัง เข้าสู่ระบบ และติดป้ าย
“ปิ ดวาล์วทุกครั้งหลังเลิกงาน และเปิ ดวาล์วไล่น้ำทุกครั้งก่อนทำงาน”

ในระบบอัดอากาศ มีจุดรั่วไหลในระบบไม่มากก็น้อย ดังนั้นเมื่อไม่มี


การใช้งานในระบบอัดอากาศ ต้องปิ ดวาล์วจากลมออกจากระบบทุก
ครั้งที่ไม่ใช้งาน

You might also like