You are on page 1of 12

เอกสารประกอบการสอนรายวิชาสังคมศึกษา 2 MSHS 002

( Humanities and Social Studies II )


เรื่อง การเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยในปจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดย


คณะราษฎร ซึ่งนําโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นับเปนการเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญ
ที่สุด ในการเมื อ งการปกครองของไทย เพราะเปน การเปลี่ ย นจากระบอบการปกครองแบบ
สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย มาเปน ระบอบการปกครองโดยรั ฐ ธรรมนูญ มี เ ป า หมายจะสถาปนา
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเปนประมุข เปนหลักในการปกครอง
เมื่อคณะราษฎรทําการเปลีย่ นแปลงการปกครองไดสําเร็จแลว ก็มีการ
ประกาศใชพระราชบัญญัตธิ รรมนูญการปกครองแผนดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 27
มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งอาจถือไดวาเปนรัฐธรรมนูญฉบับแรก แมจะเปนกฎหมายที่ใชชวั่ คราว
ก็ตาม และหลักจากนั้นประเทศไทยก็ปกครองโดยมีรัฐธรรมนูญเปนหลักมาโดยตลอด แมจะมี
การยุบเลิกรัฐธรรมนูญบางก็เปนการชัว่ ครั้งชั่วคราว ในที่สุดก็จะตองมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม
ขึ้นมาทดแทนเสมอไป คงกลาวไดวา การปกครองของไทยนั้นพยายามที่จะยึดหลักการปกครอง
โดยกฎหมาย คือ ใหมีบทบัญญัติ กฎเกณฑ กติกาที่แนนอนเปนแนวทางในการปกครอง
ประเทศไทยมีการใชรัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครอง จนกระทั่งถึงฉบับ
ปจจุบันที่ประกาศใชเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 รวมแลว 14 ฉบับ ทุกฉบับจะประกาศ
เจตนารมณทจี่ ะสรางการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเปนประมุขขึ้น แม
บทบัญญัตขิ องธรรมนูญแตละฉบับ จะเปนประชาธิปไตยไมสมบูรณตามหลักสากล เชน ในทุก
ฉบับจะตองมีสมาชิกรัฐสภาประเภทแตงตั้งเขามาทําหนาที่เปนผูแทนปวงชนชาวไทยรวมกัน
สมาชิกสภาผูแทนราษฎรที่มาจาการเลือกตั้งอยูเสมอ รัฐสภาบางสมัยมีสมาชิกที่มาจากการ
แตงตั้งทั้งหมด เปนตน ก็เปนเพราะเหตุผลและความจําเปนบางประการตามสถานการณใน
ขณะนั้น

การปกครองแบบประชาธิปไตยของไทย
ตามที่กลาวมาแลววา รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับประกาศ
เจตนารมณ ไ ว ชั ด เจนว า ต อ งการให ป ระเทศไทยมี ก ารปกครองแบบประชาธิ ป ไตยอั น มี
พระมหากษัตริยเปนประมุข ซึ่งอาจวิเคราะหแยกแยะหลักการสําคัญๆ ของการปกครองแบบ
ประชาธิปไตยของไทยไดดังนี้
1 . อํานาจอธิปไตยและการใชอํานาจอธิปไตย รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการ
ปกครองทุกฉบับ กําหนดอํานาจอธิปไตยซึ่งถือเปนอํานาจสูงสุดในการปกครอง ใหมีการ
2

แบงแยกการใชออกเปน 3 สวน คือ อํานาจนิติบัญญัติ หรืออํานาจในการออกกฎหมาย อํานาจ


บริหาร หรืออํานาจในการนํากฎหมายไปบังคับใช และบําบัดทุกขบาํ รุงสุขประชาชนและอํานาจ
ตุลาการ หรืออํานาจในการตัดสินคดีใหเปนไปตามกฎหมาย เมื่อมีขอขัดแยงเกิดขึ้น องคกรที่
ใชอํานาจทั้ง 3 สวนนี้ คือ รัฐสภา เปนผูใ ชอํานาจนิตบิ ัญญัติ รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรีเปนผูใช
อํานาจบริหาร และ ศาล เปนผูใชอํานาจตุลาการ โดยใชในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย
การกําหนดใหมีการแยกการใชอํานาจอธิปไตยออกเปน 3 สวน และใหมีองคกร
3 ฝาย รับผิดชอบไปองคกรแตละสวนนี้ เปนไปตามหลักการประชาธิปไตย ที่ไมตองการใหมี
การรวมอํานาจแตตองการใหมีการถวงดุลอํานาจซึ่งกันและกัน เพราะถาใหองคกรใดเปนผูใ ช
อํานาจมากกวาหนึ่งสวนแลวอาจเปนชองทางใหเกิดการใชอํานาจแบบเผด็จการได เชน ถาให
คณะรัฐมนตรีเปนผูใชอํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหาร คณะรัฐมนตรีก็อาจจะออกกฎหมาย
ที่ไมสอดคลองกับความตองการของประชาชน และนํากฎหมายนั้นไปบังคับใชเพื่อประโยชน
ของตนเพียงฝายเดียว การแยกอํานาจนั้นเปนหลักประกันใหมีการคานอํานาจซึ่งกันและกัน
และปองกันการใชอํานาจเผด็จการ
2 . รูปของรัฐ ประเทศไทยจัดวาเปนรัฐเดี่ยว รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการ
ปกครองทุกฉบับกําหนดไววา ประเทศไทยเปนอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบงแยกมิได ศูนย
อํานาจทางการเมืองและการปกครองมาจากแหลงเดียวกัน ประชาชนทั้งหมดอยูภายใตเอกรัฐ
ซึ่งจะตองปฏิบัตติ ามอํานาจหนึ่งอํานาจเดียว พรอมทั้งอยูภายใตรฐั ธรรมนูญและกฎหมาย
เดียวกัน การใชอํานาจอธิปไตยทั้งภายในและภายนอกประเทศเปนอันหนึ่งอันเดียวกันทั้ง
ประเทศ การปกครองภายในประเทศ แมจะมีการแบงอํานาจการปกครองไปตามเขตการ
ปกครอง เชน จังหวัด อําเภอ ก็เปนเพียงการแบงอํานาจตามลักษณะการปกครองสวนภูมิภาค
เพื่อแบงเบาภาระของรัฐบาลในสวนกลางและความสะดวกของประชาชนในการรับบริการจากรัฐ
อํานาจที่แทจริงยังคงอยูที่รัฐบาลในสวนกลาง หนวยงานในภูมิภาคเปนเพียงผูรับเอาไปปฏิบัติ
เทานั้น ไมสามารถที่จะกําหนดการดําเนินการในความรับผิดชอบของตนโดยอิสระ
การปกครองระดับทองถิ่น อันไดแก องคการบริหารสวนจังหวัด เทศบาล
สุขาภิบาล รวมทั้งการปกครองรูปกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยานั้น แมจะมีอิสระพอสมควร
ในการดําเนินการ และมีการเลือกตั้งเพื่อใหประชาชนในทองถิ่นใหเขามามีสวนรวมในการ
ปกครอง มีลักษณะในการกระจายอํานาจ การปกครองแตก็ยังไมเปนอิสระหรือการปกครอง
ตนเองอยางแทจริง รัฐบาลในสวนกลางยังมีสวนเขาไปควบคุมหรือรวมในการดําเนินการอยู
ดวย อยางไรก็ตามการปกครองระดับทองถิ่นนี้มีสวนในการฝกประชาชน ใหรจู ักการปกครอง
ตนเองตามหลักการประชาธิปไตย
3. ประมุขแหงรัฐ รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองทุกฉบับกําหนด
รูปแบบการปกครองไววาเปน แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยเปนประมุข และ กําหนด
3

ไวอยางชัดแจง เทิดทูนพระมหากษัตริยเปนสถาบันสูงสุด ดํารงอยูในฐานะอันเปนที่เคารพ


สักการะผูใดจะละเมิดมิได รัฐธรรมนูญกําหนดวา ผูใดจะกลาวหาหรือฟองรองพระมหากษัตริย
ในทางใดๆ มิได พระราชอํานาจของพระมหากษัตริย จํามีกําหนดไวในรัฐธรรมนูญ โดยปกติ
รัฐธรรมนูญกําหนดใหพระมหากษัตริยเปนผูใชอํานาจอธิปไตยซึ่งเปนของประชาชนโดยใช
อํานาจนิติบัญญัติผานทางรัฐสภา อํานาจบริหารผานทางคณะรัฐมนตรี และอํานาจตุลาการผาน
ทางศาล การกําหนดเชนนี้ หมายความวาอํานาจตางๆ จะใชในพระปรมาภิไธยของ
พระมหากษัตริยซึ่งในความเปนจริงอํานาจเหลานี้มีองคกรเปนผูใช ฉะนั้นการที่บัญญัติวา
พระมหากษัตริยเปนผูใชอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการผานทางองคกร
ตางๆ นั้นจึงเปนการเฉลิมพระเกียรติ แตอํานาจที่แทจริงอยูที่องคกร ที่เปนผูพิจารณานําขึ้น
ทูลเกลาฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริยทรงลงพระปรมาภิไธย
ยางไรก็ตาม แมกระทั่งพระมหากษัตริยในระบอบรัฐธรรมนูญ จะไดรับการเชิดชู
ใหอยูเหนือการเมือง และกําหนดใหมีผูรับสนองพระบรมราชโองการในการปฏิบัติการทางการ
ปกครองทุกอยาง แตพระมหากษัตริยก็ทรงมีพระราชอํานาจบางประการที่ไดรับการรับรองโดย
รัฐธรรมนูญและเปนพระราชอํานาจที่ทรงใชไดตามพระราชอัธยาศัยจริงๆ ไดแก การตั้งคณะ
องคมนตรี การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ เปนตน
พระราชอํานาจที่สงผลกระทบตอการเมืองการปกครองอยางแทจริง คือ พระ
ราชอํานาจในการยับยั้งรางพระราชบัญญัติ ในกรณีที่พระมหากษัตริยทรงไมเห็นดวยกับราง
พระราชบัญญัติที่ผานการเห็นชอบของรัฐสภามาแลว และนายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกลาฯ ถวาย
เพื่อพระมหากษัตริยทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช ก็อาจใชพระราชอํานาจยับยั้งเสียก็ได
ซึ่งรัฐสภาจะตองนํารางพระราชบัญญัติที่ถูกยับยั้งนั้นไปพิจารณาใหม แตในทางปฏิบัติไม
ปรากฏวา พระมหากษัตริยทรงใชพระราชอํานาจนี้
4. สิทธิเสรีภาพและหนาที่ของประชาชน รัฐธรรมนูญไดกําหนดสิทธิและ
เสรีภาพของชนชาวไทยไวอยางกวางขวาง สิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ นี้เปนไปตาม
แนวทางประชาธิปไตย คือ มีการระบุสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตางๆ ไวครบครัน เชน
เสรีภาพในการแสดงออกในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธในการสมาคมหรือรวมกลุม
เปนตน รวมทั้งมีหลักประกัน ในเรื่องสิทธิตางๆ คือ การละเมิดสิทธิจะกระทํามิได เวนแตโดย
อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแหงกฎหมายเทานั้น อยางไรก็ตามรัฐธรรมนูญมีขอจํากัดในเรื่อง
สิทธิและเสรีภาพ คือ จะตองไมใหเปนปฏิปกษตอชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย และ
รัฐธรรมนูญ เปนตน สวนหนาที่ของชนชาวไทยทุกคนตามรัฐธรรมนูญ มีดังนี้
(1) บุคคลมีหนาที่รักษาไวซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย และการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญนี้
(2) บุคคลมีหนาที่ที่จะใชสิทธิในการเลือกตั้งโดยสุจริต
4

(3) บุคคลมีหนาที่ปองกันประเทศ
(4) บุคคลมีหนาที่รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
(5) บุคคลมีหนาที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
(6) บุคคลมีหนาที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
(7) บุคคลมีหนาที่ชวยเหลือราชการตามที่กฎหมายบัญญัติ
(8) บุคคลมีหนาที่รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายบัญญัติ
(9) บุคคลมีหนาที่พิทักษและปองกันศิลปและวัฒนธรรมของชาติ
(10) บุคคลมีหนาที่รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมตามที่กฎหมาย
บัญญัติ

5. การปกครองแบบรัฐสภา รัฐธรรมนูฐกําหนดใหมีการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา คือ ใหมีรัฐสภาเปนหลักในการปกครอง ซึ่งนอกจากทําหนาที่
พิจารณาบัญญัติกฎหมาย และเปนตัวแทนแสดงเจตนารมณแทนประชาชน แลว ยังเปนสถาบัน
ที่มีบทบาทในการคัดเลือกนายกรัฐมนตรี และควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล

5.1 องคประกอบของรัฐสภา รัฐสภาไทยเคยมีใชทั้งระบบสภาเดียวและระบบ 2


สภา แตรัฐธรรมนูญสวนใหญรวมทั้งฉบับปจจุบันมักใชระบบ 2 สภา คือ มีวุฒิสภา และสภา
ผูแทนราษฎร โดยมีลักษณะและหนาที่ดังตอไปนี้
1. วุฒิสภา สมาชิกประกอบดวยบุคคลที่พระมหากษัตริยทรงแตงตั้งโดย
คําแนะนําของนายกรัฐมนตรีซึ่งเทากับใหนายกรัฐมนตรีเปนผูเลือกสรร วุฒิสภาทําหนาที่เปน
สภาผูทรงคุณวุฒิ คอยกลั่นกรองรางพระราชบัญญัติที่ผานการเห็นชอบของสภาผูแทนราษฎร
มาแลว และรวมกับสมาชิกสภาผูแทนราษฎรในการพิจารณาและตัดสินปญหาสําคัญๆ ของ
ประเทศ เชน การสถาปนาพระมหากษัตริย การประกาศสงคราม เปนตน จํานวนของวุฒิสมาชิก
ขึ้นอยูกับ รัฐธรรมนูญกํ าหนดแตสวนใหญมักกําหนดเปนสั ดสวน และนอยกวาจํานวน
สมาชิกสภาผูแทนราษฎร รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 แกไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 กําหนดใหมี 2 ใน
3 ของจํานวนสมาชิกสภาผูแทนราษฎร วาระในการดํารงตําแหนงของวุฒิสมาชิก คือ 4 ป
อยางไรก็ตามที่มาของวุฒิสมาชิกอาจไดมาโดยวิธีการอื่นใดนอกเหนือจากนี้ก็ได ทั้งนี้ขึ้นอยูกับ
ขอกําหนดในรัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ
2. สภาผูแทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2534 ซึ่งแกไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 กําหนดใหมีสมาชิกสภาผูแทนราษฎรที่ไดรับเลือกตั้ง
จะมีวาระในการดํารงตําแหนง 4 ป เวนแตจะมีการยุบสภากอนครบวาระ สมาชิกสภาผูแทน
ราษฎรหรือ ส.ส. เปนตัวแทนของประชาชนในการใชอํานาจนิติบัญญัติ
5

วุ ฒิสมาชิ กและสมาชิกสภาผูแทนราษฎรถื อเป นผูแ ทนของปวงชนชาวไทย


แมวาฝายแรกจะมาจากการแตงตั้ง และฝายหลังมาจากการเลือกตั้ง แตการใชอํานาจนิติ
บัญญัตินั้นเมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแลวจะเห็นวา สภาผูแทนราษฎรมีมากกวา
เช น สมาชิ ก สภาผู แ ทนราษฎรมี สิ ท ธิ เ สนอร า งพระราชบั ญ ญั ติ แ ต วุ ฒิ ส มาชิ ก ไม มี
สมาชิกสภาผูแทนราษฎรมีอํานาจยื่นญัตติขอเปดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไมไววางใจรัฐมนตรี
ทั้งคณะหรือรายบุคคล แตวุฒิสมาชิกไมมี สวนอํานาจในการยับยั้งรางพระราชบัญญัติที่ผาน
ความเห็นชอบจากสภาผูแทนราษฎรมาแลวของวุฒิสภาก็ไมใชอํานาจเด็ดขาด เพราะถาสภา
ผูแทนราษฎร โดยที่มีเสียงเกินครึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดยังยืนยันตามเดิม ก็ถือวาราง
พระราชบัญญัตินั้นผานความเห็นชอบของรัฐสภา
ผูที่จะดํารงตําแหนงประธานรัฐสภานั้น รัฐธรรมนูญบางฉบับก็กําหนดให
ประธานวุฒิสภาเปนบางฉบับก็ใหประธานสภาผูแทนราษฎรดํารงตําแหนง รัฐธรรมนูญ พ.ศ.
2534 ในตอนแรกกําหนดใหประธานวุฒิสภาเปนประธานรัฐสภา แตในป พ.ศ. 2535 ไดมีการ
แกไขรัฐธรรมนูญใหประธานสภาผูแทนราษฎรเปนประธานรัฐสภา ทั้งนี้ใหบังคับใชหลังมีการ
เลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม และประธานวุฒิสภาเปนรองประธานรัฐสภา
5.2 หนาที่ของรัฐสภา รัฐสภาเปนสถาบันตัวแทนแสดงเจตนารมณแทน
ประชาชน มีหนาที่สําคัญ 2 ประการ คือ
1. การบัญญัติกฎหมาย ผูมีสิทธิเสนอรางกฎหมายหรือรางพระราชบัญญัติตอ
รัฐสภา คือ คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผูแทนราษฎร (ส.ส.) แตการเสนอโดยคณะรัฐมนตรีจะ
ทําไดงายกวา ดังตัวอยางรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 กําหนดวา ในกรณีที่สมาชิกสภาผูแทนราษฎร
เปนผูเสนอจะตองไดรับมติเห็นชอบจากพรรคการเมืองที่ผูเสนอสังกัดอยู และมี ส.ส. พรรค
เดียวกันลงชื่อรวมสนับสนุน อีกอยางนอย 20 คน การพิจารณาจะแบงเปน 2 ขั้นตอน คือ สภา
ผูแทนราษฎรเปนผูพิจารณากอน หากเห็นชอบใหเสนอตอวุฒิสภาใหพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง หาก
วุฒิสภาใหความเห็นชอบดวย ถือวาผานความเห็นชอบของรัฐสภา ถาวุฒิสภาไมเห็นชอบดวยก็
จะใชสิทธิยับยั้ง ซึ่งสภาผูแทนราษฎรจะตองพิจารณาใหม หากยืนยันความเห็นเดิมโดยมติที่มี
เสียงเกินครึ่งของจํานวนสมาชิกก็ถือวา พระราชบัญญัตินั้นผานความเห็นชอบของรัฐสภา
เพราะฉะนั้นรางพระราชบัญญัติใดหากสภาผูแทนราษฎรไมเห็นดวย ก็ไมสามารถที่จะเปน
กฎหมายขึ้นมาได
2. ควบคุมฝายบริหาร รัฐสภามีหนาที่ควบคุมการบริหารของคณะรัฐมนตรีทํา
ไดหลายวิธี คือ
1. การพิจารณานโยบายของรัฐบาล คณะรัฐมนตรีกอนเขารับหนาที่บริหาร
ประเทศ จะตองแถลงนโยบายตอรัฐสภาวา จะดําเนินการบริหารประเทศอยางไร ปกติรัฐสภา
จะพิจารณาและลงมติวา สมควรใหความเห็นชอบไววางใจหรือไม หากไมใหความไววางใจ
6

รัฐบาลก็ตองลาออก แตปจจุบันนี้รัฐธรรมนูญ กําหนดใหรัฐสภาเพียงแตรับฟงและอภิปรายแสดง


ความคิดเห็นเทานั้น ไมมีการลงมติ
2. การตั้งกระทูถาม สมาชิกสภาผูแทนราษฎรและวุฒิสภา มีสิทธิตั้งกระทูถาม
รัฐบาล หรือรัฐมนตรีรายบุคคล เมื่อมีขอสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติหนาที่ หรือเรื่องที่อยูในหนาที่
แตรัฐบาลหรือรัฐมนตรีมีสิทธิที่จะไมตอบ ถาเห็นวาเรื่องที่ตั้งกระทูนั้นเกี่ยวกับความปลอดภัย
หรือประโยชนสําคัญของแผนดินที่ยังไมควรเปดเผยการตอบกระทูถามในแตละสภาอาจตอบใน
หนังสือราชกิจจานุเบกษาก็ไดทั้งนี้ขึ้นอยูกับความประสงคของผูถาม
3. การยื่นญัติเปดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไมไววางใจรัฐมนตรีเปนรายบุคคล
หรือทั้งคณะ สมาชิกสภาผูแทนราษฎรจํานวนไมนอยกวา 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกที่มีอยูมี
สิทธิเขาชื่อเสนอญัตติขอเปดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไมไววางใจรัฐมนตรีเปนรายบุคคลหรือทั้ง
คณะในกรณีที่เห็นวาดําเนินการบริหารเปนผลเสียตอสวนรวม ปกติการอภิปรายและลงมตินั้น
กระทําในที่ประชุมสภาผูแทนราษฎรเทานั้น มติไมไววางใจจะตองมีคะแนนเสียงมากกวากึ่ง
หนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผูแทนราษฎรจึงจะมีผลบังคับตามรัฐธรรมนูญ
การควบคุ ม ฝ า ยบริ ห ารโดยการยื่ น ญั ต ติ ข อเป ด อภิ ป รายทั่ ว ไปนี้ ถื อ ว า เป น
วิธีการควบคุมที่มีประสิทธิภาพที่สุด และจุดประสงคของรัฐธรรมนูญตองการใหเปดไดไมยาก
นัก เพื่อให ส.ส. มีโอกาสตรวจสอบการบริหารงานของคณะรัฐมนตรี จะเห็นไดจากการกําหนด
จํานวน ส.ส. ที่จะยื่นญัตติไวเพียง 1 ใน 5 ของจํานวน ส.ส. ทั้งหมดแมวาในการเปดอภิปรายแต
ละครั้ง เมื่อลงมติกันแลว คะแนนไมไววางใจมักจะไมเกินกึ่งหนึ่งของจํานวน ส.ส.เพราะการ
ลงคะแนนจะเปนไปตามระบบพรรค ฝายรัฐบาลจะมี ส.ส. เกินครึ่งอยูแลว ทําใหไมมีผลที่จะทํา
ใหรัฐมนตรีพนจากตําแหนงดวยมติ แตเนื้อหาถอยความในการอภิปรายนั้นจะไดรับการเผยแพร
ใหประชาชนรับทราบทําใหผูถูกอภิปรายอาจเสียคะแนนนิยมได ถาไมมีเหตุผลเพียงพอในการ
ตอบโตขอบกพรองที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปราย อยางไรก็ตาม ส.ส. แตละคน จะมีสิทธิลงชื่อใน
การยื่นญัตติขอเปดอภิปรายนี้เพียงสมัยประชุมละครั้งเดียว
6. คณะรัฐมนตรี รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี เปนผูใชอํานาจบริหาร รัฐมนตรีตอง
รับผิดชอบในหนาที่ของตน และตองรับผิดชอบรวมกันในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรีตอ
สภาผูแทนราษฎร หมายความวา สภาผูแทนราษฎรมีสิทธิที่จะควบคุมการบริหารของ
คณะรัฐมนตรี เพราะสภาผูแทนราษฎรเปนสถาบันตัวแทนแสดงเจตจํานงของประชาชน ถาเห็น
วา คณะรัฐมนตรีดําเนินการบริหารบกพรองหรือไมเปนไป เพื่อประโยชนสุขของประชาชนก็อาจ
เปดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไมไววางใจรัฐบาลเปนรายบุคคลหรือทั้งคณะไดซึ่งถาทําสําเร็จก็
จะมีผลใหรัฐมนตรีเปนรายบุคคลหรือทั้งคณะตองพนจากตําแหนงไป
เมื่อรัฐธรรมนูญใหรัฐสภาควบคุมรัฐบาล ในทํานองเดียวกัน รัฐบาลมีสิทธิ
ควบคุมสภาผูแทนราษฎรดวย เปนการถวงดุลแหงอํานาจ ไมใหฝายใดมีอํานาจมากกวาอีกฝาย
หนึ่งเกินไปเครื่องมือควบคุมสภาผูแทนราษฎรคือ การยุบสภา นายกรัฐมนตรีมีสิทธิทูลเกลาฯ
7

เสนอเพื่อพระมหากษัตริย ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาได การยุบสภา คือ การให


สมาชิกสภาผูแทนราษฎรพนจากตําแหนงและจัดใหมีการเลือกตั้งใหมภายใน 60 วัน
เพราะฉะนั้นใน กรณีที่มีความขัดแยงระหวางรัฐบาลกับสภา สมาชิกสภาผูแทนราษฎรก็ตอง
ระมัดระวังบทบาทพอสมควรเชนกัน เพราะแทนที่รัฐบาลจะเลือกเอาการลาออกหรือยอมใหเปด
อภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไมไววางใจ รัฐบาลอาจเลือกเอาการยุบสภามาใชก็ได โดยปกติตาม
หลักการประชาธิปไตย เมื่อมีขอขัดแยงระหวางฝายบริหารกับฝายนิติบัญญัติ เชน รัฐบาลตรา
พระราชกําหนดออกมาบังคับใช แตสภาสภาผูแทนราษฎรไมอนุมัติ เปนตน เมื่อเกิดขอขัดแยง
ขึ้น ปกติรัฐบาลจะลาออกเมื่อเห็นวาในขอขัดแยงนั้นประชาชนสวนใหญสนับสนุนสภา
ผูแทนราษฎร เพื่อเปดโอกาสใหสภาผูแทนราษฎรจัดตั้งรัฐบาลใหม และรัฐบาลจะยุบสภาใน
กรณีที่เห็นวาประชาชนสนับสนุนรัฐบาลมากกวารัฐสภา เพื่อเปดโอกาสใหประชาชนเลือก
ผูแทนราษฎรที่สนับสนุนรัฐบาลเขามาสนับสนุนรัฐบาลตอไป เรื่องยุบสภานี้เปนการยุบสภา
ผูแทนราษฎรเทานั้น ไมเกี่ยวของกับวุฒิสภาแตอยางใด

6 . 1 องคประกอบของคณะรัฐมนตรี รัฐบาลประกอบดวยนายกรัฐมนตรีและ
คณะรัฐมนตรีรวมคณะ อีกจํานวนไมเกินที่รัฐธรรมนูญกําหนดไว ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534
กําหนดไวใหมีรัฐมนตรีไมเกิน 48 คน นอกเหนือจากนายกรัฐมนตรี ปกตินายกรัฐมนตรีจะตอง
เปนผูไดรับเสียงสนับสนุนสวนใหญจากสภาผูแทนราษฎร หรือสภาผูแทนราษฎรเปนผูคัดเลือก
นายกรัฐมนตรีนั่นเอง และนายกรัฐมนตรีจะเปนผูคัดเลือกรัฐมนตรีรวมคณะซึ่งการคัดเลือก
มักจะตองคํานึงถึงเสียงสนับสนุนของสมาชิกสภาผูแทนราษฎรเปนหลัก เพราะรัฐบาลตองไดรบั
เสียงขางมากของสมาชิกสภาผูแทนราษฎรสนับสนุน การแตงตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา
จะเปนผูรับสนองพระบรมราชโองการ และในการแตงตั้งรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีเปนผูร ับสนอง
พระบรมราชโองการ
6.2 อํานาจและหนาที่ของคณะรัฐมนตรี อํานาจและหนาที่ของคณะรัฐมนตรี
ตามที่กําหนดไวในรัฐธรรมนูญมีหลายประการ ไดแก อํานาจในการเสนอรางพระราชบัญญัติตอ
สภา การตราพระราชกําหนด การตราพระราชกฤษฎีกา เปนตน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
ไดรับการกําหนดใหเปนผูรับสนองพระบรมราชโองการเกี่ยวกับบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา
พระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผนดิน นอกจากนี้ในฐานะเปนรัฐบาล
คณะรัฐมนตรีตองทําหนาที่ประสานงาน ระหวางกระทรวง ทบวง กรมตางๆ วางระเบียบ
ขอบังคับใหกระทรวง ทบวง กรม ถือปฏิบัติและพิจารณาลงมติเรื่องตางๆ ที่กระทรวง ทบวง
กรมเสนอมาและยังมีอํานาจหนาที่อีกหลายประการที่กําหนดไวในกฎหมายอื่นๆ
7. ตุลาการ อํานาจตุลาการหรืออํานาจในการตัดสินคดีใหเปนไปตามกฎหมาย
อํานาจนี้เปนของศาลยุติธรรมทั้งหลาย เปนอํานาจที่สําคัญที่สุดอํานาจหนึ่ง เพราะเปนสวน
หนึ่งของอํานาจอธิปไตย ดังนั้น ฝายตุลาการจึงตองมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให
8

เปนไปตามกฎหมาย สําหรับการปกครองไทย หลักประกันสําหรับตุลาการที่จะมีอิสระในการ


วินิจฉัยคดีโดยปราศจากอิทธิพลจากฝายอื่นที่บีบบังคับเปลี่ยนคําพิพากษา คือ กําหนดใหมี
คณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ซึ่งประกอบดวยบุคคลในวงการตุลาการทั้งสิ้น ทั้งจากการ
เลือกตั้งโดยตุลาการดวยกัน และโดยตําแหนง มีประธานศาลฎีกาเปนประธานคณะกรรมการ
ตุลาการโดยตําแหนง
คณะกรรมการตุล าการเปนองค กรอิสระในการดํ าเนินการใหความเห็นชอบ
เกี่ยวกับการแตงตั้ง ยาย ถอดถอน เลื่อนตําแหนงและเลื่อนเงินเดือนผูพิพากษา หมายความ
วา การใหคุณใหโทษกับผูพิพากษานั้นขึ้นอยูกับคณะกรรมการตุลาการ ฝายบริหารหรือ
รัฐมนตรีจะดําเนินการตามใจชอบไมได การกําหนดเชนนี้ทําใหฝายบริหารไมสามารถใช
อิทธิพลแทรกแซงการตัดสินคดีของผูพิพากษาได และทําใหอํานาจตุลาการเปนอํานาจอิสระ
สามารถที่จะถวงดุลกับอํานาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหารได ตามหลักการแบงแยกอํานาจ
อธิปไตย
8. ตุลาการรัฐธรรมนูญ ความเปนกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ในการ
ปกครองของไทยจะเห็นไดจากการจัดตั้งใหมี คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อทําหนาที่
ตรวจสอบพิจารณาวา การกระทําหรือกฎหมาย ที่ยกรางขึ้นนั้นขัดหรือแยงตอรัฐธรรมนูญ
หรือไม ถาขัดหรือแยงก็กระทําไมไดหรือเปนโมฆะ เพราะรัฐธรรมนูญเปนบทบัญญัติสูงสุด
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 ประกอบดวยประธานรัฐสภาเปนประธาน
ประธานวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา อัยการสูงสุด เปนกรรมการโดยตําแหนง มีผูทรงคุณวุฒิ
สาขานิติศาสตร หรือ รัฐศาสตรอีก 6 คน ที่วุฒิสภาและสภาผูแทนราษฎรแตงตั้งมาสภาละ 3 คน
(ซึ่งจะตองไมไดเปนสมาชิกสภาทั้งระดับรัฐและทองถิ่น ขาราชการประจําพนักงานรัฐวิสาหกิจ
และพนักงานทองถิ่น) รวมเปนกรรมการดวย ผูมีสิทธิรองขอใหคณะกรรมการตุลาการ
รัฐธรรมนูญพิจารณาการกระทําใดๆ หรือรางพระราชบัญญัติ และกฎหมายที่ใชบังคับคดีวา
ขัดแยงตอบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญหรือไม คือ นายกรัฐมนตรี สมาชิกสภา (ตามจํานวนและ
เงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกําหนด) และศาล
9. การปกครองทองถิ่น การปกครองของไทยใหความสําคัญตอการปกครอง
ทองถิ่น และใชหลักการกระจายอํานาจ จะเห็นไดจากการที่รัฐบาลไดแถลงนโยบายตอรัฐสภา
วา รัฐพึงสงเสริมทองถิ่นใหมีสิทธิปกครองตนเองไดตามที่กฎหมายบัญญัติ ปจจุบันมีการจัด
หนวยการ ปกครองทองถิ่นหลายแบบและหลายระดับ คือ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
องคการบริหารสวนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เปนตน แตละแบบก็ใหสิทธิประชาชนใน
ทองถิ่นมีสวนรวมในการดําเนินการตามลักษณะการกระจายอํานาจใหทองถิ่น สามารถ
ดําเนินการของตนเองได อยางไรก็ตามในพฤติกรรมความเปนจริงรัฐบาลในสวนกลาง หรือฝาย
บริหารก็มีสวนรวมในการบริหารและควบคุมการปกครองทองถิ่นอยูมาก โดยเฉพาะในบางรูป
9

เชน องคการบริหารสวนจังหวัด สุขาภิบาล และสภาตําบล และบางรูป คือ กรุงเทพมหานคร


และเมืองพัทยา ในบางสมัยก็ใชวิธีการแตงตั้งแทนการเลือกตั้ง เปนตน

10. พรรคการเมือง โดยปกติในการปกครองแบบประชาธิปไตย จําเปนตองมี


พรรคการเมืองเพราะพรรคการเมืองเปนที่สรางพลังใหกับอุดมการณ เปนที่ที่อาจคนหาเสียง
สวนใหญของมหาชน และเปนสถาบันที่ทําใหคนตางทองถิ่นสามารถรวมมือกันทางการเมืองได
ในไทยพรรคการเมืองก็มีบทบาทสําคัญไมนอย โดยเฉพาะแตละครั้งที่เปดโอกาสใหมีการ
เลือกตั้งจะมีการรวมกลุมจัดตั้งพรรคการเมืองเสมอ แมในบางสมัยจะไมมีกฎหมายพรรค
การเมืองก็ตาม แตรัฐธรรมนูญก็เปดโอกาสใหมีเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองได จึงมีการ
รวมกลุมกันเปนพรรคการเมือง แมจะไมไดรับการรับรองจากกฎหมายเปนทางการก็ตาม
อยางไรก็ตามพรรคการเมืองของไทยมีบทบาทในวงแคบ คือ มีผูเขารวมสวนใหญ เปน
นักการเมือง ประชาชนโดยทั่วไปมีสวนรวมกับพรรคการเมืองไมมากนัก
11. การเลือกตั้ง เปนวิธีการสําคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตนเพราะ
เปนกระบวนการคัดเลือกผูทําหนาที่เปนผูแทนประชาชนประเทศไทยเริ่มมีการเลือกตั้งสมาชิก
สภา ผูแทนราษฎรครั้งแรกเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2476 แตการเลือกตั้งไมไดมีประจําสม่ําเสมอมี
วางเวนในระยะที่ใชรัฐธรรมนูญปกครองชั่วคราวภายหลังการปฏิวัติ อยางไรก็ตามการเลือกตั้ง
เทาที่เคยมีมาก็มีลักษณะแบบประชาธิปไตย ใหประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและความสะดวก
ตลอดจนหลักประกันในการใชสิทธิใชเสียง ระบบการเลือกตั้งเปนแบบโดยตรง คือ ประชาชน
เลือก ส.ส. โดยมีครั้งแรกเพียงครั้งเดียวที่เปนการเลือกตั้งโดยออม คือ ประชาชนเลือกผูแทน
ตําบล และผูแทนตําบลไปเลือก ส.ส. อีกทีหนึ่ง การเลือกตั้งที่มีมาเคยใชทั้งรวมเขตและแบงเขต
ระยะหลังมีแนวโนมที่ใชระบบผสมคือ จังหวัดไหนมี ส.ส. จํานวนมากก็ใชวิธีแบงเขต โดยมีการ
กําหนดจํานวนสูงสุดที่เขตหนึ่งจะพึงมีเอาไว เกินจากนั้นตองใชวิธีแบงเขต สวนพฤติกรรมการ
ลงคะแนนเสียงนั้น เมื่อกอนมีผูไปลงคะแนนมักจะไมถึงครึ่งของจํานวนผูมีสิทธิ แตในระยะหลัง
มีแนวโนมดีขึ้น คือ มีผูใชสิทธิกวาครึ่งประมาณรอยละ 60 อยางไรก็ตามการเลือกตั้งก็ยังมี
จุดออน กลาวคือ มีการซื้อเสียงและใชเงินในการหาเสียงเกินกวาที่กฎหมายเลือกตั้งกําหนดไว
ทําใหถูกวิพากษวิจารณวาทําใหไมได ผูที่เปนตัวแทนประชาชนที่แทจริงและแนวทาง
ประชาธิปไตยกลายเปนประโยชนสําหรับนายทุนและนักธุรกิจแทนที่จะเปนประชาชน

การเมืองระบอบประชาธิปไตยในปจจุบัน
ประชาชนไทยมีเสรีภาพทางการเมืองพอสมควร สามารถที่จะแสดงออกทาง
การเมืองได ไมวาจะเปนการรวมกลุมกันจัดตั้งพรรคการเมือง แมจะยังไมมีกฎหมายพรรค
การเมืองมารองรับ เชน ในกาเลือกตั้งหลายครั้งแมไมมีกฎหมายพรรคการเมือง แตใน
10

พฤติกรรมความเปนจริงนั้น ก็มีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นพลายพรรค โดยอาศัยเสรีภาพที่


ไดรับการยอมรับโดยรัฐธรรมนูญอันเปนกฎหมายแมบทการรวมกลุมเปนสมาคมสหภาพ ก็
สามารถทําไดตามบทบัญญัติแหงกฎหมาย การเคลื่อนไหวทางการเมือง เชน การเดินขบวน
หรือการชุมนุมกันเพื่อยื่นขอเสนอตอรัฐบาล ก็มีปรากฏและไมไดรับการขัดขวางในการ
แสดงออก ตราบเทาที่ไมมีการละเมิดกฎหมาย เสรีภาพในการพูด การพิมพและโฆษณา ซึ่ง
เปนไปอยางกวางขวาง จนนาจะเปนที่ยอมรับวาประเทศไทยนั้น ใหเสรีภาพทางการเมืองแก
ประชาชน ตามหลักประชาธิปไตย ถึงแมวาจะมีการประกาศใหกฎอัยการศึก และมีประกาศ
หรือคําสั่งและกฎหมายบางฉบับจํากัดเสรีภาพในทางการเมืองบาง แตในทางปฏิบัติก็มีการ
ผอนผันและไมเครงครัดในการบังคับใชจนกระทั่งเปนอุปสรรคตอการแสดงออกทางการเมือง
ถาพิจารณาจากรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2534 และรัฐธรรมนูญบางฉบับที่ใชมากอน
หน า นั้ น จะเห็ น ได ว า เป า หมายของการพั ฒ นาทางการเมื อ งของไทยต อ งการสร า งระบอบ
ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริยเปนประมุขโดยมีระบบพรรคการเมือง ซึ่งจะเห็นไดจากการที่
บทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญ ใหความสําคัญกับพรรคการเมืองมาก เปนตนวาผูสมัครรับเลือกตั้งตอง
สังกัดพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับปจจุบันยังกําหนดวา เมื่อไดรับเลือกตั้งแลวจะพนจากการ
เปน ส.ส.ทันทีที่ลาออกหรือถูกขับไลออกจากพรรค จึงทําใหพรรคการเมืองมีบทบาทสําคัญในการ
ดําเนินการในสภา นอกจากนี้ พะราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยังพยายามวางแนวทาง
ใหพรรคการเมืองมีลักษณะเปนพรรคที่มีฐานสนับสนุนจากมวลชนอยางกวางขวาง กลาวคือตองมี
สมาชิกไมนอยกวา 5,000 คน และตองอยูในทุกภาค ภาคละไมนอยกวา 5 จังหวัด จังหวัดหนึ่ง
ตองมีสมาชิกไมนอยกวา 50 คน
การเมืองระดับทองถิ่น อันไดแก เทศบาล และองคการบริหารสวนจังหวัด ซึ่งเปน
ระดับ และรูปแบบที่สําคัญนั้นก็ไดมีการเปดโอกาสใหมีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาเทศบาล และ
สมาชิกสภาจังหวัด เมื่อตนป พ.ศ. 2523 เปนตนมา หลังจากที่ไดงดเวนมานาน ปจจุบันนี้ก็ไดให
มีการดําเนินการ การปกครองระดับทองถิ่นในแบบประชาธิปไตย ทําใหประชาชนมีสวนรวมใน
กิจกรรมการเมืองระดับทองถิ่น อยางไรก็ตามการเมืองระดับทองถิ่นนี้ก็ยังไมสูไดรับการสนใจจาก
ประชาชนอยางกวางขวางนัก จะเห็นไดจากการไปใชสิทธิเลือกตั้งผูแทนระดับทองถิ่นยังอยูใน
อัตราที่ต่ํามาก รูปแบบลักษณะของหนวยการปกครองทองถิ่นก็ยังคอนขางเปนไปแบบเดิม คือ ไม
สูอิสระในการดําเนินการมากนัก ทางการยังเขาไปมีสวนรวมในการควบคุมและดําเนินการอยูและ
ยังไดรับความสนใจอยูในวงจํากัดเทานั้น
อยางไรก็ตามการที่จะเห็นรูปการเมืองการปกครองไทยพัฒนาไปสูรูปแบบความ
เปนประชาธิปไตยที่แทจริงนั้นขึ้นอยูกับประชาชนเปนสวนประกอบที่สําคัญ หากประชาชนมีความ
ตื่นตัวและมีความสํานึกทางการเมืองสามารถใชวิจารณญาณทางการเมืองไดถูกตอง สนใจที่จะใช
สิทธิทางการเมืองลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และเลือกผูแทนราษฎรที่ดีเขาสูสภา บทบาท และ
11

พฤติกรรมทางการเมืองของนักการเมือง และกลุมการเมืองตางๆ ก็จะตองพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆ และ


สามารถแกไขปญหาของประเทศชาติได ทําใหความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแพรหลายขึ้น
และเมื่อใดประชาชนสวนใหญ มีความรูความเขาใจและศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแลว ก็เปน
ที่แนนอนวาระบอบประชาธิปไตยจะตองมีเสถียรภาพมั่นคงอยูคูกับการปกครองไทยตลอดไป
ปจจุบันนี้จากการพิจารณาบรรยากาศการเมืองไทย อาจกลาวไดวา มี
แนวโนมไปในทางที่ดีขึ้นกวาเดิมมาก ประชาชนมีความตื่นตัวและมีจิตสํานึกทางการเมืองมาก
ขึ้น จะเห็นไดจากสถิติผูไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎรในระยะหลังมี
จํานวนเกินครึ่งทุกครั้ง (การเลือกตั้งเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2526 มีผูไปลงคะแนนจํานวนรอย
ละ 50.76 การเลือกตั้งเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 รอยละ 61.43 การเลือกตั้งเมื่อ 24
กรกฎาคม พ.ศ. 2531 รอยละ 63.56 และการเลือกตั้งเมื่อ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 รอยละ
61.59) มี การเผยแพร ขาวสารการเมืองอยางกวางขวางโดยสื่อมวลชนทุ กประเภททั้ง
หนังสือพิมพ วิทยุ และโทรทัศนทําใหประชาชนสนใจและเขาใจการเมืองมากขึ้น แมวาจะยังมี
จุดออนหรือขอบกพรองอยูบาง เชน การวิพากษวิจารณเรื่องเงินที่เขามามีบทบาทสูงในการ
เลือกตั้ง หรือการที่นักการเมืองบางคน มีบทบาทเปนนักธุรกิจการเมืองแตในการเมืองระบบ
เปด และในยุคที่ขาวสารที่แพรหลายไดกวางขวางเชนทุกวันนี้ ก็คงพอที่จะใหความเชื่อมั่นได
วา ประชาชนจะมีสวนชวยควบคุมใหการเมืองพัฒนาไปในทางสรางสรรคประโยชนสุขใหกับ
ประชาชนโดยสวนรวมมากขึ้น เพราะการกระทําที่ไมชอบมาพากลของนักการเมืองจะถูก
เปดเผยใหทราบตอสาธารณะทําใหผูที่เปนนักการเมืองตองระมัดระวัง พฤติกรรมของตนตาม
สมควร
อยางไรก็ตาม เปนที่ยอมรับกันวาในระบอบประชาธิปไตย นอกจากกลุม
นักการเมืองที่รวมตัวกันเปนพรรคการเมืองในระดับชาติ หรือกลุมการเมืองในระดับทองถิ่นที่
รวมตัวกันเพื่อเขาสมัครรับเลือกตั้งในระดับตางๆ แลวยังตองการใหมีการรวมกลุมของประชาชน
ในลักษณะกลุมผลประโยชน เชน กลุมอาชีพ กลุมอุดมการณ กลุมอาสาสมัครตางๆ ที่ไม
ตองการเขามามีตําแหนงทางการเมือง แตทําหนาที่แสดงความคิดเห็น วิพากษวิจารณถึง
ปญหาหรือประเด็นการเมืองที่เกิดขึ้น แสงดความตองการใหผูปกครองรับทราบ ทําให
ผูปกครองไดรับทราบขอมูลและขาวสารที่ถูกตองของกลุมเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งปจจุบัน
นี้ในการเมืองไทยก็มีกลุมผลประโยชนตางๆ ทั้งที่จัดตั้งเปนทางการ เชน สหภาพ สมาคม
หรือจัดตั้งอยางไมเปนทางการ เชน กลุม ชมรมตางๆ รวมทั้งการรวมกลุมเฉพาะกิจ หรือ
เฉพาะกาลเปนครั้งคราว เขามามีบทบาทในทางการเาองเพื่อเรียกรองใหรัฐบาลมีนโยบายตามที่
กลุมชนตองการ เชน การขึ้นคาแรงขั้นต่ํา นักศึกษา กรรมกร ชาวไร ชาวนา ก็มีการชุมนุม
หรือเดินขบวนเพื่อใหทางการไดรับรูปญหาที่เกิดขึ้นกับกลุมหรือกับสวนรวมอยูเสมอ เชน
ปญหาสิ่งแวดลอม ปญหาพืชผลราคาตกต่ํา ทําใหรัฐบาลตองตื่นตัวอยูเสมอในอันที่จะ
12

ดําเนินการแกไขปญหาของประชาชน การเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกสภาเชนนี้ ถือเปนเรื่อง


ปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย ตราบเทาที่ไมมีการกระทําที่ละเมิดกฎหมาย เพราะเปน
การใชสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการพยายามสรางความเปนธรรมใหเกิดขึ้นในสังคม

ยังมีสิ่งสําคัญอีกประการหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยที่จะขาดเสียมิได คือ
ประชาชนทุกคนตองมี ขันติธรรม กลาวคือ สมาชิกในสังคมประชาธิปไตยจะตองเปนผูมีความ
อดกลั้น อดทนอยางยิ่ง ตองสามารถรับฟงความคิดเห็นของผูอื่นที่ไมตรงกับความเห็นของตน
ได ตองรอฟงความเห็นสวนใหญจากบรรดาผูเกี่ยวของในการที่จะดําเนินการ หรือแกไขปญหา
ใดๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งตองทนตอสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นตามความตองการของคนสวนใหญได
กระบวนการของประชาธิปไตยจึงจําเปนตองอาศัยเวลา ตองคอยเปนคอยไปและตองมีการ
กระทําอยางตอเนื่อง สมาชิกของสังคมนี้จึงตองไดรับการปลูกฝงคุณสมบัติดังกลาวตั้งแต
เยาววัยและพัฒนาขึ้นตามลําดับ ดังนั้น การปฏิวัติ (การหมุนกลับ การเปลี่ยนแปลงระบบ)
หรือการรัฐประหาร (มีการใชกําลังเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน) จึงเปนวิธีการซึ่งขัดกับ
หลักการของระบอบประชาธิปไตยและไมเปนผลดีตอการพัฒนาการปกครองระบอบนี้อยาง
แนนอน เพราะทุกครั้งที่มีการปฏิวัติรัฐประหารจะตองมีการลมเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญ
คณะรัฐมนตรี และสภาผูแทนราษฎร ดังนั้นจึงตองมีการรางรัฐ ธรรมนูญเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผูแทนราษฎร และการจัดตั้งรัฐบาลกันใหมทุกครั้งไป เปนเหตุใหผลประโยชนของ
ชาติบานเมืองและของประชาชนตองชะงักงันไป

You might also like