You are on page 1of 92

บทนำำ

ในอนาคตโลกกำาลังเคลื่อนตัวไปสู่ทิศทางใด ระบบทุนนิยมจะพัฒนาไปสู่อะไร และวิกฤต


เศรษฐกิจที่เรากำาลังเผชิญอยู่จำาสิ้นสุดลงเมื่อใด อนาคตของมนุษย์ชาติจะรุ่งเรื่องหรือสดใส หรือไร้ทางมืดมน
ไร้ทางออกทั้งหมดนี้เป็นคำาถามที่รอคำาตอบ Small is Beautiful อาจจะพอมีคำาตอบให้ท่านได้บ้าง แม้นว่าจะ
ไม่ตรงกับใจต้องการไปเสียทุกอย่าง เนื่องจากไม่มีคำาตอบสำาเร็จรูปใด ๆ จะสามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ได้อย่างกระจ่างชัดไปเสียทุกเรื่อง เพราะคำาตอบของคนคนหนึ่งเป็นเพียงแง่มุมที่เข้าค้นพบท่ามกลางเรื่องราว
และแง่มุมอื่น ๆอีกมากมาย
Small is Beautiful เป็นผลงานการเขียนของ E.F Schumacher เขียนขึ้นเพื่อที่พยายามชี้
ให้เห็นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทางด้านวัตถุ ตามทฤษฎีของสำานัก Nco – Classic เป็นการ
เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผดิ พลาด E.F Schumacher ได้เสนอแนวทางการแก้ไขไว้อย่างแหลมคม พร้อม
ทั้งเสนอแนวทางเศรษฐศาสตร์ตามหลักพุทธธรรม ซึ่งเป็นแบบอย่างของชาวตะวันออก สรุปสาระสำาคัญได้
ดังนี้
1. การให้ความสำาคัญกับการศึกษาโดยกล่าวว่ามนุษย์นั้นเป็นทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ในระดับปฐม
ของทรัพยากรทั้งปวง สิง่ ที่สามารถพัฒนามนุษย์ได้ก็คือการศึกษา เมื่อมนุษย์ได้รับการพัฒนา
ด้านความรู้ มนุษย์ก็จะเป็นผู้มีความเป็นผู้มีคุณภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมี
คุณภาพต่อไป
2. การให้ความสำาคัญในการประหยัดทรัพยากรโดยเฉพาะนำ้ามัน ซึ่งเขามองว่าเป็นทรัพยากรที่
สำาคัญในระบบอุตสาหรรมเป็นทรัพยากรที่สิ้นเปลืองแน้นการพัฒนาการผลิตกล่าวคือผู้ส่งออก
นำ้ามันเป็นสินค้าออกต้องยืดเวลาการใช้ออกไปให้นานที่สุด และใช้นำ้ามันอย่างมีคุณค่า ลด
ปริมาณการใช้และต้องตระหนักอยู่เสมอว่านำ้ามันเริ่มขาดแคลน
3. การให้ความสำาคัญกับการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม เขามองว่าที่ดินเป็นทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
เป็นที่รองรับทุกอย่าง ซึ่งนักวัตถุนิยมมองว่าที่ดินเป็นที่มาของการผลิตเพื่อความเพียงพอต่การ
บริโภค แต่ E.F Schumacher มองว่าควรเปิดให้มีการถือครองในที่ดิน เพื่อประโยชน์แก่ประ
ประชาชนจำานวนมาก แต่การใช้ที่ดินให้มองถึงอุดมคติ 3 ประการคือ การมีสุขภาพอนามัยที่ดี
การมีที่อยู่อาศัยที่มีความงดงาม และการมีความคงทนถาวรในการใช้ประโยชน์
4. การให้ความสำาคัญกับการส่งเสริมเทคโนโลยีระดับกลางและเศรษฐกิจที่เห็นคนเป็นคน กล่าว
คือเขาได้แนะนำาวิธีการแก้ปัญหาการใช้เครื่องจักรที่เข้ามามีบทบาทในการทำางานแทนคน
ทำาให้คนเปรียบเสมือนเครื่องจักรด้วย เพราะไม่ต้องใช้ผีมือและสมอง เขาจึงได้แนะนำาให้ใช้
เทคโนโลยีระดับกลางเพื่อทำาให้คนได้มีโอกาสทำางานมากขึ้น ความวุ่นวายต่าง ๆ ก็ลดลง โดย
เฉพาะปัญหาทางนิเวชวิทยา
165.
5. การให้ความสำาคัญกับการต่อต้านการใช้พลังงานปรมาณูที่จะเข้ามาแทนการใช้พลังงานนำ้ามัน
และเขาชี้ให้เห็นว่า มหันตภัยที่ร้ายแรงของพลังงานปรมาณูคือละอองจากรังสี และจากการ
กำาจัดกากของสารกัมมันตภาพรังสีที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งแนะนำาวิธีการแก้ปัญหาโดยการการ
บริโภคลง เพื่อจะได้ทำาการผลิตให้น้อยลง และเพื่อเป็นการยืดเวลาการใช้นำ้ามันให้มากขึ้น
Small is Beautiful นำามาใช้พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนได้ดังนี้
1. การให้ความสำาคัญกับการศึกษา กล่าวคือ การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นจะต้องมีการพัฒนาคน
ซึ่งเป็นทรัพยากรหลักสำาคัญในสังคม และการที่จะพัฒนาคนจะต้องใช้เครื่องมือที่สำาคัญ
ทีส่ ุดคือ การศึกษา ซึ่งใช้ในการพัฒนาคนให้เป็นพลเมืองดีมีคุณภาพและสามารถดำารง
ชีวิตได้อย่างเหมาะสม
2. การให้ความสำาคัญในการประหยัดทรัพยากร ซึ่งตรงกับทฤษฎีใหม่ที่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำาบากในการ
ดำารงชีวิตให้สามารถประกอบอาชีพอย่างได้ผลพอเพียงที่จะเลี้ยงตัวเองได้ในระดับ
ประหยัด อดทนและอดออม
3. การให้ความสำาคัญกับการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม ซึ่งตรงกับทฤษฎีใหม่ ทีป่ ระกอบด้วย
หลักการและแนวทางในการบริหารจัดการที่ดินและนำ้าเพื่อการเกษตร โดยดำาเนินการเป็น
ขั้นตอน คือ การจัดแบ่งพื้นที่ ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30 : 30: 30 : 10
คือแบ่งพื้นที่ส่วนที่หนึ่ง 30 % เป็นทีส่ ำาหรับขุดสระนำ้าไว้ใช้ ส่วนที่สอง 30 % เป็นที่
ทำานาในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารสำาหรับครอบครัว ส่วนที่สาม 30 % เป็นที่สำาหรับปลูกพืช
ยืนต้นต้นไม้ผล พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพรเพื่อใช้เป็นอาหารและจำาหน่าย หากมีเหลือ ส่วน
ทีส่ ี่ 10 % เป็นที่อยู่อาศัย และเลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ
4. การให้ความสำาคัญกับการส่งเสริมเทคโนโลยีระดับกลางและเศรษฐกิจที่เห็นคนเป็นคน ซีง
ตรงกับแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่เน้นความร่วมมือร่วมใจของชุมชนเพื่อเป็นกำาลัง
สำาคัญในการทำางานร่วมกันของคนในชุมชน เช่นการลงแรงช่วยเหลือกันหรือลงแขก เพราะ
นอกจากจะทำาให้เกิดความสามัคคีในชุมชนแล้ว ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจ้าง
แรงงานได้อีกด้วย
5. การให้ความสำาคัญกับการต่อต้านการใช้พลังปรมาณู ลดการใช้นำ้ามัน ซึ่งเป็นการประหยัด
พลังงาน เป็นสิ่งที่ใช้ได้กับการพัฒนาชุมชนของไทยที่เน้นในเรื่องของการประหยัด พออยู่
พอกิน หรือ อยู่แบบพอเพียง ลดสิ่งที่ไม่มีความจำาเป็น รวมทั้งส่งเสริมภูมปิ ัญญาท้องถิ่น
การใช้พืชสมุนไพร ในกิจกรรมของการดำาเนินชีวิตประจำาวันและการทำาเกษตรกรรม
166.
สรุป small is beautiful เป็นเรื่องที่เราสามารถนำามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับการ
พัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดี และสิ่งที่นำาเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งในอีกหลายส่วนของหนังสือ และที่
สำาคัญการพัฒนาชุมชนได้ดีนั้นต้องพัฒนาที่เราก่อน คือ “ จะปลูกพืช ต้องเตรียมดิน จะกิน จะ
ต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนาการใครเขา ต้องพัฒนาตัวเราก่อน
……………………………………………………………….

SMALL IS VEAUTIFUL
Economics as if people mattered
อยู่อย่ำงน้อยและใช้สอยแต่พองำม : เศรษฐศำสตร์ที่มองเห็นคนเป็นคน
…………………………………………………………..
ภำคหนึ่ง
โลกสมัยใหม่
ปัญหำกำรผลิต
ทัศนะอันผิดพลาดทีว่ ่า “ ปัญหาการผลิต” ได้ถูกแก้ไขไปแล้ว เกิดขึ้นจากทัศนะของมนุษย์ที่มีต่อ
ธรรมชาติ โดยเฉพาะทัศนะของชาวตะวันตกที่ต้องการครอบงำาธรรมชาติ แต่มิได้มองตัวเองว่าเป็นส่วนหนึ่ง
ของธรรมชาติ จนเกิดมายาในความสำาเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการเบียดเบียนธรรมชาติ
อย่างรุนแรงไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ การใช้ทุนตามธรรมชาติ หรือทุนที่หา
ทดแทนไม่ได้ เช่น นำ้ามันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย นำ้ามันจากซากดึกดำาบรรพ์เป็นเพียงส่วน
หนึ่งของ “ ทุนตามธรรมชาติ “ ซึ่งเราเหมาเอาว่าเป็นทุนที่ใช้จ่ายไปคล้ายกับว่ามันเป็นรายได้ และเหมือน
กับว่ามันไม่ใช่สิ่งที่สำาคัญ ก็เท่ากับว่าเราคุกคามอารยธรรมเราทำาลายทุนที่เป็นสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติที่มีอยู่
รอบตัวเท่ากับว่าเราคุกคามสิ่งมีชีวิต
ความผิดพลาดอันร้ายแรงที่สุดในยุคของเราคือ ความเชื่อว่าปัญหาการผลิตได้รับการแก้ไขตกไป
แล้ว ภาพมายานี้มีสาเหตุอันสำาคัญเนื่องมาจากความไร้สมรถภาพของเราที่เล็งเห็นว่าระบบอุตสาหกรรม
สมัยใหม่ที่มีความสลับซับซ้อนทางพุทธปัญญาได้กลืนกินรากฐานทีมันตั้งอยู่
การใช้นำ้ามันอย่างสิ้นเปลืองและผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่รุกลำ้าธรรมชาติจนขอบเขตแห่งความ
ต้านทานของธรรมชาติรับไม่ไหวได้ก่อให้เกิดมลพิษไปทั่วและการผลิตในปัจจุบันได้กัดกร่อนแก่นสารความ
เป็นมนุษย์ซึ่งแก่นสารของมนุษย์ไม่อาจวัดได้โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมของประชาชาติ และเป็นสาเหตุของ
ปัญหาทางสังคม เช่น อาชญากรรม ยาเสพติด นิสัยชอบทำาลาย การพังทลายทางจิตใจ และอื่น ๆ สถิตไิ ม่
เคยพิสูจน์ได้เลยเราต้องเริ่มมองความเป็นไปได้ในการวิวัฒน์รูปแบบของชีวิตขึ้นมาใหม่ด้วยการใช้วิธีการ
ผลิตใหม่ และมีรูปแบบของการบริโภคใหม่ซึ่งเป็นรูปแบบของชีวติ ที่เริ่มต้นเพื่อความยั่งยืน เช่น ในด้าน
การเกษตรกรรม ต้องมีวิธีการผลิตที่เหมาะสมในด้านชีวภาพ สร้างความอุดมสมบรูณ์ของดิน ก่อให้เกิด
อนามัย
167.
ในด้านอุตสาหกรรม เราควรให้ความสนใจเทคโนโลยีขนาดย่อม เป็นเทคโนโลยีที่ปราศจากความรุนแรงและ
มุ่งเข้าสู่ยคุ สมัยของสังคมแห่งการเรียนรู้ คือ ต้องเรียนรู้ว่าจะอยู่อย่างสงบสุขได้อย่างไร ไม่เพียงแต่กับเพื่อน
มนุษย์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเป็นอยู่กับธรรมชาติอย่างสันติด้วย

สันติภำพและควำมถำวร
ความเชื่อสมัยใหม่บอกเราว่าสันติภาพเกิดขึ้นจากการที่มีความรุ่งเรืองไพบูลย์ และความรุ่งเรือง
ไพบูลย์ก็สามารถเข้าถึงได้ด้วยอาศัยรากฐานของปรัชญาแบบวัตถุนิยมที่ว่า “ จงเพิ่มพูนความมั่งคั่งให้กับ
ตัวท่านเอง “ และนั่นก็คือหนทางนำาไปสู่สันติภาพ มีสังคมยากจนเป็นอันมากซึ่งมีสิ่งต่าง ๆ น้อยเกินไป แต่
สังคมรำ่ารวยที่บอกว่า “ หยุดเสียที เรามีพอแล้ว “ นั้นมีอยู่ที่ไหน สังคมเช่นที่ว่านี้ไม่มีเลย ทัศนะต่อชีวิตซึ่ง
แสวงหาโภคทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียวหรือลัทธิวัตถุนิยมนั้นไม่เหมาะสมกับโลกนี้ เพราะว่าในตัวของมันเอง
มีหลักการที่ไร้ขีดจำากัดในขณะที่สิ่งแวดล้อมที่มันได้อาศัยอยู่นั้นมีขีดจำากัดอย่างเข้มงวด ระบบตัวเองอันลำ้า
เลิศของธรรมชาติกำาลังจะไร้สมดุล
รากฐานของสันติภาพไม่อาจปักหลักลงได้ด้วยความเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ทั่วสากลได้ เพราะความ
รุ่งเรืองดังกล่าวเกิดขึ้นจากความโลภไม่รู้จักพอและความริษยามนุษย์ ซึ่งทำาลายล้างภูมิปัญญา ความสุข
สงบและความสันติของมนุษย์ ความมั่งคั่งของคนรวยเกิดจากความต้องการต่อทรัพยากรของโลกที่มีอยู่
อย่างจำากัด ดังที่คานธีได้กล่าวไว้ว่า “ โลกได้ให้ความเพียงพอต่อความจำาเป็นของมนุษย์ทุกคน มิใช่เพียง
พอต่อความโลภของทุกคน “ ไม่มีใครทำางานอย่างแท้จริงเพื่อสันติภาพ การเพิ่มขึ้นของความต้องการขั้นพื้น
ฐานทุกอย่างย่อมโน้มเอียงที่จะทำาให้คนต้องพึ่งพาอาศัยพลังจากภายนอก ซึ่งไม่มีผใู้ ดควบคุมได้ จึงก่อให้
เกิดความหวาดกลัวในการดำารงชีพ ถ้าเราลดความต้องการลงบ้าง เราก็สามารถลดการแก่งแย่ง ลดการ
ทะเลาะวิวาทและลดสงครามลงได้โดยการมุ่งไปสู่ความมีชีวิตเรียบง่าย ความอ่อนโยน อหิงสา ความนุ่ม
นวลและความงดงาม ดังนั้นสันติภาพจะได้รับการสถาปนาบนรากฐานของวิทยาศาสตร์ที่ไม่คำานึงถึงผลเสีย
และเทคโนโลยีที่รุนแรงได้อย่างไร ? เพราะมนุษย์มีความต้องการอย่างไม่มีที่สิ้นสุดและความไม่มีที่สิ้นสุด
จักสามารถบรรลุถึงได้ก็แต่ในปริมณฑลของจิตใจเท่านั้น หาใช่ด้านวัตถุไม่ หากปราศจากปัญญามนุษย์จะ
ถูกผลักไสให้สร้างระบบเศรษฐกิจที่ชั่วร้ายขึ้นซึ่งจะทำาลายโลกและแสวงหาความพอใจอย่างบ้าคลั่ง เหล่านี้
เป็นสาเหตุของสงคราม
บางทีเราการที่เราลดความโลภและความริษยาในตัวเองลงมาก ๆ หรือต่อต้านความเย้ายวนในการ
ใช้สิ่งฟุ่มเฟือยด้วยการสำารวจตรวจสอบตัวของเราเองทำาให้ความต้องการเหล่านั้นเรียบง่ายขึ้นและบรรเทา
เบาบางลงได้ ถ้าหากเราไม่มีความเข็มแข็งที่จะกระทำาได้แม้แต่เพียงอย่างเดียว เราก็ได้ชื่อว่าเดินอยู่บน
ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจทีไ่ ร้รากฐานของความถาวรยั่งยืน เราจำาเป็นต้องวางรากฐานทางเศรษฐกิจเพื่อ
สันติภาพ ซึ่งเราสามารถแสวงหาความเข็มแข็งได้เพื่อที่จะดำาเนินการต่อสู้กับคู่แข่งขันที่ได้เปรียบเราอยู่มาก

168.
มายอย่างน่ากลัวจากคำากล่าวของคานธีที่ว่า “ จะต้องมีการยอมรับการดำารงอยู่ของจิตวิญญาณนอกเหนือ
ไปจากร่างกาย และยอมรับการมีอยู่ของธรรมชาติอันถาวร และการยอมรับนี้ต้องผนึกอยู่ในศรัทธาต่อชีวิต
และในหนทางสุดท้ายหลักอหิสาจะไม่ถือประโยชน์จากผู้ที่มิได้มีศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าแห่งความรัก “

บทบำทของเศรษฐศำสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์มีบทบาทสำาคัญต่อการกำาหนดรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ ในโลกสมัยใหม่วิชา
เศรษฐศาสตร์ได้เคลื่อนเข้าสู่ใจกลางแห่งความสนใจของประชาชน การดำาเนินการทางเศรษฐกิจการเจริญ
เติบโตของเศรษฐกิจได้กลายเป็นความสนใจที่คงอยู่ตลอดไป เศรษฐศาสตร์ที่มองแต่การค้าขาย การตลาด
กำาไร – ขาดทุน หรือผลตอบแทนในฐานะเงินตรา ประเมินมนุษย์เป็นปัจจัยที่ไร้ชีวติ เป็นเพียงกลไกทางการ
ตลาดเท่านั้น เศรษฐศาสตร์มิได้ยืนอยู่บนขาของตัวเอง เศรษฐศาสตร์คือองค์ความคิดอันสืบเนื่องมาจากอภิ
เศรษฐศาสตร์ ถ้านักเศรษฐศาสตร์ไม่สนใจอภิเศรษฐศาสตร์คือตระหนักถึงความจริงที่ว่าการใช้วิธีคำานวณ
ทางเศรษฐศาสตร์นั้นมีขอบเขตจำากัดแล้วไซร์ เขาก็ย่อมจะตกอยู่ในความผิดพลาดเพราะศาสตร์ทุกอย่างมี
ประโยชน์ภายในขอบเขตแห่งความเหมาะสมของตัวมันเอง แต่จะกลับกลายเป็นสิ่งชั่วร้ายและเป็นภัย
อันตรายตราบใดที่มันล่วงลำ้าขอบเขตอันเหมาะสม ซึ่งวิชาเศรษฐศาสตร์ “ ชอบที่จะเอาเปรียบผู้อื่น “ เพราะ
ว่าเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจอันรุนแรงของมนุษย์ เช่น ความริษยาความโลภ เศรษฐศาสตร์ได้ถูกสร้าง
ขึ้นและถูกนำามาใช้ในปัจจุบันและยึดมั่นในวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณล้วน ๆและปฎิเสธอย่างขี้ขลาดที่จะ
พินิจพิจารณาให้ลึกซึ้งถึงธรรมชาติอันแท้จริงของสรรพสิ่ง
ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มเล็ก ๆส่วนน้อยเริ่มถามว่า “ การเจริญเติบโต “ ต่อไปอีกมาก ๆ จะ
เป็นไปได้อย่างไร เพราะการเจริญเติปโตอันไม่จำากัดในสภาพแวดล้อมอันจำากัดเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ก็ไม่
สามารถแหวกว่ายออกมาจากแนวคิดแบบการเจริญเติบโตในเชิงปริมาณล้วน ๆ ได้ ส่วนใหญ่ยังคงดำาเนิน
รอยตามอุดมคติที่หลงใหลในการทำาให้ “ ศาสตร์ “ ของตนเป็นวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ให้ความสำาคัญ
กับ “ สินค้า “ ซึ่งแบ่งแยกประเภทของสินค้าอย่างหยาบ ๆ เช่น ความแตกต่างระหว่างสินค้าเพื่อการบริโภค
และสินค้าเพื่อการผลิต แต่ไม่ได้มีความพยายามโดยแท้จริงที่จะรับรู้ในสิ่งที่สินค้าดังกล่าวเป็นอยู่อย่างจริง
ๆ เช่น มันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือธรรมชาติให้มา ดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์ต้องเข้าใจและเห็นแจ้งถึง
ขอบเขตของมัน นัน่ คือจะต้องเข้าใจอภิเศรษฐศาสตร์
อภิเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วยสองส่วนคือ ส่วนแรกเกี่ยวข้องกับมนุษย์ และอีกส่วนหนึ่งเกี่ยวข้อง
กับสภาพแวดล้อม นั่นคือ เศรษฐศาสตร์จักต้องหาจุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์จากการศึกษาเกี่ยวกับ
มนุษย์และอย่างน้อยจักต้องหาวิธีการศึกษาส่วนใหญ่จากการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ
เมื่อไม่นานมานี้ นักเศรษฐศาสตร์จึงรู้สึกว่ามีเหตุผลที่ดีพอที่พวกเขาต้องมีหน้าที่ถือโครงข่ายของธร
รมชาจติให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะเกิดผลกระทบมากมายของกิจกรรมทาง

169.
เศรษฐกิจที่มีต่อโครงข่ายทางธรรมชาติ เช่น การเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม จึงเกิดข้อสงสัยขึ้นว่าวิธีการ
ศึกษาแบบเศรษฐศาสตร์นั้นคับแคบและแตกแยกเป็นเสี่ยง ๆ เกินกว่าที่จะนำาไปสู่ความหยั่งรู้ที่ถูกต้องสม
บรูณ์ นอกเสียจากว่าการกระทำาควบคู่ไปกับการศึกษาอภิเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศำสตร์แนวพุทธ
“ สัมมาอาชีวะ “ คือการเลี้ยงชีพชอบเป็นธรรมข้อหนึ่งในมรรคมีองค์แปดของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึง
เป็นสิ่งประจักษ์ชัดว่า จักต้องมีเศรษฐศาสตร์แบบฉบับชาวพุทธอย่างแน่นอน
ตามทัศนะของพุทธศาสนา การงานมีหน้าที่อย่างน้อยสามประการ คือ เปิดโอกาสให้มนุษย์ได้ใช้
และพัฒนาความสามารถส่วนตัว เพื่อช่วยให้มนุษย์ขจัดอัตตาด้วยการทำางานร่วมกับผู้อื่นและเพื่อให้ได้มา
ซึ่งผลผลิตและบริการอันจำาเป็นแก่การดำารงอยู่ และการใช้เครื่องจักรกลในการผลิตก็มีสองประเภท คือ เพื่อ
เพิ่มพูนทักษะและอำานาจของมนุษย์ และเพื่อให้เครื่องจักรกลได้ทำางานแทนมนุษย์ ซึ่งยังผลให้มนุษย์อยู่ใน
ฐานะที่ต้องรับใช้หรือเป็นทาสเครื่องกลนั้น ๆ จึงประจักษ์ชัดว่า เศรษฐศาสตร์แบบพุทธแตกต่างกันอย่าง
มากจากเศรษฐศาสตร์วัตถุนิยมสมัยใหม่ เพราะพุทธศาสนาเห็นว่าแก่นของอารยธรรมมิได้อย่฿ที่การ
เพิ่มพูนตัณหาของมนุษย์ หากว่าอยู่ที่การสร้างความบริสุทธิ์แก่คุณลักษณะแห่งการเป็นมนุษย์และ
เอกลักษณ์ของมนุษย์นั้นโดยพื้นฐานก่อรูปมาจากการงานของมนุษย์นั่นเอง คือมนุษย์ย่อมมีคุณค่าเมื่อ
ทำาการงาน และการงานนั้นหากดำาเนินการอย่างเหมาะสมในภาวการณ์ที่มนุษย์มีเกียรติภูมิและเสรีภาพ
ย่อมยังความเป็นเลิศให้แก่ผู้ทำางาน
ในขณะทั่กวัตถุนิยมสนใจแต่สินค้าเป็นสำาคัญ แต่พุทธศาสนิกชนสนใจแต่การปลดแอกให้มี
อิสรภาพเสรีภาพเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งยึดมั่นใน “ มัชฌิมปฎิปทา “ อุปสรรคของการปลดแอกให้มีอิสรภาพนั้น
มิได้อยู่ที่ทรัพย์ศฤงคาร หากทว่าอยู่ที่การติดในทรัพย์ศฤงคารนั้นต่างหาก และมิได้อยู่ที่การหาความสุขจาก
สิ่งซึ่งให้ความสุขได้ แต่อยู่ที่ตัณหาดิ้นรนเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งความสุขต่างหากเล่าที่เป็นอุปสรรคในการบรรลุ
อิสรภาพ ดังนั้น หัวใจของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธคือ ความเรียบง่ายและการไม่เบียดเบียน(อหิงสาธรรม)
คือ ความอัศจรรย์ของวิถีชาวพุทธนั้น อยู่ที่ความมีเหตุผลอย่างยิ่งของรูปแบบการดำารงชีวิต กล่าวคือ อาศัย
วัสดุปัจจัยจำานวนน้อยอย่างน่าประหลาดแต่นำาไปสู่ผลอันน่าพึงพอใจอย่างพิสดาร ซึ่งมุ่งเน้นที่จะหาทางให้
มนุษย์มีความพอใจสูงสุดด้วยการมีรูปแบบการบริโภคที่ดีเลิศ ในขณะที่เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่มุ่งที่จะหา
ทางให้มนุษย์มีการบริโภคสูงสุดด้วยการมีรูปแบบของการใช้พลังการผลิตที่ดีเลิศ
ความเรียบง่ายกับหลักอหิงสานั้นมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด รูปแบบการบริโภคที่ดีเลิศซึ่งก่อ
ให้เกิดความพอใจแก่มนุษย์อย่างมาก โดยการบริโภคแต่เพียงน้อยนั้นช่วยให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดย
ปราศจากความกดดันและเครียดมากนัก และช่วยให้มนุษย์ปฎิบัติตามธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ว่า “ พึง
ละเว้นความชั่ว พึงทำาความดี และ พึงทำาใจให้บริสุทธิ์ “ ได้ โดยเหตุที่ว่าทรัพยากรทางกายภาคมีอยู่โดย
จำากัด หากมนุษย์หาทางสนองความต้องการแห่งตนด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างพอเหมาะพอควร ย่อมทำาให้
ไม่ต้อง
170.
ไปแย่งชิงกับผู้อื่นมาก พุทธธรรมมุ่งอบรมบ่มนิสัยให้มนุษย์มีความรักและยึดหลักอหิงสา มิเฉพาะต่อสรรพ
สิ่งมีชีวิต เช่น คนและสัตว์เท่านั้นหากยังเน้นอย่างมากต่อต้นหมากรากไม้อีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นธรรมชาติที่
อยู่รวมกันทั้งหมดของโลก

ปัญหำเกี่ยวกับขนำด
การเทิดทูนบูชาความใหญ่โตมโหฬาร ย่อมเป็นผลกระทบอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดย
เฉพาะในด้านคมนาคมขนส่ง ระบบการคมนาคมขนส่งที่พัฒนาไปอย่างมากมายมีผลกระทบอย่างใหญ่
หลวง คือทำาให้คนอยู่ไม่ติดที่ ประชาชนนับล้านคนเริ่มเคลื่อนย้ายโดยละทิ้งถิ่นชนบทและเมืองที่เล็กกว่า
เข้าไปแสวงหาแสงสีของเมืองใหญ่ ก่อให้เกิดการเติบโตแบบวิปริต และผู้คนเชื่อว่าการคมนาคมขนส่งที่
รวดเร็วเปิดมิติใหม่แห่งเสรีภาพ แต่ก็มองข้ามความจริงที่ว่าความสำาเร็จเหล่านี้โน้มเอียงที่จะทำาง่ยเสรีภาพ
ด้วยการทำาให้ทุกสิ่งทุกอย่างไม่แน่นอนอย่างยิ่งและไม่ปลอดภัยอย่างยิ่ง นอกจากจะมีการพัฒนานโยบาย
และการปฎิบัติอย่างมีสติเพื่อบรรเทาผลกระทบกระเทือนในทางทำาลายการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้
ปัจจุบันผลกระทบในทางทำาลายเหล่านี้รุนแรงเป็นอย่างยิ่งเห็นได้ชัดในประเทศใหญ่ ๆ เช่น
สหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิด “ มหานคร “ นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดปัญหา “ นักเรียนต้องออกจากโรงเรียนกลาง
คัน “ ในหมู่คนที่ได้กลายเป็นผู้ที่อยู่ไม่ติดที่ ไม่สามารถหาที่อยู่ได้ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมหลายอย่าง
เช่น อาชญากรรม ความแปลกแยก ความคับแค้น ความแตกสลายทางสังคม การอพยพประชากรเข้าสู่ตัว
เมือง เกิดการว่างงาน ขนบทก็จะถูกคุกคามด้วยความหิวโหยผลก็คือสังคมนั้นกลายเป็น สังคมทวิลักษณ์
ซึ่งปราศจากแรงเชื่อมภายในใด ๆ
การพัฒนาอุตสาหกรรมจะได้ผลคุ้มค่าก็ต่อเมิ่อสามารถที่จะดำาเนินการในบริเวณใกล้ ๆ กับ
นครหลวงหรือเมืองที่มีขนาดใหญ่มากแต่ไม่ใช่ชนบท มันพิสูจน์ให้เห็นว่าโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้ทุนมากมัก
จะมีคนชอบมากกว่าโครงการขนาดเล็กเสมอ เศรษฐศาสตร์แห่งความใหญ่โตมโหฬารไม่สามารถแก้ไข
ปัญหาในปัจจุบันได้เลย จึงจำาเป็นต้องมีระบบความคิดใหม่ทั้งหมดที่ตั้งอยู่บนฐานของความเอาใจใส่ต่อ
ประชาชนมิใช่ต่อสินค้า นัน่ คือ “ การผลิตโดยมวลชนแทนที่การผลิตขนาดใหญ่“
ประชาธิปไตย เสรีภาพ ศักดิ์ศรีของมนุษย์ มาตรฐานการครองชีพ การตระหนักในตนเอง การเติม
ชีวิตให้เติม มันเป็นเรื่องของคนไม่ใช่เรื่องของสินค้า ประชาชนสามารถเป็นตัวของตัวเองในการรวมกลุ่มเล็ก
ๆ ทีเ่ ข้าใจกันได้ ดังนั้นเราต้องเรียนรู้ที่จะคิดในรูปของโครงสร้างที่ประสานกันในอันที่จะสามารถจัดการกับ
หน่วยขนาดเล็กที่มีอยู่มากมาย ถ้าความคิดเชิงเศรษฐกิจไม่สามารถยึดถือหลักการนี้ได้แล้ว ก็เป็นการไร้
ประโยชน์อย่างแท้จริง เราต้องเลิกล้มความคิดเชิงเศรษฐกิจแบบนามธรรมหรือชื่นชมในปริมาณตัวเลขทาง
สถิติต่าง ๆ อันหลากหลาย เป็นต้นว่า รายได้ประชาชาติ อัตราการเจริญเติบโต การวิเคราะห์แบบปัจจัย
ผลผลิต ความคล่องตัวของแรงงานการสะสมทุน แล้วลงไปสัมผัสกับสภาพที่เป็นจริงของมนุษย์ในด้าน
ความ

171.
ยากจนแร้นแค้น ความสิ้นหวัง ความแตกสลายทางสังคม อาชญากรรม ความคับแค้น ความแออัด ความ
อัปลักษณ์ และมรกรรมแห่งจิตวิญญาณ ขอให้เราจบสิ้นวิชาเศรษฐศาสตร์ไปเสียแล้วมาเริ่มต้นกันใหม่

ภำคสอง
ทรัพยำกร

ทรัพยำกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือกำรศึกษำ
การศึกษาเฉพาะเพียงวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถที่จะเข้าใจโลกได้เนื่องจาก
วิทยาศาสตร์สอนเราแต่วิธีการที่จะทำาการต่าง ๆ เท่านั้น ในขณะที่เราจำาเป็นที่จะต้องรู้ว่าเหตุใดสรรพสิ่งต่าง
ๆ รอบตัวเราจึงเป็นอยู่อย่างที่เราเห็น และเราจะทำาอย่างไรกับชีวิตเราดี สิง่ ที่เราเรียนรู้โดยการศึกษาวิทยา
ศาสตร์เฉพาะสาขาเป็นการเฉพาะเจาะจง และเป็นการชำานาญงานเฉพาะอย่างมากเกินไปนั้น ไม่สามารถ
ตอบสนองความต้องการเราได้ ฉะนั้น เราจึงหันไปศึกษาวิชามนุษย์ศาสตร์เพื่อที่จะได้เห็นความคิดที่สำาคัญ
ๆในยุคสมัยของเราแจ่มชัด
ยิ่งขึ้น แต่เราก็พบว่าแม้แต่วิชามนุษย์ศาสตร์ก็กลายเป็นวิชาที่จำากัดเรื่องศึกษากันในเฉพาะเรื่องที่เต็มไป
ด้วยความคิดเห็นในประเด็นย่อย ๆ มากมายเช่นเดียวกับที่พบในวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ แต่บางที่เรา
อาจจะโชคดีกว่านี้ถ้าเราได้ครูที่ดีที่จะช่วยให้เราจิตใจของเราสว่างไสว ทำาให้ความคิดต่าง ๆ กระจ่างขึ้น ซึ่ง
เป็นความคิดหลัก และเป็นสากลซึ่งอยู่ในจิตใจของเราอยู่แล้ว รวมทั้งทำาให้เราเห็นว่าโลกมีความหมาย
สำาหรับเรา
กระบวนการศึกษาแบบนี้แหละจึงจะเรียกว่าเป็น “การศึกษา” อย่างแท้จริง แต่ทุกวันนี้เราได้อะไร
บ้าง
จาการศึกษา นอกจากภาพของโลกในฐานะที่เป็นดินแดนที่รกร้างว่างเปล่าปราศจากความหมาย
และไร้จุดมุ่งหมายใด ๆ การศึกษาไม่สามารถช่วยเราได้ ตราบใดที่มันไม่สอดคล้องกับอภิปรัชญาที่แท้จริง
ไม่วา่ วิชาที่สอนจะเป็นวิชาวิทยาศาสตร์หรือวิชามนุษย์ศาสตร์ ถ้าการสอนนั้นไม่ได้นำาไปสู่ความกระจ่างชัด
ของอภิปรัชญาที่ถูกต้องหรือความกระจ่างชัดของความเชื่อขั้นพื้นฐานของเราและละก็ มันไม่สามารถอบรม
บ่มเพาะคนได้ และผลที่ตามมาก็คือการศึกษาจักไม่สามารถให้คุณค่าอันแท้จริงแก่สังคมได้
วิชาทุกวิชาไม่ว่าจะเป็นวิชาเฉพาะมากน้อยเพียงใดก็ตามจะต้องเชื่อมโยงกลับมาหาศูนย์กลางได้
เช่นเดียวกับรังสีที่พุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์ ศูนย์กลางนั้นประกอบด้วยความเชื่อพื้นฐานของเราซึ่งเป็นความ
คิดที่มีพลังเพียงพอที่จะโน้มน้าวจิตใจของเราได้ กล่าวคือศูนย์กลางนั้นประกอบไปด้วยอภิปรัชญาและ
จริยศาสตร์ การศึกษาจักช่วยเราได้ก็ต่อเมื่อมันสร้าง “คนให้เป็นคนโดยสมบรูณ์” คนที่ได้รับการศึกษาที่แท้
จริงไม่ใช่คนที่รู้

172.
เรื่องทุกเรื่องอย่างงู ๆ ปลา ๆ และไม่ใช่คนที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในสาขาอย่างละเอียดละออ แต่สามารถสัมผัส
กับศูนย์กลางแห่งความรู้อย่างแท้จริงเขาจต้องไม่สงสัยในความเชื่อพื้นฐาน และทัศนะของตนต่อความหมาย
และ จุดหมายของชีวิต เขาอาจจะไม่สามารถอธิบายสิ่งเหล่านี้ออกมาเป็นคำาพูด แต่การประพฤติปฎิบัติของ
เขาจะแสดงให้เห็นความมั่นคงแห่งการสัมผัสซึ่งงอกงามขึ้นมาจากความกระจ่างชัดภายในจิตใจของเขา

กำรใช้ที่ดินอย่ำงเหมำะสม
ในบรรดาทรัพยากรวัตถุทั้งหลายนั้นทรัพยากรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือที่ดินอย่างไม่ต้องสงสัย จง
ศึกษาว่าสังคมหนึ่ง นั้นใช้ที่ดินอย่างไร แล้วท่านก็จักได้ข้อสรุปที่ค่อนข้างเชื่อถือได้ว่าอนาคตของสังคมนั้นจะ
เป็นอย่างไร
ในยุคสมัยของเรา อันตรายอันใหญ่หลวงต่อดินและสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับดินมิใช่มีเพียงต่อ
เกษตรกรรมอย่างเดียว หาเป็นอันตรายต่ออารยะธรรมทั้งมวล นั้นมีรากเหง้าาจากการตัดสินใจของคนเมือง
เพื่อประยุกต์หลักการอุตสาหกรรมเข้ากับเกษตรกรรม ตัวแทนแนวโน้มเช่นนีไ้ ม่มีอะไรเป็นตัวอย่างได้ดีไปกว่า
แผนงานของแมนโชลท์ รองประธานของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งเขาเชื่อว่าชาวนาเป็น “ กลุ่มคนที่ยังไม่
เข้าใจการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสังคม” ชาวนาส่วนใหญ่จะออกจากที่ดินทำากินและไปเป็นกรรมการ
แรงงานในเมือง จนละเลยหลักการสำาคัญไป
หลักการสำาคัญของเกษตรกรรมได้แก่การที่การเกษตรเกี่ยวข้องกับชีวิตหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
ก็คือเกี่ยวข้องกับแก่นแท้ของสิ่งมีชีวติ ผลผลิตของการเกษตรกรรมเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการแห่งชีวิต และ
ปัจจัยในการผลิตก็คือดิน ดินที่อุดมสมบูรณ์จำานวนหนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตรมีอินทรีย์ของสิ่งมีชีวิตนับพัน ๆ
ล้านตัว ตรงกันข้ามกับหลักการอุตสาหกรรมสมัยใหม่ได้แก่ การเกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งหลายที่มนุษย์คิด
ค้นประดิษฐขึ้น ซึ่งจะทำางานอย่างเชื่อถือได้ ก็ต่อเมื่อประยุกต์ใช้กับวัตถุที่ปราศจากชีวิตจิตใจ ที่ดินถูกมองว่า
เป็นสินทรัพย์ที่ปราศจากราคาซึ่งเป็นภารกิจและเป็นความสุขที่มนุษย์จะบำารุงรักษา อาจกล่าวได้ว่าการ
จัดการที่ดินของมนุษย์จักต้องมุ่งเป้าหมายพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ สุขภาพอนามัย ความงดงาม และความ
ถาวร เป้าหมายที่สี่ เป็นเป้าหมายเดียวที่ยอมรับโดยผู้เชี่ยวชาญ คือ ประสิทธิภาพ
ทัศนะแบบนักวัตถุนิยมอย่างหยาบพิจารณาเกษตรกรรมด้วยการ “ มุ่งไปที่การผลิตอาหาร
เป็นส่วนสำาคัญ” ส่วนทัศนะที่กว้างไกลกว่า ได้มองเกษตรกรรมในฐานะที่จำาต้องมีภารกิจอย่างน้อยสาม
ประการคือ
1. เพื่อที่จะให้มนุษย์เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตซึ่งมนุษย์เป็นและยังคงเป็นส่วนที่เปราะ
บางของมัน
2. เพื่อที่จะให้ที่อยู่อาศัยของมนุษย์น่าอยู่อาศัยและกว้างขวางยิ่งขึ้น
3. เพื่อที่จะได้มาซึ่งอาหารและวัสดุอื่น ๆ ซึ่งจำาเป็นต่อชีวิตจะอุบัติขึ้นใหม่

173.
ทีด่ ินซึ่งสำาคัญรองลงมาจากคนซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าที่สุดของเรา ทีด่ ินซึ่งวิถีชีวิตของเรา
ทั้งหมดจักต้องเกี่ยวข้องด้วย และก่อนที่นโยบายของเราเกี่ยวกับที่ดินจะถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างแท้จริงนั้น
จักต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงด้านปรัชญา หากเราหันกลับไปยอมรับคุณค่าทางอภิปรัชญา
อย่างใจกว้างแล้ว ภูมิประเทศของเราจักกลับกลายเป็นดินแดนอันอุดมสมบรูณ์และงดงามขึ้นอีกครั้ง และ
ประชาชนของเราก็จักใช้ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ขึ้นมา

ทรัพยำกรเพื่อกำรอุตสำหกรรม
สิ่งที่แปลกประหลาดอย่างยิ่งเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ก็คืออุตสาหกรรมต้องการความ
สำาเร็จเป็นอันมาก แต่ประสบผลสำาเร็จเพียงเล็กน้อย อุตสาหกรรมสมัยใหม่ดูเหมือนจะไร้ประสิทธิภาพใน
ระดับที่เกินกว่าพลังแห่งจินตนาการตามปกติของเรา ฉะนั้นความไร้ประสิทธิภาพของมันยงคงซ่อนเร้นอยู่
ทุกวันนี้ เสียงเรียกร้องว่าทรัพยากรของโลกมีไม่เพียงพอดังขึ้นทุกที่ ที่เด่นที่สุดเห็นว่าจะ
ได้แก่เสียงเรียกร้องของกลุ่มศึกษา ณ สถาบันแห่แมสสาจูเสทส์ ซึ่งได้เขียนขีดจำากัดของความเจริญ อันเป็น
รายงานฉบับหนึ่งตามโครงการเรื่องความหายนะภัยของมนุษยชาติ ในรายงานนั้นนอกเหนือจะมีเนื้อหา
สาระอื่น ๆ แล้ว ยังบอกถึงทรัพยากรธรรมชาติทไี่ ม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้เหล่านี้มีจำานวน 19 ชนิด เช่น
อลูมิเนียม โครเมียม ถ่านหิน เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งสำาคัญยิ่งต่อสังคมอุตสาหกรรมได้ถูกใช้อย่างสิ้นเปลื้อง โดย
เฉพาะในประเทศอุตสาหกรรมและมีแนวโน้มว่าจะหมดไปในไม่ช้า ยังไม่รวมถึงการใช้นำ้ามันและถ่านหินของ
ประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกด้วย
ในขณะเดียวกันประเทศผู้ผลิตนำ้ามันกำาลังเริ่มตระหนักว่า เงินแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถ
สร้างแหล่งทำากินสมัยใหม่สำาหรับพลเมืองของตนได้ การที่สร้างแหล่งอาชีพใหม่ นอกจากจะต้องมีเงินแล้วยัง
จำาเป็นจะต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะอย่างใหญ่หลวง รวมทั้งอาศัยเวลาอันยาวนานด้วย นำ้ามันเป็นทรัพย์สิน
ทีใ่ ช้หมดเปลืองไปได้ และยิ่งใช้สนิ้ เปลืองไปโดยเร็วมากเท่าใดก็ยิ่งมีเวลาเหลือน้อยสำาหรับการพัฒนา
รากฐานใหม่ของการดำารงชีพทางเศรษฐกิจ คือผลประโยชน์อนั แท้จริงในระยะยาวของทั้งประเทศผู้ส่งนำ้ามัน
เป็นสินค้าออกและประเทศผู้สั่งนำ้ามันเป็นสินค้าเข้า ซึ่งช่วงชีวิตของนำ้ามันควรถูกยืดออกไปให้นานที่สุดเท่าที่
จะทำาได้ ประเทศผู้ส่งนำ้ามันเป็นสินค้าออกต้องอาศัยเวลาเพื่อพัฒนาแหล่งที่มาของรายได้อื่น ๆ และประเทศ
ผู้สั่งเข้านำ้ามันเป็นสินค้าเข้าต้องอาศัยเวลาเพื่อปรับระบบเศรษฐกิจของตนจากการพึ่งพาอาศัยนำ้ามันให้เข้า
กับสถานการณ์เมื่อนำ้ามันมีราคาแพงและเริ่มขาดแคลน อันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศผู้ส่งออกนำ้ามัน
และผู้สั่งเข้านำ้ามันก็คือ ความต่อเนื่องของการเพิ่มขึ้นของการผลิตนำ้ามันและบริโภคนำ้ามันอย่างรวดเร็วทั่วโลก
มีความไม่สบายใจอย่างลึกซึ้งที่เปิดเผยโดยหลักฐานที่เราได้รับเกี่ยวกับแห่งพลังงานใน
อนาคต ทั้งสำาหรับทุกประเทศทั่วโลกการประเมินความแตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับเวลาที่ผ่านพ้นไปก่อนที่
นำ้ามันจะหมดลง แต่มีการยอมรับมากขึ้น ๆ ว่าอายุขัยของนำ้ามันนั้นจำากัดและจักต้องค้นหาทางออกที่น่าพึง
พอใจ ความจำา

174.
เป็นอันใหญ่หลวงของประเทศกำาลังพัฒนา การเพิ่มขึ้นของประชากรซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มที่กำาลังจะทำาให้
แหล่งพลังงานบางชนิดถูกใช้หมดไป โดยปราศจากการคำานึงถึงผลที่จะเกิดขึ้น ความเชื่อที่ว่าทรัพยากรต่าง ๆ
ในอนาคตจะหามาได้ก็แต่โดยการใช้ต้นทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เท่านั้น

พลังงำนปรมำณู – สรรค์หรือนรก
ในบรรดาการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายทั้งปวงในธรรมชาติที่เริ่มโดยมนุษย์นั้น การแตกตัวของ
นิวเคลียร์อย่างขนานใหญ่เป็นสิ่งที่อนั ตรายมากที่สุด ผลลัพธ์ก็คือการทำาให้ละอองรังสีได้กลายเป็นตัวการที่
ร้ายแรงที่สุดของมลพิษต่อสภาพแวดล้อม และเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงที่สุดต่อความอยู่รอดของ
มนุษย์บนพื้นพิภพ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความสนใจของมนุษย์ปุถุชนอยู่ที่ระเบิดปรมาณู ถึงแม้ว่าระเบิด
ปรมาณูอาจจะไม่ถูกนำามาใช้อีกก็ตาม อันตรายต่อมนุษย์ชาติที่เกิดขึ้นโดยสิ่งที่เรียกว่า การใช้พลังงาน
ปรมาณูอย่างสันติอาจจะมีมากมายใหญ่หลวงกว่า
กากกัมมันตภาพรังสีอันมหาศาลที่สุดคือ เตาปฎิกรณ์ปรมาณูนั่นเอง หลังจากที่ไม่สามารถ
ใช้งานได้อีกต่อไป ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมวล เป็นการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีอย่างเงียบงันใน
อากาศ นำ้า และดิน ไม่มีใครพิจารณาจำานวนและตำาแหน่งที่มาของโรงงานมหาภัยเหล่านี้ว่าจะสะสมจำานวน
มากขึ้น ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันแน่นอนในช่วงระยะ
เวลาที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดและกำาลังก่อให้เกิดภยันตรายอย่างไม่อาจทนได้ด้วยประการทั้งปวง การดำาเนินต่อ
ไปของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในทิศทางของความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในที่สุดก็ลงเอยด้วยการ
แตกตัวของปรมาณูและมุ่งต่อไปยังการรวมตัวปรมาณูเป็นอนาคตของความน่าสะพรึงกลัวที่กำาลังคุกคาม
ความสูญสิ้นของมนุษย์
รายงานฉบับหนึ่งได้ให้คำาตอบเกี่ยวกับปรมาณูไว้ว่า “ อันตรายที่ปรากฎชัดก็คือมนุษย์อาจ
ได้วางไข่ของตนเองในตะกร้าปรมาณูก่อนที่เขาจะรู้ว่าไม่สามารถหาทางแก้ไขได้ “ครั้นแล้วอาจจะมีความ
กดดันทางการเมืองอันทรงอิทธิพลที่จะละเลยอันตรายจากการแผ่รังสีและการใช้เตาปฎิมากรณ์ซึ่งถูกสร้างขึ้น
แล้วต่อไปเรื่อย ๆ จะเป็นความสุขุมรอบคอบในอันที่จะชะลอโครงการพลังงานปรมาณูไว้จนกว่าเราจะแก้
ปัญหาการทิ้งการสารปรมาณูได้ ผูค้ นที่รับผิดชอบหลายคนอาจดำาเนินการต่อไป พวกเขารู้สึกว่าไม่ควรจะ
สร้างเตาปฎิมากรณ์อีกต่อไปจนกว่าเราจะรู้วิธีที่จะควบคุมการสารปรมาณูให้ได้เสียก่อน
ไม่มีระดับของความรุ่งเรืองไพบูลย์ใด ๆ จะสามารถแสดงเหตุผลในการสะสมสารมีพิษอย่าง
ยิ่งจำานวนมากมายซึ่งไม่ใครรู้วิธีที่จะทำาให้ “ปลอดภัย” ได้ และยังคงเป็นอันตรายที่ไม่อาจคำานวณได้ต่อการ
สร้างสรรค์ทั้งมวลสำาหรับยุคประวัตศิ าสตร์หรือแม้แต่ยุคธรณีวิทยา การกระทำาเช่นนั้นคือการละเมิดต่อชีวิต
เป็นการละเมิดที่รา้ ยแรงอย่างมหันต์ยิ่งกว่าอาชญากรรมใด ๆ ที่มนุษย์ได้เคยกระทำามาความคิดที่ว่า
อารยธรรมหนึ่งสามารถคำ้าจุนตัวของมันเองโดยตั้งอยู่บน

175.
พื้นฐานของการละเมิดดังกล่าวเป็นความโหดร้ายทารุณทางศีลธรรมจรรยา ทางจิตใจและทางอภิปรัชญามัน
หมายถึงการดำาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ประหนึ่งว่าประชาชนไม่มีความสำาคัญเลยแม้แต่น้อย

เทคโนโลยีที่มีศักดิ์ศรีของควำมเป็นคน
โลกสมัยใหม่ได้ถูกวางรูปแบบโดยเทคโนโลยีและโลกสมัยใหม่ได้ล้มลุกคุกคลานผ่านพ้น
วิกฤตการณ์ครั้งแล้วครั้งเล่า ในทุก ๆด้านเต็มไปด้วยคำาทำานายแห่งความหายนะ และอันที่จริงแล้วมีเครื่อง
บ่งบอกการแตกสลายหลายอย่างปรากฎอยู่อย่างชัดเจน
ดังที่คานธีได้กล่าวว่าสำาหรับประเทศยากจนนั้นไม่สามารถช่วยได้ด้วยการผลิตขนาดใหญ่ แต่
หนทางเดียวเท่านั้นที่จะช่วยได้ก็คือการผลิตโดยมวลชน เพราะระบบการผลิตขนาดใหญ่อาศัยเทคโนโลยีที่
ละเอียดซับซ้อน ใช้ทนุ มากอาศัยพลังงานมากเป็นปัจจัยการผลิต และประหยัดแรงงานมนุษย์ แต่ระบบการ
ผลิตโดยมวลชน ต้องระดมทรัพยากรอันหาค่ามิได้ซึ่งมนุษย์ทุกคนมีอยู่คือ มันสมองอันชาญฉลาดและมือ
อันชำานิชำานาญของมนุษย์เอง เทคโนโลยีของการผลิตขนาดใหญ่มีความรุนแรงแฝงอยู่มีลักษณะทำาลาย
นิเวศวิทยา พ่ายแพ้แก่ตัวเองในแง่ของการทำาลายทรัพยากรที่ไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้และทำาให้มนุษย์
เสื่อมทรามลง ส่วนเทคโนโลยีของการผลิตโดยมวลชน ด้วยการใช้ความรู้และประสบการณ์สมัยใหม่ที่ดี
ที่สุดจักนำามาซึ่งการกระจายอำานาจจากส่วนกลางอย่างสอดคล้องต้องกันกับกฎของนิเวศวิทยา ถนอมใช้
ทรัพยากรที่หายากและถูกออกแบบให้รับใช้มนุษย์แทนที่จะทำาให้มนุษย์กลายเป็นทาสเครื่องจักร นัน่ คือ
เทคโนโลยีระดับกลาง ซึ่งเหนือกว่าเทคโนโลยีของโบราณ แต่ในขณะเดียวกันก็ง่ายกว่าราคาถูกกว่าและเป็น
อิสระกว่าซูเปอร์เทคโนโลยีอาจเรียกว่าเทคโนโลยีแบบช่วยเหลือตนเองก็ได้ หรือเทคโนโลยีประชาธิปไตย
หรือเทคโนโลยีของประชาชนก็ได้ เป็นเทคโนโลยีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้และเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ได้สงวนไว้
สำาหรับคนรำ่ารวยและมีอำานาจ
ส่วนในด้านอุตสาหกรรมก็มีกลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีระดับกลาง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างเป็น
ระบบว่าจะช่วยเหลือประชาชนให้ช่วยตนเองอย่างไร งานของกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือทาง
เทคนิคแก่โลกที่สามเป็นสำาคัญ ผลของการวิจัยดึงดูดให้มีความสนใจในเรื่องนี้มากขึน้ ทั้งจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
กับอนาคตของประเทศที่รำ่ารวยทั้งหลายด้วย ทัง้ นี้เพราะพวกเขาได้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีระดับกลาง
เป็นเทคโนโลยีที่มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์มันสามารถเจริญงอกงามได้และยังช่วยรวบรวมมนุษย์ให้เป็น
ปึกแผ่นด้วยมืออันชำานิชำานาญและมันสมองอันชาญฉลาดที่ได้สร้างสรรค์เข้าไปไว้ในกระบวนการผลิตด้วย
เทคโนโลยีแบบนี้รับใช้การผลิตโดยมวลชน มิใช่การผลิตขนาดใหญ่ เป็นไปได้ว่าทิศทางใหม่แห่งการพัฒนา
เทคโนโลยีเป็นทิศทางที่จักนำากลับไปสู่ความต้องการอันแท้จริงของมนุษย์และหมายถึงว่านำาไปสู่ขนาดที่แท้
จริงของมนุษย์ดว้ ย มนุษย์นั้นเล็กกระจ้อยร่อยเพราะฉะนั้นความเล็กจึงสวยงาม การมุ่งบูชาสัทธิความใหญ่
โตก็คือการมุ่งสู่การทำาลายกันเอง และการหันเหทิศทางของเทคโนโลยีเพื่อให้มันได้รับใช้มนุษย์มิใช่การ
ทำาลาย มนุษย์นั้นจำาเป็นต้องมีความเพียรพยายามของจินตนการและปราศจากความขลาดกลัวใดๆทั้งสิ้น
176.
ภำคสำม
โลกที่สำม
กำรพัฒนำ
แนวโน้มที่ไม่ดีและมีลักษณะการทำาลายอย่างแท้จริงอย่างหนึ่งในประเทศกำาลังพัฒนาทั้งหลายคือ
การอุบัติของ “ ระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ “ ในรูปที่หนักหน่วงยิ่งกว่าเดิม ซึ่งมีรูปแบบของการดำารงชีพ
สองอย่างที่แตกต่างกัน เสมือนหนึ่งโลกสองโลกที่แตกต่างกัน และแยกออกจากกันอย่างสุดกู่ มันไม่ใช่เรื่อง
ของการที่คนบางคนรำ่ารวยส่วนคนอื่น ๆ ยากจน ทั้งสองพวกกำาลังถูกผนึกด้วยวิถีชีวิตร่วมกัน แต่มันเป็น
เรื่องของวิถีชวี ิตสองวิถีที่ดำารงอยู่ข้างเคียงกันในลักษณะที่ว่า แม้แต่สมาชิกที่ตำ่าต้อยน้อยหน้าที่สุดของพวก
หนึ่งก็ยังจับจ่ายใช้สอบรายได้ประจำาวันของตนซึ่งมากกว่ารายได้แก่สมาชิกที่ทำางานหนักที่สุดของอีกพวก
หนึ่งหลายต่อหลายเท่าต่างหาก ความตึงเครียดทางสังคมและการเมืองที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจทวิลักษณ์
ปรากฎชัดเกินกว่าาจะต้องให้คำาอธิบายใด
ในระบบเศรษฐกิจทวิลักษณ์ของประเทศกำาลังพัฒนาทั่ว ๆ นั้น เราจะพบว่ามีประชากรร้อยละ 15
อยู่ในภาคเศรษฐกิจทันสมัย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่กันอย่างหนาแน่นในเมืองใหญ่เพียงหนึ่งหรือสองเมือง ส่วน
ประชากรอีกร้อยละ 85 อยูใ่ นชนบทและเมืองเล็ก ๆ ความพยายามในการพัฒนาส่วนใหญ่มุ่งไปยังเมือง
ใหญ่ ๆ ประชากรร้อยละ 85 ถูกทอดทิ้งเป็นส่วนใหญ่ แล้วพวกเขาจะอยู่กันอย่างไร มีทางเลือกเหลืออยู่บ้าง
ไหม ?
ทีว่ ่าประเทศกำาลังพัฒนาไม่สามารถทำาการพัฒนาได้โดยปราศจากภาคเศรษฐกิจสมัยใหม่ โดย
เฉพาะในขณะที่ประเทศเหล่านี้ติดต่อโดยตรงกับประเทศที่รำ่ารวยนั้นไม่ค่อยเป็นที่น่าสงสัย สิ่งที่จำาเป็นต้อง
ถามก็คือข้อสมมติโดยนัยว่า ภาคเศรษฐกิจสมัยใหม่สามารถขยายตัวเพื่อดึงดูดประชากรทั้งหมดได้จริง ๆ
และจะสามารถกระทำาได้อย่างค่อนข้างรวดเร็วหละหรือ ? ปรัชญาแห่งการพัฒนาที่ครอบงำาอยู่ในระยะ
หลายปีที่ผ่านมานั้นคือ “ สิ่งที่ดีที่สุดสำาหรับประเทศที่รำ่ารวยจักต้องดีที่สุดสำาหรับประเทศที่ยากจน “ ความ
เชื่อมั่นนี้มีอยู่เป็นเวลานานอย่างน่าประหลาดใจจริง ๆ ดังที่สามารถเห็นได้โดยการสำารวจตรวจสอบรายชื่อ
ประเทศกำาลังพัฒนา อันได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย อิหร่าน โปรตุเกส
เวเนซุเอลา ทั้งหมดนี้เป็นประเทศที่มีปัญหาต่าง ๆ ครอบงำาอยู่อันได้แก่การเกษตรกรรมและการชุบชีวิต
ชนบท ทั้งนี้เพราะว่าประชาชนผู้ยากจนข้นแค้นส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบทนั่นเอง
การพัฒนาไม่จำาเป็นต้องเริ่มต้นด้วยสิ่งของ หากเริ่มต้นด้วยประชาชนและการศึกษาองค์การและ
วินัย หากปราศจากสามสิ่งนี้ทรัพยากรทั้งมวลก็จะยังคงถูกซ่อนเร้นหรือแอบแฝงอยู่ เป็นศักยภาพที่ไม่ได้นำา
ออกมาใช้ มีสังคมที่เจริญรุ่งเรืองมากมายที่มีรากฐานของโภคทรัพย์ตามธรรมชาติน้อยมาก และเรามีโอกาส
มากมายที่จะสังเกตเห็นความเป็นเลิศของปัจจัยที่มองไม่เห็นภายหลังสงคราม ประเทศทุกประเทศไม่ว่าจะ
ถูกทำาลายพินาศย่อยยับเพียงใด แต่ถ้าหากว่ามีระดับการศึกษาสูง องค์การ และวินัยดี ก็สามารถสร้าง “
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจได้สำาเร็จ “

177.
ปัญหำสังคมและเศรษฐกิจที่ต้องกำรกำรพัฒนำโดยใช้เทคโนโลยีระดับกลำง
ในโลกปัจจุบันนี้ปรากฎการณ์ที่คนจนก็จนลงเรื่อย ๆ ในขณะที่คนรวยก็รวยขึ้นยิ่ง ๆ ขึ้นไปเรื่อย ๆ
นั้นมีอยู่ทั่วไป กระบวนการให้ความช่วยเหลือจากต่างประเทศและแผนการพัฒนาทั้งหลายที่ทำากันเป็น
ประเพณีนิยมนั้นดูจะไม่สามารถแก้ไขแนวโน้มเช่นนี้ให้ดีขึ้นได้ และในกรณีหลายกรณีมันกลับเป็นตัวการส่ง
เสริมให้ปรากฎการณ์ดังกล่าวเด่นชัดยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าการช่วยเหลือผู้ที่สามารถช่วยตัวเองได้อยู่แล้ว
ย่อมง่ายกว่าการช่วยเหลือผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
เพราะฉะนัน้ จึงจำาเป็นต้องเบนเข็มความพยายามของการพัฒนาส่วนสำาคัญส่วนหนึ่งออกจากตัว
เมืองไปสู่ชนบทโดยตรง เพื่อที่จะสร้างโครงเกษตรกรรมกึ่งอุตสาหกรรม เน้นความต้องการขั้นพื้นฐานนั่นคือ
แหล่งทำางาน เป็นแหล่งทำากิน ดังนั้นภารกิจของเราก็คือการสร้างแหล่งทำางานใหม่เป็นล้าน ๆ แห่งในชนบท
และตามหัวเมืองเล็ก ๆ อาจแยกเป็นข้อ ๆได้ดังนี้
1. ต้องสร้างแหล่งทำางานขึ้นในท้องถิ่นที่ชาวบ้านอาศัยอยู่ มิใช่ตัวเมือง
2. แหล่งทำางานเหล่านี้ จักต้องมีต้นทุ่นเฉลี่ยถูกพอสมควร เพื่อว่าจะได้สร้างแหล่งทำางาน
จำานวนมากได้ มิฉะนั้นก็จักต้องอาศัยเงินทัน และสินค้าเข้าจากต่างประเทศเป็น
จำานวนมาก
3. วิธีการผลิตที่จะนำามาใช้จักต้องง่ายพอสมควรเพื่อที่จะได้ลดความต้องการแรงงานที่มี
ฝีมือให้เหลือน้อยที่สุด
4. ควรใช้วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่นนั้น และทำาการผลิตเพื่อให้คนในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้ใช้
ภารกิจทั้งสี่ประการนี้จะกระทำาสำาเร็จลุล่วงได้ก็ต่อเมื่อมีการดำาเนินการพัฒนาโดยการ
“ แบ่งเขต “และมีความพยายามที่จะพัฒนาและประยุกต์สิ่งที่เรียกว่าเป็น “ เทคโนโลยี
ระดับกลาง“ กล่าวคือ การพัฒนา เศรษฐกิจในเขตยากจนจะได้ผลก็ต่อเมื่อตั้งอยู่บน
ฐานของเทคโนโลยีระดับกลางก็จะกลายเป็นการลงทุนแบบใช้แรงงานมากและ
สามารถใช้กับอุตสาหกรรมขนาดย่อมได้ แน่นอนมันไม่สามารถจะนำามาประยุกต์ใช้ได้
อย่างสากล แต่ขนาดเดียวกันผลผลิตทางด้าน
อุตสาหกรรมหนัก โดยปกติแล้วไม่ใช่สิ่งที่คนจนต้องการอย่างเร่งด่วน สิ่งที่คนจน
ต้องการนั้นส่วนใหญ่เป็นของง่าย ๆ เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ในบ้าน
เป็นต้น สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นอุดมคติของเทคโนโยลีระดับกลาง
การใช้เทคโนโลยีระดับกลางนั้นไม่ได้หมายถึง “ การย้อนกลับ “ ไปสู่อดีตเพื่อขุดค้นเอาวิธีการล้า
สมัยมาใช้อีก แท้ที่จริงอยู่ที่การสะสมความรู้อันถูกต้อง และความรู้อันนี้สามารถนำามาประยุกต์ใช้ด้วยวิธี
การต่าง ๆสำาหรับการนำามาประยุกต์ในด้านอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่เราเห็นอยู่เป็นเพียงวิธีการหนึ่งเท่านั้น
ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีระดับกลางจึงหมายถึงกระบวนการที่มุ่งไปข้างหน้าเข้าสู่ปริมณฑลใหม่อย่างแท้

178.
จริง เป็นการก้าวไปเพื่อหลีกเลี่ยงวิธีการอันซับซ้อนต่าง ๆ ทีใ่ ช้ตน้ ทุนมหาศาล ประหยัดแรงงานและกำาจัด
งานออกไป และเป็นการก้าวไปเพื่อนำาเอาเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้กับสังคมที่มีแรงงานเหลือเฟือ
สองล้ำนหมู่บ้ำน
ข้อเท็จจริงที่เห็นชัดว่าโดยพื้นฐานแล้วความยากจนของโลกเป็นปัญหาของหมู่บ้านสองล้านหมู่บ้าน
ดังนั้นจึงเป็นปัญหาของคนชนบทสองพันล้านคน ทางแก้ไขปัญหาไม่ใช่วา่ จะพบในเมืองใหญ่ของประเทศ
ยากจน ปัญหาความยากจนของโลกจะแก้ไขไม่ได้ และจะยิ่งเลวร้ายไปอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกเสีย
จากว่าชาวชนบทยังทนอยู่ได้ เป็นไปได้อย่างไรที่จะช่วยเหลือหมู่บ้านสองล้านหมู่บ้านที่ยากจนเหล่านี้ การ
ช่วยเหลือที่ดีที่สุดคือการให้ความช่วยเหลือทางด้านสติปัญญาเป็นการให้ความรู้ที่มีประโยชน์ การให้ความรู้
ย่อมดีกว่าการให้วัตถุสิ่งของอย่างอเนกอนันต์ ฉะนั้นจึงควรเป็นงานที่สำาคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ของโครงการให้
ความช่วยเหลือเพื่อที่จะทำาให้คนพึ่งพาตนเองได้ และเป็นอิสระโดยการให้ความรู้ทางด้านสติปัญญาที่
เหมาะสมอย่างเอื้ออารี เป็นการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการช่วยเหลือตนเอง แนวทางนี้ยังมีประโยชน์ใน
แง่ราคาถูกกว่าแนวทางอื่น ตราบใดที่เรามองภารกิจของความช่วยเหลือในฐานะที่เป็นภารกิจพื้นฐานอย่าง
หนึ่งของการให้ความรู้ ประสบการณ์ วิทยาการ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้อง นัน่ ก็คือการให้สติปัญญามากกว่าที่จะให้
วัตถุสิ่งของแล้ว ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าองค์การที่ทุ่มเทความพยายามในการพัฒนาในปัจจุบันยังอยู่ห่างไกล
จากความสำาเร็จ
โดยที่ความต้องการของคนยากจนค่อนข้างเรียบง่าย ขอบเขตของการศึกษาที่ต้องกระทำาจึงค่อน
ข้างจะจำากัดด้วย มันเป็นภารกิจที่สามารถกระทำาการได้โดยสมบรูณ์และอย่างมีระบบ แต่ก็จำาเป็นน้องมีการ
ก่อตั้งองค์การที่แตกต่างไปจากสิ่งที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน ปัจจุบันความเพียรพยายามในการพัฒนาดำาเนินไป
โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเป็นหลักทั้งในประเทศผูใ้ ห้และประเทศผู้รับความช่วยเหลือ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือนัก
บริหารนั่นเอง
ฉะนั้นภารกิจสำาคัญแห่งทศวรรษนี้ก็คือการทำาให้ความเพียรพยายามในการพัฒนาเหมาะสมและมี
ประสิทธิผลมากขึ้น เพื่อว่ามันจะพุ่งไปสูใ่ จกลางดินแดนแห่งความยากจนของโลกไปสู่หมู่บ้านสองส้าน
หมู่บ้าน ถ้าหากการแตกฉานซ่านเซ็นของชีวิตชนบทยังคงมีอยู่ต่อไปก็จะไม่มีทางรอด ไม่ว่าจะใช้จ่ายเงินไป
มากสักเท่าใด แต่ถ้าหากชาวชนบทของประเทศกำาลังพัฒนาได้รับการช่วยเหลือให้พวกเขาได้ช่วยตนเองได้
แล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการพัฒนาที่แท้จริงจักเกิดขึ้นติดตามมาโดยปราศจากเมืองที่เต็มไปด้วยเพิง
กระท่อมและบ้านโกโรโกโสรอบ ๆ เมืองใหญ่ทุกแห่ง และปราศจากความไม่พอใจอย่างยิ่งยวดจากการปฎิ
วัติแบบนองเลือด ภารกิจนี้ยากลำาบากจริง ๆ แต่ทรัพยากรต่าง ๆ ที่กำาลังคอยการระดมไปใช้นั้นก็ยากสำา
บากด้วยเช่นกัน

179.
การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่กว้างกว่าและลึกกว่าวิชาเศรษฐศาสตร์ ป่วยการที่จะพูดถึงเศรษฐมิติ
รากเหว้าของการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ภายนอกปริมณฑลของเศรษฐกิจ แต่อยู่ในการศึกษาองค์การ วินัย
และนอกเหนือจากนั้นก็คืออยู่ในความเป็นอิสระทางการเมืองและจิตสำานึกแห่งการพึ่งพาตนเองของคนใน
ชาติ

ปัญหำกำรว่ำงงำนในอินเดีย
การพัฒนาเศรษฐกิจโดยพืน้ ฐานแล้วก็คือปัญหาของการทำาให้มีงานทำามากขึ้น สำาหรับเรื่องนี้มี
เงื่อนไขสำาคัญที่สำาคัญอยู่สี่ประการ คือ ประการแรก จักต้องมีแรงจูงใจ ประการทีส่ อง จักต้องรู้จักวิธีที่จะทำา
อยู่บ้าง ประการที่สาม จักต้องมีทนุ อยู่บ้าง ประการสุดท้าย จักต้องมีการระบายสินค้า
ประเทศอินเดียมีความจำาเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีงานใหม่ถึงราว 50 ล้านงาน ถ้าเราเห็นพ้องต้องกัน
ว่าคนไม่สามารถทำางานที่มีประโยชน์ได้นอกจากเขามีทุนอยู่บ้างในรูปของเครื่องมือและทุนดำาเนินงานด้วย
แล้วปัญหาที่เกิดขึ้น กล่าวคือทุนจำานวนมากแค่ไหนที่จะสามารถหามาเพื่อสร้างงานใหม่สักงานหนึ่ง ถ้าการ
สร้างงาน ๆ หนึ่งต้องใช้ทุน 10 ปอนด์ ก็จำาเป็นต้องมีทุนถึง 500 ล้านปอนด์ สำาหรับสร้างงาน 50 ล้านงาน
แต่ถ้าแต่ละงานต้องใช้ทุน 100 ปอนด์ ก็จำาเป็นต้องมีทุนถึง 5,000 ล้านปอนด์ และถ้าใช้ทุน 5,000 ล้าน
ปอนด์ต่องาน การสร้างงาน 50 ล้านงานก็จักต้องใช้ทุนถึง 250,000 ล้านปอนด์
การลงโทษที่รุนแรงที่สุดก็คือการไม่เปิดโอกาสให้มนุษย์ดูแลตนเอง และหาเลี้ยงชีพด้วยตัวของเขา
เอง ไม่มีความขัดแย้งใด ๆ ระหว่างการเจริญเติบโตและการจ้างงาน ไม่มีความขัดแย้งใด ๆ ระหว่างปัจจุบัน
กับอนาคต คงน่าขันมากที่จะหาเหตุผลมาแสดงว่าด้วยการให้ประชาชนทำางานแล้วจะเกิดความขัดแย้ง
ระหว่างปัจจุบันกับอนาคต ไม่มีประเทศใดสามารถพัฒนาไปได้โดยไม่ยอมให้ประชาชนทำางาน
สำาหรับประเทศอินเดียพระเจ้าก็ได้ทรงประทานต้นไม้นานาพันธุ์ให้มากกว่าที่อื่นใดในโลก อินเดียมี
ต้นไม้เพื่อความจำาเป็นของมนุษย์แทบทุกชนิด หนึ่งในบรรดาบรมศาสดาของอินเดีย คือสมเด็ยพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ซึ่งในพระพุทธโอวาทมีอยู่ว่าด้วยหน้าที่ที่พุทธศานิกชนที่ดีพึงปฎิบัติและกระทำาก็คือ ควรปลูก
และดูแลต้นไม้ต้นหนึ่งอย่างน้อยที่สุดก็ในทุก ๆ ห้าปี หากปฎิบัติตามหน้าที่นี้แล้วอาณาบริเวณอันกว้าง
ใหญ่ไพศาลของอินเดียก็จะถูกปกคลุมไปด้วยต้นไม้ ปราศจากฝุ่น เต็มไปด้วยนำ้า พุ่มไม้ อาหารและวัตถุดิบ
ลองนึกภาพว่าท่านสามารถสร้างอุดมการณ์หนึ่งซึ่งอาจทำาให้คนที่มีร่างกายสมประกอบทุก ๆ คนในอินเดีย
ทั้งชายและหญิงและเด็กเพื่อทำาสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยการปลูกและดูแลต้นไม้ปีละต้นติดต่อกันเป็นเวลาห้าปี
ก็จะมีต้นไม้ที่เจริญงอกงามแล้วถึง 2,000 ล้านต้น ใคร ๆ ก็สามารถคำานวณได้ว่าคุณค่าทางเศรษฐกิจของ
ความพยายามดังกล่าวอาจจะมีมากกว่าสิ่งที่ได้รับจากแผนพัฒนประเทศเสียอีกด้วยซำ้าไป เราสามารถ
ทำาได้โดยไม่ต้องใช้เงินช่วยเลือจากต่างประเทศแม้นแต่รูปีเดียว ไม่มีปัญหาการออมและปัญหาการลงทุน
ใดๆ เราจะมีอาหาร เส้นใย วัสดุก่อสร้าง ร่มเงา นำ้า และเกือบทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ต้องการจริง ๆ สิ่งที่เป็น

180.
ประโยชน์อย่างแท้จริงไม่อาจสัมฤทธิ์ผลได้ด้วยการกระทำาของรัฐบาลหรือองค์การใด ๆ แต่สำาเร็จได้ด้วย
นำ้ามือของประชาชนเองต่างหาก ถ้าเรามีจิตสำานึกอยู่ว่าเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่สุดสำาหรับทุกคนที่เกิดมาใน
โลกนี้จะใช้มือของตนไปในทางที่ก่อประโยชน์ ปัญหาการว่างงานก็จะหมดไป

ภำคสี่
องค์กำรและกรรมสิทธิ์
เครื่องมือทำำนำยอนำคต
ผลผลิตอันน่าทึ่งที่สุดของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเครื่องคอมพิวเตอร์ ดูเหมือนจะให้ความ
เป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่บอกไม่ได้ ผูค้ นพูดถึง “ เครื่องมือทำานายอนาคต “ เครื่องมือดังกล่าวใช่เป็นสิ่งที่เรารอ
คอยหรือ และทุกคนปรารถนาที่จะรู้อนาคตอยู่ตลอดเวลา
นี่เป็นภารกิจที่สำาคัญอย่างหนึ่งจริง ๆ โดยเฉพาะในปัจจุบัน เมื่อผู้คนพยายามที่จะปรับปรุงเครื่อง
มือที่จะทำานายอนาคต ก่อนที่ใครสักคนจะทำาการพยากรณ์เขาก็ควรจะสามารถให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือว่าเหตุ
ใดปัจจัยในการทำานายของเขาจึงสามารถทำานายได้
หากมีความเห็นค่อนไปทางลบเกี่ยวกับความมีประโยชน์ของ “ เครื่องทุ่นแรง “ ในด้านการ
พยากรณ์เศรษฐกิจและอื่น ๆ ทีล่ ะม้ายคล้ายคลึงกันนี้ เราก็หาได้ประเมินคุณค่าของเครื่องคำานวณไฟฟ้า
และเครื่องมือที่คล้ายคลึงกันสำาหรับภารกิจอื่น ๆ เช่น การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ หรือการตั้งโปรแกรมการ
ผลิตตำ่าไปไหม ภารกิจอย่างหลังนี้เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์หรือการประยุกต์ใช้มันในทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง
ของมันเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับมนุษย์หรือบางที่ข้าพเจ้าควรเรียกว่าตำ่ากว่ามนุษย์ ความแน่นอนของมันเป็น
เครื่องหมายของความไร้เสรีภาพของมนุษย์ การปราศจากทางเลือก ความรับผิดชอบ และความภาคภูมิ
ตราบใดที่เสรีภาพของมนุษย์ยังมีอยู่ เราก็อยู่ในโลกที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงจากโลกที่มีอันรายใหญ่
หลวงในการแพร่ขยายของเครื่องจักรใด ๆ แนวโน้มซึ่งเพียรพยายามที่จะลบล้างความแตกต่างนี้ควรจะถูก
ต่อต้านด้วยการกำาหนดใจแน่วแน่อย่างถึงที่สุด หายนะภัยอันใหญ่หลวงต่อความภาคภูมิของมนุษย์เป็นผล
มาจากความมานะพยายามนำาไปสู่ทิศทางที่ผิดของสังคมศาสตร์เพื่อที่จะรับเอาและเลียนแบบวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิชาเศรษฐศาสตร์แม้แต่เศรษฐศาสตร์ประยุกต์ไม่ใช่ศาสตร์ที่มีความแน่นอ ความ
จริงมันเป็นหรือควรจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นมากนัก นัน่ คือเป็นศาสตร์แห่งปัญญา
เป็นที่น่ายินดีปรีดาอย่างยิ่งว่า “ ชีวิต “ รวมทั้งชีวิตทางเศรษฐศาสตร์ยังคงมีคุณค่าดำารงอยู่ต่อไป
เนื่องจากชีวิตไม่สามารถทำานายได้ดีพอควรแก่การสนใจ นักเศรษฐศาสตร์และนักสถิติไม่อาจวัดมันได้
ภายในขอบเขตทางกฎทางกายภาพของธรรมชาตินั้น เรายังคงเป็นนายของชะตากรรมส่วนตัวและชะตา
กรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะดีหรือเลวก็ตาม แต่วิทยาการยนักเศรษฐศาสตร์ นักสถิติ นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
และวิศวกร และแม้แต่นักปราชญ์ที่แท้จริง สามารถช่วยทำาให้ขอบเขตซึ่งชะตากรรมของเราผูกติดอยู่อย่าง
แจ่ม

181.
ชัดยิ่งขึ้น อนาคตไม่อาจทำานายได้ แต่เราอาจสำารวจตรวจสอบอนาคตได้ การศึกษาความเป็นไปได้สามารถ
ชี้ให้เห็นว่า เรากำาลังจะไปไหนกัน และในทุกวันนี้การศึกษาความเป็นไปได้ก็เป็นเรื่องสำาคัญกว่าที่เคยเป็น
มาแต่ก่อน เพราะว่า “ ความเจริญเติบโต “ ได้กลายเป็นสิ่งสำาคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกไปแล้ว

มุ่งทฤษฎีว่ำด้วยองค์กำรขนำดใหญ่
พื้นฐานของความพยายามที่จะมุ่งสู่ทฤษฎีวา่ ด้วยองค์การขนาดใหญ่อาจจะประกอบไปด้วยหลัก
การเหล่านี้คือ
1. หลักการการทำาหน้าที่ช่วยเหลือ มีนัยว่าภาระหน้าที่ในการพิสูจน์มักจะอยู่กับผู้ที่
ต้องการจะลงโทษระดับที่มีหน้าที่ตำ่ากว่าเสมอ ระดับสูงกว่าจะต้องพิสูจน์ว่าสามารถ
ทำาหน้าที่ได้ดีกว่าจริง ๆ หลักการนี้สอนเราว่าศูนย์กลางจะได้ประโยชน์าจากอำานาจ
หน้าที่และความมีประสิทธิผล ถ้าหากเสรีภาพและความรับผิดชอบของระดับตำ่ากว่า
ได้รับการพิทักษ์รักษาอย่างระมัดระวังและผลลัพธ์ที่ได้ก็คือองค์การดยส่วนรวมาจะ
ไพบูลย์พูนสุขมากขึ้น
2. หลักแห่งการพิสูจน์หมายถึงการต่อสู้กับการตำาหนิติเตียนเพื่อที่จะพิสูจน์ว่าถูกต้อง
และสมเหตุผล โดยศูนย์กลางมีโอกาสสองอย่างในการเข้าแทรกแซงเป็นกรณีพิเศษ
โอกาสแรกคือ เมื่อศูนย์กลางและหน่วยงานประกอบไม่สามารถตกลงกันได้โดยอิสระ
ในเรื่องผลประโยชน์ ศูนย์กลางจักต้องดำาเนินการตรวจสอบประสิทธิภาพของหน่วย
งานประกอบเพื่อที่จะประเมินศักยภาพที่แท้จริงของหน่วยงานประกอบในด้านภววิสัย
โอกาสที่สอง คือ เมื่อการบริหารจัดการของหน่วยงานประกอบย่อมอยู่ในสถานะที่ไม่
แน่นอ คือถ้าหากในการตรวจสอบประสิทธิภาพปรากฏหลักฐานที่ไม่น่าพอใจเป็น
อย่างมากแล้ว อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการเสียใหม่
3. หลักแห่งการแสดงหลักฐาน หน่วยงานประกอบหรือหน่วยงานกึ่งธุรกิจแต่ละหน่วยมี
ทั้งบัญชีกำาไร – ขาดทุนและงบดุล ทั้งนี้เนื่องจากจะสามารถทราบได้ว่าหน่วยงานนั้น ๆ
ทำาประโยชน์ทางการเงินให้แก่องค์การได้หรือไม่ งบดุลเป็นสิ่งที่สำาคัญ ถึงแม้นว่าจะนำา
งบดุลมาใช้เป็นการภายในเท่านั้นก็ตาม ตัวเลขกำาไรขาดทุนจะถูกส่งไปยังหน่วยงาน
เบื้องบนดังนั้นหน่วยงานกึ่งธุรกิจทุกหน่วยงานควรจะมีงบดุลเป็นของตนเอง ถ้ามีกำาไร
ก็จะปรากฎในรูปของเงินให้กู้ยืมเข้าสู่ศูนย์กลาง และถ้าขาดทุนก็จะปรากฎในรูปของ
เงินกู้ยืมออกจากศูนย์กลาง นีเ้ ป็นเรื่องจิตวิทยา
4. หลักการแห่งการจูงใจเป็นที่ปรากฎชัดว่ามนุษย์กระทำาการไปตามแรงจูงใจของตน
สำาหรับองค์การขนาดใหญ่ก็เช่นกัน โดยที่องค์การขนาดใหญ่มีระบบการทำางานเป็น

182.
ขั้นตอนมีกฎข้อบังคับและระเบียบกฎเกณฑ์สลับซับซ้อนมากมาย ฉะนั้นแรงจูงใจจึงเป็น
ปัญหาสำาคัญ
5. หลักการแห่งความเป็นจริงสายกลาง ณ ระดับสุดยอดในองค์การขนาดใหญ่ย่อมอยู่ใน
สภาพยุ่งยากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะต้องแบกรับภาระความรับผิดชอบทุกสิ่งทุก
อย่างที่เกิดขึ้นตลอดทั่วทั้งองค์การ องค์การสามารถจัดการหน้าที่มากมายที่ได้กำาหนด
ขึ้นไว้แล้วเป็นอย่างดีด้วยการชี้นำา ด้วยการออกข้อกำาหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แต่สำาหรับใน
ด้านการพัฒนาการและความริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ รวมทั้งความก้าวหน้ากิจกรรมในด้าน
การประกอบการอันยอดเยี่ยมนั้น องค์การจะจัดการกับสิ่งเหล่านั้นด้วยท่าทีแห่งความจริง
และเป็นกลางเสมอ โดยประกาศหรือแถลงความจริงที่ค้นพบแล้วว่าสิ่งนี้หรือสิ่งนั้นเป็น
“ สิ่งที่ถูกต้องที่จะต้องกระทำา “

ลัทธิสังคมนิยม
ถ้าหากจุดประสงค์ของการโอนกิจการของเอกชนเป็นของรัฐก็เพื่อที่จะบรรลุถึงซึ่งความเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วกว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่า มีการวางแผนดีกว่าและอื่น ๆ เป็นสำาคัญแล้ว ย่อม
แน่ใจได้ว่าจักต้องมีประสบการณ์กับความผิดหวัง ความคิดที่จะดำาเนินการจัดการะบบเศรษฐกิจทั่วทั้ง
ระบบพื้นฐานของความโลภของปัจเจกชนดังที่มาร์กซ์ยอมรับเช่นกันนั้นแสดงให้เห็นอำานาจมหัศจรรย์ที่จะ
เปลี่ยนแปลงโลก
ความแข็งแกร่งของธุรกิจเอกชนอยู่ที่ความเรียบง่ายอันน่าสพึงกลัวของมันเอง ความคิดที่เห็นว่า
ชีวิตทั้งชีวิตสามารถตัดทอนลงเหลือความสำาคัญเพียงด้านเดียวซึ่งก็คือกำาไรนั่นเอง นักธุรกิจในฐานะที่เป็น
ปัจเจกบุคคลอาจจะสนใจในด้านอื่น ๆ ของชีวิต บางครั้งก็สนใจแต่เฉพาะกำาไรเท่านั้น
ศัตรูของการโอนกิจการของเอกชนเป็นของรัฐประกอบไปด้วยความเคลื่อนไหวแยกกันอย่างเด่นชัด
สองอย่าง คือ ความพยายามที่ทำาให้ประชาชนทั่วไปและคนที่เกี่ยวข้องในภาคการผลิตของรัฐเชื่อว่าสิ่งที่
สำาคัญประการเดียวในการแสวงหากำาไร รวมทั้งความพยายามที่จะทำาให้พวกเขาเชื่อว่าการเบี่ยงเบนโดย
การโอนอุตสาหกรรมทุกอย่างเป็นของรัฐ นัน้ จะทำาให้ทุกคนต้องรับภาระหนักจนไม่อาจทนได้
เหตุผลคือไม่ใช่เป็นความผิดพลาดในปณิธานของนักสังคมนิยมดั้งเดิม รวมทั้งไม่ใช่เป็นเพราะ
ความล้มเหลวในการดำาเนินงานของอุตสาหกรรมที่โอนเป็นของรัฐ เนื่องจากข้อกล่าวหาในลักษณะนัน้ ไม่
อาจได้รับการสนับสนุนอย่างแน่นอน แต่เป็นเพราะการขาดการไตร่ตรองในส่วนของนักสังคมนิยม พวกเขา
จะไม่ฟื้นตัวและการโอนกิจการของเอกชนเป็นของรัฐก็จะทำาหน้าที่ได้อย่างไม่เต็มที่นอกจากพวกเขาาจะ
แก้ไขทัศนะของตนเสียใหม่

183.
สิ่งที่อยูใ่ นภาวะเสี่ยงอันตรายหาใช่วิชาเศรษฐศาสตร์ไม่ หากเป็นวัฒนธรรม มิใช่มาตรฐานการ
ครองชีพหากเป็นคุณภาพชีวิต วิชาเศรษฐศาสตร์และมาตรฐานการครองชีพอาจได้รับการดูแลได้อย่างเท่า
เทียมกัน โดยระบบทุนนิยมซึ่งปรับให้อยู่ในทางสายกลางด้วยการวางแผนบ้างเล็กน้อยกับการจัดเก็บภาษี
อากรที่ปรับปรุงใหม่ เพื่อให้การกระจายรายได้เป็นธรรมขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้ววัฒนธรรมและคุณภาพชีวิตใน
ปัจจุบันเป็นสิ่งที่ถูกทำาให้เสื่อมทรามลงโดยระบบดังกล่าว
นักสังคมนิยมควรจะใช้วิธีการโอนกิจการของเอกชนเป็นของรัฐไม่ใช่เพียงเพราะจะขับไล่นายทุน
แต่จะต้องวิวัฒน์ระบบการบริหารงานอุตสาหกรรมที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าและมีศักดิ๋ศรียิ่งกว่า มีการ
จ้างงานที่มีเมตตาธรรมมากขึ้น ตลอดจนใช้ผลพ่วงแห่งความเฉลียวฉลาดและความอุตสาหะของมนุษย์
อย่างขยันขันแข็งมากขึ้น หากพวกเขาสามารถทำาดังนั้นได้ก็เท่ากับมีอนาคตอยู่ในกำามือ หากพวกเขาทำาไม่
ได้ก็เท่ากับว่าพวกเขาไม่มีสิ่งที่มีคุณค่าสมกับหยาดเหงื่อของเสรีชนจะมอบให้

กรรมสิทธิ์
ความจริงที่ประจักษ์ชัดว่า ไม่การเปลี่ยนแปลงของระบบหรือสถาบันใด ๆ สามารถขจัดปัดเป่า
สาเหตุต่าง ๆ ของความเจ็บป่วยทางสังคมซึ่งประกอบไปด้วยอหังการของความโลภหรือการทะเลาะวิวา
ตามธรรมชาติมนุษย์ สิ่งที่สังคมสามารถทำาได้คือการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมซึ่งปราศจากแรงกระตุ้นของ
อหังการ โลภะ และการวิวาท แต่สังคมก็ไม่อาจรับประกันได้ว่ามนุษย์จะรักษาหลักการต่าง ๆ ของตนไว้ สิง่
ที่สังคมสามารถทำาได้ดีก็คือการสถาปนาระเบียบสังคมบนหลักการ ซึ่งถ้าพวกเขาปรารถนาพวกเขาก็
สามารถหยิบยื่นจุดหมายปลายทางไว้ได้
การโอนกิจการของเอกชนเป็นของรัฐ จักต้องเหมาะสมกับความจำาเป็นในแต่ละกรณีอย่างไรก็ตาม
เราอาจจะพบเห็นหลักการจำานวนหนึ่งในวิสาหกิจที่โอนเป็นของรัฐให้บริการแก่ประชาชนในทุก ๆ กรณี ดังนี้
คือ
1. การปะปนธุรกิจเข้ากับการเมืองย่อมอันตราย ยังผลให้ธุรกิจไร้ประสิทธิภาพและเป็นการฉ้อฉล
ต่อการเมือง
2. ธุรกิจที่ถูกโอนเป็นของรัฐซึ่งให้บริการแก่ประชาชนย่อมจะมุ่งไปทีผ่ ลกำาไรเสมอในแง่ที่ต้องกิน
เพื่ออยู่มิใช่อยู่เพื่อกิน และควรมีทุนสำารองเผื่อไว้บ้าง
3. ธุรกิจที่ถูกโอนเป็นของรัฐควรจะมีข้อผูกพันตามพระราชบัญญัติ “ที่จะทำาเพื่อประโยชน์สว่ น
รวมในทุก ๆ ด้าน
4. ในอันที่จะทำาให้ “ ผลประโยชน์ส่วนรวม “ ได้รับการยอมรับและได้รับการพิทักษ์รักษาใน
อุตสาหกรรมที่โอนเป็นของรัฐนัน้ ก็ย่อมมีความจำาเป็นต่อข้อตกลงต่าง ๆ ซึ่งผลประโยชน์อัน
ชอบธรรมทั้งปวงจักสามารถแสดงออกมาและดำาเนินการโดยลูกจ้าง ชุมชนท้องถิน่ ผูบ้ ริโภค
รวมทั้งคู่แข่งขันได้
184.
5. อันตรายที่สำาคัญของการโอนกิจการต่าง ๆ ของเอกชนเป็นของรัฐ คือการเสพติดของนักวาง
แผนในการรวบอำานาจไว้ในส่วนกลางมากเกินไปดังนั้นองค์การของสังคมบนพื้นฐานของหน้าที่นั้น
ต้องมีสิทธิบ้างในสามประการ คือ สิทธิครอบครองจักต้องได้รับการพิทักษ์รักษาไว้ ตราบใดที่ยังมี
การให้บริการและจะยกเลิกก็ต่อเมื่อไม่มีการให้บริการ ผูผ้ ลิตจักต้องมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ
ชุมชน ซึ่งการผลิตดำาเนินไปโดยชุมชนเพื่อว่าความรับผิดชอบของผู้ผลิตต่อชุมชนจะได้ปรากฎอย่าง
เด่นชัดและไม่ผิดพลาดไม่สูญเสียดังที่เป็นอยู่ใน
ปัจจุบันและพันธกรณีในอันที่จะคงไว้ซึ่งการให้บริการย่อมอยู่ที่องค์การต่าง ๆ ทางด้านวิชาชีพของ
ผู้ที่ตั้งมันขึ้นมา และขึ้นอยู่กับการแนะนำาและวิพากษ์วิจารณ์ของผู้บริโภค องค์การเหล่านั้นจักต้อง
ใช้สทิ ธิ์ใช้เสียงให้มากขึ้นในการปกครองอุตสาหกรรมเท่าที่จำาเป็น เพื่อที่จะเป็นหลักประกันว่า
พันธกรณีนั้นได้รับการนำาไปปฎิบัติจริง

รูปแบบใหม่
ตัวอย่างธุรกิจขนาดกลางซึ่งดำาเนินการบนพื้นฐานของกรรมสิทธิ์ที่ปฎิรูปแล้วได้แก่โภคทรัพย์ของ
บริษัทสก็อต เบเดอร์ เจ้าของบริษัทคือเบเดอร์ได้ตัดสินใจนำาเอา “ การเปลี่ยนแปลงแบบปฎิวัติ “ เข้ามา
ใช้ในบริษัทของตน
“ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาซึ่งพยายามที่จะทำาให้อุตสาหกรรมเหมาะสมกับความจำาเป็นของมนุษย์”
โดยวิธีการจัดองค์การหรือรวบรวมสำานึกในเสรีภาพความผาสุกและศักดิ์ศรีของมนุษย์ไว้ในบริษัทให้มาก
ที่สุด โดยไม่สูญเสียความสามารถในการแสวงหากำาไร และเพื่อที่จะกระทำาสิ่งนี้ตามวิถีทางอันเป็นที่ยอมรับ
โดยทั่วไปของภาคอุตสาหกรรมเอกชน โดยก่อตั้งโภคทรัพย์ร่วม (Commonwealth) และไม่เพียงแต่จะ
กำาหนดการแบ่งสรร “ อำานาจทั้งหมด “ ซึ่งหมายถึงกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ยังได้กำาหนดข้อจำากัด
เสรีภาพแห่งการปฎิบัติของบริษัทดังนี้ด้วยคือ
1. บริษัทยังคงเป็นการประกอบธุรกิจในขนาดจำากัด บริษัทจักต้องมีคนงานไม่เกิน 350
คน ถ้าต้องเติบโตก็ให้มีหน่วยงานใหม่ที่มีการจัดองค์การและการบริหารตามแนว
บริษัทแม่
2. ค่าตอบแทนการทำางานภายในองค์การระหว่างผู้ได้รับค่าตอบแทนตำ่าสุดกับสูงสุดจัก
ไม่แตกต่างกันเกิน 117 ก่อนการหักภาษี
3. การเป็นสมาชิกของบริษัทคือการเป็นหุ้นส่วนมิใช่การเป็นลูกจ้าง
4. คณะกรรมการผู้อำานวยการมีความรับผิดชอบอย่างเต็มเปี่ยมภายใต้กฎบังคับที่ระบุไว้
ในธรรมนูญของบริษัท
5. ผลกำาไรสุทธิของบริษัท สก็อต เบเดอร์ ไม่เกินร้อยละ 40 จักเป็นของคอมมอนเว็ลธ์
และอย่างตำ่าที่สุดร้อยละ 60 เก็บไว้เป็นค่าภาษีอากร และทุนสำารอง
185.
6. บริษัทจักต้องไม่ขายสินค้าใด ๆ ให้แก่สูกค้าที่บริษัททราบว่าจะนำาไปใช้เพื่อ
วัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับสงคราม
วิวัฒนาการของบริษัท สก็อต เบเดอร์ยังคงดำาเนินต่อไปเป็นกระบวนการเรียนรู้ และความหมายที่
สำาคัญยิ่งของสิ่งทีไ่ ด้เกิดขึ้นที่นั่นตั้งแต่ปี 2494 ก็คือการที่ได้ทำาให้ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเรียนรู้และ
กระทำาการหลายอย่างซึ่งอยู่นอกเหนือจากภารกิจของการหาเลี้ยงชีพหรือการแสวงหาค่าจ้างหรือเพียงแต่
ช่วยธุรกิจหนึ่งในการแสวงหาผลกำาไรเท่านั้น การกระทำาในลักษณะนี้มีเหตุผลทางเศรษฐกิจ “ เพื่อว่าเราทั้ง
มวลจะมีชีวติ ที่ดีขึ้นกว่าเดิม “ ภายในบริษัทสก็อต เบเดอร์ ทุกคนมีโอกาสที่จะยกระดับตนเองขึ้นสู่ระดับ
ของมนุษย์ชาติที่สูงกว่า มิใช่ดำาเนินตามเป้าหมายแห่งการอยู่เหนือตนโดยส่วนตัวซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเป้า
หมายของบริษัทที่เขาสามารถกระทำาในขอบเขนใด ๆ หากแต่กระทำาตามเป้าหมายขององค์การอย่างเสรี
และร่าเริงนี้เป็นการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้นั้นต้องอาศัยเวลา

อัตชีวิตประวัติของชูม้ำกเกอร์(E.F SCHUMACHER)
…………………………….
วัยเด็กและวัยรุ่น
เอิร์นต์ ฟริทดริช ชูม้ากเกอร์ หรือที่คนรอบข้างรู้จักกันในนามของ “ ฟริทซ์” เกิดเมื่อวันที่16 สิงหาคม
1911 ในกรุงนอนน์ ประเทศเยอรมัน มีพี่น้อง 4 คน คนโตสองคนเป็นฝาแฝดเป็นชายหนึ่ง หญิงหนึ่ง
ชื่อเฮอร์มานและดีดิธ แก่กว่าเขาปีเดียว น้องชายชื่อเอรินต์ และน้องสาวชื่ออลิซาเบธ บิดาของเขา
เป็นนักเศรษฐศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยบอนน์ มารดาเป็นลูกสาวของศาสตราจารย์ทางกฎหมายวิทยาลัย
เดียวกัน ตระกูลชูม้ากเกอร์เดิมตั้งรกรากอยูท่ ี่เมืองเบรเมน สมาชิกของตระกูลสืบสายในการบริหารปกครอง
บ้านเมืองมานับแตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 17
นับตั้งแต่เริ่มรู้ความ ชูม้ากเกอร์เป็นเด็กที่ฉลาดฉายแววอย่างเห็นได้ชัดจนแม้พี่สาวของเขาซึ่งเป็น
เพื่อนเล่นของเขามาตั้งแต่เด็ก ก็เกิดความรู้สึกเกรง ๆ ความเป็นเด็กช่างเจรจาและเรียนรู้ได้ไว ทำาให้ผู้ใหญ่
ทุกคนเอ็นดูเขาเป็นพิเศษ ครัน้ โตขึ้นและเข้าโรงเรียนมัธยมเมื่อเรียนสูงขึ้น ๆ ชูม้ากเกอร์เริ่มทุ่มเทความสนใจ
กับการเรียนทางด้านอักษรศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์ ครั้นอายุ 17 ปี ก็สามารถแต่งบท
ละครขนาดยาวเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อความสามัคคีของชาวเยอรมันสมัยศตวรรษที่ 12 ได้ ในปีเดียวกันนั้น
เองเขาก็สมัครไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยบอนน์ อันเป็นบ้านเกิดและถิ่นเก่าของศาสตราจารย์โดยอาศัยอยู่
กัยตายาย
ในบรรดาครูที่เขาเรียนด้วยในปีแรกคนที่เขารู้สึกประทับใจมากที่สุดคือ ศาสตราจารย์โจเซฟ ชุมปี
เตอร์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวเช็คผู้เลื่องลือ ซึ่งเขายกย่องว่าเป็นคนเดียวที่สามารถสอนได้อย่างมีชีวิตชีวา
ประสบการณ์กับชุมปีเตอร์นี้ทำาให้เขาเริ่มสนใจวิชาเศรษฐศาสตร์อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก

186.
หลังจากเรียนไปได้ช่วงหนึ่งบิดาก็ได้ส่งชูม้ากเกอร์ไปอยู่กับครอบครัวแพทย์คนหนึ่งที่เมืองตอทแตม
แฮมประเทศอังกฤษโดยได้เรียนภาษาอังกฤษด้วยความขยันอดทน บังคับตัวเองท่องศัพท์วันละไม่ตำ่ากว่า
100 คำา จนสามารถอ่าน เดอะไทมส์และงานเขียนของอัม สมิท และเบอร์ นาร์ด ชอร์ ได้ เช่น โภคทรัพย์ของ
ชาติ (The wealth of Nations) บทแนะนำาสังคมนิยมและทุนนิยมของสตรีผู้ชาญฉลาด (The intelligat
Woman ‘s Guide to socialism and Capitalism)
หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ย้ายเข้ากรุงลอนดอน โดยได้เข้าฟังคำาบรรยายที่สำานักเศรษฐศาสตร์แห่ง
กรุงลอนดอน(London School of Economics) เป็นประจำา แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ชูม้ากเกอร์ก็หาได้ประทับ
ใจชีวติ และความเป็นอยู่ตลอดจนการศึกษาในอังกฤษไม่ โดยที่บรรยากาศต่อต้านเยอรมันนับตั้งแต่สงคราม
ยังไม่จางหาย จึงทำาให้เขารู้สึกเป็นปฎิปักษ์ต่ออังกฤษ
แต่เหตุการณ์พิเศษสุดที่เกิดขึ้นเมื่อเยือนอังกฤษเป็นครั้งแรกนี้ คือ ก่อนกลับมีผู้แนะนำาให้เขารู้จัก
กับจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในขณะนั้น การได้พบปะและเข้าร่วม
สัมมนากับนักเศรษฐศาสตร์ชั้นหัวกะทิอย่างเคนส์ ตลอดจนอาจารย์และนักเรียนที่เคมบริดจ์ ทำาให้ชูมาก
เกอร์ตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่าอนาคตของเขาคือการเป็นนักเศรษฐศาสตร์การมาอังกฤษของเขาครั้งแรกนี้
จึงเริ่มต้นด้วยอดัม สมิท และจลงที่ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ แต่เขาถึงแม้เขาจะไม่ประทับใจอะไรหลาย ๆ
อย่างเกี่ยวกับอังกฤษแต่แรงบันดาลใจครั้งนี้ก็ทำาให้เขานึกอยากเรียนที่อังกฤษมากขึน้
เมื่อเขากลับเยอรมันขณะที่กำาลังลังเลใจอยู่นั้นเขาก็ตัดสินใจสมัครสอบชิงทุนโรดส์ ซึ่งมอบให้
นักเรียนเยอรมันปีละ 2 คน เพื่อให้ไปศึกษาต่อที่อ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ โดยมีนโยบายของทุนว่า “
เพื่อหาคนหนุ่มที่กอปรด้วยภูมิปัญญาอย่างเห็นการณ์ไกล ผูพ้ ร้อมอุทิศตนเพื่อภารกิจอันควรค่าที่ตนเชื่อมั่น
อันจะยังสัมพันธไมตรีระหว่างมหาอำานาจ 3 ชาติ คือ อังกฤษ อเมริกาและเยอรมันให้แน่นแฟ้นสืบไป” หลัง
จากสอบและสัมภาษณ์ ตลอดจนรับประทานอาหารร่วมกับคณะกรรมการแล้ว ชูม้ากเกอร์ก็ได้รับเลือกเป็น
หนึ่งในสองนักศึกษาที่จะเป็นตัวแทนของเยอรมันไปศึกษาต่อที่อังกฤษ
รุ่งอรุณแห่งวัยหนุ่มกับอ๊อกซ์ฟอร์ดและโคลัมเบีย
ชีวิตของเขาที่อ๊อกซ์ฟอร์ดเป็นไปอย่างผิดความคาดหมาย เขารู้สึกผิดหวังในแง่การเรียนรู้ไม่พอใจที่
ถูกบังคับให้อ่านหนังสือที่ไม่เห็นความจำาเป็น นอกจากนี้วิชาที่ไม่อยู่ในข่ายความสนใจของเขาอย่างภาษา
ลาติน หรือรัฐธรรมนูญอังกฤษก็ทำาให้เขารู้สึกเบื่อหน่ายการเรียนยิ่งขึ้น แม้กระนั้นก็ตามเขาก็พยายามด้วย
ความอดทนในการสอบจนสอบผ่านครั้งใหญ่ในวิชาเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์โดยมีสิทธิ์ทำาเกียรตินิยม
ด้วย แต่สิ่งที่ทำาให้ชวี ิตของเขาที่อ๊อกซ์ฟอร์ดมีความหมายคือความพยายามที่จะเข้าใจระบบการคลัง
ระหว่างประเทศให้แตกฉานโดยพยายามโยงถึงเศรษฐกิจในเยอรมันด้วย
ปีต่อมาเขาได้รับเลือให้เป็นนายกสมาคมนักศึกษาเยอรมันที่อ๊อกซ์ฟอร์ดเขาจึงเป็นที่รู้จักกันในหมู่
นักกิจกรรมและผูน้ ำานักศึกษามหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี จนเป็นผลให้เขาได้รับเลือกให้เป็นนายสมาคมไบรซ์

187.
อันเป็นสมาคมนักศึกษานานาชาติ ที่มุ่งสร้างความดีต่อกันความเป็นคนเด่นในหมู่นักศึกษาทำาให้คณะ
กรรมการของมหาวิทยาลัยจัดให้เขานั่งข่าวอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในงานเลี้ยงรับรองที่ทางมหาวิทยาลัยจัด
ต้อนรับนักวิทยาศาสตร์ระดับอัจฉริยะผู้นี้ หลังสอบใหญ่เขาไปฝึกงานที่ธนาคารวอร์บูร์กในฮัมบูร์ก ปีถัดมา
เขาจึงตั้งเข็มวิทยานิพนธ์ไปที่นโยบายการคลังและการธนาคารในทางปฎิบัติ จึงขอต่ออายุทุนโรดส์ เพื่อเดิน
ทางไปมหาวิทยาลัยโคลัมเบียซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณาจารย์และคณะกรรมการทุนเป็นอย่างดี
ระหว่างเดินทางครั้งนี้เขาได้พกหนังสือติดตัวไปอ่าน 2 เล่ม คือ ชีวิตและความคิดของอัลเบิร์ต ชไวเซอร์ กับ
ขบถมหาชน เขียนโดย โฮเซ่ ออร์เตก้า อี กาสเส็ท นับเป็นพื้นฐานสำาคัญที่ทำาให้เขาเริ่มตั้งคำาถามในสิ่งที่วิชา
เศรษฐศาสตร์ไม่ให้ความใส่ใจแต่อย่างใด แต่เมื่อถึงนิวยอร์ก ภารกิจน้อยใหญ่ก็ประดังเข้ามาทำาให้เขาต้อง
พับเก็บคำาถามเหล่านี้เป็นหน่ออ่อนไว้ในใจ
แม้ชูม้ากเกอร์จะเพลิดเพลินกับงานวุ่น ๆ น้อยใหญ่ที่โคลัมเบียและนิวยอร์กแต่มีสิ่งสำาคัญที่ทำาให้
เขาไม่อาจมีความสุขสงบในชีวิตได้ นั่นคือ ชตากรรมบ้านเกิดเมืองนอนของเขา ข่าวคราวหลายประการที่
เล่าสู่ กันมา ทำาให้เขาต้องต่อสู้กับตัวเองอย่างหนัก แน่นอนฮิตเล่อร์และนาซีใช้วิธีโหดเหี้ยมรุนแรง เพื่อน
ร่วมชาติของเขาก็สนับสนุนความรุนแรงนี้ด้วย ยิ่งนานวันเขายิ่งถามตัวเองตลอดเวลาว่า เขาควรจะรีบกลับ
บ้านหรือปักหลักที่อเมริกาดี หากเขาตั้งใจอยู่อเมริกาต่อไปเขาไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีงานทำาแต่เยอรมันอัน
เป็นที่รักของเขาเล่าแล้วเขากลับไปจะทำาอะไรได้ คนที่อ้าปากวิพากษ์วิจารณ์ถ้าไม่ถูกเก็บก็ถูกขู่หลังจาก
ชั่งใจอยู่ระยะหนึ่งเขาก็ตัดสินใจกลับเยอรมัน
ทำงหลำยแพ่ง
ราวกับว่าเป็นลางร้าย ชูม้ากเกอร์ออกเดินทางจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี 1934 อันเป็นวัน
ที่ฝรั่งถือว่าเป็นวันโง่ ซำ้าร้ายโรคประจำาตัวคือ ไขข้อในกระดูกก็เริ่มเล่นงานหนักมือขึ้น เขาต้องลงไปนอนรวม
อยู่กับคนป่วยใต้ท้องเรือตลอดระยะเวลาการเดินทาง ความเจ็บป่วยทั้งหลายถูกอำาพรางไว้ใต้ท้องเรือ ฉันใด
ระบบนาซีกอ็ ำาพรางความฉ้อฉลภายใต้ฉลากของความรักชาติและความยิ่งใหญ่ของมาตุภูมิ ฉันนั้น ในภาว
ระสำ่าระสายเช่นนี้ ชูม้ากเกอร์ไม่อาจเอาใจจดจ่อกับวิทยานิพนธ์ของเขาได้ ถึงฤดูร้อนปีนั้นเขาก็ไม่สามารถ
แก้ไขอะไรได้ นอกจากจะปล่อยให้โอกาสสุดท้ายที่เขาจะจบปริญญาตรีทางเศรษฐศาสตร์ผ่านไป ความโศก
เศร้าเกี่ยวกับบ้านเมืองของดูกินเนื้อในหัวใจของเขาไปหมดสิ้นแล้ว บิดาของเขาเริ่มศซักไซ้ไล่เลียงเกี่ยวกับ
อนาคตของเขาบ่อยขึ้น และหนักข้อขึ้นแต่เขากลับไม่คำาตอบอะไรแน่ชัด ความรุนแรงที่ปรากฎบนท้องถนน
ความใจแคบของผู้คนความหวาดระแวงที่แผ่คลุมไปทั่วสังคม บอกเขาว่า เยอรมันกำาลังเดินไปสู่หายนะภัย
ครั้งใหญ่
หลังจากฟื้นไข้ เพื่อนของพี่สาวชวนเขาไปทำางานกับสมาคมการค้าระหว่างประเทศแห่งหนึ่งด้วน
เหตุที่ฮิตเลอร์ประกาศยกเลิกสนธิแวร์ซายส์โดยพลการ การค้าระหว่างประเทศจึงหยุดชะงักลง คนหนุ่มที่
เห็นการณ์ไกลจึงรวมตัวกันจัดตั้งสมาคมการค้าขึ้นกับประเทศใกล้เคียงผ่อนหนักให้เป็นเบาเพื่อไม่ให้
เศรษฐกิจภายในประเทศต้องเป็นอัมพาต ชูม้ากเกอร์ตกปากรับคำาทันที่ โดยถือโอกาสที่จะได้เรียนรู้วิธีการ
188.
ค้าขายระหว่างประเทศไปในตัว และฐานะการเงินของเขาก็ดีขึ้นโดยลำาดับ เขาจึงตัดสินใจที่จะมีครอบครัว
เป็นหลักฐานเสียที.
แอนนา ปีเตอร์เซ่น หรือ มูชี่ ของเพื่อนคือเจ้าสาวของเขาทันที่ที่ได้เห็น มูชี่ เป็นครั้งแรกเขารู้สึกตรึง
ตาตรึงใจในความสง่างามของหล่อนเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับบอกกับเพื่อนว่า “ นี่แหละคือผู้หญิงที่ฉันสามารถ
คุกเข่าอ้อนวอนงอนง้อได้ด้วย” ในยามที่ว้าวุ่นใจเช่นนนี้ บุคลิกของหล่อนที่เรียบ ๆ แฝงไว้ด้วยความอ่อน
โยนสีหน้าแสดงออกถึงอารมณ์ร่าเริงแจ่มใสอยู่ทุกเมื่อ ทำาให้เขารู้สึกอิ่มเอิบใจเมื่อได้ใกล้ชิดหล่อน แม้มู่ชี่จะ
ไม่ใช่ปัญญาชนอย่างเขาแต่เธอก็พร้อมจะรับฟังความคิดอันพลุ่นพล่านของเขาอย่างสนอกสนใจ เพื่อน ๆ
ต่างเห็นว่าทั้งคู่เป็นคู่ขั้วตรงกันข้ามที่มีแรงโน้มเข้าหากันโดยธรรมชาติ งานแต่งงานของเขาทั้งสองยิ่งใหญ่
และหรูเกินกว่าชูม้ากเกอร์ต้องการนัก แต่นั่นเป็นธรรมเนียมและความประสงค์ของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายเมื่อ
กลับจากไปดื่มนำ้าผึ้งพระจันทร์ได้ไม่นาน ชูม้ากเกอร์ก็ได้รับจดหมายจากเพื่อนในสมาคมการค้าที่ประจำาอยู่
ที่ประเทศอังกฤษว่านักธุรกิจใหญ่คนหนึ่งต้องการนักบริหารมือฉมังมาควบคุมการลงทุนของเขาและเขา
ได้ยินกิตติศัพท์ของชูม้ากเกอร์และเสนอให้ไปทำางานที่ลอนดอน ชูม้ากเกอร์ตอบตกลงทันที่ ต้นปี 1973 ชูม้า
กเกอร์และมูชี่จึงออกเดินทางสู่ลอนดอนท่ามกลางความฉงนฉงายของคนรอบข้าง
แผนกูโ้ ลกในมหำวิทยำลัยชีวิต
ในสายตาของนายจ้าง ชูม้ากเกอร์ไม่ได้เป็นเสือธุรกิจอย่างที่เขาคาดไว้ ตัวเขาเองก็ตระหนักถึงข้อนี้
ได้ สำาหรับนายจ้างของเขากำาไรและความมั่นคงย่อมมาเป็นอันดับหนึ่งในขณะทีเขามุ่งการเรียนรู้และ
ทดลองสิ่งใหม่ ในแง่การทำางานของเขาจึงค่อนข้างจะหนักใจพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ต้องขัด
แย้งกับเพื่อนร่วมงานและถูกนายจ้างตำาหนิ มักเกิดขึ้นบ่อย
ชีวิตของเขาในระยะเกือบ 2 ปี ต่อมา จึงเต็มไปด้วยความระสำ่าระสายทั้งในแง่ส่วนตัวและความขัด
แย้งขัดแย้งกับบริษัทและนายจ้างเริ่มปลายยิ่งขึ้นทุกที ในแง่สังคมความรู้สึกต่อต้านเยอรมันก็เริ่มระอุขึ้นใน
อังกฤษ ในทางการเมืองทุกคนเริ่มหมดหวังที่จะระงับสงครามครั้งใหญ่ เมื่อถึงฤดูร้อนปี 1939 มูชี่กับปีเตอร์
ลูกชายคนโตก็เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านที่เยอรมันเขาต้องประจัญกับปัญหาที่กำาลังประดังเข้าโดยลำาพัง
เขาเริ่มอ่านงานเขียนของโชเพ็นฮาวเออร์และนิทชี่อย่างจริงจังแต่ความกังวลที่รุมเร้าเขาเข้ามาทำาให้เขาไม่
สมาธิพอ
ชูม้าเกอร์ลาออกจากบริษัทเพื่อนได้หางานให้ทำาเป็นลูกจ้างคุมไร่เพาะปลูกและปศุสัตว์ของโรเบิร์ต
แบรนด์ที่เมืองนอร์ธ แธมตันเชียร์ เขาจึงไปคุมงานที่นั่น ซึ่งเรียกได้ว่าอยู่บ้านนอกคอกนาเลยที่เดียว ยัง
ไม่ทันจะได้บทเรียนที่สองของชีวิตบ้านนา เขาก็ต้องระหกระเหิรไปอีก ข่าวเรื่องแนวที่ห้าในฮอลแลนด์ทำาให้
รัฐบาลอังกฤษต้องตัดสินใจตั้งค่าย เชลยศึกเกณฑ์ชายชาวเยอรมันทั้งหมดไปเข้าค่าย เขาจึงต้องจากบ้าน
และครอบครัวไปอยู่ร่วมกับเชลยศึกสงครามกว่า 1,400 คนใกล้แคว้นเวลล์

189.
ชูม้ากเกอร์บอกว่าที่ค่ายเชลยศึกนี้แหละ เป็นมหาวิทยาลัยที่แท้จริงแห่งแรกของเขา เขาต้อง
คลุกคลีกับคนทุกชั้น ทำางานทุกอย่างตั้งแต่ล้างส้วมไปจนถึงหัวหน้ากลุ่มเขาต้องปรับตัวเข้ากับคนหลาย
แบบซึ่งต่างก็แบกปัญหาความทุกข์ทรมานนานาชนิดมาเล่าสู่กันฟัง
อาศัยที่แบรนด์มีเส้นสายมาก ชูมาเกอร์จึงได้รับการปลดปล่อยตัวในอีก 4 เดือนต่อมาและงานในไร่
ทำาให้เขาแกร่งขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ ระยะนั้นเขาได้ศึกษางานของนักเศรษฐศาสตร์หลายสำานัก
ปัญหาหลักที่เขาพยายามขบให้แตกในช่วงนั้นก็คือ จะปรับปรุงระบบการค้าระหว่างประเทศได้อย่างไร เพื่อ
ระงับไม่ให้สงครามใหญ่ครั้งต่อไปปะทุขึ้นอีกและระบบดังกล่าวจะช่วยกู้สถานการณ์หลังสงครามเยอรมัน
ได้อย่างไร ชูม้ากเกอร์ทุ่มตัวเขียนร่างบทความชิ้นหนึ่งเพื่อตอบปัญหาดังกล่าว โดยเสนอให้มีการจัดตั้ง
ระบบความร่วมมือในทางการค้าระหว่างประเทศที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจด้วย อย่างไรก็ตามร่างข้อ
เสนอของเขาทำาให้ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในหมู่นักเศรษฐศาสตร์มากขึ้น จนในที่สุด สถาบันสถิติที่อ๊อกซ์ฟอร์
ดก็เสนองานให้เขาทำา ด้วยความสนับสนุนจากแบรนด์ ชูม้ากเกอร์จึงกลับคืนสู่แวดวงวิชาการอีกครั้ง
ระยะนี้ชูม้ากเกอร์เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ความที่เป็นเขียน
หนังสือได้อย่างมีชีวิตชีวาน่าอ่าน ทำาให้บทความของเขาเป็นที่นิยมอยู่ไม่น้อย ต่อมาเขาได้รู้จักกับเซอร์ วิล
เลี่ยม เบเวอริดจ์ ซึ่งกำาลังสนใจปัญหาการว่างงานเช่นเดียวกันกับชูม้ากเกอร์การได้ทำางานกับเบเวอริดจ์
ถือว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่ออีกครั้งหนึ่งของชีวิตก็ว่าได้ เบเวอริดจ์ เป็นคนที่ก้าวร้าว เป็นนักอนุรักษ์นิยม ยึดมั่น
ในมนุษยธรรม เมื่อเขาต้องมาเผชิญกับคนที่คิดต่างออกไปจากเขา ทำาให้เขาต้องตั้งคำาถามกับความเข้าใจ
เดิม ๆ ที่เขาเคยมีอยู่หลายประการ
ครั้งหนึ่ง ขณะที่กำาลังเถียงกันเรื่องปัญหาการว่างงาน เบเวอริดจ์ก็รุกเขาจนถึงมุมอับปรามาสว่า วีธี
วิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์ศาสตร์มาตรฐานนั้น เห็นคนไม่เป็นคน เห็นแค่เป็นตัวเล็กในสมการลอย ๆ ซึ่ง
เป็นเรื่องที่มนุษยนิยมอย่างเขารับไม่ได้ ในทัศนะของเบเวอริดจ์ ปัญหาหลักของการว่างงานนั้นไม่ได้อยู่ที่ว่า
มันทำาให้ระบบ” เสียดุล” หยุดทำางาน ติดขัด หรือ ไม่มีประสิทธิภาพ แต่อยูท่ ี่ว่า มันทำาให้มนุษย์ที่มีเลือดเนื้อ
และมีชีวิตจิตใจต้องอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรีต่างหากความขาดแคลนและการตกงานนั้นไม่เพียงแต่กัดกิน
กระเพาะคนแต่ยังบั่นทอนความมั่นใจในชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกันที่เดียว ประเด็นนี้ก็เอาไปใส่ไว้ในสมการ
คณตศาสตร์ใด ๆ ไม่ได้ ชูม้ากเกอร์ผู้ซึ่งไม่ยอมใครง่าย ๆ ก็ต้องนิ่งอึ้งไป ประสบการณ์ที่เขาได้จากเบเวอริด์
นี่เอง ทีท่ ำาให้เขาคิดถึง “เศรษฐศำสตร์ที่เห็นคนเป็นคน”(Economics as if people mattered)อันเป็นชื่อ
รองของหนังสือเล่มสำาคัญของเขาในเวลาต่อมา ชูม้ากเกอร์ เสียชีวิตเมื่อเดือน กันยายน ปี 1977 รวม
อายุได้ 66 ปี

……………………………………………

190
กำรพัฒนำทรัพยำกรชุมชน
( Community Resources Development )
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรชุมชนดียิ่งขึ้น ควรได้ทำาความ
เข้าใจกับความหมายขององค์ประกอบของคำาที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ซึ่งสามารถจำาแนกได้ดังต่อไปนี้
การพัฒนา หมายถึง การกระทำาที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งที่ดี
กว่า โดยมีการกำาหนดการทิศทางหรือการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างผาสุข มี
ความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมและความสงบ
ทรัพยำกร หมายถึง สิ่งทั้งปวงทั้งมีรูปร่างและไม่มีรูปร่างอันเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่รวมกันเป็นสังคมขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน และมี
ผลประโยชน์ร่วมกัน องค์ประกอบของชุมชนอาจจำาแนกได้ดังนี้
1) กลุ่มคนที่มารวมตัวกันโดยความสมัครใจ
2) สถานที่ ทัง้ ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือมีอยู่ตามธรรมชาติ
3) ความสัมพันธ์ของกลุ่มที่อยู่ร่วมกัน
4) ผลประโยชน์ที่มีร่วมกันหรือความสนใจตรงกัน
กล่าวโดยสรุปแล้ว การพัฒนาทรัพยากรชุมชน จึงหมายถึง การเปลี่ยนสภาพของทุกสิ่งทุกอย่างใน
สังคมที่กลุ่มคนอาศัยอยู่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำารงชีพของคนอย่างสมดุลกับสภาพแวดล้อมของ
สังคม และเป็นความก้าวหน้าหรือความเจริญอย่างยั่งยืนและแท้จริง
หลักของกำรพัฒนำ
วิธีการพัฒนาชุมชนในปัจจุบัน มีการใช้หลักการหรือแนวคิดในการพัฒนาหลายวิธีการ สามารถ
สรุปได้ดังต่อไปนี้
1. กำรมีส่วนร่วมของประชำชน (People Participation)
หมายถึง การที่ประชาชน (People) มีส่วนร่วม (Participation) ในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่กระทำา
ขึ้น ซึ่งหลักในการมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดขึ้นได้ใน 5 ลักษณะ คือ
1) ร่ ว มศึ ก ษาปั ญ หาสาเหตุ ข องปั ญ หาและความต้ อ งการของชุ ม ชน ได้ แ ก่ การสำา รวจขั้ น
ต้น(preliminary reconnaissance) เพื่อจัดลำาดับความสำาคัญของปัญหา (priority problem identification
studies)
2) ร่วมคิดสร้างรูปแบบการพัฒนาเพื่อ แก้ ปัญหาและสนองความต้ องการของชุ มชน ได้แ ก่ก าร
แสวงหาแนวทางแก้ไข (search for solutions)
3) ร่วมกำาหนดทิศทาง แผนงาน โครงสร้าง หรือกิจกรรม เป็นการกำาหนดแนวทางในการแก้ปัญหา
(assessment for solution)

191.
4) ร่วมตัดสินใจ ในการใช้ทรัพยากรที่มีจำากัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยปฏิบัติตามโครงการ
ที่ได้กำาหนดไว้
5) ร่วมบริหารงานพัฒนาทั้งสติปัญญา แรงงานและทุน ตามขีดความสามารถ รวมทั้งการควบคุม
ติดตาม ประเมินผล และซ่อมบำารุงผลที่เกิดขึ้นจากการทำากิจกรรมนั้นๆ ได้แก่ การประเมินผลตามโครงการ
และการพิจารณาทบทวนโครงการหรือดำาเนินการให้บรรลุผล
กล่าวโดยสรุป การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุ มชน เป็นการเข้าร่วมในกิจการการ
พัฒนาชุมชนในทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนา ซึ่งผลที่ได้รับจากการพัฒนาที่สำาคัญคือ มีการพัฒนาที่
ตรงตามความต้องการของชุมชน และสมาชิกในชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรมการพัฒนานั้นๆ
ความสำาเร็จในการพัฒนาจึงมีโอกาสเป็นไปได้ง่าย
2. กำรพึ่งตนเอง (Self – Reliance)
การพึ่งตนเองจัดเป็นค่านิยมชาติ 1 ใน 5 ประการ อันประกอบด้วย การประหยัดและออม การมี
ระเบียบวินัยและการเคารพกฎหมาย การปฏิบัติตามหลักคุณธรรมของศาสนา การมีความรักชาติ ศาสน์
กษัตริย์ และการพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ การพึ่งตนเองได้รับการกล่าวถึงมากขึ้นใน
ปัจจุบันภายหลังประเทศไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซาอย่างรุนแรงที่เริ่มมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539
ซึ่งสาเหตุสำาคัญประการหนึ่งคือการที่ประเทศไทยดำาเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจแบบพึ่งพามากเกินไป
เมื่อต่างประเทศถอนเงินจากการลงทุนออกไปจากประเทศไทยทำา ให้ประเทศขาดเงิ นทุนหมุน เวี ยนจน
เศรษฐกิจชะงักงัน รัฐบาลขาดเงินสำาหรับการพัฒนาประเทศ
การพึ่งตนเอง (Self – Reliance) โดยความหมายตามแนวทางการพัฒนาชุมชน หมายถึง การที่
แต่ละชุมชนสามารถดำารงชีวิตโดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก มุ่งให้คนมีความสามารถในการช่วย
ตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นเสมอไป มองเห็นทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มีจิตใจใฝ่
คุณธรรม ยึดมั่นในประเพณีชุมชน มีจิตวิญญาณที่มั่นคงเป็นฐานที่สำาคัญในการพัฒนา
ดังนั้นการพึ่งพาตนเองจึงมิใช่เป็นการยึดตัวเองออกจากความสัมพันธ์กับสังคมอื่นอยู่ในลักษณะ
ของความเป็นอิสระ ความเสมอภาคทั้งในระดับปัจเจกบุคคล กับชุมชน หรือกับสังคมภายนอก โดยมุ่งที่จะ
ปฎิบัติในอันที่จะพัฒนาสังคมของตนเองเพื่อยืนบนขาของตนเอง การพึ่งพาสังคมอื่นอยู่ในลักษณะการ
พึ่งพาอาศัยกัน (interdependency) หรือในลักษณะของนำ้าพึ่งเรือเสือพึ่งป่า
3. กำรพัฒนำอย่ำงยั่งยืน (Sustainable Development)
เป็นคำาศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน เนื่องจากผลที่เกิดจากการพัฒนาที่มุ่ง
ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ มุ่งแสวงหารายได้จากมูลค่าทางด้านตัวเงินเป็นสำา คัญ ทำา ให้เกิดการ
ละเลยทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมได้ถูก
ทำา ลายและเสื่อมถอยลงไปมาก ทำา ให้คนรุ่นหลังหรือรุ่นปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการพัฒนาที่มุ่งแต่
ความจำาเริญ

192.
ทางเศรษฐกิจ แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนจังได้รับการกล่าวขานมากขึ้น มีการสนับสนุนโดยมุ่งหวังให้การ
พัฒนาเป็นประโยชน์ต่อเนื่องไปถึงอนาคต เพื่อนองความต้องการของชุมชนโดยไม่ละเลยความเป็นอยู่ของ
ชนในรุ่นปัจจุบัน ให้ความสำาคัญกับการพัฒนานิเวศวิทยา
กล่าวโดยสรุปแล้วการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) เป็นแนวคิดในการพัฒนา
ทางเศรษฐกิจสังคมเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนและชุมชนให้ดีขึ้นควบคู่กับความมั่นคงอย่างไม่กระทบ
สิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม โดยตอบสนองความต้องการของชุมชนในปัจจุบัน
แต่ไม่ทำา ลายระบบนิเวศซึ่งจะเป็นที่ต้องการในอนาค และคำา นึงถึงความยั่งยืนในระยะยาว (long – term
sustainability)
4. กำรพัฒนำอย่ำงองค์รวม (Holistic approach)
การพัฒนาอย่างองค์รวมเมื่อพิจารณาในส่วนของการพัฒนาชุมชนแล้ว จึงเป็นการพัฒนาอย่างมี
ส่วนร่วมของทุก ฝ่ายและกระทำา ในทุก เรื่ องในการพัฒนาให้เ ต็มศัก ยภาพซึ่ งมีแนวทางในการพั ฒนา 2
ประการ ดังนี้
1. การพัฒนาคนให้ครอบคลุมองค์ประกอบในการดำารงชีวิต คือ พัฒนาทางด้านภายภาพและทาง
ด้านจิตภาพ คือการพัฒนาความรู้ความสามารถที่เพียงพอในเรื่องของวัตถุ เทคโนโลยี และการพัฒนาเพื่อ
ความสว่างไสวทางวิญญาณ ทางจิตใจ
2. การพัฒนาภายใต้การประสานงานของหน่วยงานหรือองค์กรที่รับผิดชอบ ตั้งแต่การประสาน
แผนงาน ประสานความร่วมมือในการดำาเนินการและการประเมินผลร่วมกัน
กล่าวโดยสรุปแล้ว การพัฒนาอย่างองค์รวมจึงเป็นการพัฒนาที่ต้องเกิดจากการประสานงานของผู้
ที่เกี่ยวข้อง และผู้รับผิดชอบจากหลายแนวทางมาเป็นเรื่องเดียวกัน และวางวัตถุประสงค์ของการพัฒนาที่
ครอบคลุมความเป็นคนในทุกด้าน ควบคู่ไปกับสภาวะแวดล้อมรอบตัวคน
5. กำรพัฒนำแบบเศรษฐกิจพอเพียง (Economic Sufficiency)
เมื่อประเทศไทยมุ่งพัฒนาชาติเพื่อแสวงหา การกินดีอยู่ดี เสริมสร้างความจำาเริญทางเศรษฐกิจและ
ชื่นชมกับการเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชาติ ที่สุดท้ายแล้วกลายเป็นภาพลวงตา หายนะทางเศรษฐกิจได้เข้า
มาเยือนเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจ ประชาชนได้รับผล การกินไม่ดีอยู่ไม่ดี มาแทนที่ ภาวะหนึ่งที่จัดว่า
อันตรายอย่างยิ่งจากผลกระทบดังกล่าวคือ การเกิดภาวะการว่างงานของคนงานจำานวนมาก ทั้งแรงงานไร้
ฝีมือ แรงงานกึ่งฝีมือ รวมทั้งระดับมันสมองของประเทศ ผลจากการว่างงานสิ่งที่ตามมาคือ การอพยพคืน
ถิ่นของแรงงานนับล้านคน ที่เดินทางกลับสู่ชนบท รัฐบาลได้เร่งหาทางในการสร้างงานให้เกิดขึ้นในชนบท
โดยจัดสรรงบประมาณจำานวนมาก เพื่อรองรับกลุ่มคนเหล่านั้นแต่ดูเหมือว่าจะได้ผลไม่เต็มที่นักเนื่องจาก
งบประมาณที่ปล่อยลงไปไม่เพียบพอที่จะเยียวยาผลพวงจกาพิษเศรษฐกิจฟองสบู่ที่แตกแล้ว

193.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงได้ทรงพระราชทานแนวคิด ในเรื่องเศรษฐกิจพอ
เพียงให้กับประชาชาติไทย เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติและเพื่อเยียวยาพสกนิกรของพระองค์ทา่ น แนวเศรษฐกิจ
พอเพียงตามแนะพระราชดำาริ ไม่ใช่เรื่องที่พระองค์ทรงมีพระราชดำาริ แต่โดยความเป็นจริงพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวได้มีกระแสรับสั่งในแนวทางนี้อยู่เสมอ เพียงแต่ประชาชาติไทยขาดที่จะแปลไปสู่ภาคปฏิบัติ
เพราะในอดีตมัวแต่ไปลุ่มหลงอยู่กับการบริโภคนิยม อยู่ภายใต้ลัทธินายแสวงหาความก้าวหน้าทางวัตถุกัน
อย่างไม่หยุดหยั่ง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำา รงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกด้าน
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศเป็นไปในทิศทาง
สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำาเป็นที่จะต้องมีคุ้มกันตัว
ที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้อง
อาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำา วิชาการต่างๆ มาใช้ในชาติ โดย
เฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฏีและนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำานึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและให้
มีความรอบรู้เหมาะสมดำาเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ความมีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อ
ให้สมดุลและความพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่ง
แวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
6. ชุมชนเข้มแข็ง
สังคมไทยในปัจจุบันมุ่งหวังฟื้นฟูสภาพสังคมที่กำาลังล่มสลายให้กลับคืนสู่สภาพตามคำากล่าวที่ว่า
“คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน” เนื่องจากสภาพการพัฒนาที่
ขาดพื้นฐานทางวัฒนธรรมของชาติ ก่อให้เกิดปัญหามากมายขึ้นในสังคม เช่น ครอบครัวแตกแยก เกิด
สภาพการรวยกระจุกจนกระจาย อาชญากรรม ยาเสพติด และความรุนแรงในรูปแบบอื่นๆ การพัฒนาที่มุ่ง
แต่ความจำาเริญทางเศรษฐกิจของสังคมไทยได้ทำาลายพื้นฐานแห่งความเป็นไทยหลายประการ
ดังนั้นชุมชนจะเข้มแข็งได้ก็ต่อเมื่อมีการรวมตัวทางสังคมที่หลากหลายรูปแบบ และมีเครือข่าย
โดยที่องค์กรชาวบ้านเป็นกุญแจสำาคัญ เมื่อสมาชิกในชุมชนมีการรวมตัว สมาชิกจะมีความตื่นตัวแข็งขันมี
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดปัญญาเพื่อการพัฒนาชุมชนของตนเอง ดังเช่นแนวทางของกลุ่มออม
ทรัพ ย์คลองเปีย ะ ที่เ ริ่ มต้ นด้ ว ยสมาชิ ก 27 คน ปัจ จุ บัน มีส มาชิ ก ประมาณ 5,000 คน มีเ งิ น ออมสะสม
มากกว่า 70 ล้าน เกิดการแตกหน่วยของกลุ่มต่างๆในการให้สวัสดิการและดูแลสมาชิกอีกมากมาย
กล่าวโดยสรุป ชุ มชนเข้ มแข็ ง เป็น เป้า หมายในการดรงชี วิ ต ของคนในชุ มชนเพื่ อ ให้ สามารถมี
ศักยภาพในการดำา รงชีวิตอย่างมีความสุข โดยเกิดขึ้นจากการร่วมมือกันของทุกฝ่ายภายในชุมชนและ
เป็นการทำางานพัฒนาที่ต่อเนื่อง

194.
จากหลั กการพั ฒนาชุ มชนตามที่ ก ล่า วมาแล้ว เป็น แนวทางที่ นิ ย มใช้ เ พื่ อ การพั ฒนาชุ ม ชนที่ มี
ประสิทธิภาพในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าหลักการพัฒนาชุมชนที่กล่าวมาแล้วมีหลักการและวิธีการที่คล้ายคลึง
กัน ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
1. การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2. การพัฒนาที่ต้องตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
3. ส่งเสริมให้เกิดคุณธรรม จริยธรรมในวิถีชีวิตและยึดมั่นในหลักการของศาสนาที่ตนเองนับถือ
4. ให้ความสำาคัญกับทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม
5. ต้องการแก้ปัญหาหรือเป็นการพัฒนาที่ให้ผลได้อย่างยั่งยืน
หลักกำรพัฒนำทรัพยำกรของชุมชน
หลักสำาคัญในการพัฒนาทรัพยากร มีหลายประการคือ
1. การถนอม เป็นการพัฒนาทรัพยากรเพื่อให้คงสภาพทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อไว้ใช้ให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด เช่น การสร้างอ่างเก็บนำ้าเพื่อการเกษตร การพลังงาน การขยายพันธุ์สัตว์นำ้า การพัฒนาการ
การคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
2. การบูรณะฟื้นฟูทรัพยากร สำาหรับทรัพยากรที่มีการสูญเสียเพื่อให้มีสภาพเหมือนเดิมหรือเทียบ
เท่าของเดิม เช่น การบูรณะฟื้นฟูทรัพยากรดินที่เสื่อมสภาพจากการใช้ประโยชน์ โดยวิธีการเติมปูนขาว ใส่
ปุ๋ย ปลูกพืชคลุมดิน เป็นต้น
3. การนำา มาใช้ใหม่ เช่นการนำา เศษเหล็ก เศษกระดาษ มาแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อใช้
ประโยชน์อย่างอื่น
4. การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน เช่นการสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บนำ้าไว้เพื่อนำามาใช้ประโยชน์ใน
การผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นการได้ประโยชน์มากกว่าธรรมชาติ
5. การนำาสิ่งอื่นมาทดแทน การผลิตวัสดุบางอย่างอาจลดการใช้ทรัพยากรได้โดยการผลิตโดยใช้
วัสดุอื่นทดแทน เช่น การในพลาสติกมาทำาทดแทนเป็นต้น
6. การสำารวจค้นหาแหล่งทรัพยากรเพิ่มเติม เป็นการคำา นวณหาทรัพยากรที่หลงเหลืออยู่มาใช้ให้
เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ต่อไป
ปัจจัยด้ำนทรัพยำกรทีม่ ีผลต่อกำรพัฒนำชุมชน
การพัฒนาชุมชนที่จะให้เกิดผลดี จำา เป็นต้องมีการระดมสรรพกำา ลังจากทุกฝ่ายและทุกด้านมา
ประสานกั น อย่า งเป็น ระบบ ซึ่ ง สิ่ ง สำา คั ญ ประการหนึ่ งที่ จั ด เป็น ปัจ จั ย ที่สำา คั ญ ในการพั ฒนาชุ มชน คื อ
ทรัพยากรชุมชน ดังนั้นนักพัฒนาจึงจำาเป็นต้องพัฒนาปัจจัยทางด้านทรัพยากรที่มีผลต่อการพัฒนา เพื่อ
ประโยชน์ในการดำาเนินการพัฒนาให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย สามารถจำาแนกปัจจัยทางด้านทรัพยากรที่มี
ผลต่อการพัฒนาชุมชนได้ดังต่อไปนี้ คือ

195.
1. ปัจจัยทางด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources)
2. ปัจจัยที่ไม่ใช่ทรัพยากรมนุษย์ (Non-human Resources) ได้แก่
2.1 ทรัพยากรธรรมชาติ
2.2 ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น
ปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพหรือเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทำาให้การ
พัฒนาบรรลุจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัจจัยทางด้านทรัพยากรชุมชนที่สำาคัญในการพัฒนา
ชุมชน ที่การพัฒนาในปัจจุบันให้ความสำาคัญมากต่องานพัฒนาชุมชน มี 3 ประการคือ
1. ทรัพยากรมนุษย์
2. ทรัพยากรธรรมชาติ
3. ทรัพยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น
ปัญหำท้องถิ่น
ในปัจจุบันในการพัฒนามีการกล่าวถึง การพัฒนาที่ควบคู่ไปกับภูมปิ ัญหาท้องถิ่นมากขึ้น ซึ่ง
ภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดเป็นทรัพยากรของชุมชนที่ควรได้รับการพัฒนาที่สำาคัญอีกประเภทหนึ่ง ภูมิปญ ั ญา
ท้องถิ่นอาจจะมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในปัจจุบัน ได้แก่ ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) เทคโนโลยีพื้นบ้าน เป็นต้น
ควำมหมำยของ “ภูมิปัญญำท้องถิ่น”
กรมวิชาการ (2539 : 3) ให้ความหมายว่า ความรู้ และประสบการณ์ทั้งหลายของชาวบ้านในท้อง
ถิ่นที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือการดำาเนินชีวิต โดยได้รับการถ่ายทอดและกลั่นกรองเป็นระยะเวลายาวนาน
ประเวศ วะสี (อ้างถึงใน กรมวิชาการ 2539 : 3 ) หมายถึง ภูมิปัญญาที่เกิดจากการสะสมการเรียน
รู้มาเป็นระยะเวลายาวนานมีลักษณะทีเชื่อมโยงกันหมดทุกสาขาวิชา ไม่แยกเป็นวิชาๆ แบบที่เร่าเรียน
ฉะนั้น วิชาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ อาชีพ ความเป็นอยู่ การศึกษา วัฒนธรรม จะผสมผสานกลมกลืนกันทั้งหมด
ไพพรรณ เกียรติโชติชัย (2541 : 139) หมายถึง ความรู้ประสบการณ์ดั้งเดิมของประชาชนในท้อง
ถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ หรือถ่ายทอดกันมาจากสถาบันต่างๆ ในท้องถิ่น เช่น
สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการปกครอง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
อัจฉรา ไพธิยานนท์ (2539 : 3) หมายถึง ความรู้ หรือประสบการณ์ดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่น
ที่ได้รับการถ่ายทอดุสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษหรือจการสถาบันต่างๆ ในชุมชน
กล่าวโดยสรุปแล้ว ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local
Wisdom) หมายถึง ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ที่ได้รับการประมวลเป็นองค์ความรู้ โดยผู้รู้ในชุมชนเพื่อ
มุ่งใช้ประโยชน์ในการดำารงชีวิตประจำาวัน มีการประยุกต์ ปรับปรุงและถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ
ความสำาคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น

196.
จากปัญหาการแตกสลายของสังคมชาวบ้านที่ประเทศไทยกำาลังประสบอยู่ทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผล
มาจากการขาดการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ๆ กับภูมิปัญญาชาวบ้าน ส่งผลให้สังคมไม่สามารถปรับตัวเข้ากับ
การเลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากการมองข้ามความสำาคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน
ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว “ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)”
มีความสำาคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่นไทยซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. เป็ น รากเหง้ า ทางวั ฒ นธรรมที่ ถ่ า ยทอดกั น มา ทำา ให้ ป ระเทศไทยเป็ น ดิ น แดนที่ มั่ ง คั่ ง ทาง
วัฒนธรรม (Rich of Culture)
2. ช่วยให้คนไทยใช้สติปัญญา ความสามารถ และภาวะสร้างสรรค์มาใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือ
เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคม
3. เป็นองค์ความรู้ที่มีขอบเขต กว้างขวางและลึกซึ้ง เป็นแม่แบบในการจัดการศึกษาปัจจุบัน ที่มุ่ง
ให้ผู้เรียน “รู้รอบ และ รู้สึก”
4. การเชื่อมโยงความรู้ประสบการณ์จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง หรือสู่ชุมชนอื่น จะมีการปรับ
ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป สอดคล้อง
กั บแนวคิด การศึ ก ษาในยุค โลกาภิวั ต น์ที่ ไ ห้ จั ด การศึ ก ษาแบบ “ระบบเครื อ ข่ า ยการเรี ย นรู้ ” (Learning
Network)
5. ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) เป็นการสร้าง
องค์ความรู้เชิงประจักษ์ นับว่าเป็นแม่บทของงาน “วิจัย” ในปัจจุบัน
6. ภูมิปั ญ ญาชาวบ้า น (Popular Wisdom)หรื อ ภู มิปัญ ญาท้ อ งถิ่ น (Local Wisdom) มีลั ก ษณะ
ความรู้แบบองค์รวม สอดคล้องกับการจัดการศึกษาปัจจุบันที่เรียกว่า “การบูรณาการ” (Integrated) หรือ
แบบสหวิทยาการ
7. การถ่ายทอดประสบการณ์เป็นการถ่ายทอดแบบลงมือทำา ทำาให้มีความละเอียดในภูมิรู้ที่ที่มีการ
ถ่ายทอด
จะเห็นได้ว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความสำา คัญต่อการพัฒนาท้องถิ่นของไทยเป็นอย่างมาก แต่ใน
อดีตที่ผ่านมา มีการละเลยภูมิปัญญาท้องถิ่น จนทำา ให้การพัฒนาไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่แท้จริงของ
ชุมชน การพัฒนาทรัพยากรประเภท ภูมิปัญญาชาวบ้าน จึงเป็นสิ่งจำาเป็นยิ่งในปัจจุบัน “อังกูล สมคะเนย์
(2535)” ได้แบ่งประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ดังนี้
1. เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคติ ความเชื่อ และหลักการที่เป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสม
ถ่ายทอดกันมา
2. เป็นเรื่องของศิลปะวัฒนธรรม และนบธรรมเนียมประเพณี

197.
3. เป็นเรื่องของการประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับกาลสมัย
4. เป็นเรื่องของแนวคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ชาวบ้านนำา มาใช้ในชุมชน ซึ่งเป็น
อิทธิพลของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ไพพรรณ (2541) ได้แบ่งประเภทของภูมิปัญญาชาวบ้านไว้ดังนี้
1. ภูมิปัญญาที่เกิดจากการใช้ชีวิตในธรรมชาติ ได้แก่ การอธิบาย ปรากฎการณ์ ความสัมพันธ์
ระหว่างชีวิตกับธรรมชาติ เป็นข้อห้าม หรือข้อควรปฏิบัติ
2. ภูมิปัญญาที่เกิดจากประสบการณ์การอยู่ร่วมกัน ตามแบบแผนของสังคม มีเกณฑ์บอกว่าอย่าง
นี้ดี อย่างนี้ไม่ดี
3. ภูมิปญ ั ญาจากประสบการณ์เฉพาะด้าน เช่นการทำามาหากิน การรักษาโรค
แนวทางการพัฒนาทรัพยากร “ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local
Wisdom) “ สามารถจำาแนกได้ดังนี้
1. การสืบหาแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อจัดทำา รวบรวมเป็นข้อมูลสารสนเทศ ได้แก่ การศึกษา
สำารวจและวิจัย การไปศึกษาเรียนรู้กับชาวบ้าน การศึกษาจากแหล่งข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ
2. การพัฒนากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ช่วยให้องค์ความรู้ที่มีอยู่ไม่สูญ หายไป ซึ่ง การ
ถ่ายทอดองค์ความรู้อาจทำา ได้หลายวิธี ได้แก่ การถ่ายทอดแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แบบเป็นลาย
ลักษณ์อักษร แบบผ่านสื่อมวลชนหรือสื่ออีเลคทรอนิคส์
3.การประยุ ก ต์ แ ละปรั บ ปรุ ง ลั ก ษณธของภู มิปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ให้ เ หมาะสมกั บสภาพแวดล้ อ มที่
เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ต้องไม่ละเลยรากเหง้าทางภูมิปัญญาขององค์ความรู้
4. การดำาเนินการทางลิขสิทธิ์ทางปัญญา เพื่ออนุรักษ์ให้เป็นสมบัติทิพย์ของแผ่นดิน ซึ่ง ไพพรรณ
(2541 : 142) แยกไว้ 3 เรื่อง คือ วัฒนธรรม ปัญญาธรรม และเมตตาธรรม
5. การดูและปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง ชาวบ้านผู้มีภูมิปัญญา เป็นผู้ถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าแห่ง
องค์ความรู้ สมควรได้รับการดูแล และเอาใจใส่โดยเฉพาะจากหน่วยงานของรัฐ ในด้านสวัสดิการหรือด้าน
อื่นๆ ตามความเหมาะสมเนื่องจากโดยส่วนใหญ่ปราชญ์ชาวบ้านมักเป็น ผู้ที่มีความเสียสละสูงจึงมักไม่
ค่อยเรียกร้องอะไร ดำาเนินชีวิตในทำานอง “มีแต่ให้”
การพัฒนาทรัพยากรทางภูมิปัญญาตามแนวทางที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ถือว่าเป็นองค์รวมของการ
พัฒนา ซึ่งรวมกระบวนการแสวงหา การพัฒนา การเผยแพร่ ลักษณะการัพฒนาทรัพยากรทางภูมิปัญญา
จึงควรเป็นการพัฒนาที่ครบทุกกระบวนการ เพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ในการใช้ทรัพยากรทางภูมิปัญญา
เพื่อการพัฒนา ทั้งนี้ต้องคำานึงถึง ความรู้สึกสำานึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมและสิ่งต่างๆ ความรู้ในเรื่องการริ
หาร การจัดการให้เกิดพลังโดยอยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้อง ความรู้ในเรื่องเทคนิควิธีการปฏิบัติที่ให้เกิดความ
สำาเร็จ

บรรณำนุกรม

กรมวิชาการ,กระทรวงศึกษาธิการ 2539 ภูมิปัญญำท้องถิ่นกับกำรจัดกำรเรียนกำรสอน


กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.
ประยูรศักดิ์ จันทร์ทอง. 2532. ควำมรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม. ปัตตานี : โรงเรียนสาธิต คณะศึกษา
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ประเสริฐ วิทยารัฐ และคณะ. 2530. สังคมศึกษำ โลกของเรำ. กรุงเทพมหานคร :
วัฒนาพาณิชย์
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. 2532. หลักกำรพัฒนำชุมชน: กำรพัฒนำชุมชนประยุกต์.
กรุงเทพมหานคร : โอ เอส พริ้นติ้ง.
ไพพรรณ เกียรติโชติชัย. 2541. กิจกรรมกำรศึกษำเพื่อพัฒนำท้องถิ่นอื่น. กรุงเทพมหานคร :
ศรีอนันต์การพิมพ์.
อัจฉรา โพธิยานนท์. 2539. กำรศึกษำกับกำรพัฒนำชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :
เทคนิคพริ้นติ้ง.
อังกูล สมคะเนย์. 2535 สภำพและปัญหำกำรนำำภูมิปัญญำชำวบ้ำนมำใช้ในกำรพัฒนำหลัก
สูตรในโรงเรียนประถมศึกษำสังกัดสำำนักงำนกำรประถมศึกษำจังหวัด
อุบลรำชธำนี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

199.
ทรัพยำกรมนุษย์
ทรัพยำกรมนุษย์ หมายถึง มนุษย์ที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ และเป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์และความ
มั่นคั่งของประเทศชาติ
เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์เป็นการศึกษาเรื่องมนุษย์และสังคม ที่จะเลือกใช้ทรัพยากรที่มีค่า
และหามาได้ยากไปในการผลิต การฝึกอบรม และนำาไปพัฒนาความชำานาญ จิตใจ อุปนิสัย และบุคลิกภาพ
และอื่นๆ
ควำมสำำคัญ
อดัม สมิท (Adam Smith) กล่าวในหนังสือความมั่งคั่งของชาติ (The Wealth of Nations) ว่าแหล่ง
ที่มาของความมั่งคั่งของชาตินั้นคือ แรงงาน (Labour) และการแบ่งงานกันทำา ของแรงงาน (Division of
Labour)
สมิท เห็นว่า ความมั่งคั่งของชาติขึ้นอยู่กับ
1. ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน
2. สัดส่วนแรงงานที่มีงานทำา และได้ทำางานอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบที่บ่งบอกคุณค่ำของทรัพยำกรมนุษย์
1. การมีสุขภาพอนามัยดี
2. มีการศึกษา
3. มีมาตรฐานในการดำารงชีพ
4. เป็นผู้มีขนบธรรมเนียม
5. มีอาชีพมั่นคง
ปัญหำที่เกิดขึ้นกับทรัพยำกรมนุษย์
1. ปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย และความเพียงพอของปัจจัย 4
2. การเพิ่มขึ้นของจำานวนประชากรโลก
3. การสูญเสียมนุษย์ไปโดยสิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยี และธรรมชาติ
4. การติดสิ่งเสพติด
แนวทำงในกำรพัฒนำทรัพยำกรมนุษย์
ทรัพยากรมนุษย์ ก็คือ มนุษย์ที่มีค่ามีคุณภาพซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งทรัพย์คุณภาพดังกล่าวจะพัฒนา
ได้อย่างไร
1. คุณภำพทรัพยำกรมนุษย์เริ่มจำกสถำนบันครอบครัว (Family) มารดา บิดา สิ่งแวดล้อม
ในครอบครัว เป็นที่หล่ อหลอมคุณ ค่าหรือ คุณ ภาพของบุตร คนในสมัย ก่ อ นจึ ง พู ด เสมอว่ า
มารดาเป็นครูคนแรกของบุตร

200.
ก่อนแต่งงานในต่างประเทศ อย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา คู่บ่าวสาวจะต้องตรวจสุขภาพ สุขภาพจะ
ต้องแข็งแรงปราศจากกามโรค โรคเอดส์ หรืออื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อทารก มิฉะนั้นจะไม่อนุญาตให้จด
ทะเบียน นัน้ คือการเตรียมการเพื่อจะให้บุตรที่เกิดมามีสุขภาพและคุณภาพที่ดี ถ้าจะเปรียบเทียบกับการจะ
ปลูกพืชจะต้องมีการคัดเลือกเมล็ดพันธ์ที่สมบูรณ์ ไม่มีโรค หรือแมลงใดๆ เมื่อนำาไปเพาะปลูกแล้วก็จะได้ต้น
พืชที่ดีพร้อมที่จะได้รับการดูแลรักษาเอาใจใส่ ให้สมบูรณ์ต่อไป ถ้าหากนำาเมล็ดพันธ์ที่มีเชื้อโรคหรือแมลงไป
ปลูกก็จะได้พืชที่ไม่สมบูรณ์เสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามากแล้วยังไม่โตและอาจจะตายได้ เสียค่าใช้จ่าย
ทั้งเงินและเวลาโดยเปล่าประโยชน์ มนุษย์ร้ายแรงกว่าพืชถ้ายังเด็กเกิดมามีโรค ตาบอด แขนขาดหรือขา
ขาด ไม่สมประกอบ ปัญญาอ่อนจะเป็นภาระแก่บิดา มารดา และสังคมอย่างมาก โอกาสที่จะพัฒนาให้เป็น
“ทรัพย์” แทบไม่มีเลยจะเป็นภาระทำา ให้เสียทรัพย์มากก็ว่า เพราะจะต้องเลี้ยงดู ดูแลรักษาเขาตลอดชีวิต
สุขภาพของบิดา มารดา ก่อนจะมีบุตรจึงมีความสำาคัญมาก
เมื่อตั้งครรภ์ จะต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ โดยเฉพาะเรื่องอาหาร และโภชนาการจะต้องดี สุขภาพ
อนามัยของมารดา จะต้องดูแลให้สมบูรณ์ หากเจ็บไข้ได้ป่วยย่อมจะมีผลกระทบต่อบุตรในครรภ์ดังที่ได้
กล่าวมาแล้วแต่ต้น การฝากครรภ์กับหมอโรงพยาบาล เพื่อตรวจและให้รับคำาแนะนำาที่ถูกต้องเป็นสิ่งจำาเป็น
แม้กระทั้งการทำาคลอดจะต้องดำาเนินการให้ถูกต้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การทำาคลอดที่ไม่มีคุณภาพอาจ
จะทำาให้ทารกพิการได้เช่นเดียวกัน
คุณภาพของมารดา – บิดา และสิ่งแวดล้อมในครอบครัวมีความสำาคัญมากการศึกษาของมารดา
เป็นสิ่งจำาเป็นอย่างยิ่ง ในสมัยก่อนเรามักจะได้ยินคำากล่าวที่ว่า มารดาเป็นครูคนแรกของบุตร ถ้ามารดามี
การศึกษาและมีเวลาดูแลและอบรมบ่มนิสัยบุตรหรือให้การศึกษาเบื้องต้นแก่บุตรย่อมทำาให้เด็กมีคุณภาพ
และมีคุณธรรม ในสมัยปัจจุบันเริ่มจะไม่เป็นจริง แม้มารดาหรือบิดามีการศึกษา แต่มักจะไม่มีเวลาดูแลบุตร
ธิดา บางาครอบครัวอาจจะปล่อยให้เด็กรับใช้ในบ้านเป็นผู้ดูแล ฉะนั้น เด็กรับใช้ในบ้านจึงกลายเป็นครูคน
แรกของบุตร แล้วคุณภาพของบุตร ธิดา จะเป็นอย่างไรในครอบครัวเช่นนี้ก็พอจะเดาได้และกำาลังสำาคัญ
ของชาติในอนาคตจะมีคุณภาพอย่างไรก็พอจะเดาได้เช่นกัน
ครอบครัวที่ดีมีความรักและความอบอุ่นเป็นรากฐานสำาคัญที่จะเป็นแรงผลักดันให้เด็กและเยาวชน
อันเป็นกำาลังสำาคัญ ในการพัฒนาคน พัฒนาสังคมในอนาคตให้เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ ทัง้ ทางร่างกายและ
จิตใจ
สิ่งแวดล้อมในครอบครัวเป็นปันจัยสำาคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากตอ่การพัฒนาการต่างๆ ของเด็กทุก
คน เมื่อใดที่ครอบครัวต้องเผชิญกับปัญหา เมื่อนั้นย่อมมีผลกระทบต่อสถานภาพของครอบครัว รวมทั้ง
ความมั่นคงของสังคมด้วย เนื่องจากครอบครัวเป็นภารกิจที่สำาคัญของชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ครอบครัวดีเท่านั้น
จะสามารถป้องกันและแก้ไขต้นเหตุของปัญหาสาระของสังคมได้
เด็กจะมีสุขภาพกายและใจที่ดีและมีคุณภาพตามศักยภาพสูงสุดของแต่ละคนได้ในระดับใดนั้นขึ้น
อยู่กับการเลี้ยงดูและการอบรมเด็กในสถาบันครอบครัวเป็นเบี้องต้น
201.
2. คุณภำพทรัพยำกรมนุษย์เกิดจำกกำรศึกษำ (Education) มีผู้ให้คำาจำากัดความของการ
ศึกษาไว้จำานวนมาก สุดแท้แต่จะมองในด้านใดแต่ในที่นี้จะพูดถึงการศึกษาไว้ใน 2 ความหมาย คือ (1) การ
ศึกษา ในความหมายอย่างกว้าง (2) การศึกษา ในความหมายอย่างแคบ
(1) การศึกษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง ขบวนการเรียนรู้ทุกรูปแบบตั้งแต่เกิดจนตาย เป็น
ขบวนการของชีวติ เป็นขบวนการหาความรู้และประสบการณ์ทุกอย่างที่ได้รับตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น
วัยหนุ่มสาว วัยผูใ้ หญ่ และวัยชรา ขบวนการดังกล่าวอาจจะอาศัยสื่อการศึกษา คือ บ้าน โรงเรียน วัด สังคม
และสิ่งแวดล้อม ในกรณีนี้ชวี ิตและกิจกรรมเพื่อชีวติ ทุกอย่างของเราล้วนเป็นโรงเรียน หรือแหล่งการศึกษา
ที่แท้จริง การศึกษาจึงหมายถึงประสบการณ์รวมที่บุคคลได้รับทั้งในและนอกโรงเรียนและสถาบันการศึกษา
และได้สะสมมาตลอดชีวิต การศึกษาในกรณีนี้คือ ชีวิต
(2) การศึกษาในความหมายแคบ หมายถึง การเรียน การสอนในโรงเรียน วิทยาลัย และสห
วิทยาลัยเท่านั้น การสึกษาจะเริ่มเมื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนและสถานศึกษาจะสิ้นสุดเมื่อออกจากโรงเรียน
และสถาบันศึกษา กรณีนี้มักจะเป็นการศึกษาที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และอาจารย์ ได้เตรียมจัดการเรียนการ
สอนไว้พร้อม เพื่อให้ผู้เข้าศึกษาได้มีความรู้ ความสามารถเพื่อจะดำารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีสวัสดิภาพ
และเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนะธรรมของชาติด้วย
คณะกรรมการวางพื้นฐานเพื่อปฏิรูปการศึกษา ได้ให้ความหมายของการศึกษาที่พึงประสงค์
สำาหรับประเทศไทยไว้ว่า เป็นการเสริมสร้างความรู้ ความคิด ทักษะและทัศนคติให้คนไทยรู้จักตนเอง รู้ชีวิต
เข้าใจสังคมและสิ่งแวดล้อม อันตนมีส่วนร่วมอยู่ด้วย แล้วนำาความรู้ความเข้าใจใช้แก้ปัญหา และเสริมสร้าง
ชีวิตและสังคมให้ดีขึ้นโดยกลมกลืนกับธรรมชาติ
ป ระ เ ภ ท ข อ ง ก ำ รศึ ก ษ ำ อ ำ จ จ ะ แ บ่ ง อ อ ก เ ป็ น ป ร ะ เ ภ ท ใ ห ญ่ ๆ ไ ด้ 3 ป ระ เ ภ ท คื อ
(1) การศึกษาในระบบการศึกษาที่มีรูปแบบ (Formal Education) เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นในสถาน
ศึกษาต่างๆ เช่น ในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย มีการจัดชั้นเรียน กำาหนดหลักสูตรและจำานวนปีที่
เรียน และกำาหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ไว้อย่างแน่นอน มีอุปกรณ์การเรียนการสอน อาคารสถานที่ บุคลากร
จำานวนครูและอาจารย์ตัวอย่างเช่น การจัดการศึกษาของไทยตามแผนการศึกษา พ.ศ. 2520 มีจุดมุ่งหมาย
ของการจัดแบ่งระดับ พอจะสรุปสาระได้ดังนี้
การศึกษาก่อนการประถมศึกษาหรือการศึกษาก่อนเข้าวัยเรียน มุ่งที่จะอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัย
เรียนให้มีความพร้อมทุกด้าน กาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและจิตใจ เพื่อที่จะรับการศึกษาในระดับต่อไป
ส่วนการศึกษาระดับประถมศึกษามุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถประกอบอาชีพตามสมควรแก่
มัตตัญญูภาพ
ส่วนการมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาที่ม่งให้ผู้เรียนมีความรู้ทางวิชาการที่เหมาะสมกับวัย ความ
ต้องการ ความสนใจ และความถนัด สำาหรับเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ หรือประกอบอาชีพเป็นประโยชน์

202.
ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติได้ ส่วนการอุดมศึกษามุ่งให้ผู้ศึกษามีความรู้ในวิชาชีพชั้นสูง และมีความ
ก้าวหน้าทางวิชาการสามารถทำาการวิจัยค้นคว้า เพื่อประโยชน์ของตน สังคมและประเทศชาติ และยังมุ่งให้
ผู้ศึกษาธำารงไว้ถ่ายทอด พัฒนามรดกทางวัฒนธรรมอย่างฉลาด สามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง
ในการศึกษาทั้ง 3 ระดับ รัฐบาลประเทศต่างๆ มักจะเน้นการศึกษาระดับระถมศึกษาเพราะการ
ให้การศึกษาระดับนี้เป็นการปูพื้นฐานของพลเมืองให้อ่านออก เขียนได้ มีความรู้ คิดเลขเป็น แก้ปัญหาเป็น
และมีความสามารถประกอบอาชีพได้ตามสมควร การลงทุนในระดับการศึกษานี้ให้ผลประโยชน์ทางสังคม
(Scial Benefit) สูงกว่าการจัดการศึกษาในระดับอื่นๆ
(2) การศึกษานอกระบบหรือการศึกษาที่ไม่มีรูปแบบ (Knob-Formal Education) เป็นการศึกษาที่
จัดตามความต้องการของประชาชนที่ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับโรงเรียน หรืออาจเคยได้รับการ
ศึกษาในระดับโรงเรียนมาบ้าง แต่มีเหตุจำาเป็นต้องออกจากโรงเรียนก่อนสำาเร็จการศึกษา จึงมีความ
ต้องการศึกษานอกโรงเรียน ในปัจจุบันได้ขยายออกไปกว้างขวาง บางประเภทอาจมีหลักสูตรแน่นอน แต่จัด
ไว้สำาหรับผู้ไม่มีโอกาสศึกษาในภาคปกติ มีโอกาสรับประกาศนียบัตรซึ่งมีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับผู้ที่ได้รับ
ประกาศนียบัตรจากโรงเรียนภาคปกติ เช่น โรงเรียนศึกษาผูใ้ หญ่สายสามัญเป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีบาง
ประเภทเป็นหลักสูตรระยะสั้น กำาหนดเป็นจำานวนชั่วโมงที่เรียน หรือเป็นระยะเวลาสั้นๆ 3 เดือน หรือ 6
เดือน เป็นต้น ในกรุงเทพมหานครมีโรงเรียนฝึกอาชีพต่างๆ เช่น ตัดผม ตัดเสื้อผ้า ซ่อมเครื่องยนต์ และอื่นๆ
มากกว่า 30 อาชีพ แม้กระทั่งโรงเรียนฝึกอาชีพเจียรนัยพลอยก็มี แต่เน้นการฝึกอาชีพในระยะสั้น
(3) การศึกษาอย่างไม่เป็นทางการหรือจะเรียกว่าการศึกษาตลอดชีวิต (Infomal Education) หรือ
(Lifelongducation) เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองในชีวิตประจำาวันเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม
รอบตัว เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการศึกษาที่ให้ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ความรู้และประสบการณ์ทไี่ ด้
รับจากการประกอบอาชีพต่างๆ
ข้อแตกต่างระหว่างการศึกษาในระบบและนอกระบบกับการศึกษาตลอดชีวิต คือการศึกษาใน
ระบบและนอกระบบเป็นการศึกษาที่ตั้งใจจัดขึ้น มีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ส่วนศึกษาไม่เป็น
ทางการหรือการศึกษาตลอดชีวิตนั้น เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่มีผู้จัดขึ้น ความรู้ที่เกิดขึ้น
จากการอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ หรือรายการดีๆ ในโทรทัศน์ หรือการศึกษาค้นคว้าอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย
ตนเองเพื่อความอยากรู้ (For the Sake of Knowledge) ไม่มีความตั้งใจหรือเจตนาจะได้รับประกาศนียบัตร
หรือปริญญาบัตรอย่างนี้ เป็นต้น ออดิโอสัน (Adison) นักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกันประดิษฐ์สิ่งต่างๆ
ได้มากกว่า 2,000 ชิ้น ได้รับการศึกษาในระบบน้อยมาก ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาไม่เป็นทางการหรือการศึกษา
เองตลอดชีวิตนั้นมีความสำาคัญมากเช่นเดียวกัน
การศึกษาทุกประเภทมีความสำาคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ การวิ
เคราะห์ท่สำาคัญที่ชี้ให้เห็นธรรมชาติ บทบาทการศึกษา และการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ จนทำาให้นัก

203.
เศรษฐกิจหันมาสนใจในการลงทุนในการศึกษา (T.W. Schultz) ซึ่งจะได้กล่าวถึงผลงานของท่านในบทบาท
ด้วยการลงทุนในการศึกษาต่อไป
3. คุณภำพทรัพยำกรมนุษย์เกิดจำกกำรฝึกอบรม (Training) การฝึกอบรม คือ
กรรมวิธีที่จะเพิ่มพูนสมรรถภาพในการทำางานของผู้ปฏิบัติงานให้พัฒนาในด้านความคิด การกระทำา ความ
สามารถ ความรู้ ความชำานาญ และทัศนคติต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับประสิทธิภาพการทำางาน
และการผลิตในปัจจุบันและอนาคต
ศาสตราจารย์ แกรี่ เอส เบคอน (Gary S. Becker) ได้วิเคราะห์ถึงบทบาทการฝึกอบรม ซึ่งจะได้
กล่าวถึงการวิเคราะห์ของท่านในบทที่ว่าด้วยการฝึกอบรม ท่านได้แบ่งการฝึกอบรมออกเป็น 2 ประเภท
ใหญ่ๆ คือ การฝึกอบรมทั่วไป (General Training) กับการฝึกอบรมเฉพาะอย่าง (Specific Training)
(1) การฝึกอบรมทัว่ ไป (General Training) เป็นการฝึกอบรมที่มิได้เจาะจงงานใดงานหนึ่งโดย
เฉพาะ เป็นการฝึกอบรมเพื่อจะสร้างเสริมความรู้กว้างๆ และเป็นการสร้างประสบการณ์สำาหรับคนทั่วๆ ไป
ผู้รับการฝึกอบรมหรือพนักงานบริษัทสามารถนำาเอาความรู้นนั้ ๆ ไปใช้เป็นประโยชน์แก่ตนเองได้ และ
สามารถจะนำาไปใช้ในการทำางานในหน่วยธุรกิจอื่นๆ ได้อีกด้วย ไม่เป็นประโยชน์เฉพาะบริษัทหรือหน่วยงาน
ของตนเองเท่านั้น เช่น การฝึกอบรมแรงงานชนบทก่อนเข้าทำางานในโรงงานอุตสาหกรรมงานพิมพ์ดีด งาน
จัดแฟ้มหรือเอกสาร และการพูดในที่ชุมชนเพื่อสร้างบุคลาธิษฐานภาพ เป็นต้น ความรู้ ความชำานาญที่ได้
จากการฝึกอบรมเช่นนี้จะนำาไปใช้ที่ไหนก็ได้โดยทั่วไป
(2) การฝึกอบรมเฉพาะ (Specific Training) เป็นการอบรมที่จำาเป็นสำาหรับงานใดงานหนึ่งเฉพาะ
ของบริษัทหรือหน่วยงาน โดยปกติการฝึกอบรมประเภทนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างยิ่งและตัวพนักงาน
เอง เพราะงานดังกล่าวนี้อาจจะมีลักษณะเฉพาะ และใช้อยูใ่ นบริษัทหรือหน่วยงานนั้น ถ้าพนักงานย้ายไป
ทำางานกับบริษัทอื่นก็แทบจะไม่ได้ใช้ประโยชน์กับความรู้และความชำานาญที่อบรมมา การฝึกอบรมประเภท
นี้มักจะเป็นการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานช่างเฉพาะอย่าง
การฝึกอบรมทั้งสองประเภทนี้ บริษัทต่างๆ มักจะฝึกอบรมแบบเฉพาะอย่าง (Specific Training)
มากกว่าฝึกอบรมทัว่ ไป (General Training) เพราะผลประโยชน์ตกอยู่กับบริษัทโดยตรง การฝึกอบรมทั่วไป
ซึ่งพนักงานได้รับประโยชน์ดว้ ยหรือบริษัท หรือหน่วยงานอื่นได้รับประโยชน์ด้วยเพราะปล่อยให้เป็นหน้าที่
ของพนักงานไปหาที่ฝึกอบรมเอง เสียค่าใช้จ่ายเอง เช่น การฝึกอบรมงานพิมพ์หรืองานเป็นโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ อย่างนี้เป็นต้น การฝึกอบรมไม่วา่ ประเภทใดมีประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในบาง
ประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาทักษะขั้นที่เรียกว่า “Skill Development Fund” ซึ่ง
มีประโยชน์อย่างยิ่ง
4. คุณภำพทรัพยำกรมนุษย์ที่เกิดจำกกำรมีสุขภำพอนำมัยและโภชนำกำรที่ดี (Health and
rition) จะได้ยินสุภาษิตที่ว่า “จิตใจที่ดีอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง” (A sound mind is in a sound body) จิตใจ

204.
ร่างกายมีความสัมพันธ์กัน เวลาเจ็บป่วยไม่สบายจะรู้สึกหงุดหงิด ไม่อยากจะทำางานหรือแม้ทำางานก็ไม่ได้
ผลเต็มที่ ในทำานองเดียวกัน หากเป็นนักเรียน หรือนักศึกษาถ้าสุขภาพไม่ดีเจ็บออดๆ แอดๆ ก็ไม่สามารถจะ
รับการศึกษาได้เต็มที่ การเรียนก็จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร ความรู้ ความสามารถ หรือคุณภาพของทรัพยากร
มนุษย์ที่ควรจะได้รับเต็มที่ก็ได้รับน้อยกว่าปกติ
นักเศรษฐศาสตร์จึงมองว่า การลงทุนในสุขภาพอนามัยจึงเป็นการลงทุนร่วม กับการลงทุนในการ
ศึกษาสุขภาพอนามัยของตนมากกว่าบุคคลที่ด้อยการศึกษา มารดาที่มีสุขภาพอนามัยดี บุตรในครรภ์ย่อม
จะสมบูรณ์คลอดออกมาแล้วก็สมบูรณ์ มีนำ้านมดี ลูกก็จะเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมอง และถ้ามารดามี
การศึกษาที่ดีย่อมจะรู้จักรักษาสุขภาพ หรือสามารถเข้าถึงข่าวสารด้านสุขภาพอนามัยได้ดีกว่ามารดาที่
ด้อยการศึกษา ฉะนั้น ค่าใช้จ่ายในการบำารุงรักษาสุขภาพอนามัย หรือมีโภชนาการที่ดี มีการป้องกันและ
รักษาสุขภาพเวลาเจ็บป่วย ทำาให้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพหรือมีคุณค่าในสังคม แต่ถา้ สุขภาพไม่ดี
นอกจากจะเรียน ศึกษา หรือทำางานไม่ได้เต็มที่แล้ว ยังจะเป็นคนแพร่เชื้อโรคในสังคม ย่อมไม่เป็นที่
ปรารถนาของผู้ใด
นักเศรษฐศาสตร์จึงเห็นว่า “ทั้งสุขภาพอนามัย (Health) และการศึกษา (Education) เป็นสินค้า
สาธารณะ (Public Goods)” หมายความว่า สุขภาพอนามัยที่ดี หรือการศึกษาที่ดี ประโยชน์แก่สังคมเป็น
ส่วนรวม (Public Goods) ใครๆ ก็อยากจะให้สังคมเป็นเช่นนั้น เพราะไม่อยากจะเห็นคนขี้โรคในสังคม และ
ไม่อยากจะเห็นโจรในสังคม แตะจะหาใครใช้จ่ายเงินของตนเพื่อจะสร้างโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย หรือ
โรงเรียนเพียงลำาพังได้ยาก หรือจะพูดสัน้ ๆ ว่า “อยากจะได้แต่ไม่อยากจะซื้อเพราะเป็นเงินก้อนใหญ่เกินไป
และแบ่งไม่ได้ (Indivisibility)” สินค้าสาธารณะนี้รัฐบาลจะต้องเป็นคนจัดหาหรือสร้างขึ้นเป็นส่วนมาก เช่น
โรงพยาบาล สถานีอนามัย โรงเรียน และสถาบันการศึกษา หรือถนนหนทาง เพื่อความสุขของคนในสังคม
ไม่เหมือนกับสินค้าเอกชน (Private Goods) เช่น ข้าวสามารถที่จะเลือกซื้อได้ตามจำานวนที่เราต้องการ
(Divisibility) เราบริโภคของเราไม่ได้ ไม่เหมือนโรงพยาบาล เราใช้แล้วคนอื่นยังใช้ได้เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี
และคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ในสังคม รัฐบาลจะต้องจัดหาสินค้าสาธารณะประเภทนี้ให้พอเพียงแก่ความ
ต้องการ
5. กำรอพยพ (Migration) เป็นการเพิ่มคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ การที่บุคคลใดจะต้องตัดสินใจ
อพยพย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยจากที่หนึ่งไปอยู่อีกที่หนึ่ง หรือจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาอยู่กรุงเทพมหานคร
หรือจากประเทศไทยไปอยู่ตะวันออกกลาง ผู้อพยพได้พินิจและพิจารณาแล้วว่า ผลประโยชน์ที่ได้รับ
(Benefit) เช่น รายได และผลประโยชน์อื่นใดที่เป็นตัวเงิน จากการอพยพครั้งนั้นจะต้องสูงกว่าต้นทุน (Cost)
หรือรายจ่ายที่เป็นตัวเงิน หรือไม่เป็นตัวเงินที่ต้องสูญเสียไปอันเนื่องมาจาก การอพยพครั้งนั้น หรือจะพูด
ง่ายๆ ได้ว่า ผลได้จะต้องมากกว่าผลเสีย (Benefit Cost) เขาจึงจะตัดสินใจอพยพ
แรงงานที่อพยพเข้ามาในกรุงเทพมหานคร หรือไปต่างประเทศ ย่อมได้รับความรู้ ประสบการณ์และ
รายได้ มากกว่าที่จะอยู่ถิ่นเดิม จึงเป็นการเพิ่มคุณภาพทรัพยากรมนุษย์อันที่จริงแล้วแรงงานไทยที่อพยพไป

205.
ขุดทองในต่างประเทศนั้นก็คือ “นักเรียนนอก” ระดับหนึ่ง ไปหาความรู้ ประสบการณ์ และรายได้ในต่าง
ประเทศ กลับมาคงจะได้ทั้งความรู้ประสบการณ์ และรายได้ที่จะทำาให้เขามีฐานะดีขึ้น มีเงินที่จะลงทุนใน
การศึกษาของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น หรือสามารถจะใช้การบำารุงสุขภาพ อนามัย ป้องกัน
หรือรักษาสุขภาพเวลาเจ็บป่วย ย่อมเป็นการเพิ่มคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของสังคมและประเทศชาติ
6. คุณภำพทรัพยำกรมนุษย์เกิดจำกประสบกำรณ์ในกำรทำำงำน (Work Experience) บุคคล
ที่ได้ลงทุนในการศึกษาตั้งต้นจนจบมหาวิทยาลัย ย่อมต้องการที่จะได้ทำางาน สมกับความรู้ที่ตนได้เรียนมา
การทำางานเป็นการนำาเอาความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาใช้ในทางปฏิบัติ เป็นการฝึกฝนจากของจริง (On the
job Training) การทำางานในหน้าที่จะเป็นการเพิ่มประสบการณ์ในการในงาน (Work Experience) ทำาให้
เกิดความชำานาญ (Dexterity) ล้วนเป็นการเพิ่มพูนคุณค่าในตัวทรัพยากรมนุษย์จึงมักจะมักจะมีคำากล่าวที่
แสดงให้เป็นความสำาคัญของประสบการทีว่ ่า “บุคคลที่มีคุณค่าสูงสุดเมื่อถึงวันก่อนที่จะเกษียณอายุ” ซึ่งก็
หมายความว่า เข้าได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการทำางานมาสูงที่สุดจนถึงวันนั้น อย่างไรก็ตาม การที่บุคคล
จะมีงานทำาหรือไม่หลังจากการจบการศึกษาหรือฝึกอบรมแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของตลาดแรงงาน
(Labour Maker) ว่าเป็นอย่างไร อุปสงค์ (Demand) อุปทาน (Supply) ของแรงงานเป็นอย่างไร ข่าวสาร
การตลาดแรงงานเป็นอย่างไร ซึ่งจะได้กล่าวถึงในบทหลังๆ ต่อไป
7. คุณภำพทรัพยำกรมนุษย์ขึ้นอยูก่ ับสภำวะสิ่งแวดล้อม (Environment) สิ่งแวดล้อมมีผลก
ระทบต่อพฤติกรรมของมนุษย์นั้นแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งตาย ซึ่งได้อธิบายแล้วจากทฤษฎี
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ตอนต้นๆ ของบทนี้
ในปัจจุบัน ภัยอันตรายที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนกำาลังคืบคลานเข้ามรครอบคลุมประเทศต่างๆ ทั่ว
โลก และการนำาเอาวิทยาการใหม่ๆ มาใช้พัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยในบางครั้งไม่ได้คำานึงถึงผลก
ระทบที่จะเกิดขึ้น สภาพแวดล้อมของประเทศต่างๆ หรือของโลกได้เลวร้ายลงตามลำาดับ อันสืบเนื่องมาจาก
อากาศเป็นพิษ อากาศบริสุทธิ์สำาหรับมนุษย์หายใจ ในปัจจุบันนี้ไม่บริสุทธิ์ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ซึ่งเป็น
อันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ที่มองไม่เห็น ทำาให้เกิดโรคต่างๆ ได้
อากาศเป็นพิษ (Air Pollution) แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์เกิดจากการเผาไหม้ของนำ้ามันรถยนต์
เป็นแก๊สที่อันตรายมาก เพราะจะไปแย่งที่ออกซิเจนในเม็ดเลือดแดง ทำาให้เซลล์ขาดออกซิเจน โดยเฉพาะ
เซลล์สมอง ทำาให้เกิดอาการมึนงง ระบบประสาททำางานช้าลง ถ้าสูดเข้าไปมากทำาให้เกิดอันตรายต่อปอด
แสบจมูก ตา และคอ ทำาให้หลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง และไอระเหยของตะกั่วจากการเผาไหม้ของ
นำ้ามันเบนซิลมีผลให้เกิดโรคโลหิตจาก ไตอักเสบ และโรคกระดูกด้วย
เสียงเป็นพิษ (Noise Pollution) ในปัจจุบันเป็นทีต่ ระหนักว่า เสียงอึกทึกนอกจากก่อความรำาคาญ
แล้วยังทำาให้ประสิทธิภาพในการทำางานของตนลดลง อาจทำาให้ป่วยเป็นโรคจิตหรือพิการได้ถ้าดังมากๆ
อาจทำาให้หูหนวกตลอดชีวิต

206.
ปัญหานำ้ามันเป็นพิษ (Water Pollution) นำ้ามีความสำาคัญต่อมนุษย์ในทุกด้านมนุษย์ต้องการใช้นำ้า
สะอาด แต่ปัจจุบันนำ้าในแม่นำ้าลำาคลองไม่สะอาดอีกต่อไป เพราะมนุษย์ทิ้งเศษอาหารขยะทุกชนิดลงใน
แม่นำ้า ทำาให้คุณภาพของนำ้าเลวลง เป็นพิษต่อพืช คน และสัตว์ ย่อมจะมีผลต่อชีวิต ความเป็นอยู่สุขภาพ
อนามัย และคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์อย่างแน่นอน ถ้าหากไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง
ดัชนีตัวชีวัดระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Indicator of Human Resource Development)
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า มนุษย์ที่จะเป็นที่มาแห่งทรัพย์หรือมีค่าต่อสังคม จะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
มีคุณธรรมที่สังคมต้องการ สิ่งเหล่านี้เป็นนามธรรม ซึ่งชั่งหรือวัดออกมาแน่นอนไม่ได้ ไม่เหมือนกับนำ้าหนัก
หรือความสูงของคน จะอย่างไรก็ตาม ก็มีผู้พยายามจะวัด ทั้งนี้เพื่ออยากทราบว่าคุณภาพทรัพยากรมนุษย์
ซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์ของประเทศต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร หรือจะพูดว่ามนุษย์ (Human Capital) คือ ปริมาณ
ความรู้ ความสามารถ (Quantum of Knowledge and Capacities) ซึ่งมีอยู่หรือได้ลงทุนไว้แล้วในตัว
มนุษย์มีมากน้อยเพียงไร ตัวชี้วัดดัชนีสามารถจะแบ่งออกได้ดังนี้
1. ตัวชี้วัดระดับกำรพัฒนำทำงกำรศึกษำโดยตรง
1) อัตราส่วนระหว่างผู้สำาเร็จการศึกษาระดับต่างๆ ต่อประชากรทั้งหมดผู้สำาเร็จการศึกษาระดับ
ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา หารด้วยประชากรทั้งหมดแล้วคูณด้วย 10,000 ซึ่งก็หมายความ
ว่าในจำานวนประชากร 10,000 คน มีผู้สำาเร็จการศึกษาทั้ง 3 ระดับกี่คน หรือจะคูณด้วย 100,000 ก็ได้ แต่ก็
ตีความหมายว่าในจำานวนประชากร 100,00 มีผู้สำาเร็จการศึกษาทั้ง 3 ระดับดังกล่าวกี่คน อย่างนี้เป็นต้น
เนื่องจากการศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นระดับตำ่าและมักจะเป็นการศึกษาภาคบังคับ อัตราส่วนที่ชอบใช้
เปรียบเทียบ จึงมักจะเป็นอัตราส่วนระหว่างผู้ที่สำาเร็จมัธยมศึกษาและอุดมศึกษากับประชากรทั้งหมด
2) อัตราส่วนระหว่างผู้ที่ประกอบอาชีพชั้นสูง หรือผู้ที่สำาเร็จการศึกษาในระดับสูงกับประชากร
ทั้งหมด เช่น จำานวน วิศวกร แพทย์ ทันตแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ครู อาจารย์ หรือผู้จัดการในองค์การธุรกิจ
และอื่นๆ กับประชาชนทั้งหมดแล้วคูณด้วย 100 หรือ 1,000 ก็ได้ ดัชนีที่ได้ในกรณีนี้เป็นการวัดระดับทุน
มนุษย์ตามกลุ่มอาชีพ หรือระดับการศึกษา ซึ่งบุคคลในกลุ่มอาชีพ หรือการศึกษาระดับสูงเช่นนี้ย่อมเป็นผู้ที่
ได้ลงทุนในทรัพยากรมนุษย์และทุนมนุษย์ในระดับสูง แต่ถ้าหากนำาเอาตัวเลขดัชนีที่ได้ไปเปรียบเทียบ
ระหว่างประเทศ ก็พึงระวังเรื่องความหมายและคำาจำากัดความจะต้องใกล้เคียงกัน อาจจะเทียบกันได้ เช่น
แพทย์ของอีกประเทศอาจจะเรียน 3 ปี อีกประเทศอาจจะเรียน 6 ปี หรือแม้แต่ 3 ปี ก็อาจเป็นไปได้
3) อัตราการอ่านออกเขียนได้ (Literacy Rate) เป็นอัตราส่วนระหว่างจำานวนผู้อ่านออกเขียนได้
ทั้งหมดกับประชากรทั้งหมด แล้วคูณด้วย 100 หมายความว่าในจำานวนประชากร 100 คน โดยเฉลี่ยแล้ว
อ่านออกเขียนได้จำานวนกี่คน อัตราส่วนการอ่านออกเขียนได้ บอกให้ทราบถึงรากฐานการศึกษาของ
ประเทศ (Education Foundation) ถ้าประชากรอ่านออกเขียนได้ในอัตราส่วนที่สูงย่อมมีประโยชน์ในด้าน
เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการปกครองด้วย

207.
นอกจากนี้ยังมีดัชนีอื่นๆ ทีม่ ีความสำาคัญเป็นระดับรองลงมา แต่ก็ยังนิยมใช้กันแพร่หลาย สุดแท้แต่
วัตถุประสงค์ในการใช้
4) อัตราส่วนระหว่างจำานวนวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์กับประชากรทั้งหมดคูณด้วย 10,000 นัน้ ก็
คือ จำานวนวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ต่อจำานวนประชากร 10,000 คนนั้นเอง
5) อัตราส่วนระหว่างจำานวนนักเรียนในระดับประถมศึกษาต่อจำานวนประชากรทั้งหมดที่อยู่ในวัย
ต้องเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งอายุหรือวัยดังกล่าวอาจแตกต่างกัน ขึน้ อยู่กับระบบการศึกษาของแต่ละ
ประเทศในทำานองเดียวกัน สามารถจะหาอัตราส่วนระหว่างจำานวนนักเรียนหรือนักศึกษาในระดับต่างๆ ต่อ
จำานวนประชากรที่อยู่ในวัยที่ต้องศึกษาในระดับมัธยม หรือระดับอุดมศึกษาก็ได้แล้วแต่กรณีและ
วัตถุประสงค์หรือที่เรียกว่าอัตราการเข้าศึกษาต่อ (Education Ratio)
2. ตัวชี้วัดระดับกำรพัฒนำทำงกำรศึกษำโดยทำงอ้อม มีดังนี้
1) ดัชนีโภชนาการ (Nutrition Index) วัดระดับความกินดีของประชากรเป็นอัตราส่วนระหว่าง
จำานวนแกลอรี่เฉลี่ยต่อหัวที่ประชากรได้บริโภคต่อวันกับเปอร์เซ็นต์ของแคลอรี่ต่อวันที่ประชากรได้รับจาก
พวกแป้ง และซีเรียล ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่าตำ่าแสดงว่าโภชนาการไม่ดี เพราะในแต่ละวันประชากรโดยเฉลี่ย
บริโภคพวกแป้งและซีเรียลเป็นสัดส่วนที่สูง แคลอรี่ที่ได้รับก็ได้จากอาหารประเภทนี้มาก หรืออาหารต่อวัน
ก็ได้ จำานวนเต็มเด็กที่เกิดนำ้าหนักตำ่ากว่ามาตรฐาน โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ กับจำานวนเด็กที่เกิดทั้งหมด
2) ดัชนีสุขภาพ (Health Index) ความยืนยาวของชีวิต (Life Expectancy) อาจจะสะท้อนให้ทราบ
ถึงระดับการพัฒนาทางการศึกษา ผูม้ ีการศึกษาดีอาจจะเข้าถึงข่าวสารด้านสุขภาพได้ดี รู้จักป้องกันและ
รักษาสุขภาพ ทานอาหารที่มีคุณค่า รู้จักออกกำาลังกายอย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้น ความยืนยาวของชีวิตเป็นตัวที่
ใช้วัดระดับสุขภาพโดยเฉลี่ยของคนในประเทศ
3) ดัชนีรวม
(1) มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของชาติต่อหัว (GNP per Capita) หรือมูลผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศต่อหัว (GNP per capita) มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลเพราะ GNP = ค่าใช้จา่ ยมวลรวมในการ
บริโภค (C) + ค่าใช้จา่ ยมวลรวมในการลงทุน (I) + รายจ่ายของรัฐบาลในการซื้อสินค้าบริการ (G) + ด้วย
มูลค่าส่งออกสุทธิ (X – M) ส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์ภายในประเทศต่อหัว ทั้งสองตัวนี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปใน
ทิศทางเดียวกัน ถ้ารายจ่ายต่อหัวสูงก็แสดงว่าผลผลิตต่อหัวสูงรายได้ต่อหัวสูง ประเทศที่พัฒนาแล้วมี
ผลผลิตต่อหัวสูง รายจ่ายต่อหัวสูง และรายได้ต่อหัวสูงด้วย ซึ่งตรงข้ามกับประเทศกำาลังพัฒนาซึ่งทั้ง 3 ตัวมี
ค่าตำ่า ซึ่งบอกถึงระดับการพัฒนาตำ่าเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตาม GNP หรือ GDP ของ
แต่ละประเทศอาจจะ คำานวณแตกต่างกัน ราคาสินค้า ในแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน การจะเปรียบเทียบ
GNP หรือ GDP ระหว่างประเทศจะต้องปรับ (Adjusted) ให้อยู่ในมาตรฐานที่จะเทียบกันได้ เช่น อาจจะ
ปรับด้วยดัชนีราคาเป็นต้น

208.
(2) ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) ดัชนี HDI เป็นดัชนีรวมที่สร้างขึ้นโดย
องค์การสหประชาชาติ ปัจจัย 3 ตัวที่นำามาสร้างดัชนีนี้คือ ความยืนยาวของชีวิต อันตราการอ่านออกเขียน
ได้ และมูลค่าผลิตภัณฑ์มูลรวมภายในประเทศต่อหัวที่ปรับแล้ว ของประเทศต่างๆ แล้วสร้างเป็นดัชนีรวม
เพื่อจะเปรียบเทียบระหว่างประเทศ ประเทศที่มีการพัฒนาด้านนี้สูงสุดจะมี HEI เท่ากับ 1 ประเทศที่มีการ
พัฒนาด้านนี้ตำ่าก็จะมี HDI อยู่ใกล้ศูนย์
หลักกำรพัฒนำทรัพยำกรมนุษย์
1. แก้ปัญหาความยากจน
2. ป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
3. ขยายโอกาสทางการศึกษา
4. แก้ปัญหาความเกียจคร้านและเฉื่อยชา
5. การป้องกันอันตรายจากสารพิษ
6. การลดอุบัติเหตุ
7. การให้บริการทางสังคม
8. การจัดการเผ่าพันธุ์ของมนุษย์
กำรพัฒนำทรัพยำกรมนุษย์ตำมแนวพุทธ
พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการกระทำาทั้ง 3 ด้านคือ
1. ด้านพฤติกรรม ได้แก่ วินัย การทำามาเลี้ยงชีพ และวิธีปฏิบัติในการผลิต บริโภค และอยู่ร่วมกับ
สิงแวดล้อม
2. ด้านจิตใจ ได้แก่ คุณธรรม ความรู้สึก แรงจูงใจ สภาพจิตใจ
3. ด้านปัญญา ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเหตุผล การเข้าถึงความจริง รวมทั้งความเชื่อถือทัศนคติ
ค่านิยม และแนวคิดต่างๆ
ชุมชนกับกำรจัดกำรทรัพยำกรที่สงู
ดิน นำ้า ป่า บนพื้นที่สูง เป็นเป้าหมายในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทกี่ ำาหนดไว้ชัดเจน
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 มีการจัดชั้นคุณภาพลุ่มนำ้าประกาศเขตอนุรักษ์ต่างๆ
ภายใต้ยุทธศาสตร์ป่าปลอดคน
การแยกคนออกจากป่าได้รับการวิจารย์อย่างมาก เพราะในสภาพความเป็นจริงบนพื้นที่สูงมีชาว
เขาเผ่าต่างๆ รวมทั้งคนพื้นที่ราบบางส่วนอยู่ถึงกว่า 5 แสนชีวิต กระจายตัวกันทั่งไปโดยอาศัยธรรมชาติ ดิน
นำ้าและปัจจัยสี่จากป่าเป็นฐานรอบรับมาเป็นเวลานาน 30 – กว่า 100 ปี ชาวบานเขาทำาลายป่าจริงหรือ ?

209.
การใช้ชีวิตแม้ในวิถีสามัญย่อมหลักไม่พ้นการทำาลาย ไม่ชีวิตใดก็ชีวิตหนึ่งไม่เพียงแต่ชาวเขาเท่านั้น
หากแต่รวมไปถึงทุกคนในสังคม แต่เมื่อพูดถึงชาวเขาทำาลายป่า สังคมโดยรวมมักยอมรับและปักใจโดยไม่
ตั้งคำาถาม เรื่องใครทำา ? เป็นการตั้งคำาถามที่แบ่งแยกถูกผิดที่ถูก ที่ถูกควรถามว่าใครรักษาป่า การทำาลาย
ป่าเกิดจากสาเหตุ 4 ประการ คือ การขาดภูมิปัญญา ขาดสำานึก ขาดกฎระเบียบและมีความจำาเป็น ระบบ
คุณค่าที่เป็นภูมิปัญญาเปลี่ยนจากการมองความสงบสุข ความยั่งยืน มาแสวงหาความพอใจสูงสุด รายได้
สูงสุด การสูญเสียพื้นที่ป่าเป็นเรื่องของการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาล
ภู มิ ปั ญ ญ ำ ท้ อ ง ถิ่ น
ชาวเขาส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า ป่า นำ้า ขุนเขา เป็นที่อยู่ของบรรพบุรุษผู้ลว่ งลับ การใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรเหล่านี้จึงต้องปฏิบัติตากฎเกณฑ์และข้อห้ามต้องมีการขออนุญาตผี เพื่อจะใช้แสดงความ
ขอบคุณเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้องขอขมาเมื่อมีการละเมิดผิดผี อย่างไรก็ดี รัฐเองก็มีนโยบายต่อการ
จัดการทรัพยากรบนที่สูง โดยเน้นการควบคุมป้องกันและปราบปรามมากกว่าการสนับสนุนหรือแสวงหา
ความร่วมมือจากชุมชน
ผ ส ำ น ภู มิ ปั ญ ญ ำ ใ ห ม่
จากข้อเท็จจริงที่ยอมรับว่า ชาวเขาต้องการและสมควรมีความเป็นอยู่ในที่สูงตามแบบฉบับของชาว
เขา และมีวิถีปฏิบัติบางอย่างที่เอื้อต่อการอนุรักษ์พื้นที่ป่าและต้นนำ้าลำาธาร ในขณะที่รัฐมีนโยบายในการ
พัฒนาที่ไม่ได้ให้ค่าต่อภูมิปัญญาชาวเขา การพัฒนาที่ผ่านมาจึงออกมาในรูปของการสงเคราะห์และมุ่ง
พัฒนาพื้นที่ที่มีปัญหา
หลักการจัดการทรัพยากรของชาวบ้านมีอยู่ 4 ลักษณะคือ มีความจำาแนกชัดเจน มีการจัดสรร การ
ควบคุมและการรองรับสิทธิ์ในระดับชุมชน
อีกกรณีหนึ่งที่เป็นแบบอย่างของการเกษตรเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่สูง คือชาวบ้านลุ่มแม่นำ้าจันและแม่
ละออง มีการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมทำาเกษตร ระบบที่สามารถป้องกันการสูญเสียหน้าดินทำาให้ใช้พื้นที่ทำา
กินน้อยลง จึงมีพื้นที่ปล่อยเป็นป่าธรรมชาติมากขึ้น
กระแสการอนุรักษ์ต้นนำ้าลำาธาร และระบบเกษตรที่ยั่งยืนมีการขยายตัวไปหลายลุ่มนำ้าในภาคเหนือ
ถ้าชาวบ้านมั่นใจว่าทิศทางนี้จะเป็นทิศทางที่รัฐบาลยอมรับในระดับนโยบายหรือจังหวัด เขามั่นใจที่จะ
พัฒนาภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติต่อไป
ชุมชนกับกำรจัดกำรทรัพยำกรชำยฝั่ง
ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาว 2,614 กิโลเมตร จึงมีป่าชายเลน ปะการัง และหญ้าทะเล กระจาย
ตัวอยู่ทั่วไป ในอดีตทรัพยากรชายฝั่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก แต่เมื่อประเทศไทยมุ่งเป้าการพัฒนาไปสู่
การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ทำาให้ทิศทางการใช้ทรัพยากรมุ่งไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ทำาให้
ทิศทางการใช้ทรัพยากรมุ่งไปสู่การส่งออกเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
เป็นหลัก
210.
ก ฎ ห ม ำ ย ไ ม่ คุ้ ม ค ร อ ง ป่ ำ ช ำ ย เ ล น
ป่าชายเลนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่คือ ป่าอนุรักษ์ซึ่งแตะต้องไม่ได้ตามหลักการและป่า
เศรษฐกิจซึ่งมี 2 ลักษณะคือ ป่าเศรษฐกิจ ก. หมายถึง ป่าที่ให้สัมปทานกับเจ้าของโรงถ่านและป่าเศรษฐกิจ
ข. คือ ป่าที่สามารถร้องขอเพื่อทำาประโยชน์อื่นได้

เ รื อ อ ว น ใ ห ญ่ ทำำ ล ำ ย ห ญ้ ำ ท ะ เ ล
เมื่อพูดถึงทรัพยากรชายฝั่งจะนับรวมตั้งแต่ป่าชายเลนบนฝั่งลงไปถึงหาดทราย หาดโคลนซึ่งลึกลง
ไปมีนำ้าสะอาดและโครงสร้างของดินเหมาะสมจะมีหญ้าทะเลขึ้น หญ้าทะเลเป็นพืชมีดอกซึ่งครั้งหนึ่งเคย
เป็นพืชอยู่บนบก แล้วรุกลำ้าเขาไปในทะเล ปรับตัวเข้ากับสภาพความเค็มของนำ้าทะเล จนปัจจุบันเป็นพื้นที่
อยู่ในทะเลอย่างสมบูรณ์ มีดอกมีหญ้าทะเลเป็นที่อาศัยของสัตว์นำ้าเป็นแหล่งอาหาร ทีหลบภัย และเป็น
แหล่งผสมพันธ์สัตว์นำ้าด้วย หญ้าทะเลจึงมีความสำาคัญต่อระบบนิเวศชายฝั่งมาก
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับหญ้าทะเลนอกจากตะกอนแล้ว เรือประมงขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องมือประเภท
อวนลาก อวนรุน ยังลากไถกวาดพื้นผิวทะเลทำาลายหญ้าทะเลดังกล่าวมสัตว์ทะเลอาศัยอยู่ชุกชุม
จ ำ ก ป ะ ก ำ รั ง ธ ร ร ม ช ำ ติ สู่ ป ะ ก ำ รั ง เ ที ย ม
ปะการังเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง มีโครงสร้างเป็นหินปูนแข็งหุ้มตัวอยู่ตามชายฝั่งทะเล มีความหลาก
หลายของสิ่งมีชีวติ สูงมาก มีแพลงตอน พืช สาหร่าย เป็นห่วงโซ่อาหารชั้นต้นของสัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งปู ปลา
กุ้ง หอย เป็นแนวป้องกันกระแสนำ้าไม่ให้กัดเซาะชายฝั่งในฤดูมรสุม
ท ะ เ ล ไ ม่ มี เ อ ก สิ ท ธิ์
“ทะเลไม่มีเอกสิทธิ์ ทุกคนมสิทธิกอบโกยโดยไม่ต้องสนใจว่าจะทำาให้มันสมบูรณ์” การที่ชุมชนชาว
ประมงจะอยู่รอดได้นั้น ทะเลต้องมีปลา ปลาจะมีขึ้นได้ ป่าชายเลน หญ้าทะเลและปะการังต้องสมบูรณ์ ซึ่ง
ก็หมายความว่าชาวประมงต้องเลิกใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย แนวคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจึงขยาย
ตัวจากชาวบ้าน 7 หมู่บ้าน รอบอ่าวสิเกาตอนเหนือเป็น 17 หมู่บ้าน ทำาการปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากร
ชายฝั่ง
เ ก ษ ต ร ส มั ย ใ ห ม่ มี เ ขื่ อ น ป้ อ ม นำ้ำ
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เมือ่ มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจจึงมุ่งเน้นมาที่การพัฒนา
ทางเกษตรซึ่งถูกกำาหนดโดยกระแสโลก มีธนาคารโลกและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
ช่วยเหลือทางด้านวิชาการระบบเกษตรถูกเปลี่ยนเป็นเกษตรกรรมสมัยใหม่ตามการปฏิบัติเขียว ใช้พืชพันธุ์
ใหม่ที่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีสูง สารพิษกำาจัดศัตรูพืชปริมาณมหาศาล และใช้นำ้ามาก อันเป็นเงื่อนไขที่กำาหนดให้
เกิดการชลประทานขนาดใหญ่ควบคู่มากับการบริหารงานที่รวมศูนย์ค่าใช้จา่ ย
211.
เ ขื่ อ น ใ ห ญ่ ต้ อ ง มี ไ ต่ ส ว น ส ำ ธ ำ ร ณ ะ
การสร้างแหล่งนำ้าไม่วา่ ขนาดใหญ่หรือเล็กต้องพิจารณาความเหมาะสมเป็นพืน้ ที่ไป และต้องมีโลก
ทรรศกว้าง นักการเมืองหรือผู้บริหารประเทศไม่สามารถมองเพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น ประเทศไทยจึง
จำาเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็มีความจำาเป็นต้องจัดการทรัพยากรธรรมชาติและแก้ไขปัญหา
สิ่งแวดล้อม ฉะนั้นทางออกจึงต้องอยู่ที่ท่านผู้รู้ทั้งหลาย

ประเทศไทยไม่ใช่ที่รำบลุ่มเจ้ำพระยำ
ที่ผา่ นมาประเทศเราส่งออกข้างเป็นหลัก จึงใช้อ้างว่าความชอบในการทำานำ้าจากทุกที่ไม่ว่าเป็น ปิง
วัง ยม น่าน ป่าสัก มาใช้เมื่อไม่พอก็หนั มาหาแม่นำ้าโขง คิดจะผันนำ้า กง ปิง ยม มาลงที่แก่งเสือเต้น ลงแม่นำ้า
น่าน เข้าเขื่อนศิริกิติ์ มาเจ้าพระยา ผันนำ้าจากสาละวินลงแม่นำ้าปิงเขื่อนภูมิพล เข้าเจ้าพระยา เพื่อหล่อเลี้ยง
ที่ราบเจ้าพระยา
นอกจากนั้น เมื่อมองในแง่ความเป็นธรรมระหว่างคนต้นนำ้ากับาคนภาคกลางว่าคนต้นนำ้ามักถูก
เรียกร้องทีท่ ำากินมากเพราะจะเป็นการทำาลายป่าต้นนำ้า ทั้งที่คนต้นนำ้าจำานวนหลายสิบล้านคนจำาเป็นต้องมี
ชีวิตอยู่ต้องทำานาทำาไร่ จึงควรคำานึงถึงสิทธิในการใช้ทรัพยากรของคนต้นนำ้าด้วยเช่นกัน
ร ว ม ศู น ย์ แ ล้ ว แ ย ก ส่ ว น
การจัดการนำ้าของรัฐเป็นการรวมศูนย์แล้วแยกส่วนกันดูแลในแต่ละเรื่อง เช่น ให้กรมชลประทาน
จัดการนำ้า กรมป่าไม้จัดการป่า ส่วนที่ดินก็ให้กรมทีด่ ินหรือกรมพัฒนาที่ดินจัดการ บางครั้งก็เกิดความขัด
แย้งกัน
เหมืองฝ่ำย : กำรจัดกำรนำ้ำแบบยั่งยืน
“เหมืองฝายเป็นวิถีชีวิต และเหมืองฝายคือวัฒนธรรม” นิยามของเหมือนฝายสั้นๆ เช่น นัน้ เพราะ
ระบบการจัดการนำ้าแบบเหมืองฝายของภาคเหนือเป็นทั้งระบบ อำานาจ ผลประโยชน์ ระบบคิด และระบบ
อุดมการณ์ มีการจัดการนำ้าที่ทำาให้เกษตรกรผู้ใช้นำ้าอยู่ได้และอยู่รอดปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวกำาหนดขนาด
ของท่อนำ้าเข้านา ซึ่งหมายถึงปริมาณนำ้าที่นาแต่ละแปลงจะได้รับระบบคิดในการแบ่งปันผลประโยชน์เป็น
หลักการที่ประกันความยังยืนของชุมชน มีการทบทวนอำานาจตลอดเวลา
หัวใจสำำคัญที่กำรกระจำยอำำนำจ
ต่อคำาถามทีว่ ่าเขื่อนขนาดใหญ่สำาเร็จหรือล้มเหลวนั้น การตอบคำาถามต้องพิจารณารายละเอียด
โดยเฉพาะระดับของปัญหานำ้า แต่ถ้าประชาธิปไตยในท้องถิ่นมีการกระจายอำานาจ คงไม่ต้องมาขัดแย้งใน
เรื่องสร้างเขื่อนใหญ่ดีหรือแหล่งนำ้าขนาดเล็กดี หรือเหมืองฝายดีเพราะคำาตอบจะอยู่ภายใต้การกระจายอำา
นาจ
212.
สำาหรับภาคเหนือชุมชนท้องถิ่นอาจเห็นว่าระบบเหมืองฝายเหมาะสม ขณะทีใ่ นอีสานจะสร้างฝาย
เหมาะสม ขณะที่ในอีสานจะสร้างฝายและผันนำ้าเข้าที่นาซึ่งวิธีแก้ปัญหาของชาวบ้าน ลักษณะนี้เป็น
แนวทางในการพัฒนาลุ่มนำ้าขนาดเล็ก เพราะคนในชุมชนจะรู้รายละเอียดของปัญหาดี
การแก้ปัญหาแต่ละระดับจึงต้องใช้วิธีแก้คนละอย่าง แหล่งนำ้าขนาดเล็กจะเหมาะสมที่สุดสำาหรับ
เกษตรกรรายย่อยแต่ถ้าเมืองเติดโตมาก มีเขตอุตสาหกรรมพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อการส่งออกหลายแสน
หลายล้านไร่ การชลประทานขนาดใหญ่อาจเหมาะสม เขื่อนจึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาวิธีหนึ่ง

ทรัพยำกรดินและกำรอนุรักษ์
ดินเป็นทรัพยากรที่เราเห็นและเดินเหยียบยำ่าอยู่ทุกวัน
ดิน คือ วัตถุที่ประกอบด้วยแร่ธาตุรวมตัวกับอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุได้จากการแตกสลายมาจากหิน ซึ่ง
มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่เม็ดทรายจนถึงเกล็ดตะกอนขนาดเล็ก ส่วนอินทรีย์วัตถุก็คือซากของสิ่งมีชีวิต เช่น พืช
สัตว์ ทีต่ ายทับถมกันเมื่อแร่ธาตุรวมตัวกันกับอินทรีย์วัตถุและค่อยๆ ย่อยสลายรวมกันเกิดเป็นวัตถุเรียกว่า
ดิน ในเนื้อดินจะมีส่วนประกอบที่สำาคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ส่วนที่เป็นของเหลว นำ้าที่ซึมอยู่ในดิน
จะมีแร่ธาตุต่างๆ ละลายอยู่ด้วย ส่วนประกอบสุดท้ายคือ อากาศ แทรกตัวอยู่ตามช่องว่างของเนื้อดิน
ค ว ำ ม สำำ คั ญ แ ล ะ ป ร ะ โ ย ช น์ ข อ ง ที่ ดิ น
1. ดินเป็นต้นกำาเนิดของผลผลิตภาคเกษตรกรรม
2. เนื้อดินช่วยดูดซับและเก็บนำ้าให้เราได้ใช้ประโยชน์ ในเนื้อดินมีนำ้าซึมอยู่เรียกว่านำ้าในดิน
3. ดินเป็นที่พักพิงและที่อาศัยของสัตว์
เ นื้ อ ดิ น
เมื่อหินผุพังแตกหักลงมาเกิดเป็นวัตถุขนาดต่างๆ กัน กรวด ทราย เกล็ดดิน ตะกอน วัตถุเหล่านี้เป็น
ส่วนหนึ่งของวัตถุต้นกำาเนิดของดิน เมื่อรวมกันกับอินทรีย์วัตถุแล้ว จะมีอิทธิพลต่อเนื้อของเดิม
เนื้อดินประเภทต่างๆ พอจะแบ่งได้กว้างๆ คือ ดินทราย ดินร่วนปนทราย และดินเหนียว การศึกษา
เนื้อดินทำาได้ด้วยการพิจารณาว่าดินนั้นๆ มีส่วนประกอบอะไรเด่นที่สุด มีทรายหรือเกล็ดดินตะกอน เนื้อดิน
แตะละชนิดต่างกันเหมาะสมกับการเพาะปลูกแตกต่างกันไป
สี ข อ ง ดิ น
สีของดินเป็นลักษณะทางเคมีและฟิสิกส์ของเดิม สีของดินบ่งบอกให้เราทราบถึงแร่ธาตุและความ
อุดมสมบูรณ์ของดิน ดินที่มีสีแดง ส้มและเหลือง แสดงว่ามีแร่เหล็กที่มีปฏิกิริยากับอ๊อกซิเจนและความชื้น
ทำาให้เกิดเป็นสีดังกล่าว ดินที่มีความแตกต่างในด้านความเข้มของสีจากสีขาว สีนำ้าตาลไปจนถึงดินสีต่างๆ
เหล่านี้บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน
213.
ก ำ ร สู ญ เ สี ย ท รั พ ย ำ ก ร ดิ น
ดินเป็นทรัพยากรที่มีค่ามาก แต่เราต้องสูญเสียดินไปอันเนื่องมาจากการกระทำาของธรรมชาติและ
การกระทำาของมนุษย์ เราสูญเสียดินไปหลายวิธีด้วยกันคือ
1. การสูญเสียดินเพาะถูกนำ้ากัดเซาะและพังทลาย
2. การตัดไม้ทำาลายป่า
3. การทำาการเกษตรและการจัดกระทำากับดินอย่างผิดวิธี
ก ำ ร อ นุ รั ก ษ์ ท รั พ ย ำ ก ร ดิ น
การสูญเสียดินในลักษณะของการพังทลายหรือการลดความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้นถือได้ว่าเป็น
ภัยพิบัติอย่างหนึ่งที่ต้องแก้ไข เพราะปัญหาที่มาจากดินจะส่งผลกระทบเหมือนลูกโซ่โยงไปถึงการเกิด
ปัญหาอื่นๆ ตามมาด้วย การอนุรักษ์ดินจึงมีความจำาเป็นอย่างยิ่ง ความพยายามเก็บดินให้อยู่กับเรานานๆ
กระทำาได้ด้วยการป้องกันมิให้เกิดการพังทลายของดิน เราควรปลูกพืชคลุมดิน
ก ำ ร พั ฒ น ำ ท รั พ ย ำ ก ร ดิ น ข อ ง ชุ ม ช น
หลักการพัฒนาทรัพยากรดิน
1. การนำาพื้นที่มาใช้ประโยชน์อย่างมีแบบแผน
2. ทำาการปรับปรุงดินที่ขาดคุณภาพ ให้สามารถนำามาใช้ประโยชน์สูงสุดทางด้านการผลิตพืชผล
และขยายพื้นที่ที่นำามาใช้ในการเกษตรให้มากขึ้น
3. ป้องกันการขาดแคลนนำ้า โดยการขยายพื้นที่บริการของชลประทานให้กว้างขวางออกไป หรือทำา
ฝนเทียมเพื่อให้พื้นดินที่ไร้ความชื้นสามารถนำามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำารงชีพของประชาชนต่อไป
4. ป้องกันการพังทลายของดิน อันเกิดจากการกระทำาของนำ้า หรือการทำาการเกษตรผิดวิธีเพื่อที่จะ
คงสภาพความสมบูรณ์ของดินเอาไว้ โดยอาศัยวิธีการใหญ่ 3 ประการ คือ
4.1 การควบคุมโดยวิธีเทคนิค
4.2 การทำาการเพาะปลูกในบริเวณที่ลาดตามแนวของเนิน ควรจะทำาไถหรือพรวนดิน
4.3 การดับแปลงพื้นที่ลาดเอียงให้เป็นชั้นๆ เพื่อทำาการเพาะปลูก
5. การควบคุมร่องนำ้า ใช้วิธีสร้างเขื่อนเล็กๆ คัน้ เป็นตอนๆ และพยายามหาพืชที่งอกขึ้นเร็วปกคลุม
เสีย
6. การไถที่ทำาการเพาะปลูกน้อยลงบางครั้งอาจทำาการเพาะปลูกโดยไม่ต้องทำาการไถหรือพรวนดิน
เพราะเมื่อไถที่บางแห่งทำาให้ดินแห้ง
7. การคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งอาจทำาได้หลายทาง ดังนี้
1. ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยแบบนี้มีหลายชนิด วิธีใช้จะขึ้นอยู่กับสภาพของดิน
2. ใช้ปุ๋ยสด (Green manure) คือใช้มูลของสัตว์ทำาปุ๋ย
214.
3. ใช้หินปูนป่น (Liming)
4. การอาศัยพืชช่วยป้องกัน
5. กรใช้หญ้าคลุ่ม (Matching) การใช้พืช เช่น หญ้าคลุมดิน
6. การปลูกพืชหมุนเวียน (Crop Rotation)
7. การปลูกพืชสลับ (Strip Cropping)
8. การปลูกพืชคลุม (Protective Cover Crops)
9. การปลูกป่า (Reforestation)

ทรัพยำกรแร่ธำตุ
ธรรมชาติสร้างแร่ธาตุต่างๆ เก็บไว้บริเวณเปลือกโลก โดยที่มีแร่ธาตุประมาณ 10 ชนิด ทีเ่ มื่อรวมนำ้า
หนักกันแล้วจะเท่ากับร้อยละ 90 ของนำ้าหนักเปลือกโลก แร่ธาตุทั้ง 10 ชนิดนั้น ได้แก่ อะลูมิเนียม เหล็ก
แมงกานิส แมกนีเซียม โครเมียม ไททาเนียม ทองแดง ตะกัว่ สังกะสี และนิเกิล แร่ธาตุตา่ งๆ โดยมากแล้ว
มิได้กรจายอยู่ทั่วไปแต่จะมีเฉพาะบางบริเวณทำาให้บางประเทศมีนำ้ามันมากและบางประเทศมีเหล็กมาก
มนุษย์เรารู้จักใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุมาหลายพันปีแล้ว ปริมาณของแร่ธาตุถูกนำามาใช้ประโยชน์
เพิ่มขึ้นตลอด ความสำาคัญของแร่ธาตุแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับระยะเวลา ความเจริญทางเทคโนโลยี และความ
ต้องการแร่ธาตุนั้นๆ
ขณะนีท้ รัพยกรแร่ธาตุที่มนษย์นำามาใช้ประโยชน์ได้มาจกาตัวแผ่นดินเป็นส่วนใหญ่ กิจการเหมือง
แร่ส่วนใหญ่กระทำาบนแผ่นดิน ทรัพยากรแร่ธาตุบนแผ่นดินเองก็ค่อยๆ ลดจำานวนลง

ควำมสำำคัญและประโยชน์ของแร่ธำตุ
1. สิ่งแวดล้อมทางวัตถุที่เรียงรายอยู่รอบตัวเรานั้นถูกสร้างขึ้นมาจากแร่ธาตุประเภทต่างๆ จำานวน
มาก นับตั้งแต่เครื่องใช้สอยในบ้าน ภาชนะต่างๆ ทำาจากเหล็ก อะลูมิเนียม หรือผลิตภัณฑ์พลาสติก พาหนะ
ที่ช่วยในการคมนาคม
2. ทรัพยากรแร่ธาตุมิได้มีผลต่อมาตรฐานการครองชีพของประชากรเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีผลถึง
ความมั่งคั่งและความมั่นคงของประเทศอีกด้วย
3. ทรัพยากรแร่ธาตุมีส่วนในการสร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชากร เริ่มตั้งแต่การได้มาซึ่งแร่ธาตุ
โดยการทำาเหมืองแร่ จนแร่ธาตุถูกนำามาป้อนโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ป ร ะ เ ภ ท ข อ ง แ ร่ ธ ำ ตุ
ทรัพยากรแร่ธาตุที่มนุษย์เรานำามาใช้ประโยชน์มีจำานวนมากมาย เราสามารถแบ่งเป็นประเภท
ใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ
215.
1. แร่โลหะ
2. แร่อโลหะ
3. แร่เชื้อเพลิง
แร่ธาตุแต่ละประเภทมีลักษณะและชนิดของแร่ธาตุ ดังนี้
1. แร่โลหะ (Metal) หมายถึง แร่ที่มีความเหนียว ยืดขยายและหลอมตัวได้มีความทึบแสง เป็น
ตัวนำาความร้อนและไฟฟ้าได้ดี เช่น แร่เหล็ก แมงกานีส ทองอดง ตะกั่ว อะลูมิเนียม เป็นต้น
2. แร่อโลหะ (Non-Metal) มีลักษณะเปราะแตกหรือหักง่าย โปร่งแสง ยอมให้แสงหรือรังสีผ่านไป
ได้ ไม่เป็นตัวนำาความร้อนหรือไฟฟ้า เมื่อเคาะไม่มีเสียงกังวาน เช่น หิน ทราย กำามะถัน เป็นต้น
3. แร่เชื้อเพลิง คือ แร่ธรรมชาติที่ถูกนำามาใช้พลังงาน ปัจจุบันแร่เชื้อเพลิงที่มีความสำาคัญและถูก
นำามาใช้มาก คือแร่ธาตุที่เกิดจากซากสิ่งมีชีวิตในอดีต หรือเรียกว่าซากดึกดำาบรรพ์ ได้แก่ ถ่านหิน (Cool)
นำ้ามันดิบ (Petroleum) และก๊าซธรรมชาติ (Natural Gos)
ท รั พ ย ำ ก ร แ ร่ ธ ำ ตุ ที่ สำำ คั ญ ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย
เรามีทรัพยากรแร่ธาตุอยู่หลายประเภทและมีครบทั้งแร่โลหะ อโลหะ และแร่เชื้อเพลิงบางชนิด
ปริมาณมากแต่บางชนิดก็มีน้อย แร่สำาคัญที่พบประกอบด้วยแร่ ดีบุก วูลแฟรม พลวง ตะกัว่ สังกะสี
แมงกานีส เหล็ก ทองแดง ทองคำา เงิน ฟลูออไรท์ หิสสบู่ รัตนชาติ ถ่านหิน นำ้ามันดิบ และก๊าซธรรมชาติ
ปั ญ ห ำ เ กี่ ย ว กั บ ท รั พ ย ำ ก ร แ ร่ ธ ำ ตุ
1.การใช้แร่ธาตุบางประเภทเป็นจำานวนมาก แร่ธาตุในส่วนของเปลือกโลกถึงแม้ว่าจะมีจำานวน
มากมายหลายประเภท แต่เราก็ยังเห็นความสำาคัญมากเป็นพิเศษ
2. การใช้แร่ธาตุอย่างไม่คุ้มค่า สิ้นเปลืองและการหมดสิ้นไปของแร่ธาตุบางชนิด แร่ธาติที่เรานำามา
ใช้ประโยชน์นั้น เราอาจแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือแร่ธาตุที่ใช้ประโยชน์แล้วยังมีเหลืออยู่ ส่วนที่สอง
คือ แร่ธาตุทนี่ ำามาใช้ประโยชน์แล้วทำาให้แร่ธาตุนั้นหมดสิ้นไป
กำรอนุรักษ์ทรัพยำกรแร่ธำตุ
แร่ธาตุทุกประเภทเป็นของมีค่ายิ่ง ถึงแม้ว่าแร่บางอย่างเราอาจจะไม่เห็นประโยชน์และความสำาคัญ
ในขณะนี้ แต่อนาคตแร่ธาตุนั้นอาจมีความสำาคัญ และก่อประโยชน์อย่างมหาศาลก็ได้ ดังนั้นการอนุรักษ์
ทรพัยากรแร่ธาตุจึงอยู่ในขอบข่ายของแนวปฏิบัติดังนี้
1. ควรใช้แร่ธาตุอย่างประหยัด หมายถึง การนำาเอาแร่ธาตุมาใช้ในจำานวนหรือปริมาณเท่าที่จำาเป็น
2. อนุรักษ์แร่ธาตุด้วยการนำาเอาแร่ธาตุที่ใช้ประโยชน์แล้วกลับมาใช้อีกโดยการนำาเอาเศษวัสดุที่
เป็นทั้งโลหะและอโลหะประเภทต่างๆ มาหลอมละลายใหม่อีกครั้งเพื่อนำากลับมาผลิตเป็นวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
4. การอนุรักษ์ด้วยการใช้แร่ธาตุอย่างคุ้มค่า แร่ธาตุบางอย่างเมื่อนำามาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ
อีก ก็จะช่วยให้เราใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่ามากขึ้นอีก
216.
4. การหาแร่ธาตุอื่นมาใช้ทดแทนแร่ธาตุบางชนิดที่ใช้มาก เพื่อลดหรือแบ่งเบาภาระที่เกิดขึ้นกับแร่
ธาตุบางชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ
ก ำ ร พั ฒ น ำ ท รั พ ย ำ ก ร แ ร่ ธ ำ ตุ ข อ ง ชุ ม ช น
1. การปรับปรุงวิธีการทำาเหมืองแร่
เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำาเหมืองแร่ รวมทั้งการตกแต่งแร่ การแยกแร่ และการถลุง
แร่
2. การนำามาใช้อย่างประหยัด
กานำาแร่ธาตุมาใช้อย่างประหยัดจะช่วยทำาให้อายุการใช้งานของแร่ธาตุยืดยาวออกไป
3. การนำามาใช้ใหม่
แร่โลหะบางชนิดเมื่อนำาไปใช้แล้ว สามารถนำากลับมาใช้ใหม่ เช่น เหล็ก
4. การใช้สิ่งอื่นทดแทน
การนำาสิ่งอื่นมาทดแทนแร่ธาตุช่วยลดปริมาณแร่ที่จะนำามาใช้ให้น้อยลงและลดการใช้งานของแร่
ธาตุเหล่านั้นออกไป
5. การปรับปรุงทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์
การค้นคิดวิธีการมใหม่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์จะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์แร่
ธาตุเช่นเดียวกัน
6. การยืดอายุการใช้งานให้ยาวนาน
การนำาแร่ธาตุมาใช้งานให้ยาวนาน การนำาแร่ธาตุมาใช้อย่างถนอมก็คือการหาวิธีการที่จะให้แร่
ธาตุที่นำามาใช้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากยิ่งขึ้น

ก ำ ร พั ฒ น ำ ท รั พ ย ำ ก ร นำ้ำ ข อ ง ชุ ม ข น
นำ้าเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมากมาย แต่จะปรากฎอยู่ในบริเวณจำากัด มิได้กระจายอยูท่ ั่วไปทุก
แห่ง ตามธรรมดาบริเวณแหล่งนำ้าจืดทั่วๆ ไป จะมีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นทั้งนี้ก็เพราะประชากรเหล่านี้
ได้อาศัยนำ้าเพื่ออุปโภคบริโภค
ห ลั ก ก ำ ร พั ฒ น ำ ท รั พ ย ำ ก ร นำ้ำ
1. การจัดหานำ้าที่มีคุณภาพมาใช้ให้เพียงพอ
การจัดหานำ้าที่มีคุณภาพเหมาะสมมาใช้เพื่อการอุปโภค และกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ
2. การป้องกันการเกิดมลพิษของนำ้าอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือ
3. กฎหมายจะต้องมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนอย่างรุนแรง
4. ผูน้ ำากฎหมายไปใช้จะต้องกระทำาอย่างเฉียบขาดและยุติธรรม
5. การป้องกันการเกิดนำ้าท่วม
217.
การเกิดนำ้าท่วมแม้ว่าจะเป็นเรื่องป้องกันมิให้เกิดได้ยาก แต่ก็มีวิธีการที่จะลดความรุ่นแรงของ
การเกิดนำ้าท่วมลง เช่น การสร้างเขื่อนหรือทำานบขวางกั้นลำานำ้า ขยายความลึกและความกว้างของแหล่งนำ้า
ธรรมชาติ
6. การนำานำ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เป็นวิธีการที่จะนำานำ้าที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การสร้างเขื่อนกั้นนำ้า
7. รักษาสภาพแหล่งนำ้าธรรมชาติ

ทรัพยำกรป่ำไม้
ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีประโยชน์มหาศาล ป่าไม้ให้สิ่งต่างๆ ต่อเรามากมาย เช่น
ผลผลิตชนิดต่างๆ จากป่าที่เรานำามาเป็นอาหาร ยากรักษาโรค วัสดุก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย ตลอดจนสัตว์ป่า
นานาชนิด มนุษย์จึงดำารงอยู่ได้ด้วยป่าไม้ ในด้านความสัมพันธ์ทางธรรมชาติด้วยกันแล้ว ป่าไม้เป็นปัจจัย
หนึ่งที่มีความสำาคัญต่อดุลยภาพของสิ่งแวดล้อม เพราะถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับป่าม้แล้วย่อมจะส่ง
ผลกระทบต่อภาวะแวดล้อมสัมพันธ์อื่นๆ
ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยมีเพียงร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด เรามีพื้นที่ป่าไม้ลดลงทุกๆ ปี
นี่คือปัญหาของเรา เราจึงควรเริ่มทำาความเข้าใจกับป่าไม้และรู้แนวอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไว้ให้อยู่กับเรา
เพื่ออนาคตของเราทั้งชาติ
ค ว ำ ม สำำ คั ญ แ ล ะ ป ร ะ โ ย ช น์ ข อ ง ป่ ำ ไ ม้
1. ป่าไม้ทำาให้ดินสามารถดูดซับนำ้าไว้ได้มาก
2. ป่าไม้ช่วยทำาให้เกิดความชุ่มชื้นแก่บรรยากาศ
3. ป่าไม้เป็นพื้นฐานของการเกิดต้นนำ้าลำาธาร
4. ป่าไม้ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการพักผ่อนหย่อนใจ
5. ป่าเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นแหล่งพักพิงของสัตวป่าจำานวนมาก

ป ร ะ เ ภ ท ป่ ำ ไ ม้ ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย
1. ป่าดงดิบ พบทางภาคใต้ เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดรวมกันแล้วหลายร้อยชนิด
2. ป่าดิบภูเขา ป่าไม้ตามแถบภูเขา ที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูงและมีความชุ่มชื้นหรือฝนตกมาก
3. ป่าชายเลน บริเวณที่พบคือชายฝั่งทะเลที่ใกล้กับปากนำ้าหรือลำาธารนำ้าจืดที่ไหลลงสู่ทะเล
4. ป่าสนภูเขา มีความแตกต่างไปจากสนที่พบตามชายฝั่งทะเล คือ สนภูเขาเป็นสนสองใบและสน
สามใบ
5. ป่าเบญจพรรณ พบแพร่กระจายทั้งไปในภาคเหนือ
218.
6. ป่าแดง หรือป่าเต็งรังเป็นป่าไม้ที่พบมากที่สุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
7. ป่าไผ่ พบมากตามภูเขาที่มีฝนตกน้อย
ก ำ ร สู ญ เ สี ย ท รั พ ย ำ ก ร ป่ ำ ไ ม้
เราสูญเสียป่าไม้ไปหลายๆ วิธี ทัง้ ที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ป่าไม้ส่วนใหญ่สูญเสียไปเพราะถูกตัดเพื่อจุด
มุ่งหมายต่างๆ กันไป ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้เป็นผูต้ ัดไม้ทำาลายป่าเพื่อให้ได้มาซึ่งพื้นที่เพาะปลูก
โดยวิธีการถางแล้วเผา ทำาให้ป่าไม้ทั้งป่าสูญเสียไปมากมายทั้งต้นไม้ใหญ่และเล็ก การขยายตัวของ
ประชากรทำาให้ความต้องการอาหารจากภาคเกษตรกรรมมากขึ้น ความต้องการไม้เพื่อกิจการต่างๆ เช่น
เพื่อสร้างที่อาศัยหรืออุตสาหกรรมต่างๆ
ไฟไหม้ป่า ในฤดูแล้งซึ่งตรงกับฤดูหนาวของประเทศไทย ต้นไม้ผลัดใบมีใบไม้แห้งร่วงหล่น จึงเป็น
เชื้อเพลิงและทำาให้เกิดไฟไหม้ป่าไม้
ความต้องการอาหารจากสัตว์นำ้า ซึ่งในปัจจุบันมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นแต่การได้มาจากแหล่ง
อาหารธรรมชาติในทะเลนั้น ยังไม่เพียงพอจังมีความจำาเป็นต้องเพิ่มผลผลิตด้วยการเพาะเลี้ยง กุ้ง และ ปู
ความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมยิ่งมีมากเท่าไรความต้องการเส้นทางคมนาคมก็ยิ่งมากขึ้น
ก ำ ร อ นุ รั ก ษ์ ท รั พ ย ำ ก ร ป่ ำ ไ ม้
ต้นไม้แต่ละต้นมีค่า การทำาลายป่ากระทำาง่ายรวดเร็ว แต่การสร้างป่าไม้ทำาได้โดยต้องใช้เวลา ดัง
นั้นเราควรรักษาป่าไม้ที่มีอยู่และเสริมสร้างป่าไม้แห่งใหม่ขึ้นมาทดแทน
การทำาสวนพฤกษศาสตร์ เพื่อรวบรวมพันธุ์ไม้ตา่ งๆ ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ไป
ก ำ ร พั ฒ น ำ ท รั พ ย ำ ก ร ป่ ำ ไ ม้ ข อ ง ชุ ม ช น
ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีความจำาเป็นต่อการดำารงชีพของประชาชนในชุมชนมากทั้งทางตรงและทาง
อ้อม
ในปัจจุบันจำานวนพลเมืองได้เพิ่มขึ้น ความจำาเป็นต้องน้มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มากขึ้น อย่าง
ไม่ได้สัดส่วนกับการพัฒนาของป่าไม้
ห ลั ก ก ำ ร พั ฒ น ำ ท รั พ ย ำ ก ร ป่ ำ ไ ม้
1. การปลูกป่าไม้ทดแทน
2. การดำาเนินการคุ้มครองป่าไม้
3. ขจัดการบุกรุกทำาลายป่า
4. การป้องกันไฟไหม้ป่า
5. การปรับปรุงวิธีการทำาป่าไม้
6. การพยายามนำาเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
7.การป้องกันความเสียหายของป่าไม้เนื่องจากแมลงและโรคพืช
8. จัดการดูแลรักษาพันธุ์ไม้สงวน
219.
ทรัพยำกรสัตว์ป่ำ
สัตว์ป่า หมายถึง สัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อาศัยอยู่ตามธรรมชาติซึ่งรวมถึงสัตว์ครึ่งบกครึ่งนำ้า
เป็นต้น ประเทศไทยเคยมีสัตว์ป่าชุกชุม แต่ในปัจจุบันปริมาณของสัตว์ป่ามีจำานวนลดน้อยลง
ค ว ำ ม สำำ คั ญ แ ล ะ ป ร ะ โ ย ช น์ ข อ ง สั ต ว์ ป่ ำ
ส่วนหนึ่งของอาหารโปรตีนที่เราบริโภคอยู่ทุกวัน คือ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ ดังนั้นสัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะ
เป็นสัตว์ป่าย่อมเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ สัตว์จำานวนหนึ่งถูกจับมาเป็นอาหรสัตว์ป่าขนาดใหญ่เช่น ช้าง เมื่อ
ถูกจับมาฝึกฝนระยะเวลาหนี่งก็เกิดประโยชน์ในด้านแรงงานธรรมชาติได้สร้างความสวยงามไว้ให้กับสัตว์
ป่า การได้ชมสัตว์ป่าจังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการพักผ่อนหย่อนใจ
ก ำ ร สู ญ เ สี ย ท รั พ ย ำ ก ร สั ต ว์ ป่ ำ
การสูญเสียสัตว์ป่าจำานวนมากจากการถูกล่าโดยมนุษย์ ซึ่งการล่านั้นเพื่อเป็นอาหาร เกมกีฬา และ
เพื่อเป็นสินค้า ความนิยมบริโภคอาหารที่เป็นสัตว์ป่ามีมากขึ้น เราจะสังเกตได้จากจำานวนของร้านขาย
อาหารป่าเพิ่มขึ้น สัตว์ป่าจึงถูกล่าเพื่อสนองความต้องการในด้านอาหารป่า
ก ำ ร อ นุ รั ก ษ์ ท รั พ ย ำ ก ร ป่ ำ
การสงวนรักษาสัตว์ป่าให้ดำารงอยู่ภายในประเทศของเราให้มาก ขึ้น คงเป็นที่พึงปรารถนาของทุกๆ
คน เพราะยิ่งมีสัตว์ป่ามากเท่าไรย่อมแสดงถึงความเจริญทางจิตจาของประชากร การกำาหนดเขตรักษาพันธ์
สัตว์ป่า การได้ชมสัตว์ป่าจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการพักผ่อนหย่อนใจ
ก ำ ร สู ญ เ สี ย ท รั พ ย ำ ก ร สั ต ว์ ป่ ำ
การสงวนรักษาสัตว์ป่าให้ดำารงอยู่ภายในประเทศของเราให้มากๆ ขึ้น คงเป็นที่พึงปรารถนาของ
ทุกๆ คน เพราะยิ่งมีสัตว์ป่ามากเท่าไรย่อมแสดงถึงความเจริญทางจิตใจของประชากร การกำาหนดเขต
รักษาพันธุ์สัตว์ป่า การป้องกันไฟป่า ดังต่อไปนี้
1. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี พ.ศ. 2503 แบ่งสัตว์ป่าที่ต้องการอนุรักษ์ไว้ 2 กลุ่ม
คือ สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง
2. กำาหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สัตว์ปา่ ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยจากคนรบกวน ปลอดภัยจากการล่า
ชีวิต กำาหนดเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าขึ้น กระจายอยูท่ ั่วประเทศ
3. การป้องกันต้นเหตุที่ทำาให้เกิดไฟไหม้ป่า

กำรพัฒนำทรัพยำกรสัตว์ป่ำของชุมชน
ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยมีสัตว์ป่านานาชนิดอย่างสมบูรณ์ แต่ในสภาพปัจจุบันบ้านเมืองขยาย
ตัวออกไป จำานวนประชากรมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นการคมนาคมติดต่อกับบริเวณต่างๆ ของประเทศทำาได้
สะดวก
220.
ห ลั ก ก ำ ร พั ฒ น ำ ท รั พ ย ำ ก ร สั ต ว์ ป่ ำ
1. การป้องกัน
1.1 การป้องกันทางตรง
1.2 การป้องกันทางอ้อม
2. การค้นคว้าวิจัยและการบำารุงรักษาจุดมุ่งหมายของการอนุรักษ์สัตว์ป่า ก็เพื่อป้องกันมิให้สัตว์ป่า
สูญพันธ์ แต่การที่จะจัดการให้สัตว์ป่ามีจำานวนเพิ่มมากขึ้นในระดับที่เหมาะกับจำานวนอาหารและที่หลบภัย
ที่มีอยู่
3. การนำาสัตว์ป่ามาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า
4. จัดสถานที่ปลอดภัยให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า
5. จัดหาอาหารสัตว์ป่าเพิ่มเติมในบางบริเวณของโลกอาหารสัตว์ป่าจะขาดแคลน
ก ำ ร พั ฒ น ำ ท รั พ ย ำ ก ร สั ต ว์ นำ้ำ ข อ ง ชุ ม ช น
สัตว์นำ้าเป็นทรัพยากรที่มีความผูกพันธ์กับวิถีการดำารงชีวิตของมนุษย์มากดังจะเห็นได้ว่าอาชีพการ
จับสัตว์นำ้าจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการกำาเนินมนุษย์ขึ้นบนโลก
หลักกำรพัฒนำทรัพยำกรสัตว์นำ้ำ
1. การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์นำ้า
2. การจัดตั้งสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์นำ้า
3. การสำารวจแหล่งประมงเพิ่มเติม
4. การป้องกันและปราบปรามผู้จับสัตว์นำ้าผิดวิธี
5. การประชาสัมพันธ์
6. การรักษาถิ่นที่อยู่ของสัตว์นำ้าเอาไว้
7. การกำาหนดเขตห้ามจับสัตว์นำ้า
ก ำ ร พั ฒ น ำ ท รั พ ย ำ ก ร นั น ท น ำ ก ำ ร ข อ ง ชุ ม ช น
“นันทนาการ” หมายถึง การกระทำาใดๆ เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจผ่อนคลายความตึงเครียด ทั้ง
ทางร่างกาย จิตใจ และด้านสมอง การที่มนุษย์ทำากิจกรรมต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลา จะทำาให้
ร่างกายเหน็ดเหนื่อยเมื่อล้า สมองตึงเครียดเมื่อเป็นเช่นนี้ทั้งร่ายงกาย สมอง และทางด้านจิตใจก็จำาเป็นจะ
ต้องได้รับการพักผ่อนเพื่อให้จิตใจแจ่มใส
ห ลั ก ก ำ ร พั ฒ น ำ ส ถ ำ น ที่ นั น ท น ำ ก ำ ร
1. เวนคืนที่ดินมาเป็นของรัฐ
2. สถานที่นันทนาการควรอยู่ใกล้ย่านชุมชน
3. การจัดการเครื่องอำานวยความสะดวกให้พอเพียง
221.
4. การรักษาความสะอาด
5. การรักษาความปลอดภัย
6. การโฆษณา
7. การเก็บค่าบริการ
ห ลั ก ก ำ ร พั ฒ น ำ ท รั พ ย ำ ก ร นั น ท น ำ ก ำ ร ท ำ ง ธ ร ร ม ช ำ ติ
1. ป้องกันความเสียหาย
2. ไม่ปรับปรุงสถานที่ให้มากนัก
3. การรักษาความสะอาด
4. การปฏิบัติตามข้องบังคับ
5. จัดกำาลังเจ้าหน้าที่
6. ให้พอเพียงการประชาสัมพันธ์
ห ลั ก ก ำ ร พั ฒ น ำ ท รั พ ย ำ ก ร นั น ท น ำ ก ำ ร ท ำ ง วั ฒ น ธ ร ร ม
1. ออกกฎหมายควบคุม
2. จัดเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาอย่างพอเพียง
3. บูรณะซ่อมแซม
4. การสำารวจสถานที่นันทนาการทางวัฒนธรรมเพิ่มเติม
5. การเก็บรักษาอย่างปลอดภัย
6. ให้การศึกษา
7. การประชาสัมพันธ์
บรรณำนุกรม

กรมทรัพยากรธรณี. กระทรวงอุตสาหกรรม. 2517. แร่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์.


กองอนุรักษ์สัตว์ป่า. กรมป่าไม้. กรมป่าไม้. 2521. สัตว์ป่ำสงวนและสัตว์ป่ำคุ้มครอง. กรุงเทพฯ.
ทวี ทองสว่าง และ ทัศนีย์ ทองสว่าง. 2523. กำรอนุรักษ์ทรัพยำกรธรรมชำติและสิ่งแวด
ล้อม. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์
ธวัชชัย สันติสุข, เดิม สมิตนิ ันท์. 2528. กองอนุรักษ์ธรรมชำติในประเทศไทยในแง่กำร
พัฒนำสังคมและเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : สยามสมาคม.
นิวัติ เรืองพาณิช, 2517. กำรอนุรักษ์ทรัพยำกรธรรมชำติ.คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์
บำารุง วัฒนารมย์. 2526 สัตว์ป่ำ. กรุงเทพฯ : บัณฑิตการพิมพ์
บุญคง หันจางสิทธิ์. 2540. เศรษฐศำสตร์ทรัพยำกรมนุษย์. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ประเทือง มหารักขกะ. 2515. กำรอนุรักษ์ทรัพยำกรธรรมชำติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การ
ศาสนา.
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พ.ศ. 2525. 2530. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญ
ทัศน์.
ไพรัตน์ เดชะรินทร์. 2524 กำรบริหำรพัฒนำชนบท. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิชย์
วิชัย เทียนน้อย. ม.บ.บ. กำรจัดกำรทรัพยำกรธรรมชำติ. กรุงเทพฯ : อักษรวัฒนา.
วิชัย เทียนน้อย และ ประชา อินทร์แก้ว. 2533. มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพมหานคร : โอ
เดียนสโตร์.
สมนึก อ่องเอิบ. 2519. กำรอนุรักษ์ทรัพยำกรธรรมชำติ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย, สาขาวิทยาการจัดการ. เอกสำรกำรสอนชุดวิชำกำรพัฒนำ
ทรัพยำกรมนุษย์ในองค์กำร หน่วยที่ 1 – 6 พิมพ์ครั้งที่ 6 นนทบุรี : มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
อาภรณ์พันธ์ จันทร์สว่าง. 2525. กำรพัฒนำบุคคล กลุ่มและชุมชน. กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อำานาจ เจริญศิลป์. 2528. โลกและกำรอนุรักษ์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
223.
แนวโน้มของเศรษฐศาสตร์ชุมชน การพัฒนาทรัพยากร และ การเมือง
โลกกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
ยี่สิบปีที่ผ่านสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกทรุดหนักลง รายงานที่นักวิทยาศาสตร์กว่า 300 คน เสนอ
ต่อสหประชาชาติ แสดงหลักฐานว่านำำาแข็งในเขตอาร์คติกลดน้อยลง เช่นเดียวกับการลดลงของหิมะในซีก
โลกเหนือ ในขณะที่อุณหภูมิในเขตแอนดาร์กติกสูงขึนำ ชีใำ ห้เห็นว่าโลกกำาลังร้อนขึนำ ซึ่งสถานการณ์เช่นนีำ
ทำาให้มีพายุมากขึำน ฝนแล้งมากขึำน นำำาท่วมชายฝั่ง โรคภัยมากขึำนจากอุณหภูมิที่อบอุ่นในตอนกลางคืนทำาให้
เชื่อโรคไม่ตาย
สาเหตุที่ทำาให้โลกร้อนขึำนนัำน เนื่องมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ เพิ่ม
ปริมาณมากขึำนในบรรยากาศโอโซนในบรรยากาศชัำนสูงถูกทำาลายจนเกิดรูโอโซนที่บริเวณขัำวโลกทัำงสอง
ในทีข่ ณะป่าไม้อันเป็นแหล่งที่ฟอกอากาศและแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมลดน้อยลงจากการถูกหักล้าง และ
ฝนกรดที่ทำาลายทัำงแหล่งนำำาและป่าไม้
มลพิษทางอากาศเลวร้ายจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แหล่งนำำาปนเปื้อนสิ่งสกปรก และสารพิษตกค้าง
จากการผลิตทางภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ภาวะมลพิษสูงจนเป็นอันตรายต่อสัตว์นำาและคน ทัำงยัง
คุกคามต่อความอยู่รอดของสัตว์นำาหลายชนิด
ด้วยเหตุผลที่ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ปัญหาโดด ๆ แต่เกี่ยวพันกับปัญหาอื่น ๆ ที่สำาคัญคือ
แบบแผนการดำาเนินชีวิตของมนุษย์ โดยเฉพาะการผลิตและการบริโภค องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุม
ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา หรือ เอริธ์ ซัมมิท ขึนำ ที่นครริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เป็นการเริ่ม
ต้นความพยายามจะจัดระเบียบความสัมพันธ์ดา้ นสังคมระยะยาวระหว่างชาติต่าง ๆ ภายในกรอบของความ
เป็นประชาคมโลก โดยมีเจตจำานงจะวางแนวทางการปฏิบัติ การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable
Development)
การพัฒนาแบบยั่งยืน คือการพัฒนาที่สนองตอบสิ่งเหล่านีำ โดยให้ความสำาคัญกับคน โดยถือว่าคน
เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเราจึงต้องคำานึงถึงเสรีภาพ ภารภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แนวทางการ
พัฒนาแบบยั่งยืนคำานึงถึงความสมดุลระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมคนเอืำออำานวยต่อสิ่งแวดล้อมแล้วสิ่ง
แวดล้อมจะเอืำออำานวยต่อคน ถ้าคนทำาลายสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมก็จะหวนมาทำาลายคนเหล่านีำเป็นสิ่งสำาคัญ
ที่จะช่วยให้คนอยู่อย่างมีสันติสุข
การพัฒนาแบบยั่งยืน คือ การพัฒนาที่สามารถ รักษาธรรมชาติและทำาให้เกิดความสุขในสังคมมนุษย์
การพัฒนาแบบยั่งยืน คือ การพัฒนาที่สามารถพิทักษ์รักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของวันนีำ ให้
ดำารงอยู่อย่างยั่งยืนยาวนานไปถึงอนาคตเพื่อสนองความต้องการของชนรุ่นหลัง โดยไม่ละเลยชีวิตความเป็น
อยู่ของชนรุ่นปัจจุบันด้วย
ประเวศ วะสี ให้ความหมายว่า การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง การมีสุขภาพดีและมีสิ่งแวดล้อมที่
ยั่งยืน อาจใช้คำาว่าสุขภาพของสิ่งแวดล้อมตามสมการนีำคือ
224.
การพัฒนาแบบยั่งยืน = สุขภาพ + สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน อธิบายได้ว่า สุขภาพหมายถึงสุขภาวะทัำงทาง
กาย ทางจิต และทางสังคม อันเป็นที่ปรารถนาของมนุษย์ และเป็นจุดมุ่งหมายของการพัฒนา สุขภาพจึงเป็น
ดรรชนีที่ดีที่สุดของการพัฒนาและเนื่องจากสิ่งแวดล้อมเป็นระบบที่คำาจุนชีวิต หากสิ่งแวดล้อมไม่ยั่งยืน
สุขภาพหรือการพัฒนาไม่ยั่งยืนด้วย ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเครื่องกำาหนดความยั่งยืนของการ
พัฒนา
สรุป การพัฒนาแบบยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่พัฒนาแล้วไม่กลับมาแก้ปัญหาจากผลการพัฒนา
นันำ อีก
โลกกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
Population (ประชากร)
Depletion (ทรัพยากรร่อยหรอ)
Pollution (การก่อมลภาวะ)
การแก้ปัญหาจะต้องพุ่งเป้ามาที่สามอย่างนี้
1. Population โดยเฉพาะ overpopulation คือปัญหาประชากรที่มากจะล้นโลก ซึ่งจะต้องลดหรือคุม
ด้วยการวางแผนครอบครัวเป็นต้น
2. Depletion คือ การร่อยหรอสูญสิำนไปของทรัพยากร ซึ่งจะต้องหยุดยัำงการทำาลายทรัพยากร และ
ฟื้นฟูให้กลับอุดมสมบูรณ์ขึำนมา
3. Pollution คือมลภาวะ ของเสีย ซึ่งจุต้องกำาจัด ทำาให้ลดให้น้อยลงหรือทำาให้หมดไป
สรุปว่า ปัญหาที่ปรากฏตอนนีำ ที่ขัดขวางการแก้ปัญหาธรรมชาติแวดล้อม ทำาให้การแก้ปัญหาการ
พัฒนาไม่สำาเร็จ ทำาให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ได้ ก็เพราะปัญหากิเลศ 3 อย่างที่เป็นตัวขัดขวางจริยธรรม คือ
ตัณหา มานะ ทิฎฐิ
1. ตัณหา ความอยากได้ อยากบำารุงบำาเรอตัวเอง ให้มีความสุขสะดวกสบาย พรั่งพร้อมด้วยวัตถุที่
มากมาย สมบูรณ์ พูดง่าย ๆว่าความอยากได้ผลประโยชน์
2. มานะ ความต้องการยิ่งใหญ่ อยากมีอำานาจครอบงำาผู้อื่น ตัำงแต่ระดับบุคลถึงระดับสังคมประเทศ
ชาติ พูดง่าย ๆ ว่าความใฝ่อำานาจ
3. ทิฎฐิ ความยึดมั่นตลอดจนคลั่งไคล้ในค่านิยม แนวความคิด ลัทธิ ศาสนา อุดมการณ์ ต่าง ๆ ข้อนีำ
เป็นตัวร้ายที่สุดที่รองรับสำาทับปัญหาไว้ให้เหนียวแน่นยืดเยืำอและแก้ไดยากเหมือนกับตัณหาและมานะที่ลง
มานอนกันแล้ว
แผนแม่บทเพื่อชาติ
เมืองไทยวันนีำมีลักษณะที่ดูคล้ายเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจการเงินไม่ว่าจะเป็นการเปิดสถาบัน
ทางการเงิน ดัชนีหุ้นตกตำ่านัำนไม่ใช่เป็นปัญหาที่แท้จริง เป็นเพียงอาการที่แจ่มชัดเท่านัำน เปรียบเสมือนคน
เป็น
225.
โรคที่มีอาการหน้ามือ ล้มไปแล้วศรีษะฟาดกับหิน ผลก็คือเลือดออกมาก สิ่งที่ต้องกระทำาคือการักษาส่วนที่
เลือดออกมากก่อนต้องทำาให้เลือดหยุดไหล แต่การห้ามเลือดไม่ห้อมเลือดไม่ให้ไหลนัำนแปลว่ารักษาโรค
หัวใจ
เช่นเดียวกับเศรษฐกิจไทยที่เห็นการพังทลายของสถาบันการเงิน เศรษฐกิจล้ม ค่าเงินบาทลดลง ก็
เหมือนเลือดที่กำาลังไหล ซึ่งภารกิจเบืำองหน้าที่รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องได้พยายามได้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ด้วยเทคนิคที่จะคิดออก ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ การลดค่าใช้จ่ายจากภาครัฐบาล สถาบัน
การเงิน การออกกฎหมายใหม่ ฯลฯ เหล่านีำเป็นมาตรการเร่งด้วนเฉพาะหน้า ซึ่งต้องการทำา และมีคนกำาลังทำา
อยู่
ทัำงนีำใน แผนแม่บทเพื่อการฟื้นฟูขาติ จะกล่าวถึง เพียงแต่รับรู้และเข้าใจ สิ่งที่จะพิจารณา ก็คือต้น
เหตุแห่งปัญหา ซึ่งพบว่าปัญหามีมากกว่านัำน ขนาดของปัญหาก็กว้างขวางกว่า เพราะไฟโยงกับส่วนต่าง ๆ
ของสังคม ปัญหาที่เป็นฐานรากและความอ่อนด้อยสะสม
ลักษณะของความอ่อนด้อยสะสม ไม่ได้เกิดขึำนเฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านัำน เพราะสังคมของ
ประเทศอื่น ๆ บางแห่งก็มีความอ่อนด้อยสะสมทำานองเดียวกัน ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่อธิบายว่า เหตุใดประเทศ
อื่น ๆ บางประเทศจึงประสบปัญหาดังนัำนจึงควรวิเคราะห์ปัญหาให้ลึกและกว้าง ต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน
แม้ว่าปัญหาบ้างด้านจะยังไม่แสดงอาการออกมา เพื่อที่จะนำามาสู่กระบวนการแก้ปัญหาพืำนฐาน แก้ปัญหาใน
ระดับ ปัญหาที่ซับซ้อนให้ได้ผลอย่างยั่งยืน มัน่ คงและต่อเนื่องระยะยาว
1. ทุกข์ของประเทศไทย : เศรษฐกิจการเงิน หรือเศรษฐกิจสังคม
สภาวะสังคมไทยที่กำาลังเลวร้ายจนเรียกได้ว่า เป็นทุกข์ของประเทศไทย เกิดจากการสะสมปัญหาที
ละเล็กที่ละน้อย และเป็นปัญหาที่รกเหง้า ซึ่งเดิมทีปัญหาดังกล่าวยังไม่แสดงตัวออกมาอย่างชัดเจน จน
กระทั่งถึงจุดหนึ่งหลายอย่างก็ประดังขึำนพร้อม ๆ กัน และลุกลามใหญ่โต จนทำาให้ประเทศชาติอ่อนแอลง
อย่างรวดเร็ว ทัำงที่ก่อนหน้านีำบางช่วงของความอ่อนด้อยถูกกลบโดย โชคลาภ อาทิเช่น เราสามารถขายสินค้า
หรือบริการบางอย่างได้ เพราะว่าประเทศอื่น ๆ ประสบภัยธรรมชาติ หรือมีปัญหาทางการเมืองทำาให้พัฒนา
ได้ลำาบาก ในช่วงเวลาดังกล่าวเคาจึงเป็นคู่แข่งที่ดูเหมือนว่ามีความเข้มแข็งสูง ในขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาที่
ปัจจัยภายนอกประเทศ ได้แก่การที่ประเทศต่าง ๆ มีความเข้มแข็งมากขึำน รวมถึงประเทศต่าง ที่เคยมีโชคร้าย
มาก่อนและได้พ้นจากความโชคร้ายแล้ว มีความสงบทางการเมือง ไม่มีภัยธรรมชาติ จึงสามารถพัฒนาขึำน
ตามลำาดับ ข้อได้เปรียบของประเทศไทยก็ลดน้อยลง เพราะไม่ได้มีความเข้มแข็งเพิ่มขึำนเท่าที่ควร ประกอบ
กับความโชคดีที่เคยมีได้ลดลง จึงทำาให้สังคมไทยอยู่ในภาวะลำาบากมากขึำน อาจจะถือเป็นตัวอย่างของ
ประเทศที่มีโชคลาภช่วยให้สามารถเจริญก้าวหน้ามาได้ระดับหนึ่ง แต่เป็นความเจริญก้าวหน้ามาได้ระดับ
หนึ่ง แต่เป็นความเจริญก้าวหน้าที่แฝงด้วยความอ่อนด้อยที่ไม่ปรากฏตัวชัดเจน

226.
ดังนัำนเมื่อรวมสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจของต่างประเทศที่มีความเข้มแข็งขึนำ เรื่อย ๆ เข้ากับ
สถานการณ์ ทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีความอ่อนด้อย และมีการสะสมปัญหาไว้เรื่อย ๆ ประกอบกับ
การไม่มีนโยบายที่เหมาะสมในบางจุด ผสมกับการอ่อนด้วยทางการเมืองความอ่อนด้อยทางคุณภาพของ
ระบบราชการ และความอ่อนด้วยที่ระดับรากเหง้าอื่น ๆ
เมื่อความอ่อนด้วยหลาย ๆ อย่างมารวมพร้อมกัน จึงถึง จุดวิกฤติ และจากจุด วิกฤติ ก็นำาไปสู่ การพัง
ทลาย อย่างรวดเร็ว ทัำงนีคำ นส่วนใหญ่ยังคงสับสนว่า ปัญหาที่แท้จริงเป็น เศรษฐกิจการเงิน หรือเศรษฐกิจ
สังคม โดยที่คนส่วนมากจะเห็นจะเห็นเป็นเศรษฐกิจการเงินเพราะพิจารณาจากสถาบันการเงิน ภาวะการเงิน
ดัชนีตา่ ง ๆ เห็นการล่มสลายง่ายที่สุด เลยเข้าใจว่าเป็น ต้นเหตุของทุกข์หรือปัญหา และยังเชื่อมโยงไปถึง
ปัญหาด้านดุลบัญชีเดินสะพัด การส่งออก การนำาเข้า ธุรกิจต่าง ๆ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจ
ทั่วไป ที่พังทลายตามกัน
แต่ถ้าพิจารณาอย่างถ่องแท้จะพบว่าปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่ เศรษฐกิจ การเงิน เป็นแต่เพียงตัวสะท้อน
ที่ชัดเจน เป็นเครื่องชีำวัดที่เป็นรูปธรรมปัญหาที่แท้จริงมีอะไรมากกว่าที่เห็นและที่กำาลังตื่นตกใจกัน นั่นก็คือ
วิกฤติทางสังคม ไม่วา่ จะเป็นทางจิตใจของคนที่แย่ลงถึงขัำนพยายามฆ่าตัวตายกันหลายคนในแต่ละวัน พ่อแม่
ลูกต้องพลัดพรากจากกัน เนื่องจากภาวะที่บีบคัำนทางเศรษฐกิจมีปัญหาด้านความเป็นอยู่ด้านการทำามาหากิน
กระทั่งครอบครัว แตกแยก ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าการสั่นคลอนในส่วนต่าง ๆ ของสังคมกระทบไปทั่ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่กำาลังเลวร้าย เหล่านีำเป็นปัญหาถูกกระทบทัำงสิำน ฉะนัำนตัวปัญหาจริง ๆ
ไม่ใช่แค่ เศรษฐกิจการเงิน แต่เรื่องการเงินเป็นตัวชีำวัดเหมือนกับว่าสังคมเราเป็นสังคมการเงิน คือ มีเงินเป็น
ตัวกลาง อะไรก็แปรเป็นค่าเงินซึ่งในสมัยโบราณไม่ค่อยสำาคัญเท่าใดแต่ในปัจจุบันทุกอย่างแปรค่าเป็นเงิน
ทัำงหมด ต้องการมีบ้านก็ต้องเอาเงินไปซืำอ ทำามาหากินก็ได้เป็นตัวเงิน จากนัำนจึงนำาเงินไปซืำอ จะเห็นได้ว่าทุก
อย่างใช้เงินเป็นตัวกลาง ดังนัำน เครื่องชีำวัดปัญหา ก็คือ เงิน เมื่อปัญหาของการเงินเกี่ยวพันกับระบบต่าง ๆ
ของระบบต่าง ๆ ของสังคม ดังนันำ ขณะนีหำ ากถามว่าใครมีความทุกข์ ก็ต้องตอบว่า ทุกข์กันทัำงสังคม นันำ คือ
ความทุกข์ของสังคมซึ่งรวมเศรษฐกิจ และการเงิน
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสภาพวิกฤติของสังคมไทยไม่ได้มาจาก ปัญหาเศรษฐกิจการเงินซึ่งเป็น
ปัจจัยเชิงสถานการณ์เพียงอย่างเดียว ทว่าเกิดจาก ปัจจัยเชิงสถานการณ์ ที่ผสมกับ ปัจจัยพืำนฐานที่สะสมมา
นาน อาจจะเรียกได้ว่า เป็นการสำาแดงผลขององค์ประกอบที่อ่อนด้อยในสังคมไทย
2. เหตุแห่งทุกข์ : ความอ่อนด้อยสะสมของ 5 ระบบใหญ่
ในส่วนของวิกฤติสังคมไทยในปัจจุบันเกิดจาก สถานการณ์ที่เลวร้าย บวกกับ ความอ่อนด้อยที่
สะสม แม้ว่าจะต้องเร่งหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ก็ควรที่จะพิจารณาปัญหาที่รกลึกไปพร้อม
ๆ กัน หมายถึงการพิจารณาปัญหาที่เราลึกไปพร้อม ๆ กัน หมายถึงพิจารณาต้นเหตุแห่งปัญหา ซึ่งสามารถ

227.
จำาแนกเป็นองค์ประกอบของความอ่อนด้อยได้ 5 ระบบใหญ่ ๆ ประกอบด้วยระบบการเมือง ระบบราชการ
ระบบค่านิยม ระบบเศรษฐกิจ และระบบการศึกษา ทัำงนีำนอกจากแต่ละระบบมีความอ่อนด้อยภายในตัวเอง
แล้ว ยังส่งผลกระทบไปสร้างความอ่อนด้วยต่อระบบอื่น ๆ ด้วยซึ่งแต่ละระบบมีลักษณะของความอ่อนด้อย
ดังนีำ
2.1 ความอ่อนด้วยของระบบเศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจที่แล้วมา เป็นช่วงเวลาของการไม่แสดงผล อันเนื่องจากภูมิคุ้มกันของสังคมยังเข้ม
แข็ง แต่พร้อมกันนัำนเราได้สะสมความอ่อนด้วย โดยมีต้นเหตุสำา คัญคือ การพึ่งพาตัวสินค้าจากภายนอก
ประเทศ มีการนำาเข้าค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น วัสดุ อุปกรณ์เทคโนโลยี สินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค มี
การพัฒนาฐานการผลิตภายในประเทศค่อนข้างตำ่า ในขณะที่เศรษฐกิจที่ผ่านมาดูเหมือนเร่งรุดเติบโตและเรา
เองก็มีการใช้จ่ายเงินเกินตัว มีการอุปโภคและบริโภคมากและเร็วเกินไป มีการลงทุนในทรัพย์สินเป็นจำานวน
ม า ก ซึ่ ง เ ป็ น ก า ร ล ง ทุ น ใ น กิ จ ก ร ร ม ที่ ไ ม่ ไ ด้ ส ร้ า ง ผ ล ผ ลิ ต ม า ก เ ท่ า ที่ ค ว ร
กล่าวง่าย ๆ ก็คือ ระบบเศรษฐกิจ ที่เราสร้างฐานเศรษฐกิจบนความไม่มั่นคง ไม่ได้รสร้างจาก
รากฐานภายใน แต่พึ่งพาจากทรัพยากรภายนอก แม้แต่ทรัพยากรบุคคลก็ไม่ได้พัฒนาให้เป็นทรัพยากรที่มี
คุณภาพ หากแต่สร้างให้เป็นแรงงานรับจ้างราคาถูก ซึ่งต่างจากสิงคโปร์ ฮ่องกง ญีป่ ุ่น ฯลฯ หลายประเทศที่
กล่าวถึงหากเทียบทรัพยากรธรรมชาติจะน้อยกว่าเรา แต่ทรัพยากรบุคคลของประเทศเหล่านัำน มีคุณภาพสูง
กว่า ระบบเศรษฐกิจเข้มแข็งกว่า
จะเห็นได้ว่า “ฐานรากไม่แข็ง ยอดจึงไหว” เพราะเมื่อเศรษฐกิจฐานการผลิตไม่เข้มแข็งประกอบกับ
ทางด้านการเงินก็มีความไม่สมดุล ทัำงในด้านอัตราดอกเบีำยและอัตราและก็เปลี่ยนทำาให้เกิดความไม่พอดีขึำน
ในระบบเศรษฐกิจ จึงกลายเป็นการสะสมความไม่พอดีจนถึง จุดวิกฤติ ที่แปรสภาพเป็น จุดพังทลายโดยเริ่ม
จากดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มมากขึำน จนกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินและเศรษฐกิจ ผสมกับการ
ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มากเกินไป ทำาให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีทีท่าว่าจะเสื่อมถอย ซึ่งส่งผลกระทบ
กิจการตลอดหลักทรัพย์ ทำาให้หุ้นตก และนำาไปสู่ความไม่เชื่อมั่นในสถาบันการเงิน บางแห่งลุกลามไป
กระทบความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินการเงินหลาย ๆ แห่ง รวมไปถึงความไม่เชื่อมั่นในอัตราแลกเปลี่ยน
ในที่สุดอัตราแลกเปลี่ยนก็คงอยู่ไม่ได้ ต้องประกาศให้ค่าเงินบาทลอยตัว เมื่อค่าเงินบาทลอยตัวในภาวะที่
เศรษฐกิจมีความอ่อนด้อยค่าเงินบาทก็ตกตำ่าเป็นอย่างมาก ส่วนสถาบันการเงินหลายแห่งดำาเนินการต่อไปไม่
ได้ ต้องปิดกิจการ หรือถูกรัฐบาลบังคับให้ปิดกิจการ ซึ่งทัำงหมดนีำเป็นการสะสมความอ่อนด้อย ที่นำาไปสู่การ
พังทลายของเศรษฐกิจและการเงิน
2.2 ความอ่อนด้อยของระบบการเมือง
ระบบการเมือง โดยภาพรวมระบบการเมืองของประเทศไทยมีคุณภาพตำ่า มีประสิทธิภาพตำ่า มีความ
สุจริตไม่เพียงพอ มีการทุจริต คอรัปชั่น ทัำงโดยนักการเมือง ข้าราชการและนักธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบการ

228.
เมือง ทัำงนีำเนื่องจากโครงสร้าง กติกา และกระบวนการที่เกี่ยวกับระบบการเมืองมีความอ่อนด้อย ทำาให้
ต้นทุนทางธุรกิจและเศรษฐกิจสูงโดยไม่จำาเป็น ส่งผลให้มีการจัดทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างไม่เหมาะสม
และไร้ประสิทธิภาพ เพราะไปขึำนกับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุผลทางเศรษฐกิจ แต่เป็นเหตุผลทางการเมือง ที่สำาคัญ
เป็นเหตุผลทางความไม่ถูกต้อง
ทางด้านการตัดสินใจทางการเมืองภายใต้ระบบที่อ่อนด้อยมักไม่ได้ใช้หลักเหตุผลทางข้อเท็จ จริง
และวิชาการอย่างสุริต หากแต่ยึดความเป็นพวกพ้องและผลประโยชน์เฉพาะหน้า จึงทำาให้การออกมาตรการ
และการตัดสินใจสำาคัญ ๆ ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพและชาดประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อนโยบายทางด้าน
เศรษฐกิจ สังคมและอื่น ๆทำาให้เกิดผลกระทบทางลบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่รวมไปถึง ลดทอนประสิทธิภาพและ
คุณภาพทางระบบเศรษฐกิจด้วย
สรุปแล้ว ความอ่อนด้อยของระบบการเมืองนัำน ประกอบด้วยความอ่อนด้อยในแง่ของคุณภาพ
ประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความสุจริต ความยุติธรรมและความมั่นคง เมื่อนำาพาเอาความอ่อนด้อยหลาย
อย่างเหล่านีำผนวกรวมเข้าด้วยกัน มีการจัดจ้างที่ไม่ดี ก่อให้เกิดผลผลิตที่ไม่ดี และผลทางลบต่อเนื่องไปยัง
ส่วนอื่น ๆ อีกมาก
2.3 ความอ่อนด้อยของระบบราชการ
ในความเป็นจริงระบบราชการเป็นระบบที่มีความยิ่งใหญ่ มีความกว้างขวาง และเสถียรภาพ เมื่อเข้า
มาสู่ระบบราชการแล้วจะสามารถดำารงอยู่ได้ต่อเนื่อง จนกลายเป็นอยู่ไปเรื่อย ๆ เปลี่ยนแปลงได้ยาก ทว่า
พอได้สถานภาพของความเป็นราชการ จะนำามาซึ่งบทบาทและมีอำานาจเหนือกว่าคนอื่น ๆ ในสังคม ดังนันำ
ระบบราชการจึงมีอิทธิพลมากต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพราะระบบราชการคือผู้ดำาเนินการ
ผู้ใช้อำานาจตามกฎหมาย ผูต้ ัดสินใจ ผู้กำาหนดผู้ควบคุม ผู้จัดการหลาย ๆ อย่าง ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและ
สังคม
ในขณะที่ระบบราชการมีความมั่นคง และเสถียรภาพมาก แต่ทางด้านคุณภาพและประสิทธิภาพมี
ความอ่อนด้อย รวมถึงความซื่อสัตย์สุจริตด้วย ซึ่งมีผลทำาให้การตัดสินใจของระบบราชการ การควบคุม การ
ดูแลในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เป็นไปอย่างถูกต้อง หรือมีความเหมาะสม
หลายกรณีระบบราชการมีการควบคุมมากเกินไป และอีกหลายกรณีมีการควบคุมน้อยเกินไปหรือ
บ้างก็ไม่ถูกไม่ควร การตัดสิตใจของระบบราชการหลายกรณีไม่ถูกไม่ควร การปฏิบัติงานของระบบราชการ
ไม่ถูกไม่ควร หรือบางครัำงก็ล่าช้า
ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าระบบราชการที่มีความอ่อนด้อย ล้วนเป็นต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึำนโดย
ไม่จำาเป็น นอกเหนือไปจากข้องเสียหายอื่น ๆ ที่ดำารงอยู่ในระบบราชการ
2.4 ความอ่อนด้อยของค่านิยม วัฒนธรรม จริยธรรม และศาสนา

229.
ลักษณะของค่านิยมในสังคมไทย ตลอดจนวัฒนธรรม เชื่อมโยงไปถึงเรื่องจริยธรรมศาสนา ฯลฯ ล้วนเป็นไป
ในลักษณะที่ด้อยคุณภาพ โดยเฉพาะค่านิยมที่ชอบความฟุ้งเฟ้อ ความฟุ่มเฟือยทางวัตถุ ชอบความรำ่ารวย
หรือนิยมคนรำ่ารวยแทนที่จะนิยมคนดี ทำาให้คนในสังคมไขว่คว้าหาความรำ่ารวย และนิยมบริโภค
ความอ่อนด้อยที่สำาคัญคือ “ศาสนา” แต่ไม่ได้หมายถึง “คำาสอนของศาสนา” แต่เป็นการประพฤติ
และปฏิบัติตามศาสนา คนส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักธรรมที่แท้จริง แต่เป็นการปฏิบัติตามความเชื่อ ตาม
ประเพณี และได้เบี่ยงเบนออกไปจากหลักธรรมที่แท้จริง ทำาให้ไม่อาจสร้างค่านิยม วัฒนธรรม พฤติกรรม
ฯลฯ ที่ถูกต้องขึนำ มาได้กลายเป็นค่านิยมที่นำาไปสู่การใช้จ่ายที่ไม่ประหยัดและไม่มีประสิทธิภาพ มี
พฤติกรรมการบริโภคมากกว่าการลงทุนและมากกว่าการออม ดังนัำน การออมจึงน้อยเกินไปและการลงทุน
เพื่ออนาคตก็น้อยเกินไป ในขณะที่มีการลงทุนเพื่อการบริโภคมากเกินไป
จะเห็นได้ว่า ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ของสังคมไทยไม่ช่วยให้เกิดภาวะทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
และความมั่นคง แต่ทำาให้เกิดเศรษฐกิจที่ฟู่ฟ่า เป็นฟองสบู่เพราะเป็นเศรษฐกิจที่ไปติดยึดกับค่านิยมที่เน้น
ความรำ่ารวย
ส่วนทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม ก็ไม่บูชาความดีในสังคมมากเท่าที่ควร แต่ไปบูชาทุนนิยม
ความรำ่ารวย คนรำ่ารวย คนมีอำานาย ฯลฯ ทำาให้คนนิยมที่จะมีอำานาจ จึงเสวงหาอำานาจด้วยการเข้าหาผู้นำา
เข้าหาผู้มีอำานาจ รวมถึงความไม่สุจริตที่อยู่ทั่วไป ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ไม่วา่ จะเป็นเรื่องของ
อาชญากรรม การประกอบธุรกิจที่ไม่สุจริต เช่น ค้าขายยาเสพย์ติด ประกอบธุรกิจ บริการทางเพศ รวมถึงการ
บังคับใช้แรงงาน ฯลฯ
ระบบของค่านิยมที่กล่าวมา ล้วนนำาไปสู่ความอ่อนด้อยของพลังสร้างสรรค์ในสังคม เมื่อสังคมมี
พลังสร้างสรรค์น้อย เพราะต้องใช้พลังไปในทางทำาลายหรือในทางบั่นทอน มีการใช้พลังงานเป็นอันมาก
เพื่อที่จะทำาในเรื่องทุจริตหรือเป็นเรื่องที่บั่นทอนชีวิตจิตใจ ทรัพย์สินและคุณค่าต่าง ๆ ในสังคม ดังเช่นการ
ใช้พลังงานเป็นจำานวนมากเพื่อจะเล่นหวยใต้ดิน เล่นการพนัน หรือการใช้พลังงานของคนกลุ่มหนึ่งเพื่อ
ประกอบอาชญากรรม แล้วก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งทีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการไล่จับอาชญากร เมื่อมีคน
ประเภทหนึ่งทำาผิด ก็ต้องมีคนอีกประเภทหนึ่งคอยไล่ตาม ต้องทำาให้เกิดการต่อสู่กันทำาให้เสียทรัพยากรและ
พลังงานไปมาก
มีค่านิยม จริยธรรม มีความอ่อนด้อย ล้วนเป็นปัจจัยส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจทัำงนันำ เพราะ
ต้องเสียทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน ลงแรง ใช้เงินทองทรัพย์สิน ใช้พลังงาน ใช้ความคิด แต่ไม่เกิดผลที่
สามารถนำามาอุปโภคบริโภคได้
230.
2.5 ความอ่อนด้อยของระบบการศึกษา
ทางด้านของระบบการศึกษาของประเทศไทย ก็ไม่ส่งเสริมในเรื่องการพึ่งตนเอง การศึกษาเรียนรู้
ด้วยตนเอง การพัฒนาตนเอง ฯลฯ เท่าทีค่ วร แต่การศึกษาได้ส่งเสริมการท่องจำา การรู้ตามแบบที่กำาหนด
ฯลฯ เมื่อระบบการศึกษามีความอ่อนด้อย จึงส่งผลให้คุณภาพของบุคลากรไม่ดีเท่าที่ควร ไม่มีความสามารถ
เท่าที่ควร โดยเฉพาะไม่มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง ทำาให้กลายเป็นกำาลังคนที่คุณภาพไม่สูง เมื่อ
ประชาชนมีคุณภาพไม่สูงก็จะไม่ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจมีคุณภาพสูงและเมื่อต้องแข่งขันกับต่างประเทศจึงมี
ความยากลำาบาก
ความไร้ประสิทธิภาพของระบบการศึกษาได้ส่งผลกระทบที่ชัดเจนคือ ได้คนที่มีคุณภาพไม่พอกับ
ความต้องการ หรือเร็วเท่าความต้องการ เมื่อต้องการบุคลากรมาก็สร้างได้น้อย เมื่อต้องการบุคลากรเร็วก็
สร้างไม่ทัน เรียกได้ว่าระบบการศึกษาไม่ได้สร้างบุคลากรทัำงด้านปริมาณ คุณภาพ และความสอดคล้อง
นอกจากคุณภาพของการเรียนการสอนแล้ว ยังมีคุณภาพในการปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จะ
เห็นได้ว่าระบบการศึกษาของเราไม่ได้ส่งเสริมกระบวนการปรับตัวอย่างมีคุณภาพ และเป็นอีกเหตุหนึ่งที่นำา
ไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ
3. ความไร้ทุกข์ : 5 ระบบใหญ่ที่เข้มแข็ง
ในส่วนของสังคมไทยนันำ คงไม่เลวร้ายที่สุดในโลก เพียงแต่ว่าเรามีความสามารถที่น่าจุพัฒนาได้ดี
กว่านีำ ดังนันำ ความอ่อนด้อยของระบบต่าง ๆ เป็นเรื่องไม่แปลก แต่เราไม่ควรยอมรับความอ่อนด้อยเหล่านัำน
ง่ายๆ โดยบอกว่าเป็นเรื่องธรรมดาและยินยอมให้ความอ่อนด้อยมีอิทธิพลอยู่เหนือกว่าเรา ดังนันำ เราต้อง
พยายามป้องกันไม่ให้สังคมเราเกิดการพังทลาย
แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจของไทยเกิดพังทลายไปแล้วเราต้องใช้วิธี “พลิกวิกฤติเป็นโอกาส” และ “ใช้
ปัญหาสร้างปัญญา” กล่าวคือ ใช้วิกฤติครัำงนีำซึ่งเป็นสถานการณ์ที่มีความรุนแรงกระตุนให้เรามองตัวเอง ให้
เห็นถึง “ปัจจัยพืำนฐานที่มีความอ่อนด้อยสะสม” เพื่อจะได้แก้ไขสิ่งที่เป็นปัจจัยพืำนฐานเหล่านัำนให้พลกกลับ
ไปในทางที่ดี และมีความสร้างสรรค์ เพื่อนำาไปสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง อย่างต่อเนื่อง และอย่างมี
คุณภาพ
การพลิกวิกฤติเป็นโอกาสสามารถกระทำาได้ด้วยการพลิกปัจจัยใหญ่ทัำง 5 ด้านพร้อมกันให้กลับไป
ในทางสร้างสรรค์ จะทำาให้เราสามารถสร้างพืำนฐานและองค์ประกอบหลักของสังคมไทยให้มีความ
แข็งแกร่ง มั่นคง และคุณภาพ
การแก้ไขดังกล่าว ต้องเป็น การแก้ไขปัญหาฐานรากในระยะยาว และควรทำาควบคู่กับการแก้ไข
ปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะหน้าที่ต้องทำาโดยเร่งด่วนและมีมาตรการเจาะจง เช่น ในเรื่อง
ของสถาบันการเงิน ในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ในเรื่องของการส่งออก ฯลฯ ซึ่งมาตรการดัง
กล่าวสามารถปฏิบัติได้ด้วยการทำาให้ดุลบัญชีเดินสะพัดดีขึำน เพิ่มการประหยัด เพิ่มการออกทรัพย์ ทำาให้งบ
ประมาณสมดุบหรือเกิดดุล ฯลฯ มาตรการเฉพาะหน้าเหล่านีำเป็นตัวอย่างที่ต้องทำาเพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์
231.
วิกฤติทางการเงินและสถาบันการเงินและเป็นมาตรการที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ตัำงเป็นเงื่อนไขต้อง
ให้ปฏิบัติตาม ซึ่งคล้ายกับมาตรการห้ามเลือด มาตรการหยุดความสูญเสีย หรือมาตรการดับเพลิง
แต่พร้อม ๆ กับการดำาเนินมาตรการเฉพาะหน้าเพื่อแก้ไขสถานการณ์เร่งด้วน ก็ควรใช้โอกาสนีำปรับฐานราก
ของการพัฒนาระยะยาวควบคู่กันไปด้วย โดยการทำาให้ระบบสำาคัญ ๆ มีความเข้มแข็งและสภาพที่พึง
ปรารถนา มีความเกืำอกูลกันและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน นัน่ คือมาตรการฟื้นฟูชาติตามประเด็นใหญ่รวม 5 ด้าน
ดังนีำ

การเมืองที่พึง
ปรารถนา

ค่ ำ นิ ย ม ที่ ระบบรำชกำร
เหมำะสม ที่ มี คุ ณ ภ ำ พ

เศรษฐกิจ ก ำ ร ศึ ก ษ ำ
ที่สมดุล ที่ มี คุ ณ ภ ำ พ

การเมืองที่พึงปรารถนา
กระบวนการที่จะปฏิรูปการเมืองให้เป็นไปในสภาพที่พึงปรารถนามีแนวทางอยู่แล้ว คือการใช้ “
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่” เพื่อนำาไปสู่กระบวนการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบใหม่การมีกลไกและ
องค์กรทางการเมืองแบบใหม่ เช่น สมาชิกวุฒิสภาแบบใหม่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแบบตามรายชื่อ
พรรคการเมือง มีองค์กรตรวจสอบหลายอย่างเกิดขึำน รวมถึงมีกระบวนการต่าง ๆ ในการกำากับการทำางาน
ของรัฐบาล กำากับการทำางานของบุคคลที่ใช้อำานาจทางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ ดังนันำ กติกา และกลไกต่าง
ๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นของใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนแต่กระบวนการเหล่านีำได้ถูกสร้างขึำนจากความต้องการของคน
ส่วนใหญ่ที่เข้ามามีส่วนร่วมในทุกระดับ จึงอาจเรียกได้ว่า เป็นความปรารถนาร่วมกัน
ภายใต้การใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตีความได้ว่า เมื่อมีการเลือกตัำงครัำงใหม่จะได้บุคคลรุ่นใหม่เข้า
มาภายใต้กรอบความคิดแบบใหม่ ซึ่งน่าจะนำาไปสู่การจัดตัำงรัฐบาลที่มีคุณภาพดีขึำน ส่วนประชาชนก็จะมี
บทบาทมากขึำนทัำงในด้านการติดตามกำากับดูแลรัฐบาล และบทบาทในการจัดการดูแลตนเอง
232.
จะเห็นได้ว่า “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่” น่าจะเป็นทิศทางที่ถูกต้อง เพราะมีแนวทางในการเพิ่มขีด
ความสามารถของส่วนต่าง ๆ ในสังคม เปิดโอกาสให้คนดีมีคุณภาพเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึำน ซึ่ง
จะนำาไปสู่การพัฒนาประเทศและสังคมทัำงในระดับมหภาคและในระดับมหภาคและในระดับท้องถิ่น

ระบบราชการที่มีคุณภาพ
ระบบราชการที่มีคุณภาพได้มีการพิสูจน์แล้วทั่วโลก คือ ควรมีขนาดเล็ก แต่เต็มไปด้วยบทบาทที่มี
ประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิส่วนหนึ่ง ใช้คำาว่า “กลไกประชารัฐ” ซึ่งหมายถึง วิธีการกระบวนการ และ
กลไกที่ประชาชนกับภาครัฐบาลร่วมกันจัดการความเป็นไปของสังคมให้บรรลุสภาพที่พึงปรารถนาร่วมกัน
โดยที่ระบบราชการเป็นส่วนหนึ่งของ “กลไกของประชารัฐ”
ระบบราชการที่ดีจึงไม่ควรมีขนาดใหญ่โต เพราะว่าบทบาทสำาคัญควรอยู่ที่ประชาชน หรือประชา
สังคม ราชการควรเป็นผู้เกืำอหนุนและกำากับดูและเฉพาะส่วนเท่าที่จำาเป็นเท่านัำน ดังนัำน ระบบราชการที่
เหมาะสมควรเป็นดังนีำ
1. เปิดเผย (Openness)
2. โปร่งใส (Transparency)
3. ชัดเจนในระเบียนและกติกา (Predictability)
4. ซื่อสัตย์สุจริต (Honesty)
5. รับผิดชอบต่อผลงาน (Accountability)
6. ความยุติธรรม (Fairness)
7. มีคุณภาพ (Quality)
8. มีประสิทธิภาพ (Efficiency)
9. มีประสิทธิผล (Effactiveness)
10. การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public participation)
จุดสำาคัญที่สุด คือ ระบบราชการควรมีส่วนร่วมของประชาชน และส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด กว้างขวาง
และต่อเนื่อง โดยร่วมออกกฎกติกา ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมรับประโยชน์ และร่วมทั่วไปหมด ทุกพืำนที่ ทุก
ระดับ ยิ่งร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ขยาย ความใกล้ชิดทัำงนีำมีหลักสำาคัญคือเราต้องเคารพ
ประชาชน ว่าเป็นเจ้าของสังคม ประชาชนมีปฏิสัมพันธ์กัน ส่วนที่ดีกว่าจะปรากฏ เวลาที่คนร่วมกันมาก ๆ
ความเห็นแก่ตัว ความมักได้ การเอารัดเอาเปรียบ จะลดน้อยลงแต่การมีส่วนร่วมต้องเปิดเผย กว้างขวางและ
ต่อเนื่อง หลักการดังกล่าวนีำจะทำาให้ประชาชนกับราชการใกล้ชิดกัน และนอกจากเรียนรู้ร่วมกันแล้วยัง
สามารถพัฒนาไปได้พร้อม

233.
ระบบค่านิยม จริยธรรม วัฒนธรรม และศาสนาที่เหมาะสม
การปฏิรูประบบค่านิยมให้มีความเหมาะสม ควรรีบดำาเนินการโดยเร่งด่วน เพราะสถานการณ์กำาลัง
เอืำออำานวย ภาวะวิกฤติที่เกิดขึำนทำาให้ประชาชนรู้สึกตัว และยอมรับว่าค่านิยมที่มีอยู่บกพร่องต้องทำาการ
ปรับปรุง โดยเฉพาะค่านิยมฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ ค่านิยมที่ชอบบริโภค ค่านิยมชอบคนรำ่ารวย ค่านิยมที่เฉยเมยต่อ
การทุจริต คอรัปชั่น ตลอดจนค่านิยมที่ไม่เน้นการมีจริยธรรมหรือคุณธรรม ฯลฯ ค่านิยมเหล่านีำสามารถเร่ง
ทำาการรณรงค์ได้ ภายใต้สภาพสังคมที่กำาลังบอบชำำาจากบาปกรรมที่ร่วมกันทำามาโดยไม่รู้ตัว
254.
ทางด้านศาสนาก็สมควรถือโอกาสปฏิรูปเพื่อให้ศาสนามีระบบการจัดการที่เป็นอิสระ มี
ประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคมมากขึำน เมื่อมีการปฏิรูปศาสนา
อย่างจริงจังจะทำาให้บุคลากรในวงการศาสนามีคุณภาพ เป็นมียอมรับนับถือมากขึำน นำาไปสู่ระบบคุณธรรม
จริยธรรมที่ดีขึำน ตลอดจนนำาไปสู่ระบบค่านิยม ที่ดขี ึำนด้วย
ทัำงนีำการปฏิรูปศาสนาต้องกระทำาในเรื่อง “หลักการพืำนฐาน” อันเป็นการย้อนพิจารณาถึง “การ
ปฏิบัติตามคำาสอนของศาสนา” ที่เน้นความเรียบง่าย ประหยัด สมดุลพอดีระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ไม่เน้น
การเอาเปรียบ เน้นความมีเมตตา กรุณา ความสามัคคีปรองดองระหว่างกลุ่มบุคคล จากนีำพุทธศาสนายังมีวิธี
การที่ดีที่เรียกว่า “ไตรสิกขา” อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นวิธีที่พิสูจน์มาแล้ว 2,500 กว่าปี มีคนที่ทำาได้ผล
ก็ไม่ใช้น้อย แต่ก็ยังเป็นคนส่วนน้อย ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ก็เลยไม่มีพลังพอที่จะพาสังคมไปสู่การปฏิบัติที่ได้
ดุลยภาพ มีจริยธรรม มีคุณธรรม ทัำงหมดนัำนจะนำาพาสู่วัฒนธรรม ซึ่งหมายถึงวิถีชีวิตในเชิงของการปฏิบัติ
การคิด การทำา สูงขึำนเป็นวิถีชีวิตในองค์กร วิถีชวี ิตในชุมชน
ฉะนันำ ในระยะยาวถ้าสามารถปฏิรูปศาสนาให้ดีได้ ก็จะเป็นผลดีทัำงทางด้านจิตใจและด้านเศรษฐกิจ
เพียงแต่เศรษฐกิจดังกล่าวไม่ใช่เศรษฐกิจบริโภคนิยม หรือเศรษฐกิจที่มุ่งการเติบโตขยายตัวให้มากที่สุดอยู่
เสมอ แต่จะเป็นเศรษฐกิจที่มุ่งสร้างสรรค์ความมั่นคงในชีวิต และมุ่งสร้างสรรค์ความสงบสันติสุขของบุคคล
และสังคมเป็นสำาคัญ
ระบบเศรษฐกิจที่สมดุล
ระบบของเศรษฐกิจเองควรจะมีการปฏิรูปโดยเน้นการเติบโตอย่างมีดุลยภาพ ต้องสมดุลทัำงในภาพ
รวมหรือในระดับมหภาคและระดับฐานราก นัน่ คือ ในระดับของท้องถิ่นหรือชุมชน
1. การปฏิรูประบบเศรษฐกิจระดับมหภาค
ในระดับมหภาค ระบบเศรษฐกิจไทยคงยังต้องอยู่กับกระแสโลกาภิวัตน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การ
แข่งขันในระดับนานาชาติจึงต้องมีในระดับหนึ่ง ดังนีำจึงตอ้งมีการสร้างระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ซึ่งจะนำาไป
สู่การมีคุณภาพมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทัำงนีำเป็นการศึกษาความสามารถในการแข่งขัน
ด้วย

234.
ดังนัำน การปฏิรูปเศรษฐกิจ จึงหมายถึงการเน้นเรื่องของคุณภาพ อาทิเช่น คุณภาพของคนคุณภาพ
ของวิธีการ คุณภาพของเทคโนโลยี คุณภาพของสินค้า คุณภาพของบริการ ฯลฯ ซึ่งกระบวนการในการสร้าง
คุณภาพที่ดีได้ต้องเน้นที่การจัดการ การเรียนรู้ และโครงสร้างของเศรษฐกิจ
1.1 การจัดการ หมายถึง ระบบการบริหาร ไม่วา่ จะเป็นเนืำอหาสาระของการบริหาร ได้แก่ การ
บริหารการผลิต บริหารการตลาด บริหารการเงิน เป็นต้น หรือเป็นการบริหารทั่วไป ได้แก่การวางแผน การ
จัดระบบ ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องสำาคัญ ซึ่งสามารถผลักดันให้เกิดการควบคุมการจำาหน่าย แลคุณภาพด้านอื่น เป็น
ไปได้ดี
1.2 การเรียนรู้ หมายถึง ระบบและกระบวนการที่มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้
โดยกลุ่มคน ทีมงาน องค์กร ฯลฯ ซึ่งมีการที่คิดค้นที่ดีเพื่อนำาไปสู่เป้าหมายที่ดี การเรียนรู้จึงนำาไปสู่การ
จัดการในระดับเศรษฐกิจมหภาคให้มีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากขึนำ
1.3 โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่มีดุลยภาพ ต้องเน้นที่การจัดโครงสร้างให้มีความเหมาะสมกับ
ทรัพยากรธรรมชาติ และวิถีชวี ิตที่ดีของคนไทย โดยสอดคล้องกับความต้องการของคน ทำาให้ขจัดความ
ผูกขาด การทุจริตได้ โดยที่ใช้เครื่องมือทางกฎหมาย นโยบายเป็นต้น จัดการ
1.4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งส่วนของภาคเศรษฐกิจ หรือเศรษฐกิจ
ชุมชน ถือเป็น “เศรษฐกิจฐานราก” ที่มีความสำาคัญไม่น้อยกว่าเศรษฐกิจมหภาค โดยที่องค์กรชุมชนท้องถิ่น
ควรจะมีทัำงที่เป็นองค์กรเชิงการปกครอง เช่น องค์การ
บริหารส่วนตำาบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น และที่เป็นองค์กรส่วนประชาชน เช่น
สหกรณ์ กลุ่มออกทรัพย์ กลุ่มธุรกิจชุมชน ฯลฯ ซึ่งองค์กรชุมชนท้องถิ่นนีำมีความสามารถสูง จะเชื่อมโยงไป
เป็นเครือข่ายในระดับแนวราบ คือจะเชื่อมโยงกันเองอย่างเป็นระบบ และจะดูและเพื่อความผาสุกกันเองได้ดี
ระบบการศึกษาที่มีดุลยภาพ
การศึกษาเป็นองค์ประกอบที่ดีและสำาคัญของสังคม ซึ่งควรจะได้รับการปฏิรูปได้แล้วตามที่หลาย
ฝ่ายเรียกร้อง ซึ่งเป็นภาวะวิกฤติมานาน ถึงเวลาที่ควรลงมือทำาสักที ทัำงการปฏิรูประบบการศึกษา คือ การ
สร้างระบบการศึกษาให้มีคุณภาพ ต้องไม่เน้นที่อาคาร อุปกรณ์ ฯลฯ แต่ควรเน้นที่ระบบการเรียนรู้ ระบบ
การจัดการ คุณภาพของบุคลากร และอื่น ๆ
1. ระบบการเรียนรู้แลหลักสูตรการศึกษา หมายถึง การเรียนรู้ทัำงในโรงเรียนและนอกโรงเรียน การ
เรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเสริมสร้างสติปัญญา เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเสริมสร้างความ
สามารถที่จะเรียนรู้ตัวเอง
2. ระบบการจัดการศึกษา คือ การกระจายอำานาจการจัดการศึกษาไปสู่ท้องถิ่นให้มากขึำนผสมกับการ
จัดการที่มีคุณภาพในทุกระดับ “การกระจายอำานาจการจัดการการศึกษา” หมายถึง รวมถึง

235.
การกระจายอำานาจในการกำาหนดหลักสูตร การกำากับดูแลผลของการศึกษา การใช้ประโยชน์จากการศึกษา
เพื่อให้ท้องถิ่นดูแลในรายละเอียด มีความยืดหยุ่นตามสภาพของท้องถิ่น ตามความต้องการของท้องถิ่น และ
เปิดโอกาสให้มีการริเริ่มโดยท้องถิ่นจัดการศึกษา
3. คุณภาพบุคลากรและการพัฒนาบุคลากร ต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างทางการศึกษาและระบบ
การบริหารบุคลากร รวมถึงการปรับปรุงระบบการให้ค่าตอบแทนบุคลากร ซึ่งให้โอกาสบุคลากรมีโอกาส
เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองต่อความต้องการของสังคม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการ
ตรวจสอบอยู่เสมอ
4. แผนแม่บททางการศึกษา ควรจะมี “พระราชบัญญัติว่าด้วยการปฏิรูปการศึกษา เพื่อเป็นกรอบ
แม่บทของการปฏิบัติปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาให้บังเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง

ทางสู่ความไร้ทุกข์ : 4 กระบวนการหลักเพื่อเคลื่อนสังคมไทย
การที่จะฟื้นฟูประเทศไทยให้เป็นไปในทิศทางที่จะพึงปราถนา คือการสร้าง “5 ระบบใหญ่ที่เข้ม
แข็ง” เป็นเสมือน “หางเสือเรือ” ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ เป็นทิศทางที่จะไป แต่ทว่าในภาวะวิกฤติเช่นนีำจะมีแต่ “
วิสัยทัศน์” ที่ถูกต้องอย่างเดียวไม่พอ จำาเป็นต้องใช้พลังงานเพื่อการขับเคลื่อนเป็นจำานวนมาก ต้องใช้หลัก
การร่วมเกิดร่วมทำาเป็นสำาคัญ จึงไม่ควรผูกขาดการดำาเนินการให้หน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใด เป็นผู้ดำาเนิน
การตามลำาพัง ซึ่งพลังในการขับเคลื่อนก็คือ 4 กระบวนการหลัก ซึ่งเป็นเสมือน ใบพัดเรือ
ดังนัำน เมื่อกำาหนดทิศทางที่จะไปแล้ว จะต้องระดมความร่วมมือจากทุกภาคีและต้องดำาเนินการใน
ทุกระดับพร้อม ๆ กับ เพื่อให้เกิดพลังที่จะฟื้นฟูชาติได้โดยเร็ว โดยมี 4 กระบวนการหลัก

กระบวนการ
ผนึกกำาลังทุกภาคี

กระบวน มาตรการ
ประชาสังคม ระดับท้องถิ่น
กระบวนการ
วิจัย – พัฒนา - วิจัย
จะเห็นว่า มาตรการในการฟื้นฟูชาติมี 4 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการผนึกกำาลังทุกภาคี กระบงวนการ
ประชาสังคม กระบวนการระดับท้องถิ่น และกระบวนการ วิจัย---พัฒนา---วิจัยซึ่งมีรายละเอียดดังนีำ

236.
กระบวนการผนึกกำาลังทุกภาคี : จัดตั้งคณะเพื่อดำาเนินงาน
การที่จะฟื้นฟูชาติได้จะต้องใช้พลังความคิดที่หลากหลาย และอาศัยศักยภาพของภาคีต่าง ๆ ค่อนข้าง
มาก ดังนันำ จึงควรจัดทำาในรูปของ “กระบวนการจัดทำาแผนแม่บทเพื่อการฟื้นฟูชาติ” จะต้องมีคนรับผิดชอบ
และดูแล ซึ่งสามารถทำาได้หลายระดับ ในระดับชาติอาจจะอยู่ในรูปของคณะกรรมการแห่งชาติ ซึ่งจะขอ
เรียกเบืำองต้นว่า “คณะกรรมการเพื่อการฟื้นฟูประเทศ”
1. องค์ประกอบของ “คณะกรรมการเพื่อการฟื้นฟูประเทศ” องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ควร
มาจากทุกส่วนของสังคม ได้แก่ นักการเมือง ข้าราชการ นักวิชาการ นักธุรกิจ นักพัฒนา ผู้ใช้แรงงาน
เกษตรกร ผูน้ ำาชุมชนต่าง ๆสื่อมวลชน ผูน้ ำาศาสนา ศิลปิน ฯลฯ คือ เน้นที่ความหลากหลาย
เมื่อองค์ประกอบมีความหลากหลาย จะช่วยให้มีความคิดหลากหลายและกว้างขวาง นำาไปสู่การเกืำอกูล
ซึ่งกันและกัน กระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์ทางความคิดจะนำาไปสู่การช่วยกันในการกระทำา เพราะการทำางาน
ใน
ภารกิจฟื้นฟูประเทศชาติไม่ได้ทำากันโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งแต่ต้องร่วมกระทำากันอย่างกว้างขวาง
ในสังคมทัำงในภาครัฐและนอกภาครัฐ
ฉะนันำ ในการระดมความคิดต้องให้กว้างขวาง และในกระทำาก็ต้องกว้างขวาง ที่สำาคัญจะต้อง
กระจายไปในทุกส่วนของสังคมและต้องดำาเนินงานอย่างต่อเนื่อง
2. ที่มาของ “คณะกรรมการเพื่อการฟื้นฟูประเทศ” การจัดตัำงหรือการรวบรวมตัวแทนจากส่วนต่าง
ๆ ของสังคมเพื่อมาเป็น “คณะกรรมการเพื่อการฟื้นฟูประเทศ” สามารถกระทำาได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น
2.1 ใช้วิธีตราพระราชบัญญัติ อาจจะเรียกว่า “พ.ร.บ. ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม” ซึ่งการตราพระราช
บัญญัติดังกล่าวจะมีความหนักแน่นและมีความต่อเนื่อง เพราะเป็นอำานาจและหน้าที่ซึ่งได้รับการมอบหมาย
โดยสถาบันรัฐสภา
ในเนืำอหาของพระราชบัญญัติดังกล่าวสามารถกำาหนดกลไกในการปฏิบัติงานได้ด้วย เข่น อาจจะ
กำาหนดให้ทำาในเรื่องสำาคัญ ๆ ในที่นีำอาจจะเป็นเรื่องของการปฏิรูป 5 ระบบใหญ่ ๆ ให้มีความเข้มแข็ง และ
เป็น “ภารกิจเฉพาะกาล” คือกำาหนดไว้ด้วยว่าเมื่อเสร็จสิำนภารกิจพิเศษนัำนแล้ว ก็ให้สลายตัวไปหรือถ่ายโอน
ภารกิจที่ยังเหลืออยู่ ในหน่วยงานปกติดำาเนินการต่อไป
ทางด้านจำานวนของสมาชิกสภาฯอาจจะกำาหนดให้มีประมาณ 70-100 คน โดยเน้น ที่มา ซึ่งมาจาก
หลายส่วนของสังคม อาจใช้วิธีให้องค์กรเลือกผู้แทน เช่น กำาหนดให้มีผู้แทนจากคณะรัฐมนตรี 5 คน สมาชิก
สภาผู้แทนราษฏรฝ่ายรัฐบาล 5 คน ฝ่ายค้าน 5 คน สมาชิกวุฒิสภา 5 คน กลุ่มธุรกิจ 5 คน และกลุ่มอื่น ๆ จน
ครอบตามจำานวนที่กำาหนดไว้ ทัำงนีำจำานวนสมาชิกหากมีน้อยเกินไป จะไม่ครบทุกฝ่ายของสังคมแต่ถ้าหากมี
จำานวนมากเกินไปก็จะเกิดภาพของความอุ้ยอ้ายและทำางานล่าช้า
อย่างไรก็ตาม จุดสำาคัญคือ การระดมพลังจากทุกส่วนของสังคมเป็นพลังสร้างสรรค์ เป็นพลังแห่ง
การเกิดใหม่ เป็นพลังแห่ง
237.
การปรับปรุงใหม่ เป็นพลังแห่งการปฏิรูป เราต้องการพลังมากและจากทุกส่วนของสังคม ต้องการ
พลังที่เข้มข้นและสร้างสรรค์ และต้องเป็นพลังที่ผูกโยงกันอยู่ ต่อเนื่องด้วย
สำาหรับหน้าที่ควรจะทำาเรื่องใหญ่ ๆ เป็นพืำนฐาน โดยมีกำาหนดระยะเวลาไว้ เช่น 5-10 ปี เมื่อถึงจุด
หนึ่งอาจจะกลายสภาพหรือหมดหน้าที่ไป ส่วนภารกิจต่าง ๆ ก็มอบหมายให้กลไกปกติเป็นผู้ดำาเนินต่อไป
2.2 ใช้วิธีจัดตัำงโดยสภา กลไกของสถาบันรัฐสภาพสามารถระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายของสังคม
เข้ามาปฏิบัติภารกิจพิเศษได้ อาจจะเรียกชื่อว่า “คณะกรรมาธิการพิเศษ” หรือ “คณะกรรมาธิการวิสามัญ”
หรือ “คณะกรรมการ” อย่างไรก็ตาม การจัดตัำงโดยรัฐสภาจะมีอำานาจหน้าที่ค่อนข้างจำากัดมากกว่าการตรา
พระราชบัญญัติ กล่าวคือ ในทางปฏิบัติคณะดังกล่าวอาจจะทำาหน้าที่ด้านการศึกษา และให้ข้อเสนอแนะใน
ลักษณะของแผนงานเป็นหลัก ส่วนหน้าที่ในการปฏิบัติคงต้องให้หน่วยงานปกติเป็นผู้ดำาเนินการ
2.3 ใช้วิธีการจัดตัำงรัฐบาล อาจจะเรียกว่า “คณะกรรมการเพื่อการฟื้นฟูประเทศ” โดยอาศัยระเบียบ
สำานักนายกรัฐมนตรี หรือคำาสั่งนายกรัฐมนตรี ในการที่รัฐบาลเป็นผู้จัดดังนัำน สามารถที่จะให้อำานาจ ให้
บทบาท ให้หน้าที่ตามที่กำาหนดไว้ได้
3. ภารกิจของ “คณะกรรมการเพื่อการฟื้นฟูชาติ” ควรจะเน้นหนักในด้านของกระบวนการระดม
ความรู้และความสามารถจากทุกส่วนของสังคมมาช่วยฟื้นฟูประเทศ ที่สำาคัญก็คือ ร่วมกันยกร่าง 1) แผน
ปฏิรูประบบการเมือง 2) แผนปฏิรูประบบเศรษฐกิจ 3) แผนปฏิรูประบบราชการ 4) แผนปฏิรูประบบการ
ศึกษา 5) แผนปฏิรูประบบค่านิยม การนำาความคิดที่มีหลากหลายและกว้างขวางมาผสมผสานจะได้แนวทาง
ในการดำาเนินงานที่ดี ยิ่งมีองค์ประกอบหลากหลาย นอกจากจะได้ช่วยให้ได้ความคิดที่หลากหลายแล้ว ใน
แต่ละองค์ประกอบยังสามารถช่วยกันนำาข้อยุติหรือแผนงานที่ผ่านมาคิดค้นร่วมกันไปดำาเนินการได้อย่าง
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
กระบวนการประชาสังคม : ความเป็นประชาสังคมทุกระดับ ทุกพื้นที่ ทุกวงการ
กระบวนการฟื้นฟูพลังสังคม ในทางปฏิบัติสามารถกระตุ้นให้ก่อเกิดได้ทุกหนทุกแห่ง และเป็นจุด ๆ
ตามความเข้มแข็งของแต่ละพืำนที่ อาจจะเป็นในรูปของการเป็นประชาคม เป็นชุมชนหรืออื่น ๆ ที่เหมาะสม
มาตรการระดับท้องถิ่น : พลังฐานรากของกระบวนการชุมชน
สิ่งที่จะต้องดำาเนินการควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติก็คือ การฟื้นฟู
เศรษฐกิจและสังคมในระดับท้องถิ่นด้วยโดยอาจอาศัย “กลไกกลาง” ซึ่งอยู่ระหว่างการดำาเนินการจัดตัำงโดย
กระทรวงการคลังเป็นเจ้าของเรื่อง เรียกว่า “สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน”
ถึงแม้ว่า สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กเมื่อเทียบกับเรื่องแผนแม่บทเพื่อการฟื้นฟู
ประเทศ แต่สามารถเป็นจักรกลสำาคัญในการเกืำอหนุนให้องค์กรชุมชนสามารถตัำงรับกับกระแสใหญ่ของ
เศรษฐกิจระดับมหภาคได้

238.
มาตรการเสริมการเรียนรู้ : วิจัยพัฒนา---วิจัย
การกระบวนการด้านการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบวิจัย—พัฒนา---วิจัย ก็เพื่อสร้างให้เกิดองค์ความรู้
และความสามารถนำาองค์ความรู้นัำนมาปฏิบัติได้จริง ทัำงนีำหัวใจของการเรียนรู้มี 3 มิติ ดังนีำ
1. กระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการพิจารณาถึงสถานการณ์ของบ้านเมืองทัำงในด้าน
ประวัติศาสตร์ สิ่งที่ดำารงอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงการพิจารณาข้อบกพร่องที่ผ่านมาเพื่อกำาหนดทิศทาง เข็มมุ่ง
วิธีการ และนำาไปปฏิบัติจริง พิจารณาผลที่เกิดขึำนก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่
2. องค์กรเรียนรู้ หมายถึง องค์กรทัำงองค์กร ซึ่งรวมถึง คนในองค์กรและหน่วยงานในองค์กรที่ต้อง
เป็นผู้เรียนรู้อยู่เสมอ ถ้าองค์กรมีการเรียนรู้อยู่เสมอ องค์กรก็จะไม่มีความกับแคบ ไม่มีความเฉยชา เพราะมี
การปรับปรุงและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา
3. วิจัย---พัฒนา---วิจัย หมายถึง ปัจจัยที่นอกเหนือจากการมีกระบวนการเรียนรู้ มีองค์กรที่เรียนรู้
แล้ว ยังจะต้องมีการสร้างกระบวนการวิจัย---พัฒนา---วิจัย ซึ่งหมายถึง การวิจัยให้ได้องค์ความรู้ และต้องนำา
องค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้จริง จากนัำนเพื่อให้เกิดการพัฒนาจึงต้องมีการวิจัยกระบวนการ และวิจัยผล
จากการ พัฒนาเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ แล้วนำาองค์ความรู้ใหม่ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้มีการพัฒนาต่อไปอีก
เป็นองค์วงจรต่อเนื่องไม่รู้จบ
กระบวนการ”วิจัย---พัฒนา---วิจัย” ในที่นีำ ควรจะมีเป้าหมายเพื่อการฟื้นฟูชาติเป็นสำาคัญ ซึ่งเป้า
หมายและกระบวนการดังกล่าวนีำจะทำาให้ชาติสามารถพัฒนาไปได้โดยมีความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งจะนำาไป
สู่ความยั่งยืนของทุกมิติ
สรุปแผนแม่บทการฟื้นฟูชาติ
กล่าวโดยรวมทัำงหมดนีำ คือ “แผนแม่บทเพื่อการฟืน้ ฟูชาติ” ด้วยเหตุที่ว่าประเทศไทยเจริญก้าวหน้า
มาพอสมควรเมื่อเทียบกันนานาชาติ แต่เมื่อสะสมความอ่อนด้อยไว้มากจนถึงจุดวิกฤติ จึงมีการพังทลายใน
หลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจการเงินและเศรษฐกิจสังคม ดังนันำ จนถึงเวลาและเป็นโอกาสที่จะต้อง
ฟื้นฟูชาติครัำงยิ่งใหญ่
ที่เรียกว่าแผนแม่บทเพื่อการฟื้นฟูชาติ เพราะเป็นการปฏิรูปในหลาย ๆ ด้าน โดยทำาไปพร้อม ๆ กัน
อย่างมีดุลยภาพ โดยมุ่งเน้นที่จะเปลี่ยนแปลง 5 ระบบใหญ่ให้มีสภาพที่พึ่งปรารถนาและใช้ 4 กระบวนการ
หลักเป็นพลังขับเคลื่อน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเน้นการหนุนเสริมซึ่งกันและกัน และส่งพลังให้กันและกัน
ก่อให้เกิดพลังร่วมที่สำาคัญในการผลักดันให้สังคมไทยเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และมีคุณภาพ
ทางด้านคุณภาพก็จะมีลักษณะเป็น “ดุลยภาพนิยม” หมายถึง การเพิ่มพูนคุณภาพในหลาย ๆ ด้าน
ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การเมือง การปกครอง ฯลฯ อย่างได้สมดุลหรือ
ความพอดี เป็นคุณภาพที่พึงประสงค์ และควรนำาไปสู่ความเจริญ ความสัตนิสุขของคน และครอบครัว ของ
ชุมชน และสังคมโดยรวม ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาร่วมกันของคนไทยทัำงมวล

239.
GREEN ECONOMHCS
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เป็นพืำนฐานที่สำาคัญที่สุดในการสนับสนุนการดำารงชีวิตของมนุษย์ เมื่อสิ่ง
แวดล้อมนีำกำาลังจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ มนุษย์ก็มีแนวโน้มที่จะรวมพลังกันเป็นขบวนการใหญ่เพื่อที่จะ
แสวงหาทางออกใหม่ ในโลกตะวันออก เราเรียกปรากฏการณ์นีำว่า “การเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม” ซึ่งนับ
ว่าเป็น “การเคลื่อนไหวสังคมแนวใหม่” รูปแบบหนึ่ง
อารยธรรมใหม่ของสังคมอุตสาหกรรมเริ่มต้นเมื่อเราได้เข้าไปควบคุมธรรมชาติและเมื่อถึงสังคม
อุตสาหกรรม เราก็พบกับความกาวหน้าทางเทคโนโลยีความเจริญทางวัตถุ และการบริโภคอย่างไร้ขอบเขต
วิทยาการสมัยใหม่ผสมกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมทำาให้เราสามารถบรรลุความต้องการได้ทุกรูปแบบ ทำาให้
เราคิดว่ากำาลังมีความสุขอย่างมาก และความเจริญแบบนีำก็ใกล้จะกลายเป็นศาสนาใหม่ของเรา ทุกคนฝันถึง
ชีวิตที่สุขสบาย
เศรษฐกิจสมัยใหม่ ทำาให้มนุษย์กับประสบการณ์ชีวิตที่สุขสบายขัดแย้งในตัวเองในขณะที่ความ
มั่งคั่งมาเยือนก็ได้เอาความยากไร้ทางจิตใจมาด้วย เพราะพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์เน้นความสุข
สบายและไขว่คว้าวัตถุ ค่าของความเป็นมนุษย์ได้สูญหายไป ผู้คนเป็นจำานวนมากอยู่ในสภาพที่จิตมีปัญหา
นันำ คือ มีความอ้างว่าง หวัน่ วิตก มีความกลัว มีความสิำนหวัง มีความก้าวร้าวสูง เราอาจกล่าวได้ว่า “ที่นี่ไม่มี
มนุษย์” เมื่อระบบและสังคมเป็นต้นตอที่ทำาให้ชีวิตและธรรมชาติต้องพิการไป เราก็คงต้องแก้ไขกันที่ต้นตอ
นีำ สิ่งที่สำาคัญและเป็นที่สุด คือ เราคงจะต้องมีเศรษฐศาสตร์ใหม่ ทีว่ ่าด้วยชีวิตมนุษย์ ธรรมชาติและสังคม
ใหม่เป็นการเดินทางไปสู่อาณาจักรแห่งเสรีภาพ ท่ามกลางการพิทักษ์รักษาโลกธรรมชาติ เศรษฐศาสตร์ใหม่
ต้องมีมิติทางจริยธรรมด้วยจึงเป็นการเลือก ทางเดิน ของชีวิตและแบบจำาลองของสังคมโดยมีความหวังที่จะ
กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
มองในแง่นีำแล้ว เศรษฐศาสตร์สีเขียว คือ การสร้างแนวคิดใหม่ที่มุ่งไปยังเรื่องการเรื่องการปฏิวัติ
จิตสำานึกของมนุษย์นั่นเอง “เมื่อเราเปลี่ยนความคิดได้ เราย่อมเปลี่ยนโลกได้” นันำ หมายความว่าเศรษฐศาสตร์
สีเขียวจะตรวจสอบทัำงจุดหมายของสังคมและวิชาการต่าง ๆ ที่มนุษย์กำาลังปฏิวัติกันอยู่ด้วยจิตสำานึกความคิด
ทางจริยธรรม มี 2 เงื่อนไข คือ เรื่องของเสรีภาพ และความรับผิดชอบต่อสังคม
มนุษย์จะต้องมีเสรีภาพที่รับรู้ที่จะเลือกและจากการถูกครอบงำา จะต้องปลอดภัยจากการถูกกำาหนดโดย
โครงสร้างสังคมและพลังสังคมที่อยู่รอบตัวเขา นั่นคือ การตื่นขึำนของจิตสำานึกอย่างเต็มที่
ระบบเศรษฐกิจและระบบนิเวศ บนหนทางไปสู่การล่มสลายของโลกแบบจำาลอง “เรื่องของโลก”
เป็นเรื่องที่เราอาจสนใจไว้ให้มากที่สุดเพราะโลกก็คือบ้านของเรา เป็นพืำนฐานชีวิตของเรา ในโลกมีขีดจำากัด
ทางทรัพยกร เราไม่อาจจะปล่อยให้เศรษฐกิจของเราขยายตัว อย่างไร้ขอบเขตได้เพื่อที่จะหลีกเลี่ยง
วิกฤติการณ์ทางนิเวศ มนุษยชาติจะต้องเปลี่ยนวิถีทางดำารงชีวิตและเปลี่ยนค่านิยมของตน ในตอนนีำเราจะ
ทำาการสรุปข้อสำาคัญบางประการของ แบบจำาลองโลก เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างระบบเศรษฐกิจ
และระบบนิเวศ ซึ่งพอสรุปได้ดังนีำ
240.
1. การพัฒนาอุตสาหกรรมแบบตุวันตก มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศของโลก
2. ประชากรแต่ละคนในประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก มีส่วนทำาให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษและมีการ
ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างฟุ่มเฟือยมากเกินไป
3. การพัฒนาอุตสาหกรรมของโลกที่สาม ที่มีประชากรหนาแน่น รวมทัำงการสร้างสังคมตามแบบ
จำาลองตะวันตก จะช่วยเร่งให้มีการบริโภคสินค้าและบริการมากขึำน
ขณะนีำการทำาลายล้างระบบนิเวศได้เกิดขึนำ แล้วในอากาศ ดิน นำำา มหาสมุทรอย่างกว้างขวางการ
พัฒนาอุตสาหกรรมแบบตะวันตกที่แผ่กระจายทั่วโลก ย่อมก่อให้เกิดวิกฤติการณ์อย่างแน่นอน
แบบจำาลองนีำมีข้อแนะนำาว่า โลกที่สามไม่สมควรจะพัฒนาตามแบบจำาลองของตะวันตกและต้องหา
ทางปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตนเอง โดยไม่อาศัยแนวทางตะวันตก นัน่ คือ ต้องมีการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
แบบจำาลองโลกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากคือ แบบจำาลอง “Limits to Growth”
ซึ่งชีำวา่ การพัฒนาโลกซึ่งจะส่งผลทำาให้การขยายตัวของเศรษฐกิจเป็นไปในทางทำาลายล้างระบบนิเวศและตัว
มนุษย์มี 3 ข้อคือ
- ระบบค่านิยมทางสังคมสมัยใหม่ส่งเสริมการขยายตัวของประชากรและการลงทุน
- เศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างไม่หยุดยัำง จะส่งผลให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากขึำน และเสียข้อจำากัดทาง
สิ่งแวดล้อมปรากฏชัดขึำน ระบบเศรษฐกิจก็เริ่มมีปัญหามากขึำน
- การปรับตัวของมนุษย์เกิดขึำนอย่างช้า ๆ ในการรับรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทำาการปรับค่านิยม
สถาบันและเทคโนโลยี
ผู้สร้างแบบจำาลอง สรุปว่า ถ้าเรายังมีความเชื่อเช่นนีำต่อไปภายในเวลาอีก 40-50 ปี ข้างหน้า
มนุษย์จะถูกกวาดล้างลงไปเรื่อย ๆ จนหมดสิำนในปี 2100
ในแบบจำาลองโลกที่เราเรียกกันว่า “MESAROVTC PESTEL WORLD MODEL” สรุปว่า จะเกิด
วิกฤติการณ์อย่างหนักในระบบการผลิตอาหารของโลก คือ
- ราคาสินค้าประเภทอาหารจะพุ่งสูงขึำนอย่างมากทัำงระดับโลกและระดับท้องถิ่น
- ภาวการณ์ขาดแคลนอาหาร จะเกิดขึำนในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ความอดยากหิวโหยจะแผ่
กระจายอย่างกว้างขวาง
ข้อสรุปดังกล่าวนีำสอดคล้องกับแบบจำาลองโลกของกลุ่มนักวิชาการแนวมนุษยนิยม ซึ่งยำำาว่า
วิกฤติการณ์ทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่ทั่วโลกกำาลังประสบอยู่นีำ ไม่ใช่เกิดขึำนเพราะมี
ประชากรมากขึำน หากแต่เป็นผลผลิตของลัทธินิยมวัตถุแบบตะวันตกปัญหานีำไม่ใช่เป็นปัญหากายภาพหรือ
ธรรมชรติ แต่เป็นปัญหาสังคมการเมือง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องการแบ่งอำานาจไม่เท่าเทียมกันหลายรูปแบบ การ
จัดองค์การทางสังคม ซึ่งเป็นวิธีการที่ตัำงอยู่บนค่านิยมที่เน้นการทำาลายล้าง ทางรอดของมนุษยชาติมีทางเดียว
เท่านัำน คือ เราต้องสร้างสังคมใหม่ขนึำ มาที่มีแนวมนุษยธรรมพร้อม ๆ กับการให้ความรักและความเอาใจใส่
ต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมทัำงปวง
241.
แบบจำาลองโลกที่ให้ความสนใจใส่ต่อระบบนิเวศมากที่สุดคือ ซึ่งเตือนว่าอีก 20 ปี ข้างหน้าการสูญ
เสียทรัพยากรในเขตชนบทโลกและการพังทลายของระบบนิเวศจะเกิดขึำนอย่างกว้างขวาง นอกจากนัำนใน
เขตเมืองโดยเฉพาะโลกที่สาม ประชากรจะเพิ่มขึำนและมีความยากจน สภาพเมืองทรุดโทรม บริษัทข้ามชาติ
ขนาดใหญ่จะตัำงโรงงานในเขตโลกที่สามมากขึำน และนำาระบบการผลิตที่ปล่อยสารพิษลงสู่แม่นำาและทะเล
ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งคือ การโค่นไม้ทำาลายป่า คาดว่าในปี 2000 ความแห้งแล้งจะมากขึำนความอุดมสมบูรณ์
ของดินจะหมดไป คุณภาพของนำำาจะเสื่อมลง ทัำงหมดจะนำาไปสู่ผลผลิตการเกษตรและประมงที่ตกตำ่าลงสิ่ง
แวดล้อมที่เสื่อมโทรมและเป็นพิษย่อมกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตอย่างกว้างขวาง การขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึำนผสมผสานกับการทำาลายสิ่งแวดล้อมอย่างอิสระย่อมหมายถึง ความหายนะของโลก
ชีวิตทัำงหมดของประชาชนในโลกที่สาม
อย่างไรก็ตาม แบบจำาลองโลกมีส่วนดีในการเตือนสติเราว่า การคำานึงถึงอนาคตเป็นสิ่งจำาเป็นที่สุด
เราต้องร่วมกันแสวงหาวิธีการเพื่อหยุดยัำงการขยายตัวอย่างไร้เหตุผลของเศรษฐกิจและประชากร แล้วนำา
ระบบสังคมทัำงหมดกลับคืนสู่สภาพแห่งดุลภาพ หรือคืนสู่ “ยุคทองแห่งอารยธรรม” ซึ่งเป็นยุคที่มนุษย์มีฐาน
ทรัพยากรเพียงพอที่จะเลีำยงตนเอง พรอ้ม ๆ กับการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมรูปแบบต่าง ๆ รวมทัำงการดำารง
ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามและเงียบสงบ
นิเวศวิทยาและปรัชญาการมองโลกธรรมชาติ
บุคคลแรกที่ใช่คำาว่า “ecology” คือ นักชีววิทยาชาวเยอรมัน ชื่อ ERNST HAFCKEL (1870) ecology
มาจากคำาในภาษากรีก olkos แปลว่าบ้าน loges แปลว่า ความเข้าใจ ecology จึงเป็นเรื่องราวของวิถีแห่งความ
เข้าใจเกี่ยวกับบ้านของเรา นั่นคือ เกี่ยวข้องกับโลกของเราและธรรมชาติสิ่งแวดล้อมตัวของเรา
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 เขียนไว้ว่า คำา ecology ตรงกับคำา “นิเวศวิทยา” คือ
วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม
ในภาษาสมัยใหม่ นิเวศวิทยา คือ การศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของธรรมชาติ ซึ่งเป็นการศึกษา
เรื่องราว “ระบบนิเวศ” ECOSYSTEM คำาว่า “ระบบนิเวศ” หมายถึง ชุมชนของสัตว์และพืชซึ่งมีกลไก
ควบคุมตนเอง มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต
คุณภาพชีวิตทัำงหมดในระบบนิเวศจะเป็นอย่างไรนัำน ขึำนอยู่กับการเลือกของมนุษย์ว่าจะพัฒนา
ระบบไปทางไหน
วัฒนธรรมทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสอนใหัคนคิดจะเอาชนะธรรมชาติ มุ่งแสวงหาวัตถุอย่างไม่
หยุดยัำง ทำาป่าให้เป็นเมือง เขาใจว่าไม่มีอะไรสำาคัญทำากับประโยชน์ทางเศรษฐกิจถ้าหากไม่มีการ
เปลี่ยนแปลงความคิดและจิตสำานึกแล้ว ก็เป็นการยากที่จะแก้ไขวิกฤติการณ์ทางนิเวศได้มนุษย์จะละเลยเรื่อง
“จริยธรรมทางนิเวศ” ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว
มนุษย์จะต้องเลือกว่า จะเดินไปบนหนทางแห่งความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ หรือจะเดินหนทาง
แห่ง-นิเวศสังคม แนวคิดนีำยำาว่า ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้เป็นยารักษาโรคแต่เป็นเชืำอโรคมากกว่า
242.
เพื่อที่จะแก้ไขวิกฤติการณ์ทางนิเวศของโลก มีการเสนอแนะว่า
- จะต้องยุติการผลิตสินค้าที่เป็นของเสีย พร้อม ๆ กับการกำาจัดการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือยและ
การบริโภคที่มีลักษณะของการทำาลายสิ่งแวดล้อม
- จะต้องเน้นการสร้างคุณภาพของการสะสมทุน (มากกว่าที่เน้นปริมาณการลงทุน)
- จะต้องกระจายรายได้ทรัพย์สมบัติอย่างเป็นธรรม
นอกจากนีำ “นิเวศสังคม” จะเน้นการใช้พลังงานในรูปใหม่ ๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม พลังนำำา (ปฏิเสธ
การใช้พลังงานแบบนำำามัน หรือพลังงานนิวเคลียร์ นันำ คือแบบ Soft energy puth
วิกฤติการณ์ทางนิเวศและปรัชญาทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
วิกฤติการณ์ทางนิเวศไม่ได้อยู่ปัญหาที่ประชากร สำาคัญอยู่ที่ระบบเศรษฐกิจสังคมมากกว่าเราจะต้อง
ดูว่าการพัฒนาและการจัดการเศรษฐกิจสังคมของเราเป็นอย่างไร เรามีปรัชญาแบบไหนการบริโภคได้กลาย
เป็นหลักของการดำารงชีวิตของมนุษย์สมัยใหม่ (ที่อยู่ในระบบทุนนิยม) ตรรกวิทยาของระบบอุตสาหกรรม
คือ ระบบต้องขยายตัวโดยการเร่งเร้าให้มีการบริโภค ส่งเสริมให้มีการผลิตมาก ๆ ถ้าเราคิดเยียใหม่ เราจะเห็น
ผลกระทบดังนีำ

มีลูกค้ามากขึำน มีการผลิตมากขึำน
มีการผลิตมากขึำน มีการใช้ทรัพยากรมากขึำน
ในที่สุดทรัพยากรที่มีอยู่ก็จะหมดเร็ว ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติก็จะเกิดขึำนในเวลาเดียวกัน
เศรษฐกิจยิ่งโตสิ่งแวดล้อมก็ยังเป็นพิษ
เพื่อที่จะก้าวพ้นจากการทำาลายล้างสิ่งแวดล้อมโลก เราพบว่ามีแนวคิดกระแสหนึ่งที่ได้รับความ
สนใจจากกลุ่มคนที่อยู่ในขบวนการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม เราเรียกเศรษฐกิจแนวนีำว่า “เศรษฐศาสตร์”
GREEN ECONOMICS เพื่อพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
เศรษฐศาสตร์สีเขียว จุดมุ่งหมายสำาคัญคือ การปูพนืำ ฐานทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งอยู่บนพืำนฐานของ
นิเวศวิทยา ซึ่งเป็นระบบที่รักษาความสมดุลระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติและสังคม

เศรษฐศาสตร์ชีวภาพ---ศาสตร์แห่งชีวิตและความหมาย
เราจะพบว่ามีแนวคิดใหม่ ๆ ที่กล่าวถึงเศรษฐศาสตร์อีกแนวหนึ่ง เช่น บารานอฟฟ์ นักทฤษฏี
ชีววิทยาทางทะเลและรัฐเซียได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง “นิเวศวิทยาของชีวิตในทะเลกับกิจกรรมและ
การจัดการเศรษฐกิจ
H.E.Daly เน้นว่า เศรษฐศาสตร์จะต้องเป็น “เศรษฐศาสตร์ชีวภาพ” นันำ คือ เศรษฐกิจและมนุษย์เน้น
ส่วนหนึ่งของโลกธรรมชาติ

243.
เศรษฐศาสตร์แนวใหม่นีำ เราเรียกว่า “เศรษฐศาสตร์ชีวภาพ คือ เศรษฐศาสตร์ชีวภาพมีหลักแนวคิด
สำาคัญ ๆ อยู่ 2 ข้อ คือ
1. ชีวิตและกระบวนการของชีวิต คือ วัตถุสูงสุดในการศึกษาเศรษฐศาสตร์ชีวภาพและกายภาพเป็น
พืำนฐานหลักของการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์
2. กระบวนการทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติมีความเกี่ยวพันกัน รวมทัำงมีการส่ง
อิทธิพลแก่กันและกันอย่างต่อเนื่อง
หลักการสำาคัญทางเศรษฐกิจชีวภาพ สำาหรับการดำารงชีวิตของมนุษย์ 6 ข้อคือ
1. มนุษยชาติจะต้องยุติการทำาสงครามทุกรูปแบบ (ยุติการผลิตอาวุธด้วย)
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโลกที่สาม จะต้องเน้นการบรรลุเป้าหมาย การสร้างสรรค์ชีวิตที่ดี
3. การขยายตัวของประชาชน ต้องอยู่ในอัตราที่เหมาะสมโดยที่ “เกษตรกรรมแบบธรรมชาติ”
สามารถรองรับเลีำยงดูได้อย่างไม่มีปัญหา
4. ยุติการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย
5.ยุติการผลิตสินค้าฟุ่มเฟือยและสิ่งที่ไม่จำาเป็นต่อการมีชีวิตอยู่
6. การดำารงชีวิตประจำาวันจะต้องไม่เน้นหนักการทำางานอย่างไร้ความหมาย เวลาว่างและการผัก
ผ่อน เป็นส่วนสำาคัญเอง “ชีวิตที่ดี”
ปรัชญำของเศรษฐศำสตร์สีเขียว
เศรษฐศาสตร์สีเขียว เป็นเศรฐศาสตต์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของประชุมชนและโลกธรรมสันติ
เศรษฐศาสตร์ที่เราเรียกกันในมหาวิทยาลัย หรือเศรษฐศาสตร์ของสังคมอุตสาหกรรมตะวันตกจะให้ความ
สนใจอย่างมากแก่เรื่องทางด้านปริมาณ ความเจริญเติบโต การขยายตัวของวัตถุ สินค้าและบริการ แต่
เศรษฐศาสตร์สีเขียวจะเน้นเฉพาะเรื่องของคุณภาพชิวิตของประชาชนที่อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมของ
ธรรมชาติ
ปรัชญาหลักที่สำาคัญประการหนึ่งของเศรษฐศาสตร์สีเขียว คือ ในการวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจเรา
จะต้องเริ่มต้นจากการมองดูว่า อะไรคือ ความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์ อะไรคือความต้องการที่ถูกปลุก
ปั้นโดยระบบทุนนิยมและความหลงใหลคลั่งใคล้ในการแสวงหา และครอบครองวัตถุอย่างไม่มีที่สิำนสุด
เศรษฐศาสตร์สีเขียวมีหลักคิดว่า
- การสนองความต้องการทางวัตถุ ไม่อาจทำาให้มนุษย์หรือสังคมมีความสุขสมบูรณ์มากขึำน
เท่าใดนัก
- การแสวงหาวัตถุของคนกลุ่มหนึ่ง (ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม) ต้องตกอยู่ในความทุกข์
เพราะคนกลุ่มน้อยนัำนจะได้เอาทรัพยากรส่วนใหญ่ไปครองและไปใช้เกือบหมด
เศรษฐศาสตร์สีเขียว ยึดหลักคำาพูดของคานธีว่า “โลกเรานีำมีทรัพยากรเพียงพอสำาหรับสนองความ
ต้องการของมนุษย์ แต่ไม่เพียงพอสำาหรับความโลภของมนุษย์” นันำ หมายความว่ามนุษย์เราจะต้องเริ่ม
เปลี่ยนแปลงให้มีค่านิยมแบบใหม่เกิดขึำน
244.
เศรษฐศาสตร์ที่เน้นเรื่อง “ยิ่งมากยิ่งดี” (The economic of more and more) จะต้องกลายเป็นเศรษฐศาสตร์
ของความพอดี (The economics of cnough) ฟังปรัชญาเต๋าว่า
“จงรู้จักหยุดเมื่อเพียงพอแล้ว” ในความหมายนีำ เศรษฐศาสตร์สีเขียวจึงเป็นเรื่องของการจัดการทาง
เศรษฐกิจสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่สนองความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์
เทคโนโลยีแนว “ทางสายกลาง”
ถ้ามองในแง่นีำแล้ว เทคโนโลยี คือ การนำาเอาความคิดทางวิทยาการต่าง ๆ ไปใช้กับสิ่งแวดล้อมทาง
ธรรมชาติ อันเป็นการส่งเสริมให้มนุษย์มีความรู้ในแนวทางที่ทำาให้มนุษย์สามารถควบคุมและครอบครอง
ธรรมชาติได้
แนวคิดของมหาตมคานธี
เทคโนโลยีจะต้องมีคุณสมบัติต่อไปนีำ
- จะต้องไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาประโยชน์ของกลุ่มน้อย ท่ามกลางการขูดรีดแรง
งานมวลชน
- ต้องสนับสนุนการหางาน
- ต้องส่งเสริมการกระจายรายได้ และกระจายความเจริญไปยังท้องถิ่น
- ต้องสอดคล้องกับหลัก “การพึ่งตนเอง”
ในแนวคิดของชูมาเดอร์ เทคโนโลยีแนว “ทางสายกลาง” จะมีลักษณะสำาคัญ 4 ประการด้วยกันคือ
1. สถานที่ทำางานจะต้องตัำงอยู่ในเขตที่ประชาชนอาศัยอยู่ดัำงเดิม
2. สถานที่ทำางานจะต้องมีต้นทุนในการก่อสร้าง
3. วิธีการผลิตมีลักษณะง่าย ไม่ใช้แรงงานฝีมือระดับสูงระบบการจัดการเป็นระบบที่ง่าย
4. การผลิตควรใช้ทรัพยากรของท้องถิ่นเป็นหลัก รวมทัำงใช้บริโภคในท้องถิ่นด้วย

หลักเกณฑ์ 4 ข้อดังกล่าวมาแล้วนัำน ก็นับว่ายังไม่สมบูรณ์ที่เดียวนัก เพราะบางทีเทคโนโลยี


แบบนีำอาจไม่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นหรือสอดคล้องกับธรรมชาติก็ได้จึงต้องเพิ่มมิติบางประการเข้าไปดัง
นันำ เทคโนโลยีแนว “ทางสายกลาง” จะต้องมีคุณสมบัติอย่างรอบด้านต่อไปนีำ

245.
ตำรำงเปรียบเทียบข้อแตกต่ำงระหว่ำง
สังคมแบบอุตสำหกรรมนิยมและสังคมแนวคิดนิเวศ

อุตสำหกรรมนิยม สังคมแนวนิเวศ
-ปัจเจกชนนิยม จิตใจแบบรวมหมู่
-การแสวงหาไขว้คว้าวัตถุ ความสุขทางจิตใจ
ปรัชญาเพื่อชีวิตและธรรมชาติ
-ปรัชญาเพื่อความต้องการของมนุษย์
อหิงสธรรม
-ความรุนแรงทางโครงสร้างความเหลื่อมลำ้า
ความเสมอภาค
-ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ความยั่งยืนยาวนานของสิ่งแวดล้อม
-รายได้ประชาชาติ
คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
-การผลิตเพื่อกำาไร
การผลิตเพื่อความต้องการพื้นฐาน
-เศรษฐกิจเสรี
เศรษฐกิจท้องถิ่น
-ระบบการค้าและการพึ่งพา
การพึ่งตนเอง
-การผลิดที่ใช้ทุนมาก
การผลิตที่ใช้แรงงานมาก
-พลังงานนิวเคลียร์
พลังงานแสงอาทิตย์
-การใช้พลังงานจำานวนมาก
เทคโนโลยีสะอาด
-เทคโนโลยีที่สร้างมลภาวะสูง
เกษตรกรรมธรรมชาติ
-เกษตรกรรมครบวงจรแผนใหม่
เทคโนโลยีทางสายกลาง
-เทคโนโลยีสมัยใหม่
สันติภาพและเสรีภาพ
-สงครามและการครอบงำา

ระบบนิเวศทำงเศรษฐกิจ
เศรษฐศาสตร์สีเขียว มีวัตถุประสงค์ 2 ด้าน คือ ด้านหนึ่งต้องการแสวงหาแนวทางสนองความ
ต้องการที่แท้จริงของคนทุกคนในสังคมด้านนี้ จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมในสังคมอีกด้านหนึ่ง
มีการเน้นว่า การสนองความต้องการนี้จะต้องไม่เกิดขึ้นท่ามกลางการทำาลายล้างโลกของธรรมชาติ เรื่องนี้
เป็นเรื่องของการรักษาระบบนิเวศให้ยั่งยืนและยาวนาน
เศรษฐศาสตร์สีเขียวอาจชี้ให้เห็นแนวคิดพื้นฐานบางอย่างได้ คือ
1. จะต้องมีการสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างทั่วถึง โดยอาศัยหลักการจัด
การเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง
2. ต้องมีการดำาเนินการปฏิรูปที่ดินและปฏิรูปสังคมชนบทอย่างรอบด้านเพื่อความมั่นคงทาง
เศรษฐกิจ และเพื่อป้องกันไม่ให้คุณภาพชีวิตในชนบทต้องเสื่อมโทรมลง
246.
3. มีการให้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น และมีผลกระทบต่อการขยายตัวของการ
จ้างงาน รวมทั้งจะต้องสอดคล้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. การจัดการทรัพยากรในชนบทจะต้องไม่มีเป้าหมายเพื่อแสวงหาเพื่อแสวงหากำาไรและผล
ผลิต / การรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งสำาคัญมากกว่า
5. ควรลดการบริโภคของกลุ่มคนที่มั่งมีจะเป็นเงื่อนไขสำาคัญในการโยกย้ายทรัพยากรไปให้
กลุ่มคนที่ยากจน
สรุป เศรษฐศาสตร์สีเขียวเน้นกระบวนการแห่งการปรับโครงสร้างใหม่หมดทั้ง 4 ด้าน คือ
1 .ตัวบุคคล
2. ประชาชน
3. ระบบนิเวศ
4. จิตสำานึก
กำรพัฒนำแบบยั่งยืน
การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน คือ การพัฒนาที่สนองความต้องการและความใฝ่ฝันของผู้คนรุ่น
ปัจจุบัน โดยไม่ทำาลายโอกาส ความสามารถและอนาคตของชนรุ่นหลังเรา
หลักกำรพื้นฐำนของยุทธศำสตร์
ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานจะเป็นแนวทางหลัก 2 ข้อด้วยกัน คือ
1.จะต้องมีการสนองความต้องการของมวลชน ผู้ยากไร้
2.จะต้องมีการวางขีดจำากัดบางอย่างเพื่อปกป้องพิทักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติในระบบสิ่ง
แวดล้อมของเรา
ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานอย่างน้อยที่สุด จะต้องครอบคลุม “หลักการพื้นฐาน”ดัง
ต่อไปนี้
1. ต้องถือว่าการสร้างวัตถุเป็นปัจจัยหนึ่งของการยกระดับชีวิต ความยากจน จะมีส่วนสำาคัญให้
เกิดการใช้ธรรมชาติอย่างไม่ถูกต้อง
2. การสนองความต้องการพื้นฐานสามารถทำาได้โดยไม่ต้องมีการทำาลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
3. ต้องมีการอนุรักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติ
4. การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม จะเป็นปัจจัยสำาคัญในการสนองความต้องการของประเทศได้มาก
ขึ้นโดยใช้พลังงานในขอบเขตจำากัด
5. จะต้องรักษาความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมการขยายตัว ประชากรและการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

247.
สรุป ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานต้องการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของประชาชน
ส่วนใหญ่บนพืน้ ฐานของการสร้างจิตสำานึกใหม่ที่เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติ

นิเวศวิทยาการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมของไทย
ถ้าจะให้การพัฒนาเป็นไปในแนวที่รักษาและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแล้ว เราควรจะใช้หลักการที่บ่ง
ว่า ผูท้ ำาลายสิ่งแวดล้อมจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพื่อรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความ
เสียหายที่มีต่อผู้อื่นและสังคมอันเกิดจากระบบการผลิตของคน เราคงต้องเปลี่ยนแปลงทั้งระบบซึ่งจะ
ครอบคลุมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ – ธรรมชาติ – สังคม อย่างถอนรากถอนโคน ขบวนการเคลื่อนไหว
ทางสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่ เสนอแนะแผนการสร้างระบบใหม่ซึ่งครอบคลุมมิติทสี่ ำาคัญ ๆ คือ
- การสร้างระบบเศรษฐกิจบนพื้นฐานนของหลักการทางนิเวศ
- การเรียกร้องประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในทุก ๆ วงการของสังคม
- การให้ความสำาคัญสูงแก่ปัญหาชนบทและท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกล
- การใช้เทคโนโลยีระดับกลางในกระบวนการผลิต
กำรเมืองสีเขียว และควำมคิดแบบนิเวศวิทยำ
ความเป็นสีเขียวเป็นเรื่องการเมืองของนิเวศวิทยา และผลประโยชน์แห่งชีวิต ไม่ใช่เป็นเรื่อง
การเมืองของการขูดรีด และผลประโยชน์ทางชนชั้น ขบวนการเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมของเราจะต้องรับเอา
แนวความคิด “นิเวศวิทยาการเมือง” ( Political ecology) เข้ามาเป็นหลักนำาในการปฏิบัติด้วย
นิเวศวิทยาการเมือง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ “การเคลื่อนไหวทางนิเวศวิทยาแนวคิด” ( Deep
ecology) ซึ่งมีหลักปรัชญาที่สำาคัญ ๆ ดังนีำ
1. สิ่งแวดล้อมของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทัำงหลาย ย่อมมีค่าในตัวเอง
2. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต มีบทบาทสำาคัญในการสร้างสรรค์ชีวิตทัำงมวลบนโลกพิภพ
3. มนุษย์จำาเป็นเร่งด่วนที่จะต้องยุติวิธีการดำารงชีวิตแบบทำาลายล้าง
เศรษฐศำสตร์สีเขียว และกำรเคลื่อนไหวทำงสิ่งแวดล้อม
ในปัจจุบันไม่มีปรัชญาแขนงใดจะมีความหมายและสำาคัญต่อพัฒนาการของสังคมเท่ากับ “ปรัชญา
แนวจริยธรรม” ซึ่งกำาลังถูกนำามาประยุกต์ใช้มากที่สุดในเรื่องสิ่งแวดล้อมโลก ทุกวงการเริ่มดูดซับเรื่องสิ่ง
แวดล้อมธรรมชาติและทรัพยากรมากขึำน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวางนโยบายเศรษฐกิจสังคมรัฐ
สรุปว่า ทุก ๆ คนและทุก ๆ วัฒนธรรมย่อยนีำ “แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติ” นัน่ คือมนุษย์จะต้องใช้
ชีวิตในลักษณ์ที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และต้องมีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติ
ถ้าหากเรามีความห่วงใยในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างจริงจัง เราจะตัองดำาเนินการทุกวิถีทาง
เพื่อบรรลุเป้าหมายดังต่อไปนีำ

248.
1. จะต้องมีการพิทักษ์รักษากระบวนการทางนิเวศทัำงปวง ที่มีหน้าที่หล่อเลีำยงโลกธรรมชาติ รวมทัำง
ระบบที่รองรับชีวิตของสรรพสิ่งทัำงหลายด้วย
2. ต้องรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
3. ต้องดูแลการใช้ทรัพยากรและระบบนิเวศให้อยู่บนหลักการของ “ความยั่งยืนยาวนาน” ไทยควร
จะต้องมีจุดหนักของการปฏิบัติการดังนีำ
- ระดมข่าวสารและข้อมูลเพื่อยกระดับจิตสำานึกของรัฐ ประชาชน และองค์การต่าง ๆ
- มีการวางแผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ
- มีการสร้างระบบคุ้มครองพืำนที่ที่วิกฤติอย่างกว้างขวาง ในเขตอนุรักษ์เหล่านีำ ต้องหยุดกิจ
กรรมการทำาลายล้างธรรมชาติ
- มีการฝึกอบรมเพื่อขยายความรู้ และการจัดการด้านอนุรักษ์ธรรมชาติ
- ใช้กลไกทางเศรษฐกิจการเมืองมากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติ
เราอาจกล่าวได้ว่า ขบวนการสิ่งแวดล้อมไทยมีหน้าที่หลักประการหนึ่งในการส่งเสริมและ
แพร่กระจายจิตสำานึกใหม่ เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปริมาณการใช้สารพิษในเกษตรกรรม
ปริมาณการใช้สารพิษเพื่อการเกษตรจะสังเกตเห็นได้จากปริมาณการนำาเข้าของสารพิษที่มีปริมาณ
เพิ่มขึำนนับตัำงแต่ได้เริ่มมีการใช้สารพิษเป็นต้นมา เช่น ระหว่างปี 2528 – 2531 จากสถิติของกรมวิชาการ
เกษตร, 2532 และระหว่างปี พ.ศ. 2514 – 2520 พบว่ามีการนำาเข้าสารพิษที่ใช้ในการเกษตรกรรม ดังนีำ

( ปริมาณ : ตัน )
ปี 2528 ปี 2529 ปี 2530 ปี 2531
สารฆ่าแมลง 6,250 6,206 6,673 5,034
สารฆ่าเชืำอรา 7,717 3,669 6,524 6,382
สารกำาจัดวัชพืช 6,378 4,081 5,864 5,273
สารกำาจัดไร 450 331 936 423
สารกำาจัดหนู 26 34 86 362
สารรมควัน 584 813 457 777
รวม 7,405 15,134 20,270 24,251

แหล่งข้อมูล กองควบคุมพืชและวัตถุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร อ้างใน ศิริพร ขุนภักดี “บทบาท


ของครูเกษตรกรรมในโรงเรียนมัธยมเพื่อการพัฒนาชนบทในการเผยแพร่ข่าวสารเรื่องการ

249.
ใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชให้แก่เกษตรในชุมชน” วิทยานิพนธ์ ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะ
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม. มหิดล 2533

จากสถิติการนำาเข้าสารพิษในประเทศไทย จึงน่าเชื่อได้ว่ายิ่งมีปริมาณการนำาเข้าเพิ่มขึำน ไม่ว่าจะ


เป็นสารพิษทีใช้กันทั่วไปในบ้านเรือน ในการอุตสาหกรรม และการเกษตรกรรมดังพบว่าในปีพ.ศ. 2533 มี
การนำาเข้าสารพิษในการเกษตรถึง 29,463 ตัน และที่นา่ วิตกอย่างยิ่งก็คือสารพิษเหล่านัำนเมื่อนำามาใช้ใน
ประเทศไทยแล้วก็จะตกค้างอยู่ในอากาศ ในดินในนำำาและอาหารที่ใช้บริโภคกันอยู่ประจำาวันต่อไป เพราะ
สารพิษหลายชนิดกว่าที่จะสลายตัว หรือลดอันตรายจนหมดไปจะต้องใช้เวลานับสิบปีทีเดียว
ปริมาณและราคานำาเข้า ( CIF ) ปุ๋ยเคมี เดือนกันยายน 2541
ราคานำาเข้าเงินสด ราคาเงินสด
ชนิดปุ๋ย ลักษณะ จำานวน ต่อเมตริกตัน ประเทศ ในตลาดกรุงเทพฯ
บรรจุ (เมตริกตัน) USS บาท ผู้ส่งออก (บาท เมตริกตัน)
21-0-0 เทกอง 12,000 58.28 2,385.18 เยอรมนี 4,350
21-0-0 เทกอง 31,500.00 67.84 2,776.44 ญี่ปนุ่ 4,350
21-0-0 เทกอง 8,000.00 69.18 2,821.28 เนเธอร์แลนด์ 4,350
46-0-0 เทกอง 26,400.00 120.66 4,958.17 ซาอุดิอาระเบีย 6,950
46-0-0 เทกอง 5,493.48 130.29 5,332.29 มาเลเซีย 6,950
46-0-0 เทกอง 10,981.19 133.32 5,156.29 บาร์เรน 6,950
46-0-0 เทกอง 13,199.71 135.73 5,554.93 บังคลาเทศ 6,950
0-46-0 กระสอบ 180.00 180.79 7,399.07 จีน ใช้ในอุตสาหกรรม
การผลิตปุ๋ยเคมี
0-0-50 เทกอง 672.00 269.52 11,030.46 เยอรมนี “.......................”
0-0-60 เทกอง 1,560.84 148.05 6,059.14 เยอรมนี “......................”
0-0-60 กระสอบ 715.00 179.90 7,362.64 แคนาดา “......................”
18-46-0 กระสอบ 960.00 265.63 10,871.25 จีน “......................”
18-46-0 เทกอง 7,040.00 232.59 9,519.05 เกาหลี “......................”
16-20-0 เทกอง 52,981.00 150.09 6,142.63 เกาหลี 7,400
16-20-0 เทกอง 5,250.00 152.51 6,241.67 กรีก 7,400
15-15-15 เทกอง 1,455.67 176.75 7,233.72 เกาหลี 8,800
รวม 178,388.89
หมายเหตุ 1. กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
250.
2. ราคานำาเข้า CIF หมายถึง ราคานำาเข้าที่ท่าเรือรวมค่าประกันภัยและค่าระวางเรือแล้ว
3. อัตราแลกเปลี่ยนตลอดเดือนต่อ IUSS ณ วันที่ 2 ก.ย. 41 – 8 ก.ย. 41 = 41,9390 B
9 ก.ย. 41 – 15 ก.ย. 41 =41,2839 B
16 ก.ย. 41 – 22 ก.ย. 41 =46,9263 B
23 ก.ย. 41 - 29 ก.ย. 41= 40,9616 B
ที่มา : สำานักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร (สำานักงานเศรษฐกิจการเกษตร , 2541 : 51)

ความยุติธรรมทางนิเวศวิทยาจากพื้นบ้าน
ความยั่งยืนทางนิเวศในภาคปฏิบัติ จะประสบความสำาเร็จได้ดีที่สุ ก็ต่อเมื่อมีการดำาเนินการโดย
ชุมชนของท้องถิ่นเอง ในระยะหลัง ๆ นีำ วงการต่าง ๆ ได้ให้ความสำาคัญแก่บทบาทของประชาชนในการ
พัฒนาเพื่อความยั่งยืนมากขึำน ทั่วโลกการเคลื่อนไหวระดับรากหญ้า เพื่อเรียกร้องสิทธิทางสิ่งแวดล้อม และ
สิทธิในการกำาหนดชะตากรรมของตนเองมีจำานวนมากขึำน มีแนวโน้มว่าขบวนการนีำจะทรงพลังมากขึำน จน
ศูนย์กลางอำานาจไม่อาจจะนิ่งเฉยอยู่ได้ ดังที่เราพบเห็นในประเทศไทยเช่นกัน
สำาหรับสังคมไทยเรามีข้อเสนอแนะว่า การเคลื่อนไหวจะมีลักษณะเป็นระบบมากขึำนและมีทิศทาง
ชัดเจนมากขึำน ถ้าเรายึดถือเอาหลักการ “ความยุติธรรมทางนิเวศ” เป็นพลังผลักดันการต่อสู้ระดับพืำนบ้าน
หลักการนีำจะมีส่วนช่วยให้มีการกำาหนดแนวนโยบายที่สนองความต้องการ ของประชาชนทางด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็ให้ความหมายใหม่แก่คำาว่าประชาธิปไตย
หลักการ “ความยุติธรรมทางนิเวศ” จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิด 3 ประการ คือ
ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมจะไม่ถูกนำาไปเชื่อมโยงกับปัญหาความยากจนอย่างเดียว ปัญหาช่องว่างทางชนชัำน
เป็นเรื่องที่สำาคัญด้วย เราจะมีความยั่งยืนทางนิเวศได้ ก็ต่อเมื่อในสังคมของเราได้มีการลดความเลื่อมลำำา
ระหว่างชนชัำนลงไป เช่น ความไม่เท่าเทียมกันในการถือครองที่ดิน
การปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจะถูกเคลื่อนย้ายจากปริมณฑล “รัฐ” ไปสู่
“ชุมชนท้องถิ่น” พืนำ บ้านย่อมรู้จักปัญหาพืำนฐานของตนเองได้ดีที่สุดและอยู่ในฐานะที่จะจัดการตนเองได้
“ประชาธิปไตย” ไม่ใช่เป็นเรื่องของการครอบงำาจากกลุ่มธุรกิจการเมือง หากแต่เป็นขบวนการของ
ท้องถิ่นที่ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพรวมทัำงความอยู่รอดของชุมชนและธรรมชาติ
มองโลกในแง่นีำแล้ว แนวคิดของคานธีดูเหมือนว่า จะมีความหมายสำาหรับการเคลื่อนไหวตามหลัก
การ “ความยุติธรรมทางนิเวศ” เป็นอย่างยิ่ง แผนการทางนิเวศวิทยาการเมืองของคานธี มีเนืำอหาชัดเจนใน
การต่อต้านการทำาลายล้างของระบบธุรกิจ และอุตสาหกรรมนิยม รวมทัำงต่อต้านอำานาจส่วนกลาง ในขณะ
เดียวกันก็ปลุกเร้าประชาชนให้หวนกลับคืนสู่พืำนบ้าน แล้วร่วมกันสร้างความยั่งยืนให้แก่ระบบนิเวศในท้อง
ถิ่นของตนเอง
251.
การปรับเปลี่ยนระบบไปสู่สังคมแนวนิเวศ
บทวิเคราะห์นีำ มีข้อสรุปชัดเจนว่า แนวทางการปฏิรูป เช่น การปฏิรูปนโยบาย ที่เน้นการปรับปรุง
จุดอ่อนของระบบทุนนิยม และระบบากรจัดการทางสิ่งแวดล้อมรวมทัำงการปฏิรูปไปสู่ “ทุนนิยมสีเขียว”
เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และสามารถนำา มาปฏิบัติได้อย่างมีขัำนตอน และแนวทางดังกล่าวมานีำมี “ขีดจำา กัด” 2
ด้าน คือ ด้านหนึ่งการปฏิรูปเป็นการหาให้ “ สีเทา” มลภาวะ กลายเป็น “สีเขียวแบบอ่อน ๆ “ เท่านัำนเองยัง
ไ ม่ เ ป็ น “ สี เ ขี ย ว แ บ บ เ ข้ ม ข้ น ” ทุ น นิ ย ม สี เ ขี ย ว ก็ ยั ง เ ป็ น ทุ น นิ ย ม อ ยู่ นั่ น เ อ ง นั่ น คื อ
อยู่ ภายใต้ การครอบงำา ของทุ น อี ก ด้ านหนึ่ งของการปฏิ รู ป ไปสู่สีเ ขี ย ว ทำา ได้ ใ นระยะสัำน (ถ้ าให้ผ ล
ประโยชน์กับทุน) แต่ในระยะยาวอาจจะต้องเกิดความขัดแย้งได้ถ้าขบวนการสีเขียวเริ่มเข้มข้น และเรียก
ร้องผลักดันหรือบีบบังคับให้เป็นหลักการสีเขียวบางอย่าง หรือปฏิบัติการบางอย่างที่ขัดกับตรรกวิทยาของ
ทุ น นิ ย ม
บทวิเคราะห์นีำมีความเห็นว่า แนวทางที่เหมาะสมที่สุดจะนำา เราไปสู่ “ความยั่งยืนทางนิเวศ” คือ
การปรับเปลี่ยนระบบ จากทุนนิยมหรืออุตสาหกรรมนิยม ไปสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมแนวนิเวศ โดยใช้
ปรัชญา และแนวคิดของนิเ วศสังคมนิ ยม ( eco – socialism) นิเวศวิท ยาแนวลึก ( deep ecoiogy) และ
นิเวศวิทยาชาวพุทธเป็นพืำนฐานของการจัดระบบใหม่ ผลการปรับเปลี่ยนระบบเป็นแต่เพียงจินตนาการ
เ ท่ า นัำ น เ อ ง ซึ่ ง มี ลั ก ษ ณ ะ เ ป็ น “ ยู โ ท เ ปี ย ” แ ป ล ว่ า เ ป็ น สิ่ ง ที่ กำา ลั ง จ ะ ม า แ ต่ ยั ง ม า ไ ม่ ถึ ง
Green utopia ข อ ง เ ร า มี ลั ก ษ ณ ะ เ ด่ น ดั ง ต่ อ ไ ป นี้
1. ทางด้านโลกทัศน์ ระบบใหม่ ต้องละทิำงโลกทัศน์ที่เน้นประโยชน์ของมนุษย์ และส่งเสิรมโลก
ทัศน์แนวนิเวศนิยม ( ecocentrie worldview ) ในขณะเดียวกันก็มีค่านิยมใหม่ทีสอดคล้องกัน 3
ป ร ะ ก า ร คื อ
1. ใ ห้ ค ว า ม สำา คั ญ สู ง สุ ด แ ก่ เ รื่ อ ง ก า ร คุ้ ม ค ร อ ง ธ ร ร ม ช า ติ
2. เ น้ น ก า ร ม อ ง ก า ร ณ์ ไ ก ล ร ะ ย ะ ย า ว
3. คำา นึ ง ถึ ง เ รื่ อ ง ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม ท า ง สั ง ค ม
ข. ทางด้านยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมในการวางแผนและการจัดการระดับชาติ มีการกำาหนด
“ความยั่งยืนทางนิเวศ” เป็นเป้าหมายสูงสุดในทุกองค์กร และทุกระดับของระบบเศรษฐกิจสังคม
ก า ร จั ด ก า ร เ ป็ น แ บ บ ecological management อ ย่ า ง เ ต็ ม รู ป แ บ บ
ค. ทางด้านการจัดองค์กร ควรมีขนาดเล็ก มีการควบคุมการใช้ทรัพยากร เน้นการมีส่วน
ร่วมของแรงงานประชาธิปไตยขัำนพืำนฐาน การกระจายอำา นาจสู่ท้องถิ่น การพึ่งตนเองการสร้าง
เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ชุ ม ช น ท้ อ ง ถิ่ น แ น ว นิ เ ว ศ
7. ทางด้ านสิท ธิ ข องมนุ ษ ยชนและสิท ธิ ข องธรรมชาติ ในการสร้ า งพาราไดซ์ ใ หม่ มี
การบุกเบิกมินิใหม่ ๆ ในเรื่องการมนุษยชนและประกันสิทธิด้วย ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สิทธิของธรรมชาติ ชุมชนท้องถิ่น สิทธิของคนกลุ่มน้อย และคนท้องถิ่น ในขณะเดียวกันก็มีการสถาปนา
252.
“สิทธิของธรรมชาติ” ด้วย ธรรมชาติก็มีสิทธิที่จะดำารงอยู่ เช่น สิทธิของสรรพสัตว์ ของพืชพรรรไม้ และ
ร ะ บ บ นิ เ ว ศ
บทวิ เ คราะห์ นีำ ชีำ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า การปรั บ เปลี่ ย นระบบไม่ ใ ช่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึำ น เองโดย
อัตโนมัติอย่างฉับพลัน เราจะมองว่า เป็นกระบวนการแห่งวัฒนธรรมที่ยาวนานที่ไม่ใช่เส้นตรง เป็นการ
เคลื่อนไหวสังคมแนวใหม่ไปด้วยความขัดแย้ง มีการต่อต้านสีเขียวซึ่งอาจเป็นเพราะมีความรู้สึกกันว่า ยังไม่
จำา เป็น หรืออาจไม่เข้าใจ หรืออาจจะไปขัดผลประโยชน์ของการสร้างกำา ไรที่ดำา รงอยู่ พลังอำา นาจในการ
เปลี่ยนแปลงจะมีมากน้อยแค่ไหนนัำน ย่อมขึำนอยู่กับประสิทธิภาพของการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม ถ้ามี
ระบบคิดมีทฤษฏีที่ชัดเจน มีระบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนส่วน
ใ ห ญ่ อ น า ค ต สี เ ขี ย ว ก็ อ า จ เ กิ ด ขึำ น ไ ด้ ใ น วั น ห นึ่ ง ข้ า ง ห น้ า นีำ

บ ท ส รุ ป ข อ ง “ นิ เ ว ศ วิ ท ย า ก า ร เ มื อ ง ” อ น า ค ต ข อ ง ก า ร เ ค ลื่ อ น ไ ห ว ท า ง สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม
หนทางไปสู่ “สังคมสีเขียว” ตามแนวคิดของ ecelogism นัำน ค่อนข้างยาวไกล ไม่มีใครรู้ว่าจะต้อง
ใช้เวลานานเท่าใด และยังมีความไม่แน่นอนอีกด้วยว่า เราจะไปถึ งจุดหมายปลายทางหรือ เปล่า ? นัก
นิ เ วศวิ ท ยาการเมื อ ง ชีำ แ จงว่ า เรามี ท างเลื อ กใหญ่ ๆ อยู่ 3 ทางด้ ว ยกั น จึ ง ต้ อ งเข้ า ไปเกี่ ย วกั น กั บ
กระบวนการโลกานุ วั ต ร และอำา นาจอิ ท ธิ พ ลของโลกอุ ต สาหกรรมตะวั น ตกอย่ า งหลี ก เลี่ ย งไม่ ไ ด้
หนทางที่หนึ่ง เป็นอนาคตที่มีต่อเนื่องจากปัจจุบัน กล่าวคือ เศรษฐกิจโลกถูกครอบงำาโดยบรรษัท
ข้ามชาติและโลกตะวันตก ต่อไปจักรวรรดินิยมทางนิเวศน์จะดำารงอยู่ต่อไป การเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม
จะอยู่ในขอบเขตที่จำากัด เพราะกลุ่มที่ครองอำานาจจะปิดแนวทางการพัฒนาดังที่เป็นอยู่ คือ เน้นความเจริญ
เติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมด้วยหลักการตลาดเสรี และเทคโนโลยีนิยม การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็น
เรื่ อ งที่ ไ ม่ สำา คั ญ มากนั ก แต่ ก็ ต้ อ งดำา เนิ น การบ้ า ง เพื่ อ ลดความเสื่ อ มโทรมของระบบนิ เ วศ
หนทางที่ สอง เปิดโอกาสให้ประเทศที่กำา ลั งพัฒนามีเ สรี ภาพมากขึำนในการเคลื่อนไหวทางสิ่ง
แวดล้อม ซึ่งอาจประสบความสำา เร็จในระดับหนึ่งตราบใดที่การเคลื่อนไหวยังไม่ กระทบกระเทือนผล
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของธุรกิจเอกชน และบรรษัทข้ามชาติมากนักบนหนทางนีำจักรวรรดนิยมยังคงมี
อำานาจครอบงำาอยู่กับการวางนโยบายของรัฐที่เน้นเรื่องการพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นเพียงคำาแถลงการณ์บนแผ่น
ก ร ะ ด า ษ เ ท่ า นัำ น เ อ ง
หนทางที่สาม เป็นทางเลือ กที่ควรจะเป็น โดยที่ขบวนการสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนสามารถ
เคลื่อนไหวได้เต็มที่ เป้าหมายของการเคลื่อนไหวเป็น ไปตามแนวคิด ของ Ecologism ซึ่งหมายถึ งการ
แตกหักกับระบบและโครงสร้างที่ดำารงอยู่อย่างสิำนเชิง ในระดับสากล จะมีการประสานงานระหว่าง
โลกอุตสาหกรรม และโลกที่กำาลังพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันบนพืำนฐานของความเท่าเทียม
กั น

253.
การเมืองสีเขียวบนหนทางที่สามนีำ คือ การเมืองที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
ในที่นีำ การเคลื่อนไหวสีเขียวคือ การเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจการเมือง ที่เอืำออำา นวยต่อ
การพัฒนาประชาธิปไตยแนวนิเวศ ( Ecological democracy) นั่นย่อมหมายความว่าต่อไปนีำ การตัดสินใจ
ทางการเมืองเกี่ยวกับปัญหา และนโยบายสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เป็นกระบวนการของคนกลุ่มน้อย นักวางแผน
นักธุรกิจนายทุน นักบริหารของบรรษัทข้ามชาติ หากแต่เป็นเรื่องราวของคนกลุ่มใหญ่หลายชนชัำน หลาย
วงการ รวมทัำงเยาวชนผู้ยากไร้ การผูกขาดความรู้ และการตัดสินใจแต่ฝ่ายเดียว เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อีก
แล้ว ถ้าทำาเช่นนีำได้ เราก็จะมีอภิปรายที่อิสระและเปิดเผย อันเป็นการปูทางไปสู่แนวคิดและแนวนโยบาย
ใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากแนวทางอุตสาหกรรมนิยมและเทคโนโลยีอันคับแคบ เราอาจจะสรุปได้ว่า ใน
อนาคตนีำ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่ประสบความสำาเร็จ เราก็จำาเป็นที่จะต้องมีประชาธิปไตยที่มั่นคง และให้
มี
ประสิทธิภาพ นี่เป็นเพียงก้าวแรกเท่านัำนที่จะนำาพาเราไปสู่ยุคสีเขียวซึ่งยังอยู่อีกยาวไกล

You might also like