You are on page 1of 15

การปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ

และการพัฒนาการศึกษาทางไกลในประเทศจีน

ซิงฟู ติง
บทคัดยอ

ศตวรรษที่ 21 นับเปนยุคของการปฏิวัติขอมูลสารสนเทศและเศรษฐกิจแบบ
ความรู (Knowledge-bascd economy) ในยุคที่สามารถเผยแพรขอมูลขาวสารไดอยาง
รวดเร็ว ความรูกลายเปนปจจัยสําคัญทางเศรษฐกิจและการผลิต ซึ่งสงเสริมแรงงานทุก
รูปแบบเขาสูกระบวน การเปลี่ยนแปลงผลผลิตของสังคมโดยเนนหนักไปที่สติปญญา
และการสรางสรรคความรูใหม การพัฒนาเศรษฐกิจแบบความรูนํามาซึ่งโอกาสเชน
เดียวกันกับการทาทายความสามารถของมนุษย ความคิดเรื่อง “อาชีพระยะยาวตลอด
ชีวิต” เปนเรื่องลาสมัยและทําใหสมาชิกของสังคมตองตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงจาก
“การเขารับการศึกษาเพียงครั้งเดียว” ไปสู “การ ศึกษาตลอดชีวิต” เศรษฐกิจแบบ
ความรูทําใหเกิดความจําเปนที่จะตองสรางสังคมแหงการเรียนรู บทความนี้จะเริ่ม ตน
กลาวถึงความสัมพันธของเศรษฐกิจแบบความรูและการเรียนรูตลอดชีวติ ติดตามดวย
บทบาทที่สําคัญของการศึกษาทางไกล (distance education) ที่ขยายตัวใหญขึ้นเรื่อยๆ
ในสังคมแหงการเรียนรู หลังจากนั้นจะกลาวถึงความสําเร็จและความบกพรองของการ
จัดการศึกษาทางไกลของประเทศจีน โดยเฉพาะอยางยิง่ ระบบมหาวิทยาลัยวิทยุและ
โทรทัศนแหงชาติ ในรอบ 20 ปที่ผานมา อันไดแก นโยบายการเปดโอกาสใหเขาถึง
การศึกษามากขึ้น นวัตกรรมการเรียนการสอนที่พึ่งพาโครงสรางพื้นฐานสมัย ใหม และ
ความรวมมือระยะสั้นและระยะยาวของสถาบันการศึกษาตางๆ

เศรษฐกิจแบบความรูและสังคมแหงการเรียนรูตลอดชีวิต

รายงานเกีย่ วกับความเปนไปไดทางวิทยาศาสตรเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ป
ค.ศ. 1996 ขององคกรเพื่อความรวมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for
Economic Co-operation and Development หรือ OECD) ชี้ใหเห็นวาเศรษฐกิจของทุก
2

ประเทศในสังกัด OECD จะกลายเปนเศรษฐกิจแบบขอมูลสารสนเทศและความรู ถือวา


ความรูเปนแรงผลักดันหลักของการเติบโตและผลผลิตของสังคม ทําใหบทบาทของขอ
มูลขาวสาร ความรู และการเรียนรูเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ กลายเปนจุดเนนใหมที่สาํ คัญ
ของชุมชนนานาชาติ เมื่อเกิดความจําเปนตองพึ่งแนวความคิดเกีย่ วกับความรูและการ
ทํางานของคอมพิวเตอร รัฐบาลหลายประเทศเริ่มตื่นตัวและเสนอใหมกี ารสรางระบบ
เศรษฐกิจแบบความรูขึ้นมาใหม แนวโนมของโลกเปนเชนนี้และเปนความตองการของ
มนุษยเพื่อชีวติ ความเปนอยูท ี่ดีกวา และการพัฒนาไปสูความกาวหนาของโลก

ศตวรรษที่ 21 เปนยุคของเศรษฐกิจแบบความรูซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกตางจาก
เศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ยุคของเศรษฐกิจแบบความรูมีลักษณะ
สําคัญดังนี้ ประการแรก ในขณะทีเ่ ศรษฐกิจในยุคเกษตรกรรมผลผลิตและความเจริญ
เติบโตทางเศรษฐกิจเกิดจากการใชทรัพยากรธรรมชาติ และใชเงินลงทุนในยุคอุตสาห
กรรมตามลําดับ และในยุคเศรษฐกิจแบบความรู ขอมูลสารสนเทศและความรูเปนปจจัย
หลักที่ผลักดันผลผลิตและความเจริญเติบโตของสังคม ทําใหการใชแรงงานทุกชนิดใน
การสรางผลผลิตของสังคมเปลี่ยนไป การใชสติปญญาและการคิดสรางสรรคความรู
ใหมๆ ประการที่สอง ความเร็วของนวัตกรรมความรูและพัฒนาการทางวิทยา ศาสตร
และเทคโนโลยี พุงไปขางหนาอยางรวดเร็ว สถิติแสดงใหเห็นวา ความรูที่เกิด ขึ้นภายใน
ระยะเวลา 30 ปที่ผานมาเทากับความรูที่มนุษยคดิ คนและสั่งสมมานานนับ 2,000 ป มี
การทํานายวาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีมากมายหลายสาขาจะมีการคนพบครั้งสําคัญ
และขยายความรูออกไปภายในระยะเวลา 15 ปอันใกลนี้ และจํานวนความรูวิทยาศาสตร
และเทคโนโลยีทั้งหมดในปจจุบันจะคิดเปนจํานวนรอยละ 1 ของความ รูในป ค.ศ. 2050
และประการที่สาม วัฏจักรในการทํางานจากการประดิษฐคิดคนทางเทคนิคกลายเปน
ผลผลิตทางอุตสาหกรรม และจากผลผลิตทางอุตสาหกรรมไปสูตลาดการคาจะเกิดการ
เปลี่ยนแปลงและกินเวลานอยลง ผลที่เกิดขึ้น คือ ประเทศกําลังพัฒนาจะมีโอกาสตาม
ประเทศที่พัฒนาแลวทัน การพึ่งพาโดยสัง่ ซื้อสินคาเทคโนโลยีเขาประเทศจะคอยๆลด
นอยลง ประเทศที่กําลังพัฒนาจะแขงขันกันกําหนดยุทธศาสตรการพัฒนาประเทศ โดย
เปลี่ยนแปลงจากการลอกเลียนแบบเทคโนโลยี ไปเปนการประดิษฐคิดคนเทคโนโลยี
แบบ ใหมๆขึน้ มาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของตนเอง
3

ในงานพิธีเฉลิมฉลองวันครบรอบ 100 ปของการกอตั้งมหาวิทยาลัยปกกิ่ง ทาน


ประธาน เจียง เจอหมิง (Jiang Zeming) กลาววา “โลกยุคปจจุบัน วิทยาศาสตรและ
เทคโนโลยีพัฒนาไปอยางรวดเร็ว เศรษฐกิจแบบความรูปรากฏตัวออกมาและเกิดการ
แขงขันระหวางประเทศเพิ่มขึ้นสูงอยางมหาศาล (Jiang, 1998) การแขงขันกันระหวาง
ประเทศเปนการแขงขันในเรื่องความคิดสรางสรรคและสติปญญาเปนสําคัญ และการ
พึ่งพาบุคลากรที่มีความรูทางวิชาชีพ มีความคิดสรางสรรค และสติปญญาสูงเปนหลัก

การพัฒนาเศรษฐกิจแบบเรียนรูนํามาซึ่งโอกาสเชนเดียวกันกับการทาทายความ
สามารถของมนุษย นั่นคือ การเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมไปสูเศรษฐกิจ
แบบความรู ตองสนับสนุนดวยการปรับเปลี่ยนและปรับรื้อโครงสรางแรงงานของสังคม
ในขณะที่แรงงานสวนใหญของเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมจะเกีย่ วกับการผลิตวัสดุสิ่ง
ของ ขณะที่คนสวนใหญในเศรษฐกิจแบบความรูจะทํางานทุมเทใหกบั การสรางผลงาน
และการเผยแพรความรูใหมๆ นอกจากนัน้ ในยุคของการปฏิวัติขอมูลขาวสาร การปรับ
เปลี่ยนความรูใ หทันสมัย มีอัตราการขยายตัวอยางรวดเร็ว ผลผลิต และบริการตางๆทาง
สังคมเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วตลอดเวลา ผลลัพธ คือ ความคิดเรื่อง “อาชีพระยะยาว
ตลอดชีวิต” กลายเปนเรื่องลาสมัย

ทศวรรษที่ผานไปมีสิ่งประดิษฐใหมๆเกิดขึ้น 20 ชิ้นตอชั่วโมงในโลก และมี


ขอมูลขาวสารใหมๆเกิดขึ้น 29 พันลานเรือ่ งในโลก การเผชิญกับยุคการแพรกระจาย
ของขอมูลขาวสารอยางรวดเร็วดวยการศึกษาและการใชความรูที่มีอยูไมเพียงพอ การ
คิดสรางสรรคความรูใหมกลายเปนแรงผลักดันหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
อันไดแก สภาพพื้นฐานและการดํารงชีวติ สวนบุคคล การพัฒนาเพื่อสมาชิกทุกคนของ
สังคม หมายความวา การปฏิบัติตนของสมาชิกทุกคนในสังคมตองปรับเปลี่ยนไปจาก
“การเขารับศึกษาเพียงครั้งเดียว” ไปเปน “การศึกษาตลอดชีวิต” การสรางระบบการ
ศึกษาตลอดชีวิต การจัดโอกาสใหเขาถึงการศึกษาและการฝกอบรมในหลายระดับหลาย
ประเภทที่มีรปู แบบแตกตางกัน มีพหุวัตถุประสงคสําหรับสมาชิกทุกคนในสังคมกลาย
เปนยุทธศาสตรที่สําคัญของทุกประเทศ เศรษฐกิจแบบความรูทําใหเกิดความจําเปนใน
การสรางสังคมแหงการเรียนรู
4

การศึกษาทางไกลในสังคมแหงการเรียนรู

การศึกษาควรจัดขึ้นเพื่อมนุษยทุกคน และเปนกระบวนการเรียนรูต ลอดชีวิต


สําหรับทุกคน ประเทศสมัยใหมจําเปนตองสรางและพัฒนาระบบการศึกษาตลอดชีวิต
เพื่อจะบรรลุเปาหมายการเปนสังคมแหงการเรียนรู แตปญหาที่แทจริง คือ ทําอยางไร
จึงจะเขาใจสามารถจัดระบบการศึกษาตลอดชีวิตที่มีประสิทธิภาพ และมีผลในทางปฏิบัติ

การบรรลุความคิดและเปาหมายของการจัดการศึกษาตลอดชีวิต จําเปนตองขยาย
ระบบการจัดการศึกษาในระดับกวาง อยางไรก็ตาม ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยูใน
ประเทศตางๆสวนใหญไมสามารถสนองตอบความตองการการศึกษา และการฝกอบรมที่
เพิ่มขึ้นตลอดเวลา จําเปนจะตองหาทางเลือกใหม สําหรับการเรียนการสอนมาแทนที่การ
สอนแบบเกาที่ยึดติดอยูกับวิทยาเขต การศึกษาทางไกลเปนทางเลือกหนึ่งทีด่ ีที่สุด ใน
การสรางระบบการศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาทางไกลสามารถจัดการศึกษาและการฝก
อบรมใหแกผูคนหลายประเภทในปริมาณมากๆ และดวยราคาต่ําที่มีเหตุผลรับฟงได นอก
จากนีก้ ารศึกษาทางไกลยังเปดโอกาสใหเกิดการเรียนรูใ นกลุมผูเรียนเปาหมายตางๆ โดย
การยืดหยุนทีเ่ หมาะสมกับเวลาวางของผูเรียนแตละกลุม ดวยวิธีการเชนนี้การศึกษา ทาง
ไกลไดแสดงบทบาทสําคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเปนระบบการศึกษาที่สําคัญสวนหนึ่ง
ของระบบการศึกษาระดับชาติในหลายประเทศ

ความสําเร็จและประโยชนของการศึกษาทางไกลของโลกทุกวันนี้มีผลมาจากการ
พัฒนาดานเทคโนโลยีสารสนเทศ ในอดีตระบบการศึกษาทางไปรษณียซึ่งสวนใหญสง
สิ่งตีพิมพไปใหนักศึกษา ขณะที่ระดับและปริมาณของการศึกษาทางไกลยังจํากัด คุณ
ภาพการสอนทางไปรษณียย ังเปนทีก่ ังขากันมานาน นับตั้งแตมกี ารพัฒนาเทคโนโลยี
ดานอิเล็กทรอนิกส สื่อทางโสตทัศนะ เทคโนโลยีไมโครเวฟ และดาวเทียม มีการนํา
เทคโนโลยีเหลานี้มาใชในการ ศึกษาทางไกลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สื่อมวลชน ไดแก การ
กระจายเสียงทางวิทยุและโทรทัศน มีสวนสําคัญในการสนับสนุนการจัดการศึกษาทาง
ไกล ปจจุบันเครือขายคอมพิวเตอร และเทคโนโลยีเสมือนจริง ทําใหเราสามารถจัดการ
ศึกษาทางไกลได และเปดโอกาสใหมีเขาถึงการเรียนรูไดงายใน ลักษณะยืดหยุนและมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษาทางไกลสงเสริมนวัตกรรมตอเนื่องบนพื้นฐานของ
5

เทคโนโลยีที่นาํ มาใชงาน การศึกษาทางไกลนํามาซึ่งการปฏิวัติในงานที่เกี่ยวของ เชน


การวางแผนพัฒนาสถาบันการศึกษา การบริหารการศึกษา และที่สําคัญที่สุด คือ การ
เรียนการสอนในสาขาวิชาศึกษาศาสตร เปนที่ทราบกันดีวาการพัฒนาเทคโนโลยีสาร
สนเทศเปนการสงเสริมใหมีการจัดตั้งศูนยการศึกษาสําหรับผูเรียน และการกําหนดยุทธ
ศาสตรตางๆ ประการแรก คือ การปรากฏตัวของเทคโนโลยีใหมๆทําใหปฏิสัมพันธ
และการติดตอสื่อสารระหวางนักศึกษากับอาจารย และระหวางนักศึกษากับนักศึกษา
ทําใหสามารถติดตอกันไดงาย และมีประสิทธิภาพ สิ่งที่สําคัญ คือ การศึกษาทางไกล
สามารถเอาชนะอุปสรรคที่เกิดจากการหางไกลกันทางกายภาพระหวางผูเรียนกับครูบา
อาจารยได การพบกันซึ่งหนาและการไมไดพบกันซึ่งหนา ดวยวิธกี ารนําเอาระบบการ
สื่อสารโทรคมนาคมผานเครือขายคอมพิวเตอร และอุปกรณอิเล็กทรอนิกสที่ชวยอํานวย
ความสะดวกมาใช ทําใหเกิดปฏิสัมพันธหลากหลายในการเรียนการสอนแบบการศึกษา
ทาง ไกล ประการที่สอง เทคโนโลยีใหมๆทําใหการเรียนรูเปดกวางมากขึ้นและยืดหยุน
กระบวนการเรียนรูจะกลายเปนแบบยึดผูเรียนเปนหลักมากขึ้นมีลักษณะเปนสวนบุคคล
และมีการรวมมือกันมากขึ้นระหวางผูเรียน การเรียนรูจะงาย สะดวกสบาย และสนุก
สนานนอกจากนั้น วิธีสอนที่ยึดผูเรียนเปนหลัก การเรียนเปนรายบุคคล และการรวม
มือกันทํางานในการเรียนจะชวยกระตุนผูเรียน ทําใหผูเรียนสามารถปรับปรุงความคิด
สราง สรรคและสติปญญาของตนเอง นีค่ ือ ความฝนของครูบาอาจารยสวนใหญที่
กําลังกลายเปนความจริงตลอดไป และปจจุบันก็กําลังกลายเปนความจริงดวยความชวย
เหลือของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัยใหมในสังคมแหงการเรียนรู

จีนยุคใหมและยุทธศาสตรการพัฒนาการศึกษา

นับแตสิ้นสุดการปฏิวัติทางวัฒนธรรมประเทศจีนไดปฏิรปู สังคม และเศรษฐกิจ


และกําหนดนโยบายเปดประตูกวางออกสูโ ลกภายนอก มีการคาดการณวาในศตวรรษที่
21 จะแสดงบทบาทที่สําคัญและตื่นตัวในชุมชนระหวางประเทศ โดย เฉพาะอยางยิ่งใน
เขตภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟก เมื่อ ป ค.ศ. 1997 ในที่ประชุมแหงชาติครั้งที่ 15 ของพรรค
คอมมิวนิสตจนี เจียง เจอหมิง เลขาธิการพรรค ไดเสนอรายงานฉบับหนึ่งชื่อ “การ
รวมการสรางสังคมนิยมเขากับลักษณะเฉพาะของจีนในศตวรรษที่ 21 โดยยกยองและ
นําเอาทฤษฎีของเติ้ง เสี่ยวผิง มาใช” รายงานนี้ไดตั้งเปาหมายไววาการพัฒนา สังคมและ
6

เศรษฐกิจในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 21 และในกลางศตวรรษที่ 21 ประเทศ จีนจะตอง


อยูในกลุมประเทศที่พัฒนาแลวระดับกลาง และประสบความสําเร็จในการทําใหอารย
ธรรมของจีนกลับมารุงเรืองอีกครั้งหนึ่ง (Jiang, 1977) รายงานฉบับนี้ระบุวา “ความ
กาวหนาของจีนสมัยใหมสวนใหญจะขึ้นอยูกับความกาวหนาของบุคลากรที่มีคุณภาพ
และการพัฒนาทรัพยากรมนุษยในประเทศ” (Jiang,1997) นับตั้งแตสนิ้ ทศวรรษที่ 1970
จนถึงตอนเริ่มตนทศวรรษที่ 1990 เติ้ง เสี่ยวผิง ไดเนนย้าํ ถึงความสําคัญของการพัฒนา
การศึกษาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีที่จะทําใหประเทศจีนกลายเปนประเทศสังคมนิยม
สมัยใหม นับตั้งแตการประชุมระดับชาติของพรรคครั้งที่ 14 ในป ค.ศ. 1992 มีการ
กําหนดยุทธศาสตรใหพัฒนาการศึกษา คณะกรรมการกลางพรรคและสภาประชาชนได
พัฒนาขอเสนอเรื่องนวัตกรรมและการพัฒนาการศึกษาของจีน รับรองใหนําขอเสนอนี้
ไปปฏิบัติในป ค.ศ.1993 และ 1994 ตามลําดับ ขอเสนอและคํารับรองทําใหเกิดโครง
สรางพื้นฐานของนวัตกรรมและการพัฒนาการศึกษาของจีน ในทศวรรษที่ 1990 และ
ตอนตนของศตวรรษที่ 21 มีการนําเสนอยุทธศาสตรการพัฒนาประเทศโดยการสนับ
สนุนวิทยาศาสตรและการศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 6 ที่เปดโอกาสกวางใหแกสมาชิก
พรรคทุกคนที่มีความประสงคจะเขารวมประชุม และการประชุมของคณะกรรมการ
ของพรรค ใน ป ค.ศ. 1995 และมีการวางแผน 5 ป ครั้งที่ 9 เปนโครงการพัฒนาการ
ศึกษาของจีน จนกระทั่งถึง ป ค.ศ. 2010 การวางแผนครั้งนี้ไดกระทําไปพรอมๆกับการ
วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในป ค.ศ. 1996

ในป ค.ศ. 1996 ประธานาธิบดี เจียง เจอหมิง ชี้ใหเห็นวา “มีประเด็นสําคัญ 2


ประเด็นทีจ่ ําเปนตองกลาวถึงเพื่อการพัฒนาอยางมีประสิทธิภาพ ประการแรก คือ การ
ศึกษาตองปรับปรุงวิธีจัดการฝกอบรมใหแกบุคลากรประเภทตางๆ ตามความตองการ
ของโครงสรางของสังคมสมัยใหม อีกประการหนึ่งคุณภาพและประสิทธิภาพของการจัด
การศึกษาควรจะปรับปรุงใหดีขึ้โดยวิธีบูรณาการ” ในสวนที่เกี่ยวกับยุทธศาสตรการ
พัฒนาประเทศ โดยสงเสริมวิทยาศาสตรและการศึกษาตลอดจนยุทธศาสตรการพัฒนา
เพื่อความยั่งยืน รายงานการประชุมระดับชาติครั้งที่ 15 ของพรรคระบุวา “วิทยาศาสตร
และเทคโนโลยีเปนแรงผลักดันหลักในการสรางผลผลิต ความกาวหนาของวิทยาศาสตร
และเทคโนโลยีเปนองคประกอบที่สําคัญของการพัฒนาศรษฐกิจ เราตองเอาใจใสอยาง
มากตอการสงเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีในอนาคต โดยเฉพาะอยางยิ่ง
เทคโนโลยีระดับสูงที่มีอิทธิพลอยางมากตอพลังอํานาจทัง้ หมดของประเทศชาติตอโครง
7

สรางทางเศรษฐกิจและชีวิตสังคม ควรกําหนดยุทธศาสตรสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมเพื่อเรงรัดความกาวหนาทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี การจัดการบริหาร
เศรษฐกิจใหสอดคลองกับความเจริญกาวหนาของวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่ม
คุณภาพการทํางานใหดีขึ้น” (Jiang, 1997) เกี่ยวกับแนวปฏิบัติสําหรับนวัตกรรมและ
การพัฒนาการศึกษา รายงานกลาววา “การพัฒนาการศึกษาและวิทยาศาสตรถือเปน
รากฐานทางวิศวกรรมของการสรางวัฒนธรรม การฝกอบรมคนงานที่มีคุณภาพจํานวน
หลายรอยลานคนและบุคลากรทางวิชาชีพเปนสิบๆลานคนเปนสิ่งจําเปนในการพัฒนาจีน
ใหกลายเปนประเทศที่ทันสมัย และประเทศจะไดรับผลประโยชนจากทรัพยากรมนุษย
จํานวนมากมายมหาศาล สิ่งเหลานี้ลวนแตเกี่ยวของกับจุดหมายปลายทางทั้งหมดของการ
สรางสรรคสังคมนิยมในศตวรรษที่ 21 เราจะตองสรางความแนใจวา เราทําใหการศึกษา
เปนยุทธศาสตรที่มีลําดับความสําคัญมากในการพัฒนา” (Jiang, 1997 : 40) การประกาศ
นโยบายเหลานี้เปนการแสดงใหเห็นวา รัฐบาลไดใหความสําคัญมากแกการจัดการศึกษา
ของชาติ โดยเฉพาะอยางยิ่งการศึกษาระดับอุดมศึกษาซึง่ กําลังกาวเขาสูศตวรรษที่ 21

เมื่อเร็วๆนี้ทานประธาน จู หลงจี ประกาศวารัฐบาลของทานจะสนับสนุนการ


สรางความเขมแข็งใหแกยุทธศาสตรการพัฒนาประเทศ โดยการสงเสริมวิทยาศาสตร
และการศึกษา เปนเวลานาน 8 ป (ค.ศ. 1992 – 2000) นับตั้งแตการประชุมระดับชาติ
ของพรรคครั้งที่ 14 ที่สามารถบันทึกไดวาเปนชวงระยะเวลาที่สําคัญทางประวัติศาสตรที่
การศึกษาของจีนไดบรรลุสูการพัฒนาที่มนี ัยสําคัญอยางที่สุด

การศึกษาทางไกลในจีน

ในกระบวนการสรางความทันสมัยของจีน การศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษา
ไดมีสวนสนับสนุนทั้งการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา และการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคม เนื่องจากการศึกษาทางไกลมีลักษณะเปดกวาง ประหยัด และยืดหยุน การเรียน
ทางไกลที่เปดกวางมีสวนสนับสนุนอยางสําคัญตออุดมศึกษาของจีน และเปดใหมกี าร
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกวางยิ่งขึ้น อันดับแรก การศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาได
เปดโอกาสกวางใหมีการเขาถึงการศึกษาระดับสูงโดยเฉพาะอยางยิ่งผูใหญที่ทํางานรับจาง
ผูที่จบชั้นเรียนประถมหรือมัธยม และบุคคลผูดอยโอกาส อันดับที่สองการศึกษาทางไกล
8

ไดมีสวนชวยปรับปรุงการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาใหเผยแพรออกไปกวางไกลใน
ทางภูมิศาสตรทั่วประเทศจีน โดยการสรางสรรคพัฒนาการจัดการศึกษาระดับสูง ในพื้นที่
หางไกลเขตภูเขา ชนบทยากจน และพื้นทีข่ องชาติพันธุชนกลุมนอย สถานที่ที่ยังดอย
พัฒนาในดานเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร เทคโนโลยี การศึกษา และวัฒนธรรม อันดับ
ที่สาม การศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาไดปรับปรุงโครงสรางการจัดการศึกษาระดับ
อุดมศึกษา โดยเฉพาะอยางยิง่ ในเรื่องหลักการและสาขาวิชาตางๆ และดานการฝกอบรม
บุคลากรในสาขาวิชาชีพ เชนเดียวกันกับการจัดโปรแกรมการเรียน หลักสูตร และราย
วิชาอยางเรงดวนเพื่อตอบสนองความตองการของตลาดแรงงานระดับชาติ ทอง ถิ่น และ
กลุมอื่นๆ อันดับที่สี่ การศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษาประสบความสําเร็จในแงการ
ลงทุนอยางประหยัด และมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับราคา ซึ่งไดรับการยอมรับนับถือ
จากรัฐบาลประเทศอื่น และสาธารณชนทั่วไป (Ding, 1998)

จีนมีระบบการจัดการศึกษาทางไกลทั้งระบบเดี่ยวและระบบคู นับตั้งแตตอนตน
ทศวรรษที่ 1950 มหาวิทยาลัยแบบเกาทีจ่ ดั การศึกษาทางไปรษณียมาเกือบครึ่งศตวรรษ
ไดแก มหาวิทยาลัยทางโทรทัศนของเมืองหลัก (ไดแก ปกกิ่ง เซี่ยงไฮ เปนตน) ริเริ่ม
ปฏิบัติงานในป ค.ศ. 1960 ในฐานะผูบุกเบิกของมหาวิทยาลัยทางไกลระบบเดี่ยวของ
โลก มหาวิทยาลัยระบบวิทยุและโทรทัศนแหงชาติ (RTVUs) ของประเทศจีน ซึ่งริเริ่ม
โดยทานเติ้ง เสี่ยวผิง ในป ค.ศ.1978 และเริ่มออกอากาศสอนรายวิชาตางๆทั่วประเทศ
ในป ค.ศ. 1979 นับตั้งแตกลางทศวรรษที่ 1980 รัฐบาลจีนไดจัดใหมรี ะบบการทดสอบ
ความรูอุดมศึกษาสําหรับผูที่ศึกษาแบบอิสระ และเริ่มตนโปรแกรมโทรทัศนดาวเทียม
เพื่อการศึกษาหลายระดับหลายประเภท หนึ่งทศวรรษตอมานับตั้งแตกลางทศวรรษ ในป
ค.ศ. 1990 มหาวิทยาลัยแบบเกาจํานวนมากหลายมหาวิทยาลัยที่เปนคูแ ขงขันในการจัด
การศึกษา (ไดแก เซี่ยงไฮ ซีเจียง หูนาน เปนตน) ไดริเริม่ ความพยายามในการจัดการ
ศึกษาอิเล็กทรอนิกส (e-education) โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม
ผานดาวเทียมและเครือขายคอมพิวเตอร

เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลจีนไดตดั สินใจวา การศึกษาทางไกลจําเปนตองพึ่งเทคโนโลยี


สารสนเทศและโทรคมนาคม จึงควรจะบริหารจัดการในฐานะเปนงานวิศวกรรมขนาด
ใหญ สภาประชาชนไดใหความเห็นชอบใน “ระเบียบโปรแกรมปฏิบัติการสนับสนุน
การศึกษาในศตวรรษที่ 21” ซึ่งออกโดยกระทรวงศึกษาธิการ ในเดือนมกราคม ป ค.ศ.
9

1999 ในบทที่ 6 ของระเบียบนี้กําหนดใหมีโปรแกรมวิศวกรรมเพื่อการศึกษาทางไกล


(Program of Modern Distance Education Engineering หรือ MDEE) เพื่อสรางเครือขาย
การศึกษาแบบเปดและระบบการเรียนรูทางไกล โปรแกรมนี้สนับสนุนใหมีสถาบันอุดม
ศึกษามากยิ่งขึน้ โดยเฉพาะอยางยิ่ง การพัฒนามหาวิทยาลัยแบบเกาใหสามารถจัดการ
ศึกษาทางไกล ในฐานะที่เปนหนวยงานระดับชาติที่ทํางานดานการศึกษาทางไกล ระบบ
มหาวิทยาลัยวิทยุและโทรทัศน (RTVUS) ยังคงรักษาบทบาทสําคัญในการจัดการศึกษา
ทางไกลในอนาคต

พัฒนาการของมหาวิทยาลัยวิทยุและโทรทัศนในประเทศจีน

หลังจากการพัฒนาสองทศวรรษผานไป ระบบ RTVUs ของจีนไดพัฒนาหนวย


งานออกเปน 5 ระดับ ประกอบดวย ศูนยกลาง RTVU 1 แหง , RTVUs ระดับจังหวัด
44 แหง , ระดับเมืองในสาขาโรงเรียน 841 แหง, ระดับสถานีปฏิบัติงานในเคานตี
1,742 แหง และระดับโทรทัศนภายในหองเรียน 17,076 แหง (CCRTVU, 1999 : 1)
ผลของการปฏิบัติงานมีดังนี้

1. มีนักศึกษาระดับปริญญาตรี ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสั้นๆ และรายวิชาปกติ


จํานวน 888,201 คน และนักเรียนมัธยม จํานวน 358,272 คนลงทะเบียนเรียนวิชาเฉพาะ
และนักศึกษา จํานวน 1,674,339 คน ลงทะเบียนเรียนวิชาที่ไมไดประกาศนียบัตร (รวม
ทั้งการศึกษาตอเนื่องของผูสําเร็จการศึกษาระดับวิทยาลัย และการฝกอบรมวิชาชีพและ
เทคนิค) ในระบบ RTVUs ของประเทศจีนในป ค.ศ. 1998 จํานวนนักศึกษาทั้งหมดที่
ลงทะเบียนในระบบของ RTVUs มากกวา 2.9 ลานคน ในป ค.ศ. 1998
2. ระหวางป ค.ศ. 1982-1998 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรี จํานวน 2.485 ลาน
คน ลงทะเบียนในรายวิชาสัน้ ๆ และสําเร็จการศึกษา คิดเปนรอยละ 13 ของบัณฑิตที่จบ
การศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศจีนในเวลาเดียวกัน มีนกั เรียนมากกวา 1 ลาน
คนที่สําเร็จการศึกษาเฉพาะระดับมัธยมศึกษา ครูมากกวา 1 ลานคน ผูบริหารโรงเรียน
ประถมและมัธยมศึกษาอีก 1 ลานคนที่เขารับการฝกอบรมระหวางปฏิบัติงาน มีผูเรียน
มากกวา 30 ลานคนที่สําเร็จการศึกษาประเภทไมมีประกาศนียบัตร ชาวนาหลายสิบลาน
คนและคนยากจนในชนบทหางไกลที่สําเร็จการฝกทักษะจากระบบของ RTVUs ผลการ
10

ปฏิบัติงานทําใหเห็นวา ระบบ RTVUs ไดแสดงบทบาทอยางสําคัญในการจัดการศึกษา


ตลอดชีวิตของสังคมจีน และอยูในตําแหนงสูงสุดของบัญชีมหาวิทยาลัยประเภทอภิมหา
ยักษใหญของโลก บัณฑิตและผูที่สําเร็จการศึกษาจาก RTVUs ไดพสิ ูจนใหเห็นถึงคุณ
สมบัติฝมือแรงงานในระดับชาติและระดับทองถิ่น สิ่งนี้เปนความจริงทีพ่ บเห็นไดในเขต
พื้นที่หางไกล ชนบทยากจน และในเขตภูมิภาคชาติพันธุชนกลุมนอย ในบางสาขาวิชาที่
มีความตองการอยางเรงดวน เชน เศรษฐศาสตร ธุรกิจและการคา กฎหมาย ครู วิทยาการ
คอมพิวเตอรและเทคโนโลยี และอื่นๆ บุคลากรเหลานี้ไดมีสวนรวมในการสรางความ
ทันสมัยใหแกเศรษฐกิจและสังคมจีน

ในฐานะหนวยงานระดับชาติที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาทางไกลและการเรียน
แบบเปดกวาง ระบบ RTVUs ของจีน ไดพัฒนาคุณลักษณะเฉพาะของหนวยงานขึน้ มา
ระบบไดสรางเครือขายโครงสรางการรับ-สง สัญญาณโทรทัศนผานดาวเทียม และเครือ
ขายทางการศึกษา เพื่อการสอนและบริหารจัดการการศึกษาทางไกลขึ้นทั่วประเทศจีน
ปจจุบันระบบ RTVUs ของจีนมีพนักงานมาปฏิบัติงานเต็มเวลาจํานวน 555,762 คน
ในจํานวนนี้ 26,712 คนเปนนักวิชาการ และจํานวนพนักงาน 20,389 คน ปฏิบัติงาน
ในฐานะนักวิชา การไมเต็มเวลา ในจํานวนพนักงานทั้งหมดประมาณเกือบ 1,000 คน มี
ผูปฎิบัติหนาที่ เปนหัวหนากองบรรณาธิการแตงตําราเรียน และผูประกาศโปรแกรมการ
สอนดวยสื่อแบบโสตทัศนะที่คัดเลือกมาจากศาสตราจารยมีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัย
สําคัญ และผูเชี่ยวชาญในสาขาวิชาตางๆจากสถาบันวิจยั ทั่วประเทศ สองทศวรรษที่ผาน
มามีการผลิตตําราเรียนออกมาเกือบ 1,000 เลม และมีการจัดพิมพหนังสือจํานวน 400
วิชา ในรายวิชาโสตทัศนศึกษาที่กระจายเสียงสอนทางไกลและเนนการเรียนแบบเปด
อยาง ไรก็ตาม วิธีการเชนนีน้ ี่ยังคงนํามาใชในศตวรรษที่ 21 ปจจุบนั ในมุมมองทาง
การศึกษาและวิชาการศึกษายังมีขอบกพรองในการจัดการเรียนการสอนของระบบ
RTVUs อยู การกระจายเสียงออกอากาศของวิทยุและโทรทัศนยังขาดการสื่อสารสอง
ทางและการมีปฏิสัมพันธ การสอนโดยใชสื่อโสตทัศนศึกษาในรายวิชาของ RTVUs ถูก
วิพากษวจิ ารณจากนักศึกษา ชุมชนวิชาการ และรัฐบาล ถึงความไมเหมาะสมของวิธีการ
เรียนการสอนทางไกล มีหองเรียนจํานวนมากที่ยังคงจัดใหมีการพบกันพรอมหนา และ
การทบทวนความรูที่เรียนในหลายวิชากลับกลายเปนการบรรยาย ทําใหเกิดมีนกั ศึกษา
บางสวนที่ตองพึ่งพาการพบอาจารยเพิ่มมากขึ้น มีการจัดการทบทวนกอนสอบทําใหนัก
ศึกษามีอิสระนอยลง และขาดการเรียนรูด วยตนเอง (Ding, 1995
11

ในการเผชิญหนาแขงขันกับมหาวิทยาลัยแบบเกาที่พัฒนาโปรแกรมการศึกษาทาง
ไกลดวยเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบ RTVUs จําเปนตองปรับตัวไปสูสถานการณและ
เงื่อนไขใหม เพื่อจะทําใหเกิดนวัตกรรมและการพัฒนากาวไกลในศตวรรษที่ 21 ระบบ
RTVUs จําเปนตองสรางยุทธศาสตรเพื่อยกระดับตนเอง ประการแรก RTVUs ควรจะ
รับเอานโยบายการเปดโอกาสกวางใหมีการเขาถึงการศึกษามากขึ้นเพื่อตอบสนองความ
ตองการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ประการที่สอง RTVUs
จําเปนตองสรางวิธีการเรียนการสอนแบบใหมที่กาวไกลโดยการปรับปรุงโครงสรางพื้น
ฐานและสิ่งอํานวยความสะดวก การพัฒนารายวิชา การใหบริการสนับสนุนการเรียน
และอื่นๆ ประการสุดทาย RTVUs จําเปนตองพัฒนาความรวมมือระยะสั้นและความ
รวมมือระยะยาวกับสถาบันอุดมศึกษา โรงงานอุตสาหกรรม และหนวย งานของรัฐ
ทั้งภายในประเทศและตางประเทศ (Yu, 1999)

นโยบายเปดโอกาสใหเขาถึงการศึกษามากขึ้นของ RTVUs ในอนาคต

นักการศึกษาการศึกษาทางไกลของจีนหลายคนระบุวา การเปดโอกาสใหกวาง
เปนลักษณะสําคัญเดนชัดทีส่ ุดของการศึกษาทางไกล ระบบ RTVUs ของประเทศจีน
ไดรับการยอมรับวาเปนผลมาจากการปฏิรูปใหมโดยยึดนโยบายการเปดกวางที่รัฐบาลจีน
ใหการยอมรับ นับตั้งแตสิ้นทศวรรษที่ 1970 ในทางตรงกันขาม RTVUs ในฐานะระบบ
การศึกษาทางไกลควรจะเอาจริงเอาจังกับนโยบายเปดกวางในระยะเวลา 7 ปแรกหลังการ
กอตั้ง (ระหวาง ป ค.ศ. 1979-1985) ระบบ RTVUs คอนขางจะเปดกวางอยางนอยที่สุด
ในดานนโยบายการรับนักศึกษาเขาเรียน (admission policy) และการได รับการยอมรับ
(accreditation) และการไดรบั รางวัลตางๆโชคไมดีที่นโยบายและระบบเปดที่ริเริ่ม
นํามาใชถูกขัดขวางในป ค.ศ. 1986 ทําใหระบบ RTVUs เปลี่ยนแปลงจากระบบ เปด
ไปสูระบบปด สิบปตอมามีการระบุถึงปญหาและขอบกพรองของนโยบายการปด
โอกาส นับตั้งแตป ค.ศ. 1995 เปนตนมา นโยบายการเปดกวางกลับมาอีกครั้งหนึ่ง มี
การจัดทําโปรแกรมนํารองในนโยบายการรับนักศึกษาเขาสูระบบ RTVUs ตั้งแตป
ค.ศ. 1995 นโยบายการเปดโอกาสกวางใหเขาถึงการศึกษาไมไดจํากัดอยูเฉพาะใน
โปรแกรมนํารองเทานั้น แตคอยๆนํามาใชกับโปรแกรมที่ใหประกาศนียบัตรและไมให
ประกาศนียบัตรที่จัดโดย RTVUs เปาหมายเพื่อบรรลุถึงการจัดอุดมศึกษาเพื่อมวลชน
12

(อัตราการ มีสวนรวมรอยละ 15 ของการศึกษาระดับอุดมศึกษา) ในป ค.ศ. 2010 มี


การจัดตั้งโปรแกรมปฏิบัติการเพื่อสงเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21 RTVUs ควร
ดําเนินการกําหนดนโยบายการเปดโอกาสใหเขาถึงการศึกษาขยายออกไปทั้งขนาดและ
ปริมาณการจัดการศึกษา ปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ทําใหเกิด
ประโยชนแกประเทศชาติโดยใชศกั ยภาพของตนเองอยางเต็มกําลังความสามารถ ระบบ
RTVUs จําเปนตองสรางแนวปฏิบัติงานเพือ่ รับใชพื้นที่ทหี่ างไกลและยากจน กลุมชาติ
พันธุชนกลุมนอย และหนวยงานระดับรากหญา ระบบ RTVUs ตองใหการสนับสนุน
ตลอด เวลาแกการศึกษาตอเนื่องของผูที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญา การศึกษาอาชีว
ศึกษาและเทคนิคหลายประเภท การศึกษาเพื่อความสามารถในการทํางานและการฝก
อบรมในระหวางการปฏิบัตงิ านของครูอาจารย การฝกทักษะและการปฐมนิเทศกอนเขา
ปฏิบัติ งานและการฝกอบรมทบทวน

การพัฒนาอยางรวดเร็วของเครือขายการทํางานที่ใชคอมพิวเตอร และการขยาย ตัว


ในการนํามาใชในการจัดการศึกษาทางไกลและการเรียนรูแบบเปดกวางโดยใชเทคโนโลยี
ระดับสูงเปนโครงสรางพื้นฐานในการสรางความทันสมัย และการพัฒนาที่สดใสใน
อนาคต ควบคูไปกับการจัดตั้งหนวยงานขอมูลขาวสารและโครงสรางพื้นฐานระดับชาติ
(National Information Infrastruction หรือ NII) ขึ้นมา ทําใหระบบ RTVUs ขยายตัว
อยางรวดเร็วดานความกาวหนาของการสงสัญญาณ นวัตกรรมโครงสรางพื้นฐานและ
สิ่งอํานวยความสะดวกในการจัดการศึกษา นอกจากจะใชโทรทัศนสัญญาณ ดาวเทียม
สงสัญญาณออกไปอยางเต็มกําลังและประสิทธิภาพแลว ยังมีการขยายการกอ สรางใหแก
RTVUs เพื่อสรางเครือขายคอมพิวเตอรระดับชาติและเครือขายระดับภูมิภาคหลายแหงจะ
มีการเปลี่ยนทดแทนอุปกรณเครื่องมือโสตทัศนะที่ลาสมัยดวยอุปกรณสมัย ใหม และ
จะมีการปรับปรุงแนวความคิดในการสอนและการบริหารจัดการใหเขมแข็งยิ่งขึ้น โดย
การรวมเครือขายโทรทัศนดาวเทียมและเครือขายคอมพิวเตอรเขาดวยกัน จะมีการพัฒนา
อุปกรณการสอนรายวิชา และปรับปรุงสื่อตางๆที่นําใชในการสอนทางไกล จะมีการ
พัฒนา การติดตอสื่อสารสองทางในรูปแบบตางๆขึ้นมาจํานวนมากเพื่อใชในภูมิภาคโดย
ขึ้นอยูกับสถานการณและเงือ่ นไขของแตละพื้นที่เปนสําคัญ โปรแกรมคอมพิวเตอรชวย
สอน (Computer Assistant Instruction หรือ CAI) คอรสแวร (Courseware) โดยเฉพาะ
อยางยิ่งการพัฒนาคอรสแวรแบบมัลติมีเดียทั้งซีดีรอมและเว็บในอินเตอรเน็ท (Internet
Web-based) เวอรชั่นตางๆขึ้น ในขั้นตอนนี้ของการพัฒนาควรจะเนนเรื่องบูรณาการ
13

การออกแบบองคประกอบของมัลติมีเดียสําเร็จรูปที่นํามาใชในการสอน นั่นคือ ไมควร


มีสื่อประเภทใดที่เยีย่ มที่สุด เทคโนโลยีทางการศึกษาและสื่อการสอนแตละแบบมีทั้งขอดี
และขอเสียอยูใ นตัวเอง ขอเสียของสื่อแบบหนึ่งอาจเปนขอดีของสื่ออีกแบบหนึ่งสลับกัน
ไปมา ดังนั้น การเลือกใชเทคโนโลยีและสื่อแบบตางๆอยางผสมผสานและถูกตองเหมาะ
สม จึงเปนสิ่งสําคัญของการเรียนการสอนที่นํามัลติมีเดียมาใชงานในการศึกษาทางไกล
เกณฑมาตรฐานคุณภาพ การปรับตัวเขากับสิ่งแวดลอม การยืดหยุน ราคาที่ยุติธรรมใน
การพัฒนารายวิชา และออกแบบการสอนจําเปนตองไดรับการดูแลเอาใจใสใหมากขึ้น
นอกจากการพัฒนารายวิชาแลว บริการสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาก็เปนสิ่งสําคัญ
ที่สุดของระบบ RTVUs มีระบบโครงสรางพื้นฐานระดับชาติที่มีศนู ยการศึกษาภายใต
ระบบการบริหารงานที่ดี มีการจัดตั้งและปรับปรุงอุปกรณอํานวยความสะดวกเพือ่ สนับ
สนุนศูนยการศึกษาเพิ่มขึน้ เรื่อยๆ ดวยวิธกี ารเชนนี้ระบบ RTVUs จะสามารถจัดการสอน
แบบยึดผูเรียนเปนหลัก และสนับสนุนการศึกษารายบุคคลโดยจัดใหมกี ารเรียนเปนกลุม
เสริมโดยสอนใหรวมมือกันทํางานและอยูก ันพรอมหนา

การรวมมือระยะยาวกับสถาบันทางการศึกษาในการจัดการศึกษาทางไกล

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษาทางไกลในมหาวิทยาลัยแบบเกา เปนสิง่ ที่ดีที่ทําให


มหาวิทยาลัยไดแสดงบทบาทอยางเต็มที่ เปนการทําลายขอจํากัดของวิทยาเขตนั้น เปน
การแบงปนการใชทรัพยากรทางการศึกษา และเปนการสรางระบบอุดมศึกษาเพื่อมวลชน
และการศึกษาตลอดชีวิต นอกจากนีย้ ังมีประโยชนในการเพิ่มพูนมาตรฐานการศึกษาเปน
การพัฒนาบุคลากรวิชาชีพชัน้ สูง จากเมื่อตอนเริ่มตนใหมที่ระบบ RTVUs ไดสรางความ
รวมมือแบบระยะสั้นและระยะยาวกับมหาวิทยาลัยแบบเกาหลายแหงในการเขียนหลัก
สูตรและพัฒนารายวิชา บริการสนับสนุนผูเรียน และการพัฒนาความรูใหแกอาจารยกด็ ี
ดวยวิธีการเชนนี้ระบบ RTVUs ไดมีสวนแบงปนการใชทรัพยากรทีม่ ั่งคั่งและประสบ
การณของมหาวิทยาลัยเกาเหลานี้ ปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาใน
สองทศวรรษที่ผานมา ปจจุบันระบบ RTVUs ไดทําโครงการรวมมือในการพัฒนาการ
ศึกษาทางไกลกับมหาวิทยาลัยตางๆทั้งในระดับประเทศและภูมภิ าค RTVUs ศูนยกลาง
ไดทําความรวมมือระยะยาวกับมหาวิทยาลัยซิงหัวและมหาวิทยาลัยอืน่ ๆอีกหลายแหงรวม
มือกันจัดโปรแกรมระดับปริญญาตรีโดยไมตองสอบคัดเลือกเขาเรียน มหาวิทยาลัยซิงหัว
14

ไดพัฒนาอุปกรณการสอนสวนใหญใชประกอบการสอนในรายวิชาสวนใหญ ตลอดจน
อุปกรณการสอนบางสวนก็ผลิตขึ้นมาดวยความชวยเหลือจาก CCRTVU จัดโปรแกรม
การศึกษาของจีนทางโทรทัศน (China Education TV หรือ ETV) และโปรแกรมการ
ศึกษาปกติทจี่ ดั ใหแกผูเรียนทั่วประเทศ ระบบ RTVUs มีการจัดบริการสนับสนุนการเรียน
และการจัดการเพื่อนักศึกษาในทองถิ่น RTVUs ไดพัฒนาความรวมมือระยะยาวกับมหา
วิทยาลัยแบบเกา เชน รวมมือกับมหาวิทยาลัย เซี่ยงไฮทางโทรทัศน และมหาวิทยาลัย
เจียวตง จัดโปรแกรมการศึกษาทางไกลในเขตภูมิภาค ในศตวรรษที่ 21 คอมพิวเตอร
และการสอนทางเว็บโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศแสดงบทบาทสําคัญในโปรแกรม
การศึกษาทางไกล คอมพิวเตอรชวยสอน(CAI) ซอฟต แวรมัลติมีเดีย และคอรสแวร
สําหรับสอนทางเว็บในวิชาตางๆ จําเปนตองไดรับการพัฒนาโดยความรวมมือในระดับ
ประเทศมีการสรางฐานขอมูลประเภทตางๆและแหลงความรูในระดับชาติ ภูมิภาค และ
ระดับสถาบันการศึกษาขึ้นมา สถาบันการศึกษาทุกแหงจะไดใชทรัพยากร ผลิตผล และ
บริการทางการศึกษารวมกันโดยผานเครือขายความรวมมือที่เชื่อมโยงเขาดวยกัน ระบบ
RTVUs ที่ประกอบดวยเครือขายการสอนและการบริหารจัดการระดับชาติ 5 ระดับ
สามารถจัดบริการหลายแบบใหแกสถาบันการศึกษาอื่นๆนอกจากนั้น ในปจจุบนั ระบบ
RTVUs ของจีนยังแสวงหาความรวมมือจากหุนสวนในตางประเทศเพื่อ ทั้งสองฝายจะ
ไดรับผลประโยชนจากความรวมมือในระยะสั้นและระยะยาว

ผูเขียนบทความ
ศาสตราจารย ซิงฟู ติง เปนบรรณารักษและรองผูอํานวยการสถาบันการศึกษา
ทางไกล มหาวิทยาลัยศูนยกลางวิทยุและโทรทัศนแหงประเทศจีน กรรมการใน
สภาที่ปรึกษาการศึกษาทางไกลที่แตงตั้งโดยรัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษา และ
เปนรองประธานคณะกรรมการทางวิชาการของสมาคมการศึกษาทางไกลของจีน
เปนกรรมการผูทรงเกียรติของสภาผูใหคําปรึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยเปดฮองกง
Email : Xingfu@crtvu.edu.cn
ผูแปล ศักดา ปญจพรผล Email : sakda_panchapornpon@yahoo.com
15

หนังสืออางอิง

CCRTVU (1999) Education Statistics Yearbook of Radio & TV Universities in


China 1998. Beijing: CCRTVU Press.
Ding, Xingfu (1995) “China’s higher distance education – its system, structure and
administration”, in Structure and Management of Open Learning Systems,
Proceedings of the 8th Annual Conference of the AAOU, New Delhi, 20-22
February, New Delhi: Indira Gandhi National Open University, 1 : 260-74.
Ding, Xingfu (1998) “Evaluation of distance teaching universities: Chinese perspective
and experiences’, in Keynote Papers and CD-ROM for ’98 Shanghai International
Symposium on Open and Distance Education, Shanghai, Shanghai TV University.
Ding, Xingfu (1999) AComparative Study of Distance Higher Education Systems in
Australia and China, ZIFF PAPIERE 112, Hagen : Fern Universitat.
Jiang, Zeming (1997) To Comprehensively Take the Cause of Socialist Construction
with Chinese Character into the 21st Century by Holding High the Great Banner of
Deng Xiaoping’s Theory, Beijing.
Jiang, Zeming (1998) A Speech At the Ceremony for the 100th Anniversary of
Foundation of Peking University, Beijing.
OECD (1996) The Report on Prospect of Sciences, Technologies and Industries.
Yu,Yunxiu (1999) Conducting the ‘Operational Program’, Promoting the Process of
Open Schooling and Instructional Modemization; AReport at the National Working
Meeting of China RTVUs Education.
China RTVUs Education, Beijing : CRTVU.

You might also like