You are on page 1of 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เศรษฐกิจพอเพียง ชื่อ-สกุล ...............................................

วิชาสังคมพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ห้อง .............. เลขที่..........
จัดทำโดย อาจารย์พัชราภรณ์ อนุกูล และอาจารย์นักศึกษากันตา ตันกุระ

ใบความรู้ที่ 3

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำรัส
แก่ชาวไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็น
แนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนใน
กระแส โลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่
และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะ
จัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวังในการวางแผน
และดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้
ในกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้
มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ
ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่
แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคม
ทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่า
ปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัว
ตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้
เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

ความหมายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่ต้องมีภูมิคุ้มกันใน
ตัวที่ดีพอสมควรต่อการรับผลกระทบใด ๆ ที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ต้องอาศัย
ความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำหลักวิชาการต่าง ๆมาใช้ในการวางแผนเพื่อดำเนินการ
ทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่
เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
คือ มีความสมดุล มั่นคง ยั่งยืนในชีวิต (ครอบครัว) เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและเทคโนโลยี พร้อมรับการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
เศรษฐกิจพอเพียง คือ การที่เราใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ ป่าไม้ แร่ธาตุ ใน
การผลิตเพื่อบริโภคเองบ้างหรือเพื่อแลกเปลี่ยนตามความเหมาะสม โดยไม่เกินระดับความสามารถในการจ่ายของ
ตนเอง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสมดุล มั่นคง ยั่งยืนในชีวิต เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม

- หน้า 1 -
ใบความรู้ 3 เศรษฐกิจพอเพียง

พอเพียง แปลว่า พึ่งตนเอง (Self - Sufficiency)


พอเพียง หมายความว่า มีอยู่มีกิน ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหรา
แต่ว่า “พอ” บางอย่างอาจดูฟุ่มเฟือยแต่ถ้าทำให้เกิดความสุข ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นก็สามารถ
ทำได้ เศรษฐกิจพอเพียง มิได้หมายความแต่เพียงว่า ให้ทำกินทำใช้เอง แต่ถ้าเรามีเหลือใช้เหลือกินก็ควรเอื้อเฟื้อ
แบ่งปัน ให้ผู้อื่นบ้าง อันจะทำให้เกิดความสุขอย่างแท้จริง คือ สุขใจ
กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นระบบที่สมบูรณ์ได้ จะต้องประกอบไปด้วยลักษณะ 3 ประการ
ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัว และเง่ื่อนไข 2 ประการ ได้แก่ ความรู้และคุณธรรม

องค์ประกอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง
ห่วง 1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ห่วง 2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
ห่วง 3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ
ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2 เงื่อนไข
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำ
ความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความ
อดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการ
เปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

- หน้า 2 -
ใบความรู้ 3 เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง คือ การยึดทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ในการดำรงชีวิตอย่างเป็นขั้นตอน


ทางสายกลาง หมายถึง วิธีการ หรือการกระทำที่พอประมาณบนพื้นฐานของความมีเหตุผลและการสร้างภูมิคุ้มกัน
ซึ่งในที่สุดแล้วก็จะนำไปสู่การพัฒนา
โดยจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของการพัฒนาใน 4 ด้าน ได้แก่ วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม อย่าง
เป็นองค์รวมคือไม่แยกส่วน แต่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุเป็นผลทั้ง 4 มิติ ดังนี้
วัตถุ หมายถึง วัตถุต่าง ๆ เชิงกายภาพ ที่มนุษย์สร้าง หรือ ประดิษฐ์ขึ้น เช่น วัตถุดิบ สิ่งของ วัสดุ อุปกรณ์
เครื่องมือ เสื้อผ้า อาภรณ์ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะผลิตไว้ใช้เองได้ หรือใช้วิธีแลกเปลี่ยนกันดังเช่นใน
อดีต ในยุคปัจจุบันก็สามารถซื้อหามาเพื่อบริโภค ได้โดยเงินทุนองค์ประกอบนี้ จึงเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับด้าน
เศรษฐกิจ หรือเงินทุนเป็นหลัก แต่ในกระบวนการผลิตวัตถุต่าง ๆ เหล่านี้ก็จำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรด้านอื่น ๆ ที่มี
อยู่อย่างจำกัดเป็นปัจจัยประกอบร่วมด้วย
สังคม หมายถึง สภาพการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม ความสัมพันธ์ของคนในสังคม เช่น ความเชื่อใจ การช่วย
เหลือ แบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมีวินัย เคารพกฎเกณฑ์ ระเบียบ กติกาการอยู่ ร่วมกันในสังคมอย่างเคร่งครัด การ
มีกฎหมายและระบบยุติธรรมที่เชื่อถือได้ว่าเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ การมีความผูกพันรักใคร่ สามัคคีปรองดอง
ของหมู่คณะและในสังคม การมีสถาบันทางสังคมที่เข้มแข็ง เช่น ครอบครัวอบอุ่น การจัดระบบสวัสดิการทางสังคม
ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในยามวิกฤตให้กับสมาชิก
ในสังคม เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาที่ยั่งยืน ปัจจัยทางด้านสังคมเป็นพื้นฐานที่
สำคัญยิ่งในการพัฒนา เพราะการพัฒนาไม่ว่าจะด้านใด ๆ จะ ไม่สามารถดำเนินไปได้ด้วยดีหรือราบรื่น หรือไม่
สามารถนำมาซึ่งประโยชน์ และความสุขอย่างต่อเนื่องได้ หากสังคมอ่อนแอ พื้นฐานจิตใจของคนใน สังคมไม่ตั้งอยู่
บนหลักศีลธรรม กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ และความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
สิ่งแวดล้อม รวมถึง ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชน สังคม ประเทศ และโลก ได้แก่ ความอุดม-
สมบูรณ์ของ ทรัพยากรดินน้ำ ป่า แร่ธาตุ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความเป็นปกติ ของภูมิอากาศ กระแส/
ทิศทางลม คลื่น พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาตินี้ นอกจากจะเป็นปัจจัยการผลิตและ
บริการแล้ว ยังเป็นสภาพแวดล้อมที่สำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิตและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ รวมถึงสิ่งมี
ชีวิตทั้งหลายบนโลก การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงควรเป็นไปด้วยความเคารพและ
ระมัดระวัง ด้วยความรับผิดชอบต่อคนรุ่นหลัง ที่จำเป็นต้องพึ่งพิง ทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านี้ในการดำรงชีวิตเช่นกัน
วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิตและการดำรงชีวิต รวมถึงความเชื่อ ศาสนา ระบบคุณค่า ภูมิปัญญา การ
ประกอบอาชีพ วัฒนธรรมการกิน ขนบธรรมเนียม ประเพณี เป็นต้น วัฒนธรรมมีความสำคัญอย่างมากในการบ่ง
บอกถึงเอกลักษณ์ ความเป็นตัวตน นอกจากวัฒนธรรมจะเป็นต้นทุนสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ทั้งใน
การผลิต การให้บริการ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณลักษณะเฉพาะ (Product identity/differentiation) ในระยะ
ยาว การพัฒนาที่สมดุลควรสอดคล้องกับวิถีความเป็นอยู่ ค่านิยม ความเชื่อ ของคนในท้องถิ่น แล้วค่อยๆ ต่อยอด
พัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้วิถีการพัฒนาสร้างความแตกแยก
หรือความแปลกแยกขึ้นในสังคม และในขณะเดียวกัน ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาที่ดำรงไว้ซึ่ง
วัฒนธรรม เพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น/ ชุมชน/ชนชาติ ไม่ให้ถูกกลืนหายไป

- หน้า 3 -
ใบความรู้ 3 เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่เป็นทั้งแนวคิดหลักการ และแนวทางปฏิบัติตนของแต่ละบุคคลและ
องค์กร โดยคำนึงถึงความพอประมาณกับศักยภาพของตนเองและสภาวะแวดล้อม ความมีเหตุมีผลที่ถูกต้องตาม
ความเป็นจริง และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง คือไม่ประมาท ในการด าเนินชีวิต โดยใช้ความรู้ต่าง ๆ อย่างถูกหลัก
วิชาการด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ควบคู่ไปกับการมีคุณธรรม คือ รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี ละอายที่จะ
ทำความชั่ว เกรงกลัวต่อผลจากการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือสังคม มีการ
แบ่งปัน ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น และชีวิตอื่น ๆ เห็นความสำคัญของการร่วมมือปรองดองกันในสังคม ซึ่ง
จะช่วยเสริมสร้างสายใยเชื่อมโยงคนในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมเข้าด้วยกัน ร่วมสร้างสรรค์พลังในทางบวกอย่างรู้รัก
สามัคคี นำไปสู่การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ภายใต้กระ
แสโลกาภิวัตน์ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัตถุ เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติ สิ่ง
แวดล้อม วัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมต่าง ๆ
หลักการองค์รวมทั้งหมดของหลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทฤษฎีเป็นแนวทางที่ถือได้ว่าเป็นวิถี
ชีวิตดังเดินของคนไทยอยู่ก่อนแล้ว หากมองในมุมที่ยึดเอาหลักการความพอเพียง เพราะแต่เดิมประเทศไทยไม่ได้เป็น
ประเทศร่ำรวยทางทรัพย์สินเงินทอง แต่มีความร่ำรวยเรื่องวิถีชีวิตวัฒนธรรมอันดีของคนไทย มีทรัพยากรที่พอเพียง
สำหรับคนในชาติได้ แต่ทว่าโลกก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาของโลกได้ก้าวสู่การพัฒนาที่พึ่งพา
เทคโนโลยีเป็นหลัก การพัฒนาอย่างยั่งยืนถูกทำให้เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี วิถีชีวิตใหม่
ปี 2021 ที่ไม่ใช่แค่เรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่เป็นภาวะโรคระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจ
ย่ำแย่ไปทั่วโลก การดำเนินชีวิตที่ทำให้เราต้องกลับมามองเรื่องแนวทางการพอเพียงก็อาจจะทำให้เรารอดพ้น
วิกฤตการณ์ช่วงนี้ไปได้ไม่มากก็น้อย หยุดฟุ่มเฟือยในสภาวะที่ยากลำบากนั่นก็คือ มีความพอประมาณ การพิจารณา
ประกอบอาชีพให้เข้ากับสถาวะทางเศรษฐกิจได้ก็คือ มีเหตุผล และการเลือกแบ่งเงินออมบางส่วนเพื่อเตรียมรับ
สภาวะเช่นนี้ การเลือกทำงานให้มากขึ้นและปรับตัวต่อยุคสมัยได้ ก็เป็นเรื่องของการมีภูมิคุ้มกันที่ดีนั่นเอง
ดังนั้น หลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะไม่ได้เป็นเพียงทฤษฎีจากโลกเมื่อหลายสิบปีก่อนอีกต่อไป
เพราะเมื่อเข้าใจหลักการแล้วก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความสมดุลในวิถีการดำเนินชีวิตแบบใหม่ได้ ไม่ได้
ยึดแค่ความคิดว่าจะต้องพอเพียง แต่มีความรู้ความเข้าใจในบริบทเชิงลึกให้ถึงแก่นแท้ เพราะเราไม่ควรมุมมองต่อ
หลักการที่อยู่ในกรอบเดิมเท่านั้น ที่สำคัญแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้กำลังบอกให้คนในชาติหยุดพัฒนา แต่ให้มี
วิถีชีวิตที่พัฒนาอย่างเป็นทางสายกลาง โดยไม่ยึดถือแค่ในระดับบุคคลแต่ภาคองค์กรหน่วยงานธุรกิจ ไม่ใช่การให้
ประชาชนพอเพียงแต่ตัวเองขณะที่ภาคธุรกิจทำกำไรเพียงอย่างเดียว จึงเป็นการเห็นเพียงตัวเลขมวลรวมประเทศดี
ขึ้นขณะที่ประชาชนยังจนเท่าเดิม ซึ่งทุกภาคส่วนจะต้องบูรณาการเชิงลึกเพื่อนำหลักการไปประยุกต์ใช้ตามท้องถิ่น
ของคนในชุมชน สร้างสังคมที่เข้มแข็ง นำพาให้ประเทศชาติสู่ความเจริญ แบบนี้จึงจะเป็นการพัฒนาต่อยุคสมัยอย่าง
ยั่งยืนที่แท้จริง

แหล่งอ้างอิง
เว็บไซต์โรงเรียนโยธินบูรณะ www2.yothinburana.ac.th
เว็บไซต์ส่วนอำนวยการ สำนักส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้ https://www.forest.go.th/reforest-admin
PANGpond จากเว็บไซต์ https://www.pangpond.com

- หน้า 4 -

You might also like