You are on page 1of 3

lls

สังคมศึกษา ป.6

ในสังคมไทย ประชากรส่วนให๘มีอาชีพเกษตรกรรมมาตั้งแต่เดิม โดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อที่จะ


นำมาทำเป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม สร้างที่อยู่อาศัย และทำยารักษาโรค เป็นจุดมุ่งหมายเบื้องต้น ต่อมามีการผลิต หรือ
ทำเฉพาะอย่างที่สามารถทำได้ผลดี แล้วนำมาแลกเปลี่ยน ซื้อขายกัน ซึ่ง ไม่ต้องทำทุกอย่าง ทำให้ทุกคนในสังคมมี
ฐานะที่เป็นทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค เรียกว่า มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในเบื้องต้น เป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัย
กัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังมีหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการผลิต และการบริโภคให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ทันเหตุการณ์ ซึ่งจะ
มีส่วนช่วยในการจัดการ การแนะนำ และช่วยแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ คือ ธนาคาร และรัฐบาล ซึ่ง
จะได้กล่าวในลำดับต่อไป
ลักษณะความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
1) การพึ่งพา ชุมชนในท้องถิ่นมีหลายขนาด ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จนถึงจังหวัดและภูมิภาค
โดยมีการพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งในความเป็นอยู่และการทำมาหากิน ในแต่ละชุมชนผู้คนส่วนใหญ่จะมีอ าชีพเกษตรกรรม
นอกจากนี้ยังมีการทำหัตถกรรมพื้นบ้านในครัวเรือน เช่น ทอผ้า ทอเสื่อ จักสาน แกะสลัก ซึ่งทำไว้ใช้สอย และ
แลกเปลี่ยนหรือจำหจ่ายกันในท้องถิ่น
ส่วนชีวิตทางสังคมของชาวบ้าน มีศูนย์กลางอยู่ที่วัด ซึ่งมีงานที่ต้องพึ่งพากัน เช่น งานบุญประจำปี ประเพณี
สงกรานต์ ทอดกฐิน หรือทอดผ้าป่า นอกจากนี้ยังมีการช่วยงานที่ต้องการคนมากให้เสร็จเร็ว โดยไม่ต้องจ้าง เช่น
เกี่ยวข้าว สร้างบ้าน ทำบุญ ช่วยเหลือกันเมื่อเจ็บป่วย หรือมีอุบัติภัยที่เป็นปัญหา เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง โรคระบาด สิ่ง
เหล่านี้ชาวบ้านในท้องถิ่นต้องอดทนต่อสู้ และช่ วยกันแก้ไขปัญหา การพึ่งพากันของคนในท้องถิ่น ทำให้เกิดความเชื่อ
ความศรัทธา พิธีกรรม การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ร่วมแรงร่วมใจกัน นับเป็นการพึ่งพาที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ภูมิปัญญา
ชาวบ้าน
ความหมาย และความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญา หมายถึง ความรู้ที่มีคุณธรรม มีประโยชน์ สอนคนให้เป็นคนดี ให้รู้ว่าทุกสิ่งต้องมีความสัมพันธ์
กัน สอนให้เคาเคารพ และรู้จักพึ่งพาอาศัยธรรมชาติโดยไม่ทำลาย นับเป็นความรู้ที่ตรงกับวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น
คือ ชาวบ้านซึ่งมีการสังเกต จดจำ รวมทั้งได้ความรู้จากบรรพบุรุษที่สั่งสอนกันมา ภูมิปัญญาชาวบ้านจึงเป้นความรู้
ของคนในแต่ละท้องถิ่นที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อช่วยกันพัฒนาชุมชนของตน โดยมีหน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน
ให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนการพึ่งพาแบบภูมิปัญญาชาวบ้านในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
- การอนุรักษ์ คือ การรักษาความรู้ที่ดีงาม มีคุณค่า เช่นหัตถกรรม ประเพณี่ต่าง ๆ และการปฏิบัติตนของ
ทุกคนให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม
- การฟื้นฟู คือ การรื้อ ฟื้นฟูความรู้ ความดีงามต่าง ๆ ซึ่งสูญหายเลิกไปให้กลับมาเป็นประโยชน์แก่คนสมัย
นี้ เช่น การฟื้นฟูดนตรีไทย การฟื้นฟูเกสรแบบผสมผสาน การฟื้นฟูประเพณีผูกเสี่ยวในภาคอีกสาน
lls
สังคมศึกษา ป.6

- การประยุกต์ คือ การปรับความรู้เก่าให้สอดคล้องกับความรู้ใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสังคมที่เปลี่ยนไป เช่น


การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้คนร่วมมือกันอนุรกั ษ์น้ำ
การเพิ่มรายได้ตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
- การสร้างใหม่ คือ การคิดค้นสิ่งใหม่ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหา
ชุมชน โดยอาศัยความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาจัดรูปแบบใหม่ เช่น การสร้างธนาคารข้าว การรวมกลุ่ม
แม่บ้าน เยาวชน เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันอย่างเป็นระบบ
ในฐานะที่เราเป็นเยาวชนคนไทย ควรศึกษาหาความรู้ในเรื่องภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของบรรพบุรุษที่สั่งสมไว้
เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ หรือปฏิบัติตามแบบที่เหมาะสม เป็นการสืบทอดสิ่งที่ดีงามของไทยให้คงอยู่ต่อไป
2) การแข่งขัน ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้มีปริมาณของ
ผลผลิตที่สูงขึ้น จึงเกิดการแข่งขันในทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีวิธีการต่าง ๆ ได้แก่
1. การโฆษณา เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้ถึงสรรพคุณ และประโยชน์ที่จะได้จากสินค้านั้น โดยใช้วิธีการโฆษณา
ในรูปแบบต่าง ๆ
2. การลดต้นทุนการผลิตสินค้านั้น หรือใช้วัสดุอื่นที่ต้นทุนน้อยทดแทน
3. การลดแลกแจกแถม ซึ่งเป็นวีหนึ่งของการโฆษณา
ผลดีของการแข่งขัน คือ ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้ดีขึ้น รู้จักผลิตสินค้าให้ทันสมัย และให้
รวดเร็ว ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค ส่วนผลเสีย คือ การโฆษณาที่เกิดความจริง ใช้วัสดุราคาถูก ไม่มีคุณภาพมา
ใช้ผลิตสินค้า ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้
อย่างไรก็ตาม หากผู้ผลิตมีการแข่งขันกันสูง ราคาสินค้าลดลง ทำให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ถูกลง แต่ถ้าผู้ผลิต
รวมตัวกันได้ การแข่งขันมีน้อยลงจะทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นได้
3) การประสานประโยชน์ ในปัจจุบัน การประสานประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายในทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่มี
ความสำคัญมาก เพราะเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และร่วมมือร่วมใจให้เศรษฐกิจของชาติเป็นไปอย่างมั่นคง ช่วยกัน
แก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจอ่างเหมาะสมของทุกฝ่าย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค พ่อค้าคนกลาง ธนาคาร
และรัฐบาล ซึ่งทุกฝ่ายมีหน้าที่และความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจ และเป็นส่วนสำคัญในการประสานประโยชน์ให้ได้ผล
ที่ต้องการอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
1. ผู้ผลิต เป็นผู้ที่สร้าง หรือทำการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ตั้งราคาให้เหมาะสม หรือให้บริการตามข้อตกลง
ทำให้ผลผลิตหรือการบริการเป็นที่ยอมรับ และเชื่อถือได้ กิจการที่ทำก็จะเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ผู้ผลิตต้องขยัน ประหยัด
ซื่อสัตย์ และอดทน รวมทั้งต้องศึกษาหาความรู ้วิทยาการที่ ก้ าวหน้า เพื่อปรับปรุงและแก้ไขสิ่งที่ มี ปัญหา หรือ
ข้อบกพร่องให้ถูกต้อง เหมาะสมในการผลิตหรือให้บริการ
2. พ่อค้าคนกลาง เป็นผู้บริการให้ความสะดวกแก่ผู้ผลิต และผู้บริโภคโดยรับสินค้าจากผู้ผลิตไปจำน่ายแก่
ผู้บริโภค และเพิ่มค่าใช้จ่ายการบริการในราคาขายสินค้าแต่ พอควร ไม่กดราคาต่อผู้ผลิต และไม่เพิ่มกำไรต่อผู้บริโภค
มากเกินไป เพราะเป็นการเอาเปรียบโดยไม่ยุติธรรม
3. ผู้บริโภค เป็นผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ ต้องรู้จักเลือกซื้อสินค้า หรือใช้บริการที่มีคุณค่า และมี
คุณภาพตรงกับความต้องการของตน รู้จักสิทธิประโยชน์ในการบริโภคอย่างคุ้มค่า
4. ธนาคาร เป็นสถาบันการเงินที่รับฝากเงินออม และให้ดอกเบี้ยเงินฝากตามกำหนด และนำเงินที่ได้รับ
ฝากไปลงทุนให้ผู้ผลิรได้กู้ยืมไปผลิตสินค้า และบริการ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินที่ให้กู้ยืม เป็นรายได้ของธนาคารที่มีการ
บริหารจัดการเงินตามเป้าหมาย และมีระเบียบปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด
lls
สังคมศึกษา ป.6

5. รัฐบาล เป็นส่วนสำคัญในการประสานประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้ได้ผลที่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ใน
กฎหมายดูแลและคุ้มครองทุกฝ่ายให้ได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสม และยุติธรรม หาวิธีช่วยเหลือ แก้ไข หรือไกล่เกลี่ย
เมื่อมีปัญหาทางเศรษฐกิจให้ได้ผลที่ดีขึ้น
จึงเห็นได้ว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค พ่อค้าคนกลาง ธนาคาร และรัฐบาล มีทั้ง
รูปแบบการพึ่งพา การแข่งขันและการประสานประโยชน์

You might also like