You are on page 1of 109

หัวใจ สังคมศึกษา

โดย
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน

พี่ ๆ ทุก คนเชื่อ ว่าน้ อ งทุก คนต่ างมีความฝั น และเส้นทางในอนาคตของตัวเองที่แตกต่างกัน


ออกไป ซึ่งในแต่ละเส้นทางอาจจะมีอุปสรรคที่คอยทดสอบเราอยู่ตลอดเวลา แต่พ่ี ๆ ทุกคนเชื่อมันใน ่
หัวใจนักสูข้ องน้อง ๆ ทุกคน ว่าน้อง ๆ ทุกคนจะก้าวข้ามผ่านอุปสรรคเหล่านัน้ ไปได้

พี่ ๆ ขอเป็ นกาลังใจให้กบั ทุกความฝั นของน้ อง ๆ พี่เชื่อว่าน้ อง ๆ จะต้องไปถึงจุดสูงสุดของ


ความฝั นนัน้ ได้ ขอแค่น้อง ๆ มีความพยายาม และมีศรัทธาในสิง่ ทีต่ นเลือกและตัง้ ใจทา เพียงเท่านี้พ่ี ๆ
เชื่อว่าน้อง ๆ ก็สามารถทะยานสู่ความสาเร็จได้อย่างแน่นอน

สุดท้ายนี้พ่ี ๆ นิสติ ครูสงั คมศึกษา มศว ขอเป็ นอีกหนึ่งแรงสนับสนุ นในการเดินไปสู่ความฝั นอัน


ยิง่ ใหญ่ของน้อง ๆ ด้วยการจัดทาสรุปวิชาสังคมศึกษา “หัวใจสังคมศึกษา” ทีจ่ ะสรุปสาระสาคัญของวิชา
สังคมศึกษาในแบบฉบับของ พี่ ๆ นิสติ ครูสงั คมศึกษา มศว เพื่อให้น้อง ๆ ได้ใช้ในการทบทวนความรูใ้ น
การเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทัง้ ในการสอบ 9 วิชาสามัญ การสอบ O-NET และการสอบตรงใน
มหาวิทยาลัยต่าง ๆ และพี่ ๆ หวังว่าสรุปเล่มนี้จะเป็ นประโยชน์กบั น้อง ๆ ทุกคน

Have a good luck.

พี่ ๆ นิสติ ครูสงั คมศึกษา มศว

2
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สารบัญ
เนื้อหา หน้า

สาระที่ 1 เศรษฐศาสตร์…………………………………………………………………...4
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดาเนินชีวิต……………………18
สาระที่ 3 ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม…………………………………………39
สาระที่ 4 ภูมิศาสตร์………………………………………………………………………65
สารที่ 5 ประวัติศาสตร์…………………………………………………………………..84

3
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สาระที่ 1

เศรษฐศาสตร์
Economics

4
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

ที่มาของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เกิดจากการที่ความต้องการของมนุษย์มีมากกว่าทรัพยากร ทาให้เกิดความขาดแคลน
ดังนั้น มนุษย์จึงต้อง “เลือก” ใช้ทรัพยากร เศรษฐศาสตร์จึงเป็นวิชาที่ให้วิธีการเลือกหรือวิธีการ
จัดการความขาดแคลน ให้เกิดประโยชน์สูงและประหยัดสุด
ตาราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของโลกมีชื่อว่า “The Wealth of Nation” (1776)
ผู้เขียนคือ อดัม สมิธ ชาวสก็อตแลนด์ ซึ่งถือเป็นบิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์

ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากร
ที่มีอยู่อย่างจากัด มาผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่
ไม่มีขีดจากัดให้ได้ความพอใจสูงสุด และประโยชน์สูงสุด นอกจากนั้นยังกระจาย
สินค้าและบริการ ให้กับกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือ ทางเลือกที่ดีที่สุดในบรรดาทางเลือกทั้งหมดที่ต้องเสียไป
ดังนั้น เมื่อความขาดแคลนบีบให้เราต้องเลือก ค่าเสียโอกาสจึงเกิดขึ้น

สมมติว่า ย่าแย้มมีทางเลือก 3 ทาง คือ


1) ปล่อยเงินกู้ โดยได้รับรายได้ 3,000,000 บาทต่อปี
2) ทานาที่บ้านหนองนมวัว โดยได้รับรายได้ 2,500,000 บาทต่อปี หรือ
3) เป็นนักแสดง โดยได้รับรายได้ 4,000,000 บาทต่อปี
ถ้าย่าแย้มเลือกเป็นนักแสดง ค่าเสียโอกาสก็คือการปล่อยเงินกู้ ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3 ล้านบาท เนื่องจาก
เป็นทางเลือกที่ไม่ได้เลือกที่มีมูลค่าสูงที่สุด แต่หากย่าแย้มเลือกทานาที่บ้านหนองนมวัว การเป็นนักแสดงก็คือ
ค่าเสียโอกาสของย่าแย้ม

สินค้าและบริการ แบ่งเป็น
1. ทรัพย์เสรี (สินค้าไร้ราคา) เป็นสินค้าและบริการทีไ่ ม่มตี ้นทุน ได้แก่ สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น แสงแดด อากาศ
2. เศรษฐทรัพย์ คือ สินค้าและบริการที่มนุษย์สร้างขึ้น มีต้นทุนในการผลิต ได้แก่ สินค้าสาธารณะ และสินค้าเอกชน

5
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ “What” (ผลิตอะไร) “How” (ผลิตอย่างไร) “for Whom” (ผลิตเพื่อใคร)


ต้นทุนคงที่ ผลิตเท่าไร ก็เสียเท่านั้น
ต้นทุนแปรผัน: ผลิตมากก็เสียมาก ผลิตน้อยก็เสียน้อย
ประสิทธิภาพในเชิงเศรษฐศาสตร์: ผลิตให้ได้กาไรมากที่สุด โดยใช้ต้นทุนต่าที่สุด
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การผลิต การกระจาย การบริโภค
การผลิต มี 3 ขั้น คือ
- ขั้นปฐมภูมิ: ไม่มีการแปรรูป เช่น ผลผลิตทางการเกษตร
- ขั้นทุติยภูมิ: มีการแปรรูป เช่น ผลไม้กระป๋อง
- ขั้นตติยภูมิ: มีการให้บริการด้านการขนส่ง การประกันภัย เพื่อช่วยให้ผลผลิตเคลื่อนย้ายได้
สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ปัจจัยการผลิต
ปัจจัยการผลิต ความหมาย ผลตอบแทน
ที่ดิน ที่ดิน+ทรัพยากร ค่าเช่า
ทุน มนุษย์สร้างเพื่อใช้ในการผลิต (ไม่รวมเงิน) ดอกเบี้ย
แรงงาน ทรัพยากรมนุษย์ ค่าจ้าง/เงินเดือน
ผู้ประกอบการ ผู้นาทุน ที่ดิน แรงงานมาทาการผลิต กาไร
แขนงวิชาเศรษฐกิจ
เศรษฐศาสตร์จุลภาค: ศึกษาเศรษฐกิจในหน่วยย่อย ทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ เช่น ทฤษฎีผู้บริโภค ทฤษฎีการ
ผลิต
เศรษฐศาสตร์มหภาค: ศึกษาเศรษฐกิจทั้งระบบ เช่น เศรษฐกิจระหว่างประเทศ การเงิน การคลัง
หน่วยเศรษฐกิจ
หน่วยครัวเรือน: เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเป็นผู้บริโภค เป้าหมาย คือ ความพึงพอใจสูงสุด
หน่วยธุรกิจ: ผลิตและจาหน่ายสินค้า เป้าหมาย คือ กาไรสูงสุด
รัฐบาล: ดาเนินการสาธารณประโยชน์ ควบคุมทรัพยากร เป้าหมาย คือ ความเป็นธรรมของรายได้

6
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

กลไกราคา
กลไกราคา เป็ น เครื่ อ งมื อ ตั ด สิ น ปั ญ หาทางเศรษฐกิ จ ซึ่ ง จะเป็ น ไปโดยอั ต โนมั ติ จนได้ ชื่ อ ว่ า
“การจัดการของมือที่มองไม่เห็น”
อุปสงค์ (Demand): ปริมาณความต้องการซื้อ เป็นความสัมพันธ์ทางลบ เส้นอุปสงค์จะลากจากซ้าย
ลงขวา มีกฎว่า PD P D คือ เมื่อสินค้าราคาถูก อุปสงค์หรือความต้องการซื้อจะมาก และถ้าสินค้า
ราคาแพง อุปสงค์ก็จะน้อย
อุ ป ทาน (Supply): ปริ ม าณความต้ อ งการขาย เป็ น ความสั ม พั น ธ์ท างบวก เส้ น อุ ป ทานจะลาก
จากซ้ายขึ้น ขวา มีกฎว่า P S P S คือ เมื่อสิ นค้ าราคาถูก อุปทานหรือความต้องการขายจะน้ อย
และถ้าสินค้าราคาแพง อุปทานก็จะมาก
ราคาดุ ล ยภาพ (Equilibrium price): ภาวะที่ ป ริ ม าณความต้ อ งการซื้ อ เท่ า กั บ ปริ ม าณความ
ต้องการขาย (D=S) ดังตัวอย่างที่แสดงราคานม ดังนี้
ราคานม ปริมาณนม [Q] การปรับตัวของ
สถานะ ดุลยภาพ สินค้า
(บาท/ลิตร) [P] Qd Qs ราคา
25 8 28 อุปทานส่วนเกิน เหนือดุลยภาพ ล้นตลาด ลดลง
20 14 24 อุปทานส่วนเกิน เหนือดุลยภาพ ล้นตลาด ลดลง
15 20 20 อุปสงค์=อุปทาน ดุลยภาพ หมดพอดี เท่าเดิม
10 26 16 อุปสงค์ส่วนเกิน ต่ากว่าดุลยภาพ ขาดตลาด เพิ่มขึ้น
5 32 12 อุปสงค์ส่วนเกิน ต่ากว่าดุลยภาพ ขาดตลาด เพิ่มขึ้น

แล้วก็เอาข้อมูลมาทาเป็นกราฟได้แบบนี้ไงล่ะ

7
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ตลาดและการแทรกแซงตลาด
ตลาด
ตลาด: ที่ที่มีการซื้อขายกัน โดยต้องมีผู้ขาย ผู้ซื้อ และการแลกเปลี่ยน
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์: เป็นตลาดในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์ ผู้ซื้อผู้ขายมาก สินค้าในตลาด
เหมือนกัน ใช้แทนกันได้โดยสมบูรณ์ ราคากาหนดโดยอุปสงค์ - อุปทาน
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด: มีผู้ผลิตมาก สินค้าใช้แทนกันได้ แต่ยังมีความต่างกันบ้าง เช่น
บรรจุภัณฑ์ ยี่ห้อ ราคา โฆษณา
ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย: มีผู้ขายน้อย ทาให้มีอานาจในตลาดมาก มักเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น
น้ามัน ปูนซีเมนต์ ธนาคารพาณิชย์
ตลาดผูกขาด: มีผู้ขายรายเดียว คือ ไม่มีสินค้าอื่นมาทดแทนได้ เช่น ไฟฟ้า ประปา BTS
การแทรกแซงตลาด
การประกันราคาขั้นต่า: รัฐบาลจะพยุงราคาสินค้า เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต มักเป็นสินค้าเกษตร
โดยกาหนดราคาสูงกว่าดุลยภาพ ซึ่งจะทาให้เกิดปัญหาสินค้าล้นตลาด ซึ่งรัฐอาจรับผิดชอบโดยการ
รับซื้อในราคาประกันหรือให้เงินอุดหนุน
การกาหนดราคาขั้นสูง (การกาหนดเพดานราคา): เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค มักเป็นสินค้าจาเป็น โดย
รัฐจะกาหนดราคาขั้นสูงให้ต่ากว่าดุลยภาพ ทาให้เกิดปัญหาสินค้าขาดตลาด รัฐจึงต้องจัดสรรโควตา
ทาให้เกิดปัญหาตลาดมืด คือ การลักลอบซื้อขายในราคาที่สูงกว่าราคาขั้นสูง เพราะผู้บริโภค
จาเป็นต้องใช้

การเงิน
เงิน
เงิน หมายถึง สิ่งที่คนทั่วไปยอมรับให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง
สูงสุด
วิวัฒนาการ: การแลกเปลี่ยนโดยตรง  เงินที่เป็นสินค้า เช่น ใบชา เปลือกหอย  เหรียญ
กษาปณ์  ธนบัตร  เงินฝากกระแสรายวัน (cheque)

8
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

หน้าที่ของเงิน: ① เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ② มาตรฐานในการวัดมูลค่า ③ เป็นเครื่อง


เก็บรักษามูลค่า ④ ชาระหนี้ได้ตามกฎหมาย
มูลค่าของเงิน คือ อานาจในการซื้อ เช่น ถ้า 1 หน่วย ซื้อสินค้าได้มากขึ้น แปลว่าค่าเงินนั้นมากขึ้น
ปริมาณเงิน หรือ อุปทานเงิน คือ เงินที่หมุนเวียนในมือประชาชน
ปริมาณเงินอย่างแคบ (M1) = เหรียญกษาปณ์ + ธนบัตร + เงินฝากกระแสรายวัน
ปริมาณเงินอย่างกว้าง (M2) = M1 + เงินฝากประจา + เงินฝากออมทรัพย์ (จัดเป็นปริมาณเงินที่มี
ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน)
ความต้องการเงิน หรือ อุปสงค์เงิน (MD) ขึ้นกับรายได้และพฤติกรรมการใช้เงิน ซึ่งความต้องการเงินนี้มา
จาก 1. เพื่อจับจ่ายใช้สอย 2. เพื่อกรณีฉุกเฉินจาเป็น 3. เพื่อเก็งกาไร

ภาวะเงินเฟ้อ – เงินฝืด
เงินเฟ้อ: ภาวะที่ราคาสินค้าแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินลดลง คือ เงินเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลง
สาเหตุ: ① ต้นทุนการผลิตสูง ทาให้ราคาสูงขึน้ ② D>S ③ ปริมาณเงินในมือประชาชนมากเกินไป
ผลกระทบ: รัฐรายได้เพิ่มขึ้นหากเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า สาหรับประชาชนเงินเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลง
ผู้ได้ประโยชน์ พ่อค้า (ราคาสินค้าสูงขึ้น) นายธนาคาร (จ่ายดอกเบี้ยเท่าเดิม แต่ผู้ฝากนาไปใช้ได้
น้อยลง เพราะค่าเงินลดลง) ลูกหนี้ (ชาระหนี้เท่าเดิม แต่เจ้าหนีน้ าไปใช้ได้น้อยลง)
เงินฝืด: ภาวะที่ราคาสินค้าถูกลงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสูงขึ้น คือ เงินเท่าเดิมซื้อของได้มากขึ้น
สาเหตุ: ① ขาดแคลนเงินทุนในการผลิต ② D< S ③ ปริมาณเงินในมือประชาชนมีน้อย
ผลกระทบ: ถ้าเงินฝืดมาก ๆ จะทาให้เกิดปัญหาว่างงาน
ผู้ได้ประโยชน์: เจ้าหนี้ (ลูกหนี้ใช้หนี้แล้วสามารถเอาไปใช้ได้มากขึ้น เพราะค่าเงินสูงขึ้น) ผู้มีรายได้
ประจา ลูกค้า

ธนาคารกลาง
ธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) : ตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.วิรไท สันติประภพ เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบนั (2560)
โดยธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ รักษาเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ
ออกธนบัตร ควบคุมสถาบันการเงิน รักษาทุนสารองระหว่างประเทศ และเป็น นายของธนาคาร
พาณิชย์
กาหนดนโยบายการเงิน คือ
การซื้อขายหลักทรัพย์ ถ้าหากต้องการลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจก็จะขายหลักทรัพย์ และ
ถ้าหากต้องการเพิ่มก็จะซื้อหลักทรัพย์คืน
อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้

9
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

อัตราเงินสดสารองกฎหมาย เกี่ยวข้องกับการสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิ ชย์ เช่น เมื่อธนาคาร


กลางเพิ่มอัตราเงินสดสารองตามกฎหมาย จะส่งผลให้เงินสดสารองส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์
ลดลง ธนาคารพาณิชย์สามารถขยายสินเชื่อได้ลดลง ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจจะลดลง
อัตรารับช่วงซื้อลด ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกลางเก็บล่วงหน้าจากธนาคารพาณิชย์ เช่น ถ้า
ธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลด ธนาคารพาณิชย์จะกู้ยืมมากขึ้น ดังนั้น เงินสดสารองของ
ธนาคารพาณิชย์จะเพิ่มขึ้น ธนาคารพาณิชย์ก็จะสามารถขยายสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น ปริมาณเงิน
ในระบบเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้น

นโยบายการเงิน
นโยบายการเงิน : ออกโดยธนาคารกลาง เป็นนโยบายเปลี่ยนแปลงเงินในระบบให้เหมาะสม เพื่อ
รักษาเสถียรภาพของระดับสินค้าและบริการ มี 2 ชนิด คือ
1. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด ทาให้ปริมาณเงินในระบบลดลง จึงใช้ในช่วงเงินเฟ้อ
2. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ทาให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น จึงใช้ในช่วงเงินฝืด

นโยบายการเงิน แบบเข้มงวด แบบผ่อนคลาย


การซื้อขายหลักทรัพย์ ขาย ซื้อคืน
อัตราเงินสดสารอง เพิ่ม ลด
อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน เพิ่ม ลด
อัตรารับช่วงซื้อลด เพิ่ม ลด

การคลัง
รายรับ – รายจ่ายของรัฐบาล
รายรับของรัฐบาล = รายได้+เงินกู้+เงินคงคลัง
รายได้ของรัฐบาล ได้มาจากภาษี รัฐพาณิชย์ การขายทรัพย์สินและการบริการของรัฐ
- อัตราภาษี: อัตราก้าวหน้า (รายได้มากจ่ายมาก รายได้น้อยจ่ายน้อย) อัตราคงที่ (เท่ากัน)
อัตราถดถอย (รายได้น้อยจ่ายมาก รายได้มากจ่ายน้อย)
- หน่วยงานที่จัดเก็บภาษี: กรมสรรพากร (เก็บภาษีเงินได้) กรมศุลกากร (เก็บภาษีสินค้าเข้า
และออก) กรมสรรพสามิต (เก็บภาษีจากสินค้าฟุ่มเฟือย)

10
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

เงินกู้ (หนี้สาธารณะ): การกู้เงินของรัฐบาล ถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ


- กู้ในประเทศ: ออกพันธบัตรรัฐบาล เมื่อให้กู้ระยะยาว ออกตั๋วเงินคลัง เมื่อให้กู้ระยะสั้น
- กู้ต่างประเทศ: กู้จากธนาคารโลก , IMF
เงินคงคลัง: เงินสด + เงินฝากของกระทรวงการคลัง เก็บในรูป “ทองคา”
รายจ่ายของรัฐบาล ได้แก่ รายจ่ายในการลงทุน และรายจ่ายประจา โดยกระทรวงที่ใช้รายจ่ายมาก
เป็นอันดับต้น ๆ ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการคลัง

งบประมาณแผ่นดิน
งบประมาณแผ่นดิน: เป็นแผนการการเงินที่ทาขึ้นเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายที่กาหนดในปีถัดไป โดยเริ่มจาก
เดือนตุลาคม–กันยายนของปีถัดไป เช่น ปีงบประมาณ 2561 เริ่มจาก 1 ต.ค. 2560 – 30 ก.ย. 2561
งบประมาณเกินดุล (รายรับ > รายจ่าย) ใช้ในช่วงที่เห็นว่าเศรษฐกิจขยายตัว (เงินเฟ้อ) รัฐ
จะต้องอัดฉีดเม็ดเงินในระบบให้น้อยลง โดยเก็บภาษีให้มากกว่ารายจ่าย
งบประมาณสมดุล (รายรับ = รายจ่าย) เป็นวินัยการคลัง
งบประมาณขาดดุล (รายรับ < รายจ่าย) ใช้ในช่วงที่เห็นว่าเศรษฐกิจชะลอตัว (เงินฝืด) รัฐ
จะต้องอัดฉีดเม็ดเงินในระบบให้มากขึ้น โดยเก็บภาษีให้น้อยกว่ารายจ่าย และรัฐจะต้องกู้เงิน
เพื่อชดเชยการขาดดุล
นโยบายการคลัง
นโยบายการคลัง : ออกโดยกระทรวงการคลัง เป็นเครื่องมือที่ทาให้มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย
นโยบายการคลัง แบบหดตัว แบบขยายตัว
เกิดเงินเฟ้อ ✓ ☓
เกิดเงินฝืด ☓ ✓
การเก็บภาษี เพิ่ม ลด
การใช้จ่ายของรัฐบาล ลด เพิ่ม
งบประมาณแผ่นดิน เกินดุล ขาดดุล

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ ประกอบด้วยการนาเข้า และการส่งออก

11
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สาเหตุ: แต่ละประเทศมีทรัพยากรต่างกัน รสนิยมในการบริโภคต่างกัน ผลิตสินค้าที่ต้องการ


ได้โดยเสียต้นทุนต่างกัน
ประโยชน์: ส่งเสริมการออมและการลงทุนในประเทศ การแข่งขันมากขึ้น เป็นแหล่งเงินตรา
ต่างประเทศ
นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
นโยบายการค้าเสรี: คือ นโยบายที่ทาให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ คือ ไม่ตั้งกาแพงภาษีขาเข้า ไม่
กาหนดข้อจากัดทางการค้า เช่น ไม่กาหนดโควตา ไม่ควบคุมการนาเข้า แต่จะทาให้ประเทศที่กาลัง
พัฒนาเสียเปรียบ
นโยบายการค้าคุ้มกัน คือ นโยบายที่ไม่ทาให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ คือ ตั้ งข้อจากัดทางการค้า
เพื่อไม่ให้สินค้าต่างประเทศเข้ามาแข่งกับสินค้าในประเทศ เช่น ตั้งกาแพงภาษีขาเข้า ผลิตสินค้าหลาย
ชนิด กาหนดข้อจากัดทางการค้า ทาให้การผลิตสินค้าและบริการในประเทศขยายตัว
การลงทุนระหว่างประเทศ
การลงทุนทางตรง คือ การไปเปิดกิจการในต่างประเทศ ได้ผลตอบแทนเป็นกาไร เป็นการลงทุน
ระยะยาว
การลงทุนทางอ้อม เช่น นาเงินไปซื้อตราสาร (หุ้น) หลักทรัพย์ พันธบัตร ได้ผลตอบแทนเป็น
ดอกเบี้ยและเงินปันผล เป็นการลงทุนระยะสั้น
การเงินระหว่างประเทศ
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
- ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ผูกค่ากับเงินสกุลอื่น เรียกว่า “ระบบตะกร้า”
- ระบบที่มีความยืดหยุ่นจากัด คล้ายระบบแรก แต่เปลี่ยนได้ในช่วงกว้างกว่า
- ระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง ขึ้นกับอุปสงค์และอุปทาน ผันผวนมาก แบ่งเป็นระบบลอยตัว
เสรี ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ ซึ่งใช้ในประเทศส่วนใหญ่ โดยไทยใช้ระบบนี้แทนระบบตะกร้า
หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ 2540
การเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาท
สมมติ 35 บาท = 1$ ถ้า 40 บาท = 1$  ค่าเงินอ่อนตัว ถ้า 30 บาท = 1$  ค่าเงินแข็งตัว
ค่าเงินบาทแข็งตัว: คนไทยซื้อสินค้าต่างชาติถูกลง ต่างชาติซื้อสินค้าไทยแพงขึ้น ขาดดุลการค้า
มากขึ้น
ค่าเงินบาทอ่อนตัว: คนไทยซื้อสินค้าต่างชาติแพงขึ้น ต่างชาติซื้อสินค้าไทยถูกลง ขาดดุลการค้า
ลดลง

12
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ดุลการชาระเงิน
ดุลการชาระเงิน : บัญชีบันทึกรายรับ -รายจ่ายเงินตราต่างประเทศ ภายในช่วงเวลา 1 ปี ยอดสรุป
บัญชี เรียกว่า “ทุนสารองระหว่างประเทศ”
การบันทึก
บัญชีเดินสะพัด มี 3 บัญชีย่อย คือ
1. ดุลสินค้าและบริการ คือ ส่วนต่างของมูลค่าสินค้าเข้า-ออก และบริการระหว่างประเทศ
2. ดุลบริจาคและเงินโอน คือ เงินที่ผู้รับได้เปล่า จัดเป็นบัญชีขาเดียว
3. ดุลรายได้ ได้แก่ ค่าตอบแทนแรงงาน และรายได้จากการลงทุน
บัญชีเงินทุน แสดงมูลค่าการลงทุนระหว่างประเทศ
บัญ ชี ทุน สารองระหว่ างประเทศ จะปรับให้ เงินการช าระเงินสมดุล เป็ น ทุน ในการพิม พ์
ธนบัตร ประกอบด้วยทองคา เงินตราต่างประเทศ สิทธิพิเศษถอนเงินของIMF (SDRs)
ทุนสารองระหว่างประเทศและดุลการชาระเงินสัมพันธ์กัน โดยการนาเข้าต้องจ่ายเงิน เรียกว่า
Debit และการส่งออกได้รับเงิน เรียกว่า Credit
ดุลการชาระเงินเกินดุล: Credit > Debit ทาให้ทุนสารองฯ มาก อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ
ดุลการชาระเงินขาดดุล: Debit > Credit ทาให้ทุนสารองฯ น้อย เพราะต้องชดเชยการขาดดุล

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
องค์กรการเงินระหว่างประเทศ
องค์กรการเงินระหว่า
ธนาคารโลก (World Bank : IBRD): ให้ประเทศกาลังพัฒนากู้เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF): ดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศ
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB): ให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศกาลังพัฒนาในเอเชีย

ขั้นตอนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

เขตการค้าเสรี (Free Trade Area): ยกเลิกภาษีและมาตรการกีดกันการค้าแก่กัน


สหภาพศุลกาการ (Customs Union): ยกเลิกภาษีศุลกากรแก่กัน ส่วนประเทศนอกกลุ่มจะเก็บ
อัตราเดียวกัน
ตลาดร่วม (Common Market): เคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกได้เสรี

13
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union): ใช้นโยบายเศรษฐกิจร่วมกัน และเงินตราสกุลเดียวกัน


องค์กรเหนือชาติ (Political Union): ประสานนโยบายเศรษฐกิจและการเมือง

องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

สัญลักษณ์ องค์กร สาระ


มาจากการตกลงภาษีศุลกากรและการค้า (GATT)
องค์กรการค้าโลก เป็นเวทีเจรจาการค้า ลดอุปสรรคการค้า และลดมาตรการ
(WTO) กีดกัน ส่วนไทยได้ประโยชน์ที่สินค้าออกราคาสูงขึ้น
ถูกกีดกันน้อยลง
สหภาพยุโรป ใช้เงินตราสกุลเดียวกัน คือ ยูโร
(EU) เป็นมหาอานาจทางเศรษฐกิจของโลก
ความร่วมมือทาง
ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอชีย-แปซิฟิก
เศรษฐกิจเอเชีย-
และถ่วงดุลอานาจ EU เรียกสมาชิกว่าเขตเศรษฐกิจ
แปซิฟิก (APEC)
องค์การประเทศผู้
ร่วมกันกาหนดราคาและรักษาเสถียรภาพราคาน้ามัน
ส่งออกน้ามัน (OPEC)
เพื่อร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิก และช่วยเหลือ
สมาคมประชาชาติแห่ง
ประเทศสมาชิกในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมไป
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ถึงสันติภาพและความมั่นคง โดยจะมีการประชุม ASEAN
(ASEAN)
Summit
เขตการค้าเสรีอาเซียน เริ่มจากความคิดของนายอานันท์ ปันยารชุน ส่งเสริม
(AFTA) การค้าระหว่างประเทศ และยกเลิกข้อจากัดทางการค้า
ข้อตกลงการค้าเสรี ยกเลิกภาษีศุลกากร ขจัดอุปสรรคทางการค้า
อเมริกาเหนือ เม็กซิโกผลิตสินค้าคล้ายไทย แต่เม็กซิโกได้รับสิทธิพิเศษ
(NAFTA) และอยู่ใกล้USAมากกว่า ทาให้ไทยถูกกีดกัน

ล่าสุด ! อังกฤษประกาศจะออกจากสหภาพยุโรป (EU)


โดยมีการลงประชามติ (Brexit) เมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

14
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (เสรีนิยม): เอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สิน มีเสรีภาพในการผลิต ใช้กลไก
ราคา การแข่งขันสูงเพราะมีกาไรจูงใจ ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือก รัฐไม่แทรกแซง การกระจาย
รายได้ไม่ยุติธรรม ธุรกิจเล็กเสียเปรียบ
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (วางแผนจากส่วนกลาง): รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและดาเนิน
กิจ กรรมด้วยกลไกรัฐ บาล เอกชนไม่มีเสรีภ าพในการเลื อก ทุกคนเท่าเทียมกัน แต่สิ นค้าไม่พอและ
ไม่พัฒนา
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม: รัฐควบคุมบางกรณีเท่านั้น เช่น กิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ

การพัฒนาเศรษฐกิจและเศรษฐกิจชุมชน
ดัชนีวัดความเติบโตทางเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ผลผลิตขั้นสุดท้ายที่ผลิตภายในประเทศ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ผลผลิตขั้นสุดท้ายที่ผลิตโดยพลเมืองของประเทศนั้น
รายได้ประชาชาติ (NI) คือ GNP หักด้วยภาษีเงินอ้อมและค่าเสื่อมราคา
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : เกิดขึ้นสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ฉบับที่ 1 (2504 - 2509) : เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวคือ “น้าไหล ไฟสว่าง ทางดี”
ฉบับที่ 2 (2510 - 2514) : พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยกระจายสู่ชนบท
ฉบับที่ 3 (2515-2519) : พัฒนาสังคม ปรับปรุงการสาธารณสุข
ฉบับที่ 4 (2520 – 2524 ) : ลดอัตราการเพิ่มประชากร พัฒนาคุณภาพประชากร
ฉบับที่ 5 (2525 - 2529) : แก้ปัญหาความยากจนในชนบท พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
ฉบับที่ 6 (2530 - 2534) : พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฉบับที่ 7 (2535 - 2539) : พัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ฉบับที่ 8 (2540 - 2544) : เน้นคนเป็นศูนย์กลางพัฒนา กาหนดหลักสูตรการศึกษา
ฉบับที่ 9 (2545 - 2549) : ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ฉบับที่ 10 (2550 - 2554) : สร้างชุมชนเข้มแข็ง อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
ฉบับที่ 11 (2555 - 2559) : เตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
ฉบับที่ 12 (2560 - 2564) : บรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
15
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจชุมชน: ปัญหาความยากจนและหนี้สิน ปัญหาความเสื่อมโทรมทรัพยากรธรรมชาติของ
ชุมชน ปัญหาไม่มีงานในชุมชน ปัญหาหลงลืมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยอาจใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
สหกรณ์ การรวมกลุ่มเกษตรกรแก้ปัญหาได้
เศรษฐกิจพอเพียง: เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ 9 ทรง
ชี้นาชาวไทย ทรงนาทฤษฎีใหม่ไปทดลองครั้งแรกที่วัดมงคลชัยพัฒนา อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี
ความหมาย
① ความสามารถของรัฐ ชุมชน ในการผลิตสินค้าและบริการโดยพึ่งตนเอง
② ยึดหลักทางสายกลาง พอดี พออยู่ ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่โลภ และไม่เบียดเบียนผู้อื่น
③ มุ่งให้บุคคลประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน ใช้จ่ายเงินที่ได้มาอย่างพอเพียง
คุณลักษณะ

เกษตรทฤษฎีใหม่
ขั้นตอนที่หนึ่ง: ฐานการผลิตความพอเพียง  จัดสรรที่อยู่อาศัย + ที่ทากินเป็น 4 ส่วน
ได้แก่ ขุดสระน้า 30% ปลูกข้าว 30% ทาไร่ทาสวน 30% และที่อยู่อาศัย พืชผักสวนครัว 10%
ขั้นตอนที่สอง: รวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์
ขั้นตอนที่สาม: ดาเนินธุรกิจชุมชน
สหกรณ์
สหกรณ์ : การรวมกลุ่ มของคนที่มีเป้าหมายเดียวกัน โดยเป็นเจ้าของร่วมกัน และใช้ห ลักสหกรณ์
ควบคุม โดยพึ่งตนเองและรับผิดชอบตนเอง
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (บิดาสหกรณ์ไทย) ได้เลือกสหกรณ์ไรฟ์ไฟเซนในเยอรมนีมาปรับใช้ในไทย
เพื่ออุปถัมภ์คนจน

16
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สหกรณ์แห่งแรกที่จัดตั้ง คือ สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จากัดสินใช้ จ.พิษณุโลก


หลักการสหกรณ์ : ควบคุมด้วยหลักการประชาธิปไตย หนึ่งคนหนึ่งเสียง สมาชิกมีส่วนร่วมทาง
เศรษฐกิจ ปกครองตนเองและเป็นอิสระ ให้การศึกษา ฝึกอบรม และสารสนเทศ การร่วมมือกัน
ระหว่างสหกรณ์ การเอื้ออาทรต่อชุมชน และปันผลประโยชน์ให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สหกรณ์ในประเทศไทย
- สหกรณ์ภาคการเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม
- สหกรณ์นอกภาคการเกษตร ได้แก่ สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์บริการ

17
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สาระที่ 2
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม
และการดาเนินชีวิต

Sociology,
Politics, Laws

18
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สังคมวิทยา
ความหมายของสังคม
วิทยา
ความหมายของสังคมวิทยา : ศาสตร์แห่งการศึกษาระบบความสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์

สัตว์ในทางสังคม
วิทยา
1) สัตว์โลก : สัตว์ทั่วไป ไม่มีการกระทาทางสังคม
2) สัตว์สังคม : มนุษย์ ผึ้ง ช้าง มด ฯลฯ
เราจะเคยได้ยินเสมอว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” เจ้าของประโยคนี้คือ อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก
ผู้โด่งดัง เนื่องจากมนุษย์อาศัยรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อความอยู่รอดและมีการพึ่งพากัน

ลักษณะทางกายภาพของมนุษย์และลักษณะ
พิเศษ
• สมองมีวิวัฒนาการสูง

ลักษณะเด่น • มือเคลื่อนไหวตามใจ
• พูดได้

• เขี้ยวสั้น

ลักษณะด้อย •

ขนและหนังบาง
เล็บสั้น
• ไม่ผลัดขน

สัญลักษณ์
ด้วยลักษณะเด่นทางกายภาพของมนุษย์ ทาให้มนุษย์มีการสร้างผลงานหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทาง
สังคม สัญลักษณ์เกิดจากการเรียนรู้ของมนุ ษย์ ผ่านกระบวนการขัดเกลาทางสังคม โดยมีประโยชน์ในการ
ติดต่อสื่อสาร และถ่ายทอดข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สัญลักษณ์มีหลายประเภท ดังนี้

19
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

• ส่งถ่ายความคิด
ภาษา • ส่งถ่ายความรู้

• ความคิด
องค์ • ความเชือ่
ความรู้
• จัดการสังคม (นิตศิ าสตร์+รัฐศาสตร์)
เทคโนฯ • ดารงชีพ (สิง่ ประดิษฐ์)

• สร้างความสุนทรีย์
ศิลปะ

ด้ ว ยลั ก ษณะพิ เศษและลั ก ษณะเด่ น ทางกายภาพที่ เอื้ อ ในการสร้ างสรรค์ ผ ลงานหรือ


สัญ ลั กษณ์ ทาให้ มนุ ษ ย์ มีค วามเชื่ อมั่น ในตนเอง เชื่ อว่าตนเที ยบเที ยมกั บเทพเจ้า จึงก่ อ เกิ ด
“ศักดิ์ศรี” นาไปซึ่ง “สิทธิมนุษยชน (right)” คือ การได้รับสิทธิเยี่ยงคน และยังแสดงให้เห็นถึง
ความนับถือตัวเองหรือ “มนุษยนิยม”

สังคม

สังคม คือ กลุ่มมนุษย์ที่อาศัยร่วมกันเป็นจานวน 2 คนขึ้นไป ในระยะเวลาที่นานพอสมควร มีวิถีชีวิต


เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน และมีปฏิสัมพันธ์กันและกัน
สาเหตุที่มนุษย์อยู่เป็นสังคม
1. เพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ( ชีวภาพ,กายภาพ,สังคม,จิตใจ )
2. เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยการสร้างวัฒนธรรม ขัดเกลาและหล่อหลอมมนุษย์ให้
สามารถเรียนรู้และอยู่ร่วมกันได้
3. เพื่อให้รอดพ้นอันตรายในลักษณะพึ่งพากัน ( บทบาทหรือหน้าที่ give สิทธิ take ) และสร้าง
ความรุดหน้าให้ตนและสังคม

20
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

วัฒนธรรม
รูปแบบการดารงชีวิตของมนุษย์ มีการเรียนรู้และสืบทอด โดยอาศัยสัญลักษณ์เป็นสื่อกลาง กล่าวคือ
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น นั่นคือ “วัฒนธรรม” สาหรับสัตว์ เรียกว่า “สัญชาตญาณ”
ลักษณะสาคัญ
1) มนุษย์เป็นผู้สร้าง ทั้งรูปธรรมหรือนามธรรม และเป็นระบบสัญลักษณ์ ( สัตว์สร้างสัญชาตญาณ )
2) เป็นสิ่งที่ปรับตามสังคม
3) เกิดจากการเรียนรู้และมีการสืบทอด เรียกว่า
“กระบวนการขัดเกลาทางสังคม” เป็นมรดกทางสังคม
4) เป็นแบบแผนชีวิตในสังคม
ประเภทของวัฒนธรรม
1) วัตถุ : วัตถุธรรม : สามารถมองเห็นและสัมผัสจับต้องได้
2) จิตใจ : คติธรรม : แนวคิด หลักคุณธรรม จริยธรรม ความเชื่อ ***เปลี่ยนยากที่สุด***
เนติธรรม : กฎหมาย ระเบียบ สัญญาประชาคม นโยบาย
สหธรรม : จารีต ประเพณี มารยาท
รูปแบบของวัฒนธรรม
1) วัฒนธรรมหลัก คือ วัฒนธรรมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมปฏิบัติ เช่น การไหว้ เคารพผู้อาวุโส
2) วัฒนธรรมรองหรือวัฒนธรรมย่อย คือ วัฒนธรรมที่คนส่วนหนึ่งหรือเฉพาะกลุ่มปฏิบัติ เช่น สาเนียง
การพูด อาหารพื้นเมือง เพลงพื้นบ้าน
ความสาคัญของวัฒนธรรม
1) ทาให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์
2) สามารถแก้ไขปัญหาและสนองความต้องการของสังคมได้
3) เป็นกรอบความประพฤติของสังคมเพื่อความสันติสุข
4) สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน
5) นาความเจริญสู่สังคม
6) เป็นเอกลักษณ์เฉพาะสังคมหนึ่ง ๆ
โครงสร้างสังคม
ความสั ม พั น ธ์ ข องคนหรื อ สถาบั น ในสั ง คมที่ มี ก ารจั ด ระบบ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงเสมอ ฉะนั้ น
ความสัมพันธ์ภายในสังคม เป็นสิ่งสาคัญของโครงสร้าง มี 3 องค์ประกอบ คือ กลุ่มสังคม สถาบันทางสังคม
และการจัดระเบียบทางสังคม

21
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

 กลุ่มสังคม คือ กลุ่มคนที่มีระเบียบ มีความสัมพันธ์กันภายในกลุ่ม มีความสนใจคล้ายกัน มีเอกลักษณ์ที่


ต่างกันกับกลุ่มสังคมอื่น มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
กลุ่มปฐมภูมิ : ความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น ครอบครัว ห้องเรียน คู่สมรส
กลุ่ ม ทุ ติ ย ภู มิ : ความสั ม พั น ธ์ ที่ เป็ น ทางการ เฉพาะทาง มี พั น ธะเกี่ ย วข้ อ ง เช่ น บนรถโดยสาร
(คนขับ-ผู้โดยสาร) บริษัท (นายจ้าง-ลูกจ้าง)
กลุ่มคนต่อไปนี้ ไม่ใช่ ! กลุ่มสังคม : คนในคอนเสิร์ต , เดินห้าง , บนรถไฟฟ้า

คาเตือน !
องค์ประกอบที่สาคัญที่สุดของกลุ่มสังคม คือ ต้องมีการ ติดต่อสัมพันธ์กัน
เวลาทาข้อสอบจะใช้ตัวนี้ในการพิจารณา ถ้าขาดไปก็ไม่เป็นกลุ่มสังคมทันที

สถาบันทางสังคม คือ รูปแบบความสัมพันธ์หรือชุดบรรทัดฐานที่มีกระบวนการและวัตถุ เพื่อสนอง


ความต้องการของสมาชิกและการดารงอยู่ของสังคม เปลี่ยนแปลงได้ยาก สถาบันทางสังคมที่สาคัญ
ได้แก่
สถาบัน กลุ่มสังคม ความสาคัญ / หน้าที่
ครอบครัว บิดา มารดา เป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม สาคัญที่สุด
บุตร คู่ครอง สนองความต้องการด้านร่างกายและจิตใจ
ญาติ ผลิตสมาชิกใหม่ อบรมและเลี้ยงดูให้เป็นคนดี
กาหนดสถานภาพ
อาจจะสามารถทาหน้าที่แทนสถาบันอื่นได้
ศาสนา นักบวช/สาวก สนองความต้องการด้านจิตใจ
ศาสนิกชน มีอิทธิพลต่อความเชื่อ
เป็นกลไกสาคัญในการควบคุมสังคม
เป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจ ควบคุมพฤติกรรม
การศึกษา ครู อาจารย์ นักวิชาการ สนองความต้องการทางการเรียนรู้และสติปัญญา
บุคลากรทางการศึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้ และระบบความคิด วัฒนธรรม
นิสิต นักศึกษา นักเรียน
เศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ สนองความต้องการทางร่างกาย
นักธุรกิจ ผู้บริโภค ผลิตสินค้าและบริการสู่ผู้บริโภค
การเมือง ฝ่ายนิติบัญญัติ สนองความต้องการด้านความปลอดภัยและความมั่นคง
การปกครอง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ สร้างกฎเพื่อควบคุมพฤติกรรมในลักษณะบังคับ
ข้าราชการ นักการเมือง รักษาสงบเรียบร้อย ให้สมาชิกมีความปลอดภัย
ตัดสินข้อพิพาทภายในสังคม

22
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

การจั ด ระเบี ย บทางสั งคม เป็ น การสร้างกรอบในการปฏิ บั ติ ต นในสั งคม เพื่ อ ความสงบสุ ข และ
เรีย บร้อย หากมีพ ฤติกรรมที่ผิ ดแปลกไปจากกรอบหรือระเบียบสั งคม จะเรียกว่า “พฤติกรรม
เบี่ยงเบน” เช่น เด็กแว้น ยกพวกทะเลาะวิวาท ซึ่งจะนาไปสู่ความวุ่นวายในสังคม
การจั ด ระเบี ย บทางสั งคมจะมี กลไกช่ว ยในการจัด ระเบี ยบ คื อ สถานภาพ บทบาท บรรทั ด ฐาน
ค่านิยม การควบคุมทางสังคม และการขัดเกลาทางสังคม
สถานภาพ คือ ตาแหน่งที่สังคมมอบให้ บ่งบอกความเป็นเราว่า เราคือใคร บ่งบอกถึงหน้าที่และสิทธิ
ความสัมพันธ์ในสังคม คนหนึ่งคนสามารถมีหลายสถานภาพได้

สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กาเนิด คือ เกิดปุ๊บได้ปั๊บ เปลี่ยนไม่ได้นะ เช่น ลาดับญาติ เพศ เชื้อสาย ฯลฯ


สถานภาพที่ได้มาภายหลัง (สถานภาพสัมฤทธิ์) ได้มาเพราะความสามารถ เช่น ยศ อาชีพ ตาแหน่ง ฯลฯ

บทบาท คือ การปฏิบัติตนตามสถานภาพ เราต้องทาอะไร ต้องมีคู่แสดงบทบาท เพื่อความสงบของ


สังคม ความสัมพันธ์ของสถานภาพและบทบาทคือ สถานภาพจะเป็นผู้บงการบทบาท บทบาทใน
บางครั้งก็ขัดแย้งกันเอง เรียกว่า “บทบาทขัดกัน” เช่น สามีเป็นตารวจ แต่ภรรยาเป็นผู้ค้ายาเสพติด
บรรทัดฐาน (ปทัสถาน) คือ แบบแผนในการปฏิบัติในสังคมเพื่อความเรียบร้อย มี 3 ประเภท
1) วิถีประชา (วิถีชาวบ้าน) : สิ่งที่ปฏิบัติตามความเคยชิน ถ้าไม่ทาจะถูกนินทา
2) จารีต (กฎศีลธรรม) : มีเรื่องของศาสนา คุณธรรมจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าไม่ทาจะถูก
ประณาม ขับออกจากสังคม หรือประชาทัณฑ์
3) กฎหมาย : ทุกคนต้องปฏิบัติ ลักษณะบังคับให้ ทาตามหรือห้ ามทา มีบทลงโทษที่กฎหมาย
กาหนด
ค่านิยม คือ ที่มาของบรรทัดฐาน เป็นพื้นฐานของความประพฤติของสมาชิก ความคิดของคนส่วนใหญ่
ที่ว่าดี ทั้งที่ความจริงอาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้ ส่งผลต่อความเจริญหรือความเสื่อมในสังคม
การควบคุมทางสังคม (สิทธานุมัติทางสังคม) คือ สิ่งที่ชักจูงให้คนในสังคมปฏิบัติและยอมรับ
บรรทัดฐาน มี 2 แบบ
- การควบคุมโดยการจูงใจ (เชิงบวก) เช่น ให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณ
- การควบคุมโดยการลงโทษ (เชิงลบ) เช่น นินทา ประชาทัณฑ์ จาคุก
การขัดเกลาทางสังคม (สังคมประกิต) คือ การสอนให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม มี 2 แบบ
คือ ทางตรง (บอกตรง ๆ ว่าอะไรดีหรือไม่ดี) และทางอ้อม (เรียนรู้จากตนเอง ประสบการณ์)

23
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สังคมไทย
สังคมไทย เป็นสังคมลั กษณะ “พหุสังคม” เพราะมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม เป็นสังคมที่เปิด
กว้างมาก ทั้งการนับถือศาสนา การรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามา สิทธิเสรีภาพเข้าถึงคนในสั งคม อารยธรรมหลัก
ที่มีผล ต่อสังคมไทย คือ อารยธรรมอินเดีย ส่งผลในเรื่องของสถาบันกษัตริย์ ศาสนา ภาษา และยังได้รั บอิทธิพล
จากอารยธรรมจีนและตะวันตกอีกด้วย สังคมไทยมีลักษณะเด่น ดังนี้
1) พื้นฐานสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม
2) เป็นสังคมที่ให้ความสาคัญกับระบบอาวุโส
3) เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
4) ความเจริญและอานาจรวมอยู่ที่ศูนย์กลางของประเทศ
5) คนในสังคมส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนา
6) ในสังคมมีระบบแบ่งชนชั้น ตามชาติตระกูล ฐานะ หน้าที่การงาน ฯลฯ
7) มีความเหลื่อมล้าทางฐานะของคนในสังคม เนื่องจากมีช่องว่างทางเศรษฐกิจมาก
ความแตกต่างระหว่างสังคมเมืองและชนบท
สังคมชนบท สังคมเมือง
ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพหลากหลายตามความสามารถ
การตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจาย อาศัยกันอย่างหนาแน่น
ความสัมพันธ์ฉันเครือญาติ เป็นกันเอง (ปฐมภูมิ) ความสัมพันธ์เป็นทางการ (ทุติยภูมิ)
ประชากรมีจานวนน้อย ประชากรมีจานวนมาก
ความแตกต่างทางสังคมมีน้อย ความแตกต่างทางสังคมมีมาก
ยกย่องบุคคลด้วยความดีงาม ยกย่องบุคคลด้วยตาแหน่งหน้าที่การงาน ฐานะทาง
สังคม
การเคลื่อนที่ทางสังคมมีน้อยและเป็นแนวนอน การเคลื่อนที่ทางสังคมมีมากและเป็นแนวตั้ง
ค่าครองชีพต่า ค่าครองชีพสูง

ประเพณีและวัฒนธรรม
ไทย ฒนธรรมไทย
ลักษณะของวั
1) ยึดถือพิธีกรรมและการกุศล
2) นิยมความสนุกสนาน เช่น เพลงพื้นบ้าน ระบา รา ฟ้อน เซิ้ง
3) นับถือระบบเครือญาติ เช่น ชิงเปรต ทาบุญสงกรานต์ กงเต๊ก รดน้าดาหัว
4) ส่วนมากมาจากศาสนาหรือการเกษตร เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ทาขวัญข้าว การลงแขก

24
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ประเพณีขึ้นชื่อแต่ละภาค
ภาคเหนือ : งานขันโตก , ปอยส่างลอง (แม่ฮ่องสอน) , เผาเทียนเล่นไฟ (สุโขทัย) , แห่สลุ ง
หลวง (ลาปาง) , เลี้ยงดง บูชาเสาอินทขิล (เชียงใหม่)
ภาคตะวัน ออกเฉี ยงเหนื อ : บุ ญ บั้ งไฟ (ยโสธร) , ไหลเรือ ไฟ (นครพนม) , ผี ตาโขน (เลย) ,
บั้งไฟพญานาค (หนองคาย) , แห่ปราสาทผึ้ง (อุบลราชธานี) , บุญผะเหวด
ภาคกลาง : วิ่งควาย (ชลบุรี) , แข่งเรือยาว , ทาขวัญข้าวและการลงแขก , แห่ขบวนนมัสการ
หลวงพ่อโสธร (ฉะเชิงเทรา) , ตักบาตรเทโว (อุทัยธานี) , อุ้มพระดาน้า (เพชรบูรณ์) , โยนบัวรับ
บัว (สมุทรปราการ)
ภาคใต้ : สารทเดือนสิบ , ชักพระ , ชิงเปรต , แห่ผ้าขึ้นพระธาตุ (นครศรีธรรมราช) ,
แข่งเรือกอและ (นราธิวาส) , แข่งนกเขาชวา , ถือศีลกินผัก (ภูเก็ต)

ปัญหาในสังคมไทย

ปัญหาที่คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยกาลังเผชิญ ได้รับผลเดือดร้อน และเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรได้รับการ


แก้ไข เช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาครอบครัว ปัญหาความรุนแรง
ทางเพศ ปัญหาความยากจน ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
แนวทางการแก้ไข : พัฒนาระบบการศึกษา , กระจายรายได้ ลดช่องว่างทางฐานะ , ปลูกฝังค่านิยมที่ดี

รัฐศาสตร์
บิดาแห่งรัฐศาสตร์

อริสโตเติล (Aristotle) เป็น เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของ


อเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มี
อิ ท ธิ พ ลสู ง ที่ สุ ด ท่ า นหนึ่ ง ในโลกตะวั น ตก ด้ ว ยผลงานเขี ย นหนั ง สื อ เกี่ ย วกั บ
ฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา

รัฐ
รัฐ เป็ น ชุ มชนทางการเมืองที่มี การรวมตัว ในดิน แดนอาณาเขตที่แน่ น อน มีรัฐ บาลหรือ หน่ ว ยงาน
ปกครองที่สามารถใช้อานาจอธิปไตย

25
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

องค์ประกอบของรัฐ
1) ประชากร (People) ไม่จาเป็นต้องมีศาสนา วัฒนธรรม เชื้อชาติ ฯลฯ ที่เหมือนกัน และไม่ ได้
กาหนดจานวนประชากร ประชากรมี 5 ประเภท คือ
1.1 พลเมือง (Citizens) : มีความตื่นตัวต่อเหตุการณ์บ้านเมือง
1.2 ราษฎร (Subjects) : รอคาสั่งจากเบื้องบนแล้วทาตาม
1.3 กลุ่มชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อย (Minorities) : กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตต่างจากคนส่วนใหญ่ในรัฐ
1.4 ไม่มีสถานะเป็นพลเมือง (Non-citizens) : ไม่มีสิทธิทางการเมืองและการใช้ทรัพยากรของ
รัฐ
1.5 คนต่างด้าว (Aliens) : คนต่างชาติที่มาทากินในรัฐ จะได้รับสิทธิไม่เท่าประชากรหลัก
2) ดินแดน (Land) มีความแน่นอน
2.1 ทางบก : ไม่จาเป็นต้องต่อเนื่องกัน ไม่ได้กาหนดขนาดพื้นที่ของความเป็นรัฐ
2.2 น่านฟ้า : ส่วนที่เหนือแผ่นดินขึ้นไป นับเลยจากชั้นบรรยากาศออกไปอีกนะ
2.3 น่านน้า
ทะเลอาณาเขต เขตเศรษฐกิจจาเพาะ ทะเลหลวง
12 ไมล์ทะเล 200 ไมล์ทะเล

Land
12 200 (ไมล์ทะเล)
3) รัฐ บาลหรื อ หน่ วยงานปกครอง (Governments) : หน่ ว ยงานที่ ต้ องสนองความต้ องการของ
ประชาชนให้เป็นจริง ทาหน้าที่สร้างและรักษากาหมาย เจริญความสัมพันธ์กับรัฐอื่นๆ
4) อานาจอธิปไตย (Sovereignty) : อานาจสูงสุดของรัฐ แสดงความเป็นเอกราช เป็นองค์ประกอบ
ที่สาคัญที่สุดของรัฐ แบ่งได้ 2 แบบ
4.1 อานาจอธิปไตยภายใน : อานาจรัฐอยู่เหนือองค์กรอื่น ๆ และประชาชนในรัฐทั้งปวง
4.2 อานาจอธิปไตยภายนอก : อานาจรัฐที่สามารถกระทาได้อย่างอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐ
อื่น
ลักษณะสาคัญของอานาจอธิปไตย
 มีความเด็ดขาด แต่มีรัฐธรรมนูญเขียนข้อจากัดของการใช้อานาจ
 เป็นการทั่วไป ใช้ได้ในทุกพื้นที่ของรัฐ
 เป็นการถาวร อยู่คู่กับรัฐ
 แบ่งแยกไม่ได้

26
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ประเภทของรัฐ ***ดูที่จานวนรัฐบาล***
1) รัฐเดี่ยว : มีรฐั บาลกลางชุดเดียว เช่น ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส สิงคโปร์
2) รัฐรวม
2.1 สหพันธรัฐ มีรัฐบาล 2 ระดับดูแล คือ รัฐบาลกลาง (ดูแลความมั่นคง การคลัง ต่างประเทศ
พาณิ ช ย์ กฎหมาย) และรั ฐ บาลท้ อ งถิ่ น หรื อ รัฐ บาลมลรั ฐ (ดู แ ลการออกกฎหมายบั งคั บ ในรั ฐ
สาธารณสุข พิจารณาคดี สาธารณูปโภค การศึกษา)
2.2 สมาพันธรัฐ รวมตัวกันหลวมๆ มีสนธิสัญญาร่วมกัน เช่น EU ASEAN

พี่ ๆ ขอเอาสูตรจารัฐรวมมากจากอาจารย์ชัย ลาภเพิ่มทวี มาแบ่งปันกันนะครับ


“อินเดียชอบเลียมาม่ารสสวิส”
ถอดความได้...อินเดีย ชอบ (ออสเตร)เลีย มา(เลเซีย) (พ)ม่า รส สวิส(เซอร์แลนด์)

คานาหน้าชื่อรัฐ
ราชอาณาจักร (Kingdom) นาหน้ารัฐที่มีพระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมุขรัฐ
ราชรัฐ (Grand Duchy/Principality) นาหน้ารัฐที่มปี ระมุขรัฐอิสริยยศต่ากว่า
พระมหากษัตริย์
รัฐสุลต่าน (Sultanate) นาหน้ารัฐที่มสี ุลต่านเป็นประมุขรัฐ
สาธารณรัฐ (Republic) นาหน้ารัฐที่มปี ระธานาธิบดีเป็นประมุข
ส ห รั ฐ (United States) , ส ห ภ าพ (Union) , ส ห พั น ธ์ ส าธ ารณ รั ฐ (Federal
Republic) , สมาพันธรัฐ (Confederation) นาหน้ารัฐที่เป็นรัฐรวม
สหราชอาณาจักร (United Kingdom) , สหสาธารณรัฐ (United Republic) นาหน้า
รัฐที่เคยเป็นอิสระต่อกัน แล้วต่อมาเข้ามาอยู่ใต้การปกครองเดียวกัน
ประมุขของรัฐ
1) พระมหากษัตริย์
1.1 เป็นทั้งประมุขรัฐและฝ่ายบริหาร มีอานาจเต็มในการบริหารประเทศ =
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น บรูไน ซาอุดิอาระเบีย โอมาน
1.2 เป็นเพียงประมุขของรัฐ อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และเป็นกลางทางการเมือง มีนายกรัฐมนตรี
เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร เช่น ไทย ญี่ปุ่น อังกฤษ กัมพูชา
2) ประธานาธิบดีหรือผู้นาฝ่ายบริหาร
2.1 ประมุขตามพิธีการ มีไว้รับแขกบ้านแขกเมือง เช่น อินเดีย สิงคโปร์
2.2 ประมุขที่มีอานาจจริง มีอานาจบริหาร มาจากการเลือกตั้ง เช่น สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์

27
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

การจัดระเบียบการปกครองรัฐ
1) รวมอานาจ : สานักนายกรัฐมนตรี กรม กระทรวง
บริหารเป็นเอกภาพ ประหยัดงบประมาณ บริการเสมอภาค
บริหารล่าช้า ประชาชนปกครองตนเองไม่เป็น
2) แบ่งอานาจ : จังหวัด อาเภอ ตาบล หมู่บ้าน
บริการประชาชนรวดเร็ว ประสานกับท้องถิ่นได้ดี
เจ้าหน้าที่รัฐไม่เข้าถึงปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่ เพราะเป็นคนจากส่วนกลาง
3) กระจายอานาจ : กทม. อบต. อบจ. เทศบาล เมืองพัทยา
เปลืองงบประมาณ ขาดเอกภาพ รัฐไม่สามารถวางแผนพัฒนาได้ มีการผูกขาดอานาจ
ประชาชนมีอานาจปกครองตนเอง ลดภาระส่วนกลาง ตอบสนองความต้องการได้ดี

ระบอบการปกครองแบ่งตามเจ้าของอานาจ
อธิปไตย
จานวนเจ้าของ ระบอบการปกครอง เจ้าของอานาจอธิปไตย
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์
คนเดียว
เผด็จการ ผู้นาคนเดียว
คณาธิปไตย หมู่คณะเดียว
กลุ่มคน/คนส่วนน้อย อภิชนาธิปไตย เชื้อพระวงศ์หรือขุนนาง
คอมมิวนิสต์ พรรคการเมืองพรรคเดียว
คนส่วนมาก ประชาธิปไตย ประชาชน

ประชาธิปไตย (Democracy)
ประชาชนเป็นผู้มีอานาจสูงสุด เน้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ต้นกาเนิดอยู่ที่นคร
รัฐเอเธนส์ของกรีก มี 2 รูปแบบ คือ
1) ประชาธิปไตยทางตรง : ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครองโดยตรง ไม่มีการเลือกตั้ง
2) ประชาธิปไตยทางอ้อม : ประชาชนให้ผู้แทนทาหน้าที่ มีการเลือกตั้ง
ประชาชนมี ส่ ว นร่ ว มในการปกครอง สนองความต้ องการสู งสุ ด ตรวจสอบการบริห ารภาครัฐ ได้
รัฐมีเสถียรภาพ
บริหารล่าช้า เปลืองงบไปกับการเลือกตั้ง ขาดเอกภาพหากประชาชนใช้สิทธิเกินขอบเขต อานาจ
ระบบราชการมีสูง

ข้อสอบชอบถามว่า “หัวใจของประชาธิปไตยคืออะไร”
ต้องตอบว่า “การมีส่วนร่วมทางการปกครองของประชาชน”
28 นะครับ
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

หลักการในระบอบประชาธิปไตย
หลักแบ่งแยกอานาจ เป็นการตรวจสอบและถ่วงดุลอานาจทั้งสามฝ่าย
หลักนิติธรรม ใช้กฎหมายปกครองประเทศอย่างเป็นธรรม
หลักเสมอภาค ประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน
หลักเสียงข้างมาก แต่ไม่ละเมิดเสียงข้างน้อย
หลักเสรีภาพ ประชาชนมีเสรีภาพในด้านต่าง ๆ โดยไม่กระทบต่อเสรีภาพผู้อื่น
หลักอานาจอธิปไตย สนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เช่น ใช้สิทธิเลือกตั้ง
หลักอานาจอธิปไตยเพื่อปวงชน รัฐบาลต้องเน้นส่วนรวมเป็นหลัก
ประเภทของประชาธิปไตย
กึ่งรัฐสภา
หัวข้อ รัฐสภา ประธานาธิบดี
กึ่งประธานาธิบดี
ต้นแบบ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส
ประมุข กษัตริย์/ประธานาธิบดี
ประธานาธิบดี ประธานาธิบดี
หัวหน้าฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรี
- ปธน.ตั้งนายกฯ นายกฯ
- อานาจทั้งสามแยกกัน
ตั้ง ครม. และปธน.
- รัฐบาลมาจากสภาผู้แทนฯ - ประชาชนเลือก ปธน.
สามารถยุบสภาได้
- นิติบัญญัติ(รัฐสภา) ส.ส. ส.ว. (บริหาร+นิติ) โดยตรง
- ประชาชนเลือก ปธน.
มีอานาจสูงสุด ทั้งควบคุม - ปธน. เลือกครม. อิสระ
ส.ส. ส.ว. โดยตรง
การบริหารและอภิปราย - นิติบัญญัติไม่สามารถ
หลักสาคัญ - นิติบัญญัติจะมีอานาจ
ไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร อภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่าย
มากกว่าแบบ ปธน.แต่
- นายกฯ สามารถยุบสภาได้ บริหารได้
น้อยกว่าแบบรัฐสภา
- ใช้หลักเชื่อมโยงและถ่วงดุล - มีการถ่วงดุลระหว่าง
- รัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจ
อานาจ รัฐบาลกับรัฐสภา
ครม. ได้ แต่ลงมติไม่ไว้วางใจ
- ยุบสภาไม่ได้
ปธน. ไม่ได้
อังกฤษ ไทย อินเดีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา บราซิล ฝรั่งเศส กรีซ รัสเซีย
ตัวอย่างประเทศ
อิตาลี แคนาดา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไอร์แลนด์ ออสเตรีย

อานาจอธิปไตยในระบอบประชาธิปไตย คือ อานาจบริหาร อานาจนิติบัญญัติ และอานาจตุลาการ

29
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

เผด็จการ (Dictatorship)
ระบอบเผด็จการ เป็นระบอบที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการปกครอง เน้น “รัฐกับผู้นา” เท่านั้น
แต่ก็ยังมีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง อานาจอยู่ที่คนหรือกลุ่มเดียว แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) เผด็จการอานาจนิยม : ควบคุมเพียงแค่สิทธิทางการเมืองของประชาชน เช่น เผด็จการทหาร
2) เผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม : รัฐจากัดสิทธิของประชาชนทุกด้าน
2.1 เผด็จการฟาสซิสต์ ต่อต้านคอมมิวนิสต์ สนับสนุนนายทุน ชาตินิยมจัด โดย
เบนิโต มุโสลินี (อิตาลี)
2.2 เผด็จการนาซี เหยียดชาติพันธุ์ สร้างค่ายกักกัน ต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดย
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (เยอรมนี)
2.3 เผด็จการคอมมิวนิสต์ มีพรรคเดียวบริหารประเทศ ต่อต้านนายทุน สนับสนุนกรรมาชีพ
ไร้ชนชั้นทรัพยากรทุกอย่างเป็นของรัฐ ประชาชนเป็นเพียงแรงงานของรัฐ เช่น
อดีตสหภาพโซเวียด ลาวเกาหลีเหนือ จีน (แผ่นดินใหญ่) เวียดนาม คิวบา

คนที่ยกมืออยู่ คือ มุโสลินี ผู้นาฟาสซิสต์แห่งอิตาลี


ส่วนอีกคนที่ไว้หนวดเหมือนชาลี แชปริน นั้น คือ ฮิตเลอร์ ผู้นานาซีแห่งเยอรมนี

การเมืองประเทศไทยในปัจจุบัน

ประเทศไทยอยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติเป็นผู้ใช้อานาจนิติบัญญัติ (สนช.) และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษา
ความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐบาลเป็นผู้ใช้อานาจบริหาร และมี
ศาลเป็นผู้ใช้อานาจทางตุลาการ

30
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ในวันที่ 6 เมษายน 2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560


ซึ่งถือเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 20 นับเป็นประเทศที่มีรัฐธรรมนูญมากที่สุดใน
ทวีปเอเชีย ซึ่งแสดงถึงการขาดเสถียรภาพทางการเมือง มีการรัฐประหารหลายครั้ง หลังเปลี่ยน
รัฐบาลสาเร็จ รัฐบาลทหารมักยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเก่าและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
วั น ที่ 13 ตุ ล าคม 2559 เวลา 15.52 น. พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ย เดช
มหิ ต ลาธิ เ บศรรามาธิ บ ดี จั ก รี น ฤบดิ น ทร สยามิ น ทราธิ ร าช บรมนาถบพิ ต ร สวรรคต
ณ โรงพยาบาลศิริราช ครองราชสมบัติได้ 70 ปี สิริรวมพระชนมพรรษาปีที่ 89
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ประธานองคมนตรี จึงเป็นผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์โดยตาแหน่งไปพลางก่อน
จากนั้ น วัน ที่ 1 ธัน วาคม 2559 สมเด็ จ พระเจ้ าอยู่ หั ว มหาวชิ ร าลงกรณ บดิ น ทรเทพยวรางกู ร
พระราชทานพระราชวโรกาสให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ นายพร
เพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์
โอชา นายกรัฐมนตรี ประมุขฝ่ายบริหาร และวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา ประมุขฝ่ายตุลา
การ เข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ได้กราบบังคม
ทูลเชิญขึ้นสืบราชสมบัติ จากนั้นพระองค์มีพระราชดารัสตอบรับการขึ้นทรงราชย์ ความว่า “ตามที่
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้กล่าวในนามของปวงชนชาวไทย
เชิญข้าพเจ้าขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ว่าเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎมณเฑียรบาล
ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น ข้าพเจ้าขอตอบรับเพื่อสนอง
พระราชปณิธาน และเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทั้งปวง”
ในทางนิตินั ยถือว่าได้ขึ้น เถลิ งถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุล าคม พ.ศ.
2559 เพื่อให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณีโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ทั้งยังสอดคล้องกับคตินิยมใน
นานาประเทศที่ราชอาณาจักรย่อมไม่ว่างเว้นขาดตอนจากการมีพระมหากษัตริย์

นิติศาสตร์
ลักษณะสาคัญของกฎหมาย

เป็นข้อบังคับของรัฐ ทุกคนต้องปฏิบัติ จะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้


มาจากรัฏฐาธิปัตย์ (ผู้มีอานาจสูงสุดของรัฐ)

31
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

มีสภาพบังคับ ไม่ทาตามมีบทลงโทษ ***สาคัญที่สุด***


ใช้ได้ตลอดไป จนกว่าจะตรากฎหมายใหม่มายกเลิก
เป็นการทั่วไป บังคับใช้ได้กับทุกคน ทุกพื้นที่ ยกเว้นกับพระมหากษัตริย์
และในสถานทูต
ไม่มีผลย้อนหลัง
ระบบกฎหมาย
1. ระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์ อักษร (Civil law) หรือ ระบบประมวลกฎหมาย (Code law)
ตัดสินคดีตามบทกฎหมายซึ่งมีการบันทึก นั่นคือ ประมวลกฎหมาย เช่น ไทย ญี่ปุ่น อิตาลี สเปน ฯลฯ
2. ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลั กษณ์อักษร หรือ ระบบจารีตประเพณี (Common law) อาศัยจารีต
ประเพณีหรือคาพิพากษาของศาลโดยใช้เหตุผลของนักกฎหมายในการตัดสินคดี (Judge made law)
เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ

เพิ่มเติม ! การอุดช่องว่างของกฎหมาย
1. หากกฎหมายลายลักษณ์อักษรไม่มีบทบัญญัติที่จะนามาปรับใช้กับคดี ให้ใช้จารีตประเพณีที่ยอมรับกันทั่วไป
2. หากไม่มีจารีตประเพณีที่สอดคล้องกับคดี ให้ใช้กฎหมายที่เทียบเคียงอย่างยิ่ง (กฎหมายที่มีเจตนารมณ์เดียวกัน)
3. หากไม่มีอีก ให้ใช้หลักกฎหมายทั่วไป นั่นคือ ที่มาของกฎหมาย เป็นจิตวิญญาณขอกฎหมาย เช่น หลักสุจริต
หลักสัญญาต้องเป็นสัญญา

ประเภทของกฎหมาย
แบ่งตามความสัมพันธ์ของคู่กรณี
1) กฎหมายเอกชน : คนกับคน — ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2) กฎหมายมหาชน : คนกับเจ้าหน้าที่รัฐ / เจ้าหน้าที่รัฐด้วยกันเอง — กฎหมายอาญา , รัฐธรรมนูญ ,
กฎหมายปกครอง , ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง / อาญา
3) กฎหมายระหว่างประเทศ : รัฐกับรัฐ / รัฐกับองค์กรระหว่างประเทศ — สนธิสัญญา , กฎหมาย
แผนกคดีเมือง (การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ) , กฎหมายแผนกคดีบุคคล (สัญชาติ) , กฎหมาย
แผนกคดีอาญา (อาชญากรรมข้ามชาติ/ส่งผู้ร่ายข้ามแดน)
แบ่งตามบทบาทหน้าที่
1) กฎหมายสารบัญญัติ : ภาคทฤษฎี — ประมวลกฎหมายอาญา , ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

32
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

2) กฎหมายวิธีสบัญญัติ : ภาคปฏิบัติ — ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง / อาญา

ลาดับศักดิ์ของกฎหมาย
เรียงจากสูงไปต่า
1) รัฐธรรมนูญ เป็ น กฎหมายสูงสุด กาหนดสิทธิ เสรีภ าพ หน้าที่ของประชาชนไว้ องค์กรพิเศษเป็น
ผู้เขียน
2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกาหนด
2.1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย ฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาเป็นผู้
ตราขึ้น
2.2 พระราชกาหนด ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ตราในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ต้องผ่านความ
เห็นชอบจากรัฐสภา
3) พระราชกฤษฎีกา (อนุบัญญัติ) ตราขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี (พฎก.ยุบสภา,พฎก.เลือกตั้ง)
4) กฎกระทรวง เป็นคาสั่งของรัฐมนตรีประจากระทรวง ต้องผ่านความเห็นชอบจาก ครม.
5) ประกาศกระทรวง เป็นคาสั่งของรัฐมนตรีประจากระทรวง ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจาก ครม.
6) กฎหมายท้องถิ่น เช่น ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ

33
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ความเป็นบุคคล มี 2 ประเภทคือ
บุคคลธรรมดา นับตั้งแต่รอดเป็นทารกจนตายหรือศาลสั่งเป็นบุคคลสาบสูญ กรณีสาบสูญ
ต้องเป็นผู้ที่ไม่ทราบว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นเวลา 5 ปี แต่ในกรณีพิเศษ เช่น ไปสงคราม จะ
ลดเหลือ 2 ปี
นิติบุคคล เป็นบุคคลสมมติ มีการจดทะเบียน สิ้นสุดเมื่อเลิกกิจการหรือล้มละลาย
การบรรลุนิ ติ ภ าวะ เมื่ ออายุ 20 ปี บ ริบู รณ์ หรือจดทะเบี ยนสมรสเมื่ออายุ 17 ปี โดยผู้ ปกครอง
ยินยอม
ความสามารถของบุคคล
1) ผู้เยาว์ คือ บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มี ผู้ปกครองเป็นผู้ดูแล ทานิติกรรมได้บางอย่าง ได้แก่ ทา
พินัยกรรม (อายุ 15 ปีบริบูรณ์ ทาก่อนตกเป็นโมฆะ) การซื้อขายสินค้า หากนอกเหนือจากนี้จะตก
เป็นโมฆียะ
2) ผู้ไร้ความสามารถ คือ คนวิกลจริต คนบ้าที่ศาลสั่ง ผู้ดูแลเรียกว่า ผู้อนุบาลไม่สามารถทานิติกรรมใด ๆ
ได้เลย ตกเป็นโมฆียะทั้งสิ้น
3) ผู้เสมือนคนไร้ค วามสามารถ คือ คนที่ร่างกายพิการ จิตฟั่นเฟือน เสเพล ศาลต้องสั่ งเท่านั้น มี ผู้
พิทักษ์ดูแล สามารถทานิติกรรมสาคัญได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิทักษ์
นิติกรรม การกระทาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องสมัครใจในการทาทั้งสองฝ่าย มี 2 แบบคือ นิติกรรม
ฝ่ายเดียว (เช่น ทาพินัยกรรม) และนิติกรรมหลายฝ่าย หรือ สัญญา

นิติกรรมบางอย่างก็สามารถบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ก็ได้นะ ได้แก่
โมฆกรรม คือ การทานิติกรรมนั้นไม่มีผล
โมฆียกรรม คือ การทานิติกรรมที่เกิดจากการข่มขู่ ฉ้อฉล หรือทาโดยบุคคลจากัดความสามารถ
มีผลสมบูรณ์เมื่อถูกบอกล้าง (เป็นโมฆะทันที) หรือให้สัตยาบัน (เป็นผลสมบูรณ์)

มรดกและทายาท
มรดก คือ ทรัพย์สินของผู้ตายที่มีทายาทรับ รวมทั้งสิทธิพิเศษต่างๆและหนี้สิน หากไม่มี
ใครรับ มรดกจะเป็นของแผ่นดิน

34
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ทายาท แบ่งเป็น ทายาทโดยชอบธรรมและทายาทตามพินัยกรรม (ถูกระบุไว้ในพินัยกรรม


แล้ว) ทายาทโดยชอบธรรม คือ คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส (ทายาทลาดับพิเศษเทียบเท่า
ลาดับที่ 1) + ทายาทตามสายโลหิต 6 ลาดับ ดังนี้
1) ผู้สืบสันดาน ลูกของเจ้ามรดก (ทั้งสายเลือดและบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนแล้ว) หาก
ลูกเสียชีวิตก่อนเจ้ามรดก หลานสามารถเข้ารับมรดกแทนได้
2) บิดา มารดา ไม่ถูกตัดมรดกจากทายาทลาดับก่อนหน้า
3) พี่น้องร่วมบิดามารดา
4) พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา หากมีทายาทลาดับก่อนหน้า จะไม่มีสิทธิรับมรดก
5) ปู่ ย่า ตา ยาย
6) ลุง ป้า น้า อา
ตัวอย่าง
. มีมรดกเป็นเงินสด 1,000,000 บาท
คุณตุ่ย ภรรยาแสนสวยของคุณต๋อยซึ่งจดทะเบียสมรสแล้ว มีมรดก 1 ล้านบาท มารดาของเธอยังมี
ชีวิตอยู่ ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 3 คน ชื่อ นัท หนึ่ง นพ มีบุตรบุญธรรมแต่ยังไม่จดทะเบียน ชื่อว่า มอส
และคุณตุ่ยก็มีน้องชายชื่อ ตัง วันหนึ่งคุณตุ่ยเกิดลื่นล้มในห้องน้า ศีรษะฟาดพื้นเสียชีวิต
ถามว่าใครได้มรดกของคุณนายตุ่ยบ้าง ?
#เล่าไปร้องไห้ไป TT
แผนผังครอบครัว

แม่คุณตุ่ย

คุณต๋อย คุณนายตุ่ย(ตาย) ตัง

นัท หนึ่ง นพ มอส


ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดก ได้แก่....
ท่าน ผบ. ได้รับ 500,000 บาท (สินสมรสเป็นมรดกกึ่งหนึ่ง) + 100,000 บาท (ทายาทลาดับที่ 1)
นัท หนึ่ง นพ จะได้รับคนละ 100,000 บาท (ทายาทลาดับที่ 1)
35
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

แม่คุณตุ่ย จะได้รับ 100,000 บาท (ทายาทลาดับที่ 2)


ตัง ไม่มีสิทธิรับมรดก เพราะ เป็นทายาทลาดับที่ 3 (ลาดับที่ 1 และ 2 ยังมีชีวิตอยู่)
มอส ไม่มีสิทธิรับมรดก เพราะ ไม่ใช่บุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
การหมั้น
การหมั้น จะหมั้นได้ต้องอายุ 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง
การหมั้นถ้าไม่มีของหมั้น ไม่ถือว่ามีการหมั้นตามกฎหมาย
การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อส่งมอบหรือโอนของหมั้นแก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับ
หญิงนั้น (สินสอด)
ของหมัน้ ตกเป็นของฝ่ายหญิง
เมื่อผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายสามารถเรียกร้องค่าทดแทนได้ แต่ถ้าฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิด จะต้อง
คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย
หากคู่หมั้นตายก่อนสมรส ไม่สามารถเรียกค่าทดแทน/คืนของหมั้น
การสมรสและการหย่า
การสมรส ต้องอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป, ชาย/หญิงไม่วิก ลจริต, ไม่เป็นญาติทางสายเลือด
โดยตรง, ศาลสั่งให้สมรส, ไม่เป็นบุตรบุญธรรม
สมรสซ้อนไม่ได้ ครั้งหลังจะตกเป็นโมฆะ
สิ้นสุดเมื่อคู่สมรสตาย, หย่า, ศาลสั่งให้หย่า
จะสมรสใหม่ได้ ต้องรอเวลาไม่น้อยกว่า 310 วัน ค่อยมาจดใหม่
การหย่ ามีห ลายสาเหตุ อาทิ การนอกใจ ถูก คู่ส มรสท าร้ายร่างกาย เป็ น โรคติด ต่ออย่าง
ร้ายแรง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ
ทรัพย์สิน
สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย รวมทั้งสิทธิในสังหาริมทรัพย์ เช่น ดิน
กระแสไฟฟ้า ข้าว ลิขสิทธิ์ เป็นต้น
อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ ดิน ทรัพย์ที่ติดกับดิน สิทธิจานอง
เป็นต้น
เพิ่มเติม !
สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ หมายถึง ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ยาก เช่น เรือกาปั่น แพ สัตว์พาหนะ เครื่องจักร อากาศยาน

เวลานาทรัพย์สิ่งไปจานาหรือจานองสังหาริมทรัพย์ ใช้คาว่า “จานา” ส่วนอสังหาริมทรัพย์/


สังหาริมทรัพย์พิเศษ ใช้คาว่า “จานอง”

36
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สัญญา
จานา คือ การที่บุคคลคนหนึ่งนาสังหาริมทรัพย์ไปส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของ
บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อเป็นประกันการชาระหนี้ที่ผู้จานาเป็นหนี้ผู้รับจานา
จานอง คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเอาทรัพย์สิน (อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิด
พิเศษ) ไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นประกันการชาระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่
ผู้รับจานอง โดยทาสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่
สัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายมีหลายแบบนะ รู้ไว้เผื่อใช้ในอนาคต
สัญญา จุดสาคัญ
สัญญาเช่าทรัพย์ คือการเช่าของธรรมดา
สัญญาที่ผู้ให้เช่า นาเอาทรัพย์ออกให้เช่าและให้คามั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น
สัญญาเช่าซื้อ
เมื่อผู้เช่าจ่ายค่าเช่าครบแล้ว ซึ่งสามารถจ่ายได้เป็นงวด ๆ ต้องทาเป็นหนังสือ
สัญญาที่ผู้ขายฝากมีสิทธิขอคืนทรัพย์สินภายในเวลาที่ตกลงกันไว้โดยของจะ
ขายฝาก เป็นของของผู้รับขายฝาก ตั้งแต่วันแรก เมื่อครบกาหนดเวลาไถ่ถอนแล้วไม่ไป
ไถ่คืนจะเป็นของผู้ซื้อฝากทันที ผู้ขายไม่มีสิทธิไถ่คืนอีกเลย
สัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกยังผู้ซื้อทันทีที่ซื้อและมีการมอบทรัพย์สิน
สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง
ให้กับผู้ซื้อแล้ว มีการผ่อนชาระเป็นงวด ๆ
คู่กรณีตกลงกันในสาระสาคัญของสัญญาทุกเรื่องแล้ว แม้ยังไม่ได้ของ หรือไม่ได้
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
จ่ายเงินก็ตาม
- การยืมใช้คงรูป : ยืมของไปใช้ ใช้เสร็จก็คืน ไม่เสียค่าใช้จ่าย
สัญญายืม - การยืมใช้สิ้นเปลือง : ยืมเงินมากกว่า 2,000 บาท ต้องมีหนังสือ ดอกเบี้ยไม่
เกินร้อยละ 15 ต่อปี
สัญญาค้าประกัน มีผลเมื่อลูกหนี้ไม่ชาระหนี้ ผู้ค้าประกันจะต้องชาระแทน

กฎหมายอาญา

ประเภทความผิด
1) ความผิดอาญาแผ่นดิน : ยอมความไม่ได้ รัฐสามารถดาเนินคดีได้ เช่น ฆาตกรรม ชิงทรัพย์ กบฏ
วางเพลิง ความผิดทางเพศ
2) ความผิดต่อส่วนตัว : ยอมความได้ ต้องแจ้งความถึงจะดาเนินคดีได้ เช่น ยักยอกทรัพย์
หมิ่นประมาท

37
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

3) ความผิดลหุโทษ : โทษจาคุกไม่น้อยกว่า 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท เช่น อนาจาร


ทะเลาะวิวาท
ขั้นตอนการกระทาผิดในคดีอาญา
1) คิด
ยังไม่มีความผิด
2) ตกลงใจจะทา
3) ตระเตรียม (คดีวางเพลิงและคดีกบฏ ถ้าถึงขั้นนี้ถือว่ามีความผิด)
4) พยายามกระทาความผิด รับโทษ 2 ใน 3 แม้ยังไม่สาเร็จ
5) กระทาความผิดสาเร็จ
ผู้ร่วมกระทาความผิดทางอาญา
1) ตัวการ ลงมือทาเอง
2) ผู้ใช้ ให้ผู้อื่นกระทาความผิด หากสาเร็จ รับโทษเท่าตัวการ หากไม่สาเร็จ รับโทษ 1 ใน 3
3) ผู้สนับสนุน ผู้ให้ความช่วยเหลือ หรืออานวยความสะดวกให้ก ระทาความผิด หากสาเร็จ รับโทษ
2 ใน 3
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ลักทรัพย์ คือ การขโมยทรัพย์ผู้อื่นแบบปกติ
วิ่งราวทรัพย์ คือ การขโมยแบบฉกฉวยทรัพย์ไปจากเจ้าของไปแบบซึ่งๆหน้า
ชิงทรัพย์ คือ การใช้กาลัง และ/หรืออาวุธร่วมด้วยในการกระทาผิด
ปล้นทรัพย์ คือ การขโมยทรัพย์กระทาร่วมกัน 3 คนขึ้นไป
กรรโชกทรัพย์ คือ การข่มขู่เพื่อให้ได้ทรัพย์ เช่น ขู่ว่าจะทาร้าย
รีดเอาทรัพย์ คือ การข่มขู่เพื่อให้ได้ทรัพย์โดยการเปิดเผยความลับ
ฉ้อโกงทรัพย์ คือ การล่อลวงเจ้าทรัพย์ให้หลงเชื่อ
ยักยอกทรัพย์ คือ การถ่ายเท เบียดบัง เปลี่ยนมือการถือทรัพย์ไว้เป็นของตนหรือผู้อื่น

โทษทางอาญา มี 5 สถาน
1) ประหารชีวิต ฉีดสารพิษเข้าสู่ร่างกายนักโทษ
2) จาคุก ขังที่เรือนจา
3) กักขัง กักขังในสถานที่ที่กาหนด ที่ไม่ใช่เรือนจา
4) ริบทรัพย์สิน ริบของกลางในคดี
5) ปรับ

38
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สาระที3

ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม

Religion

39
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ความรู้ทั่วไปของศาสนา
ความหมายของศาสนา

ศาสนา มาจากคาว่า ศาสนมฺ (ภาษาสันสฤต) และสาสน (ภาษาบาลี) แปลว่า คาสั่งสอนและข้อบังคับ


ที่จะนามาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจาวันของศาสนิกชน
ศาสนา เกิดจากความไม่รู้ในปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น พายุ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า น้าท่วม แผ่นดินไหว เมื่อ
มนุษย์เห็ นว่าเป็ นอันตรายต่อตนเอง จึงเกิดความกลั ว ความต้องการที่พึ่งทางใจและต้องการจะพ้นทุกข์จึง
เกิดขึ้น เพื่อบรรลุความสงบสุขของตนเอง ดังแผนภาพต่อไปนี้
ศาสนา

ต้องการความสุข
ต้องการความ นิรันดร์
ต้องการที่พึ่งทาง สงบสุขของ
ใจ ตนเอง
เกิดความกลัว

ความไม่รู้ใน
ปรากฏการณ์
ธรรมชาติ

องค์ประกอบของศาสนา
องค์ประกอบของศาสนา

1) ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้ง ศาสนา


2) คัมภีร์ คือ หลักคาสอนเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา
3) นักบวชหรือผู้ทาพิธีกรรม คือ ผู้สืบทอดและประกาศคาสอน
4) ศาสนิกชน คือ ผู้นับถือศาสนานั้น ๆ
5) ศาสนสถาน คือ สถานที่ควรเคารพบูชาและใช้ประกอบพิธีทางศาสนา
ย้า ย้า ย้า……บางศาสนาอาจมีองค์ประกอบของศาสนาไม่ครบก็ได้
40
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ความสาคัญของศาสนา

1) เป็นพื้นฐานของกฎศีลธรรมของสังคม
2) เป็นแหล่งกาเนิดจริยธรรม
3) เป็นแหล่งที่ทาให้เกิดศิลปวัฒนธรรม และประเพณี
4) เป็นกลไกของรัฐในการควบคุมสังคม
5) เป็นบรรทัดฐานของสังคมที่ใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปในแนวเดียวกัน

ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ แหล่ งกาเนิดในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาดั้งเดิมของชนเผ่ า
อารยัน มีความเชื่อเรื่องพระเจ้าหลายองค์ โดยเฉพาะตรีมูรติ (พระพรหม พระวิษณุ พระ
ศิวะ) ต่อมาวิวัฒนาการเป็นศาสนาฮินดู

มีความเชื่อเกี่ยวกับตรีมูรติ คือ พระพรหม คือ ผู้สร้าง , พระวิษณุ (พระนารายณ์)


คือ ผู้คุ้มครอง และพระอิศวร (พระศิวะ) คือ ผู้ทาลาย

พระอิศวร…….พระวิษณุ………พระพรหม

41
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

คัมภีร์พระเวท

คัมภีร์พระเวท มีอยู่ 3 คัมภีร์ ถือว่าเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ต่อมาเพิ่มอาถรรพเวทเข้าไป ได้แก่


ฤคเวท (บทสวดสรรเสริญเทพเจ้า)
ยชุรเวท (คู่มือพราหมณ์ในการทาพิธีบูชายัญ)
สามเวท (ใช้สวดขับกล่อมเทพเจ้า)
อาถรรพเวท (เป็นมนต์คาถาทางไสยศาสตร์) เพิ่มมาทีหลังนะครับ

นิกายในศาสนาฮินดู

นิกายไวษณพ (ลัทธิอวตาร) นับถือพระวิษณุ


นิกายไศวะ นับถือพระศิวะ มีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์
นิกายศากติหรือศักติ นับถือพระชายาของเทพ เช่น นับถือพระแม่อุมาหรือพระแม่กาลี เป็นชายา
ของพระศิวะ เป็นต้น

หลักอาศรม 4
หลักอาศรม 4 เป็นหลักปฏิบัติแห่งการดาเนินชีวิต
1) พรหมจารี คือ เป็นวัยศึกษาเล่าเรียน
2) คฤหัสถ์ คือ เป็นวัยครองเรือน
3) วานปรัสถ์ คือ เป็นวัยออกไปอยู่ป่า
4) สันยาสี คือ เป็นวัยสุดท้ายของชีวิต ออกบวชเป็นสันยาสี บาเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้น

พิธีกรรมที่สาคัญของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

1) พิธีศราทธ์ คือ พิธีทาบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว


2) พิธีประจาบ้าน (สังสการ) มี 12 พิธี เช่น
พิธีอุปนยัน คือ พิธีเริ่มการศึกษา ถ้าเป็นหญิงยกเว้น
พิธีวิวาหะ คือ พิธีแต่งงาน

42
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

3) ข้อปฏิ บั ติ เกี่ยวกับ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษั ตริย์ แพศย์ ศูท ร แต่ล ะวรรณะมีการดาเนิ นชีวิต ที่
ต่างกันจึงต้องปฏิบัติตามวรรณะของตน เช่น การแต่งงาน การแต่งกาย เป็นต้น
4) พิธีบูชาเทพเจ้า แต่ละวรรณะจะมีการปฏิบัติต่างกันในเทศกาลต่าง ๆ เช่น
งานศิวาราตรี (พิธีลอยบาป) งานบูชาเจ้าแม่ลักษมี (เทวีแห่งสมบัติและความงาม) เป็นต้น

ศาสนานี้ยึดถือระบบวรรณะมาก ๆ (ชนชั้นทางสังคม) ระบบวรรณะ มี 4 ชนชั้น คือ


พราหมณ์ (นักบวช) กษัตริย์ (นักปกครอง นักรบ) แพศย์ (พ่อค้า) ศูทร (กรรมาชีพ)
และจะมีคนนอกวรรณะที่เรียกว่า “จัณฑาล” อีกด้วย
ระบบนี้จะมีกฎในการปฏิบัติ เช่น ห้ามคนวรรณะต่าปรุงอาหารให้คนวรรณะสูงกว่า
ห้ามแต่งงานข้ามวรรณะ ห้ามประกอบอาชีพนอกเหนือที่กาหนดในวรรณะ

ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์กาเนิดในดินแดนปาเลสไตน์ หรืออิสราเอลในปัจจุบัน
ศาสดาคือพระเยซู ซึ่งเป็นบุตรของโยเซฟและมาเรีย เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุด
วิวัฒนาการมาจากศาสนายูดาย จึงมีพระเจ้าหรือที่เรียกว่า พระยะโฮวาห์

คัมภีร์ไบเบิล
คัมภีร์ของศาสนาคริสต์ คือ คัมภีร์ไบเบิล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1) ภาคพันธสัญญาเดิม ทั้งคริสต์และยูดายนับถือร่วมกัน มีสาระเกี่ยวกับ กาเนิดจักรวาลและสรรพสิ่ง
บัญญัติ 10 ประการ ในส่วนนี้จะประกอบด้วย บทเพลง บทสวด และสุภาษิต
2) ภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นคัมภีร์ที่มีสาระเกี่ยวกับประวัติและคาสอนของพระเยซู การเผยแผ่ศาสนา
ของสาวก จดหมายเหตุ และวิวรณ์ บั้นปลายชีวิตของมนุษยชาติ

นิกายที่สาคัญของศาสนาคริสต์
1)พิธีกนิรรมที ่สาคั
กายโรมั ญของศาสนา
นคาทอลิ ก เป็นนิกายที่นับถือและปฏิบัติตามคาสอนของพระเยซู มีพิธีกรรมที่เคร่งครัด
มีสพราหมณ์
ั น ตะปาปาเป็- นฮินผู้นดูาศาสนาสู งสุด ประทับอยู่ที่นครรัฐ วาติกัน ประเทศที่นับถือ ได้แก่ ฝรั่งเศส
อิตาลี เยอรมนี สเปน โปรตุเกส ฟิลิปปินส์ ผู้ที่นับถือเรียกตนเองว่า คริสตัง

43
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

2) นิกายออร์โธดอกซ์ เป็นนิกายที่แยกจากนิกายโรมันคาทอลิก ด้วยเหตุผลทางการเมืองและวัฒนธรรม


ประเทศที่นับถือ ได้แก่ กรีซ โรมาเนีย บัลแกเรีย สหภาพโซเวียด และประเทศในยุโรปตะวันออก
3) นิกายโปรแตสแตนต์ เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายโรมันคาทอลิก ผู้ก่อตั้งคือ มาติน ลูเธอร์ ปฏิเสธ
อานาจของสันตะปาปา

หลักคาสอนของศาสนาคริสต์

หลักคาสอน เรื่องตรีเอกานุภาพ คือ การนับถือพระเจ้าองค์เดียว แบ่งเป็น 3 ภาค คือ


 พระบิดา หมายถึง พระเจ้า
 พระบุตร หมายถึง พระเยซู
 พระจิต หมายถึง วิญญาณบริสุทธิ์ในจิตใจของชาวคริสต์ที่มีศรัทธา
หลักคาสอนเรื่องความรัก ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งความรัก
สอนให้รักพระเจ้า รักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง

พิธีกรรมสาคัญของศาสนาคริสต์
พิธีกรรมที่สาคัของคริสต์ศาสนา
พิธีศีลล้างบาป กระทาแก่ทารกเมื่อเริ่มเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน โดยใช้น้าศักดิ์สิทธิ์เทลงบนศีรษะ
ล้างบาป
พิธีศีลกาลัง เป็นการยืนยันว่าตนยอมรับนับถือศาสนาคริสต์จริง
พิ ธี ศี ล มหาสนิ ท เป็ น การรั บ ประทานขนมปั งและดื่ ม เหล้ าองุ่น เพื่ อระลึ กถึ งเพราะเจ้าที่ ท รงสละ
พระวรกาย เพื่อมนุษย์จะได้หลุดพ้นจากบาป
พิธีศีลสมรส กระทาแก่คู่บ่าวสาวก่อนการจดทะเบียนสมรส
พิธีสารภาพบาป ต้องไปกระทาต่อหน้าบาทหลวงเพื่อสารภาพบาป
พิธีเจิมครั้งสุดท้าย กระทาแก่ผู้ป่วย
พิธีเข้าบวช เป็นการบวชบุคคลเป็นบาทหลวงในคริสต์ศาสนา

44
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ศาสนาอิสลาม
คาว่า อิสลาม แปลว่า สันติ ยินยอม นอบน้อม จึงหมายถึงการนอบน้อมต่อพระเจ้า
(พระอัลลอฮ์) ซึ่งเป็น พระเจ้าองค์เดียวของศาสนานี้ เกิดที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
ศาสดา คือ ท่านนบีมูฮัมหมัด การเริ่มศักราชของศาสนาอิสลามเริ่มเมื่อปีที่มูฮัมหมัดหนีไป จาก
เมกกะไปเมืองเมดิห์นะ (ค.ศ.622) เป็นการเริ่มต้นเรียกว่า “ฮิจเราะห์ศักราช” ศาสนาอิสลาม
แตกแยกเป็นนิกายต่างๆ ภายหลังพระศาสดาถึงแก่กรรม มีสาเหตุมาจากความแตกแยกแนวความคิดเห็นทาง
การเมืองเป็นสาคัญ โดยเฉพาะตาแหน่ง ที่เรียกว่า “กาหลิบ” ซึ่งมีฐานะเป็นทั้งประมุขศาสนาและการปกครอง

นิกายที่สาคัญของศาสนาอิสลาม
นิกายซุน นี จะปฏิบัติเคร่งครัดในคัมภีร์อัลกุรอานและคาสอนของศาสดาที่สุด ใช้ห มวกสีขาวเป็น
เครื่องหมาย
นิกายชีอะห์ ยกย่องอาลี ใช้หมวกสีแดงเป็นเครื่องหมาย
หลักคาสอนของศาสนาอิสลาม
หลักศรัทธา 6 ประการ
- ศรัทธาในพระอัลเลาะห์เพียงองค์เดียว
- ศรัทธาในบรรดามลาอีกะห์ คือ เทวทูต
- ศรัทธาในพระคัมภีร์
- ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต
- ศรัทธาในวันพิพากษา
- ศรัทธาในกฎกาหนดสภาวการณ์
หลักปฏิบัติ 5 ประการ
- การปฏิญาณตน ยอมรับว่าพระอัลเลาะห์เป็นพระเจ้าองค์เดียว
- การละหมาด หรือ นมาซ วันละ 5 ครั้ง
- การถือศีลอด หรือ อัศศิยาม หมายถึง การละหรืองดเว้นบริโภคอาหาร
- การบริจาคซะกาต หมายถึง การบริจาคทานหรือบริจาคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความสุจริตแก่ผู้ที่ควรรับ
- การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ วิหารกะบะห์ ที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

45
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ศาสนาที่ได้ยกมานั้น เป็น “ศาสนาสากล” นะครับ ซึ่งในประเทศไทยก็มีคนนับถือ


ศาสนาเหล่านี้พอสมควร แต่ศาสนาที่พี่น้องชาวไทยนับถือกันมากที่สุด ก็คือ
“พระพุทธศาสนา” นั่นเอง เราไปทาความรูจ้ ักกันเถอะครับ

พระพุทธศาสนา
ประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนา มีต้นกาเนิดในดินแดนที่เรียกว่า “ชมพูทวีป” (ดินแดนที่มีต้นหว้ามากมาย พอตกลง


พืน้ จึงทาให้ดินแดนเหล่านั้นกลายเป็นสีชมพู จึงเรียกชมพูทวีป)
ชมพูทวีป = ดินแดนของประเทศ อินเดีย + ปากีสถาน + เนปาล + อัฟกานิสถาน + บังกลาเทศ
ดินแดนชมพูทวีปมีประชากร 2 กลุ่มใหญ่ คือ
 มิลักขะ (ชาวดราวิเดียน) เป็นชนพื้นเมือง อยู่มาก่อน มีผิวกายสีดา
 อริยกะ (ชาวอารยัน) อพยพมาทีหลัง มีผิวกายสีขาว  มีความเชื่อเรื่องระบบวรรณะ
พระพุทธศาสนาเกิดมาท่ามกลางศาสนาพราหมณ์ ที่ถือระบบวรรณะอย่างเคร่งครัด ได้แก่
 วรรณะกษัตริย์ เกิดจากแขนของพระพรหม สีประจาวรรณะ สีแดง
 วรรณะพราหมณ์ เกิดจากปากของพระพรหม สีประจาวรรณะ สีขาว
 วรรณะแพศย์ เกิดจากสะโพกของพระพรหม สีประจาวรรณะ สีเหลือง
 วรรณะศูทร เกิดจากเท้าของพระพรหม สีประจาวรรณะ สีดา
ถ้า มีการแต่งงานกันข้ามวรรณะ ลูกที่เกิดมาจะมีสถานะที่ต่าช้ามาก เรียกว่า “จัณฑาล”

องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา

ศาสดา พระพุทธเจ้า (พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า)


นักบวช พระภิกษุ (ทรงศีล 227 ข้อ) ภิกษุณี (ทรงศีล 318 ข้อ) สามเณร (ทรงศีล 10 ข้อ)

46
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สัญลักษณ์ ตราธรรมจักร (กงล้อแห่งธรรม มีกง 8 กง เปรียบเสมือน หลักธรรม


อริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายอันสูงสุด)
คัมภีร์ พระไตรปิฎก ประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
จุดมุ่งหมาย พระนิพพาน (ความเป็นอนัตตา คือ ไม่มีตัวตน)
พิธีกรรม ศาสนพิธี (กุศลพิธี บุญพิธี ทานพิธี ปกิณกพิธี)
คาสอน คาสอนอันหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาฏิโมกข์ หรือ โอวาท 3
เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสามารถสรุปรวมในพระรัตนตรัย คือ แก้วอันประเสริฐ 3 ดวง เป็น
สิ่งเคารพบูชาอันสูงสุดของชาวพุทธ ได้แก่

 พระพุทธเจ้า ศาสดาของพระพุทธศาสนา
 พระธรรม หลักคาสอนของพระพุทธศาสนา
 พระสงฆ์ สาวกหรือนักบวชของพระพุทธศาสนา

ทาความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
 ก่อนตรัสรู้ เรียก พระโพธิสัตว์
 หลังตรัสรู้ เรียก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง)
 พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันมีพระนามว่า พระโคดมพุทธเจ้า

พระพุทธประวัติ

พุทธประวัติ  ประวัติของพระพุทธเจ้า : ศาสดาของพระพุทธศาสนา


เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติเมื่อ วันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี  วันวิสาขบูชา
พระบิดาคือ พระเจ้าสุทโธทนะ (ศากยวงศ์) พระมารดา คือ พระนางสิริมหามายา (โกลิยวงศ์)
เจ้าชายทรงประสูติพร้อมกับสหชาติทั้ง 7 (เกิดวันและเวลาเดียวกัน) ได้แก่ เจ้าหญิงพิมพา เจ้าชาย
อานนท์ นายฉันนะ อามาตย์กาฬุทายี ต้นศรีมหาโพธิ์ (อัสสัตถะ) ม้ากัณฑกะ และขุมทรัพย์ทั้งสี่
เจ้าชายสิทธัตถะได้ศึกษากับครูคนแรกของพระองค์ คือ ครูวิศวามิตร
เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงพิมพา เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา และมีพระโอรสพระ
นามว่า ราหุล

47
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ทรงตัดสินพระทัยออกผนวช (มหาภิเนษกรมณ์) เมื่อพระชนมายุได้ 29 พรรษา เพราะเห็นเทวทูต


ทั้ง 4 (แก่ เจ็บ ตาย สมณะ) ทาให้พระองค์มีความปรารถนาที่จะช่วยให้สัตว์โลกทั้งปวงได้พ้นจาก
ความทุกข์
จากนั้ น ทรงไปร่ าเรีย นในส านั กของอาฬารดาบส และอุทกดาบส แต่ทรงเห็ นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุ กข์
จึงหลีกไปปฏิบัติเพียงลาพัง
บาเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลายาวนานถึง 6 ปี (พระชนมายุ 29 – 35 พรรษา) ในขณะ
ทรงบาเพ็ญทุกรกิริยา มีผู้ปรนนิบัติ คือ ปัญจวัคคีย์  โกณฑัญญะ (หัวหน้า) วัปปะ ภัททิยะ
มหานามะ อัสสชิ
ตรั ส รู้ เป็ น พระสัม มาสัม พุ ท ธเจ้ า เมื่อ พระชนมายุได้ 35 พรรษา เมื่ อวัน เพ็ ญ เดือ น 6 ใต้ต้ น โพธิ์
(ต้นอัสสัตถะ)  วันวิสาขบูชา
เกิดพระสงฆ์รูปแรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ทาให้พระรัตนตรัยครบสาม  วันอาสาฬหบูชา
วันเพ็ญเดือน 8
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนสัตว์โลกยาวนานถึง 45 ปี
วาระสุดท้ายก่อนเสด็จดับ ขันธปรินิพพานทรงแสดง ปัจฉิมโอวาท อันเป็นหลักธรรมที่สรุปรวบยอด
หลั ก ธรรมทั้ ง หมดของพระพุ ท ธศาสนา คื อ ความไม่ ป ระมาท (อั ป ปมาเทน) *หลั ก ธรรมที่
เปรียบเสมือนรอยเท้าช้าง (ครอบคลุมทุกหลักธรรม)
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ ดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา เมื่อวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่า
เดือน 6 ณ สาลวโนทยาน กรุงกุสินารา  วันวิสาขบูชา
หลังจากพุทธปรินิพพานไปแล้ว 7 วัน วันที่ 8 ได้ถวายเพลิงพุทธสรีระโดยมีประธานคือ พระมหากัสส
ปะ  วันอัฏฐมีบูชา วันแรม 8 ค่า เดือน 6

พุทธจริยาของพระพุทธเจ้า (การปฏิบัติกิจวัตรของพระพุทธเจ้าเพื่อประโยชน์ต่อชาวโลก)
โลกัตถจริยา การบาเพ็ญประโยชน์ต่อโลก ชี้นาการดับทุกข์ให้มวลมนุษย์
ญาตัตถจริยา การช่วยเหลือพระญาติของพระองค์ทั้งทางโลกและทางธรรม
พุทธัตถะจริยา การทาหน้าที่ของพระพุทธเจ้าตลอดพระชนม์ชีพเพื่อให้สัตว์โลกทั้งปวงได้พ้นทุกข์
พระคุณของพระพุทธเจ้า
พระปัญญาคุณ ทรงมีสติปัญญาในการแสวงหาทางพ้นทุกข์จนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระวิสุทธิคุณ ทรงมีจิตใจอันบริสุทธิ์

48
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

พระกรุณาธิคุณ ทรงมีความกรุณาต่อสัตว์โลก ต้องการช่วยให้สัตว์โลกทั้งปวงพ้นทุกข์

พระธรรม

พระธรรม คือ หลักคาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวบรวมเป็นหมวดหมู่ในพระไตรปิฎก จานวน


84,000 พระธรรมขันธ์
พระไตรปิฎก (คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา) แบ่งออกเป็น 3 หมวด
พระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องศีลของภิกษุ ภิกษุณี
พระสุ ต ตัน ตปิ ฎ ก ว่าด้ ว ยค าเทศนาสั่ งสอนของพระพุ ท ธเจ้ าที่ บั น ทึ ก ไว้อ ย่างละเอี ยด มี เวลา วั น
สถานที่ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมขั้นสูง
การจาแนกหลักธรรมของพระพุทธศาสนา จาแนกตามหลักธรรม อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ (ธรรมที่ควร
รู้) สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) มรรค (ธรรมที่ควรเจริญหรือปฏิบัติ)

เพื่อการศึกษาหลักธรรมให้ง่ายขึ้น พี่ขอแบ่งหมวดตามอริยสัจ 4 นะครับ

ทุ ก ข์ (ธรรมที่ ค วรรู้) คือ ความไม่ ส บายกาย ไม่ ส บายใจเป็ น สภาวะที่ ท นได้ ย าก ทุ กข์นั้ น ได้ รับ Effect
จากสมุทัยมันจึงเกิดเป็นทุกข์ได้ หลักธรรมในหมวดทุกข์ ได้แก่

ขันธ์ห้า เป็นองค์ประกอบของมนุษย์ทุกคน 5 อย่าง คือ


หรือ รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย จับต้องได้
เบญจขันธ์ เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากการรับรู้ (สุข ทุกข์ เฉยๆ)
สัญญา คือ จาได้ว่าอะไรเป็นอะไร เช่น เห็นดอกไม้สีแดง มีกลิ่นหอม ก็จาได้ว่าเป็น

49
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ดอกกุหลาบ
สังขาร คือ สิ่งที่มาปรุงแต่งจิต(บงการให้เราทาสิ่งต่างๆ ในทางที่ดีและไม่ดี)
No No No สังขาร  ร่างกาย นะครับ
วิญญาณ คือ การรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
โลกธรรม 8 เป็นสิ่งธรรมดาที่เกิดบนโลก ที่มนุษย์ทุกคนต้องพบเจอ มี 8 ประการ
สิ่งที่น่าพอใจ (อิฏฐารมณ์) สิ่งที่ไม่น่าพอใจ (อนิฏฐารมณ์)
ได้ลาภ เสื่อมลาภ
ได้ยศ เสื่อมยศ
สรรเสริญ นินทา
มีความสุข มีความทุกข์
จิต เจตสิก จิต (การรับรู้ผ่านอายตนะ) และเจตสิก(อาการที่ได้รับ Effect จากจิต)

สมุทัย(ธรรมควรละ) เป็นสาเหตุ(Cause) ที่ทาให้เกิดทุกข์ หลักธรรมของสมุทัย ได้แก่

นิยาม 5 เป็นกฎที่มีอยู่ในธรรมชาติของเราอยู่แล้ว ได้แก่


อุตุนิยามเกี่ยวกับสภาพลมฟ้าอากาศ
พีชนิยามเกี่ยวกับการสืบพันธุ์
จิตตนิยามเกี่ยวกับเรื่องจิตใจ
กรรมนิยามเกี่ยวกับการกระทาและผลจากการกระทา
ธรรมนิยามเกี่ยวกับเรื่องของธรรมชาติ ความเป็นไปของทุกสิ่งทุกอย่างในโลก
วิทยาศาสตร์ เน้นศึกษา อุตุนิยาม พีชนิยามและจิตตนิยาม
พระพุทธศาสนา เน้นศึกษา จิตตนิยาม กรรมนิยามและธรรมนิยาม
ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมแบบเดียวกับ อิทัปปัจจยตาหรือปัจจายการ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน อาศัยกันและ
กัน มีความสัมพันธ์กันแบบเป็นเหตุเป็นผล (สอดคล้องกับหลักการของวิทยาศาสตร์)
นิวรณ์ 5 สิ่งที่มาปิดกั้น (กัน Seen) จิตใจไม่ให้มีการพัฒนาเพื่อยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น มี
5 ประการ
กามฉันทะ  พอใจหรือความอยากได้อยากมีในกามคุณ (กาม แปลว่า ความ
อยากได้อยากมี ไม่ได้หมายถึงความต้องการ………อย่างเดียวนะครับ)
พยาบาท  ความอาฆาตมาดร้ายต่อผู้อื่น
ถีนมิทธะ  ความเซื่องซึม หมดอาลัยตายอยาก

50
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

อุจธัจจกุกกุจจะ  ความคิดฟุ้งซ่าน ระหวาดระแวง


วิกิจกิจฉา  ความลังเล สงสัย ไมมั่นใจ
มิจฉาวณิชชา 5 การค้าขายต้องห้าม ทาแล้วเป็นบาปอกุศล
สัตถวนิชชา ค้าอาวุธ
สัตตวนิชชา ค้ามนุษย์
มังสวนิชชาค้าเนื้อ
มัชชวนิชชาค้าของมึนเมา
วิสวนิชชา  ค้ายาพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง ยาบ้า
อุปาทาน 4 สิ่งที่ยึดมั่นหรือผูกติดให้มนุษย์อยู่ในอานาจของกิเลส (เหมือนกาว) ไม่สามารถจะสละกิเลส
ออกจากใจของมนุษย์ได้
กามุปาทาน  ยึดมั่นในกาม
ทิฏุฐุปาทาน ยึดมั่นในความเห็นของตนหรือในหลักทฤษฎี
สีลัพพตุปปทาน  ยึดมั่นในแบบแผน ในกฎระเบียบที่ผิดๆ
อัตตวาทุปทาน  ยึดมั่นในตนเอง
ปปัญจธรรม 3 ธรรมที่เป็นตัวหน่วง เป็นอุปสรรคต่อการละกิเลสของมนุษย์หรือเป็นเครื่องขวางกั้นการทา
ความดีของมนุษย์
ตัณหา  ความหมกมุ่นในกิเลสตัณหา ความเห็นแก่ได้
มานะ  ความถือตัว
ทิฏฐิ  ความยึดติดกับสิ่งไม่ดี

นิโรธ(ธรรมที่ควรบรรลุ) คือ สภาวะที่ไม่มีทุกข์ เพราะทุกข์นั้นได้ดับไปแล้ว

ภาวนา 4 การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ให้มีเจริญงอกงามและมีความสมบูรณ์
กายภาวนา  พัฒนาร่างกายให้มีสุขภาพดี
ศีลภาวนา  พัฒนาความประพฤติให้ดี(บุคลิกภาพดี)
จิตตภาวนา  พัฒนาคุณภาพของจิตใจให้เข้มแข็ง มีสุขภาพจิตดี
ปัญญาภาวนา  พัฒนาสติปัญญา ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
วิมุตติ 5 สภาวะของการหลุดพ้นจากกิเลส ไม่มีกิเลสอยู่ในจิตใจ พ้นจากทุกข์ทั้งมวล
วิกขัมภนวิมุตติ  หลุดพ้นชั่วคราว
ตทังควิมุตติ  หลุดพ้นด้วยธรรมตรงกันข้าม
51
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สมุจเฉทวิมุตติ  หลุดพ้นโดยเด็ดขาด
ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ  หลุดพ้นด้วยความสงบ
นิสสรณวิมุตติ  หลุดพ้นด้วยสละออก
นิพพาน ภาวะที่ไม่มีกิเลสในจิตใจ จิตปราศจากทุกสิ่งอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความทุกข์ ความ
เป็นกลาง เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

มรรค(ธรรมที่ควรเจริญหรือควรปฏิบัติ) คือ ข้อปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์หรือทาให้ทุกข์หมดสิ้นไป เป็น


ทางแห่งการพ้นทุกข์ (มรรค แปลว่า ทาง) เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ 8 โดยเน้นการปฏิบัติทางสาย
กลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ทางปฏิบัติมี 3 สาย ได้แก่
 กามสุขัลลิกานุโยค คือ การหมกมุ่นอยู่กับกามารมณ์
 มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป อันนี้จะเท่ากับ อริยมรรค 8
 อัตตกิลมถานุโยค คือ การทาตนให้ลาบาก การทรมานตนเอง

สัทธรรม 3 ธรรมที่จริงแท้แน่นอน เป็นของดี เป็นโครงหลักของพระพุทธศาสนา


ปริยัติ  การศึกษาทางทฤษฎี ความรู้ต่างๆ
ปฏิบัติ  การปฏิบัติตามคาสอนหรือทฤษฎีที่ได้ศึกษา
ปฏิเวธ  ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติตามหลักที่ได้ศึกษามา เป็นการบรรลุจุดมุ่งหมาย
วุฒิธรรม 4 ธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญแก่ผู้ปฏิบัติ
สัปปุริสสังเสวะ  การคบหาเพื่อนที่ดี มีคุณธรรม
สัทธัมมัสสวนะ  การตั้งใจศึกษาหลักธรรมคาสอนด้วยความตั้งใจ
โยนิโสมนสิการ  การคิดเป็น สามารถคิดหาเหตุผลโดยอาศัยการพิจารณาอย่าง
แยบคาย
ธัมมานุธัมมปฏิบัติ  การปฏิบัติตามหลักธรรมคาสอนอย่างถูกต้อง
พละ 5 ธรรมอันเป็นกาลังสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงในชีวิต
ศรัทธา  ความเชื่อที่เกิดโดยการใช้ปัญญา ไม่เชื่อเพราะงมงาย
วิริยะ  ความเพียรพยายามในการทาความดี
สติ  ความระลึกได้ก่อนที่จะกระทาการใดๆ หรือความระมัดระวังขณะทาการใด ๆ
อยู่
ปัญญา  ความรอบรู้ที่เกิดจากการฟัง การคิดและการปฏิบัติ

52
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สมาธิ  ความตั้งมั่นของจิต การมีจิตที่สงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน


อุบาสกธรรม 3 หลักธรรมประจาใจที่ชาวพุทธควรปฏิบัติ
มีศรัทธา
รักษาศีล
เชื่อกฎหางกรรม
อธิปไตย 3 หลักความเป็นใหญ่ 3 ประการ ได้แก่
อัตตาธิปไตย  การถือตนเองเป็นใหญ่ ไม่พิจารณาถึงความถูกผิด
โลกาธิปไตย  การถือโลกหรือคนส่วนใหญ่เป็นหลัก ไม่พิจารณาถึงความถูกผิด
ธรรมาธิปไตย  การถือธรรมหรือหลักคุณธรรมความดีงามเป็นใหญ่
อธิษฐานธรรม ธรรมที่ควรตั้งมั่นไว้ในใจเพื่อเป็นแรงผลักดันให้บรรลุผลสาเร็จ
4 ปัญญา  ความรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
สัจจะ  ความจริงใจ การถือความสัตย์จริง
จาคะ  ความเสียสละ เพื่อขจัดความโลภ
อุปสมะ  ความสงบ ระงับความวุ่นวายจากกิเลสตัณหา
สาราณียธรรม ธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของหมู่คณะ เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคีซึ่งกันและกัน
6 เมตตากายกรรม  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
เมตตาวจีกรรม  พูดด้วยวาจาและน้าเสียงที่ดีและจริงใจต่อกัน
เมตตามโนกรรม  ความคิดดีต่อกัน ไม่พยาบาท อาฆาตมาดร้ายต่อกัน
สาธารณโภคี  การแบ่งปันสิ่งของต่อกัน
สีลสามัญญตา  รักษากฎเกณฑ์ ระเบียบวินัยที่กาหนดไว้ร่วมกัน
ทิฏฐิสามัญญตา  ทาความเห็นให้ตรงกัน เข้าใจซึ่งกันและกัน เคารพการตัดสินใจ
ซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีและลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น
อปริหานิยธรรม มีต้นกาเนิดจากการแตกความสามัคคีกันของกษัตริย์แคว้นวัชชี
7 อปริหานิยธรรม หมายถึง ธรรมป้องกันการนาไปสู่ความเสื่อม เป็นธรรมที่ส่งเสริมให้เกิด
ความสามัคคีกันในหมู่คณะ มี 7 ประการ ได้แก่
หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุม
ไม่บัญญัติในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติ
เคารพผู้ที่อาวุโสกว่า
ไม่ตกอยู่ในอานาจของกิเลสตัณหา

53
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย
มีความปรารถนาดีต่อกัน
ปาปนิกธรรม 3 ธรรมอันเป็นคุณสมบัติที่ดีของพ่อค้าแม่ค้า หลักการตลาดที่ทาให้การค้าประสบความสาเร็จ
จักขุมา (ตาดี)  รู้จุกสินค้า คุณลักษณะของสินค้าเป็นอย่างดี
วิธูโร (ชานาญการค้า)  มีความชานาญในการค้า รู้แหล่งผลิตสินค้า แหล่งขาย
สินค้า ลักษณะของสินค้าที่ดี
นิสสยสัมปันโน (มีทุน)  มีทุนในการลงทุนเพื่อกรค้า มีเงินหมุนเวียนดี
อริยวัฑฒิ 5 หลักปฏิบัติเพื่อนาไปสู่ความเป็นอารยชน มีเจริญงอกงามในชีวิต
ศรัทธา  ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่เชื่ออย่างงมงาย
ศีล  มีความประพฤติทางกายและวาจาเรียบร้อย มีความสุภาพ
สุตะ  การศึกษาหาความรู้ด้วยการฟัง
จาคะ  เสียสละทั้งการกระทาและสิ่งของ แบ่งปันของให้ผู้อื่น
ปัญญา  ความรอบรู้อย่างกว้างขวางทั้งทางโลกและทางธรรม
มรรคมีองค์ 8 ธรรมอันเป็นทางอันประเสริฐ เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่นาไปสู่การหลุดพ้น
จากทุกข์ทั้งปวง มีแปดประการ
สัมมาทิฏฐิ  ความเห็นชอบ มีความเห็นถูกต้องเหมาะสม
ปัญญา
สัมมาสังกัปปะ  ดาริชอบ

สัมมาวาจา  พูดจาชอบ พูดจาสุภาพ


สัมมากัมมันตะ  กระทาชอบ กระทาแต่ความดีงาม ศีล
สัมมาอาชีวะ  เลี้ยงชีพชอบ ประกอบอาชีพสุจริต

สัมมาวายามะ  พยายามชอบ เพียรละชั่วทาดี


สัมมาสติ  ระลึกชอบ ดารงชีวิตด้วยความไม่ประมาท สมาธิ
สัมมาสมาธิ  จิตตั้งมั่นชอบ มีความแน่วแน่ไม่หวั่นไหว

เทคนิคการจา : ทิฏ  สัง  วา  กัม  อา  วา  สติ  สมาธิ


ทิฏฐธัมมิกัตถ ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน
ประโยชน์ หัวใจเศรษฐี  (อุ อา กะ สะ) มี 4 ประการ ได้แก่
อุฏฐานสัมปทา  ความขยันหมั่นเพียร
54
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

อารักขสัมปทาน  ประหยัด พอเพียง เก็บรักษาของที่หามาได้


กัลยาณมิตร  คบบัณฑิต คนดีมีคุณธรรมจริยธรรม
สมชีวิตา  มีเป็นอยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย
สัมปรายิกัตถะ ธรรมเพื่อประโยชน์ในภายภาคหน้า เป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความเจริญงอกงาม
ประโยชน์ สัทธาสัมปทา  มีความศรัทธาโดยใช้ปัญญาและเหตุผลในการพิจารณา
สีลสัมปทา  มีความถึงพร้อมด้วยศีล การรักษากาน วาจา ใจให้บริสุทธิ์
จาคสัมปทา  มึความเสียสละอย่างสูงยิ่ง
ปัญญาสัมปทา  มีความรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
สัปปุริสธรรม 7 ธรรมอันเป็นคุณสมบัติของคนดีหรือสัตบุรุษ มี 7 ประการ ได้แก่
ธัมมัญญุตา  รู้เหตุ
อัตถัญญุตา  รู้ผล
อัตตัญญุตา  รู้ตนเอง
เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มัตตัญญุตา  รู้ประมาณ
กาลัญญุตา  รู้กาลเวลา
ปริสัญญุตา  รู้ชุมชน
ปุคคลัญญุตา  รู้บุคคล
ทศพิธราชธรรม หลักธรรมของพระราชา 10 ประการได้แก่
10 ทาน  การให้ทรัพย์สิน ความเมตตา กรุณา
ศีล  การสารวมกาย วาจา
ปริจจาคะ  การบริจาค การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อส่วนรวม
อาชชวะ  ความซื่อสัตย์สุจริต
มัททวะ  ความนอบน้อม อ่อนโยน
ตบะ  มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีความมั่นคง ไม่หวั่นไหว
อักโกธะ  ความไม่โกรธ มีจิตใจที่หนักแน่น
อวิหิงสา  การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ขันติ  ความอดทน อดกลั้น
อวิโรธนะ  มีความยุติธรรม ยึดถือในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม
สังคหวัตถุ 4 ธรรมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อื่นด้วยการสงเคราะห์ประโยชน์ต่อกัน
ทาน  การให้ทั้งด้านสิ่งของ การปฏิบัติ ความรู้

55
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ปิยวาจา  มีวาจาสุภาพ นุ่มนวล


อัตถจริยา  กระทาตนให้เป็นประโยชน์
สมานัตตา  มีความเสมอต้นเสมอปลาย
อิทธิบาท 4 ธรรมที่เป็นเครื่องนาพาให้ประสบความสาเร็จ มี 4 ประการ ได้แก่
ฉันทะ  ความพึงพอใจที่จะปฏิบัติงาน
วิริยะ  ความเพียรพยายามในการปฏิบัติงาน
จิตตะ  ความมุ่งมั่น ตั้งใจปฏิบัติงาน
วิมังสา  การไตร่ตรอง ตรวจสอบงานที่ได้ปฏิบัติ
พรหมวิหาร 4 ธรรมที่ทาให้เกิดประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ มี 4 ประการ ได้แก่
เมตตา  ความรักใคร่ ความปรารถนาดี มีจิตมิตรไมตรี
กรุณา  ความสงสาร การคิดช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา  มีความยินดีเมื่อผู้อื่นประสบความสาเร็จหรือมีความสุข
อุเบกขา  การวางใจเป็นกลาง การวางเฉย
ศรัทธา 4 ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ประกอบด้วย 4 ประการ คือ
กัมมสัทธา  เชื่อเรื่องกรรม เชื่อในกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีจริง
วิปากสัทธา  เชื่อในผลของการกระทา ชื่อว่าผลของกรรมมีจริง
กัมมัสสกตาสัทธา  เชื่อว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน (กรรมใครกรรมมัน)
ตถาคตโพธิสัทธา  เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้โดยชอบได้ด้วยพระองค์เอง เชื่อมั่นใน
หลักคาสอนและหลักการปฏิบัติของพระพุทธเจ้า
โอวาทปาฏิ ธรรมอันเป็นหัวใจหลักของพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเนื่องในวัน
โมกข์ จาตุรงคสันนิบาต วันมาฆบูชา มี 3 ประการ ได้แก่
การไม่ทาความชั่วทั้งปวง  ศีล
การทาความดีให้ถึงพร้อม  สมาธิ
การทาจิตใจให้บริสุทธิ์  ปัญญา
ไตรลักษณ์ ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งหลาย มี 3 ประการ ได้แก่
อนิจจัง  ความไม่เที่ยง
ทุกขัง  สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก
อนัตตา  สภาพไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง
สติปัฏฐาน 4 ฐานอันเป็นที่ตั้งของการกาหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง มี 4 ประการ ได้แก่

56
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

กายานุปัสสนา  การตั้งสติพิจารณากาย
เวทนานุปัสสนา  การตั้งสติพิจารณาความรู้สึก
จิตตานุปัสสนา  การตั้งสติพิจารณาสภาพของจิตใจ
ธัมมานุปัสสนา  การตั้งสติพิจารณาสภาวธรรม สภาพความเป็นไปของธรรม
บัวสี่เหล่า อุคฆติตัญญู  บัวเหนือน้า  ผู้มีปัญญามาก
วิปจิตัญญู  บัวเสมอน้า  ผู้มีปัญญาปานกลาง
เนยยะ  บัวกลางน้า  ผู้พอที่จะแนะนาได้
ปทปรมะ  บัวโคลนตม  ผู้มีปัญญาทึบ โง่

พระสงฆ์

พระสงฆ์ คือ สาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักคาสอนของพระพุทธเจ้า


พุทธบริษัท 4 ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ภิกษุ ถือศีลทั้งหมด 227 ข้อ
ภิกษุณี ถือศีลทั้งหมด 311 ข้อ

พุทธศาสนสุภาษิตที่น่าจดจา
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ย เว เสวติ ตาทิโส : คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น  HOT
อตฺตนา โจทนตฺตาน : จงเตือนตน ด้วยตนเอง
นิสมฺม กรณ เสยฺโย : ใคร่ครวญก่อนทาจึงดี
ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา : เรือนนั้นครองไม่ดีย่อมนาทุกข์มาให้
กลฺยาณการี กลฺยาณ ปาปการี จ ปาปก : ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว  HOT
ปูชโก ลภเต ปูช วนฺทโก ปฏิวนฺทน : ผู้ บูชาเขาย่อมได้รับการบูชาตอบ ผู้ไหว้เขาย่อมได้รับการไหว้
ตอบ
คาว่า HOT ถึงข้อสอบมักเอาไป
สุโข ปุญญสฺส อุจจโย : การสั่งสมบุญนาสุขมาให้
ออกบ่อย แต่อย่าลืมเอาไปปฏิบัติใช้
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก : สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
ด้วยนะน้อง ๆ
อตฺตา หเว ชิต เสยฺโย : ชนะตนนั่นแลดีกว่า

57
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ธมฺมจารี สุข เสติ : ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข  HOT


ปมาโท มจฺจุโร ปท : ความประมาทเป็นหนทางสู่ความตาย  HOT
สุสฺสูส ลภเต ปญฺญ : ผู้ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา  สุตมยปัญญา
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
จิตฺต ทนฺต สุขาวห : จิตที่ฝึกดีแล้วนาสุขมาให้
น อุจฺจาวจ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ : บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นๆ ลงๆ
นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต : คนที่ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก  HOT
โกธ ฆตฺตวา สุข เสติ : ฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข
ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺ ฐาตา วินฺทเต ธน : คนขยันเอาการเอางาน กระทาเหมาะสม ย่อมหาทรัพย์ได้
 HOT
วายเมเถว ปุริโสยาว อตฺถสฺส บิปฺปทา : เกิดเป็นคนควรพยายามจนกว่าจะประสบความสาเร็จ 
HOT
สนฺตุฏฺฐี ปรม ธน : ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง  HOT
อิณาทาน ทุกข โลเก : การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก  HOT
ราชา มุข มนุสฺสาน : พระราชาเป็นประมุขของปวงชน
สติ โลกสฺสิ ชาคโร : สติเป็นเครื่องตื่นในโลก
นตฺถิ สนฺติปร สุข : สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี  HOT
นิพฺพาน ปรม สุข : นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

พุทธสาวก พุทธสาวิกาและชาวพุทธตัวอย่าง

พระอัสสชิ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ทั้ง 5
เป็นผู้ทที่ าให้พระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน
พระสารีบุตร ตาแหน่งอัครสาวกเบื้องซ้าย ได้รับขนานนามว่า พระธรรมเสนาบดี
เอตทัคคะด้านมีปัญญามาก
มีความกตัญญูกตเวทีสูง
พระโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย
เอตทัคคะด้านมีฤทธิ์
พระอนุรุทธะ เอตทัคคะด้านทิพยจักขุ (ตาทิพย์)
58
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ไม่รู้จักและไม่เคยได้ยินคาว่า “ไม่ม”ี
พระอานนท์ เป็นพุทธอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า
บรรลุพระอรหันต์หลังจากพุทธปรินิพพาน
บรรลุพระอรหันต์ในอิริยาบถทั้ง 3 คือ ศีรษะกาลังจรดพื้น หลังกาลังแตะพื้น
และเท้ากาลังแตะพื้น
ผู้ทรงจาพุทธวจนะและเป็นพหูสูต
เอตทัคคะด้านเป็นพหูสูต มีคติ มีธิติ มีสติ
พระองคุลีมาล เป็นผู้ให้กาเนิดบทสวดมนตร์คาถาคลอดลูกง่าย
ได้ชื่อว่า ต้นคดปลายตรง หรือ มือมา สว่างไป
พระธัมมทินนาเถรี เอตทัคคะด้านธรรมกถึก (การแสดงธรรม)
พระกีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะด้านทรงจีวรเศร้าหมอง
ก่อนออกบวชเป็นภิกษุณี พระพุท ธเจ้าทรงสอนเรื่องธรรมดาของความตาย โดย
ให้ไปหาเมล็ดผักกาดในบ้านที่ไม่มีคนตาย
พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคะด้านจาพระวินัย
พระนางมัลลิกา สอนเรื่องการไม่จองเวร เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นแพทย์ประจาตัวของพระพุทธเจ้า
มีความมั่นคงในพระรัตนตรัย เสียสละ
จิตตคหบดี ได้รับยกย่องให้เป็นอุบาสกธรรมกถึก(แสดงธรรมเก่ง)
นายสุมนลาการ ถวายดอกมะลิ 8 ทะนานให้พระพุทธเจ้า
มีความศรัทธาเลื่อมใสพระรัตนตรัย
จูฬสุภัททา เป็นผู้เผยแพร่พระพุทธศาสนาที่มีความมุ่งมั่นสูง
พระนาคเสน มีปฏิภาณไหวพริบในการตอบปัญหาของพระยามิลินท์
มีความรู้ความเข้าใจถึงแก่นของพระพุทธศาสนา
พระยามิลินท์ มีสติปัญญาฉลาด มีความมั่นคงทางความคิด
เมื่ อ ได้ พ บพระนาคเสน พระยามิ ลิ น ท์ จึ งมี ค วามความศรัท ธาและท านุ บ ารุ ง
พระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองในดินแดนกรีก
ส ม เด็ จ พ ร ะ วั น รั ต เป็นนักบริหารคณะสงฆ์ที่ดี
(เฮง เขมจารี) มีความเคารพในพระรัตนตรัยอย่างเคร่งครัด
พระอาจารย์มั่น ภิกษุผู้มีความเพียรพยายามในการแสวงหาทางดับทุกข์
ภูริทัตโต มีความสันโดษ รักความสงบในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในป่า
พระกรรมฐานที่มีคุณธรรมสูง

59
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

พระโพธิ ญ าณ เถระ เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต


(ชา สุภัทโท) ก่อตั้งวัดป่านานาชาติ
มีวิธีการสอนอย่างชาญฉลาด มีการอุปมาอุปมัยหลักธรรมให้ผู้ฟังธรรมเข้าใจได้
ง่ายขึ้น
พระธรรมโกศาจารย์ ได้รับยกย่องว่าเป็น เสนาบดีแห่งกองทัพธรรมในยุคกึ่งพุทธกาล
(พุทธทาสภิกขุ) เป็นนักปราชญ์ของแผ่นดินทั้งด้านภาษาศาสตร์และศาสนศาสตร์
พ ระพ รห ม มั งค ล า เป็นเลิศในด้านการแสดงธรรม
จารย์ (ปั ญ ญานั น ท เยอดนักเผยแผ่หลักธรรมคาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ภิกขุ)
พระพรหมคุณ าภรณ์ สอบเปรียญธรรม 9 ประโยคได้เมื่อยังเป็นสามเณร
(ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นนักปราชญ์ผู้มีผลงานด้านพระพุทธศาสนาในระดับประเทศและระดับโลก
สุชีพ ปุญญานุภาพ ร่วมก่อตั้งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก(พ.ส.ล.)
ก่อตั้งยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
ดร.เอ็มเบดการ์ เกิดในวรรณะศูทรในอินเดีย
มีความอดทนอดกลั้นจากการถูกชนชั้นสูงกว่าหยามเหยียด
มีจิตใจที่มั่นคงต่อพระพุทธศาสนา
อนาคาริก ธรรมปาละ ชาวศรีลังกาที่มีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
เป็นผู้ผลักดันให้ชาวพุทธได้พุทธคยาคืนจากพวกฮินดู
มีความเสียสละในการอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา

การสังคายนา
พระไตรปิ ฎก
การสังคายนาหรือสังคีติ แปลว่า “การสวดพร้อมกัน” หมายถึงการร้อยกรองพระธรรมวินัย
การประชุมตรวจชาระสอบทานและจัดหมวดหมู่คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้าวางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอัน
เดียวกัน

การสังคายนาครั้งที่ 1 เกิดจากจากพระสุ ภัททะดูห มิ่นพระธรรมวินัย พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเป็นองค์


อุป ถัมภ์ฝ่ายฆราวาส มีพระมหากัสสปะผู้ตั้งคาถามและเป็นประธานในการสังคายนา พระอานนท์เป็น
ผู้ตอบคาถามเกี่ยวกั บ พระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้ ตอบคาถามพระวินัย สั งคายนาที่ถ้าสั ตตบรรณคูห า
เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ มีพระอรหันต์ 500 รูปร่วมสังคายนา ใช้เวลาทั้งสิ้น 7 เดือน

60
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

การสังคายนาครั้งที่ 2 เกิดจากภิกษุแคว้นวัชชีได้ตั้งวัตถุ 10 ประการขึ้นปฏิบัติที่ผิดธรรมวินัย ประธาน


สังคายนาคือ พระยศกากัณฑกบุตร พระเจ้ากาฬาโศกราชทรงอุปถัมภ์ เกิดนิกายแยกออกเป็น 2 นิกาย
เช่น
 ฝ่ายที่นับถือมติของพระเถระครั้งปฐมสังคายนา เรียก เถรวาท
 ฝ่ายที่ถือตามมติแห่งอาจารย์ของตน เรียกว่า อาจารริยวาท
การสังคายนาครั้งที่ 3 เกิดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ประธานการสังคายนาคือ พระโมคคัลลีบุตรติสส
เถระ พระอรหันต์เข้าร่วมสังคายนา 1,000 รูป สังคายนาที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร แคว้นมคธ
 การสังคายนาครั้งนี้ จาแนกคาสอนของพระพุทธเจ้า แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ พระธรรม พระวินัย
และพระอภิธรรม
 พระเจ้ าอโศกมหาราช ทรงส่ งสมณทูตไปเผยแผ่ ศาสนายังดินแดนในชมพูทวีป 9 สาย โดยใน
ดินแดนสุวรรณภูมิ สมณทูตที่เข้ามาเผยแผ่คือ พระโสณเถระและพระอุตรเถระ
การสังคายนาครั้งที่ 4 มีแนวคิดวางรากฐานพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา
การสังคายนาครั้งที่ 5 บันทึกคาสอนเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา
การสังคายนาครั้งที่ 6 ชาระพระคัมภีร์ที่เรียบเรียงจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี
การสังคายนาครั้งที่ 7 ปรากฏคัมภีร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์อธิบายคัมภีร์อรรถกถา เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา
พระพุทธศาสนา
การสังคายนาครั้งที่ 8 สังคายนาที่ประเทศไทยครั้งแรก ประมาณ พ.ศ. 2020
พระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา (เชียงใหม่) ได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงไตรปิฎก
หลายร้ อยรูป ให้ ช่วยช าระอักษรพระไตรปิฎ กในวัดโพธาราม เป็นเวลา 1 ปี
จึงสาเร็จสังคายนา
การสังคายนาครั้งที่ 9 สังคายนาขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
การสังคายนาครั้งที่ 10 รัฐบาลไทยจัดพิมพ์พระไตรปิฎกที่สังคายนาแล้ว เนื่องในวโรกาสรัชกาลที่ 9 ทรง
เจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษาในปี พ.ศ. 2530

61
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ทศชาติชาดก

ทศชาติชาดก เป็นชาติ 10 ชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะอุบัติมาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


โดยทศชาติเกี่ยวกับการบาเพ็ญบารมี 10 ประการ (บารมี 10 ทัศ) ได้แก่
1) เตมีย์ชาดก  เนกขัมมบารมี
2) มหาชนกชาดก  วิริยบารมี  HOT ออกสอบบ่อยมาก
 พระมหาชนกเป็นตัวอย่างของการบาเพ็ญความเพียรอย่างยิ่ง
 สอดคล้องกับหลัก อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา)
3) สุวรรณสามชาดก  เมตตาบารมี
4) เนมิราชชาดก  อธิษฐานบารมี
5) มโหสถชาดก  ปัญญาบารมี
6) ภูริทัตชาดก  ศีลบารมี
7) จันทกุมารชาดก  ขันติบารมี
8) นารทชาดก  อุเบกขาบารมี
9) วิฑูรบัณฑิตชาดก  สัจจบารมี
10) เวสสันดรชาดก  ทานบารมี  HOT ออกสอบบ่อยมาก
 เกี่ยวกับการสละทานอันยิ่งใหญ่ของพระเวสสันดร แม้แต่ลูก ภรรยาก็สละให้ได้
 เกี่ยวข้องกับชูชก ไปขอลูกกัณหาและชาลีจากพระเวสสันดร
 เกิดฝนโบกขรพรรษ คือ ฝนที่มีสีแดงเลือดใครอยากเปียกก็จะเปียก ใครไม่อยากเปียกจะไม่เปียก
 มักนามาใช้ในการเทศน์มหาชาติ (ชาติที่ใหญ่ยิ่งของพระพระพุทธเจ้า)

REMEMBER TRICK ทศชาติชาดก


เต  ชะ  สุ  เน  มะ  ภู  จะ  นา  วิ  เว

62
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สังเวชนียสถาน
สังชาติ
เวชนีชยาดก
สถาน คือ สถานที่อันน่าสลด สังเวช ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ในประเทศอินเดียและเนปาล
ดังต่อไปนี้
1) สถานทีป่ ระสูติ  สวนลุมพินี ปัจจุบันอยู่ที่ลุมพินี ประเทศเนปาล
2) สถานทีต่ รัสรู้  พุทธคยา ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
3) สถานที่แสดงปฐมเทศนา  สานาถ มีธรรมเมกขสถูป ตั้งอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมือง
พาราณสี ปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
4) สถานทีป่ รินิพพาน  ปัจจุบันอยู่ที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย

วันสาคัญในพระพุทธศาสนา

1) วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่า เดือน 6 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ถือ


ว่าเป็นวันของพระพุทธ

2) วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่า เดือน 3 เป็นวันที่เกิดจาตุรงคสันนิบาต พระสงฆ์มาชุมนุมกันโดย


มิได้นัดหมาย 1,250 รูป พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ถือว่าเป็นวันของพระธรรม

3) วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่า เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร


และเกิดพระสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ถือว่าเป็นวันของพระสงฆ์

4) วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่า เดือน 6 เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

5) วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่า เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่า เดือน 11 เป็นช่วงทีพ่ ระสงฆ์จะไม่ออก


เผยแผ่ศาสนา เพราะอาจเหยียบที่นาชาวบ้านเสียหาย แต่จาพรรษาอยู่ที่วัด 3 เดือน

6) วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่า เดือน 11 เป็นวันที่พระสงฆ์ต้องปวารณาตัวต่อกัน วันรุ่งขึ้นจะมี


การตักบาตรเทโว

7) วันธรรมสวนะ (วันพระ) ตรงกับวันขึ้น 8 ค่า กับ 15 ค่า และ แรม 8 ค่า กับแรม 15 ค่าของทุกเดือน
ชาวพุทธนิยมถือศีล 8 เพิ่มจากศีล 5 คือ งดกินหลังเที่ยง งดบันเทิง และงดนอนที่สูง

63
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ตารางสรุปองค์ประกอบแต่ละศาสนา

ศาสนา พระพุทธศาสนา คริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู


สัญลักษณ์ ธรรมจักร ไม้กางเขน พระจันทร์เสี้ยว โอม [อะ + อุ + มะ]
รูปภาพ

แหล่งกาเนิด อินเดีย อิสราเอล ซาอุดิอาระเบีย อินเดีย


พระเจ้า - พระยะโฮวาห์ พระอัลเลาะห์ พระตรีมูรติ
ศาสดา พระพุทธเจ้า พระเยซู นบีมูฮัมหมัด -
คัมภีร์ พระไตรปิฎก ไบเบิล อัลกุรอาน พระเวท
นักบวช พระสงฆ์ บาทหลวง -(มีอิหม่ามที่ทา พราหมณ์
หน้าที่เป็นผู้นาและ
สั่งสอน)
ศาสนสถาน วัด โบสถ์ สุเหร่า/มัสยิด เทวสถาน
พิธีกรรม พุทธมามกะ ศีลกาลัง การปฏิบัติตนตาม พิธีสังสการ
(เหมือนพิธีแสดงตน หลักปฏิบัติ 5
เป็นพุทธมามกะ หลักศรัทธา 6
ของศาสนาพุทธ)
เป้าหมายสูงสุด นิพพาน อาณาจักรพระเจ้า สถิตย์อยู่กับองค์อัล โมกษะ
เลาะห์ [ความหลุดพ้น]
หลักธรรมสาคัญ อริยสัจ 4 ความรัก หลักปฏิบัติ 5 อาศรม 4

64
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สาระที4

ภูมิศาสตร์

Geography

65
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
แผนที่

แผนที่ คือ ข้อมูลจาลองพื้นที่หนึ่งในแนวราบ โดยย่อให้เล็กลงตามมาตราส่วน จัดทาเพื่อแสดงพื้นที่หนึ่ง


เรียกว่า ระวาง
ประเภทของแผนที่
1) แผนที่กาหนดตามลักษณะรายละเอียด ได้แก่ แผนที่ลายเส้น แผนที่รูปถ่าย แผนที่ผสม
2) แผนที่ตามมาตราส่วน ได้แก่ มาตราส่วนเล็ก (เล็กกว่า 1:1,000,000) มาตราส่วนกลาง และมาตราส่วน
ใหญ่ (ใหญ่กว่า 1:250,000)
3) แผนที่ตามลักษณะการใช้งาน
1.1. แผนที่อ้างอิง (แผนที่ภูมิประเทศ,แผนที่ทั่วไป): แสดงความสูงต่าของผิวโลก โดยจะใช้สัญลักษณ์เพื่อ
แสดงความสูงต่าของภูมิประเทศ ดังนี้

เส้นชั้นความสูง เส้นลายขวานสับ แถบสี


1.2. แผนที่เฉพาะเรื่อง: สร้างจากแผนที่อ้างอิง เช่น แผนที่ทางหลวง แผนที่ธรณีวิทยา โฉนดที่ดิน
องค์ประกอบแผนที่
องค์ประกอบแผนที่ มี 4 ส่วน
1. ขอบระวาง ขอบทั้ง 4 ด้านของแผนที่
2. มาตราส่วน ได้แก่ มาตราส่วนแท่ง มาตราส่วนเส้น มาตราส่วนคาพูด
การคานวณมาตราส่วนแผนที่

ระยะทางในแผนที่
มาตราส่วนแผนที่ =
ระยะทางจริง

หมายเหตุ: 1 กิโลเมตร = 100,000 เซนติเมตร

66
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

EX. 1 แผนที่มาตราส่วน 1 : 500,000 วัดได้ 2 cm จะมีระยะทางจริงกี่กิโลเมตร

ระยะทางในแผนที่
วิธีทา มาตราส่วนแผนที่ =
ระยะทางจริง
1 2
=
500,000 ระยะทางจริง
ดังนั้น ระยะทางจริงจะเท่ากับ 1,000,000 เซนติเมตร หรือ 10 กิโลเมตร

EX. 2 วัดในแผนที่ได้ 1.6 cm มีระยะทางจริง 3.2 km แผนที่นี้จะมีมาตราส่วนเท่าใด

ระยะทางในแผนที่
วิธีทา มาตราส่วนแผนที่ =
ระยะทางจริง
1.6 1
มาตราส่วนแผนที่ = =
320,000 200,000
ดังนั้น แผนที่นี้จะมีมาตราส่วน 1 : 200,000

3. สัญลักษณ์ เช่น จุด วงกลม เส้น สี รูปภาพ


4. สัญลักษณ์กาหนดทิศทาง

เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ

เทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ แอโรเวน (Aerovane)


Rain Gauge
(Thermometer) (Barometer) ใช้สาหรับวัดทิศทางลม
วัดปริมาณน้าฝน
ใช้วัดอุณหภูมิ ใช้วัดความกดอากาศ และความเร็วลม

ไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer) ไซโครมิเตอร์ (Psychrometer) วัดความชื้น


วัดความชื้นในอากาศต่อเนื่อง สัมพัทธ์ มีตุ้มเปียกและตุม้ แห้ง

67
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ภาพถ่ายทางอากาศ
ใช้สืบค้นข้อมูลเชิงพื้นที่ ให้รายละเอียดเชิงพื้นที่สูง

ภาพถ่ายในแนวดิ่ง (แนวตั้งฉาก): มักนาไปสร้างแผนที่


ภาพถ่ายในแนวเฉียง: ได้แก่ เฉียงต่า(ไม่เห็นขอบฟ้า)
และ เฉียงสูง(เห็นขอบฟ้า)
ภาพถ่ายผสม: นาภาพถ่ายแนวดิ่ง 1 ภาพ และเฉียงสูง 8 ภาพมาต่อกัน

ดาวเทียม

ดาวเทียมโคจรอยู่รอบโลก ใช้เป็นอุปกรณ์โทรคมนาคม
ใช้ระบบการบันทึกข้อมูลแบบพาสซีฟ หรือแอคทีฟ
ภาพจากดาวเทียม: ข้อมูลที่ได้เป็นสัญญาณตัวเลข
จึงต้องแปลความด้วยสายตาหรือคอมพิวเตอร์
ดาวเทียมสื่อสาร เช่น ไทยคม SAKURA PALAPA
THAICOM รู้ไว้ใช่ว่า... ไทยใช้ดาวเทียมสารวจทรัพยากร
ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เช่น GMS TIROS NOAA โดยมีการตั้งสถานีรับสัญญาณลาดกระบังเป็น
ดาวเทียมสารวจทรัพยากร เช่น Landsat Seasat แห่งแรก ต่อมาได้ร่วมมือกับฝรั่งเศสในโครงการ
Spot1 Mos1 RADARSAT Quickbird ดาวเที ย มทรั พ ยากรดวงแรกของไทย ชื่ อ
THEOS
การรับรู้ระยะไกล
การรั บ รู้ ร ะยะไกล คื อ การบั น ทึ ก ลั ก ษณะวัต ถุ จากการแผ่ รังสี ของคลื่ น แม่ เหล็ กไฟฟ้ า แบ่ งตาม
แหล่งกาเนิดพลังงานได้ 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มใช้พลังงานธรรมชาติ ใช้ดวงอาทิตย์ บันทึกได้ในเวลากลางวัน แต่ในฤดูฝนจะบันทึก
ไม่ได้
กลุ่มที่ใช้พลังงานที่สร้างจากเครื่องมือสารวจ เช่น ระบบเรดาร์ สามารถส่งสัญญาณผ่าน
เมฆได้

68
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

การรั บ รู้ ข้ อ มู ล ระยะไกลจะบั น ทึ ก พลั ง งานโดยเครื่ อ งบั น ทึ ก บนยาน แล้ ว ส่ งให้ ภ าคพื้ น ดิ น วิ เคราะห์
และแปลความ

ระบบกาหนดตาแหน่งบนโลก (GPS)
ใช้คลื่นวิทยุและรหัสที่ส่งจากดาวเทียม NAVSTAR โดยเป็นระบบที่มีความถูกต้องสูง เหมาะกับงาน
แผนที่และการสารวจ
มี 3 ส่ ว น คื อ ① ส่ ว นอวกาศ  มี ด าวเที ยม 24 ดวง (6 วงโคจร วงละ 4 ดวง) ② สถานี
ควบคุม ③ ส่วนผู้ใช้

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพสูงในการรวบรวม บันทึก วิเคราะห์


และนาเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่
หัวใจของระบบ คือ ข้อมูลเชิงพื้นที่
ข้อมูลในระบบ: มี 2 ส่วน คือ ข้อมูลเชิงภาพ เช่น จุด เส้น และข้อมูลเชิงลักษณะประจา เช่น ชื่อ
ถนน ลักษณะเมือง
องค์ประกอบ: ① ฮาร์ดแวร์ ② ซอฟต์แวร์ ③ ข้อมูล ④ บุคลากร ⑤ ขั้นตอนการทางาน

โลก
โลกมีทรงกลมรี ป่องตรงกลาง เป็นน้า 71% และเป็นพื้นดิน 29% แบ่งเป็น 3 ส่วน

69
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

1. เปลือกโลก (Crust) ได้แ ก่ บริเวณที่ เป็ นส่วนแผ่นดิน และมหาสมุท ร แบ่ งเป็น 2 ส่วน คื อ
Sial (ซิลิกา + อลูมิเนียม) และ Sima (ซิลิกา + แมกนีเซียม)
2. เนื้อโลก (Mantle) เป็นชั้นหินหนืด (magma)
3. แก่นโลก (Core) : ชั้นนอก เป็นหินหนืด ส่วนชั้นใน
เป็นเหล็ก+นิกเกิล อัดตัวกันแน่น
ทวีปเลื่อน: เสนอโดย ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์ ตั้งสมมติฐานว่า
แต่โดยแผ่นดินติดกันเป็นแผ่นดินเดียว เรียกว่า “พันเจีย”
ต่อมาก็แยกออกจากกันด้วยแรงภายในโลก
ชั้นบรรยากาศโลก: มีแก๊สไนโตรเจนมากที่สุด โดยแบ่งบรรยากาศ
เป็น 4 ชั้น คือ
1.เทอร์โมสเฟียร์ : สะท้อนคลื่นวิทยุได้ มีประโยชน์ต่อการสื่อสารทางไกล
2.มีโซสเฟียร์ : เป็นชั้นที่เผาไหม้อุกกาบาตหรือวัตถุที่หลุดเข้ามาในวงโคจร
3.สตราโตสเฟียร์: ไม่มีไอน้า เมฆ กระแสอากาศ (เหมาะแก่การบิน) ตอนบนมีโอโซนอยู่หนาแน่น
4.โทรโพสเฟียร์: ติดกับผิวโลก มีหมอก เมฆ ฝน หิมะ ลม กระแสอากาศ
กลางวัน-กลางคืน: เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเองไปทางทิศตะวันออก
ฤดูกาล: โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แกนของโลกเอียงทามุม 23.5 องศา
วสันตวิษุวัต อุตรายัน(ครีษมายัน) ศารทวิษุวัต ทักษิณายัน(เหมายัน)
21 มี.ค. เริ่มฤดูใบไม้ผลิ 21 มิ.ย. เริ่มฤดูร้อน 23 ก.ย. เริ่มฤดูใบไม้ร่วง 22 ธ.ค. เริ่มฤดูหนาว
กลางวัน=กลางคืน กลางวัน>กลางคืน กลางวัน=กลางคืน กลางวัน<กลางคืน

* ตารางนี้เป็นฤดูกาลบริเวณซีกโลกเหนือ ส่วนซีกโลกใต้มีฤดูกาลตรงข้ามกับซีกโลกเหนือ

ปรากฏการณ์ พระอาทิตย์เที่ยงคืน เกิดบริเวณเขต


ขั้วโลก ช่วงฤดูร้อนขั้วโลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์
ท าให้ เ กิ ด ช่ ว งเวลากลางวั น ตลอด 24 ชั่ ว โมง
(แต่ฤดูหนาว ขั้วโลกหันออกจากดวงอาทิตย์ ทาให้
เกิดกลางคืนตลอด 24 ชั่วโมง)

น้าขึ้น-น้าลง: เกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ โดยขึ้น-ลงวันละ 2 ครั้ง


น้าเกิด-น้าตาย
น้าเกิด : ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์เรียงกัน แรงดึงดูดดวงอาทิตย์และ

70
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ดวงจันทร์จะเสริมกัน น้าจะขึ้นสูงสุดและลงต่าสุด จะเกิดในช่วง วันขึ้น 14 – 15 ค่า


และวันแรม 14 – 15 ค่า
น้าตาย: ดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์เรียงเป็นมุมฉาก แรงดึงดูดดวงอาทิตย์และดวงจันทร์หักล้างกัน
น้าจะขึ้นลงไม่ต่างกันมาก จะเกิดช่วง วันขึ้น 8 ค่า และวันแรม 8 ค่า
ละติจูด-ลองจิจูด
ละติจูด: เส้นสมมติแนวนอน มีผลต่ออากาศ ลองจิจูด: เส้นสมมติแนวตั้ง มีผลต่อเวลา
ลักษณะภูมิอากาศโลก
ปัจจัยควบคุมลักษณะภูมิอากาศ
1) ละติจูด ละติจูดต่า (ใกล้เส้นศูนย์สูตร) จะเป็นเขตร้อน ละติจูดสูงจะเป็นเขตหนาว
2) ความสูง ทุก ๆ 180 เมตร อุณภูมิลด 1oC เพราะโลกรับความร้อนโดยการคายออก
3) ความใกล้-ไกลทะเล บริเวณที่อยู่ใกล้ทะเล จะได้รับอิทธิพลลมบก-ลมทะเล ทาให้ อุณ หภูมิไม่
ต่างกัน
4) ลมประจา พัดจากบกลงทะเลเป็นลมบก พัดจากทะเลขึ้นบกเป็นลมทะเล
5) กระแสน้า เกิดจากเส้นศูนย์สูตรและขั้วโลก นาพาความชุ่มชื้น คือกระแสน้าอุ่น นาพาความแห้งแล้ง คือ
กระแสน้าเย็น

บริ เ วณ ที่ ก ระแสน้ าอุ่ น


และกระแสน้าเย็นไหลมา
ปะทะกั น จะเกิ ด แพลงค์
ตอน(อาหารปลาชั้ น ดี )
เป็นจานวนมาก ก่อให้เกิด
เป็ น แห ล่ ง ป ลาชุ ก ชุ ม
เป็นผลดีต่อการประมง

ลม : ลมประจาถิ่น (ลมว่าว,ลมตะเภา) ลมประจาฤดู (มรสุม SW, มรสุม EN) พื้นที่อับฝน (เงาฝน): มีภูเขาขวาง
ลมประจาเวลา (ลมบก,ลมทะเล) กั้นความชื้น ทาให้บริเวณนี้ร้อนและ
แล้ง

71
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย
ภาคเหนือ: เป็นทิวเขาสลับซับซ้อน วางตัวในแนวเหนือ
ใต้ มีเทือกเขาที่สาคัญ เช่น เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขา
แดนลาว เทือกเขาผีปันน้า เทือกเขาหลวงพระบาง เป็น
แหล่งกาเนิดแม่น้าหลายสาย เช่น ปิง วัง ยม น่าน (ไหล
ลงสู่เจ้าพระยา) ปาย ยวม เมย (รวมเป็นแม่น้าสาลาวิน)
กก อิง (ไหลลงแม่น้าโขง)
ภาคตะวันตก: เป็ นทิวเขาต่อจากภาคเหนือ (เทือกเขา
ถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรี) เป็นพรมแดนกั้นไทย-พม่า
มีที่ราบแคบ ๆ ระหว่างภูเขา ซึ่งนิยมทานาและปลูกอ้อย
และมีที่ราบชายฝั่งทะเล
ภาคกลาง: ตอนบนเป็นที่ราบลุ่มขนาดแคบ เป็นที่ราบ
ลูกฟูกและภูเขาโดด ที่ราบบริเวณขอบเป็ นเชิงเขานิยม
ป ลู ก พื ช ไร่ ต อ น ล่ า ง เป็ น ที่ ร า บ ลุ่ ม น้ า ท่ ว ม ถึ ง
มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ เป็ น แหล่ ง เกษตรกรรมส าคั ญ
มี แ ม่ น้ าสายส าคั ญ คื อ แม่ น้ าเจ้ า พระยา แม่ น้ าท่ า จี น
(แยกจากเจ้าพระยา) บริเวณปากแม่น้าจะมีป่าชายเลน
ภาคตะวันออก: บริเวณทิวเขาเป็นเนินลูกฟูก นิยมทาสวนผลไม้ นอกจากนี้ยังมีที่ราบลุ่มแม่น้าบางปะกง
และชายฝั่งทะเล(อ่าวไทย)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เป็นทิวเขาด้าวตะวันตกและใต้ มี 2 แอ่ง คือ แอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร(กั้น
ด้วยเทือกเขาภูพาน) ทิวเขาด้านตะวันตก เป็นภูเขาหินทรายยกตัว เช่น ภูกระดึง ทิวเขาด้านทิศใต้ เป็นเขา
หินทราย พบภูเขาไฟตลอดแนว แอ่งโคราช มีลุ่มแม่น้าชีและมูล เป็นแหล่งปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า ทุ่ง
กุลาร้องไห้ แอ่งสกลนคร มีทิวเขาภูพาน แม่น้าสงคราม หนองหาน ลุ่มน้าโขง

72
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ภาคใต้: มีทิวเขาเป็นแกน เช่น เทือกเขาภูเก็ต เทือกเขานครศรีธรรมราช เทือกเขาสันกาลาคีรี มีชายฝั่ง(ด้าน


ตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน ด้านตะวันออกติ ดกับอ่าวไทย) ที่ราบลุ่มแม่น้ามักเป็นแม่น้าสายสั้น ๆ และมีหมู่
เกาะจานวนมาก
ชายฝั่งทะเล: ด้านอ่าวไทยยาวกว่าอันดามัน มักเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งแก้ไขโดยฟื้นฟูป่าชายเลน
ป่าชายหาด หญ้าทะเล หรือ สร้างฝายหรือเขื่อนกั้นคลื่น
น้ าบาดาลและน้ าใต้ ดิ น : ภาคตะวั น ออกเฉี ยงเหนื อ เป็ น ภาคที่ น าน้ าใต้ ดิ น มาใช้ ม ากที่ สุ ด ส่ วนในพื้ น ที่
ปริมณฑลและเมืองใหญ่จะทาให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุด
รู้ไว้ใช่ว่า เจ้าพระยาไม่ได้รวม 4 สาย แต่เกิดมาจากการ
รวมกันของแม่น้า 2 สาย คือ แม่น้าปิง(ปิง + วัง) กับ
น่าน(ยม + น่าน) บริเวณปากน้าโพ จ.นครสวรรค์ และ
ไหลลงสู่อ่าวไทย ที่จังหวัดสมุทรปราการ

ท่าจีนไม่ได้มีชื่อเดียว แม่น้าท่าจีนไหลแยกจากเจ้าพระยาลงมา
และไหลลงสู่ อ่าวไทยที่ จ.สมุท รสาคร นอกจากนนั้น แล้ ว แม่
น้ าท่ า จี น มี ชื่ อ เรี ย กหลายชื่ อ ตามจั ง หวั ด ที่ ผ่ า น ตั้ ง แต่ ผ่ า น
ชั ย นาท เรี ย กว่ า แม่ น้ ามะขามเฒ่ า ผ่ า นสุ พ รรณบุ รี เรี ย ก
แม่น้าสุพรรณบุรี ผ่านนครปฐมเรียกแม่น้านครชัยศรี จนผ่าน
สมุทรสาครเรียกแม่น้าท่าจีน

ภูมิศาสตร์กายภาพ
การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ
แรงจากภายในโลก: การเคลื่ อ นที่ ข องหิ น หนื ด ภายในเปลื อ กโลก ท าให้ เ กิ ด ภู มิ ป ระเทศอย่ า งใหญ่
นอกจากนี้ยังทาให้เกิด
 รอยคดโค้ง: เกิดขึ้นจากแรงบีบอัด หินจะโก่งตัวเป็นรูป ประทุนคว่าและประทุนหงาย โดยจะทาให้เกิด
ภูเขา

73
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

 หุบเขาทรุด เช่น รอยเลื่อนแนวยาวในแอฟริกาเป็นหุบเขาต่อเนื่องกัน มีลักษณะเป็นทะเลสาบลึก -ยาว


หลายแห่งตื้นเขินเพราะระเหยมาก+ทิ้งคราบเกลือไว้ และยังปรากฏร่องรอยภูเขาไฟในรอยต่อแผ่น
แอฟริกาและอาระเบียด้วย
 รอยเลื่อน: รอยเลื่อนปกติทาให้เกิดกราเบิน (หุบเขาทรุด) หรือฮอสต์ (ภูเขาบล็อก) ส่วนรอยเลื่อนใน
แนวนอนจะไม่ปรากฏแนวหน้าผา เช่น รอยเลื่อนแซนแอนเดรียส
 แผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุ : เกิดขึ้นเมื่อหินหนืดเคลื่อนที่บริเวณรอยเลื่อน โดยเฉพาะในแนววง
แหวนไฟ
ภูเขาไฟปะทุยังช่วยให้เปลือกโลกปรับตัวให้สมดุล หินชั้นและหินอัคนีที่ลาวาไหลผ่านอาจ
แกร่งขึ้น ก่อให้เกิดแหล่งแร่ และเป็นการแปรสภาพดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูกหรืออาจจะทาให้
เกิดภูเขาไฟโผล่ พ้นน้า เป็นเกาะได้อีกด้วย
 สึนามิ: การที่เกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟปะทุรุนแรง อาจทาให้เกิดสึนามิได้

แรงจากภายนอกโลก: เช่น แม่น้า ลม ธารน้าแข็ง อาจทาให้กร่อนหรือทับถม และทาให้เกิด ภูมิประเทศอย่าง


ย่อย

ภูมิประเทศอย่างใหญ่

ภูเขา: สูงมากกว่า 600 เมตร ถ้าเป็นแนวยาวต่อเนื่องกันเรียกว่าทิวเขา หรือ เทือกเขา


 ภูเขาที่เกิดจากการชนกันของเปลือกโลก: เกิดจากรอยอัดภายในโลก มีโครงสร้างคดโค้ง เช่น หิมาลัย
 ภูเขายอดตัด (ภูเขาบล็อก): เกิดจากการยกตัวของแผ่นดิน เช่น ภูเรือ แบล็กฟอเรสต์
 ภูเขาไฟ: เกิดจากการปะทุหินหนืด เถ้าธุลีทับซ้อนกัน มี 3 แบบ คือ ① รูปโล่ ② กรวยกรวดภูเขา
ไฟ ③ กรวยภูเขาไฟสลับชั้น
ที่ราบสูง: ต่างระดับกันไม่เกิน 150 เมตร มี 3 ลักษณะ คือ ① เชิงเขา ② ระหว่างเขา ③ รูปโต๊ะ
เนินเขา: สูงจากบริเวณรอบ ๆ แต่ไม่เกิน 600 เมตร
ที่ราบ: ① ที่รายชายฝั่ง (ชายฝั่งจมน้า, ชายฝั่งยกตัว, ชายฝั่งงอก) ② ทีร่ าบภาคพื้นทวีป

74
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ภูมิประเทศอย่างย่อย
การกระทาของธารน้าไหล: ช่วงต้นจะกัดกร่อนในแนวดิ่ง เกิดหุบเขารูปตัว V เช่น แม่น้าโคโลราโด ไหลกัด
เซาะจนเกิด แกรนด์แคนยอน ช่วงกลางกัดเซาะออกทางด้านข้าง เริ่มไหล คดเคี้ยว ช่วงปลาย ไหลตัด
คอคอดคุ้งน้า เกิดทะเลสาบรูปแอก (Oxbowl Lake) และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้า

1. โกรกธาร: ธารน้าที่เป็นหุบผาลึก แคบ เกิดจากการกัดเซาะรุนแรง พบที่ออบหลวง


2. กุมภลักษณ์: เป็นบ่อกลมอยู่ใรหินที่เกิดจากกรวดทรายที่น้าพามา พบที่สามพันโบก
3. ลานตะพักลาน้า: เกิดจากการทับถมของตะกอน ลักษณะเป็นบันไดริมตลิ่ง
4. เนินตะกอนรูปพัด: เกิดจากน้าจากหุบเขาลงสู่ที่ราบ
5. ที่ราบน้าท่วมถึง: แม่น้าที่ไหลคดเคี้ยว ตะกอนจะทับถมเป็นเนินที่ค่อย ๆ ลาดสู่กลางน้า เรียกว่า ตลิ่งลาด
6. ดินดอนสามเหลี่ยม: เมื่อไหลลงทะเล ความเร็วจะลดลงทาให้ตะกอนสะสมตัว
7. แพะเมืองผี: เสาดินรูปร่างคล้ายดอกเห็ด เกิดจากกระแสน้ากัดเซาะหน้าดิน

1. การกระทาของน้าใต้ดิน: น้าฝนที่ซึมมาจะสะสมอยู่ใต้ดิน จะละลายหินปูน


2. ภูมิประเทศแบบคาสต์: เกิดจากการตกตะอนของสารละลาย มีลักษณะขยุกขยัก
3. หินงอก-หินย้อย: การกระทาของน้าใต้ดินในถ้า
4. พุน้าร้อน: น้าใต้ดินสัมผัสกับหินเปลือกโลกอุณหภูมิสูง และมีปล่องแคบ ๆ น้าจะร้อนแล้วดันตัวขึ้น
5. กีย์เซอร์: มีแรงดันมากกว่าพุน้าร้อน สามารถผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพได้

75
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

การกระทาของธารน้าแข็ง
1. ฟยอร์ด: ธารน้าแข็งกัดเซาะภูเขาชายฝั่งจนเว้าแหว่ง
2. ทะเลสาบธารน้าแข็ง: มีธารน้าแข็งปกคลุมและกัดเซาะ ต่อมาละลาย เช่นเกรตเลกซ์
3. ธารน้ าแข็ ง ภู เ ขา: เซิ ร์ ก : ธารฯขั ด เซาะภู เขาเป็ น แอ่ ง รู ป ตั ว U ทาร์ น :
ทะเลสาบตามร่องเซิร์ก ฮอร์น: ภูเขาทรงพีระมิด ปกคลุมด้วยธารน้าแข็ง
การกระทาของคลื่นและกระแสน้า
1. สันดอนจะงอย: เกิดจากการทับถมโดยยื่นโค้งงอไปในทะเล
2. ลากูน: สันทรายที่งอกมาปิดทะเลกับหาด
3. เกาะหินโด่ง: เนินเขาที่ถูกน้าและลมกัดเซาะ เช่น เขาตะปู
4. สะพานหินธรรมชาติ
5. หน้าผาริมฝั่ง-โพรงหินชายฝั่ง
การกระทาของลม
1. แป้นหินรูปเห็ด (เสาเฉลียง): ลมกัดกร่อนผิวหน้าของหิน
2. ดินลมหอบ (ดินเลิสส์): ดินสีเหลืองที่พัดมาทับถม เพาะปลูกได้ดี พบในจีน
3. สันทราย

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
อุทกภัย: เกิดจากฝนตกหนัก แม่น้าเอ่อล้น น้าทะเลหนุน คลื่นซัดฝั่ง ไหลบ่าจากที่สูง หรือ จากพายุหมุน
เขตร้อน
ในไทย: กรุงเทพมหานครสูงกว่าระดับน้าทะเลเพียง 1 เมตร ทาให้เกิดภาวะน้าท่วมได้ง่าย
ธรณีพิบัติภัย (ดินโคลนถล่ม): เกิดตามภูเขา ไหล่เขา ที่ลาดเชิงเขา ที่ลุ่มติดเขาสูง ถ้ามีฝนตกหนัก น้า
จะซึม ลงดิน ดินจะอุ้มน้าไว้จนเปียกชื้น เมื่อถึงขีดจากัดก็จะถล่มลงมา
ภัยแล้ง: เกิดจากฝนทิ้งช่วงนาน ไม่ตกตามฤดูกาล อุณหภูมิสูงจัด เอลนีโญ การทาลายโอโซน เรือน
กระจก รุนแรงมากในทะเลทรายแอฟริกา แม่น้าเจี่ยหลิง ซึ่งแก้ไขได้โดยจัดการชลประทานที่เหมาะสม
ในไทย: มักเกิดในช่วงขาดฝน(ฝนทิ้งช่วง) หรือ ตาแหน่งร่องมรสุม หรือ พายุดีเปรสชันน้อยกว่าปกติ

76
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

แผ่นดินไหว: เกิดจากการสั่นสะเทือนของผิวโลก เนื่องจากการปลดปล่อยพลังงานเฉียบพลัน รวมถึง


การทดลองปรมาณู การระเบิดเหมืองแร่ ทาให้เปลือกโลกเคลื่อนที่ใน 3 ลักษณะ คือ
ชนกัน แยกกัน เสียดสีกัน
 แนวเปลือกโลกที่เกิดบ่อยและรุนแรงมากที่สุด คือ วงแหวนแห่งไฟ
 ใช้ไซสโมมิเตอร์ในการวัดขนาด มีหน่วยเป็นมาตราริกเตอร์ ซึ่งถ้ามากกว่า 3.9 ตามมาตราริกเตอร์
จะเริ่มอันตราย
 ใช้มาตราเมอร์คัลลี วัดความเข้มของแผ่นดินไหว
 มักเกิดคลื่นใต้น้าและสึนามิตามมา
ภูเขาไฟปะทุ: สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว พบมากที่วงแหวนแห่งไฟ เกิดมลพิษจากก๊าซที่พุ่งมา คือ ซัลเฟอร์
 ผลดี ปรับเปลือกโลกให้สมดุล หินหนืดจะพาธาตุอาหารที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นมา ดินจึงดี เพาะปลูกได้ดีและมี
แร่มาก
ในไทย ไม่มีภูเขาไฟทรงพลัง มีเพียงที่ดับแล้ว เช่น ภูพระอังคาร ภูกระโดง พนมรุ้ง
สึนามิ: เกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเล 7.4 ริกเตอร์ขึ้นไป หรือ ภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิด และมีการยกตัวของ
น้าอย่างทันที
สึนามิ 26 ธันวาคม 2547 เกิดจากแผ่นดินไหว 9.0 ริกเตอร์ในมหาสมุทรอินเดีย ทาให้เกิดสินามิขึ้น
ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย
สึนามิ 11 มีนาคม 2554 ที่เขตฟุกุชิมา ประเทศญี่ปุ่น อันเนื่องมาจากแผ่นดินไหว ส่งผลให้เกิดความ
เสียหายเป็นจานวนมาก รวมถึง โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิชิ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ก็ได้รับผลกระทบ
ด้วย
พายุหมุน: เกิดจากศูนย์กลางความกดอากาศต่า ทาให้มวลอากาศจากทุกทิศเข้าสู่ศูนย์กลางเป็นพายุหมุน

พายุหมุนเขตร้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ


ดีเปรสชัน (ฝนตกหนัก) ความเร็วลมน้อยกว่า 62 km/h
โซนร้อน (เกิดอุทกภัยรุนแรง) ความเร็วลม 62 – 117 km/h
ไต้ฝุ่น ความเร็วลมมากกว่า 117 km/h
พายุหมุนที่มีความเร็วลมมากกว่า 117 km/h มีชื่อเรียกตามแหล่งที่เกิด ดังนี้
เกิดทีท่ ะเลจีนใต้  พายุไต้ฝุ่น เกิดที่มหาสมุทรอินเดีย  พายุไซโคลน
เกิดทีท่ ะเลแคริบเบียน  พายุเฮอริเคน บริเวณทะเลติมอร์ (ทวีปออสเตรเลีย)  วิลลี – วิลลี

77
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

- ทอร์นาโด (ลมงวง) เกิดในเขตร้อน รุนแรงมาก คล้ายงวงย้อยลงมาจากเมฆ ซึ่งจะเกิดคู่กับฟ้าร้อง ฟ้าผ่า


ลูกเห็บตก

พายุเฮอริเคนเออร์มา เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมา ก่อตัวขึ้นบริเวณ


มหาสมุทรแอตแลนติก มีความเร็วลมถึง 295 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีความรุนแรงในระดับ 5
ซึ่งถือว่าเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี เคลื่อนตัวผ่านประเทศและหมู่เกาะ
บริเวณแถบทะเลแคริบเบียน ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจานวน
มาก

วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมโลก
เกิดจากประชากรเพิ่มขึ้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้า เน้ นความเจริญ ทางเศรษฐกิจ เกิดการทาลาย
ทรัพยากร

ปรากฏการณ์เรือนกระจก

ก๊าซเรือนกระจกถือว่าจาเป็น เพราะจะช่วยดูดซับรังสีความร้อนทาให้โลกมีอุณหภูมิเย็นลง ซึ่งมีหลาย


ชนิด ได้แก่ CO2 N2O (ก๊าซหัวเราะ) CH4 (มีเทน) O3 (โอโซน) CFCs (คลอโรฟลูออโรคาร์บอน)
ผลกระทบ อากาศผกผัน อุณหภูมิสูงขึ้ น ความกดอากาศต่าเพิ่มขึ้น เกิดเอลนีโญบ่อย ระบบนิเวศ
เปลี่ยนแปลง น้าแข็งขั้วโลกละลาย พืชที่ปรับตัวไม่ได้จะตายทาให้ผลผลิตลดลง ส่งผลให้ขาดอาหาร รวมถึง
เกิดโรคภัย ต่อมนุ ษ ย์ เช่น โรคหั วใจ หลอดเลื อด ภูมิแพ้ และถ้าได้รับ รังสี อุล ตร้าไวโอเลตมากจะทาให้
ผิวหนังไหม้และเหี่ยว ทาลายเนื้อเยื่อตา เกิดมะเร็งผิวหนัง

การเกิดช่องโหว่ของชั้นโอโซน

โอโซนจะอยู่ในชั้นสตราโทสเฟียร์ มีสมบัติช่วยดูดซับ Ultra Violet จากดวงอาทิตย์ CFCsจะทาลาย


โอโซนโดยทาให้ O3 กลายเป็น O2
ผลกระทบ จะทาลายผิวหนัง ตา DNA ของมนุษย์ ทาลายฮอร์โมนและคลอโรฟิลด์ของพืช

78
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

เอลนีโญและลานีญา
เอลนีโญ เป็นภาษาสเปน แปลว่าอากาศวิปริต อุณหภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิกจะสูงขึ้น เพราะกระแส
น้าอุ่นมาแทนที่กระแสน้าเย็น จะเกิดประมาณ 5-6 ปีต่อครั้ง และลมค้าตะวันออกในศูนย์สูตรจะกาลังอ่อน
กว่าปกติ
ที่ ๆ เคยแห้งแล้ง  จะมีฝนตก เช่น ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้
ที่ ๆ เคยฝนตก  แห้งแล้งผิดปกติ เช่น ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

ผลกระทบ ขัดขวางการเกิดไต้ฝุ่นที่จะนาพาฝนและความชุ่มชื้น อุณหภูมิกระแสน้าสูงขึ้น สั ตว์ที่ปรับตัว


ไม่ได้ อาจตายได้ เกิดภัยธรรมชาติ และผลเสียหายต่อการเกษตร
ลานีญา จะกลับกันกับเอลนีโญ คือ อุณหภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกจะเย็นลง

ฝน
กรด
น้าฝน + ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ (ได้จากการเผาไหม้สมบูรณ์
โรงงานอุ ตสาหกรรม การเผาถ่ านหิ น ภู เขาไฟระเบิ ด ) ท าให้ ฝ นที่ ต กมาจะมี ค่ า pH
ต่ากว่า 5.6 ทาให้พืชต่าง ๆ แคระแกร็น อาคารผุพัง

การเสื่อมโทรมและความร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติมีแบบสร้างใหม่ได้ กับ ใช้แล้วหมดไป


1. ดินเสื่อมโทรม  เพาะปลูกไม่ได้ (ดินชะล้าง ดินเปรี้ยว คินเค็ม) เกิดจาก
มนุษย์ใช้ประโยชน์จากดินไม่ถูก ขยายพื้นที่ทาโรงงานอุตสาหกรรม ตัดไม้
และใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ดินเค็มมากที่สุด
2. ปัญหาการใช้ทรัพยากรแร่: ในไทยใช้แร่เชื้อเพลิงและพลังงานมากที่สุด แร่อุตสาหกรรมก่อสร้างรองลงมา
3. ทรัพยากรชายฝั่งและการประมง: ป่าชายเลนในไทยลดลง และพะยูนมีแนวโน้มสูญพันธุ์
4. มลพิษทางน้า: น้าเน่าเสีย และน้าจืดไม่พอ

79
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ดัชนีคุณภาพน้าทั่วไป: วัดจาก ค่า pH DO TS TCB BOD ไนเตรท ฟอสเฟต ความขุ่น


5. มลพิษทางเสียง: มักมาจากยานพาหนะ
6. มลพิษทางอากาศ: มาจากการจราจรและการอุตสาหกรรม (การฟุ้งกระจาย เช่น โม่หิน ระเบิดหิน)
7. การเพิ่มขึ้นของทะเลทราย: มาจากปัญหาความแล้ง เช่น ทะเลสาบชาด
8. การลดลงของป่าไม้และสัตว์ป่า: เนื่องจากการบุกรุก และต้องการใช้ไม้สูง

การจัดการวิฤตการณ์สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์
มาตรการจัดการระดับโลก
1. องค์การสิ่งแวดล้อมโลก (UNEP) = หน่วยงานสหประชาชาชาติที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม
2. แผนปฏิบัติการ 21 (AGENDA 21)  เป็นแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้จากการประชุมที่
ริโอ และปฏิญญาโจฮันเนสเบิร์ก เช่น ขจัดความจน สุขภาพอนามัย เศรษฐกิจและสังคม
3. UNFCCC  ว่าด้ว ยการเปลี่ ยนแปลงสภาพภู มิอ ากาศ โดยควบคุ ม ก๊า ซเรื อ นกระจกของประเทศ
อุตสาหกรรม
พิธีสารเกียวโต ออกมาเพื่อให้ร่วมกันลดการปล่อยเรือนกระจก แต่อเมริกาไม่ให้สัตยาบัน
4. UNCCD  ว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย เพื่อแก้ไขความแห้งแล้ง และพัฒนาพื้นที่แห้งแล้ง
5. CBD  ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ให้รักษาระบบนิเวศ
6. อนุสัญญารอตเตอร์ดัม  ว่าด้วยสารเคมีป้องกันกาจัดศัตรูพืชและสัตว์
7. RAMSAR  ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้า เพื่ออนุรักษ์ เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้า
พื้นที่ชุ่มน้าระหว่างประเทศของไทย คือ พรุควนขี้เสียน จังหวัดพัทลุง
8. BASEL  ว่าด้วยการควบคุมและกาจัดของเสียอันตราย จากการที่มักนาไปทิ้งในประเทศกาลังพัฒนา
9. อนุสัญญาวอชิงตันหรืออนุสัญญาไซเตส (CITES)  ว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่
หมายเลข 1 ห้ามค้าเด็ดขาด เช่น ลิงอุรังอุตัง แพนด้า ช้างเอเชีย นกกระเรียน
หมายเลข 2 ควบคุมการค้า เช่น โลมา นาก ชะมด
หมายเลข 3 คุ้มครองในเขตประเทศ เช่น ควาย นกขุนทอง
10. อนุ สั ญ ญาว่า ด้ วยการคุ้ม ครองมรดกโลกทางวัฒ นธรรมและธรรมชาติ : ประเทศไทยมี 5 แห่ ง คื อ
อุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ สุ โขทั ย -ศรี สั ช นาลั ย -ก าแพงเพชร อุ ท ยานประวัติ ศ าสตร์พ ระนครศรีอ ยุ ธ ยา
80
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ป่าดงพญาเย็น -อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่


นเรศวร-ห้วยขาแข้ง
11. อนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องชั้นโอโซน ได้แก่ อนุสัญญาเวียนนา พิธีสารมอนทรีออล เพื่อควบคุมCFCs

องค์กรระดับประเทศ

ภาครัฐบาล  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภาคเอกชน (NGO)
1. มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร: เพื่อราลึกคุณความดีของสืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วย
ขาแข้ง โดยส่งเสริมให้ช่วยกันดูแลเขตป่าอนุรักษ์ ป่าไม้ และสัตว์ป่า
2. สมาคมหยาดฝน: เพื่อส่งเสริมและพัฒนาชนบท ให้ตระหนักคุณค่าทรัพยากรในชุมชน และจัดการ
ทรัพยากรในท้องถิ่น เช่น กลุ่มอนุรักษ์เต่าทะเลและพะยูน ในจังหวัดตรัง
3. สมาคมสร้างสรรค์ไทย: รณรงค์ให้ประชาชนรับผิดชอบสังคมให้สะอาด ไม่มีขยะ เช่น โครงการตา
วิเศษ
4. มูลนิธิเพื่อนช้าง: ช่วยเหลือช้างให้วิถีชีวิตดีขึ้น สร้างโรงพยาบาลช้างที่ลาปาง

องค์กรระดับโลก
Greenpeace
 “ฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตในโลกให้เข้มแข็ง และดารงความหลากหลายด้านชีวภาพและสิ่งแวดล้อม”
 เป็ นองค์กรพัฒ นาเอกชนนานาชาติที่ดาเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ทาให้สาธารณชนสนใจต่อ
อันตรายด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งที่ผ่านกระบวนพันธุวิศวกรรม ต่อต้านเตาเผาขยะไม่ได้มาตรฐาน ซึ่ง
ทาให้เกิดโรคมะเร็ง
 กรีนพีซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดขึ้นเพราะการพัฒนาเศรษฐกิ จภาคอุตสาหกรรม กรีนพีซ
สากลจึงได้ขยายงานและรณรงค์แก้ปัญหาภาวะมลพิษที่เข้ามา
กองทุ น สิ่ งแวดล้ อ มโลก (GEF): ความร่ ว มมื อ ด้ า นการเงิ น ระหว่ างประเทศ เพื่ อ แก้ ไขปั ญ หา
วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมโลก

81
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF): เป็ นองค์กรเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่ออนุรักษ์ ป่าไม้ แหล่งน้า


ทะเลและมหาสมุทร พืช-สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สารเคมีเป็นพิษ

หลัก 7 R
Rethink ( คิดใหม่ ) Reduce ( ลดการใช้ ) Reuse ( ใช้ซ้า ) Recycle ( นากลับมาใช้ใหม่ )

Repair ( ซ่อมแซม ) Reject ( ปฏิเสธ ) Return ( ตอบแทน )

โครงการตามแนวพระราชดาริของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

 โครงการแก้มลิง แก้ปัญหาน้าท่วม และเพื่อการชลประทาน โดยการทาพื้นที่กักเก็บน้า


 กังหันน้าชัยพัฒนา ใช้ในการบาบัดน้าเสีย เพิ่มออกซิเจนในน้า ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรใน
นามพระปรมาภิไธยเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2536
 โครงการบึงมักกะสัน(ไตธรรมชาติ) ใช้ผักตบชวาเพื่อกรองสารพิษในแหล่งน้า เพื่อให้น้าสะอาดขึ้น
 โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี บาบัดน้าเสียโดยบ่อบาบัดร่วมกับ
ใช้วัชพืช เช่น กก ธูปฤาษี เพื่อดูดซึมของเสียที่อยู่ในน้า
 โครงการน้าดีไล่นาเสี
้ ย อาศัยปรากฏการณ์น้าขึ้นน้าลง โดยการใช้น้าดีปล่อยเข้าไปในคลองเพื่อให้น้า
เสียเจือจางลง น้ามีสภาพดีมากขึ้น
 หญ้าแฝก ปลูกหญ้าแฝกเพื่อช่วยลดการพังทลายหน้าดิน และอนุรักษ์ดิน

82
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

 แกล้งดิน แก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยการทาให้ดินแห้งเปียกสลับไป จนเป็นกรดจัด แล้วจึงปรับปรุงดิน


(เริ่มต้นที่ ศูนย์การพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดาริ จ.นราธิวาส)
 ฝายแม้ว ใช้วัสดุธรรมชาติมาปิดทางน้าตามร่องเขาหรือทางลาดชันเพื่อชะลอน้า และกักเก็บน้า
 ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ป่า 3 อย่าง คือ ป่าไม้ใช้สอย ป่าไม้กินได้ ป่าไม้เศรษฐกิจ เพื่อ
ประโยชน์ 4 อย่าง คือ เพื่อนามาใช้สอย เพื่อประกอบอาหาร เพื่อสร้างรายได้ และอนุรักษ์ดินและน้า
 เกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อการบริหารจัดการที่ดินและการใช้น้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด
 โครงการประตูระบายน้า “คลองลัดโพธิ์” บริเวณบางกระเจ้า (กระเพาะหมู) เป็นการปรับขุดลอก
คลอง เพื่อเป็นเส้นทางลัดในการระบายน้าออกอ่าวไทยได้เร็วขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาน้าท่วมบริเวณเขต
กรุงเทพและปริมณฑล

83
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สาระที่ 5

ประวัตศ
ิ าสตร์

History

84
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

***การจะทาความเข้าใจในประวัติศาสตร์ได้ น้อง ๆ จะต้องหาจุดเชื่อมโยงของเรื่องราวให้ได้


สร้าง Story ของมันขึ้นมาแล้วลองตั้งคาถามกับมันดูว่า มันเกิดได้ยังไง ผลของมันคืออะไร ใครเป็นคนทาให้เกิด

ความรู้เบื้องต้นทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ = ร่ อ งรอยจากพฤติ ก รรมของมนุ ษ ย์ ในอดี ต รวมทั้ ง สิ่ งต่ างๆตาม
ธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์
ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
1. หลั ก ฐานชั้ น ต้ น (Primary Source) = บั น ทึ ก หรื อ ท าโดยคนที่ เกี่ ย วข้ อ งโดยตรงหรื อ รู้ เห็ น
เหตุการณ์ด้วยตนเอง รวมทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุ
เพิ่มเติม หลักฐานชั้นต้นไม่ได้จากัดอยู่เพียงแต่หลักฐานที่เป็นตัวจริงเท่านั้นแต่รวมถึงสาเนาที่พิมพ์
แล้วด้วย
จารึก = หลักฐานที่บันทึกเหตุการณ์เรื่องราวในสังคม ลงบนโลหะหรืออาจจะเป็นหินก็ได้
พงศาวดาร = บันทึกเรื่องราว เหตุการณ์และพระราชกรณี ยกิจของพระมหากษัตริย์รวมทั้ง
ความเป็ นไปของอาณาจักร เนื้อหาส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับชนชั้นปกครอง เริ่มในสมัยอยุธยา
จนถึงรัชกาลที่ 5 แต่บางพงศาวดารอาจจะเป็นหลักฐานชั้นรอง เนื่องจากเป็นการจดบันทึก
จากบุคคลที่ไม่ได้ร่วมสมัยในสมัยนั้น หรือเป็นการคัดลอกจากคาบอกเล่า
จดหมายเหตุ = ไดอารี่ ที่จดโดยคนสมัยนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติ มีการใส่ความคิด
ลงไปด้วย ดังนั้นจะต้องใช้วิจารณญาณในการวิเคราะห์หลักฐาน
หนังสือราชการ = เป็นหลักฐานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สูง พบมากในสมัยรัตนโกสินทร์
เช่น ใบบอก สารตรา ศุภอักษร พระราชกิจจานุเบกษา ฯลฯ
โบราณสถานและโบราณวัตถุ ที่สร้างในยุคสมัยนั้น
2. หลักฐานชั้นรอง (Secondary Source) = ผู้บันทึกหรือทารับรู้เหตุการณ์จากบุคคลอื่นมารวมทั้ง
งานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่ได้ข้อมูลมาจากหลักฐานชั้นต้น เช่น หนังสือประวัติศาสตร์ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย
ทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ
เพิ่มเติม โดยปกติแล้วนักประวัติศาสตร์จะให้ความสาคัญกับหลักฐานชั้นต้นมากกว่าหลักฐานชั้นรอง

85
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

การเทียบศักราช

วิธีการทางประวัติศาสตร์
การรวบรวม วิเคราะห์ วิจารณ์และตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อนาเสนอเรื่องราวในอดีตที่มีความ
น่าเชื่อถือ
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
1. การหาหัวข้อ/ปัญ หา/ประเด็ น ที่จะศึกษา = ความสงสั ยใคร่รู้คือที่ มาของหั วข้อหรือขอบเขต
การศึกษา
2. การรวบรวมหลักฐาน / ข้อมูล = เพื่อให้เข้าถึงหลักฐานและข้อเท็จจริงในอดีต
3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน= หลักฐานที่เราหามาไม่ใช่จะนาไปใช้ได้ทั้งหมด บางชิ้นอาจขาด
ความน่าเชื่อถือเพราะฉะนั้ นเราจึงต้องประเมินคุณค่าของหลักฐานก่อน เรียกว่า “วิพากษ์วิธีทาง
ประวัติศาสตร์” มี 2 ขั้นตอน คือ …
(1) วิ พ ากษ์ วิ ธี ภ ายนอก => ดู ว่ า ใครเป็ น ผู้ บั น ทึ ก หลั ก ฐานมี ส ถานภาพใดในขณะนั้ น
บันทึกขึ้น โดยจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร มีความเป็นกลางเพียงใด เป็นของจริงหรือของปลอม
(2) วิพากษ์วิธีภ ายใน => ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากหลักฐานร่วมสมัยอื่น ๆ
ประกอบ เพื่อให้การตีความของเรานั้นได้รับการยอมรับ โดยดูว่าทาขึ้นที่ใด ทาขึ้นเมื่อไหร่ ใครเป็นคน
ทามันขึ้นมา
4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดหมวดหมู่ข้อมูล = เมื่อทราบว่าหลักฐานนั้นเป็นของจริงแล้ว ต้อง
วิเคราะห์ตรวจสอบข้อเท็จจริงในหลักฐานนั้นว่าให้อะไรกับเราบ้าง มีความสมบูรณ์เพียงใด แล้วนามา
จัดหมวดหมู่ เช่น ความเป็นมาของเหตุการณ์ สาเหตุที่ทาให้เกิด ผลของที่เกิดขึ้น เป็นต้น
5. การเรียบเรียงหรือการนาเสนอ = เมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ แล้วก็นามาเรียบเรียงและนาเสนอ
ข้อมูลที่เราได้

86
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ประวัติศาสตร์สากล
อารยธรรมตะวันออก

อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนก่อกาเนิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้าหวงเหอ (ฮวงโห) หรือแม่น้าเหลือง
และขยายไปจนถึงแม่น้าแยงซีทางตอนใต้ของจีน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการอารยธรรมจีน
1. ด้านภูมิศาสตร์
ประเทศจีนเป็นดินแดนที่กว้างใหญ่ มีลักษณะโดดเดี่ยว เนื่องจากมีเทือกเขาและที่
ราบสู งกั้น อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ มีทะเลอยู่ทางตะวันออก มีทะเลทรายอยู่ทางตะวันตก --> มีโอกาส
พัฒนา ความเจริญ --> อารยธรรม
2. ภัยธรรมชาติ
อารยธรรมจีนตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้า เมื่อไหร่ที่น้ามากก็ทาให้ เกิดน้าท่วม และด้วยการที่อยู่ในเขต
อบอุ่น เวลาหน้าแล้งฝนมีน้อย น้าไม่พอ จึงเกิดระบบชลประทานเพื่อเอาชนะธรรมชาติ
มีแม่น้าที่สาคัญ 2 สายคือ
แม่ น้ าหวงเหอ (ฮวงโห) หรื อ แม่ น้ าเหลื อ ง --> เกิ ด น้ าท่ ว มบ่ อ ย --> อุ ด มสมบู ร ณ์ -->
มีการตั้งถิ่นฐาน พัฒนาเป็นเมือง (ฉางอาน ซีอาน) [เป็นต้นกาเนิดของอารยธรรมจีน]
แม่ น้ าแยงซี -> มี ที่ ร าบลุ่ ม เป็ น ที่ ตั้ งของเมื องหลวงในอดี ต (นานกิ ง), มี ป ระชากรอาศั ย
หนาแน่น มากที่สุด [เป็นแหล่งอารยธรรมที่สมบูรณ์]
อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมยุคหินใหม่
วัฒนธรรมหยางเชา
 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้าหวงเหอ
 พบเครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี ลายเรขาคณิต
วัฒนธรรมหลงชาน
 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – แม่น้าฉางเจียง
 พบเครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียด ภาชนะเป็นแบบ 3 ขา

87
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

อารยธรรมจีนสมัยประวัติศาสตร์
ราชวงศ์ เหตุการณ์สาคัญ
ชาง ปกครองแบบนครรัฐ, พบอักษรภาพบนกระดูกเสี่ยงทาย
โจว ระบบศักดินา , กาเนิดลัทธิขงจือ๊ เล่าจื๊อ ฟาเฉีย , แนวคิด “อาณัติสวรรค์” (เทียนหมิง)
ฉิน สร้างรวบรวมจีนให้เป็นปึกแผ่น, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์, มีการใช้ระบบเงินตรา มาตราชั่ง ตวง วัด
ใช้แนวคิดแบบฝาเฉียในการปกครอง, ยกเลิกระบบศักดินา, เสริมสร้างกาแพงเมืองจีน
ฮั่น ชาวจีนเรียกตัวเองว่าเป็นชาวฮัน่ , การสอบจอหงวน, เส้นทางสายไหม, ใช้เหล็กแทนสาริด, ประดิษฐ์กระดาษ, เข็มทิศ
สุย บูรณะกาแพงเมืองจีน, ขุดคลองใหญ่ต้ายุ่นเหอ เชื่อมดินแดนทางตอนเหนือกับตอนใต้
ถัง ยุคทองวรรณกรรมจีน, พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง, เปิดโอกาสให้ลัทธิ ศาสนาต่างๆมาเผยแผ่ในจีน
พระถังซาจั๋งเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก
ซ้อง (ซ่ง) วิทยาการการพิมพ์, เริ่มการค้าขายทางเรือ สินค้าสาคัญคือ ถ้วยชามกระเบื้องเคลือบ
ยุคทองของภาพวาดและวรรณคดีจีน
หยวน ชาวมองโกลเข้ามาครอบครอง โดย K.กุบไลข่าน
ศาสนาคริสต์เจริญรุ่งเรือง, ติดต่อทางการทูตกับไทย, การเชื่อมโลกตะวันออกกับตะวันตก
(มาร์โค โปโลเดินทางเข้ามาในจีน)
หมิง การค้าทางทะเลเฟื่องฟู, ขันทีเจิง้ เหอบุกเบิกการเดินเรือจนถึงแอฟริกา,
สร้างพระราชวังกู้กง (พระราชวังต้องห้าม) ในกรุงปักกิ่ง
ชิง ชาวแมนจูบุกจีน, เกิดสงครามฝิ่นกับอังกฤษ,

จีนสมัยสาธารณรัฐ
เหตุ การณ์ ก่ อนการโค่น ล้ ม ราชวงศ์ ชิง ราชวงศ์ชิ งเป็ น ชาวแมนจู เป็ น ชาวต่างประเทศ ที่ ม า
ปกครองจีน แต่ ในช่วงปลายราชวงศ์ก็เกิดวิกฤตการณ์ ห ลายครั้ ง เกิดกบฏนักมวย ซ้าร้ายพวก
ข้าราชการยั ง ฉ้อราษฎร์ บั งหลวง เศรษฐกิจ ตกต่า เกิดภั ยพิบั ติท างธรรมชาติ บ่อยครั้ง ชาวจีน
เดือดร้อน แพ้สงคราม กับชาวต่างประเทศมาโดยตลอด
สงครามฝิ่น จีนแพ้อังกฤษ จึงต้องทาสนธิสัญญานานกิง มีผลคือ จีนต้องยกเลิกการผูกขาดการค้า
ชดใช้ค่าเสียหาย เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เสียเกาะฮ่องกงให้อังกฤษเช่านาน 99 ปี
แพ้สงครามกับญี่ปุ่น จีนคิดว่าตัวเองเก่ง แต่แพ้ญี่ปุ่นที่จีนเป็นแบบอย่างให้ ทาให้คนจีนรับไม่ได้
กับแมนจู
การปฏิวัติซิ่นไฮ่ เป็นการปฏิวัติล่มล้างราชวงศ์จีน (แมนจู) ในปี ค.ศ. 1911 โดย ดร.ซุน ยัตเซน

หลักไตรลักษณ์ (ซาหมิงจูหงี) เป็นหลักที่ ดร. ซุน ยัดเซ็น ประกาศภายหลังการปฏวัติซิ่นไฮ่ ประกอบด้วย


1. โค่นล้มราชวงศ์ชิง 2. จัดตั้งสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตย) และ 3. ให้ราษฎรมีสิทธิครองที่ดิน

88
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ซุน ยัต เซ็น หยวน ซื่อ ไข่ เหมา เจ๋อ ตุง เจียง ไค เช็ค
ผู้นาการปฏิวัติซิ่นไฮ่ ประธานาธิบดี ผู้นาพรรคคอมมิวนิสต์ ผู้ก่อตั้งประเทศไต้หวัน

ลาดับเหตุการณ์สาคัญก่อนเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน
ดร.ซุน ยัตเซ็น ตั้งพรรค “ก๋กมินตั๋ง” โค่นล้มราชวงศ์ชิงสาเร็จ หยวน ซื่อ ไข่ ได้ดารงตาแหน่ง
ประธานาธิบดีคนแรก
เมื่อหยวน ซื่อ ไข่ เสียชีวิต ดร. ซุน ยัต เซ็น เป็นประธานธิบดีคนต่อมา จีน เริ่มระส่าระส่าย
ระหว่างนี้มีแนวคิดคอมมิวนิสต์แทรกมา
นายพลเจียง ไค เช็ค เข้ามาปราบก๊กต่าง ๆ แล้วสถาปนาตนเองเป็นประธานาธิบดี
แนวคิดคอมมิวนิสต์เริ่มใหญ่ขึ้น นาโดยเหมา เจ๋อ ตุง (ภัยต่อเจียง ไค เช็ค)
นายพลเจียงปราบไม่ได้ มีสงครามโลกครั้งที่ 2 เลยไปร่วมกับเหมา ต่อสู่ญี่ปุ่น
เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม เจียงกับเหมาก็เชิดใส่กันอีกครั้ง เจียงแพ้เลยไปอยู่ไต้หวัน

จีนสมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน
เหมา เจ๋อ ตุง ปฏิวัติจีนเปลี่ยนเป็นคอมมิวนิสต์สมบูรณ์ ปี ค.ศ. 1949
เหมาจัดระเบียบสังคมใหม่ => ปฏิวัติวัฒนธรรม กาจัด 4 เก่า (ประเพณี,วัฒนธรรม,
ความคิด, นิสัย)
เมื่อเหมา เจ๋อ ตุง เสียชีวิต นายพลเติ้ง เสี่ยว ผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ก็เข้ามา
นายพลเติ้งมีแนวคิด “4 ทันสมัย” => เกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีทหาร => เปิดโอกาสให้ต่างชาติมาทาธุรกิจและเตรียมรับเกาะฮ่องกงคืนจาก
ประเทศอังกฤษ ที่มาของ 1 ประเทศ 2 ระบบ
เกิดวิกฤติการณ์เทียนอันเหมิน => ปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยอย่างรุนแรง

89
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

อารยธรรมอินเดีย

ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์ทาให้เกิดการสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดีย ?
อินเดียได้ชื่อ “อนุทวีป” เพราะมีขนาดเกือบเท่ากับทวีปยุโรป มีความแตกต่างกันทางภูมิศาสตร์ ดังนี้
- ตอนเหนือยาวไปทางตะวันออก เป็นเขตเทือกเขาสูง (เทือกเขาหิมาลัย) มีภูมิอากาศหนาวเย็น
- มีเขตที่ราบลุ่ม น.สินธุ น.คงคา น.พรหมบุตร --> ความอุดมสมบูรณ์
- เขตที่ราบสูงตอนกลาง มีเทือกเขาวินธัย, ที่ราบสูงเดคข่าน กั้น --> อินเดียเหนือ – อินเดียใต้
- มีทะเลล้อมรอบ ทางตะวันตกคือ ทะเลอาหรับ ทางตะวันออกคือ มหาสมุทรอินเดีย
เพราะฉะนั้น ทาให้อินเดียมีลักษณะโดดเดี่ยว (คล้ายกับจีนเลย) --> การหล่อหลอมอารยธรรม
ที่มาของชื่อ “อินเดีย”
ชาวอารยั น (มาจากเอเชี ย กลาง) ที่ เข้า มาตั้ งถิ่ น ฐานในดิ น แดนนี้ เรีย กแม่ น้ าสายใหญ่ ที่ อ ยู่ ท าง
ตะวันตกเฉียงเหนือว่า “สินธุ” เป็นภาษาสันสกฤต ต่อมาชาวเปอร์เซียมายึดแถวนี้ได้ ออกเสียงตัว S
ไม่ได้ เลยกลายเป็ น “ฮิน ดู ” ต่อมาชาวกรีก ก็มาเรียกเพี้ยนออกไปเป็น “อินดอส” “อินดีส ” เลย
กลายเป็นอินเดีย
สินธุ --> ฮินดู --> อินดอส --> อินเดีย
เคยได้ยินไหมกับคาว่า “ดินแดนภารตะ”
ดินแดนภารตะ ก็คือ อินเดีย นั่นเอง เพราะว่าชาวอินเดียเรียกดินแดนของตัวเองว่า “ภารตวรรษ”
ซึ่งหมายความว่า ดินแดนพระภรต นอกจากนี้ก็ยังเรียกว่า “ชมพูทวีป” ด้วยนะ
> ท้าวภรต ถือว่าเป็นต้นกาเนิดของชาวอินเดีย เกิดจากท้าวทุษยันต์กับนางศกุนตลา เป็นต้นวงศ์ของ
พวกเการพกับพวกปาณฑพในเรื่องมหาภารตะนั่นเอง ชาวอินเดียเรียกบอกว่าตัวเองเป็นลูกของท้าวภรต
> ชมพูทวีป หมายถึง ดินแดนแห่งต้นหว้า ตามวรรณคดีทางศาสนาพุทธ
> เอเชียใต้ = คานี้เป็นศัพท์ใหม่ เริ่มใช้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บางทีจะเรียกว่าอนุทวีป เพราะมี
ขนาดกว้างใหญ่พอ ๆ กับทวีปยุโรป (รวมประเทศเนปาล ปากีสถาน บังกลาเทศ ภูฎาน และศรีลังกา)
อารยธรรมอินเดียสมัยก่อนประวัติศาสตร์
อารยธรรมสินธุ (เก่าแก่สุด)
มีเจ้าของคือ พวกดราวิเดียนหรือฑราวิทหรือมิลักขะ (ตัวเตี้ย หัวหยิก ผิวดา)
มีเมืองสาคัญๆที่ขุดพบอยู่ 2 เมืองคือ โมเฮนโจดาโร, ฮารัปปา ปัจจุบันอยู่ประเทศปากีสถาน

90
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ลักษณะสาคัญของทั้ง 2 เมือง คือ


- มีการวางผังเมือง เป็นระเบียบ แบ่งเมืองเป็นตารางแยกพื้นที่ใช้สอยกัน
- มีการสร้างกาแพงเมืองและป้อมปราการ
- มีสุขาภิบาล คือ มีห้องน้า มีท่อระบายน้าเสีย มีอ่างอาบน้าใหญ่
อารยธรรมอารยัน
พัฒนามาจากอารยธรรมสินธุโดยชาวอารยันที่อพยพเข้ามาทางช่องเขาไคเบอร์
หลักฐานที่ใช้ศึกษาอารยธรรมอารยันคือ “คัมภีร์พระเวท” จึงเรียกยุคสมัยนี้ว่า “สมัยพระเวท” โดย
จะแบ่งเป็น “พระเวทตอนต้น” กับ “พระเวทตอนปลาย”
> พระเวทตอนต้น – ช่วงที่อารยันมารุกรานชาวดราวิเดียน เกิดมีวรรณะขึ้นมา เพื่อกดขี่ชาวดราวิ
เดียน
> พระเวทตอนปลาย – ช่วงที่อารยันอื่นๆเข้ามาตั้งรกรากในอินเดีย แล้วเกิดการรบกันระหว่างรัฐ
อาจเรียกยุคนี้ว่า ยุคมหากาพย์ก็ได้
สมัยมหากาพย์
ที่เรียกแบบนี้เพราะว่ามี มหากาพย์เกิดขึ้น 2 เรื่องคือ “รามายณะ” กับ
“มหาภารตะ”
รามายณะ ประพันธ์โดย ฤๅษีวาลมิกิ เป็นเรื่องราวของ พระรามที่รบกับ
ทศกัณฐ์ (ธรรมะกับอธรรม) โดยมีกองทัพวานรเป็นผู้ช่วยฝ่ายพระราม
มหากาพย์เรื่องนี้ เป็ น การสมมติให้ฝ่ ายพระรามคือ “ชาวอารยัน ” และ
ฝ่ายยักษ์หรือทศกัณฐ์คือ “ชาวดราวิเดียน” (ส่งผลต่อวัฒนธรรมในแถบอาเซียนมาก คือ รามเกียรติ์ นั่นเอง
โดยสะท้อนให้เห็นจากงานศิลปกรรม งานวรรณกรรม นาฏศิลป์) อีกทั้งมหากาพย์รามายณะยังไปสอดคล้อง
กับการเกิดขึ้นของสะพานอดัมที่เชื่อมระหว่างอินเดียกับศรีลังกาอีกด้วย คือ เป็นถนนที่พระรามจอง (สร้าง)
ขึ้น เพื่อเข้าไปยังกรุงลงกาในภารกิจนานางสีดากลับมา
มหาภารตะ ประพันธ์โดย ฤๅษีวยาส เป็นเรื่องราวการทาสงครามของพี่น้องตระกูล
เดียวกัน แต่แบ่ง 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายปาณฑพ นาโดย ยุธิษฐิระ ภีมะ อรชุน นกุลและสหเทพ กับ
ฝ่ายเการพ นาโดย ทุรโยธน์ กรรณะ ทุหศาสัน โดยทาสงครามกันที่ทุ่ง กุรุเกษตร เป็นเวลา
กว่า 18 วัน สุดท้ายฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะ
มหากาพย์เรื่องนี้เป็ นการเล่าถึงการทาสงครามกันเองระหว่างชาวอารยัน รวมถึงได้เกิดคัมภีร์หนึ่ง
ขึ้นมาจากมหากาพย์เรื่องนี้คือ “ภควัทคีตา” เป็นบทสนทนาระหว่างพระกฤษณะกับอรชุน ที่เกี่ยวกับหน้าที่
ของกษัตริย์และการดาเนินชีวิตที่เป็นอาตมัน
มหากาพย์เรื่องนี้ไม่ค่อยส่งอิทธิพลต่อศิลปกรรมของไทยเท่ากับรามายณะ แต่ในแถบอาเซียน
โดยเฉพาะประเทศกัมพูชา และประเทศอินโดนีเซีย เฉพาะที่เกาะบาหลี จะพบศิลปกรรม ประติมากรรม
ที่เกี่ยวกับมหากาพย์ภารตะอยู่ เช่นที่ นครวัด กัมพูชา มีภาพแกะสลักหินเรื่องราวเกี่ยวกับมหาภารตะอยู่

91
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

โดยรอบผนัง และที่เกาะบาหลีก็มีงานประติมากรรมตัวละครต่าง ๆ ในมหาภารตะด้วย ส่วนในประเทศไทยนั้น


ส่วนใหญ่แล้ว จะมาปรากฎในงานวรรณกรรมหรือชื่อตาแหน่งสาคัญต่างมากกว่า เช่น สาวิตรี ศกุนตลา
พระนลคาหลวงในลิลิตยวนพ่ายก็มีการเปรียบเทียบความสามารถของกษัตริย์กับตัวละครในมหาภารตะ
อารยธรรมอินเดียสมัยประวัติศาสตร์
สมัยพุทธกาล เกิดศาสนาพุทธและศาสนาเชน ขึ้นในสมัยนี้
หลังจากยุคนี้มีชาวเปอร์เซียและกรีกได้เข้ามารุกรานอินเดียทางตอนเหนือ โดยมาทางช่องเขาไคเบอร์
แต่อินเดียก็ยังคงสามารถดารงอยู่ได้ และเกิดราชวงศ์ที่สาคัญขึ้นมาดังนี้
ราชวงศ์ เหตุการณ์สาคัญ
โมริยะหรือ พระเจ้าอโศกมหาราชรวบรวมดินแดนอินเดีย, การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3,
เมารยะ สร้างสถูป วัด จารึกศิลาพระเจ้าอโศก, การส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ชาวกรีกเข้ามา -> พระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 (พระยามิลินทร์) เกิดมิลินทปัญหา เกิดพระพุทธรูปศิลปะกรีก
(คันธาระ)
กุษาณะ K. องค์สาคัญคือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช สนับสนุนศาสนาพุทธนิกายมหายาน, เกิดมหาศักราช, ศาสนา
พุทธมหายานแพร่ไปยังประเทศจีน
คุปตะ ยุครุ่งเรืองของอารยธรรมอินเดีย
เกิดเลขศูนย์และระบบเลขอารบิค, เกิดวรรณกรรมเรื่องศกุนตลา,
จิตรกรรมฝาผนังถ้า (ถ้าอชันตา), สถาปัตยกรรมถ้า (ถ้าเอลโลรา, ถ้าเอเลฟานตะ)
พระถังซาจั๋งเดินทางมาอินเดียในสมัยนี้, เกิดการทาเหรียญตรา
โมกุล ราชวงศ์ของชาวมุสลิมที่เข้ามา, เก็บภาษีจิชยา จากผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม, เกิดศาสนาซิกข์,
กษัตริย์ที่สาคัญ = พระเจ้าอักบาร์มหาราช, การสร้างทัชมาฮาลในสมัย K.ชาห์เจฮาน, อังกฤษเข้ามา

ยุคจักรวรรดินิยม
ประเทศอังกฤษเริ่มเข้ามาตั้งแต่บริษัทการค้าในอินเดียคือ “บริษัทอีสต์อินเดีย” และต่อมา
สามารถยึดครองและปกครองอินเดียได้โดยตรง ส่วนที่เหลือที่เป็นรัฐขนาดเล็กๆ จะก็มี “มหาราชา”
เป็นประมุขที่อยู่ภายใต้การอารักขาของอังกฤษ
ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
กลุ่มชาตินิยมในอินเดียที่เป็นทั้งชาวฮินดูและมุสลิมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษโดยอหิงสา
มีผู้นาคนสาคัญคือ มหาตมะ คานธี, ยวาห์ราล เนห์รู

92
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ประกาศเอกราช
อังกฤษให้ เอกราชกับ อิน เดีย ในปี พ.ศ. 2490 แต่ก็ได้แบ่งอินเดียออกเป็น 2 ส่ วน คือ ผู้ ที่นับ ถือ
ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ก็อยู่ในอินเดียเหมือนเดิม และ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ให้ไปรวมกันอยู่ในปากีสถาน

อารยธรรมตะวันตก การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตัวอักษร ยุคประวัติศาสตร์

ยุคหินเก่า ยุคหิน ยุคหินใหม่ ยุคโลหะ ยุคโบราณ ยุคกลาง ยุคสมัยใหม่ ยุคปัจจุบัน


กลาง
1) สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เป็ น ช่ว งเวลาที่ มนุ ษย์ ยั งไม่ มีการประดิษ ฐ์ อักษรเพื่ อใช้บัน ทึ ก ยุคนี้ เริ่มตั้งแต่ มีมนุ ษ ย์
กาเนิดขึ้นบนโลกจนกระทั่งรู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก
เราศึกษามนุษย์ในยุคนี้โดยใช้หลักฐานทางโบราณคดี เช่น โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือ
เครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผา จนถึง ถ้า หน้าผา ภาพวาดที่มนุษย์วาดไว้
ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งย่อยออกได้ ดังนี้
1.1) ยุคหิน
1.1.1) ยุคหินเก่า (Old Stone Age) => มีการล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร อาศัยตามถ้า รู้จักใช้ไฟ
1.1.2) ยุ ค หิ น กลาง (Middle Stone Age) => เริ่ม ท าเครื่อ งจั ก สาน เครื่ อ งมื อ หิ น มี ค วาม
ประณีตมากขึ้น รู้จักทาเครื่องปั้นดินเผา ที่สาคัญเริ่มมีการเพาะปลูก แต่ก็ยังเร่ร่อนอยู่
1.1.3) ยุคหินใหม่ (New Stone Age) => เริ่มอยู่เป็นหลักแหล่ง มีการรวมตัวกันเป็นหมู่บ้าน
สร้างที่พักถาวร อยู่ตามลุ่มน้า มีการเพาะปลูกจนกลายเป็นสังคมเกษตรกรรม
1.2) ยุคโลหะ
โลหะชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนามาใช้คือ “ทองแดง” ปรากฏหลักฐานที่บริเวณลุ่มแม่น้า ไทกรีส – ยูเฟรตีส
1.2.1) ยุคสาริด (Bronze Age)
 สาริด = โลหะผสมระหว่างทองแดง + ดีบุก
 ชุมชนเกษตรกรรม --> ชุมชนเมือง
 มีการจัดแบ่งกลุ่มอาชีพ จัดระเบียบทางสังคม --> การพัฒนาเป็นรัฐ
 แหล่งอารยธรรมยุคสาริดที่สาคัญ => เมโสโปเตเมีย , ลุ่มน้าฮวงโห , ลุ่มน้าไนล์ , ลุ่มน้าไน
1.2.2) ยุคเหล็ก (Iron Age)
 สังคมที่สามารถพัฒนาการผลิตเหล็ก --> พัฒนาความเป็นรัฐ --> ขยายกองทัพได้
 แหล่งอารยธรรมแรกที่สามารถผลิตเหล็กได้ => เมโสโปเตเมีย

93
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ยุคโลหะถือได้ว่ามนุษย์เข้าสู่ความเจริญขั้นอารยธรรม มีองค์ประกอบสาคัญ 5 อย่างได้แก่


1. มีความสามารถและความชานาญในการใช้โลหะ
2. มีชุมชนใหญ่ระดับเมือง มีการจัดระเบียบการปกครอง
3. มีการแบ่งงานตามอาชีพ
4. มีการทาปฏิทิน
5. มีการใช้ตัวอักษร

2) ยุคประวัติศาสตร์ เริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวสุเมเรียนในเมโสโปเตเมียประดิษฐ์ตัวอักษรรูปลิ่มหรืออักษรคูนิฟอร์ม
นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งออกเป็น 4 สมัยใหญ่ ๆ ดังนี้

ยุคโบราณ ยุคกลาง ยุคสมัยใหม่ ยุคร่วมสมัย

สุเมเรียน โรมันตะวันตก โรมันตะวันออก สิ้นสุดสงครามโลก ปัจจุบัน


(เมโสโปเตเมีย) ล่มสลาย ล่มสลาย ครั้งที่ 2
ยุคโบราณ
เริ่มจากการประดิษฐ์ตัวอักษรของชาวสุเมเรียนจนกระทั่งถึงการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน
ตะวันตก
เป็นยุคที่สร้างอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกตะวันตก => เมโสโปเตเมีย => อียิปต์ => กรีก =>
โรมัน
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้าไทกรีส – ยูเฟรตีส (วงโค้งพระจันทร์แห่งความอุดมสมบูรณ์) ปัจจุบันอยู่ในแถบ
ประเทศอิรัก, อิหร่าน มีชนเผ่าต่างๆ ผลัดเปลี่ยนมาครอบครอง (เรียกว่า ชนเผ่าเซมิติค)
ชนเผ่า อารยธรรมที่เกิดขึ้น
ชนเผ่าแรกที่ครอบครอง, ประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม, ระบบชลประทาน, สร้างซิกกูแรต
สุเมเรียน
การคานวณวัน/เวลา, อยู่กันแบบนครรัฐ , มหากพย์กิลกาเมซ
อมอไรต์ (บาบิโลเนียเก่า) กษัตริย์องค์สาคัญ = ฮัมมูราบี --> ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (ตาต่อตา ฟันต่อฟัน)
ฮิตไทต์ พวกถนัดใช้เหล็กในการทาอาวุธ [เป็นชนชาติแรกที่รู้จักใช้เหล็ก]

94
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สร้างถนนเชื่อมต่อดินแดนต่างๆ (ต้นแบบให้กับโรม), หอสมุดเมืองนิเนเวห์ , ภาพ


อัสซีเรีย แกะสลักนูนต่าแสดงวิถีชีวิต

กษัตริย์องค์สาคัญ = เนบูคัดเนซซาร์ --> ก่อสร้างหอคอยบาบิโลน (สวนลอยบาบิโลน)


แคลเดียน (บาบิโลนใหม่)
แบ่งสัปดาห์เป็น 7 วัน
เปอร์เซีย ทีต่ ั้งปัจจุบันคือประเทศอิหร่าน, ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (การบูชาไฟ)
ฟินิเชียน เก่งทางด้านการค้าขาย, อักษรฟินีเชียน ต้นแบบอักษรละติน
ฮีบรู เกิดศาสนายิว ต้นกาเนิดของศาสนาคริสต์และอิสลาม

อารยธรรมอิยป
ิ ต์
ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้าไนล์ ในทวีปแอฟริกา ก่อนสมัยประวัติศาสตร์อยู่กันแบบรัฐ เรียกว่า “โนม” แต่
ละโนมจะมีหัวหน้าและมีสัญลักษณ์ของแต่ละโนม เช่น เหยี่ยว สุนัข [อียิปต์แบ่งตัวเองเป็น อียิปต์บนกับอียิปต์ล่าง]
ปัจจัยหล่อหลอมอารยธรรมอียิปต์สมัยราชวงศ์
1. ที่ตั้ง = ตั้งอยู่ที่ราบลุ่มแม่น้าไนล์ --> พัดตะกอนมา --> เป็นปุ๋ย --> เพาะปลูกริมฝั่งน้า
เนื่องจากมีพื้นที่แห้งแล้ง --> เพาะปลูกปีละครั้ง --> ขุดคลองส่งน้า --> ชลประทาน
2. ทรัพยากรธรรมชาติ = ส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิตและหินทราย (คงทน,แข็งแรง) --> ก่อสร้าง
มีต้นปาปิรุส --> ทากระดาษ [ความก้าวหน้าในการบันทึก + สร้างงานวรรณกรรม]
3. ระบอบการปกครอง = ฟาโรห์และขุนนางช่วยกันปกครอง มีพระเป็นช่วยศาสนา ออกแบบพีระมิด
ฟาโรห์มีอานาจ --> สร้างสรรค์ความเจริญตามนโยบาย --> การสร้างพีระมิด
4. ภูมิปัญญา = ประดิษฐ์อักษรภาพหรือเฮียโรกลิฟฟิก,
ความเจริญทางการแพทย์ --> ผ่าตัด + มัมมี่
5. ความรู้ทางดาราศาสตร์ --> ทาปฏิทิน, ความรู้ทางคณิต + ฟิสิกส์ --> การก่อสร้าง,
6. ศาสนา --> นับถือเทพเจ้า (สูงสุดคือ เทพราหรือเร) เชื่อในโลกหลังความตาย --> คัมภีร์ของผู้ตาย

อารยธรรมกรีก
ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรบอลข่าน ทวีปยุโรป พื้นที่เต็มไปด้วยภูเขา --> แยกกันอยู่ --> นครรัฐ (โปลิส)
อารยธรรมกรีกแบ่ง 2 ยุค คือ อารยธรรมเฮเลนนิค (กรีกแท้ๆ) กับ อารยธรรมเฮเลนนิสติค (กรีกผสม)

95
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

มรดกทางอารยธรรมของกรีก
1. ศาสนา = นับถือเทพเจ้า (สูงสุดคือ ซุส) -> การรื่นเริงถวายเทพเจ้า -> ละคร, แข่งกีฬา
2. สถาปัตยกรรม = ใช้หินอ่อน เสาประกอบมี 3 แบบ
(Doric = เรียบ, Ionic = ม้วนหน่อยพองาม, Corinthain = หรูหราอลังการ)
3. ประติมากรรม = รูปสลักนูน (ผญ.มีเสื้อผ้าแบบจีบริ้ว, ผช.เป็นนักกีฬาเปลือยแสดงความกายา)
4. จิตรกรรม = วาดบนภาชนะ เกี่ยวกับเทพเจ้า นักกีฬา
5. วิทยาศาสตร์ = เกิดทฤษฎีต่างๆทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมา
6. ปรัชญา = นักปรัชญาคนสาคัญคือ โซเครตีส, เพลโต, อริสโตเติล แนวคิดสาคัญ = ประชาธิปไตย,
มนุษยนิยม, ปัจเจกชนนิยม, ธรรมชาตินิยม

อารยธรรมโรมัน
ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรอิตาลี ทวีป ยุโรป เกิดจากผสมผสานอารยธรรมกรีก เป็นรากฐานของอารย
ธรรมตะวันตกในปัจจุบัน
มรดกทางอารยธรรมของโรมัน
1. การปกครองโดยใช้หลักกฎหมาย = ประมวลกฎหมายจัสติเนียน (กฎหมายสิบสองโต๊ะ)
2. การแพทย์ = มีการผ่าตัด รวมถึงผ่าคลอด (การคลอดแบบซีซาร์เรี่ยน)
3. เกิดภาษาละติน
4. มีระบบท่อลาเลียงน้า (ชลประทาน), โรงอาบน้าสาธารณะ, การก่อสร้างโดยใช้รูปโค้ง
5. ศิลปกรรม = โคลอสเซียม, แพนธีออน, ภาพวาดแบบเฟรสโก (ภาพปูนเปียก)

ยุคกลาง
 เริ่มตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกจนถึงคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบทวีป
แอฟริกา
 บางแห่งว่าตั้งแต่การล่มสลายของโรมันตะวันตกจนถึงการล่มสลายของโรมันตะวันออก
 เป็นยุคมืดของอารยธรรม อารยธรรมกรีกโรมันเสื่อมลง ถูกครอบงาโดยคริสต์ศาสนา
 มีการปกครองแบบฟิวดัล (Feudalism) = อานาจกระจายอยู่กับขุนนาง อัศวิน
 ระบบเศรษฐกิจแบบแมเนอร์ (Manor) = เขตที่ดินในการปกครองของขุนนาง
 เกิดสงครามศาสนา = สงครามครูเสด (คริสต์ VS มุสลิม [เฉพาะกลุ่มเติร์กเท่านั้น])

96
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ผลของสงครามครูเสด
ล้มระบบฟิวดัล --> กษัตริย์กลับมามีอานาจ --> รวมชาติ --> สู้ศาสนา --> ศาสนาล้ม
การฟื้นฟูอารยธรรมกรีก,โรมัน --> พัฒนาความคิด --> ฟื้นฟูศิลปวิทยาการ --> ออกสารวจทางทะเล
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ
เกิดขบวนการมนุษยนิยม (เพทราช = บิดามนุษยนิยม) --> เกิดวรรณกรรม, ศิลปกรรม, การศึกษา
ยุคสมัยใหม่
การสารวจทางทะเล เริ่มโดยกองเรือของโปรตุเกส นาโดย บาร์โธโลมิว ไดแอส สามารถ
อ้อมแหลมกู๊ดโฮป (แอฟริกา) ได้ ตามมาด้วย คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส กับกองเรือสเปนไปพบ
ดินแดนอเมริกาที่พี่แกบอกว่าคืออินเดีย แล้วต่อมาพี่ อเมริโก เวชปุชชี ก็บอกว่า “เฮ้ย! นี่มัน
ดินแดนใหม่” เลยตั้งชื่อดินแดนตามชื่อพี่แก และก็ยังมีพี่ วาสโก ดา กามา ที่สามารถขึ้นฝั่ง
ที่เมืองกาลิกัต ประเทศอินเดียได้ หนักสุดเลยคือ คุณพี่ เฟอร์ดินาน แมกเจลลัน กับลูกทีมที่
เดินทางรอบโลกจนพี่แกมาตายที่ฟิลิปปินส์

สเปนกับโปรตุเกสเขาแบ่งกันสารวจนะ สเปนไปสารวจทางตะวันตก ส่วนโปรตุเกสไปสารวจทางตะวันออก โดย


มีเส้นเมอริเดียนหรือเส้นสันตะปาปาเป็นตัวแบ่ง เขียนกันเป็นสนธิสัญญาเลยชื่อว่า “สนธิสัญญาตอร์เดซียาส”

การปฏิรูปศาสนา (คริสต์) นาโดย มาร์ติน ลูเธอร์ จนเกิดเป็นนิกายโปรเตสแตนท์


ปฏิ วัติ วิทยาศาสตร์ = นิ โคลั ส คอปเปอร์นิคั ส พบว่าโลกกลมและหมุ นรอบดวงอาทิต ย์
และอีกหลากหลายคนที่ตามกันมา จนเกิดการเกิดการปฏิวัติเทคโนโลยี ของเลยทันสมัยขึ้น
--> ปฏิวัติอุตสาหกรรม
เนื่ องจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ทาให้ คนคิดมากขึ้น มีเหตุผลมากขึ้น ประกอบกับมีการ
ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ --> เกิดยุคแห่งภูมิธรรม มีนักคิด ที่สาคัญเกิดขึ้นหลายคน ที่สาคัญคือ
วอลแตร์, มองเตสกิเออร์, รุสโซ เป็นต้น
ปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรม = เริ่ ม ที่ อั ง กฤษในอุ ต สาหกรรมทอผ้ า ในช่ ว งนี้ เ กิ ด แนวคิ ด
“คอมมิวนิสต์” ขึ้นมาด้วย นาโดย คาร์ล มาร์กซ์ คนเยอรมัน เนื่องจากเกิดการกดขี่ระหว่าง
ชนชั้นนายทุนกับชนชั้นแรงงานที่อยู่ในระบบอุตสาหกรรม
การปฏิวัติ อุต สาหกรรมนาไปสู่ การแสวงหาอาณานิค ม เพื่ อเป็นตลาดในการขายสิ นค้า
รวมทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรด้วย ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ (แรงงาน)
ลัทธิชาตินิยม เสรีนิยม เกิดขึ้น นาไปสู่ การต่อต้านเจ้าอาณานิคม เริ่มจุดชนวนเหตุขึ้นมา
ที่เซอร์เบีย เมื่อชาวเซอร์เบียลอบสังหารมกุฎราชกุมารฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ แห่งออสเตรีย –
ฮั ง การี น าไปสู่ ส งครามโลกครั้ ง ที่ 1 ระหว่ า งฝ่ า ยไตรภาคี และ ฝ่ า ยสั ม พั น ธมิ ต รหลั ง
97
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงด้วยชัยชนะของ ฝ่ายสัมพันธมิตร จึงเกิดสนธิสัญญาแวร์ -ซายน์


และองค์การสันนิบาติชาติ

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นาเยอรมันเห็นความไม่เป็นธรรมในสนธิสัญญาแวร์-ซายน์ จึงเริ่มประกาศ


สงครามและบุกเข้ายึดโปแลนด์ เลยเป็นชนวนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร กับ ฝ่าย
อักษะ ซึ่งประจวบเหมาะกับฝั่งเอเชีย ที่ญี่ ปุ่นได้เริ่มโจมตี จีนและชาติอื่นๆจนเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา
สงครามจบลงด้วยชัยชนะ ของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต ที่เป็นพันธมิตรกันนั้น ยังมี
ปัญหากันอยู่

ยุคสมัยปัจจุบัน
สงครามเย็น อเมริกากับโซเวียต ทาสงครามประสาทกัน ใช้วิธีโน้มน้าว
เชิ ญ ชวนประเทศต่ า งๆ ให้ เป็ น พวกกั บ ตนเอง โดยใช้ อุ ด มการณ์
การเมือง (อเมริกา = ประชาธิปไตย, โซเวียต = คอมมิวนิสต์)
มีการสร้างสงครามตัวแทน (Proxy War) ไว้ในประเทศอื่น ทาให้เกิดสงครามเกาหลี สงคราม
เวียดนาม และวิกฤติการณ์ที่คิวบา
สงครามเย็นสิ้นสุดลงเมื่อเกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวี ยต แล้วเกิดเป็นประเทศใหม่ๆ
ขึ้นมา
ปัจจุบันสงครามเย็นนี้ก็ยังมีอยู่ แต่เปรียบเสมือนคลื่นใต้น้า ที่อาจปะทุขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ก็ไม่รู้

ประวัติศาสตร์ไทย
อาณาจักรโบราณในไทย

อาณาจักร ลักษณะเด่น
ปกครองแบบนครรัฐ (ให้อิสระแต่ละเมืองปกครองตนเอง) มีศูนย์กลาง คือ เมืองอู่ทอง (จังหวัด
ทวารวดี
สุพรรณบุรี) และเมืองนครปฐม นับถือพุทธศาสนา นิกายหินยาน (พบธรรมจักร และใบเสมา)
ตามพรลิงค์ ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาท แบบลังกาวงศ์ และถ่ายทอดให้
(นครศรีธรรมราช) สุโขทัยด้วย
ศูนย์กลาง คือ เมืองลพบุรี, นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพราะได้รับอิทธิพลจากเขมร
ละโว้ (ลพบุรี)
โบราณสถานที่สาคัญ คือ พระปรางค์สามยอด จ.ลพบุรี

98
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

มีการตั้งข้อสันนิษฐานถึงที่ตั้งไว้ 3 แห่ง คือ เกาะสุมาตรา เกาะชวา และบริเวณคาบสมุทรมลายู


ศรีวิชัย (ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี), เป็นเมืองท่าที่สาคัญ ค้าขายกับจีนเป็นหลัก
นับถือพุทธนิกายมหายาน พบรูปเคารพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพบเจดีย์ทรงปราสาท
มีพระนางจามเทวี ธิดากษัตริย์ขอม เป็นปฐมกษัตริย์, โบราณสถานที่สาคัญ คือ พระธาตุหริภุญชัย
หริภุญชัย
ลาพูน
อยู่บริเวณตอนเหนือของไทย และพม่า, นับถือพุทธลังกาวงศ์ มีการใช้กฎหมาย และใช้ตัวอักษร
ล้านนา
ศิลปะล้านนา (เชียงแสน) เช่น วัดต้นแกว๋น จ.เชียงใหม่

อาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ. 1792 - 1981)

ก่อนหน้าราชวงศ์พระร่วง มีราชวงศ์ “ศรีนาวนาถุม” มาก่อน นาโดย พ่อขุนศรีนาวนาถุม ตอนนั้นมี


ขอมเข้ามารุกราน (ขอมสบาดโขลญลาพง) โอรสคือ พ่อขุนผาเมืองจับมือรวมพลังกับพ่อขุนบางกลางหาว
ต้านขอม หลังจากนั้นพ่อขุนบางกลางหาวก็ครองเมือง ชื่อว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
กษัตริย์องค์สาคัญ
พ่อขุนรามคาแหง โอรสพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขยายดินแดนกว้างขวาง ปกครองแบบพ่อปกครอง
ลูก ศาสนาพุทธเจริญมาก นามาจากนครศรีธรรมราช มีการค้าขายกับต่างประเทศ
พระยาลิไท หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 เปลี่ยนการปกครองมาเป็นแบบธรรมราชาแล้ว เพราะ
แผ่นดินกว้างเหลือเกิน แถมยังแต่งไตรภูมิพระร่วงด้วยเพื่อเป็นคัมภีร์ทางศาสนาควบคุมพฤติกรรม
คนศิลปะต่าง ๆ ของสุโขทัยก็ได้รับความนิยมในสมัยนี้
รูปแบบการปกครองของสุโขทัย
1. เมืองราชธานี – เป็นศูนย์กลางการปกครอง
2. เมืองลูกหลวง – เป็นเมืองหน้าด่านที่บรรดาลูกหลวงไปปกครอง
3. เมืองชั้นนอก – เมืองที่อยู่ห่างออกไป
เศรษฐกิจสมัยสุโขทัย
ทาการเกษตรกรรมมีอุดมสมบูรณ์ “ในน้ามีปลาในนามีข้าว”
มีระบบชลประทานโดยสร้างเขื่อนหรือทานบกั้นน้าที่เรียกว่า“สรีดภงค์” หรือเขื่อนพระร่วง
ให้เสรีภาพแก่ราษฎร “ใครจักใคร่ค้าช้างค้าใครจักใคร่ค้าม้าค้า”
มีการยกเว้นการจัดเก็บภาษีผ่านด่านที่เรียกว่า “จังกอบ”
มีตลาดค้าขายสาหรับชาวเมืองเรียกว่า “ตลาดปสาน”
มีการทาหัตถกรรมที่สาคัญคือเครื่องชามสังคโลก

99
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

สังคมสมัยสุโขทัย
แบ่งเป็น 2 ชนชั้นคือผู้ปกครอง (กษัตริย์ขุนนาง) กับผู้อยู่ใต้การปกครอง (ไพร่ทาส) กฎหมายที่ตราขึ้น
มีลักษณะทรัพย์สินมรดก, ลักษณะการพิจารณาความ, ลักษณะการร้องฎีกา, ลักษณะโจร

วรรณกรรมสมัยสุโขทัย
มี ก ารประดิ ษ ฐ์ อั ก ษรไทยหรื อ ลายสื อ ไทยใน พ.ศ.1826 สมั ย พ่ อ ขุ น รามค าแหงมหาราชโดย
ดัดแปลงมาจากอักษรขอมและมอญ
มีศิลาจารึก เช่น หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย
มีหนังสือ“ไตรภูมิพระร่วง” แต่งโดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เป็นวรรณคดีเล่มแรกของไทย
ที่กล่าวถึงความทุกข์ยากของเปรตนรกสวรรค์

อาณาจักรอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 2310)


การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
มีกษัตริย์ป กครอง 33 (+1 ขุน วรวงศาธิราช) องค์ 5 ราชวงศ์ ได้แก่ อู่ทอง สุ พรรณภูมิ สุ โขทัย
ปราสาททอง และบ้านพลูหลวง
องค์แรก คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
องค์สุดท้าย คือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ)
องค์ที่ครองราชย์นานที่สุด 40 ปี คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
องค์ที่ครองราชย์น้อยที่สุด 7 วัน คือ สมเด็จพระเจ้าทองลัน
ปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์เป็นสมมุติเทพ ตั้งอยู่ในหลักทศพิธราชธรรม
การจัดรูปแบบการปกครองตอนต้น
1. ส่วนกลาง มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่งตั้งเสนาบดี 4 ตาแหน่ง เรียกว่า จตุสดมภ์ คือ
1.1 เวียง – ดูแลความสงบทุกข์สุขราษฎร 1.2 วัง - ดูแลราชสานักและพิพากษาคดี
1.3 คลัง – ดูแลการแสวงหารายได้ 1.4 นา - ดูแลการทาไร่ ทานา ทาสวน
2. ส่วนหัวเมือง แบ่งเป็น
2.1 หัวเมืองชั้นใน – เป็นเมืองที่อยู่ไม่ไกลจากราชธานี จะแต่งตั้งผู้รั้งเมือง
2.2 หัวเมืองชั้นนอก/เมืองพระยามหานคร – เป็นเมืองที่อยู่ห่างจากราชธานี
2.3 หัวเมืองประเทศราช – ให้ปกครองเองแต่ต้องส่งเครื่องบรรณาธิการมาถวาย
การจัดรูปแบบการปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
1. ส่วนกลาง ย้ายศูนย์กลางการบริหารไปอยู่ที่พิษณุโลก มีการแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
1.1 ฝ่ายทหาร - มีสมุหกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชา มีหน้าที่วางแผนการรบ
1.2 ฝ่ายพลเรือน - มีสมุหนายก เป็นผู้บังคับบัญชาควบคุมจตุสดมภ์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อ

100
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

เวียง เรียกว่า นครบาล ขุนเวียง เปลี่ยนเป็น พระยายมราช


วัง เรียกว่า ธรรมาธิกรณ์ ขุนวัง เปลี่ยนเป็น พระยาธรรมาธิบดี
คลัง เรียกว่า โกษาธิบดี ขุนคลัง เปลี่ยนเป็น พระยาโกษาธิบดี
นา เรียกว่า เกษตราธิการ ขุนนา เปลี่ยนเป็น พระยาเกษตราธิบดี
2. ส่วนหัวเมืองให้ยกเลิกเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านโดยแบ่งเป็น
2.1 หัวเมืองชั้นใน/เมืองจัตวา - มีผู้รั้งเมืองเป็นผู้ปกครอง
2.2 หัวเมืองชั้นนอก/เมืองพระยามหานคร - แต่งตั้งขุนนางชั้นสูงไปเป็นผู้สาเร็จราชการหัว
เมืองชั้นนอกที่สาคัญเช่นพิษณุโลกและนครศรีธรรมราชถือเป็นเมืองชั้นเอก
2.3 เมืองประเทศราช - ให้ปกครองเองแต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองเครื่องบรรณาธิการ

ถ้าเทียบจตุสดมภ์กับกระทรวงหรือหน่วยงานในปัจจุบันแล้วก็ได้แบบนี้
เวียง = กระทรวงกลาโหม วัง = สานักพระราชวัง + กระทรวงยุติธรรม
คลัง = กระทรวงการคลัง+ กระทรวงพาณิชย์ นา = กระทรวงเกษตรฯ
กรมท่า (สังกัดกรมคลัง) = กระทรวงการต่างประเทศ

เศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ทาการเกษตรกรรมมีความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากตั้งอยู่บนแม่น้าสาคัญ 3 สาย ได้แก่ แม่น้าลพบุรี
แม่น้าป่าสัก และแม่น้าเจ้าพระยา
มีการค้าขายกับ ชาติตะวันตกชาติแรกคือโปรตุเกตุห ลังจากนั้นก็มีฮอลันดาอังกฤษและฝรั่งเศส
โดยเฉพาะในสมัยพระนารายณ์มหาราชกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
รายได้หลักมาจากการเก็บภาษีอากรแบ่งเป็น 4 ประเภท
1. จังกอบ – เก็บตามด่านทางบก-น้าโดยการชักส่วน/เก็บตามขนาดพาหนะที่บรรทุกโดยเก็บ 10 หยิบ 1
2. อากร - เก็บจากการประกอบอาชีพต่างๆของราษฎร
3. ส่วย - สิ่งของหรือเงินทองที่มอบให้แก่ทางราชการแทนแรงงาน
4. ฤชา– ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
สังคมสมัยอยุธยา
เป็ น แบบศั ก ดิ น าก าหนดสิ ท ธิ แ ละหน้ า ที่ ข องบุ ค คลในสั ง คมมี ก ารตรากฎหมายศั ก ดิ น า
ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ โครงสร้างทางสังคมมีดังนี้
1. กษัตริย์ ทรงเป็นเจ้าแผ่นดิน แผ่นดินทั้งหมดเป็นของพระองค์ พระองค์จะสามารถพระราชทาน/
ริบคืนได้
2. พระบรมวงศานุวงศ์ มีศักดินา 15,000 - 20,000 ไร่

101
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

3. ขุนนาง มีศักดินา 10,000 ไร่


4. ไพร่ คือ ราษฎรที่เป็นชายฉกรรจ์ต้องขึ้นบัญชีและสักข้อมือกับมูลนาย เมื่ออายุ 18 ปีมีศักดินา 10
- 25 ไร่ แบ่งเป็น 2 ประเภท
4.1 ไพร่หลวง/ไพร่ส่วย – สั งกัดกรมกองต้องถูกเกณฑ์มาทางาน 6 เดือนต่อปีโดยเข้า 1
เดือนออก 1 เดือน อาจส่งสิ่งของหรือเงินแทนได้เงินที่ส่งเรียกว่าเงินค่าราชการ
4.2 ไพร่สม – เป็นไพร่ที่กษัตริย์มอบให้แก่เจ้านาย/ขุนนาง
5. ทาส - เป็นของนายจนกว่าจะไถ่ตัวหมดสามารถซื้อขายได้มีศักดินา 5 ไร่
6. พระสงฆ์ - เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องทุกชนชั้นสามารถบวชได้
ไพร่สามารถเปลี่ยนฐานะเป็นขุนนางได้ถ้ามีความสามารถ แต่ถ้ายากจนลงมีหนี้สินจะต้องตกเป็นทาสเรียกว่า “ทาสสินไถ่”

ภาษาและวรรณกรรมสมัยอยุธยา
การแต่ ง หนั ง สื อ “จิ น ดามณี ” ซึ่ ง เป็ น แบบเรี ย นเล่ ม แรกของไทยโดยพระโหราธิ บ ดี แ ต่ ง ขึ้ น
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
การนิ พ นธ์ “พระมาลั ย ค าหลวง” เป็ น แบบแผนในการด าเนิ น ชี วิ ต ตามคติ ท างพุ ท ธศาสนา
โดยเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง) แต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

บุคคลสาคัญสมัยอยุธยา
ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นหัวหน้าคณะทูตของอยุธยาที่ไปเยือนฝรั่งเศส
ลาลูแบร์ เป็นหัวหน้าคณะทูตของฝรั่งเศสที่มาเจรจาเรื่องศาสนาและการค้ากับอยุธยา
เหตุการณ์ทางการเมืองการปกครองที่สาคัญ
พ.ศ. 2091 พม่าส่งทหารโจมตีทาให้เสียสมเด็จพระสุริโยทัย
พ.ศ. 2112 เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 สมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช
พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสระภาพที่เมืองแครง
พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรทาสงครามยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชาที่หนองสาหร่าย
พ.ศ. 2310 เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 สมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ)
สาเหตุใหญ่การเสียกรุงศรีอยุธยา
1. ความด้อยประสิทธิภาพในการทาสงคราม 2. ความอ่อนแอเรื่องกาลังคน
3. การเปลี่ยนแผนของพม่าโดยตีหัวเมืองและกวาดต้อนผู้คน 4. การขัดแย้งและการแย่งชิงอานาจ

102
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

อาณาจักรธนบุรี (พ.ศ.2310 – 2325)


ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาพระยาตากหรือพระยาวชิรปราการได้รวบรวมผู้คนประมาณ 500 คน ตีฝ่าวง
ล้อมพม่าไปตั้งมั่นที่เมืองจันทบุรีอีก 7 เดือนต่อมาได้ยึดกรุงศรีอยุธยาฯคืนมาได้สถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมือง
หลวงและตั้งตน เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาที่ 4
บ้านเมืองเกิดกลุ่มอานาจตั้งตนเป็นอิสระเรียกว่าก๊กหรือชุมนุมต้องยกทัพไปปราบ
1. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก 2. ชุมนุมเจ้าพิมาย
3. ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช 4. ชุมนุมเจ้าพระฝาง (เมืองสวางคบุรี จ. อุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน)
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อันเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์กลับมาอยู่ในไทย
พระยาพิชัยได้ต่อสู้กับพม่าที่มาตีเมืองพิชัยจนดาบข้างขวาหัก
พระยาสรรค์ก่อการกบฏ
สมเด็จพระเจ้าตากสินสติฟั่นเฟือนสุดท้ายให้สาเร็จโทษ (ประหารชีวิต)
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์เป็น ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ต้นราชวงศ์จักรีเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน)


สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นรัชกาลที่ 1 - 3 (พ.ศ.2325 - 2394)
ย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการแผ่นดินในเขตราชธานีแบ่งเป็น 6 กรม
1) กรมมหาดไทย – มีสมุหนายกดูแลฝ่ายทหารและพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายเหนือ
2) กรมกลาโหม – มีสมุหกลาโหมดูแลฝ่ายทหารและพลเรือนในหัวเมืองฝ่ายใต้
3) กรมเมือง – มีพระยายมราชดูแลความสงบเรียบร้อยตัดสินคดีความในเขตราชธานี
4) กรมวัง – มีเจ้าพระยาธรรมธิกรณ์ดูแลพระราชวัง
5) กรมท่า – มีเจ้าพระยาพระคลังดูแลการเงินรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน

103
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

6) กรมนา – มีพระยาพลเทพดูแลรักษานาหลวงเก็บหางข้าวค่านาจากราษฎร
การบริหารราชการแผ่นดินในส่วนหัวเมืองแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช

รัชกาลที่ 1

มีการชาระกฎหมายเรียกว่ากฎหมายตราสามดวง
ให้สร้างวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวังและที่ประทับต่างๆ
พระราชทานนามนครหลวงใหม่ว่า “กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์…”
เกิดสงครามเก้าทัพ พ.ศ. 2328

รัชกาลที่ 2

ให้สร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (เสร็จรัชกาลที่ 3)
เป็นยุคทองของวรรณกรรม กวีชื่อดัง “สุนทรภู่”
ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย (ซอส่วนพระองค์ ชื่อว่า “ซอสายฟ้าฟาด”) และทรงพระราช
นิพนธ์เพลง "บุหลันลอยเลื่อน"

รัชกาลที่ 3
ประกาศใช้กฎหมายลักษณะโจรห้าเส้นราษฎรอยู่ห่างที่เกิดเหตุ 5 เส้นต้องช่วยจับโจร
ให้รื้อประเพณีการถวายฎีกาเรียกว่าตีกลองร้องฎีกาและให้สร้างกลองวินิจฉัยเภรี
ทาสนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ.2369 พ่อค้าอังกฤษค้าขายได้โดยตรงกับพ่อค้าไทย
ให้หมอบรัดเลย์นาวิทยาการแพทย์สมัยใหม่มาเผยแพร่
ให้คุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารีจากความกล้าหาญและการวางแผนล่อลวงทหารลาว

สมัยรัตนโกสินทร์สมัยใหม่รัชกาลที่ 4 – 7 (พ.ศ.2394 - 2475)


รัชกาลที่ 4
ยกเลิกขนบธรรมเนียมประเพณีที่ล้าสมัย เช่น การหมอบกราบ อนุญาตเข้าเฝ้าได้อย่างใกล้ชิดโดยให้
สวมเสื้อ และให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์
นาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้
จ้างชาวต่างชาติมาสอนหนังสือ เช่น แหม่มแอนนา (ชาวอังกฤษ)
ฝึกหัดทหารแบบยุโรป
เปลี่ยนแปลงประเพณีถือน้าพิพัฒน์สัตยา
ตัง้ โรงกษาปณ์เพื่อผลิตเหรียญขึ้นใช้
104
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ตั้งโรงพิม พ์ ห ลวงเรีย กว่าโรงอักษรพิ ม พ์ การพิ มพ์ ครั้งแรก เป็ นหนั งสื อแถลงข่าวของทางราชการ
เรียกว่า ราชกิจจานุเบกษา
ทาสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับอังกฤษ พ.ศ. 2398
- ยกเลิกการเก็บภาษีปากเรือร้อยละ 3 และยกเลิกการผูกขาดโดยพระคลังสินค้า
- พ่อค้าอังกฤษซื้อขายโดยตรงกับราษฎรไทยได้อย่างเสรี
- คนของอังกฤษหากทาผิดให้ขนึ้ ศาลของประเทศอังกฤษ
ผลเสียของสัญญา
- ไทยเสียสิทธิสภาพออกอาณาเขต
- การยกเลิกการผูกขาดโดยพระคลังสินค้าทาให้ขาดรายได้
- สัญญาไม่ได้กาหนดเวลา

รัชกาลที่ 5
การบริหารราชการส่วนกลาง
- ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาองคมนตรี
- ตัง้ 12 กระทรวงโดยยุบอัครมหาเสนาบดีและจตุสดมภ์

1. มหาดไทย – ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ 2. พระคลังมหาสมบัติ - ภาษีอากร


3. กลาโหม – ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้-ออก-ตก 4. ยุติธรรม
5. ต่างประเทศ 6. ยุทธนาธิการ - ดูแลกิจการทหาร
7. วัง 8. ธรรมการ – ดูแลพระสงฆ์โรงเรียน
9. เมือง - ดูแลตารวจ 10. โยธาธิการ – ดูแลการก่อสร้าง
11. เกษตราธิการ 12. มุรธาธิการ – ดูแลกฎหมาย

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค เรียกว่า เทศาภิบาล ประกอบด้วย อาเภอ ตาบล หมู่บ้าน


การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เรียกว่า สุขาภิบาล แห่งแรกอยู่ที่ท่าฉลอม จ.สมุทรสาคร
จัดระบบราชการทหารฝึกใช้อาวุธสมัยใหม่แบบตะวันตก
ตั้งกระทรวงกลาโหมให้ทาหน้าที่การป้องกันประเทศอย่างเดียว
ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบกและโรงเรียนนายเรือ
ประกาศใช้ พรบ.ลักษณะการเกณฑ์ทหาร พ.ศ. 2448
ปฏิรูประบบเงินตรากาหนดเป็นบาทสตางค์และใช้ธนบัตรครั้งแรกคือใบละ 1 บาท

105
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

ตั้งธนาคารแห่งแรกของคนไทยคือบุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแบงค์สยามกัมมาจล


คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน (ธนาคารระยะแรกที่เป็นของต่างชาติ คือ ธนาคารฮ่องกงและ
เซี่ยงไฮ้)
ตัง้ หอรัษฎากรณ์พิพัฒน์ดูแลภาษีและรายได้ของแผ่นดิน
ประกาศเลิกทาส พ.ศ. 2435
พัฒนาคมนาคมและสาธาณูปโภค อาทิ สร้างถนนรถไฟ (สายแรกกรุงเทพ - โคราช) รถราง ขุดคลอง
ไปรษณีย์โทรเลขโทรศัพท์โรงเรียน (โรงเรียนราษฎร์แห่งแรกคือโรงเรียนวัดมหรรณพาราม)
เลิกไว้ผมทรงมหาดไทยสวมหมวกดัดแปลงเสื้อนอกของฝรั่งเรียกว่าเสื้อราชปะแตน
พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาต่างประเทศ
เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ฝรั่งเศสใช้เรือรบปิดอ่าวไทยต้องเสียดินแดนแคว้นสิบสองจุไทย
ฝั่งซ้ายแม่น้าโขงและดินแดนในเขมร
เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก พ.ศ.2440 ทรงถ่ายรูปร่วมกับพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
รัชกาลที่ 6
ตั้งเมืองจาลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย “ดุสิตธานี” ที่พระราชวังดุสิตต่อมาย้ายมาอยู่ที่วัง
พญาไทเพื่อฝึกหัดข้าราชการขุนนางโดยพรรคที่ได้เสียงข้างมากเป็นผู้บริหารดุสิตธานี เรียกว่า คณะ
นคราภิบาล
ตัง้ กองเสือป่าและลูกเสือ
ตัง้ ธนาคารออมสิน
ตัง้ สหกรณ์แห่งแรก คือ สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จากัดสินใช้ จ.พิษณุโลก
ตั้งกระทรวงทหารเรือโดยแยกออกจากกระทรวงกลาโหม
ตั้งสภาเผยแพร่พาณิชย์ต่อมาเปลี่ยนเป็นกระทรวงพาณิชย์
เปลี่ ย นชื่ อ กระทรวงโยธาธิ ก ารเป็ น กระทรวงคมนาคม เปลี่ ย นชื่ อ กระทรวงธรรมการเป็ น
กระทรวงศึกษาธิการ
ให้เยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับในระดับประถมศึกษา (ต้องจบ ป.4)
ยกโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยแห่งแรก)
ใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นครั้งแรก
ใช้ธงชาติไตรรงค์เหมือนในปัจจุบัน
ใช้นามสกุลและคานาหน้าชื่อเด็กชายเด็กหญิงนายนางสาว
เกิดเหตุการณ์ ร.ศ. 130 ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เตรียมยึดอานาจ (กบฏหมอเหล็ง)
ตั้งกองบินและสนามบินแห่งแรกอยู่ในสังกัดกองทัพบก พ.ศ. 2457
ประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2460

106
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

รัชกาลที่ 7
ตั้งอภิรัฐมนตรี สภาองคมนตรี สภาเสนาบดี เป็นสภาเพื่อทาหน้าที่ถวายความคิดเห็น
เตรียมการวางรูปแบบการปกครองท้องถิ่นให้เป็นแบบเทศบาล
เกิดภาวะที่เศรษฐกิจตกต่าต้องใช้เงินอย่างประหยัดและปลดข้าราชการออกเป็นเหตุให้ คณะราษฎร
ประกอบด้วยฝ่ายทหาร นาโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) และฝ่ายพลเรือน
น าโดยหลวงประดิ ษ ฐ์ ม นู ธ รรม (ปรี ดี พนมยงค์ ) ยึ ด อ านาจการปกครองให้ ก ษั ต ริ ย์ อ ยู่ ภ ายใต้
รัฐธรรมนูญเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยมีจุดมุ่งหมายและอุดมการณ์ 6 ประการ
(เอกราช, ความปลอดภัย, บารุงความสุขของราษฎร, สิทธิเสมอภาค, เสรีภาพ, การศึกษา)
วันที่ 27 มิถุนายน 2475 มีพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว และวันที่
10 ธันวาคม 2475 มีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติ
ธาดาเป็นประธานคณะกรรมการราษฎร (นายกรัฐมนตรี) คนแรก
พ.ศ. 2476 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอานาจเข้ามาบริหารประเทศ ต่อมาพลเอกพระองค์
เจ้าบวรเดชได้คิดล้มล้างรัฐบาลแต่ไม่สาเร็จ (กบฎบวรเดช)
2 มีนาคม 2476 ประกาศสละราชราชสมบัติ ไปอยู่ที่อังกฤษเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการกระทาของ
รัฐบาลที่มิได้ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ราษฎรตามระบอบประชาธิปไตย
รัฐบาลอัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 8 แต่ถูกลอบ
ปลงพระชนม์เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2489 ในสมัยที่นายปรีดีดารงตาแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี
สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
1. เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคม
2. พ.ศ.2482 เปลี่ยนชื่อประเทศจาก“สยาม” เป็น“ไทย” (ตรงกับรัชกาลที่ 8)
3. กาหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติการเคารพเพลงชาติเพลงสรรเสริญ
4. ให้ผู้ชายนุ่งกางเกง ผู้หญิงนุ่งกระโปรงสวมรองเท้า ให้เลิกนุ่งโจงกระเบน เลิกกินหมาก
5. ยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือนที่เรียกอามาตย์
6. ใช้นโยบายชาตินิยมและสร้างชาติไทยให้ยิ่งใหญ่…
1) ใช้สินค้าไทย“ไทยทา ไทยใช้ ไทยเจริญ”
2) ห้ามต่างชาติประกอบอาชีพบางอย่าง เช่น ตัดผม เผาถ่าน
3) ให้ละทิ้งความประพฤติและวัฒนธรรมแบบโบราณ เช่น กินหมาก นุ่งโจงกระเบน
4) ให้คาขวัญ“เชื่อผู้นาชาติพ้นภัย”
7. พ.ศ. 2483 เกิ ด กรณี พิ พ าทกั บ อิ น โดจี น ฝรั่ ง เศสเรี ย กว่ า สงครามอิ น โดจี น ภายหลั ง ให้ ส ร้ า ง
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการเสียสละ

107
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

8. เกิด สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์และยกพลขึ้นบกในไทยเมื่อวันที่ 8


ธันวาคม 2484 ได้แก่ กองบิน 53 จ.ประจวบคีรีขันธ์ บางปู สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี
9. เกิดขบวนการเสรีไทย (X.O.Group) นาโดยนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ม.ร.ว.
เสนีย์ปราโมทย์, อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ทาให้ไทยไม่แพ้สงครามใน พ.ศ.2488 สงครามยุติโดยสหรัฐฯ ทิ้งระเบิด
ปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ
10. มี ก ารส่ งทหารเข้ า ร่ ว มรบในสงครามเกาหลี แ ละสงครามเวี ย ดนามตามมติ ส หประชาชาติ
(ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติลาดับที่ 55 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2489)
11. เกิดการรัฐประหารยึดอานาจหลายครั้งเนื่องจากความขัดแย้งในหมู่นักการเมืองปัญหาเศรษฐกิจ
การฉ้อราษฎร์เช่น กบฎวังหลวง (ทหารเรือและนายปรีดี vs.จอมพล ป.) กบฏแมนฮัตตัน (ทหารเรือ vs. จอม
พล ป.)
จอมพลถนอม กิตติขจร : เกิดเหตุการณ์ 14 ต.ค.16 และ 6 ต.ค.19 นักศึกษาชุมนุมประท้วงขับไล่
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ : กรณีพิพาทเขาพระวิหาร อสัญกรรมขณะดารงตาแหน่ง
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร : รัฐบาลเปลือกหอย บริหารภายใต้การบงการของคณะปฏิรูปการปกครอง
แผ่นดิน
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ :ประกาศใช้นโยบายการเมืองนาการทหาร (นโยบายที่ 66/23) ประกาศ
ให้นักโทษทางการเมืองเป็นผู้พัฒนาชาติ
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ : ใช้นโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า, ถูกปฏิวัติโดยคณะรักษา
ความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)
พลเอกสุจิ น ดา คราประยูร : เจ้ าของวลี “เสี ยสั ตย์เพื่ อชาติ ” เกิด พฤษภาทมิฬ นักศึกษาชุมนุ ม
ประท้วงขับไล่
นายบรรหาร ศิลปอาชา : ริเริ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ. 2540 (ประกาศใช้สมัยพลเอก
ชวลิต)
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ : เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจต้มยากุ้ง พ.ศ.2540
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร: นายกรัฐมนตรีพลเรือนคนแรกที่อยู่ค รบวาระ แต่ถูกรัฐประหารยึด
อานาจ ในสมัยที่ 2 โดย“คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุข (คปค.)” นาโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ด้วยเหตุผลหลัก
4 ข้อ คือ
1. การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย
สลายความรู้รักสามัคคีของชนในชาติอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
2. ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยการบริหารราชการแผ่นดินส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบ
3. หน่วยงานองค์กรอิสระถูกครอบงาทางการเมือง

108
หัวใจสังคมศึกษา ..โดย

4. การดาเนินกิจกรรมทางการเมืองหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คปค.
ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ตั้ง พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีและจัดให้มี
สภาร่างรัฐธรรมนูญจานวน 100 คน
นายสมัคร สุนทรเวช: ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากตาแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากร่วมกับ
เอกชนจัดรายการชิมไปบ่นไปและยกโขยงหกโมงเช้า
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์: พ้นจากตาแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค
พลังประชาชนเพราะกรรมการบริหารพรรคทุจริตการเลือกตั้ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : ได้รับเสียงข้างมากในสภาให้ดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ก็ถูกพรรค
ฝ่ายค้านโจมตีอย่างหนัก เนื่องจากจานวนเสียงของรัฐบาลก้ากึ่งกับเสียงของฝ่ายค้าน
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชิ น วัต ร (นายกหญิ งคนแรก): คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ ยนแปลง
ประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือ กปปส. ออกมาขับ
ไล่รัฐบาลเนื่องจากการพิจารณา พรบ. นิรโทษกรรมและการทุจริตคอร์รัปชั่น มีนายสุเทพ เทือก
สุบรรณ เป็นแกนนา
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา : ภายหลังเหตุการณ์ รัฐประหารเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 โดยยึด
อานาจจากรัฐบาลรักษาการ นาโดยนายนิวัติธารง บุญทรงไพศาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ใน
ฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงเข้ารับตาแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 29 ของ
ประเทศไทย และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 20) เมื่อ
วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ภายหลังการลงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

109

You might also like