You are on page 1of 3

Group Discussion(วิพากษ์)

1.Green Marketing Concept & Strategy (Page 2,3)


จุดประสงค์ในการทำ Green Marketing ตามหลักที่ถูกต้อง คือการควบคุม การปฎิบัติในแต่ละขั้น
ตอนให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด อย่างยั่งยื่น ซึ่ง จากจุดประสงค์เหล่านี้ ส่งผลไปยังส่วน
ของกลยุทธ์ซึ่งเป็นขั้นตอนในการปฎิบัติงานทางกายภาพ ไม่ใช่เพียงทฤษฎี ซึ่งจะมีองค์ประกอบดังนี้
⁃ รูปแบบอุตสาหกรรม จนไปถึงวัสดุที่ใช้ในการผลิต ต้องไม่สร้างผลกระทบให้กับสิ่ง
แวดล้อม(ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ,กระบวนการผลิตไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่ง
แวดล้อม,สามารถ Reuse หรือ Recycle ได้อย่างมีประสิทธิภาพ) รวมไปถึงต้องไม่สร้างผลกระ
ทบไปยังสัตว์ และมนุษย์ด้วยกันเอง
⁃ ขั้นตอนในการปฎิบัติงาน Green Marketing ที่องค์กรเหล่านั้นนำเสนอผ่านการตลาด จำเป็น
ต้องมีแบบแผนวิธีการดำเนินงาน ที่มีลายละเอียดในทางปฎิบัติที่ครอบคลุม อาทิเช่น รายงาน
Supply Chain Report, Carbon Dioxide Footprint, Plastic Foorprint ข้อมูลรายงานเหล่านี้
เป็นตัวบันทึกรูปแบบความมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อสิ่งแวดล้อมของแบรนด์

2.เศรษกิจหมุนเวียน (Page 5)
Polyethylene Terephthalate หรือ PET การใช้พลาสติก Recycle สามารถลดปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น
กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่?
⁃ ในทางปฎิบัติ Polyethylene Terephthalate หรือ PET เป็นวัสดุที่เป็น Biodegradability
คือไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ (ใช้เวลาในการแปรสภาพ 20-200)
หากมองภาพในทางอุดมคติ PET สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ 100% แต่ในจำนวนการ
ผลิตสินค้าที่มีส่วนผสมของ PET ทั้งหมด มีจำนวนกี่เปอร์เซ็นที่ถูกนำกลับมาใช้งาน? มีกี่เปอร์
เซ็นที่เข้าไปอยู่ในกระบวนการกำจัดขยะแบบฝังกลบ? และมีกี่เปอร์เซ็นหลุดรอดไปยังในสภาพ
แวดล้อมทางน้ำ?
⁃ ในกระบวนการผลิต PET นิยมใช้ตัวเร่งปฎิกิริยา Antimony Trioxide (สารพรวง)
โลหะหนักที่จัดอยู่ประเภทเดียวกับสารหนู ซึ่งรวมไปถึงสารจำพวก Nickel, Ethylbenzene,
Ethylene Oxide, Benzene ซึ่งสารประเภทนี้สามารถก่อให้เกิดสารพิษตกค้างในร่างกายให้กับ
คนงานอุตสาหกรรม การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่คอนเซปที่มีเพียงแค่กระบวนการองค์กร
ปฎิบัติต่อธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผลกระทบที่สามารถก่อให้เกิดกับมนุษย์ด้วยกันเอง
⁃ ในงานวิจัยอ้างอิงมาจาก Ecology Center การผลิตขวดน้ำ PET ขนาด 16oz.
สามารถสร้างมลพิษให้กับธรรมชาติ ทั้งอากาศ และน้ำมากกว่ากระบวนการผลิตขวดแก้วใน
ขนาดเท่ากัน 100 เท่า
⁃ พลาสติก PET สามารถแปรสภาพกลายเป็น Microplactics ที่สามารถแพร่กระจายไปยังแหล่ง
น้ำ ทั้งทะเล แม่น้ำ หรือ คลอง ซึ่งเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์รวมชีวิตของสัตว์น้ำ ในทางการศึกษาเรา
จะพบได้ว่ามีสัตว์น้ำจำนวนมาก ที่บริโภคสาร Microplastics เข้าไป ซึ่งสัตว์จำพวกที่ว่าส่วนนึง
ก็กลายมาเป็นอาหารให้เราบริโภคด้วยเช่นกัน
3.Green Marketing Case Study (Page7,8)
Coca-Cola ธุรกิจกับรูปแบบการทำการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม องค์กรได้ใช้เงินเป็นจำนวนมากกว่า 1
ล้านบาทต่อปี เพื่อนำถึงเป้าหมายในการทำธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม Namthip ก็ได้นำเสนอถึงรูปแบบ
เหล่านี้เช่นเดียวกัน แต่ในทางปฎิบัติ Green Marketing ขององค์กรเหล่านี้ มีจุดประสงค์เพื่อลดผลกระ
ทบต่อธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรม หรือกิจกรรมเหล่านี้ เป็นรูปแบบของ **Green Washing
ที่ถูกจัดทำมาเพื่อดึงดูดผู้บริโภค
⁃ องค์กรธุรกิจ Coca-Cola มีการผลิตขวดพลาสติกในระดับ Mass Scale เพื่อตอบสนองความ
ต้องการในการบริโภคสินค้าแก่ผู้บริโภค ในข้อมูลตามสถิติในรอบ 1 ปี องค์กร Coca-Cola
มีจำนวนการผลิตขวดพลาสติกสูงที่สุดมากกว่าทุกบริษัทที่มีการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์
(The Climate Capitalist Report)

⁃ Coca-Coca มีการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก ทั้งหมดรวมกันประมาณ 3.6 ล้านตันต่อปี เฉลี่ยเท่า


กับ 200,000 ในทุก 1 นาที (มีพลาสติกจำนวน 475,000 ที่ตกค้างไปยังธรรมชาติ) ในส่วนประ
สมของบรรจุภัณฑ์ Coca-Cola มีส่วนผสม PET plastic – 25% recycled และ 75% virgin
PET. ซึ่ง Virgin PET คือพลาสติกที่ยังไม่เคยถูกใช้งาน Recycle
⁃ ในกระบวนการผลิตขวดพลาสติก PET แบบที่ Coca-Cola/Namthip ใช้ ทั้งแบบ Recycle และ
Virgin PET เป็นส่วนประกอบของสาร 'petrochemicals' หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับจากกระบวนการ
แปรสภาพของพลังงานธรรมชาติ ทั้งถ่านหิน ก๊าซ และเชื้อเพลิงธรรม Fuel Fossil (ซึ่งเป็น
อุตสาหกรรมที่ผลิตมลพิษคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุดในโลก) ในกระบวนการย่อยสลาย
ขวดพลาสติก PET ของธุรกิจประเภทเดียวกัน สามารถสร้าง Carbon Dioxide ซึ่งเป็นผลกระ
ทบโดยตรงต่ออากาศได้เป็นจำนวน 4.6 ล้านตันต่อปี

ซึ่งหากสังเกตจากกระบวนทั้งหมดของธุรกิจ Coca-Cola ตั้งแต่การจัดเตรียม-จนไปถึงการขาย เรา


จะพบได้ว่าในแทบทุกขั้นตอนของอุตสาหกรรม ล้วนสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมในด้านใดด้านนึง
หากทางกลุ่มนำเสนอถึง กลยุทธ์ที่แบรนด์มีการจัดทำชั้นวางจากกล่องกระดาษที่ไม่ใช่แล้ว เราอาจจะ
ต้องถามต่อไปถึง กลยุทธ์นี้ของแบรนด์สามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากอุตสาหกรรมได่ยั่งยืนจริงหรือไม่?
และเราอาจจะต้องตั้งคำถามถึงกระบวนการใช้งาน Plastic PET ของแต่ละองค์กร สามารถลดปัญหา
การสร้างมลพิษที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมได้มากน้อยแค่ไหน หากในขั้นตอนปฎิบัติงานการนำมา
RECYCLE พลาสติก ไม่ได้มีกลยุทธ์ในการจัดการที่มีประสิทธิภาพพอ

** Greenwashing
Greenwashing (การฟอกเขียว) เป็นรูปแบบการทำธุรกิจ ที่องค์ได้นำเสนอถึงความใส่ใจในปัญหาของสิ่งแวด
ล้อมที่เกิดขึ้น ผ่านการดำเนินงานในด้านต่างๆ ทั้ง กระบวนการผลิต แคมเปญหรือกิจกรรมทางการตลาด จน
ไปถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบของบรรจุภัณฑ์
ให้ดูเหมือนว่า 'เป้าหมายของบริษัทถูกจัดทำเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม' ซึ่งในความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้ถูกจัดทำขึ้น
เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้า สร้างภาพลักษณ์ให้กับตัวแบรนด์ และแสวงหาผลกำไรแต่เพียงเท่านั้น
อ้างอิง

Coca Cola
https://www.theguardian.com/environment/2020/mar/31/report-reveals-
massive-plastic-pollution-footprint-of-drinks-firms

https://www.reuters.com/business/sustainable-business/coca-cola-criticized-
plastic-pollution-pledges-25-reusable-packaging-2022-02-10/

https://www.independent.co.uk/life-style/coca-cola-pollution-plastic-environment-
coke-a9168921.html

https://www.forbes.com/sites/trevornace/2019/10/29/coca-cola-named-the-
worlds-most-polluting-brand-in-plastic-waste-audit/?sh=c40775774e0a

PET Plastics

https://www.forbes.com/sites/grrlscientist/2018/04/23/five-ways-that-plastics-
harm-the-environment-and-one-way-they-may-help/?sh=6a410da967a0

http://www.petresin.org/pdf/PET_whatisitandwheredoesitcomefrom.pdf

https://edu.rsc.org/science-research/recycling-plastic-bottles-into-jet-fuel/
3010585.article

https://ecologycenter.org/plastics/ptf/report3/
#:~:text=PET%20bottle%20generates%20more%20than,and%20clouds%20of%2
0toxic%20vapor.

https://www.integrated-skills.com/en/2017/02/03/plastic-bottles-impact-
oceans/

PET Microplastic

https://www.nature.com/articles/s41598-021-04489-w

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6401706/

You might also like